สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล
Vol.17 ธันวาคม 2015 ปีที่
26
• ประกาศ
• พระบุตรองค์น้อย
ในรางหญ้า
• กิจเมตตา
ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม
• บทเพลง
เทศกาลคริสต์มาส
• Holy Family
ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม
ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์
พระทรงบังเกิดโลกจงยินดี Joy to The World
ปีที่ 26 ฉบับที่ 17 / ธันวาคม 2015
Contents
สารบัญ
สายใยจันท์
สาสน์พระสังฆราช .................................................................... 4 จากประตูแห่งความเชื่อ สู่ประตูศักดิ์สิทธิ์................................... 6 ประกาศปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม........................................... 8 กิจเมตตา ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม...................................... 12 ค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม...............................................14 เข้าใจให้ดี เรื่องพิธีกรรม.............................................................16 บทเพลง เทศกาลคริสต์มาส...................................................... 18 ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ Holy Family........................................... 20 พระบุตรองค์น้อยในรางหญ้า....................................................22 กฎหมายพระศาสนจักรน่ารู้..................................................... 24 วันวาร ล้วนมีความหมาย.......................................................... 26 ปริศนาอักษรไขว้.........................................................................27 ประมวลภาพกิจกรรม.................................................................29
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2
บรรณาธิการ Editor’s talk
สมณโองการ “พระพักตร์แห่งความเมตตา” ข้อที่ 2 พระสันตะปาปาฟรังซิส ได้เขียนว่า “เราจ�ำเป็นต้องไตร่ตรองอยูเ่ สมอถึงพระธรรมล�ำ้ ลึกแห่งเมตตาธรรม อันเป็น บ่อเกิดน�้ำพุแห่งความชืน่ ชมยินดี ความสงบและสันติ ความรอดของเราขึน้ อยูก่ บั สิ่งนี้ พระเมตตา : เป็นค�ำที่เผยให้เห็นถึงธรรมล�้ำลึกแห่งพระตรีเอกภาพ พระเมตตา : เป็นการกระท�ำที่มีความส�ำคัญสูงสุด ซึ่งพระเจ้าเสด็จมาพบเรา พระเมตตา : เป็นกฎพื้นฐานซึ่งอยู่ในจิตใจของมนุษย์ทุกคนที่มองด้วยความ จริงใจไปยังดวงตาของพี่น้องชายหญิง ซึ่งก�ำลังเดินทางไปตาม เส้นทางแห่งชีวิต พระเมตตา : เป็นสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างพระเป็นเจ้ากับมนุษย์ เป็นการ เปิดประตูแห่งหัวใจของเราสูค่ วามหวังทีจ่ ะได้รบั ความรักตลอดไป แม้ว่าเราจะเป็นคนบาปก็ตาม” พีน่ อ้ ง เราต้องขอบคุณ และสวดภาวนาให้กบั พระสันตะปาปาฟรังซิสมากมาก ที่ได้ประกาศ “ปีแห่งพระเมตตาธรรม” เพื่อเราทุกคนจะได้ฉลอง ได้สัมผัสกับพระ เมตตาของพระเป็นเจ้าเป็นพิเศษ และเป็นเวลาพิเศษของคริสตชนแต่ละคน จะท�ำให้ ความเชื่อของตนเองเข้มแข็ง เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ในโอกาส เดียวกันนี้ เราจะได้รับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์อีกด้วย สังฆมณฑลของเรา มีส่วนร่วมฉลองและเปิดปีศักดิ์สิทธ์แห่งเมตตาธรรมนี้ และมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่พี่น้องจะสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ ซึ่งทางสังฆมณฑลจะ เชิญชวนพี่น้องในโอกาสต่าง ๆ ต่อไป “สายใยจันท์” ฉบับนี้ขอส่งความสุขคริสต์มาสและปีใหม่มายังพี่น้องทุกท่าน
คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ
3
4
พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้า เมื่อเดือนตุลาคม ระหว่างวันที่ 4 – 25 มีการประชุมสมัชชาพระสังฆราชทั่วโลกที่วาติกัน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 14 ให้หัวข้อเรื่อง “กระแสเรียกและพันธกิจ ของครอบครัวในพระศาสนจักรและในโลกปัจจุบัน” พ่อได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ในนาม ประเทศไทย ในการประชุมได้พูดกันถึง สถานการณ์ของการแต่งงานและครอบครัวในยุคปัจจุบัน ซึ่ง ต่อเนือ่ งจากการประชุมปีทแี่ ล้ว โดยในปีนี้ บรรดาพระสังฆราชได้ทบทวนและตอกย�ำ้ ค�ำสอนของพระ ศาสนจักร ที่พูดถึงการแต่งงานและครอบครัวในแผนการของพระเจ้า (กระแสเรียก) และร่วมกันหา แนวทางการอภิบาลครอบครัว และสนับสนุนให้ครอบครัวได้กลับกลายเป็นผู้ประกาศข่าวดี(พันธกิจ) พ่อคาดหวังว่า ผลของการประชุมครัง้ นี้ จะน�ำสิง่ ดี ๆ มาสูพ่ ระศาสนจักรท้องถิน่ ของเรา แก่ครอบครัว ทั้งหลาย รวมถึงงานอภิบาลครอบครัวด้วย ดังทีไ่ ด้ทราบแล้วว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ประกาศปีศกั ดิส์ ทิ ธิเ์ ป็นกรณีพเิ ศษ โดย ใช้ชื่อว่า “ปีแห่งเมตตาธรรม” ซึ่งจะเริ่มวันที่ 8 ธันวาคม 2015 อันเป็นวันสมโภชพระนางมารีย์ผู้ ปฏิสนธินิรมล และครบ 50 ปี แห่งการปิดการประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 และจะสิ้นสุดวันที่ 20 พฤศจิกายน 2016 อันเป็นวันสมโภชพระเยซูเจ้าทรงเป็นกษัตริยแ์ ห่งสากลจักรวาล สังฆมณฑลใน ฐานะพระศาสนจักรท้องถิ่น จึงจัดพิธีเปิดปีศักดิ์สิทธิ์ในวันฉลองอาสนวิหารพระนางมารีอาฯ จันทบุรี วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม 2015 พระสันตะปาปาทรงต้องการให้พระศาสนจักรเป็นพระศาสนจักรแห่ง ความเมตตาอย่างแท้จริง “ความเมตตาเป็นรากฐานแห่งชีวิตของพระศาสนจักร พันธกิจอภิบาล ทุกอย่างของพระศาสนจักร ต้องเด่นด้วยความนุ่มนวลอ่อนหวานที่ต้องปฏิบัติต่อผู้มีความเชื่อ ทุกคน การเทศนาและการเป็นประจักษ์พยานต่อโลกจะขาดเสียมิได้ซึ่งความเมตตา ความน่า เชื่อถือของพระศาสนจักรอยู่ที่ว่า พระศาสนจักรแสดงออกซึ่งความรักที่เปี่ยมด้วยความเมตตา สงสารอย่างไร” (สมณโองการ “พระพักตร์แห่งความเมตตา” ข้อ 10) ช่วงเวลาแห่งปีศักดิ์สิทธิ์นี้ ขอเชิญชวนเราคริสตชนได้ตอบสนองต่อพระประสงค์ของพระ สันตะปาปา ให้เราได้เข้ามาหาองค์พระเจ้า พระผู้เมตตาของเรา เจริญชีวิตประจ�ำวันในพระเมตตา มีประสบการณ์แห่งพระเมตตา และแบ่งปันพระเมตตาของพระเจ้าแก่ผู้อื่น ขอพระนางมารีย์ องค์อุปถัมภ์ของสังฆมณฑลและพระมารดาแห่งความเมตตา โปรดให้เรา ด�ำเนินชีวติ ในเส้นทางแห่งพระเมตตาของพระเจ้า และเป็นเครือ่ งมือทีม่ ปี ระสิทธิภาพแห่งพระเมตตา ของพระองค์ด้วยเทอญ ขอให้เทศกาลพระคริสตสมภพซึ่งเป็นเทศกาลแห่งความชื่นชมยินดีน�ำพระพรแห่งความรัก และสันติสุขแก่พี่น้องทุกท่าน (พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี
5
จาก...ประตูแห่งความเชื่อ PORTA FIDEI (The Door of Faith) สู่...ประตูศัก ดิ์สิท ธิ์ to PORTA SANCTA (The Holy Door) (ตอนที่ 7) โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์
ความเดิมเมื่อตอนที่แล้ว น�ำเสนอเอกสารของพระศาสนจักร ที่เชิญคริสตชนถูกเรียกให้เป็น ผู้ศักดิ์สิทธิ์และน�ำเสนอการด�ำเนินชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ของคริสตชน พระเป็นเจ้าไม่ได้ปล่อยให้เขาต้อง ด�ำเนินชีวิตตามล�ำพัง ค้นหาวิธีการตามล�ำพัง แต่พระเยซูเจ้าได้ทรงส่งพระจิตเจ้าเข้ามาในตัวทุกคน เพื่อปลุกกระตุ้นภายในให้เขารักพระเป็นเจ้าด้วยสุดดวงใจ สุดวิญญาณ สุดความนึกคิด และสุดความ สามารถของเขา (เทียบ มก 12:30)
เหตุที่คริสตชนต้องได้รับความช่วยเหลือ จากพระเป็นเจ้าในการเป็น เมื่อเราเป็นประชากรของพระเป็นเจ้า เรา จ�ำเป็นต้องด�ำเนินชีวิตตามที่นักบุญเปาโลกล่าว “คริสตชนที่ศักดิ์สิทธิ์” ว่า “ข้าพเจ้าถูกตรึงกางเขนกับพระคริสตเจ้า อันดับแรกคือ ความสัมพันธ์ ระหว่างพระ เป็นเจ้ากับคริสตชน ในฐานะทีเ่ ราเป็นลูกของพระองค์ หนังสือฮีบรู บทที่ 8 ข้อที่ 10 เขียนว่า “นี่คือพันธ สัญญาทีเ่ ราจะท�ำกับตระกูลอิสราเอล ภายหลังวัน เหล่านัน้ พระเจ้าตรัส เราจะใส่บทบัญญัตขิ องเรา ในจิตใจของเขา เราจะจารึกไว้ในดวงใจของเขา และเราจะเป็นพระเจ้าของเขา และเขาจะเป็น ประชากรของเรา” 6
แล้ว ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ มิใช่ตัวข้าพเจ้าอีกต่อไป แต่พระคริสตเจ้าทรงด�ำรงชีวิตอยู่ในตัวข้าพเจ้า ชีวิตที่ข้าพเจ้าก�ำลังด�ำเนินอยู่ในร่างกายขณะนี้ ข้าพเจ้าด�ำเนินชีวิตในความเชื่อถึงพระบุตรของ พระเจ้าผู้ทรงรักข้าพเจ้าและทรงมอบพระองค์ เพื่อข้าพเจ้า” (กท 2:20) ดังนั้น เพื่อจะด�ำเนินชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับ พระเยซูเจ้าได้ คริสตชนจึงต้องได้รบั ความช่วยเหลือ จากพระเป็นเจ้า
อันดับที่สอง จากพระสมณสาสน์ของนักบุญพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 เรื่อง พระเมตตาของพระเป็นเจ้า (Dives in Misericordia)1 ในหัวข้อเรื่อง “แหล่ง ที่มาของความอึดอัดใจ” ท่านนักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ได้เขียนว่า “ภาพของโลก ปัจจุบัน อันเปี่ยมด้วยความเลวทราม ทั้งด้านกายและศีลธรรม จนท�ำให้โลกเราเป็น โลกทีเ่ ปีย่ มด้วยความขัดแย้ง แตกต่าง และความตึงเครียด ในขณะเดียวกัน ก็เปีย่ มไป ด้วยอันตรายต่อเสรีภาพของมนุษย์ ต่อมโนธรรม และต่อศาสนา ภาพนีท้ ำ� ให้เกิดความ ไม่สบายใจของมนุษย์ในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ผู้ไร้โอกาส และถูกข่มเหงเท่านั้น แม้แต่ผู้ ที่ได้สิทธิพิเศษเพราะความร�่ำรวย ความก้าวหน้า และอ�ำนาจ ก็รู้สึกไม่สบายใจ แม้จะ มีคนจ�ำนวนไม่นอ้ ยทีพ่ ยายามเข้าใจถึงสาเหตุของความไม่สบายใจนี้ หรือพยายามทีจ่ ะ เผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยเครื่องมือฝ่ายโลก อาศัยเทคโนโลยี ความร�่ำรวย และอ�ำนาจ แต่ลึกลงไปในจิตวิญญาณของมนุษย์ ความไม่สบายใจนี้รุนแรงมากกว่า สิ่งบ�ำบัดฝ่ายโลก ตามที่สภาสังคายนาวาติกันที่สอง ได้กล่าวไว้อย่างถูกต้องแล้วว่า ความไม่สบายใจนีเ้ กีย่ วโยงกับปัญหาขัน้ พืน้ ฐานของความเป็นอยูม่ วลมนุษย์ เป็นเรือ่ ง ทีเ่ กีย่ วโยงอย่างใกล้ชดิ กับความเป็นอยูข่ องมนุษย์ในโลก เป็นความไม่สบายใจส�ำหรับ อนาคตของมนุษย์ และมนุษยชาติทงั้ ปวง ซึง่ จ�ำเป็นทีจ่ ะต้องมีการแก้ปญ ั หาอย่างเด็ด ขาด ความเร่งด่วน.......” ท่านนักบุญยอห์น ปอลที่ 2 ให้ความเห็นว่า สถานการณ์ของมนุษย์ในปัจจุบัน มีความยากเกินกว่ามนุษย์จะช่วยเหลือ และเยียวยาตนเองให้เป็นคริสตชนทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ ได้ คริสตชนจึงจ�ำเป็นต้องได้รับความเมตตาจากพระเป็นเจ้า ซึ่งพระเมตตาของพระ เป็นเจ้าคือ คุณสมบัติและความครบบริบูรณ์อันสูงสุดของพระเป็นเจ้า พระเยซูเป็นผู้ เผยแสดงพระเมตตาของพระเป็นเจ้าให้ปรากฏและเป็นจริง พระศาสนจักรเองก็ได้ ร่วมมือกับพระเยซูเจ้าในการส�ำแดงพระเมตตาของพระเป็นเจ้านี้ ดังนั้น
“คริสตชนจะศักดิ์สิทธิ์” จำ�เป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ จากพระเป็นเจ้า
(อ่านต่อฉบับหน้า)
1พระเมตตาของพระเป็นเจ้า (Dives in Misericordia) แปลโดยพระคุณเจ้ายอด พิมพิสาร C.Ss.R. บทที่ 6 หัวข้อที่ 11 หน้า 59-62 7
ประกาศ ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม THE JUBILEE OF MERCY
(8 ธันวาคม 2015 - 20 พฤศจิกายน 2016)
พ่อตัดสินใจประกาศปีศกั ดิส์ ทิ ธิใ์ นวาระพิเศษ โดยมีพระเมตตาของพระเจ้าเป็นศูนย์กลาง นีจ่ ะเป็น “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิ์ แห่งเมตตาธรรม” พวกเราต้องด�ำเนินชีวิตในปีศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยแสงสว่างแห่งพระวาจาพระเจ้าที่ตรัสไว้ว่า “จงเป็นผู้ เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด” (ลก 6:36) วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2015 สมเด็จพระ สันตะปาปา ฟรังซิส ทรงเป็นประธานโปรดศีลอภัย บาปในงาน “24 ชั่วโมงเพื่อพระเจ้า” ภายในมหา วิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกนั ทัง้ นี้ พระองค์ทรง ประกาศให้ วันที่ 8 ธันวาคม 2015 - 20 พฤศจิกายน 2016 เป็น “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” (The Jubilee of Mercy) พระสันตะปาปาให้ข้อคิดในงานนี้ก่อนการ ประกาศ “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม” ว่า “พระเจ้า ทรงเปีย่ มด้วยความเมตตา พระเมตตาของพระเจ้า มีมากมายส�ำหรับทุกคนที่กลับมาหาพระองค์ด้วย ใจจริง ไม่มีใครที่ไม่ได้รับพระเมตตาจากพระเจ้า พระศาสนจักรเป็นบ้านที่ต้อนรับทุกคน ไม่มีผู้ใด ถูกปฏิเสธ ประตูของพระศาสนจักรเปิดรับทุกคนที่ ต้องการจะได้รบั การอภัยจากพระเจ้า ความรักยิง่ 8
ใหญ่กว่าบาปเสมอ และพระศาสนจักรต้องแสดง สิ่งนี้ต่อบรรดาผู้ที่กลับใจ” “พี่น้องที่รัก พ่อคิดอยู่เสมอว่า จะท�ำ อย่างไรให้พระศาสนจักรมีความชัดเจน ถึงการ เป็นประจักษ์พยานแห่งความเมตตา เป็นการ เดินทางที่เริ่มต้นด้วยการกลับใจฝ่ายจิต ด้วยเหตุ นี้ พ่อตัดสินใจประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ในวาระพิเศษ โดยมีพระเมตตาของพระเจ้าเป็นศูนย์กลาง นี่จะ เป็น “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” พวกเราต้อง ด�ำเนินชีวติ ในปีศกั ดิส์ ทิ ธิน์ ดี้ ว้ ยแสงสว่างแห่งพระ วาจาพระเจ้า ที่ตรัสไว้ว่า ‘จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่าน ทรงพระเมตตากรุณาเถิด’ (ลก 6:36)”
สมณโองการ MISERICORDIAE VULTUS (พระพักตร์แห่งความเมตตา)
2
2. จงจาริกแสวงบุญประดุจแรงขับเคลื่อน ให้กลับใจ พระสันตะปาปาทรงย�้ำว่า หลังการประกาศ “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่เมตตาธรรม” ได้ไม่นาน สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงออก สมณโองการ “MISERICORDIAE VULTUS” (พระพักตร์แห่งความเมตตา) ตามมาในวันเสาร์ที่ 11 เมษายน ก่อนวันอาทิตย์ฉลองพระเมตตา มีเนื้อหา ทั้งหมด 28 หน้า 25 ข้อ และได้รับการประกาศจาก สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ณ ประตูศักดิ์สิทธิ์ ของมหาวิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน สรุปโดย ยึดหัวข้อหลัก 3 ประการ คือ
1
1. พระเมตตาของพระเจ้า บทบาทของ ความเมตตาในชีวิตประชากรและพระศาสนจักร จะ ต้องเป็นประจักษ์พยานต่อพระเมตตาของพระเจ้าใน โลกนี้ ความเมตตาคือพืน้ ฐานของชีวติ พระศาสนจักร ความน่าเชือ่ ถือของพระศาสนจักรได้รบั การมองเห็น ผ่านทางการแสดงออกถึงความรักทีเ่ มตตา และร่วม เป็นหนึ่งเดียวกับผู้อื่น คติพจน์ของ “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” ก็คือ “จงเปี่ยมด้วยความเมตตา เหมือนพระบิดาผู้ทรงเมตตา ที่ใดก็ตามที่มีคริสตชน ทุกคนที่อยู่ที่นั่น ควรจะได้พบกับความมั่งคั่งของเมตตาธรรม”
“จงอย่าตัดสินหรือประณามคนอื่น แต่จงให้อภัยและเป็นผู้ให้ จงหลีกเลี่ยงการนินทา อิจฉาและริษยา แต่จงมีหัวใจที่เปิดรับทุกคน และน�ำการปลอบโยนไปมอบให้ผู้อื่น จงมีเมตตาและร่วมเป็นหนึ่งเดียว กับคนที่ด�ำเนินชีวิตอยู่ในภัยอันตราย” พระสันตะปาปายังกล่าวถึงบรรดาพระสงฆ์ ผู้โปรดศีลอภัยบาปว่า “จงท�ำตนให้เป็นเครื่องหมาย ถึงความเมตตาของพระบิดา”
3
3. พระสันตะปาปาทรงเรียกร้องความยุตธิ รรม และการกลับใจจากพวกองค์กรอาชญากรรม ทีม่ สี ว่ น พัวพันกับการคดโกงและท�ำผิดกฎหมาย พระองค์ทรง หวังว่า พวกเขาจะเปลีย่ นแปลงชีวติ และกลับใจไปหา พระเมตตาของพระเจ้า เพือ่ เป็นเครือ่ งหมายของความเป็นหนึง่ เดียวกัน กับพระศาสนจักรทัว่ โลก พระสันตะปาปาทรงขอร้องให้ ทุกสังฆมณฑล เปิด “ประตูแห่งความเมตตาธรรม” (Door of Mercy) ส�ำหรับการเฉลิมฉลองปีศกั ดิส์ ทิ ธิ์ นี้ภายในสังฆมณฑลของตนด้วย 9
สมณลิขิต “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” ด้วย “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” นี้ให้ โอกาสแห่งการนิรโทษกรรมอันยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ผู้ที่มีความปรารถนาอย่างจริงใจที่จะกลับ เข้าสู่สังคม และหันมาประพฤติตัวอย่างดี ต้องการได้ รับการอภัยจากพระองค์อย่างที่สุด...
วันอังคารที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2015 สมเด็จ พระสันตะปาปา ฟรังซิส ได้มีสมณลิขิตประกาศเพิ่ม เติมเกีย่ วกับ “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม” เป็นการ แจ้งถึงประเด็นส�ำคัญต่าง ๆ รวมถึงแนวทางปฏิบตั ทิ ี่ จะถูกน�ำมาใช้ตลอด “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม” ทัง้ นี้ เพือ่ ช่วยให้ทกุ คนเข้าใจและสามารถด�ำเนินชีวติ ด้วยความเชื่อที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้
1.
สามารถรับพระคุณการุณย์ได้ในเรือนจ�ำ นอกจากมหาวิหารเอกทั้งสี่ของกรุงโรม หรือที่อาสนวิหารของสังฆมณฑล
พระสันตะปาปาทรงให้ความส�ำคัญกับผูต้ อ้ ง ขังทุกคน แม้พวกเขาสมควรที่ต้องถูกจ�ำกัดเสรีภาพ ก็ตาม แต่ด้วย “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” นี้ให้ โอกาสแห่งการนิรโทษกรรมอันยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ผูท้ มี่ คี วามปรารถนาอย่างจริงใจทีจ่ ะกลับเข้า สู่สังคม และหันมาประพฤติตัวอย่างดี ต้องการได้รบั การอภัยจากพระองค์อย่างทีส่ ดุ พวกเขาก็สามารถที่ จะได้รับพระคุณการุณย์นี้ในสถานที่คุมขังได้ 10
ให้อ�ำนาจแก่พระสงฆ์ทุกคนในการยกโทษบาป กับผู้ที่ท�ำแท้งและผู้เกี่ยวข้องกับการท�ำแท้ง ภายใต้เงื่อนไขว่า เขาต้องเป็นทุกข์ถึงบาปและส�ำนึกผิด
2.
พระสันตะปาปาทรงย�ำ้ ว่า “การให้อภัยของ พระเจ้าไม่สามารถถูกปฏิเสธให้กบั คนทีส่ ำ� นึกผิดและ เป็นทุกข์ถึงบาป เฉพาะอย่างยิ่งคนที่เข้าไปรับศีล อภัยบาปด้วยความจริงใจอย่างแท้จริง” ทั้งนี้ เพื่อ ให้การเฉลิมฉลอง “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม” นี้ จะเป็นช่วงเวลาทีค่ ริสตชนทุกคนได้มโี อกาสใกล้ชดิ กับ พระบิดาเจ้าผู้ทรงมีพระทัยเมตตา
3.
มอบอ�ำนาจในการฟังแก้บาป ให้กับพระสงฆ์คณะนักบุญปีโอที่ 10 ตลอดช่วงปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการคืนดีอย่าง แท้จริง “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” จะไม่มีการ แบ่งแยกหรือกีดกันใครทัง้ นัน้ ด้วยเหตุนี้ ใครทีร่ บั ศีล อภัยบาปจากพระสงฆ์คณะนักบุญปีโอที่ 10 ก็ถือว่า ศีลอภัยบาปนั้นได้รับการโปรดบาปโดยสมบูรณ์
ตราสัญลักษณ์ “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม”
สัญลักษณ์และค�ำขวัญนีเ้ ป็นการสรุปทุกอย่างของ ปีศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด ค�ำขวัญ “จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่ พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด” นัน่ เป็นค�ำเชือ้ เชิญให้เราท�ำตามตัวอย่างความเมตตาของพระบิดาเจ้าผู้ทรง เรียกร้องเรามิให้ตัดสินหรือกล่าวโทษผู้ใด มีแต่เพียงการให้อภัย และความรักโดยไม่สิ้นสุด (เทียบ ลก 6:37-38)
สั
ญลักษณ์นี้ เป็นผลงานของบาทหลวงเยสุอิต ชื่อ Marko I. Rupnik ที่แสดงถึงข้อสรุปสั้น ๆ ของพระเมตตาธรรม ภาพนี้จริง ๆ แล้วเป็นตัวแทน ถึงสัญลักษณ์ในพระศาสนจักรยุคต้น ๆ ที่ส�ำคัญมาก โดยภาพบุตรที่ถูกแบกอยู่บนบ่านั้น แสดงถึงความ รักของพระคริสตเจ้า ที่ทรงน�ำวิญญาณที่สูญเสียไป นั้น กลับสู่ความครบถ้วนบริบูรณ์ โดยอาศัยธรรม ล�้ำลึกแห่งการไถ่กู้มนุษย์ให้รอดพ้นโดยการบังเกิด มาของพระองค์
สั
ญลักษณ์นไี้ ด้รบั การออกแบบเพือ่ แสดงให้เห็นถึง แนวทางทีล่ กึ ซึง้ ซึง่ นายชุมพาทีด่ ี ได้สมั ผัสถึงเนือ้ แท้ของความเป็นมนุษย์และกระท�ำเช่นนีก้ ด็ ว้ ยความ รัก ซึง่ มีพลังทีจ่ ะเปลีย่ นแปลงชีวติ ของคน ๆ หนึง่ อีก จุดหนึง่ ทีน่ า่ สนใจ คือ นายชุมพาทีม่ ารับสภาพมนุษย์ ด้วยความเมตตาอันยิ่งใหญ่นั้น นัยน์ตาดวงหนึ่งของ ท่านก็ได้รวมเป็นหนึง่ เดียวกับนัยน์ตาของมนุษย์ดว้ ย
นั่นคือ พระเยซูเจ้าทรงทอดพระเนตร ด้วยนัยน์ตา ของอาดัม และมองเห็นด้วยพระเนตรของพระคริสตเจ้า ทุก ๆ คนที่ค้นพบพระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นอาดัม ใหม่นใี้ นการมองถึงความเป็นมนุษย์ และอนาคตของ เขาทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหน้านัน้ เขาจะคิดค�ำนึงถึงความรักของ พระบิดาเจ้าด้วย อนึ่ง ภาพนี้อยู่ในรูปทรงที่เรียกว่า มานดอร์ลา (ภาษาอิตาเลียนหมายถึงเมล็ดอัลมอนด์) ซึ่งเป็นรูปทรงที่ค่อนข้างมีความส�ำคัญในศิลปะทาง ศาสนาในยุคต้นและยุคกลาง โดยที่รูปทรงนี้ท�ำให้ เราระลึกถึง ธรรมชาติทั้งสองของพระคริสตเจ้า คือ ธรรมชาติพระเจ้า และธรรมชาติมนุษย์ สีพื้นหลังที่ ค่อย ๆ จางลงสามระดับนั้น แสดงถึงการที่เรามุ่ง ออกไปด้านนอก ดังเช่นกิจการของพระคริสตเจ้าที่ ทรงน�ำมนุษยชาติให้หลุดพ้นจากราตรีกาลแห่งบาป และความตาย หรือที่พูดอีกอย่างหนึ่งว่า พื้นสีที่เข้ม นั้นหมายถึง การไม่ยอมรับความรักของพระบิดาเจ้า ที่พร้อมที่จะให้อภัยบาปผิดทั้งมวลแก่ทุกคน 11
กิจเมตตา “ปีศก ั ดิส ์ ท ิ ธิแ ์ ห่งเมตตาธรรม” โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์
คริสตชนมิได้เพียงแต่รับและสัมผัสกับพระเมตตาของพระเป็นเจ้าเท่านั้น แต่พระองค์ยังทรงเรียกให้มนุษย์น�ำเอา “ความเมตตาไปปฏิบัติ” ต่อผู้อื่นด้วย “ผู้ใดส�ำแดงความเมตตาต่อผู้อื่น ก็เป็นสุข เพราะเขาจะได้รับพระเมตตา” (มธ 5:7) พระเยซูเจ้าเองทรงสรุปกิจเมตตาที่เราควรปฏิบัติไว้ใน มัทธิว 25:34-40 โดยพระองค์ทรงตรัสว่า “สิ่งที่ท่านปฏิบัติต่อผู้ทีต�่ำต้อยที่สุด ท่านได้ปฏิบัติต่อ พระองค์” สมณโองการ “พระพักตร์แห่งความเมตตาธรรม” พระสันตะปาปาฟรังซิส ได้อา้ งอิงพระวาจาของพระเป็นเจ้า ตอนทีพ่ ระเยซูเจ้าในศาลาธรรมและได้อา่ นพระ คัมภีรข์ องประกาศกอิสยาห์วา่ “พระจิตของพระเจ้าทรงอยูเ่ หนือข้าพเจ้า เพราะ พระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไป ประกาศการปลดปล่อยแก่ผถู้ กู จองจ�ำ คืนสายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ ถูกกดขีใ่ ห้เป็นอิสระ ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้า” (ลก 4:18 -19) พ่ออยากจะยกตัวอย่าง ตามพระวาจาและสมณโองการของพระสันตะปาปา “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม” เราสามารถท�ำอะไรได้บา้ งทีเ่ ป็นการบ่งบอกว่า เรา น�ำพระเมตตาไปสู่ผู้อื่นเช่น 12
ให้อาหารแก่ผู้ที่หิวโหย • โอกาสพิเศษ เราท�ำอาหารเลี้ยงคนยากจนที่ รอบข้างตัวเรา บ้านเด็กก�ำพร้า • ดูแลเอาใจใส่ อาหารการกินผูส้ งู อายุในครอบครัว ของเราหรือเตรียมอาหารและน�ำไปให้กบั คนที่ เจ็บป่วยที่พักอยู่ที่บ้าน • พาเพื่อนที่มีความขัดสนไปทานอาหารเที่ยง • ร่วมบริจาคให้กับองค์กรคาทอลิกเพื่อการช่วย เหลือด้านอาหาร • ช่วยงานบริการในกิจกรรมครัวสาธารณะเพื่อ งานการกุศลต่างๆ • ให้เครื่องดื่มแก่ผู้ที่กระหาย • น�ำน�ำ้ ดืม่ ไปให้กบั ผูท้ ใี่ ช้แรงงาน และผูใ้ ห้บริการ กลางแจ้ง เช่น ต�ำรวจจราจร คนงานกวาดถนน
เยี่ยมเยียนคนป่วย • ส่งดอกไม้หรือการ์ดอวยพรให้กับผู้ป่วยในโรง พยาบาลที่ท่านรู้จัก • จัดกิจกรรมออกเยีย่ มผูป้ ว่ ยในสถานทีต่ า่ งๆหรือ ในเขตวัดของท่าน • ช่วยพระสงฆ์แจกศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่อยู่ใน ชุมชน • ช่วยสนับสนุนงานองค์กรคาทอลิกเพื่อผู้สูง อายุและเด็ก • เยี่ยมเยียนผู้ถูกคุมขัง • เยีย่ มเยียนให้ความช่วยเหลือแก่ผตู้ อ้ งขังทีไ่ ม่มี ใครเยี่ยมเยียนและช่วยเหลืองานอภิบาลผู้ถูก คุมขังของพระศาสนจักร ฝังศพผู้ตาย
ให้เสื้อผ้าแก่ผู้ที่เปลือยเปล่า • เลือกเสื้อผ้าที่ท่านไม่ได้ใช้ออกจากตู้เสื้อผ้า ของท่านและบริจาคเสื้อผ้าให้กับหน่วยงาน องค์กรสาธารณกุศล เพื่อแจกจ่ายให้กับกลุ่ม คนที่ขาดแคลน • ปัก ถัก เย็บ ซ่อมแซมผ้าห่มทีช่ ำ� รุด และบริจาค ให้กับศูนย์สงเคราะห์ต่าง ๆ • ให้ที่พักกับผู้ที่ขาดที่พักพิง • ช่วยสนับสนุน สมทบทุนการก่อสร้างบ้านพัก ของศูนย์สงเคราะห์ • ช่วยงานการพัฒนาองค์กรจัดหาทุนส�ำหรับ ครอบครัว • สนับสนุนบ้านพักคนชรา และเด็กก�ำพร้า • บริจาคหรือเป็นอาสาสมัครในโครงการที่ช่วย เหลือคนจรจัด และผู้ไม่มีที่พักจากภัยพิบัติ
• ร่วมพิธีปลงศพที่อยู่ในชุมชนของท่าน แม้ท่าน จะไม่รู้จักเขาก็ตามที • แวะเยี่ยมสุสานและภาวนาเพื่อผู้ตาย • ภาวนาให้กับเด็กที่เสียชีวิตจากการท�ำแท้ง นีค่ อื ตัวอย่างกิจเมตตาธรรมภายนอก ทีเ่ รา สามารถปฏิบัติใน “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” ยังมีกิจเมตตาธรรมอีกมากมาย ที่เราสามารถท�ำได้ นอกเหนือจากตัวอย่างเหล่านี้.......
สิ่งที่ท่านปฏิบัติต่อผู้ที่ต�่ำต้อยที่สุด ท่านได้ปฏิบัติต่อพระองค์
13
ค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี
สวัสดีครับพี่น้องสายใยจันท์ทุกท่าน พบกันอีกเช่นเคย กับเรื่องราวชีวิตและประสบการณ์ของพระ ศาสนจักรในด้านสังคม ในปีนี้ พระศาสนจักรโดยองค์พระสันตะปาปาฟรังซิส ประกาศให้เป็น “ปีศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมตตาธรรม” จึงอยากเชิญชวนให้พี่น้องได้ไตร่ตรองถึงการมีความรักและเมตตาธรรมในสังคม
คริสตชนกับการมีความรัก าทรงเป็นความรัก” (DEUS CARITAS EST) และเมตตาธรรมในสังคม “พระเจ้ ว่า “เป็นธรรมชาติลำ�้ ลึกทีส่ ดุ ของพระศาสนจักร” ความรักของพระเจ้าแก่นแท้แห่งชีวิตคริสตชน พี่น้องที่รัก ต้นก�ำเนิดของชีวิตและความ เชื่อคริสตชนมาจากการเป็นหนึ่งเดียวในความรัก ขององค์พระเจ้า ดังที่ท่านนักบุญยอห์น ได้กล่าว ไว้ในจดหมายของท่านว่า “ท่านที่รักทั้งหลาย เรา จงรักกัน เพราะความรักมาจากพระเจ้าและทุก คนที่มีความรัก ย่อมบังเกิดจากพระเจ้า และรู้จัก พระองค์” (1ยน 4:7) ความเป็นหนึง่ เดียวกันในความ รักขององค์พระเจ้านี้ เป็นภาพลักษณ์ในชีวติ คริสตชน เป็นความเป็นหนึง่ เดียวทีค่ ริสตชนควรให้ความส�ำคัญ และร�ำพึงไตร่ตรองเสมอในชีวิต ความรักดังกล่าวได้รับการยืนยันและถูก ถ่ายทอดมาสูเ่ ราอย่างชัดเจน โดยองค์พระสันตะปาปา กิตติคณ ุ เบเนดิกต์ที่ 16 ได้กล่าวไว้ในพระสมณสาสน์
14
“ผูไ้ ม่มคี วามรัก ย่อมไม่รจู้ กั พระเจ้า เพราะพระเจ้า ทรงเป็นความรัก ความรักของพระเจ้าปรากฏให้ เราเห็นดังนี้คือ พระเจ้าทรงส่งพระบุตรพระองค์ เดียวมาในโลก เพื่อเราจะได้มีชีวิตโดยทางพระ บุตรนั้น ความรักอยู่ที่ว่าพระเจ้าทรงรักเรา และ ทรงส่งพระบุตรของพระองค์มาเพื่อชดเชยบาป ของเรา มิใช่อยู่ที่เรารักพระเจ้า” (1 ยน 4:8-10) แบบอย่างความรักที่องค์พระเจ้าทรงแสดง ให้เราเห็นนัน้ เป็นแบบอย่างทีส่ มบูรณ์ทสี่ ดุ พระองค์ ทรงรักมนุษย์ และทรงแสดงความรักนัน้ ออกมาด้วย กิจการทีส่ งู สุด นัน่ คือ มอบสิง่ ทีพ่ ระองค์รกั ทีส่ ดุ (องค์ พระบุตร) เพือ่ ช่วยเหลือบรรดาบุตรของพระองค์ เป็น กิจการแห่งพระเมตตาธรรมที่พระองค์ทรงแสดงให้ เราผูเ้ ป็นบุตรได้เห็น เป็นการช่วยให้รอดพ้นจากบาป และเป็นการคืนศักดิศ์ รีแห่งการเป็นบุตรของพระองค์ ที่เสียไปอันเนื่องมาจากบาปอีกครั้ง
องค์สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ พระองค์ ทรงเน้นย�้ำด้วยประสบการณ์และชีวิตของพระองค์ ท่าน พระองค์ได้กลัน่ กรองออกมาในพระสมณสาสน์ นี้ โดยชี้ให้เห็นถึงความจริงที่แสดงออกมาในหน้าที่ ความรับผิดชอบ 3 ประการด้วยกัน คือ 1. การประกาศข่าวดี : ชีวิตคริสตชนเป็นการ ประกาศความรักขององค์พระเจ้า 2. การเฉลิมฉลองศีลศักดิ์สิทธิ์ : ชีวิตคริสตชน เฉลิมฉลองความรักขององค์พระเจ้าในบูชา นิรันดร์ของพระคริสตเจ้า 3. การประกอบกิจเมตตาธรรม : กิจการที่มีต้น ก�ำเนิดมาจากความรักขององค์พระเจ้า หน้าทีท่ งั้ 3 อย่างนี้ เอือ้ กันและกัน และไม่อาจ แยกจากกันได้ ในที่นี่ขอเน้นย�้ำในเรื่องการประกอบ กิจการแห่งเมตตาธรรมส�ำหรับพระศาสนจักร งานกิจ เมตตาเป็นส่วนหนึง่ แห่งธรรมชาติของพระศาสนจักร เป็นการแสดงออกที่ขาดเสียมิได้ งานกิจเมตตาหรือ พันธกิจรัก รับใช้ จึงเป็นธรรมชาติของพระศาสนจักร ที่ละเลยไม่ได้ นักบุญออกัสตินกล่าวว่า “หากท่าน เห็นกิจเมตตา ท่านก็เห็นพระเจ้า” คริสตชนกับงานเมตตาธรรม พีน่ อ้ งทีร่ กั เมือ่ ธรรมชาติของพระศาสนจักร คือ ธรรมชาติแห่งความรัก ซึ่งเป็นธรรมชาติของ คริสตชน เป็นธรรมชาติที่ต้องมีกิจการติดตามมา จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าคริสตชนต้องมุ่งปฏิบัติความรัก ด้วยกิจการ พระสันตะปาปาเน้นย�้ำว่า “ความรัก ต่อเพื่อนมนุษย์อันมีพื้นฐานมาจากความรักของ พระเจ้านั้น เป็นความรับผิดชอบของสมาชิกของ พระศาสนจักรในทุกระดับชั้น” (DS ข้อ 20) และ
กิจการแห่งความรักและเมตตาธรรมที่ได้ปฏิบัติออก มาในชีวิตนี่แหล่ะจะท�ำให้คริสตชนมีความเป็นหนึ่ง เดียวกับองค์พระเจ้าอย่างบริบูรณ์ พระศาสนจักรในโลกปัจจุบันได้รับชีวิตและ การน�ำโดยองค์พระจิตเจ้า พระองค์ทรงเป็นพลังให้ กับคริสตชนเพื่อจะได้เป็นประจักษ์พยานต่อโลกใน ความรักของพระบิดา กิจเมตตาธรรมทัง้ ปวงของพระ ศาสนจักรเป็นการแสดงออกถึงความรักที่แสวงหา ความดีส่วนรวมของมนุษย์ (DS ข้อ 19) พระสันตะ ปาปาฟรังซิสก็ทรงเน้นย�้ำเช่นกันว่า การด�ำเนินชีวิต และการประกาศข่าวดี เป็นองค์พระจิตเจ้าทรงน�ำ (EV ข้อ 259) เป็นชีวิตที่เปี่ยมไปด้วยพลัง พระศาสนจักรในปัจจุบันเรียกร้องคริสตชน ให้มอบความรัก ดูแลเอาใจใส่เพื่อนพี่น้อง คืนความ เป็นอิสระและศักดิ์ศรีแก่เพื่อนพี่น้อง ให้พวกเขา ทั้งหลายได้พบกับความรักและพระเมตตาขององค์ พระเจ้า ให้พวกเขาได้พบกับชีวติ ทีเ่ ป็นสุขและมีอสิ ระ อย่างแท้จริงในชีวิต พี่น้องที่รัก ขอให้ชีวิตของเราฉายแสงแห่ง ความรักด้วยกิจการแห่งเมตตาธรรมแด่พี่น้องที่อยู่ รอบข้างเราเสมอ เพราะเป็นองค์พระคริสตเจ้าพระ อาจารย์ของเราที่พระองค์เป็นแบบอย่างที่สูงสุด จากชีวิตแบบอย่างของพระองค์น�ำพาความรอดพ้น และพระสัญญาของพระเจ้ามาสู่เรา จึงขอให้เรา น�ำพาความรอดพ้น และพระสัญญาของพระเจ้าไป สู่พี่น้องเช่นกัน
หากท่านเห็นกิจเมตตา ท่านก็เห็นพระเจ้า
15
เข้าใจให้ดีเรื่อง
พิธีกรรม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี
สมโภชนักบุญทั้งหลายกับการเฉลิมฉลองธรรมล�้ำลึกปัสกาของพระคริสตเจ้า สวัสดีครับพี่น้องสายใยจันท์ที่รัก พบกัน อีกเช่นเคย กับการไตร่ตรองชีวิตความศักดิ์สิทธิ์ใน พิธกี รรมของพระศาสนจักร ทุกครัง้ ทีเ่ ราคริสตชนได้ เรียนรู้และไตร่ตรองชีวิต เมื่อร่วมพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ จะท�ำให้เข้าใจถึงแก่นแท้แห่งความศักดิส์ ทิ ธิข์ ององค์ พระเจ้า พิธกี รรมต่าง ๆ จะช่วยน�ำพาความศักดิส์ ทิ ธิ์ มาสู่ชีวิตของเรา เพราะเป็นองค์พระคริสตเจ้าเอง ที่ทรงประทับอยู่ในพิธีกรรมของพระศาสนจักรที่ ประกอบขึ้นเสมอ ในเดือนพฤศจิกายน พระศาสนจักรท�ำการ สมโภชนักบุญทั้งหลาย(หรือบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์) และ เชิญชวนให้คริสตชนเฉลิมฉลองความศักดิส์ ทิ ธิข์ องผู้ ทีด่ ำ� เนินชีวติ ใกล้ชดิ องค์พระเจ้า เราจะเห็นว่าการให้ เกียรติบรรดาผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิเ์ หล่านี้ ได้มจี ดุ เริม่ ต้นตัง้ แต่ กลุ่มคริสตชนสมัยแรก บรรดาคริสตชนยุคแรกในสมัยอัครสาวกถูก ฝังพร้อมกับการสรรเสริญ และการเป็นพยานแห่ง ความเชื่อ มีบันทึกไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก ถึง สเตเฟนว่า “ผูม้ ใี จศรัทธาบางคน น�ำศพสเตเฟนไป ฝังและร�ำ่ ไห้คร�ำ่ ครวญถึงเขาอย่างมาก” (กจ 8:2) 16
นักบุญอิกญาซีโอ กล่าวว่า “เป็นความงดงาม ส�ำหรับข้าพเจ้าทีต่ ายในองค์พระคริสตเจ้า พระองค์ ผู้ทรงครองราชย์จนสุดปลายแผ่นดิน ข้าพเจ้า แสวงหาพระผูท้ รงตายเพือ่ เรา ข้าพเจ้าปรารถนา พระองค์ผทู้ รงกลับคืนชีพเพือ่ เรา การเกิดใหม่ของ ข้าพเจ้าใกล้มาถึงแล้ว” 1 พี่น้องที่รัก ชีวิตแห่งความเชื่อและความคิด ของเราคริสตชนมีพนื้ ฐานมาจาก “การด�ำรงชีวติ อยู่ ในองค์พระคริสตเจ้า” ดังทีน่ กั บุญเปาโลได้กล่าวไว้ “...เพราะไม่มพี วกเราคนใดทีม่ ชี วี ติ เพือ่ ตนเอง และ ไม่มผี ใู้ ดตายเพือ่ ตนเองเช่นเดียวกัน ถ้าเรามีชวี ติ อยู่ ก็มีชีวิตอยู่เพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า ถ้าเราตาย เราก็ตายเพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า...” (รม 14:7-8) ดังนั้น จากถ้อยค�ำดังกล่าวข้างต้น การ เฉลิมฉลองธรรมล�้ำลึกแห่งปัสกาของพระเยซูเจ้า จึงกลายเป็นพื้นฐานความเชื่อ ความคิดและการ ด�ำเนินชีวติ คริสตชนของเรา การเฉลิมฉลองบรรดาผู้ ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเครื่องหมายการท�ำให้ธรรมล�้ำลึกของ พระคริสตเจ้าสมบูรณ์ไป การเฉลิมฉลองนีอ้ ยูบ่ นพืน้ ฐานแห่งความสัมพันธ์ในความศักดิ์สิทธิ์
ในสังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ยืนยันถึงเรื่องนี้ว่า “พระศาสนจักรประกาศพระ ธรรมล�้ำลึกปัสกาในผู้ศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ ซึ่งได้ร่วม รับทรมานและร่วมพระสิรริ งุ่ โรจน์กบั พระคริสตเจ้า พระศาสนจักรเสนอแบบฉบับของท่านเหล่านี้แก่ บรรดาผู้มีความเชื่อ เพื่อดึงดูดทุกคนไปพบพระ บิดาเจ้าโดยทางพระคริสตเจ้า พระศาสนจักรยัง วอนขอพระพรจากพระเจ้า อาศัยบุญกุศลของ ท่านเหล่านี้ด้วย” (SC 104) เราจะเห็นได้วา่ ทุกพิธกี รรมของพระศาสนจักร มุง่ เน้นการเฉลิมฉลองความจริงเดียวสูงสุดคือ “ธรรม ล�้ำลึกแห่งปัสกาขององค์พระคริสตเจ้า”
1
สิ่งที่ส�ำคัญที่สุดส�ำหรับการสมโภชนักบุญ คือ ความสัมพันธ์กับธรรมล�้ำลึกแห่งปัสกาขององค์ พระคริสตเจ้า เป็นการเฉลิมฉลองการท�ำให้ธรรม ล�้ำลึกของพระคริสตเจ้าสมบูรณ์ในชีวิตของพวกเขา หากเราคริสตชนเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วว่า บรรดานักบุญด�ำเนินชีวติ เพือ่ องค์พระคริสตเจ้า พวก เราจะท�ำการสมโภชนักบุญทัง้ หลายด้วยความศรัทธา ความชื่นชมยินดี และด�ำเนินชีวิตละม้ายคล้ายกับ บรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เพื่อถวายเกียรติแด่องค์ พระผู้เป็นเจ้าตลอดไปในชีวิตของเรา .............................................
IGNAZIO DI ANTIOCHIA, Ai Romani 6, 1: A. QUACQURELLI (ed.), I Padri Apostolici, cit., 124. 17
บทเพลง เทศกาลคริสต์มาส โดย บ. พานุพันธ์
อีกไม่กี่วัน หลังฝนจางหายย่างเข้าเดือนธันวาคม เสียงเพลงรื่นเริงครื้นเครงสนุกสนาน ตามถนน หนทาง ห้างร้าน ส�ำนักงาน โบสถ์ บ้าน วัด โรงเรียน ก็เริ่มดังกระหึ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นสัญญาณว่า เทศกาลคริสต์มาสก�ำลังเวียนมาถึงอีกวาระหนึ่ง ทุกแห่งที่ย่างก้าวไป เมื่อสัมผัสเสียงเพลง คริสต์มาสที่เร้าใจ ไม่ว่าจะเป็นเพลงร้องตามโบสถ์ ตามบ้าน หรือตามห้างสรรพสินค้า จิตใจเราก็พลอย ชื่นบาน ร่าเริง คึกคัก มีความสุข สนุกสนาน ไปกับ เทศกาลคริสต์มาสอันยิง่ ใหญ่ทกี่ ำ� ลังจะมาถึงโดยไม่รู้ ตัว เพลง Christmas Carol เหล่านี้ แต่งขึน้ มาก็เพือ่ จุดประสงค์ดังกล่าว แต่ที่แตกต่างกันอย่างส�ำคัญก็ คือ จุดมุ่งหมายในการน�ำไปใช้ ซึ่งอาจจ�ำแนกออก เป็น 3 ประเภทดังนี้ คือ 1. เพลงคริสต์มาสเพือ่ ประกอบกิจกรรมรืน่ เริง เช่น การเต้นร�ำ ร้องร�ำท�ำเพลงเป็นหมู่ เพื่อ ความสนุกสนาน ตามหมู่บ้าน ชุมชน หรือเป็น เพลงประกอบการแสดงละครในยุคก่อน ๆ แม้ จะมีเนื้อความเกี่ยวกับพระกุมารบังเกิด แต่ก็ มิได้มจี ดุ มุง่ หมายทางศาสนาหรือใช้ในพิธกี รรม แต่อย่างใด ส่วนใหญ่จะเน้นด้านการบันเทิง สนุกสนานมากกว่า
2. เพลงคริสต์มาสที่เป็นเพลงศาสนา บ�ำรุงจิต วิญญาณมนุษย์ สรรเสริญบูชาพระเจ้า ซึ่งน�ำ มาใช้ในกิจกรรมทางศาสนาหรือพิธกี รรมในวัด เช่นเพลง “Silent Night”, “O Holy night” และเพลง “Joy to the world” เป็นต้น ซึง่ ใน หลาย ๆ เพลงเหล่านี้ เราน�ำมาใส่เนือ้ ร้องภาษา ไทย และร้องกันตามวัดในเทศกาลคริสต์มาส 3. เพลงคริสต์มาสที่เป็นเพลงประเภท Pop song หรือ Folk song หรือเพลงตามยุคสมัย ปัจจุบันของเรา ที่พูดถึงบรรยากาศคริสต์มาส หิมะ แสงสีเสียง ความสนุกสนานรืน่ เริง ความ รัก ความสมหวัง ความผิดหวัง ตามแบบเพลง ร่วมสมัยทั่วไป เพลงประเภทนี้มีมาก เช่น “Jingle Bell”, “White Christmas”, “Here comes Santa Claus”, “Last Christmas”, “Mary’s Boy Child”, “My Little Drum” และอื่น ๆ อีกมากมาย
โอกาสนี้ ขอแนะน�ำให้รู้จักบทเพลงคริสต์มาสเพลงหนึ่ง ซึ่งน่าสนใจมาก เพลงนั้นก็คือ เพลง “The 12 Days of Christmas” ซึ่งแต่งขึ้นในยุคมืดระหว่างปี พ.ศ. 2101-2372 ที่ประเทศอังกฤษ เป็นช่วงห้ามชาวคาทอลิกปฏิบัติศาสนกิจ และห้ามสอนค�ำสอนคาทอลิก จึงมีผู้แต่งเพลงนี้ขึ้นมา เพื่อ สอนความเชื่อคาทอลิก ค�ำว่า “12 วัน” หมายถึงวันคริสต์มาสนับไปจนถึง วันที่ 6 มกราคม ซึ่งเป็นวัน ฉลองพระคริสต์แสดงองค์ แต่ละวันจะมีสัญลักษณ์ที่มีความหมายทางศาสนา ดังนี้ 18
เป็นภาพแม่นกกระทา(Patridge) เกาะบนต้นแพร์ หมายถึงพระ เยซูตายบนกางเขน เพื่อชาว เรา เป็นของขวัญวันคริสต์มาส ส�ำหรับเราทุกคน
วันที่
วันที่ วันที่ แม่ไก่ 3 ตัว คือ ความเชื่อ ความหวังและความรัก
วันที่
แม่ห่าน 6 ตัว ก�ำลังวางไข่ ก็คือ 6 วัน ในการสร้างโลก
วันที่
หงส์ 7 ตัว ก�ำลังว่ายน�้ำ คือ ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
วันที่
วั น ที ่ ภาพนักเป่าปี่สก๊อตซ์ 11 คน ก็คือ อัครสาวกที่ซื่อสัตย์ ติดตามพระเยซู 11 คน
เป็นภาพ นกเขาคู่ หมายถึง พระคัมภีร์พระธรรมเดิมและพระธรรมใหม่ แหวนทอง 5 วง หมายถึง หนังสือ ปัญจบรรพ หรือ “โตราห์” เป็นหนังสือห้าเล่มแรกในพระธรรมเดิม
วันที่
นก 4 ตัว ร้องเพลง หมายถึง พระวรสารทั้ง 4 เล่ม
สาวสวย 9 คน ก�ำลังเต้นร�ำ หมายถึง ผลของพระจิตเจ้า 9 อย่าง (เทียบ กท 5:22)
วันที่
วันที่ หญิง 8 คน ก�ำลังรีดนมวัว หมายถึง บุญลาภ 8 ประการ เป็นภาพเจ้านาย 10 คน ก�ำลังกระโดด หมายถึง บทบัญญัติ 10 ประการ
วันที่ วันที่
คนตีกลอง 12 คน คือ ข้อความเชื่อ 12 ประการ ซึ่งอยู่ในบทข้าพเจ้าเชื่อถึงพระเป็นเจ้า
เนือ้ ร้องในแต่ละวันนัน้ นอกจากจะพูดถึงสัญลักษณ์ดงั กล่าวข้างต้นแล้ว ยังสรุปด้วยสัญลักษณ์ ส�ำคัญของวันที่หนึ่งเสมอ คือ ภาพแม่นกกระทาเกาะบนต้นแพร์ น่าสนใจนะครับ เชิญผู้สนใจหาเพลง นี้มาฟังกันได้จาก Youtube ไพเราะดี สนุกด้วย มีความหมาย น�ำมาร้องเป็นกลุ่มก็ยิ่งสนุกใหญ่ครับ 19
ครอบครั ว ศั ก ดิ ส ์ ท ิ ธิ ์ Holy F amily โดย สื่อมวลชนจันท์ บ่อเกิดแห่งความศักดิสิทธิ์ มาพร้อมกับ แผนการการประสูติของพระเยซูเจ้า พระแม่มารีย์ และนักบุญยอแซฟ ทั้งสอง “ท่านเป็นผู้ที่พระเจ้า ทรงเลือกสรร เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่รักของ พระองค์” (คส 3:12) ได้ให้ความร่วมมือ ตอบรับ และท�ำตามพระประสงค์ ด้วยความเชื่อและความ วางใจในพระองค์อย่างครบครัน เมื่อพระเยซูเจ้าบุตรพระเจ้าเสด็จมาบังเกิด เป็นบุตรมนุษย์ ท่ามกลางผูท้ ถี่ กู เลือกสรรให้เป็นบิดา มารดาของพระองค์ ในครอบครัวทีต่ อ้ งใช้ชวี ติ ประดุจ ผูอ้ พยพลีภ้ ยั ประเชิญกับความหวาดกลัว และความ ยากล�ำบากมากมาย แต่สมาชิกในครอบครัวกลับ เปี่ยมล้นด้วยความชื่นชมยินดี ด้วยเหตุที่ว่า ทุก คนได้มีส่วนท�ำให้แผนการของพระเจ้าได้ส�ำเร็จไป ตามพระประสงค์ของพระองค์ “เป็นการกระท�ำ ให้พระสัญญาของพระเจ้าและการเตรียมกิจการ ต่าง ๆ ส�ำเร็จไป” (ค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 484) นับเป็นพระธรรมล�้ำลึกแห่งความปิติยินดี น�ำมาซึ่งความศักดิ์สิทธิ์สู่ครอบครัว หรือเรียกได้ว่า “ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์” ความส�ำคัญของ “ครอบครัวศักดิส์ ทิ ธิ”์ มีมา ยาวนาน จนเกิดมีการฉลองขึน้ ครัง้ แรกในคริสตจักร คอปติกออร์โธดอกซ์ และแพร่หลายในศาสนาคริสต์ ตะวันตกมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่ยังไม่ได้ มีรับรองอย่างเป็นทางการ จนกระทั่ง ค.ศ. 1921 20
สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 15 ทรงก�ำหนดวัน ฉลอง “ครอบครัวศักดิส์ ทิ ธิ”์ ตรงกับวันอาทิตย์หลัง วันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ (คือวันอาทิตย์ระหว่าง วันที่ 7-13 มกราคม) ต่อมาในปี ค.ศ. 1969 จึงย้าย มาเป็นวันอาทิตย์หลังวันคริสต์มาส ในกรณีทไี่ ม่มวี นั อาทิตย์ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคมนั้น ก็ให้ ถือเอาวันที่ 30 ธันวาคม เป็นวันฉลอง “ครอบครัว ศักดิ์สิทธิ์” แทนจนถึงทุกวันนี้
บทภาวนาต่อพระวิสุทธิวงส์ ข้าแต่พระเยซูเจ้า โปรดทอดพระเนตรมายัง ครอบครัวของเราที่เข้ามาอ้อนวอน เราขอถวายตัวเราเอง ความยินดี ความทุกข์ยากแด่พระองค์อีกครั้ง เพื่อบ้านของเราจะเป็นเหมือนบ้าน ของพระองค์ จะเป็นแหล่งความ สุข ความบริสุทธิ์ ความรักและการ เสียสละ โปรดอวยพรเราผู้ที่อยู่ที่นี้ หรือที่อื่น โปรดเมตตาคนที่ตายไป แล้วด้วยเถิด โอ้พระแม่มารีย์ มารดาน่ารักยิง่ ของพระเยซู พระแม่ของเรา โปรดวิงวอนพระเยซู เจ้าเพื่อครอบครัวของเรา และทุก ครอบครัวในโลก ให้พระองค์คมุ้ ครอง พิทักษ์รักษาทารก เด็กและเยาวชน และพระกระแสเรียกของพวกเขาด้วย
โอกาสคริสต์มาสนี้ ให้เราวอนขอพระเจ้าอวยพรชีวิต ครอบครัวเป็นพิเศษกับทุกครอบครัวในโลกนี้ มีความอบอุน่ และเป็น น�้ำหนึ่งใจเดียวกัน ให้ “ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์” ของพระเยซูเจ้าเป็น แบบอย่างที่ดีส�ำหรับครอบครัวของเราแต่ละคน ในเรื่องความรัก ความไว้วางใจในพระเจ้า ความเห็นอกเห็นใจ และการช่วยเหลือผูอ้ นื่
ข้าแต่ท่านยอแซฟ องค์พิทักษ์ของพระเยซูเจ้า และพระแม่มารีย์ โปรดช่วยเหลือ เราในทุกสิ่งที่จ�ำเป็นเพื่อชีวิต โปรด รักษาบ้านของเรา คนเจ็บป่วยและผู้ ที่ก�ำลังจะสิ้นใจ เราจะได้ร่วมอยู่กับ พระเยซูพร้อมกับพระแม่มารีย์และ ท่าน ตลอดนิรันดร อาแมน 21
พระบุตรองค์น้อยในรางหญ้า เห็นดาวทอง ส่องทาง สว่างแจ้ง ชีน้ ำ� ทาง ต่างชน มุง่ ตรงไป ณ เมืองน้อย ต้อยต�ำ่ แต่ลำ�้ ค่ า มาบังเกิด ณ แผ่นดิน ถิน่ คนจร
ทอดทอแสง แห่งหวัง พลังให้ จากทิศเหนือ จรดใต้ ได้พงึ่ พร เบธเลเฮม น�ำพาองค์ อดิศร น�ำพระพร แห่งรัก มาทักทาย
“Merry Christmas to all of you” เมือ่ อดีตกาล...ครัง้ พระเจ้าทรงสร้างสรรพสิง่ พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ตามพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ ให้เป็นชายและหญิง ทรงให้มนุษย์ดแู ลและตัง้ ชือ่ สรรพสิง่ สร้าง ให้ชวี ติ อิสรภาพ และสวมใส่ความรักลงในใจ แต่มนุษย์ใช้อสิ รภาพในทางทีผ่ ดิ ใช้อสิ รภาพตามอ�ำเภอใจของตนเอง หวังเพียงความสุขของตนเอง ตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั มนุษย์กย็ งั คงใช้อสิ รภาพตามอ�ำเภอใจตลอดมา พระเจ้า...พระผูส้ ร้างผูท้ รงรักมนุษย์สดุ พรรณนา ทรงส่งพระบุตรสุดทีร่ กั แต่เพียงพระองค์เดียวลงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ เลือดผูบ้ ริสทุ ธิอ์ าบชโลมลบล้างบาปผิดของคนชัว่ เป็นพระพรทีห่ ลัง่ ลงมา ท�ำให้ความสัมพันธ์ทถี่ กู ท�ำลายลงด้วยบาปกลับมาเป็นดังเดิม
22
นีค่ อื ลูกแกะของพระเจา้ ผูท้ รงลบล้างบาปของโลก (ยน 1:29)
เทศกาลพระคริสตสมภพมีความหมายอยูท่ กี่ ารเป็นผูใ้ ห้ ตามแบบอย่างขององค์พระคริสตเยซู ให้ชวี ติ ...ให้แบบอย่าง...ให้คำ� สอน...ให้ความเชือ่ ให้ความหวัง...ให้ความรัก...และให้อภัย โดย น�้ำผึ้งหวาน 23
กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ โ ด ย ส� ำ นั ก ง า น วิ นิ จ ฉั ย ค ดี
พระสมณลิขิตของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส MITIS IUDEX DOMINUS IESUS (พระเยซูเจ้าผูพ้ พิ ากษา ทรงพระเมตตา) เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ.2015 เพื่อเป็น แนวทางการปฏิรูปกระบวนการพิจารณาความทางกฎหมาย เพือ่ การประกาศการเป็นโมฆะของการแต่งงาน ตามประมวล กฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก เพราะการแต่งงานเป็น รากฐานและต้นก�ำเนิดครอบครัวคริสตชน 24
ตามที่กฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก ได้ระบุไว้ว่า พระสันตะปาปา ทรงเป็น ประมุขสูงสุดของพระศาสนจักรคาทอลิก (Can.334) และทรงสามารถใช้อ�ำนาจทุกอย่าง เพื่อปกครองพระศาสนจักรทั่วโลก นอกจากนี้ พระองค์ทรงเป็นอาจารย์ผู้สอนอย่างมิอาจ พลาดพลัง้ ได้ เมือ่ ทรงประกาศข้อความเชือ่ และข้อศีลธรรม จากพระบัลลังก์ (ex cathedra) โดยต�ำแหน่งและโดยอ�ำนาจสูงสุดของพระองค์ พระศาสนจักรคาทอลิก เป็นเครือ่ งหมายและเครือ่ งมือแห่งความรักและพระเมตตา ของพระเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิง่ เป็นหนทางแห่งความรอดพ้นส�ำหรับประชากรของพระเจ้า ทัว่ โลก ความรอดพ้นนีค้ รอบคลุมถึงทุกระดับทุกชีวติ ในพระศาสนจักรอย่างแท้จริง กล่าวคือ การปกครองด้านศีลธรรม และด้านการอภิบาลดูแลประชากรของพระเจ้า แนวทางการปฏิรูปกระบวนการพิจารณาความทางกฎหมาย เพื่อการประกาศการ เป็นโมฆะของการแต่งงาน ตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก มีดังต่อไปนี้
1. ให้มีเพียงค�ำพิพากษาเดียว 2. โดยผู้พิพากษาเพียงคนเดียว(ที่เป็นสมณะ) ภายใต้ความรับผิดชอบของพระสังฆราช 3. พระสังฆราชเป็นผู้พิพากษาเอง 4. กระบวนการพิจารณาคดีสั้นลง 5. การอุทธรณ์ไปยังสังฆมณฑลนคร 6. บทบาทของสภาพระสังฆราช 7. การอุทธรณ์ไปยังสันตะส�ำนัก
ทั้งนี้ เพื่อความรอดพ้นของวิญญาณ (salus animarum) อันเป็นกฎสูงสุดของพระ ศาสนจักร สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงพิจารณา และออกค�ำสั่งให้ใช้แนวทางการ ปฏิรูปเหล่านี้ ร่วมกับประมวลกฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก บรรพที่ 7 ภาค 3 ลักษณะ ที่ 1 หมวดที่ 1 ว่าด้วยเรือ่ งการพิจารณาคดี เพือ่ การประกาศการเป็นโมฆะของการแต่งงาน (Cann.1671-1691) โดยจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.2015 นี้เป็นต้นไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 25
วัดนักบุญยอแซฟ พนัสนิคม
วัดอัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี
26
GAME ปริศนาอักษรไขว้ กติกา
ส�ำหรับผู้ตอบถูก จะได้รับของที่ระลึกจากหน่วยงานฯ เติมอักษรไขว้ทางด้านล่างให้สมบูรณ์ โดยอ่านค�ำใบ้ที่ก�ำหนดให้ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน น�ำมาเติม ในช่องตารางที่ก�ำหนดให้ ให้ถูกต้อง ในกรณีสระ ิ ี ึ ื ุ ู ่ ้ ๊ ๋ ็ ์ ให้เติมไปในช่องเดียวกับตัวอักษรได้เลย ส่วน ะ า ำ เ แ ไ ใ โ ให้แยกไปใส่อีกช่องหนึ่ง 1 6
5
7
4
2
3
คำ�ใบ้ แนวตัง้ 1. ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรมเริ่มตั้งแต่วันที่ 3. สมณโองการ “MISERICORDIAE VULTUS” มีกี่ข้อ 5. การปิดการประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 มีอายุครบรอบกี่ปี
แนวนอน 2. ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรมสิ้นสุดวันที่ 4. วันอาทิตย์หลังวันคริสต์มาส เป็นวันฉลอง... 6. สังฆมณฑลจันทบุรีเปิดปีศักดิ์สิทธิ์วันที่ 7. จงเปี่ยมด้วย...เหมือนพระบิดาผู้ทรงเมตตา 27
GAME ปริศนาอักษรไขว้
ชื่อที่อยู่ผู้น�ำส่ง ������������������������������������������������������������������������� ������������������������������������������������������������������������� �������������������������������������������������������������������������
แสตมป์ 3 บาท
กรุณาส่ง หน่วยงานสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี 21/3 หมู่ 1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110
2
8
สี่ สิ บ
ล ซิ ล วี โ อ 1 หั เ 4 ส ร ะ แ ก้ ว น ไ ซ์ ผ่ 7
เฉลย GAME ตุ เ6 ล ป ร า จี น บุ รี า ค โ ม ล 3
5
28
สิ่งตีพิมพ์
ปริ ศ นาอั ก ษรไขว้ เล่มที่ 16 ปีที่ 26 เดือนสิงหาคม 2015
ป
จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ
ฉลอง 50 ปี การก่อตั้งศูนย์คามิลเลียนฯ ปราจีนบุรี 11 ก.ค. 2015
29
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญเบเนดิกต์ เขาฉกรรจ์
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญอันนา สระไม้แดง 30
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญลอเรนซ์ นางาม
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ สระแก้ว 31
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระนิจจานุเคราะห์ ระยอง
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดมารีสมภพ กบินทร์บุรี 32
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญนิโคลัส พัทยา
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอารักขเทวดา แหลมประดู่ 33
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี
ฉลองอารามคาร์แมล จันทบุรี 34
ฉลองบ้านเณร คามิลเลียน ศรีราชา
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระลูกประคำ� สัตหีบ 35
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดมารดาพระศาสนจักร นครนายก
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดราชินีสายประคำ�สักดิ์สิทธิ์ บ้านสร้าง 36
ฉลอง 40 ปี ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลจันทบุรี
ฉลอง 40 ปี ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลจันทบุรี 37
38
39