วารสารการค้าระหว่างประเทศ ฉบับที่ 13

Page 1

ปที่ 3 ฉบับที่ 13 กรกฎาคม - กันยายน 2559

เจน นําชัยศิร�

ประธานสภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย

ä·Â¤Ãͧʋǹẋ§µÅÒ´ÊÔ¹¤ŒÒà¹×éÍä¡‹ ã¹ÊËÀÒ¾ÂØâû䴌ÍÕ¡¤ÃÑé§

»ÃÐà´ÔÁ AEM ¤ÃÑé§ááËÅѧࢌÒÊÙ‹ AEC Í‹ҧ໚¹·Ò§¡ÒÃ

ä·Â-àÁÕ¹ÁÒ ÊÒ¹ÊÑÁ¾Ñ¹¸ à¾×èÍâÍ¡ÒÊ áÅÐ͹Ҥµ


P.10

P.04 Exclusive Interview

P.04

àÅ‹ÒÊÙ‹¡Ñ¹¿˜§

P.17

P.10

ࢌÒã¨ãªŒ»ÃÐ⪹

P.21

P.13

Special Report

คุณเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย

FTA Society

ไทยครองสวนแบงตลาดสินคาเนื้อไก ในสหภาพยุโรปไดอีกครั้ง

AEC Beyond

ไทย-เมียนมา สานสัมพันธเพื่อโอกาสและอนาคต

P.24

P.19

P.13

เทีย่ วนีม้ เี ฮ! ไตหวันเตรียมยกเวนวีซา ใหไทยแลว

กฎระเบียบดานการลงทุนในกัมพูชา

P.25

ประเดิม AEM ครั้งแรกหลังเขาสู AEC อยางเปนทางการ

P.25

360 ¡ÒäŒÒâÅ¡

P.28

Q&A

P.33

DTN Report

P.36

‘ธุรกิจแฟรนไชส’ โอกาสของไทยในตางประเทศ

รูทันการเมืองสหรัฐฯ : TPP จะผานสภาฯ ไดทันการเลือกตั้ง 2016 หรือไม

P.28


E

DITOR’S Talk

»‚·èÕ 3 ©ºÑº·Õè 13 ¡Ã¡®Ò¤Á - ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2559

¤Ø¡ѹ¡‹Í¹

ถึงแม้ว่า จะเป็นช่วงสิน้ ปีงบประมาณทีท่ กุ คนต้องทำงานกันอย่างเร่งรีบ

และเหน็ดเหนือ่ ย แต่ทางบรรณาธิการก็ยงั คัดสรรเนือ้ หาสาระทีเ่ ป็นประโยชน์สำหรับ ท่านผูอ้ า่ นเช่นเคย โดยเฉพาะในช่วงนีท้ ร่ี ฐั บาลมุง่ เน้นให้ความสำคัญในการพัฒนาให้ ไทยมุ่งสู่การเป็น “Thailand 4.0” ทำให้ทุกคนต้องเร่งพัฒนาตนเองและปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการทำงานหรือการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อให้ทันต่อโลก ยุคดิจทิ ลั สำหรับวารสารการค้าระหว่างประเทศฉบับนี้ เราได้รบั เกียรติจากคุณเจน นำชัยศิริ บุคคลสำคัญแห่งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้สมั ภาษณ์พเิ ศษในประเด็นสุดฮอต “อุตสาหกรรม 4.0 เป็นอย่างไร เหมือนกับ Thailand 4.0 หรือไม่” ซึง่ ถือว่าเป็นอีกหนึง่ ภาคส่วนทีเ่ ป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาให้กลุม่ อุตสาหกรรมไทยประสบผลสำเร็จ และ สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ นอกจากนี้ เรายังมีเรื่องราวจากทั่วโลกที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคอลัมน์ “FTA Society” ทีน่ ำเสนอเกีย่ วกับตลาดสินค้าเนือ้ ไก่ ทีไ่ ทยเราสามารถครองส่วนแบ่ง ตลาดในสหภาพยุโรปได้อกี ครัง้ สำหรับคอลัมน์ “เข้าใจใช้ประโยชน์” นำเสนอเกีย่ วกับ กฎระเบียบด้านการลงทุนในกัมพูชา ซึง่ นับว่าเป็นอีกหนึง่ ในประเทศสมาชิกอาเซียนทีน่ า่ ลงทุน เพราะว่าสินค้าส่งออกจากกัมพูชาจะได้รบั สิทธิพเิ ศษทางภาษีจากตลาดสำคัญ อาทิ สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ทีส่ ำคัญนักลงทุนต่างชาติยงั สามารถไปลงทุนในกัมพูชาได้ถงึ 100% นอกจากนี้ คอลัมน์ “เล่าสูก่ นั ฟัง” ก็อา่ นกันแบบเพลิดเพลินสนุกสนาน แต่มสี าระ น่ารูใ้ ห้อพั เดทไม่ตกเทรนด์ พบกับ “เทีย่ วนีม้ เี ฮ ! ไต้หวันเตรียมยกเว้นวีซา่ ให้ไทยแล้ว” รับรองว่าเข้มข้นทุกเม็ด ทิง้ ทวนเล่มสุดท้ายของปีงบประมาณ 2559 แล้วพบกันฉบับหน้า ฟ้าใหม่ บรรณาธิการ

ปที่ 3 ฉบับที่ 13 กรกฎาคม - กันยายน 2559 ปที่ 3 ฉบับที่ 13 กรกฎาคม - กันยายน 255 9

เจน นําชัยศิร� เจน นําชัยศิร �

ประธานสภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย ประธานสภาอ ุตสาหกรรมแห ä·Â¤ÃÍ§Ê ¹áº‹ งประเทศไทย §µÅÒ´ÊÔ¹¤ŒÒà¹×éÍ ã¹ÊËÀҾ‹ÇØâÃ»ä´ ä¡‹ »ÃÐà´ÔÁ ŒÍÕ¡¤ÃÑé§ ¤ÃÑé§ ÅѧࢌÒÊÙ AEC Í‹ÒAEM ‹ §à»š¹·Ò§¡áÃ¡Ë ä·Â-à âÍ¡ÒÊ Í è ¾× à ¸ ¹ ¾Ñ Á ÊÒ¹ÊÑ ÒÊÙ‹ ÁÕ¹ÁÒä·Â-àÁÕ AEM ¤ÃÑé§ááËÅѧࢌáÅÐÍ »ÃÐà´ÔÁ Òà ÊҹʹÁÒ ä·Â¤Ãͧʋǹẋ§µÅÒ´ÊÔ¹¤ŒÒà¹×éÍä¡‹ ÑÁ¾Ñ¹¸ à¾×èÍâÍ¡ÒÊ ¹Ò¤µáÅÐ͹Ҥµ AEC Í‹ҧ໚¹·Ò§¡Òà ã¹ÊËÀÒ¾ÂØâû䴌ÍÕ¡¤ÃÑé§

¨Ñ´·Óâ´Â ¤³Ð·Ó§Ò¹ÇÒÃÊÒáÒäŒÒÃÐËÇ‹Ò§»ÃÐà·È ¡ÃÁà¨Ã¨Ò¡ÒäŒÒÃÐËÇ‹Ò§»ÃÐà·È ¡ÃзÃǧ¾Ò³ÔªÂ


เจน นำชัยศิริ

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ยุทธศาสตร์สำคัญที่รัฐบาลพยายามผลักดัน

เพือ่ นำไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ ทีข่ บั เคลือ่ นด้วย เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ประเทศไทย 4.0 นั้น แน่นอนว่า จะต้องมี “ภาคอุตสาหกรรม” ซึง่ เป็นภาคส่วนสำคัญในการเป็น กลไกหลั ก ขั บ เคลื ่ อ นนโยบายเพื ่ อ ให้ บ รรลุ ย ุ ท ธศาสตร์ ข อง ประเทศ วารสารการค้าระหว่างประเทศฉบับนี้ จึงเข้าพบ เพื่อสัมภาษณ์ผู้นำองค์กรสำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทย “คุณเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วาระปี 2559-2561” อันเป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ของประเทศ

สถานการณ์ของภาคอุตสาหกรรมไทยในปี 2559 สถานการณ์ของอุตสาหกรรมในปีนี้ เป็นสถานการณ์ ที่ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบโลกที่มีความผันผวน ปรับตัวลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ส่งผลปัจจัยด้านบวกทำให้ ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ลดลง ในขณะเดียวกันด้านปัจจัยลบนั้น ก็ทำให้ราคาสินค้าที่ผลิตก็ลดลงตามไปด้วย โดยเฉพาะสินค้า ที่มีพื้นฐานมาจากปิโตรเคมี เช่น พลาสติก จะเห็นได้ชดั ว่าราคา ปรับตัวลดลงไปมาก แม้กระทั่งสินค้าเกษตรที่มีส่วนประกอบ

ของปิโตรเคมี ในการผลิตยางสังเคราะห์ และยางธรรมชาติ ซึง่ เมือ่ ยาง สังเคราะห์ราคาปรับลดลงอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันราคายาง ธรรมชาติก็ลดลงตามไปด้วย นั่นคือสาเหตุที่ทำให้ปีที่ผ่านมา ต้องเผชิญกับปัญหาราคายางค่อนข้างมาก ปีนี้มีการปรับตัวสูง ขึ้นมาเล็กน้อย โดยเมื่อช่วงต้นปี มีการปรับตัวมาอยู่ในระดับ ต่ำสุด เกือบ 30 เหรียญสหรัฐ คาดว่าน่าจะต่ำทีส่ ดุ แล้ว หลังจากนัน้ เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น ราคายางก็ปรับขึ้นตามไปด้วย รวมทั ้ง


สินค้าอื่นก็ฟื้นตัวเช่นกัน การค้าขายเริ่มคึกคักขึ้น ส่วนภาค อุตสาหกรรมสามารถเดินเครื่องกำลังการผลิตได้เต็มที่มากขึ้น ทั้งนี้ หากคาดการณ์จนถึงสิ้นปี 2559 คาดว่าอุตสาหกรรม น่าจะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจของประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภาคการส่งออกในครึ่งปีหลังคาดว่าตัวเลขน่าจะดีกว่าครึ่งปีแรก เพราะครึ่งปีแรกตัวเลขยังคงติดลบค่อนข้างมาก ส่วนครึ่งปีหลัง ตัวเลขน่าจะมีบวกขึ้นมาเล็กน้อย แม้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วอาจจะ ยังคงติดลบอยู่ ด้านอุตสาหกรรมที่สำคัญอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง อย่าง อุตสาหกรรมอาหาร จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก เนื่องจาก มีสดั ส่วนสำคัญ ทัง้ ในด้านการส่งออกและภายในประเทศ แต่ทง้ั นี้ ในภาพรวมแล้ว ยังอยูใ่ นเกณฑ์ทด่ี มี าก ทัง้ วัตถุดบิ อาหารสำเร็จรูป อาหารกึง่ สำเร็จรูป และเครือ่ งดืม่ จำพวกน้ำผลไม้ ทีย่ งั เติบโตได้ดี สำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัล ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการบริการ (services) ซึ ่ ง สภาอุ ต สาหกรรมฯ ก็ ม ี ค วามตื ่ น ตั ว มากใน อุตสาหกรรมนี้ เพราะเป็นหนึง่ ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีโอกาส ขยายตัวและเติบโตได้อีกมาก โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ ซึ่งกำลังเป็น ที่ต้องการเพื่อใช้ในภาคธุรกิจบริการ แต่อย่างไรก็ตามแรงงาน บุคลากรยังไม่เพียงพออยู่ในขณะนี้ และทางภาคอุตสาหกรรม ยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง

การเตรียมความพร้อมของผูป้ ระกอบการในภาคอุตสาหกรรมตามแนวทางการปฏิรปู โครงสร้าง ทางเศรษฐกิจของรัฐบาล เพือ่ ไปสูไ่ ทยแลนด์ 4.0 เรื่อง 4.0 เป็นเรื่องที่กำลังกล่าวถึงกันมากในขณะนี้ เพราะต่างก็ต้องการที่จะพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากกับดัก รายได้ปานกลาง ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจประเทศไทย เติบโตจากสินค้าเกษตร จากนั้นมา ก็เข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์ ประเทศต่างๆ ได้มงุ่ พัฒนาสูก่ ารเป็นประเทศอุตสาหกรรมมากขึน้ เป็นยุคแห่งการผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า แต่ต่อมาก็ได้มี การส่ ง เสริ ม การลงทุ น จากต่ า งประเทศโดยให้ ไ ทยเป็ น ฐาน


การผลิตเพื่อการส่งออก เกิดการสร้างงาน คนมีงานทำ และใช้ วัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนแรงงานที่มีอยู่ได้อย่าง เต็มที่ และเมื่อประเทศไทยได้ติดอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง ดังนัน้ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเข้าสูย่ คุ ของการพัฒนา ทีเ่ รียกว่า Thailand 4.0 ทีจ่ ะต้องพัฒนาสินค้าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพิ่มเติมการออกแบบที่ใส่ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างขีดความ สามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเป็น หัวใจสำคัญและเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้ประเทศมี ความสามารถในการแข่งขันทีม่ ากขึน้ โดยได้พยายามสือ่ สารให้ กับผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมฯ ให้เข้าใจว่า ไทยแลนด์ 4.0 จะมุ่งมั่นไปในทิศทางใด อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่จะไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 นั้น เป็นนโยบายภาครัฐ ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมกำลัง ผลักดันอยู่ในขณะนี้ คือ “Industry 4.0 (อุตสาหกรรม 4.0)” เป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมยุคที่ 4 โดยการใช้ไอทีเข้ามาช่วย ตลอดกระบวนการผลิตทั้งหมด ทั้งนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรม เริ่มจากยุคแรกซึ่งเป็นยุคของหัตถกรรมก่อน ต่อมาพัฒนาเป็น ยุคที่ 2 ทีม่ กี ารใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เครือ่ งจักรไฟฟ้า และพลังงานไฟฟ้า ขึ้นมา สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากขึ้น ประสิทธิภาพสูงขึ้น (Mass Production) ยุคถัดมาคือยุคที่ 3 เป็นยุคที่ใช้แรงงาน คนน้อยลงไปอีก มีการพัฒนาเครื่องจักรกลระบบอัตโนมัติ และ หุ่นยนต์ (Robot) มาใช้ในภาคการผลิตได้มากขึ้น หากจะพัฒนาอุตสาหกรรมให้ก้าวไปสู่ยุค 4.0 รวมไปถึง การเพิ่มขีดความสามารถ และเพิ่มผลิตภาพของอุตสาหกรรม ไทยได้นั้น ในต่างประเทศก็เป็น 4.0 ในบางอุตสาหกรรมเท่านั้น คือ เฉพาะอุตสาหกรรมทีส่ ามารถยกระดับการผลิตทัง้ หมดขึน้ ไป อยู่บน digital platform คือ ใช้ดิจิทัลทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นอย่างนี้


ได้เพราะมีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคหรือโครงสร้างพื้นฐาน ทางด้ า นดิ จ ิ ท ั ล เครื ่ อ งจั ก รต่ า งสามารถสื ่ อ สารกั น เองได้ ใ น กระบวนการผลิตทัง้ หมดโดยทีค่ นไม่ตอ้ งไปเกีย่ วข้อง เพราะฉะนัน้ สินค้าสามารถยกระดับเป็น Mass Customization มากขึ้น ซึ่ง สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันได้ เช่น รถยนต์ ลูกค้าสามารถที่จะสั่งได้ตั้งแต่เริ่มต้น ตอบสนองได้เป็น คันๆ ไป ซึ่งจะเกิดเช่นนี้ได้เมื่อกระบวนการผลิตเป็น Industry 4.0 อย่างไรก็ตาม ผูป้ ระกอบการส่วนใหญ่ขณะนีย้ งั เป็น Industry 2.0 การผลิตยังเป็นลักษณะ Mass Production ซึ่งต้องพึ่งพา แรงงานคนอยู่ แม้ว่าจะมีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จนเป็น ที่มาของการนำเข้าแรงงานต่างด้าว ดังนั้น การเปลี่ยนจาก Mass Production มาเข้าสูร่ ะบบอัตโนมัตจิ งึ ยังค่อนข้างทีจ่ ะช้าอยูม่ าก

เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเป็น หัวใจสำคัญ และเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลือ่ นให้ประเทศมีความสามารถ ในการแข่งขันสูงขึน้

สำหรับ Mass Customization นี้จำเป็นต้องเข้าใจ ความต้องการของตลาด การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตของ ผู้ประกอบการได้นั้น ต้องแล้วแต่ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ต้องรูจ้ กั วิธกี ารทำธุรกิจทีแ่ ตกต่างและฉีกแนวออกไป ขณะนีม้ บี าง อุตสาหกรรมได้เปลี่ยนไปแล้ว และประสบความสำเร็จด้วย เช่น อุตสาหกรรมการพิมพ์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัล เกือบทั้งหมดแล้ว ซึ่งกระดาษและการพิมพ์จะถูกใช้ลดน้อยลง จึงได้มีการปรับตัวให้สอดคล้องต่อความเจริญที่รุดหน้าจาก การพิมพ์สิ่งพิมพ์ไปสู่การพิมพ์บรรจุภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม หากผูป้ ระกอบการอุตสาหกรรมไม่สามารถ ปรับตัวให้ทนั กับกระแสการเปลีย่ นแปลงนี้ ก็จะไม่สามารถแข่งขัน หรืออยู่รอดได้ ทำให้ต้องปิดกิจการไป เพราะเห็นว่ายังพอมีเวลา ซึ ่ ง ได้ ม ี ก ารชี ้ ใ ห้ ส มาชิ ก เห็ น ความสำคั ญ และการเร่งปรับตัว ดังคำที่ว่า “ประมาโท มั จ จุ โ นปะทั ง ” ความประมาทเป็ น ทางแห่งความตาย


หลังการลงประชามติไปแล้วทิศทางของอุตสาหกรรมในปี 2560 จะเป็นอย่างไร ผลการออกเสียงประชามติที่มี 2 ทิศทาง ทางหนึ่งต้อง การเร่งให้จัดการเลือกตั้งให้เร็วที่สุด เพื่อให้การลงทุนจาก ต่างประเทศกลับมาคึกคักอีกครั้ง แนวทางการแก้ปัญหา IUUICAO ก็ จ ะมี แ นวโน้ ม ในการแก้ ไขที ่ ด ี ข ึ ้ น ในขณะเดี ย วกั น อีกแนวคิดหนึง่ ต้องการให้ชะลอไว้กอ่ น เพราะไม่ตอ้ งการให้กลับ ไปสู่วังวนแบบเดิมๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งอีก สถานการณ์ ขณะนี้สงบนิ่งดีแล้ว ให้เป็นอย่างนี้ต่อไปอีกสักระยะหนึ่งดีกว่า อย่างไรก็ตาม สภาอุตสาหกรรมฯ ได้มีการสื่อสารไปยัง ผูป้ ระกอบการให้หนั มองออกไปภายนอกประเทศด้วย ไม่ควรมอง อยู่ในประเทศเพียงอย่างเดียว เพราะการทำการค้าซึ่งหลีกหนี ไม่พ้นที่จะต้องติดต่อกับต่างประเทศ อย่างเช่นกรณี TPP ไทยยัง ไม่มคี วามตกลงการค้าเสรีดว้ ย ซึง่ อาจทำให้ซพั พลายเชนเปลีย่ นไป และอาจจะทยอยออกจากประเทศไป เนื่องจากไทยเป็นหนึ่งใน ซัพพลายเชนสำคัญของโลก อีกทั้ง TPP จะช่วยเปิดตลาดใน 3 ประเทศ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ และไทยยังไม่มี FTA ด้วย ได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก ในขณะที่ RCEP นัน้ ไทยมีการเจรจา FTA แล้วกับทั้ง 16 ประเทศสมาชิก ดังนั้น ถ้าไทยไม่เข้าร่วม ความตกลง TPP แล้วมาร่วมตกลงทำ RCEP แทน ก็จะเหมือน กับเป็นการเร่งให้ประโยชน์แก่ประเทศ RCEP อื่นที่ยังไม่มี FTA ระหว่างกัน เช่น จีนกับอินเดีย เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลต้องพิจารณา

และชั่งน้ำหนักระหว่างผลดี-ผลเสีย ขณะนี้โลกเปลี่ยนไปแล้ว ไทยต้องปรับตัวให้ทัน และภาครัฐควรเร่งสรุปแนวทางและ ความเป็นไปได้ของการเจรจาความตกลง TPP พร้อมมาตรการ เยียวยา ทัง้ นี้ สภาอุตสาหกรรมฯ มีความยินดีทจ่ี ะให้ความร่วมมือ อย่างเต็มที่ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยบูรพาได้มีการจัดทำกรณี ศึกษา โดยได้มกี ารเข้าไปสัมภาษณ์ผปู้ ระกอบการภาคตะวันออก ในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ในประเด็นเรื่องการไปลงทุน ในต่างประเทศ ผลสำรวจความคิดเห็นระบุว่า สปป. ลาว เป็น ประเทศทีน่ า่ ลงทุนอันดับหนึง่ ทัง้ ๆ ทีม่ ปี ระชากรน้อย เป็นประเทศ ไม่มที างออกทะเล แม้จะมีทรัพยากรมาก แต่โอกาสในเชิงพาณิชย์ แล้วมีน้อยมาก ปรากฏว่า เหตุผลที่เลือกประเทศลาวสามารถ สื่อสารโดยใช้ภาษาไทยได้โดยที่ไม่ต้องไปเรียนภาษาใหม่ ทำให้ เกิดความห่วงกังวลขึน้ ว่า หากผูป้ ระกอบการมีแนวคิดอย่างนีแ้ ล้ว ประเทศไทยจะไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างไร ซึ่งอันดับแรก ต้องมีคนไทย 4.0 ก่อน คนไทย 4.0 คือ คนที่ outwardlooking/positive thinking กล่าวคือ ต้องเปิดใจ ต้องแสวงหา โอกาสที่อยู่รอบๆ ตัวเรา อย่าเพียงต้องการความง่ายและ สะดวกสบายเพียงอย่างเดียว


ปรัชญาการดำเนินชีวิตการทำงานของท่าน

Idea inspires idea

หรือ ความคิดเกิดจากความคิด บางครั้ง การคิดคนเดียวไม่พอ ต้องช่วยกันคิด คิดหลายๆ คน การระดมสมอง จึงเป็นประโยชน์

คิดว่าตัวเองยังมีคุณค่าสามารถที่จะทำงานได้อยู่ก็จะ ทำอย่างเต็มที่ ทีส่ ำคัญต้องขึน้ อยูก่ บั โอกาสทีจ่ ะได้แสดงศักยภาพ ในตัวเราด้วย การพัฒนาต้องมีอย่างต่อเนื่อง การไม่หยุดที่จะ คิดจะช่วยให้เกิดการต่อยอด ยิ่งเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่ เข้ามากระทบมากเท่าไร ก็จะทำให้ความคิดมีความกว้างขวาง มากขึ้น ส่วนตัวเชื่อในเรื่องของ “Idea inspires idea หรือ ความคิดเกิดจากความคิด” บางครั้งการคิดคนเดียวไม่พอ ต้องช่วยกันคิด คิดหลายๆ คน การระดมสมองจึงเป็นประโยชน์ คิดแล้วต้องแสดงความคิดเห็นด้วย พร้อมกับฟังเสียงสะท้อน กลับมาเพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง เชื่อว่าความสามารถของเราพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่หยุดที่จะพัฒนา เมื่อมองย้อนหลังกลับไป มีความรู้สึกว่า ตัวเองทำอะไรได้หลายอย่าง เมื่อก่อนนี้ไม่เคยคิดว่าจะทำและ ไม่เคยคิดว่าจะทำได้ มีหลายอย่างทีต่ อ้ งอาศัยความกล้าทีจ่ ะลอง ต้องมีความสนใจ กระตือรือร้นที่จะทำสิ่งใหม่ๆ หากสิ่งนั้น เป็นประโยชน์ นี้คือปรัชญาในการทำงาน แล้วยิ่งได้เจอกับสิ่งที่ เข้ามาท้าทายใหม่ๆ รวมทั้งมีเรื่องของภารกิจที่เข้ามา ก็มุ่งมั่น ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ คิดว่าสิ่งนั้นจะเป็นตัวส่งให้เรามี ภูมิต้านทานขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าสมองเราจะหยุดเติบโตตั้งแต่ 10 ขวบ แต่เรามีสมองมากกว่าที่ใช้จริงคือส่วนที่ยังใช้ไม่เต็ม ศักยภาพไม่ถึงครึ่งของศักยภาพ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องห่วงกังวล ว่าสมองไม่โตหรือใช้สมองเต็มที่หรือไม่ ก็ต้องใช้ให้เกิดเป็น ประโยชน์


ไทยครองสวนแบงตลาด

สินคาเนื้อไกในสหภาพยุโรปไดอีกครั้ง โดย สำนักการค้าสินค้า

ปัจจุบัน การบริโภคเนื้อไก่ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 81.9 ล้านตัน ในปี 2555 เป็นประมาณ 87.4 ล้านตันในปี 2559 ประเทศผูบ้ ริโภคเนือ้ ไก่ทส่ี ำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (17.8%) รองลงมาคือ จีน (14.5%) สหภาพยุโรป (11.9%) และบราซิล (11.0%) ขณะที่การบริโภคเนื้อไก่ของไทยคาดว่าอยู่ที่ประมาณ 1.635 ล้านตัน1 จึงทำให้การผลิตเนือ้ ไก่ของโลกมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ งเช่นกัน จาก 83.5 ล้านตัน ในปี 2555 เป็นประมาณ 89.7 ล้านตัน ในปี 2559 โดยสหรัฐฯ เป็นประเทศผู้ผลิตราย ใหญ่ที่สุด (20.6%) รองลงมา ได้แก่ บราซิล (15.1%) จีน (14.2%) และสหภาพยุโรป (12.0%) ขณะที่ไทยมีปริมาณการผลิต 1.9% ของผลผลิตรวมของโลก

การค้าเนื้อไก่ของโลก สถานการณ์การส่งออกเนื้อไก่ของโลกขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 10.1 ล้านตัน ในปี 2555 เป็นประมาณ 10.8 ล้านตัน ในปี 2559 ประเทศผู้ส่งออกเนื้อไก่รายใหญ่ของโลก ได้แก่ บราซิล (38.0%) สหรัฐอเมริกา (28.4%) สหภาพยุโรป (11.0%) ไทย (5.9%) และจีน (3.5%) ในขณะเดียวกันการนำเข้าเนือ้ ไก่ของโลกก็มแี นวโน้มขยายตัวจาก 8.5 ล้านตัน ในปี 2555 เป็นประมาณ 8.7 ล้านตัน ในปี 2559 โดยประเทศที่นำเข้าเนื้อไก่รายใหญ่ ได้แก่ ญี่ปุ่น (10.4%) ซาอุดิอาระเบีย (10.3%) เม็กซิโก (9.2%) สหภาพยุโรป (8.2%) และอิรัก (7.7%) สรุปสถานการณ์สินค้าเกษตรเดือนพฤษภาคม และแนวโน้มเดือนมิถุนายน 2559, กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 1 กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

1

10


การค้าสินค้าเนื้อไก่ของไทย ไทยจั ด เป็ น ประเทศที ่ ม ี ศ ั ก ยภาพในการผลิ ต และ ส่งออกเนื้อไก่ประเทศหนึ่งของโลก จากข้อมูลของกระทรวง เกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ไทยผลิตเนื้อไก่ได้ประมาณเกือบ 2% ของผลผลิตไก่โลก และส่งออกมากเป็นอันดับ 4 รองจากบราซิล สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (ประมาณ 5-6% ของปริมาณ การส่งออกไก่ของโลก) ผลผลิตไก่เนือ้ เกือบ 70% ใช้ภายในประเทศ ที่เหลืออีกประมาณ 30% ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ โดยมี การนำเข้าไก่แช่แข็งและไก่ปรุงสุกบ้างในปริมาณที่ค่อนข้างน้อย ในแต่ละปี2

60% ที่เหลือเป็นการส่งออกไก่แปรรูปเป็นหลัก จนในช่วง ปลายปี 2546 เกิดปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ส่งผล ให้ประเทศคู่ค้าต่างๆ ของไทยมีมาตรการห้ามนำเข้าเนื้อไก่สด จากไทย ทัง้ นี้ ตัง้ แต่ปี 2547 เป็นต้นมา การส่งออกสินค้าไก่ของไทย จึงปรับเปลีย่ นจากไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเป็นไก่แปรรูปเกือบทัง้ หมด จนกระทั่งกรมปศุสัตว์สามารถควบคุมการระบาดและติดเชื้อ ไข้หวัดนกได้ และองค์การสุขภาพสัตว์โลก (World Organisation for Animal Health-OIE) ได้ยืนยันสถานะปลอดไข้หวัดนก ของไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 25523 ทำให้ประเทศต่างๆ ทยอย ที่ผ่านมา การส่งออกสินค้าเนื้อไก่ของไทยมีแนวโน้มเพิ่ม ยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากไทย ไทยจึงเริ่ม ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไก่สดแช่แข็งมูลค่ากว่า ส่งออกเนื้อไก่แช่แข็งได้ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น

ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย

51.3% ญี่ปุน

34.3%

สหภาพยุโรป

7.6%

อาเซ�ยน

1.4%

สหรัฐอาหรับ เอมิเรสต

1.2%

แคนาดา

1.2%

เกาหลีใต

1.9%

ฮองกง

ในปั จ จุ บ ั น ไทยได้พัฒนาการเลี้ยงสัตว์ปีกระบบ Compartment อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 25494 จนสามารถสร้าง ความเชื่อมั่นในคุณภาพการผลิตเนื้อไก่ของไทยให้เป็นที่ยอมรับ ของประเทศคู่ค้าสำคัญ ซึ่งได้ยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าสินค้า ไก่สดจากไทยแล้ว ได้แก่ สหภาพยุโรป (1 กรกฎาคม 2555) และญี ่ ป ุ ่ น (25 ธันวาคม 2556) รวมทั้ง ฮ่องกง บาห์เรน สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสิงคโปร์5 เป็นต้น แต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่ยังห้ามนำเข้า ไก่ ส ดจากไทย โดยเฉพาะประเทศในตะวั น ออกกลาง คื อ ซาอุดิอาระเบีย การ์ตาร์ คูเวต6 และเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่ไม่มีรายงาน

พบโรคไข้หวัดนกในประเทศไทยมาเกือบ 8 ปีแล้ว นับจากวันที่ ทำลายสัตว์ปีกตัวสุดท้าย เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 25517 นอกจากระบบมาตรฐานฟาร์มที่มีประสิทธิภาพแล้ว แรงงานไทยยังมีฝีมือและความปราณีตเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการพัฒนาสินค้าแปรรูปเนื้อไก่ที่มี ความหลากหลาย ผู้ผลิตและส่งออกยังมีความสามารถในการ แข่งขันสูงด้วย8 อย่ า งไรก็ ต าม ไทยยั ง คงต้ อ งพึ ่ ง พาปั จ จั ย การผลิ ต และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยเฉพาะพันธุไ์ ก่เนือ้ และวัตถุดบิ

ไก่แช่แข็งนำเข้าจากบราซิล ตุรกี สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ไก่ปรุงสุกนำเข้าจากมาเลเซีย สิงคโปร์ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ กว่าอียูจะยอมเลิกแบนไก่สดจากไทย, คณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป / สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์, 8 May 2012 4 มีองค์ประกอบหลักทีส่ ำคัญ ได้แก่ 1) มาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity Management) สำหรับสถานประกอบการ ตามหลักการวิเคราะห์อนั ตรายและจุดวิกฤติที่ต้อง ควบคุม หรือ HACCP สำหรับโรคไข้หวัดนก 2) การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในฟาร์มและพืน้ ทีก่ นั ชนในรัศมี 1 กม. รอบฟาร์ม (Surveillance) 3) การควบคุมโรคไข้หวัดนกในฟาร์มและพืน้ ทีก่ นั ชน ในรัศมี 1 กม.รอบฟาร์ม 4) ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ทำให้สามารถติดตามข้อมูลการผลิตได้ตลอดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่โรงงานผลิตอาหารสัตว์ (Feed) ถึง โรงงานอาหารแปรรูป (Food), ด้านสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ ซีพีเอฟ, 13 สิงหาคม 2555 5 สิงคโปร์ไฟเขียวนำเข้าไก่สดไทย หลังห้ามนำเข้านาน 9 ปี, ไทยรัฐออนไลน์, 6 ธันวาคม 2556 6 การประชุมคณะกรรมการบริหารสินค้าไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์, คณุตม์ ปัญญาศิริ, กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 30 มีนาคม 2016 7 สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2559, สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 8 Executive Summary สินค้าไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ ประจำไตรมาสที่ 1/2558 เดือนมีนาคม, คณะทำงานพัฒนาสารสนเทศการเกษตรระดับประเทศ 2 3

11


อาหารสัตว์ เคมีภณ ั ฑ์ เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ ทีต่ อ้ งนำเข้าเป็นมูลค่า สูงมากในแต่ละปี ประกอบกับแรงงานฝีมือมีจำนวนลดลงและ ค่าแรงเพิม่ ขึน้ ทำให้ตน้ ทุนการผลิตไก่เนือ้ ของไทยโดยเปรียบเทียบ สูงกว่าประเทศคู่แข่ง เช่น บราซิล สหรัฐอเมริกา และจีน9

ความสำคัญของตลาดสหภาพยุโรป สหภาพยุโรปเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 2 ของไทย รองจากญี ่ ป ุ ่ น สิ น ค้ า ที ่ ไ ทยส่ ง ออกไปสหภาพยุ โ รปมาก ได้แก่ ไก่แปรรูป และเนือ้ ไก่แช่แข็ง ในระยะ 5 ปี ทีผ่ า่ นมา (25532558) ไทยส่งออกสินค้าไก่ไปสหภาพยุโรป มีมลู ค่ารวมกันปีละกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่นำเข้าเนื้อไก่แช่แข็งและไก่แปรรูป รวมกันเฉลี่ยปีละประมาณ 4 ล้านเหรียญสหรัฐ

สหภาพยุโรปเป็นตลาดส่งออก สำคัญอันดับ 2 ของไทยรองจากญี่ปุ่น สินค้าที่ไทยส่งออกไปสหภาพยุโรปมาก ได้แก่

ไก่แปรรูป และเนื้อไก่แช่แข็ง

สหภาพยุโรปเป็นประเทศผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ค้า เนือ้ ไก่และผลิตภัณฑ์รายใหญ่ของโลก โดยเป็นผูผ้ ลิตเนือ้ ไก่อนั ดับ 4 ของโลก (กว่า 10% ของผลผลิตโลก) และเป็นผู้บริโภคเนื้อไก่ อันดับ 3 ของโลก (กว่า 10% ของปริมาณการบริโภครวม) ในด้าน การค้ายังเป็นทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าเนื้อไก่รายใหญ่เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่เป็นการค้าระหว่างประเทศในสหภาพยุโรปด้วยกัน ทั ้ ง นี ้ ตั ้ ง แต่ ส หภาพยุ โรปห้ า มนำเข้ า เนื ้ อ ไก่ ส ดจาก ไทยระหว่างปี 2547 จนถึงปี 2554 เนื่องจากประสบปัญหาการ แพร่ระบาดของไข้หวัดนก สหภาพยุโรปได้หันมานำเข้าไก่ปรุงสุก จากไทยเพิม่ ขึน้ แทน และเมือ่ ไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาด ของเชือ้ ไข้หวัดนกได้ สหภาพยุโรปจึงอนุญาตให้นำเข้าเนือ้ ไก่แช่แข็ง จากไทยได้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 อย่างไรก็ตาม ไทยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดสินค้าไก่ในสหภาพยุโรปได้อีก ครั้งตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา เนื่องจากไทยส่งออกไก่ปรุงสุกได้ มากขึ้น และเริ่มส่งออกไก่แช่แข็งได้เพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้วา่ ปัจจุบนั ไทยสามารถครองส่วนแบ่ง ตลาดสินค้าไก่ ในตลาดสหภาพยุโรปได้อีกครั้ง แต่ผู้ประกอบการ ยังต้องให้ความสำคัญกับกฎระเบียบใหม่ๆ ของสหภาพยุโรปที่จะ ตามมาในอนาคต เช่น การปรับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ตลอด ห่วงโซ่การผลิต และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งจะมีผลกระทบต่อ การค้ากับสหภาพยุโรปอย่างมีนัยสำคัญ 9

อ้างแล้วตาม 6

12


ไทย-เมี ย นมา ÊÒ¹ÊÑÁ¾Ñ¹¸ เพื่อโอกาสและอนาคต โดย : สำนักอาเซ�ยน

13


เมียนมา เป็นประเทศเพือ่ นบ้านทีม่ แี นวพรมแดนติด

กับไทยมากทีส่ ด ุ และเป็นประเทศทีม ่ ค ี วามร่วมมือกับไทยในหลายๆ กรอบความร่วมมือ อาทิ กรอบอาเซียน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-Region Economic Cooperation: GMS-EC) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจ อิระวดี–เจ้าพระยา–แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya–Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) และความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล สำหรับความร่วมมือ หลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC)

นอกจากนี ้ ผู ้ น ำระดั บ สำคั ญ ไทยและเมี ย นมา ยังมีการเยือนระหว่างกัน โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 23 – 25 มิถุนายน 2559 นางออง ซาน ซู จี ทีป่ รึกษาแห่งรัฐสาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมา เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะ แขกของรัฐบาล ตามคำเชิญของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยการเดินทางเยือนประเทศไทยในครั้งนี้ ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสัมพันธ์ไทย-เมียนมา เนื ่ อ งจากเป็ น การเดิ น ทางเยื อ นต่ า งประเทศครั ้ ง แรกของ นางอองซาน ซู จี ในฐานะหัวหน้าคณะ นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง ที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา

14


ทั้งนี้ ผลจากการเยือนฯ ได้มีการผลักดันการพัฒนา โครงการเขตเศรษฐกิ จ พิ เ ศษทวายให้ ม ี ค วามคื บ หน้ า ต่ อ ไป โดย นางออง ซาน ซู จี เชื่อมั่นว่า โครงการดังกล่าวจะช่วย สร้างโอกาสและอาชีพให้แก่ชาวเมียนมา และไทยได้เน้นย้ำว่า นั ก ลงทุ น ไทยจะเข้ า ไปทำธุ ร กิ จ ในเมี ย นมาอย่ า งรั บ ผิ ด ชอบ สองฝ่ายยังเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่าง สองประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีเสนอให้มกี ารนำนโยบายประชารัฐ และนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ใน 3 ระดับ คือ ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ซึง่ นางออง ซาน ซู จี เห็นว่า การเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันจะช่วยสร้างงานและ โอกาสให้กับชาวเมียนมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเร่งด่วนที่ สำคัญที่สุดของรัฐบาลเมียนมา โดยสองฝ่ายต่างเห็นพ้องที่จะ ส่งเสริมการทำประมงอย่างถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย นอกจากนี้ ไทยยังยินดีทจ่ี ะสนับสนุนเมียนมาในการพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐาน และการเสริมสร้างความเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวระหว่างสอง ประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีขอให้ฝา่ ยเมียนมาเร่งรัดการดำเนินการ สร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2 ซึ่งฝ่ายไทยได้เริ่มดำเนินการ ในฝั่งไทยแล้ว ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้มีการลงนามความตกลง 3 ฉบับ ที่ช่วยส่งเสริมการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนบริเวณ ชายแดน และความร่วมมือด้านแรงงาน โดยเฉพาะการปรับปรุง สิ ท ธิ แ ละยกระดั บ ชี ว ิ ต ความเป็ น อยู ่ ข องแรงงานเมี ย นมาใน ประเทศไทย และการป้องกันการค้ามนุษย์และการจ้างงาน โดยผิดกฎหมาย ประกอบด้วย

ความตกลงว่าด้วยการข้ามแดน

บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้าน แรงงาน

ข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน

15


ทัง้ นี้ ฉบับแรกเป็นการลงนามระหว่างรัฐมนตรีวา่ การ กระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตรวจคนเข้าเมือง และประชากรเมียนมา และสองฉบับหลังระหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แรงงาน ตรวจคนเข้าเมือง และประชากรเมียนมา นอกจากนี้ เพื่อสานต่อผลการเยือนไทยอย่างเป็น ทางการของนางออง ซาน ซู จี และสานต่อนโยบายของรัฐบาลไทย ทีใ่ ห้ความสำคัญกับอาเซียนและประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา และเวียดนาม (CLMV) ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมาธิการ ร่วมทางการค้า (Joint Trade Commission: JTC) ไทย - เมียนมา ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 7 - 8 กรกฎาคม 2559 ณ กรุงเนปิดอว์ ซึ่งไทยและเมียนมาประสบความสำเร็จในการจัดทำยุทธศาสตร์ การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของแม่สอด – เมียวดี ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกการค้าการลงทุนให้บรรลุเป้าหมาย 10,000 - 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2017 และเมียนมา รับจะปรับปรุงขั้นตอนการตรวจสอบใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หรือ ATIGA Form D ณ ด่านชายแดน เพือ่ ให้สนิ ค้าไทยทีส่ ง่ ออก ไปเมียนมาภายใต้กรอบอาเซียนสามารถใช้สิทธิพิเศษทางภาษี ได้รวดเร็วขึ้น การจัดให้มี Thai Desk เพื่อให้ข้อมูลและอำนวย ความสะดวกแก่นักลงทุนไทยในเมียนมา รวมทั้งกำลังปรับปรุง กฎหมายการลงทุนเพื่อให้สิทธินักลงทุนต่างชาติเท่าเทียมกับ นั ก ลงทุ น เมี ย นมา และปรั บ ปรุ ง กฎหมายการจั ด ตั ้ ง ธุ ร กิ จ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีนี้อีกด้วย

16


ไตหวันเตรียมยกเวนวีซาใหไทยแลว

โดย : อรนุช วรรณภิญโญ

17


ในช่วงนี้ข่าวที่แชร์กันมากทางโซเชียลมีเดีย คื อ ไต้ ห วั น จะยกเว้ น การตรวจลงตราหรื อ วี ซ ่ า ให้ แ ก่ นักท่องเทีย่ วไทย เป็นเวลา 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2559 เป็นต้นไป โดยจะทดลองใช้มาตรการดังกล่าวเป็นเวลา 1 ปี ได้ยินข่าวดีๆ แบบนี้ เลยอยากมาแชร์ประสบการณ์ท ี่ เคยไปเที่ยวไต้หวันมาให้อ่านกันเพลินๆ

ก่อนอืน่ มาทราบถึงประวัตศิ าสตร์ของไต้หวันกันก่อน ไต้หวันเริม่ จากยุคทีพ่ รรคคอมมิวนิสต์จนี มีอำนาจในจีนแผ่นดินใหญ่ ในสมัยเหมาเจ๋อตุง พรรคก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็ค ซึ่งเป็นฝ่าย พ่ายแพ้จึงพาผู้คนอพยพหนีจากแผ่นดินใหญ่มาตั้งหลักที่ไต้หวัน คนจีนที่อพยพมากับเจียงไคเช็คเกือบ 2 ล้านคนนี้ เป็นคนจีน ระดับหัวกะทิ ปัญญาชน นักธุรกิจ และได้ขนทรัพย์สมบัติต่างๆ ของจีนมาจำนวนมากด้วย ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ของ ไต้หวัน งานชิ้นสำคัญ เช่น หยกแกะสลักเป็นรูปผักกาดขาว ซึ่งแกะสลักได้เหมือนจริงมากและเห็นชัดไปถึงตัวแมลงที่เกาะ อยูบ่ นผัก และหยกแกะสลักเป็นรูปหมูสามชัน้ เป็นต้น นอกจากนี้ ญี่ปุ่นได้เคยมาปกครองไต้หวันอยู่ช่วงหนึ่ง ทำให้ไต้หวันซึมซับ วัฒนธรรมของญี่ปุ่นมาพอสมควรด้วย ถ้าพูดถึงไต้หวันทุกวันนี้ ต้องนึกถึงความไฮเทค ทันสมัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม R&D ความรู้ด้านวิศวกรรม เครื่องจักร และวิทยาการต่างๆ เศรษฐกิจไต้หวันนับว่าเติบโต อย่างรวดเร็วในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ทำให้ไต้หวันกลายเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้ว และได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรม การผลิตของไต้หวันใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งมีความสำคัญมาก ในเศรษฐกิจโลก สินค้าที่ประทับตรา “Made in Taiwan” จะได้รับการยอมรับและสร้างภาพลักษณ์ให้ไต้หวันเป็นอย่างดี

18


นอกเหนือจากด้านเศรษฐกิจแล้ว การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ของไต้หวัน จัดว่าอยู่อันดับ ทีส่ งู มาก ซึง่ ทำให้การพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว สำหรับด้านนโยบายต่างประเทศไต้หวันส่งเสริมให้คนออกไปลงทุน ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไต้หวันมีประชากรรวมประมาณ 23.2 ล้านคน ปัจจุบันเริ่มเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุและขาดแคลนแรงงาน ทำให้มีการนำเข้าแรงงาน จากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่จะมาจาก เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย

ครัง้ นีจ้ งึ เป็นโอกาสดีทจ่ี ะได้ทำตามความฝัน จึงได้เริม่ ลงมือวาดภาพ ที่ผนังบ้านตัวเองก่อน แล้วลามไปถึงผนังบ้านของเพื่อนบ้าน จนในทีส่ ดุ คุณลุงหวงได้วาดภาพบนผนังบ้านทัง้ หมูบ่ า้ นจนสำเร็จ เพียงคนเดียว

คราวนีไ้ ม่ใช่แค่หมูบ่ า้ นไม่ถกู รือ้ ถอนแล้ว หมูบ่ า้ นสายรุง้ ในเขตไทจงยังกลายเป็นเขตอนุรกั ษ์เชิงศิลปวัฒนธรรมของรัฐบาล และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของไต้หวัน ในแต่ละวันมี นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมจำนวนมาก แม้ว่าปัจจุบันคุณลุงหวง จะอายุ 90 กว่าปีแล้ว แต่กย็ งั มีความสุขทีไ่ ด้มานัง่ คุยกับนักท่องเทีย่ ว ความรู้สึกแรกที่มีกับคนไต้หวัน ทั้งที่เจอในเรื่องงาน และขายรูปโปสการ์ดจากภาพวาดของตัวเองด้วยความยิ้มแย้ม และเวลาไปอบรมต่างๆ คือจะมีบุคลิกหลักเป็นคนมุ่งมั่น จริงจัง แจ่มใส ทำงานหนักมาก ขยันสุดๆ แบบสั่ง 10 ทำ 100 และทำหน้าที่ ทีร่ บั ผิดชอบอย่างเต็มที่ อย่างเช่น ช่วงทีไ่ ปอบรมด้วยกันทีอ่ เมริกา 3 สั ป ดาห์ ต้ อ งมี ก ารพู ด แสดงความคิ ด เห็ น ในห้ อ งเรี ย น “หมู่บ้านสายรุ้ง คือบทพิสูจน์ว่า เพือ่ นชาวไต้หวันทีไ่ ม่คอ่ ยถนัดภาษาอังกฤษ จะยกมือแสดงความ ไม่มีใครแก่เกินไปที่จะเดินตามความฝัน เห็นทุกชัว่ โมง เพราะเค้าถือว่าต้องเก็บเกีย่ วความรูจ้ ากการอบรม กลับไปให้มากที่สุด และเมื่อจบหลักสูตรจะกลับไปเขียนรายงาน แม้ว่าต้องรอนานแค่ไหนกว่าจะทำให้ ส่งหัวหน้า ความยาวประมาณ 30 หน้า เลยทีเดียว แต่อีก ฝันเป็นจริง” มุมหนึ่งของไต้หวันกลับเต็มไปด้วยการตกแต่งด้วยลายการ์ตูน และผลิตภัณฑ์ที่มีลายการ์ตูนต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเดินไปตาม สถานที่ใดก็ตาม จะเห็นลายการ์ตูนตกแต่งอยู่ทั่วเมือง ซึ่งขัดกับ บุ ค ลิ ก ของคนไต้ ห วั น แต่ เ ห็ น แล้ ว ก็ ร ู ้ ส ึ ก น่ า รั ก ดี แปลกตา ไปอีกแบบ พอพูดถึงลายการ์ตูน หรือตัวการ์ตูน ทำให้นึกถึง สถานที่ท่องเที่ยวที่อยากจะแนะนำอีกแห่งหนึ่งคือ Rainbow Village หรือหมู่บ้านสายรุ้ง ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่เล่าถึงเรื่องราวของ คนเล็กๆ ที่ทำเรื่องเล็กๆ ด้วยความรัก และความฝัน ที่สามารถ สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ให้ผู้คนจำนวนมาก ‘หมู่บ้านสายรุ้ง’ เริ่มต้นมาจากในช่วงหนึ่งที่หมู่บ้าน กำลังเสื่อมโทรมอย่างมาก รัฐบาลไต้หวันจึงต้องการจะปรับปรุง พื้นที่ และให้คนที่อาศัยอยู่เดิมออกจากหมู่บ้านไปอยู่ที่แห่งใหม่ คุณลุงหวงในวัย 80 กว่าปี ผู้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้ พยายามคิดว่า จะทำอย่างไรทีจ่ ะช่วยเหลือหมูบ่ า้ นไม่ให้ถกู รือ้ ถอน จึงคิดขึน้ มาได้วา่ เมื่อวัยเด็กตนเองเคยมีความสนใจในการวาดภาพอย่างมาก

19


ไต้หวันไม่ได้มแี ค่ความน่ารัก น่ามองเท่านัน้ แต่เรียกได้วา่ มี ท ุ ก สิ ่ ง สำหรั บ ทุ ก คน โดยเฉพาะของกิ น ในไทเปก็ เ ป็ น เลิ ศ สำหรับนักชิมพลาดไม่ได้ ถ้ามีโอกาสไปเดินตลาดในช่วงกลางคืน จะมีร้านเล็กร้านน้อยขายของกินเรียงรายเต็มไปหมดกินกัน ให้อิ่มแปร้ไปเลย ในยุ ค นี ้ ไ ต้ ห วั น ถื อ เป็ น ประเทศที ่ ม ี ค วามเจริ ญ ความทันสมัยมาก แต่อีกมุมหนึ่งจะเห็นว่าไต้หวันมีการอนุรักษ์ ของเก่าได้ดีมาก มีพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงของได้อย่างน่าสนใจ ไม่แพ้พิพิธภัณฑ์ในยุโรป ของแต่ละชิ้นบ่งบอกถึงความเป็นมา ทางประวัติศาสตร์ได้อย่างชัดเจน มีบริการใส่หูฟังที่ให้เลือกได้ หลายภาษา เดินฟังไปเพลินๆ ได้ความรู้เยอะมากทีเดียว สำหรับการเดินทางในไต้หวันก็งา่ ยและสะดวกสบาย เพราะมีระบบขนส่งมวลชน ทัง้ รถไฟ รถเมล์ หลากหลาย มีตาราง เวลาการออกรถทีแ่ น่นอน มีปา้ ยบอกทางชัดเจน สามารถไปเทีย่ วเอง ได้สบายๆ โดยไม่ต้องพึ่งไกด์เลย ก่อนจะจบ สถานที่สุดท้ายที่อยากจะแนะนำเมื่อ ไปเที่ยวไต้หวัน คือบ่อน้ำร้อน เดินเที่ยวเหนื่อยๆ ในเมือง มาหลายวัน ได้แช่ตัวในบ่อร้อนๆ ผ่อนคลายร่างกาย เป็นอะไร ที่สบายสุดๆ ที่สำคัญบ่อน้ำร้อนของไต้หวันไม่ต้องเปลือยแบบ ญี่ปุ่น ที่นี่สามารถใส่ชุดว่ายน้ำลงไปเล่นได้เลย

20

หากใครมีโอกาสแวะไปไต้หวัน อย่าลืมไปชมสุดยอด เทคโนโลยีที่ทันสมัย เดินเที่ยวชมเมืองการ์ตูนอย่าง สบายตา แวะชมหมู่บ้านสายรุ้งอย่างสบายใจ ไปศึกษาประวัติศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ ระดับพรีเมี่ยม และที่สำคัญอย่าลืมไปผ่อนคลาย ร่างกายที่บ่อน้ำร้อนกันนะคะ


¡®ÃÐàºÕ  º ´ŒÒ¹¡ÒÃŧ·Ø¹ã¹

21


กั ม พู ช า เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ทาง เศรษฐกิจการค้าใกล้ชิดกับไทยมาเป็นเวลานาน และในอีก 5 ปี นับจากนี้ ไทยและกัมพูชาได้ตง้ั เป้าหมายทีจ่ ะเพิม่ มูลค่าการค้าระหว่าง ไทยกับกัมพูชาให้ถงึ 3 เท่าตัว โดยเน้นให้ความสำคัญเรือ่ งการอำนวย ความสะดวกสิ น ค้ า ข้ า มแดน สิ น ค้ า ผ่ า นแดน และการเชื ่ อ มโยง การขนส่งระหว่างกัน ความรูค้ วามเข้าใจในกฎระเบียบด้านการลงทุน ในกัมพูชาจึงเป็นสิง่ สำคัญสำหรับผูป้ ระกอบการและ SMEs ทีป่ ระสงค์ จะทำธุรกิจหรือเข้าไปลงทุนในกัมพูชา

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา/คณะกรรมการส่งเสริม การลงทุนกัมพูชา (Council for the Development of Cambodia : CDC/Cambodia Investment Board) เป็นหน่วยงาน หลักแห่งเดียวทีร่ บั ผิดชอบเกีย่ วกับการฟืน้ ฟูและพัฒนาการลงทุน ของภาคเอกชนและทำหน้าที่ประเมินการพัฒนาการลงทุนและ โครงการต่างๆ รวมทั้ง พิจารณาอนุมัติโครงการลงทุนต่างๆ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนและดำเนินการอำนวยความ สะดวกต่างๆ เงื่อนไขและระยะเวลาของขั้นตอนการลงทุน ภายในระยะเวลา 3 วันทำการ หลังจากได้รับข้อเสนอ โครงการลงทุน สภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชาจะต้องออก ใบรับรองการจดทะเบียนแบบมีเงือ่ นไข (Conditional Registration Certificate) หากข้อเสนอโครงการลงทุน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล ต่างๆ ตามทีก่ ำหนด และกิจกรรมทีเ่ สนอไม่ได้อยูใ่ นรายการต้องห้าม (Negative List) อย่างไรก็ตาม หากข้อเสนอโครงการลงทุน ไม่ผา่ นสภาเพือ่ การพัฒนาแห่งกัมพูชาจะต้องออกจดหมายอธิบาย สาเหตุของการไม่ผา่ นข้อกำหนด (Letter of Non-compliance)

สำหรับการดำเนิน “โครงการลงทุนทีผ่ า่ นเกณฑ์ (QIP)” รวมทัง้ หน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบ นอกจากนี้ ใบรับรองฯ จะเป็นการยืนยันถึง สิทธิประโยชน์ที่โครงการ QIP พึงได้รับตาม และให้การยอมรับ สถานะทางกฎหมายเช่นกัน นักลงทุนจะต้องยื่นขอสถานะ QIP ด้วยการจดทะเบียนโครงการไว้ตอ่ สภาเพือ่ การพัฒนาแห่งกัมพูชา อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการทีม่ เี งินลงทุนต่ำกว่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ จะต้องจดทะเบียนต่อคณะอนุกรรมการการลงทุนเทศบาล/ภูมภิ าค (Provincial /Municipal Investment Sub-Committee)

หากสภาเพื ่ อ การพั ฒ นาแห่ ง กั ม พู ช าไม่ ส ามารถออก สภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชาจะต้องออกใบรับรอง ใบรับรองการจดทะเบียนแบบมีเงือ่ นไขหรือจดหมายอธิบายสาเหตุ การจดทะเบียนสุดท้าย (Final Registration Certificate) ภายใน ของการไม่ผา่ นข้อกำหนดได้ภายใน 3 วันทำการ จะถือว่าโครงการ 28 วันทำการ หลังจากวันทีอ่ อกใบรับรองการจดทะเบียนแบบมี ดังกล่าวได้รบั การจดทะเบียนแบบมีเงือ่ นไขโดยอัตโนมัติ เงื่อนไข แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นการให้สิทธิ์งดเว้นการขอใบรับรองหรือ ใบรับรองการจดทะเบียนแบบมีเงื่อนไขจะระบุเกี่ยวกับ ใบอนุญาตอืน่ ทีจ่ ำเป็นจากหน่วยงานอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง ทัง้ นี้ ให้ถอื ว่า การขออนุมตั กิ ารขอใบอนุญาต หรือการจดทะเบียนต่างๆ ทีจ่ ำเป็น วันทีอ่ อกใบรับรองสุดท้ายเป็นวันที่ QIP เริม่ ดำเนินการ 22


ขั้นตอนการจดทะเบียนธุรกิจ การยื่นคำร้องจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในกัมพูชาสามารถทำด้วยตนเองที่สำนักงานจดทะเบียนพาณิชย์ (Commercial Registration Office) กรมจดทะเบียนธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ ณ กรุงพนมเปญ หรือสาขาของสำนักงานจดทะเบียนพาณิชย์ ในต่างจังหวัด อย่างไรก็ตาม ก่อนดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจผู้ประกอบการต้องได้รับความยินยอมเข้าครอบครอง สถานประกอบการจากทาง City Hall ในท้องถิ่นที่ตั้งกิจการก่อน

ขั้นตอนการจดทะเบียนธุรกิจใน

ประเทศกัมพูชา

ขั้นตอน กอนการยื่นจดทะเบียน

เอกสารหลักฐาน

ขั้นตอน การขอยื่นจดทะเบียน

01 02 03 04 05 06

ผูประกอบการนำเง�นทุนจดทะเบียนฝากธนาคาร (ขั้นต่ำ 4,000,000 KHR) ตรวจสอบช�่อบร�ษัท

ลงประกาศขอมูลบร�ษัทในหนังสือพิมพ

ยื่นแบบฟอรมคำขอจดทะเบียนบร�ษัท ผูถือหุน/ผูบร�หารแสดงตน และลงนามใน เอกสารบางรายการตอเจาหนาที่ (หร�อมอบอำนาจใหผูอื่นกระทำการแทนแลว แสดงตนในภายหลัง)

ระยะเวลา ประมาณ 10-25 วัน

กระทรวงพาณิชยพิจารณาเอกสารและ ออกใบรับรองการจดทะเบียน พรอมตรายาง

23


นโยบายการถือหุ้นของต่างชาติ กัมพูชาไม่มีข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนการลงทุนของนักลงทุน ต่างชาติ ยกเว้นกรณีการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน เฉพาะผู้มี สัญชาติกัมพูชาและนิติบุคคลที่มีชาวกัมพูชาถือหุ้นและมีสิทธิ์ ในการออกเสี ย งร้ อ ยละ 51 ขึ ้ น ไปเท่ า นั ้ น จึ ง จะสามารถ ถือครองกรรมสิทธิใ์ นทีด่ นิ ได้ อย่างไรก็ดี นักลงทุนต่างชาติสามารถ ขอเช่าที่ดินเพื่อทำประโยชน์โดยการขอสัมปทานจากภาครัฐได้ โดยส่วนใหญ่สัญญาสัมปทานจะมีระยะเวลาประมาณ 15 ปี สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ก ารลงทุ น : การยกเว้ น ภาษี เ งิ น ได้ (Income Tax Allowance) มาตรา 13 ของกฎหมายการลงทุน ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี 2546 ระบุว่าสิทธิประโยชน์และสิทธิ พิเศษ หมายถึง การได้รบั ยกเว้นภาษีศลุ กากรและภาษีอากรอืน่ ๆ (ทั้งหมดหรือบางส่วน) ตามเงื่อนไข ดังนี้ โครงการ QIP จะได้รับการยกเว้นภาษีที่เก็บจาก ผลกำไร โดยมีช่วงเวลาเริ่มต้น (Trigger Period) ไม่เกิน 3 ปี และช่วงเวลาพิเศษ (Priority Period) ไม่เกิน 9 ปี นับจากปี ที่มีผลกำไรครั้งแรก และจะต้องเสียภาษีผลกำไรเมื่อระยะเวลา การยกเว้นภาษีผลกำไรสิ้นสุดลง

ในการนำเข้าอุปกรณ์การผลิต วัสดุก่อสร้างและวัตถุดิบการผลิต โดยไม่ต้องเสียภาษี โครงการ QIP ที่เกี่ยวกับการส่งออก (Export QIP) สามารถเลือกใช้กลไกสินค้าทัณฑ์บน (Custom Manufacturing Bonded Warehouse) โดยจะได้รบั การยกเว้นภาษีนำเข้าอุปกรณ์ การผลิต วัสดุก่อสร้าง วัตถุดิบ ส่วนประกอบและส่วนเพิ่มเติม อื่นๆ บุคคลที่รับช่วงต่อหรือทำการรวมธุรกิจกับนักลงทุน ในโครงการ QIP จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนนั้นได้รับ แต่ต้องยื่นขอรับสิทธิกับสภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา โครงการ QIP ทีต่ ง้ั อยูใ่ นเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) หรือ Export Processing Zone: EPZ ภายใต้ Development Priority List ซึ่งออกโดยสภาเพื่อ การพัฒนาแห่ง กัมพูชา จะได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกัน โครงการ QIP จะได้รบั การยกเว้นภาษีสง่ ออกทัง้ หมด เว้นแต่ กิจกรรมที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าจะต้องเสีย

นักลงทุนในโครงการ QIP สามารถยื่นขอวีซ่าและ ใบอนุญาตทำงานให้กับแรงงานต่างชาติที่เข้ามาเป็นผู้จัดการ ช่างเทคนิค และแรงงานมีฝีมือ และวีซ่าให้กับคู่สมรสและบุตร ของแรงงานต่างชาติ เหล่านัน้ ตามทีส่ ภาเพือ่ การพัฒนาแห่งกัมพูชา โครงการ QIP จะได้รบั สิทธิขา้ งต้น เมือ่ ได้รบั ใบรับรอง ให้การรับรอง และตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง และแรงงาน ประจำปีจากสภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา โครงการ QIP ที่ใช้สิทธิข้างต้น จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ ลดหย่อนค่าเสื่อมแบบพิเศษ (Special Depreciation) ได้

ขอบคุณข้อมูลจาก

โครงการ QIP โดยเฉพาะโครงการ QIP ที่สนับสนุน ภาคอุตสาหกรรม (Supporting Industry QIP) จะได้รับสิทธิ

: หนังสือ รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน : ราชอาณาจักรกัมพูชา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

24


ปิดฉาก ไปแล้วอย่างอบอุ่นและเต็มไปด้วยการ ผสานความร่วมมือ สำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อาเซี ย น (ASEAN Economic Ministers : AEM) ครั้งที่ 48 และการประชุมอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม - 6 สิงหาคม 2559 ทีน่ ครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสปป. ลาว นับจากทีป่ ระเทศสมาชิกอาเซียนทัง้ 10 ได้เข้าสูก่ ารเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เมื่อปลายปี 2558 ที่ผ่านมา การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งนี้ ถือได้ว่า เป็นการประชุมครั้งสำคัญที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้หารือ ร่วมกันอย่างเป็นทางการเป็นครัง้ แรก โดยรัฐมนตรีวา่ การกระทรวง พาณิชย์ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมคณะผู้แทนไทยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ได้เข้าร่วม การประชุมครั้งนี้ด้วย

โดย : สำนักอาเซียน

25


สำหรับวาระพิเศษของการประชุมที่ สปป.ลาว เป็นเจ้าภาพ ในครั้งนี้ คือการที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ให้การรับรอง เอกสารสำคัญจำนวนหลายฉบับ ทีจ่ ะใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน ในประเด็นสำคัญ และช่วยส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน ของอาเซียน ได้แก่ การอำนวยความสะดวกทางการค้า การกำกับดูแล ความปลอดภัยด้านอาหาร การเข้าถึงแหล่งทุนของผูป้ ระกอบการ SMEs แผนงานสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ และการพัฒนาความ ร่วมมือสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษของอาเซียน ยิ ่ ง ไปกว่ า นั ้ น ยั ง มี ก ารรั บ รองแผนงานหรื อ กิจกรรมรายสาขาสำหรับการดำเนินงานในช่วง 10 ปี ข้างหน้าเพือ่ ให้บรรลุมาตรการทีร่ ะบุไว้ใน AEC Blueprint 2025 เช่น แผนงานด้านการค้าสินค้า จะมีการปรับปรุงความตกลงการค้า และการสร้างกลไกเพื่อบรรเทาผลกระทบจากมาตรการ ที่มิใช่ภาษี

แผนงานด้านบริการ จะมีการพิจารณาวิธกี ารใหม่ๆ เพื่อการเปิดเสรีการค้าบริการที่มากขึ้น

แผนงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จะมีการทบทวนและปรับปรุงกฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงให้ความรู้กับ ผู้บริโภคเพื่อให้มีความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจข้ามพรมแดน เป็นต้น นอกจากนี้ ระหว่างการประชุมยังมีการเปิดตัวเครื่องมือที่จะช่วย อำนวยความสะดวกทางการค้าให้แก่ผปู้ ระกอบการ คือ 1) ระบบ ASSIST จะเป็นช่องทางแก้ไขปัญหาทางการค้าออนไลน์ทภ่ี าคธุรกิจ อาเซี ย นสามารถร้ อ งเรี ย นปั ญ หาการค้าสินค้าการค้าบริการ และการลงทุนไปยัง หน่วยงานภาครัฐของประเทศสมาชิกอาเซียนได้ โดยในช่วงแรกจะเปิดรับเฉพาะปัญหา ด้านการค้าสินค้าก่อน 2) ระบบ Tariff Finder หรือระบบสืบค้นอัตราภาษีบนอินเตอร์เน็ต ซึง่ จะช่วย อำนวยความสะดวกให้แก่ภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs ในการสืบค้นข้อมูลภาษีศุลกากร ของประเทศอาเซียนรวมถึง FTA ระหว่างอาเซียนกับคู่ภาคีต่างๆ ขณะนี้ ทั้งสองระบบสามารถใช้บริการแล้วที่ atr.asean.org

26


สำหรับการหารือกับประเทศคูเ่ จรจาของอาเซียน จำนวน 9 ประเทศ ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ซึง่ มี หลายๆ ประเด็นทีส่ ำคัญและน่าสนใจ เช่น สามารถสรุปร่างแถลงการณ์ร่วมระหว่างอาเซียน และจีน ว่าด้วยความร่วมมือในการเสริมสร้างศักยภาพการผลิต ซึ่งจะเสนอให้ที่ประชุมผู้นำอาเซียนและคู่เจรจารับรองต่อไป การเห็นชอบหลักการความร่วมมือด้านการส่งเสริม แนวปฏิบัติทดี่ ีด้านความโปร่งใส และข้อพึงปฏิบัติทดี่ ีในการออก กฎระเบียบ และหลักการความร่วมมือด้านการส่งเสริมการลงทุน ระหว่างอาเซียนและสหรัฐอเมริกา ซึง่ ทัง้ สองฝ่ายได้เจรจาร่วมกัน มากว่า 3 ปี การรับรองแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมืออาเซียนญี่ปุ่น ระยะ 10 ปี และขอบเขตการทบทวนความตกลงเขต การค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ รวมทัง้ ได้มกี ารประกาศ เจรจาเปิดเสรีสนิ ค้าอ่อนไหวเพิม่ เติมระหว่างอาเซียนและเกาหลีใต้ นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีการหารือกับภาคเอกชน ของประเทศคู่เจรจา โดยภาคเอกชนได้เน้นย้ำถึงความสำคัญใน การส่งเสริมพัฒนา MSME และการใช้ e-Commerce มาช่วย ขยายการค้าการลงทุนด้วย

ที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือการที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ได้หารือร่วมกันเพือ่ ผลักดันความตกลง RCEP ซึง่ เป็นความตกลง ของอาเซียนกับประเทศที่มีความตกลง FTA กับอาเซียนแล้ว 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แต่ละความตกลงมีการให้สทิ ธิประโยชน์ทแ่ี ตกต่างกัน โดยความตกลง RCEP จะช่วยปรับประสานกฎกติกาต่างๆ ให้สอดคล้องกัน ทำให้การเข้าสูต่ ลาดทำได้งา่ ยและสะดวกมากขึน้ อีกทั้งยังเป็นโอกาสให้มีการเจรจาเปิดเสรีในสินค้า ทีไ่ ทยยังถูกประเทศดังกล่าวกีดกัน ซึง่ ไทยนับเป็นประเทศทีพ่ ง่ึ พา การส่งออกค่อนข้างสูงและกำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจใน ประเทศผู้ซื้อรายสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ การเจรจาเปิดตลาดการค้าภายใต้ RCEP นั้น จะมีนัยสำคัญต่อภาคเกษตร อุตสาหกรรม และภาคบริการของ ไทยอย่างมาก โดยในระหว่างการประชุมครัง้ นี้ รัฐมนตรี RCEP 16 ประเทศ ได้ เ น้ น ย้ ำ เจตนารมณ์ ท ี ่ จ ะสรุ ป สาระสำคั ญ ของความตกลง RCEP ภายในสิ้นปีนี้ โดยมุ่งหมายให้ RCEP เป็นความตกลงที่มี คุณภาพสูง ครอบคลุมการเปิดเสรีอย่างมีนัยสำคัญทั้งการค้า สินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รอบด้าน โดยทีป่ ระชุมได้กำชับให้คณะเจรจาของประเทศสมาชิก พยายามเจรจาด้วยความยืดหยุ่นเพื่อให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว

27


‘ธุรกิจแฟรนไชส์’ โอกาสของไทยในต่างประเทศ

โดย : สุชาญ ไวยชีตา สำนักบริการ และการลงทุน

แฟรนไชส์ คืออะไร แฟรนไชส์ เป็นรูปแบบหนึ่งในการขยายช่องทางทางการตลาด ของธุรกิจโดยผ่านจากผู้ประกอบการธุรกิจอิสระที่เข้ามาร่วม หรือที่เรียกว่า “แฟรนไชส์” ซึง่ เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์นน้ั จะได้รบั สิทธิในการติดเครือ่ งหมาย ทางการค้าจากบริษทั แม่ของธุรกิจแฟรนไชส์ พร้อมกับได้เรียนรูก้ ระบวนการ วิธีการทำสินค้า และการบริหารงาน ที่อยู่ภายในธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเอง จากบริษัทแม่โดยตรง เพื่อให้ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ทุกสาขามีมาตรฐาน เดียวกันนั่นเอง ซึ่งปัจจุบัน ธุรกิจแฟรนไชส์ที่พบเห็นทั่วๆ ไป เช่น 7-11 ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ลูกชิ้นแชมป์ หรือร้านกาแฟโบราณเจ้าต่างๆ เป็นต้น

Franchisee

ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ 1. เจ้าของสิทธิ์ (Franchisor) จะต้องมีเจ้าของลิขสิทธิ์ ถ่ายทอดวิทยาการ การทำธุรกิจทุกอย่างให้แก่ผู้รับสิทธิ์ 2. ผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ในการใช้ชื่อการค้าเป็นค่าธรรมเนียมเริ่มแรก (Franchise Fee) 3. ผู้รับสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าตอบแทน (Royalty Fee) อย่างต่อเนื่องตามสัดส่วนของผลการดำเนินงาน ซึ่งจะเรียกเก็บ เป็นเปอร์เซ็นต์ หรือบางทีอาจจะเก็บจากยอดสั่งซื้อสินค้า 28

ทัง้ นี้ ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นสาขาหนึง่ ในสาขาธุรกิจบริการ จัดจำหน่าย ที่อยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของ อาเซียน (ASEAN Frameworks Agreement on Service : AFAS) สามารถสร้ า งมู ล ค่ า ทางเศรษฐกิ จ และช่ ว ยให้ ธ ุ ร กิ จ พั ฒ นา และขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว สามารถลดข้อจำกัดและสร้าง ความได้ เ ปรี ย บในด้ า นแหล่ ง เงิ น ทุ น นอกจากนี ้ ยั ง สร้ า ง ผู้ประกอบการธุรกิจรายใหม่ให้มีโอกาสประสบความสำเร็จได้ ในเวลาที่รวดเร็ว


สถิติแนวโนมธุรกิจ ‘แฟรนไชส’ ในประเทศไทย

11 กลุมธุรกิจเฟรนไชสในไทย 519 กิจการ1

อสังหาริมทรัพย 7 กิจการ หนังสือ วีดีโอ 2 กิจการ งานพิมพ 19 กิจการ คาปลีก 32 กิจการ

อาหาร 118 กิจการ 6.14%

0.39%

3.66%

1.35%

เบเกอรี่ 32 กิจการ

22.74%

6.14% ความงาม 28 กิจการ

5.39% 8.26%

โอกาสทางธุรกิจ 43 กิจการ

20.42%

8.48% 16.96% บริการ 44 กิจการ

เครื่องดื่มและไอศกรีม 106 กิจการ

การศึกษา 88 กิจการ

ทั้งนี้ สัดส่วนที่สูงสุดคือ ธุรกิจกลุ่มแฟรนไชส์อาหาร แสดงว่าคนไทยให้ความนิยมและมีแนวโน้มที่มีอัตราการเจริญ เติบโตในธุรกิจนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้แฟรนไชส์ที่กำลังเป็น ที ่ น ิ ย มในไทย 5 อั น ดั บ คื อ อั น ดั บ ที ่ 1 ธุ ร กิ จ บริ ก าร เซเว่น-อีเลฟเว่น (7-11) เป็นแบรนด์ใหญ่ซึ่งมีค่าแฟรนไชส์ ประมาณ 1,500,000 บาท อันดับที่ 2 ร้านปังสด-ขนมปัง มีค่า แฟรนไชส์ประมาณ 25,000 บาท อันดับที่ 3 เอิมมิลค์ นมสดแท้ 100% มีค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน 15,000 บาท อันดับที่ 4 ไอซ์ เบบี้แฟรนไซส์ มีค่าแฟรนไซส์ในการลงทุน 110,000 บาท และ อันดับที่ 5 เชสเตอร์ มีค่าแฟรนไซส์ในการลงทุน 700,000 บาท เป็นต้น

1

สถิติแนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย ปี 2559 แหล่งที่มาของข้อมูล www.thaifranchisecenter.com

29


ศักยภาพธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ธุ ร กิ จ ที ่ ไ ทยมี ค วามได้ เ ปรี ย บที ่ ม ี โ อกาสขยายไปยั ง ต่างประเทศคือ ธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทร้านอาหารไทยและ ธุรกิจบริการด้านสุขภาพและธุรกิจสปา เนื่องจากมีเอกลักษณ์ที่ แสดงถึงความเป็นไทย และยังมีจุดเด่นอื่นๆ ที่สามารถนำมา เป็นจุดขายได้ เช่น รูปแบบและการตกแต่งร้าน เพราะระบบแฟรนไชส์ ต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจน และมีการสร้างร้านต้นแบบให้ เสมือนการสร้างแนวคิดธุรกิจให้ออกมาเป็นรูปร่างรวมทัง้ ตราสินค้า (Brand) ซึ่งความชัดเจนของตราสินค้าจะเป็นการสร้างจุดแข็ง ให้กับธุรกิจได้ ซึ่งไม่ใช่แค่โลโก้อย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึง คุณภาพของสินค้าและบริการ รูปแบบการให้บริการของพนักงาน การแต่งกายซึง่ สิง่ เหล่านีส้ ามารถสร้างความพึงพอใจให้กบั ลูกค้าได้ และจะนำมาซึ ่ ง การสร้ า งมู ล ค่ า ให้ ก ั บ ธุ ร กิ จ แฟรนไชส์ ข อง ผู้ประกอบการด้วย ขณะที่ไทยพยายามเร่งผลักดันเพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถต่อยอดธุรกิจและแข่งขันกับต่างชาติได้อย่างแข็งแกร่งโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีภารกิจในการส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพธุรกิจแฟรนไชส์ให้เป็นมาตรฐานเพื่อไปสู่ การแข่งขันในระดับสากล นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ โดยสร้างและขยายเครือข่ายธุรกิจแฟรนไชส์

30

ปัจจุบัน มีหลายประเทศในแถบเอเชียที่รัฐบาล ของประเทศดังกล่าว พยายามผลักดันให้ ธุรกิจแฟรนไชส์มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เช่น มาเลเซีย

สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เป็นต้น


กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ปัจจุบนั ประเทศไทยยังไม่มกี ฎหมายว่าด้วยการประกอบ ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ดี ภาครัฐมีความพยายาม ที่จะควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจดังกล่าว โดยการยกร่าง กฎหมายในเรื ่ อ งนี ้ โ ดยเฉพาะซึ ่ ง กรมพั ฒ นาธุ ร กิ จ การค้ า กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติการ ประกอบธุ ร กิ จ แฟรนไชส์ พ.ศ. .... เพื ่ อ จั ด ระเบี ย บการ ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย

เนื้อหาสาระของสัญญาหรือข้อสัญญาที่เป็นสาระสำคัญไว้เป็น การล่วงหน้า โดยทีผ่ รู้ บั สิทธิซ์ ง่ึ เป็นผูท้ จ่ี ะเข้ามาทำสัญญาสามารถ แสดงเจตนาเข้าทำสัญญาโดยไม่ตอ้ งมีการเจรจาต่อรอง ซึง่ หากว่า ข้อสัญญาดังกล่าวเจ้าของสิทธิ์ได้เปรียบผู้รับสิทธิ์เกินสมควร ข้อสัญญาดังกล่าวถือเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ในกรณีเช่นนี้ กฎหมายกำหนดให้สัญญามีผลใช้บังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรม และพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น

ทั้งนี้ สัญญาแฟรนไชส์ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง จึงต้องอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เช่นเดียวกับ สัญญาประเภทอืน่ ๆ นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง อาทิ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2550 กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาพระราชบัญญัติความลับ ทางการค้ า พ.ศ. 2545 พระราชบั ญ ญั ต ิ ค ุ ้ ม ครองผู ้ บ ริ โ ภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 เป็นต้น

3) กฎหมายเกี ่ ย วกั บ ทรั พ ย์ ส ิ น ทางปั ญ ญา สัญญา แฟรนไชส์ น ั ้ น มี ค วามเกี ่ ย วข้ อ งกั บ การอนุ ญ าตให้ ใช้ ส ิ ท ธิ ใ น ทรัพย์สนิ ทางปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิง่ การให้ใช้สทิ ธิในเครือ่ งหมาย การค้าหรือบริการ และสิทธิบัตร เนื่องจากหากเจ้าของสิทธิ์ ประสงค์ที่จะให้ผู้รับสิทธิ์สามารถใช้เครื่องการการค้าหรือบริการ หรือสิทธิบัตรของตนก็จะต้องมีการจดทะเบียนสัญญา อนุญาต ให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าหรือบริการ หรือสิทธิบัตรกับทาง ราชการด้วย

กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ประกอบด้วย

ส่วนที่แตกต่างกันระหว่างสัญญาแฟรนไชส์และสัญญา อนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา คือ ผู้รับสิทธิ์จะต้อง จ่ า ยค่ า ตอบแทนในการใช้ ส ิ ท ธิ แ ละเข้ า ร่ ว มประกอบธุ ร กิ จ ส่วนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้น ผู้ได้รับ อนุญาตให้ใช้สิทธิอาจไม่จำต้องจ่ายค่าตอบแทนก็ได้ขึ้นอยู่ กับการตกลงกันของคู่สัญญา

1) ประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นำมาใช้บังคับกับสัญญาแฟรนไชส์ ได้แก่ หมวดว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา โดยนำมาใช้บังคับใน ส่วนที่เกี่ยวกับการเกิดสัญญา การแสดงเจตนาของคู่สัญญา การตี ค วามสั ญ ญา ผลของสั ญ ญา การบอกเลิ ก สั ญ ญาและ การผิดสัญญา 2) พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 หากพิจารณาฐานะของคู่สัญญาในสัญญาแฟรนไชส์ แล้ว จะเห็นได้ว่าคู่สัญญาสองฝ่ายจะมีฐานะไม่เท่าเทียมกัน เนื่องจากผู้รับสิทธิ์จะมีอำนาจในการเจรจาต่อรองน้อยกว่า เจ้าของสิทธิ์ นอกจากนีส้ ญ ั ญาแฟรนไชส์ยงั ถือเป็นสัญญามาตรฐาน และสัญญาสำเร็จรูปประเภทหนึง่ เพราะเป็นสัญญาทีเ่ จ้าของสิทธิ์ ซึง่ เป็นคูส่ ญ ั ญาฝ่ายทีม่ อี ำนาจทางเศรษฐกิจเหนือกว่าเป็นผูก้ ำหนด

31


4) พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เกี่ยวข้องกับความลับทางการค้า ในแง่ที่ว่าข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ เช่น สูตรอาหารหรือเครื่องดื่ม คู่มือการปฏิบัติงาน และรายชื่อลูกค้า อาจถือได้ว่าเป็นความลับทางการค้าของเจ้าของสิทธิ์ที่จำเป็น จะต้องได้รบั ความคุม้ ครอง โดยผูร้ บั สิทธิจ์ ะต้องไม่เปิดเผยข้อมูล ความลับหรือนำข้อมูลซึ่งเป็นความลับนั้นไปใช้ในลักษณะที่เป็น การแข่งขันกับเจ้าของสิทธิ์ ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิของ เจ้าของสิทธิ์ในเรื่องดังกล่าว เจ้าของสิทธิ์ย่อมสามารถที่จะ ฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนและขอให้ศาลมีคำสั่งระงับ การกระทำเช่นว่านั้น 5) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ธุรกิจประเภทนี้ทั้งแฟรนไชส์ขายสินค้าและแฟรนไชส์ให้บริการ ย่อมต้องมีลูกค้าหรือผู้บริโภคเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ ในแง่นี้ ลูกค้าหรือผู้บริโภคจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภคฯ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการโฆษณาสินค้าที่อาจ เกินจริง การปิดฉลากสินค้า หรือการกำหนดให้ธรุ กิจใดเป็นธุรกิจ ที่ควบคุมสัญญา 6) พระราชบัญญัตกิ ารแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 การประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับของพรบ. การแข่ ง ขั น ทางการค้ า ฯ เช่ น กั น โดยทั ้ ง เจ้ า ของสิ ท ธิ ์ แ ละ ผู้รับสิทธิ์จะถูกควบคุมมิให้มีการใช้วิธีการที่กฎหมายว่าด้วยการ แข่งขันทางการค้าถือว่าเป็นการผูกขาด หรือการกระทำที่เป็น การใช้อำนาจเหนือตลาด เว้นแต่มคี วามจำเป็นและมีเหตุผลสมควร โดยจะต้องขออนุญาตต่อคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ที่มา

32

7) กฎหมายเฉพาะที ่ เ กี ่ ย วกั บ ธุ ร กิ จ นั ้ น โดยตรง การขายสินค้าและการให้บริการในธุรกิจแฟรนไชส์นอกจากจะต้อง พิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังจำเป็นต้อง พิจารณาถึงกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจนั้นโดยตรง เช่น พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2535 เป็นต้น

1. สถิติแนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย ปี 2559 แหล่งที่มาของข้อมูล www.thaifranchisecenter.com 2. บทสรุปการศึกษาโครงสร้างธุรกิจและการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 3. กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า


ÃÙŒ·Ñ¹¡ÒÃàÁ×ͧÊËÃÑ°Ï :

TPP จะผานสภาฯ ไดทัน การเลือกตั้ง 2016 หร อไม โดย : กฤดิภัค มงคลยุทธ สำนักอเมริกา แปซิฟิกและองค์การระหว่างประเทศ

?

ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็เป็นที่จับตามองของทั่วโลกอย่าง

ในขณะนี้ การเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ก็เป็นประเด็นร้อนที่ทุกแหล่งข่าวกำลังพูดถึง ในมุมแดง (พรรค Republican) ซึง่ เป็นพรรคอนุรกั ษ์นยิ ม มีนาย Donald Trump นักธุรกิจชือ่ ดังเป็นผูล้ งชิงตำแหน่ง ส่วนมุมน้ำเงิน (พรรค Democrat) ซึ่งเป็นพรรคเสรีนิยมมีนาง Hillary Clinton อดีตสตรีหมายเลข 1 เป็นตัวแทน โดยการหาเสียงของทั้งสองฝ่ายก็ม ี การใส่ร้ายป้ายสีกันไปตามแบบฉบับนักการเมือง แต่ที่น่าสนใจคือการที่ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) กำลังเป็นประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายร่วมแรงร่วมใจโจมตีอย่างแข็งขัน

33


นาย Donald Trump มีประโยคประจำตัวว่า “Make America Great Again” ซึ่งมีใจความสำคัญว่า พรรคของตนจะสร้างงานสร้างอาชีพให้ชาวอเมริกัน ป้องกัน เงินทุนและฐานการผลิตไม่ให้ไหลไปยังต่างประเทศ และ โจมตีความตกลง TPP ที่เริ่มเจรจาในสมัยประธานาธิบดี บารัค โอบามา ว่าเป็นความตกลงที่จะทำให้สหรัฐฯ เสียผลประโยชน์ และหากตนได้เป็นประธานาธิบดี จะไม่ยอมรับความตกลงนี้เป็น อันขาด แต่นาย Trump เอง ก็มาตกม้าตายตอนทีส่ อ่ื ค้นพบว่า ผลิตภัณฑ์ของ Trump ล้วนแต่มีฐานการผลิตในต่างประเทศ แทบทั้งสิ้น ส่วนนาง Hillary Clinton ซึ่งถึงแม้จะมาจาก พรรคเดียวกับประธานาธิบดีคนปัจจุบนั แต่กย็ งั แสดงความเห็นว่า ไม่สนับสนุนความตกลง TPP อย่างชัดเจน และยืนยันว่าจะแก้ไข ความตกลงดังกล่าวก่อนบังคับใช้ อย่างไรก็ดี หากดูตามประวัติศาสตร์ของประเทศ สหรัฐอเมริกา จะเห็นได้ว่าทั้งพรรคการเมือง และประชาชนต่าง เชื่อมั่นในระบบทุนนิยม ชาวอเมริกันเชื่อว่าการทำงานหนัก จะนำไปสู่ความสำเร็จ ส่วนความเท่าเทียมกันและการกระจาย รายได้เป็นเรื่องรองลงมา เห็นได้จากนโยบายสวัสดิการสังคมที่ มีงบประมาณและมีลำดับความสำคัญน้อยกว่าประเทศพัฒนา แล้วอื่นๆ อยู่มาก โดยสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศพัฒนาแล้วเพียง ประเทศเดียวที่ไม่มีการกำหนดกฎหมายการลาคลอด และเป็น หนึง่ ในสองประเทศในโลกทีไ่ ม่มกี ฎหมายดังกล่าว (ซึง่ อีกประเทศ ได้ แ ก่ ปาปั ว นิ ว กิ น ี ) นอกจากนั ้ น จากข้ อ มู ลของ Forbes ในบรรดากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว สหรัฐอเมริกามีอัตราการ เก็บภาษีเงินได้ตำ่ เป็นอันดับสองรองจากนิวซีแลนด์ นัน่ เป็นเพราะ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเสรีนิยม และต้องการให้กลไกตลาด 34

สามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระ โดยมีกฎหมายกฎระเบียบของ รัฐกำกับดูแลให้น้อยที่สุด ดังนั้น ความตกลงการค้าเสรีจึงเป็น ส่วนหนึง่ ของนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกามาโดยตลอด ตัง้ แต่ NAFTA ซึ ่ ง ครอบคลุ ม สามประเทศ ได้ แ ก่ สหรั ฐ อเมริ ก า แคนาดาและเม็กซิโก ไปจนถึง TPP และ TTIP (Transatlantic Trade and Investment Partnership) ที่กำลังเจรจาร่วมกับ สหภาพยุโรป


อย่างไรก็ดี สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจอยู่ใน สภาวะซบเซา คือ การเกิดกระแสต่อต้านผู้อพยพและการลงทุน ในต่างประเทศ จึงเป็นทีน่ า่ สนใจว่าผูล้ งสมัครประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทั้งสองคนยอมทำตาม “กระแสสังคม” และออกมาต่อต้าน ความตกลง TPP ที่มีสหรัฐฯ เอง เป็นตัวตั้งตัวตีอย่างเห็นได้ชัด แต่หากมองให้ลึกถึงโครงสร้างของกฎหมายสหรัฐฯ จะเห็นได้ว่า ประธานาธิบดีโอบามายังมีโอกาสสุดท้ายทีจ่ ะผลักดันความตกลง TPP ให้ไปถึงเส้นชัยได้ โดยปัจจุบัน มีกระแสว่าทางสำนักงาน ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) จะเสนอความตกลงดังกล่าวให้ รัฐสภาสหรัฐฯ พิจารณาในช่วงเปลี่ยนถ่ายประธานาธิบดี คือ หลังการเลือกตั้งในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 แต่เป็นช่วงก่อน ประธานาธิ บ ดี ค นใหม่ จ ะเข้ า สาบานตนรั บ ตำแหน่ ง ในวั น ที ่ 20 มกราคม 2560 หรือที่เรียกกันว่า Lame-duck Session นอกจากนั้นแล้ว ในความเป็นจริง รัฐสภาสหรัฐฯ ก็สามารถ ทำได้เพียงลงคะแนนเสียงยอมรับหรือไม่ยอมรับเท่านัน้ เนือ่ งจาก ได้ ผ ่ า นกฎหมาย Trade Promotion Authority (TPA) หรือทีเ่ รียกว่า “Fast Track Authority” ไปเมือ่ วันที่ 29 มิถนุ ายน 2559 ซึง่ เป็นการทีร่ ฐั สภาสหรัฐฯ ให้อำนาจเต็มแก่ประธานาธิบดี สหรัฐฯ ในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โดยรัฐสภาไม่สามารถ แก้ไขความตกลงเหล่านั้นได้ ดังนั้น หากประธานาธิบดีโอบามา สามารถผลักดันให้ความตกลง TPP ได้รับความเห็นชอบในสมัย ของตนได้ ก็จะทำให้ผู้สมัครฯ ทั้งสองคนไม่มีอำนาจมาปิดกั้น การมีผลบังคับใช้ของความตกลง TPP ประเทศเล็กๆ อย่างไทยเรา ก็คงต้องติดตามต่อไปอย่างใกล้ชดิ ว่า ประธานาธิบดีโอบามาจะสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายได้สำเร็จ หรือไม่ และอนาคตของความตกลง TPP จะเป็นอย่างไร หากต้องส่งต่องาน ชิน้ สำคัญนีไ้ ปให้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนต่อไป ซึ่งยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่า จะเป็นใคร และการออกมาประกาศต่อต้าน TPP กันอย่างแข็งขัน จะเป็น นโยบายที่แท้จริงของรัฐบาลชุดต่อไป หรือเป็นการแสดงบทบาทเพียงเพื่อ เรียกคะแนนเสียงเท่านั้น นโยบายด้านการเมืองและการค้าระหว่างประเทศ ของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ นั้น ย่อมส่งผลต่อไทยอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ เมื่อสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไทย และเป็นแหล่งนำเข้า ที่สำคัญอันดับ 3 รองจากจีนและญี่ปุ่นเท่านั้น ไทยจึงต้องพิจารณาท่าที การเจรจาในเวทีต่างๆ ทั้ง TPP RCEP APEC และ WTO บนพื้นฐานทาง กฎหมายและแนวทางการเจรจาของสหรัฐฯ รวมทั้งโครงสร้างทางสังคมและ ประวัตศิ าสตร์ โดยไม่นำการใส่สตี ขี า่ วและการต่อสูท้ างการเมืองที่ไม่เป็นสาระ สำคัญมาเป็นปัจจัยพิจารณา 35


การประชุม JTC ไทย - เมียนมา ครั้งที่ 7 วันที่ 7-8 กรกฎาคม 2559 นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงพาณิ ช ย์ เข้ า ร่ ว มการประชุ ม คณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า (Joint Trade Commission : JTC) ไทย - เมียนมา ครั้งที่ 7 ณ กรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมา เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ การค้าระหว่างไทย-เมียนมา

‘ปลัดพาณิชย์’ ร่วมประชุม JTC ไทย-โมซัมบิก ครั้งที่ 1 วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 นางสาวชุตมิ า บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมการประชุม JTC ไทย-โมซัมบิก ครัง้ ที่ 1 ระดับเจ้าหน้าทีอ่ าวุโส ณ กรุงมาปูโต สาธารณรัฐโมซัมบิก เพื ่ อ หารื อ แนวทางการขยายการค้ า และการลงทุ น ระหว่ า ง ไทย-โมซัมบิก

ลงนามถวายพระพรสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ วันที่ 25 กรกฎาคม 2559 นางสาวศิรินารถ ใจมั่น อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนือ่ งในโอกาส วันคล้ายวันพระราชสมภพ 64 พรรษา 28 กรกฎาคม 2559 ณ กระทรวงพาณิชย์

36


ลงพื้นที่ภาคใต้ ให้ความรู้ TPP วันที่ 28 กรกฎาคม 2559 นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผูช้ ว่ ยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนางสาวสุนนั ทา กังวาลกุลกิจ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่า งประเทศ ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา จัดสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับความตกลง TPP และการคุม้ ครองพันธุพ์ ชื ใหม่ภายใต้อนุสญ ั ญา UPOV 1991 แก่เกษตรกรจาก 6 จังหวัดภาคใต้

ลงนาม MOU แลกเปลี่ยนด้านการศึกษา และธุรกิจ ไทย-ญี่ปุ่น วันที่ 29 กรกฎาคม 2559 นางสาวสิรพิ รรณ ลิขติ วิวฒ ั น์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมพิธลี งนาม MOU “ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนทางด้านการศึกษาและธุรกิจ ไทย-ญีป่ นุ่ ” ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ (H.M.) สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ทัพ SMEs ญี่ปุ่น หารือเพิ่มการลงทุน วั น ที ่ 1 สิ ง หาคม 2559 นายชิ น โกะ ซาโตะ ประธานหอการค้าญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย (JCC) พร้อมคณะ ผู้บริหารเข้าพบนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวง พาณิชย์ เพื่อรับทราบนโยบายด้านเศรษฐกิจ และหารือเกี่ยวกับ การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ณ กระทรวงพาณิชย์

37


การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 48 วันที่ 3 สิงหาคม 2559 นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 48 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

“พาณิชย์รวมใจ ทำความดีเพื่อแม่” วันที่ 10 สิงหาคม 2559 นางสาวศิรินารถ ใจมั่น อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมงาน “พาณิชย์รวมใจ ทำความดีเพื่อแม่” เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสมหามงคล เฉลิ ม พระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิ ง หาคม 2559 ณ กระทรวงพาณิชย์

20 สิงหา “วันพาณิชย์” ครบรอบ 96 ปี วันที่ 18 สิงหาคม 2559 นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยผูบ้ ริหารระดับสูง และข้าราชการ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพาณิชย์ ครบรอบปีที่ 96 “วันพาณิชย์” ณ กระทรวงพาณิชย์

38


มอบห้องสมุดอาเซียนเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดสุโขทัย วันที่ 31 สิงหาคม 2559 นางสาวศิรินารถ ใจมั่น อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานในพิธมี อบ ห้องสมุดอาเซียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินนี าถ เนือ่ งในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิ ง หาคม 2559 ให้ แ ก่ โรงเรี ย นเมื อ งเชลี ย ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มอบห้องสมุดอาเซียนเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดระยอง วันที่ 9 กันยายน 2559 นางสาวสิรพิ รรณ ลิขติ วิวฒ ั น์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานในพิธี มอบห้องสมุดอาเซียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินนี าถ เนือ่ งในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 ให้แก่โรงเรียนเพรักษมาตาวิทยา อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มอบห้องสมุดอาเซียนเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 15 กันยายน 2559 นางสาวศิรินารถ ใจมั่น อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานในพิธีมอบ ห้องสมุดอาเซียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินนี าถ เนือ่ งในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 ให้แก่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พัฒนาการ ร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

มอบห้องสมุดอาเซียนเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 23 กันยายน 2559 นางสาวศิรินารถ ใจมั่น อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานในพิธีมอบ ห้องสมุดอาเซียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินนี าถ เนือ่ งในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 ให้แก่โรงเรียนกุยบุรวี ทิ ยา อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 39


E-learning : http://elearning.dtn.go.th/

Google Play


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.