school base03-ระบบพี่เลี้ยง(MENTORING)

Page 1

คู่มือการพัฒนาวิชาชีพครู

Mentoring

ระบบพี่เลี้ยง MENTORING ผู้เรียบเรียง

วิวัฒน์ ทัศวา


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development


คานา คู่มือการพัฒนาวิชาชีพครู เรื่องระบบพี่เลี้ยง (mentoring) เล่มนี้ รวบรวมขึ้นด้วยความมุ่งหวังในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิด ทฤษฎี กระบวนการ วิธีการ และกลยุทธ์ในการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียน เป็ น ฐาน โดยการเรี ย บเรี ย งสาระความรู้ เกี่ ย วกั บ ระบบพี่เ ลี้ ย ง เพื่ อ ให้ ผู้สนใจได้นาไปประกอบเป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาศักยภาพ ของครู ไ ทย ทั้ง ในบทบาทของผู้ เ ป็ น พี่ เลี้ ย งเองและในฐานะผู้ พัฒ นาครู พี่เลี้ยง อันจะยังผลให้การจัดการศึกษาของไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้เรียบเรียงขอขอบพระคุณเจ้าของแนวคิด ทฤษฎี เนื้อหาสาระ รายงานการวิ จั ย และผลงานที่เกี่ย วข้องกั บ คู่มือเล่ มนี้เป็ นอย่างสู งที่ไ ด้ กรุณานาเสนอข้อมูลไว้เป็นแนวทางในการศึกษาเรียบเรียงครั้งนี้ หากคู่มือ เล่มนี้มีข้อผิดพลาดประการใด ผู้เรียบเรียงขอน้อมรับคาติชมและขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ วิวัฒน์ ทัศวา: ผู้เรียบเรียง กันยายน 2560


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

สารบัญ

คานาผู้เรียบเรียง สารบัญ บทนา

(ก) (ข) 1

ความหมายของการเป็นพี่เลี้ยง รูปแบบของระบบพี่เลี้ยง บทบาทของพี่เลี้ยง คุณลักษณะของพี่เลี้ยง การพัฒนาระบบพี่เลี้ยง วิธีการและเทคนิคสาหรับพี่เลี้ยง การนากระบวนการพัฒนาครูพี่เลี้ยงไปสู่การปฏิบัติ

2 3 6 9 12 17 18

บทสรุป บรรณานุกรม

20


บทนา

ารศึกษาเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีบทบาทและภารกิจสาคัญในการพัฒนา และเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์ โดยบุคคลที่มีส่วนสาคัญใน กระบวนการจัดการศึกษาคือ ครู ซึ่งจาเป็นจะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้าน ความรู้ ความสามารถเกี่ย วกั บ เนื้ อหาที่ใช้ส อน วิ ธีการสอน การออกแบบการ จัดการเรียนรู้ ตลอดจนคุณภาพในการพัฒนาวิชาชีพครูให้มีประสิทธิภาพด้วย ปัจจุ บั น โลกมีการเปลี่ ย นแปลงทางด้านต่า ง ๆ อยู่เสมอ ทั้งด้านเศรษฐกิ จ สังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต รวมทั้งการศึกษาก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ของโลก ทาให้เมื่อเวลาผ่านไปชุดความรู้ที่ได้รับ จากการเรียนการสอนจากสถาบัน ฝึ ก หั ด ครู ห รื อ การพั ฒ นาครู ก่ อ นประจ าการ (pre-service) มีก ารเปลี่ ย นแปลง ตามไปด้วย ความรู้ วิธีการ หรือกระบวนการบางอย่างอาจล้าสมัย และมีความรู้ หรือความท้าทายใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาแทนที่ กระบวนการพั ฒ นาครู จึ ง เป็ น กระบวนการที่ มี ค วามส าคั ญ อย่ า ง มาก ต่อการศึกษา เนื่องจากครูผู้สอนเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนและ คุณภาพการศึกษาของชาติ ดังนั้นในการพัฒนาครูจึงจาเป็นต้องมีกระบวนการและ วิ ธี ก ารที่ เ หมาะสม ซึ่ ง ระบบพี่ เ ลี้ ย ง (mentoring) เป็ น กระบวนการหนึ่ ง ที่ ถู ก นามาใช้ในการพัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็ นฐาน (school-based training) เพื่อให้ ครู ที่ มี ป ระสบการณ์ ใ นด้ า นวิ ช าชี พ ครู ไ ม่ ม าก เช่ น นั ก ศึ ก ษาครู นั ก ศึ ก ษาฝึ ก ประสบการณ์สอน ครูบรรจุใหม่ และครูก่อนประจาการได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ของผู้ที่เป็นพี่เลี้ยง (mentor) ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์สู งกว่า คอยให้การชี้แ นะ คาปรึกษา และช่ว ยแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ย งการเผชิญกับความผิดพลาด ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตซ้าอีก ด้วยเหตุนี้การเป็นพี่เลี้ยงจึงมีความสาคัญที่จะช่วยพัฒนา คุณภาพครูและคุณภาพการศึกษา สาหรับระบบพี่เลี้ยงในบริบทสถานศึกษาของประเทศไทย ยังไม่เป็นระบบ อย่างเต็มรูปแบบที่เป็นทางการมากนัก ซึ่งจะนาเสนอข้อมูลและแนวทางการ 1 ประยุกต์ใช้ในบริบทสังคมไทยต่อไป


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

ความหมายของคาว่า ระบบพี่เลี้ยง การศึกษา ระบบพี่เลี้ยง เป็นระบบที่เกิดจากการที่ผู้มีประสบการณ์สูงกว่าทาหน้าที่ ในการให้คาปรึกษา แนะนา ชี้แนะและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพให้แก่บุคคล ที่ มี ป ระสบการณ์ น้ อ ยกว่ า ซึ่ ง ตรงกั บ ค าในภาษาอั ง กฤษว่ า “mentor” ส่วนผู้ที่รับคาชี้แนะ หรือผู้รับการฝึกจากพี่เลี้ยงคือ “mentee “a person who gives a younger or less experienced person help and advice over MENTOR a period of time” Cambridge Dictionary : Online

“พี่เลี้ยง” ในทางการศึกษา ในทางวิ ช าชี พ ครู ผู้ ที่ เ ป็ น พี่ เ ลี้ ย งจะต้ อ งพั ฒ นาผู้ รั บ การฝึ ก ที่ มี ประสบการณ์ น้ อ ยกว่ า ทั้ ง ทางด้ า นวิ ช าชี พ และเรื่ อ งส่ ว นบุ ค คล เช่ น การให้ คาแนะน าแก่ ค รู ใ หม่ การแนะน าด้ า นการจั ด การเรี ย นการสอนแก่ ค รู ที่ อ่ อ น ประสบการณ์ ซึ่ง ในประเทศไทยมีการพัฒ นาเป็น “ครูต้นแบบ” (master teacher) ที่ทาหน้าที่เป็นแบบอย่างและให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่ครู ในสถานศึกษา หรือขยายไปสู่การดูแลในลักษณะกลุ่มโรงเรียน

2

2


รูปแบบของระบบพี่เลี้ยง ระบบพี่เลี้ยงถูกนาไปใช้อย่างกว้างขวางในหลายสาขาวิชาจึงมีการจัด แบ่งประเภทตามเกณฑ์ที่หลากหลาย ซึ่งในบริบทของการศึกษาไทยหากแบ่ง รูปแบบของระบบพี่เลี้ย งแบบหยาบ จะสามารถแบ่ งระบบพี่เลี้ ยงครูได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 1) ระบบพี่เลี้ย งครูตามธรรมชาติ (natural mentoring) ได้แก่ การสอน การชี้แนะ และการให้คาปรึกษา 2) ระบบพี่เลี้ยงครูที่มีการวางแผนไว้ (planned mentoring) มีลักษณะเป็นโปรแกรมที่มีโครงสร้างเป็นกระบวนการ อย่างเป็นทางการ (office of research)

การจัดกลุ่มของรูปแบบระบบพี่เลี้ยง มี 4 รูปแบบ (Miller, 2002) 1) จัดกลุ่มตามเป้าหมายของโปรแกรมเป็นเป้าหมายหลัก ของโปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมเพื่อการพัฒนา (development mentoring) โปรแกรมที่สัมพันธ์กับการทางาน (work-related mentoring) และระบบพี่เลี้ยงเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ (subjectfocused mentoring) 2) จัดกลุ่มตามลักษณะโปรแกรม ได้แก่ โปรแกรม แบบหนึ่งต่อหนึ่งหรือแบบกลุ่ม (one-to-one or group program) โปรแกรมจัดเป็นกลุ่มเรียนรู้ มีการพบปะกันใน สถานที่ทางานหรือสถานที่สาธารณะ (site-based or community-based program) จัดตามความถี่ในการพบปะหรือความเข้มข้นของงาน เช่น การพบปะ กันทุกสัปดาห์ ใช้เวลาร่วมกันเป็นปี (long-term intensive program) หรือการ แบ่งตามโครงสร้างของโปรแกรม เช่น ลักษณะการส่งเสริมของพี่เลี้ยง การจับคู่ ระหว่างพี่เลี้ยงและผู้รับการชี้แนะ

3


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

การจัดกลุ่มของรูปแบบระบบพี่เลี้ยง (Miller, 2002) 3) จัดกลุ่มตามลักษณะของผู้เป็น mentee ที่เป็นกลุ่ม เป้าหมาย เป็นวิธีการจาแนกง่าย ๆ ตามเป้าหมายใน การพัฒนาว่าเป็นกลุ่มใด เช่น นักเรียนกลุ่มเสี่ยง (atrisk mentoring) นักเรียนชนกลุ่มน้อย (minority ethic mentoring program) กลุ่มธุรกิจ (work-experience mentoring program) 4) จัดกลุ่มตามลักษณะของผู้ที่ทาหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง เช่น การนาบุคคลในชุมชนเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงให้กับนักเรียน (community mentoring program) การให้บริษัทธุรกิจ เข้ามาพัฒนาทักษะการจัดการให้กับครู (business mentoring program) รูปแบบการเป็นพี่เลี้ยงโดยครูในโรงเรียน (teacher mentoring program) ทั้งนี้ Miller ยั งได้เสนอการจั ดกลุ่ มพี่เลี้ยงโดยพิจารณาเรื่องลักษณะ ความสัมพันธ์ในระบบพี่เลี้ยง ซึ่งแบ่งได้เป็น 5 รูปแบบ ดังนี้ 1) ระบบพี่เลี้ยงแบบดั้งเดิม (classic mentoring) เป็นความสัมพันธ์แบบ หนึ่ ง ต่ อ หนึ่ ง ที่ ผู้ มี ป ระสบการณ์ จั ด การส่ ง เสริ ม แนะน าแก่ ผู้ ที่ เ ด็ ก กว่ า หรื อ มีป ระสบการณ์ น้ อ ยกว่ ามั ก เกิ ด ขึ้น ในบริ บ ทของการแลกเปลี่ ย นเรี ยนรู้ใ นเรื่ อ ง ที่สนใจ พี่เลี้ยงจะแสดงบทบาทในลักษณะของแม่แบบ (role model) และดูแล ผู้ที่ดูแลอยู่เป็นพิเศษ 2) ระบบพี่ เ ลี้ ย งแบบกลุ่ ม (individual-team mentoring) เป็ น ความสัมพันธ์ที่ผู้รับการดูแลกลุ่มเล็ก ๆ มองหาผู้ให้ความช่วยเหลือ แนะนา เป็น บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีได้รับการนับถือ มีประสบการณ์การทางานที่เกี่ยวข้อง และเข้ า ใจความคาดหวั ง ของผู้ ที่ ดู แ ลอยู่ รู ป แบบนี้ จ ะช่ ว ยให้ ก ลุ่ ม บุ ค คลได้ 4 แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ร ะหว่ า งกั น ด้ ว ย นอกจากการได้ รั บ จากพี่ เ4ลี้ ย ง


3) ระบบพี่เลี้ยงแบบเพื่อนกับเพื่อน (friend-to-friend mentoring) เป็นความสัมพันธ์ระหว่า งเพื่อนร่วมงานที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ และการปฏิ บั ติ ง าน เหมาะกั บ กลุ่ ม ที่ ไ ม่ ค่ อ ยวางใจกั บ ผู้ ที่ ใ หญ่ ก ว่ า เป็ น ความสัมพันธ์ในแนวระนาบจากกลุ่มคนที่เท่าเทียมกันมากกว่า 4) ระบบพี่ เลี้ ย งแบบกลุ่ ม เพื่ อน (peer-group mentoring) มีลั กษณะ คล้ายคลึงกับระบบพี่เลี้ยงในแบบที่ 3 แต่มักใช้ในบริบทของประเด็นที่ต้องการ พัฒนาเป็นพิเศษ เช่น กลุ่มที่ต้องการเลิกยาเสพติด 5) ระบบพี่เลี้ยงที่มีความสัมพันธ์กันระยะยาว (long-term relationship mentoring) เป็นความสัมพันธ์ที่คล้ายกับระบบพี่เลี้ยงแบบดั้งเดิม แต่ใช้กับกลุ่ม ที่เ ปลี่ ย นแปลงได้ ย ากและท้า ทายอ านาจ ใช้กั บ งานที่ต้ อ งใช้ เวลาในการสร้ า ง ความสัมพันธ์และความไว้วางใจ รูปแบบของการเป็นพี่เลี้ยงในสถานศึกษาของประเทศไทย มักเป็นพี่เลี้ยงตาม ธรรมชาติ กล่าวคือ นอกจากครูที่มีอายุราชการมาก มีประสบการณ์ในการสอนมา เป็นพี่ เลี้ ย งแก่ครู คนอื่น ในด้า นต่าง ๆ ซึ่งอาจให้ ค าแนะนาทั้ง ทางด้ านวิช าการ การจั ด การเรี ย นการสอน และการด าเนิ น ชี วิ ต ในแง่ ข องการสอนก็ อ าจจะมี คนอื่น ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น ๆ หรือวิธีสอนที่จะเป็นแบบอย่างและ ให้คาแนะนาแก่ครูคนอื่นได้ แต่ยังไม่เป็นระบบหรือโครงสร้างที่ชัดเจน ซึ่งโดยส่วน ใหญ่ระบบพี่เลี้ยงในบริบทของสถานศึกษาประเทศไทยจะเป็นรูปแบบพี่ เลี้ยงที่อยู่ ภายในองค์ ก รเอง (internal program) ส่ ว นรู ป แบบพี่ เ ลี้ ย งจากภายนอก (external program) ในเชิงโครงสร้างก็คือบทบาทของศึกษานิเทศก์ ซึ่งบทบาท ส่วนหนึ่งทาหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงด้วย

5


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

บทบาทของพี่เลี้ยง (Hay, 1995) 01 เป็นผู้ถ่ายทอดข้อมูล พี่เลี้ยงมีบทบาทในการถ่ายทอดข้อมูลต่าง ๆ ภายในองค์กรให้พนักงานใหม่รับทราบ

เป็นผู้รับรู้ปัญหา พี่เลี้ยงต้องเป็นผู้ที่รับทราบปัญหา ให้คาปรึกษาและ ชี้แนะแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อปรับปรุงตัวให้เข้า กับวัฒนธรรมองค์กร

03

เป็นผู้ตรวจสอบและติดตามผล พี่เลี้ยงต้องเป็นผู้ตรวจสอบและติดตามผลความรู้ ความเข้าใจในข้อมูลที่ให้กับผู้รับการช่วยเหลือ

เป็นผู้วิเคราะห์จุดแข็งและข้อควรพัฒนา พี่เลี้ยงต้องเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์จุดแข็งและข้อที่ ควรปรับปรุงของผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือเพื่อที่จะได้หา วิธีการในการพัฒนาปรับปรุงความสามารถและ ศักยภาพของผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือต่อไป

05 6

02

04

เป็นผู้สนับสนุน ช่วยเหลือ พี่เลี้ยงมีบทบาทในการสนับสนุน ช่วยเหลือและให้ กาลังใจผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือให้มีโอกาสได้รับ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน (Hay, 1995 อ้างถึงใน สุพรรณี ชาญประเสริฐ, 2554)

6


อย่างไรก็ตามยังคงมีความคลุมเครือในบทบาทหน้าที่ของการเป็นพี่เลี้ยงกับ บทบาทอื่น ๆ ด้วย เช่น การอบรม (trainer) การให้คาปรึกษา (counseling) การชี้แนะ (coaching) ซึ่ง Thrope and Clifford ได้อธิบายบทบาทของการ เป็ น พี่ เ ลี้ ย งโดยเปรี ย บเที ย บกั บ บทบาทของการชี้ แ นะว่ า การเป็ น พี่ เ ลี้ ย งจะ ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ โดยกว้างหรือทั่วไป ส่วนการมุ่งให้พิจารณาที่ทักษะหรือ การทางานบางประเด็นเป็นการเฉพาะ จะถือเป็นบทบาทของการชี้แนะ พี่เลี้ยงมัก ช่ว ยพัฒ นาบุ คลากรขององค์กรในเฉพาะกลุ่ ม หรือช่ว ยเป็นรายบุคคล ซึ่ง ปกติ พี่ เ ลี้ ย งมั ก เป็ น ผู้ มี ป ระสบการณ์ ม ากกว่ า หรื อ มี ค วามสามารถเฉพาะทาง ที่เป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ ซึ่งต่างจากผู้ชี้แนะ คือ 1) พี่เลี้ยงมักมีตาแหน่งหรือสถานะสูงกว่าผู้รับการชี้แนะ ในขณะที่ผู้ชี้แนะ ไม่จาเป็นต้องมีอาวุโสหรือสถานะสูงกว่า 2) ด้านความสัมพันธ์ พี่เลี้ยงเป็นแบบอย่างในการทางาน ในขณะที่ผู้รับ การชี้แนะไม่จาเป็นต้องเลียนแบบผู้ชี้แนะก็ได้ 3) พี่เลี้ยงมักดูแลโดยทั่วไป ทั้งการดาเนินชีวิตและการงาน ในขณะที่การ ชี้แนะเกี่ยวข้องกับบางเรื่องบางประเด็น (Thrope and Clifford, 2003) ในส่วนของการให้คาปรึกษา (counseling) ผู้ให้คาปรึกษามักมีลักษณะ คล้ายผู้ชี้แนะ แต่ผู้ให้คาปรึกษาให้ความช่วยเหลือบุคคลในปัญหาที่มีความเฉพาะ ลงไปอีก เน้นเรื่องของอารมณ์ จิตใจมากกว่าเรื่องความสามารถที่แสดงออกมาใน การทางาน ผู้ ให้คาปรึ กษาจะมองประเด็น ของสาเหตุที่ทาให้เกิดขึ้นในปัจจุบัน ค้นหาสาเหตุจากอดีตที่เป็นต้นตอของปัญหา ในขณะที่การชี้แนะจะมองไปอนาคต ข้างหน้า เริ่มจากจุดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและวางแผนเพื่อพัฒนาตามที่ตกลงร่วมกัน กับผู้รับการชี้แนะ 7


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

อย่างไรก็ตามในบริบทของการจัดการศึกษาไทยนั้น บทบาทของ พี่เลี้ยง (mentor) ผู้ชี้แนะ (coacher) และผู้ให้คาปรึกษา (counselor) ไม่ ไ ด้ แ ยกออกจากกั น อย่ า งชั ด เจน กล่ า วคื อ ในบางกรณี ผู้ ที่ ท าหน้ า ที่ เหล่านี้มักเป็นบุคคลคนเดียวกันหรืออาจเป็นคนละคนกันก็ได้

งานที่ 1 การชี้แนะ (coaching)

การชี้แนะ (coaching)

ระบบพี่เลี้ยง (mentoring) การอบรม (training) การให้คาปรึกษา (counseling)

การอบรม (training) งานที่ 2

การชี้แนะ (coaching)

การชี้แนะ (coaching)

แผนภาพที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างการชี้แนะ การอบรม ระบบพี่เลี้ยง และการให้คาปรึกษา (ปรับปรุงจาก Thrope and Clifford: 2003)

8

จากแผนภาพจะเห็นได้ว่า ผู้ที่ ทาหน้าที่ในการเป็นพี่เลี้ยง ผู้ชี้ แนะ และผู้ให้คาปรึกษาอาจเป็นบุคคลเดียวกันหรืออาจเป็นคนละคนกันก็ได้ ซึ่ง จะมีบ ทบาทที่แตกต่างกันไปตามสถานะและโอกาสในการช่ว ยเหลื อผู้ รับ ความช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามบุคคลที่มีบทบาทและหน้าที่เหล่านี้จะมาช่วย ในการสร้ า งชุ ม ชนการเรี ย นรู้ ท างวิ ช าชี พ (Professional Learning Community: PLC) ให้ เ กิ ด การขั บ เคลื่ อ นคุ ณ ภาพการพั ฒ นา8 การจัดการเรียนการสอนได้


คุณลักษณะของพี่เลี้ยง เนื่องจากพี่เลี้ยงเป็นบุคคลที่มีส่วนสาคัญในการพัฒนาคุณภาพ ของบุคคลและการจัดการศึกษา ดังนั้นบุคคลที่เป็นพี่เลี้ยงจึงควรมีคุณสมบัติและ คุณลักษณะพื้นฐานเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการสรรหา คัดเลือกหรือพัฒนาพี่เลี้ยงให้มี คุณลักษณะที่เหมาะสมสาหรับการเป็นพี่เลี้ยง ดังที่ Odina ได้นาเสนอคุณสมบัติ ของพี่เลี้ยงไว้ดังนี้ (Odina, I, 2002) 1) มีความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล สามารถจัดลาดับก่อนหลังได้อย่างดี 2) มีทัศนคติในเชิงบวก มีความกระตือรือร้น 3) มีความสามารถในการช่วย สนับสนุน ดูแลให้ผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือ เกิดความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตนเอง 4) มีความเข้าอกเข้าใจและอดทนในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 5) มีความขยันและละเอียดลออ 6) มีอารมณ์ขัน สนุกสนาน รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา และรู้กาลเทศะ นอกจากนีม้ ีผู้เสนอแนะเกี่ยวกับคุณลักษณะพี่เลี้ยงของระบบพี่เลี้ยง สาหรับครูวิทยาศาสตร์ ว่าควรมีคุณลักษณะดังนี้ (Hudson, 2003 อ้างถึงใน เฉลิมชัย พันธ์เลิศ, 2558) 1) คุณลักษณะส่วนบุคคล (personal attributes) (1) ช่วยให้ครูเกิดความมั่นใจในตนเอง (2) การให้โอกาสในการสะท้อนการทางาน (3) เป็นแรงบันดาลใจในการสอน (4) ช่วยเหลือในการสะท้อนการทางาน (5) ให้การเสริมแรงทางบวก หนุนใจให้พัฒนา 9


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

2) คุณลักษณะที่จาเป็นเกี่ยวกับการทางาน (1) การนาเสนอความรู้ที่จาเป็น (2) ทักษะการดาเนินการพูดคุยและอภิปรายเกี่ยวกับเป้าหมาย ในการพัฒนางาน (3) ให้แนวทางเกี่ยวกับเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบต่าง ๆ (4) อภิปรายเรื่องนโยบายและกระบวนการทางาน 3) ความรู้เกี่ยวกับการสอน (1) แนะนาการเตรียมการสอน (2) ช่วยการจัดการชั้นเรียน (3) ช่วยเหลือและชี้แนะเกี่ยวกับเทคนิคการถามคาถาม (4) ช่วยเหลือเรื่องยุทธวิธีการสอน (5) ช่วยเหลือและชี้แนะเกี่ยวกับเรื่องการวัดและประเมิน (6) ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น (7) ช่วยเหลือเรื่องการจัดการตารางการทางาน (8) ช่วยเหลือเรื่องสื่อการสอน 4) การเป็นแบบอย่าง (modeling) (1) เป็นแบบอย่างในการสอน (2) อภิปรายเกี่ยวกับความรู้ทางการสอน (3) ช่วยสอนในหัวข้อที่ยาก 5) การให้ข้อมูลสะท้อนกลับเกี่ยวกับการสอน (feedback) (1) การให้ข้อมูลป้อนกลับโดยคาพูด (2) การสังเกตการณ์จัดการเรียนการสอนของครู (3) การให้ข้อมูลป้อนกลับโดยการเขียน 10

10


นอกจากนี้จากการการศึกษาของ สุพรรณี ชาญประเสริฐ ได้ กล่าวถึงสมรรถนะของครูพี่เลี้ยงว่าควรมีความสามารถ ทักษะ และเจตคติ ในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ (สุพรรณี ชาญประเสริฐ, 2554)

ด้านความรู้

1

1) ความรู้ในด้านการเป็นพี่เลี้ยง 2) ความรู้เกี่ยวกับด้านการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ด้านหลักสูตรและเนื้อหาวิชา ด้านกระบวน การจัดการเรียนรู้ และด้านการวัดประเมินผล

ด้านทักษะและความสามารถในกากรการปฏิบัติงาน

2

การให้คาแนะนา ชี้แนะ การสอนงาน การเป็นที่ ปรึกษา การเป็นผู้ติดตามและการประเมินการปฏิบัติ งานการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการพัฒนาการสร้าง สัมพันธภาพและการเสริมแรงให้กาลังใจ

ด้านเจตคติ ความตระหนักในการพัฒนาวิชาชีพ

3

การมีทัศนคติที่ดีต่อการทาหน้าที่พี่เลี้ยง มีความคิด ในเชิงบวกต่อการพัฒนาวิชาชีพ เป็นผู้มีความมั่นคง ทางจิตใจ ไม่รู้สึกว่าต้องชิงดีชิงเด่นหรือแข่งขัน และ เต็มใจในการทาหน้าที่พี่เลี้ยง 11


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

การพัฒนาระบบพี่เลี้ยง ระบบพี่เลี้ยงเป็นกลไกสาคัญในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ดังนั้นจึงควรมีการดาเนินการอย่างเป็นระบบและเป็นทางการให้มากขึ้น สาหรับบริบทในประเทศไทย มีนักวิชาการเสนอแนวคิดในการพัฒนาระบบ พี่เลี้ยงในรูปแบบต่าง ๆ ไว้ หลากหลาย ซึ่งสามารถนาไปเป็นแนวทางในการ พัฒนาระบบพี่เลี้ยงในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพได้ดังนี้ Wunach ให้แนวทางในการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงทางการศึกษา ไว้ด้งนี้ (Wunach, 1994 อ้างถึงใน เฉลิมชัย พันธ์เลิศ, 2558) 1) กาหนดวั ตถุ ป ระสงค์ภ ายใต้ เป้ า หมายและพั นธกิ จของสถาบั น การพั ฒ นาระบบพี่ เ ลี้ ย ง ศึ ก ษากรอบแนวคิ ด ของระบบให้ ชั ด เจน 2) คัดเลื อกและจั บ คู่ร ะหว่ างพี่เลี้ ย งและผู้ ให้ ความช่ ว ยเหลื อ การ คัดเลือกพี่เลี้ยงที่ทีความกระตือรือร้น การจับคู่พี่เลี้ยงและผู้รั บความช่วยเหลือ 3) ฝึ กอบรมพี่เลี้ย งให้ สอดคล้องกับ เป้าหมายของระบบพี่เลี้ยง ทา ความเข้ า ใจกั บ ลั ก ษณะและธรรมชาติ ข องการท างาน พี่ เ ลี้ ย งต้ อ งเป็ น แบบอย่ า งที่ ดีใ นการทางาน การบริ ห ารเวลา และวิธี การจั ดการกับ ความ ขัดแย้ง 4) ประเมินผลผลิตของระบบพี่เลี้ย ง โดยประเมินจากสถานการณ์ กระบวนการในระบบพี่เลี้ยง การวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ (expost facto design) เช่น รายงานตนเอง และการสัมภาษณ์ 12

12


Thody (Thody, 1997 อ้างถึงใน เฉลิมชัย พันธ์เลิศ, 2558) ได้ เสนอแนะการดาเนินการโครงการระบบพี่เลี้ยง โดยกลุ่มพี่เลี้ยงทาหน้าที่ดูแล ผู้บริหารโรงเรียนให้พัฒนาสมรรถภาพในการบริหาร ดังนี้ 1) การเลือกพี่เลี้ยง การให้คนเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงด้วยวิธีการให้อาสาสมัคร แต่ก็ควรมีเกณฑ์ในการคัดเลือก ได้แก่ การเป็นผู้มีความสามารถในการชี้แนะผู้อื่น ได้ 2) การจับคู่พี่เลี้ยงกับผู้รับการดูแล 3) การดาเนินงานตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยจัดให้สัมพันธ์กับความ ต้องการในการพัฒนา มีการเก็บข้อมูลการประชุมและผลการเรียนรู้ 4) การดาเนินงานที่รับผิดชอบด้วยตนเอง ตามช่วงเวลาที่กาหนด ไว้และมีการเก็บข้อมูลผลการดาเนินการด้วยอนุทินหรือวิธีการอื่น ๆ 5) การประชุมเพื่อสะท้อนผลการเรียนรู้ ประเมินผลการเรียนรู้จากการ ดาเนินงาน ในช่วงที่ดาเนินการด้วยตนเอง 6) การรวมกลุ่มเพื่อประเมินและสนับสนุนกันและกัน เป็นการประชุม กลุ่มพี่เลี้ยงเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน จากที่กล่าวมาจะเห็นว่ากระบวนการในการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงมีขั้นตอน และกระบวนการที่ คล้ ายคลึ งกัน โดยการพัฒ นาระบบพี่เลี้ยงควรเริ่มต้นด้ว ย การวางแผนอย่ า งรอบคอบ พิ จ ารณาความต้ อ งการขององค์ ก รและบุ ค คล ที่เ กี่ ย วข้ อ ง รวมทั้ ง ควรได้ รั บ ความเห็ น ชอบจากองค์ กร มี ก ารวางเป้ า หมาย ในการพัฒนาให้ชัดเจน และมีการกาหนดเส้นทางในการพัฒนาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาระบบ พี่เลี้ยง จึงขอเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงดังแผนภาพที่ 2 ต่อไปนี้

13


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

แผนภาพที่ 2 กระบวนการพัฒนาระบบพี่เลี้ยง

1

กาหนดวัตถุประสงค์

เป็นการกาหนดวัตถุประสงค์และ เป้าหมายการพัฒนาที่สอดคล้องกับ พันธกิจของสถานศึกษา นิยามระบบ พี่เลี้ยง ศึกษากรอบแนวคิดของระบบ

4

2

ดาเนินการรับสมัครและคัดเลือกผูท้ ี่จะ มาทาหน้าที่พี่เลีย้ ง โดยกาหนดเกณฑ์ ที่เหมาะสมตามคุณสมบัติ ของผู้ที่จะมาเป็นพี่เลี้ยง

จัดอบรมและทาความเข้าใจ เป็นขั้นตอนในการจัดอบรมและ ทาความเข้าใจแผนการทางาน การประชุมพีเ่ ลี้ยงที่ได้เลือกและ อธิบายโครงการหรือเป้าหมายใน การพัฒนาให้ทราบร่วมกัน

5

14

ดาเนินการตามบทบาทหน้าที่พี่เลี้ยง ดาเนินการงานที่รบั ผิดชอบด้วย ตนเอง ตามช่วงเวลาที่กาหนดไว้ และมีการเก็บข้อมูลผลการ ดาเนินงานด้วยวิธีการที่เหมาะสม

รับสมัครและคัดเลือกพี่เลี้ยง

3

จับคู่พี่เลี้ยงกับผู้รับการดูแล

สิ่งที่ต้องคานึงถึงในการเลือกพี่เลี้ยง และผูร้ ับการดูแล คือ ลักษณะส่วน บุคคล ลีลาการเรียนรู้ ลักษณะทาง พฤติกรรม และคุณลักษณะอื่นที่ควร นามาอภิปรายเชิงลึกเพื่อให้มั่นใจว่า การจับคู่นั้นมีความเหมาะสม การประเมินผลผลิต ของระบบพี่เลี้ยง ดาเนินการประเมินผล ระบบพี่เลี้ยง โดยประเมินจาก สถานการณ์ กระบวนการในระบบ พี่เลี้ยง และการวิเคราะห์ เพื่อหาสาเหตุ 14

6


จากแผนภาพแสดงกระบวนการการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงมีขั้นตอนใน การดาเนินการที่สามารถนาไปปฏิบัติได้ในบริบทสถานศึกษาต่าง ๆ อย่างไร กระบวนการสาคัญกระบวนการหนึ่งที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบพี่เลี้ยง ประสบผลสาเร็จคือ ขั้นตอนที่ 4 การอบรมและทาความเข้าใจ ซึ่งวัตถุประสงค์ ของกระบวนการในขั้นตอนดังกล่าว มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ 1) เพื่ออธิบ ายวัตถุป ระสงค์และบริบ ทของโปรแกรมพี่เลี้ ยงตลอดจน ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มเป้าหมาย 2) เพื่อให้เข้าใจในข้อกาหนดและขั้นตอนของโปรแกรม 3) เพื่อพัฒนาทักษะของพี่เลี้ยง (Golden and Sims, 1999 อ้างถึงใน Miller, 2002) ดังนั้นจึงขอเสนอตัวอย่างหัวข้อและกระบวนการฝึกอบรมพี่เลี้ยงสาหรับ เตรียมการให้พี่เลี้ยงได้รับการพัฒนาก่อนเข้าร่วมกระบวนการทางานในบทบาท ของพี่เลี้ยงดังนี้ (สุพรรณี ชาญประเสริฐ, 2554) 1) ชื่อหลักสูตร : การพัฒนาครูพี่เลี้ยงตามหลักการเรียนรู้เป็นทีเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาศาสตร์ 2) วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูวิทยาศาสตร์ ให้สามารถปฏิบัติงาน การเป็นครูพี่เลี้ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) แนวทางการจัดกิจกรรม : (1) การชี้แจงวัตถุประสงค์หลักสูตร รูปแบบหรือวิธีการที่ใช้ใน การพัฒนา (2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกลุ่มผ่านกระบวนการสนทนา และอภิปราย ทบทวนและสรุปการเรียนรู้ตามขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ เป็นทีม (3) การมอบหมายการเรียนรู้ด้วยตนเอง 15 (4) ประเมินตนเองก่อนและหลังการพัฒนา


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

4) ระยะเวลาการพัฒนา : 25 ชั่วโมง 5) รูปแบบและวิธีการที่ใช้ในการพัฒนา : (1) กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์และเกม (2) กิจกรรมบทบาทสมมุติและสถานการณ์จาลอง (3) กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักการเรียนรู้เป็นทีม 6) การประเมินผล : ประเมินสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจาสายงาน ด้วย วิธีการทาแบบประเมินตนเองแลการสัมภาษณ์ โดยใช้แบบประเมินสมรรถนะครู พี่เลี้ยง และแบบสัมภาษณ์ครูพี่เลี้ยง 7) โครงสร้างหลักสูตร : ตารางที่ 1 โครงสร้างหลักสูตรการพัฒนาครูพี่เลี้ยงตามหลักการเรียนรู้เป็นทีม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาศาสตร์ ลาดับ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 16

เนื้อหา ระยะเวลา สร้างสัมพันธภาพและการสร้างทีมการเรียนรู้ของครูพี่เลี้ยง 2 ชม. การเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเป็นพี่เลี้ยง 2 ชม. การสร้างเสริมทักษะการฟังเพื่อเป็นผู้ฟังเชิงรุก 2 ชม. การเสริมสร้างทักษะการใช้คาถามอย่างมีประสิทธิภาพ 2 ชม. การให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อพัฒนางาน 2 ชม. ความเข้าใจหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด 3 ชม. การสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการสืบเสาะความรู้ 3 ชม. การออกแบบการจัดการเรียนและการเขียนแผนการ 3 ชม. จัดการเรียนรู้กับการสอนวิทยาศาสตร์ การวัดแลประเมินผลอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ 3 ชม. เทคนิคการปฏิบัติงานการติดตามกากับดูแลของครูพี่เลี้ยง 3 ชม. 16


วิธีการและเทคนิคสาหรับพี่ เลี้ยง วิธีการและเทคนิคสาหรับพี่เลี้ยงเป็นเครื่องมือสาคัญสาหรับพี่เลี้ยง เพื่อใช้ทางานกับครูหรือผู้รับการดูแล ช่วยให้ผู้รับการดูและหรือครูที่รับการดูแล ได้ รั บ การส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด การปฏิ รู ป การสอน ช่ ว ยต้ า น “ความรู้ เ ดิ ม ” ที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน ช่วยให้ครูรู้สึกผ่อนคลาย แสวงหาทางเลือกใหม่ และ พัฒนาไปในแนวทางที่เหมาะสม รวมทั้งช่วยเหลือครูให้ได้ทบทวนประสบการณ์ ของตนเอง ส่งเสริมให้ครูมีความชัดเจนเกี่ยวกับการสอนของตนเองมากขึ้น และ ที่สาคัญคือช่วยให้ครูได้รับคาแนะนาเกี่ยวกับวิธีการทาในสิ่งที่ดีกว่าหรือแตกต่าง ออกไปจากเดิม ระบบพี่เลี้ยงครูควรเป็นไปในลักษณะที่ไวต่อความรู้สึกและเอื้ออาทร (sensitivity and care) เคล็ดลับในการทางานที่ช่วยให้ดาเนินไปตามแนวทาง ที่ถูกต้อง มีดังนี้ (เฉลิมชัย พันธ์เลิศ, 2558) 1) ไวต่ อ จั ง หวะการเรี ย นรู้ ข องครู เนื่ อ งจากผู้ ใ หญ่ เ รี ย นรู้ ใ นอั ต รา ที่แตกต่างกัน การทางานจึงต้องจัดให้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละคน ด้วยความใส่ใจและเข้าใจ รวมทั้งให้ระลึกว่าเรากาลังเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ได้ เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตามลาดับเป็นเวลานานแล้ว จึงจาเป็นต้องอาศัยเวลา และฝึกวิธีทั้งไม่เรียนหรือละทิ้งความรู้ชุดเดิม (unlearn) หรือการเรียนเรื่องเดิม ด้วยมิติของการเรียนรู้สิ่งใหม่ (relearn) 2) การคาดหวังงานหรือการตอบสนองต่องาน (high-quality work and response) ตอบสอนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่บางทีเกิดขึ้นเล็กน้อยมาก และอภิปรายในทุกความพยายามที่เกิดขึ้นเมื่อไปถูกทางทั้งครูและพี่เลี้ยงครูจะรู้ ว่า มั นเกิ ดขึ้ น แล้ ว พิ จ ารณาการเปลี่ ย นแปลงที่ เ กิ ด ขึ้น อย่า งสงบให้ ม ากกว่ า การตั้งมาตรฐานที่สูงเกินไป ถ้าพฤติกรรมหรือการปฏิบัติยังไม่เป็นไปตามที่ตั้ง หวังไว้ ให้ชื่นชมกับความสาเร็จเล็ก ๆ ทางานต่อไปและรักษาเป้าหมายที่ถูกต้อง 17 นั้นไว้ทางานต่อไป


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

3) การถามคาถามปลายเปิด (open-ended question) เมื่อได้พูดคุย ถึงการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการ ควรถามคาถามที่ให้คาตอบได้มากกว่า คาตอบเดียว พี่เลี้ยงครูจะเป็นแม่แบบ (modeling) ว่า การเป็นครูควรมี ปฏิสั มพั น ธ์กั บ นั กเรี ย นอย่ างไร เหมือนกับ ที่พ ยายามช่ว ยให้ ครู ส ะท้ อนการ พัฒนาของตนเอง 4) ใช้วิธีการสะท้อนและทาซ้า (reflection and repetition) ช่วยให้ ครูพิจารณาสิ่งที่กระทาอยู่ (watch) และไตร่ ตรองการเรียนรู้ (reflect) ของ ตนเอง ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งเป็นทักษะสาคัญในการ พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

การนากระบวนการพัฒนาครูพี่เลี้ยงไปสู่การปฏิบัติ จากที่กล่าวมาแล้วว่าการพัฒนาครูพี่เลี้ยงเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วย ให้การจัดการศึกษามีคุณภาพยิ่งขึ้น ดังนั้นการนากระบวนการและวิธีการพัฒนา ครูพี่เลี้ยงที่เหมาะสมจึงเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การดาเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย ที่กาหนดไว้ ทั้งนี้การออกแบบกระบวนการหรืออวิธีการพัฒนาครูพี่เลี้ยงจึงต้อง คานึ ง ถึง ศั ก ยภาพด้า นความรู้ ประสบการณ์ แ ละคุ ณ สมบั ติ พื้ นฐาน รวมทั้ ง เป้ า หมายของการพั ฒ นา เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งนี้ มี ผู้ ศึ ก ษาค้ น คว้ า แนวทางการ ดาเนินการพัฒนาครูพี่เลี้ยง ไว้อย่างหลากหลาย ซึง่ แนวทางการพัฒนาครูพี่เลี้ยง ควรประกอบด้ ว ย การศึ ก ษาด้ ว ยตนเอง การลงมื อ ปฏิ บั ติ การฝึ ก ทั ก ษะ การปฏิ บั ติ งาน และการแลกเปลี่ ย นความคิด เห็ นร่ ว มกัน ระหว่ า งครู พี่เ ลี้ ย ง (สุพรรณี ชาญประเสริฐ, 2554) ซึ่งสามารถสรุปได้ดังแผนภาพที่ 3 ต่อไปนี้

18

18


01

การศึกษาด้วยตนเอง: เป็นการเสริมสร้างสมรรถนะด้าน หลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล โดยให้ครูพี่เลี้ยงได้มีโอกาสเตรียมความพร้อมและพัฒนา ศักยภาพของตนเองในส่วนที่ตนเองมีความต้องการก่อนการ เข้ารับอบรมเชิงปฏิบัติการ

02

การอบรมเชิงปฏิบัติการ: ควรมีการออกแบบกิจกรรมที่ หลากหลาย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการจาเป็นและมุ่งเน้น การพัฒนาสมรรถนะครูพี่เลี้ยง เน้นการปฏิบัติงาน แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ร่วมกัน โดยให้ความสาคัญกับการสร้างสัมพันธภาพ การสร้างบรรยากาศ เพื่อทาให้เกิดความไว้วางใจระหว่างครูพี่เลี้ยง

03

การฝึกปฏิบัติงาน: เป็นการให้ครูพี่เลี้ยงได้ฝึกปฏิบัติงานใน บทบาทครูพี่เลี้ยง เพื่อให้ครูได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติงานกับครูพี่เลี้ยง ในโรงเรียนทันทีหลังจากการเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ เกิดทักษะ ความชานาญ รวมทั้งสามารถนาปัญหา อุปสรรคมา ปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือจากทีมครูพี่เลี้ยงได้เป็นระยะ ๆ

04

การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น: เป็นการจัดประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างครูพี่เลี้ยง ซึ่งได้ดาเนินการเป็น ระยะ ๆ ทาให้มีการรายงานความก้าวหน้าการปฏิบัติงานครูพี่เลี้ยง มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่ากัน นาเสนอปัญหา อุปสรรค ของการปฏิบัติงาน เพื่อร่วมกันวางแผนและหาแนวทางแก้ปัญหา แผนภาพที่ 3 กระบวนการพัฒนาครูพี่เลี้ยง (ปรับปรุงจาก สุพรรณี ชาญประเสริฐ, 2554 )

19


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

บทสรุป กล่าวโดยสรุป ระบบพี่เลี้ยงครู (mentoring system) หรือระบบพี่เลี้ยง (mentoring) เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ใช้สาหรับการพัฒนาวิชาชีพครู ซึ่ ง มี บุ ค คลที่ เ กี่ ย วข้ อ งอยู่ 2 ฝ่ า ย คื อ พี่ เ ลี้ ย ง (mentor) และผู้ ที่ ไ ด้ รั บ การช่ว ยเหลื อ (mentee) โดยพี่ เลี้ ย งเป็ น ผู้ ทาหน้ าที่ใ นการถ่ ายทอดแนวคิ ด ความรู้ ประสบการณ์ ใ นเรื่ อ งต่ า ง ๆ ให้ กั บ อี กฝ่ า ยหนึ่ ง เปรี ย บเสมื อ น ที่ปรึกษาที่น่าเชื่อถือ (trusted advisor) เป็นเพื่อเป็นครูและเป็นผู้ให้คาแนะนา ที่เข้าใจ (Shea, 1997) ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของพี่เลี้ยงคือการช่ว ยเสริมสร้าง ให้ผู้ ที่ได้รับการช่วยเหลื อได้เพิ่มพูน ความรู้ เสริมสร้างความเข้าใจ ทั้งในด้าน ของแนวทางการด าเนิ น ชี วิ ต และด้ า นแนวทางการปฏิ บั ติ ง านที่ จ ะก้ า วสู่ ความสาเร็จ ดังนั้นระบบพี่เลี้ยงจึงเป็ นส่วนหนึ่งในกระบวนการสร้างรากฐาน ให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้วยการถ่ายโอนความรู้จากคนหนึ่งไปสู่อีก คนหนึ่งโดยสามารถนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากขึ้น ระบบพี่เลี้ยงจะประสบความสาเร็จหรือไม่นั้นขึ้ นอยู่กับศักยภาพของครู พี่เลี้ ย ง ดังนั้ น จึ งควรพัฒ นาศักยภาพของครู พี่เลี้ ยงตามรูปแบบและแนวทาง เหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามเป้าหมายที่ว่างไว้ต่อไป 

20

20


บรรณานุกรม ภาษาไทย เฉลิมชัย พันธ์เลิศ. (2558). “ระบบพี่เลี้ยง (mentoring)”. (อัดสาเนา) บังอร เสรีรัตน์, ชาริณี ตรีวรัญญู และเรวณี ชัยเชาวรัตน์ (บรรณาธิการ). (2558). 9 วิถีสร้างครูสู่ศิษย์: เอกสารประมวลแนวคิด และแนวทางพัฒนาวิชาชีพครูสาหรับคณะทางาน. (อัดสาเนา) สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2554). การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาครูพี่เลี้ยงวิชา วิทยาศาสตร์ตามหลักการเรียนรู้เป็นทีมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการ ปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและกาสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาษาอังกฤษ Hay, J. (1995). Transformational mentoring: Creating developmental alliances for changing organizational cultures. Maidenhead: McGraw-Hill. Miler, A. (2002). Mentoring student & young children: A handbook of effective practice. London: Kogan page. Odina, I. (2002). Mentoring courses in enhancing quality of teacher pre-srevice and in-service education. [Online]. Availaballe from http://www.pef.unilj.si/tepe2008/papers/Odina.pdf [18 September 2017] Shea, G.F. (1997). Mentoring. Revised ed. USA: crisp Publications. Tody, A. (1997). Mentoring for school principle. In B.J. Caldwell and E.M.A Carter (eds.), The erturn of the mentor: Strategies for workplace learning, pp. 59-76. London: The Falmer. Thrope, S. and Clifford, J. (2003). The coaching handbook: An action kit for Trainers & managers. London: Kogan Page.


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

ต่อจังหวะ การเรียนรู้ของครู

ไว

reflection & repetition

4

สะท้อน เทคนิค

MENTORING สู่ความสาเร็จของการเป็นพี่เลี้ยง

ชื่นชม

คาถาม

การชื่นชมกับ ความสาเร็จเล็ก ๆ high-quality work & response

ใช้คาถามปลายเปิด ในการพูดคุย แลกเปลี่ยน การพัฒนา


แนวคิด ทฤษฎี กระบวนการ วิธีการ และกลยุทธ์ ในการพัฒนาวิชาชีพครู ระบบพี่ เ ลี้ ย ง (Mentoring) เป็นกระบวนการพัฒ นาครูโ ดยใช้โ รงเรียนเป็น ฐาน (school-based training) โดยให้ครูที่มี ความรู้ และประสบการณ์ใ นการปฏิบัติงานสู ง กว่ามาทาหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คาแนะนาและความ ช่วยเหลือทางวิชาการแก่ครูที่มีประสบการณ์ น้อยกว่า

คู่มือนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชา 2716607 การพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ปีการศึกษา 2560 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.