school base06-การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้(LSLC)

Page 1

รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

คู่มือการพัฒนาวิชาชีพครู

School-Based Teacher Professional Development

KM LSLC

การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ Lesson Study as Learning Community (LSLC) ผู้เรียบเรียง

อติอร ตัญกาญจน์ จิรัชยา กลับศรีอ่อน


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

คำนำ การพัฒนาวิชาชีพครูนั้นมีวิธีที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาให้เหมาะสม กับบริบทของแต่ละโรงเรียน เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวผู้เรียน คู่มือเล่มนี้ ได้เรียบเรียงข้อมูลเกี่ยวกับ ความเป็นมา ลักษณะสาคัญ แนวทางในการนา การพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ : Lesson Study as Learning Community (LSLC) ไปปรับใช้ เพื่อให้เป็นอีก แนวทางหนึ่งในการร่วมกันพัฒนาวาชีพครูให้ก้าวไปข้างหน้า ส่งผลต่อ การศึกษาต่อไป ผู้เ รี ย บเรี ย งหวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า คู่ มื อ การพั ฒ นาครู เรื่ อ ง การ พัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ : Lesson Study as Learning Community (LSLC) เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ ศึกษา ทั้งนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ ดร.ชาริณี ตรีวรัญญู ที่ได้ให้คาแนะนา จนสามารถเรียบเรียงและจัดทาให้คู่มือเล่มนี้สาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผู้เรียบเรียง อติอร ตัญกาญจน์ จิรัชยา กลับศรีอ่อน กันยายน 2560


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

School-Based Teacher Professional Development

สารบัญ เรื่อง ความเป็นมา LSLC คืออะไร ? ลักษณะสาคัญของการดาเนินงานตามกระบวนการ LSLC ลักษณะสาคัญของ LSLC คือ ? แนวทางในการนา LSLC ไปปรับใช้ ความแตกต่างระหว่าง LS กับ LSLC ข้อเสนอแนะในการดาเนินการ LSLC รายการอ้างอิง

หน้า 1 3 5 7 9 16 17 19


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

1

การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ Lesson Study as Learning Community (LSLC) ความเป็นมา Lesson Study for Learning Community (LSLC) มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 โดยศาสตราจารย์ Manabu Sato เป็นผู้ริเริ่มที่นา LSLC มาใช้ในโรงเรียน เนื่องจาก Sato ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ Manabu Sato ของโรงเรี ย นส่ ว นมากในญี่ ปุ่ น ก าลั ง เข้ า สู่ ปั ญ หาที่ รุนแรงขึ้นทีละน้อย จึง ได้ท าการวิ จัยและตีพิมพ์ใ น หนังสือภายใต้ชื่อ Critique on Curriculum ในปี ค.ศ.1996 จึงถือเป็นการ นาเสนอแนวคิด LSLC อย่างเป็นทางการ โดยในเริ่มแรกนั้นมีโรงเรียนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เข้าร่วมการทา LSLC ประกอบไปด้วยโรงเรีย นนาร่อ งเพียง 3 โรงเรียนในญี่ปุ่น ได้แ ก่ Hamanago, Oliya และ Hiromi ทั้งนี้ปัญหาด้านการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ที่เ ป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของการท า LSLC นั้ น เกี่ ย วเนื่ อ งมาจากปั ญ หาทางด้ า น เศรษฐกิ จ ของประเทศ โดยเรี ย กว่ า ยุ ค “ฟองสบู่ ” ส่ ง ผลให้ ป ระชาชนใน ประเทศตกงาน ขาดรายได้ ผู้ น าของครอบครั ว มี ปั ญ หาด้ า นการเงิ น ความสัมพันธ์ในครอบครัวแย่ลง ส่งผลกระทบให้เยาวชนขาดแรงจูงใจในการ จะเรียน


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

2

ทั้งที่ความจริงแล้วเยาวชนชาวญี่ปุ่นต่างมีความตั้งใจกระตือรือร้นที่จะ เรียน ใช้เวลาในการเรียนอย่างจริงจัง และสามารถประสบผลสาเร็จในการ เรียนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าแนวคิด LSLC เกิดขึ้นโดย Sato ที่ได้ริเริ่ม โครงการที่มีแนวคิดที่จะปฏิรูปโรงเรียนที่แตกต่างจากแนวคิดเดิม ๆ ซึ่งไม่อยู่ บนพื้น ฐานของนโยบายของรัฐ แต่ตั้ ง อยู่ บนความต้ องการที่จ ะเรี ยนรู้ข อง ผู้เรียนเอง ปัจจุบันนี้แนวคิด LSLC จึงถือว่าได้รับความสนใจจากหลากหลาย โรงเรียนในญี่ปุ่น และได้รับการนาไปใช้อย่างแพร่หลาย


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

3

LSLC คืออะไร ? LSLC มีแนวคิดสาคัญในเรื่องของความเป็นประชาธิปไตยและความ เท่า เที ยมกันของมนุ ษย์ ซึ่ง มีค วามเชื่ อที่ ว่ามนุษ ย์จ ะเรี ยนรู้ไ ด้ดีที่ สุด เมื่ อได้ เรียนรู้ร่วมกัน เด็กและเยาวชนต้องได้รับโอกาสที่ดีและเรียนรู้อย่างถูกต้อง โดย อาศั ย ความร่ ว มมื อ กั น ระหว่ า งครู ผู้ ป กครอง คนในชุ ม ชนและผู้ ที่ มี ส่ ว น เกี่ยวข้อง โดยอาศัยหลักปรัชญาของ LSLC 3 ประการ คือ 1). ปรัชญาแห่งความเป็นสาธารณะ ที่เน้นให้ครูควรเปิดห้องเรียน 2). ความเป็น ประชาฌธิป ไตย คือ ทุก คนที่มีส่ วนเกี่ย วข้อ ง ล้ วนมี ความสาคัญและมีความสัมพันธ์กัน 3).ปรัชญาแห่งความเป็นเลิศ คือ ทุกคนจะต้องทาหน้าที่ของตัวเองให้ ดีที่สุด Eisuke Saito & Matthew Atencio (2015) อธิบายเกี่ยวกับ แนวคิดของ LSLC ไว้ 4 ประเด็น ดังนี้ 1. การเปลี่ยนมุมมองของครูเกี่ยวกับ บทเรียน, 2. แนวทางการสังเกตชั้นเรียนของครู, 3. การเปลี่ยนความสัมพันธ์ ระหว่างครูและ 4. การทบทวนกลยุทธ์การจัดการโรงเรียนและความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนท้องถิ่น โดยครูต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ 1). การมีส่วนร่วมของครู ซึ่งไม่จาเป็นต้องเป็นบุคคลในกลุ่มสาระวิชา เดียวกัน 2). ไม่คานึงถึงสถานภาพและความอาวุโส กล่าวคือ ครูทุกคนต้อง ร่วมมือกันในการที่จะเรียนรู้ มีบทบาทในการทางานและตัดสินใจที่เท่าเทียม กัน 3). มีความตั้งในที่จะพัฒนาตนเองอย่างแน่วแน่


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

4

ดังนั้นหลักการสาคัญของแนวคิด LSLC คือ ครูดาเนินการจัดการ เรียนรู้โดยอาศัยความต้องการที่จะเรียนรู้ของผู้เรียน หลังจากนั้นนาข้อมูลที่ได้ จากการอภิปรายผลทั้งจากผู้เชี่ยวชาญและนักพัฒนาหลักสูตร มาจัดระบบ ภายใต้วัฒนธรรมและกฎเกณฑ์ซึ่งส่งผลต่อผู้เรียนเพื่อนาไปพัฒนาบทเรียน โดยเป็นกระบวนการพัฒนาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างโรงเรียน ครู และ นักเรียน อย่างไม่สิ้นสุดในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ดังภาพ

นอกจากนี้การนา LSLC มาปรับใช้กับการศึกษา เพื่อต้องการที่จะล้มเลิกระบบ การศึกษาตามระบบเดิมที่มีการแบ่งชนชั้นให้ผู้ที่ตาแหน่งน้อยกว่าต้องยอมรับ ความคิดเห็นและคาสั่งของผู้ที่ตาแหน่งสูงกว่า โดยมีเป้าหมายที่จะตั้งคาถาม เกี่ย วกั บแนวคิ ดดั งกล่าวจากมุ มมองประชาธิ ปไตยด้วยการเน้นเรื่อ งความ ยุติธรรมทางสังคม และผู้เรียนจะต้องรู้จักสร้างสังคมจากการเห็นอกเห็นใจ ผู้อื่นและพึ่งพาอาศัยกัน (Eisuke Saito & Matthew Atencio ,2015)


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

5

ลักษณะสาคัญของการดาเนินงานตามกระบวนการ LSLC  ต้องสร้างความตระหนักให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นถึงความสาคัญของ การพัฒนาการศึกษาให้ดีขึ้น โดยกลุ่มคน 3 กลุ่ม ที่มีส่วนสาคัญในการที่จะทา ให้ LSLC ประสบความสาเร็จได้แก่ 1). ครู 2).นักเรียน 3). ผู้ปกครองและคน ในชุมชน  มีความเชื่อมั่นในตัวผู้เรียนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตาม ความถนัด ทั้งนี้ผู้เรียนแต่ละคนต่างมีความสามารถที่หลากหลายแตกต่างกัน ไปในแต่ละคน โรงเรียนต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และนาไปสู่ความสาเร็จ ครูต้องเข้าใจในความแตกต่าง พื้นฐานของนักเรียนแต่ละคน รวมไปถึงส่งเสริม ให้ผู้เรียนเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมพลัง เรียนรู้จากการผิดพลาดซึ่งกันและกัน  ครูสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้ผู้เรียน กล้าคิด กล้าทา กล้า แสดงออก ไม่สร้างความกดดันให้ผู้เรียน ไม่กาหนดให้ผู้เรียนเป็นในสิ่งที่อยาก ให้เป็น แต่ครูต้องเปรียบเสมือนเพื่อนที่คอยช่วยเหลือและชี้แนะนักเรียน และ เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ เกิดกับผู้เรียน  ตระหนักถึงการเรียนรู้ทั้ง 3 ประการ ให้เกิดกับผู้เรียน คือ 1. ความรู้ความเข้าใจ 2. สังคม 3. คุณธรรมจริยธรรม  ครูต้องมีความรู้ความแม่นยาในเนื้อหาและมีศิลปะในการสอน


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

6

 ครูมีความใส่ใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ แบบร่วมมือร่วมพลัง และเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น  การสังเกตชั้นเรียน โดยเปิดโอกาสให้ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยตรง  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์, การอภิปรายผลจากการปฏิบัติงาน และการสะท้อนคิด ภายหลังจากการสังเกตชั้นเรียน  การมี ส่ ว นร่ ว มของผู้ ป กครองและผู้ รู้ คื อ การน าผู้ รู้ เ ข้ า มามี บทบาทในการให้ความรู้แก่ผู้เรียน ช่ วยกันตั้งประเด็นและให้ผู้เรียนได้รู้จั ก กระบวนการแก้ปัญหา


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

7

ลักษณะสาคัญของ LSLC คือ ? 1. การเปิดเผยให้แก่สาธารณชนได้รับรู้ ทุกคนสามารถแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ ซึ่งมีรากฐานจากความเป็นประชาธิปไตย ทุกคนต้องรู้จักการรับ ฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 2. สร้างชุมชนการเรี ยนรู้ให้เกิดขึ้นโดยไม่ จากัดบุค คลในขอบเขต ความรู้และ สาระวิชาเดียวกัน ทุกคนสามารถสังเกต วิจัย และอภิปรายร่วมกัน ได้ 3. LSLC เป็นแนวคิดที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อใช้ประเมินครู แต่เป็นกิจกรรม ที่ใช้เพื่อการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยการสังเกตซึ่งไม่เข้าไปแทรกแซง และ ถกเถียงโต้แย้งกันโดยไม่มีเหตุผล 4. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ซึ่งครูทุกคนมีบทบาทในการตัดสินใจ ของตนเอง เป็ นกระบวนการท างานแบบร่ว มมื อร่ว มพลั ง โดยไม่ไ ด้ใ ห้ค รู เปลี่ยนแปลงเอกลักษณ์การสอนของตนเอง เพียงแต่เสนอแนวทางต่าง ๆ ที่ เหมาะสมให้ครูเลือกนาไปปรับใช้ 5. เป็นการทางานแบบร่วมมือร่วมพลัง โดยครูจะเป็นต้นแบบที่ดีใน ลักษณะของการทางานที่เกื้อกูลช่วยเหลือกันให้กับผู้เรียน 6. มีจุดมุ่ง หมายเพื่อพัฒนาการเรี ยนรู้ของผู้เรียนเป็นสาคัญ โดย มุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักสร้างจุดมุ่งหมายในการเรียน สามรถเชื่อมโยงความรู้กับ ชีวิตประจาวัน โดยครูสามารถสนับสนุนให้ ผู้เรีย นเกิด การเรียนรู้ไ ด้อ ย่างมี คุณภาพดังต่อไปนี้ - มอบหมายงานที่ มี ค วามหมายและสอดคล้อ งกั บ การน าไปใช้ ใ น ชีวิตประจาวัน - สร้างความมั่นใจให้ผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบ Active Learner


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

8

- จัดประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย และระดับชั้น - จัดการเรียนรู้ที่ตรงกับความต้องการของผู้เรียน - สร้ า งจุ ด มุ่ ง หมายให้ กั บ ผู้ เ รี ย น และการสะท้ อ นผลที่ มี คุ ณ ค่ า ต่ อ ผู้เรียน - ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 7. ครู ค วรศึ ก ษางานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เพื่ อ เพิ่ ม พู น ความรู้ แ ละ ประสบการณ์ในการนามาพัฒนาตนเอง 8. กาหนดประเด็นในการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน โดยพิจารณาจาก การเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริง 9. ตระหนักเสมอว่าผู้เรียนมีความสามารถที่หลากหลาย แตกต่างกัน ไปในแต่ละคน และสามารถประสบความสาเร็จได้ และเชื่อมั่นว่าครูแต่ละคนก็ สามารถพัฒนาตนเองให้กลายเป็นมืออาชีพได้เช่นกัน 10. LSLC เป็นการดาเนินการที่ต้องใช้เวลาในระยะยาวจึง จะเกิด ผลสาเร็จ ครูเป็นบุคคลสาคัญในการมีส่วนให้เกิดผลสาเร็จ ซึ่งครูต้องฝึกฝน มี ความพยายาม และไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค 11. ผู้บ ริ หารมี ส่ว นส าคัญ ในการผลัก ดั นให้เ กิด ความส าเร็จ โดย ผู้บริหารควรมีส่วนร่วมในการสังเกตชั้นเรียน เพื่อสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ ของผู้เรียน แล้วนาข้อคิดเห็นที่ได้มาร่วมในการสะท้อนผลภายหลัง


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

9

แนวทางในการนา LSLC ไปปรับใช้ ขั้นของการเตรียมการดาเนินงาน 1. โรงเรียนควรจัดสรรเวลาให้กับครูอย่างเหมาะสมเพื่อที่จะได้มี เวลา ในการดาเนินการตามขั้นตอนของ LSLC เช่น ลดการประชุมที่ไ ม่จาเป็น , กระจายอานาจการตัดสินใจให้กับหัวหน้างาน, ลดปริมาณการเขียนรายงาน เป็นต้น โดยอาจสร้างเป็นปฏิทินการปฏิบัติงานที่ชัดเจน 2. ส ารวจและรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของครู เพื่ อ น ามาใช้ ก าหนด เป้าหมายของการพัฒนา 3. สร้างความตระหนักในเรื่องของวัฒนธรรมการทางานที่อาจต้องใช้ ระยะเวลา และการรวมพลัง โดยต้องใช้เวลาให้คุ้มค่าเพื่อนาไปสู่ความสาเร็จ ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ครู 1. ต้องเข้าใจกระบวนการทางานของ LSLC อย่างแท้จริง โดยอาจ ศึกษาจากผู้รู้และโรงเรียนนาร่อง 2. เริ่มจากผู้ที่มีความสนใจร่วมกัน และมีจุดประสงค์เดียวกันในการ รวมกลุ่มเพื่อดาเนินงาน 3. ควรมีผู้อาวุโสร่วมกลุ่มเพื่อร่วมแบ่งปัน วิสัยทัศน์ ประสบการณ์ และเทคนิคการสอนต่าง ๆ 4. การเปิดใจและรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันเป็นสิ่งสาคัญ ต้อง ยอมรับความแตกต่างและความสามารถของแต่ละคน 5. การมีบุคคลที่คอยช่วยเหลือสนับสนุน เช่น บรรณารักษ์ ที่จะช่วย ในการค้นหาแหล่ง ข้อ มูลต่าง ๆ จากห้ องสมุด , เงิน สนั บสนุ น และบุค คลที่ สามารถให้ข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน เป็นต้น


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

10

6. กระบวนการของ LSLC นั้นไม่จาเป็นว่าการรวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนา บทเรียนร่วมกันนั้นต้องเป็นผู้ทีมีความรู้ในเนื้อหาสาระวิชาเดียวกัน โดยเชื่อว่า หากต่างกลุ่มสาระกัน จะได้แนวคิดการดาเนินการสอนที่หลากหลาย โดยสาม รถเข้าใจลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นสาคัญ เพราะเปรียบเสมือนว่าผู้ สั ง เกตการสอนได้ ร่ ว มเรี ย นรู้ ไ ปกั บ ผู้ เ รี ย นด้ ว ย ท าให้ เ ข้ า ใจถึ ง อุ ป สรรคที่ ขัดขวางการเรียนรู้ได้อย่างแจ่มชัดมากยิ่งขึ้น ผู้เรียน 1. ผู้เรียนเป็นส่วนสาคัญในการดาเนินงาน เนื่องจากจุดประสงค์ใน การดาเนินงานล้วนต้องการให้เกิดผลต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็น สาคัญ 2. ผู้เรียนควรรับรู้และเข้าใจถึงกระบวนการทางานของ LSLC เพื่อ ก่อให้เกิดความร่วมมือในการดาเนิน งานระหว่างผู้เรียนกับครู และผู้มีส่ว น เกี่ยวข้อง บุคคลภายนอก 1. ผู้ปกครองและชุมชน ควรรับรู้และตระหนักถึงความสาคัญในการ ดาเนินงานและให้ความร่วมมือกับโรงเรียน 2. ผู้มีบทบาทสาคัญทางการศึกษา ควรให้การสนับสนุนและส่งเสริม การดาเนินงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 3. ผู้รู้ จ ากภายนอก ที่ มีค วามเชี่ ย วชาญในเรื่ องของเนื้ อหาสาระ ศาสตร์การสอน หรือผู้มีประสบการณ์ในการดาเนินงาน เข้ามามีบทบาทใน การช่วยเหลือครูให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของการนาความรู้มาปรับใช้ โดย อาจเกิดจากการอภิปรายผล การร่วมสังเกตชั้นเรียน หรือการทาวิจัย


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

11

ขั้นของการสังเกตชั้นเรียน 1. การกาหนดระยะเวลาของการสังเกตชั้นเรียนและการสะท้อนผล การปฏิบัติง านที่ชัดเจน โดยการดาเนินงานตามกระบวนการของ LSLC นั้น ต้ อ งก าหนดระยะเวลาที่ แ น่ น อนและชั ด เจน เพื่ อ ให้ ค รู ไ ด้ จั ด สรรเวลาที่ เหมาะสมในการร่วมกันสังเกตชั้นเรียน หรือแม้กระทั่งการเชิญบุคคลภายนอก เข้ามาร่วมกันสังเกตชั้นเรียน ซึ่งอาจจัดทาเป็นแผนประจาปี 2. การเปิดโรงเรียนเพื่อให้บุคคลภายนอกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ สัง เกตการณ์สอน อย่า งน้อ ย 2-3 ครั้ง เพื่อ สร้ างความเข้ าใจให้ กับชุ มชน เกี่ยวกับการดาเนินงานของ LSLC และการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน โดย ทางโรงเรียนจะต้องมีความแน่ใจในลักษณะการดาเนินงานที่ประสบผลสาเร็จ มาซักระยะหนึ่งแล้ว ก่อนที่จะสามารถเผยแพร่ให้กับภายนอกและเป็นต้นแบบ ของการดาเนินงาน 3. การใช้เทคโนโลยีในการมีส่วนช่วยในการบันทึกร่องรอยหลักฐาน การเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การถ่ายวิดีโอ การถ่ายภาพ เป็นต้น โดยการนา ภาพเหตุการณ์ที่น่าสนใจมาใช้ในการสะท้อนผล จะทาให้เข้าใจสถานการณ์ง่าย ขึ้น ทั้งนี้วิดีโอควรนาเสนอแต่สิ่งที่ควรนามาเป็นประเด็นในการพิจารณา ซึ่งมี ความยาว ประมาณ 1- 2 นาที และไม่เกิน 7 เหตุการณ์  การตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับผู้เรียนในชั้นเรียน - ผู้เรี ยนที่ เงีย บผิดปกติ อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่ น ครอบครัว มี ปัญหา ไม่มีความมั่นใจ ไม่ไว้ใจและเชื่อใจใคร - ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับครู


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

12

- ผู้เรียนที่เรียนรู้ช้า มีสิ่งใดที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคต่อการเรียนรู้ โดยอาจสังเกตได้จากการนอนหลับ การพูดคุยนอกเรื่อง - งานที่ครูมอบหมายให้ผู้เรียนมีความท้าทายความสามารถหรือสาคัญ มากเพียงพอ และผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างแท้จริง - ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยให้สังเกตในภาพรวมของ ผู้เรียนทั้งชั้นเรียน - การใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเนื้อหาที่ใช้จัดการเรียนการ สอน  ตาแหน่งที่เหมาะสมในการสังเกตชั้นเรียน 1. หน้าชั้นเรียนเป็นตาแหน่งที่เหมาะสมที่สุดในการสังเกตนักเรี ยนได้ อย่างทั่วถึง 2. ควรบันทึกตาแหน่งการนั่งของนักเรียน 3. การบันทึกเหตุการณ์อย่างละเอียด จะช่วยทาให้จดจาสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าการ checklist 4. การใช้วิดีโอเป็นตัวช่วย จะสามารถทาให้บันทึกรายละเอียดหรือ แม้กระทั่งบทสนทนาของผู้เรียนได้ 5. เลื อกบัน ทึก วิดี โอเฉพาะเหตุก ารณ์ที่ มีป ระโยชน์ ต่อ การน ามา อภิปราย  ข้อพึงระวังในการทาหน้าที่ผู้สังเกตการณ์สอน 1. ระวั งที่ จะไม่ พูด คุย กับ นัก เรี ยนหรื อท าหน้า ที่ส อนผู้เ รีย นแทน ครูผู้สอน 2. หลีกเลี่ยงการพูดคุยระหว่างผู้ร่วมสังเกตการณ์ด้วยกันเอง 3. หลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์การสอนในทันที ควรเก็บประเด็นไว้ อภิปรายในขั้นของการสะท้อนผล


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

13

4. ระวังการกระทาที่ส่งผลต่อสมาธิของผู้สอนและผู้เรียน 5. ในการรวมกลุ่มเพื่อสังเกตการณ์สอนไม่ควรเป็นกลุ่มที่มีสมาชิก มากเกินไป เพราะอาจเป็นอุปสรรคในการขัดขวางการดาเนินกิจกรรมการ เรียนการสอน ขั้นของการพัฒนาบทเรียน 1. การพัฒนาบทเรียนเกิดขึ้นจากการเรียนการสอนที่เป็นปกติทุกวัน 2. เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และ อาศัยการเรียนรู้แบบพึ่งพากัน โดยให้ผู้เรียนได้ร่วมกันทากิจกรรมซึ่งครูเป็น เพียงผู้อานวยความสะดวก 3. จัดหาสื่อที่ช่วยกระตุ้นความสนใจและเพิ่มทักษะการเรียนรู้ได้ดี ยิ่งขึ้น 4. ผู้ เ รี ย นได้ เ รี ย นรู้ ใ นสิ่ ง ที่ มี ค วามหมายต่ อ การน าไปใช้ ใ น ชีวิตประจาวัน 5. เทคนิคการใช้คาถามที่ไม่บอกคาตอบ แต่เป็นลักษณะของคาถามที่ ทาให้ ผู้เ รี ย นได้ คิ ด และรู้ จัก วิ ธี การแสวงหาคาตอบ ตลอดจนแก้ ปัญ หาใน สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ 6. ครูควรเรียนรู้ที่จะเข้าใจถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่ อ การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ส่งผลให้การเรียนรู้นั้นไม่ประสบความสาเร็จ โดยอาจ เรียกผู้เรียนมาสอบถาม 7. ครูควรให้ความสนใจกับผู้เรียนทุกคนโดยไม่มองผ่านผู้เรียนที่มี ปัญหาต่อการเรียนรู้ โดยครูต้องมีความเชื่อมั่นว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

14

8. ครูต้องตระหนักว่าปมหลังของผู้เรียนแต่ละคนมีความสาคัญ ส่งผล ต่อการเรียนรู้ ซึ่งครูจาเป็นต้องรู้พื้นฐานของนักเรียน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะ ในการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละคน ขั้นของการสะท้อนผลการปฏิบัติงาน 1. เริ่มจากหาผู้ที่สนใจในการดาเนินงาน LSLC มาเป็นคู่หูในการ แลกเปลี่ยนการสังเกตชั้นเรียน 2. เข้าสังเกตการณ์เรียนรู้ของผู้เรียน แล้วนาประเด็นที่ได้มาสะท้อน ผลกันภายหลัง 3. การสะท้อนผลต้องเป็นไปในลักษณะของกัลยาณมิตร ไม่ใช้คาพูด ในเชิ ง ต าหนิ หรื อสั่ ง แต่ต้ องเป็ น เพี ยงการเสนอแนะแนวทาง หรื อบอกข้ อ ค้นพบให้ผู้สอนได้ทราบถึงอุปสรรคที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียน 4. ผู้ที่สะท้อนผลควรพูดแต่ประเด็นที่สาคัญ เหมาะสมต่อการนามา อภิปราย 5. ระวังคาพูดที่จะก่อให้เกิดทัศนคติในแง่ลบ การให้การสะท้อนผล ควรเป็ นไปในทิศทางที่ สร้า งแรงบั นดาลใจหรือ เห็นแนวทางที่ดีสาหรับการ พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนในหลากหลายแนวทาง 6. การนาภาพจากการบันทึกวิดิโอ เพื่อใช้ในการอภิปรายจะทาให้การ อภิปรายง่ายขึ้น แสดงให้เห็นร่องรอยหลักฐาน  ลักษณะการสะท้อนผลที่ดี 1. ความคิดของแต่ละบุคคลไม่มีใครถูกและผิด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ 2. การอภิปรายและการสะท้อนผลที่เป็นกลาง ปราศจากอคติ 3. อภิปรายถึงลักษณะการเรียนรู้ หลีกเลี่ยงการพูดตาหนิ


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

15

4. สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างอิสระ บนพื้นฐานของ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง 5. ไม่ควรนาประสบการณ์ของตนเองมาเป็นตัวตัดสินให้ผู้อื่นทาตาม 6. ใช้น้าเสียงที่สุภาพ อ่อนโยน 7. สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เป็นกันเอง ไม่กดดัน 8. ควรรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างถ่องแท้ ไม่ด่วนตัดสิน 9. ผู้ร่วมสะท้อนผล ควรแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะทุกคน 10. สิ่งที่สาคัญที่สุดคือการเรียนรู้ของผู้เรียน ขั้นของการทาวิจัยบทเรียน 1. การทาวิจัยมีจุดประสงค์ในเรื่องของการพัฒนาการเรียนรู้ของ ผู้เรียน 2. ครู ต้อ งไม่ กลั ว เสี ย หน้ า พร้อ มยอมรับ ความคิ ด เห็ น จากเพื่ อ น ร่วมงานและนักวิชาการภายนอก 3. ใช้เวลาในการฝึกฝนอย่างสม่าเสมอ โดยครูปฏิบัติตัวให้เป็นปกติ ไม่ จ าเป็ น ต้อ งพยามยามท าทุก อย่ างให้ดี ที่ สุ ด เพื่ อที่ จ ะได้ น าข้อ มู ล มาเป็ น บทเรียนในการพัฒนาต่อไป 4. สร้างแรงบันดาลใจให้ครูพัฒนาตนเองให้กลายเป็นมืออาชีพ 5. ผู้อานวยการมีส่วนสาคัญในการให้การสนับสนุน และส่งเสริมครู


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

16

ความแตกต่างระหว่าง LS กับ LSLC การดาเนินงานระหว่าง Lesson Study กับ Lesson Study for Learning Community มีความแตกต่างกันในบางรายละเอียด ดัง ตาราง ต่อไปนี้ ลักษณะสาคัญ LS LSLC กลุ่มวิชา ระดับเดียวกัน เป็นรายบุคคล การวางแผน ระดับเดียวกัน เป็นรายบุคคล พื้นฐานของกลุ่ม รายวิชาเดียวกัน กลุ่มครูผู้สอน การให้ การวางแผน การสะท้อนผล ความสาคัญ กิจกรรม 1 เทอม 1 ปี วางแผน 6-7 ครั้ง วางแผนอย่างเป็น สังเกตชั้นเรียน 1-2 ครั้ง กันเอง ไม่ทางการ สะท้อนผล 1-2 ครั้ง สังเกตชั้นเรียน 80 100 ครั้ง สะท้อนผล 80 - 100 ครั้ง เป้าหมาย การพัฒนาครู ปฏิรูปโรงเรียน ภาวะการเป็นผู้นา เป็นครั้งคราว ตลอดการดาเนินงาน


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

17

ข้อเสนอแนะในการดาเนินการ LSLC 1. กระบวนการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถเกิดขึ้นในทันที โดยต้องอาศัย เวลาและกระบวนการของการยอมรั บ จนเกิ ด เป็ น ความเข้ า ใจ ตลอดจน ความสามารถในการนาไปประยุกต์ใช้ 2. ผู้นาของโรงเรียนมีส่วนสาคัญในการผลักดันให้การดาเนินงาน สาเร็จ โดยไม่ใช้อานาจในการบังคับให้ทา แต่ควรรับฟังความคิดเห็นและความ ต้องของครูในเบื้องต้น อีกทั้งควรเข้ามามีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์ สะท้อน ผล ตลอดจนให้กาลังใจแก่ครู 3. สร้างแรงบันดาลใจให้ครูตระหนักถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับหาก เข้าร่วมกิจกรรม เนื่องจากครูจานวนมากมีประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อการสังเกตชั้น เรียน ซึ่งอาจเป็นวิธีการสังเกตที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ครูมีทัศนคติในแง่ลบและไม่ กล้าที่จะให้ผู้อื่นเข้ามามีส่วนร่วมในชั้นเรียนของตน 4. ครูควรมีความมั่นใจในลักษณะการสอนของตนเอง เนื่องจากครูมี อานาจในการจัดการและตัดสินใจในชั้นเรียนของตน แต่หากเมื่อพบปัญหาที่ เป็นอุปสรรคต่ อการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูต้องเปิดใจยอมรับในการพิจารณา แนวทางที่จะช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น 5. ในการเข้าร่วม LSLC ของโรงเรียนนั้น ทางโรงเรียนควรชี้แจงให้ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนได้รับรู้ และเข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินงาน ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าการนาแนวคิด LSLC มาใช้ในโรงเรียนจะส่งผลให้ เกิดการพัฒนาทั้งองค์กร โดยมีจุดมุ่งหมายในเรื่องของการพัฒนาการเรียนรู้


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

18

ของผู้ เ รี ย น ส่ ง ผลให้ ค รู ก ลายเป็ น บุ ค คลที่ ต้ อ งพั ฒ นาตนเองขึ้ น ตามล าดั บ ตลอดจนการเข้ามามีส่วนร่วมของบุคคลทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ก่อ ให้ เ กิด เป็ น เครือ ข่ ายสัง คมแห่ง การเรีย นรู้ แ ละพัฒ นา ซึ่ง อาจกลายเป็ น ต้นแบบที่มีประสิทธิภาพในการนาไปเป็นแบบอย่างในการพัฒนาโรงเรีย น อื่น ๆ ได้ในลาดับต่อไป


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

รายการอ้างอิง Eisuke Saito & Matthew Atencio. (2015). Lesson study for learning community (LSLC): conceptualising teachers’ practices within a social justice perspective, New York: Taylor & Francis Group. Saito,Musase,Tsukui & Yeo. . (2015). Lesson study for learning community: A guide to sustainable school reform, New York: Taylor & Francis Group.

19


รายวิชาการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School-Based Teacher Professional Development

แนวคิด ทฤษฎี กระบวนการ วิธีการ และกลยุทธ์ ในการพัฒนาวิชาชีพครู การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ Lesson Study as Learning Community (LSLC) มีจุดมุ่งหมายในเรื่องของการพัฒนาการเรียนรู้ของ ผู้เรียน โดยมีความเชื่อที่ว่ามนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้ เรียนรู้ร่วมกัน เด็กและเยาวชนต้ องได้รับโอกาสที่ดีและ เรี ย นรู้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง ส่ ง ผลให้ ค รู ก ลายเป็ น บุ ค คลที่ ต้ อ ง พัฒนาตนเองขึ้นตามลาดับ ตลอดจนการเข้ามามีส่ วนร่วม ของบุคคลทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ก่อให้เกิ ด เป็นเครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนา

คู่มือนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชา 2716607 การพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ปีการศึกษา 2560 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

20


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.