1
โซ่ ตรวนศักดิ์สิทธิ์ Breaking the Spell of Conservatism เอกศักดิ์ ยุกตะนันทน์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น aksak@kku.ac.th
Abstract When education is ruled by conservatism it enslaves the soul. The learners are proud of their yoke as a mark of virtues. Philosophy can free them, but only through dialogues in which the learners and the instructor are equal. They will protect their yoke from every angle. We have to respect their reasons, but still have to show how they misled them to false sense of worth. The most important thing is helping them to step over spurious morality of conservatism: that should happen when they get in touch with their own humanity. In this article series of questions are laid down leading to the point where they start to value their liberty. บทคัดย่อ เมื่อการศึกษาอยู่ใต้ ลทั ธิ อนุรักษ์ นิยม มันคื อการกดขี่ ผู้เรี ยนจะบูชาโซ่ ตรวนที่ จองจำาพวกเขา เพราะ ถือว่ ามันคื อเครื่ องหมายแห่ งความเป็ นคนดีของตน มีแต่ ปรั ชญาเท่ านั้นที่ จะปลดปล่ อยพวกเขาจากโซ่ ตรวน ชนิดนีไ้ ด้ แต่ กด็ ้ วยการที่ผ้ สู อนลงไปโต้ เถียงกับผู้เรี ยนอย่ างเสมอภาคกันเท่ านั้น เพราะพวกเขาจะปกป้ อง โซ่ ตรวนของเขาจากทุกแง่ ซึ่ งเราจะต้ องให้ ความเคารพกับเหตุผลของเขา แต่ กต็ ้ องแสดงให้ เขาเห็นว่ ามันผิด พลาดอย่ างไร สิ่ งที่สาำ คัญที่สุดก็คือการพาเขาให้ ก้าวข้ ามศีลธรรมชั้นต่ำ าของลัทธิ อนุรักษ์ นิยม ซึ่ งจะเกิดขึน้ เมื่อเขาสัมผัสรู้ มนุษยธรรมของตนเอง บทความเสนอลำาดับของคำาถามที่ จะพาไปสู่จุดที่ ผ้ เู รี ยนเริ่ มตระหนัก ถึงคุณค่ าของเสรี ภาพ
2
บทความนี้เป็ นเรื่ องของโซ่ตรวนที่จองจำาปัญญาและจิตวิญญาณของมนุษย์ และเป็ นเรื่ องของ ปรัชญาภาคปฏิบตั ิ ก่อนอื่น ข้าพเจ้ามีเรื่ องเล่าสั้นๆ อยู่ 8 เรื่ อง 1.ครั้งหนึ่ง ในชั้นเรี ยนของนักเรี ยนมัธยมต้น เด็กคนหนึ่งพูดกับข้าพเจ้าว่า ถ้าสามารถถ่ายโอนความ รู ้ของคนหนึ่งไปใส่สมองของอีกคนหนึ่งเหมือนอย่างในหนังเรื่ อง The Matrix ได้กค็ งดีเพราะเราไม่ตอ้ งเสี ย เวลายาวนานในการเรี ยนรู้ แต่เพื่อนของเขาก็คา้ นทันทีวา่ ถ้าเช่นนั้นชีวิตก็หมดความหมาย เด็กคนที่สองนี้ ดู เหมือนจะเกิดมาเพื่อเป็ นนักปรัชญา เพราะเธอรู ้วา่ ความสุ ขที่มีค่ายิง่ ของชีวิตอยูใ่ นการต่อสูเ้ พื่อที่จะเรี ยนรู ้ นี่ เป็ นเด็กแบบที่เราไม่ตอ้ งห่วง เพราะจะไม่มีโซ่ตรวนใดกักขังปั ญญาของเธอได้ 2.เมื่อหลายสิ บปี มาแล้วในชั้นเรี ยนวิชาปรัชญาของนักศึกษามหาวิทยาลัยปี สอง นักศึกษาคนหนึ่ง บ่นกับข้าพเจ้าว่า ทำาไมต้องคิดมากคิดมายขนาดนี้ เกิดมาในชีวิต เรี ยนมาทุกวิชาไม่เห็นเคยต้องคิดอะไรเลย แค่จาำ ๆ ก็สอบผ่านมาได้ทุกวิชาแล้ว รวมทั้งทุกวิชาของปี หนึ่งด้วย สิ่ งที่ตอ้ งเป็ นห่ วงคือ เกิดอะไรขึ้นกับการ ศึกษาไทย 3.ในปี หลังๆ นี้ขา้ พเจ้าค่อนข้างที่จะหดหู่ ที่มองเห็นว่า นักศึกษาแม้แต่ในระดับปริ ญญาโท (ไม่ตอ้ ง พูดถึงนักศึกษาปริ ญญาตรี ) ก็มีบุคลิกภาพเหมือนกับคนที่ไม่มีความมัน่ ใจในตนเอง ไม่สมกับความเป็ น “บัณ ฑิต” “มหาบัณฑิต” นัน่ เป็ นช่วงเวลาเดียวกับที่พนั ธมิตรฯ กำาลังแสดงพลังในสังคมไทย ข้าพเจ้าเห็นนัก วิชาการ คนรุ่ นสี่ สิบ ที่ข้ ึนเวทีกลับมีท่าทีองอาจ เชื่อมัน่ และแสดงอำานาจอย่างก้าวร้าว ข้าพเจ้าสงสัยว่า ต้อง รอจนมีความรอบรู้ที่สุด มีเกียรติ มีตาำ แหน่งหน้าตาในสังคม แล้วกระนั้นหรื อ ผูค้ นถึงจะมีบุคลิกภาพแบบผู ้ มีอาำ นาจในตนเอง แต่วนั หนึ่งข้าพเจ้าก็ได้เห็นเด็กหญิงอนุบาลคนหนึ่งแสดงบุคลิกภาพเช่นนั้น เพราะเธอ กำาลังอยูใ่ นโลกแห่งจินตนาการที่เธอเป็ นครู และตุก๊ ตาเป็ นนักเรี ยน (แน่นอนว่าเธอกำาลังระบายความเครี ยด ที่ได้รับมาจากโรงเรี ยน) 4. หลายๆ ครั้ง ที่ขา้ พเจ้าจะเห็นนักศึกษาบางคน (มักเป็ นผูห้ ญิง) ที่สีหน้าไม่แสดงอารมณ์ความรู ้สึก ใดๆ ทั้งสิ้ นต่อประเด็นที่กาำ ลังอภิปรายโต้ตอบกันอยูใ่ นชั้นเรี ยน ทั้งที่กเ็ ป็ นสิ่ งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตทุกคนใน ชั้นเรี ยนรวมถึงเธอด้วย เธอเป็ นเหมือนรู ปปั้ นไร้จิตวิญญาณ ที่มาตั้งปนอยูก่ บั ผูค้ นที่มีชีวิต ใครและอะไร ทำาให้เธอเป็ นเช่นนั้น? 5.ในปี นี้นี่เอง ที่นกั ศึกษาผูห้ นึ่งโต้ตอบกับข้าพเจ้าว่า ทำาไมต้องตั้งคำาถามต่อสิ่ งต่างๆ ในชีวิตด้วย แค่ เราใช้ชีวิตตามคนอื่นเขาไป หรื อทำาไปตามความรู ้สึกก็พอแล้ว “ดูอย่างความรักสิ ไม่เห็นเราต้องคิดหาเหตุ ผลอะไรเลย” เธอกล่าว แต่ในชั้นเรี ยนเดียวกันนั้นเอง นักศึกษาผูห้ นึ่งเขียนเรี ยงความที่ลึกซึ้ งและงดงามว่า ผูใ้ หญ่ทาำ ให้คาำ ถามหายไปจากจิตใจเด็กได้อย่างไร นักศึกษาคนที่หนึ่งมีความกล้าที่ทาำ ให้ช้ นั เรี ยนมีความน่า สนใจ แต่นกั ศึกษาคนที่สองคือความหวังของอนาคต
3
6. ขณะนี้เริ่ มมีเด็กนักเรี ยนหัวก้าวหน้าที่ประกาศตนเป็ นกบฏต่อผูใ้ หญ่ เรี ยกร้องการปฏิวตั ิ ยกเลิก การใช้อาำ นาจทุกชนิดของผูใ้ หญ่ ด้วยข้อหาว่าทำาให้เด็กโง่ แต่เด็กส่ วนใหญ่ยงั เห็นว่า การที่ตนเองอยูใ่ น กรอบของผูใ้ หญ่คือการที่ตนเป็ นคนดี เด็กพวกหลังนี้ ยอมรับการบังคับทุกอย่างของผูใ้ หญ่ หรื อแม้แต่ของ รุ่ นพี่ ด้วยความเต็มใจ และภาคภูมิใจ ว่าทำาให้เขาเป็ นสมาชิกที่มีค่าของสังคม พวกเขาไม่คิดเลยว่า สิ ทธิ เสรี ภาพ และความเสมอภาค คือสิ่ งที่มีค่า และครู คนหนึ่งแสดงความคิดเห็นบนอินเตอร์ เน็ตว่า แม้เด็กไทยจะ โง่กว่าเด็กชาติอื่น แต่กเ็ ป็ นเด็กดีของผูใ้ หญ่กว่าเด็กชาติอื่นแน่นอน มีผกู ้ ด Like มากมาย นี่คือสิ่ งที่น่าเป็ น ห่ วงอย่างยิง่ 7. ความรู้สึกหดหู่อีกเรื่ องหนึ่งของข้าพเจ้าก็คือ การวางตนอย่างมีชนชั้น ระหว่างเพื่อนอาจารย์ร่วม อาชีพกับลูกศิษย์ แม้จะยอมรับว่าเราทุกคนยังเป็ นปุถุชนที่มีอตั ตาตัวตน และทุกคนทำาผิดพลาดไปด้วยโมหะ ได้ท้ งั สิ้ น แต่เรายังรับไหว้ศิษย์อย่างแสดงชนชั้น และเราอาจถือตนถึงกับให้ศิษย์มากราบเท้าขอขมา เพราะ ศิษย์บงั อาจตั้งคำาถามเชิงวิพากษ์ต่อเรา ซึ่งก็น่าสะท้อนใจที่ ในการที่เราเป็ นผูศ้ ึกษาอย่างลึกซึ้ งในทางปรัชญา และศาสนา เรากลับยังถือตนว่าเป็ นสิ่ งที่ศิษย์ละเมิดไม่ได้ แน่นอนว่านี่เป็ นสถานะทางชนชั้นของอำานาจที่ สังคมสมมุติสร้างขึ้น แต่เรากลับไปติดยึดต่อมัน อย่างที่เราไม่เคยมองดูเลยว่า ผูท้ ี่ประเสริ ฐที่สุดในหมู่มนุษย์ ผูซ้ ่ ึงเราศึกษาและยกคำาสอนมาแสดงต่อศิษย์ของเรานั้น ตัวท่านเองวางตนต่อสาวกอย่างไร ข้าพเจ้าสงสัยว่า เราจะสามารถเตือนสติกนั เองในเรื่ องนี้ ได้บา้ งหรื อไม่ 8.บุคคลสองคนในครอบครัวของข้าพเจ้ามีความขัดแย้งทางจิตใจที่ไม่อาจแก้ไขได้ บุคคลทั้งสองรัก กันอย่างที่สุด และเป็ นความสัมพันธ์ที่ไม่มีวนั ตัดขาด แม้วา่ สักวันจะมีความตายมาพรากก็ตาม เป็ นความขัด แย้งที่เกี่ยวข้องกับ “ความกตัญญู” ซึ่งหากไม่มีความยึดมัน่ ถือมัน่ ใน “วัฒนธรรมไทย” ความขัดแย้งนี้ กอ็ าจ แก้ไขได้ไม่ยาก นัน่ ก็คือ หาก “ความรัก” และ “การให้” จะไม่เจือปนด้วยความรู ้สึกเรื่ องอำานาจและสถานะ ทางชนชั้น สิ่ งที่น่าคิดมากก็คือ เขาทั้งสองมีความรู ้สึกและความเชื่อที่ตรงกันในเรื่ องคุณความดีของสถาบัน ชั้นสูง ซึ่งผูค้ นส่วนใหญ่ในสังคมใช้นิยามความเป็ นไทย ตอนนี้ขา้ พเจ้าพร้อมที่จะเข้าเรื่ องแล้ว ข้าพเจ้าเคยกล่าวไว้แล้วว่า การศึกษาไทยคือผลลัพธ์ของการต่อสูร้ ะหว่างชนชั้นทางเศรษฐกิจ1 ซึ่ง ลัทธิ กษัตริ ยน์ ิยมมีชยั ชนะ อันนำาไปสู่การรื้ อฟื้ นจิตสำานึกแบบศักดินา และการสร้างกระแสวัฒนธรรม อนุรักษ์นิยม-อำานาจนิยมแบบสุดขั้วขึ้นครอบงำาการศึกษา ซึ่งเน้น “การอบรมบ่มนิสยั ” จนทำาลายสติปัญญา ำ ดูใน “การเมือง วัฒนธรรม และความตกต่าของการศึ กษาไทย” และ “การศึกษาในฐานะส่ วนหนึ่งของวัฒนธรรมความ สัมพันธ์ระหว่างผูใ้ หญ่กบั เด็กในสังคมไทย” วางอยูท่ ี่ http://issuu.com/eaksakyooktanan/docs 1
4
และจิตวิญญาณในการเรี ยนรู้ของเด็กไทย ซึ่งเกิดคู่ไปกับการลดทอนความรู ้ แบบที่ตอ้ งอาศัยความคิดความ เข้าใจ ให้เหลือเป็ นเพียงข้อมูลที่จะต้องท่องจำาเพื่อนำาไปใช้ตอบข้อสอบ 2 ข้าพเจ้าพบว่า นอกเหนือจากพวกที่มีวิญญาณกบฏไม่กี่คนที่ประกาศการสลัดโซ่ตรวน อย่างไม่เกรง กลัวใครอีกต่อไปแล้ว จิตวิญญาณของเด็กไทยเกือบทั้งหมดถูกจองจำาอยูด่ ว้ ยโซ่ตรวนที่พวกเขาคิดว่า ศักดิ์สิทธิ์ และแบกรับมันไว้ดว้ ยความเคารพบูชา เด็กไทยส่ วนใหญ่ลงคะแนนเสี ยงว่า ให้คงการตัดผมสั้น เกรี ยน และการแต่งเครื่ องแบบ เพราะมันคือความมีวินยั ของการเป็ นเด็กดี อย่างที่พวกเขาต้องสาบานตนหน้า เสาธงทุกเช้า นักศึกษาในมหาวิทยาลัยรู้สึกภาคภูมิใจที่ผา่ นพิธีกรรมของระบบโซตัส ที่ถูกบังคับให้ไหว้ อาจารย์และรุ่ นพี่ทุกคน และเชื่อว่าตนเป็ นคนดีของสังคมมากขึ้นกว่าก่อนจะผ่านพิธีกรรม และลงคะแนน เสี ยงให้คงข้อบังคับเรื่ องเครื่ องแบบ ข้อบังคับเรื่ องหน่วยกิตกิจกรรม รวมทั้งข้อบังคับทุกอย่างที่เป็ นการใช้ อำานาจของมหาวิทยาลัย เพราะเชื่อว่าเป็ นการใช้อาำ นาจด้วยความรักและความหวังดี แม้วา่ จะทำาให้ชีวิตของ ตนทุกข์ยากขึ้นกว่าเมื่อก่อนอย่างแสนสาหัสก็ตาม คำาถามก็คือ ใครจะช่วยพวกเขาปลดโซ่ตรวนที่เขาบูชานี้ ำ าตนกำาลังถูกกดขี่ แม้กฎระเบียบทั้งหมดที่เขายอมตามจะเป็ นแบบทวิ ได้? คนพวกนี้ไม่คิดเสี ยด้วยซ้าว่ มาตรฐาน ก็ตาม เปาโล แฟร์ ยืนยันว่าการศึกษาที่จะช่วยปลดปล่อยผูถ้ ูกกดขี่มีวิธีเดียวเท่านั้น ก็คือการที่ผสู ้ อนลงไป โต้เถียงกับผูเ้ รี ยนอย่างเสมอภาคกัน นัน่ เป็ นแง่ของวิธีการ ในแง่ของเนื้ อหาแล้ว คือการหยิบทุกอย่างในชีวิต ของผูเ้ รี ยนมาตรวจสอบ รวมทั้งจิตสำานึกแห่งความดีชวั่ ถูกผิดของผูเ้ รี ยนเอง และนี่คือประสบการณ์ของ ำ ข้าพเจ้า ในการใช้เวลา 30 ชัว่ โมง โต้เถียงในเรื่ องของสิ่ งที่พวกเขาถูกพร่ าสอนมา ในบ้าน ในโรงเรี ยน ในวัด และในสังคม จนมันกลายเป็ นส่วนหนึ่งของตัวตนของเขา สำาหรับเปาโล การศึกษาคือการเมือง ถ้ามันไม่กดขี่มนั ก็ปลดปล่อย สำาหรับเรา สิ่ งที่เราต้องพา นักเรี ยนตั้งคำาถามเป็ นอย่างแรกก็คือ การศึกษาทำาอะไรกับพวกเขา ที่ทาำ ให้พวกเขาไม่มีจิตสำานึกทางการ เมือง? ซึ่งเราต้องเปิ ดเผยความจริ งเกี่ยวกับบทบาทของนักเรี ยน นิสิต นักศึกษา ในสมัย 14 ตุลา 2516 ถึง 6 2
ถ้าเราได้อ่าน On Education ของ Bertrand Russell ก็จะรู้วา่ “การอบรมบ่มนิสัย” ของไทยมีวิธีคิดแบบเดียวกันกับวิธีการ สอนแบบอำานาจนิยมของอังกฤษ เมื่อประมาณ 100 ปี ที่แล้ว (แปลเป็ นไทยในชื่อว่า “ความรู้ในมือของความรัก” โดย น.พ. สันต์ สิ งหภักดี สำานักพิมพ์มูลนิธิเด็ก) ซึ่งรัซเซิ ลเป็ นห่วงว่า การสั่งสอนทางศีลธรรมตามแบบเก่า ซึ่งวางอยูบ่ นความเชื่อ เรื่ องความผิดบาปของคริ สต์ศาสนา เมื่อขยายมาใช้กบั ระบบการศึกษาของทั้งชาติ จะสร้างพลเมืองที่ดอ้ ยปัญญา เพราะใช้ การบังคับควบคุมและการดุด่าลงโทษอย่างรุ นแรงเพื่อสร้างให้นกั เรี ยนเป็ น “คนดี” เขาคิดว่าจักรวรรดิองั กฤษจะเสื่ อมถอย เพราะการศึกษาเช่นนั้น ซึ่ งก็เป็ นจริ งเช่นที่เขาคิด เขาพยายามแสดงให้เห็นว่า คุณธรรมทางสังคมเป็ นสิ่ งที่ถูกวางไว้อย่าง ครบถ้วนแล้ว ตั้งแต่หา้ ขวบแรก ด้วยการฝึ กฝนและอบรมในครอบครัว ซึ่ งอาศัยความรักและเหตุผลเป็ นเครื่ องมือ เขายืนยัน ว่าสิ่ งที่ระบบการศึกษาจะต้องระแวดระวังมีแต่เรื่ องของคุณธรรมทางปัญญาเท่านั้น ว่าจะสอนอย่างไรจึงจะไม่ทาำ ลายจิต วิญญาณของความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
5
ตุลา 2519 ในการเป็ นผูน้ าำ ในการเรี ยกร้องรัฐธรรมนูญ และความยุติธรรมในสังคม สร้างความโกรธแค้นให้ กับชนชั้นสูง จนนำาไปสู่การถูกเข่นฆ่าโดยพลังฝ่ ายขวาของสังคม และการปิ ดกั้นการมีส่วนรวมทางการเมือง นับแต่น้ นั มา แล้วการศึกษาก็รับใช้เจตจำานงของฝ่ ายผูช้ นะในทุกวิถีทาง เช่น ด้วยการสร้างวิชาหน้าที่ พลเมืองที่กลวงเปล่า แปลกปลอมต่อชีวิตจริ ง แน่นอนว่าการเมืองในปัจจุบนั ร้อนแรง สับสน และเข้าใจยาก สังคมเกิดความแตกแยกเป็ นฝักเป็ น ฝ่ ายอย่างชัดเจน เหมือนในสมัย 6 ตุลา ผูใ้ หญ่ทุกคนเลือกเข้าข้างฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่ง จนปรากฏว่าเด็กปั จจุบนั ต้องการครู ที่ปลอดการเมือง ซึ่งคงต้องสงสัยว่า ครู ส่วนใหญ่อยูฝ่ ่ ายใด ให้ความจริ งต่อเด็ก อย่างจริ งใจมาก แค่ไหน หรื อยังคงบอกเล่าบางส่วน ปิ ดบังบางส่ วน เพื่อให้เด็กเข้าข้างฝ่ ายตนด้วยความเห็นถูกๆ ผิดๆ ซึ่งเมื่อ เด็กได้ขอ้ มูลจากแหล่งอื่น ก็รู้วา่ ครู ฉอ้ ฉล เด็กจึงรังเกียจการเมือง และรู ้จกั การเมืองแค่ในระดับผิว เราจะช่วยสร้างจิตสำานึกทางการเมืองให้กบั เด็กและคนหนุ่มสาวได้อย่างไร? ประเด็นก็คือ เด็กทุก คนมีความรักในความยุติธรรมอยูใ่ นตัวอยูแ่ ล้ว เราต้องกระตุน้ ให้เขานำาความรู ้สึกนี้ ออกมาใช้ วิธีกค็ ือ ผูส้ อน ต้องเข้าถกเถียงกับผูเ้ รี ยนในประเด็นสำาคัญๆ ทุกประเด็น จนพวกเขาสามารถมองเหตุการณ์ปัจจุบนั ในฐานะ ขั้นตอนของประวัติศาสตร์ มากกว่าที่มองเห็นแค่ความถูกบ้างผิดบ้าง ของตัวละครต่างๆ ทางการเมือง แม้ กระนั้น พวกเขาก็ยงั อาจวางเฉย ไม่ใยดีสกั เท่าใดนัก เพราะถูกทำาให้แปลกแยกจากเรื่ องการเมืองมาตลอด ชีวิต ซึ่งเราก็คงต้องเตือนเขาว่า การปฏิเสธการเมืองเป็ นการดูถูกสติปัญญาและความเป็ นมนุษย์ของตนเอง เพราะด้วยการเข้าใจการเมืองอย่างถูกต้องเท่านั้น ที่เขาจะสามารถมีส่วนร่ วมในการสร้างความยุติธรรมใน สังคม คำาถามที่สองที่พวกเขาควรจะต้องหาทางตอบก็คือ คำาถามว่าการไหว้ที่ถูกอ้างว่าเป็ นวัฒนธรรมอันดี งามของไทย เพราะเป็ นการแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็ นคุณธรรมจริ งๆ หรื อเป็ นการประจบประแจง กันแน่ ถ้ามันเป็ นคุณธรรมจริ งๆ ตามพุทธศาสนา (หรื อศาสนาอื่นก็ตาม) เพราะเป็ นการละวางการยึดมัน่ ถือ มัน่ ในตัวตน ผูใ้ หญ่กค็ วรจะไหว้เด็กก่อน ไม่ใช่แค่รับไหว้ และเราควรจะไหว้คนทุกคนไม่วา่ จะยากดีมีจน ต่างวัย ต่างชั้นวรรณะ ต่างยศต่างศักดิ์ในสังคม ซึ่งหมายความว่า นักศึกษาไม่ควรจะไหว้เฉพาะอาจารย์และ รุ่ นพี่ แต่ควรจะไหว้ทุกคนไล่ลงไปถึงภารโรง คนกวาดถนน คนเก็บขยะ ตลอดไปจนถึงขอทาน แต่ถา้ พวกเขาถูกสอนให้ไหว้เฉพาะคนที่จะสามารถอุปถัมภ์อมุ ้ ชู ช่วยเหลือในกิจกรรมต่างๆ ของ พวกเขาได้ การไหว้น้ นั ก็เป็ นแค่การประจบเอาใจ หวังให้เขารัก เขาเอ็นดู เป็ นการลงทุนอย่างหวังประโยชน์ โดยเอาศักดิ์ศรี ความเคารพตนเองมาขาย เหมือนที่บริ ษทั ห้างร้านบังคับให้พนักงานไหว้ลูกค้าทุกคน เป็ นการ ำ าทางศีลธรรม เพราะเป็ นแค่การ ไหว้ที่ผไู ้ หว้เจ็บปวดและไม่เป็ นมงคลใดๆ ต่อชีวิตทั้งสิ้ น เป็ นการไหว้ที่ต่าค่ ำ ำ ยอมรับฐานะทางชนชั้นว่าใครต่าใครสู ง อะไรทำาให้สงั คมไทยพร่ าสอนเรื ่ องการไหว้ หรื อแม้กระทัง่ ไป
6
รื้ อฟื้ นเอาการหมอบกราบ การคลานเข่าเข้าหาผูท้ ี่มีศกั ดิ์สูงกว่า ที่เลิกไปนมนานแล้ว กลับมาอีก? นี่คือ วัฒนธรรมอันดีงามหรื อเลวทรามกันแน่ ? เรากำาลังจะถอยหลังกลับไปหาวัฒนธรรมชนชั้นตามแบบของ ระบบศักดินากันอีกหรื ออย่างไร?3 และคำาถามยังมีอีกว่า ทำาไมความเป็ นไทยถึงไม่นิยามด้วยบุคลิกภาพที่ ตรงกันข้ามกับความอ่อนน้อม? ทำาไมเราจึงไม่นิยามความเป็ นไทยว่า คือความทะนง องอาจ กล้าหาญ กล้า คิด กล้าพูดกล้าทำา? คุณสมบัติเช่นนี้กเ็ ป็ นคุณธรรมไม่ต่างไปจากความอ่อนน้อมถ่อมตนไม่ใช่หรื อ? นอกจากโซ่ตรวนของความไม่รู้และโซ่ตรวนของวัฒนธรรมชนชั้นแล้ว โซ่ตรวนที่หนักและหนา มาก ก็คือโซ่ตรวนของการถูกทำาให้เป็ นทาสของสังคม เมื่อเด็กเข้ามาสู่อุดมศึกษา ด้วยการที่ตอ้ งการทำาตน ให้เป็ นที่ยอมรับของสังคม เขาต้องตกอยูใ่ ต้วาทกรรมของลัทธิ สถาบันนิยม ซึ่งเชื่อมต่ออยูก่ บั ลัทธิ ชาตินิยม ำ วัฒนธรรมนิยม ซึ่งเขาถูกพร่ าสอนมาในโรงเรี ยน (และจากที่บา้ น หรื อทั้งจากที่วดั ) และดังนั้น เราจะต้องพูด กับเขาให้กระจ่างตั้งแต่เรื่ องของลัทธิชาตินิยม ความรู้สึกรักชาติ สัมพันธ์อยูก่ บั ตัวตนของเรา ผ่านสำานึกทางประวัติศาสตร์ ข้าพเจ้าจำาได้วา่ ในสมัย มัธยม เคยรู ้สึกเลือดพลุ่งพล่านด้วยความโกรธ เมื่อเรี ยนรู ้เรื่ อง “การเสี ยดินแดนให้ชาติตะวันตก” ซึ่งเมื่อโต พ้นวัยแล้ว และได้เรี ยนรู้ประวัติศาสตร์ “นอกห้องเรี ยน” มากขึ้น ก็รู้วา่ นัน่ คือความหลงผิด เพราะสยาม ประเทศเองนั้นแหละ ที่เป็ นเจ้าอาณานิคม ผูก้ ดขี่ ยึดเอาดินแดนรอบข้างมาเป็ นของตนด้วยอำานาจทางทหาร ความรักชาติหลงชาติกถ็ ูกแทนที่ดว้ ยความรักในความยุติธรรม ำ เด็กถูกพร่ าสอนเรื ่ องความรักชาติ และถูกบังคับให้แสดงความรักชาติทุกเช้า เป็ นเวลาเกือบ 15 ปี เรา ต้องถกเถียงกับเขาว่า ลัทธิชาตินิยมสร้างความดีอะไรบ้างในโลกยุคปั จจุบนั ชี้ให้เขาเห็นว่า ทุกชาติในอดีต ล้วนใช้ลทั ธิ ชาตินิยมทั้งสิ้ น อันพาไปสู่ความต้องการขยายอำานาจเข้าครอบครองดินแดนของชาติอื่น ซึ่งใน ที่สุด ก็พาไปสู่สงครามโลก ความรักชาติไม่เคยหมายความถึงความรักที่พลเมืองทุกคนพึงมีต่อกัน แต่หมาย ถึงความหวงแหนดินแดน ที่เผ่าพันธุ์หนึ่งเข้ายึดครองและประกาศเป็ นเขตปกครองของตน จบจากยุค สงครามโลก ลัทธิชาตินิยมก็ยงั สร้างให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์เจ้าอาณานิคมกับเผ่าพันธุ์ที่ถูกยึด ครองดินแดน ผูซ้ ่ ึงถูกทำาให้เป็ นพลเมืองชั้นสอง อันพาไปสู่การก่อการร้ายและขบวนการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งสันติภาพอย่างถาวรภายในดินแดนนั้นจะไม่มีวนั เกิดขึ้นได้เลย จนกว่าจะมีการขอโทษ การชดใช้ความผิด และการยอมให้เขามีส่วนร่ วมในอำานาจการปกครองอย่างเสมอภาค อังกฤษเองก็เพิ่งพ้นจากภัยเช่นนี้ มาไม่ 3
การไหว้ที่สูงค่าทางศีลธรรมต้องออกมาจากใจ ไม่ใช่จากการบังคับ และเป็ นการไหว้ผทู้ ี่เราเคารพรักอย่างแท้จริ ง เพราะ เรารับรู้ในความปรารถนาดีอย่างบริ สุทธิ์ของเขา ซึ่งหมายความว่า ทุกสิ่ งที่เขาทำาให้เรานั้นไม่ได้มุ่งหวังในอำานาจ อย่างที่จะ เอาบุญเอาคุณ มาบงการชีวิตของเรา ทำาให้เราต้องสู ญเสี ยความเป็ นตัวของตัวเอง ไม่วา่ จะในแง่ใด (ถ้าเรามีความไม่ดี เขาก็ อาจบอกเพื่อให้เราไปพิจารณาไตร่ ตรอง ไม่ใช่ใช้อาำ นาจมาบังคับให้เราทำาตนเป็ นคนแบบที่เขาคิดว่าดี ) นี่เท่านั้นที่จะตรง กับคำาสอนของพระพุทธเจ้าว่าการไหว้บุคคลที่ควรไหว้เป็ นมงคลต่อชีวิต
7
นานเลย ลัทธิชาตินิยมกำาลังย้อนกลับมาในหมู่ประชากรของสหรัฐอเมริ กา ก็เพราะประเทศของเขากำาลังอยู่ ในสงครามกับพวกผูก้ ่อการร้าย จากการที่กระทำาความชัว่ ต่อเผ่าพันธุ์อื่นไว้มาก ข้อเท็จจริ งที่เด็กจะต้องรู้คือ ลัทธิชาตินิยมเป็ นอันตรายต่อสันติภาพของพลโลก และที่สาำ คัญกว่านั้น ก็คือ เป็ นอันตรายต่อสติปัญญาของคนในชาติ เพราะลัทธิ ชาตินิยมเรี ยกร้องให้คนทุกคนในชาติคิดเหมือน กันเพื่อให้เกิดเป็ นพลัง ผูค้ ิดแตกต่างจะถูกปิ ดปาก และสังคมจะเสี ยประโยชน์ ที่อาจได้จากการเรี ยนรู ้ความ คิดของคนพวกนั้น เขาควรจะต้องรู้วา่ ในโลกยุคปั จจุบนั เรามีความรักชาติไว้ใช้แข่งกีฬา และประกวด นางงามก็พอแล้ว ถ้ามากกว่านี้เราก็จะมีขอ้ พิพาทเรื่ องดินแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน และจะไปสนับสนุน ลัทธิ ดูถูกชาติพนั ธุ์อื่น สร้างความโกรธเกลียดต่อกัน อย่างที่กเ็ ห็นอยู่ ำ ที่เด็กถูกพร่ าสอนมาร่ ำ ความสามัคคีคือศีลธรรมต่าๆ วมกับลัทธิ ชาตินิยม แน่นอนว่าความสามัคคีพา ไปสู่ความสำาเร็ จในกิจกรรมที่ตอ้ งอาศัยหมู่คณะ แต่เด็กควรจะต้องถูกถามว่าความสามัคคีคือคุณธรรมจริ งๆ หรื อ? แล้วถ้าผูม้ ีความสามัคคีน้ นั ร่ วมมือกันในการทำาความชัว่ ละ เราจะยังเรี ยกความสามัคคีวา่ เป็ นคุณธรรม อยูอ่ ีกหรื อ? (เด็กควรได้ยนิ คำากล่าวที่วา่ ความสามัคคีคือคุณธรรมของผูก้ ระหายอำานาจ) หรื อถ้าเป้ าประสงค์ เป็ นสิ่ งที่ทุกคนในหมู่คณะได้ประโยชน์อย่างเสมอหน้ากัน ทุกคนก็ยอ่ มจะเข้าร่ วมโดยสมัครใจ (ถ้าไม่ใช่คน เห็นแก่ตวั ชอบที่จะกินแรงผูอ้ ื่น) แล้วทำาไมระบบโซตัสต้องใช้การบังคับมาทำาให้คนสามัคคี เพราะ เป้ าประสงค์เป็ นแค่สิ่งสมมุติ จอมปลอม จับต้องไม่ได้ อย่างเช่น “เกียรติภูมิของสถาบัน” อย่างนั้นใช่ไหม? ถ้าเช่นนั้น เราก็ตอ้ งชวนเขาคิดเกี่ยวกับเรื่ องของสิ่ งสมมุติจอมปลอมนี้ เสี ยก่อน ว่ามันสร้างความเป็ นทาส อะไรบ้าง เครื่ องแบบนักศึกษาถูกอ้างว่า เป็ นเครื่ องแสดงเกียรติภูมิของการเป็ นนิสิตนักศึกษา ข้าพเจ้ายังจำาได้ ว่า ในสัปดาห์แรกของชีวิตการเป็ นนักศึกษา ข้าพเจ้ารู ้สึกภาคภูมิใจมากที่ได้ปรากฏตัวในสังคม ในเครื่ อง แบบของนิสิตจุฬาฯ (แต่ในสมัยมัธยมปลาย ข้าพเจ้ามักจะดึงชายเสื้ อออกนอกกางเกงทันทีเมื่อก้าวพ้นประตู โรงเรี ยน เพราะอึดอัดรำาคาญ และยังจำาได้ดว้ ยว่า มีความรู ้สึกสบายมากที่สุด เมื่อได้อยูใ่ นที่มิดชิดส่ วนตัว แล้วได้ปลดเปลื้องเครื่ องแต่งกายทั้งหมดออกไป มีใครบ้างไหมที่ไม่เคยรู ้สึกเช่นนี้ ?) แต่ความรู ้สึกภาคภูมิใจ นี้กเ็ หื อดแห้งไป เมื่อเริ่ มรับรู้วา่ เครื่ องแบบคืออำานาจของอาจารย์ เพราะอาจารย์บางคนประกาศว่าไม่ยอมให้ นักศึกษาที่ไม่แต่งเครื่ องแบบเข้าเรี ยนในวิชาของตน โชคยังดี ที่ในยุคนั้น อุดมการณ์ประชาธิ ปไตยยังมี อิทธิ พลในสังคม อาจารย์ส่วนใหญ่จึงยอมให้นกั ศึกษาแต่งกายสุ ภาพเข้าเรี ยนและเข้าสอบ นักเรี ยนและนักศึกษาเกือบทั้งหมดตกอยูใ่ ต้วาทกรรมของเกียรติภูมิจอมปลอม พวกเขาพร้อมที่จะ อ้างว่าพวกเขารู้สึกเป็ นเกียรติที่ได้แต่งเครื่ องแบบ เพราะมันแสดงพันธะกิจของพวกเขาต่อสังคม และพร้อม ที่ยอมรับข้ออ้างที่วา่ เครื่ องแบบสร้างให้เกิดความเสมอภาคในหมู่พวกเขา แต่เราต้องชี้ให้พวกเขายอมรับ ใน
8
สิ่ งซึ่งพวกเขาก็รู้อยูแ่ ก่ใจ ว่าเครื่ องแบบสร้างให้เกิดชนชั้นของผูม้ ีอาำ นาจและผูอ้ ยูใ่ ต้อาำ นาจ และสร้างให้เกิด การบังคับในสิ่ งอันไร้สาระต่างๆ นานา ตั้งแต่ผมที่ตอ้ งสั้นเกรี ยน เสื้ อที่ตอ้ งติดกระดุมทุกเม็ดจนถึงคอ ชาย เสื้ อต้องอยูใ่ นกางเกงหรื อกระโปรง ถุงเท้าขาวที่ไม่อนุญาตให้พบั การผูกเน็คไทและเสื้ อแขนยาวที่ไม่ อนุญาตให้พบั ฯลฯ แต่พวกเขาก็เคยชินกับวินยั แบบทหารของการศึกษาไทยนี้ เสี ยจนเชื่อว่า สังคมต้องมีผมู ้ ี อำานาจและผูอ้ ยูใ่ ต้อาำ นาจ และการถูกดุด่าลงโทษในระเบียบวินยั แบบทหารพวกนี้ เกิดจากความหวังดีของผู ้ ถือกฎ พวกเขาควรถูกชี้ให้ดูวา่ ทหารยังอยูใ่ นสภาพที่ดีกว่า เพราะวินยั ทหารเกือบทั้งหมดใช้กบั พลทหาร ไล่ไปจนถึงนายพล อย่างไม่มีใครได้รับการยกเว้น แต่ขอ้ อ้างเรื่ องพันธะกิจ และระเบียบวินยั ภายนอกของ นักเรี ยน นักศึกษา ไม่มีผลบังคับต่อครู อาจารย์ผถู ้ ือกฎพวกนั้นเลย ดังนั้นหลักการที่เป็ นสากลในเรื่ องนี้ จึง ไม่มีอยูจ่ ริ ง กลับมาที่เรื่ องความสามัคคีและเกียรติภูมิของสถาบัน นักศึกษาปี หนึ่งทุกคนถูกความคิดเรื่ องนี้ บังคับให้ตอ้ งเข้าร่ วมใน “ประเพณี” ทั้งหลายที่สร้างขึ้นภายใต้ลทั ธิ หมู่คณะนิยม-สถาบันนิยม เราจะต้องตั้ง คำาถามและถกเถียงกับพวกเขาว่าประเพณีที่สืบทอดกันมาในสังคม ที่สร้าง “เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม” ให้ เกิดขึ้นนั้น เป็ นสิ่ งสะอาดบริ สุทธิ์ อย่างที่กล่าวอ้างโดยพวกนักอนุรักษ์นิยมจริ งหรื อ พวกเขาควรจะต้องเรี ยน รู ้วา่ มีประเพณีในโลกมากมายที่ชวั่ ร้าย แต่ที่ยงั คงอยู่ ก็เพราะเป็ นความพอใจของกลุ่มคนที่มีอาำ นาจในสังคม และผูต้ ่อต้านยังมีพลังไม่พอที่จะบังคับให้ยกเลิก แม้แต่ประเพณี “ไหว้ครู ” ที่คิดว่าเป็ นวัฒนธรรมอันงดงาม ของไทยนั้น ก็ยงั อาจถามได้วา่ คือการใช้อาำ นาจหรื อไม่ เพราะครู ถูกยกว่าเป็ นเสมือนพ่อแม่ผใู ้ ห้ชีวิต แต่ไม่มี พ่อแม่คนไหนสัง่ สอนให้ลูกนำาดอกไม้ธูปเทียนมากราบเท้าปี ละหนึ่งรอบ และนี่กไ็ ม่ตรงกับสิ่ งที่เราทำากัน ในวันสงกรานต์เท่าใดนัก ปกติแล้ว พ่อแม่จะเรี ยกร้องให้เรากราบเท้าก็เพื่อให้เราขอขมาที่เรากระทำาผิดต่อ ท่านอย่างรุ นแรงเท่านั้น เราต้องแสดงให้เด็กเห็นว่าประเพณีผนู ้ อ้ ย-ผูใ้ หญ่ของไทย เป็ นเรื่ องของการบังคับให้ยนิ ยอมต่อ อำานาจ และทำาลายความเข้มแข็งทางปัญญาของผูน้ อ้ ยและของสังคมไทยโดยส่ วนรวม เพราะมีการอ้างว่าผู ้ อาวุโสมีประสบการณ์มากกว่า ย่อมรู้ดีกว่า แล้วก็สรุ ปอย่างเกินเลยว่า ผูใ้ หญ่ยอ่ มถูกเสมอและถูกในทุกๆ เรื่ อง (แม้แต่ในเรื่ องที่พวกเขาคิดให้กบั เด็ก!) แต่โลกเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ความคิดเช่นนี้ จึงไร้สาระ อย่างที่สุด ประเด็นก็คือ คนจะยึดติดกับวิธีมองโลกแบบที่ตนเคยชิน และเมื่อนั้นก็จะไม่อาจรับรู ้ความจริ ง ใหม่ๆ ได้ง่ายนัก ปัญหาแบบนี้ เกิดกับคนที่มีกรอบแล้ว มากกว่าคนที่ยงั ไม่มีกรอบ โดยเฉพาะอย่างยิง่ กับคน ที่มีอาำ นาจอยูใ่ นมือ สังคมที่ยดึ ติดกับระบบอาวุโสย่อมขาดพลังในการเรี ยนรู ้ความจริ งใหม่
9
แน่นอนว่าเด็ก และเหยือ่ ของระบบโซตัส (ซึ่งอ้างอาวุโสของ “รุ่ น” ว่าเทียบเท่ากับอาวุโสของพ่อแม่ ครู บาอาจารย์) รู้วา่ มันทำาให้พวกเขาโง่ เพราะพวกเขาไม่มีสิทธิ์ ต้ งั คำาถาม โต้เถียง แสดงความคิด แต่อย่างใด ทั้งสิ้ น แต่พวกเขาก็ยงั เข้าร่ วมในกิจกรรมโซตัสเพราะกลัวถูกสังคมรังเกียจ และต้องยอมทนฟังข้ออ้างเรื่ อง การรักษาประเพณี เกียรติภูมิ เจตนาอันสูงส่งของรุ่ นพี่ที่จะ “ละลายพฤติกรรมแบบปั จเจก” ของรุ่ นน้อง ความรักและความหวังดีที่จะฝึ กความอดทน เพื่อให้สามารถเผชิญการกดดันในอาชีพการงานในอนาคต จน กระทัง่ พวกเขาหลอกตนเองให้เชื่อว่าทั้งหมดนัน่ เป็ นความจริ ง เรารู ้วา่ การยอมทนให้ปัจเจกภาพของตนถูก ทำาลายเช่นนี้คือความขี้ขลาดของคนโง่ (ซึ่งเป็ นความจริ งของคนส่ วนใหญ่ในโลก) แต่การชี้วา่ พวกเขาคือคน ที่กลัวเสรี ภาพ หวังแต่จะพึ่งพิงผูอ้ ื่น กลัวความโดดเดี่ยว กลัวการที่จะต้องรับผิดชอบชีวิตตนเอง อาจไม่ช่วย ำ งการมีตวั ตนที่เล็กกระจ้อยร่ อยของพวกเขา นี่เป็ นปัญหา “ว่า อะไรมากนัก และอาจกลายเป็ นการตอกย้าถึ ด้วยความมีอยู”่ ที่เกิดจากการที่บุคคลไม่อาจมองเห็นค่าของตัวเอง โดยไม่ผา่ นการให้คุณค่าของคนอื่น (การ เล่าถึงความตายที่เกิดจากระบบโซตัส ก็ยงั อาจไม่ช่วยอะไรอยูด่ ี) อาจจะดีกว่า ถ้าเราจะพยายามให้กาำ ลังใจเขา ชี้ให้เห็นว่า บุคคลที่กล้าเผชิญต่อโลกตามลำาพังเท่านั้นที่จะดึงเอาอัจฉริ ยภาพในตัวออกมาได้ เราสามารถให้ ตัวอย่างของคนๆ เดียวที่รู้จริ ง ทุ่มเทพยายามจนแก้ปัญหาที่ใหญ่โตของทั้งสังคมได้ (ข้าพเจ้าเองใช้ตวั อย่าง ใกล้ๆ ตัว ของความพยายามลดอัตราการเกิดของคนไทย ของมีชยั วีรไวทยะ) โลกมีคนเช่นนี้ มากมาย ที่แม้ จะถูกคนชัว่ ฆ่าตาย แต่โลกก็จะไม่มีวนั ยุติการสรรเสริ ญพวกเขา แต่จะพบว่า ไม่วา่ อย่างไร มนุษย์ผมู้ ีตวั ตนเล็กกระจ้อยร่ อยทั้งหลายก็จะคิดหาเหตุผลมารองรับการ ยอมเป็ นทาสสังคมของพวกเขา ซึ่งเด็กนักเรี ยนจะหาเหตุผลมารองรับการยอมตามต่ออำานาจของสังคม ด้วย การอ้างว่ามนุษย์ไม่อาจอยูต่ วั คนเดียวได้จริ ง เพราะ “มนุษย์เป็ นสัตว์สงั คม” ถ้าเด็กคิดว่าคำากล่าวนี้ มีพลัง เพราะออกมาจากปากของนักปรัชญาผูย้ ิง่ ใหญ่ ซึ่งนักสังคมศาสตร์ ท้ งั หลายยกขึ้นมากล่าวอ้างในฐานะ สัจพจน์4 เราก็คงต้องบอกเขาว่านักปรัชญาผูย้ ิง่ ใหญ่คนนั้นก็ยนื ยันด้วยว่า “มนุษย์เป็ นสัตว์การเมือง” ด้วย เหตุผลอย่างที่กล่าวไปแล้ว ซึ่งดูเหมือนว่าครู วิชาสังคมของพวกเขาจะไม่เคยยกมาพูดเลย ทำาไมจึงเป็ นเช่น นั้น? ครู วิชาสังคมของไทยซ่อนเจตนาที่จะทำาให้เด็กเป็ นทาสของสังคมหรื อเปล่า ? นัน่ คือความหวังดีจริ งๆ หรื อ? แต่นนั่ ก็ยงั ไม่อาจชวนให้เขาสลัดโซ่ตรวนของสังคมได้ เพราะเขาจะยังมีความคิดถึงความดีงามทาง ำ ศีลธรรมของตนเองในแบบต่าๆ ย้อนกลับไปที่ ความคิดของพวกเขาที่วา่ สังคมต้องมีผถู ้ ืออำานาจ และความดีเกิดจากการยอมตนอยู่ ใต้อาำ นาจของกฎระเบียบของสังคม แน่นอนว่านี่คือความเชื่อของครู ไทยทุกคน เพราะสังคมไทยไม่มีคาำ สอน 4
ไม่มีพอ่ แม่คนไหนจะสอนลูกอย่างเป็ นจริ งเป็ นจังในคำากล่าวอ้างนี้ อย่างมากที่สุด พ่อแม่กจ็ ะสอนลูกให้มีความเคารพและ อ่อนน้อมต่อญาติผใู้ หญ่ และสอนว่าถ้าพ่อแม่เป็ นอะไรไปก็มีแต่ผทู้ ี่เป็ นญาติเท่านั้นที่จะอุปการะเลี้ยงดูพวกเขาต่อไป
10
เรื่ องศีลธรรมที่ดีไปกว่านี้ คำาว่า “ศีล” แปลว่า “ปกติ” เมื่อคนมีศีล สังคมก็จะเป็ นปกติสุข ในวัฒนธรรมทาง ปั ญญาของไทย เราไม่มีคาำ สอนที่ไปไกลเกินกว่าคำาอธิ บายง่ายๆ ของพุทธศาสนานี้ เลย และสังคมก็คือการที่ คนร้อยพ่อพันแม่มาอยูร่ ่ วมกัน ดังนั้น เพื่อไม่ให้มีการละเมิดซึ่งกันและกันจนสังคมไม่เป็ นปกติสุข ก็ตอ้ งมี การวางกฎเกณฑ์ให้ทุกคนถือปฏิบตั ิ และต้องมีผถู ้ ืออำานาจอาญา เพื่อลงโทษผูฝ้ ่ าฝื น ดังนั้นต้องมีหวั หน้า นักเรี ยน หรื อ “สตาฟปกครอง” เป็ นผูช้ ่วยครู และรักษาความสงบเรี ยบร้อยในหมู่นกั เรี ยน นักศึกษา แม้เรา จะถามเขาว่าใช้กฎหมายของบ้านเมืองก็พอไม่ใช่หรื อ แต่นนั่ ก็แทบไม่ช่วยอะไร เพราะอย่างไรเสี ยพวกเขาก็ จะคิดว่า เด็กดีคือเด็กที่อยูใ่ ต้โอวาทของพ่อแม่ผหู ้ ลักผูใ้ หญ่ คนดีคือคนที่ยอมตนอยูใ่ ต้กฎเกณฑ์ของสังคม พวกเขาเชื่อเอาง่ายๆ ว่ากฎเกณฑ์ที่ผมู้ ีอาำ นาจในสังคมสร้างขึ้น (แม้จะใช้อย่างเป็ นทวิมาตรฐาน) คือสิ่ งที่จะ รักษาความเป็ นปกติสุขของสังคม ดังนั้น การยอมรับกฎเกณฑ์อย่างเชื่องๆ จึงเป็ นความดี นี่คือเหตุผลว่า ทำาไมนักศึกษาถึงภาคภูมิใจที่ผา่ นระบบโซตัส และคิดไปกว่าตนเป็ นคนดีข้ ึนกว่าแต่ก่อน เราจะช่วยให้พวก เขาสลัดโซ่ตรวนอันศักดิ์สิทธิ์น้ี ออกไปจากตนได้อย่างไร? สิ่ งที่เราต้องชี้ให้เขาเห็นก็คือ เขากำาลังคิดถึงมนุษย์ สังคมและศีลธรรม ตามแบบของฮอบส์ ซึ่ง เท่ากับการเห็นว่ามนุษย์ในสภาพ “ธรรมชาติ” นั้นมีเสรี คือมีอาำ นาจที่จะทำาอะไรตามใจปรารถนา แต่กช็ วั่ ร้ายและเห็นแก่ตวั และทุกคนใช้อาำ นาจที่มีอยูใ่ นตน ทำาสงครามแย่งสิ่ งที่ตนปรารถนาจากคนอื่นๆ ทุกคน ผล ก็คือไม่มีชีวิตของใครมัน่ คงปลอดภัย แต่มนุษย์ผเู ้ ห็นแก่ตวั พวกนี้โชคดีที่มีความสามารถในการใช้เหตุผล และเหตุผลบอกพวกเขาว่า เขาแต่ละคนจะมีชีวิตที่มนั่ คงปลอดภัย หากว่าทุกคนยอมลดเสรี ภาพของตัวเอง ลง มาทำาสัญญาต่อกัน ว่าจะไม่ละเมิดต่อกันในสิ่ งใดบ้าง แบ่งอำานาจที่แต่ละคนมีมารวมกันแล้วยกให้ใคร สักคน มอบหมายให้เขาใช้อาำ นาจนั้นดูแลไม่ให้มีใครละเมิดข้อตกลง และนี่คือการเกิดขึ้นของ “สังคม” ซึ่ง ศีลธรรมและกฎหมายก็คือ “สัญญาประชาคม” สิ่ งซึ่งรักษาสังคมให้สงบสุ ข มีอะไรให้ถามได้มากมาย ซึ่งผูเ้ รี ยนควรต้องพยายามตอบ หากกษัตริ ยไ์ ด้อาำ นาจมาจากประชาชน แต่แล้วกลับละเมิดต่อประชาชนเสี ยเอง แม้แต่ต่อประชาชนเพียงผูเ้ ดียว กษัตริ ยก์ ค็ วรต้องถูกถอดถอนใช่ ไหม? ทำาไมครู สอนวิชาสังคมของไทยไม่ยอมสอนเช่นนั้น? จริ งๆ แล้วกฎหมายของบ้านเมืองเองก็อาจ อ ยุติธรรมได้ไม่ใช่หรื อ? ศีลธรรมแบบนี้ เป็ นศีลธรรมจริ งๆ หรื อ เพราะเป็ นการยอมตนต่ออำานาจภายนอก และหวังในสิ่ งตอบแทน (เช่นการที่คนอื่นจะมาร่ วมปกป้ องไม่ให้ใครอื่นมาละเมิดตน)? ศีลธรรมที่แท้จริ ง น่าจะเกิดจากภายในจิตใจของมนุษย์เอง และไม่หวังสิ่ งใดทั้งสิ้ น แม้แต่คาำ สรรเสริ ญ หรื อขอบคุณ ไม่ใช่ หรื อ? แต่คาำ ถามที่สาำ คัญที่สุดคือ เขาแต่ละคนเชื่อเช่นนั้นจริ งๆ หรื อว่าตัวเองชัว่ ร้าย และถ้าไม่มีอาำ นาจ จากภายนอก อย่างเช่น กฎหมาย หรื อศีลธรรมแบบที่โยงอยูก่ บั นรกสวรรค์ มาควบคุมกำากับ พวกเขาจะไม่ รั้งรอที่จะละเมิดผูอ้ ื่น เพื่อให้ได้ทุกอย่างที่ตนเองต้องการ และเราจะพบว่าพวกเขาแต่ละคนก็ไม่เชื่อเช่นนั้น
11
นัน่ หมายความว่า อย่างน้อยที่สุด พวกเขาก็ยงั รับรู ้อย่างคลุมๆ เครื อๆ ว่าตนเองมีความดีบางอย่างที่เกิดจาก ภายใน (ข้าพเจ้าจำาได้วา่ ในสมัยมัธยม ข้าพเจ้าภาคภูมิใจในตนเอง คิดว่าตนเองมีความดีกว่าเด็กทัว่ ๆ ไป เพราะถูกอบรมมาดี ตามแบบฉบับของ “พวกผูด้ ีมีตระกูล” ซึ่งต้องรอจนข้าพเจ้ามีวฒ ุ ิภาวะสูงกว่านั้นอีกมาก ข้าพเจ้าถึงมองเห็นความดีของตน ว่าเป็ นสิ่ งซึ่งไม่วา่ มนุษย์คนไหนก็มีไม่มากไม่นอ้ ยไปกว่ากัน) ถึงจุดนี้ เขาควรต้องรับรู้วา่ มีนกั สัญญาประชาคมอีกหนึ่งคน คือรุ สโซ ซึ่งมองมนุษย์ สังคม และ ศีลธรรม อย่างกลับด้านกับฮอบส์ เขามองว่ามนุษย์ในสภาพ “ธรรมชาติ” มีเสรี ภาพ คือมีอาำ นาจในตนเอง และดีงาม แต่เมื่อเข้ามาสู่สงั คมแล้วจึงชัว่ ร้าย ความชัว่ ร้ายเกิดจากการแก่งแย่งอำานาจและเกียรติยศกันใน สังคม มนุษย์ในสภาพดั้งเดิมมีความรู้สึกเพียงพอในตนเอง แต่มนุษย์เกิดความต้องการที่จะสะสม และเกิด ความเห็นแก่ตวั เมื่อเข้าสู่สงั คมแล้วต่างหาก หากสังคมมีแต่พนั ธนาการมนุษย์กค็ วรจะหนีไปจากสังคมเสี ย แต่สงั คมก็มีขอ้ ดีตรงที่ คนที่มีความชอบที่ตรงกัน จะสามารถมาร่ วมกันทำาในสิ่ งที่พวกเขาแต่ละคนชอบเป็ น ส่ วนตัว เกิดการแลกเปลี่ยนเรี ยนรู้ แล้วแต่ละคนก็จะทำาสิ่ งที่ตนชอบได้ดีกว่าเมื่ออยูต่ วั คนเดียว ดังนั้น เรา ควรสร้างสังคมที่เสรี และเสมอภาค คือสังคมที่ยอมให้มนุษย์เป็ นตัวของตนเองให้มากที่สุด มีกฎเกณฑ์เท่าที่ จำาเป็ นและต้องเกิดจาก “เจตจำานงร่ วมกัน” จริ งๆ ซึ่งมนุษย์จะสามารถรักษาความดีที่มีอยูแ่ ต่ด้ งั เดิมไว้ได้ มากกว่า แต่ถา้ พวกเขาจะยังเชื่อว่ากฎเกณฑ์ต่างๆ ที่มนุษย์ร่วมกันสร้างขึ้นมาคือความถูกต้องอย่างสมบูรณ์ เขาก็จะต้องถูกท้าทายให้คิดว่า เป็ นไปได้ไหมที่บางครั้งการละเมิดกฎหมาย หรื อคำาสอนทางศีลธรรมจะเป็ น สิ่ งที่ถูก แล้วเราใช้อะไรในการบอกว่า ในครั้งนั้น อะไรคือสิ่ งที่ทาำ ให้การกระทำาเช่นนั้นถูก เราต้องถามเขา ว่า ถ้าคนๆ หนึ่งกำาลังจะอดตาย แต่ไม่มีใครที่มีมากจนเกินพอยอมแบ่งอาหารให้เขา เขาย่อมมีสิทธิ์ ที่จะ ขโมยมากกว่าที่จะยอมตายใช่หรื อไม่? นี่คือการละเมิดในทรัพย์สินของผูอ้ ื่นไม่ใช่หรื อ แต่ทาำ ไมมันถึงกลาย เป็ นความถูกต้อง? ทำาไมการที่โรบินฮูดปล้นคนรวยมาให้คนจนจึงเป็ นความถูกต้องทั้งที่ผิดต่อกฎหมาย? ถ้าหมอปฏิเสธที่จะรักษาแม่ของเราทั้งๆ ที่ทาำ ได้ เรามีสิทธิ์ ไหมที่จะใช้อาวุธบังคับหมอให้รักษาแม่เรา หรื อ เราควรจะปล่อยให้แม่เราตายดีกว่าที่จะละเมิดเสรี ภาพของหมอ? ถ้าด้วยสถานการณ์บางอย่าง คนกลุ่มหนึ่ง กำาลังจะอดตาย คนบางคนตายไปก่อน คนที่ยงั ไม่ตายควรแล่เนื้ อของคนตายมากินเพื่อให้ตนเองมีชีวิตรอด ไหม? แต่นี่ขดั กับคำาสอนทางศีลธรรมทุกอย่างที่เราถูกสอนมาไม่ใช่หรื อ? ถ้าเราและพวกเขามีสิ่งที่เรี ยกว่า “มนุษยธรรม” เราและเขาก็ควรจะเห็นตรงกันว่าทั้งหมดที่ยกมา เป็ นตัวอย่างของความผิดต่อกฎกติกาของสังคม ที่เราต้องยอมรับว่าถูกต้องที่จะกระทำา ดังนั้น การคิดว่ากฎ กติกาของสังคม อันได้แก่กฎหมายและจารี ตประเพณี คือความถูกต้องอย่างสมบูรณ์จึงเป็ นแค่ความเขลา ำ ที่บุคคลควรต้องข้ามให้พน้ เราควรต้องยกวรรณกรรมสอนศีลธรรม เป็ นความสำานึกทางศีลธรรมแบบต่าๆ เรื่ อง Les Miserables ของวิคเตอร์ ฮูโก้ มาเล่าให้เขาฟัง เขาควรรู ้เรื่ องราวของตำารวจผูม้ อบชีวิตให้กบั
12
อุดมการณ์ของกฎหมาย ที่จะปกป้ อง “คนดี” จาก “คนเลว” ไล่ล่า “อาชญากร” ผูก้ ระทำาความผิดด้วยการที่ ครั้งหนึ่ง จำาต้องขโมยขนมปังของพ่อค้ามาประทังชีวิต แต่ในชีวิต ไม่เคยประสงค์ร้ายต่อใครเลย ช่วยชีวิต คนทุกคนที่เขาสามารถช่วยได้ แม้แต่ชีวิตของนายตำารวจผูไ้ ล่ล่าตน ให้อภัยเพราะรู ้วา่ เขาทำาไปตามหน้าที่ จนแสดงให้นายตำารวจผูน้ ้ นั เข้าใจในที่สุด ว่ากฎของมนุษย์ผิดพลาดได้เสมอ มีแต่ “กฎของความรักและ มนุษยธรรม” เท่านั้นที่ไม่มีวนั ผิดพลาด แต่เขาจะต้องรับรู้ดว้ ยว่ามนุษย์ไม่เพียงแต่สูญเสี ยเสรี ภาพให้กบั ศีลธรรมชั้นต่าำ หากแต่ยงั สูญเสี ย เสรี ภาพให้กบั การถูกมองในแง่ลบ ว่าไม่อาจรู ้จกั สิ่ งที่ดีงามสำาหรับตนได้ดว้ ยตนเอง ซึ่งถ้าปล่อยให้มีอิสระก็ จะทำาร้ายตนเอง ดังนั้น “ผูป้ กครอง” จึงต้องปกป้ อง “ผูอ้ ยูใ่ ต้ปกครอง” ด้วยการละเมิดต่อเสรี ภาพของพวก เขา ใช้อาำ นาจบังคับ เพื่อให้พวกเขาทำาแต่สิ่งที่ “ดี” สำาหรับตนเอง และไม่สามารถทำาสิ่ งที่ “เลว” ต่อตนเอง นี่คือลัทธิ ปิตานุบาล เกิดขึ้นในครอบครัว สถานศึกษา และในรัฐ นักเรี ยนของเราควรจะต้องรู้ตรรกะในนิยายวิทยาศาสตร์ ของไอซิมอฟเรื่ อง I-Robot เขาวาดภาพว่า เพื่อให้หุ่นยนต์ดูแลรับใช้มนุษย์ หุ่นยนต์จะต้องถูกโปรแกรมด้วยคำาสัง่ พิเศษสามคำาสัง่ คือ หนึ่ง หุ่นยนต์ ต้องทำาทุกอย่างเพื่อความสุขของมนุษย์ สอง หุ่ นยนต์จะต้องไม่ทาำ อันตรายต่อมนุษย์ สาม หุ่ นยนต์จะทำา อันตรายต่อมนุษย์ได้กต็ ่อเมื่อเป็ นการปกป้ องอันตรายที่ใหญ่กว่าสำาหรับมนุษย์ (จำาเป็ นต้องมีกฎข้อที่สามนี้ เพราะถ้าหุ่นยนต์เห็นมนุษย์คนหนึ่งกำาลังทำาร้ายมนุษย์อีกคนหนึ่ง หุ่นยนต์จะได้รู้วา่ อาจทำาร้ายคนที่หนึ่งได้ ในขอบเขตไหน เพื่อที่จะป้ องกันอันตรายที่เขากำาลังทำาต่อคนที่สอง) แต่ทนั ทีที่กฎสามข้อนี้ ไปบวกเข้ากับ ข้อมูลว่ามนุษย์เคยใช้เสรี ภาพมาทำาร้ายกันและกันอย่างบ้าคลัง่ ไร้สติในสงคราม ซึ่งรุ นแรงมากขึ้นเรื่ อยๆ ตามประวัติศาสตร์ หุ่นยนต์กจ็ ะปฏิวตั ิยดึ อำานาจจากมนุษย์ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้มนุษย์สามารถก่อสงครามได้อีก ต่อไป (เพราะคำานวณได้เลยว่าในครั้งนี้ท้ งั โลกและมนุษย์จะไม่มีอะไรเหลือ) แน่นอนว่าไอซิมอฟไม่ได้คิดกฎสามข้ออันยอดเยีย่ มนี้ ดว้ ยตนเอง เขาขอยืมมาจากกฎของพ่อแม่ เมื่อ สลับเปลี่ยนคำาว่า “หุ่นยนต์” ด้วย “พ่อแม่” และ “มนุษย์” ด้วย “ลูก” เราก็จะรู ้ทนั ทีวา่ ทำาไมกฎสามข้อนี้ จึงฟัง ดูคุน้ ๆ นี่ใช่เหตุผลหรื อไม่ ว่าทำาไมพ่อแม่ถึงบังคับลูกในสิ่ งต่างๆ แทนที่จะปล่อยให้ลูกมีอิสระเลือกเอาเอง ว่าจะทำาอะไรไม่ทาำ อะไร ในสถานอุดมศึกษาของไทย คนหนุ่มสาวยังถูกบังคับราวกับเป็ นเด็กเล็กๆ ที่ไม่รู้ ถูกผิดดีชวั่ ไม่รู้วา่ อะไรดีหรื อไม่ดีสาำ หรับตนเอง ยังมีระเบียบบังคับว่านักศึกษาต้องเข้าเรี ยนไม่นอ้ ยกว่า 80 % ของชัว่ โมงเรี ยนทั้งหมด มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์ สอบ คิดราวกับว่า ที่พวกเขาเข้ามาเรี ยนนั้นไม่ใช่เพราะอยาก เรี ยนรู ้ แต่เพราะถูกบังคับ จึงต้องบังคับกันไปให้ตลอด มิฉะนั้นพวกเขาจะเรี ยนไม่จบ คิดว่านักศึกษาที่ไม่ สนใจทำากิจกรรมนอกหลักสูตรเป็ นเด็กน้อยที่ไม่รู้วา่ อะไรดีสาำ หรับตนเอง จึงใช้อาำ นาจบังคับให้มี “หน่วยกิ ตกิจกรรม” เพื่อที่พวกเขาจะได้มี “ทักษะสังคม” ที่นายจ้างต้องการ ซึ่งทำาให้นกั ศึกษาแทบไม่เหลือเวลาให้ กับความสนใจตามปัจเจกภาพของตนเลย
13
เมื่อพวกเขาเข้าใจลัทธิปิตุบาลนี้ แล้ว คำาถามที่เขาจะต้องคิดก็คือ เราควรมองมนุษย์ในแง่ลบหรื อใน แง่บวก? เสรี ภาพจะนำาไปสู่การไม่รับผิดชอบแม้แต่ต่อชีวิตตนเองจริ งหรื อ? คนเราเรี ยนรู ้ความรับผิดชอบ จากการมีเสรี ภาพหรื อจากการไม่มีเสรี ภาพ? เราควรขังผูค้ นไว้ในกรงเพื่อไม่ให้เขาออกไปพบกับอันตราย จริ งหรื อ? มนุษย์ควรถูกบังคับให้ทาำ สิ่ งที่ดีและห้ามไม่ให้ทาำ สิ่ งที่ชวั่ หรื อควรจะปล่อยให้เขาเรี ยนรู ้ผลของสิ่ ง พวกนั้นด้วยตัวเอง? มนุษย์จะไม่ฉลาดขึ้นและดีงามขึ้นจากการได้เรี ยนรู ้อย่างอิสระว่าอะไรดีไม่ดีสาำ หรับ ตนเองดอกหรื อ? ความฉลาดที่ได้มาจากความเชื่อฟัง กับความฉลาดที่ได้มาจากการทดลองเอาด้วยตนเองนั้น อย่างไหนดีกว่ากันกันแน่ ? การเชื่อมัน่ ในเสรี ภาพและพลังในการเรี ยนรู ้ของมนุษย์คือลัทธิ มนุษยนิยม พวก เขาต้องตอบตนเองให้ได้วา่ อยากจะเชื่อในสิ่ งไหน?5 เอาละ ถึงจุดนี้แล้ว พวกเขาได้เรี ยนรู ้ในทุกสิ่ งที่จะปลดปล่อยตัวเองออกจากแอกที่พวกเขาบูชา แม้วา่ ในระดับจิตใต้สาำ นึก พวกเขาอาจมีความกระหายอำานาจแอบซ่อนอยู่ แต่ในระดับจิตสำานึกเขาไม่อาจ หาเหตุผลใดๆ มาสนับสนุนความคิดว่า “อำานาจคือความถูกต้อง” อีกต่อไป แต่สาำ หรับนักศึกษาตั้งแต่ปีสอง ขึ้นไป ยังมีอีกเรื่ องหนึ่งที่พวกเขาจะต้องถูกกระตุน้ ให้คิด นัน่ ก็คือ พวกเขาควรจะปล่อยนักศึกษาปี หนึ่งออก จากอำานาจ เราจะต้องอภิปรายกับพวกเขาอย่างละเอียดว่า ระบบโซตัส-ลัทธิ สถาบันนิยม สร้างให้เกิดชนชั้น และจิตสำานึกแบบอุปถัมภ์ คำาถามก็คือ ลัทธิสถาบันนิยม การนิยามตนเองด้วยรุ่ นและสถาบัน สร้างความดี ความเลว อะไรบ้าง ในสังคม ความสามัคคีที่เกิดจากความรู้สึกว่าเป็ นพวกเดียวกัน อาจพาไปสู่การสร้างความดีในสังคม ตัวอย่าง เช่น การร่ วมกันทำาความดีเพื่อเทิดพระเกียรติ ที่เห็นๆ กันอยู่ แต่เราต้องชี้ให้พวกเขาเห็นว่า มันสามารถที่จะ กลายเป็ นความสามัคคีที่ทรงพลังอย่างยิง่ ในการทำาความเลว ลัทธิ กษัตริ ยน์ ิยมทำาให้คนที่รักกษัตริ ยร์ วมตัว กันฆ่าคนที่พวกตนเห็นว่าไม่รักกษัตริ ย ์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และตอนนี้กลุ่มคนที่รักกษัตริ ยก์ แ็ สดง ความก้าวร้าวอย่างยิง่ กับคนที่พวกตนเชื่อว่าไม่รักกษัตริ ย ์ (ใครที่ไม่รักพ่อ ก็จงออกไปจากแผ่นดินของพ่อ เสี ย) ลัทธิ สถาบันนิยมอาจพาไปสู่การรวมพลังกันทำาความดีในสังคม แต่เมื่อมันเข้าไปอยูใ่ นหน่วยงาน และองค์กรใดๆ มันก็จะพาไปสู่การเล่นสี การเล่นพรรคเล่นพวก ระบบอุปถัมภ์ แล้วในที่สุดก็จะสร้าง องค์กรนั้นให้อ่อนแอ เพราะได้คนที่ไม่มีประสิ ทธิ ภาพสูงสุ ดมาทำางาน และพาไปสู่การร่ วมมือกันทุจริ ต 5
ข้าพเจ้าเชื่อว่า นอกจากเรื่ องทางกายภาพแล้ว เด็กเติบโตไปตามเสรี ภาพที่ได้ รับ แน่นอนว่าการเติบโตหลายๆ อย่างต้องได้ รับการกระตุน้ ที่เหมาะสม พ่อแม่ตอ้ งอยูใ่ กล้ชิด เป็ นเพื่อนเล่น เป็ นเพื่อนคุยแลกเปลี่ยน โต้เถียง และอาจชี้นาำ ในหลายๆ สิ่ ง แต่จะต้องไม่มีการบังคับขืนใจ ยกเว้นแต่ในสิ่ งที่พอ่ แม่สามารถอธิบายต่อเขาด้วยเหตุดว้ ยผล ว่าเป็ นหน้าที่รับผิดชอบของ ตัวเขา ซึ่งถ้าเป็ นวัยที่เหมาะสมกับเรื่ อง เขาก็จะเข้าใจไม่ยาก เช่น เราไม่อาจอธิบายกับเด็กประถม ว่าเขามีหน้าที่ที่จะต้องไป โรงเรี ยน เพื่อเตรี ยมตัวสำาหรับอาชีพการงานในอนาคต แต่เด็กมัธยมจะรู้เรื่ องนี้ ดว้ ยตนเอง
14
โกงกินอย่างเป็ นระบบในหน่วยงานราชการ นี่คือเหตุผลว่าทำาไมระบบราชการไทยจึงเต็มไปด้วยการฉ้อ ราษฎร์ บงั หลวงตลอดมา อย่างไม่เคยพัฒนาขึ้นเลย มีใครสามารถแสดงเหตุผลอื่นที่ดีไปกว่านี้ หรื อไม่? ตกลง แล้วประเทศไทยโชคดีหรื อโชคร้ายกันแน่ ที่ผคู ้ นส่ วนใหญ่มีจิตสำานึกแบบอุปถัมภ์นิยม นี่คือสิ่ งที่พวกเขาจะ ต้องคิด ......................................................... การศึกษาที่ปลดปล่อยคือการสอนคนให้ต้ งั คำาถามกับทุกอย่างในชีวิต การศึกษาที่กดขี่คือการศึกษา ที่สร้างชนชั้นและความแตกต่างในอำานาจ การห้ามไม่ให้ต้ งั คำาถาม การสัง่ ให้เชื่อให้จดจำา การที่ผสู ้ อนคิดว่า ตนเองและความรู้ของตนเองคือสิ่ งศักดิ์สิทธิ์ การตระหนักในสิ่ งหลังคือการเริ่ มต้นของการปลดปล่อย ดัง นั้นแล้ว เราควรจะเลิกเรี ยกร้องให้ผเู้ รี ยนกราบไหว้เราเสี ยที เราควรจะต้องยกเลิกพิธีไหว้ครู ด้วยเหตุผลสอง ประการ หนึ่ง เป็ นการปลดปล่อยผูเ้ รี ยนจากการกดขี่ และสอง เป็ นการสำานึกบาปของผูส้ อน ซึ่งเป็ นการ ปลดปล่อยตัวผูส้ อนเอง ออกจากการยึดติดในตัวตนและสถานะทางสังคม เราจะต้องหยุดเรี ยกกันเองว่าครู อาจารย์ และเลิกภาคภูมิใจกับการที่คนในสังคมเรี ยกเราด้วยคำานำาหน้าเช่นนั้น เสี ยที เราทำาความเลวในนาม ของสถานภาพเช่นนั้นมามากพอแล้ว เราควรเรี ยกกันและกันว่ามิตรสหาย และคิดเสมอว่าเราเป็ น กัลยาณมิตรของผูเ้ รี ยน (สักวันหนึ่งสังคมไทยจะต้องยกเลิกระบบชนชั้น ในฐานะผูม้ ีการศึกษา เราควรจะ ผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ไม่ใช่รอให้สงั คมมาผลักดันเราให้เปลี่ยนแปลงตนเอง). ___________________