วารสารการค้าระหว่างประเทศ ฉบับ ตุลาคม ธันวาคม 2558

Page 1

ปที่ 3 ฉบับที่ 10 ตุลาคม - ธันวาคม 2558

âÍ¡ÒÊ·Ò§´ŒÒ¹àÈÃÉ°¡Ô¨ ¨Ò¡¤ÇÒÁµ¡Å§¡ÒäŒÒàÊÃÕ ä·Â-ªÔÅÕ

¡ÒûÃЪØÁÊØ´ÂÍ´ÍÒà«Õ¹ (ASEAN SUMMIT) ¤ÃÑ駷Õè 27

MC10 ¤ÇÒÁÊÓàÃç¨ ¢Í§¡ÒÃà¨Ã¨ÒàÇ·ÕâÅ¡


P.15

P.11

P.04 Exclusive Interview

P.04

àÅ‹ÒÊÙ‹¡Ñ¹¿˜§

P.18

P.11

ࢌÒã¨ãªŒ»ÃÐ⪹

P.22

P.15

Special Report

à¼ÂἹ໠´»ÃеÙà¨Ã¨Ò¡ÒäŒÒÃÐËÇ‹Ò§»ÃÐà·È 2559 ÈÔÃÔ¹Òö ã¨ÁÑè¹ Í¸Ôº´Õ¡ÃÁà¨Ã¨Ò¡ÒäŒÒÃÐËÇ‹Ò§»ÃÐà·È

FTA Society

âÍ¡ÒÊ·Ò§´ŒÒ¹àÈÃÉ°¡Ô¨¨Ò¡¤ÇÒÁµ¡Å§ ¡ÒäŒÒàÊÃÕä·Â-ªÔÅÕ

AEC Beyond

¡ÒûÃЪØÁÊØ´ÂÍ´ÍÒà«Õ¹ (ASEAN Summit) ¤ÃÑ駷Õè 27

àÃ×èͧàÅ‹Ò¨Ò¡»Ù«Ò¹

National Single Window ÊÓ¤ÑÞÍ‹ҧäÃ

P.25

MC10 ¤ÇÒÁÊÓàÃ稢ͧ¡ÒÃà¨Ã¨ÒàÇ·ÕâÅ¡

P.18

P.25

P.30 360 ¡ÒäŒÒâÅ¡

P.30

Q&A

P.33

DTN Report

P.37

¨Ñº¡ÃÐáÊàÍ໤

ÃÙŒÂѧ!!! àÃÒÊÒÁÒö¤Œ¹ËÒÍѵÃÒÀÒÉÕ¨Ò¡ Thailand NTR ¤Åѧ¢ŒÍÁÙÅ·Ò§¡ÒäŒÒ ¢Í§ä·Â䴌͋ҧ§‹Ò´Ò ÀÒ¾¡Ô¨¡ÃÃÁ ¡ÃÁà¨Ã¨Ò¡ÒäŒÒÃÐËÇ‹Ò§»ÃÐà·È

P.33


E

DITOR’S Talk

»‚·èÕ 3 ©ºÑº·Õè 10 µØÅÒ¤Á - ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2558

¤Ø¡ѹ¡‹Í¹

สารการค้าระหว่างประเทศฉบับนี้เป็นฉบับส่งท้ายปี 2558 เป็นปีทม่ี คี วามหมายอย่างยิง่ ต่อคนไทยและชาวอาเซียนทุกคน เพราะเรากำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ธันวาคม ที่จะถึงนี้หากถามว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไรภายหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จากการได้รบั ฟังความคิดเห็นของผูห้ ลักผูใ้ หญ่ทห่ี ว่ งบ้านห่วงเมืองเช่นเดียวกับพวกเรา ท่านได้ให้ความเห็นว่าไม่มีอะไรที่ต้องวิตกกังวลมากนัก เนื่องจากทุกภาคส่วนที ่ เกี่ยวข้องได้มีการทำงานและเตรียมการมานานแล้ว เปรียบเสมือนการปล่อยน้ำจาก เขือ่ นทีค่ อ่ ยๆ ปล่อยน้ำเพือ่ รักษาสภาพความสมดุลไว้ จึงไม่มผี ลกระทบอะไรทีร่ นุ แรง เหมือนกับเขือ่ นแตก แต่ประเด็นทีน่ า่ ห่วงคือเราจะใช้ประโยชน์จากการเข้าสูป่ ระชาคม อาเซียนอย่างไร ตรงนี้ต่างหากที่เป็นประเด็นท้าทายคนไทยทุกคน และสิ่งที่น่าสนใจ กว่านั้นก็คือ “การแข่งขันภายใต้ AEC ต้องแข่งขันด้วยคุณภาพของประชากร... ไม่ใช่จำนวนประชากร” วารสารฯ ฉบับนี้ได้รับเกียรติจากท่านศิรินารถ ใจมั่น อธิบดีกรมเจรจา การค้าระหว่างประเทศ ท่านได้มาสะท้อนมุมมองต่อนโยบายการเจรจาการค้า ระหว่างประเทศของไทยในปี 2559 ทิศทางของอาเซียนภายหลังการเป็น AEC ในปี 2559 ความคืบหน้าของการจัดทำ FTA ใหม่ๆ รวมทั้งความเห็นต่อความท้าทายใน การทำงานในฐานะอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และแนวทางการพัฒนา บุคลากรของกรมฯ ในคอลัมน์ “Exclusive Interview” สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจ ความเคลื่อนไหว FTA ไทย-ชิลี ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา สามารถติดตามได้ในคอลัมน์ “FTA Society” และตามไปดูความพร้อม ของหน่วยท้องถิ่นต่อการปรับตัวสู่การค้าเสรีทางการค้าผ่านคอลัมน์ “Special Report” : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการปรับตัวสู่การค้าเสรี ท้ายสุดนีข้ อขอบคุณท่านผูอ้ า่ นทุกท่านทีไ่ ด้ตดิ ตามผลงานด้วยดีตลอดมา และจะเป็นกำลังใจกับทีมงานอย่างสูงหากจะกรุณาติชมหรือส่งข้อคิดเห็นมาให้เรา ทราบบ้างทางอีเมล์ dtn.pr55@gmail.com บรรณาธิการ

ปที่ 3 ฉบับที่ 10ปตุลาคม - ธันวาคม 2558 ที่ 3 ฉบับที่ 10 ตุลาคม - ธันวาคม 2558

âÍ¡ÒÊ·Ò§´ŒÒ¹àÈÃÉ°¡Ô ¨Ò¡¤ÇÒÁµ¡Å§¡Òä ¨ âÍ¡ÒÊ·Ò§´ŒÒ¹àÈÃÉ°¡Ô ¨ ŒÒàÊÃÕ ä·Â-ªÔÅÕ ¨Ò¡¤ÇÒÁµ¡Å§¡ÒäŒÒàÊÃÕ ä·Â-ªÔÅÕ

¡ÒûÃЪØÁÊØ´ÂÍ´ÍÒà«Õ ¡ÒûÃÐªØ ÂÍ´ÍÒà«Õ¹¹ MC10 ¨ (ASEAÁNÊØ´SUMM MC10¤ÇÒÁÊÓàÃç ¤ÇÒÁÊÓàÃç IT)¤ÃѤÃÑ ·Õè 27 ¢Í§¡ÒÃà¨Ã¨ÒàÇ·Õ (ASEAN SUMMIT) 駷Õé§è 27 âÅ¡¨ ¢Í§¡ÒÃà¨Ã¨ÒàÇ·Õ âÅ¡

¨Ñ´·Óâ´Â ¤³Ð·Ó§Ò¹ÇÒÃÊÒáÒäŒÒÃÐËÇ‹Ò§»ÃÐà·È ¡ÃÁà¨Ã¨Ò¡ÒäŒÒÃÐËÇ‹Ò§»ÃÐà·È ¡ÃзÃǧ¾Ò³ÔªÂ


กระทรวงพาณิชย

“เผยแผนเปิดประตูเจรจาการค้า ระหว่างประเทศ มุ่งเพิ่มยอดการค้าไทย”


ช่วงทีป่ ระเทศไทยกำลังเตรียมความพร้อมเข้าสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2559 นี้ นับเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่เศรษฐกิจทั่วโลก กำลังประสบปัญหาต่างๆ จนส่งผลกระทบมาถึงไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรมเจรจา การค้ า ระหว่ า งประเทศเป็ น หน่ ว ยงานหนึ ่ ง ในกระทรวงพาณิ ช ย์ ท ี ่ ม ี บ ทบาทสำคั ญ ในการขับเคลื่อนการค้าระหว่างประเทศ เพื่อฟื้นสภาพเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบาย ของรัฐบาล รวมทัง้ ส่งเสริม และพัฒนาการค้าระหว่างประเทศของไทยให้เติบโตอย่างมัน่ คง นางสาวศิรนิ ารถ ใจมั่น อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้เกียรติวารสารการค้า ระหว่างประเทศ สัมภาษณ์เกี่ยวกับภารกิจของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่จะต้อง เร่งทำในปี 2559

นโยบายการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ในปี 2559 การค้าระหว่างประเทศของไทยยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโตให้กบั ประเทศ ท่ามกลาง สภาวการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ในภาพรวม การขยายตัวของมูลค่าการค้าของไทยยัง อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ มูลค่าการค้าในปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ 455,272 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้ขยายตัวขึ้นราว 2.4 เท่าของ มูลค่าการค้าในปี 2547 ประเทศไทยจึงยังคงต้องรักษาบทบาทในเวทีเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ทัง้ ในระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค และระดับพหุภาคี การเจรจาระดับทวิภาคี กรมฯ ให้ความสำคัญกับการเจรจาเพื่อขยายตลาดสินค้าและบริการ ตลอดจน การแก้ไขปัญหาทางการค้าการลงทุน จะมีการเจรจากับประเทศสมาชิกอาเซียน จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน รวมทั้งอิสราเอล


และอิรัก เป็นต้น สำหรับการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน จะผลักดันช่องทางขยายการค้าและธุรกิจบริการของไทย รวมถึงการดำเนินการหารือไตรภาคีในกรอบอนุภมู ภิ าค เช่น ไทย-ลาว-ยู น นาน และไทย-ลาว-เวี ย ดนาม เป็ น ต้ น อย่างต่อเนื่อง

การเจรจาระดับภูมภิ าค ไทยได้ให้ความสำคัญ กั บ อาเซี ย นมาอย่ า งต่ อ เนื ่ อ งตั ้ ง แต่ ก ่ อ นมี อ าฟต้ า มาถึ ง ปัจจุบัน ไทยและอาเซียนได้ผนึกกำลังร่วมมือกันในด้าน เศรษฐกิ จ เป็ น ประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น เราก็ จ ะ ร่วมกับสมาชิกอาเซียนดำเนินการด้านต่างๆ เพื่อรวมตัว กั น ใกล้ ช ิ ด ยิ ่ ง ขึ ้ น ซึ ่ ง ปี น ี ้ จ ะเน้ น การจั ด ทำรายละเอี ย ด สำหรับการจัดทำ FTA สองฝ่ายนั้น จะจัดทำ แผนงานในช่วง 10 ปี ข้างหน้า (2559-2568) และการ FTA ฉบับใหม่กับปากีสถานและตุรกี ซึ่งจะเริ่มเจรจาด้าน ดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับภายนอกภูมิภาค การค้าสินค้ากันก่อน ขณะนี้ ได้เริม่ เจรจา FTA ไทย-ปากีสถาน โดยเฉพาะการจั ด ทำความตกลง RCEP ที ่ จ ะต้ อ งสรุ ป ไปแล้ว ตัง้ ใจจะสรุปผลการเจรจาให้ได้ภายในปี 2560 การเจรจาให้เสร็จสิ้นภายในปี 2559 ปากี ส ถานเป็ น ตลาดที ่ ม ี ป ระชากรเกื อ บ การเจรจาระดับพหุภาคี ภายใต้กรอบองค์การ 200 ล้านคน นับว่ามากเป็นอันดับ 6 ของโลก สามารถเป็น gateway กระจายสิ น ค้ า ของไทยไปยั ง ภู ม ิ ภ าคต่ า งๆ การค้าโลก (WTO) ซึ่งเป็นเวทีสำคัญในการสร้างกฎเกณฑ์ การค้าระหว่างประเทศ เราจึงมุ่งหวังให้การเจรจาภายใต้ ทั้งในเอเชียกลาง เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และจีน WTO มีเป้าหมายสูงแต่ปฎิบัติได้จริง ให้มีสมดุลทั้งระหว่าง ในส่วนของ FTA ไทย-ตุรกี คาดว่าจะเปิดเจรจาได้ ประเด็นเจรจาต่างๆ และระหว่างประโยชน์ของประเทศ ก่อนกลางปี 2559 หลังจากที่ตุรกีเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง ผู้นำเข้ากับประเทศผู้ส่งออก ทั ่ ว ไปและจั ด ตั ้ ง รั ฐ บาลใหม่ เราก็ ห วั ง จะให้ ต ุ ร กี เ ป็ น สำหรับเรื่องการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูล gateway ไปยั ง ตลาดใหม่ ใ นยุ โรป ตะวั น ออกกลาง ความคืบหน้าในเวทีเจรจาต่างๆ การใช้โอกาสและสิทธิ เครือรัฐเอกราช (CIS) และแอฟริกาเหนือ ประโยชน์จากความตกลงนั้น กรมฯ ตระหนักถึงความ นอกจากนี้ FTA ไทย-ชิลี ได้มีผลบังคับใช้ จำเป็นและได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ภาคประชาสังคมได้ ไปเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 ซึ่งชิลีลดภาษีนำเข้าให้ รั บ ทราบมาโดยตลอด ไม่ ว ่ า จะเป็ น การจั ด เวที ส ั ม มนา กับสินค้าไทยเป็นศูนย์ทันที จำนวนกว่า 7,000 รายการ ให้ความรู้ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เช่น รถยนต์และยานยนต์ชนิดต่างๆ ปลาทูนา่ กระป๋อง ลิฟต์ จัดเวทีสาธารณะ แสดงนิทรรศการเคลื่อนที่ ตลอดจน เครื่องซักผ้า วัสดุก่อสร้างและสับปะรดกระป๋อง เป็นต้น จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งสื่อวิทยุ


โทรทัศน์ และสือ่ สิง่ พิมพ์ ตลอดจนสือ่ ออนไลน์อย่างเว็บไซต์ www.dtn.go.th, youtube ที ่ “DTNChannel”, Facebook และ Twitter ด้วยหวังกระตุน้ ให้กลุม่ เป้าหมาย ทุ ก ภาคส่ ว นได้ ร ั บ รู ้ เข้ า ใจ และได้ ใช้ ป ระโยชน์ จ าก การเจรจาได้อย่างเต็มที่

การค้าโลก (WTO) แล้ว 23 รายการ โดยภายหลังจากนี้ กรมฯ จะเดินหน้าเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการซึ่งเป็นแรง ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมทั้งสร้าง มาตรฐานสินค้าให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้สินค้า ไทยเป็นที่นิยมในตลาดอาเซียนมากขึ้น

อาเซียนในระยะ 10 ปีขา้ งหน้า (2559-2568) ทิศทางของอาเซียนในปี 2559 จะเดินไปตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2568 ภายหลังการเป็น AEC ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับอาเซียน มาเป็นอันดับต้นๆ นับตั้งแต่ปี 2553 เราได้ลดภาษีสินค้า เกือบทั้งหมดเป็น 0% เว้นแต่สินค้าอ่อนไหวเท่านั้นที่ ยังคงอัตราภาษีเป็น 0-5% อีกทัง้ ได้ยกเลิกมาตรการโควตา ภาษี (TRQ) สำหรับสินค้าเกษตรที่ผูกพันภายใต้องค์การ

หรือ ‘AEC Blueprint 2025’ อันเป็นการต่อยอดจาก แผนงานการจัดตัง้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2558 โดย มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของมาตรการการรวมกลุ่ม เศรษฐกิจในปัจจุบัน และแนวทางการรับมือต่อประเด็น ความท้าทายใหม่ๆ AEC Blueprint 2025 ใหม่ จะเพิม่ เติม การส่งเสริมการเชื่อมโยงและความร่วมมือรายสาขา

“อาเซียน จะมีการรวมตัวทางเศรษฐกิจให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคหลังปี 2558”


องค์ประกอบหลัก 5 ด้านของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เศรษฐกิจที่มีการรวมตัวและเชื่อมโยงในระดับสูง (A Highly Integrated and Cohesive Economy) มุง่ เน้นการเปิดเสรีสนิ ค้าโดยลดภาษีสนิ ค้าเพิม่ เติม ยกเลิก/ลดมาตรการทีม่ ใิ ช่ภาษี

การอำนวยความสะดวกทางการค้า ปรับปรุงกระบวนการพิธีการศุลกากร และขยายสาขา ผลิตภัณฑ์ทจ่ี ะมีการปรับประสานมาตรฐานให้สอดคล้องกัน การเปิดเสรีบริการที่กว้างและลึกขึ้น การคุม้ ครองการลงทุนให้เข้มแข็งขึน้ และสร้างความโปร่งใสทางกฎหมาย กฎระเบียบ

เป็นอาเซียนทีม่ คี วามสามารถในการแข่งขันมีนวัตกรรม และมีพลวัต (Competitive, Innovative and Dynamic ASEAN) มุง่ เน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันนวัตกรรมและ

ประสิทธิภาพการผลิตของภูมภิ าค เพือ่ เสริมสร้างความพร้อมในการรองรับการเปลีย่ นแปลง อาทิ การใช้บังคับกฎหมายและนโยบายการแข่งขันของประเทศสมาชิก การยึดหลักธรรมาภิบาล โดยเสริมสร้างความโปร่งใสของภาครัฐ และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน

ส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจและความร่วมมือรายสาขา (Enhanced Connectivity and Sectoral Cooperation) อาทิ เชือ่ มโยงการขนส่งในภูมภิ าค โทรคมนาคมและเทคโนโลยี

สารสนเทศพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน การเงิน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการรวมตัวรายสาขาที่ ลึกซึ้งมากขึ้น อาทิ อาหาร เกษตรและป่าไม้ การท่องเที่ยว สุขภาพ เหมืองแร่ รวมถึง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งเป็นสาขาใหม่ที่เพิ่มเข้ามา ครอบคลุมทุกภาคส่วน ยืดหยุ่น มุ่งเน้นประชาชน มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Resilient, Inclusive,People-Oriented and People-Centered ASEAN) โดยมุง่ สร้างความเข้มเข็ง

แก่ MSMEs การเพิม่ บทบาทและการมีสว่ นร่วมของภาคเอกชน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐและเอกชน (Public- Private Partnership)การลดช่องว่างการพัฒนา การเข้าถึงแหล่งเงิน อย่างทั่วถึง และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและภาคประชาสังคม

การเป็นส่วนสำคัญของประชาคมโลก (A Global ASEAN) การบูรณาการภูมภิ าคเข้าสูเ่ ศรษฐกิจโลก

ให้มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยให้มีการทบทวน/ปรับปรุงความตกลงการค้าเสรีของอาเซียนกับ ประเทศคู่เจรจา (จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์) การเจรจาเพื่อให้ได้ข้อสรุป ของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) การขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ ความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ทั้งในระดับภูมภิ าคและโลก การเพิม่ บทบาทของอาเซียนในเวทีองค์กร ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อสะท้อนถึงผลประโยชน์ของอาเซียน


ทางการค้ า นอกจาก “รู ้ เขา” แล้ ว ยั ง ต้ อ ง “รู ้ เรา” ต้องรูเ้ กีย่ วกับนโยบาย กฏหมาย กฏระเบียบ ด้านเศรษฐกิจ การค้าของประเทศด้วย เพราะฉะนั้นความท้าทาย คือ ทำอย่างไรให้ บุ ค ลากรของกรมฯ มี ค วามพร้ อ มที ่ จ ะปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ทำอย่างไรให้บุคลากรรักกรมฯ อยู่กับกรมฯ นานๆ สั่งสม ความรู้และประสบการณ์เพื่อการเป็นนักเจรจาที่ดีที่เก่ง เพียบพร้อมทั้งเทคนิคและแทคติก พร้อมทุ่มเททำหน้าที่ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งคุณสมบัติอย่างนี ้ ไม่สามารถทำให้สำเร็จในชั่วข้ามคืนได้ จำเป็นต้องอาศัย การฝึกอบรม ฝึกปฏิบตั กิ าร การสังเกตการณ์ และฝึกปฏิบตั ิ จากห้องประชุมจริง ทัง้ ในและต่างประเทศ นอกจากนีแ้ ล้ว ความท้าทายของการทำงานใน นักเจรจายังจะต้องเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีทักษะใน ฐานะอธิ บ ดี ก รมเจรจาการค้ า ระหว่ า ง การประสานงานเก่ง คล่องตัว ทำงานเป็นทีมเวิรค์ ได้ เพราะ ประเทศ ต้องมีการประสานงานกันมาก โดยเฉพาะการประสานงาน กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอื่นๆ หากไม่ได้รับความ ความท้าทายประการแรก คือ ความท้าทาย ร่วมมือเป็นอย่างดีแล้ว ก็จะทำให้งานไม่ลลุ ว่ งสำเร็จลงได้ ที่เกิดจากปัจจัยภายนอก สืบเนื่องมาจากการชะลอตัว ของเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบให้ประเทศส่งออกได้ แนวทางการพัฒนาบุคลากรของ น้อยลง ดังนั้น กรมฯ ซึ่งมีหน้าที่เปรียบเสมือนผู้ที่เดิน กรมฯ เพื่อรองรับภารกิจต่างๆ ไปเปิดประตูให้ผู้ส่งออกสามารถเข้าสู่ตลาดได้ จึงต้อง เร่งหาวิธีการทำอย่างไรให้การส่งออกของไทยขยายตัว การพัฒนาบุคลากรของกรมฯ นัน้ ต้องใช้เวลา เพิ่มขึ้นให้ผู้ส่งออกเข้าสู่ตลาดต่างๆ ได้ กรมฯ จึงวางแผน ต้องให้มีการเข้าร่วมการสัมมนาฝึกอบรม หรือฝึกอบรม ยุทธศาสตร์ในการเจรจากับกลุ่มอาเซียนและประเทศ เชิงปฏิบตั กิ าร ทัง้ ในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนือ่ ง เพื่อนบ้าน เพื่อแสวงหาแหล่งวัตถุดิบ แรงงาน ทรัพยากร เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ธรรมชาติ รวมทั ้ ง โอกาสการลงทุ น เป็ น อั น ดั บ แรก การเจรจาการค้าระหว่างประเทศทั้งในเชิงกว้างและลึก ในขณะเดียวกัน ยังจะต้องเจรจาเพื่อโอกาสทางการค้า ซึ่งเราให้ความสำคัญและได้วางยุทธศาสตร์การพัฒนา และการลงทุนในประเทศทีม่ กี ารขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง บุคลากรอย่างยั่งยืน เน้นการพัฒนาบุคลากรตามภารกิจ มีกำลังซื้อ และสามารถใช้เป็น Gateway กระจายสินค้า ของกรมฯ ที่มีในปัจจุบัน และเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ไปสู่ประเทศใกล้เคียงอื่นๆ เช่น การเจรจาในกรอบ RCEP หรื อ กรอบ FTA อาเซี ย น-จี น ตลอดจน การเจรจา นอกจากนั้น ยังสนับสนุนให้เพิ่มพูนประสบการณ์ โดยให้ สองฝ่ายกับรัสเซีย จีน และแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ เข้าร่วมประชุมเจรจาด้วย เพือ่ เรียนรูใ้ กล้ชดิ จากนักเจรจารุน่ พี่ และการสังเกตท่าทีของคู่เจรจาต่างๆ ที่มีประสบการณ์สูง อันดับรองลงไป ความท้าทายอีกประการ มาจากปัจจัยภายใน นั่นคือ งานของกรมฯ เป็นงานที่ยาก เจ้าหน้าที่ต้องมี ความรู ้ ค วามสามารถด้ า นกฎเกณฑ์ ก ารค้ า ระหว่ า ง ประเทศมาก ต้องศึกษาหาความรูเ้ รือ่ งของเศรษฐกิจการค้า อยูต่ ลอดเวลาโดยเฉพาะความรูเ้ กีย่ วกับประเทศคูค่ า้ สำคัญ ความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบการค้าภายใต้กรอบเวทีต่างๆ ทั้งกรอบองค์การการค้าโลกหรือ WTO กรอบเวที APEC ASEAN และกรอบ FTA ต่างๆ ต้องรู้เรื่องสิทธิประโยชน์


อย่างที่บอกไปแล้ว ว่างานของกรมเจรจาฯ เป็นงานที่หนัก เป็นงานที่ต้องศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา ภาษาอังกฤษดี อย่างเดียวไม่พอที่จะทำให้เป็นนักเจรจาที่ดีได้ การพัฒนา จึงต้องไม่ขาดช่วงและต้องวางแผนอย่างดี สนับสนุนการ แบ่งปันความรูแ้ ละประสบการณ์จากรุน่ สูร่ นุ่ สร้างบรรยากาศ ให้เอื้อต่อการทำงาน และให้มีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน สำหรับบุคลากรด้านสนับสนุน ก็มคี วามสำคัญ เพราะงานด้านเจรจาจะสำเร็จไปไม่ได้เลย หากไม่ได้รบั การ สนับสนุนและการอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เช่น ข้อมูลการเจรจา การจัดประชุมสัมมนา การเงิน และ การเดินทาง เป็นต้น ในการประชุมครั้งหนึ่งๆ ไม่ได้มีแต่ นักเจรจา ต้องมีฝ่ายสนับสนุนที่คอยช่วยเหลือ การสร้าง ทีมเวิร์คในการทำงานจึงเป็นเรื่องที่เน้นกันตลอดเวลา เพื่อ เราจะได้ปฏิบัติภารกิจไปสู่เป้าหมายร่วมกันอย่างถูกต้อง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ข้อคิดและคติประจำใจ

ในการดำเนินชีวติ และการทำงาน ดิฉนั จะยึดหลัก ทำให้ดีที่สุด เพราะเมื่อได้ทำเต็มที่และดีที่สุดแล้ว จะได้ ไม่เสียใจ ไม่วา่ ผลจะออกมาอย่างไร นอกจากนี้ แล้วยังต้อง ฝึกเป็นคนคิดบวก พยายามมองสิง่ ต่างๆ รอบตัวให้เป็นบวก จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น สุข ทุกข์ อยู่ที่ใจ อันนี้จริง ดิฉันจะหลีกเลี่ยงที่จะไม่คิดให้เป็นทุกข์ เพื่อให้จิตใจเรา เบิกบาน และคิดดี ทำดี ดิฉันเชื่อว่าหากเราคิดดี ทำดี แล้วสิ่งดีๆ ก็จะตามมา อยากให้มาเปลี่ยนวิกฤตให้เป็น โอกาส ด้วยการสร้างงานหรือสร้างสิง่ ดีๆ ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง อั น นี ้ ห มายถึ ง ทั ้ ง ชี ว ิ ต ส่ ว นตั ว และการทำงาน แทนที ่ จะมัวแต่คิดว่า พอเกิดวิกฤตแล้วทุกอย่างจะล้มเหลว

“สุข ทุกข์ อยู่ที่ใจ” ศิรินารถ ใจมั่น 10


โดย : สำนักอเมริกา แปซิฟิกและองค์การระหว่างประเทศ

ชิลี หรือ สาธารณรัฐชิลี (Republic of Chile) หลายท่านอาจยังไม่คุ้นเคยและรู้สึกว่าเป็น ประเทศที่ห่างไกลจากไทยมากซึ่งอยู่อีกซีกโลกหนึ่ง ด้วยระยะทางกว่า 17,000 กิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ใน ภูมภิ าคอเมริกาใต้มพ ี น้ื ทีต่ ดิ ชายฝัง่ ทะเลยาวระหว่าง เทือกเขาแอนดีสกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศเหนือ ติดกับเปรู ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับโบลิเวีย ทิศตะวันออกติดกับอาร์เจนตินา และทิศตะวันตก ติดชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งมีความยาว 6,435 กิโลเมตร

LAND MOAI-EASTER IS

VALPARAISO


SANTIAGO ชิลี เป็นประเทศทีม่ คี วามมัน่ คงทัง้ ทางการเมืองและ เศรษฐกิจ โดยเป็นประเทศแรกในแถบอเมริกาใต้ที่เข้าเป็นภาคี ในองค์ ก ารเพื ่ อ ความร่ ว มมื อ ทางเศรษฐกิ จ และการพั ฒ นา (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) เมื่อปี 2553 นอกจากนี้ เมือ่ ปี 2557 ธนาคารโลกได้จดั อันดับให้ชลิ เี ป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีอันดับ ความสะดวกในการดำเนินธุรกิจเป็นอันดับ 1 ของลาตินอเมริกา และจากข้อมูลของ World Economic Forum ปี 2556-2557 ได้จัดอันดับให้ชิลีมีความสามารถในการแข่งขันเป็นอันดับ 1 ของลาตินอเมริกาเช่นกัน และมีอันดับความน่าเชื่อถือดีมาก ด้านการปกครอง ได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 แคว้น โดยประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้ง ผู้ว่าการแคว้น (intendente) แต่ละแคว้นมีชื่อทางการเป็นชื่อเรียกและ ตัวเลขโรมัน (เช่น IV - เขตที่ 4) ลำดับตัวเลขเรียงตามที่ตั้งของ แคว้นต่างๆ ตั้งแต่ทางตอนเหนือลงมาทางตอนใต้ ซึ่งโดยทั่วไป ตัวเลขโรมันจะถูกใช้มากกว่าชื่อของแคว้น ยกเว้นแคว้นที่เป็น ที่ตั้งของเมืองหลวง ซึ่งเรียกว่า แคว้นเมืองหลวงซันติอาโก (Región Metropolitana de Santiago หรือ RM)

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่าง ไทยกับชิลี ไทยและชิลีได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างกันเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2505 ซึ่งระยะเวลาที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับชิลมี คี วามราบรืน่ ด้วยดีมาโดยตลอด รวมทัง้ มีการส่งเสริมความร่วมมือในระดับประชาชนอย่างต่อเนือ่ ง ชิลีจัดเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 3 ของไทยในภูมิภาค ลาตินอเมริกา ด้วยมูลค่าการค้ากว่า 960 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2557 หรือคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 10 ของมูลค่าการค้าของไทย 12

กั บ ภู ม ิ ภ าคลาติ น อเมริ ก า รองจากบราซิ ล และอาร์ เจนติ น า อดีตที่ผ่านมา การค้าส่วนใหญ่ของชิลีจะเป็นการค้ากับประเทศ ในภู ม ิ ภ าคอเมริ ก าด้ ว ยกั น โดยมี ส หรั ฐ ฯ เป็ น คู ่ ค ้ า สำคั ญ อันดับต้น รองลงมา ได้แก่ บราซิล อาร์เจนตินา และเม็กซิโก อย่างไรก็ดี เป็นทีน่ า่ สังเกตว่าในช่วงหลายปีทผ่ี า่ นมา บทบาททางการค้าของจีนกับชิลไี ด้เพิม่ สูงขึน้ ทัง้ ในด้านการส่งออก และนำเข้า จากข้อมูลการค้าล่าสุดในปี 2558 (มกราคม-กันยายน 2558) จีนจัดเป็นคู่คา้ อันดับหนึ่งของชิลีด้วยสัดส่วนมูลค่าการค้า ราวร้อยละ 22 ของมูลค่าการค้ารวมของชิลี โดยสินค้าส่งออก สำคัญของชิลีกว่าร้อยละ 80 เป็นสินค้าทองแดง สินแร่ และ เศษแร่ ปี 2557 ที ่ ผ ่ า นมา ชิ ล ี เ ป็ น ประเทศคู ่ ค ้ า สำคั ญ อันดับที่ 47 ของไทย เป็นตลาดส่งออก อันดับที่ 42 และแหล่งนำเข้า สำคัญของไทยในอันดับที่ 49 เมื่อเทียบกับทั่วโลก โดยมีมูลค่า การค้ารวม 961.10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนหน้าร้อยละ 8.46 สำหรับปี 2558 (มกราคม-กันยายน 2558) การค้ารวมมีมูลค่า 694.01 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 8.62 เป็นการส่งออกมูลค่า 485.57 ล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นการนำเข้ามูลค่า 208.45 ล้านเหรียญสหรัฐ


สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปชิลี ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องซักผ้า/เครื่องซักแห้ง/ส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและ ส่ ว นประกอบ และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เป็ น ต้ น ขณะที ่ ส ิ น ค้ า นำเข้ า สำคั ญ ของไทยจากชิ ล ี ได้แก่ สัตว์น้ำสด/แช่เย็น/แช่แข็ง/แปรรูป/กึ่งสำเร็จรูป สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ปุ๋ย และ ยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เป็นต้น ชิ ล ี เ ป็ น หนึ ่ ง ในประเทศแถบลาติ น อเมริ ก าที ่ ม ี ความเข้มแข็งมั่นคง และมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ในปี 2557 GDP ของชิลีเติบโตขึ้นร้อยละ 3.5 นโยบายการค้า แบบเสรีทำให้ตลาดการค้าของชิลีเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทั่วโลกอย่าง กว้างขวาง นอกจากนี้ ชิลยี งั เป็นประเทศทีม่ กี ารจัดทำความตกลง เขตการค้าเสรีกบั ประเทศต่างๆ ทัว่ โลกสูงเป็นลำดับต้นๆ อีกด้วย อาทิ ในปี 2539 การจัดทำ FTA กับแคนาดา และกลุ่มอเมริกาใต้ (อาร์ เจนติ น า อุ ร ุ ก วั ย ปารั ก วั ย และบราซิ ล ) ในปี 2545 สหภาพยุโรป ในปี 2546 สหรัฐฯ ในปี 2548 จีน ในปี 2550 ญีป่ นุ่ และในปี 2551 ออสเตรเลีย โดยการส่งออกของชิลนี น้ั เป็นสัดส่วน ถึง 1 ใน 3 ของ GDP ทั้งหมด โดยเฉพาะการส่งออกทองแดง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 19 ของรายได้ของรัฐบาลทั้งหมด ในปี 2557

ความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย-ชิลี รัฐบาลไทย ตระหนักถึงความสำคัญในการเชื่อมโยง และการเป็นหุน้ ส่วนทางเศรษฐกิจร่วมกับชิลเี พือ่ ส่งเสริมความเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกัน โดยมุ่งหวังให้ชิลีเป็นประตูการค้า ของไทยไปสู่ประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกาที่มีศักยภาพหลาย ด้าน รวมทั้งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ขณะทีไ่ ทยก็พร้อมทีจ่ ะเป็นประตูการค้าให้กบั ชิลเี พือ่ เข้าสูภ่ มู ภิ าค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจุดแข็งด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของ ไทย และความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้าน โลจิสติกส์ที่สามารถเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้ อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ไทยและชิลี จึงได้เริม่ ต้นจัดทำความตกลงการค้าเสรี เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนและขยายโอกาสในด้านการค้า และการลงทุนระหว่างกัน โดยเริม่ เจรจาครัง้ แรกเมือ่ เดือนเมษายน

13


2554 และสามารถสรุปผลการเจรจาได้ในเดือนสิงหาคม 2555 สำหรับสินค้าข้าวนั้น ชิลีจะทยอยยกเลิกภาษีนำเข้าให้แก่ไทย นำไปสู่การลงนามในความตกลงฯ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2556 ภายใน 5 ปี ซึ่งดีกว่าที่ชิลีเปิดตลาดข้าวให้กับเวียดนามและจีน ณ ทำเนียบรัฐบาล และเริม่ มีผลบังคับใช้ตง้ั แต่วนั ที่ 5 พฤศจิกายน นอกจากนี้ ไทยยังจะได้ประโยชน์จากการยกเลิก 2558 ภาษีสินค้าที่ไทยมีความต้องการนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการ ความตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี จัดเป็นความตกลงที่ ผลิต อาทิ ทองแดง สินแร่เหล็ก เป็นต้น รวมทัง้ ลดภาษีไวน์ จำนวน มีกรอบคลอบคลุมทั้งเรื่องการเปิดเสรีในด้านการค้าสินค้าและ 9 รายการ ในระดับเดียวกับที่ไทยได้เปิดตลาดให้ออสเตรเลีย การเปิดเสรีภาคบริการ นอกจากนี้ยังรวมข้อบทที่เกี่ยวข้องกับ ทัง้ นี้ สินค้าทีช่ ลิ สี ง่ ออกส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าในกลุม่ แร่ธาตุ ประมง ความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ อาทิ พิธีการศุลกากร การอำนวย และไวน์ ส่วนภาคธุรกิจที่เป็นหลักสำคัญของเศรษฐกิจชิลี คือ ความสะดวกทางการค้า มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ภาคการค้าบริการ อาทิ การค้าปลีก การขนส่ง การสื่อสาร เป็นต้น สำหรับข้อบทด้านการลงทุนจะมีการเจรจาภายใน 2 ปี บริการทางการเงิน บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง นับจากความตกลงมีผลใช้บังคับทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ รวมทั้งโรงแรมและร้านอาหาร เป็นต้น สินค้านำเข้าจากชิลีและไทยร้อยละ 90 ของรายการสินค้า และ สำหรับภาคบริการ ไทยจะได้ประโยชน์จากการทีช่ ลิ ี มูลค่าการนำเข้าจะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ทันที ส่วนสินค้าที ่ เปิดตลาด โดยอนุญาตให้คนไทยเข้าไปลงทุนเกือบทุกสาขาบริการ เหลืออีกร้อยละ 10 ทั้งสองฝ่ายจะทยอยลดภาษีเป็นร้อยละ 0 ได้ถึงร้อยละ 100 โดยเปิดตลาดเพิ่มเติมให้ไทยมากเกินกว่าใน ภายในระยะเวลา 8 ปี กรอบ WTO ได้แก่ บริการด้านกฎหมาย บริการให้คำปรึกษา สินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่ชิลี จะลดภาษีเป็น ด้านการออกแบบ/วิศวกรรม บริการด้านคอมพิวเตอร์ บริการค้าส่ง/ ร้อยละ 0 ทันที อาทิ ยานยนต์ ปลาแปรรูป (ปลากระป๋อง) ค้าปลีก บริการเกี่ยวเนื่องภาคการผลิต ส่วนบริการนวดแผน โพลิเมอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง (ปูนซีเมนต์) ไทยและบริการกีฬา/นันทนาการ รวมถึงมวยไทย ชิลีเปิดตลาด เม็ดพลาสติก ยางและผลิตภัณฑ์จากยาง และอัญมณี เป็นต้น ให้ไทยมากกว่าความตกลงการค้าเสรีอื่นๆ ที่ชิลีเป็นภาคี

หลังจากความตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี มีผลบังคับใช้ ทำให้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและขยาย มู ล ค่ า การค้ า ระหว่ า งไทยและชิ ล ี ใ ห้ เ พิ ่ ม มากขึ ้ น และเป็ นโอกาสทองให้ ก ั บ ผู ้ ป ระกอบการไทยในการเข้ า สู ่ ตลาดในภูมิภาคลาตินอเมริกาซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ ประชากรกว่า 600 ล้านคน และมีทรัพยากรที่ อุดมสมบูรณ์เกื้อกูลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันต่อไป

14


โดย : สำนักอาเซียน

ช่วงปี

2558 มาเลเซียในฐานะประธานอาเซียนและเจ้าภาพจัดการประชุม ทีเ่ กีย่ วกับอาเซียนมาตลอดทัง้ ปี ล่าสุดมาเลเซียได้จดั การประชุมสุดยอดอาเซียน ครัง้ ที่ 27 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2558 ณ Kuala Lumpur Convention Centre (KLCC) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

15


การประชุ ม สุ ด ยอดอาเซี ย น ครั้งที่ 27 ประกอบด้วย 11 การประชุม นอกจากผู้นำอาเซียนจะหารือประเด็น ภายในอาเซียนระหว่างกันแล้ว ยังได้หารือ กับผู้นำของประเทศคู่เจรจาด้วย ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ รัสเซีย และเลขาธิการ องค์การสหประชาชาติ รวมทั้งผู้แทนสภา ธุรกิจเอเชียตะวันออก การประชุมครั้งนี้มีความสำคัญ เป็นพิเศษ เนื่องจากผู้นำอาเซียนได้ร่วม ลงนามปฏิญญากัวลาลัมเปอร์วา่ ด้วยการ จัดตัง้ ประชาคมอาเซียน เพือ่ ประกาศการ จัดตัง้ ประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2015 และปฏิญญา กัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยอาเซียนปี 2025 ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ปี 2025 และแผนงานของ 3 เสาหลัก ประชาคมอาเซียน ซึ่งกำหนดทิศทางของ

16

ประชาคมอาเซียนในอีก 10 ปีข้างหน้า ให้แก่ MSMEs ส่งเสริมความเชื่อมโยง (ปี 2016-2025) และความร่วมมือกับทุกภาคส่วน มุ่งเน้น ในส่วนของแผนงานด้านเศรษฐกิจ การมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้ง หรือ แผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การสนับสนุนให้อาเซียนมีบทบาทสำคัญ ปี 2025 (AEC Blueprint 2025) และเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่มูลค่าโลกได้ จะยังคงมุ่งเน้นการดำเนินงานที่ต่อยอด โดยขณะนี ้ ค ณะกรรมการรายสาขา จากมาตรการในปี 2015 ให้มคี วามเข้มข้น กำลังอยูร่ ะหว่างการจัดทำแผนปฏิบตั กิ าร และประสิทธิภาพมากขึน้ พร้อมกับเดินหน้า เชิงยุทธศาสตร์ในสาขาต่างๆ รวมตัวทางเศรษฐกิจทั้งในเชิงกว้างและ สำหรั บ ผลการประชุ ม ด้ า น เชิ ง ลึ ก มากยิ ่ ง ขึ ้ น โดยให้ ค วามสำคั ญ กับการเปิดเสรีภาคบริการ การยกเลิก/ เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับคู่เจรจาของ ลดมาตรการที่มิใช่ภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อ อาเซียนและการหารือทวิภาคี การค้าและการลงทุน การปรับประสาน อาเซียน-จีน สรุปพิธีสาร มาตรฐานสินค้าและกฎระเบียบทีเ่ กีย่ วข้อง ยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน การเสริมสร้างระบบการอำนวยความสะดวก ทางการค้า การส่งเสริมนวัตกรรม การวิจยั โดยมีสาระสำคัญ การอำนวยความสะดวก และพัฒนา เพือ่ เสริมสร้างขีดความสามารถ ด้านพิธีการศุลกากร การเปิดเสรีบริการ ในการแข่งขันและความพร้อมรับมือกับ การอำนวยความสะดวกและส่ ง เสริ ม การเปลี่ยนแปลง การสร้างความเข้มแข็ง การลงทุน และกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า


อาเซียน-ญีป่ น่ ุ สรุปข้อบทความ ตกลงว่าด้วยการค้าบริการได้แล้ว โดยไทย เสนอจะผูกพันเปิดเสรีภาคบริการหลาย กิจกรรมในสาขาสำคัญ เช่น บริการด้าน คอมพิวเตอร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง บริการ โทรคมนาคม บริ ก ารก่ อ สร้ า ง บริ ก าร สิ่งแวดล้อม บริการด้านการท่องเที่ยว บริการด้านนันทนาการวัฒนธรรม และ การกีฬา และสาขาที่ญี่ปุ่นจะเปิดให้แก่ อาเซียน เช่น บริการด้านการท่องเที่ยว บริการด้านก่อสร้าง บริการด้านการเงิน บริการด้านโทรคมนาคม ซึ่งทั้งสองฝ่าย จะนำความตกลงหุน้ ส่วนเศรษฐกิจอาเซียน -ญี่ปุ่นเข้าสู่กระบวนการภายในประเทศ ก่อนลงนามให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ ของไทย และยินดีให้ความร่วมมือในการ ต่อไป พัฒนาบุคคลากรของไทยเพื่อยกระดับ อาเซียนสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ภาคอุตสาหกรรมไทย ผู้นำทั้งสองฝ่ายเห็นควรกระตุ้นให้มีการ นอกจากนี้ การประชุมสุดยอด ใช้ประโยชน์จากความตกลงเขตการค้า เสรีอาเซียน-เกาหลีให้มากขึ้น และเห็น อาเซียนครั้งนี้ ยังมีการเผยแพร่เอกสาร พ้องให้มีการเจรจาเปิดเสรีสินค้าอ่อนไหว อื่นๆ ด้านเศรษฐกิจ เพิ่มเติมต่อไป 1. AEC 2015: Progress and ความตกลงหุ ้ น ส่ ว นทาง Key Achievements เป็นเอกสารเพื่อ เศรษฐกิจระดับภูมภิ าค (RCEP) สรุปผล รายงานผลการดำเนินการตามมาตรการ ภายใต้ AEC Blueprint ตั้งแต่ปี 2551 การเจรจาโดยมุ่งเน้นเจรจาให้แล้วเสร็จ ภายในปี 2559 ซึ่งความตกลง RCEP 2. ASEAN Integration จะส่งเสริมซึ่งกันและกันกับความตกลง Report 2015 เป็นรายงานที่เน้นการ TPP และจะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต วิเคราะห์ความสำเร็จและผลกระทบของ โดยรวมของภูมภิ าค อันจะนำไปสูก่ ารจัดทำ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีจดุ ประสงค์ เขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) ในการเสริมสร้างความเข้าใจ ทั้งโอกาส และสิทธิประโยชน์ ที่จะได้รับจาก AEC ในอนาคต รวมทัง้ ความท้าทายต่างๆ สำหรับประเทศ ไทย-ญีป่ นุ่ ฝ่ายญี่ปุ่นจะช่วย สมาชิกอาเซียน เร่งรัดกระบวนการในการออกใบรับรอง 3. ASEAN Investment ด้านสุขอนามัยเพื่อการนำเข้ามะม่วงจาก ไทย โดยไทยจะช่วยติดตามเรือ่ งการนำเข้า Report 2015 เป็นรายงานความคืบหน้า เนื้อวัวและส้มจากญี่ปุ่น ทั้งนี้ ญี่ปุ่น สนใจ ในสาขาการลงทุนของอาเซียน และสถิติ ทีจ่ ะลงทุนในโครงการด้านโครงสร้างพืน้ ฐาน ด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

(FDI) รวมทัง้ ระบุถงึ ความสำคัญและความ ต้องการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใน ภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนความคืบหน้า การเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน

ทัง้ นี้ ผูท้ ส่ี นใจสามารถติดตาม รายละเอี ย ดเอกสารข้ า งต้ น ได้ ท ี ่ www.dtn.go.th

17


»Ù«Ò¹ โดย : สายทอง สร้อยเพชร

18


ยอง ฮา เซ โย ฉบับนี้ขอทักทายท่านผู้อ่านแบบเคป๊อบหลังจากหายหน้าหายตาไปจากหน้ากระดาษของ วารสารการค้าระหว่างประเทศไปพักใหญ่ แต่ที่หายไปพักใหญ่ไม่ใช่เพราะไปทำหน้าที่ที่เกาหลีใต้นะคะ แต่ไปทำหน้าทีท่ มี ไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเจรจาความตกลงการค้าเสรี RCEP ครัง้ ที่ 10 (10th Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ที่เกาหลีใต้จัดขึ้นที่เมืองปูซานเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2558 มาค่ะ ผลลัพธ์ของการเจรจารอบนี้เป็น ที่น่าพอใจ เพราะมีความก้าวหน้าในประเด็นสำคัญๆ ซึ่งจะช่วยให้เนื้อหาของการเจรจารอบต่อไปเข้มข้นมากขึ้น และหวังว่าจะ สรุปผลได้ภายในสิ้นปี 2559 ตามเป้าหมายของผู้นำประเทศสมาชิกRCEP ทั้ง 16 ประเทศตั้งไว้ ซึ่งกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จะมาเล่าสู่กันฟังให้ท่านผู้อ่านได้ตามทันเหตุการณ์ต่อไปค่ะ ถ้านึกถึงเกาหลีใต้ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงกรุงโซล เมืองหลวงของประเทศ ที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจ เทคโนโลยี และ ศูนย์กลางอุตสาหกรรมบันเทิง แต่พอบอกว่าดิฉันจะไปปูซาน บรรดาเพื่อนสาวน้อยสาวใหญ่หลายคนต่างก็เสียดายที่ไม่ได้ไป กรุงโซล เพราะอดฝากซือ้ เครือ่ งสำอางเพือ่ อัพความงามสารพันยีห่ ้อ ทั ้ ง ครี ม เมื อ กหอยทากครี ม สกั ด จากโสมเกาหลี ช ื ่ อ ดั ง และ แอบประหลาดใจกันว่าปูซานจะมีอะไรดีไปกว่าการเป็นเมืองทีจ่ ดั เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ดิฉันเองก็เช่นกันที่รู้จักปูซาน จากชื่อเสียงของการเป็นเมืองแห่งเทศกาลหนังนานาชาติที่เหล่า ดาราชั้นนำของเอเชียพากันมาเดินบนพรมแดงที่นี่ปีละครั้ง และเปรี ย บได้ ว ่ า เป็ น เวที อ อสการ์ แ ห่ ง วงการภาพยนตร์ ข อง เอเชียเลยทีเดียว ทว่าเมืองปูซานก็ไม่ได้น้อยหน้าค่ะ เพราะว่าเป็น เมืองขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศ ห่างจากกรุงโซลไปทาง ตะวันออกเฉียงใต้ราว 450 กิโลเมตร ส่วนการเดินทางจาก กรุงเทพฯ ไปยังปูซานสะดวกสบายมากขึ้น สามารถบินตรงไปลง สนามบินปูซานได้เลย แถมยังมีหลายเที่ยวบินให้เลือกใช้บริการ

ทัง้ สายการบินไทยและสายการบินของเกาหลีใต้เอง ซึง่ ใช้เวลาบินราว 5 ชั่วโมง ก็มาถึงท่าอากาศยานนานาชาติกิมแฮ เมืองปูซาน ครั้งนี้พอมาถึงปูซานในตอนเช้าเวลาประมาณแปดโมงครึ่งตาม เวลาท้องถิ่น ซึ่งเร็วกว่าเวลาไทย 2 ชั่วโมง ผ่านกระบวนการตรวจ คนเข้าเมืองอย่างเรียบร้อย รอรับกระเป๋าอยู่พักใหญ่แล้วเดินลิ่ว ไปเคาน์เตอร์แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทันทีอย่างมั่นใจว่า จะกระเป๋ารั่วทรัพย์ละลายที่นี่แน่นอนค่ะ เพราะเตรียมตัวมาทั้ง ชิมอาหารเกาหลีตน้ ตำรับ สำรวจตลาด และวิถชี วี ติ ของคนท้องถิน่ ในยามเย็นหลังเสร็จภารกิจ ส่วนการเดินทางเข้าเมืองจากสนามบิน ก็มีให้เลือกใช้บริการทั้งรถบัส รถไฟฟ้า และรถแท็กซี่ ระหว่าง นั่งรถแท็กซี่วิ่งเลียบริมอ่าวเล็กอ่าวน้อย เพื่อไปยังที่พักก็ได้เห็น โรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่มีการผลิตเส้นใย รองเท้ายาง และเครื่องจักร รวมทั้งมีตู้คอนเทนเนอร์มากมายตั้งสูงเรียงราย ตามท่าเรือเพื่อรอการขนส่งสมกับเป็นเมืองท่าแห่งเกาหลีใต้ที ่ เป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าและอุตสาหกรรมการต่อเรือ และยังเป็น ท่าเรือเฟอร์รี่เชื่อมไปยังเมืองฟูกุโอกะของญี่ปุ่นและเกาะเจจูทม่ี ี ชือ่ เสียงของเกาหลีใต้ จึงทำให้ปซู านเป็นแหล่งท่องเทีย่ วยอดนิยม ทั้งของคนท้องถิ่นและชาวญี่ปุ่น

19


ปูซาน เป็นเมืองทีค่ อ่ นข้างทันสมัยผสานกับวัฒนธรรม ท้องถิ่นและธรรมชาติที่เต็มไปด้วยแนวเขาอันงดงามด้านหนึ่ง และติ ด กั บ ทะเลอี ก ด้ า นหนึ ่ ง จึ ง ทำให้ เ มื อ งแห่ ง นี ้ เ ป็ น แหล่ ง ท่องเทีย่ วอันดับหนึง่ ของชาวเกาหลีใต้ เพราะมีกจิ กรรมหลากหลาย ทั้งการปีนเขา การเดินป่า รวมทั้งมีชายหาดแฮอึนแดที่ใหญ่ที่สุด และโด่งดังที่สุดในประเทศ แต่ที่ดิฉันพยายามตามหา (มาทั้งชีวิต ^^) ทัง้ บนท้องถนน ในห้างสรรพสินค้าและห้องประชุม ตลอดเวลา ที ่ อ ยู ่ ใ นปู ซ านก็ ค ื อ ...คนหน้ า ตาดี ค ่ ะ !! เขาว่ า กั น ว่ า คนปู ซ าน หน้าตาดี ยิ้มแย้ม และใจเย็นมากกว่าคนในกรุงโซล และยังเป็น บ้านเกิดของเหล่าบรรดาไอดอลเคป๊อบที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น อูยอง จากวงบอยแบนด์ 2PM ยงฮวา นักร้องนำวง CN BLUE คิมแทฮี หรือนางฟ้าแห่งเกาหลี และกง ยู พระเอกซีริส์ฮิตเรื่อง รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ หรือ Coffee Prince ตามข่าวไม่ได้ บอกว่าหน้าตาดีแบบดั้งเดิมหรืออัพมา แต่หน้าตาสดใสของเหล่า ไอดอลตอนนีก้ ท็ ำให้ตง่ิ เกาหลีมโนเคลิม้ ไปเสียแล้ว และขอคอนเฟิรม์ ว่า คนปูซานหน้าตาดีจริงค่ะ ใครอยากพิสูจน์เองว่าจริงอย่างที่เขาว่า หรือเปล่าก็ลองแวะมาเที่ยวปูซานนะคะ หากคนที่มา เที่ยวปูซานถ้าพอสื่อสารภาษาเกาหลี ได้บ้าง หรือ สื่อสารผ่านแอพพลิเคชั่นแปลภาษาในสมาร์ทโฟน จะทำให้ท่องเที่ยวและสัมผัสวัฒนธรรมพื้นถิ่นได้สะดวกมากขึ้น เพราะภาษาอังกฤษฟุดฟิดฟอไฟไม่สามารถช่วยดิฉนั ให้ได้รบั ประทาน บะหมี่ซุปกิมจิใส่หมูสามชั้นในศูนย์อาหารของห้างสรรพสินค้า ล็ อ ตเต้ และคาลบี ้ ห รื อ หมู ส ามชั ้ น ย่ า งในร้ า นปิ ้ ง ย่ า งท้ อ งถิ ่ น ซึ่งพนักงานส่วนใหญ่ไม่ค่อยถนัดภาษาอังกฤษ จึงมีเพียงรอยยิ้ม สายตาที่วิงวอน รูปภาพเมนูอาหาร บวกกับความใจดีและอดทน ของคนปูซานที่มีต่อนักท่องเทีย่ วเฉิม่ อย่างดิฉนั ได้ทานอาหารมือ้ อร่อย ได้ในทีส่ ดุ ค่ะ นอกจากนี้ ปูชานยังมีแหล่งท่องเทีย่ วทีน่ า่ สนใจหลายแห่ง และเขาว่ากันว่า (อีกแล้ว) มีสิ่งที่น่าสนใจไม่ควรพลาด 5 ประการ ซึ่งเจ้าภาพใจดีจัดทัวร์ให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ชมเมืองปูซานแถม โชคดีที่หลังจากดิฉันเสร็จสิ้นภารกิจประชุมและจะกลับกรุงเทพฯ ในวันรุง่ ขึน้ ช่วงค่ำจึงมีโอกาสไปสัมผัสสิง่ ทีเ่ ขาเล่าว่าไม่ควรพลาดซึง่ .... แอ่นแอ๊น! ได้แก่

20

CN Blue

สักการะสิง่ ศักดิส์ ทิ ธ์ทว่ี ดั แฮดอง ยงกุงซา (Haedong Yonggungsa Temple) เป็นวัดพุทธเก่าแก่ ที่สวยที่สุดในปูซานอายุกว่า 600 ปี และมีความโดดเด่น มากเพราะตัง้ อยูต่ ามแนวโขดหินริมทะเล จะต้องเดินขึน้ บันได 108 ขั้น เพื่อเข้าไปชมตัววัดและภูมิทัศน์ตามเนินเขาระหว่าง ทางเดินเข้าวัดก็จะผ่านตลาดนัดย่อมๆ ทีม่ ชี าวบ้านวางขายข้าว ของทั้งเครื่องราง ของที่ระลึก ขนมพื้นบ้าน ของกิน เช่น กิมจิ สารพัดผักที่อาจุมม่า (คุณป้า) นำมาขาย แป้งเสียบไม้รสชาติ คล้ายลูกชิน้ ปลาแช่ในน้ำซุป หรือโอเด้ง (ทีป่ ซู านเรียกว่าปูซาน ออมุก) ของกินเล่นขึ้นชื่อของปูซาน ชมชายหาดแฮอึนแด (Haeundae Beach) เป็นชายหาดทีส่ วยงามยอดฮิตมีบริเวณชายหาดยาวและกว้างมาก ผืนทรายขาวละเอียดและน้ำทะเลใสสะอาด ช่วงหน้าร้อน (มิถุนายน-สิงหาคม) จะคราคร่ำไปด้วยทัพนักท่องเที่ยวที่มา พักผ่อนและมีกิจกรรมครืน้ เครงมากมาย และแน่นอนว่าจะมีคน หน้าตาดีมาอาบแดด ^^ เสียดายที่ดิฉันไปเยือนช่วงหน้าหนาว เลยหนีลมเย็นเข้าไปจิบกาแฟในร้านกาแฟทีเ่ รียงรายรอบหาด

Haeundae Beach


ช้อปปิ้งย่านซมยอน (Seomyeon) แหล่งรวม ร้านค้าและร้านอาหารมากมายที่มีให้เลือกชม ชิม ช้อปมากมาย ทั้งในร้านค้าหาบเร่ แผงลอย และบาร์ต่างๆ ตลอดสองข้างทาง บรรยากาศประมาณสามย่าน สยามสแควร์ของบ้านเราเป็นย่าน ยอดฮิตใจกลางเมืองปูซาน ที่วัยรุ่นสุดฮิปและคนรุ่นใหม่ต่าง แต่งตัวประชันแฟชัน่ อินเทรนด์กนั (Youth Street) ส่วนอาจุมม่า แบบดิฉนั ขอนัง่ ทานไก่ทอดกรอบในร้านบอนชอนเพลิดเพลินกับ บรรยากาศดีกว่าค่ะ สำรวจตลาดชากัลชิ (Jagalchi Market) เป็นตลาดอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีและมั่นใจได้ว่า อาหารทะเลสดจริง เพราะตัง้ อยูต่ ดิ ทะเลเลยค่ะ ทีน่ เ่ี ป็นแหล่งค้าขาย อาหารทะเลทีค่ กึ คักมากเพราะมีบรรดา “จากัลชี อาจุมม่า” คือ คุณป้าทีล่ งไปดำน้ำหาปลามาขายด้วย ส่งเสียงเรียกลูกค้าอย่าง อารมณ์ดีเชิญชวนให้ซื้อปลาหมึกยักษ์เป็นๆ ที่กำลังม้วนแขนขา อยู่ในตู้กระจก หอยตัวใหญ่ กุ้งตัวโตอวบอ้วน พร้อมกับหยอกล้อ กับลูกค้าโชว์สัตว์ทะเลหน้าตาแปลก ใครมาเดินชมตลาดปลา แห่งนีไ้ ม่ควรพลาดการชิมอาหารทะเลสดซึ่งปรุงกันสดๆ ในร้าน อาหารบริเวณชั้นบนของอาคารและร้านรอบตลาด ที่เลือกปรุง ได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็นซาซิมิ ปิ้งย่าง ต้ม นึ่ง หรือทอดก็ได้ และหลายคนไม่ยอมพลาดที่จะทานปูยักษ์แน่นอน หรือจะซื้อ อาหารทะเลแห้งไปเป็นของฝากก็หาได้ที่ตลาดนี้เลยค่ะ พอจบ การสำรวจตลาดปลานี้แล้วก็ชื่นชมกับความอุดมสมบูรณ์ของ ท้องทะเลเกาหลีใต้ทไ่ี ด้รบั การอนุรกั ษ์และการบริหารทรัพยากร สัตว์นำ้ ได้เป็นอย่างดีทำให้มีผลผลิตทางการประมงมากมาย และ เป็นสินค้าส่งออกสำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ และสุดท้าย ที่ไม่ควรพลาดคือ...

เยีย่ มชมหมูบ่ า้ นวัฒนธรรมคัมซอน (Gamcheon Culture Village) หรือ ซาโตรินี่เกาหลี (Santorini)

เป็นหมู่บ้านเก่าตั้งอยู่บนเนินเขาเดิมมีสภาพทรุดโทรม ชาวบ้าน จึงปรับปรุงหมูบ่ า้ นครัง้ ใหญ่ดว้ ยการทาสีสดใสออกโทนสีพาสเทล ทั่วหมู่บ้านทำให้นึกถึงเมืองซานโตรินี่ของอิตาลี และวาดรูป ประดับผนังกำแพงตามถนนหนทางในหมูบ่ า้ น ซึง่ ช่วยดึงดูดผูค้ นให้ มาท่องเทีย่ วเดินชมศิลปะ และเลือกซื้อสินค้าหัตถกรรมที่วางขาย ตามตรอกซอยทางเดินเล็กภายในหมู่บ้าน แน่นอนว่าที่นี่เป็นอีก สถานที ่ ย อดฮิ ต สำหรั บการถ่ ายภาพเซลฟี่ ของคนที่ มาเยื อน อ้อ! อย่าลืมฟิตกำลังแข้งขามาก่อนด้วยนะคะ เพราะจะได้ เดินขึ้นลงเนินเขาเพื่อชมหมู่บ้านได้ทั่วถึงค่ะ

Haedong Yonggungsa Temple

Seomyeon

Jagalchi Market

แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ได้สัมผัสกับสิ่งรอบตัวในเมืองปูซาน แต่ก็ประทับใจมากมาย กับความทันสมัยของบ้านเมืองและวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งสะท้อนผ่านความโอบอ้อมอารีของ ชาวเมืองปูซานส่งต่อมายังผูม้ าเยือนรวมทัง้ เอกลักษณ์โดดเด่นทีน่ า่ ประทับใจอีกอย่างคือความหน้าตาดี ของคนปูซานค่ะ ถ้าใครไม่เชื่อขอท้าให้ไปชมด้วยตัวเองนะคะ... สุดท้ายนี้ ซารางเฮโย นะปูซาน 21


โดย : กรมศุลกากร ความคืบหน้าในการดำเนินการเมือ่ เข้าสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ทีส่ ำคัญประการหนึง่ คือ การจัดตัง้ ระบบ National Single Window (NSW) ของประเทศไทยขึน้ เพือ่ เชือ่ มโยงข้อมูลไปสูร่ ะบบ ASEAN Single Window อันจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการที่จะนำเข้าและส่งออกได้แบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว โดยจะมีการเชือ่ มโยงข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจของประเทศ ทางอิเล็กทรอนิกส์แบบ ปลอดภัยและไร้เอกสาร ระบบ National Single Window (NSW) เป็นระบบ การบริ ก ารเชื ่ อ มโยงข้ อ มู ล หน่ ว ยงานภาครั ฐ และภาคธุ ร กิ จ สำหรับการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ รองรับการเชื่อมโยง ข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศในภูมภิ าคอืน่ ๆ โดยระบบ NSW เป็นระบบอำนวยความสะดวกและบริการแบบ อัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติควบคู่ไปกับการปฏิรูปกระบวนการและ ขัน้ ตอนการให้บริการ และการลดรูปเอกสาร โดยอำนวยความสะดวก ให้ผู้ใช้บริการ (เช่น ผู้ประกอบการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์) สามารถทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานภาครัฐ และ ภาคธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัยและไร้เอกสาร เช่น การจัดเตรียมข้อมูลเพียงครั้งเดียวในการขอใบอนุญาตและ ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ และการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ใบขนสินค้าและชำระค่าภาษีอากรแบบอัตโนมัติ การใช้ขอ้ มูลร่วม

22


กันกับทุกองค์กรทีเ่ กีย่ วข้อง รวมถึงการเชือ่ มโยงข้อมูลใบอนุญาต ซึง่ ทำหน้าทีเ่ ป็นตัวแทนของผูใ้ ช้บริการนำเข้าส่งออกทางอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับรองระหว่างหน่วยงานภาครัฐภายในประเทศ และการ ประมาณ 100,000 ราย จากสถิตกิ ารทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เชื่อมโยงข้อมูลภาคธุรกิจระหว่างประเทศ ผ่านระบบ NSW ตั้งแต่ปี 2555 – สิงหาคม 2558

บริการของ NSW

• บริการติดตามสถานภาพการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ของทุกหน่วยงานแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว • บริการเว็บไซต์ www.thainsw.net ระบบ NSW ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้บริการจากส่วนราชการและผู้ประกอบ ของประเทศ ประกอบด้วย บริการข้อมูลข่าวสารการนำเข้า ส่งออกที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ เช่น กฎหมาย และระเบียบ การจัดตั้ง NSW และ ASEAN Single Window มาตรฐานข้อมูล มาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูล กลุ่มผู้ใช้บริการ ประกอบด้วย สาธารณชนทั่วไป และผู้รับบริการจากหน่วยงาน ภาครัฐและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ โดย NSW Website ประกอบด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับ การอำนวยความสะดวกทางการค้าภายในประเทศและระหว่าง ประเทศ เช่น สถิติการใช้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรฐานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทง้ั หมดทีม่ กี ารใช้ในการทำธุรกรรม ทางอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ภ ายในประเทศและระหว่ า งประเทศ การสามารถติดตามผลของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่ า งหน่ ว ยงานภายในประเทศและระหว่ า งประเทศ แบบเรียลไทม์จากระบบ NSW ได้ทุกวัน ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง โดยใช้เลขทีอ่ า้ งอิง วันที่ ชือ่ เอกสาร และประเทศทีต่ อ้ งการทราบ ระบบงานนี ้ จ ะให้ ข ้ อ มู ล เกี ่ ย วกั บ ผลของการทำธุ ร กรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละหน่วยงานทีม่ กี ารเชือ่ มโยงข้อมูลกันทาง อิเล็กทรอนิกส์จากต้นทางจนถึงปลายทางว่าเป็นอย่างไร

รหัสมาตรฐานสากลต่างๆ (เช่น รหัสประเทศ รหัสอัตราแลกเปลีย่ น เงินตราและรหัสสถานที่ เป็นต้น) กฎหมายและระเบียบของทุกส่วน ราชการ รวมถึงความตกลงระหว่างหน่วยงานเกีย่ วกับการเชือ่ มโยง ข้อมูลแบบการบูรณาการ และ Link สำหรับเชื่อมโยงไปยังระบบ Single Window ของประเทศอาเซี ย น และประเทศอื ่ น ๆ เป็นต้น

• บริการระบบฐานข้อมูล “National Standard Data Set” หรือ “มาตรฐานข้อมูลของประเทศแบบเรียลไทม์” ซึ่งเป็นมาตรฐานข้อมูลสอดคล้องตามมาตรฐานขององค์การ ระหว่างประเทศ (UN WCO และ ASEAN) พร้อมแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างมาตรฐานสากลจากแหล่งต่างๆ เช่น มาตรฐานที่จัดทำ โดยองค์การสหประชาชาติ และมาตรฐานขององค์การศุลกากรโลก เพื่อให้ผู้ใช้บริการของหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ สามารถ สืบค้นและนำไปใช้งานได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

• บริการระบบการออกใบอนุญาตและใบรับรอง • บริการระบบเชื่อมโยงข้อมูลแบบปลอดภัย ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจภายในประเทศไทย โดย ของส่วนราชการที่ไม่มีระบบงานคอมพิวเตอร์ของตนเอง และ มีทะเบียนผูใ้ ช้บริการจำนวนรวมทัง้ สิน้ ประมาณ 10,000 ทะเบียน ยังไม่พร้อมเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ NSW ของประเทศ เช่น 23


กรมศิลปากร กรมทรัพยากรธรณี เป็นต้น โดยผู้ประกอบการ สามารถยืน่ คำขอใบอนุญาตและใบรับรองต่างๆ ของส่วนราชการ ดังกล่าวบนระบบ NSW ได้โดยตรงผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเจ้าหน้าที ่ ของหน่ ว ยงานออกใบอนุ ญ าตและใบรั บ รองจะพิ จ ารณา ขอใบอนุญาตและใบรับรอง การพิจารณาออกใบอนุญาตและ ใบรับรองบนระบบ NSW โดยตรงเช่นเดียวกัน และผูป้ ระกอบการ สามารถติดตามผลการออกใบอนุญาตและใบรับรอง รวมถึงการ ใช้ใบอนุญาตและใบรับรองต่างๆ สำหรับการตรวจปล่อยสินค้า ได้ทุกวันตลอดเวลา 24 ชั่วโมง • บริการ Help Desk and Call Center สำหรับ หน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออก โดยให้บริการรับแจ้งปัญหา การแก้ไขปัญหา และบริการ สอบถามข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบ NSW และ ASEAN Single Window รวมถึ ง การเชื ่ อ มโยงข้ อ มู ล กั บ หน่ ว ยงาน ต่างประเทศ โดยระบบ Help Desk and Call Center ให้บริการ ข้อมูลเพือ่ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตา่ งๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับ การเชื ่ อ มโยงข้ อ มู ล ระหว่ า งหน่ ว ยงานภายในประเทศไทย การเชื ่ อ มโยงกั บ หน่ ว ยงานของอาเซี ย น และประเทศอื ่ น ๆ นอกภูมิภาคอาเซียน

24

• บริการบันทึกข้อมูลการผ่านพิธกี ารศุลกากร นำเข้า-ส่งออก Single Window Entry บนระบบ NSW เพือ่ ให้บริการกับผูน้ ำเข้าผูส้ ง่ ออก รายย่อยทีไ่ ม่มรี ะบบการจัดทำ ข้อมูลใบขนสินค้าเข้า-ออก ใบกำกับการขนย้ายสินค้า การแจ้ง ส่งออกสินค้าไม่ครบตามจำนวน การยกเลิกใบขนสินค้าหรือ การยกเลิกใบกำกับการขนย้ายสินค้าส่งให้กรมศุลกากร ซึ่งขณะ นี้อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเปิดใช้งานจริง • บริการระบบสร้างคำขอใบแจ้งการนำเข้า/ ส่งออกสินค้าควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ Single Entry Form ส่งให้กับ 7 หน่วยงาน ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมประมง กรมปศุสัตว์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมธุรกิจพลังงาน สำนักงานปรมาณูเพือ่ สันติ และกรมวิชาการเกษตร เพือ่ ช่วยให้ผปู้ ระกอบการสามารถยืน่ คำขอใบแจ้งการนำเข้าและ ส่งออกสินค้าควบคุมผ่านเว็บไซต์ของ NSW ได้โดยตรง โดยกรอก ข้อมูลเพียงครั้งเดียวและนำข้อมูลดังกล่าวไปจัดทำทั้งใบแจ้งการ นำเข้าและส่งออกสินค้าควบคุม ใบอนุญาตและใบขนสินค้าได้ พร้อมทั้งสามารถส่งข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา ได้ทันที ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ


โดย : สำนักอเมริกา แปซิฟิกและองค์การระหว่างประเทศ

25


เป็ น เจ้ า ภาพจั ด การประชุ ม รัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก สมั ย สามั ญ ครั ้ ง ที ่ 10 (the Ten th World Trade Organization Ministerial Conference) หรือเรียกว่า MC10 ณ กรุงไนโรบี ระหว่างวันที่ 15-18 ธันวาคม 2558 โดยมีนายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง พาณิชย์ เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมร่วมกับสมาชิก อีก 163 ประเทศจากทวีปต่างๆ ทั่วโลก

ประเทศเคนยา มี ก รุ ง ไนโรบี เ ป็ น เมื อ งหลวง ได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก เมือ่ วันที่ 1 มกราคม 2538 ถือเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ระดับปานกลางขั้นต่ำ มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในอนุภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก มีบทบาทนำในภูมิภาค ทั้งด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง เป็น สมาชิ ก ในประชาคมแอฟริ ก าตะวั น ออก (East African Community: EAC) และตลาดร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกา ตะวันออก และแอฟริกาตอนใต้ (Common Market for Eastern and Southern Africa: COMESA) ทำให้เคนยา สามารถเป็นประตูสู่แอฟริกา

พันธกรณีรอบอุรกุ วัย ทัง้ นี้ การเจรจารอบโดฮาได้ดำเนินการมา กว่า 14 ปี แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เนื่องจากสมาชิก มีท่าทีที่แตกต่างกันมาก

การประชุมรัฐมนตรีของ WTO

สำหรับการประชุมรัฐมนตรีของ WTO ถื อ ว่ า เป็นกลไกการดำเนินงานและการตัดสินใจของ WTO ระดับ สูงสุด มีวาระการประชุมอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบ 2 ปี ทำหน้าที่ในการตัดสินใจและกำหนดทิศทางเกี่ยวกับกิจกรรม ทั้งปวงของ WTO และในครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งสำคัญของ WTO เนื่องจากเป็นปีที่ครบรอบ 20 ปี ของการก่อตั้ง WTO การเจรจารอบโดฮา และเป็นครัง้ แรกทีจ่ ดั ขึน้ ในภูมภิ าคแอฟริกา ซึง่ ถือเป็นสัญลักษณ์ การเจรจารอบโดฮา หรือรอบแห่งการพัฒนา สำคัญของการหารือเพื่อประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา (Doha Development Agenda : DDA) ได้ถือกำเนิด และประเทศพัฒนาน้อยที่สุดภายใต้ WTO จากการประชุม MC ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 การเจรจาสินค้าเกษตร ณ เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลดเลิก ผลประโยชน์ของประเทศ LDCs มาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้าของประเทศสมาชิกโดย การประชุ ม MC10 ครั ้ ง นี ้ ประเทศสมาชิ ก เฉพาะประเทศกำลังพัฒนา และมีประเด็นเจรจาสำคัญ 8 เรือ่ ง ได้แก่ สินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม บริการ การค้าและ สามารถสรุปผลสำเร็จที่เป็นผลประโยชน์ของประเทศกำลัง สิ่งแวดล้อม ทรัพย์สินทางปัญญา การปรับปรุงกฎเกณฑ์ทาง พัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (หรือเรียกว่า ประเทศ การค้า (เรือ่ งการตอบโต้การทุม่ ตลาด การอุดหนุน การอุดหนุน LDCs) โดยเฉพาะการเจรจาเกี่ยวกับสินค้าเกษตร ซึ่งเป็น ประมง และการรวมกลุ่มภูมิภาค) การปรับปรุงกลไกระงับ รากฐานสำคั ญ ของประเทศกำลั ง พั ฒ นา และเป็ น ไปตาม ข้ อ พิ พ าท และการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติตาม ทิศทางทีเ่ ป็นประโยชน์กบั ไทย โดยเฉพาะเรือ่ งการแข่งขันการ 26


นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์

ส่งออกสินค้าเกษตร ที่ไทยผลักดันมาโดยตลอด ให้ประเทศ พัฒนาแล้วยกเลิกการอุดหนุนส่งออกทันที เพือ่ สร้างความเป็น ธรรมให้กับประเทศกำลังพัฒนา เพราะที่ผ่านมาราคาสินค้า เกษตรในตลาดโลกที่ตกต่ำ ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการ อุ ด หนุ น ส่ ง ออกของประเทศพั ฒ นาแล้ ว สำหรั บ ประเทศ กำลังพัฒนาให้ยกเลิกการอุดหนุนส่งออกภายในสิ้นปี 2561 และยกเว้ น สิ น ค้ า ที ่ ม ี ก ารแจ้ ง ต่ อ WTO ใน 3 ปี ห ลั ง สุ ด ให้ยกเลิกภายในปี 2565

ทางการค้าหรือเกิดความเสียหายต่อสมาชิกอื่น และเรื่อง การให้ความช่วยเหลือด้านอาหารทีส่ มาชิกต้องดำเนินการตาม ความจำเป็น และไม่มเี งือ่ นไขทีผ่ กผันกับการส่งออกสินค้าเกษตร

ประโยชน์ ข องไทยที ่ เ ห็ น ได้ ช ั ด เจนคื อ การที ่ ประเทศพั ฒ นาแล้ ว โดยเฉพาะ EU ยกเลิ ก การอุ ด หนุ น ส่งออกทันที และสหรัฐฯ ลดระยะเวลาให้สนิ เชือ่ เพือ่ การส่งออก ซึง่ จะทำให้ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกไม่ถกู กดให้ตำ่ ทำให้ ไทยสามารถขายผลผลิตในราคาที่สูงขึ้น ส่งผลดีต่อเกษตรกร นอกจากนี ้ ยั ง มี เรื ่ อ งสิ น เชื ่ อ เพื ่ อ การส่ ง ออก รวมทั้งไทยยังร่วมกับหลายๆ ประเทศ ผลักดันไม่ให้สมาชิก ทีท่ ำให้ประเทศกำลังพัฒนาเสียเปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะ ที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรใช้มาตรการปกป้องสินค้าเกษตร การให้สินเชื่อเวลานานและดอกเบี้ยต่ำกว่าท้องตลาดก็ต้อง เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าว น้ำตาล และมันสำปะหลัง แก้ไข ซึง่ ทีป่ ระชุมรัฐมนตรีกไ็ ด้ตกลงให้มรี ะยะเวลาการคืนเงิน การเจรจาความตกลงขยายตลาดสินค้า สูงสุด (maximum repayment term) ไม่เกิน 18 เดือน เทคโนโลยีสารสนเทศ (ITA Expansion) ประเทศพัฒนาแล้วให้ดำเนินการตั้งแต่สิ้นปี 2560 และ นอกจากผลสำเร็จของการประชุมในส่วนของ 18 เดือน สำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยให้ดำเนินการตัง้ แต่ปี 2564 ส่วนประเทศ LDCs และประเทศกำลังพัฒนาที่เป็น สินค้าเกษตรแล้ว สมาชิก WTO ยังสามารถสรุปผลการเจรจา ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITA ผู้นำเข้าอาหารสุทธิ (net food-importing developing Expansion) ซึ่งถือว่าเป็นการลดภาษีสินค้าอย่างมีนัยสำคัญ countries) ที่ซื้ออาหารพื้นฐานเพื่อยังชีพ สามารถมีระยะ ครั้งแรกในศตวรรษที่ 21 หลังจากที่มีการยืดเยื้อมากว่า 3 ปี เวลาการคืนเงินสูงสุด ระหว่าง 36 ถึง 54 เดือน ส่ ง ผลให้ บ รรยากาศการค้ า และการลงทุ น ของโลกในด้ า น สำหรับเรื่องการอุดหนุนส่งออกที่ให้โดยวิสาหกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศมีความตื่นตัว และจะทำให้ประเทศ ภาครัฐ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดภายใต้ความตกลงเกษตร สมาชิกรวมทั้งไทยสามารถดึงดูดการลงทุนในด้านนี้มากขึ้น และความตกลงอื่นๆ ของ WTO โดยต้องไม่เกิดการบิดเบือน เนือ่ งจากไทยเป็นประเทศทีม่ ศี กั ยภาพและอยูใ่ นห่วงโซ่อปุ ทาน

27


(28 ประเทศ) ญี่ปุ่น แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเทนสไตน์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ มอนเตเนโกร แอลเบเนีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ คอสตาริกา กัวเตมาลา โคลอมเบีย อิสราเอล ตุรกี มอริเชียส จีน จีนไทเป เกาหลีใต้ และฮ่องกง ส่วนประเทศ สมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมการเจรจา ITA Expansion ได้แก่ ความตกลง ITA Expansion เริ่มเจรจาตั้งแต่ป ี สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย 2555 มีเนื้อหาสำคัญคือ ให้การยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียม ปัจจุบนั ทัว่ โลกมีมลู ค่าการค้าสินค้า ITA Expansion พิเศษต่างๆ สำหรับการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ และ รองรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ อันเป็น มากกว่า 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า การต่อยอดความสำเร็จของความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า มูลค่าการค้ารถยนต์ของโลก หรือมากกว่ามูลค่าการค้าโลก เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Agreement : ของสิง่ ทอ เสือ้ ผ้า และเหล็ก รวมกัน โดยสมาชิก ITA Expansion มี ม ู ล ค่ า การค้ า รวมกั น ประมาณร้ อ ยละ 90 ของมู ล ค่ า ITA) ซึ่งไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 2540 การค้าโลก ทั้งนี้ ความตกลง ITA Expansion จะส่งเสริม ความสามารถในการแข่งขันของไทยในสินค้า IT เพราะไทย สำหรับประเทศไทย มีมูลค่าการค้าสินค้า ITA สามารถนำเข้าสินค้า IT ต้นน้ำและกลางน้ำมาเป็นวัตถุดิบการ Expansion ในตลาดโลกประมาณ 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภาษีศูนย์ ซึ่งจะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศที่ใช้ไทย (2.14 ล้านล้านบาท) รายการสินค้าที่ไทยส่งออกสูงสุด ได้แก่ เป็นฐานการผลิต เนื่องจากต้นทุนที่ต่ำลง นอกจากนี้ ยังเป็น วงจรรวมที ่ ใช้ ใ นทางอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ตั ว ประมวลผลและ โอกาสที่ดีของไทยในการส่งสินค้า IT ไปประเทศที่ยังไม่มีการ ตัวควบคุม กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายภาพดิจิตัล กล้อง ทำความตกลงการค้าเสรีกับไทย โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ถ่ายวิดโี อ และเครือ่ งพิมพ์มลั ติฟงั ก์ชน่ั โดยไทยมีมลู ค่าการลงทุน โดยเฉพาะสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักของสินค้ามอนิเตอร์ และสหรัฐฯ ยังเก็บภาษีร้อยละ 5 และกล้องถ่ายโทรทัศน์ โดยตรงจากต่างประเทศในสาขา IT สูงถึง 70,000 ล้านบาท กล้องถ่ายบันทึกภาพดิจิทัล และกล้องถ่ายบันทึกวิดโี อ ซึ่งเป็น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 ซึ่งสูงสุดของการลงทุนทั้งหมด สินค้าส่งออกหลักของไทยไปสหภาพยุโรป ที่มีการเรียกเก็บ และมีการจ้างงานประมาณ 65,000 คน ภาษีร้อยละ 14 อีกด้วย ในส่ ว นของกระทรวงพาณิ ช ย์ จะนำผลสรุ ป การผลิตสินค้าไอทีของโลก การเข้าร่วมความตกลง ITA Expansion จะสร้างความเชือ่ มัน่ ของนักลงทุนต่อนโยบายส่งเสริมการเป็น ฐานผลิ ต และส่ ง ออกสิ น ค้ า และบริ ก ารที ่ เ กี ่ ย วเนื ่ อ งกั บ IT รวมถึงนโยบาย Super Cluster และเศรษฐกิจดิจิทัลของ ไทยด้วย

ขณะนี้ มีสมาชิกความตกลง ITA Expansion การเจรจา ITA Expansion เสนอคณะรั ฐ มนตรี แ ละ จำนวน 53 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สภานิตบิ ญั ญัติให้ความเห็นชอบในขั้นตอนต่อไป

28


ผลสำเร็จของการเจรจากับประโยชน์ ที่ไทยได้รับ จากการประชุม MC10 ครั้งนี้ ทำให้ไทยยืนยัน และผลักดันให้มกี ารยกเลิกการอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตร โดยเร็วที่สุดมาโดยตลอด เนื่องจากไทยไม่มีการอุดหนุน การส่งออกสินค้าดังกล่าว ดังนั้น ไทยจึงได้รับประโยชน์อย่าง เต็มที่จากผลสำเร็จของการเจรจาในครั้งนี้ ที่สามารถลดความ ได้เปรียบในการแข่งขันการส่งออกของประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ โดยเฉพาะสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และบราซิล ซึ่งเป็นคู่แข่ง สำคัญของไทยในการส่งออกสินค้าไก่และน้ำตาล และทำให้ การแข่งขันอยูบ่ นพืน้ ฐานของความเป็นธรรมมากขึน้ เนือ่ งจาก มีการกำหนด ดังนี้ 1 ให้ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออกสินค้า เกษตรสำคัญของไทย ได้แก่ ไก่ (ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 4 ของโลกรองจากบราซิล สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ซึ่งสามารถ ให้การอุดหนุนส่งออกไก่ได้รวมทั้งสิ้น ไม่เกินปีละ 7,998 ล้านบาท) และน้ำตาล (ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลก รองจากบราซิล ซึง่ สามารถให้การอุดหนุนส่งออกได้ ไม่เกินปีละ 1,532 ล้านบาท) 2 ให้ประเทศพัฒนาแล้วผูกพันระยะเวลาให้ สินเชือ่ เพือ่ การส่งออก 18 เดือน ทำให้ตอ้ งชำระคืนเงินใน เวลาเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา และ ทำให้ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกไม่ถูกกดให้ต่ำ ดังนั้น ไทยจะสามารถแข่งขันการส่งออกไก่และ น้ำตาลกับสหรัฐฯ และบราซิลได้มากขึ้น โดยเฉพาะในตลาด ที่ไทยยังไม่มีส่วนแบ่งตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลดีต่อ เกษตรกรไทย อาทิ ตลาดจีนและฮ่องกง ซึ่งสหรัฐฯ ส่งไก่ ไปตลาดนี้มูลค่าเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 25,161 ล้านบาทต่อปี หรือตลาดจีนตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ ซึง่ บราซิลส่งน้ำตาล ไปตลาดดังกล่าวมูลค่าเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 110,498 ล้านบาท ต่อปี

ผลจากการเจรจาครั้งนี้ ทำให้ไทยต้องเร่งผลักดัน การหารือประเด็นคงค้างภายใต้การเจรจารอบโดฮา โดยมี เป้าหมายสำคัญคือการเปิดตลาดสินค้าเกษตรเพิ่มเติม โดยลด ภาษีสินค้าเกษตรระหว่างกัน รวมทั้งการผลักดันไม่ให้สมาชิก ที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรใช้มาตรการปกป้องสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าว น้ำตาล และมันสำปะหลัง อันจะเป็น ประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการไทยในระยะยาว ต่อไป

การประชุมรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก สมัยสามัญ ครั้งที่ 10 (MC10) เป็นการประชุมครั้งสำคัญของ WTO การเจรจาในเวทีระดับโลกนี้ ถือว่าประสบผลสำเร็จ ตามเป้าหมาย อีกทั้งที่ประชุมได้ต้อนรับสมาชิกใหม่ 2 ประเทศ คือ ไลบิเรีย และอัฟกานิสถาน ซึ่งจะทำให้ WTO มีสมาชิกทั้งหมด 164 ประเทศ ในปี 2559

29


โดย : สำนักอเมริกา แปซิฟิกและองค์การระหว่างประเทศ

เอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

เอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) นับว่าเป็นเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่มีอิทธิพลต่อนโยบายของประเทศต่างๆ เวทีหนึ่งของโลก ริเริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1989 ด้วยความริเริ่มของออสเตรเลีย เนื่องจากเล็งเห็นว่าการรวมกลุ่มในภูมิภาคนี้ ซึ่งประกอบด้วย ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและประเทศที่มีอัตราการ เติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก จะสามารถเป็นตลาดใหญ่ และมีศักยภาพในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน นอกจากนี้ การเป็นเวทีปรึกษาหารือและแลกเปลีย่ น ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจ การลดอุปสรรคและ อำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้าและบริการ (เช่น การลด ขั้นตอนด้านพิธีการศุลกากร การปรับประสานมาตรฐานสินค้า และการใช้บตั ร APEC Business Travel Card เป็นต้น) และ การลงทุนต่างๆ เช่นนี้ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อนำไปสู่ การเปิดเสรีการค้า ทั้งนี้ การรวมกลุ่มของเอเปคจนถึงปัจจุบัน ยึดหลักฉันทามติ (Consensus) และไม่มขี อ้ ผูกพันทางกฎหมาย (no legal binding) โดยกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน เพื่อเปิดเสรีการค้าการลงทุน หรือที่เรียกว่า เป้าหมายโบกอร์ (Bogor Goals) โดยสมัครใจ ภายในปี 2020 เวลาผ่านไป 27 ปี สมาชิกเอเปคเพิ่มขึ้นจาก 12 เป็น 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลปิ ปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป สหรัฐฯ เวียดนาม และไทย โดยมีประเทศในเขตเอเชีย-แปซิฟกิ แสดงความสนใจเข้ า เป็ น สมาชิ ก เอเปคอย่ า งต่ อ เนื ่ อ ง ไม่ว่าจะเป็นมองโกเลีย โคลัมเบีย หรือแม้แต่ประเทศอาเซียน ที่เหลืออีก 3 ประเทศคือ สปป.ลาว กัมพูชา และเมียนมา เนือ่ งจากเห็นว่าเอเปคมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ 30


ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจัดสัมมนาและการฝึกอบรมในเรื่องต่างๆ เพื่อช่วยเกื้อหนุนการดำเนินงานของสมาชิกเพื่อไปสู่เป้าหมาย การเปิดเสรีอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ เอเปคจัดประชุมระดับ ผูน้ ำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders Meeting: AELM) และรัฐมนตรี (APEC Ministerial Meeting: AMM) เป็นประจำทุกปี รวมทัง้ การประชุมรัฐมนตรีเอเปคในสาขาต่างๆ (Sectoral Ministerial Meetings) เพื่อทบทวนความคืบหน้า และสั่งการให้ดำเนินงาน โดยให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วม ของภาคเอกชน สำหรับคำแนะนำต่อภาครัฐในการดำเนินงาน ของเอเปค เพื่อเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุนในทิศทางทีส่ อดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม เอเปคเป็นแนวหน้าในการดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนและผลักดันประเด็นการเจรจาและการหารือการ เปิดเสรีการค้าระดับพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลกเสมอ เช่น การจัดตัง้ คณะอนุกรรมการด้านพิธกี ารศุลกากร โดยมีการหารือ เรื่องระบบ Single Window รวมทั้งเตรียมการเพื่อปฏิบัติ ตามความตกลงด้ า นการอำนวยความสะดวกทางการค้ า (Agreement on Trade Facilitation: TFA) ภายใต้ WTO การดำเนินการลดภาษีสนิ ค้าสิง่ แวดล้อมเอเปค 54 รายการตัง้ แต่ปี 2012 ให้แล้วเสร็จในปี 2015 เพื่อเป็นฐานในการเจรจาความ ตกลงสินค้าสิ่งแวดล้อมภายใต้ WTO (Environmental Goods Agreement: EGA) เป็นต้น

การเปิดเสรีการค้าของสมาชิกเอเปค นอกเหนือจากเป้าหมายโบกอร์ ของเอเปค และความตกลงการค้าเสรีอน่ื ๆ ภายในภูมภิ าคเอเชีย- แปซิฟิก อาทิ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership: TPP) การค้ า การลงทุ น ในเอเปค ได้ ท วี ค วามเข้ ม ข้ น มากขึ ้ น เพื ่ อ ปู ท างไปสู ่ ก ารเจรจาจั ด ทำ FTAAP แม้ เ อเปค จะยังคงเป็นเพียงเวทีดา้ นความร่วมมือ ในปี 2014 จีนเป็นเจ้าภาพ การประชุมเอเปคได้พยายามผลักดันให้เอเปคมีแผนการดำเนิน งานเพื่อนำไปสู่การเจรจาจัดทำ FTAAP ให้สำเร็จในปี 2025 โดยมีสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศผู้นำในการเจรจา TPP คัดค้าน ในที ่ ส ุ ด เอเปคประกาศแผนการดำเนิ น งานเพื ่ อ นำไปสู ่ การเจรจาจั ด ทำ FTAAP ซึ ่ ง มี เ ป้ า หมายจั ด ตั ้ ง ขึ ้ น โดยเร็ ว ที่สุด โดยในปี 2015 สมาชิกเอเปคกำลังร่วมกันจัดทำการศึกษา เชิงยุทธศาสตร์ในประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับการเจรจาจัดทำ FTAAP ประกอบด้วยประเด็นต่างๆ อาทิ การทบทวนสถานะทางเศรษฐกิจ ของภูมิภาคเอเปค การศึกษาความเหมือนความแตกต่างของ ความตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคี/ภูมิภาค (Free Trade Agreements/Regional Trade Agreements: FTAs/RTAs) ภายในภูมิภาค การวิเคราะห์อุปสรรคและโอกาสในการเจรจา จัดทำ FTAAP เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับใช้ประกอบการ พิจารณาจัดทำ FTAAP ในอนาคต ทั้งนี้ เอเปคจะสามารถ นำเสนอผลการศึกษาฯ ได้ภายในปี 2016 ซึง่ คาดว่าจะมีขอ้ เสนอ แนะเพื่อนำไปสู่การเจรจา FTAAP โดยเร็ว นอกจากนี้เอเปค ก็กำลังจัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพเพือ่ เตรียมความพร้อม ในการเปิดเสรีและรองรับระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิ จ ที ่ แตกต่างกันของสมาชิก อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูล FTAs/RTAs การจัดอบรมสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการในประเด็น ข้อบทการเจรจาใหม่ๆ

ก้าวสำคัญของการเปิดเสรี ก้าวสำคัญที่จะมุ่งไปสู่การเปิดเสรี เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2007 โดยเอเปคมีแนวคิดเรื่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ ใกล้ชดิ มากขึน้ ในภูมภิ าคผ่านการจัดทำเขตการค้าเสรีของเอเชียแปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific: FTAAP) ที่จะมีขอบเขตกว้างขวางและมีความเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นๆ อาทิ สิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของ

31


เอเปคให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของ วิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง (Small and Medium Enterprises: SMEs) ในเศรษฐกิจภูมิภาคและเศรษฐกิจโลก ในขณะเดียวกัน แต่ละปีเอเปคจะริเริม่ และบ่มเพาะ ประเด็นการค้าการลงทุนยุคใหม่ (Next Generation Trade and Investment Issues)1 ที่ควรจะถูกรวมอยู่ใน FTAAP ในปี 2015 ฟิลิปปินส์เจ้าภาพการประชุมเอเปคได้ผลักดันเรื่อง การค้าบริการ ซึ่งเป็นประเด็นการหารือในเวทีการค้ามาอย่าง ยาวนาน แต่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในโลกยุคใหม่ โดยเอเปคเห็นชอบกรอบความร่วมมือด้านบริการ ของเอเปค (APEC Services Cooperation Framework: ASCF) ซึ่งกำหนดทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ด้านการลดข้อจำกัดการค้า และการลงทุนภาคบริการ และการจัดทำแผนงานการพัฒนา ความสามารถในการแข่ ง ขั น ด้ า นบริ ก ารของเอเปค (APEC Services Competitiveness Roadmap) ในปี 2016 เพือ่ กำหนด การทำงานและเป้าหมายภาคบริการสำหรับปี 2025 ให้สมาชิก เอเปคปฏิรูปภาคบริการฝ่ายเดียวและเปิดตลาดการค้าบริการ มากยิง่ ขึน้ ในขณะเดียวกัน เอเปคก็ได้เห็นชอบแผนการดำเนินงาน เพื่อเปิดเสรีรายสาขาบริการ ได้แก่ บริการที่เกี่ยวเนื่องกับ การผลิต (Manufacturing Related Services) (ครอบคลุม 3 ช่วง การผลิต อาทิ บริการวิจยั /ออกแบบ/ทดสอบทางเทคนิค บริการ ด้านวิศวกรรม/การบริหารการผลิต บริการคลังสินค้า/ซ่อมบำรุง) และบริการสิ่งแวดล้อม (Environmental Services) สำหรับปี 2016-2020 โดยการหารือประเด็นบริการนี้มีแนวโน้มเข้มข้น มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สหรัฐฯ ผลักดันการค้าดิจิทัล/เศรษฐกิจ ดิจทิ ลั เป็นประเด็นการหารือใหม่ ซึง่ มีขอบเขตกว้างขวาง เกีย่ วข้อง กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจทีเ่ ทคโนโลยีเข้ามาเกีย่ วข้องมากมายโดย ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีคำนิยามและมาตรฐานที่ชัดเจนในเรื่อง ดั ง กล่ า ว ทั ้ ง นี ้ จากการเผยแพร่ ผ ลการศึ ก ษาของสหรั ฐ ฯ ในเรือ่ งดังกล่าว พบว่า สหรัฐฯ ให้ความสำคัญต่อการเคลือ่ นย้าย ข้อมูลข้ามพรมแดน โดยเห็นว่าการจัดเก็บฐานข้อมูลไว้ภายใน ประเทศ (Data Storage Localization) เป็นอุปสรรคต่อการค้า บริการดิจิทัล อย่างไรก็ตาม หลายประเทศ เช่น จีน รัสเซีย และอินโดนีเซีย มีกระแสคัดค้านการเคลื่อนย้ายข้อมูลการค้า

ข้ามพรมแดน เนื่องจากเหตุผลทางด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ (cyber security) ข้อเสนอของสหรัฐฯ จึงกลายเป็นเพียงการ จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการค้าดิจิทัล ในปี 2016 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม คาดว่า สหรัฐฯ จะผลักดันให้เอเปคจัดทำ วาระการดำเนินงาน/เป้าหมายของเอเปคในเรื่องการค้าสินค้า และบริการดิจทิ ลั และการเคลือ่ นย้ายข้อมูลการค้าข้ามพรมแดน ในอนาคตอันใกล้ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื ่ อ ลดอุปสรรค/เปิดเสรีการค้าต่อไป เอเปคให้ความเห็นชอบต่อแผนปฏิบตั เิ พือ่ นำ SMEs เข้ามีสว่ นร่วมในตลาดโลก ซึง่ กำหนดให้สมาชิกหารือและพิจารณา ปรับใช้มาตรการที่จะส่งเสริมความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล การค้ า (กฎระเบี ย บการนำเข้ า และส่ ง ออก) แหล่ ง เงิ น ทุ น การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีของวิสาหกิจดังกล่าว ภายในปี 2020 สำหรับไทยแล้ว เอเปคเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่ง ของความร่วมมือระดับภูมภิ าค นอกเหนือจากกรอบของอาเซียน ซึ่งตอบสนองกับภาวะเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ และภาวะ เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ที่จำเป็นต้องขยายตลาดการส่งออก และปรับตัวทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ที่ผ่านมา เอเปคเป็นเพียงกรอบเวทีความร่วมมือ การเปิดตลาด การค้าการลงทุนของสมาชิกเอเปคจึงขึ้นอยู่กับความพร้อมของ สมาชิก อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินงานของเอเปคในปัจจุบัน ซึ่งมี FTAAP เป็นเป้าหมายสำคัญ ประกอบกับการแข่งขันทาง การค้าระหว่างประเทศที่ทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้น จึงเป็นโอกาส อันดีของไทย ในการหารือระหว่างหน่วยงานเรือ่ งกรอบแผนงาน เชิงยุทธศาสตร์และการดำเนินงานการพัฒนาด้านต่างๆ ของไทย ซึ่งรวมถึงภาคบริการและเศรษฐกิจดิจิทัล ให้เป็นไปในทิศทาง เดียวกัน และตอบสนองต่อการกำหนดนโยบาย ทิศทาง และ การปฏิ ร ู ป ประเทศไทย พร้ อ มๆ กั บ การใช้ ป ระโยชน์ จ าก การดำเนินงานของเอเปคในเรือ่ งดังกล่าว สำหรับเป็นพืน้ ฐานใน การเตรียมการเข้าร่วมเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่มีขอบเขต กว้างขวางและมีคุณภาพสูงต่อไปในอนาคต

ในปี 2016 เปรู จ ะเป็ น เจ้ า ภาพการประชุ ม เอเปคโดยไทยจะเป็ น เจ้ า ภาพการประชุ ม เอเปค ในปี 2022 เราคงต้องติดตามกันต่อไปว่า เอเปคจะบ่มเพาะแนวคิดและพัฒนาการใหม่ๆ อะไรเพิ่มเติมบ้าง ท่านผู้อ่านก็คงเห็นแล้วว่า เอเปคนั้น เป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็นแหล่งความรู้ให้เราก้าวทันโลก ยุคใหม่จริงๆ เอเปค กำหนดแนวทางการจำแนกประเด็นการค้าการลงทุนยุคใหม่ 2 ประเภท คือ 1) ประเด็นที่ถือว่าเป็นประเด็นดั้งเดิม ต้องได้รับการจัดการในรูปแบบใหม่เนื่องจากบริบทและ สภาพแวดล้อมของการค้าโลกเปลี่ยนแปลงไป และ 2) ประเด็นที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนและไม่ถือเป็นประเด็นการค้าในอดีต แต่มีผลกระทบโดยตรงต่อการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน 1

32


รู้ยัง !!!

เราสามารถค้นหาอัตราภาษีจาก Thailand NTR คลังข้อมูลทางการค้าของไทยได้อย่างง่ายดาย โดย : สำนั ก การค้าสินค้า

Q : Thailand NTR คลังข้อมูลทางการค้าของไทย มีความสำคัญอย่างไร A : คลังข้อมูลทางการค้าของไทย เป็นแหล่งข้อมูลด้านการค้าสินค้าระหว่างประเทศของไทยทีร่ วบรวมทั้งพิกัดและอัตราภาษีศุลกากร นำเข้าของไทย และอัตราภาษีศลุ กากรนำเข้าทีไ่ ด้รบั สิทธิพเิ ศษภายใต้ความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศคูค่ า้ รวมทัง้ กฎระเบียบ ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศและข้อมูลต่างๆ ที่จะอำนวยความสะดวกทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการ ของอาเซียนในการดำเนินธุรกิจการค้าและการลงทุนในภูมิภาคได้อย่างคล่องตัว กฎเกณฑ์ชัดเจน โปร่งใสและเข้าถึงได้ง่าย และส่งเสริม การรวมกลุ่มกันเป็นตลาดเดียวภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อเป็นแหล่งข้อมูล ณ จุดเดียว ที่รวบรวมมาตรการทางการค้า และกฎระเบียบของประเทศสมาชิกทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการค้าสินค้าให้กับผู้ประกอบการ เข้าถึงแหล่งข้อมูลนี้ได้โดยผ่านระบบ อินเตอร์เน็ตบนเว็บไซต์ของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ที่ http://www.thailandntr.com/ และบนเว็บไซต์ ของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ที่ http://www.customs.go.th/ 33


Q : เราสามารถค้นหาอัตราภาษีใน Thailand NTR ได้อย่างไรบ้าง A : Thailand NTR มีความโดดเด่นในเรื่องการค้นหาข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกและลดระยะเวลาในการค้นหา ข้อมูลซึ่งระบบจะแสดงผลการค้นหาทั้งด้านรายละเอียดสินค้า พิกัดศุลกากร อัตราอากรทั่วไปของไทย (MFN) และ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งข้อมูลภาษีภายใต้ความตกลงการค้าเสรีต่างๆ ของไทย (FTA) ทั้งในกรอบอาเซียน และระดับทวิภาคี เช่น อาเซียน (ATIGA) อาเซียน-จีน (ACFTA) ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ไทย-เปรู (TPFTA) และอาเซียนออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) เป็นต้น ทั้งนี้ สามารถค้นหาอัตราภาษีใน Thailand NTR ได้ 2 วิธี วิธีที่ 1 ค้นหารายสินค้า สามารถพิมพ์ค้นหา รายสินค้าได้ที่ช่อง “คำค้นหา”

วิธีที่ 2 ค้นหาพิกัดศุลกากร

คลิกหัวข้อ “คลังข้อมูลการค้า” และเลือก “พิกัดศุลกากร”

พิมพ์ค้นห้าข้อมูลได้ที่ช่อง “คำสำคัญ”

กรณีทราบพิกัด HS สินค้า พิมพ์เลขพิกัดได้ที่ช่อง “พิกัดศุลกากร”

34


วิธีการทั้ง 2 ข้างต้นนี้จะแสดงผลรายการที่ค้นหาทั้งหมด และสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมแต่ละรายการได้โดย คลิกที่เครื่องหมาย “+” ที่มีความสนใจ และสามารถตรวจสอบรายละเอียดของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอัตราอากร ทั่วไปของไทย (MFN) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า และกฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้า พร้อมทั้งข้อมูลภาษี ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีตา่ งๆ ของไทย (FTA) ทัง้ ในกรอบอาเซียนและระดับทวิภาคี อาทิ อาเซียน (ATIGA) อาเซียนออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) อาเซียน-อินเดีย (AIFTA) อาเซียน-จีน (ACFTA) อาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) อาเซียนเกาหลี (AKFTA) ไทย-เปรู (TPFTA) เป็นต้น ซึ่งจะปรากฎผลรายละเอียดข้อมูลดังต่อไปนี้

คลิกเครื่องหมาย “+” เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

เลือกประเทศคู่เจรจา ที่ต้องการ

35


เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 ระบบ Thailand NTR ได้เชื่อมโยงเข้ากับคลังข้อมูลทางการค้าของอาเซียน (ASEAN Trade Repository) แล้ว ซึ่งผู้ประกอบการจะสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการนำเข้าส่งออกของ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ ณ จุดเดียว ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.atr.asean.org ซึ่งช่วยเพิ่มช่องทางการเข้าถึง แหล่งข้อมูลทางการค้าได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลาได้มากยิ่งขึ้น

36


การประชุม RCEP-TNC ครั้งที่ 10

วันที่ 7-16 ตุลาคม 2558 นางสาวสุนนั ทา กังวาลกุลกิจ รองอธิ บ ดี ก รมเจรจาการค้ า ระหว่ า งประเทศ เข้ า ร่ ว มประชุ ม คณะกรรมการเจรจาการค้าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ระดั บ ภู ม ิ ภ าค ครั ้ ง ที ่ 10 และการประชุ ม อื ่ น ๆ ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ ง (Regional Comprehensive Economic Partnership - Trade Negotiating Committee: RCEP-TNC) ณ เมืองปูซาน สาธารณรัฐ เกาหลี

หารือผู้บริหารบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ ของฝรั่งเศส วันที่ 15 ตุลาคม 2558 นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยผู้แทนไทยได้เข้าพบหารือ กับผู้บริหารระดับสูงของบริษัท Casino group (บริษัทค้าปลีก รายใหญ่ของฝรั่งเศส) บริษัท Michelin และผู้แทนจากหน่วย กองทุนฝรั่งเศส ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

อธิบดี กรมเจรจาฯ ร่วมประชุม HLED ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส วันที่ 16 ตุลาคม 2558 นางสาวศิรินารถ ใจมั่น อธิบดี กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เข้าร่วมประชุมเจ้าหน้าทีร่ ะดับสูงด้าน เศรษฐกิจ (High Level Economic Dialogue: HLED) ระหว่างไทย กั บ ฝรั ่ ง เศส ซึ ่ ง เป็ น เวที ใ นการส่ ง เสริ ม ความร่ ว มมื อ และพั ฒ นา ความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ ณ กระทรวง เศรษฐกิจและการคลัง กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

37


การสัมมนาในโครงการเพื่อเสริมสร้าง

ความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของไทย วันที่ 22 ตุลาคม 2558 นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานในพิธีเปิด การสัมมนา พร้อมเข้าร่วมเสวนาในโครงการเพือ่ เสริมสร้างความสามารถ ในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของไทย ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ กรุงเทพฯ

การประชุม STEER ครัง้ ที่ 4 วันที่ 27 ตุลาคม 2558 นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายลิม ฮึง เคียง รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ เป็นประธานร่วมในการ ประชุมขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจสิงคโปร์–ไทย (SingaporeThailand Enhanced Economic Relationship: STEER) ครั้งที่ 4 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพ ณ โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ

รมว.พาณิชย์ บังคลาเทศเยีย่ มคารวะ รมว.พาณิชย์ ไทย วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 H.E. Mr. Tofail Ahmed รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์บังกลาเทศ ได้เข้าเยี่ยมคารวะ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เนื่องใน โอกาสเดินทางมาไทยเพือ่ เข้าร่วมการประชุม Asia Pacific Business Forum 2015 และการประชุม Trade and Investment of UNESCAP ทีป่ ระเทศไทย ระหว่างวันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องรับรองชัน้ 11 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

38


รมว.พาณิชย์ ลงนามอาเซียน-จีน ในการประชุมสุดยอดผูน้ ำอาเซียน วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมพิธีลงนามอาเซียน-จีน ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 27 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

การสัมมนาในโครงการเพื่อเสริมสร้าง

ความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของไทย วั น ที ่ 23 พฤศจิ ก ายน 2558 นางสาวสิ ร ิ พ รรณ ลิ ข ิ ต วิ ว ั ฒ น์ รองอธิ บ ดี ก รมเจรจาการค้ า ระหว่ า งประเทศ เป็ น ประธานเปิ ด โครงการถ่ า ยทอดเรื ่ อ งราวทางเศรษฐกิ จ ครั้งที่ 1 เรื่อง FTA ส่งออก ง่ายกว่าที่คิด และ DTN Consultation Day ครั้งที่ 2 ปี 2559 เรื่อง FTA โอกาสทางการค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุน ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ

การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้าการลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน ครัง้ ที่ 4 เมือ่ วันที่ 17 ธันวาคม 2558 ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการ ประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน ครัง้ ที่ 4 (Joint Committee on Trade, Investment and Economic Cooperation) โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพทิ กั ษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายไทย และนายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐของจีน (เทียบเท่ารองนายกรัฐมนตรี) เป็นประธาน ฝ่ายจีน พร้อมด้วยรัฐมนตรีจากหน่วยงานด้านเศรษฐกิจทีเ่ กีย่ วข้อง ณ ตึกสันติไมตรีหลังใน ทำเนียบรัฐบาล

39



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.