วารสารการค้าระหว่างประเทศ ฉบับ เมษายน-มิถุนายน 2559

Page 1

ปที่ 3 ฉบับที่ 12 เมษายน - มิถุนายน 2559

อภิรดี ตันตราภรณ รัฐมนตร�วาการกระทรวงพาณิชย

EAEU กาวตอไปของไทย-รัสเซ�ย

พลิกโฉม 'เมียนมา' สูยุคประชาธ�ปไตยเต็มใบ…?

DTN Business Plan Award สานฝนคนรุน ใหม สรางแบรนดสูตลาดการคาเสร�


P.10

P.04 Exclusive Interview

P.04

àÅ‹ÒÊÙ‹¡Ñ¹¿˜§

P.10

ࢌÒã¨ãªŒ»ÃÐ⪹

P.14

Special Report

º·ÊÑÁÀÒɳ ÃÑ°Á¹µÃÕÇ‹Ò¡ÒáÃзÃǧ¾Ò³ÔªÂ ¹Ò§ÍÀÔÃ´Õ µÑ¹µÃÒÀó

FTA Society EAEU ¡ŒÒǵ‹Í仢ͧä·Â-ÃÑÊà«ÕÂ

AEC Beyond

¾ÅÔ¡â©Á 'àÁÕ¹ÁÒ' ÊÙ‹Âؤ»ÃЪҸԻäµÂàµçÁãº...?

P.23

P.19

P.14

P.19

ÊÑÁ¼ÑÊ ‘ÍÒàáջҒ ¤ÇÒÁ§ÒÁ·Õ蹋ÒÍÑȨÃÃÂ

P.23

¡® ÃÐàºÕº ´ŒÒ¹¡ÒÃŧ·Ø¹ã¹àÁÕ¹ÁÒ

P.26

360 ¡ÒäŒÒâÅ¡

P.29

¤ÇÒÁÊÓàÃç¨ & ¤ÇÒÁ·ŒÒ·Ò¢ͧàÍ໤

Q&A ·Õè¹ÕèÁդӵͺ...·ÓäÁµŒÍ§!!! TPP

DTN Report

P.33 P.36

DTN Business Plan Award ÊÒ¹½˜¹¤¹ÃØ‹¹ãËÁ‹ ÊÌҧáºÃ¹´ ÊÙ‹µÅÒ´¡ÒäŒÒàÊÃÕ

P.26

P.36


E

DITOR’S Talk

»‚·èÕ 3 ©ºÑº·Õè 12 àÁÉÒ¹ - ÁÔ¶¹Ø Ò¹ 2559

¤Ø¡ѹ¡‹Í¹

มาพบกันอีกครัง้ วารสารการค้าระหว่างประเทศฉบับนี้ ขอเป็นสือ่ กลาง นำพาข้อมูลความรู้ และผลประโยชน์จากการเจรจาการค้าในกรอบเวทีตา่ งๆ มาสูท่ า่ นผูอ้ า่ น ทีเ่ คารพรักเช่นเคย ถึงฟ้าฝนช่วงนีจ้ ะไม่คอ่ ยเป็นใจ เป็นเหตุให้จราจรจลาจลไปหลายครัง้ หลายครา แต่ข่าวภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ดีวันดีคืน ด้วยพลังประชารัฐ และ การบูรณาการจากทุกภาคส่วน การเกือ้ กูลกัน ทำให้ชว่ งกลางปีน้ี มีสญั ญาณทีเ่ ป็น positive นับเป็นข่าวดี และเพือ่ ความกระจ่างในทิศทางการค้าระหว่างประเทศ ซึง่ มีสว่ นสำคัญ ในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจของประเทศ ทีมงานได้เข้าสัมภาษณ์รฐั มนตรีวา่ การกระทรวง พาณิชย์ ท่านอภิรดี ตันตราภรณ์ โปรดติดตามได้ในคอลัมน์ “Exclusive Interview”

ายน 2559 เมษายน - มิถุน ปที่ 3 ฉบับที่ 12ปที่ 3 ฉบับที่ 12 เมษายน - มิถุนายน 2559

 ตรระทราภวงพารณ ตันการก ณิชย อภริรดีดีรัฐมนต อภิ ตันร�วาตราภรณ รัฐมนตร�วาการกระทรวงพาณิชย

นอกจากนี้ “AEC & Beyond” ขอเยีย่ มๆ มองๆ ไปทีเ่ พือ่ นบ้านเมียนมา “พลิกโฉม ‘เมียนมา’ สู่ยุคประชาธิปไตยเต็มใบ...?” อัดแน่นด้วยสาระเข้มข้น ทาง “FTA Society” ก็มไิ ด้นอ้ ยหน้า ส่ง “EAEU ก้าวต่อไปของไทย-รัสเซีย” เข้าประชัน เพียงเท่านัน้ ยังไม่พอ ทัง้ ๆ ทีต่ อ้ ง suffer จากการเดินทางข้ามทวีปของทีมงานเอเปค ซึง่ ปีน้ี เปรูเป็นเจ้าภาพ ติดตามเรือ่ งราวรอบรัว้ เจรจาจากแดนไกล (มาก) ในคอลัมน์ “เล่าสูก่ นั ฟัง” และ “360 องศา การค้าโลก”

น คนรุน ใหม EAEU กาวตอไปของไทย-รัสเซ�ย d สานฝ พลิกโฉม 'เมียนมา' Awar DTN Business Plan Award สานฝ นคนรุน ใหม ss Plan DTN Busine สูยุคประชาธ�ปไตยเต็มใบ…? ารคาเสร� สรางแบรนด สูตลาดการค ลาดกาเสร� สรางแบรนดสูต พลิกโฉม 'เมียนมา' ็มใบ…? ไทย-รัสเซ�ย สูยุคประชาธ�ปไตยเต EAEU กาวตอไปของ

ด้วยความมุง่ มัน่ และตัง้ ใจจริง บรรณาธิการ

¨Ñ´·Óâ´Â ¤³Ð·Ó§Ò¹ÇÒÃÊÒáÒäŒÒÃÐËÇ‹Ò§»ÃÐà·È ¡ÃÁà¨Ã¨Ò¡ÒäŒÒÃÐËÇ‹Ò§»ÃÐà·È ¡ÃзÃǧ¾Ò³ÔªÂ


การสานต่อ

ความพยายามของรัฐบาลที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วยกลไก ประชารัฐ พลังอันยิ่งใหญ่ของรัฐ เอกชน และประชาสังคม เพื่อไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 คงไม่ใช่เรื่องง่าย ในสภาวะ ที่เศรษฐกิจของประเทศและของโลก ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะจิต อันมีต้นสายปลายเหตุ หลากหลายประการ เพื่อความกระจ่างในทิศทางของการค้าระหว่างประเทศกับภารกิจงานท้าทายที่รออยู่ ทีมงานจึงขอเข้าสัมภาษณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นางอภิรดี ตันตราภรณ์) ผู้กุมบังเหียนใหญ่ แห่ ง กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้ า ภายในประเทศไปสู่ตลาดโลก


ทิศทางการค้าระหว่างประเทศกับบทบาทของประเทศไทย จึ ง ต้ อ งปรั บ ให้ ม ี ด ี ไซน์ พั ฒ นารู ป แบบของสิ น ค้ า ให้ ต รงกั บ ความต้องการของผู้บริโภค เมื่อผู้บริโภคสนใจว่าสินค้ามีที่มา ที่ไปอย่างไร เราก็ต้องพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตของเรา ให้ตอบสนอง สำหรับสินค้าเกษตรเดี๋ยวนี้มีระบบการตรวจสอบ ย้อนกลับ อย่างปศุสัตว์ เช่น เนื้อไก่ ตอนนี้ผู้บริโภคถามว่า ข้าวโพดที่ทำอาหารไก่มาจากไหน ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือเปล่า เราเองก็ยังหันมาดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศเรา และ ไม่ ช อบใจหากว่ า จะมี ใ ครมาทำลายสิ ่ ง แวดล้ อ ม อย่ า งเรื ่ อ ง การท่องเที่ยว คนไทยเองก็เป็นห่วงมากกลัวว่าการท่องเที่ยว จะทำลายสิ่งแวดล้อม การผลิตสินค้าก็เช่นกัน กลัวว่าการปลูก ข้าวโพดทำให้ป่าหายไปหรือเปล่า ดังนั้น เราเจอแน่กับปัญหา คงจะขอพูดทั้ง 2 เรื่องไปพร้อมกัน คือ ตอนนี้เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ถ้าเราไม่สนใจกฎกติการะหว่างประเทศเหล่านี้ โลกกำลังเปลี่ยนแปลง หลายประเทศอยู่ในภาวะที่เศรษฐกิจ ก็คงไม่ได้ เพราะจะทำให้ประตูการส่งออกสินค้าของเราแคบลง ทรุดตัวลงจากหลายๆ ปัจจัย ตั้งแต่ปัญหาราคาน้ำมันจนถึง นี่คือ แนวโน้มของโลกที่เปลี่ยนแปลง ก็ต้องปรับตัวให้ได้ เรื่องของภาวะราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำ ทุกประเทศต้องเผชิญ เรื่องของกฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศนั้น บางคน ภาวะเศรษฐกิจที่ยากลำบากพอๆ กัน และท่ามกลางความยาก มองว่าเราเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก หรือ WTO แต่อย่าลืมว่า ลำบากเช่นนั้น ก็ยังมีจุดที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ WTO เปลี่ยนตัวเองมาจาก GATT หลังจากที่ GATT มีอายุ 50 ปี สูงสุดอยู่ที่เอเชีย คือ จีน และอินเดีย ซึ่งต่างก็เป็นประเทศ และตอนนี ้ WTO ก็ อ ายุ 20 ปี แล้ ว ในระยะหลั ง ที ่ ICT มหาอำนาจที่มีประชากรกว่าพันล้านคน และระหว่าง growth เข้ามามีบทบาท การเจรจาในกรอบ WTO ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง centers ทั้งสองนี้ มีอาเซียนอยู่ตรงกลาง และที่สำคัญตรงกลาง การเปิดตลาด หรือเรื่องกฎระเบียบ ก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยน ของอาเซียน ก็คือ ประเทศไทย เพราะฉะนั้นไทยเราจึงอยู่ในจุด ได้ทัน จึงเกิดการรวมกลุ่มต่างๆ ขึ้น เช่น อาเซียน เอเปค ที่เป็น strategic point ของโลก เราจึงต้องใช้ประโยชน์จาก หรือล่าสุดก็ TPP ที่เพิ่งสรุปการเจรจากันไป ที่จริงไม่ใช่เรื่อง การเป็นจุดยุทธศาสตร์นี้ให้เต็มที่ นี่คือ ประเด็นแรกที่อยาก การเปิดตลาด แต่เป็นการเจรจากฎเกณฑ์ทางการค้าระหว่าง จะพูด ประเทศ และประเทศไทยต้องให้ความสนใจ เพราะถ้าไม่สนใจ การเปลี ่ ย นแปลงประเด็ น ที ่ 2 ในเรื ่ อ งของการค้ า ระหว่างประเทศ คือเรื่อง Consumer Centric ที่ผู้บริโภค มีความสำคัญมาก สิ่งใดที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ เราต้องสนใจ เรื่องสุขภาพอนามัย เรื่องสิ่งแวดล้อม อย่างทุกวันนี้คนพูดถึง ภาวะโลกร้อน นี่ก็คือเรื่องสิ่งแวดล้อม ต้องให้ความสำคัญ การผลิตสินค้าจึงต้องคำนึงถึงผู้บริโภค ต้องปรับนโยบายด้าน การผลิต ทัง้ สินค้าเกษตร อุตสาหกรรม ให้มองในแง่ของ demand driven ไม่ใช่ผลิตไปตามสิ่งที่เราคิดว่าดีอย่างในอดีต รัฐบาล จึงได้เริ่มพัฒนาเกษตรกรให้หันมาเน้นเรื่องเกษตรอินทรีย์ เพื่อ เพิ่มมูลค่าสินค้าหรือ value creation ประเทศไทยนั้นเมื่อ เทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน ไม่สามารถที่จะแข่งขันทางด้าน ต้ น ทุ น ได้ อ ยู ่ แ ล้ ว เรามี ต ้ น ทุ น การผลิ ต สู ง การผลิ ต ของเรา

ก็จะไม่สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของกฎเกณฑ์กติกา การค้าระหว่างประเทศ อาจทำให้เรามีปัญหาในการเข้าสู่ตลาด การค้าโลก อย่างกรณีของ IUU นั้น ก็เป็นกฎกติกาการค้า ระหว่างประเทศที่ต้องสนองตอบความต้องการของผู้บริโภค ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และสวัสดิภาพแรงงาน สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเสมือนตัวกำหนดทิศทางของการค้า ระหว่างประเทศ เราต้องมองไปในอนาคต ไม่ใช่คอยแต่จะไล่ตาม แก้ปญ ั หา ตอนนีก้ น็ บั ว่าเป็นนิมติ รหมายทีด่ ที ท่ี า่ นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้กระทรวงพาณิชย์ต้องทำงานร่วมกั บกระทรวง เกษตรฯ และกระทรวงมหาดไทย เพื่อปรับเปลี่ยนแนวทาง การผลิ ต สิ น ค้ า โดยเฉพาะสิ น ค้ า เกษตร เพื ่ อ ให้ ส ามารถ ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลกให้ได้


การก้าวข้ามไปสู่ยุค Thailand 4.0

Thailand 4.0 นี่เป็นจุดหักเหของประเทศไทยเรา ซึ่งเราได้เริ่มต้นพัฒนาตั้งแต่ยุค 1.0 คือ เป็นประเทศเกษตรกรรม ผลิตสินค้าเกษตรและส่งออกข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ดีบุก เราส่งออกเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ขายกันเป็น bulk ต่อมาเราเริ่ม พัฒนาขึ้นมาผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และนำเข้าสินค้าจาก ต่างประเทศ เครื่องใช้ไม้สอยในประเทศก็นำเข้าทั้งหมด ต่อมา ในยุค 2.0 คือ ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า เราชักชวนนักลงทุน จากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนผลิตสินค้า เพือ่ ทดแทนการนำเข้า เพราะฉะนั้นเราจะมีอัตราภาษีศุลกากรที่สูง ก็เหมือนๆ กับ ทุกประเทศ กำหนดอัตราภาษีสูงเป็นเกราะป้องกันไม่ให้สินค้า ต่างประเทศเข้ามา เราก็ได้ประโยชน์ตรงนั้นในช่วงเวลาหนึ่ง ต่อมา จึงเข้าสู่ 3.0 เราเริม่ ปรับตัวเองหลังจากอุตสาหกรรม ภายในประเทศเติบโตขยายตัว เรามุง่ ไปทางด้านของ export-led growth คือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นำด้วยการส่งออก สมัยนั้นต้องเร่งหาทางเจาะตลาดคู่ค้า เราจึงเข้าไปเป็นสมาชิก GATT (ต่อมากลายเป็น WTO) และเริ่มเจรจาเปิดตลาด คือ ให้มีการลดภาษีศุลกากร ตอนนั้นเราผลักดันมากเรายังไปเปิด เจรจา FTA ต่างๆ อาศัยให้เป็นกลไกการเปิดตลาดให้กับสินค้า ส่งออกของเรา ด้านการลงทุนก็มีการตั้ง BOI ขึ้น เพื่อส่งเสริม การลงทุ น จากต่ า งประเทศ โดยให้ ส ิ ท ธิ ป ระโยชน์ ท างภาษี และดอกเบีย้ เกิด Eastern Seaboard และการพัฒนาอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี มีการขยายถนนเพื่อสนับสนุนการส่งออก มีท่าเรือ น้ำลึกแห่งที่ 2 นับเป็นจุดหักเหที่ได้จังหวะเวลาพอดี ทำให้ ประเทศเราก็พุ่งขึ้นไปได้ระดับหนึ่ง

มาวันนี้ export-led เริ่มเฉื่อยแล้ว เพราะเจอปัญหาหลายอย่าง ทั้ง infrastructure ที่ชะลอตัวลงไปในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ขยายตัวไม่ทัน ท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบังก็เริ่มแออัด การผลิต สินค้าก็ตอ้ งเผชิญกับคูแ่ ข่งมากมาย สินค้าพืน้ ฐานทีเ่ คยทำก็ไม่ใช่ คำตอบ เปิดตลาดไปก็กลับพบเจออุปสรรคปัญหาต่างๆ ในขณะที่ การพัฒนาด้าน ICT ของเรา มีความก้าวหน้าและขยายตัว อย่างรวดเร็ว เราจึงต้องปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมการส่งออก ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจของ ประเทศ ต้องหันไปสูส่ นิ ค้าทีม่ มี ลู ค่าสูง ทำน้อยแต่ได้มาก สินค้า จะต้ อ งมี แ บรนด์ มี ย ี ่ ห ้ อ หรื อ โลโก้ ข องเราเอง เราต้ อ งมี ความเป็นเจ้าของ ต้องมีเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาเข้ามา เกี่ยวข้อง และหันมาพัฒนาแบรนด์ของประเทศ ถึงจะผลิต สินค้าเกษตร ก็ควรเป็นสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูง เช่น ข้าว วันนี้เราก็มีข้าวอินทรีย์ ข้าว GI ที่เราผลิตได้ อย่างข้าวสังข์หยด ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ แต่ละชนิดมีเอกลักษณ์ พิเศษ ที่ใช้ทำการตลาดได้ ต้องใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้า ของเรา อย่าไปแข่งในสิ่งเดิมๆ นอกจากนั้น ต้องมุ่งไปสู่ธุรกิจ บริการมากขึ้น เพราะเริ่มมีการขยายตัวสูง มีสัดส่วนอยู่ใน GDP สูงขึ้นมาก อีกทั้งยังเกี่ยวพันกับผู้คนจำนวนมาก ตั้งแต่ระดับบน จนถึงฐานราก สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความเหลื่อมล้ำได้ และนี่คือการนำพาประเทศให้เติบโตขึ้นไปอีกหนึ่งระดับ คือ ไทยแลนด์ 4.0 ที่จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับเศรษฐกิจ และการผลิตของประเทศ

“ต้องหันไปสู่สินค้า

ที่มีมูลค่าสูง ทำน้อย

แต่ได้มาก

สินค้าจะต้องมีแบรนด์ มียี่ห้อ มีโลโก้

เป็นของเราเอง”


การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรกระทรวงพาณิชย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

“จีนกับอินเดียนั้น เผอิญเราอยู่ตรงกลาง

เราต้องเป็น solvent ให้ได้

เป็นตัวละลายให้นำ้กับนำ้มันเข้ากันให้ได้ ถ้าเมื่อไรที่นำ้กับนำ้มันเข้ากันได้ เราจะไปได้ ไกล ขึ้นอีก”

แน่นอนว่าการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร เป็นเรื่องสำคัญ เป็นหัวใจของการทำงานทุกเรื่อง เคยหารือ กับผู้บริหารของกระทรวงที่จะวางเป้าหมายการทำงานหรือ มองอนาคตไปในระยะยาว คือ 20 ปี ซึง่ อะไรๆ จะเปลีย่ นไปอีกมาก โดยเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยี การพัฒนาไปเป็นการค้าบน ระบบดิจิตอลมากขึ้น บทบาทหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ ไม่ใช่ เรื่องของต่างประเทศอย่างเดียว แต่ทำอย่างไรที่จะดึงเอาตลาด ต่ า งประเทศมาพั ฒ นาการผลิ ต ของเรา พั ฒ นาเกษตรกร พัฒนาอุตสาหกรรม ต้องกลับเข้ามาสู่รากเหง้าของประเทศ ตรงนี้ที่สำคัญมาก นี่คือหน้าที่สำคัญของกระทรวงพาณิชย์ ที่จะเชื่อมโยงตลาดในประเทศออกไปสู่ตลาดโลก ทั้งนี้ก็เพื่อ ความอยู่ดี กินดี ของประชาชน เจ้าหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ จึงต้องมีสายตาที่ กว้างไกล พร้อมที่จะเป็นผู้สนับสนุน เราจะไม่ทำธุรกิจการค้าเอง เพราะไม่อาจรู้เรื่องดีไปกว่าคนที่ทำ บุคลากรของกระทรวง ต้ อ งมี ใจที ่ เ ปิ ด กว้ า ง รั บ ฟั ง ผู ้ ป ระกอบการให้ ม าก แล้ ว ช่ ว ย

หาทางส่งเสริม สนับสนุน และแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ประกอบการ บทบาทหน้าที่ในกระทรวงของเราต้องเปลี่ยนจาก regulator ไปเป็น facilitator ที่ช่วยอำนวยความสะดวก ช่วย support การผลิต การค้าในประเทศ และการส่งออกไปยังต่างประเทศ เราจึงจำเป็นจะต้องมีบคุ ลากรทีเ่ ข้มแข็ง และทันสมัย ต้องรูเ้ ท่าทัน เหตุการณ์หรือสถานการณ์ภายในประเทศและต่ า งประเทศ การค้ า ระหว่ า งประเทศจะเปลี ่ ย นแปลงไปในทิ ศ ทางไหน ต้องมองให้ออก มองให้ทัน และต้องเร็ว อย่างเช่นตอนนี้ growth area ย้ายจากตะวันตกมาตะวันออก เราจะทำยังไงกับโอกาส ที่เกิดขึ้น เราอยู่ในจุดศูนย์กลางการเจริญเติบโต ทำอย่างไรถึง จะใช้ประโยชน์จากตรงนี้ให้มากที่สุด จีนกับอินเดียนั้นก็ไม่ใช่ว่า จะเข้ากันได้งา่ ยๆ เผอิญทีเ่ รามาอยูต่ รงกลาง เราต้องเป็น solvent ให้ได้ เป็นตัวทำละลายให้น้ำกับน้ำมันเข้ากันให้ได้ ถ้าเมื่อไร น้ำกับน้ำมันเข้ากันได้ เราจะไปได้ไกลอีก เพราะเหนือจากจีนขึน้ ไป คือ รัสเซีย ตรงนี้เป็นศักยภาพที่ใหญ่มาก เราจึงต้องการคนอย่าง ที่บอก “พาณิชย์ยุคใหม่ ต้องฉับไว โปร่งใส มองไกล ใกล้ชิด ประชาชน”


การผนึกกำลังของไทยกับ CLMV ใน CLMVT Forum ครั้งที่ 1 ที่ผ่านมา

CLMVT นี้ ที่จริงก็เป็นเรื่องของอาเซียน วันนี้เราเป็น AEC แล้ว เราเฝ้ามองการใช้ประโยชน์จาก AEC ซึ่งน่าจะทำเป็น supply chain ภายในอาเซียนได้ เมื่อก่อนเราอาจจะมองว่า CLMV เป็ น สมาชิ ก ใหม่ แต่ ว ั น นี ้ เราเป็ น สมาชิ ก อาเซี ย น ที่เท่าเทียมกัน ต่างก็ลดภาษีลงมาถึงร้อยละ 0-5 ใกล้เคียงกัน ท่านนายกรัฐมนตรีเชื่อว่า ไม่มีประเทศใดที่จะสามารถแก้ไข ปัญหาความท้าทายต่างๆ โดยลำพังตัวเองได้ ท่านย้ำอยู่เสมอว่า ในอาเซียนนั้น ไทยแลนด์ต้องบวกหนึ่ง ต้องมองเพื่อนบ้าน แล้วเติบโตไปด้วยกัน เจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน ซึ่งแนวความคิดนี้ ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากประเทศเพื่อนบ้านของเรา และ ทีท่ า่ นไปกล่าวปาฐกถาในการประชุม IISS Shangri-La Dialogue ที่สิงคโปร์ ก็ได้นำแนวคิดการพึ่งพากันไปพูดได้รับความชื่นชม อย่างมากจากท่านนายกรัฐมนตรี ลี เซียน ลุง ดังนั้น ครั้งนี้จึงเป็น โอกาสให้ CLMVT นั่งคุยกัน ฟังภาคเอกชนคุย ศักยภาพเรา เป็นยังไง ปัญหาเราเป็นยังไง ภาครัฐจะรับฟังเพื่อร่วมกันแก้ไข ปัญหา ให้การค้าการลงทุนขยายตัว เจริญเติบโตไปด้วยกัน

เพือ่ หารือแนวทางความร่วมมือ ทีจ่ ะนำไปสู่ “ความเจริญก้าวหน้า อย่างยั่งยืนร่วมกัน” เพื่อเสริมสร้างบทบาทของเราในการเป็น ศูนย์กลางของอาเซียน ซึ่งน่ายินดีที่ได้ผลลัพธ์ที่สำคัญที่ CLMVT สามารถดำเนินการร่วมกันและเห็นผลอย่างรวดเร็วในหลายเรื่อง อาทิ การตัง้ “CLMVT Business Council” มาช่วยแก้ไขปัญหา ทางการค้า ให้มีเอกชนเป็นหลัก โดยเฉพาะเอกชนที่มีธุรกิจ อยูใ่ นจังหวัดทีม่ ดี า่ นพรมแดน การพัฒนา “Knowledge Tank” เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเศรษฐกิจการค้ารอบด้าน ที่เป็น one-stop data platform ทีผ่ ใู้ ช้สามารถเข้าถึงทางออนไลน์ได้งา่ ย โครงการ “CLMVT Value Creation Initiative” เพือ่ ส่งเสริมความร่วมมือ ในการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและหัตถกรรมร่วมกัน และโครงการ “Green Season in CLMVT” เพือ่ บริหารจัดการ นักท่องเที่ยวช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวร่วมกัน เน้นการดึงดูด ลูกค้านอกภูมิภาค

งานนี้เราได้รับความร่วมมืออย่างดีมากจากทางกลุ่ม กระทรวงพาณิชย์ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและ ประเทศ CLMV ซึ่ง CLMV ก็ดีใจที่เราเริ่มงานนี้ขึ้นมา เพราะต่าง เอกชนกว่า 10 หน่วยงาน จัดเป็นการประชุมและเสวนาแบบ ก็มีความใกล้ชิดกันทั้งทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา เจาะลึกเกี่ยวกับการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ระหว่าง มีอะไรทีใ่ กล้ชดิ กันมาก และก็ได้ตกลงกันทีจ่ ะจัด CLMVT Forum ผู้นำระดับสูงของภาครัฐ เอกชน และภาควิชาการของ CLMVT ขึ้นทุกปีต่อไป โดยกัมพูชารับเป็นเจ้าภาพจัดประชุมในปี 2560


ปรัชญาในการดำเนินชีวิต ถ้าเรามีความเพียงพอ ก็พอเพียง จะสามารถอยู ่ ในราชการได้อย่างปลอดภัย มีความก้ า วหน้ า ในชี ว ิ ต ราชการ พอเพียง เพียงพอ ท่านทำงานตรงนี้ ใครจะมา เสนออะไรๆ ที่ไม่ถูกไม่ควร เราไม่เอา เราหยุด เราไม่ได้ ต้องการอะไรที่ไม่ใช่ แล้วไม่ต้องกลัว กลัวว่าถ้าไม่ทำ แล้วจะโดนย้าย ไม่กา้ วหน้า ยึดถือความถูกต้องไว้เป็นหลัก และท่ า นจะสามารถดำรงชี ว ิ ต อยู ่ ใ นราชการได้ โ ดย ปลอดภัย มีความเจริญก้าวหน้าในเส้นทางการทำงาน ที่พอเพียง ต้องไม่กลัวที่จะทำถูก เพราะจะเป็นเกราะ คุม้ ครองและป้องกันภัย ตลอดชีวติ ทีร่ บั ราชการมาก็จะคิด อย่างนี้ ในฐานะของผู้บังคับบัญชา เราก็ต้องดูแลทุกคนที่ อยู่กับเรา ให้สามารถทำงานได้ด้วยความสบายใจและ ปลอดภั ย คอยปกป้ อ งรั ก ษาลู ก น้ อ ง ไม่ ใ ห้ ถ ู ก ใคร กลั่นแกล้งได้ แต่ลูกน้องเองก็อย่ากลัวที่จะทำถูก ถ้าทำถูก แล้ ว จะอยู ่ ท ี ่ ไ หนก็ ส ามารถอยู ่ ไ ด้ ทำงานในหน้ า ที ่ รั บ ผิ ด ชอบให้ เ ต็ ม ความสามารถ และเราก็ ท ำมั น ได้ ด ี อยู่แล้ว

“ใครจะมาเสนออะไรๆ ที่ไม่ถูกไม่ควร เราไม่เอา เราหยุด เราไม่ได้ต้องการ

อะไรที่ไม่ใช่ แล้วไม่ต้องกลัว กลัวว่า ถ้าไม่ทำ แล้วจะโดนย้ายไม่ก้าวหน้า ยึดถือความถูกต้องไว้เป็นหลัก”


โดย สำนักยุโรป

10


ในช่วงทีผ่ า่ นมา ประเทศไทยได้มกี ารดำเนินการ

เชิ ง รุ ก เพื ่ อ ขยายและยกระดั บ ความสั ม พั น ธ์ ท างการค้ า การลงทุนกับประเทศต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจ ของประเทศในภาพรวม ทั้งในเอเชีย แอฟริกา รวมไปถึง ยูเรเซีย และหนึ่งในนั้นคือประเทศทีม่ คี วามสัมพันธ์อนั ยาวนาน กับประเทศไทย คือ สหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งได้มีการสถาปนา ความสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่ปี 2440 และจะมีการฉลอง ครบรอบความสัมพันธ์ 120 ปี ในปี 2560 นี้ นับจากนี้ เราคง จะได้เห็นกิจกรรมความร่วมมือไทย-รัสเซีย ในด้านต่างๆ ระหว่างกันมากขึ้น

เหตุใดจึงต้อง EAEU... สำหรั บ ความสั ม พั น ธ์ ท างการค้ า ระหว่ า งไทยรัสเซียนั้น มีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง โดยหลายปีที่ผ่านมา มีมลู ค่าการค้าขายระหว่างกันโดยเฉลีย่ ราวปีละ 4,000 ล้านเหรียญ สหรัฐ และในการเยือนของนายกรัฐมนตรีไทยเมือ่ เดือนพฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายได้เล็งเห็นศักยภาพทางการค้า ระหว่างกัน จึงได้ตั้งเป้าที่จะขยายการค้าระหว่างกันเป็น 5 เท่า ใน 5 ปี โดยให้จัดทำความตกลงการค้าเสรีเพื่อเป็นหนึ่งในกลไก ที่จะช่วยผลักดันการขยายการค้ารวมทั้งการลงทุนระหว่างกัน ดั ง นั ้ น สองฝ่ า ยจึ ง จะพิ จ ารณาความเป็ น ไปได้ ใ นการจั ด ทำ ความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน แต่เนื่องจากรัสเซียได้เข้าร่วม เป็นสมาชิกของสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Union - EAEU) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ไทยจึงไม่สามารถ จัดทำความตกลง FTA แบบสองฝ่ายกับรัสเซียได้ ดังนั้น ถ้าจะทำ ก็ต้องทำ FTA กับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซียโดยรวม

11


EAEU นั้น...สำคัญไฉน

มารู้จักกับ EAEU กันก่อนสักหน่อย EAEU มีสถานะ เป็นองค์กรนานาชาติใหม่ ทีพ่ ฒ ั นามาจากสหภาพศุลกากรยูเรเซีย (Eurasian Customs Union - EACU) ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 5 ประเทศ คือ รัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน อาร์มีเนีย และคีร์กิซ โดย EAEU มีลักษณะการรวมกลุ่มและหลักการเช่นเดียวกับ ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EU) มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น และ ปูทางไปสู่การบูรณาการทางการเมืองในอนาคต ซึ่งความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจทีส่ ำคัญ ได้แก่ การใช้อตั ราภาษีศลุ กากรภายนอก ร่วมกัน (Common External Tariff) การกำหนดให้มีการ เคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินลงทุนและแรงงาน ได้อย่างเสรี ระหว่างประเทศสมาชิก ตลอดจนถึงการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ ที่สอดคล้องกันทั้งในภาคพลังงาน อุตสาหกรรม การเกษตร และการคมนาคมขนส่ง อีกทัง้ ยังมีการสร้างกรอบกฎหมายสำหรับ การประสานนโยบายทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และ การจัดเก็บภาษี EAEU ซึ่งครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างขวาง ถึง 1,268,608 ตารางกิโลเมตร และมีขนาดประชากรรวมกัน มากถึง 1 ใน 5 ของโลกนั้นมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) รวมกันเป็นมูลค่าประมาณ 2.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ นอกจากนี้ EAEU ยังอุดมไปด้วย ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตที่สำคัญ เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และแร่ธาตุต่างๆ อย่างมากมาย มหาศาล จึงไม่แปลกที่ EAEU จะกลายเป็นตลาดที่น่าสนใจที่สุด แห่งหนึ่งของโลก

12

เตรียมพร้อมก่อน...จะดีกว่า... เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของไทย เมื่อปี 2557 กรมเจรจาการค้ า ระหว่ า งประเทศ ร่ ว มกั บ มู ล นิ ธ ิ ส ถาบั น วิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ได้จัดทำการศึกษาเบื้องต้น ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพศุลกากร รัสเซีย คาซัคสถาน และเบลารุส ได้ข้อสรุปที่เป็นเชิงบวกว่า การเปิดการค้าเสรีระหว่างไทยและสหภาพศุลกากรฯ จะส่งผล เชิ ง บวกต่ อ เศรษฐกิ จ ของไทย ทำให้ อ ั ต ราการขยายตั ว ทางเศรษฐกิจของไทยเพิ่มขึ้นได้ราวร้อยละ 0.0717 - 0.2029 และจะทำให้ การส่ ง ออกของไทยและของสหภาพศุ ล กากรฯ ขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด คุณภาพของประชากรดีขึ้น การจ้างงาน ของไทยเพิ่มขึ้น การบริโภค การลงทุน และการใช้จ่ายภาครัฐ ของไทยเติบโตขึ้น การนำเข้าลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้ การลด อุ ป สรรคการด้ า นบริ ก ารยั ง ส่ ง ผลเชิ ง บวกต่ อ ทั ้ ง เศรษฐกิ จ ของไทย และสหภาพศุลกากรฯ อย่างมาก และจากการทีส่ องฝ่าย มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ทำให้เป็นโอกาสสำหรับ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน สินค้าและบริการไทยที่จะได้ ประโยชน์ เช่น น้ำตาล อ้อย ข้าว ผลิตภัณฑ์หนัง เครื่องนุ่งห่ม ยานยนต์ แ ละชิ ้ น ส่ ว น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ โ ลหะ และบริ ก ารด้ า น การท่องเที่ยว เป็นต้น


นอกจากนี้ จะช่วยลดอุปสรรคทางการค้าและกฎระเบียบ ของประเทศสมาชิกสหภาพศุลกากรฯ เนื่องจากใช้กฎเดียวกัน เช่น กฎระเบียบเกีย่ วกับสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และไทยยังสามารถใช้ สหภาพศุลกากรฯ เป็น Hub/distribution network ไปยังประเทศ ใน Central Asia ได้ อันจะเป็นการขยายโอกาสทางการค้าและ การลงทุนของไทยต่อไปด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลผลการศึกษาเหล่านี้ คงเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่จะใช้เพื่อการพิจารณาความเป็นไปได้ ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับ EAEU ต่อไป อย่างไรก็ตาม การเริ่มเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับ EAEU นั้น มีขั้นตอนกำหนดไว้ชัดเจน เริ่มจากการแสดงเจตจำนง ไปยัง EAEU ก่อน เมื่อสมาชิกทุกประเทศเห็นชอบแล้ว จึงจะเริ่มเข้าสู่ ขั้นตอนการจัดทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลง การค้าเสรีร่วมกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (Joint Feasibility Study) ซึ่งจะใช้เวลาราว 1 ปีครึ่ง หลังจากได้ผลการศึกษาแล้ว จึงจะพิจารณา ว่าจะเริ่มการเจรจาหรือไม่ ดังนั้น การที่จะเริ่มต้นการเจรจาเพื่อจัดทำ ความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยและ EAEU คงไม่สามารถทำได้โดยเร็ว ด้วยข้อจำกัดของกฎระเบียบของทาง EAEU

แม้ว่าเส้นทางไปสู่ FTA ระหว่างไทยกับ EAEU ยังเต็มไปด้วยความท้าทายนานัปการ แต่ทุกฝ่ายคงต้อง ร่ ว มกั น พิ จ ารณาผลประโยชน์ ภ าพรวม เพื ่ อ ให้ ป ระเทศไทยสามารถก้ า วทั น ต่ อ การแข่ ง ขั น ในตลาดโลก ที่ทวีความร้อนแรง อีกทั้งยังต้องแข่งกับเวลาให้คุ้มค่าที่สุด และอย่าลืมว่าไทยไม่ ใช่ประเทศเดียวที่สนใจจะทำ FTA กับ EAEU ขณะนี้ มีประเทศกว่า 40 ประเทศ ที่สนใจและอยู่ระหว่างการหารือเพื่อจัดทำ FTA กับ EAEU และปัจจุบันเวียดนามประเทศเพื่อนบ้านของไทยก็ได้ลงนาม FTA กับ EAEU ไปแล้ว เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 ทำให้อัตราภาษีสำหรับสินค้าอาหารทะเลเกือบทั้งหมด รวมทั้ง สินค้ากลุ่มสิ่งทอ เครื่องหนัง และรองเท้า กว่าร้อยละ 80 ทีเ่ วียดนามส่งออกไปยัง EAEU ลดเหลือร้อยละ 0 ในขณะที่ สินค้าเหล็ก สินค้า อุตสาหกรรม และสินค้าเกษตรบางรายการ ที่ EAEU ส่งออกไปยังเวียดนามจะไม่มีอัตราภาษีนำเข้า เช่นกัน

13


พลิกโฉม

‘เมียนมา’

สู่ยุคประชาธิปไตยเต็มใบ...? โดย : สำนักอาเซียน

ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน ในอดีตเมื่อกล่าวถึงการเมืองในเมียนมา ท่านคงนึกถึงประเทศที่มีการปกครองระบอบเผด็จการทหาร รัฐบาลมีการ ปราบปรามและแก้ปัญหาภายในประเทศด้วยความรุนแรง โดยเฉพาะการปราบปรามชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ออกมาต่อสู้เพื่อ ความเป็นอิสระในการปกครองตนเอง การกวาดล้างปรปักษ์ทางการเมือง การควบคุมตัวนักโทษการเมือง รวมทั้งการจับกุมและ กักบริเวณนางออง ซาน ซู จี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านเป็นเวลากว่า 20 ปี จนถูกนานาชาติมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ส่งผลให้ เมียนมาถูกคว่ำบาตรและถูกกดดันจากองค์การสหประชาชาติ และประเทศมหาอำนาจต่างๆ ในโลก อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ขึ้นมาบริหารประเทศในปี 2553 รัฐบาลทหารเมียนมาได้มี การปฏิรูปประเทศและดำเนินนโยบายเปิดประเทศอย่างจริงจัง ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ อาทิ การพัฒนาประชาธิปไตย ในเมียนมา การผ่อนคลายความเข้มงวดในการปิดกั้นเสรีภาพ ของประชาชน การปล่อยตัวนักโทษการเมืองบางส่วน และ การแก้ไขกฎระเบียบด้านการเงินและการลงทุน เพื่อจูงใจให้ ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ ส่งผลให้เมียนมากลายเป็น ประเทศกำลังพัฒนาทีช่ าติอน่ื ๆ ให้ความสนใจไปลงทุน สถานการณ์ ทางการเมืองและสิทธิมนุษยชนที่ดีขึ้น ทำให้กลุ่มทุนต่างชาติเริ่ม มีความมั่นใจ และนำไปสู่การยกเลิกการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ กับเมียนมา 14


การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญที่สุดของ รัฐบาลทหารเมียนมา คือ กระบวนการสร้างประชาธิปไตยใน เมียนมา ผ่านการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2551 และ การจัดการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ที่ได้มี การเลือกตั้งมาแล้วสามครั้ง ครั้งแรกเป็นการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 20 ปี ส่วนการ เลือกตั้งครั้งที่สองเป็นการเลือกตั้งซ่อมเมื่อ พ.ศ. 2555 และ ครั ้ ง ที ่ ส ามเป็ น การเลื อ กตั ้ ง ทั ่ ว ไปที ่ เ พิ ่ ง ผ่ า นพ้ น ไปเมื ่ อ วั น ที ่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ทัง้ นี้ การเลือกตัง้ ทัว่ ไปครัง้ ล่าสุด ถือว่าเป็นการเลือกตัง้ ที่ประสบความสำเร็จและได้รับความชื่นชมจากนานาชาติเป็น อย่างยิ่ง เนื่องจากรัฐบาลเมียนมาจัดการเลือกตั้งครั้งนี้เอง โดย ขอรับความช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยจากประเทศอืน่ ๆ แต่สามารถ บริหารจัดการให้การเลือกตั้งดำเนินไปอย่างเรียบร้อย โปร่งใส ยุติธรรม และประชาชนเองก็มีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตย เป็นอย่างยิง่ โดยมีผอู้ อกมาใช้สทิ ธิเลือกตัง้ ครัง้ นีม้ ากถึงร้อยละ 80 และผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อ ประชาธิปไตย (National League for Democracy: NLD) ชนะการเลือกตัง้ โดยสามารถได้ทน่ี ง่ั ในสภาผูแ้ ทนราษฎร จำนวน 255 ที่นั่ง สภาชาติพันธุ์ จำนวน 135 ที่นั่ง และสภาระดับภาค และสภาระดับรัฐ ซึ่งเป็นสภาระดับท้องถิ่น จำนวน 496 ที่นั่ง ทั้งนี้ รัฐบาลทหารเมียนมาได้ยอมรับผลการเลือกตั้งครั้งนี้และ ประกาศจะถ่ายโอนอำนาจอย่างสันติ

เสถียรภาพทางการเมืองและแนวโน้มการกำหนด นโยบายของรัฐบาล หลังจากชัยชนะในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 พรรค NLD ได้จัดตั้งรัฐบาลขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 โดยเป็นการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนครั้งแรกหลังจากที่เมียนมาถูก ปกครองโดยรัฐบาลทหารมามากกว่า 50 ปี ซึ่งคณะรัฐมนตรี ชุดนี้ประกอบด้วยสมาชิกภายในพรรค NLD ร้อยละ 40 และ อีกร้อยละ 60 เป็นพันธมิตรแนวร่วม และกลุ่มนักวิชาการที่มี ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยมีนายทิน จอ ดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดี ด้วยคะแนนเสียงสนับสนุน 360 คะแนนจาก จำนวนผู้แทนทั้งหมด 652 คน และมีนางออง ซาน ซู จี ดำรง ตำแหน่งทีป่ รึกษาแห่งรัฐ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีประจำสำนักประธานาธิบดี

15


นายทิน จอ และนางออง ซาน ซูจี จากการที่ นางออง ซาน ซู จี ไม่สามารถเป็น ประธานาธิบดีของเมียนมาได้ เพราะติดเงื่อนไขคุณสมบัติตาม รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2551 (ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีต้องถือสัญชาติเมียนมา และเกิดจากบุพการีทเ่ี กิดในดินแดนทีเ่ ป็นเขตอำนาจรัฐของเมียนมา และถือสัญชาติเมียนมา นอกจากนี้ ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีจะต้องไม่มีบุพการี คู่สมรส บุตรหรือคู่สมรสของบุตร ที่เป็นคนในบังคับหรือพลเมืองของ ชาติอื่น) ทั้งนี้ นักวิเคราะห์จาก the Economist Intelligence Unit จึ ง ได้ ต ั ้ ง ข้ อ สั ง เกตในประเด็นสัมพันธภาพทางอำนาจ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ใหม่ในโครงสร้างการเมืองเมียนมา โดยเฉพาะอย่างยิง่ การทีน่ างออง ซาน ซู จี ได้ประกาศว่า “ตนเองจะเป็นผูน้ ำรัฐบาล ในฐานะหัวหน้าพรรค NLD และมีบทบาทอยู่เหนือผู้ที่จะขึ้นมา เป็นประธานาธิบดี” ซึ่งการออกมาประกาศเช่นนี้ แม้จะทำให้ ประชาชนชาวเมียนมามั่นใจว่านางอองซาน ซูจี จะทำหน้าที่เป็น ผู้นำในการกำหนดทิศทางของประเทศ แต่สิ่งที่เป็นข้อกังวลตาม มาคือ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจะมีบทบาทอย่างไร ในการทำหน้าที่ของตนเอง ในเมื่อการเป็นผู้นำหุ่นเชิดย่อมเป็น เรื่องที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ และเป็นไปได้ว่า จะเกิดการต่อต้านจากพรรคการเมืองอื่นๆ ในภายหลังได้

16

อย่างไรก็ตาม นายทิน จอ เองก็เป็นผู้ที่มีบทบาท อย่างมากภายในพรรค NLD และยังมีประสบการณ์ในการปฏิบตั ิ งานในกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์มาก่อน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการบริหารราชการแผ่นดินของ พรรค NLD ในฐานะผู้นำรัฐบาล เนื่องจากพรรค NLD ไม่ม ี ประสบการณ์ในการบริหารประเทศ และไม่มีระบบการสร้าง บุ ค ลากรเพื ่ อ มาดำรงตำแหน่ ง ทางการเมื อ งและการบริ ห าร สมาชิกพรรคส่วนใหญ่มาจากกลุ่มนักเคลื่อนไหวและนักปฏิวัติ ซึ่งแตกต่างจากพรรค USDP (The Union Solidarity and Development Party) ที่เป็นพรรคฝ่ายค้านที่มีโครงสร้างเดิม มาจากกองทัพและพัฒนามาเป็นพรรคการเมืองจึงมีความเชือ่ มโยง กับกองทัพและมีบุคลากรพร้อมขึ้นมาบริหารประเทศ ที่ผ่านมา พรรค NLD ทำหน้าที่เรียกร้องและต่อสู้ทางอุดมการณ์เป็นหลัก การได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ จึงเกิดจากความศรัทธา ของประชาชนเป็นหลัก ไม่ได้เกิดจากความเชื่อมั่นในผลงานหรือ ประสบการณ์ของพรรค ดังนั้น สิ่งที่ท้าทายพรรค NLD คือพรรค จะสามารถแก้ไขปัญหาของประเทศ ตามที่ประชาชนคาดหวัง ได้หรือไม่ ในขณะที่บุคลากรของพรรคขาดประสบการณ์ และยัง ต้องทำงานร่วมกับข้าราชการพลเรือนทีค่ นุ้ ชินกับการทำงานแบบ รับคำสั่งจากรัฐบาลทหารมาโดยตลอด


ด้วยเหตุนี้ รัฐบาล NLD จึงยังคงต้องพึ่งพากองทัพ และกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ที่ราบรื่น ภายใต้บริบทแห่งสันติภาพ เนื่องจากกองทัพยังคงมี อิทธิพลในทางการเมืองอยูม่ าก โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2551 ที่ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรค NLD ต้องได้รบั ความเห็นชอบจากสมาชิกสภาแห่งชาติมากกว่าร้อยละ 75 ซึ่งเพียงคะแนนเสียงภายใน NLD เท่านั้น (ร้อยละ 59.36) ไม่เพียงพอ และการจะได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกสภาแห่งชาติ เกินร้อยละ 75 ไม่ใช่เรื่องง่ายหากกองทัพไม่เห็นด้วย สำหรับ กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ นั้น เนื่องจากรัฐบาล NLD ยังไม่ได้รับการ ยอมรับจากกลุม่ ชาติพนั ธุใ์ นรัฐฉาน และรัฐอาระกัน (ยะไข่) ดังนัน้ รัฐบาล NLD จึงได้จัดตั้งกระทรวงกิจการชาติพันธุ์ (Ministry for Ethnic Affairs) ขึ้น เพื่อเพิ่มฐานเสียงความนิยมจากกลุ่ม ชาติพนั ธุต์ า่ งๆ ควบคูก่ บั การป้องกันไม่ให้เกิดสงคราม ความขัดแย้ง ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนความสมานฉันท์ ภายในประเทศ

เมียนมา ด้วยการอนุญาตให้สามารถขนส่งสินค้าทุกชนิดผ่าน ท่าเรือและท่าอากาศยานของเมียนมาได้เป็นเวลา 6 เดือน ก่อนหน้านีห้ ลังจากทีม่ กี ารเปลีย่ นผ่านระบอบประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2554 สหภาพยุโรป ได้ยกเลิกการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ กับเมียนมาอย่างถาวรในเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 และตามมาด้วย สหรัฐอเมริกาที่เริ่มยกเลิกการคว่ำบาตรบางส่วนตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2556 เช่นกัน

ทัง้ นี้ การทีน่ างออง ซาน ซู จี ได้รบั การสนับสนุนจาก นานาชาติมาอย่างยาวนานในการต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตย จะเอือ้ ประโยชน์ตอ่ นางออง ซาน ซู จี ในฐานะ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการต่างประเทศ ในการสร้างความสัมพันธ์ เชิงลึกกับประเทศตะวันตก อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความมัน่ คง ของเมียนมายังคงเป็นข้อกังวลของนานาชาติ ที่จับตามองการ แก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนของเมียนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา ความขัดแย้ง การสูร้ บระหว่างชาวพุทธ และชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ทีแ่ กนนำทัง้ ชุมชนชาวโรฮิงญากับชุมชนชาวพุทธ ยังไม่พร้อมทีจ่ ะ ความสัมพันธ์กับต่างประเทศภายหลังการจัดตั้ง ร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ปัญหาดังกล่าว รวมทั้งปัญหาการ รัฐบาลพลเรือน แทรกแซงทางการเมืองของกองทัพอีกด้วย EIU ได้วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่ชาติตะวันตกกลับมามี ความสัมพันธ์กบั เมียนมาอีกครัง้ นัน้ มาจากการปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี และนักโทษการเมือง รวมทั้งการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ เดือนพฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2558 กระทรวงการคลังสหรัฐได้ผ่อนคลายข้อจำกัดการค้าชั่วคราวต่อ

17


แนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศกับการปฏิรูป สำหรับประเทศไทย ในเบือ้ งต้นนักธุรกิจไทยมีโอกาส เศรษฐกิจในเมียนมา เข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมพื้นฐานต่างๆ เช่น การออกแบบการ ในการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลจากยุคนายพลเต็ง เส่ง สู่รัฐบาลพลเรือนที่นำโดย NLD นั้น นักวิชาการหลายท่านได้ แสดงความเห็นว่า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะเป็นสิง่ ที่ ท้าทายอย่างมาก เนื่องจากนักลงทุนรายใหม่อาจจะรอดูทิศทาง การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ หรือนักลงทุน บางส่วนอาจจะขอทบทวน และบางส่วนอาจจะยืนยันที่จะลงทุน ต่อไป อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันแนวโน้มการลงทุนของต่างชาติ ในเมียนมาสูงขึ้น เนื่องจากนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่ยกเว้น ภาษีหลายด้านที่จูงใจนักลงทุนต่างชาติ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ใน ระดับต่ำ รวมทั้งทรัพยากรและวัตถุดิบในเมียนมายังมีอยู่มาก โดยธุรกิจที่นักลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วย ธุรกิจบริการการเงินและการธนาคาร โดยเฉพาะเรื่องการส่งเงิน กลับประเทศ ธุรกิจคลื่นความถี่ เครือข่ายและการบริการด้าน โทรคมนาคม ธุรกิจอุตสาหกรรมสิง่ ทอและเครือ่ งนุง่ ห่ม ทีป่ จั จุบนั มีการย้ายฐานการผลิต โดยเฉพาะจากประเทศจีนไปยังเมียนมา เนื่องจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศ ในกลุ่มอาเซียน ธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่มีโครงการพัฒนา สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ธุรกิจโรงแรม และการท่องเที่ยว ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง ในขณะเดียวกัน การปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลทั้งชุดเก่าและ ชุดปัจจุบัน ทำให้เจ้าหน้าทีร่ ะดับสูงในกองทัพได้รบั ผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจเพิม่ มากขึน้ เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศเติบโต อย่างก้าวกระโดดจากการลงทุนของต่างชาติ แม้การปฏิรปู ดังกล่าว จะทำให้อิทธิพลของกองทัพต่อเศรษฐกิจของประเทศลดลง ก็ตาม

18

ก่อสร้างและตกแต่งภายใน การบริการ รวมถึงระบบสาธารณูปโภค พื้นฐานที่สำคัญที่เป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาประเทศ ได้แก่ ไฟฟ้า ประปา ถนน และระบบโลจิสติกส์ รวมถึงการก่อสร้าง อาคารและการวางระบบต่างๆ อย่างไรก็ตาม การบริการก็เป็น อีกหนึ่งเป้าหมายที่ไทยต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา ประเทศเมียนมา เช่น ธุรกิจแฟรนไชส์ของไทย ธุรกิจการบริการต่างๆ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร โรงพยาบาล การออกแบบตกแต่ง เป็นต้น

ปัจจุบัน นักธุรกิจและนักลงทุนไทยได้เข้าไปดำเนินธุรกิจใน

เมียนมามากกว่า 300 ราย โดยมีเงินลงทุนสะสมมากกว่า หนี่งหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยรัฐบาลไทยได้ชี้ช่องโอกาส ให้นกั ธุรกิจไทยได้ลงทุนในเมียนมาเพือ่ ต่อยอดเศรษฐกิจของตน และเพิม่ ฐานการผลิต เนือ่ งจากมีขอ้ ได้เปรียบด้านค่าแรงงาน และตลาดที ่ เ ปิ ด กว้ า งสำหรั บ นั ก ลงทุ น อี ก ทั ้ ง ยั ง สามารถ ส่งสินค้าไปยังประเทศฝั่งตะวันตกได้มากยิ่งขึ้น


โดย : ต้องตา สุดมี

19


“สถานที่ท่องเที่ยวในโลกนี้มีเยอะแยะมากมาย หลายแห่งเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้ว แต่อีกหลายแห่ง ยังรอให้นักท่องเที่ยวไปสำรวจ ความอัศจรรย์ของมันอยู่”

ครัง้ นี้ เป็นอีกครัง้ ทีท่ มี เอเปคต้องออกเดินทางไกล

.. ไกลถึงอเมริกาใต้!! ด้วยภารกิจการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรี การค้ า เอเปค ครั ้ ง ที ่ 22 และการประชุ ม อื ่ น ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ ง ณ ประเทศเปรู โดยในปีน้ี เปรูชหู วั ข้อ “การเจริญเติบโตอย่างมี คุณภาพและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” เป็นหัวข้อหลักทีต่ อ้ งการ จะผลักดัน สาธารณรัฐเปรู ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของทวีป อเมริกาใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีเมืองหลวงคือกรุงลิมา พื้นที่ส่วนใหญ่ของเปรู (เกือบ 60%) ปกคลุมด้วยป่าแอมะซอน และด้วยความที่ภูมิประเทศของเปรู มีลักษณะยาวเรียบชายฝั่ง ประกอบกับมีเทือกเขาแอนดีสพาด ผ่านและมีกระแสน้ำเย็นฮัมโบลด์ไหลเลียบชายฝัง่ ด้วย จึงส่งผลให้ แต่ละส่วนของเปรูมภี มู อิ ากาศแตกต่างกัน เช่น เขตชายฝัง่ มีอากาศ อบอุ่นและมีความชื้นสูง ในขณะที่เขตป่ารกทึบมีฝนตกหนักและ มีอณ ุ หภูมสิ งู ส่วนทางใต้มอี ากาศหนาวเย็น และทางใต้นเ่ี อง... คือ จุดหมายที่ทีมเอเปคจะเดินทางไป...เมืองอาเรกีปา (Areguipa) เราเริม่ ออกเดินทางกันตัง้ แต่วนั ที่ 5 พฤษภาคม 2559 จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มุง่ หน้าสูท่ า่ อากาศยาน Amsterdam Schiphol ประเทศเนเธอร์แลนด์ เราพักค้างคืนที่นั่น 1 คืน เช้าวันรุ่งขึ้นจึงเดินทางต่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติ Jorge Chavez กรุงลิมา ประเทศเปรู ถึงราวหนึ่งทุ่มได้ พักต่อเครื่อง อีกประมาณ 3 ชัว่ โมง มีดเี ลย์นดิ หน่อย แล้วจึงขึน้ เครือ่ งต่อไปยัง ท่าอากาศยานนานาชาติ Rodriguez Ballon เมืองอาเรกีปา ถึงเอาเกือบ 5 ทุ่ม พวกเราอยู่ในสภาพอิดโรย เนื่องจากเดินทาง กันมาเกือบ 2 วันแล้ว บวกกับเวลาทีต่ า่ งกับไทยมากถึง 12 ชัว่ โมง

20


ทำให้การเดินทางเข้าเมืองต่อจากนีเ้ ริม่ เงียบ ทุกคนเริม่ พูดน้อยลง .. ลืมตาน้อยลง .. ZZzz .. Zz .. Z .. ในที่สุดก็หลับ!! (-..-“) .. รถบัสยังคงแล่นไป ไม่นานมันก็พาเรามาถึงทีพ่ กั ซึง่ เป็นโรงแรมเล็กๆ ขนาด 2 คูหา ภายในตกแต่งอย่างเรียบง่าย ให้ความรู้สึกอบอุ่น เป็นกันเองเหมือนอยู่บ้าน ทุกคนเริ่มแยกย้ายกันเข้าห้องของ ตั ว เอง และแน่ น อน คื น นี ้ จ ึ ง เป็ น คื น ที ่ ท ุ ก คนหลั บ ง่ า ยและ หลับสนิทที่สุด แม้จะเป็นการหลับต่างถิ่นก็ตาม เช้าวันรุง่ ขึน้ ทุกคนตืน่ แต่เช้าเตรียมตัวไปเข้าประชุม และอย่างที่รู้กันดีว่าการเดินทางไปราชการต่างประเทศจะใช้ เวลากว่า 80% อยู่ในห้องประชุมอีก 20% ที่เหลือจะถูกใช้ ไปกับห้องพัก ห้องอาหาร และการเดินทางระหว่างที่พักกับที ่ ประชุม น้อยครั้งที่จะได้ออกไปเที่ยวเปิดหูเปิดตาตามสถานที ่ ท่องเที่ยวต่างๆ และครั้งนี้ก็เช่นกันที่ทีมเอเปคใช้เวลาส่วนใหญ่ อยูใ่ นห้องประชุม ทว่า โชคดีกว่าทุกครัง้ ทีผ่ า่ นมาตรงที่ เมืองอาเรกีปา นี้มีความธรรมชาติอยู่มาก ต้นไม้ใบหญ้าเขียวขจี มีภูเขาเป็น ฉากหลักของห้องประชุม เมื่อประกอบเข้ากับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้า และเมฆหมอกบางๆ ที่ลอยปกคลุมอยู่บริเวณนั้น ยิ่งให้ ความรู้สึกเหมือนอยู่ในภาพวาด อาเรกีปา หรือเมืองสีขาว (The White City ; La Ciudad Blanca) เป็นเมืองหลวงของภูมิภาคอาเรกีปา

อยูห่ า่ งจากกรุงลิมาลงมาทางตอนใต้ 780 กิโลเมตร ในเขตเทือกเขา แอนดีสที่ความสูง 2,380 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล และ อยูใ่ กล้ภเู ขาไฟเอล มิสตี ด้วยความทีอ่ าเรกีปาอยูใ่ กล้ภเู ขาไฟนีเ่ อง ทำให้อาคารหลายแห่งถูกสร้างขึ้นด้วยหินภูเขาไฟสีขาว และ เมืองนี้จึงถูกขนานนามว่าเมืองสีขาว ว่ากันว่าชื่ออาเรกีปามีที่มา จากภาษาเกชั ว Ari, quepay แปลว่ า “ใช่ ที ่ น ี ่ แ หละ” ซึ่งเป็นคำตรัสของมัยตา กาแพก กษัตริย์อินคาองค์ที่สี่ เมื่อตอน ที่พระองค์ทอดพระเนตรเห็นเมืองนี้ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการ สันนิษฐานจากร่องรอยของชาวพืน้ เมืองจากทะเลสาบตีตกี ากาว่า ชื่ออาเรกีปานี้น่าจะมาจากภาษาอัยมารา โดย ari แปลว่า ยอด และ quipa แปลว่า อยูข่ า้ งหลัง เมือ่ แปลรวมกันจึงหมายความว่า

21


“เมื อ งที ่ อ ยู ่ ห ลั ง ภู เขาไฟเอล มิ ส ตี ” ทั ้ ง นี ้ จากหลั ก ฐาน ทางโบราณคดีพบว่า มีผู้คนอาศัยอยู่ในหุบเขาอันอุดมสมบูรณ์ ที่เป็นที่ตั้งของเมืองอาเรกีปานี้มาตั้งแต่สมัย 5,000 - 6,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ชาวอัยมารา อาศัยอยู่ในบริเวณนี้เมื่อตอนที่อาณาจักรอินคาเข้ายึดครอง อาเรกีปาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และถูกก่อตั้งขึ้นใหม่เมื่อวันที ่ 15 สิงหาคม 2083 โดยทหารสเปนนามว่า การ์ซี มานูเอล เดอ การ์บาคา ซึ่งเป็นทหารที่นายพลฟรันซิสโก ปีซาร์โร ส่งมา ดังนั้น จึงไม่แปลกหากเราจะพบเห็นอารยธรรมยุโรป โดยเฉพาะ อารยธรรมสเปนหลงเหลืออยู่ตามสถาปัตยกรรมของอาคาร บ้านเรือน รวมไปถึงถนนหนทางสายแคบๆ ที่ทำจากหิน รองรับ การสัญจรผ่านไปมาของรถได้เพียง 2 เลนเท่านั้น สิง่ หนึง่ ทีเ่ ป็นสัญลักษณ์คบู่ า้ นคูเ่ มืองของเปรูตอนใต้ คือ เจ้าอัลปากาน้อย อัลปากาเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ชนิดหนึ่งของเปรู ไม่ว่าจะเป็น “ขน” หรือ “เนื้อ” โดยชาวเปรูนิยมเอาขนอัลปากามาทำเครื่องนุ่งห่มและ เครื่องประดับตกแต่ง เนื่องจากขนของอัลปากามีลักษณะยาว นุ่ม เบา และฟูเหมือนปุยฝ้าย เมื่อนำมาสวมใส่ ให้ความรู้สึกอบอุ่นและไม่ก่อให้เกิดอาการคันและยังมีหลายเฉดสีให้เลือกอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอัลปากา จะน่ารักเพียงใด ก็มิวายตกเป็นอาหารสำหรับคนท้องถิ่น เนื้ออัลปากาเป็นหนึ่งในหลายๆ เนื้อที่ได้ขึ้นชื่อว่า หอม อร่อย นุ่มลิ้น ทานง่าย จึงไม่แปลกที่ร้านอาหารหรูในเมืองนิยมเอาเนื้ออัลปากามาทำเป็นอาหาร เสิร์ฟร้อนๆ พร้อมทานให้แก่ลูกค้าทั้งชาวเปรูและแขกผู้มาเยือน

22

>> ต้องลองสัมผัส .. แล้วจะรักอาเรกีปา


กฎ ระเบียบ

ด้านการลงทุนในเมียนมา ผลพวงจากนโยบายการเปิดประเทศ ทำให้เมียนมาในวันนีเ้ ป็นแหล่งลงทุนทีม่ ศี กั ยภาพสำหรับหลากหลาย อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรองเท้าและเครือ่ งหนัง อัญมณีและเครือ่ งประดับ เฟอร์นเิ จอร์ อุตสาหกรรม ประมงและอาหารทะเลแปรรูป อุตสาหกรรมเกษตรและเกษตรแปรรูป ตลอดจนธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก อย่างไรก็ตาม การแข่งขันทีท่ วีความรุนแรงมากขึน้ ในระยะหลังผูป้ ระกอบการจึงควรเตรียมความพร้อมศึกษาหาความรูเ้ กีย่ วกับ กฎหมาย และกฎระเบียบด้านการลงทุน ก่อนเข้าไปลงทุนในเมียนมา

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- คณะกรรมการการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission: MIC)

- คณะกรรมการพิจารณาการลงทุนจากต่างชาติ (Foreign Investment Commission: FIC)

- สำนักงานจดทะเบียนบริษทั (Company Registration Office: CRO)

- กระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจและวางแผนแห่งชาติ (Ministry of National Planning and Economic Development)

- Myanmar Insurance Corporation รูปแบบการดำเนินธุรกิจของต่างชาติในเมียนมา มี 3 รูปแบบ ดังนี้ (1) กิจการที่ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของทั้งหมด (2) กิจการร่วมทุนกับเอกชนชาวเมียนมา (3) กิจการร่วมลงทุนในรูปแบบเอกชนชาวต่างชาติเป็นผู้รับสัมปทาน

23


ผู้ลงทุนยื่นเสนอโครงการ ต่อคณะกรรมการการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission: MIC) พิจารณาอนุมัติโครงการ คณะกรรมการพิจารณาการลงทุนจากต่างชาติ (Foreign Investment Commission: FIC) ออกใบอนุญาตลงทุน คณะกรรมการการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission: MIC) ผู้ลงทุนนำใบอนุญาตจาก MIC ไปขอใบอนุญาต ทำการค้า (Permit to Trade) จากกระทรวง พัฒนาเศรษฐกิจและวางแผนแห่งชาติ ผู้ลงทุนต้องจดทะเบียนบริษัทที ่ สำนักงานจดทะเบียนบริษัท (CRO) บริษัทต้องจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้า หรือส่งออกกับ Export Import Registration Office

เปิดกิจการ

24

การยื่นขอ Permit to Trade - ค่าอากรแสตมป์ 1 USD - ค่าธรรมเนียม 100 USD - พร้อมเอกสารยื่นขอ Permit to Trade - พิจารณาโดยคณะกรรมการโครงสร้าง เงินทุน (The Capital Structure Committee: CSC) และกระทรวง พัฒนาเศรษฐกิจและวางแผนแห่งชาติ - มีอายุ 3 ปี - ระยะเวลาดำเนินการ 2-4 สัปดาห์

ยื่นขอจัดตั้งบริษัท - ค่าอากรแสตมป์ 1 USD - ค่าธรรมเนียม 100 USD - พร้อมเอกสารประกอบการจดทะเบียน - CRO ออกใบสำคัญจดทะเบียน - ระยะเวลาดำเนินการ 2-4 สัปดาห์


นโยบายการถือหุ้นของต่างชาติ นักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100% อย่างไรก็ดี หากเป็นการลงทุนในกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ระหว่าง นักลงทุนต่างชาติกับนักลงทุนชาวเมียนมา นักลงทุนต่างชาติจะ ต้องมีสัดส่วนการลงทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35 ของมูลค่าการลงทุน ทัง้ หมด และต้องโอนเงินไปฝากไว้กบั Myanmar Foreign Trade Bank (MFTB) สิทธิประโยชน์อื่นๆ

สิทธิประโยชน์การลงทุน สิทธิประโยชน์ทางภาษี

• ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี

• นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิใช้ที่ดินในประเทศเมียนมา โดยการเช่ า ไม่ ว ่ า จะเช่ า จากหน่ ว ยงานของรั ฐ หรื อ เอกชน เป็นระยะเวลา 50 ปี และสามารถต่อสัญญาเช่าได้ 2 ครัง้ ๆ ละ 10 ปี

• ในช่วง 2 ปีแรกของการดำเนินงาน นักลงทุนต่างชาติ • ถ้ามีการนำกำไรมาลงทุนต่อจะได้รับยกเว้นภาษีรายได้ สามารถจ้างแรงงานต่างชาติได้ แต่จะต้องมีการจ้างแรงงาน ในส่วนนั้นเพิ่มเติมอีก 1 ปี สัญชาติเมียนมาอย่างน้อยร้อยละ 25 • หากเป็นการลงทุนเพื่อการส่งออก จะเสียภาษีรายได้ เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) ในส่วนของกำไรเพียงร้อยละ 50 เมื ่ อ เดื อ นมกราคม 2554 รั ฐ บาลสหภาพเมี ย นมา • การนำเข้าเครื่องจักร อะไหล่ ส่วนประกอบ วัตถุดิบ ได้ประกาศกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นเพื่อรองรับการจัดตั้ง ทีจ่ ำเป็นต้องนำเข้าในช่วงการก่อสร้าง จะได้รบั ยกเว้นภาษีศลุ กากร เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) ทีก่ ำหนด • ได้รับยกเว้นภาษีศุลกากรในการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ ให้เป็นพื้นที่ลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมหนักต่างๆ อาทิ ปิโตรเคมี สำหรับการผลิตเมื่อเริ่มโครงการแล้ว โดยจะได้รับยกเว้นเป็น และเหล็ก อุตสาหกรรมสินค้าไฮเทค จำพวกอุปกรณ์ไอทีและ อิเล็กทรอนิกส์ โดยแต่ละเขตจะมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกและ ระยะเวลา 3 ปี หลังจากที่ก่อสร้างโครงการเสร็จแล้ว ระบบการขนส่งทั้งถนนและระบบรางเพื่อรองรับการผลิตของ • การผลิตเพื่อการส่งออกจะได้รับยกเว้นภาษีการค้า ภาคอุตสาหกรรม และรัฐบาลเมียนมาได้กำหนดพื้นที่ดังกล่าว ให้เป็นพืน้ ทีเ่ ขตอุตสาหกรรมส่งออก (Export Processing Zone: EPZ) ที่จะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี

สาขาที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายการลงทุนต่างชาติ (Foreign Investment Law) ของเมียนมา ไม่ได้ระบุสาขาที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมการลงทุน แต่ได้กำหนดเขตอุตสาหกรรมที่สนับสนุนให้เอกชนเข้ามาลงทุน ทั้งสิ้น 18 เขต ขอบคุณข้อมูลจาก : คู่มือการประกอบธุรกิจสาธารณรัฐสหภาพเมียนมา (2557) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน : รอบรู้เรื่องการลงทุนในเมียนมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

25


โดย : สุระภาคย์ ศัพทเสน แรกเริ่มที่ผมเข้ามาทำงานในกรมเจรจา การค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ภายใต้สำนักพัฒนาความพร้อมทางการค้า ภารกิจหลักอย่างหนึง่ คื อ การเผยแพร่ข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ของการค้าเสรี และสร้างความเข้าใจเรื่องการค้าเสรีให้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกร ผู้ประกอบการ บุคลากรภาครัฐ และนิสิต นักศึกษา ผูซ้ ง่ึ จะก้าวออกจากสถาบันมาเป็นกำลังในการผลักดัน เศรษฐกิจให้กับประเทศไทยในยุคการค้าเสรี ผมเคยมีคำถาม ในใจหลายๆ คำถามว่า จะทำอย่างไรให้ นิสิต นักศึกษา หรือ คนรุน่ ใหม่สนใจความเป็นไปของโลกยุคปัจจุบนั ยุคทีท่ กุ ประเทศ มีการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรี ไหนจะศัพท์วิชาการต่างๆ ที ่ เข้ า ใจยากอี ก มากมาย แล้ ว การสั ม มนาที ่ เ ห็ น จนชิ น ตา ในการเผยแพร่ความรู้เป็นวิธีที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายนี ้ หรือไม่ หากเราต้องทำเรื่องยากๆ ที่เหมือนจะไกลตัวให้ฟังง่ายๆ การทำให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักว่าเรื่องการค้าเสรีเป็นสิ่งที่ “จำเป็นต้องรู”้ นัน้ ถือเป็นความท้าทายของผม และผมเคยคิดว่า เป็นเรื่องยากอย่างหนึ่งของสำนักฯ เลยทีเดียว แล้วสิ่งที่ผมคิดสงสัยก็ได้คำตอบ เมื่อผมได้เข้ามามี ส่วนร่วมกับโครงการ “DTN Business Plan Award” ที่กรมฯ ต้องการให้นิสิต นักศึกษา เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประโยชน์ จากการเปิดเสรีด้วยตัวเอง แทนที่กรมฯ จะเข้าไปสอน และ 26

นำความรู้มาประกอบการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อนำมาแข่งขัน และที่มาของโครงการฯ นี้ ก็ยังมีรายละเอียดและข้อมูลเชิงลึก ที ่ แ ฝงไว้ ด ้ ว ยประโยชน์ ข องประเทศชาติ ม ากกว่ า นั ้ น ด้ ว ย เพราะกรมฯ ได้ตั้งเป้าหมายโครงการฯ คือ (1) จุดเริ่มต้นของ การพัฒนาศักยภาพ รูปแบบ วิธกี ารการเผยแพร่ความรูใ้ ห้เหมาะสม แก่กลุม่ เป้าหมายด้วยวิธกี ารใหม่ๆ ตามยุคสมัย ซึง่ แสดงให้เห็นว่า กรมฯ ไม่เคยหยุดพัฒนาการทำงานของตัวเอง และไม่หยุด ทีจ่ ะก้าวตามโลกในยุคปัจจุบนั (2) ประเทศจะได้ทรัพยากรบุคคล ที่มีคุณภาพ มีความสามารถ และมีความพร้อมที่จะขับเคลื่อน เศรษฐกิจได้ในอนาคต โดยการส่งเสริมจากกรมฯ ในรูปแบบใหม่ๆ และ (3) ผลงานของนิสิต นักศึกษา สามารถนำมาต่อยอด หรือ ใช้เป็นแนวทางให้แก่ผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาศักยภาพ ตนเองสูต่ ลาดการค้าอาเซียน รวมถึงตลาดการค้าโลก


เมื่อโครงการ DTN Business Plan Award เริ่มต้นขึ้น ครั ้ ง แรกในปี 2557 ในหัวข้อ “แผนธุ ร กิ จ ...รุ ก -รั บ ตลาด AEC” ผมยังไม่มีส่วนร่วมมากนัก แต่ก็พบว่าในรอบคัดเลือก นิสติ นักศึกษา มีความคิดไม่ธรรมดา มีความรูล้ กึ ซึง้ ในแผนธุรกิจ ทีน่ ำเสนอ และเชือ่ ว่าตัวเองสามารถเป็นนักธุรกิจได้ มีความมุง่ มัน่ กล้าแสดงออกกว่าที่ผมคาดไว้ ครั้งนี้มีนิสิตนักศึกษาสมัคร เข้ า ร่ ว มโครงการกว่ า 50 ที ม และที ม ที ่ โ ดดเด่ น มาจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที ม นี ้ ม ี ค วามคิ ด ที ่ จ ะเปิ ด ธุ ร กิ จ ในการจัดหาแรงงานคุณภาพในอาเซียน การนำเสนอแผนธุรกิจ ของทีมนี้ มีความน่าสนใจมาก อีกทั้งแผนธุรกิจก็มีคุณภาพและ ใช้งานได้จริง จนคณะกรรมการทุกท่านต่างยอมรับเป็นเสียง เดียวกันว่าให้เป็นผูช้ นะเลิศในการแข่งขันครั้งนี้

ในปี 2558 คือ ทีมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่คิดค้น นวัตกรรมเครื่องวัดการตกไข่จากน้ำลาย อีกทั้งยังได้รับคำชม มากมาย จากอาจารย์ทป่ี รึกษา และคณะกรรมการของโครงการฯ

และในปี 2559 ทีผ่ า่ นมา DTN Business Plan Award ปี 3 ได้เริ่มขึ้นในหัวข้อ “Starts from Thailand, Expands to ASEAN, Goes Global” เนื ่ อ งจากในปี น ี ้ ก รมฯ มองไกลกว่าเดิม โดยต้องการให้นิสิต นักศึกษามองภาพให้กว้าง และไกลยิ่งขึ้น เพราะการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น เป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของการพั ฒ นาสู ่ ต ลาดโลก โดยครั ้ ง นี ้ ถ ื อ ว่ า เป็นปีทอง เพราะได้รับเสียงตอบรับอย่างล้นหลามจากผู้สมัคร ทีเ่ ข้าร่วมแข่งขันมากถึง 270 ทีม จากทัว่ ประเทศ และเช่นเดียวกัน ที ่ ใ นปี น ี ้ เราได้ เชิ ญ บุ ค ลากรที ่ ม ี ค วามรู ้ ค วามเชี ่ ย วชาญจาก ปี 2558 DTN Business Plan Award ปี 2 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้เริม่ ขึน้ ในหัวข้อ “สร้าง Landmark ตลาดอาเซียน” ซึง่ ตัง้ แต่ และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในการ ปีน้ี ผมได้มโี อกาสเป็นคนประสานงานและดูแลโครงการฯ โดยตรง ตัดสิน ซึ่งทำให้นิสิต นักศึกษา ได้รับความรู้ คำแนะนำต่างๆ เช่นเดียวกันกับปีกอ่ นทีผ่ มได้พบเจอนิสติ นักศึกษาเก่งๆ มากมาย ที่เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น จากทั่วประเทศ ผมได้ไปรอบคัดเลือกที่ต่างจังหวัดทั้ง 4 ภาค ได้ แ ก่ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ สงขลา ขอนแก่ น และกรุ ง เทพฯ ซึ่งที่สงขลานั่นเอง ผมได้พบทีมนิสิต นักศึกษา ที่ศึกษาอยู่เพียง ปี 1 เท่านั้น ส่งแผนเข้าร่วมประกวดเป็นครั้งแรกในชีวิต แต่ สามารถทำแผนธุรกิจที่น่าสนใจ มีความมุ่งมั่น พร้อมพลัง ในการนำเสนออย่างเต็มเปี่ยมจนได้เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย จาก 80 ทีม ทั่วประเทศ คือน้องทีม Light จากมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่นน่ั เอง แต่ดว้ ยประสบการณ์ ทีย่ งั ไม่มากนัน้ จึงยังไม่สามารถเป็นอันดับที่ 1 ได้ และทีมทีช่ นะเลิศ

27


ในปีนี้ มีแผนธุรกิจที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาสินค้าในพื้นที่ สินค้าพื้นเมือง การคิดงานนวัตกรรม นำงานวิจยั มาพัฒนาต่อยอด พัฒนาธุรกิจครอบครัว แต่ทผ่ี มรูส้ กึ ประทับใจเป็นพิเศษ คือความพยายาม และความมุ่งมั่นของ ทีมผู้ชนะเลิศ ซึ่งไม่ใช่ทีมหน้าใหม่ที่ไหน แต่เป็นนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ทีเ่ คยเข้าแข่งขัน เมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งน้องๆ ก็สามารถกลับมาและคว้ารางวัล ชนะเลิศในปีนี้ จากการนำเสนอ แผนธุรกิจแผ่นฟิล์มปราศจาก สารนิโคตินใช้ติดกระพุ้งแก้มสำหรับผู้ต้องการเลิกบุหรี่ ซึ่งเป็น แผนธุรกิจที่มีความครอบคลุม ครบถ้วนทุกแง่มุม ทั้งการเงิน การตลาด และสินค้า ทีส่ ำคัญเป็นการนำเอานวัตกรรมงานวิจัยที่ มีอยู่มาพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ได้เป็นอย่างดี ด้วยผลตอบรับทีด่ เี กินคาด กรมฯ จึงพัฒนา สนับสนุน บุคคลากรที่มีค่าเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลที่ได้รับจากการ ประกวดแผนธุรกิจจากทั้ง 3 ปีที่ผ่านมา กรมฯ ได้เห็นถึงทักษะ และความสามารถของนิสิต นักศึกษาที่เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย ของโครงการฯ ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพ และพร้อมเป็น อนาคตของประเทศ จึงได้จัดทำโครงการ DTN Academy ในปี 2559 เป็นครั้งแรก เพื่อรองรับนักศึกษาที่มีความสามารถ ให้ก้าวเดินไปสู่การเป็น Startup ที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล โดยโครงการ DTN Academy จัดทำกิจกรรมร่วมคิดธุรกิจ/Workshop/Startup Weekend สร้างธุรกิจ และนำเสนอต่อนักลงทุนจากสภาหอการค้าไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่ง ประเทศไทย และนักธุรกิจต่างประเทศที่สนใจให้ร่วมทุนใน อนาคต

28

เมือ่ จบงาน DTN Business Plan Award ตลอด 3 ปี ที่ผ่านมา ผมเริ่มแน่ใจและมั่นใจว่า กรมฯ คิดรูปแบบ การเผยแพร่ความรู้ที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายได้ถูกทาง แล้ว ด้วยคำยืนยันจากอาจารย์ทป่ี รึกษาของน้องๆ ทีเ่ ข้า ร่วมแข่งขัน ซึง่ ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าโครงการนี้ เป็นการสอดแทรกความรู้ ความสนใจ เรื่อง AEC และ ทิศทางการค้าโลกให้กับนักศึกษาได้เป็นอย่างดีและ โครงการฯ นี้ ทำให้ผมเห็นแล้วว่าการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและตลอดเวลาของโลกยุคใหม่ ทำให้ กรมฯ ต้องปรับเปลีย่ นและเพิม่ เติมวิธกี ารทำงานรูปแบบ เดิมๆ ให้มีความทันสมัยน่าสนใจ เปลี่ยนแปลงวิธีการ เผยแพร่ความรูใ้ ห้เหมาะสม เพือ่ ตอบสนองความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมาย และสามารถสร้างขวัญและกำลังใจ ให้ ก ั บ ทุ ก ภาคส่ ว นได้ ทั ้ ง ผู ้ เข้ า ร่ ว มโครงการและ ผู้ประสานงานอย่าง “ผม” ให้รู้สึกมีความยินดีและ ภูมิใจเป็นอย่างยิ่งครับ


โดย : นิวัฒน์ อภิชาติบุตร นับเป็นเวลาเกือบ 30 ปี ที่สมาชิกเอเปคได้หารือร่วมกันเพื่อสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีส่งเสริม การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในฐานะทางเลือกหนึ่งของการเปิดเสรี ตลอดจนลดอุปสรรคการค้าและการลงทุน ระหว่างสมาชิก ปัจจุบัน เอเปคเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่โลก ต้องจับตามองเนื่องจากความสำเร็จของเอเปคในการส่งเสริม การค้าและการลงทุน การมุ่งสู่การจัดทำความตกลงการค้าเสรี เอเชีย-แปซิฟิก ความทันสมัยของประเด็นที่หารือและการบรรลุ ข้ อ สรุ ป ประเด็ น ท้ า ทายที ่ ไ ม่ ส ามารถตกลงกั น ได้ ใ นกรอบ ความร่วมมืออืน่ ๆ แต่ความสำเร็จเหล่านีไ้ ด้กลายมาเป็นความท้าทาย ที่เอเปคจะต้องหาทางจัดการด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ เป้าหมาย โบกอร์ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานของเอเปคกำลังจะ ครบกำหนดในปี 2563 ทำให้เอเปคตกอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ซึ่งสมาชิกจะต้องร่วมมือกันกำหนดทิศทางการทำงานในอนาคต ให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม

29


ความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียแฟซิฟิก หรือ เอเปค จัดตั้งขึ้นจากความคิดริเริ่มของออสเตรเลียเมื่อปี 2532 เพื่อใช้เป็นเวทีหารือลดอุปสรรคการค้าและการลงทุน ภายในภูมิภาค และสร้างอำนาจต่อรองกับการรวมกลุ่มของ เขตเศรษฐกิจของฝั่งแอตแลนติก ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ โดยในปี 2557 สมาชิกเอเปคมีจำนวน ประชากรรวมเกือบ 3,000 ล้านคน มี GDP รวมคิดเป็นร้อยละ 57 ของ GDP โลก และมีสัดส่วนการค้ารวมคิดเป็นร้อยละ 49 ของการค้าโลก นอกจากนี้เอเปคมีสัดส่วนการค้าภายในกลุ่มสูง ถึงร้อยละ 70 เอเปค ได้ ก ำหนดเป้ า หมายการดำเนิ น งานเพื ่ อ เปิดเสรีการค้าการลงทุนในภูมิภาคเอเปคหรือเป้าหมายโบกอร์ ให้เปิดเสรีการค้าการลงทุนภายในปี 2563 โดยแต่ละเขตเศรษฐกิจ ต้องกำหนดเป้าหมายของตนเองและประเมินความคืบหน้าทุกๆ 2 ปี ใน 16 หัวข้อ เช่น มาตรการภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี การค้าบริการ การลงทุน มาตรฐาน พิธีการศุลกากร ทรัพย์สิน ทางปัญญา นโยบายการแข่งขัน และการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ เป็นต้น ปัจจุบัน การทำงานภายใต้กรอบเอเปคได้พัฒนา ไปตามบริบทการค้าและการลงทุนของโลกที่เปลี่ยนแปลง ไป แต่สาระสำคัญยังคงตัง้ อยูบ่ นเป้าหมายโบกอร์ โดยการประเมิน 3. แหล่งทุนและบริการจากต่างประเทศมีช่องทาง ความก้าวหน้าของการดำเนินการเอเปคฉบับล่าสุดแสดงให้เห็นถึง เข้าถึงมากขึ้น โดยระหว่างปี 2537-2557 การลงทุนโดยตรงจาก ความสำเร็จของเอเปคตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ได้แก่ ประเทศเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 11 ต่อปี 1. อัตราภาษีศุลกากรที่ใช้ทั้งเอเปคลดลงอย่างมี 4. ขอ้ จำกัดด้านการค้าบริการลดลง โดยความตกลง นัยสำคัญ คือ ร้อยละ 5.5 ในปี 2557 ลดลงจากร้อยละ 11 ในปี การค้าเสรีของสมาชิกเอเปคครอบคลุมการค้าบริการมากกว่า 2539 ความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลกถึงร้อยละ 23 โดยเฉพาะสาขา 2. ความตกลงการค้าเสรีที่สมาชิกเอเปคเป็นภาคี เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากถึง 156 ความตกลง ซึ่งในจำนวนนั้นเป็น พลังงาน การสื่อสารคมนาคม การขนส่ง และการค้าปลีก ความตกลงระหว่างสมาชิกด้วยกันเองถึง 59 ความตกลง

30

5. การอำนวยความสะดวกทางการค้าเพิม่ ขึน้ อย่าง เป็นรูปธรรม โดยระยะเวลาของการค้าข้ามพรมแดนในเอเปค ลดลงเหลือ 13 วัน ในปี 2556 จาก 15 วัน ในปี 2549 รวมทั้ง ต้นทุนของการนำเข้าและส่งออกที่แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังต่ำกว่า อัตราเงินเฟ้อมาก


ประเด็นที่เอเปคพิจารณาให้เป็นประเด็นการค้า และการลงทุนยุคใหม่ ได้แก่ 1) การสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานโลก 2) การส่งเสริมให้ SMEs เข้าไปมีส่วนร่วมในห่วงโซ่ การผลิตโลก 3) การส่งเสริมนโยบายนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และขับเคลื่อนโดยกลไกตลาด 4) ความโปร่งใสในความตกลงการค้าเสรี นอกจากการดำเนินการตามเป้าหมายโบกอร์แล้ว 5) บริการทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับการผลิตในห่วงโซ่คณ ุ ค่าโลก เอเปคได้ปรับตัวและเปิดรับประเด็นใหม่ๆ มาหารือต่อยอดและ หวังผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม จุดเปลี่ยนสำคัญ คือ การจัดตัง้ อย่างไรก็ดี ประเด็นยุคใหม่เหล่านีม้ กั เป็นหัวข้อกว้าง เขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟกิ (Free Trade Area of the Asia- และมีขอบเขตและนิยามที่ไม่ชัดเจน จึงกลายเป็นความท้าทาย Pacific: FTAAP) ที่ผู้นำเศรษฐกิจเอเปคได้ให้ความเห็นชอบเมื่อ ของเอเปคในการหาจุดสมดุลที่จะนำไปสู่ข้อสรุปเพื่อพัฒนาให้ ปี พ.ศ. 2553 เพราะเห็นว่าจะเป็นเครือ่ งมือสำคัญของการรวมตัว ทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดย FTAAP จะต้องเป็นความตกลง เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมได้ ล่าสุดสหรัฐอเมริกาได้พยายาม การค้าเสรียุคใหม่ที่ครอบคลุม มีมาตรฐานสูง และสามารถลด เสนอให้เอเปคยอมรับการค้าดิจิทัลเป็นประเด็นการค้าและ อุปสรรคทางการค้าและการลงทุนที่พรมแดน หลังพรมแดน การลงทุนยุคใหม่ ซึ่งยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้เพราะมีขอบเขต และข้ า มพรมแดน รวมทั้งจะต้องบรรจุประเด็นการค้าและ และนิยามที่ไม่ชัดเจน การลงทุนยุคใหม่ ที่อาจจะเป็นประเด็นดั้งเดิมแต่ต้องได้รับการ นอกจากนี้ การจัดทำ FTAAP ก็ถอื ว่าเป็นความท้าทาย จัดการเพราะบริบทการค้าโลกเปลี่ยนไป หรือเป็นประเด็นที่ไม่ เคยมีปรากฏมาก่อนหรือไม่ถือเป็นประเด็นการค้าในอดีต แต่มี ในตัวเองเช่นกัน เนื่องจากเอเปคไม่ใช่เวทีการเจรจา มีระดับการ พัฒนาและความพร้อมในการเจรจาของสมาชิกแตกต่างกัน ผลกระทบโดยตรงต่อการค้าและการลงทุนในปัจจุบัน ในขณะที่มุ่งหวังให้ FTAAP เป็นความตกลงที่มีมาตรฐานสูง และ แม้ว่ามีแนวทางที่จะใช้ความตกลง TPP และ RCEP มาเป็น พื้นฐานของ FTAAP แต่ความตกลง TPP ก็ยังไม่มีผลใช้บังคับ ส่วน RCEP ก็ยังอยู่ระหว่างการเจรจา อีกทั้งยังมีประเด็นอื่นๆ ที่จะต้องพิจารณาด้วย เช่น การกำหนดกรอบเวลาการเจรจา FTAAP ควรครอบคลุ ม ประเด็ น ใหม่ ๆ มากน้ อ ยแค่ ไ หน และการตัดสินใจว่า FTAAP จะกลายมาเป็นเป้าหมายของเอเปค แทนเป้าหมายโบกอร์หรือไม่ เป็นต้น

31


หลักการเอเปคที่ให้เป็นไปตามความสมัครใจและ ไม่ ม ี ผ ลผู ก พั น ทางกฎหมายได้ ส ร้ า งความยื ด หยุ ่ น ลดทอน ความเหลือ่ มล้ำของระดับการพัฒนา และส่งเสริมให้เอเปคสามารถ บรรลุข้อสรุปในประเด็นที่มีความท้าทาย โดยเฉพาะการกำหนด และลดภาษีสินค้าและบริการสิ่งแวดล้อมจำนวน 54 รายการ ด้วยเหตุนี้ แนวโน้มประเด็นหารือภายใต้กรอบเอเปคจึงเริ่มมี ความคล้ายคลึงกับประเด็นหารือภายใต้ความร่วมมือพหุภาคี ที่มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างองค์การการค้าโลก (WTO) เช่น การยกเว้นการเก็บอากรศุลกากรสำหรับการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การอุดหนุนประมง และการอุดหนุนการส่งออก เป็นต้น สำหรับไทย การเป็นสมาชิกเอเปคทำให้มีพันธมิตร อย่ า งไรก็ ด ี ความสำเร็ จ นี ้ ก ลั บ กลายมาเป็ น ภาระให้ เ อเปค ทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น มีส่วนร่วมกำหนดทิศทางความร่วมมือทาง ต้องทำงานเพิ่มขึ้น เพื่อหารือในประเด็นที่ซ้ำซ้อนกับการหารือ เศรษฐกิจในระดับโลก และได้รบั ความช่วยเหลือทางวิชาการจาก ในกรอบความร่วมมืออื่นๆ เอเปค ซึ่งจะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ เอเปค ได้ตระหนักถึงความท้าทายนี้และพยายาม ไทยทัง้ ทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านโครงการความร่วมมือต่างๆ แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการกระชับกรอบ พันธกิจ และรวบรวม เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การอำนวยความสะดวกทาง งานที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องเข้าด้วยกัน แต่ปัญหาก็ยังไม่ได้รับ การค้า การลดต้นทุนการทำธุรกิจ การลดขั้นตอนด้านพิธีการ การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ดี เมือ่ เดือนพฤษภาคมทีผ่ า่ นมา ศุลกากร และการใช้บัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค เป็นต้น ได้มกี ารประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ณ เมืองอาเรกีปา ประเทศเปรู และเนื่องจากเอเปคเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย ในปี 2558 การค้า เพือ่ หารือการทำงานในประเด็นต่างๆ ภายใต้หวั ข้อประจำปีนค้ี อื ของไทยกับเอเปคมีมูลค่า 289,860.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ “การเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและการพัฒนาทุนมนุษย์” ร้อยละ 70 ของการค้าทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยการส่งออกมูลค่า รวมทั้งเห็นชอบให้เจ้าหน้าที่อาวุโสจัดประชุม APEC Toward 146,206.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้ามูลค่า 143,654.2 2020 and Beyond ในระหว่างการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยจึงต้องติดตามการกำหนดทิศทางเอเปค ครัง้ ที่ 3 ทีจ่ ะมีขน้ึ ในเดือนสิงหาคม ศกนี้ เพือ่ หารือกำหนดทิศทาง ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อ การทำงานเอเปคในอนาคตและจัดการกับความท้าทายดังกล่าว ประเทศมากที่สุด

สุดท้ายนี้ เอเปคจะสามารถจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่าง

เป็นรูปธรรมได้หรือไม่ อย่างไร ถือเป็นความท้าทายอย่างมาก เราจึง ต้องติดตามความคืบหน้าจากที่ประชุม APEC Toward 2020 and Beyond ที่จะมีขึ้นในเดือนสิงหาคม ศกนี้ สำหรับทิศทางการทำงานของ เอเปคในอนาคต

32


โดย : สำนักอเมริกา แปซิฟิกและองค์การระหว่างประเทศ

33


1. ความตกลง TPP คืออะไร ? ความตกลงหุ ้ น ส่ ว นทางเศรษฐกิ จ ภาคพื ้ น แปซิ ฟ ิ ก หรื อ Trans-Pacific Partnership (TPP) เป็นความตกลงเปิดเสรีทางการค้าที่มีมาตรฐานสูง ประกอบด้วย 30 ข้อบท ครอบคลุมทั้งในด้านการเปิดตลาด การค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า อาทิ ทรัพย์สินทางปัญญา รัฐวิสาหกิจ นโยบายแข่งขัน แรงงาน สิ่งแวดล้อม การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและนักลงทุน และประเด็น cross-cutting issue อาทิ ความโปร่งใสและการต่อต้านการคอรัปชั่น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และความร่วมมือ และการเสริมสร้างศักยภาพ เป็นต้น

2. ความตกลง TPP มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและมีความสัมพันธ์กับไทยอย่างไร ?

ความตกลง TPP ถือเป็นความตกลงแห่งศตวรรษที่ 21 โดยมีสมาชิก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น บรูไนฯ มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ส่วนใหญ่เป็นประเทศ ที่พัฒนาแล้วและมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจโลก กลุ่มประเทศสมาชิก TPP มีขนาดตลาด 817 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 11.1 ของประชากรโลก มีขนาดเศรษฐกิจ (GDP) รวมถึง 27.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 37.43 ของขนาดเศรษฐกิจโลก โดยมีการค้ารวม 8.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 26.3 ของการค้าโลก

ในด้านความสัมพันธ์กับไทย ในปี 2558 ไทยมีมูลค่าการค้าประเทศสมาชิก TPP รวม 163,911 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 39.3 ของการค้าทัง้ หมดของไทย เป็นมูลค่าการส่งออกจำนวน 88,318 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 41.2 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย ขณะเดียวกัน มีมูลค่าการนำเข้าจำนวน 75,593 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 37.3 ของการนำเข้าทั้งหมดของไทย

3. ทำไม ? ประเทศไทยไม่เข้าร่วม TPP ตั้งแต่เริ่มแรก เนือ่ งจากความตกลง TPP เป็นความตกลงทีม่ มี าตรฐานสูงเกินกว่าระดับการเปิดเสรีภายใต้ FTA ของไทยทุกฉบับในขณะนัน้ รวมทั้งกรอบอาเซียน ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางการเมืองขณะนั้น จึงทำให้ไทยไม่ได้เข้าร่วมเจรจาความตกลง TPP ตั้งแต่เริ่มแรก

4. ไทยมีแนวทางการปรับตัวต่อความท้าทายใหม่ๆ เช่นความตกลง TPP อย่างไร ? เนื่องจากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจการค้าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ไทยต้องเผชิญและปรับตัว ให้สอดคล้องกับความท้าทายใหม่ๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียประโยชน์ที่มีอยู่ รวมทั้งสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น ไทยจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยในปี 2559 ไทยถูกจัดเป็นประเทศ ที่มีความสามารถทางการแข่งขันอันดับที่ 28 (ยกระดับจากอันดับที่ 30 เมื่อปี 2558) ซึ่งขณะนี้ ประเทศในอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ (อันดับ 4) และมาเลเซีย (อันดับ 19) ต่างก็มีอันดับดีกว่าไทย ทั้งนี้ การจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญทำให้ไทยต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถ ทางการแข่งขันของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ เพื่อรองรับการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม จนสามารถบูรณาการ ความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกได้อย่างแข็งแกร่ง ไม่ว่าไทยจะเข้าร่วมความตกลง TPP หรือไม่ก็ตาม 34


5. ทำไม ! ไทยไม่เข้า RCEP แทน

ปัจจุบัน ไทยอยู่ระหว่างการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ หรือ Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ รวมทั้งไทยกับประเทศคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย โดยมีเป้าหมายว่า RCEP จะเป็นความตกลงที่มีมาตรฐานและเข้มข้นกว่า ความตกลงการค้าเสรีที่อาเซียนได้ทำไว้เดิมกับคู่เจรจา ในขณะเดียวกัน มีประเทศสมาชิก RCEP 7 ประเทศ ที่เป็นสมาชิกความตกลง TPP ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม จึงทำให้มาตรฐานของความตกลง TPP มีนัยยะต่อความตกลง RCEP เช่นกัน ในการนี้ ถึงแม้ว่าจำนวนประชากรของ RCEP (3,518 ล้านคน) จะมากกว่า TPP (817 ล้านคน) 4 เท่า แต่หากมี การเปรียบเทียบในเชิงของขนาดเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสมาชิก TPP (27.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) จะมีมูลค่ามากกว่า RCEP (23 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) และ TPP เป็นความตกลงที่ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทานของสมาชิกทั้งในแง่ของการค้า และการลงทุน นอกจากนี้ ยังมีสมาชิก TPP จำนวน 3 ประเทศ ที่ไทยไม่เคยจัดทำความตกลง FTA ได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก ดังนั้น การเข้าร่วมความตกลง TPP นอกเหนือจากการเป็นสมาชิก RCEP ในปัจจุบันของไทยจะช่วยส่งเสริมเครือข่ายการค้า ที่มีขนาดใหญ่ จึงเป็นการขยายโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศ ดึงดูดการลงทุนให้เพิ่มขึ้น และเป็นการรักษาความสามารถ ของไทยในระบบห่วงโซ่อุปทานโลก รวมทั้งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ขับเคลื่อนให้ไทยพัฒนาประเทศให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ การค้าในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะการปรับแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่างๆ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล การปรับกระบวนการ ดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ การเสริมสร้างและเพิ่มบุคลากรที่มีความเชื่ยวชาญในด้านต่างๆ มากยิ่งขึ้น

6. ขณะนี้ประเทศสมาชิก TPP ได้ลงนามความตกลงแล้ว หมายความว่า ไทยตกขบวนรถไฟ หรือไม่ ? หลังจากที่ประเทศสมาชิก TPP ได้มีการลงนามความตกลงเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งปัจจุบันแต่ละประเทศ อยู่ในขั้นตอนดำเนินขบวนการภายใน เพื่อให้สัตยาบันความตกลงฯ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี และขณะนี้ TPP ยังไม่ได้ม ี การเปิดรับสมาชิกใหม่ โดยประเทศที่สนใจจะเข้าร่วมความตกลงฯ จะต้องมีการหารือและได้รับความเห็นชอบจากประเทศสมาชิก เดิมทั้ง 12 ประเทศ ดังนั้นจึงถือว่าไทยไม่ได้ตกขบวนรถไฟ แต่เป็นโอกาสของไทยที่จะใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการศึกษาประโยชน์ และผลกระทบของความตกลง TPP ที่มีต่อไทยและประเมินความพร้อมของทุกภาคส่วนอย่างรอบคอบต่อไป

35


รมว.พาณิชย์ หารือด้านการค้ากับรัสเซีย

วันที่ 1 เมษายน 2559 นายอเล็กซี ลีคาชอฟ รั ฐ มนตรี ช ่ ว ยว่ า การกระทรวงพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ของรั ส เซี ย พร้อมด้วยคณะผูแ้ ทนระดับสูงทัง้ จากภาครัฐและเอกชนของรัสเซีย เข้าพบนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหารือความร่วมมือด้านการค้า ณ กระทรวงพาณิชย์

การประชุม SEOM ครั้งที่ 2/47

วันที่ 5 - 8 เมษายน 2559 นางสาวอรุณี พูลแก้ว ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการ ประชุ ม เจ้ า หน้ า ที ่ อ าวุ โ สด้ า นเศรษฐกิ จ อาเซี ย น (SEOM) ครัง้ ที่ 2/47 และการประชุมอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย สัมมนาความตกลงการค้าเสรี ไทย-ชิลี

วันที่ 8 เมษายน 2559 นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วย รัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดการสัมมนา การมีผลบังคับใช้ของความตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี พร้อม กิ จ กรรมจั บ คู ่ ท างธุ ร กิ จ ระหว่ า งผู ้ ป ระกอบการไทยและชิ ล ี ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

36


ไทย-เกาหลี หารือแนวทางขยายมูลค่าการค้า

วั น ที่ 12 เมษายน 2559 นายโน ควั ง -อิ ล (H.E.Mr.Noh Kwang-il) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลี ประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ใหม่ และหารื อ แนวทางขยายมู ล ค่ า การค้ า และการลงทุ น ระหว่างกัน ณ กระทรวงพาณิชย์

DTN Business Plan Award 2016

วันที่ 29 เมษายน 2559 นางสาวสิรพิ รรณ ลิขติ วิวฒ ั น์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ มอบรางวัลแก่ทีมที่ ชนะการแข่งขันในโครงการประกวดแผนธุรกิจ DTN Business Plan Award 2016 ณ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ

วันคล้ายวันสถาปนากรมเจรจาฯ ครบรอบ 74 ปี

วันที่ 4 พฤษภาคม 2559 นางสาวศิรินารถ ใจมั่น อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พร้อมด้วยผู้บริหาร และข้ า ราชการกรมเจรจาการค้ า ระหว่ า งประเทศ ร่ ว มกั น ทำบุญเลีย้ งพระ เนือ่ งในโอกาส “วันคล้ายวันสถาปนากรมเจรจา การค้าระหว่างประเทศ ครบรอบ 74 ปี”

37


การประชุม FTA ไทย-ปากีสถาน ครั้งที่ 3

วันที่ 9 - 11 พฤษภาคม 2559 นางสาวสุนันทา กั ง วาลกุ ล กิ จ รองอธิ บ ดี ก รมเจรจาการค้ า ระหว่ า งประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมการเจรจา ความตกลงการค้าเสรีไทย - ปากีสถาน (PATHFTA) ครั้งที่ 3 ณ โรงเเรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ

การประชุม AHKTNC ครั้งที่ 7

วันที่ 28 พฤษภาคม - 2 มิถนุ ายน 2559 นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เข้าร่วม การประชุมคณะกรรมการเจรจาทางการค้าสำหรับการจัดทำ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (AHKTNC) ครั้งที่ 7 และ การประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง

การประชุม HLTF-EI ครั้งที่ 30

วันที่ 5 - 6 มิถุนายน 2559 นางสาวศิรินารถ ใจมั่น อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เข้าร่วมการประชุม คณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุม่ ทางเศรษฐกิจของอาเซียน (HLTF-EI) ครั้งที่ 30 ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ

38


วันกิติยากร ปี 2559

วันที่ 8 มิถุนายน 2559 นางสาวศิรินารถ ใจมั่น อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พร้อมด้วยผู้บริหาร และข้าราชการกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมวางพุม่ ดอกไม้ พระอนุสาวรียพ์ ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิตยิ ากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาท เนื่องในวันที่ระลึก “วันกิติยากร” ณ กระทรวงพาณิชย์

การประชุม RCEP-TNC ครั้งที่ 13

วันที่ 7 - 18 มิถุนายน 2559 นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ในฐานะหัวหน้า ผู ้ แ ทนไทย เข้ า ร่ ว มการประชุ ม RCEP-TNC ครั ้ ง ที ่ 13 ณ เมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์

พาณิชย์ยุคใหม่ โปร่งใส ไร้คอร์รัปชัน

วันที่ 25 มิถุนายน 2559 นางสาวศิรินารถ ใจมั่น อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมงานสัมมนาเชิง ปฏิบัติการเครือข่ายพาณิชย์ ร่วมพิชิตคอร์รัปชัน รุ่นที่ 2 ณ โรงแรมเซอร์ เจมส์ รีสอร์ท อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

39


E-learning : http://elearning.dtn.go.th/

Google Play


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.