school base02-การนิเทศ(Supervision)

Page 1

รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

คู่มือการพัฒนาวิชาชีพครู

School-Based Teacher Professional Development

Supervision

การนิเทศ Supervision ผู้เรียบเรียง

วรพล ดิลกทวีวัฒนา


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

คานา คู่มือการพัฒนาวิชาชีพครู เรื่อง การนิเทศ (Supervision) เล่มนี้รวบรวม ขึ้ น ด้ ว ยความมุ่ ง หวั ง ในการเผยแพร่ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ แนวคิ ด ทฤษฎี รู ป แบบ กระบวนการ และกลยุทธ์ในการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยการ เรียบเรียงสาระความรู้เกี่ยวกับการนิเทศ โดยเฉพาะในด้านของการนิเทศภายใน โรงเรียนเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้นาไปประกอบเป็นแนวทาง สู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนา ศักยภาพของครูไทย ทั้งในบทบาทของผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศ อันจะส่งผลให้ การพัฒนาครูเริ่มจากฐานโรงเรียน และส่งผลไปสู่การศึกษาในภาพรวม ผู้เรียบเรียงขอขอบพระคุณเจ้าของแนวคิด ทฤษฎี รายงานการวิจัย และ ผลงานที่เกี่ยวข้องกับคู่มือเล่มนี้เป็นอย่างสูงที่ได้นาเสนอข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ต่อ การศึกษาเรื่องการนิเทศ (Supervision) ซึ่งผู้เรียบเรียงใช้เป็นแนวทางในการ จัดทาคู่มือครั้ง นี้ หากมีข้อผิดพลาดประการใดขอน้อมรับคาแนะนา ติชมไว้ใน โอกาสนี้ วรพล ดิลกทวีวัฒนา ผู้เรียบเรียง 30 กันยายน 2560


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

School-Based Teacher Professional Development

สารบัญ บทนา

หน้า

เกริ่นนา ความหมาย ความสาคัญ และ ความจาเป็นในการนิเทศการศึกษา จุดมุ่งหมายของการนิเทศภายในโรงเรียน หลักการการนิเทศภายในโรงเรียน องค์ประกอบของการจัดการนิเทศภายในโรงเรียน รูปแบบการนิเทศ กระบวนการนิเทศ เทคนิคกระบวนการนิเทศในโรงเรียน การนากระบวนการนิเทศไปสู่การปฏิบัติ ส่งท้าย อ้างอิง

1 1 4 5 5 6 8 11 15 16 19 20


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

1

School-Based Teacher Professional Development

การนิเทศ (Supervision) เกริ่นนา การจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน มีจุดมุ่งหมายหลักที่ตัวของผู้เรียน ทั้งทางด้านของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(Knowledge : K), ทักษะกระบวนการ (Process : P) และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude : A) ในการที่จะไปสู่ จุ ด หมายหลั ก ได้ นั้ น ครู เ ป็ น ผู้ ที่ มี บ ทบาทอย่ า งยิ่ ง ในการส่ ง เสริ มผู้ เ รี ย น ซึ่ ง กระบวนการนิเทศการศึกษา (Educational Supervision) จะเข้ามามีบทบาท ในการส่งเสริมครูให้สามารถพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มประสิทธิภาพ รูปแบบการ นิเทศการศึกษานั้นมีหลากหลายวิธีเช่น การนิเทศการสอน, การนิเทศทางตรง, การนิเทศทางอ้อม, การนิเทศทางไกล, การนิเทศภายในโรงเรียน เป็นต้น การ จะเลื อ กใช้ ใ นรู ป แบบใดก็ ขึ้ น อยู่ กั บ ความเหมาะสมของสภาพบริ บ ทของ โรงเรี ย น ซึ่ ง ในคู่ มื อ ครู เ ล่ ม นี้ จ ะได้ น าเสนอ เกี่ ย วกั บ ความหมาย ประเภท รูปแบบ ขั้นตอน ของการนิเทศการศึกษา และ ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การนิเทศการศึกษา เพื่อให้ผู้ที่สนใจในการพัฒนาคุณภาพครูไ ด้เข้ าใจ และ เลือกนาวิธีการนิเทศ ไปเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาครูในโอกาสต่อไป

ความหมาย

คาว่า “การนิเทศ (Supervision)” เป็นคาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายใน หลายด้าน ทั้งด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา ด้านการปกครองเป็นต้น สาหรับใน ด้านการศึกษาพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับ ราชบัณฑิตยสถานได้ใ ห้ ความหมายว่า คือกระบวนการและกิ จกรรมต่ างๆ ที่มุ่ง ให้ความช่ว ยเหลื อ แนะนา ส่งเสริม ปรับปรุงในการทางานของบุคคล หรือโปรแกรม ต่างๆ เป็น กิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และหลักสูตร


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

2

School-Based Teacher Professional Development

ในทางการศึ ก ษาค าว่ า นิ เ ทศถู ก น ามาใช้ ใ นหลายรู ป แบบจึ ง ขอให้ ความหมายในแต่ละคาดังนี้ 1. การนิ เ ทศ (Supervision) (อารมณ์ ฉนวนจิ ต ร, 2551) ได้ ใ ห้ ความหมายไว้ว่า คือ การประยุกต์ใช้ความรู้ ทัศนคติ ประสบการณ์ และทักษะ ที่จาเป็นเพื่อพัฒนา ปรับปรุงงานให้ดียิ่ง ขึ้น โดยผ่านกระบวนการส่ง เสริ ม สนับสนุน ชี้แนะ และการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้ปฏิบัติงาน 2. การนิเทศการศึกษา (Educational Supervision) หมายถึง การ ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ แนะน า หรื อ ปรั บ ปรุ ง ทางการศึ ก ษาแก่ บุ ค ลากรทาง การศึกษาในสถานศึกษาเพื่อให้สามารถดาเนินงานของตนไปได้ด้วยดี โดยผู้ นิเทศควรเอาใจใส่ ในการสารวจตรวจสอบเพื่อดูแลแนะนาการจัดการเรียน การสอนของบุคลากรในสถานศึกษา ให้มีความสามารถในการทางานอย่างดีมี ประสิทธิภาพ (อัญชลี ธรรมะวิธีกุล, 2552 : ออนไลน์) 3. การนิเทศภายใน ซึ่งมีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของ การนิเทศภายในโรงเรียนไว้ดังนี้ Krajewski, Martin และ Walden (1983) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็น ส่วนหนึ่งของการนิเทศการศึกษาที่ทาให้บุคลากรในโรงเรียนเปลี่ยนพฤติกรรม การเรียนการสอนให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น Glickman (2010) และคณะ ได้กล่าวว่า การนิเทศภายในโรงเรียน เป็นการทางานรูปแบบหนึ่งในโรงเรียนที่เป็นการนาเอาองค์ประกอบต่างๆ มา เชื่อมโยงกันทั้งทางด้าน การจัดการเรียนการสอน, การจัดการชั้นเรียน การ พัฒนาหลักสูตร การพัฒนาบุคลากรการวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือ ครูยอมรับในกฎเกณฑ์และมุ่งผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียน


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

3

School-Based Teacher Professional Development

สงัด อุทรานันท์ (2530) ได้ให้ความหมายว่า การนิเทศภายในโรงเรียน คือ กระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภายในโรงเรียน โดยอาศัยความร่วมมือของบุคลากรของทั้งโรงเรียน วไลรัตน์ บุณสวัสดิ์ (2538) กล่าวถึงความหมายในการนิ เทศภายใน โรงเรียนว่า เป็นการทางานของผู้บริหารโรงเรียนที่ทางานร่วมกับครูในการ พั ฒ นาการเรี ย นการสอนให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเป็ น ไปตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข อง โรงเรียนที่กาหนดไว้ วัชรา เล่าเรียนดี (2556) บอกว่า การนิเทศภายในโรงเรียนเป็นการ ร่ ว มมื อ ร่ ว มใจ เพื่ อ การแก้ ไ ขปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นางานในวิ ช าชี พ ครู ให้ มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากความหมายที่หลากหลายของการนิเทศภายในโรงเรียน สรุปได้ว่า คือ กระบวนการปฏิบัติงานร่วมกันภายในโรงเรียน ของผู้บริหาร ครู และ บุคลากรทางการศึกษา ในการพัฒนา ส่งเสริม ปรับปรุง สนับสนุน ช่วยเหลือ ให้ครูประสบความสาเร็จทั้งทางด้านการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียนอื่นๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน 4. การนิเทศการสอน (Instructional Supervision) คือ การเป็นผู้นา ที่ส่งเสริมการสอนและการเรียน โดยทั้งนิเทศการศึกษา และบุคลากรภายใน โรงเรียน ทั้ง ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ คุณครูทุกคน จากความหมายที่กล่าวมานั้นสามารถสรุปความสัมพันธ์ของการนิเทศ ในรูปแบบต่างๆได้ดังภาพ 1


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

4

School-Based Teacher Professional Development

การนิเทศ การนิเทศการศึกษา การนิเทศภายในโรงเรียน การนิเทศการสอน

ภาพ 1 ความสัมพันธ์ของการนิเทศ ดัดแปลงจาก (อารมณ์ ฉนวนจิตร, 2551 : 24)

ความสาคัญ และ ความจาเป็นในการนิเทศการศึกษา การนิเทศภายในโรงเรียน เป็นภารกิจสาคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหาร โรงเรียนที่จะช่วยพัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้ าใจ ในการพัฒนาผู้เรียนให้ สอดคล้ อ งกั บ หลั ก สู ต ร และมี คุ ณ ภาพ รวมทั้ ง ส่ ง เสริ ม ความมั่ น ใจ ความ ภาคภูมิใจของครู จุดเริ่มต้นของการนิเทศภายในโรงเรียน เริ่มจากการประสบ ปัญ หาการขาดแคลนศึกษานิเทศก์ ทาให้การนิเทศจากภายนอกไม่สามารถ เข้าถึงได้ทุกโรงเรียน และต่อเนื่อง ดังนั้นการนิเทศภายในโรงเรียนจึงมีบทบาท สาคัญ ที่เข้ามาแก้ไขปัญหาเพราะผู้ทาหน้าที่นิเทศเป็นผู้ที่ปฏิบัติง านภายใน โรงเรียนอยู่แล้วมีความใกล้ชิดกับครูและนักเรียน ซึ่งจะทาให้เข้าใจปัญหาและ มองเห็นวิธีแก้ไขได้มากกว่าผู้นิเทศที่มาจากภายนอก ดังนั้นกระบวนการนิเทศ ภายในโรงเรี ย นจึ ง เป็ น 1 ใน 3 กระบวนการส าคั ญ ที่ จ ะช่ ว ยส่ ง เสริ ม กระบวนการบริหาร และ กระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนดาเนิ นไป อย่างมีประสิทธิภาพ


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

5

School-Based Teacher Professional Development

จุดมุ่งหมายของการนิเทศภายในโรงเรียน จุไรรัตน์ สุดรุ่ง (2559) ได้สรุปจุดมุ่งหมายไว้ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะ ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อพัฒนาวิธีปฏิบัติงานโดยใช้กระบวนการนิเทศในการบริหาร จัดการโรงเรียน 3. เพื่อสร้างความเข้าใจตรงกันในการทางาน นาไปสู่การรวมพลังใน การทางานภายในโรงเรียน 4. เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานต่างๆของโรงเรียน อย่างเป็นระบบ ตามโครงสร้างที่กาหนดไว้ 5. เพื่ อ สร้ า งขวั ญ และก าลั ง ใจในการท างานให้ กั บ บุ ค ลากรใน โรงเรียน

หลักการการนิเทศภายในโรงเรียน

วัชรา เล่าเรียนดี (2556) ได้ระบุถึงหลักการสาคัญในการนิเทศไว้ดังนี้ 1. เป็นการให้ความร่วมมือร่วมใจสอน (Collaboration) 2. การสร้างความผูกพันต่อภาระหน้าที่ (Commitment) ด้วยความ เต็มใจของบุคคลากรในโรงเรียน 3. การประสานสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน (Interpersonal Relation) 4. การประสานกันทุกฝ่าย (Cooperation) 5. เป็นประชาธิปไตย (Democracy)


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

6

School-Based Teacher Professional Development

6. การยึดหลักความแตกต่างของมนุษย์และพัฒนาการของมนุษย์แต่ ละช่วงวัย (Individual differences and human development) 7. การมีเป้าหมายเดียวกัน (Common Goals) คือ คุณภาพการศึกษา ของผู้เรียน (Student Quality)

องค์ประกอบของการจัดการนิเทศภายในโรงเรียน การจัดการนิเทศภายในโรงเรียนมีองค์ประกอบที่สาคัญ 3 ประการ ดังนี้ 1. บุคลากรนิเทศ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้ให้การนิเทศ และ ผู้ได้รับการนิเทศ 1.1 ผู้บริหาร ในที่นี้หมายรวมถึงตาแหน่งบริหารต่างๆในโรงเรียนทั้ง ผู้อานวยการ รองผู้อานวยการ หัวหน้างานหรือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่ง จะต้องมีบทบาทหน้าที่ ในการส่งเสริม สนับสนุน จัดสิ่ง อานวยความสะดวก ต่างๆ ให้แก่คุณครู ผู้บริหารจึงจาเป็นต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจในการ นิ เ ทศ และมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ที่ ดี กั บ ครู ใ นโรงเรี ย น สร้ า งระบบการนิ เ ทศ และ มอบหมายงานให้ถูกบุคลิกภาพของบุคคล 1.2 ครู บทบาทของครูมีอยู่สองบทบาทคือ 1.2.1 ผู้นิเทศ เช่น ครูหัวหน้ากลุ่มสาระ ครูผู้นิเทศ 1.2.2 ผู้ได้รับการนิเทศ 2. ขอบข่ายงานนิเทศภายในโรงเรียน ภาระงานหลักของการศึกษาในระบบ โรงเรียน คือ 2.1 งานด้านการจั ดการเรียนการสอน ที่มุ่ง เน้นผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของผู้เรียน เป็นหน้าที่หลักของฝ่ายวิชาการ เน้นการนิเทศการสอน การ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

7

School-Based Teacher Professional Development

2.2 งานสนับสนุนการจัดการเรียน เป็นงานของฝ่ายที่สนับสนุนการ จัดการศึกษา เช่น งานด้านธุรการ ด้านการเงิน งานสถานที่ กิจการนักเรียน เป็นการนิเทศงานอื่นๆ 3. โครงสร้างการนิเทศภายในโรงเรียน แต่ละโรงเรียนจะเลือกใช้แบบใดขึ้นกับ ขนาด บริบท และ จานวนบุคลากรของโรงเรียน มี 3 รูปแบบ (ดัดแปลงจาก จุไรรัตน์, 2559) ดังนี้ รูปแบบที่ 1 เหมาะกับโรงเรียนทุกขนาด โดยคณะกรรมการนิเทศจะขึ้นตรงกับ ผู้อานวยการโรงเรียน ผู้อานวยการโรงเรียน คณะกรรมการนิเทศภายใน กลุ่มบริหาร วิชาการ

กลุ่มบริหาร ทั่วไป

กลุ่มบริหาร บุคคล

กลุ่มบริหาร งบประมาณ


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

8

School-Based Teacher Professional Development

รูปแบบที่ 2 งานนิเทศภายในขึ้นตรงกับกลุ่มบริหารวิชาการและนิเทศในทุกกลุ่มงาน ผู้อานวยการโรงเรียน รองผู้อานวยการ บริหารวิชาการ งานต่างๆ ในกลุ่ม

รองผู้อานวยการ บริหารทั่วไป งานต่างๆ ในกลุ่ม

รองผู้อานวยการ บริหารบุคคล งานต่างๆ ในกลุ่ม

รองผู้อานวยการ บริหารงบประมาณ งานต่างๆ ในกลุ่ม

งานนิเทศ ภายใน

รูปแบบที่ 3 เหมาะกับโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีบุคลากรเพียงพอ ผู้อานวยการโรงเรียน

รองผู้อานวยการ บริหารวิชาการ คณะกรรมการนิเทศ งานต่างๆ ในกลุ่ม

รองผู้อานวยการ บริหารทั่วไป คณะกรรมการนิเทศ งานต่างๆ ในกลุ่ม

รองผู้อานวยการ บริหารบุคคล คณะกรรมการนิเทศ งานต่างๆ ในกลุ่ม

รองผู้อานวยการ บริหารงบประมาณ คณะกรรมการนิเทศ งานต่างๆ ในกลุ่ม


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

9

School-Based Teacher Professional Development

รูปแบบการนิเทศ รูปแบบการนิเทศ แกลทธอร์น (Glatthon 1984 : 4 อ้างถึง ใน จุไ ร รัตน์ สุดรุ่ง) เสนอรูปแบบการนิเทศไว้ดังนี้ 1. การนิเทศทางตรง (Direct supervision) เป็นการที่ผู้นิเทศได้เข้า ไปมีส่วนร่วมในการแนะนา ชี้แนะครูผู้สอน โดยตรง โดยผู้นิเทศจะเป็น ผู้ ที่มี ตาแหน่ง หรือ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ มากกว่าผู้ได้รับการนิเทศ โดยมีลาดับ การนิเทศดังนี้ 1) ผู้นิเทศเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้รับการนิเทศ 2) ผู้นิเทศเสนอแนะวิธีที่ครูควรปฏิบัติ และบอกสิ่งที่ต้องการ 3) ผู้รับการนิเทศนาไปฏิบัติ 4) ผู้นิเทศให้การเสริมแรงและตรวจสอบเป็นระยะ 2. การนิเทศทางอ้อม (Nondirective Supervision) เป็นการนิเทศที่ ยึดหลักว่าครูเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไร สามรถคิดและทาได้ ด้วยตนเอง ผู้นิเทศเพียงช่วยกระตุ้นให้ครูคิดและทาในสิ่ง ต่างๆ ได้เป็นเพื่อน คู่คิดหาแนวทางในการปรับปรุงการทางานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 3. การนิเทศเดี่ยว (Individual Supervision) การให้ความช่วยเหลือ ครูเป็นรายบุคคล เมื่อปัญหามีความลึกซึ้ง และแก้ไขยาก ผู้นิเทศต้องเป็นผู้ที่ มี ความชานาญ และสามารถให้คาปรึกษาครูได้เป็นรายกรณี 4. การนิเทศกลุ่ม (Group Supervision) ผู้นิเทศเป็นส่วนหนึ่ง ของ กลุ่ม มีปฏิสัมพันธ์กันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้จากการแบ่งปันประสบการณ์ที่ หลากหลายของสมาชิกในกลุ่ม 5. การนิเทศแบบคลินิก (Clinical Supervision) เป็นการนิเทศที่เน้น กระบวนการปรับปรุงการสอนของครูอย่างเข้มข้น มีการวางแผนอย่างเป็น


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

10

School-Based Teacher Professional Development

ระบบ มีการกระทาอย่างรอบคอบทุกขั้นตอนและทาให้ครบวงจรในการนิเทศ โดยทาซ้าหลายๆครั้งต่อปี โดยมี 4 ขั้นตอนดังนี้ 5.1 การประชุมชี้แจงก่อนการสังเกตการณ์สอน (Pre-conference) 5.2 การสังเกตการสอน (Teaching Observation) 5.3 การวิเคราะห์การสังเกตการสอน (Observation Analysis) 5.4 การประชุมหลังการสังเกตการสอน (Post-conference) 6. การนิ เ ทศแบบร่ว มพั ฒนาวิช าชี พ (Cooperative Professional Development) เป็นกระบวนการนิเทศที่ครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือร่วมใจ ในการพั ฒ นาวิ ช าชี พ โดยการสั ง เกตการสอนซึ่ ง กั น และกั น ในชั้ น เรี ย น แลกเปลี่ยนและอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 7. การนิ เ ทศแบบพั ฒ นาตนเอง (Self-directed Development) เหมาะสมกับครูที่มีความรู้ความสามารถและต้องการพัฒนางานในวิชาชีพของ ตนเองด้ ว ยตนเอง โดยครู ต้ อ งการพั ฒนาด้ ว ยตนเอง โดยการน าตั ว เองให้ เจริ ญ ก้ า วหน้ า ในวิ ช าชี พ และได้ รั บ ความช่ ว ยเหลื อ จากผู้ บ ริ ห ารตามที่ครู ต้องการ 8. การนิเทศโดยผู้บริ ห าร (Administrative Monitoring) เป็นการ นิเทศโดยผู้บริหารที่มุ่งเน้นการช่วยเหลือแนะนาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยตรง โดยผู้บริหารต้องมีประสบการณ์ในการสอนมากพอ ซึ่งผู้บริหารจะมี การวางแผนการเยี่ยมชั้นเรียน การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ครู และการนาข้อมูลที่ ได้ไปพัฒนาปรับปรุงโรงเรียนให้ดีขึ้น จากรูปแบบที่ ห ลากหลายของการนิ เ ทศ ไม่มีรูปแบบใดดี ที่ สุด แต่ ขึ้นกับความพร้อม ความต้องการ ความสนใจ และศักยภาพของบุคลากรใน โรงเรียน และเลือกไปปรับใช้อย่างเหมาะสม


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

11

School-Based Teacher Professional Development

กระบวนการนิเทศ กระบวนการนิเทศมีหลายรูปแบบ แต่ในที่นี้ผู้เรียบเรียงขอนาเสนอ กระบวนการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือกระบวนการนิเทศการศึกษา มีชื่อ ย่อว่า PIDRE ของ สงัด อุทรานันท์ (2530) และกระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียน ที่ได้จากการสังเคราะห์งานวิจัย ของจุไรรัตน์ สุดรุ่ง (จุไรรัตน์ สุดรุ่ง, 2551) ดังนี้ 1. กระบวนการนิ เ ทศการศึ ก ษา มี ชื่ อ ย่ อ ว่ า PIDRE ของ สงั ด อุทรานันท์(2530)เป็นกระบวนการที่เหมาะกับสภาพสังคมไทย มีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 วางแผนการนิเทศ (Planning-P) เป็น ขั้นที่ผู้บริหารผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศจะทาการประชุมปรึกษาหารือเพื่อ ให้ได้มาซึ่งปัญหาและ ความต้ อ งการจ าเป็ น ที่ จ ะต้ อ งมี ก ารนิ เ ทศ รวมทั้ ง วางแผนถึ ง ขั้ น ตอนการ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการนิเทศที่จะจัดขึ้นอีกด้วย ขั้นที่ 2 ให้ความรู้ในสิ่งที่จะทา (Informing-I) เป็นขั้นตอนของการ ให้ ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจถึ ง สิ่ ง ที่ จ ะด าเนิ น งานว่ า จะต้ อ งอาศั ย ความรู้ ความสามารถอย่างไรบ้าง จะมีขั้นตอนในการดาเนินการอย่างไร และจะทา อย่างไรจึงจะทาให้ได้ผลงานออกมาอย่างมีคุณภาพ ขั้นนี้จาเป็นทุกครั้งสาหรับ การเริ่มการนิเทศที่จัดขึ้นใหม่ไม่ว่าจะเป็น เรื่องใดก็ตาม และก็มีความจาเป็น สาหรับงานนิเทศที่ยังไม่ได้ผล หรือได้ผลไม่ถึงขั้นที่พอใจซึ่งจาเป็นจะต้องท า การทบทวนให้ความรู้ในการ ปฏิบัติงานที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ขั้นที่ 3 การปฏิบัติงาน (Doing-D) ประกอบด้วยงานใน 3 ลักษณะคือ 3.1 การปฏิ บั ติ ง านของผู้ รั บ นิ เ ทศเป็ น ขั้ น ที่ ผู้ รั บ การนิ เ ทศลงมื อ ปฏิบัติงานตาม ความรู้ความสามารถที่ได้รับมาจากดาเนินการในขั้นที่ 2


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

12

School-Based Teacher Professional Development

3.2 การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ ขั้นนี้ผู้ให้การนิเทศจะทาการ นิเทศและควบคุมคุณภาพให้งานส าเร็ จออกมาทันตาม กาหนดเวลาและมี คุณภาพสูง 3.3 การปฏิบัติงานของผู้สนับสนุนการนิเทศ ผู้บริหารก็จะให้บริการ สนับสนุนในเรื่องวั สดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเครื่ องใช้ ต่ าง ๆ ที่จะช่วยให้ ก าร ปฏิบัติงานเป็นไปอย่างได้ผล ขัน้ ที่ 4 การสร้างขวัญและกาลังใจ (Reinforcing-R) ขั้นนี้เป็นขั้น ของการเสริมกาลังใจของผู้บริ หารเพื่อ ให้ ผู้รั บการนิ เทศมี ความมั่นใจและ บังเกิดความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานขั้นนี้อาจจะดาเนินการไปพร้อม ๆ กัน กับผู้ที่รับการนิเทศกาลังปฏิบัติงานหรือการปฏิบัติงานได้เสร็จสิ้นลงไป แล้วก็ ได้ ขั้นที่ 5 ประเมินผลผลิตของการดาเนินงาน (Evaluating-E) เป็น ขั้นที่ผู้นิเทศทาการประเมินผลการดาเนินการซึ่งผ่านไปแล้วว่าเป็นอย่าง ไร หลังจากการประเมินผลการนิเทศหากพบว่ามีปัญหาหรื ออุปสรรคอย่างหนึ่ง อย่ า งใด ที่ ท าให้ ก ารด าเนิ น งานไม่ ไ ด้ ผ ลก็ ส มควรจะต้ อ งท าการปรั บ ปรุ ง แก้ไข ซึ่งการปรับปรุงแก้ไขอาจจะทาได้โดยการให้ความรู้ในสิ่งที่ทาใหม่อีก ครั้ง หนึ่ง สาหรับกรณีที่ผลงาน ออกมายังไม่ถึง ขั้นที่พอใจ หรือดาเนินการ ปรับปรุงการดาเนินงานทั้งหมดสาหรับกรณีการดาเนินงานเป็นไปไม่ ได้ผลและ ถ้ า หากการประเมิ น ผลได้ พ บว่ า ประสบผลส าเร็ จ ตามที่ ไ ด้ ตั้ ง ไว้ ห ากจะได้ ดาเนินการ นิเทศต่อไปก็สามารถทาไปได้เลยโดยไม่ต้องให้ความรู้ในเรื่องนั้น อีก


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

13

School-Based Teacher Professional Development

ภาพ 2 กระบวนการนิเทศการศึกษา PRIDE ของสงัด อุทรานันท์ (2530) ที่มาภาพ https://panchalee.wordpress.com/2009/03/30/process/ [25 กันยายน 2560] การดาเนินการนิเทศตามวัฏจักรนี้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและไม่หยุด นิ่ง จนกว่าจะบรรลุผลตามจุ ดมุ่งหมายที่วางไว้หรื อพัฒ นาผู้รั บการนิ เ ทศให้ เป็นไปตามต้องการ หากบรรลุสาเร็ จตามจุ ดมุ่ง หมายแล้วต้ องการจะหยุ ด กระบวนการทางานก็ถือว่าการนิเทศได้สิ้นสุดลงแล้ว ครั้นต้องการเริ่มนิเทศใน สิ่งใหม่หรือตั้งเป้าหมายใหม่ก็จะต้องดาเนินการตั้ง แต่เริ่มแรกอีกดังแสดงให้ เห็นความต่อเนื่องของกระบวนการนิเทศการศึกษาในภาพดังต่อไปนี้


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

14

School-Based Teacher Professional Development

ภาพ 2 กระบวนการนิเทศการศึกษาแบบ PIDRE อย่างต่อเนื่องในเรื่องต่างๆ ที่มาภาพ https://panchalee.wordpress.com/2009/03/30/process/ [25 กันยายน 2560] 2. กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน ที่ได้จากการสังเคราะห์งานวิจัย ของจุไรรัตน์ สุดรุ่ง (จุไรรัตน์ สุดรุ่ง, 2551) เสนอไว้ 5 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่1 การศึกษาสภาพความต้องการการนิเทศภายในโรงเรียน เป็นการค้นหาข้อมูลที่เป็นปัญหาหรือสิ่งที่ยังบกพร่องที่ทาให้งานไม่บรรลุตาม เป้าหมาย โดยวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา จัดลาดับความสาคัญ และเลือก กิจกรรม เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย ขั้นตอนที่2 การวางแผนการนิเทศ คือการทาให้ทุกคนรู้จุดมุ่งหมาย และแนวทางการปฏิบัติงาน ให้สามารถดาเนินงานไปสู่จุดหมายได้ดีขึ้น ขั้นตอนที่3 การสร้างสื่อและเครื่องมือเพื่อการนิเทศ เป็นการสร้าง สื่อที่จะใช้ในการนิเทศ และเครื่องมือที่จะใช้ในการเก็บข้อมูล สภาพปัญ หา พฤติกรรมของครู เช่น เครื่องมือสังเกตการณ์สอน , แบบสอบถาม , แบบ สัมภาษณ์ และ การสังเกต


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

15

School-Based Teacher Professional Development

ขั้นตอนที่4 การปฏิบัติการนิเทศ แบ่งการดาเนินงานเป็น 3 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมการ เป็นการจัดทารายละเอียดในการปฏิบัติง าน และประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 2) การลงมือปฏิบัติ เป็นการดาเนินงานตามแผนปฏิบัติการโดยมี การติดตาม ควบคุม และการให้ผลย้อนกลับเป็นระย ขั้ น ตอนที่ 5 การประเมิ น ผลและรายงานผลการนิ เ ทศ โดย ดาเนินการตลอดทั้ง โครงการการนิ เ ทศ โดยให้ข้อมู ล ในการตัด สิน ใจ และ ดาเนินโครงการนิเทศ

เทคนิคกระบวนการนิเทศในโรงเรียน ปัจจุบันมีเทคนิคการนิเทศหลากหลายวิธีการ โดยที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เป็นวิธีการนิเทศที่เน้นบทบาทความร่วมมือของครูในโรงเรียนผู้เรียบเรียงขอ นาเสนอ 3 วิธี โดยจะขอกล่าวรายละเอียดเพียง 1 เทคนิคคือการนิเทศแบบ เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer supervision) เท่านั้น ดังนี้ 1. การนิเทศแบบให้คาชี้แนะ (Coaching) ศึกษารายละเอียดในคู่มือ การพัฒนาครู เรื่อง การให้คาชี้แนะ(Coaching) 2. การนิเทศแบบพี่เลี้ยง (Mentoring) ศึกษารายละเอียดในคู่มือการ พัฒนาครู เรื่อง พี่เลี้ยง (Mentoring) 3. การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer supervision) เป็นการนิเทศ โดยตรงที่เปิดโอกาสให้ครูสองคนได้ดึงเอาศักยภาพทางการสอนที่มีอยู่ของแต่ ละคนมาแลกเปลี่ ย นเรี ย นเรี ย นรู้ กั น โดยเริ่ ม ต้ น จากการจั บ คู่ นิ เ ทศ เพื่ อ สร้างสมัพันธ์อันดีต่อกันและใช้สัมพันธภาพอัน ดี นาไปสู่ความสาเร็จในการ ขจัดกาเรียนการสอน โดยมีกระบวนการ 3 ขั้นตอนดังนี้


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

16

School-Based Teacher Professional Development

1) เพื่อนสังเกตการณ์สอนของเพื่อน (peer watching) 2) เพื่อนให้ข้อมูลย้อนกลับ (Peer feedback) 3) การให้ ค าแนะน าซึ่ ง กั น และกั น (Peer supervise) เป็ น การ แลกเปลี่ยนข้อมูล และนาจุดแข็งของแต่ละคนไปปรับปรุงการเรียนการสอน ไปสู่การปฏิบัติ

การนากระบวนการนิเทศไปสู่การปฏิบัติ การน ากระบวนการนิ เ ทศในส่ ว นนี้ ผู้ เ รี ย บเรี ย งจะขอยกตั ว อย่ า ง งานวิจัยเพื่อให้เห็นถึงการนารูปแบบการนิเทศไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพของ ครูในด้านต่างๆ 1. ยุพิน ยืนยง, 2553 ได้ทาวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศ แบบหลากหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยชั้นเรียนของครู เขต การศึกษา 5 อัครสังมณฑลกรุงเทพฯ โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) โดยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของแลทธอร์น โดยมีลักษณะ เชิงปฏิบัติการ (Operational model) เรียกว่า “CIPE Model” โดยมีเงื่อนไข และขั้นตอนดังนี้ หลักการคือ การนิเทศการสอนเน้นกระบวนการนิเทศที่เป็นระบบ สัมพันธ์กันโดยคานึงถึงความแตกต่างของครูด้านความรู้ ความสามารถ และ ทักษะที่สาคัญที่ต้องการพัฒนาโดยใช้วิธีการนิเทศที่หลากหลาย เหมาะสมกับ ครูแต่ละคน โดยมีการกากับติดตามทุกขั้นตอน แบ่งเป็น 4 ขั้นดังนี้


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

17

School-Based Teacher Professional Development

1. Classifying : C คัดกรองระดับความรู้ ความสามารถในเรื่ องที่ ต้องการจะส่งเสริมครู ในงานวิจัย คือ การวิจัยในชั้นเรียน 2. Informing : I การให้ความรู้ก่อนนิเทศ 3. Proceeding : P ก าด าเนิ น งาน ได้ แ ก่ การประชุ ม ก่ อ นการ สังเกตการสอน , การสังเกตการณ์สอน และ การประชุมหลังการ สอน 4. Evaluating : E การประเมินผลการนิเทศ โดยมีเงื่อนไขอยู่สองประการคือ การสนับสนุนของผู้บริหาร และ ความมุ่งมั่น และสัมพันธภาพที่ดี ของครูในโรงเรียน 2. อรสา กุนศิลา, 2557 ได้ทาการวิจัยเรื่อง การนิเทศแบบเพื่อนช่วย เพื่ อ นเพื่ อ พั ฒ นาความสามารถการจั ด การเรี ย นรู้ ข องครู ค ณิ ต ศาสตร์ ชั้ น มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ประกอบด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอนในการนิเทศ คือ 1) การ วางแผนการนิเทศ 2) การดาเนินการนิเทศ และ 3) การประเมินผลการนิเทศ ดังแผนภาพ


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

18

School-Based Teacher Professional Development

การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน

กิจกรรมการนิเทศ

วางแผนการนิเทศ

1. สอบถามความสมัครใจ 2. ประชุมครูเพื่อเสนอโครงการ 3. จัดทาแผนการนิเทศการสอน และแผนการจัดกาเรียนรู้ 4. จัดทาปฏิทินการนิเทศการ สอน

ดาเนินการนิเทศ

ประเมินผลการนิเทศ

1. ประชุมครู / ผู้นิเทศ 2. ครูดาเนินการจัดการเรียนรู้ 3. สังเกตการสอนในชั้นเรียน 4. ครูและผู้วิจัยร่วมวิเคราะห์และ พิจารณาข้อมูลเพื่อปรับปรุง พัฒนา 1. วัดความสามารถการจัดการ เรียนรู้ของครู 2. สอบถามความคิดเห็นของครู ต่อกระบวนการนิเทศ 3. วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ 4. ครูและผู้วิจัยร่วมวิเคราะห์และ พิจารณาข้อมูลเพื่อปรับปรุง พัฒนา


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

19

School-Based Teacher Professional Development

จากผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถการจัดการเรียนรู้ของครู ที่ ได้รับการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนสูงขึ้นในระดับมากทุกด้าน 2) ครูมีความ คิ ด เห็ น ต่ อ การนิ เ ทศแบบเพื่ อ นช่ ว ยเพื่ อ นอยู่ ใ นระดั บ มากที่ สุ ด และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนสูงขึ้น หลังจากการจั ดการ เรียนรู้ของครูที่ได้รับการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน

ส่งท้าย การนิเทศ (Supervision) เป็นกระบวนการในการพัฒนาวิชาชีพครู กระบวนการหนึ่งซึ่งมีความหมายในหลายระดับทั้ง ในระดับภาพองค์รวมคือ การนิเทศทางการศึกษาซึ่งจะมีบุคคลที่เข้ามามีบทบาททั้ง ศึกษานิเทศก์ นัก การศึกษา ที่จะเข้ามาทาหน้าที่ในการจัดกระบวนการและกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่ง ให้ความช่วยเหลือ แนะนา ส่งเสริม ปรับปรุงในการทางานของบุคคล หรือ โปรแกรมต่างๆ เป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพารเรียนการ สอน และในระดับของโรงเรียนคือการนิเทศภายในโรงเรียนที่จะเข้ามามีส่วน ช่วยในการพัฒนาทั้งด้านการจัดกาเรียนการสอน และ ด้านการสนับสนุนการ สอน ผ่านรูปแบบการนิเทศ และกระบวนการที่แตกต่างกัน โดยจะต้องเลือก น าวิ ธี ที่ เ หมาะสมต่ อ บริ บ ทของสถานศึ กษา เป็ น ส าคั ญ และท าเป็ น ล าดั บ ขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาคุณภาพของครูที่จะส่งผลต่อตัวผู้ เรียน และคุณภาพการศึกษา อย่างยั่งยืน


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

20

School-Based Teacher Professional Development

อ้างอิง ภาษาไทย จุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2559). การนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น. บันลือ พฤกษะวัน (2537). การนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : บริษัทโรง พิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จากัด. ยุพิน ยืนยง. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยชั้นเรียนของครู เขตการศึกษา 5 อัครสังมณฑล กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ และการสอน ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศิลปากร. ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. วไลรัตน์ บุณสวัสดิ์. (2538). หลักการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ : อาร์ตกราฟฟิค. วัชรา เล่าเรียนดี (2556). การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนา วิชาชีพ : ทฤษฎีกลยุทธ์ สู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 12, ภาควิชาหลักสูตรและ วิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเชตสนามจันทร์ นครปฐม. สงัด อุทรานันท์ (2530). การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎีและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสยาม.กรุงเทพฯ : อรสา กุนศิลา. (2557). การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาความสามารถ การจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา. [ออนไลน์]. 2552.


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

21

School-Based Teacher Professional Development

แหล่งที่มา: https://panchalee.wordpress.com/2009/03/30/process/ [25 กันยายน 2560] อารมณ์ ฉนวนจิตร. (2548). การนิเทศการสอน (Supervision of instruction). กรุงเทพฯ : เอกสารประกอบการเรียนวิชา TL713 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง. ภาษาอังกฤษ Krajewski, Robert J., Jihn S. Martin and John C. Walden. (1983). The elementary School Principalship : Leadership for the 1980s. New York : Holt Rinehart and Winston. Glickman, Carl D., Gordon, Stephan., amd Ross-Gordon, Jovita M. (2010). Supervision and instruction: A Developmental Approach. 8th ed. Boston: Allyn and Bacon, Inc. Glatthon, Allan A. (1984). Differentiated Supervision. Washington D.C.: association for Supervision and curriculum development.


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

แนวคิด ทฤษฎี กระบวนการ วิธีการ และกลยุทธ์ ในการพัฒนาวิชาชีพครู

การนิเทศ (Supervision) คือ กระบวนการ และกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งให้ความช่วยเหลือ แนะนา ส่ ง เสริ ม ปรั บ ปรุ ง ในการท างานของบุ คคล หรื อ โปรแกรม ต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการ สอน และหลักสูตร ไม่ใช่เพื่อการประเมิน จับผิด และตีคุณค่าของบุคคล หรือกระบวนการนั้นๆ

คู่มือนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชา 2716607 การพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ปีการศึกษา 2560 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

22


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.