1
ว่ าด้ วยเสรีภาพ On Liberty โดย จอห์ น สจ็วต มิลล์ (John Stuart Mill) เอกศักดิ์ ยุกตะนันทน์ แปล
มหาวิทยาลัยขอนแก่ น 2556
2
"ว่าด้วยเสรีภาพ" ของ จอห์น สจ็วต มิลล์ เป็นงานปรัชญา สังคมชิ้นสำาคัญชิ้นหนึ่งของโลกตะวันตก ที่ควรจะได้รับ การนำามาอภิปรายโต้เถียง และประยุกต์ใช้เป็นหลักสำาหรับ การสร้างฐานทางความคิดว่าด้วยเสรีภาพในสังคมไทย ผู้แปล หวังว่างานแปลชิ้นนี้จะก่อประโยชน์สร้างให้เกิดความรักต่อ เสรีภาพและปัจเจกภาพให้มีมากยิ่งๆ ขึน ้ ไปในสังคม เพื่อให้ สังคมไทยเข้มแข็งด้วยฐานคิดทางปรัชญา และพัฒนาไปสู่ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในอนาคต เอกศักดิ์ ยุกตะนันทน์ aksak@kku.ac.th มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556
3
เนื้อ หา เนื ้อหา.................................................................................................................................................3 บทที่1..................................................................................................................................................5 ความนำา...........................................................................................................................................5 บทที่ 2...............................................................................................................................................17 เสรีภาพทางความคิดและการอภิปราย..................................................................................................17 บทที่ 3...............................................................................................................................................50 ว่าด้ วยปั จเจกภาพในฐานะองค์ประกอบแห่งความผาสุกในชีวิต.................................................................50 บทที่ 4...............................................................................................................................................66 ว่าด้ วยขอบเขตของการใช้ อำานาจของสังคมต่อปั จเจก..............................................................................66 บทที่ 5...............................................................................................................................................81 การประยุกต์....................................................................................................................................81 Chapter I: Introductory....................................................................................................................99 Chapter II: Of the Liberty of Thought and Discussion....................................................................111 Chapter III: Of Individuality, as One of the Elements of Well-Being..............................................144 Chapter IV: Of the Limits to the Authority of Society over the Individual.....................................160 Chapter V: Applications.................................................................................................................176
4
5
บทที่1 ความนำา 1.1 เนื้อหาของงานชิ้นนี้ไม่ใช่เรื่ องของสิ่ งที่เรี ยกว่า “เสรี ภาพแห่ งเจตจำานง” ซึ่งเป็ นชื่อที่เรี ยกกัน อย่างผิดๆ ของแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับ “ปรัชญาว่าด้วยความเป็ นไปอย่างจำาเป็ น” แต่เป็ นเรื่ องของ เสรี ภาพของพลเมือง หรื อเสรี ภาพทางสังคม คือ เป็ นเรื่ องของธรรมชาติและขอบเขตของอำานาจซึ่งสังคม สามารถใช้บงั คับต่อบุคคลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เสรี ภาพทางสังคมเป็ นคำาถามที่ไม่ค่อยถูกถาม และ แทบจะไม่เคยมีการอภิปรายในเชิงหลักการ แต่กเ็ ป็ นคำาถามที่มีอิทธิ พลอย่างยิง่ ต่อข้อโต้เถียงในเรื่ อง แนวทางปฏิบตั ิต่างๆ ในยุคสมัยของเรา ซึ่งมีประเด็นเรื่ องเสรี ภาพแห่ งพลเมืองอยูเ่ บื้องหลัง และซึ่งเราก็ น่าจะตระหนักในไม่ชา้ ว่าคำาถามในเรื่ องนี้ มีความสำาคัญอย่างยิง่ ยวดต่ออนาคต คำาถามนี้ไม่ใช่อะไรใหม่ ในแง่หนึ่งแล้ว มนุษยชาติได้แบ่งกันเป็ นฝักเป็ นฝ่ ายมาตั้งแต่อดีตอันไกลโพ้นก็ดว้ ยปั ญหานี้ แต่ในระดับ ของความก้าวหน้า ซึ่งสังคมส่วนที่เป็ นอารยะยิง่ กว่าได้กา้ วเข้าไปสู่แล้วนั้น คำาถามนี้ได้ปรากฏออกมาใน เงื่อนไขใหม่ และเรี ยกร้องให้เราพิจารณา ด้วยวิธีมองที่แตกต่างไปกว่าเดิมอย่างที่ถึงระดับรากฐาน 1.2 การต่อสูข้ บั เคี่ยวกันระหว่าง “เสรี ภาพ” และ “การใช้อาำ นาจควบคุม” เป็ นลักษณะที่ปรากฏชัด ที่สุดในประวัติศาสตร์ซ่ ึงเราคุน้ เคยมาแต่เริ่ มต้น โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในประวัติศาสตร์ ของกรี ก โรมัน และ อังกฤษ แต่ในสมัยเก่า การแข่งขันนี้เป็ นเรื่ องระหว่างผูค้ น หรื อระหว่างผูค้ นบางชนชั้น กับ “รัฐบาล” เสรี ภาพหมายถึงการป้ องกันตนเองต่อการใช้อาำ นาจอย่างเป็ นทรราชโดยผูป้ กครองทางการเมือง ผู ้ ปกครองถูกมองว่าอยูใ่ นสภาพที่เป็ นปฏิปักษ์ต่อผูอ้ ยูใ่ ต้การปกครองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (ยกเว้นแต่กบั รัฐบาลที่มาจากประชาชน บางรัฐบาลของกรี ก) โดยผูป้ กครองมีอาำ นาจหนึ่งเดียว หรื อมาจากกลุ่มที่มี อำานาจ หรื อเผ่าหรื อชนชั้นที่มีอาำ นาจหนึ่งเดียวในการปกครองผูอ้ ื่น ซึ่งได้อาำ นาจมาทางสายเลือด หรื อ ด้วยการรบชนะ ผูซ้ ่ ึง โดยทั้งหมดแล้วไม่ได้ถือครองอำานาจบนความพึงพอใจของผูถ้ ูกปกครอง และเป็ นผู ้ ซึ่งอำานาจอันสูงสุดเด็ดขาดของเขา ไม่มีใครที่จะกล้าต่อกร หรื อแม้แต่ปรารถนาที่จะต่อกรด้วย และไม่วา่ ผูค้ นที่อยูภ่ ายใต้จะคอยระแวดระวังตัวอย่างไรต่อการใช้อาำ นาจเด็ดขาดที่เป็ นไปอย่างกดขี่น้ัน อำานาจของ ผูป้ กครองก็ได้รับการยืดถือว่าเป็ นสิ่ งจำาเป็ น แต่กอ็ าจสร้างอันตรายได้อย่างยิง่ ในฐานะอาวุธที่พวกเขาจะ เอาออกมาใช้ต่อผูท้ ี่อยูใ่ ต้อาำ นาจ ไม่นอ้ ยไปกว่าที่จะเอามาใช้กบั ศัตรู ภายนอก ซึ่งก็คือ เพื่อที่จะป้ องกันไม่
6
ให้สมาชิกที่อ่อนแอกว่าของชุมชนตกเป็ นเหยือ่ ของฝูงแร้งกา จึงเกิดความต้องการให้มีสตั ว์ร้ายตัวหนึ่งที่ แข็งแรงกว่าตัวอื่นๆ ที่เหลือทั้งสิ้ น ที่ได้รับมอบหมายให้คอยคุมพวกนั้นไว้ แต่เนื่องจากราชาของฝูงแร้ง ก็ยอ่ มจะมุ่งล่าเหยือ่ มาสังเวยตนจากฝูงสัตว์ที่อ่อนแอไม่นอ้ ยไปกว่าที่จะล่ามาจากพวกสัตว์ร้ายด้วยกัน จึง เลี่ยงไม่ได้ที่สตั ว์ผอู้ ่อนแอทั้งหลายจะต้องคอยป้ องกันตนจากจะงอยปากและกรงเล็บของราชาแร้งอยู่ ตลอดเวลา ฉะนั้น กลุ่มคนผูท้ ี่รักชาติรักประชาชนจึงมุ่งเป้ าไปที่การจำากัดขอบเขตของอำานาจที่จะอนุญาต ให้ผปู ้ กครองใช้ต่อชุมชน และข้อจำากัดนี้กค็ ือสิ่ งที่เขาเรี ยกว่าเสรี ภาพแห่ งพลเมือง มีความพยายามสร้าง ให้เกิดข้อจำากัดดังกล่าวขึ้นในสองทาง หนึ่ง คือโดยการพยายามทำาให้เกิดการยอมรับในการคุม้ ครองบาง อย่าง เรี ยกว่า สิ ทธิหรื อเสรี ภาพทางการเมือง ซึ่งหากผูป้ กครองละเมิดก็จะถูกถือว่า เป็ นการทำาผิดต่อ หน้าที่ และหากว่าผูป้ กครองเกิดละเมิดขึ้นมาจริ งๆ การต่อต้านในเรื่ องที่เฉพาะเจาะจง หรื อการเป็ นกบฏ โดยรวม ก็จะได้รับการยึดถือว่าถูกต้องด้วยหลักการ หนทางที่สองซึ่งมักเกิดขึ้นภายหลัง ก็คือการพยายาม สร้างการตรวจสอบในรัฐธรรมนูญ ซึ่งความเห็นพ้องของประชาชนหรื อขององค์กรบางอย่าง ซึ่งถือได้วา่ เป็ นตัวแทนของผลประโยชน์ของประชาชน ถูกกำาหนดให้เป็ นเงื่อนไขจำาเป็ นสำาหรับการจะกระทำาการ บางอย่างที่สาำ คัญกว่าปกติของฝ่ ายอำานาจปกครอง ประเทศยุโรปเกือบทั้งหมด ถูกบังคับให้ตอ้ งยอมรับ การสร้างข้อจำากัดของอำานาจในการปกครอง ตามแบบอย่างแรก ไม่มากก็นอ้ ย แต่สาำ หรับการสร้างข้อ จำากัดตามแบบที่สองนั้น หลายๆ ประเทศในยุโรปก็ยงั ไม่เกิดขึ้น หรื อหากเกิดขึ้น ก็เพียงแต่ในระดับหนึ่ง เท่านั้น ผูร้ ักเสรี ภาพทุกหนทุกแห่งจึงตั้งความหวังไว้ที่การทำาให้การสร้างข้อจำากัดแบบที่สองบังเกิดมีข้ึ น อย่างสมบูรณ์ และตราบเท่าที่มนุษยชาติรู้สึกพอใจที่จะสูก้ บั ศัตรู ไปทีละราย และพอใจที่จะถูกปกครอง โดยนายเดียว บนเงื่อนไขของการได้รับการรับประกันให้เชื่อว่าจะบังเกิดผลพอควร ว่าผูเ้ ป็ นนายจะไม่ใช้ อำานาจอย่างเป็ นทรราช พวกเขาก็ไม่มีแรงปรารถนาต่อเสรี ภาพที่สูงเกินไปกว่านั้น 1.3 กระนั้นก็ตาม ในการก้าวไปข้างหน้าของมวลมนุษยชาติ เวลาก็มาถึงแล้ว ที่ผคู ้ นเลิกที่จะคิดว่า เป็ นความจำาเป็ นตามธรรมชาติที่ผทู้ ี่ปกครองของพวกเขาควรจะเป็ นเจ้าของอำานาจอิสระ ซึ่งมีผล ประโยชน์ที่ขดั แย้งกับผลประโยชน์ของพวกเขาเอง ผูค้ นได้มองเห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ผูด้ ูแลอาญาสิ ทธิ์ ทั้งหลายของรัฐควรเป็ นคนที่อยูข่ า้ งล่างพวกเขาและรับมอบอำานาจไปจากเขา ซึ่งเขาอาจถอนสิ ทธิ์ ได้ตาม ำ ความพอใจ เพราะดูเหมือนว่า ด้วยวิธีน้ ี เท่านั้น ที่พวกเขาจะได้รับการค้าประกั นอย่างสมบูรณ์ ว่าอำานาจ ของรัฐบาลจะไม่ถูกหันกลับมาใช้ทาำ ร้ายผลประโยชน์ของพวกเขา ไม่วา่ จะเกิดมีกลุ่มมหาชนขึ้น ณ ที่ใด ก็ตาม ข้อเรี ยกร้องให้ผปู้ กครองมาจากการเลือกตั้งและอยูใ่ นอำานาจเพียงชัว่ คราว ก็จะกลายมาเป็ นเป้ า หมายการผลักดันของพวกเขาไปทีละน้อย และเป้ าหมายนี้กไ็ ด้เข้ามาแทนที่ความพยายามเดิมที่จะจำากัด อำานาจของผูป้ กครอง แต่เมื่อการต่อสูม้ ุ่งไปสู่การทำาให้อาำ นาจปกครองเป็ นสิ่ งที่เกิดออกมาจากการเลือก เป็ นระยะๆ ของผูถ้ ูกปกครอง คนก็เริ่ มที่จะคิดว่า เรื่ องของการจำากัดอำานาจได้รับการให้ความสำาคัญจน เกินไป (อาจดูเหมือนว่า) การจำากัดอำานาจนั้น เป็ นเครื่ องมือที่จะใช้สาำ หรับต่อต้านผูป้ กครอง ที่มีผล ประโยชน์ตรงกันข้ามกับผลประโยชน์ของประชาชนอยูเ่ สมอ ฉะนั้น สิ่ งที่ตอ้ งการจริ งๆ ก็คือ ผูป้ กครอง ควรจะเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกับประชาชน ซึ่งก็คือผลประโยชน์และเจตจำานงของพวกเขาควรจะเป็ นผล
7
ประโยชน์และเจตจำานงของชาติ ชาติไม่ตอ้ งการการปกป้ องจากเจตจำานงของตนเอง ไม่ตอ้ งกลัวต่อการ ใช้อาำ นาจอย่างเป็ นทรราชต่อตนเอง ขอให้ผปู ้ กครองมีความรับผิดชอบอย่างจริ งจังต่อชาติ ขอให้ชาติ สามารถถอดพวกเขาออกจากอำานาจได้ทนั ทีที่ตอ้ งการ เมื่อเป็ นเช่นนั้นแล้ว ชาติกส็ ามารถยอมรับได้ที่จะ ไว้วางใจให้อาำ นาจต่อพวกเขา อย่างที่ตวั ชาติเองก็จะบงการการใช้อาำ นาจไปในทิศทางเดียวกัน อำานาจของ พวกเขาก็คืออำานาจของชาติที่นาำ มารวมกันเข้าไว้และอยูใ่ นรู ปที่สะดวกที่จะใช้น้ ันเอง ความคิดหรื อที่จริ ง อาจเป็ นความรู้สึกรู ปแบบนี้ ปรากฏอยูท่ วั่ ไปในลัทธิเสรี นิยมช่วงหลังของยุโรป ซึ่งในส่ วนของภาคพื้น ทวีปซึ่งลัทธิเสรี นิยมยังคงมีอิทธิพลอยูอ่ ย่างชัดเจน ใครก็ตามที่คิดว่าสิ่ งที่รัฐบาลจะทำาได้น้ นั มีขอบเขต ยกเว้นแต่ในกรณีของรัฐบาลที่พวกเขาคิดว่าไม่อาจเป็ นจริ งได้ ก็จะกลายเป็ นผูท้ ี่คิดต่างอย่างชัดเจนจาก บรรดานักคิดทางการเมืองทั้งหลายของภาคพื้นยุโรป และถึงตอนนี้วิธีคิดแบบเดียวกันนั้นก็อาจแพร่ กระจายอยูท่ วั่ ไปในประเทศของเรา ถ้าหากว่าสถานการณ์เกิดดำาเนินต่อไปอย่างไม่เปลี่ยนแปลง 1.4 แต่ เรื่ องของทฤษฎีทางการเมืองและปรัชญา ก็เป็ นเช่นเดียวกับเรื่ องของบุคคล กล่าวคือความ สำาเร็ จย่อมเปิ ดเผยให้เห็นความผิดพลาดและความอ่อนแอ ซึ่งความล้มเหลวอาจเคยปิ ดบังเอาไว้จากสายตา แนวคิดที่วา่ ประชาชนไม่จาำ เป็ นต้องจำากัดอำานาจที่มีเหนือตนเอง อาจดูเหมือนเป็ นสัจธรรม ในช่วงเวลา ซึ่งรัฐบาลที่มาจากประชาชนเป็ นเพียงแค่ความเพ้อฝัน หรื อเข้าใจกันไปว่าเป็ นสิ่ งที่เกิดขึ้นจริ งก็แต่ใน อดีตกาลอันไกลโพ้น และก็ไม่จาำ เป็ นว่าแนวคิดดังกล่าวจะถูกท้าทายด้วยความผิดปกติที่เกิดขึ้ นเพียงแค่ เป็ นครั้งคราว อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในการปฏิวตั ิฝรั่งเศส ซึ่งสิ่ งที่เลวร้ายที่สุดเกิดขึ้นจากการฉกฉวยของคน ไม่กี่คน และซึ่งไม่วา่ อย่างไร ก็ไม่ได้เกิดขึ้นจากเจตนารมณ์อนั ถาวรของมหาชน แต่เกิดขึ้นจากการต่อสู ้ กับอำานาจเผด็จการของสถาบันกษัตริ ยแ์ ละเหล่าขุนนาง ที่ประทุข้ ึนอย่างรุ นแรงทันทีทนั ใดจนเหนือการ ควบคุม อย่างไรก็ตาม ในวันเวลาซึ่งสาธารณรัฐประชาธิ ปไตยได้ครอบครองดินแดนส่ วนใหญ่ของผิว โลก และได้สร้างให้ตนเองรู้สึกประหนึ่งว่า เป็ นหนึ่งในสมาชิกผูท้ รงอำานาจของเหล่าประชาชาติ รัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้งและมีความรับผิดชอบต่อประชาชนก็กลายมาเป็ นเป้ าของการตรวจสอบและข้อ วิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งกำาลังรอคอยต่อข้อเท็จจริ งอันยิง่ ใหญ่ที่มีอยูจ่ ริ งๆ คือได้เป็ นที่รับรู ้กนั แล้วว่า วลีอย่าง “การปกครองตนเอง” และ “อำานาจของประชาชนเหนือตนเอง” ไม่ได้แสดงออกถึงสภาวะที่เป็ นจริ งของ การเมือง เพราะ “ประชาชน” ผูซ้ ่ ึงใช้อาำ นาจไม่ได้เป็ นพวกเดียวกันกับประชนผูซ้ ่ ึงถูกใช้อาำ นาจ และ “การ ปกครองตนเอง” ที่พดู ถึง ก็ไม่ใช่การปกครองที่คนแต่ละคนมีเหนือตนเอง แต่เป็ นการที่คนแต่ละคนถูก ปกครองโดยคนอื่นที่เหลือ ยิง่ กว่านั้น เจตจำานงของประชาชน เอาเข้าจริ งแล้วก็เป็ นเพียงเจตนารมณ์ของ คนหมู่มาก หรื อของกลุ่มคนส่ วนที่ กระตือรื อร้นในการแสดงออกมากที่สุด ของคนส่ วนใหญ่ หรื อคน พวกที่ประสบความสำาเร็ จในการทำาตนให้เป็ นที่ยอมรับว่าเป็ นคนส่ วนใหญ่ ผลที่ตามมาก็คือ ประชาชน อาจปรารถนาที่จะกดขี่สมาชิกบางส่วนของตนเอง นี่เป็ นสิ่ งที่เราพึงต้องมีขอ้ ระวังอย่างมาก เช่นเดียวกับ การใช้อาำ นาจอย่างผิดๆ ในแบบอื่น ฉะนั้น เมื่อผูถ้ ือครองอำานาจเป็ นผูท้ ี่จะสามารถตรวจสอบได้เสมอโดย สังคม ซึ่งก็คือ โดยกลุ่มที่มีอาำ นาจมากที่สุดในสังคมนัน่ เอง ประเด็นของการจำากัดอำานาจของรัฐบาลเหนือ ปั จเจกบุคคล ก็มิได้สาำ คัญน้อยลงไปเลยแม้แต่นอ้ ย ไม่ใช่เรื่ องยากเลยที่ทศั นะที่วา่ จะต้องมีการจำากัด
8
อำานาจของสังคมเหนือปัจเจกบุคคลนี้ จะยืนยันตนเอง เพราะก็ได้ปรากฏให้เห็นแล้ว ต่อปั ญญาของนักคิด และต่ออุปนิสยั ของชนชั้นสำาคัญๆ ในประชาคมของยุโรป ผูซ้ ่ ึงผลประโยชน์ หรื อสิ่ งที่เขาคิดว่าเป็ นผล ประโยชน์ของเขา กลับถูกระบอบประชาธิปไตยขัดขวาง และในการคิดคำานวณทางการเมือง ก็เป็ นที่ ยอมรับกันทัว่ ไปว่า “ทรราชของเสี ยงส่วนใหญ่” คือหนึ่งในความชัว่ ร้ายที่สงั คมจะต้องป้ องกันไม่ให้เกิด ขึ้น 1.5 โดยหลักๆ แล้ว ในตอนแรก ก็เป็ นที่กลัวกันว่า ทรราชของเสี ยงส่ วนมากจะเกิดขึ้นผ่านการกระ ทำาของผูถ้ ืออำานาจสาธารณะ เช่นเดียวกับทรราชอย่างอื่น แต่เมื่อบุคคลไตร่ ตรอง และรับรู ้วา่ เมื่อตัวสังคม เอง นัน่ ก็คือ สังคมโดยรวมๆ กลายเป็ นทรราชต่อปั จเจกบุคคลแต่ละรายๆ ที่ประกอบขึ้นเป็ นสังคมนั้นเอง หนทางของการใช้อาำ นาจอย่างชัว่ ร้าย จะไม่ได้จาำ กัดอยูก่ บั การกระทำาที่สงั คมอาจจะกระทำาผ่านผูเ้ ป็ นมือ เป็ นไม้ทางการเมืองของสังคม สังคมมีความสามารถที่จะมอบความชอบธรรมให้แก่ตนเอง และสังคมก็ จะทำาอย่างนั้นจริ งๆ และถ้าหากสังคมมอบความชอบธรรมที่ไม่ถูกต้อง แทนที่จะเป็ นความชอบธรรมที่ ถูกต้อง หรื อมอบความชอบธรรมให้ตนเข้าไปจัดการกับสิ่ งที่ตนไม่ควรเข้าไปยุง่ เกี่ยวด้วย ก็จะสร้างความ เป็ นทรราชที่น่าสะพรึ งกลัวยิง่ กว่าการกดขี่ทางการเมืองทั้งหลาย เพราะว่า ถึงแม้วา่ สังคมจะไม่ได้ใช้ อำานาจด้วยการลงอาญาอย่างรุ นแรงอย่างอำานาจรัฐ สังคมจะเปิ ดทนทางไว้นอ้ ยมากที่ใครจะหลุดลอดไป จากอำานาจนั้นได้ จากการที่มนั แทรกซึมลึกเข้าไปในทุกรายละเอียดของชีวิต และจากการที่มนั สร้างความ เป็ นทาสที่ลึกลงไปถึงระดับของจิตวิญญาณ ฉะนั้น การป้ องกันต่อความเป็ นทรราชของผูถ้ ือกฎหมายจึง ยังไม่เพียงพอ หากแต่จาำ เป็ นจะต้องมีการปกป้ องต่อความเป็ นทรราชของเจตคติหรื อความรู ้สึกของคน ส่วนใหญ่ดว้ ย นัน่ ก็คือ เราจะต้องหาทางป้ องกันต่อความต้องการของสังคม ที่จะใช้วิธีการอื่น ที่ไม่ใช่การ ลงโทษทางอาญา เพื่อบังคับให้คนที่ไม่เห็นด้วยต้องยอมตามความคิดและแนวทางการปฏิบตั ิของตน เพื่อ ขัดขวางการเกิดขึ้นและหน่วงเหนี่ยวการเติบโตของปั จเจกภาพที่เข้าไม่ได้กบั แนวทางของตน และบังคับ คนให้ยอมเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพให้เป็ นไปตามแบบฉบับของตน ขอบเขตที่เจตคติของส่ วนรวมจะ สามารถเข้าแทรกแซงต่ออิสรภาพของปัจเจกบุคคลได้อย่างถูกต้อง เป็ นสิ่ งที่มีอยูจ่ ริ ง และการหาขอบเขต นี้ให้พบและรักษาไว้ไม่ให้มีการล่วงล้าำ เป็ นเงื่อนไขที่จาำ เป็ นสำาหรับการมีชีวิตที่ดีของมนุษย์ มากเท่ากับ การป้ องกันต่อเผด็จการทางการเมือง 1.6 แต่ถึงแม้วา่ โดยหลักการแล้วไม่น่าจะมีขอ้ คัดค้านต่อข้อเสนอนี้ แต่สิ่งที่เป็ นคำาถามจริ งๆ ก็คือ จะ กำาหนดขอบเขตนั้นที่ตรงไหน ข้อที่วา่ อิสรภาพส่ วนบุคคลและการควบคุมของสังคมจะพบกันที่ตรงไหน เป็ นเรื่ องที่ยงั ไม่เคยมีการค้นหากันเลยแม้แต่นอ้ ย ทุกสิ่ งทุกอย่างที่ทาำ ให้ชีวิตมีค่าสำาหรับคนๆ หนึ่ง ขึ้นอยู่ กับการควบคุมให้สิ่งที่คนอื่นจะทำากับเขาได้น้ นั จะต้องมีขอบเขต ดังนั้น กฎเกณฑ์บางอย่างของ พฤติกรรม จะต้องถูกตั้งขึ้น แรกเลยก็โดยกฎหมาย และในเรื่ องทั้งหลายที่ไม่เหมาะต่อกฎหมาย ก็ตอ้ ง เป็ นการควบคุมด้วยทัศนคติความคิดเห็น ข้อที่วา่ กฎเหล่านี้ควรจะเป็ นอะไรบ้างนั้น เป็ นคำาถามหลักใน ความสัมพันธ์ของมนุษย์ แต่ถา้ เรายกเว้นกรณีที่เด่นชัดที่สุดสักสองสามกรณี คำาถามนี้กเ็ ป็ นหนึ่งใน บรรดาคำาถามทั้งหลายที่ความพยายามที่จะตอบเท่าที่เคยมีมา ประสพความสำาเร็ จเพียงน้อยที่สุด ไม่มีสอง
9
ยุคสมัยใดๆ และแทบจะไม่มีสองดินแดนใดๆ ที่ได้ตดั สิ นเรื่ องนี้ ตรงกัน และการตัดสิ นของยุคหนึ่งหรื อ ดินแดนหนึ่ง ก็เป็ นสิ่ งที่น่าประหลาดใจของอีกยุคหนึ่ง หรื อของอีกดินแดนหนึ่ง แต่กระนั้น ผูค้ นไม่วา่ จะ ของยุคใดหรื อดินแดนใด ก็ไม่เคยสงสัยในความยุง่ ยากของปั ญหา มากไปกว่าที่จะคิดไปว่ามันเป็ นเรื่ องที่ มนุษยชาติเห็นพ้องต้องกันมาโดยตลอด กฎที่พวกเขากำาหนดขึ้นใช้ระหว่างกันและกันนั้น ปรากฏต่อ พวกเขาประหนึ่งว่าประจักษ์แจ้งและสมเหตุสมผลในตนเอง มายาที่เป็ นสากลนี้ เป็ นหนึ่งในตัวอย่างของ พลังอำานาจอันวิเศษของประเพณี ซึ่งไม่เพียงแค่ เป็ นไปตามสุ ภาษิตคือ ประเพณี เป็ นธรรมชาติที่สองของ มนุษย์ แต่ยงั ถูกยึดถืออย่างผิดๆ มาโดยตลอดด้วย ว่ามนุษย์ได้ธรรมชาติที่สองนี้ มาแต่กาำ เนิด อำานาจของ ประเพณี ในการป้ องกันความหวาดระแวงที่จะมีต่อกฎเกณฑ์ของพฤติกรรมซึ่งมนุษยชาติกาำ หนดบังคับ ต่อกัน เป็ นสิ่ งที่สร้างผลได้อย่างสมบูรณ์ เพราะว่าผูค้ นจะมองไม่เห็นเลยว่าประเพณี เป็ นสิ่ งที่จาำ เป็ นที่ ต้องหาเหตุผลมาอธิบาย ไม่วา่ จะเป็ นเหตุผลที่จะให้ต่อตนเองหรื อผูอ้ ื่น ผูค้ นถูกทำาให้เคยชินที่จะเชื่อ และ ได้รับการสนับสนุนให้เชื่อ โดยคนที่แสดงบุคลิกของความเป็ นปราชญ์ ว่าความรู ้สึกของตนในเรื่ องของ ธรรมชาติที่สองนี้ มีค่าเหนือเหตุผล อันทำาให้เหตุผลไร้ความจำาเป็ น หลักเชิงปฏิบตั ิที่ชกั จูงผูค้ นไปสู่ ทัศนะเกี่ยวกับกฎระเบียบของความประพฤติของมนุษย์ของพวกเขา ก็คือความรู ้สึกในจิตใจของบุคคล แต่ละคน ว่าทุกๆ คนควรจะถูกกำาหนดให้กระทำาตามแบบที่ตวั เขา และคนพวกที่เขารู ้สึกผูกพันด้วย อยาก ให้กระทำา ไม่มีใครเลยที่ยอมรับต่อตนเองว่ามาตรฐานการตัดสิ นของเขาก็คือความชอบของเขาเอง แต่ เจตคติในเรื่ องของพฤติกรรม เมื่อไม่มีเหตุผลรองรับ ก็ตอ้ งถือว่าไม่อาจเป็ นอะไรอื่นนอกจากความชอบ ของบุคคล และถ้าเหตุผลที่ให้มาก็เป็ นเพียงการอ้างถึงความชอบแบบเดียวกันที่คนอื่นรู ้สึก มันก็ยงั คง เป็ นเรื่ องของความชอบอยูน่ นั่ เอง เพียงแต่เป็ นของคนหลายๆ คน แทนที่จะเป็ นของคนๆ เดียว อย่างไร ก็ตาม สำาหรับคนธรรมดา ความชอบของเขาเอง ที่ได้รับการสนับสนุนโดยความชอบของคนอื่น ไม่เพียง แต่จะเป็ นเหตุผลที่น่าพึงพอใจอย่างสมบูรณ์ แต่เป็ นเหตุผลเพียงอย่างเดียวที่เขามีอยูส่ าำ หรับความคิดของ เขาในเรื่ องศีลธรรม รสนิยม หรื อ ความประพฤติที่ถูกต้องเหมาะสม ที่ไม่ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนในคำา สอนทางศาสนาของเขา และก็เป็ นสิ่ งที่เขาใช้เป็ นหลักใหญ่ในการตีความคำาสอนทางศาสนา ทัศนคติ หรื อเจตคติของผูค้ นในเรื่ องของสิ่ งที่น่าชมเชยหรื อน่าตำาหนิ จึงถูกกระทบโดยสาเหตุมากมายหลายอย่าง ซึ่งมีอิทธิพลต่อความปรารถนาของพวกในเรื่ องพฤติกรรมของผูอ้ ื่น ซึ่งก็หลากหลายเท่าๆ กับสาเหตุท้ งั หลายที่มีอิทธิพลความปรารถนาของเขาในเรื่ องอื่นๆ บางครั้งก็เป็ นเหตุผลของเขา บางครั้งก็เป็ นอคติ หรื อความเชื่อแบบไสยศาสตร์ หลายครั้งก็เป็ นเรื่ องของความผูกพันต่อสังคม นานๆครั้งก็อาจเป็ นเรื่ อง ของความรู้สึกต่อต้านสังคม ความอิจฉาริ ษยา แต่ที่เกิดขึ้นมากที่สุดก็คือความปรารถนาหรื อความกลัว สำาหรับตัวเอง ซึ่งก็คือผลประโยชน์ส่วนตัว อันอาจเหมาะสมหรื อไม่เหมาะสม ที่ใดก็ตาม ที่มีชนชั้นที่มี อิทธิ พล ศีลธรรมส่วนใหญ่ของดินแดนก็จะมาจากผลประโยชน์ของชนชั้นนั้น และมาจากความรู ้สึกว่า ชนชั้นของตนเหนือกว่า ศีลธรรมระหว่างสปาตาและเฮลอต ระหว่างเจ้าของที่ดินและทาสนิโกร ระหว่าง ราชวงศ์และคนธรรมดา ระหว่างผูด้ ีและไพร่ ระหว่างผูช้ ายและผูห้ ญิง ทั้งหมดเป็ นผลงานสร้างสรรค์ของ ผลประโยชน์และความรู้สึกทางชนชั้น และอารมณ์ความรู ้สึกที่ถูกสร้างให้เกิดขึ้น ก็หนั มาสร้างผล
10
สะท้อนต่อความรู้สึกทางศีลธรรมของชนชั้นที่มีอาำ นาจ ในความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขากันเอง ในทาง กลับกัน ที่ใดซึ่งชนชั้นที่เคยมีอาำ นาจมาก่อน เสี ยความมีอาำ นาจของตนไป หรื อไม่เป็ นที่ชื่นชอบของ มหาชน ความรู ้สึกทางศีลธรรมที่มีอาำ นาจอยูใ่ นสังคมก็จะให้ภาพของความไม่ชอบแบบใจแคบ ของผูท้ ี่ สำาคัญว่าตนเหนือกว่าผูอ้ ื่น หลักใหญ่ๆ อีกอันหนึ่ง ที่กาำ หนดกฎเกณฑ์ของแบบแผนพฤติกรรม ทั้งใน การกระทำาและการยับยั้งชัง่ ใจ ซึ่งได้รับการควบคุมบังคับโดยกฎหมายและทัศนคติของผูค้ น ก็คือการ ทำาให้มนุษยชาติยอมตนลงเป็ นข้ารับใช้ ต่อสิ่ งที่ตนคิดว่าเป็ นความพึงพอใจหรื อความไม่พึงพอใจ ของเจ้า นายในขณะนั้นของตน หรื อของพระเจ้าของตน การยอมตนเป็ นข้ารับใช้น้ ี แม้วา่ โดยเนื้อแท้แล้วจะเป็ น ไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน แต่กม็ ิได้เป็ นเรื่ องหน้าไหว้หลังหลอก มันก่อให้เกิดความรู ้สึกของความ เกลียดกลัวอย่างเป็ นจริ งเป็ นจัง อันเป็ นเหตุให้มนุษย์จบั พ่อมดหมอผี หรื อคนที่ถูกหาว่าเป็ นปอป และ พวกนอกรี ตมาเผาไฟ ผลประโยชน์เด่นๆ และทัว่ ๆ ไปของสังคม อันเป็ นหนึ่งในบรรดาอิทธิ พลพื้นๆ ก็มี ส่วน ซึ่งก็เป็ นส่ วนที่ใหญ่เสี ยด้วย ในการกำาหนดทิศทางของความรู ้สึกทางศีลธรรม อย่างไรก็ตาม ด้วยตัว ของมันเองแล้ว ก็เป็ นเรื่ องของเหตุผลน้อยกว่าที่เป็ นผลของความรู ้สึกสงสารเห็นใจ และความรู ้สึกไม่พึง พอใจ ที่เกิดตามมาจากผลประโยชน์พวกนั้น และความรู ้สึกสงสารและความรู ้สึกไม่พอใจ ซึ่งเกี่ยวข้อง น้อยมากหรื อแทบจะไม่เกี่ยวข้องเลยกับผลประโยชน์ของสังคม ก็เป็ นสิ่ งที่เรารู ้สึกได้วา่ มีอาำ นาจอัน รุ นแรงในฐานะรากฐานของศีลธรรม 1.7 ความชอบและความไม่ชอบของสังคม หรื อของส่ วนที่มีอาำ นาจของสังคม จึงเป็ นสิ่ งสำาคัญที่ กำาหนดกฎเกณฑ์ให้ผคู้ นต้องปฏิบตั ิตาม ภายใต้การลงโทษของกฎหมายหรื อเจตคติของสังคม และโดย ทัว่ ไปแล้ว บรรดาคนพวกที่มีความคิดและความรู ้สึกก้าวหน้ากว่าสังคม ก็ได้ปล่อยสภาพการณ์น้ ี ไว้ โดย ไม่ได้เข้าไปต่อสู ้ แม้วา่ พวกเขาจะมีขอ้ ขัดแย้งกับมันในรายละเอียดบางประการก็ตาม พวกเขาสนใจที่จะ ค้นหาว่าสังคมควรจะชอบหรื อควรจะไม่ชอบอะไร มากกว่าที่จะถามว่าสิ่ งที่สงั คมชอบหรื อไม่ชอบควร จะเป็ นกฎสำาหรับปัจเจกบุคคลหรื อไม่ พวกเขาพอใจที่จะทุ่มเทความพยายามลงไปในการเปลี่ยนความ รู้สึกของมนุษยชาติ เฉพาะในเรื่ องที่พวกเขาแหกจากจารี ต มากกว่าที่จะพยายามสร้างกระแสของการ ปกป้ องเสรี ภาพให้กบั การแหกจารี ตประเพณีโดยทัว่ ไป กรณี เดียวที่มีการบรรลุไปถึงจุดยืนที่เหนือกว่า ในหลักการ และรักษาไว้ได้อย่างคงเส้นคงวา โดยปั จเจกบุคคลที่กระจายอยูใ่ นที่ต่างๆ ก็คือในเรื่ องของ ความเชื่อทางศาสนา ซึ่งก็สอนอะไรเราหลายๆ อย่าง และก็ได้สร้างตัวอย่างที่ชดั แจ้งที่สุดของความเป็ น ไปได้ สำาหรับการที่สิ่งที่เรี ยกว่าความรู้สึกทางศีลธรรมจะผิดพลาด เพราะว่า odium theologicum (ผูแ้ ปลหมายถึง ความรู ้สึกเกลียดกลัวต่อผูท้ ี่ไม่เชื่อในพระเจ้า ซึ่งเกิดจากความเชื่อว่ามีแต่คนชัว่ เท่านั้นที่จะไม่ เชื่อในพระเจ้า) ในแบบที่ยดึ มัน่ อย่างฝังหัว ก็คือกรณี ที่ชดั แจ้งที่สุดของความรู ้สึกทางศีลธรรมกรณี หนึ่ง คนพวกแรกที่โยนแอกของนิกายที่เรี ยกกันว่าคริ สตจักรสากล (Universal Church) ทิ้ง ก็เป็ นเช่นเดียวกับ ตัวนิกายนั้นนัน่ เอง คือแทบจะไม่เต็มใจที่จะยอมรับความแตกต่างของทัศนคติทางศาสนาเลย แต่เมื่อ ความร้อนแรงของความขัดแย้งจบลง โดยไม่มีฝ่ายใดที่ชนะอย่างเด็ดขาด และแต่ละนิกายของคริ สต์ ศาสนาก็ถูกบังคับให้ยอมลดความหวังที่จะคงพื้นที่ที่ครอบครองอยูเ่ ดิม คนส่ วนน้อย เมื่อมองไม่เห็น
11
โอกาสที่จะกลายเป็ นคนส่วนใหญ่ ก็ยอ่ มตกอยูใ่ ต้ความจำาเป็ นที่จะต้องอ้อนวอนต่อคนพวกที่เขาไม่อาจ เปลี่ยนให้มาเป็ นฝ่ ายตน ให้อนุญาตให้พวกเขาแตกต่างออกไป ในสมรภูมิน้ ีนี่เอง ที่แทบจะเป็ นที่เดียว ที่ สิ ทธิ ของปัจเจกบุคคลที่จะขัดแย้งกับสังคม ได้ถูกประกาศออกมาบนพื้นฐานของหลักการแนวกว้าง และ ข้ออ้างของสังคมที่จะใช้อาำ นาจกับผูท้ ี่ไม่ยนิ ยอม ได้ถูกโต้แย้งตรงๆ นักเขียนผูย้ ิง่ ใหญ่ ผูซ้ ่ ึงโลกเป็ นหนี้ ต่อเขาสำาหรับเสรี ภาพทางศาสนาที่โลกได้รับ ล้วนแต่ยนื ยันว่าเสรี ภาพแห่ งมโนธรรม เป็ นสิ ทธิ ที่ไม่ใคร จะหักล้างได้ และปฏิเสธอย่างเด็ดขาดต่อการที่มนุษย์ผใู ้ ดจะต้องคอยตอบคำาถามของผูอ้ ื่น ในเรื่ องความ เชื่อทางศาสนาของตน แต่กระนั้น มนุษย์กม็ ีธรรมชาติที่จะไร้ขนั ติธรรมในทุกๆ เรื่ องที่ตนห่ วงใยจริ งๆ จนแทบจะไม่มีที่ใดเลยที่เสรี ภาพทางศาสนาได้เกิดขึ้ นจริ ง ยกเว้นแต่ในที่ซ่ ึง พวกที่ไม่สนใจต่อศาสนา ำ กของตนลง ซึ่งไม่ชอบให้สนั ติภาพของตนถูกรบกวนด้วยการทะเลาะวิวาทในเรื่ องเทววิทยา จะเติมน้าหนั บนตาชัง่ ในจิตใจของผูท้ ี่เคร่ งศาสนาแทบทุกคน แม้แต่ในประเทศที่มีขนั ติธรรมมากที่สุด พันธะหน้าที่ที่ จะต้องมีขนั ติธรรมก็ได้รับการยอมรับแบบที่แฝงเงื่อนไข บุคคลหนึ่งอาจจะยอมอดทนต่อความเห็นที่ แตกต่างในเรื่ องการจัดการปกครองของศาสนจักร แต่ไม่ยอมอดทนต่อความเห็นที่แตกต่างในเรื่ องหลัก คำาสอน อีกคนหนึ่งยอมอดทนต่อทุกคนยกเว้นพวก Papist (ผูแ้ ปล-หมายถึงผูท้ ี่เชื่อในอำานาจสูงสุ ดของค ริ สตจักรโรมันคาทอลิก และของพระสันตปาปา) หรื อพวก Unitarian (ผูแ้ ปล-หมายถึงผูท้ ี่ไม่เชื่อในตรี เอกานุภาพของพระเจ้า ได้แก่ การที่พระเจ้าที่เป็ นหนึ่ง ปรากฏในสามรู ป คือ พระบิดา พระบุตร พระจิต) อีกคนหนึ่งไม่ยอมอดทนต่อใครก็ตามที่เชื่อในศาสนาที่ได้มาจากวิวรณ์ (ผูแ้ ปล-หมายถึงการที่พระเจ้ามา ปรากฏและบอกคำาสอนต่อเขาโดยตรง) มีคนไม่กี่คนยอมขยายความใจบุญของเขาออกไปอีกนิดหนึ่ง แต่ ก็ไม่ยอมขยายไปถึงความเชื่อในพระเจ้าหรื อรัฐแห่ งอนาคต ณ ที่ใดก็ตามที่อารมณ์ความรู ้สึกของคนส่ วน ใหญ่ยงั คงรุ นแรง และเป็ นอารมณ์ความรู ้สึกอันแท้จริ ง เราก็จะพบว่า พวกคนส่ วนใหญ่น้ นั จะยอมลดการ บังคับคนอื่นให้ตอ้ งยอมตามอารมณ์ความรู ้สึกของพวกเขา ก็แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น 1.8 ในอังกฤษ จากสภาพแวดล้อมอันพิเศษของประวัติศาสตร์ การเมืองของเรา ถึงแม้วา่ แอกของ ทัศนคติผคู้ นในประเทศของเราอาจจะหนักกว่าของประเทศอื่นๆ ในยุโรป แต่แอกของกฎหมายของเราก็ เบากว่า และก็มีความไม่พอใจอยูไ่ ม่ใช่นอ้ ย ต่อการที่อาำ นาจทางกฎหมาย หรื ออำานาจทางการบริ หารจะ เข้าไปแทรกแซงตรงๆ ในเรื่ องของพฤติกรรมส่ วนตัว ซึ่งก็ไม่ใช่วา่ มาจากการเคารพต่ออิสรภาพของ ปั จเจกชน มากเท่ากับที่มาจากนิสยั ที่ยงั มีอยูท่ ี่จะมองรัฐบาลว่าเป็ นตัวแทนของผลประโยชน์ที่ตรงกันข้าม กับของสาธารณะชน คนส่วนใหญ่ของสังคมยังคงไม่รู้สึกว่าอำานาจของรัฐบาลคืออำานาจของตนเอง หรื อ ความคิดเห็นของรัฐบาลก็คือความคิดเห็นของตน หากพวกเขาเห็นเช่นนั้นเมื่อใด เสรี ภาพของปั จเจกก็จะ ถูกรุ กรานจากรัฐบาล มากเท่ากับที่ถูกรุ กรานอยูแ่ ล้วจากทัศนคติความคิดเห็นของสาธารณะชน แต่ กระนั้น ก็มีความรู้สึกที่รุนแรงไม่นอ้ ย ที่พร้อมที่จะถูกนำาออกมาต่อต้านความพยายามใดๆ ของกฎหมายที่ จะควบคุมปัจเจกชน ในสิ่ งซึ่งพวกเขาไม่เคยชินมาก่อนที่จะให้กฎหมายมาควบคุม และก็เป็ นความรู ้สึกที่ รู ้จกั แยกแยะน้อยมาก ว่าอะไรเป็ นเรื่ องที่อยูใ่ นขอบเขตอันถูกต้องของการควบคุมทางกฎหมาย หรื อว่าไม่ เป็ น มากเท่าๆ กับที่ความรู้สึกนั้น แม้วา่ โดยรวมแล้วจะน่าชื่นชม บางทีกจ็ ะถูกใช้อย่างผิดพลาด บ่อยๆ
12
เท่ากับที่ถูกต้องในกรณีเฉพาะแต่ละกรณี โดยข้อเท็จจริ งแล้ว เท่าที่เป็ นมานั้น เราไม่รู้เลยว่าอะไรคือหลัก การที่จะใช้มาทดสอบความถูกต้องเหมาะสม หรื อไม่เหมาะสม สำาหรับการที่รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงต่อ พฤติกรรมของบุคคล ผูค้ นตัดสิ นเรื่ องนี้ ไปตามความพึงพอใจส่ วนตัวของตน สำาหรับบางคน เมื่อใด ก็ตามที่เขาเห็นว่าจะต้องสร้างความดีให้เกิดขึ้น หรื อจะต้องแก้ไขความชัว่ เขาก็จะเต็มใจที่จะกระตุน้ รัฐบาลให้เข้ารับผิดชอบดำาเนินการ ในขณะที่คนอื่นจะพอใจที่จะอดทนต่อความชัว่ ร้ายทางสังคมไม่วา่ จะ ขนาดไหน มากกว่าที่ยอมเพิ่มให้มนั เข้าไปเป็ นอีกส่ วนหนึ่งที่จะให้รัฐเข้าไปใช้อาำ นาจควบคุม และใน กรณี ใดก็ตาม คนก็จะเลือกเข้าพวกกับฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่ง ไปตามทิศทางกว้างๆ ของความรู ้สึกทางจิตใจของ พวกเขา หรื อเป็ นไปตามระดับของผลประโยชน์ที่เขารู ้สึกถึงในเรื่ องที่มีการเสนอให้รัฐบาลเข้าไปดูแล หรื อเป็ นไปตามความเชื่อที่พวกเขามีอยูว่ า่ รัฐบาลจะทำาในลักษณะที่เขาพอใจให้ทาำ หรื อไม่ แต่แทบจะ ไม่มีเลย ที่พวกเขาจะเลือกบนเหตุผลของข้อคิดเห็นที่พวกเขายึดถืออย่างคงเส้นคงวา ว่าอะไรคือสิ่ งที่ เหมาะสมหรื อไม่เหมาะสมที่รัฐบาลจะเข้าไปจัดการ และสำาหรับผมแล้วดูเหมือนว่าผลที่ตามมาจาก การ ไร้กฎเกณฑ์หรื อหลักการ เท่าที่เป็ นอยูต่ อนนี้ กค็ ือ ทั้งฝ่ ายสนับสนุนและฝ่ ายค้านก็มกั จะผิดพอๆ กัน กล่าว คือรัฐบาลเองถูกเรี ยกร้องอย่างไม่เหมาะสมให้เข้าแทรกแซงต่อพฤติกรรมของบุคคล บ่อยเท่าๆ กับที่ถูก ประณามอย่างไม่เหมาะสมในการเข้าไปทำาดังกล่าว 1.9 งานเขียนชิ้นนี้มีเป้ าหมายที่จะยืนยันหลักการง่ายๆ ข้อหนึ่งที่จะใช้เป็ นข้อตัดสิ นสูงสุ ด สำาหรับ การที่สงั คมจะเข้าไปยุง่ เกี่ยวกับปัจเจกบุคคล ในลักษณะของการเข้าไปบังคับควบคุม ไม่วา่ วิถีที่ใช้จะเป็ น อำานาจทางกายภาพของการลงโทษทางกฎหมาย หรื อแรงบังคับทางศีลธรรมของเจตคติท่าทีของสังคม หลักการข้อนั้นก็คือ เป้ าหมายเพียงประการเดียวที่มนุษยชาติจะมีเหตุผลรองรับอย่างถูกต้องด้วยหลักการ ไม่วา่ จะเป็ นรายบุคคลหรื อรวมกันเป็ นกลุ่ม ในการเข้าไปแทรกแซงต่อเสรี ภาพทางการกระทำาของสมาชิก ผูห้ นึ่งผูใ้ ดของตน ก็คือเพื่อการป้ องกันตนเอง นัน่ ก็คือ จุดประสงค์เพียงประการเดียว ที่อาำ นาจจะสามารถ ถูกนำาออกมาใช้ ต่อสมาชิกของประชาคมแห่งอารยชนทั้งหลาย อย่างที่ขดั ขืนต่อเจตจำานงของเขา ก็คือ เพื่อป้ องกันผูอ้ ื่นจากอันตราย ประโยชน์สุขของเขาเอง ไม่วา่ จะในทางกายภาพหรื อในทางศีลธรรมไม่ใช่ เหตุผลรองรับที่เพียงพอ เขาไม่อาจจะถูกบังคับให้กระทำาหรื อละเว้นที่จะกระทำา เพราะจะเป็ นการดีกว่า สำาหรับเขา เพราะว่ามันจะทำาให้เขามีความสุขมากขึ้น หรื อเพราะว่า ในความคิดของคนอื่นแล้ว การทำาดัง่ ว่าจะเป็ นการฉลาด หรื อเป็ นเรื่ องที่ถูกต้อง ของพวกนี้เป็ นเหตุผลที่ดีสาำ หรับที่จะยกขึ้นมาพูดคัดค้านหรื อ ชักจูงเขา แต่ไม่ใช่เหตุผลที่ดีที่จะบังคับหรื อทำาร้ายเขา หากเขาจะไม่ทาำ ตาม การจะทำาสิ่ งนั้นได้ดว้ ยเหตุ อันควร ตัวพฤติกรรมที่เราปรารถนาจะขัดขวาง จะต้องผ่านการคิดคำานวณแล้วว่าจะเป็ นการทำาร้ายผูอ้ ื่น พฤติกรรมส่ วนเดียวของคนๆ หนึ่ง ซึ่งเขาจะต้องยอมโอนอ่อนต่อสังคม ก็คือพฤติกรรมที่เข้าไปเกี่ยวข้อง กับผูอ้ ื่น ในเรื่ องใดก็ตามที่เกี่ยวเฉพาะกับตัวเขาเอง ความเป็ นเอกเทศของเขาเป็ นสิ ทธิ อนั สมบูรณ์ นัน่ ก็ คือ ปั จเจกบุคคลย่อมทรงอำานาจสิ ทธิ์ขาดเหนือตัวเขาเอง เหนือร่ างกายและจิตใจของเขา 1.10 คงไม่จาำ เป็ นที่จะต้องกล่าวว่า หลักคำาสอนนี้ ใช้เฉพาะกับมนุษย์ที่สมรรถภาพต่างๆ ของเขาบรรลุ ำ าที่กฎหมายกำาหนดว่าบรรลุ วุฒิภาวะแล้วเท่านั้น เราไม่ได้กาำ ลังพูดถึงเด็กๆ หรื อผูเ้ ยาว์ที่อายุต่ากว่
13
นิติภาวะ คนผูซ้ ่ ึงยังต้องอยูใ่ นการดูแลของผูอ้ ื่น จะต้องถูกป้ องกันจากการกระทำาของพวกเขาเอง เช่น เดียวกับจากอันตรายภายนอก ด้วยเหตุผลเช่นเดียวกัน ข้อพิจารณาของเราของย่อมไม่อาจใช้กบั สังคมที่ ยังล้าหลังทั้งหลาย ซึ่งเผ่าพันธุ์มนุษย์ในสังคมเช่นนั้นอาจถูกถือว่ายังเป็ นผูเ้ ยาว์ ในช่วงเริ่ มต้นของการ สร้างความก้าวหน้า ปัญหาข้อยุง่ ยากเป็ นสิ่ งที่หนักมาก จนแทบไม่มีวิถีใดๆ ให้เลือก ดังนั้น ย่อมเป็ นเรื่ อง ที่สมควรต่อเหตุผล ที่ผปู้ กครองซึ่งเต็มเปี่ ยมด้วยจิตวิญญาณแห่ งความก้าวหน้า จะใช้วิถีใดก็ได้เพื่อไปให้ ถึงเป้ าหมาย ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วก็จะไม่มีทางไปถึง ลัทธิ เผด็จการเป็ นรู ปแบบการปกครองที่ถูกต้องสำาหรับ ใช้กบั พวกที่ยงั ป่ าเถื่อน ถ้าหากมีเป้ าหมายอยูท่ ี่พฒั นาการของคนเหล่านั้น และถ้าวิถีที่ใช้พาไปสู่เป้ าหมาย นั้นได้จริ งๆ ในฐานะหลักการ เสรี ภาพย่อมไม่อาจใช้กบั สภาวการณ์ก่อนหน้าเวลาที่มนุษยชาติจะเติบโต จนสามารถที่จะพัฒนา ด้วยการอภิปรายโต้เถียงอย่างอิสระและเท่าเทียมกัน จนกว่าจะถึงเวลาเช่นนั้น มนุษย์จกั ต้องยอมเคารพเชื่อฟังอย่างไร้คาำ ถาม ต่อคนอย่างมหาราชาอักบาร์ (Akbar the Great) หรื อต่อคน อย่างกษัตริ ยช์ าร์ลิแมน (Charlemagne) ถ้าพวกเขาโชคดีพอที่ได้อยูใ่ ต้การปกครองของคนเช่นนั้น แต่ ทันทีที่มนุษยชาติบรรลุซ่ ึงความสามารถที่จะอาศัยการชักจูงใจ หรื อความเชื่อมัน่ ต่อเหตุผล มานำาทางการ พัฒนาตนเอง (ซึ่งชาติต่างๆ ของยุโรปได้กา้ วถึงมานานแล้ว) การบังคับไม่วา่ จะโดยตรง หรื อโดยอาศัย การลงโทษเมื่อขัดขืน ก็ไม่อาจยอมรับว่าเป็ นหนทางไปสู่ประโยชน์สุขของพวกเขาเองได้อีกต่อไป และ จะเป็ นความถูกต้องก็แต่เพียงเพื่อความปลอดภัยของคนอื่นเท่านั้น 1.11 เป็ นการเหมาะสมที่จะกล่าวว่าผมยอมสละข้อได้เปรี ยบใดๆ ก็ตามที่ขอ้ โต้เถียงของผมอาจได้รับ จากความคิดเรื่ องสิ ทธิในแบบนามธรรม คือในฐานะสิ่ งที่เป็ นเอกเทศจากประโยชน์สุข ผมถือว่า ประโยชน์สุขคือคำาตอบสูงสุดของคำาถามทางจริ ยะ แต่มนั ต้องเป็ นประโยชน์สุขในความหมายที่กว้าง ที่สุด ตั้งอยูบ่ นผลประโยชน์อนั ถาวรของมนุษย์ในฐานะของสิ่ งมีชีวิตที่กา้ วหน้า ผมยืนยันว่า ผล ประโยชน์เหล่านั้นให้อาำ นาจต่อการที่จะนำาความเป็ นตัวของตัวเองของปั จเจกบุคคล มาไว้ภายใต้การ ควบคุม ก็ต่อเมื่อ การกระทำาเหล่านั้นของปั จเจกบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของคนอื่น ถ้าใคร สักคนกระทำาสิ่ งที่ทาำ ร้ายต่อผูอ้ ื่น ก็ยอ่ มมีเหตุอนั ควรในเบื้องต้นให้ลงโทษเขาโดยกฎหมาย หรื อถ้าการ ลงโทษทางกฎหมายไม่ใช่สิ่งที่จะใช้ได้อย่างปลอดภัย ก็เป็ นการลงโทษโดยผ่านการประณามของผูค้ นทั้ง หลาย และก็มีการกระทำาหลายอย่างที่มีค่าเชิงบวกต่อประโยชน์สุขของผูอ้ ื่น ซึ่งเป็ นเรื่ องถูกต้องที่เราอาจ บังคับให้เขากระทำา อย่างเช่น การให้ปากคำาต่อศาลสถิตย์ยตุ ิธรรม การเข้าร่ วมในการป้ องกันส่ วนรวม หรื อในงานอื่นที่ตอ้ งทำาร่ วมกัน ซึ่งเป็ นสิ่ งจำาเป็ นต่อผลประโยชน์ของสังคม และซึ่งเขาเองก็ได้ประโยชน์ จากการทำางานเหล่านั้น และการกระทำาในสิ่ งที่เป็ นความเมตตาส่ วนตัว อย่างเช่นการช่วยชีวิตของเพื่อน มนุษย์ หรื อการเข้าแทรกเพื่อปกป้ องคนที่อ่อนแอจากการถูกทำาร้ายรังแก สิ่ งซึ่งเมื่อใดก็ตามเป็ นที่ชดั เจน ว่าเป็ นหน้าที่ของบุคคล ก็ยอ่ มเป็ นการถูกต้องที่เขาจะต้องถูกสังคมประณาม หากเขาไม่กระทำา คนเรา อาจทำาความชัว่ ร้ายให้เกิดแก่บุคคลอื่น ไม่เพียงจากการกระทำาของเขา แต่จากการเว้นที่จะกระทำาด้วย และ ในทั้งสองกรณีกย็ อ่ มยุติธรรมแล้วที่เขาจะต้องรับผิดชอบต่อความสูญเสี ยที่เกิดขึ้ น เป็ นความจริ งที่วา่ กรณี หลังต้องการความรอบคอบในการใช้อาำ นาจบังคับมากกว่ากรณี แรก เป็ นกฎทัว่ ไปว่า หากใครทำาชัว่
14
ต่อผูอ้ ื่น เขาจะต้องรับผลจากการกระทำาของเขา แต่การให้เขาต้องรับผลจากการไม่ป้องกันความชัว่ เทียบ แล้วก็เป็ นกรณี พิเศษ แต่กม็ ีกรณีมากมายที่ชดั เจนและเป็ นเรื่ องสำาคัญที่จะต้องยอมให้มีการกำาหนดเป็ น พิเศษดังว่านั้น ในทุกอย่างที่เป็ นเรื่ องของความสัมพันธ์ภายนอกของบุคคล เขาย่อมจะต้องรับผิดชอบต่อ บรรดาผูค้ นที่ประโยชน์สุขของพวกเขาถูกกระทบกระเทือน และถ้าจำาเป็ นก็จะต้องรับผิดชอบต่อสังคม ในฐานะผูป้ กป้ องคนพวกนั้น บางครั้งก็อาจมีเหตุผลดีที่จะไม่ให้เขาต้องรับผิดชอบ แต่เหตุผลเหล่านี้ ก็ ต้องเกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่เป็ นพิเศษในกรณีน้ นั ๆ ซึ่งก็เป็ นเพราะ มันเป็ นกรณี ประเภทที่ โดยภาพรวม แล้ว เขาน่าจะกระทำาได้ดีกว่า หากปล่อยให้เป็ นการไตร่ ตรองของเขาเอง มากกว่าที่จะเป็ นไปในลักษณะที่ สังคมใช้อาำ นาจเข้าไปบังคับควบคุมให้เขากระทำา หรื อไม่กเ็ พราะว่าการพยายามจะใช้อาำ นาจบังคับจะก่อ ผลทางร้ายแบบอื่น ที่ร้ายแรงกว่าสิ่ งที่มนั พยายามที่จะป้ องกัน เมื่อเหตุผลเช่นว่านี้ ขดั ขวางต่อการบังคับให้ คนต้องรับผิดชอบ มโนธรรมของตัวบุคคลเองก็ควรจะก้าวเขามาเป็ นผูพ้ ิพากษา และเข้ามาให้การปกป้ อง ต่อผลประโยชน์เหล่านั้นของคนอื่น ซึ่งไม่มีการปกป้ องจากภายนอก ซึ่งเขาย่อมพิพากษาตัวเองอย่างเข้ม งวดยิง่ กว่า เพราะว่ากรณีที่เกิดขึ้นนั้นไม่ทาำ ให้เขาเป็ นผูท้ ี่ตอ้ งยอมรับต่อการพิพากษาตัดสิ นของเพื่อน มนุษย์ 1.12 แต่หากเราพิจารณาสังคมว่าแยกต่างหากจากปั จเจกบุคคลแล้ว ก็ยอ่ มมีอาณาบริ เวณหนึ่งของ การกระทำา ที่สงั คมมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องก็แต่โดยอ้อม ด้วยการเข้าใจว่า ส่ วนทั้งหมดของที่เป็ นเรื่ อง ส่วนบุคคลและเป็ นพฤติกรรมที่มีผลก็แต่เฉพาะแก่ตวั เขาเอง หรื อถ้าไปมีผลต่อคนอื่นๆ ก็เป็ นไปด้วย ความยินยอมพร้อมใจ ไม่ถูกหลอก และเป็ นการเข้าไปมีส่วนร่ วมอย่างเป็ นอิสระของคนพวกนั้นเอง เมื่อ ผมพูดว่ามีผลเฉพาะต่อตัวเขาเอง ผมหมายถึงอย่างที่เป็ นเรื่ องโดยตรง และเป็ นเบื้องต้น เพราะอะไรก็ตาม ที่มีผลต่อตัวเขาเอง อาจมีผลต่อคนอื่นผ่านทางตัวเขา และข้อคัดค้านที่อาจวางอยูบ่ นผลทางลบที่อาจเกิด ตามมานี้ ก็ยอ่ มจะได้รับการพิจารณาเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นว่าตามมา ดังนั้น นี่จึงเป็ นอาณาเขตที่ถูกต้อง เหมาะสมของเสรี ภาพของมนุษย์ ประการที่หนึ่ง มันเป็ นด้านภายในของมโนสำานึก ซึ่งเรี ยกร้องเสรี ภาพ ของมโนธรรม ในความหมายที่ครอบคลุมอย่างกว้างที่สุดและลึกที่สุด มันเรี ยกร้องต่อเสรี ภาพของความ คิดและความรู ้สึก เสรี ภาพสูงสุดในความคิดเห็น และความรู ้สึกทางจิตใจในเรื่ องทั้งหลายทั้งปวง ไม่วา่ จะ เป็ นเรื่ องเชิงปฏิบตั ิหรื อเชิงแนวคิด เรื่ องของวิทยาศาสตร์ ศีลธรรม หรื อเรื่ องทางศาสนา แม้อาจดูเหมือน ว่าเสรี ภาพของการแสดงออก และการตีพิมพ์เผยแพร่ ทศั นคติความคิดเห็น จะอยูภ่ ายใต้หลักการคนละข้อ เพราะมันเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของปัจเจกชนในส่ วนที่เข้าไปยุง่ เกี่ยวกับผูอ้ ื่น แต่เนื่องจากมันมีความ สำาคัญเกือบจะเท่าเทียมกับตัวเสรี ภาพของความคิดเอง และโดยส่ วนใหญ่แล้วตั้งอยูบ่ นเหตุผลเดียวกัน จึง เป็ นเรื่ องที่ในทางปฏิบตั ิแล้วไม่อาจแยกจากกันได้ ประการที่สอง หลักการนี้กาำ หนดว่าคนต้องมีเสรี ภาพ ในเรื่ องของรสนิยมและเป้ าหมายชีวิต ในการวางแผนชีวิตที่เหมาะกับธรรมชาติของนิสยั ใจคอของตนเอง ในการทำาอย่างที่เราพอใจจะทำา โดยอยูภ่ ายใต้เงื่อนไขคือ ต้องไม่มีการขัดขวางจากเพื่อนมนุษย์ ตราบเท่า ที่สิ่งที่เราทำาไม่ได้เป็ นอันตรายต่อเขา แม้วา่ พวกเขาจะคิดว่าเราโง่ หรื อ ไร้สาระ หรื อคิดว่าเราผิด ก็ตาม ประการที่สาม จากเสรี ภาพของปัจเจกชนแต่ละคน ตามมาด้วยเสรี ภาพที่ปัจเจกจะเข้ามารวมตัวกัน อย่าง
15
ที่อยูใ่ ต้ขอ้ จำากัดเดียวกัน คือเป็ นเสรี ภาพที่จะรวมตัวกันเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่ไม่เกี่ยวข้องกับการ ทำาอันตรายต่อผูอ้ ื่น โดยคนที่เข้ารวมกลุ่มกันนั้นจะต้องเป็ นผูท้ ี่มีวฒ ุ ิภาวะ ไม่ได้ถูกบังคับหรื อหลอกลวง 1.13 ไม่มีสงั คมใดที่ในภาพรวมแล้วจะเป็ นสังคมที่เสรี ไม่วา่ จะอยูใ่ นรู ปแบบการปกครองแบบใด หากเสรี ภาพเหล่านี้ ไม่ได้รับการเคารพ และไม่มีสงั คมใดที่เสรี อย่างสมบูรณ์ หากเสรี ภาพเหล่านี้ ไม่ได้มี อยูอ่ ย่างสมบูรณ์ปราศจากเงื่อนไข เสรี ภาพประการเดียวที่สมควรแก่ชื่อของมัน ก็คือเสรี ภาพที่จะไขว่คว้า หาสิ่ งที่ดีมีค่าแก่เราเอง ด้วยวิธีของเราเอง ตราบใดที่เราไม่ได้พยายามที่จะแย่งชิงสิ่ งที่ดีมีค่ามาจากคนอื่น หรื อขัดขวางความพยายามที่จะแสวงหาสิ่ งที่ดีมีค่าของพวกเขา คนแต่ละคนคือผูป้ กป้ องสุ ขภาพของเขา เอง ไม่วา่ จะเป็ นทางกาย ทางความรู้สึกนึกคิด หรื อทางจิตวิญญาณ มนุษยชาติจะมีความสุ ขมากขึ้น จาก การที่ปล่อยให้คนแต่ละคนมีชีวิตอย่างที่เขาเห็นว่าดีสาำ หรับเขาเอง มากกว่าจากการบังคับให้คนแต่ละคน มีชีวิตตามแบบที่คนอื่นๆ ที่เหลือเห็นว่าดี 1.14 ถึงแม้วา่ หลักคำาสอนนี้ จะไม่ใช่อะไรที่ใหม่เลย และบางคนก็เห็นว่าเป็ นจริ งอย่างที่ไม่มีอะไรให้ ต้องพูดกันอีกแล้ว แต่กไ็ ม่มีหลักคำาสอนใดที่จะขัดแย้งโดยตรง กับแนวโน้มทัว่ ไปของทัศนคติและการ ปฏิบตั ิที่เป็ นจริ งอยู่ ยิง่ ไปกว่าหลักคำาสอนนี้ สังคมได้ทุ่มเทความพยายามในการบังคับผูค้ นให้คล้อยตาม ไปกับแนวคิดของสังคมในเรื่ องความสูงส่ งดีงามส่ วนบุคคล มากเท่าๆ กับที่ได้ทุ่มเทให้กบั ความสูงส่ งดี งามทางสังคม สมาพันธรัฐสมัยโบราณคิดว่าตนเองมีสิทธิ ในการที่จะใช้อาำ นาจของสาธารณะชนในการที่ จะกำาหนดกฎเกณฑ์ให้กบั พฤติกรรมส่ วนตัวทุกๆ อย่าง และนักปรัชญาโบราณก็ร่วมสนับสนุน บนพื้น ฐานที่วา่ รัฐมีผลประโยชน์อนั สำาคัญอยูใ่ นเรื่ องของวินยั ทางกายและทางจิต ของพลเมืองทุกคนของตน ซึ่ง ก็เป็ นรู ปแบบทางความคิดที่อาจน่ายอมรับในสาธารณรัฐเล็กๆ ที่รายล้อมด้วยศัตรู ที่มีอาำ นาจ ซึ่งตกอยูใ่ น อันตรายจากการถูกโค่นล้มด้วยการโจมตีจากภายนอก หรื อตกอยูใ่ นอันตรายจากความวุน่ วายภายในอยู่ ตลอดเวลา ซึ่งการลดระดับพลังงานและปล่อยการควบคุมตนเองลง แม้ในช่วงเวลาสั้นๆ ก็อาจกลายเป็ น อันตรายอย่างใหญ่หลวงได้ง่ายๆ จนพวกเขาไม่อาจปล่อยตนให้รอผลลัพธ์อนั เหนื่อยยากแต่กท็ รงคุณค่า อย่างถาวรของอิสรภาพได้ ในโลกสมัยใหม่ ขนาดอันใหญ่โตขึ้นมากของประชาคมทางการเมือง และ เหนืออะไรอื่น การแบ่งแยกระหว่างอำานาจทางจิตวิญญาณ และอำานาจที่เป็ นวาระ (ซึ่งกำาหนดทิศทางของ มโนธรรมของคนไปในทางที่แยกจากสิ่ งที่ควบคุมกิจกรรมทางโลกย์ของพวกเขา) ได้เข้ามาป้ องกันอย่าง เต็มที่ต่อการที่กฎหมายจะเข้าแทรกแซงในรายละเอียดของชีวิตส่ วนตัว แต่กลไกของการกดขี่ทางศีล ธรรมได้ถูกมุ่งมัน่ นำาออกมาใช้อย่างเต็มกำาลัง ต่อการที่คนจะผิดแผกแตกต่าง ไปจากเจตคติทศั นคติที่ทรง อำานาจอยูใ่ นสังคม ในเรื่ องที่เกี่ยวข้องกับตนเอง มากไปกว่าที่ใช้ไปในเรื่ องของสังคมเสี ยด้วยซ้าำ ศาสนา ซึ่งเป็ นตัวประกอบที่ทรงอำานาจที่สุด ที่จะก้าวเข้ามากำาหนดความรู ้สึกทางศีลธรรม ก็ได้ถูกครอบงำาอยู่ เสมอ โดยความทะเยอทะยานของพวกที่ถือครองอำานาจ มุ่งหวังที่จะควบคุมทุกๆ ด้านของพฤติกรรมของ มนุษย์ หรื อไม่เช่นนั้นก็โดย พวกที่เคร่ งศาสนาที่ตอ้ งการให้ผคู ้ นบริ สุทธิ์ จากความผิดบาปทุกอย่าง และ นักปฏิรูปสมัยใหม่บางคน ผูซ้ ่ ึงอ้างตนอย่างขันแข็งที่สุดว่าอยูต่ รงกันข้ามกับศาสนาในอดีต ก็ออกมา ยืนยันถึงสิ ทธิของการที่จะเข้ากำาหนดจิตวิญญาณของผูค้ น อย่างที่ไม่ได้ต่างไปจากศาสนาจักรเลย โดย
16
เฉพาะอย่างยิง่ ค็อง (M. Comte) ซึ่งระบบสังคมตามที่แสดงไว้ใน Systeme de Politique Positive ของเขามี เป้ าหมายที่จะสร้างลัทธิเผด็จการของสังคมต่อปัจเจกบุคคล (ถึงแม้วา่ จะใช้เครื่ องมือทางศีลธรรมมากกว่า เครื่ องมือทางกฎหมายก็ตาม) อย่างที่หนักหนายิง่ กว่าที่อยูใ่ นความอุดมคติทางการเมืองของบรรดาผูท้ ี่เชื่อ ในการใช้อาำ นาจควบคุมคนให้อยูใ่ นกฎระเบียบ ในเหล่านักปรัชญายุคโบราณเสี ยอีก 1.15 นอกเหนือไปจากคำาสอนของนักคิดเป็ นรายๆ ไปแล้ว ในโลกโดยรวมเอง ก็ยงั มีแนวโน้มที่เพิ่ม ขึ้น ที่จะขยายอำานาจของสังคมเหนือบุคคลออกไปอย่างผิดทิศผิดทาง ทั้งจากการใช้อาำ นาจของเจตคติ ทัศนคติของผูค้ น และอำานาจทางกฎหมาย และจากการที่ความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลก เป็ น ำ ้ ไม่ใช่หนึ่ง ไปในทิศทางที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กบั สังคม และลดอำานาจของปั จเจกบุคคล การรุ กล้านี ของความชัว่ ร้ายที่อาจจะหายไปด้วยตัวเอง แต่กลับเติบโตมากขึ้นและน่าสะพรึ งกลัวยิง่ กว่าเดิม อุปนิสยั ของมนุษยชาติ ไม่วา่ จะในฐานะผูป้ กครองหรื อในฐานะประชาชน ที่จะเอาเจตคติทศั นคติของตนมา กำาหนดเป็ นกฎให้คนอื่นประพฤติปฏิบตั ิ ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ จากความรู ้สึกที่ดีที่สุดบางอย่าง และเลวที่สุดบางอย่าง ที่บงั เกิดมาจากธรรมชาติของมนุษย์ เสี ยจนกระทัง่ ว่ามีแต่การขาดอำานาจเท่านั้นที่ จะยับยั้งมันไว้ได้ แต่เนื่องจากอำานาจไม่ได้กาำ ลังอ่อนลง แต่กลับแข็งแรงขึ้น ดังนั้น นอกเสี ยจากว่าจะมี ข้อยึดมัน่ ทางศีลธรรมที่เข้มแข็งมาขวางกั้นไว้ ในสถานการณ์ของโลกอย่างที่เป็ นอยูน่ ้ ี เราก็คงมีแต่จะเห็น ความเกเร และการกระทำาผิดต่อกันนี้ เพิ่มมากขึ้น 1.16 จะเป็ นการสะดวกในการโต้เถียง ถ้าหากว่า แทนที่เราจะก้าวทันทีเข้าไปสู่ขอ้ เสนอที่เป็ นญัตติ ทัว่ ไป เราจะจำากัดตัวเราไว้กบั แขนงเดียวของมันเสี ยก่อน ซึ่งในกระแสความคิดเห็นของปั จจุบนั หลักการ ที่ได้กล่าวไปเป็ นที่ตระหนักรับรู้แล้วอย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง แขนงที่วา่ นี้กค็ ือ เสรี ภาพทางความคิด ซึ่ง เป็ นไปไม่ได้ที่จะแยกออกจากเสรี ภาพของการพูดและการเขียน ที่มาด้วยกัน ถึงแม้วา่ เสรี ภาพเหล่านี้ เป็ น ส่วนประกอบของศีลธรรมทางการเมืองของประเทศทั้งหลาย ที่ประกาศถึงขันติธรรมทางศาสนาและ เสรี ภาพในจารี ตประเพณี ตัวรากฐานที่รองรับเสรี ภาพดังกล่าว ทั้งในระดับปรัชญาและระดับปฏิบตั ิ ก็อาจ ไม่ได้เป็ นที่รู้จกั คุน้ เคยอยูใ่ นจิตใจของผูค้ นทัว่ ไป และทั้งไม่เป็ นที่ซาบซึ้ งอยูใ่ นจิตใจของผูค้ นจำานวนมาก หรื อแม้แต่ในหมู่ผนู้ าำ ทางเจตคติทศั นคติของสังคม รากฐานเหล่านี้ เมื่อเป็ นที่เข้าใจอย่างถูกต้อง จะเป็ นสิ่ ง ที่นาำ ไปประยุกต์ได้กว้างกว่าเพียงแค่ในหนึ่งแขนงของเสรี ภาพ และการพิจารณาส่ วนนี้ ของปั ญหาอย่าง ละเอียด ก็จะเป็ นความนำาที่ดีที่สุดสำาหรับส่วนอื่นๆ ที่เหลือ สำาหรับผูซ้ ่ ึงสิ่ งที่ผมจะกล่าวต่อไปเป็ นสิ่ งที่รู้ ดีอยูแ่ ล้ว ผมก็ตอ้ งขอโทษ ถ้าผมจะขอพูดมากขึ้นไปอีก ในเรื่ องที่ได้ถูกอภิปรายมาแล้วไม่นอ้ ย เมื่อถึง ตอนนี้กน็ บั ได้ถึงสามศตวรรษเข้าไปแล้ว.
17
บทที่ 2 เสรี ภาพทางความคิดและการอภิปราย 2.1 ผมหวังว่ า คงไม่มีความที่จาำ เป็ นใดๆ อีกแล้ว ที่เราจะต้องยกเหตุผลขึ้นมาปกป้ อง “เสรี ภาพ ของการพิมพ์” ในฐานะสิ่ งที่ประกันความปลอดภัยของเรา จากรัฐบาลที่ฉอ้ ฉลและเป็ นทรราช เราอาจ ถือว่า เราไม่ตอ้ งการข้อโต้เถียงใดๆ อีกแล้ว ที่จะใช้ต่อต้านไม่ให้ให้ฝ่ายกฎหมายหรื อฝ่ ายบริ หาร ที่ไม่มี ผลประโยชน์ร่วมกับประชาชน มากำาหนดทัศนะและความคิดเห็นให้แก่ประชาชน หรื อมาตัดสิ นว่าจะ อนุญาตให้ประชาชนได้รับฟังแนวความคิดหรื อเหตุผลแบบใดได้บา้ ง นักคิดนักเขียนรุ่ นก่อนๆ ได้ต่อสู ้ และมีชยั ในเรื่ องนี้ มามากครั้ง จนไม่มีความจำาเป็ นอะไรเป็ นพิเศษที่จะต้องมายืนยันในเรื่ องนี้ กนั อีกแล้ว ถึงแม้วา่ ในทุกวันนี้ กฎหมายของอังกฤษในเรื่ องของการตีพิมพ์กย็ งั หัวอ่อนมากพอๆ กับสมัยทิวดอร์ แต่ก็ แทบจะเป็ นไปไม่ได้ ที่กฎหมายจะถูกนำามาใช้หา้ มการอภิปรายทางการเมืองจริ งๆ ยกเว้นก็แต่ในช่วงเวลา ของความตื่นตระหนก คือในเวลาที่ความกลัวต่อจลาจลผลักดันให้พวกรัฐมนตรี และศาลหลุดออกจาก แนวทางของความถูกต้อง1 และโดยทัว่ ๆ ไปแล้ว ในประเทศที่มีรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรื่ องที่ตอ้ งหวาดระแวง 1
ข้อความเหล่านี้แทบไม่ใคร่ จะมีผใู้ ดเขียนกันออกมา นับแต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่รัฐบาลดำาเนินคดีต่อหนังสื อพิมพ์เมื่อปี ค.ศ.1858 ที่เสมือนว่าเป็ นความขัดแย้งกับคำาพูดของผม อย่างไรก็ตามการเข้าแทรกแซงอย่างผิดๆ ต่อเสรี ภาพในการ อภิปรายครั้งนั้น ไม่ได้กระตุน้ ให้ผมเปลี่ยนแปลงถ้อยคำาแม้สักคำาเดียว และไม่ได้ลดทอนความเชื่อมัน่ ของผมว่ายุคสมัย แห่งความเจ็บปวดและการลงโทษทัณฑ์ต่อการอภิปรายทางการเมืองในประเทศอังกฤษของเรา ได้ผา่ นพ้นไปแล้ว เว้นก็ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ตื่นตระหนกเท่านั้น เพราะว่า ประการที่หนึ่งการดำาเนินคดีดงั กล่าวไม่ได้คงอยู่ และประการที่สอง ถ้าพูดให้ถูกแล้วการฟ้ องร้องดำาเนินคดีที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่ องทางการเมือง ความผิดที่กล่าวหานั้นไม่ใช่เรื่ องของการวิจารณ์ สถาบันหรื อการกระทำาหรื อตัวผูป้ กครอง แต่เป็ นเรื่ องของการเผยแพร่ แนวความคิดที่ถูกตัดสิ นว่าผิดศีลธรรม ซึ่ งก็คือ ความถูกต้องทางกฎหมายของการฆาตกรรมทรราช (Tyrannicide) ถ้าข้อโต้แย้งในบทนี้ จะมีความสมเหตุสมผลอยูบ่ า้ ง ก็ควรจะมีเสรี ภาพอย่างสมบูรณ์ในการประกาศและอภิปราย หลักคำาสอนใดๆ ก็ตาม ในฐานะของความเชื่อมัน่ ทางจริ ยธรรม ไม่วา่ มันจะถูกถือว่าไร้ศีลธรรมเพียงไรก็ตาม ดังนั้น อาจเป็ นการไม่เข้าเรื่ องและผิดกาลเทศะ ที่จะมาตรวจสอบกัน ณ ที่น้ ีวา่ หลักคำาสอนเรื่ องการฆาตกรรมทรราชเหมาะสม ต่อฉายานั้นหรื อไม่ ผมพอใจที่จะขอกล่าวว่า ตลอดเวลาที่ผา่ นมา เรื่ องนี้เป็ นหนึ่งในคำาถามทางศีลธรรม ที่เปิ ดต่อการถก เถียง ที่วา่ การกระทำาของพลเมืองผูห้ นึ่ง ที่พิฆาตอาชญากรผูห้ นึ่งลง ผูซ้ ่ ึ งยกตนเองอยูเ่ หนือกฎหมาย จนอยูน่ อกการ ลงโทษหรื อควบคุม พลเมืองผูน้ ้ นั ได้ถูกยึดถือโดยชาติท้ งั มวล และโดยคนที่ดีที่สุดและมีปัญญาที่สุด ว่ามิได้กระทำา
18
ว่า รัฐบาล ไม่วา่ จะเป็ นรัฐบาลที่ฟังเสี ยงประชาชนอย่างสมบูรณ์หรื อไม่สมบูรณ์ จะพยายามควบคุมการ แสดงออกในเรื่ องของทัศนะและความคิดเห็น ยกเว้นแต่เมื่อรัฐบาลเอง จะทำาตัวเป็ นตัวแทนของความ ใจแคบของสาธารณชน ดังนั้น ขอให้เราสมมุติวา่ รัฐบาลเป็ นหนึ่งเดียวกับประชาชน และไม่เคยคิดที่จะ เอาอำานาจบังคับออกมาใช้ ยกเว้นแต่เมื่อรัฐบาลคิดว่า เป็ นการใช้อาำ นาจที่สอดคล้องกับสิ่ งที่ตนคิดว่าเป็ น ข้อเรี ยกร้องของประชาชน แต่ผมก็ขอปฏิเสธสิ ทธิ ที่ประชาชนจะมาใช้อาำ นาจ ข่มขู่บงั คับควบคุมการ แสดงออก ไม่วา่ จะใช้โดยประชาชนเอง หรื อโดยรัฐบาลของประชาชน อำานาจไม่ใช่ความถูกต้องในตัว ของมันเอง รัฐบาลที่ดีที่สุดก็ไม่ได้มีสิทธิที่จะใช้อาำ นาจ มากไปกว่ารัฐบาลที่เลวที่สุด อำานาจมีพิษภัยเมื่อ ถูกนำามาใช้ตามเสี ยงของมหาชน มากเท่าๆ กันที่เมื่อใช้อย่างที่ตรงกันข้ามกับเสี ยงของมหาชน หรื ออาจ เป็ นพิษเป็ นภัยได้ยิง่ กว่าเสี ยอีก ถ้ามนุษยชาติมีทศั นะความคิดเห็นตรงกันเป็ นหนึ่งเดียว แต่มีคนๆ เดียวที่ คิดเห็นแตกต่างออกไป ก็ไม่ได้มีเหตุผลอันควรใด ที่มนุษยชาติจะบังคับคนผูน้ ้ นั ไม่ให้พดู มากไปกว่าที่ ถ้าหากเขาผูน้ ้ นั เกิดมีอาำ นาจขึ้นมาแล้ว เขาก็ยอ่ มจะไม่มีเหตุผลอันควรใด ที่จะบังคับมนุษยชาติท้ งั มวลไม่ ให้พดู ความคิดเห็นของตน ถ้าหากว่าทัศนะจะเป็ นสมบัติส่วนบุคคลที่ไม่มีค่าอะไร ยกเว้นเฉพาะกับตัว เจ้าของเอง ถ้าการถูกขัดขวางไม่ให้พดู สิ่ งที่คิด จะเป็ นเพียงแค่ความเจ็บปวดส่ วนบุคคล ก็ยอ่ มมีความแตก ต่างอยูบ่ า้ ง ที่ความเจ็บปวดนี้ จะเกิดกับคนไม่กี่คน หรื อกับคนจำานวนมาก แต่ความชัว่ ร้ายเป็ นพิเศษของ การห้ามการแสดงออกของทัศนะใดๆ ก็ตาม ก็คือ มันเป็ นการปล้นเอาสิ่ งอันมีค่าจากเผ่าพันธุ์มนุษย์ โดย ปล้นเอาจากมนุษย์รุ่นที่ตามมาทีหลัง เท่าๆ กันกับที่ปล้นเอาจากมนุษย์รุ่นที่กาำ ลังมีชีวิตอยู่ และยิง่ กว่านัน่ เป็ นการปล้นเอาสิ่ งที่มีค่า จากผูท้ ี่คิดต่างไปจากทัศนะนั้น มากไปเสี ยกว่าที่จะเป็ นการปล้นจากผูถ้ ือทัศนะ นั้นเองเสี ยด้วยซ้าำ เพราะถ้าหากทัศนะที่ถูกห้ามนั้นเป็ นทัศนะที่ถูกต้อง คนที่คิดต่างไปจากทัศนะนั้น ก็ สูญเสี ยโอกาสที่จะเปลี่ยนทัศนะที่ผิดไปสู่ทศั นะที่ถูก แต่ถา้ ทัศนะที่ถูกห้ามนั้นผิด พวกเขาก็สูญเสี ยสิ่ งที่ ควรนับว่าเป็ นกำาไร นัน่ ก็คือ การได้มีการรับรู้ความจริ งที่ชดั เจน มีชีวิตชีวามากขึ้น จากการที่ความจริ งได้ มีโอกาสมาปะทะกับความเท็จ 2.2 จำาเป็ นที่เราจะต้องแยกการพิจารณาข้อสันนิษฐานสองข้อนี้ ออกจากกัน เพราะแต่ละข้อมีเหตุผล ข้ออ้างของมันเอง เราไม่มีวนั ที่จะแน่ใจได้วา่ ทัศนะที่เรากำาลังพยายามจะทำาให้เงียบเสี ยงลงนั้น เป็ น ทัศนะที่ผิด และถึงแม้วา่ เราจะแน่ใจเช่นนั้น การพยายามปิ ดปากทัศนะนั้นก็ยงั คงเป็ นสิ่ งที่ชวั่ ร้ายอยูด่ ี 2.3 ประการที่หนึ่ง อาจเป็ นไปได้วา่ ทัศนะที่ฝ่ายที่มีอาำ นาจกำาลังพยายามทำาให้เงียบเสี ยงลงไปนั้น เป็ นทัศนะที่ถูกต้อง แน่นอนว่า บรรดาผูท้ ี่ปรารถนาที่จะปิ ดปากทัศนะนั้นย่อมปฏิเสธว่ามันไม่เป็ นความ จริ ง แต่พวกเขาก็ไม่ใช่ผทู้ ี่จะคิดผิดพลาดไม่เป็ น พวกเขาไม่มีอาำ นาจที่จะตัดสิ นว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่มนุษยชาติ อาชญากรรม แต่เป็ นการกระทำาอันสู งส่ ง และ ไม่วา่ จะถูกหรื อผิด มันก็ไม่ใช่เรื่ องของการลอบสังหาร หากแต่เป็ น สงครามกลางเมือง ด้วยเหตุเช่นนั้น ผมจึงถือว่า การยุยงในเรื่ องดังกล่าว ในกรณี เฉพาะ อาจเป็ นเรื่ องที่เหมาะสมต่อการ ลงโทษ แต่กเ็ พียงเมื่อมีการกระทำาที่ชดั แจ้งตามออกมาเท่านั้น และอย่างน้อยที่สุด เมื่อเป็ นไปได้ที่จะยืนยันความเชื่อม โยงระหว่างการกระทำาและการยุยง แม้กระนั้น ก็มีแต่รัฐบาลที่ถูกโจมตีเองเท่านั้น ไม่ใช่รัฐบาลต่างชาติ ที่จะสามารถ ลงโทษอย่างชอบธรรมต่อการกระทำาที่มุ่งทำาลายมัน ในฐานะการป้ องกันตนเอง
19
มีสิทธิ ที่จะตั้งคำาถาม และไม่มีอาำ นาจที่จะกีดกันคนอื่นที่เหลือ ออกไปจากการหาทางตัดสิ นว่าคำาตอบคือ อะไร การปฏิเสธที่จะรับฟังทัศนะหนึ่ง เพราะแน่ใจแล้วว่าทัศนะนั้นผิด ก็คือการที่ถือเอาว่าความแน่ใจ ของตนเองนั้นสมบูรณ์อย่างที่สุดแล้ว การห้ามไม่ให้มีการอภิปรายโต้เถียงกัน เท่ากับเป็ นการถือเอาว่า ตนเองไม่มีทางผิด การประณามและไม่ยอมรับฟั งทัศนะหนึ่งๆ จึงอาจถือได้วา่ วางอยูบ่ นการอ้างเหตุผล แบบตื้นๆ นี้ ซึ่งตัวทัศนะนั้นก็ยอ่ มไม่ได้อ่อนลงไปด้วยเหตุของการประณามอย่างปิ ดหูปิดตาดังกล่าว 2.4 โชคไม่ดีที่ ในเรื่ องของความมีเหตุมีผลของมนุษยชาติแล้ว ข้อเท็จจริ งที่วา่ ตนเองนั้นผิดพลาดได้ อยูไ่ กลจากการมีนยั สำาคัญในการตัดสิ นสิ่ งต่างๆ ในชีวิตจริ งของพวกเขาอย่างมาก ทั้งที่เป็ นที่ยอมรับว่า ข้อเท็จจริ งนี้ มีความสำาคัญในทางทฤษฎี เพราะในขณะที่ทุกๆ คนรู ้วา่ ตนเองอาจคิดผิดพลาดได้ แต่กลับมี คนไม่กี่คนที่คิดว่าเป็ นเรื่ องจำาเป็ นที่จะต้องคอยระมัดระวังต่อการที่ตนเองอาจคิดผิด หรื อยอมรับว่า ทัศนะใดก็ตามที่เขารู้สึกแน่ใจอย่างมาก อาจเป็ นหนึ่งในความหลงผิดในบรรดาเรื่ องทั้งหลายที่เขาก็ ยอมรับได้วา่ ตนเองอาจคิดผิด เจ้าฟ้ าเจ้าแผ่นดินหรื อใครก็ตามที่เคยชิน ต่อการที่คนจะยอมเคารพเชื่อฟัง ตนเองอย่างที่สุด มักจะรู้สึกเชื่อมัน่ ในทัศนะของตนอย่างสมบูรณ์ในเกือบทุกเรื่ อง คนที่อยูใ่ นสภาวการณ์ ที่ดีกว่า ผูซ้ ่ ึงบางครั้งได้ยนิ คนอื่นคัดค้านทัศนะของตน และเป็ นผูซ้ ่ ึงเคยชินอยูบ่ า้ งกับการที่จะถูกคนอื่น แก้ให้ถูกในเวลาที่ผิด ก็ยงั วางใจอย่างที่สุด ในทัศนะประเภทที่ตนยึดถือร่ วมกับผูค้ นอื่นๆ ที่แวดล้อมตน อยู่ หรื อที่ตนยึดถือร่ วมกับคนที่ตนมีนิสยั ที่จะเคารพเชื่อฟัง และในสำาหรับเรื่ องที่คนขาดความเชื่อมัน่ ใน การตัดสิ นด้วยตัวของเขาเองจริ งๆ เขาก็จะฝากความเชื่อมัน่ ไว้กบั ความคิดที่วา่ โดยทัว่ ไปแล้ว “คนทั้ง โลก” ย่อมไม่อาจจะผิดพลาดไปได้ และสำาหรับปั จเจกบุคคลแต่ละคนแล้ว คนทั้งโลก หมายถึงคนส่ วนที่ เขาเข้าไปสัมผัสด้วย ซึ่งก็หมายถึงกลุ่มทางสังคมของเขา นิกายของเขา ศาสนาของเขา ชนชั้นในสังคม ของเขา คนเช่นนั้น อาจถูกเรี ยกว่าเป็ นนักเสรี นิยม และมีใจกว้าง ต่อคนที่คิดถึงอะไรที่กว้างขวางในระดับ ภายในประเทศของเขา หรื อในระดับของยุคสมัยของเขา ทว่าศรัทธาในอำานาจที่เกิดจากการเข้าร่ วมกับ คนอื่นเช่นนี้ ก็ไม่ได้สนั่ สะเทือนเลย จากการที่เขาตระหนักว่า ยุคอื่น ประเทศอื่น ศาสนาอื่น ชนชั้นอื่น และกลุ่มทางสังคมอื่นกำาลังคิด หรื อเคยคิด ในสิ่ งที่ตรงกันข้ามกับเขา เขาถือว่าโลกของเขาคือความถูก ต้อง และโลกของคนอื่นซึ่งไม่ยอมเห็นพ้องกับเขานั้น เป็ นโลกที่ผิด และเขาก็ไม่เคยกังวลเลยว่า สิ่ งที่ กำาหนดให้เขามาเกิดในโลกซึ่งเขาเชื่อมัน่ ซึ่งเป็ นเพียงหนึ่งในโลกอันมากมายหลายหลากนั้น จะเป็ นเพียง เหตุบงั เอิญเพียงไร และเหตุแบบเดียวกันที่ทาำ ให้เขาเป็ นบาทหลวงในลอนดอน อาจทำาให้เขาเป็ นชาวพุทธ หรื อนักพรตขงจื้อในปักกิ่ง แต่กระนั้น ก็เป็ นเรื่ องที่ประจักษ์แจ้งในตัวเอง มากเท่าที่จะเป็ นไปได้ ถ้าจะมี ข้อโต้เถียงใดก็ตามมาทำาให้ประจักษ์แจ้ง ว่าคนทั้งหมดของยุคสมัยหนึ่งๆ ก็สามารถผิดได้เท่าๆ กับ ปั จเจกบุคคล คนทุกยุคทุกสมัยยึดถือทัศนะที่คนในยุคต่อๆ มาไม่เพียงแต่ตดั สิ นว่าจะผิดเท่านั้น แต่ยงั ไร้ สาระอีกด้วย และก็แน่นอนว่า คนในอนาคตจะปฏิเสธทัศนะที่ยดึ ถือกันอยูท่ วั่ ไปในตอนนี้ มากเท่าๆ กับ ที่คนในยุคปัจจุบนั ปฏิเสธทัศนะมากมายของคนในอดีต 2.5 ข้อโต้แย้งที่คนอาจยกขึ้นคัดค้านเหตุผลที่ผมพูดมา น่าจะอยูใ่ นรู ปที่วา่ การห้ามเผยแพร่ สิ่งที่ผิด นั้น ไม่ได้มีการสมมติไว้ล่วงหน้าถึงความถูกต้องไม่มีทางผิดพลาด มากไปกว่าที่มีอยูใ่ นเรื่ องอื่นๆ ที่
20
กระทำาไปโดยระบบอำานาจสาธารณะ ในสิ่ งที่อยูใ่ นความรับผิดชอบและอำานาจตัดสิ นของตน มนุษย์ได้ ความสามารถในการคิดและการตัดสิ นดีชวั่ ถูกผิดมาก็เพื่อที่จะนำาออกมาใช้ ด้วยเหตุเพราะว่ามนุษย์อาจ ใช้ความสามารถในการคิดและตัดสิ นของตนอย่างผิดพลาด เราก็เลยต้องบอกกับพวกเขาว่าอย่าใช้มนั เลย เช่นนั้นหรื อ? การห้ามสิ่ งที่พวกเขาคิดว่าซ่อนความชัว่ ร้ายไว้ภายใน ไม่ใช่การอ้างว่าตนเองอยูเ่ หนือความ ผิดพลาด แต่เป็ นการทำาหน้าที่ที่เขาเป็ นผูร้ ับผิดชอบ ที่จะต้องกระทำาตามความเชื่อมัน่ ของการไตร่ ตรอง ของตน ถึงแม้วา่ จะเป็ นไปได้วา่ เขาอาจผิดพลาดได้กต็ าม ถ้าเราไม่อาจทำาตามทัศนะที่เรามี เพราะว่า ทัศนะพวกนั้นอาจผิด เราก็ตอ้ งปล่อยสิ่ งที่สาำ คัญต่อเราไว้ตามยถากรรม และละทิ้งหน้าที่ท้ งั หลายของเรา ข้อคัดค้านที่ใช้กบั ทุกพฤติกรรม ย่อมไม่อาจเป็ นข้อคัดค้านที่สมเหตุสมผลที่จะใช้กบั พฤติกรรมใดๆ อย่าง เป็ นการจำาเพาะเจาะจง เป็ นหน้าที่ของรัฐบาล และของปั จเจกบุคคล ที่จะสร้างทัศนะที่เป็ นจริ งที่สุดเท่าที่ จะเป็ นไปได้ สร้างขึ้นมาอย่างระมัดระวัง และไม่ไปกำาหนดบังคับกับคนอื่น นอกเสี ยจากว่า จะแน่ใจแล้ว ว่ามันเป็ นทัศนะที่ถูกต้อง แต่เมื่อพวกเขาแน่ใจแล้ว ก็ยอ่ มจะไม่ใช่ความสุ ขมุ รอบคอบ แต่เป็ นความขี้ ขลาด ถ้าหากว่าจะถอยหนี ไม่พาทัศนะของตนไปสู่การกระทำา แต่กลับยอมปล่อยให้ลทั ธิ คาำ สอนอื่นๆ ซึ่ง พวกเขาคิดอย่างจริ งใจ ว่าเป็ นอันตรายต่อสวัสดิภาพของมวลมนุษย์ ไม่วา่ จะในชีวิตนี้หรื อชีวิตไหนๆ ให้ มีการเผยแพร่ ออกไปอย่างไร้การต่อสูข้ ดั ขวาง ด้วยเหตุผลเพียงเพราะตระหนักว่า คนอื่นๆ ในยุคสมัยที่มี ปัญญาน้อยกว่านี้ ได้ดาำ เนินคดีและลงโทษต่อทัศนะเชื่อว่าเป็ นจริ งในปั จจุบนั อาจกล่าวว่า ขอให้เราช่วย ำ ก แต่รัฐบาลและชาติกท็ าำ ผิดในเรื่ องอื่นๆ ซึ่งก็ไม่ได้ถูกปฏิเสธ กันระวังอย่าทำาความผิดอย่างเดิมนั้นซ้าอี ว่าเป็ นเรื่ องที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้อาำ นาจ พวกเขาเก็บภาษีที่ไม่ถูกต้อง ทำาสงครามที่ไร้ความยุติธรรม ดังนั้น เราก็ไม่ควรจะเก็บภาษี และไม่วา่ จะถูกยัว่ ยุอย่างไร เราก็ไม่ควรก่อสงครามเลย เช่นนั้นหรื อ? ผูค้ น และรัฐบาลต้องกระทำาในสิ่ งที่ดีที่สุด ตามความสามารถของตน ความแน่ใจอย่างสมบูรณ์ไม่มีอยูจ่ ริ ง แต่ ก็มีความเชื่อมัน่ ที่พอเพียงสำาหรับเป้ าหมายต่างๆ ในชีวิตของมนุษย์ เราอาจจะถือเอาว่าทัศนะของเราถูก ต้อง เพื่อใช้มนั ชี้นาำ พฤติกรรมของเราเอง และนั้นก็คือสิ่ งที่เราต้องทำา เมื่อเราห้ามคนเลวไม่ให้บ่อนทำาลาย สังคม ด้วยการเผยแพร่ ทศั นะที่เราเห็นว่าผิดและซ่อนภัยอันตราย และเราก็ยอ่ มไม่ได้ถือว่าอะไรเป็ นจริ ง มากเกินไปกว่านั้น 2.6 ผมขอตอบว่า มีการถือเอาว่าจริ งยิง่ กว่านั้นอีกมาก การถือเอาว่าทัศนะหนึ่งเป็ นจริ ง เพราะว่า ใน ทุกๆ โอกาสที่มีการต่อสูก้ นั ทางความคิด ทัศนะนั้นไม่เคยถูกหักล้างลงได้เลย กับการถือเอาว่าทัศนะนั้น เป็ นจริ ง อย่างที่มีวตั ถุประสงค์เพื่อห้ามไม่ให้มีใครมาหักล้างมัน เป็ นเรื่ องที่แตกต่างกันอย่างสิ้ นเชิง การที่ คนอื่นมีเสรี ภาพอย่างสมบูรณ์ที่จะขัดแย้งหักล้างทัศนะของเรา เป็ นเหตุผลรองรับเพียงประการเดียว ที่เรา จะถือเอาว่าทัศนะของเราเป็ นจริ ง และใช้มาชี้นาำ การกระทำาของเรา และไม่มีอะไรอื่นยิง่ ไปกว่านี้อีกแล้ว ที่สิ่งที่มีชีวิต ที่มีสมรรถภาพต่างๆ แบบมนุษย์ จะใช้สร้างความเชื่อมัน่ ให้ตนเองว่าตนคิดถูก 2.7 เมื่อเราพิจารณาประวัติศาสตร์ของความคิดมนุษย์ หรื อของพฤติกรรมปกติในชีวิตของมนุษย์ เรา ใช้อะไรในการตัดสิ นว่าแนวคิดและพฤติกรรมหนึ่ง ไม่ได้เลวร้ายมากไปกว่าที่เป็ นอยูจ่ ริ งในตัวแนวคิด และพฤติกรรมนั้น? ไม่ใช่ดว้ ยอำานาจแห่งความคิดความเข้าใจของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นจากข้างในอย่าง
21
แน่นอน เพราะสำาหรับเรื่ องใดก็ตาม ที่ไม่ประจักษ์แจ้งอยูใ่ นตนเองสำาหรับมนุษย์แล้ว มีคนเก้าสิ บเก้าคน ที่ไร้ความสามารถในการตัดสิ นดีชวั่ ถูกผิดโดยสิ้ นเชิง และมีเพียงคนเดียวที่มีความสามารถที่จะตัดสิ นให้ ตนเองได้ และความสามารถของคนที่ร้อยนั้นก็เป็ นเพียงข้อเปรี ยบเทียบ เพราะว่าบรรดาคนที่มีชื่อเสี ยง และมีอิทธิพลในแต่ละยุคแต่ละสมัย ส่ วนใหญ่แล้ว ก็ลว้ นแต่ถือทัศนะที่ปัจจุบนั รู ้วา่ เป็ นเรื่ องผิด และพวก เขาก็ทาำ ในสิ่ งต่างๆ หรื อเห็นดีเห็นงามกับสิ่ งต่างๆ มากมาย ที่ไม่มีใครในปั จจุบนั จะเห็นว่าจะถูกต้องด้วย หลักการ แล้วทำาไม เมื่อมองโดยรวมแล้ว ทัศนะและพฤติกรรมที่สมเหตุสมผล จึงสามารถมีอิทธิ พลอยูใ่ น หมู่มนุษย์ได้? ถ้าการมีอิทธิพลของความมีเหตุผลนี้ มีจริ ง ซึ่งก็ตอ้ งมี เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ความ ำ สิ้นหวังอยูต่ ลอดกาล อิทธิ พลนั้นก็ยอ่ มต้องมาจากคุณภาพ สัมพันธ์ของมนุษย์กจ็ ะต้องอยูใ่ นสภาพที่ย่าแย่ ประการหนึ่งของจิตมนุษย์ อันเป็ นแหล่งของทุกสิ่ งทุกอย่างที่ควรค่าแก่การเคารพในมนุษย์ ในฐานะสิ่ งมี ชีวิตที่มีปัญญาและมีศีลธรรม คุณภาพดังกล่าวก็คือ การที่ความผิดพลาดของเขาเป็ นสิ่ งที่สามารถแก้ไขได้ เขาสามารถแก้ไขความผิดของเขา ด้วยการอภิปรายและด้วยประสบการณ์ ไม่ใช่แค่ดว้ ยประสบการณ์ เพียงอย่างเดียว จะต้องมีการอภิปรายเพื่อแสดงให้เห็นว่าเราควรจะตีความประสบการณ์อย่างไร ทัศนะ และการประพฤติปฏิบตั ิที่ผิดค่อยๆ ยอมแพ้ต่อข้อเท็จจริ งและเหตุผล แต่ขอ้ เท็จจริ งและเหตุผลจะต้องถูก นำามาเสนอต่อมนุษย์ เพื่อสร้างผลกระทบต่อจิตใจ มีขอ้ เท็จจริ งอยูน่ อ้ ยมากที่จะสามารถบอกเรื่ องราว เหตุผลได้ดว้ ยตัวเอง โดยไม่ตอ้ งการข้อคิดเห็นมาช่วยดึงความหมายของมันออกมา พลังและคุณค่า ทั้งหมดของอำานาจตัดสิ นของมนุษย์จึงขึ้นอยูก่ บั คุณสมบัติหนึ่งเดียวนี้ เราสามารถไว้วางใจต่ออำานาจการ ตัดสิ นของมนุษย์ได้กต็ ่อเมื่อ เราเปิ ดหนทางที่จะแก้ไขให้ถูกต้องเอาไว้เสมอ การที่บุคคลผูห้ นึ่งมีการ ตัดสิ นที่สมควรต่อการเชื่อมัน่ อย่างแท้จริ งนั้นเกิดขึ้นจากอะไร? เกิดขึ้นเพราะว่าเขาเปิ ดโอกาสให้ผอู ้ ื่น วิพากษ์วิจารณ์ทศั นะและพฤติกรรมของเขาอยูเ่ สมอ เพราะเขาฝึ กตัวเองให้ฟังทุกสิ่ งทุกอย่าง ที่มีคนยก ขึ้นมาพูดขัดแย้งเขา เพื่อให้เขาได้กาำ ไรอย่างมากที่สุดเท่าที่เป็ นไปได้ จากการที่มนั เป็ นทัศนะที่ถูกต้อง เที่ยงธรรม และเพื่อที่จะอธิบายต่อตนเอง และในบางโอกาสก็ต่อผูอ้ ื่น ถึงตัวต้นเค้าของความผิดพลาด ใน สิ่ งซึ่งผิดต่อหลักเหตุผล เพราะเขาเกิดความรู ้สึกว่า ทางเดียวเท่านั้น ที่มนุษย์จะสามารถจะเข้าถึงการรู ้ขอ้ เท็จทั้งหมดในเรื่ องหนึ่งๆ นั้น ก็ดว้ ยการฟังทุกอย่าง ที่คนที่มีทศั นะที่ต่างกัน จะพูดเกี่ยวกับเรื่ องนั้น และ ด้วยการศึกษารู ปแบบวิธีมอง ทุกๆ รู ปแบบที่คนต่างนิสยั ใจคอจะใช้มองเรื่ องดังกล่าว ไม่มีผทู ้ รงปั ญญา คนใดที่ได้ปัญญาของเขามาด้วยวิธีอื่น และก็ไม่ใช่ธรรมชาติของสติปัญญาของมนุษย์ ที่จะฉลาดขึ้นได้ ด้วยวิธีอื่นด้วยเช่นกัน นิสยั ที่จะคอยแก้ไข และเพิ่มเติมทัศนะของตนให้ครบถ้วน ด้วยการตรวจสอบหา ข้อถูกข้อผิด โดยเปรี ยบเทียบกับทัศนะของคนอื่น ไม่ได้ทาำ ให้เกิดความสงสัยและความลังเล ในการนำา ทัศนะนั้นไปสู่การปฏิบตั ิแต่อย่างใด หากแต่เป็ นรากฐานอันมัน่ คงประการเดียวสำาหรับการเชื่อถือใน ทัศนะของตน ได้อย่างเที่ยงธรรม การตระหนักรู ้ถึงทุกสิ่ งทุกอย่างที่คนอาจยกขึ้นมาพูดแย้งเขา และการ ยอมให้คนอื่นพูดโต้แย้งเขา การรู้วา่ ตนเองกำาลังหามองข้อหักล้าง และมองหาปั ญหา แทนการหลีกเลี่ยง ปัญหา และไม่ปิดกั้นปัญญาของใครทั้งสิ้ น ที่จะเข้ามาร่ วมตัดสิ นเรื่ องนั้นกับเขา เมื่อนั้นแล้ว เขาจึงมีสิทธิ ที่จะคิดว่าข้อตัดสิ นของเขาดีกว่าของคนอื่น ที่ไม่ได้ผา่ นกระบวนการเดียวกับเขา
22
2.8 ไม่ใช่เรื่ องเกินเลย ที่จะเรี ยกร้องว่า อะไรก็ตามที่ผทู ้ ี่ทรงปั ญญาที่สุดในหมู่มนุษย์ ผูซ้ ่ ึงมีสิทธิ์ มาก ที่สุดที่จะไว้วางใจ ในการตัดสิ นของตน เห็นว่าเป็ นเรื่ องจำาเป็ นที่จะใช้เป็ นเหตุผลรองรับ ต่อการที่พวกเขา จะไว้วางใจในข้อตัดสิ นของตน ก็ยอ่ มต้องเป็ นอะไรที่สาธารณชนทัว่ ๆ ไป ซึ่งก็มีคนที่ทรงปั ญญาอยูไ่ ม่กี่ คน และมีคนโง่อยูเ่ สี ยมากกว่า ก็ควรจะต้องยอมใช้เป็ นเหตุผลรองรับ ให้กบั การที่พวกเขาจะเชื่อมัน่ ในข้อ ตัดสิ นของพวกเขาด้วยเช่นกัน คริ สตจักรโรมันคาทอลิก ซึ่งก็เป็ นคริ สตจักรที่มีความใจกว้างน้อยที่สุด เมื่อจะพิจารณาแต่งตั้งใครคนใดคนหนึ่งขึ้นมาเป็ นนักบุญ ก็ยงั ยอมที่จะอดทนฟังเสี ยงจาก “ฝ่ ายมารร้าย” จนปรากฏให้เราเห็นได้ ว่าบุคคลที่ผสู้ ูงส่งอย่างที่สุด แม้หลังมรณกรรม ก็ไม่อาจได้รับการยกย่อง เกียรติยศ จนกว่าทุกสิ่ งทุกอย่างที่ฝ่ายมารจะยกขึ้นมากล่าวร้ายต่อตัวเขา จะเป็ นที่รับรู ้ และได้รับการตรวจ ำ ก และถ้าหากนักปราชญ์ฝ่ายนิวตันไม่ยอมให้ใครมาตั้งคำาถาม มนุษยชาติกค็ งไม่อาจรู ้สึก สอบน้าหนั มัน่ ใจอย่างสูงเหมือนอย่างที่เป็ นอยูต่ อนนี้ ต่อความคิดแบบของนิวตัน ความเชื่อที่เราคิดว่ามีเหตุผลมาก ที่สุดที่ทาำ ให้เราต้องยอมเชื่อนั้น ไม่ได้ต้ งั อยูไ่ ด้ เพราะมีอะไรมาปกป้ องคุม้ ครองให้พน้ ภัย แต่เพราะความ คิดนั้นเชิญชวนให้คนทั้งโลก มาหาทางพิสูจน์วา่ มันเป็ นความคิดที่ผิด ถ้าไม่มีใครรับคำาท้า หรื อเมื่อรับ แล้ว แต่กไ็ ม่อาจหักล้างความเชื่อนั้นลงได้ เราก็ยงั ไม่อาจแน่ใจว่าความเชื่อของเราถูกต้อง แต่เราก็ได้ทาำ ดี ที่สุดแล้ว เท่าที่สภาวะที่เป็ นอยูข่ องเหตุผลมนุษย์ จะยอมให้เราทำา เราไม่ได้ละเลยสิ่ งใดที่จะให้โอกาส ต่อการที่เราจะเอื้อมไปถึงความจริ ง ถ้าเรายอมให้การโต้เถียงมีข้ ึนได้เสมอ เราก็มีสิทธิ์ ที่จะหวังได้วา่ ความจริ งที่ดีกว่าเดิมจะถูกค้นพบ เมื่อจิตมนุษย์สามารถที่จะเปิ ดรับต่อความจริ งนั้นได้ และในเวลาตอนนี้ เราก็มีสิทธิ์ ที่จะวางใจว่า เราอยูบ่ นหนทางของการเข้าใกล้ความจริ ง เท่าที่จะเป็ นไปได้ในเวลาของเราแล้ว นี่คือระดับของความแน่ใจที่เข้าถึงได้โดยสิ่ งมีชีวิตอย่างเราๆ ผูซ้ ่ ึงอาจตัดสิ นสิ่ งต่างๆ อย่างผิดพลาดได้ และนี่คือทนทางเดียวเท่านั้นที่เราจะได้ความแน่ใจ ในระดับนี้ 2.9 เป็ นเรื่ องแปลก ที่คนเราควรจะยอมรับความถูกต้องของข้ออ้างและเหตุผล ที่สนับสนุนเสรี ภาพ ในการแสดงความคิดเห็น แต่กลับต่อต้านต่อการที่ขอ้ อ้างและเหตุผลเหล่านั้นจะถูกใช้ให้ไกลที่สุดเท่าที่ จะเป็ นไปได้ ซึ่งเท่ากับการมองไม่เห็นว่า ถ้าเหตุผลเหล่านั้นใช้ไม่ได้สาำ หรับกรณี ที่สุดโต่งที่สุดแล้ว ก็ ย่อมไม่อาจใช้ได้กบั กรณีไหนทั้งสิ้ น เป็ นเรื่ องแปลกที่พวกเขาจะจินตนาการไปว่า พวกเขาไม่ได้กาำ ลังถือ เอาว่าตนเองผิดพลาดไม่เป็ น เมื่อพวกเขาจะยอมรับว่า ควรจะปล่อยให้มีการอภิปรายอย่างเสรี ในทุกๆ เรื่ อง ซึ่งเป็ นไปได้ที่มีผจู้ ะตั้งข้อสงสัย แต่พวกเขาก็ยงั กลับคิดว่า หลักการบางข้อหรื อคำาสอนบางอย่าง ควรห้ามไม่ให้ใครมาตั้งคำาถาม เพราะว่ามันเป็ นสิ่ งที่แน่นอนเหลือเกิน นัน่ ก็คือ พวกเขาแน่ใจว่ามันเป็ น สิ่ งที่แน่ใจได้วา่ จริ ง การพูดว่าข้อความหนึ่งเป็ นจริ งอย่างแน่นอน ในขณะที่ยงั มีคนๆ หนึ่งที่ถา้ หากเขาได้ รับอนุญาตให้พดู เขาก็จะปฏิเสธว่าข้อความนั้นไม่จริ ง มีปัญหาก็แต่เพียงว่าเขาไม่ได้รับอนุญาตให้พดู เท่านั้น ซึ่งย่อมคือการถือเอาว่า ตัวเราและคนพวกที่เห็นด้วยกับเรา คือผูท้ ี่ตดั สิ นได้อย่างเที่ยงแท้แน่นอน และตัดสิ นได้โดยไม่ตอ้ งฟังเสี ยงฝ่ ายตรงกันข้าม 2.10 ในยุคปั จจุบนั ซึ่งได้รับการบรรยายว่า เป็ นยุคที่ “ไร้ศรัทธา แต่ทว่าก็สะพรึ งกลัวต่อความสงสัย” ซึ่งผูค้ นรู ้สึกไม่มนั่ ใจว่าทัศนะของตนเป็ นจริ ง พอๆ กับที่ไม่รู้วา่ จะทำาอย่างไร หากไม่มีทศั นะเหล่านั้นไว้
23
เป็ นเครื่ องนำาทาง ข้ออ้างที่จะใช้ปกป้ องไม่ให้สาธารณชนมาโจมตีทศั นะหนึ่งๆ จึงไม่ได้ต้ งั อยูบ่ นเรื่ อง ของความเป็ นจริ ง มากเท่ากับที่ต้ งั อยูบ่ นเรื่ องของความสำาคัญของทัศนะนั้นต่อสังคม มีการอ้างว่า ความ เชื่อบางอย่าง แม้จะไม่ถึงขั้นของสิ่ งที่ขาดไม่ได้สาำ หรับชีวิต แต่กม็ ีประโยชน์มากเหลือเกิน ถึงขนาดที่เป็ น หน้าที่ของรัฐบาล ที่จะต้องปกป้ องและเชิดชูความเชื่อเหล่านั้น เหมือนกับที่จะต้องปกป้ องผลประโยชน์ อื่นๆ ของสังคม มีการยืนยันว่า ในกรณี ของความจำาเป็ นเช่นนั้น และเป็ นกรณี ของสิ่ งที่อยูใ่ นแนวทาง โดยตรง ของพันธะหน้าที่ของรัฐบาลทั้งหลาย อะไรที่แม้จะไม่ถึงขั้นของความไม่มีทางผิด ก็อาจเป็ น เหตุผลที่พอเพียง หรื อแม้แต่ที่จะบังคับ ให้รัฐบาลทั้งหลายต้องกระทำาไปตามทัศนะของตน ตามที่ได้รับ การสนับสนุนโดยทัศนะทัว่ ไปของมนุษยชาติ มีการโต้เถียงอยูบ่ ่อยๆ ว่ามีแต่คนเลวเท่านั้นที่จะต้องการ จะพยายามโจมตีความเชื่อที่สูงค่าพวกนี้ จึงเป็ นเรื่ องที่คิดไปว่า ไม่มีอะไรผิดในการเข้าไปขวางคนเลว และห้ามสิ่ งที่มีแต่เฉพาะคนเลวเท่านั้น ที่จะปรารถนาจะกระทำา รู ปแบบของการคิดเช่นนี้ ทำาให้การหา หลักการมารองรับการควบคุมจำากัดเสรี ภาพในการแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่เรื่ องของความเป็ นจริ งของ ทัศนะ แต่เป็ นเป็ นเรื่ องของความมีประโยชน์ แล้วก็ใช้เรื่ องนั้นมาพูดยกตัวเอง เพื่อหลีกหนีความรับผิด ชอบที่จะเกิดขึ้น หากตนเองจะอ้างว่าทัศนะของตนนั้น เป็ นข้อตัดสิ นที่ถูกต้องอย่างเที่ยงแท้แน่นอน แต่ คนที่พอใจที่จะคิดด้วยวิธีเช่นนั้น ก็ไม่ได้รับรู ้เลยว่า การเหมาเอาว่าตนเองไม่มีทางผิดของพวกเขานั้น เพียงแค่ยา้ ยจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งเท่านั้น ความมีประโยชน์ของทัศนะหนึ่งๆ นั้น ด้วยตัวเองแล้ว ก็ เป็ นทัศนะที่สามารถจะโต้เถียงกันได้ คือเปิ ดต่อการอภิปราย และต้องการการอภิปราย เท่าๆ กับตัวความ จริ งเท็จของทัศนะนั้นเอง การตัดสิ นไปเลยว่าทัศนะหนึ่งเป็ นอันตราย ก็อาศัยการถือว่าตนเองถูกต้อง อย่างแน่นอน เท่าๆ กับการตัดสิ นไปเลยว่าทัศนะนั้นเป็ นเท็จ นอกเสี ยจากว่าทัศนะที่ถูกประณามนั้น จะ ได้รับโอกาสอย่างเต็มที่ ในการพูดอธิบายตนเอง และย่อมไม่เป็ นการถูกต้องที่จะพูดว่า คนที่แหกคอก นั้นได้รับอนุญาตอย่างเต็มที่ ที่จะยืนยันว่าทัศนะของพวกเขาเป็ นประโยชน์ หรื อไม่เป็ นพิษเป็ นภัยกับใคร แต่กห็ า้ มไม่ให้เขายืนยันว่าทัศนะของเขาเป็ นจริ ง ความเป็ นจริ งของทัศนะเป็ นส่ วนหนึ่งของคุณ ประโยชน์ของมัน ถ้าเราจะรู้ได้วา่ การเชื่อข้อความหนึ่งๆ เป็ นเรื่ องที่น่าปรารถนาหรื อไม่ เป็ นไปได้หรื อ ที่เราจะไม่เข้าไปพิจารณาว่าความเชื่อนั้นเป็ นจริ งหรื อไม่จริ ง? ในทัศนะของคนที่ดีที่สุด ไม่ใช่ของคนเลว ไม่มีความเชื่อไหนที่ตรงข้ามกับความจริ ง ที่จะสามารถมีประโยชน์จริ งๆ ได้ และคุณจะป้ องกันคนดีๆ เช่นนั้น ไม่ให้เขานำาคำาพูดเช่นนั้นมากล่าวอุทธรณ์ได้อย่างไร เมื่อพวกเขาถูกกล่าวหาว่ามีความผิดในฐาน ที่ปฏิเสธคำาสอนบางอย่างที่คนอื่นบอกว่ามีประโยชน์ แต่เป็ นสิ่ งที่พวกเขาเชื่อว่าเป็ นคำาสอนที่เท็จ? คนที่ อยูใ่ นฝ่ ายที่ถูกบังคับให้ยอมรับทัศนะของคนอื่น ล้วนใช้ประโยชน์ที่อาจได้รับจากข้ออุทธรณ์น้ี ท้ งั สิ้ น คุณจะไม่พบว่าพวกเขารับมือกับคำาถามเรื่ องประโยชน์ ในลักษณะราวกับว่าเป็ นสิ่ งที่สามารถแยกขาด ออกจากคำาถามเรื่ องความจริ ง ในทางตรงกันข้าม ในที่สุดแล้ว เพราะว่าหลักคำาสอนของพวกเขา “เป็ น ความจริ ง” ต่างหากที่ทาำ ให้เราถือว่า ไม่อาจที่จะละเว้นไม่ยอมรับรู ้ หรื อไม่ยอมเชื่อถือในคำาสอนนั้นได้ จะไม่มีการอภิปรายในปัญหาเรื่ องความมีประโยชน์ ที่เป็ นไปอย่างยุติธรรม ถ้าหากว่าข้อโต้เถียงที่สาำ คัญ มากๆ ถูกยอมให้ใช้อยูโ่ ดยเพียงฝ่ ายเดียว และในข้อเท็จจริ ง เมื่อกฎหมายหรื อความรู ้สึกของสาธารณชน
24
ไม่ยอมให้ความเป็ นจริ งของทัศนะหนึ่งถูกโต้เถียง พวกเขาก็จะใจกว้าง ยอมให้มีการปฏิเสธความมี ประโยชน์ของมัน ไม่มากไปกว่ากันเลย มากที่สุดที่พวกเขาจะยอมก็คือ หาเหตุผลที่ฉอ้ ฉลมาอ้างว่ามัน เป็ นสิ่ งที่จริ งแท้อย่างสมบูรณ์ หรื อไม่กม็ าอ้างให้เป็ นความผิด ที่ใครจะมาปฏิเสธความคิดนั้นของพวกตน 2.11 เพื่อที่จะแสดงให้เห็นยิง่ ขึ้น ถึงความผิดของการปฏิเสธที่จะรับฟังทัศนะต่างๆ ด้วยเหตุเพราะว่า เราใช้การตัดสิ นของเราเองมาประณามว่าผิด จะเป็ นการดีกว่าที่จะกำาหนดการอภิปรายลงมาสู่กรณี ที่จบั ต้องได้ และข้าพเจ้าเลือกกรณีที่เข้าข้างข้าพเจ้าน้อยที่สุด ซึ่งเป็ นกรณี ที่ขอ้ อ้างที่ใช้หกั ล้างเสรี ภาพของการ แสดงออกของความคิดเห็น ทั้งในเรื่ องของความจริ งและประโยชน์ ได้รับการพิจารณาว่ามีนาหนั ้ ำ กสูงสุ ด ขอให้ทศั นะที่ถูกตั้งข้อสงสัยนั้น เป็ นเรื่ องของความเชื่อในพระเจ้า และในเรื่ องรัฐในชีวิตหน้า หรื อเป็ น เรื่ องของคำาสอนทางศีลธรรมตามที่สอนกันอยูท่ วั่ ไป การลงมาสูก้ นั ในเรื่ องเช่นนี้ เป็ นการเข้าข้างฝ่ ายผูท้ ี่ ไม่ยอมเชื่อ ทว่าเป็ นผูซ้ ่ ึงไม่มีใจเป็ นกลาง เพราะแน่นอนว่าเขาย่อมจะพูด (และคนอีกมากที่ไม่ได้ ปรารถนาที่จะเข้าข้างฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่ง ก็ยงั จะแอบพูดอยูใ่ นใจ) ว่าคำาสอนพวกนี้ เป็ นสิ่ งซึ่งคุณไม่ได้ตดั สิ น ว่าแน่นอน มากพอที่จะให้เข้าไปอยูใ่ ต้การคุม้ ครองของกฎหมาย ไม่ใช่หรื อ? หรื อคุณรู ้สึกมัน่ ใจว่า ความ เชื่อในพระเจ้าเป็ นหนึ่งในบรรดาทัศนะ ที่คุณถือว่ามีสถานะที่ไม่มีทางผิดพลาดได้เลย? แต่ผมต้องขอให้ คุณยอมให้ผมพูดว่า สิ่ งที่ผมเรี ยกว่า การถือเอาว่าไม่มีทางผิดนั้น เป็ นคนละอย่างกับความรู ้สึกมัน่ ใจอย่าง ยิง่ ในคำาสอน แต่คือการเข้าไปตัดสิ นในเรื่ องนั้นให้กบั คนอื่น โดยไม่อนุญาตให้พวกเขาได้ยนิ ในสิ่ งที่อาจ พูดได้ในทางตรงกันข้าม และผมก็จะตำาหนิและประณามความจอมปลอมนี้ ไม่นอ้ ยไปกว่านั้นเลย ถ้าเอา มาใช้กบั สิ่ งที่ผมเชื่อถืออย่างสนิทใจ ไม่วา่ คนๆ หนึ่งจะมีความเชื่อมัน่ ในความคิดของตนเพียงไร ว่า ทัศนะหนึ่งไม่ใช่แค่ผิดเท่านั้น แต่ยงั จะพาไปสู่ความเสี ยหาย หรื อเขาไม่เพียงแต่เชื่อในผลอันเสี ยหายอัน จะตามมา แต่ยงั เชื่อมัน่ อย่างเต็มที่ถึงความไร้ศีลธรรมและความไร้คุณธรรม (ถ้าจะใช้ถอ้ ยคำาที่ผมก็ ประณามอย่างเต็มที่) ของทัศนะหนึ่งๆ แต่กระนั้น ถ้าในการมุ่งที่จะยืนยันข้อตัดสิ นส่ วนบุคคลนั้น แม้จะ ได้รับการสนับสนุนจากการตัดสิ นของสาธารณะชนในประเทศของเขา หรื อโดยคนที่ร่วมยุคสมัยกับเขา ถ้าเขาก็ยงั คงกีดกันไม่ให้ทศั นะนั้นได้มีโอกาสที่จะถูกตั้งคำาถามและอธิ บายแก้ต่างให้ตนเอง เราก็กล่าวได้ ว่า เขาก็กาำ ลังถือว่าตนเองเป็ นผูไ้ ม่มีทางผิดพลาด และการที่ทศั นะนั้นถูกกล่าวหาว่าไร้ศีลธรรมหรื อไร้ คุณธรรม ก็ไม่ได้ทาำ ให้ปัญหาหรื ออันตรายที่เกิดจากการถือเอาว่าตนเองไม่มีทางผิด ลดน้อยลงเลยแม้แต่ สักนิด นี่คือกรณี ที่เป็ นอันตรายอย่างที่สุดในบรรดากรณี ท้ งั หมด และผลของมันก็คือ การที่ชนในรุ่ นหนึ่ง ได้กระทำาความผิดอันใหญ่หลวง ซึ่งสร้างความพิศวงและความสะพรึ งกลัว ให้กบั อนุชนรุ่ นหลังนัน่ เอง ในท่ามกลางสิ่ งเช่นนั้นนัน่ เอง ที่เราพบเหตุการณ์ในอดีตที่ชวนให้จดจำา นัน่ คือ เมื่อพลังแห่ งกฎหมายถูก นำามาใช้ถอนรากถอนโคนคนที่ดีที่สุด และคำาสอนที่สูงส่ งที่สุด ซึ่งก็เป็ นผลสำาเร็ จอันน่าเศร้าเมื่อใช้จดั การ กับคน ถึงแม้บางคำาสอนจะยังคงอยูร่ อดให้ยกหยิบขึ้นมากล่าวอ้าง รองรับการกระทำาแบบเดียวกันนั้นเอง กับผูค้ นที่คิดต่างไป หรื อคิดต่างไปจากการตีความแบบที่เขาถูกบังคับให้ยอมรับ (ราวกับเพื่อเสี ยดสี ลอ้ เลียน)
25
2.12 มนุษยชาติควรจะถูกเตือนให้รำาลึกอยูเ่ สมอว่า ครั้งหนึ่งเคยมีคนที่ชื่อว่าโสเครติส ผูซ้ ่ ึงการปะทะ ของเขากับผูถ้ ืออำานาจทางกฎหมาย และกับทัศนะของสาธารณะชนในยุคของเขา ได้กลายเป็ นเหตุการณ์ อันควรแก่การจดจำา คนผูน้ ้ ีเกิดในยุคสมัยและในดินแดนอันอุดมด้วยความยิง่ ใหญ่ของปั จเจกบุคคล และ สื บทอดต่อมายังเราโดยคนที่รู้จกั เขาและกาลสมัยนั้นอย่างดีที่สุด ในฐานะผูท้ ี่มีคุณธรรมสูงสุ ดแห่ งยุค ใน ขณะที่เรารู้จกั เขาว่าเป็ นผูน้ าำ และเป็ นต้นแบบของครู ผสู ้ อนคุณธรรมที่ตามมาภายหลังทั้งหลาย เป็ นที่มา ของแรงบันดาลใจอันสูงส่งของเพลโต เท่าๆ กับของลัทธิ ประโยชน์นิยมอันสุ ขมุ รอบคอบของอริ สโตเติล สองผูใ้ ห้กาำ เนิดจริ ยศาสตร์และปรัชญาอื่นๆ ทั้งหลาย เขาคือผูท้ ี่ได้รับการยอมรับว่าเป็ นครู แห่ งนักคิดผู ้ โด่งดังทั้งหลายผูม้ ีชีวิตนับแต่น้ นั มา ผูซ้ ่ ึงชื่อเสี ยงของเขายังคงแผ่ขยายออกไปหลังเวลากว่าสองพันปี และ แผ่ปกคลุมชื่ออื่นที่เหลือทั้งหมด ผูซ้ ่ ึงทำาให้เมืองเกิดของเขาเป็ นที่กล่าวขวัญถึงด้วยความชื่นชม และเป็ นผู ้ ซึ่งถูกประหารโดยชาวเมืองของเขาเอง หลังการดำาเนินคดีดว้ ยกระบวนการยุติธรรม ในข้อหาว่าไร้ คุณธรรมและไร้ศีลธรรม ไร้คุณธรรมเพราะเหตุแห่ งการปฏิเสธพระเจ้าที่รัฐนับถือ (ดูในอพอลโลเจีย) ที่ จริ งแล้วโจทก์ยนื ยันว่าเขาไม่นบั ถือพระเจ้าองค์ใดเลย ไร้ศีลธรรมด้วยเหตุเพราะสอน “ให้คนหนุ่มเสื่ อม เสี ย” ด้วยสองข้อกล่าวหานี้ มีหลักฐานชวนให้เชื่อว่า สภาตัดสิ นอย่างสุ จริ ตใจจริ งๆ ว่าเขาผิดจริ ง และ ตัดสิ นให้บุคคลผูซ้ ่ ึง ในหมู่มนุษย์ท้ งั หลาย คือผูท้ ี่ควรได้รับการสรรเสริ ญอย่างสูงสุ ด ต้องตายลงอย่าง อาชญากร 2.13 อีกตัวอย่างหนึ่งของการตัดสิ นอย่างอยุติธรรม ที่เมื่อกล่าวถึงการเหยีอดหยามทำาลายโสเครตีสไป แล้วนั้น เรื่ องนี้กย็ งั อาจรุ นแรงยิง่ กว่าเสี ยอีก คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เขาคัลวารี (Calvary) เมื่อกว่าพันแปด ร้อยปี มาแล้ว บุคคลผูซ้ ่ ึงทิ้งความทรงจำาให้คนทั้งหลายที่ได้รู้เห็นถึงชีวิตและคำาพูดของเขา ด้วยความ ประทับใจต่อความยิง่ ใหญ่ทางศีลธรรม ซึ่งตลอดเวลาสิ บแปดศตวรรษต่อมา โลกได้บูชาเขาในฐานะ บุคคลผูซ้ ่ ึงเป็ นพระเจ้าในร่ างมนุษย์ แต่กถ็ ูกประหารชีวิตอย่างน่าอดสูที่สุด ในฐานะอะไร? ในฐานะผูท้ ี่ดู หมิ่นพระเจ้า มนุษย์ไม่เพียงแต่เข้าใจผูท้ ี่มีความเมตตาต่อตนเองอย่างสูงสุ ดผิดเท่านั้น แต่ยงั เข้าใจเขาไป ในทางที่ตรงกันข้ามโดยสิ้ นเชิง และปฏิบตั ิต่อเขาราวกับว่าเขาเป็ นผูท้ ี่ไร้คุณธรรมเสี ยเหลือเกิน ซึ่งใน ที่สุด ด้วยการกระทำาต่อเขาเช่นนั้นนัน่ เอง ที่ทาำ ให้มนุษย์เหล่านั้นถูกถือว่าเป็ นผูท้ ี่ไร้คุณธรรม อารมณ์ ความรู ้สึกซึ่งมนุษยชาติในปัจจุบนั มีต่อการกระทำาต่อกันอันน่าสลดใจเป็ นอย่างยิง่ ในทั้งสองกรณี น้ ี โดย เฉพาะอย่างยิง่ ในกรณีหลัง ทำาให้การกระทำาทั้งสอง กลายเป็ นความอยุติธรรมอย่างที่สุด ต่อบุคคลที่ทาำ ให้ คนอื่นไม่มีความสุข บุคคลทั้งสองไม่ใช่คนเลว ไม่วา่ จะดูอย่างไร ไม่ได้เลวไปกว่าที่คนทัว่ ๆ ไปเป็ นอยู่ แต่กลับเป็ นไปในทางตรงกันข้ามเสี ยยิง่ กว่า เป็ นคนผูซ้ ่ ึงครอบครองอย่างเต็มเปี่ ยม หรื อบางทีอาจจะยิง่ กว่าความเต็มเปี่ ยม ในศรัทธาทางศาสนา ศีลธรรม และความรักต่อมนุษย์ผอู ้ ื่นในยุคสมัยของเขา เขาทั้ง สองเป็ นบุคคลแบบที่สามารถที่จะดำาเนินชีวิตอย่างควรแก่ความเคารพและไร้คาำ ติเตียน ไม่วา่ จะในยุคสมัย ใด รวมทั้งในยุคสมัยของเรา หัวหน้านักบวช ผูซ้ ่ ึงฉี กทึ้งเสื้ อผ้าของตน เมื่อถูกกล่าวร้ายโดยผูค้ นที่เกิด ร่ วมแผ่นดินกับเขา ว่ากระทำาความผิดอันมืดดำาที่สุด เป็ นผูซ้ ่ ึงเป็ นไปได้อย่างที่สุดว่าเขาก็จริ งใจ ทั้งใน ความรู ้สึกตกใจและในความรู้สึกโกรธที่ตนถูกกล่าวร้ายมากเท่าๆ กับที่ สาธุชนในตอนนี้ส่วนใหญ่รู้สึก
26
จริ งใจต่อความรู ้สึกทางศาสนา และทางศีลธรรมที่ตนประกาศออกมา และคนทั้งหมดที่สะดุง้ ผวากับ ความประพฤติของเขา ถ้าหากว่าตนไปมีชีวิตอยูใ่ นยุคสมัยของนักบวชผูน้ ้ ัน และถ้าเกิดมาเป็ นยิว ก็จะ ประพฤติไม่ต่างไปจากเขา ชาวคริ สต์ออโธด็อกซ์ซ่ ึ งอยากจะคิดว่าบรรดาผูค้ นที่ขว้างก้อนหิ นใส่ ผสู ้ ละชีพ เพื่อความดีคนแรก เป็ นคนที่ชวั่ ร้ายกว่าตน ควรจะจดจำาว่าหนึ่งในผูก้ ระทำาการอันอยุติธรรมอันนั้น ก็คือ นักบุญพอล 2.14 มาดูอีกหนึ่งตัวอย่าง ซึ่งนับว่าโดดเด่นที่สุด ถ้าหากระดับของความรู ้สึกถึงความผิดพลาด จะถูก วัดโดยความรู ้และความมีคุณธรรม ของผูท้ ี่กระทำาความพลาดพลั้งนั้น หากว่าผูใ้ ดก็ตามที่มีอาำ นาจ จะมี เหตุผลอันสมควรให้เชื่อว่าตนเองคือผูท้ ี่ดีที่สุดและมีปัญญามากที่สุดในบรรดาผูค้ นร่ วมสมัย คนๆ นั้นก็ คือจักรพรรดิมาร์ คสั ออเรเลียส แอนโตนินสั (Emperor Marcus Aurelius Antoninus) ในฐานะสัมบูรณ ราชแห่ งโลกศิวิไลทั้งมวล ตลอดชีวิต เขามิได้รักษาไว้เพียงแค่ความยุติธรรมอันสูงสุ ดปราศจากมลทิน แต่ยงั รักษาซึ่งหัวใจอันอ่อนโยนอย่างที่สุด อีกด้วย ทั้งที่ นี่มิใช่สิ่งที่ควรคาดหวังจากผูท้ ี่ได้รับการอบรม มาแบบสโตอิกอย่างเขา ความผิดพลาดเพียงไม่กี่อย่างที่กล่าวกันว่าเขาได้กระทำา ทั้งหมดอยูบ่ นเรื่ องของ การปล่อยตนไปตามใจปรารถนา ในขณะที่งานเขียนของเขา ซึ่งเป็ นผลผลิตทางจริ ยธรรมอันสูงส่ งที่สุด ในโลกยุคโบราณ แทบจะไม่แตกต่างอย่างใดเลย จากคำาสอนของพระคริ สต์ คนผูน้ ้ ี ผูซ้ ่ ึงเป็ นคริ สเตียน ตามความหมายของคำาว่าคริ สเตียนอย่างแท้จริ งในทุกๆ แง่ ยกเว้นก็แต่ในความหมายแบบที่ไร้เหตุผล เป็ น คริ สเตียนยิง่ กว่ากษัตริ ยท์ ี่เราเรี ยกว่าเป็ นคริ สเตียนทั้งหลาย ที่ครองอำานาจอยูภ่ ายหลังเขา ทั้งที่เขาเองก็คือ ผูท้ ี่ข่มเหงข่มเหงรังแกศาสนาคริ สต์ แม้จะอยูบ่ นตำาแหน่งที่สูงที่สุดในความสำาเร็ จของความเป็ นมนุษย์ ที่ เคยเกิดขึ้นมาทั้งหมดก่อนหน้า ด้วยปัญญาที่เปิ ดกว้างไร้พนั ธนาการ และด้วยบุคลิกลักษณะนิสยั ที่ชกั นำา เขาไปสู่งานเขียนทางศีลธรรม ที่เต็มเปี่ ยมไปด้วยอุดมคติแบบคริ สเตียน และด้วยหน้าที่ของเขาซึ่งเขา ผูกพันอย่างลึกล้าำ กระนั้น เขาก็ยงั ไม่อาจจะมองเห็นได้วา่ ศาสนาคริ สต์ไม่ใช่ความชัว่ ร้าย แต่คือความดี งามต่อโลก เขาก็รู้อยูว่ า่ สังคมที่เป็ นอยูไ่ ม่น่าปรารถนา แต่ดว้ ยสภาพอย่างที่มนั เป็ น เขาก็เห็น หรื อคิดว่า เขาเห็น ว่ามันถูกยึดโยงอยูด่ ว้ ยกัน และถูกป้ องกันจากการที่จะเลวร้ายลงไปกว่านั้น ก็ดว้ ยความเชื่อใน เทพเจ้าที่บูชาสื บทอดกันมา ในฐานะผูป้ กครองของมนุษยชาติ เขาตัดสิ นว่าเป็ นหน้าที่ของเขาที่จะ ประกันไม่ให้สงั คมแตกออกเป็ นเสี่ ยงๆ และถ้าสายสัมพันธ์ที่เป็ นอยูถ่ ูกตัดลงไป เขาก็มองไม่เห็นวิธีอื่น ใดอีกแล้ว ที่จะสร้างสายสัมพันธ์อื่นขึ้นมาทดแทน และยึดสังคมไว้ดว้ ยกันได้อีก ศาสนาใหม่ต้ งั เป้ าอย่าง เปิ ดเผยที่จะสลายสัมพันธภาพเหล่านั้น ดังนั้น ถ้าไม่ใช่หน้าที่ของเขาที่จะรับศาสนาใหม่น้ นั ก็ดูเหมือนจะ เป็ นหน้าที่ของเขาที่จะปราบปรามมัน ดังนั้นแล้ว ตราบใดที่เทววิทยาของศาสนาคริ สต์ไม่จริ งในสายตา ของเขา หรื อไม่ได้มาจากพระเจ้าจริ งๆ ตราบใดที่ประวัติศาสตร์ อนั ประหลาดของพระเจ้าผูถ้ ูกตรึ ง กางเขน เป็ นเรื่ องที่ไม่น่าเชื่อสำาหรับเขา และระบบที่หมายที่จะก้าวไปให้ถึงนั้น ตั้งอยูบ่ นฐานซึ่งสำาหรับ เขาแล้วไม่อาจที่จะเชื่อได้เลย ซึ่งเขาก็ไม่อาจทำานายได้วา่ ระบบดังกล่าว จะเป็ นผูซ้ ่อมแซมปฏิสงั ขรณ์ สังคม ซึ่งภายหลังที่ความรุ นแรงสงบลงแล้ว ระบบก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็ นเช่นนั้นจริ งๆ แม้จะเป็ นนัก ปรัชญาและผูป้ กครองผูซ้ ่ ึงอ่อนโยนที่สุด และน่ารักที่สุด แต่ดว้ ยความรู ้สึกแห่ งหน้าที่ที่เต็มเปี่ ยม เขาก็
27
ออกคำาสัง่ ให้ปราบปรามศาสนาคริ สต์ ในความรู ้สึกของผม นี่เป็ นหนึ่งในเหตุการณ์ที่น่าสลดใจที่สุดใน ประวัติศาสตร์ เป็ นเรื่ องที่น่าข่มขื่นที่จะคิดว่า ศาสนาคริ สต์แห่ งโลกนี้ จะแตกต่างไปเพียงไร ถ้าศรัทธา ของชาวคริ สต์จะได้รับการยอมรับในฐานะศาสนาของจักรวรรดิ ภายใต้การอุปถัมภ์ของมาร์ คสั ออเรลิอสั แทนที่จะเป็ นของคอนสแตนทีน แต่กจ็ ะเป็ นการอยุติธรรมต่อเขา และเป็ นเท็จต่อความจริ งมากเท่าๆ กัน ที่จะปฏิเสธว่า ไม่มีคาำ กล่าวใดๆ ซึ่งอาจยกขึ้นมาร้องเรี ยน เพื่อให้ลงโทษต่อคำาสอนที่เป็ นปฏิปักษ์ต่อ คริ สเตียน ที่เป็ นสิ่ งที่มาร์คสั ออเรลิอสั ไม่ได้พิจารณา สำาหรับการลงโทษต่อการเผยแพร่ คริ สต์ศาสนา อย่างที่เขาได้ทาำ ลงไป ไม่มีชาวคริ สเตียนคนไหนจะเชื่อว่าอเทวนิยมคือความผิด และอาจจะพาไปสู่การ ล่มสลายของสังคม มากยิง่ ไปกว่าที่มาร์ คสั ออเรลิอสั เชื่อว่าสิ่ งเดียวกันจะเกิดขึ้นจากศาสนาคริ สต์ ทั้งๆ ที่ ในบรรดามนุษย์ทุกคนที่มีชีวิตอยูใ่ นตอนนั้น เขาคือผูท้ ี่ถูกคิดว่าน่าจะเป็ นคนที่ซาบซึ้ งในศาสนาคริ สต์ มากที่สุด หากไม่ใช่เพราะว่าคนผูท้ ี่สนับสนุนการลงโทษต่อการเผยแพร่ ทศั นะ จะยกยอตัวเองว่าตนเป็ น ผูท้ ี่รอบรู้และดีกว่ามาร์คสั ออเรลิอสั คือรอบรู ้มากกว่าในภูมิปัญญาของยุคสมัยตน มีความเข้าใจที่สูงล้าำ กว่านั้น เป็ นผูท้ ี่ทุ่มเทในการค้นหาความจริ งยิง่ กว่าผูอ้ ื่น หรื อมีความแน่วแน่ ในการอุทิศตนให้กบั ความ จริ งที่ตนค้นพบแล้วนั้นยิง่ ไปกว่า ก็ขอให้เขายับยั้งจาก การถือเอาว่าความคิดเห็นของตน ที่มีร่วมกับ มหาชน นั้นถูกต้องอย่างเที่ยงแท้แน่นอน ซึ่งนี่กค็ ือสิ่ งที่แอนโตนินสั ผูย้ งิ่ ใหญ่ยดึ ถือ และเขาก็สร้างให้เกิด ผลอันน่าสลดใจเป็ นอย่างยิง่ 2.15 ด้วยการตระหนักว่าเป็ นไปไม่ได้ ที่จะหาเหตุผลมาสนับสนุนต่อการใช้การลงโทษ มาควบคุม ทัศนะที่ขดั แย้งกับศาสนา ที่จะไม่ไปรองรับต่อการกระทำาของมาร์คสั ออเรลิอสั แอนโตนินสั คนที่เป็ น ศัตรู กบั เสรี ภาพทางศาสนา เมื่อถูกกดดันหนักเข้า ในบางโอกาสก็ยอมรับต่อผลข้อนี้ และกล่าวร่ วมกับ ดร.จอห์นสัน ว่าผูท้ ี่ข่มเหงรังแกศาสนาคริ สต์น้ นั กระทำาในสิ่ งที่เหมาะสมแล้ว คือกล่าวว่าการข่มเหงรังแก นั้นเป็ นความทุกข์ทรมานที่ความจริ งสมควรจะต้องผ่าน และก็จะผ่านไปได้สาำ เร็ จเสมอ และกล่าวว่าการ ลงโทษทางอาญานั้น ในที่สุดแล้ว จะไร้อาำ นาจที่จะต่อกรกับความจริ ง ถึงแม้วา่ บางครั้งก็ให้ผลเป็ นอย่างดี ในการจัดการกับความผิดที่เป็ นพาล ก็ตาม นี่เป็ นรู ปแบบหนึ่งของข้อโต้แย้งที่สนับสนุนต่อการไร้ขนั ติ ธรรมทางศาสนา ซึ่งมีขอ้ ให้ควรพิจารณามากกว่าที่จะปล่อยให้ผา่ นสายตาไป 2.16 ทฤษฎีที่ถือว่า เป็ นสิ่ งที่สมเหตุผลที่จะข่มเหงรังแกความจริ ง ด้วยเพราะว่าการข่มเหงรังแกนั้นจะ ไม่สามารถทำาอันตรายต่อมันได้ ไม่อาจจะถูกกล่าวหาว่าจงใจที่จะเป็ นปฏิปักษ์ต่อการยอมรับความจริ ง ใหม่ แต่เราก็ไม่สามารถเห็นดีเห็นงามไปกับความกรุ ณาที่ทฤษฎีน้ นั มีต่อบุคคลผูซ้ ่ ึงมนุษยชาติเป็ นหนี้ บุญ ำ อตนเอง และเป็ นสิ่ งซึ่งเมื่อก่อนนี้ถูกละเลยไป คุณ การเปิ ดเผยให้โลกได้รับรู้ถึงสิ่ งอันสำาคัญอย่างลึกล้าต่ การพิสูจน์ต่อโลกว่ามันเคยผิดพลาด ในเรื่ องบางอย่างที่สาำ คัญอย่างเหลือเกินในประโยชน์สุขทางจิต วิญญาณหรื อประโยชน์สุขชัว่ ขณะ เป็ นการทำางานที่สาำ คัญ มากเท่าที่มนุษย์สกั คนหนึ่งจะสามาถกระ ทำาให้ได้ ต่อเพื่อนร่ วมโลกของตน และในบางกรณี อย่างในกรณี ของคริ สเตียนยุคต้น และของฝ่ ายปฏิรูป ศาสนา บรรดาผูท้ ี่คิดร่ วมกับดร.จอห์นสัน เชื่อว่ามันคือของขวัญที่ลาค่ ้ ำ าที่สุด ที่สามารถมอบให้กบั มนุษยชาติ การคิดไปว่าผูท้ ี่สร้างประโยชน์อนั สูงส่ งเช่นนั้น ควรจะได้รับการตอบแทนด้วยการบังคับให้
28
เขาเอาชีวิตเข้าแลก การคิดว่ารางวัลตอบแทนต่อพวกเขา ควรจะเป็ นการถูกกระทำาราวกับเป็ นอาชญากรผู ้ สุดชัว่ ด้วยทฤษฎีน้ ี แล้ว ไม่ใช่ความโชคร้ายและความผิดพลาดที่น่าติเตียน ซึ่งมนุษยธรรมควรจะไว้อาลัย แต่เป็ นสภาวะปกติธรรมดาและสมแก่เหตุผล ตามคำาสอนนี้ ผูท้ ี่นาำ เสนอความจริ งใหม่ ควรจะยืนอย่างที่ ได้ยนื มาแล้ว ในสภากฎหมายของพวกล็อคเครี อนส์ (Locrians) ในตำาแหน่งของผูเ้ สนอกฎหมายใหม่ โดย มีสายรัดอยูร่ อบคอ รอที่จะดึงให้แน่นได้ทนั ที ถ้าสภาของสาธารณชน เมื่อได้ยนิ เหตุผลของเขาแล้ว ตัดสิ น ณ ตรงนั้นว่าไม่รับญัตติของเขา คนพวกที่สนับสนุนการข่มขู่ต่อผูท้ ี่หวังดีแบบนี้ ไม่อาจจะถือว่า ให้คุณค่ามากนักกับความหวังดีน้ นั และผมเชื่อว่าทัศนะแบบนี้ น่าจะมีอยูเ่ ฉพาะกับบุคคลประเภทซึ่ งคิด ว่า ความจริ งใหม่ๆ นั้นอาจจะเคยเป็ นที่น่าปรารถนาเมื่อก่อน แต่ตอนนี้เรามีความจริ งมากพอแล้ว 2.17 แต่ที่จริ งแล้ว วาทะที่วา่ ความจริ งย่อมมีชยั เหนือการข่มเหงรังแกเสมอนั้น เป็ นหนึ่งในความเท็จที่ ำ วซ้าเล่ ำ า จนกลายเป็ นถ้อยคำาดาษดื่น แต่เป็ นสิ่ งซึ่ง ให้ความรู ้สึกดีท้ งั หลาย ซึ่งคนพากันยกขึ้นมากล่าวซ้าแล้ ประสบการณ์ท้ งั หมดปฏิเสธ ประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยเหตุการณ์ที่ความจริ งถูกกำาหลาบด้วยการข่มเหง รังแก ถ้าไม่ถูกกดขี่ไว้ได้ตลอดกาล มันก็อาจโผล่กลับมาอีกในหลายศตวรรษ ถ้าจะพูดถึงเฉพาะทัศนะ ทางศาสนา ความต้องการที่จะปฏิรูปประทุข้ ึนอย่างน้อยก็ยสี่ ิ บครั้งก่อนหน้าลูเธอร์ และก็ถูกกำาหลาบลง ไป (ผูแ้ ปล- มิลล์ให้ชื่อตัวอย่างเจ็ดชื่อได้แก่ Arnold of Brescia, Fra Dolcino , Savonarola, The Albigeois, The Vaudois, The Lollards, The Hussites) แม้แต่หลังยุคของลูเธอร์ ที่ใดก็ตามที่การข่มเหงรังแกยังยืนยง อยูไ่ ด้ มันก็ยอ่ มสำาเร็ จดังประสงค์ ในสเปน อิตาลี ฟลันเดอรส์ (Flanders) และจักรวรรดิออสเตรี ย ลัทธิ ปฎิรูปคริ สต์ศาสนาถูกถอนรากถอนโคน ซึ่งก็อาจจะเป็ นอย่างเดียวกันได้ในอังกฤษ ถ้าราชินีแมรี่ มีชีวิต อยู่ หรื อราชินีอลิซาเบธ สวรรคต การกำาหลาบด้วยการข่มเหงรังแกประสบความสำาเร็ จเสมอ ยกเว้นก็ต่อ เมื่อพวกนอกรี ตเป็ นกลุ่มก้อนที่แข็งแรง เกินกว่าที่จะข่มเหงรังแกได้ง่ายๆ ไม่มีใครที่มีเหตุผลจะสงสัยได้ ว่าศาสนาคริ สต์อาจจะถูกลบล้างไปจากจักรวรรดิโรมัน การที่มนั แผ่ขยายออกไปและขึ้นมาครองอำานาจ ได้น้ นั เป็ นเพราะการข่มเหงรังแกเกิดขึ้นเพียงแค่เป็ นครั้งคราว ดำารงอยูเ่ พียงเวลาสั้นๆ และแทรกด้วย เวลาที่ยาวนานของการโฆษณาชวนเชื่อที่แทบจะไม่ถูกรบกวนเลย ด้วยเหตุแห่ งความไม่แยแส หรื อความ ไม่รู้สึกรู ้สมเท่านั้น ที่จะทำาให้คนคิดไปว่า ความเป็ นจริ ง ในฐานะแค่ความเป็ นจริ ง จะมีพลังในตนเองที่ จะคงทนต่อคุกและแท่นประหาร และคิดว่าความเท็จจะไม่มีพลังเช่นนั้น ผูค้ นไม่ได้กระตือรื อร้นต่อความ จริ ง มากไปกว่าต่อความหลงผิด และการนำาโทษทางอาญาหรื อโทษทางสังคมออกมาใช้ให้มากพอ ก็จะ ประสบความสำาเร็ จในการหยุดการเผยแพร่ ได้ท้ งั สองอย่าง ข้อได้เปรี ยบจริ งๆ ของความจริ ง ได้แก่ขอ้ ที่วา่ เมื่อทัศนะหนึ่งเป็ นจริ ง มันอาจจะถูกขจัดไปได้ครั้งหนึ่ง สองครั้ง หรื อหลายๆ ครั้ง แต่เมื่อยุคสมัยเคลื่อน ำ ก จนกระทั้งการปรากฎซ้าใหม่ ำ คล้อยไป สิ่ งที่จะเกิดขึ้นเสมอก็คือ จะมีบุคคลที่คน้ พบความจริ งนั้นซ้าอี ของมันครั้งหนึ่งบังเกิดขึ้นในกาลเวลา ซึ่งด้วยสถานการณ์ที่เอื้ออำานวย มันได้หนีพน้ การข่มเหงรังแก จน กระทั้งมันหัวแข็งพอที่จะทนทานต่อความพยายามต่อๆ มา ที่จะเหยียบมันให้จมหายไป 2.18 คนจะพูดว่า เดี๋ยวนี้เราไม่ได้ประหารชีวิตผูท้ ี่นาำ เสนอทัศนะใหม่ๆ อีกแล้ว เราไม่เหมือนพ่อของ เราที่ประหารผูป้ ระกาศศาสนาใหม่ เราสร้างห้องบรรจุศพเพื่อบูชาพวกเขาด้วยซ้าำ เป็ นความจริ งว่าเราไม่
29
ฆ่าพวกนอกรี ตอีกแล้ว และขีดของความทุกข์ ที่ความรู ้สึกของผูค้ นยอมให้ใช้ลงโทษ และทรมานต่อ ทัศนะที่น่ารังเกียจที่สุดของสมัยนี้ ก็ไม่รุนแรงพอที่จะขจัดทัศนะพวกนั้นให้สิ้นซาก แต่ขอให้เราอย่ามา หลอกชื่นชมตนเองว่าเรานั้นไร้มลทินในเรื่ องใดๆ แม้แต่ในเรื่ องของการข่มเหงรังแกกันด้วยอาญาแห่ ง กฎหมาย การลงอาญาต่อทัศนะหรื ออย่างน้อยที่สุดก็ต่อการแสดงออกของทัศนะ ยังมีอยูใ่ นกฎหมาย และ แม้ในเวลาเหล่านี้ การบังคับใช้น้ นั ก็ยงั มีให้เห็นเป็ นตัวอย่าง จนเป็ นเรื่ องที่อาจเชื่อได้วา่ สักวันหนึ่งมันจะ หวนคืนมาสู่ความรุ นแรงอย่างเต็มที่ได้อีก ในปี ค.ศ. 1857 ในการเปิ ดศาลภาคฤดูร้อนของเทศบาลคอร์น วอล คนผูโ้ ชคร้ายผูห้ นึ่ง2 ซึ่งเป็ นที่กล่าวกันว่าไม่ได้มีพฤติกรรมในแง่ใดเลยของชีวิตที่รับไม่ได้ แต่กย็ งั ถูกตัดสิ นให้รับโทษจำาคุกเป็ นเวลายีส่ ิ บเอ็ดเดือน สำาหรับการกล่าว และการเขียนลงบนประตูร้ ัว ด้วย ถ้อยคำาอันเป็ นการล่วงเกินต่อคริ สต์ศาสนา ในช่วงเวลาที่ห่างกันแค่ในหนึ่งเดือน ที่โอลเบลเลย์ คนสอง คน3 ในต่างวาระ ถูกปฏิเสธไม่ให้เป็ นลูกขุน และถูกเหยียดหยามอย่างรุ นแรงโดยผูพ้ ิพากษาและคณะ กรรมการผูห้ นึ่ง เพราะว่าพวกเขาประกาศออกมาตรงๆ ว่า พวกเขาไม่มีความเชื่อทางเทววิทยา ชาวต่าง ชาติผหู ้ นึ่ง4 ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกัน ถูกปฏิเสธความยุติธรรมจากเหตุโจรกรรม ซึ่งการปฏิเสธสิ ทธิที่จะ ได้รับความยุติธรรมนี้ เกิดขึ้นจากลัทธิ ทางกฎหมาย ที่วา่ ไม่มีผใู ้ ดจะได้รับอนุญาตให้ให้การในศาลสถิตย์ ยุติธรรม หากเขาไม่ประกาศความเชื่อในพระเจ้า (พระเจ้าอะไรก็ได้) และในรัฐของพระเจ้าในโลกหน้า ซึ่งเท่ากับเป็ นการประกาศให้บุคคลเช่นนั้นเป็ นผูอ้ ยูน่ อกกฎหมาย คืออยูน่ อกขอบเขตการปกป้ องของฝ่ าย ตุลาการ ซึ่งถ้าเกิดว่าในเหตุการณ์น้ นั ไม่มีใครอื่นอยู่ นอกจากตัวเขาเอง หรื อมีแต่คนที่ถือทัศนะแบบเดียว กับเขา ไม่เพียงแต่พวกเขาจะถูกขโมยหรื อถูกล่วงละเมิดได้อย่างปราศจากการลงโทษแล้ว ไม่วา่ ใครก็ตาม ก็อาจถูกโจรกรรมหรื อล่วงละเมิดได้อย่างไม่ตอ้ งรับโทษ ถ้าการพิสูจน์ขอ้ เท็จจริ งในเรื่ องดังกล่าว ต้อง อาศัยคำาให้การของพวกเขา ข้อสมมติฐานที่รองรับข้อยึดถือเช่นนี้ กค็ ือ คำาสาบานตนเป็ นสิ่ งที่ไร้ความ หมาย ถ้าผูใ้ ห้คาำ สาบานไม่เชื่อในโลกหน้า นี่เป็ นหนึ่งข้อตัดสิ นซึ่งแสดงให้เห็นถึงความโง่เขลาในเรื่ อง ประวัติศาสตร์ ในบรรดาผูค้ นที่ยอมรับข้อตัดสิ นดังกล่าว (เพราะในประวัติศาสตร์ แล้ว เป็ นเรื่ องจริ งว่า ในทุกยุคทุกสมัย คนที่ไม่นบั ถือศาสนาจำานวนมาก เป็ นบุคคลผูซ้ ่ ึงซื่อสัตย์และเปี่ ยมไปด้วยศักดิ์ศรี ใน ตนเอง) และข้อตัดสิ นเช่นนี้ กย็ อ่ มจะไม่ได้รับการยืดถือโดยใครก็ตาม ผูซ้ ่ ึงมีความเข้าใจแม้เพียงสักนิดว่า มีคนมากมายเพียงไร ซึ่งมีชื่อเสี ยงทั้งในด้านคุณธรรมและความสำาเร็ จอย่างล้นเหลือในโลก ซึ่งอย่างน้อย ที่สุดก็เป็ นที่รู้โดยคนใกล้ชิดว่าเป็ นผูท้ ี่ไม่เชื่อในโลกหน้า ยิง่ กว่านั้น กฎนี้กห็ กั ล้างตนเอง ภายใต้การเชื่อ ไปเองว่าคนที่ไม่เชื่อศาสนาทั้งหลายจะต้องเป็ นคนโกหก กฎนี้ยอมรับคำาให้การของคนที่ไม่เชื่อพระเจ้า ที่ พร้อมจะโกหกว่าเชื่อ และไม่ยอมรับคนที่กล้าเผชิญหน้าต่อการสาปแช่ง ในการประกาศตนอย่างเปิ ดเผย ว่าเชื่อในสิ่ งที่ผคู้ นรังเกียจ มากกว่าที่จะให้เขาพูดออกไปในสิ่ งเท็จ กฎแบบซึ่งตัดสิ นตัวเองว่าผิดบนการ ขัดแย้งตนเอง เท่าที่พิจารณาตามวัตถุประสงค์ที่ประกาศออกมานี้ จะสามารถรักษาอำานาจไว้ได้ ก็แต่ใน 2
Thomas Pooley, Bodmin Assizes, 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1857 ในเดือนธันวาคม เขาได้รับพระราชทานอภัยโทษ 3 George Jacob Holyoake, 17 สิ งหาคม ค.ศ. 1857 Edward Truelove กรกฎาคม ค.ศ. 1857 4 Baron de Gleichen, Marlborough-street Police Court 4 สิ งหาคม ค.ศ. 1857
30
ฐานะเครื่ องหมายแห่งความเกลียดชัง กากเดนของการตามข่มเหงรังแกคนที่เชื่อไม่เหมือนตัว ซึ่งตัวการ ข่มเหงรังแกนั้นเอง ก็มีความแปลกประหลาดอยูใ่ นตนเอง ว่าเหตุผลที่รองรับ ก็ได้รับการพิสูจน์อย่าง ชัดเจนว่าไม่สมควรแก่การกระทำา ตัวกฎและแนวคิดที่แฝงอยู่ จึงสบประมาทต่อผูท้ ี่เชื่อในศาสนาไม่นอ้ ย ไปกว่าผูท้ ี่ไม่เชื่อเลย เพราะถ้ามันเป็ นจริ งว่าคนที่ไม่เชื่อในโลกหน้าต้องเป็ นคนโกหก มันก็กลายเป็ นว่า ถ้าการเชื่อในโลกหน้าบังคับคนไม่ให้โกหกได้ คนผูท้ ี่เชื่อในโลกหน้าก็ถูกบังคับให้ไม่โกหก เพียงแค่ เพราะด้วยความกลัวนรกเท่านั้นเอง จะไม่เป็ นการว่าร้ายต่อผูท้ ี่สร้างและสนับสนุนกฎเช่นนี้ เลย หากเรา ถือว่า แนวความคิดที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเกี่ยวกับคุณธรรมของชาวคริ สต์ มาจากจิตสำานึกของพวกเขาเอง 2.19 ที่จริ งนี่ไม่ใช่อะไรเลยนอกไปจาก ซากเดนของการข่มเหงรังแกผูท้ ี่ไม่เชื่อเหมือนตน และเราควร จะถือว่ามันไม่ได้บ่งบอกถึงความปรารถนาที่จะไล่ข่มเหงจริ งๆ มากเท่ากับที่เป็ นตัวอย่างของความ บกพร่ องทางจิตที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ของคนอังกฤษ ที่ทาำ ให้พวกเขาหาความสุ ขอันวิตถาร ด้วยการยืนยันหลัก การเลวๆ ในขณะที่พวกเขาเองก็ไม่ได้เลวถึงขั้นที่จะปรารถนาที่จะนำาหลักการนั้นมาปฏิบตั ิอีกต่อไปแล้ว แต่กน็ ่าเศร้าที่จิตใจของสาธารณะชนไม่อยูใ่ นสภาวะที่มนั่ คง ซึ่งทำาให้ การละงับรู ปแบบที่เลวกว่าทั้ง หลาย ของการข่มเหงรังแกทางกฎหมายไว้ชวั่ คราว ซึ่งอยูม่ าเกือบจะข้ามช่วงหนึ่งชัว่ อายุคน จะยังเป็ นเช่น นั้นต่อไป ในยุคนี้ ผิวหน้าอันราบเรี ยบของเหตุการณ์ปกติ มักจะถูกกระเพื่อม ด้วยความพยายามที่จะ ปลุกผีในอดีต เช่นเดียวกับด้วยความพยายามนำาเสนอสิ่ งดีๆ ใหม่ๆ อะไรที่โอ้อวดกันอยูใ่ นตอนนี้ ว่า เป็ นการคืนกลับมาของศาสนา สำาหรับคนที่หวั แคบและคิดอะไรแค่ต้ืนๆ แล้ว ก็จะเป็ นการกลับคืนมา อย่างไม่นอ้ ยไปกว่ากัน ของความเกลียดชังต่อผูท้ ี่เชื่อไม่เหมือนตัว และตราบใดที่ยงั มีหวั เชื้ อที่เข้มข้นของ ความใจแคบ อยูใ่ นความรู้สึกของผูค้ น ซึ่งตลอดเวลา ยังคงเหนียวแน่นอยูใ่ นชนชั้นกลางของประเทศนี้ ความรู ้สึกนี้กต็ อ้ งการเพียงแค่การกระตุน้ เพียงเล็กน้อย เพื่อทำาให้เกิดการข่มเหงรังแกพวกคนผูซ้ ่ ึง พวกเขา ไม่เคยเลิกคิดเลยว่า สมควรแก่การข่มเหง5 ประเทศนี้เป็ นประเทศที่ไร้ซ่ ึงอิสรภาพทางจิตใจก็เพราะ ความ 5
คำาเตือนอย่างเต็มที่อาจได้จากความรู้สึกรุ นแรงทางอารมณ์ของผูข้ ่มเหงรังแกศาสนาอื่นผูห้ นึ่งในตอนกบฏซี ปอย ซึ่ ง ผสมเข้ากับลักษณะทัว่ ไปของส่วนที่เลวที่สุดของบุคลิกลักษณะประจำาชาติของเรา คำาพูดเพ้อเจ้อของคนคลัง่ ศาสนาหรื อ ของนักอวดอ้างจากธรรมาสน์อาจไม่มีค่าให้เราใส่ ใจ แต่บรรดาหัวหน้าของพรรคพระคริ สตคัมภีร์นิยม(Evangelical party) ได้ประกาศออกมาเป็ นหลักการสำาหรับการปกครองชาวฮินดูและชาวมุสลิม ว่าโรงเรี ยนใดที่ไม่ได้สอนคัมภีร์ใบ เบิลจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล และผลที่จะต้องเกิดตามมาก็คือ รัฐบาลจะไม่จา้ งใครที่ไม่เป็ นชาวคริ สต์หรื ออ้าง ตนเป็ นชาวคริ สต์ มีรายงานว่ารัฐมนตรี ช่วยว่าการของรัฐคนหนึ่งได้ปราศรัยต่อผูล้ งคะแนนเสี ยงเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1857 ซึ่งมีเนื้อหาบางส่ วนในรายงานว่า “ขันติธรรมต่อศรัทธาทางศาสนาของพวกเขา โดยรัฐบาล อังกฤษ” (ศรัทธาของคนในบังคับของอังกฤษจำานวนร้อยล้านคน) “ความงมงายที่พวกเขาเรี ยกว่าศาสนา ได้ถ่วงความ รุ่ งเรื องของอังกฤษ และขัดขวางความเจริ ญก้าวหน้าอันเป็ นคุณประโยชน์ของคริ สต์ศาสนา .... ขันติธรรมเป็ นเสาหลัก ของเสรี ภาพทางศาสนาของประเทศนี้ แต่จงอย่าปล่อยให้พวกเขาเอาคำาว่าขันติธรรมนี้ ไปใช้อย่างผิดๆ ตามที่เขาเข้าใจ มันหมายถึงเสรี ภาพอย่างสมบูรณ์สาำ หรับคนทุกคน เสรี ภาพที่จะนับถือในหมู่ชาวคริ สต์ ผู้ที่นับถือบนรากฐานเดียวกัน มันหมายถึง ขันติธรรมต่อลัทธิและนิกายของชาวคริ สต์ ผ้ ทู ี่เชื่ อในสื่ อกลางหนึ่งเดียว” ผมปรารถนาที่จะเรี ยกร้องความ สนใจต่อข้อเท็จจริ งนี้ ที่วา่ คนที่ถูกตัดสิ นว่าเหมาะสมต่อตำาแหน่งในรัฐบาลของประเทศนี้ ภายใต้กระทรวงเสรี นิยม
31
เห็นที่คนเชื่อ และความรู้สึกที่พวกเขายึดมัน่ เกี่ยวกับคนผูซ้ ่ ึงไม่ยอมเชื่อในสิ่ งที่พวกเขาตัดสิ นว่าสำาคัญ เป็ นเวลายาวนานมาแล้วที่ ความเกเรหลักๆ ของการลงโทษทางกฎหมาย ก็คือการที่มนั ช่วยเพิ่มอำานาจให้ กับการประณามทางสังคม ซึ่งมันก็คือการประณามทางสังคมนัน่ เอง ที่มีประสิ ทธิ ภาพจริ งๆ และเพราะ ว่ามันมีประสิ ทธิภาพอย่างยิง่ นั้นเอง ที่ทาำ ให้การประกาศทัศนะหลายๆ อย่าง ซึ่งสังคมปิ ดกั้น ไม่ค่อยเกิด ขึ้นในอังกฤษ มากเท่ากับที่เกิดขึ้นในที่อื่นๆ หลายประเทศ ซึ่งก็คือการประกาศในความคิดพวกซึ่ง ก่อให้ เกิดการอันตรายต่อการถูกลงโทษทางกฎหมาย สำาหรับคนทุกคนแล้ว ยกเว้นก็แต่คนซึ่ง สถานการณ์อนั พิเศษของพวกเขา ทำาให้พวกเขาเป็ นอิสระจากเจตคติที่ดีของคนอื่นๆ ทัศนคติ มีประสิ ทธิ ภาพพอๆ กับ กฎหมาย คนเราอาจถูกขุมขังได้เท่าๆ กันกับที่ ถูกกันออกจากวิถีการหาเลี้ยงชีพ สำาหรับคนที่ปากท้อง หมดปัญหาแล้ว และสำาหรับคนที่ไม่ตอ้ งการความช่วยเหลือจากคนที่มีอาำ นาจ หรื อจากกลุ่มคน หรื อจาก สาธารณชน ก็ไม่มีอะไรที่เขาจะต้องกลัว ต่อการที่จะประกาศทัศนะใดๆ ของตนออกไปอย่างเปิ ดเผย นอกไปจากความกลัวที่จะถูกคิดไปในทางไม่ดีหรื อกล่าวถึงในแง่ร้าย และคนก็อาจทนสิ่ งนี้ได้โดยไม่ จำาเป็ นจะต้องถูกหล่อหลอมมาอย่างแข็งแกร่ งแต่อย่างใด จึงไม่มีใครที่ตอ้ งร้องขอความเห็นใจแทนบุคคล เช่นนั้น แต่ถึงแม้วา่ ตอนนี้ เราจะไม่ทาำ การอันชัว่ ร้าย กับคนที่คิดต่างไปจากเรา มากเท่ากับที่เราเคยกระทำา เมื่อก่อน มันก็อาจเป็ นว่า เราทำาสิ่ งที่ชวั่ ร้ายให้แก่ตวั เราเอง มากเท่ากับที่เรากระทำาต่อพวกเขา โสเครตีส ถูกประหาร แต่ปรัชญาของเขาก็เจิดจ้าราวกับตะวันในท้องฟ้ า ส่ องแสงสว่างไปทัว่ นภาแห่ งภูมิปัญญา ชาวคริ สต์ถูกโยนไปให้สิงโตกิน แต่คริ สตจักรก็เติบโตแผ่ขยายเหนือความคิดความเชื่อเก่าๆ และหยุดยั้ง การเติบโตของความเชื่อพวกนั้นด้วยร่ มเงาของตน ลำาพังความใจแคบทางสังคมของเราไม่ฆ่าใคร ไม่ถอน รากถอนโคนทัศนะใดๆ แต่ผลักดันคนให้ตอ้ งปลอมแปลงมัน หรื อยับยั้งจากการพยายามเผยแพร่ มนั เรา ไม่รับรู้เลยว่าทัศนะนอกรี ตเข้มแข็งขึ้นหรื ออ่อนแอลง ในแต่ละทศวรรษหรื อในแต่ละรุ่ นคน พวกมันไม่ เคยรุ กลามออกไปไหนไกล แต่คุกรุ่ นอยูข่ า้ งในแวดวงแคบๆ ของบุคคลที่ช่างคิดและเอาจริ งเอาจัง ดำารง อยูใ่ นท่ามกลางผูค้ นที่คิดมันขึ้นมา อย่างที่มนั ไม่อาจส่ องทางสว่าง ให้กบั ความเป็ นไปทั้งหลายของมวล มนุษย์ ไม่วา่ จะด้วยแสงแห่ งความจริ งหรื อความเท็จ ด้วยเหตุน้ นั เอง สภาวการณ์จึงถูกรักษาไว้ ให้เป็ นที่ น่าพอใจอย่างยิง่ สำาหรับคนบางคน เพราะว่า เมื่อไม่มีกระบวนการที่น่ารังเกียจของ การปรับหรื อจำาคุก ผูค้ น ทัศนะของพวกที่มีอาำ นาจก็ได้รับการรักษาไว้ไม่ให้ถูกรบกวนจากภายนอก ในขณะที่ไม่ตอ้ งสัง่ ห้าม อย่างเด็ดขาด ให้ผทู้ ี่ไม่ยอมเชื่อฟังซึ่งเป็ นพวกที่ป่วยไข้ทางความคิด ยุติการใช้เหตุผล เป็ นแผนสบายๆ สำาหรับสันติภาพในโลกแห่งปัญญา และรักษาทุกอย่างในโลกนั้นให้เป็ นไปอย่างที่มนั เป็ นอยู่ แต่การ สร้างความสงบราบเรี ยบทางปัญญาในวิธีแบบนี้ ก็แลกมาด้วยการสูญเสี ยความกล้าหาญทางศีลธรรมทั้ง มวลของจิตมนุษย์ เพราะสภาวการณ์แบบที่คนส่ วนใหญ่ของผูม้ ีปัญญา ผูซ้ ่ ึงค้นหาปั ญญาอย่างเอาจริ งเอา จัง พบว่าน่ายอมรับ เพื่อที่จะรักษาหลักการทัว่ ไปและรากฐานของความเชื่อมัน่ ของตนไว้ให้ได้ และ ยึดถือหลักความเชื่อว่า ทุกคนที่ไม่เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์แห่งพระเยซูคริ สต์ยอ่ มอยูพ่ น้ ขอบเขตของขันติธรรม หลังจาก การแสดงออกอย่างไร้สาระนี้แล้ว มีใครอีกหรื อที่จะยังจมอยูใ่ นมายาว่าการข่มเหงรังแกกันทางศาสนาได้ผา่ นพ้นไปแล้ว อย่างไม่มีวนั หวนคืนมา
32
พยายามที่จะทำาให้ขอ้ สรุ ปในสิ่ งที่เขากล่าวต่อสาธารณะชน เข้าให้ได้อย่างมากที่สุดกับฐานความคิดที่เขา เองก็แอบปฏิเสธอยูใ่ นใจ เป็ นสถานการณ์ที่ไม่อาจจะผลักดันให้เกิดปัญญาชนผูซ้ ่ ึงเปิ ดเผย ไร้ความกลัว ใช้เหตุผลของตนอย่างคงเส้นคงวา ผูซ้ ่ ึงครั้งหนึ่งเคยประดับโลกแห่ งปั ญญา คนพวกที่เราจะพบภายใต้วิธี การแบบนั้น ก็จะเป็ นได้แค่เพียงคนที่คอยแต่จะคล้อยตามความคิดที่มีอยูท่ วั่ ไปในท้องตลาด หรื อไม่กเ็ ป็ น พวกที่ถือเอาความคิดพวกนั้นว่าจริ งเพียงเพื่อหาประโยชน์ ซึ่งการอ้างเหตุผลของเขาในเรื่ องที่สาำ คัญๆ ทุกๆ เรื่ องมุ่งหมายไปที่ผฟู้ ัง แต่กก็ ลับไม่ใช่การอ้างเหตุผลแบบที่เขาจะอธิ บายให้ตนเองเชื่อ คนพวกที่ หลีกเลี่ยงทางนี้ ก็ทาำ ด้วยการตีกรอบความคิดและความสนใจของตนให้แคบลง สู่เรื่ องที่สามารถพูดถึงได้ โดยไม่ตอ้ งเสี่ ยงเข้าไปสู่อาณาบริ เวณของหลักการ นัน่ ก็คือ อยูก่ บั เรื่ องเชิงปฏิบตั ิเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งก็จะถูก ต้องไปด้วยตัวเอง เพียงแค่ถา้ จิตของมนุษย์จะมีพลังอำานาจที่เข้มแข็งและขยายเบ่งบาน แต่ตราบใดที่ยงั ไม่ เป็ นเช่นนั้น ก็จะไม่มีทางถูกต้องได้เลย ในขณะที่การคิดค้นอย่างหาญกล้าและเสรี ในเรื่ องที่สูงส่ งที่สุด ซึ่ง จะสร้างพลังแห่ งจิตใจของมนุษย์ให้กล้าแข็ง ขยายจิตของมนุษย์ให้กว้างออก กลับถูกละทิ้ง ไม่มีใคร เข้าไปแตะต้อง 2.20 ไม่วา่ ใครก็ตามที่เห็นว่า การที่ฝ่ายนอกรี ตต้องเก็บปากเก็บคำา ไม่ใช่ความชัว่ ร้าย ควรพิจารณาเสี ย แต่เบื้องต้นว่า ผลของการนั้นก็คือ ทัศนะของฝ่ ายนอกรี ตจะไม่เคยได้รับการอภิปรายโต้เถียงอย่างเที่ยง ธรรมและถี่ถว้ นเลย และแม้วา่ ทัศนะพวกนั้นอาจเป็ นของที่ไม่อาจต่อสูก้ บั การโต้เถียงได้จริ งๆ แม้วา่ มัน จะถูกกันไม่ให้แผ่ขยายออกไป แต่มนั ก็จะไม่หายไปไหน แต่ไม่ใช่จิตใจของฝ่ ายพวกนอกรี ต ที่จะตกต่าำ เสื่ อมถอยที่สุด โดยการปิ ดกั้นการคิดหาเหตุผลใดๆ ก็ตาม ซึ่งไม่ได้พาไปสู่ขอ้ สรุ ปตามแบบของฝ่ ายที่ถือ อำานาจของเสี ยงส่วนใหญ่ ความสูญเสี ยที่รุนแรงที่สุด เกิดขึ้นกับคนที่ไม่ใช่พวกนอกรี ต และเป็ นคนที่ พัฒนาการทางสติปัญญาของพวกเขาจะถูกปิ ดกั้น และเหตุผลของพวกเขาก็ถูกทำาให้ขลาดเขลาไปด้วย ความกลัวต่อความคิดที่ออกนอกรี ตนอกรอย มีใครจะสามารถคิดคำานวณได้ไหมว่าโลกได้สูญเสี ยไปแล้ว มากเท่าไหร่ แล้ว ในบรรดาปัญญาชนที่ทาำ ท่าว่าจะดี ที่ไปบวกเข้ากับอุปนิสยั เชื่องๆ ผูซ้ ่ ึงไม่กล้าที่จะเดิน ตามกระแสของความคิดอิสระที่เข้มแข็งทรงพลัง และยิง่ กลัวไปใหญ่เมื่อมันพาเขาไปสู่บางสิ่ ง ซึ่งอาจถูก พิจารณาได้วา่ ผิดต่อศาสนาหรื อต่อศีลธรรม? ในบรรดาคนเหล่านั้น บางทีเราก็อาจเห็นคนบางคน ผูซ้ ่ ึงมี ความสูงส่ งในมโนธรรม มีความคิดที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้ ง ผูซ้ ่ ึงใช้ชิวิตอยูก่ บั การใช้เหตุผลโต้เถียง กับ ปัญญาชนที่เขาไม่สามารถบังคับให้เงียบ และใช้พลังของความคิดสร้างสรรค์ท้ งั หมดของเขา ไปกับความ พยายามที่จะประนีประนอม แรงกระตุน้ ของมโนธรรมและเหตุผลของเขา กับความคิดที่ถือครองอำานาจ อย่างเป็ นทางการอยูใ่ นสังคม ซึ่งแม้บางที ท้ายที่สุดแล้วเขาก็อาจทำาไม่สาำ เร็ จ ไม่มีใครสามารถเป็ นนักคิด ผูย้ งิ่ ใหญ่ได้ หากเขาไม่ตระหนักว่า ในฐานะนักคิด หน้าที่เบื้องต้นของเขาก็คือ การติดตามสติปัญญาของ เขาไปสู่ขอ้ สรุ ปอะไรก็ตามที่ปัญญาของเขาจะพาไป ความจริ งนั้น ได้รับประโยชน์ แม้จากความผิดพลาด ของคนผูซ้ ่ ึงคิดสิ่ งต่างๆ ให้กบั ตนเอง เมื่อเขาใช้วธิ ี คน้ คว้าที่เหมาะสม มากกว่าที่จะได้ประโยชน์จาก ทัศนะที่เป็ นจริ ง ของบรรดาผูซ้ ่ ึงยึดถือมันอย่างง่ายๆ เพราะเกียจคร้านที่จะเหนื่อยยากลงมือคิดเอาด้วยตัว เอง ไม่ใช่เพราะว่าเสรี ภาพทางความคิดเป็ นเรื่ องสำาคัญและเป็ นสิ่ งจำาเป็ น สำาหรับการสร้างนักคิดที่ยิง่ ใหญ่
33
แต่เพราะมันเป็ นสิ่ งที่สาำ คัญเท่าๆ กัน และจำาเป็ นยิง่ กว่าเสี ยอีก ในการที่จะทำาให้คนโดยเฉลี่ยบรรลุถึงภูมิ ทางปั ญญา ที่สูงสุดที่เขาสามารถไปถึงได้ เคยมีปัจเจกบุคคลที่เป็ นนักคิดผูย้ ิง่ ใหญ่ และก็อาจมีได้อีกเสมอ แม้ในบรรยากาศของความเป็ นทาสทางปั ญญา แต่ไม่เคยมี และจะไม่มีวนั มี คนกลุ่มใหญ่ที่กระตือรื อร้น ทางปั ญญาในบรรยากาศเช่นนั้น เมื่อมีคนกลุ่มใหญ่ที่มีท่าทางไปทางนั้น ก็เป็ นเพราะ ความกลัวต่อทัศนะ ที่ผิดแผกไปจากสามัญ ถูกดึงรั้งเอาไว้ได้ในช่วงเวลานั้น เมื่อก็ตามที่มีการซ่อนความเห็นร่ วมกันว่า ห้าม ไม่ให้มีการกล่าวหักล้างหลักการที่เป็ นที่ยอมรับกันอยู่ และเมื่อใดก็ตามที่การอภิปรายในคำาถามที่สาำ คัญ ที่สุดต่อความเป็ นมนุษย์ ถูกพิจารณาว่าเป็ นที่เรื่ องที่ยตุ ิสิ้นสุ ดแล้ว เราก็ไม่อาจหวังที่จะพบกิจกรรมทาง ภูมิปัญญาขั้นสูง ซึ่งได้สร้างเคยความโดดเด่นให้แก่บางช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ เมื่อใดก็ตามที่การ สนทนาโต้เถียงหลีกเลี่ยงหัวเรื่ องซึ่งใหญ่และสำาคัญเพียงพอที่จะจุดประกายความสนอกสนใจของผูค้ น จิตของผูค้ นก็ไม่มีวนั ที่จะถูกกระตุน้ ถึงระดับรากเหง้า และก็จะไม่มีวนั เกิดแรงกระตุน้ ที่จะยกแม้แต่ บุคคลที่มีระดับสติปัญญาธรรมดา ไปสู่อะไรที่เป็ นความมีคุณค่าของสิ่ งมีชีวิตที่มีความคิด ในเรื่ องเช่น นั้นเรามีตวั อย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือสภาพการณ์ของยุโรป ในช่วงเวลาที่ตามติดมาหลังจากการปฏิรูปทางศาสนา อีกตัวอย่างหนึ่ง แม้จะจำากัดอยูก่ บั ส่วนภาคพื้นทวีป และชนชั้นที่การศึกษาอบรมสูงกว่า ก็คือใน ขบวนการของการวาดภาพของความคาดหวังไปสู่วนั ข้างหน้า ของครึ่ งหลังของศตวรรษที่สิบแปด และ ตัวอย่างที่สามซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่รวบรัดกว่านั้น คือในช่วงของความเปลี่ยนแปลงทางปั ญญาของ เยอรมัน ในระหว่างยุคของเกอเต้และฟิ ชเต้ ในช่วงเวลาเหล่านั้น เกิดการพัฒนาทัศนะความคิดเห็นเฉพาะ ทางที่แตกต่างกันไปอย่างกว้างขวาง แต่ช่วงเวลาเหล่านั้นก็เหมือนกันในเรื่ องหนึ่งคือ ในช่วงเวลาทั้งสาม แอกแห่งอำานาจควบคุมผูค้ นถูกทักลง ในแต่ละช่วง เผด็จการทางปั ญญาอันเก่าถูกขว้างทิ้งไป และอันใหม่ ก็ยงั ไม่ทนั เกิดขึ้น แรงกระตุน้ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาทั้งสาม สร้างยุโรปให้เป็ นอย่างที่เป็ นอยูใ่ นปัจจุบนั การพัฒนาแต่ละครั้งทุกครั้ง ที่เกิดขึ้น ไม่ในจิตของมนุษย์ ก็ในจารี ตประเพณี สามารถสื บย้อนกลับไปหา ได้อย่างชัดเจนถึงเวลาใดเวลาหนึ่งของทั้งสามช่วงนั้น สิ่ งที่ปรากฏให้เห็นได้บ่งชี้ มานานพอควรแล้วว่า แรงกระตุน้ ทั้งสามได้ใช้ออกไปอย่างควรค่า และเราก็ไม่อาจจะหวังการเริ่ มต้นใหม่ จนกว่าเราจะสามารถ ยืนยันเสรี ภาพทางปัญญาของเราได้ อีกครั้งหนึ่ง 2.21 ต่อไปเราจะเข้ามาสู่ส่วนที่สองของข้อโต้แย้ง และจะทิ้งข้อสมมุติฐานที่วา่ ทัศนะของสังคมอาจ เป็ นเท็จ โดยขอให้เราสมมุติวา่ มันเป็ นจริ ง และมาพิจารณากันในเรื่ องของคุณค่าของวิธีการที่ความจริ ง ของมันมักจะถูกยึดถือ เมื่อความเป็ นจริ งนั้นไม่ได้ถูกพูดคุยอย่างเป็ นอิสระและเปิ ดเผย แม้วา่ บุคคลที่เชื่อ มัน่ ในทัศนะหนึ่งๆ อาจจะยอมรับอย่างไม่เต็มใจ ว่าเป็ นไปได้ที่วา่ ทัศนะของเขาอาจจะผิด เขาก็ไม่ควรจะ หวัน่ ไหวกับข้อพิจารณาที่วา่ ไม่วา่ มันจะจริ งสักเพียงไร แต่ถา้ มันไม่ถูกยกขึ้นมาถกเถียงให้ถึงที่สุด อย่าง ำ สม่าเสมอ และอย่างที่ไม่ตอ้ งเกรงกลัวในสิ่ งใดๆ มันก็จะถูกถือว่าเป็ นลัทธิ ความเชื่อแบบฝังหัวที่ตายแล้ว ไม่ใช่ความเป็ นจริ งที่มีชีวิต 2.22 มีบุคลอยูพ่ วกหนึ่ง (โชคดีหน่อยที่มีจาำ นวนไม่มากเหมือนเมื่อก่อน) ที่พอใจแล้วถ้าจะมีคนๆ หนึ่งที่ยอมรับอย่างไร้ขอ้ สงสัยต่อสิ่ งที่พวกเขาคิดว่าจริ ง ถึงแม้วา่ คนนั้นจะไม่รู้เลยว่าทัศนะนั้นวางอยูบ่ น
34
อะไร และไม่สามารถยกเหตุผลที่เป็ นเรื่ องเป็ นราวมาปกป้ องมัน แม้จากข้อโจมตีที่ผวิ เผินที่สุด สำาหรับ คนประเภทนั้น ถ้าพวกเขาสามารถทำาให้ผมู้ ีอาำ นาจบังคับสอนความเชื่อของเขาได้แล้ว ก็เป็ นธรรมดาที่เขา จะคิดว่าการปล่อยให้มนั ถูกตั้งคำาถาม มีแต่จะทำาให้เกิดผลเสี ยมากกว่าผลดี ที่ไหนก็ตามที่อิทธิ พลของ พวกเขาครอบคลุมถึง พวกเขาก็จะทำาให้มนั แทบจะเป็ นไปไม่ได้เลย ที่ทศั นะที่คนส่ วนใหญ่สงั คมยึดถือ จะถูกปฏิเสธอย่างเปี่ ยมด้วยปัญญา แม้วา่ มันอาจถูกปฏิเสธอย่างหุ นหันและไร้การไตร่ ตรองได้อย่างง่ายๆ ก็ตาม เพราะว่าการจะตัดการอภิปรายโดยสิ้ นเชิงยากที่จะเป็ นไปได้ และหากการอภิปรายได้เปิ ดขึ้นแล้ว ความเชื่อที่ไม่ได้มีรากฐานอยูบ่ นความเชื่อมัน่ ที่มีเหตุผลก็มกั จะยอมแพ้ ก่อนหน้าที่จะมีการเสนออะไรที่ ใกล้เคียงกับข้อโต้เถียงเสี ยด้วยซ้าำ อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธความสำาคัญของความเป็ นไปได้น้ี ซึ่งได้แก่ การถือเอาว่าทัศนะที่เป็ นจริ งกำาหนดจิตใจให้ยอมตาม แต่กาำ หนดในฐานะอคติ คือเป็ นความเชื่อที่เป็ น เอกเทศจากข้อโต้เถียงด้วยเหตุดว้ ยผล กระนั้นก็ตาม นี่ไม่ใช่วิธีที่ความเป็ นจริ งควรจะได้รับความยึดถือ โดยสิ่ งมีชีวิตที่มีเหตุผล นี่ไม่ใช่การรู้ความจริ ง ความจริ งที่ยดึ ถือเอาเช่นนั้นเป็ นได้กแ็ ค่ความเชื่อที่งมงาย ที่บงั เอิญไปยึดอยูก่ บั ถ้อยคำาที่เปิ ดเผยสู่ความจริ ง 2.23 ถ้าสติปัญญาและอำานาจในการตัดสิ นสิ่ งต่างๆ ให้ตนเองของมนุษยชาติควรจะได้รับการบำารุ ง เลี้ยงให้เติบโต อันเป็ นสิ่ งที่อย่างน้อยนิกายโปรเตสแตนต์กไ็ ม่ปฏิเสธ แล้วจะมีอะไรอื่นอีกหรื อที่จะทำาให้ สมรรถนะเหล่านี้ได้รับการฝึ กฝนอย่างเหมาะสมโดยคนๆ หนึ่ง มากไปกว่าโดยสิ่ งซึ่งสำาคัญต่อเขาอย่าง มาก จนเป็ นที่พิจารณากันว่าจำาเป็ นที่เขาจะต้องยึดถือทัศนะบางอย่าง ในเรื่ องดังกล่าว? ถ้าการปลูกเพาะ ปัญญาความเข้าใจ วางอยูใ่ นสิ่ งหนึ่งยิง่ กว่าในสิ่ งอื่น ก็แน่นอนว่ามันย่อมวางอยูบ่ นการเรี ยนรู ้รากฐานที่ รองรับทัศนะของตนเอง อะไรก็แล้วแต่ที่ผคู้ นเชื่อ อันเป็ นเรื่ องราวซึ่งมีความสำาคัญเป็ นอันดับแรกที่จะ ต้องเชื่อให้ถูกต้อง อย่างน้อยที่สุด พวกเขาก็ควรจะต้องสามารถที่จะปกป้ องตนเองจากข้อคัดค้านธรรม ดาๆ ได้ แต่บางคนอาจกล่าวว่า “ปล่อยให้พวกเขาได้เรี ยนรู ้พื้นฐานของทัศนะของตนเองก็ได้ แต่กไ็ ม่ได้ หมายความว่า ทัศนะเป็ นสิ่ งที่เพียงแค่ถูกท่องจำา เพียงเพราะว่าไม่เคยมีใครมาพูดตั้งคำาถามมัน คนที่เรี ยน เรขาคณิ ต ไม่ใช่แค่จดจำาตัวทฤษฎีบท แต่เข้าใจและเรี ยนรู ้วิธีการแสดงความจริ งของทฤษฎีบทด้วย และก็ ย่อมเป็ นเรื่ องไร้สาระที่จะพูดว่า พวกเขายังคงเขลาต่อความเป็ นจริ งทางเรขาคณิ ต เพราะไม่เคยได้ยนิ ใคร มาปฏิเสธ หรื อพยายามที่จะพิสูจน์วา่ มันผิด” ไม่มีอะไรให้ตอ้ งสงสัยในเรื่ องนี้ และการพูดเช่นนี้ กใ็ ช้ได้ กับวิชาอย่างคณิ ตศาสตร์ ที่ไม่มีอะไรเลยที่ตอ้ งพูดเกี่ยวกับอีกด้านของปั ญหา ความพิเศษของความเป็ น จริ งทางคณิ ตศาสตร์กค็ ือ ข้ออ้างเหตุผลทั้งหมดเป็ นการพูดด้านเดียว ไม่มีขอ้ โต้แย้ง และไม่มีคาำ ตอบต่อ ข้อโต้แย้ง แต่ในทุกหัวเรื่ องที่ความแตกต่างทางทัศนะเป็ นได้ ความจริ งขึ้นอยูก่ บั ความสมดุลที่จะต้องไป ให้ถึง ระหว่างเหตุผลที่ขดั กันสองชุด แม้แต่ในปรัชญาธรรมชาติ ก็เป็ นไปได้เสมอสำาหรับข้อเท็จจริ ง เดียวกันที่จะมีคาำ อธิบายแบบอื่น การอธิบายแบบจีโอเซ็นทริ กเทียบกับการอธิ บายแบบเฮลิโอเซ็นทริ ก การอธิ บายการเผาใหม้ดว้ ยโฟรจีสตอนเทียบกับการอธิ บายด้วยอ๊อกซิเจน และจะต้องมีการแสดงว่าทำาไม ทฤษฎีอื่นถึงไม่อาจเป็ นจริ ง และจนกว่าสิ่ งนี้จะถูกแสดงออกมา และจนกว่าเราจะรู ้วา่ มันถูกแสดงได้ อย่างไร เราจะไม่รู้ถึงรากฐานของทัศนะของเรา แต่เมื่อเราหันมาหาเรื่ องที่ซบั ซ้อนมากกว่าอย่างมหาศาล
35
คือมาสู่เรื่ องของศีลธรรม ศาสนา การเมือง ความสัมพันธ์ทางสังคม และเรื่ องของชีวิต สามในสี่ ของการ อ้างเหตุผลให้กบั ทัศนะใดก็ตามที่ถูกโต้แย้ง จะวางอยูบ่ นการพยายามขจัดอะไรก็ตามที่ดูเหมือนว่าจะ ให้การสนับสนุนต่อทัศนะที่ต่างไปจากมัน นักพูดผูย้ ิง่ ใหญ่ของยุคโบราณ ยกเว้นเพียงคนเดียว ล้วนทิ้ง เรื่ องราวไว้ในบันทึกว่า เขาศึกษาความคิดของคู่ปฏิปักษ์ของเขาอย่างเข้มข้น ถ้าไม่มากกว่า ก็ไม่นอ้ ยไป กว่าของตนเอง สิ่ งที่ซิเซโร (Cicero) ยึดถือปฏิบตั ิในฐานะหนทางสู่ความสำาเร็ จในการแก้คดีความ เป็ น สิ่ งที่ควรเอาเยีย่ งอย่างโดยทุกคน ผูซ้ ่ ึงศึกษาหาหนทางเข้าถึงความจริ งของเรื่ องราวใดก็ตาม คนผูซ้ ่ ึงรู ้ เพียงด้านของตนเพียงด้านเดียวย่อมไม่รู้จริ ง เหตุผลของเขาอาจจะดี และอาจไม่เคยมีใครสามารถหักล้าง เขา แต่ถา้ ตัวเขาเองก็ไม่สามารถหักล้างเหตุผลของฝ่ ายตรงกันข้ามได้เช่นเดียวกัน แล้วถ้าเขาไม่รู้เหตุผล ของฝ่ ายตรงข้าม เขาก็ยอ่ มไม่มีเหตุผลให้พอใจในทัศนะหนึ่งมากกว่าอีกทัศนะหนึ่ง ฉะนั้น ท่าทีที่สมเหตุ สมผลสำาหรับเขา น่าจะเป็ นการรั้งรอการตัดสิ นไว้ก่อน และหากเขาไม่กาำ หนดตนเองไว้กบั ท่าทีเช่นนั้น เขาก็จะถูกชักนำาไปโดยผูม้ ีอาำ นาจ หรื อไม่กเ็ ป็ นไปในแบบที่คนส่ วนใหญ่ในโลกเป็ นกัน คือรับเอาทัศนะ ของฝ่ ายที่เขามีความรู้สึกโน้มเอียงเข้าหามากที่สุด มันยังไม่เพียงพอ ถ้าหากเขาจะได้ยนิ การอ้างเหตุผล ของฝ่ ายตรงกันข้าม จากครู ของเขาเอง นำาเสนอแบบที่พวกครู ยดึ ถือ พร้อมด้วยสิ่ งที่พวกเขาเสนอว่าเป็ น ข้อหักล้าง นี่ไม่ใช่การแสดงเหตุผลที่ยตุ ิธรรม และไม่ใช่การที่จิตใจได้สมั ผัสกับเหตุผลอย่างแท้จริ ง เขา จะต้องสามารถได้ยนิ เหตุผลจากบุคคลผูซ้ ่ ึงเชื่อมันจริ งๆ ผูซ้ ่ ึงปกป้ องมันอย่างเอาจริ งเอาจังที่สุด และทำา เพื่อมันอย่างถึงที่สุดของตน เขาจะต้องรู ้จกั มันในแบบที่น่าเชื่อถือและน่าจูงใจอย่างถึงที่สุดที่เป็ นไปได้ ำ กทั้งมวลของความยุง่ ยาก ซึ่งภาพที่แท้จริ งของเรื่ องราวจะต้องเผชิญและขจัดให้ เขาจะต้องรู้สึกถึงน้าหนั ได้ มิเช่นนั้น เขาก็จะไม่มีวนั ได้ครอบครองในส่ วนของความจริ งซึ่งตอบต่อข้อยุง่ ยากนั้น และนี่กเ็ ป็ น จริ งต่อเก้าสิ บเก้าในร้อยของผูท้ ี่เรี ยกตนเองว่าผูม้ ีการศึกษา หรื อแม้แต่กบั คนผูซ้ ่ ึงโต้เถียงสนับสนุนทัศนะ ของตนอย่างแคล้วคล่อง ข้อสรุ ปของพวกเขาอาจจะเป็ นจริ ง แต่ทุกอย่างที่พวกเขารู ้กอ็ าจจะเป็ นเท็จ พวก เขาไม่เคยพาตัวเองเข้าไปสู่จิตใจของคนที่คิดต่างไปเขาเลย และไม่เคยพิจารณาเลยว่าคนพวกนั้นจะพูดว่า อย่างไร และผลก็คือ ตามคำาพูดที่ถูกต้องแล้ว พวกเขาไม่ได้รู้จริ งในคำาสอนที่ตนเองป่ าวประกาศเลย พวก เขาไม่รู้ถึงส่วนของมันซึ่งอธิบายและเป็ นเหตุผลรองรับให้กบั ส่ วนที่เหลือ เขาไม่รู้ถึงข้อพิจารณาหลายๆ ข้อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าข้อเท็จจริ งข้อหนึ่ง ซึ่งดูเหมือนว่าจะขัดแย้งกับอีกข้อหนึ่ง ที่จริ งแล้วสามารถเข้ากัน ำ กสองข้อ ข้อหนึ่งน่าพอใจกว่าอีกข้อหนึ่ง พวก ได้ หรื อที่แสดงให้เห็นว่า ในเหตุผลที่ดูเหมือนว่ามีน้าหนั เขาไม่เคยรู้จกั ส่วนทั้งหมดของความจริ งซึ่งหันตาชัง่ และให้ขอ้ ตัดสิ นแก่จิตใจที่มีขอ้ มูลครบถ้วน และไม่ วันที่ใครจะรู้ถึงความจริ งเช่นนั้น เว้นแต่เขาจะให้ความเอาใจใส่ กบั ทั้งสองฝ่ ายอย่างเท่าเทียมกัน ไร้ความ ลำาเอียง และทุ่มเทความพยายามทั้งมวลที่จะเข้าใจเหตุผลของทั้งสองฝ่ ายอย่างถึงที่สุด คุณภาพแห่ งจิตใจ เช่นนี้เป็ นสิ่ งที่สาำ คัญที่สุด ต่อการที่จะเข้าใจเรื่ องราวของมนุษย์และของศีลธรรม อย่างแท้จริ ง และสำาคัญ เสี ยจนกระทั้งว่า ถ้าศัตรู ของความจริ งสำาคัญๆ ทั้งหลายจะเกิดไม่มีตวั ตนอยูจ่ ริ ง ก็เป็ นเรื่ องจำาเป็ นที่จะต้อง จินตนาการศัตรู เช่นนั้นขึ้นมา และมองหาเหตุผลที่เข้มแข็งที่สุดให้กบั มัน ซึ่งเป็ นเหตุผลแบบที่ ทนายที่ เก่งกาจที่สุดของฝ่ ายปี ศาจ จะคิดค้นขึ้นมาได้
36
ำ กของข้อพิจารณาเหล่านี้ ผูท้ ี่เป็ นศัตรู ต่อเสรี ภาพในการแสดงความคิดเห็น 2.24 เพื่อที่จะทอนน้าหนั และอภิปรายอาจกล่าวว่า ไม่มีความจำาเป็ นแต่ประการใดที่มนุษยชาติโดยทัว่ ไป จะต้องรู ้และเข้าใจทุก อย่างที่นกั ปรัชญาและนักเทววิทยาจะสามารถยกขึ้นมาพูดเพื่อสนับสนุนหรื อต่อต้านทัศนะของพวกเขา พวกเขาอาจกล่าวว่า มันไม่ใช่เรื่ องจำาเป็ นสำาหรับสามัญชน ที่จะต้องสามารถเปิ ดโปงข้ออ้างผิดๆหรื อ ตรรกะลวงทั้งหลายของผูท้ ี่คิดตรงข้ามกับพวกเขา และกล่าวว่า ขอเพียงให้มีใครบางคนอยูเ่ สมอที่ สามารถตอบพวกเขาได้ เพื่อที่จะไม่มีอะไรที่หลุดรอดจากการหักล้าง ที่อาจลวงคนที่ไม่มีความรู ้ให้หลง ผิด ก็เพียงพอแล้ว และกล่าวว่า สำาหรับคนธรรมดาแล้ว ด้วยการที่ถูกสอนมาให้เห็นแต่ความจริ งแบบที่ เข้าใจง่ายๆ พวกเขาอาจวางความเชื่อในเรื่ องของความจริ งอื่นๆ ที่เหลือไว้ในมือของผูร้ ู ้จริ ง และด้วยการที่ รู้ตวั ว่าตัวเองทั้งไม่มีความรู้ และไม่มีทกั ษะที่จะแก้ปัญหาทุกๆ ปัญหาที่อาจถูกยกขึ้นมา พวกเขาก็ยงั อาจ สบายใจได้วา่ ทุกปัญหาที่เคยถูกตั้งขึ้นมา ได้ถูกตอบหรื อสามารถตอบได้ โดยคนที่ถูกฝึ กฝนมาเป็ นพิเศษ 2.25 แม้วา่ จะยอมรับในเรื่ องนี้ ว่าเป็ นข้อที่สาำ คัญที่สุดที่จะยืนยันได้โดยบรรดาผูซ้ ่ ึงพอใจอย่างง่ายๆ กับระดับของความเข้าใจในความจริ ง ที่ควรจะมาพร้อมกับความเชื่อในความจริ งนั้น แม้กระนั้น ข้อโต้ เถียงที่สนับสนุนเสรี ภาพในการอภิปราย ก็ไม่มีทางที่จะอ่อนลง เพราะแม้แต่ตวั หลักการนี้ เองก็ยงั ยอมรับ ว่า มนุษย์ชาติควรจะต้องได้รับหลักประกันอันควรแก่เหตุผล ว่าข้อโต้แย้งต่างๆ จะต้องได้รับคำาตอบจน เป็ นที่น่าพอใจ แล้วข้อโต้แย้งพวกนั้นจะได้รับคำาตอบได้อย่างไร ถ้าสิ่ งที่ตอ้ งการคำาตอบนั้นไม่สามารถ ถูกพูดออกมาได้? หรื อจะรู้ได้อย่างไรว่าคำาตอบที่ให้มาเป็ นที่น่าพึงพอใจ ถ้าผูท้ ี่ไม่เห็นด้วย ไม่สามารถ แสดงออกได้วา่ มันยังไม่น่าพึงพอใจ? ถ้าไม่ใช่ตวั ประชาชน อย่างน้อยที่สุด นักปรัชญาหรื อนักเทววิทยา ผูซ้ ่ ึงควรตอบข้อปัญหาเหล่านั้น ก็ตอ้ งทำาตัวให้คนุ ้ เคยกับปัญหาพวกนั้น ในรู ปแบบที่ยงุ่ ยากที่สุดของพวก มัน และพวกเขาย่อมไม่อาจจะทำาเช่นนั้นได้ ถ้าหากว่าข้อปั ญหาเหล่านั้นไม่อาจถูกยกขึ้นมาพูดได้อย่าง อิสระ และถูกมองด้วยใจที่พร้อมจะเข้าข้างมันอย่างที่สุดที่เป็ นไปได้ คริ สตจักรคาทอลิคมีวิธีของตนเอง ในการจัดการกับปัญหาอันชวนให้ลาำ บากใจนี้ ซึ่งทำาด้วยการแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างผูท้ ี่ได้รับ อนุญาตให้รับคำาสอนบนฐานของเหตุผล และผูท้ ี่ตอ้ งยอมรับคำาสอนบนฐานของความวางใจ โดยแท้จริ ง แล้ว ทั้งคนสองกลุ่มไม่ได้รับอนุญาตให้เลือกว่าพวกเขาจะยอมรับอะไร มีแต่พวกพระเท่านั้น ซึ่งอย่าง น้อยที่สุดก็ในฐานะที่สามารถไว้วางใจได้อย่างเต็มที่ ที่อาจได้รับความกรุ ณา ยอมรับให้ทาำ ความรู ้จกั คุน้ เคยกับข้อโต้แย้งของฝ่ ายตรงข้าม เพื่อที่จะตอบข้อโต้แย้งเหล่านั้น และดังนั้น อาจอ่านหนังสื อของพวก นอกรี ต ซึ่งสำาหรับฆราวาสแล้วยากที่จะเข้าถึง นอกเสี ยจากจะได้รับการอนุญาตเป็ นกรณี พิเศษเท่านั้น ข้อยึดถือนี้ยอมรับว่าความรู้ในเรื่ องของศัตรู เป็ นประโยชน์ต่อครู แต่กห็ าหนทางที่จะปฏิเสธความรู ้น้ี ไม่ ให้โลกที่เหลือได้ล่วงรู้ ซึ่งแม้จะไม่ใช่การให้เสรี ภาพทางปั ญญา แต่กเ็ ป็ นการให้โอกาสในการพัฒนาทาง ปัญญา กับพวกอภิสิทธิ์ชน ที่เหนือกว่าที่อนุญาตให้มหาชนมี ด้วยกลไกนี้ คริ สตจักรคาทอลิกจึงรักษา ความเหนือกว่า อย่างที่ตนจำาเป็ นต้องมี ไว้ได้สาำ เร็ จ เพราะถึงแม้วา่ การเติบโตทางปั ญญาอย่างไร้อิสรภาพ จะไม่มีทางสร้างจิตใจที่กว้างใหญ่และเสรี แต่มนั ก็สามารถสร้างผูท้ ี่จะออกโรงแก้ต่างให้กบั การกำาหนด ความคิดให้ผอู ้ ื่นได้อย่างชาญฉลาด แต่ในประเทศที่เป็ นโปรเตสแตนท์ กลไกนี้ถูกปฏิเสธ เพราะอย่าง
37
น้อยที่สุด โปรเตสแตนท์ถือก็ในเชิงหลักการ ว่าความรับผิดชอบต่อการเลือกศาสนาเป็ นของคนแต่ละคน และไม่สามารถยกให้ครู เป็ นผูต้ ดั สิ นใจแทนได้ ยิง่ กว่านั้น ในโลกยุคปัจจุบนั มันเป็ นไปไม่ได้อีกแล้ว ที่ งานเขียนที่ผมู้ ีการศึกษาอ่านจะถูกกันไม่ให้คนทัว่ ไปได้อ่าน ถ้าผูเ้ ป็ นครู ของมนุษยชาติจะรู ้อย่างแท้จริ ง ในทุกอย่างที่เขาควรรู้ ทุกสิ่ งทุกอย่างต้องได้รับการเขียน และตีพิมพ์ อย่างอิสระไร้ขอ้ จำากัด 2.26 อย่างไรก็ตาม เมื่อทัศนะที่คนส่ วนใหญ่ในสังคมเชื่อถือเป็ นจริ ง และถ้าการใช้อาำ นาจบังคับอย่าง เป็ นพาล ไม่ให้มีการอภิปรายอย่างอิสระ มีผลอยูเ่ พียงแค่การทำาให้ผคู ้ นโง่เขลาต่อเหตุผลที่รองรับทัศนะ นั้น ก็อาจเป็ นที่คิดไปว่า นี่เป็ นเพียงความชัว่ ร้ายทางปั ญญา ไม่ใช่ความชัว่ ร้ายทางศีลธรรม และไม่ กระทบอะไรต่อคุณค่าที่ทศั นะเหล่านั้นมีต่อจิตใจ แต่ขอ้ เท็จจริ งก็คือว่า เมื่อปราศจากการอภิปราย ไม่ เพียงแต่เหตุผลรองรับทัศนะนั้นจะถูกลืม ความหมายของมันก็จะถูกลืมตามไปด้วย ถ้อยคำาที่ใช้พดู ถึงมัน จะไม่บ่งบอกถึงตัวความคิดอีกต่อไป หรื อบ่งบอกได้กแ็ ต่เพียงส่ วนน้อยของความคิดที่ถอ้ ยคำาเหล่านั้นเคย ถูกใช้เพื่อสื่ อไปถึงแต่เดิม แทนที่จะเป็ นมโนคติที่กระจ่างแจ้งและความเชื่อที่มีชีวิตชีวา สิ่ งที่ยงั คงหลง เหลือก็จะมีแต่วลีไม่กี่วลี ที่ท่องจำาตามกันมา เป็ นแต่เปลือกและกระพี้ของความหมาย ที่แก่นสารภายใน สูญหายไป หน้ากระดาษแห่งประวัติศาสตร์ มนุษยชาติที่บรรจุขอ้ เท็จจริ งนี้ ควรได้รับการศึกษาและพินิจ พิเคราะห์อยูเ่ สมอ 2.27 ข้อเท็จจริ งนี้ ปรากฏให้เห็นในประสบการณ์ ของเกือบทุกหลักคำาสอนทางจริ ยธรรมและทาง ศาสนา หลักคำาสอนเหล่านั้นเต็มไปด้วยความหมาย และความเป็ นจริ งเป็ นจังต่อชีวิต สำาหรับผูท้ ี่ให้ กำาเนิดพวกมัน และสำาหรับสาวกโดยตรงของศาสดา พลังอำานาจที่อยูใ่ นความหมายของคำาสอนยังคงถูก รู ้สึกอย่างเต็มเปี่ ยม และบางทีอาจปรากฏในมโนสำานึกชัดเจนยิง่ ขึ้นไปกว่าเดิม ตราบใดที่ยงั คงมีการ ดิน้ รนต่อสู้ เพื่อให้หลักคำาสอนนั้นขึ้นครองอำานาจเหนือหลักคำาสอนอื่น ในที่สุดมันก็ชนะ และกลายเป็ น ทัศนะที่เป็ นที่ยอมรับของคนทัว่ ไป หรื อไม่เช่นนั้น การแผ่ขยายของมันก็หยุดลง มันรักษาอาณาบริ เวณที่ มันเข้ายึดครองไว้ได้ แต่ไม่อาจขยายออกไปกว่านั้น เมื่อเหตุการณ์เป็ นไปอย่างชัดเจน ไม่วา่ จะในทางใด ทางหนึ่ง การต่อสูโ้ ต้เถียงในเรื่ องนั้นๆ ก็จะอ่อนกำาลังลง และยุติไปในที่สุด หลักคำาสอนได้ต้ งั มัน่ ลงแล้ว ถ้าไม่ใช่ในฐานะความเชื่อหลักของสังคม ก็ในฐานะนิกายที่สงั คมยอมรับ และแล้ว ผูท้ ี่ถือความเชื่อ ก็มกั จะได้รับสื บทอดมันมาจากครอบครัว และไม่ได้เลือกรับด้วยความยินยอมของตนเอง และการที่ผทู ้ ี่ ประกาศตนต่อหลักคำาสอน จะเปลี่ยนไปรับหลักคำาสอนอื่น กลายเป็ นสิ่ งที่ยากแม้แต่จะคิดถึง และ สำาหรับตัวหลักคำาสอนพวกนั้นเอง แทนที่จะตื่นพร้อมอยูเ่ สมอที่จะปกป้ องตนเองจากโลกเหมือนอย่างใน ตอนแรก หรื อที่จะนำาโลกเข้ามาอยูใ่ ต้คาำ สอนของตน ก็กลับถอยไปสู่ความสงบนิ่ง ไม่ยอมรับฟังต่อข้อโต้ เถียงที่จะมาแย้งตน ทั้งที่กค็ วรฟัง และไม่แยแสที่จะเสนอข้อโต้เถียงสนับสนุนคำาสอนของตน ต่อคนผูท้ ี่ ไม่ยอมเชื่อ (หากเกิดมีคนเช่นนั้นขึ้นมา) และนี่กค็ ือจุดแห่ งความเสื่ อมถอยในอำานาจของคำาสอน เรามัก จะได้ยนิ ครู ผสู้ อนหลักศีลธรรมหรื อศาสนา รำาพันถึงความยากลำาบาก ที่จะทำาให้จิตใจของศาสนิกชน ตระหนักอย่างแท้จริ ง ถึงแก่นแห่งความจริ งทางศีลธรรม หรื อความจริ งทางศาสนาที่พวกเขาได้ชื่อว่า นับถือ เพื่อที่มนั จะได้เข้าไปฝังลึกอยูภ่ ายในความรู ้สึก และเข้าไปควบคุมการกระทำาของพวกเขาได้อย่าง
38
แท้จริ ง ความยากลำาบากเช่นนั้นไม่เคยถูกบ่นถึง เมื่อครั้งที่หลักคำาสอนยังคงต้องต่อสูเ้ พื่อความมีอยูข่ อง ตนเอง แม้แต่ฝ่ายที่มีพละกำาลังน้อยกว่า ก็ยงั รู้ และรู ้สึก ว่าตนกำาลังต่อสูเ้ พื่ออะไร และรู ้ถึงความแตกต่าง ระหว่างมันกับหลักคำาสอนอื่นๆ ในช่วงแห่งการต่อสูเ้ พื่อความดำารงอยูข่ องทุกหลักคำาสอน เราอาจพบ คนจำานวนไม่ใช่นอ้ ย ผูซ้ ่ ึงตระหนักถึงหลักการพื้นฐานของมันในทุกรู ปแบบทางความคิด ผูซ้ ่ ึงชัง่ และ พิจารณาหลักการพวกนั้นในทุกแง่มุม และมีประสบการณ์ถึงผลที่มนั มีต่อบุคลิกภาพ อย่างที่ควรเกิดมีข้ ึน ในจิตใจที่เอิบอิ่มอยูใ่ นคำาสอนนั้น แต่เมื่อมันได้กลายไปเป็ นหลักคำาสอนที่พอ่ แม่ส่งต่อให้ลูก และเป็ นสิ่ ง ที่ลูกได้รับมาอย่างไม่ได้ต้ งั ใจ นัน่ ก็คือ เมื่อจิตใจไม่ได้ถูกผลักดันให้ใช้พลังทั้งหมดของตน มาตั้งคำาถาม กับสิ่ งที่ตนเชื่อ ก็จะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่ อยๆ ที่จะลืมความเชื่อทั้งหมด ยกเว้นแต่ที่เป็ นสูตรสำาเร็ จ หรื อที่ จะยอมรับมันแบบเฉื่อยๆ ชาๆ ราวกับว่ายอมรับไปเพียงเพราะความวางใจ อย่างที่ไม่มีความจำาเป็ นที่จะ ต้องนำามันเข้ามาสู่มโนสำานึก หรื อที่จะตรวจสอบมันด้วยประสบการณ์ของตนเอง จนกระทั้งมันแทบจะ สูญสิ้ นความเชื่อมโยงใดๆ กับจิตวิญญาณของมนุษย์ ดังนั้น เราจึงได้เห็นกรณี ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในโลกยุค นี้ ราวกับว่าเป็ นเรื่ องปกติ ที่หลักคำาสอนทางศาสนาจะคงตัว ราวกับตั้งอยูน่ อกจิต แข็งทื่อ ไร้การโต้ตอบ กับกระแสอื่นๆ ทั้งหลาย ที่ธรรมชาติส่วนที่สูงกว่าของเราเข้าไปโต้ตอบ มันประกาศอำานาจของตนด้วย การไม่ยอมให้สิ่งที่ตนยึดมัน่ ถูกกระทบ แม้เพื่อที่จะเจาะเข้าไปสู่จิตหรื อหัวใจ แต่ตวั เองก็ไม่ได้ทาำ อะไร นอกจากจะยืนเฝ้ าอยูข่ า้ งนอก รักษาดวงจิตหรื อหัวใจไว้ให้วา่ งเปล่า 2.28 ในการที่เราจะเห็นว่า เป็ นไปได้มากแค่ไหนที่คาำ สอน ซึ่งในตัวของมันเองแล้ว สามารถสร้างรอย ประทับที่ลึกซึ้ งที่สุดต่อจิต จะเข้าไปอยูใ่ นจิตอย่างที่เป็ นเสมือนความเชื่อที่ตายแล้ว คือไม่เคยถูกรับรู ้แม้ ในจินตนาการ ความรู้สึก หรื อความเข้าใจ เป็ นเรื่ องที่สามารถดูตวั อย่าง ได้จากวิธีซ่ ึงผูค้ นส่ วนใหญ่ยดึ ถือ ในหลักคำาสอนของคริ สต์ศาสนา สำาหรับผม คริ สต์ศาสนาหมายถึงสิ่ งที่ถูกถือโดยโบสถ์และนิกายทั้ง หลาย ซึ่งก็ได้แก่พระธรรมคำาสอนที่อยูใ่ นพันธะสัญญาใหม่ อันเป็ นสิ่ งที่ได้รับการถือว่าศักดิ์สิทธิ์ ได้รับ การยอมรับว่าเป็ นกฎ โดยผูป้ ระกาศตนเป็ นชาวคริ สต์ท้ งั หมด แต่กไ็ ม่ใช่เรื่ องเกินไปที่จะกล่าวว่า ไม่มี แม้แต่หนึ่งในพันคนของชาวคริ สต์ ที่อาศัยกฎเหล่านั้นมานำาทาง หรื อตรวจสอบความประพฤติส่วนตัว ของตน มาตรฐานที่พวกเขาใช้จริ งๆ ก็คือธรรมเนียมของชาติของเขา ของชนชั้นของเขา หรื อของศาสนา ของเขา ฉะนั้น ในด้านหนึ่ง เขาจึงมีหลักจริ ยธรรม ซึ่งเขาเชื่อว่าภูมิปัญญาอันเที่ยงแท้ประทานลงมาสู่เขา เพื่อให้เขาใช้เป็ นกฎควบคุมตนเอง ในอีกด้านหนึ่ง เขาก็มีขอ้ ตัดสิ นและข้อปฏิบตั ิของชีวิตประจำาวัน ซึ่ง ไปด้วยกันได้กบั หลักจริ ยธรรมพวกนั้นบางข้อ และที่ไม่ค่อยจะไปด้วยกับหลักจริ ยธรรมข้ออื่นๆ และขัด แย้งตรงๆ กับหลักจริ ยธรรมบางข้อ และโดยรวมแล้วก็เป็ นการประนีประนอมระหว่างคำาสอนของคริ สต์ ศาสนา กับผลประโยชน์ต่างๆ ทางโลก เขาวางมาตรฐานแบบแรกไว้บนหิ้ งบูชา และจงรักภักดีจริ งๆ ต่อ มาตรฐานแบบหลัง ชาวคริ สต์ทุกคนเชื่อว่ามีแต่คนจน ผูถ้ ่อมตน และผูท้ ี่ถูกโลกเอาเปรี ยบ เท่านั้นที่ได้รับ พรจากพระเจ้า เชื่อว่าเป็ นการง่ายที่จะให้อูฐรอดรู เข็ม ยิง่ กว่าที่คนรวยจะได้ข้ ึนสวรรค์ เชื่อว่าแม้ตนเองจะ ถูกผูอ้ ื่นตำาหนิ ก็ไม่ควรตำาหนิผอู้ ื่น เชื่อว่าจะต้องไม่สบถ เชื่อว่าควรจะรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง เชื่อ ว่าถ้ามีใครมาเอาผ้าคลุมของเขาไป เขาก็ควรมอบเสื้ อหนาวให้แก่ผนู ้ ้ นั ด้วย เชื่อว่าเขาไม่ควรคิดเพื่อถึงพรุ่ ง
39
นี้ เชื่อว่าถ้าเขาจะเป็ นผูท้ ี่สมบูรณ์ เขาก็ควรขายทุกสิ่ งที่เขามี เพื่อเอาเงินไปให้คนจน พวกเขาจริ งใจเมื่อเขา พูดว่าเขาเชื่อในสิ่ งเหล่านี้ พวกเขาเชื่อ เหมือนที่คนเชื่อในสิ่ งที่ได้ยนิ คนอื่นยกย่องสรรเสริ ญ แต่ไม่เคย ได้ยนิ ใครยกขึ้นมาถกเถียง แต่ในความหมายของความเชื่ออย่างที่เป็ นจริ งเป็ นจัง ซึ่งวางแนวทางให้กบั การปฏิบตั ิในชีวิต พวกเขาเชื่อคำาสอนเหล่านี้ เพียงแค่เท่าที่เข้าได้กบั ชีวิตตามปกติของพวกเขา หลักคำา สอนตามความสัตย์จริ งของพวกมัน เป็ นอะไรที่เขาสามารถนำามาใช้โจมตีปรปั กษ์ และเป็ นที่เข้าใจว่าพวก มันคือสิ่ งที่จะยกขึ้นมา (เมื่อทำาได้) เป็ นเหตุผลให้กบั อะไรก็แล้วแต่ที่ผคู ้ นทำา ที่พวกเขาคิดว่าน่าสรรเสริ ญ แต่ถา้ มีใครสักคนไปเตือนพวกเขา ว่าพระธรรมคำาสอน เรี ยกร้องให้พวกเขาทำาในสิ่ งอันนับไม่ถว้ น ที่พวก เขาไม่เคยแม้แต่คิดว่าจะทำา คนผูน้ ้ นั ก็จะไม่ได้รับอะไร นอกไปจากการถูกนับเข้าเป็ นหนึ่ง ในคนพวกที่ ชอบแสร้งทำาท่าว่าตนเองดีกว่าผูอ้ ื่น หลักคำาสอนไม่ได้เข้าไปมีอาำ นาจใดๆ ในจิตใจของผูเ้ ชื่อถือทัว่ ๆไป พวกเขามีนิสยั ที่จะให้ความเคารพกับคำาสอน แต่ไม่มีความรู ้สึกซึ่งแผ่จากถ้อยคำาไปสู่สิ่งที่ถอ้ ยคำามุ่งหมาย ถึง และบังคับจิตใจให้รับพวกมันเข้าไป และทำาให้พวกเขายอมคล้อยตามต่อคำาสอน เมื่อใดก็ตามที่เป็ น เรื่ องของการประพฤติตวั พวกเขาจะเหลียวมองหานาย ก และนาย ข ให้มาบอกพวกเขาว่า ไกลแค่ไหนใน คำาของพระเยซู ที่พวกเขาต้องยอมทำาตาม 28 2.29 เราอาจแน่ใจได้วา่ เหตุการณ์ไม่ได้เป็ นอย่างที่กล่าวมา แต่เป็ นไปในทางตรงกันข้าม สำาหรับชาว คริ สต์ยคุ แรกๆ เพราะถ้าหากมันเกิดเป็ นไปในแบบที่วา่ คริ สต์ศาสนาก็จะไม่มีวนั ได้แผ่ขยายจากการเป็ น ลัทธิ ที่แทบจะไม่มีใครรู้จกั ของชาวฮิบบรู ผถู ้ ูกรังเกียจ มาสู่การเป็ นศาสนาของอาณาจักรโรมัน เมื่อศัตรู ของพวกเขาพูดว่า “มองดูเถิดว่าชาวคริ สต์เหล่านี้ รักกันเพียงไร” (อันเป็ นถ้อยคำาที่ไม่น่าจะมีใครพูดอีก แล้ว) มัน่ ใจได้เลยว่าพวกเขามีรู้สึกอย่างจริ งจัง ต่อความหมายของข้อบัญญัติทางศาสนาของพวกเขา ยิง่ กว่าที่พวกเขามีนบั แต่น้ นั มา และน่าจะเป็ นว่า ด้วยเหตุน้ ีเอง ที่ในปั จจุบนั การแผ่ขยายเขตแดนของคริ สต์ ศาสนา จึงก้าวหน้าไปแต่เพียงเล็กน้อย และภายหลังเวลาสิ บแปดศตวรรษ ก็ยงั คงจำากัดอยูใ่ นหมู่ชาวยุโรป และผูท้ ี่สืบทอดมาจากชาวยุโรป แม้แต่กบั คนที่เคร่ งต่อศาสนาอย่างยิง่ ผูซ้ ่ ึงเอาจริ งเอาจังกับหลักคำาสอน ที่ตนเชื่อถือ และให้ความสำาคัญต่อหลักหลายๆ ข้อ มากกว่าที่คนทัว่ ไปจะให้ ก็ยงั มักปรากฏว่า ส่ วนของ คำาสอนที่พวกเขายึดถืออย่างเป็ นจริ งเป็ นจัง ก็คือส่ วนที่สอนสัง่ โดยคัลแวง (Calvin) หรื อน็อกซ์ (Knox) หรื อโดยคนที่มีบุคลิกที่ใกล้เคียงยิง่ กว่าต่อพวกเขา วัจนะของพระเยซูต้ งั อยูใ่ นใจของพวกเขาคู่ไปกับคำา สัง่ สอนพวกนั้น แต่กอ็ ย่างนิ่งเฉยแทบไม่มีผลอะไรเกินไปกว่า สิ่ งที่เกิดขึ้นจากการได้ยนิ ถ้อยคำาอันสุ ภาพ อ่อนโยน ไม่ตอ้ งสงสัยว่ามีเหตุผลมากมาย ที่ทาำ ให้หลักคำาสอนซึ่งเป็ นของเฉพาะนิกาย คงความสำาคัญไว้ ได้ยงิ่ กว่าคำาสอนที่มีอยูร่ ่ วมกันในทุกๆ นิกายของศาสนา และทำาไมครู ของแต่ละนิกาย จึงพยายามอย่าง หนักที่จะทำาให้ความหมายของมันมีชีวิตชีวา แต่แน่นอนว่า เหตุผลประการหนึ่งก็คือ หลักคำาสอนของ เฉพาะนิกายถูกตั้งคำาถามมากกว่า และต้องคอยปกป้ องตนเองจากผูค้ ดั ค้านบ่อยกว่า ทั้งผูส้ อนและผูเ้ รี ยน ต่างก็หลับอยูใ่ นป้ อมของตน เมื่อไม่มีศตั รู ปรากฏให้เห็น 2.30 กล่าวโดยทัว่ ไปแล้ว สิ่ งนี้กเ็ ป็ นจริ งกับหลักทั้งหลายของจารี ต อันได้แก่ หลักที่มาจากความ รอบคอบ และความรู้รอบในชีวิต แบบเดียวกับหลักคำาสอนทางศีลธรรมและศาสนา ทุกภาษาและ
40
วรรณคดีเต็มไปด้วยข้อคิดข้อสังเกตเรื่ องชีวิต ทั้งว่าชีวิตคืออะไรและว่าคนควรจะปฏิบตั ิตนอย่างไรใน ำ วซ้าอี ำ ก ยอมรับพวกมันอย่างไม่มีอะไรโต้แย้ง ชีวิต ทุกคนรู ้ถึงข้อคิดเช่นนี้ ทุกคนยกมันขึ้นมาพูดซ้าแล้ ถือว่าเป็ นจริ งอย่างที่สุด แต่กระนั้น ก็เป็ นสิ่ งซึ่ง เกือบทุกคนจะเรี ยนรู ้ความหมายที่แท้จริ งของมัน ก็ต่อ เมื่อประสบการณ์ ซึ่งก็มกั จะเป็ นประสบการณ์อนั เจ็บปวด ทำาให้ความเป็ นจริ งของมันปรากฏต่อพวกเขา บ่อยครั้งเพียงไร ที่คนๆ หนึ่ง เมื่อรู้สึกว่าตนฉลาดขึ้นด้วยเคราะห์ร้ายที่คาดไม่ถึง หรื อด้วยความผิดหวัง บางอย่าง จะคิดหวนไปถึงสุภาษิตคำาพังเพย ที่เขาคุน้ เคยมาตลอดชีวิต ซึ่งถ้าเขารู ้สึกถึงความหมายและ ความสำาคัญของมัน อย่างที่เขารู้สึกอยูต่ อนนี้ เสี ยแต่ก่อนหน้า เขาก็จะไม่ตอ้ งเผชิญกับความสูญเสี ยอย่างที่ เป็ นอยู่ ที่จริ งแล้วเรื่ องนี้ มีเหตุผลที่นอกเหนือไปจากการปราศจากการอภิปรายโต้เถียง มีความจริ งหลายๆ อย่าง ที่บุคคลไม่อาจรู้ถึงความหมายที่แท้จริ งของมัน จนกว่าเขาจะประสบกับความจริ งนั้นด้วยตัวเอง แต่ เขาอาจจะเข้าใจมากยิง่ ขึ้นไปกว่านี้อีกมาก และสิ่ งที่เข้าใจก็จะประทับลึกลงไปในจิตใจมากยิง่ กว่า ถ้าเขา คุน้ เคยกับการได้ยนิ ผูค้ นที่เข้าใจมันจริ งๆ โต้เถียงสนับสนุน และคัดค้านมัน แนวโน้มในมนุษยชาติ ที่จะ ละเลยการคิดเกี่ยวกับสิ่ งที่ไม่เป็ นที่สงสัยอีกต่อไปแล้ว เป็ นเหตุแห่ งครึ่ งหนึ่งของความผิดพลาดของพวก เขา นักเขียนร่ วมสมัยผูห้ นึ่งเรี ยกมันว่า “ความหลับใหลของทัศนะที่ถูกตัดสิ นแล้ว” 2.31 แต่คุณว่าอะไรนะ! (อาจมีคนถาม) การปราศจากซึ่งความเห็นที่สอดคล้องต้องกันเป็ นเงื่อนไข จำาเป็ นสำาหรับความรู้เช่นนั้นหรื อ? มันจำาเป็ นหรื อว่าบางส่ วนของมนุษยชาติควรจะยืนกรานอยูใ่ นสิ่ งผิดๆ เพื่อที่จะทำาให้คนอื่นรู้ถึงความจริ ง? ความเชื่อหนึ่งจะสูญเสี ยความจริ งและความหมายของมัน ทันทีที่มนั เป็ นที่ยอมรับโดยทัว่ ไปหรื ออย่างไร? และเราจะไม่มีวนั รู ้สึก หรื อเข้าใจข้อความหนึ่งอย่างทะลุปรุ โปร่ ง ถ้าหากความสงสัยในมันจะไม่มีเหลืออยูอ่ ีกต่อไปแล้ว เช่นนั้นหรื อ? ทันทีที่มนุษยชาติพร้อมใจกัน ยอมรับความจริ งหนึ่ง ความจริ งที่วา่ ก็จะตายไป ภายในหมู่พวกเขาหรื อ? เป็ นที่คิดกันมาตลอดจนถึงบัดนี้ ว่าเป้ าหมายสูงสุ ดและผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ของปัญญาที่ถูกพัฒนา ก็คือเพื่อที่จะประสานมนุษย์เข้าด้วยกันยิง่ ขึ้นไปเรื่ อยๆ ในการยอมรับความจริ งที่สาำ คัญๆ ทั้งมวล และเช่นนั้นแล้ว ปัญญาจะยืนยงอยู่ แค่ตราบเท่าที่ มันยังไม่บรรลุถึงเป้ าหมายของมัน อย่างนั้นหรื อ? หรื อว่าผลผลิตของชัยชนะ จะสูญสลายไป ด้วยความ สมบูรณ์แห่ งชัยชนะนั้นเอง? 2.32 ผมไม่ขอยืนยันเช่นนั้น ในขณะที่มนุษยชาติพฒั นาขึ้น จำานวนของหลักคำาสอนซึ่งไม่ถูกโต้แย้ง หรื อสงสัยอีกต่อไป จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่ อยๆ และความผาสุ กของมนุษยชาติกแ็ ทบจะอาจวัดเอาได้ จาก ำ กของเหล่าความจริ ง ที่บรรลุถึงจุดของการเป็ นเอกฉันท์นนั่ เอง การที่ขอ้ โต้แย้งใน จำานวนและน้าหนั เรื่ องสำาคัญปิ ดตนเองลงไป ทีละข้อๆ เป็ นหนึ่งในเหตุการณ์ที่จาำ เป็ นต้องเกิดขึ้น ในการประสานเข้าเป็ น หนึ่งเดียวกันของทัศนะ อันเป็ นความเป็ นปึ กแผ่นที่สร้างประโยชน์ หากเป็ นทัศนะที่ถูกต้อง มากเท่ากับ ที่จะเป็ นอันตรายและเป็ นพิษภัย เมื่อเป็ นทัศนะที่ผิดพลาด แต่ถึงแม้การแคบลงเรื่ อยๆ ของขอบเขตของ ความแตกต่างแห่งทัศนะ จะเป็ นเรื่ องจำาเป็ น ทั้งในความหมายที่วา่ เป็ นสิ่ งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และขาดเสี ยก็ ไม่ได้ แต่เราก็ไม่ได้ถูกผูกมัดให้ตอ้ งสรุ ปว่าผลของมันทั้งหมดต้องเป็ นเรื่ องดี การสูญเสี ยเครื่ องช่วยที่ สำาคัญอย่างยิง่ ต่อการเข้าใจความจริ งอย่างลึกซึ้ งและเปี่ ยมไปด้วยปั ญญา เหมือนอย่างที่ยอ่ มจะเกิดมา
41
จากความจำาเป็ นที่จะต้องเข้าไปอธิบายปกป้ องมันจากฝ่ ายตรงข้าม แม้ไม่เพียงพอที่จะหักล้างข้อดีของ การที่ความจริ งนั้นจะได้รับการยอมรับอย่างเป็ นสากล แต่กไ็ ม่ใช่ขอ้ เสี ยที่เล็กน้อย ในที่ซ่ ึงข้อดีน้ ี ไม่อาจ เกิดขึ้นอีกต่อไป ผมสารภาพว่าผมอยากจะเห็นบรรดาครู ผสู ้ อนมนุษยชาติท้ งั หลาย พยายามหาอะไรมา ทดแทนความสูญเสี ยนี้ อุบายอะไรบางอย่างที่จะทำาให้ปัญหาความยุง่ ยากปรากฏต่อมโนสำานึกของผู ้ เรี ยน ราวกับว่าเขากำาลังถูกบีบคั้นโดยคนที่เก่งกาจที่สุดของฝ่ ายที่ไม่ยอมเชื่อ ผูซ้ ่ ึงทุ่มเทพยายามเปลี่ยน ความเชื่อของเขา 2.33 แต่แทนที่จะหากลอุบายต่างๆ มาเพื่อการนี้ พวกเขากลับสูญเสี ยกลอุบายพวกที่พวกเขาเคยมีเมื่อ ครั้งอดีต วิภาษวิธีของโสเครตีส ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็ นตัวอย่างอย่างยอดเยีย่ มในบทสนทนาของเพลโต ก็ คือกลอุบายแบบที่วา่ วิธีการของของโสเครตีสเป็ นการถกในเชิงวิพากษ์ต่อปั ญหาสำาคัญๆ ในเรื่ องของ ปรัชญาและชีวิต โดยการใช้ทกั ษะและกลอุบายอันแยบยล มาทำาให้คน พวกที่รับเอาทัศนะอันพื้นๆ ของ สังคม มาเป็ นของตนเอง รู้ตวั เอง ว่าเขาไม่ได้เข้าใจในเรื่ องที่เขาคิดว่าเขารู ้เลย ซึ่งก็คือการที่เขายังไม่ได้ให้ ความหมายและความสำาคัญใดๆ กับหลักคำาสอนที่เขาประกาศว่าตัวเองยึดถือ ซึ่งเมื่อเขารู ้ตวั ในความเขลา ของตนแล้ว จะได้แสวงหาความเชื่อที่มนั่ คง ที่วางอยูบ่ นความเข้าใจอันกระจ่างชัด ต่อทั้งความหมายและ ประจักษ์พยานของคำาสอนพวกนั้น การสอนวิธีการโต้แย้งของสำานักต่างๆ ในสมัยกลาง ก็มีเป้ าหมายที่ คล้ายคลึงกับของโสเครตีสอยูบ่ า้ ง ซึ่งเป็ นการมุ่งหมายที่จะสร้างความมัน่ ใจ ว่าสานุศิษย์เข้าใจทัศนะของ ตนเอง และเข้าใจ (ตามที่สมั พันธ์กนั อย่างจำาเป็ น) ทัศนะตรงกันข้าม และสามารถยืนยันหลักฐานรองรับ ทัศนะหนึ่ง และหักล้างอีกทัศนะหนึ่ง ที่จริ งแล้ว การต่อสูท้ างความคิดประการหลังนี้ มีความบกพร่ อง อย่างรุ นแรง เพราะข้ออ้างที่ใช้เป็ นฐานของการสร้างข้อโต้เถียง ถูกกำาหนดให้ยอมรับเอาโดยอำานาจ ไม่ใช่ ด้วยเหตุผล และในฐานะวินยั แห่งปัญญา พวกมันด้อยกว่าวิภาษวิธีอนั ทรงพลังของ “สำานักแห่ งโสเคร ตีส” ในทุกๆ แง่ แต่ภูมิปัญญาของสมัยใหม่ ก็เป็ นหนี้อย่างสูงต่อวิธีการทางความคิดทั้งสอง แม้วา่ ตัวเอง จะไม่เต็มใจที่จะยอมรับสักเท่าใดก็ตาม แต่รูปแบบของการศึกษายุคปั จจุบนั กลับไม่ได้ให้ที่ทางแม้แต่ น้อย กับวิธีการไม่วา่ จะของโสเครตีส หรื อของสมัยกลาง คนที่ได้รับคำาสอนทั้งหมดของตนมาจากครู หรื อจากตำารา แม้วา่ เขาอาจจะปรารถนามากกว่าแค่การจำาไปสอบ ก็ยงั ไม่ถูกผลักดันให้หาฟังจากทั้งสอง ฝ่ าย ด้วยเหตุน้ ี แม้แต่ในหมู่นกั คิด ก็ยงั แทบจะหาคนที่รู้ท้ งั สองฝ่ ายไม่ได้เลย และเมื่อคนต้องกล่าว ปกป้ องทัศนะของตนเอง ส่วนที่อ่อนแอที่สุดของเขาก็คือส่ วนที่เขามุ่งจะตอบต่อปรปั กษ์ของเขา เป็ น ความนิยมของยุคปัจจุบนั ที่จะไม่ค่อยเห็นดี กับการใช้เหตุผลทางลบ อันได้แก่การชี้ถึงความอ่อนด้อยที่มี อยูใ่ นทฤษฎี หรื อความล้มเหลวที่อยูใ่ นการปฏิบตั ิ อย่างที่ปราศจากการเสนอความจริ งทางบวก เป็ นจริ ง ว่า ในฐานะผลลัพธ์ข้นั สุดท้าย การวิพากษ์วจิ ารณ์ในเชิงลบย่อมไม่ใช่สิ่งที่มีคุณค่าสูงนัก แต่ในฐานะของ วิถีแห่ งการก้าวไปสู่ความรู้ในเชิงบวก หรื อความเชื่อมัน่ อันควรค่า มันมีคุณค่าอย่างประเมินไม่ได้ และถ้า หากผูค้ นไม่ได้รับการฝึ กฝนให้คิดเช่นนั้นเป็ น เหมือนอย่างครั้งในอดีต ก็จะเกิดมีนกั คิดผูย้ ิง่ ใหญ่ได้นอ้ ย ำ กๆ เรื่ อง เว้นก็แต่ในเรื่ องของคณิ ตศาสตร์ และ มาก และคนทัว่ ไปก็จะมีปัญญาแค่ในระดับต่าในทุ วิทยาศาสตร์ เพราะสำาหรับเรื่ องอื่นๆ แล้ว ทัศนะของใครก็ไม่สมควรที่จะถูกเรี ยกว่าความรู ้ นอกเสี ยจาก
42
ว่า เขาจะบังคับตัวเอง หรื อไม่กถ็ ูกผูอ้ ื่นบังคับ ให้ใช้กระบวนการคิด ประเภทที่จะเกิดขึ้นได้กต็ ่อเมื่อ เขา ต้องต่อสูอ้ ย่างเอาจริ งเอาจัง ในการโต้เถียงกับผูท้ ี่เห็นตรงกันข้ามกับเขา ดังนั้น ย่อมเป็ นการไร้สาระอย่าง ที่สุด ที่จะปฏิเสธสิ่ งซึ่งจำาเป็ นเสี ยเหลือเกิน แต่เมื่อไม่มีอยู่ ก็ยากเหลือเกินที่จะสร้าง ถ้าหากจู่ๆ มันจะ เสนอตัวเองขึ้นมา! ถ้าหากมีใครสักคนที่โต้แย้งกับทัศนะของคนส่ วนใหญ่ หรื อที่จะทำาดังกล่าวถ้า กฎหมายหรื อผูค้ นจะปล่อยให้เขาทำา ก็ขอให้เราขอบคุณที่เขาทำาเช่นนั้น จงเปิ ดใจรับฟังเขา ยินดีวา่ มีคน บางคนมาทำาให้กบั เรา ในสิ่ งที่ตวั เราควรทุ่มเทแรงกายทำาให้กบั ตัวเราเอง ถ้าหากเราจะมีความเคารพอยู่ บ้าง ต่อความเที่ยงแท้ หรื อความสำาคัญ ของสิ่ งที่เรายึดมัน่ 2.34 ยังเหลืออีกข้อหนึ่งของเหตุผลทั้งหลาย ที่ทาำ ให้ความแตกต่างของทัศนะเป็ นสิ่ งที่มีประโยชน์ และจะมีประโยชน์เช่นนั้นต่อไป จนกว่ามนุษยชาติจะก้าวหน้าทางปั ญญาถึงระดับหนึ่ง ซึ่งปั จจุบนั ยังห่ าง ไกลสุ ดประมาณ เท่าที่ผา่ นมา เราได้พิจารณาความเป็ นไปได้สองอย่าง หนึ่ง ทัศนะของคนส่ วนใหญ่อาจ ผิด และทัศนะอื่นถูก สอง ทัศนะของคนส่วนใหญ่ถูก แต่ความขัดแย้งกับทัศนะที่ผิดสำาคัญต่อความเข้าใจ อย่างกระจ่างแจ้งลึกซึ้ งในความจริ งนั้น แต่มีกรณี ที่เกิดขึ้นบ่อยกว่าสองกรณี ที่วา่ คือ เมื่อหลักคำาสอนสอง อย่างขัดแย้งกัน แต่แทนที่จะมีอนั หนึ่งจริ ง อีกอันหนึ่งเท็จ ทั้งสองกลับมีส่วนร่ วมอยูใ่ นความจริ ง และ ทัศนะที่ไม่เป็ นที่ยอมรับ ช่วยเติมความจริ งให้กบั ทัศนะที่ยดึ ถือโดยคนส่ วนใหญ่ ที่เข้าถึงความจริ งแค่ เพียงบางส่ วน บ่อยครั้งที่ทศั นะของมหาชนเป็ นจริ ง แม้ในเรื่ องที่ยาก แต่กแ็ ทบจะไม่ หรื อไม่เคยเลย ที่จะ เป็ นทั้งหมดของความจริ ง พวกมันเป็ นแค่ส่วนหนึ่งของความจริ ง บางครั้งก็ใหญ่ บางครั้งก็เล็ก แต่กถ็ ูก พูดเสี ยจนเกินเลย ถูกบิดเบือน และถูกแยกขาดจากความจริ งที่ควรจะมาเสริ มและกำากับมัน แต่ในอีกด้าน หนึ่งแล้ว ทัศนะนอกรี ตก็มกั จะเป็ นความจริ งส่วนที่ถูกปิ ดกั้นและละเลย ซึ่งเมื่อมันทลายกำาแพงขวางกั้น มันลงได้ ก็จะหาทางประนีประนอมกับความจริ งที่อยูใ่ นทัศนะของสามัญชน หรื อไม่กต็ ้ งั ตนเป็ นศัตรู และพยายามจะสถาปนาอ้างตนเป็ นทั้งหมดของความจริ ง กันทัศนะอื่นออกไปในแบบเดียวกัน กรณี อย่างหลังเกิดขึ้นบ่อยที่สุด เพราะในจิตใจของมนุษย์แล้ว การเชื่อแต่เพียงด้านเดียว เกิดมากกว่าการเชื่อ หลายๆ ด้านอยูเ่ สมอ ฉะนั้น แม้ในการปฏิวตั ิทางความคิด ความจริ งส่ วนหนึ่งมักตกต่าำ เมื่อความจริ งอีก ส่วนหนึ่งขยับสูงขึ้น แม้แต่ความก้าวหน้า ซึ่งควรจะเป็ นการที่ ความจริ งส่ วนหนึ่งเข้าเพิม่ เติมให้กบั ความ จริ งอีกส่ วนหนึ่ง แต่เกือบทุกครั้ง กลับกลายเป็ นการเข้าแทนที่ การพัฒนาเกิดขึ้นหลักๆ ก็ดว้ ยการนี้ คือ ในการที่เสี้ ยวใหม่ของความจริ ง เป็ นที่ตอ้ งการมากกว่า และเข้ากับความจำาเป็ นของยุคสมัยมากกว่า เสี้ ยว ของความจริ งที่มนั เข้าแทนที่ ด้วยการที่ทศั นะอันแพร่ หลายเป็ นแค่เสี้ ยวส่ วน แม้เมื่อตั้งอยูบ่ นฐานที่จริ ง ทัศนะใดๆ ก็ตามที่เป็ นส่วนของความจริ งที่ถูกมันละเลย ก็ควรจะได้รับการถือว่าสูงค่า ไม่วา่ ทัศนะนั้นจะ ปนด้วยความผิดและความสับสนเพียงใดก็ตาม ไม่มีบุคคลผูม้ องเรื่ องของมนุษย์อย่างสุ ขมุ ผูใ้ ด ที่จะรู ้สึก แค้นเคือง เพราะว่าคนพวกที่มาบังคับให้เรามองในสิ่ งที่เราเคยมองข้าม ตัวเขาเองกลับมองข้ามสิ่ งที่เรา เห็น แต่เขากลับจะคิดว่า ตราบใดที่ทศั นะของคนส่ วนใหญ่เป็ นการมองด้านเดียว มันก็เป็ นเรื่ องที่น่า ปรารถนามากกว่า ที่ทศั นะที่ไม่เป็ นที่นิยม ก็ควรจะมีผยู ้ นื ยันที่มองข้างเดียวด้วยเช่นกัน เพราะคนแบบนั้น
43
มักเป็ นผูท้ ี่มีพลังมากที่สุด และน่าจะสามารถเรี ยกร้องความสนใจ มาสู่เสี้ ยวของญาณทัศนะที่พวกเขา ประกาศปานประหนึ่งว่าเป็ นทั้งหมดของความจริ ง ได้มากที่สุด 2.35 ฉะนั้น ในศตวรรษที่สิบแปด เมื่อผูท้ ี่มีความรู ้ท้ งั หลาย และผูท้ ี่ถูกชี้นาำ โดยคนเหล่านั้น หลงอยูก่ บั ความชื่นชมในสิ่ งที่เรี ยกว่าอารยะธรรม และกับความน่าทึ่งของวิทยาศาสตร์ วรรณคดี และปรัชญา ใน ขณะที่พวกเขาประเมินความแตกต่างระหว่างคนของยุคสมัยใหม่และคนของยุคโบราณเสี ยอย่างเกินจริ ง แล้วก็หลงเชื่อไปว่าความแตกต่างทั้งมวลวางอยูบ่ นความเหนือกว่าของตน ปฏิทรรศน์ (paradox) ของรุ ซ โซจึงสร้างความสัน่ สะเทือนอันน่าชื่นชมเป็ นอย่างยิง่ เป็ นราวกับระเบิดที่ตกลงมาท่ามกลางพวกคนเหล่า นั้น แตกกระจายทัศนะที่เป็ นด้านเดียวของพวกเขา และบังคับให้องค์ประกอบของมัน ต้องกลับมารวม กันใหม่ในรู ปแบบที่ดีกว่าเดิม พร้อมด้วยส่ วนประกอบเพิม่ เติม ไม่ใช่วา่ ทัศนะต่างๆ ของปั จจุบนั อยูไ่ กล จากความจริ งมากกว่าทัศนะของรุ ซโซ ในทางตรงกันข้าม ทัศนะเหล่านั้นอยูใ่ กล้กบั ความจริ งยิง่ กว่า คือมี ความเป็ นจริ งเชิงบวกมากกว่า และมีความหลงผิดน้อยกว่า แต่กระนั้น สิ่ งที่วางอยูใ่ นหลักคำาสอนของรุ ซ โซ และที่ลอยมาพร้อมกับกระแสธารแห่ งความคิดของเขา ก็คือตัวความจริ งจำานวนไม่นอ้ ย ซึ่งไม่มีอยูใ่ น ำ วม คุณค่าอันสูงส่ งของ ทัศนะของคนส่วนใหญ่ สิ่ งเหล่านี้เป็ นตะกอนอันอุดม ที่หลงเหลืออยูภ่ ายหลังน้าท่ ชีวิตที่เรี ยบง่าย ความเสื่ อมถอยทางศีลธรรม และจิตใจที่อ่อนเปลี้ย จากพันธนาการและความหน้าไหว้ หลังหลอกของสังคมจอมปลอม เป็ นความคิดไม่เคยจางหายไป จากจิตใจที่ได้รับการอบรม นับตั้งแต่รุซ โซได้เขียนถึงมัน และเมื่อถึงเวลา มันก็จะสร้างผลพวงอันควรของมัน แม้วา่ ในปั จจุบนั เราจำาเป็ นต้อง ยืนยันมัน มากเท่าๆ กับที่มนั เคยได้รับการยืนยันมาแล้ว แต่ดว้ ยการกระทำาไม่ใช่แค่ดว้ ยคำาพูด เพราะคำาพูด ในเรื่ องนี้ถูกยืนยันมามาก จนแทบจะหมดพลังของมันไปแล้ว 2.36 ในการเมืองก็เช่นกัน เกือบเป็ นเรื่ องธรรมดาที่ท้ งั พรรคในแนวอนุรักษ์นิยม และพรรคหัว ก้าวหน้าจะเป็ นองค์ประกอบที่จาำ เป็ นสำาหรับสภาพทางการเมืองที่เข้มแข็ง จนกว่าพรรคใดพรรคหนึ่งจะ ได้ขยายปัญญาของตนให้กว้างขวาง จนกลายเป็ นพรรคแห่ งการรักษาระเบียบของสังคม เท่าๆ กับที่เป็ น พรรคของความก้าวหน้า ด้วยการรู้และแยกแยะได้วา่ อะไรควรรักษาเอาไว้ และอะไรควรต้องทิ้งไป วิธี คิดทั้งแบบอนุรักษ์นิยมและแบบก้าวหน้าได้คุณค่าของมันมาจากความบกพร่ องของกันและกัน และใน ความตรงกันข้ามกันนั้นเอง ที่แต่ละฝ่ ายถูกกำากับให้อยูใ่ นเหตุผลและความมีสติ ถ้าหากทัศนะที่เข้าข้าง ต่อประชาธิปไตยและต่ออภิชนาธิปไตย ต่อความมัง่ คัง่ และความเสมอภาค ต่อการร่ วมมือและการแข่งขัน ต่อความฟุ่ มเฟื อยและความมักน้อย ต่อความเป็ นสังคมและความเป็ นปั จเจก ต่อเสรี ภาพและระเบียบข้อ บังคับ และต่ออะไรที่เป็ นปฏิปักษ์กนั ทั้งหลายของชีวิต หากว่าทัศนะทั้งหมดในเรื่ องเหล่านี้ ไม่อาจ แสดงออกด้วยเสรี ภาพเท่าๆ กัน ได้รับการโต้เถียงปกป้ องด้วยผูท้ ี่มีความสามารถทัดเทียมกัน ก็ไม่มี โอกาสที่วธิ ีคิดแต่ละด้านจะได้ในสิ่ งที่มนั ควรจะได้รับ เพราะแน่นอนว่าตาชัง่ ต้องเอียงไปสู่ขา้ งใดข้าง หนึ่ง ในเรื่ องทั้งมวลอันเกี่ยวข้องกับชีวิตจริ ง ความเป็ นจริ งเป็ นเรื่ องของการประนีประนอมและการ ประสานสิ่ งตรงกันข้ามเข้าด้วยกัน ซึ่งน้อยคนนักที่จะมีจิตใจที่กว้างขวางและเป็ นกลางพอที่จะทำาสิ่ งนี้ได้ อย่างถูกต้อง และมันจึงต้องกระทำาผ่านกระบวนการต่อสูภ้ ายใต้ธงรบของคู่ปฏิปักษ์ สำาหรับคำาถาม
44
สำาคัญๆ ที่เพิ่งกล่าวรายการมานี้ ถ้าฝ่ ายหนึ่งมีขอ้ อ้างที่เหนือกว่าอีกฝ่ าย และถ้าด้วยกาลเวลาและสถานที่ แล้ว มันเกิดกลายเป็ นทัศนะของคนส่วนน้อยขึ้นมา ไม่เพียงแต่เราต้องมีขนั ติต่อมัน แต่ตอ้ งสนับสนุนให้ กำาลังใจกับมัน เพราะนี่คือทัศนะซึ่ง ณ เวลาที่เป็ นอยู่ เป็ นตัวแทนของประโยชน์สุขที่ถูกละเลย เป็ นด้าน ของความผาสุ กของมนุษย์ ที่อยูใ่ นอันตรายของการได้รับส่ วนแบ่งที่นอ้ ยกว่าที่มนั ควรได้รับ ผมรู ้ดีวา่ ใน ประเทศนี้ ไม่มีขนั ติธรรมต่อความแตกต่างของทัศนะในเรื่ องพวกนั้นแทบทุกเรื่ อง พวกมันถูกยกขึ้นมา เพื่อแสดง ด้วยตัวอย่างที่หลากหลาย ถึงความเป็ นสากลของข้อเท็จจริ งว่า ในสภาพที่เป็ นอยูข่ ณะนี้ ของ ปัญญามนุษย์ เพียงผ่านความแตกต่างทางทัศนะเท่านั้น ที่จะมีโอกาสอันยุติธรรมให้กบั ทุกด้านของความ จริ ง และเมื่อใดก็ตามมีบุคคลผูซ้ ่ ึงกลายเป็ นข้อยกเว้น ต่อสิ่ งที่ดูเหมือนว่าเป็ นเอกฉันท์ของโลก ในเรื่ อง ใดสักเรื่ องหนึ่ง แม้นว่าโลกจะถูกต้อง แต่กอ็ าจเป็ นได้เสมอว่าผูเ้ ห็นต่างมีบางอย่างที่มีค่าที่จะพูด และ ความจริ งจะสูญเสี ยอะไรบางอย่าง หากพวกเขานิ่งเงียบ 2.37 อาจมีผแู ้ ย้งว่า “แต่หลักการบางอย่างที่สงั คมยึดมัน่ โดยเฉพาะกับเรื่ องที่สูงส่ งและสำาคัญอย่าง ที่สุด เป็ นมากกว่าครึ่ งเดียวของความจริ ง ตัวอย่างเช่น ศีลธรรมของคริ สต์ศาสนาเป็ นทั้งหมดของความ จริ งทางศีลธรรม และถ้าใครสอนศีลธรรมที่ต่างออกไปจากนั้น เขาก็ตอ้ งผิดโดยสิ้ นเชิง” ในฐานะที่นี่เป็ น เรื่ องสำาคัญกว่าอะไรอื่นทั้งหมดในเชิงปฏิบตั ิ ไม่มีใครเหมาะสมยิง่ ไปกว่า ที่จะทดสอบหลักทัว่ ไปของคำา สอน แต่ก่อนที่จะมาพูดว่าศีลธรรมของคริ สต์ศาสนา เป็ นอะไรหรื อไม่เป็ นอะไร เราควรมาตัดสิ นเสี ย ก่อนว่าศีลธรรมของคริ สต์ศาสนาหมายถึงอะไร ถ้ามันหมายถึงศีลธรรมของพันธะสัญญาใหม่ ผมก็สงสัย ว่า คนที่ได้ความรู้เรื่ องศีลธรรมของเขามาจากตัวหนังสื อนี้ สามารถถือได้จริ งหรื อ ว่ามันถูกประกาศหรื อ มุ่งหมาย ให้เป็ นหลักอันสมบูรณ์ของศีลธรรม พระคริ สต์ธรรมอ้างถึงศีลธรรมที่มีอยูก่ ่อนแล้วเสมอ และ ตีวงคำาสอนมาสู่เรื่ องเฉพาะ ซึ่งศีลธรรมนั้นต้องถูกแก้ไข และทดแทนด้วยศีลธรรมที่สูงส่ งและกว้างขวาง กว่า และด้วยการที่พระคริ สต์ธรรมแสดงออกผ่านถ้อยคำาที่พดู อย่างทัว่ ไปที่สุด บ่อยครั้งจึงเป็ นไปไม่ได้ที่ จะตีความตามตัวอักษร และทั้งใช้ภาษาที่ให้ความรู ้สึกเหมือนบทกวีหรื อโวหาร มากกว่าที่จะตรงไปตรง มาอย่างกฎหมาย การที่จะดึงเอาหลักคำาสอนทางจริ ยธรรมออกมาจากพระคริ สต์ธรรม จึงไม่อาจทำาได้ โดยปราศจากการคั้นมันออกมาจากพันธะสัญญาเก่า คือจากระบบที่ชดั เจนในรายละเอียด แต่กโ็ หดร้าย ในหลายๆ แง่ และเจตนาเพียงให้ใช้กบั พวกอนารยะชน นักบุญปอล ผูป้ ระกาศตนเป็ นศัตรู กบั การใช้วิธี การตีความแบบยูดาย มาเติมกรอบคำาสอนของครู ของตน เขาเองก็อาศัยศีลธรรมที่มีอยูก่ ่อนหน้าเช่นกัน ซึ่งได้แก่ศีลธรรมของกรี กและโรมัน และคำาสอนของเขาต่อชาวคริ สต์กค็ ือระบบที่รับรองต่อศีลธรรมเช่น นั้น จนแทบดูเหมือนว่า เขาจะให้การยอมรับต่อการมีทาสเสี ยด้วยซ้าำ สิ่ งที่เรี ยกว่าหลักศีลธรรมของ ศาสนาคริ สต์ (ที่ควรจะเรี ยกว่าศีลธรรมแบบเทวนิยมเสี ยมากกว่า) ไม่ใช่ผลงานของพระเยซูหรื อของอัคร สาวก แต่เป็ นสิ่ งที่เกิดหลังจากนั้นมาก โดยการสร้างขึ้นทีละน้อยโดยคริ สต์จกั รคาทอลิก ในห้าศตวรรษ แรก ถึงแม้จะไม่ได้ถูกรับอย่างไร้ขอ้ สงสัย จากคนยุคใหม่และจากพวกโปรเตสแตนท์ แต่กถ็ ูก เปลี่ยนแปลงโดยพวกเขา น้อยกว่าที่เราอาจคาดหวัง เป็ นอย่างมาก อันที่จริ ง สำาหรับนิกายต่างๆ แล้ว พวก เขาพอใจกับการตัดส่วนผนวกที่เติมเข้ามาในยุคกลาง แล้วก็แทนส่ วนนั้น ด้วยภาคผนวกใหม่ แบบที่เข้า
45
กับลักษณะเฉพาะและอุปนิสยั ของตนเอง ผมไม่ขอปฏิเสธว่ามนุษยชาติเป็ นหนี้ อย่างใหญ่หลวงต่อหลัก คำาสอนทางศีลธรรมนี้ แต่ผมก็ไม่ลงั เลใจที่จะกล่าวว่า ในจุดสำาคัญหลายๆ จุด มันไม่สมบูรณ์และเป็ น ทัศนะด้านเดียว และถ้าไม่ใช่เพราะความคิดและความรู ้สึกหลายๆ อย่าง ที่มนั ไม่ยนิ ยอม ได้เข้ามามีส่วน ร่ วมสร้างวิถีชีวิตและบุคลิกภาพของชาวยุโรป สภาพการณ์ระหว่างมนุษย์กค็ งจะเลวร้ายกว่าที่เป็ นอยู่ ณ ตอนนี้ ศีลธรรมของชาวคริ สต์ (ตามที่ถูกเรี ยก) มีลกั ษณะทั้งมวลของปฏิกิริยา มันเป็ นการต่อต้านต่อ ศาสนาของกรี กโรมัน อุดมคติของมันเป็ นแง่ลบมากกว่าแง่บวก ตั้งรับมากกว่าที่จะรุ ก ไร้เดียงสายิง่ กว่าที่ จะสูงส่ง ละเว้นจากความชัว่ มากกว่าที่จะไขว้คว้าหาสิ่ งดีงาม เป็ นคำาสอนที่เน้นว่า “เจ้าจงไม่” ยิง่ กว่าว่า “เจ้าจง” และด้วยความเกลียดกลัวต่อความสุ ขทางกาย มันบูชาการเอาชนะกิเลสตัณหาแบบของนักพรต ซึ่งค่อยๆ ประนีประนอมเข้ามาส่วนหนึ่งของกฎหมาย มันเสนอความหวังต่อสรวงสวรรค์ และการข่มขู่ ให้กลัวด้วยนรก โดยถือเป็ นแรงจูงใจที่พระเจ้ากำาหนดให้ และเป็ นแรงจูงใจที่เหมาะสมต่อชีวิตที่มี คุณธรรม แต่นี่ยอ่ มเป็ นความตกต่าำ เมื่อเทียบกับสิ่ งที่ดีที่สุดของยุคโบราณ และเป็ นการทำาให้ศีลธรรมของ มนุษย์มีลกั ษณะของความเห็นแก่ตวั ด้วยการตัดขาดความรู ้สึกต่อหน้าที่ของคนแต่ละคน ออกจาก ประโยชน์สุขของเพื่อนร่ วมโลก ยกเว้นก็แต่เมื่อ เขาถูกชักจูงด้วยผลประโยชน์ต่อตนเองให้ตอ้ งพิจารณา สิ่ งเหล่านั้น มันเป็ นหลักคำาสอนให้คนเคารพเชื่อฟัง ยอมตนอยูใ่ ต้คาำ สัง่ ของผูม้ ีอาำ นาจทั้งมวลในสังคม ผู ้ ซึ่ง ที่จริ งแล้วก็ไม่จาำ ต้องจงใจเชื่อฟัง หากบัญชาในสิ่ งที่ศาสนาห้าม แต่กไ็ ม่สอนให้ต่อต้าน หรื อแม้แต่จะ คิดเป็ นกบฏ ไม่วา่ ผูม้ ีอาำ นาจพวกนั้นจะทำาความชัว่ ร้ายต่อเรามากสักเพียงไรก็ตาม ในศีลธรรมของชาติที่ ต่างศาสนา แม้วา่ หน้าที่ต่อรัฐจะถูกยึดถืออย่างเกินเลย จนละเมิดต่อเสรี ภาพอันควรของปั จเจก แต่ จริ ยธรรมที่เป็ นของศาสนาคริ สต์ลว้ นๆ กลับแทบไม่มีการยอมรับ หรื อรับรู ้ ต่อหน้าที่อนั สำาคัญยิง่ ดัง กล่าวเลย ไม่ใช่ในพระคัมภีร์พนั ธะสัญญาใหม่ แต่ในพระคัมภีร์อนั กุรอานต่างหาก ที่เราจะพบกฎศีล ธรรมว่า “หากผูป้ กครองแต่งตั้งคนผูห้ นึ่งให้ดาำ รงตำาแหน่ง ในขณะที่มีคนอีกคนหนึ่งที่เหมาะสมต่อ ตำาแหน่งนั้นยิง่ กว่า เขาย่อมทำาบาปต่อพระเจ้าและต่อรัฐ” การที่ศีลธรรมสมัยใหม่ยอมรับต่อความคิดใน เรื่ องพันธะต่อสาธารณะอยูบ่ า้ ง ก็มาจากศีลธรรมของกรี กโรมัน ไม่ใช่ของคริ สเตียน แม้ในเรื่ องของศีล ธรรมของชีวิตส่วนตัว อะไรก็ตามที่มีอยู่ ในเรื่ องของของความกรุ ณาปราณี ความมีจิตใจสูง ความรู ้สึก ยกย่องในเกียรติศกั ดิ์ศรี ของตนเอง ก็ลว้ นแต่ได้มาจากการศึกษาของเราในส่ วนที่เป็ นเรื่ องทางโลกทั้งสิ้ น ไม่ใช่จากส่วนที่เป็ นเรื่ องของศาสนา และไม่มีทางที่จะเติบโตออกมาจากมาตรฐานทางจริ ยธรรมที่ยอมรับ คุณค่า ก็แต่เพียงความเคารพเชื่อฟัง เท่านั้น 2.38 เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ผมไม่อาจหาญที่จะอ้างว่า ไม่วา่ เราจะคิดถึงจริ ยธรรมคริ สต์ดว้ ยวิธีเช่นไร ข้อบกพร่ องเหล่านี้ กจ็ ะมีอยูใ่ นจริ ยธรรมคริ สต์อย่างไม่มีทางเป็ นอื่น หรื อที่จะอ้างว่า หลายๆ อย่างของสิ่ ง ที่ตอ้ งมีสาำ หรับหลักคำาสอนทางศีลธรรมที่สมบูรณ์ ซึ่งไม่มีอยูใ่ นจริ ยธรรมคริ สต์ เป็ นสิ่ งที่ไม่อาจนำามา ผสมผสานกับมันได้ และผมยิง่ ไม่อาจหาญที่จะเพิ่มเติมสิ่ งใดให้กบั ตัวพระธรรมคำาสอนของพระเยซู ผม เชื่อว่าพระวัจนะของพระเยซูเป็ นทุกสิ่ งทุกอย่าง ที่ผมสามารถจะเห็นประจักษ์พยาน ในสิ่ งที่พระวัจนะถูก มุ่งหมายให้เป็ น ผมเชื่อว่าไม่มีสิ่งใดที่หลักศีลธรรมอันสมบูรณ์ตอ้ งการ ที่เข้ากันไม่ได้กบั พระวัจนะ และ
46
เชื่อว่าทุกสิ่ งทุกอย่างที่สูงส่งในจริ ยศาสตร์สามารถนำามาอยูใ่ นพระวัจนะ อย่างที่ไม่ตอ้ งขืนบังคับต่อภาษา ของมัน มากกว่าที่เคยกระทำาโดยผูท้ ี่ได้พยายามอนุมานระบบความประพฤติ ไม่วา่ ระบบใดก็ตาม ออกมา จากพระวัจนะ แต่นี่กไ็ ม่ได้ขดั แย้งกับการเชื่อว่า พระวัจนะบรรจุ และถูกมุ่งหมายให้บรรจุ เพียงแค่ส่วน หนึ่งของความจริ ง และไม่ได้ขดั แย้งกับการเชื่อว่า องค์ประกอบที่เป็ นหัวใจหลายๆ ประการของศีลธรรม อันสูงสุ ด เป็ นสิ่ งที่ไม่ได้ให้ไว้ หรื อเจตนาที่จะให้ไว้ ในคำาประกาศที่ได้รับการบันทึกไว้ของศาสดาแห่ ง ศาสนาคริ สต์ ซึ่งถูกละทิ้งโดยสิ้ นเชิง ในระบบจริ ยธรรมที่คริ สตจักรก่อตั้งขึ้นบนฐานของคำาประกาศ เหล่านั้น และด้วยเหตุน้ นั ผมจึงคิดว่าเป็ นความหลงผิดอย่างมหันต์ ที่จะยืนกรานพยายามหากฎสมบูรณ์ สำาหรับการชี้นาำ พวกเรา ในหลักคำาสอนของคริ สต์ศาสนา ซึ่งเป็ นกฎที่ผใู ้ ห้กาำ เนิดหลักคำาสอนมุ่งหมายที่ จะรับรองและบังคับใช้ แต่กเ็ จตนาให้เรามาแค่เพียงบางส่ วน ผมเชื่อเช่นกันว่าทฤษฎีอนั คับแคบนี้ กำาลัง กลายเป็ นความชัว่ ร้ายอันน่าเศร้าในทางปฏิบตั ิ ด้วยการดูแคลนต่อคุณค่าของการสัง่ สอนอบรมทางศีล ธรรม ซึ่งผูม้ ีเจตนาดีหลายๆ คน กำาลังพยายามผลักดันอยูใ่ นเวลานี้ ผมกลัวอย่างยิง่ ว่าความพยายามที่จะ อบรมจิตใจและอารมณ์ความรู้สึก ในแบบศาสนาแต่เพียงอย่างเดียว และละเลยมาตรฐานแบบฆราวาส พวกนั้น (ขอใช้คาำ นี้ เรี ยกไปก่อน จนกว่าจะมีคาำ อื่นที่ดีกว่า) ซึ่งแต่เดิมมา ได้เสริ มต่อและอยูร่ ่ วมกันมากับ จริ ยธรรมคริ สต์ และแลกเปลี่ยนคุณค่าบางอย่างจากกันและกัน จะบังเกิดผล และก็กาำ ลังเกิดอยู่ ณ ตอนนี้ ำ อยน่าสังเวชแบบทาส ซึ่งยอมอยูใ่ ต้อาำ นาจโดยสิ้ นเชิง ของอะไรก็ตามที่ตนตัดสิ นว่า เป็ นคนที่มีบุคลิกต่าต้ เป็ นเจตจำานงอันสูงสุด ซึ่งไม่อาจจะพาตัวสูงขึ้นสู่การเป็ นส่ วนหนึ่งของความเข้าใจต่อความดีงามสูงสุ ด ผมเชื่อว่าจริ ยธรรมแบบอื่น ที่ต่างไปจากแบบที่สามารถสร้างขึ้นมาจากแหล่งของคริ สต์ศาสนาล้วนๆ ต้อง มีอยูเ่ คียงคู่ไปกับจริ ยธรรมคริ สต์ เพื่อการเกิดใหม่ของศีลธรรมในหมู่มนุษย์ และผมเชื่อว่า ด้วยความไม่ สมบูรณ์ของจิตมนุษย์ ความจริ งต้องการความแตกต่างในทัศนะ ไม่ยกเว้นแม้แต่กบั คริ สต์ศาสนา ไม่ จำาเป็ นว่า ในการเอาใจใส่ต่อความจริ งทางศีลธรรม ที่ไม่มีอยูใ่ นคริ สต์ศาสนา คนก็จะไม่เอาใจใส่ ต่อความ จริ งที่คริ สต์ศาสนามี อคติหรื อการมองข้ามที่เกิดขึ้นเช่นนั้น ก็ยอ่ มถือเป็ นความชัว่ ร้าย แต่มนั ก็เป็ นความ ชัว่ ร้ายที่เราไม่อาจหวังว่าจะหนีพน้ ได้เสมอไป และต้องถือว่าแลกมาด้วยความดีที่ประเมินค่าไม่ได้ การที่ ส่วนหนึ่งของความจริ งอ้างตนว่าเป็ นทั้งหมด ควรต้องถูกประท้วง และถ้าปฏิกิริยาโต้กลับนั้นเอง จะ กระทำาไปโดยความอยุติธรรม แม้วา่ เราอาจรู้สึกเสี ยใจ แต่เราก็ตอ้ งสะกดกลั้นต่อการมองด้านเดียวนี้ เช่น เดียวกับการมองด้านเดียวอื่นๆ ถ้าชาวคริ สต์จะสอนคนนอกศาสนาให้ยตุ ิธรรมต่อคริ สต์ศาสนา พวกเขา เองก็ควรยุติธรรมต่อคนนอกศาสนาด้วย ย่อมไม่ใช่เรื่ องถูกต้อง ที่จะปฏิเสธข้อเท็จจริ ง ที่คนทุกคนที่คุน้ เคยกับประวัติศาสตร์วรรณกรรมแม้แต่เพียงเล็กน้อย ก็รู้อยูแ่ ก่ใจ ว่าส่ วนใหญ่ของคำาสอนทางศีลธรรมที่ สูงค่าและสูงส่ งที่สุด ไม่ใช่ผลงานของผูไ้ ม่รู้จกั ศรัทธาของชาวคริ สต์ แต่เป็ นของผูท้ ี่รู้จกั แต่ปฏิเสธ ศรัทธานั้น 2.39 ผมไม่ขออ้างว่า การใช้เสรี ภาพอย่างปราศจากข้อจำากัด เพื่อการประกาศทุกทัศนะที่เป็ นไปได้ จะ พาไปสู่การยุติความชัว่ ร้ายของการแบ่งแยกลัทธิ ทางศาสนาหรื อทางปรัชญา ทุกความจริ งซึ่งคนหัวแคบ สนใจอย่างเอาจริ งเอาจัง ย่อมถูกยืนยัน ปลูกฝัง หรื อแม้กระทั้งนำาไปปฏิบตั ิ ในลักษณะปานประหนึ่งว่า
47
โลกนี้ไม่มีความจริ งอื่นอีกแล้ว หรื อไม่มีความจริ งใดเลยที่อาจมาจำากัดหรื อขยายความความจริ งแรกนั้น ผมยอมรับว่าแนวโน้มที่ทศั นะทั้งหลายจะแยกออกเป็ นลัทธิ แคบๆ ไม่ได้ถูกบำาบัดด้วยการอภิปรายที่เปิ ด อิสระที่สุด แต่มกั ทวีความรุ นแรงยิง่ ขึ้นด้วยการนั้น ความจริ งซึ่งควรจะถูกเห็น แต่กไ็ ม่เห็น ด้วยการถูก ปฏิเสธอย่างรุ นแรง เพราะได้รับการป่ าวประกาศโดยคนที่ถูกถือว่าเป็ นฝ่ ายตรงข้าม แต่การปะทะกันของ ต่างทัศนะจะสร้างให้เกิดพัฒนาการ สำาหรับผูด้ ูที่มีใจเป็ นกลางและมีสติ มากกว่าสำาหรับผูท้ ี่ต่อสูอ้ ย่าง แข็งกร้าวของแต่ละฝ่ าย ความชัว่ ร้ายที่น่าสะพรึ งกลัว ไม่ใช่ความขัดแย้งรุ นแรงระหว่างส่ วนต่างๆ ของ ความจริ ง แต่คือการกดอีกครึ่ งของความจริ งให้เงียบเสี ยงลงต่างหาก ความหวังยังคงมีอยูเ่ สมอ เมื่อผูค้ น ถูกบังคับให้ฟังทั้งสองฝ่ าย เมื่อใดที่คนตั้งใจรับรู ้จากเพียงฝ่ ายเดียว ความหลงผิดก็จะเข้มข้นจนกลายเป็ น อคติ และตัวความจริ งเองก็ไม่อาจสร้างผลของความจริ ง ด้วยการที่ถูกขยายเติมแต่งจนกลายเป็ นเท็จ และ เนื่องจากมีคุณลักษณะแห่ งจิตใจอยูน่ อ้ ยมาก ที่จะหายากยิง่ ไปกว่าสมรรถภาพแห่ งความเที่ยงธรรม ซึ่ง สามารถตัดสิ นด้วยปัญญา ในระหว่างสองฝ่ ายของคำาถาม ในขณะที่มีเพียงฝ่ ายเดียวที่มีตวั แทนแก้ต่างมา อยูต่ ่อหน้า ดังนั้น ความจริ งย่อมไม่มีโอกาส ยกเว้นก็แต่เมื่อทุกๆ ด้านของมัน อันได้แก่ทุกๆ ทัศนะที่ ำ กที่ตอ้ งรับ บรรจุเศษเสี้ ยวของความจริ งนั้น ไม่เพียงแค่มีทนายแก้ต่าง แต่ตอ้ งได้รับการแก้ต่างด้วยน้าหนั ฟัง 2.40 บัดนี้ เราได้ตระหนักถึงพื้นฐานสี่ ประการ ของความจำาเป็ นของเสรี ภาพในความคิด และเสรี ภาพ ในการแสดงความคิดเห็น ที่มีต่อสวัสดิภาพทางจิตใจของมนุษยชาติ (ซึ่งเป็ นเครื่ องอำานวยต่อสวัสดิภาพ อื่นทั้งหลายของพวกเขา) ซึ่งเราจะกล่าวสรุ ปโดยย่ออีกครั้งหนึ่ง 2.41 ประการที่หนึ่ง ทัศนะใดก็ตามถูกทำาให้เงียบเสี ยง อาจเป็ นทัศนะที่จริ งก็ได้ เพราะไม่มีอะไรที่เรา รู ้ได้อย่างแน่นอน การปฏิเสธสิ่ งนี้เท่ากับการถือว่าตัวเราเองถูกเสมอ 2.42 ประการที่สอง แม้วา่ ทัศนะที่ถูกปิ ดปากจะผิด มันก็อาจบรรจุความจริ งไว้ส่วนหนึ่ง ซึ่งก็มกั เป็ น เช่นนั้น และเนื่องจากทัศนะทัว่ ไป หรื อทัศนะที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่ หลาย ในเรื่ องใดเรื่ องหนึ่ง ไม่ ใคร่ จะเป็ นความจริ งทั้งหมดของเรื่ อง หรื อไม่เคยเป็ นเช่นนั้นเลย ฉะนั้น เราจะมีโอกาสได้ความจริ งส่ วนที่ เหลือ เมื่อทัศนะที่ตรงข้ามมาปะทะกันเท่านั้น 2.43 ประการที่สาม แม้วา่ ทัศนะที่ถือโดยคนส่ วนใหญ่จะไม่ใช่แค่จริ ง แต่เป็ นความจริ งทั้งหมด แต่ถา้ มันไม่ถูกเสนอให้เข้าประชันอย่างเป็ นจริ งเป็ นจัง กับทัศนะที่แตกต่าง และได้เข้าสู่การประชันเช่นนั้น จริ งๆ มันก็จะถูกยึดถือในแบบของอคติ โดยคนเกือบทั้งหมดที่ยดึ ถือมัน อย่างที่พวกเขารู ้สึกหรื อเข้าใจ แต่เพียงเล็กน้อยถึงเหตุผลที่รองรับมัน และประการที่สี่ ด้วยเหตุเช่นว่านั้น ก็จะเกิดอันตรายต่อตัวความ หมายของหลักคำาสอนเอง ที่จะสูญหาย หรื ออ่อนแอลง และไร้อาำ นาจที่จะสร้างผลต่อนิสยั ใจคอและความ ประพฤติ นัน่ ก็คือ การประกาศความเชื่อเป็ นแค่การทำาตามธรรมเนียมแบบแผน ไร้ผลใดๆ ต่อความดี และทั้งยังอาจขวางกั้นการเติบโตของความเชื่อมัน่ ที่เกิดจากใจจริ ง ที่ได้จากเหตุผลและประสบการณ์ ส่ วนตัว
48
2.44 ก่อนที่จะจบเรื่ องของเสรี ภาพของการแสดงความคิดเห็น เราควรตั้งข้อสังเกตบางประการ เกี่ยว กับบรรดาผูท้ ี่กล่าวว่า ควรยินยอมให้มีการแสดงทัศนะออกมาอย่างเสรี ตราบเท่าที่แสดงออกอย่างพอ ประมาณ และไม่ลาขอบเขตของการอภิ ้ำ ปรายอย่างเป็ นธรรม เราอาจพูดได้ยาวมาก ว่าเป็ นไปไม่ได้ที่เรา จะระบุขอบเขตที่วา่ ลงไป ณ ที่ใดที่หนึ่ง เพราะถ้าขอบเขตอยูท่ ี่การสร้างความขุ่นเคืองให้กบั บรรดาคนที่ ทัศนะของพวกเขาถูกโจมตี ผมคิดว่าประสบการณ์พิสูจน์แล้วว่า ความขุ่นเคืองย่อมเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตามที่ การโจมตีมีนาหนั ้ ำ กและมีพลัง และปรปักษ์คนใดที่โจมตีดว้ ยคำาถามที่ผทู ้ ี่ถูกโจมตียากที่จะตอบ และถ้า หากปรปั กษ์ผนู ้ ้ นั แสดงอารมณ์รุนแรงในเรื่ องนั้น บรรดาคนที่ถูกโจมตีกย็ อ่ มเห็นไปว่า ปรปั กษ์ผนู ้ ้ นั ก้าวร้าวรุ นแรงต่อพวกตน แต่แม้เรื่ องนี้ จะเป็ นข้อพิจารณาที่สาำ คัญจากมุมมองเชิงปฏิบตั ิ มันก็รวมตัวเข้า กับข้อแย้งที่พ้ืนฐานกว่า ไม่ตอ้ งสงสัยว่าแม้วา่ ทัศนะหนึ่งจะเป็ นจริ ง แต่ลกั ษณะวิธีการในการยืนยัน ทัศนะนั้นก็อาจสมควรอย่างยิง่ ที่จะถูกคัดค้าน และอาจสมควรต่อการถูกตำาหนิอย่างรุ นแรง แต่การล่วง ละเมิดต่อกันประเภทนั้น เป็ นสิ่ งซึ่งเป็ นไปไม่ได้อย่างที่สุดที่จะนำาไปสู่ความเชื่อมัน่ ยกเว้นแต่บงั เอิญเกิด เผลอตัวขึ้นมา แต่ถา้ จะให้เถียงย้อนกลับแล้วละก็ การล่วงละเมิดต่อกันที่น่าเศร้าที่สุดก็คือ การปิ ดกั้นข้อ เท็จจริ ง การพูดถึงองค์ประกอบของเรื่ องอย่างผิดๆ หรื อการนำาเสนอทัศนะตรงข้ามอย่างที่ไม่ตรงกับที่มนั เป็ น แต่ท้ งั หมดนี้ แม้ในขั้นที่สร้างความขุ่นข้องอย่างที่สุด ก็ถูกกระทำาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความจริ งใจอย่าง ที่สุด โดยคนผูซ้ ่ ึงไม่ถูกถือ และในแง่อื่นๆ หลายๆ แง่ ก็ไม่สมควรถูกถือ ว่าเป็ นผูท้ ี่ไม่รู้ไม่เข้าใจ จนมัน เป็ นไปได้ยากที่จะมีหลักฐานเพียงพอ ที่จะจงใจตัดสิ นการนำาเสนออย่างผิดๆ นั้นว่าเป็ นสิ่ งอันควร ประณามทางศีลธรรม และยิง่ ยากไปกว่านั้นที่จะให้กฎหมายเข้ามายุง่ เกี่ยวกับการประพฤติผิดประเภทนี้ ในเรื่ องของสิ่ งที่ถือว่าเป็ นการโต้เถียงอย่างก้าวร้าวรุ นแรง อันได้แก่ การใช้คาำ ผรุ สวาท คำาประชดประชัน การพาดพิงถึงเรื่ องส่วนตัว และอะไรประเภทนั้น การประณามวิธีการโต้เถียงประเภทนี้ จะสมควรแก่ ความเห็นใจกว่านี้ ถ้าเคยถูกใช้หา้ มทั้งสองฝ่ ายเท่าๆ กัน แต่การประณามนี้ เป็ นที่ตอ้ งการ ก็เพียงเพื่อที่จะ ควบคุมไม่ให้มีใครมาใช้การโต้เถียงแบบนั้น กับทัศนะที่ครองความเป็ นใหญ่ในสังคมเท่านั้น แต่กบั ทัศนะที่เป็ นเสี ยงส่วนน้อย พวกมันอาจถูกใช้ อย่างที่ไม่เพียงปราศจากการถูกตำาหนิจากคนทัว่ ไป แต่ยงั อาจทำาให้ผใู ้ ช้ได้รับการสรรเสริ ญ ในฐานะผูท้ ี่โกรธแค้นต่อความหลงผิด และทุ่มเทจิตใจลงต่อสู ้ เสี ยด้วย ซ้าำ กระนั้น ไม่วา่ ความเลวร้ายใดๆ ก็ตาม จะเกิดจากการใช้วิธีโต้เถียงประเภทนั้น มันย่อมเลวร้ายที่สุด เมื่อถูกเอามาใช้กบั ผูท้ ี่ไม่อาจปกป้ องตนเอง และถ้าทัศนะหนึ่งจะเกิดความได้เปรี ยบไม่วา่ จะในทางหนึ่ง ทางใด จากการใช้วธิ ีโต้เถียงเช่นนั้น มันก็มกั จะเกิดกับทัศนะที่เป็ นใหญ่ในสังคมแต่เพียงฝ่ ายเดียว การ ล่วงละเมิดที่เลวที่สุดประเภทนี้ สามารถกระทำาโดยนักโต้เถียง เพื่อที่จะตราหน้าคนที่ถือทัศนะที่ตรงข้าม กับตน ว่าเลวและไร้ศีลธรรม บรรดาผูท้ ี่ถือทัศนะที่ไม่แพร่ หลาย ย่อมถูกใส่ ร้ายเช่นนี้ เพราะพวกเขามี จำานวนน้อยและไม่มีอิทธิพล และนอกจากตัวพวกเขาเองแล้ว ก็ไม่มีใครอื่นสนใจที่จะได้เห็นความ ยุติธรรม และด้วยสภาวะที่เป็ นอยู่ ผูท้ ี่โจมตีทศั นะที่เป็ นใหญ่ ย่อมไม่อาจใช้วธิ ี การที่กา้ วร้าวรุ นแรง เพราะมันย่อมไม่ปลอดภัย และมีแต่จะย้อนกลับมาสู่ตวั เขาเอง ปกติแล้ว ทัศนะที่ตรงข้ามกับที่ถือกันโดย ทัว่ ไป จะเป็ นที่รับฟัง ก็แต่เพียงโดยการใช้ภาษา อย่างที่ระวังอย่างที่สุดไม่ให้เกิดการล่วงเกินใดๆ ที่ไม่
49
จำาเป็ น ซึ่งหากพวกเขาเบี่ยงเบนออกไปแม้แต่เพียงเล็กน้อย ก็จะก่อผลเสี ยหายต่อตัวเอง ในขณะที่การใช้ ถ้อยคำาด่าทอ โดยฝ่ ายที่ถือทัศนะที่เป็ นใหญ่ ย่อมได้ผลจริ งๆ ในการกันไม่ให้ผคู ้ นฟังและประกาศทัศนะที่ ตรงข้าม ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความจริ งและความเที่ยงธรรม จึงสำาคัญกว่ามาก ที่จะห้ามปรามการใช้ ถ้อยคำาหยาบคายจากฝ่ ายหลังมากกว่าจากฝ่ ายแรก ตัวอย่างเช่น ถ้าจำาเป็ นที่จะต้องเลือก ก็ควรเลือกห้าม ปรามการใช้ถอ้ ยคำาก้าวร้าวรุ นแรงมาโจมตีฝ่ายที่ไม่นบั ถือศาสนา มากกว่ากับฝ่ ายที่ถือศาสนา อย่างไร ก็ตาม เห็นได้ชดั ว่าไม่ควรมีการใช้อาำ นาจทางกฎหมายมาควบคุมฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่ง ในขณะที่ ในทุกๆ กรณี ผูค้ นควรกำาหนดคำาพิพากษาของตนไปตามสภาวะแวดล้อมของแต่ละกรณี สำาหรับคนบางคน ไม่วา่ เขา จะวางตนอยูฝ่ ่ ายไหนของการโต้เถียง แต่เขาก็จะประณามทุกๆ คน ซึ่งใช้วิธีการโต้เถียงที่แสดงออกให้ เห็นถึงการขาดความซื่อตรง ความประสงค์ร้าย ความใจแคบ แต่การไม่อนุมานความชัว่ ร้ายเหล่านี้ จาก ด้านที่บุคคลถือ แม้วา่ เป็ นด้านที่ตรงข้ามกับของเรา และการเคารพให้เกียรติต่อคนทุกๆ คน ไม่วา่ เขาจะ ถือทัศนะอะไร การมองดูฝ่ายตรงข้ามด้วยความเยือกเย็น และซื่อตรงในการกล่าวแสดง ว่าทัศนะของคน เหล่านั้น จริ งๆ แล้วเป็ นอย่างไร ไม่กล่าวอะไรเกินจริ งจนทำาให้คนเหล่านั้นสูญเสี ยความน่าเชื่อถือ ไม่ปิด ปั งอะไรซึ่งบอกถึง หรื ออาจบอกถึงข้อดีของคนเหล่านั้น นี่คือศีลธรรมอันแท้จริ งของการอภิปรายต่อ สาธารณชน หากแม้นว่าศีลธรรมนี้ จะถูกละเมิดอยูบ่ ่อยๆ ผมก็ยงั ดีใจที่จะคิดว่ามันเป็ นสิ่ งที่ ผูท้ ี่เข้าร่ วมใน การโต้เถียงหลายๆ คนยึดมัน่ เป็ นอย่างสูง และคนอีกจำานวนมากพยายามอย่างยิง่ ที่จะพาตนเองไปให้ถึง.
50
บทที่ 3 ว่ าด้ วยปัจเจกภาพในฐานะองค์ ประกอบแห่ งความผาสุ กในชีวิต 3.1 ทีก่ ล่ าวไปแล้ วทั้งหมด คือเหตุผลว่าทำาไมมนุษย์จึงควรมีอิสระที่จะสร้างทัศนะ และแสดงออก ถึงทัศนะของตนเอง อย่างไม่มีขอ้ จำากัด และคือเหตุผลว่าทำาไมมันจึงเป็ นอันตรายอย่างยิง่ ต่อปั ญญาและ ศีลธรรมของมนุษย์ ถ้าหากเสรี ภาพนี้ ไม่ได้ถูกยอมรับ หรื อไม่ได้รับการประกาศยืนยัน ขอให้เรามาดูกนั ต่อไปว่า เหตุผลประการเดียวกันนั้นเรี ยกร้องหรื อไม่วา่ คนควรจะมีอิสระที่จะกระทำาไปตามทัศนะของ ตน เพื่อให้ทศั นะเหล่านั้นปรากฏในฐานะความเป็ นจริ งในชีวิต อย่างปราศจากการขัดขวาง ไม่วา่ จะใน ทางกายภาพหรื อในทางศีลธรรม จากเพื่อนมนุษย์ดว้ ยกัน ตราบเท่าที่เขาคือผูท้ ี่เดียวที่จะต้องเผชิญ ภยันตรายที่อาจเกิดขึ้น แน่นอนว่าจำาเป็ นอย่างยิง่ ที่จะต้องมีเงื่อนไขสุ ดท้ายนี้ กาำ กับ ไม่มีใครกล้ายืนยัน ว่าการกระทำาต้องมีเสรี ภาพเท่าๆ กับความคิดเห็น ในทางตรงกันข้าม แม้แต่ทศั นะความคิดเห็นเองก็จะ สูญเสี ยอำานาจคุม้ กัน หากพวกมันถูกกล่าวออกมาภายใต้สถานการณ์ ที่จะกลายเป็ นการยุยงโดยตรงให้ เกิดการกระทำาอันชัว่ ร้าย ทัศนะว่าบรรดาพ่อค้าข้าวคือผูท้ ี่ทาำ ให้คนยากจนต้องอดอยากหิ วโหย หรื อ ทัศนะว่าทรัพย์สินส่วนตัวคือการขูดรี ด ไม่ควรจะถูกล่วงละเมิด ถ้าหากว่าจะถูกเผยแพร่ อยูใ่ นสื่ อสิ่ งพิมพ์ แต่ยอ่ มควรต่อการได้รับโทษทางกฎหมาย เมื่อถูกกล่าวออกมาโดยวาจา ต่อฝูงชนที่ถูกปลุกระดม ที่รวม ตัวกันอยูห่ น้าบ้านพ่อค้าข้าว หรื อเมื่อถูกถ่ายทอดไปในหมูฝ่ งู ชนเหล่านั้นในรู ปของใบปลิว การกระทำา ประเภทใดก็ตามที่เป็ นอันตรายต่อผูอ้ ื่นโดยปราศจากสาเหตุอนั ควร ย่อมอาจถูกควบคุม และในกรณี สำาคัญๆ ย่อมต้องถูกควบคุม ด้วยความรู้สึกไม่ยอมรับของมนุษยชาติ และหากจำาเป็ น ก็ดว้ ยการเข้าไป แทรกแซงโดยตรง เสรี ภาพของปัจเจกจึงต้องมีขอ้ จำากัด เขาต้องไม่รบกวนความสงบสุ ขของผูอ้ ื่น แต่ถา้ เขาระงับจากการล่วงเกินผูอ้ ื่น และถ้าเขากระทำาไปเพียงตามจิตใจ และตามการวินิจฉัยของตน ในสิ่ งซึ่ง เกี่ยวข้องกับตัวของเขาเองเท่านั้น เหตุผลเดียวกันกับที่แสดงว่าคนควรมีเสรี ภาพในการแสดงความคิดเห็น ก็ยอ่ มพิสูจน์เช่นกัน ว่าเขาควรได้รับการยินยอมให้ปฏิบตั ิไปตามทัศนะของตนอย่างปราศจากการล่วงล้าำ ข้อที่วา่ มนุษยชาติอาจผิดได้ ข้อที่วา่ ความจริ งเกือบทุกอย่างของมนุษย์เป็ นจริ งแค่ครึ่ งเดียว ข้อที่วา่ การ เห็นตรงกันไม่ใช่เรื่ องน่าปรารถนา ยกเว้นก็แต่เมื่อเกิดจากการนำาทัศนะตรงกันข้าม มาเปรี ยบเทียบกัน อย่างอิสระและอย่างถึงที่สุด ข้อที่วา่ ตราบใดที่มนุษยชาติยงั ไม่สามารถตระหนักถึงความจริ งทุกด้าน มาก
51
ยิง่ กว่าที่เป็ นอยูข่ ณะนี้ ความแตกต่างในทัศนะย่อมไม่ใช่สิ่งเลวร้าย หากแต่เป็ นสิ่ งที่ดี ทั้งหมดนี้เป็ นหลัก การที่ใช้ได้กบั การกระทำาต่างๆ ของคน ไม่นอ้ ยกว่ากับเรื่ องของทัศนะ การที่ความแตกต่างในทัศนะย่อม ให้ประโยชน์ ตราบใดที่มนุษยชาติยงั ไม่สมบูรณ์ ก็ยอ่ มเป็ นประโยชน์เช่นกัน ที่คนควรจะทดลองใช้ชีวิต ในรู ปแบบที่ต่างกันออกไป ที่จะเปิ ดกว้างต่อบุคลิกภาพแบบต่างๆ เมื่อไม่เป็ นการทำาร้ายใคร ที่จะพิสูจน์ ถึงค่าของรู ปแบบการใช้ชีวิตจากการปฏิบตั ิจริ ง เมื่อมีใครสักคนคิดอยากจะทดลอง สรุ ปก็คือ ในเรื่ องที่ มิได้เกี่ยวข้องกับผูอ้ ื่น ปัจเจกภาพของผูค้ นย่อมควรแสดงตนออกมา ในที่ใดก็ตามซึ่งความประพฤติถูก กำาหนดโดยจารี ตหรื อธรรมเนียมของผูอ้ ื่น ไม่ใช่โดยนิสยั ใจคอของบุคคลเอง สิ่ งที่เป็ นหนึ่งในองค์ ประกอบหลักของความสุขของมนุษย์ และที่เป็ นองค์ประกอบสำาคัญสำาหรับความก้าวหน้าของสังคมและ ของปั จเจก ย่อมขาดหายไป 3.2 ปัญหาใหญ่ที่สุดในการยืนยันหลักการนี้ ไม่ได้อยูท่ ี่การทำาให้ผคู ้ นมองเห็นในคุณค่าของวิถีอนั จะ นำาไปสู่เป้ าหมายที่เป็ นที่ยอมรับ แต่อยูท่ ี่ความไม่สนใจของบุคคลทัว่ ไปต่อตัวเป้ าหมายนั้นเอง ถ้าเป็ นที่ รู ้สึกกันว่า อิสระในการพัฒนาปัจเจกภาพคือหนึ่งในสารัตถะสำาคัญของความผาสุ กของมวลมนุษย์ นัน่ ก็ คือ ถ้าเสรี ภาพ มิได้ถูกรู้สึกว่าเป็ นแค่องค์ประกอบหนึ่ง ของสิ่ งที่เรี ยกว่าอารยธรรม การอบรมสัง่ สอน การศึกษา วัฒนธรรม แต่ตวั มันเองคือส่ วนที่จาำ เป็ นและเป็ นเงื่อนไขของสิ่ งทั้งหมดเหล่านั้น ก็จะไม่มี อันตรายต่อการที่เสรี ภาพจะถูกถือว่าด้อยค่า และการปรับเขตแดนระหว่างเสรี ภาพและการควบคุมของ สังคม ก็จะไม่ใช่เรื่ องยากเป็ นพิเศษ แต่ปัญหาก็คือ ความเป็ นตัวของตัวเองของปั จเจกแทบไม่ได้รับการ ยอมรับความสำาคัญเลย ว่ามีค่าในตนเอง ด้วยการที่คนส่ วนใหญ่พอใจกับวิถีที่มนุษยชาติเป็ นอยูใ่ น ปั จจุบนั (เพราะพวกเขาเองเป็ นผูท้ าำ ให้เป็ นเช่นนั้น) พวกเขาจึงไม่สามารถเข้าใจว่า ทำาไมวิถีเช่นนั้นจึงอาจ ไม่ดีพอสำาหรับคนบางคน และยิง่ กว่านั้น ความเป็ นตัวของตัวเองไม่ได้เป็ นส่ วนหนึ่งของอุดมคติของนัก ปฏิรูปสังคมและศีลธรรมส่วนใหญ่ หากแต่ถูกมองด้วยความระแวง ว่าเป็ นตัวปัญหาและเป็ นขบถ ต่อการ ยอมรับของคนทัว่ ไป ในสิ่ งที่นกั ปฏิรูปพวกนี้ คิดเอาด้วยตัวเอง ว่าดีที่สุดสำาหรับมนุษยชาติ นอกประเทศ เยอรมนี น้อยคนนักจะเข้าใจคำาสอนของวิลเฮล์ม วัน ฮัมโบลต์ (Wilhelm Von Humboldt) ผูม้ ีชื่อเสี ยงทั้ง ในฐานะนักปราชญ์และนักการเมือง ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในงานชิ้นหนึ่งว่า “ปลายทางของมนุษย์ หรื อสิ่ งซึ่ ง กำาหนดโดยคำาบัญชาอันถาวรหรื อเป็ นนิรันดร์ ของเหตุผล และมิได้ถูกเสนอแนะโดยอารมณ์ปรารถนาอัน คลุมเครื อชัว่ ครั้งชัว่ คราว คือการพัฒนาสูงสุ ดและประสานกลมกลืนที่สุด ของอำานาจของพวกเขา ต่อส่ วน รวมอันสมบูรณ์และสอดคล้องในตนเอง” ดังนั้น เป้ าหมาย “ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องมุ่งพยายามไปสู่อย่างไม่ หยุดยั้ง และซึ่งบรรดาผูท้ ี่ต้ งั ใจจะโน้มน้าวเพื่อนมนุษย์ของตนจักต้องไม่พลาดสายตา ก็คือปั จเจกภาพของ อำานาจและพัฒนาการ” ด้วยเหตุน้ ีจึงมีสิ่งจำาเป็ นอยูส่ องประการ นัน่ ก็คือ “เสรี ภาพ และสถานการณ์อนั หลากหลาย” และจากการประสานกันของสองสิ่ งนี้กจ็ ะเกิด “ความเข้มแข็งของปั จเจกและความแตกต่าง หลากหลายรู ปแบบ” ซึ่งเชื่อมประสานตัวเองใน “ความคิดริ เริ่ ม” 1 1
The Sphere and Duties of Government, จากภาษาเยอรมันของ Baron Wilhelm von Humboldt, หน้า 11-13.
52
3.3 อย่างไรก็ตาม จากการที่ผคู้ นไม่คนุ ้ เคยกับหลักคำาสอนอย่างของวัน ฮัมโบลต์ พวกเขาก็ยอ่ มรู ้สึก ประหลาดใจ เมื่อพบว่าเขาให้ค่าปัจเจกภาพอย่างสูงยิง่ กระนั้น คนก็ยอ่ มคิดว่าปั ญหามีเพียงแค่วา่ จะมาก แค่ไหน ไม่มีใครคิดว่าการลอกเลียนแบบซึ่งกันและกันแต่เพียงอย่างเดียว จะพาไปสู่ความยอดเยีย่ มใน ความประพฤติ ไม่มีใครจะยืนยันว่าผูค้ นไม่ควรจะนำาความคิดอะไรก็ตามแต่ ที่เขาตัดสิ นด้วยตนเอง หรื อ ที่มาจากนิสยั ใจคอส่วนตัวของเขา มาใส่ไว้ในรู ปแบบชีวิตของพวกเขา ในอีกทางหนึ่ง ย่อมเป็ นเรื่ องเหลว ไหล ที่จะคิดไปว่า ผูค้ นควรจะมีชีวิต ราวกับว่าไม่มีใครรู ้อะไรเลยก่อนหน้าพวกเขาเกิด ราวกับว่า ประสบการณ์ยงั ไม่เคยแสดงให้เห็นว่า วิธีการดำาเนินชีวิต หรื อความประพฤติรูปแบบหนึ่ง น่าพึงพอใจ กว่าอีกรู ปแบบหนึ่ง ไม่มีใครปฏิเสธว่าผูค้ นควรได้รับการสัง่ สอนและฝึ กฝนตั้งแต่เยาว์วยั ให้รู้และได้รับ ประโยชน์จากผลอันแน่ใจได้ของประสบการณ์ของผูอ้ ื่น แต่เมื่อสมรรถนะต่างๆ ของคน ๆหนึ่งบรรลุวฒ ุ ิ ภาวะ ย่อมเป็ นสิ ทธิส่วนตัว และเป็ นการเหมาะสม ที่เขาจะตีความประสบการณ์ของผูอ้ ื่นในวิธีของเขาเอง เขาเองจะต้องหาว่าในบรรดาประสบการณ์ที่ถ่ายทอดลงมาสู่เขา ส่ วนไหนที่ใช้ได้กบั สถานการณ์และ นิสยั ใจคอของเขา ขนบธรรมเนียมและจารี ตประเพณี ของผูค้ นในอดีตย่อมเป็ นประจักษ์พยานของบท ำ ก สิ่ งเหล่านั้นย่อมเรี ยกร้องให้เขาคล้อย เรี ยนของประสบการณ์ และในฐานะประจักษ์พยานอันมีน้าหนั ตาม แต่ทว่า ในประการที่หนึ่ง ประสบการณ์ของผูค้ นในอดีตอาจคับแคบเกินไป หรื อพวกเขาอาจตีความ มันผิด ประการที่สอง การตีความที่คนพวกนั้นให้กบั ประสบการณ์อาจจะถูก แต่กอ็ าจไม่เหมาะสมกับเขา ธรรมเนียมถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสภาวะแวดล้อม และลักษณะนิสยั ใจคอที่อยูใ่ นรู ปแบบเดิมๆ แต่สภาวะ แวดล้อมและนิสยั ใจคอของเขาอาจไม่เข้ากับธรรมเนียมที่เป็ นมา ประการที่สาม ธรรมเนียมอาจจะทั้งดี และเหมาะสมกับเขา แต่การคล้อยตามธรรมเนียม เพียงเพราะว่ามันเป็ นธรรมเนียม ย่อมไม่ช่วยพัฒนา คุณภาพพิเศษอันใด ของความเป็ นมนุษย์ที่มีอยูใ่ นตัวเขา ให้กา้ วหน้าขึ้นมาได้เลย ความสามารถของ มนุษย์ในการรับรู้ วินิจฉัย ในความรู้สึกแยกแยะ ในกิจกรรมทางจิต และแม้ในการกำาหนดคุณค่าทางศีล ธรรม เป็ นสิ่ งที่ถูกนำาออกมาใช้งาน ก็แต่ในการเลือกเท่านั้น คนที่ทาำ ทุกอย่างไปตามธรรมเนียมย่อมไม่ได้ เลือก และเขาย่อมไม่ได้ฝึกฝน ทั้งในพลังที่จะมองเห็นสิ่ งที่ดีที่สุด และในการปรารถนาสิ่ งเช่นนั้น พลัง อำานาจทางจิตและทางศีลธรรม ก็เป็ นเช่นเดียวกับกล้ามเนื้ อ คือพัฒนากล้าแข็งขึ้นด้วยการใช้งาน สมรรถภาพเหล่านี้ ยอ่ มไม่ได้รับการใช้งาน เมื่อคนทำาสิ่ งหนึ่งสิ่ งใดเพียงเพราะตามคนอื่น ไม่ต่างไปจาก เมื่อคนเชื่อสิ่ งหนึ่งก็เพียงเพราะคนอื่นเชื่อในสิ่ งนั้น เมื่อพื้นฐานที่รองรับทัศนะหนึ่งไม่กระจ่างแจ้งต่อ บุคคล แต่เขาก็ยงั รับทัศนะนั้นมาเป็ นของตน ปัญญาของเขาย่อมไม่อาจแข็งแกร่ งขึ้น หากมีแต่จะอ่อนแอ ลง นัน่ ก็คือ ถ้าสิ่ งที่ชกั นำาไปสู่การกระทำามิใช่สิ่งซึ่งสอดคล้องไปกับความรู ้สึกและนิสยั ใจคอของเขาเอง (เมื่อมิได้เกี่ยวข้องและกระทบกับสิ ทธิของผูอ้ ื่น ) มันย่อมมีแต่จะทำาให้ความรู ้สึกและจิตใจของเขาเฉื่ อยชา อ่อนแอ แทนที่จะตื่นตัวและกล้าแข็งขึ้น 3.4 คนที่ให้โลกเลือกเส้นทางชีวิตให้เขา ไม่จาำ เป็ นต้องมีความสามารถใดๆ มากไปกว่าความสามารถ ในการเลียนแบบของลิง คนที่เลือกเส้นทางชีวิตของตนเองต้องใช้ความสามารถทุกประการที่มีอยูใ่ นตน เขาต้องใช้การสังเกตเพื่อที่จะมองเห็น ใช้เหตุผลและการวินิจฉัยเพื่อทำานาย ต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อ
53
ประกอบการตัดสิ นใจ ต้องแยกแยะความแตกต่างเพื่อตัดสิ น และเมื่อเขาได้ตดั สิ นลงไปแล้ว เขาก็ตอ้ งใช้ ความมัน่ คงและการควบคุมตนเอง เพื่อยืนหยัดในการตัดสิ นใจนั้น เขาย่อมต้องการคุณภาพเหล่านี้ และนำา ออกมาใช้ ตามสัดส่วนของความประพฤติ ที่เขากำาหนดด้วยการตัดสิ นและความรู ้สึกของเขาเอง เป็ นไป ได้วา่ แม้ปราศจากสิ่ งเหล่านี้ เขาก็อาจถูกชักจูงให้เดินไปบนเส้นทางที่ปลอดจากอันตราย แต่เมื่อเปรี ยบ กันแล้ว อะไรคือคุณค่าแห่งความเป็ นมนุษย์ของเขา? สิ่ งที่สาำ คัญจริ งๆ ไม่ได้อยูแ่ ค่วา่ คนทำาอะไร แต่อยูท่ ี่ ว่าเขาทำาสิ่ งนั้นในลักษณะเช่นไรด้วย ในบรรดาผลงานของมนุษย์ ซึ่งชีวิตมนุษย์ควรถูกใช้เพื่อสร้างให้ เป็ นความงามและความสมบูรณ์ สิ่ งที่สาำ คัญเป็ นอันดับแรกย่อมเป็ นตัวของมนุษย์เอง สมมติวา่ เป็ นไปได้ ที่จะให้หุ่นยนต์ในร่ างมนุษย์สร้างบ้าน ปลูกข้าว สูร้ บ ทดลองบางสิ่ งบางอย่าง หรื อแม้แต่สร้างโบสถ์และ สวดมนต์ มันก็เป็ นความสูญเสี ยอยูด่ ี ที่จะแลกเปลี่ยนหุ่ นยนต์เหล่านี้ กบั มนุษย์ชายหญิง ผูซ้ ่ ึงปั จจุบนั อาศัย อยูใ่ นโลกที่ศิวิไลซ์กว่า ผูซ้ ่ ึงประกันได้วา่ เป็ นแค่ตวั อย่างอันอ่อนแอ และแคระแกร็ น ของสิ่ งที่ธรรมชาติ สามารถสร้าง และจะสร้างให้เกิดขึ้น ธรรมชาติของมนุษย์ไม่ใช่เครื่ องจักร ที่จะสร้างขึ้นตามแบบแผน และกำาหนดให้ทาำ งานตามคำาสัง่ หากแต่เป็ นต้นไม้ที่ตอ้ งเติบโต ขยายกิ่งก้านสาขาออกไป ตามแรงผลัก ของพลังจากภายใน ซึ่งให้ชีวิตแก่มนั 3.5 อาจเป็ นที่ยอมรับว่า ผูค้ นควรจะใช้สติปัญญาความเข้าใจของตน และยอมรับว่าการทำาตาม ธรรมเนียมอย่างมีปัญญา และบางครั้งก็ใช้ปัญญาแข็งขืนต่อมัน ดีกว่าการทำาตามมันไปอย่างมืดบอด เป็ น ที่ยอมรับในระดับหนึ่งว่า ความเข้าใจของเราควรเป็ นของเราเอง แต่ผคู ้ นกลับมักไม่เต็มใจที่จะยอมรับว่า ความปรารถนาและแรงกระตุน้ ก็ควรเป็ นของเราเองเช่นเดียวกัน และมักเห็นไปว่า การมีแรงกระตุน้ หรื อ แรงขับของตนเอง ไม่วา่ จะระดับไหน เป็ นก็แต่อนั ตรายเท่านั้น แต่ความปรารถนาและแรงกระตุน้ ก็เป็ น ธรรมชาติของมนุษย์เท่าๆ กับความเชื่อและการสะกดกลั้น และแรงกระตุน้ อันรุ นแรงย่อมมีแต่อนั ตราย เมื่อไม่มีสิ่งอันเหมาะสมมาถ่วงให้สมดุล นัน่ ก็คือ เมื่อเป้ าหมายและความโน้มเอียงกลุ่มหนึ่งพัฒนาพลัง อำานาจขึ้นมาในใจ ในขณะที่กลุ่มอื่นซึ่ งก็ควรจะมีอยู่ กลับไม่เติบโตควบคู่ไปด้วยกัน ที่มนุษย์กระทำาชัว่ ไม่ใช่เพราะว่าอารมณ์ปรารถนาของเขามีพลังอันรุ นแรง แต่เป็ นเพราะมโนธรรมของเขาอ่อนแอต่างหาก แรงกระตุน้ ที่รุนแรงไม่จาำ เป็ นต้องมาพร้อมกับมโนธรรมที่อ่อนแอ ความเชื่อโยงตามธรรมชาติเป็ นไปใน อีกทิศทางหนึ่งต่างหาก การกล่าวว่าความปรารถนาและความรู ้สึกของบุคคลหนึ่งรุ นแรง และหลากหลาย กว่าของอีกคนหนึ่ง เป็ นเพียงแค่การกล่าวว่า เขามีวตั ถุดิบแห่ งธรรมชาติของความเป็ นมนุษย์อยูม่ ากกว่า ดังนั้นเขาก็ยอ่ มมีความสามารถ ที่อาจจะทำาความชัว่ ได้มากกว่า แต่กแ็ น่นอนว่า เขาก็สามารถทำาความดีได้ มากกว่าด้วย แรงกระตุน้ ที่รุนแรงเป็ นอีกชื่อหนึ่งของพลัง พลังอาจถูกใช้ไปในทางเลว แต่ความดีกม็ กั เกิดจากธรรมชาติที่เปี่ ยมด้วยพลัง มากกว่าที่จะเกิดจากความเฉื่ อยชา บรรดาคนซึ่งมีความรู ้สึกเป็ นไปตาม ธรรมชาติมากที่สุด ความรู้สึกที่ได้จากการบ่มเพาะของพวกเขา ก็อาจถูกสร้างให้มีพลังอย่างที่สุด ความ รู ้สึกอ่อนไหวอย่างรุ นแรง ที่ทาำ ให้แรงกระตุน้ ในตัวบุคคลเข้มข้นมีชีวิตชีวา ก็ยอ่ มเป็ นแหล่งกำาเนิดของ ความรักอย่างลึกซึ้ งต่อคุณธรรม และของการมุ่งมัน่ ควบคุมตนเอง ด้วยการปลูกฝังในสิ่ งเช่นนี้ต่างหาก ที่ สังคมทำาหน้าที่ของตนพร้อมไปกับการปกป้ องตนเอง ไม่ใช่ดว้ ยการปฏิเสธสิ่ งอันสร้างวีรชน เพียงเพราะ
54
ตนไม่รู้วา่ จะสร้างวีรชนด้วยวิธีเช่นไร บุคคลซึ่งเป็ นเจ้าของความปรารถนาและแรงกระตุน้ ของตนเอง ผู ้ ซึ่งแสดงออกถึงธรรมชาติของตัวเขาเอง อย่างที่พฒั นาและแต่งเติมด้วยวัฒนธรรมของเขา คือผูท้ ี่กล่าวได้ ว่ามีบุคลิกภาพของตนเอง บุคคลผูซ้ ่ ึงความปรารถนาและแรงกระตุน้ ในตัว ไม่ใช่ของเขาเอง ย่อมไม่มีสิ่ง อันควรเรี ยกว่าบุคลิกภาพ เขาย่อมไม่ต่างไปจากเครื่ องจักรกลที่ไม่มีบุคลิกภาพใดๆ ของตนเอง และนอก ไปจากการเป็ นเจ้าของแรงกระตุน้ ของตนเองแล้ว ถ้าแรงกระตุน้ ของเขามีพลังและอยูภ่ ายใต้เจตจำานงอัน เข้มแข็ง เขาย่อมมีบุคลิกภาพอันทรงพลัง ใครก็ตามที่คิดว่าปั จเจกภาพแห่ งความปรารถนาและแรง กระตุน้ ไม่ควรได้รับการส่งเสริ มให้แสดงตนออกมา ก็ตอ้ งยืนยันว่าสังคมไม่ได้ตอ้ งการคนที่มีบุคลิกภาพ อันเข้มแข็ง นัน่ ก็คือ เขาต้องยืนยันว่าสังคมไม่อาจดีข้ ึนด้วยการมีคนเช่นนั้นจำานวนมากๆ และยืนยันว่า สังคมไม่ตอ้ งการพลังงานโดยเฉลี่ยที่สูง 3.6 ในช่วงต้น สังคมอาจมีอาำ นาจอยูไ่ ม่มากพอ ที่จะใช้มาควบคุมและกำาหนดทิศทางพลังพวกนั้น ใน อดีต เคยมีเวลาที่ปัจเจกภาพและความเป็ นตัวของตัวเองมีมากเกินไป และสังคมต้องต่อสูก้ บั มันอย่างหนัก ความยากลำาบากจึงอยูท่ ี่การชักจูงผูท้ ี่แข็งแรงทั้งทางกายและทางจิตใจให้เคารพต่อกฎ ซึ่งเรี ยกร้องให้เขา ควบคุมแรงกระตุน้ ของตนเอง ดังนั้น เพื่อที่จะเอาชนะความยุง่ ยาก เหมือนอย่างที่สนั ตะปาปาต้องต่อสู ้กบั กษัตริ ย ์ กฎหมายและวินยั จึงประกาศอำานาจเหนือทั้งหมดของมนุษย์ เข้าไปควบคุมทุกอย่างในชีวิตของ เขา เพื่อที่จะควบคุมอุปนิสยั ใจคอของเขา ซึ่งสังคมหาเครื่ องมืออย่างอื่นมาควบคุมไม่ได้ แต่ ณ ตอนนี้ สังคมมีชยั เหนือปัจเจกภาพ และอันตรายซึ่งคุกคามธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ใช่การมีแรงกระตุน้ และความ พึงพอใจส่ วนตัวมากเกินไป แต่คือการมีนอ้ ยเกินไป สิ่ งต่างๆ เปลี่ยนไปอย่างมาก นับตั้งแต่เมื่อความ ปรารถนาทางอารมณ์ของคนที่แข็งแรงด้วยสถานะทางสังคม หรื อด้วยธรรมชาติส่วนตัว มีนิสยั ที่จะต่อ ต้านกฎระเบียบ ซึ่งทำาให้พวกเขาต้องถูกตีตรวนอย่างเข้มงวด เพื่อให้บุคคลที่อยูใ่ กล้เคียงรู ้สึกปลอดภัย ำ ่สุด ล้วนอยูภ่ ายใต้สายตาที่เป็ น ในเวลาของเรา คนทุกๆ คนจากชนชั้นที่สูงที่สุดของสังคมลงไปถึงต่าที ปฏิปักษ์ และคอยจ้องจับผิด ไม่เพียงแต่ในเรื่ องที่เกี่ยวข้องกับผูอ้ ื่น แต่แม้ในเรื่ องของตัวพวกเขาเอง ปัจเจกหรื อครอบครัวก็ไม่ถามตัวเองว่า ฉันพอใจอะไรมากกว่ากัน? หรื ออะไรที่เข้ากับธรรมชาตินิสยั ใจคอของฉัน? หรื ออะไรที่จะทำาให้ส่วนที่ดีและสู งค่าที่สุดในตัวฉัน มีสิทธิ์ มีเสี ยงและเติบโตงอกงาม? พวกเขาถามตนเองว่า อะไรเหมาะกับสถานะของฉัน? อะไรคือสิ่ งที่คนในสถานะและสภาพการณ์อย่าง ฉันมักจะทำากัน? หรื อ (ที่แย่กว่านั้น) อะไรคือสิ่ งที่คนในสถานะและสภาพการณ์ที่เหนือกว่าฉันมักจะทำา กัน? ผมไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเลือกในสิ่ งที่เป็ นธรรมเนียม ยิง่ กว่าในสิ่ งที่เหมาะกับนิสยั ใจคอของ ำ าตนเองมีนิสยั ใจคออย่างไรนอกไปจากนิสยั ที่จะทำาไปตาม พวกเขาเอง พวกเขาไม่รู้ตวั เองเสี ยด้วยซ้าว่ ธรรมเนียม ฉะนั้น จิตใจเองจึงก้มหัวให้กบั แอก แม้แต่ในสิ่ งที่ผคู ้ นทำาเพื่อความเพลิดเพลิน สิ่ งแรกที่พวก เขาคิดก็คือการทำาให้เหมือนกับผูอ้ ื่น พวกเขาชอบอยูใ่ นฝูงชน เลือกก็แต่เฉพาะสิ่ งที่คนทัว่ ไปเลือก รสนิยมที่พิเศษเฉพาะ การปฏิบตั ิตวั ที่แตกต่างไม่เหมือนใคร ถูกหลีกเลี่ยงราวกับเป็ นอาชญากรรม และ ด้วยการไม่ทาำ ไปตามธรรมชาติ ในที่สุดพวกเขาก็ไม่มีธรรมชาติให้ทาำ ตาม สมรรถภาพต่างๆ ของพวกเขา เหี่ ยวเฉาแคระแกร็ น แล้วพวกเขาก็ยอ่ มขาดแรงปรารถนา หรื อความสุ ขตามธรรมชาติ และก็ยอ่ ม
55
ปราศจากทัศนะหรื อความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาจากข้างใน หรื อที่เป็ นของพวกเขาเองจริ งๆ นี่เป็ นสภาพของ มนุษย์ที่น่าปรารถนา หรื อไม่น่าปรารถนากันแน่ ? 3.7 ตามทฤษฎีของคาลแวง (Calvinism) แล้ว นัน่ ย่อมเป็ นสิ่ งที่น่าปรารถนา ตามความคิดเช่นนั้น หนึ่งในความผิดมหันต์ของมนุษย์ ก็คือการมีเจตจำานงของตนเอง ความดีท้ งั มวลที่มนุษยชาติสามารถ ทำาได้ ล้วนเกิดจากความเคารพเชื่อฟัง คุณไม่มีสิทธิ์ เลือก ฉะนั้น คุณต้องทำา ไม่ทาำ ไม่ได้ “สิ่ งที่ไม่ใช่หน้าที่ ย่อมเป็ นบาป” ธรรมชาติของมนุษย์คือความเลว จะไม่มีความพ้นบาป จนกว่ามันจะถูกกำาจัดไปอย่างหมด สิ้ น สำาหรับผูท้ ี่มองชีวิตเช่นนี้ การทำาลายสมรรถภาพ ความสามารถ และความละเอียดอ่อนต่างๆ ของ มนุษย์ ย่อมไม่ใช่ความชัว่ ร้าย มนุษย์ไม่ตอ้ งการความสามารถใดๆ ทั้งสิ้ น ยกเว้นก็แต่ความสามารถที่จะ มอบตนเองให้กบั เจตจำานงของพระเจ้า และถ้าเขาใช้สมรรถภาพของเขาเพื่อเป้ าหมายอื่นใด นอกเหนือไป จากการทำาไปตามเจตจำานงดังกล่าวให้มีประสิ ทธิ ภาพยิง่ ๆ ขึ้น เขาก็ไม่ควรมีสมรรถภาพเหล่านั้นเสี ยเลย จะดีกว่า นี่คือวิธีคิดของลัทธิคาลแวง แต่คนที่ไม่ได้ถือตนเป็ นชาวคาลแวง ก็ถือเช่นนี้ แม้จะในรู ปแบบที่ อ่อนลง ความอ่อนลงอยูต่ รงที่การตีความเจตจำานงของพระเจ้าให้เป็ นแบบของนักพรตน้อยลง คือยืนยัน ว่าพระเจ้ามีเจตจำานงให้ความต้องการบางอย่างของมนุษย์สมปรารถนา แต่กแ็ น่นอนว่า ไม่ใช่ในลักษณะ อย่างที่พวกเขาจะเลือกได้เอง แต่เป็ นในแบบของการเคารพเชื่อฟัง คือในแบบที่กาำ หนดให้โดยผูม้ ีอาำ นาจ และดังนั้น จึงจำาเป็ นว่าต้องเป็ นเหมือนกันสำาหรับทุกๆ คน 3.8 ในปัจจุบนั มีแนวโน้มที่ผคู้ นจะหันไปสู่ทฤษฎีชีวิตเช่นนี้ และต่อลักษณะของมนุษย์ที่บีบคั้นปิ ด กั้นไร้อิสระที่จะเติบโตที่ทฤษฎีน้ี รองรับ ไม่ตอ้ งสงสัยว่าคนหลายคนคิดอย่างจริ งใจว่า การที่มนุษย์ถูกตี กรอบเสี ยจนแคระแกร็ นเช่นนั้น เป็ นไปตามเจตนารมณ์ของพระผูส้ ร้าง เช่นเดียวกับที่คนหลายคนคิดไป ว่า ต้นไม้ยอ่ มดูสวยงาม เมื่อถูกตัดแต่งให้เป็ นทรวดทรงต่างๆ ยิง่ กว่าเมื่อมันเติบโตไปตามธรรมชาติ แต่ ถ้าศาสนาจะเชื่อว่ามนุษย์ถูกสร้างขึ้นโดยพระเจ้าผูท้ รงความดี ศรัทธาเช่นนั้นก็ควรมาพร้อมกับความเชื่อ ว่า พระเจ้ามุ่งหมายให้สมรรถภาพทั้งมวลที่มนุษย์มีคลี่คลายเติบโต มิใช่ให้ถูกถอนรากทิ้ง และควรเชื่อว่า พระเจ้าย่อมทรงยินดีต่อการที่สิ่งที่พระองค์สร้างขึ้น ก้าวเข้าใกล้อุดมคติที่อยูใ่ นตัวพวกเขา และต่อการที่ พวกเขาเพิ่มพูนความสามารถในการเข้าใจ ในการกระทำา หรื อในการมีความสุ ข ให้ขยายกว้างยิง่ ขึ้น มี ทฤษฎีวา่ ด้วยความเลอเลิศของมนุษย์ที่ต่างไปจากแบบของพวกคาลแวง อันได้แก่ความคิดว่า มนุษย์ได้ รับธรรมชาติของตนมาเพื่อเป้ าหมายอื่น ที่ไม่ใช้เพียงเพื่อการสละตนเอง “การยืนยันตนเองแบบคนนอก รี ต” เป็ นหนึ่งในคุณค่าของมนุษย์ เช่นเดียวกับ “การปฏิเสธตนเองแบบชาวคริ สต์”2 มีอุดมคติของการ พัฒนาตนเองแบบกรี ก ซึ่งไม่ได้ถูกแทนที่ แต่ถูกประสานเข้ากับอุดมคติของการปกครองตนเองแบบของ เพลโตและแบบของชาวคริ สต์ การเป็ นอย่างอัลซิไบดัส (Alcibiades) อาจดีกว่าเป็ นอย่างจอห์น น็อกซ์ (John Knox) แต่เป็ นอย่างเปอริ คลิส (Pericles) ก็ดีกว่าเป็ นอย่างทั้งคู่ แต่ถา้ ในทุกวันนี้ เรามีคนอย่างเปอริ ค ลิส ก็ไม่จริ งว่า เขาจะเป็ นคนดียิง่ กว่า โดยไม่มีความดีอนั ใดที่เป็ นแบบของจอห์น น็อกซ์ 2
บทความต่างๆ ของ Sterling
56
3.9 มิใช่ดว้ ยการทอนสิ่ งทั้งปวงอันเป็ นปัจเจกในมนุษย์ให้เหลือเพียงความเป็ นแบบเป็ นแผน แต่ดว้ ย การบ่มเพาะและส่งเสริ มสิ่ งเช่นนั้นให้ปรากฏออกมา ภายในขอบเขตที่กาำ หนดโดยสิ ทธิ และประโยชน์สุข ของผูอ้ ื่นต่างหาก ที่ทาำ ให้มนุษย์เป็ นวัตถุอนั สูงส่ งงดงามควรแก่การพินิจ และเช่นเดียวกับที่บุคลิกภาพ ของผูส้ ร้างงานย่อมมีส่วนปรากฏอยูใ่ นผลงานของเขา ด้วยกระบวนการเดียวกัน ชีวิตของมนุษย์ยอ่ มอุดม ไปด้วยความหลากหลาย ความมีชีวิตชีวา บำารุ งเลี้ยงความคิดและความรู ้สึกที่สูงส่ ง สร้างพลังความผูกพัน ที่ปัจเจกทุกคนมีต่อเผ่าพันธุ์ให้แข็งแกร่ ง ด้วยการทำาให้เผ่าพันธุ์มีค่าสูงยิง่ ขึ้นอย่างสุ ดประมาณ ต่อการ เป็ นสมาชิก บุคคลแต่ละคนย่อมมีค่าสูงยิง่ ขึ้นต่อตนเอง ไปตามระดับแห่ งพัฒนาการของปั จเจกภาพของ เขา และดังนั้น เขาก็จะมีค่าสูงยิง่ ขึ้นต่อผูอ้ ื่นด้วยเหตุผลเช่นเดียวกัน มีความเต็มเปี่ ยมของชีวิตอยูใ่ นความ ดำารงอยูข่ องเขา และเมื่อหน่วยย่อยมีชีวิตมากขึ้น มวลรวมซึ่งประกอบขึ้นจากหน่วยย่อยก็ยอ่ มมีชีวิตมาก ขึ้นด้วย แม้จะเป็ นเรื่ องจำาเป็ นอย่างยิง่ ที่จะต้องมีการตีกรอบ เพื่อป้ องกันไม่ให้ผทู ้ ี่มีธรรมชาติมนุษย์ที่เข้ม ข้นไปล่วงละเมิดสิ ทธิของผูอ้ ื่น แต่แม้จากมุมมองของพัฒนาการมนุษย์ นี่กเ็ ป็ นสิ่ งที่ได้รับการชดเชยอย่าง ควรค่า วิถีแห่ งพัฒนาการที่ปัจเจกสูญเสี ยไป จากการที่เขาถูกกันไม่ให้ตอบสนองธรรมชาติของตนเอง อย่างที่เป็ นการทำาร้ายผูอ้ ื่น มักเป็ นสิ่ งที่แลกด้วยโอกาสในการพัฒนาตนเองของผูอ้ ื่น และแม้แต่สาำ หรับ ตัวเขาเอง ก็มีสิ่งที่เขาได้กลับมาอย่างเสมอกัน ในการที่ธรรมชาติทางสังคมของเขาพัฒนาสูงขึ้น ที่เป็ นไป ได้กด็ ว้ ยการยับยั้งส่วนที่เป็ นความเห็นแก่ตวั และด้วยการถูกบังคับให้ยดึ มัน่ ต่อกฎอันเข้มงวดของความ ยุติธรรมต่อผูอ้ ื่น เขาย่อมพัฒนาความรู้สึกและความสามารถที่จะเห็นว่าผูอ้ ื่นก็มีประโยชน์สุขของตัวเอง เป็ นเป้ าหมาย แต่การถูกห้ามปรามในสิ่ งที่กไ็ ม่ได้กระทบต่อประโยชน์สุขอันควรของผูอ้ ื่น แต่ถูกห้าม เพียงเพราะคนอื่นรู้สึกไม่พอใจ เขาย่อมไม่พฒั นาความรู ้สึกอันมีค่าใดๆ ให้เกิดขึ้น นอกเสี ยแต่บุคลิกที่จะ ต่อต้านต่อการห้ามปรามนัน่ เอง และถ้าเขายอมนิ่งเฉย มันก็จะทำาให้ธรรมชาติท้ งั หมดของเขาอ่อนแอ หมดพลัง ดังนั้น เพื่อให้ธรรมชาติของคนแต่ละคนมีโอกาสแสดงออก ก็ยอ่ มสำาคัญอย่างยิง่ ที่คนจะได้รับ การยินยอมให้ใช้ชีวิตอย่างแตกต่างกัน ในยุคสมัยใดก็ตามที่คนมีอิสรภาพเช่นนี้ ยุคสมัยนั้นย่อมควรค่าแก่ ความจดจำาต่ออนุชนรุ่ นหลัง แม้แต่ลทั ธิเผด็จการก็ยงั ไม่เลวร้ายที่สุด ตราบใดที่ปัจเจกภาพยังมีอยู่ แต่ อะไรก็ตามที่บดทำาลายปัจเจกภาพ มันก็คือเผด็จการ ไม่วา่ จะเรี ยกมันด้วยชื่ออะไร ไม่วา่ มันจะประกาศว่า กำาลังทำาตามเจตจำานงของพระเจ้า หรื อทำาตามคำาบัญชาของมนุษย์ ก็ตาม 3.10 เมื่อได้กล่าวแล้วว่าปัจเจกภาพคือสิ่ งเดียวกับพัฒนาการ และการปลูกฝังปั จเจกภาพคือสิ่ งเดียว เท่านั้นที่จะสามารถสร้างให้มนุษย์เติบโตอย่างสมบูรณ์ ผมก็จะขอจบการอ้างเหตุผลไว้ ณ ตรงนี้ เพราะมี อะไรอีกหรื อ ที่จะกล่าวถึงเงื่อนไขหนึ่งของความสัมพันธ์ของมนุษย์ ที่ดีไปกว่า หรื อมากไปกว่า การ กล่าวว่ามันพาตัวมนุษย์เองไปสู่การเป็ นสิ่ งที่ดีที่สุดที่ตนเองสามารถเป็ นได้? และมีอะไรอีกหรื อ ที่จะ กล่าวถึงการปิ ดกั้นสิ่ งดีงาม ที่เลวร้ายยิง่ ไปกว่า อะไรที่กีดกันไม่ให้มนุษย์เป็ นเช่นนั้น? อย่างไรก็ตาม ไม่ ต้องสงสัยว่า ข้อพิจารณาเหล่านี้ จะยังไม่พอที่จะโน้มน้าวใจให้ผไู ้ ม่เชื่อหันมาคล้อยตาม และจำาเป็ นที่จะ ต้องแสดงให้เห็นว่า มนุษย์ที่พฒั นาแล้วย่อมสร้างประโยชน์ให้แก่ผยู ้ งั ไม่พฒั นา นัน่ ก็คือ ต้องชี้ให้ผทู ้ ี่ไม่
57
ปรารถนาเสรี ภาพ และย่อมจะไม่พยายามหาเสรี ภาพให้กบั ตนเอง ให้เห็นว่า พวกเขาเองก็ยงั อาจได้รางวัล จากการยอมให้คนอื่นใช้เสรี ภาพอย่างปราศจากการขัดขวาง 3.11 ในประการที่หนึ่ง ผมขอเสนอว่า พวกเขาอาจได้เรี ยนรู ้อะไรบางอย่างจากคนพวกนั้น คงไม่มีใคร จะกล่าวว่าความคิดริ เริ่ มไม่ใช่สิ่งที่มีค่าต่อมนุษย์ ไม่เพียงแค่วา่ เราต้องการให้มีผทู ้ ี่จะค้นพบความจริ ง ใหม่ และที่จะชี้วา่ บางสิ่ งที่เคยจริ งไม่เป็ นจริ งอีกต่อไปแล้วสำาหรับเรา แต่เรายังต้องการให้มีคนมาริ เริ่ ม แนวทางปฏิบตั ิใหม่ๆ มาให้ตวั อย่างของความประพฤติที่กา้ วหน้าไปกว่าเดิม และมาให้ตวั อย่างของ รสนิยมและความสำานึกรู้ในชีวิตมนุษย์ ที่ดีไปกว่าเดิม คงไม่มีใครมาคัดค้านสิ่ งนี้ นอกเสี ยจากคนที่เชื่อ ไปว่าโลกได้บรรลุถึงความสมบูรณ์ในทุก ๆทาง และในทุกแนวปฏิบตั ิ ไปเรี ยบร้อยแล้ว จริ งอยูว่ า่ ผล ประโยชน์น้ ี จะไม่สามารถได้มาจากคนทุกๆ คน เหมือนกัน เมื่อเทียบกับมนุษยชาติท้ งั หมดแล้ว มีคนอยู่ น้อยมาก ผูซ้ ่ ึงการทดลองของเขาจะสร้างให้เกิดพัฒนาการในแนวปฏิบตั ิที่เป็ นที่ยอมรับกันอยูแ่ ต่เดิม เมื่อ คนอื่นๆ รับไปทำาตาม แต่คนจำานวนน้อยๆ นี้เป็ นแก้วมณี ของโลก ปราศจากพวกเขา ชีวิตมนุษย์กเ็ ป็ นแค่ ำ ่ขงั นิ่ง ไม่เพียงแค่พวกเขานำาเสนอสิ่ งดีงามที่ไม่เคยมีมาก่อนให้แก่เรา แต่พวกเขายังรักษาสิ่ งดีงาม แอ่งน้าที ที่มีอยูแ่ ล้วให้มีชีวิตอยูต่ ่อไป ถ้าไม่มีอะไรใหม่ให้ทาำ ปัญญาของมนุษย์กจ็ ะหมดความจำาเป็ นไม่ใช่หรื อ? เป็ นเหตุผลข้อหนึ่งไม่ใช่หรื อ ว่าคนที่ทาำ แต่สิ่งเก่าๆ ย่อมลืมว่าทำามันไปทำาไม และก็ทาำ มันไปเหมือนวัว เหมือนควาย แทนที่จะทำามันอย่างมนุษย์? เป็ นไปได้อย่างยิง่ ว่า ความเชื่อและการประพฤติปฏิบตั ิที่ดีที่สุด จะเสื่ อมลงเป็ นเพียงเรื่ องที่พดู และทำาไปตามแบบแผน และถ้าไม่ใช่เพราะว่า มีคนที่ความริ เริ่ มอันไม่รู้จบ ของพวกเขา มาช่วยป้ องกันไม่ให้ฐานของความเชื่อและการปฏิบตั ิเหล่านั้น เป็ นเพียงแค่ธรรมเนียมนิยม สิ่ งที่ตายแล้วเช่นนั้นย่อมไม่อาจต้านแม้แต่แรงกระทบที่นอ้ ยที่สุด จากอะไรที่มีชีวิตจริ งๆ และย่อมจะ ไม่มีเหตุผลว่าทำาไมอารยธรรมถึงจะไม่ตายไป เหมือนอย่างจักรวรรดิไบเซนไทน์ เป็ นความจริ งว่า อัจฉริ ยะเป็ นแค่คนกลุ่มน้อย แต่การที่จะมีคนเช่นนั้นได้ จำาเป็ นต้องถนอมรักษาผืนดินที่พวกเขาอาศัย เติบโต อัจฉริ ยะสามารถหายใจอย่างเต็มปอด ก็แต่ในบรรยากาศแห่ งเสรี ภาพเท่านั้น อัจฉริ ยะบุคคลเป็ น ปั จเจกชนยิง่ กว่าใครทั้งสิ้ น พวกเขามีความสามารถน้อยกว่าผูอ้ ื่น ในการบีบบังคับตัวเองให้เข้าไปอยูใ่ น กรอบจำานวนน้อยๆ ที่สงั คมกำาหนดขึ้นมาเพื่อช่วยไม่ให้สมาชิกต้องลำาบากในการสร้างบุคลิกภาพของ ตนเอง ถ้าความขลาดและอายบังคับให้เขาต้องยอมบีบตัวเองอยูใ่ นกรอบใดกรอบหนึ่ง และถ้าเขายอมให้ ส่ วนใดก็ตามที่ไม่อาจขยายตัวได้อย่างอิสระ ถูกจำากัดไว้ในกรอบ สังคมก็จะบัน่ ทอนอัจฉริ ยภาพของเขา ลง แต่ถา้ พวกเขามีบุคลิกภาพแข็งแกร่ ง และแหกทำาลายแซ่ตรวนที่ล่ามพวกเขาออกเสี ย พวกเขาก็จะ กลายเป็ นรอยมลทินของสังคม ซึ่งสังคมไม่สามารถทอนลงให้เป็ นของธรรมดาสามัญ และก็ถูกจะชี้วา่ เป็ นคน “เถื่อน” “ประหลาด” “แตกต่าง” “ไม่เข้าพวก” “รุ นแรง” อย่างเช่นที่แม่นาไนแองการาถู ้ำ กตำาหนิวา่ ไม่ยอมไหลไปอย่างสงบราบเรี ยบ เหมือนอย่างคลองขุดของชาวดัทช์ ำ งความสำาคัญของอัจฉริ ยภาพ และถึงความความจำาเป็ นที่เราจะต้อง 3.12 ดังนั้น ผมจึงขอแน่นย้าถึ ปล่อยให้มนั เบ่งบานอย่างเสรี ทั้งในทางความคิดและในทางการกระทำา แม้ผมจะรู ้ดีวา่ ไม่มีใครปฏิเสธตัว แนวคิด แต่กร็ ู้เช่นกันว่าแทบจะไม่มีใครแยแสที่จะเห็นมันปรากฏในความเป็ นจริ งเลย ผูค้ นคิดว่าอัจฉริ ย
58
ภาพเป็ นสิ่ งที่ดี ถ้ามันทำาให้คนแต่งบทกวีที่กินใจหรื อสร้างงานจิตรกรรมที่งดงาม แต่ในความหมายของ ความแปลกใหม่ในความคิดและการกระทำา ถึงแม้จะไม่มีใครพูดว่าไม่ใช่สิ่งที่น่าชื่นชม แต่ในใจของคน เกือบทุกคนกลับคิดว่าพวกเขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างดีโดยไม่ตอ้ งมีสิ่งเช่นนั้น น่าเศร้าที่นี่เป็ นเรื่ อง ธรรมดาเกินกว่าที่จะประหลาดใจ คนที่ไร้ความคิดริ เริ่ มย่อมไม่อาจรู ้สึกถึงประโยชน์ของความคิดริ เริ่ ม พวกเขาไม่รู้วา่ จะใช้มนั ไปทำาอะไร แล้วทำาไมพวกเขาถึงควรรู ้? เพราะถ้าพวกเขาเกิดรู ้ข้ ึนมาว่าจะใช้ความ คิดริ เริ่ มไปทำาอะไร มันก็จะไม่ใช่ความคิดริ เริ่ มสร้างสรรค์ ความช่วยเหลืออย่างแรกที่ความคิดริ เริ่ มจะ ต้องทำาให้แก่คนเช่นนั้น ก็คือการช่วยเปิ ดตาพวกเขา ซึ่งเมื่อตาของพวกเขาเปิ ดอย่างเต็มที่แล้ว พวกเขาก็ จะมีโอกาสที่จะเป็ นผูร้ ิ เริ่ มสิ่ งต่างๆด้วยตัวของเขาเอง แต่ในระหว่างที่ยงั ไม่เป็ นเช่นนั้น ด้วยการระลึกรู ้วา่ ไม่เคยมีอะไรเลยที่ทาำ กันมา ที่ไม่มีคนบางคนมาทำาเป็ นคนแรก และด้วยการระลึกรู ้วา่ ทุกอย่างที่ดีงามที่มี อยู่ ณ ตอนนี้ ล้วนแต่เป็ นผลพวงของความคิดริ เริ่ มสร้างสรรค์ ขอให้พวกเขาจงถ่อมตน และจงเชื่อว่ายังมี ำ อนตัวเองว่า ยิง่ พวกเขารู ้สึก บางสิ่ งเหลือให้ความคิดริ เริ่ มสร้างสรรค์มาสานต่อ และขอให้พวกเขาย้าเตื น้อยเพียงใดถึงความขาดแคลนในความคิดริ เริ่ มสร้างสรรค์ พวกเขาก็ยงิ่ ต้องการมันมากยิง่ ขึ้น เพียงนั้น 3.13 ไม่วา่ จะมีการประกาศว่าบูชา หรื อมีการบูชาอยูจ่ ริ งสักแค่ไหน ต่อสิ่ งที่ถือว่าเป็ นความสูงส่ ง และ ความเหนือกว่าทางจิตใจ ในความเป็ นจริ งแล้ว แนวโน้มของทั้งโลกก็คือการที่สามัญชนขึ้นครองอำานาจ เหนือมวลมนุษย์ ในยุคโบราณ และในยุคกลาง ปั จเจกคืออำานาจในตัวเขาเอง ซึ่งก็ลดน้อยลงเรื่ อยๆ เมื่อ ยุคศักดินาเปลี่ยนมาสู่ยคุ ปัจจุบนั แต่ในยุคเหล่านั้น ถ้าเขามีพรสวรรค์อนั ยิง่ ใหญ่หรื อมีสถานะอันสูงส่ งใน สังคม เขาก็จะทรงอำานาจและโดดเด่นออกมาจริ งๆ แต่ในยุคปั จจุบนั ปั จเจกชนถูกกลืนหายไปในฝูงชน ในเรื่ องการเมือง เรากล่าวได้เลยว่าทัศนะของสามัญชนคืออำานาจปกครองโลก อำานาจอยูใ่ นมือของ มวลชน และในมือของรัฐบาลที่ทาำ ตัวเป็ นมือไม้ให้กบั นิสยั ใจคอและสัญชาติญาณของมวลชน นี่เป็ นจริ ง ในเรื่ องของศีลธรรม และในความสัมพันธ์ทางสังคมที่เป็ นเรื่ องของชีวิตส่ วนตัว เท่ากับที่เป็ นจริ งในเรื่ อง ความสัมพันธ์ทางสาธารณะ บรรดาผูท้ ี่ทศั นะของพวกเขาได้ชื่อว่าเป็ นทัศนะของสาธารณะ ก็ไม่ได้เป็ น สาธารณชนประเภทเดียวกันเสมอไป ในอเมริ กา ก็คือ ประชากรคนขาวทั้งหมด ส่ วนในอังกฤษ ก็คือ ชนชั้นกลาง แต่อย่างไรเสี ยพวกเขาก็เป็ นมวลชน ซึ่งก็คือ เป็ นการรวมกันของสามัญชนทั้งหลาย สิ่ งที่ แปลกไปจากเดิมก็คือ ในครั้งนี้ มวลชนไม่ได้รับเอาทัศนะมาจากคนใหญ่คนโตในศาสนาจักรหรื อในรัฐ จากผูน้ าำ หรื อจากหนังสื อ คนที่คิดสิ่ งต่างๆ ให้พวกเขา ก็คือคนอย่างพวกเขากันเอง ผูซ้ ่ ึงพูดกับพวกเขา หรื อพูดแทนพวกเขา ไปตามการกระตุน้ ของสภาวการณ์ ผ่านหน้าหนังสื อพิมพ์ ผมไม่ได้กาำ ลังบ่นในเรื่ อง ำ นี้ ผมไม่ได้ยนื ยันว่า มีอะไรที่ดีไปกว่านี้ ที่เข้าได้กบั สภาพที่ตกต่าของจิ ตใจมนุษย์ ที่เป็ นอยูท่ วั่ ไปใน ปัจจุบนั แต่นนั่ ก็ไม่ทาำ ให้การปกครองโดยคนธรรมดาสามัญ พ้นไปจากการเป็ นการปกครองแบบ ธรรมดาสามัญ การปกครองโดยประชาชนหรื อโดยอภิสิทธิ์ ชนกลุ่มใหญ่ ไม่วา่ จะในเรื่ องทางการเมือง หรื อในเรื่ องของทัศนะ คุณภาพ หรื อลักษณะแห่ งจิตใจ ที่การปกครองนั้นส่ งเสริ ม ไม่มีทางที่จะก้าวพ้น ไปจากการเป็ นการปกครองแบบพื้นๆ สามัญๆ ไปได้ นอกเสี ยจากว่าผูท้ รงเอกสิ ทธิ์ จาำ นวนมากเหล่านั้น จะยอมตามคำาแนะนำาและอิทธิพลของคนๆ เดียว หรื อของคนไม่กี่คน ที่มีพรสวรรค์และมีปัญญาที่สูงยิง่
59
กว่า (ซึ่งในเวลาที่กา้ วหน้าที่สุด พวกเขาก็ได้ยอมอยูเ่ สมอ) สิ่ งอันชาญฉลาดและประเสริ ฐทั้งมวล ได้รับ การริ เริ่ มโดยปัจเจกชน ซึ่งโดยทัว่ ไปแล้ว ก็จะเป็ นปั จเจกชนเพียงคนเดียว เกียรติภูมิและความรุ่ งโรจน์ ของสามัญชนอยูต่ รงที่วา่ เขาสามารถก้าวตามการริ เริ่ มนั้นได้ อยูใ่ นการที่เขาสามารถตอบสนองจากข้าง ในต่อสิ่ งอันชาญฉลาดและประเสริ ฐ ด้วยการก้าวตามไปสู่สิ่งเช่นนั้น ด้วยดวงตาที่เปิ ด ผมไม่ได้กาำ ลัง สนับสนุน “การบูชาวีรบุรุษ” ประเภทที่ยกย่องอัจฉริ ยะผูเ้ ข้มแข็งที่ใช้กาำ ลังเข้ายึดครองโลก แล้วบังคับ โลกให้ทาำ ตามบัญชา ทั้งหมดที่อจั ฉริ ยะสามารถเรี ยกร้อง ก็คือเสรี ภาพที่จะชี้ทางให้แก่โลก อำานาจที่จะ บังคับให้คนอื่นเดินไปบนทางนั้น ไม่เพียงแต่ขดั แย้งกับเสรี ภาพและพัฒนาการของคนที่เหลือ แต่ยงั ทำาให้ ตัวผูแ้ ข็งแกร่ งผูน้ ้ นั เลวลงอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า ในเมื่อทัศนะของสามัญชนได้กลายมาเป็ น หรื อกำาลังกลายเป็ นอำานาจครอบงำาโลก สิ่ งที่จะทัดทานและแก้ไขกระแสเช่นนั้นได้ ก็เห็นจะมีแต่การที่ ปั จเจกภาพของผูท้ ี่ยนื อยูบ่ นระดับความคิดที่เหนือกว่า จะต้องได้รับการประกาศออกมาอย่างหนักแน่น ยิง่ ๆ ขึ้นไป ในสถานการณ์เช่นนี้นี่เอง ที่ปัจเจกชนผูซ้ ่ ึงพิเศษกว่าผูอ้ ื่นทั้งหลาย ไม่ควรที่จะถูกขัดขวาง หากแต่ควรที่จะได้รับการสนับสนุนให้กระทำาในสิ่ งที่แตกต่างไปจากมวลชน ในอดีต การกระทำาเช่นว่า ของปั จเจกจะไม่เกิดประโยชน์ นอกเสี ยจากว่าพวกเขาจะไม่แค่กระทำาให้แตกต่าง แต่กระทำาให้ดีกว่าด้วย ในยุคนี้ เพียงแค่การเป็ นตัวอย่างของการไม่คล้อยตามคนหมู่มาก เพียงแค่การปฏิเสธที่จะคุกเข่าให้กบั จารี ตประเพณี ก็นบั ได้วา่ มีค่าแล้ว ฉะนั้น ด้วยเหตุผลที่วา่ ทัศนะกลายเป็ นทรราชขึ้นมา ก็เพราะมันทำาให้ ความผิดแผกแตกต่างกลายเป็ นเรื่ องน่าตำาหนิ เพื่อที่จะทลายทรราชนั้น ผูค้ นจึงควรที่จะแตกต่าง ความ ผิดแผกแตกต่างมักมีอยูอ่ ย่างอุดมในเวลาและสถานที่ซ่ ึงอุดมไปด้วยผูค้ นมีความเข้มแข็งในบุคลิกภาพ และระดับของความผิดแผกแตกต่างในสังคม ย่อมสัมพันธ์เป็ นสัดส่ วนกับระดับของอัจฉริ ยภาพ ความ กล้าแข็งแห่งจิตใจ และความกล้าหาญทางศีลธรรม ที่มีอยูใ่ นสังคมนั้น และย่อมเป็ นสัญญาณอันตราย ของยุคปัจจุบนั ที่ ณ ตอนนี้ มีคนน้อยเหลือเกินที่กล้าแตกต่างไปจากผูอ้ ื่น 3.14 ผมได้กล่าวแล้วว่า เป็ นเรื่ องสำาคัญที่จะต้องให้อาณาเขตที่เสรี ที่สุด ต่อสิ่ งต่างๆ ที่ไม่เป็ นไปตาม ธรรมเนียม เพื่อที่เวลาจะพิสูจน์วา่ มีสิ่งไหนที่เหมาะสม ที่จะเปลี่ยนให้เป็ นธรรมเนียม แต่อิสรภาพแห่ ง การกระทำา และการปฏิเสธต่อธรรมเนียม ไม่ได้ควรค่าแก่การสนับสนุน เพียงเพราะแค่จากโอกาสที่มนั ช่วยให้เราเห็นรู ปแบบของการกระทำาที่ดีกว่าเดิม และจากการที่มนั ช่วยริ เริ่ มผลักดันธรรมเนียมที่สูงค่า กว่าเดิม ที่ผคู้ นควรจะรับมาปฏิบตั ิ และไม่จริ งเช่นกันว่า มีแต่บุคคลที่มีจิตใจอันเด็ดเดี่ยวเข้มแข็งเหนือ กว่าผูอ้ ื่นเท่านั้น ที่อาจจะอ้างสิ ทธิ์ที่จะดำาเนินชีวิตไปตามแบบของตนเอง ไม่มีเหตุผลที่การดำาเนินชีวิต ของมนุษย์ท้ งั มวล ควรเป็ นไปตามแบบแผนไม่กี่แบบ ถ้าบุคคลผูห้ นึ่งมีสามัญสำานึกและประสบการณ์ที่ ถือได้วา่ พอประมาณ การที่เขาดำารงชีวิตในรู ปแบบหรื อวิธีการของเขาเองย่อมดีที่สุด ไม่ใช่เพราะว่ามันดี ที่สุดในตัวเอง แต่เพราะว่ามันเป็ นของเขาเอง มนุษย์ไม่เหมือนแกะ และแม้แต่แกะก็ไม่ได้เหมือนกันเสี ย จนแยกไม่ออก คนไม่อาจจะได้เสื้ อผ้าหรื อรองเท้าที่พอดีกบั เขา นอกเสี ยจากว่ามันจะถูกวัดตัดมาตาม ขนาดของเขา หรื อว่าเขามีสินค้าทุกขนาดมาให้เลือก การหาวิถีชีวิตที่พอเหมาะพอเจาะให้ผคู ้ นง่ายกว่า การหาเสื้ อผ้าหรื ออย่างไร? หรื อว่าร่ างกายและจิตวิญญาณของมนุษย์โดยรวมแล้วจะเหมือนกัน ยิง่ กว่าใน
60
เรื่ องของขนาดและรู ปร่ างของเท้า? ถ้าคนมีความแตกต่างกันเพียงแค่ในเรื่ องของรสนิยม นัน่ ก็เป็ นเหตุผล เพียงพอแล้วที่จะต้องไม่พยายามทำาให้พวกเขาใส่ เสื้ อผ้าหรื อรองเท้าแบบเดียวกัน แต่ต่างบุคคลก็ยอ่ ม ต้องการเงื่อนไขที่แตกต่างกันสำาหรับพัฒนาการทางจิตวิญญาณของตน และพวกเขายอมไม่อาจเติบโต อย่างสมส่ วนภายใต้ศีลธรรมเดียวกัน มากไปกว่าที่พืชพันธุ์อนั แตกต่างย่อมไม่อาจเติบโตในสภาพดินฟ้ า อากาศเดียวกัน สิ่ งที่ช่วยบ่มเพาะธรรมชาติฝ่ายสูงของคนๆ หนึ่ง อาจเป็ นอุปสรรคต่อสิ่ งเดียวกันของอีก คนหนึ่ง รู ปแบบชีวิตเดียวกัน เป็ นการกระตุน้ เร้าที่ช่วยในการเติบโตของคนๆ หนึ่ง คือทำาให้สมรรถภาพ ในการคิด ในการกระทำา และในความรู้สึกเป็ นสุ ขทั้งหมดของเขาเติบโต แต่สาำ หรับอีกคนหนึ่ง มันกลับ กลายเป็ นสภาวะอันหนักอึ้ง หน่วงเหนี่ยวและบดทำาลายสมรรถภาพทั้งมวลแห่ งจิตใจ นี่คือความแตกต่าง ในหมู่มนุษย์ ในที่มาแห่งความสุขและความทุกข์ และในตัวการต่างๆ ทางกายภาพและทางศีลธรรม ที่ กระทำาต่อเขา ซึ่งถ้าหากปราศจากความหลายหลากในรู ปแบบการใช้ชีวิตมารองรับแล้วละก็ พวกเขาก็ไม่ อาจได้รับความสุ ขที่ควรได้ และทั้งไม่อาจเติบโตไปสู่ภูมิธรรมทางจิตใจ ทางศีลธรรม และทางสุ นทรี ยะ ที่ธรรมชาติของพวกเขาสามารถไปถึง แล้วทำาไม ในเรื่ องที่เกี่ยวกับความรู ้สึกของสาธารณชน ขันติธรรม จึงควรจำากัดอยูแ่ ค่กบั เรื่ องของรสนิยม และกับรู ปแบบของการใช้ชีวิต ที่มีจาำ นวนอันมหาศาลของผูถ้ ือ ปฏิบตั ิ มาเป็ นเครื่ องบีบบังคับให้ยอมรับ? ไม่มีที่ไหน (ยกเว้นก็แต่ในสถาบันสงฆ์บางแห่ ง) ที่ปิดกั้น ความแตกต่างในรสนิยมโดยสิ้ นเชิง บุคคลอาจชอบหรื อไม่ชอบที่จะพายเรื อ สูบบุหรี่ เล่นดนตรี กีฬา หมากรุ ก ไพ่ หรื อที่จะศึกษาค้นคว้า ได้โดยไม่ถูกตำาหนิ เพราะว่าทั้งจำานวนคนที่ชอบ และคนที่ไม่ชอบสิ่ ง เหล่านี้ มีมากเกินกว่าที่จะปราบปราม แต่ท้ งั ผูช้ ายและผูห้ ญิง (ซึ่งฝ่ ายหลังอาจมีมากกว่า) ก็ลว้ นต่างอาจ โดนข้อกล่าวหาว่า “ทำาในสิ่ งที่คนอื่นเขาไม่ทาำ ” หรื อ “ไม่ทาำ ในสิ่ งที่คนอื่นเขาทำา” อย่างที่ถือว่าเป็ นความ เสื่ อมเสี ย ราวกับว่าพวกเขาได้ทาำ ความผิดทางศีลธรรมอย่างร้ายแรง มีแต่บุคคลที่มียศถาบรรดาศักดิ์ หรื อ ได้รับการนับถือจากผูม้ ียศถาบรรดาศักดิ์เท่านั้น ที่จะสามารถหาความสุ ขให้ตวั เองสักขีดหนึ่ง ในการทำา ำ า หาความสุ ขให้ตวั เองสักขีด ในสิ่ งที่เขาชอบจริ งๆ โดยไม่เสี่ ยงต่ออันตรายที่จะเสี ยชื่อเสี ยง ผมขอย้าว่ หนึ่ง เพราะใครก็ตามที่ปล่อยตัวเองให้หาความสุ ขในแบบที่ใจชอบจนเกินขีด ย่อมเสี่ ยงต่อสิ่ งที่เลวร้ายก ว่าคำาดูถูก เขาจะถูกข้อกล่าวหาว่าวิกลจริ ต และเสี่ ยงต่อการถูกริ บทรัพย์สมบัติไปแจกจ่ายให้ญาติ3 3
มีบางสิ่ งที่ท้ งั น่ารังเกียจและน่าสะพรึ งกลัวในพยานหลักฐาน อย่างที่ปรากฏว่า ในปี หลังนี้ ใครก็ตามอาจถูกประกาศ ตามการตัดสิ นของศาลได้วา่ เป็ นผูไ้ ม่เหมาะสมที่จะจัดการธุรกิจของตัวเอง และหลักจากเสี ยชีวิตแล้ว อำานาจการจัดการ กับทรัพย์สินของเขาก็สามารถถูกยกเลิก ถ้ามีเหลือมากพอในการจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำาเนินคดี ซึ่ งก็คิดราคาเอาตาม ทรัพย์สินนั้นเอง รายละเอียดยิบย่อยในชีวิตประจำาวันของเขาจะถูกสอดส่ อง และอะไรก็ตามที่ถูกพบที่ดูเหมือนต่างไป ำ ่สุดในบรรดาคนชั้นต่าำ ก็จะถูก จากธรรมดาสามัญ ซึ่ งเห็นผ่านสมรรถภาพของการรับรู้และการบรรยายของคนที่ต่าที เสนอต่อลูกขุนว่าเป็ นหลักฐานของความเสี ยสติ และก็มกั จะสำาเร็ จ พวกลูกขุนก็เป็ นพวกหยาบคายและโง่เขลาน้อยกว่า พวกพยานก็แต่เพียงเล็กน้อย ในขณะที่ผพู้ ิพากษาทั้งหลาย ผูซ้ ่ ึ งมักขาดในความเข้าใจต่อธรรมชาติของชีวิตและมนุษย์ อย่างไม่น่าเชื่อ อย่างที่สร้างให้เราประหลาดใจในนักกฎหมายของอังกฤษเสมอมา ก็จะยิง่ ช่วยพาพวกลูกขุนไปผิดทาง การพิจารณาคดีพวกนี้พดู กันได้เป็ นเล่มๆ ในเรื่ องสภาวะของความรู้สึกและทัศนคติในคนชั้นล่างเกี่ยวกับเรื่ องเสรี ภาพ ของมนุษย์ แทนที่จะกำาหนดคุณค่าให้กบั ปัจเจกภาพ แทนที่จะเคารพต่อสิ ทธิของปัจเจกแต่ละคนที่จะกระทำาในสิ่ งไม่
61
3.15 ทิศทางปัจจุบนั ของความคิดเห็นของประชาชนมีลกั ษณะสำาคัญอยูป่ ระการหนึ่ง ซึ่งทำาให้มนั ไร้ ขันติธรรมต่อปัจเจกภาพใดๆ ก็ตามที่แสดงตนเด่นออกมา มนุษยชาติโดยเฉลี่ยไม่ได้มีปัญญาแค่ในระดับ ปานกลางเท่านั้น แต่มีอุปนิสยั ก็แค่ในระดับกลางๆ ด้วย พวกเขาไม่มีรสนิยมหรื อความปรารถนาที่แรง พอที่จะทำาในสิ่ งใดที่ผิดไปจากปกติ และดังนั้นพวกเขาจึงไม่เข้าใจผูท้ ี่มีรสนิยมและความปรารถนาเช่น นั้น และจึงจัดคนเช่นนั้นไว้ในพวกคนหัวรุ นแรง ขาดความพอดีหรื อความยับยั้งชัง่ ใจ ซึ่งพวกเขาเคยชินที่ จะดูถูก จากข้อเท็จจริ งทัว่ ไปนี้ ขอเพียงแค่เราสมมติวา่ เกิดความเคลื่อนไหวอย่างรุ นแรงเพื่อปรับปรุ ง แก้ไขศีลธรรมขึ้น ก็ยอ่ มชัดเจนว่าอะไรจะเกิดตามขึ้นมา ในทุกวันนี้ ความเคลื่อนไหวเช่นว่าได้เกิดขึ้น แล้ว หลายต่อหลายสิ่ งได้เกิดผลขึ้นมาจริ งๆ ในรู ปของการจัดระเบียบพฤติกรรมที่เพิ่มขึ้น การห้ามปราม ความเกินเลย และเกิดจิตวิญญาณของความรักต่อมวลมนุษย์ข้ ึนอย่างกว้างขวาง ซึ่งย่อมไม่มีอาณาบริ เวณ ไหนที่จะเชิญชวนให้ผคู้ นนำาจิตวิญญาณนั้นออกมาใช้ ยิง่ ไปกว่าในการปรับปรุ งศีลธรรมและความถูก ต้องเหมาะสมในหมู่เพื่อนมนุษย์ดว้ ยกันเอง แนวโน้มเหล่านี้ ของยุคสมัยย่อมทำาให้สาธารณชนพยายามที่ จะกำาหนดกฎเกณฑ์ทวั่ ไปของความประพฤติ และพยายามบังคับให้คนทุกคนยอมทำาตามมาตรฐานอัน เป็ นที่ยอมรับ อย่างหนักหนากว่าที่เคยเป็ นมาไม่วา่ ในสมัยใด และไม่วา่ จะด้วยการประกาศออกมาหรื อ ต้องรู ้เอาเอง มาตรฐานนั้นก็คือ ห้ามมีความปรารถนาที่รุนแรงต่อสิ่ งใด ลักษณะแห่ งจิตใจที่เป็ นอุดมคติ ของมัน ก็คือการปราศจากความโดดเด่นแห่ งจิตใจ ซึ่งก็คือการทำาให้ทุกส่ วนของธรรมชาติมนุษย์ที่แสดง ตนโดดเด่นออกมา ต้องพิการไปเพราะการถูกบีบรัด อย่างเดียวกับเท้าของสาวจีน และก็คือความ ปรารถนาที่จะทำาให้บุคคลไม่แสดงตนให้แตกต่างออกไปอย่างเห็นได้ชดั จากสภาวะที่เป็ นธรรมดาสามัญ ของมนุษยชาติ 3.16 เช่นเดียวกับที่มกั เกิดกับอุดมคติท้ งั หลาย ที่กีดกันอีกครึ่ งหนึ่งของสิ่ งที่น่าปรารถนาออกไป มาตรฐานของการยอมรับปัจจุบนั สร้างได้แต่เพียงการลอกเลียนที่ดอ้ ยกว่าของอีกครึ่ งที่เหลือ นัน่ ก็คือ แทนที่จะเป็ นพลังอันกล้าแข็ง ที่ได้รับการชี้นาำ โดยเหตุผลอันเข้มงวด และเป็ นความรู ้สึกอันรุ นแรง ที่ได้ รับการควบคุมโดยเจตจำานงของมโนธรรม ผลของมันก็คือ ความรู ้สึกและพลังงานที่อ่อนแอ ซึ่งถูกเก็บอยู่ เบื้องหลังอาการแสดงออกของการยินยอมต่อกฎ อย่างที่ปราศจากความแข็งแกร่ งไม่วา่ จะของเจตจำานง หรื อเหตุผล อุปนิสยั ที่เข้มแข็งในวงกว้างของสังคมกำาลังกลายเป็ นเพียงเรื่ องของธรรมเนียมนิยม ใน ประเทศนี้ไม่มีอะไรในปัจจุบนั ที่จะเป็ นทางออกให้กบั พลังงานของผูค้ น นอกจากในเรื่ องของธุรกิจ พลังงานที่ใช้ไปในเรื่ องนี้ อาจยังคงถือว่ามาก อะไรที่เหลืออยูน่ ิดหน่อยก็ถูกใช้ไปกับงานอดิเรกบางอย่าง กระทบกับใคร ตามที่ดูเหมือนว่าดีสาำ หรับนิสัยใจคอและการวินิจฉัยของเขาเอง ผูพ้ ิพากษาและลูกขุนกลับไม่สามารถ แม้แต่จะคิดว่าบุคคลที่มีสติสัมปชัญญะปกติจะสามารถปรารถนาเสรี ภาพเช่นนั้น ในสมัยก่อน เมื่อมีการเสนอให้เผาพวก ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า ประชาชนผูใ้ จบุญเสนอแนะให้ขงั พวกเขาไว้ในโรงพยาบาลบ้าแทน ในสมัยนี้ ไม่ใช่เรื่ องน่า ประหลาดใจอย่างใดเลย ที่เราจะเห็นการกระทำาแบบนี้ และผูก้ ระทำาก็สรรเสริ ญตนเอง เพราะ แทนที่จะข่มเหงรังแกกัน ด้วยศาสนา พวกเขาได้ใช้วิธีในการจัดการกับคนที่โชคร้ายเหล่านี้ อย่างที่เปี่ ยมด้วยมนุษยธรรมและเป็ นแบบอย่างของ ชาวคริ สต์ โดยแอบพอใจอย่างเงียบๆ ที่คนพวกนั้นได้รับในสิ่ งที่สาสม
62
ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ หรื อแม้แต่นาำ มาใช้ในงานช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ แต่กม็ กั เป็ นเพียงในสิ่ งเดียว และ เป็ นสิ่ งเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งหมดของความยิง่ ใหญ่ของอังกฤษปั จจุบนั ได้มาจากการเข้ามารวมกลุ่มกัน ถ้า แยกกันแต่ละคนแล้ว เราไม่มีอะไรยิง่ ใหญ่ ที่เราดูเหมือนว่าสามารถจะทำาอะไรที่ยิง่ ใหญ่ได้กเ็ พราะเรามี นิสยั ที่จะเข้ามารวมกำาลังกันเท่านั้น และนี่กเ็ ป็ นที่พอใจอย่างยิง่ แล้วสำาหรับนักศีลธรรมและนักศาสนาผู ้ รักเพื่อนมนุษย์ของเรา แต่คนที่มีลกั ษณะแห่งจิตใจอีกแบบหนึ่งต่างหาก ที่ทาำ ให้องั กฤษเป็ นอย่างที่เคย ำ เป็ นมา และอังกฤษย่อมต้องการคนอีกแบบหนึ่งนั้นเอง มาช่วยป้ องกันไม่ให้ตนเองถอยต่าลง 3.17 ในทุกหนแห่ง เผด็จการแห่งจารี ตขวางกั้นความก้าวหน้าของมนุษย์ ด้วยการเป็ นปฏิปักษ์ต่อ ลักษณะแห่ งจิตใจที่มุ่งไปสู่บางสิ่ งที่ดีกว่าจารี ต ลักษณะแห่ งจิตใจนี้ ถูกเรี ยกไปตามสภาวการณ์วา่ จิต วิญญาณแห่ งเสรี ภาพ หรื อจิตวิญญาณแห่งความก้าวหน้า หรื อไม่กเ็ รี ยกว่าจิตวิญญาณแห่ งการพัฒนา วิญญาณแห่ งการพัฒนาไม่ได้เป็ นวิญญาณแห่งเสรี ภาพเสมอไป เพราะมันอาจมุ่งที่จะบังคับคนที่ไม่เต็มใจ และวิญญาณแห่ งเสรี ภาพ หากว่ามันต่อต้านความความพยายามเช่นนั้น ในบางครั้งและในบางแห่ ง ตัวมัน เองก็อาจเข้าร่ วมกับฝ่ ายตรงข้ามกับการพัฒนา แต่ทว่า มีแต่เสรี ภาพเท่านั้นที่ประกันได้วา่ จะสร้างให้เกิด การพัฒนาขึ้นได้อย่างถาวร เพราะว่าด้วยเสรี ภาพ ศูนย์กลางของการพัฒนาจะกระจายออกไปและมีได้ มากมายเท่ากับความมากมายของปัจเจกชน อย่างไรก็ตาม หลักแห่ งความก้าวหน้า ไม่วา่ จะอยูใ่ นรู ปของ ความรักต่อเสรี ภาพ หรื อความรักต่อการพัฒนา ย่อมจะเป็ นปฏิปักษ์ต่ออำานาจของจารี ต อย่างน้อยที่สุดมัน ก็ตอ้ งอาศัยการปลดปล่อยตนเอง ให้พน้ จากแอกของจารี ต และการแข่งขันกันขององค์ประกอบทั้งคู่ก็ ย่อมเป็ นประเด็นหลักในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ อาจพูดได้เลยว่าโลกส่ วนนอกยุโรปไร้ ประวัติศาสตร์ เพราะว่าเผด็จการของจารี ตมีอาำ นาจสมบูรณ์ โลกตะวันออกทั้งหมดเป็ นเช่นนั้น ในทุกสิ่ ง จารี ตคือคำาตอบสูงสุด ความถูกต้องเที่ยงธรรมหมายถึงการเป็ นไปตามจารี ต เหตุผลของจารี ตเป็ นสิ่ งที่ ไม่มีใครคิดจะต่อต้านโต้เถียง นอกเสี ยแต่โดยทรราชที่เมามันในอำานาจ และเราก็เห็นแล้วว่าผลลัพธ์คือ อะไร ชาติเหล่านั้นต้องเคยมีความคิดริ เริ่ มสร้างสรรค์ พวกเขาไม่ได้เริ่ มต้นอย่างพร้อมมูลด้วยปั ญญาและ ภูมิรู้ในศิลป์ และศาสตร์ต่างๆ แห่งชีวิต พวกเขาต้องสร้างของเหล่านั้นขึ้นมา ในตอนนั้นพวกเขาจึงเป็ น ชนชาติที่ยงิ่ ใหญ่และทรงอำานาจที่สุดในโลก แต่ตอนนี้พวกเขาเป็ นอย่างไร? พวกเขาเป็ นสมาชิกของชน เผ่า ผูซ้ ่ ึงบรรพบุรุษของตนเคยพเนจรในราวป่ า ในขณะที่พวกเขามีปราสาทราชวังและโบสถ์อารามอัน วิจิตรตระการตา แต่กอ็ ยูใ่ ต้กฎแห่งจารี ตที่เสรี ภาพและความก้าวหน้าไม่อาจไปด้วยกัน ผูค้ นดูเหมือนจะ ก้าวหน้าไปแค่ช่วงเวลาหนึ่งแล้วก็หยุดชะงักลง แล้วเมื่อใดที่ความก้าวหน้าหยุด? คำาตอบก็คือ เมื่อปั จเจก ภาพสูญสิ้ นไป ถ้าการเปลี่ยนแปลงแบบเดียวกันจะเกิดขึ้นกับยุโรป มันก็จะไม่เหมือนกันเสี ยทีเดียว เผด็จการแห่ งจารี ตที่คุกคามยุโรปไม่ใช่ประเด็นของการหยุดนิ่งอยูก่ บั ที่ จารี ตของยุโรปบังคับความเป็ น หนึ่งเดียว แต่ไม่หา้ มการเปลี่ยนแปลงถ้าเกิดทุกคนจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน เราโยนเครื่ องแต่งกายที่ ตายตัวของบรรพบุรุษทิ้งไปแล้ว นัน่ คือ แม้ทุกคนยังต้องแต่งตัวเหมือนคนอื่น แต่แฟชัน่ ก็อาจเปลี่ยนได้ปี ละครั้งสองครั้ง เราระวังว่า เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง มันเป็ นไปเพื่อตัวมันเอง ไม่ใช่เพราะจากความคิด เรื่ องความงาม หรื อความคิดเรื่ องความสะดวกใดๆ เพราะคนทั้งโลกย่อมไม่มีความคิดดังว่า ที่เป็ นหนึ่ง
63
เดียวกันพร้อมกัน แล้วก็โยนมันทิ้งพร้อมๆ กันในเวลาต่อไป แต่เราก้าวไปข้างหน้าเช่นเดียวกับที่เราเปิ ด รับต่อการเปลี่ยนแปลง พวกเราสร้างสรรค์เครื่ องยนต์กลไกใหม่ๆ เสมอ และคงรักษาพวกมันไว้จนกว่าจะ มีอะไรที่เหนือกว่ามาทดแทน เรากระตือรื อร้นที่จะพัฒนาการเมือง การศึกษา และแม้แต่ศีลธรรม แม้วา่ สำาหรับประการหลังนี้ แนวคิดในการพัฒนาของเราจะเป็ นเรื่ องของการหว่านล้อมชักจูง หรื อบีบบังคับ ำ า คนอื่น ให้เป็ นคนดีเท่าๆ กับเราเองก็ตาม เราไม่ได้คดั ค้านความก้าวหน้า เรายกยอตัวเราเองเสี ยด้วยซ้าว่ เป็ นพวกที่กา้ วหน้าที่สุดที่เคยมีมา ปัจเจกภาพต่างหากที่เป็ นสิ่ งที่เราต่อต้าน เราแทบจะคิดว่า เราได้ทาำ ใน สิ่ งอันสุดแสนวิเศษ ถ้าเราได้ทาำ ให้ทุกคนเป็ นเหมือนๆ กัน โดยลืมไปว่า การที่คนๆ หนึ่งต่างไปจากคนอีก คนหนึ่ง ย่อมเป็ นสิ่ งแรกที่จะทำาให้ต่างฝ่ ายตระหนักถึงความไม่สมบูรณ์แบบของตน และตระหนักถึง ความสูงค่ากว่าของคนอีกแบบหนึ่ง หรื อตระหนักถึงความเป็ นไปได้ที่จะสร้างในบางสิ่ งที่ดีกว่าทั้งสอง แบบ ด้วยการประสานสิ่ งที่ดีของทั้งสองฝ่ ายเข้าด้วยกัน เรามีสิ่งเตือนใจคือประเทศจีน ซึ่งเป็ นชาติที่อาจ นับได้วา่ มากด้วยความสามารถพิเศษและภูมิปัญญา อันเนื่องมาจากการมีโอกาสที่เกิดขึ้นได้ยาก ของการ มีจารี ตที่ดีเป็ นพิเศษมาตั้งแต่ยคุ ต้นๆ ซึ่งเป็ นผลงานของบุคคลที่ แม้แต่ชาวยุโรปที่มีปัญญาที่สุด ก็ยงั ต้อง ยอมรับว่าเป็ นนักปราชญ์ในระดับหนึ่ง ยิง่ กว่านั้น พวกเขายังยอดเยีย่ มอย่างน่าทึ่งในกลวิธีของการ ประทับภูมิปัญญาสูงสุดที่ตนมีลงบนจิตใจของชุมชน และในการประกันว่าผูท้ ี่ได้ครอบครองภูมิปัญญา เช่นนั้น จักได้รับตำาแหน่งอันทรงเกียรติและอำานาจในสังคม แน่นอนว่าผูค้ นที่ได้ทาำ เช่นนี้ ได้คน้ พบ ความลับของความก้าวหน้าของมนุษย์ และต้องได้เคยรักษาตนให้อยูข่ า้ งหน้าของกระบวนการ เคลื่อนไหวของโลก แต่พวกเขากลับหยุดนิ่งคงอยูเ่ ช่นนั้นมาเป็ นพันปี และถ้าเขาจะเกิดก้าวหน้าต่อไป ก็ ต้องเป็ นไปโดยอิทธิพลของคนข้างนอก นัน่ เพราะอะไร? ก็เพราะพวกเขาประสพความสำาเร็ จอย่างเกิน ความคาดหวัง ในการทำาให้คนทุกคนเหมือนกัน ในการทำาให้ทุกคนควบคุมความคิดและการกระทำาของ ตนเองด้วยกฎข้อบังคับและหลักศีลธรรมเดียวกัน ซึ่งนี่กค็ ือสิ่ งที่ผรู ้ ักมวลมนุษย์ชาวอังกฤษกำาลังทุ่มเท พยายามอย่างสุดกำาลัง อำานาจของทัศนะของสาธารณชนที่ทาำ งานอยูอ่ ย่างไม่เป็ นระบบ คือสิ่ งที่ระบบ การเมืองและการศึกษาของจีนกำาลังทำางานอยูอ่ ย่างเป็ นระบบ และนอกเสี ยจากว่า ปั จเจกภาพจะประสพ ความสำาเร็จในการยืนยันตนเองต่อแอกนี้ ได้สาำ เร็ จอีกครั้งหนึ่ง ยุโรปก็จะกลายเป็ นอย่างจีน แม้วา่ ตนจะถือ ศาสนาคริ สต์ และสื บทอดมาจากบรรพบุรุษที่ยิง่ ใหญ่ ก็ตามที 3.18 อะไรคือสิ่ งที่ปกป้ องยุโรปจากชะตากรรมดังกล่าวมาได้จนถึงบัดนี้ ? อะไรทำาให้ประชาชาติ ยุโรปเป็ นกลุ่มก้อนของมนุษยชาติที่กา้ วหน้าขึ้นเรื่ อยๆ แทนที่จะหยุดนิ่ง? ไม่ใช่ความพิเศษยอดเยีย่ มใดๆ ของพวกเขา ซึ่งหากมีอยู่ ก็มีอยูใ่ นฐานะผลไม่ใช่เหตุ แต่คืออุปนิสยั และวัฒนธรรมของพวกเขา ซึ่งเห็นได้ ชัดว่าผิดแผกแตกต่างไปอย่างหลากหลาย ปั จเจก ชนชั้น ประชาชาติ ล้วนแตกต่างกันอย่างที่สุด พวกเขา ได้เดินอยูบ่ นเส้นทางมากมายหลากหลาย ที่แต่ละเส้นทางล้วนนำาไปสู่บางสิ่ งที่มีค่า และแม้วา่ ในทุกช่วง เวลา ผูท้ ี่ท่องอยูบ่ นเส้นทางที่ต่างกันจะไม่มีขนั ติธรรมต่อกัน และแม้ต่างก็ลว้ นคิดว่า ถ้าหากสามารถ บังคับให้คนที่เหลือมาเดินทางเดียวกับเขาได้กจ็ ะเป็ นการวิเศษ แต่ความพยายามของพวกเขาที่จะกีดขวาง พัฒนาการของกันและกัน แทบไม่เคยให้ความสำาเร็ จที่ถาวร และต่างก็อยูร่ อดจากความพยายามเช่นนั้น
64
มาจนถึงเวลาที่จะได้รับสิ่ งอันดีงามที่อีกฝ่ ายมีให้ ในการวินิจฉัยของผม ความก้าวหน้าและพัฒนาการของ ยุโรปทั้งหมดเป็ นหนี้ ต่อความหลากหลายแห่งวิถีทางเดินนี้ แต่ยโุ รปก็เริ่ มที่จะได้รับผลกำาไรนี้นอ้ ยลง ทุกทีแล้ว เห็นได้ชดั ว่ามันกำาลังก้าวเข้าหาอุดมคติแบบจีนที่จะทำาคนทุกๆ คนให้เหมือนกันให้หมด เดอ ต้อกเกอวิลล์ (M. de Tocqueville) ได้ต้ งั ข้อสังเกตไว้ในงานสำาคัญชิ้นสุ ดท้ายของเขา ว่าชาวฝรั่งเศสทุกวัน นี้ เหมือนกันอย่างมาก มากกว่าที่เคยเป็ นอยูใ่ นคนฝรั่งเศสรุ่ นที่แล้วอย่างยิง่ สิ่ งนี้เป็ นจริ งมากยิง่ กว่าเสี ย อีกในหมู่ชาวอังกฤษ ในข้อความที่ผมยกมาจากของวิลเฮล์ม วัน ฮัมโบลด์ท เขาชี้ถึงสิ่ งสองสิ่ งที่จาำ เป็ น สำาหรับพัฒนาการของมนุษย์ เพราะจำาเป็ นต่อการที่จะทำาให้ผคู ้ นแตกต่างไปจากกันและกัน อันได้แก่ เสรี ภาพ และความหลากหลายของสถานการณ์ ในประเทศนี้ เงื่อนไขข้อที่สองกำาลังลดน้อยลงทุกวัน สภาวการณ์ที่แวดล้อมปัจเจกและชนชั้นต่างๆ ซึ่งเป็ นปั จจัยที่หล่อหลอมอุปนิสยั ใจคอของพวกเขา กำาลัง ประสานเข้าด้วยกันมากยิง่ ขึ้นทุกทีๆ ก่อนหน้านี้ คนต่างชั้น ต่างฐานันดร ต่างย่านที่อยูอ่ าศัย ต่างการงาน อาชีพ อาจเรี ยกได้วา่ อยูก่ นั คนละโลก แต่ในปัจจุบนั ต่างก็แทบจะกล่าวได้วา่ อยูร่ ่ วมในโลกเดียวกัน กล่าว ก็คือ พวกเขาอ่านสิ่ งเดียวกัน ฟังสิ่ งเดียวกัน เห็นสิ่ งเดียวกัน ท่องไปในที่เดียวกัน หวังและกลัวในสิ่ ง เดียวกัน มีสิทธิ์ และเสรี ภาพเดียวกัน และมีวิธีเดียวกันในการต่อสูย้ นื ยันสิ ทธิ์ และเสรี ภาพของตน แม้อาจ ยังมีความแตกต่างของฐานะตำาแหน่งอยูม่ าก แต่กเ็ ทียบไม่ได้กบั ความแตกต่างอื่นๆ ที่จบสิ้ นไปแล้ว และ การประสานโลกของพวกเขาเข้าด้วยกันนี้ กก็ าำ ลังเดินต่อไปข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ำ สูงขึ้น และ ทั้งหมดของยุคเราสนับสนุนในสิ่ งนี้ เพราะการเมืองเป็ นความพยายามยกระดับคนที่อยูต่ ่าให้ ำ การขยายการศึกษาทั้งหมดสนับสนุนในสิ่ งนี้ เพราะการศึกษานำาผูค้ นมาอยู่ ลดระดับคนที่อยูส่ ูงให้ต่าลง ใต้อิทธิ พลเดียวกัน เปิ ดให้พวกเขาเข้าถึงคลังของข้อเท็จจริ งและคุณค่าเดียวกัน พัฒนาการของการสื่ อสาร และการคมนาคมก็สนับสนุนสิ่ งนี้ ด้วยการนำาคนที่อยูอ่ าศัยต่างถิ่นมาติดต่อสัมผัสกัน และทำาให้ผคู ้ นย้าย ถิ่นฐานได้อย่างรวดเร็ว การค้าพาณิชย์และอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นก็สนับสนุนสิ่ งนี้ ด้วยการกระจายสิ่ ง อำานวยความสะดวก เปิ ดให้คนทัว่ ไปได้แข็งขันกันในความทะเยอทะยานไขว่คว้าในทุกๆ เรื่ อง แม้สิ่งที่ สูงสุ ด ด้วยการที่ความปรารถนาที่จะก้าวสูงขึ้น ไม่ใช่อุปนิสยั ของคนชนชั้นใดชั้นหนึ่งอีกต่อไป แต่เป็ น ของคนทุกชนชั้น แต่กระนั้น ตัวการที่ทรงอำานาจเหนือสิ่ งทั้งหมดที่กล่าวมา ที่ทาำ ให้มนุษยชาติคล้ายคลึง กันไปหมด ก็คือการที่ทศั นะของมหาชนขึ้นครองอำานาจเบ็ดเสร็ จในรัฐ ไม่วา่ จะในประเทศนี้หรื อใน ประเทศเสรี อื่นๆ เมื่อความมีอาำ นาจและความโดดเด่นทางสังคมทั้งหลาย ซึ่งเคยทำาให้ผถู ้ ือครองไม่ตอ้ ง แยแสต่อทัศนะของฝูงชน ค่อยๆ กลายเป็ นความเสมอกันมากขึ้นทุกทีๆ ความคิดที่จะแข็งขืนต่อเจตจำานง ของสาธารณชน เมื่อเป็ นที่รู้ชดั ว่าพวกเขามีเจตจำานง ก็ค่อยๆ หายไปจากจิตใจของนักการเมืองผูส้ นใจแต่ เรื่ องเชิงปฏิบตั ิ ไม่มีอะไรอีกแล้วในสังคมที่จะมารองรับการไม่ยอมตามต่อแบบแผน หมายถึงอำานาจที่มี ตัวมีตนในสังคม ซึ่งตัวของมันเองขัดขวางต่อการครอบงำาของทัศนะมหาชน เป็ นอำานาจซึ่งสนใจที่จะ ให้การปกป้ องต่อทัศนะและลักษณะแห่งจิตใจที่แตกต่างออกไปจากของสาธารณชน 3.19 การประสานกันของสาเหตุท้ งั หมดที่กล่าวมา สร้างให้เกิดมวลที่ใหญ่ยิง่ ของแรงต้านทานต่อ ปัจเจกภาพ จนยากที่จะเห็นว่ามันจะยืนหยัดอยูไ่ ด้อย่างไร ซึ่งมันจะทำาเช่นนั้นได้ยากยิง่ ขึ้นทุกที นอกเสี ย
65
จากว่า เราจะสามารถทำาให้ปัญญาของสาธารณชนตระหนักรู ้ถึงคุณค่าของปั จเจกภาพ ทำาให้พวกเขาเห็น ว่าผูค้ นควรแตกต่างกัน แม้จะไม่เพื่อสิ่ งที่ดีกว่า และแม้อาจปรากฏต่อพวกเขาว่าบางสิ่ งอาจแย่ลงก็ตาม ถ้า จะมีเวลาใดที่ปัจเจกภาพจะต้องได้รับการประกาศยืนยันอย่างถึงที่สุด นัน่ ก็คือเวลานี้ อันเป็ นเวลาซึ่ง การ ประสานผูค้ นเข้าด้วยกันยังห่างจากความเบ็ดเสร็ จสมบูรณ์ ในเวลาที่ยงั เป็ นช่วงต้นๆ ของการลุกล้าำ เท่านั้น ที่การยืนหยัดตั้งมัน่ จะสามารถทำาได้สาำ เร็ จ ความต้องการให้คนอื่นทุกคนเป็ นเหมือนกับตัวเรา ขยายเติบโตไปตามพื้นที่ที่มนั กลืนกิน ถ้าการต่อต้านคอยจนกระทั้งชีวิตถูกทอนจนแทบจะอยูใ่ นรู ปแบบ ที่เป็ นหนึ่งเดียว ทุกอย่างที่ผิดแผกไปจากแบบแผนนั้นจะถูกถือว่าขัดต่อศาสนา ผิดศีลธรรม หรื อแม้กระ ทั้งว่าแปลกประหลาดผิดธรรมชาติ มนุษยชาติจะสูญเสี ยความสามารถที่จะเข้าใจความหลากหลายไป อย่างรวดเร็ ว เมื่อพวกเขาเริ่ มไม่คนุ ้ เคยต่อการเห็นความหลากหลาย แม้สกั แค่ช่วงเวลาเดียว.
66
บทที่ 4 ว่ าด้ วยขอบเขตของการใช้ อำานาจของสังคมต่ อปัจเจก
4.1 ถ้าเช่นนั้นแล้ว ขอบเขตของเอกสิ ทธิ์อนั ชอบธรรมของปั จเจกเหนือตัวเขาเองจะอยูท่ ี่ไหน? อำานาจของสังคมเริ่ มต้นตรงไหน? ชีวิตมนุษย์ควรจะแบ่งให้กบั ปั จเจกภาพสักแค่ไหน และแบ่งให้กบั สังคมสักแค่ไหน? 4.2 ส่ วนแต่ละส่วนจะได้รับส่วนแบ่งอันเหมาะสมแก่ตน ถ้าได้รับในสิ่ งซึ่งเกี่ยวข้องเป็ นพิเศษกับตน สำาหรับปั จเจกภาพ ควรเป็ นส่วนของชีวิต ซึ่งโดยหลักแล้วอยูใ่ นความสนใจของปั จเจก สำาหรับสังคม ก็ เป็ นส่ วนที่ โดยหลักแล้วอยูใ่ นความสนใจของสังคม 4.3 แม้วา่ สังคมไม่ได้สร้างขึ้นบนพันธะสัญญา และถึงแม้วา่ การประดิษฐ์พนั ธะสัญญาขึ้นมาจะไม่ ช่วยในการอนุมานไปถึงพันธะหน้าที่ที่คนมีต่อสังคม แต่กระนั้น คนทุกคนที่ได้รับการปกป้ องจากสังคม ย่อมต้องมีหน้าที่ที่จะต้องตอบแทนต่อผลได้น้ี และในการมีชีวิตอยูใ่ นสังคม ย่อมจำาเป็ นที่คนแต่ละคนจะ ต้องผูกพันที่จะปฏิบตั ิต่อผูอ้ ื่นตามแนวทางแห่งความประพฤติบางอย่าง ในประการแรก ผูค้ นจะต้องไม่ ทำาร้ายผลประโยชน์ของกันและกัน หรื อที่จริ งแล้วคือไม่ทาำ ร้ายผลประโยชน์บางอย่างซึ่ง อาจจะด้วยการ บัญญัติของกฎหมาย หรื อด้วยความเข้าใจของตนเอง เป็ นผลประโยชน์ชนิดที่ควรถือเป็ นสิ ทธิ และ ประการที่สอง คนแต่ละคนจะต้องมีส่วนร่ วม (ที่จะต้องกำาหนดบนหลักแห่ งความเท่าเทียมกัน) ในการ เสี ยสละแรงกายและแรงทรัพย์ เพื่อปกป้ องมิให้สังคมหรื อสมาชิกของสังคมถูกข่มเหงรังแก สำาหรับ เงื่อนไขทั้งสองประการนี้ สังคมย่อมมีอาำ นาจอันชอบธรรมที่จะใช้ทุกวิถีทางมาบังคับคนที่พยายามหลีก เลี่ยงความรับผิดชอบ และไม่ใช่วา่ สังคมอาจจะทำาได้แค่น้ ี การกระทำาของบุคคลอาจเป็ นการทำาร้ายต่อผู ้ อื่น หรื อขาดการพิจารณาไตร่ ตรองถึงประโยชน์สุขของผูอ้ ื่น โดยไม่ได้ถึงขนาดที่เป็ นการละเมิดสิ ทธิ ที่ ได้รับการรับรองใดๆ ของพวกเขา แม้ผกู้ ระทำาผิดจะไม่ถูกลงโทษทางกฎหมาย แต่กย็ อ่ มสมควรต่อการ ถูกลงโทษโดยทัศนคติของผูค้ น ทันทีที่ส่วนใดส่ วนหนึ่งของความประพฤติของบุคคลกระทบในทางร้าย ต่อประโยชน์สุขของผูอ้ ื่น มันย่อมเข้าไปอยูใ่ นขอบเขตอำานาจของสังคม และย่อมมีคาำ ถามทันทีวา่ การ เข้าไปแทรกแซงต่อการกระทำานั้น จะสนับสนุนความผาสุ กของส่ วนรวมหรื อไม่ แต่คาำ ถามย่อมไม่เกิด ขึ้น เมื่อความประพฤติของบุคคลไม่ได้กระทบผลประโยชน์ของใครนอกจากของตัวเขาเอง หรื อไม่
67
จำาเป็ นต้องกระทบต่อใคร นอกเสี ยจากคนพวกนั้นจะพอใจเข้าไปเกี่ยวข้องเอง (ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้อง บรรลุนิติภาวะและมีปัญญาเข้าใจสิ่ งต่างๆ ตามปกติ) ในกรณี เช่นนั้น บุคคลควรมีเสรี ภาพอย่างสมบูรณ์ ไม่วา่ จะในทางกฎหมาย หรื อในทางสังคม ในการกระทำาตามที่เขาพอใจ และต่อการรับผลที่จะตามมา 4.4 แต่จะเป็ นความเข้าใจหลักคำาสอนนี้ ที่ผิดอย่างยิง่ หากจะคิดไปว่า มันสอนให้คนเห็นแก่ตวั อย่าง ไม่แยแสต่อผูอ้ ื่น หรื อที่จะคิดไปว่ามันอ้างว่ามนุษย์ไม่ควรจะเอาใจใส่ ต่อพฤติกรรมในชีวิตของกันและ กัน และไม่ควรสนใจต่อความเป็ นอยูข่ องผูอ้ ื่น ตราบใดที่ไม่มีผลประโยชน์ของตัวเองไปข้องเกี่ยว อันที่ จริ งแล้ว เราควรจะต้องพยายามสนับสนุนประโยชน์สุขของผูอ้ ื่น อย่างไม่คาำ นึงถึงประโยชน์ส่วนตน มาก ขึ้นมิใช่ลดน้อยลง แต่ความเมตตาปราณี ยอ่ มสามารถหาวิธีอื่นในการชักนำาผูค้ นไปสู่สิ่งดีงาม ที่ไม่ใช่โดย แส้และหวาย ไม่วา่ จะใช้จริ งๆ หรื อแค่โดยอุปมาอุปมัย ผมไม่เคยเห็นว่าคุณธรรมต่อตนเองมีค่าต่าำ ถ้ามัน จะเป็ นรอง มันก็เป็ นรองต่อคุณธรรมทางสังคมเท่านั้น การศึกษามีหน้าที่ที่จะต้องปลูกฝังคุณธรรมทั้งคู่ อย่างเสมอกัน แต่การศึกษาก็ใช้เหตุผลมาจูงใจให้ยอมรับเช่นเดียวกับการบังคับ และเมื่อช่วงเวลาของการ ศึกษาผ่านไปแล้ว คุณธรรมต่อตนเองก็ควรจะได้รับการปลูกฝังโดยเหตุผลเท่านั้น มนุษย์เป็ นหนี้ ต่อกัน และกัน ในการช่วยแยกแยะความดีความเลว และในการสนับสนุนกันและกันให้เลือกสิ่ งแรก และหลีก เลี่ยงสิ่ งหลัง พวกเขาไม่ควรหยุดกระตุน้ กันและกันให้ใช้สมรรถภาพที่สูงกว่าของตนให้ยิง่ ๆ ขึ้นไป และ ให้มุ่งความรู้สึกและเป้ าหมายของตนไปสู่สิ่งอันฉลาด มิใช่โง่เขลา ยกระดับ มิใช้ลดระดับ จิตใจ แต่ไม่ จริ งว่าคนๆ หนึ่ง หรื อคนกลุ่มหนึ่ง จะมีสิทธิ ที่จะกล่าวต่อเพื่อนมนุษย์ผหู ้ นึ่งผูใ้ ดที่เป็ นผูใ้ หญ่แล้ว ว่าเพื่อ ประโยชน์ของตัวเขาเอง เขาจักต้องไม่ใช้ชีวิตทำาในสิ่ งที่เขาเลือกที่จะทำา เขาคือบุคคลผูส้ นใจต่อความ อยูด่ ีมีสุขของตัวเองมากที่สุด เป็ นความสนใจที่ไม่มีใครอื่นสามารถมีได้เลย เมื่อเทียบกับที่เขามีต่อตัวเอง ยกเว้นก็แต่โดยผูท้ ี่มีความรักความผูกพันกับเขาอย่างลึกซึ้ งเท่านั้น ความสนใจที่สงั คมมีต่อเขาในฐานะ บุคคลหนึ่งคน (ยกเว้นกับพฤติกรรมที่เขามีต่อผูอ้ ื่น) ก็แทบจะเท่ากับศูนย์และไม่เคยมีตรงๆ ในขณะที่ มนุษย์ชายหญิงปกติธรรมดาทั้งหลายย่อมรู ้ และรู ้สึกถึงสถานการณ์ของตนเองดีกว่าใครอื่นทั้งหลาย การ ที่สงั คมจะเข้าไปแทรกแซงข้อตัดสิ นและเป้ าหมายของเขา ในสิ่ งที่เกี่ยวข้องก็แต่ตวั เขาเอง ย่อมต้องวางอยู่ บนข้อสันนิษฐานต่างๆ ซึ่งอาจผิดโดยสิ้ นเชิง และแม้วา่ ถูก ก็อาจถูกหรื อผิดได้เท่าๆ กันเมื่อนำามาใช้กบั กรณี เฉพาะ โดยคนที่ใช้กไ็ ม่ได้คุน้ เคยกับสถานการณ์ของกรณี น้ ันๆ มากไปกว่าในฐานะของคนที่มอง จากข้างนอก เพราะฉะนั้น สำาหรับกิจกรรมส่ วนนี้ ของมนุษย์ ปั จเจกภาพจึงมีพ้ืนที่ของตนเอง แต่สาำ หรับ ความประพฤติที่มนุษย์มีต่อผูอ้ ื่น จำาเป็ นที่จะต้องมีการปฏิบตั ิตามกฎทัว่ ไป เพื่อที่ผคู ้ นจะได้รู้วา่ เขาต้อง คาดหวังในสิ่ งใด นัน่ ก็คือ ในเรื่ องที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง ปั จเจกย่อมมีอิสระที่จะเป็ นตัวของตัวเอง คนอื่น อาจเสนอข้อพิจารณาเพื่อให้เขาใช้ตดั สิ นใจ อาจคอยกระตุน้ เพื่อให้เขาเกิดใจอยากกระทำา แม้เมื่อเขาเอง อาจไม่เต็มใจจะฟังก็ตาม แต่เขาเองคือผูท้ ี่จะตัดสิ นในท้ายที่สุดว่าจะทำาอะไร ความผิดพลาดอาจเกิดขึ้น จากการที่เขากระทำาต่างไปจากคำาแนะนำาและคำาตักเตือน แต่นนั่ ยังมีค่าเหนือกว่าความเลวร้ายของการยอม ให้คนอื่นมาบังคับขืนใจให้เขาทำาในสิ่ งที่คนเหล่านั้นเห็นว่าดี
68
4.5 ผมไม่ได้หมายความว่าความรู้สึกซึ่งคนอื่นๆ มีต่อคนๆ หนึ่ง ไม่ควรจะถูกกระทบไม่วา่ จะในทาง ใด โดยคุณลักษณะของความใส่ใจในตนเองหรื อความไม่ใส่ ใจในตนเองของบุคคลนั้น นี่เป็ นเรื่ องที่เป็ น ไม่ได้และก็ไม่ควรเป็ น ถ้าเขาเด่นด้วยคุณลักษณะอันชักนำาสิ่ งที่ดีมาสู่ต่อตัวเขา เขาย่อมควรค่าแก่ความ ชื่นชม เพราะเขาเป็ นผูท้ ี่เข้าใกล้อุดมคติของความเป็ นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบยิง่ กว่าผูอ้ ื่น แต่ถา้ เขาขาด คุณลักษณะเช่นนั้น ความรู้สึกที่ตรงกันข้ามก็ยอ่ มตามมา เมื่อบุคคลแสดงออกมาให้เห็นถึงความโง่ ความ ต่าำ (แม้จะเป็ นวลีที่อาจไม่เหมาะสม) หรื อความทรามในรสนิยม ถึงระดับหนึ่ง แม้นนั่ จะไม่เป็ นเหตุผล เพียงพอให้เราจะลงโทษเขา แต่กย็ อ่ มหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำาให้เขากลายเป็ นผูท้ ี่สมควรแก่การดูแคลน นัน่ ก็คือ บุคคลไม่อาจมีคุณลักษณะที่ตรงกันข้ามกับอุดมคติของมนุษย์อย่างที่จะพ้นไปจากความรู ้สึกเหล่านี้ ถึงแม้วา่ บุคคลหนึ่งจะไม่ได้ทาำ ผิดต่อใคร สิ่ งที่เขากระทำาก็อาจบังคับให้เราต้องตัดสิ นเขา หรื อรู ้สึกต่อเขา ำ าในความเป็ นมนุษย์ และเนื่องจากคำาตัดสิ นและความรู ้สึกนี้ เป็ นข้อเท็จ ว่าโง่เขลาเบาปัญญา หรื อว่าต่าค่ จริ งที่เขาย่อมปรารถนาที่จะหลีกเลี่ยง เขาย่อมได้ประโยชน์จากการมีผชู ้ ่วยตักเตือนเขา ถึงผลอันไม่พึง ประสงค์ที่เขาอาจสร้างให้กบั ตัวเอง ที่จริ งแล้ว จะเป็ นการดีอย่างยิง่ หากว่าเราจะสามารถกระทำา ประโยชน์เช่นนี้ ให้แก่กนั ได้อย่างอิสระกว่าที่มาตรฐานของความสุ ภาพปั จจุบนั จะอนุญาตให้ทาำ หรื อที่ คนจะชี้ต่อกันอย่างบริ สุทธิ์ใจได้วา่ เขาคิดว่าอีกฝ่ ายหนึ่งผิด โดยไม่ถูกถือว่าหยาบคายหรื อว่าอวดดี เรามี สิ ทธิ ในหลายๆ ทาง ที่จะกระทำาการไปตามทัศนะที่เราไม่เห็นชอบในคนบางคน ไม่ใช่อย่างที่จะกดขี่ ปัจเจกภาพของเขา แต่อย่างที่เป็ นการแสดงปัจเจกภาพของเราออกมา ตัวอย่างเช่น เราไม่ได้ถูกบังคับว่า ต้องอยูใ่ นสังคมของเขา เรามีสิทธิที่จะหลีกเลี่ยงการคบค้าสมาคมกับเขา (แม้จะไม่มีสิทธิ ที่จะป่ าวร้อง ออกมาก็ตาม) เพราะเรามีสิทธิที่จะเลือกสังคมที่เรายอมรับได้มากที่สุด เรามีสิทธิ และอาจเป็ นหน้าที่ ที่จะ เตือนคนอื่นให้ระวังเขา ถ้าเราคิดว่าการทำาตัวของเขาอาจเป็ นตัวอย่างที่เลว หรื อการสนทนากับเขา อาจ สร้างผลร้ายกับผูท้ ี่เขาเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เราอาจเลือกเอื้ออำานวยประโยชน์ให้กบั คนอื่น มากกว่าที่จะ ทำาให้กบั เขา ยกเว้นก็แต่ในสิ่ งที่เราคิดว่าน่าจะทำาให้เขากลายเป็ นคนดีข้ ึน ความทุกข์จากเหตุท้ งั หลาย เหล่านี้คือสิ่ งที่คนอื่นๆ อาจกระทำาต่อเขา สำาหรับความผิดที่เขากระทำาต่อตัวเขาเอง แต่ความทุกข์เช่นนี้ ก็ เป็ นสิ่ งที่เกิดขึ้นในฐานะผลในตัวเองของความผิดของเขา ไม่ใช่เพราะด้วยเจตนาที่ผอู ้ ื่นจะใช้เป็ นการ ลงโทษ บุคคลผูแ้ สดงความหุนหันพลันแล่น ความดื้อด้าน ความหลงตน ผูซ้ ่ ึงไม่สามารถใช้ชีวิตอยูใ่ น ทางสายกลาง ผูไ้ ม่สามารถควบคุมตัวเองจากความลุ่มหลงอันก่อโทษ ผูซ้ ่ ึงหาความบันเทิงใจอย่างสัตว์ และละเลยความสุขทางจิตใจและปัญญา ย่อมต้องรู ้วา่ ผูอ้ ื่นจะมองตนในทางต่าำ และย่อมสูญเสี ยโอกาสที่ จะได้รับการยอมรับ และเขาย่อมไม่มีสิทธิที่จะร้องเรี ยนในเรื่ องนี้ ยกเว้นแต่เขาจะปฏิบตั ิตนอย่างดีเยีย่ ม ในความสัมพันธ์ต่อผูอ้ ื่น จนทำาให้ผคู้ นรู้สึกต่อเขาในทางพิเศษ อย่างที่ไม่ถูกกระทบจากความเสี ยหาย ส่วนตัวของเขาเอง 4.6 สิ่ งที่ผมยืนยันก็คือ ความขับข้องใจซึ่งเกิดจากคำาตัดสิ นในทางไม่ดีจากคนอื่นๆ เป็ นปัญหาเพียง อย่างเดียว ที่บุคคลควรจะต้องประสพ สำาหรับพฤติกรรมและนิสยั ใจคอในส่ วนซึ่งเกี่ยวข้องกับประโยชน์ สุขของเขาเอง และไม่ได้กระทบกับประโยชน์สุขของคนอื่นที่เขาเข้าไปสัมพันธ์ดว้ ย แต่สาำ หรับการกระ
69
ำ ทธิ ของผูอ้ ื่น การ ทำาที่ทาำ ร้ายผูอ้ ื่น นัน่ เป็ นสิ่ งที่ตอ้ งได้รับการปฏิบตั ิที่ต่างไปโดยสิ้ นเชิง การล่วงล้าสิ ทำาความเสี ยหายให้เกิดแก่ผอู้ ื่นอย่างที่เขาไม่มีสิทธิ กระทำา ความเท็จและการหลอกลวงผูอ้ ื่น การเอารัดเอา ำ ตน้าใจ ำ และแม้แต่ความเห็นแก่ตวั ไม่ยอมเข้าปกป้ องคนอื่นจากอันตราย ล้วน เปรี ยบอย่างอยุติธรรมไร้น้าจิ เป็ นสิ่ งที่สมควรแก่การประณามทางศีลธรรม และในกรณี ที่ร้ายแรง ก็สมควรแก่การตอบสนองด้วยการ ลงโทษ และไม่เพียงการกระทำาเหล่านี้ เท่านั้นที่ผิดศีลธรรม แต่นิสยั ใจคอที่พาไปสู่การกระทำาเหล่านั้น ก็ ผิดศีลธรรมอย่างแท้จริ ง และควรแก่การถูกประณามเช่นกัน ซึ่งอาจถึงขนาดที่กลายเป็ นความเกลียดชัง จิตใจที่แข็งกระด้าง โหดร้าย อิจฉาริ ษยา เสแสร้งกลับกลอก ไร้ความจริ งใจ ความขี้โมโหฉุนเฉี ยว คับ แค้นขุ่นเคืองแม้กบั สิ่ งเล็กน้อย กระหายที่จะครอบงำาผูอ้ ื่น และที่จะแย่งชิงเอาผลประโยชน์ของผูอ้ ื่นมา เป็ นของตน ภาคภูมิใจเมื่อเห็นผูอ้ ื่นตกต่าำ ความอวดโตหลงตนว่าสำาคัญกว่าสิ่ งทั้งหลาย และการตัดสิ นทุก อย่างเข้าข้างตนเองแต่ฝ่ายเดียว นี่คือความเลวทรามทางศีลธรรมอย่างแท้จริ ง เป็ นความชัว่ ร้ายอันน่า รังเกียจ ที่ต่างไปจากความผิดของการใส่ ใจต่อตนเองที่กล่าวมาก่อนหน้า ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ผิดศีลธรรมจริ งๆ ำ าเลวทราม ความผิดเหล่านั้นอาจพิสูจน์ถึงระดับของความโง่ และไม่วา่ จะในระดับไหน ก็ไม่ใช่ความต่าช้ เขลาเบาปัญญา หรื อการขาดความเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรี ของตนเองของปั จเจก แต่พวกมันจะเป็ น เหตุแห่งการประณามทางศีลธรรมก็ต่อเมื่อเกี่ยวพันไปถึงการละเมิดหน้าที่ที่เขามีต่อผูอ้ ื่น ซึ่งปั จเจกผูน้ ้ นั มี พันธะที่จะต้องดูแลตัวเองเพื่อประโยชน์สุขของพวกเขา สิ่ งที่เรี ยกว่าหน้าที่ต่อตัวเราเองไม่ได้เป็ นข้อ บังคับทางสังคม นอกเสี ยว่าสภาวะแวดล้อมจะทำาให้สิ่งนั้นกลายเป็ นหน้าที่ต่อผูอ้ ื่นด้วยในเวลาเดียวกัน คำาว่าหน้าที่ต่อตัวเอง เมื่อหมายถึงอะไรที่เกินไปกว่าความสุ ขมุ รอบคอบในการดำาเนินชีวิต ก็ยอ่ มหมายถึง ความเคารพตนเอง หรื อการพัฒนาตนเอง และไม่มีใครที่ตอ้ งรับผิดชอบในสิ่ งเหล่านี้ให้กบั เพื่อนมนุษย์ เพราะ ไม่มีอะไรในสิ่ งเหล่านี้ ที่จะเกิดเป็ นความดีงามต่อมนุษยชาติ หากเขาถูกบังคับให้ตอ้ งรับผิดชอบ 4.7 การแยกระหว่างการถูกมองอย่างเสี ยหาย ซึ่งเกิดขึ้นกับบุคคลที่บกพร่ องในศักดิ์ศรี และความสุ ขมุ รอบคอบส่วนตน และการถูกประณาม ด้วยเหตุเพราะเขาล่วงละเมิดสิ ทธิ ของผูอ้ ื่น มิใช่ความแตกต่างแต่ เพียงในนาม การที่เขาสร้างความไม่พอใจแก่เรา ในสิ่ งซึ่งเราคิดว่าเรามีสิทธิ ที่จะควบคุมเขา หรื อในสิ่ งที่ เราคิดว่าเราไม่มีสิทธิจะควบคุมเขา เป็ นเรื่ องที่สร้างความแตกต่างอย่างยิง่ ทั้งในความรู ้สึก และในการกระ ทำาของเรา ต่อเขา ถ้าเขาทำาให้เราไม่พอใจ เราก็อาจแสดงความไม่ชอบออกมา และเราอาจปลีกตัวออก ห่างจากบุคคล หรื อกับสิ่ งที่ทาำ ให้เราไม่พอใจ แต่เราก็จะไม่รู้สึกว่าถูกเรี ยกร้องให้ตอ้ งสร้างความทุกข์ยาก ให้กบั ชีวิตของเขา เราอาจจะพิจารณาว่าเขากำาลังแบกรับ หรื อจะต้องแบกรับ โทษทัณฑ์แห่ งความผิด อัน เกิดจากการที่เขาทำาร้ายตัวเองด้วยการจัดการชีวิตอย่างผิดพลาด และด้วยเหตุผลเช่นนั้น เราจึงไม่ ปรารถนาที่จะทำาร้ายชีวิตเขามากไปกว่านั้น แทนที่จะปรารถนาที่จะลงโทษเขา เราอาจพยายามบรรเทา โทษทัณฑ์น้ นั ด้วยการแสดงให้เขาเห็นว่า เขาอาจหลีกเลี่ยงหรื อบำาบัดรักษาความเลวร้ายที่เขานำามาสู่ตวั เองได้ดว้ ยวิธีเช่นไร แม้วา่ เราอาจไม่ชอบเขา แต่เราก็อาจยังรู ้สึกสงสารเขาได้ มิใช่โกรธหรื อแค้นเคือง และเราจะไม่ปฏิบตั ิต่อเขาเหมือนเป็ นศัตรู ของสังคม สิ่ งเลวร้ายที่สุดที่เราจะคิดว่าเราควรทำา คือถ้าเรา ไม่มีเมตตาที่จะแสดงความสนใจหรื อกังวลต่อเขา ก็ปล่อยเขาไว้ตามยถากรรม แต่จะเป็ นเรื่ องคนละอย่าง
70
กันโดยสิ้ นเชิง ถ้าเขาละเมิดกฎที่จาำ เป็ นสำาหรับการปกป้ องเพื่อนมนุษย์ ไม่วา่ จะปกป้ องเป็ นรายคน หรื อ รวมๆ กัน ผลอันเลวร้ายของการกระทำาของเขาไม่ได้ตกแก่เขาเอง แต่ตกแก่ผอู ้ ื่น และสังคมในฐานะผู ้ ปกป้ องต่อมวลสมาชิกจะต้องตอบโต้เขา ต้องสร้างความเจ็บปวดแก่เขาเพื่อให้ปรากฏแก่เขาว่าคือการ ลงโทษ และต้องแน่ใจว่ารุ นแรงเพียงพอต่อการนั้น ในกรณี หนึ่ง เขาคือผูล้ ่วงละเมิดนัง่ อยูใ่ นศาลของเรา และเราถูกเรี ยกร้องไม่ใช่แค่ให้ตดั สิ นว่าเขาผิด แต่ให้จดั การลงโทษให้สาสม ในทางใดทางหนึ่ง ในอีก กรณี หนึ่ง เราไม่มีหน้าที่ที่จะสร้างความทุกข์ใดๆ ให้แก่เขา ยกเว้นก็แต่ดว้ ยอะไรที่อาจบังเอิญเกิดตามมา จากการที่เราใช้เสรี ภาพเดียวกันมาจัดการเรื่ องราวของเราเอง ซึ่งเราอนุญาตให้เขาใช้ในเรื่ องของเขา 4.8 หลายๆ คนจะไม่ยอมรับการแบ่งแยก ที่ผมชี้ให้เห็นระหว่างชีวิตของบุคคล ส่ วนที่เกี่ยวข้อง เฉพาะต่อตัวเขาเอง และส่วนที่เกี่ยวข้องไปถึงผูอ้ ื่น (อาจเกิดคำาถามว่า) เป็ นไปได้อย่างไรที่พฤติกรรมส่ วน หนึ่งส่ วนใดของสมาชิกของสังคมจะเป็ นเรื่ องที่ไม่มีผลอันใดกับสมาชิกคนอื่น ? ไม่มีใครอยูต่ วั คนเดียว โดยสิ้ นเชิง เป็ นไปไม่ได้ที่คนๆ หนึ่งจะทำาอะไรที่ทาำ ร้ายตนเองอย่างรุ นแรงและถาวร โดยผลร้ายไม่ขยาย ไปถึงคนใกล้ชิด หรื อถึงคนอื่นๆ ที่ไกลออกไป ถ้าเขาทำาร้ายทรัพย์สมบัติของเขาเอง เขาก็ทาำ อันตรายกับ คนที่พ่ งึ พาโดยตรงหรื อโดยอ้อม ต่อทรัพย์สมบัติน้ นั ของเขา และย่อมถือเป็ นการบัน่ ทอนทรัพยากรของ ชุมชนไม่มากก็นอ้ ย ถ้าเขาทำาร้ายสมรรถภาพทางกายหรื อทางจิตใจของตนเอง เขาย่อมไม่เพียงนำาความ เลวร้ายมาสู่คนที่พ่งึ พิงเขา เขาย่อมทำาให้ตวั เองไม่สามารถที่จะสร้างประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่งเขาอาจ เป็ นหนี้ในบางแง่อีกด้วย บางที เขาอาจกลายเป็ นภาระต่อความรู ้สึกสงสารเมตตาของเพื่อนมนุษย์ และถ้า พฤติกรรมเช่นนั้นเกิดขึ้นบ่อยมาก ก็ยากที่ความผิดของเขาจะไม่ไปลดทอนมวลรวมของความสุ ขของ ำ สังคมหนักขึ้นไปอีก ประการสุดท้าย ถ้าความต่าทรามหรื อความโง่เขลาของเขาจะไม่ทาำ อันตรายโดยตรง ต่อผูอ้ ื่น (อาจกล่าวว่า) เขาก็ยงั ทำาอันตรายด้วยการเป็ นเยีย่ งอย่างที่เลว และควรถูกบังคับให้ควบคุมตนเอง เพื่อประโยชน์ของคนที่การรู้เห็นพฤติกรรมของเขา อาจพาให้หลงผิดทำาตาม 4.9 (อาจเป็ นที่กล่าวต่อไปอีกว่า) แม้นว่าผลของการกระทำาผิดจะถูกจำากัดอยูแ่ ค่ต่อปั จเจกผูไ้ ร้สติย้งั คิด สังคมก็ควรจะปล่อยคนที่เห็นชัดว่าเข้ากับสังคมไม่ได้ไว้ตามยถากรรมของพวกเขาเองอย่างนั้นหรื อ? ถ้าเด็กและผูเ้ ยาว์ควรได้รับการปกป้ องจากอันตรายที่พวกเขาอาจก่อให้กบั ตนเอง สังคมก็ไม่มีหน้าที่เท่าๆ กันหรอกหรื อ ที่จะต้องปกป้ องผูท้ ี่แม้บรรลุวฒ ุ ิภาวะแล้ว แต่กย็ งั ไม่มีความสามารถที่จะปกครองตนเอง? ถ้าการพนัน หรื อสุราเมไร หรื อความมักมากหมกมุ่นในความสุ ขทางกาย หรื อความเกียจคร้าน หรื อความ สกปรกโสมม เป็ นอันตรายต่อความสุข และเป็ นอุปสรรคใหญ่ต่อการพัฒนาให้มนุษย์กา้ วหน้า เหมือนที่ เป็ นอยูก่ บั การกระทำาหลายๆ อย่าง หรื อเกือบทุกอย่าง ที่กฎหมายห้าม (ก็อาจเป็ นที่ถามว่า) ทำาไมกฎหมาย จึงไม่ควรห้ามปรามพวกมันเสี ยด้วย หากว่านัน่ จะไม่เป็ นสิ่ งที่ยงุ่ ยากเกินกว่าจะนำาไปปฏิบตั ิได้? และด้วย การที่กฎหมายย่อมไม่สมบูรณ์ สังคมจึงไม่ควรหรอกหรื อ ที่จะสร้างกำาลังพลมาคอยสอดส่ อง ตรวจตรา ลงโทษทางสังคม ต่อบรรดาคนผูซ้ ่ ึงเป็ นที่รู้วา่ ประพฤติในความเลวร้ายพวกนี้ ? (อาจเป็ นที่กล่าวว่า) ปัญหาในที่น้ ี ไม่ได้เป็ นเรื่ องของการจำากัดปัจเจกภาพ หรื อการขัดขวางการริ เริ่ มทดลองสิ่ งใหม่ๆ ในชีวิต แต่เป็ นเรื่ องของการป้ องกันสิ่ งที่ได้รับการทดลอง และได้รับการตัดสิ นแล้ว จากอดีตมาจนถึงปั จจุบนั ซึ่ง
71
ประสบการณ์ได้แสดงแล้วว่าไม่เหมาะสมหรื อไม่มีประโยชน์ต่อปั จเจกภาพของใคร เป็ นเรื่ องที่ตอ้ งอาศัย การมีประสบการณ์สกั ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่ความจริ งทางศีลธรรมหรื อความจริ งแห่ งความสุ ขมุ รอบคอบ ข้อหนึ่งจะปรากฏอย่างมัน่ คงในการรับรู ้ของผูค้ น และหลังจากนั้นแล้ว มันก็จะป้ องกันคนรุ่ นหลัง ไม่ให้ ต้องตกลงไปในเหวเหมือนอย่างที่เคยเกิดกับคนรุ่ นก่อน 4.10 ผมยอมรับว่าความผิดที่คนๆ หนึ่งทำาต่อตัวเองอาจมีผลอย่างจริ งจัง กับคนที่สมั พันธ์ใกล้ชิดกับ เขา ต่อทั้งความรู้สึกสงสารและต่อประโยชน์สุขของพวกเขา และอาจมีผลบางอย่างต่อสังคมส่ วนใหญ่ เมื่อคนๆ หนึ่งถูกพฤติกรรมประเภทนี้ พาให้เขาละเมิดพันธะที่เขามีอย่างชัดเจนต่อคนอีกคนหนึ่งหรื อ หลายๆ คน ประเด็นก็จะไม่ใช่เรื่ องของสิ่ งที่เกี่ยวข้องแต่กบั ตัวเองอีกต่อไป และย่อมกลายเป็ นเรื่ องที่ เหมาะสมอย่างยิง่ ต่อการถูกประณามทางศีลธรรม ตัวอย่างเช่น ถ้าผูช้ ายคนหนึ่งมีหน้าที่ทางศีลธรรมที่จะ ต้องดูแลครอบครัว แต่เขากลับใช้จ่ายอย่างฟุ่ มเฟื อยสุ รุ่ยสุ ร่ายจนไม่มีปัญญาจ่ายหนี้ และดังนั้น จึงไม่อาจ เลี้ยงดูหรื อให้การศึกษาต่อบุตรธิดาของตน เขาย่อมสมควรต่อการถูกประณาม และอาจทั้งสมควรต่อการ ถูกลงโทษ แต่กด็ ว้ ยเหตุที่เขาละเมิดหน้าที่ ที่เขามีต่อเจ้าหนี้ และต่อครอบครัวของเขา ไม่ใช่เพราะความ ฟุ่ มเฟื อยสุรุ่ยสุร่าย ถ้าเงินทองที่ควรจะเอามาเลี้ยงดูครอบครัวถูกเอาไปใช้ลงทุน ความผิดทางศีลธรรมของ เขาก็ยงั เป็ นเช่นเดิม นายจอร์จ บาร์นเวลฆาตกรรมลุงของเขาเพื่อเอาเงินไปให้ผหู ้ ญิง แต่ถา้ เขาเอาเงินไป ตั้งต้นธุรกิจ เขาก็ยงั ต้องถูกประหารเช่นเดิม การที่คนๆ หนึ่งทำาให้ครอบครัวของตนทุกข์ทรมานใจด้วย นิสยั เลวๆ เช่น ด้วยความใจร้ายหรื อความอกตัญญู เขาก็ควรถูกประณามเพราะนิสยั อันเลวนั้น แต่เขาก็ อาจถูกประณามแม้สาำ หรับนิสยั ที่ไม่ได้เลวร้ายในตัวเอง หากนิสยั เช่นนั้นจะสร้างทุกข์ให้กบั บรรดาคนที่ เขาใช้ชีวิตร่ วมด้วย หรื อให้กบั คนที่พ่งึ พิงความอบอุ่นจากเขา ใครก็แล้วแต่ที่ละเลยที่จะพิจารณาถึงผล ประโยชน์และความรู้สึกของผูอ้ ื่น ในสิ่ งที่โดยทัว่ ไปแล้วเขาควรพิจารณา หากเขาไม่ได้ถูกบังคับด้วย หน้าที่อื่นที่สาำ คัญกว่า หรื อสิ่ งที่เขาทำาไม่ได้เป็ นความพอใจส่ วนตนที่คนควรได้รับอนุญาตให้มีได้ เขา ย่อมต้องถูกประณามทางศีลธรรม เพราะเหตุแห่ งการละเลยที่จะพิจารณาถึงผลประโยชน์และความรู ้สึก ของผูอ้ ื่น ไม่ใช่เพราะความผิดพลาด หรื อเพราะสาเหตุที่เป็ นเพียงเรื่ องส่ วนตัวของเขา ที่อาจชักพาไปสู่ การละเลยพิจารณาในสิ่ งเช่นนั้น ในลักษณะแบบเดียวกัน ถ้าพฤติกรรมที่เป็ นเรื่ องส่ วนตัวล้วนๆ ทำาให้ คนๆ หนึ่งไม่สามารถที่จะกระทำาภารกิจหน้าที่ที่เขามีอย่างชัดเจนต่อสาธารณะ เขาย่อมกระทำาผิดต่อ สังคม ไม่มีใครควรถูกลงโทษเพียงเพราะจากการเมาสุ รา แต่ทหารและตำารวจควรถูกลงโทษหากเสพสุ รา ในหน้าที่ กล่าวอย่างสั้นๆ ก็คือ เมื่อใดก็ตามที่มีความเสี ยหายที่ชดั เจนแน่นอน หรื อมีความเสี่ ยงอย่าง ชัดเจนที่จะเสี ยหาย ต่อปัจเจกหรื อต่อสาธารณะ กรณี ดงั กล่าวย่อมก้าวพ้นจากอาณาเขตของเสรี ภาพ เข้าไปอยูใ่ นอาณาเขตของกฎหมายและศีลธรรม 4.11 แต่ในเรื่ องการทำาร้ายที่คนๆ หนึ่งกระทำาต่อสังคม ที่เกิดขึ้นโดยเพียงบังเอิญ หรื อที่อาจเรี ยกว่า เป็ นการทำาร้ายที่ตอ้ งอาศัยการตีความ โดยพฤติกรรมซึ่งไม่ได้ละเมิดหน้าที่หนึ่งหน้าที่ใด ต่อสังคม และ ทั้งไม่ได้ก่อให้เกิดความเสี ยหายอย่างชัดเจน ต่อปั จเจกที่อาจระบุช้ ีชดั ลงไปได้คนไหน นอกจากตัวเขาเอง นี่เป็ นความเสี ยหายที่สงั คมสามารถที่จะยอมรับได้ เพื่อความดีที่ยงิ่ กว่าของเสรี ภาพ ถ้าคนที่โตแล้วจะถูก
72
ลงโทษสำาหรับการไม่ดูแลตัวเองให้ดีๆ ผมก็อยากเห็นว่ามันเป็ นไปเพื่อประโยชน์ของตัวเขาเอง มากกว่า ที่จะอ้างเอาว่าเพื่อป้ องกันเขาจากการทำาให้ตวั เองขาดความสามารถที่จะทำาประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งเป็ นผล ประโยชน์ที่สงั คมก็ไม่ได้อา้ งว่าตัวเองมีสิทธิ์ที่จะบังคับเอาจากเขา แต่ผมก็ไม่อาจยอมรับให้โต้เถียงใน ประเด็นนี้ ราวกับถือเอาว่าสังคมไม่ได้มีหนทางในการยกสมาชิกที่อ่อนแอของตน ขึ้นมาสู่มาตรฐานปกติ ของพฤติกรรมที่มีเหตุผล นอกเสี ยจากว่า จะคอยจนกว่าพวกเขาจะทำาอะไรที่ไร้เหตุผล แล้วก็ทาำ โทษต่อ พวกเขาในทางกฎหมาย หรื อในทางศีลธรรม สังคมมีอาำ นาจเหนือพวกเขาอย่างสมบูรณ์ในระหว่างเวลา ส่วนต้นของชีวิต สังคมมีวยั เด็กและวัยของการเป็ นผูเ้ ยาว์ท้ งั หมดในการพยายามทำาให้พวกเขาสามารถมี พฤติกรรมอย่างมีเหตุมีผลในชีวิต ชนรุ่ นที่กาำ ลังมีชีวิตอยูเ่ ป็ นผูม้ ีอาำ นาจเหนือชนรุ่ นหลังทั้งในการฝึ กฝน พวกเขา และในการสร้างสถานการณ์แวดล้อมทั้งมวลให้แก่พวกเขา เป็ นเรื่ องจริ งว่า สังคมไม่สามารถ ทำาให้ชนรุ่ นหลังฉลาดและดีงามอย่างสมบูรณ์ เพราะตัวสังคมเองก็ไม่สมบูรณ์ในความดีงามและในความ ฉลาด และความพยายามอย่างที่สุดของสังคมก็ไม่ใช่ความสำาเร็ จอย่างที่สุดเสมอไป เมื่อดูเป็ นรายๆ ไป แต่ สังคมก็มีความสามารถอย่างเต็มที่ ที่จะทำาให้ชนรุ่ นใหม่โดยส่ วนรวมแล้ว ดีเท่ากับตนและดีข้ ึนกว่าตนสัก เล็กน้อย ถ้าสังคมยอมให้สมาชิกสักจำานวนหนึ่งเติบโตขึ้นอย่างที่ความคิดอ่านยังเป็ นเหมือนเด็ก คือไม่ สามารถที่จะใช้เหตุผลมาชักจูงตนเองให้กระทำาตามแรงจูงใจที่ไม่ใช่ความรู ้สึกเฉพาะหน้า สังคมก็ตอ้ ง ตำาหนิตวั เองต่อผลที่ตามมา สังคมไม่ได้แค่มีอาำ นาจทั้งมวลของการศึกษาอยูใ่ นมือ แต่ยงั มีอาำ นาจครอบงำา ที่ทศั นะของคนส่วนใหญ่มีเหนือจิตใจของคนที่ไม่อาจคิดอะไรด้วยตัวเอง และผนวกด้วยโทษทัณฑ์ตาม ธรรมชาติ ที่เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องตกต่อคนที่ทาำ ให้คนอื่นเกลียดชัง ฉะนั้น ขอสังคมจงอย่าอ้างว่า เหนือไป กว่าทั้งหมดนี้ ตนยังต้องการอำานาจที่จะออกคำาสัง่ และที่จะบังคับคนให้เคารพเชื่อฟัง ในสิ่ งที่เป็ นเรื่ อง ส่วนตัวของปั จเจกบุคคล ซึ่งไม่วา่ จะด้วยหลักแห่ งความยุติธรรมและนโยบายใดก็ตาม การตัดสิ นควรเป็ น ของผูท้ ี่รับผลจากสิ่ งเช่นนั้น ไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะลดทอนความน่าเชื่อถือ และรบกวนหนทางในการ ชักจูงความประพฤติของผูค้ น ยิง่ ไปกว่าการอาศัยการบังคับข่มขู่ ในการพยายามบังคับข่มขู่คนให้ต้ งั อยู่ บนความสุ ขมุ รอบคอบและความพอประมาณนั้น ถ้าคนที่ถูกบังคับมีจิตใจที่กล้าแกร่ งและรักอิสระ เขาก็ จะเป็ นกบฏต่อแอกนั้นอย่างแน่นอน คนเช่นนั้นจะไม่มีทางรู ้สึกว่าคนอื่นมีสิทธิ์ ที่จะมาควบคุมเขาใน เรื่ องของเขาเอง ในแบบที่คนอื่นมีสิทธ์ที่จะป้ องกันไม่ให้เขาทำาร้ายพวกเขา ในเรื่ องของพวกเขาเอง และ มันย่อมถือเป็ นเครื่ องหมายแห่งจิตวิญญาณอันสูงส่ งกล้าหาญ ที่จะไม่แยแสต่ออำานาจผิดๆ เช่นนั้น และที่ จะทำาในสิ่ งที่ตรงกันข้ามกับที่อาำ นาจผิดๆ บัญชา อย่างที่ความคลัง่ ศีลธรรมและความไร้ขนั ติธรรมของ พวกเพียวริ แทน พาไปสู่ความนิยมในทางโลกีย ์ ในยุคของชาร์ ลส์ที่สอง สำาหรับเรื่ องที่วา่ สังคมต้อง ำ หรื อคนที่ปล่อยตนตามอำาเภอใจ มาสร้างตัวอย่างเลวๆ ให้คนอื่นเห็นนั้น ป้ องกันไม่ให้คนที่มีรสนิยมต่าๆ เป็ นความจริ งว่า ตัวอย่างเลวอาจสร้างผลร้าย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ตัวอย่างของการทำาผิดต่อผูอ้ ื่นอย่างที่คน ทำาผิดก็ไม่ถูกลงโทษ แต่เรากำาลังพูดถึงพฤติกรรมซึ่ งไม่ได้ทาำ ร้ายใคร แต่ทาำ ร้ายตัวผูก้ ระทำาเอง และผม มองไม่เห็นว่า ผูท้ ี่เชื่อสิ่ งนี้จะคิดเป็ นอย่างอื่นได้อย่างไร นอกจากว่า โดยรวมๆ แล้ว ตัวอย่างต้องสร้างผล ดีมากกว่าผลเสี ย เพราะว่า ถ้ามันแสดงให้เห็นถึงความประพฤติที่ผิด มันก็ยอ่ มแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่
73
เป็ นความเจ็บปวดหรื อเป็ นความเสื่ อมเสี ย ที่เกิดต่อบุคคลนั้นด้วย ซึ่งถ้าความประพฤติน้ นั ถูกตัดสิ นว่าเลว ด้วยใจที่เที่ยงธรรมแล้วละก็ ผลร้ายนัน่ ก็น่าจะเกิดตามมาในทุกกรณี หรื อในเกือบทุกกรณี 4.12 แต่ในบรรดาเหตุผลทั้งมวล เหตุผลที่คดั ค้านต่อการที่สงั คมจะเข้าไปแทรกแซงต่อพฤติกรรมที่ ำ กมากที่สุด ก็คือเหตุผลว่า เมื่อสังคมเข้าแทรกแซงจริ งๆ พนันได้เลยว่ามันจะเข้า เป็ นเรื่ องส่วนตัวที่มีน้าหนั แทรกแซงอย่างผิดๆ เมื่อมันเป็ นเรื่ องของคำาถามว่าด้วยศีลธรรมทางสังคม ได้แก่คาำ ถามว่าด้วยหน้าที่ต่อผู ้ อื่น ทัศนะของสาธารณชน ซึ่งก็คือทัศนะของคนส่ วนใหญ่ แม้จะผิดอยูบ่ ่อยๆ ก็ยงั อาจถูกได้มากกว่าผิด เพราะในเรื่ องแบบนี้ พวกเขาเพียงแค่ตอ้ งใช้ผลประโยชน์ของตัวเองมาตัดสิ น ว่าถ้าคนได้รับอนุญาตให้ ประพฤติบางอย่างแล้วจะมีผลกระทบอะไรมาถึงพวกเขา แต่ทศั นะของคนส่ วนใหญ่ เมื่อกำาหนดลงเป็ น กฎหมายต่อคนส่วนน้อย ในคำาถามเรื่ องพฤติกรรมส่ วนตัว ก็มีโอกาสผิดหรื อถูกเท่าๆ กัน เพราะในกรณี เหล่านี้ ทัศนะของสาธารณชน อย่างดีที่สุดก็หมายถึง ทัศนะของคนบางคนว่าอะไรคือสิ่ งที่ดีหรื อเลว สำาหรับคนอื่น แต่บ่อยครั้งอย่างยิง่ ที่มนั จะไม่หมายความเช่นนั้น นัน่ ก็คือ สาธารณชนมักสนใจแต่เพียง ความพึงพอใจของตนเอง และมองข้ามความสุ ข หรื อความสะดวก ของเจ้าของพฤติกรรมที่พวกตนตำาหนิ อย่างไม่ใยดี มีคนจำานวนมากที่ถือการกระทำาที่ตนไม่ชอบว่าทำาร้ายความรู ้สึกของตน เหมือนอย่างคน คลัง่ ศาสนา เมื่อถูกหาว่าไม่ยอมสนใจความรู ้สึกของผูอ้ ื่น เขาก็จะสวนกลับว่า คนพวกนั้นต่างหากที่ไม่ สนใจความรู้สึกของเขา เพราะบังอาจบูชาในหลักคำาสอนที่น่ารังเกียจ แต่ความรู ้สึกของคนๆ หนึ่งที่มีต่อ ทัศนะของตน และความรู้สึกของคนอีกคนหนึ่ง ผูซ้ ่ ึงรู ้สึกขัดเคืองต่อการที่บุคคลที่หนึ่งถือทัศนะนั้น ก็ไม่ ได้มีความเสมอภาคกันมากไปกว่าที่ขโมยปรารถนาที่จะฉกกระเป๋ าสตางค์ของผูอ้ ื่น และเจ้าทรัพย์ ปรารถนาที่จะรักษามันไว้ และรสนิยมของบุคคลก็เป็ นเรื่ องเฉพาะของเขาเองเช่นเดียวกับทัศนะหรื อ กระเป๋ าสตางค์ของเขา เป็ นเรื่ องง่ายที่จะจินตนาการถึงสาธารณชนในอุดมคติ ซึ่งปล่อยให้ปัจเจกมี เสรี ภาพและมีอิสระในการเลือกอย่างไม่ถูกรบกวนในทุกเรื่ องที่ไม่แน่นอน และบังคับให้ปัจเจกละเว้นก็ แต่พฤติกรรมแบบที่ประสบการณ์ได้ตดั สิ นอย่างเป็ นสากลแล้วว่าเลว แต่เราเคยพบเห็นสาธารณชนไหน บ้างที่กาำ หนดขอบเขตอำานาจของตนไว้ในระดับดังกล่าว? หรื อเคยบ้างไหมที่สาธารณชนจะยอมลำาบาก หาสิ่ งที่เป็ นประสบการณ์สากล? ในการเข้าแทรกแซงความประพฤติส่วนบุคคล สังคมแทบจะไม่เคย คิดถึงอะไรเลย นอกไปจากว่ามันเป็ นการกระทำาหรื อของการรู ้สึกที่แตกต่างไปจากของตน และมาตรฐาน การตัดสิ นนี้ เมื่อตกแต่งให้ฟังดูดีข้ ึนอีกสักนิด ก็จะถูกยืนยันต่อมนุษยชาติ โดยเก้าในสิ บของนักศีลธรรม และนักเขียนทางปรัชญาทั้งหลาย ว่าเป็ นคำาบัญชาของศาสนาหรื อปรัชญา คนพวกนี้สอนว่าสิ่ งต่างๆ ที่ถูก ต้องก็เพราะมันถูกต้อง เพราะเรารู้สึกว่าเป็ นเช่นนั้น พวกเขาบอกให้เราค้นหาลงไปในจิตใจของเราเอง ถึงกฎของพฤติกรรมที่บงั คับเราและคนอื่นๆ แล้วสาธารณชนผูน้ ่าสงสารจะทำาอะไรได้ นอกจากนำาคำา สอนพวกนี้มาใช้ แล้วก็ทาำ ให้ความรู้สึกถึงความดีชวั่ ในสิ่ งที่พวกเขาจะพอเห็นตรงกันอยูบ่ า้ ง แต่กเ็ ป็ น ความรู ้สึกส่วนตัวของเขาเอง ให้กลายเป็ นข้อบังคับของคนทั้งโลก? 4.13 ความชัว่ ร้ายที่ช้ ีให้เห็นนี้ ไม่ใช่เรื่ องที่เป็ นจริ งแค่ในทางทฤษฎี และคุณอาจคาดหวังให้ผมระบุ ตัวอย่างของสาธารณชนในยุคนี้ และประเทศนี้ ที่เอาข้ออ้างของความเป็ นกฎศีลธรรม มายัดเยียดใส่ ลงไป
74
ในสิ่ งที่เป็ นเพียงความชอบใจส่วนตน ผมไม่ได้กาำ ลังเขียนเกี่ยวกับความเหลวไหลของความรู ้สึกทางศีล ธรรมที่เป็ นอยูใ่ นปัจจุบนั นัน่ เป็ นเรื่ องใหญ่เกินกว่าที่จะอภิปรายอย่างรวบๆ และโดยผ่านตัวอย่าง แต่ กระนั้นตัวอย่างก็จาำ เป็ น เพื่อที่จะแสดงว่าหลักการที่ผมกำาลังยืนยันเป็ นเรื่ องจริ งจังและสำาคัญอย่างยิง่ ใน ทางปฏิบตั ิ และเพื่อแสดงว่าผมไม่ได้กาำ ลังพยายามพยายามต่อสูก้ บั ปี ศาจร้ายที่มีตวั ตนอยูแ่ ค่ใน จินตนาการ และไม่ยากที่จะแสดงด้วยตัวอย่างที่มีมากมาย ว่าหนึ่งในธรรมชาติที่เป็ นสากลที่สุดของ มนุษย์ คือความต้องการที่จะมุ่งขยายขอบเขตของสิ่ งอาจที่เรี ยกได้วา่ ตำารวจศีลธรรมออกไปเสี ยจนกระทั้ง มันล่วงล้าำ แม้ต่อเสรี ภาพที่ถูกต้องอย่างไร้ขอ้ กังขาอย่างที่สุดของปั จเจก 4.14 ในฐานะตัวอย่างแรก ขอให้พิจารณาความรู ้สึกรังเกียจเดียดฉันท์ของผูค้ น บนเหตุผลที่ไม่มีอะไร มากไปกว่าแค่วา่ คนพวกที่มีทศั นะทางศาสนาที่ต่างไปจากพวกเขา ไม่ยอมปฏิบตั ิตามความเชื่อของ ศาสนาของเขา โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในสิ่ งที่เป็ นศีลข้อห้าม ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ไม่มีอะไรในคำาสอนและการ ประพฤติปฏิบตั ิของชาวคริ สต์ที่จะเร้าความเกลียดชังของชาวอิสลาม ได้ยงิ่ ไปกว่าข้อเท็จจริ งที่วา่ ชาว คริ สต์กินเนื้ อหมู มีการกระทำาไม่กี่อย่างซึ่งคนคริ สต์และชาวยุโรปรังเกียจอย่างจริ งจัง มากไปกว่าอย่างที่ ชาวมุสลิมรู ้สึกต่อวิธีดบั ความหิวโหยด้วยสิ่ งเช่นนี้ ในเบื้องแรกเลย มันเป็ นความผิดต่อบัญญัติในศาสนา ของพวกเขา แต่เงื่อนไขนี้กไ็ ม่ได้อธิบายว่าทำาไมถึงต้องเกลียด หรื อทำาไมถึงต้องเกลียดขนาดนั้น เพราะ ศาสนาของพวกเขาก็หา้ มเหล้าองุ่นด้วยเช่นกัน การดื่มเหล้าองุ่นเป็ นเรื่ องผิดสำาหรับมุสลิมแต่กไ็ ม่ใช่สิ่ง น่าขยะแขยง ในทางกลับกัน ความรังเกียจของพวกเขาต่อเนื้ อ “เจ้าสัตว์โสโครก” กลับมีลกั ษณะที่คล้าย กับความรังเกียจตามสัญชาติญาณ ซึ่งความคิดถึงความไม่สะอาด เมื่อจมลึกลงไปในความรู ้สึกแล้ว อาจ กระตุน้ ให้เกิดขึ้นได้เสมอ แม้กบั คนซึ่งมีนิสยั ส่วนตัวที่ไม่ได้รักความสะอาดเลยแม้แต่นอ้ ย ซึ่งความรู ้สึก ถึงความไม่บริ สุทธิ์ทางศาสนาที่รุนแรงในชาวฮินดู เป็ นตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน สมมติวา่ มีประเทศ หนึ่งซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เป็ นมุสลิม คนส่วนใหญ่น้ นั อาจบังคับไม่ให้ใครในประเทศนั้นกินหมู นี่ไม่ใช่ เรื่ องใหม่ในประเทศอิสลาม1 แต่นี่เป็ นการใช้อาำ นาจทางศีลธรรมของสาธารณชนที่ถูกต้องหรื อไม่? ถ้าไม่ ทำาไมถึงไม่? การกินเนื้อหมูเป็ นสิ่ งที่สาธารณชนประเภทนั้นรู ้สึกจริ งๆ ว่าน่าขยะแขยง พวกเขาคิดอย่าง จริ งใจว่าพระเจ้าห้ามและรังเกียจความประพฤติเช่นนั้น และการห้ามกินเนื้อหมูกจ็ ะไม่ถูกประณามว่า เป็ นการข่มเหงรังแกคนต่างศาสนาด้วย มันอาจมีกาำ เนิดมาจากศาสนา แต่มนั ก็ไม่ถือเป็ นการรังแกคนต่าง ศาสนา เพราะไม่มีศาสนาของใครบัญญัติให้เป็ นหน้าที่ที่จะต้องกินหมู หนทางเดียวที่เราอาจจะประณาม 1
กรณี ของแขกปาร์ซีบอมเบย์ (Bombay Parsees) เป็ นตัวอย่างที่น่าสนใจในประเด็นนี้ เมื่อชนเผ่าที่ขยันขันแข็งและรัก ในการค้าขาย ซึ่ งสื บทอดมาจากชาวเปอร์เซี ยนผูบ้ ูชาไฟ หนีมาจากดินแดนบ้านเกิดของตนก่อนการปกครองของกาลิฟ เมื่อพวกเขามาถึงอินเดียตะวันตก พวกเขาได้รับการยอมรับโดยผูป้ กครองชาวฮินดู บนเงื่อนไขว่าไม่ให้กินเนื้ อวัว เมื่อ อาณาจักรเหล่านั้นตกอยูใ่ ต้ปกครองของผูพ้ ิชิตชาวมุสลิมในเวลาต่อมา ชาวปาร์ซีกไ็ ด้รับการยอมรับโดยผูป้ กครองชาว มุสลิม บนเงื่อนไขว่าไม่ให้กินเนื้ อหมู สิ่ งที่ในเบื้องแรกคือความเชื่อฟังต่ออำานาจ ได้กลายเป็ นธรรมชาติที่สอง และชาว ปาร์ซีกล็ ะเว้นเนื้อวัวและเนื้อหมูมาจนถึงทุกวันนี้ แม้จะไม่ถูกบังคับจากศาสนาของพวกเขา การงดเว้นทั้งสองก็ได้ เติบโตผ่านกาลเวลามาสู่ การเป็ นประเพณีของเผ่า และในโลกตะวันออก ประเพณี กค็ ือศาสนา
75
การห้ามกินเนื้อหมู ก็คือการยืนยันว่า สังคมไม่มีกิจธุระอันใดที่จะเข้าไปแทรกแซงต่อปั จเจก ในเรื่ อง ความชอบส่วนตัว และในสิ่ งที่เกี่ยวข้องเฉพาะแต่กบั ตัวของเขาเอง 4.15 ขยับเข้ามาใกล้ตวั อีกนิดหนึ่ง ชาวสเปนส่ วนใหญ่ถือว่าการบูชาพระเจ้าในแบบที่ใช่ตาม ธรรมเนียมของนิกายโรมันคาทอลิกเป็ นการลบหลู่พระเจ้าอย่างรุ นแรงที่สุด และแล้วพวกเขาจึงกำาหนด ให้เป็ นกฎหมายที่จะไม่ให้มีการบูชาพระเจ้าในวิธีแบบอื่นบนแผ่นดินของเขา ประชาชนของยุโรปตอน ำ ใต้มองนักบวชที่แต่งงานว่าผิดบาป ต่าทราม น่าขยะแขยง แต่ชาวโปรเตสแตนท์จะคิดอย่างไรกับความ รู ้สึกที่จริ งใจอย่างที่สุดนี้ และกับการที่ชาวสเปนพยายามที่จะบังคับความรู ้สึกเหล่านี้ ลงบนผูท้ ี่ไม่ใช่ คาทอลิก? แต่ถา้ มนุษย์จะมีเหตุผลอันควรให้แทรกแซงเสรี ภาพของกันและกัน ในสิ่ งที่ไม่เกี่ยวข้องกับ ประโยชน์สุขของคนอื่น ด้วยหลักการอะไรหรื อ ที่เป็ นไปได้ที่จะใช้กนั กรณี เช่นนี้ ออกไปอย่างไม่ขดั แย้ง ในตนเอง? แล้วจะมีใครที่สามารถตำาหนิผคู ้ นที่ปรารถนาจะปิ ดกั้นอะไรก็ตามที่พวกเขาถือว่าฉ้อฉลใน สายตาของพระเจ้าและของมนุษย์? ไม่มีกรณี ไหนที่มีนาหนั ้ ำ กไปกว่านี้ อีกแล้ว ที่จะยกมาแสดงเพื่อห้าม อะไรก็แล้วแต่ ที่ถือว่าเป็ นความไร้ศีลธรรมส่ วนตัว มากไปกว่าสิ่ งที่สร้างขึ้นมาเพื่อขัดขวางแนวความ ประพฤติเหล่านี้ ในสายตาของผูท้ ี่ถือว่าพวกมันผิดต่อศาสนา และนอกเสี ยจากว่าเราจะเต็มใจยอมรับ ตรรกะของผูท้ ี่ใช้กฎหมายเล่นงานคนต่างศาสนา และเต็มใจที่จะพูดว่า เราสามารถดำาเนินคดีและลงโทษ คนต่างศาสนาก็เพราะเราถูก และพวกเขาต้องไม่ทาำ เช่นนั้นกับเราเพราะเขาผิด เราก็ตอ้ งระวังที่จะยอมรับ หลักการซึ่งเราเองอาจโกรธแค้นว่าเป็ นความอยุติธรรมอย่างยิง่ เมื่อมันหันมาใช้กบั ตัวเราเอง 4.16 ตัวอย่างข้างต้นอาจถูกแย้งอย่างไร้เหตุผล ว่าแม้จะอาศัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริ ง แต่กไ็ ม่มีทางที่จะ เกิดกับเรา ในประเทศนี้ ยากที่ทศั นะของผูค้ นจะบังคับการละเว้นเนื้ อชนิดใดๆ หรื อที่จะเข้าแทรกแซงผู ้ อื่นในเรื่ องการบูชาทางศาสนา หรื อในเรื่ องว่าจะแต่งงานหรื อไม่แต่งงาน ตามหลักความเชื่อหรื อตาม ธรรมชาตินิสยั ของพวกเขา ฉะนั้นตัวอย่างต่อไปจะมาจากอันตรายของการแทรกแซงเสรี ภาพซึ่งยังไม่มี ทีท่าเลยว่าเราได้ผา่ นพ้นไปแล้ว ในที่ใดก็ตามที่พวกเพียวริ แทนมีอาำ นาจอย่างเพียงพอ อย่างในนิวอิง แลนด์และในจักรภพอังกฤษในยุคสหพันธรัฐ พวกเขาได้พยายามที่จะปราบปรามความบันเทิงสาธารณะ และความบันเทิงส่วนตัวเกือบทั้งหมด ซึ่งก็สาำ เร็ จพอควรเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิง่ กับดนตรี การ เต้นรำา การละเล่นสาธารณะ หรื อการรวมกลุ่มที่มีความมุ่งหมายเพื่อการบันเทิงและมหรสพอื่นๆ ใน ประเทศนี้กย็ งั มีคนกลุ่มใหญ่ซ่ ึงถือศาสนาและศีลธรรมที่ประณามความรื่ นเริ งบันเทิงใจ คนพวกนี้ส่วน ใหญ่เป็ นชนชั้นกลาง ซึ่งเป็ นฝ่ ายที่กาำ ลังเพิ่มอำานาจมากขึ้นเรื่ อยๆ ในสถานการณ์ทางสังคมและการเมือง ปั จจุบนั เป็ นไปได้อย่างยิง่ ที่คนที่มีความรู ้สึกทางศีลธรรมเช่นนี้ จะควบคุมเสี ยงส่ วนใหญ่ในรัฐสภาไว้ได้ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง แต่คนส่วนที่เหลือของชุมชนจะรู ้สึกอย่างไร ที่ความบันเทิงที่ควรได้รับการ อนุญาต จะถูกจัดระเบียบอย่างเข้มงวดโดยความรู ้สึกทางศาสนาของพวกคัลแวงและพวกเม็ดธอดิสท์ (Methodist) พวกเขาจะไม่อยากสัง่ ให้สมาชิกของสังคมผูเ้ คร่ งศาสนาพวกนี้ สนใจแต่เรื่ องของตัวเอง และ อย่าก้าวก่ายเรื่ องของผูอ้ ื่นดอกหรื อ? และนี่เองคือสิ่ งที่เราควรกล่าวกับทุกรัฐบาลและทุกสาธารณชน ผู ้ อ้างว่าจะต้องไม่มีใครหาความสุขสำาราญในสิ่ งที่พวกเขาคิดว่าผิด แต่ถา้ เกิดหลักที่กล่าวอ้างนี้ ถูกยอมรับ ก็
76
จะไม่มีใครที่จะสามารถยกเหตุผลมาขัดแย้งกับการที่มนั จะถูกนำามาใช้โดยความรู ้สึกของเสี ยงส่ วนใหญ่ หรื อโดยอำานาจอันทรงอิทธิพลอื่นในประเทศ และทุกคนก็ตอ้ งพร้อมที่จะปฏิบตั ิตามมโนคติแห่ ง สหพันธรัฐคริ สเตียน อย่างที่เข้าใจโดยคนพวกแรกๆ ที่เข้าไปตั้งหลักแหล่งในนิวอิงแลนด์ ถ้าเกิดว่าความ เชื่อทางศาสนาที่คล้ายกับของพวกเขาจะหวนกลับมามีอาำ นาจได้อีกครั้ งหนึ่ง เหมือนอย่างที่รู้กนั ว่าเกิดขึ้น ได้เสมอกับศาสนาที่ดูเหมือนจะกำาลังอ่อนอำานาจลง 4.17 อีกเหตุการณ์หนึ่งที่อาจเป็ นจริ งได้มากกว่าที่เพิ่งกล่าวมา เป็ นที่เห็นได้ชดั ว่าโลกสมัยใหม่มุ่งไปสู่ สังคมประชาธิ ปไตย ที่มีหรื อไม่มีสถาบันทางการเมืองของประชาชน ในประเทศซึ่งเป็ นประชาธิ ปไตย อย่างสมบูรณ์ที่สุด คือทั้งสังคมและรัฐบาลเป็ นประชาธิ ปไตยอย่างสูงสุ ด ได้แก่สหรัฐอเมริ กา เป็ นที่ ำ ยืนยันว่า ความรู ้สึกของคนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับต่อการที่ใครจะใช้ชีวิตอย่างหรู หราฟุ่ มเฟื อยอวดร่ าอวด รวย ที่เกินกว่าที่พวกเขาหวังจะประชันด้วยได้ ดังนั้นความรู ้สึกของพวกเขาจึงมีอาำ นาจเสมือนว่าเป็ น กฎหมายควบคุมการใช้จ่ายในชีวิตของผูค้ น และในหลายๆ ส่ วนของอเมริ กา เป็ นเรื่ องยากสำาหรับคนที่มี รายได้สูงๆ ที่จะหาวิธีในการใช้จ่ายซึ่งไม่ทาำ ให้เกิดการประณามโดยคนทัว่ ไป แม้ไม่ตอ้ งสงสัยว่าคำา ยืนยันพวกนี้จะพูดอย่างเกินเลย กระนั้นสิ่ งที่บรรยายมาก็ไม่เพียงแต่เข้าใจได้และเป็ นไปได้ แต่ยงั เป็ นผล ของความรู ้สึกแบบประชาธิปไตย ที่ไปผนวกเข้ากับความคิดว่าสาธารณชนมีสิทธิ ที่จะออกเสี ยงคัดค้าน วิธีซ่ ึงปั จเจกใช้จ่ายเงินทองของตน ขอเพียงเราสมมติวา่ ทัศนะแบบสังคมนิยมเกิดแผ่กระจายออกไป มัน ก็จะเป็ นเรื่ องเสื่ อมเสี ยในสายตาของคนส่วนใหญ่ หากใครจะมีทรัพย์สมบัติมากไปกว่าจำานวนเล็กๆ น้อยๆ หรื อมีรายได้ที่ไม่ได้มาจากการใช้แรงกาย ทัศนะที่คล้ายกันแพร่ หลายออกไปแล้วอย่างกว้างขวาง ในชนชั้นช่างฝี มือ และกดขี่บงั คับคนพวกที่อ่อนไหวต่อทัศนคติของคนชนชั้นนั้น ซึ่งก็คือสมาชิกของตน เป็ นที่รู้กนั ว่า แรงงานชั้นเลวซึ่งเป็ นจำานวนส่วนใหญ่ของแรงงานในอุตสาหกรรมหลายๆ สาขา มีทศั นะ ร่ วมกันอย่างเหนียวแน่นว่าพวกตนควรได้ค่าจ้างเท่ากับแรงงานชั้นดี และมีทศั นะว่าไม่ควรมีใครได้รับ อนุญาตให้ใช้ทกั ษะที่สูงกว่าหรื อความขยันที่มากกว่า มารับงานเป็ นชิ้นๆ หรื ออะไรก็แล้วแต่ เพื่อที่จะได้ ค่าจ้างเพิ่มขึ้น มากกว่าคนอื่นที่ไม่มีทกั ษะหรื อความขยันเช่นนั้น และพวกเขาก็ใช้ตาำ รวจศีลธรรม ซึ่งบาง ครั้งบางคราวก็เป็ นตำารวจจริ ง ให้คอยยับยั้งแรงงานที่มีฝีมือไม่ให้รับค่าตอบแทนที่ใหญ่กว่า และยับยั้ง นายจ้างไม่ให้จ่ายสูงกว่าสำาหรับผลงานที่สูงกว่า ถ้าเกิดสังคมมีอาำ นาจตัดสิ นเหนือเรื่ องส่ วนบุคคลได้ จริ งๆ ผมก็ไม่อาจเห็นว่าคนพวกนี้ กระทำาอะไรที่ผิด หรื อไม่อาจเห็นว่าสังคมเล็กใดๆ ควรถูกตำาหนิ สำาหรับการอ้างอำานาจเหนือการกระทำาส่วนตัวของปั จเจกที่เป็ นสมาชิก ในเรื่ องซึ่งสังคมโดยทัว่ ไปก็อา้ ง อำานาจเหนือผูค้ นทัว่ ๆ ไป ำ ภาพส่ วนตัวที่เกิด 4.18 ถ้าจะไม่ให้พดู ถึงกรณีที่คาดเดาว่าจะเกิดขึ้น ในยุคของเราเอง ก็มีการล่วงล้าเสรี ำ ่หนักยิง่ ไปกว่านั้น ที่คุกคามอยูแ่ ละมีทีท่าว่าจะสำาเร็ จ และทั้งมีการเสนอ ขึ้นจริ งๆ และยังมีการล่วงล้าที ทัศนะบางอย่างขึ้นมา ซึ่งอ้างสิ ทธิที่สังคมจะออกกฎหมายมาห้ามทุกอย่างที่สงั คมคิดว่าผิดอย่างไม่มี ขอบเขตจำากัด และเพื่อที่จะกำาจัดสิ่ งที่มนั คิดว่าผิดให้ได้ ก็หา้ มไปถึงสิ่ งที่สงั คมเองก็ยอมรับว่าไร้ความผิด อีกด้วย
77
4.19 ภายใต้ชื่อของการป้ องกันการขาดสติ ประชาชนในอาณานิคมแห่ งหนึ่งของอังกฤษ และในเกือบ ครึ่ งของสหรัฐ ถูกกฎหมายสัง่ ห้ามไม่ให้ใช้เครื่ องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพื่อประโยชน์ในการใดๆ ยกเว้นก็แต่ ในทางการแพทย์ เพราะการห้ามไม่ให้ขาย ไม่วา่ จะด้วยข้อเท็จจริ งหรื อด้วยเจตนา ก็คือการห้ามไม่ให้ใช้ นัน่ เอง และถึงแม้ความยุง่ ยากในการบังคับใช้กฎหมายนี้ จะทำาให้มนั ถูกยกเลิกไปในหลายๆ รัฐ รวมทั้ง ในรัฐที่ริเริ่ มมันด้วย แต่กก็ ลับมีความพยายามอย่างจริ งจังโดยคนมากมายผูซ้ ่ ึงประกาศตนว่ารักเพื่อน มนุษย์ ที่จะเรี ยกร้องให้มีการใช้กฎหมายแบบเดียวกันในประเทศนี้ สมาคมที่เรี ยกตัวเองว่า “พันธมิตร” ที่ต้ งั ขึ้นมาเพื่อการนี้ ก็มีชื่อกระฉ่อนขึ้นมาผ่านการตีพิมพ์จดหมายโต้ตอบระหว่างเลขานุการขององค์กร กับผูม้ ีชื่อเสี ยงชาวอังกฤษผูห้ นึ่ง ซึ่งเป็ นหนึ่งในบุคคลไม่กี่คนที่ยดึ ถือว่าทัศนะของนักการเมืองควรตั้งอยู่ บนหลักการ เป็ นที่คาดหวังว่าการโต้ตอบกับลอร์ ดสแตนลีย ์ (Lord Stanley) จะช่วยเพิม่ ความหวังที่มีบน ตัวเขา โดยคนที่รู้วา่ คุณภาพอย่างที่เขาแสดงให้ปรากฏต่อสาธารณชนหลายๆ ครั้ง เป็ นสิ่ งที่หายากอย่างยิง่ ในบรรดาผูท้ ี่มีบทบาททางการเมืองทั้งหลาย เลขานุการของพันธมิตร ผูซ้ ่ ึง “รู ้สึกขัดแย้งอย่างยิง่ ต่อการ ยอมรับหลักการใดๆ ที่อาจบิดเบือนมาใช้สร้างความถูกต้องให้กบั การคลัง่ ศาสนาและการข่มเหงรังแกกัน ทางศาสนา” รับอาสาที่จะชี้ให้เห็นถึง “อุปสรรคขวางกั้นที่ไม่อาจข้ามพ้น” ซึ่งแบ่งแยกหลักการประเภท นั้นออกจากหลักการของสมาคม เขากล่าวว่า “สำาหรับผมแล้ว ทุกเรื่ องที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็น ทัศนคติ มโนธรรม อยูภ่ ายนอกขอบเขตการควบคุมของกฎหาย แต่ทุกเรื่ องที่เกี่ยวข้องกับการกระทำา นิสยั ความสัมพันธ์ ที่เป็ นเรื่ องทางสังคม ซึ่งอยูใ่ ต้อาำ นาจของรัฐ และไม่ใช่อยูใ่ นอำานาจของปั จเจก ย่อมอยูใ่ น ขอบเขตการควบคุมของกฎหมาย” ไม่มีการกล่าวถึงสิ่ งที่ต่างออกไปจากทั้งสองกรณี และเป็ นของ ประเภทที่สาม อันได้แก่ การกระทำาและนิสยั ซึ่งไม่ใช่เรื่ องของสังคม แต่เป็ นเรื่ องของปั จเจก แม้วา่ เป็ น เรื่ องแน่นอนว่าการดื่มแอลกอฮอล์ยอ่ มอยูใ่ นการกระทำาประเภทนี้ แม้วา่ การขายเครื่ องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็ นการค้าขาย และการค้าขายเป็ นการกระทำาที่เกี่ยวข้องกับสังคม แต่การล่วงละเมิดที่เป็ นประเด็นอยูน่ ้ี ไม่ใช่การล่วงละเมิดต่อเสรี ภาพของผูข้ าย แต่เป็ นเสรี ภาพของผูซ้ ้ื อและผูด้ ื่ม เนื่องจากรัฐอาจห้ามไม่ให้คน ดื่มสุ ราได้เท่ากับที่จงใจทำาให้เขาไม่อาจซื้ อหามันได้ อย่างไรก็ตาม เลขานุการของพันธมิตรกล่าวว่า “ใน ฐานะพลเมือง ข้าพเจ้าขอเรี ยกร้องสิ ทธิ ในการออกกฎหมาย เมื่อใดก็ตามที่สิทธิ ทางสังคมของข้าพเจ้าถูก ำ ล่วงล้าโดยการกระทำ าทางสังคมของคนอีกคนหนึ่ง” และนิยามที่เขาให้กบั สิ ทธิ ทางสังคมก็คือ “ถ้ามีอะไร ที่ถือได้วา่ ล่วงละเมิดสิ ทธิทางสังคมของข้าพเจ้าแล้วละก็ แน่นอนว่าการค้าขายสุ ราย่อมเป็ นหนึ่งในสิ่ งเช่น นั้น มันทำาลายสิ ทธิพ้ืนฐานด้านความปลอดภัยของข้าพเจ้า ด้วยการสร้างและสนับสนุนความไม่เป็ น ระเบียบในสังคมให้เกิดขึ้นอยูต่ ลอดเวลา มันละเมิดสิ ทธิ ต่อความเท่าเทียมกันของข้าพเจ้า ด้วยการดึงผล กำาไรมาจากการสร้างความทุกข์ที่ขา้ พเจ้าต้องจ่ายภาษีไปสนับสนุน มันขัดขวางสิ ทธิ ต่อการพัฒนาศีล ธรรมและปัญญาอย่างอิสระของข้าพเจ้า ด้วยการทำาให้อนั ตรายรุ มล้อมทางเดินของข้าพเจ้า ด้วยการทำา ำ สังคมให้อ่อนแอและต่าทราม ซึ่งข้าพเจ้ามีสิทธิ ที่จะเรี ยกร้องความช่วยเหลือและการสื่ อสารซึ่งกันและ กัน” นี่เป็ นทฤษฎี “สิ ทธิทางสังคม” แบบที่อาจจะไม่เคยพบในคำาพูดใดมาก่อนเลย ซึ่งไม่ใช่อะไรเลย นอกไปจากการอ้างว่า มันเป็ นสิ ทธิทางสังคมอย่างสมบูรณ์ของปั จเจก ที่วา่ ปั จเจกอื่นทุกคนจักต้องทำาใน
78
ทุกสิ่ งทุกประการ ที่พวกเขาควรทำา ใครก็ตามที่ไม่ทาำ เช่นนั้น แม้แต่ในรายละเอียดที่เล็กน้อยที่สุด ก็ยอ่ ม ละเมิดสิ ทธิ ทางสังคมของผม อันทำาให้ผมสามารถเรี ยกร้องให้ออกกฎหมายมาขจัดข้อทุกข์ร้อนนั้นได้ นี่ เป็ นหลักการอันร้ายกาจซึ่งสร้างอันตราย ยิง่ กว่าการแทรกแซงต่อเสรี ภาพในเรื่ องหนึ่งเรื่ องใดเป็ นการ เฉพาะ เพราะมันสร้างความถูกต้องชอบธรรมให้กบั การละเมิดเสรี ภาพทุกชนิด มันไม่ยอมรับเสรี ภาพใดๆ ทั้งสิ้ น อาจจะยกเว้นก็แต่เสรี ภาพที่จะแอบถือทัศนะบางอย่างอยูล่ บั ๆ อย่างที่จะต้องไม่เปิ ดปากพูดออกมา เป็ นอันขาด เพราะทันทีที่ทศั นะที่ผมถือว่าอันตรายหลุดออกมาจากปากใคร มันย่อมละเมิด “สิ ทธิ ทาง สังคม” ที่พนั ธมิตรอธิบายว่าเป็ นของผม นี่เป็ นหลักการซึ่งมอบหมายมนุษยชาติท้ งั มวลให้สนใจต่อความ สมบูรณ์ทางศีลธรรม ความสมบูรณ์ทางปัญญา หรื อแม้แต่ความสมบูรณ์ทางร่ างกาย ของกันและกัน ซึ่ง คนที่อา้ งหลักการนี้ กส็ ามารถที่จะนิยามความสมบูรณ์น้ นั ไปตามมาตรฐานเฉพาะของตนเอง 4.20 อีกตัวอย่างของการแทรกแซงเสรี ภาพอันชอบธรรมของปั จเจก ซึ่งไม่ได้กาำ ลังคุกคามอยู่ แต่มี ชัยชนะมาตั้งแต่เริ่ มต้น ก็คือกฎหมายห้ามทำางานในวันซับบาธ (Sabbath day ตรงกับทุกวันอาทิตย์) ไม่ ต้องสงสัยว่าการละเว้นการงานสักวันหนึ่งในสัปดาห์ ถ้าไม่มีความจำาเป็ นเร่ งด่วนใดๆ มาบังคับ ย่อมเป็ น ธรรมเนียมที่เป็ นผลดี แม้จะไม่ใช่พนั ธะทางศาสนาสำาหรับใครนอกจากสำาหรับคนยิว และด้วยการที่ ธรรมเนียมนี้ จะไม่สามารถปฏิบตั ิได้โดยไม่มีการยอมรับในหมู่คนขยัน ดังนั้น ตราบที่การทำางานของคน บางคนเท่ากับการบังคับคนอื่นให้ตอ้ งทำางานด้วย ก็อาจเป็ นสิ่ งที่ได้รับอนุญาต หรื อว่าเป็ นเรื่ องถูกต้องที่ กฎหมายจะประกันให้กบั แต่ละคน ว่าคนอื่นๆ จะปฏิบตั ิตามธรรมเนียม ด้วยการระงับการทำางานใน กิจการหลักต่างๆ ของสังคมในวันสักวันหนึ่งของสัปดาห์ แต่เหตุผลซึ่งตั้งอยูบ่ นผลประโยชน์โดยตรงที่ คนอื่นมีต่อการยึดถือปฏิบตั ิของปัจเจกแต่ละคนเช่นนี้ ก็เป็ นสิ่ งใช้ไม่ได้กบั อาชีพที่เลือกด้วยตนเอง ซึ่ง บุคคลอาจคิดว่าเหมาะที่เขาจะใช้เวลาว่างมาทำา และไม่ใช่เหตุผลที่ดีแม้แต่นอ้ ยที่จะเอามาใช้เป็ นกฎหมาย บังคับกับเรื่ องความบันเทิง จริ งอยูว่ า่ ความบันเทิงของคนบางคนเป็ นการงานของคนอื่น แต่วา่ สันทนาการที่เป็ นประโยชน์และความสุขสำาราญของคนจำานวนมาก ก็คุม้ ค่าต่อแรงงานของคนจำานวน น้อย ขอแต่เพียงว่ามันเป็ นการงานที่เขาเลือกทำาอย่างอิสระ และสามารถลาออกได้อย่างอิสระ ผูป้ ฏิบตั ิงาน ย่อมถูกต้องอย่างที่สุดที่จะคิดว่าถ้าคนทุกคนเกิดทำางานในวันอาทิตย์ งานเจ็ดวันก็จะได้ค่าจ้างเท่ากับงาน หกวัน แต่ตราบใดที่งานเกือบทั้งหมดถูกระงับไว้ คนจำานวนน้อยซึ่งยังต้องทำางานเพื่อความสุ ขของคนอื่น ก็ตอ้ งได้รับรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามสัดส่วน และพวกเขาต้องไม่ได้ถูกบังคับให้ตอ้ งทำางานพวกนั้นหากพวก เขาพอใจที่จะมีเวลาว่างมากกว่าที่จะรับค่าตอบแทน วิธีชดใช้ที่เพิ่มขึ้นอีก ก็อาจอยูใ่ นการกำาหนด ธรรมเนียมให้มีวนั หยุดในวันอื่นของสัปดาห์ สำาหรับกลุ่มบุคคลพิเศษพวกนั้น ดังนั้น เหตุผลเดียวที่ สามารถใช้มาห้ามความบันเทิงทั้งหลายในวันอาทิตย์ ก็คือเหตุผลว่ามันเป็ นสิ่ งที่ผิดต่อศาสนา อันเป็ น เหตุผลในการออกกฎหมายที่สมควรต่อการประท้วงอย่างถึงที่สุด “ความผิดต่อพระเจ้าเป็ นเรื่ องของ พระเจ้าเองจะจัดการ” เป็ นเรื่ องที่ยงั ต้องพิสูจน์วา่ สังคมหรื อพนักงานของสังคมได้รับมอบหมายจากเบื้อง บน ให้มีหน้าที่แก้แค้นต่อการกระทำาที่ถือว่าเป็ นความผิดต่อพระเจ้าผูท้ รงมหิ ทธานุภาพ ในเรื่ องซึ่งไม่ได้ เป็ นความผิดต่อเพื่อนมนุษย์ดว้ ยกันเอง ความคิดที่วา่ เป็ นหน้าที่ของคนๆ หนึ่งที่จะทำาให้คนอื่นปฏิบตั ิ
79
ตามหลักของศาสนาของตน เป็ นรากฐานของการข่มเหงรังแกกันทางศาสนาทั้งหมดที่คนเคยกระทำาต่อ กัน ซึ่งย่อมจะกลายเป็ นความชอบธรรมอย่างเต็มที่ถา้ หากความคิดนี้ เป็ นที่ยอมรับ ถึงแม้ความรู ้สึกซึ่ง ปรากฏออกมาในความพยายามที่จะให้หยุดเดินรถไฟในวันอาทิตย์ ในการต่อต้านการเปิ ดพิพิธภัณฑ์ และ ในอะไรอื่นๆ ประเภทเดียวกัน จะไม่มีภาพของความโหดร้ายของการรังแกกันทางศาสนาแบบเก่าๆ แต่ มันก็คือจิตใจแบบเดียวกันนัน่ เอง ซึ่งก็คือการความตั้งใจอย่างแรงกล้า ที่จะไม่ยอมสะกดกลั้นต่อการที่ผู ้ อื่นกระทำาในสิ่ งที่ศาสนาของพวกเขาอนุญาต เพราะมันเป็ นสิ่ งที่ศาสนาของตนเองไม่อนุญาต มันคือ ความเชื่อว่าพระเจ้าไม่เพียงแต่รังเกียจการกระทำาของคนที่เชื่อในสิ่ งที่ผิด แต่พระเจ้ายังถือว่าเราก็ผิดด้วย ถ้าเราปล่อยให้เขาลอยนวล 4.21 ผมต้องขอเพิม่ เติมตัวอย่างเหล่านี้ ด้วยสิ่ งที่คนมักจะยกมาอธิ บายเสรี ภาพของมนุษย์ อันเป็ น ภาษาของการข่มเหงทางศาสนาอย่างเปิ ดเผย ที่ปรากฏออกมาในหนังสื อพิมพ์ของประเทศนี้ เมื่อใดก็ตาม มันรู ้สึกว่าถูกเรี ยกร้องให้สนใจต่อปรากฏการณ์พิเศษของลัทธิ มอร์ มอน (Mormonism) มีเรื่ องที่อาจจะ พูดได้มากมายเกี่ยวกับข้อเท็จจริ งที่คาดไม่ถึงแต่กน็ ่าสนใจนี้ ที่วา่ ศาสนาที่ต้ งั ขึ้นมาบนสิ่ งที่อา้ งว่าเป็ นการ เปิ ดเผยโดยตรงของพระเจ้าครั้งใหม่น้ ี ซึ่งก็รู้สึกได้วา่ เป็ นความหลอกลวง และไม่ใช่สิ่งที่สนับสนุนโดย คุณสมบัติอนั ยิง่ ใหญ่และพระเกียรติคุณของพระเยซูเลย แต่ทว่าก็เป็ นศาสนาที่มีคนนับถือเป็ นหมื่นเป็ น แสน และถูกยึดถือเป็ นรากฐานของสังคมหนึ่งในยุคสมัยของหนังสื อพิมพ์ รถไฟ และโทรเลข ประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับเราก็คือ ศาสนานี้กเ็ ป็ นเหมือนกับศาสนาอื่นที่เหนือกว่า คือมีผทู ้ ี่ยอมสละชีวิตเพื่อรักษาความ เชื่อของตน นัน่ ก็คือศาสดาพยากรณ์ผกู ้ ่อตั้งถูกฆ่าด้วยฝูงชนผูโ้ กรธแค้นต่อคำาสอนของเขา และคนอื่นที่ เชื่อตามก็เสี ยชีวิตด้วยความรุ นแรงอย่างไร้กฎหมาย และพวกเขาก็ถูกขับไล่จากดินแดนที่พวกเขาถือ กำาเนิด ถึงตอนนี้พวกเขาก็ถูกไล่ให้ไปอยูอ่ ย่างโดดเดี่ยวห่างไกลกลางทะเลทราย ในขณะที่คนจำานวนมาก ในประเทศนี้ ประกาศอย่างเปิ ดเผยว่าเป็ นเรื่ องถูกต้อง (แม้จะไม่สะดวก) ที่จะส่ งคนออกเดินทางไปบังคับ ให้พวกเขายอมทำาตามทัศนะของคนอื่น ส่ วนของหลักคำาสอนของมอร์ มอนที่ปลุกความรู ้สึกต่อต้าน ซึ่ง เกินกว่าที่จะขวางกั้นไว้ดว้ ยขันติธรรมทางศาสนาตามปกติ ก็คือการที่มนั ยอมรับให้ผชู ้ ายมีภรรยาหลาย คน ซึ่งถึงแม้จะยอมรับได้กบั อิสลาม ฮินดู และชาวจีน แต่ดูเหมือนจะกระตุน้ ความโกรธแค้นอย่างเกินที่ จะละงับได้ เมื่อกระทำาโดยบุคคลที่พดู ภาษาอังกฤษและประกาศตนเป็ นชาวคริ สต์ ผมเองก็ประณามการ ปฏิบตั ิน้ ีของมอร์มอนยิง่ กว่าใครทั้งสิ้ น ทั้งสำาหรับเหตุผลอื่น และเพราะว่า นอกจากมันไม่ได้รับการ รับรองด้วยหลักแห่งเสรี ภาพแล้ว มันยังละเมิดตรงๆ ต่อหลักนั้น ด้วยการเป็ นโซ่ตรวนพันธนาการคนครึ่ ง หนึ่งของชุมชน และปลดปล่อยคนอีกครึ่ งหนึ่งจากพันธะที่จะต้องตอบแทนอย่างเสมอกัน กระนั้น ก็ตอ้ ง จำาไว้เสมอว่า ความสัมพันธ์น้ ี เป็ นไปโดยสมัครใจของผูห้ ญิงเอง ผูซ้ ่ ึงอาจถูกถือว่าเป็ นผูต้ อ้ งทุกข์ดว้ ย ความสัมพันธ์ อย่างที่กไ็ ม่ต่างไปจากสถาบันการแต่งงานรู ปแบบอื่น และแม้วา่ ข้อเท็จจริ งนี้ จะดูแปลก มัน ก็มีคาำ อธิบายอยูใ่ นความคิดและธรรมเนียมทัว่ ๆ ไปของโลก ที่สอนผูห้ ญิงให้คิดว่าการแต่งงานเป็ นเรื่ อง จำาเป็ นของชีวิต ซึ่งทำาให้เข้าใจได้วา่ ทำาไมผูห้ ญิงถึงพอใจที่จะเป็ นหนึ่งในภรรยาหลายๆ คน ยิง่ กว่าที่จะไม่ ได้เป็ นภรรยาของใครเลย ประเทศอื่นๆ ไม่ได้ถูกเรี ยกร้องให้ยอมรับการแต่งงานเช่นนั้น หรื อให้ปลด
80
ปล่อยส่ วนใดส่ วนหนึ่งของประชากรจากกฎหมายของพวกตนบนพื้นฐานของทัศนะแบบมอร์ มอน แต่ เมื่อผูค้ นที่คิดแตกต่างได้ยอมรับต่อความรู้สึกเป็ นปฏิปักษ์ของคนอื่น ในระดับที่เหนือกว่าที่อาจเรี ยกร้อง ได้อย่างชอบธรรมจากพวกเขาเสี ยอีก นัน่ ก็คือ เมื่อพวกเขาได้จากประเทศที่คาำ สอนของพวกเขาไม่ได้รับ การยอมรับ ไปตั้งหลักแหล่งในดินแดนอันห่างไกลของโลก ซึ่งพวกเขาเป็ นพวกแรกที่ทาำ ให้มนั กลายเป็ น ที่ๆ มนุษย์จะอยูอ่ าศัยได้ ก็ยากที่จะเห็นว่า จะเอาหลักการอะไร ที่นอกไปจากหลักการของทรราช มาห้าม ไม่ให้พวกเขาอยูท่ ี่นนั่ และอยูภ่ ายใต้กฎหมายที่พวกเขาพอใจ ตราบเท่าที่พวกเขาไม่คุกคามชนชาติอื่น และเปิ ดอิสระอย่างเต็มที่ ให้คนที่ไม่พอใจกับวิถีชีวิตของพวกเขาแยกตัวออกมา นักเขียนผูส้ ามารถผูห้ นึ่ง เสนอให้ทาำ สงครามอารยธรรม (เป็ นคำาที่เขาใช้) ซึ่งไม่ใช่สงครามศาสนา ต่อชุมชนแบบที่ผชู ้ ายมีภรรยา ได้หลายคนนี้ เพื่อยุติสิ่งที่ดูเหมือนว่าเป็ นอารยธรรมที่กา้ วถอยหลังสำาหรับเขา ผมเองก็เห็นเช่นกันว่านัน่ คือการก้าวถอยหลัง แต่ผมก็ไม่เห็นว่าชุมชนไหนมีสิทธิ ที่จะบังคับชุมชนอื่นให้มีอารยธรรมสูงขึ้ น หมายความว่า ตราบใดที่ผทู้ ี่ทุกข์กบั กฎหมายเลวๆ ไม่เรี ยกร้องขอความช่วยเหลือจากชุมชนอื่น ผมก็ไม่ อาจยอมรับการที่คนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องในทางใดๆ กับพวกเขา จะก้าวเข้าไปและเรี ยกร้องให้ยตุ ิสภาวการณ์ ซึ่งทุกคนที่เกี่ยวข้องโดยตรงดูเหมือนว่าจะพอใจ เพียงเพราะว่ามันเป็ นเรื่ องเสื่ อมเสี ยในสายตาของคนที่ อยูห่ ่ างออกไปเป็ นพันไมล์ พวกเขาอาจส่งผูส้ อนศาสนาของตนไปเทศนาห้ามปรามสิ่ งนั้นก็ได้ถา้ พวกเขา พอใจ ให้พวกเขาใช้วิธีอะไรก็ได้ที่ถูกต้อง (ซึ่งไม่ใช่การปิ ดปากผูส้ อนลัทธิ ) มาต่อต้านการที่คาำ สอนเช่น นั้นจะเกิดมาแพร่ หลายในหมู่ประชากรของพวกเขาเอง ถ้าอารยธรรมได้มีชยั เหนืออนารยธรรมมาแล้ว เมื่อครั้งที่อนารยธรรมเคยครองโลก มันก็เป็ นเรื่ องไร้สาระที่จะอ้างเอาความกลัวว่าอนารยธรรมจะกลับ ฟื้ นและชนะเหนืออารยธรรมมาเป็ นเหตุ อารยธรรมที่สามารถที่จะพ่ายแพ้ต่อศัตรู ที่ตนเอาชนะมาแล้ว ตัว ำ ยจนกระทั้งไม่มีใคร ไม่วา่ จะเป็ นพระหรื อเป็ นครู หรื อใครก็ตาม มีความสามารถ ของมันเองต้องตกต่าเสี หรื อที่จะยอมเหนื่อยยาก ลุกขึ้นมาปกป้ องมัน ถ้านี่เป็ นเช่นนั้น ยิง่ อารยธรรมนั้นจะได้รับคำาเตือนให้จาก ไปเร็ วเท่าไรก็ยิง่ ดีเท่านั้น เพราะมันมีแต่จะเลวลงอย่างถึงที่สุด จนกว่าจะถูกทำาลายแล้วสร้างขึ้นมาใหม่ (เหมือนจักรวรรดิตะวันตก) ด้วยมือของอนารยชนผูท้ รงพลัง.
81
บทที่ 5 การประยุกต์
5.1 จะต้ องมีการอภิปรายหลักการต่างๆ ที่ยนื ยันมาในหน้าที่ผา่ นมาในรายละเอียด ก่อนที่ เราจะพยายามประยุกต์มาใช้กบั เรื่ องราวต่างๆ ของรัฐบาลและศีลธรรม อย่างแบบที่หวังได้วา่ จะ เกิดประโยชน์อย่างแท้จริ ง ข้อสังเกตสองสามประการที่ผมจะเสนอในเรื่ องรายละเอียด มุ่งหมาย จะสร้างความกระจ่างให้กบั หลักการ ยิง่ กว่าที่จะเป็ นการพิจารณาถึงผลที่ตามมา ผมจะไม่เสนอ การประยุกต์ในทิศทางต่างๆ แต่จะเสนอตัวอย่างต้นแบบของการประยุกต์ ที่จะสร้างความชัดเจน ยิง่ ขึ้นให้กบั ความหมายและขอบเขตของหลักยึดมัน่ สองข้อที่เป็ นเนื้ อหาทั้งหมดของคำาสอนของ งานชิ้นนี้ และเพื่อที่จะช่วยการหาสมดุลระหว่างหลักทั้งสอง ในกรณี ที่เกิดความสงสัยว่าหลักข้อ ไหนที่ใช้ได้กบั เรื่ องที่พิจารณา 5.2 หลักที่เราจะต้องยึดมัน่ ก็คือ หนึ่ง ปั จเจกต้องมีอิสระจากสังคมอย่างสมบูรณ์ สำาหรับการก ระทำาซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของใครนอกจากของตัวเขาเอง หากสังคมไม่ชอบ พฤติกรรมของเขา สังคมก็อาจแสดงออกเพียงแค่ดว้ ยการให้คาำ แนะนำา คำาสอน การหว่านล้อม ชักจูง หรื อถ้าคิดว่าจะดีกว่าสำาหรับตัวเอง ก็อาจด้วยการหลีกเลี่ยงที่จะคบค้าสมาคมกับเขา สอง สำาหรับการกระทำาที่เป็ นอันตรายต่อประโยชน์สุขของผูอ้ ื่น ปั จเจกย่อมต้องอยูใ่ ต้อาำ นาจการ ลงโทษทางสังคมหรื อทางกฎหมาย ถ้าสังคมเห็นว่าจำาเป็ นต้องใช้การลงโทษแบบใดแบบหนึ่งมา ป้ องกันตนเอง 5.3 ในเบื้องแรก จะต้องไม่เข้าใจไปว่า เนื่องจากอันตราย หรื อความเป็ นไปได้ที่จะเกิด อันตราย ต่อผลประโยชน์ของผูอ้ ื่นเท่านั้น ที่จะสร้างความถูกต้องชอบธรรมให้กบั การที่สงั คมจะ เข้าไปแทรกแซงปัจเจก และดังนั้นสังคมย่อมถูกต้องเสมอที่จะเข้าแทรกแซงในเรื่ องประเภทดัง กล่าว ที่จริ งแล้ว ในหลายๆ กรณี การที่ปัจเจกต่อสูเ้ พื่อให้ได้มาซึ่งสิ่ งอันชอบธรรมบางอย่าง เขา ย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะสร้างความเจ็บปวดหรื อสูญเสี ยให้กบั ผูอ้ ื่น หรื อเข้าไปตัดหน้าในสิ่ งที่คนอื่น หวังจะได้มาครอง ความขัดแย้งของผลประโยชน์ระหว่างปั จเจกมักเกิดมาจากระบบระเบียบที่เลว ในสังคม และเลี่ยงไม่ได้ตราบมี่ระบบนั้นยังคงอยู่ และบางอย่างก็หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยไม่วา่ จะภาย
82
ใต้ระบบแบบไหน ใครก็แล้วแต่ที่ประสบความสำาเร็ จในอาชีพที่มีผคู ้ นจำานวนมากต่อสูแ้ ข่งขันกัน หรื อในการสอบแข่งขัน ใครก็แล้วแต่ที่ชนะคนอีกคนหนึ่งในการแย่งชิงสิ่ งที่ท้ งั คู่ปรารถนา ก็ยอ่ ม เก็บเกี่ยวผลกำาไรจากความขาดทุนของผูอ้ ื่น จากพลังงานที่สูญเปล่า และจากความผิดหวังของพวก เขา แต่กเ็ ป็ นที่ยอมรับกันโดยทัว่ ไปว่า จะเป็ นการดีกว่าสำาหรับประโยชน์สุขทัว่ ๆ ไปของมนุษย์ ชาติ หากบุคคลจะมุ่งแสวงหาเป้ าหมายของเขาอย่างไม่ถูกขัดขวางด้วยผลลัพธ์เช่นนี้ พูดอีกแบบ หนึ่งก็คือ สังคมไม่ได้ถือว่าเป็ นสิ ทธิทางกฎหมายหรื อทางศีลธรรม ที่ผแู ้ ข่งขันที่ผิดหวัง จะได้รับ การประกันให้ปลอดพ้นจากความทุกข์ประเภทนี้ และสังคมรู ้สึกว่าถูกเรี ยกร้องให้เข้าแทรกแซง ก็ ต่อเมื่อมีการใช้วิธีเอาชนะที่ขดั แย้งกับผลประโยชน์ของส่ วนรวม คือด้วยการคดโกง และใช้อาำ นาจ เข้าบังคับ 5.4 นอกจากนั้น การค้าขายเองก็เป็ นการกระทำาทางสังคม ใครก็ตามที่เข้าดำาเนินการขาย สิ นค้าประเภทใดประเภทหนึ่งให้คนทัว่ ไป ย่อมทำาในสิ่ งที่กระทบต่อประโยชน์สุขของผูอ้ ื่นและ ของสังคมโดยทัว่ ไป และพฤติกรรมเช่นนั้น ในหลักการแล้ว ย่อมเข้าไปอยูใ่ นขอบเขตอำานาจของ สังคม ด้วยเหตุน้ นั จึงเคยถือว่าเป็ นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะกำาหนดราคาและวางกฎเกณฑ์ในการ ดำาเนินการผลิตในทุกสิ นค้าที่มีความสำาคัญ แต่หลังจากต่อสูก้ นั มายาวนาน ก็เป็ นที่รู้แล้วว่าทั้ง ความย่อมเยาและคุณภาพของสิ นค้าได้มาจากการปล่อยให้ผผู ้ ลิตและผูข้ ายมีอิสระอย่างเต็มที่ ภาย ใต้การกำากับควบคุมว่าผูซ้ ้ื อมีอิสระเท่าๆ กันในการซื้อหาจากที่อื่น นี่คือสิ่ งที่เรี ยกว่า หลักแห่ งการ ค้าโดยเสรี แม้จะเข้ากันได้กบั หลักแห่งเสรี ภาพของปั จเจกที่อยูใ่ นงานชิ ้นนี้ แต่กต็ ้ งั อยูบ่ นพื้นฐาน ที่ต่างออกไป การจำากัดการค้า หรื อในการผลิตเพื่อการค้า ย่อมเป็ นการบังคับควบคุม และการ บังคับควบคุมทั้งหลายย่อมเป็ นความชัว่ ร้าย แต่การควบคุมที่กาำ ลังพูดถึงอยูน่ ้ี กระทบต่อพฤติกรรม ส่ วนที่สงั คมมีความสามารถที่จะควบคุม และผิดเพียงเพราะว่าพวกมันไม่ได้ก่อผลลัพธ์ ซึ่งสังคม มุ่งหมายให้มนั สร้าง ในฐานะที่หลักแห่งเสรี ภาพของปั จเจกไม่ได้เกี่ยวพันอยูใ่ นหลักแห่ งการค้า โดยเสรี มันก็ยอ่ มไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ ของข้อจำากัดของหลักการนั้น ตัวอย่างเช่น จะ อนุญาตให้มีการควบคุมโดยสังคมในปริ มาณเท่าใดเพื่อป้ องกันการหลอกลวงด้วยการปลอมปน จะต้องมีการบังคับนายจ้างให้ระมัดระวังในสุ ขภาพอนามัย หรื อจัดการในการป้ องกันให้กบั คน งาน ในอาชีพที่อนั ตราย ในขอบเขตระดับใด คำาถามเช่นนี้เกี่ยวพันมาถึงข้อพิจารณาเรื่ องเสรี ภาพ เพียงแค่ในแง่ที่วา่ ถ้าเรื่ องอื่นๆ ทุกอย่างเสมอกันแล้วละก็ ระหว่างการปล่อยให้มีอิสระกับการ ควบคุม การปล่อยผูค้ นให้มีอิสระย่อมดีกว่าเสมอ แต่ในหลักการแล้ว เป็ นเรื่ องที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ว่า เป็ นการถูกต้องที่จะควบคุมผูค้ นเพื่อเป้ าหมายที่วา่ มานี้ ในอีกทางหนึ่ง มีคาำ ถามเกี่ยวกับการ แทรกแซงต่อการค้า ซึ่งเป็ นคำาถามอย่างแท้จริ งต่อเรื่ องเสรี ภาพ อย่างเช่นปั ญหาของรัฐเมนที่ได้เคย กล่าวถึงไปแล้ว ปัญหาของการห้ามนำาฝิ่ นเข้าประเทศจีน การจำากัดการขายยาพิษ ซึ่งในกรณี ทั้งหมด เป้ าหมายของการแทรกแซงเป็ นไปเพื่อทำาให้การได้สินค้าบางอย่างมาไว้ในการครอบ
83
ครองเป็ นไปได้ยาก หรื อเป็ นไปไม่ได้เลย การแทรกแซงพวกนี้ เป็ นสิ่ งโต้แย้งได้วา่ เป็ นการละเมิด ต่อเสรี ภาพของผูซ้ ้ื อ ไม่ใช่ของผูข้ ายหรื อผูผ้ ลิต 5.5 หนึ่งในตัวอย่างดังกล่าว อันได้แก่การขายยาพิษ พาเราไปสู่คาำ ถามใหม่ คือคำาถามในเรื่ อง ำ ของขอบเขตที่เหมาะสมของสิ่ งที่เรี ยกว่าหน้าที่ของตำารวจ ในขอบเขตใดที่เสรี ภาพจะถูกล่วงล้าได้ อย่างถูกต้องเพื่อการป้ องกันอาชญากรรมหรื ออุบตั ิเหตุ ไม่มีใครเถียงว่าเป็ นหน้าที่หนึ่งของรัฐบาล ในการป้ องกันอาชญากรรมก่อนหน้าที่มนั จะเกิด เช่นเดียวกับหน้าที่ที่จะต้องคอยตรวจจับและ ลงโทษอาชญากรรมที่เกิดขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม หน้าที่ในการป้ องกันของรัฐบาลอาจถูกนำามาใช้ อย่างผิดๆ จนละเมิดต่อเสรี ภาพ ได้มากกว่าหน้าที่ในการลงโทษมากนัก เพราะแทบจะไม่มีส่วนใด เลยของเสรี ภาพอันชอบธรรม ในการกระทำาของมนุษย์ ที่ไม่อาจจะถูกเสนอว่าเพิม่ ความเป็ นไปได้ ให้กบั ความเกะกะระรานอะไรบางอย่าง กระนั้น ถ้าเจ้าพนักงานของรัฐ หรื อแม้กระทั้งบุคคล ธรรมดา เห็นคนๆ หนึ่งกำาลังเตรี ยมการอย่างชัดแจ้งที่จะก่ออาชญากรรม พวกเขาก็ไม่ได้ถูกห้ามว่า ให้ดูอยูเ่ ฉยๆ จนกว่าอาชญากรรมจะเกิด แต่ควรจะเข้าแทรกแซงเพื่อป้ องกัน ถ้ายาพิษไม่เคยถูกซื้ อ ไปใช้เพื่อการใดเว้นก็แต่เพื่อก่อเหตุฆาตกรรม ก็ยอ่ มถูกต้องที่จะห้ามการผลิตและการขาย แต่ยา พิษก็เป็ นที่ตอ้ งการเพื่อวัตถุประสงค์ที่เป็ นประโยชน์และบริ สุทธิ์ ใจด้วยเช่นกัน แต่การควบคุม กรณีหนึ่งก็ไม่อาจทำาได้โดยไม่เป็ นการควบคุมอีกกรณี หนึ่งไปพร้อมกัน และก็เป็ นหน้าที่อนั ถูก ต้องเหมาะสมของเจ้าหน้าที่เช่นกัน ที่จะป้ องกันอุบตั ิเหตุ ถ้าพนักงานของรัฐหรื อใครก็ตามเกิด เห็นคนพยายามข้ามสะพานที่เป็ นที่รู้แน่วา่ ไม่ปลอดภัย และไม่มีเวลาพอที่จะเตือนเขาถึงอันตราย พวกเขาก็อาจจับตัวคนนั้นไว้ แล้วไล่ให้เขากลับไป โดยมิได้เป็ นการละเมิดเสรี ภาพใดๆ ของเขา เพราะเสรี ภาพอยูใ่ นการทำาสิ่ งที่คนปรารถนา และเขาไม่ได้ปรารถนาที่จะตกลงไปในแม่น้าำ แต่เมื่อ ใดก็ตามที่ไม่มีอนั ตรายที่แน่นอน มีแต่อนั ตรายของปั ญหาข้อยุง่ ยากเล็กน้อย ไม่มีใครอื่นนอกจาก ตัวเขาเองที่สามารถตัดสิ นว่าเขามีแรงจูงใจพอจะกระตุน้ ให้เขารับความเสี่ ยงหรื อไม่ ดังนั้น ใน กรณีน้ ี (นอกเสี ยจากว่าเขาเป็ นเด็ก เสี ยสติ หรื ออยูใ่ นความตื้นเต้นจนขาดการพิจารณาไตร่ ตรอง) ผมเห็นว่า เขาก็ควรแค่ได้รับคำาเตือนถึงอันตราย ไม่ใช่ถูกใช้อาำ นาจบังคับไม่ให้เอาตัวเองไปเสี่ ยง เมื่อเอาข้อพิจารณาแบบเดียวกันมาใช้กบั คำาถามเรื่ องการขายยาพิษ ก็อาจช่วยเราในการตัดสิ นได้วา่ ในบรรดากฎระเบียบต่างๆ ที่เป็ นไปได้ อันไหนขัดหรื อไม่ขดั กับหลักการ ตัวอย่างเช่น อาจมีการ บังคับให้ปิดฉลากด้วยคำาอธิบายถึงคุณสมบัติอนั ตรายของมัน โดยไม่เป็ นการละเมิดต่อเสรี ภาพ เพราะเป็ นไปไม่ได้ที่ผซู้ ้ื อจะไม่ปรารถนาจะรู ้วา่ สิ่ งที่เขาครอบครองนั้นมีคุณสมบัติเป็ นพิษ แต่การ บังคับให้มีใบรับรองจากแพทย์ในทุกกรณี อาจจะทำาให้การได้สิ่งที่ตอ้ งการ แม้สาำ หรับมาใช้ใน ทางที่ถูกที่ควร ก็อาจเป็ นไปไม่ได้ในบางครั้ง และทำาให้เป็ นสิ่ งที่แพงเกินจำาเป็ นเสมอ วิธีเดียวที่จะ ใช้ขวางอาชญากรรมที่อาศัยยาพิษเป็ นเครื่ องมือ ที่ชดั เจนว่าไม่เป็ นการละเมิดเสรี ภาพของผูท้ ี่ ปรารถนาสารพิษเพื่อการอื่น ก็คืออาศัยสิ่ งที่เบนธัม (Bentham) เรี ยกว่า “พยานหลักฐานที่กาำ หนด ไว้ล่วงหน้า” ข้อกำาหนดนี้เป็ นที่คุน้ เคยสำาหรับทุกคนในเรื่ องการทำาสัญญาตามกฎหมาย เป็ นเรื่ อง
84
ปกติวา่ เมื่อมีการทำาสัญญา กฎหมายจะบังคับว่ามันจะบังคับใช้ได้กต็ ่อเมื่อมีการดำาเนินการใน พิธีการบางอย่าง อย่างเช่น การลงลายมือชื่อ การมีพยานรับรู ้ และอะไรอื่นบางอย่าง เพื่อที่วา่ เมื่อ เกิดมีขอ้ พิพาทตามมา จะได้มีประจักษ์พยานมาพิสูจน์วา่ มีการทำาสัญญาจริ ง และไม่มีอะไรใน เงื่อนไขแวดล้อมที่ทาำ ให้มนั ไม่มีผลทางกฎหมาย ซึ่งก็เป็ นไปเพื่อที่จะป้ องกันสัญญาปลอม หรื อ สัญญาที่ทาำ ภายใต้เงื่อนไขซึ่งหากเป็ นที่รู้ ก็จะทำาให้มนั เป็ นโมฆะ อาจมีการบังคับให้ทาำ ในสิ่ งแบบ เดียวกันในการซื้ อขายสิ่ งที่อาจเป็ นเครื่ องมือของอาชญากร เช่น ผูข้ ายอาจถูกบังคับให้ลงทะเบียน วันเวลาที่แน่นอนของการซื้ อขาย ชื่อและที่อยูข่ องผูซ้ ้ื อ คุณภาพและปริ มาณที่แน่นอนของการซื้ อ ขาย ให้ผขู ้ ายถามผูซ้ ้ื อว่ามีวตั ถุประสงค์อนั ใด และบันทึกคำาตอบที่ได้รับ เมื่อไม่มีใบสัง่ ยา อาจ บังคับให้ตอ้ งมีบุคคลที่สามมาปรากฏตัว เพื่อให้ตามถึงตัวผูซ้ ้ื อได้ ในกรณี ที่เกิดมีเหตุผลภายหลัง ให้เชื่อว่าสิ่ งของถูกใช้ในการก่ออาชญากรรม โดยทัว่ ไปแล้ว ระเบียบดังกล่าวไม่ควรจะเป็ น อุปสรรคต่อการได้ตวั วัตถุสิ่งของ แต่กค็ วรจะเป็ นอุปสรรคต่อการใช้ในทางไม่ถูกต้องอย่าง ปราศจากการตรวจสอบ 5.6 สิ ทธิของสังคมที่จะป้ องกันตนเองจากอาชญากรรมด้วยการระวังล่วงหน้า ชี้ถึงข้อจำากัดที่ ชัดเจนของหลักเสรี ภาพ ที่วา่ การกระทำาผิดที่เป็ นเรื่ องของตนเองไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องที่จะเข้า แทรกแซงเพื่อการป้ องกันหรื อการลงโทษ ตัวอย่างเช่น ในกรณี ปกติแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมที่จะ แทรกแซงทางกฎหมายต่อการเมาสุรา แต่ผมขอยืนยันว่า สำาหรับบุคคลผูซ้ ่ ึงเคยถูกตัดสิ นครั้ งหนึ่ง แล้ว ว่ากระทำาผิดด้วยการประทุษร้ายต่อผูอ้ ื่นจากอิทธิ พลของเหล้า ย่อมเป็ นเรื่ องถูกต้องอย่างยิง่ ที่ ว่าเขาควรต้องอยูภ่ ายใต้ขอ้ จำากัดทางกฎหมายที่กาำ หนดขึ้นมาพิเศษเฉพาะสำาหรับเขา ว่าถ้าเขาเมา สุ ราขึ้นมาอีกเมื่อใด เขาจะต้องถูกลงโทษ และถ้าในสภาพเมาสุ รา เขาประทุษร้ายผูอ้ ื่นอีก การ ลงโทษที่เขาควรได้รับจากการประทุษร้ายนั้นก็ควรจะทวีความรุ นแรงขึ้น นัน่ ก็คือ สำาหรับคนซึ่ง การเมาสุ รากระตุน้ ให้ทาำ ร้ายผูอ้ ื่น การทำาให้ตวั เองเมาสุ ราย่อมเป็ นอาชญากรรมต่อผูอ้ ื่น และเช่น กัน ความเกียจคร้าน ยกเว้นแต่กบั บุคคลที่รับความช่วยเหลือจากสังคม หรื อยกเว้นแต่เมื่อเป็ นการ ละเมิดสัญญาทางกฎหมาย ย่อมเป็ นการใช้อาำ นาจอย่างเผด็จการ หากจะลงโทษเขาทางกฎหมาย แต่ถา้ คนผูห้ นึ่ง ด้วยเหตุแห่งความเกียจคร้าน หรื อด้วยเหตุที่สามารถหลีกเลี่ยงได้อื่นบางอย่าง ไม่ อาจทำาหน้าที่ตามกฎหมายของเขาต่อผูอ้ ื่น เช่นไม่อาจดูแลบุตรของตน ย่อมไม่ใช่เผด็จการแต่อย่าง ใด ที่จะใช้อาำ นาจบังคับให้เขาทำางาน เพื่อให้เขาปฏิบตั ิตามพันธะของตน หากไม่มีวิธีอื่นอีกแล้ว ให้ใช้ 5.7 นอกจากนั้น ยังมีการกระทำาหลายๆ อย่างที่ทาำ ร้ายโดยตรงก็เพียงกับผูท้ าำ ที่กฎหมายไม่ ควรเข้าไปห้าม แต่ถา้ หากกระทำาต่อหน้าสาธารณชน ก็จะเป็ นการละเมิดต่อมารยาทอันดีงาม และ ดังนั้นก็จะเปลี่ยนไปเป็ นการทำาผิดต่อผูอ้ ื่น ซึ่งย่อมถูกต้องที่จะถูกห้าม นี่เป็ นการทำาผิดต่อความ เป็ นสุ ภาพชน ซึ่งไม่จาำ เป็ นจะต้องสาธยาย นี่เป็ นความผิดที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่ องของเราก็แต่โดย
85
อ้อม ข้อโต้แย้งต่อการกระทำาต่อหน้าสาธารณชน ก็มีนาหนั ้ ำ กเท่าๆ กัน ในหลายกรณี ของการกระ ทำาที่ดว้ ยตัวของมันเองแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่น่าตำาหนิ และก็ไม่ควรคิดว่าน่าตำาหนิ 5.8 มีอีกคำาถามหนึ่ง ที่เราจะต้องหาคำาตอบให้สอดคล้องกับหลักการที่เสนอมา ในกรณี ของ การกระทำาส่วนตัวซึ่งถือกันว่าน่าตำาหนิ แต่หลักเสรี ภาพห้ามไม่ให้สงั คมป้ องกันหรื อลงโทษมัน เพราะว่าความชัว่ ร้ายทั้งหมดตกแก่ผกู ้ ระทำาเอง สิ่ งใดก็ตามที่คนมีอิสระที่จะทำา คนอื่นก็ควรมีอิส ระเท่าๆ กันที่จะขอคำาปรึ กษาหรื อที่จะยุยงส่ งเสริ มหรื อไม่ ? นี่เป็ นคำาถามที่ยงุ่ ยาก การที่คนยุยงคน อื่นให้กระทำาสิ่ งหนึ่งไม่ใช่ความประพฤติที่เกี่ยวข้องแต่กบั ตัวเขาเอง การให้คาำ แนะนำาหรื อการ พูดจาชักจูงเป็ นการกระทำาทางสังคม และดังนั้น ย่อมอาจถือว่าต้องอยูใ่ ต้การควบคุมของสังคม เหมือนการกระทำาทัว่ ๆ ไปที่กระทบต่อผูอ้ ื่น แต่เมื่อไตร่ ตรองดูสกั นิดก็จะรู ้วา่ ไม่ถูกต้องที่จะคิด เช่นนั้น เพราะแม้กรณีน้ ี จะไม่อยูใ่ นนิยามของเสรี ภาพของปั จเจก แต่เหตุผลที่รองรับหลักเสรี ภาพ ของปัจเจกก็รองรับกรณีเช่นนี้ ดว้ ย ถ้าคนต้องได้รับอนุญาต ในอะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวข้องแต่ตวั พวกเขาเอง ให้กระทำาตามอะไรที่ดูเหมือนว่าดีที่สุดสำาหรับพวกเขา พวกเขาก็ตอ้ งมีอิสระเท่าๆ กัน ที่จะปรึ กษากันและกันว่าอะไรเหมาะที่จะทำา ที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ที่จะให้และรับข้อเสนอ แนะระหว่างกัน อะไรก็แล้วแต่ที่ได้รับอนุญาตให้ทาำ ก็ตอ้ งได้รับอนุญาตให้เสนอแนะให้ทาำ เรื่ อง นี้จะเป็ นที่น่าสงสัยก็ต่อเมื่อผูส้ ่งเสริ มได้รับผลกำาไรส่ วนตัวจากคำาแนะนำาของตน นัน่ คือ เมื่อเขา ำ ทำามันเป็ นอาชีพเลี้ยงตัว หรื อหาความร่ ารวยด้ วยการสนับสนุนสิ่ งที่สงั คมและรัฐถือว่าชัว่ ร้าย แต่ เรื่ องก็ยอ่ มจะซับซ้อนยิง่ ขึ้น เพราะจะมีกลุ่มบุคคลที่ผลประโยชน์ของพวกเขาขัดกับความผาสุ ก ของสังคม และวิถีชีวิตของพวกเขาตั้งอยูบ่ นการต่อต้านสังคม นี่เป็ นเรื่ องที่ควรเข้าแทรกแซงหรื อ ไม่? ตัวอย่างเช่น การพนันและการผิดประเวณี เป็ นเรื่ องที่ตอ้ งปล่อยให้ผคู ้ นมีอิสระ แต่บุคคลควร จะมีอิสระที่จะเป็ นผูจ้ ดั หาโสเภณี หรื อเป็ นเจ้าของบ่อนการพนันหรื อไม่? นี่เป็ นหนึ่งในกรณี ที่วาง อยูบ่ นเส้นแบ่งระหว่างสองหลักการ ซึ่งไม่ชดั เจนว่าจริ งๆ แล้วมันอยูฝ่ ั่งไหน มีการอ้างเหตุผลจาก ทั้งสองฝ่ าย ในฝ่ ายของการยอมอนุญาต อาจกล่าวว่า การยึดอะไรบางอย่างเป็ นอาชีพ การดำาเนิน ชีวิตหรื อการหาผลกำาไรจากการทำาสิ่ งนั้น ย่อมไม่ทาำ ให้มนั กลายเป็ นอาชญากรรมขึ้นมา หากสิ่ ง นั้นเป็ นสิ่ งที่ได้รับอนุญาต และอาจกล่าวว่า การกระทำาหนึ่งควรจะได้รับอนุญาตหรื อไม่กถ็ ูกห้าม อย่างใดอย่างหนึ่ง และอย่างคงเส้นคงวา และว่า ถ้าหลักการที่เราปกป้ องมาจนถึงบัดนี้ เป็ นจริ ง สังคมในฐานะสังคม ไม่มีหน้าที่ตดั สิ นว่าอะไรผิดในเรื่ องที่เกี่ยวข้องก็แต่กบั ปั จเจกเท่านั้น และว่า สังคมไม่อาจทำามากไปกว่าการหว่านล้อมบุคคลไม่ให้ทาำ รวมทั้งอาจกล่าวว่าบุคคลคนหนึ่งควรมี อิสระที่พดู ให้เห็นว่าสิ่ งหนึ่งดี เท่ากับที่คนอื่นมีอิสระจะพูดให้เห็นว่าสิ่ งนั้นเลว ในทางตรงกันข้าม ก็อาจมีการโต้วา่ แม้วา่ ไม่ใช่เรื่ องที่ถูกต้องที่สาธารณชนหรื อรัฐจะใช้อาำ นาจมาตัดสิ น เพื่อการปิ ด กั้นหรื อลงโทษ ว่าการกระทำาที่กระทบก็แต่ประโยชน์สุขของปั จเจกเอง เป็ นสิ่ งดีหรื อสิ่ งเลว แต่ สาธารณชนหรื อรัฐก็ถูกต้องด้วยเหตุผลอย่างยิง่ ที่จะถือว่า ถ้าพวกเขาคิดว่าความประพฤติหนึ่งเลว การที่มนั เลวจริ งหรื อไม่จริ ง ก็เป็ นคำาถามที่โต้เถียงกันได้ และด้วยการถือเช่นนี้ พวกเขาก็ไม่
86
กระทำาผิด ในการพยายามที่จะกันอิทธิพลของผูย้ ยุ งส่ งเสริ ม ซึ่งไม่ใช่ผเู ้ ป็ นกลาง แต่เป็ นผูม้ ีผล ประโยชน์โดยตรงกับฝ่ ายหนึ่ง อันเป็ นฝ่ ายที่รัฐเชื่อว่าผิด และเป็ นผูซ้ ่ ึงเห็นได้ชดั ว่าสนับสนุน ความประพฤติน้ นั ก็เพื่อผลได้ส่วนตัวเท่านั้น อาจมีการเน้นว่า ไม่มีอะไรเสี ยหายอย่างแน่นอน ไม่มีความดีงามใดที่ตอ้ งสละทิ้งไป ที่จะมีการจัดระเบียบในเรื่ องราวต่าง ในทางที่ทาำ ให้บุคคลใช้ สิ ทธิ์ เลือกตั้งไปตามความพอใจของพวกเขาเองจริ งๆ ไม่วา่ จะอย่างฉลาดหรื อโง่เขลา อย่างเป็ น ำ อิสระที่สุดเท่าที่จะเป็ นไปได้ จากเล่ห์เหลี่ยมของคนซึ่งพยายามกระตุน้ ธรรมชาติฝ่ายต่าของพวก เขาเพื่อเป้ าหมายที่เป็ นผลได้ของผูก้ ระตุน้ นั้นเอง ฉะนั้น (อาจกล่าวได้วา่ ) แม้วา่ จะหาเหตุผลมาร องรับพระราชบัญญัติวา่ ด้วยกีฬาที่ผิดกฎหมายไม่ได้ นัน่ ก็คือ แม้วา่ บุคคลทั้งหลายควรจะมีอิสระ ที่จะเล่นพนันในบ้านของตนเอง หรื อในสถานที่พบปะสังสรรค์ใดๆ ก็ตามที่ก่อตั้งขึ้นโดยการเป็ น สมาชิกของพวกเขาเอง และเปิ ดเฉพาะสมาชิกและแขกของเขาเท่านั้น กระนั้น ก็ไม่ควรอนุญาตให้ มีบ่อนการพนันสาธารณะ เป็ นความจริ งว่าการห้ามไม่เคยมีผลอย่างแท้จริ ง และไม่วา่ ตำารวจจะได้ รับอำานาจเบ็ดเสร็ จมากสักแค่ไหน บ่อนการพนันก็ยงั เปิ ดอยูไ่ ด้เสมอภายใต้หน้าฉากอื่น แต่บ่อน การพนันอาจถูกบังคับให้ดาำ เนินกิจการอย่างปกปิ ดลี้ลบั ในระดับหนึ่ง เพื่อไม่ให้ใครรู ้นอกจากคน ผูซ้ ่ ึงเสาะแสวงหามันจริ งๆ และสังคมก็ไม่ควรจะมุ่งหวังอะไรมากไปกว่านั้น เหตุผลและข้ออ้าง พวกนี้มีนาหนั ้ ำ กอยูพ่ อประมาณ และผมไม่ขอเสี่ ยงตัดสิ นว่าเหตุผลเหล่านั้นพอเพียงหรื อไม่ ที่จะ ใช้รองรับความผิดปกติทางศีลธรรมของการลงโทษผูส้ มรู ้ร่วมคิดในการทำาผิด ในขณะที่จาำ เลย หลักกลับถูกปล่อย (และต้องถูกปล่อย) ให้เป็ นอิสระ ของการปรับหรื อจำาคุกผูจ้ ดั หาโสเภณี และ เจ้าของบ่อน แต่ไม่เอาโทษผูเ้ ที่ยวโสเภณีและนักพนัน และไม่ควรอย่างยิง่ ที่การกระทำาร่ วมกันของ การซื้อและการขายจะถูกแทรกแซงด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน สิ่ งของเกือบทุกสิ่ งทุกอย่างที่ซ้ื อขาย กันอาจถูกใช้อย่างเกินควรหรื อเกินจำาเป็ น และผูข้ ายย่อมมีผลประโยชน์ทางการเงินกับการส่ ง เสริ มการใช้อย่างเกินเลย แต่กไ็ ม่มีขอ้ โต้เถียงใดที่อาจสร้างขึ้นจากประเด็นนี้ ที่จะมาสนับสนุนกฎ หมายอย่างของรัฐเมน เพราะว่าผูค้ า้ ขายเครื่ องดื่มมึนเมา แม้จะมีผลประโยชน์อยูใ่ นการกินดื่ม อย่างเกินขนาด แต่กเ็ ป็ นคนพวกที่จาำ เป็ นต้องมีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำาหรับที่คนอื่นจะได้เครื่ อง ดื่มมาใช้อย่างถูกต้องพอประมาณ อย่างไรก็ตาม ความสนใจของพวกพ่อค้าที่จะส่ งเสริ มให้คนดื่ม สุ ราอย่างเกินประมาณก็เป็ นความชัว่ ร้ายอย่างแท้จริ ง และเป็ นเหตุผลรองรับให้กบั การที่รัฐจะออก ำ ข้อจำากัดและเรี ยกร้องการค้าประกั น ซึ่งถ้าไม่ใช่เพราะเหตุผลนั้น ก็จะเป็ นการล่วงละเมิดต่อ เสรี ภาพอันชอบธรรมของบุคคล 5.9 คำาถามต่อไปก็คือ แม้วา่ รัฐจะอนุญาตให้บุคคลประพฤติในสิ่ งที่ขดั แย้งกับประโยชน์ สูงสุ ดของตน แต่ควรหรื อไม่ที่รัฐจะห้ามปรามมันในทางอ้อม เช่น ควรหรื อไม่ที่รัฐจะสร้าง มาตรการที่จะทำาให้เครื่ องดื่มมึนเมามีราคาแพงขึ้น หรื อเพิ่มความยากลำาบากในการซื้ อหาด้วยการ จำากัดจำานวนสถานที่จาำ หน่าย? คำาถามนี้เช่นเดียวกับคำาถามที่เป็ นเรื่ องเชิงปฏิบตั ิอื่นๆ จำาเป็ นที่จะ ต้องมีการแยกแยะหลายประการ การตั้งภาษีกบั สารกระตุน้ เพียงเพื่อให้มนั หาซื้ อได้ยากขึ้น แตก
87
ต่างจากการห้ามมันโดยสิ้ นเชิงเพียงเล็กน้อย และจะมีเหตุผลอันสมควรก็ต่อเมื่อเรื่ องนั้นเองก็มี เหตุผลอันสมควร การเพิ่มราคาทุกครั้งคือการห้ามสำาหรับผูท้ ี่มีรายได้ไม่พอกับราคาที่เพิ่มขึ้น และ สำาหรับคนที่มีรายได้พอ มันคือการลงโทษที่กระทำาต่อเขา สำาหรับการสนองความต้องการในรสนิ ยมหนึ่งๆ ของตน ทางเลือกในการหาความสุ ขของผูค้ น และรู ปแบบในการใช้จ่ายรายได้ของพวก เขา หลังจากที่ตอบสนองพันธะทางศีลธรรมและทางกฎหมายที่มีต่อรัฐและต่อปั จเจกอื่นๆ แล้ว ย่อมเป็ นเรื่ องของพวกเขาเอง และต้องตั้งอยูบ่ นการวินิจฉัยของพวกเขาเอง ข้อพิจารณาพวกนี้ อาจ ดูเผินๆ เหมือนจะประณามการเลือกสารกระตุน้ มาเป็ นกรณี พิเศษที่จะเก็บภาษีมาบำารุ งรัฐ แต่กต็ อ้ ง จำาไว้วา่ การเก็บภาษีมาเป็ นรายได้ของแผ่นดินเป็ นเรื่ องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และในเกือบทุกประเทศ เป็ นเรื่ องจำาเป็ นว่าบางส่วนควรเป็ นการเก็บภาษีโดยอ้อม และดังนั้นแล้ว รัฐจึงช่วยไม่ได้ที่จะต้อง ลงโทษคนบางคนสำาหรับการบริ โภคสิ นค้าบางอย่าง และสำาหรับบางคนอาจเป็ นการห้ามเสี ยด้วย ซ้าำ ฉะนั้น จึงเป็ นหน้าที่ของรัฐที่จะพิจารณาสำาหรับการกำาหนดภาษี ว่าสิ นค้าอะไรที่ผบู ้ ริ โภคต้อง มีเก็บไว้ใช้ และเลือกเอาสิ นค้าที่รัฐตัดสิ นว่าการใช้มนั เป็ นอันตรายนอกเสี ยจากในปริ มาณที่เล็ก น้อย ดังนั้นการเก็บภาษีสารกระตุน้ ในระดับที่สร้างรายได้ให้กบั รัฐอย่างสูงที่สุด (สมมติวา่ รัฐ จำาเป็ นที่ตอ้ งมีรายทั้งหมดที่ตนเองหาได้) ไม่เพียงแต่เป็ นสิ่ งที่ยอมรับได้ แต่เป็ นสิ่ งที่ตอ้ งเห็นชอบ ด้วย 5.10 ปัญหาที่วา่ ควรทำาให้การขายสิ นค้าพวกนี้ เป็ นสิ ทธิ ที่จาำ กัดเฉพาะมากขึ้นหรื อน้อยลง ต้อง ให้คาำ ตอบแตกต่างกันไปตามจุดมุ่งหมายว่าออกข้อจำากัดมาเพื่ออะไร สถานที่พกั ผ่อนหย่อนใจ สาธารณะต้องมีการควบคุมจากเจ้าหน้าที่ตาำ รวจอย่างเป็ นพิเศษ เพราะการฝ่ าฝื นกฎหมายมักเริ่ ม เกิดที่นนั่ ดังนั้น จึงสมควรที่จะจำากัดอำานาจในการขายสิ นค้าพวกนี้ (อย่างน้อยที่สุดก็สาำ หรับการ บริ โภค ณ จุดนั้น) ให้กบั บุคคลที่เป็ นที่รู้จกั หรื อได้รับการรับรองว่าเป็ นผูม้ ีความประพฤติดี และ สมควรที่จะกำาหนดระเบียบว่าด้วยเวลาเปิ ดปิ ด ตามที่จาำ เป็ นสำาหรับการระวังความปลอดภัยแก่คน ำ จากความ ทัว่ ไป ตลอดจนสมควรที่จะถอนใบอนุญาต ถ้ามีการทำาลายความสงบสุ ขเกิดขึ้นซ้าๆ ละเลยหรื อความไร้ประสิ ทธิภาพของผูด้ ูแลร้าน หรื อถ้าร้านนั้นกลายเป็ นสถานที่นบั พบเพื่อการเต รี ยมการละเมิดกฎหมาย ข้อบังคับอื่นๆ ที่เหนือไปจากนี้ โดยหลักการแล้ว ผมไม่เห็นว่าสมควรแก่ เหตุผล ตัวอย่างเช่น การจำากัดจำานวนร้านเบียร์ และสุ รา เพื่อทำาให้หาซื้ อได้ยากขึ้น และลดโอกาส ที่คนจะถูกชักจูงให้บริ โภค ไม่เพียงแต่ทาำ ให้คนทั้งหมดขาดความสะดวก เพียงเพราะคนบางคนใช้ ความสะดวกนี้ไปในทางที่ผิด แต่ยงั เหมาะก็แต่เฉพาะกับสังคมที่ผใู ้ ช้แรงงานถูกถือตรงๆ ว่าเป็ น เด็กหรื อเป็ นคนที่ยงั ป่ าเถื่อน ที่จะต้องได้รับการอบรมให้รู้จกั ควบคุมตนเอง เพื่อให้เหมาะที่จะได้ รับอนุญาตให้มีเสรี ภาพต่อไปในอนาคต นี่ไม่ใช่หลักการที่ประเทศเสรี ใดๆ ประกาศว่าใช้ในการ ปกครองผูใ้ ช้แรงงาน และไม่มีบุคคลใดที่ยกย่องเสรี ภาพจะยอมรับให้พวกเขาถูกปกครองด้วยวิธี เช่นนั้น นอกเสี ยจากว่า ได้มีการใช้ความพยายามทุกประการที่จะสอนพวกเขาในเรื่ องเสรี ภาพ และที่จะปกครองพวกเขาในฐานะเสรี ชน แต่พวกเขาก็ยงั พิสูจน์ตวั เองให้เห็นว่าสมควรถูก
88
ปกครองแบบเด็กๆ เท่านั้น เป็ นเรื่ องไร้สาระที่จะคิดว่าเคยมีความพยายามเช่นนั้นในกรณี ใดๆ ที่ จำาเป็ นต้องถูกพิจารณาในที่น้ ี และเป็ นเพราะว่าสถาบันทางสังคมต่างๆ ในประเทศนี้ ไม่สอดคล้อง คงเส้นคงวาเท่านั้นเอง ที่ทาำ ให้สิ่งซึ่งอยูใ่ นระบบเผด็จการ หรื อในระบบที่เรี ยกว่าปิ ตาธิ ปไตย ได้ ถูกยอมรับเข้ามาอยูใ่ นการปฏิบตั ิของพวกเรา ในขณะที่เสรี ภาพทัว่ ไปของสถาบันทางสังคมของ เรา กันไม่ให้มีการใช้อาำ นาจควบคุม ที่จาำ เป็ นที่จะทำาให้เกิดการควบคุมตนเองอย่างมีประสิ ทธิ ภาพ ที่ถือว่าเป็ นการอบรมสัง่ สอนทางศีลธรรม 5.11 ได้ช้ ีไว้แต่ตน้ ของงานชิ้นนี้แล้วว่า เสรี ภาพของปั จเจกในสิ่ งซึ่งเกี่ยวข้องแต่กบั ปั จเจกผูน้ ้ นั เอง ย่อมตามมาด้วยเสรี ภาพอย่างเดียวกันในปั จเจกจำานวนใดก็ตาม ที่จะตกลงร่ วมกันในการจัด ระเบียบสิ่ งใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาร่ วมกัน และไม่เกี่ยวข้องกับผูอ้ ื่น ประเด็นนี้ ไม่มีความยุง่ ยากตราบใดที่เจตจำานงของผูเ้ ข้าร่ วมไม่เปลี่ยนแปลง แต่เนื่องจากเจตจำานงนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไป จึงมักจำาเป็ นว่าพวกเขาควรจะทำาพันธะสัญญาต่อกันแม้แต่ในสิ่ งซึ่งเกี่ยวข้องก็แต่กบั พวกเขาเอง และเมื่อพวกเขาทำาพันธะสัญญาต่อกันแล้ว ก็ยอ่ มสมควรถือเป็ นกฎทัว่ ไปว่าพันธะสัญญาเหล่านั้น ต้องได้รับการรักษาไว้ กระนั้น ในกฎหมายของทุกประเทศ กฎทัว่ ไปนี้กอ็ าจมีขอ้ ยกเว้น ไม่เพียง แค่วา่ บุคคลไม่อาจร่ วมกันทำาสัญญาที่ละเมิดสิ ทธิ ของฝ่ ายที่สาม แต่บางครั้งก็ถือว่าเป็ นเหตุผล เพียงพอที่จะปลดปล่อยพวกเขาจากพันธะสัญญา หากสัญญานั้นนำาไปสู่อนั ตรายต่อพวกเขาเอง ตัวอย่างเช่น ในประเทศนี้ และในอารยประเทศทั้งหลาย สัญญาที่บุคคลขายตนเอง หรื อยินยอมให้ ตนเองถูกขายเป็ นทาส ย่อมเป็ นโมฆะไร้ผล ไม่ถูกบังคับไม่วา่ จะโดยกฎหมายหรื อโดยทัศนคติ ของผูค้ น พื้นฐานสำาหรับการจำากัดอำานาจในการที่คนสมัครใจขายชีวิตตนเองย่อมปรากฏให้เห็น อย่างชัดเจน เหตุผลที่จะไม่เข้าแทรกแซงการกระทำาโดยสมัครใจของเขา นอกจากเพื่อประโยชน์ สุ ขของคนอื่น ก็คือการให้ความสำาคัญกับเสรี ภาพของเขา การสมัครใจเลือกของเขาคือพยานหลัก ฐานว่าสิ่ งที่เขาเลือกเป็ นสิ่ งที่น่าปรารถนาสำาหรับเขา หรื ออย่างน้อยก็เป็ นสิ่ งที่เขาทนได้ และโดย รวมๆ แล้วเขาจะได้สิ่งที่ดีงามสำาหรับตัวเองอย่างดีที่สุด ก็ดว้ ยการปล่อยให้เขาแสวงหามันด้วยวิธี การของเขาเอง แต่ดว้ ยการขายตัวเองไปเป็ นทาส เขาสละเสรี ภาพของเขา เขาเสี ยโอกาสที่จะใช้ เสรี ภาพทั้งหมดในอนาคตหลังจากการกระทำาเพียงแค่ครั้ งหนึ่งนั้น เขาจึงทำาลายตัวเป้ าหมายซึ่ง เป็ นเหตุผลให้กบั การอนุญาตให้เขาเอาตัวเองเข้าแลก เขาไม่มีอิสระอีกต่อไป แต่ต่อจากนั้นแล้ว ก็ อยูใ่ นภาวะซึ่งไม่มีขอ้ เหตุผลที่จะมาอ้างเป็ นข้อดีให้กบั เสรี ภาพอีกต่อไป ซึ่งเป็ นเหตุผลอย่างที่เขา อาจได้มาด้วยการที่เขาสมัครใจมีเสรี ภาพต่อไป หลักแห่ งเสรี ภาพไม่อาจเรี ยกร้องว่าเขาควรมี อิสระที่จะไม่เป็ นอิสระ เขาไม่มีเสรี ภาพที่จะทำาให้ตนเองแปลกแยกจากเสรี ภาพ เหตุผลพวกนี้ ซึ่ง ำ กของมันชัดเจนอยูใ่ นกรณีพิเศษนี้ เห็นได้ชดั ว่าสามารถประยุกต์ได้อย่างกว้างขวาง น้าหนั อย่างไรก็ตาม ความจำาเป็ นต่างๆ ของชีวิต ก็กาำ หนดขอบเขตให้กบั เหตุผลพวกนี้ ในทุกๆ เรื่ อง ซึ่ง เรี ยกร้องตลอดเวลา มิใช่ให้เราสละเสรี ภาพของเราจริ งๆ แต่ให้เรายอมรับต่อขอบเขตนี้ และ ขอบเขตอื่นของเสรี ภาพ หลักการซึ่งเรี ยกร้องอิสรภาพอย่างไร้การควบคุมในทุกเรื่ องที่เกี่ยว
89
เฉพาะต่อบุคคลนั้นเอง เรี ยกร้องว่าบรรดาคนที่เข้ามาผูกพันต่อกัน ในสิ่ งที่ไม่เกี่ยวกับฝ่ ายที่สาม ควรสามารถที่จะปลดปล่อยกันและกันออกจากพันธะสัญญา และแม้เมื่อไม่มีการปลดปล่อยโดย สมัครใจ ก็อาจจะไม่มีพนั ธะสัญญาหรื อการตกลงใด ยกเว้นก็แต่ในเรื่ องเงินหรื อสิ่ งที่มีค่าเป็ นเงิน ที่คนจะกล้ากล่าวว่าไม่ควรมีเสรี ภาพใดๆ ทั้งสิ้ นในการบอกยกเลิก ในงานชิ้นเยีย่ มที่ผมเคยกล่าว ถึงมาแล้ว บารอน วิลเฮล์ม วัน ฮัมโบลด์ท์ กล่าวด้วยความเชื่อมัน่ ว่า การตกลงซึ่ งเกี่ยวพันไปถึง การบริ การหรื อความสัมพันธ์ส่วนตัว ไม่ควรจะผูกพันทางกฎหมายเกินกว่าระยะเวลาที่กาำ หนดไว้ เป็ นอันขาด และกล่าวว่า สำาหรับการแต่งงานที่เป็ นการตกลงปลงใจที่สาำ คัญที่สุด ซึ่งมีความพิเศษ ตรงที่ เป้ าหมายของสัญญาย่อมล้มเหลวหากความรู ้สึกของทั้งสองฝ่ ายไม่ตรงกัน ไม่ควรจะ ต้องการอะไรมากไปกว่าการประกาศเจตจำานงของฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่งว่าขอยุติขอ้ สัญญา นี่เป็ นเรื่ องที่ สำาคัญและซับซ้อนเกินกว่าที่อภิปรายรวบๆ และผมยกขึ้นมาเพียงเท่าที่จาำ เป็ นต่อการแสดงให้เห็น ภาพเท่านั้น ถ้าไม่ใช่เพราะว่าบารอน ฮัมโบลด์ท์ ต้องการเสนอญัตติของเขาอย่างรวบรัดและ กว้างๆ จนเขาไม่ถูกผูกมัดให้ตอ้ งอภิปรายข้ออ้างข้อสรุ ปของเขา อย่างละเอียดแล้วละก็ เขาก็น่าจะ รู ้วา่ ไม่อาจตัดสิ นเรื่ องนี้ บนพื้นฐานอย่างง่ายๆ อย่างที่เขาจำากัดตัวเองไว้ เมื่อบุคคลหนึ่งไม่วา่ จะ ด้วยคำาพูดหรื อการกระทำา กระตุน้ อีกคนหนึ่งให้เชื่อใจต่อการที่เขาจะยึดมัน่ กระทำาต่อไปในทาง หนึ่งๆ นัน่ คือ ถ้าเขาสร้างให้คนอีกคนหนึ่งเกิดความคาดหวังและการคิดคำานวณ และผูกแผนการ ส่ วนใดส่วนหนึ่งของชีวิตเข้ากับการคิดเช่นนั้น เมื่อนั้นแล้ว เขาย่อมมีพนั ธะทางศีลธรรมใหม่ต่อ บุคคลนั้น ซึ่งแม้อาจถูกหักล้างได้ แต่กไ็ ม่อาจถูกละเลย และเช่นกัน ถ้าความสัมพันธ์ระหว่างคู่ สัญญาทั้งสองฝ่ าย มีผลตามมาต่อคนอื่น ถ้ามันทำาให้ฝ่ายที่สามเข้ามาอยูใ่ นฐานะอันพิเศษ หรื อ อย่างเช่นในกรณีของการแต่งงาน เป็ นสิ่ งที่ทาำ ให้ฝ่ายที่สามเกิดมีตวั มีตนขึ้นมา พันธะหน้าที่ต่อ ฝ่ ายที่สามย่อมเกิดขึ้นต่อคู่สญ ั ญาทั้งสอง ซึ่งการตอบสนอง หรื อรู ปแบบของการตอบสนอง ต่อ พันธะหน้าที่น้ นั ต้องถูกกระทบอย่างหนักจากความต่อเนื่องหรื อความแตกสลายของความ สัมพันธ์ระหว่างคู่สญ ั ญาทั้งสอง ไม่ใช่วา่ พันธะหน้าที่เหล่านี้ บงั คับให้คู่สญ ั ญาต้องคงความ สัมพันธ์ไว้ ไม่วา่ ฝ่ ายหนึ่งจะสูญเสี ยความสุ ขมากแค่ไหน แต่พวกมันก็เป็ นองค์ประกอบของ ประเด็นที่ตอ้ งพิจารณา และแม้นว่าหน้าที่ต่อฝ่ ายที่สามจะไม่สร้างความแตกต่างให้กบั เสรี ภาพ ตามกฎหมายที่จะปลดเปลื้องตัวเองออกจากสัญญา ซึ่งนี่คือสิ่ งที่วนั ฮัมโบลด์ทถ์ ือ (และผมก็ถือ ด้วยว่ามันไม่ควรสร้างความแตกต่างมากนัก) แต่หน้าที่ต่อฝ่ ายที่สามก็สร้างความแตกต่างอย่างยิง่ ในเสรี ภาพตามหลักศีลธรรม บุคคลต้องเอาสภาวะแวดล้อมทั้งหมดนี้มาพิจารณา ก่อนที่จะตัดสิ น ใจเลือกทางที่กระทบต่อประโยชน์สุขที่สาำ คัญเช่นนั้นของคนอื่น และถ้าเขาไม่ให้ความสำาคัญมาก พอต่อผลประโยชน์เหล่านั้น เขาย่อมต้องมีความรับผิดชอบทางศีลธรรมต่อความผิด นี่เป็ นเรื่ องที่ ชัดแจ้ง ซึ่งผมยกขึ้นมาพูดเพื่อให้เห็นภาพของหลักการทัว่ ไปในเรื่ องเสรี ภาพได้ดียิง่ ขึ้น ไม่ใช่ เพราะว่าปัญหาระหว่างพ่อแม่มกั ถูกพิจารณาอย่างไม่คิดถึงเด็ก ในทางตรงกันข้าม ปัญหากลับถูก
90
อภิปรายราวกับว่าผลประโยชน์ของเด็กคือทุกสิ่ งทุกอย่าง และผลประโยชน์ของผูใ้ หญ่ไม่มีความ หมายแต่อย่างใด 5.12 ผมได้ให้ขอ้ สังเกตมาแล้วว่า การที่ไม่มีหลักการที่ยอมรับกันโดยทัว่ ไป ทำาให้มีการให้ เสรี ภาพในเรื่ องที่ควรจะไม่มีเสรี ภาพ และไม่มีเสรี ภาพในเรื่ องที่ควรจะมี และในโลกยุโรปสมัย ใหม่ หนึ่งในกรณีที่ความรู้สึกเรื่ องเสรี ภาพมีความรุ นแรงมากที่สุด ในทัศนะของผมแล้ว กลับเป็ น กรณี ของการมีเสรี ภาพอย่างผิดที่ผิดทางโดยสิ้ นเชิง บุคคลควรมีอิสระที่จะทำาตามใจชอบในเรื่ อง ของเขาเอง แต่เขาไม่ควรมีอิสระที่จะทำาตามใจชอบในการกระทำาเพื่ออีกคนหนึ่ง โดยอ้างว่ากิจ ธุระของผูน้ ้ นั เป็ นกิจธุระของเขาเอง ในขณะที่รัฐเคารพในเสรี ภาพของคนแต่ละคนในเรื่ องที่เป็ น เฉพาะตัวของเขาเอง แต่รัฐก็มีหน้าที่ที่จะต้องควบคุมอย่างเข้มงวดต่อการใช้อาำ นาจซึ่งรัฐยอมให้ บุคคลมีเหนือผูอ้ ื่น ข้อผูกมัดนี้ ของรัฐแทบจะถูกมองข้ามไปโดยสิ้ นเชิงในเรื่ องของความสัมพันธ์ ในครอบครัว ซึ่งเป็ นเรื่ องที่มีอิทธิพลโดนตรงต่อความสุ ขของมนุษย์ และสำาคัญกว่าเรื่ องทุกเรื่ อง รวมกัน อำานาจที่แทบจะเป็ นแบบเผด็จการของสามีเหนือภรรยาไม่มีอะไรให้ตอ้ งขยายความในที่ นี้ เพราะไม่มีอะไรจำาเป็ นสำาหรับการขจัดความชัว่ ร้ายนี้ ยิง่ ไปกว่าการที่ภรรยาจะต้องมีสิทธิ อย่าง เดียวกันกับสามี และต้องได้รับการคุม้ ครองจากฎหมายในลักษณะเดียวกันกับบุคคลอื่นๆ ทั้งหมด และเพราะว่า ผูท้ ี่ปกป้ องความอยุติธรรมที่ยนื ยงนี้ ไม่ได้ร้องขอเสรี ภาพ แต่ยนื ผงาดอย่างเปิ ดเผย ในฐานะผูค้ รองอำานาจ ในกรณีของเด็กๆ การใช้แนวคิดเรื่ องเสรี ภาพอย่างผิดๆ เป็ นอุปสรรคอย่าง แท้จริ งต่อการปฏิบตั ิหน้าที่ของรัฐ คนแทบจะคิดว่าลูกเป็ นส่ วนหนึ่งของพ่อแม่จริ งๆ ไม่ใช่แค่ใน เชิงเปรี ยบเปรย เขาจึงปกป้ องหวงแหนในอำานาจอันสมบูรณ์เด็ดขาดที่เขามีต่อผูอ้ ื่นนี้ ให้กฎหมาย เข้าแทรกแซงน้อยที่สุด และหวงแหนปกป้ องเสี ยยิง่ กว่าที่เป็ นอยูใ่ นเรื่ องเสรี ภาพของตัวเขาเอง มนุษยชาติโดยทัว่ ไปจึงให้ค่าต่อเสรี ภาพน้อยกว่าอำานาจเป็ นอย่างมาก ขอให้พิจารณาเรื่ องการ ศึกษาเป็ นตัวอย่าง แทบจะเป็ นสัจพจน์ที่ประจักษ์แจ้งในตนเองไม่ใช่หรื อ ว่ารัฐควรบังคับพลเมือง ทุกคนของตนให้มีการศึกษาถึงระดับหนึ่ง? แต่กระนั้น มีใครหรื อ ที่ไม่หวัน่ กลัวที่จะยอมรับและ ประกาศยืนยันความจริ งนี้ ? จริ งๆ แล้วแทบไม่มีใครเลยที่ไม่ยอมรับว่า หนึ่งในหน้าที่ที่ศกั ดิ์สิทธิ์ ที่สุดของบิดามารดา (หรื อของบิดา ตามที่กฎหมายและประเพณี ยนื ยันอยูข่ ณะนี้ ) ว่าหลังจากสร้าง มนุษย์คนหนึ่งให้ถือกำาเนิดขึ้นมาบนโลก พวกเขาจะต้องให้การศึกษาต่อมนุษย์คนนั้น เพื่อให้ผนู ้ ้ นั สามารถดำาเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมทั้งต่อตนเองและต่อผูอ้ ื่น แต่ในขณะที่สิ่งนี้ถูกประกาศอย่าง เป็ นเอกฉันท์ให้เป็ นหน้าที่ของบิดา กลับแทบจะไม่มีใครเลยในประเทศนี้ ที่จะทนฟังเรื่ องการ บังคับให้เขาต้องปฏิบตั ิได้ และแทนที่จะถูกบังคับให้ขวนขวายหรื อเสี ยสละเพื่อให้บุตรได้มีการ ศึกษา เขากลับถูกปล่อยให้มีสิทธิ์เลือกที่จะยอมรับหรื อไม่ยอมรับก็ได้ เมื่อการศึกษาถูกเสนออย่าง ให้เปล่า! ควรเป็ นที่ตระหนักว่า การให้กาำ เนิดบุตรโดยปราศจากความคาดหวังว่าตนจะสามารถ ไม่เพียงแค่บาำ รุ งเลี้ยงร่ างกายเขาด้วยอาหาร แต่ยงั สามารถที่จะบำารุ งเลี้ยงจิตใจเขาด้วยการอบรมสัง่ สอนและการฝึ กฝน ย่อมเป็ นอาชญากรรมทางศีลธรรม ทั้งต่อบุตรผูโ้ ชคร้ายและต่อสังคม และถ้า
91
บิดามารดาไม่ทาำ หน้าที่น้ ี ให้ลุล่วง รัฐก็ควรดูแลจัดการให้เด็กได้รับการศึกษาไปไกลที่สุดที่จะเป็ น ไปได้ โดยคิดราคาเอากับบิดาและมารดา 5.13 ทันทีที่การศึกษาภาคบังคับได้รับการยอมรับ ก็ควรจะเป็ นการสิ้ นสุ ดความยุง่ ยาก ว่ารัฐ ควรสอนอะไรและอย่างไร ซึ่งตอนนี้ได้ทาำ ให้เรื่ องนี้ กลายเป็ นสนามรบระหว่างลัทธิ และพรรค ต่างๆ เท่านั้น ซึ่งทำาให้แรงงานและเวลาที่ควรใช้ไปกับการศึกษา ต้องมาสูญเปล่าไปกับการ ทะเลาะกันเรื่ องการศึกษา ถ้ารัฐบาลจะตัดสิ นใจเสี ยทีวา่ จะกำาหนดบังคับให้เด็กทุกคนมีการศึกษา ที่ดี รัฐบาลก็จะช่วยไม่ให้ตวั เองต้องยุง่ ยากกับการจัดหาการศึกษาที่ดีให้เด็ก โดยรัฐอาจปล่อยให้ผู ้ ปกครองหาการศึกษาให้เด็กในสถานที่และในรู ปแบบที่พวกเขาพอใจ และควรจะมุ่งอยูก่ บั การ ช่วยเหลือจ่ายค่าเล่าเรี ยนให้กบั บุตรหลานของคนยากจน และช่วยจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้กบั เด็กที่ ไม่มีใครจะจ่ายให้พวกเขา ข้อโต้แย้งที่มีต่อการศึกษาโดยรัฐ ไม่ใช่เรื่ องของการที่รัฐบังคับการ ศึกษา แต่เป็ นเรื่ องของการที่รัฐเข้ามาควบคุมและกำาหนดแนวทางของการศึกษา ซึ่งเป็ นคนละเรื่ อง กันโดยสิ้ นเชิง ผมไม่เห็นด้วยเท่าๆ กับทุกคนว่าการศึกษาทั้งหมดหรื อส่ วนใหญ่ควรอยูใ่ นมือรัฐ ทั้งหมดที่กล่าวมาในเรื่ องของปัจเจกภาพในบุคลิกภาพ และความแตกต่างหลากหลายในทัศนะ และในรู ปแบบความประพฤติ ย่อมต้องอิงอาศัยความแตกต่างหลากหลายในการศึกษา ซึ่งสำาคัญ เกินที่จะกล่าวได้จบ การศึกษาโดยรัฐเป็ นเพียงเครื่ องมือในการหล่อหลอมผูค้ นให้เป็ นเหมือนคน อื่นๆ และเบ้าหลอมนี้ยอ่ มเกิดมาจากความพอใจของผูท้ ี่มีอาำ นาจปกครอง ไม่วา่ จะเป็ นกษัตริ ย ์ นักบวช ขุนนาง หรื อคนส่วนใหญ่ของสังคม และเมื่อมันมีประสิ ทธิ ภาพ ก็ยอ่ มสถาปนาอำานาจ ทรราชเหนือจิตใจ ซึ่งย่อมตามมาเป็ นธรรมดาด้วยทรราชเหนือร่ างกาย การศึกษาที่จดั ตั้งและ ควบคุมโดยรัฐ ถ้าเกิดมีอยู่ ก็ควรมีอยูเ่ พียงในฐานะของหนึ่งในหลายๆ การทดลองที่แข่งขันกัน ที่ เป็ นไปเพื่อให้ตวั อย่างและกระตุน้ ให้ผจู ้ ดั การศึกษาอื่น ยกระดับตนเองสู่มาตรฐานของความเป็ น เลิศหนึ่ง ที่จริ งแล้ว ถ้าไม่ใช่เพราะว่าสังคมอยูใ่ นสภาพล้าหลังจนไม่สามารถจัดหาสถาบันการ ศึกษาใดๆ ที่เหมาะสมให้กบั ตัวเอง ถ้าหากว่ารัฐบาลจะไม่รับหน้าที่เสี ยเอง ในฐานะทางเลือกที่เลว น้อยกว่า รัฐบาลก็อาจรับธุรกิจของโรงเรี ยนและมหาวิทยาลัย มาจัดการเสี ยเองในแบบบริ ษทั ร่ วม หุน้ เมื่อกิจการเอกชนในรู ปที่เหมาะสมต่อการรับภาระหนักของอุตสาหกรรม เกิดไม่มีอยูใ่ น ประเทศ แต่โดยทัว่ ไปแล้ว ถ้าประเทศมีบุคคลจำานวนมากพอ ที่มีคุณวุฒิที่จะจัดการศึกษาภายใต้ การอุปถัมภ์คาจุ ้ ำ นของรัฐ บุคคลเหล่านั้นย่อมเต็มใจ และสามารถที่จะจัดการศึกษาที่ดีเท่าๆ กัน บน ำ หลักของความสมัครใจ ภายใต้การค้าประกั นในเรื่ องค่าตอบแทน ที่ให้โดยกฎหมายที่กาำ หนดการ ศึกษาภาคบังคับ ร่ วมกับความช่วยเหลือของรัฐแก่บรรดาผูท้ ี่ไม่สามารถออกค่าใช้จ่ายเองได้ 5.14 เครื่ องมือในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวได้แก่การสอบที่ครอบคลุมเด็กทุกคน และที่ เริ่ มต้นตั้งแต่วยั เยาว์ อาจจะกำาหนดวัยที่เด็กต้องสอบเพื่อให้แน่ใจว่าเขาหรื อหล่อนต้องอ่านออก เขียนได้ ถ้าพิสูจน์ได้วา่ เด็กทำาสิ่ งนั้นไม่ได้ บิดาอาจถูกปรับบ้าง ยกเว้นแต่เขามีเหตุผลแก้ตวั ที่เพียง พอ อาจบังคับให้เขาออกแรงแก้ปัญหาถ้าจำาเป็ น และอาจบังคับให้เขาส่ งเสี ยลูกเข้าโรงเรี ยน ควรมี
92
การสอบใหม่ปีละครั้งโดยขยายขอบเขตเนื้ อหาไปทีละน้อย เพื่อบังคับจริ งๆ ว่าเด็กต้องได้ความรู ้ ทัว่ ไปในระดับที่นอ้ ยที่สุดระดับหนึ่ง เหนือไปกว่าระดับที่นอ้ ยที่สุดนั้น ควรเป็ นการสอบตาม สมัครใจในวิชาต่างๆ ซึ่งใครที่เชี่ยวชาญถึงมาตรฐานหนึ่งก็ควรได้ใบรับรองคุณวุฒิ แต่ทว่า เพื่อ ป้ องกันไม่ให้รัฐอาศัยการจัดการเหล่านี้ มาสร้างอิทธิ พลครอบงำาทัศนะของผูค้ นอย่างผิดๆ ความรู ้ ที่จาำ เป็ นสำาหรับการสอบ (ที่เหนือไปจากความรู ้สาำ หรับใช้เป็ นเครื่ องมืออย่างเช่นเรื่ องภาษา) ควร จำากัดอยูเ่ ฉพาะกับเรื่ องของข้อเท็จจริ งและความรู ้ทางวิทยาการ ไม่วา่ จะเป็ นการสอบชั้นสูงๆ ขึ้น ไปก็ตาม การสอบในเรื่ องศาสนา การเมือง และเรื่ องอื่นที่อาจโต้เถียงกันได้ ไม่ควรวางอยูบ่ นการ ตัดสิ นทัศนะใดว่าถูกผิด แต่ควรตั้งอยูบ่ นเนื้อหาข้อเท็จจริ งและเหตุผลรองรับ ตามที่ทศั นะนั้น ได้ รับการยึดถืออยูโ่ ดยผูเ้ ขียน หรื อสำานัก หรื อนิกายต่างๆ ภายใต้ระบบแบบนี้ คนรุ่ นที่กาำ ลังเติบโต ขึ้นมาก็จะไม่เลวร้ายไปกว่าคนรุ่ นปัจจุบนั ในเรื่ องของความจริ งต่างๆ ที่เป็ นที่โต้เถียงกันอยู่ พวก เขาอาจถูกเลี้ยงดูให้เป็ นคนแก่วดั หรื อเป็ นคนปฏิเสธศาสนา อย่างที่คนเป็ นกันอยูต่ อนนี้ รัฐเพียง แค่ดูแลว่า พวกเขาเป็ นคนเคร่ งศาสนาอย่างมีการศึกษา หรื อเป็ นผูไ้ ม่เชื่อศาสนาอย่างมีการศึกษา ไม่มีอะไรที่จะขวางพวกเขาไม่ให้ได้รับการสอนเรื่ องศาสนาในโรงเรี ยนเดียวกับที่สอนเขาเรื่ อ งอื่นๆ ถ้าผูป้ กครองของพวกเขาเลือกเช่นนั้น ความพยายามทั้งหมดของรัฐที่จะสร้างให้พลเมืองมี อคติไปในทางใดทางหนึ่งในเรื่ องที่เป็ นที่โต้เถียงกันได้ ย่อมเป็ นความชัว่ ร้าย แต่รัฐอาจเสนอที่จะ ประกันว่าบุคคลหนึ่งมีความรู้ที่จาำ เป็ นสำาหรับการตัดสิ นที่มีค่าควรต่อการรับฟังในเรื่ องหนึ่งๆ นักเรี ยนปรัชญาอาจดีกว่าตรงที่สามารถสอบได้ท้ งั เรื่ องของล็อค (Locke) และค้านท์ (Kant) ไม่วา่ เขาจะรับฝ่ ายไหนหรื อไม่รับทั้งสองฝ่ าย และไม่มีเหตุผลที่จะคัดค้านการสอบผูไ้ ม่เชื่อพระเจ้า ใน เรื่ องประจักษ์พยานของคริ สต์ศาสนา ตราบใดที่เขาไม่ถูกบังคับให้ประกาศว่าเชื่อในสิ่ งเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม การสอบในแขนงความรู้สูงๆ ต้องเป็ นความสมัครใจเท่านั้น จะเป็ นการให้อาำ นาจ รัฐบาลที่อนั ตรายอย่างยิง่ ถ้าหากพวกเขาจะกีดกันบุคคลออกจากอาชีพ ด้วยข้อกล่าวหาว่าขาด คุณวุฒิ แม้จะเป็ นอาชีพครู กต็ าม และผมก็คิดเช่นเดียวกับวิลเฮล์ม วัน ฮัมโบลด์ท์ ว่าปริ ญญา หรื อ ใบประกาศนียบัตรอื่นๆ ที่รับรองความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หรื อทางอาชีพ ควรจะมอบให้ทุกคนที่ เข้าสอบและสอบผ่าน แต่ใบรับรองพวกนั้นไม่ควรสร้างความได้เปรี ยบให้กบั ผูแ้ ข่งขัน มากไป ำ กที่สาธารณชนอาจให้กบั ใบรับรองของรัฐ กว่าในฐานะของน้าหนั 5.15 การศึกษาไม่ใช่เรื่ องเดียวที่ ความเข้าใจผิดเรื่ องเสรี ภาพ ขัดขวางต่อการตระหนักถึงพันธะ ทางศีลธรรมของบิดามารดา และต่อการกำาหนดให้เป็ นหน้าที่ทางกฎหมาย ในขณะที่สิ่งแรกมี เหตุผลเป็ นอย่างยิง่ และสิ่ งหลังก็เช่นกัน การสร้างมนุษย์ผหู ้ นึ่งให้ถือกำาเนิดขึ้นบนโลก เป็ นหนึ่ง ในการกระทำาที่สร้างความรับผิดชอบสูงสุดในชีวิตมนุษย์ ชีวิตสามารถที่จะเป็ นความทุกข์ราวถูก สาปจากนรก หรื อเป็ นความสุขราวกับได้พรจากสวรรค์ การสร้างชีวิตขึ้นมา โดยไม่อาจรับผิด ชอบให้ชีวิตที่เกิดขึ้นนั้นมีโอกาสที่จะมีความสุ ขแม้แต่สกั เล็กน้อย ย่อมเป็ นอาชญากรรมต่อเขา และในประเทศที่มีประชากรล้นหรื อมีท่าว่าจะเป็ นเช่นนั้น การผลิตลูกเกินกว่าจำานวนน้อยมากๆ
93
ซึ่งมีผลทำาให้เกิดการลดค่าจ้างแรงงาน จากการแย่งกันทำางาน ย่อมเป็ นการทำาผิดอย่างร้ายแรง ต่อ คนทั้งปวงที่มีชีวิตอยูบ่ นค่าจ้างแรงงาน การที่กฎหมายในหลายๆ ประเทศของภาคพื้นทวีปยุโรป ห้ามการแต่งงาน นอกจากทั้งคู่จะสามารถแสดงว่าพวกเขามีสิ่งต่างๆ พอเพียงสำาหรับการเลี้ยงดู ครอบครัวย่อมไม่เกินไปจากอำานาจอันชอบธรรมของรัฐ และไม่วา่ กฎหมายเช่นนั้นจะสะดวกที่จะ สร้างขึ้นมาใช้หรื อไม่ (เป็ นคำาถามที่ข้ ึนกับสภาพแวดล้อมและความรู ้สึกของคนในที่น้ นั ๆ) มันก็ ไม่ใช่สิ่งที่อาจโต้แย้งว่าเป็ นการละเมิดเสรี ภาพ กฎหมายดังกล่าวเป็ นการแทรกแซงของรัฐต่อ การกระทำาผิดต่อผูอ้ ื่น ซึ่งด้วยตัวมันเองก็เป็ นการกระทำาที่ควรถูกประณามทางศีลธรรมโดยสังคม อยูแ่ ล้ว แม้แต่เมื่อมันถูกตัดสิ นว่าไม่สะดวกที่จะทบลงไปบนการลงโทษทางกฎหมายก็ตาม แต่ ความคิดเรื่ องเสรี ภาพที่เป็ นอยู่ ซึ่งยอมให้เกิดการละเมิดต่อเสรี ภาพของปั จเจกได้อย่างง่ายดาย แม้แต่ในเรื่ องที่เกี่ยวแต่เฉพาะเขาเอง แต่ตวั มันเองกลับต่อต้านความพยายามที่จะควบคุมธรรมชาติ ในตัวปัจเจก เมื่อผลการทำาตามอำาเภอใจของพวกเขา ก็คือชีวิตของลูกๆ ที่เลวร้าย เสื่ อมทราม และ ขาดแคลน และความชัว่ ร้ายที่ทบทวีข้ ึนต่อใครก็ตามที่อยูใ่ กล้พอที่จะถูกกระทบด้วยการกระทำา ของพวกเขา เมื่อเราเปรี ยบเทียบความเคารพอย่างแปลกๆ ที่มนุษย์มีต่อเสรี ภาพ กับความขาด ความเคารพอย่างแปลกๆ ที่พวกเขามีต่อเสรี ภาพ เราก็อาจจินตนาการไปได้วา่ คนมีสิทธิ์ อนั เด็ด ขาดที่จะทำาร้ายผูอ้ ื่น และไม่มีสิทธิ์ ที่จะทำาตามที่ตวั เองพอใจอย่างไม่ทาำ ร้ายใครอื่น 5.16 ผมสงวนที่สุดท้ายไว้สาำ หรับคำาถามต่างๆ เกี่ยวกับขอบเขตการแทรกแซงของรัฐบาล ซึ่ง แม้จะเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับหัวเรื่ องของเรา แต่กไ็ ม่ใช่เรื่ องที่เกี่ยวกับมันอย่างแท้จริ ง ได้แก่กรณี ซึ่งเหตุผลต่อต้านการแทรกแซงของรัฐไม่ได้วางอยูบ่ นหลักแห่ งเสรี ภาพ กรณี เหล่านี้ไม่ใช่คาำ ถาม เกี่ยวกับการควบคุมการกระทำาของปั จเจก แต่เป็ นเรื่ องของการช่วยพวกเขา ซึ่งเป็ นคำาถามว่า รัฐบาลควรที่จะทำาบางอย่าง หรื อควรถูกบังคับให้ทาำ บางอย่าง เพื่อประโยชน์ที่เป็ นผลได้ของ ปั จเจกหรื อไม่ หรื อควรที่จะปล่อยให้พวกเขาทำากันเอาเองตามลำาพังแต่ละคน หรื อร่ วมมือกันทำา 5.17 ข้อโต้แย้งต่อการแทรกแซงของรัฐบาล เมื่อไม่ใช่เรื่ องของการละเมิดเสรี ภาพ ออกแบ่ง ออกได้เป็ นสามแบบ 5.18 แบบที่หนึ่งคือ เมื่อปัจเจกทำาสิ่ งนั้นได้ดีกว่าที่รัฐบาลทำา กล่าวทัว่ ไปแล้ว ไม่มีใครที่เหมาะ จะดำาเนินธุรกิจ หรื อตัดสิ นว่าจะดำาเนินธุรกิจด้วยวิธีเช่นไร ยิง่ ไปกว่าคนที่สนใจในเรื่ องเช่นนั้น หลักการนี้จึงประณามการที่กฎหมายหรื อเจ้าพนักงานของรัฐเข้ามาแทรกแซง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเกิด ขึ้นทัว่ ไป ต่อกระบวนการปกติต่างๆ ของอุตสาหกรรม แต่เรื่ องนี้กไ็ ด้รับการขยายความอย่างเพียง พอแล้วโดยนักเศรษฐศาสตร์การเมือง และไม่เกี่ยวข้องกับหลักการต่างๆ ของงานชิ้นนี้ 5.19 ข้อโต้แย้งแบบที่สองใกล้เคียงกับเรื่ องของเรามากกว่า ในหลายๆ กรณี ถึงแม้วา่ ปั จเจก โดยเฉลี่ยแล้วอาจไม่สามารถทำาเรื่ องบางอย่างได้ดีเสมอกับข้าราชการ แต่กค็ วรปล่อยให้พวกเขา ทำามากกว่าให้รัฐบาลทำา ในฐานะที่เป็ นการศึกษาสำาหรับพวกเขา เพื่อให้พวกเขาพัฒนาศักยภาพ ใช้อาำ นาจทางปัญญาในการพิจารณาไตร่ ตรอง และทำาความคุน้ เคยกับองค์ความรู ้ในเรื่ องที่พวกเขา
94
ถูกปล่อยให้จดั การ แม้นี่จะใช่ประเด็นเดียวแต่กเ็ ป็ นประเด็นหลัก ที่สนับสนุนให้มีการพิจารณา คดีโดยขณะลูกขุน (ในคดีที่ไม่ใช่คดีทางการเมือง) ให้มีเทศบาลท้องถิ่นที่เป็ นอิสระและมาจาก การเลือกตั้ง ให้ดาำ เนินกิจการทางอุตสาหกรรมและกิจการทางการกุศลต่างๆ โดยสมาคมอาสา สมัครต่างๆ นี่ไม่ใช่คาำ ถามเรื่ องเสรี ภาพ แต่เป็ นคำาถามเรื่ องการพัฒนา เป็ นเรื่ องที่จะต้องใช้โอกาส อื่น ในการอภิปรายรายละเอียดของเรื่ องนี้ ในฐานะส่ วนหนึ่งของการศึกษาของชาติ นัน่ ก็คือ ใน ฐานะวิธีการฝึ กฝนพิเศษสำาหรับพลเมือง อันเป็ นส่ วนภาคปฏิบตั ิของการศึกษาทางการเมืองของ เสรี ชน ที่จะพาพวกเขาออกจากวงจรอันคับแคบของความเห็นแก่ตวั ส่ วนบุคคลและของครอบครัว และทำาให้พวกเขาคุน้ เคยกับความเข้าใจในผลประโยชน์ร่วมกัน การจัดการต่อกิจกรรมร่ วมกัน ทำาให้พวกเขามีนิสยั ที่จะกระทำาจากแรงจูงใจต่อส่ วนรวมหรื อกึ่งส่ วนรวม และชี้นาำ พฤติกรรมของ พวกเขาโดยเป้ าหมายซึ่งผูกพวกเขาเข้าด้วยกันแทนแยกขาดจากกัน หากปราศจากนิสยั และพลัง เหล่านี้ เสรี ภาพทางการเมืองในระดับสูงก็ไม่อาจสร้างขึ้นและรักษาไว้ได้ อย่างที่เห็นตัวอย่า งบ่อยๆ จากสภาพที่ไม่คงตัวของเสรี ภาพทางการเมืองในหลายๆ ประเทศที่ ไม่ได้วางอยูบ่ นฐานที่ เพียงพอของเสรี ภาพระดับท้องถิ่น การจัดการธุรกิจท้องถิ่นด้วยคนท้องถิ่น และการจัดการกิจการ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ดว้ ยการร่ วมมือกันของคนที่สมัครใจนำาเงินทองมาสนับสนุน ได้รับการ สนับสนุนเพิ่มขึ้นจากข้อได้เปรี ยบทั้งหลายที่อธิ บายมาแล้ว ว่าเกิดจากปั จเจกภาพแห่ งพัฒนาการ และความหลากหลายของรู ปแบบการกระทำา การทำางานของรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะเหมือนกันใน ทุกแห่ ง ในทางตรงกันข้าม สำาหรับปัจเจกและสมาคมอาสาสมัครกลับเต็มไปด้วยการทดลองและ ประสบการณ์ที่หลากหลายอย่างไร้ขอบเขต สิ่ งที่รัฐสามารถทำาให้เป็ นประโยชน์ได้กค็ ือ ทำาตัวเอง ให้เป็ นศูนย์กลางการรับฝาก นัน่ คือ เป็ นผูห้ มุนเวียนและผูแ้ จกจ่ายประสบการณ์ที่เป็ นผลจากการ ทดลองต่างๆ หน้าที่ของรัฐก็คือ การทำาให้นกั ทดลองแต่ละคนได้ประโยชน์จากการทดลองของ คนอื่น แทนที่จะไม่ยอมรับการทดลองไหนนอกจากของรัฐเอง 5.20 เหตุผลประเภทที่สาม ซึ่งเป็ นเหตุผลที่มีนาหนั ้ ำ กมากที่สุด ต่อการจำากัดการแทรกแซงของ รัฐบาล เป็ นเรื่ องของความชัว่ ร้ายของการเพิ่มอำานาจให้รัฐเกินกว่าจำาเป็ น ทุกๆ หน้าที่ที่เพิ่มไปให้ กับสิ่ งที่รัฐบาลทำาอยูแ่ ล้ว สร้างให้อิทธิพลของรัฐเหนือความหวังและความกลัวของผูค้ นกระจาย วงกว้างออกไปมากยิง่ ขึ้น และเปลี่ยนสาธารณชนส่ วนที่กระตือรื อร้นดิ้นรนในสิ่ งที่ตนปรารถนา ให้กลายเป็ นคนที่รอคอยความหวังจากรัฐบาล หรื อจากพรรคที่หวังจะเป็ นรัฐบาล มากยิง่ ขึ้น ถ้า ถนน ทางรถไฟ ธนาคาร สำานักงานประกัน บริ ษทั ร่ วมหุ น้ และกิจการการกุศลสาธารณะ ทั้งหมด เป็ นสาขาของรัฐบาล ยิง่ ไปกว่านั้น ถ้าคณะเทศมนตรี สภาตำาบล พร้อมทั้งคนทั้งหมดที่รับมอบ อำานาจมาจากพวกเขา กลายเป็ นแผนกงานของระบบบริ หารส่ วนกลาง ถ้าบรรดาลูกจ้างของกิจการ ต่างๆ เหล่านี้ ได้รับการแต่งตั้งและจ่ายค่าจ้างโดยรัฐบาล และหมายพึ่งรัฐบาลในความก้าวหน้าทุก อย่างของชีวิต เสรี ภาพทั้งมวลของหนังสื อพิมพ์ และอำานาจนิติบญั ญัติของมวลชน ก็จะไม่ทาำ ให้ ประเทศนี้และประเทศอื่นใด มีเสรี มากไปกว่าแค่ในนาม และความชัว่ ร้ายก็จะเพิ่มขึ้น ตามกลไก
95
บริ หารที่มีประสิ ทธิภาพและมีหลักมีเกณฑ์มากยิง่ ขึ้น นัน่ ก็คือ ความชัว่ ร้ายจะเพิ่มมากขึ้นไปตาม ทักษะที่เพิ่มขึ้น ของการจัดการให้ได้มาซึ่งมือและสมองที่เหมาะสมที่สุดในการทำางานของรัฐบาล ในอังกฤษ เพิ่งจะมีการเสนอว่า ผูเ้ ป็ นข้าราชการทั้งปวงควรถูกเลือกเข้ามาโดยการสอบแข่งขัน เพื่อให้ได้บุคคลที่เฉลียวฉลาดและมีการศึกษาอบรมมากที่สุดเท่าที่จะหาได้ มีการสนับสนุนและ คัดค้านข้อเสนอนี้ กนั อย่างกว้างขวาง หนึ่งในข้อโต้เถียงที่ฝ่ายผูค้ ดั ค้านยกขึ้นมายืนยันก็คือ อาชีพ ประจำาของการเป็ นข้าราชการไม่อาจคาดหวังว่าจะมีรายได้และความสำาคัญเพียงพอ ต่อการดึงดูด คนที่มีความสามารถสูงสุด ซึ่งย่อมจะหาอาชีพอื่นที่ล่อใจ หรื อทำางานบริ การให้กบั บริ ษทั หรื อ องค์กรสาธารณะอื่นๆ ได้มากกว่า เราจะไม่รู้สึกประหลาดใจเลย ถ้าเหตุผลนี้จะถูกใช้โดยผูท้ ี่เข้า ข้างข้อเสนอ ในฐานะคำาตอบต่อข้อปั ญหาหลักของข้อเสนอ แต่เมื่อเอามาใช้โดยผูค้ ดั ค้านก็เป็ น เรื่ องประหลาดพอควร เพราะสิ่ งที่เสนอขึ้นเพื่อคัดค้าน ก็คือทางออกของระบบที่ได้รับการเสนอ นัน่ เอง ถ้าหากคนที่มีความสามารถสูงๆ ทั้งหมดของประเทศสามารถถูกดึงดูดมาเป็ นข้าราชการได้ จริ ง ข้อเสนอที่มีแนวโน้มว่าจะก่อผลเช่นนั้น ก็อาจสร้างความรู ้สึกไม่สบายใจ ถ้าหากธุรกิจทุก ส่ วนของสังคมที่ตอ้ งการการทำางานร่ วมกันอย่างเป็ นระบบ หรื อต้องการภาพที่กว้างขวาง ครอบคลุม ตกอยูใ่ นมือของรัฐบาล และถ้าหากตำาแหน่งงานของรัฐบาลทั้งหมดอยูใ่ นมือของผูท้ ี่มี ำ ความสามารถสูงสุด ภูมิปัญญาที่บ่มเพาะขึ้นมาและความช่าชองทั ้ งหมดในประเทศ ยกเว้นส่ วนที่ เป็ นความคิดบริ สุทธิ์ ก็จะกระจุกอยูใ่ นระบบราชการอันหลากหลาย ซึ่งพวกเขาก็จะเป็ นคำาตอบใน ทุกสิ่ งทุกอย่างให้กบั คนส่วนที่เหลือของชุมชน คือเป็ นแหล่งรวมของทิศทางและคำาสัง่ การในทุก อย่างที่คนในชุมชนต้องทำา เป็ นผูส้ ามารถและเป็ นผูส้ ร้างแรงทะยานอยากให้กบั ความก้าวหน้า ส่ วนบุคคล การได้รับการยอมรับเข้าสู่ระบบราชการนี้ และการได้เลื่อนตำาแหน่งสูงขึ้นไป จะเป็ น เป้ าหมายอย่างเดียวของความทะเยอทะยานของบุคคล ภายใต้ระบบนี้ ไม่เพียงแต่สงั คมภายนอก จะขาดคุณสมบัติ ที่จะวิจารณ์หรื อตรวจสอบรู ปแบบการปฏิบตั ิงานของระบบราชการ เพราะขาด ประสบการณ์ แต่แม้กระทั้งว่า ถ้าบังเอิญการทำางานอย่างเป็ นเผด็จการ หรื ออย่างที่เป็ นธรรมชาติ ของสถาบันของมหาชน เกิดยกผูป้ กครองสักคนหรื อหลายคน ขึ้นสู่ตาำ แหน่งสูงสุ ด ซึ่งเป็ นผูท้ ี่มี จิตใจอยากที่จะปฏิรูป การปฏิรูปก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ หากไปขัดแย้งกับผลประโยชน์ของพวก ข้าราชการ เรื่ องเช่นนี้เป็ นสภาพการณ์อนั น่าสลดใจของอาณาจักรรัสเซีย ดังที่แสดงให้เห็นอยูใ่ น บันทึกของผูท้ ี่มีโอกาสเห็น พระเจ้าซาร์ เองก็ไร้อาำ นาจที่จะต่อกรกับระบบราชการ พระองค์ สามารถส่งคนพวกนั้นคนใดคนหนึ่งไปไซบีเรี ยก็ได้ แต่พระองค์กไ็ ม่สามารถปกครองได้โดย ปราศจากพวกเขา หรื ออย่างที่ขดั กับเจตจำานงของพวกเขา พวกเขามีอาำ นาจซ่อนเร้นที่จะยับยั้งพระ ราชกฤษฎีกาของพระองค์ได้ ด้วยการเพียงแค่ไม่ดาำ เนินการจนเกิดผล ในประเทศที่มีอารยธรรม ก้าวหน้ากว่า และมีจิตวิญญาณที่จะต่อต้าน เมื่อสาธารณชนเคยชินต่อการหวังให้รัฐทำาทุกอย่างให้ ตน หรื ออย่างน้อยก็ไม่ทาำ อะไรเพื่อตัวเอง โดยปราศจากการขออนุญาตจากรัฐในสิ่ งที่จะทำาและใน วิธีที่จะทำา ย่อมเป็ นธรรมดาที่พวกเขาจะถือว่ารัฐต้องรับผิดชอบต่อความชัว่ ร้ายทั้งมวลที่เกิดขึ้นต่อ
96
พวกเขา และเมื่อมีความชัว่ ร้ายเกินขอบเขตที่พวกเขาจะทนได้ พวกเขาก็จะลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาล และกระทำาในสิ่ งที่เรี ยกกันว่าการปฏิวตั ิ ซึ่งเมื่อนั้น ใครสักคน ไม่วา่ จะโดยอำานาจอันชอบธรรม ของชาติหรื อไม่กต็ าม ขึ้นนัง่ ตำาแหน่ง และออกคำาสัง่ ไปยังระบบราชการ ทุกอย่างก็จะดำาเนินไป เหมือนอย่างเคย กล่าวคือ พวกข้าราชการก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป และก็ไม่มีใครเข้ามาแทนที่พวก เขาได้ 5.21 แต่เราจะเห็นภาพที่แตกต่างออกไปในบรรดาผูค้ นที่เคยชินที่จะดำาเนินธุรกิจต่างๆ ด้วยตัว เอง ในฝรั่งเศส ผูค้ นจำานวนมากเคยรับราชการทหาร หลายคนในจำานวนนั้น อย่างน้อยที่สุดก็มี ตำาแหน่งเป็ นนายทหารนอกประจำาการ ในการก่อจลาจลทุกครั้ง มีบุคคลหลายคนที่สามารถขึ้น เป็ นผูน้ าำ และคิดแผนการที่ดีพอควรขึ้นมาได้ในทันที อะไรที่คนฝรั่งเศสเป็ นได้ในกิจการทหาร ชาวอเมริ กนั ก็เป็ นได้ในธุรกิจของพลเรื อนทุกประเภท จงปล่อยพวกเขาไว้โดยไม่มีรัฐบาลเถิด ทุก องค์กรของชาวอเมริ กนั สามารถที่จะคิดวิธีการปกครอง และดำาเนินการในเรื่ องนั้น หรื อในธุรกิจ สาธารณะอื่นใด ได้อย่างเฉลียวฉลาด มีระเบียบ พร้อมมูลด้วยการตัดสิ นใจ นี่คือสิ่ งที่เสรี ชนทุก คนควรเป็ น และผูค้ นที่สามารถในสิ่ งนี้ยอ่ มมีเสรี ภาพ พวกเขาจะไม่ยอมให้ใครมาทำาให้ตนกลาย เป็ นทาส เพราะพวกเขาสามารถกุมบังเหียนของแกนกลางการบริ หารได้ ไม่มีระบบราชการไหน จะหวังให้คนพวกนี้ ทาำ หรื อยอมทนในสิ่ งที่พวกเขาไม่ชอบ แต่ในที่ซ่ ึงระบบราชการทำาทุกอย่าง จะไม่มีอะไรที่ทาำ ลุล่วงได้เลยหากขัดแย้งกับระบบราชการ รัฐธรรมนูญของประเทศเหล่านั้น เป็ นการจัดระเบียบประสบการณ์และความสามารถเชิงปฏิบตั ิของชาติ เข้ามาเป็ นองค์กรที่เป็ น ระเบียบ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกครองคนที่เหลือ ยิง่ การจัดระเบียบนั้นมีความสมบูรณ์ในตนเองมาก เพียงไร นั้นก็คือ ยิง่ การดึงบุคคลที่มีความสามารถจากทุกชนชั้นของชุมชน เข้ามาสู่ตนเองและ ให้การศึกษาแก่ตนเอง มีความสำาเร็ จมากขึ้นเท่าไร พันธนาการของมันก็จะยิง่ สมบูรณ์มากขึ้น เท่านั้น ซึ่งก็เป็ นพันธนาการทั้งสำาหรับตัวข้าราชการเองด้วย เพราะว่าผูป้ กครองเองก็เป็ นทาสต่อ การจัดระบบและระเบียบของตนเอง เท่าๆ กับที่ผถู ้ ูกปกครองเป็ นทาสของผูป้ กครอง ขุนนางชั้น ำ อย นักบวชนิกายเยซูอิตก็ สูงของจีนก็เป็ นเครื่ องมือและอยูใ่ ต้ระบบเผด็จการเท่าๆ กับกสิ กรผูต้ ่าต้ เป็ นทาสผูน้ ่าอัปยศที่สุดของนิกายของเขา ถึงแม้วา่ ตัวนิกายเองจะมีอยูเ่ พื่ออำานาจและความสำาคัญ ร่ วมกันของสมาชิกก็ตาม 5.22 นอกจากนี้ อย่าลืมว่า การดูดเอาความสามารถหลักๆ ทั้งหมดของประเทศเข้าไปในองค์กร ปกครองย่อมเป็ นอันตราย ไม่ชา้ ก็เร็ ว ต่อกิจกรรมทางปั ญญาและความก้าวหน้าขององค์กรนั้นเอง การที่พวกเขารวมตัวเข้าด้วยกัน ทำาให้ระบบหนึ่งทำางาน ซึ่งไม่วา่ จะระบบไหน ก็ยอ่ มต้องดำาเนิน ไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่ตายตัวเสี ยส่วนใหญ่ ฉะนั้นข้าราชการจึงถูกล่อให้จมอยูใ่ ต้งานประจำาที่ เฉื่ อยชาอยูเ่ สมอ หรื อถ้าบางครั้งบางคราวพวกเขาอาจละทิ้งกิจวัตรแบบโรงสี และกรู เข้าไป หาความคิดหยาบๆ ที่เข้าใจแค่ครึ่ งๆ กลางๆ ที่สมาชิกที่เป็ นผูน้ าำ ขององค์กรบางคนคิดเพ้อฝันขึ้น มา การตรวจสอบเดียวต่อแนวโน้มที่แม้จะดูเหมือนว่าตรงกันข้าม แต่ผกู พันกันอย่างใกล้ชิดนี้ ซึ่ง
97
ก็คือสิ่ งกระตุน้ เร้าเดียวที่รักษาความสามารถของตัวองค์กรให้อยูใ่ นมาตรฐานที่สูง ย่อมจะได้แก่ การเปิ ดรับต่อการเฝ้ าจ้องวิจารณ์ โดยผูท้ ี่มีความสามารถเท่าๆ กัน ที่อยูภ่ ายนอกองค์กร ดังนั้น จึง ควรจะมีวิถีทางในการสร้างให้เกิดความสามารถเช่นนั้นขึ้นมา อย่างเป็ นอิสระจากรัฐบาล และ ความสามารถเช่นนั้นก็ควรได้รับโอกาสและประสบการณ์ท้ งั หลายที่จาำ เป็ น เพื่อให้อาจวินิจฉัย เรื่ องเชิงปฏิบตั ิที่สาำ คัญๆ ได้อย่างถูกต้อง ถ้าเราจะมีโอกาสที่จะได้องค์กรที่มีทกั ษะและ ประสิ ทธิภาพในการทำางานอย่างเป็ นการถาวร เหนืออื่นใด คือเป็ นองค์กรที่สามารถสร้างการ พัฒนา และเต็มใจที่จะรับการพัฒนาให้กา้ วหน้าขึ้นไป ถ้าเราจะป้ องกันไม่ให้ระบบราชการของเรา ำ งอยูก่ บั กฎระเบียบ องค์กรนี้จะต้องไม่ครอบครองหน้าที่การงาน เสื่ อมถอยลงไปสู่ระบบที่คร่ าเคร่ ทั้งปวงซึ่งสร้างเสริ มสมรรถนะที่จาำ เป็ นสำาหรับการปกครองของมนุษย์ชาติ อยูฝ่ ่ ายเดียว 5.23 การกำาหนดจุดเริ่ มต้นของความชัว่ ร้าย ซึ่งน่าสะพรึ งกลัวอย่างยิง่ ต่อเสรี ภาพและความ ก้าวหน้าของมนุษย์ หรื อที่จริ งก็คือจุดที่ความชัว่ ร้ายเริ่ มมีอิทธิ พลเหนือผลประโยชน์ที่มากับการ ใช้อาำ นาจร่ วมกันของสังคม ภายใต้ส่วนที่สาำ คัญที่สุดที่เป็ นที่ยอมรับ สำาหรับการกำาจัดอุปสรรคที่ ขวางกั้นความผาสุกของสังคม การจะสร้างความมัน่ คงให้กบั ความได้เปรี ยบต่างๆ ของอำานาจและ ปัญญาจากส่วนกลาง ให้มากเท่าที่สามารถจะมีได้ โดยไม่มอบหมายสัดส่ วนของกิจกรรมทัว่ ๆ ไป ที่มากเกินไป ให้กบั ช่องทางต่างๆ ของรัฐบาล เป็ นหนึ่งในคำาถามที่ยากและซับซ้อนที่สุดในเรื่ อง ศิลปะของการปกครอง มันเป็ นคำาถามในเรื่ องของรายละเอียด ที่จะต้องคำานึกถึงข้อพิจารณาที่ หลากหลาย และไม่อาจวางกฎเกณฑ์อะไรได้อย่างเด็ดขาด แต่ผมเชื่อว่าหลักเชิงปฏิบตั ิซ่ ึ งเป็ นที่ต้ งั ของความปลอดภัย เป็ นอุดมคติให้เฝ้ าดู เป็ นมาตรฐานสำาหรับตรวจสอบการจัดการทั้งสิ้ นที่มุ่ง หมายเพื่อเอาชนะปัญหาดังกล่าว อาจบรรจุอยูใ่ นคำาพูดนี้ คือ “การกระจายอำานาจอย่างมากที่สุด โดยสอดคล้องกับประสิ ทธิภาพ พร้อมกับการรวมศูนย์ของข้อมูลและการแพร่ กระจายข้อมูลจาก ส่ วนกลางอย่างมากที่สุดที่เป็ นไปได้” ฉะนั้น ในการบริ หารเทศบาล อาจทำาอย่างในรัฐนิวอิงแลนด์ คือมีการแบ่งเจ้าหน้าที่ออกเป็ นแผนกงานย่อยที่เล็กมากๆ ซึ่งเป็ นผูท้ ี่ถูกเลือกขึ้นมาโดยคนในพื้นที่ ในเรื่ องทุกเรื่ องที่ไม่ควรปล่อยไว้ในมือผูท้ ี่สนใจโดยตรง แต่นอกเหนือจากนี้ ในงานท้องถิ่นแต่ละ แผนก ก็ควรจะมีผบู้ ริ หารที่ทาำ หน้าที่กาำ กับดูแลจากส่ วนกลาง ที่เป็ นสาขาย่อยของรัฐบาล ผูก้ าำ กับ ดูแลนี้ควรรวบรวมข้อมูลและประสบการณ์ท้ งั หลาย ที่ได้มาจากการดำาเนินงานของสาขากิจการ สาธารณะนั้น ในทุกๆ ท้องถิ่น จากทุกอย่างที่คล้ายคลึงกัน ที่ทาำ ในต่างประเทศ และจากหลัก ทัว่ ไปทางรัฐศาสตร์ งานบริ หารส่วนกลางนี้ ควรมีสิทธิ์ ที่จะรู ้ทุกอย่างที่มีการทำาลงไป และควร มีหน้าที่พิเศษในการทำาให้ความรู้ที่ได้จากที่หนึ่ง เป็ นความรู ้สาำ หรับที่อื่นๆ ด้วย และด้วยการที่ พวกเขาเป็ นอิสระจากอคติเล็กๆ น้อยๆ และทัศนะอันคับแคบของท้องถิ่น เนื่องจากการมีตาำ แหน่ง ที่สูง และขอบเขตการสังเกตที่ครอบคลุมทัว่ ข้อแนะนำาของผูบ้ ริ หารกำากับดูแลส่ วนกลางนี้ ควรจะ มีอาำ นาจให้ผอู้ ยูใ่ ต้เชื่อฟังเป็ นธรรมดา แต่อาำ นาจที่แท้จริ ง ในฐานะสถาบันที่ถาวร ผมคิดว่า ควรจะ จำากัดกับการบังคับให้เจ้าหน้าที่ทอ้ งถิ่นปฏิบตั ิตามกฎหมายที่สร้างขึ้นเป็ นเครื่ องนำาทางพวกเขา
98
แต่ในสิ่ งใดก็ตามที่ไม่ได้กาำ หนดไว้โดยกฎทัว่ ไปของการปฏิบตั ิงาน ก็ควรปล่อยให้เจ้าหน้าที่เหล่า นั้นตัดสิ นเอง ภายใต้ความรับผิดชอบต่อผูเ้ ลือกตั้ง ถ้ามีการละเมิดกฎ พวกเขาก็ควรมีความรับผิด ชอบตามกฎหมาย และตัวกฎการปฏิบตั ิงานเองก็ควรถูกกำาหนดขึ้นโดยทางนิติบญั ญัติ ผูม้ ีอาำ นาจ บริ หารและกำากับดูแลของส่วนกลางเพียงแต่เฝ้ าระวังการปฏิบตั ิตามกฎ และถ้ากฎไม่ได้รับการ ปฏิบตั ิตามให้บรรลุเป้ าประสงค์ ก็ร้องขอต่อศาล ตามแต่กรณี ให้บงั คับกฎหมาย หรื อร้องต่อผู ้ เลือกตั้ง ให้ถอดถอนเจ้าหน้าที่ที่ไม่ยอมปฏิบตั ิตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นออกเสี ย ภารกิจ เช่นนั้น คืองานกำากับดูแลซึ่งคณะกรรมการกฎหมายคนยากจนถูกมุ่งหมายให้ใช้อาำ นาจควบคุม ำ ว่ ประเทศ ไม่วา่ คณะกรรมการจะใช้อาำ นาจอะไรก็ตาม เหนือบรรดาผูบ้ ริ หารสำาหรับผูม้ ีรายได้ต่าทั เกินจากขอบเขตนี้ ย่อมถูกต้องและจำาเป็ นในกรณี เฉพาะนี้ เพื่อบำาบัดนิสยั ที่ฝังลึกของการบริ หาร ำ เพียงแต่กบั คนในท้องถิ่น แต่กบั ชุมชนโดยรวม อย่างผิดๆ ในเรื่ องซึ่งมีผลกระทบอย่างลึกล้าไม่ เพราะว่าไม่มีทอ้ งถิ่นไหนมีสิทธิทางศีลธรรมที่จะปล่อยให้การบริ หารอย่างผิดพลาดมาทำาให้ตน เป็ นที่รวมของความยากจน อันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะไหลบ่าไปสู่ทอ้ งถิ่นอื่น และทำาความเสี ยหาย แก่สภาวะทางกายภาพและทางจิตใจของชุมชนผูใ้ ช้แรงงานทั้งหมด อำานาจของการบังคับการ บริ หาร และอำานาจนิติบญั ญัติระดับรอง ที่คณะกรรมการกฎหมายคนยากจนถือครองอยูน่ ้ นั (ซึ่ง แทบไม่ได้ถูกใช้ เพราะเงื่อนไขของทัศนคติของผูค้ นต่อเรื่ องนี้ ไม่อาำ นวย) แม้จะสมเหตุผลอย่าง สมบูรณ์ในกรณีของผลประโยชน์ช้ นั หนึ่งของชาติ กลับไม่เหมาะสมอย่างยิง่ สำาหรับการกำากับ ดูแลผลประโยชน์ที่เป็ นเรื่ องท้องถิ่นล้วนๆ แต่กลไกส่ วนกลางของการรวบรวมข้อมูลและความรู ้ สำาหรับท้องถิ่น ย่อมจะมีคุณค่าอย่างเท่าเทียมกันในทุกกรมกองของการบริ หาร รัฐบาลควร สนับสนุนกิจกรรมประเภทใดก็ตามที่ไม่ได้ขดั ขวาง แต่เข้ากระตุน้ และช่วยเหลือ ให้ปัจเจก ออกแรงพยายามและพัฒนาตนเองให้มีมากที่สุดที่เป็ นไปได้ ความผิดพลาดของรัฐบาลเริ่ มต้นเมื่อ แทนที่จะผลักดันกิจกรรมและอำานาจของปัจเจกชนและองค์กรต่างๆ รัฐบาลกลับเอากิจกรรมของ ตัวเองเข้าไปแทนที่กิจกรรมของพวกเขา นัน่ ก็คือ แทนที่จะให้ความรู ้ การแนะนำา และแย้งว่าผิด ในบางครั้ง รัฐบาลกลับเอาพันธนาการไปใส่ ทาำ ให้พวกเขาทำางานยากขึ้ น หรื อสัง่ ให้พวกเขายืนดู แล้วก็ทาำ งานแทนพวกเขาเสี ยเอง ในระยะยาวแล้ว คุณค่าของรัฐก็คือคุณค่าของปั จเจกผูป้ ระกอบ กันขึ้นมาเป็ นรัฐนัน่ เอง และรัฐที่ให้ความสำาคัญต่อผลประโยชน์ของการขยายและยกระดับปั ญญา ของพวกเขา น้อยกว่าทักษะการบริ หารที่มากกว่าเล็กน้อย หรื ออะไรที่คล้ายกับสิ่ งนั้นที่ได้มาจาก การฝึ กฝนในรายละเอียดของงานธุรการ ก็ยอ่ มเท่ากับการที่รัฐทำาผูค้ นของตนให้แคระแกร็ น เพื่อที่ เขาจะได้เป็ นเครื่ องมือเชื่องๆ ของรัฐ แม้จะเพื่อเป้ าประสงค์ที่ดีกต็ าม ซึ่งรัฐก็จะพบว่า ด้วยมนุษย์ที่ เล็ก สิ่ งอันยิง่ ใหญ่ยอ่ มไม่อาจสำาเร็ จได้ และพบว่า เครื่ องจักรกลอันสมบูรณ์ ซึ่งรัฐได้สละทุกสิ่ งไป เพื่อสร้าง ในที่สุดแล้วจะไม่ให้อะไรเลย เพราะขาดเสี ยซึ่งพลังชีวิต ซึ่งรัฐเลือกที่จะขจัดมันทิ้งไป เพื่อทำาให้เครื่ องจักรทำางานอย่างราบเรี ยบ.
99
John Stuart Mill (1806–1873) On Liberty 1869
Chapter I: Introductory 1.1 THE SUBJECT of this Essay is not the so-called Liberty of the Will, so unfortunately opposed to the misnamed doctrine of Philosophical Necessity; but Civil, or Social Liberty: the nature and limits of the power which can be legitimately exercised by society over the individual. A question seldom stated, and hardly ever discussed, in general terms, but which profoundly influences the practical controversies of the age by its latent presence, and is likely soon to make itself recognised as the vital question of the future. It is so far from being new, that, in a certain sense, it has divided mankind, almost from the remotest ages; but in the stage of progress into which the more civilized portions of the species have now entered, it presents itself under new conditions, and requires a different and more fundamental treatment. The struggle between Liberty and Authority is the most conspicuous feature in the portions of history with which we are earliest familiar, particularly in that of Greece, Rome, and England. But in old times this contest was between subjects, or some classes of subjects, and the Government. By liberty, was meant protection against the tyranny of the political rulers. The rulers were conceived (except in some of the popular governments of Greece) as in a necessarily antagonistic position to the people whom they ruled. They consisted of a governing One, or a governing tribe or caste, who derived their authority from inheritance or conquest, who, at all events, did not hold it at the pleasure of the governed, and whose supremacy men did not venture, perhaps did not desire, to contest, whatever precautions might be taken against its oppressive exercise. Their power was regarded as necessary, but also as highly dangerous; as a weapon which they would attempt to use against their subjects, no less than against external
100
enemies. To prevent the weaker members of the community from being preyed on by innumerable vultures, it was needful that there should be an animal of prey stronger than the rest, commissioned to keep them down. But as the king of the vultures would be no less bent upon preying upon the flock than any of the minor harpies, it was indispensable to be in a perpetual attitude of defence against his beak and claws. The aim, therefore, of patriots was to set limits to the power which the ruler should be suffered to exercise over the community; and this limitation was what they meant by liberty. It was attempted in two ways. First, by obtaining a recognition of certain immunities, called political liberties or rights, which it was to be regarded as a breach of duty in the ruler to infringe, and which, if he did infringe, specific resistance, or general rebellion, was held to be justifiable. A second, and generally a later expedient, was the establishment of constitutional checks, by which the consent of the community, or of a body of some sort, supposed to represent its interests, was made a necessary condition to some of the more important acts of the governing power. To the first of these modes of limitation, the ruling power, in most European countries, was compelled, more or less, to submit. It was not so with the second; and, to attain this, or when already in some degree possessed, to attain it more completely, became everywhere the principal object of the lovers of liberty. And so long as mankind were content to combat one enemy by another, and to be ruled by a master, on condition of being guaranteed more or less efficaciously against his tyranny, they did not carry their aspirations beyond this point. 1.3 A time, however, came, in the progress of human affairs, when men ceased to think it a necessity of nature that their governors should be an independent power, opposed in interest to themselves. It appeared to them much better that the various magistrates of the State should be their tenants or delegates, revocable at their pleasure. In that way alone, it seemed, could they have complete security that the powers of government would never be abused to their disadvantage. By degrees this new demand for elective and temporary rulers became the prominent object of the exertions of the popular party, wherever any such party existed; and superseded, to a considerable extent, the previous efforts to limit the power of rulers. As the struggle proceeded for making the ruling power emanate from the periodical choice of the ruled, some persons began to think that too much importance had been attached to the limitation of the power itself. That (it might seem) was a resource against rulers whose interests were habitually opposed to those of the people. What was now wanted was, that the rulers should be identified with the people; that their interest and will should be the interest and will of the nation. The
101
nation did not need to be protected against its own will. There was no fear of its tyrannizing over itself. Let the rulers be effectually responsible to it, promptly removable by it, and it could afford to trust them with power of which it could itself dictate the use to be made. Their power was but the nation's own power, concentrated, and in a form convenient for exercise. This mode of thought, or rather perhaps of feeling, was common among the last generation of European liberalism, in the Continental section of which it still apparently predominates. Those who admit any limit to what a government may do, except in the case of such governments as they think ought not to exist, stand out as brilliant exceptions among the political thinkers of the Continent. A similar tone of sentiment might by this time have been prevalent in our own country, if the circumstances which for a time encouraged it, had continued unaltered. 1.4 But, in political and philosophical theories, as well as in persons, success discloses faults and infirmities which failure might have concealed from observation. The notion, that the people have no need to limit their power over themselves, might seem axiomatic, when popular government was a thing only dreamed about, or read of as having existed at some distant period of the past. Neither was that notion necessarily disturbed by such temporary aberrations as those of the French Revolution, the worst of which were the work of an usurping few, and which, in any case, belonged, not to the permanent working of popular institutions, but to a sudden and convulsive outbreak against monarchical and aristocratic despotism. In time, however, a democratic republic came to occupy a large portion of the earth's surface, and made itself felt as one of the most powerful members of the community of nations; and elective and responsible government became subject to the observations and criticisms which wait upon a great existing fact. It was now perceived that such phrases as "self-government," and "the power of the people over themselves," do not express the true state of the case. The "people" who exercise the power are not always the same people with those over whom it is exercised; and the "self-government" spoken of is not the government of each by himself, but of each by all the rest. The will of the people, moreover, practically means the will of the most numerous or the most active part of the people; the majority, or those who succeed in making themselves accepted as the majority; the people, consequently, may desire to oppress a part of their number; and precautions are as much needed against this as against any other abuse of power. The limitation, therefore, of the power of government over individuals loses none of its importance when the holders of power are regularly accountable to the community, that is, to the strongest party therein. This view of things, recommending itself equally to the intelligence of thinkers and to the inclination of those
102
important classes in European society to whose real or supposed interests democracy is adverse, has had no difficulty in establishing itself; and in political speculations "the tyranny of the majority" is now generally included among the evils against which society requires to be on its guard. 1.5 Like other tyrannies, the tyranny of the majority was at first, and is still vulgarly, held in dread, chiefly as operating through the acts of the public authorities. But reflecting persons perceived that when society is itself the tyrant—society collectively, over the separate individuals who compose it—its means of tyrannizing are not restricted to the acts which it may do by the hands of its political functionaries. Society can and does execute its own mandates: and if it issues wrong mandates instead of right, or any mandates at all in things with which it ought not to meddle, it practises a social tyranny more formidable than many kinds of political oppression, since, though not usually upheld by such extreme penalties, it leaves fewer means of escape, penetrating much more deeply into the details of life, and enslaving the soul itself. Protection, therefore, against the tyranny of the magistrate is not enough: there needs protection also against the tyranny of the prevailing opinion and feeling; against the tendency of society to impose, by other means than civil penalties, its own ideas and practices as rules of conduct on those who dissent from them; to fetter the development, and, if possible, prevent the formation, of any individuality not in harmony with its ways, and compel all characters to fashion themselves upon the model of its own. There is a limit to the legitimate interference of collective opinion with individual independence: and to find that limit, and maintain it against encroachment, is as indispensable to a good condition of human affairs, as protection against political despotism. 1.6 But though this proposition is not likely to be contested in general terms, the practical question, where to place the limit—how to make the fitting adjustment between individual independence and social control—is a subject on which nearly everything remains to be done. All that makes existence valuable to any one, depends on the enforcement of restraints upon the actions of other people. Some rules of conduct, therefore, must be imposed, by law in the first place, and by opinion on many things which are not fit subjects for the operation of law. What these rules should be, is the principal question in human affairs; but if we except a few of the most obvious cases, it is one of those which least progress has been made in resolving. No two ages, and scarcely any two countries, have decided it alike; and the decision of one age or country is a wonder to another. Yet the people of any given age and country no more suspect
103
any difficulty in it, than if it were a subject on which mankind had always been agreed. The rules which obtain among themselves appear to them self-evident and self-justifying. This all but universal illusion is one of the examples of the magical influence of custom, which is not only, as the proverb says, a second nature, but is continually mistaken for the first. The effect of custom, in preventing any misgiving respecting the rules of conduct which mankind impose on one another, is all the more complete because the subject is one on which it is not generally considered necessary that reasons should be given, either by one person to others, or by each to himself. People are accustomed to believe, and have been encouraged in the belief by some who aspire to the character of philosophers, that their feelings, on subjects of this nature, are better than reasons, and render reasons unnecessary. The practical principle which guides them to their opinions on the regulation of human conduct, is the feeling in each person's mind that everybody should be required to act as he, and those with whom he sympathizes, would like them to act. No one, indeed, acknowledges to himself that his standard of judgment is his own liking; but an opinion on a point of conduct, not supported by reasons, can only count as one person's preference; and if the reasons, when given, are a mere appeal to a similar preference felt by other people, it is still only many people's liking instead of one. To an ordinary man, however, his own preference, thus supported, is not only a perfectly satisfactory reason, but the only one he generally has for any of his notions of morality, taste, or propriety, which are not expressly written in his religious creed; and his chief guide in the interpretation even of that. Men's opinions, accordingly, on what is laudable or blameable, are affected by all the multifarious causes which influence their wishes in regard to the conduct of others, and which are as numerous as those which determine their wishes on any other subject. Sometimes their reason—at other times their prejudices or superstitions: often their social affections, not seldom their antisocial ones, their envy or jealousy, their arrogance or contemptuousness: but most commonly, their desires or fears for themselves—their legitimate or illegitimate self-interest. Wherever there is an ascendant class, a large portion of the morality of the country emanates from its class interests, and its feelings of class superiority. The morality between Spartans and Helots, between planters and negroes, between princes and subjects, between nobles and roturiers, between men and women, has been for the most part the creation of these class interests and feelings: and the sentiments thus generated, react in turn upon the moral feelings of the members of the ascendant class, in their relations among themselves. Where, on the other hand, a class, formerly ascendant, has lost its ascendancy, or where its ascendancy is unpopular,
104
the prevailing moral sentiments frequently bear the impress of an impatient dislike of superiority. Another grand determining principle of the rules of conduct, both in act and forbearance, which have been enforced by law or opinion, has been the servility of mankind towards the supposed preferences or aversions of their temporal masters, or of their gods. This servility, though essentially selfish, is not hypocrisy; it gives rise to perfectly genuine sentiments of abhorrence; it made men burn magicians and heretics. Among so many baser influences, the general and obvious interests of society have of course had a share, and a large one, in the direction of the moral sentiments: less, however, as a matter of reason, and on their own account, than as a consequence of the sympathies and antipathies which grew out of them: and sympathies and antipathies which had little or nothing to do with the interests of society, have made themselves felt in the establishment of moralities with quite as great force. 1.7 The likings and dislikings of society, or of some powerful portion of it, are thus the main thing which has practically determined the rules laid down for general observance, under the penalties of law or opinion. And in general, those who have been in advance of society in thought and feeling, have left this condition of things unassailed in principle, however they may have come into conflict with it in some of its details. They have occupied themselves rather in inquiring what things society ought to like or dislike, than in questioning whether its likings or dislikings should be a law to individuals. They preferred endeavouring to alter the feelings of mankind on the particular points on which they were themselves heretical, rather than make common cause in defence of freedom, with heretics generally. The only case in which the higher ground has been taken on principle and maintained with consistency, by any but an individual here and there, is that of religious belief: a case instructive in many ways, and not least so as forming a most striking instance of the fallibility of what is called the moral sense: for the odium theologicum, in a sincere bigot, is one of the most unequivocal cases of moral feeling. Those who first broke the yoke of what called itself the Universal Church, were in general as little willing to permit difference of religious opinion as that church itself. But when the heat of the conflict was over, without giving a complete victory to any party, and each church or sect was reduced to limit its hopes to retaining possession of the ground it already occupied; minorities, seeing that they had no chance of becoming majorities, were under the necessity of pleading to those whom they could not convert, for permission to differ. It is accordingly on this battle field, almost solely, that the rights of the individual against society have been asserted on broad grounds of principle, and the claim of society to exercise authority over dissentients,
105
openly controverted. The great writers to whom the world owes what religious liberty it possesses, have mostly asserted freedom of conscience as an indefeasible right, and denied absolutely that a human being is accountable to others for his religious belief. Yet so natural to mankind is intolerance in whatever they really care about, that religious freedom has hardly anywhere been practically realized, except where religious indifference, which dislikes to have its peace disturbed by theological quarrels, has added its weight to the scale. In the minds of almost all religious persons, even in the most tolerant countries, the duty of toleration is admitted with tacit reserves. One person will bear with dissent in matters of church government, but not of dogma; another can tolerate everybody, short of a Papist or an Unitarian; another, every one who believes in revealed religion; a few extend their charity a little further, but stop at the belief in a God and in a future state. Wherever the sentiment of the majority is still genuine and intense, it is found to have abated little of its claim to be obeyed. 1.8 In England, from the peculiar circumstances of our political history, though the yoke of opinion is perhaps heavier, that of law is lighter, than in most other countries of Europe; and there is considerable jealousy of direct interference, by the legislative or the executive power, with private conduct; not so much from any just regard for the independence of the individual, as from the still subsisting habit of looking on the government as representing an opposite interest to the public. The majority have not yet learnt to feel the power of the government their power, or its opinions their opinions. When they do so, individual liberty will probably be as much exposed to invasion from the government, as it already is from public opinion. But, as yet, there is a considerable amount of feeling ready to be called forth against any attempt of the law to control individuals in things in which they have not hitherto been accustomed to be controlled by it; and this with very little discrimination as to whether the matter is, or is not, within the legitimate sphere of legal control; insomuch that the feeling, highly salutary on the whole, is perhaps quite as often misplaced as well grounded in the particular instances of its application. There is, in fact, no recognised principle by which the propriety or impropriety of government interference is customarily tested. People decide according to their personal preferences. Some, whenever they see any good to be done, or evil to be remedied, would willingly instigate the government to undertake the business; while others prefer to bear almost any amount of social evil, rather than add one to the departments of human interests amenable to governmental control. And men range themselves on one or the other side in any particular case, according to this general direction of their sentiments; or according to the degree of interest which they feel
106
in the particular thing which it is proposed that the government should do, or according to the belief they entertain that the government would, or would not, do it in the manner they prefer; but very rarely on account of any opinion to which they consistently adhere, as to what things are fit to be done by a government. And it seems to me that in consequence of this absence of rule or principle, one side is at present as often wrong as the other; the interference of government is, with about equal frequency, improperly invoked and improperly condemned. 1.9 The object of this Essay is to assert one very simple principle, as entitled to govern absolutely the dealings of society with the individual in the way of compulsion and control, whether the means used be physical force in the form of legal penalties, or the moral coercion of public opinion. That principle is, that the sole end for which mankind are warranted, individually or collectively, in interfering with the liberty of action of any of their number, is self-protection. That the only purpose for which power can be rightfully exercised over any member of a civilized community, against his will, is to prevent harm to others. His own good, either physical or moral, is not a sufficient warrant. He cannot rightfully be compelled to do or forbear because it will be better for him to do so, because it will make him happier, because, in the opinions of others, to do so would be wise, or even right. These are good reasons for remonstrating with him, or reasoning with him, or persuading him, or entreating him, but not for compelling him, or visiting him with any evil in case he do otherwise. To justify that, the conduct from which it is desired to deter him, must be calculated to produce evil to some one else. The only part of the conduct of any one, for which he is amenable to society, is that which concerns others. In the part which merely concerns himself, his independence is, of right, absolute. Over himself, over his own body and mind, the individual is sovereign. 1.10 It is, perhaps, hardly necessary to say that this doctrine is meant to apply only to human beings in the maturity of their faculties. We are not speaking of children, or of young persons below the age which the law may fix as that of manhood or womanhood. Those who are still in a state to require being taken care of by others, must be protected against their own actions as well as against external injury. For the same reason, we may leave out of consideration those backward states of society in which the race itself may be considered as in its nonage. The early difficulties in the way of spontaneous progress are so great, that there is seldom any choice of means for overcoming them; and a ruler full of the spirit of improvement is warranted in the use of any expedients that will attain an end, perhaps otherwise unattainable. Despotism is a legitimate mode of government in dealing with barbarians, provided the end be their
107
improvement, and the means justified by actually effecting that end. Liberty, as a principle, has no application to any state of things anterior to the time when mankind have become capable of being improved by free and equal discussion. Until then, there is nothing for them but implicit obedience to an Akbar or a Charlemagne, if they are so fortunate as to find one. But as soon as mankind have attained the capacity of being guided to their own improvement by conviction or persuasion (a period long since reached in all nations with whom we need here concern ourselves), compulsion, either in the direct form or in that of pains and penalties for noncompliance, is no longer admissible as a means to their own good, and justifiable only for the security of others. 1.11 It is proper to state that I forego any advantage which could be derived to my argument from the idea of abstract right, as a thing independent of utility. I regard utility as the ultimate appeal on all ethical questions; but it must be utility in the largest sense, grounded on the permanent interests of man as a progressive being. Those interests, I contend, authorize the subjection of individual spontaneity to external control, only in respect to those actions of each, which concern the interest of other people. If any one does an act hurtful to others, there is a prim창 facie case for punishing him, by law, or, where legal penalties are not safely applicable, by general disapprobation. There are also many positive acts for the benefit of others, which he may rightfully be compelled to perform; such as, to give evidence in a court of justice; to bear his fair share in the common defence, or in any other joint work necessary to the interest of the society of which he enjoys the protection; and to perform certain acts of individual beneficence, such as saving a fellow-creature's life, or interposing to protect the defenceless against ill-usage, things which whenever it is obviously a man's duty to do, he may rightfully be made responsible to society for not doing. A person may cause evil to others not only by his actions but by his inaction, and in either case he is justly accountable to them for the injury. The latter case, it is true, requires a much more cautious exercise of compulsion than the former. To make any one answerable for doing evil to others, is the rule; to make him answerable for not preventing evil, is, comparatively speaking, the exception. Yet there are many cases clear enough and grave enough to justify that exception. In all things which regard the external relations of the individual, he is de jure amenable to those whose interests are concerned, and if need be, to society as their protector. There are often good reasons for not holding him to the responsibility; but these reasons must arise from the special expediencies of the case: either because it is a kind of case in which he is on the whole likely to act better, when left to his own discretion, than
108
when controlled in any way in which society have it in their power to control him; or because the attempt to exercise control would produce other evils, greater than those which it would prevent. When such reasons as these preclude the enforcement of responsibility, the conscience of the agent himself should step into the vacant judgment seat, and protect those interests of others which have no external protection; judging himself all the more rigidly, because the case does not admit of his being made accountable to the judgment of his fellow-creatures. 1.12 But there is a sphere of action in which society, as distinguished from the individual, has, if any, only an indirect interest; comprehending all that portion of a person's life and conduct which affects only himself, or if it also affects others, only with their free, voluntary, and undeceived consent and participation. When I say only himself, I mean directly, and in the first instance: for whatever affects himself, may affect others through himself; and the objection which may be grounded on this contingency, will receive consideration in the sequel. This, then, is the appropriate region of human liberty. It comprises, first, the inward domain of consciousness; demanding liberty of conscience, in the most comprehensive sense; liberty of thought and feeling; absolute freedom of opinion and sentiment on all subjects, practical or speculative, scientific, moral, or theological. The liberty of expressing and publishing opinions may seem to fall under a different principle, since it belongs to that part of the conduct of an individual which concerns other people; but, being almost of as much importance as the liberty of thought itself, and resting in great part on the same reasons, is practically inseparable from it. Secondly, the principle requires liberty of tastes and pursuits; of framing the plan of our life to suit our own character; of doing as we like, subject to such consequences as may follow: without impediment from our fellow-creatures, so long as what we do does not harm them, even though they should think our conduct foolish, perverse, or wrong. Thirdly, from this liberty of each individual, follows the liberty, within the same limits, of combination among individuals; freedom to unite, for any purpose not involving harm to others: the persons combining being supposed to be of full age, and not forced or deceived. 1.13 No society in which these liberties are not, on the whole, respected, is free, whatever may be its form of government; and none is completely free in which they do not exist absolute and unqualified. The only freedom which deserves the name, is that of pursuing our own good in our own way, so long as we do not attempt to deprive others of theirs, or impede their efforts to obtain it. Each is the proper guardian of his own health, whether bodily, or mental and
109
spiritual. Mankind are greater gainers by suffering each other to live as seems good to themselves, than by compelling each to live as seems good to the rest. 1.14 Though this doctrine is anything but new, and, to some persons, may have the air of a truism, there is no doctrine which stands more directly opposed to the general tendency of existing opinion and practice. Society has expended fully as much effort in the attempt (according to its lights) to compel people to conform to its notions of personal, as of social excellence. The ancient commonwealths thought themselves entitled to practise, and the ancient philosophers countenanced, the regulation of every part of private conduct by public authority, on the ground that the State had a deep interest in the whole bodily and mental discipline of every one of its citizens; a mode of thinking which may have been admissible in small republics surrounded by powerful enemies, in constant peril of being subverted by foreign attack or internal commotion, and to which even a short interval of relaxed energy and self-command might so easily be fatal, that they could not afford to wait for the salutary permanent effects of freedom. In the modern world, the greater size of political communities, and above all, the separation between spiritual and temporal authority (which placed the direction of men's consciences in other hands than those which controlled their worldly affairs), prevented so great an interference by law in the details of private life; but the engines of moral repression have been wielded more strenuously against divergence from the reigning opinion in self-regarding, than even in social matters; religion, the most powerful of the elements which have entered into the formation of moral feeling, having almost always been governed either by the ambition of a hierarchy, seeking control over every department of human conduct, or by the spirit of Puritanism. And some of those modern reformers who have placed themselves in strongest opposition to the religions of the past, have been noway behind either churches or sects in their assertion of the right of spiritual domination: M. Comte, in particular, whose social system, as unfolded in his Systeme de Politique Positive, aims at establishing (though by moral more than by legal appliances) a despotism of society over the individual, surpassing anything contemplated in the political ideal of the most rigid disciplinarian among the ancient philosophers. 1.15 Apart from the peculiar tenets of individual thinkers, there is also in the world at large an increasing inclination to stretch unduly the powers of society over the individual, both by the force of opinion and even by that of legislation: and as the tendency of all the changes taking place in the world is to strengthen society, and diminish the power of the individual, this
110
encroachment is not one of the evils which tend spontaneously to disappear, but, on the contrary, to grow more and more formidable. The disposition of mankind, whether as rulers or as fellow-citizens, to impose their own opinions and inclinations as a rule of conduct on others, is so energetically supported by some of the best and by some of the worst feelings incident to human nature, that it is hardly ever kept under restraint by anything but want of power; and as the power is not declining, but growing, unless a strong barrier of moral conviction can be raised against the mischief, we must expect, in the present circumstances of the world, to see it increase. 1.16 It will be convenient for the argument, if, instead of at once entering upon the general thesis, we confine ourselves in the first instance to a single branch of it, on which the principle here stated is, if not fully, yet to a certain point, recognised by the current opinions. This one branch is the Liberty of Thought: from which it is impossible to separate the cognate liberty of speaking and of writing. Although these liberties, to some considerable amount, form part of the political morality of all countries which profess religious toleration and free institutions, the grounds, both philosophical and practical, on which they rest, are perhaps not so familiar to the general mind, nor so thoroughly appreciated by many even of the leaders of opinion, as might have been expected. Those grounds, when rightly understood, are of much wider application than to only one division of the subject, and a thorough consideration of this part of the question will be found the best introduction to the remainder. Those to whom nothing which I am about to say will be new, may therefore, I hope, excuse me, if on a subject which for now three centuries has been so often discussed, I venture on one discussion more.
111
Chapter II: Of the Liberty of Thought and Discussion
2.1 THE TIME, it is to be hoped, is gone by, when any defence would be necessary of the "liberty of the press" as one of the securities against corrupt or tyrannical government. No argument, we may suppose, can now be needed, against permitting a legislature or an executive, not identified in interest with the people, to prescribe opinions to them, and determine what doctrines or what arguments they shall be allowed to hear. This aspect of the question, besides, has been so often and so triumphantly enforced by preceding writers, that it needs not be specially insisted on in this place. Though the law of England, on the subject of the press, is as servile to this day as it was in the time of the Tudors, there is little danger of its being actually put in force against political discussion, except during some temporary panic, when fear of insurrection drives ministers and judges from their propriety 1; and, speaking generally, it is not, in constitutional countries, to be apprehended, that the government, whether completely responsible to the people or not, will often attempt to control the expression of opinion, except when in doing so it makes itself the organ of the general intolerance of the public. Let us suppose, therefore, that the government is entirely at one with the people, and never thinks of exerting any power of coercion unless in agreement with what it conceives to be their voice. But I deny the right of the people to exercise such coercion, either by themselves or by their government. The power itself is illegitimate. The best government has no more title to it than the worst. It is as noxious, or more noxious, when exerted in accordance with public opinion, than when in opposition to it. If all mankind minus one, were of one opinion, and only one person were of the contrary opinion, mankind would be no more justified in silencing that one 1
These words hadProsecutions scarcely beenof written, when, as if tointerference give them an emphatic contradiction, occurred has the Government Press 1858. That ill-judged with the liberty of public discussion not, however, induced me to the altereraa ofsingle word the text,fornorpolitical has it atdiscussion all weakened that, moments of panic excepted, pains and inpenalties has,theinmy ourconviction ownthey country, passed away. For, in the first place, the prosecutions were not persisted in; and, in second, were never, speaking, political charged an wasimmoral not that doctrine, of criticising or the actsproperly or persons of rulers, but prosecutions. of circulatingThe whatoffence was deemed the institutions, lawfulness of Tyrannicide. If the arguments of the aspresent chapter are of conviction, any validity,anythere ought to exist the fullest itliberty of professing and discussing, a be matter of ethical doctrine, however immoral may be considered. It would, therefore, irrelevant and out of place to examine here, whether the doctrine of Tyrannicide deserves that title. I shall content myself with saying that the subject has been at all times one of the openabove questions morals; that thehimself act of beyond a privatethecitizen inofstriking down a criminal, who, byhasraising himself the of law, has and placed reach legal punishment orbutcontrol, been accounted by whole nations, by some of the best and wisest of men, not a crime, an act of exalted virtue; and that, wrong, case, it is not of subject assassination, but of civilbut war.only As such, hold act that has the instigation to atit,right in aoraspecific mayof the becananature proper of punishment, if an Iovert followed, and least probable connexion be established between the act and the instigation. Even then, itcanis legitimately not a foreignpunish government, the very government assailed, which alone, in the exercise of self-defence, attacks but directed against its own existence.
112
person, than he, if he had the power, would be justified in silencing mankind. Were an opinion a personal possession of no value except to the owner; if to be obstructed in the enjoyment of it were simply a private injury, it would make some difference whether the injury was inflicted only on a few persons or on many. But the peculiar evil of silencing the expression of an opinion is, that it is robbing the human race; posterity as well as the existing generation; those who dissent from the opinion, still more than those who hold it. If the opinion is right, they are deprived of the opportunity of exchanging error for truth: if wrong, they lose, what is almost as great a benefit, the clearer perception and livelier impression of truth, produced by its collision with error. 2.2 It is necessary to consider separately these two hypotheses, each of which has a distinct branch of the argument corresponding to it. We can never be sure that the opinion we are endeavouring to stifle is a false opinion; and if we were sure, stifling it would be an evil still. 2.3 First: the opinion which it is attempted to suppress by authority may possibly be true. Those who desire to suppress it, of course deny its truth; but they are not infallible. They have no authority to decide the question for all mankind, and exclude every other person from the means of judging. To refuse a hearing to an opinion, because they are sure that it is false, is to assume that their certainty is the same thing as absolute certainty. All silencing of discussion is an assumption of infallibility. Its condemnation may be allowed to rest on this common argument, not the worse for being common. 2.4 Unfortunately for the good sense of mankind, the fact of their fallibility is far from carrying the weight in their practical judgment, which is always allowed to it in theory; for while every one well knows himself to be fallible, few think it necessary to take any precautions against their own fallibility, or admit the supposition that any opinion, of which they feel very certain, may be one of the examples of the error to which they acknowledge themselves to be liable. Absolute princes, or others who are accustomed to unlimited deference, usually feel this complete confidence in their own opinions on nearly all subjects. People more happily situated, who sometimes hear their opinions disputed, and are not wholly unused to be set right when they are wrong, place the same unbounded reliance only on such of their opinions as are shared by all who surround them, or to whom they habitually defer: for in proportion to a man's want of confidence in his own solitary judgment, does he usually repose, with implicit trust, on the infallibility of "the world" in general. And the world, to each individual, means the part of it with which he comes in contact; his party, his sect, his church, his class of society: the man may
113
be called, by comparison, almost liberal and large-minded to whom it means anything so comprehensive as his own country or his own age. Nor is his faith in this collective authority at all shaken by his being aware that other ages, countries, sects, churches, classes, and parties have thought, and even now think, the exact reverse. He devolves upon his own world the responsibility of being in the right against the dissentient worlds of other people; and it never troubles him that mere accident has decided which of these numerous worlds is the object of his reliance, and that the same causes which make him a Churchman in London, would have made him a Buddhist or a Confucian in Pekin. Yet it is as evident in itself, as any amount of argument can make it, that ages are no more infallible than individuals; every age having held many opinions which subsequent ages have deemed not only false but absurd; and it is as certain that many opinions, now general, will be rejected by future ages, as it is that many, once general, are rejected by the present. 2.5 The objection likely to be made to this argument, would probably take some such form as the following. There is no greater assumption of infallibility in forbidding the propagation of error, than in any other thing which is done by public authority on its own judgment and responsibility. Judgment is given to men that they may use it. Because it may be used erroneously, are men to be told that they ought not to use it at all? To prohibit what they think pernicious, is not claiming exemption from error, but fulfilling the duty incumbent on them, although fallible, of acting on their conscientious conviction. If we were never to act on our opinions, because those opinions may be wrong, we should leave all our interests uncared for, and all our duties unperformed. An objection which applies to all conduct, can be no valid objection to any conduct in particular. It is the duty of governments, and of individuals, to form the truest opinions they can; to form them carefully, and never impose them upon others unless they are quite sure of being right. But when they are sure (such reasoners may say), it is not conscientiousness but cowardice to shrink from acting on their opinions, and allow doctrines which they honestly think dangerous to the welfare of mankind, either in this life or in another, to be scattered abroad without restraint, because other people, in less enlightened times, have persecuted opinions now believed to be true. Let us take care, it may be said, not to make the same mistake: but governments and nations have made mistakes in other things, which are not denied to be fit subjects for the exercise of authority: they have laid on bad taxes, made unjust wars. Ought we therefore to lay on no taxes, and, under whatever provocation, make no wars? Men, and governments, must act to the best of their ability. There is no such thing as absolute
114
certainty, but there is assurance sufficient for the purposes of human life. We may, and must, assume our opinion to be true for the guidance of our own conduct: and it is assuming no more when we forbid bad men to pervert society by the propagation of opinions which we regard as false and pernicious. 2.6 I answer, that it is assuming very much more. There is the greatest difference between presuming an opinion to be true, because, with every opportunity for contesting it, it has not been refuted, and assuming its truth for the purpose of not permitting its refutation. Complete liberty of contradicting and disproving our opinion, is the very condition which justifies us in assuming its truth for purposes of action; and on no other terms can a being with human faculties have any rational assurance of being right. 2.7 When we consider either the history of opinion, or the ordinary conduct of human life, to what is it to be ascribed that the one and the other are no worse than they are? Not certainly to the inherent force of the human understanding; for, on any matter not self-evident, there are ninety-nine persons totally incapable of judging of it, for one who is capable; and the capacity of the hundredth person is only comparative; for the majority of the eminent men of every past generation held many opinions now known to be erroneous, and did or approved numerous things which no one will now justify. Why is it, then, that there is on the whole a preponderance among mankind of rational opinions and rational conduct? If there really is this preponderance —which there must be unless human affairs are, and have always been, in an almost desperate state—it is owing to a quality of the human mind, the source of everything respectable in man either as an intellectual or as a moral being, namely, that his errors are corrigible. He is capable of rectifying his mistakes, by discussion and experience. Not by experience alone. There must be discussion, to show how experience is to be interpreted. Wrong opinions and practices gradually yield to fact and argument: but facts and arguments, to produce any effect on the mind, must be brought before it. Very few facts are able to tell their own story, without comments to bring out their meaning. The whole strength and value, then, of human judgment, depending on the one property, that it can be set right when it is wrong, reliance can be placed on it only when the means of setting it right are kept constantly at hand. In the case of any person whose judgment is really deserving of confidence, how has it become so? Because he has kept his mind open to criticism of his opinions and conduct. Because it has been his practice to listen to all that could be said against him; to profit by as much of it as was just, and expound to himself, and upon occasion to others, the fallacy of what was fallacious. Because he has felt,
115
that the only way in which a human being can make some approach to knowing the whole of a subject, is by hearing what can be said about it by persons of every variety of opinion, and studying all modes in which it can be looked at by every character of mind. No wise man ever acquired his wisdom in any mode but this; nor is it in the nature of human intellect to become wise in any other manner. The steady habit of correcting and completing his own opinion by collating it with those of others, so far from causing doubt and hesitation in carrying it into practice, is the only stable foundation for a just reliance on it: for, being cognisant of all that can, at least obviously, be said against him, and having taken up his position against all gainsayers—knowing that he has sought for objections and difficulties, instead of avoiding them, and has shut out no light which can be thrown upon the subject from any quarter—he has a right to think his judgment better than that of any person, or any multitude, who have not gone through a similar process. 2.8 It is not too much to require that what the wisest of mankind, those who are best entitled to trust their own judgment, find necessary to warrant their relying on it, should be submitted to by that miscellaneous collection of a few wise and many foolish individuals, called the public. The most intolerant of churches, the Roman Catholic Church, even at the canonization of a saint, admits, and listens patiently to, a "devil's advocate." The holiest of men, it appears, cannot be admitted to posthumous honours, until all that the devil could say against him is known and weighed. If even the Newtonian philosophy were not permitted to be questioned, mankind could not feel as complete assurance of its truth as they now do. The beliefs which we have most warrant for, have no safeguard to rest on, but a standing invitation to the whole world to prove them unfounded. If the challenge is not accepted, or is accepted and the attempt fails, we are far enough from certainty still; but we have done the best that the existing state of human reason admits of; we have neglected nothing that could give the truth a chance of reaching us: if the lists are kept open, we may hope that if there be a better truth, it will be found when the human mind is capable of receiving it; and in the meantime we may rely on having attained such approach to truth, as is possible in our own day. This is the amount of certainty attainable by a fallible being, and this the sole way of attaining it. 2.9 Strange it is, that men should admit the validity of the arguments for free discussion, but object to their being "pushed to an extreme;" not seeing that unless the reasons are good for an extreme case, they are not good for any case. Strange that they should imagine that they are not assuming infallibility, when they acknowledge that there should be free discussion on all
116
subjects which can possibly be doubtful, but think that some particular principle or doctrine should be forbidden to be questioned because it is so certain, that is, because they are certain that it is certain. To call any proposition certain, while there is any one who would deny its certainty if permitted, but who is not permitted, is to assume that we ourselves, and those who agree with us, are the judges of certainty, and judges without hearing the other side. 2.10 In the present age—which has been described as "destitute of faith, but terrified at scepticism"—in which people feel sure, not so much that their opinions are true, as that they should not know what to do without them—the claims of an opinion to be protected from public attack are rested not so much on its truth, as on its importance to society. There are, it is alleged, certain beliefs, so useful, not to say indispensable to well-being, that it is as much the duty of governments to uphold those beliefs, as to protect any other of the interests of society. In a case of such necessity, and so directly in the line of their duty, something less than infallibility may, it is maintained, warrant, and even bind, governments, to act on their own opinion, confirmed by the general opinion of mankind. It is also often argued, and still oftener thought, that none but bad men would desire to weaken these salutary beliefs; and there can be nothing wrong, it is thought, in restraining bad men, and prohibiting what only such men would wish to practise. This mode of thinking makes the justification of restraints on discussion not a question of the truth of doctrines, but of their usefulness; and flatters itself by that means to escape the responsibility of claiming to be an infallible judge of opinions. But those who thus satisfy themselves, do not perceive that the assumption of infallibility is merely shifted from one point to another. The usefulness of an opinion is itself matter of opinion: as disputable, as open to discussion, and requiring discussion as much, as the opinion itself. There is the same need of an infallible judge of opinions to decide an opinion to be noxious, as to decide it to be false, unless the opinion condemned has full opportunity of defending itself. And it will not do to say that the heretic may be allowed to maintain the utility or harmlessness of his opinion, though forbidden to maintain its truth. The truth of an opinion is part of its utility. If we would know whether or not it is desirable that a proposition should be believed, is it possible to exclude the consideration of whether or not it is true? In the opinion, not of bad men, but of the best men, no belief which is contrary to truth can be really useful: and can you prevent such men from urging that plea, when they are charged with culpability for denying some doctrine which they are told is useful, but which they believe to be false? Those who are on the side of received opinions, never fail to take all possible advantage of this plea; you do not find them handling the question
117
of utility as if it could be completely abstracted from that of truth: on the contrary, it is, above all, because their doctrine is the "truth," that the knowledge or the belief of it is held to be so indispensable. There can be no fair discussion of the question of usefulness, when an argument so vital may be employed on one side, but not on the other. And in point of fact, when law or public feeling do not permit the truth of an opinion to be disputed, they are just as little tolerant of a denial of its usefulness. The utmost they allow is an extenuation of its absolute necessity, or of the positive guilt of rejecting it. 2.11 In order more fully to illustrate the mischief of denying a hearing to opinions because we, in our own judgment, have condemned them, it will be desirable to fix down the discussion to a concrete case; and I choose, by preference, the cases which are least favourable to me—in which the argument against freedom of opinion, both on the score of truth and on that of utility, is considered the strongest. Let the opinions impugned be the belief in a God and in a future state, or any of the commonly received doctrines of morality. To fight the battle on such ground, gives a great advantage to an unfair antagonist; since he will be sure to say (and many who have no desire to be unfair will say it internally), Are these the doctrines which you do not deem sufficiently certain to be taken under the protection of law? Is the belief in a God one of the opinions, to feel sure of which, you hold to be assuming infallibility? But I must be permitted to observe, that it is not the feeling sure of a doctrine (be it what it may) which I call an assumption of infallibility. It is the undertaking to decide that question for others, without allowing them to hear what can be said on the contrary side. And I denounce and reprobate this pretension not the less, if put forth on the side of my most solemn convictions. However positive any one's persuasion may be, not only of the falsity but of the pernicious consequences—not only of the pernicious consequences, but (to adopt expressions which I altogether condemn) the immorality and impiety of an opinion; yet if, in pursuance of that private judgment, though backed by the public judgment of his country or his contemporaries, he prevents the opinion from being heard in its defence, he assumes infallibility. And so far from the assumption being less objectionable or less dangerous because the opinion is called immoral or impious, this is the case of all others in which it is most fatal. These are exactly the occasions on which the men of one generation commit those dreadful mistakes, which excite the astonishment and horror of posterity. It is among such that we find the instances memorable in history, when the arm of the law has been employed to root out the best men and the noblest doctrines; with deplorable success as to the
118
men, though some of the doctrines have survived to be (as if in mockery) invoked, in defence of similar conduct towards those who dissent from them, or from their received interpretation. 2.12 Mankind can hardly be too often reminded, that there was once a man named Socrates, between whom and the legal authorities and public opinion of his time, there took place a memorable collision. Born in an age and country abounding in individual greatness, this man has been handed down to us by those who best knew both him and the age, as the most virtuous man in it; while we know him as the head and prototype of all subsequent teachers of virtue, the source equally of the lofty inspiration of Plato and the judicious utilitarianism of Aristotle, "i maëstri di color che sanno," the two headsprings of ethical as of all other philosophy. This acknowledged master of all the eminent thinkers who have since lived—whose fame, still growing after more than two thousand years, all but outweighs the whole remainder of the names which make his native city illustrious—was put to death by his countrymen, after a judicial conviction, for impiety and immorality. Impiety, in denying the gods recognised by the State; indeed his accuser asserted (see the Apologia) that he believed in no gods at all. Immorality, in being, by his doctrines and instructions, a "corrupter of youth." Of these charges the tribunal, there is every ground for believing, honestly found him guilty, and condemned the man who probably of all then born had deserved best of mankind, to be put to death as a criminal. 2.13 To pass from this to the only other instance of judicial iniquity, the mention of which, after the condemnation of Socrates, would not be an anti-climax: the event which took place on Calvary rather more than eighteen hundred years ago. The man who left on the memory of those who witnessed his life and conversation, such an impression of his moral grandeur, that eighteen subsequent centuries have done homage to him as the Almighty in person, was ignominiously put to death, as what? As a blasphemer. Men did not merely mistake their benefactor; they mistook him for the exact contrary of what he was, and treated him as that prodigy of impiety, which they themselves are now held to be, for their treatment of him. The feelings with which mankind now regard these lamentable transactions, especially the later of the two, render them extremely unjust in their judgment of the unhappy actors. These were, to all appearance, not bad men—not worse than men most commonly are, but rather the contrary; men who possessed in a full, or somewhat more than a full measure, the religious, moral, and patriotic feelings of their time and people: the very kind of men who, in all times, our own included, have every chance of passing through life blameless and respected. The high-priest who rent his garments when the
119
words were pronounced, which, according to all the ideas of his country, constituted the blackest guilt, was in all probability quite as sincere in his horror and indignation, as the generality of respectable and pious men now are in the religious and moral sentiments they profess; and most of those who now shudder at his conduct, if they had lived in his time, and been born Jews, would have acted precisely as he did. Orthodox Christians who are tempted to think that those who stoned to death the first martyrs must have been worse men than they themselves are, ought to remember that one of those persecutors was Saint Paul. 2.14 Let us add one more example, the most striking of all, if the impressiveness of an error is measured by the wisdom and virtue of him who falls into it. If ever any one, possessed of power, had grounds for thinking himself the best and most enlightened among his contemporaries, it was the Emperor Marcus Aurelius. Absolute monarch of the whole civilized world, he preserved through life not only the most unblemished justice, but what was less to be expected from his Stoical breeding, the tenderest heart. The few failings which are attributed to him, were all on the side of indulgence: while his writings, the highest ethical product of the ancient mind, differ scarcely perceptibly, if they differ at all, from the most characteristic teachings of Christ. This man, a better Christian in all but the dogmatic sense of the word, than almost any of the ostensibly Christian sovereigns who have since reigned, persecuted Christianity. Placed at the summit of all the previous attainments of humanity, with an open, unfettered intellect, and a character which led him of himself to embody in his moral writings the Christian ideal, he yet failed to see that Christianity was to be a good and not an evil to the world, with his duties to which he was so deeply penetrated. Existing society he knew to be in a deplorable state. But such as it was, he saw, or thought he saw, that it was held together, and prevented from being worse, by belief and reverence of the received divinities. As a ruler of mankind, he deemed it his duty not to suffer society to fall in pieces; and saw not how, if its existing ties were removed, any others could be formed which could again knit it together. The new religion openly aimed at dissolving these ties: unless, therefore, it was his duty to adopt that religion, it seemed to be his duty to put it down. Inasmuch then as the theology of Christianity did not appear to him true or of divine origin; inasmuch as this strange history of a crucified God was not credible to him, and a system which purported to rest entirely upon a foundation to him so wholly unbelievable, could not be foreseen by him to be that renovating agency which, after all abatements, it has in fact proved to be; the gentlest and most amiable of philosophers and rulers, under a solemn sense of duty, authorized the persecution of Christianity. To my mind
120
this is one of the most tragical facts in all history. It is a bitter thought, how different a thing the Christianity of the world might have been, if the Christian faith had been adopted as the religion of the empire under the auspices of Marcus Aurelius instead of those of Constantine. But it would be equally unjust to him and false to truth, to deny, that no one plea which can be urged for punishing anti-Christian teaching, was wanting to Marcus Aurelius for punishing, as he did, the propagation of Christianity. No Christian more firmly believes that Atheism is false, and tends to the dissolution of society, than Marcus Aurelius believed the same things of Christianity; he who, of all men then living, might have been thought the most capable of appreciating it. Unless anyone who approves of punishment for the promulgation of opinions, flatters himself that he is a wiser and better man than Marcus Aurelius—more deeply versed in the wisdom of his time, more elevated in his intellect above it—more earnest in his search for truth, or more single-minded in his devotion to it when found;—let him abstain from that assumption of the joint infallibility of himself and the multitude, which the great Antoninus made with so unfortunate a result. 2.15 Aware of the impossibility of defending the use of punishment for restraining irreligious opinions, by any argument which will not justify Marcus Antoninus, the enemies of religious freedom, when hard pressed, occasionally accept this consequence, and say, with Dr. Johnson, that the persecutors of Christianity were in the right; that persecution is an ordeal through which truth ought to pass, and always passes successfully, legal penalties being, in the end, powerless against truth, though sometimes beneficially effective against mischievous errors. This is a form of the argument for religious intolerance, sufficiently remarkable not to be passed without notice. 2.16 A theory which maintains that truth may justifiably be persecuted because persecution cannot possibly do it any harm, cannot be charged with being intentionally hostile to the reception of new truths; but we cannot commend the generosity of its dealing with the persons to whom mankind are indebted for them. To discover to the world something which deeply concerns it, and of which it was previously ignorant; to prove to it that it had been mistaken on some vital point of temporal or spiritual interest, is as important a service as a human being can render to his fellow-creatures, and in certain cases, as in those of the early Christians and of the Reformers, those who think with Dr. Johnson believe it to have been the most precious gift which could be bestowed on mankind. That the authors of such splendid benefits should be requited by martyrdom; that their reward should be to be dealt with as the vilest of criminals, is
121
not, upon this theory, a deplorable error and misfortune, for which humanity should mourn in sackcloth and ashes, but the normal and justifiable state of things. The propounder of a new truth, according to this doctrine, should stand, as stood, in the legislation of the Locrians, the proposer of a new law, with a halter round his neck, to be instantly tightened if the public assembly did not, on hearing his reasons, then and there adopt his proposition. People who defend this mode of treating benefactors, cannot be supposed to set much value on the benefit; and I believe this view of the subject is mostly confined to the sort of persons who think that new truths may have been desirable once, but that we have had enough of them now. 2.17 But, indeed, the dictum that truth always triumphs over persecution, is one of those pleasant falsehoods which men repeat after one another till they pass into commonplaces, but which all experience refutes. History teems with instances of truth put down by persecution. If not suppressed forever, it may be thrown back for centuries. To speak only of religious opinions: the Reformation broke out at least twenty times before Luther, and was put down. Arnold of Brescia was put down. Fra Dolcino was put down. Savonarola was put down. The Albigeois were put down. The Vaudois were put down. The Lollards were put down. The Hussites were put down. Even after the era of Luther, wherever persecution was persisted in, it was successful. In Spain, Italy, Flanders, the Austrian empire, Protestantism was rooted out; and, most likely, would have been so in England, had Queen Mary lived, or Queen Elizabeth died. Persecution has always succeeded, save where the heretics were too strong a party to be effectually persecuted. No reasonable person can doubt that Christianity might have been extirpated in the Roman Empire. It spread, and became predominant, because the persecutions were only occasional, lasting but a short time, and separated by long intervals of almost undisturbed propagandism. It is a piece of idle sentimentality that truth, merely as truth, has any inherent power denied to error, of prevailing against the dungeon and the stake. Men are not more zealous for truth than they often are for error, and a sufficient application of legal or even of social penalties will generally succeed in stopping the propagation of either. The real advantage which truth has, consists in this, that when an opinion is true, it may be extinguished once, twice, or many times, but in the course of ages there will generally be found persons to rediscover it, until some one of its reappearances falls on a time when from favourable circumstances it escapes persecution until it has made such head as to withstand all subsequent attempts to suppress it.
122
2.18 It will be said, that we do not now put to death the introducers of new opinions: we are not like our fathers who slew the prophets, we even build sepulchres to them. It is true we no longer put heretics to death; and the amount of penal infliction which modern feeling would probably tolerate, even against the most obnoxious opinions, is not sufficient to extirpate them. But let us not flatter ourselves that we are yet free from the stain even of legal persecution. Penalties for opinion, or at least for its expression, still exist by law; and their enforcement is not, even in these times, so unexampled as to make it at all incredible that they may some day be revived in full force. In the year 1857, at the summer assizes of the county of Cornwall, an unfortunate man,2 said to be of unexceptionable conduct in all relations of life, was sentenced to twenty-one months' imprisonment, for uttering, and writing on a gate, some offensive words concerning Christianity. Within a month of the same time, at the Old Bailey, two persons, on two separate occasions,3 were rejected as jurymen, and one of them grossly insulted by the judge and by one of the counsel, because they honestly declared that they had no theological belief; and a third, a foreigner,4 for the same reason, was denied justice against a thief. This refusal of redress took place in virtue of the legal doctrine, that no person can be allowed to give evidence in a court of justice, who does not profess belief in a God (any god is sufficient) and in a future state; which is equivalent to declaring such persons to be outlaws, excluded from the protection of the tribunals; who may not only be robbed or assaulted with impunity, if no one but themselves, or persons of similar opinions, be present, but any one else may be robbed or assaulted with impunity, if the proof of the fact depends on their evidence. The assumption on which this is grounded, is that the oath is worthless, of a person who does not believe in a future state; a proposition which betokens much ignorance of history in those who assent to it (since it is historically true that a large proportion of infidels in all ages have been persons of distinguished integrity and honor); and would be maintained by no one who had the smallest conception how many of the persons in greatest repute with the world, both for virtues and for attainments, are well known, at least to their intimates, to be unbelievers. The rule, besides, is suicidal, and cuts away its own foundation. Under pretence that atheists must be liars, it admits the testimony of all atheists who are willing to lie, and rejects only those who brave the obloquy of publicly confessing a detested creed rather than affirm a falsehood. A rule thus self-convicted 2
Thomas Pooley, Bodmin Assizes, July 31, 1857. In December following, he received a free pardon from the Crown. 3 George Jacob Holyoake, August 17, 1857; Edward Truelove, July, 1857. 4 Baron de Gleichen, Marlborough-street Police Court, August 4, 1857.
123
of absurdity so far as regards its professed purpose, can be kept in force only as a badge of hatred, a relic of persecution; a persecution, too, having the peculiarity, that the qualification for undergoing it, is the being clearly proved not to deserve it. The rule, and the theory it implies, are hardly less insulting to believers than to infidels. For if he who does not believe in a future state, necessarily lies, it follows that they who do believe are only prevented from lying, if prevented they are, by the fear of hell. We will not do the authors and abettors of the rule the injury of supposing, that the conception which they have formed of Christian virtue is drawn from their own consciousness. 2.19 These, indeed, are but rags and remnants of persecution, and may be thought to be not so much an indication of the wish to persecute, as an example of that very frequent infirmity of English minds, which makes them take a preposterous pleasure in the assertion of a bad principle, when they are no longer bad enough to desire to carry it really into practice. But unhappily there is no security in the state of the public mind that the suspension of worse forms of legal persecution, which has lasted for about the space of a generation, will continue. In this age the quiet surface of routine is as often ruffled by attempts to resuscitate past evils, as to introduce new benefits. What is boasted of at the present time as the revival of religion, is always, in narrow and uncultivated minds, at least as much the revival of bigotry; and where there is the strong permanent leaven of intolerance in the feelings of a people, which at all times abides in the middle classes of this country, it needs but little to provoke them into actively persecuting those whom they have never ceased to think proper objects of persecution. 5 For it is this—it is the opinions men entertain, and the feelings they cherish, respecting those who disown the beliefs they deem important, which makes this country not a place of mental freedom. For a long time past, the chief mischief of the legal penalties is that they strengthen the social stigma. It is that stigma which is really effective, and so effective is it, that the profession of opinions which are under the ban of society is much less common in England, than is, in many other countries, the avowal of those which incur risk of judicial punishment. In respect to 5
Ample warning be worst drawnparts fromoftheourlarge infusion of theonpassions of a persecutor, which mingled with the general displaymay of charlatans the national character the occasion ofthe theheads Sepoy insurrection. The ravings of fanatics or from the pulpit may be unworthy of notice; but of the Evangelical party have by announced as theirinprinciple forBible the government of Hindoos and Mahomedans, that that no schools be supported public money which theor is notChristians. taught, andAnbyUnder-Secretary necessary consequence noa speech public employment be given to any but real pretended of State, in delivered tofaith his ofconstituents on the 12th of November, 1857, is reported towhich havethey said:called "Toleration ofbytheir faith" (the a hundred millions of ofBritish subjects), "the superstition religion, the British Government, had had the effect retarding the ascendancy of the British name, and preventing the salutary growth of let Christianity.... Toleration wasword thetoleration. great corner-stone of the religious liberties of this country; but dofreedom not them abuse that precious As he understood it, itfoundation. meant the complete liberty to all, of worship, among Christians, who worshipped upon the same It toleration oftheallfact, sectsthatanda man denominations of deemed Christians whofillbelieved in theinone mediation." ofI desire tomeant call attention to who has been fit to a high office the government this country, under a liberal Ministry, maintains the doctrine that all who do not believe in the divinity of Christ are beyond the paleaway, of toleration. passed never to Who, return?after this imbecile display, can indulge the illusion that religious persecution has
124
all persons but those whose pecuniary circumstances make them independent of the good will of other people, opinion, on this subject, is as efficacious as law; men might as well be imprisoned, as excluded from the means of earning their bread. Those whose bread is already secured, and who desire no favours from men in power, or from bodies of men, or from the public, have nothing to fear from the open avowal of any opinions, but to be ill-thought of and ill-spoken of, and this it ought not to require a very heroic mould to enable them to bear. There is no room for any appeal ad misericordiam in behalf of such persons. But though we do not now inflict so much evil on those who think differently from us, as it was formerly our custom to do, it may be that we do ourselves as much evil as ever by our treatment of them. Socrates was put to death, but the Socratic philosophy rose like the sun in heaven, and spread its illumination over the whole intellectual firmament. Christians were cast to the lions, but the Christian church grew up a stately and spreading tree, overtopping the older and less vigorous growths, and stifling them by its shade. Our merely social intolerance kills no one, roots out no opinions, but induces men to disguise them, or to abstain from any active effort for their diffusion. With us, heretical opinions do not perceptibly gain, or even lose, ground in each decade or generation; they never blaze out far and wide, but continue to smoulder in the narrow circles of thinking and studious persons among whom they originate, without ever lighting up the general affairs of mankind with either a true or a deceptive light. And thus is kept up a state of things very satisfactory to some minds, because, without the unpleasant process of fining or imprisoning anybody, it maintains all prevailing opinions outwardly undisturbed, while it does not absolutely interdict the exercise of reason by dissentients afflicted with the malady of thought. A convenient plan for having peace in the intellectual world, and keeping all things going on therein very much as they do already. But the price paid for this sort of intellectual pacification, is the sacrifice of the entire moral courage of the human mind. A state of things in which a large portion of the most active and inquiring intellects find it advisable to keep the general principles and grounds of their convictions within their own breasts, and attempt, in what they address to the public, to fit as much as they can of their own conclusions to premises which they have internally renounced, cannot send forth the open, fearless characters, and logical, consistent intellects who once adorned the thinking world. The sort of men who can be looked for under it, are either mere conformers to commonplace, or time-servers for truth, whose arguments on all great subjects are meant for their hearers, and are not those which have convinced themselves. Those who avoid this alternative, do so by narrowing their thoughts and interest to things which can be spoken of
125
without venturing within the region of principles, that is, to small practical matters, which would come right of themselves, if but the minds of mankind were strengthened and enlarged, and which will never be made effectually right until then: while that which would strengthen and enlarge men's minds, free and daring speculation on the highest subjects, is abandoned. 2.20 Those in whose eyes this reticence on the part of heretics is no evil, should consider in the first place, that in consequence of it there is never any fair and thorough discussion of heretical opinions; and that such of them as could not stand such a discussion, though they may be prevented from spreading, do not disappear. But it is not the minds of heretics that are deteriorated most, by the ban placed on all inquiry which does not end in the orthodox conclusions. The greatest harm done is to those who are not heretics, and whose whole mental development is cramped, and their reason cowed, by the fear of heresy. Who can compute what the world loses in the multitude of promising intellects combined with timid characters, who dare not follow out any bold, vigorous, independent train of thought, lest it should land them in something which would admit of being considered irreligious or immoral? Among them we may occasionally see some man of deep conscientiousness, and subtle and refined understanding, who spends a life in sophisticating with an intellect which he cannot silence, and exhausts the resources of ingenuity in attempting to reconcile the promptings of his conscience and reason with orthodoxy, which yet he does not, perhaps, to the end succeed in doing. No one can be a great thinker who does not recognise, that as a thinker it is his first duty to follow his intellect to whatever conclusions it may lead. Truth gains more even by the errors of one who, with due study and preparation, thinks for himself, than by the true opinions of those who only hold them because they do not suffer themselves to think. Not that it is solely, or chiefly, to form great thinkers, that freedom of thinking is required. On the contrary, it is as much and even more indispensable, to enable average human beings to attain the mental stature which they are capable of. There have been, and may again be, great individual thinkers, in a general atmosphere of mental slavery. But there never has been, nor ever will be, in that atmosphere, an intellectually active people. When any people has made a temporary approach to such a character, it has been because the dread of heterodox speculation was for a time suspended. Where there is a tacit convention that principles are not to be disputed; where the discussion of the greatest questions which can occupy humanity is considered to be closed, we cannot hope to find that generally high scale of mental activity which has made some periods of history so remarkable. Never when controversy avoided the subjects which are large and important enough
126
to kindle enthusiasm, was the mind of a people stirred up from its foundations, and the impulse given which raised even persons of the most ordinary intellect to something of the dignity of thinking beings. Of such we have had an example in the condition of Europe during the times immediately following the Reformation; another, though limited to the Continent and to a more cultivated class, in the speculative movement of the latter half of the eighteenth century; and a third, of still briefer duration, in the intellectual fermentation of Germany during the Goethian and Fichtean period. These periods differed widely in the particular opinions which they developed; but were alike in this, that during all three the yoke of authority was broken. In each, an old mental despotism had been thrown off, and no new one had yet taken its place. The impulse given at these three periods has made Europe what it now is. Every single improvement which has taken place either in the human mind or in institutions, may be traced distinctly to one or other of them. Appearances have for some time indicated that all three impulses are well nigh spent; and we can expect no fresh start, until we again assert our mental freedom. 2.21 Let us now pass to the second division of the argument, and dismissing the supposition that any of the received opinions may be false, let us assume them to be true, and examine into the worth of the manner in which they are likely to be held, when their truth is not freely and openly canvassed. However unwillingly a person who has a strong opinion may admit the possibility that his opinion may be false, he ought to be moved by the consideration that however true it may be, if it is not fully, frequently, and fearlessly discussed, it will be held as a dead dogma, not a living truth. 2.22There is a class of persons (happily not quite so numerous as formerly) who think it enough if a person assents undoubtingly to what they think true, though he has no knowledge whatever of the grounds of the opinion, and could not make a tenable defence of it against the most superficial objections. Such persons, if they can once get their creed taught from authority, naturally think that no good, and some harm, comes of its being allowed to be questioned. Where their influence prevails, they make it nearly impossible for the received opinion to be rejected wisely and considerately, though it may still be rejected rashly and ignorantly; for to shut out discussion entirely is seldom possible, and when it once gets in, beliefs not grounded on conviction are apt to give way before the slightest semblance of an argument. Waving, however, this possibility—assuming that the true opinion abides in the mind, but abides as a prejudice, a belief independent of, and proof against, argument—this is not the way in which truth ought to
127
be held by a rational being. This is not knowing the truth. Truth, thus held, is but one superstition the more, accidentally clinging to the words which enunciate a truth. 2.23 If the intellect and judgment of mankind ought to be cultivated, a thing which Protestants at least do not deny, on what can these faculties be more appropriately exercised by any one, than on the things which concern him so much that it is considered necessary for him to hold opinions on them? If the cultivation of the understanding consists in one thing more than in another, it is surely in learning the grounds of one's own opinions. Whatever people believe, on subjects on which it is of the first importance to believe rightly, they ought to be able to defend against at least the common objections. But, some one may say, "Let them be taught the grounds of their opinions. It does not follow that opinions must be merely parroted because they are never heard controverted. Persons who learn geometry do not simply commit the theorems to memory, but understand and learn likewise the demonstrations; and it would be absurd to say that they remain ignorant of the grounds of geometrical truths, because they never hear any one deny, and attempt to disprove them." Undoubtedly: and such teaching suffices on a subject like mathematics, where there is nothing at all to be said on the wrong side of the question. The peculiarity of the evidence of mathematical truths is, that all the argument is on one side. There are no objections, and no answers to objections. But on every subject on which difference of opinion is possible, the truth depends on a balance to be struck between two sets of conflicting reasons. Even in natural philosophy, there is always some other explanation possible of the same facts; some geocentric theory instead of heliocentric, some phlogiston instead of oxygen; and it has to be shown why that other theory cannot be the true one: and until this is shown, and until we know how it is shown, we do not understand the grounds of our opinion. But when we turn to subjects infinitely more complicated, to morals, religion, politics, social relations, and the business of life, three-fourths of the arguments for every disputed opinion consist in dispelling the appearances which favour some opinion different from it. The greatest orator, save one, of antiquity, has left it on record that he always studied his adversary's case with as great, if not with still greater, intensity than even his own. What Cicero practised as the means of forensic success, requires to be imitated by all who study any subject in order to arrive at the truth. He who knows only his own side of the case, knows little of that. His reasons may be good, and no one may have been able to refute them. But if he is equally unable to refute the reasons on the opposite side; if he does not so much as know what they are, he has no ground for preferring either opinion. The rational position for him would be suspension of judgment,
128
and unless he contents himself with that, he is either led by authority, or adopts, like the generality of the world, the side to which he feels most inclination. Nor is it enough that he should hear the arguments of adversaries from his own teachers, presented as they state them, and accompanied by what they offer as refutations. That is not the way to do justice to the arguments, or bring them into real contact with his own mind. He must be able to hear them from persons who actually believe them; who defend them in earnest, and do their very utmost for them. He must know them in their most plausible and persuasive form; he must feel the whole force of the difficulty which the true view of the subject has to encounter and dispose of; else he will never really possess himself of the portion of truth which meets and removes that difficulty. Ninety-nine in a hundred of what are called educated men are in this condition; even of those who can argue fluently for their opinions. Their conclusion may be true, but it might be false for anything they know: they have never thrown themselves into the mental position of those who think differently from them, and considered what such persons may have to say; and consequently they do not, in any proper sense of the word, know the doctrine which they themselves profess. They do not know those parts of it which explain and justify the remainder; the considerations which show that a fact which seemingly conflicts with another is reconcilable with it, or that, of two apparently strong reasons, one and not the other ought to be preferred. All that part of the truth which turns the scale, and decides the judgment of a completely informed mind, they are strangers to; nor is it ever really known, but to those who have attended equally and impartially to both sides, and endeavoured to see the reasons of both in the strongest light. So essential is this discipline to a real understanding of moral and human subjects, that if opponents of all important truths do not exist, it is indispensable to imagine them, and supply them with the strongest arguments which the most skilful devil's advocate can conjure up. 2.24 To abate the force of these considerations, an enemy of free discussion may be supposed to say, that there is no necessity for mankind in general to know and understand all that can be said against or for their opinions by philosophers and theologians. That it is not needful for common men to be able to expose all the misstatements or fallacies of an ingenious opponent. That it is enough if there is always somebody capable of answering them, so that nothing likely to mislead uninstructed persons remains unrefuted. That simple minds, having been taught the obvious grounds of the truths inculcated on them, may trust to authority for the rest, and being aware that they have neither knowledge nor talent to resolve every difficulty
129
which can be raised, may repose in the assurance that all those which have been raised have been or can be answered, by those who are specially trained to the task. 2.25 Conceding to this view of the subject the utmost that can be claimed for it by those most easily satisfied with the amount of understanding of truth which ought to accompany the belief of it; even so, the argument for free discussion is no way weakened. For even this doctrine acknowledges that mankind ought to have a rational assurance that all objections have been satisfactorily answered; and how are they to be answered if that which requires to be answered is not spoken? or how can the answer be known to be satisfactory, if the objectors have no opportunity of showing that it is unsatisfactory? If not the public, at least the philosophers and theologians who are to resolve the difficulties, must make themselves familiar with those difficulties in their most puzzling form; and this cannot be accomplished unless they are freely stated, and placed in the most advantageous light which they admit of. The Catholic Church has its own way of dealing with this embarrassing problem. It makes a broad separation between those who can be permitted to receive its doctrines on conviction, and those who must accept them on trust. Neither, indeed, are allowed any choice as to what they will accept; but the clergy, such at least as can be fully confided in, may admissibly and meritoriously make themselves acquainted with the arguments of opponents, in order to answer them, and may, therefore, read heretical books; the laity, not unless by special permission, hard to be obtained. This discipline recognises a knowledge of the enemy's case as beneficial to the teachers, but finds means, consistent with this, of denying it to the rest of the world: thus giving to the ĂŠlite more mental culture, though not more mental freedom, than it allows to the mass. By this device it succeeds in obtaining the kind of mental superiority which its purposes require; for though culture without freedom never made a large and liberal mind, it can make a clever nisi prius advocate of a cause. But in countries professing Protestantism, this resource is denied; since Protestants hold, at least in theory, that the responsibility for the choice of a religion must be borne by each for himself, and cannot be thrown off upon teachers. Besides, in the present state of the world, it is practically impossible that writings which are read by the instructed can be kept from the uninstructed. If the teachers of mankind are to be cognisant of all that they ought to know, everything must be free to be written and published without restraint. 2.26 If, however, the mischievous operation of the absence of free discussion, when the received opinions are true, were confined to leaving men ignorant of the grounds of those opinions, it might be thought that this, if an intellectual, is no moral evil, and does not affect the
130
worth of the opinions, regarded in their influence on the character. The fact, however, is, that not only the grounds of the opinion are forgotten in the absence of discussion, but too often the meaning of the opinion itself. The words which convey it, cease to suggest ideas, or suggest only a small portion of those they were originally employed to communicate. Instead of a vivid conception and a living belief, there remain only a few phrases retained by rote; or, if any part, the shell and husk only of the meaning is retained, the finer essence being lost. The great chapter in human history which this fact occupies and fills, cannot be too earnestly studied and meditated on. 2.27 It is illustrated in the experience of almost all ethical doctrines and religious creeds. They are all full of meaning and vitality to those who originate them, and to the direct disciples of the originators. Their meaning continues to be felt in undiminished strength, and is perhaps brought out into even fuller consciousness, so long as the struggle lasts to give the doctrine or creed an ascendancy over other creeds. At last it either prevails, and becomes the general opinion, or its progress stops; it keeps possession of the ground it has gained, but ceases to spread further. When either of these results has become apparent, controversy on the subject flags, and gradually dies away. The doctrine has taken its place, if not as a received opinion, as one of the admitted sects or divisions of opinion: those who hold it have generally inherited, not adopted it; and conversion from one of these doctrines to another, being now an exceptional fact, occupies little place in the thoughts of their professors. Instead of being, as at first, constantly on the alert either to defend themselves against the world, or to bring the world over to them, they have subsided into acquiescence, and neither listen, when they can help it, to arguments against their creed, nor trouble dissentients (if there be such) with arguments in its favour. From this time may usually be dated the decline in the living power of the doctrine. We often hear the teachers of all creeds lamenting the difficulty of keeping up in the minds of believers a lively apprehension of the truth which they nominally recognise, so that it may penetrate the feelings, and acquire a real mastery over the conduct. No such difficulty is complained of while the creed is still fighting for its existence: even the weaker combatants then know and feel what they are fighting for, and the difference between it and other doctrines; and in that period of every creed's existence, not a few persons may be found, who have realized its fundamental principles in all the forms of thought, have weighed and considered them in all their important bearings, and have experienced the full effect on the character, which belief in that creed ought to produce in a mind thoroughly imbued with it. But when it has come to be an
131
hereditary creed, and to be received passively, not actively—when the mind is no longer compelled, in the same degree as at first, to exercise its vital powers on the questions which its belief presents to it, there is a progressive tendency to forget all of the belief except the formularies, or to give it a dull and torpid assent, as if accepting it on trust dispensed with the necessity of realizing it in consciousness, or testing it by personal experience; until it almost ceases to connect itself at all with the inner life of the human being. Then are seen the cases, so frequent in this age of the world as almost to form the majority, in which the creed remains as it were outside the mind, incrusting and petrifying it against all other influences addressed to the higher parts of our nature; manifesting its power by not suffering any fresh and living conviction to get in, but itself doing nothing for the mind or heart, except standing sentinel over them to keep them vacant. 2.28 To what an extent doctrines intrinsically fitted to make the deepest impression upon the mind may remain in it as dead beliefs, without being ever realized in the imagination, the feelings, or the understanding, is exemplified by the manner in which the majority of believers hold the doctrines of Christianity. By Christianity I here mean what is accounted such by all churches and sects—the maxims and precepts contained in the New Testament. These are considered sacred, and accepted as laws, by all professing Christians. Yet it is scarcely too much to say that not one Christian in a thousand guides or tests his individual conduct by reference to those laws. The standard to which he does refer it, is the custom of his nation, his class, or his religious profession. He has thus, on the one hand, a collection of ethical maxims, which he believes to have been vouchsafed to him by infallible wisdom as rules for his government; and on the other, a set of every-day judgments and practices, which go a certain length with some of those maxims, not so great a length with others, stand in direct opposition to some, and are, on the whole, a compromise between the Christian creed and the interests and suggestions of worldly life. To the first of these standards he gives his homage; to the other his real allegiance. All Christians believe that the blessed are the poor and humble, and those who are ill-used by the world; that it is easier for a camel to pass through the eye of a needle than for a rich man to enter the kingdom of heaven; that they should judge not, lest they be judged; that they should swear not at all; that they should love their neighbour as themselves; that if one take their cloak, they should give him their coat also; that they should take no thought for the morrow; that if they would be perfect, they should sell all that they have and give it to the poor. They are not insincere when they say that they believe these things. They do believe them, as people believe
132
what they have always heard lauded and never discussed. But in the sense of that living belief which regulates conduct, they believe these doctrines just up to the point to which it is usual to act upon them. The doctrines in their integrity are serviceable to pelt adversaries with; and it is understood that they are to be put forward (when possible) as the reasons for whatever people do that they think laudable. But any one who reminded them that the maxims require an infinity of things which they never even think of doing, would gain nothing but to be classed among those very unpopular characters who affect to be better than other people. The doctrines have no hold on ordinary believers—are not a power in their minds. They have an habitual respect for the sound of them, but no feeling which spreads from the words to the things signified, and forces the mind to take them in, and make them conform to the formula. Whenever conduct is concerned, they look round for Mr. A and B to direct them how far to go in obeying Christ. 2.29 Now we may be well assured that the case was not thus, but far otherwise, with the early Christians. Had it been thus, Christianity never would have expanded from an obscure sect of the despised Hebrews into the religion of the Roman Empire. When their enemies said, "See how these Christians love one another" (a remark not likely to be made by anybody now), they assuredly had a much livelier feeling of the meaning of their creed than they have ever had since. And to this cause, probably, it is chiefly owing that Christianity now makes so little progress in extending its domain, and after eighteen centuries, is still nearly confined to Europeans and the descendants of Europeans. Even with the strictly religious, who are much in earnest about their doctrines, and attach a greater amount of meaning to many of them than people in general, it commonly happens that the part which is thus comparatively active in their minds is that which was made by Calvin, or Knox, or some such person much nearer in character to themselves. The sayings of Christ coexist passively in their minds, producing hardly any effect beyond what is caused by mere listening to words so amiable and bland. There are many reasons, doubtless, why doctrines which are the badge of a sect retain more of their vitality than those common to all recognised sects, and why more pains are taken by teachers to keep their meaning alive; but one reason certainly is, that the peculiar doctrines are more questioned, and have to be oftener defended against open gainsayers. Both teachers and learners go to sleep at their post, as soon as there is no enemy in the field. 2.30 The same thing holds true, generally speaking, of all traditional doctrines—those of prudence and knowledge of life, as well as of morals or religion. All languages and literatures are full of general observations on life, both as to what it is, and how to conduct oneself in it;
133
observations which everybody knows, which everybody repeats, or hears with acquiescence, which are received as truisms, yet of which most people first truly learn the meaning, when experience, generally of a painful kind, has made it a reality to them. How often, when smarting under some unforeseen misfortune or disappointment, does a person call to mind some proverb or common saying, familiar to him all his life, the meaning of which, if he had ever before felt it as he does now, would have saved him from the calamity. There are indeed reasons for this, other than the absence of discussion: there are many truths of which the full meaning cannot be realized, until personal experience has brought it home. But much more of the meaning even of these would have been understood, and what was understood would have been far more deeply impressed on the mind, if the man had been accustomed to hear it argued pro and con by people who did understand it. The fatal tendency of mankind to leave off thinking about a thing when it is no longer doubtful, is the cause of half their errors. A contemporary author has well spoken of "the deep slumber of a decided opinion." 2.31 But what! (it may be asked) Is the absence of unanimity an indispensable condition of true knowledge? Is it necessary that some part of mankind should persist in error, to enable any to realize the truth? Does a belief cease to be real and vital as soon as it is generally received— and is a proposition never thoroughly understood and felt unless some doubt of it remains? As soon as mankind have unanimously accepted a truth, does the truth perish within them? The highest aim and best result of improved intelligence, it has hitherto been thought, is to unite mankind more and more in the acknowledgment of all important truths: and does the intelligence only last as long as it has not achieved its object? Do the fruits of conquest perish by the very completeness of the victory? 2.32 I affirm no such thing. As mankind improve, the number of doctrines which are no longer disputed or doubted will be constantly on the increase: and the well-being of mankind may almost be measured by the number and gravity of the truths which have reached the point of being uncontested. The cessation, on one question after another, of serious controversy, is one of the necessary incidents of the consolidation of opinion; a consolidation as salutary in the case of true opinions, as it is dangerous and noxious when the opinions are erroneous. But though this gradual narrowing of the bounds of diversity of opinion is necessary in both senses of the term, being at once inevitable and indispensable, we are not therefore obliged to conclude that all its consequences must be beneficial. The loss of so important an aid to the intelligent and living apprehension of a truth, as is afforded by the necessity of explaining it to, or defending it
134
against, opponents, though not sufficient to outweigh, is no trifling drawback from, the benefit of its universal recognition. Where this advantage can no longer be had, I confess I should like to see the teachers of mankind endeavouring to provide a substitute for it; some contrivance for making the difficulties of the question as present to the learner's consciousness, as if they were pressed upon him by a dissentient champion, eager for his conversion. 2.33 But instead of seeking contrivances for this purpose, they have lost those they formerly had. The Socratic dialectics, so magnificently exemplified in the dialogues of Plato, were a contrivance of this description. They were essentially a negative discussion of the great questions of philosophy and life, directed with consummate skill to the purpose of convincing any one who had merely adopted the commonplaces of received opinion, that he did not understand the subject—that he as yet attached no definite meaning to the doctrines he professed; in order that, becoming aware of his ignorance, he might be put in the way to attain a stable belief, resting on a clear apprehension both of the meaning of doctrines and of their evidence. The school disputations of the middle ages had a somewhat similar object. They were intended to make sure that the pupil understood his own opinion, and (by necessary correlation) the opinion opposed to it, and could enforce the grounds of the one and confute those of the other. These last-mentioned contests had indeed the incurable defect, that the premises appealed to were taken from authority, not from reason; and, as a discipline to the mind, they were in every respect inferior to the powerful dialectics which formed the intellects of the "Socratici viri:" but the modern mind owes far more to both than it is generally willing to admit, and the present modes of education contain nothing which in the smallest degree supplies the place either of the one or of the other. A person who derives all his instruction from teachers or books, even if he escape the besetting temptation of contenting himself with cram, is under no compulsion to hear both sides; accordingly it is far from a frequent accomplishment, even among thinkers, to know both sides; and the weakest part of what everybody says in defence of his opinion, is what he intends as a reply to antagonists. It is the fashion of the present time to disparage negative logic—that which points out weaknesses in theory or errors in practice, without establishing positive truths. Such negative criticism would indeed be poor enough as an ultimate result; but as a means to attaining any positive knowledge or conviction worthy the name, it cannot be valued too highly; and until people are again systematically trained to it, there will be few great thinkers, and a low general average of intellect, in any but the mathematical and physical departments of speculation. On any other subject no one's opinions
135
deserve the name of knowledge, except so far as he has either had forced upon him by others, or gone through of himself, the same mental process which would have been required of him in carrying on an active controversy with opponents. That, therefore, which when absent, it is so indispensable, but so difficult, to create, how worse than absurd is it to forego, when spontaneously offering itself! If there are any persons who contest a received opinion, or who will do so if law or opinion will let them, let us thank them for it, open our minds to listen to them, and rejoice that there is some one to do for us what we otherwise ought, if we have any regard for either the certainty or the vitality of our convictions, to do with much greater labor for ourselves. 2.34 It still remains to speak of one of the principal causes which make diversity of opinion advantageous, and will continue to do so until mankind shall have entered a stage of intellectual advancement which at present seems at an incalculable distance. We have hitherto considered only two possibilities: that the received opinion may be false, and some other opinion, consequently, true; or that, the received opinion being true, a conflict with the opposite error is essential to a clear apprehension and deep feeling of its truth. But there is a commoner case than either of these; when the conflicting doctrines, instead of being one true and the other false, share the truth between them; and the nonconforming opinion is needed to supply the remainder of the truth, of which the received doctrine embodies only a part. Popular opinions, on subjects not palpable to sense, are often true, but seldom or never the whole truth. They are a part of the truth; sometimes a greater, sometimes a smaller part, but exaggerated, distorted, and disjoined from the truths by which they ought to be accompanied and limited. Heretical opinions, on the other hand, are generally some of these suppressed and neglected truths, bursting the bonds which kept them down, and either seeking reconciliation with the truth contained in the common opinion, or fronting it as enemies, and setting themselves up, with similar exclusiveness, as the whole truth. The latter case is hitherto the most frequent, as, in the human mind, one-sidedness has always been the rule, and many-sidedness the exception. Hence, even in revolutions of opinion, one part of the truth usually sets while another rises. Even progress, which ought to superadd, for the most part only substitutes, one partial and incomplete truth for another; improvement consisting chiefly in this, that the new fragment of truth is more wanted, more adapted to the needs of the time, than that which it displaces. Such being the partial character of prevailing opinions, even when resting on a true foundation, every opinion which embodies somewhat of the portion of truth which the common opinion omits, ought to be considered
136
precious, with whatever amount of error and confusion that truth may be blended. No sober judge of human affairs will feel bound to be indignant because those who force on our notice truths which we should otherwise have overlooked, overlook some of those which we see. Rather, he will think that so long as popular truth is one-sided, it is more desirable than otherwise that unpopular truth should have one-sided asserters too; such being usually the most energetic, and the most likely to compel reluctant attention to the fragment of wisdom which they proclaim as if it were the whole. 2.35 Thus, in the eighteenth century, when nearly all the instructed, and all those of the uninstructed who were led by them, were lost in admiration of what is called civilization, and of the marvels of modern science, literature, and philosophy, and while greatly overrating the amount of unlikeness between the men of modern and those of ancient times, indulged the belief that the whole of the difference was in their own favour; with what a salutary shock did the paradoxes of Rousseau explode like bombshells in the midst, dislocating the compact mass of one-sided opinion, and forcing its elements to recombine in a better form and with additional ingredients. Not that the current opinions were on the whole farther from the truth than Rousseau's were; on the contrary, they were nearer to it; they contained more of positive truth, and very much less of error. Nevertheless there lay in Rousseau's doctrine, and has floated down the stream of opinion along with it, a considerable amount of exactly those truths which the popular opinion wanted; and these are the deposit which was left behind when the flood subsided. The superior worth of simplicity of life, the enervating and demoralizing effect of the trammels and hypocrisies of artificial society, are ideas which have never been entirely absent from cultivated minds since Rousseau wrote; and they will in time produce their due effect, though at present needing to be asserted as much as ever, and to be asserted by deeds, for words, on this subject, have nearly exhausted their power. 2.36 In politics, again, it is almost a commonplace, that a party of order or stability, and a party of progress or reform, are both necessary elements of a healthy state of political life; until the one or the other shall have so enlarged its mental grasp as to be a party equally of order and of progress, knowing and distinguishing what is fit to be preserved from what ought to be swept away. Each of these modes of thinking derives its utility from the deficiencies of the other; but it is in a great measure the opposition of the other that keeps each within the limits of reason and sanity. Unless opinions favourable to democracy and to aristocracy, to property and to equality, to co-operation and to competition, to luxury and to abstinence, to sociality and individuality, to
137
liberty and discipline, and all the other standing antagonisms of practical life, are expressed with equal freedom, and enforced and defended with equal talent and energy, there is no chance of both elements obtaining their due; one scale is sure to go up, and the other down. Truth, in the great practical concerns of life, is so much a question of the reconciling and combining of opposites, that very few have minds sufficiently capacious and impartial to make the adjustment with an approach to correctness, and it has to be made by the rough process of a struggle between combatants fighting under hostile banners. On any of the great open questions just enumerated, if either of the two opinions has a better claim than the other, not merely to be tolerated, but to be encouraged and countenanced, it is the one which happens at the particular time and place to be in a minority. That is the opinion which, for the time being, represents the neglected interests, the side of human well-being which is in danger of obtaining less than its share. I am aware that there is not, in this country, any intolerance of differences of opinion on most of these topics. They are adduced to show, by admitted and multiplied examples, the universality of the fact, that only through diversity of opinion is there, in the existing state of human intellect, a chance of fair play to all sides of the truth. When there are persons to be found, who form an exception to the apparent unanimity of the world on any subject, even if the world is in the right, it is always probable that dissentients have something worth hearing to say for themselves, and that truth would lose something by their silence. 2.37 It may be objected, "But some received principles, especially on the highest and most vital subjects, are more than half-truths. The Christian morality, for instance, is the whole truth on that subject, and if any one teaches a morality which varies from it, he is wholly in error." As this is of all cases the most important in practice, none can be fitter to test the general maxim. But before pronouncing what Christian morality is or is not, it would be desirable to decide what is meant by Christian morality. If it means the morality of the New Testament, I wonder that any one who derives his knowledge of this from the book itself, can suppose that it was announced, or intended, as a complete doctrine of morals. The Gospel always refers to a pre-existing morality, and confines its precepts to the particulars in which that morality was to be corrected, or superseded by a wider and higher; expressing itself, moreover, in terms most general, often impossible to be interpreted literally, and possessing rather the impressiveness of poetry or eloquence than the precision of legislation. To extract from it a body of ethical doctrine, has never been possible without eking it out from the Old Testament, that is, from a system elaborate indeed, but in many respects barbarous, and intended only for a barbarous people. St.
138
Paul, a declared enemy to this Judaical mode of interpreting the doctrine and filling up the scheme of his Master, equally assumes a pre-existing morality, namely, that of the Greeks and Romans; and his advice to Christians is in a great measure a system of accommodation to that; even to the extent of giving an apparent sanction to slavery. What is called Christian, but should rather be termed theological, morality, was not the work of Christ or the Apostles, but is of much later origin, having been gradually built up by the Catholic church of the first five centuries, and though not implicitly adopted by moderns and Protestants, has been much less modified by them than might have been expected. For the most part, indeed, they have contented themselves with cutting off the additions which had been made to it in the middle ages, each sect supplying the place by fresh additions, adapted to its own character and tendencies. That mankind owe a great debt to this morality, and to its early teachers, I should be the last person to deny; but I do not scruple to say of it, that it is, in many important points, incomplete and one-sided, and that unless ideas and feelings, not sanctioned by it, had contributed to the formation of European life and character, human affairs would have been in a worse condition than they now are. Christian morality (so called) has all the characters of a reaction; it is, in great part, a protest against Paganism. Its ideal is negative rather than positive; passive rather than active; Innocence rather than Nobleness; Abstinence from Evil, rather than energetic Pursuit of Good: in its precepts (as has been well said) "thou shalt not" predominates unduly over "thou shalt." In its horror of sensuality, it made an idol of asceticism, which has been gradually compromised away into one of legality. It holds out the hope of heaven and the threat of hell, as the appointed and appropriate motives to a virtuous life: in this falling far below the best of the ancients, and doing what lies in it to give to human morality an essentially selfish character, by disconnecting each man's feelings of duty from the interests of his fellowcreatures, except so far as a self-interested inducement is offered to him for consulting them. It is essentially a doctrine of passive obedience; it inculcates submission to all authorities found established; who indeed are not to be actively obeyed when they command what religion forbids, but who are not to be resisted, far less rebelled against, for any amount of wrong to ourselves. And while, in the morality of the best Pagan nations, duty to the State holds even a disproportionate place, infringing on the just liberty of the individual; in purely Christian ethics, that grand department of duty is scarcely noticed or acknowledged. It is in the Koran, not the New Testament, that we read the maxim—"A ruler who appoints any man to an office, when there is in his dominions another man better qualified for it, sins against God and against the
139
State." What little recognition the idea of obligation to the public obtains in modern morality, is derived from Greek and Roman sources, not from Christian; as, even in the morality of private life, whatever exists of magnanimity, highmindedness, personal dignity, even the sense of honour, is derived from the purely human, not the religious part of our education, and never could have grown out of a standard of ethics in which the only worth, professedly recognised, is that of obedience. 2.38 I am as far as any one from pretending that these defects are necessarily inherent in the Christian ethics, in every manner in which it can be conceived, or that the many requisites of a complete moral doctrine which it does not contain, do not admit of being reconciled with it. Far less would I insinuate this of the doctrines and precepts of Christ himself. I believe that the sayings of Christ are all, that I can see any evidence of their having been intended to be; that they are irreconcilable with nothing which a comprehensive morality requires; that everything which is excellent in ethics may be brought within them, with no greater violence to their language than has been done to it by all who have attempted to deduce from them any practical system of conduct whatever. But it is quite consistent with this, to believe that they contain, and were meant to contain, only a part of the truth; that many essential elements of the highest morality are among the things which are not provided for, nor intended to be provided for, in the recorded deliverances of the Founder of Christianity, and which have been entirely thrown aside in the system of ethics erected on the basis of those deliverances by the Christian Church. And this being so, I think it a great error to persist in attempting to find in the Christian doctrine that complete rule for our guidance, which its author intended it to sanction and enforce, but only partially to provide. I believe, too, that this narrow theory is becoming a grave practical evil, detracting greatly from the value of the moral training and instruction, which so many wellmeaning persons are now at length exerting themselves to promote. I much fear that by attempting to form the mind and feelings on an exclusively religious type, and discarding those secular standards (as for want of a better name they may be called) which heretofore co-existed with and supplemented the Christian ethics, receiving some of its spirit, and infusing into it some of theirs, there will result, and is even now resulting, a low, abject, servile type of character, which, submit itself as it may to what it deems the Supreme Will, is incapable of rising to or sympathizing in the conception of Supreme Goodness. I believe that other ethics than any one which can be evolved from exclusively Christian sources, must exist side by side with Christian ethics to produce the moral regeneration of mankind; and that the Christian
140
system is no exception to the rule, that in an imperfect state of the human mind, the interests of truth require a diversity of opinions. It is not necessary that in ceasing to ignore the moral truths not contained in Christianity, men should ignore any of those which it does contain. Such prejudice, or oversight, when it occurs, is altogether an evil; but it is one from which we cannot hope to be always exempt, and must be regarded as the price paid for an inestimable good. The exclusive pretension made by a part of the truth to be the whole, must and ought to be protested against; and if a reactionary impulse should make the protestors unjust in their turn, this onesidedness, like the other, may be lamented, but must be tolerated. If Christians would teach infidels to be just to Christianity, they should themselves be just to infidelity. It can do truth no service to blink the fact, known to all who have the most ordinary acquaintance with literary history, that a large portion of the noblest and most valuable moral teaching has been the work, not only of men who did not know, but of men who knew and rejected, the Christian faith. 2.39 I do not pretend that the most unlimited use of the freedom of enunciating all possible opinions would put an end to the evils of religious or philosophical sectarianism. Every truth which men of narrow capacity are in earnest about, is sure to be asserted, inculcated, and in many ways even acted on, as if no other truth existed in the world, or at all events none that could limit or qualify the first. I acknowledge that the tendency of all opinions to become sectarian is not cured by the freest discussion, but is often heightened and exacerbated thereby; the truth which ought to have been, but was not, seen, being rejected all the more violently because proclaimed by persons regarded as opponents. But it is not on the impassioned partisan, it is on the calmer and more disinterested bystander, that this collision of opinions works its salutary effect. Not the violent conflict between parts of the truth, but the quiet suppression of half of it, is the formidable evil; there is always hope when people are forced to listen to both sides; it is when they attend only to one that errors harden into prejudices, and truth itself ceases to have the effect of truth, by being exaggerated into falsehood. And since there are few mental attributes more rare than that judicial faculty which can sit in intelligent judgment between two sides of a question, of which only one is represented by an advocate before it, truth has no chance but in proportion as every side of it, every opinion which embodies any fraction of the truth, not only finds advocates, but is so advocated as to be listened to. 2.40 We have now recognised the necessity to the mental well-being of mankind (on which all their other well-being depends) of freedom of opinion, and freedom of the expression of opinion, on four distinct grounds; which we will now briefly recapitulate.
141
2.41 First, if any opinion is compelled to silence, that opinion may, for aught we can certainly know, be true. To deny this is to assume our own infallibility. 2.42 Secondly, though the silenced opinion be an error, it may, and very commonly does, contain a portion of truth; and since the general or prevailing opinion on any subject is rarely or never the whole truth, it is only by the collision of adverse opinions that the remainder of the truth has any chance of being supplied. 2.43 Thirdly, even if the received opinion be not only true, but the whole truth; unless it is suffered to be, and actually is, vigorously and earnestly contested, it will, by most of those who receive it, be held in the manner of a prejudice, with little comprehension or feeling of its rational grounds. And not only this, but, fourthly, the meaning of the doctrine itself will be in danger of being lost, or enfeebled, and deprived of its vital effect on the character and conduct: the dogma becoming a mere formal profession, inefficacious for good, but cumbering the ground, and preventing the growth of any real and heartfelt conviction, from reason or personal experience. 2.44 Before quitting the subject of freedom of opinion, it is fit to take some notice of those who say, that the free expression of all opinions should be permitted, on condition that the manner be temperate, and do not pass the bounds of fair discussion. Much might be said on the impossibility of fixing where these supposed bounds are to be placed; for if the test be offence to those whose opinion is attacked, I think experience testifies that this offence is given whenever the attack is telling and powerful, and that every opponent who pushes them hard, and whom they find it difficult to answer, appears to them, if he shows any strong feeling on the subject, an intemperate opponent. But this, though an important consideration in a practical point of view, merges in a more fundamental objection. Undoubtedly the manner of asserting an opinion, even though it be a true one, may be very objectionable, and may justly incur severe censure. But the principal offences of the kind are such as it is mostly impossible, unless by accidental self-betrayal, to bring home to conviction. The gravest of them is, to argue sophistically, to suppress facts or arguments, to misstate the elements of the case, or misrepresent the opposite opinion. But all this, even to the most aggravated degree, is so continually done in perfect good faith, by persons who are not considered, and in many other respects may not deserve to be considered, ignorant or incompetent, that it is rarely possible on adequate grounds conscientiously to stamp the misrepresentation as morally culpable; and still less could law presume to interfere with this kind of controversial misconduct. With regard to
142
what is commonly meant by intemperate discussion, namely invective, sarcasm, personality, and the like, the denunciation of these weapons would deserve more sympathy if it were ever proposed to interdict them equally to both sides; but it is only desired to restrain the employment of them against the prevailing opinion: against the unprevailing they may not only be used without general disapproval, but will be likely to obtain for him who uses them the praise of honest zeal and righteous indignation. Yet whatever mischief arises from their use, is greatest when they are employed against the comparatively defenceless; and whatever unfair advantage can be derived by any opinion from this mode of asserting it, accrues almost exclusively to received opinions. The worst offence of this kind which can be committed by a polemic, is to stigmatize those who hold the contrary opinion as bad and immoral men. To calumny of this sort, those who hold any unpopular opinion are peculiarly exposed, because they are in general few and uninfluential, and nobody but themselves feels much interested in seeing justice done them; but this weapon is, from the nature of the case, denied to those who attack a prevailing opinion: they can neither use it with safety to themselves, nor, if they could, would it do anything but recoil on their own cause. In general, opinions contrary to those commonly received can only obtain a hearing by studied moderation of language, and the most cautious avoidance of unnecessary offence, from which they hardly ever deviate even in a slight degree without losing ground: while unmeasured vituperation employed on the side of the prevailing opinion, really does deter people from professing contrary opinions, and from listening to those who profess them. For the interest, therefore, of truth and justice, it is far more important to restrain this employment of vituperative language than the other; and, for example, if it were necessary to choose, there would be much more need to discourage offensive attacks on infidelity, than on religion. It is, however, obvious that law and authority have no business with restraining either, while opinion ought, in every instance, to determine its verdict by the circumstances of the individual case; condemning every one, on whichever side of the argument he places himself, in whose mode of advocacy either want of candour, or malignity, bigotry or intolerance of feeling manifest themselves; but not inferring these vices from the side which a person takes, though it be the contrary side of the question to our own: and giving merited honour to every one, whatever opinion he may hold, who has calmness to see and honesty to state what his opponents and their opinions really are, exaggerating nothing to their discredit, keeping nothing back which tells, or can be supposed to tell, in their favour. This is the real morality of public discussion: and if often violated, I am happy to think that there are many
143
controversialists who to a great extent observe it, and a still greater number who conscientiously strive towards it.
144
Chapter III: Of Individuality, as One of the Elements of Well-Being 3.1 SUCH being the reasons which make it imperative that human beings should be free to form opinions, and to express their opinions without reserve; and such the baneful consequences to the intellectual, and through that to the moral nature of man, unless this liberty is either conceded, or asserted in spite of prohibition; let us next examine whether the same reasons do not require that men should be free to act upon their opinions—to carry these out in their lives, without hindrance, either physical or moral, from their fellow-men, so long as it is at their own risk and peril. This last proviso is of course indispensable. No one pretends that actions should be as free as opinions. On the contrary, even opinions lose their immunity, when the circumstances in which they are expressed are such as to constitute their expression a positive instigation to some mischievous act. An opinion that corn-dealers are starvers of the poor, or that private property is robbery, ought to be unmolested when simply circulated through the press, but may justly incur punishment when delivered orally to an excited mob assembled before the house of a corn-dealer, or when handed about among the same mob in the form of a placard. Acts of whatever kind, which, without justifiable cause, do harm to others, may be, and in the more important cases absolutely require to be, controlled by the unfavourable sentiments, and, when needful, by the active interference of mankind. The liberty of the individual must be thus far limited; he must not make himself a nuisance to other people. But if he refrains from molesting others in what concerns them, and merely acts according to his own inclination and judgment in things which concern himself, the same reasons which show that opinion should be free, prove also that he should be allowed, without molestation, to carry his opinions into practice at his own cost. That mankind are not infallible; that their truths, for the most part, are only half-truths; that unity of opinion, unless resulting from the fullest and freest comparison of opposite opinions, is not desirable, and diversity not an evil, but a good, until mankind are much more capable than at present of recognizing all sides of the truth, are principles applicable to men's modes of action, not less than to their opinions. As it is useful that while mankind are imperfect there should be different opinions, so is it that there should be different experiments of living; that free scope should be given to varieties of character, short of injury to others; and
145
that the worth of different modes of life should be proved practically, when any one thinks fit to try them. It is desirable, in short, that in things which do not primarily concern others, individuality should assert itself. Where, not the person's own character, but the traditions of customs of other people are the rule of conduct, there is wanting one of the principal ingredients of human happiness, and quite the chief ingredient of individual and social progress. 3.2 In maintaining this principle, the greatest difficulty to be encountered does not lie in the appreciation of means towards an acknowledged end, but in the indifference of persons in general to the end itself. If it were felt that the free development of individuality is one of the leading essentials of well-being; that it is not only a co-ordinate element with all that is designated by the terms civilization, instruction, education, culture, but is itself a necessary part and condition of all those things; there would be no danger that liberty should be undervalued, and the adjustment of the boundaries between it and social control would present no extraordinary difficulty. But the evil is, that individual spontaneity is hardly recognised by the common modes of thinking, as having any intrinsic worth, or deserving any regard on its own account. The majority, being satisfied with the ways of mankind as they now are (for it is they who make them what they are), cannot comprehend why those ways should not be good enough for everybody; and what is more, spontaneity forms no part of the ideal of the majority of moral and social reformers, but is rather looked on with jealousy, as a troublesome and perhaps rebellious obstruction to the general acceptance of what these reformers, in their own judgment, think would be best for mankind. Few persons, out of Germany, even comprehend the meaning of the doctrine which Wilhelm Von Humboldt, so eminent both as a savant and as a politician, made the text of a treatise—that "the end of man, or that which is prescribed by the eternal or immutable dictates of reason, and not suggested by vague and transient desires, is the highest and most harmonious development of his powers to a complete and consistent whole;" that, therefore, the object "towards which every human being must ceaselessly direct his efforts, and on which especially those who design to influence their fellow-men must ever keep their eyes, is the individuality of power and development;" that for this there are two requisites, "freedom, and a variety of situations;" and that from the union of these arise "individual vigour and manifold diversity," which combine themselves in "originality. 1" 3.3 Little, however, as people are accustomed to a doctrine like that of Von Humboldt, and surprising as it may be to them to find so high a value attached to individuality, the question, 1
The Sphere and Duties of Government, from the German of Baron Wilhelm von Humboldt, pp. 11, 13.
146
one must nevertheless think, can only be one of degree. No one's idea of excellence in conduct is that people should do absolutely nothing but copy one another. No one would assert that people ought not to put into their mode of life, and into the conduct of their concerns, any impress whatever of their own judgment, or of their own individual character. On the other hand, it would be absurd to pretend that people ought to live as if nothing whatever had been known in the world before they came into it; as if experience had as yet done nothing towards showing that one mode of existence, or of conduct, is preferable to another. Nobody denies that people should be so taught and trained in youth, as to know and benefit by the ascertained results of human experience. But it is the privilege and proper condition of a human being, arrived at the maturity of his faculties, to use and interpret experience in his own way. It is for him to find out what part of recorded experience is properly applicable to his own circumstances and character. The traditions and customs of other people are, to a certain extent, evidence of what their experience has taught them; presumptive evidence, and as such, have a claim to his deference: but, in the first place, their experience may be too narrow; or they may not have interpreted it rightly. Secondly, their interpretation of experience may be correct, but unsuitable to him. Customs are made for customary circumstances, and customary characters; and his circumstances or his character may be uncustomary. Thirdly, though the customs be both good as customs, and suitable to him, yet to conform to custom, merely as custom, does not educate or develope in him any of the qualities which are the distinctive endowment of a human being. The human faculties of perception, judgment, discriminative feeling, mental activity, and even moral preference, are exercised only in making a choice. He who does anything because it is the custom, makes no choice. He gains no practice either in discerning or in desiring what is best. The mental and moral, like the muscular powers, are improved only by being used. The faculties are called into no exercise by doing a thing merely because others do it, no more than by believing a thing only because others believe it. If the grounds of an opinion are not conclusive to the person's own reason, his reason cannot be strengthened, but is likely to be weakened, by his adopting it: and if the inducements to an act are not such as are consentaneous to his own feelings and character (where affection, or the rights of others, are not concerned) it is so much done towards rendering his feelings and character inert and torpid, instead of active and energetic. 3.4 He who lets the world, or his own portion of it, choose his plan of life for him, has no need of any other faculty than the ape-like one of imitation. He who chooses his plan for
147
himself, employs all his faculties. He must use observation to see, reasoning and judgment to foresee, activity to gather materials for decision, discrimination to decide, and when he has decided, firmness and self-control to hold to his deliberate decision. And these qualities he requires and exercises exactly in proportion as the part of his conduct which he determines according to his own judgment and feelings is a large one. It is possible that he might be guided in some good path, and kept out of harm's way, without any of these things. But what will be his comparative worth as a human being? It really is of importance, not only what men do, but also what manner of men they are that do it. Among the works of man, which human life is rightly employed in perfecting and beautifying, the first in importance surely is man himself. Supposing it were possible to get houses built, corn grown, battles fought, causes tried, and even churches erected and prayers said, by machinery—by automatons in human form—it would be a considerable loss to exchange for these automatons even the men and women who at present inhabit the more civilized parts of the world, and who assuredly are but starved specimens of what nature can and will produce. Human nature is not a machine to be built after a model, and set to do exactly the work prescribed for it, but a tree, which requires to grow and develope itself on all sides, according to the tendency of the inward forces which make it a living thing. 3.5 It will probably be conceded that it is desirable people should exercise their understandings, and that an intelligent following of custom, or even occasionally an intelligent deviation from custom, is better than a blind and simply mechanical adhesion to it. To a certain extent it is admitted, that our understanding should be our own: but there is not the same willingness to admit that our desires and impulses should be our own likewise; or that to possess impulses of our own, and of any strength, is anything but a peril and a snare. Yet desires and impulses are as much a part of a perfect human being, as beliefs and restraints: and strong impulses are only perilous when not properly balanced; when one set of aims and inclinations is developed into strength, while others, which ought to co-exist with them, remain weak and inactive. It is not because men's desires are strong that they act ill; it is because their consciences are weak. There is no natural connexion between strong impulses and a weak conscience. The natural connexion is the other way. To say that one person's desires and feelings are stronger and more various than those of another, is merely to say that he has more of the raw material of human nature, and is therefore capable, perhaps of more evil, but certainly of more good. Strong impulses are but another name for energy. Energy may be turned to bad uses; but more good may always be made of an energetic nature, than of an indolent and impassive one. Those who
148
have most natural feeling, are always those whose cultivated feelings may be made the strongest. The same strong susceptibilities which make the personal impulses vivid and powerful, are also the source from whence are generated the most passionate love of virtue, and the sternest self-control. It is through the cultivation of these, that society both does its duty and protects its interests: not by rejecting the stuff of which heroes are made, because it knows not how to make them. A person whose desires and impulses are his own—are the expression of his own nature, as it has been developed and modified by his own culture—is said to have a character. One whose desires and impulses are not his own, has no character, no more than a steam-engine has a character. If, in addition to being his own, his impulses are strong, and are under the government of a strong will, he has an energetic character. Whoever thinks that individuality of desires and impulses should not be encouraged to unfold itself, must maintain that society has no need of strong natures—is not the better for containing many persons who have much character—and that a high general average of energy is not desirable. 3.6 In some early states of society, these forces might be, and were, too much ahead of the power which society then possessed of disciplining and controlling them. There has been a time when the element of spontaneity and individuality was in excess, and the social principle had a hard struggle with it. The difficulty then was, to induce men of strong bodies or minds to pay obedience to any rules which required them to control their impulses. To overcome this difficulty, law and discipline, like the Popes struggling against the Emperors, asserted a power over the whole man, claiming to control all his life in order to control his character—which society had not found any other sufficient means of binding. But society has now fairly got the better of individuality; and the danger which threatens human nature is not the excess, but the deficiency, of personal impulses and preferences. Things are vastly changed, since the passions of those who were strong by station or by personal endowment were in a state of habitual rebellion against laws and ordinances, and required to be rigorously chained up to enable the persons within their reach to enjoy any particle of security. In our times, from the highest class of society down to the lowest, every one lives as under the eye of a hostile and dreaded censorship. Not only in what concerns others, but in what concerns only themselves, the individual or the family do not ask themselves—what do I prefer? or, what would suit my character and disposition? or, what would allow the best and highest in me to have fair play, and enable it to grow and thrive? They ask themselves, what is suitable to my position? what is usually done by persons of my station and pecuniary circumstances? or (worse still) what is
149
usually done by persons of a station and circumstances superior to mine? I do not mean that they choose what is customary, in preference to what suits their own inclination. It does not occur to them to have any inclination, except for what is customary. Thus the mind itself is bowed to the yoke: even in what people do for pleasure, conformity is the first thing thought of; they like in crowds; they exercise choice only among things commonly done: peculiarity of taste, eccentricity of conduct, are shunned equally with crimes: until by dint of not following their own nature, they have no nature to follow: their human capacities are withered and starved: they become incapable of any strong wishes or native pleasures, and are generally without either opinions or feelings of home growth, or properly their own. Now is this, or is it not, the desirable condition of human nature? 3.7 It is so, on the Calvinistic theory. According to that, the one great offence of man is self-will. All the good of which humanity is capable, is comprised in obedience. You have no choice; thus you must do, and no otherwise: "whatever is not a duty is a sin." Human nature being radically corrupt, there is no redemption for any one until human nature is killed within him. To one holding this theory of life, crushing out any of the human faculties, capacities, and susceptibilities, is no evil: man needs no capacity, but that of surrendering himself to the will of God: and if he uses any of his faculties for any other purpose but to do that supposed will more effectually, he is better without them. This is the theory of Calvinism; and it is held, in a mitigated form, by many who do not consider themselves Calvinists; the mitigation consisting in giving a less ascetic interpretation to the alleged will of God; asserting it to be his will that mankind should gratify some of their inclinations; of course not in the manner they themselves prefer, but in the way of obedience, that is, in a way prescribed to them by authority; and, therefore, by the necessary conditions of the case, the same for all. 3.8 In some such insidious form there is at present a strong tendency to this narrow theory of life, and to the pinched and hidebound type of human character which it patronizes. Many persons, no doubt, sincerely think that human beings thus cramped and dwarfed, are as their Maker designed them to be; just as many have thought that trees are a much finer thing when clipped into pollards, or cut out into figures of animals, than as nature made them. But if it be any part of religion to believe that man was made by a good Being, it is more consistent with that faith to believe, that this Being gave all human faculties that they might be cultivated and unfolded, not rooted out and consumed, and that he takes delight in every nearer approach made by his creatures to the ideal conception embodied in them, every increase in any of their
150
capabilities of comprehension, of action, or of enjoyment. There is a different type of human excellence from the Calvinistic; a conception of humanity as having its nature bestowed on it for other purposes than merely to be abnegated. "Pagan self-assertion" is one of the elements of human worth, as well as "Christian self-denial. 2" There is a Greek ideal of self-development, which the Platonic and Christian ideal of self-government blends with, but does not supersede. It may be better to be a John Knox than an Alcibiades, but it is better to be a Pericles than either; nor would a Pericles, if we had one in these days, be without anything good which belonged to John Knox. 3.9 It is not by wearing down into uniformity all that is individual in themselves, but by cultivating it and calling it forth, within the limits imposed by the rights and interests of others, that human beings become a noble and beautiful object of contemplation; and as the works partake the character of those who do them, by the same process human life also becomes rich, diversified, and animating, furnishing more abundant aliment to high thoughts and elevating feelings, and strengthening the tie which binds every individual to the race, by making the race infinitely better worth belonging to. In proportion to the development of his individuality, each person becomes more valuable to himself, and is therefore capable of being more valuable to others. There is a greater fulness of life about his own existence, and when there is more life in the units there is more in the mass which is composed of them. As much compression as is necessary to prevent the stronger specimens of human nature from encroaching on the rights of others, cannot be dispensed with; but for this there is ample compensation even in the point of view of human development. The means of development which the individual loses by being prevented from gratifying his inclinations to the injury of others, are chiefly obtained at the expense of the development of other people. And even to himself there is a full equivalent in the better development of the social part of his nature, rendered possible by the restraint put upon the selfish part. To be held to rigid rules of justice for the sake of others, developes the feelings and capacities which have the good of others for their object. But to be restrained in things not affecting their good, by their mere displeasure, developes nothing valuable, except such force of character as may unfold itself in resisting the restraint. If acquiesced in, it dulls and blunts the whole nature. To give any fair play to the nature of each, it is essential that different persons should be allowed to lead different lives. In proportion as this latitude has been exercised in any age, has that age been noteworthy to posterity. Even despotism does not produce its worst 2
Sterling's Essays.
151
effects, so long as individuality exists under it; and whatever crushes individuality is despotism, by whatever name it may be called, and whether it professes to be enforcing the will of God or the injunctions of men. 3.10 Having said that Individuality is the same thing with development, and that it is only the cultivation of individuality which produces, or can produce, well-developed human beings, I might here close the argument: for what more or better can be said of any condition of human affairs, than that it brings human beings themselves nearer to the best thing they can be? or what worse can be said of any obstruction to good, than that it prevents this? Doubtless, however, these considerations will not suffice to convince those who most need convincing; and it is necessary further to show, that these developed human beings are of some use to the undeveloped—to point out to those who do not desire liberty, and would not avail themselves of it, that they may be in some intelligible manner rewarded for allowing other people to make use of it without hindrance. 3.11 In the first place, then, I would suggest that they might possibly learn something from them. It will not be denied by anybody, that originality is a valuable element in human affairs. There is always need of persons not only to discover new truths, and point out when what were once truths are true no longer, but also to commence new practices, and set the example of more enlightened conduct, and better taste and sense in human life. This cannot well be gainsaid by anybody who does not believe that the world has already attained perfection in all its ways and practices. It is true that this benefit is not capable of being rendered by everybody alike: there are but few persons, in comparison with the whole of mankind, whose experiments, if adopted by others, would be likely to be any improvement on established practice. But these few are the salt of the earth; without them, human life would become a stagnant pool. Not only is it they who introduce good things which did not before exist; it is they who keep the life in those which already existed. If there were nothing new to be done, would human intellect cease to be necessary? Would it be a reason why those who do the old things should forget why they are done, and do them like cattle, not like human beings? There is only too great a tendency in the best beliefs and practices to degenerate into the mechanical; and unless there were a succession of persons whose ever-recurring originality prevents the grounds of those beliefs and practices from becoming merely traditional, such dead matter would not resist the smallest shock from anything really alive, and there would be no reason why civilization should not die out, as in the Byzantine Empire. Persons of genius, it is true, are, and are always likely to be, a small
152
minority; but in order to have them, it is necessary to preserve the soil in which they grow. Genius can only breathe freely in an atmosphere of freedom. Persons of genius are, ex vi termini, more individual than any other people—less capable, consequently, of fitting themselves, without hurtful compression, into any of the small number of moulds which society provides in order to save its members the trouble of forming their own character. If from timidity they consent to be forced into one of these moulds, and to let all that part of themselves which cannot expand under the pressure remain unexpanded, society will be little the better for their genius. If they are of a strong character, and break their fetters, they become a mark for the society which has not succeeded in reducing them to commonplace, to point at with solemn warning as "wild," "erratic," and the like; much as if one should complain of the Niagara river for not flowing smoothly between its banks like a Dutch canal. 3.12 I insist thus emphatically on the importance of genius, and the necessity of allowing it to unfold itself freely both in thought and in practice, being well aware that no one will deny the position in theory, but knowing also that almost every one, in reality, is totally indifferent to it. People think genius a fine thing if it enables a man to write an exciting poem, or paint a picture. But in its true sense, that of originality in thought and action, though no one says that it is not a thing to be admired, nearly all, at heart, think that they can do very well without it. Unhappily this is too natural to be wondered at. Originality is the one thing which unoriginal minds cannot feel the use of. They cannot see what it is to do for them: how should they? If they could see what it would do for them, it would not be originality. The first service which originality has to render them, is that of opening their eyes: which being once fully done, they would have a chance of being themselves original. Meanwhile, recollecting that nothing was ever yet done which some one was not the first to do, and that all good things which exist are the fruits of originality, let them be modest enough to believe that there is something still left for it to accomplish, and assure themselves that they are more in need of originality, the less they are conscious of the want. 3.13 In sober truth, whatever homage may be professed, or even paid, to real or supposed mental superiority, the general tendency of things throughout the world is to render mediocrity the ascendant power among mankind. In ancient history, in the middle ages, and in a diminishing degree through the long transition from feudality to the present time, the individual was a power in himself; and if he had either great talents or a high social position, he was a considerable power. At present individuals are lost in the crowd. In politics it is almost a
153
triviality to say that public opinion now rules the world. The only power deserving the name is that of masses, and of governments while they make themselves the organ of the tendencies and instincts of masses. This is as true in the moral and social relations of private life as in public transactions. Those whose opinions go by the name of public opinion, are not always the same sort of public: in America they are the whole white population; in England, chiefly the middle class. But they are always a mass, that is to say, collective mediocrity. And what is a still greater novelty, the mass do not now take their opinions from dignitaries in Church or State, from ostensible leaders, or from books. Their thinking is done for them by men much like themselves, addressing them or speaking in their name, on the spur of the moment, through the newspapers. I am not complaining of all this. I do not assert that anything better is compatible, as a general rule, with the present low state of the human mind. But that does not hinder the government of mediocrity from being mediocre government. No government by a democracy or a numerous aristocracy, either in its political acts or in the opinions, qualities, and tone of mind which it fosters, ever did or could rise above mediocrity, except in so far as the sovereign Many have let themselves be guided (which in their best times they always have done) by the counsels and influence of a more highly gifted and instructed One or Few. The initiation of all wise or noble things, comes and must come from individuals; generally at first from some one individual. The honour and glory of the average man is that he is capable of following that initiative; that he can respond internally to wise and noble things, and be led to them with his eyes open. I am not countenancing the sort of "hero-worship" which applauds the strong man of genius for forcibly seizing on the government of the world and making it do his bidding in spite of itself. All he can claim is, freedom to point out the way. The power of compelling others into it, is not only inconsistent with the freedom and development of all the rest, but corrupting to the strong man himself. It does seem, however, that when the opinions of masses of merely average men are everywhere become or becoming the dominant power, the counterpoise and corrective to that tendency would be, the more and more pronounced individuality of those who stand on the higher eminences of thought. It is in these circumstances most especially, that exceptional individuals, instead of being deterred, should be encouraged in acting differently from the mass. In other times there was no advantage in their doing so, unless they acted not only differently, but better. In this age, the mere example of nonconformity, the mere refusal to bend the knee to custom, is itself a service. Precisely because the tyranny of opinion is such as to make eccentricity a reproach, it is desirable, in order to break through that tyranny, that people should
154
be eccentric. Eccentricity has always abounded when and where strength of character has abounded; and the amount of eccentricity in a society has generally been proportional to the amount of genius, mental vigour, and moral courage which it contained. That so few now dare to be eccentric, marks the chief danger of the time. 3.14 I have said that it is important to give the freest scope possible to uncustomary things, in order that it may in time appear which of these are fit to be converted into customs. But independence of action, and disregard of custom, are not solely deserving of encouragement for the chance they afford that better modes of action, and customs more worthy of general adoption, may be struck out; nor is it only persons of decided mental superiority who have a just claim to carry on their lives in their own way. There is no reason that all human existence should be constructed on some one or some small number of patterns. If a person possesses any tolerable amount of common sense and experience, his own mode of laying out his existence is the best, not because it is the best in itself, but because it is his own mode. Human beings are not like sheep; and even sheep are not undistinguishably alike. A man cannot get a coat or a pair of boots to fit him, unless they are either made to his measure, or he has a whole warehouseful to choose from: and is it easier to fit him with a life than with a coat, or are human beings more like one another in their whole physical and spiritual conformation than in the shape of their feet? If it were only that people have diversities of taste, that is reason enough for not attempting to shape them all after one model. But different persons also require different conditions for their spiritual development; and can no more exist healthily in the same moral, than all the variety of plants can in the same physical, atmosphere and climate. The same things which are helps to one person towards the cultivation of his higher nature, are hindrances to another. The same mode of life is a healthy excitement to one, keeping all his faculties of action and enjoyment in their best order, while to another it is a distracting burthen, which suspends or crushes all internal life. Such are the differences among human beings in their sources of pleasure, their susceptibilities of pain, and the operation on them of different physical and moral agencies, that unless there is a corresponding diversity in their modes of life, they neither obtain their fair share of happiness, nor grow up to the mental, moral, and aesthetic stature of which their nature is capable. Why then should tolerance, as far as the public sentiment is concerned, extend only to tastes and modes of life which extort acquiescence by the multitude of their adherents? Nowhere (except in some monastic institutions) is diversity of taste entirely unrecognised; a person may, without blame, either like or dislike rowing, or smoking, or music,
155
or athletic exercises, or chess, or cards, or study, because both those who like each of these things, and those who dislike them, are too numerous to be put down. But the man, and still more the woman, who can be accused either of doing "what nobody does," or of not doing "what everybody does," is the subject of as much depreciatory remark as if he or she had committed some grave moral delinquency. Persons require to possess a title, or some other badge of rank, or of the consideration of people of rank, to be able to indulge somewhat in the luxury of doing as they like without detriment to their estimation. To indulge somewhat, I repeat: for whoever allow themselves much of that indulgence, incur the risk of something worse than disparaging speeches—they are in peril of a commission de lunatico, and of having their property taken from them and given to their relations. 3 3.15 There is one characteristic of the present direction of public opinion, peculiarly calculated to make it intolerant of any marked demonstration of individuality. The general average of mankind are not only moderate in intellect, but also moderate in inclinations: they have no tastes or wishes strong enough to incline them to do anything unusual, and they consequently do not understand those who have, and class all such with the wild and intemperate whom they are accustomed to look down upon. Now, in addition to this fact which is general, we have only to suppose that a strong movement has set in towards the improvement of morals, and it is evident what we have to expect. In these days such a movement has set in; much has actually been effected in the way of increased regularity of conduct, and discouragement of excesses; and there is a philanthropic spirit abroad, for the exercise of which there is no more inviting field than the moral and prudential improvement of our fellowcreatures. These tendencies of the times cause the public to be more disposed than at most former periods to prescribe general rules of conduct, and endeavour to make every one conform to the approved standard. And that standard, express or tacit, is to desire nothing strongly. Its ideal of character is to be without any marked character; to maim by compression, like a 3
Therecanis be something both contemptible and in theof sort of evidence on which, of late years, any person judicially declared unfitisfor the frightful management his affairs; andlitigation—which after his death, his disposal of his property can be set aside, if there enough of it to pay the expenses of are charged on the property itself. Allofofthetheperceiving minute details of his dailyfaculties life are ofpried andofwhatever isbears foundan which, seen through the medium and describing theofinto, lowest the low, appearance unlike absolute commonplace, is laid before the jury as evidence insanity, and often with success; the jurors being little, ifof atknowledge all, less of vulgar andnature ignorant than the witnesses; whileastonishes the judges, with that extraordinary want human and life which continually us in English lawyers, to mislead them.liberty. These trials speak to the stateonof individuality—so feeling and opinionfaramong the vulgaroften withhelp regard to human Soinfar fromvolumes settingasany value from respecting the right of each individual to act, things indifferent, as seems good tocanhisdesire own such judgment and inclinations, judges and juries cannot even conceive that a person in a state of sanity freedom. In former days, whenit itwould was proposed to burn atheists, charitablewere peopleweused to suggest putting them in a mad-house instead: be nothing surprising now-a-days to had see this done, and the doers applauding themselves, because, instead of persecuting for religion, they adopted so humane and Christian a mode of treating these unfortunates, not without a silent satisfaction at their having thereby obtained their deserts.
156
Chinese lady's foot, every part of human nature which stands out prominently, and tends to make the person markedly dissimilar in outline to commonplace humanity. 3.16 As is usually the case with ideals which exclude one-half of what is desirable, the present standard of approbation produces only an inferior imitation of the other half. Instead of great energies guided by vigorous reason, and strong feelings strongly controlled by a conscientious will, its result is weak feelings and weak energies, which therefore can be kept in outward conformity to rule without any strength either of will or of reason. Already energetic characters on any large scale are becoming merely traditional. There is now scarcely any outlet for energy in this country except business. The energy expended in this may still be regarded as considerable. What little is left from that employment, is expended on some hobby; which may be a useful, even a philanthropic hobby, but is always some one thing, and generally a thing of small dimensions. The greatness of England is now all collective: individually small, we only appear capable of anything great by our habit of combining; and with this our moral and religious philanthropists are perfectly contented. But it was men of another stamp than this that made England what it has been; and men of another stamp will be needed to prevent its decline. 3.17 The despotism of custom is everywhere the standing hindrance to human advancement, being in unceasing antagonism to that disposition to aim at something better than customary, which is called, according to circumstances, the spirit of liberty, or that of progress or improvement. The spirit of improvement is not always a spirit of liberty, for it may aim at forcing improvements on an unwilling people; and the spirit of liberty, in so far as it resists such attempts, may ally itself locally and temporarily with the opponents of improvement; but the only unfailing and permanent source of improvement is liberty, since by it there are as many possible independent centres of improvement as there are individuals. The progressive principle, however, in either shape, whether as the love of liberty or of improvement, is antagonistic to the sway of Custom, involving at least emancipation from that yoke; and the contest between the two constitutes the chief interest of the history of mankind. The greater part of the world has, properly speaking, no history, because the despotism of Custom is complete. This is the case over the whole East. Custom is there, in all things, the final appeal; justice and right mean conformity to custom; the argument of custom no one, unless some tyrant intoxicated with power, thinks of resisting. And we see the result. Those nations must once have had originality; they did not start out of the ground populous, lettered, and versed in many of the arts of life; they made themselves all this, and were then the greatest and most powerful nations of the
157
world. What are they now? The subjects or dependents of tribes whose forefathers wandered in the forests when theirs had magnificent palaces and gorgeous temples, but over whom custom exercised only a divided rule with liberty and progress. A people, it appears, may be progressive for a certain length of time, and then stop: when does it stop? When it ceases to possess individuality. If a similar change should befall the nations of Europe, it will not be in exactly the same shape: the despotism of custom with which these nations are threatened is not precisely stationariness. It proscribes singularity, but it does not preclude change, provided all change together. We have discarded the fixed costumes of our forefathers; every one must still dress like other people, but the fashion may change once or twice a year. We thus take care that when there is change it shall be for change's sake, and not from any idea of beauty or convenience; for the same idea of beauty or convenience would not strike all the world at the same moment, and be simultaneously thrown aside by all at another moment. But we are progressive as well as changeable: we continually make new inventions in mechanical things, and keep them until they are again superseded by better; we are eager for improvement in politics, in education, even in morals, though in this last our idea of improvement chiefly consists in persuading or forcing other people to be as good as ourselves. It is not progress that we object to; on the contrary, we flatter ourselves that we are the most progressive people who ever lived. It is individuality that we war against: we should think we had done wonders if we had made ourselves all alike; forgetting that the unlikeness of one person to another is generally the first thing which draws the attention of either to the imperfection of his own type, and the superiority of another, or the possibility, by combining the advantages of both, of producing something better than either. We have a warning example in China—a nation of much talent, and, in some respects, even wisdom, owing to the rare good fortune of having been provided at an early period with a particularly good set of customs, the work, in some measure, of men to whom even the most enlightened European must accord, under certain limitations, the title of sages and philosophers. They are remarkable, too, in the excellence of their apparatus for impressing, as far as possible, the best wisdom they possess upon every mind in the community, and securing that those who have appropriated most of it shall occupy the posts of honour and power. Surely the people who did this have discovered the secret of human progressiveness, and must have kept themselves steadily at the head of the movement of the world. On the contrary, they have become stationary —have remained so for thousands of years; and if they are ever to be farther improved, it must be by foreigners. They have succeeded beyond all hope in what English philanthropists are so
158
industriously working at—in making a people all alike, all governing their thoughts and conduct by the same maxims and rules; and these are the fruits. The modern rÊgime of public opinion is, in an unorganized form, what the Chinese educational and political systems are in an organized; and unless individuality shall be able successfully to assert itself against this yoke, Europe, notwithstanding its noble antecedents and its professed Christianity, will tend to become another China. 3.18 What is it that has hitherto preserved Europe from this lot? What has made the European family of nations an improving, instead of a stationary portion of mankind? Not any superior excellence in them, which, when it exists, exists as the effect, not as the cause; but their remarkable diversity of character and culture. Individuals, classes, nations, have been extremely unlike one another: they have struck out a great variety of paths, each leading to something valuable; and although at every period those who travelled in different paths have been intolerant of one another, and each would have thought it an excellent thing if all the rest could have been compelled to travel his road, their attempts to thwart each other's development have rarely had any permanent success, and each has in time endured to receive the good which the others have offered. Europe is, in my judgment, wholly indebted to this plurality of paths for its progressive and many-sided development. But it already begins to possess this benefit in a considerably less degree. It is decidedly advancing towards the Chinese ideal of making all people alike. M. de Tocqueville, in his last important work, remarks how much more the Frenchmen of the present day resemble one another, than did those even of the last generation. The same remark might be made of Englishmen in a far greater degree. In a passage already quoted from Wilhelm von Humboldt, he points out two things as necessary conditions of human development, because necessary to render people unlike one another; namely, freedom, and variety of situations. The second of these two conditions is in this country every day diminishing. The circumstances which surround different classes and individuals, and shape their characters, are daily becoming more assimilated. Formerly, different ranks, different neighbourhoods, different trades and professions, lived in what might be called different worlds; at present, to a great degree in the same. Comparatively speaking, they now read the same things, listen to the same things, see the same things, go to the same places, have their hopes and fears directed to the same objects, have the same rights and liberties, and the same means of asserting them. Great as are the differences of position which remain, they are nothing to those which have ceased. And the assimilation is still proceeding. All the political changes of the age
159
promote it, since they all tend to raise the low and to lower the high. Every extension of education promotes it, because education brings people under common influences, and gives them access to the general stock of facts and sentiments. Improvements in the means of communication promote it, by bringing the inhabitants of distant places into personal contact, and keeping up a rapid flow of changes of residence between one place and another. The increase of commerce and manufactures promotes it, by diffusing more widely the advantages of easy circumstances, and opening all objects of ambition, even the highest, to general competition, whereby the desire of rising becomes no longer the character of a particular class, but of all classes. A more powerful agency than even all these, in bringing about a general similarity among mankind, is the complete establishment, in this and other free countries, of the ascendancy of public opinion in the State. As the various social eminences which enabled persons entrenched on them to disregard the opinion of the multitude, gradually become levelled; as the very idea of resisting the will of the public, when it is positively known that they have a will, disappears more and more from the minds of practical politicians; there ceases to be any social support for nonconformity—any substantive power in society, which, itself opposed to the ascendancy of numbers, is interested in taking under its protection opinions and tendencies at variance with those of the public. 3.19 The combination of all these causes forms so great a mass of influences hostile to Individuality, that it is not easy to see how it can stand its ground. It will do so with increasing difficulty, unless the intelligent part of the public can be made to feel its value—to see that it is good there should be differences, even though not for the better, even though, as it may appear to them, some should be for the worse. If the claims of Individuality are ever to be asserted, the time is now, while much is still wanting to complete the enforced assimilation. It is only in the earlier stages that any stand can be successfully made against the encroachment. The demand that all other people shall resemble ourselves, grows by what it feeds on. If resistance waits till life is reduced nearly to one uniform type, all deviations from that type will come to be considered impious, immoral, even monstrous and contrary to nature. Mankind speedily become unable to conceive diversity, when they have been for some time unaccustomed to see it.
160
Chapter IV: Of the Limits to the Authority of Society over the Individual 4.1 WHAT, then, is the rightful limit to the sovereignty of the individual over himself? Where does the authority of society begin? How much of human life should be assigned to individuality, and how much to society? 4.2 Each will receive its proper share, if each has that which more particularly concerns it. To individuality should belong the part of life in which it is chiefly the individual that is interested; to society, the part which chiefly interests society. 4.3 Though society is not founded on a contract, and though no good purpose is answered by inventing a contract in order to deduce social obligations from it, every one who receives the protection of society owes a return for the benefit, and the fact of living in society renders it indispensable that each should be bound to observe a certain line of conduct towards the rest. This conduct consists first, in not injuring the interests of one another; or rather certain interests, which, either by express legal provision or by tacit understanding, ought to be considered as rights; and secondly, in each person's bearing his share (to be fixed on some equitable principle) of the labours and sacrifices incurred for defending the society or its members from injury and molestation. These conditions society is justified in enforcing at all costs to those who endeavour to withhold fulfilment. Nor is this all that society may do. The acts of an individual may be hurtful to others, or wanting in due consideration for their welfare, without going the length of violating any of their constituted rights. The offender may then be justly punished by opinion, though not by law. As soon as any part of a person's conduct affects prejudicially the interests of others, society has jurisdiction over it, and the question whether the general welfare will or will not be promoted by interfering with it, becomes open to discussion. But there is no room for entertaining any such question when a person's conduct affects the interests of no persons besides himself, or needs not affect them unless they like (all the persons concerned being of full age, and the ordinary amount of understanding). In all such cases there should be perfect freedom, legal and social, to do the action and stand the consequences. 4.4 It would be a great misunderstanding of this doctrine to suppose that it is one of selfish indifference, which pretends that human beings have no business with each other's conduct in
161
life, and that they should not concern themselves about the well-doing or well-being of one another, unless their own interest is involved. Instead of any diminution, there is need of a great increase of disinterested exertion to promote the good of others. But disinterested benevolence can find other instruments to persuade people to their good, than whips and scourges, either of the literal or the metaphorical sort. I am the last person to undervalue the self-regarding virtues; they are only second in importance, if even second, to the social. It is equally the business of education to cultivate both. But even education works by conviction and persuasion as well as by compulsion, and it is by the former only that, when the period of education is past, the selfregarding virtues should be inculcated. Human beings owe to each other help to distinguish the better from the worse, and encouragement to choose the former and avoid the latter. They should be for ever stimulating each other to increased exercise of their higher faculties, and increased direction of their feelings and aims towards wise instead of foolish, elevating instead of degrading, objects and contemplations. But neither one person, nor any number of persons, is warranted in saying to another human creature of ripe years, that he shall not do with his life for his own benefit what he chooses to do with it. He is the person most interested in his own wellbeing: the interest which any other person, except in cases of strong personal attachment, can have in it, is trifling, compared with that which he himself has; the interest which society has in him individually (except as to his conduct to others) is fractional, and altogether indirect: while, with respect to his own feelings and circumstances, the most ordinary man or woman has means of knowledge immeasurably surpassing those that can be possessed by any one else. The interference of society to overrule his judgment and purposes in what only regards himself, must be grounded on general presumptions; which may be altogether wrong, and even if right, are as likely as not to be misapplied to individual cases, by persons no better acquainted with the circumstances of such cases than those are who look at them merely from without. In this department, therefore, of human affairs, Individuality has its proper field of action. In the conduct of human beings towards one another, it is necessary that general rules should for the most part be observed, in order that people may know what they have to expect; but in each person's own concerns, his individual spontaneity is entitled to free exercise. Considerations to aid his judgment, exhortations to strengthen his will, may be offered to him, even obtruded on him, by others; but he himself is the final judge. All errors which he is likely to commit against advice and warning, are far outweighed by the evil of allowing others to constrain him to what they deem his good.
162
4.5 I do not mean that the feelings with which a person is regarded by others, ought not to be in any way affected by his self-regarding qualities or deficiencies. This is neither possible nor desirable. If he is eminent in any of the qualities which conduce to his own good, he is, so far, a proper object of admiration. He is so much the nearer to the ideal perfection of human nature. If he is grossly deficient in those qualities, a sentiment the opposite of admiration will follow. There is a degree of folly, and a degree of what may be called (though the phrase is not unobjectionable) lowness or depravation of taste, which, though it cannot justify doing harm to the person who manifests it, renders him necessarily and properly a subject of distaste, or, in extreme cases, even of contempt: a person could not have the opposite qualities in due strength without entertaining these feelings. Though doing no wrong to any one, a person may so act as to compel us to judge him, and feel to him, as a fool, or as a being of an inferior order: and since this judgment and feeling are a fact which he would prefer to avoid, it is doing him a service to warn him of it beforehand, as of any other disagreeable consequence to which he exposes himself. It would be well, indeed, if this good office were much more freely rendered than the common notions of politeness at present permit, and if one person could honestly point out to another that he thinks him in fault, without being considered unmannerly or presuming. We have a right, also, in various ways, to act upon our unfavourable opinion of any one, not to the oppression of his individuality, but in the exercise of ours. We are not bound, for example, to seek his society; we have a right to avoid it (though not to parade the avoidance), for we have a right to choose the society most acceptable to us. We have a right, and it may be our duty, to caution others against him, if we think his example or conversation likely to have a pernicious effect on those with whom he associates. We may give others a preference over him in optional good offices, except those which tend to his improvement. In these various modes a person may suffer very severe penalties at the hands of others, for faults which directly concern only himself; but he suffers these penalties only in so far as they are the natural, and, as it were, the spontaneous consequences of the faults themselves, not because they are purposely inflicted on him for the sake of punishment. A person who shows rashness, obstinacy, self-conceit—who cannot live within moderate means—who cannot restrain himself from hurtful indulgences— who pursues animal pleasures at the expense of those of feeling and intellect—must expect to be lowered in the opinion of others, and to have a less share of their favourable sentiments; but of this he has no right to complain, unless he has merited their favour by special excellence in his
163
social relations, and has thus established a title to their good offices, which is not affected by his demerits towards himself. 4.6 What I contend for is, that the inconveniences which are strictly inseparable from the unfavourable judgment of others, are the only ones to which a person should ever be subjected for that portion of his conduct and character which concerns his own good, but which does not affect the interests of others in their relations with him. Acts injurious to others require a totally different treatment. Encroachment on their rights; infliction on them of any loss or damage not justified by his own rights; falsehood or duplicity in dealing with them; unfair or ungenerous use of advantages over them; even selfish abstinence from defending them against injury—these are fit objects of moral reprobation, and, in grave cases, of moral retribution and punishment. And not only these acts, but the dispositions which lead to them, are properly immoral, and fit subjects of disapprobation which may rise to abhorrence. Cruelty of disposition; malice and illnature; that most anti-social and odious of all passions, envy; dissimulation and insincerity, irascibility on insufficient cause, and resentment disproportioned to the provocation; the love of domineering over others; the desire to engross more than one's share of advantages (the of the Greeks); the pride which derives gratification from the abasement of others; the egotism which thinks self and its concerns more important than everything else, and decides all doubtful questions in its own favour;—these are moral vices, and constitute a bad and odious moral character: unlike the self-regarding faults previously mentioned, which are not properly immoralities, and to whatever pitch they may be carried, do not constitute wickedness. They may be proofs of any amount of folly, or want of personal dignity and self-respect; but they are only a subject of moral reprobation when they involve a breach of duty to others, for whose sake the individual is bound to have care for himself. What are called duties to ourselves are not socially obligatory, unless circumstances render them at the same time duties to others. The term duty to oneself, when it means anything more than prudence, means self-respect or selfdevelopment; and for none of these is any one accountable to his fellow creatures, because for none of them is it for the good of mankind that he be held accountable to them. 4.7 The distinction between the loss of consideration which a person may rightly incur by defect of prudence or of personal dignity, and the reprobation which is due to him for an offence against the rights of others, is not a merely nominal distinction. It makes a vast difference both in our feelings and in our conduct towards him, whether he displeases us in things in which we think we have a right to control him, or in things in which we know that we have not. If he
164
displeases us, we may express our distaste, and we may stand aloof from a person as well as from a thing that displeases us; but we shall not therefore feel called on to make his life uncomfortable. We shall reflect that he already bears, or will bear, the whole penalty of his error; if he spoils his life by mismanagement, we shall not, for that reason, desire to spoil it still further: instead of wishing to punish him, we shall rather endeavour to alleviate his punishment, by showing him how he may avoid or cure the evils his conduct tends to bring upon him. He may be to us an object of pity, perhaps of dislike, but not of anger or resentment; we shall not treat him like an enemy of society: the worst we shall think ourselves justified in doing is leaving him to himself, if we do not interfere benevolently by showing interest or concern for him. It is far otherwise if he has infringed the rules necessary for the protection of his fellowcreatures, individually or collectively. The evil consequences of his acts do not then fall on himself, but on others; and society, as the protector of all its members, must retaliate on him; must inflict pain on him for the express purpose of punishment, and must take care that it be sufficiently severe. In the one case, he is an offender at our bar, and we are called on not only to sit in judgment on him, but, in one shape or another, to execute our own sentence: in the other case, it is not our part to inflict any suffering on him, except what may incidentally follow from our using the same liberty in the regulation of our own affairs, which we allow to him in his. 4.8 The distinction here pointed out between the part of a person's life which concerns only himself, and that which concerns others, many persons will refuse to admit. How (it may be asked) can any part of the conduct of a member of society be a matter of indifference to the other members? No person is an entirely isolated being; it is impossible for a person to do anything seriously or permanently hurtful to himself, without mischief reaching at least to his near connexions, and often far beyond them. If he injures his property, he does harm to those who directly or indirectly derived support from it, and usually diminishes, by a greater or less amount, the general resources of the community. If he deteriorates his bodily or mental faculties, he not only brings evil upon all who depended on him for any portion of their happiness, but disqualifies himself for rendering the services which he owes to his fellowcreatures generally; perhaps becomes a burthen on their affection or benevolence; and if such conduct were very frequent, hardly any offence that is committed would detract more from the general sum of good. Finally, if by his vices or follies a person does no direct harm to others, he is nevertheless (it may be said) injurious by his example; and ought to be compelled to control
165
himself, for the sake of those whom the sight or knowledge of his conduct might corrupt or mislead. 4.9 And even (it will be added) if the consequences of misconduct could be confined to the vicious or thoughtless individual, ought society to abandon to their own guidance those who are manifestly unfit for it? If protection against themselves is confessedly due to children and persons under age, is not society equally bound to afford it to persons of mature years who are equally incapable of self-government? If gambling, or drunkenness, or incontinence, or idleness, or uncleanliness, are as injurious to happiness, and as great a hindrance to improvement, as many or most of the acts prohibited by law, why (it may be asked) should not law, so far as is consistent with practicability and social convenience, endeavour to repress these also? And as a supplement to the unavoidable imperfections of law, ought not opinion at least to organize a powerful police against these vices, and visit rigidly with social penalties those who are known to practise them? There is no question here (it may be said) about restricting individuality, or impeding the trial of new and original experiments in living. The only things it is sought to prevent are things which have been tried and condemned from the beginning of the world until now; things which experience has shown not to be useful or suitable to any person's individuality. There must be some length of time and amount of experience, after which a moral or prudential truth may be regarded as established: and it is merely desired to prevent generation after generation from falling over the same precipice which has been fatal to their predecessors. 4.10 I fully admit that the mischief which a person does to himself may seriously affect, both through their sympathies and their interests, those nearly connected with him, and in a minor degree, society at large. When, by conduct of this sort, a person is led to violate a distinct and assignable obligation to any other person or persons, the case is taken out of the self-regarding class, and becomes amenable to moral disapprobation in the proper sense of the term. If, for example, a man, through intemperance or extravagance, becomes unable to pay his debts, or, having undertaken the moral responsibility of a family, becomes from the same cause incapable of supporting or educating them, he is deservedly reprobated, and might be justly punished; but it is for the breach of duty to his family or creditors, not for the extravagance. If the resources which ought to have been devoted to them, had been diverted from them for the most prudent investment, the moral culpability would have been the same. George Barnwell murdered his uncle to get money for his mistress, but if he had done it to set himself up in business, he would equally have been hanged. Again, in the frequent case of a man who causes grief to his family
166
by addiction to bad habits, he deserves reproach for his unkindness or ingratitude; but so he may for cultivating habits not in themselves vicious, if they are painful to those with whom he passes his life, or who from personal ties are dependent on him for their comfort. Whoever fails in the consideration generally due to the interests and feelings of others, not being compelled by some more imperative duty, or justified by allowable self-preference, is a subject of moral disapprobation for that failure, but not for the cause of it, nor for the errors, merely personal to himself, which may have remotely led to it. In like manner, when a person disables himself, by conduct purely self-regarding, from the performance of some definite duty incumbent on him to the public, he is guilty of a social offence. No person ought to be punished simply for being drunk; but a soldier or a policeman should be punished for being drunk on duty. Whenever, in short, there is a definite damage, or a definite risk of damage, either to an individual or to the public, the case is taken out of the province of liberty, and placed in that of morality or law. 4.11 But with regard to the merely contingent, or, as it may be called, constructive injury which a person causes to society, by conduct which neither violates any specific duty to the public, nor occasions perceptible hurt to any assignable individual except himself; the inconvenience is one which society can afford to bear, for the sake of the greater good of human freedom. If grown persons are to be punished for not taking proper care of themselves, I would rather it were for their own sake, than under pretence of preventing them from impairing their capacity of rendering to society benefits which society does not pretend it has a right to exact. But I cannot consent to argue the point as if society had no means of bringing its weaker members up to its ordinary standard of rational conduct, except waiting till they do something irrational, and then punishing them, legally or morally, for it. Society has had absolute power over them during all the early portion of their existence: it has had the whole period of childhood and nonage in which to try whether it could make them capable of rational conduct in life. The existing generation is master both of the training and the entire circumstances of the generation to come; it cannot indeed make them perfectly wise and good, because it is itself so lamentably deficient in goodness and wisdom; and its best efforts are not always, in individual cases, its most successful ones; but it is perfectly well able to make the rising generation, as a whole, as good as, and a little better than, itself. If society lets any considerable number of its members grow up mere children, incapable of being acted on by rational consideration of distant motives, society has itself to blame for the consequences. Armed not only with all the powers of education, but with the ascendancy which the authority of a received opinion always exercises
167
over the minds who are least fitted to judge for themselves; and aided by the natural penalties which cannot be prevented from falling on those who incur the distaste or the contempt of those who know them; let not society pretend that it needs, besides all this, the power to issue commands and enforce obedience in the personal concerns of individuals, in which, on all principles of justice and policy, the decision ought to rest with those who are to abide the consequences. Nor is there anything which tends more to discredit and frustrate the better means of influencing conduct, than a resort to the worse. If there be among those whom it is attempted to coerce into prudence or temperance, any of the material of which vigorous and independent characters are made, they will infallibly rebel against the yoke. No such person will ever feel that others have a right to control him in his concerns, such as they have to prevent him from injuring them in theirs; and it easily comes to be considered a mark of spirit and courage to fly in the face of such usurped authority, and do with ostentation the exact opposite of what it enjoins; as in the fashion of grossness which succeeded, in the time of Charles II, to the fanatical moral intolerance of the Puritans. With respect to what is said of the necessity of protecting society from the bad example set to others by the vicious or the self-indulgent; it is true that bad example may have a pernicious effect, especially the example of doing wrong to others with impunity to the wrong-doer. But we are now speaking of conduct which, while it does no wrong to others, is supposed to do great harm to the agent himself: and I do not see how those who believe this, can think otherwise than that the example, on the whole, must be more salutary than hurtful, since, if it displays the misconduct, it displays also the painful or degrading consequences which, if the conduct is justly censured, must be supposed to be in all or most cases attendant on it. 4.12 But the strongest of all the arguments against the interference of the public with purely personal conduct, is that when it does interfere, the odds are that it interferes wrongly, and in the wrong place. On questions of social morality, of duty to others, the opinion of the public, that is, of an overruling majority, though often wrong, is likely to be still oftener right; because on such questions they are only required to judge of their own interests; of the manner in which some mode of conduct, if allowed to be practised, would affect themselves. But the opinion of a similar majority, imposed as a law on the minority, on questions of self-regarding conduct, is quite as likely to be wrong as right; for in these cases public opinion means, at the best, some people's opinion of what is good or bad for other people; while very often it does not even mean that; the public, with the most perfect indifference, passing over the pleasure or convenience of
168
those whose conduct they censure, and considering only their own preference. There are many who consider as an injury to themselves any conduct which they have a distaste for, and resent it as an outrage to their feelings; as a religious bigot, when charged with disregarding the religious feelings of others, has been known to retort that they disregard his feelings, by persisting in their abominable worship or creed. But there is no parity between the feeling of a person for his own opinion, and the feeling of another who is offended at his holding it; no more than between the desire of a thief to take a purse, and the desire of the right owner to keep it. And a person's taste is as much his own peculiar concern as his opinion or his purse. It is easy for any one to imagine an ideal public, which leaves the freedom and choice of individuals in all uncertain matters undisturbed, and only requires them to abstain from modes of conduct which universal experience has condemned. But where has there been seen a public which set any such limit to its censorship? or when does the public trouble itself about universal experience? In its interferences with personal conduct it is seldom thinking of anything but the enormity of acting or feeling differently from itself; and this standard of judgment, thinly disguised, is held up to mankind as the dictate of religion and philosophy, by nine-tenths of all moralists and speculative writers. These teach that things are right because they are right; because we feel them to be so. They tell us to search in our own minds and hearts for laws of conduct binding on ourselves and on all others. What can the poor public do but apply these instructions, and make their own personal feelings of good and evil, if they are tolerably unanimous in them, obligatory on all the world? 4.13 The evil here pointed out is not one which exists only in theory; and it may perhaps be expected that I should specify the instances in which the public of this age and country improperly invests its own preferences with the character of moral laws. I am not writing an essay on the aberrations of existing moral feeling. That is too weighty a subject to be discussed parenthetically, and by way of illustration. Yet examples are necessary, to show that the principle I maintain is of serious and practical moment, and that I am not endeavouring to erect a barrier against imaginary evils. And it is not difficult to show, by abundant instances, that to extend the bounds of what may be called moral police, until it encroaches on the most unquestionably legitimate liberty of the individual, is one of the most universal of all human propensities. 4.14 As a first instance, consider the antipathies which men cherish on no better grounds than that persons whose religious opinions are different from theirs, do not practise their
169
religious observances, especially their religious abstinences. To cite a rather trivial example, nothing in the creed or practice of Christians does more to envenom the hatred of Mahomedans against them, than the fact of their eating pork. There are few acts which Christians and Europeans regard with more unaffected disgust, than Mussulmans regard this particular mode of satisfying hunger. It is, in the first place, an offence against their religion; but this circumstance by no means explains either the degree or the kind of their repugnance; for wine also is forbidden by their religion, and to partake of it is by all Mussulmans accounted wrong, but not disgusting. Their aversion to the flesh of the "unclean beast" is, on the contrary, of that peculiar character, resembling an instinctive antipathy, which the idea of uncleanness, when once it thoroughly sinks into the feelings, seems always to excite even in those whose personal habits are anything but scrupulously cleanly, and of which the sentiment of religious impurity, so intense in the Hindoos, is a remarkable example. Suppose now that in a people, of whom the majority were Mussulmans, that majority should insist upon not permitting pork to be eaten within the limits of the country. This would be nothing new in Mahomedan countries. 1 Would it be a legitimate exercise of the moral authority of public opinion? and if not, why not? The practice is really revolting to such a public. They also sincerely think that it is forbidden and abhorred by the Deity. Neither could the prohibition be censured as religious persecution. It might be religious in its origin, but it would not be persecution for religion, since nobody's religion makes it a duty to eat pork. The only tenable ground of condemnation would be, that with the personal tastes and self-regarding concerns of individuals the public has no business to interfere. 4.15 To come somewhat nearer home: the majority of Spaniards consider it a gross impiety, offensive in the highest degree to the Supreme Being, to worship him in any other manner than the Roman Catholic; and no other public worship is lawful on Spanish soil. The people of all Southern Europe look upon a married clergy as not only irreligious, but unchaste, indecent, gross, disgusting. What do Protestants think of these perfectly sincere feelings, and of the attempt to enforce them against non-Catholics? Yet, if mankind are justified in interfering with each other's liberty in things which do not concern the interests of others, on what principle is it possible consistently to exclude these cases? or who can blame people for desiring to suppress 1
The case of theofBombay Parsees is a curious instance in point. When industrious andCaliphs, enterprising tribe, the descendants thewere Persian fire-worshippers, flying from their sovereigns, native this country before the arrived in Western India, they admitted to toleration by the Hindoo on condition of not eating beef. When regions afterwards fell under the dominion of Mahomedan conquerors, the Parsees obtained from them athose continuance of indulgence, on the condition ofto refraining from pork. Whatbeef was at first obedience to authority became a second nature, and Parsees this day abstain both from and pork. Though not required by istheir religion, the double abstinence has had time to grow into a custom of their tribe; and custom, in the East, a religion.
170
what they regard as a scandal in the sight of God and man? No stronger case can be shown for prohibiting anything which is regarded as a personal immorality, than is made out for suppressing these practices in the eyes of those who regard them as impieties; and unless we are willing to adopt the logic of persecutors, and to say that we may persecute others because we are right, and that they must not persecute us because they are wrong, we must beware of admitting a principle of which we should resent as a gross injustice the application to ourselves. 4.16 The preceding instances may be objected to, although unreasonably, as drawn from contingencies impossible among us: opinion, in this country, not being likely to enforce abstinence from meats, or to interfere with people for worshipping, and for either marrying or not marrying, according to their creed or inclination. The next example, however, shall be taken from an interference with liberty which we have by no means passed all danger of. Wherever the Puritans have been sufficiently powerful, as in New England, and in Great Britain at the time of the Commonwealth, they have endeavoured, with considerable success, to put down all public, and nearly all private, amusements: especially music, dancing, public games, or other assemblages for purposes of diversion, and the theatre. There are still in this country large bodies of persons by whose notions of morality and religion these recreations are condemned; and those persons belonging chiefly to the middle class, who are the ascendant power in the present social and political condition of the kingdom, it is by no means impossible that persons of these sentiments may at some time or other command a majority in Parliament. How will the remaining portion of the community like to have the amusements that shall be permitted to them regulated by the religious and moral sentiments of the stricter Calvinists and Methodists? Would they not, with considerable peremptoriness, desire these intrusively pious members of society to mind their own business? This is precisely what should be said to every government and every public, who have the pretension that no person shall enjoy any pleasure which they think wrong. But if the principle of the pretension be admitted, no one can reasonably object to its being acted on in the sense of the majority, or other preponderating power in the country; and all persons must be ready to conform to the idea of a Christian commonwealth, as understood by the early settlers in New England, if a religious profession similar to theirs should ever succeed in regaining its lost ground, as religions supposed to be declining have so often been known to do. 4.17 To imagine another contingency, perhaps more likely to be realized than the one last mentioned. There is confessedly a strong tendency in the modern world towards a democratic constitution of society, accompanied or not by popular political institutions. It is affirmed that in
171
the country where this tendency is most completely realized—where both society and the government are most democratic—the United States—the feeling of the majority, to whom any appearance of a more showy or costly style of living than they can hope to rival is disagreeable, operates as a tolerably effectual sumptuary law, and that in many parts of the Union it is really difficult for a person possessing a very large income, to find any mode of spending it, which will not incur popular disapprobation. Though such statements as these are doubtless much exaggerated as a representation of existing facts, the state of things they describe is not only a conceivable and possible, but a probable result of democratic feeling, combined with the notion that the public has a right to a veto on the manner in which individuals shall spend their incomes. We have only further to suppose a considerable diffusion of Socialist opinions, and it may become infamous in the eyes of the majority to possess more property than some very small amount, or any income not earned by manual labour. Opinions similar in principle to these, already prevail widely among the artizan class, and weigh oppressively on those who are amenable to the opinion chiefly of that class, namely, its own members. It is known that the bad workmen who form the majority of the operatives in many branches of industry, are decidedly of opinion that bad workmen ought to receive the same wages as good, and that no one ought to be allowed, through piecework or otherwise, to earn by superior skill or industry more than others can without it. And they employ a moral police, which occasionally becomes a physical one, to deter skilful workmen from receiving, and employers from giving, a larger remuneration for a more useful service. If the public have any jurisdiction over private concerns, I cannot see that these people are in fault, or that any individual's particular public can be blamed for asserting the same authority over his individual conduct, which the general public asserts over people in general. 4.18 But, without dwelling upon supposititious cases, there are, in our own day, gross usurpations upon the liberty of private life actually practised, and still greater ones threatened with some expectation of success, and opinions propounded which assert an unlimited right in the public not only to prohibit by law everything which it thinks wrong, but in order to get at what it thinks wrong, to prohibit any number of things which it admits to be innocent. 4.19 Under the name of preventing intemperance, the people of one English colony, and of nearly half the United States, have been interdicted by law from making any use whatever of fermented drinks, except for medical purposes: for prohibition of their sale is in fact, as it is intended to be, prohibition of their use. And though the impracticability of executing the law has
172
caused its repeal in several of the States which had adopted it, including the one from which it derives its name, an attempt has notwithstanding been commenced, and is prosecuted with considerable zeal by many of the professed philanthropists, to agitate for a similar law in this country. The association, or "Alliance" as it terms itself, which has been formed for this purpose, has acquired some notoriety through the publicity given to a correspondence between its Secretary and one of the very few English public men who hold that a politician's opinions ought to be founded on principles. Lord Stanley's share in this correspondence is calculated to strengthen the hopes already built on him, by those who know how rare such qualities as are manifested in some of his public appearances, unhappily are among those who figure in political life. The organ of the Alliance, who would "deeply deplore the recognition of any principle which could be wrested to justify bigotry and persecution," undertakes to point out the "broad and impassable barrier" which divides such principles from those of the association. "All matters relating to thought, opinion, conscience, appear to me," he says, "to be without the sphere of legislation; all pertaining to social act, habit, relation, subject only to a discretionary power vested in the State itself, and not in the individual, to be within it." No mention is made of a third class, different from either of these, viz. acts and habits which are not social, but individual; although it is to this class, surely, that the act of drinking fermented liquors belongs. Selling fermented liquors, however, is trading, and trading is a social act. But the infringement complained of is not on the liberty of the seller, but on that of the buyer and consumer; since the State might just as well forbid him to drink wine, as purposely make it impossible for him to obtain it. The Secretary, however, says, "I claim, as a citizen, a right to legislate whenever my social rights are invaded by the social act of another." And now for the definition of these "social rights." "If anything invades my social rights, certainly the traffic in strong drink does. It destroys my primary right of security, by constantly creating and stimulating social disorder. It invades my right of equality, by deriving a profit from the creation of a misery I am taxed to support. It impedes my right to free moral and intellectual development, by surrounding my path with dangers, and by weakening and demoralizing society, from which I have a right to claim mutual aid and intercourse." A theory of "social rights," the like of which probably never before found its way into distinct language: being nothing short of this—that it is the absolute social right of every individual, that every other individual shall act in every respect exactly as he ought; that whosoever fails thereof in the smallest particular, violates my social right, and entitles me to demand from the legislature the removal of the grievance. So monstrous a
173
principle is far more dangerous than any single interference with liberty; there is no violation of liberty which it would not justify; it acknowledges no right to any freedom whatever, except perhaps to that of holding opinions in secret, without ever disclosing them: for, the moment an opinion which I consider noxious passes any one's lips, it invades all the "social rights" attributed to me by the Alliance. The doctrine ascribes to all mankind a vested interest in each other's moral, intellectual, and even physical perfection, to be defined by each claimant according to his own standard. 4.20 Another important example of illegitimate interference with the rightful liberty of the individual, not simply threatened, but long since carried into triumphant effect, is Sabbatarian legislation. Without doubt, abstinence on one day in the week, so far as the exigencies of life permit, from the usual daily occupation, though in no respect religiously binding on any except Jews, is a highly beneficial custom. And inasmuch as this custom cannot be observed without a general consent to that effect among the industrious classes, therefore, in so far as some persons by working may impose the same necessity on others, it may be allowable and right that the law should guarantee to each the observance by others of the custom, by suspending the greater operations of industry on a particular day. But this justification, grounded on the direct interest which others have in each individual's observance of the practice, does not apply to the selfchosen occupations in which a person may think fit to employ his leisure; nor does it hold good, in the smallest degree, for legal restrictions on amusements. It is true that the amusement of some is the day's work of others; but the pleasure, not to say the useful recreation, of many, is worth the labour of a few, provided the occupation is freely chosen, and can be freely resigned. The operatives are perfectly right in thinking that if all worked on Sunday, seven days' work would have to be given for six days' wages: but so long as the great mass of employments are suspended, the small number who for the enjoyment of others must still work, obtain a proportional increase of earnings; and they are not obliged to follow those occupations, if they prefer leisure to emolument. If a further remedy is sought, it might be found in the establishment by custom of a holiday on some other day of the week for those particular classes of persons. The only ground, therefore, on which restrictions on Sunday amusements can be defended, must be that they are religiously wrong; a motive of legislation which never can be too earnestly protested against. "Deorum injuriĂŚ Diis curĂŚ." It remains to be proved that society or any of its officers holds a commission from on high to avenge any supposed offence to Omnipotence, which is not also a wrong to our fellow creatures. The notion that it is one man's duty that
174
another should be religious, was the foundation of all the religious persecutions ever perpetrated, and if admitted, would fully justify them. Though the feeling which breaks out in the repeated attempts to stop railway travelling on Sunday, in the resistance to the opening of Museums, and the like, has not the cruelty of the old persecutors, the state of mind indicated by it is fundamentally the same. It is a determination not to tolerate others in doing what is permitted by their religion, because it is not permitted by the persecutor's religion. It is a belief that God not only abominates the act of the misbeliever, but will not hold us guiltless if we leave him unmolested. 4.21 I cannot refrain from adding to these examples of the little account commonly made of human liberty, the language of downright persecution which breaks out from the press of this country, whenever it feels called on to notice the remarkable phenomenon of Mormonism. Much might be said on the unexpected and instructive fact, that an alleged new revelation, and a religion founded on it, the product of palpable imposture, not even supported by the prestige of extraordinary qualities in its founder, is believed by hundreds of thousands, and has been made the foundation of a society, in the age of newspapers, railways, and the electric telegraph. What here concerns us is, that this religion, like other and better religions, has its martyrs; that its prophet and founder was, for his teaching, put to death by a mob; that others of its adherents lost their lives by the same lawless violence; that they were forcibly expelled, in a body, from the country in which they first grew up; while, now that they have been chased into a solitary recess in the midst of a desert, many in this country openly declare that it would be right (only that it is not convenient) to send an expedition against them, and compel them by force to conform to the opinions of other people. The article of the Mormonite doctrine which is the chief provocative to the antipathy which thus breaks through the ordinary restraints of religious tolerance, is its sanction of polygamy; which, though permitted to Mahomedans, and Hindoos, and Chinese, seems to excite unquenchable animosity when practised by persons who speak English, and profess to be a kind of Christians. No one has a deeper disapprobation than I have of this Mormon institution; both for other reasons, and because, far from being in any way countenanced by the principle of liberty, it is a direct infraction of that principle, being a mere riveting of the chains of one-half of the community, and an emancipation of the other from reciprocity of obligation towards them. Still, it must be remembered that this relation is as much voluntary on the part of the women concerned in it, and who may be deemed the sufferers by it, as is the case with any other form of the marriage institution; and however surprising this fact
175
may appear, it has its explanation in the common ideas and customs of the world, which teaching women to think marriage the one thing needful, make it intelligible that many a woman should prefer being one of several wives, to not being a wife at all. Other countries are not asked to recognise such unions, or release any portion of their inhabitants from their own laws on the score of Mormonite opinions. But when the dissentients have conceded to the hostile sentiments of others, far more than could justly be demanded; when they have left the countries to which their doctrines were unacceptable, and established themselves in a remote corner of the earth, which they have been the first to render habitable to human beings; it is difficult to see on what principles but those of tyranny they can be prevented from living there under what laws they please, provided they commit no aggression on other nations, and allow perfect freedom of departure to those who are dissatisfied with their ways. A recent writer, in some respects of considerable merit, proposes (to use his own words) not a crusade, but a civilizade, against this polygamous community, to put an end to what seems to him a retrograde step in civilization. It also appears so to me, but I am not aware that any community has a right to force another to be civilized. So long as the sufferers by the bad law do not invoke assistance from other communities, I cannot admit that persons entirely unconnected with them ought to step in and require that a condition of things with which all who are directly interested appear to be satisfied, should be put an end to because it is a scandal to persons some thousands of miles distant, who have no part or concern in it. Let them send missionaries, if they please, to preach against it; and let them, by any fair means (of which silencing the teachers is not one,) oppose the progress of similar doctrines among their own people. If civilization has got the better of barbarism when barbarism had the world to itself, it is too much to profess to be afraid lest barbarism, after having been fairly got under, should revive and conquer civilization. A civilization that can thus succumb to its vanquished enemy, must first have become so degenerate, that neither its appointed priests and teachers, nor anybody else, has the capacity, or will take the trouble, to stand up for it. If this be so, the sooner such a civilization receives notice to quit, the better. It can only go on from bad to worse, until destroyed and regenerated (like the Western Empire) by energetic barbarians.
176
Chapter V: Applications 5.1 THE PRINCIPLES asserted in these pages must be more generally admitted as the basis for discussion of details, before a consistent application of them to all the various departments of government and morals can be attempted with any prospect of advantage. The few observations I propose to make on questions of detail, are designed to illustrate the principles, rather than to follow them out to their consequences. I offer, not so much applications, as specimens of application; which may serve to bring into greater clearness the meaning and limits of the two maxims which together form the entire doctrine of this Essay, and to assist the judgment in holding the balance between them, in the cases where it appears doubtful which of them is applicable to the case. 5.2The maxims are, first, that the individual is not accountable to society for his actions, in so far as these concern the interests of no person but himself. Advice, instruction, persuasion, and avoidance by other people if thought necessary by them for their own good, are the only measures by which society can justifiably express its dislike or disapprobation of his conduct. Secondly, that for such actions as are prejudicial to the interests of others, the individual is accountable, and may be subjected either to social or to legal punishment, if society is of opinion that the one or the other is requisite for its protection. 5.3 In the first place, it must by no means be supposed, because damage, or probability of damage, to the interests of others, can alone justify the interference of society, that therefore it always does justify such interference. In many cases, an individual, in pursuing a legitimate object, necessarily and therefore legitimately causes pain or loss to others, or intercepts a good which they had a reasonable hope of obtaining. Such oppositions of interest between individuals often arise from bad social institutions, but are unavoidable while those institutions last; and some would be unavoidable under any institutions. Whoever succeeds in an overcrowded profession, or in a competitive examination; whoever is preferred to another in any contest for an object which both desire, reaps benefit from the loss of others, from their wasted exertion and their disappointment. But it is, by common admission, better for the general interest of mankind, that persons should pursue their objects undeterred by this sort of consequences. In other words, society admits no right, either legal or moral, in the disappointed competitors, to immunity from this kind of suffering; and feels called on to interfere, only when means of success have been
177
employed which it is contrary to the general interest to permit窶馬amely, fraud or treachery, and force. 5.4 Again, trade is a social act. Whoever undertakes to sell any description of goods to the public, does what affects the interest of other persons, and of society in general; and thus his conduct, in principle, comes within the jurisdiction of society: accordingly, it was once held to be the duty of governments, in all cases which were considered of importance, to fix prices, and regulate the processes of manufacture. But it is now recognised, though not till after a long struggle, that both the cheapness and the good quality of commodities are most effectually provided for by leaving the producers and sellers perfectly free, under the sole check of equal freedom to the buyers for supplying themselves elsewhere. This is the so-called doctrine of Free Trade, which rests on grounds different from, though equally solid with, the principle of individual liberty asserted in this Essay. Restrictions on trade, or on production for purposes of trade, are indeed restraints; and all restraint, quテ「 restraint, is an evil: but the restraints in question affect only that part of conduct which society is competent to restrain, and are wrong solely because they do not really produce the results which it is desired to produce by them. As the principle of individual liberty is not involved in the doctrine of Free Trade, so neither is it in most of the questions which arise respecting the limits of that doctrine; as for example, what amount of public control is admissible for the prevention of fraud by adulteration; how far sanitary precautions, or arrangements to protect workpeople employed in dangerous occupations, should be enforced on employers. Such questions involve considerations of liberty, only in so far as leaving people to themselves is always better, cテヲteris paribus, than controlling them: but that they may be legitimately controlled for these ends, is in principle undeniable. On the other hand, there are questions relating to interference with trade, which are essentially questions of liberty; such as the Maine Law, already touched upon; the prohibition of the importation of opium into China; the restriction of the sale of poisons; all cases, in short, where the object of the interference is to make it impossible or difficult to obtain a particular commodity. These interferences are objectionable, not as infringements on the liberty of the producer or seller, but on that of the buyer. 5.5 One of these examples, that of the sale of poisons, opens a new question; the proper limits of what may be called the functions of police; how far liberty may legitimately be invaded for the prevention of crime, or of accident. It is one of the undisputed functions of government to take precautions against crime before it has been committed, as well as to detect and punish it
178
afterwards. The preventive function of government, however, is far more liable to be abused, to the prejudice of liberty, than the punitory function; for there is hardly any part of the legitimate freedom of action of a human being which would not admit of being represented, and fairly too, as increasing the facilities for some form or other of delinquency. Nevertheless, if a public authority, or even a private person, sees any one evidently preparing to commit a crime, they are not bound to look on inactive until the crime is committed, but may interfere to prevent it. If poisons were never bought or used for any purpose except the commission of murder, it would be right to prohibit their manufacture and sale. They may, however, be wanted not only for innocent but for useful purposes, and restrictions cannot be imposed in the one case without operating in the other. Again, it is a proper office of public authority to guard against accidents. If either a public officer or any one else saw a person attempting to cross a bridge which had been ascertained to be unsafe, and there were no time to warn him of his danger, they might seize him and turn him back, without any real infringement of his liberty; for liberty consists in doing what one desires, and he does not desire to fall into the river. Nevertheless, when there is not a certainty, but only a danger of mischief, no one but the person himself can judge of the sufficiency of the motive which may prompt him to incur the risk: in this case, therefore, (unless he is a child, or delirious, or in some state of excitement or absorption incompatible with the full use of the reflecting faculty) he ought, I conceive, to be only warned of the danger; not forcibly prevented from exposing himself to it. Similar considerations, applied to such a question as the sale of poisons, may enable us to decide which among the possible modes of regulation are or are not contrary to principle. Such a precaution, for example, as that of labelling the drug with some word expressive of its dangerous character, may be enforced without violation of liberty: the buyer cannot wish not to know that the thing he possesses has poisonous qualities. But to require in all cases the certificate of a medical practitioner, would make it sometimes impossible, always expensive, to obtain the article for legitimate uses. The only mode apparent to me, in which difficulties may be thrown in the way of crime committed through this means, without any infringement, worth taking into account, upon the liberty of those who desire the poisonous substance for other purposes, consists in providing what, in the apt language of Bentham, is called "preappointed evidence." This provision is familiar to every one in the case of contracts. It is usual and right that the law, when a contract is entered into, should require as the condition of its enforcing performance, that certain formalities should be observed, such as signatures, attestation of witnesses, and the like, in order that in case of subsequent dispute,
179
there may be evidence to prove that the contract was really entered into, and that there was nothing in the circumstances to render it legally invalid: the effect being, to throw great obstacles in the way of fictitious contracts, or contracts made in circumstances which, if known, would destroy their validity. Precautions of a similar nature might be enforced in the sale of articles adapted to be instruments of crime. The seller, for example, might be required to enter in a register the exact time of the transaction, the name and address of the buyer, the precise quality and quantity sold; to ask the purpose for which it was wanted, and record the answer he received. When there was no medical prescription, the presence of some third person might be required, to bring home the fact to the purchaser, in case there should afterwards be reason to believe that the article had been applied to criminal purposes. Such regulations would in general be no material impediment to obtaining the article, but a very considerable one to making an improper use of it without detection. 5.6 The right inherent in society, to ward off crimes against itself by antecedent precautions, suggests the obvious limitations to the maxim, that purely self-regarding misconduct cannot properly be meddled with in the way of prevention or punishment. Drunkenness, for example, in ordinary cases, is not a fit subject for legislative interference; but I should deem it perfectly legitimate that a person, who had once been convicted of any act of violence to others under the influence of drink, should be placed under a special legal restriction, personal to himself; that if he were afterwards found drunk, he should be liable to a penalty, and that if when in that state he committed another offence, the punishment to which he would be liable for that other offence should be increased in severity. The making himself drunk, in a person whom drunkenness excites to do harm to others, is a crime against others. So, again, idleness, except in a person receiving support from the public, or except when it constitutes a breach of contract, cannot without tyranny be made a subject of legal punishment; but if, either from idleness or from any other avoidable cause, a man fails to perform his legal duties to others, as for instance to support his children, it is no tyranny to force him to fulfil that obligation, by compulsory labor, if no other means are available. 5.7 Again, there are many acts which, being directly injurious only to the agents themselves, ought not to be legally interdicted, but which, if done publicly, are a violation of good manners, and coming thus within the category of offences against others, may rightfully be prohibited. Of this kind are offences against decency; on which it is unnecessary to dwell, the rather as they are only connected indirectly with our subject, the objection to publicity being
180
equally strong in the case of many actions not in themselves condemnable, nor supposed to be so. 5.8 There is another question to which an answer must be found, consistent with the principles which have been laid down. In cases of personal conduct supposed to be blameable, but which respect for liberty precludes society from preventing or punishing, because the evil directly resulting falls wholly on the agent; what the agent is free to do, ought other persons to be equally free to counsel or instigate? This question is not free from difficulty. The case of a person who solicits another to do an act, is not strictly a case of self-regarding conduct. To give advice or offer inducements to any one, is a social act, and may, therefore, like actions in general which affect others, be supposed amenable to social control. But a little reflection corrects the first impression, by showing that if the case is not strictly within the definition of individual liberty, yet the reasons on which the principle of individual liberty is grounded, are applicable to it. If people must be allowed, in whatever concerns only themselves, to act as seems best to themselves at their own peril, they must equally be free to consult with one another about what is fit to be so done; to exchange opinions, and give and receive suggestions. Whatever it is permitted to do, it must be permitted to advise to do. The question is doubtful, only when the instigator derives a personal benefit from his advice; when he makes it his occupation, for subsistence or pecuniary gain, to promote what society and the State consider to be an evil. Then, indeed, a new element of complication is introduced; namely, the existence of classes of persons with an interest opposed to what is considered as the public weal, and whose mode of living is grounded on the counteraction of it. Ought this to be interfered with, or not? Fornication, for example, must be tolerated, and so must gambling; but should a person be free to be a pimp, or to keep a gambling-house? The case is one of those which lie on the exact boundary line between two principles, and it is not at once apparent to which of the two it properly belongs. There are arguments on both sides. On the side of toleration it may be said, that the fact of following anything as an occupation, and living or profiting by the practice of it, cannot make that criminal which would otherwise be admissible; that the act should either be consistently permitted or consistently prohibited; that if the principles which we have hitherto defended are true, society has no business, as society, to decide anything to be wrong which concerns only the individual; that it cannot go beyond dissuasion, and that one person should be as free to persuade, as another to dissuade. In opposition to this it may be contended, that although the public, or the State, are not warranted in authoritatively deciding, for purposes of
181
repression or punishment, that such or such conduct affecting only the interests of the individual is good or bad, they are fully justified in assuming, if they regard it as bad, that its being so or not is at least a disputable question: That, this being supposed, they cannot be acting wrongly in endeavouring to exclude the influence of solicitations which are not disinterested, of instigators who cannot possibly be impartial—who have a direct personal interest on one side, and that side the one which the State believes to be wrong, and who confessedly promote it for personal objects only. There can surely, it may be urged, be nothing lost, no sacrifice of good, by so ordering matters that persons shall make their election, either wisely or foolishly, on their own prompting, as free as possible from the arts of persons who stimulate their inclinations for interested purposes of their own. Thus (it may be said) though the statutes respecting unlawful games are utterly indefensible—though all persons should be free to gamble in their own or each other's houses, or in any place of meeting established by their own subscriptions, and open only to the members and their visitors—yet public gambling-houses should not be permitted. It is true that the prohibition is never effectual, and that, whatever amount of tyrannical power may be given to the police, gambling-houses can always be maintained under other pretences; but they may be compelled to conduct their operations with a certain degree of secrecy and mystery, so that nobody knows anything about them but those who seek them; and more than this, society ought not to aim at. There is considerable force in these arguments. I will not venture to decide whether they are sufficient to justify the moral anomaly of punishing the accessary, when the principal is (and must be) allowed to go free; of fining or imprisoning the procurer, but not the fornicator, the gambling-house keeper, but not the gambler. Still less ought the common operations of buying and selling to be interfered with on analogous grounds. Almost every article which is bought and sold may be used in excess, and the sellers have a pecuniary interest in encouraging that excess; but no argument can be founded on this, in favour, for instance, of the Maine Law; because the class of dealers in strong drinks, though interested in their abuse, are indispensably required for the sake of their legitimate use. The interest, however, of these dealers in promoting intemperance is a real evil, and justifies the State in imposing restrictions and requiring guarantees which, but for that justification, would be infringements of legitimate liberty. 5.9 A further question is, whether the State, while it permits, should nevertheless indirectly discourage conduct which it deems contrary to the best interests of the agent; whether, for example, it should take measures to render the means of drunkenness more costly, or add to the
182
difficulty of procuring them by limiting the number of the places of sale. On this as on most other practical questions, many distinctions require to be made. To tax stimulants for the sole purpose of making them more difficult to be obtained, is a measure differing only in degree from their entire prohibition; and would be justifiable only if that were justifiable. Every increase of cost is a prohibition, to those whose means do not come up to the augmented price; and to those who do, it is a penalty laid on them for gratifying a particular taste. Their choice of pleasures, and their mode of expending their income, after satisfying their legal and moral obligations to the State and to individuals, are their own concern, and must rest with their own judgment. These considerations may seem at first sight to condemn the selection of stimulants as special subjects of taxation for purposes of revenue. But it must be remembered that taxation for fiscal purposes is absolutely inevitable; that in most countries it is necessary that a considerable part of that taxation should be indirect; that the State, therefore, cannot help imposing penalties, which to some persons may be prohibitory, on the use of some articles of consumption. It is hence the duty of the State to consider, in the imposition of taxes, what commodities the consumers can best spare; and Ă fortiori, to select in preference those of which it deems the use, beyond a very moderate quantity, to be positively injurious. Taxation, therefore, of stimulants, up to the point which produces the largest amount of revenue (supposing that the State needs all the revenue which it yields) is not only admissible, but to be approved of. 5.10 The question of making the sale of these commodities a more or less exclusive privilege, must be answered differently, according to the purposes to which the restriction is intended to be subservient. All places of public resort require the restraint of a police, and places of this kind peculiarly, because offences against society are especially apt to originate there. It is, therefore, fit to confine the power of selling these commodities (at least for consumption on the spot) to persons of known or vouched-for respectability of conduct; to make such regulations respecting hours of opening and closing as may be requisite for public surveillance, and to withdraw the license if breaches of the peace repeatedly take place through the connivance or incapacity of the keeper of the house, or if it becomes a rendezvous for concocting and preparing offences against the law. Any further restriction I do not conceive to be, in principle, justifiable. The limitation in number, for instance, of beer and spirit houses, for the express purpose of rendering them more difficult of access, and diminishing the occasions of temptation, not only exposes all to an inconvenience because there are some by whom the
183
facility would be abused, but is suited only to a state of society in which the labouring classes are avowedly treated as children or savages, and placed under an education of restraint, to fit them for future admission to the privileges of freedom. This is not the principle on which the labouring classes are professedly governed in any free country; and no person who sets due value on freedom will give his adhesion to their being so governed, unless after all efforts have been exhausted to educate them for freedom and govern them as freemen, and it has been definitively proved that they can only be governed as children. The bare statement of the alternative shows the absurdity of supposing that such efforts have been made in any case which needs be considered here. It is only because the institutions of this country are a mass of inconsistencies, that things find admittance into our practice which belong to the system of despotic, or what is called paternal, government, while the general freedom of our institutions precludes the exercise of the amount of control necessary to render the restraint of any real efficacy as a moral education. 5.11 It was pointed out in an early part of this Essay, that the liberty of the individual, in things wherein the individual is alone concerned, implies a corresponding liberty in any number of individuals to regulate by mutual agreement such things as regard them jointly, and regard no persons but themselves. This question presents no difficulty, so long as the will of all the persons implicated remains unaltered; but since that will may change, it is often necessary, even in things in which they alone are concerned, that they should enter into engagements with one another; and when they do, it is fit, as a general rule, that those engagements should be kept. Yet, in the laws, probably, of every country, this general rule has some exceptions. Not only persons are not held to engagements which violate the rights of third parties, but it is sometimes considered a sufficient reason for releasing them from an engagement, that it is injurious to themselves. In this and most other civilized countries, for example, an engagement by which a person should sell himself, or allow himself to be sold, as a slave, would be null and void; neither enforced by law nor by opinion. The ground for thus limiting his power of voluntarily disposing of his own lot in life, is apparent, and is very clearly seen in this extreme case. The reason for not interfering, unless for the sake of others, with a person's voluntary acts, is consideration for his liberty. His voluntary choice is evidence that what he so chooses is desirable, or at the least endurable, to him, and his good is on the whole best provided for by allowing him to take his own means of pursuing it. But by selling himself for a slave, he abdicates his liberty; he foregoes any future use of it beyond that single act. He therefore
184
defeats, in his own case, the very purpose which is the justification of allowing him to dispose of himself. He is no longer free; but is thenceforth in a position which has no longer the presumption in its favour, that would be afforded by his voluntarily remaining in it. The principle of freedom cannot require that he should be free not to be free. It is not freedom, to be allowed to alienate his freedom. These reasons, the force of which is so conspicuous in this peculiar case, are evidently of far wider application; yet a limit is everywhere set to them by the necessities of life, which continually require, not indeed that we should resign our freedom, but that we should consent to this and the other limitation of it. The principle, however, which demands uncontrolled freedom of action in all that concerns only the agents themselves, requires that those who have become bound to one another, in things which concern no third party, should be able to release one another from the engagement: and even without such voluntary release, there are perhaps no contracts or engagements, except those that relate to money or money's worth, of which one can venture to say that there ought to be no liberty whatever of retractation. Baron Wilhelm von Humboldt, in the excellent essay from which I have already quoted, states it as his conviction, that engagements which involve personal relations or services, should never be legally binding beyond a limited duration of time; and that the most important of these engagements, marriage, having the peculiarity that its objects are frustrated unless the feelings of both the parties are in harmony with it, should require nothing more than the declared will of either party to dissolve it. This subject is too important, and too complicated, to be discussed in a parenthesis, and I touch on it only so far as is necessary for purposes of illustration. If the conciseness and generality of Baron Humboldt's dissertation had not obliged him in this instance to content himself with enunciating his conclusion without discussing the premises, he would doubtless have recognised that the question cannot be decided on grounds so simple as those to which he confines himself. When a person, either by express promise or by conduct, has encouraged another to rely upon his continuing to act in a certain way—to build expectations and calculations, and stake any part of his plan of life upon that supposition—a new series of moral obligations arises on his part towards that person, which may possibly be overruled, but cannot be ignored. And again, if the relation between two contracting parties has been followed by consequences to others; if it has placed third parties in any peculiar position, or, as in the case of marriage, has even called third parties into existence, obligations arise on the part of both the contracting parties towards those third persons, the fulfilment of which, or at all events the mode of fulfilment, must be greatly affected by the
185
continuance or disruption of the relation between the original parties to the contract. It does not follow, nor can I admit, that these obligations extend to requiring the fulfilment of the contract at all costs to the happiness of the reluctant party; but they are a necessary element in the question; and even if, as Von Humboldt maintains, they ought to make no difference in the legal freedom of the parties to release themselves from the engagement (and I also hold that they ought not to make much difference), they necessarily make a great difference in the moral freedom. A person is bound to take all these circumstances into account, before resolving on a step which may affect such important interests of others; and if he does not allow proper weight to those interests, he is morally responsible for the wrong. I have made these obvious remarks for the better illustration of the general principle of liberty, and not because they are at all needed on the particular question, which, on the contrary, is usually discussed as if the interest of children was everything, and that of grown persons nothing. 5.12 I have already observed that, owing to the absence of any recognised general principles, liberty is often granted where it should be withheld, as well as withheld where it should be granted; and one of the cases in which, in the modern European world, the sentiment of liberty is the strongest, is a case where, in my view, it is altogether misplaced. A person should be free to do as he likes in his own concerns; but he ought not to be free to do as he likes in acting for another, under the pretext that the affairs of the other are his own affairs. The State, while it respects the liberty of each in what specially regards himself, is bound to maintain a vigilant control over his exercise of any power which it allows him to possess over others. This obligation is almost entirely disregarded in the case of the family relations, a case, in its direct influence on human happiness, more important than all others taken together. The almost despotic power of husbands over wives needs not be enlarged upon here, because nothing more is needed for the complete removal of the evil, than that wives should have the same rights, and should receive the protection of law in the same manner, as all other persons; and because, on this subject, the defenders of established injustice do not avail themselves of the plea of liberty, but stand forth openly as the champions of power. It is in the case of children, that misapplied notions of liberty are a real obstacle to the fulfilment by the State of its duties. One would almost think that a man's children were supposed to be literally, and not metaphorically, a part of himself, so jealous is opinion of the smallest interference of law with his absolute and exclusive control over them; more jealous than of almost any interference with his own freedom of action: so much less do the generality of mankind value liberty than power. Consider, for
186
example, the case of education. Is it not almost a self-evident axiom, that the State should require and compel the education, up to a certain standard, of every human being who is born its citizen? Yet who is there that is not afraid to recognise and assert this truth? Hardly any one indeed will deny that it is one of the most sacred duties of the parents (or, as law and usage now stand, the father), after summoning a human being into the world, to give to that being an education fitting him to perform his part well in life towards others and towards himself. But while this is unanimously declared to be the father's duty, scarcely anybody, in this country, will bear to hear of obliging him to perform it. Instead of his being required to make any exertion or sacrifice for securing education to the child, it is left to his choice to accept it or not when it is provided gratis! It still remains unrecognised, that to bring a child into existence without a fair prospect of being able, not only to provide food for its body, but instruction and training for its mind, is a moral crime, both against the unfortunate offspring and against society; and that if the parent does not fulfil this obligation, the State ought to see it fulfilled, at the charge, as far as possible, of the parent. 5.13 Were the duty of enforcing universal education once admitted, there would be an end to the difficulties about what the State should teach, and how it should teach, which now convert the subject into a mere battle-field for sects and parties, causing the time and labour which should have been spent in educating, to be wasted in quarrelling about education. If the government would make up its mind to require for every child a good education, it might save itself the trouble of providing one. It might leave to parents to obtain the education where and how they pleased, and content itself with helping to pay the school fees of the poorer classes of children, and defraying the entire school expenses of those who have no one else to pay for them. The objections which are urged with reason against State education, do not apply to the enforcement of education by the State, but to the State's taking upon itself to direct that education: which is a totally different thing. That the whole or any large part of the education of the people should be in State hands, I go as far as any one in deprecating. All that has been said of the importance of individuality of character, and diversity in opinions and modes of conduct, involves, as of the same unspeakable importance, diversity of education. A general State education is a mere contrivance for moulding people to be exactly like one another: and as the mould in which it casts them is that which pleases the predominant power in the government, whether this be a monarch, a priesthood, an aristocracy, or the majority of the existing generation, in proportion as it is efficient and successful, it establishes a despotism over the
187
mind, leading by natural tendency to one over the body. An education established and controlled by the State should only exist, if it exist at all, as one among many competing experiments, carried on for the purpose of example and stimulus, to keep the others up to a certain standard of excellence. Unless, indeed, when society in general is in so backward a state that it could not or would not provide for itself any proper institutions of education, unless the government undertook the task: then, indeed, the government may, as the less of two great evils, take upon itself the business of schools and universities, as it may that of joint stock companies, when private enterprise, in a shape fitted for undertaking great works of industry, does not exist in the country. But in general, if the country contains a sufficient number of persons qualified to provide education under government auspices, the same persons would be able and willing to give an equally good education on the voluntary principle, under the assurance of remuneration afforded by a law rendering education compulsory, combined with State aid to those unable to defray the expense. 5.14 The instrument for enforcing the law could be no other than public examinations, extending to all children, and beginning at an early age. An age might be fixed at which every child must be examined, to ascertain if he (or she) is able to read. If a child proves unable, the father, unless he has some sufficient ground of excuse, might be subjected to a moderate fine, to be worked out, if necessary, by his labour, and the child might be put to school at his expense. Once in every year the examination should be renewed, with a gradually extending range of subjects, so as to make the universal acquisition, and what is more, retention, of a certain minimum of general knowledge, virtually compulsory. Beyond that minimum, there should be voluntary examinations on all subjects, at which all who come up to a certain standard of proficiency might claim a certificate. To prevent the State from exercising, through these arrangements, an improper influence over opinion, the knowledge required for passing an examination (beyond the merely instrumental parts of knowledge, such as languages and their use) should, even in the higher classes of examinations, be confined to facts and positive science exclusively. The examinations on religion, politics, or other disputed topics, should not turn on the truth or falsehood of opinions, but on the matter of fact that such and such an opinion is held, on such grounds, by such authors, or schools, or churches. Under this system, the rising generation would be no worse off in regard to all disputed truths, than they are at present; they would be brought up either churchmen or dissenters as they now are, the State merely taking care that they should be instructed churchmen, or instructed dissenters. There would be nothing
188
to hinder them from being taught religion, if their parents chose, at the same schools where they were taught other things. All attempts by the State to bias the conclusions of its citizens on disputed subjects, are evil; but it may very properly offer to ascertain and certify that a person possesses the knowledge, requisite to make his conclusions, on any given subject, worth attending to. A student of philosophy would be the better for being able to stand an examination both in Locke and in Kant, whichever of the two he takes up with, or even if with neither: and there is no reasonable objection to examining an atheist in the evidences of Christianity, provided he is not required to profess a belief in them. The examinations, however, in the higher branches of knowledge should, I conceive, be entirely voluntary. It would be giving too dangerous a power to governments, were they allowed to exclude any one from professions, even from the profession of teacher, for alleged deficiency of qualifications: and I think, with Wilhelm von Humboldt, that degrees, or other public certificates of scientific or professional acquirements, should be given to all who present themselves for examination, and stand the test; but that such certificates should confer no advantage over competitors, other than the weight which may be attached to their testimony by public opinion. 5.15 It is not in the matter of education only, that misplaced notions of liberty prevent moral obligations on the part of parents from being recognised, and legal obligations from being imposed, where there are the strongest grounds for the former always, and in many cases for the latter also. The fact itself, of causing the existence of a human being, is one of the most responsible actions in the range of human life. To undertake this responsibility—to bestow a life which may be either a curse or a blessing—unless the being on whom it is to be bestowed will have at least the ordinary chances of a desirable existence, is a crime against that being. And in a country either over-peopled or threatened with being so, to produce children, beyond a very small number, with the effect of reducing the reward of labour by their competition, is a serious offence against all who live by the remuneration of their labour. The laws which, in many countries on the Continent, forbid marriage unless the parties can show that they have the means of supporting a family, do not exceed the legitimate powers of the State: and whether such laws be expedient or not (a question mainly dependent on local circumstances and feelings), they are not objectionable as violations of liberty. Such laws are interferences of the State to prohibit a mischievous act—an act injurious to others, which ought to be a subject of reprobation, and social stigma, even when it is not deemed expedient to superadd legal punishment. Yet the current ideas of liberty, which bend so easily to real infringements of the freedom of the
189
individual in things which concern only himself, would repel the attempt to put any restraint upon his inclinations when the consequence of their indulgence is a life or lives of wretchedness and depravity to the offspring, with manifold evils to those sufficiently within reach to be in any way affected by their actions. When we compare the strange respect of mankind for liberty, with their strange want of respect for it, we might imagine that a man had an indispensable right to do harm to others, and no right at all to please himself without giving pain to any one. 5.16 I have reserved for the last place a large class of questions respecting the limits of government interference, which, though closely connected with the subject of this Essay, do not, in strictness, belong to it. These are cases in which the reasons against interference do not turn upon the principle of liberty: the question is not about restraining the actions of individuals, but about helping them: it is asked whether the government should do, or cause to be done, something for their benefit, instead of leaving it to be done by themselves, individually, or in voluntary combination. 5.17 The objections to government interference, when it is not such as to involve infringement of liberty, may be of three kinds. 5.18 The first is, when the thing to be done is likely to be better done by individuals than by the government. Speaking generally, there is no one so fit to conduct any business, or to determine how or by whom it shall be conducted, as those who are personally interested in it. This principle condemns the interferences, once so common, of the legislature, or the officers of government, with the ordinary processes of industry. But this part of the subject has been sufficiently enlarged upon by political economists, and is not particularly related to the principles of this Essay. 5.19 The second objection is more nearly allied to our subject. In many cases, though individuals may not do the particular thing so well, on the average, as the officers of government, it is nevertheless desirable that it should be done by them, rather than by the government, as a means to their own mental education—a mode of strengthening their active faculties, exercising their judgment, and giving them a familiar knowledge of the subjects with which they are thus left to deal. This is a principal, though not the sole, recommendation of jury trial (in cases not political); of free and popular local and municipal institutions; of the conduct of industrial and philanthropic enterprises by voluntary associations. These are not questions of liberty, and are connected with that subject only by remote tendencies; but they are questions of development. It belongs to a different occasion from the present to dwell on these things as parts
190
of national education; as being, in truth, the peculiar training of a citizen, the practical part of the political education of a free people, taking them out of the narrow circle of personal and family selfishness, and accustoming them to the comprehension of joint interests, the management of joint concerns—habituating them to act from public or semi-public motives, and guide their conduct by aims which unite instead of isolating them from one another. Without these habits and powers, a free constitution can neither be worked nor preserved; as is exemplified by the too-often transitory nature of political freedom in countries where it does not rest upon a sufficient basis of local liberties. The management of purely local business by the localities, and of the great enterprises of industry by the union of those who voluntarily supply the pecuniary means, is further recommended by all the advantages which have been set forth in this Essay as belonging to individuality of development, and diversity of modes of action. Government operations tend to be everywhere alike. With individuals and voluntary associations, on the contrary, there are varied experiments, and endless diversity of experience. What the State can usefully do, is to make itself a central depository, and active circulator and diffuser, of the experience resulting from many trials. Its business is to enable each experimentalist to benefit by the experiments of others; instead of tolerating no experiments but its own. 5.20 The third, and most cogent reason for restricting the interference of government, is the great evil of adding unnecessarily to its power. Every function superadded to those already exercised by the government, causes its influence over hopes and fears to be more widely diffused, and converts, more and more, the active and ambitious part of the public into hangerson of the government, or of some party which aims at becoming the government. If the roads, the railways, the banks, the insurance offices, the great joint-stock companies, the universities, and the public charities, were all of them branches of the government; if, in addition, the municipal corporations and local boards, with all that now devolves on them, became departments of the central administration; if the employÊs of all these different enterprises were appointed and paid by the government, and looked to the government for every rise in life; not all the freedom of the press and popular constitution of the legislature would make this or any other country free otherwise than in name. And the evil would be greater, the more efficiently and scientifically the administrative machinery was constructed—the more skilful the arrangements for obtaining the best qualified hands and heads with which to work it. In England it has of late been proposed that all the members of the civil service of government should be
191
selected by competitive examination, to obtain for those employments the most intelligent and instructed persons procurable; and much has been said and written for and against this proposal. One of the arguments most insisted on by its opponents, is that the occupation of a permanent official servant of the State does not hold out sufficient prospects of emolument and importance to attract the highest talents, which will always be able to find a more inviting career in the professions, or in the service of companies and other public bodies. One would not have been surprised if this argument had been used by the friends of the proposition, as an answer to its principal difficulty. Coming from the opponents it is strange enough. What is urged as an objection is the safety-valve of the proposed system. If indeed all the high talent of the country could be drawn into the service of the government, a proposal tending to bring about that result might well inspire uneasiness. If every part of the business of society which required organized concert, or large and comprehensive views, were in the hands of the government, and if government offices were universally filled by the ablest men, all the enlarged culture and practised intelligence in the country, except the purely speculative, would be concentrated in a numerous bureaucracy, to whom alone the rest of the community would look for all things: the multitude for direction and dictation in all they had to do; the able and aspiring for personal advancement. To be admitted into the ranks of this bureaucracy, and when admitted, to rise therein, would be the sole objects of ambition. Under this rĂŠgime, not only is the outside public ill-qualified, for want of practical experience, to criticize or check the mode of operation of the bureaucracy, but even if the accidents of despotic or the natural working of popular institutions occasionally raise to the summit a ruler or rulers of reforming inclinations, no reform can be effected which is contrary to the interest of the bureaucracy. Such is the melancholy condition of the Russian empire, as shown in the accounts of those who have had sufficient opportunity of observation. The Czar himself is powerless against the bureaucratic body; he can send any one of them to Siberia, but he cannot govern without them, or against their will. On every decree of his they have a tacit veto, by merely refraining from carrying it into effect. In countries of more advanced civilization and of a more insurrectionary spirit, the public, accustomed to expect everything to be done for them by the State, or at least to do nothing for themselves without asking from the State not only leave to do it, but even how it is to be done, naturally hold the State responsible for all evil which befals them, and when the evil exceeds their amount of patience, they rise against the government and make what is called a revolution; whereupon somebody else, with or without legitimate authority from the nation, vaults into the seat, issues
192
his orders to the bureaucracy, and everything goes on much as it did before; the bureaucracy being unchanged, and nobody else being capable of taking their place. 5.21 A very different spectacle is exhibited among a people accustomed to transact their own business. In France, a large part of the people having been engaged in military service, many of whom have held at least the rank of non-commissioned officers, there are in every popular insurrection several persons competent to take the lead, and improvise some tolerable plan of action. What the French are in military affairs, the Americans are in every kind of civil business; let them be left without a government, every body of Americans is able to improvise one, and to carry on that or any other public business with a sufficient amount of intelligence, order, and decision. This is what every free people ought to be: and a people capable of this is certain to be free; it will never let itself be enslaved by any man or body of men because these are able to seize and pull the reins of the central administration. No bureaucracy can hope to make such a people as this do or undergo anything that they do not like. But where everything is done through the bureaucracy, nothing to which the bureaucracy is really adverse can be done at all. The constitution of such countries is an organization of the experience and practical ability of the nation, into a disciplined body for the purpose of governing the rest; and the more perfect that organization is in itself, the more successful in drawing to itself and educating for itself the persons of greatest capacity from all ranks of the community, the more complete is the bondage of all, the members of the bureaucracy included. For the governors are as much the slaves of their organization and discipline, as the governed are of the governors. A Chinese mandarin is as much the tool and creature of a despotism as the humblest cultivator. An individual Jesuit is to the utmost degree of abasement the slave of his order, though the order itself exists for the collective power and importance of its members. 5.22 It is not, also, to be forgotten, that the absorption of all the principal ability of the country into the governing body is fatal, sooner or later, to the mental activity and progressiveness of the body itself. Banded together as they are—working a system which, like all systems, necessarily proceeds in a great measure by fixed rules—the official body are under the constant temptation of sinking into indolent routine, or, if they now and then desert that millhorse round, of rushing into some half-examined crudity which has struck the fancy of some leading member of the corps: and the sole check to these closely allied, though seemingly opposite, tendencies, the only stimulus which can keep the ability of the body itself up to a high standard, is liability to the watchful criticism of equal ability outside the body. It is
193
indispensable, therefore, that the means should exist, independently of the government, of forming such ability, and furnishing it with the opportunities and experience necessary for a correct judgment of great practical affairs. If we would possess permanently a skilful and efficient body of functionaries—above all, a body able to originate and willing to adopt improvements; if we would not have our bureaucracy degenerate into a pedantocracy, this body must not engross all the occupations which form and cultivate the faculties required for the government of mankind. 5.23 To determine the point at which evils, so formidable to human freedom and advancement, begin, or rather at which they begin to predominate over the benefits attending the collective application of the force of society, under its recognised chiefs, for the removal of the obstacles which stand in the way of its well-being; to secure as much of the advantages of centralized power and intelligence, as can be had without turning into governmental channels too great a proportion of the general activity—is one of the most difficult and complicated questions in the art of government. It is, in a great measure, a question of detail, in which many and various considerations must be kept in view, and no absolute rule can be laid down. But I believe that the practical principle in which safety resides, the ideal to be kept in view, the standard by which to test all arrangements intended for overcoming the difficulty, may be conveyed in these words: the greatest dissemination of power consistent with efficiency; but the greatest possible centralization of information, and diffusion of it from the centre. Thus, in municipal administration, there would be, as in the New England States, a very minute division among separate officers, chosen by the localities, of all business which is not better left to the persons directly interested; but besides this, there would be, in each department of local affairs, a central superintendence, forming a branch of the general government. The organ of this superintendence would concentrate, as in a focus, the variety of information and experience derived from the conduct of that branch of public business in all the localities, from everything analogous which is done in foreign countries, and from the general principles of political science. This central organ should have a right to know all that is done, and its special duty should be that of making the knowledge acquired in one place available for others. Emancipated from the petty prejudices and narrow views of a locality by its elevated position and comprehensive sphere of observation, its advice would naturally carry much authority; but its actual power, as a permanent institution, should, I conceive, be limited to compelling the local officers to obey the laws laid down for their guidance. In all things not provided for by general
194
rules, those officers should be left to their own judgment, under responsibility to their constituents. For the violation of rules, they should be responsible to law, and the rules themselves should be laid down by the legislature; the central administrative authority only watching over their execution, and if they were not properly carried into effect, appealing, according to the nature of the case, to the tribunals to enforce the law, or to the constituencies to dismiss the functionaries who had not executed it according to its spirit. Such, in its general conception, is the central superintendence which the Poor Law Board is intended to exercise over the administrators of the Poor Rate throughout the country. Whatever powers the Board exercises beyond this limit, were right and necessary in that peculiar case, for the cure of rooted habits of maladministration in matters deeply affecting not the localities merely, but the whole community; since no locality has a moral right to make itself by mismanagement a nest of pauperism, necessarily overflowing into other localities, and impairing the moral and physical condition of the whole labouring community. The powers of administrative coercion and subordinate legislation possessed by the Poor Law Board (but which, owing to the state of opinion on the subject, are very scantily exercised by them), though perfectly justifiable in a case of first-rate national interest, would be wholly out of place in the superintendence of interests purely local. But a central organ of information and instruction for all the localities, would be equally valuable in all departments of administration. A government cannot have too much of the kind of activity which does not impede, but aids and stimulates, individual exertion and development. The mischief begins when, instead of calling forth the activity and powers of individuals and bodies, it substitutes its own activity for theirs; when, instead of informing, advising, and, upon occasion, denouncing, it makes them work in fetters, or bids them stand aside and does their work instead of them. The worth of a State, in the long run, is the worth of the individuals composing it; and a State which postpones the interests of their mental expansion and elevation, to a little more of administrative skill, or that semblance of it which practice gives, in the details of business; a State which dwarfs its men, in order that they may be more docile instruments in its hands even for beneficial purposes—will find that with small men no great thing can really be accomplished; and that the perfection of machinery to which it has sacrificed everything, will in the end avail it nothing, for want of the vital power which, in order that the machine might work more smoothly, it has preferred to banish.