¤Ø¡ѹ¡‹Í¹
สวัสดีค่ะ
ท่ า นผู ้ อ ่ า นวารสารการค้ า ระหว่ า งประเทศทุ ก ท่ า น วารสารฯ ฉบับนี้ ยังคงรับใช้ผู้อ่านด้วยสาระน่ารู้เกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่าง ประเทศเช่นเคย เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงาน พันธมิตร ร่วมกับสมาชิกอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ และอินเดีย ได้ร่วมกันจัดงานสัมมนา วิชาการครั้งส�ำคัญ ASEAN-India Expo and Forum 2017 เพื่อเฉลิมฉลองโอกาส ครบรอบความสัมพันธ์ 25 ปี อาเซียน-อินเดีย และ 70 ปี ไทย-อินเดีย ที่ศูนย์ การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้าระหว่างอาเซียนและอินเดีย “Special Report” มีรายงานในเรื่องนี้ค่ะ เชิญติดตามได้ที่หน้า 4 อย่างไรก็ตาม “unlimited opportunities” ในแดน ภารตะนั้น ไม่ใช่จะเข้าถึงได้ง่ายๆ “รู้ก่อนรุก” จึงเป็นสิ่งส�ำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น ทีมงานวารสารการค้าระหว่างประเทศจึงขอเข้าพบเพือ่ สัมภาษณ์คณ ุ สนัน่ อังอุบลกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จ�ำกัด (มหาชน) และประธาน สภาธุรกิจไทย-อินเดีย ถึงโอกาสของการลงทุนในประเทศอินเดีย และประสบการณ์ ของศรี ไ ทยฯ แถมด้ ว ยเคล็ ด ไม่ ลั บ ก่ อ นเข้ า ไปลงทุ น ในอิ น เดี ย เชิ ญ ติ ด ตาม ได้ในคอลัมน์ “Exclusive Interview” นอกจากนี้ “FTA Corner” ยังพาท่านไปรูจ้ กั “โอกาสใหม่ในตุรกี : ประเทศ สองทวีป” ค้นหาค�ำตอบว่าเหตุใด ไทยเราจึงต้องมองประเทศที่อยู่ไกลสุดขอบทวีป เอเชียอย่างตุรกี และส�ำหรับแฟนคอลัมน์ “เล่าสู่กันฟัง” ผู้เขียนได้ร่วมคณะผู้แทน ไทยฯ ฝ่าคลื่นลมฤดูมรสุมไปร่วมประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (SEOM) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 แล้วฝาก “เซบู: มนต์เสน่ห์เมืองสวรรค์แห่ง ฟิลิปปินส์” มาเพิ่มเสน่ห์ให้กับวารสารฉบับนี้ โปรดติดตามได้ในเล่มค่ะ
P.04
P.11
CONTENT
ÊÒúÑÞ
ปที่ 4 ฉบับที่ 17 กรกฎาคม - กันยายน 2560
P.11
P.19
P.17
P.04
Special Report
P.23
Bitcoin เง¡นตราสกุลใหมของโลก หร อกลลวงเล็กๆ ของระบบเง¡นตรา
25 ป อาเซ ยน-อินเดีย พัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจอยางยั่งยืน
P.08
FTA Corner
โอกาสใหมในตุรกี ประเทศสองทว ป
P.11
AEC Society
5 ทศวรรษอาเซ ยน
P.14
คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาธุรกิจไทย-อินเดีย
P.19
P.26
360 การคาโลก
P.30
สถิติการคาโลก Q&A
P.31
Exclusive Interview
รูไว!!! ไดประโยชน
เร ่องนารูเกี่ยวกับปะการัง (1) ไซเตสกับการอนุรักษปะการัง
IA-CHAT IR-CHAT ถาไม CHAT จะเปนอยางไร…
P.34
MOC AWARD
รางวัล “เพชรพาณิชย” ป 2560
เลาสูกันฟง เซบู มนตเสนหเมืองสวรรคแหงฟลิปปนส
P.08
P.36
DTN Report
P.26
P.36
อาเซียนและอินเดีย ปักหมุดความสัมพันธ์ปีที่ 25 อย่างยิ่งใหญ่
ในงาน ASEAN-India Expo and Forum 2017 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและอินเดีย ผู้บริหารระดับสูงภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง พร้อมสานต่อความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้น
4
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
กัน ย ว ้ ด ป ไ า ้ น เดินห ร โดยไม่ทิ้งใค ไว้ข้างหลัง
เมื่ อ วั น ที่ 2-5 สิ ง หาคม 2560 กระทรวงพาณิ ช ย์ ไ ด้ เ ป็ น เจ้ า ภาพจั ด งาน ASEAN-India Expo and Forum 2017 ในโอกาสครบรอบ 25 ปี ความสั ม พั น ธ์ อาเซี ย น-อิ น เดี ย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิรกิ ติ ิ์ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เป็นประธานเปิดงานและกล่าวปาฐกถาพิเศษ
อาเซี ย นได้ มี ก ารขั บ เคลื่ อ นเศรษฐกิ จ อย่ า งมากในช่ ว ง 10 ปี ที่ ผ ่ า นมา โดยมีการเติบโตถึง 100% จึงถือว่าเป็นกลุม่ เศรษฐกิจใหญ่ของโลก และมีนโยบาย เปิดรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง งานในครั้งนี้จึงเป็นโอกาส อั น ดี ที่ ทั้ ง สองภู มิ ภ าคได้ ร ่ ว มกั น หารื อ แนวทางพั ฒ นาในด้ า นต่ า งๆ อย่ า ง ประสานสอดคล้องกัน และดึงศักยภาพต่างๆ ออกมาใช้ร่วมกัน นอกจากนี้ การใช้ ป ระโยชน์ จ ากเวที RCEP ที่ ค าดว่ า จะได้ ข ้ อ สรุ ป ภายในปี นี้ ก็ จ� ำ เป็ น ต้องได้รับการสนับสนุนจากอินเดียและอาเซียนด้วยเช่นกัน
งาน ASEAN-India Expo and Forum 2017 ASEAN-India Expo ประเทศสมาชิ ก อาเซี ย น 10 ประเทศ ร่ ว มกั บ อิ น เดี ย ได้จดั Country Pavilion เพือ่ แสดงศักยภาพทางเศรษฐกิจ พร้อมทัง้ รวบรวมบริษัทชั้นน�ำและ SME ของอาเซียนและอินเดียมาร่วม จัดแสดงสินค้า ภายใต้แนวคิด “Creative and Digital” โดยได้จัดแสดงสินค้าจากตลาดอาเซียนและอินเดีย ที่มีศักยภาพ ในการแข่งขันในระดับสากล
ASEAN-India Forum ASEAN-India Forum จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2560 ถือเป็นเวทีส�ำคัญในการแลกเปลี่ยนมุมมองต่างๆ ของ บุ ค คลชั้ น น� ำ ทั้ ง ภาครั ฐ และเอกชนจากอาเซี ย นและอิ น เดี ย ในประเด็ น ด้ า นการค้ า การลงทุ น การท่ อ งเที่ ย ว และความ เชื่ อ มโยง เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ความร่ ว มมื อ และวางรากฐานนโยบาย ที่ จ ะเสริ ม สร้ า งความสั ม พั น ธ์ ท างเศรษฐกิ จ ระหว่ า งอาเซี ย น และอินเดียอย่างยั่งยืน
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
5
สรุปสาระส�ำคัญของ ASEAN-INDIA FORUM ด้านการค้าการลงทุน
อาเซี ย นและอิ น เดี ย สามารถสร้ า งความแข็ ง แกร่ ง ด้านเศรษฐกิจ โดยพัฒนาความร่วมมือผ่านสาขาที่มีศักยภาพ ร่วมกันอย่างน้อย 3 ด้าน ได้แก่ การเกษตร อินเดียมีความก้าวหน้าในด้าน IT และเทคโนโลยี ซึ่งอาเซียนและอินเดียสามารถร่วมมือกันพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ของเกษตรกรให้ ดี ขึ้ น โดยควรให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การพั ฒ นา เพือ่ ส่งออกสินค้าเกษตรทีม่ มี ลู ค่าสูงมากกว่าเพียงแค่สง่ ออกสินค้า เกษตรพื้นฐาน การลงทุ น อาเซี ย นและอิ น เดี ย ควรร่ ว มมื อ กั น พั ฒ นา ความพร้อมทางเศรษฐกิจ แรงงาน และเทคโนโลยี เพื่อรองรับ การลงทุนจากต่างประเทศ การส่งเสริมและพัฒนา SMEs อาเซียนและอินเดียควรลด อุปสรรคทางการค้าการลงทุนและยกระดับการอ�ำนวยความสะดวก ทางการค้าระหว่างกัน ทั้งนี้ อาเซียนและอินเดียควรร่วมกัน ผลักดันการเจรจา RCEP ให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อขยายตลาด และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนของทั้งสองภูมิภาค
ด้านการท่องเที่ยวและความเชื่อมโยงของคน อาเซียนถือเป็นจุดหมายปลายทางทีส่ ำ� คัญของนักท่องเทีย่ ว อินเดีย โดยปัจจุบันจ�ำนวนนักท่องเที่ยวที่ท่องเที่ยวด้วยตนเอง ก�ำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาเซียนและอินเดียจึงควรร่วมกัน พั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐานทั้ ง Hard Infrastructure อย่ า ง การเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งทางบก ทางน�้ำ และทางอากาศ และ Soft Infrastructure ทีจ่ ะอ�ำนวยความสะดวกในการท่องเทีย่ ว อาทิ เรื่องการตรวจลงตรา (VISA) และการอ�ำนวยความสะดวก เรื่องเอกสาร 6
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
ในด้านความเชื่อมโยงระหว่างสองภูมิภาค อาเซี ย นและอิ น เดี ย สามารถพั ฒ นาศั ก ยภาพร่ ว มกั น โดยการยกระดับความเชื่อมโยงใน 3 ด้าน ได้แก่ การเชือ่ มโยงทางกายภาพ ซึง่ ปัจจุบนั อาเซียนและอินเดีย มี ถ นนสามฝ่ า ย (Trilateral Highway) เป็ น เส้ น ทางส� ำ คั ญ ที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจของอินเดีย เมียนมา และไทย ซึ่งจะสามารถ ต่อยอดเชื่อมโยงไปยังลาว กัมพูชา และเวียดนามได้ ความเชื่อมโยงทางดิจิทัล (Digital Connectivity) ที่จะ น�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมในอนาคต ซึ่งอาเซียน และอิ น เดี ย จ� ำ เป็ น ต้ อ งร่วมมือกันเพื่อยกระดับ ความสามารถ ในการแข่งขัน
การเชื่อมโยงระบบการเงิน (Financial Connectivity)
ซึง่ ปัจจุบนั อินเดียมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ความส�ำเร็จในนโยบายเศรษฐกิจดิจทิ ลั และระบบการจัดการข้อมูล ทางการเงินของอินเดีย ซึ่งหากอาเซียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับอินเดียได้ทั้งสองภูมิภาคก็จะสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง ในเศรษฐกิจโลกอย่างยั่งยืนต่อไป การจัดงาน ASEAN-India Expo and Forum 2017 ในครั้งนี้ จึงเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่ไทยจะสามารถเป็นจุดเชื่อมโยง สานสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและอินเดีย เพื่อปลดปล่อยศักยภาพ ที่ มี อ ยู ่ อ ย่ า งเต็ ม ที่ แ ละปลดล็ อ คข้ อ จ� ำ กั ด ทั้ ง หลายของทั้ ง สอง ภูมิภาคให้เติบโตไปด้วยกันต่อไป
เพื่อดึงศักยภาพของอินเดียและอาเซียน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งสองฝ่ายควรเร่งพัฒนา ระบบโลจิสติกส์ ในทุกเส้นทาง และการลดปัญหาอุปสรรคทางการค้า และควรให้ความส�ำคัญในเรื่องของการพัฒนา ประชากรในมิติต่างๆ ร่วมกัน วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
7
COR
NER
ตุรกี โอกาสใหม่ใน
ประเทศสองทวี ป
โดย ส�ำนักเอเชีย แอฟริกาและยุโรปตะวันออก
ค
วามพยายามในการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุนระหว่างไทย-ตุรกี ค่ อ ยเห็ น เป็ น รู ป เป็ น ร่ า งอย่ า งชั ด เจนขึ้ น เมื่ อ รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงพาณิ ช ย์ (นางอภิรดี ตันตราภรณ์) และรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของตุรกี (นาย Nihat Zeybekçi) ได้ประกาศการเปิดเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-ตุรกี ไปเมือ่ เดือนกรกฎาคมทีผ่ า่ นมา ที่ประเทศตุรกี อีกทั้ง ยังได้ตั้งเป้าท�ำยอดการค้าสองฝ่ายให้ขยายตัว 2 เท่า ภายใน 3 ปี ซึ่งนับเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งความสัมพันธ์ทางการค้าไทย-ตุรกี อย่างแท้จริง
8
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
ตุรกี...คู่ค้าส�ำคัญของไทย
FTA ไทย-ตุรกี...จุดเริม่ ต้นของความสัมพันธ์ทยี่ งั่ ยืน
การริเริ่มจัดท�ำ FTA ไทย-ตุรกี เป็นผลมาจากเจตนารมณ์ ของทั้ ง สองประเทศที่ จ ะกระชั บ ความสั ม พั น ธ์ ท างการค้ า ภายใต้ แ ผนปฏิ บั ติ ก ารร่ ว มระหว่ า งรั ฐ บาลไทยและตุ ร กี ซึ่ ง รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงการต่ า งประเทศของทั้ ง สองฝ่ า ย ได้ ล งนามแผนปฏิ บั ติ ก ารฯ เมื่ อ ปี 2556 ระหว่ า งเยื อ นตุ ร กี ของนายกรัฐมนตรีไทย ซึง่ ต่อมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิ ช ย์ ได้ เ สนอคณะรั ฐ มนตรี ใ ห้ ค วามเห็ น ชอบ ร่างกรอบการเจรจาจัดท�ำ FTA ไทย–ตุรกี เมือ่ วันที่ 28 กรกฎาคม 2558 ประกอบด้วยประเด็นการเจรจาที่ส�ำคัญด้านการค้าสินค้า ตุรกีเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีประชากรประมาณ 80 ล้านคน และเรื่องที่เกี่ยวข้อง แต่ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถเปิดเจรจากันได้ และมีนักท่องเที่ยวปีละกว่า 30 ล้านคน โดยมีขนาดเศรษฐกิจ เนื่องจากตุรกีไม่พร้อมและมีเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศ ใหญ่เป็นอันดับที่ 19 ของโลก อีกทัง้ ยังเป็นสมาชิกของกลุม่ ประเทศ G20 และเข้าเป็นสมาชิกของความตกลงสหภาพศุลกากรกับ จนกระทัง่ เมือ่ วันที่ 19 กรกฎาคม 2560 ทีผ่ า่ นมา ทัง้ สองฝ่าย สหภาพยุโรป และได้จดั ท�ำความตกลงการค้าเสรีกบั ประเทศต่างๆ ประสบความส�ำเร็จในการประกาศเปิดการเจรจาโดยรัฐมนตรี มีผลบังคับใช้แล้วกว่า 23 ประเทศ โดยธนาคารโลกจัดตุรกีเป็น ว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นางอภิรดี ตันตราภรณ์) และรัฐมนตรี ประเทศ upper-middle income country และเป็น emerging กระทรวงเศรษฐกิจของตุรกี (นาย Nihat Zeybekçi) ได้ลงนาม market มีก�ำลังซื้อสูง โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูง-กลาง ที่ก�ำลัง ปฏิ ญ ญาร่ ว มว่ า ด้ ว ยการประกาศเริ่ ม การเจรจาความตกลง ขยายตั ว อย่ า งรวดเร็ ว ในขณะเดี ย วกั น ประเทศไทยก็ ตั้ ง อยู ่ การค้าเสรีไทย-ตุรกี ณ กรุงอังการา สาธารณรัฐตุรกี ถือเป็นจุดเริม่ ต้น ตรงกลางของประเทศในกลุ่มอาเซียน จึงสามารถเป็นศูนย์กลาง การเจรจาของทั้งสองประเทศ อีกทั้ง ยังได้ตั้งเป้าท�ำยอดการค้า ในการกระจายสินค้าและแหล่งลงทุนแห่งใหม่ให้แก่ตุรกีได้เช่นกัน สองฝ่ายให้ขยายตัว 2 เท่า ภายใน 3 ปี และในช่วงบ่าย คณะผูแ้ ทน ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นได้ว่าไทยและตุรกียังคงมีลู่ทางขยายการค้า ทั้ ง สองฝ่ า ย น� ำ โดยอธิ บ ดี ก รมเจรจาการค้ า ระหว่ า งประเทศ (นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร) และอธิบดีกรมกิจการสหภาพยุโรป และการลงทุนระหว่างกันอย่างมาก
ตุรกีเป็นประเทศสองทวีป คือ มีดินแดนอยู่ทั้งในทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป จึงสามารถเป็นสะพานเชือ่ มระหว่างเอเชียกับยุโรป และเป็นจุดเชื่อมต่อทางการค้าทั้งด้านเหนือ-ใต้ และตะวันออกตะวั น ตก นอกจากนี้ ตุ ร กี เ ป็ น ประเทศมุ ส ลิ ม แบบเปิ ด จึ ง มี ความสัมพันธ์ทดี่ กี บั กลุม่ ประเทศในตะวันออกกลางทีเ่ ป็นประเทศ มุ ส ลิ ม ด้ ว ยกั น ไทยจึ ง สามารถใช้ ตุ ร กี เ ป็ น สะพานเชื่ อ มต่ อ ทางการค้าไปสูป่ ระเทศต่างๆ ได้ อาทิ ยุโรปตะวันออก กลุม่ ประเทศ บอลข่าน และแอฟริกาตอนเหนือ
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
9
กระทรวงเศรษฐกิจตุรกี (นาย Murat Yapici) ก็ได้เริม่ ประชุมเจรจา กันรอบแรก ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเจรจาครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ทั้งการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และประเด็นอื่นๆ โดยจะเริ่ม จากการเจรจาการค้าสินค้าและประเด็นที่เกี่ยวข้องก่อน เช่น กฎว่าด้วยถิ่นก�ำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากร เป็นต้น ทั้งสองฝ่าย ตั้งเป้าหมายให้การเจรจาแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2561 ซึ่งเป็น ปีฉลองครบรอบ 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย กับตุรกี
ไทยจะได้อะไรจาก FTA ไทย-ตุรกี การจั ด ท� ำ FTA ไทย-ตุรกี จะช่วยพัฒ นาความสัมพันธ์ ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน เพราะเป็นการขจัดอุปสรรค ทางการค้าทั้งในรูปภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี จึงเป็นการเสริมสร้าง ศักยภาพของไทยในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ อี ก ทั้ ง จะช่ ว ยรั ก ษาส่ ว นแบ่ ง ตลาดและขี ด ความสามารถ ในการแข่งขันของไทยกับคู่แข่งในอาเซียน เนื่องจากปัจจุบันตุรกี ท�ำ FTA กับมาเลเซียและสิงคโปร์แล้ว และอยู่ระหว่างการเจรจา และศึกษาความเป็นไปได้กับอินโดนีเซียและเวียดนาม นอกจากนี้ FTA ไทย-ตุรกี จะช่วยลดผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิประโยชน์ ทางภาษี (Generalized System of Preferences: GSP) ซึ่งตุรกีได้ตัดสิทธิ GSP ของไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ทั้ ง นี้ ผลการศึ ก ษาความเป็ น ไปได้ ข องมู ล นิ ธิ ส ถาบั น วิ จั ย นโยบายเศรษฐกิจการคลัง (มูลนิธิ สวค.) พบว่า GDP ของไทย จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.03-0.04 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 74-99 ล้านเหรียญสหรัฐ และการส่งออกของไทยไปโลกจะเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 0.03-0.05 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 50-90 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงคาดได้วา่ หากการเจรจาส�ำเร็จเรียบร้อย และ FTA มีผลบังคับใช้ จะท�ำให้ไทยและตุรกีสามารถบรรลุเป้าการค้าระหว่างกันทีก่ ำ� หนด ให้ขยายตัว 2 เท่า ภายใน 3 ปี FTA ไทย-ตุรกี จึงมีความส�ำคัญ ไม่แพ้ FTA อื่น และเป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกที่จะช่วยเสริมทัพสินค้า และบริการส่งออกของไทยให้สดใสในตลาดโลก
10
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
ผลการเจรจาจะเป็นอย่างไร คงต้องติดตามกัน อย่างใกล้ชิดต่อไป...
ส�ำนักอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
หลายท่าน
คงคุน้ เคยกับค�ำว่า ‘อาเซียน’ และ ‘AEC’ ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา แต่ท่านทราบไหมว่าในปี 2560 นี้ อาเซียนมีวาระครบรอบ 50 ปีแล้ว นับตั้งแต่ได้ก่อตั้งสมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ASEAN ตามปฏิญญา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ด้วยเหตุผลด้านเสถียรภาพ ของภูมิภาคในขณะนั้น และริเริ่มโดย 5 ประเทศ จนกระทั่งมี 10 ประเทศสมาชิกในปัจจุบัน ขนาดประชากรกว่า 630 ล้านคน กล่าวได้วา่ เป็นภูมภิ าคทีม่ คี วามหลากหลายทางวัฒนธรรม เชือ้ ชาติ ศาสนา ภาษา สังคม และการเมือง มีความแตกต่างของระดับ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ แต่ก็ได้พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน และมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคม อาเซียน (ASEAN Community) ได้ส�ำเร็จเมื่อ 31 ธันวาคม 2558
ซึง่ จะต้องไม่ลมื ว่าประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 ประชาคมหลัก คือ การเมืองและความมั่นคง (APSC) เศรษฐกิจ (AEC) สังคมและ วัฒนธรรม (ASCC) ส�ำหรับในด้านเศรษฐกิจก่อนก้าวสู่ AEC นัน้ นับย้อนไปตัง้ แต่ การจัดตัง้ เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA เมือ่ ปี 2535 เพือ่ ขยาย การค้าโดยทยอยลดภาษีนำ� เข้าสินค้าระหว่างกัน ท�ำให้ปจั จุบนั ภาษี น�ำเข้าสินค้าภายใต้อาเซียน ส่วนใหญ่ลดเป็นศูนย์แล้ว นอกจากนี้ อาเซียนยังมีเป้าหมายที่ครอบคลุม อาทิ การยกเลิกมาตรการ ที่มิใช่ภาษี การอ�ำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งพัฒนาเป็น ความตกลงด้านการค้าสินค้า การจัดท�ำความตกลงด้านการค้า บริการและการลงทุนที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าไป จัดตั้งธุรกิจหรือไปให้บริการในประเทศอาเซียนอื่นได้ง่ายขึ้น
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
11
ในระหว่างปี 2550-2558 อาเซียนขับเคลื่อนการด�ำเนินงาน ภายใต้แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC Blueprint 2015 ซึง่ มีเป้าหมายเพือ่ ให้อาเซียนเป็นภูมภิ าคทีม่ นั่ คง มั่งคั่ง มีขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมกับพัฒนาการ ทางเศรษฐกิจทีเ่ ท่าเทียมกัน โดยอาเซียนได้ดำ� เนินมาตรการทีช่ ว่ ย อ�ำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ อาทิ การปรับประสาน มาตรฐานสิ น ค้ า เกษตรและอุ ต สาหกรรม การจั ด ท� ำ ระบบ การอ�ำนวยความสะดวกทางการค้าต่างๆ เช่น ระบบการเชื่อมโยง ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (National Single Window) ระบบรับรองถิ่นก�ำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self Certification) ระบบสืบค้นอัตราภาษี (Tariff Finder) ระบบ ASSIST ที่ให้ นักธุรกิจสามารถร้องเรียนปัญหาการค้าการลงทุนมายังหน่วยงาน ภาครัฐของอาเซียนทางเว็บไซต์ รวมถึงจัดท�ำคลังข้อมูลทางการค้า ของไทยผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.thailandntr.com AEC ช่วยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและเสริมสร้างขีดความ สามารถของประเทศสมาชิ ก ส่ ง ผลให้ อ าเซี ย นมี บ ทบาทและทวี ความส�ำคัญต่อเศรษฐกิจโลกมากยิ่งขึ้น เห็นได้จากขนาดเศรษฐกิจ ที่เติบโตขึ้นกว่าเท่าตัวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันอาเซียน เป็นภูมิภาคที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก และอันดับ 3 ของทวีปเอเชีย รองจากจีนและญี่ปุ่น และเป็นตลาดขนาดใหญ่ อันดับ 3 ของโลก รองจากจีนและอินเดีย นอกจากนี้ อาเซียนกลายเป็น คู่ค้าอันดับ 1 ของไทยนับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม กระแสการเปลีย่ นแปลงของสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนของโลกทีเ่ กิดขึน้ อยูต่ ลอดเวลาเป็นปัจจัยผลักดัน ให้ อ าเซี ย นต้ อ งมองออกไปยั ง ภายนอกกลุ ่ ม และเชื่ อ มโยงการค้ า การลงทุนกับเศรษฐกิจโลก ควบคู่กับการสร้างความแข็งแกร่งภายใน ภูมิภาค ให้พร้อมต่อการเป็นส่วนหนึ่งของ Global Value Chain และ สามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาในภูมิภาค อาเซียน จึงมีความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA จ�ำนวน 5 ฉบับ กับ 6 ประเทศ คู่เจรจา ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
12
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
นอกจากนี้ อาเซียนยังจัดท�ำความตกลงหุน้ ส่วนทางเศรษฐกิจ ระดับภูมภิ าค (RCEP) กับทัง้ 6 ประเทศคูเ่ จรจาดังกล่าว อีก 1 ฉบับ ซึ่งหากการเจรจา RCEP เป็นผลส�ำเร็จ อาเซียนจะได้ประโยชน์ ร่วมกันในหลายด้าน เช่น การขยายสิทธิประโยชน์ให้แก่ประเทศ สมาชิก โดย RCEP มีประชากรรวมกันถึงกว่า 3,500 ล้านคน หรื อ เกื อ บครึ่ ง หนึ่ ง ของโลก มี GDP ร้ อ ยละ 29 ของโลก ซึ่งมากกว่าหนึ่งในสี่ของมูลค่า GDP รวมของโลก และครอบคลุม การค้าโลกประมาณร้อยละ 29 รวมทั้ง RCEP จะเป็นแหล่งรองรับ การขยายศักยภาพของผู้ประกอบการทั้งในด้านการส่งออกสินค้า บริการ และการลงทุน รวมถึงเครือข่ายการผลิตและกระจายสินค้า การขยายตลาดและกระจายแหล่งน�ำเข้าปัจจัยการผลิตทีม่ คี ณ ุ ภาพ ในราคาที่ถูกลงจาก16 ประเทศ และจะช่วยลดความซ�้ำซ้อน ของกฎเกณฑ์และกฎระเบียบที่เกิดจาก FTA ทั้ง 5 ฉบับของ อาเซียนกับ 6 ประเทศคู่เจรจา นอกจากนี้ อาเซียนยังมีการด�ำเนิน ความร่ ว มมื อ ทางเศรษฐกิ จ ในด้ า นต่ า งๆ อย่ า งใกล้ ชิ ด กั บ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา และรัสเซียอีกด้วย
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนเป็นกระบวนการ ที่มีความต่อเนื่อง และมีพลวัตเพื่อให้ก้าวทันกระแสการค้าโลก ซึ่งทิศทางการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนสู่ทศวรรษหน้า ปรากฏอยู ่ ใ นแผนงานประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย นฉบั บ ใหม่ หรื อ AEC Blueprint 2025 ที่ น อกจากจะมุ ่ ง เน้ น การเพิ่ม ประสิทธิภาพของมาตรการการรวมกลุ่มในปัจจุบันให้ใกล้ชิดขึ้น ยั ง ก� ำ หนดแนวทางการรั บ มื อ ต่ อ ประเด็ น ความท้ า ทายใหม่ ๆ การให้ความส�ำคัญกับ MSMEs พาณิชย์อเิ ล็กทรอนิกส์ นวัตกรรม การวิ จั ย และพั ฒ นา ซึ่ ง จะช่ ว ยสร้ า งความเข้ ม แข็ ง ให้ กั บ ผู้ประกอบธุรกิจและระบบเศรษฐกิจภายในของประเทศสมาชิก และเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาค อาเซี ย นอย่ า งยั่ ง ยื น ในการดึ ง ดู ด การค้ า และการลงทุ น จาก ต่างประเทศ ท�ำให้อาเซียนเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่มูลค่าโลก (GVCs) ได้ไม่วา่ บริบทของโลกในอีก 10 ปีขา้ งหน้าจะเปลีย่ นแปลง อย่างไร อาเซียนยังคงมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้กับการรวมกลุ่ม ทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้อาเซียนสามารถตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
13
คุณสนั่น อังอุบลกุล
ประธานสภาธุรกิจไทย-อินเดีย
เมื่อเร็วๆ นี้
กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานพันธมิตร ร่วมกับสมาชิกอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ และอินเดีย ได้ร่วมกัน จัดงานสัมมนาวิชาการและแสดงสินค้า ASEAN-India Expo and Forum 2017 เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ 25 ปี อาเซียน-อินเดีย และ 70 ปี ไทย-อินเดีย ทีศ่ นู ย์การประชุมแห่งชาติสริ กิ ติ ิ์ เป็นการส่งสัญญาณอย่างมีความหมายว่า อาเซียน และอินเดียต่างพร้อมแล้วที่จะเชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้าการลงทุนระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม “รู้ก่อนรุก” เป็นสิ่งจ�ำเป็นอย่างยิ่ง ทีมงานวารสารการค้าระหว่างประเทศ จึงเข้าพบเพื่อสัมภาษณ์คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศรี ไทย ซุปเปอร์แวร์ จ�ำกัด (มหาชน) ซึ่งท่านด�ำรงต�ำแหน่งประธานสภาธุรกิจไทย-อินเดีย ถึงโอกาสของการลงทุนในประเทศอินเดีย และประสบการณ์ของศรี ไทยฯ ในอินเดีย
มองอินเดีย ส�ำหรับอินเดีย เราจะมองเป็น 1 ประเทศไม่ได้ ต้องมอง เป็ น 29 ประเทศ เพราะว่ า อิ น เดี ย เป็ น ประเทศที่ มี ร ะบอบ การปกครองแบบสหพันธรัฐ (Federation) แบ่งออกเป็น 29 รัฐ มีประชากรมากถึง 1,200 ล้านคน เมือ่ เทียบกับไทยมีเพียง 67 ล้านคน ต้องมองเป็นรัฐไปก่อน รัฐที่ควรจะติดต่อท�ำธุรกิจด้วย ก็ควรมี ขนาดประชากรใกล้เคียงกับประเทศไทยมากที่สุด และการติดต่อ ประสานงานกับรัฐบาลของรัฐก็สะดวกกว่ารัฐบาลกลางในช่วง
14
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
4-5 ปีที่ผ่านมา อินเดียมีอันดับความยากง่ายในการท�ำธุรกิจ หรือ Ease of Doing Business ดีขึ้นมาก มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบให้นักธุรกิจสามารถเข้าไปด�ำเนินธุรกิจได้สะดวกขึ้น นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรี Narendra Modi เข้าด�ำรงต�ำแหน่ง ในปี 2557 ก็ได้พยายามปรับเปลีย่ น “red tape” สู่ “red carpet” เพื่อต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ
นอกจากนี้ รั ฐ บาลกลางของอิ น เดี ย ยั ง ได้ ส ร้ า งระบบ ที่เรียกว่า Competitive Federalism คือ ให้มีการแข่งขันกัน ระหว่างรัฐต่างๆ โดยการจัดอันดับ Performance ของแต่ละรัฐ และเปิดเผยให้ประชาชนทราบ รัฐบาลของแต่ละรัฐก็ต่างเร่ง ยกระดับขึ้นมาทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ และชีวิต ความเป็นอยูข่ องประชาชน รัฐใดมี Performance ดี ก็จะถูกยกย่อง และประกาศให้ประชาชนรับทราบ ท�ำให้ทุกรัฐต้องปรับตัวรับ การแข่งขันอยู่ตลอดเวลา อีกอย่างทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ หรือ uniqueness ของอินเดีย คือ ใน 4 ปีที่ผ่านมา มีธุรกิจ Start up เป็นจ�ำนวนมากถึง 19,000 บริ ษั ท ซึ่ ง มี มู ล ค่ า การตลาดกว่ า 100 พั น ล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ และเติบโตอย่างก้าวกระโดดเช่น Start up ด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมทางการเงิน โดยเฉพาะในระยะหลัง อินเดียมีการท�ำ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Cashless Transaction) มากขึ้น ที่ประเทศไทย บริการการเงินอิเล็กทรอนิกส์ยังจ�ำเป็นต้องท�ำผ่าน เครื่องโทรศัพท์ Smart Phone แต่ในอินเดียประชาชนไม่มีเงินซื้อ Smart Phone แต่สามารถช�ำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่าน ทางโทรศัพท์มือถือธรรมดาราคาไม่กี่ร้อยบาทได้ แนวคิดนี้เกิดขึ้น อย่างรวดเร็วภายใน 1 สัปดาห์ และได้ท�ำการจดสิทธิบัตรและ จ�ำหน่ายได้กว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิม่ โอกาสให้กบั คนหลาย ร้อยล้านคน เพราะอินเดียมีผทู้ มี่ ี Smart Phone เพียง 300 ล้านคน ส่วนที่เหลือ 800-900 ล้านคน เป็นคนทั่วไปที่ไม่มี Smart Phone รัฐบาลก็สนับสนุนการท�ำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มที่ สมัยก่อนถ้าจะสมัครงาน หรือขอรับบริการต่างๆ จากราชการ ก็จะต้องกรอกเอกสารต่างๆ แต่ปัจจุบันออนไลน์หมดแล้วนับเป็น สิ่งที่ดี
อินเดียยังมีอีกหลายปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุนของต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะวิศวกร ซึ่งอินเดียขึ้นชื่อว่ามีความสามารถด้านวิศวกรรมแบบ Frugal Engineering คือ สามารถค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยมีต้นทุนการผลิตต�่ำที่สุด เพื่อให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยสามารถ เข้าถึงผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้ เรื่องนโยบายของรัฐบาลที่จะสร้าง Smart City 100 เมือง เพื่อรองรับคนจากชนบทที่จะขยับขยาย เข้ามาท�ำมาหากินในเมืองใหญ่มากขึ้น ก็จะต้องมีการพัฒนา โครงสร้างพืน้ ฐาน ปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะ ถนน ระบบก�ำจัด ของเสีย/น�ำ้ เสีย ตลอดจน เรือ่ งแผนทีร่ ฐั บาลจะจัดท�ำบันทึกข้อมูล ทางชีวภาพ (bio-metric) เพื่อใช้จ�ำแนกบุคคลหรือแสดงตน ของประชาชนชาวอินเดียทั้ง 1,200 ล้านคน ก็จะเกิดฐานข้อมูล ขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถน�ำไปท�ำประโยชน์ต่อยอดได้อีกมาก เมื่อปลายปี 2559 นายกรัฐมนตรี Narendra Modi ยังได้ ยกเลิกการใช้ธนบัตร 500 รูปี และ 1000 รูปี เพื่อขจัดปัญหา เงินนอกระบบ และธนบัตรปลอม เนื่องจากในระยะหลัง พบ การหมุนเวียนของธนบัตร 2 ราคานี้ สูงกว่าปกติ อีกทั้งยังเป็น การแก้ปัญหาผู้หลีกเลี่ยงภาษี ซุกซ่อนเงินสดไว้เป็นจ�ำนวนมาก และเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียได้น�ำระบบภาษี Goods and Services Tax หรื อ GST มาใช้ เพื่ อ ให้ เ ป็ น One Market One Tax และแก้ไขปัญหาระบบภาษีของอินเดีย ที่ค่อนข้างจะซับซ้อนอยู่มาก อีกทั้งยังมีความซ�้ำซ้อนระหว่างรัฐ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้นักธุรกิจเข้าไปท�ำธุรกิจ ในอินเดียได้อย่างสะดวกมากขึ้น วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
15
เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง ส�ำหรับคนไทยที่จะเข้าไปท�ำธุรกิจในอินเดีย หากไม่รู้จะเริ่ม จากตรงไหน ให้นกึ เทียบกับเมืองไทยก็จะคล้ายๆ กัน รัฐบาลกลาง อิ น เดี ย จะมี Invest India ซึ่ ง เป็ น หน่ ว ยงานรั ฐ วิ ส าหกิ จ คอยช่วยเหลือนั ก ลงทุ น อิ น เดี ย และต่ า งชาติ หน้ า ที่ ห ลั ก ของ Invest India คือ ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ตามนโยบาย ของนาย Anand Sharma อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอุตสาหกรรมอินเดีย ที่ให้ Invest India มุ่งส่งเสริมการลงทุน ของต่ า งชาติ ใ นอิ น เดี ย อย่ า งเป็ น ระบบ บริ ก ารให้ ค� ำ ปรึ ก ษา อย่างใกล้ชดิ ตลอดจน การบริการสนับสนุนทีเ่ กีย่ วข้องแก่นกั ลงทุน โดยเฉพาะ SMEs และกิจการต่างชาติที่เป็นธุรกิจครอบครัว
เคล็ดไม่ลับ ฉบับย่อ ก่อนเข้าไปลงทุนในอินเดีย เลือกรัฐที่จะเข้าไปก่อน ต้องเลือกรัฐที่มีประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการเป็นอันดับต้นๆ เช่น รัฐคุชราต ซึ่งแต่ละรัฐ จะมี Investor Friendly Organization คอยช่วยเหลือนักลงทุน เช่น รัฐคุชราตจะมี “iNDEXTb หรือ Industrial Extention Bureau” ซึง่ จะมีเจ้าหน้าทีใ่ ห้คำ� แนะน�ำและปรึกษาด้านการลงทุน ครบวงจร เป็น One Stop Service รัฐที่ติดอันดับ Investor Friendly สูงที่สุด มีนักลงทุน ต่างชาติมากทีส่ ดุ ได้แก่ รัฐคุชราต ถือว่าเป็นถนนสายอุตสาหกรรม ของอินเดีย ซึ่ง GDP ของคุชราต ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีอัตรา การขยายตัวราว 10 % ซึ่งสูงกว่าจีน ดังนั้น ก็ต้องรู้จักเลือกรัฐว่า รัฐใดที่เราควรจะไปลงทุน ซึ่งตอนนี้ FDI ในอินเดียค่อนข้างจะโต เร็วมาก เฉลี่ยอยู่ที่ราวร้อยละ 20 ต่อปี ส่วนรัฐอื่นๆ หลังจากที่มี การแข่งขันและจัดอันดับ ก็ปรับตัวขึ้นมา เช่น รัฐอานธรประเทศ และรัฐกรณาฎกะ เป็นต้น
16
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
เข้าไปพูดคุยกับบริษทั ไทยทีเ่ ข้าไปลงทุนในอินเดียอยูแ่ ล้ว เช่น อิตัลไทย ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ ไทยซัมมิทฯ ซีพี วีรับเบอร์ ทองการ์เด้น และ SCG เป็นต้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ประสบการณ์จริง ดูตลาดและความพร้อมของปัจจัยการผลิต ต้องเลือกรัฐ ให้เหมาะกับสินค้า เหมาะกับความพร้อมของเรา ดูว่าตลาดหรือ ผู้บริโภคอยู่ที่ไหน เช่น จะไปตั้งโรงงานผลิตเนื้อไก่ที่คุชราตก็จะมี ปัญหา เพราะในคุชราตกว่า 80 % รับประทานมังสวิรัต และก็ จะหาพนักงานฆ่าไก่ไม่ได้ นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานและ โลจิ ส ติ ก ส์ ข องเมื อ งก็ มี ค วามส� ำ คั ญ มาก หากบริ เ วณที่ ตั้ ง อยู่ใน logistic corridor ก็จะลดต้นทุนการขนส่งไปได้มาก
ศรีไทยฯ ในแดนภารตะ บริษัท ศรีไทย ซุปเปอร์แวร์ จ�ำกัด เริ่มเข้าไปท�ำธุรกิจตั้งแต่ ปี 2553 แต่จริงๆ ขายภาชนะเมลามีนในอินเดียมากว่า 40 ปี แล้ว ขายแบบส่งออก ที่อินเดียจะมีบริษัทผู้น�ำเข้าและจัดจ�ำหน่าย ภายใต้แบรนด์ซุปเปอร์แวร์ คนอินเดียจะชื่นชอบภาชนะเมลามีน ของเรามาก สมั ย ก่ อ นคนอิ น เดี ย ที่ ม าประเทศไทยจะต้ อ งถื อ ซุปเปอร์แวร์กลับคนละ 1 ชุด เนื่องจากศุลกากรอินเดียอนุญาต ให้ซื้อกลับได้ 1 ชุด เราจึงมองว่าอินเดียเป็นโอกาส ในปี 2553 จึงได้เข้าไปเริ่มธุรกิจ โดยท�ำการตลาดแบบขายตรง เพราะเรามี ประสบการณ์และความช�ำนาญอยู่แล้ว นอกจากนี้ เรายังเห็นว่า ผู้หญิงชาวอินเดียส่วนมากจะเป็นแม่บ้าน อายุประมาณ 45-50 ปี เพราะจะแต่งงานกันเร็ว มีลูกเร็ว เมื่อลูกโตก็มีเวลาว่างมาก จึงใช้ เวลาว่างของผู้หญิงอินเดียให้เกิดประโยชน์กับเรา ซึ่งก็ปรากฏว่า สินค้าของศรีไทยฯ เป็นที่นิยมมาก มีการจ�ำหน่ายอยู่ใน 17 เมือง รวมทั้ง เดลี (Delhi) และเมื่อเร็วๆ นี้ เรายังได้วางแบรนด์ใหม่ ชื่อ Ektra by Superware เป็นสินค้าพรีเมี่ยมราคาสูง ก็ได้รับ การตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี จากการที่ยอดขายของศรีไทยฯ ในอินเดียมีการขยายตัว เติบโตขึ้น 17-18% ต่อปี เราจึงต้องพิจารณาตั้งโรงงานในอินเดีย ซึ่งก็พอดีกับในช่วงปลายปี 2558 รัฐบาลอินเดียเรียกเก็บภาษี ตอบโต้การทุ่มตลาด (anti-dumping duty) ผลิตภัณฑ์เมลามีน จากประเทศไทย จีน และเวียดนาม ก็ถอื เป็น blessing in disguise เพราะเราก็กำ� ลังจะเริม่ ผลิตสินค้าทีโ่ รงงานของเราต้นปี 2559 พอดี บริ ษั ท ฯ ได้ เ ลื อ กไปตั้ ง โรงงานที่ รั ฐ คุ ช ราตเพราะตลาดเรา อยู ่ แ ถบนั้ น อี ก ทั้ ง คุ ช ราตยั ง เป็ น รั ฐ ที่ Investor Friendly
หน่วยงานต่างๆ ของรัฐช่วยอ�ำนวยความสะดวกให้เป็นอย่างมาก คอรัปชั่นไม่มี ท�ำให้ท�ำงานได้อย่างสบายใจ เราตั้งโรงงานบนพื้นที่ 18 ไร่ ไม่ไกลจากคานธีนาการ์ เมืองหลวงของรัฐคุชราต เพื่อให้ แรงงานเดินทางได้โดยสะดวก ในช่วงแรกๆ ก็มีปัญหาแรงงาน มี Turnover สูง เราเข้มงวดในการฝึกฝีมือและทักษะพิเศษ เพราะงานของเราต้องใช้ฝีมือ ท�ำให้ประสบปัญหาในช่วงแรก แต่ตอนนีเ้ ข้าทีแ่ ล้ว และจะเดินหน้าเต็มทีใ่ นปี 2561 ความต้องการ สินค้าก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งธุรกิจโฮเรกา (HoReCa) ในอินเดีย ขณะนี้ ก็ ก� ำ ลั ง ขยายตั ว คนอิ น เดี ย ยุ ค ใหม่ ก็ เริ่ ม มี แ นวคิ ด และ พฤติกรรมต่างไปจากเดิม เมือ่ คนออกไปท�ำงานนอกบ้านและมีเวลา ท�ำอาหารทานเองน้อยลง ก็นิยมทานข้าวนอกบ้านกันมากขึ้น อิ น เดี ย จึ ง เป็ น โอกาสทองส� ำ หรั บ ผู ้ ผ ลิ ต สิ น ค้ า กลุ ่ ม เครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ บ นโต๊ ะ อาหาร ตลอดจน สิ น ค้ า ในกลุ ่ ม อาหารและ ผลิตภัณฑ์อย่างแท้จริง
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
17
ปรัชญาในการด�ำเนินชีวิต ผมให้ ค วามส� ำ คั ญ เรื่ อ งคนเป็ น พิ เ ศษ เนื่ อ งจาก โลกปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก คนจะเป็น ผู ้ ที่ น� ำ เทคโนโลยี ม าใช้ จึ ง อยากสร้ า งคนไทยตั้ ง แต่ ยังอยู่ในวัยเรียน เน้นเรื่องของการเป็น global citizen ต้ อ งสามารถอยู ่ ร ่ ว มและเข้ า ใจผู ้ ค นในโลกที่ แ ตกต่ า ง ทั้ ง วั ฒ นธรรม ความคิ ด มุ ม มอง และวิ ถี ชี วิ ต ซึ่ ง ผม ท�ำมาตลอด 40 ปี โดยช่วยโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน ของ AFS (American Field Service) อยู่ เป็นโครงการ แลกเปลี่ ย นวั ฒ นธรรมของเยาวชน ซึ่ ง โครงการนี้ เป็นต้นแบบสร้าง global citizen ที่เข้มแข็งที่สุดในโลก นอกจากนี้ ผมว่าเราต้องท�ำในสิ่งที่เราถนัด มีการ follow through และต้องรู้จักแบ่งปันให้กับผู้อื่น ถ้าเรา มีมากพอแล้ว เช่น สติปญ ั ญาความรู้ ต้องแบ่งปันความรูใ้ ห้ กับผู้อื่น เรื่องเวลาก็ต้องจัดสรรเวลาให้คนอื่น อย่าว่าไม่มี เวลา เราต้องเป็นนายของเวลา ไม่ใช่เป็นทาสของเวลา เรือ่ ง CSR ถ้ า มี เ กิ น พอ ต้ อ งรู ้ จั ก แบ่ ง ปั น ให้ กั บ คนอื่ น จะท�ำให้สังคมน่าอยู่ เชื่อว่าถ้าสังคมดี เศรษฐกิจก็จะดี ถ้ า สั ง คมไม่ ดี เ ศรษฐกิ จ ก็ จ ะไม่ ดี แต่ ที่ สิ่ ง ส� ำ คั ญ สุ ด คื อ ต้องท�ำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ ผู้บริหารส่วนใหญ่ ท� ำ งานหนั ก ก็ ยิ่ ง จ� ำ เป็ น ต้ อ งท� ำ ให้ ชี วิ ต มี ค วามสมดุ ล ด้วยการออกก�ำลังกายเป็นประจ�ำสม�ำ่ เสมอ อย่างผมชอบ เดินในสนามกอล์ฟ ก็จะท�ำเป็นประจ�ำทุกเช้าก่อนเริม่ งาน
“ ”
ถ้ามีเกินพอ ต้องรู้จักแบ่งปัน ให้กับคนอื่น จะท�ำให้สังคมน่าอยู่ เชื่อว่าถ้าสังคมดี เศรษฐกิจก็จะดี
18
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
โดย คณพล วงศ์ใหญ่
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
19
CEBU CITY
หลายครั้งที่ผมได้ยินเพื่อนๆ พี่ๆ ที่ชอบกิจกรรมด�ำน�้ำเป็นชีวิต
จิตใจ พูดถึงเมืองทีม่ ชี อื่ แปลกหูอย่าง ‘เซบู’ จึงได้ถามกลับไปว่า เซบู อยูท่ ปี่ ระเทศ อะไร ก็ได้รบั ค�ำตอบว่าอยูท่ ปี่ ระเทศฟิลปิ ปินส์ ซึง่ ในใจคิดเสมอว่าจะต้องหาโอกาส ไปสัมผัสมนต์เสน่ห์ที่ผู้คนร�่ำลือกันสักครั้งในชีวิต ไม่น่าเชื่อว่าผมเองจะได้มี โอกาสไปสัมผัสกับเมืองเซบูเป็นครั้งแรกในชีวิต เนื่องจากได้เดินทางร่วมกับ คณะผู้แทนไทยไปประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (SEOM) 3/48 เมื่อต้น เดือนกรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของผม ในการได้เรียนรู้ และซึมซับเอาความสวยงามของบ้านเมือง ผูค้ น และวัฒนธรรม ที่โดดเด่นของเซบูในที่สุด
เซบู เป็นเมืองที่มีลักษณะเป็นเกาะ โดยเป็นหนึ่งใน
7,641 เกาะ ของประเทศฟิลิปปินส์ มีขนาดพื้นที่รวม 4,933 ตารางกิโลเมตร เซบูเคยเป็นเป็นเมืองเก่าแก่ของฟิลิปปินส์ ที่มีประวัติศาสตร์อย่างยาวนาน โดยปัจจุบันเซบูเป็นที่รู้จักกัน ในนามของเมืองที่มีความสวยงามทางธรรมชาติ โดยเฉพาะ ทรั พ ยากรธรรมชาติ ท างทะเลที่ มี ค วามสวยงามไม่ แ พ้ แหล่งท่องเที่ยวดังๆ ในประเทศอื่นเลย ท�ำให้เป็นแหล่งดึงดูด นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกให้เข้ามาท่องเที่ยวในเซบู ดังนั้น ถ้าใครมีโอกาสมาสัมผัสความงดงามของที่นี่ จะไม่แปลกใจเลย
ทีเ่ ราจะเห็นชาวเอเชียจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะนักท่องเทีย่ วชาวจีน รวมถึงเกาหลีใต้ เนือ่ งจากสองประเทศนีม้ เี ทีย่ วบินบินตรงจากจีน และเกาหลีใต้มาที่เซบู วันละหลายเที่ยวบิน กิจกรรมส่วนใหญ่ ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบคงหนีไม่พ้นกิจกรรมทางทะเล ไม่ว่าจะ เป็ น การล่ อ งเรื อ เพื่ อ ชมฉลามวาฬ กิ จ กรรมเอ็ ก ซตรี ม อย่ า ง “Canyoneering” ทีส่ ามารถไต่ไปตามหน้าผา และน�ำ้ ตกบนเกาะ เซบู ซึง่ เหมาะส�ำหรับผูช้ นื่ ชอบการท�ำกิจกรรมตืน่ เต้น เร้าใจ หรือ ถ้ า ใครชอบล่ อ งแพ ก็ ส ามารถล่ อ งแพที่ น�้ ำ ตก Kawasan ที่มีน�้ำทะเลสีเขียวใสให้ได้สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
น�้ำตก Kawasan ทะเลบน
เกาะ CE
20
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
BU
วันแรกของการเดินทางเพื่อเข้าร่วมการประชุม SEOM ทีเ่ มืองเซบู ประเทศฟิลปิ ปินส์ ผมออกเดินทางโดยสายการบินไทย ในตอนเช้ า เพื่ อ ออกเดิ น ทางไปกรุ ง มะนิ ล า เมื อ งหลวงของ ฟิลิปปินส์ก่อน โดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง แล้วจึงต่อเครื่อง ของสายการบิน Philippines Airlines ในช่วงบ่ายไปยังเมืองเซบู ซึ่งใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาที แต่ทุกอย่าง ล้ ว นอยู ่ บ นความไม่ แ น่ น อน เนื่ อ งจากคณะเดิ น ทางของเรา ต้องเจอกับความตืน่ เต้น เนือ่ งจากพอไปถึงสนามบินภายในประเทศ เพื่ อ ต่ อ เครื่ อ งไปยั ง เซบู ก็ ต ้ อ งพบกั บ โรคเลื่ อ นของเครื่ อ งบิ น ภายในประเทศ หรือทีเ่ รียกว่า Delay กว่าจะเรียกขึน้ เครือ่ งก็ลา่ ช้า กว่าก�ำหนดการเดิมไปกว่า 2 ชั่วโมง แต่ความตื่นเต้นยังมีต่อเนื่อง เพราะว่าพอเรียกทุกคนขึน้ เครือ่ งแล้ว ระหว่างการ taxi เพือ่ เทคออฟ จากสนามบิน พบว่าการจราจรของสนามบินหนาแน่น ท�ำให้ต้อง นั่งรอบนเครื่องอีกหนึ่งชั่วโมงกว่า ท�ำให้คณะของเราไปถึงล่าช้า กว่าก�ำหนดเกือบสามชั่วโมง แต่ความเหนื่อยล้าต่างๆ ก็หายไป อย่างน่าอัศจรรย์หลังจากที่เราเดินทางถึงเมืองเซบู
โรงแรมที่จัดการประชุม ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเซบู โดยห่าง จากย่าน Timesquare ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของเมืองไม่มากนัก ต้ อ งขอขอบคุ ณ เจ้ า ภาพจั ด การประชุ ม อย่ า งฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ทีใ่ ห้การต้อนรับ และดูแลเรือ่ งความปลอดภัยกับผูเ้ ข้าร่วมการประชุม เป็นอย่างดี ซึ่งวันแรกที่ไปถึง ด้วยความชื่นชอบในการเปิดรับ สภาพบ้านเมืองในต่างประเทศที่เรายังไม่เคยไป จึงได้เดินชมเมือง รอบๆ บริเวณที่พัก ซึ่งอยู่ติดกับห้างสรรพสินค้าใหญ่ของเซบู ซึ่ ง ที่ น ่ า สั ง เกตก็ คื อ มี ร ้ า นค้ า ที่ เ ป็ น แบรนด์ ต ่ า งชาติ ม าเปิ ด ในห้างสรรพสินค้าหลากหลายมาก แต่ที่น่าสนใจคือร้านฟาสต์ฟูด ทีม่ คี นต่อคิวแน่นร้าน นัน่ คือ “Jollibee” ซึง่ เป็นฟาสต์ฟดู สัญชาติ ฟิลปิ ปินส์ ทีไ่ ด้รบั ความนิยม และมีสาขาไปทัว่ โลก ซึง่ ผมก็ไม่พลาด ที่จะชวนพี่ๆ ที่เดินทางไปร่วมประชุมด้วยไปลองของใหม่ๆ ซึ่งเมนู เด็ดของร้านเห็นจะเป็นไก่ทอดหนังกรอบ ทอดจนเหลือง แต่สำ� หรับ คนไทยรสชาติอาจจะหนักไปทางเค็ม ซึ่งเห็นตรงกันในหมู่คนไทย ว่าอาหารส่วนใหญ่ของฟิลิปปินส์ จะมีรสเค็มเป็นหลัก กินแล้ว ต้องดื่มน�้ำตามมากๆ กันเลยทีเดียว
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
21
ในวันที่สามของการประชุม เนื่องจากในช่วงเย็นภายหลัง จากที่ ป ระชุ ม เสร็ จ แล้ ว ผมได้ ค ้ น หาสถานที่ ที่ น ่ า ท่ อ งเที่ ย ว ในช่วงเย็นของเมืองเซบูอีกแห่งหนึ่ง โดยทราบมาว่าในช่วงเย็น ชาวเมืองเซบูชอบที่จะไปรวมตัวกันใน ‘IT Park’ ซึ่งผมได้ตัดสินใจ เรียกแท็กซี่ เพือ่ ออกไปดูสกั หน่อยว่าในช่วงเย็นชาวเซบูแฮงค์เอ้าท์ กันอย่างไร ส�ำหรับ IT Park จะเป็นย่านทีม่ ตี กึ สูงอยูร่ วมกัน ลักษณะ คล้ายกับตึกในเมืองทองธานีของไทย โดยจะแบ่งออกเป็นตึก ที่ อ ยู ่ อ าศั ย และตึ ก ออฟฟิ ศ ซึ่ ง ออฟฟิ ศ ที่ นี่ ส ่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น บริษัทข้ามชาติ ซึ่งให้บริการด้าน Operator และศูนย์ IT Server เป็นหลัก เนือ่ งจากคนฟิลปิ ปินส์มคี วามรูค้ วามเชีย่ วชาญด้านภาษา อังกฤษ ทีส่ ามารถสือ่ สารและใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว มีสำ� เนียง ทีด่ ไี ม่แพ้คนอเมริกนั เลยทีเดียว ท�ำให้บริษทั ต่างชาติเข้ามาตัง้ สาขา เป็นจ�ำนวนมาก มาถึงที่นี่แล้วผมเลือกที่จะรับประทานอาหาร ในร้านดังของเมืองเซบู ซึ่งเสิร์ฟอาหารอเมริกัน ทั้งพิซซ่า ไส้กรอก และที่ขาดไม่ได้ก็คือไก่ทอด (อาหารยอดฮิตของชาวฟิลิปปินส์) ซึ่งสร้างความประทับใจ และเพิ่มพลังหลังจากที่ประชุมมาทั้งวัน
เล่ามาถึงจุดนี้ ผู้อ่านคงสงสัยว่าผู้เขียนได้มีโอกาสสัมผัส น�้ำทะเลสวย ฟ้าใส ของเซบูหรือเปล่า? บอกได้เลยว่าพลาดไม่ได้แน่นอน เพราะก่อนเดินทางกลับ ผมได้มีโอกาสเดินทางไปทะเลในย่าน Mactan ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ล่องเรือออกไปสัมผัสในทะเล ในหมู่เกาะที่ซ่อนอยู่ของเซบู แต่ผมก็ได้สัมผัสกับน�้ำทะเล และเม็ดทรายละเอียดของเซบู ซึ่งต้องยอมรับว่าที่นี่ดูแล เรื่องความสะอาดของชายหาดได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว โอกาสดีๆ แบบนี้ผมก็ไม่พลาดที่จะเก็บภาพความสวยงาม และความประทับใจของที่นี่ไว้ก่อนเดินทางกลับไทย
สุ ด ท้ า ยนี้
สิ่ ง ที่ ผู ้ เ ขี ย นได้ สั ม ผั ส จากเมื อ งเซบู นอกจากวั ฒ นธรรม ที่ โ ดดเด่ น และสถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วทางธรรมชาติ ที่ ส วยงามแล้ ว เห็ น จะเป็ น เรื่ อ งของ ผู ้ ค นชาวเมื อ งเซบู ที่ ยิ้ ม แย้ ม แจ่ ม ใส และสามารถต้ อ นรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วได้ อ ย่ า งดี นักท่องเที่ยวไม่ต้องเผชิญกับความยากล�ำบากในการสื่อสาร อีกทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็ ถื อ ว่ า อยู ่ ใ นราคาที่ ค นไทยสามารถเดิ น ทางท่ อ งเที่ ย วได้ และมี โ รงแรมให้ เ ลื อ ก หลากหลาย ตั้งแต่โรงแรมในเครือระหว่างประเทศ หรูหรา ไปจนถึงบูติกโฮเต็ลติดทะเล ที่สามารถแนบชิดธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิด ท�ำให้ต้องยอมรับว่าผู้เขียนหลงในเสน่ห์ ของเซบู และคงหาโอกาสที่จะกลับไปท่องเที่ยวแบบจริงจังอีกสักครั้งในชีวิต
22
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
โดย สุชาญ ไวยชีตา ส�ำนักการค้าบริการและการลงทุน
บิทคอยน์ (Bitcoin) คืออะไร บิทคอยน์ คือ สกุลเงินดิจทิ ลั ซึง่ อยูภ่ ายใต้การดูแลของระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อมุ่งหวังที่จะให้เป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยนเสมือนเงินตราในการจ่ายเงินเพื่อซื้อขายสินค้า และบริการ ส�ำหรับทดแทนเงินตราสกุลดัง้ เดิมต่างๆ ทีเ่ คยใช้กนั อยู่ อาทิ ดอลลาร์ เยน ยูโร หรือ บาท Bitcoin พัฒนามาจากแนวคิด นวัตกรรมใหม่ของทีมงาน Mr. Craig Steven Wright (โดยใช้ ชื่อนามแฝงว่า Mr. Satoshi Nakamoto) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ที่ต้องการสร้างสกุลเงินที่เป็นสกุลกลางของโลกโดยไม่ต้องผ่าน ธนาคารท�ำให้ประหยัดค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน และไม่ต้อง กังวลเรือ่ งการตรวจสอบบัญชีหรือโดนอายัดเงินอีกด้วย บิทคอยน์ มีการเริม่ ต้นใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2552 มีชื่อย่อของสกุลเงิน คือ “BTC” เป็นเงินตราในรูปแบบที่เรียกว่า “Cryptocurrency” ทีต่ อ้ งใช้การเข้ารหัสในการควบคุมการสร้างและโอนเงิน ตัวเงินตรา บิทคอยน์นั้นสามารถสร้างขึ้นใหม่ด้วยการ “ไมน์นิ่ง” (Mining) หรือภาษาไทยเรียกว่า การขุดเหมือง ซึง่ เป็นกระบวนการตรวจสอบ ยืนยันและบันทึกการช�ำระเงิน โดยค่าธรรมเนียมในการช�ำระเงิน ต�่ำกว่าการช�ำระผ่านระบบธนาคาร
บิทคอยน์ มีวิธกี ารใช้งานอย่างไร แม้ว่าบิทคอยน์จะสามารถใช้ส�ำหรับช�ำระค่าสินค้าและ บริ ก ารได้ เ หมื อ นสกุ ล เงิ น กระดาษ แต่ เ นื่ อ งจากบิ ท คอยน์ ถูกออกแบบมาให้ใช้งานในระบบดิจทิ ลั นัน่ หมายความว่าจะใช้เงิน ในส่วนนี้ได้ก็ต่อเมื่อท�ำการลงโปรแกรมซอฟต์แวร์เพื่อสร้างบัญชี การซือ้ -ขาย และการสร้างบัญชีเพือ่ ซือ้ ขายดังกล่าวไม่มคี วามจ�ำเป็น ทีจ่ ะต้องเปิดเผยตัวตนของผูใ้ ช้บริการ (USER) นอกจากบิทคอยน์ จะสามารถใช้ ซื้ อ สิ น ค้ า และบริ ก ารต่ า งๆ ได้ แ ล้ ว บิ ท คอยน์ ยังสามารถใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนกับเงินจริงๆ ได้อีกด้วย หลักการท�ำงานของบิทคอยน์ คือ เมื่อมีธุรกรรมการโอนเงิน เกิ ด ขึ้ น ธุ ร กรรมนั้ น จะต้ อ งได้ รั บ การตรวจสอบและยื น ยั น โดยเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่าย โดยมีระบบบันทึก การช�ำระเงินที่เรียกว่า ระบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer to peer)1 ซึ่ง จะจั ด เครื อ ข่ า ยของเครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ แ ต่ ล ะเครื่ อ งที่ อ ยู ่ ใ น เครื อ ข่ า ยร่ ว มกั น โดยจะเก็ บ ไฟล์ ข ้ อ มู ล ที่ เ กิ ด ขึ้ น รวมไปถึ ง การบันทึกและรวบรวมข้อมูลการเชือ่ มต่อเข้าด้วยกัน โดยไม่จำ� เป็น ต้องมีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นศูนย์กลาง การจัดการข้อมูล ด้วยเหตุนี้ จึงท�ำให้บิทคอยน์เป็นระบบเงินตรา ทีไ่ ม่อยูภ่ ายใต้การควบคุมของบุคคลใดบุคคลหนึง่ เครือ่ งคอมพิวเตอร์ ที่ท�ำหน้าที่ตรวจสอบ จะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินบิทคอยน์ จ�ำนวนหนึ่ง
1 Peer to Peer คือ วิธีการจัดเครือข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายจะร่วมกันเก็บไฟล์ข้อมูลที่เกิดขึ้นรวมไปถึงการบันทึกและรวบรวม
ข้อมูลการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นศูนย์กลางการจัดการข้อมูล
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
23
ที่มาของ Bitcoin การขุดเหมืองบิทคอยน์ (Bitcoin Mining)
การค้าบิทคอยน์ หมายถึง การที่เราน�ำเงินไปซื้อบิทคอยน์โดยตรงและ เก็บเป็นทรัพย์สินของตนเอง ซึ่งการลงทุนค้าบิทคอยน์นั้น ตัวผูค้ า้ เองจะต้องมีความรูใ้ นการซือ้ ขาย ซึง่ เหมือนกับการลงทุน ซื้อขายหุ้น ซื้อถูกขายแพง หาจังหวะซื้อ-ขาย โดยดูจากข่าว เศรษฐกิจทั่วโลก เป็นต้น
บิทคอยน์ ในรูปแบบอื่นๆ
ถือเป็นการก�ำเนิดของบิทคอยน์ ซึง่ จะท�ำให้ปริมาณบิทคอยน์ ในตลาดโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นจ�ำนวนมาก การขุดเหมือง สามารถท� ำ ได้ โ ดยการซื้ อ ซอฟแวร์ แ ละอุ ป กรณ์ ส� ำ หรั บ การประมวลผลบิทคอยน์ (CPU Mining) และการขุดเหมืองนี้ คือการค�ำนวณหาค่า Block Chain หรือค่าของตัวเลขทีเ่ ก็บข้อมูล ของทุกๆ ธุรกรรมทีจ่ า่ ยเงินผ่านบิทคอยน์ การค�ำนวณดังกล่าว เป็นการใช้เทคนิคการถอดรหัส (Code) เพื่อช่วยเน้นย�้ำและ ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมว่า รายการท�ำธุรกรรมจริง หรือรายการเอกสารทีท่ ำ� ปลอมขึน้ มา การค�ำนวณดังกล่าวจ�ำเป็น ต้ อ งใช้ พ ลั ง งานในการค� ำ นวณที่ สู ง มาก ผู้ออกแบบระบบ จึงให้การค�ำนวณดังกล่าวได้รับผลตอบแทนกลับมา 1 Block ต่อ 25 Bitcoin ซึ่งอัตราส่วนดังกล่าวจะถูกปรับโดยอัลกอริธึม ในโปรแกรม Mining อย่างอัตโนมัติ เพือ่ เป็นการควบคุม Supply ของจ�ำนวนบิทคอยน์ทจี่ ะถูกสร้างขึน้ ในระบบไม่ให้เกิดเหตุการณ์ ทีเ่ รียกว่าเงินเฟ้อ โดยเรียกกระบวนการดังกล่าวว่าการท�ำเหมือง บิทคอยน์ ปัจจุบันมีการสร้างระบบเหมืองออนไลน์บิทคอยน์ (Cloud Mining)2 ให้แก่ผู้ใช้บริการ โดยเปิดบริการให้เช่าระบบ อุปกรณ์ประมวลผลเหมืองบิทคอยน์ (CPU Mining) ที่เรียกว่า ASIC (Application Specific Integrated Circuits) ซึ่งมี ความสามารถในการประมวลผลที่มีหน่วยเป็น Hash 3 ต่อวินาที เพื่ อ ใช้ ส� ำ หรั บ การประมวลผลเป็ น ผลตอบแทนในรู ป แบบ บิทคอยน์ 2
เช่น บิทคอยน์ที่ได้จากการเล่นเกมออนไลน์ ชิงรางวัล เป็นบิทคอยน์ หรือการลงทุนในเว็บไซต์ตา่ งๆ เพือ่ รับของรางวัล เป็นบิทคอยน์ ซึ่งอาจจะต้องวิเคราะห์ว่าเว็บไซต์ใดที่ไม่เข้าข่าย หลอกลวงให้เสียทรัพย์สิน อาทิ เกมส์ไพ่ออนไลน์ (Black Jack) เกมส์คาสิโนออนไลน์ เป็นต้น การให้บริการแลกเปลี่ยนบิทคอยน์ ปัจจุบันมีบริษัทจากต่างประเทศรายใหญ่ เข้ามาเปิดให้บริการในไทย อยู่ 2 ราย คือ Coins.co.th และ Bitcoin Thailand ทั้ ง 2 บริ ษั ท จ ด ท ะ เ บี ย น ถู ก ต ้ อ ง ตามกฎหมายไทย และมีธนาคารพาณิชย์ รายใหญ่ 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ไทยพาณิชย์ กสิกรไทย กรุงศรีอยุธยา และ ธนาคารธนชาติ รับช�ำระเงินบิทคอยน์แล้ว โดยเมื่ อ ผู ้ ค ้ า รั บ บิ ท คอยน์ ม าแล้ ว และ ต้ อ งการแลกเปลี่ ย นเป็ น สกุ ล เงิ น บาท ก็สามารถน�ำมาแลกได้ที่ธนาคารเหล่านี้
ระบบ Cloud Mining คือการแชร์พลังงานในการขุดของเครื่องขุดที่ควบคุมจากเครื่อง Server หลัก โดยผู้ใช้บริการสามารถที่จะใช้แค่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตน เชื่อมต่อกับระบบ Cloud Mining ก็สามารถเก็บบิทคอยน์ได้ 3 Hash คือ หน่วยวัดความเร็วในการประมวลผลข้อมูลของเครื่องขุดบิทคอยน์
24
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
ธุรกิจบริการที่ได้รับผลกระทบจากการใช้บิทคอยน์ การใช้ บิ ท คอยน์ เข้ า มาช่ ว ยในการท� ำ ธุ ร กรรมช� ำ ระค่ า สิ น ค้ า และบริ ก ารอาจก่ อ ให้ เ กิ ด ความเสี่ ย งและผลกระทบ ต่อบางธุรกิจบริการ อาทิ
ธุรกิจบริการด้านสถาบันการเงินและธนาคาร การทีผ่ คู้ นสามารถโอนเงินระหว่างกันได้โดยไม่ผา่ นสถาบัน การเงินหรือธนาคารซึง่ ใช้บญ ั ชีธนาคาร หากแต่สามารถเลือกส่ง หรือรับบิทคอยน์จากมือถือของตนเอง จึงสุ่มเสี่ยงที่กลุ่มบุคคล ที่ไม่หวังดี จะท�ำการโจรกรรมโดยการขโมยบิทคอยน์ผ่านระบบ ออนไลน์ ดั ง นั้ น การสร้ า งความมั่ น ใจว่ า บั ญ ชี ข องลู ก ค้ า ที่ท�ำธุรกรรมด้านการเงินจะต้องไม่เปิดใช้งานระบบการกู้รหัส ผ่ า นทางโทรศั พ ท์ และการสร้ า งพาสเวิ ร ์ ด (Password) ที่ ป ลอดภั ย เพื่ อ รองรั บ การเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ผ่ า นโทรศั พ ท์ มื อ ถื อ จึงเป็นสิ่งส�ำคัญ
ธุรกิจดนตรี ธุรกิจสตาร์ทอัพเริม่ เข้ามามีผลกระทบต่อวงการดนตรี อาทิ บริษัทหน้าใหม่อย่าง Ujo Music และ Stem ที่เสนอผลงาน ศิลปินเพลงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ท�ำให้การแบ่งรายได้ให้แก่ ศิลปินกลายเป็นเรื่องง่าย เนื่องจากแฟนเพลงสามารถจ่ายเงิน ให้ แ ก่ ศิ ล ปิ น ได้ โ ดยตรงทั น ที ที่ ศิ ล ปิ น อั พ โหลดเพลงของตน ขึ้นไปไว้ที่แพลตฟอร์มอย่าง YouTube Spotify ไม่จ�ำเป็นต้อง ผ่านค่ายเพลงและต้องเสียส่วนแบ่งรายได้
สถานการณ์ธุรกิจบิทคอยน์ ในประเทศไทย ในประเทศไทย ปั จ จุ บั น บิ ท คอยน์ ยั ง อยู ่ ใ นสถานะ “ไม่รับรอง” ให้เป็นเงินสกุลที่ถูกต้องตามกฎหมายของไทย แม้รัฐบาล มีนโยบายพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่ยุค 4.0 จ�ำเป็น ต้องมีการเพิ่มมูลค่าสินค้า ส่งเสริมผู้ประกอบการและท�ำให้ เกิดธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ๆ พร้อมทั้งส่งเสริมด้านนวัตกรรม และดิ จิ ทั ล แต่ ก ารพั ฒ นาระบบการเงิ น ด้ ว ยเทคโนโลยี (Financial Technology : Fintech) นั้นยังนับว่าเป็น เรื่องใหม่ส�ำหรับประเทศไทย ปัจจุบนั ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ทำ� การศึกษาถึงข้อดี และข้อเสียของบิทคอยน์ รวมถึงเงินสกุลดิจทิ ลั อืน่ ๆ เนือ่ งจาก สถานะของบิทคอยน์ ในประเทศไทยนั้นยังคงคลุมเครือ และ ยังไม่มีกฎหมายรองรับแม้จะไม่ผิดกฎหมาย และผู้ใช้สามารถ ใช้บิทคอยน์ได้ แต่ก็ต้องแบกรับความเสี่ยงเอง อย่างไรก็ดี เอกสารอ้างอิง 1.บทความ เรื่อง “Bitcoin คืออะไร” จากเว็บไซต์ www.siamblockchain.com
ธุรกิจบริการด้านการกุศล ปัจจุบนั องค์กรการกุศลหลายๆ แห่ง อาทิ Human Rights Foundation, American Red Cross, Electronic Frontier Foundation และ United Way ได้มีการน�ำบิทคอยน์มาใช้ เป็นช่องทางในการรับบริจาคในบางประเทศ อาทิ เวเนซุเอล่า การใช้บิทคอยน์มีเสถียรภาพมากกว่าค่าเงิน และบิทคอยน์ไม่มี ผู้ควบคุมหรือเป็นเจ้าของได้แม้แต่รัฐบาล ในธุรกิจบริการด้าน การกุศล กลุ่มผู้รับเงินบริจาคในองค์กรการกุศล สามารถเลือก รับเงินจากกลุ่มผู้บริจาคเงินหลายกลุ่มได้ โดยไม่ต้องกังวลความ ผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคาร นอกจากนี้ การใช้ บิทคอยน์บริจาค ผู้บริจาคไม่จ�ำเป็นต้องแสดงตนก็ได้
ธุรกิจการพนัน หากกล่าวถึงเกมออนไลน์คาสิโนที่ใหญ่ที่สุดขณะนี้ คือ Dragon’s Tale ซึ่งเป็นเกมแนว RPG ที่ใช้บิทคอยน์แทนชิพ เหรียญพนัน โดยผู้เล่นสามารถเล่นจากที่บ้านและภายใน 3 ปี แรกของการเปิดให้บริการของ Dragon’s Tale นั้น มีผู้เล่น หลายคนท�ำแจ็คพอตแตกได้รับรางวัลไปแล้วกว่า 406,000 บิทคอยน์ (หรือราวๆ 44 ล้านเหรียญสหรัฐ) การที่บิทคอยน์ สามารถเคลื่อนย้ายได้เสมือนเงินอย่างรวดเร็ว อีกทั้งไม่ต้องระบุ ตัวตน และไม่จ�ำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานใด ท�ำให้ธุรกิจคาสิโนเป็นธุรกิจหนึ่งที่อาจได้รับผลกระทบจาก บิทคอยน์ การเชื่อมโยงโลกผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่มีนวัตกรรมใหม่ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีการคิดค้นปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เพื่อพัฒนางานบริการสะดวก และรวดเร็ว รวมทั้ง เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านการค้า และบริ ก าร อาจท� ำ ให้ ไ ทยจะต้ อ งเปิ ด รั บ การท� ำ ธุ ร กรรม ผ่านระบบ Cryptocurrency ซึ่งรวมถึงบิทคอยน์ โดยที่ บิ ท คอยน์ ไ ม่ ใช่ ส กุ ล เงิ น ที่ ส ามารถใช้ ช� ำ ระหนี้ ได้ ต ามกฎหมายไทย ผู ้ ป ระกอบการและนั ก ลงทุ น จึ ง ควร ระมัดระวังและศึกษาข้อมูล และท�ำความเข้าใจในเรือ่ งดังกล่าว เนื่องจากมีความเสี่ยงที่มูลค่าของหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เหล่านี้จะผันผวน หรือปรับลดค่าลงได้อย่างรวดเร็ว และ อาจใช้เป็นช่องทางใน การหลอกลวงน�ำไปสู่การฟอกเงิน นอกจากนี้ อาจท�ำให้ภาคธุรกิจทีเ่ กีย่ วข้องกับอัตราแลกเปลีย่ น ของผู ้ ป ระกอบธุ ร กิ จ /สถาบั น การเงิ น ได้ รั บ ผลกระทบ ด้านรายได้จาการใช้บิทคอยน์ แม้การใช้บิทคอยน์จะสร้าง ความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภคในการโอนเงินและช�ำระเงิน ระหว่างกันก็ตาม วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
25
ไซเตส
เรือ่ งน่ารูเ้ กีย่ วกับปะการัง (1)
กับการอนุรักษ์ปะการัง จันทรา ศิริอุทัยกร ส�ำนักยุโรป
ท่าน
ผู้อ่านคงเคยได้ยินข่าวการจับขบวนการลักลอบตัดปะการังในท้องทะเลไทย หรือจับนักท่องเที่ยวที่เก็บปะการัง มาโพสต์ลงสื่อออนไลน์ หรือจับผู้ลักลอบน�ำเข้าปะการังเพื่อจ�ำหน่ายตามใบสั่งกันมาบ้างแล้ว หลายท่านอาจสงสัยว่าการตัด การเก็บ การน� ำ เข้ า การส่ ง ออก รวมถึ ง การค้ า ปะการั ง ท� ำ ไมถึ ง มี ค วามผิ ด จนต้ อ งมี ก ารจั บ -ปรั บ กั น หรื อ กรณี ที่ มี ผู้ ป ระกอบการ อัญมณีบางรายต้องการน�ำเข้าปะการังมีค่า (precious coral) มาใช้ ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับในประเทศไทย จะสามารถ ท�ำได้หรือไม่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนี้ วารสารการค้าระหว่างประเทศ ขอน�ำเสนอบทความน่าสนใจเกี่ยวกับปะการัง ในฉบับนี้ จะกล่าวถึงปะการังในบริบทของอนุสัญญาไซเตส ซึ่งเป็นความตกลงระดับพหุภาคีในการอนุรักษ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ และในฉบับหน้าจะกล่าวถึงกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองปะการัง
26
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
อนุสัญญาไซเตส (CITES) อนุสญ ั ญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึง่ ชนิดสัตว์ปา่ และ พืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES หรือ ไซเตส) เป็นความตกลงระดับพหุภาคีทมี่ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ คุม้ ครอง สัตว์ปา่ และพืชป่าทีใ่ กล้สญ ู พันธ์ โดยควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ของสินค้าที่ได้รับการคุ้มครองผ่านระบบใบอนุญาต และภาคี CITES จะต้ อ งจั ด ให้ มี ก ฎหมายภายในประเทศเพื่ อ บั ง คั บ ใช้ อนุ สั ญ ญาฯ นี้ ซึ่ ง จะต้ อ งรวมถึ ง การก� ำ หนดบทลงโทษ การครอบครองหรือการค้าตัวอย่างพันธุ์ ที่ขัดต่ออนุสัญญาฯ ปัจจุบันมีภาคี 183 ประเทศ โดยไทยได้ลงนามรับรองอนุสัญญาฯ เมื่อปี 2518 และให้สัตยาบันเมื่อปี 2526
บัญชี ชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ถูกควบคุมด้านการค้า ทั้งน�ำเข้า ส่งออก re-export และการน�ำสินค้าเข้าทางทะเล ภายใต้ CITES
บัญชีหมายเลข 1
บัญชีหมายเลข 2
บัญชีหมายเลข 3
“ใกล้สูญพันธุ์ ห้ามค้า ในเชิงพาณิชย์”
“ไม่ใกล้สูญพันธุ์ ค้าได้ แต่ต้องควบคุม”
“ภาคีที่เป็นถิ่นก�ำเนิด ขอให้คุ้มครอง”
ชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่มีสถานภาพ ใกล้สูญพันธุ์ จึงห้ามค้าในเชิงพาณิชย์ จะอนุญาตให้ค้าได้ ในกรณีพิเศษเท่านั้น การส่งออกจะต้องได้รบั ความยินยอมจาก ประเทศน�ำเข้า
ชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ยังไม่ใกล้ สูญพันธุจ์ งึ อนุญาตให้คา้ ในเชิงพาณิชย์ ได้ โดยมีการควบคุมเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในภาวะ ใกล้สูญพันธุ์
ชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ประเทศภาคี ซึ่งเป็นถิ่นก�ำเนิดประกาศเป็นสัตว์ป่าและ พืชป่าหวงห้าม/คุ้มครองตามกฎหมาย จึงขอความร่วมมือจากประเทศภาคีอื่น ให้ช่วยดูแลในการค้าระหว่างประเทศ
อาทิ ช้าง เสือโคร่ง หมี ชะนี
อาทิ งูหลาม นาก โลมา ลิง ปะการัง
ทั้งนี้ CITES ไม่ห้ามหากประเทศภาคีจะก�ำหนดมาตรการคุ้มครองที่เข้มงวดกว่าที่ก�ำหนดในอนุสัญญาฯ โดยแต่ละภาคีอาจมีการใช้บังคับกฎหมายที่มีความเข้มงวดแตกต่างกัน
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
27
“ปะการัง”
กับอนุสัญญาไซเตส (CITES)
สัตว์ในตระกูลปะการัง กัลปังหา และดอกไม้ทะเลจัดเป็น สัตว์อนุรักษ์ที่อยู่ภายใต้อนุสัญญา CITES ในบัญชี หมายเลข 2 และบัญชีหมายเลข 3 ซึง่ เป็นชนิดพันธุส์ ตั ว์ปา่ /พืชป่าทีย่ งั ไม่ถงึ กับ ใกล้สญ ู พันธุ์ จึงอนุญาตให้คา้ ในเชิงพาณิชย์ได้ แต่ตอ้ งมีการควบคุม เพื่อมิให้กระทบต่อความอยู่รอดจนอาจเป็นสาเหตุให้อยู่ในภาวะ ใกล้สูญพันธุ์ การค้าชนิดพันธุ์ในบัญชีนี้ ประเทศผู้ส่งออกจะต้อง ออกใบอนุ ญ าตในการส่ ง ออกแต่ ล ะครั้ ง และบางชนิ ด พั น ธุ ์ มีการก�ำหนดโควตาส่งออกของแต่ละประเทศ ส�ำหรับการน�ำเข้า CITES ไม่ บั ง คั บ ว่ า ต้ อ งมี ใ บอนุ ญ าตน� ำ เข้ า แต่ ก็ ไ ม่ ไ ด้ ห ้ า ม หากประเทศภาคีจะก�ำหนดให้ต้องขออนุญาตน�ำเข้า
บัญชีหมายเลข 2 ภายใต้ CITES
บัญชีหมายเลข 3 ภายใต้ CITES
ก�ำหนดเงื่อนไขการน�ำเข้า / ส่งออก ดังนี้
เป็นชนิดพันธุ์ที่มีการคุ้มครองอย่างน้อยใน 1 ประเทศ ก�ำหนดเงื่อนไข ดังนี้
การส่งออกชนิดพันธุ์ ใดๆ จะต้องมีการออกใบอนุญาต ส่งออกหรือใบรับรองการส่งกลับออกไป (re-export) ถ้าชนิดพันธุ์นั้นๆ ได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และ ถ้ า การส่ ง ออกจะไม่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด อั น ตรายต่ อ การคงอยู ่ ของชนิดพันธุ์นั้นๆ
การส่งออกชนิดพันธุ์ ใดๆ จากประเทศที่มีการคุ้มครอง ในบั ญ ชี 3 จะต้ อ งมี ก ารออกใบอนุ ญ าตส่ ง ออกหรื อ ใบรับรองการส่งกลับออกไป (re-export) ถ้าชนิดพันธุ์ นัน้ ๆ ได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และถ้าการส่งออก จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อการคงอยู่ของชนิดพันธุ์นั้นๆ
ใบรับรอง re-export อาจออกในกรณีที่ชนิดพันธุ์นั้นๆ ถู ก น� ำ เข้ า มาประเทศ สอดคล้ อ งกั บ บทบั ญ ญั ติ ข อง อนุสัญญาฯ
ส�ำหรับการส่งออกจากประเทศอื่นๆ จะต้องมีใบรับรอง ถิ่นก�ำเนิดสินค้านั้นๆ
ในกรณี ข องสั ต ว์ ห รื อ พื ช ที่ มี ชี วิ ต การขนส่ ง จะต้ อ ง ก่อให้เกิดอันตรายความเสียหายต่อสุขภาพหรือชีวิต น้อยที่สุด
ในการน�ำเข้า ไม่จ�ำเป็นต้องมี ใบอนุญาตน�ำเข้า เว้นแต่ จะก� ำ หนดโดยกฎหมายภายในประเทศในการน� ำ เข้ า ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี ใ บอนุ ญ าตน� ำ เข้ า เว้ น แต่ จ ะก� ำ หนด โดยกฎหมายภายในประเทศ
28
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
ตารางเปรียบเทียบชนิดพันธุ์ปะการังและความคุ้มครองตามบัญชี CITES CITES
ชนิดพันธุ์ของกัลปังหา และปะการัง 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12
I
กัลปังหาด�ำทุกชนิดในอันดับ ANTIPATHARIA กัลปังหาทุกชนิดในอันดับ GORGONACEA กัลปังหาแดงในวงศ์ CORALLIIDAE - ปะการังแดง - ปะการังแดงญี่ปุ่น - ปะการังขาว - ปะการังชมพู ปะการังสีฟ้า ทุกชนิดในอันดับ HELIOPORACEA ปะการังแข็ง ทุกชนิดในอันดับ SCLEARACTINIA ปะการังออแกนไพพ์ ทุกชนิดในวงศ์ TUBIPORIDAE ปะการังไฟ ทุกชนิดในวงศ์ MILLEPORIDAE ปะการัง ทุกชนิดในวงศ์ STYLASTERIDAE ปะการังอ่อน ทุกชนิดในอันดับ ALCYONACEA
II
III (เฉพาะกัลปังหาแดงในวงศ์ Coralliidae)
(จีน)* (จีน)* (จีน)* (จีน)*
-
-
-
ที่มา: แปลเรียบเรียงมาจาก CITES, Appendices I, II and III. หมายเหตุ : * จีนเป็นผู้เสนอให้ระบุปะการังแดงเหล่านี้ ซึ่งพบในน่านน�้ำของจีนในบัญชี 3 ของ CITES เพื่อให้ ได้รับความคุ้มครอง และในช่วงที่ผ่านมามีความพยายามที่จะปรับให้ปะการังแดงเหล่านี้มาอยู่ในบัญชี 2 แต่ ไม่ส�ำเร็จ
ฉบับหน้า โปรดติดตามกฎหมายไทย ที่ให้ความคุ้มครอง สิ่งมีชีวิตที่ ไม่มี กระดูกสันหลัง โตช้าและแสนบอบบาง ที่ชื่อว่า “ปะการัง” นี้กันต่อค่ะ
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
29
รายงานการคาไทย
มกราคม - กรกฎาคม 2560
มูลคาการคากับประเทศคูคาสำคัญของไทย รวมทั้งสิ้น 258,015 ลานเหร ยญสหรัฐ (เพิ่มข¢้น 11.6%)
จ น จน
ญี่ปุน ญ
สหรัฐอเมร กา
มาเลเซ ย
สิงคโปร
40,890 40 890 ((+13.2%) 13 2%)
30,697 30 697 (+5.2%) ( 5 2%)
23,792 23 792 ((+15.9%) 15 9%)
12,479 12 479 ((+6.0%) 6 0%)
99,866 866 ((+13.8%) 13 8%)
หนวย : ลานเหรียญสหรัฐ
5 อันดับแรกของประเทศคูคาที่ไทยสงออกสินคา
มูลคาการสงออกสินคาของไทย รวมทั้งสิ้น 132,399 ลานเหร ยญสหรัฐ (เพิ่มข ้น 8.2%) 1
2
3
4
5
จ น
สหรัฐอเมร กา
ญี่ปุน
ฮองกง
เว ยดนาม
อาเซ ยน(9)
16,141 (+30.9%)
14,906 (+7.8%)
12,589 (+8.1%)
6,828 (+7.6%)
6,197 (+25.7%)
33,624 (+7.8%)
ยางพารา
เคร ่องคอมพิวเตอร และสวนประกอบ
ไกแปรรูป
เคร ่องคอมพิวเตอร และสวนประกอบ
ผลไมสด แชเย็น แชแข็งและแหง
รถยนตและ สวนประกอบ
ผลิตภัณฑยาง
ผลิตภัณฑยาง
รถยนตและ สวนประกอบ
อัญมณีและ เคร ่องประดับ
รถยนตและ สวนประกอบ
น้ำมันสำเร็จรูป
เม็ดพลาสติก
อัญมณีและ เคร ่องประดับ
ผลิตภัณฑ พลาสติก
แผงวงจรไฟฟา
เม็ดพลาสติก
เคมีภัณฑ
5 อันดับแรกของประเทศคูคาที่ไทยนำเขาสินคา
มูลคาการนำเขาสินคาของไทย รวมทั้งสิ้น 125,616 ลานเหร ยญสหรัฐ (เพิ่มข ้น 15.5%) 1
30
2
3
4
5
จ น
ญี่ปุน
สหรัฐอเมร กา
มาเลเซ ย
สิงคโปร
อาเซ ยน(9)
24,750 (+4.1%)
18,108 (+3.3%)
8,886 (+32.6%)
6,754 (+9.6%)
4,797 (+26.9%)
23,700 (+13.1%)
เคร ่องจักรไฟฟา และสวนประกอบ
เคร ่องจักรกล และสวนประกอบ
เคร อ่ งบิน เคร อ่ งรอน และสวนประกอบ
น้ำมันดิบ
น้ำมันสำเร็จรูป
น้ำมันดิบ
เคร ่องจักรกล และสวนประกอบ
เหล็ก เหล็กกลา และผลิตภัณฑ
แผงวงจรไฟฟา
เคร ่องคอมพิวเตอร และสวนประกอบ
เคมีภัณฑ
เคร ่องคอมพิวเตอร และสวนประกอบ
เคร ่องใชไฟฟา ในบาน
สวนประกอบและ อุปกรณยานยนต
เคมีภัณฑ
เคร ่องจักรไฟฟา และสวนประกอบ
เคร ่องคอมพิวเตอร และสวนประกอบ
เคมีภัณฑ
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
โดย ศูนย์สารสนเทศการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
การติดต่อสื่อสาร ที่รวดเร็วทันเหตุการณ์ นับว่ามีความส�ำคัญเป็นพิเศษในปัจจุบัน ซึ่งข่าวสาร ผู้คน สินค้า
และเงินทุน ต่างไหลเวียนข้ามพรมแดนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์ โอชา ได้เล็งเห็นความส�ำคัญของ การสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน จ�ำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์ผลงานของทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้ถูกต้อง ทั่วถึง และเป็นที่เข้าใจง่าย โดยให้ด�ำเนินการอย่างรวดเร็วผ่านช่องทางสื่อต่างๆ Q&A ฉบับนี้ จึงต้องขอเล่าเรื่อง IA-Chat และ IR-Chat ให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจกันสักนิดค่ะ
ID-Chat IA-Chat และ IR-Chat คืออะไร ส�ำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ได้พัฒนาระบบในการสร้างความรับรู้แก่ประชาชนในประเด็นส�ำคัญๆ และก�ำหนดให้ใช้ Line Group เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร โดยได้ตั้งกลุ่มไลน์ขึ้น 3 กลุ่ม
id-cHAT Issue Discussion Chat
กลุ่มไลน์ 1
“คณะท�ำงานก�ำหนดประเด็น การชี้แจงข่าวทันเหตุการณ์”
ia-cHAT Issue Assignment Chat
กลุ่มไลน์ 2
การจัดส่งประเด็นข่าวให้แก่ ส่วนราชการ องค์การมหาชน และ รัฐวิสาหกิจและส่วนราชการ องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ ตอบรับ
ir-cHAT Issue Report Chat
กลุ่มไลน์ 3
ส่วนราชการ องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ รายงานการชี้แจง ประเด็นส�ำคัญที่ทันต่อสถานการณ์
ความเชื่อมโยงแนวทางการดำ�เนินงานของ 3 กลุ่มไลน์ 10.30 น. สงประเด็น
กำหนด ประเด็น
คณะทำงาน ฯ
ตอบรับ - สวนราชการ - องคการมหาชน - รัฐว สาหกิจ
รายงานผล
- สวนราชการ - องคการมหาชน - รัฐว สาหกิจ วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
31
กลุ่มไลน์ ID-Chat เป็นใคร ID-Chat นี้ เป็นกลุ่มของ “คณะท�ำงานก�ำหนดประเด็นการชี้แจงข่าวทันเหตุการณ์” ประกอบด้วยผู้แทนจาก ส�ำนักโฆษก ส�ำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และกรมประชาสัมพันธ์ ซึง่ จะท�ำหน้าทีร่ ว่ มกันในการติดตามข้อมูลประเด็นข่าว ส�ำคัญประจ�ำวันจากหนังสือพิมพ์ และ social media โดยการก�ำหนดประเด็นข่าวนี้ จะแล้วเสร็จราว 10.30 น. ของทุกวัน
ประเด็นข่าวที่ ID-Chat ติดตาม เป็นข่าวประเภทใด ข่าวที่จะเป็นประเด็นที่ต้องชี้แจงนั้น ครอบคลุม ประเด็นสถานการณ์ปัจจุบัน ประเด็นข่าวที่สื่อสนใจ นโยบายส�ำคัญ ของรัฐบาล มติครม. ทีน่ ายกรัฐมนตรีให้ความส�ำคัญ ประเด็นข่าวทีม่ ผี ลกระทบต่อประชาชน และประเด็นข่าวทีส่ าธารณชน ให้ความสนใจ
กลุ่มไลน์ IA-Chat และ IR-Chat เป็นใคร มีบทบาทหน้าที่อย่างไร IA-Chat จะเป็นระบบการจัดส่งประเด็นส�ำคัญให้แก่ส่วนราชการ องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ ประเด็นข่าวส�ำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆ จะถูกส่งเข้ามาในกลุ่มไลน์นี้ เวลาโดยประมาณ 10.30 น. บุคคลของแต่ละหน่วยงาน ที่จะสามารถเข้ามาในไลน์กลุ่มนี้ อาทิ ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้อ�ำนวยการองค์การมหาชน ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ โฆษกประจ�ำกระทรวง ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์ ผู้แทนส�ำนักงาน ก.พ.ร. เมื่อได้รับประเด็นส�ำคัญที่เกี่ยวข้องแล้ว หัวหน้า หน่วยงานที่ถูกระบุชื่อไว้ จะตอบรับสาระส�ำคัญสั้นๆ ในไลน์กลุ่ม ส� ำ หรั บ IR-Chat เป็ น ระบบการรายงานผล ADISORN การชี้แจงประเด็นข่าวของส่วนราชการ องค์การมหาชน และ รั ฐ วิ ส าหกิ จ กลุ ่ ม ไลน์ นี้ ไ ด้ ก� ำ หนดสิ ท ธิ บุ ค คลของแต่ ล ะ หน่ ว ยงานที่ จ ะสามารถเข้ า มาร่ ว มในระบบนี้ เหมื อ นกั บ “นายอดิสร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กลุ ่ ม ไลน์ 2 อาทิ ปลั ด กระทรวง อธิ บ ดี ผู ้ อ� ำ นวยการ รับทราบ/รับปฏิบัติ” 11:36 PM องค์การมหาชน ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ โฆษกประจ�ำ กระทรวง ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์ ผู้แทนส�ำนักงาน ก.พ.ร.
รูปแบบการรายงานในไลน์กลุ่ม IR-Chat ต้องรายงานอย่างไร การรายงานผ่านไลน์กลุ่ม IR-Chat ต้องมีลักษณะเป็นกลุ่มค�ำสั้นๆ ตรงประเด็น กระชับ ครบถ้วน สามารถ ตอบข้อสงสัยของสังคมได้ มีรูปแบบ ดังนี้ ADISORN
Read 11:36 PM
32
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
ADISORN
ตัวอย่าง
การรายงานชี้แจงประเด็นข่าวของส่วนราชการ
11:36 PM
รายงานชี้แจงอย่างไรให้ได้คะแนนเต็ม มีเกณฑ์การประเมินคุณภาพ 3 ข้อ ได้แก่ ตรงเวลา เนื้อหาตรงประเด็น เผยแพร่ผ่านสื่ออย่างน้อย 3 สื่อ ตรงเวลา ภายใน 1 วัน ได้ 1 คะแนน เกิน 1 วัน หรือไม่ตอบ ได้ 0 คะแนน เนื้อหาการชี้แจงประเด็น เนื้อหาครบถ้วนทุกประเด็น ได้ 1 คะแนน ตรงบางประเด็น ได้ 0.5 คะแนน ไม่ตรงประเด็น ได้ 0 คะแนน ช่องทางการเผยแพร่ 3 ช่องทาง หรือมากกว่า ได้ 1 คะแนน 1 หรือ 2 ช่องทาง ได้ 0.5 คะแนน ไม่มีการเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ ได้ 0 คะแนน
ถ้าไม่ชี้แจงเลย ได้หรือไม่ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการไม่ชแี้ จงเลย ก็แน่นอนว่า ไม่ผา่ นการประเมินตามตัวชีว้ ดั แนวทางการสร้างความรับรูค้ วามเข้าใจ แก่ประชาชน ตัวชี้วัดย่อยที่ 2 “ร้อยละการชี้แจงประเด็นส�ำคัญที่ทันต่อสถานการณ์” ได้รับ 0 คะแนน
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
33
รางวัล “เพชรพาณิชย์” ปี 2560 รางวัล “เพชรพาณิชย์” เป็นรางวัลอันทรงเกียรติทกี่ ระทรวงพาณิชย์กำ� หนดขึน้ เพือ่ ยกย่องเชิดชูเกียรติผทู้ ำ� คุณประโยชน์ แก่ประเทศชาติ ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการพาณิชย์ รวมถึงผู้ที่สร้างคุณูปการให้แก่กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งพิธีมอบรางวัล “เพชรพาณิชย์” นี้ จะจัดขึ้นในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพาณิชย์ (วันที่ 20 สิงหาคม) ของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นแบบอย่างของบุคคลที่แสดงความมุ่งมั่น ทุ่มเท และอุทิศตนเพื่อการพัฒนาภาคเศรษฐกิจการค้า การพาณิชย์ สังคมส่วนรวม ทัง้ ในระดับองค์กร และระดับประเทศ รางวัล “เพชรพาณิชย์” จัดขึน้ ครัง้ แรกในปี 2553 และต่อเนือ่ งมาจนถึงปัจจุบนั (ปี 2560) เป็นปีที่ 8 รางวัล “เพชรพาณิชย์” แบ่งออกเป็น 3 สาขา ประกอบด้วย สาขาผู้ประกอบการ สาขาผู้ทรงคุณวุฒิ และสาขาข้าราชการ และพนักงาน ส�ำหรับในปีนี้ มีผู้ได้รับรางวัล “เพชรพาณิชย์” จ�ำนวนทั้งสิ้น 28 ราย โดยมีพิธีมอบรางวัล ในงานครบรอบ 97 ปี วันคล้าย วันสถาปนากระทรวงพาณิชย์ “วันพาณิชย์ ปี 2560” เมื่อวันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2560 ณ ห้องมโนปกรณ์นิติธาดา ชั้น 12 กระทรวงพาณิชย์
ผู้ที่ ได้รับรางวัล “เพชรพาณิชย์” ปี 2560 สาขาผู้ประกอบการ 17 ราย ด้านสินค้าเกษตร
ด้านสินค้าอุตสาหกรรม
ด้านธุรกิจบริการ
นายธนภัทร จาวินัจ
นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ
พันโทวรายุส์ ตรีวฒ ั นสุวรรณ
ผู้จัดการสหกรณ์ สหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจ ภาคเกษตรจังหวัดตราด จ�ำกัด
รองประธานและผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายปฏิบตั กิ ารฮาร์ดดิสไดรฟ์ ประเทศไทย บริษทั เวสเทิรน์ ดิจติ อล ประเทศไทย จ�ำกัด
กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุดร เฟรนด์ดีเวลลอปเมนท์ (โพศรีวิลเลจ) จ�ำกัด
ด้านนวัตกรรม
ผู้ประกอบการรุ่นใหม่
นายวรวัฒน์ บุญหลาย
ดร. เกยูร โชคล�้ำเลิศ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิฟูดส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยู้ ฟิชบอล จ�ำกัด
ผู้ประกอบการที่สนับสนุนงานประชารัฐ
34
นางสาวจริยา จิราธิวัฒน์
นายฐาปน สิริวัฒนภักดี
นายณรงค์ เจียรวนนท์
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัลกรุ๊ป จ�ำกัด
กรรมการผู้อ�ำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จ�ำกัด (มหาชน)
รองประธานอาวุโส บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จ�ำกัด
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
ผู้ประกอบการที่สนับสนุนงานประชารัฐ
“เพชรพาณิชย์”
ดร. ณุกานดา กิติศุภวัฒนา
นายธีรพงศ์ จันศิริ
นายพรชัย วิทยาคุณสกุลชัย
ประธานเครือข่ายธุรกิจบิสคลับ จังหวัดจันทบุรี
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษทั ไทยยูเนีย่ น กรุป๊ จ�ำกัด (มหาชน)
Regional Marketing Direction บริษัท สยามคราฟท์ อุตสาหกรรม จ�ำกัด
นางสาวภัทรพร เพ็ญประพัฒน์
นายโยธิน ด�ำเนินชาญวนิชย์
นายวรพจน์ เมทนีกรชัย
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาดและประชาสัมพันธ์ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จ�ำกัด (มหาชน)
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จ�ำกัด (มหาชน)
กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรชัยสหพัฒน จ�ำกัด
นายสุรช ล�่ำซ�ำ
นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล
Mr. Kiyoyoshi Oba
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จ�ำกัด (มหาชน)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษทั เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จ�ำกัด (มหาชน) และ บริษทั บิก๊ ซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จ�ำกัด (มหาชน)
President บริษัท โตโยต้า ทูโซ (ไทยแลนด์) จ�ำกัด
พลเอกบุญชู เกิดโชค
นายน�ำชัย เอกพัฒนาพานิชย์
นางสาวพจนา พะเนียงเวทย์
ผู้อ�ำนวยการ ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 3 กองอ�ำนวยการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร
ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในคณะกรรมการการประกอบธุรกิจ ของคนต่างด้าว กระทรวงพาณิชย์
กรรมการและกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท เพรซิเดนท์ฟูดส์ จ�ำกัด มหาชน
นายวิทยา วิรารัตน์
นายจักรกริศษ์ สุขสวัสดิ์
ประธานหอการค้า กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 2
ครูช่างศิลป์หัตถกรรม ปี 2558
สาขาผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ราย
สาขาข้าราชการ 6 ราย ส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์
นายกีรติ รัชโน
นายประเสริฐ ฝ่ายชาวนา
รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
พาณิชย์จังหวัดอุดรธานี
นางสาวนุสรา กาญจนกูล
นางอร่ามศรี รุพันธ์
นางเฟื่องฟ้า ตุลาธรรมกุล
ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักกฎหมาย กรมทรัพย์สินทางปัญญา
ผูเ้ ชีย่ วชาญเฉพาะด้านพัฒนา และส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า ส�ำนักส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า กรมการค้าภายใน
พาณิชย์จังหวัดล�ำพูน
รองปลัดกระทรวงพาณิชย์
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
35
การประชุม SEOM 3/48
ประกาศเปิดเจรจา FTA ไทย-ตุรกี
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียน (SEOM) 3/48 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 2-7 กรกฎาคม 2560
พิธีประกาศเปิดเจรจา FTA ระหว่างไทยกับตุรกี ณ กรุงอังการา สาธารณรัฐตุรกี เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2560 ซึ่ ง การจั ด ท� ำ FTA ไทย-ตุ ร กี จะก่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ ทั้งด้านการค้าและการลงทุน โดยตั้งเป้าการค้าระหว่างกัน ให้มีการขยายตัว 2 เท่า ภายใน 3 ปี
ลงนามพิธีสารฯ
ประชุมคณะทำ�งานสาขาความร่วมมือ เศรษฐกิจข้ามพรมแดน
การลงนามพิธสี ารเพือ่ แก้ไขภาคผนวก 3 ของความตกลง ความเป็นหุน้ ส่วนทางเศรษฐกิจทีใ่ กล้ชดิ กันยิง่ ขึน้ ไทย-นิวซีแลนด์ (Protocol to Amend Annex 3 of Thailand-New Zealand Closer Economic Partnership Agreement : TNZCEP) ณ กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2560
การประชุมคณะท�ำงานสาขาความร่วมมือเศรษฐกิจ ข้ า มพรมแดน ภายใต้ ก รอบความร่ ว มมื อ แม่ โขง-ล้ า นช้ า ง ครัง้ ที่ 1 และพิธลี งนาม TOR ของคณะท�ำงานฯ ณ นครคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560
36
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
ประชุมคณะกรรมการเจรจาทางการค้า
“ASEAN-India Expo and Forum”
การประชุมคณะกรรมการเจรจาทางการค้าส�ำหรับ การจัดท�ำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง ครั้งที่ 10 และการประชุมอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2560
พิธีเปิดงาน “ASEAN-India Expo and Forum” โดยกระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร และอีก 9 ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งประเทศอินเดีย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2560
หารือหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ
การประชุม JTC ไทย-บังกลาเทศ ครั้งที่ 4 และการลงนาม MOU
การหารือระหว่างนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับนายโซจิ ซาคาอิ ประธานหอการค้า ญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ เพื่อรับทราบนโยบายด้านเศรษฐกิจและหารือ เกี่ ย วกั บ การด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ในประเทศไทย ช่ ว งครึ่ ง แรก ของปี 2560 ณ กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2560
การประชุ ม คณะกรรมการร่ ว มทางการค้ า (JTC) ไทย-บังกลาเทศ ครั้งที่ 4 และการลงนามใน MOU ว่าด้วย การซื้อขายข้าว ณ กรุงธากา สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2560
สำ�หรับการจัดทำ� FTA อาเซียน-ฮ่องกง ครัง้ ที่ 10
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
37
ลงนาม MoU กับเวียดนาม
กระทรวงพาณิชย์ ครบรอบ 97 ปี
พิ ธี ล งนามในบั น ทึ ก ความเข้ า ใจระหว่ า งกระทรวง พาณิชย์ของไทยกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของ เวียดนาม (MoU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า ณ ท�ำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2560
งานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงพาณิชย์ ครบรอบ ปีที่ 97 ณ กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2560
งาน “50 ปี อาเซียน”
การประชุม STEER ครั้งที่ 5
พิธีเปิดงาน “50 ปี อาเซียน” ภายใต้แนวคิด “เดินหน้า สู่ AEC 2025” ในโอกาสครบรอบ 50 ปี การก่อตั้งประชาคม อาเซียน ณ ศูนย์การค้า Central World กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560
การประชุม Singapore-Thailand Enhanced Economic Relationship (STEER) ครั้งที่ 5 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ซึง่ สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพ เมือ่ วันที่ 24 สิงหาคม 2560
38
วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
การประชุม JTC ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 2
ร่วมบริจาคเงินและสิ่งของ
การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-ภูฏาน ครัง้ ที่ 2 เพือ่ ส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน ตลอดจน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย ณ โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ บริจาคเงินและสิง่ ของ ให้กับโรงเรียนบ้านเตาหม้อ ภายใต้โครงการบ�ำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา 28 กรกฎาคม 2560 ณ โรงเรี ย นบ้ า นเตาหม้ อ อ.ท่ า ใหม่ จ.จั น ทบุ รี เมื่ อ วั น ที่ 3 กันยายน 2560
การประชุม AEM ครั้งที่ 49
บริจาคเงินและสิ่งของถวายเป็นพระราชกุศล
การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครัง้ ที่ 49 และการประชุมร่วมกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศคู่เจรจา ของอาเซียน ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ระหว่าง วันที่ 6 - 11 กันยายน 2560
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมบริจาคเงินและ สิ่งของจ�ำเป็นให้กับทหารผ่านศึก เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่ อ งในโอกาสที่ พ ระเจ้ า วรวงศ์ เ ธอ พระองค์ เจ้ า โสมสวลี พระวรราชาทิ นั ด ดามาตุ ทรงเจริ ญ พระชั น ษา 60 ปี ณ โรงพยาบาลทหารผ่านศึก กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 วารสารการค้าระหว่างประเทศ
INTERNATIONAL TRADE FORUM
39