รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน Teacher Professional Development คู่มือSchool-Based การพัฒ นาวิชาชีพครู
Coaching
การชีแ้ นะ Coaching ผู้เรียบเรียง
สุรดิษ สุวรรณลา
1
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
2
School-Based Teacher Professional Development
คานา คู่มือการพัฒนาวิชาชีพครู เรื่อง การชี้แนะ (Coaching) เล่มนี้จัดทา ขึ้น เพื่อเป็นการเรียบเรียงแนวคิด ทฤษฎี กระบวนการ วิธีการ แนวทางการ ปฏิบัติเกี่ยวกับการชี้แนะ (Coaching) สาหรับเป็นการศึกษาและแนวทางใน การพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การชี้แนะ (Coaching) ถือเป็น การพั ฒ นาครู รู ป แบบหนึ่ ง ที่ ช่ ว ยส่ ง เสริ ม ความสามารถของครู ใ ห้ ส ามารถ ปฏิ บั ติ ง านตามที่ พึ ง ปรารถนาได้ ด้ว ยตนเอง เพื่ อ ให้ สามารถปฏิ บั ติง านใน โรงเรียนได้อย่างมีศักยภาพ อันจะนาไปสู่การพัฒนาผู้เรียนในลาดับถัดไป สุดท้ายนี้ผู้เรียบเรียงขอขอบพระคุณเจ้าของแนวคิด ทฤษฎี เนื้อหา สาระ รายงานการวิจัย และเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆเป็นอย่างสูง ที่ได้นาเสนอ ข้อมูลไว้เป็นแนวทางในการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพครู หากมีข้อผิดพลาด หรือขาดตกบกพร่องประการใด ผู้เรียบเรียงขอน้อมรับคาติชมและขออภัยมา ณ โอกาสนี้ สุรดิษ สุวรรณลา ผู้เรียบเรียง กันยายน 2560
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
3
School-Based Teacher Professional Development
สารบัญ เรื่อง
หน้า
ความหมายของ Coach
1
ความหมายของการชี้แนะ (Coaching) ลักษณะและรูปแบบของการชี้แนะ
2 4
กระบวนการชี้แนะ ลักษณะสาคัญของการชี้แนะ
6 7
กลวิธีของผู้ให้การชี้แนะ บทบาทของผู้ชี้แนะ
8 9
ขั้นตอนของกระบวนการชี้แนะ การเปรียบเทียบ Mentoring กับ Coaching
11 13
ตัวอย่างการนากระบวนการชี้แนะ (Coaching) ไปใช้
14
บรรณานุกรม
20
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
4
School-Based Teacher Professional Development
การชี้แนะ (Coaching) ความหมายของ “Coach”
พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2555) ได้ ให้ความหมายของคาว่า Coach ไว้สองแบบว่า 1. (Coach) ผู้ชี้แนะ : หมายถึง บุคคลผู้ทาหน้าที่ช่วยเหลือผู้อื่นใน การเรียนรู้และพัฒนาตนเองด้านต่างๆ 2. (Coach) โค้ช, ผู้ฝึกสอนกีฬา : หมายถึง ผู้แนะนาด้านการพัฒนา ทางกีฬา ปรับปรุงข้อบกพร่อง หรือพัฒนาความสามารถทางการ กีฬาให้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยั ง ให้ ค วามหมายเพิ่ ม เติ ม ว่ า Coach เป็ น ผู้ ที่ มี ประสบการณ์และความชานาญ ทาหน้าที่ฝึกอบรม ชี้แนะ และวางแผนให้ บุคคลหรือ กลุ่ม บุค คลที่ต้ องการพัฒ นาตนเองในเรื่อ งใดเรื่อ งหนึ่ ง จนบรรลุ ความสาเร็จ ผู้ฝึกสร้างความเชื่อมั่นและกาลังใจให้แก่ผู้รับการฝึก เสริมจุดแข็ง และแก้ไขจุดอ่อนให้ผู้รับการฝึกพัฒนาตนเองไปที ละขั้นตอนอย่างต่อเนื่องจน บรรลุเป้าหมาย
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
5
School-Based Teacher Professional Development
ความหมายของ “การชี้แนะ” (Coaching) ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน (2555) ได้ ใ ห้ ค วามหมายของ การชี้ แ นะ (Coaching) ไว้ 2 ความหมายคือ 1. รูปแบบหนึ่งของการบริหารและการนิเทศที่อธิบาย กระตุ้น ชี้แจง และพัฒนาการทางานของบุคคล 2. การสอนหรือฝึกผู้เรียนอย่างเข้มข้นในการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือทางการกีฬา เพื่อปรับปรุงข้อบกพร่องหรือพัฒนา ความสามารถให้เพิ่มขึ้น ศัพท์ที่ใช้ในการกระบวนการฝึกอบรมคือ Coaching (การชี้แนะ) มักใช้ควบคู่กับ Mentor (พี่เลี้ยง) เป็น Mentoring-Coaching (การชี้แนะ แบบพี่เลี้ยง) ใช้ในการฝึกอบรมที่เน้นการปฏิบัติ การนิเทศฉันกัลยาณมิตร การมีส่วนร่วม จนผู้รับการฝึกสามารถทางานนั้นได้ด้วยตนเอง การพั ฒ นาครู ใ นด้ า นทั ก ษะการสอนนิ ย มใช้ ก ารแนะน าและฝึ ก ปฏิบัติการ ผู้ฝึกลดการบรรยายลง มีการวางแผนการฝึกอบรมให้เหมาะสมกับ เวลาและตรงกับความต้องการของผู้รับการฝึก จัดกิจกรรมสาธิต ทดลองทา สัง เกต ประเมิ นผลงาน ใช้น วั ต กรรมและเทคโนโลยี ป ระกอบตลอดจนให้ กาลังใจ เมื่อเสร็จการฝึกอบรมแล้วผู้รับการฝึกสามารถใช้ทักษะการสอนอย่าง มีประสิทธิภาพ วีณา ก๊วยสมบูรณ์ (2547) ให้ความหมายว่า การชี้แนะคือการให้ ความช่วยเหลือและอานวยความสะดวกแก่ผู้รับการชี้แนะเพื่อพัฒนาจากสภาพ ที่เป็นอยู่ ไปสู่สภาพที่พึงปรารถนา ซึ่งครอบคลุมถึง การชี้แนะทางกีฬา หรื อ การชี้แนะทางความคิด
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
6
School-Based Teacher Professional Development
Mink, Owen and Mink (1993) ให้ความหมายว่า การชี้แนะเป็น กระบวนการของบุคคลที่เรียกว่า ผู้ชี้แนะ (coach) สร้างความสัมพันธ์กับ บุคคลอื่นที่ช่วยให้เขาเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ผู้ชี้แนะช่วยให้บุคคลได้บรรลุเป้าหมาย การทางานในระดับที่สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ กระบวนการนี้เป็นการสร้างให้ซึ่ง บุคคลมีความเข็มแข็งขึ้น ภูมิใจในตนเอง แสดงความสามารถซึ่งเป็นผลต่อการ ทางานที่จะตามมากระบวนชี้แนะจึงเป็นกระบวนการเสริมพลังอานาจ เฉลิมชัย พันธ์เลิศ (2549) ให้ความหมายว่า เป็นวิธีการหนึ่งในการ พั ฒ นาสมรรถภาพการท างานของบุ ค ลากร โดยเน้ น ไปที่ ก ารท าให้ ก าร ปฏิบัติง านได้ตามมาตรฐานของงานนั้นๆ หรือการช่วยเหลือ ให้สามารถน า ความรู้ที่มีอยู่และ/หรือได้รับการอบรมมา นาไปสู่การปฏิบัติ จากความหมายของ การชี้แนะ (Coaching) ข้างต้นสรุปได้ว่า เป็น กระบวนการที่ผู้ชี้แนะ (Coach) ให้การช่วยเหลือและอานวยความสะดวกแก่ ผู้รับการชี้แนะ (Coachee) ในการพัฒนาความสามารถของบุคคลจากสภาพที่ เป็นอยู่ไปสู่สภาพที่พึงปรารถนาด้วยตนเอง โดยอาศัยเทคนิคต่างๆ เช่น การ ชี้แนะ แนะนา ส่งเสริม สนับสนุน การสร้างแรงจูงใจ การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อให้บุคคลนั้นค้นพบวิธีการในการแก้ปัญ หาด้วยตนเองและ พัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งบรรลุเป้าหมายในการทางานที่ได้ตั้ง เอาไว้
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
7
School-Based Teacher Professional Development
ลักษณะและรูปแบบของการชี้แนะ Beach and Reinhartz (2000 อ้างถึงใน มิลินทรา กวินโกมลโรจน์ , 2558) ได้ประมวลรูปแบบการชี้แนะ เพื่อให้ นักการศึ กษาเลือกใช้ไ ด้ตาม ความเหมาะสม ดังนี้ 1. การชี้แนะแบบเพื่อนชี้แนะ (peer coaching) 2. การชี้แนะทางปัญญา (cognitive coaching) 3. การชี้แนะสะท้อนคิด (reflective coaching) 1. การชี้แนะแบบเพื่อนชี้แนะ (peer coaching) เป็นการชี้แนะภายในกลุ่มสมาชิก โดย ผลัดกันเป็นผู้ชี้แนะและรับการชี้แนะ คอยให้ ความช่วยเหลือสนับสนุน และการให้กาลังใจ ซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียน การสอน ลักษณะการดาเนินงานเป็นกลุ่มเล็ก ในการเรียนรู้ มีการตั้งคาถามเพื่อช่วยให้ครูมีความเข้าใจในด้านการเรียนการ สอนของตนอย่า งชั ดเจน ครู ที่เ ป็น สมาชิ ก จะต้อ งร่ว มกั นวิ เคราะห์ แ ละให้ ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อให้ครูตัดสินใจปรับปรุงการเรียนการสอนของตน 2. การชี้แนะทางปัญญา (cognitive coaching) เป็ น กระบวนการไม่ เ น้ น การตั ด สิ น ความถู ก ผิ ด แต่ เ ป็ น การประชุ ม วางแผน สังเกต และการประชุมเพื่อสะท้อนพฤติกรรม การเรียนการสอนและเพื่อวาง กลยุทธ์สาหรับ พัฒนาการเรียนของนักเรียน เป็นการพัฒนา
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
8
School-Based Teacher Professional Development
ครูโดยมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด ผู้ชี้แนะมีบทบาทในการเป็น สื่อกลางในการให้ ครูสะท้อนคิดเกี่ยวกับการกระทาของตนและนาไปสู่การ ปรับปรุงพฤติกรรมการสอนที่พึงปรารถนา โดยผู้ชี้แนะจะให้ความช่วยเหลือ หรือจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภายนอก การชี้แนะทางปัญญามีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1. การประชุมวางแผน เป็นการเปิดโอกาสให้มีการสร้า ง ความไว้วางใจระหว่างสมาชิกในกลุ่ม 2. การสังเกตการณ์สอน เป็นการให้บริบทสาหรับการสอน แนะ เพื่อนาไปใช้ในการกาหนดกลยุทธ์การเก็บรวบรวม ข้อมูลที่สอดคล้องกับสิ่งที่กาหนดไว้ในแผน 3. การประชุ ม เพื่ อ สะท้ อ นพฤติ ก รรมการสอน เกิ ด ขึ้ น ภายหลั ง การสั ง เกตพฤติ ก รรมการสอน เพื่ อ ให้ ค รู สามารถพิจารณาบทเรียนและพฤติกรรมก่อนเข้ามามี ส่วนร่วมในการประชุม โดยจะให้ครูบอกถึง ความรู้สึก ประทับใจในการสอนของตน นาพฤติกรรมการสอนที่ กาหนดไปใช้ในการสังเกต และนามาอภิปรายร่วมกัน 3. การชี้แนะสะท้อนคิด (reflective coaching) เป็นการชี้ แนะที่ช่ว ยให้บุคคลได้สะท้อ น ความสามารถของตน เพื่อหาจุดที่ต้องการความ ช่วยเหลือ โดยเป็นการช่วยเหลือรายบุคคล ใน การน าความรู้ ไปใช้ ใ นการท างานและพั ฒ นา ความสามารถของตนไม่ใช่การสอนสิ่งใหม่ จุด พื้นฐานของการชี้แนะอยู่บนพื้นฐานของความรู้หรือทักษะที่มีอยู่แล้ว
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
9
School-Based Teacher Professional Development
กระบวนการชี้แนะ Blanchard & Thacker (2004 อ้างถึงใน มิลินทรา กวินโกมลโรจน์ , 2558) ได้เสนอกระบวนการชี้แนะโดยมีลักษณะ ดังนี้ 1) การทาความเข้าใจกับสภาพการทางานและระดับความสามารถ ของผู้รับการชี้แนะ 2) ผู้ชี้แนะกับผู้รับการชี้แนะร่วมกันวางเป้าหมายในทางาน 3) ดาเนินการชี้แนะในสถานที่ทางาน โดยให้คาแนะนา สังเกตและให้ ข้อมูลย้อนกลับในระหว่างทางาน 4) ดาเนินการในข้อ 3 ซ้าจนกว่าจะบรรลุผลตามเป้าหมาย Hargrove (2000) ได้เสนอขั้นตอนในการชี้แนะ ดังนี้ 1) ตั้งเป้าหมายและจุดพัฒนา 2) สร้างความสัมพันธ์และวางแผนการชี้แนะ 3) วางเป้าหมายร่วมกัน คิดไปด้วยกัน 4) วางเป้าหมายความสามารถ 5) ดาเนินตามแผน 6) ทบทวนความรู้ที่ได้ Mink, Owen and Mink (1993) ได้เสนอขั้นตอนในการชี้แนะ ดังนี้ 1) ระบุเป้าหมายในการเรียนรู้ 2) วิเคราะห์สิ่งที่ต้องการพัฒนา 3) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน 4) ออกแบบตารางการชี้แนะ 5) ดาเนินการชี้แนะ
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
10
School-Based Teacher Professional Development
แผนภาพ กระบวนการชี้แนะ 5 ขั้นตอน โดย Mink, Owen and Mink (1993)
ลักษณะสาคัญของการชี้แนะ (อรพรรณ บุตรกตัญญู, 2549) 1) การชี้แนะเป็นกระบวนการ (process) ที่ต้องการการเรียนรู้การ ฝึกฝนการทาซ้าและใช้เวลา เป็นกระบวนการที่บุคคลเสริมพลังอานาจให้กับ ตน เพราะบุคคลจะพัฒนาความรู้และทักษะผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างมีอัตราต่างกัน การนาไปใช้ (application) และการสะท้อน (reflection) จึงจาเป็นต้องมีขึ้น หลังการทางานทุกขั้นตอน 2) การชี้แนะเป็นการเสริมพลังอานาจ (empowerment) เป็น การถ่ายโยงความรู้ทักษะและ/หรือคุณค่า และทัศนคติจากผู้ชี้แนะไปสู่ผู้เรียน ผ่านความสัมพันธ์ในการชี้แนะผู้เรียนสามารถแสดงให้เห็นงานใหม่ที่ดีกว่าที่ ก าลั ง ท าอยู่ หรื อ ท าอะไรที่ แ ตกต่ า งออกไป หรื อ แสดงออกในระดั บ ความสามารถที่สูงขึ้นผู้ชี้แนะอาจช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมความรู้และทักษะ
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
11
School-Based Teacher Professional Development
เข้ากับความมุ่งมั่นพยายามเพื่อให้งานสาเร็จอย่างเหมาะสม มีความเชื่อมั่นใน ความสามารถของตนที่จะทางานให้สาเร็จ 3) การชี้แนะเป็นความสัมพันธ์ (relationship) การชี้แนะเป็น ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งบุ ค คลหรื อ ผู้ ชี้ แ นะกั บ ผู้ เ รี ย น การชี้ แ นะที่ ป ระสบ ความสาเร็จต้องอยู่บนพื้นฐานการไว้วางใจ การยอมรับ และเคารพให้เกียรติ กัน ให้ความสาคัญกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการเรียนรู้สิ่งใหม่เป็น อันดับรองลงไป 4) การชี้แนะเป็นการเปลี่ยนผ่าน (transformation) ผลของการ ชี้แนะคือ การทาให้ผู้เรียนสามารถแสดงออกถึงความสามารถในระดับที่สูงขึ้น หรือสมบูรณ์มากขึ้น สามารถทา อะไรที่ต่างออกไป จัดการกับการเรียนรู้ของ ตนเองในระดับที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งเรียกว่า meta-learning
กลวิธีของผูใ้ ห้การชี้แนะ หลั ก การของกลวิ ธี ข องผู้ ใ ห้ ก ารชี้แ นะ ได้ แ ก่ (วี ณ า ก๊ ว ยสมบู ร ณ์ , 2547) 1) การมุ่งเน้นระดับที่พึงปรารถนา (Focus on the Desired State) ผู้ให้การชี้แนะต้องชี้ให้เห็นถึงผลการกระทาในปัจจุบันของครูและ แสดงให้เห็นถึงภาพที่พึงปรารถนาที่ครูสามารถพัฒนาได้ 2) การให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ (Intervention) แต่ ล ะบุ ค คลจะมี พฤติกรรมที่แตกต่างกันตามมุมมองของตน และจะตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุด สาหรับตน ผู้ชี้แนะจะต้องเป็นผู้อานวยความสะดวกให้ครู เข้าใจในความเป็น ตัวตนของผู้รับการชี้แนะ สร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างผู้ให้การชี้แนะและ
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
12
School-Based Teacher Professional Development
ผู้รับการชี้แนะ ดังนั้นผู้ให้การชี้แนะจะต้องมีความตั้งใจในการทางาน มีความ ยืดหยุ่นและทางเลือกให้ครูได้มีกลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้มาก 3) การสร้างความเข้าใจผู้รับการชี้แนะและการชี้แนะจากจุดยืน ของผู้รับการชี้แนะ (Pacing and Leading) เป็นการเข้าใจผู้อื่นในความเป็น ตัวตนของบุคคลนั้น ผู้ชี้แนะจะสามารถก้าวเข้าสู่โลกของผู้รับการชี้แนะเมื่อผู้ ชี้แนะแสดงออกถึงความเข้าใจความตั้งใจ ความคิด หรือความเป็นจริงของผู้รับ การชี้แนะ
บทบาทของผู้ชี้แนะ การชี้แนะเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทแบบดั้งเดิม มาเป็นบทบาท ของผู้ชี้ทางให้กับบุคคลอื่นโดยบทบาทหลักของผู้ชี้แนะ คือ การตั้งคาถามด้วย คาถามปลายเปิด และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจบุคคลอื่นด้วยการฟังอย่าง ลึกซึ้ง ไปถึง ความหมายที่แท้จริง และไม่ใช้การตัดสินผู้อื่น กล่าวคือ บทบาท ของผู้ชี้แนะจะต้องตั้งใจรับฟังสิ่งที่ บุคคลอื่นพยายามบอกหรืออธิบาย และ สนับสนุนให้บุคคลนั้นดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมาย และจะต้องไม่ ไปตัดสินว่าเขาทาถูกต้องหรือไม่ถูกต้ องแต่จะต้องชี้ทางให้เขาสามารถนาไป ปฏิบัติได้ Williamson (2012 อ้างถึงใน ธารทิพย์ นรัง ศิยา, 2558) เสนอ บทบาทหลักที่สาคัญของผู้ชี้แนะที่ควรปฏิบัติไว้ 5 ประการ คือ ประการแรก คื อ ผู้ ชี้ แ นะไม่ ค วรบั ง คั บ ครู แต่ ผู้ ชี้ แ นะควรสร้ า ง บรรยากาศที่ทาให้ครูเปิดใจ และอยากที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้ชี้แนะ
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
13
School-Based Teacher Professional Development
ประการที่สอง คือ การระบุเป้าหมายของครู โดยผู้ชี้แนะที่ดีควรจะ ช่วยให้ครูสามารถระบุเป้าหมายของตนเองได้ และผู้ชี้แนะต้องช่วยส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูสามารถบรรลุเป้าหมายนั้น ประการที่ ส าม คื อ การฟั ง ผู้ ชี้ แ นะจะต้ อ งมี ทั ก ษะการฟั ง ที่ ดี เนื่องจากทักษะการฟังเป็นทักษะที่สาคัญที่สุดในการชี้แนะ อีกทั้งผู้ ชี้แนะที่ดี จะต้องสร้างบรรยากาศทาให้ครูรู้สึกผ่อนคลาย ประการที่สี่ คือ การถามคาถามอย่างรอบคอบและรอบด้าน ผู้ชี้แนะ ควรจะตั้งคาถามปลายเปิดที่ช่วยให้ครูได้สะท้อนตนเองออกมา โดยการชี้แนะ เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นพัฒนาทางปัญญามากกว่า ดังนั้นการได้รับคาตอบ จากครูจึงเหมาะสมมากกว่าที่ผู้ชี้แนะจะตอบคาถามเหล่านั้นเอง ประการที่ห้า คือ การให้ข้อมูลป้อนกลับ ผู้ชี้แนะจะต้องให้ข้อมูลที่ ไม่ใ ช่บอกว่ าครู จะต้องทาอะไร แต่ต้ องให้ข้ อมูล ที่ท าให้ ครู อยากที่ จะน าไป ปฏิบัติต่อไป ซึ่ง ข้อมูลนี้อาจจะเป็นข้อมูลที่มาจากการสังเกต และการแสดง ความคิดเห็นของครูคนอื่น ๆ โดยข้อมูลที่ให้ครูไปนั้นจะต้องไม่ไปตัดสินครูว่า สิ่งที่ครูทาดี หรือไม่ดี ผู้ชี้แนะที่ดีจะต้องเปิดมุมมองของครูให้เห็นสิ่งเหล่านั้น ด้วยตนเอง
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
14
School-Based Teacher Professional Development
ขั้นตอนของกระบวนการชี้แนะ เฉลิมชัย พันธ์เลิศ (2549) ได้นาเสนอ ขั้นตอนของกระบวนการการ ชี้แนะที่นิยมใช้โดยทั่วไป โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ขั้นก่อนการชี้แนะ (pre-coaching) ก่อ นด าเนิ นการชี้ แนะ ผู้ ชี้แ นะและครู ค วรมีก ารตกลงร่ว มกั น เกี่ ยวกั บ ประเด็นหรือจุดเน้นที่ต้องการพัฒนาร่วมกัน ทั้งผู้ชี้แนะและครูต้องวางแผน ร่วมกันว่าในแต่ละครั้งที่ดาเนินการชี้แนะนั้นจะชี้แนะในประเด็นใดหรือเรื่องใด เรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ นอกจากผู้ชี้แนะจะเสนอแนะแล้ว ต้องให้ครูได้วิเคราะห์ ตนเองให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ สามารถแก้ปัญหา อุปสรรคในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ดี การให้คาชี้แนะจะช่วยให้ครูสามารถ สะท้ อนภาพการปฏิ บัติ งานของครู เพื่อให้ต ระหนัก ว่าการจัดกิ จกรรมการ เรียนรู้นั้นจะต้องใช้วิธีการจัดการเรียนรู้อย่างไร 2. ขั้นการชี้แนะ (coaching) ในขั้นการชี้แนะเป็นการทางานร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยแบ่งออกเป็น 1) การศึกษาต้นทุนเดิมในการศึกษาต้นทุนเดิมนั้นเป็นขั้นที่ผู้ชี้แนะจะทา ความเข้าใจวิธีคิด วิธีการทางาน และผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของครูว่า เป็นอย่างไร และอยู่ในระดับใด เพื่อนาข้อมูลนั้นมาต่อยอดประสบการณ์ใน ระดับที่ เหมาะสมกั บครูแ ต่ละคน ซึ่งในขั้นนี้ อาจใช้วิธี การต่างๆ กัน ไปตาม สถานการณ์ ในระหว่างขั้นตอนนี้ครูและผู้ชี้แนะจะพบปะเพื่อหารือเกี่ยวกับ การชี้แนะ มุ่งเน้นไปที่การเก็บรวบรวมข้อมูลกับครูที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ เรียนการสอน และนักเรียน
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
15
School-Based Teacher Professional Development
2) การให้ ครูป ระเมิน การทางานของตนเองเป็ นขั้น ตอนที่ช่ วยให้ค รูไ ด้ ทบทวนการทางานที่ผ่านมาของตนเองด้วยการสะท้อนคิด ให้ครูได้สะท้อนผล การทางานที่ดี และปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น และ 3) ขั้นต่อยอดประสบการณ์ เป็นขั้นตอนที่ผู้ชี้แนะนาข้อมูลจากการ สังเกต การทางาน และข้อมูลที่ได้จากการฟังครูอธิบายหรือแสดงความคิดของ ตนเองแล้วจึงต่อยอดประสบการณ์ในเรื่องเฉพาะนั้นเพิ่มเติม 3. ขั้นสรุปผลการชี้แนะ (post-coaching) ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ผู้ชี้แนะมีโอกาสที่จะได้พูดคุยกับครู เน้นการมี ส่วนร่วมของครูในการพูดคุยเพื่อวิเคราะห์ และคิดเกี่ยวกับการสอนของครูเพื่อ สรุปผลของการให้คาชี้แนะโดยเปิดโอกาสให้ครูได้สรุปผลเพื่อทาให้ครูได้เรียนรู้ หลักการสาคัญ ที่จะนาไปปรับปรุงหรือพัฒนาการเรียนการสอนของตนเอง ต่อไป ช่ว ยให้ ครูไ ด้ค้น พบพลั งหรื อวิธี การทางาน ที่ ทาให้ครู สามารถพึ่ง พา ความสามารถของตนเองได้ มีการวางแผนที่จะกลับมาชี้แนะร่วมกัน รวมถึง สอบถามถึ ง ความรู้ความเข้าใจใหม่ที่ได้รับการชี้แนะครั้ง นี้จ ะเกิดผลในทาง ปฏิ บั ติ เ พี ย งใด เพื่ อ น าไปสู่ ข้ อ ตกลงในการติ ด ตามและก าหนดขั้ น ตอนที่ เหมาะสมต่อไป
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
16
School-Based Teacher Professional Development
การเปรียบเทียบ Mentoring กับ Coaching Mentoring Coaching 1.พี่เลี้ยง(Mentor) มักมีตาแหน่งหรือ 1.ผู้ ชี้ แ นะ(Coach)ไม่ จ าเป็ น ต้ อ งมี สถานะสูงกว่า ผู้รับการฝึก(Mentee) สถานะหรื อ อาวุ โ สสู ง กว่ า ผู้ รั บ การ ชี้แนะ(Coachee) 2. ความสั ม พั น ธ์ ข องพี่ เ ลี้ ย งจะเป็ น 2.ความสัมพันธ์ของผู้รับการชี้แนะไม่ แบบอย่างทุกอย่างในการทางาน จาเป็นต้องเลียนแบบตามผู้ชี้แนะทุก อย่าง 3.พี่เลี้ยงมักดูแลโดยทั่วไปทั้งเรื่องการ 3.ผู้ชี้แ นะดู แลเกี่ยวข้องกับบางเรื่อ ง ดาเนินชีวิตและการทางาน บางประเด็นของผู้รับการชี้แนะ 4.เน้นการท างานและเรีย นรู้ร่ วมกั น 4.ผู้ รั บ การชี้ แ น ะเป็ น ผู้ ตั ด สิ น ใจ อย่ า งต่ อ เนื่ อ งเป็ น เวลานาน ใน แก้ ปั ญ หาหรื อ เลื อ กแนวทางการ บรรยากาศที่เป็นกัลยาณมิตรและเอื้อ ปฏิบัติงานด้วยตนเอง โดยมีผู้ชี้แนะ อาทร เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ที่มา : Thrope & Clifford (2003 อ้างถึงใน เฉลิมชัย พันธ์เลิศ, 2549)
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
17
School-Based Teacher Professional Development
ตัวอย่างการนากระบวนการชี้แนะ (Coaching) ไปใช้ วีณา ก๊วยสมบูรณ์ (2547) ได้พัฒนากระบวนการชี้แนะทางปัญญา เพื่อส่ง เสริมการพัฒนาปรัชญาการศึกษาส่วนบุคคลของครูประจาการระดับ ประถมศึกษา ซึ่งได้ กระบวนการชี้แนะทางปัญ ญาเพื่อส่ง เสริมการพัฒนา ปรั ช ญาการศึ ก ษาส่ ว นบุ ค คลของครู ป ระจ าการระดั บ ประถมศึ ก ษา ที่ ประกอบด้วย การพัฒนาการคิดสะท้อน 4 ด้าน คือ (1) การคิดสะท้อนขณะ ปฏิบัติง าน (2) การคิดสะท้อนถึงการปฏิบัติงานที่ผ่านไปแล้ว (3) การคิด สะท้อนถึงการปฏิบัติงานในอนาคตและ (4) การปฏิบัติงานตามแผนที่ได้จาก การคิด สะท้ อ น ผลการวิ จัย พบว่ า ครู มีทั ก ษะในด้ า นการคิ ด สะท้ อนการ ปฏิบัติงานของตน ทาความกระจ่างในเป้าหมายการศึกษาและการตรวจสอบ ความสอดคล้องระหว่างเป้าหมายการศึกษาและพฤติกรรมการเรียนการสอน สูงขึ้น อีกทั้งสามารถพัฒนาปรัชญาการศึกษาส่วนบุคคลจากพฤติกรรมการ สอนเพิ่มขึ้น เฉลิมชัย พันธ์เลิศ (2549) ได้พัฒนากระบวนการเสริมสมรรถภาพ การชี้แนะของนักวิชาการพี่เลี้ยงโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ในการ อบรมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผลการวิจัยพบว่า ในขั้นดาเนินการชี้แนะ และ สะท้อนผลการชี้แนะ เป็นขั้นพัฒนาสมรรถภาพการชี้แนะที่ช่วยให้นักวิชาการ พี่ เ ลี้ ย งเรี ย นรู้ ต ามการเรี ย นรู้ แ บบเน้ น ประสบการณ์ โดยเริ่ ม จากการรั บ ประสบการณ์รูปธรรม ได้แก่ การเข้าไปดาเนินการชี้แนะในโรงเรียน โดยใช้ ยุท ธวิ ธีแ ละเทคนิ คการชี้แ นะตามวงจรการชี้แ นะ การนาประสบการณ์ม า สะท้อนผลการชี้แนะเพื่อสร้างความคิดรวบยอด และการนาความคิดรวบยอด ไปใช้
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
18
School-Based Teacher Professional Development
อรพรรณ บุตรกตัญญู (2549) ได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้จากการ ปฏิบัติผสานการชี้แ นะเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ ความสามารถของตนของครู อนุบาล โดยมีการดาเนินงานของกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นประสานไมตรี ขั้นสร้างวิถีการเรียนรู้ และ ขั้นประเมินผล โดยขั้นสร้างวิถี การเรียนรู้แบ่งออกเป็น 7 ขั้น คือ 1) การระบุปัญหา 2) การหาวิธีแก้ปัญหา 3) การวางแผนและการใช้ ในชั้ นเรีย น 4) การนาผลการใช้มาแลกเปลี่ย นเพื่ อ เรียนรู้ 5) การหาวิธีการใหม่แทนวิธีการเดิมที่ไม่ได้ผล 6) การสะท้อนความคิด และ 7) การสรุปความรู้ ผลการวิจัยพบว่า ครูกลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้ ความสามารถของตนเพิ่มมากขึ้น ครูมีการตัดสินใจว่าตนมีความสามารถมาก ขึ้น การตัดสินใจอย่างมีเงื่อนไขต่างๆลดลง แสดงแนวทางในการกระทาสิ่ง ต่ า งๆ ให้ ส าเร็ จ โดยพึ่ ง พาตนเองมากขึ้ น โดยเฉพาะการติ ด สิ น ว่ า ตนมี ความสามารถในการด้านการประเมิ นพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กวัย อนุบาล ชนิพรรณ จาติเสถียร (2557) ได้พัฒนากระบวนการฝึกอบรมครู ประจาการด้านการประเมินเด็กปฐมวัย โดยใช้จิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ ทางปัญญา ในครูระดับปฐมวัย โดยได้กระบวนการที่ให้ความสาคัญกับมิติด้าน ในหรือด้านจิตใจของครู โดยสร้างให้เกิดการตระหนัก รู้ และสนับสนุนการ เปลี่ ย นแปลงการปฏิ บั ติ ง านผ่ า นการชี้ แ นะ กระบวนการฝึ ก อบรม ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างชุมชนการเรียนรู้ 2) การไตร่ตรอง ปัญหา 3) การฝึกการรู้เท่าทันตนเอง 4) การเพิ่มพูนความเข้าใจ 5) การชี้แนะ รายบุคคล และ 6) การทบทวนไตร่ตรอง กิจกรรมการฝึกอบรมฯ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การเรียนรู้ร่วมกันในห้องฝึกอบรมและการฝึกปฏิบัติรายบุคคลใน ห้องเรียน กลยุทธ์ในการดาเนินการฝึกอบรมประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ ได้แก่ 1)
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
19
School-Based Teacher Professional Development
การกระชับความสัมพันธ์กลุ่ม 2) การปลุกพลังทางบวก 3) การเสริมพลังใจ 4) การสร้างประสบการณ์ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์ 5) การตั้งคาถามกระตุกความคิด และ 6) การให้ข้อมูลย้อนกลับ ผลการใช้กระบวนการพบว่า ครู 7 ใน 8คน มี ระดับความสามารถในการประเมินเด็กปฐมวัยสูงขึ้น และครู 1 ใน 8 คน ไม่มี การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการประเมินเด็กปฐมวัย มิลิทรา กวินกมลโรจน์ (2557) ได้นาแนวคิดกระบวนการชี้แนะมา ใช้ ใ นการวิ จั ย และพั ฒ นากระบวนการชี้ แ นะที่ อิ ง ทฤษฎี ก ารเรี ย นรู้ สู่ ก าร เปลี่ ย นแปลงเพื่ อ ปรั บ ชุ ด ความคิ ด ด้ า นการจั ด การเรี ย นการสอนของครู ประถมศึ ก ษา ผลการวิ จั ย สรุ ป ได้ ว่ า กระบวนการเป็ น การเรี ย นรู้ ผ่ า น ประสบการณ์ การไตร่ ต รองทางความคิ ด การลงมื อ ปฏิ บั ติ และการมี ปฏิ สั ม พั น ธ์ร่ ว มกั น ระหว่ า งครู แ ละผู้ เ กี่ย วข้ อ ง จนกระทั่ง ท าให้ ครู เ กิ ด การ เปลี่ยนแปลงชุดความคิดและแสดงออกเป็นพฤติกรรม มีผู้ชี้แนะคอยให้ความ ช่วยเหลือในกิจกรรมต่างๆตลอดระยะเวลาการเรียนรู้ โดยมีหลักการ ดังนี้ 1) การสร้างปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่นาไปสู่การเรียนรู้ของครู 2) การทา ให้ครูเปิดใจยอมรับนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายในของครู 3) การสร้างให้ครู เกิดแรงเสริมภายในช่วยให้เกิดพลังนาไปสู่การเปลี่ยนแปลง 4) การแก้ปัญหา ด้วยการวิพากษ์ประสบการณ์ในอดีตนาไปสู่การค้นพบ 5) การทาให้ครูเกิดการ ชี้นาตนเองจะทาให้ บรรลุเป้ าหมายที่ตั้ งใจ 6) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่า น ประสบการณ์นาไปสู่ข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมสู่การปฏิบัติ โดยมีขั้นตอนในการ ดาเนินงาน 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ก่อนการชี้แนะ เป็นการสร้างสัมพันธภาพ ระหว่างผู้ชี้แนะกับครูเพื่อให้เกิดความไว้วางใจร่วมกันในการแก้ปัญหาและการ สร้างเป้าหมายในการดาเนินงานเพื่อการปรับเปลี่ยนชุดความคิดร่วมกัน ระยะ ที่ 2 การชี้แนะเพื่อสร้างการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน คือ (1) การตระหนักรู้ชุด
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
20
School-Based Teacher Professional Development
ความคิดของครู ประกอบด้วย 1.1) การสร้างความตระหนักรู้ในชุดความคิด ของตนเองของครู 1.2) การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการสอนและเห็น คุณค่าของการปรับเปลี่ยนชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนไปสู่การ สร้ า งแรงบั น ดาลใจในการเป็ น ครู ที่ เ น้ น การพั ฒ นาตนเอง (2) การเปิ ด ประสบการณ์เ รียนรู้ชุดความคิดใหม่สู่การพัฒนาตนเอง (3) การประเมิ น เปรียบเทียบผลการจัดการเรียนการสอนของตนเองภายใต้กรอบชุดความคิด ใหม่ (4) การดาเนินการจัดการเรียนการสอนภายใต้กรอบชุดความคิดใหม่ ประกอบด้วย 4.1) การวางแผนการปรับวิถีการทางานของตนเอง 4.2) การนา แผนสู่การปฏิบัติและประเมินผลย้อนกลับ 4.3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง กันเพื่อปรับปรุง และปรับเปลี่ย นการปฏิ บัติง านตามบทบาทใหม่ (สามารถ ดาเนินการซ้าในขั้นที่ 4 ได้หลายครั้ง) (5) การส่งเสริมให้ครูนาชุดความคิดใหม่ ที่ได้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน และระยะที่ 3 หลังการชี้แนะเป็นการ สรุปผลการดาเนินงานที่ผ่านมา และนอกจากนี้ยังพบอีกว่า ผลการดาเนินงาน ตามกระบวนการ ครู มีก ารเปลี่ย นแปลงโดยมีชุ ดความคิ ดเติบ โตขึ้น โดยมี คะแนนพัฒนาการสู งขึ้นทุกคน ส่วนองค์ประกอบของชุ ดความคิดด้านการ จัดการเรียนการสอนที่ครูเกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือ องค์ป ระกอบด้าน แนวคิดหรือกลุ่มความคิดที่ครูมีต่อความสามารถ สติปัญญาและศักยภาพของ ตนเองในฐานะครู ในด้ า นพฤติ ก รรมของครู พบว่ า ครู ทุ ก คนเกิ ด การ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการจัดการเรียนการสอนที่คานึง ถึง นักเรียนมาก ยิ่งขึ้น กุณฑลี บริรักษ์สันติกุล (2558) ได้พัฒนากระบวนการสร้างเสริม ความสามารถของครูในการออกแบบการเรียนการสอนสาหรับเด็กในระยะ เชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษาตามแนวคิดกลุ่มศึกษาทั้งคณะ
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
21
School-Based Teacher Professional Development
และแนวคิดการชี้แนะทางปัญญา โดยมีกระบวนการ 6 ขั้นตอน คือ 1) สร้าง ระบบกลุ่มศึกษาทั้งคณะเป็นการสร้างความเข้าใจในระบบการทางานและสร้าง วัฒ นธรรมในการท างานร่ว มกั น 2) ชี้แ นะทางปัญ ญา เป็น การสร้ างความ ตระหนัก ให้ความรู้ และชี้แนะให้ครูสะท้อนคิดถึงเป้ าหมายในการพัฒนาเด็ก ในระยะเชื่อมต่อ 3) กาหนดเป้าหมาย เป็นการร่วมกันระบุเป้ าหมายในการ พัฒนาเด็กในระยะเชื่อมต่อตามความต้องการจาเป็นของเด็ก 4) จัดกลุ่มศึกษา เป็นการแบ่งกลุ่มครูเป็นกลุ่มศึกษาและทาแผนปฏิบัติการของกลุ่ม 5) ฝึกฝน พัฒนา เป็นขั้นตอนที่ครูได้ลงมือออกแบบการเรียนการสอน จัดกิจกรรม เพื่อน ครูร่วมสังเกตและสะท้อนผลที่เกิดกับเด็กตามเป้ าหมาย และนาข้อมูลในการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปรับปรุงการออกแบบการเรียนการสอน 6) ประชุมเพื่อ สะท้อนคิด เป็นการร่วมกันสะท้อนคิดและถอดบทเรียนเพื่อนาข้อเรียนรู้ไ ป ประยุกต์ใช้ ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้เข้าร่วมกระบวนการทุกคน มีความสามารถ ในการออกแบบการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการ ธารทิพย์ นรังศิยา (2558) ได้ทาการศึกษา แนวทางการชี้แนะและ การเป็นพี่เลี้ยงครู : บทเรียนจากการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ได้ผล จากการถอดบทเรียนเกี่ยวกับการปฏิ บัติการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงจาก กรณี ศึ ก ษา พบว่ า 1) กลยุ ท ธ์ ส าคั ญ ในการด าเนิ น งาน คื อ ความเป็ น กัลยาณมิตร ทางานด้วยการไม่สั่ง ไม่สอน ไม่บอกคาตอบ ควรจะต้องชวนคิด เชียร์ทา และสร้างเสริมกาลังใจให้แก่กัน (หลัก 3 ไม่ - 3 ทา) ประกอบด้วย พฤติกรรมในการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงในด้านการสร้างความสัมพันธ์ด้าน เสริ ม พลั ง อ านาจ ด้ า นการสานเสวนา ด้ า นการสะท้ อ นคิ ด และด้ า นการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) ผลลัพธ์สาคัญที่เกิดจากการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง ได้ แก่ การเสริ มสร้ างวั ฒนธรรมการท างานร่ว มกัน บนฐานวิ ชาชี พครู การ
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
22
School-Based Teacher Professional Development
ผลั ก ดั น ให้ โ รงเรี ย นมี ค วามเข้ ม แข็ ง เชิ ง วิ ช าการด้ ว ยวิ ธี ก ารท างานภายใน โรงเรียน 3) ปัจจัยความสาเร็จ พบว่า ปัจจัยด้านผู้บริหารโรงเรียนเป็นปัจจัยที่ มีความสาคัญมากที่สุด 4) บทเรียนที่เรียนรู้คือ แนวคิดสาคัญที่ชัดเจนในการ ชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงของโรงเรียนกรณีศึกษา ได้แก่ แนวคิดการศึกษา บทเรียน แนวคิดการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ การทางานแบบเพื่อนคู่คิด และดาเนินการด้วยความเป็นกัลยาณมิตรทางวิชาชีพครู นอกจากนี้ยังได้แนว ทางการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย ขั้นตอนและ กิจกรรมในการปฏิบัติงาน 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) ขั้นตอนการเตรียมความ พร้อมก่อนการดาเนินการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (ขั้นก่อนการชี้แนะ) โดยมี การคั ด เลื อ กครู เ ข้ า ร่ ว มการพั ฒ นาและการวางแผนงาน 2) ขั้ น ตอนการ ดาเนินการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (ขั้นการชี้แนะ) เป็นการดาเนินงานแบบ วงจร ประกอบด้ ว ย วงจร 1 การสร้ า งภาพมองให้ ต รงกั น วงจร 2 การ ปฏิ บัติ ง านภายในโรงเรี ย น และวงจร 3 การสะท้ อนผลการปฏิบั ติก าร 3) ขั้นตอนการสะท้อนผลจากการชี้แนะและการเป็นพี่เ ลี้ยง (ขั้นหลังการชี้แนะ) โดยร่วมสะท้อนความคิดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใต้หลักการดาเนินงานที่ดี ประกอบด้วย (1) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติพฤติกรรมในการชี้แนะและ การเป็นพี่เลี้ยงบนพื้นฐานของความเป็นกัลยาณมิตรทางวิชาชีพ (2) การจัด ดาเนินการในการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงครูต้องดาเนินการวางแผนทั้ง ใน ด้านโครงสร้างและกาหนดข้อตกลงและบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน (3) การจัด กิจกรรมในการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงต้องเน้นการเรียนรู้ด้วยการให้ครูไ ด้ ปฏิบัติจริง (4) การสร้างเครือข่ายครูจะต้องให้สมาชิกทุกคนเกิดความเท่าเทียม กันโดยยึดหลักของกัลยาณมิตรและหลักการเป็นหุ้นส่วน และ (5) ต้องสร้าง เสริมปัจจัยเกื้อหนุนในการพัฒนาครูด้วยการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
23
School-Based Teacher Professional Development
บรรณานุกรม ภาษาไทย กุ ณ ฑลี บริ รั ก ษ์ สั น ติ กุ ล . (2559). การพั ฒ นาความสามารถของครู ใ นการ ออกแบบการเรียนการสอนส าหรับเด็กในระยะเชื่ อมต่อจากระดั บ อนุ บ าลสู่ ร ะดั บ ประถมศึ ก ษาตามแนวคิ ด กลุ่ ม ศึ ก ษาทั้ ง คณะและ แนวคิ ด การชี้ แ นะทางปั ญ ญา. วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต ภาควิ ช าหลั ก สู ต รและการสอน คณะครุ ศ าสตร์ , จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. เฉลิมชัย พันธ์เลิศ. (2549). การพัฒนากระบวนการเสริมสมรรถภาพการชี้แนะ ของนักวิชาการพี่เลี้ยงโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ในการ อบรมโดยใช้ โ รงเรี ย นเป็ น ฐาน. วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต ภาควิ ช าหลั ก สู ต รและการสอน คณะครุ ศ าสตร์ , จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2557). การพัฒนากระบวนการฝึกอบรมครูประจาการ ด้านการประเมินเด็กปฐมวัยโดยใช้จิตตปัญ ญาศึกษาและการชี้แนะ ทางปัญ ญา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา ปฐมวัย คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธารทิ พย์ นรัง ศิ ย า. (2558). แนวทางการชี้แ นะและการเป็ นพี่ เ ลี้ ยงครู : บทเรียนจากการศึก ษาเชิงปริมาณและเชิง คุณภาพ. วิ ทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธี วิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ , จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
24
School-Based Teacher Professional Development
บัง อร เสรี รัต น์ , ชาริ ณี ตรี วรั ญญู และเรวณี ชัย เชาวรัต น์ (บรรณาธิก าร). (2558). 9 วิถีสร้างครูสู่ศิษย์ เอกสารประมวลผลและแนวทางพัฒนา วิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาระบบกลไกและแนวทางการ หนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียน สานักงาน ส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน. มิลินทรา กวินกมลโรจน์. (2558). การวิจัยและพัฒนากระบวนการชี้แนะที่อิง ทฤษฎี ก ารเรีย นรู้สู่ ก ารเปลี่ ย นแปลงเพื่อ ปรับ ชุ ดความคิ ดด้ า นการ จัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการ สอน คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน . (2555). พจนานุ ก รมศั พ ท์ ศึ ก ษาศาสตร์ ฉบั บ ราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราช บัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สานักงานราชบัณฑิตยสภา วีณา ก๊วยสมบูร ณ์ . (2547). การพั ฒนากระบวนการชี้แนะทางปัญ ญาเพื่ อ ส่ง เสริมการพัฒนาปรัชญา การศึกษาส่วนบุคคลของครูประจาการ ระดั บ ประถมศึ ก ษา. วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต ภาควิ ช า หลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2549). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ผสานการชี้แนะเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนของครู อนุบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิ ช าหลั ก สู ต รและการสอน คณะครุ ศ าสตร์ , จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development
ภาษาอังกฤษ Mink, O.G., Owen,K.Q. & Mink, B.P. (1993). Developing highperformance people: The art of coaching. Reading, Massachusetts: Addison-Wesley. Hargrove, R. (2000). Masterful coaching: Grew your business, helping your profits, win the talent war!. San Francisco: Jossey-Bass.
25
รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development
แนวคิด ทฤษฎี กระบวนการ วิธีการ และกลยุทธ์ ในการพัฒนาวิชาชีพครู ก า ร ชี้ แ น ะ ( Coaching) คื อ กระบวนการช่วยเหลืออานวยความสะดวกแก่บุคคล มีการ ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ชี้แนะ (Coach) กับผู้ได้รับการ ชี้แนะ เป็นการพัฒนาส่งเสริมความสามารถของบุคคลจาก สภาพที่เ ป็นอยู่ไ ปสู่สภาพที่พึงปรารถนาด้ วยตนเอง โดย อาศั ย เทคนิ คและวิธี ก ารต่ า งๆ เพื่ อ ให้ บุ ค คลที่ ไ ด้รั บ การ ชี้ แ นะนั้ น สามารถค้ น พบวิ ธี ก ารในการแก้ ปั ญ หาและ พัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งบรรลุเป้าหมาย ในการทางานที่ได้ตั้งเอาไว้ เป็นกระบวนการส่วนหนึ่งของ การพัฒนาวิชาชีพ... คู่มือนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชา 2716607 การพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ปีการศึกษา 2560 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
26