สายใยจันท์ V.16

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

Vol.16 สิงหาคม 2015 ปีที่

26

• คุณธรรมของ • 40 ปี ศูนย์สังคมฯ

สังฆมณฑลจันทบุรี

• พระสงฆ์ใหม่

พระแม่มารีย์

• ร่วมใจเทิดเกียรติ

พระธาตุนักบุญ

สังฆมณฑลจันทบุรี

สมโภชพระนางมารีย์ รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ 15 สิงหาคม


ปีที่ 26 ฉบับที่ 16 / สิงหาคม 2015

Contents

สารบัญ

สายใยจันท์

สาสน์พระสังฆราช .................................................................... 4 จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์................................... 6 คุณธรรมของพระแม่มารีย์ในพระวรสาร................................... 8 สังฆมณฑลจันทบุรี ร่วมใจเทิดเกียรติพระธาตุ......................... 10 พระสงฆ์ใหม่ สังฆมณฑลจันทบุรี.............................................. 16 ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลจันทบุรี ...................................20 เข้าใจให้ดี เรื่องพิธีกรรม............................................................ 24 กิจการแห่งรัก............................................................................. 26 วันวาร ล้วนมีความหมาย.......................................................... 28 ปริศนาอักษรไขว้.........................................................................29 ประมวลภาพกิจกรรม.................................................................31

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


บรรณาธิการ Editor’s talk พ่อเขียนต้นฉบับสายใยจันท์ฉบับนี้ล่วงหน้า 2 เดือน ก่อนไปฝึกภาวนาที่ประเทศเกาหลี ตั้งใจจะ เขียนเรือ่ ง Misericordiae Vultus ทีย่ งั ไม่มแี ปลเป็น ภาษาไทย เลยขอสรุปให้พนี่ อ้ งคริสตชนอ่านก็แล้วกัน ก่อนการฉลองวันอาทิตย์พระเมตตา (ช่วง เย็นวันเสาร์ที่ 11 เมษายน) พระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ประกาศฉลองปียูบิลีแห่งเมตตาธรรม ระหว่างวัน ที่ 8 ธันวาคม 2015 - 20 พฤศจิกายน 2016 และ จะมีพิธิเปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ในมหาวิหารนักบุญเปโตร ในวันที่ 8 ธันวาคม 2015 พระสันตะปาปา ประกาศฉลองปีศกั ดิส์ ทิ ธิใ์ น สมณโองการ Misericordiae Vultus (พระพักตร์ แห่งความเมตตา) ซึ่งมีทั้งหมด 25 ข้อ โดยพระองค์ เริม่ สมณโองการด้วยประโยค “Jesus Christ is the face of the Father’s mercy” แปลเป็นภาษไทย ว่า “พระเยซูทรงเป็นพระพักตร์แห่งความเมตตา ของพระบิดา” แล้วพระองค์ขยายความประโยคต่อ มาว่า “These words might well sum up the mystery of the Christian faith” แปลเป็นภาษา ไทยง่าย ๆ ว่า “พระเยซูทรงเป็นพระพักตร์แห่ง ความเมตตาของพระบิดา เป็นบทสรุปถึงธรรมล�ำ้ ลึกแห่งความเชื่อคริสตชน” ในข้อที่ 10 พระองค์เขียนว่า Mercy is the very foundation of the Church’s life ความเมตตา เป็นรากฐานชีวิตของพระศาสนจักรคาทอลิก

ส่วนข้อที่ 19 เขียนว่า May the message of mercy reach everyone, and may no one be indifferent to the call to experience mercy. สรุปความข้อนี้ได้ว่า พระองค์ต้องการให้การเฉลิม ฉลองปียูบิลีแห่งเมตตาธรรม ได้เข้าถึงคริสตชนทุก คน ไม่เมินเฉยต่อการเรียกให้มีประสบการณ์แห่ง ความเมตตาของพระเป็นเจ้านี้ พระศาสนจักรไทยก�ำลังอยูร่ ะหว่างการเฉลิม ฉลองปียูบิลี 350 ปีแห่งการประชุมสมัชชาอยุธยา (ค.ศ. 1664-2015) และ 50 ปี การสถาปนาพระ ฐานานุกรม (ค.ศ. 1965-2015) คริสตชนไทยก�ำลัง ฉลองพระเมตตาของพระเป็นเจ้า ทีม่ ตี อ่ ประเทศไทย หลังจากเฉลิมฉลองในประเทศของเราจบ เราก็ฉลอง ปีศกั ดิส์ ทิ ธิใ์ นพระศาสนจักรสากลต่อเลย มีไม่มากนัก ที่เราจะได้ฉลองปีแห่งความศักดิ์สิทธิ์ 2 ปีติดต่อกัน ได้รับพระคุณการุณย์อย่างเต็มเปี่ยม ขอให้บรรดาคริสตชน ไว้วางใจพระเมตตา ของพระเป็นเจ้า สายใยจันท์ฉบับนี้มีเรื่องราวดี ๆ มาให้ คริสตชนจันท์อ่านเหมือนเคย

คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ

3


พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ออกพระสมณโองการประกาศปีศกั ดิส์ ทิ ธิ์ เป็นกรณีพเิ ศษโดยใช้ชอื่ ว่า “ปีแห่งเมตตาธรรม” ซึง่ จะเริม่ วันที่ 8 ธันวาคม 2015 อันเป็นวันสมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล และครบ 50 ปีแห่งการปิดการ ประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 และจะสิ้นสุดวันที่ 20 พฤศจิกายน 2016 อัน เป็นวันสมโภชพระเยซูเจ้าทรงเป็นกษัตริย์แห่งสากลจักรวาล “ปีแห่งเมตตาธรรม” จะเป็นโอกาสให้คริสตชนทุกคนได้พบกับความ ต้องการทีแ่ ท้จริงของผูค้ นทัง้ หลาย และลงมือช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรมด้วยความ รักและเมตตา พระสันตะปาปาทรงต้องการให้ปศี กั ดิส์ ทิ ธิน์ ี้ เป็นความตระหนักของ พระศาสนจักรและคริสตชนทีจ่ ะท�ำให้พนั ธกิจแห่งความเมตตาชัดเจนยิง่ ขึน้ ค�ำขวัญ ของปีแห่งเมตตาธรรม คือ “จงเป็นผู้เมตตากรุณา ดังที่พระบิดาของท่านทรง พระเมตตากรุณาเถิด” ซึ่งน�ำมาจากพระวรสารของนักบุญลูกา บทที่ 6 ข้อ 36 พระประสงค์ประการหนึง่ ของพระสันตะปาปา คือ การจัดให้มธี รรมทูตแห่ง ความเมตตา และทรงปรารถนาให้บรรดาพระสงฆ์ มีหัวใจของธรรมทูตผู้เมตตา ด้วยการเทศน์ทแี่ สดงถึงพระเมตตาของพระเจ้า การอภิบาลด้วยความเมตตาและ เอาใจใส่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การเป็นผูฟ้ งั แก้บาปทีด่ ี ซึง่ พระสงฆ์สามารถทีจ่ ะแสดง ให้เห็นถึงพระเมตตารักของพระเจ้าผ่านทางการท�ำหน้าทีข่ องท่าน พระสงฆ์ยงั ต้อง มีความอดทนและความเข้าใจถึงความอ่อนแอเปราะบางของธรรมชาติมนุษย์ ซึ่ง ท่านเองก็เป็นมนุษย์ที่อ่อนแอคนหนึ่งด้วยเช่นกัน ดังนั้น พระสงฆ์จึงต้องไม่ท�ำให้ ที่ฟังแก้บาปกลับกลายเป็น “ห้องแห่งการทรมาน” (ค�ำของพระสันตะปาปา) สังฆมณฑลจึงขอให้พี่น้องสัตบุรุษ ได้ติดตามประกาศของสังฆมณฑล ต่อไปเป็นระยะ ๆ เพื่อการจัดฉลองปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม จะได้ด�ำเนินไป ตามพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปา และบังเกิดผลที่ดีแก่พระศาสนจักร สังฆมณฑล และแก่พี่น้องแต่ละคน ขอพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นพระพักตร์แห่งพระเมตตาของพระบิดา นิรันดร โปรดให้เราได้ด�ำเนินชีวิตตามแบบอย่างขององค์พระบิดาเจ้า “จงเป็น ผู้เมตตากรุณา ดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด” (ลก 6: 36)

4


(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) พระสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี 5


จาก...ประตูแห่งความเชื่อ PORTA FIDEI (The Door of Faith) สู่...ประตูศัก ดิ์สิท ธิ์ to PORTA SANCTA (The Holy Door) (ตอนที่ 6) โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์

ความเดิมตอนที่ 5 น�ำเสนอคริสตชนถูกเรียกให้เป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ์ “ท่านทัง้ หลายจงเป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ์ เพราะ เราเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์” (1 เปโตร 1:16 ; เลวีนิติ 11: 44) และคริสตชนจะด�ำเนินชีวิตอย่างไรถึงจะเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ ได้ โดยยกตัวอย่างค�ำสอนของพระเยซูเจ้าในพระวรสารนักบุญมัทธิวบทที่ 5 ข้อที่ 38-48 และบทจดหมาย ถึงชาวฮีบรูบทที่ 12 ข้อที่ 14-16 ไม่เพียงแต่พระวรสารเท่านั้น ที่แนะน�ำบรรดาคริสตชนควรด�ำเนินชีวิตอย่างไร ให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ เอกสารของพระศาสนจักรเองได้เชิญชวนคริสตชนมาด�ำเนินชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน ตัวอย่างเช่น • ธรรมนูญด้านพระธรรมกล่าวถึงพระศาสนจักร “Lumen Gentium” ข้อ 40 ได้เขียนว่า “สัตบุรุษคริสตชนทุก ๆ คน ไม่ว่าอยู่ในฐานะอันใด หรืออยู่ในชั้นวรรณะใด เขาทุกคนได้ รับการเชื้อเชิญให้มาสู่ความสมบูรณ์ของชีวิตคริสตชน และความครบครันด้านความรักเมตตาจิต ความศักดิส์ ทิ ธิอ์ นั นี้ แม้สงั คมฝ่ายโลกก็สนับสนุน เป็นทางให้เกิดมีท�ำนองครองชีพทีม่ มี นุษยธรรม มากขึน้ เพือ่ บรรลุถงึ ความดีบริบรู ณ์อนั นี้ ท่านสัตบุรษุ ทัง้ หลายจงออกก�ำลังเรีย่ วแรงตามอัตราส่วน ทานที่ท่านได้รับจากพระคริสตเจ้าเถิด เพื่อว่า เมื่อท่านได้สะกดรอยตามพระยุคลบาทแล้ว ท่าน จะได้กลายเป็นพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ท่าน และเมื่อได้ปฏิบัติตามน�้ำพระทัยของพระบิดา ในทุกสิง่ ทุกอย่างแล้ว ท่านจะได้พลีตนจนหมดสิน้ ดวงใจ เพือ่ เป็นเกียรติมงคลแด่พระเป็นเจ้าและ เป็นบริการแก่พนี่ อ้ งคนทัว่ ไป เมือ่ เป็นดังนี้ ความศักดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งประชากรของพระเป็นเจ้า จะบรรลุ ผลสมบูรณ์ ดุจดังประวัติการณ์ของพระศาสนจักรได้บันทึกผล ให้เป็นประจักษ์ชัดแจ้งมาแล้วใน ประวัติของบรรดานักบุญ” 6


เอกสารพระศาสนจักรเสนอแนะว่า คริสตชนต้องด�ำเนินชีวิตตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน ให้เป็น ภาพสะท้อนถึงพระเยซูคริสตเจ้า • ธรรมนูญด้านพระธรรมกล่าวถึงพระศาสนจักร “Lumen Gentium” ข้อ 41 เรื่อง “ความศักดิ์สิทธิ์ มีอันเดียว แต่การปฏิบัติความศักดิ์สิทธิ์มีหลายรูปแบบ” อธิบายต่อว่า “แม้คริสตชนจะมีหน้าที่การงานแตกต่างกัน แต่ทุก ๆ คนก็ปลูกฝังเลี้ยงดูความศักดิ์สิทธิ์ อันหนึง่ อันเดียวกัน เขาทุกคนได้รบั การกระตุน้ จากพระจิตของพระเป็นเจ้า ทัง้ พวกเขาก็นอบน้อม เชื่อฟังพระสุรเสียงของพระบิดา ในจิตใจตามความเป็นจริง เขาสะกดรอยเดินตามพระคริสตเจ้า ผูย้ ากจน ผูถ้ อ่ มตน และผูแ้ บกกางเขน เพือ่ ให้ตวั เขาสมควรมีสว่ นในพระเกียรติมงคลของพระองค์ ท่าน ใครได้รับพระคุณเฉพาะตัวและโภคทรัพย์เท่าไร เขาต้องใช้พระคุณทั้งหมดนั้นเดินหน้าไป โดยไม่ชักช้า ตามความเชื่ออันชุ่มชื่นมีชีวิต ซึ่งกระตุ้นให้เกิดมีความหวัง และผลิตผลงานโดย อาศัยความรัก” • สมณสาสน์ “สู่สหัสวรรษใหม่” (Novo MillennioIneunte) เขียนโดย นักบุญพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ถึงคริสตชนทุกคน ข้อที่ 30-39 เป็นแนวปฏิบัติ เพื่อคริสตชนจะได้ด�ำเนินชีวิตตามกระแสเรียก สู่ความศักดิ์สิทธิ์ ดังนี้ ¤¤ คริสตชนต้องส�ำนึกถึงหน้าที่ของคริสตชน ที่จะเติบโตในความศักดิ์สิทธิ์ในชีวิตประจ�ำวัน อาศัยการ ภาวนาที่ร้อนรน ¤¤ คริสตชนเปิดใจต่อความรักของพระเจ้า และยังเปิดใจสู่ความรักของพี่น้องด้วย ¤¤ การมีส่วนร่วมในการถวายมิสซาบูชาทุกวันอาทิตย์ เป็นสิ่งที่จ�ำเป็นที่ท�ำให้ชีวิตคริสตชนเข้มแข็ง ¤¤ บรรดาศาสนบริกรของพระศาสนจักร ควรแนะน�ำศีลแห่งการคืนดีให้กับประชากรของพระเจ้า ด้วย ความมั่นใจและด้วยความพากเพียร ¤¤ คริสตชนให้รับฟังพระวาจาของพระองค์ด้วยจิตใจใหม่ การฟังพระวาจาน�ำไปสู่การประกาศพระ วาจานั้น ผู้ที่มาสัมผัสกับพระคริสตเจ้าด้วยความจริงใจ ไม่สามารถเก็บพระองค์ส�ำหรับตัวเอง เขา ต้องประกาศพระองค์… แต่จะต้องค�ำนึงถึงหนทางของบุคคลต่าง ๆ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การด�ำเนินชีวติ ทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิข์ องคริสตชน พระเป็นเจ้าไม่ได้ปล่อยให้เขาต้องด�ำเนินชีวติ ตามล�ำพัง ค้นหา วิธีการตามล�ำพัง แต่พระเยซูเจ้าได้ทรงส่งพระจิตเจ้าเข้ามาในตัวทุกคน เพื่อปลุกกระตุ้นภายในให้เขารัก พระเป็นเจ้าด้วยสุดดวงใจ สุดวิญญาณ สุดความนึกคิด และสุดความสามารถของเขา (เทียบ มก 12:30) และให้เขารักกันและกันเหมือนพระคริสตเจ้าทรงรักพวกเขา (เทียบ ยน. 13:34, 15:12) ดังนั้น บรรดาผู้เจริญรอยตามพระบาทพระคริสตเจ้า พระเป็นเจ้าได้ทรงเรียกเขา ไม่ใช่เพราะน�้ำพัก น�้ำแรงอะไรของเขา แต่เป็นเพราะพระประสงค์ และน�้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า และพระหรรษทานของพระ เป็นเจ้า เขาจึงได้กลายเป็นผู้ชอบธรรมในองค์พระเยซูคริสตเจ้า1 (อ่านต่อฉบับหน้า) 1ธรรมนูญด้านพระธรรมกล่าวถึงพระศาสนจักร“ Lumen Gentium ”ข้อ 42 7


คุณธรรมของ

พระแม่มารีย์ ในพระวรสาร โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์

พ่อลองนั่งค้นหาคุณธรรมของพระแม่มารีย์ จากพระวรสารทั้งสี่ฉบับว่าได้บันทึกไว้อย่างไรบ้าง พอจะพบได้ดังต่อไปนี้ 1. คุณธรรมความบริสุทธิ์ นักบุญลูกาบันทึกว่า “เมื่อนางเอลีซาเบธ ตัง้ ครรภ์ได้หกเดือน แล้วพระเจ้าทรงส่งทูตสวรรค์ กาเบรียลมายังเมืองหนึ่งในแคว้นกาลิลี ชื่อเมือง นาซาเร็ธมาพบหญิงพรหมจารีคนหนึง่ ซึง่ หมัน้ อยู่ กับชายชือ่ โยเซฟในราชวงศ์ของกษัตริยด์ าวิดหญิง พรหมจารีผู้นั้นชื่อมารีย์” (1:26-27) 2. คุณธรรมความรอบคอบ นักบุญลูกาบันทึกว่า “ส่วนพระนางมารีย์ ทรงเก็บเรื่องทั้งหมดเหล่านี้ไว้ในพระทัยและยัง ทรงค�ำนึงถึงอยู่” (2:19) และพระเยซูเจ้าเสด็จกลับ ไปที่เมืองนาซาเร็ธกับบิดามารดา และเชื่อฟังท่าน ทั้งสอง พระมารดาทรงเก็บเรื่องทั้งหมดเหล่านี้ไว้ ในพระทัย(2:51) 8

3. คุณธรรมความสุภาพถ่อมตน บทเพลงสรรเสริญของพระแม่มารีย์ ทีบ่ นั ทึก โดยนักบุญลูกาว่า “เพราะพระองค์ทอดพระเนตร ผูร้ บั ใช้ตำ�่ ต้อยของพระองค์ ตัง้ แต่นไี้ ปชนทุกสมัย จะกล่าวว่าข้าพเจ้าเป็นสุข” (1:48) และตอบรับน�้ำ พระทัยของพระเป็นเจ้าว่า “ข้าพเจ้าเป็นผูร้ บั ใช้ของ พระเจ้า ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้าตามวาจาของ ท่านเถิด” (1:38) 4. คุณธรรมความเชื่อ นักบุญยอห์นบันทึกว่า พระมารดาของพระ เยซูเจ้าจึงกล่าวแก่บรรดาคนรับใช้ว่า“เขาบอกให้ ท่านท�ำอะไรก็จงท�ำเถิด” (2:5) 5. คุณธรรมการอุทิศตน นักบุญลูกาบันทึกว่า “พระนางมารีย์ตรัส ว่า วิญญาณข้าพเจ้าประกาศความยิ่งใหญ่ของ พระเจ้า” (1:46)


6. คุณธรรมการเชื่อฟัง พระแม่มารียต์ อบรับน�ำ้ พระทัยของพระเป็น เจ้าว่า “ข้าพเจ้าเป็นผูร้ บั ใช้ของพระเจ้าขอให้เป็น ไปกับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” (1:38) พระแม่มารียเ์ ชือ่ ฟังพระบัญญัตขิ องพระเป็น เจ้า “เมือ่ ครบก�ำหนดแปดวัน ถึงเวลาทีพ่ ระกุมาร จะต้องทรงเข้าสุหนัต เขาถวายพระนามพระองค์วา่ เยซู เป็นพระนามทีท่ ตู สวรรค์ให้ไว้กอ่ นทีพ่ ระองค์ จะทรงปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดา” (2:21) “พระจิตเจ้าทรงน�ำสิเมโอนเข้าไปในพระวิหาร ขณะทีโ่ ยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์ น�ำพระกุมาร เข้ามาปฏิบตั ติ ามทีธ่ รรมบัญญัตกิ ำ� หนดไว้” (2:27) 7. คุณธรรมความยากจน นักบุญลูกาบันทึกว่า “พระนางประสูตพิ ระ โอรสองค์แรก ทรงใช้ผา้ พันพระวรกายพระกุมาร นั้น แล้วทรงวางไว้ในรางหญ้า เนื่องจากไม่มีที่ใน ห้องพักแรมเลย” (2:7) 8. คุณธรรมความอดทน ขณะที่พระเยซูเจ้ารับทรมาน บรรดาอัคร สาวก ได้หนีจากพระองค์ไป มีกลุม่ สตรีและอัครสาวก บางคนติดตามพระองค์ไป หนึ่งในกลุ่มสตรีคือ พระ แม่มารีย์ นักบุญยอห์นบันทึกว่า “พระมารดาของ พระเยซูเจ้าทรงยืนอยูข่ า้ งไม้กางเขนของพระองค์ พร้อมกับน้องสาวของพระนางมารีย์ภรรยาของ เคลโอปัส และมารีย์ชาวมักดาลา” (19:25) 9. คุณธรรมความเมตตา หลังจากที่พระแม่มารีย์ตอบรับน�้ำพระทัย ของพระเป็นเจ้า ในการเป็นมารดาของพระเป็นเจ้า แล้ว นักบุญลูกาบันทึกว่า “พระนางมารีย์ทรงรีบ ออกเดินทางไปยังเมืองหนึ่งในแถบภูเขาแคว้น ยูเดีย” (1:39) “พระนางมารีย์ประทับอยู่กับนาง เอลีซาเบธประมาณสามเดือนจึงเสด็จกลับ” (1:56)

10. คุณธรรมโศกเศร้า บทเทศน์บนภูเขาพระเยซูเจ้าได้สอนว่า “ผู้ เป็นทุกข์โศกเศร้าย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้ รับการปลอบโยน” (มัทธิว 5:4) แม้ค�ำว่าโศกเศร้า ออกจะเป็นแง่ลบสักหน่อย แต่ค�ำสอนของพระเยซู เจ้าบอกเราว่าโศกเศร้าที่มาจากการกระท�ำตามน�้ำ พระทัยของพระเป็นเจ้า จะน�ำความสุขมาให้ สิเมโอนได้กล่าวกับพระแม่มารียแ์ ละนักบุญ ยอแซฟ ระหว่างที่ท่านทั้งสองถวายพระเยซูเจ้าใน พระวิหาร นักบุญลูกาบันทึกว่า “สิเมโอนอวยพร ท่านทัง้ สองและกล่าวแก่พระนางมารียพ์ ระมารดา ว่า ‘พระเจ้าทรงก�ำหนดให้กุมารนี้เป็นเหตุให้คน จ�ำนวนมากในอิสราเอลต้องล้มลงหรือลุกขึ้นและ เป็นเครื่องหมายแห่งการต่อต้าน เพื่อความในใจ ของคนจ�ำนวนมากจะถูกเปิดเผย’ ส่วนท่าน ดาบ จะแทงทะลุจิตใจของท่าน” (2:34-35) คุณธรรมของพระแม่มารีย์เหล่านี้ เป็นรูป แบบของพระศาสนจักร พระแม่มารีย์ทรงเป็นแบบ อย่างอันน่าพิศวงด้านความเชื่อ และความรักของ พระศาสนจักร ทรงเป็นที่เคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง และพระศาสนจักรคาทอลิก โดยพระจิตเจ้าโปรดให้ ท่านรูแ้ จ้งเห็นจริงจึงมีความศรัทธาประสาลูก ยึดถือ พระแม่เจ้าเป็นพระมารดาที่สุดเสน่หา1 คุณธรรมของพระแม่มารีย์เหล่านี้ เป็นต้น แบบของบรรดาคริสตชนด้วย ทีจ่ ะต้องเลียนแบบพระ ธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร ที่ได้เขียนว่า “ฉะนั้น เขาจึงยกตาขึน้ ดูพระแม่มารีย์ องค์แบบอย่างแห่ง คุณธรรมต่าง ๆ เปล่งปลั่งเหนือหมู่คณะทั้งหมด ท่ามกลางผู้ได้รับเลือกสรรทั้งหลาย” 2 1 พระธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร ข้อ 53 2 พระธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักร ข้อ 65 9


พระนามเดิม ประสูติ รับศีลบวช พระสังฆราช พระคาร์ดินัล พระสันตะปาปา สิ้นพระชนม์ บุญราศี นักบุญ วันฉลอง

คาโรล วอยติวา 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1946 28 กันยายน ค.ศ. 1958 26 มิถุนายน ค.ศ. 1967 16 ตุลาคม ค.ศ. 1978 2 เมษายน ค.ศ. 2005 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 27 เมษายน ค.ศ. 2014 22 ตุลาคม

อันเจโล จูเซปเป รอนกัลลี พระนามเดิม 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1881 ประสูติ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1904 รับศีลบวช 19 มีนาคม ค.ศ. 1925 พระสังฆราช 12 มกราคม ค.ศ. 1953 พระคาร์ดินัล 28 ตุลาคม ค.ศ. 1958 พระสันตะปาปา 3 มิถุนายน ค.ศ. 1963 สิ้นพระชนม์ 3 กันยายน ค.ศ. 2000 บุญราศี 27 เมษายน ค.ศ. 2014 นักบุญ 11 ตุลาคม วันฉลอง

ตลอดเดือนพฤษภาคม 2015 คริสตชน สังฆมณฑลจันทบุรี ได้จัดพิธีต้อนรับและเทิดเกียรติพระธาตุ นักบุญยอห์น ที่ 23 พระสันตะปาปา และนักั บุญยอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา โดยมีการเดินทางดังต่อนี้ • แขวงสระแก้ว ระหว่างวันที่ 1-6 พฤษภาคม 2015 • แขวงจันทบุรี ระหว่างวันที่ 7-12 พฤษภาคม 2015 • แขวงศรีราชา ระหว่างวันที่ 12-20 พฤษภาคม 2015 • แขวงหัวไผ่ ระหว่างวันที่ 21-26 พฤษภาคม 2015 • แขวงปราจีนบุรี ระหว่างวันที่ 27-31 พฤษภาคม 2015 การรับพระธาตุ เป็นกิจกรรมหนึง่ ในโครงการฉลอง “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ละปีนกั บวชสากล” ทีค่ ณะกรรมการ สภาสงฆ์ และคณะกรรมการบริหารสังฆมณฑลได้กำ� หนดไว้ เพือ่ ให้กจิ กรรมนีเ้ ป็นเครือ่ งกระตุน้ ชีวติ ทางความ เชื่อ ความรัก ความศรัทธา และการมีส่วนร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันในการเฉลิมฉลองช่วงเวลาอันส�ำคัญของพระ ศาสนจักรไทย 10


แขวงสระแก้ว

11


แขวงจันทบุรี

12


แขวงศรีราชา

13


แขวงหัวไผ่

14


แขวงปราจีนบุรี

15


ข้าพเจ้าท�ำทุกสิ่งได้ในพระองค์ ผู้ประทานพละก�ำลังแก่ข้าพเจ้า (ฟิลิปปี 4 : 13)

16


นับเป็นความชื่นชมยินดีอีกครั้ง ของเรา คริสตชน สังฆมณฑลจันทบุรี ที่ได้มีพระสงฆ์เพิ่มขึ้น อีก 1 องค์ คือ คุณพ่อ ยอห์น ยศธร ทองเหลือง ลูกวัดนักบุญฟิลปิ และยากอบ หัวไผ่ เกิดเมือ่ วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1985/พ.ศ.2528 บุตรของ ยอแซฟ พรศักดิ์ ทองเหลือง กับ เปาลา ชุมพิต ทองเหลือง มีพี่น้อง 2 คน เป็นชายล้วน คุณพ่อเป็นลูกคนโต

หลังจากได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์แล้ว คุณพ่อเข้ารับหน้าที่ในต�ำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด พระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ศรีราชา

ส�ำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ที่ โรงเรียนประชาสงเคราะห์ หัวไผ่ สมัครเข้าบ้านเณร เล็กพระหฤทัย ศรีราชา ด้วยการส่งเสริมสนับสนุน จาก คุณพ่อบรรจง พานุพันธ์ ได้รับการศึกษาใน ระดับมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ต่อมา ได้ศึกษาที่วิทยาลัยแสงธรรม นครปฐม สาขา วิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ ในระดับ ปริญญาตรี และสาขาเทววิทยาจริยธรรม คณะศาสน ศาสตร์ ในระดับปริญญาโท ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อ่านพระคัมภีร์ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2012 โดย พระสังฆราช ซิลวีโอ สิรพิ งษ์ จรัสศรี ทีส่ ามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม ปีตอ่ มาได้รบั แต่งตัง้ เป็นผูช้ ว่ ยพิธกี รรม เมือ่ วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 โดยอัครสังฆราช จ�ำเนียร สันติสขุ นิรนั ดร์ ทีส่ ามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพราน นครปฐม และได้รบั ศีลบวชเป็นสังฆานุกร เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2014 โดยพระสังฆราช ยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ที่สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม ทีส่ ดุ ได้รบั ศีลบวชเป็นพระสงฆ์ ในวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2015 โดยพระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ที่ศาลารวมใจฯ โรงเรียน ดาราสมุทร อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี คุณพ่อมีคติพจน์ว่า “ข้าพเจ้าท�ำทุกสิ่งได้ในพระองค์ผู้ประทานพละ ก�ำลังแก่ข้าพเจ้า” (ฟิลิปปี 4 : 13) 17


การทีจ่ ะมีชายหนุม่ ซักหนึง่ คนได้รบั ศีลบรรพชา นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เส้นทางสู่สังฆภาพสงฆ์ก็ไม่ใช่ ทางสบาย ต้องอาศัยความเชื่อ ความศรัทธา และมี จุดเริ่มต้นที่เรียกว่า “กระแสเรียก” ด้วยความรู้สึก อยากรู้อยากลองในวัยเด็ก บวกกับแรงกระตุน้ จากบิดามารดา ญาติพนี่ อ้ ง และที่ ส�ำคัญ เสียงเรียกของพระเจ้า ทีเ่ ชือ้ เชิญให้ได้มโี อกาส สัมผัสชีวติ ของการเป็นสามเณร ในค่ายกระแสเรียก ช่วง 4-5 วัน ท�ำให้ได้เห็นแบบอย่างที่ดี มีความรัก ความศรัทธา เห็นความสามารถในด้านการกีฬา ดนตรี และท่าทีที่สง่างามจากพระสงฆ์ คุณพ่ออธิการ รอง อธิการ บรรดามาสเตอร์เณร รวมถึงพี่ ๆ สามเณร ทุกคน จนท�ำให้เกิดแรงจูงใจ อยากเป็นเช่นนั้นบ้าง หลังจบการศึกษาระดับประถม เป็นช่วง เวลาสุดท้ายที่พระเป็นเจ้ารอฟังค�ำตอบ จากค�ำถาม ผ่านทางผูเ้ ป็นแม่วา่ “จะเข้าบ้านเณรกับเพือ่ น ๆ รึ เปล่า” ค�ำตอบคือ “อยากลองดูนะแม่ ไม่รจู้ ะไปได้ ไกลขนาดไหน” เป็นการตัดสินใจตอบรับ เดินตาม เสียงเรียกนั้น ด้วยการเข้ารับอบรม ที่บ้านเณรเล็ก พระหฤทัย ศรีราชา ความอยากรูอ้ ยากลอง ทีม่ เี ป้าหมายคือการ ได้บวชเป็นพระสงฆ์นั้นไม่ได้ลดน้อยถอยลงเลย แม้ จะผ่านการด�ำเนินชีวิตเป็นสามเณร ที่บ้านเณรเล็ก มาเป็นเวลา 8 ปีแล้วก็ตาม ตรงกันข้ามกลับเพิม่ มาก ขึน้ ตามเวลา ท�ำให้การแสวงหาค�ำตอบในสิง่ ทีอ่ ยากรู้ ด�ำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จากบ้านเณรเล็กพระหฤทัย ศรีราชา สู่บ้านเณรกลางพระวิสุทธิวงศ์ โคราช ด้วย ระยะเวลา 1 ปี และบ้านเณรใหญ่แสงธรรม นครปฐม อีก 8 ปี

18

17 ปี ชีวิตสามเณร นับเป็นเวลาที่ไม่น้อย เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแสวงหาค�ำตอบ ที่ บางครั้งสร้างความไม่แน่ใจให้กับตัวเอง และมักมี ค�ำถามเกิดขึ้นอยู่เสมอว่า “เรามาถูกทางรึเปล่า นี่ เป็นทางของเราหรือไม่” แต่ดว้ ยบุคคลรอบข้าง ไม่ ว่าจะเป็นพระสงฆ์ บิดามารดา ญาติพี่น้อง ที่คอย ให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ ให้ก�ำลังใจ และที่ส�ำคัญ ทุก ๆ ค�ำภาวนาจากบุคคลเหล่านี้ ท�ำให้กระแสเรียกนั้น ชัดเจนยิ่งขึ้น เข้าใจถึงสิ่งที่แสวงหา สามารถตอบ สนองกระแสเรียกของพระองค์ได้ และด�ำเนินชีวิต ในหนทางของพระคริตเจ้าได้อย่างหมดความสงสัย ด้วย “ความรักและพระเมตตาของพระ” ที่มีให้ เพียงพอ ผลักดันให้มาไกลจนถึงเป้าหมายที่อยาก รู้ อยากลอง คือการได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ เป็น ศาสนบริกรของพระเจ้า ด้วยพระหรรษทานช่วยจากพระเป็นเจ้านี้ เอง สามารถรับรู้และเข้าใจได้ว่า “ข้าพเจ้าท�ำทุก สิง่ ได้ในพระองค์ผปู้ ระทานพละก�ำลังแก่ขา้ พเจ้า” เด็ ก อยากรู ้ สู ่ สงฆ์ นิ รั น ดร


แม้จะบรรลุเป้าหมายด้วยการได้บวชเป็นพระ สงฆ์แล้วก็ตาม ทุกอย่างไม่ได้สิ้นสุดลง แต่เป็นการ เริ่มต้นบทบาทใหม่ในสังฆภาพสงฆ์ ที่ต่างไปจาก ชีวิตสามเณร “เราได้กลายเป็น “คุณพ่อ” ในช่วงไม่ กี่ชั่วโมง โดยอาศัยศีลบวช เปลี่ยนสถานะจาก มาสเตอร์ไปอย่างสิ้นเชิง ได้รับบทบาทหน้าที่ใน ฐานะเป็นผูช้ ว่ ยเจ้าอาวาสวัดพระหฤทัยฯ ศรีราชา ในความเป็นตัวตนของเรา ก็ยังเป็นเหมือนเดิม แต่บุคคลรอบข้าง ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ ก็จะ ใช้สรรพนาม ค�ำว่า “พ่อ/คุณพ่อ” น�ำหน้าชื่อเรา ท�ำให้ตอ้ งตระหนักถึงบทบาทหน้าทีท่ ตี่ นเองได้รบั และสถานะที่เราเป็นอยู่ จะท�ำอะไร จะพูดอะไร จะไปที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ก็ต้องมาพิจารณา ดูว่า เหมาะสมมากน้อยเพียงใด หรือเป็นที่สะดุด กับเพือ่ นพีน่ อ้ งรอบข้างหรือไม่ เพราะเราถือได้วา่ เป็นบุคคลสาธารณะของสังฆมณฑลจันทบุรี อย่าง เต็มตัวแล้ว” หน้าทีท่ ไี่ ด้รบั มอบหมาย อาจจะเป็นสิง่ ทีเ่ คย รู้เคยสัมผัสและคุ้นเคยมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียง พอส�ำหรับสถานะสงฆ์ “ผมได้รับมอบหมายให้เป็นจิตตาธิการ คูร์ซิลโล/พลมารีย์ ดูแลงานศาสนสัมพันธ์ และ กลุ่มเยาวชน/เด็กช่วยมิสซา ซึ่งเป็นงานที่ท้าทาย อย่างมาก แม้เคยมีโอกาสคลุกคลีกบั กลุม่ /องค์กร ต่าง ๆ เหล่านีม้ าบ้างตอนอยูบ่ า้ นเณรใหญ่ เมือ่ ได้ รับมอบหมายเป็นทีป่ รึกษา เป็นจิตตาธิการ จึงต้อง เรียนรูเ้ นือ้ งานในส่วนต่าง ๆ มากขึน้ เพือ่ จะได้ขบั เคลื่อนกิจการต่าง ๆ และอภิบาลบรรดาสัตบุรุษ ของวัดได้เป็นอย่างดี โดยอาศัยกลุ่มองค์กรเหล่า นี้เป็นสื่อกลาง และเป็นเครื่องมือ ในการท�ำงาน ให้เกิดผลมากยิ่งขึ้น”

มุมมองเกี่ยวกับกระแสเรียกในปัจจุบัน กระแสเรียกของการเป็นพระสงฆ์และ นักบวชในยุคปัจจุบันนี้ มีจ�ำนวนลดลงอย่างมาก ผมยังจ�ำได้ว่าตอนที่เข้าบ้านเณรปีแรก ชั้น ม.1 ผมมีเลขบัญชีประจ�ำตัว เลขที่ 110 ซึ่งเป็นสิ่งที่ บ่งบอกว่า จ�ำนวนสามเณรในยุคนัน้ มีจำ� นวนมาก พอสมควร ซึ่งหากพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัย สภาพสังคมและสภาพแวดล้อมในยุคสมัยต่าง ๆ ย่อมส่งผลต่อจ�ำนวนของบรรดาเด็ก/เยาวชน ที่ ได้ตดั สินใจเข้าสถานฝึกอบรมพอสมควร มาถึงยุค สมัยนี้ เรื่องของจ�ำนวนบุตรในแต่ละครอบครัว ก็ มีผลต่อการส่งเสริมให้บรรดาเด็ก/เยาวชนในการ ตัดสินใจเข้ามาใช้ชีวิตในสถานฝึกอบรมต่าง ๆ อย่างไรก็ดี อยากท้าทายน้อง ๆ ให้ลอง มาค้นหาชีวิตกระแสเรียกของตนเองในสถานฝึก อบรม ซึ่งเป็นเรื่องของการเอาจริงเอาจัง การ ทุ่มเททั้งครบ ในการด�ำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ ซึ่ง เป็นสิ่งที่ส�ำคัญ และจ�ำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าเรา จะอยู่ในชีวิตของพระสงฆ์/นักบวช หรือชีวิตของ คนทั่วไป เราก็ต้องแสวงหากระแสเรียกที่แท้จริง ด้วยกันทั้งสิ้น ขอเป็นก�ำลังใจให้นอ้ งเณร ได้ดำ� เนินชีวติ ด้วยความเอาจริงเอาจัง อุทศิ ทุม่ เทตนเองทัง้ ครบ และถ้าสุดท้ายแล้วไม่ใช่กระแสเรียกของเราจริง ๆ พระเป็นเจ้าก็จะมีพระประสงค์ส�ำหรับเราทุกคน เสมอ หากพระองค์ประสงค์จะเลือกเราให้มาเป็น เครื่องมือ หรือผู้ร่วมงานของพระองค์แล้ว ให้เรา ได้กล้าหาญที่จะตอบรับค�ำเชื้อเชิญนั้น ด้วยความ เชือ่ และความไว้วางใจ แล้วพระองค์กจ็ ะทรงจัดวาง ชีวิตของเราด้วยวิธีการของพระองค์ ขอเพียงเรา ซื่อสัตย์ต่อหนทางกระแสเรียกที่เราได้ด�ำเนินอยู่ อย่างดีในทุก ๆ วันของการด�ำเนินชีวิต 19


20


21


ในสาสน์มหาพรตปีนี้ พระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ทรงเน้นย�ำ้ ให้เราคริสตชน “สนใจต่อพีน่ อ้ งรอบข้าง” พระองค์ทรงเป็นห่วงพวกเรา ที่ด�ำเนินชีวิตอยู่ในยุค โลกาภิวัฒน์แห่งความเพิกเฉยต่อผู้อื่น พระองค์ทรง แสดงให้เห็นภาพแห่งความรัก และพระเมตตาของพระ บิดาต่อมนุษย์ โดยทรงมอบพระบุตรของพระองค์มา เพือ่ รับสภาพอันต�ำ่ ต้อย พระบิดาผูท้ รงมองเห็น ห่วงใย บรรดาลูก ๆ ของพระองค์เสมอ และพระบุตรเองก็ เป็นภาพสะท้อนแห่งการเอาใจใส่ รักผู้อื่น ไม่ทรงสน พระทัยในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นพระเจ้า แต่ทรงยอม ถ่อมองค์ เพือ่ จะยกศักดิศ์ รีของมนุษย์ ให้กลับมาเป็น บุตรของพระเจ้าอีกครั้ง พระพันธกิจที่พระคริสตเจ้าทรงกระท�ำใน โลกนี้ ได้มอบหมายให้กบั พระศาสนจักร พันธกิจนีค้ อื การช่วยมนุษยชาติให้หลุดพ้นจากบาป ช่วยให้หลุด พ้นจากการกดขี่ทุกชนิด เป็นพันธกิจที่ก่อให้เกิดการ เปลีย่ นแปลง “จากสภาพของความเป็นคนบาปและ อ่อนแอ ไปสู่การเป็นผู้ไร้มลทินและเข้มแข็ง จาก ความยากจนไปสู่ความหวังใหม่ จากความมืดไปสู่ อิสรภาพ และความเป็นคนที่มีศักดิ์ศรี” ศูนย์สังคมพัฒนา ในฐานะของหน่วยงานที่ สืบทอดพันธกิจของพระคริสตเจ้า สนับสนุนให้ชาว บ้านท�ำกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาของตนเอง ขณะ เดียวกันศูนย์ก็ให้การศึกษาอบรมแก่ชาวบ้าน เพื่อ ให้เรียนรู้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เข้าใจปัญหาและมี ความเข้าใจเกี่ยวกับ “งานพัฒนา” ซึ่งหมายถึงการ พัฒนาในทุกด้าน ด้านร่างกาย มุง่ ให้คนเจริญขึน้ ด้วย ปัจจัยสี่ที่จ�ำเป็นส�ำหรับการด�ำรงชีวิต ให้สมศักดิ์ศรี ของการเป็นมนุษย์ ด้านจิตใจ มุ่งให้เจริญด้วยความ รักสันติ ความยุติธรรมและความเป็นพี่น้องกันอย่าง แท้จริง เห็นอกเห็นใจช่วยเหลือกันและกันอยู่เสมอ 22

ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลจันทบุรี ก่อตั้ง ขึ้นในปี ค.ศ. 1973 และได้รับการแต่งตั้งขึ้นภายใน ปี ค.ศ. 1975 จนถึงปัจจุบัน ได้ทบทวนไตร่ตรอง และพยายามแสวงหาแนวทางให้สอดคล้องกับความ ต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลง เป็นหนึ่งเดียวกับ พระศาสนจักรในการปกป้อง ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพ ชีวติ ศักดิศ์ รี ในฐานะบุตรของพระเจ้าในเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ และเกษตรกร เพื่อให้บุคคลต่าง ๆ มี ชีวิต และมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ ในปี ค.ศ. 2015 นับเป็นโอกาสอันดีที่ศูนย์ฯ ด�ำเนินงานครบ 40 ปี จึงถือโอกาสจัดโครงการฉลอง 40 ปี การท�ำงานของศูนย์สงั คมฯ สังฆมณฑลจันทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อการโมทนาคุณพระเจ้าและการประกาศ ข่าวดีของพระคริสตเจ้า ในการท�ำงานพัฒนา ของศูนย์สังคมพัฒนาฯ จันทบุรี โอกาสครบ 40 ปี (1975 – 2015) 2. เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่งานสร้างจิตส�ำนึก และจิตตารมณ์การรับผิดชอบสังคม ต่อพระ สงฆ์ นักบวช และฆราวาสให้เป็นที่รู้จักใน สังฆมณฑลมากขึ้น 3. เพื่อเสริมสร้างการประสานความร่วมมือ การ ท�ำงานพัฒนาสังคมในสังฆมณฑล และองค์กร เครือข่าย 4. เพือ่ การระดมทุนเตรียมศูนย์สงั คมพัฒนาเป็นศูนย์ การเรียนรูเ้ พือ่ การพัฒนาในสังฆมณฑลจันทบุรี


กิจกรรม 1. งานเฉลิมฉลองจะจัดให้มขี นึ้ ในวันที่ 31 ตุลาคม 2015 2. จัดให้มกี ารประชาสัมพันธ์และการศึกษาอบรม เกี่ยวกับงานพัฒนาสังคมในโอกาสต่าง ๆ 3. มีการเทศน์เตือนใจเรือ่ งค�ำสอนและจิตตารมณ์แห่ง การด�ำเนินชีวติ ในสังคม ของพระสันตะปาปาฟรังซิส โอกาสเทศกาลมหาพรต และในโอกาสต่าง ๆ 4. มีการอบรมบรรดาสภาอภิบาล เรื่องค�ำสอน ด้านงานพัฒนาสังคมของพระศาสนจักร การ มีสว่ นร่วมในงานพัฒนาสังคมระดับสังฆมณฑล และระดับวัด 5. จัดให้มกี ารระดมทุน เพือ่ หาปัจจัยสนับสนุนงาน พัฒนาสังคมของศูนย์สังคมพัฒนา

พี่น้องที่รัก งานแห่งการสืบทอดพันธกิจ ของศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลจันทบุรี ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นพันธกิจ และเป็นพระพรที่ เราพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวชชาย-หญิงและ บรรดาคริสตชนในสังฆมณฑลได้รับ จึงเชิญชวนให้ พวกเราโมทนาคุณพระเจ้า และขอพระพรจากพระองค์ เพือ่ ให้งานสืบสานพันธกิจนี้ ได้คงอยูแ่ ละเติบโตอย่าง มั่นคงต่อไปในสังฆมณฑลของเรา ขอพีน่ อ้ งช่วยภาวนา และสนับสนุนงานของ ศูนย์สังคมพัฒนาต่อไป เพื่อความรอดพ้น การไถ่กู้ ศักดิ์ศรี การเติบโตและการพัฒนาชีวิตของเพื่อนพี่ น้องในสังฆมณฑลของเรา จะได้สะท้อนให้เห็นถึง ความรัก และพระเมตตาของพระเจ้าในสังคมโลก ของเราตลอดไป

23


เข้าใจให้ดีเรื่อง

พิธีกรรม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี

-- ความเงียบที่ศักดิ์สิทธิ์ -สวัสดีครับพีน่ อ้ งคริสตชนผูต้ ดิ ตามสายใยจันท์ทรี่ กั เราเชือ่ ว่าเราจะได้พบกับองค์พระเจ้าผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิแ์ ละได้รบั พระพร ในการมีส่วนร่วม การมอง การสัมผัส การภาวนา การขับร้องเพลงสรรเสริญองค์พระเจ้า ในการร่วมพิธกี รรม ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ระหว่างการร่วมพิธีกรรม มีช่วงเวลาหนึ่ง ที่ส�ำคัญซึ่งจะช่วยให้เราสามารถพบกับองค์พระเจ้าได้ นั่น คือ “ช่วงเวลาแห่งความเงียบสงบ” มีเขียนก�ำหนดในสังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรม ศักดิ์สิทธิ์ “เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในพิธีกรรมอย่าง แข็งขัน ควรเอาใจใส่ให้สัตบุรุษมีส่วนในการร้องรับ การ ตอบ การขับร้องเพลงสดุดี บทสร้อย บทเพลงสรรเสริญ ต่างๆ รวมทั้งกิจการอากัปกิริยาและอิริยาบถของร่างกาย ให้ทกุ คนเงียบสงบ ด้วยความเคารพในเวลาทีเ่ หมาะสม ด้วย” (ข้อ 30) พีน่ อ้ งทีร่ กั ในหนังสือกฎทัว่ ไปส�ำหรับมิสซาตามจารีต โรมัน (Institutio Generalis Missalis Romani) ชื่อย่อ “IGMR” ซึ่งเป็นสมณโองการของสมเด็จพระสันตะปาปา เปาโลที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้ให้ค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับ “ความเงียบสงบ” ไว้ว่า 24


ก่อนเริ่มพิธี : “ต้องมีระยะเวลาเงียบ “ศักดิ์สิทธิ์” ตาม เวลาทีก่ ำ� หนดเป็นส่วนหนึง่ ของพิธดี ว้ ย ลักษณะของ ความเงียบนี้ ขึ้นกับโอกาสในแต่ละพิธี... แม้ก่อนจะ เริ่มพิธี ก็น่าจะมีช่วงเวลาเงียบภายในวัด ในห้อง แต่งตัวพระสงฆ์ และในสถานที่ใกล้เคียง เพื่อให้ทุก คนเตรียมตัวร่วมพิธศี กั ดิส์ ทิ ธิไ์ ด้อย่างศรัทธาและ เหมาะสม” (IGMR ข้อ 45) “แต่ละคนควรเงียบ ส�ำรวมใจในพิธสี ารภาพ ความผิด และเมื่อพระสงฆ์เชิญให้อธิษฐานภาวนา” (IGMR ข้อ 45) ภาควจนพิธีกรรม : “ต้องจัดขึน้ เพือ่ ส่งเสริมการร�ำพึงภาวนา ดัง นัน้ จึงต้องหลีกเลีย่ งรูปแบบความรีบร้อนทุกอย่างที่ เป็นอุปสรรคขัดขวางการส�ำรวมจิตใจ ในวจนพิธกี รรม จึงมีช่วงเวลาสั้น ๆ ให้ทุกคนสงบ ในหลาย ๆ ครั้ง เหมาะกับกลุม่ ชนทีม่ าชุมนุม ในช่วงเวลาเช่นนี้ พระ จิตเจ้าจะทรงช่วยเหลือเขาให้รับพระวาจาเข้ามา ในใจ และเตรียมค�ำตอบด้วยการภาวนา ช่วงเวลา เงียบสงบนี้อาจจัดให้มีหลังบทอ่านแรกและบทอ่าน ที่สองและหลังการเทศน์ด้วย เพื่อทุกคนจะได้ร�ำพึง สั้น ๆ ถึงข้อความที่เพิ่งได้ฟัง” (IGMR ข้อ 56) หลังการเทศน์ : “หลังการเทศน์ควรมีเวลาสงบเงียบสักครู่” (IGMR ข้อ 66)

ก่อนการรับศีลมหาสนิท : “พระสงฆ์สวดภาวนาเงียบๆ เพื่อเตรียมตัว รับพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้าอย่างมี ผล บรรดาสัตบุรษุ ก็สวดภาวนาเงียบๆ เช่นเดียวกัน” (IGMR ข้อ 84) หลังรับศีลมหาสนิท : “หลังจากรับศีลมหาสนิทพระสงฆ์และสัตบุรษุ ควรภาวนาเงียบๆ สักครูห่ นึง่ ตามโอกาสอ�ำนวย เพือ่ สรรเสริญพระเจ้าและภาวนาส่วนตัวในใจ” (IGMR ข้อ 88) พีน่ อ้ งจะเห็นได้วา่ ในพิธกี รรม พระศาสนจักร ให้ความส�ำคัญและมุ่งเน้นให้สมาชิกได้พบกับองค์ พระเจ้าอย่างแท้จริงในความสวยงาม ความเป็น ระเบียบเรียบร้อยและความสงบ (ทั้งภายนอกและ ภายใน) จึงเป็นการดีที่เราคริสตชนทุกคน ไม่ว่าจะ เป็นศาสนบริกรผู้ประกอบพิธี บรรดาผู้น�ำในพิธี (ผู้ ก่อสวด) และพี่น้องผู้ร่วมในพิธีกรรมต่างๆ ได้หัน มาเอาใจใส่และให้ความส�ำคัญกับ “ช่วงเวลาเงียบ ศักดิ์สิทธิ์” ในทุกพิธีกรรม ไม่ว่าจะเป็นการภาวนา ท�ำวัตร การแสดงกิจศรัทธาต่างๆ ทั้งในระดับชุมชน แห่งความเชื่อหรือในกิจศรัทธาส่วนตัว เพราะพระ ศาสนจักรเน้นย�้ำว่า เวลาเงียบศักดิ์สิทธิ์ “เป็นช่วง เวลาทีอ่ งค์พระจิตเจ้าจะทรงน�ำและช่วยเหลือเรา ให้เข้าใจในสิง่ ทีพ่ ระเจ้าตรัสกับเรา” ในพิธเี หล่านัน้ ....................................................

25


กิ จ การแห่ ง

รั ก

การมีชีวิตอยู่ก็คือพระคริสตเจ้า (ฟป.1:21) นักบุญเปาโลกระท�ำกิจการต่าง ๆ ในชีวติ เพือ่ ถวายเกียรติแด่พระเจ้า ความทุกข์ยากล�ำบากต่าง ๆ ในการด�ำเนินชีวติ ล้วนเป็นพันธกิจแห่งรัก ผูท้ ยี่ นื ยันว่าเป็นศิษย์ของพระองค์ ย่อมไม่หวัน่ ไหวกับความทุกข์ยากล�ำบากใดใด แม้วา่ จะต้องเผชิญกับความทุกข์ยาก จนแทบอยากจะพ้นเสียจากโลกนีไ้ ป แต่การมีชวี ติ อยูเ่ พือ่ รับใช้พระองค์ ประกาศข่าวดีของพระองค์กส็ ำ� คัญยิง่ กว่า

หากการมี ชี วิ ต อยู ่ ใ นโลกนี้ เป็นโอกาสให้ข้าพเจ้าท�ำงานได้ผลแล้ว ข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่าจะเลือกสิ่งใดดี (ฟป.1:22)

26


หลายครัง้ ทีเ่ ราท�ำกิจการใดใดก็ตาม เรามักหวังผลทีต่ ามมาว่าคูค่ วรแก่การลงทุน ลงแรงหรือไม่ กิจการของพระ ไม่ใช่กจิ การของมนุษย์ ไม่สามารถตีเป็นค่าราคา หรือความได้เปรียบเสียเปรียบได้ หากทุกกิจการทีเ่ ราเลือกกระท�ำลงไป เป็นเพียงเพือ่ การถวายเกียรติแด่พระเจ้า เพียงเพือ่ การมีชวี ติ อยูเ่ พือ่ รับใช้พระองค์ เราคงจะไม่ตอ้ งกระวนกระวาย แข่งขัน ดิน้ รน ไขว่คว้า เพือ่ ให้ได้มาซึง่ สนองความต้องการของตนเองเลย กิจการของพระเจ้า จึงเป็นกิจการทีแ่ ลดูตำ�่ ต้อย ไร้ราคาค่างวดใดใดทางโลก

ดังนี้แหละ คนกลุ่มสุดท้าย จะกลั บกลายเป็ นคนกลุ ่ มแรก และคนกลุ่มแรกจะกลับกลายเป็น คนกลุ่มสุดท้าย (มธ.20:16) หากกิจการ ใดใด ในโลกนี ้ ต้องดิน้ รน แก่งแย่ง แข่งขันกัน คงมิใช่ กิจการ แห่งความรัก กิจการ แห่งรัก กิจการใด

ต้องปัน้ สี เติมแสง แต่งสีสนั ต้องฝ่าฟัน เบียดเบียน เจียนขาดใจ ทีส ่ ลัก ด้วยเมตตา ข้าฯรับใช้ มิยงิ่ ใหญ่ เทียบเท่าได้ รับใช้องค์

โดย น�้ำผึ้งหวาน 27


วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ศรีราชา

ศูนย์สังฆมณฑลจันทบุรี

28


GAME ปริศนาอักษรไขว้ กติกา

ส�ำหรับผู้ตอบถูก จะได้รับของที่ระลึกจากหน่วยงานฯ เติมอักษรไขว้ทางด้านล่างให้สมบูรณ์ โดยอ่านค�ำใบ้ที่ก�ำหนดให้ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน น�ำมาเติม ในช่องตารางที่ก�ำหนดให้ ให้ถูกต้อง ในกรณีสระ ิ ี ึ ื ุ ู ่ ้ ๊ ๋ ็ ์ ให้เติมไปในช่องเดียวกับตัวอักษรได้เลย ส่วน ะ า ำ เ แ ไ ใ โ ให้แยกไปใส่อีกช่องหนึ่ง 2 7 8 1 4

3 5 6

คำ�ใบ้ แนวตัง้ 1. พระสงฆ์ใหม่ของสังฆมณฑล เป็นลูกวัด... 3. งานฉลองของศูนย์สังคมพัฒนาจะมีขึ้นในเดือน 5. นามนักบุญของคุณพ่อทรงวุฒิ 7. วันที่ 10 สิงหาคม ฉลองนักบุญ...

แนวนอน 2. ศูนย์สังคมพัฒนา จะฉลองครบกี่ปี 4. แขวงแรกที่รับพระธาตุนักบุญทั้ง 2 6. แขวงสุดท้ายที่รับพระธาตุนักบุญทั้ง 2 8. วันที่ 31 พฤษภาคม ระลึกถึงนักบุญ... 29


GAME ปริศนาอักษรไขว้

ชื่อที่อยู่ผู้น�ำส่ง ������������������������������������������������������������������������� ������������������������������������������������������������������������� �������������������������������������������������������������������������

แสตมป์ 3 บาท

กรุณาส่ง หน่วยงานสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี 21/3 หมู่ 1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

สี่ 7 5 ธ เ อ ว า สิ 4 ส ำ� เ ร็ จ บ ริ บู ร ณ์ แ ล้ ว ร โ ม ร ล 3 นิ ้ำ� ตุ ก ลึ ล า 6 ฉี ก ข า ด ปั ค 8 พ ร ะ ย า ส า ม อ ง ค์ ก า

สิ่งตีพิมพ์

1

30

เฉลย GAME ปริ ศ นาอั ก ษรไขว้ เล่มที่ 15 ปีที่ 26 เดือนเมษายน 2015


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ

31


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญยอแซฟ พนัสนิคม ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระรับสาร ตราด

32


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญยอแซฟกรรมกร ท่าใหม่

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่

33


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระที่พึ่งของปวงชน แหลมโขด

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระจิตเจ้า บ้านทัพ

34


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ขลุง

ฉลองครบรอบ 80 ปี บ้านเณพระหฤทัย ศรีราชา

35


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระหฤทัยฯ ศรีราชา ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดเซนต์ปอล แปดริ้ว

36


พิธีบวชพระสงฆ์ใหม่

คุณพ่อยอห์น ยศธร ทองเหลือง

37


ฉลอง 25 ปี ชีวิตสงฆ์

คุณพ่อเปาโล ทรงวุฒิ ประทีปสุขจิต

38


39



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.