school base09-การฝึกอบรม(Training)

Page 1

รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน Teacher Professional Development คู่มือSchool-Based การพัฒ นาวิชาชีพครู

Training

การฝึกอบรม Training ผู้เรียบเรียง

วิไลวรรณ จันทร์น้าใส

1


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

การฝึกอบรม (Training) ปรับเปลี่ยนทัศนคติ เพิ่มพูนความรู้ และทักษะ เพิ่มความตระหนักรู้ในตนเอง กระตุ้นหรือเสริมสร้างแรงจูงใจในการทางาน

2


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

คานา หนังสือคู่มือการพัฒนาครู เรื่อง การฝึกอบรม (Training) จัดทาขึ้น เพื่อให้ความรู้เกีย่ วกับการฝึกอบรม และเป็นแนวทางในการปฏิบัติการ ฝึกอบรม หนังสือคู่มือเล่มนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ความหมาย ประเภท วัตถุประสงค์ ความแตกต่างระหว่างการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนา บุคลากร ขั้นตอนการฝึกอบรม และวิธีการหรือเทคนิคในการฝึกอบรม ผู้เรียบเรียงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือคู่มือการพัฒนาครูเรื่อง การ ฝึกอบรม (Training) เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษา ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร.ชาริณี ตรีวรัญญู ที่ได้ให้คาแนะนา เกี่ยวกับการจัดทาหนังสือคู่มือเล่มนี้ จนสามารถทาสาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

วิไลวรรณ จันทร์น้าใส ตุลาคม 2560

3


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

4

School-Based Teacher Professional Development

สารบัญ เรื่อง

หน้า

ความหมายของการฝึกอบรม ประเภทของการฝึกอบรม วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ความแตกต่างระหว่างการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนาบุคลากร ขั้นตอนการฝึกอบรม วิธีการและเทคนิคในการฝึกอบรม บรรณานุกรม

5 6 9 10 12 18


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

5

School-Based Teacher Professional Development

การฝึกอบรม (Training) ความหมาย การฝึกอบรม (Training) มีนักวิชาการได้ให้นิยามไว้อย่างมากมาย ดังนี้ Goldstein, 1993 (อ้างถึงใน ชูชัย สมิทธิไกร (2549)) ได้กล่าวถึง ความหมายของการฝึกอบรมไว้ว่า การฝึกอบรม (Training) คือ กระบวนการ จัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบเพื่อสร้างหรือเพิ่มพูนความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill) ความสามารถ (ability) และเจตคติ (attitude) ของบุคลากร อันจะช่วยปรับปรุงให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จงกลนี ชุติมาเทวินทร์ (2542) กล่าวว่า การฝึกอบรม คือ การจัด กระบวนการเรียนรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันเป็นการเพิ่มความสามารถใน การทางานของคน ทั้งในเรื่องของความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความชานาญในการ ปฏิบัติงาน รวมทั้งความรับผิดชอบต่างๆที่บุคคลพึงมีต่อหน่วยงาน และสิ่งอื่นๆ ที่แวดล้อมเกี่ยวข้องกับตัวผู้ปฏิบัติงาน ชาญ สวัสดิ์สาลี (2542) ให้ความหมายของการฝึกอบรมไว้ว่า การ ฝึกอบรม คือ กระบวนการที่เป็นระบบที่จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงาน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพฤติกรรม ในการปฏิบัติงานของบุคคลให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้บุคคลนั้นสามารถปฏิบัติ หน้าที่งานที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น อัน


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

6

School-Based Teacher Professional Development

จะเป็นประโยชน์ต่องานที่รับผิดชอบในปัจจุบันและหรืองานที่กาลังจะได้รับ มอบหมายให้ทาในอนาคตโดยตรง เพ็ชรี รูปะวิเชตร์ (2553) ได้ให้ความหมายของการฝึกอบรมไว้ว่า คือ กระบวนการที่องค์กรได้จัดขึ้นมาหรือดาเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพิ่มพูน ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ความสามารถในการทางานของบุคลากร และเพื่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ พฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของบุคลากร ทั้งนี้ก็เพื่อให้บุคลากรมีคุณภาพ และมีคุณสมบัติตามที่องค์กรคาดหวังหรือ ต้องการ โดยการที่บุคลากรมีคุณสมบัติและคุณภาพนี้จะนาพาองค์กรให้ สามารถดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีศักยภาพในการแข่งขันต่อไป จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปความหมายของการฝึกอบรมได้ว่า การฝึกอบรม คือ กระบวนการที่จัดทาขึ้นมาอย่างเป็นระบบ เพื่อเพิ่มพูน ความรู้ ทักษะ ความสามารถ และเจตคติ ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลสามารถปฏิบัติงาน ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

ประเภทของการฝึกอบรม ชูชัย สมิทธิไกร (2549) ได้แบ่งประเภทการฝึกอบรมตามเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ ดังนี้ 1. แหล่งของการฝึกอบรม 1.1 การฝึกอบรมภายในองค์กร (in – house training) เป็นการฝึกอบรมที่องค์การจัดขึ้นเองภายในสถานที่ ทางาน


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

7

School-Based Teacher Professional Development

1.2 การซื้อการฝึกอบรมจากภายนอก เป็นการจ้าง องค์การฝึกอบรมภายนอกให้เป็นผู้จัดการอบรม แทน หรืออาจเป็นการส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม ซึ่งจัดขึ้นโดยองค์การภายนอก 2. การจัดประสบการณ์การฝึกอบรม 2.1 การฝึกอบรมในงาน (on – the - job training) เป็นการฝึกอบรมที่ให้ผู้รับการฝึกอบรมได้ลงมือ ปฏิบัติจริงๆ ในสถานที่ทางานจริง ภายใต้การดูแล เอาใจใส่ของผู้ที่เป็นพี่เลี้ยง 2.2 การฝึกอบรมนอกงาน (off – the – job training) ผู้รับการฝึกอบรมจะเรียนรู้สิ่งต่างๆในสถานที่ ฝึกอบรมโดยเฉพาะ และต้องหยุดพักการปฏิบัติงาน ภายในองค์การชั่วคราว จนกว่าจะฝึกอบรมเสร็จสิ้น 3. ทักษะที่ต้องการฝึก 3.1 การฝึกอบรมทักษะด้านเทคนิค (technical skills training) มุ่งเน้นการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติงานด้านเทคนิค 3.2 การฝึกอบรมทักษะด้านการจัดการ (managerial skills training) มุ่งเน้นการเพิ่มพูนความรู้ และ ทักษะด้านการจัดการและบริหารงาน


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

8

School-Based Teacher Professional Development

3.3 การฝึกอบรมทักษะด้านการติดต่อสัมพันธ์ (interpersonal skills training) มุ่งเน้นพัฒนา ทักษะในด้านการทางานให้กับผู้อื่น ร่วมทั้งการมี สัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน 4. ระดับชั้นของพนักงานที่เข้ารับการฝึกอบรม 4.1 การฝึกอบรมระดับพนักงานปฏิบัติการ (employee training) 4.2 การฝึกอบรมระดับหัวหน้างาน (supervisory training) 4.3 การฝึกอบรมระดับผู้จัดการ (managerial training) 4.4 การฝึกอบรมระดับผู้บริหารระดับสูง (executive training) จงกลนี ชุติมาเทวินทร์ (2542) ได้แบ่งประเภทของการฝึกอบรมไว้ ดังนี้ 1. การฝึกอบรมก่อนประจาการ (Pre – entry Training) เป็นการฝึกอบรมให้กับผู้เข้างานใหม่ หรือเพิ่งจะเริ่ม โครงการใหม่ 2. การฝึกอบรมระหว่างประจาการ (In – Service Training) เป็นการอบรมในช่วงที่เข้าไปทางานแล้ว หรือ ผ่านระยะการทดลองงานแล้ว


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

9

School-Based Teacher Professional Development

3. การฝึกอบรมในโครงการ (Project Related Training) เป็นกาอรอบรมที่จัดให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในโครงการ 4. การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง (Self – Development Training) เป็นการอบรมที่มีความหมายกว้างและ ครอบคลุม โดยอบรมเพื่อฟื้นความรู้เดิม หรือเพิ่มเติม ความรู้ใหม่ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาตนเอง

วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม นิรันดร์ จุลทรัพย์ (2547 อ้างถึงใน เพ็ชรี รูปะวิเชตร์, 2554) ได้ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ดังนี้ 1. เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ 2. เพื่อการเพิ่มพูนความเข้าใจ 3. เพื่อการเพิ่มพูนทักษะ 4. เพื่อการปรับ/เปลี่ยนแปลงทัศนคติ นอกจากนี้ เพ็ชรี รูปะวิเชตร์ (2554) ได้กล่าวว่าวัตถุประสงค์ของการ ฝึกอบรมไว้ 5 ประการ ดังนี้ 1. เพื่อปรับปรุงความมีจิตสานึกหรือความตระหนักในตนเอง (Self Awareness) คือการเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจ เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ ตนเอง 2. เพื่อกระตุ้นศักยภาพส่วนบุคคลให้ทางานเต็มที่ เป็นการยกระดับ การทางานให้ได้มาตรฐานหรือมีประสิทธิภาพ


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

10

School-Based Teacher Professional Development

3. เพื่อผสมผสานทักษะ ความรู้ และทัศนคติที่ถูกต้องของตนเอง และกลุ่ม ทั้นี้เพื่อพัฒนาการทางานเป็นทีม 4. เพื่อเพิ่มพูนทักษะการทางานของบุคคล 5. เพื่อเพิ่มพูนแรงจูงใจของบุคคล จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ได้ ดังนี้ 1. 2. 3. 4.

เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และทักษะ เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติ เพื่อกระตุ้นหรือเสริมสร้างแรงจูงใจในการทางาน เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ในตนเอง

ความแตกต่างระหว่างการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนา บุคลากร การศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนาบุคคล มีความเกี่ยวข้องกัน อย่างใกล้ชิด แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนา บุคคล มีส่วนแตกต่างกัน ดังที่มงคล กรัตะนุตถะ (2556) ได้สรุปตาราง เปรียบเทียบ ไว้ดังต่อไปนี้


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

11

School-Based Teacher Professional Development

ล้าดับ การศึกษา 1 การให้ความรู้ความ เข้าใจเพื่อสร้างภูมิ ปัญญา

2

การฝึกอบรม การให้ความรู้ความ เข้าใจ ความชานาญ และทัศนคติที่ เหมาะสมกับงานที่ ปฏิบัติ งานของบุคคลนั้นๆ จะมีประสิทธิผลและ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การพัฒนาบุคคล การพัฒนาศักยภาพ ของบุคคล เพื่อให้มี โอกาสเติบโตไปตาม สายงาน

การศึกษาให้ เป็นการเตรียม ประโยชน์ในการ บุคคลไว้สาหรับ คัดเลือกอาชีพ การ อนาคต งานและดารงชีวิตใน สังคมอย่างมีความสุข 3 ตัวบุคคลนั้นๆเป็นผู้ ผู้บังคับบัญชา และ องค์การได้รับ ได้รับผลประโยชน์ ตัวบุคคลนั้นๆ ได้รับ ประโยชน์ในระยะ ประโยชน์ ยาว จากตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่า การศึกษาจะดาเนินไปเพื่อให้เกิด ประโยชน์โดยตรงต่อตนเอง การฝึกอบรมจะจัดขึ้นมาเพื่อพัฒนาบุคคลในด้าน การทางาน และการพัฒนาบุคคลนั้น จะเป็นไปเพื่อการเตรียมบุคคลให้พร้อม สาหรับพัฒนาองค์การให้เติบโตมากยิ่งขึ้น


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

12

School-Based Teacher Professional Development

ขั้นตอนการฝึกอบรม ขั้นตอนการฝึกอบรม มีดังนี้ 1. ขั้นตอนการประเมินความจาเป็นในการอบรม ขั้นตอนการประเมินความจาเป็นในการอบรม เป็นขั้นตอนที่ มีความสาคัญอย่างยิ่งต่อประสิทธิผลของโครงการฝึกอบรมหนึ่งๆ ขั้นตอนนี้ ต้องอาศัยการวิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรม ซึ่งมี 3 ประการ ได้แก่ การวิเคราะห์องค์การ การวิเคราะห์ ภารกิจและคุณสมบัติ และการวิเคราะห์บุคคล ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1) การวิเคราะห์องค์การ (Organizational Analysis) 1.1) วิเคราะห์เป้าหมายขององค์การ 1.2) วิเคราะห์บรรยากาศการทางานในองค์การ 1.3) วิเคราะห์ทรัพยากร 1.4) วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก เช่น สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เป็นต้น 2) การวิเคราะห์ภารกิจและคุณสมบัติ (Task and Knowledge, Skill, and Ability Analysis) มีขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 2.1) วิเคราะห์คาบรรยายลักษณะงาน 2.2) เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภารกิจ 2.3) เขียนคาบรรยายภารกิจ


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

13

School-Based Teacher Professional Development

2.4) จัดหมวดหมู่ภารกิจ 2.5) กาหนดควาสาคัญ ความยาก และความถี่ 2.6) วิเคราะห์คุณสมบัติ 2.7) กาหนดความสาคัญของคุณสมบัติ 2.8) เชื่อมโยงคุณสมบัติเข้ากับภารกิจ 3) การวิเคราะห์บุคคล (Person Analysis) มีขั้นตอน ดังนี้ 3.1) ประเมินผลการปฏิบัติงาน 3.2) ค้นหาสาเหตุของการปฏิบัติงานที่ต่ากว่าเกณฑ์ 2. ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร และการ วางแผนเตรียมพร้อม ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความสาคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้การ ดาเนินการอบรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งกระบวนการหรือ ขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร และการ วางแผนเตรียมพร้อม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กาหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม UNESCO Asia and Pacific Regional Bureau for Education (2004) ได้กล่าวถึงหลักการกาหนด วัตถุประสงค์ของการจัดการฝึกอบรมโดยใช้ชื่อย่อว่า SMART ดังนี้ Specific ระบุได้เจาะจง Measurable สามารถวัดได้


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

14

School-Based Teacher Professional Development

Achievable สามารถทาได้ Results- oriented มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น Time – bound เหมาะสมกับระยะเวลาที่กาหนด ไว้ นอกจากนี้ ยังมีสิ่งสาคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้การ จัดฝึกอบรมบรรลุเป้าหมาย ได้แก่ กาลังคน (manpower) ทุนหรืองบประมาณ (funding) อุปกรณ์ หรือเครื่องมือ (equipment) และวัสดุ (material) 2) กาหนดเนื้อหาของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตรการฝึกอบรม คือ สาระความรู้ ต่างๆซึ่งผู้รับการฝึกอบรมควรจะได้เรียนรู้และนาไปใช้ ในการปฏิบัติงาน การกาหนดเนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 2.1) การจัดเตรียมโครงร่างของหลักสูตร (course outline) คือ คาบรรยายเกี่ยวกับโครงสร้างและลาดับ ขั้นตอนการเสนอเนื้อหาของโครงการฝึกอบรม ซึ่ง เนื้อหาที่นามาใช้ในการฝึกอบรมนั้น ต้องสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม สอดคล้องกับสภาพการ ทางานจริง และเนื้อหามีความถูกต้อง ทันสมัย


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

15

School-Based Teacher Professional Development

2.2) การสร้างแผนการเรียน (lesson plan) คือ สิ่ง ที่กล่าวถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียน สื่อ และวิธีการประเมินผล 2.3) การจัดวางเนื้อหาวิชา ชูชัย สมิทธิไกร (2549) ได้เสนอแนวทางใน การจัดวางเนื้อหา มีดังนี้ 2.3.1) ระบุสิ่งที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ 2.3.2) ระบุความสนใจ ความต้องการ และ ความสามารถของผู้เข้าร่วมอบรม 2.3.3) รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการ ทางานทั้งหมด 2.3.4) ค้นหาหรือสืบค้นเอกสารที่จาเป็น จากแหล่งข้อมูลภายนอก 2.3.5) จัดวางหรือแก้ไขปรับปรุง เนื้อหาวิชาตามความเหมาะสม 2.3.6) ประเมินความเหมาะสมของเนื้อหา 3) กาหนดระยะเวลาของการฝึกอบรม การกาหนดระยะเวลาของการฝึกอบรม ต้อง พิจารณาการกาหนดระยะเวลาทั้งหมดของการฝึกอบรม และการแบ่งสรรเวลาที่จะใช้ในการดาเนินกิจกรรม ต่างๆในการฝึกอบรม


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

16

School-Based Teacher Professional Development

4) เลือกใช้วิธีการฝึกอบรม การเลือกใช้วิธีการฝึกอบรม เป็นสิ่งสาคัญที่จะช่วย ให้ผู้รับการฝึกอบรมเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมาก ที่สุด ซึ่งมีสิ่งที่ต้องคานึงถึง 3 ประการได้ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ภูมิหลังของผู้รับการอบรม และการนาไปปฏิบัติงานจริง 5) กาหนดวิธีการประเมินผลโครงการ การกาหนดวิธีการประเมินผลโครงการ จะต้อง กาหนดเกณฑ์การประเมินและวิธีการสาหรับการเก็บ รวบรวมข้อมูล 3. ขั้นตอนการปฏิบัติการอบรม ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการดาเนินการอบรมตามแผนที่ได้ กาหนดไว้ การจัดให้มีคณะกรรมการจัดการอบรมเป็นวิธีหนึ่งที่ จะช่วยเตรียมความพร้อมในการอบรม และช่วยลดปัญหาต่างๆที่ อาจจะเกิดขึ้นในการอบรม 4. ขั้นตอนการประเมินผล และการติดตามผลการอบรม การประเมินผลเป็นขั้นตอนที่สาคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก สามารถนาผลที่ได้จากการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร และยังสามารถนาผลไปเสนอเพื่อขอการสนับสนุนทางการเงิน จากผู้บริหาร หรือหน่วยงานผู้ให้ทุน


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

17

School-Based Teacher Professional Development

การประเมินผล สามารถประเมินได้ทั้งความรู้ (knowledge) ทัศนคติ (attitudes) คุณค่า (values) และทักษะ (skills) การติดตามผลผลการอบรม จะกระทาภายหลังที่ผู้เข้าอบรม กลับไปทางานสักระยะหนึ่ง ซึ่งทีมผู้ติดตามประเมินผล และ วิทยากร จะร่วมกันกาหนดวิธีการ รายละเอียด และกาหนดการ ที่จะลงไปติดตามผลในพื้นที่ เพื่อดูผลที่เกิดขึ้นกับผู้เข้าอบรม 5. ขั้นตอนการทบทวนและวิจัยเพื่อนวัตกรรมการอบรม การวิจัยจะเป็นวิธีการที่จะทาให้การฝึกอบรมสามารถตาม ทันวิทยาการล่าสุดได้ รวมทั้งยังช่วยแสวงหาความคิดใหม่ๆหรือ วิธีการใหม่ๆในการอบรม หากขาดการวิจัย ก็จะไม่มีนวัตกรรม ในการฝึกอบรม ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสาคัญที่ จะทาให้การฝึกอบรมพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

18

School-Based Teacher Professional Development

วิธีการและเทคนิคการฝึกอบรม วิธีการและเทคนิคการฝึกอบรม เป็นปัจจัยที่สาคัญอย่างยิ่งที่จะส่งผล ต่อความสาเร็จของการจัดฝึกอบรม ซึ่งแต่ละวิธีการหรือเทคนิคมี ลักษณะเฉพาะ ผู้ฝึกอบรมจะต้องพิจารณาเลือกใช้วิธีการและเทคนิคให้ เหมาะสมกับหลักสูตร วัตถุประสงค์ สถานที่ และผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งในที่นี้จะ รวบรวมวิธีการและเทคนิคการฝึกอบรมที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย จานวน ดังนี้ 1) การบรรยาย (Lecture) การบรรยายเป็นวิธีการฝึกอบรมที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจาก เหมาะกับขนาดกลุ่มของผู้เข้าอบรมทุกขนาด ผู้ฝึกอบรมสามารถ ควบคุมการฝึกอบรมได้ และสามารถคาดการณ์เวลาและเนื้อหาได้ อย่างถูกต้อง การบรรยายเหมาะสาหรับการแนะนาเรื่องใหม่ๆ นาเสนอการ สรุป หรือภาพรวมทั้งหมดต่อผู้เข้าอบรม การบรรยายมมีข้อดีคือ ผู้เข้าอบรมสามารถซักถามสิ่งที่สงสัยและ ได้รับการตอบข้อซักถามทันที ใช้อธิบายในเรื่องที่ยาก เพื่อให้ผู้เข้า อบรมเข้าใจได้ง่าย ใช้ทรัพยากรไม่สิ้นเปลือง และช่วยประหยัดเวลา ข้อจากัด คือ ผู้เข้าอบรมจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการอบรมน้อย มาก และถ้าผู้ฝึกอบรมมีความรู้ไม่มากพอ หรือเขี่ยวชาญไม่มากพอ การฝึกอบรมนั้นก็จะไม่ประสบความสาเร็จมากเท่าที่ควร


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

19

School-Based Teacher Professional Development

2) การอภิปราย (Discussion) การอภิปรายกลุ่มเป็นวิธีการหรือเทคนิคที่ผู้เข้าอบรมจะได้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ เทคนิคที่ใช้การอภิปราย เช่น กรณีศึกษา (case – study), บทบาทสมมติ (role – play), gallery technique, station technique การจับคู่อภิปราย (pair discussion) และการระดมสมอง (Brainstorming) เป็นต้น ข้อดีของการอภิปราย คือ ผู้เข้าอบรมได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น ช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา หาสาเหตุ และหาวิธีการที่จะช่วย แก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้การอภิปรายยังช่วยให้บุคคลแสดงอออก ความเป็นตัวตนของตนเอง และเรียนรู้การเคารพและเปิดใจยอมรับ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ข้อจากัด คือ ใช้เวลานานกว่าจะได้ข้อสรุป อาจเกิดความขัดแย้ง หรือการปะทะกัน บางครั้งการอภิปรายอาจถูกเปลี่ยนไปใช้ในเรื่องที่ ไม่เหมาะสมหรือไม่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ อาจมีสมาชิกผู้เข้าอบรมบาง คนอาจครอบงาความคิดผู้เข้าอบรมคนอื่น หรือผูกขาดการอภิปรายไว้ ที่ตนเองเพียงผู้เดียว 3) ไอซ์เบรคกิ้ง และ เอนเนอร์ไจเซอร์ เทคนิค (Icebreaking and Energizer technique) -ไอซ์เบรคกิ้ง (Icebreaking technique) เป็นเทคนิคที่นิยมใช้ใน ตอนเริ่มต้นของการฝึกอบรม เพื่อช่วยในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างผู้ฝึกอบรมและผู้เข้าร่วมอบรม เทคนิคนี้ จะช่วยให้ผู้เข้าร่วม


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

20

School-Based Teacher Professional Development

อบรมมีความกระตือรือร้น และเต็มใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าร่วม กิจกรรมการฝึกอบรม ไอซ์เบรคกิ้ง จะช่วยลดความเบื่อหน่าย ลดความเครียด และ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งกิจกรรมของไอซ์เบรคกิ้งมีทั้งกิจกรรมที่ อาศัยการเคลื่อนไหวของร่างกาย (physical movement) และกิจ กรรมการบริหารจิตใจ (mental exercise) ตัวอย่างกิจกรรม เช่น กิจกรรมแนะนาตนเอง, เกมจับคู่ (Matching game), เปเปอร์บอล (paper ball), บิงโก (Bingo) เป็น ต้น ตัวอย่างการจัดกิจกรรม เกมจับคู่ (Matching game) วิธีการเล่น 1) เลือกรูปภาพตามจานวนผู้เข้าร่วมอบรม โดย 1 รูป ใช้ สาหรับ 2 คน (20 คน ใช้ 10 รูป) 2) ตัดแบ่งครึ่งรูปภาพดังกล่าว 3) ผู้เข้าร่วมอบรมสุ่มจับรูปภาพ คนละ 1ใบ 4) ผู้เข้าร่วมอบรมตามหารูปภาพอีกครึ่งหนึ่งที่หายไปของ ตนเองจากผู้เข้าร่วมอบรมคนอื่นๆ 5) เมื่อผู้เข้าร่วมอบรมได้เจอคู่รูปภาพของตนเองแล้ว ให้นั่ง เป็นคู่ และพูดคุยทาความรู้จักกัน กิจกรรมนี้ ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

21

School-Based Teacher Professional Development

-เอนเนอร์ไจเซอร์ (Energizer technique) เป็นเทคนิคที่นิยมใช้ เพื่อเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า กระตุ้นร่างกาย และจิตใจของ ผู้เข้าร่วมอบรมหลังจากที่อบรมมาเป็นระยะเวลายาวนาน เทคนิคนี้ ช่วยสร้างความสดชื่นให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมก่อนที่จะเริ่มอบรมต่อ ตัวอย่างกิจกรรม เช่น seven-up, nine dot, square game, Team-building เป็นต้น ตัวอย่างการจัดกิจกรรม square game วิธีการเล่น 1) ผู้ฝึกอบรม วาดรูปสี่เหลี่ยนขนาด 4 x 4 บนกระดาน ดังรูป

2) ผู้ฝึกอบรมให้ผู้เข้าร่วมอบรมนับจานวนรูปสี่เหลี่ยมทั้งหมดที่ ปรากฏอยู่ในรูป 3) ผู้เข้าร่วมอบรมคนใดตอบถูก ได้รับของรางวัล (คาตอบ คือ 30 รูป) กิจกรรมนี้ ใช้เวลาประมาณ 5- 10 นาที ข้อดีของไอซ์เบรคกิ้ง และ เอนเนอร์ไจเซอร์ เทคนิค คือ เป็น เทคนิคที่น่าสนใจ สนุก ใช้เวลาไม่นาน และเป็นกิจกรรมที่ช่วยเชื่อม ความสัมพันธ์ระหว่างผู้อบรมกับผู้เข้าร่วมอบรม


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

22

School-Based Teacher Professional Development

ข้อจากัดของไอซ์เบรคกิ้ง และ เอนเนอร์ไจเซอร์ เทคนิค คือ ต้อง ใช้พื้นที่ในการกิจกรรมค่อนข้างมาก และบางครั้งอาจใช้เวลานานกว่า ที่คาดการณ์ไว้ 4) การสาธิต (Demonstration) การสาธิต คือ การนาเสนอความรู้ ประสบการณ์ ทักษะที่ผู้ ฝึกอบรมมีการนาเสนอความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ พร้อมกับการลง มือทาหรือแสดงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เห็นหรือได้ปฏิบัติตาม กระบวนการ หรือขั้นตอนของการปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (เพ็ชรี รูปะ วิเชตร์, 2553) การสาธิตถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมเห็น ประสบการณ์ใหม่ ที่ทาให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายและสมจริง ข้อดีของการสาธิตคือ ผู้เข้าร่วมอบรมได้เห็นการปฏิบัติจริง ทาให้ เกิดความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว และสามารถกระตุ้นเร้าความสนใจ ของผู้เข้าร่วมอบรมได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์หรือ เครื่องมือที่ไม่คุ้นเคยในสถานที่ทางานจริง และช่วยเพิ่มความมั่นใจ ให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมในการนาไปใช้ในสถานที่ทางานจริง ข้อจากัดของการสาธิต คือ ไม่เหมาะกับการฝึกอบรมที่มีผู้เข้าร่วม อบรมจานวนมาก เนื่องจากจะไม่สามารถมองเห็นการสาธิตได้อย่าง ชัดเจน และสามารถใช้กับการอบรมบางหัวข้อเท่านั้น โดยเฉพาะการ ฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทักษะการกระทา


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

23

School-Based Teacher Professional Development

บรรณานุกรม จงกลนี ชุติมาเทวินทร์. 2542. การฝึกอบรมเชิงพัฒนา : Training and Development. กรุงเทพฯ : บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จากัด. ชาญ สวัสดิ์สาลี. 2542. คู่มือ นักฝึกอบรมมืออาชีพ: การจัดการดาเนินการ ฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิผล. กรุงเทพฯ: สวัสดิการสานักงานก.พ.. นงลักษณ์ สินสืบผล. 2532. การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม Personnel development and Training. กรุงเทพฯ : พิศิษฐ์ การพิมพ์. เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. 2553. เทคนิคการจัดฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิชชิ่ง. มงคล กรัตะนุตถะ. 2556. Training Handbook : เทรนนิ่งแบบมือ อาชีพ. กรุงเทพฯ : ธิงค์ บียอนด์. ยงยุทธ เกษสาคร. 2546. เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม Technique in Training and Conference. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจากัด วี.เจ. พริ้นติ้ง. เลขาธิการสภาการศึกษา, สานักงาน. 2547. แนวทางการพัฒนาครูโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุมาลี เชื้อชัย. 2558. การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมแบบผสมผสานตาม แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการ ออกแบบการเรียนการสอนของครูประจาการเพื่อพัฒนาการรู้


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

24

School-Based Teacher Professional Development

สารสนเทศของนักเรียนประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). Gary R. Sisson. 2001. Hands on Training. San Francisco: Berrett – Kohler Publisher. UNESCO Asia and Pacific Regional Bureau for Education. 2004. Training guide and training techniques/Asia – Pacific Programme of Education for All. Bangkok: UNESCO Asia and Pacific Regional Bureau for Education. PLA Notes. 1997. A brief to training methods and approaches. Journal of International Institute for Environment and Development (IIED). 28, 93-96.


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

แนวคิด ทฤษฎี กระบวนการ วิธีการ และกลยุทธ์ ในการพัฒนาวิชาชีพครู

การฝึกอบรม (Training) คือ กระบวนการที่จัดทาขึ้นมาอย่างเป็นระบบเพื่อ เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความรู้ และเจตคติ

คู่มือนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชา 2716607 การพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ปีการศึกษา 2560 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

25


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.