สายใยจันท์ V.10

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

Vol.10 สิงหาคม 2013 ปีที่

24

ผลผลิต

แห่งความเชื่อ • ปีแห่งความเชื่อ • ก้าวสู่ “ศักดิ์สงฆ์” • เห็นความรักฉันบ้างไหม • กฎหมายพระศาสนจักร • งานอภิบาลผู้เดินทางทะเล สังฆมณฑลจันทบุรี


ปีที่ 24 ฉบับที่ 10 / สิงหาคม 2013

Contents

สารบัญ

สายใยจันท์

สาส์นพระสังฆราช สิริพงษ์ จรัสศรี......................................... 4 แสงสว่างแห่งความเชื่อ............................................................... 6 ศีลมหาสนิทพระธรรมล�้ำลึกแห่งความสว่าง............................. 8 ปีแห่งความเชื่อ........................................................................... 10 ก้าวสู่ศักดิ์สงฆ์........................................................................... 15 กิจกรรมตามวัด......................................................................... 20 งานอภิบาลผู้เดินทางทะเล สังฆมณฑลจันทบุรี....................... 22 กฎหมายพระศาสนจักรน่ารู้..................................................... 26 เห็นความรักฉันบ้างไหม............................................................ 28 วันวาร ล้วนมีความหมาย........................................................ 30 ปริศนาอักษรไขว้....................................................................... 31 ประมวลภาพกิจกรรม............................................................... 33

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


บรรณาธิการ Editor’s talk

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ได้ออกสมณสาส์นฉบับแรกของท่านภายใต้ชอื่ ว่า Lumen Fidei หรือ The Light of faith หรือ “แสงแห่งความเชื่อ” ท่านได้ปราศรัย กับบรรดาคาร์ดินัล และบรรดาพระสังฆราชในเดือนพฤษภาคมว่า “สารฉบับนี้เขียน ขึน้ ด้วย 4 มือ” นัน่ คือพระองค์ได้เขียนต่อจากพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ซึง่ พระ สันตะปาปาเบเนดิกต์ ได้เขียน Lumen Fidei เกือบจะเสร็จแล้ว ก่อนที่ท่านจะลาออก จากต�ำแหน่งพระสันตะปาปา ในวันที่ 28 มิถุนายน และพระสันตะปาปาฟรานซิสได้ สานต่องานเขียนของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์จนเสร็จ Lumen Fidei หรือ The Light of faith (ก�ำลังแปลเป็นภาษาไทย) แบ่งออก เป็น 4 บท แต่ละบทจะอธิบายภายใต้ข้อหัวจากพระวาจาเช่น บทที่ 1: เรารู้และเชื่อในความรักที่พระเจ้าทรงมีต่อเรา (1 ยอห์น 4:16) บทที่ 2: พระองค์ไม่ทรงเชื่อมั่น พระองค์จะทรงตั้งมั่นอยู่ไม่ได้ (อิสยาห์ 7:9) บทที่ 3: ข้าพเจ้ามอบธรรมประเพณีส�ำคัญที่สุดให้กับท่าน เป็นธรรมประเพณีที่ข้าพเจ้าได้รับมาอีกทอดหนึ่ง (1 โครินธ์ 15:3) บทที่ 4: พระเป็นเจ้าทรงจัดเตรียมเมืองไว้ให้พวกเขาแล้ว ( ฮีบรู 11:16) รายละเอียดคร่าว ๆ พระคุณเจ้าสิริพงษ์ ได้สรุปให้เราได้อ่านแล้วใน สายใยจันท์ฉบับนี้ พี่น้องสามารถติดตามได้ ในสังคมปัจจุบันนี้คริสตชนเรา จ�ำเป็นต้องมี “แสงแห่งความเชื่อ” ซึ่งเป็น แสงสว่างแท้น�ำเราในเส้นทางเดินบนโลกนี้ ดังที่นักบุญยอห์นได้เขียนในพระวารสาร ของท่านว่า “เราเข้ามาในโลกเป็นแสงสว่าง เพือ่ ให้ทกุ คนทีเ่ ชือ่ ในเราไม่อยูใ่ นความ มืด” (ยอห์น 12:46) และนักบุญเปาโล ได้เขียนในจดหมายของท่านเหมือนกับนักบุญ ยอห์นว่า “ให้แสงสว่างส่องออกมาจากความมืด” ก็เป็นผู้ทรงฉายแสงเข้าสู่จิตใจ ของเรา เพื่อส่องสว่างให้เรามีความรู้ถึงพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า พระสิริรุ่งโรจน์นี้ ปรากฏอยู่บนพระพักตร์ของพระคริสตเจ้า” (2 โครินธ์ 4:6) สายใยจันท์ฉบับนีย้ งั เข้มและข้นเหมือนเดิม ขอให้สายใยจันท์ได้เติมความเชือ่ ของท่านบ้าง

คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ

3


สาส์น พระสังฆราช พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษคริสตชนที่รัก เมือ่ วันที่ 5 กรกฎาคม 2013 พระสมณสาส์น ฉบับแรกของพระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ปรากฏโฉม ออกมาโดยมีชอื่ เป็นภาษาลาติน คือ “Lumen Fidei” แปลเป็นไทยว่า “แสงสว่างแห่งความเชื่อ” พระสมณสาส์นฉบับนี้ เป็นงานที่ต่อเนื่องมาจาก พระสมณสาส์น 2 ฉบับของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 คือ “Deus Caritas Est” (พระเจ้าคือ ความรัก) ออกในปี 2005 และ “Spe Salvi” (เรา ได้รับความรอดในความหวัง) ออกในปี 2007 ซึ่ง ท�ำให้พระสมณสาส์น มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ใน การพูดถึง คุณธรรมทางเทววิทยาของชีวติ คริสตชน คือ ความเชื่อ ความหวัง และความรัก และท�ำให้ งานของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ส�ำเร็จ สมบูรณ์เช่นกัน พระสมณสาส์น “Lumen Fidei” เป็น งานของพระสันตะปาปา 2 พระองค์ แบ่งออก เป็น 4 บท ซึ่งบทที่ 1-3 เป็นงานที่เขียนค้างไว้ของ พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 และบทที่ 4 เป็น งานของพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงมีพระประสงค์ ให้ออกมาในปีแห่งความเชือ่ (ติดตามสรุปย่อเนือ้ หา ได้ในเล่ม)

4

ปีแห่งความเชื่อยังคงก�ำลังด�ำเนินอยู่ พระ สันตะปาปา พูดถึงความเชื่อเป็นแสงสว่างส่อง ทางการด�ำเนินชีวิตของเรา แสงสว่างนี้ ท�ำให้เรา มองเห็นหนทางแห่งความรอด ซึ่งเราพบได้ในองค์ พระเยซูเจ้าผู้เป็นองค์ความสว่าง ปีแห่งความเชื่อ จึงเป็นเวลาพิเศษ เพื่อทบทวนและฟื้นฟูความเชื่อ ของเรา และท�ำให้ความเชื่อของเรามั่นคงเข้มแข็ง ยิ่งขึ้น ขอให้เราภาวนาต่อองค์พระเยซูเจ้าเสมอ ๆ ว่า “เราเชื่อในพระองค์ โปรดทวีความเชื่อของ เราด้วยเถิด”

(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) พระสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี


5


สรุปย่อพระสมณสาส์น

แสงสว่างแห่งความเชื่อ (Lumen Fidei) โดย พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี

พระสมณสาส์น แสงสว่างแห่งความเชื่อ เป็นพระสมณสาส์นฉบับแรก ในสมณสมัย ของพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงลงพระนาม เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2013 โอกาสฉลอง นักบุญเปโตรและเปาโล อัครสาวก และพิมพ์ออกอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2013 พระสมณสาส์นฉบับนี้ ขึ้นต้นด้วยบทน�ำ และแบ่งออกเป็น 4 บทใหญ่ ๆ และปิดท้าย ด้วยบทภาวนา บทน�ำ กล่าวถึง ความเชือ่ เป็นพระพรยิง่ ใหญ่ของพระเจ้า ทีถ่ กู น�ำมาให้แก่เรามนุษย์ โดยทาง พระเยซูเจ้าผูท้ รงเป็นความสว่างของโลก ความเชือ่ และความรักในพระเยซูเจ้าได้ให้แสงสว่าง แก่เรา ในการมองเห็นโลกอย่างที่พระองค์ทรงเห็น 6


บทที่ 1 เราเชื่อในความรัก (เทียบ 1 ยน 4: 16)

บทที่ 3 ข้าฯ มอบให้แก่ท่านในสิ่งที่ข้าฯ ได้รับมา (เทียบ 1 คร 15: 3)

บทนี้ ให้เราทบทวนประวัตศิ าสตร์แห่งความ รอด เป็นเรื่องราวของประชากรของพระเจ้า โดย การมองเห็นความเชื่อ ผ่านทางประวัติศาสตร์ เริ่ม ด้วยอาบราฮัม บิดาแห่งความเชือ่ ความเชือ่ ของท่าน เป็นความสัมพันธ์แบบบุคคลกับพระเจ้า ท่านด�ำเนิน ชีวติ ในความเชือ่ เช่นนีต้ ลอดชีวติ ของท่าน ต่อมา เรา ได้เห็นความเชื่อที่สั่นคลอนในชนชาติอิสราเอล การ หันออกไปนับถือพระเท็จเทียมแทน พระยาห์เวห์ และสุดท้าย เรื่องราวของความเชื่อมาพบบทสรุป ในพระเยซูเจ้า พระองค์เป็นผูท้ ที่ ำ� ให้พระสัญญาของ พระเจ้าส�ำเร็จสมบูรณ์ ความเชื่อในพระเยซูเจ้าเป็น ความเชื่อในความรักของพระเจ้า

กล่าวถึงพระศาสนจักรในฐานะเป็นหมู่คณะ แห่งความเชือ่ ความเชือ่ และความจริง ถูกยอมรับและ น�ำเข้ามาในหมู่คณะ และถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นใน การด�ำเนินชีวติ ทีเ่ ป็นหนึง่ เดียวกับพระศาสนจักร และ โดยทางศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ศีลล้างบาป และศีลมหาสนิท ท�ำให้เรามีประสบการณ์ความเชื่อ และมองเห็นอนาคตแห่งบ้านแท้นริ นั ดรของเรา นอก นัน้ บทข้าแต่พระบิดาและพระบัญญัติ 10 ประการให้ แนวทางการเจริญชีวิตในหมู่คณะพระศาสนจักร ซึ่ง อาศัยธรรมประเพณี และการสืบเนือ่ งจากอัครสาวก ความจริงได้รับการปกป้อง และความเชื่อได้รับการ ถ่ายทอดสืบต่อกันมา

บทที่ 2 หากท่านเชื่อ ท่านจึงจะเข้าใจ (เทียบ อสย 7: 9)

บทที่ 4 พระเจ้าทรงเตรียมเมืองส�ำหรับพวกเขา (เทียบ ฮบ 11: 16)

กล่าวถึงการแสวงหา เพื่อที่จะเข้าใจความ สัมพันธ์ระหว่าง ความเชื่อกับเหตุผล ความเชื่อกับ ความรัก ความเชื่อกับความจริง และความเชื่อกับ เทววิทยา พระสมณสาส์นแสดงให้เห็นว่า ความจริง จ�ำเป็นส�ำหรับความเชื่อ เพื่อความเชื่อจะได้มีฐานที่ มั่นคง ไม่เลื่อนลอยหรืองมงาย ความเชื่อจึงต้องมี รากฐานในความจริง เช่นเดียวกัน ความรักถูกเรียก ร้องด้วยความเชื่อ ก็ต้องวางอยู่บนความจริง ที่สุด ความจริงในความเชื่อคาทอลิก ต้องท�ำให้เราเติบโต ในความสุภาพ และในความรู้ เพราะว่าด้วยความ รู้และความสุภาพ เราจึงสามารถแบ่งปันความจริง แก่คนอื่นได้

ในบทนี้ แสดงให้เห็นว่าความเชือ่ เป็นพืน้ ฐาน ของสังคมได้อย่างไร ความเชื่อจ�ำเป็นส�ำหรับสังคม ในการค�ำนึงถึงความดีส่วนรวม ส�ำหรับการแต่งงาน และครอบครัว ส�ำหรับการส่งเสริมเกียรติและศักดิศ์ รี ความเป็นบุคคลมนุษย์ ความเชื่อยังให้ก�ำลังในการ เผชิญกับความทุกข์ยากของชีวติ ความเชือ่ ไม่ได้ตอบ ค�ำถามทัง้ หมด แต่ความเชือ่ เป็นดัง่ ตะเกียงทีช่ ว่ ยเรา ให้เดินผ่านหนทางแห่งความมืดของชีวิต ด้วยความ มั่นใจในการประทับอยู่ของพระเจ้า บทสรุ ปป บทสรุ กล่กล่ าวถึาวถึ งความชื น่ ชมยิ นดีในความเชื อ่ เหมื่ออน ง ความชื ่นชมยิ นดีในความเชื ดังเหมื พระแม่ ย์ ยอมรั วิตของพระแม่ อนดัมงารี พระแม่ มารีบยพระเยซู ์ ยอมรับในชี พระเยซู ในชีวิต ด้วของพระแม่ ยความยินดีด้วเราเช่ นกันนทีดี่จเราเช่ ะต้องเป็ อนพระ ยความยิ นกันนเหมื ที่จะต้ อง แม่เป็เครื อ่ งหมายแห่ วติ อ่ ความเชื อ่ ของเรา คือ ความ นเหมื อนพระแม่งชีเครื งหมายแห่ งชีวติ ความเชื อ่ ชื่นของเราคื ชมยินดีใอนองค์ พระเยซู ความชื ่นชมยิเจ้นาดีในองค์พระเยซูเจ้า 7


ศีลมหาสนิท พระธรรม ล�้ำลึกแห่ง ความสว่าง โดย คุณพ่อเอนก นามวงษ์ พ่อชอบอ่านสมณสาส์นต่าง ๆ ของพระ ศาสนจักร การที่พ่อชอบอ่านสมณสาส์น คงจะเป็น ผลมาจากการที่พ่อต้องไปเรียนต่างประเทศ เวลา เรียนส่วนใหญ่ต้องอ่านสมณสาส์นพระศาสนจักร เยอะมาก การอ่านเอกสารต่าง ๆ เหล่านั้นของพระ ศาสนจักร ท�ำให้เราได้เข้าใจความเชื่อของเราได้ลึก ซึ้งมากยิ่งขึ้น ได้เข้าใจค�ำสอนของพระศาสนจักร หลากหลายมุมมองมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอ่านเอกสารเหล่านั้น ช่วยส่งเสริมความศรัทธา ที่มั่นคงในพระเยซูคริสตเจ้ามากยิ่งขึ้น มีเอกสารฉบับหนึง่ ทีเ่ ขียนโดย พระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ ๒ (พระองค์จะได้รับการแต่งตั้งเป็น นักบุญอย่างเป็นทางการเร็ว ๆ นี้) ชื่อว่า สมณลิขิต “จงพักอยู่กับพวกเราเถิด พระเจ้าข้า” (MANE

NOBISCUM, DOMINE) แปลโดย พระสังฆราช ยอด พิมพิสาร เป็นสมณลิขิตเล่มบาง ๆ มีความ หนาแค่ 36 หน้า แต่มากไปด้วยคุณค่าในการเข้าใจ ศีลมหาสนิท พ่อขออนุญาตน�ำข้อความส่วนหนึง่ ของ สมณขิลิตเล่มนี้มาแบ่งปันให้พี่น้องได้อ่าน i เรือ ่ งราวทีพ่ ระเยซูเจ้า ผูท้ รงกลับคืนพระชนม์

ทรงปรากฏพระองค์แก่สาวกสององค์ ขณะที่ก�ำลัง เดินทางไปยังหมูบ่ า้ นเอมมาอุส ช่วยให้เราสนใจเกีย่ ว กับมิติที่ส�ำคัญของพระธรรมล�้ำลึกแห่งศีลมหาสนิท ซึ่งควรจะมีอยู่เสมอในกิจศรัทธาแห่งประชากรของ พระเจ้า กล่าวคือ ศีลมหาสนิทคือพระธรรมล�้ำลึก แห่งความสว่าง ความจริงข้อนีม้ คี วามหมายว่าอะไร และเกีย่ วโยงกับชีวติ ฝ่ายกาย และชีวติ จิตของคริสต ชนอย่างไร i สมณลิขิต “จงพักอยู่กับพวกเราเถิด พระเจ้าข้า” ข้อ 11-14

8


พระเยซูเจ้า ทรงอธิบายเกี่ยวกับพระองค์ เองว่า ทรงเป็น “แสงสว่างส่องโลก” (ยน ๘:๑๒) และคุณสมบัตินี้ ย่อมชี้ให้เห็นอย่างชัดเจน ในช่วง ที่พระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า ฉายแสงอย่างเด่นชัด เช่น ในการจ�ำแลงพระวรกาย และในการกลับคืน พระชนมชีพ แต่ในศีลมหาสนิท พระสิริรุ่งโรจน์ ของพระคริสตเจ้ายังคงซ่อนเร้นอยูใ่ นศีลมหาสนิท เป็นพระธรรมล�ำ้ ลึกแห่งความเชือ่ มากกว่า อาศัย พระธรรมล�้ำลึกแห่งความซ่อนเร้นพระองค์เอง โดยสิน้ เชิง พระคริสตเจ้าทรงเป็นพระธรรมล�ำ้ ลึก แห่งความสว่าง ซึง่ น�ำผูท้ มี่ คี วามเชือ่ ไปสูห่ ว้ งลึกแห่ง พระชนมชีพของพระเจ้า ด้วยความเข้าใจอันลึกซึง้ ที่ น่าชืม่ ชม ภาพวาดเกีย่ วกับพระตรีเอกภาพอันลือชือ่ ของรูเบลฟ ได้วาดภาพศีลมหาสนิทไว้ในใจกลางชีวติ ของพระตรีเอกภาพ เหนือสิ่งอื่นใด ศีมหาสนิทคือแสงสว่าง เหตุวา่ ในพิธบี ชู าขอบพระคุณแต่ละครัง้ นัน้ ภาควจน พิธกี รรมจะมาก่อนพิธกี รรมแห่งศีลมหาสนิท เป็นการ รวมสอง “พระแท่น” กล่าวคือ พระแท่นแห่งพระ วาจา และพระแท่นแห่งปัง มาเป็นพระแท่นเดียวกัน ความต่อเนือ่ งกันนี้ ได้รบั การอธิบาย ถึงศีลมหาสนิท ในพระวรสารของนักบุญยอห์น ในนั้นพระเยซูเจ้า ทรงเริ่มการสั่งสอนของพระองค์ด้วยการกล่าวถึง พระธรรมล�้ำลึกเกี่ยวกับพระองค์เอง แล้วพระองค์ จึงทรงสรุปมิติแห่งศีลมหาสนิท “เนื้อของเราเป็น อาหารแท้ และโลหิตของเราเป็นเครื่องดื่มแท้” (ยน ๖:๖๘) ในเรื่องราวเกี่ยวกับสาวกที่เดินทางไป ยังเอมมาอุสนั้น พระคริสตเจ้าทรงเข้ามาชี้แจงโดย “เริ่มต้นจากโมเสสและบรรดาประกาศก” ว่า “พระคัมภีรท์ งั้ หมด” บ่งชีไ้ ปยังพระธรรมล�ำ้ ลึกแห่ง พระบุคคลของพระองค์ (ดู ลก ๒๔:๒๗) พระวาจา ของพระองค์เป็นเหตุให้จิตใจของสาวก “ลุกร้อน”

ภายใน น�ำพวกเขาให้พ้นจากความมืดมนแห่งความ ทุกข์และความหมดหวัง และปลุกเร้าจิตใจพวกเขา ให้ปรารถนาที่จะอยู่กับพระองค์ “จงพักอยู่กับพวก เราเถิดพระเจ้าข้า” (ดู ข้อ ๒๙) เป็นที่น่าสังเกตว่า สาวกสองคนที่ก�ำลังเดิน ทางไปยังเอมมาอุสได้รบั การเตรียมตัว อาศัยพระวาจา ขององค์พระผูเ้ ป็นเจ้า พวกเขาจ�ำพระองค์ได้ทโี่ ต๊ะรับ ประทานอาหาร อาศัยการกระท�ำที่เรียบง่าย กล่าว คือ “การบิขนมปัง” เมื่อจิตใจได้รับแสงสว่าง และ หัวใจได้รับการปลุกให้ลุกเป็นไฟ เครื่องหมายต่าง ๆ ก็เริ่ม “ลั่นวาจา” ศีลมหาสนิทซึ่งส�ำแดงออกอย่างชัดเจนใน มิติของเครื่องหมาย ซึ่งมีอยู่ในสาส์น ที่มีทั้งความ สูงส่งและให้ความสว่าง อาศัยเครื่องหมายเหล่านี้ พระธรรมล�้ำลึกค่อย ๆ เปิดให้ตาของผู้มีความเชื่อ ได้มองเห็น......... จากข้อความทีพ่ อ่ ยกมาท�ำให้เราเข้าใจได้วา่ การเตรียมตัวที่จะรับศีลมหาสนิทนั้น เราคริสตชน ต้องได้รบั เตรียมตัวมาจากพระวาจาของพระเป็นเจ้า ก่อน ดังนัน้ ทุกมิสซาทีเ่ ราเข้าร่วมโมทนาคุณพระเป็น เจ้า ให้เราได้ฟังอย่างตั้งใจเพื่อภายในจะได้ลุกร้อน ไปด้วยความสว่างแห่งพระวาจา และการรับศีลมหา สนิทท�ำให้ความสว่างแห่งวาจานั้นปรากฏชัดในการ มองเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบข้างเราด้วยสายตา แห่งความเชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้า เห็นไหม การอ่านสมณสาส์นท�ำให้เราเข้าใจ ความสว่างที่ได้รับจากศีลมหาสนิท ฉะนั้นเอกสาร ของพระศาสนจักร เราอย่าละเลย มีโอกาสให้หา เวลาอ่านสักตอนหรือสองตอนจะเป็นประโยชน์ต่อ ความเชื่อของเรา 9


ปีแห่งความเชื่อ

โดย คุณพ่อ อาทร พัฒนภิรมย์

ความเชื่อเป็นของประทานจากพระเจ้า เป็นของขวัญประเสริฐเลิศล�้ำ ขาดความเชื่อ เราไม่สามารถบรรลุถึงชีวิตนิรันดรได้

ความเชื่อเป็นพื้นฐานของพระศาสนจักร หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ พระ ศาสนจักรตั้งมั่นบนฐานแห่งความเชื่อ ปราศจากความเชื่อ พระศาสนจักรจะคงอยู่ ไม่ได้ จะต้องพังพินาศอย่างแน่นอน พระศาสนจักรด�ำรงมาได้กว่ายี่สบิ ศตวรรษแล้ว แม้จะผ่านการถูกเบียดเบียนอย่างรุนแรง ผ่านวิกฤติการณ์หลากหลายชนิด ทั้งจาก ภายนอกและภายใน แต่ก็ยังยืนผงาดอยู่บน “ศิลา” ไม่มีอ�ำนาจใดจะท�ำลายลงได้ เพราะความเชื่อมั่นในองค์พระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงสถาปนาพระศาสนจักรขึ้น ท�ำไมสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 จึงประกาศ “ปีแห่งความเชือ่ ” ในปีนี้และปีหน้าขึ้นเล่า ? (2012-2013) เหตุผลก็คือ มีการปฏิเสธความเชื่อ ละทิ้ง ความเชื่อ ต่อต้านความเชื่อ เกิดขึ้นในบางภูมิภาคของโลก ซึ่งเป็นเหมือนพยาธิที่ ชอนไชกัดกร่อนพระศาสนจักรบางส่วนลงได้ 10


สมัยปัจจุบนั เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทางการแพทย์ เทคโนโลยีทางสื่อสารมวลชน เจริญขึ้น อย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั่วโลก บันดาลให้มนุษย์ บางจ�ำพวกยกย่องสติปัญญาของตัวเอง ของนักคิด นักประดิษฐ์ ฯลฯ ว่าล�้ำเลิศกว่าพระเจ้า ไม่จ�ำเป็นต้อง มีพระเจ้า “พระเจ้าตายแล้ว” เพราะฉะนั้น ส�ำหรับ พวกเขา ความเชื่อจึงเป็นสิ่งล้าสมัย ไม่มีคุณค่าใด ๆ อีกแล้ว มนุษย์บางพวกจึงกลายเป็นคนไม่มศี าสนา เป็น อเทวในที่สุด ! สิ่งนี้แหล่ะ บันดาลให้สมเด็จพระสันตะปาปา ประมุขของพระศาสนจักร และบรรดาผู้ร่วมงานทั้ง หลาย วิตกกังวลว่ามนุษย์จะตัง้ ตนเป็นใหญ่กว่าพระเจ้า ไม่ต้องการพระองค์ พึ่งพาแต่สติปัญญา เทคโนโลยี ต่าง ๆ ละทิ้งศาสนกิจและความเชื่อทั้งปวง ซึ่งจะน�ำ มหันตภัยมาสู่ชาวโลกทั้งมวลในที่สุด ชาวเราทีย่ งั มีความเชือ่ ให้เรากลับมาสนใจและ ศึกษาเรื่องความเชื่อ พร้อมทั้งเจริญชีวิตตามความ เชื่ออย่างจริงจังเข้มข้นยิ่งขึ้น รื้อฟื้นความเชื่อของเรา ให้โปร่งใสและมีความหมายตามพระประสงค์ขององค์ พระเยซูเจ้า ผู้สถาปนาพระศาสนจักร และตามความ ปรารถนาของสมเด็จพระสันตะปาปา ผูแ้ ทนของพระองค์ ความเชื่อเป็นของประทานจากพระเจ้า เป็น ของขวัญประเสริฐเลิศล�ำ้ ขาดความเชือ่ เราไม่สามารถ บรรลุถึงชีวิตนิรันดรได้ เราสามารถเรียนรู้เรื่องความ เชื่อจากพระวรสารและพระคัมภีร์ ซึ่งเป็นพระวาจา ของพระเจ้า เพื่อช่วยให้ความเชื่อของเราก้าวหน้ามี ชีวิตชีวาขึ้นได้ ให้เรามาศึกษา “ความเชื่อ” จากพระคัมภีร์ กันสักเล็กน้อย 11


1. ความเชื่อคืออะไร ?

2. ความเชื่อเป็นผลผลิตจากพระวาจา

1.1 พระเยซูตรัสว่า “กิจการของพระเจ้า ก็คือ ให้ท่านทั้งหลายเชื่อในผู้ที่พระองค์ทรงส่ง มา” (ยน 6:29)

2.1 “พระเยซูเจ้ายังทรงกระท�ำเครือ่ งหมาย อัศจรรย์อนื่ อีกหลายประการให้บรรดาศิษย์เห็น แต่ ไม่ได้บันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้ เรื่องราวเหล่านี้ถูก บันทึกไว้ เพือ่ ท่านทัง้ หลายจะได้เชือ่ ว่าพระเยซูเจ้า เป็นพระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้า และเมื่อ มีความเชื่อนี้แล้ว ท่านทั้งหลายก็จะมีชีวิต เดชะ พระนามของพระองค์” (ยน 20:30-31)

1.2 “ท่านได้รับความรอดพ้น เพราะพระ หรรษทานอาศัยความเชื่อ” (เอฟ 2:8) 1.3 “เพราะถ้าท่านประกาศด้วยปาก ว่า พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนชีพจากบรรดาผู้ตาย ท่านก็จะรอดพ้น การเชื่อด้วยใจจะบันดาลความ ชอบธรรม การประกาศด้วยปากจะบันดาลความ รอดพ้น” (รม 10:9-10) 1.4 “ความเชือ่ คือ ความมัน่ ใจในสิง่ ทีเ่ รา หวังไว้ เป็นข้อพิสูจน์ถึงสิ่งที่มองไม่เห็น เพราะ ความเชื่อนี้ คนในสมัยก่อนจึงได้รับการยกย่องใน พระคัมภีร์ เพราะความเชื่อ เราจึงเข้าใจว่า พระ วาจาของพระเจ้าเนรมิตสร้างโลก ดังนั้น สิ่งที่ มนุษย์มองเห็นได้จึงเกิดขึ้นจากสิ่งที่มนุษย์มองไม่ เห็น” (ฮีบรู 11:1-3)

สรุป : ความเชือ่ คือ ยอมรับพระคริสตเจ้า ยอมรับ และประกาศสิ่งที่เราหวัง แม้เรามองไม่เห็น

12

2.2 “ข้าพเจ้าอธิษฐานภาวนามิใช่เพือ่ คน เหล่านีเ้ ท่านัน้ แต่ส�ำหรับผูจ้ ะเชือ่ ข้าพเจ้าผ่านทาง วาจาของเขาด้วย” (ยน 17:20) 2.3 “หลังจากโต้เถียงกันมากแล้ว เปโตร ลุกขึ้นกล่าวแก่ที่ประชุมว่า ‘พี่น้องทั้งหลาย ท่าน รู้แล้วว่า ตั้งแต่แรกเริ่มพระเจ้าทรงเลือกสรร ข้าพเจ้าในหมูท่ า่ นทัง้ หลาย เพือ่ ให้คนต่างศาสนา ได้ฟังพระวาจาที่เป็นข่าวดีจากปากของข้าพเจ้า และมีความเชื่อ’ ” (กจ 15:7)

สรุป : ความเชื่อเป็นผลผลิตของอัศจรรย์ ค�ำ ภาวนาของพระคริสตเจ้า และการประกาศพระ วาจาของอัครสาวก


3. วัตถุเป้าหมายของความเชื่อ

4. ต้องมีความเชื่อชนิดไหน

3.1 “ใจของท่านทัง้ หลายจงอย่าหวัน่ ไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้าและเชื่อในเราด้วย” (ยน 14:1)

4.1 “เพราะถ้าท่านประกาศด้วยปากว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเป็นเจ้า และมีความเชื่อ ในใจว่า พระเจ้าทรงบันดาลให้พระเยซูเจ้าทรง กลับคืนชีพจากบรรดาผูต้ าย ท่านก็จะรอดพ้น การ เชือ่ ด้วยใจจะบันดาลความชอบธรรม การประกาศ ด้วยปากจะบันดาลความรอดพ้น” (รม 10:9-10)

3.2 “ถ้าท่านเชื่อโมเสสจริง ๆ แล้ว ท่าน ก็คงเชื่อเราด้วย เพราะโมเสสได้เขียนถึงเรา” (ยน 5:46) 3.3 “ข้าแต่กษัตริย์อากริปปา พระองค์ ทรงเชื่อบรรดาประกาศกมิใช่หรือ ข้าพเจ้ารู้ว่า พระองค์ทรงเชื่อ” (กจ 26:27) 3.4 “เวลาทีก่ ำ� หนดมาถึงแล้ว พระอาณาจักร ของพระเจ้าอยู่ใกล้แล้ว จงกลับใจและเชื่อข่าวดี เถิด” (มก 1:15) 3.5 “โดยเชือ่ มัน่ อย่างเต็มเปีย่ มว่า สิง่ ใดที่ พระเจ้าทรงสัญญาไว้ พระองค์ยอ่ มมีพระอ�ำนาจที่ จะท�ำสิง่ นัน้ ให้เป็นจริงตามพระสัญญาได้” (รม 4:21)

สรุป : ต้องเชื่อพระเจ้า พระเยซูคริสตเจ้า ประ กาศก ข่าวดี (พระวรสาร) และพระสัญญาของ พระองค์

4.2 “เมล็ดทีต่ กบนหินหมายถึงบุคคลทีฟ่ งั แล้วรับพระวาจาไว้ดว้ ยความยินดี แต่ไม่มรี าก เขา มีความเชื่ออยู่เพียงชั่วระยะหนึ่ง เมื่อถึงเวลาถูก ทดลอง เขาก็เลิกเชื่อ” (ลก 8:13) 4.3 “ท่านเชื่อว่ามีพระเจ้าเพียงพระองค์ เดียวหรือ ดีแล้ว แม้พวกปีศาจก็เชื่อเช่นนั้น และ ยังกลัวตัวสั่นด้วย” (ยก 2:19) 4.4 “ความเชื่อก็เช่นเดียวกัน หากไม่มี การกระท�ำ ก็เป็นความเชื่อที่ตายแล้ว” (ยก 2:17) 4.5 “คนเบาปัญญาเอ๋ย ท่านอยากรู้ หรือไม่ว่า ความเชื่อที่ปราศจากการกระท�ำนั้นไร้ ประโยชน์” (ยก 2:20)

สรุป : ความเชือ่ แท้ ต้องเป็นความเชือ่ มัน่ คงจาก ใจ พิสูจน์ให้เห็นด้วยกิจการดี จงอ่านพระวรสาร และพระคัมภีรบ์ อ่ ย ๆ เพือ่ จะได้รบั สารบ�ำรุงความ เชื่อให้เข้มแข็งและเจริญเติบโตขึ้นเสมอ

13


5. ลักษณะของความเชื่อ

ุ6. ผลของความเชื่อ

5.1 พระเยซูตรัสกับมาร์ธาว่า “ใครเชื่อใน เราแม้ตายไปแล้วก็จะมีชีวิต และทุกคนที่มีชีวิต และเชื่อในเราจะไม่มีวันตายเลย ท่านเชื่อเช่นนั้น หรือ?” มาร์ธาทูลตอบว่า “เชื่อพระเจ้าข้า ดิฉัน เชื่อว่า พระองค์เป็นพระคริสตเจ้า พระบุตรของ พระเจ้า ทีจ่ ะต้องเสด็จมาในโลกนี”้ (ยน 11:26-27)

6.1 “บรรดาประกาศกทั้งปวงเป็นพยาน ยืนยันถึงพระองค์วา่ ทุกคนทีม่ คี วามเชือ่ ในพระองค์ จะได้รบั การอภัยบาป เดชะพระนามของพระองค์” (กจ 10:43)

5.2 “เราจะได้รบั ก�ำลังใจร่วมกันจากความ เชื่อเดียวกัน คือความเชื่อของท่านทั้งหลาย และ ความเชื่อของข้าพเจ้า” (รม 1:12) 5.3 “ท่านเห็นแล้วว่า ความเชื่อกับการ กระท�ำของเขา ด�ำเนินไปพร้อม ๆ กัน และเพราะ การกระท�ำนัน้ ความเชือ่ จึงสมบูรณ์ อับราฮัมเชื่อ พระเจ้า พระองค์ทรงคิดว่าความเชื่อนี้เป็นความ ชอบธรรมของเขา เขาจึงได้ชื่อว่า เป็นมิตรของ พระเจ้า” (ยก 2:22-23) 5.4 “ถึงท่านทัง้ หลายผูไ้ ด้รบั ความเชือ่ ล�ำ้ ค่า เท่าเทียมกับความเชือ่ ซึง่ เราได้รบั จากความเทีย่ ง ธรรมของพระเยซูคริสตเจ้า พระเจ้าและพระผูไ้ ถ่ ของเรา” (2 ปต 1:1) 5.5 พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เพราะท่านมีความ เชือ่ น้อย เราบอกความจริงแก่ทา่ นทัง้ หลายว่า ถ้า ท่านมีความเชื่อสักเท่าเมล็ดมัสตาร์ด แล้วพูดกับ ภูเขานี้ว่า ‘จงย้ายจากที่นี่ ไปที่โน่น’ มันก็จะย้าย ไป และไม่มีอะไรที่ท่านจะท�ำไม่ได้” (มธ 17:20) 5.6 “ถ้าพระคริสตเจ้ามิได้ทรงกลับคืนพระ ชนมชีพ การเทศน์สอนของเราก็ไร้ประโยชน์ และ ความเชื่อของท่านก็ไร้ประโยชน์เช่นเดียวกัน ถ้า พระคริสตเจ้ามิได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ความ เชื่อของท่านก็ไร้ความหมาย และท่านก็ยังอยู่ใน บาป” (1 คร 15:14 17) 14

6.2 “ผู้ที่มีความเชื่อในพระบุตร จะไม่ถูก ตัดสินลงโทษ แต่ผทู้ ไี่ ม่มคี วามเชือ่ ก็ถกู ตัดสินลงโทษ อยูแ่ ล้ว เพราะเขามิได้มคี วามเชือ่ ในพระนามของ พระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระเจ้า” (ยน 3:18) 6.3 “ผูท้ เี่ ชือ่ และรับศีลล้างบาป ก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อ จะถูกตัดสินลงโทษ” (มก 16:16) 6.4 “เรื่องราวเหล่านี้ ถูกบันทึกไว้เพื่อ ท่านทั้งหลายจะได้เชื่อว่า พระเยซูเจ้าเป็นพระ คริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้าและเมื่อมีความ เชื่อนี้แล้ว ท่านทั้งหลายก็จะมีชีวิตเดชะพระนาม ของพระองค์” (ยน 20:31) 6.5 “เพื่อทุกคนที่มีความเชื่อในพระองค์ จะมีชวี ติ นิรนั ดร พระเจ้าทรงรักโลกอย่างมาก จึง ประทานพระบุตรเพียงองค์เดียวของพระองค์ เพือ่ ทุกคนทีม่ คี วามเชือ่ ในพระบุตร จะไม่พนิ าศ แต่จะ มีชีวิตนิรันดร” (ยน 3:15-16) 6.6 “ผู้ใดที่ยอมรับพระองค์ คือผู้ที่เชื่อใน พระนามพระองค์ พระองค์ประทานอ�ำนาจให้ผนู้ นั้ กลายเป็นบุตรของพระเจ้า” (ยน 1:12)

สรุป : นักบุญเปาโลเตือนเราว่า “จงระมัดระวัง จงยืนหยัดมัน่ คงในความเชือ่ จงกล้าหาญและ เข้มแข็ง จงท�ำทุกสิง่ ด้วยความรักเถิด” (1 คร 16:13)

เชื่อไว้เถิด จะเกิดผล


“ศักดิ์สงฆ์”

ก้าวสู่...

“ศักดิ์สงฆ์” มิใช่เป้าหมายสูงสุด หากแต่เป็นเครื่องมือและวิถีทาง ที่จะน�ำเราไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือ เกียรติมงคลของพระเจ้า ความรอดของเราเอง และความรอดของผู้อื่น

สัมภาษณ์ : จุฑาภรณ์ ภานุพันธ์ เรียบเรียง : แผนกสื่อมวลชนจันทบุรี 15


สังฆานุกรยอห์น (อัครสาวก)

วัชรพล กู้ชาติ สัตบุรุษวัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ ชลบุรี บุตรของเมารีซีโอ ด�ำริ กู้ชาติ และมารีอา สมศรี แซ่แต้ วัชรพล กูช้ าติ หรือ มาสเตอร์โบ้ท เขามีครอบครัวทีเ่ ป็น ตัวอย่างของความเชือ่ ความศรัทธาที่ดี อีกทั้งยังเป็นไม้เรียวกับโทรโข่งคอย กรอกหูให้เข้าวัดเป็นประจ�ำ จึงท�ำให้ได้ใกล้ชดิ งานของ พระเจ้ามากขึน้ ประกอบกับแถวๆ บ้านมีรนุ่ พีห่ ลายคน ทีเ่ ข้าบ้านเณร และด้วยการชักชวนจากพระสงฆ์ บวก ด้วยแรงสนับสนุนจากทางบ้าน สิ่งเหล่านี้จึงเป็นกระ แสเรียกให้เข้าบ้านเณร เมื่อเขาได้สัมผัสชีวิตการเป็นเณร ยิ่งท�ำให้ ได้ใกล้ชิดกับบรรดาพระสงฆ์ และเกิดความประทับ ใจในบรรดาพระสงฆ์ เห็นว่างานของพระสงฆ์นั้นมี ความส�ำคัญต่อสัตบุรุษ จึงกลายเป็นแรงผลักดันให้ เขาเลือกที่จะสานต่องานของพระเจ้า และถ่ายทอด ความสุขให้กับผู้อื่น “แค่อยูก่ บั คนอืน่ ให้กำ� ลังใจและให้ขอ้ คิดดี ๆ ส�ำหรับการด�ำเนินชีวติ ก็ทำ� ให้พวกเขามีความสุขแล้ว การได้สอนเด็ก ๆ เล่นดนตรี ได้ใช้โอกาสที่เด็ก ๆ มา ช่วยมิสซา สอนพวกเค้าให้รู้จักการรับผิดชอบ สวด ภาวนา ก็ทำ� ให้เด็ก ๆ มีความสุขได้ ถ้าไม่เป็นพระสงฆ์ ก็ไม่รจู้ ะได้ทำ� หรือไม่ จะมีโอกาสแบบนีห้ รือเปล่า เรือ่ ง 16

เล็ก ๆ น้อย ๆ แบบนี้ก็ต้องอาศัยการฝึกฝนอบรมที่ได้ มาจากบ้านเณร การรูจ้ กั ตัวเอง รูจ้ กั คนอืน่ ก็ชว่ ยให้รู้ ว่าควรจะแนะน�ำคนอืน่ อย่างไร ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ก็คอื การ สวดภาวนาให้กับตัวเองและคนที่ก�ำลังเป็นทุกข์ เพื่อ จะได้มีพลังในการที่พยุงคนอื่นเอาไว้ได้ โดยที่ตัวเอง ไม่ล้ม พูดง่าย ๆ คือ มีความสุขกับการเป็นพระสงฆ์”

เพราะการรู้จักว่าตัวเอง เป็นคนธรรมดา และมีข้อบกพร่อง ท�ำให้ผมเปิดรับ พระเมตตาของพระเจ้า สิ่งหนึ่งที่เป็นความยากล�ำบาก ซี่งถือได้ว่า เป็นปัญหาในชีวิตพระสงฆ์ ส�ำหรับเขานั้นคือ ความ สัมพันธ์ต่อพี่น้องพระสงฆ์ เขาบอกว่า การตัดขาด จากพีน่ อ้ งพระสงฆ์ดว้ ยกัน นีแ่ หละทีเ่ ป็นปัญหา เพราะ พระสงฆ์เปรียบเสมือนครอบครัวอีกครอบครัวหนึง่ ถ้า ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวดี ไม่วา่ ปัญหาจะ


หนักหนาสาหัสสักเพียงใด ก็ผา่ นมันไปได้ แต่ถา้ ความ ไม่ใช่แค่เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นเท่านั้น แต่เพื่อให้ใจเรา สัมพันธ์กับคนในครอบครัวไม่ดีซะอย่างแล้ว ไม่ว่าจะ จะได้เหมือนกับพระองค์มากขึน้ จนบางครัง้ มันอาจจะ มากจนท�ำให้เราพูดเหมือนกับนักบุญเปาโลว่า “วิบัติ เป็นปัญหาอะไรก็ตาม ย่อมผ่านมันไปได้ยาก แก่ข้าพเจ้า ถ้าข้าพเจ้าไม่ประกาศข่าวดี” เมื่อถามถึงการเตรียมตัวที่จะเข้าสู่สังฆภาพ ก่อนที่ว่าที่พระสงฆ์คนนี้จะได้รับศีลบวชเป็น สงฆ์แล้ว เขาเล่าว่า ได้เตรียมตัวมาตลอดชีวิตของ การเป็นเณรเลยทีเดียว เตรียมตัวด้วยการเรียนรู้จัก พระสงฆ์อย่างเต็มตัว เขาจึงใช้เวลาในตอนนี้ทบทวน ชีวิตที่ผ่านมาทั้งหมด ในขณะเดียวกัน ก็ขอบคุณพระ ตัวเอง และเรียนรู้ที่จะอยู่กับคนอื่น เป็นเจ้าส�ำหรับพระพร และพระหรรษทานทีไ่ ด้รบั ผ่าน “ผมไม่ใช่คนทีด่ แี บบไม่มที ตี่ ิ ผมเป็นคนธรรมดา บุคคลต่าง ๆ เขาบอกว่า การได้รบั ศีลบวชนัน้ เป็นเพียง คนหนึ่งที่พยายามแสวงหาและรูจ้ กั ตัวเอง เพราะการ การเริม่ ต้นเท่านัน้ ชีวติ พระสงฆ์ทกี่ ำ� ลังจะเริม่ ต้นในอีก รูจ้ กั ว่าตัวเองเป็นคนธรรมดา และมีขอ้ บกพร่อง ท�ำให้ ไม่กี่วันนี้ ขอฝากไว้ในการดูแลของพระเจ้า ผมเปิดรับพระเมตตาของพระเจ้า ท�ำให้ผมเข้าใจ ความเป็นคนธรรมดาของพี่น้อง และพร้อมที่จะเป็น ถึงน้องๆ เณร ... คนกลางระหว่างพระเจ้ากับพี่น้อง ในหน้าที่ของการ ถึงแม้วนั นีเ้ ราอาจยังไม่ได้เข้าใจชีวติ ความ เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นผู้ที่น�ำพระพรพระ เป็นพระสงฆ์มากนัก แต่ขอให้เราพยายามฝึกตัว หรรษทานต่าง ๆ ของพระเจ้ามายังเพื่อนพี่น้อง เป็น เองให้เป็นคนมีวนิ ยั มีความรับผิดชอบ ซือ่ สัตย์ ผู้อภิบาลทั้งฝ่ายร่างกายและจิตวิญญาณ” ขยัน อดทน เพราะช่วงนี้แหละ จะเป็นช่วงเวลา ส่วนเรือ่ งทีจ่ ะท�ำให้พนี่ อ้ งสัตบุรษุ มีความเชือ่ เพิม่ ที่ติดตัวเราไปตลอดชีวิต เหมือนเป็น master ขึ้นนั้น เขาให้ข้อคิดว่า “การจะมีความเชื่อในพระเจ้า plan ของชีวติ เลย ส่วนน้องเณรใหญ่ เราอาจ ได้นนั้ ก็ตอ้ งเปิดใจรับพระเจ้าก่อน ซึง่ การรูจ้ กั พระองค์ จะเรียนเยอะ มีความรู้มาก มีเหตุผลร้อยแปด และการท�ำความรูจ้ กั พระเจ้านัน้ จ�ำเป็นต้องอยูบ่ นพืน้ แต่สิ่งส�ำคัญที่สุดก็คือ ความรัก ความเข้าใจ ฐานของพระคัมภีร์ แม้ว่าพระคัมภีร์จะเป็นเหมือนยา ซึง่ กันและกัน ฝึกทีจ่ ะยอมรับความเป็นจริง และ ขมหม้อใหญ่ส�ำหรับคริสตชนก็ตาม แต่การอ่านพระ นอบน้อมต่อความเป็นจริงในชีวติ ของเราเสมอ คัมภีรโ์ ดยไม่รภู้ มู หิ ลัง ก็ยงั มีประโยชน์ เพราะสิง่ ทีพ่ ระ เราไม่ใช่คนสมบูรณ์พร้อม ถ้าหากมีคนมาเตือน เยซูเจ้าท�ำในพระคัมภีรน์ นั้ เป็นภาษาของหัวใจ ถ้าเรา เรา ให้รู้จักฟัง ในขณะเดียวกันให้มองคนที่อยู่ อ่านพระคัมภีรด์ ว้ ยใจ ถึงแม้เราจะไม่เข้าใจทัง้ หมด แต่ รอบข้างเราเสมอด้วย ทุกคนมีข้อบกพร่อง ก็เชือ่ ได้วา่ เราสามารถสัมผัสกับความรักของพระเป็น กันทั้งนั้น ขอให้เข้าใจกัน ขอให้มองสิ่งที่เกิด เจ้าได้เช่นกัน ซึง่ สามารถแปรเปลีย่ นเป็นพลังทีย่ งิ่ ใหญ่ ขึ้นด้วยสายตาของความรัก อาจไม่ได้ช่วยให้ ในการด�ำเนินชีวติ ของเรา ผ่านไปยังผูอ้ นื่ ด้วยการกระ เราหมดทุกข์ แต่ช่วยให้ความทุกข์ ความยาก ท�ำดี และจากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ นี้เอง ผมเชื่อว่าพี่น้อง ล�ำบากของเรามีความหมาย ที่ได้อ่านพระคัมภีร์ จะอยากอ่านพระคัมภีร์มากขึ้น 17


สังฆานุกรเปโตร

นรเทพ ภานุพันธ์ สัตบุรุษอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี บุตรของเปาโล สุทิน และเทเรซา สวรรค์ ภานุพันธ์

สังฆานุกรเปโตร นรเทพ ภานุพันธ์ หรือที่เรา เรียกกันว่า มาสเตอร์เก๊า เขาถูกปลูกฝังกระแสเรียก แบบไม่รตู้ วั ตัง้ แต่ยงั เด็ก ต้องมาวัดพร้อมกับครอบครัว ในทุก ๆ วันอาทิตย์ ด้วยเหตุนเี้ อง จึงได้รบั การถ่ายทอด ประสบการณ์ต่าง ๆ ของพระเจ้า ผ่านทางการอบรม สั่งสอนของครอบครัวมาโดยตลอด เขาเล่าว่า เมือ่ เริม่ เข้าเรียนชัน้ ประถมศึกษาที่ โรงเรียนลาซาล จันทบุรี (มารดาพิทกั ษ์) เขาได้รจู้ กั กับ

ท่านอธิการ เพราะ ท่านอยูป่ ระเทศไทย แต่ ใ ช้ ชี วิ ต สมถะ เขาจึงไปหาท่าน แล้วบอกว่าอยากใช้ชีวิตแบบนี้บ้าง ท่านยิ้มกลับมา แล้วบอกให้เขาไปหาคุณพ่อเจ้าวัด (สมัยนั้นคือ คุณพ่อวัชรินทร์ สมานจิต) ว่าอยากเข้า บ้านเณร ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าคืออะไร แต่สุดท้ายก็ได้เข้า บ้านเณร โดยมีคุณพ่อวัชรินทร์ เป็นผู้รับรอง

ผมคิดเสมอว่า หน้าที่ที่เราได้รับมอบหมายจากพระ ย่อมมาพร้อมพระพรของพระองค์ โดยที่เราไม่ต้องกังวล ภราดา โจเซฟแมทต์ ซึง่ เป็นอธิการโรงเรียนลาซาลใน สมัยนั้น หลังเลิกเรียนก็มักจะขึ้นไปคุยกับท่าน เพราะ ท่านมีบคุ ลิกภาพทีเ่ ป็นกันเองกับเด็กทุกคน ในขณะทีท่ า่ น ก�ำลังจะรับประทานอาหารเย็น ได้เห็นท่านถือจานข้าว ไปตักน�ำ้ แกงในหม้อ จึงถามท่านว่า “ท่านกินอะไร” ท่าน ตอบอย่างใจดีว่า “ต้มหัวหอม อธิการทานมา 3-4 วัน แล้ว ต้มเอาไว้จะได้นมิ่ ๆ” เรือ่ งนีจ้ งึ ท�ำให้เขาประทับใจ 18

ย้อนไปในช่วง 8 ปีสุดท้าย ที่บ้านเณรใหญ่ แสงธรรม สามพราน เขาใช้ชีวิตอย่างเข้มข้น ไม่ว่า จะเป็นการเรียนหรือฝึกงานอภิบาล ท�ำให้เริ่มมีความ ชัดเจนในการตัดสินใจ ที่จะรับการบวชเป็นพระสงฆ์ มากยิ่งขึ้น และในวันทีไ่ ด้รบั การบวชเป็นสังฆานุกร ก็ ท�ำให้เขาพร้อมมากขึน้ ทีจ่ ะก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึง่ ของ ครอบครัวสงฆ์สังฆมณฑลจันทบุรี ในอนาคตอันใกล้


“ตอนนี้ ผมพร้อมที่จะสานงานต่อจากองค์ พระเยซูคริสตเจ้าแล้ว นั่นก็คือ งานแห่งการเป็น ผู้รับใช้ ถึงแม้ว่าผมจะเคยไตร่ตรองดูหลายครั้งแล้ว ว่า ตัวเองเหมาะสมกับงานนีห้ รือไม่ แต่แท้จริงแล้วใน ความเป็นมนุษย์ล้วนมีความอ่อนแอ และผมก็เชื่อว่า พระเจ้าพร้อมที่จะใช้เครื่องมือที่เป็นความอ่อนแอนี้ ให้สานต่องานของพระองค์ เมื่อได้รับเลือกแล้ว ผมก็ พร้อมทีจ่ ะรับผิดชอบภารกิจนี้ ด้วยความเต็มใจ เพราะ ภารกิจของพระเจ้า มาพร้อมพระพรของพระองค์ อย่างแน่นอน”

“สิ่งเดียวที่จะผ่านปัญหาเหล่านี้ไปได้ นั้นก็ คือ การให้ความส�ำคัญแก่บรรดาสัตบุรษุ เราต้องเห็น สัตบุรษุ ส�ำคัญกว่าสือ่ และเทคโนโลยีพวกนัน้ เพราะลูก แกะของพระเจ้าก็คือ บรรดาสัตบุรุษ ดังนั้น สัตบุรุษ ต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด นี่เป็นอุดมการณ์ของผม”

จะทำ�ให้สัตบุรุษมีความเชื่อ ก็ต้องให้เขาเห็นความเชื่อ ในตัวเราก่อน เหมือนเรามีเงินอยู่ 5 บาท แต่จะให้ 10 บาท มันก็ให้ไม่ได้

พระสงฆ์ ในความคิดของเขาคือ ตัวแทนของ พระคริสตเจ้าที่มองเห็นได้ในโลกนี้ เพื่อให้สัตบุรุษที่ มองเห็นเขา จะได้เห็นพระคริสตเจ้าในตัวของเขาเอง ด้วย โดยผ่านทางการรับใช้ ซึ่งเป็นหน้าที่เพียงหน้าที่ เดียว ที่พระเยซูเจ้าทรงมอบให้กับผู้ที่สืบทอดงานต่อ จากพระองค์ มีหน้าทีบ่ ริการศีลศักดิส์ ทิ ธิต์ า่ ง ๆ อย่าง ไม่บกพร่อง ส่วนงานอืน่ ๆ นัน้ เขาคิดว่าเป็นเรือ่ งรอง “สุดท้าย ถ้าเราอยากให้คริสตชนมีความเชือ่ ทัง้ สิน้ เพราะ ถ้าพระสงฆ์ไม่ท�ำงานดังกล่าวแล้ว ก็ไม่มี เพิ่มขึ้น ก็ต้องท�ำให้พวกเขาเห็นความเชื่อในตัวผู้น�ำ ใครสามารถท�ำแทนได้ ก่อน ไม่อย่างนั้น จะไปสอนให้สัตบุรุษมีความเชื่อเลย ก็ไม่ได้ เหมือนเรามีเงินอยู่ 5 บาท แต่จะให้พวกเขา ส่วนปัญหาในกระแสสังคมปัจจุบันที่บรรดา 10 บาท มันก็ให้ไม่ได้ เราต้องเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน พระสงฆ์คงจะหนีไม่พ้น เขามองว่ากระแสการเป็น ต้องปฏิบัติให้พวกเขาเห็นว่าเรามีความเชื่อ” ปัจเจกของแต่ละคนนีแ่ หละคือปัญหา การแยกตัวเอง ออกจากสังคมทีละเล็กทีละน้อย ผ่านทางสือ่ และทาง ถึงน้องๆ เณร ... เทคโนโลยีตา่ ง ๆ หลายคนเลือกเสพความจริงผ่านสิง่ เหล่านี้ มากกว่าการเสพความจริงผ่านผู้คนรอบข้าง ผมคิดว่าน้องๆ ทุกคน คงพบกับ สุดท้ายผลทีต่ ามมาก็คอื กระแสสังคมทีม่ องว่าทุกคนมี อุปสรรคกันบ้าง แต่อปุ สรรคส่วนใหญ่เป็นเรือ่ ง สิทธิท์ จี่ ะท�ำทุกอย่างได้ตามอ�ำเภอใจ ไม่เว้นแม้กระทัง่ ที่เรากังวลไปเองมากกว่า เช่น เรื่องการเรียน การกระท�ำทีผ่ ดิ ศีลธรรม จนเกิดเป็นความเคยชินของ ว่าจะเรียนได้หรือไม่ หรือการใช้ชวี ติ ในแต่ละวัน สังคม เช่น การโพสต์รูป หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม แต่สุดท้ายแล้วน้อง ๆ ก็จะผ่านมันไปได้ด้วยดี สิ่งเหล่านี้ คือ สิ่งที่พระศาสนจักรก�ำลังเผชิญ ไม่เว้น โดยอาศัยพระพรของพระองค์ แม้กระทั่งพระสงฆ์เอง 19


กิจกรรม ตาม

รับศีลก�ำลัง อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี

ขนย้ายของ วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ศรีราชา 20

วัด ฟื้นฟูจิตใจ เตรียมรับศีลมหาสนิท วัดนักบุญลอเรนซ์ นางาม

ขนย้ายของ วัดพระหฤทัยแห่ง พระเยซูเจ้า ศรีร

าชา


วัดพระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า พบปะพระสงฆ์ และตัวแทนวัดแขวงปราจีน สมรสหมู่ วัดพระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า

ก่อตั้งกลุ่มผู้สูงอายุ วัดนักบุญลอเรนซ์ นางาม

งานคูร์ซิลโล ระดับสังฆมณฑล วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ขลุง

าสนจักร นครนายก

ัดพระมารดาพระศ นว ย ยี มเ ย ่ ี เย ี ศร ส ั จร ์ งษ พ ิ ร สิ อ โ วี ล พระสังฆราชซิ

21


งานอภิบาล ผู้เดินทางทะเล สังฆมณฑลจันทบุรี ศูนย์อภิบาลผูเ้ ดินทางทะเล ศรีราชา สเตลลา มาริส

ข้อมูล : คุณพ่อสุดเจน ฝ่นเรือง คุณอภิญญา ทาจิตต์ เรียบเรียง : แผนกสื่อมวลชนจันทบุรี

สิ่งที่ท่านได้ปฏิบัติต่อผู้ยากไร้ของเราเท่ากับได้ปฏิบัติต่อเราเอง” (มัทธิว 25:40)

เมือ่ ปี ค.ศ.1990 (2533) สองหน่วยงานระดับชาติได้ถกู ก่อตัง้ ขึน้ ภายใต้การดูแลของสภาพระสังฆราช คาทอลิกแห่งประเทศไทย นั่นคือ “คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อผู้เดินทางทะเล” (National Catholic Commission for Seafarers) หรือ NCCS และ “คณะกรรมการงานอภิบาลผู้ย้ายถิ่นและนักท่องเที่ยว” (Commission for pastoral care of Migrant workers and Tourists) NCCM โดยมี คุณพ่อวิลเลี่ยม(บิล) โอเรียลี่ พระสงฆ์คณะแมรี่โนลด์จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ดูแล 22


ปลายปี ค.ศ.1992-1997 งานผูเ้ ดินทางทะเล มีการด�ำเนินการทีเ่ ข้มข้นมากขึน้ ในช่วงนีห้ น่วยงาน ของ คุณพ่อโทมัส เปซาเรซี่ ได้รับการสนับสนุนทุน บางส่วนในการด�ำเนินงาน จากสภาพระสังฆราช คณะ แมรีโ่ นลด์ และทุนส่วนใหญ่จาก I.T.F.(International Transport workers’ Federation) มีการจัดจ้างเจ้า หน้าที่เพิ่มขึ้น และมีการขยายการท�ำงานไปยังพื้นที่ สังฆมณฑลอื่น ๆ ด้วย เช่น สุราษฎร์ธานี ระนอง สงขลา ภูเก็ต และจันทบุรี โดยมีส�ำนักงานติดต่อ ประสานงาน และปฏิบตั งิ านที่ จังหวัด ชลบุรี ภายใต้ การดูแลของ คุณพ่อ สุดเจน ฝ่นเรือง โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์อภิบาล ผู้เดินทางทะเล ศรีราชา สเตลลา มาริส ศูนย์อภิบาลผูเ้ ดินทางทะเล หรือ ชือ่ ตามสากล ว่า Apostleship of the Sea (AOS) เป็นหนึ่งแผนก ในสมณกระทรวงฝ่ายสังคม Pontifical Council for the Pastoral Care of Migrants and Itinerant People sector People of the Sea หรือที่รู้จักกัน ทั่วโลก ในนามของ Stella Maris Seafarer center เป็นศูนย์ทจี่ ดั ตัง้ ขึน้ เพือ่ ให้การบริการ และความช่วย เหลือแก่ลูกเรือ โดยไม่จ�ำกัดเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา หรือสีผิว มุ่งเน้นงานด้านการอภิบาลดูแล ให้ความ ช่วยเหลือพวกเขา ทีต่ อ้ งห่างจากบ้าน และครอบครัว มาเป็นระยะเวลานาน ๆ ดังนั้น ศูนย์อภิบาลผู้เดิน ทางทะเลจึงเป็นเสมือนบ้านหลังที่สอง ส�ำหรับพวก เขาด้วย กลุม่ เป้าหมายทีศ่ นู ย์อภิบาลผูเ้ ดินทางทะเล ให้การดูแลช่วยเหลือ ได้แก่ กลุม่ ลูกเรือประมงทัง้ คน ไทย และชาวต่างชาติ กลุม่ นักท่องเทีย่ ว ผูอ้ พยพย้าย ถิน่ และผูถ้ ูกคุมขังในพื้นที่ ตลอดจนผูท้ ี่เกี่ยวข้องกับ กลุม่ ดังกล่าว ถือเป็นงานด้านศาสนสัมพันธ์ และงาน แพร่ธรรมกับพี่น้องต่างศาสนาอีกทางหนึ่ง

การด�ำเนินการ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อผู้เดินทางทะเล ได้รว่ มกันก�ำหนดแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่ผเู้ ดิน ทางทะเล ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ซึ่งอาจจะ เปลี่ยนแปลงตามสภาวการณ์ ส�ำหรับแนวทางที่ใช้ ร่วมกัน คือ 1. ให้ความส�ำคัญ ในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เป็นความส�ำคัญสูงสุด ทัง้ นี้ โดยไม่คำ� นึงถึง เชือ้ ชาติ ศาสนา และสถานะของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ 2. ในกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือ ให้ ความเร่งด่วนสูงสุดแก่ผู้ที่ยังไม่มีผู้อื่นให้ความช่วย เหลือ ถือเป็นล�ำดับความส�ำคัญสูงสุด 3. ในการด�ำเนินงานตามภารกิจต่าง ๆ ของแต่ละ ศูนย์ฯ หากมีข้อสงสัยในวิธีการปฏิบัติ ให้เจ้าหน้าที่ ของแต่ละศูนย์ร่วมปรึกษาหารือกันเป็นทางเลือก เบื้องต้น หากยังมีข้อสงสัยให้ขอค�ำปรึกษาในระดับ สูงขึ้นไปตามล�ำดับ 4. ศูนย์ฯ สนับสนุนนโยบายรัฐบาล ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับความสงบสุขของส่วนรวม เช่นในเรื่อง การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว โดยให้แรงงานต่าง ชาติไปท�ำการจดทะเบียนในพื้นที่ และยังสนับสนุน สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ส�ำหรับกลุ่มเป้าหมายดัง กล่าวด้วย 5. ส่งเสริม และให้การช่วยเหลือแก่ผู้ที่พยายาม ช่วยเหลือตนเองเป็นเบื้องต้น และท�ำการช่วยเหลือ เพื่อให้รู้จักช่วยเหลือตัวเองในอนาคต 6. ประสานการด�ำเนินงานใกล้ชดิ กับวัด และหน่วย งานคาทอลิกในท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงานอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อความสัมฤทธิ์ของเป้าหมายที่ สมบูรณ์ในงานที่รับผิดชอบ 23


กิจกรรม แผนกเพือ่ การท่องเทีย่ วและผูเ้ ดินทางทะเล ศรีราชา / ศูนย์ประสานงานผู้อพยพย้ายถิ่น สังกัด ฝ่ายสังคม สังฆมณฑลจันทบุรี ได้ด�ำเนินกิจกรรม ต่าง ๆ ตามนโยบายปฏิบัติ ด้านสังคม ซึ่งสอดคล้อง กับแผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2011-2015 โดยมีหลักการทีก่ �ำหนดไว้ให้เกิดความต่อเนือ่ ง เพือ่ คืน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แก่แรงงาน ที่รอคอยโอกาส รวมทั้ง ท�ำงานร่วมกันกับองค์กร มูลนิธิฯ หน่วยงาน ภาครัฐ ที่มีเนื้องานในกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน อาทิ IOM LPN DSI MWG องค์กรเอกชนจากประเทศ กัมพูชา ทีมสหวิชาชีพ ฯลฯ เพือ่ สร้างสรรค์สงั คมให้มี ความสุข อย่างเท่าเทียมกันในอนาคต โดยได้ด�ำเนิน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ 1. งานเยี่ยมลูกเรือที่ท่าเรือ เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ลูกเรือมารับการบริการที่ศูนย์ฯ และให้ค�ำ ปรึกษาต่าง ๆ แก่ลูกเรือ 2. งานด้านศาสนาส่งเสริมให้ลูกเรือปฏิบัติตาม หลักศาสนาที่ตนนับถือ 2.1 จัดให้มีพิธีถวายมิสซาบนเรือที่ท่าเรือ แนะน�ำเส้นทาง วันและเวลามิสซาที่ โบสถ์ส�ำหรับลูกเรือคาทอลิก เนื่องจาก ชีวิตของลูกเรือไม่มีโอกาสได้ไปโบสถ์ใน วันอาทิตย์ เพื่อร่วมพิธีมิสซา 2.2 จัดห้องท�ำพิธีละหมาดที่ศูนย์ฯ ส�ำหรับ ลูกเรือมุสลิม และแนะน�ำเส้นทางไป มัสยิดต่าง ๆ 3. งานด้านบริการ จัดให้มีบริการต่าง ๆ ดังนี้ 3.1 บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ 3.2 บริการนิตยสารและหนังสือ 3.3 บริการรับส่งจดหมายและโทรสาร 3.4 บริการห้องส�ำหรับเล่นสนุ๊กเกอร์ 24

3.5 บริการน�้ำดื่ม เช่น น�้ำชา กาแฟ 3.6 บริการรับฝากของ 3.7 บริการข้อมูลต่าง ๆ ที่ลูกเรือต้องการ 3.8 บริการห้องส�ำหรับชมภาพยนตร์ 3.9 บริการห้องพัก 3.10 บริการห้องละหมาด 3.11 บริการอินเตอร์เน็ต 3.12 บริการให้คำ� แนะน�ำและค�ำปรึกษาต่างๆ 3.13 บริการด้านสุขภาพ แนะน�ำการป้องกัน โรคเอดส์และตรวจสุขภาพ ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล ศรีราชา เป็น เสมือนบ้านหลังทีส่ องส�ำหรับลูกเรือ ทีต่ อ้ งเดินทางมา ไกล ต้องจากบ้านเกิดและครอบครัว เป็นเวลาหลาย เดือน ศูนย์ฯจึงเป็นทีส่ ำ� หรับพักผ่อนและอ�ำนวยความ สะดวกสบายให้กับลูกเรือ หลังจากการท�ำงานหนัก อยูบ่ นเรือ ศูนย์ฯยังเป็นศูนย์กลางส�ำหรับลูกเรือเพือ่ พบปะ พูดคุยกันระหว่างเรือล�ำอื่น ๆ อีกทั้งเป็นสื่อ กลางติดต่อกับครอบครัวของลูกเรือด้วย ปั จ จุ บั น ศู น ย์ อ ภิ บ าลผู ้ เ ดิ น ทางทะเล ศรีราชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรระหว่าง ประเทศ เพื่อขับเคลื่อนงานอภิบาลของพระศาสนา จักรในประเทศไทย เป็นหนึ่งหน่วยงานที่มีส�ำนักงาน ใหญ่อยูท่ ี่ ส�ำนักวาติกนั กรุงโรม และเป็นสมาชิกภาย ใต้องค์กร The International Christian Maritime Association (ICMA) โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ The International committee on Seafarer welfare (ICSW) มีคณ ุ พ่อ สุดเจน ฝ่นเรือง เป็นผูอ้ ำ� นวยการ คุณ อภิญญา ทาจิตต์ เป็นรองผู้อ�ำนวยการ ที่ได้รับ เลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย ในการท�ำงานอภิบาล ผูเ้ ดินทางทะเล เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการของหน่วย งานในต�ำแหน่ง รองประธานคณะกรรมการบอร์ด ของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้


กิจกรรม

งานอภิบาลผู้เดินทางทะเล สังฆมณฑลจันทบุรี

25


กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ โ ด ย ส� ำ นั ก ง า น วิ นิ จ ฉั ย ค ดี

ถาม คุณพ่อครับ หากหนุ่ม-สาวประสงค์จะแต่งงาน ควรปฏิบัติอย่างไรครับ ?

26


ตอบ บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ตรัสว่า “งานอภิบาลครอบครัว โดยเฉพาะการ เตรียมหนุม่ -สาวเข้าสูช่ วี ติ สมรสและชีวติ ครอบครัว ต้องได้รับความส�ำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ในบรรดา งานทัง้ หลายของพระศาสนจักร ทัง้ นี้ เพราะพระ ศาสนจักรถือว่า อนาคตของมนุษยชาติขึ้นกับ ครอบครัว” (เทียบ เอกสารครอบครัวคริสตชน ในโลกปัจจุบัน) ด้วยเหตุนี้ สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย จึงออกข้อก�ำหนดในกฤษฎีกา 11 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 ว่า หนุ่ม-สาวที่จะแต่งงาน ต้องไปพบพระสงฆ์เจ้าอาวาส อย่างน้อย 1 เดือน ก่อนการสมรส ทั้งนี้ เพื่อให้พระสงฆ์ พูดคุยและสอบถาม ดังนัน้ เมือ่ บ่าว-สาวตัดสินใจแต่งงานกัน ทัง้ สองต้องปรึกษาบิดา-มารดา เมือ่ ครอบครัวทัง้ สองเห็นพ้องต้องกัน บ่าว-สาว ก็ควรรีบแจ้งเรือ่ ง การแต่งงานให้พระสงฆ์เจ้าอาวาสทราบโดย ทันที การแต่งงานของบ่าว-สาวคู่ใหม่ จักได้เริ่ม ต้นอย่างดี และก้าวหน้าไปสู่ความสมบูรณ์

ประโยชน์ของการไปพบพระสงฆ์เนิ่นๆ

1. 2.

มีโอกาสและเวลาปรึกษาหารือเรือ่ งวัน–เวลา ประกอบพิธสี มรส จะได้สะดวก ทัง้ ฝ่ายบ่าว-สาว บรรดาแขก และพระสงฆ์ บ่าว-สาว มีเวลามากพอที่จะพูดคุยทุกเรื่อง กับพระสงฆ์ ท�ำให้เข้าใจคุณค่า ความหมาย และความส�ำคัญของการแต่งงานแบบคริสตชน และสิ่งที่ส�ำคัญที่สุด คือ พระสงฆ์จะได้ พิจารณาสอบถามอย่างรอบคอบ จนแน่ใจแล้วว่า บ่าว-สาวทีจ่ ะเข้าพิธแี ต่งงาน ไม่มพี นั ธะเดิมของการ สมรส ตลอดจนไม่มีข้อขัดขวาง หากมีพันธะเดิม หรือข้อขัดขวาง บ่าว-สาวและพระสงฆ์จะได้ร่วม มือหาทางแก้ไขได้ทนั ท่วงที เพราะหากบ่าว-สาวและ ครอบครัวเตรียมการแต่งงาน เชิญแขกเหรื่อพร้อม แล้ว จึงมาปรึกษากับพระสงฆ์เรือ่ งการแต่งงาน เมือ่ พระสงฆ์ทราบว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ หรือทัง้ สองฝ่าย มี พันธะเดิมของการแต่งงาน หรือมีข้อขัดขวาง พระ สงฆ์กไ็ ม่สามารถประกอบพิธแี ต่งงานให้ได้ ท�ำให้เสีย เวลา เกิดความเสียหายมากมาย ดังนัน้ เชิญชวนบ่าว-สาวทีต่ ดั สินใจแต่งงาน รีบมาปรึกษาพระสงฆ์เจ้าอาวาสเนิ่นๆ เพราะ บ่าว-สาวทีไ่ ด้รบั การอบรมเตรียมชีวติ ครอบครัวอย่าง ดี ย่อมได้รับผลดีมากกว่าคนอื่น ๆ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่อทรงวุฒิ ประทีปสุขจิต ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 27


เห็ น ความรั ก ฉันบ้างไหม

28


พระเจ้าทอดพระเนตร บรรดาสิ่งที่พระองค์ ได้ทรงสร้าง และดูเถิด เป็นสิ่งที่ดียิ่งนัก (ปฐมกาล 1:31)

“เธอเห็นท้องฟ้านัน่ ไหม เห็นเงาของเมฆหรือเปล่า ทะเลสีครามทีท่ อดยาว เห็นความรักฉันบ้างไหม” ......................................................... ขอบพระคุณ สิง่ สร้าง แสนโสภา ขอบพระคุณ ผืนธารา ในหล้าโลก ขอบพระคุณ สายลมไหว ทีพ่ ดั โบก ขอบพระคุณ ทีพ่ ดั โศก ไปจากใจ ......................................................... ทุกสิง่ สร้าง ทีส่ วย พิสทุ ธิล์ น้ ล้วนเป็นผล งานสร้าง อันยิง่ ใหญ่ ของพระเจ้า พระบิดา ผูเ้ กรียงไกร ทรงสรรไว้ ให้ดวงใจ ได้ผอ่ นคลาย ......................................................... เห็นความรักของพระองค์บา้ งไหม ทรงสรรไว้ในธรรมชาติอนั ยิง่ ใหญ่ ทุกข์ทอ้ แท้ออ่ นล้าในยามใด คืนดวงใจไว้ทสี่ งิ่ สร้างของพระองค์

โดย น�้ำผึ้งหวาน 29


30


GAME ปริศนาอักษรไขว้ กติกา

ส�ำหรับผู้ตอบถูก จะได้รับของที่ระลึกจากหน่วยงานฯ เติมอักษรไขว้ทางด้านล่างให้สมบูรณ์ โดยอ่านค�ำใบ้ที่ก�ำหนดให้ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน น�ำมาเติม ในช่องตารางที่ก�ำหนดให้ ให้ถูกต้อง ในกรณีสระ ิ ี ึ ื ุ ู ่ ้ ๊ ๋ ็ ์ ให้เติมไปในช่องเดียวกับตัวอักษรได้เลย ส่วน ะ า ำ เ แ ไ ใ โ ให้แยกไปใส่อีกช่องหนึ่ง 1

9 7

6

3 4 2

8 5 10

คำ�ใบ้ แนวตัง้ 1. เดชะพระนาม พระบิดาและพระบุตรและ...... 3. นักบุญเปโตรท�ำอาชีพอะไร 4. พูดกับแม่พระว่า “เธอมีบุญหญิงกว่าหญิงใดๆ” 6. เพื่อนที่พระเยซูปลุกจากความตายคือใคร 10. ใครที่เป็นผู้สร้างเรือขณะที่น�้ำท่วมโลก

แนวนอน 2. ชื่อใหม่ของ บทข้าแต่อารักขเทวดา 5 พระเยซูท�ำอัศจรรย์แรกที่หมู่บ้าน 7. ค�ำว่า คาทอลิก แปลว่าอะไร 8. ชื่อนักบุญของพระสันตะปาปาองค์ปัจจุบัน 9.ปีนี้คือปีที่พระสันตะปาปาประกาศเป็นปีอะไร 31


GAME ปริศนาอักษรไขว้

ชื่อที่อยู่ผู้น�ำส่ง ������������������������������������������������������������������������� ������������������������������������������������������������������������� �������������������������������������������������������������������������

แสตมป์ 3 บาท

กรุณาส่ง หน่วยงานสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี 21/3 หมู่ 1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110

9 ยู พ 7 คู ด ส 1 ว ร ร ค์ อ ะ ห า 4 5 เ อ ม ม า อู ส ง ย ห ซู า พ 6 เ ป โ ต ร ต

สิ่งตีพิมพ์

3

2

8

32

ท ห า ร

ย อ ห์ น

10

เฉลย GAME ปริ ศ นาอั ก ษรไขว้ เล่มที่ 9 ปีที่ 24 เดือนเมษายน 2013


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ เปิดและถวาย วัดนักบุญอันตน พนมสารคาม 6 เมษายน 2013

33


ฉลองวัด แม่พระรับสาร

ตราด

ฉลองวัด ยอแซฟกรรมกร

ท่าใหม่

34


ฉลองวัด น.ฟิลิปและยากอบ

หัวไผ่

ฉลองวัด แม่พระที่พึ่ง แห่งปวงชน

ดงแหลมโขด

35


ฉลองวัด พระจิตเจ้า

บ้านทัพ

ฉลองวัด

พระหฤทัย แห่งพระเยซูเจ้า

ขลุง

36


ฉลองบ้านเณร พระหฤทัย

ศรีราชา

ฉลองวัด

พระหฤทัย แห่งพระเยซูเจ้า

ศรีราชา

37


ฉลองวัด เซนต์ปอล

แปดริ้ว

ฉลองวัด

น.เบเนดิกต์

เขาฉกรรจ์

38


39



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.