ก
มนุษย์กับการรู้จักตนเอง การรู้จักตนเองสาหรับคนหนุ่มสาวใน สังคมไทย
เอกศักดิ์ ยุกตะนันทน์
ข
ค
บทนำ ในการดาเนินชีวิตในแต่ละวัน มีคาถามอยู่สองคาถามที่เราควรจะถามตนเองอยู่เสมอ คือ 1) ในขณะนี้เรากาลังดาเนินชีวิตอย่างเป็นตัวของเราเองมากน้อยเพียงไร และ 2)วิถีชีวิตที่เรากาลังดาเนิน อยู่ในปัจจุบันเป็นวิถีชีวิตที่มีค่าอย่างแท้จริงมากน้อยเพียงไร คาถามง่าย ๆ ทั้งสองคาถามนี้สาคัญก็ เพราะทั้งอิสรภาพและความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าอย่างแท้จริงเป็นความต้องการที่สาคัญยิ่งของชีวิต นี่ เป็นใจความหลักของแนวคิดเรื่องการรู้จักตนเอง เรามักจะได้ยินคาพูดว่า “จงรู้จักตนเอง” แต่การรู้จัก ตนเองหมายความว่าอย่างไรและสาคัญอย่างไร หนังสือเล่มนี้เป็นการศึกษาคาสอนเรื่องการรู้จักตนเอง โดยการบูรณาการแนวความคิดจากวิชาปรัชญา สังคมศาสตร์ จิตวิทยา และจากวรรณกรรม เข้า ด้วยกัน เพื่อตอบคาถามทั้งสอง โดยหนังสือเล่มนี้จะนาเสนอเนื้อหาของศาสตร์ที่กล่าวมา ตั้งแต่ ระดับพื้นฐาน ไม่จาเป็นที่ผู้อ่านจะต้องมีความรู้ในศาสตร์ดังกล่าวมาก่อนหน้า ดังนั้นจึงเหมาะสาหรับ นิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในระดับชั้นปีที่ 1 หรือสาหรับนิสิตนักศึกษาที่กาลังศึกษาวิชา ดังกล่าวในระดับพื้นฐาน หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ตาราย่อย ๆ ของหลายวิชาอยู่ด้วยกัน แต่เป็นการตอบ คาถามเดียวกัน หรือคาถามที่เกี่ยวข้องกัน จากการมองของต่างสาขาวิชา อย่างไรก็ตาม ผู้อ่านจะพบว่า มุมมองของวิชาปรัชญาจะมีบทบาทสาคัญในการเชื่อมโยงศาสตร์อื่น ๆ เข้าด้วยกัน ความแตกต่างอีก ประการหนึ่ง ระหว่างหนังสือเล่มนี้และตาราทั่วๆ ไปก็คือ การนาเสนอในหนังสือเล่มนี้จะใช้สานวน ของภาษาพูด มีการถามการตอบ มีการอ้างอิงไปสู่ตัวผู้อ่าน และมีการตั้งคาถาม สมมติคาตอบที่เป็น ความคิดเห็นของผู้อ่าน และมีการวิพากษ์โดยผู้เขียน ดังนั้นจะมีลักษณะของการชวนให้คิด มากกว่า การบรรยายอย่างตาราทั่วๆ ไป ผู้เขียนต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ช่วยเหลือในการสอนวิชามนุษย์กับการรู้จักตนเอง ได้แก่ พัชรภรณ์ ปัญญา รณรงค์ นักศึกษาทุกคนในวิชาดังกล่าว ภรรยาและบุตรสาวที่ช่วยอ่านต้นฉบับ ให้ คาแนะนาเรื่องภาษาและช่วยตรวจทานแก้ไขคาผิด และเป็นกาลังในการทางานเสมอมา และ ขอขอบพระคุณ พญ.สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล เป็นพิเศษ เอกศักดิ์ ยุกตะนันทน์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ง
สารบัญ สารบัญ ......................................................................................................................................................... ง ภาคหนึ่ง .......................................................................................................................................................1 บทที่ 1 ..........................................................................................................................................................2 ความสาคัญของการรู้จักตนเอง ..............................................................................................................2 บทที่ 2 ........................................................................................................................................................18 ชีวิตภายหลังชัยชนะของโลกทุนนิยม : ..................................................................................................18 การเกิดขึ้นของคนพันธุใ์ หม่ในสังคมไทย................................................................................................18 บทที่ 3 ........................................................................................................................................................39 อุดมคติและศีลธรรม ............................................................................................................................39 บทที่ 4 ........................................................................................................................................................56 การรู้จักตนเองในความหมายของโสกราตีส : .........................................................................................56 การแสวงหาปัญญาและการสร้างสังคมเหตุผลนิยม ...............................................................................56 บทที่ 5 ........................................................................................................................................................80 ตรรกะของการไหว้ : ............................................................................................................................80 ศีลธรรมแห่งความอ่อนน้อมและความทะนงตน .....................................................................................80 ภาคสอง......................................................................................................................................................93 บทที่ 6 ........................................................................................................................................................94 ความต้องการของชีวิต .........................................................................................................................94 บทที่ 7 ..................................................................................................................................................... 110 พัฒนาการแห่งจิตใจ......................................................................................................................... 110 บทที่ 8 ..................................................................................................................................................... 130 ด้านมืดของจิตใจ : ........................................................................................................................... 130 ทาไมเราจึงไม่ต้องการความสัมพันธ์ที่เสมอภาค ................................................................................. 130 บทที่ 9 ..................................................................................................................................................... 150 แทนที่ศีลธรรมแบบพ่อด้วยศีลธรรมแห่งมนุษย์ ................................................................................... 150 บทที่ 10 ................................................................................................................................................... 158 เงิน วัตถุ ตัวตน และความสุข............................................................................................................ 158
จ
บทที่ 11 ....................................................................................................................................................173 ตัวตนและปมปัญหาทางจิต ...............................................................................................................173 บทที่ 12 ....................................................................................................................................................194 เหนือความดีชั่วถูกผิด ........................................................................................................................194 บรรณานุกรม............................................................................................................................................200 ดรรชนี ......................................................................................................................................................203 ประวัติผู้เขียน ...........................................................................................................................................207
ฉ
แด่การเติบโตทางปัญญาและการมีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ของคนหนุ่มสาวไทย
1
ภาคหนึ่ง
และชายผู้หนึ่งก็กล่าวว่า “ขอท่านจงพูดเรื่องการรู้จักตนเองให้เราฟังด้วยเถิด และศาสดาก็กล่าวตอบว่า : หัวใจของพวกเธอรู้อยู่ในความสงบเงียบถึงความลับของกลางวันและกลางคืน แต่หูของเธอก็กระหายที่จะได้ยินเสียงของความรู้ของหัวใจ เธอจะรู้ในคาพูดถึงสิ่งที่เธอล่วงรู้อยู่เสมอในความคิด เธอจะได้สัมผัสด้วยนิ้วของเธอถึงร่างกายที่เปลือยเปล่าของความฝันของเธอ และก็ดีแล้วที่เธอควรจะรู้ บ่อน้าพุที่ซ่อนอยู่ของจิตวิญญาณของเธอจะต้องพวยพุ่งขึ้นมาและไหลรินไปสู่ท้องทะเล และสมบัติอันลึกล้าไร้ที่สิ้นสุดของเธอจะได้ปรากฏต่อสายตาของเธอ แต่ขออย่าให้มีตาชั่งใดมาวัดค่าสมบัติอันมิได้ถูกรู้จักนั้น และจงอย่าใช้ไม้หรือสายวัดใดมาหยั่งวัดความลึกล้าของความรู้ของเธอ เพราะตัวตนคือทะเลที่ไร้ขอบเขตและหยั่งวัดไม่ได้ จงอย่ากล่าวว่า “ฉันได้พบสัจธรรมหนึ่งเดียวแล้ว” แต่จงกล่าวว่า “ฉันได้พบความจริงประการ หนึ่งแล้ว” จงอย่ากล่าวว่า “ฉันได้พบเส้นทางแห่งจิตวิญญาณแล้ว” แต่จงกล่าวว่า “ฉันได้พบจิตวิญญาณ เดินอยู่บนทางเดินของฉัน” เพราะว่าจิตวิญญาณเดินอยู่บนทุกเส้นทาง จิตวิญญาณมิได้เดินอยู่บนเส้นทางเส้นหนึ่งๆ และไม่ได้เติบโตเหมือนต้นอ้อ จิตวิญญาณเปิดเผยตนเองออกมาเช่นกันกับดอกบัวอันมีกลีบอันนับไม่ถ้วน จาก The Prophet ของ คาลิน ยิบราน (Kahlil Gibran ค.ศ. 1883-1931)
2
บทที่ 1 ความสาคัญของการรู้จักตนเอง สาหรับเราคนหนุ่มสาว เมื่อได้ยินคาว่าการรู้จักตนเอง เราอาจคิดง่ายๆ ว่า คือการรู้จักว่า ตนเองชอบอะไร รู้จักว่าตนเองคิดอะไร เชื่ออะไร ต้องการอะไร รู้ว่ากาลังทาอะไรอยู่ และทาไปเพื่อ อะไร เช่น รู้ตัวว่าตัวเองเป็นนักศึกษา กาลังมาเรียนหนังสือเพื่อเอาความรู้และใบปริญญาไปประกอบ อาชีพ แต่ถ้าถูกถามว่า “แล้วสิ่งที่คุณชอบมีค่าอย่างไร?” คุณอาจตอบว่า “ไม่รู้” “รู้แต่ว่าตัวเองชอบ” ถ้า เป็นเช่นนั้น การรู้จักตนเองของคุณก็เป็นเพียงแค่ความรู้สึกอย่างง่าย ๆ เท่านั้น ผู้เขียนยอมรับว่า ความรู้สึกจากใจจริงเป็นสิ่งที่ต้องทะนุถนอม และไม่มีใครมีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธความรู้สึกจากใจจริงของ ใครได้ แต่เราจะไม่คิดอีกสักหน่อยหรือว่าสิ่งที่เราชอบนั้นมีค่าอย่างไร เมื่อเราชอบอะไร เราน่าจะรู้ ด้วยว่าสิ่งที่เราชอบนั้นมีคุณค่าอย่างไร เพราะด้วยการชอบหรือ “รัก” ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจริงใจ เท่านั้น ที่สักวันหนึ่งเราจะรู้เรากาลังดาเนินชีวิตอย่างเต็มเปี่ยมไปด้วยความหมาย และพร้อมที่จะกล่าว คาว่า “ชีวิตของฉันคือการสร้างสรรค์” และเราจะกล่าวเช่นนี้ได้ก็ต่อเมื่อเรารู้ว่าสิ่งที่เราชอบหรือรักนั้น มีค่าและเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์อย่างไร มนุษย์ถามตนเองอยู่เสมอว่าอะไรคือความหมายของชีวิต และคาตอบที่ดีที่สุดที่เคยมีการให้ กันมา ก็คือคาตอบว่า “ชีวิตคือการสร้างสรรค์” ความรักเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์อย่างไร และความ รักที่ว่านี่ก็คงไม่ใช่ความรักระหว่างคนที่เป็นเรื่องทางเพศ หรือระหว่างบุคคลใดก็ตาม ความรัก ระหว่างบุคคลสร้างได้อย่างมากก็คือความสุขที่มอบให้กัน และจะเป็นความทุกข์ถ้าเป็นความรักที่ ผิดๆ แต่คาว่าการสร้างสรรค์คงกว้างกว่านั้นมาก และคงต้องหมายถึงความรักในอะไรอย่างอื่น คุณมี ความรักอะไรที่จะกลายเป็นการสร้างสรรค์ได้บ้างหรือไม่ และถ้าคุณรักมันสิ่งนั้นก็ต้องมีค่าในสายตา ของคุณไม่ใช่หรือ ความหมายที่แท้จริงของคาว่าชีวิตคือการสร้างสรรค์ก็คือ เราต้องอุทิศชีวิตของเรา ให้กับอะไรสักอย่างที่เรารัก นั่นก็คือ อะไรสักอย่างที่เราเห็นว่ามีค่าและมีความหมายอย่างแท้จริงต่อ ชีวิตของเราและชีวิตของคนอื่น
3
เมื่อคุณเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นวันแรก คุณคงพบเห็นป้ายแสดงความยินดีมากมาย มี ป้ายหนึ่งที่ตดิ อยู่หน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ผู้เขียนทางาน เมื่อต้นปี การศึกษา พ.ศ. 2547 ป้ายแสดงความยินดีนี้น่าสนใจมากเพราะบอกถึงความจริงในชีวิตของคนหนุ่ม สาวในสังคมไทยปัจจุบันได้เป็นอย่างดี “ติด ถาปัด ครับ ชอบ แม่ให้เรียน” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชีวิต ของคนหนุ่มสาวในมหาวิทยาลัยดูเหมือนจะเป็นชีวิตที่ไร้อิสรภาพ ถูกขีดทางให้เดิน จะเลือกทางเดิน ชีวิตที่ตนเองชอบได้ก็ต่อเมื่อพ่อแม่อนุญาต ดูเหมือนว่าหลายคนที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยก็เพียง เพราะมันเป็นขั้นตอนหนึ่งของชีวิตที่ตัวเองเลือกไม่ได้ ดังนั้น คุณจึงกาลังดาเนินชีวิตอย่างเป็นตัวของ ตัวเองน้อยมาก เวลาที่คุณรู้สึกเป็นตัวของตัวเองจริง ๆ ก็คือเวลาหลังเลิกเรียนที่คุณจะพักผ่อน เที่ยว เล่น ถ้าเป็นเช่นนี้จริงๆ ก็น่าคิดว่าจะมีนักศึกษาสักกี่คนที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยด้วยจิตวิญญาณ ของความอยากรู้อยากเห็น อยากจะเป็นในสิ่งที่ตนเองรักด้วยใจจริง และรู้สึกว่าเวลาที่เขากาลังเรียน นั้น เขากาลังทาสิ่งที่เป็นตัวของตัวเอง คนที่โชคดีแบบนีค้ งจะมีอยู่บ้าง แต่ก็คงไม่มากนัก ดังนั้นจึงดู เหมือนว่าเราจึงมีนักศึกษาจานวนมากที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยด้วยความรูส้ ึกไร้ความสุข และแปลก แยกต่อตนเอง1 เราจะอธิบายปรากฏการณ์เช่นนี้อย่างไรดี? นักศึกษาจานวนมากไม่ยอมเข้าเรียนหลายๆ วิชา ถ้าไม่ถูกบังคับ และเมื่อถูกถามหาเหตุผลว่าทาไมถึงไม่ยอมเข้าเรียน เขาก็อธิบายไม่ได้ ตอบได้แค่ว่า เขาทาตัวไปตามความรูส้ ึกเท่านั้นเอง แต่ถ้าให้เวลากับตัวเองที่จะนั่งคิดถึงความรู้สึกของตัวเองบ้าง เขาคงเข้าใจตัวเองมากกว่านั้น ที่แน่ๆ ก็คือ ระบบการศึกษาที่เขาผ่านมาทาลายความสุขของเขา ด้วย การบังคับให้เขาท่องจาข้อมูลความรู้ให้ได้เยอะๆ เพื่อสอบแข่งขัน มันทาให้เขาเหนื่อยและเกลียดการ เรียน แต่ก็จาเป็นต้องทาเพราะพ่อแม่และสังคมรอบข้างบังคับ ที่จริงเขาน่าจะได้พักให้หายเหนื่อยจาก การเรียนระดับมัธยมเสียก่อน รอให้รู้แน่ว่าชอบอะไร แล้วสอบให้ได้ในสิ่งตนรักจริงๆ อาจใช้เวลาสัก สองสามปี แต่ทุกคนกลับบอกว่าให้รีบเรียนต่อ หาวิชาชีพที่จะทาเงินได้ดีทสี่ ุด เรียนจบให้เร็วที่สุดเพื่อ ออกมาทางานหาเงิน เพราะเขาคิดว่าเป้าหมายของการศึกษาก็คือเงิน เงินคือเป้าหมายของชีวิต ความรู้ ความสามารถเป็นแค่เครื่องมือไว้หาเงิน ความรู้ความสามารถไม่ได้มีค่าอะไรในตัวเอง ความชอบ ความรักของผู้เรียนไม่สาคัญถ้ามันหาเงินได้น้อย ดังนั้นจึงไม่แปลกว่า ทาไมนักศึกษาในมหาวิทยาลัยจึงรู้สึกแปลกแยกในตนเอง และไม่มี ความสุขในการเรียน และนั่นก็เป็นเพราะเขากาลังป่วยเป็นโรคของสังคมทุนนิยม คานิยามของสังคม แม้แต่นักศึกษาสถาปัตยกรรมเอง ผมก็อยากรู้ว่ามีสักกี่คนที่เข้ามาเรียนด้วยความรู้สึกว่าในชีวิตนี่จะต้อง เรียนสิ่งนี้ให้ได้ ไม่ใช่เข้ามาด้วยค่านิยมของสังคม ผมเองรู้จักคนที่จบทางสถาปัตยกรรมหลายคนที่ไม่เคย ทางานทางสถาปัตยกรรมเลยแต่หันไปทางานทางดนตรี เพราะที่จริงรักดนตรีมากกว่า แต่ที่ไม่เรียนทาง ดนตรีเสียแต่ต้นก็เพราะสังคมให้ค่าต่อวิชาดนตรีต่ากว่าวิชาสถาปัตยกรรมมาก 1
4
ทุนนิยมก็คือสังคมที่อนุญาตให้คนครอบครองและใช้ประโยชน์แสวงหาผลกาไรจาก “ทุน” อย่าง อิสระ ความรู้เป็นทุนที่พิเศษเพราะมันติดตัวไปจนตาย สังคมของเราเป็นสังคมทุนนิยม ในสังคมแบบ นีเ้ งินคือพระเจ้า และคนส่วนน้อยที่โชคดีเท่านั้นที่จะรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง คนส่วนใหญ่จะรู้สึก แปลกแยกต่อตนเอง ต่อสิ่งที่ตนเองทา นักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่ฝืนใจเรียนไปวันๆ ก็เพราะถูกพ่อ แม่และสังคมบังคับให้เห็นเงินเป็นพระเจ้า เราจะเห็นว่า การเข้าใจตนเองจึงต้องหมายถึงการเข้าใจด้วย ว่า ความไร้อิสรภาพ ความรู้สึกแปลกแยก ที่ตนแบกรับอยู่นั้นเกิดขึ้นมาจากเงื่อนไขภายนอกอย่างไร ซึ่งต้องเข้าใจไปถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสังคม และเข้าใจไปจนถึงว่า ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว อะไรที่ทาให้เราเป็นคนโชคร้ายที่ต้องรู้สึกแปลกแยกต่อตนเอง และอะไรทาให้คนบางคนโชคดีไม่ ต้องรู้สึกอย่างเรา เพราะเขาเกิดมารวย มียศถาบรรดาศักดิ์ ได้รับอะไรมาเป็นพิเศษ อย่างนั้นหรือ จึง ไม่ต้องเห็นเงินเป็นพระเจ้าอย่างเรา แต่ก็มีอะไรบางอย่างน่าคิดเกี่ยวกับการเห็นเงินเป็นพระเจ้าในสังคมทุนนิยม คงเป็นไปไม่ได้ ที่จะคิดว่าเงินเป็นเรื่องไม่สาคัญเลย เพราะอย่างไรเสียเราก็ต้องเอาชีวิตรอด แต่บางทีเวลาที่คนพูดว่า เขาต้องเอาตัวรอดในสังคมเขาหมายความว่าเขาต้องเอาชนะ และขึ้นไปอยู่เหนือคนอื่นให้ได้ แต่คง เป็นไปได้ที่จะมีคนที่คิดว่าเงินไม่ใช่พระเจ้า หมายความว่าเขาพอใจกับการทาอย่างอื่นมากกว่าการ พยายามดิ้นรนหาเงินให้มากขึ้นๆ เรื่อยๆ คนเหล่านี้มีอยู่จริง ลองคิดถึงคนที่เสียสละตนเองอยู่ในที่ ต่างๆ คุณรู้จักใครที่มีชีวิตเช่นนั้นบ้าง สิ่งที่น่าสนใจก็คือจิตใจของคนเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร พวกเขามีอะไรเป็นแรงผลักดันอยู่ข้างใน นี่คงไม่ใช่เพราะสวรรค์สร้างคนพวกนี้ขึ้นมาอย่างพิเศษแน่ เขามีเลือดมีเนื้อมีพ่อมีแม่เหมือนพวกเรา ที่จริงแล้ว วิชาจิตวิทยายุคปัจจุบันมีความรู้มากพอที่จะ ทานายได้ด้วยซ้าว่าใครจะเติบโตขึ้นไปเป็นคนเช่นนั้น และวิชาจิตวิทยาก็พอจะอธิบายได้ว่าอะไรคือ แรงจูงใจสูงสุดของคนส่วนใหญ่ในสังคมทุนนิยม และแรงจูงใจเช่นนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แต่สาหรับเรา สิ่งที่รา้ ยหนักยิ่งไปกว่าเรื่องของการถูกบังคับให้เรียนอย่างเห็นเงินเป็นพระเจ้า ก็คือ แม้ขณะที่คุณหมดชั่วโมงเรียนแล้วก็ไม่ใช่ว่าคุณจะมีอิสระหรือมีความสุข เพราะทันทีที่คุณก้าว ออกนอกห้องเรียนคุณก็ก้าวเข้าไปอยู่ในความสัมพันธ์ของระบบโซตัส ความเป็นจริงของสถานศึกษา ไทยทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดในขณะนี้ก็คือ นักศึกษาใหม่หลายๆ คน หรือทั้งหมดกาลังเริ่มต้นลิ้มรส ความเจ็บปวดจากการถูกบังคับ ควบคุม ข่มขู่ อย่างไร้สาระ จากอานาจของรุ่นพี่ภายใต้ระบบโซตัส แต่ความเจ็บปวดนี้ก็แลกเปลี่ยนด้วยอะไรมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความช่วยเหลือในการปรับตัวเข้ากับ สถานที่ใหม่ ความบันเทิงจากงานเลี้ยงต้อนรับ ที่สาคัญก็คือ การยอมรับจากรุ่นพี่ และการได้รับ เกียรติยศ และการขนานนามว่าเป็นส่วนหนึ่งของชื่อที่ตั้งขึ้นเป็นพิเศษ ได้แก่ “เลือดสีชมพู” “เลือดสี อิฐ” “กาลพฤกษ์ช่อที่ 40” “กาสลองช่อที่...” ฯลฯ โดยคุณต้องยอมรับการแบ่งแยกสถานะเป็นชนชั้น “รุ่นพี่” “รุ่นน้อง” และในท่ามกลางเกียรติยศ ความภาคภูมิใจของการเป็นที่รัก เป็นคนดีมีคุณค่า เป็น ส่วนหนึ่งของสังคมของกลุ่มคนที่เรียกตัวเองด้วยชื่อพิเศษๆ พวกนั้น คุณต้องยอมรับว่าการถูกกระทา
5
ด้วยความรุนแรงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตในสังคมนั้นๆ แต่ทว่าสิ่งที่ชวนหดหู่อย่างที่สุดใน “วัฒนธรรม” ที่มีความรุนแรงเป็นส่วนประกอบเช่นนี้ก็คือ การสูญเสียชีวิตของคนที่อ่อนแอ ที่คนอื่น ยอมแลกไปเพื่อความเข้มแข็งสถาพรของวิถีชีวิตใน “ลัทธิสถาบันนิยม” และในความสัมพันธ์แบบ “ชนชั้น” ของนักศึกษา ระบบโซตัสนั้นเป็นเหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสมัยที่มนุษย์ยังป่าเถื่อนที่จะต้องมี เลือดและน้าตามาเป็นเครื่องสังเวยเพื่อแลกกับสิ่งมีค่าบางอย่างที่สังคมต้องการ แต่นี่เป็นความจริงที่ รุ่นพี่และครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยจะไม่ยอมกล่าวถึง ในขณะที่เขากาลังเอ่ยปากชักชวนคุณให้เข้า มาสู่ระบบ (เพื่อให้ชัดเจนขึ้น ขอให้ข้อมูลว่า ในช่วงปีที่ผมกาลังเขียนหนังสือเล่มนี้ มีคนตายสองคน คนที่หนึ่งเป็นนักศึกษาในสถาบันราชภัฎ จมน้าตายเพราะถูกบังคับให้ลงทะเลทั้งที่ว่ายน้าไม่แข็ง คนที่ สองเป็นนักศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร ตายเพราะถูกบังคับให้ดื่มน้า 40 ลิตร ทั้งสองกรณีไม่ สามารถเอาผิดลงโทษและเรียกร้องเอาค่าเสียหายทางกฎหมายกับใครได้ เพราะไม่มีการประทุษร้าย ทางร่างกาย) ถ้าคุณรู้ว่ามีคนต้องสูญเสียชีวิตเพื่อเป็นเครื่องบูชาให้กับความศักดิ์สิทธิ์ของระบบโซตัสจริงๆ คุณก็น่าจะพอมีสติให้หยุดคิดและตั้งคาถาม ทาไมครูบาอาจารย์จึงปิดบัง? ทาไมพ่อแม่ของคุณจึงบอก ว่าทนไปเถอะลูกแค่ไม่กี่เดือนเท่านั้นเอง? และคุณก็อาจหวนกลับมาถามตัวเองว่า ทาไมเราจึงควร ยอมรับความรุนแรงในระบบโซตัส? ความรุนแรงอาจทาให้ผู้ใช้มีความสุขด้วยความสะใจ แต่ทาให้ ผู้รับมีทุกข์ ทาไมเราจึงควรยอมทนต่อความทุกข์ที่ผู้อื่นก่อให้แก่เรา เพียงเพื่อที่เราจะได้เป็นที่ยอมรับ ว่าเป็นคนดีรักพวกพ้องหมู่คณะเท่านั้นหรือ? คาว่า “เป็นคนดี มีสามัคคี รักพวกพ้อง” ทาให้เราเป็นคน มีคุณค่าจริงๆ หรือ? ทาไมคุณค่าของเราในสังคมจึงต้องแลกมาด้วยการสูญเสียความสุขและความเป็น ตัวของตัวเอง? ระบบโซตัสอยู่คู่ระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทยมาตั้งแต่เริ่มต้น โดยรับมาจากอังกฤษ ซึ่งอังกฤษใช้ระบบนี้ในการสร้างนักปกครองสาหรับอาณานิคมของตน ระบบนี้เคยหายไปจาก มหาวิทยาลัยไทยในช่วงเวลาสั้นๆ ในยุคที่นักศึกษามีการตื่นตัวทางการเมือง คือยุค 14 ตุลา 2516 ถึง 6 ตุลา 2519 และต่อเนื่องหลังจากนั้นไปอีกสามสี่ปี โดยทั่วไปแล้ว จะมีคนเสียชีวิตให้กับความรุนแรง ในระบบโซตัส อาจจะเป็นสองสามปีต่อหนึ่งคน ดังนั้นจึงมีคนตายมาแล้วเป็นจานวนไม่น้อย (ถ้ามี การหาสถิติความตายและความบาดเจ็บของนักศึกษาไทยในเรื่องนี้ คงมีคนตายไปไม่น้อยกว่า 30 คน บาดเจ็บทางร่างกายหลายร้อย บาดเจ็บทางจิตใจคงนับไม่ถ้วน) สิ่งที่น่าฉงนที่สุดก็คือ สังคมไทยไม่ เคยยอมรับที่จะเรียนรู้จากข้อเท็จจริงเรื่องนี้เลย ราวกับว่ามีอะไรบางอย่างที่มีอานาจอยู่ในสังคม ต้องการให้ระบบนี้คงอยู่ต่อไป โดยความสูญเสียนี้เป็นราคาที่ต้องจ่ายไปเพื่ออะไรบางอย่างที่มีค่า อย่างมากต่อสังคม ซึ่งหมายความว่า ความตายไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือเป็นเพียงแค่อุบัติเหตุ ซึ่ง อาจจะหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ในอนาคต (เพราะถ้าป้องกันได้ก็ควรป้องกันมานานแล้ว) แต่ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ถ้าหากว่ามีใครทีอ่ ่อนแอถึงจุดที่ทนไม่ไหว เพราะธรรมชาติ
6
ของระบบโซตัสก็คือการข่มเหงรังแก โดยมีทีมงานรุ่นพี่ทาหน้าที่ “เสียสละ” ทาตัวเป็น “ผู้ร้าย” คอย ข่มเหง หาเรื่องรังแกรุ่นน้อง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างให้เกิดความโกรธ และความรู้สึกว่ามีศัตรูร่วมกัน ในหมู่นักศึกษารุ่นน้อง เพื่อในที่สุดแล้วจะได้หันหน้าเข้าหากัน รักและสามัคคีกัน เกิดความรู้สึกเป็น พวกเป็นพ้องขึ้นมา ซึ่งความรักและความสามัคคีนี้เองคือสิ่งที่สังคมให้ค่าและถือว่าคุ้มแล้วที่จะยอม ให้มีการบาดเจ็บสูญเสีย และหากแม้นว่าจะมีใครโชคร้ายตายไปบ้างก็ยอม ระบบโซตัสเป็นส่วน สาคัญของลัทธิสถาบันนิยม ลัทธิสถาบันนิยมเป็นส่วนหนึ่งของลัทธิชาตินิยม ทั้งหมดอยู่ภายใต้คา สอนเรื่องความรักพวกพ้องและความสามัคคี ซึ่งก็คงพอทาให้เราเห็นได้ว่าใครคือผู้ที่สอนเรื่องพวกนี้ อยู่ทุกวัน และผู้ที่สอนมีเสียงดังมากขนาดไหนในสังคม และทาไมสังคมไทยทั้งสังคมจึงทาตัวไม่รู้ไม่ ชี้กับความตายของนักศึกษาผู้อ่อนแอเคราะห์ร้าย ราวกับเป็นพวกไร้หัวใจ และสังคมไทยก็ไม่เคยมีใจทีก่ ล้าพอที่จะพูดออกมาตรงๆ ว่ามันคุ้มแล้วที่จะมีคนสักคนตาย เพื่อแลกกับความรักความสามัคคีในสังคมของนักศึกษาจานวนสักแสนสองแสนคน หรือสักล้านคน ต่อห้าหกปี แล้วคุณละจะกล้าพูดไหม แล้วถ้าเกิดว่าคนที่จะต้องตายคือคุณละ คุณจะยินดีหรือไม่ ความตายเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย การข่มเหงรังแกก็เป็นสิ่งที่ชั่วร้าย แต่ความรักพวกพ้องและความสามัคคีดู เหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่ดูเหมือนว่าดีก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีจริงๆ ก็ได้ เราจะใช้อะไรตัดสิน ลัทธิ สถาบันนิยม ลัทธิชาตินิยม เป็นสิ่งที่ดีจริงหรือ ทาไมคนจานวนหนึ่งพูดกรอกหูเราอยู่ทุกวันว่ามันคือ สิ่งที่ดี ทั้งๆ ที่นักประวัติศาสตร์บอกเราว่าลัทธิชาตินิยมเผ่าพันธุ์นิยมพาไปสู่การข่มเหงรังแกคนชาติ พันธุ์อื่นที่ด้อยอานาจกว่า จับเขามาเป็นทาส การรุกรานชาติเพื่อนบ้านเพื่อขยายอานาจ การขยาย ดินแดนและลัทธิล่าอาณานิคม นี่คือสิ่งที่สยามเคยทากับคนลาวในภาคอีสาน และคนมลายูในภาคใต้ ลัทธิชาตินิยมเผ่าพันธุ์นิยมเคยนาไปสู่การสังหารหมู่คนยิว และสงครามโลกที่มีคนตายเป็นหลายสิบ ล้านคน และสาหรับลัทธิสถาบันนิยมในยุดปัจจุบันนั้น นักรัฐศาสตร์ก็บอกเราว่ามันพาไปสู่การเล่น พรรคเล่นพวก ระบบอุปถัมภ์ ความอ่อนแอและการทุจริตคอรัปชั่นในวงราชการ เป็นอุปสรรคต่อการ พัฒนาประเทศชาติ และอันที่จริงเราก็ไม่ได้อยู่ในยุคที่มีสงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือกับลัทธิ คอมมิวนิสต์อีกต่อไปแล้ว เรามีแต่สงครามทางเศรษฐกิจ สงครามกับยาเสพติด สงครามกับการก่อการ ร้าย สงครามกับคอรัปชั่น ซึ่งระบบอุปถัมภ์และลัทธิชาตินิยมคือตัวสร้างและขยายปัญหา แต่ ผลประโยชน์บางอย่างก็ทาให้ชนชั้นสูงยังคงพร่าสอนลัทธิชาตินิยม และ คนในมหาวิทยาลัยก็ยังหลับ หูหลับตาบูชาลัทธิสถาบันนิยมและระบบโซตัส จิตสานึกทางศีลธรรมของผู้คนที่หลงใหลลัทธินี้คง ทางานบกพร่อง เพราะเหตุผลด้านลบอย่างที่กล่าวมาไม่อาจเจาะเข้าไปสู่ส่วนลึกของจิตใจเขาได้เลย เขาไม่อาจมองเห็นเลยว่าเขากาลังสนับสนุนสิ่งที่พาไปสู่ความอยุติธรรม เพราะมันไม่ยุติธรรมเลยที่ คนๆ หนึ่งต้องตายเพียงเพื่อคนอื่นๆ จะได้รักกัน ไม่ว่าจะมีจานวนมากแค่ไหนก็ตาม และนี่ยังไม่ กล่าวถึงความอ่อนแอของสังคมไทยโดยรวมที่เกิดขึ้นจากลัทธิดังกล่าว
7
แต่แม้วา่ คุณจะเจ็บปวดและเห็นความชั่วร้ายของระบบโซตัสอย่างไร ถ้าคุณก็ยังไม่ยอมถอย ออกมา คาถามที่น่าฉงนที่สุดก็คืออะไรทาให้จิตใจของคุณอ่อนแอราวกับทาสที่ไม่ยอมรับการ ปลดปล่อย? คุณเข้าใจจิตใจของคุณเองหรือไม่ ดูเหมือนว่าจะมีคาพูดบางคาที่ถูกฝังไว้ในสมองของคุณ ที่สามารถผูกคุณไว้กับการเป็นทาส ได้ นั่นก็คือคาพูดที่ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” ซึ่งหมายความว่า คุณอยู่ตัวคนเดียวไม่ได้ คุณต้องพึ่งพา อาศัยคนอื่น ดังนั้นคุณต้องยอมตัวเองอยู่ใต้อานาจคนที่อยู่มาก่อน คุณต้องยอมประจบเอาอกเอาใจ พวกเขาด้วยการยอมทาตามคาสั่ง เขาถึงจะรักและรับคุณเข้าเป็นพวกเป็นรุ่นน้อง ช่างเหมือนกับที่คุณ ต้องเอาดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปกราบเท้าฝากตัวกับครูบาอาจารย์ในวันไหว้ครู ท่านถึงจะรักจะเมตตา รับเข้าเป็นศิษย์ คุณอาจท้วงว่าเรื่องที่สองนี้เป็นเรื่องของประเพณีวัฒนธรรมอัน “ดีงาม” แต่ก็มีอะไรที่ ตรงกันอยู่มากใช่ไหม ระบบโซตัสเองก็อ้างคาว่าประเพณี และตามทฤษฎีวัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์ แล้ว พิธีไหว้ครูก็คือสัญลักษณ์สุดยอดของระบบอุปถัมภ์ระหว่างชนชั้นผู้ให้และชนชั้นผู้รับใน สังคมไทย ดังนั้น อาจอนุมานได้ตรงๆว่าระบบโซตัสก็คือระบบอุปถัมภ์ระหว่างชนชั้นในหมู่ นักศึกษากันเอง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากระบบอุปถัมภ์และระบบชนชั้นในสังคมไทย 2 คุณคงจาได้ว่าใครบ้างที่คอยพร่าบอกคุณว่าคุณอยู่ด้วยตัวคนเดียวไม่ได้ คุณต้องพึ่งพาอาศัย คนอื่นในสังคม ทั้งหมดนั้นก็เพื่อที่จะทาให้คุณกลัวที่จะเป็นตัวของคุณเองใช่หรือไม่ มันทาลายความ เชื่อมั่นในตัวของคุณเองไปมากเท่าไร มันจะเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าคุณถูกสอนกลับกันว่า คุณสามารถทา ทุกสิ่งทุกอย่างได้ด้วยตัวของคุณเองไม่ต้องพึ่งใคร และจงอย่าพึ่งใครทั้งสิ้น และนี่ไม่ใช่สิ่งที่ พระพุทธเจ้าสอนหรอกหรือ ที่จริงแล้วศาสนาพุทธสอนคนไม่ให้เชื่อในอะไรทั้งสิ้นนอกจากผลจาก การกระทาของตนเอง การเข้าใจตนเองและการดูแลจิตใจของตนเอง โดยไม่พึ่งพาสิ่งภายนอกอื่นใด ทั้งสิ้น แต่ถ้าใครบอกคุณว่าคาสอนเรื่องอัตตาหิ อัตตาโนนาโถ ใช้กับเฉพาะเรื่องการบรรลุธรรม เท่านั้น เขาก็เป็นพุทธแบบปลอมๆ และทาให้พุทธศาสนาตัดขาดจากเรื่องทางโลกซึ่งผิดจากเจตนา ของพระพุทธเจ้าโดยสิ้นเชิง พุทธศาสนาและระบบอุปถัมภ์เป็นของคนละอย่างกัน คนไทยโชคดีที่มี พุทธศาสนา แต่โชคร้ายที่มีรากเหง้าอยู่ในระบบศักดินา เจ้า-ไพร่ วัฒนธรรมแบบอุปถัมภ์นิยม วัฒนธรรมอุปถัมภ์ทาให้คนไทยซึ่งแปลว่า “ไท” มีหัวใจเป็น “ทาส” ชนิดที่ไม่ยอมปลดปล่อยตัวเอง ทั้งๆ ที่นับถือศาสนาที่ปลดปล่อยมนุษย์ออกจากอานาจของสิ่งนอกตัวทุกประการ แต่วัฒนธรรม อุปถัมภ์กลับทาให้คนไทยกลัวแม้แต่การเป็นอิสระจากสังคม ลองคิดดูว่า ครู คือ ผู้ให้ ศิษย์ คือ ผู้รับ และ รุ่นพี่ คือ ผู้ให้ รุ่นน้อง คือ ผู้รับ พิธีไหว้ครู เป็น สัญลักษณ์ ความสัมพันธ์เชิงอานาจระหว่างสองชนชั้น โซตัสก็คือพิธีกรรม เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์เชิงอานาจ ระหว่างสองชนชั้น ลองคิดดูว่ากฎการปฏิบัติตัวระหว่างศิษย์ต่อครูกับรุ่นน้องกับรุ่นพี่นั้นต่างกันหรือไม่ เจอ หน้าต้องไหว้ สั่งต้องทา ตั้งคาถามไม่ได้ ทั้งสองก็คือระบบอุปถัมภ์ด้วยกันทั้งคู่ 2
8
แต่ความกลัวต่ออิสรภาพจากสังคมอาจเป็นสภาพธรรมดาของมนุษย์ทุกหนทุกแห่ง และตาม ทฤษฎีจิตวิทยาสังคมแขนงหนึ่ง มันเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องของพลังทางการเมืองในสังคม ในทุก สังคมมีพลังใหญ่ๆ อยู่สองส่วนที่ถูกผลักดันโดยโครงสร้างทางบุคลิกภาพใหญ่ๆ ของผู้คน ส่วนหนึ่ง คือพลังที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่มีอานาจในสังคม และอีกส่วนคือพลังที่ต้องการ ต่อสู้เพื่อประโยชน์สุขของกลุ่มคนที่ไร้อานาจ กลุ่มแรกคือพลังอนุรักษ์นิยม กลุ่มที่สองคือพลังเสรี นิยม กลุ่มแรกเกลียดและกลัวอิสรภาพ กลุ่มหลังต้องการให้มีอิสระและเสรีภาพมากขึ้นในสังคม สังคมที่คนกลัวอิสรภาพอย่างรุนแรงคือสังคมที่กลุ่มอนุรักษ์นิยมมีอานาจครอบงาเด็ดขาดเหนือกลุ่ม เสรีนิยม3 โดยอานาจครอบงาดังกล่าวเป็นอานาจทางวัฒนธรรม ประเด็นสาหรับเราก็คือ ในวัฒนธรรม แบบอนุรักษ์นิยมนั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่นักศึกษาจะมีชีวิตที่มีความสุข แม้กับสิ่งเล็กๆน้อยๆ เช่นการ แต่งตัวสบายๆ มาเข้าเรียน ระบบโซตัสบังคับนักศึกษาปีหนึ่งให้แต่งเครื่องแบบ ใส่เสื้อแขนยาว ผูก เน็คไท บังคับนักศึกษาใหม่ให้ไหว้อาจารย์ทุกคน ไหว้รุ่นพี่ทุกคน พาทาพิธีไหว้ครู เป็นที่พอใจของ มหาวิทยาลัย และเป็นที่พอใจของนักอนุรักษ์นิยมทางวัฒนธรรม เพราะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของ ความเป็นเด็กดี เด็กน่ารักของนักศึกษา ส่งเสริมภาพพจน์ของมหาวิทยาลัย และภาพลักษณ์ของ วัฒนธรรมอันงดงามของสังคม แต่ที่จริงแล้ว ยิ่งสังคมเป็นอนุรักษ์นิยมจัดเท่าไร ศีลธรรมในสังคมก็ จะจอมปลอมมากยิ่งขึ้นเท่านั้น และคนที่ไม่มีอานาจพอที่จะแอบซ่อนและหลบเลี่ยงสายตาของสังคม ก็จะยิ่งไร้ความสุขในชีวิตมากขึ้น เพราะสังคมจะสนใจแต่เรื่องของภาพลักษณ์ของวัฒนธรรมอันดีงาม และจะปิดหูปิดตาต่อความทุกข์ทรมานความไร้ความสุขของสามัญชนที่ไร้อานาจทั้งหลาย ใน สังคมไทย ลัทธิวัฒนธรรมนิยมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลัทธิชาตินิยม พยายามสร้าง“ความเป็นไทย” ใส่ เข้าไปในตัวคุณอยู่ตลอดเวลา แต่ขอให้คุณลองคิดดูเอาเองว่าจากที่คุณเติบโตมานั้น “ความเป็นไทย” ที่ถูกยัดเยียดใส่เข้าไปด้วยกระบวนการบังคับแบบต่างๆ นั้นทาให้คุณหมดความสุขไปมากเท่าไร แม้ว่าคุณก็อาจมีความภาคภูมิใจเกิดขึ้นมาบ้างก็ตาม เวลาที่เกิดเหตุการณ์อะไรให้คนไทยได้ยกยอ กันเองตามสถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือเวลาได้ยินเพลงของคาราบาว หรือได้ดูการโฆษณาขายสินค้า ต่างๆ ที่อาศัยลัทธิวัฒนธรรมนิยม-ชาตินิยมเป็นเครื่องมือ คาว่า “ศีลธรรมจอมปลอม” อาจทาให้คนหลายคนไม่อยากอ่านหนังสือเล่มนี้ต่อไป4 แต่ขอให้ คิดง่ายๆ ว่าเด็กไทยถูกทาให้โง่ และถูกทาลายความสุขไปมากเท่าไรจากการถูกบังคับไม่ให้ตั้งคาถาม ทั้งสองคานี้ถือเป็นคู่ตรงกันข้ามและเป็นคาที่มีความหมายทางเทคนิค ที่มีรากศัพท์มาจากประเด็นทาง ศีลธรรม ในเรื่องของรูปแบบความประพฤติในชีวิต เรื่องของวัฒนธรรม และขยายการใช้มาสู่การเมือง เรื่อง ของการใช้อานาจทางกฎหมายของรัฐ ดังนั้น จึงเป็นคาที่มีความหมายและการใช้หลายระดับ 3
ถ้าคาว่า “ศีลธรรมจอมปลอม” ฟังดูรุนแรงเกินไป เราก็อาจทาให้อ่อนลงได้ เช่น ใช่คาว่า “ศีลธรรมที่เป็น เท็จ” “ศีลธรรมที่ไม่จริง” “ศีลธรรมที่ผิดปกติ” คาที่อ่อนที่สุดน่าจะเป็น “ศีลธรรมที่ไม่บริสุทธิ์” ใน 4
9
โต้เถียงกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์และคนที่มีอาวุโสสูงกว่า เด็กนักเรียนถูกทาลายความสุขในชีวิตไปมาก เท่าไรกับการถูกบังคับให้ตัดผมสั้น นักศึกษาถูกบังคับให้แต่งเครื่องแบบ และถูกบังคับให้ต้องยอม จานนกับเหตุผลแบบจากัดจาเขี่ย คือเหตุผลเท่าที่ผู้ใหญ่จะพอใจให้เด็กพูดได้ หรือเหตุผลแบบสอง มาตรฐานภายใต้คาว่า “นี่คือวัฒนธรรมอันดีงามของไทย” ตัวอย่างของเหตุผลแบบจากัดจาเขี่ยก็คือ เด็กควรจะต้องตัดผมสั้นเพราะอากาศเมืองไทยร้อน แต่ครูไม่ต้อง หรือเด็กควรจะต้องตัดผมสั้นเพื่อให้ คนทั่วไปรู้ว่าเป็นนักเรียนตลอด 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน ปีละ 365 วัน แต่ทันทีที่ออกจากชั่วโมง สอนครูไม่ต้องบอกให้ใครรู้ว่าเป็นครู หรือโรงเรียนใช้ศีลธรรมบังคับให้เด็กไปปฏิบัติธรรมในวัดเป็น เวลาเจ็ดวัน ถ้าไม่ไปจะไม่ให้สาเร็จการศึกษา แต่ครูไม่เคยถูกบังคับว่าต้องไปปฏิบัติธรรมเจ็ดวัน ถ้า ไม่ทาจะไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือนประจาปี ระบบโซตัสใช้คาว่าความเป็นคนดีของสังคมเป็นเครื่องมือ กดขี่นักศึกษารุ่นใหม่จนตาย ศีลธรรมที่ให้ผลเป็นความเจ็บปวดและไม่มีความเสมอภาคเป็นศีลธรรม แบบไหนกันแน่ ศีลธรรมอะไรกันที่ใช้การลงโทษและการบังคับให้คนสร้างความดีทั้งๆ ที่เขาก็ยังไม่ ทันได้ทาอะไรผิด นี่คือศีลธรรมจอมปลอมของพวกนักอนุรักษ์นิยม ที่ต้องการที่จะสร้างภาพลักษณ์ ของศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามให้แก่สังคมที่ตนครองอานาจ และใช้กดขี่และทรมานสามัญชนที่ ไร้อานาจทั้งหลาย ฉะนั้นเครื่องหมายหนึ่งของความเป็นศีลธรรมจอมปลอมก็คือการเป็นศีลธรรมที่มีเหตุผล แบบจากัดจาเขี่ย ไม่ยอมให้มีการใช้เหตุผลอย่างถึงที่สุด และถ้าถึงที่สุดได้จริงก็จะลงเอยด้วย ข้อกาหนดที่เป็นสองมาตรฐานหรือ “ทวิมาตรฐาน” (double standard) หมายถึงการมีความไม่เสมอ ภาคในการตัดสิน ซึ่งปรากฏอย่างชัดเจนในสังคมชนชั้น สังคมไทยจึงมีศีลธรรมจอมปลอมปนอยู่ใน ทุกเรื่องที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้รับ ผู้น้อยและผู้ใหญ่ ผู้หญิงและผู้ชาย อีกเครื่องหมาย หนึ่งก็คือศีลธรรมที่เป็นอคติ (prejudice) หมายถึง ไม่คานึงถึงความสุขความทุกข์ของผู้คนที่มีตัวมีตน อยู่จริงๆ ซึ่งให้ผลเป็นความเคร่งครัดทางศีลธรรมที่ไร้สาระ ที่สร้างความเจ็บปวดสูญเสียอย่างไร้สาระ ตามมาในที่สุด ตัวอย่างเช่น สังคมอนุรักษ์นิยมจะพยายามสร้างความศักดิ์สิทธ์ให้เรื่องเพศ ทั้งที่ก็ อธิบายไม่ได้ว่าเรื่องเพศมันเลวร้ายอย่างไรกันหนักหนาในโลกยุคปัจจุบัน พยายามจะปิดกั้นผู้คนจาก เรื่องเพศ ทั้งๆ ที่มันเป็นเรื่องตามธรรมชาติ สร้างแรงกดดันทางสังคมที่ไม่จาเป็น ทาให้การท้องนอก สมรสกลายเป็นสิ่งที่ผิดอย่างรุนแรง ทาให้คนต้องทาแท้ง แล้วก็เข้าไปกาหนดกฎหมายให้เป็น ความผิดทางอาญาอีก ในที่สุดผู้หญิงทนถูกสังคมตราหน้าไม่ได้ก็ฆ่าตัวตาย หรือไม่ก็ไปทาแท้งเถื่อน แล้วก็ตกเลือกตายปีละมากมาย ทั้งหมดนี้ก็เพราะศีลธรรมจอมปลอมของนักอนุรักษ์นิยมทาง สาขาวิชาจริยศาสตร์มีทฤษฎีจริยศาสตร์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า “ศีลธรรมแบบอัตนิยม” หมายถึงศีลธรรมที่ ซ่อนประโยชน์ส่วนตัวของผู้สอน หรือผู้สร้างคาตัดสินทางศีลธรรมไว้เบื้องหลัง ซึ่งเป็นศีลธรรมที่ไม่แท้จริง ในทางพุทธศาสนา พระอรหันต์อยู่เหนือศีลธรรม เพราะศีลธรรมเป็นความจริงระดับโลกียะ ปุถุชนยังมี มิจฉาทิฐิจึงมีศีลธรรมที่จริงปนเท็จ มากบ้างน้อยบ้าง ต่างกันออกไป
10
วัฒนธรรม พวกเขาจ้องมองหาบาปของผู้หญิง แต่ปิดหูปิดตาต่อความตายของผู้หญิงที่ทาแท้ง เหมือน ที่ปิดหูปิดตาต่อความตายในระบบโซตัส แต่กรณีของเรื่องเพศนี้ พวกเขาจะมีคาแก้ตัวว่าเพราะผู้หญิง พวกนั้นเป็นคนชั่ว เป็นผู้หญิงสาส่อน เป็นแม่ใจยักษ์ จึงสมควรตาย ซึ่งก็แสดงความใจหยาบไร้เมตตา ธรรมของพวกเขาเอง5 อีกตัวอย่างหนึ่งของศีลธรรมจอมปลอมก็คือ คุณธรรมของความสุภาพ อ่อนโยน นักอนุรักษ์นิยมมองเรื่องนี้เป็นคุณธรรมที่นิยามความเป็นไทยเสียด้วยซ้า แต่ในทางกลับกัน เราก็อาจจะมองว่า ความสุภาพอ่อนโยนของคนไทยนั้นแลกมาด้วยความอ่อนแอทางความคิดและทาง บุคลิกภาพอย่างที่สุด ซึ่งเป็นผลของการที่เราสอนกันให้ไหว้ ให้อ่อนน้อม ให้เก็บกดอารมณ์ และ ควบคุมการแสดงออกกันแบบที่แทบไม่ต้องคิดอะไรกันอีกแล้วว่าด้วยเหตุผลอะไร คาถามก็คือ คนเราจะต้องสุภาพอ่อนโยนนุ่มนวลน่ารักอะไรกันนักหนา ถ้าเช่นนั้น ความหยิ่ง ความทะนงใน ตนเอง ความองอาจกล้าหาญ ความกล้าพูดกล้าแสดงออก ก็ต้องกลายเป็นความเลวทรามต่าช้าไร้ มารยาทเช่นนั้นหรือ หรือคุณธรรมดังกล่าวจะมีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ก็ต่อเมื่อคุณเป็นผู้มี ยศฐาบรรดาศักดิ์เท่านั้น ถ้าเช่นนั้นมันก็กลายเป็นศีลธรรมจอมปลอมที่ซ่อนการแบ่งแยกชนชั้นอีกเช่น เคย6 นอกจากคาพูดว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ยังมีอีกคาพูดหนึ่งที่พวกผู้ใหญ่จะใช้พูดกับคุณเพื่อทา ให้คุณยอมรับระบบโซตัส หรือยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นอยู่ มันจะฟังดูราวกับเป็นสัจธรรมที่ลึกซึ้ง แต่ทันทีที่คุณเข้าใจเจตนา มันก็จะไร้สาระโดยสิ้นเชิง นั่นก็คือคาพูดว่า “ทุกอย่างมีดีมีไม่ดี ไม่มีอะไร ที่ดีหมดและเลวหมด” เจตนาที่แท้จริงของคาพูดนี้ก็คือจงเลือกมองเฉพาะสิ่งที่ดีๆ ของสิ่งที่เธอกาลัง เผชิญและจงปิดหูปิดตากับสิ่งที่เลวๆของมันเสีย แล้วเธอก็จะอยู่กับมันได้ โซตัสทาให้เธอได้รับการ ยอมรับในสังคม ได้รับความรัก ความช่วยเหลือ ได้รับความบันเทิง จงสนใจเท่านั้นพอแล้ว อย่าไปใส่ ใจกับการถูกบังคับ ความทุกข์ทรมาน ตัดมันออกจากจิตใจ อย่าไปนึกเรื่องคนที่ตายไปเพราะมัน อย่า
มักจะมีการอ้างเรื่องสิทธิในชีวิตของเด็กที่ยังไม่เกิดขึ้นมาสู้กับสิทธิในชีวิตของแม่ แต่ก็ไม่รู้ว่าด้วยวิธีคิด แบบไหนกันแน่ที่ทาให้สิ่งที่เป็นความจริงระดับสมมติ (ว่าถ้าเกิดขึ้นจริงแล้วอาจเป็นเช่นนั้น เช่นนี้) มีค่า พอที่จะมาเทียบกับ สิ่งที่เป็นความจริงอยู่แล้วในขณะนี้วันนี้ พรุ่งนี้ และวันต่อๆ อย่างไม่มีอะไรให้ต้องสงสัย (ยกเว้นแต่จะคิดสมมติให้เป็นอื่น) มีแต่อภิปรัชญาประเภทที่ไร้สาระเท่านั้นที่จะทาให้โลกของความเป็นจริง ที่ประจักษ์แจ้งมีค่าต่ากว่าโลกที่สมมติว่าอาจเป็นได้ คนที่มีตัวตนอยู่จริงควรจะทนรับความทุกข์ทรมานทุก ประการ หรือแม้กระทั้งยอมตาย เพื่อสนองความรู้สึกถึงความถูกต้องของใครก็ไม่รู้ที่คิดถึงคนที่อาจเกิดขึ้น ใหม่เช่นนั้นหรือ 5
ฉะนั้น คุณธรรมจึงเป็นเรื่องที่เราจะต้องค้นหาเหตุผลกันอย่างละเอียดอ่อนสลับซับซ้อนมาก หนังสือเล่มนี้ จะถามปัญหาเกี่ยวกับคุณธรรมอยู่ตลอดเวลา บทที่จะศึกษาเรื่องที่เรากาลังพิจารณานี้เป็นพิเศษ คือบทที่มีชื่อ ว่า “ตรรกของการไหว้ : ศีลธรรมแห่งความอ่อนน้อมและความทะนงตน” 6
11
ไปนึกถึงคนที่พยายามปิดบังความจริงเรื่องความตายจากเธอ จงเชื่อว่าทั้งหมดที่เขาทา ก็เพื่อเปลี่ยนเธอ ให้เป็นคนดีของสังคม เพราะฉะนั้นจงเชื่อเสียแต่โดยดีเถิดว่าเธอเป็นคนเลวอยู่ข้างใน จนกว่าเธอจะ ยอมละลายพฤติกรรมแข็งขืนที่เธอจะกลายเป็นคนดีมีค่าขึ้นมาได้ แต่หยุดก่อน คุณลองคิดดูให้ดีสิ คุณไม่รู้หรือว่า วิธีที่จะเลือกมองแต่แง่ดี และไม่ยอมมองแง่ ร้าย เพื่อให้เรายอมรับสิ่งที่เป็นอยู่ได้ คือวิธีคิดของคนขี้แพ้ หลอกตัวเอง และขี้ขลาด คนที่กล้าหาญจะกล่าวว่า เมื่อเราเผชิญหน้ากับสิ่งที่ปนดีปนชั่ว เรามีหน้าที่ที่จะต้องต่อสู้เพื่อ เปลี่ยนแปลงมัน ทาให้ความดีของมันเพิ่มพูนขึ้นและความชั่วของมันลดลง พร้อมไปกับแสวงหา ปัญญามาตัดสินว่า สิ่งที่ดีนั้นดีจริงหรือเปล่า สิ่งที่ชั่วนั้นชั่วจริงหรือเปล่า ทาไมมันจึงเกิดขึ้นด้วยกัน มันเป็นแค่ความบังเอิญ หรือมันมีความเป็นสาเหตุและผลต่อกัน เป็นไปได้อย่างไรที่สิ่งที่ดีจริงๆ จะ เป็นสาเหตุของสิ่งที่ชั่วจริงๆ ดีชั่วดูเหมือนจะเป็นของที่ทั้งเรียบง่ายและซับซ้อนที่สุด และไม่ว่า อย่างไรก็ไม่ใช่สิ่งที่เราจะยอมรับคาพูดของคนอื่นง่ายๆ แต่หากคุณจริงใจกับคาพูดดังกล่าว แล้วนาไปใช้กับระบบโซตัส มันก็พาไปสู่ข้อสรุปที่ไร้ สาระอย่างที่สุด เพราะประการที่หนึ่ง มันจะพาคุณไปลงเอยด้วยการพูดว่า เนื่องจากระบบโซตัสเป็น ระบบอุปถัมภ์ จึงมีระบบอุปถัมภ์ที่ดีและไม่ดี ทั้งๆ ที่ตามทฤษฎีระบบอุปถัมภ์แล้ว ทุกๆ ระบบ อุปถัมภ์มีการเอารัดเอาเปรียบระหว่างชนชั้น เพียงแต่อาจมีมากหรือน้อยต่างกันเท่านั้น ระบบอุปถัมภ์ แบบพ่อปกครองลูกอาจดูมีความเมตตาแนบเนียนอ่อนโยนกว่าระบบแบบเจ้า-ไพร่ แต่ก็เป็นศีลธรรม ที่จอมปลอมอยู่ดี ขอให้คุณนึกดูง่ายๆ ว่าความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกแบบที่ไม่เคยยอมให้ลูกมี เสรีภาพที่จะโต้เถียงได้เลยนั้น เป็นความรักที่ถูกต้องจริงหรือ เป็นไปได้หรือว่าพ่อแม่จะถูกทุกอย่าง และถูกตลอดเวลา แล้วความรู้สึกส่วนตัวของลูกละ ไม่มีความหมายเลยหรือ พูดอย่างง่ายๆ ว่าพ่อแม่ที่ ทาลายปัจเจกภาพของลูกนั้นเป็นพ่อแม่ที่มีความรักที่บริสุทธิ์ต่อลูกจริงหรือ และประการที่สอง คาพูด ว่าทุกสิ่งมีทั้งดีและไม่ดี จะพาคุณไปสู่การยืนยันว่า แม้นักวิชาการจะบอกว่าลัทธิสถาบันนิยมพาไปสู่ การเล่นพรรคเล่นพวก ซึ่งพาไปสู่ปัญหาการคอรัปชั่นในวงราชการ แต่การคอรัปชั่นก็ทาให้เกิดสิ่งที่ดี เช่นกัน เพราะคนที่ได้เงินไปก็เอาเงินไปใช้จ่าย เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ การพูดเช่นนี้เป็นการ หลอกตนเองอย่างไร้สาระที่สุด เหมือนการพูดว่าการปล่อยน้าให้ไหลทิ้งก็เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ เพราะน้าจะไม่ได้หายไปไหน มันจะไหลลงดินลงทะเล ระเหยกลายเป็นไอ กลายเป็นเมฆเป็นฝน กลับมาให้เราใช้ในที่สุด แต่ประเด็นก็คืออย่าทาให้มันไหลทิ้งเสียเลยแต่ต้นจะไม่ดีกว่าหรือ เรื่องของลัทธิชาตินิยม ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์นั้น คุณได้เห็นภาพของความดี ของมันมามากมาย แต่ปัญหาของมันนั้นกลับถูกปิดบังมาตลอด เรื่องของมันซับซ้อนจนนักสังคม วิทยาแทบจะคิดว่านักศึกษาระดับปริญญาตรีจะไม่มีภูมิปัญญาพอที่จะเข้าใจ เพราะมันมีแกนกลางอยู่ ในสิ่งที่เรียกว่า “ตัวตนร่วม” หรือ “อัตลักษณ์ร่วม” ของบรรดาผู้คนในสังคม หมายความอย่างง่ายๆ ว่า
12
ทุกคนเอาส่วนหนึ่งของความเป็นตัวของตัวเองเข้าไปอยู่ในนั้น มันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการที่คน นิยามตัวเขาว่าคือใคร เช่น ฉันคือ “คนไทย” “ฉันคือเลือดสีชมพู” “ฉันคือชาวพุทธ” มันเป็นสิ่งที่ สามารถสร้างความดีในสังคม ได้เท่าๆ กับความชั่ว แต่ปัญหาจะอยู่ที่ความชั่ว เพราะเมื่อมันเกิดขึ้น มักจะหนักหนากว่าความดีอย่างเทียบกันไม่ได้ ประเด็นก็คือ ความรักในสถาบันที่เป็นตัวแทนทาง จิตใจของสังคมบางอย่าง อาจทาให้คนร่วมกันสร้างความดีได้ แต่ก็สร้างความเกลียดชังในสิ่งตรงกัน ข้ามได้ และความเกลียดชังก็อาจพาไปสู่ความรุนแรงอย่างไร้ขอบเขต ไร้มนุษยธรรม เพราะเมื่อความ เกลียดชังของคนหมู่มากถูกสร้างขึ้น แล้วปลดปล่อยออกไปจริงๆ มันจะมีพลังการทาลายล้างอย่างสูง แล้วหลังจากนั้นสังคมก็จะพยายามปิดบังเรื่องราวของมันไม่ให้คนรุ่นหลังรับรู้ ความดีในลัทธิ ชาตินิยม หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เป็น “อัตลักษณ์ร่วม” จึงจะปนมากับการอนุญาตให้คนรุ่นหลังรู้ความ จริงแต่เพียงด้านเดียว ซึ่งก็คือความดีบนการโกหกนั่นเอง ถ้าคุณอยากเห็นตัวอย่างก็ลองค้นหาความ จริงเรื่องเหตุการณ์หกตุลาดูให้ถึงที่สุด หรือลองหาดูว่าในสังคมไทยนั้นมีอะไรบ้างที่ถูกปิดบังไม่ให้ คนไทยรู้ ดังนั้น การบอกว่าทุกอย่างมีทั้งดีทั้งชั่ว ก็คือการบอกว่า ไม่ต้องคิดแยกแยะอะไรให้เหนื่อย ลืมส่วนที่ไม่ดีเสียก็พอแล้ว ดังนั้น ไม่จริงเลยว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้ใหญ่สอนเรา จะเป็นสิ่งที่สูงค่าทางศีลธรรม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในคาสอนที่ทาให้เรายอมรับสิ่งต่างๆ ที่เป็นอยู่ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม จารีตประเพณี แบบแผนชีวิตใดๆ ก็ตาม เขาเพียงต้องการให้เรายอมรับวิถีชีวิตของเขาเท่านั้น ซึ่งก็คือเขาต้องการให้ เรามีชีวิตอยู่ในอดีตและปัจจุบันของเขา โดยเขาอาจไม่สนใจจริงๆ เลยว่าชีวิตในปัจจุบันของเราเป็น อย่างไร และอนาคตของเรา ซึ่งเป็นลูกหลานของเขาจะเป็นอย่างไร วัฒนธรรมเป็นเรื่องของอดีต แต่ก็เป็นสิ่งที่เราถูกปลูกฝังจนกลายเป็นธรรมชาติที่สอง คือ ถูก ปลูกฝังจนทาไปโดยแทบไม่ต้องคิด เพื่อให้เรารักษาอดีตไว้ เราถูกสอนให้ยอมตามโดยแทบจะไม่คิด แต่ที่จริงเราก็ไม่มีความสุขและพยายามขัดขืนต่อสู้ แต่ก็มีแรงในสังคมทุกรูปแบบ ที่จะพยายาม กาหนดเราให้ได้ดังใจของคนที่มีอานาจอยู่ตลอดเวลา จนบางทีเราก็ยอมแพ้อย่างง่ายๆ แต่ก็มีคนที่มีจิต วิญญาณที่กล้าแข็ง ที่จะต่อสู้ขัดขืน และไม่ยอมให้ใครมาทาลายตัวตนที่เป็นปัจเจกของพวกเขา และ ไม่ยอมให้ใครมากาหนดให้เขาได้ง่ายๆ ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกหรือผิดโดยที่เขาไม่ได้พิจารณาสิ่งนั้นด้วย เหตุผลจนถึงที่สุด และเมื่อเขาเข้ามาในมหาวิทยาลัย เขาก็ยอมรับการถูกตราหน้าว่าเป็นคนไม่รักพวก พ้อง และเดินหนีออกไปจากความเป็นทาส ในอดีตคนที่กล้าแข็งพวกนี้หลายๆ คนใช้อานาจที่จะ ตัดสินความถูกผิดทางศีลธรรมให้ตนเอง บอกตนเองว่าเขาควรทาอะไร เพื่อใคร และกลายเป็นวีรชน ของยุค 14 ตุลา น่าสนใจว่าคนเช่นนี้เกิดขึน้ มาได้อย่างไร จิตใจของเขาต่างออกไปจากคนอย่างเราๆ ที่ ยอมตามสังคมแทบตลอดเวลา อย่างไร
13
อันที่จริงแล้ว การจะเป็นเช่นคนอย่างพวกเขาไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงแค่คุณมั่นใจในตนเองว่า คุณไม่ต้องพึ่งพาใคร เชื่อในตนเอง เชื่อในคาสอนของพระพุทธเจ้า อย่ายอมให้สังคมมากาหนดถูกผิด ให้คุณ คุณมีความคิด มีอานาจที่จะตัดสินถูกผิดได้ด้วยตัวคุณเอง คุณถูกทาลายความสุขมามากพอแล้ว อย่ายอมให้สังคมทุนนิยมและพ่อแม่ทาให้คุณป่วยด้วยการเลือกเงินยิ่งกว่าความรักความชอบของ ตนเอง ใช้ชีวิตแบบที่คุณชอบ จนกว่าคุณจะอยากเรียนในมหาวิทยาลัยจริงๆ ไม่ใช่เพราะตามคนอื่น เขาเข้ามา หรือเพราะยอมให้พ่อแม่ขีดเส้นทางชีวิตให้ และเมื่อเข้ามาแล้วก็อย่าให้ระบบโซตัสและ วัฒนธรรมอนุรักษ์นิยมกดขี่ข่มเหงคุณ อย่าทาตัวเป็นคนขี้ขลาด คนหลอกตัวเอง ไม่กล้าเผชิญหน้ากับ ความจริง อย่าทาตัวเป็นคนขี้แพ้ที่ต้องคอยประจบเอาใจคนรอบข้าง ไม่ว่าเพื่อน รุ่นพี่ หรือครูบา อาจารย์ ไม่มีใครจะทาอะไรคุณได้ถ้าคุณเลือกที่จะเป็นอิสระ อย่างมากที่สุดที่พวกเขาจะทาได้ก็คือเอา ศีลธรรมจอมปลอมมากดดันคุณ ถ้าจิตใจของคุณเข้มแข็ง และมีปัญญารู้เท่าทัน มันก็ไม่มีความหมาย อะไร จงปลดปล่อยตัวเองจากพันธนาการต่างๆ สร้างความสุขให้ตัวเองในสิ่งต่างๆ เท่าที่จะทาได้ เพื่อ สะสมไว้เป็นพลังที่จะใช้ในการเผชิญหน้ากับความท้าทายที่แท้จริงของชีวิต คือการเรียนรู้วิชาการ ต่างๆ อย่างเต็มความสามารถ พัฒนาปัญญา พัฒนาความสามารถ แสวงหาอุดมคติ อุดมการณ์ของชีวิต เพื่อสร้างชีวิตให้มีความหมายอย่างแท้จริงในทุกๆ วัน คุณควรจะหาความสุขในเรื่องอะไรบ้าง เมื่อถูกถามว่าชีวิตของคุณมีคุณค่าอย่างไรบ้าง นักศึกษามักตอบว่า ชีวิตเขามีค่าเพราะเขามี ความสุขในการทาสิ่งต่างๆ ที่เขาต้องการ โดยที่ไม่ได้ทาให้ใครเดือดร้อน การตอบเช่นนี้แสดงความ สับสนระหว่างความสุขกับคุณค่า การมีชีวิตทีม่ ีความสุขกับการมีชีวิตที่มีคุณค่าเป็นของคนละอย่างกัน แต่คนที่ไม่มีความสุขในชีวิตเลยคงยากที่จะต้องการทาให้ชีวิตของตนเองมีคุณค่า ดังนั้นก่อนจะพูด เรื่องชีวิตที่มีค่าเราต้องพูดเรื่องชีวิตที่มีความสุขก่อน หลักการที่นักศึกษากล่าวมาจึงเป็นหลักการที่ สาคัญที่สุดที่สามัญสานึกของคนทุกคนบอกต่อตนเองว่า เรามีสิทธิที่จะทาทุกอย่างที่เป็นความสุขของ ตนเองตราบเท่าที่เราไม่ได้ทาร้ายต่อใครโดยตรง นี่คือหลักการของความไม่สมควรที่จะต้องถูก ลงโทษ หรือเรียกง่ายๆ ว่าหลักขันติธรรม (Tolerance) ซึ่งก็คือหลักการของลัทธิเสรีนิยมทางศีลธรรม หมายถึง ศีลธรรมต้องให้เสรีภาพต่อบุคคลมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ต้องไม่ลงโทษต่อเสรีภาพของใคร ตราบเท่าที่การใช้เสรีภาพนั้นไม่ไปทาร้ายผู้อื่นโดยตรง ยกตัวอย่างง่ายๆ เพศสัมพันธ์นอกสมรสที่มี ความระมัดระวังทุกประการที่จะไม่ให้เกิดผลร้ายตามมา และเป็นความสมัครใจของสองบุคคล ย่อม ไม่ได้ทาร้ายใครโดยตรง นั่นก็คือ เมื่อมันไม่ได้สร้างให้เกิดการจองเวรเกิดขึ้นตามหลักเบญจศีล ย่อม ไม่ใช่สิ่งที่ผิด แม้ว่าสองบุคคลจะไม่มีเจตนาที่จะอยู่เป็นคู่ชีวิตกันต่อไป ดังนั้น Free Sex ที่มีสติ รวมทั้งการซื้อขายบริการทางเพศด้วย ย่อมไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่หลักเบญจธรรมก็บอกว่ามนุษย์ควรจะ รักษาพรหมจรรย์ คือควรจะมีเพศสัมพันธ์กับคู่ของตนเท่านั้น ซึ่งควรจะหมายความว่า ผู้ที่ตนรักและ ตัดสินใจที่จะครองชีวิตร่วมด้วย แม้อาจก่อนสมรสก็ตาม ซึ่งหมายถึงการมีความซื่อสัตย์ต่อความรัก
14
ของตน ซึ่งหมายความว่าถ้ามีคู่รักแล้ว Free Sex และการซื้อขายบริการทางเพศ แม้อาจไม่สร้างให้เกิด การจองเวรต่อกัน ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควร แต่ประเด็นหลักของลัทธิเสรีนิยมทางศีลธรรมที่ทาให้มันต่าง จากหลักอนุรักษ์นิยมทางศีลธรรมก็คือ เมื่อพ้นจากการสร้างการจองเวร ซึ่งได้แก่ การทาร้ายผู้อื่น โดยตรงแล้ว คุณธรรมทางเพศเป็นเรื่องของเสรีภาพที่เจ้าตัวพึงตัดสินใจเอาเองโดยสังคมไม่พึงเข้ามา ยุ่งเกี่ยวด้วยเหตุทั้งปวง ลัทธิอนุรักษ์นิยม ซึ่งคู่มากับสังคมชนชั้น ใช้อานาจเข้าบังคับอย่างไม่สนใจ เสรีภาพส่วนบุคคล ไม่ว่าจะในระดับใด ตราบใดที่คุณอยู่ในชนชั้นที่ต่าค่าในความเป็นมนุษย์กว่าพวก เขา นั่นก็คือ ตราบใดที่คุณเป็นคนพวกที่พวกเขาเชื่อว่าไม่อาจจะดีได้ด้วยตัวเองเหมือนเขา คุณคงรู้ว่าอะไรบ้างที่เป็นความสุขที่ไม่ได้ไปทาร้าย หรือ “หนักหัว” ใครเลย สังคมตะวันตก ยอมรับเสรีภาพพวกนี้ เพราะถือหลักเสรีนิยมทางศีลธรรม สังคมไทยไม่ยอมรับเพราะยังเป็นสังคมชน ชั้นอย่างจัด และถือหลักอนุรักษ์นิยมทางศีลธรรม ในสังคมตะวันตก หลักแห่งขันติธรรมหรือหลัก แห่งเสรีภาพนีไ้ ด้รับการประกาศอย่างชัดเจนและมีการปกป้องกันอย่างเต็มที่ ในสังคมไทย สามัญ สานึกของเราทุกคนบอกว่าหลักการนี้คือความถูกต้อง แต่เรากลับไม่กล้าประกาศมันออกมา และไม่ กล้าแสดงเหตุผลต่างๆ เพื่อปกป้องมัน อาจเป็นเพราะเราถูกพวกนักอนุรักษ์นิยมข่มขู่ไว้จนหัวหดไม่ กล้ามีปากมีเสียง หรืออาจเป็นเพราะเขาเป็นผู้อุปถัมภ์ของเรา คือเป็น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ และเป็น พระ เป็นชนชั้นสูงที่คอยทาสิ่งต่างๆ ให้คนส่วนใหญ่ในสังคมที่ยังขาดแคลน ความรักและหนี้บุญคุณ ทาให้เราหมดสิทธิ์ที่จะโต้เถียงหรือตั้งคาถาม แต่นี่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องอีกเช่นกัน ในตอนนี้ ความสว่าง ความดามืด คงปนเปกันอยู่ในใจคุณ ลองทบทวนเรื่องทั้งหมดดูอีกสัก ครั้งสองครั้ง แล้วพิจารณาดูว่า คุณจะกล้าแหกออกมาจากระบบโซตัสหรือไม่ อย่าลืมว่า ไม่มีอะไร สาคัญยิ่งไปกว่าการมีความสุขให้มากที่สุดในชีวิตแต่ละวัน ไม่ใช่เพื่อตัวความสุขเอง แต่เพื่อที่จะได้มี พลังหาความหมายและคุณค่าของชีวิตด้วยตัวของคุณเองต่อไป เมื่อมาถึงจุดนี้ ถ้าคุณยังไม่กล้าก้าวออกไปจากระบบโซตัส อุปสรรคที่แท้จริงก็คงจะมีเพียง อย่างเดียวเท่านั้นคือจิตใจของตัวคุณเอง และที่จริง นี่อาจจะเป็นที่มาของปัญหาทั้งหมด ที่จริงคาพูดว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” หรือคาพูดอะไรอื่นๆ ของสังคมอาจไม่ได้มีความหมายจริงๆ เลย คาพูดที่มี ความหมายจริงๆ คือคาพูดที่คุณพูดกับตัวคุณเองว่า “ฉันอยากให้คนทั้งหลายรักฉันมากกว่าเกลียดฉัน” ดังนั้น ทั้งหมดก็คือความต้องการความรักความชื่นชมจากคนรอบข้างต่างหากที่ผลักดันคุณเข้าหา สังคม นี่ต่างหากที่ทาให้คุณกลัวเสรีภาพ กลัวความเป็นปัจเจก กลัวการตัดขาดจากผู้อื่น กลัวที่จะต้อง อยู่โดดเดี่ยว ซึ่งจะทาให้คุณรู้สึกไร้ค่า คุณต้องการคนอื่น เพื่อทาให้คุณรู้สึกว่าคุณมีตัวมีตนอยู่ในโลก นี้ น่าสงสัยเหลือเกินว่าความรู้สึกไร้ค่าของคุณมาจากไหน อาจเป็นเพราะคุณได้รับความรักมาน้อยไป สักนิดในวัยเด็ก อาจเป็นเพราะคุณขาดโอกาสที่จะพัฒนาความสามารถและศักยภาพต่างๆ ที่จะทาให้
15
คุณภาคภูมิใจและเห็นค่าในสิ่งต่างๆ ที่คุณมีอยู่ภายในตนเอง แต่ไม่ว่าอย่างไร คุณควรเข้าใจว่านั่นเป็น อดีตที่ผ่านพ้นไปแล้ว ขอให้คุณนึกว่า มนุษย์ผ้ทู ี่ยิ่งใหญ่ที่สุดทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ศาสดา นักวิทยาศาสตร์ ศิลปิน นักปรัชญา นักวิชาการ ผู้นาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นผู้ที่ใช้เวลาในตอน เริ่มต้นของชีวิตตัดขาดจากสังคมทั้งสิ้น เพราะด้วยการตัดขาดจากสังคมเท่านั้นที่พวกเขาจะมีเวลา พัฒนาตนเอง แสวงหาสิ่งที่เขาเชื่อว่ามีค่าที่สุดสาหรับชีวิตโดยไม่สนใจว่าใครอื่นจะคิดอย่างไร แสวงหาสัจธรรม สร้างปัญญาความรู้ความสามารถ ที่จะนากลับมาสร้างประโยชน์ให้กับมวลมนุษย์ คนอื่น พวกเขาอยู่เหนือความต้องการความรักจากผู้อื่นโดยสิ้นเชิง และพวกเขาต่างหากที่มีความรัก ให้มนุษย์ผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์ และสาหรับพวกเขาแล้ว เป็นความรักที่ไม่มีขอบเขตจากัดเสียด้วยซ้า คนที่เป็นชาวพุทธไม่ควรลืมเลยว่า เจ้าชายสิทธัตถะปฏิเสธความเชื่อของพระบิดา ครูบา อาจารย์และทุกคนในสังคมที่แวดล้อมพระองค์ ที่ประสงค์ให้พระองค์ครองราชย์เป็นมหาราชา พระองค์เชื่อในคาตัดสินของพระองค์เองเท่านั้น ว่าพระองค์ปรารถนาที่จะบรรลุธรรมเพื่อปลดปล่อย สัตว์โลกจากห้วงทุกข์ พระองค์เชื่อว่านั่นคือการมีชีวิตที่มีค่าที่สุดสาหรับพระองค์เอง จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าพระองค์ให้คนในสังคมมาตัดสินว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสาหรับชีวิตของพระองค์ ถ้าเราศึกษาประวัติของคนที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย เราก็จะพบว่า พวกเขามักจะมีวัยเด็กที่บริบูรณ์ ด้วยความรักและการฝึกฝนในศิลปะ และวิทยาการ ซึ่งน้อยคนนักในสังคมจะมีโอกาสเช่นนั้น จริงอยู่ ว่า คุณอาจจะไม่เคยมีโอกาสดีในช่วงเวลาเด็กๆ เช่นพวกเขา แต่โอกาสก็ยังมีสาหรับคุณ ใน มหาวิทยาลัย ศิลปะและวิทยาการอยู่แค่มือเอื้อมของคุณเท่านั้น ฉะนั้นอย่าไปเสียเวลาอยู่กับการเป็น ทาสสังคม เพราะการเป็นทาสของสังคมนั้นไม่มีทางที่จะทาให้คุณมีชีวิตที่มีคุณค่าอย่างแท้จริงได้เลย และสุดท้ายคุณจะลงเอยด้วยการเป็นนักแก่งแย่งแข่งขันอยู่ในสังคมเท่านั้น ในบั้นปลายคุณอาจเป็นผู้ ชนะในการแข่งขัน มีชีวิตที่มีเงินมากกว่าใคร แต่ก็จะหาความสุขจริงๆ ไม่ได้ เพราะเงินไม่อาจทาให้ คุณรู้สึกว่ามีชีวิตที่มีคุณค่า และการให้เงินออกไปเท่าไรก็ไม่ทาให้คุณรู้สึกมีค่า ถ้าหากคุณไม่ได้ให้ ออกไปด้วยความรักในผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์ใจ ปัญหาเบื้องหลังที่แท้จริงจึงได้แก่ปัญหาว่า ทาอย่างไรคุณ จึงจะสามารถเห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีค่าสมควรแก่ความรักของคุณ เพราะในชีวิตที่ผ่านมาคุณรักเฉพาะ คนที่ให้ความรักกับคุณเท่านั้น อะไรหนอที่ทาให้เราสามารถรักได้อย่างไม่มีขอบเขตจากัด คนเรารัก ได้น้อยเพราะเขาโชคไม่ดีเติบโตมาอย่างไม่มีโอกาสที่จะมีความสุขจากความรักมากนักใช่หรือไม่ เขา ไม่มีความสุขเพราะเมื่อมีคนมาจากัดความสุขของเขาแล้ว เขาไม่ยอมต่อสู้เพื่อปกป้องความสุขของ ตนเองใช่ไหม ปัญหาทุกอย่างของเราตอนนี้ดูเหมือนจะขมวดเขาด้วยกัน เราต้องการที่จะเข้าใจตนเอง ค้นพบตนเอง เพื่อที่จะปลดปล่อยตนเองออกจากพันธนาการของสังคม เพื่อที่จะมีชีวิตที่มีความสุข และมีคุณค่า แต่คนอื่นๆ ในสังคมกลับต้องการใช้อานาจบังคับเราให้ได้ดังความต้องการของเขา
16
ความคิดของเขาปนถูกปนผิด คาพูดของเขาปนจริงปนเท็จ แต่เขาก็พยายามบังคับให้เราคล้อยตามมัน เราเองมีทั้งความกลัว ทั้งความกล้า ทั้งต้องการความรักความชื่นชม ความยกย่องจากพวกเขา แต่ก็ ต้องการที่จะคิดตัดสินสิ่งต่างๆ ให้ตนเอง ไม่ชอบการถูกทาร้าย ทรมาน แต่ก็ทั้งอยากคล้อยตาม ทั้ง อยากขัดขืน แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทาไมเขาต้องพยายามบังคับนักหนา เขาหวังดีจริงหรือ จริงหรือเปล่าว่า เป็นเพราะเขาเคยมีชีวิตที่ไม่มีความสุขมาก่อน ดังนั้นการเข้าใจตนเองจึงเป็นการเข้าใจชีวิตทั้งชีวิต เข้าใจความต้องการของมนุษย์เมื่อมาอยู่ ร่วมกันเป็นสังคม เข้าใจความซับซ้อนในจิตใจของตนเองและของผูอ้ ื่น ว่าทาไมเขาจึงก้าวล่วงเข้ามา บังคับเรา ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อที่จะชี้ความชั่วร้ายของเขา แต่เพื่อที่จะแสวงหาความเข้าใจตามหลักเหตุผล และมีเป้าหมายเพียงเพื่อที่จะเปลี่ยนชีวิตของเรา และของทุกคนที่ทุกข์ทรมานอยู่เพราะเหตุของการถูก กดขี่บังคับ ให้ดีขึ้นในทางที่ถูกต้องดีงามไปพร้อมๆ กัน และเราก็จะพบว่านี่คือทางของการมีชีวิตที่มี คุณค่าที่แท้จริงไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะมันคือชีวิตของความรักที่บริสุทธิ์และไม่มีขีดจากัด แม้จะเป็นการกล่าวที่ไกลเกินไปข้างหน้าสักหน่อย แต่ขอให้คุณเข้าใจว่าความแตกต่างทาง ศีลธรรมที่กล่าวมาระหว่าง “นักอนุรักษ์นิยม” และ “นักเสรีนิยม” ไม่ใช่ความแตกต่างระหว่าง คนดี กับคนไม่ดี แต่เป็นความแตกต่างระหว่างคนดีที่แตกต่างกันในทัศนะคติเกี่ยวกับอานาจ อานาจคือ ความชั่วร้าย นักอนุรักษ์นิยมที่จริงใจนั้นคือคนที่เชื่อว่าเราสามารถอาศัยความชั่ว ซึ่งได้แก่การลงโทษ และการบังคับมาสร้างความดีได้ ส่วนนักเสรีนิยมที่จริงใจนั้นคือคนที่ไม่เชื่อว่าเราสามารถสร้างความ ดีที่แท้จริงจากความชั่วใดๆ ได้ โลกตะวันตกได้เรียนรู้เรื่องนี้จากเหตุการณ์จริงๆ สองเหตุการณ์คือ การประหารชีวิตโสกราตีส (Socrates 470-399 ปีก่อน ค.ศ) และการประหารชีวิตพระเยซู บุคคลที่ สูงส่งที่สุดสองคนถูกคนจานวนมาก ซึ่งก็เป็นคนดี เกลียดชังและฆ่าจนตาย ก็เพราะเขาสอนความดีที่ สูงกว่าที่คนพวกนั้นสามารถเข้าใจได้ และคนพวกนั้นก็เข้าใจผิดว่าความดีที่พวกเขาสอนนั้นเป็น อันตรายต่อสังคม การเรียนรู้ว่าความคิดเรื่องความดีสามารถขัดแย้งกันเองได้เป็นสิ่งที่นักทฤษฎีทางจ ริยศาสตร์รู้ดีอยู่แล้ว แต่การที่มันสามารถพาไปสู่โศกนาฏกรรมและความหมายของชีวิตที่ขัดแย้งกัน โดยสิ้นเชิงนั้นได้รับการอธิบายโดยปรัชญาแห่งการดารงอยู่ หรือปรัชญาอัตถิภาวะนิยม (existentialism) และเคยถูกนาเสนอไว้ในวรรณกรรมทางศีลธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกตะวันตก ชื่อ ว่า Les Miserables ของวิคเตอร์ ฮูโก (Victor Hugo ค.ศ. 1802-85) ซึ่งเราจะได้พูดถึงเรื่องทั้งหมดนี้ อย่างละเอียดในภายหลัง ปัญหาจริงๆ สาหรับเราคือ ในความรักเราย่อมต้องการสิ่งที่ดีต่อคนที่เรารัก แต่ทาไมเราจึงคิด ว่าเราจึงควรใช้การบังคับและการลงโทษเพื่อสร้างความดีในคนที่เรารัก ถ้าพ่อแม่ครูบาอาจารย์รุ่นพี่ หรือเพื่อนทาสิ่งนี้กับเรา เขาทาถูกหรือ และคุณเองเริ่มมีความเชื่อเกี่ยวกับอานาจและความดีไปในทาง ใดทางหนึ่งแล้วหรือยัง ข้ออภิปรายของเราเกี่ยวกับชีวิตที่มีค่าที่ผ่านมา ลงเอยที่คาถามว่าทาไมคนบาง
17
คนจึงรักได้กว้างและคนบางคนจึงรักได้แคบ เป็นไปได้ไหมว่า คนที่มีความเชื่อแบบที่นิยมอานาจจะมี ความรักให้กับเฉพาะคนที่ยอมอยู่ใต้อานาจของเขาเท่านั้น แต่คนที่ไม่เชื่อในอานาจนั้นจะสามารถรัก คนได้กว้างกว่า ถ้าเช่นนี้เราก็พอมีคาตอบบางส่วนให้กับเรื่องชีวิตที่มีค่าที่แท้จริงแล้ว ในหนังสือเล่มนี้ แม้จะมีการใช้ถ้อยคาแบ่งแยกผู้คนอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มีเจตนาที่จะแบ่งคนเป็น ฝ่ายถูก ฝ่ายผิด คนดี คนเลว อย่างเด็ดขาด เพราะที่สุดแล้วก็คือการที่จะชี้ว่า คนที่รักได้กว้าง และคนที่ รักได้แคบ คนที่กระหายอานาจมาก กระหายอานาจน้อย เกิดจากการที่คนเข้าถึงความจริงและความดี ต่างระดับกัน โอกาสยังมีอยู่เสมอ ที่ทั้งสองฝ่ายที่ต่างกัน จะช่วยกันชี้และแก้ไขความผิดของกันและ กันอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ตามครรลองของเหตุผล เพราะเราทุกคนก็คือมนุษย์เท่าๆ กัน.
18
บทที่ 2 ชีวิตภายหลังชัยชนะของโลกทุนนิยม : การเกิดขึ้นของคนพันธุ์ใหม่ในสังคมไทย ประเด็นสาคัญของบทที่แล้วก็คือ ชีวิตที่ไร้เสรีภาพ ไร้ความสุขของคนหนุ่มคนสาวที่เป็น นักศึกษาในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีจาเลยหลักๆ อยู่สามตัวคือ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ลัทธิสถาบัน นิยม และพลังของกระแสอนุรักษ์นิยมในสังคม ได้เคยเล่าให้ฟังแล้วว่าชีวิตของคนหนุ่มสาวใน มหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นเช่นนี้มาตลอด แต่เคยมียุคสมัยที่นักศึกษามีอิสระ อย่างน้อยที่สุดก็จากจาก ระบบโซตัส และวัฒนธรรมแบบอนุรักษ์นิยม ในยุค 14 ตุลา 2516 ถึง 16 ตุลา 2519 นักศึกษาเคยมี อิสระที่จะไม่ต้องคอยทาตัวเป็นเด็กดีเด็กน่ารักตามที่วัฒนธรรมไทยต้องการ เขาไว้ผมยาว สวมรอง แตะ ใส่เสื้อยืด กางเกงยีนส์ สะพายย่าม แล้วก็ทากิจกรรมทางการเมือง แล้วเขาก็เรียกตนเองว่า ปัญญาชน ด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ว่าเขามีส่วนร่วมต่อการสร้างสังคมให้ดีงาม เพราะพวกเขา คือนักสู้ของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพได้มาด้วยการต่อสู้ เมื่อถึงจุดหนึ่งระบอบประชาธิปไตยพ่ายแพ้ ชีวิตของนักศึกษาก็ ย้อนกลับไปสู่ความไร้เสรีภาพตามเดิม แต่เขาก็ยังทิ้งมรดกไว้เป็นความสุขให้พวกคุณบ้าง เช่นเรื่อง ความงามทางกาย พวกเขาต่อสู้จนสังคมยอมรับว่า นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยควรมีอิสระในเรื่อง ของผม และการแต่งหน้าทาปาก และคนทุกคนในสังคมควรมีอิสระในร่างกายของตนเอง จนปัจจุบัน รัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิในร่างกายของพลเมืองทุกคน จนคุณสามารถที่จะย้อมสีผมอย่างไรก็ได้ หรือจะแต่งตัวให้เซ็กซี่อย่างไรก็ได้มาเรียน ตราบใดที่ยังแต่งเครื่องแบบที่สถานศึกษากาหนด ในอดีต ก่อนหน้าสมัย 14 ตุลา นักศึกษามหาวิทยาลัยมีฐานะเท่าๆ กับนักเรียนมัธยมเท่านั้น คือต้องตัดผมพ้น ต้นคอและห้ามแต่งหน้า คุณควรขอบคุณพวกเขา และที่จริงไม่ใช่เฉพาะพวกคุณเท่านั้นที่เป็นหนี้พวก เขา สังคมไทยทั้งสังคมก็เป็นหนี้พวกเขา และเป็นหนี้นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทั้งหลายที่ยอมพลีชีพ เพื่อต่อสู้กับลัทธิเผด็จการในอดีต ที่ทาให้ประเทศไทยปัจจุบันมีการเมืองที่ดีกว่าพม่าและประเทศด้อย พัฒนาทั้งหลาย แม้จะเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ยังอ่อนแอกว่าประเทศพัฒนาแล้วอยู่มากก็ตาม
19
แม้ว่าปัจจุบันระบอบประชาธิปไตยจะได้รับการฟื้นฟูกลับขึ้นมาแล้ว แต่ก็เป็นประชาธิปไตย ที่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิงจากยุค 14 ตุลา 6 ตุลา เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว ชนชั้นล่างมีอานาจที่จะต่อสู้ เพื่อประโยชน์สุขของพวกเขาผ่านการช่วยเหลือของนักศึกษา ปัจจุบันนักศึกษาไร้จิตสานึกทาง การเมืองและตัดขาดจากชนชั้นล่างโดยสิ้นเชิง เราจึงมีประชาธิปไตยที่ชนชั้นสูงและคนรวยครอง อานาจอย่างเบ็ดเสร็จในสังคม จึงเป็นประชาธิปไตยภายใต้วัฒนธรรมแบบชนชั้นและระบบอุปถัมภ์ นิยม ซึ่งเรารู้จักกันในนามของการเมืองแบบซื้อสิทธิ์ขายเสียงและระบบหัวคะแนน และการเมืองของ พรรคนายทุน ซึ่งก็คือประชาธิปไตยที่ไร้วิญญาณนั่นเอง ส่วนหนึ่งเป็นผลผลิตของกระบวนการหล่อ หลอมทางสังคม ที่ทาให้พลเมืองหันไปบูชาสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สูงสุดของลัทธิชาตินิยม เพื่อหันเหคนชั้นล่างออกจากการต่อสู้ทางการเมืองและประชาธิปไตย 1 การที่เราควรจะต้องกล่าวถึงนักศึกษาในยุค 14 ตุลา 6 ตุลา เป็นพิเศษนัน้ ไม่ใช่แค่เพราะเขา เคยมีชีวิตที่มีเสรีภาพและมีความสุขมากกว่าเราในขณะที่เป็นนักศึกษา แต่เพราะเขามีชีวิตที่มีค่าและมี ความหมายที่ต่างจากเราอย่างมาก และเป็นตัวอย่างของชีวิตที่มีคุณค่าสูงสุด เพราะเป็นชีวิตที่มีอุดมคติ และอุดมการณ์ที่สูงส่งที่สุดที่มนุษย์พึงมี คือการมีชีวิตอยู่เพื่อความดีงามและความถูกต้องในสังคม พวกเขาอาจจะเริ่มต้นด้วยการต่อสู้เพื่อความสุขและเสรีภาพของตนเอง แต่หลังจากนั้นเขาก็ต่อสู้เพื่อ ความสุขของคนอื่นภายใต้ความคิดเรื่องความดีงามและความถูกต้อง ดังนั้น ขอให้เราก้าวข้ามจากเรื่องของความสุขมาสู่เรื่องของคุณค่าแห่งชีวิต บทบาทที่สาคัญ ที่สุดของคุณในวันนี้คือการเป็นนักศึกษา หมายถึงคนที่กาลังเรียนรู้ บทบาทนี้เกี่ยวพันอย่างไรบ้างกับ
แม้จะด้วยเหตุแห่งอานาจในการประชาสัมพันธ์ของรัฐเป็นหลัก แต่ก็เป็นความจริงว่าประชาชนรักและ บูชาสถาบันกษัตริย์อย่างสมด้วยเหตุผลพอควร คือด้วยเหตุแห่งความที่สถาบันกษัตริย์ได้ทุ่มเททาเพื่อ ประชาชนอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ดังนั้นความรักที่พระมหากษัตริย์มีต่อประชาชนจึงไม่มีข้อให้ต้อง สงสัยใดๆ ทั้งสิ้น แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยอาจไม่ได้เป็นความสัมพันธ์ที่ คล้อยตามกับความรักที่พระมหากษัตริย์มีต่อประชาชนก็เป็นได้ เพราะเป็นสิ่งที่ปฏิเสธได้ยากเช่นกันว่า สถาบันกษัตริย์พยายามปลูกฝังความรักในลัทธิชาตินิยมลงในหมู่ประชาชน ยิ่งกว่าที่จะปลูกฝังความรักใน ลัทธิประชาธิปไตย เพราะนอกจากจะกระทาตนเป็นผู้ให้แล้ว พระมหากษัตริย์ก็ทาตนเป็นผู้สอนคุณธรรม ต่างๆ ที่สาคัญต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของความสามัคคี และสิ่งที่จะเป็นผลประโยชน์ต่างๆ ต่อ ความมั่นคงของชาติ แต่ดูเหมือนว่าในทัศนะของสถาบันกษัตริย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคในสังคม จะไม่ใช่ส่วนหนึ่งของสิ่งที่เป็นประโยชน์สุขของชาติ หรือมีความสาคัญต่อประโยชน์สุขของชาติน้อยมาก เพราะเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่จะหาคาสอนของสถาบันกษัตริย์ในเรื่องที่เป็นหัวใจของประชาธิปไตยเหล่านี้ ที่ เป็นคาสอนในเชิงสนับสนุน ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคาสอนในเชิงให้ระมัดระวังในการใช้แนวคิดทั้งสามเสีย มากกว่า (ซึ่งก็คือการปรามนั่นเอง) 1
20
คุณค่าในชีวิตของคุณ คุณเรียนไปเพื่ออะไร เพื่อที่จะเลือกว่าจะเป็นอะไร จะมีอาชีพการงานอะไร จะมี บทบาทเป็นอะไรในสังคมต่อไปในอนาคต จะเป็นหมอ พยาบาล ครู วิศวกร ล่าม นักแปล เลขา พนักงานธนาคาร ฯลฯ แต่คุณค่าของคุณรออยู่ในอนาคตเมื่อคุณมีใบปริญญาบัตรอยู่ในมือแล้วเท่านั้น หรือ คุณเคยถามตัวคุณเองบ้างหรือไม่ว่า วันนี้ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ และในแต่ละวัน การเรียน การศึกษาทา ให้คุณมีค่าอย่างไรบ้าง นักศึกษาในยุค 14 ตุลา 6 ตุลา เรียกตัวเองว่า “ปัญญาชน” แต่คนอย่างพวกคุณซึ่งอยู่ต่างยุค ต่างสมัยนั้น แตกต่างออกไปอย่างมาก จนได้รับการขนานนามว่า “คนพันธุ์ใหม่” ซึ่งหมายความว่าเกิด จากการกลายพันธุ์ไปในทางเสื่อม (mutation) แม้คาว่า “ปัญญาชน” จะยังคงถูกใช้เรียกคนหนุ่มสาว อยู่บ้างเป็นบางครั้ง เช่น ในวันฉลองการรับปริญญา แต่คุณคิดว่าขณะนี้คุณคือปัญญาชนคนหนึ่ง หรือไม่ หรือคุณจะต้องรอให้ถึงวันรับปริญญาเสียก่อน จึงจะกล้ารับคาเรียกดังกล่าว ที่จริงแล้วคาว่า “ปัญญาชน” ตามที่ใช้กันอยู่ในอดีตและปัจจุบันมีความหมายต่างกันอย่างมาก กล่าวคือ ในอดีตคานี้ หมายถึง คนที่มีพลังทางปัญญา และใช้ปัญญาของตนเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงสังคม ในปัจจุบัน หมายถึง คนที่ไม่ได้ใช้แรงกาย แต่ใช้แรงปัญญา ซึ่งรับประกันด้วยใบปริญญา ในการทามาหากิน เป็น ฟันเฟืองตัวหนึง่ ที่ช่วยหมุนจักรกลของสังคม ดังนั้นนักสังคมศาสตร์จึงเปลี่ยนมาเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ปริญญาชน” แทน “ปัญญาชน” ซึ่งเป็นการกล่าวประชดประชันด้วยว่ามีปริญญาแต่ไม่มีปัญญาที่จะ แก้ไขปัญหาอะไรในสังคม คนหนุ่มคนสาวในยุคปัจจุบันถูกเรียกว่า "คนพันธุ์ใหม่" เพราะต่างไปจากคนหนุ่มคนสาวใน อดีต ซึ่งปัจจุบันก็คือพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของเรา หลายคนกลายเป็นนักการเมืองดูแลกิจการของรัฐ หลายคนเป็นปัญญาชน (จริงๆ) ระดับแนวหน้า คอยชี้แนวทางให้แก่สังคม ซึ่งพวกเขาเริ่มต้นบทบาท ต่อสังคมมาตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา หรือบางคนตั้งแต่สมัยยังเป็นนักเรียนมัธยมเสียด้วยซ้า หนุ่มสาว ในยุคนี้แตกต่างไปมาก และแตกต่างไปในด้านลบ คือเต็มไปด้วยลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ความ หลงใหลในความสุขความบันเทิง รักสบายและเห็นเงินเป็นพระเจ้า คลั่งไคล้ในลัทธิสถาบันนิยมและ มีจิตวิญญาณเผด็จการ ปราศจากความคิดรับผิดชอบต่อสังคม ไร้จิตสานึกทางการเมือง ฯลฯ แต่นี่ ไม่ใช่ความผิดของใครทั้งสิ้น ทั้งเราและนักศึกษายุค 14 ตุลา ซึ่งเป็นพ่อแม่ของเรา ล้วนเป็นผลผลิต ของเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ของเงื่อนไขทางเศรษฐกิจสังคมและการเมือง ของยุคสมัย เราไม่มีวันที่จะเข้าใจสิ่งที่เราเป็นอยู่ หากเราไม่เข้าใจถึงพลังของประวัติศาสตร์ที่หล่อ หลอมจิตสานึกและบุคลิกภาพของเรา แต่ก่อนอื่น ขอให้เรากลับมาพิจารณาให้เข้าใจก่อนว่า การศึกษาคืออะไร ขอให้เรามาดูสิ่งที่ เป็นคุณค่าและความหมายของชีวิตที่การศึกษาควรจะให้แก่เรา ว่ามีอะไรบ้าง
21
การศึกษาให้การงานและอาชีพ แน่นอนว่าการงานและอาชีพเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่มีค่า เรา ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง ดาเนินชีวิตให้ได้อย่างอิสระ หน้าที่นี้เป็นพันธะ ทางศีลธรรมที่เรามีต่อพ่อแม่หรือต่อใครตาม ที่เราเคยต้องพึ่งพิงอาศัย แต่การศึกษาก็เป็นหน้าที่ที่เรามี ต่อตัวเราเองด้วย การศึกษาคือการพัฒนาตนเองในทุกๆด้าน คือการพัฒนาศักยภาพทั้งหลายที่มีอยู่ใน ตน เพื่อให้กลายเป็นผู้ที่มีความสามารถ ขจัดความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ ความไร้สมรรถภาพที่จะกระทา การในทุกๆเรื่องที่เราปรารถนาที่จะกระทา ขจัดความไร้สมรรถภาพที่จะสัมผัสรับรู้ในสิ่งที่ ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นความลึกซึ้งในตนเองหรือในผู้อื่น ขจัดความไร้ความสามารถที่จะ จินตนาการ และแสดงออกถึงสิ่งที่อยู่ในจินตนาการ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่จะรู้สึก คิด พูด กระทา อย่าง สร้างสรรค์ เพื่อความเป็นตัวเราที่มีค่าและมีความหมายในทุกๆ ด้าน ทาไมจึงกล่าวว่า นี่คือหน้าที่ที่เรา มีต่อตัวเราเอง คาตอบคือ เพราะตัวเรามีอยู่ไม่ใช่ในฐานะของสิ่งที่หยุดนิ่งอย่างก้อนอิฐก้อนหิน หรือ อ่อนนุ่มรอให้คนอื่นมาปั้นอย่างดินเหนียว แต่เรามีอยู่ในฐานะชีวิต ชีวิตคือสิ่งที่เติบโตและ เปลี่ยนแปลงไปในตัวเอง สามารถที่จะกลายเป็นสิ่งที่ดี-มีค่า-น่าปรารถนายิ่งๆขึ้นไปกว่าเดิม กล่าว ง่ายๆก็คือ เรามีอยู่ในฐานะศักยภาพ (potential) ซึ่งหมายถึงความสามารถที่จะเป็นในสิ่งที่เรายังไม่เป็น และดียิ่งขึ้นกว่าเดิม การศึกษาคือการพัฒนาตนเองในทุกๆ ด้าน นี่คืออุดมคติขั้นสูงของการศึกษา อย่างที่สมั พันธ์กับคุณค่าของความเป็นตัวเรา แต่ก็ขอให้เรามามองดูภาพกว้างของการศึกษาดูสักนิด ดั่งเดิมแล้ว การศึกษาเพื่อการงานอาชีพย่อมจะถูกจัดขึ้นที่บ้าน พ่อแม่สอนให้ลูกหลาน อาจ พัฒนาขยายเป็นกลุ่มบ้านที่เชี่ยวชาญวิชาชีพเฉพาะสอนกันในกลุ่ม เมือ่ เกิดเป็นสังคมเมืองที่มีระบบ การผลิตและแลกเปลี่ยนที่ซับซ้อน ก็พัฒนาต่อมาจนถึงขั้นเป็นโรงเรียนของสมาคมหรือกลุ่มวิชาชีพ รองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ ที่จริงแล้ว การสร้างโรงเรียนสอนหนังสือและเลข รับลูกหลาน ชาวบ้านเข้ามาเรียน ก็คือการสร้างเสมียน พนักงานบัญชี เพื่อรองรับระบบการค้านั่นเอง นี่เป็นการ กล่าวตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจของสังคมอย่างรวบรัดที่สุด สาหรับการศึกษาเพื่อการพัฒนาตนเองอย่างสมบูรณ์นั้น ย่อมเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นชนชั้นสูงของ สังคมที่มีเวลาค้นคว้าพัฒนาใน “ศาสตร์บริสุทธิ์” คือศาสตร์ของความคิดความอ่าน ปัญญาในการ เข้าใจชีวิตและโลก สังคมและธรรมชาติ หรือทักษะความสามารถในการสร้างสรรค์ทางศิลปะ ซึ่งชน ชั้นสูงมีเวลาว่างมารวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เกิดเป็นประชาคมทางปัญญาของผู้ที่มี ความรู้สูงสุดในสังคม มีการสนับสนุนทางการเงินกันเอง มีการสร้างอาคารสถานที่ขึ้นมารองรับจน กลายเป็น “มหาวิทยาลัย” ตามความหมายของตัวอักษร คือเป็น “สถานที่แห่งความรู้ขั้นสูงสุด” ขึ้นมา ซึ่งก็เกิดขึ้นอย่างอิสระเช่นเดียวกันกับโรงเรียนสอนอ่านเขียนและโรงเรียนอาชีพ แต่เมื่อเกิดรัฐเข้ามาดูแลควบคุมสังคม และมาจัดการศึกษาทั้งหมดในสังคม รัฐก็ย่อมนาเอา ความต้องการต่างๆ ในการจัดการปกครองของรัฐเข้ามาผนวก เช่น ในการรับเอาการศึกษาเพื่อการ
22
พัฒนาปัญญาอย่างบริสุทธิ์เข้าไว้ในระบบการศึกษา รัฐสามารถคัดเลือกคนที่มีปัญญาสูงเพื่อดึงเข้ามา ฝึกฝนเป็นข้าราชการ เป็นนักปกครอง ตอบสนองต่อการขยายเครือข่ายอานาจของรัฐ และรัฐก็ยังใช้ การศึกษาเพื่อสร้างผู้อยู่ใต้ปกครองแบบที่รัฐต้องการ เช่น การใช้ตัวความรู้และตาราเรียนเผยแพร่ จิตสานึกแบบที่หลงใหลในลัทธิชาตินิยม ใช้การศึกษาเพื่อการอบรมบ่มนิสัยและบุคลิกภาพแบบที่รัฐ ต้องการ เป็นต้น แน่นอนว่ารัฐไทยก็มเี จตนานี้ในการจัดการศึกษาให้พลเมืองเช่นเดียวกัน2 จากการที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจของสังคม และผลิตคนไปรับใช้ระบบราชการ การศึกษาจึงมีรปู ร่างหน้าตาเช่นนี้ คือ มีการแข่งขัน มีการตกออก มีเวลาและหลักสูตรที่กาหนดอย่าง ตายตัว เข้าเรียนเวลานี้ ออกเรียนเวลานี้ อนุญาตให้ใช้เวลาได้แค่เท่านี้ต่อเนื้อหาเท่านี้ ใช้เวลาได้ ทั้งหมดเท่านี้เท่านั้นปี มีการกาหนดราคาค่าจ้าง ฐานเงินเดือนตามระดับประกาศนียบัตรและใบ ปริญญา ฯลฯ ด้วยเหตุนี้เองการศึกษาซึ่งเป็นหน้าที่ทางศีลธรรมที่เรามีต่อผู้ที่เราพึ่งพิงอาศัย และหน้าที่ ที่เรามีต่อตัวเราเอง จึงกลายเป็นสิ่งที่เหนื่อยยากหนักหนาอย่างแสนสาหัส ประเด็นที่สาคัญก็คือ เมื่อ รัฐทุนนิยมเข้ามาจัดการศึกษาให้เป็นรูปแบบ ใช้ภาษีอากรของประเทศจัดการศึกษาให้กับมวลชน การศึกษาจะปฏิบัติต่อคนทุกคนอย่างเหมือนกันหมด และไม่สนใจต่อปัจเจกภาพของใครทั้งสิ้น ไม่มี ใครได้รับอนุญาตให้เรียนเมื่อพร้อม เรียนเมื่ออยากเรียน เวลาในหลักสูตร วิชาในหลักสูตร มีเป้าหมาย เพื่อสร้างคนมาเป็นกาลังของระบบราชการและระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ให้เร็วที่สุด และคุณก็คง พอจะเห็นแล้วว่าในระบบการศึกษาของรัฐ ลัทธิชาตินิยม การอบรมบ่มนิสัยในโรงเรียน ซึ่งต่อเนื่อง มาจนถึงระบบโซตัสและลัทธิสถาบันนิยมในมหาวิทยาลัยนั้น ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสนับสนุนอานาจ ของรัฐ ด้วยการบังคับคุณให้ละทิ้งปัจเจกภาพของตนเอง และเปลี่ยนตนเองให้เป็นไปในแบบที่รัฐและ สังคมทุนนิยมต้องการ3
จากการวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาการศึกษาของไทยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2495 วิทศ์ วิทย์เวทย์ สรุปว่า การศึกษาไทยมีเพียงสองเป้าหมายเท่านั้น คือ เพื่อหาคนมาขยายระบบราชการ และ เพื่อสร้างพลเมืองที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ การวิจัยการศึกษาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ของ เสน่ห์ จามริก สรุปว่า หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง การศึกษาไทยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจ แบบทุนนิยม ซึ่งไม่สอดคล้องกับการที่คนส่วนใหญ่ของประเทศมีอาชีพทางการเกษตร สรุปก็คือการศึกษาที่ จัดโดยรัฐไทยมีเป้าหมายหลักคือเพื่อพัฒนาการปกครองและระบบเศรษฐกิจเท่านั้น 2
แต่ก็เป็นไปได้อย่างเต็มที่ ที่ความต้องการของรัฐและความต้องการของระบบทุนนิยมจะขัดแย้งกัน รัฐที่มี คนชั้นสูงปกครองคนชั้นล่างจะต้องการให้ชนชั้นล่างโง่และเชื่อง เพื่อจะได้ปกครองง่าย แต่ระบบทุนนิยม ต้องการคนฉลาดและมีความคิดสร้างสรรค์ และนี่จะเป็นทางสองแพร่งของชนชั้นสูงและนายทุน และใน ที่สุดแล้วชนชั้นสูงและนายทุนจะต้องเดินแยกทางกัน ชนชั้นสูงจะต้องการหยุดการศึกษาและลากให้ถอย หลัง แต่นายทุนจะต้องการผลักการศึกษาไปข้างหน้า เพราะเมื่อพวกเขาต้องการเข้าไปแข่งในตลาดโลก เขาก็ 3
23
สรุปแล้ว การศึกษาจึงมีหลากหลายความหมาย ทั้งสาหรับผู้รับและผู้ให้ คือเป็นทั้งการพัฒนา ตนเอง พัฒนาประชากร การแสวงหาอาชีพการงาน การพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ การไต่เต้า สถานะทางเศรษฐกิจและชนชั้นทางสังคม การเผยแพร่อุดมการณ์เพื่อควบคุมพลเมือง ดังนั้นจึงไม่น่า แปลกใจที่ นอกจากการศึกษาจะสร้างความเจ็บปวดจากความล้มเหลวของการตกออก หรือสร้างความ เหนื่อยยากอย่างแสนสาหัสของการต่อสู้แข่งขันแล้ว การศึกษาก็ยังสร้างความรู้สึกแปลกแยกใน ตนเอง อย่างที่แสดงออกในบทกลอนของวิทยากร เชียงกูล อดีตนักศึกษาในสมัย 14 ตุลา ที่ว่า "ฉัน เยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความหมาย ฉันหวังเก็บอะไรไปมากมาย สุดท้ายฉันได้กระดาษ เพียง แผ่นเดียว" กฤษณมูรติ (Jiddu Krishnamurti ค.ศ. 1895-1986) ผู้นาทางจิตวิญญาณชาวอินเดียกล่าวหา ว่าการศึกษาให้เราแต่ความกลัว4 ข้อกล่าวหานี้ย้าให้เห็นถึงความเจ็บปวดของการศึกษาในโลกเสรีทุน นิยม ที่มีประจักษ์พยานจากการที่เด็กและคนหนุ่มคนสาวมากมายฆ่าตัวตาย เพราะไม่สามารถทน ความเจ็บปวดจากความล้มเหลวในการศึกษาได้ แน่นอนว่าปัญหานี้เกิดจากการแบกรับน้าหนักของ ความคาดหวัง ที่สูงเกินไปจากครอบครัวและสังคมรอบข้าง ยิ่งกว่านั้นการศึกษาก็ยังสามารถเป็นการ ควบคุมความจริง อย่างที่บทเพลง The Wall ของวง Pink Floyd พูดไว้ว่า “We don’t need no education. We don’t need no truth control. There’s a cancer in the class room. Hey, teachers, leave the kids alone. All and all, it’s just another brick in the wall.” เมื่อเกิดการจัดการศึกษาชั้นสูงขึ้นโดยรัฐ สิ่งที่เกิดตามขึ้นมาคือ คนกลุ่มใหม่ในสังคม ซึ่งก็ ได้แก่นักเรียนนิสิตนักศึกษา คนกลุ่มนี้เป็นความจาเป็นสาหรับรัฐ คือจาเป็นสาหรับการพัฒนาระบบ การปกครองและระบบเศรษฐกิจ แต่อันตรายที่ซ่อนอยู่สาหรับรัฐก็คือ การสร้างให้เกิดกลุ่มคนที่มีพลัง ที่จะต่อต้านอานาจรัฐ รัฐต้องคอยระวังพลังนี้ไม่ให้เกิดการรวมตัวกันขึ้นมาได้ ดังนั้นใน ประวัติศาสตร์การปกครองแบบเผด็จการที่ยาวนานของไทย เราจึงได้เห็นว่านายกรัฐมนตรีหรือรอง นายกรัฐมนตรีรั้งตาแหน่งเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยหลักๆ และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการหลายๆ สมัยก็มิได้เป็นนักการศึกษา แต่ทว่าเป็นทหาร ทั้งนี้ก็เพื่อผู้ที่ถืออานาจรัฐ จะสามารถควบคุมทิศทางของการศึกษาและพลังของคนหนุ่มสาวได้ตั้งแต่จุดต้นกาเนิด ต้องพัฒนาการศึกษา แต่ถ้าการศึกษาดี คนฉลาดมากขึ้น ชนชั้นสูงก็จะเสียประโยชน์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่นายทุนจะได้คนเก่งมาทางาน และแข่งขันในตลาดโลกได้ดีขึ้น เมื่อพลเมืองฉลาดขึ้น ประชาธิปไตยก็จะ เข้มแข็ง นายทุนก็ต้องจ่ายภาษีและค่าแรงมากขึ้น แต่ธุรกิจของเขาก็จะไปได้ดีขึ้น คาถามก็คือ เขาควรพัฒนา การศึกษาของชาติให้มีคุณภาพสูงขึ้นหรือไม่ คาตอบก็ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะเลือกผลประโยชน์เฉพาะหน้า ว่าจะ เอาการจ่ายภาษีน้อยๆ ค่าแรงต่าๆ หรือจะเอาผลประโยชน์ระยะยาวของธุรกิจที่ก้าวหน้า ถ้าเขาเลือกอย่าง หลังประเด็นที่สาคัญก็คือเขาจะต้องตัดขาดจากชนชั้นสูง และลัทธิชาตินิยม เสียก่อน 4
ดูใน แด่คนหนุ่มสาว
24
แต่ที่จริงแล้ว พลังของนักเรียนและนักศึกษาก็ไม่จาเป็นจะต้องเป็นปฏิปักษ์ต่ออานาจรัฐเสมอ ไป เคยมีหลายครั้งในอดีตที่นักเรียนนักศึกษารวมตัวกันแสดงพลังเพื่อสนับสนุนรัฐ เช่น ภายใต้การ ครอบงาของอุดมการณ์ชาตินิยม คนไทยคิดว่า ดินแดนเขมร ไม่ควรอยู่ใต้อานาจของคนเขมร หรือ ประเทศฝรั่งเศส แต่ควรอยู่ใต้อานาจของประเทศไทย นักศึกษาไทยจึงเคยเดินขบวนสนับสนุน "ท่าน ผู้นา" ในการเรียกร้องดินแดนเขมรคืนมาจากฝรั่งเศส (ในสมัยของจอมพลป.พิบูลสงคราม) และใน สมัยที่ไทยขาดดุลทางการค้ากับญี่ปุ่นอย่างหนัก นักศึกษาจัดรณรงค์และแสดงตนเป็นแบบอย่างของ การใช้สินค้าไทยในชีวิตประจาวัน ด้วยการแต่งตัวด้วยเสื้อกางเกงผ้าฝ้าย หรือแต่งตัวด้วยชุดม่อฮ่อม เพื่อต่อต้านเสื้อผ้า “โทเร” ที่นาเข้ามาจากญี่ปุ่น (ในสมัยของจอมพลถนอม กิตติขจร) เป็นต้น แต่ทว่า นักเรียนนักศึกษาก็เคยรวมพลังกันนาพาประชาชน ต่อต้านอานาจเผด็จการของรัฐ อย่างชนิดที่เอาชีวิตเข้าแลก จนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้สาเร็จ นั่นก็คือ ใน เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในรายละเอียดของเหตุการณ์นั้น แม้ว่าระบบเผด็จการทหารของจอมพล ถนอมและประภาสจะถูกล้มเลิกไป ระบบประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาความขัดแย้ง อย่างรุนแรงระหว่างนายจ้างและผู้ใช้แรงงาน ในเรื่องค่าจ้างแรงงาน สิทธิ และสวัสดิการ ปัญหาที่ เกษตรกรถูกกดราคาสินค้าทางการเกษตรโดยพ่อค้าคนกลาง รวมทั้งชัยชนะของระบบคอมมิวนิสต์ ในประเทศเพื่อนบ้าน คือในเวียดนาม ลาว กัมพูชา ทาให้บทบาททางการเมืองของนักศึกษาที่ดาเนิน ต่อเนื่องไปจาก “14 ตุลา” กลายเป็นชนวนทางสังคมของการต่อสู้ระหว่างสองฝ่ายในสังคม5 จนเกิด เหตุการณ์ “ขวาพิฆาตซ้าย” ขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งพลังของนักศึกษาและประชาชนชั้นล่างได้ ถูกทาลายลงอย่างราบคาบ และประเทศถูกนากลับเข้าสู่ระบบเผด็จการอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็เป็นระบบ เผด็จการในรูปแบบที่มีการใช้อานาจที่แตกต่างจาก “ระบบทรราชย์” ของถนอมและประภาสโดย
คาว่า “ซ้าย” “ขวา” ในการเมืองอ้างถึงสองฝ่ายในการประชุมสภาขุนนางของกษัตริย์ ขุนนางฝ่ายขวาคือผู้ที่ กุมกาลังพล และครอบครองที่ดิน ซึ่งเอาเปรียบและหาประโยชน์จากพลเมืองที่เป็นไพร่ ฝ่ายซ้ายคือขุนนางที่ สนใจในทุกข์สุขของประชาชนที่ยากจน กษัตริย์เป็นผู้ที่ต้องหาสมดุลระหว่างทั้งสองฝ่าย เพราะถ้าเอาใจฝ่าย ซ้ายมาก ตนเองก็อาจถูกโค่นบัลลังก์ เพราะตนเองอาจมีกาลังพลที่แท้จริงอยู่น้อยกว่ากาลังพลของขุนนางฝ่าย ขวาที่เป็นเจ้าที่ดินและร่ารวย แต่ถ้าเอาใจฝ่ายขวามากเกินไป ประชาชนก็จะถูกขูดรีดเอารัดเอาเปรียบอย่าง หนัก และอาจก่อกบฏได้เช่นกัน การสร้างระบบราชการแบบใหม่และการเลิกทาสของรัชกาลที่ 5 ก็สามารถ ถือเป็นการสลายอานาจของขุนนางและเชื้อพระวงศ์ ที่เป็นเจ้าที่ดินและครอบครองไพร่ที่จะดึงมาใช้เป็น กาลังพลได้มากกว่าของพระองค์เอง เป็นการทาให้การกบฏโดยขุนนางและเชื้อพระวงศ์เป็นไปไม่ได้อีก ต่อไป 5
25
สิ้นเชิง6 และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา การรวมตัวกันของนักเรียนนิสิตนักศึกษาเพื่อที่จะเป็นพลังในการ ต่อสู้เพื่อแก้ไขและเปลี่ยนแปลงสังคมก็ไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลย เพราะนักเรียนนักศึกษาได้ถูกทาให้ กลายเป็น “คนพันธุ์ใหม่” ที่ไร้จิตสานึกต่อสังคมไปจนหมดสิ้น คาถามคือ อะไรทาให้นักเรียนนักศึกษาในอดีตมีจิตสานึกทางการเมืองสูง แต่นักศึกษาใน ปัจจุบันกลับไม่มีมีจิตสานึกทางการเมืองเลย เราอาจคิดว่า ความทุกข์ ความเจ็บปวดของประชาชนชั้น ล่าง ภายใต้ระบบเผด็จการทหารที่ปกครองอย่างเบ็ดเสร็จไร้รัฐธรรมนูญ ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของ ประชาชน แสวงหาแต่ผลประโยชน์อันมิชอบใส่ตนและพวกพ้องในอดีต เป็นแรงกดดันทาให้ นักศึกษามีจิตสานึกต่อสังคม แต่ในตอนนี้ประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบ ไม่มี การใช้อานาจเบ็ดเสร็จเหนือกฎหมายรัฐธรรมนูญมาลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน อีกต่อไปแล้ว ฉะนั้นเมื่อไม่มีแรงกดดัน นักศึกษาจึงไม่ถูกความเป็นจริงทางสังคมกระตุ้นให้เกิดจิตสานึกทาง การเมือง คาอธิบายแบบนี้ละเลยปัจจัยที่สาคัญประการหนึ่งของพลังทางประวัติศาสตร์ คือ บรรยากาศ ทางภูมิปัญญาและประเด็นเกี่ยวกับอุดมคติและอุดมการณ์ของยุคสมัย รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับ ความสาเร็จของการควบคุมความเป็นจริงที่รัฐดาเนินผ่านระบบการศึกษา ซึ่งสาหรับประเด็นหลังนี้ เราอาจลองตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นดังนี้ คือ ขอให้คุณลองสังเกตวิชาประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่คุณร่าเรียนมาให้ดี คุณคิดว่ามีส่วน สร้างให้คุณมีจิตสานึกต่อสังคมอย่างไร คุณเรียนรู้เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับระบอบ ประชาธิปไตยมากน้อยเพียงไรเมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์ของสถาบันกษัตริย์ ในการขยายและการ รักษาราชอาณาจักร รวมทั้งการกอบกู้เอกราชจากประเทศเพื่อนบ้าน คุณได้เคยอ่านคาประกาศของ คณะราษฎร์ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย บ้างหรือไม่ คุณรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับอุดมคติอุดมการณ์ของนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็น ผู้นาการเปลี่ยนแปลง คุณคิดว่าการศึกษาช่วยให้คุณรักระบอบประชาธิปไตย รักความยุติธรรม มีจิตใจ ที่สนใจต่อการปกป้องประโยชน์สาธารณะ หรือช่วยให้คุณยอมรับเห็นดีเห็นงาม ภาคภูมิใจในลัทธิ ชาตินิยมมากกว่ากัน ฉะนั้น คุณคิดว่ามีอะไรผิดสังเกตหรือไม่ ที่ในหนังสือวิชาประวัติศาสตร์ของคุณ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาและ 6 ตุลาอยู่ไม่เกิน3 หน้ากระดาษ ทาไมระบอบประชาธิปไตยจึง แทบไม่มีความสาคัญเลยในวิชาประวัติศาสตร์ไทย และที่จริงแล้ว ระบอบประชาธิปไตยไทยควรถูก
คือมีรัฐธรรมนูญในการบริหารประเทศและมีรัฐสภาที่สมาชิกมาจากการแต่งตั้งโดยชนชั้นสูง ซึ่งก็คือ ระบบการปกครองแบบอภิสิทธ์ชนเป็นใหญ่ หรือ ระบอบอภิชนาธิปไตย นั้นเอง (ปัจจุบันเรียกว่า การ ปกครองแบบอามาตยาธิปไตย) และเราก็ได้นายกรัฐมนตรีที่ปกครองประเทศมากสมัยที่สุด ก็คือพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 6
26
ถือว่าเป็นหนี้รัชกาลที่7หรือคณะราษฎร์มากกว่ากัน7 ดูแค่วิชาประวัติศาสตร์ก็ไม่น่าแปลกใจแล้วใช่ ไหมว่าทาไมคุณถึงไม่รักประชาธิปไตยเลย8 ในเรื่องของบรรยากาศทางภูมิปัญญา อุดมคติและอุดมการณ์ของยุคสมัย ประเด็นหลักที่เป็น ความแตกต่างระหว่างช่วงเวลาสมัย 14 ตุลาคม 2516 มาถึง 6 ตุลาคม 2519 และยุคปัจจุบันก็คือ ยุค ปัจจุบันเป็นยุคที่อยู่ในบรรยากาศของความไร้อุดมทางการณ์ทางการเมือง หมายความว่า สังคม ปัจจุบันมีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเดียวคืออุดมการณ์ทุนนิยม อุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์ที่เคย เป็นคู่แข่งได้พ่ายแพ้ปิดฉากลงไปแล้ว สัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมก็คือ การทาลายกาแพงเบอร์ลินซึ่งเคย แบ่งแยกโลกทุนนิยมและโลกคอมมิวนิสต์ออกจากกัน และการเปลี่ยนแปลงของประเทศโซเวีย ตรัสเซียและประเทศเยอรมันตะวันออก มาเป็นประเทศเสรีอย่างปราศจากความรุนแรง ซึ่งหมายความ ว่า คนรุ่นใหม่ไม่มีแนวคิดทางการเมืองที่เป็นระบบ ที่จะใช้วิพากษ์วิจารณ์รากเหง้าของระบบทุนนิยม และที่จะใช้เสนอรูปแบบของสังคมแบบอื่นขึ้นมาแทนสังคมแบบปัจจุบัน เหมือนอย่างที่เมื่อก่อนเคย มี อีกต่อไปแล้ว ความคิดทางการเมืองอาจถูกควบคุมด้วยการห้ามการตีพิมพ์และเผยแพร่หนังสือ (ซึ่งนี่ก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยกับหนังสือจานวนกว่า 500 รายชื่อ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในยุคประชาธิปไตย หลังยุค 14 ตุลา) หรือการห้ามสอนหรือพูดถึงอุดมการณ์ทางการเมืองแบบอื่นในมหาวิทยาลัย แต่ ถึงแม้เราอาจจะได้รับอนุญาตให้มีอิสรภาพทางความคิด ความคิดทางการเมืองก็อาจพ่ายแพ้และตาย ไปด้วยตัวของมันเอง เราจะมาดูข้อเท็จจริงในเรื่องนี้กันอย่างละเอียด บรรยากาศทางภูมิปัญญา อุดมคติ อุดมการณ์ของช่วงเวลาหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 คือ ความงอกงามของเสรีภาพทางความคิด และการแสดงออก อาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างอาจารย์ป๋วย อึ้ง ภากร อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช และนักวิชาการทางมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ที่ศึกษามาจากตะวันตก ได้ร่วมกันสร้างให้เกิดบรรยากาศของการแสวงหาคุณค่าและ ความหมายของชีวิตขึ้นในหมู่นักศึกษา กิจกรรมแบบบันเทิงและระบบโซตัสหายไป กลายมาเป็น
ทาไมพระราชหัตถเลขาในการสละราชบัลลังก์ของรัชกาลที่ 7 จึงถูกยกมานาเสนอต่อสังคมอยู่ตลอดเวลา โดยเราไม่เคยได้เห็นคาอธิบายใดๆ เลยจากฝ่ายของคณะราษฎร์ ว่าเรื่องราวที่แท้จริงของความขัดแย้งระหว่าง สถาบันกษัตริย์กับระบอบประชาธิปไตยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นสลับซับซ้อนแค่ไหน มีเหตุผล ที่แท้จริงเป็นอย่างไรกันแน่ ถ้าเป็นเช่นนั้นเราจะตัดสินเรื่องดังกล่าวอย่างยุติธรรมได้อย่างไร 7
กระทรวงศึกษาธิการพยายามบิดเบือนความหมายของประชาธิปไตยให้มารับใช้ลัทธิกษัตริย์นิยมชาตินิยมอยู่ตลอดเวลา เช่น อ้างว่าความสามัคคีและการมีคารวะต่อผู้ที่เหมาะสมเป็นคุณธรรมของ ประชาธิปไตย เป็นต้น ดูความพยายามนี้ได้ในหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาระดับประถมทั่วไป 8
27
กิจกรรมการวิเคราะห์สังคม กิจกรรมทางการเมือง หนังสือที่มีเนื้อหาก้าวหน้าจานวนมากมายถูกแปล มาเป็นภาษาไทย ช่วยตอบคาถามเรื่องชีวิต คุณค่าของชีวิต และบทบาทของคนหนุ่มสาวต่อสังคม คาตอบไม่ว่าจะเป็นแนวจิตนิยม เสรีนิยม สังคมนิยม หรือแม้แต่คาตอบจากพุทธศาสนา อย่างของท่าน พุทธทาสภิกขุ ก็ช่วยกันร่วมสร้างความเข้มแข็งทางปัญญาและจิตวิญญาณให้กับคนหนุ่มคนสาว นักศึกษาทุกคนในยุคนั้นรู้จักหนังสือโจนาธาน ลิฟวิงสตัน นางนวล ของริชาร์ด บาค (Richard Bach) ซึ่งเป็นหนังสือที่มียอดขายสูงสุดในอเมริกาในขณะนั้น พวกเขารู้จักว่าโจนาธานคือ นกนางนวลผู้เป็นตัวแทนของผู้มีวิญาณเสรีทุกคน เขาคือผู้ที่ยอมที่จะแตกต่างจากผู้อื่น และเป็นกบฏ ต่อสังคม เพราะโจนาธานถามตัวเองว่า ความหมายของชีวิตคืออะไร เขาควรจะบินเพื่อกิน หรือเขา ควรจะบินเพื่อบิน? ซึ่งก็คือการถามว่ามนุษย์ควรจะใช้ปัญญาเพื่อแสวงหาทรัพย์สินเงินทอง หรือเพื่อ การเติบโตของปัญญาเอง? และอะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างเราและมนุษย์ผู้อื่น? โจนาธานพบว่า การบินทาให้เขามีอิสระจากฝูง แต่ด้วยความรักที่เขามีต่อผู้อื่นเขาก็กลับเข้าไปสู่ฝูงเพื่อปลดปล่อยนก นางนวลตัวอื่นต่อไป หมายความว่าสาหรับมนุษย์ ปัญญาทาให้เรามีอิสระจากพันธนาการของสังคม และด้วยความรัก เราย่อมกลับเข้ามาสู่สังคมเพื่อปลดปล่อยผู้อื่นต่อไป ดังนั้นด้วยความรักและเสรีภาพ เท่านั้นที่ชีวิตเราจะมีค่าอย่างแท้จริง ในชั้นเรียนวิชาปรัชญาในมหาวิทยาลัย วรรณกรรมที่มีค่าสูงสุดของโลกตะวันตกคือ บท สนทนาของโสกราตีส ได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาไทย โดย สุลักษณ์ ศิวรักษ์ พินิจ รัตนกุล และคน อื่นๆ ทาให้นักศึกษาจานวนมากในยุคนั้นได้รู้จักโสกราตีส นักปรัชญาผู้ยอมตายเพื่อสร้างปัญญา ให้แก่สังคม และทาให้นักศึกษาในสมัยนั้นรู้จักความหมายของคาว่า “ความกล้าหาญทางศีลธรรม” ซึ่ง หมายถึงความกล้าหาญที่จะแก้ไขสิ่งที่ตนเห็นว่าผิด สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (หรือ ส ศิวรักษ์) เป็นผู้ที่มี บทบาทสาคัญเป็นพิเศษต่อการสร้างบรรยากาศทางภูมิปัญญาของยุคสมัย ด้วยการเป็นบรรณาธิการ ของวารสารสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ซึ่งนาแนวคิดและทฤษฎีทางสังคมเศรษฐกิจการเมืองของ ตะวันตกมาวิเคราะห์วิพากษ์สังคมไทย จุดศูนย์กลางการวิเคราะห์วิพากษ์ระบบเศรษฐกิจสังคมและ การเมืองไทยขณะนั้น คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งตามรั้วและกาแพงตึก จะเต็มไปด้วยโปสเตอร์ วิพากษ์ระบบการเมืองและเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ของไทยกับสหรัฐอเมริกา จนหาที่ว่างไม่ได้ ความรู้ในเรื่องดังกล่าวกระจายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ในบรรดาหนังสือที่มีการวิเคราะห์ทาง การเมืองทั้งหลาย และมีการตีพิมพ์หนังสือทางการเมืองแนวสังคมนิยมอย่างมากมาย และยิ่งไปกว่า นั้น การเติบโตทางปัญญาของนักศึกษาเกิดควบคู่ไปกับการเติบโตทางอารมณ์ และจิตวิญญาณแบบ มนุษยนิยม (humanism) จากอิทธิพลของงานเขียนของกวีเอกผู้เป็นผู้นาทางจิตวิญญาณของโลกอย่าง คาลิน ยิบรานและ กฤษณมูรติ รวมถึง รพินทรนาถ ฐากูร ที่ได้รับการแปลมาเป็นภาษาไทยในยุคนั้น
28
อีกสิ่งหนึ่งที่จะต้องถูกกล่าวถึงก็คือความรู้สึกเรื่องชนชั้น และการเกิดขึ้นของวรรณกรรมและ ศิลปะ “เพื่อชีวิต” ซึ่งที่จริงมีอยู่มาก่อนหน้ามานานแล้ว คือ ในงานวรรณกรรมของศรีบูรพา หรือ กุหลาบ สายประดิษฐ์ และในงานของจิตร ภูมิศักดิ์ หรือแมกซิม กอร์กี้ ฯลฯ นักเขียนเหล่านี้ได้แรง บันดาลใจจากแนวความคิดของคาร์ล มาร์คซ์ (Karl Marx ค.ศ.1818-83) ซึ่งเป็นผู้ให้กาเนิดอุดมการณ์ คอมมิวนิสต์ มาร์คซ์วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง “ชนชั้น” สองชนชั้น คือ ชนชั้นผู้ถือครอง ทรัพยากร และชนชั้นผู้ใช้แรงงาน ว่ามีการกดขี่ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบกันอย่างไรบ้าง แนวคิดของ มาร์คซ์เป็นทั้งทฤษฎีและอุดมการณ์ทางสังคม เป็นทฤษฎีในแง่ที่ว่าให้คาอธิบายต่อการเปลี่ยนแปลง ทางประวัติศาสตร์ และต่อปรากฏการณ์ทางสังคมบางอย่าง เป็นอุดมการณ์คือชี้นาว่าสังคมควรจะ เปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพอย่างไร ด้วยวิธีการอย่างไร นักเรียนนิสิตนักศึกษาจานวนมากไม่เคยศึกษา แนวคิดของมาร์คซ์ตรงๆ แต่อิทธิพลของวรรณกรรมของนักเขียนดังกล่าว และบทเพลงเพื่อชีวิต อย่างเช่นบทเพลง “คนกับควาย” ของวงคาราวานทาให้เขาสามารถนิยามตนเอง หรือตอบคาถามว่า “ฉันคือใคร” ด้วยคาตอบที่แสดงออกถึงความรู้สึกผูกพันต่อชนชั้นกรรมกรและชาวนา “ฉันคือผู้ที่จะ ต่อสู้เคียงข้างชนชั้นผู้ถูกกดขี่” ทั้งหมดที่ได้กล่าวมา คือสิ่งที่หล่อหลอมให้นักเรียนนิสิตนักศึกษาไทยมีจิตสานึกต่อสังคม และมีจิตวิญญาณที่แสวงหาความหมายของชีวิตอย่างเสรี มีปัญญาเสรี รักความเป็นธรรม บูชาเสรีภาพ และความเสมอภาค และเมื่อรับรู้ปัญหาความสัมพันธ์ทางแรงงานที่เอารัดเอาเปรียบในระบบทุนนิยม ประชาธิปไตย นักศึกษาจึงเข้าร่วมกับกรรมกรและชาวนาต่อสู้เรียกร้องขอความเป็นธรรมจากการถูก กดขี่ต่างๆ สนับสนุนการประท้วงและการนัดหยุดงานที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่ ขัดแย้งโดยตรงต่อผลประโยชน์ของชนชั้นสูง นายทุนและทหารซึ่งผูกพันอิงอาศัยกันอยู่ แต่ยัง สั่นคลอนและรบกวนวิถีชีวิตของชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ อย่างหนักด้วย ชนชั้นสูงและนายทุน พยายามเอาชนะกรรมกรและชาวนาด้วยวิธีการลอบสังหารตัวผู้นา ซึ่งเสียชีวิตไปรวมกว่าสองร้อยคน สาหรับฝ่ายนักศึกษา ฝ่ายทหารใช้ระบบการประชาสัมพันธ์ของรัฐคือ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ ปลุก ระดมทางการเมืองให้ประชาชนทั่วไปเกิดความเกลียดชังนักศึกษา ด้วยการกล่าวหาว่านักศึกษากาลัง ทางานร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพื่อยึดอานาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฝ่ายทหาร ร่วมกับสถาบันชั้นสูงได้จัดสร้างกองกาลังลูกเสือชาวบ้านไว้เป็นฐานมวลชน อ้างว่าไว้เพื่อต่อสู้กับ คอมมิวนิสต์ แต่ที่จริงแล้วตั้งขึ้นเพื่อทาลายนักศึกษา เพลงปลุกใจของฝ่ายขวาอย่างเช่นเพลง “เราสู้” และเพลง “หนักแผ่นดิน” ถูกเปิดในสถานีวิทยุของรัฐเพื่อกลบเสียงเพลง “เพื่อชีวิต” จนในที่สุดก็ นาไปสู่เหตุการณ์ “ขวาพิฆาตซ้าย” ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เมือ่ ทหาร ตารวจ และลูกเสือ ชาวบ้านและชนชั้นกลางในกรุงเทพ บุกเข้าฆ่านักศึกษาในธรรมศาสตร์ ซึ่งผู้อ่านควรจะค้นหา รายละเอียดของเหตุการณ์เพิ่มเติมด้วยตัวเอง ค้นหาถึงบทบาทของสถาบันต่างๆ ของสังคม ในการ
29
ต่อสู้ดังกล่าว จากพยานหลักฐานและตัวบุคคลผู้รู้เห็นเหตุการณ์นี้ซึ่งยังมีอยู่มากมาย โหดร้ายป่าเถื่อนของเหตุการณ์ก็ยังสามารถหาดูได้
ภาพความ
สิ่งหนึ่งที่จะต้องกล่าวถึง ในเรื่องของการต่อสู้ระหว่างฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาในประเทศไทย ก็ คือไม่มีสถาบันไหนในสังคมที่สามารถอ้างตนว่าบริสุทธิ์ ปลอดพ้นจากการเลือกฝ่ายเข้าร่วมต่อสู้ ทางการเมือง คาเทศนาของพระสงฆ์ที่ว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” ก็เกิดขึ้นในเวลานี้ สาหรับเรา นี่ก็ คือการที่รัฐทาลายพลังทางการเมืองของนักศึกษาไทย ด้วยการฆ่าและจับกุมคุมขัง เช่นเดียวกับการ ปราบกบฏ ทั้งๆ ที่นักศึกษาเพียงแค่ร่วมเรียกร้องเพื่อสร้างให้เกิดความเป็นธรรมแก่กรรมกรและ ชาวนา มิได้มีกาลังอาวุธต่อสู้กับรัฐเพื่อล้มล้างอานาจรัฐเหมือนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่ กาลังต่อสู้อยู่ในป่าแต่ประการใด นักศึกษาจานวนมากจึงถูกบังคับให้ต้องหนีเข้าป่าไปร่วมกับพรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยไปจริงๆ มีการโฆษณากล่าวหาว่านักศึกษาซ่อนอาวุธไว้ในธรรมศาสตร์ แต่เมื่อบุกเข้าไปแล้วก็ไม่ได้พบอาวุธใด จึงเป็นการกล่าวหาเพื่อที่จะได้ใช้อาวุธเข้าเข่นฆ่านักศึกษา เท่านัน้ ในการเข่นฆ่าทาลายนักศึกษานี้ รัฐไม่ได้กระทาดังกล่าวแต่เพียงลาพัง หากแต่อาศัยพลังของ ประชาชนที่ฝักใฝ่ฝ่ายขวาเป็นเครื่องมือ ซึ่งมีลูกเสือชาวบ้านเป็นหลัก โดยการกล่าวหานักศึกษาว่าเล่น ละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทั้งที่ที่จริงแล้ว เป็นละครแสดงการถูกฆ่าแขวนคอของคนงานการ ไฟฟ้า ที่เกิดจากการเดินทางกลับเข้ามาในประเทศเทศไทยของอดีตทรราชย์ถนอม นี่คือการใช้ลัทธิ กษัตริย์นิยมมาบิดเบือนความเป็นจริงเพื่อเรียกประชาชนฝ่ายขวามาฆ่านักศึกษา ด้วยเหตุที่เหตุการณ์นี้เกี่ยวพันธ์ไปถึงบุคคลชั้นสูงของสังคมนั่นเอง ทาให้รายละเอียดของ เหตุการณ์นี้จึงถูกปิดบังต่อคนรุ่นหลังมาโดยตลอด9 นี่คือการทาลายประชาธิปไตยเพื่อไม่ให้ชนชั้น ล่างได้มีปากเสียงเรียกร้องเอาสิ่งที่เป็นสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากชนชั้นบน หลังเหตุการณ์นี้แล้ว ประเทศก็กลับไปสู่ลัทธิเผด็จการทหารอีกครั้งหนึ่ง แต่ทหารก็ปรับตัวด้วยการผ่อนคลายให้เป็น “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” (คือมีสภามาดูและควบคุมการบริหารประเทศของรัฐบาล แต่สมาชิกสภามา จากการแต่งตั้งทั้งหมด) ประเทศไทยตกอยู่ใต้ระบอบการปกครองแบบกึ่งเผด็จการกึ่งประชาธิปไตย เป็นเวลานานกว่าสิบห้าปี กว่าจะเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยแบบ “เต็มใบ” ในที่สุด แต่ผลที่ต่อเนื่องจาก วันนั้นมาจนถึงปัจจุบันก็คือ การทาลายสหภาพแรงงาน สหพันธ์ชาวไร่ชาวนาต่างๆ ซึ่งก็คือการ
คุณควรหารายละเอียดเกี่ยวกับตัวบุคคลดูด้วยว่าใครมีบทบาทอะไรบ้าง ทั้งก่อนหน้าและภายหลังการ ฆาตกรรมหมู่นี้ ใครที่ได้ดิบได้ดีขึ้นมา และนอกจากรัฐสภาและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องถูกล้มลงไป แล้ว มีใครอีกบ้างที่ต้องสูญเสียตาแหน่งเพราะไปเห็นใจฝ่ายนักศึกษา และไปแสดงความจริงให้สาธารณชนรู้ ฯลฯ คุณจะได้รู้ความจริงที่เหลือเชื่อหลายๆ อย่าง เช่น นายทหารบางคนได้ดิบได้ดีขึ้นเป็นสูงถึงระดับ องคมนตรี อย่างทันทีทันใด 9
30
ทาลายโอกาสที่จะเกิดพรรคการเมืองของประชาชนชั้นล่างขึ้นนั่นเอง การเมืองปัจจุบันจึงเป็นเกมของ นายทุนเพียงฝ่ายเดียว ประชาชนชั้นล่างมีฐานะเป็นเพียงฐานเสียงให้กับการเลือกตั้งเท่านั้น10 ในเรื่องของจิตสานึกของผู้คนนั้น เราจะไม่เข้าใจว่าโลกในยุคปัจจุบันอยู่ในสภาพของความ ไร้อุดมการณ์อย่างที่เป็นอยู่นี้ได้อย่างไร ถ้าไม่เข้าใจการต่อสู้ระหว่างสองค่ายอุดมการณ์ของโลก คือ ระหว่างค่ายโลกเสรีทุนนิยมและค่ายโลกคอมมิวนิสต์ และถ้าเราไม่เข้าใจถึงสาเหตุของความพ่ายแพ้ ของฝ่ายหลัง ฉะนั้นขอให้เรามาดูสองประเด็นนี้ให้ดี เหตุผลหลักที่อดีตคอมมิวนิสต์ทั้งหลายไม่พยายามตั้งพรรคการเมือง แม้เมื่อการต่อสู้กันด้วยกาลังอาวุธ จบลง และพวกเขาก็ออกมาจากป่ากันแล้ว ก็คือการยอมรับว่าฐานมวลชนของตนถูกลัทธิกษัตริย์นิยมชาตินิยมทาลายลงแล้วอย่างราบคาบ จึงทางานแค่ในแนวทางแบบเอ็นจีโอเท่านั่น แต่ในปัจจุบันเมื่อ สถานการณ์ของระบบประชาธิปไตยแบบผูกขาด ของนายทุน พาไปสู่ความขัดแย้งของผลประโยชน์ในชาติ อย่างรุนแรง เพราะอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรถูกหาว่าเป็นศัตรูของชาติ และลัทธิกษัตริย์นิยมชาตินิยมจึงถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรง มวลชนแบ่งตนเองออกเป็นสีเหลืองและสีแดง เราจึงได้เห็นบทบาท ของอดีตคอมมิวนิสต์ทั้งหลายอีกครั้งหนึ่ง และเป็นบทบาทที่ลึกซึ้งอย่างไม่น่าเชื่อ คือสามารถสร้างตนไป เป็นผู้นาของกลุ่มคนทั้งสองสีได้อย่างไม่ใครสงสัยในเจตนา และแม้สงสัยก็ไม่มีใครอาจทาอะไรได้ เพราะ อดีตคอมมิวนิสต์เหล่านั้นกาลังเล่นเกมไปตามตรรกะเหตุผลของกลุ่มคนทั้งสองสีอย่างสมบูรณ์ เพียงแค่พวก เขากาลังช่วยเหลือให้เกมมันเดินทางไปสู่จุดจบที่ควบคุมไม่ได้ แต่ทว่าพวกเขาเชื่อว่า จะเป็นสภาพสังคมที่ดี กว่าเดิม ที่จะเป็นไปเอง ตามพลังของความขัดแย้งเชิงประวัติศาสตร์ หรือตามสิ่งที่เรียกว่า “วิพากษวิธีเชิง ประวัติศาสตร์” ที่เสนอไว้โดยเฮเกิล (Hegel, Friedrich. ค.ศ. 1770-1831) ผู้ซึ่งเป็นนักปรัชญาแนวจิตนิยม ที่ คาร์ล มาร์คซ์นาแนวคิดมาพัฒนาเป็นทฤษฎีทางสังคมวิทยาและเศรษฐศาสตร์การเมืองของเขา ซึ่งทาให้ กล่าวได้ว่าลัทธิคอมมิวนิสต์นั้นมีทั้งมาร์คซ์และเฮเกิลเป็นบิดา 10
วิพากษวิธแี ปลมาจากคาว่า dialectic เดิมใช้อธิบายขั้นตอนของพัฒนาการทางการคิดด้วยกระบวนการ ของเหตุผล ที่มีความขัดแย้งเป็นตัวผลักดัน และมีลักษณะเป็นวงจร คือ มีการนาเสนอความคิดเบื้องต้น การ ค้นพบข้อขัดแย้งเบื้องต้น การเปลี่ยนไปสู่ความคิดที่ดีกว่าที่ตอบข้อขัดแย้งนั่นได้ การค้นพบข้อขัดแย้งที่ ละเอียดยิ่งขึ้น การเปลี่ยนไปสู่ความคิดที่ดีกว่าที่ตอบข้อขัดแย้งที่ละเอียดยิ่งขึ้นนั้นได้ วนเป็นวงจรไปได้ เรื่อยๆ โดยความคิดอาจพัฒนาไปอย่างไม่รู้จบ แต่ก็จะได้ความเข้าใจที่สูงขั้นขึ้นเรื่อยๆ วิพากษวิธีตรงกับสิ่งที่ เรียกว่า “วิธีการของโสกราตีส” เพราะปรากฏในประวัติศาสตร์ทางความคิดของตะวันตกอย่างชัดเจนที่สุด เป็นครั้งแรก ในการคิดทางปรัชญาของโสกราตีส วิพากษวิธเี ชิงประวัติศาสตร์ คือแนวคิดของเฮเกิลที่เชื่อว่า จิตสานึกของมนุษย์ทุกคน ถูกกาหนดร่วมกัน โดยเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ และจิตสานึกที่มีร่วมกันนี้จะพัฒนาดีขึ้นไปอย่างเป็นขั้นตอน ไปตามการพลัง การผลักดันของความขัดแย้งและการแก้ไขความขัดแย้ง ในความสัมพันธ์ของมนุษย์ในการอยู่ร่วมกันเป็น สังคม
31
อุดมการณ์ (ideology) คืออะไร? อุดมการณ์คือการยึดมั่นในคุณค่า (value) ของบางสิ่ง บางอย่างว่าเป็นสิ่งที่จะต้องประกันหรือสร้างให้เกิดมีขึ้น โดยเลือกวิถีทางที่อาจทาลายคุณค่าอื่น ใน ฐานะอุดมการณ์ทางการเมือง คุณค่าสองอย่างอันได้ แก่ “เสรีภาพ” และ “ความเสมอภาค” กลายมา เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน คือ สิ่งหนึ่งยืนยันความถูกต้องของตนเองด้วยการลดทอนคุณค่าของอีกสิ่งหนึ่ง กล่าวคือ เสรีภาพยืนยันความมีคุณค่า ความเป็นสภาวะที่น่าปรารถนาของเสรีภาพ ด้วยการกาหนดว่า ปัจเจกบุคคลจะต้องมีเสรีภาพที่จะครอบครองและใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ตนครองครอง ได้อย่างไม่มี ขอบเขตจากัด คือไม่ยอมให้แนวคิดเรื่องความเสมอภาคมาเป็นข้อจากัดของเสรีภาพ ซึ่งนี่ก็คือการ ลดทอนคุณค่าและความหมายของความเสมอภาคลงจนมีค่าเท่ากับศูนย์ กลายเป็นระบบแบบมือใคร ยาวสาวได้สาวเอา ในทางตรงกันข้าม ความเสมอภาคเองก็ยืนยันความมีคุณค่า ความน่าปรารถนาของ ความเสมอภาค ด้วยการกาหนดว่าทุกคนในสังคมเป็นเจ้าของทรัพยากรและทุกสิง่ ทุกอย่างร่วมกัน ปัจเจกบุคคลต้องอยู่ใต้อานาจของสังคม ไม่มีอานาจที่จะแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติมาผลิต หรือ สร้างสิ่งใดเพื่อประโยชน์สุขของตัวเองตามลาพัง นี่สามารถนาไปสู่การลดทอนคุณค่าและความหมาย ของเสรีภาพลงจนมีค่าเท่ากับศูนย์ คือจนปัจเจกบุคคลไร้แม้เสรีภาพที่จะคิด พูด ทา ในสิ่งที่เป็นความ คิดเห็นหรือความสุขส่วนตน ในความเป็นจริง มนุษย์ต้องการทั้งเสรีภาพและความเสมอภาค แต่ใน ฐานะอุดมการณ์ มนุษย์พยายามมุ่งสร้างสิ่งที่ตนให้น้าหนัก จนละเลยที่จะค้นหาจุดที่คุณค่าทั้งสอง อย่างจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล อุดมการณ์จึงแอบซ่อนวิธีการมองโลกอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เห็นสิ่งต่างๆ ในโลกแต่เพียงแง่เดียว ในการวิเคราะห์นี้ เราได้เห็นว่า “โลก” ถูกกาหนดนิยามด้วยความคิดเกี่ยวกับเรื่องสิ่งที่มีค่า ความแตกต่างระหว่างสองโลกคือความแตกต่างระหว่างคุณค่า แต่ในการยืนยันและการสร้างโลกตาม อุดมการณ์ให้เป็นจริง การต่อสู้ของทั้งสองอุดมการณ์ก็ได้ให้บทเรียนที่เจ็บปวดต่อมนุษย์ชาติ ใน ประเทศไทย ในเหตุการณ์ 6 ตุลา เราได้เห็นการฆ่ากันด้วยความโกรธแค้นชิงชังอย่างป่าเถื่อนของขวา พิฆาตซ้าย ซึ่งเกิดขึ้นที่สนามหลวงและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในประเทศกัมพูชาเราได้เห็นการฆ่า กันอย่างป่าเถื่อนยิ่งกว่าหลายเท่าตัว มีคนตายเป็นจานวนล้านใน “ทุ่งสังหาร” ซึ่งเป็นซ้ายพิฆาตขวาที่ รุนแรงที่สุดที่มนุษย์ชาติได้เห็น โชคดีที่การต่อสู้ระหว่างสองอุดการณ์นี้ มิได้จบลงด้วยการที่ฝ่ายหนึ่ง ทาลายอีกฝ่ายหนึ่งจนหมดสิ้น แต่เป็นความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้นจากปัญหาภายในของตัวอุดมการณ์เอง โลกคอมมิวนิสต์พ่ายแพ้ไปเพราะความเบื่อหน่าย ความไม่มีความสุขของประชาชน ความไม่ พอใจต่อสภาพที่เป็นไปในโลกคอมมิวนิสต์เอง อะไรบางอย่างในวิถีของการสร้างสังคมที่เสมอภาค กลับทาลายไม่เพียงแต่เสรีภาพ แต่ทาลายข้ามไปจนถึงตัวความเสมอภาคเองด้วย ประเทศคอมมิวนิสต์ เกือบทั้งหมด กลายเป็นประเทศเผด็จการ มีชนชั้นที่แบ่งแยกระหว่างประชาชนและพรรคที่มีหนึ่งเดียว พรรคคอมมิวนิสต์จีนเองกลับกลายเป็นทรราชย์ที่รุกรานยึดครองประเทศอื่น และเข่นฆ่านักศึกษาที่ เรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตย หรือมิเช่นนั้นอานาจที่ควรจะเป็นของมวลชนกลับถูกยึดถือไว้ที่
32
ผู้นาพรรคเพียงคนเดียว เช่น ที่ประเทศคิวบา หรือถ่ายเทกันในระหว่างคนใกล้ชิดและวงศ์สกุลแบบ เดียวกับระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างเช่นในประเทศเกาหลีเหนือ กล่าวได้ว่าประเทศ คอมมิวนิสต์ถ้าไม่เปลี่ยนมาเป็นประชาธิปไตยก็กลายเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ ทางใดทางหนึ่งเท่านั้น ไม่มีประเทศคอมมิวนิสต์ใดเลยที่พัฒนาสังคมไปสู่ความเสมอภาคอย่างสมบูรณ์ และกลายมาเป็น ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ตามอุดมการณ์ของลัทธิมาร์คซ์ มีการวิเคราะห์ความผิดพลาดของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ไปในหลายทาง มี 3 ทางหลักๆ คือ หนึ่ง ในระดับอภิปรัชญา ลัทธิคอมมิวนิสต์ถูกกล่าวหาว่าขัดต่อธรรมชาติธาตุแท้ของมนุษย์ที่มีความ เป็นปัจเจก ต้องการครอบครองและมุ่งแสวงหาประโยชน์ใส่ตนเป็นหลัก เมื่อถูกจากัดสิทธิในการ ครอบครองก็ไม่มีแรงจูงในการทางาน ดังนั้นจึงล้าหลังโลกเสรีนิยม-ทุนนิยม สอง ในระดับรัฐศาสตร์ ทฤษฎีทุนนิยมโดยรัฐ (State Capitalism) ที่เสนอไว้โดยนักคิดฝ่ายคอมมิวนิสต์เองก็วิเคราะห์และ ทานายไว้ล่วงหน้าว่า การทาสงครามต่อสู้กับโลกเสรีจะทาให้ประเทศคอมมิวนิสต์กลายเป็นประเทศ ทุนนิยมโดยรัฐ คือรัฐจะกลายเป็นผู้ครอบครองทุนและขูดรีดแรงงานของประชาชนมาผลิตอาวุธเพื่อ แข่งขันอานาจทางการทหาร และอานาจในแง่อื่นๆ กับประเทศเสรีนิยมทุนนิยม แทนที่จะใช้แรงงาน ของประชาชนและทรัพยากรมาผลิตเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนเอง สาม ในระดับจิตวิทยา การ วิเคราะห์ทางจิตวิทยาว่าด้วยเรื่องอานาจ ชี้ว่าแนวคิดเรื่องการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมโดยการใช้ กาลังอาวุธยึดอานาจและทาลายฝ่ายขวา ตามแนวทางแบบเหมาและสตาลิน แสดงแรงขับของความ โกรธแค้นเกลียดชัง ซึ่งสามารถนาพาไปสู่ลัทธิอานาจนิยม (authoritarianism) ลัทธิคลั่งผู้นาและระบบ เผด็จการ (fascism) จึงไม่สามารถพาไปถึงอุดมการณ์อันบริสุทธิ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ได้11 ในทั้งสามทฤษฎีนั้น ทฤษฎีสุดท้ายมีสถานะที่ดีที่สุด ทฤษฎีแรกอิงอาศัยความเชื่อทางอภิปรัชญาที่ไร้ พื้นฐานว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับธรรมชาติที่เห็นแก่ตัว เป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ว่าความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ แต่ละคนนั้นได้มาแต่กาเนิด หรือถูกสร้างขึ้นโดยสังคม ทฤษฎีที่สองทาให้เกิดคาถามว่ารัฐคอมมิวนิสต์เกิด ความต้องการที่จะแข่งอานาจกับรัฐทุนนิยมขึ้นมาได้อย่างไร ถ้าถือว่าเป็นการสะท้อนความต้องการทั่วไป ของคนที่มีอานาจอยู่ในสังคมคอมมิวนิสต์ ก็เท่ากับเปิดทางให้ทฤษฎีที่สาม ทฤษฎีที่สามถามคาถามที่ตรงกับ คาถามของเราในบทที่แล้วว่า การเอาชนะความชั่วด้วยความชั่ว คือด้วยอานาจและความรุนแรงนั้นจะสร้าง ความดีที่ถาวรได้อย่างไร การกระทาเช่นนั้นเกิดจากแรงขับของความโกรธแค้นและความกระหายอานาจ มากกว่าความต้องการความดี ความดีและความถูกต้องที่ใช้อ้างเพื่อเป็นเหตุแห่งการปฏิวัติ อาจเป็นเพียง เหตุผลที่เขาใช้ปิดบังความกระหายอานาจเท่านั้นก็เป็นได้ เหมือนอย่างความดีจอมปลอมในระบบโซตัส ยิ่งกว่านั้น ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ในสังคมทุนนิยม ก็อาจเป็นผลผลิตของความกระหายอานาจที่สังคมชน ชั้นก่อนหน้าสังคมทุนนิยมประชาธิปไตยสร้างให้เกิดขึ้นก็เป็นได้ และอย่างน้อยที่สุดก็เป็นไปอย่างเต็มที่ ที่ จะมีนักปฏิวัติตามลัทธิคอมมิวนิสต์ที่จะเป็นนักอนุลักษณ์นิยมทางศีลธรรม คือเป็นนักศีลธรรมแบบอานาจ นิยมไปพร้อมๆ กัน เช่น เห็นว่าไม่ว่าอย่างไรลูกก็ไม่ควรเถียงพ่อแม่ ซึ่งหมายความว่าเขาอาจโกรธแค้นต่อ 11
33
เมื่ออุดมการณ์คอมมิวนิสต์ปิดฉากลงไปเพราะปัญหาในตนเอง พลังทางการเมืองของคน หนุ่มสาวและของประชาชนทั้งโลกจึงอ่อนลง การต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขสังคมจึงมีลักษณะ กระจัดกระจายไปตามลักษณะผิวหน้าของปัญหา เช่น กลายเป็นการต่อสู้กับปัญหาสิ่งแวดล้อม สิทธิ ของคนกลุ่มน้อย ปัญหาทางสาธารณะสุข เป็นต้น ในสังคมไทย พลังของนักศึกษาถูกทาลายลงอย่างสมบูรณ์ แต่ในสังคมตะวันตก พลังของ นักศึกษาเพียงแค่อ่อนแอลงไปเพราะความพ่ายแพ้ของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์เท่านั้น ตัวอย่างของพลัง ของนักศึกษาที่ยังคงอยู่ในสังคมตะวันตก ก็อย่างเช่น นักศึกษาออสเตรเลียรณรงค์เพื่อสนับสนุนสิทธิ ในการกาหนดตนเองของชาวติมอร์ตะวันออก ต่อต้านบริษัทเนสท์เลที่แจกนมผงให้โรงพยาบาลใน โลกที่สาม เพื่อให้แจกให้กับหญิงที่มาทาคลอด เพื่อให้แม่เลี้ยงทารกที่เกิดใหม่ด้วยนมผงแทนนม มารดา ซึ่งทาให้เกิดปัญหาสุขภาพแก่ทารก เป็นการแสวงหากาไรอย่างไร้ความรับผิดชอบต่อสังคม นักเรียนนักศึกษาในทวีปยุโรปจานวนกว่าล้านคนออกมาเดินขบวนต่อต้านสงครามอิรัก และใน ประเทศอังกฤษ นักเรียนนักศึกษาในขบวนการต่อต้านสงครามได้ร่วมเป็นสมาชิกพรรคเรสเปค (Respect Party) เป็นต้น ดังนั้น คาถามสุดท้ายของเราก็คือ รัฐไทยทาลายพลังของนักศึกษาลงอย่างสมบูรณ์ได้อย่างไร ทาไมเวลาผ่านไปแล้วถึง 30 ปี พลังของนักศึกษาไทยจึงไม่ค่อยๆกลับฟื้นตัวขึ้น วิธีที่รัฐไทยทาลาย พลังของนักศึกษาก็คือ 1) ตัดขาดนักเรียนนิสิตนักศึกษาจากกิจกรรมทางการเมือง โดยการใช้อานาจคณะปฏิวัติ บังคับห้ามนักศึกษาจัดกิจกรรมทางเมืองที่ขัดแย้งกับแนวทางการบริหารประเทศของรัฐ อนุญาตให้จัด ได้เฉพาะกิจกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาสังคมตามแนวทางของรัฐ ได้แก่ ค่ายอาสาพัฒนาชนบท เท่านั้น ปัจจุบัน แม้นักศึกษามีอิสระที่จะจัดกิจกรรมทางการเมือง แต่กิจกรรรมค่ายอาสาพัฒนา ก็ยังคง เป็นกิจกรรมทางสังคมกิจกรรมเดียวที่นักศึกษาไทยยุคปัจจุบันกระทา 2) ปล่อยให้วิถีชีวิตของระบบทุนนิยมที่มีเงินเป็นพระเจ้า สลายจิตสานึกทางสังคมของ นักศึกษาลงไปเอง สนับสนุนให้นักศึกษาหันกลับไปหากิจกรรมบันเทิง กิจกรรมรับน้องเลี้ยงรุ่น ซึ่ง ทาให้นักศึกษาคิดถึงแต่การแสวงหาความสุขสนุกสนานใส่ตนเอง คิดถึงแต่ผลประโยชน์เฉพาะหน้า สนับสนุนกิจกรรมโซตัสและกิจกรรมเชียร์ ซึ่งก็คือการใช้อิทธิพลของกฎหมู่บังคับให้นักศึกษา การมีชนชั้นทางเศรษฐกิจและชนชั้นทางการปกครอง แต่จิตสานึกของเขาก็ยังคงยอมรับชนชั้นทาง วัฒนธรรมแบบผู้น้อยผู้ใหญ่ เป็นที่รู้กันว่าเอ็นจีโอของไทยซึ่งมาจากอดีตคอมมิวนิสต์ยังมีวัฒนธรรมองค์กร แบบผู้น้อยผู้ใหญ่ ไม่ต่างจากระบบราชการไทย พรรคคอมมิวนิสต์ของจีนเองก็กลายเป็นระบบราชการอัน ใหญ่โตมหึมา มีความเป็นผู้น้อยผู้ใหญ่จนหาความเป็นประชาธิปไตยแทบไม่ได้เลย
34
กลายเป็นพวกนักยอมตาม-นักคล้อยตามสังคม และเตรียมตัวไว้สาหรับการเป็นนักไต่บันไดสังคมใน อนาคต แต่สิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่รัฐไทยกระทาก็คือ 3) ลดคุณภาพของการศึกษาของชาติระดับพื้นฐานลง เพื่อทาลายพลังความสามารถในการคิด ของนักเรียนนักศึกษา ด้วยการบังคับการสอบทุกวิชาของโรงเรียนในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นแบบปรนัย เพื่อทาให้นักเรียนนักศึกษากลายเป็นนักท่องจา ไม่จาเป็นต้องเข้าใจในสิ่งที่ตนเรียน ไม่สามารถคิดอะไรอย่างเป็นเหตุเป็นผล ไม่สามารถคิดอย่างเป็นระบบ และคิดอย่างละเอียดถี่ถ้วน รอบด้าน เพราะมีแต่การสอบแบบอัตนัย การฝึกให้คิดตั้งคาถามโต้เถียงหาคาตอบ เท่านั้น ที่จะสร้าง ความสามารถดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้ จึงไม่น่าประหลาดใจที่ ช่วงเวลาเกือบ 30 ปีที่นักศึกษาไทยไร้ จิตสานึกต่อสังคม จะเป็นช่วงเวลาที่การศึกษาไทยตกต่าอย่างถึงที่สุด ด้วยเช่นกัน12 สรุป นี่คือประวัติศาสตร์การเกิดขึ้นของคนพันธุ์ใหม่ในสังคมไทย ประวัติศาสตร์ของคน หนุ่มสาวผู้ถูกสอนให้ไร้จิตสานึกต่อสังคม ให้เห็นเงินตราเป็นพระเจ้า เห็นความร่ารวยเป็นเป้าหมาย ของชีวิต ซึ่งก็ไม่ได้เป็นความผิดของคนหนุ่มสาวเอง หากแต่เป็นของทหาร รัฐไทย ชนชั้นสูงและชน ชั้นกลางของประเทศไทยในอดีต ที่เห็นดีเห็นงามกับระบบทุนนิยม และเลือกวิธีการต่อสู้เพื่อปกป้อง ระบบทุนนิยมด้วยวิธีทาลายพลังและจิตสานึกทางสังคมของคนหนุ่มสาว ที่จริงแล้ว การต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างชนชั้นบนหรือฝ่ายขวา กับชนชั้นล่างหรือฝ่ายซ้ายเป็น สิ่งที่เกิดขึ้นทุกหนแห่งในโลก ภายใต้การชี้นาของสองอุดมการณ์ คืออุดมการณ์แห่งความเสมอภาค และอุดมการณ์แห่งเสรีภาพในการครอบครองทุน ซึ่งลงเอยด้วยชัยชนะของอุดมการณ์ทุนนิยมตามที่ กล่าวมาแล้ว แต่ในสังคมตะวันตกที่มีระบอบประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า ระบบทุนนิยมไม่ได้ชนะด้วย การที่ชนชั้นสูงและชนชั้นกลาง เข้าร่วมกันทาลายพลังในการต่อสู้เรียกร้องของชนชั้นล่างเหมือนใน ประเทศไทย แต่ด้วยการประนีประนอมกับเสียงเรียกร้องของประชาชนชั้นล่าง ยอมรับนโยบายแบบ สังคมนิยมหรือการเป็น “คอมมิวนิสต์แบบอ่อน” สร้างขึ้นเป็นระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสวัสดิการ ซึ่งหมายถึงการที่รัฐเก็บภาษีแบบก้าวหน้า เอาเงินจากคนรวยมาเลี้ยงคนจน ให้การค้าประกันว่าจะต้อง ไม่มีคนจนที่ถูกทิ้งให้ไร้สวัสดิการในชีวิต ซึ่งหมายถึงการที่ชนชั้นสูงต้องยอมลดทอนผลประโยชน์ และความได้เปรียบของตนลง ซึ่งก็เท่ากับการยอมรับความถูกต้องของความเสมอภาคเท่าเทียมกันใน สังคม ตามอุดมการณ์ของคอมมิวนิสต์ ในระดับหนึ่งนั่นเอง ซึ่งในการยอมประนีประนอมนี้ ชน ชั้นสูงก็ไม่ต้องลดทอนคุณภาพการศึกษาและไม่ต้องเข้าควบคุมความเป็นจริง พลเมืองจึงมีคุณภาพ
สิ่งหนึ่งที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในที่นี้ คือการควบคุมและการบิดเบือนความจริง และการใช้ลัทธิชาตินิยม วัฒนธรรมนิยมสร้างพลเมืองให้หลงชาติหลงวัฒนธรรมตนเอง ด้วยสิ่งที่เราเรียกว่า “อัตลักษณ์ร่วม” นี่เป็น สิ่งที่รัฐทามาโดยตลอด แม้แต่ในระดับอุดมศึกษา เราอาจได้กล่าวถึงเรื่องนี้อีกในอนาคต 12
35
ทางปัญญาสูง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แก้ปัญหาเก่ง ทาให้สามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูง แข่งขัน ในตลาดโลกได้ดี ดังนั้นจึงกลายเป็นว่า แม้ชนชั้นสูงแม้จะเสียภาษีมากขึ้น ก็ไม่ใช่การสูญเสียที่ไม่มีสิ่ง ทดแทน แต่การที่ชนชั้นสูงในสังคมไทยชนะชนชั้นล่างด้วยอานาจเผด็จการ ประเทศไทยจึงยังไม่ กลายเป็นรัฐสวัสดิการ เจ้าของทุนยังคงมีอิสระที่จะเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างด้วยการกดค่าจ้างแรงงาน เพื่อให้ตนเองได้ผลกาไรสูงสุดและร่ารวยมากขึ้นทุกวัน แต่นี่จะเป็นแค่ผลประโยชน์ในระยะสั้นอย่าง แน่นอน เพราะตราบใดที่พลเมืองยังเชื่องและโง่ ด้วยระบบการศึกษาที่เต็มไปด้วยอานาจและความไร้ เสรีภาพ แรงงานก็จะมีคุณภาพต่า ประเทศชาติก็จะอ่อนแอลง และในที่สุดก็จะเป็นผู้แพ้ไล่ตามใครก็ ไม่ทัน นี่เป็นสิ่งที่ชนชั้นสูงที่เป็นนายทุนจะต้องคิดให้ดีว่าตนเองปรารถนาสภาพเช่นนั้นหรือไม่ แต่ประเด็นสาหรับเราก็คือ ในขณะนี้เรามีชีวิตที่พออยู่ได้ และได้เรียนในระดับสูง แต่คนอื่น ที่เป็นคนงานลูกจ้างมีชีวิตอยู่แบบหาเช้ากินค่า มีรายได้เพียงแค่พอมีชีวิตรอด คนจนหากินอยู่ตามข้าง ถนนยังมีให้เราเห็นอยู่มากมาย พวกเขาถูกทิ้งให้เผชิญกับปัญหาความไม่แน่นอนของชีวิตอย่างไม่มี หลักประกันใดๆ ทั้งสิ้น คนพิการไร้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองก็ต้องกลายมาเป็น ขอทานเพราะไร้การค้าประกันปัจจัยสี่ ซึ่งอาจได้รับความช่วยเหลือจากรัฐเพียงแค่ด้วยระบบประชา สงเคราะห์ ซึ่งไม่อาจแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริงเหมือนระบบสวัสดิการ เราในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่พอจะ มีอยู่มีกิน มีชีวิตที่มั่นคงพอสมควรแล้ว จะทาอะไรได้บ้างกับคนที่ประสบเคราะห์กรรมทุกข์ยาก ไร้ที่ พึ่งอยู่ในสังคมเหล่านั้น ควรหรือที่เราจะมัวแต่สนใจแต่อนาคตของตนเองแล้วก็หาความสุขความ บันเทิงไปวันๆ กับกิจกรรมไร้สมองไร้สาระในมหาวิทยาลัย ที่หาประโยชน์อะไรกับคนที่ทุกข์ยาก ไม่ได้เลย เราอาจช่วยเหลือสังคมด้วยการให้เงินขอทาน แต่มีขอทานอีกมากมายที่เราไม่ได้พบเจอ และ เราก็ไม่มีเงินที่จะแจกจ่ายให้กับขอทานทุกคนที่เราพบ ดังนั้นนอกจากการให้เงินขอทานเป็นครั้งคราว แล้ว เรามีอานาจที่จะทาอะไรอื่นอีกบ้างหรือไม่ การทาค่ายอาสาพัฒนาชนบทด้วยการเอาวัตถุไปให้ ชาวบ้านตามหมู่บ้านก็ไม่ต่างอะไรกับการให้เงินขอทาน นี่เป็นสิ่งที่รัฐชอบเพราะมันเข้ากับระบบ ประชาสงเคราะห์ของรัฐ แต่มันไม่เคยแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนชั้นล่างอย่างแท้จริง ที่จริงแล้วในระบบประชาธิปไตย เราทุกคนมีอานาจทางการเมือง การเมืองคืออะไร? การเมืองคือการสร้างความปรารถนาที่เราเองมีต่อตนเองและผู้อื่น ให้กลายเป็นนโยบายของสังคม ด้วยการเข้าร่วมกับคนอื่นๆ ที่คิดเห็นเช่นเดียวกัน สร้างขึ้นเป็นพรรคการเมือง เข้าไปโต้เถียงกับพรรค การเมืองอื่นๆ ในรัฐสภา ดังนั้นการเมืองจึงหมายถึงอานาจในการเปลี่ยนแปลงกฎหมายของประเทศ ด้วยการสร้างพรรคการเมืองที่จะนาความต้องการของเราไปสร้างเป็นกฎหมายบริหารประเทศ ด้วย อานาจนี้เราสามารถช่วยเหลือคนจนและขอทานด้วยการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ให้หันมาเก็บภาษีแบบ
36
ก้าวหน้า คือให้คนรวยเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าคนจน และนาเงินภาษีมาจัดสวัสดิการสังคม ค้า ประกันให้กับประชาชนทุกคนว่าเขาจะมีปัจจัยสี่ในการดารงชีวิต นี่ย่อมจะเป็นสิ่งที่นายทุนและคน รวยไม่ต้องการ หากเขาคิดแต่ผลประโยชน์เฉพาะหน้า เพราะเขาจะแสวงหาประโยชน์ใส่ตนจากทุนที่ เขาครอบครองได้น้อยลงทันที แต่คุณจะเลือกช่วยเหลือผู้ที่เสียเปรียบ หรือนิ่งเฉยเพื่อให้ผู้ที่ได้เปรียบ ยังคงได้เปรียบต่อไป แต่ตราบใดที่รัฐบาลเป็นรัฐบาลของผู้ที่ได้เปรียบทางสังคม และตราบใดที่เขายังคิดถึงแต่ ผลประโยชน์ระยะสั้น เขาก็จะย่อมต้องการให้เราสานึกถึงอานาจทางกฎหมายนี้ในระดับที่น้อยที่สุด คือให้เรารู้สึกว่าเรามีอานาจนี้เพียงหนึ่งวันในสี่ปี คือในวันที่เราออกเสียงเลือกตั้งเท่านั้น เพราะ หลังจากนั้นแล้ว เราก็จะปล่อยชะตากรรมของสังคมไว้ในมือของนักการเมืองอาชีพและเจ้าหน้าที่รัฐ และเขาก็ย่อมไม่อยากให้เราไปร่วมมือกับคนจนสร้างพรรคการเมืองขึ้นมาเอง แต่ให้เราเลือกเอาจาก พรรคที่พวกเขาซึ่งเป็นนายทุนตั้งขึ้นมาให้ประชาชนเลือกเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วเราและประชาชนทุก คนมีอานาจนี้อยู่ทุกวัน เว้นแต่ว่าเราจะไม่รู้สึกเท่านั้น นักศึกษายุค 14 ตุลา 6 ตุลา รู้สึกว่าเขามีอานาจที่ จะเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยการเอาใช้เสรีภาพในการแสดงออกและเข้ารวมกลุ่มเรียกร้องกับผู้เสียเปรียบ พยายามรวมกลุ่มกันทางการเมืองเพื่อจะนาไปสู่การสร้างพรรคการเมืองของคนจน นี่คืออานาจของ ประชาชนทุกคนในระบอบประชาธิปไตย อานาจที่จะแสดงออกเพื่อให้สังคมรับรู้ว่าเขากาลังเผชิญ ปัญหาอะไร อะไรคือสิ่งที่จะทาให้ชีวิตของเขาดีขึ้น และต่อสู้เพื่อที่จะไปถึงสิ่งนั้น ถ้าเราไม่รู้สึกถึง อานาจที่จะช่วยเหลือเปลี่ยนแปลงสังคมมากเท่าที่พวกเขารู้สึก เราคงต้องตั้งคาถามกับตัวเราเองว่า ทาไมจึงเป็นเช่นนั้น และยิ่งถ้าเราเองเป็นผู้ที่กาลังถูกรังแก หรือถูกเอารัดเอาเปรียบ และถูกลิดรอน สิทธิ แต่เรากลับรู้สึกไม่มีอานาจที่จะลุกขึ้นต่อสู้ แสดงออกและเรียกร้องในสิ่งที่เป็นสิทธิของเรา อะไรทาให้เราอ่อนแอได้ถึงขนาดนั้น จาเลยหลักก็คือตัวการศึกษาของรัฐนั่นเอง อานาจทางการเมืองนั่นเชื่อมต่ออยู่กับอานาจในชีวิตประจาวัน ถ้าคุณกลัวครูในฐานะผู้ถือ ครองอานาจ คุณก็จะกลัวคนทุกคนที่ถือครองอานาจ รวมทั้งรัฐด้วย ดังนั้นโรงเรียนในฐานะเครื่องมือ ของรัฐ มีเป้าหมายที่จะทาให้นักเรียนรู้สึกไร้อานาจในตนเองให้มากที่สุด ด้วยการทาให้ห้องเรียนเป็น เสมือนห้องขัง ครูเป็นเสมือนผู้คุมนักโทษ และโรงเรียนเป็นอาณาจักรแห่งความกลัว ซึ่งส่งต่อมาถึง ระดับอุดมศึกษาด้วยระบบโซตัส โดยนักศึกษาเข้ามาเป็นผู้สร้างความกลัวและความอ่อนแอความรู้สึก ไร้อานาจให้แก่กันและกัน โดยมีมหาวิทยาลัยและผู้มีอานาจในสังคมภายนอกคอยให้การสนับสนุน นักศึกษาครูบาอาจารย์จึงกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองของรัฐโดยไม่รู้ตัว ผ่านจิตสานึกแบบ อุปถัมภ์นิยมอานาจนิยม และชัยชนะทางวัฒนธรรมดังที่กล่าวไว้ในบทที่แล้ว เราทุกคนเป็นผลผลิตของกระบวนการของประวัติศาสตร์ พวกคุณถูกสภาพการณ์ทาให้ทั้งไร้ จิตสานึกต่อสังคม และรู้สึกไร้อานาจทางการเมือง และผลก็คือ การมีชีวิตแต่ละวันที่ไร้ค่าไร้สาระโดย
37
สิ้นเชิง ถ้าคุณคิดว่าการเป็นคนดีในระบบโซตัสทาให้คุณมีค่า คุณก็กาลังหลอกตัวเอง ซึ่งก็เพียงเพราะ คุณรู้สึกไร้คุณค่าในตนเอง คุณจึงต้องหาคุณค่าปลอมๆ เอาจากการเป็นที่ชื่นชอบของคนอื่น และ นักศึกษาก็มักจะเป็นเช่นนี้ไปจนเรียนจบ และพวกเขาจะแสดงออกอย่างชัดเจนที่สุด ถึงการที่ต้อง อาศัยความชื่นชอบของคนอื่นมาเป็นเครื่องวัดคุณค่าของตนเอง ก็ในวันพระราชทานปริญญา ซึ่งจะ เป็นวันที่เป็นสัญลักษณ์จริงๆ ของการเป็น “ปริญญาชน” และการเป็น “สัตว์สังคม” แต่นั่นเป็นทางเลือกที่ผิด เพราะมันจะพาไปสู่ชีวิตที่หลอกลวงตัวเองมากขึ้นไปเรื่อยๆ อย่าง ไม่รู้จบ คุณควรปลุกความรักที่คุณสามารถให้ได้ต่อผู้อื่นอย่างบริสุทธิ์ใจ มากกว่าที่จะเรียกร้องความ รักความชื่นชมจากผู้อื่น เพราะค่าที่แท้จริงของชีวิตอยู่ที่การเป็นผู้ให้ด้วยใจบริสุทธิ์ พร้อมกับการใช้ ปัญญาอย่างเต็มที่ เพื่อให้การให้นั้นสร้างคุณค่าที่สูงที่สุด และนี่คือความหมายที่แท้ของคาว่า “ปัญญาชน” “ปัญญาชน”ไม่ใช่คนที่มีแต่หัวใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่น แต่เขาใช้ปัญญาศึกษาปัญหาของ ผู้คน จนเข้าใจสังคมอย่างมากที่สุดเท่าที่เขาจะทาได้ เรียนรู้และแสวงหาปัญญาเพิ่มเติมตลอดเวลา เพื่อให้ความสัมพันธ์ของเขากับผู้อื่นมีความหมายสูงสุดอยู่เสมอ คุณสามารถจินตนาการใช้ชีวิตแบบ อื่นที่มีคุณค่ายิ่งไปกว่านี้ได้หรือไม่13 เราลองมาเป็นปัญญาชนกันดูสักนิด คุณคิดอย่างไรบ้างกับการที่ระบบทุนนิยมได้พัฒนามา จนปัจเจกบุคคลสามารถอ้างกรรมสิทธิ์ในพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ทั้งส่วนที่เป็นของธรรมชาติ และที่ เกิดขึ้นจากผู้ที่มีเทคโนโลยีสูงเข้าไปตัดแต่งเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ปัจเจกบุคคลจะหยุดการถือครอง และใช้ประโยชน์เพื่อผลได้ส่วนตัวของตนเองที่จุดไหน ปัจเจกบุคคลอาจพร้อมที่จะอ้างกรรมสิทธิ์ เหนือดวงดาวและจักรวาล สังคมจะขีดเส้นให้กับอานาจของมนุษย์ที่จะครอบครองเป็นเจ้าของสิ่ง ต่างๆ และสังคมจะสร้างให้เกิดความเท่าเทียมกันที่สูงที่สุดที่เป็นไปได้ได้อย่างไร คุณเห็นไหมว่า บริษัทยาอ้างกรรมสิทธิ์เหนือสูตรยาที่ตนเองคิดค้นขึ้นมา และตั้งราคายาตามความพึงพอใจ จนไม่ สนใจว่าคนในโลกกาลังตายไปวันละมากเท่าไรเพราะยามีราคาแพง จนคนในโลกต้องออกมาร่วมกัน ประท้วงว่าสิทธิในชีวิตของมนุษย์ต้องมีค่าเหนือกว่าสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล แต่บริษัทยาก็ยัง ยืนยันว่า ตามแนวคิดของระบอบทุนนิยมและระบบตลาดเสรี นี่เป็นการละเมิดสิทธิในการแสวงหาผล กาไรสูงสุดของเขา นั่นหมายความว่า ระบบทุนนิยมจะต้องอยู่เหนือศีลธรรมหรืออย่างไร หรือ ไม่เช่นนั้นระบบเศรษฐกิจจะต้องพังพินาศหรืออย่างไร แล้วทุนนิยมที่ไม่มีศีลธรรมคอยควบคุมจะไม่ ทาให้มนุษย์กดขี่กันเองและทาให้โลกพังพินาศดอกหรือ ต่อไปในอนาคตโลกจะเป็นอย่างไร ถ้าทุก คนคิดแต่จะหาประโยชน์สุขสูงสุดให้แก่ตนเองและครอบครองให้มากที่สุด ตามความเชื่อของลัทธิ ทุนนิยม คุณอาจจะคิดว่า การเป็นนักวิชาชีพที่ดี และการเป็นศาสนิกชนที่ดี คือชีวิตที่มีค่าที่สุดแล้ว สิ่งที่พูดมา น่าจะทาให้คุณมองชีวิตของคุณเสียใหม่ เราจะอภิปรายเรื่องนี้กันต่อในบทต่อไป 13
38
และสุดท้าย ถ้าคุณคิดว่าเป้าหมายของชีวิตคือความร่ารวย คุณก็กาลังหลงอยู่ในมายาคติของ โลกทุนนิยม คุณอาจจะคิดว่าเงินทาให้คุณมีความสุข แต่ขอให้คุณรู้ไว้อย่างหนึ่งว่า ความสุขที่ใช้เงิน ซื้อหาเอาได้ จะไม่ทาให้คุณรู้สึกว่าชีวิตของคุณมีคุณค่าอย่างแท้จริงได้เลย และสอง ทุนนิยมเป็นปีศาจ ร้าย โลกกาลังอยู่ในอันตรายเพราะปีศาจตัวนี้ (แม้เราจะไม่อยากทาลายมันให้สิ้นซาก เพราะมันอาจ น่ารักในบางแง่ แต่เราก็ยังต้องหาทางจากัดอานาจมัน) มนุษย์เบียดเบียนกันเองและกาลังทาลายโลก เพราะความหลงในความสุขจากความมั่งคั่งร่ารวย ดังนั้นขอให้คุณคิดถึงอานาจทางการเมืองของคุณ หวงแหนมัน และใช้มันให้เต็มที่ เพราะมันคือหนทางเดียวเท่านั้นที่เราจะใช้แก้ไขโลกนี้ให้ดีขึ้นได้.
39
บทที่ 3 อุดมคติและศีลธรรม Imagine Imagine there's no heaven, It's easy if you try, No hell below us, Above us only sky, Imagine all the people living for today... Imagine there's no countries, It isn't hard to do Nothing to kill or die for, And no religion too, Imagine all the people living life in peace... You may say I'm a dreamer, but I'm not the only one, I hope some day you will join us, And the world will be as one
40
Imagine no possesions, I wonder if you can, No need for greed nor hunger, A brotherhood of man, imagine all the people Sharing all the world... You may say I'm a dreamer, but I'm not the only one, I hope some day you will join us, And the world will live as one By John Lennon จากบทที่แล้ว เราได้เห็นแล้วว่านักศึกษาในสมัย 14 ตุลา มีความกล้าหาญทางศีลธรรม ซึ่ง หมายถึงความกล้าหาญที่จะกระทาในสิ่งที่ตนเองเห็นว่าถูกต้องและมีค่าทางศีลธรรม กล้าหาญที่จะเข้า ต่อสู้เพื่อแก้ไขสิ่งที่ตนเห็นว่าผิด คนเรารู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกสิ่งที่ผิด แต่อาจไม่กล้าหาญพอที่จะเข้าไป ต่อสู้แก้ไข หรือกระทาในสิ่งที่ถูกต้อง ความไร้จิตสานึกและความรู้สึกอ่อนแอไร้อานาจในตนเอง เป็น สิ่งซึ่งทาให้เราขาดความกล้าหาญทางศีลธรรม ซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งที่เราเป็นไปเอง แต่สังคมและ สภาพแวดล้อมที่เราเติบโตขึ้นมาทาให้เราเป็นเช่นนั้น ความไร้จิตสานึกเกิดขึ้นจากการไม่ถูกชักจูงให้คิด ให้พิจารณา ถึงปัญหาและความทุกข์ยาก ของผู้คนในสังคม การถูกชักจูงให้ละเลยที่จะคิดถึงเหตุผลความเป็นจริงต่างๆ ที่สร้างให้เกิดสภาวะ เงื่อนไขที่ทาให้คนในสังคมต้องประสบกับความทุกข์ รัฐอาจใช้อานาจทาลายวรรณกรรม ที่สร้างให้ เกิดจิตสานึกต่อสังคม เพื่อปิดกั้นขัดขวางการคิดและการเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งอาจห้ามพูด ห้ามสอน ห้ามอภิปรายเรื่องการเมือง และพ่อแม่ครูบาอาจารย์เองก็อาจละเลยหรือปิดกั้นเราในเรื่องนี้ เช่นกัน จนเราไร้จิตสานึกรับผิดชอบต่อสังคม
41
ส่วนในเรื่องของความรู้สึกไร้อานาจ ไม่กล้าคิดไม่กล้าทานั้น เกิดขึ้นจากการขาดความเชื่อมั่น ในตนเอง ไม่แน่ใจในความสามารถของตนเอง ไร้ความภาคภูมิใจ ความยกย่องในคุณค่าของตนเอง เราเคยพูดเรื่องวัฒนธรรมมาบ้างแล้วเมื่อเรามองดูความรุนแรงในระบบโซตัส คาถามก็คือ เราเติบโต มาในสังคมที่ใช้อานาจและความรุนแรงในวิถีชีวิตประจาวันมากน้อยเพียงไร ซึ่งสังคมที่ว่านี้ก็คือบ้าน และโรงเรียน สิ่งนี้สร้างให้เกิดผลทางจิตวิทยา ที่เกี่ยวกับความรู้สึกมั่นใจหรือขาดความมั่นใจใน ตนเอง สร้างให้เรามีความรู้สึกชื่นชมยกย่องในตนเองสูงหรือต่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เราจะมีโอกาส พูดถึงเรื่องปัญหาทางจิตวิทยานี้อย่างละเอียดในภาคสองของหนังสือ การมีจิตสานึกต่อสังคมแสดงให้เราเห็นความจริงอย่างหนึ่งเกี่ยวกับศีลธรรม ศีลธรรมเป็น เรื่องของความถูกผิด สิ่งที่ควรและไม่ควร ดีไม่ดี เมื่อเรายังเล็กดูคล้ายกับว่าศีลธรรมเป็นเรื่องของข้อ ห้ามไม่ให้เราทาอะไรตามอาเภอใจ ดังนั้นจึงดูเหมือนว่าศีลธรรมจะทาให้เราสูญเสียอิสรภาพ ทาให้ดู เหมือนว่าศีลธรรมจะเป็นเรื่องของอานาจจากภายนอกที่มาบังคับควบคุมเรา แต่เมื่อเราโตขึ้นพอที่จะ คิดหาเหตุผลของสิ่งต่างๆได้ด้วยตัวเอง เราก็เรียนรู้ว่าเบื้องหลังของความถูกผิด ควรไม่ควรทาง ศีลธรรม ก็คือความสุขความทุกข์ของชีวิตอื่นๆ ที่เราอยู่ร่วมด้วย และเมื่อความรักในจิตใจของเราที่มี ต่อผู้อื่นและชีวิตอื่นเติบโตผลิบาน เราก็เกิดจิตสานึกต่อโลกและต่อสังคม เมื่อนั้นศีลธรรมก็ไม่ใช่ข้อ ห้ามและการสูญเสียอิสรภาพอีกต่อไป แต่เป็นอิสรภาพ เป็นการสร้างสรรค์ เป็นการแสดงออกของ ความรัก การสร้างคุณค่าของตัวเราเอง และการพิสูจน์มันออกมาให้ปรากฏต่อตัวเรา ดังนั้น เมื่อเรา จอดรถที่ทางม้าลาย เมื่อเราจอดรถเมื่อได้สัญญาณไฟแดง ด้วยจิตสานึกของตัวเราเอง เราไม่ได้กาลัง สูญเสียเสรีภาพ แต่เรากาลังสร้างสังคมที่ปลอดภัยและเสมอภาค ที่เกิดขึ้นจากการเคารพสิทธิของกัน และกัน เรากาลังสร้างสรรค์สังคมผ่านการเคารพในกฎหมายที่สร้างสรรค์ความสุขในสังคม กฎจราจร เป็นตัวอย่างของสิ่งที่รุซโซ (Jean-Jacques Rousseau ค.ศ. 1712-78) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส บิดาของ ระบอบประชาธิปไตยผรั่งเศส ขนานนามว่า “เจตจานงร่วมของสังคม” (General Will) หมายถึง เจตจานงที่เกิดจากการที่ความต้องการของคนทุกคน ได้รับการยอมรับอย่างเสมอภาคกัน และดังนั้น คนทุกคนจึงยอมรับมันเป็นหลักของการอยู่ร่วมกันอย่างเต็มใจ ความเต็มใจและความรู้สึกจากใจจริง คือสิ่งที่เปลี่ยนศีลธรรมในฐานะข้อห้ามข้อบังคับ ให้ กลายมาเป็นอิสรภาพและการสร้างสรรค์ กฤษณมูรติบอกเราว่าศีลธรรมที่แท้จริงต้องไม่ใช่การทาใน สิ่งที่ฝืนต่อจิตใจ แต่เป็นสิ่งที่กระทาออกมาจากความรักและความรู้สึกของเสรีภาพ จึงไม่แปลกที่เขา จะกล่าวว่า กฎระเบียบข้อห้ามเป็นสิ่งที่ต้องฝ่าฝืน จนกว่าเราจะเข้าใจเหตุผลและเห็นด้วยกับเหตุผลนั้น จากใจจริง เพราะเมื่อเรายอมทาตามกฎอย่างไม่คิดหาเหตุผล เรากาลังสูญเสียเสรีภาพ สูญเสียตนเอง ให้กับอานาจภายนอก ทาตัวเป็นนักคล้อยตาม ซึ่งก็คือทางไปสู่การสูญเสียจิตสานึกต่อโลกและสังคม นั่นเอง
42
ดูเหมือนว่าเบื้องหลังของศีลธรรมคือความรักความเมตตาที่เรามีต่อชีวิตอื่น ในนิทานเรื่อง The Happy Prince หรือเจ้าชายผู้แสนสุข ของออสการ์ ไวด์ (Oscar Wilde ค.ศ. 1854-1900) หลังจาก ที่เจ้าชายผู้แสนสุข ผู้เป็นอนุสาวรีย์อยู่กลางจตุรัสเมือง วานเจ้านกนางแอ่นพเนจรให้นาดวงตาของเขา ที่ทาด้วยอัญมณีไปให้ให้แก่คนจน เมื่อเจ้านกนางแอ่นเป็นตาแทนให้เขา เล่าเรื่องสิ่งต่าง ๆ ที่ตนพบ เห็นให้เขาฟัง เจ้าชายก็ได้กล่าวกับเจ้านกนางแอ่นว่า สิ่งที่เขาอยากรู้มากที่สุดคือความทุกข์ของมนุษย์ เพราะความทุกข์ของมนุษย์คือสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ที่สุดในโลก ยิ่งกว่าสฟิงส์ หรือสิ่งน่ามหัศจรรย์ ทั้งหลายที่เจ้านกนางแอ่นเคยพบเห็น ออสการ์ ไวด์กล่าวเช่นนั้นก็เพราะการรับรู้ความทุกข์ของคนอื่น บอกให้เรารู้ถึงสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ที่สุดในตัวเราเอง นั่นก็คือความรักที่เรามีต่อชีวิตอื่น ดังนัน้ ศีลธรรมที่เป็นการรับรู้ถูกผิดที่เกิดจากใจจริงของเรา จึงเป็นมาตรฐานที่แท้จริงอย่าง เดียวที่เราจะใช้วัดความถูกต้องเหมาะสมของสิ่งต่างๆ และใช้ตัดสินว่าอะไรคือความผิดพลาด อะไร คือสิ่งที่จะต้องแก้ไข เราต้องใช้มาตรฐานที่เรารู้สึกด้วยใจจริงของเราในการสร้างโลกที่ดีกว่าเดิม หาก เรายอมรับกฎระเบียบข้อบังคับหรือศีลธรรมที่ฝืนต่อจิตใจ ยอมรับขนบจารีตประเพณี หรือ “บรรทัด ฐานของสังคม” อย่างไม่คิดหาเหตุผลหรือหาความหมายของมัน ก็เท่ากับว่าเรากาลังช่วยสร้างโลกให้ หยุดนิ่ง สร้างโลกให้คงอยู่อย่างที่เป็นอยู่ รักษาสถานะของผู้ได้เปรียบและเสียเปรียบในสังคม ให้เป็น เช่นนั้นต่อไป ขอให้เรามาดูเรื่องนี้ให้ละเอียด เราได้เห็นจากการศึกษาประวัติศาสตร์ความพ่ายแพ้ของลัทธิคอมมิวนิสต์มาแล้วว่า “โลก” ถูกสร้างขึ้นด้วยความคิดความเชื่อในเรื่องของคุณค่า หมายถึงความคิดว่าอะไรน่าปรารถนาเหนือกว่า อะไร เราอาจจะกล่าวว่าโลกของสัตว์ถูกกาหนดโดยสัญชาติญาณ แต่โลกของมนุษย์ถูกกาหนดโดย ความคิดความเชื่อที่มนุษย์สร้างขึ้นมา แล้วนามาใช้สนับสนุน ตอบสนอง หรือขัดขวางต่อสัญชาติ ญาณอีกทีหนึ่ง เมื่อความคิดความเชื่อหลอมรวมเข้ากับวิถีชีวิต ก็กลายเป็นวัฒนธรรมจารีตประเพณี และกลายมาเป็นโครงสร้างทางสังคม โครงสร้างของอานาจทางการเมือง โครงสร้างทางความคิด ซึ่ง กาหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในสังคม อย่างที่แบ่งแยกกันด้วยสถานะบทบาท เป็น ชาย หญิง เจ้า ไพร่ ผู้น้อย ผู้ใหญ่ นายจ้าง ลูกจ้าง แต่เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เสมอภาค ไม่เท่าเทียมกันใน เกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (human dignity) ได้รับการจัดสรรแบ่งปันความสุขอย่างไม่เท่า เทียมกัน ขอให้เราลองมาศึกษาตัวอย่าง จากความคิดความเชื่อที่กาหนดรูปแบบโครงสร้าง ความสัมพันธ์ของผู้ชายและผู้หญิงกันดู ผู้ชาย ผู้หญิง พบกัน รักกัน แต่งงานกันเป็นครอบครัว นี่ดูเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ในสถานะ ของการเป็นภรรยา หรือในสถานะของผู้ที่จะเป็นภรรยาของใครสักคนในอนาคต เราจะพบว่า ทุก อารยะธรรมใหญ่ๆ ของมนุษย์กาหนดให้ผู้หญิงมีสถานะที่ต่ากว่าผู้ชาย คือเป็นสมบัติของผู้ชาย อยู่ ตลอดเวลา กรณีที่เลวร้ายที่สุดคือสังคมฮินดูของอินเดีย ผู้หญิง “ที่ดี” ถูกสังคมกาหนดว่าต้องกระโดด
43
เข้ากองไฟตายตามสามีในพิธีสตี หรือ ในสังคมมุสลิมอาหรับ ผู้หญิงไม่มีอิสระในการแต่งกาย และใน อะไรอื่นๆ อีกมากมาย ลูกสาวเป็นสมบัติของพ่อแม่ที่จะบังคับให้แต่งงานกับใครก็ได้ ในสังคมไทย ผู้หญิงเคยถูกบังคับให้แสดงการเป็นสมบัติของผู้ชายด้วยการเปลี่ยนคานาหน้าจาก “นางสาว” เป็น “นาง” แต่แม้เมื่อหย่าขาดเป็นอิสระจากกันแล้ว ก็ไม่สามารถกลับมาใช้คานาหน้าว่า “นางสาว” ได้ ต้องถูกตีตราไว้อย่างเป็นทางการด้วยคาว่า “นาง” เพื่อแสดงว่าไม่ใช่หญิงพรหมจรรย์ เคยเป็นสมบัติ ของผู้ชายมาแล้ว ยิ่งกว่านั้น กฎหมายไทยยังเคยอนุญาต ให้สามีฆ่าภรรยาและชายชู้ได้ โดยไม่ถูก ลงโทษรุนแรง แต่ถ้าภรรยาฆ่าสามีและหญิงชู้ กลับต้องรับโทษเต็มความผิด เพียงเพราะว่า ผู้ชายมี เกียรติและศักดิ์ศรีในสังคมที่จะต้องปกปักษ์รักษา แต่ผู้หญิงไม่มี ในสังคมไทย พฤติกรรมทางเพศของ ผู้หญิงผู้ชายจะถูกตัดสินถูกผิดด้วยมาตรฐานคนละอย่าง ผู้หญิงไม่มีอิสระทางเพศอย่างที่ผู้ชายมี ถ้า ผู้หญิงหาความสุขทางเพศอย่างอิสระ ก็จะถูกสังคมตราหน้าว่าเป็นหญิงชั่ว ในขณะที่ผู้ชายไม่เคยถูก ประณามเพราะพฤติกรรมดังกล่าว สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ความแตกต่างกันของเกียรติศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์ ที่เกิดใน สถานภาพต่างๆ เช่น เป็นหญิง เป็นชาย เป็นเจ้า หรือไพร่ เป็นนาย หรือบ่าว ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ได้รับ การอ้างเหตุผลรองรับด้วยความเชื่อทางศาสนา ศาสนาให้คาอธิบายที่เรียกว่า “จักรวาลวิทยา” ที่ อธิบายว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีกาเนิดมาอย่างไร ลองดูตัวอย่าง ศาสนาคริสต์อธิบาย อดัมซึ่งเป็นผู้ชาย ว่า ถูกสร้างขึ้นตาม “ฉายา” ของพระเจ้า อธิบาย อีฟซึ่งเป็นผู้หญิงว่าถูกสร้างขึ้นให้มาเป็น “เพื่อน” กับอ ดัม และสร้างขึ้นมาจากกระดูกซี่โครงของอดัม เห็นได้ชัดว่าศาสนาคริสต์ให้คาอธิบายรองรับสถานะ และอานาจที่เหนือกว่าของเพศชาย (ยิ่งกว่านั้นในศาสนาคริสต์ สัตว์อื่นๆ ก็ล้วนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็น อาหารและรับใช้มนุษย์) ศาสนาฮินดูมีจักรวาลวิทยาที่สลับซับซ้อนอย่างน่ามหัศจรรย์ ใช้รองรับระบบ ชนชั้นวรรณะทั้งระบบ ทาให้ชนชั้นจัณฑาลเป็นผู้ที่ต่าค่า จนชนชั้นอื่นสัมผัสแตะต้องไม่ได้ มีค่า เท่ากับฝุน่ ผงธุลีดินที่สกปรก จึงไม่น่าแปลกที่ศาสนาฮินดูจะกาหนดให้ภรรยาจะต้องติดตามไปรับใช้ สามีในโลกหน้า ในศาสนาพุทธผู้หญิงถูกตราหน้า ว่าเกิดเป็นหญิงเพราะสร้างบุญสร้างกุศลไว้น้อยใน ชาติก่อน และอธิบายในเรื่องของอานาจทางการปกครองว่า เจ้าพระยามหากษัตริย์คือผู้ที่ “มีความ เมตตาอันมหาศาลต่อมวลสัตว์และได้สั่งสมบุญญาบารมีไว้อย่างเหลือคณานับ” จึงได้เกิดมามีฤทธิ์ อานาจเหนือผู้อื่นในแผ่นดิน ในศาสนาฮินดู กษัตริย์คือ “เทพ” จุติมาเกิดเพื่อปราบ “มาร” ในศาสนา คริสต์ กษัตริย์คือผู้ที่พระเจ้าเลือกและมอบอานาจให้ปกครองหมู่มนุษย์ นี่คือที่มาของลัทธิเทวาสิทธิ ราชที่ใช้รับรองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่เพิ่งจบลงไปเมื่อลัทธิประชาธิปไตยมีอานาจขึ้นมาแทน ยุคประชาธิปไตยมาพร้อมกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งอาจช่วยลด อานาจของความคิดความเชื่อทางศาสนาลงบ้าง แต่ความเชื่อทางศาสนาก็ยังคงเป็นคาสอนหลักทาง ศีลธรรม มีอิทธิพลผ่านทางขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ที่ประสมกลมกลืนกับวิถีชีวิต วาง โครงสร้างและกาหนดทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคม และได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมา
44
ในฐานะวัฒนธรรม แต่ก็เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันอย่างที่เราเห็นในความสัมพันธ์ระหว่าง หญิงและชายในทุกสังคม และระหว่างเจ้ากับไพร่ ในแง่นี้ระบบประชาธิปไตยคือการพัฒนาของระดับ ความคิดและความสานึกทางสังคมของคนในสังคม และเป็นอุดมคติทางศีลธรรมที่ชี้ทางให้กับการ เปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สภาวะที่ดีกว่าเดิม สังคมตะวันตกจึงเป็นตัวอย่างให้แก่สังคมอื่นในแง่ของ พัฒนาการทางศีลธรรมของคนในสังคม ในเรื่องเพศนั้น ผู้หญิงตะวันตกรวมตัวกันต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิทางการเมืองที่เสมอภาค ทัดเทียมกับผู้ชาย ตั้งคาถามต่ออคติทางเพศ ที่ทาให้ผู้ชายมีอิสระทางเพศมากกว่าผู้หญิง ทาให้ทั้ง สังคมตั้งคาถามต่อความเข้มงวดทางเพศทุกชนิด นาไปสู่การปฏิวัติในเรื่องของวัฒนธรรมทางเพศ ที่ ทาให้ค่าของผู้หญิงไม่ถูกตัดสินด้วยพรหมจรรย์อีกต่อไป เปลี่ยนรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างชาย หญิง ทาให้หญิงชายสามารถอยู่ร่วมกันเพื่อเรียนรู้นิสัยใจคอของกันและกัน ก่อนที่จะตัดสินใจ แต่งงาน คือก่อนการที่จะสร้างพันธะทางกฎหมายระหว่างกัน โดยผู้หญิงไม่ถูกสังคมตัดสินว่า ประพฤติในสิ่งที่ผิดศีลธรรม กล่าวได้ว่า ในโลกตะวันตกนั้น การต่อสู้เพื่อความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ในความเป็น จริงทางปฏิบัติ ได้จบสิ้นลงแล้ว แต่ก็ยังมีการต่อสู้ในขั้นต่อไป คือในขั้นของความเป็นจริงที่เกี่ยวข้อง กับสัญลักษณ์ของอานาจที่ไม่เท่าเทียมกัน นั้นคือ ภาษาที่เราใช้สื่อสารกันในสังคมสะท้อนโครงสร้าง ของวิธีคิดและโครงสร้างของการกระจายอานาจในสังคม ใครเป็นใหญ่ ใครเป็นรอง ใครเป็นผู้มี อานาจ ใครเป็นผู้ไร้อานาจ ใครมีสถานะเหนือใคร ซึ่งภาษาอังกฤษเองก็สะท้อนเช่นกัน ว่าผู้ชายเคยมี อานาจเหนือผู้หญิง สัญลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดก็คือในคานาหน้าชื่อที่เป็นทางการ คือ คาว่า Mr. Mrs. Miss ซึ่งตรงกับ นาย นาง นางสาว ซึ่งเท่ากับการกาหนดว่า ผู้หญิงต้องบ่งบอกสถานะของตนต่อสังคม ว่าสมรสมาแล้วหรือยังไม่เคยสมรส ในขณะที่ผู้ชายไม่ต้อง ดังนั้นผู้หญิงตะวันตกจึงต่อสู้ด้วยการ สร้างคาว่า Ms ซึ่งเป็นคากลางๆ ไม่บ่งบอกสถานะการสมรส ซึ่งเท่ากับการยืนยันต่อสังคมว่า ความ เป็นบุคคล หรือความเป็นตัวตนของผู้หญิง ไม่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงว่าแต่งงานแล้วหรือยังไม่ได้ แต่งงาน (หรือหากสังคมคิดว่าเกี่ยว สังคมก็ต้องกาหนดให้ผู้ชายต้องเปลี่ยนคานาหน้าชื่อ เพื่อแสดง สถานะสมรสเหมือนกัน) ดังนั้น นี่จึงเป็นการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันในระดับสัญลักษณ์ (ซึ่งก็ทา ให้คาที่เคยใช้บ่งบอกตาแหน่งหน้าที่ว่าเป็นของผู้ชายเป็นหลัก ก็ต้องเปลี่ยนเป็นคากลาง ๆ แทน เช่น การใช้คาว่า person แทนในคาประสมที่มีการใช้คาว่า man เป็นส่วนประกอบ เช่น chairman ต้อง เปลี่ยนมาเป็น chairperson หรือ spokesman เปลี่ยนมาเป็น spokesperson เป็นต้น) ในสังคมไทย วัฒนธรรมแบบศักดินา (feudalism) และวัฒนธรรมผู้ชายเป็นใหญ่ (patriarchy) ที่ตกทอดมาจากอดีต กาลังต่อสู้กับวัฒนธรรมแห่งความเสมอภาค (egalitarianism) ซึ่งสูงค่ากว่าทาง ศีลธรรม แต่ดูเหมือนว่าวัฒนธรรมแบบเก่าและจิตสานึกแบบเก่าจะยังมีอานาจเหนือประชากรส่วน
45
ใหญ่ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังคงยอมรับวิถีปฏิบัติและค่านิยมแบบชนชั้นที่กาหนดโดยคนที่มี อานาจเหนือตน เหมือนกับที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ยอมรับค่านิยมที่กาหนดสร้างขึ้นเพื่อความได้เปรียบของ ผู้ชายโดยไม่ตั้งคาถาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่คิดที่จะต่อสู้เพื่อความเสมอภาคและความมีอานาจที่ เท่าเทียมกัน ภาษาไทยยังคงเต็มไปด้วยสัญลักษณ์แห่งความแตกต่างในอานาจและสถานะ เราเรียกคน ที่ดารงตาแหน่งสูงทางการเมืองและการบริหารประเทศว่า พณฯท่าน ซึ่ง ย่อมาจากคาว่า “พ่อเหนือหัว เจ้าท่าน” เช่นเดียวกับการเรียกตนเองว่า “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท” เพื่อเป็นการแสดงความต่าต้อย อย่างที่สุดของตนเอง เสมือนกับเป็นคนในชนชั้นจัณฑาลของอินเดีย เพื่อเปรียบเทียบกับความสูงส่ง กว่าของผู้ที่ตนกาลังพูดด้วย การที่ผู้พูดสามารถใช้ถ้อยคาลักษณะเช่นนี้ได้ด้วยความรู้สึกจากใจจริง แสดงกรอบโครงสร้างของวิธีคิดทางศีลธรรมซึ่งน่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งเราจะพยายามอธิบายต่อไปใน บทท้ายๆ ของหนังสือ แม้ว่าวัฒนธรรมไทยจะถูกปลูกฝังให้คุณคิดว่าคนเรามีค่าไม่เท่ากัน แต่ความรู้สึกจากใจจริง ของคุณเป็นอย่างไร คุณคิดว่า ผู้หญิงควรจะรู้สึกเสมอภาคหรือไม่เสมอภาคกับผู้ชาย? มนุษย์เราควรจะ รู้สึกถึงเกียรติและศักดิ์ศรีว่าเท่าเทียมกันหรือเหลื่อมล้ากันเป็นระดับชั้น? ถามจิตใจของคุณเองอย่าง บริสุทธิ์ที่สุด คิดถึงความสุขความทุกข์ของคนทุกคน ด้วยความรักที่คุณมีต่อชีวิตอื่นคุณจะตอบว่า อย่างไร? นี่คือสิ่งในสังคมที่เราควรแก้ไขหรือรักษาให้คงไว้? สังคมดีเพียงพออยู่แล้วสาหรับทุกคน หรือสังคมยังไม่ดีเพียงพอ? ถ้าคุณตอบว่าสังคมดีเพียงพอแล้ว คุณปิดตาตนเองต่อความทุกข์ความ เจ็บปวดของใครบ้างหรือไม่? ถ้าคุณตอบว่าสังคมยังดีไม่พอ เราเองคือผู้ที่จะต้องเข้าร่วมแก้ไข ด้วย การแสดงออกว่าเราไม่ยอมรับการปฏิบัติที่เอารัดเอาเปรียบที่ผู้ชายกระทาต่อผู้หญิง เราไม่ยอมรับการ ปฏิบัติที่ทาให้มนุษย์แตกต่างกันในเกียรติและศักดิ์ เราไม่ยอมรับในความเชื่อทางศาสนาหรือความเชื่อ ทางปรัชญาใดๆ ที่กาหนดว่าผู้ชายมีสถานะเหนือผู้หญิง หรือที่กาหนดว่ามนุษย์มีค่า มีเกียรติและ ศักดิ์ศรีไม่เท่าเทียมกัน และเราจะเข้าร่วมการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนกฎหมาย เพื่อให้ผู้หญิงผู้ชาย และคนทุกคนในสังคม ได้รับการกระจายความสุขอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน นี่ไม่ใช่การปฏิเสธ ความเชื่อทางศาสนาในทุกๆด้าน แต่ปฏิเสธเฉพาะส่วนที่ขัดกับเหตุผลที่เป็นความรู้สึกทางศีลธรรม จากใจจริงของเรา ซึ่งเราสงสัยว่ามีการนาเอาอคติและการเอารัดเอาเปรียบไปซ่อนใส่ไว้ หรือมีการ ตีความเจตนาของคาสอนทางศาสนาหรือปรัชญาไปอย่างผิดๆ1 สรุปก็คือ เรามีหน้าที่ที่จะต้องสร้าง โลกใหม่ด้วยความเชื่อและการปฏิบัติที่ต่างไปจากเดิม ผู้อ่านน่าจะลองศึกษาประวัติศาสตร์การใช้มนุษย์เป็นทาส การเหยียดสีผิว และการต่อสู้ในเรื่องนี้ของโลก ตะวันตก เพื่อให้เห็นบทบาทของความเชื่อทางศาสนาและปรัชญาว่าถูกบิดเบือนมาใช้ตอบสนอง ผลประโยชน์และอคติทางเชื่อชาติและเผ่าพันธุ์อย่างไรบ้าง ที่จริงแล้วพุทธศาสนาเองก็เตือนว่าเหตุผล สามารถที่จะถูกฉ้อฉลเพื่อเอาไปรับใช้ตัณหาได้ตลอดเวลา และเป็นไปได้ด้วยซ้าที่เราจะหาเหตุผลต่างๆ มา 1
46
การต่อสู้ทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีกว่าเดิม คือความกล้าหาญทางศีลธรรม และ เป็นการแสดงออกของความรักที่เรามีต่อชีวิตอื่นที่สูงที่สุด และคือการเป็นตัวของตัวเองที่มีค่าสูงสุด เป็นการดาเนินชีวิตด้วยอุดมคติ ที่มีความใฝ่ฝันอันงดงามให้แก่โลกและสังคม และลงมือกระทาให้ เป็นจริง สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งในบทนี้และบทที่แล้ว อาจพอชี้ให้คุณเห็นความเป็นจริงข้อนี้ได้บ้าง แต่ความเป็นจริงข้อนี้จะกระจ่างมากขึ้นถ้าเราจะลองมาตั้งคาถามเชิงปรัชญา ต่อความหมายของคาว่า อุดมคติ (ideal) และลองคิดพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนที่สุดว่า เรามีอุดมคติหรือยัง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็น ความคิดความใฝ่ฝันของเราสิ่งไหนใช่อุดมคติ สิ่งไหนไม่ใช่อุดมคติ หรือถ้าเรายังไม่มีอุดมคติ ก็ลอง มาพิจารณาข้อเท็จจริงๆต่างๆ เกี่ยวกับคนที่มีอุดมคติ ว่าเขาแตกต่างจากเราอย่างไรบ้าง อะไรคือ ธรรมชาติธาตุแท้ของอุดมคติ และของคนที่มีอุดมคติ
อุดมคติคืออะไร
“ในหนึ่งชีวิต คนเราเกิดกี่ครั้ง?” คาถามนี้อาจฟังดูแปลก แต่ก็เป็นเพราะมีอะไรบางอย่างที่ ลึกซึ้งมากที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้คุณค่าและความหมายของชีวิต ลึกซึ้งจนทาให้เราต้องกล่าวถึง “การ เกิดใหม่” กล่าวถึงชีวิตที่ ณ จุดหนึ่งของการเติบโต เราค้นพบความหมายใหม่ของชีวิต มองเห็นโลก และบทบาทของตนเองแบบใหม่ต่อโลก อย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน กวีอย่างอังคาร กัลยาณพงศ์ เคย กล่าวถึงการเกิดใหม่ต่อความงามของภาษา และบทเพลงของจอห์น เด็นเวอร์ ขับร้องถึงการเกิดครั้งที่ สองในวัยหนุ่ม การเกิดใหม่ในความรักที่มีต่อธรรมชาติและโลกอันกว้างใหญ่ไพศาลที่เขาอาศัยอยู่ พวกคุณเองบางคนอาจจาได้ถึงการเติบโต ที่วันหนึ่งโลกได้เปลี่ยนความหมายที่มีต่อคุณไป โดยสิ้นเชิง ในอดีต คุณมีตัวคุณเองเป็นศูนย์กลางของความหมายของสิ่งต่างๆในโลก สิ่งต่าง ๆ ถูกตี ค่าวัดความหมาย ว่าน่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนา โดยมีความสุขความทุกข์ของเราเองเป็นตัว ตัดสิน ซึ่งอาจจะขยายครอบคลุมไปถึงความสุขความทุกข์ของคนที่เราใกล้ชิดผูกพัน เช่น พ่อแม่ พี่ น้อง ซึ่งหมายความว่า สิ่งๆหนึ่งจะไม่ได้มีค่าอะไร ไม่ว่าจะทางบวกหรือทางลบ ถ้ามันไม่ได้สร้างให้ เรามีความสุขหรือความทุกข์ อาจสรุปลงเป็นนิยามได้ดังนีว้ ่า “สิ่งนี้มีค่าเพราะมันให้ความสุข ความสาคัญต่อฉัน(รวมถึงคนที่ฉันรัก)” แต่ถ้าเราลองกลับนิยามอันนี้เป็น “ฉันมีความสุขที่ได้อยู่ ท่ามกลางสิ่งนี้ ได้สัมผัสกับสิ่งนี้ เพราะสิ่งนี้มีค่าที่ฉันรับรู้ได้” สาหรับนิยามหลังนี้ มันหมายความว่า หลอกตัวเราเอง เท่าๆ กับที่หลอกคนอื่น เพื่อที่ตนเองจะได้ไม่รู้สึกผิดในการทาสิ่งที่ตนก็รู้ว่าสึกขัดแย้งอยู่ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ แต่ที่ทาลงไปก็เพราะแรงของราคะ โทสะ โมหะ นั้นมีอานาจเหนือกว่า ดังนั้น อย่างน้อย ที่สุด เราก็ควรวิพากษ์ตัวเราเองอยู่เสมอว่าเรากาลังจริงใจต่อตัวเอง ในสิ่งที่เรากาลังคิดอยู่ หรือไม่
47
สิ่งนี้มีค่าด้วยตัวของมันเองอยู่ก่อนแล้ว ความสุขของฉันเป็นเพียงผลที่เกิดขึ้นของการได้สัมผัสรับรู้ คุณค่าของมัน หากใครอื่นได้สัมผัสรับรูค้ ุณค่าของมันก็ย่อมจะมีความสุขเช่นเดียวกับฉัน ฉันมี ความสุขเพราะมันมีคุณค่า ไม่ใช่วา่ มันมีคุณค่าเพราะทาให้ฉันมีความสุข นี่คือการกลับเปลี่ยนของ ความหมาย จากการที่เราเองเป็นศูนย์กลางของความหมายของโลก มาเป็น โลก ซึ่งหมายถึงสิ่งนอกตัว เรา กลายมาเป็นศูนย์กลางของความหมายสาหรับเรา วิชาจิตวิทยากล่าวถึงการเติบโตของเด็กไปสู่วุฒิภาวะ หมายถึงการเติบโตพ้นจากสภาวะการ มองสิ่งต่างๆ แบบมีตนเองเป็นศูนย์กลาง มีความต้องการของตนเองเป็นตัววัด ไปสู่การรับรู้โลกตาม จริงและรับรู้ความรู้สึกตามมุมมองของผู้อื่น รับรู้ความต้องการของผู้อื่น แม้นี่จะไม่ใช่เรื่ อง ความสัมพันธ์ของตัวเราต่อโลกอันกว้างใหญ่ไพศาล แต่เป็นเรื่องของโลกแคบๆ คือความสัมพันธ์ของ เด็กกับคนที่ทาทุกอย่างให้แก่เด็ก ซึ่งปกติก็คือพ่อและแม่ คือเปลี่ยนจากการมองที่เห็นตนเองหรือ ความสุขความทุกข์ของตนเอง ความต้องการของตนเอง เป็นสิ่งที่สาคัญที่สุดสาหรับพ่อแม่หรือคนที่ ตนรัก เปลี่ยนมาสู่การมองเห็นว่าพ่อแม่หรือคนที่ตนรักก็เป็นบุคคลที่มีความสุขความทุกข์ของตนเอง มีความต้องการของตัวเขาเองเช่นกัน การเติบโตเช่นนี้ก็พอจะเทียบเคียงเป็นอุปมาอุปมัยให้กับ การ พลิกกลับของความหมายของโลกแบบที่กล่าวถึงได้ ดังนั้นในความลึกซึ้งของความหมายของชีวิต การเกิดใหม่ก็คือการเติบโตผ่านจุดที่ ความหมายของสิ่งต่างๆ พลิกกลับทิศทาง และเราได้ค้นพบบทบาทใหม่ของเราต่อโลก เราในฐานะ ผู้รับและเอาจากโลก เปลี่ยนมาเป็นเราในฐานะผู้ให้แก่โลก เราในฐานะผู้ที่จะร่วมสร้างสิ่งที่มีค่าให้เกิด มีมากขึ้นในโลก นี่คือจุดของการเกิดขึ้นของ กวี จิตรกร นักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา นักต่อสู้เพื่อ สังคม นักอนุรักษ์ธรรมชาติ ฯลฯ ผู้ซึ่งรักและเห็นค่าในสิ่งที่ตนทาด้วยความบริสุทธิ์ใจ เห็นว่าสิ่ง เหล่านั้นมีค่าด้วยตัวของมันเอง มีความสาคัญกว่าตัวของเขาเอง และใช้ชีวิตของตนเองเพื่อสร้างสิ่งที่ เขาเห็นว่ามีค่าให้เกิดเป็นจริงมากขึ้นในโลก การเกิดใหม่นี้จึงเป็นการเปลี่ยนการคิดและการรับรู้แบบ ฉันคือสิ่งที่สาคัญที่สุด โลกคือสิ่งที่จะต้องให้ความสาคัญต่อฉัน มาเป็นการคิดแบบ โลกคือสิ่งที่สาคัญ ที่สุด ชีวิตฉันได้รับคุณค่าและความสาคัญจากการเป็นส่วนหนึ่งของโลกและสิ่งที่มีค่า ชีวิตที่มีค่าจึง เกิดจากการค้นพบคุณค่าที่อยู่นอกตัวเราและใช้ชีวิตในฐานะหนทางไปสู่การเกิดขึ้นของสิ่งที่มีค่านั้น คาถามจึงกลับมาที่ตัวคุณว่า คุณกาลังเติบโตไปสู่จุดเปลี่ยนของความหมายของชีวิตนี้มาก น้อยแค่ไหนแล้ว? คุณคงจาได้ว่า เราเคยลองถามว่า การรู้จักตนเองหมายความว่าอะไร และคุณตอบว่า คือการรู้ว่าตนเองชอบอะไร รักอะไร นั่นแสดงว่าคุณกาลังอยู่บนทางของการเติบโตไปสู่ชีวิตที่มี คุณค่า ขอเพียงคุณเข้าถึงสิ่งที่คุณชอบสิ่งที่คุณรักให้มากขึ้น ค้นพบแง่มุมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นของสิ่งที่คุณรัก เพื่อที่จะค้นพบว่าสิ่งที่คุณรักมีคุณค่าที่แท้จริงอย่างไร หากพูดอย่างกว้างที่สุด ดูเหมือนว่า ในโลกนี้จะ มีสิ่งที่มีค่าที่แท้จริงในตนเองอยู่สามอย่าง คือ ความจริง ความดี และความงาม ดังนั้นลองสารวจว่าสิ่ง
48
ที่คุณรักเกี่ยวพันกับสิ่งที่เป็นคุณค่าพื้นฐานทั้งสามอย่างนี้อย่างไรบ้าง คุณอาจจะชอบภาษา รักที่จะ เขียนบทกลอน หรือเขียนถ่ายทอดแสดงความคิดเห็นของคุณ หรือถ่ายทอดความสุขความทุกข์ในชีวิต ผู้คน ถ้าเป็นเช่นนั้นคุณกาลังใช้ภาษาเป็นสื่อของ ความงาม ความจริง และความดี และคุณกาลังเติบโต ไปสู่การสร้างความจริง ความดี ความงาม ให้มีมากขึ้นในโลก แต่คุณอาจจะชอบภาษาต่างประเทศเพราะเป็นสิ่งที่คุณเรียนรู้ได้ดี และมันทาให้คุณสามารถ สื่อสารกับคนต่างชาติได้ แต่คุณก็สนใจที่จะเรียนรู้เพื่อที่จะใช้มันอยู่แค่ในระดับนั้น คือเพื่อจะใช้ ประกอบอาชีพหารายได้ มิได้สนใจที่จะค้นหาความลึกซึ้งที่เป็นความจริง ความดี ความงาม ที่ ภาษาต่างประเทศนั้นสามารถสื่อไปถึง แล้วนามาถ่ายทอดไปให้คนอื่น ถ้าเช่นนั้นคุณก็ยังอยู่ห่างไกล จากการค้นพบคุณค่าที่แท้จริงที่มีอยู่ในตัวเองของสิ่งที่คุณชอบ สิ่งที่คุณชอบไม่ได้มีค่าด้วยตัวของมัน เอง แต่มีคุณค่าภายนอก เพราะเป็นหนทางไปสู่การแสวงหาเงินทองมาซื้อหาความสุขใส่ตัว เราเป็น นักศึกษา กาลังเรียนรู้ในวิชาการบางอย่าง คุณเห็นหรือไม่ว่าสิ่งที่คุณเรียนเกี่ยวข้องไปถึงความจริง ความดี ความงาม อย่างไร คุณสนใจในสิ่งที่คุณเรียนเพราะคุณค่าเหล่านี้ หรือเพราะนี้คือการเรียนรู้ วิชาชีพเพื่อไปหารายได้เลี้ยงตัวเองและแสวงหาความร่ารวย อะไรคือแรงจูงใจสูงสุดของคุณ ดังนั้น คุณคงตอบตัวเองได้ว่า คุณเป็นผู้ที่กาลังก้าวไปสู่การมีอุดมคติและชีวิตที่มีค่าที่แท้จริงหรือไม่ เราเห็น มาแล้วว่าการศึกษามีหลากหลายความหมาย การศึกษาให้การงานอาชีพ และการศึกษาเป็นการพัฒนา ตนเองไปสู่การเป็นผู้มีความสามารถในสิ่งที่เรารักเราสนใจ แต่ต่อเมื่อเราเห็นคุณค่าที่มีอยู่ในสิ่งที่เรา ศึกษาเท่านั้น ที่เราจะเติบโตไปสู่ชีวิตที่มีคุณค่าที่แท้จริง ศาสตร์ทุกศาสตร์มีคุณค่าเมื่อเราใช้มันเป็น หนทางไปสู่การสร้างความจริง ความดี และความงาม แม้แต่ศาสตร์ของการบริหารการจัดการซึ่งคน มักใช้ไปหาผลประโยชน์หรือผลกาไรสูงสุดให้กับตน ก็อาจเปลี่ยนทิศทางไปสู่การสร้างความดีงาม ต่อสังคมได้ มีอะไรบางอย่างที่ควรกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษา การศึกษาในระบบทุนนิยมสร้างสิ่งที่ เรียกว่า “นักวิชาชีพ” เมื่อถามเรื่องชีวิตที่มีค่าต่อนักวิชาชีพ เขาอาจตอบว่า เขาทาสิ่งที่เป็นคุณค่าตาม วิชาชีพของเขาให้ดีที่สุดเพื่อสังคม ดังนั้นนักวิชาชีพก็อาจเป็นนักอุดมคติ แต่ถ้าถามว่าแล้วคุณทาอะไร อย่างอื่นต่อสังคมและโลกนี้อีกบ้าง ถ้าคุณตอบว่าไม่ ก็หมายความว่าเราลืมด้านอื่นๆ ในความสัมพันธ์ ของเราต่อโลกและสังคม วิชาชีพของเรากลายมาเป็นสิ่งที่จากัดความสัมพันธ์ของเราต่อโลกและชีวิต แต่การศึกษาไม่ควรทาให้เรากลายเป็นมนุษย์ที่สัมพันธ์กับโลกอย่างแคบๆ แต่ควรทาให้เราพัฒนาและ เติบโตในทุกๆ ด้าน ที่สาคัญที่สุดคือการศึกษาควรสร้างให้เราเป็น “ปัญญาชน” ผู้มีจิตสานึกต่อโลก และสังคม เพราะสิ่งที่เราไม่สามารถลืมและเพิกเฉย คือบทบาทของเราในการเป็นพลเมือง เป็นผู้ที่มี อานาจทางการเมืองที่จะสร้างสังคมที่ดีงาม ด้วยการเข้าร่วมการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลง เงื่อนไขของสังคม เพราะนี้คือความรักที่สูงที่สุดที่เรามีต่อชีวิตของผู้ทุกข์ยาก การศึกษาเพื่อวิชาชีพ อาจทาให้เรากลายเป็นมนุษย์ด้านเดียว แต่เราจะต้องต่อสู้ที่จะไม่เป็นเช่นนั้น
49
เราได้เห็นบทเรียนจากประวัติศาสตร์แล้ว รัฐทุนนิยมอาจต้องการให้เราเป็นมนุษย์ที่แคบ เป็น เพียงนักวิชาชีพเพื่อหมุนจักรกลของระบบเศรษฐกิจ ไร้อุดมคติ ไร้จิตสานึกต่อสังคม ไม่มีส่วนร่วม ทางการเมือง ศาสนาเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถสร้างการมองโลกที่ทาให้เกิดการไร้จิตสานึกทาง การเมือง เราได้เห็นแล้วว่าศาสนามี “จักรวาลวิทยา” ที่จะรองรับสิ่งที่เป็นอยู่ ว่ามาจาก “บาป บุญ กรรม บารมี” ที่สะสมมาแต่ “ชาติปางก่อน” นั่นก็คือ ศาสนาอ้างถึงสิ่งที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติ สิ่งที่ อยู่นอกเหนือชีวิตนี้ มาใช้อธิบายความเป็นไปในชีวิตนี้ พุทธศาสนาถือว่าการเอาชนะความทุกข์คือ เป้าหมายสูงสุดของชีวิต วิถีทางก็คือการละทิ้งโลกออกบวช หรือทาบุญสะสมไว้สาหรับชาติหน้า ศาสนาจึงเป็นอุดมการณ์ชนิดหนึ่งคล้ายกับอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง คือมีคาอธิบายความ เป็นมาของทุกสิ่ง มีระบบคุณค่าว่าอะไรคือภาวะที่น่าปรารถนามากที่สุด และมีวีถที ี่เฉพาะเจาะจง สาหรับการไปสู่ภาวะที่น่าปรารถนาสูงสุด ดังนั้นจึงสามารถสร้างให้เกิดการมองโลกแบบด้านเดียว ไม่ต่างไปจากอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง เป็นที่ยอมรับของนักสังคมศาสตร์ว่า ศาสนาสร้างให้เกิดแนวโน้มของการมองโลกและวิถี ปฏิบัติแบบปัจเจกนิยม เพราะศาสนามองว่าการพ้นทุกข์เป็นเรื่องของคนแต่ละคน และปัญหาทุกอย่าง มีต้นตอมาจากข้างในตัวเองของมนุษย์แต่ละคน ดังนั้นทุกปัญหาต้องแก้จากภายใน วิธีคิดแบบนี้สร้าง ให้เกิดการมองความจริงทางสังคมอย่างผิวเผินไร้เดียงสา ว่า สังคมไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการที่ ปัจเจกบุคคลมาอยู่ด้วยกัน ดังนั้น ถ้าปัจเจกทุกคนดีจากข้างในเสียแล้ว สังคมก็จะดี หรือ ถ้าคนส่วน ใหญ่เป็นคนดีสังคมก็จะดี ความคิดเช่นนี้ละเลยข้อเท็จจริงเรื่องโครงสร้างทางอานาจของสังคม ลืมไป ว่าเมื่อคนมาอยู่ร่วมกันแล้วก็จะมีการสถาปนาระบบที่เป็นศูนย์กลางของอานาจ และการแบ่งคนใน สังคมออกเป็นผู้ถืออานาจและผู้อยู่ใต้อานาจ ถ้าผู้ถืออานาจเป็นคนที่ไม่ดี แม้จะเป็นคนส่วนน้อย สังคมย่อมไม่ดี หรือถ้าสังคมมีกฎหมายที่อยุติธรรมต่อคนส่วนน้อย แม้คนส่วนใหญ่จะเป็นคนดี แต่ ไม่มีอานาจ หรือไม่ใช้อานาจของตนช่วยเปลี่ยนกฎหมาย สังคมจะดีได้อย่างไร ศาสนาอาจอ้างถึง “โลกหน้า ชีวิตอื่น กรรมเก่า พระประสงค์ของพระเจ้า ฯลฯ” เพื่อให้คน ยอมรับสิ่งที่เป็นอยู่ (status quo) ศาสนาอาจทาให้เกิดแนวโน้มแบบปัจเจกนิยม ตัดคนออกจากปัญหา ของสังคม 2 แต่ประเด็นที่สาคัญที่สุดสาหรับเราก็คือ ตัวอุดมการณ์ของศาสนาเองอาจให้คาอธิบาย อย่างเป็นเหตุเป็นผลว่าเราไม่ควรมีอุดมคติ หรือ การมีอุดมคติเป็นสิ่งที่ไม่ดี เราจะมาลองดูว่าศาสนา
ดังนั้น แม้คนบางคนอาจไปได้ไกลกว่าการเป็นแค่ปริญญาชนที่ดี คือเขาอาจเป็นปริญญาชนที่ดีบวกกับการ เป็นศาสนิกชนที่ดี คือทุ่มเทให้กับการใช้ความรู้ทางวิชาชีพ สร้างความดีตามวิชาชีพ และปฏิบัติศาสนกิจ สร้างความดีตามหลักศาสนา แต่หากเขาไม่เป็นปัญญาชนไปด้วยพร้อม เขาก็ยังเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตที่เล็กๆ แคบๆ อยู่ดี 2
50
พุทธอาจถูกนามาใช้ต่อต้านการมีอุดมคติได้อย่างไร ขอให้ลองดูการใช้เหตุผลนี้ ตามหลักคาสอนของ พุทธศาสนา ข้ออ้างที่ 1. ตัณหาเป็นสิ่งไม่ดีที่เราจะต้องขจัดออกไปจากจิตใจ ข้ออ้างที่ 2. ความต้องการทุกอย่างเป็นตัณหา ข้ออ้างที่ 3. อุดมคติคือความต้องการให้โลกเปลี่ยนแปลง มีบางสิ่งบางอย่างมากขึ้น หรือมี บางสิ่งบางอย่างน้อยลง เป็นพวกหนึ่งใน “ภวตัณหา” “วิภวตัณหา” ข้อสรุป 4. ดังนั้นการมีอุดมคติคือการมีตัณหาในรูปแบบหนึ่ง เราจึงควรขจัดอุดมคติไปเสีย จากจิตใจ คุณสามารถจับผิดได้หรือไม่ว่าการอ้างเหตุผลนี้บิดเบือนคาสอนของศาสนาพุทธอย่างไร พิจารณาข้ออ้างที่ 2. ให้ดี ตามข้ออ้างที่ 2. ถ้าเรากาลังมีจิตเมตตา กาลังปรารถนาให้ผู้ที่กาลังมีความ ทุกข์พ้นจากทุกข์ เรากาลังมีตัณหา และดังนั้นเจ้าชายสิทธัตถะจึงออกบวชเพราะตัณหา! ยิ่งกว่านั้นถ้า มนุษย์จะต้องขจัดความปรารถนาทุกอย่างออกจากจิตใจ มนุษย์ก็ต้องอยู่นิ่งๆ ทาจิตใจให้ว่างเปล่า ไม่ ยินดี ยินร้าย ไร้ซึ่งแรงจูงใจที่จะทาอะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าต่อตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งก็ขัดกับคาสอนเรื่อง “พรหมวิหาร4” (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) ที่จริงแล้ว อุดมคติคือสิ่งที่พุทธศาสนาเรียกว่า “ฉันทะ” ซึ่งก็คือ ความรัก ความปรารถนาในสิ่งที่พาไปสู่ความดีและการสร้างสรรค์ ซึ่งต้องตามมาด้วย “วิริยะ จิตตะ วิมังสา” ดังนั้นถ้ามีการอ้างเหตุผลจากพุทธศาสนาเพื่อปิดกั้นการมีอุดมคติของคนหนุม่ สาว จริงๆ เราก็ควรสงสัยว่าผู้พูดมีเจตนาอะไรอยู่เบื้องหลัง ซึ่งก็คงเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากเพื่อสนับสนุน อานาจทางการเมืองของฝ่ายที่จะเสียผลประโยชน์ หากนักศึกษาจะเป็นผู้มีจิตสานึกต่อสังคม สาหรับในประเด็นเรื่องธรรมชาติความแตกต่างของอุดมคติกับความมุ่งมั่นอื่นๆ นัน้ ที่จริง แล้วการเติบโตขึ้นเป็นผู้มีอุดมคตินั้นสร้างให้เกิดความแตกต่างอย่างมากในการดาเนินชีวิตของผู้คน สาหรับคนที่ยังเติบโตไปไม่ถึงการมีอุดมคติ อุดมคติจะเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายและความสาคัญใด เลยสาหรับเขา และเขาจะไม่สามารถเข้าใจคนที่มีอุดมคติได้เลย แต่สาหรับคนที่มีอุดมคติ อุดมคติจะ เป็นสิ่งที่สาคัญที่เขาจะไม่มีวันยินยอมสละเพื่อเปลี่ยนตนเองกลับมาเป็นคนไร้อุดมคติ ดังนั้นคนทั้ง สองกลุ่มจึงดูเหมือนจะมีชีวิตอยู่คนละโลก แม้จะอยู่ร่วมโลกเดียวกัน เราอธิบายเรื่องนี้ไปแล้วเมื่อพูด ถึง “การเกิดใหม่” แต่ถ้ามีคนที่มุ่งมั่นอย่างมาก เช่น คุณอาจจะตั้งใจอย่างมาก ว่าจะทาทุกอย่างเพื่อความสุขและ ชีวิตที่ดีที่สุดของพ่อแม่ หรือคนบางคนอาจตั้งใจมุ่งมั่นที่จะเอาเหรียญทองโอลิมปิคในกีฬาที่เขารักมา ให้ประเทศไทยให้จงได้ แน่นอนว่านี่ย่อมแตกต่างจากคนที่มุ่งมั่นที่จะเป็นเศรษฐีร้อยล้าน ซึ่งเป็น เป้าหมายที่เห็นแก่ตัว นั่นก็คือ คนบางคนอาจมีเป้าหมายชีวิตที่มีค่า และกระทาการไปเพื่อไปสู่
51
เป้าหมายนั้นด้วยวิธีการที่สุจริตดีงาม แต่นี่ก็เป็นเพียงการมีเป้าหมายของชีวิต ซึ่งยังไม่ใช่การมีอุดมคติ ความแตกต่างก็คือ เป้าหมายชีวิตมีที่สิ้นสุด เมื่อบรรลุถึงแล้วก็สิ้นสุด เหลือเพียงความภาคภูมิใจใน ความสาเร็จ (อาจต้องสร้างเป้าหมายใหม่ขึ้นมาให้ไขว้คว้าต่อไป) แต่อุดมคติเป็นความใฝ่ฝันอัน ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะสาเร็จจบสิ้นลงได้ในชีวิตหนึ่ง คนที่มีอุดมคติใช้ชีวิตทั้งชีวิตของเขาเพื่ออุดมคติ อุดมคติมีค่ากว่าสิ่งอื่นใดในชีวิต ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นคนที่ยอมสละชีวิตเพื่ออุดมคติ เราจึงได้รู้จักนัก อนุรักษ์ธรรมชาติอย่างสืบ นาคะเสถียร ได้รู้จักจิตรกรที่ยอมยากจนอย่างวินเซ็นท์ แวนโกะ หรือจ่าง แซ่ตั้ง รวมไปถึงกวีที่สร้างงานที่งดงามที่สุดตามความคิดและจินตนาการของเขาอย่างไม่สนใจว่าจะมี ใครเข้าถึงสักกี่คนอย่างอังคาร กัลยาณพงศ์ หรือคีตกวีที่หยิ่งในศักดิ์ศรีของตนเองและตายอย่างยากจน อย่างโมสาร์ท เราได้รู้จักนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นคว้าหาความรู้อย่างเอาชีวิตเข้าแลกอย่างมาดามคูรี นัก ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมอย่างมหาตมะ คานธี หรือ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ผู้เสียสละเพื่อสังคมอย่าง แม่ชี เทเรซ่า และครูอย่างโกมล คีมทอง แต่ความมุ่งมั่นจนยอมสละชีพ หรือการยอมอยู่อย่างยากลาบากเพื่อสิ่งที่ตนเชื่อมั่นก็ไม่ใช่ เครื่องหมายแสดงของอุดมคติ ทหารที่ยอมตายในสนามรบเพื่อรุกรานชาติอื่นและขยายอานาจชาติ ของตนอย่างทหารญี่ปุ่นและทหารเยอรมันไม่ใช่นักอุดมคติ ชาวปาเลสไตน์ที่เป็นมือระเบิดพลีชีพเพื่อ ฆ่าคนอิสราเอลให้มากที่สุดที่จะมากได้ก็ไม่ใช่นักอุดมคติ ในขณะที่นักศึกษา 14 ตุลา ที่เผชิญหน้ากับ ทหารด้วยมือเปล่า หรือทหารพันธมิตรที่ออกต่อสู้กับการรุกรานของฝ่ายอักษะเป็นนักอุดมคติ แต่ ทหารทั้งฝ่ายโลกเสรีและฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็เป็นนักอุดมการณ์มากกว่านักอุดมคติ ข้อสรุปก็คือ นัก อุดมการณ์สามารถยอมสละชีพและยอมเผชิญความยากลาบากได้เช่นเดียวกับนักอุดมคติ ดังนั้น เราจึงมีสองประเด็นที่จะต้องอธิบาย คือ การเป็นเป้าหมายชีวิตที่มีจุดจบ แต่อุดมคติไม่ มีจุดจบ และการมีอุดมการณ์ต่างกับการมีอุดมคติอย่างไร เราเคยอธิบายธรรมชาติของอุดมการณ์ไป แล้วว่า มีการยอมสละคุณค่าหนึ่งเพื่อคุณค่าอีกอันหนึ่งที่ถูกตัดสินว่าเหนือกว่า และการถือว่าเป้าหมาย ที่จะไปถึงมีค่าสูงจนสามารถเลือกใช้วิถีใดก็ได้เพื่อพาไปสู่เป้าหมายนั้น จนทาให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “เป้าหมายกาหนดวิถี” ซึ่งบางครั้งก็ละเมิดต่อศีลธรรม ลองพิจารณาการต่อสู้ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ และฝ่ายเสรี วิถีคือการทาสงครามและการประหัตประหารกัน เปรียบเทียบกับการต่อสู้เพื่อเอกราช ของอินเดียที่นาโดยมหาตมะคานธี ซึ่งใช้วิธีอหิงสาคือปฏิเสธความรุนแรง นักอุดมคติต่อสู้เพื่อสร้าง ความจริง ความดี และความงาม ด้วยวิธีการที่ถูกต้องทางศีลธรรม หรืออาจกล่าวว่า ต่อสู้เพื่อสร้าง ความดีด้วยความดี 3 นักศีลธรรมแบบอานาจนิยมที่เราเคยกล่าวถึงมาก่อนหน้าจึงเป็นแค่นักอุดมการณ์ ไม่ใช่นักอุดมคติ ในขณะที่นักศีลธรรมแบบเสรีนิยมเป็นนักอุดมคติ นักอุดมการณ์อาจมีเจตนาที่จะสร้างความดี แต่เพราะพวก เขามีความเชื่อที่ผิดว่าความชั่วสามารถสร้างให้เกิดความดีได้ จึงเลือกทางที่สร้างให้เกิดปัญหาที่อาจรุนแรงยิ่ง 3
52
เราได้เคยกล่าวแล้วว่านักอุดมคติมอบตัวเขาให้กับ ความจริง ความดี ความงาม การมี เป้าหมายชีวิตที่ดีงามเช่น เช่น การทาทุกอย่างเพื่อพ่อแม่ การต่อสู้เพื่อเกียรติยศชื่อเสียงของประเทศ นอกจากการที่มันสิ้นสุดลงได้ในชีวิตหนึ่งแล้ว อะไรทาให้มันยังไม่ใช่อุดมคติ? สิ่งนี้สามารถอธิบาย ได้ด้วยแนวคิดเรื่อง “การขยายออกของตัวตน” และ “การข้ามพ้นตนเอง” ได้เคยกล่าวแล้วว่า ความ เป็นตัวตนของเราสามารถขยายออกได้ ซึ่งหมายความว่าเราสามารถรู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นส่วนหนึ่งของเรา ในความรักเรารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน และมีความรู้สึก ผูกพันที่จะต้องตอบแทนความดีซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดขึ้นในความรักความผูกพันระหว่างบุคคลใน ครอบครัว เราอาจตั้งใจที่จะทาทุกอย่างเพื่อพ่อแม่ เพราะเราได้เห็นพ่อแม่ของเราเผชิญความ ยากลาบากมามาก และได้เห็นพ่อแม่ทาทุกอย่างเพื่อเรา เราจึงรู้สึกว่ามีความผูกพันต่อความสุขทุกข์ ของพ่อแม่ กล่าวได้ว่านี่คือการที่ตัวตนของเราขยายไปรวมเอาตัวตนของพ่อแม่เข้าไว้ด้วย แต่ ความรู้สึกผูกพันต่อความสุขความทุกข์ของผู้อื่นนี้ก็ถูกขยายออกไปอย่างมีขอบเขต คือจากัดสิ้นสุดลง ที่คนที่เรามีความรักและมีความผูกพันที่จะต้องตอบแทนเท่านั้น ประเด็นก็คือ นี่คือการขยายออกของ ตัวตน ตัวตนของเราสามารถขยายออกได้ในอีกแบบหนึ่ง คือในการเกิดขึ้นของความเป็น “พวกเรา” และ “คนอื่น” นีเ่ ป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับพันธะทางจิตใจและพันธะทางศีลธรรมระหว่างบุคคลที่สัมพันธ์ ใกล้ชิดกัน นี่คือสิ่งที่เราเคยกล่าวถึงในคาว่า “อัตลักษณ์ร่วม” เมื่อคนกลุ่มหนึ่งมีอะไรหลายๆ อย่าง ร่วมกันจนสามารถตั้งชื่อพิเศษให้กับกลุ่มของตน สร้างความรู้สึกพิเศษให้แก่กลุ่มของตน ตีวงแยก กลุ่มของตนออกจากคนอื่นที่เหลือทั้งหมด สร้างความรู้สึกยกย่องในเกียรติและค่าของตนเองที่เกิดขึ้น จากความรู้สึกว่ากลุ่มของตนอยู่เหนือผู้อื่นในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆ ด้าน ผู้เขียนเคยได้กล่าวไว้ แล้วว่าลัทธิชาตินิยม เผ่าพันธุ์นิยม ลัทธิสถาบันนิยม คืออัตลักษณ์ร่วม ดังนั้นความรู้สึกมุ่งมั่นว่าจะเอา เหรียญทองโอลิมปิคมาให้ประเทศไทยให้ได้ จึงไม่ต่างในสาระสาคัญจากความรู้สึกของทหารญี่ปุ่น ที่ จะยอมตายเพื่อที่จะรบเอาชัยชนะมาให้พระมหาจักรพรรดิญี่ปุ่นซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของชาติ ซึ่ง ก็คือความมุ่งมั่นที่จะแย่งชิงเอาทรัพยากรของผู้อื่น มาให้ความสุขกับครอบครัวของตนและคนร่วม กว่าเดิม กามูส์ (Albert Camus 1913-60 ) นักประพันธ์และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งได้รบั รางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในปี ค.ศ. 1957 และเคยเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ เคยเสนอไว้ในวรรณกรรมเรื่องหนึ่ง ของเขา ว่านักปฏิวัติของฝ่ายประชาชนที่ทาให้ผู้บริสุทธิ์ต้องตายลงไปด้วยนั้น ไม่อาจพ้นความผิดของการ เป็นฆาตกรได้เลย และนั้นก็คือสิ่งที่โลกได้เรียนรู้ในที่สุดของการต่อสู้ของสองอุดมการณ์ ว่าทั้งฝ่ายซ้ายและ ฝ่ายขวาสามารถกลายเป็นฆาตกรผู้ชั่วร้ายได้เท่าๆ กัน เมื่อถูกขับดันด้วยความโกรธแค้นและเกลียดชัง ทาให้ โลกยุคปัจจุบันกลัวต่อการที่อุดมการณ์จะแบ่งแยกผู้คนและสร้างความเป็นศัตรูต่อกัน ทาให้ปัจจุบันโลกอยู่ ในสภาพไร้อุดมการณ์ หรือมีอุดมการณ์เดียว แต่ประเด็นก็คือ ในทุกอุดมการณ์มีทั้งสิ่งที่ถูกและผิดปนเปกัน อยู่ เราต้องเรียนรู้ที่จะแยกแยะอย่างมีสติ เพื่อที่จะข้ามไปสู่ระดับอุดมคติ
53
ชาติให้ได้ ดังนั้น การขยายออกของตัวตนแบบที่หนึ่งกับการมีอัตลักษณ์ร่วมกับกลุ่มขนาดใหญ่จึง สามารถเกิดขึ้นร่วมกันได้ ประเด็นนี้บอกให้เราเห็นถึงความขัดแย้งที่เกิดจากอัตลักษณ์ร่วม คือแสดงให้เราเห็นว่า ธรรมชาติของอัตลักษณ์ร่วมคือการแสวงหาอานาจให้กลุ่มตัวเอง เพื่อชัยชนะและการอยู่เหนือผู้อื่น4 แก่นแท้ของอัตลักษณ์ร่วมจึงเป็นเรื่องของอานาจที่จะครอบครองทรัพยากรอย่างมีตนเองเป็นใหญ่ ซึ่ง ย่อมพามาซึ่งการต่อสู้เพื่อต่อต้านโดยฝ่ายที่ถูกแย่งชิงทรัพยากรไป ซึ่งก็อาจมีอัตลักษณ์ร่วมบาง ประการ ดังนั้น มือระเบิดพลีชีพปาเลสไตน์ และการถล่มตึกเวิร์ลด์ เทรด และสถานการณ์ภาคใต้ของ ไทยจึงเกิดขึ้นจากอัตลักษณ์ร่วมทางศาสนาของกลุ่มคนผู้ซึ่งถูกกดขี่ ความถูกต้องทางศีลธรรมของ การแข่งขันโอลิมปิคก็คือ มันเป็นเพียงการแข่งขันกันในความสามารถเฉพาะด้าน และมีเป้าหมายเพียง เพื่อเกียรติยศและชื่อเสียง มิใช่การแย่งชิงทรัพยากรที่ใช้สร้างความสุขทางกายภาพ แต่ความภาคภูมิใจ ในวงกว้างที่เกิดขึ้นก็เป็นผลของอัตลักษณ์ร่วมเช่นเดียวกัน อาจกล่าวได้ว่าอัตลักษณ์ร่วมเกิดขึ้นตาม สัญชาติญาณแห่งความเป็นตัวตนหรือ “อัตตา” ของมนุษย์ และเป็นปัญหาต่อสันติภาพระหว่างมวล มนุษย์ แต่เมื่อบุคคลเติบโตขึ้นสู่การมีอุดมคติ สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่การขยายออกของตัวตน แต่เป็น “การก้าวข้ามพ้นตนเอง” ความรักของผู้มีอุดมคติมุ่งไปสู่สิ่งที่เป็นคุณค่าในตัวของมันเอง เขาใช้ตัวเอง เป็นหนทางของการเกิดขึ้นของสิ่งที่มีคุณค่า และใช้ตนเองเป็นหนทางของการกระจายของสิ่งที่เป็น คุณค่าที่เขาสร้างให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความสุข ความรู้ ความดี ความงาม โดยมิได้มุ่งไปอย่างจากัด เฉพาะสาหรับใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่กระจายไปอย่างมีเป้าหมายที่เป็น “สากล” หากถูกจากัดก็ไม่ใช่ เพราะความเป็นอัตลักษณ์ร่วม แต่เป็นเพราะความจากัดเฉพาะของกาละและสถานที่ที่เขาดาเนินชีวิต อยู่ เราคงไม่กล่าวว่า อองซานซูจี ต่อสู้เพื่อคนพม่าเพราะความรักที่มีเฉพาะสาหรับคนพม่า แต่เพราะ ความรักในมนุษย์ และเพราะความไร้ซึ่งสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ได้เกิดขึ้นต่อคนพม่า และ เพราะเธอบังเอิญเกิดมาเป็นคนพม่า ความงามของบทกวีของอังคาร กัลยาณพงศ์ คงไม่ถูกมุ่งจากัดให้ เฉพาะ “คนไทย” แต่ถูกจากัดเพราะใช้ภาษาไทยเป็นสื่อ และคนไทยจะเข้าใจบริบทของความเป็นจริง ที่แวดล้อมความหมายที่เขาต้องการนาเสนอได้มากที่สุด อาจมีคนกล่าวว่า คนที่มีอุดมคติเป็นคนที่มุ่ง สร้างประโยชน์สุขให้กับ “สังคม” หรือ “คนส่วนใหญ่” แต่นี่ยังไม่แสดงออกถึงความเป็น “สากล” การแบ่งแยกและการกดขี่ทางเพศก็เป็นผลมาจากอัตลักษณ์ร่วม เช่น ผู้ชายร่วมมือกันกาหนดค่าให้ตัวเอง เหนือกว่าผู้หญิง หรือผู้ชายและผู้หญิงร่วมกันกาหนดค่าให้ตนเองเหนือกว่าคนเพศที่สาม เพราะนี่คือการ สร้างความเป็นพวกเราและกันคนที่แตกต่างออกไปว่าเป็นคนอื่น ซึ่งเป็นผู้ที่น่าปรารถนา และมีคุณค่าน้อย กว่าพวกตน การสร้างความเป็นอื่น (otherness) เช่นนี้จะได้รับการรองรับด้วยเหตุผลที่เป็นอคติทุกประการที่ จะคิดสรรหาขึ้นมาได้ 4
54
ของคุณค่าที่นักอุดมคติสร้างขึ้น และเราไม่ควรกล่าวว่า เขาทาเพื่อบุคคลไม่ว่าจะมีจานวนเท่าไร แต่ทา เพื่อการเกิดมีมากขึ้นเองของตัวสิ่งที่มีคุณค่าอย่างเป็นสากลในโลกและสังคม คือไม่จากัดว่าเพื่อใคร เราอาจกล่าวว่านักอุดมคติมีตัวตนที่เป็นสากล เพราะมีความรักที่เป็นสากลต่อมนุษย์ และมีความรักต่อ สิ่งที่มีคุณค่าที่เป็นสากล มีปัญหาบางอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของอุดมคติ หรือ ความรักในความจริง ความ ดี ความงาม ในโลกของความเป็นจริง คนเราอาจจะอุทิศตัวเองให้กับอุดมคติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่นี้ก็ ไม่ได้แปลว่าความรัก ในคุณค่าทั้งสามอย่างจะไม่เกิดเคียงข้างซึ่งกันและกัน นักปรัชญาแนวอุดมคติ นิยม-จิตนิยมอย่างเพลโต (Plato 427-347 ปีก่อนคริสต์กาล) ถือว่า ความจริง ความดี ความงาม เป็นสิ่ง ที่ประสานกลมกลืนซึ่งกันและกัน เพราะเป็นด้านสามด้านของสิ่งเดียวกัน ต่างกันเพียงแค่วิธีการใน การรับรู้และเข้าถึงเท่านั้น ความดีรับรู้ด้วยใจ ความงามรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส และความจริงรับรู้ด้วย ปัญญา เขากล่าวอย่างน่าฟังถึงการเติบโตไปสู่อุดมคติว่า เราจะเริ่มต้นด้วยการเห็นความงามคือความ สอดคล้องต้องกันของสิ่งที่ประจักษ์รู้ด้วยด้วยตา หลังจากนั้นเราจะเห็นความงามในความสอดคล้อง ต้องกันของความเป็นจริงทั้งหลาย ซึ่งรับรู้ด้วยปัญญา และหลังจากนั้นเราจะเห็นความงามในความ สอดคล้องกลมกลืนกันของกฎศีลธรรมที่รักษาความประสานกลมกลืนของด้านต่างๆ ของชีวิต และ ของกฎหมายที่รักษาความดีงามในสังคม ซึ่งรับรู้ได้ด้วยจิตใจ ที่จริงเพลโตเสนอการวิเคราะห์ทางปรัชญาที่ยุ่งยากซับซ้อน เพื่อที่อธิบายว่า มาตรฐานของ ความจริง ความดี และความงาม เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในโลกของจิตซึ่งแยกต่างหากจากโลกของวัตถุ แต่มี อานาจกาหนดโลกวัตถุ โลกของจิตดังกล่าวเป็นโลกที่มีอยู่อย่างเป็นอิสระจากจิตของเราแต่ละคน แต่ จิตของเราแต่ละคนสามารถเข้าถึงได้ นี่อาจจะสอดรับกับการนาเสนอของเราที่ว่า คุณค่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ ด้วยตัวของมันเอง มิได้เกิดจากการตัดสินเอาด้วยความสุขความทุกข์ที่เป็นเรื่องส่วนตัวของเรา นัก ปรัชญายุคปัจจุบันอย่างเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ (Bertrand Russell ค.ศ 1872 - 1970) ก็เห็นว่า ศีลธรรมที่ แท้จริง เกิดจากการที่เราก้าวพ้นประสบการณ์และโลกของตัวเอง ไปสู่สภาวะของความเป็นสากล กล่าวคือศีลธรรมเกิดขึ้นเมื่อเราเห็นว่า ความมีคุณค่าน่าปรารถนาของความสุขของเรา เป็นเพียง ตัวอย่างหนึ่งของความน่าปรารถนาของความสุขที่เป็นสากล ซึ่งหมายถึงความสุขของสิ่งที่มีจิตใจ สามารถรับรู้สุขทุกข์ได้ ทั้งมวล ดังนั้นนักปรัชญาจะบอกเราว่า เพื่อความมีศีลธรรมที่แท้จริง จงอย่า ขยายตัวตนออกไป แต่จงก้าวให้พ้นตนเอง “เลิกสนใจอัตลักษณ์ร่วมและเปลี่ยนมาเป็นมนุษย์สากลกัน เถิด” ซึ่งหมายความว่า เลิกแข่งขัน เลิกแบ่งแยกตัวเราเองเป็นคนไทย เลิกแบ่งคนอื่นออกไปเป็นพม่า ลาว เขมร ฝรั่ง เลิกแบ่งแยกเพศ ผิวพรรณ แต่จงมาเป็นมนุษย์ร่วมกันทุกคนเถิด เพราะนี่คือข้อ เรียกร้องของศีลธรรม
55
ศีลธรรมคือความรักที่มาจากใจจริงและการก้าวพ้นตนเอง ไปสู่สิ่งที่เรารู้สึกว่ามันเป็นความดี และความมีคุณค่าด้วยตัวของมันเอง เป็นหนทางเดียวของการมีชีวิตที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง แต่เรา อาจจะมองดูชีวิตของผู้คน และเห็นว่าผู้คนก็มีชีวิตอยู่ได้อย่างไม่เห็นจะต้องมีอุดมคติ หรือก้าวพ้น ตนเองไปสู่ความดีหรืออะไรที่เป็นสากล พวกเขาก็แค่ขยายขอบเขตของตัวตนออกไป เรียนให้จบ ทา การงาน หาเลี้ยงตัวเอง สร้างความสาคัญให้ตนเองด้วยตาแหน่งการงานและการยอมรับในสังคม มี ครอบครัวที่ตนเองสร้างขึ้นและแลกเปลี่ยนความรักและความดีต่อกัน แค่นี้ก็พอที่จะให้เขารู้สึกว่ามี ชีวิตที่ดที ี่น่าปรารถนาและมีค่าอยู่ในสังคม ไม่เห็นว่าเขาผิดพลาดที่ตรงไหน พวกเขาผิดพลาดก็เพราะว่า สิ่งที่แวดล้อมเราและผู้คนจานวนน้อยๆ ที่คนเราแลกเปลี่ยนความ รักความดีงามด้วย ในแบบของการขยายออกของตัวตนนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ในตัวของมันเองแล้วจะคงทน ยั่งยืนอะไร ครอบครัวเองก็อาจจะจากกันไป เกียรติยศในสังคมเองก็จอมปลอมอย่างที่ตัวเราเองก็รู้สึก ได้ไม่ยาก ในภาพยนตร์เรื่อง “About Schmidht” ชมิดท์ต้องเริ่มต้นถามหาความหมายของชีวิต เมื่อถึง วัยเกษียณอายุ อยู่ดี ๆ ภรรยาผู้เสียสละตนเองเพื่อเขามาโดยตลอดก็ตายจากไป ลูกสาวก็กาลังจะ แต่งงานกับคนที่ไร้ปัญญาไร้อนาคต ในเรื่องการงานแม้จะมีการจัดเลี้ยงอาลากล่าวคายกย่อง แต่ก็เป็น เพียงแค่ตามประเพณี จบแล้วก็จบเลย เขาค้นพบความล้มเหลวของตัวเองในการเป็นสามีที่ดี พ่อที่ดี พบว่าตนเองไม่ใช่คนดีอะไร บางทีก็ทาอะไรไปตามอารมณ์โกรธอารมณ์ใคร่จนเสียเพื่อนใหม่และ เพื่อนรักเก่าแก่ สิ่งที่แวดล้อมภายนอกตัวเขาดูจะพังทลายมลายลงไปหมด เขารู้สึกว่าไม่เหลืออะไร และไร้ค่าอย่างที่สุด แต่ในวันที่เขารู้สึกล้มเหลวจนไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป ความดีที่เขาตัดสินใจที่จะ ผูกพันกระทาในวันเกษียณอายุ และได้ตัดสินใจกระทาลงไปด้วยความรักความเมตตาที่บริสุทธิ์ใจ ซึ่ง เป็นการให้ออกไปโดยไม่รู้จักแม้แต่ตัวตนของผู้รับ ก็ย้อนกลับมาช่วยรักษาชีวิตเขา เตือนให้เขารู้ว่า ชีวิตเขายังมีคุณค่า และเป็นคุณค่าที่เขาจะร่วมสร้างได้อย่างไม่มีวันจบสิ้น ตราบจนวันสุดท้ายในชีวิต ของเขา สาหรับเรา ชีวิตของชมิดท์คือบทเรียนว่า การมีพันธะของหัวใจที่จะช่วยสร้างสิ่งที่เป็นความดี เท่านั้น ที่จะทาให้ชีวิตของเรามีคุณค่าอย่างแท้จริง.
56
บทที่ 4 การรู้จักตนเองในความหมายของโสกราตีส : การแสวงหาปัญญาและการสร้างสังคมเหตุผลนิยม ประชาธิปไตย การรู้จักตนเอง อุดมคติ การเติบโตทางปัญญา และความเข้มแข็งของสังคม มี ความเกี่ยวพันกันอย่างไร ชีวิตและความตายของโสกราตีสคือบทเรียนที่มีค่าที่สุดที่จะสอนเราให้รู้ถึง ความเกี่ยวพันของสิ่งเหล่านี้ และเป็นบทเรียนที่สังคมทุกสังคมจะต้องเรียนรู้ และเรียนรู้ซ้าอยู่เสมอ ตราบเท่าที่มนุษย์ยังอยู่กันเป็นสังคม และตราบเท่าที่ปัจเจกบุคคลยังคงแสวงหา อุดมคติและ ความหมายชีวิตของตนเองในสังคม โสกราตีสเป็นนักปรัชญาชาวกรีกผู้มีชีวิตเป็นตานาน เป็นแบบอย่างของการใช้ชีวิตอย่างยึด มั่นในอุดมคติ เขาเป็นคนแรกที่ชวนสังคมให้คิดถึงเรื่องชีวิตที่มีค่า เสนอวิธีที่จะแสวงหาคาตอบ และ ใช้ชีวิตทั้งชีวิตพิสูจน์คุณค่าของคาตอบที่เขาให้ แม้เขาจะถูกคนส่วนใหญ่ในสังคมโกรธ เขาก็ยังยืนยัน ในคาตอบ และยอมตายเพื่อพิสูจน์คุณค่าของคาตอบของเขา โลกตะวันตกเรียนรู้อุดมคติของเขาผ่าน วรรณกรรมที่บันทึกบทสนทนาของเขา และมักมีชื่อเรียกตามบุคคลที่เขาสนทนาด้วย เพลโตผู้เป็น ศิษย์ เป็นผู้บันทึกและเรียบเรียง สร้างให้เป็นบทสนทนาที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์และมีความลึกซึ้ง ของเนื้อหาทางปรัชญา ซึ่งถือเป็นวรรณกรรมที่เป็นรากฐานของจิตสานึกต่อความจริง ความดี ความ งามในวิถีชีวิตทางสังคมของโลกตะวันตก เป็นส่วนสาคัญของรากฐานของความเข้มแข็งทางสังคม และการเมืองของโลกตะวันตก บทสนทนาที่งดงามที่สุดที่คนหนุ่มคนสาวผู้ใฝ่หาอุดมคติควรอ่านก็ คือบทที่มีชื่อว่า “อพอลโลจี” (Apology) ซึ่งแสดงการแก้ข้อกล่าวหาต่าง ๆ ที่มีผู้ยกขึ้นมาฟ้องร้องต่อ ศาลให้ลงโทษโสกราตีส ซึ่งเราจะได้เห็นการดาเนินชีวิต ที่มาแห่งอุดมคติของเขา และความมุ่งหวังที่ เขามีต่อกรุงเอเธนส์ที่เขารัก และอีกบทที่ควรอ่านก็คือ “ไครโต” (Crito) ซึ่งแสดงภาพของเหตุการณ์ ก่อนการประหารชีวิตโสกราตีส ว่าแม้เขามีหนทางที่จะพ้นจากโทษประหารชีวิต แต่พันธะที่เขามีต่อ สังคมเอเธนส์ ก็ทาให้เขายินดีใช้ความตายของเขาเป็นทางไปสู่การเรียนรู้และการเติบโตของกรุง เอเธนส์ พินิจ รัตนกุล และ ส ศิวรักษ์ และคนอื่นๆ ได้ศึกษาและถ่ายทอดชีวิตและบทสนทนาของโสก ราตีส ไว้ในงานเขียนภาษาไทยมากมาย แง่มุมต่าง ๆ เกี่ยวกับปรัชญาและอุดมคติของโสกราตีสและ
57
ความเป็นจริงในสังคมเอเธนส์ก็ได้รับการตีความและอธิบายไว้ในทิศทางต่างๆ อย่างลึกซึ้ง แต่ถึง กระนั้นก็ยังมีที่ว่างสาหรับการตีความและประมวลภาพของสังคมเอเธนส์และชีวิตของโสกราตีส เพื่อ สร้างขึ้นเป็นบทเรียนที่จาเพาะเจาะจงบางอย่างต่อระบอบประชาธิปไตย ภายใต้แนวคิดเรื่องสังคมสอง ชนิด คือ “สังคมศักดิ์สิทธิ์นิยม” และ “สังคมเหตุผลนิยม” และภายใต้คาถามเรื่อง “การเติบโต” และ “ความสัมพันธ์ของปัจเจกต่อสังคม” ซึ่งเราจะมองชีวิตและสังคมของเรา เปรียบเทียบกับชีวิตของโสก ราตีส และของคนหนุ่มและสังคมของกรุงเอเธนส์ รวมทั้งเราจะลองอภิปรายปัญหาบางอย่างของคน หนุ่มสาวและสังคมไทยในปัจจุบัน ภายใต้บทเรียนที่เราได้รับจากการศึกษาชีวิตของด กรุงเอเธนส์เป็นรัฐประชาธิปไตย ต่างจากเราก็เพียงแค่ เราเป็นรัฐประชาธิปไตยแบบที่มี ตัวแทนเป็นผู้ใช้อานาจในการปกครองประเทศแทนเรา แต่เอเธนส์เป็นประชาธิปไตยแบบตรง คือผู้ที่ ถูกถือว่าเป็นพลเมือง ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีและเป็นทหารปกป้องรัฐในยามศึก เป็นผู้มีสิทธิที่จะมานั่งใน สภา ร่วมกันตัดสินนโยบายและกิจกรรมที่สาคัญของรัฐได้โดยตรง แต่ถึงเอเธนส์จะเป็น ประชาธิปไตยแบบตรง ก็ยังคงต้องมีการเลือกบุคคลจานวนหนึ่งเข้าทาหน้าที่ดูแลกิจการและตัดสินใจ ในกิจการบางอย่างของรัฐ เป็นเสมือนรัฐบาลและผู้นารัฐบาล แทนการที่พลเมืองทุกคนจะต้องมาออก เสียงตัดสินในทุกเรื่องทุกกรณี ดังนั้น เอเธนส์จึงมีผู้ที่มีอาชีพนักการเมือง ที่ได้รับเลือกเข้ามาดารง ตาแหน่งทางการเมือง ได้รับเกียรติยศและผลประโยชน์ควบคู่ไปกับอานาจในสังคม เช่นเดียวกับใน สังคมของเรา โสกราตีสรักและบูชาระบอบประชาธิปไตยของเอเธนส์ ซึ่งเป็นนครรัฐกรีกแห่งเดียวเท่านั้นที่ เป็นประชาธิปไตย แต่บางครั้งระบบประชาธิปไตยก็ถูกนักการเมืองทาลาย และยึดอานาจเปลี่ยนการ ปกครองไปเป็นแบบเผด็จการ ซึ่งชาวเอเธนส์ก็ต้องต่อสู้เพื่อให้ได้ประชาธิปไตยกลับคืนมา นอกจากนั้นเอเธนส์ก็ยังต้องทาสงครามต่อสู้กับการรุกรานของสปาร์ตาและศัตรูอื่นภายนอก แต่ นอกจากระบอบเผด็จการและปัญหาอธิปไตยแล้ว อะไรคือศัตรูที่แท้จริงของระบอบประชาธิปไตย? ผู้เขียนหมายความว่า แม้ว่าเราจะสามารถรักษาระบบประชาธิปไตยไว้จากอานาจเผด็จการและการ รุกรานจากภายนอกได้ แต่อะไรคือเงื่อนไขที่ทาให้ระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถสร้างสิ่งที่เป็น อุดมคติของระบบประชาธิปไตย ซึ่งก็คือประโยชน์สุขที่สูงที่สุดของประชาชนและความยุติธรรมใน สังคม ถ้าเรามองดูสังคมไทยซึ่งมีระบอบประชาธิปไตยที่อ่อนแอมาก เพราะเต็มไปด้วยการซื้อสิทธิ ขายเสียง และการมีแต่พรรคการเมืองของนายทุนเท่านั้นให้ประชาชนเลือก เราคงตอบว่า ศัตรูของ ประชาธิปไตยก็คือความไร้จิตสานึกของพลเมืองเอง และการมีตัวแทนที่ไม่ได้ทาเพื่อผลประโยชน์ ของประชาชนอย่างแท้จริง แต่เข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชนก็เพื่อที่จะทุจริตโกงกิน ซ่อน ผลประโยชน์อันมิชอบของตนไว้เบื้องหลังผลประโยชน์ของประชาชน
58
เราไม่อาจกล่าวว่าประชาชนเอเธนส์มีปัญหาเรื่องความไร้จิตสานึกทางการเมือง เพราะ ประชาชนเอเธนส์มีอานาจที่จะไปนั่งออกเสียงในสภาโดยตรง จึงไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงเหมือน สังคมไทย แต่ปัญหาเรื่องนักการเมืองที่มีอานาจในการดูแลกิจการของรัฐ ซ่อนผลประโยชน์ของตน ไว้เบื้องหลังผลประโยชน์ของสังคม สามารถเป็นปัญหาของสังคมประชาธิปไตยทุกสังคม ที่ ประชาชนรู้ไม่เท่าทันนักการเมือง สามารถถูกชักจูงด้วยผลประโยชน์เฉพาะหน้าที่นักการเมืองนามา ล่อ และถูกวาทศิลป์ของนักการเมืองหว่านล้อมชักจูงให้คิดเห็นคล้อยตามไปกับนโยบายต่างๆที่ นักการเมืองเสนอ โดยไม่เข้าใจผลดีผลเสียของนโยบายต่างๆ เหล่านั้นอย่างแท้จริง ดังนั้น ศัตรูที่ แท้จริงของระบอบประชาธิปไตย ก็คือความรู้ไม่เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของนักการเมือง และการไร้ จิตสานึกที่จะวิเคราะห์วิพากษ์ ใช้ปัญญาไตร่ตรองสิ่งต่างๆ ด้วยเหตุด้วยผลอย่างถ้วนถี่ ซึ่งสรุปง่ายๆ ก็ คือ ความอ่อนแอของพลังทางปัญญาของพลเมืองนั่นเองที่เป็นศัตรูที่แท้จริงของระบอบประชาธิปไตย ลักษณะพิเศษประการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยคือ ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย จะเผชิญหน้ากับการถูกทาให้อ่อนแออยู่เสมอ กล่าวคือ ทันทีที่นักการเมืองได้รับอานาจจากประชาชน ชนให้เป็นผู้ปกครอง เขาจะพยายามสร้างความอ่อนแอให้กับประชาชน เพื่อที่เขาจะสามารถคงอานาจ ของเขาต่อไป นี่อาจดูเหมือนการตีความอย่างหวาดระแวงและมองโลกในแง่ร้าย แต่ขอให้เรามามองดู ตัวอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ในสมัยประชาธิปไตยเต็มใบ หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา เมื่อเผด็จการถนอมประภาสหมดอานาจ ประเทศไทยมีรัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตย อย่างแท้จริง มีนักการเมืองสองคนก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้ง ตามลาดับ คือ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช อดีตหัวหน้าเสรีไทยและอดีตนายกรัฐมนตรีก่อนระบบเผด็จการทหาร และ ม.ร.ว.คึก ฤทธิ์ ปราโมช น้องชาย คนที่มีบทบาทเด่นต่อการเมืองไทยในยุคนั้นจริงๆ ก็คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ซึ่งเป็น ปัญญาชนสูงสุดในสังคมไทย เป็นผู้ทรงความรู้ในหลาย ๆ ด้าน อย่างยากที่จะมีใครเทียบได้ แต่ถ้าเรา ค้นกลับไปในแนวคิดของคึกฤทธิ์ เราก็จะพบว่า เขาพยายามนาเสนอว่าประเทศไทยควรใช้ “ลัทธิ กษัตริย์นิยม” ซึ่งหมายความว่า พระมหากษัตริย์ไม่ควรเป็นเพียงแค่ประมุขของประเทศในฐานะ สัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ แต่สถาบันกษัตริย์ควรถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อสร้าง “ความ เป็นปึกแผ่นมั่นคงของชาติ” สิ่งที่น่าจะอยู่ตรงกันข้ามกับลัทธิกษัตริย์นิยมคือ “ลัทธิพลเมืองนิยม” คาถามคือทาไมคึกฤทธิ์จึงเลือกที่จะสนับสนุนนโยบายลัทธิกษัตริย์นิยม แทนที่จะสนับสนุนนโยบาย ลัทธิพลเมืองนิยม? และทาไมรัฐบาลไทยทุกยุคสมัยไม่ว่าจะเป็นเผด็จการทหาร ประชาธิปไตยเต็มใบ ประชาธิปไตยครึ่งใบ จึงสนับสนุนลัทธิกษัตริย์นิยม? ทาไม “ความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของชาติ” จึงมี ความสาคัญเหนือความเข้มแข็งของประชาชนพลเมือง 1 สิ่งที่เราควรตระหนักในเบื้องต้นก็คือ คึกฤทธิ์ มาจากชนชั้นสูง เป็นนักการเมืองอาชีพ พร้อมๆ กับการเป็น ปัญญาชนระดับสูง แม้คึกฤทธ์จะมีส่วนอย่างมากในการผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าทางภูมิปัญญาใน 1
59
ถ้ากล่าวอย่างง่ายๆ ลัทธิกษัตริย์นิยมก็คือการส่งเสริมให้กษัตริย์มีบทบาทในสังคมที่มากกว่า การเป็นเพียงสัญลักษณ์หรือเป็นประมุขของรัฐ แต่ให้เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทุกอย่างของรัฐที่ กระทาให้แก่ประชาชน จนเป็นศูนย์กลางของความรักและความศรัทธาของประชาชน สร้างให้เกิด ความรักความสามัคคีในหมู่ประชาชน ซึ่งสนับสนุนต่อลัทธิชาตินิยมในที่สุด2 สิ่งตรงข้ามกับลัทธิ กษัตริย์นิยมคือการสร้างพลเมืองของรัฐให้เป็นศูนย์กลาง สนับสนุนให้พลเมืองคิดริเริ่มและพยายาม ลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่ตนเองด้วยตนเอง สนับสนุนให้พยายามรวมตัวกัน สร้างความ เข้มแข็งให้แก่กันและกัน นาพลังและสติปัญญามารวมกัน เพื่อที่จะสร้างชีวิตที่ดีงามกว่าเดิมร่วมกัน บนพื้นฐานของความสัมพันธ์แบบเสมอภาค ซึ่งเป็นอุดมคติของระบอบประชาธิปไตย ประเด็นที่ สาคัญที่สุด ในความขัดแย้งระหว่างลัทธิกษัตริย์นิยมขัดแย้งกับลัทธิพลเมืองนิยม ก็คือการที่ลัทธิ กษัตริย์นิยมเน้นการสร้างให้พลเมืองมีศรัทธาต่อสิ่งภายนอกตน สนับสนุนระบบชนชั้น ระบบ อุปถัมภ์ จนเกิดความอ่อนแอทางปัญญา การยอมรับคาสอนต่างๆ อย่างไม่ตั้งคาถามหรือโต้แย้ง ซึ่งใน ที่สุดก็จะนามาซึ่งความไร้อานาจทางปัญญาที่จะคิดและตัดสินด้วยตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่ดีงาม อะไร คือสิ่งที่เที่ยงธรรมอย่างแท้จริง สาหรับตนเองและสาหรับสังคม อานาจทางปัญญาของคนในสังคมที่จะตั้งคาถามต่อสิ่งต่างๆ นั่นเอง คือสิ่งที่โสกราตีส ต้องการที่จะสร้างให้เกิดขึ้น เขาต้องการให้คนทุกคนในสังคมเอเธนส์สามารถใช้ปัญญาตัดสินได้ด้วย ตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่เที่ยงธรรมดีงามอย่างแท้จริงสาหรับตัวเองและสังคม ไม่ตกอยู่ใต้อานาจใดๆ สังคมไทย แต่ก็เป็นกาลังสาคัญอย่างยิ่งในการสร้างวัฒนธรรมอนุรักษ์นิยมของลัทธิชาตินิยม ผู้ที่มีนโยบาย สนับสนุนความเข้มแข็งของประชาชนพลเมืองอย่างแท้จริง ได้แก่ นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นผู้นาของคณะ ราษฏร์ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การใช้ลัทธิกษัตริย์นิยมในสังคมประชาธิปไตย โดยตัวเองแล้วฟังดูเป็นเรื่องแปลก เพราะในเชิง ประวัติศาสตร์แล้ว ระบบประชาธิปไตยเกิดจากการที่ประชาชนแย่งอานาจมาจากกษัตริย์ ลัทธิกษัตริย์นิยมจึง เป็นเหมือนการที่รัฐบาลหรือประชาชนพยายามจะคืนอานาจให้กษัตริย์ ถึงจุดหนึ่งอาจมีการขอรัฐบาลจาก กษัตริย์แทนที่จะเลือกตั้งเอาเองก็เป็นได้ ซึ่งเท่ากับเลิกเป็นประชาธิปไตยนั้นเอง อย่างไรก็ตาม ลัทธิกษัตริย์ นิยมก็อาจมีผลดีต่อประเทศในระยะที่วัฒนธรรมประชาธิปไตยยังอ่อนแอจนเกิดวิกฤตภายในอยู่เนืองๆ คือ กษัตริย์อาจสร้างสมบารมีและศรัทธาได้มากจนกลายเป็นศูนย์รวมของจิตใจได้อย่างแท้จริง และช่วยแก้ไข วิกฤติทางการเมืองภายในเช่นนั้นได้ แต่ถ้ากษัตริย์ได้สถานะเช่นนี้มาด้วยบารมีที่ตนเองสร้างสมขึ้นมาและ ทาให้ตนเองมีอานาจที่พิเศษกว่าปกติ เช่น อยู่เหนือการตรวจสอบและการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ทั้งสิ้นทั้งมวล และมีอิทธิพลเหนือการเมือง โอกาสก็จะมีสูงมากที่ผู้คนที่แวดล้อมกษัตริย์จะนาอานาจเช่นนั้นไปใช้ในทางมิ ชอบเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่ขึ้นมาเป็นกษัตริย์คนต่อไปอาจไม่สามารถสร้างสมบารมีเช่นนั้นได้ แต่อาจต้องการอานาจอันพิเศษกว่าปกติเช่นนั้น ระบบกษัตริย์ในฐานะของสถาบันทางสังคมก็จะเกิดปัญหา จนอาจพาไปสู่การล้นสลายของสถาบันกษัตริย์เองในที่สุด 2
60
ทั้งสิ้นในสังคม และด้วยเหตุนี้เอง โสกราตีสจึงรู้สึกว่าเขามีหน้าที่ที่สูงส่งที่สุดต่อสังคมเอเธนส์ ใน การสอนให้คนเอเธนส์ “รู้จักตนเอง” ซึ่งเขาถือว่าเป็นหน้าที่ที่เทพเจ้ามอบหมายให้เขากระทา และ ดังนั้นถ้าเขาจะต้องตายเพื่อการกระทาดังกล่าว เขาก็ต้องยอม สิ่งที่โสกราตีสกระทาเป็นสิ่งที่ซับซ้อน เขาสอนคนให้รู้จักตนเอง ตรวจสอบตนเอง เขาต่อสู้ กับแนวคิดแบบสัมพัทธนิยมของกลุ่มโซฟิสต์ (sophist) ที่อ้างตัวว่าเป็นผู้ทรงภูมิความรู้ เขาสอนคนให้ คิดเรื่องชีวิตที่มีค่า เขาสอนว่าคุณธรรมและความดีคือสิ่งที่สาคัญที่สุดของการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เขาพยายามสอนคนให้มีจิตวิเคราะห์วิจารณ์ นี่อาจจะดูคล้ายเป็นเรื่องพัฒนาการของปัจเจกบุคคล แต่มี ผลอย่างสาคัญต่อสังคม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าโสกราตีสมีอุดมคติทางการเมืองที่ต้องการสร้างสังคมกรุง เอเธนส์ให้เป็น “สังคมสัจจะนิยม-เหตุผลนิยม” เพื่อความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตย เรื่องนี้ เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าและการถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าไม่มีความเคารพในเทพเจ้า และสอนในสิ่งที่ทาให้คน หนุ่มเสื่อมเสีย ซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิตได้อย่างไร? แต่ก่อนอื่น ขอให้เรามามองดู “สังคมสัจจะนิยม-เหตุผลนิยม” ว่าต่างจากสังคมธรรมดา อย่างไร เราอาจกล่าวได้วา่ มนุษย์มีความต้องการที่พึ่งทางจิตใจ ต้องการอานาจเหนือธรรมชาติที่จะ ช่วยให้ตนพ้นภัยและให้ในสิ่งที่ตนปรารถนา เป็นอานาจซึ่งตนจะมอบความศรัทธาและยกชีวิตทั้ง ชีวิตไว้ภายใต้ความเมตตาของสิ่งดังกล่าว แม้มนุษย์จะพัฒนาความคิดความเข้าใจในความเป็นเหตุเป็น ผลของโลกธรรมชาติให้สูงขึ้น พ้นจากการยึดถือในอานาจของภูตผีวิญญาณ มาสู่ความเชื่อทางศาสนา ที่เป็นหลักคาสอนที่จะทาให้มนุษย์เอาชนะอานาจฝ่ายต่าในตนเอง แต่มนุษย์ก็ยังถูกแนวโน้มดังกล่าว ผลักดันให้สร้างความคิดเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ให้กับคาสอนและหลักปฏิบัติ ที่สร้างความสงบสันติ ให้แก่จิตวิญญาณ รวมทั้งสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้กับหลักปฏิบัติที่จัดระเบียบ สร้างความสัมพันธ์ของ การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นปกติสุขในสังคม เป็นจารีตประเพณีที่กอปรขึ้นเป็นวิถีแห่งชีวิต เป็นขั้นตอน ครรลองให้ประพฤติและดาเนินตามตั้งแต่เกิดจนตาย สร้างชีวิตให้เป็นระบบระเบียบ กล่าวก็คือ ศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีต และประเพณีเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อผลดังกล่าว และถูกยึดถือเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งหากถูกล่วงละเมิดด้วยการตั้งคาถามหรือข้อสงสัย ก็อาจกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกโกรธ แค้น เราอาจเรียกสังคมซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มทางจิตวิทยานี้ว่าเป็นสังคมแบบ “ศักดิ์สิทธิ์นิยม” หรือ “สังคมขนบจารีตนิยม” ขอให้ลองมองดูการนับถือศาสนาพุทธของคนไทยโดยทั่วไป แม้ศาสนาพุทธจะอ้างว่าเป็น ศาสนาแห่งปัญญา ซึ่งหมายความว่าทุกอย่างสามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล แต่เมื่อเรามองดูการยืดถือ ของคนทั่วๆ ไป เราจะพบว่าทั้งตัวพิธีกรรม วัตถุทางศาสนา หรือแม้แต่คาสอนที่บันทึกให้ท่องภาวนา ก็ล้วนแต่ถูกอานาจของศรัทธายึดถือให้มีความศักดิ์สิทธ์ ทรงอานาจเหนือความเป็นเหตุเป็นผลตาม ธรรมชาติ ขนบธรรมเนียมและจารีตปฏิบัติที่เป็นวิถีชีวิตในสังคมก็ถูกยึดถือให้มีความศักดิ์สิทธิ์
61
เช่นกัน ในขณะที่สังคมไม่มีความซับซ้อนมากและมีโครงสร้างการปกครองแบบก่อนหน้าระบอบ ประชาธิปไตย เช่น ในระบอบชนชั้น ศักดินา เจ้า-ไพร่ ระบอบการปกครองและจารีตประเพณีอาจ สอดคล้องสอดรับซึ่งกันและกันได้ เพราะเป็นระบบที่อานาจทางการปกครองก็ถูกถือให้มีความ ศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกันกับสิ่งอื่นๆ ที่สังคมถือว่าศักดิ์สิทธิ์ แต่เมื่อระบบการปกครองในสังคมก้าวหน้า ขึ้นจนเกิดระบอบประชาธิปไตย ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะระบอบ ประชาธิปไตยจะเรียกร้องให้คนเป็นอิสระจากอานาจศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งทั้งหลาย ที่สังคมสถาปนาตั้งขึ้น ให้คนต้องยอมคล้อยตามอย่างเกินเลยจากเหตุผล เราจะเห็นว่า สังคมแบบศักดิ์สิทธิ์นิยม-ขนบจารีต นิยม จะขัดแย้งกับระบบประชาธิปไตยจากตัวอย่างของเหตุการณ์หลายๆ แบบหลาย ๆ เหตุการณ์ ดังนี้ ตัวอย่างที่หนึ่ง ครั้งหนึ่ง คนจังหวัดเชียงใหม่และลาพูนโกรธแค้น สมาชิกวุฒิสภาหญิงคน หนึ่งที่ตั้งคาถามว่าทาไมในบริเวณชั้นในของพระธาตุดอยสุเทพจึงมีป้ายห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้า นี่เป็น การละเมิดสิทธิของสตรีหรือไม่? ทาไมผู้หญิงจึงไม่มีความเท่าเทียมกับผู้ชาย? เป็นที่รู้กันว่าความ โกรธแค้นนี้เริ่มต้นอย่างรุนแรงเพียงไรและใช้เวลานานเท่าไรกว่าจะอ่อนลง จนถึงขั้นที่เกิดการ ยอมรับได้ว่า แม้นี่จะเป็นสิ่งที่ขัดแย้งต่อวิถีชีวิตที่เป็นจารีตประเพณีและความศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุสาคัญ ทางศาสนา แต่ถึงกระนั้นก็เป็นสิ่งที่สามารถตั้งคาถามได้และสามารถที่จะตอบได้ เพราะสิ่งที่เป็น จารีตประเพณีจะต้องมีความเหมาะสมบางอย่างอยู่ในตัว ที่สามารถนามาอธิบายให้เป็นที่เข้าใจได้ อย่างน้อยที่สุดก็ในระดับหนึ่ง ตัวอย่างที่สอง กลางศตวรรษที่ยี่สิบ เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ นักปรัชญาร่วมสมัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดผู้ หนึ่งของวงการปรัชญาตะวันตก ได้เสนอต่อนักศึกษาในมหาวิทยาลัยว่า การอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงาน เพื่อเรียนรู้นิสัยใจคอของกันและกันก่อน เป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการหย่าร้างซึ่งกาลังเป็น ปัญหาใหญ่ของสังคมได้ เขาถูกพ่อแม่ผู้ปกครองของนักศึกษาเดินขบวนประท้วงขับไล่เขาออกจาก การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย โดยกล่าวหาว่าเขากาลังทาลายความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและ ความหมายของการแต่งงาน ตัวอย่างที่สาม ในตอนปลายของศตวรรษที่ยี่สิบ เกิดเหตุการณ์สาคัญเหตุการณ์หนึ่งของโลก ที่มาจากความคิดเห็นของคน ๆ เดียว ชื่อว่า ซัลแมน รัสดี (Salman Rushdie ค.ศ.1947 - ) เขาเขียน หนังสือชื่อว่า “Satanic Verses” ซึ่งมีเนื้อหาที่กล่าวหาศาสนาอิสลามในทางร้าย ทาให้ อยาตุลา โค ไมนี (Musavi Khomeini ค.ศ. 1900 – 1989) ผู้นาทางศาสนาสูงสุดของรัฐอิสลามอิหร่าน ได้ตัดสินให้ ประหารชีวิตเขา และประกาศชักจูงให้คนอิสลามทั่วโลกตามหาและฆ่าเขาทันทีที่ได้พบเห็น ซึ่งก็ดู เหมือนว่าคนอิสลามหัวรุนแรงทั่วโลกต่างสนับสนุนอยาตุลา โคไมนี ซึ่งทาให้รัฐบาลประเทศ ตะวันตกที่เป็นประชาธิปไตยทุกประเทศประกาศอนุญาตให้ที่พักลี้ภัยแก่เขา เขาต้องใช้ชีวิตหลบซ่อน ตัวเป็นเวลากว่าสิบปี ก่อนที่ศาสนาอิสลามจะตัดสินยกโทษให้ในที่สุด
62
ตัวอย่างทั้งสามแสดงให้เห็นความขัดแย้ง ระหว่างการแสวงหาชีวิตที่ดีที่สุดร่วมกันในสังคม ประชาธิปไตย ซึ่งต้องอาศัยการพิจารณาไตร่ตรองต่อปัญหาต่างๆ ด้วยเหตุผล แต่ก็สามารถสร้างให้ เกิดความโกรธแค้นต่อคนส่วนใหญ่ของสังคม ที่ยึดมั่นต่อความศักดิ์สิทธ์ของความคิดความเชื่อทาง ศาสนา และสิ่งที่เป็นขนบจารีตและธรรมเนียมปฏิบัติในสังคม เพราะแม้ว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมจะ มองเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นมีคุณค่าความดีอยู่ในตัวที่พวกเขารู้สึกถึงได้ หรือได้รับผลเป็นความดีความ ปรกติสุขในชีวิตและในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นมาแล้ว แต่พวกเขาก็ไม่เคยหาเหตุผลมาอธิบายให้กับ ตนเองอย่างจริงจังจนมีสติ พอที่จะไม่ตอบโต้ต่อผู้ที่มาตั้งข้อสงสัยไปด้วยอารมณ์โกรธ ชะตากรรม ของโสกราตีสก็เกิดขึ้นด้วยเหตุผลในลักษณะเดียวกันนี้ แต่ในรายละเอียดที่ซับซ้อนกว่ามาก เพราะ เกี่ยวข้องไปถึงเรื่องของรากฐานของการสอนศีลธรรมในสังคมกรีก สังคมกรีกเชื่อถือในเทพเจ้าหลายๆ องค์ ซึ่งมีคุณธรรมเฉพาะตน เป็นแบบอย่างทางศีลธรรม ที่ช่วยสร้างความสงบในจิตใจและความเป็นปกติสุขของการอยู่ร่วมกัน ซึ่งมีมหากาพย์อีเลียด (Iliad) และโอดีซี (Odyssey) ที่เขียนขึ้นโดยโฮเมอร์ (Homer 850 - ? ก่อนคริสต์กาล) เป็นตัวถ่ายทอดให้คน เห็นคุณธรรมต่างๆ ตามที่แสดงออกผ่านวีรกรรมที่เทพเจ้าและมนุษย์ผู้เกี่ยวพันกับเทพเจ้าได้ร่วมกัน สร้างขึ้นในแง่ต่างๆ ดังนั้น มหากาพย์ทั้งสองจึงเป็นหนังสือสอนศีลธรรมในลักษณะแบบเดียวกับ มหากาพย์รามายณะ (รามเกียรติ)์ มหาภารตะยุทธ์ ของศาสนาฮินดู พุทธชาดก และทศชาติ ของศาสนา พุทธ ในแง่นี่ศีลธรรมถูกสอนผ่านการแสดงตัวอย่างของการปฏิบัติตามคุณธรรมเป็นข้อ ๆ แต่ไม่ใช่ การสอนด้วยวิธีการอธิบายด้วยหลักการที่เป็นเหตุเป็นผล มีตรรกะที่จะทาให้สามารถอนุมาน สรุปข้อ ตัดสิน จากหลักการพื้นฐานไปเป็นขั้นๆ มีการตรวจสอบแต่ละขั้น ด้วยการหาพยานหลักฐานมา สนับสนุนหรือขัดแย้ง กล่าวก็คือ เป็นการสอนศีลธรรมที่ยังไม่ได้มีระบบทฤษฎีจริยศาสตร์ใดๆ รองรับ โสกราตีสเป็นคนที่มีสติปัญญาสูงมาก เขามองเห็นว่า การเรียนรู้ศีลธรรมผ่านตัวอย่างของการ ปฏิบัติเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอ เพราะเป็นการเรียนรู้อย่างตื้นๆ ไม่ได้เป็นการเรียนรู้ที่ใช้ปัญญาไตร่ตรอง จนเข้าใจถึงสารัตถะแก่นแท้ของความถูกต้องดีงามของศีลธรรมอย่างแท้จริง เป็นการใช้ความรู้สึกเป็น ตัวนามากกว่าปัญญา ถ้าเราลองถามคนเอเธนส์ในยุคนั้นว่าทาไมคุณธรรมข้อนี้ข้อนั้นจึงเป็นความดี ชาวเอเธนส์ก็คงจะตอบว่า ความดีเป็นความดีเพราะเป็นสิ่งที่เทพเจ้าปรารถนา เทียบได้กับการที่คน พุทธจะตอบว่า ศีลห้าเป็นความดีเพราะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนให้คนปฏิบัติ สาหรับโสกราตีสนี่ เป็นเพียงการเชื่อเอาเพราะอานาจของศรัทธาที่ไม่ได้ใช้ปัญญาในการไตร่ตรองเลย เขาจึงตั้งคาถามว่า “(ประการที่หนึ่ง) สิ่งที่ดีงาม ดีงามเพราะพระเจ้าปรารถนา หรือ (ประการที่สอง) พระเจ้าปรารถนาใน สิ่งที่ดีงาม เพราะมันเป็นสิ่งที่ดีงาม?” และถ้ามันเป็นด้วยเหตุผลแบบที่สอง เราก็ต้องถามต่อไปว่า
63
อะไรคือสิ่งที่ทาให้สิ่งที่ดีงามเป็นสิ่งที่ดีงาม (และดังนั้นเทพเจ้าจึงปรารถนามัน) โสกราตีสต้องการให้ คนตั้งคาถามเรื่องความดีและคุณธรรม ไม่เชื่อเอาอย่างง่ายๆ เพราะอานาจของศรัทธาแบบไร้ปัญญา3 แต่ถึงแม้เขาจะชักจูงคนให้ตั้งคาถามเรื่องความดี โสกราตีสก็ไม่ได้เสนอทฤษฎีคุณธรรมให้ คนใช้อธิบายข้อตัดสินในเรื่องดังกล่าว เพราะสิ่งที่เขาพะวงไม่ใช่การให้ทฤษฎีคุณธรรมแก่คนเอเธนส์ แต่เป็นการวิพากษ์เพื่อชี้ให้คนเห็นถึงความไม่เพียงพอต่อเหตุผลของท่าทีสองอย่าง เราได้ชี้ให้เห็น ท่าทีอย่างแรกไปแล้ว ซึ่งก็คือการใช้ความรู้สึกและศรัทธาเป็นตัวนา ท่าทีอย่างที่สองคือ ท่าทีตาม ทฤษฎีศีลธรรมแบบสัมพัทธนิยม ที่กลุ่มโซฟิสต์กาลังเผยแพร่ และมีอิทธิพลต่อคนหนุ่มในสังคม เอเธนส์ การจะเข้าใจบทบาทของกลุ่มโซฟิสต์ต่อสังคมเอเธนส์ เราต้องย้อนกลับไปสู่วิถีการเมืองแบบ ประชาธิปไตยของเอเธนส์ เราได้เห็นแล้วว่าวิถีของประชาธิปไตยคือการใช้เหตุผล และ พยานหลักฐาน และการใช้หลักตรรกะในการอนุมานจากความคิดหนึ่งไปสู่อีกความคิดหนึ่ง และการ นาเหตุผลหลายๆข้อมาประมวลเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างหรือสนับสนุนข้อตัดสินทางนโยบาย ซึ่ง นักการเมืองจะยกเรื่องของการสร้างความยุติธรรม ความเที่ยงธรรมในสังคม มาอ้างว่าเป็นจุดมุ่งหมาย ของนโยบายของตน แต่ก็กลับสามารถอ้างเหตุผลและข้อตัดสินที่แตกต่างกันไปได้อย่างมากมาย ซึ่ง ถ้าเป็นข้อตัดสินทางวิทยาศาสตร์ก็จะถือว่า แสดงให้เห็นถึงความยังไม่สิ้นสุดเพียงพอของตัวความรู้ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แต่นักการเมืองก็จะใช้วาทศิลป์มาประสมกับเหตุผลและพยานหลักฐาน เพื่อชัก จูงผู้คนให้ยอมรับนโยบายของตน ดังนั้นความสามารถในการใช้วาทศิลป์หว่านล้อมชักจูงผู้คน และ ความสามารถในการใช้หลักตรรกะในการอ้างเหตุผลจึงเป็นเครื่องมือที่สาคัญ ในการได้มาซึ่งอานาจ ทางการเมือง
แม้ว่าประเด็นเรื่อง ความดี-เทพเจ้า-ความรัก อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผลนี้ ปรากฏอยู่ในการสนทนากับยู ไทรโฟรในช่วงเวลาที่โสกราตีสกาลังรอการเริ่มต้นการดาเนินคดีตามข้อกล่าวหาของเมเลตัส คือไม่นาน ก่อนความตายของเขา แต่ที่จริงแล้ว ประเด็นปัญหาที่ว่า ความดีและชีวิตที่ดีคืออะไร เป็นสิ่งที่โสกราตีสให้ ความสนใจมาตลอดชีวิตการสอนปรัชญาของเขา ไม่ใช่เฉพาะในวันที่เขามาพบยูไทรโฟรโดยบังเอิญที่ศาล เท่านั้น ยูไทรโฟรเองมาที่ศาลก็เพื่อที่จะฟ้องพ่อของตนที่ทาให้ทาสตาย เพราะกักขังไว้จนลืม เพราะทาสคน นั้นทุบตีทาสอีกคนจนตายก่อน ยูไทรโฟรคิดว่าการฟ้องพ่อของตนเองเป็นความยุติธรรมในฐานะพลเมือง ของรัฐ แต่โสกราตีสก็พยายามแสดงเหตุผลว่าความยุติธรรมนั้นบางส่วนก็ดีงามอย่างแท้จริง บางส่วนก็อาจ ไม่ใช่ หมายความว่า ความยุติธรรมบางอย่างอาจจะไม่ใช่ความดีงามที่สูงส่งก็ได้ ดูเหมือนโสกราตีสจะ ยอมรับว่าการกระทาบางอย่างก็ดีงามเพียงอย่างเดียว บางอย่างก็ชั่วร้ายเพียงอย่างเดียว บางอย่างก็ปนกันทั้ง สองอย่าง 3
64
โซฟิสต์เป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่ใช่นักการเมือง แต่รับจ้างสอนตรรกศาสตร์ วาทศิลป์ และความรู้ อื่นๆ ให้กับคนที่ต้องการเป็นนักการเมือง โซฟิสต์อ้างตนว่าเป็นผู้ทรงความรู้ในศาสตร์ของคุณธรรม และความเที่ยงธรรม ที่จะใช้ในการปกครอง แต่สิ่งที่โซฟิสต์สอนกลับเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสังคม โซฟิสต์สอนให้คนใช้เหตุผลวิพากษ์วิจารณ์ความคิดความเชื่อตามจารีตประเพณีที่มีอยู่ในสังคม ราว กับปรารถนาที่จะเปลี่ยนสังคมให้เป็นสังคมที่ใช้เหตุผลไตร่ตรองสิ่งต่างๆ เช่นเดียวกับความต้องการ ของโสกราตีส แต่ที่จริงโซฟิสต์ไม่ได้มีความจริงใจต่อสังคม เพราะโซฟิสต์รับจ้างสอนด้วยค่าสอนที่ แพง เพื่อสร้างความร่ารวยให้ตนเอง และคาสอนเรื่องคุณธรรมความเที่ยงธรรมที่โซฟิสต์สอน แม้จะมี การใช้หลักเหตุผล มีการสืบสวนหาพยานหลักฐาน ที่ไกลกว่าที่คนในสังคมใช้อยู่ แต่ก็มีสถานะเป็น เพียง “ความคิดเห็น” มากกว่าที่จะเป็น “ความรู”้ เพราะเต็มไปด้วยจุดอ่อนอย่างมากมาย เมื่อโสกราตีส เข้าซักถามตรวจสอบ “ความรู้” ดังกล่าว โซฟิสต์จึงไม่สามารถอธิบายหลักการและเหตุผลรองรับคา สอนของตนเอง ได้อย่างคงเส้นคงวา ไม่เกิดความขัดแย้งในตนเอง สิ่งที่โสกราตีสพยายามทาคือ สอนคนให้แยกแยะระหว่างความรู้ และความคิดเห็นหรือความ เชื่อ ความเชื่อหรือความคิดเห็นอาจเป็นสิ่งที่ถูกต้องคือตรงกับความเป็นจริง ซึ่งคนมักจะคิดว่าความ คิดเห็นที่ถูกต้องคือความรู้ แต่ข้อแตกต่างระหว่างของทั้งสองอย่างก็คือ ผู้ที่มีความรู้จะต้องสามารถ อธิบายได้ว่าทาไมสิ่งที่พูดขึ้นมาในฐานะความรู้นั้นจึงเป็นจริง ซึ่งหมายความว่า เมื่อคนพูดว่าตนเองรู้ ในอะไรบางอย่าง เขาจะต้องสามารถให้เหตุผล สร้างข้อถกเถียงมาปกป้องคาวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น ทาให้ผู้อื่นเห็นได้ว่า สิ่งที่พูดขึ้นมานั้นเป็นความจริง อย่างที่ใครก็ไม่อาจปฏิเสธได้ ดังนั้นความรู้จึง ไม่ใช่สิ่งที่สามารถหยิบยื่นให้กันได้เหมือนความเชื่อ แต่ต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้เหตุผลและ ปัญญาไตร่ตรองเอาด้วยตนเอง ของตัวบุคคลผู้ที่รู้ โสกราตีสต้องการให้คนเกิดความรู้ในความหมาย เช่นนี้ มากกว่าที่จะมีเพียงความคิดเห็นที่ถูกต้อง ดังนั้นอันตรายข้อที่หนึ่งของคาสอนของโซฟิสต์ก็คือ การทาให้คนเข้าใจผิด ว่าสิ่งที่มีฐานะ เป็นเพียงแค่ความคิดเห็น ซึ่งอาจพอมีเหตุผลและหลักฐานประกอบเพียงนิดๆ หน่อยๆ สามารถนับ เรียกว่าเป็นความรู้ และเชื่อว่าโซฟิสต์เป็นผู้มีความรู้ เพียงเพราะหลงไปกับวาทศิลป์ การใช้ภาษาที่ กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก และถูกล่อลวงไปด้วยทักษะความสามารถในการใช้ตรรกะที่ซับซ้อนของ โซฟิสต์ แต่ในการที่โสกราตีสพยายามโจมตีคาสอนต่างๆ ของโซฟิสต์ เพื่อเปิดโปงถึงการใช้เหตุผลที่ ไม่เพียงพอของโซฟิสต์นั้น ตัวโสกราตีสเองก็ต้องใช้วาทศิลป์ และตรรกะที่ซับซ้อนเช่นเดียวกัน ดังนั้นโสกราตีสก็ทาให้คนเอเธนส์ส่วนใหญ่เข้าใจผิด ว่าเขาเองก็เป็นโซฟิสต์คนหนึ่ง และกลายเป็น เป้าของความโกรธแค้นที่ชาวเอเธนส์มีต่อโซฟิสต์ไปด้วย อันตรายประการที่สองของโซฟิสต์ก็คือการสอนว่าศีลธรรมเป็นเรื่องสัมพัทธ์ (relative) ซึ่ง หมายความว่า ดี ชั่ว ถูก ผิด เป็นเพียงแค่สิ่งสมมติ เป็นเพียงการตัดสินไปตามความพึงพอใจของผู้
65
ตัดสิน โซฟิสต์เห็นว่าคนต่างสังคมต่างวัฒนธรรมล้วนแต่ตัดสิน ดี ชั่ว ถูก ผิด ไปเองตามความพึง พอใจของตน ตามสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ของตนเอง ดังนั้น ดี ชั่ว ถูก ผิด จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีมาตรฐานที่ แท้จริง โซฟิสต์จึงเป็นคนกลุ่มแรกที่เสนอคาสอนว่า “มนุษย์เป็นมาตรวัดของทุกสิ่ง” และเสนอคา สอนว่า ไม่มีสิ่งที่เป็นแก่นสารสารัตถะของความยุติธรรม สิ่งที่ยุติธรรมก็คือสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุด ต่อตัวเราเอง ความยุติธรรม ความเที่ยงธรรมทางการเมืองก็คือสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ต่อเรา ที่เรา สามารถหาเหตุผลมาชักจูงให้ผู้อื่นเห็นว่าเป็นผลประโยชน์ของเขา นี่เท่ากับว่าโซฟิสต์กาลังสอนความ ฉ้อฉลคดโกง ให้กับผู้ที่จะเข้ามาสู่อาชีพทางการเมือง ดังนั้นการสอนของโซฟิสต์จึงต่างจากคาสอนของโสกราตีสอย่างกลับหน้ามือเป็นหลังมือ โสกราตีสสอนให้คนมองเห็นความไม่เพียงพอ ของการของการเรียนรู้คุณธรรมจากสิ่งที่เป็น ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี หรือการเรียนรู้จากตัวอย่างที่ไม่ได้นาไปสู่การไตร่ตรองจนเข้าใจถึง ธรรมชาติแก่นแท้ เขาเห็นตรงกันข้ามกับโซฟิสต์ นั่นก็คือเขาเห็นว่าคุณธรรมความดีงามเป็นสิ่งที่มี มาตรฐานที่แท้จริง คงตัว ไม่เปลี่ยนแปลง และการมีความรู้ในแก่นแท้ดังกล่าวเป็นสิ่งที่สาคัญยิ่งต่อ ชีวิต สาคัญอย่างสูงสุดต่อการรู้จักตนเอง รู้จักวิธีที่จะดูแลตนเอง และทาตนเองให้มีความสุขอย่าง แท้จริง ไม่ถูกล่อลวงด้วยความดีปลอมๆ ซึ่งจะพาไปสู่ความทุกข์ในภายหลัง เขาเห็นว่าความรู้ในความ ดีงามซึ่งจะทาให้ชีวิตของเรามีความสุข จะได้มาก็จากเพียงการใช้สิ่งที่สูงส่งที่สุดในจิตวิญญาณ และ เป็นพลังในการรู้ของมนุษย์ ซึ่งได้แก่ปัญญา เข้าตรวจสอบค้นหาเอาจากภายในตนเอง ดังนั้นโสกรา ตีสจึงสอนว่า “ชีวิตที่มีค่าคือชีวิตที่มีการตรวจสอบตนเองอยู่เสมอ” นั่นคือ เราจะต้องถามตนเองอยู่ เสมอว่าสิ่งที่เรากาลังทาอยู่นั้นใช่สิ่งที่มีค่าที่แท้จริง ที่จะทาให้เรามีความสุข จริงหรือไม่ โสกราตีสเชื่อ ว่ามนุษย์ต้องการความดีงาม เพราะความดีเป็นการเติมเต็มให้ชีวิต ทาให้ชีวิตมีความสุข เราอาจมี ความสุขกับของอย่างอื่นแล้ว แต่ถ้าเรายังไม่มีความสุขกับความดีงามของตนเอง เราก็ยังมีชีวิตที่ไม่ สมบูรณ์ โสกราตีสคิดว่า เขาได้รับหน้าที่มาจากเทพเจ้า เพราะเขาพยายามสอนคนเอเธนส์ให้ทาตามคา จารึกบนวิหารของเมืองเดลฟีที่กล่าวว่า “จงรู้จักตนเอง” คนๆ หนึ่งที่เขาสนทนาด้วยในเรื่องการรู้จัก ตนเองก็คืออัลซิไบดัส (Alcibiades) ซึ่งเป็นชายหนุ่มผู้มีทุกอย่างพร้อม ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตาที่ หล่อเหลาสง่างาม ฐานะชาติตระกูล การศึกษา และภูมิปัญญา และปรารถนาที่จะเข้าสู่การเมือง และดู เหมือนว่าอัลซิไบดัสก็เป็นอีกผู้หนึ่ง ที่คิดไปว่าตนเองรู้เรื่องความยุติธรรม และสิ่งที่ดีมีคุณค่าสาหรับ ชาวเอเธนส์ แต่การซักถามตรวจสอบของโสกราตีสก็ทาให้เขาตระหนักว่า เขายังไม่รู้กระทั้งว่าอะไร คือสิ่งที่ดี และมีคุณค่าอย่างแท้จริง แม้สาหรับตัวเขาเอง และดังนั้นแล้วก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ว่าเขาจะรู้ ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีมีคุณค่าอย่างแท้จริงสาหรับชาวเอเธนส์ เพราะเราจะรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่มีค่าน่า ปรารถนาสาหรับผู้อื่น ก็ต่อเมื่อเรารู้จักสิ่งที่มีค่าน่าปรารถนาสาหรับตัวเราเองก่อน ดังนั้นจึงกล่าวได้ ว่า โสกราตีสแสดงให้เราเห็นว่า การรู้จักตนเอง การตรวจสอบตนเอง ความเข้มแข็งทางปัญญา การมี
66
ชีวิตที่มีค่า และความดีงามในสังคมเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่การสอนเช่นนี้เองก็ทาให้โสกรา ตีสกลายเป็นผู้นาของกระแสทางการเมืองที่อาจเรียกว่า กระแสของการเรียกร้องให้นโยบายทางการ เมืองทั้งหลาย ต้องสามารถอธิบายปกป้องตนเอง และแสดงหลักการรองรับได้อย่างถึงที่สุด หรืออาจ เรียกง่ายๆ ว่า กระแสของการเรียกร้องพื้นฐานทางปรัชญาของนโยบายทางการเมือง หรือการทาให้ การเมืองเป็นเรื่องแห่งสัจจะและเหตุผล ในขณะที่โสกราตีสกระทาสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นหน้าที่ที่เทพเจ้ามอบหมายให้เขากระทา ซึ่งก็ คือ การตรวจสอบไตร่สวนความคิดของพวกโซฟิสต์ และแสดงให้คนเหล่านั้นเห็นว่าพวกเขาไม่ได้มี ความรู้จริง ก็จะมีคนหนุ่มที่มาจากตระกูลที่มีฐานะ มีเวลาว่างมาก คอยห้อมล้อมฟังการสนทนา เมื่อ คนหนุ่มเห็นความดีของวิธีการวิพากษ์ตรวจสอบแสวงหาความจริงของโสกราตีส ก็นาไปใช้ ตรวจสอบความคิดความเชื่อ ตรวจสอบขนบธรรมเนียม จารีต และสิ่งต่างๆ ที่คนรุ่นพ่อแม่ของตนเอง เห็นว่าเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ และนาไปใช้ตรวจสอบสังคมและนโยบายทางการเมือง ความไม่พอใจต่อ โสกราตีสก็ย่อมเกิดขึ้นไม่เพียงเฉพาะจากคนที่โสกราตีสเข้าไปตรวจสอบ หรือถูกโสกราตีสพาดพิง ถึง แต่รวมทั้งจากพ่อแม่ชาวเอเธนส์ ที่เห็นว่าโสกราตีสทาให้บุตรของตนเป็นคนหัวดื้อไม่เชื่อฟังคาสั่ง สอน ไม่เคารพในสิ่งที่เป็นจารีตประเพณีที่พ่อแม่เห็นว่าดี และทั้งย่อมต้องถูกโกรธแค้นจาก นักการเมืองที่มีอานาจ ที่ต้องประสบความยุ่งยากจากกระแสของการวิพากษ์ตรวจสอบ คนเหล่านี้ซึ่ง อยู่ภายใต้อานาจของอารมณ์มากกว่าปัญญา จึงกลายเป็นศัตรูของโสกราตีส อันตรายที่แท้จริงต่อโสก ราตีสมาจากนักการเมืองนามว่า อนีตัส ผู้นาพรรคประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพรรคที่มีอิทธิพลสูงสุดและ กุมอานาจทางการเมืองในเอเธนส์ขณะนั้น ซึ่งต้องการหยุดยั้งการสอนดังกล่าวของโสกราตีส จึง กล่าวโทษโสกราตีสด้วยข้อหาฉกรรจ์สองข้อหา คือทาให้คนหนุ่มเสื่อมเสีย และไม่เคารพเทพเจ้าของ ชาวเอเธนส์ ในบทสนทนาเรื่องอพอลโลจี (Apology) เราจะพบว่า โสกราตีสสามารถให้เหตุผล ปกป้องตนเองจากทั้งสองข้อหา แต่เขาไม่ยอมที่จะหยุดสอนคนให้มีจิตวิเคราะห์วิพากษ์ตรวจสอบ เพราะ เขาเห็นว่านั่นคือทางเดียวเท่านั้นที่คนเอเธนส์จะมีชีวิตที่มีค่าที่แท้จริง และมีสังคมที่เข้มแข็ง โสกราตีสจึงถูกตัดสินประหารชีวิต ก่อนที่จะถูกตัดสินประหารชีวิตศาลให้โอกาสเขาพิพากษาตนเอง เขาตัดสินว่าเขาควรได้รับการเลี้ยงอาหารในวิหารของเทพเจ้า เพื่อเป็นการขอบคุณจากชาวเอเธนส์ใน ฐานะวีรบุรุษ เพราะเขาได้ทาสิ่งที่ดีงามต่อชาวเอเธนส์ คนอาจจะคิดว่านี่คือความหยิ่งยโส แต่ที่จริง แล้ว นี่ความจริงใจต่อตนเองและต่อเอเธนส์อย่างที่สุดของโสกราตีส เขาได้รับโอกาสให้ทั้งหยุดสอน และเนรเทศตนเองออกไปจากเอเธนส์ แต่เขาก็ไม่เลือกทั้งสองประการ เพราะนั่นจะเท่ากับเป็นการ ทรยศต่อคาสอนของตนเอง เขาถือว่าความตายไม่มีความสาคัญแต่อย่างใด เพราะเขาได้ทาสิ่งที่เทพเจ้า ได้มอบหมายให้เขากระทาต่อชาวเอเธนส์แล้ว โสกราตีสรู้ตัวดีว่าเขาสร้างความระคายเคืองให้กับผู้คนในสังคม แต่นั่นเป็นสิ่งที่เขาเลือก ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่จาเป็นต้องเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของนักปรัชญา นักปรัชญาเป็น
67
เสมือนปลาไหลไฟฟ้า คือทาให้คนที่ถูกกระทบ ช๊อตจนมึนงงทาอะไรไม่ถูก นักปรัชญามีหน้าที่ทาให้ คนที่ตนสนทนาด้วยรู้ว่าตัวเขาเองนั้นไม่รู้ เพื่อจะได้เริ่มต้นหาความรู้ต่อไป เมื่อนั้นเขาจึงมีโอกาสที่จะ มีปัญญาจริงๆ เพราะคนมักจะหลงผิดว่าความเชื่อคือความรู้ จึงจะต้องถูกทาให้รู้ตัวเสียก่อนว่าความ เชื่อที่เขามีอยู่นั้น ไม่ใช่ความรู้ที่แท้จริง สาหรับสังคมเอเธนส์นั้นโสกราตีสเปรียบให้เป็นม้า ถ้าทุก อย่างปกติมันก็จะเอาแต่นอน กิน แล้วก็อุ้ยอ้ายเชื่องช้ากลายเป็นม้าเลว ตัวเขาเองจึงเป็นเหมือนตัว เหลือบที่จะต้องคอยกัดเพื่อให้ม้าเจ็บ สะดุ้งตื่น ลุกขึ้นสะบัดตัว เตะหน้าเตะลัง กระปรี้กระเปร่า มันจึง จะคงความเป็นม้าดีไว้ได้ มีอะไรบางอย่างที่ควรจะกล่าวเกี่ยวกับอนีตัส ผู้กล่าวโทษโสกราตีส ในบทสนทนาเรื่องเมโน (Meno) ซึ่งเมโนตั้งคาถามต่อโสกราตีสว่าคุณธรรมเป็นสิ่งที่สอนกันได้หรือไม่ อนีตัสในวัยหนุ่มก็ ร่วมอยู่ในการสนทนาด้วย และอนีตัสก็แสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่พอใจต่อคาสอนของพวกโซฟิสต์ และกังวลต่อความดีงามในรัฐ ดังนั้นจึงเข้าร่วมการสนทนาดังกล่าว แต่เมื่อโสกราตีสเริ่มให้เหตุผลว่า คุณธรรมเป็นสิ่งที่สอนให้กันไม่ได้ และพูดพาดพิงไปถึงรัฐบุรุษผู้เป็นที่เคารพรักของชาวเอเธนส์ว่า เป็นที่รู้กันดีว่าไม่มีใครสามารถสอนบุตรให้มีคุณธรรมอย่างที่บิดามีได้เลย อนีตัสก็โกรธและเดิน ออกไปจากวงสนทนา และกล่าวอาฆาตว่าโสกราตีสกาลังพูดในสิ่งที่จะนาภัยมาใส่ตัว โสกราตีสก็ได้ แต่ฝากกับเมโนไว้ว่า อาจจะช่วยหาทางพูดกับอนีตัสให้ใจเย็นและมีเหตุผลมากกว่านี้ จะได้รับฟัง เรื่องราวจนจบ4 สิ่งที่เราเห็นก็คือ อนีตัสเองก็มีความรักต่อความดีงามในสังคม แต่เขาก็มีความเชื่อที่ ผิดๆ ว่าเพื่อรักษาความดีงาม ความจริงบางอย่างเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะพูดถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจริง ที่อาจกระทบต่อบุคคลที่ผู้คนเคารพศรัทธา แต่สาหรับโสกราตีสแล้วปัญญาจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าความ จริงต้องมีขีดขวางกั้น และแม้คุณธรรมจะเป็นสิ่งที่สอนกันไม่ได้ แต่คุณธรรมก็ไม่อาจแยกออกจาก ปัญญาได้ ต่อเมื่อคนมีปัญญาเท่านั้น คนจึงจะบรรลุคุณธรรมที่แท้จริงได้ เราอาจกล่าวได้ว่าโสกราตีสตายเพราะอานาจของคนที่ใช้ศรัทธาอยู่เหนือปัญญา และใช้ อารมณ์โกรธจนไร้สติ พวกเขาปฏิเสธที่จะฟังเรื่องราวต่างๆ จนจบ เพื่อจะได้เข้าใจเจตนาที่แท้จริงของ โสกราตีส พวกเขามองเห็นว่าการวิจารณ์คือการทาลาย ทั้งที่มันคือสิ่งที่จาเป็นสาหรับการสร้างสรรค์ ที่จริงแล้ว การที่โสกราตีสพูดว่าคุณธรรมเป็นสิ่งที่สอนกันไม่ได้ ก็ไม่ได้แปลกแต่อย่างไร เพราะปัญญาที่ แท้จริงก็เป็นสิ่งที่สอนให้กันไม่ได้เช่นเดียวกัน เราอาจให้ข้อคิดเห็นต่อกันได้ และมันก็มักจะมาจากญาณ ทัศนะของแต่ละคน แต่ญาณทัศนะจะกลายเป็นปัญญาที่แท้จริงได้ ก็เมื่อคนแต่ละคนเอาเหตุผลเข้าไป ตรวจสอบมันในทุกแง่ทุกมุมที่เป็นไปได้ คนมักจะคิดว่าพอเขาได้ยินอะไรที่เข้าได้กับญาณทัศนะของตน นั่นก็คือความรู้ แต่โสกราตีสยืนยันว่า นั่นยังไม่เพียงพอที่จะเรียกว่าความรู้ ความรู้เป็นญาณทัศนะส่วนที่ผ่าน การตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์แล้วเท่านั้น คุณธรรมก็เป็นญาณทัศนะที่ต้องอาศัยเหตุผลเข้าไปตรวจสอบ เช่นเดียวกัน 4
68
สิ่งที่เราสามารถเรียนรู้จากเหตุการณ์นี้ก็คือ คนดีสามารถทาลายคนที่ดียิ่งกว่าตนได้ด้วยความเข้าใจผิด และด้วยเหตุแห่งการตกเป็นทาสของอารมณ์โกรธ ห้าศตวรรษหลังความตายของโสกราตีส ผู้ปกครอง ชาวโรมันรู้ด้วยปัญญาและประสบการณ์ของตน ว่าพระเยซูสอนในความดีที่สูงส่งกว่าศาสนาที่มีอยู่ และเขาพยายามจะต่อรองกับชาวยิวใต้ปกครองทุกวิถีทางที่จะไม่ลงโทษพระเยซู แต่ชาวยิวไม่ยอม ดังนั้นเพื่อความสงบสุขของสังคม เขาก็ต้องออกคาสั่งให้ตรึงกางเขนพระเยซูตามความต้องการของ ชาวยิว และพระเยซูก็ต้องใช้ชีวิตของพระองค์พิสูจน์คาสอนของพระองค์ว่า พระเจ้าปรารถนาให้ มนุษย์รักผู้อื่นเสมือนรักตนเอง เพราะพระเจ้าคือความรักและการให้อภัย ซึ่งชาวยิวยอมรับการตีความ พระเจ้าเช่นนี้ไม่ได้ พวกเขาเป็นทาสและถูกรังแกมามากเกินกว่าที่จะรักและให้อภัยต่อศัตรูที่บังคับตน ลงเป็นทาส เขาจึงเห็นพระเยซูเป็นผู้ทรยศ และเป็นผู้ทาลายความฝันของชาวยิวที่จะเอาชนะและกลับ ขึ้นเป็นนายบ้าง ในขณะที่พระเยซูแสดงออกถึงความรักและการให้อภัยต่อผู้ที่กาลังเฆี่ยนตีทรมานตน และกาลังตรึงกางเขนตน อยู่ตลอดเวลา นี่คือมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่สองคนที่ถูกทาลายโดยมนุษย์ที่ก็มิได้ชั่ว ร้าย แต่ปล่อยให้อารมณ์โกรธมาบดบังปัญญาและธรรมชาติฝ่ายดีในตน การสอนคนให้ใช้ปัญญาตรวจสอบทุกสิ่งทุกอย่างที่มีความหมายและความสาคัญต่อชีวิต ทั้ง ชีวิตส่วนตัว และชีวิตที่เราสัมพันธ์กับสังคม คือการที่โสกราตีสต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม เอเธนส์จากความเป็นสังคมศักดิ์สิทธิ์นิยมมาสู่ความเป็นสังคมเหตุผลนิยม ซึ่งเป็นรากฐานของการ เกิดขึ้นของวิชาปรัชญาในโลกตะวันตก เป็นการแสวงหาความรู้ความเข้าใจในทุกสิ่งทุกอย่างด้วย “วิ พากษวิธ”ี (dialectic) และมีความแตกต่างไปจากวิชาปรัชญาที่เกิดขึ้นในโลกตะวันออก วิชาปรัชญา ของตะวันตกที่เริ่มต้นจากโสกราตีส มุ่งไปสู่การเติบโตทางปัญญาร่วมกันของคนทั้งสังคม มีเป้าหมาย เพื่อสร้างวิถีชีวิตที่ดีงามที่สุดของปัจเจกบุคคล ผู้แสวงหาความหมายของชีวิตในการอยู่ร่วมกันกับ ผู้อื่นในสังคม แตกแขนงออกมาเป็นการค้นหารากฐานของความรู้และความจริง รองรับการเกิดขึ้น ของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ต่างจากปรัชญาตะวันออกที่เน้นการแสวงหาทางหลุดพ้น ใช้วิธีการของ การทาสมาธิวิปัสสนาทาจิตให้สงบนิ่ง และใช้ญาณของวิปัสสนาสมาธิเข้าถึงสัจธรรมสูงสุด ซึ่งบุคคล จะต้องสละโลก แยกตนเองตัดขาดจากสังคม ค้นหาแต่ความเป็นจริงทางจิตใจและปฏิเสธคุณค่าของ ความเป็นจริงทางวัตถุ โลกตะวันตกยกย่องบูชาโสกราตีสในฐานะแบบอย่างของชีวิตที่มีอุดมคติ เป็นแบบอย่างของ ความกล้าหาญทางศีลธรรม คนตะวันตกยอมรับและถือปฏิบัติตามคาสอนของโสกราตีสที่ว่า “ชีวิตที่ดี คือชีวิตที่มีการตรวจสอบตนเองอยู่เสมอ” ยอมรับในวิพากษวิธี ซึ่งก็คือยอมรับว่า การใช้เหตุผล โต้เถียงกันคือหนทางที่ดีที่สุดในการสร้างความเข้าใจร่วมกัน และในการสร้างข้อตัดสินสาหรับให้ สังคมรับไปปฏิบัติร่วมกัน นั่นก็คือ จากการอุทิศชีวิตของโสกราตีส และการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลง พื้นฐานความคิดในสังคมของนักปรัชญาตะวันตกที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โลกตะวันตกเปลี่ยนจาก สังคมศักดิ์สิทธิ์นิยมจารีตนิยมมาเป็นสังคมเหตุผลนิยม สมตามอุดมคติของโสกราตีส คาถามที่
69
ย้อนกลับมาถึงเราก็คือ เราควรยอมรับบทเรียนจากชีวิตและอุดมคติของโสกราตีสมาเป็นของเราด้วย หรือไม่? เมื่อมองดูไปสู่ความรู้สึกจากส่วนลึกของจิตใจ เป็นไปได้ที่จะมีอะไรบางอย่างในตัวเราที่จะ ทาให้เรารู้สึกไปในทางเป็นปฏิปักษ์ต่อเขาเช่นเดียวกับที่คนส่วนใหญ่ในเอเธนส์รู้สึก แน่นอนที่คน บางคนจะตอบโต้ต่อเรื่องราวของโสกราตีส ด้วยการยืนยันว่า โสกราตีสเป็นตัวอันตราย! เป็นตัว ก่อกวน! เป็นไปได้ที่ผู้อ่านบางคนจะรู้สึกเกลียดชังโสกราตีส! เพราะเขาเกลียดการที่ต้องคิดอะไร ให้กับตัวเอง เขาพอใจที่เดินไปตามวิถีทางที่สังคมปูไว้ให้เดินมากกว่า แต่ที่อ่อนลงมาก็คือการโต้ตอบ ว่า “แต่โสกราตีสก็เป็นคนเห็นแก่ตัวเหมือนกัน เพราะเขาต้องการพิสูจน์ความถูกต้องของตนเอง จน ทอดทิ้งหน้าที่ที่เขามีต่อเมียและลูกที่ยังเล็ก” คนที่ตอบโต้ในแบบที่สองดูเหมือนจะมีใจที่จะยอมรับว่า สิ่งที่โสกราตีสทาเป็นสิ่งที่มีค่า แต่ก็มีอะไรบางอย่างในจิตใจของเขาที่กระตุ้นให้เขามองหาความผิด ในตัวของโสกราตีส ความลับซ่อนอยู่ในวลีแรก คนในสังคมปัจจุบันถูกสร้างให้กลายเป็นที่เห็นแก่ ตัวอย่างที่สุด ไม่มีจิตสานึกต่อความดีงามและสังคม (เราพูดเรื่องนี้มาแล้วในบทที่ว่าด้วยกาเนิดของคน พันธ์ใหม่) มาตรฐานความดีของเขาต่า จนเขาจะกล่าวว่าคนดีคือคนที่แค่ไม่ทาให้คนอื่นเดือดร้อนก็ พอแล้ว แต่คนที่เห็นแก่ตัวไปตามกระแสของสังคมเหล่านี้ ก็รู้ตัวเองเช่นกันว่าเขาเป็นคนที่เห็นแก่ตัว และอยู่ห่างไกลจากการเสียสละตนเองเพื่อสิ่งที่มีค่า ดังนั้นเมื่อเผชิญหน้ากับคนอย่างโสกราตีส เขาจึง ใช้สิ่งที่วิชาจิตวิทยาเรียกว่า “กลไกการป้องกันทางจิต” (defense mechanism) มองหาความผิดของ โสกราตีส หลอกตัวเองว่าเขากับโสกราตีสก็ไม่ได้ต่างกัน เพื่อทาให้ตัวเองรู้สึกเจ็บปวดกับการเป็นคน เห็นแก่ตัวน้อยลง ทาไมการตอบโต้แบบดังกล่าวจึงเกิดขึ้นได้ คาตอบก็คือ เราทุกคนถูกสร้างให้คิด ให้รู้สึก ไป ตามเงื่อนไขทางจิตวิทยาและเงื่อนไขของสภาพแวดล้อมที่เราเติบโตมา นั่นก็คือเรามีความต้องการทาง จิตวิทยาเป็นตัวตั้งและมีเงื่อนไขของการเติบโตเป็นตัวแปร เราจึงตอบโต้ต่อเหตุการณ์เดียวกันด้วย ความคิดและอารมณ์ที่แตกต่างกันได้อย่างตรงกันข้าม สาหรับคนบางคน อะไรบางอย่างในการเติบโต ของเขาทาให้เขารู้สึกรักและเห็นคุณค่าในสิ่งที่โสกราตีสทา แต่สาหรับคนบางคน อะไรบางอย่างใน การเติบโตของเขากลับทาให้เขารู้สึกเกลียดชังและมองเห็นแต่โทษของสิ่งที่โสกราตีสทา คนบางคนมี ความคิดความรู้สึกที่ปนกันอยู่ระหว่างสองขั้ว เราจะกล่าวถึงเรื่องของจิตวิทยาอย่างละเอียดในภาค สองของหนังสือ แต่ตอนนี้ขอให้เราย้อนกลับมาดูสภาพที่สังคมไทยเป็นอยู่ ซึ่งหากเทียบกับสิ่งที่โสกราตีส พยายามกระทาให้กับกรุงเอเธนส์ ก็เป็นเรื่องไม่ยากที่จะเห็นว่า ในระดับของจิตสานึกของผู้คนที่ ปรากฏออกมาในวิถีการดาเนินชีวิต คนไทยใช้ศรัทธาอยู่เหนือเหตุผล ซึ่งเท่ากับการใช้อารมณ์เป็น ใหญ่ เห็นได้ไม่ยากว่าคนไทยส่วนใหญ่คิดเช่นเดียวกันกับอนีตัสและคนที่ตัดสินเอาผิดต่อโสกราตีส
70
นั่นก็คือ คนไทยเห็นว่าการวิจารณ์คือการทาลาย สารวจวัฒนธรรมไทยให้ดี แล้วคุณจะพบว่าเราไม่มี วัฒนธรรมของการวิพากษ์วิจารณ์อยู่เลย นี่เป็นจิตสานึกของสังคมที่แสดงออกอย่างชัดเจนในกฎหมาย สูงสุดของประเทศ นั่นก็คือในกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สังคมไทยยึดถือว่าสิ่งที่เป็นที่เคารพ ศรัทธาสูงสุดจะต้องอยู่เหนืออานาจในการวิพากษ์วิจารณ์ของใครๆ5 การห้ามการวิพากษ์วิจารณ์คือ การห้ามการพูดแม้กระทั่งสิ่งที่เป็นความจริง หากว่ามันส่งผลในทางลบต่อภาพพจน์ของสิ่งเป็นที่ เคารพศรัทธา ซึ่งเท่ากับการปฏิเสธคุณค่าที่ความเป็นจริงจะมีต่อปัญญาและต่อชีวิตของผู้คน แต่ทว่านี่ เป็นสิ่งที่ขัดแย้งในตัวเองอย่างยิ่ง เพราะภาพพจน์แห่งความดีงามของสิ่งๆ หนึ่งจะตัดขาดจากความ เป็นจริงทุกประการที่เกี่ยวกับสิ่งๆ นั้นได้อย่างไร และมนุษย์จะมีชีวิตที่ดีงามที่สุดที่เป็นไปได้ ได้ อย่างไร หากเขาไม่สามารถรู้ความจริงทุกประการที่อยู่ในอานาจทางปัญญาที่เขาจะรู้ได้ คาตอบเดียว ของผู้ที่ต้องการห้ามการวิพากษ์วิจารณ์ก็คือ เขาจาเป็นต้องห้ามการพูดความจริง ทางลบก็เพื่อที่จะหยุดยั้งการพูดความเท็จทางลบ หมายความว่า เหตุที่มนุษย์จะต้องรู้ความจริงให้ น้อยลงกว่าที่เป็นไปได้ ก็เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่ต้องถูกลวงด้วยความเท็จ ดังนั้น ปัจเจกบุคคลจึงไม่มี เสรีภาพในการพูดสิ่งที่สังคมส่วนใหญ่เห็นว่ามีอันตรายต่อสังคม ซึ่งหมายถึง ไม่มีเสรีภาพในการพูด อะไรก็แล้วแต่ที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ต่อสิ่งที่สังคมเคารพบูชา เพื่อคนอื่นจะได้ไม่ได้ยินในสิ่งที่เป็น เท็จ นี่คือหลักการที่ดีที่สุด ที่ผู้ที่ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล จะสามารถยกขึ้นมากล่าวอ้าง หากเขาจะใจ เย็นลงสักนิดหนึ่งและพยายามหาเหตุผลมารับรองสิ่งที่ตนเองกระทามากยิ่งขึ้น ดูเหมือนโสกราตีสจะไม่เคยมีโอกาสพิจารณาประเด็นเช่นนี้ แต่คนที่พิจารณามันอย่าง ละเอียดคือ จอห์น สจ็วต มิลล์ (John Stuart Mill ค.ศ. 1806-73) ผู้ซึ่งเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตย อังกฤษสมัยใหม่ ในหนังสือ On Liberty เขาเสนอเหตุผลที่ดีที่สุดที่เคยมีคนคิดขึ้นมา เพื่อหักล้างการ ปิดกั้นเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ คือ เขากล่าวว่า 1) ในความคิดเรื่องสิ่งที่ดีงามสูงสุดนั้น จะต้อง หมายรวมถึงความมีเมตตาสูงสุดอยู่ด้วย และสิ่งที่มีเมตตาสูงสุด ย่อมอนุญาตให้ผู้อยู่ใต้อานาจตั้ง คาถามและวิพากษ์วิจารณ์ตนได้ ดังนั้น ถ้าสิ่งๆ หนึ่งอ้างว่าตนดีงามสูงสุด แต่ไม่อนุญาตให้ใครตั้ง ในระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักสูงสุดในการปกครองประเทศ เราต้องถือว่ากฎหมาย แสดง “จิตสานึกของสังคม” ดังนั้น เราไม่ควรเข้าใจว่านี่เป็นการใช้อานาจของสถาบันกษัตริย์ เพราะโดย หลักการแล้ว พระมหากษัตริย์ไม่มีอานาจที่จะกาหนดเนื้อหาของกฎหมาย ซึ่งในเชิงประวัติศาสตร์แล้ว กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ไม่ได้มีอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับแรก หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เหตุผลที่เราควรถือว่ากฎหมายนี้ไม่ใช่การใช้อานาจของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันยิ่งปรากฏเด่นชัดมาก ยิ่งขึ้น เมื่อพระองค์ทรงประกาศว่าไม่ทรงอยู่เหนือคาวิพากษ์วิจารณ์ แต่หลังจากพระราชดารัชนั้นแล้วก็ยังมี การใช้กฎหมายดังกล่าวเล่นงานบุคคลต่างๆ อยู่เช่นเดิม กฎหมายนี้จึงเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ฝ่ายต่างๆ ในสังคมจะใช้เล่นงานฝ่ายตรงกันข้ามเสียมากกว่า 5
71
คาถามหรือวิพากษ์วิจารณ์ สิ่งๆ นั้นย่อมยังไม่ดีงามสูงสุดจริง 2) สาหรับสิ่งที่ยังไม่ดีงามอย่างสมบูรณ์ นั้น หากอนุญาตให้มีการตั้งคาถามและวิพากษ์วิจารณ์ สิ่งๆ นั้นก็สามารถเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีงาม ยิ่งๆ ขึ้นไปได้ และดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ความดีงามสูงสุดของสิ่งที่มีอานาจในสังคม และเสรีภาพใน การวิพากษ์วิจารณ์ของผู้ที่อยู่ใต้อานาจ ต้องอยู่คู่กัน ในเรื่องความกลัวต่อความเท็จนั้น มิลล์กล่าวว่า การปิดกั้นความเท็จคือการปิดกั้นปัญญาของ มนุษย์ที่จะเรียนรู้และเข้าใจความจริง เพราะความจริงจะปรากฏเป็นความจริงอย่างชัดเจนที่สุด ก็แต่ เมื่อมีความเท็จมาวางเคียงข้างให้เห็นความแตกต่างเท่านั้น หมายความว่า เราไม่อาจเห็นความจริงอย่าง ชัดเจนได้เมื่อมันปรากฏอยู่แต่เพียงลาพัง คือเมื่อไม่มีใครได้รับอนุญาตให้พูดถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ มันได้ ความกลัวต่อความเท็จจึงเป็นความกลัวของคนขี้ขลาด เป็นความกลัวที่ทาร้ายตนเอง ดังนั้น เรา จะต้องกล้าเผชิญหน้ากับคาพูดทุกชนิดและใช้ปัญญาเข้าตรวจสอบหาความจริงจากมัน ถ้าเรากลัว ความเท็จ หรือขี้เกียจคิด เราก็จะไม่มีวันมีปัญญาที่แท้จริงเลย สิ่งที่สาคัญที่สุดคือการใช้สติปัญญาเข้า ตรวจสอบหาความจริงไปเรื่อยๆ ชีวิตเราจึงจะพบกับสิ่งที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง ดังคากล่าวของโสกรา ตีสว่า “ชีวิตที่ไม่มีการตรวจสอบคือชีวิตที่ไร้ค่า” ดังนั้น เสรีภาพในการพูดจึงเป็นสิ่งที่สาคัญที่สุด เพราะหากไม่มีเสรีภาพในการพูด ความสามารถในการคิดก็จะถูกทาลายลงไปด้วย เพราะหากคิดไป แล้วก็พูดออกมาไม่ได้ ก็ไม่รู้จะคิดไปทาไม และไม่มีใครจะมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อให้ความคิด พัฒนา 6 ดังนั้น ขอให้เรามาลองตั้งคาถามตามแบบของโสกราตีส ต่ออะไรบางอย่างที่สังคมไทย เรียกร้องต่อเราอย่างเหลือเกิน นั่นก็คือเรื่องของเพศสัมพันธ์ เพื่อที่จะฝึกการใช้เหตุผลอย่างที่ไม่ยอม ให้อะไรมาเป็นขอบเขตขวางกั้น เพื่อที่จะทดลองสร้างความรู้ที่แท้จริงในเรื่องความถูกผิดของเรื่อง ดังกล่าว และเพื่อที่เราจะได้นาวิธีการไปใช้ในเรื่องอื่นๆ ต่อไป
ถูกผิดในเพศสัมพันธ์มีเหตุผลอะไร
การที่สังคมไทยมีวัฒนธรรมที่ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์นั่น ถ้าพูดตรงๆแล้วก็คือ มีวัฒนธรรมของความขี้ ขลาดทางปัญญานั่นเอง หมายความว่า ถ้าจะคิดอะไรก็ต้องคิดในกรอบที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น แม้นี่จะเป็น คาพูดที่รุนแรง แต่ก็ไม่มีคาอื่นที่ดีกว่านี้อีกแล้ว วัฒนธรรมไทยสอนให้คนไทยใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล นี่ คือสิ่งที่คนไทยไม่อยากยอมรับ แต่ก็จะแสดงออกทันทีที่มีคนไทยที่กล้าวิจารณ์วัฒนธรรมของตนเองในทาง ลบ เช่น อาจจะประณามคนเช่นนั้นว่าเป็นทาสของตะวันตก ทั้งที่การวิจารณ์ตนเองเป็นสิ่งที่ไม่ว่าคนใน วัฒนธรรมไหนก็ควรกระทา เว้นก็แต่ผู้ที่เชื่อว่าตนเองดีงามอย่างสมบูรณ์แล้วเท่านั้น 6
72
สังคมไทยเรียกร้องให้คนหนุ่มคนสาวยึดถือเรื่องเพศสัมพันธ์ว่าเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธ์ คือให้ถือ ว่าเป็นคุณค่าที่ตัดสินความดีงามของบุคคล การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานถือเป็นการกระทาที่ผิดต่อ จารีตประเพณี ผิดต่อขั้นตอนที่ดีงามของชีวิต แต่ข้อเรียกร้องที่จากัดควบคุมเสรีภาพทางเพศของคน หนุ่มสาวนี้ก็ดูเหมือนจะมุ่งไปที่ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย นี่อาจจะเป็นสิ่งที่สืบทอดมาจาก “ค่านิยม พรหมจรรย์” ซึ่งถ้าใช้แนวคิดเรื่องอานาจเข้ามาวิเคราะห์ก็อาจจะตัดสินว่า เกิดขึ้นจากอดีตที่ผู้ชายเป็น ใหญ่ในสังคม และเป็นผู้ถือครองทรัพยากรของสังคม จึงมีอานาจที่จะสร้างค่านิยมให้ผู้หญิงถือปฏิบัติ เพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายตน แต่เราเคยกล่าวถึงการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง มาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสัญลักษณ์ของอานาจที่แสดงออกในภาษา ซึ่งสังคมของเราก็ ก้าวตามตะวันตกไปแล้วโดยการให้ผู้หญิงสามารถเลือกใช้คานาหน้าว่านางสาว หรือ นาง ได้ตาม สมัครใจ สามารถใช้นามสกุลของตนเองหรือนามสกุลของสามีก็ได้ ซึ่งก็เป็นต้องถือว่าเป็นเรื่องที่กลับ ขั้นตอน เพราะเราเปลี่ยนแปลงทางสัญลักษณ์ตามโลกตะวันตก โดยที่ยังไม่มีการปฏิวัติวัฒนธรรมทาง เพศสัมพันธ์เลย ในขณะที่ในโลกตะวันตก การปฏิวัติของวัฒนธรรมทางเพศสัมพันธ์ เกิดก่อนหน้า การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความเสมอภาคในเชิงสัญลักษณ์ของอานาจ เป็นเวลานานมาก 7 เราควรจะสมมติวา่ ความต้องการที่จะให้เพศสัมพันธ์เป็นเรื่องศักดิ์สิทธ์มีความเป็นจริง บางอย่างรองรับ เป็นความจริงที่มากกว่าเรื่องของอานาจที่แตกต่างระหว่างสองเพศ คือสามารถที่จะ
นักสังคมวิทยาตะวันตกมองการเปลี่ยนแปลงตามโลกตะวันตกเกือบทุกอย่างของเราว่า เป็นการ “westernization” แต่ไม่ใช่การ “modernization” หมายความง่ายๆ ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแค่ในเชิงวัตถุหรือ รูปแบบ แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับแนวคิดที่รองรับ โลกตะวันตกถือว่ายุค modern เกิดขึ้นจาก กระบวนการ Enlightenment ที่เปลี่ยนโลกทัศน์ของคนตะวันตกมาเป็นแบบเหตุผลนิยม-สัจจะนิยมอย่าง เต็มที่นั่นเอง โดยมีความสาเร็จของวิทยาศาสตร์เป็นพลังผลักดัน ซึ่งวิทยาศาสตร์เองก็ต้องสู้กับโลกทัศน์แบบ ศักดิ์สิทธ์นิยมของศาสนาจนชนะเสียก่อน คนที่โลกเป็นหนี้ไม่น้อยไปกว่าโสกราตีสในเรื่องนี้ก็คือกาลิเลโอ ผู้ซึ่งถูกศาสนจักรกักขังและปิดปากจนวันสุดท้ายของชีวิต แต่ท้ายที่สุด เมื่อลัทธิเหตุผลนิยมชนะ ลัทธิศักดิ์ สิทธินิยมก็ต้องถอยออกไป ศาสนาก็ต้องลดตัวลงจากการเป็นผู้ให้ความจริงของโลก มาเป็นเพียงผู้ให้คาตอบ สาหรับ “มโนธรรม” ซึ่งหมายความว่าคัมภีร์ของศาสนาไม่ควรถูกถือว่าเป็นจริงตามตัวอักษร แต่เป็นเพียงตัว บทสาหรับการตีความ เพื่อหาความหมายเกี่ยวกับการดาเนินชีวิตที่ดีงามเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถ เชื่อคัมภีร์ไบเบิลตามตัวอักษร พร้อมๆ กับยอมรับทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน เช่นเดียวกับที่ไม่สามารถเชื่อ เรื่องนรกสวรรค์และการเวียนว่ายตายเกิด พร้อมๆ กับการเชื่อว่าโลกนี้มีแต่สสารและพลังงาน 7
ในสังคมไทย วิทยาศาสตร์ไม่เคยกลายเป็นโลกทัศน์ที่มีอิทธิพลในสังคม มากพอที่จะทาให้บทบาทของ ศาสนาถูกทบทวนอย่างเป็นจริงเป็นจัง แม้ว่าจะมีพุทธศาสนาแนวปัญญานิยมเกิดขึ้น เช่น แนวทางของท่าน พุทธทาส แต่ก็ไม่ได้มีอิทธิพลในสังคมวงกว้างเท่าใดนัก
73
เป็นเรื่องของความคิดความต้องการที่เสมอกันของชายและหญิง เช่น เป็นเรื่องของความรัก การสร้าง ครอบครัว และชีวิตคู่ ที่ชายและหญิงจะเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆ ร่วมกัน ในสังคมตะวันตก แม้ชายและหญิงจะมีเสรีภาพทางเพศอย่างเท่าเทียมกัน แต่ความต้องการให้ เพศสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธ์ก็ยังคงมีอยู่ ตัวอย่างเช่น เมื่อภัยของโรคเอดส์เริ่มเป็นที่ตระหนัก เคยมี กระแสของการชักชวนจากกลุ่มเคร่งศาสนา-อนุรักษ์นิยมที่ข้ามทวีป มาชักชวนให้เยาวชนคนหนุ่ม สาวในเอเชียเข้าร่วมสร้างพันธะสัญญาสาบานตนว่าจะรักษาพรหมจรรย์ และจะมีเพศสัมพันธ์ต่อเมื่อ เข้าสู่การสมรสแล้ว และมีเพศสัมพันธ์เฉพาะกับคู่สมรสเท่านั้น แต่ก็ดูเหมือนว่ากระแสอนุรักษ์นิยมนี้ จะไม่สามารถพาสังคมตะวันตกส่วนใหญ่ ให้ย้อนกลับไปสู่การเป็นสังคมอนุรักษ์นิยม-ศักดิ์สิทธ์นิยม ในเรื่องเพศได้สาเร็จแต่ประการใด แต่ก็ทาให้สังคมเห็นว่าทัศนะคติต่อเพศสัมพันธ์เป็นทางเลือกส่วน บุคคล คือบุคคลเลือกเอาเองที่จะเป็นนักอนุรักษ์นิยมหรือนักเสรีนิยมทางเพศ ซึ่งก็ช่วยทัดทานค่านิยม ที่ผิดๆ ของเยาวชนที่เห็นเรื่องเพศสัมพันธ์ว่าเป็นเรื่องของความโก้เก๋ เหมือนเรื่องของเหล้า บุหรี่ ยา เสพติด ที่ใช้อวดกันเพื่อแสดงการเติบโตเป็นผู้ใหญ่เหนือกว่าผู้อื่น ทาให้วัยรุ่นในตะวันตกเห็นว่านี่คือ การเลือกที่แตกต่างกันของคนแต่ละคน ในการให้คุณค่าต่อเพศสัมพันธ์ ไม่ใช่เรื่องของการเป็นคน หัวโบราณ เชย ล้าสมัย หลงผิด แต่ไม่ว่าจะอย่างไร การสร้างพรหมจรรย์ให้เป็นเรื่องศักดิ์สิทธ์ในแบบสมัยโบราณเป็นสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะมนุษย์ไม่มีเชื่ออีกแล้วในอานาจของสิ่งเหนือธรรมชาติ ภูติ ผี ปีศาจ ที่ควบคุมลงโทษมนุษย์จากภายนอก ปิดกั้นมนุษย์จากการหาความสุขทางเพศ จะมีได้ก็แต่ความศักดิ์ สิทธ์ที่เกิดจากการรับรู้ถึงความดีงามบางอย่าง ที่ผ้คู นรู้สึกและเลือกที่จะผูกพันตนเองจากภายใน เท่านั้น และสิ่งที่วิทยาศาสตร์ให้กับเราได้ในเรื่องนี้ก็มีแต่วิชาสุขศึกษา เพศศึกษา และการวางแผน ครอบครัวเท่านั้น ซึ่งทาให้ดูเหมือนว่าวิทยาศาสตร์จะสนับสนุนฟรีเซ็กซ์ที่รู้จักระวังควบคุมตนเอง ไม่ให้ติดโรคและตั้งครรภ์ด้วยซ้าไป จึงดูเหมือนว่าเรากาลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ ทางเลือกหนึ่ง ก็คือทาให้เรื่องเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างสมบูรณ์ ห้ามตั้งคาถาม ตามแบบของนักอนุรักษ์นิยม สุดโต่ง อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ เห็นเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ไม่มีสาระแก่นสาร ปราศจากคุณค่า จนจะทา อย่างไรก็ได้ ทางที่หนึ่งใช้ศรัทธาและอารมณ์เป็นตัวนาอย่างไร้ปัญญา ทางที่สองก็ใช้ปัญญาอย่างตื้น เขินเพียงเพื่อพอเป็นข้ออ้างไปสู่การหาความสุขใส่ตัวไปตามอาเภอใจ แต่เราก็มีทางที่อยู่ตรงกลาง เหมือนที่โสกราตีสอยู่ตรงกลางระหว่างพวกที่ถือศีลธรรมแบบ อนุรักษ์นิยม-ศักดิ์สิทธิ์นิยม และพวกโซฟิสต์ที่ใช้เหตุผลแบบที่เห็นศีลธรรมเป็นสิ่งไร้แก่นสาร เป็น เพียงแค่สิ่งที่สัมพัทธ์ต่ออาเภอใจของบุคคลหรือกลุ่มคน เราควรเชื่อว่าสิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นคุณธรรม ความดีงามจะต้องมีเหตุผลบางอย่างอยู่เบื้องหลัง ที่สามารถเข้าใจได้ด้วยการนาปัญญามาใช้ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์อย่างละเอียดถี่ถ้วน หน้าที่ของเราคือการคิดค้นหาเหตุผลสาหรับการมีคุณธรรมทางเพศ
74
ด้วยการทาความเข้าใจความเป็นจริงต่างๆ ในตัวเราอย่างละเอียด ใช้ความรู้สึกจากส่วนลึกของจิตใจ ถามหาความต้องการที่แท้จริงของเราอย่างยุติธรรมต่อตนเอง ไม่คิดเข้าข้างความต้องการของตนเอง อย่างที่เราก็รู้ว่าจะพาไปสู่โทษ โสกราตีสเตือนเราว่า ถ้าเราไม่รู้จักตัวเราเองอย่างแท้จริง เราก็อาจหลง เห็นสิ่งที่เป็นโทษว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวเราก็ได้ เพราะเราอาจจะหลงไปกับผลได้เฉพาะหน้า และลืม ความต้องการของเราในระยะยาว อะไรคือสิ่งที่ดีงามต่อตัวตนของเราอย่างแท้จริงในเรื่องเพศสัมพันธ์ วิทยาศาสตร์และ เพศศึกษาให้เราได้ก็แต่การดูแลตัวเราเองไม่ให้เกิดผลร้ายทางกายภาพ ไม่ว่าจะการติดโรค หรือการมี ครรภ์ในเวลาที่ยังไม่พร้อม แต่นี่คือเรื่องของร่างกายเท่านั้น เป็นการมองว่าเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องของ ความสุขทางร่างกาย ซึ่งก็ต้องอาศัยสติ ความยับยั้งชั่งใจ และความรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ ในการระวัง ตัวไม่ให้เกิดอันตราย แต่การมองเช่นนี้ย่อมไม่เพียงพอ เพราะเราไม่ได้มีแค่รา่ งกาย แต่เรามีจิตวิญญาณ และมีความต้องการทางจิตใจด้วยเช่นกัน เราต้องการความรู้สึกมั่นคง สมดุล สุขสงบในจิตใจ เรา ต้องการความเติบโตของตัวตนทางจิตวิญญาณ และศักยภาพต่างๆ ความต้องการทั้งสองอย่างนี้มีความ รักแบบหนุ่มสาวช่วยเป็นฐาน อาจกล่าวว่าตัวตนที่เป็นเนื้อหนังมังสาของเราต้องการความสุขทางเพศ แต่ตัวตนที่เป็นจิตวิญญาณของเราต้องการความรัก ในความสัมพันธ์ทางเพศที่เป็นไปด้วยความรัก มิใช่เพียงด้วยความใคร่ ร่างกายและหัวใจอยู่ด้วยกัน ความรักเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งที่เราจะต้องแสวงหา ความเข้าใจไปตามวัย แต่ด้วยการที่ความรักและเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งที่มาคู่กันนี้เอง ที่เราต้องมีทั้งสติ และคุณธรรมทางเพศสัมพันธ์พร้อมทั้งสติและคุณธรรมในความรัก ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้ทั้งเพศสัมพันธ์ และความรักหันกลับมาทาร้ายตัวเราเอง หรือทาร้ายซึ่งกันและกัน นี่คือสิ่งที่เราจะต้องค้นหาเหตุผล และความเหมาะสมเอาด้วยปัญญาและญาณทัศนะของตัวเองเองในการเติบโต และย่อมดีกว่าการ ถือเอาตามจารีตโดยไม่ใช่ปัญญาไตร่ตรอง ซึ่งหากเราเอาปัญญาเข้ามาตรวจสอบเราก็อาจพบอะไร มากมาย ที่ตอบคาถามได้แม้แต่สิ่งที่ยากที่สุดที่จะตอบ ในบทที่ 1 เราได้เคยพูดถึงหลักการของความไม่สร้างการจองเวร เพื่อเป็นเหตุผลให้กับความ ไม่ควรถูกถือว่าผิดของฟรีเซ็กซ์ และพูดถึงหลักพรหมจรรย์ ซึ่งหมายถึงความซื่อสัตย์ต่อคู่รักของ ตนเอง ในฐานะหลักแห่งความดีงามของความรัก เหตุผลเป็นสิ่งที่เรารู้อยู่โดยหัวใจ เมื่อเรามีความรัก และเมื่อความรักพาเราไปสู่เพศสัมพันธ์ ตัวเหตุผลจริงๆ ก็คือ ความรักเชื่อมโยงคนสองคนเข้าด้วยกัน ราวกับจะเป็นคนๆ เดียวกัน ทั้งโดยร่างกายและจิตใจ และหากด้วยจิตใจแล้วคนสองคนปรารถนาที่จะ อยู่คู่กันโดยไม่เปลี่ยนไปหาคนอื่น ความซื่อสัตย์ทางเพศสัมพันธ์ก็เป็นสิ่งที่จาเป็น คนอาจจะพยายามโต้เถียงเรื่องฟรีเซ็กซ์ว่าผิดเพราะเป็นเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีความรัก และไม่พา ไปสู่การครองคู่ แต่ก็พูดยากจริงๆ ว่าถ้าไม่มีการทาร้ายใครเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นสิ่งที่ผิดตรงไหน อย่าง มากที่สุดที่จะพูดได้ก็คือ มันจะทาให้คนหลงติดในเรื่องเพศจนเห็นว่าเรื่องเพศสาคัญกว่าความรัก แต่นี่
75
ก็เป็นสิ่งที่คนควรจะเรียนรู้เอาด้วยตัวเอง ว่าอะไรกันแน่คือสิ่งที่มีค่าจริงๆ สาหรับชีวิตเขา ไม่ใช่ด้วย การบังคับว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องต้องห้ามจนกว่าจะแต่งงานแล้ว หรือคนอาจจะพยายามโต้เถียงว่าฟรี เซ็กซ์เป็นเรื่องของคนที่พ้นจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่แล้วเท่านั้น เพราะไม่เช่นนั้นก็จะเป็นการทาร้าย จิตใจของพ่อแม่ แต่นี่ก็จะรวมไปถึงกรณีที่ไม่ใช่ฟรีเซ็กซ์แต่เป็นคู่รักที่ยังอยู่ในวัยเรียนทั้งหมด ที่ยัง พึ่งพาการส่งเสียของพ่อแม่ ดังนั้น ประเด็นที่แท้จริงจึงไม่ใช่เรื่องฟรีเซ็กซ์ แต่กลายเป็นเรื่องของวัยที่ เหมาะสมที่คนควรมีอิสระทางเพศ ขอให้เราเข้าใจว่าความต้องการให้เรื่องเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ มีอยู่ในทุกสังคมที่ ก้าวหน้าถึงระดับหนึ่ง และส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการที่จะป้องกันเพศมีสัมพันธ์ก่อนเวลาอันควร ดังนั้นคาถามที่สาคัญจริงๆ ก็คือคาถามว่า วัยที่สมควรต่อการมีเพศสัมพันธ์ได้คือเมื่อใด ถ้าถามพ่อแม่ พ่อแม่ก็คงตอบว่า ต้องการให้ลูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกสาวมีรอการมีเพศสัมพันธ์ไปให้ช้าที่สุดเท่าที่ จะช้าได้ คือเมื่อแน่นอนแล้วว่าจะสามารถจัดการกับชีวิตของตนเองได้ โดยไม่เกิดปัญหาจาก เพศสัมพันธ์ และไม่ใช่เพียงปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์เท่านั้น แต่เป็นปัญหาเรื่องการหลงติดต่อเรื่องเพศ ด้วย คาถามคือ วัยไหนที่คนจะเติบโตพอที่จะมีสติในเรื่องนี้ พวกคุณเองคงมีคาตอบให้ตัวเอง และ กฎหมายก็ยอมรับคาตอบเช่นนั้นด้วย คือกาหนดไว้ที่อายุ 18 ซึ่งก็คือช่วงวัยของการเป็นนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ซึ่งถ้าใครไม่ได้เรียนต่อก็มักจะเริ่มต้นมีชีวิตการทางานเลี้ยงดูตนเองแล้ว พวกอนุรักษ์นิยมอาจจะยืนยันความศักดิ์สิทธ์ของเพศสัมพันธ์ ว่าต้องเกิดขึ้นหลังสมรส เท่านัน้ แต่เขาจะให้เหตุผลว่าอย่างไรนอกจากกล่าวว่านี้คือวิถีของจารีตและวัฒนธรรม ศาสนาคริสต์ อาจอ้างว่าเป็นประสงค์ของพระเจ้า ศาสนาพุทธอ้างว่าเพราะเมื่อนั้นคุณก็จะได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ และจะไม่เป็นการทาร้ายจิตใจของพ่อแม่ ซึ่งเป็นการสร้างการจองเวร ซึ่งก็เป็นการจองเวรที่แปลกๆ เพราะขึ้นอยู่กับความใจกว้างหรือใจแคบของพ่อแม่ด้วย และพ่อแม่ก็ไม่ควรจองเวรกับลูกอยู่แล้วไม่ว่า ด้วยเหตุใด แต่นักอนุรักษ์นิยมจะยืนยันว่า ตราบใดที่คุณยังเป็นนักศึกษาที่อาศัยเงินพ่อแม่เรียน ก็ยังไม่ ควรมีเพศสัมพันธ์ เพราะยังไม่ใช่เวลาที่จะสมรสสร้างครอบครัวของตนเอง แต่ถ้าเกิดคุณตัดสินใจ เรียนปริญญาโท-ปริญญาเอก ด้วยเงินพ่อแม่ต่อไปอีกละ คุณก็จะต้องไม่มีอิสระทางเพศไปจนกว่าจะ อายุสัก 28 หรือ 30 หรือจนกว่าจะหาคนมาแต่งงานด้วยได้ เช่นนั้นหรือ แล้วถ้าเกิดคุณหาใครมา แต่งงานด้วยไม่ได้เลย และยังเงินทองของพ่อแม่ คุณก็ไม่มีสิทธ์มีเพศสัมพันธ์ไปจนตายอย่างนั้นเลย ใช่หรือไม่ ฉะนั้น คาถามก็คือคุณจะเลือกเป็นคนดีตามที่วัฒนธรรมกาหนด ว่าผู้หญิงที่ดีคือผู้ที่มี เพศสัมพันธ์ในสมรสเท่านั้น แล้วก็อยู่เป็นโสดไปจนตายแบบไม่เคยมีเพศสัมพันธ์เลยแม้สักครั้งใน ชีวิต หรือคุณจะเลือกเป็นสาวโสดที่ไม่ดี คือมีเพศสัมพันธ์นอกสมรสเสียบ้าง กับคนที่รักใคร่ชอบพอ แต่ยังไม่ทันได้แต่งงาน หรือคนที่คุณก็คิดแล้วว่าอย่างไรก็คงไม่ได้แต่งงาน คือมีเพศสัมพันธ์อย่าง
76
อิสระไปเสียก่อนที่จะตายไปในชาตินี้ โดยที่จะไม่เคยมีโอกาสมีความสุขจากเพศสัมพันธ์เลย (คุณเชื่อ จริงๆ หรือว่า ความสุขทางเพศนั้นเป็นเรื่องที่เฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่จะมีโอกาสที่จะแสวงหาได้ ต่อให้ ตายผู้หญิงก็ไม่มีอิสระที่จะแสวงหาได้) คงเห็นแล้วว่า ความคิดของนักอนุรักษ์นิยมทางเพศนั้นหา หลักการใดๆไม่ได้เลย ที่พอที่จะถือเอาเป็นจริงเป็นจังให้พอยอมรับได้ ชีวิตที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์เลยเพราะถูกจารีตและวัฒนธรรมขวางไว้อย่างไร้สาระ คงไม่ใช่ ชีวิตที่มีความสุขมากเท่าใดนัก และถ้ามีค่าก็คงมีค่าอย่างปลอมๆ แต่กระนั้นก็ตาม เราก็ต้องยอมรับว่า ความสุขที่เสพจนติดและเสพจนไร้สติย่อมเกิดโทษ และ เรื่องเพศแม้จะตัดอันตรายจากเรื่องโรคและ การตั้งครรภ์ออกไปแล้ว ก็ยังมีขอบเขตที่สังคมต้องสร้างความศักดิ์สิทธ์บางอย่างเพื่อปกป้องต่อความ ดีงาม นั่นก็คือ เพื่อปกป้องต่อสมาชิกใหม่ของสังคมที่จะไม่ถูกนาพาไปสู่หนทางที่ต่าลง ทุกสังคม จะต้องป้องกันไม่ให้ผู้เยาว์ถูกใช้เป็นวัตถุทางเพศ เพราะเด็กอาจถูกทาให้เสพติดต่อเรื่องเพศจนเสีย อนาคตได้ หมายถึง จนยากมากที่เขาจะมีชีวิตคู่ที่ดีได้ในอนาคต เหมือนคนติดยาเสพติด ที่จะเอาชนะ ใจตนเองได้ยากมาก เสียเวลาและพลังงานในชีวิตไปอย่างไร้คุณค่า ไร้ประโยชน์ที่แท้จริงอันใดต่อ ตนเอง ดังนั้น เด็กจะต้องถูกป้องกันจากการถูกยั่วยุปลุกเร้าทางเพศทุกประการ8 และผู้ใหญ่อาจซื้อขาย บริการทางเพศกันได้ตามสมัครใจ แต่เด็กต้องไม่มีอิสระดังกล่าว เด็กควรใช้เวลากับการเรียนรู้และ พัฒนาศักยภาพต่างๆ ในตัว มากกว่าที่จะหมกมุ่นกับเรื่องเพศ มิเช่นนั้นแล้วเด็กผู้ชายจะถูกความ
แต่การป้องกันเด็กจากถูกยั่วยุทางเพศเป็นคนละเรื่องจากการเซ็นเซอร์สื่อของรัฐบาลไทย ที่กาลัง ดาเนินการอยู่ภายใต้ลัทธิอนุรักษ์นิยม-อานาจนิยมทางศีลธรรม ที่กล่าวได้ว่าเป็นความดัดจริตทางศีลธรรม และความมือถือสากปากถือศีลของผู้สอนศีลธรรมทั้งหลาย ซึ่งกาลังเซ็นเซอร์แม้กระทั้งภาพการ์ตูนที่โป๊ เปลือยแบบไม่มีพิษมีภัย อย่างหัวนมของชิสุเกะในการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน ซึ่งเป็นจินตนาการทางเพศที่ ง่ายๆ ของเด็กนักเรียนประถม ที่ถูกปิดกั้นเพราะจิตใจที่คิดสร้างให้มันสกปรกไปเองของผู้ใหญ่ปัญญาอ่อน ที่เอาคุณค่าทางศีลธรรมอันจอมปลอมไร้สมองของตน มาทาลายคุณค่าอื่นๆ ที่จิตใจของตนเข้าไม่ถึง แต่เป็น สิ่งที่มนุษย์ผู้อื่นเขาปรารถนา และเป็นความปรารถนาในอาหารแห่งจิตใจธรรมดาๆ เพื่อการเติบโตขึ้นเป็น มนุษย์ที่มีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ ซึ่งก็คืออาหารแห่งจินตนาการที่ได้จากโลกของศิลปะ ภาพยนตร์ การละคร วรรณคดี การ์ตูน นิทาน ที่เป็นไปตามวัย ซึ่งย่อมต้องประกอบไปด้วยจินตนาการทางเพศตามวัยของเขา พวก คลั่งศีลธรรมปัญญาอ่อนพวกนี้ไม่เข้าใจว่า ในเมื่อโลกแห่งความเป็นจริงนั้นไม่อนุญาตให้มนุษย์ได้ทาทุก อย่างตามใจจริงของตน โลกแห่งจินตนาการก็คืออาณาบริเวณที่เขาจะค้นพบความสุขทางความคิดชดเชย เพื่อให้มนุษย์ยังรักษาสมดุลในจิตใจไว้ได้ แต่มนุษย์ปัญญาอ่อนพวกนี้ก็ยังทาโลกแห่งจินตนาการนี้ให้ขาดๆ วิ่น ด้วยการเซ็นเซอร์ ทาลายความสุขของคนรุ่นใหม่ เพื่อให้พวกเขาโตขึ้นเป็นคนพิการทางจิตวิญญาณแบบ ที่ตนเองเป็น แล้วก็หลงคิดไปว่าความพิการทางจิตวิญญาณแบบของตนนั้น คือความเป็นมนุษย์ผู้ดีงาม สมบูรณ์กว่าใครในสังคม อนิจจา 8
77
ต้องการที่ถูกปลุกเร้าไว้อย่างผิดธรรมชาติของวัย ชักจูงให้ล่วงละเมิดทางเพศผู้อื่นอย่างไม่รู้ถูกผิด9 และเด็กผู้หญิงจะถูกความต้องการที่ถูกปลุกเร้าไว้อย่างผิดธรรมชาติของวัย ชักจูงให้ทาตัวเป็นวัตถุ ทางเพศให้กับผู้ชายอย่างไม่รู้จักคุณค่าของตนเอง นี่คือความรักที่สังคมมีต่อเด็ก และเป็นการปกป้อง เด็กที่สามารถแสดงเหตุผลอธิบายได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งสังคมก็ควรจะลงโทษอย่างรุนแรงต่อผู้ใหญ่ที่ กระทาผิดทางเพศต่อเด็ก หรือละเลยปล่อยให้เด็กถูกยั่วยุทางเพศ ทุกสังคมมีข้อห้ามทางเพศที่เด็ดขาด เป็นของต้องห้ามที่เรียกว่าตาบู (taboo) ได้แก่การมี เพศสัมพันธ์ในผู้ที่มีสายเลือดใกล้ชิด คือระหว่าง พ่อหรือแม่ กับลูก พี่กับน้องร่วมสายโลหิต ปัญหา ของเราก็คือ ถ้าหากว่ามันพ้นจากเกณฑ์ความผิดทุกข้อที่กล่าวไปแล้ว คือ ไม่สร้างการจองเวร เป็นการ เลือกอย่างอิสระ ไม่เป็นการละเมิดหรือยั่วยุทางเพศต่อเด็ก ไม่ใช่การข่มขืนหรือการอ้างบุญคุณเพื่อ บังคับ เราจะอธิบายเรื่องนี้อย่างไร และแม้ว่าในความเป็นจริง การเพศสัมพันธ์ในระหว่างผู้ที่มี สายเลือดใกล้ชิด อาจเริ่มต้นจากความผิดบางข้อ แต่ก็อาจดาเนินไปจนพ้นจากความผิดเช่นนั้นก็ เป็นได้ ดังนั้น เราควรสมมติว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้อย่างพ้นจากความผิดตามเกณฑ์ดังกล่าว ถ้า เช่นนั้น มันจะผิดตามเกณฑ์อะไร นักสังคมวิทยาพบว่าเพศสัมพันธ์ในสายเลือดใกล้ชิดมีอยู่จริงในสังคม ซึ่งสังคมก็มักจะเอาผิด ทางกฎหมายตามเกณฑ์อื่นๆ แต่เมื่อรับโทษจนพ้นผิดตามเกณฑ์เช่นนั้นแล้ว คู่เพศสัมพันธ์ใน สายเลือดใกล้ชิดก็จะยังกลับมาอยู่ด้วยกันเหมือนคู่รักอื่นๆ แม้วา่ สังคมรอบข้างจะติฉินนินทาก็ตาม ซึ่ง ทาให้ดูเหมือนกลายเป็นการที่กฎหมายและสังคมเข้าไปรังแกพวกเขาเสียมากกว่า และทาให้นักสังคม วิทยาสรุปว่าการห้ามเพศสัมพันธ์ในสายเลือดใกล้ชิดเป็นแค่อคติของสังคม ที่มีต่อคนที่กระทาต่างไป จากคนส่วนใหญ่เท่านั้น คือหาเหตุผลใดๆ ที่แท้จริงไม่ได้เลย แต่ก็ดูเหมือนว่า นีเ่ ป็นเรื่องเป็นไม่ได้เลย ที่สังคมจะยอมรับว่าเป็นเพียงอคติ เพราะในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เราได้เห็นอคติมากมายถูก ถอนออกไปจากจิตใจมนุษย์ ไม่ช้าก็เร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชนชั้น ศาสนา เชื้อชาติ สีผิว เพศ และอคติ หมายถึงกรณีที่เด็กชายที่ยังไม่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์จริงๆ ยังไม่มีการฝันเปียก ยังไม่มีการ สัมผัสเล่นกับอวัยวะเพศของตนเองมามากพอ จนเรียนรู้ถึงการสาเร็จความใคร่ด้วยตนเอง แต่เพราะบังเอิญ ไปเห็นสื่อลามกของพ่อแม่ เกิดถูกกระตุ้นความรู้สึก และอยากลองทาตาม จึงไปทากับน้องอนุบาล หรือเด็ก ประถมต้น เป็นต้น เด็กเองอาจจะยังไม่มีความคิดเรื่องความรุนแรงของการข่มขืนเสียด้วยซ้า นี่ต่างจากกรณี ของเด็กวัยรุ่นชายที่ล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้หญิงอย่างไม่เกรงกลัวต่อความผิด คนพวกนี้รู้ตัวว่าตนเองกาลังทา ต่ออื่น ในฐานะที่เป็นเพียงแค่วัตถุสาหรับมาบาบัดความใคร่ของตน และดังนั้น เขาต้องเผชิญกับการที่คนอื่น จะปฏิบัติต่อเขาในฐานะวัตถุชิ้นหนึ่งเช่นกัน ข้อปัญหาในเชิงจริยธรรมก็คือ ด้วยการที่พวกเขายังเป็นวัยรุ่น เราคงต้องพิจารณาว่า เขาอาจยังขาดสติ ที่ผู้ที่โตกว่านั้นอีกสักนิดพึงมี และดังนั้น เราควรจักต้องให้โอกาส เขามากกว่าปกติอีกสักหน่อย มิใช่รีบลงโทษเขาในทันทีตามเกณฑ์แบบของผู้ใหญ่ 9
78
เกือบทุกอย่างเป็นของที่จิตนาการให้หายไปได้ไม่ยาก แต่การที่เพศสัมพันธ์ในสายเลือดใกล้ชิดมีอยู่ จริงนั้น ไม่ได้ช่วยให้เราจิตนาการได้ง่ายขึ้นเลย ว่ามันจะเป็นสิ่งที่เราควรเห็นเป็นปกติ ขอให้ดูตัวอย่างจากอคติที่ผู้คนมีต่อรักร่วมเพศ ในปัจจุบัน เรารู้ว่ารักร่วมเพศมีมาทุกยุคทุก สมัย บางยุคก็ยอมรับ บางยุคก็ไม่ยอมรับ อารยธรรมปัจจุบันเริ่มต้นด้วยการไม่ยอมรับ แต่ด้วยอิทธิพล ของอุดมการณ์ประชาธิปไตย ก็กาลังเปลี่ยนมาสูก่ ารยอมรับ อีกไม่นาน สังคมทั่วไปคงยอมรับได้ทั้ง สถานะทางกฎหมายและสถานะทางศีลธรรมว่า รักร่วมเพศเป็นสิ่งที่เท่าเทียมกันทุกประการกับรัก ระหว่างต่างเพศ แต่ในปัจจุบันและอนาคตเท่าที่พอมองเห็น การสมรสระหว่างพ่อกับลูกสาวนั้นควร จะถูกถือว่าเท่าเทียมกันทุกประการในทางศีลธรรมกับการสมรสอื่นๆ ได้หรือ แต่นี่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรถูก ถือว่าผิดศีลธรรมอย่างไม่จากัดเงื่อนไขและไม่จากัดเวลา เพราะเป็นไปได้ที่เราจะมองย้อนกลับไปหา เวลาในอดีตของมนุษย์ชาติ ที่การที่พ่อและลูกสาว หรือแม่และลูกชาย เปลี่ยนมาเป็นผัวเมีย เป็นสิ่งที่ ถูกต้องและจาเป็น ทั้งทางธรรมชาติและทางศีลธรรมของชีวิตขณะนั้น เช่น จากมาตรฐานศีลธรรม ของความจาเป็นต่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ เช่น ในยุคสมัยที่มนุษย์ยังมีชีวิตที่ไม่ต่างจากสัตว์มากนัก อยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆ และเกิดขาดแคลนคู่ที่จะผลิตสมาชิกใหม่ให้กับกลุ่ม ในสภาพเช่นนั้น ชีวิตไม่ได้ มีทางเลือกมากพอที่มนุษย์จะมีความสูงส่งทางศีลธรรมสักเท่าใด การกระทาดังกล่าวย่อมดีกว่าการ ปล่อยให้เผ่าหรือกลุ่มของตัวเองเล็กลงจนอาจสูญไปในที่สุด และนั่นคือทางสาหรับคาตอบสาหรับความผิดของเพศสัมพันธ์ในสายเลือดใกล้ชิด ในกรณี ของพ่อหรือแม่กับลูก ในโลกยุคปัจจุบัน ชีวิตคือความเป็นไปได้ที่เปิดกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ทาให้โลก ยุคปัจจุบันกาหนดหน้าที่ของความเป็นพ่อแม่ ที่สูงส่งทางศีลธรรมยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ความรักของพ่อแม่ เป็นสิ่งพิเศษที่เราจะต้องอภิปรายต่อไปในอนาคต เป็นความรักที่เรียกร้องการเสียสละในทุกๆ วัน และต้องอาศัยคุณธรรมและปัญญาที่เหมาะสมมากากับ เพื่อให้เป็นความรักที่บริสุทธิ์และดีงามอย่าง แท้จริง ซึ่งประเด็นหลักก็คือ ลูกมีชีวิตของตนเอง พ่อแม่และลูกทุกคนเป็นปัจเจกบุคคลคนละคน พ่อ แม่มีตัวตนที่ใกล้ชิดกันมากกว่าที่มีต่อลูก เพราะลูกก็คือลูก แต่พ่อแม่คือคู่ของกันและกัน ลูกจะต้องหา คู่ที่เหมาะสมของตนเองในอนาคต ไม่ใช่พ่อแม่ยัดเยียดตนเองให้เป็นคู่ของลูก (และในปัจจุบัน การที่ พ่อแม่จะหาคู่ให้ลูกก็ไม่ใช่สิ่งที่จะถือได้ว่าถูกต้องอีกต่อไปแล้ว) หน้าที่ของพ่อแม่คือเลี้ยงลูกเพื่อให้ เป็นอิสระออกไปจากตน ไม่ใช่เพื่อผูกไว้กับตน ลูกมีชีวิตในวันข้างหน้าที่พ่อแม่มองไม่เห็น และเอื้อม มือไปไม่ถึง เพราะมีชีวิตอยู่กันคนละช่วงยุคแห่งเวลา แม้จะคาบเกี่ยวกันก็ตาม คือไม่ว่าจะอยู่ใกล้กัน แค่ไหนลูกก็เป็นคนของอนาคต และพ่อแม่เป็นคนของอดีต ถ้าพ่อแม่ดึงลูกไว้กับตนก็ย่อมเป็น ความเห็นแก่ตัว และหากยิ่งดึงไว้ด้วยเรื่องของความต้องการทางเพศด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นความเห็นแก่ตัว ที่หนักหนามากยิ่งขึน้ ไปอีก และยิ่งกว่านั้น ทันทีที่ความสัมพันธ์ของพ่อแม่ลูกเปลี่ยนมาเป็น ความสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยา สิ่งที่เคยเป็นของจิตใจล้วนๆ ก็กลายเป็นของร่างกาย ความเป็นพ่อแม่ ลูกจะจบลงอย่างเด็ดขาดทั้งที่ยังมีชีวิตกันอยู่ นับเป็นการสูญเสียที่ไม่อาจหาสิ่งใดมาทดแทนได้อีกแล้ว
79
การเป็นสามีภรรยานั้น เปลี่ยนมาเป็นความเกลียดชังจนฆ่ากันเอง ได้ง่ายกว่าที่พ่อแม่และลูกจะฆ่า กันเองมากนัก ความผิดเป็นของพ่อหรือแม่ที่หน่วงเหนี่ยวชีวิตลูก ไว้เป็นความสุขทางเพศของตน ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลย ที่พ่อแม่ลูกที่เป็นสามีภรรยากันจะมีสถานะทางศีลธรรมเท่าเทียมกับสามี ภรรยาแบบอื่น กล่าวคือ มันทาลายความสัมพันธ์ที่มีค่าทีส่ ุดในชีวิตของมนุษย์ เราได้อภิปรายให้เหตุผลต่างๆ ในเรื่องของความถูกผิดของเพศสัมพันธ์ ในแบบที่สังคมไทย ไม่เคยกล้าพูดถึงมาก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเคยถือว่าศักดิ์สิทธ์ ไม่ควรถูกตั้ง คาถามนั้น เป็นเพราะมันมีเรื่องของความดีงามที่เกี่ยวข้องกับความหมายของชีวิตอยู่ข้างใน เราใช้ ศรัทธาเพื่อสืบทอดมัน แต่ที่จริงแล้วการใช้ปัญญาเข้าไปตรวจสอบไม่จาเป็นต้องเป็นการทาลาย แต่ เป็นการทาให้มันเข้มแข็งขึ้น และเอาชนะความไร้สาระบางอย่างที่เข้ามาแอบแฝง ซึ่งการกระทาเช่นนี้ ก็จะช่วยทาให้วัฒนธรรมเองมีจิตวิญญาณที่มีความอ่อนโยนและมีมนุษยธรรมมากยิ่งขึ้น และในส่วน ของตัวเราเองผู้เข้าร่วมคิดโต้เถียงวิพากษ์วิจารณ์ เราก็ได้สร้างความเติบโตทางปัญญาให้กับตนเอง ไม่ มีเหตุผลใดที่เราควรจะปฏิเสธการเติบโตทางปัญญาของตัวเราเอง นอกเสียจากเราจะถูกทาให้ไม่คิด จนเกียจคร้านที่จะคิด เราก็ได้เห็นแล้วว่า ผู้ที่มีอานาจทางการเมืองและกระแสอนุรักษ์นิยมจารีตนิยม ในสังคมอาจพยายามบังคับเราให้หยุดคิด หยุดโต้แย้ง หยุดตั้งคาถาม นั่นเป็นเพราะสังคมฉ้อฉล หลง ผิด ใช้อารมณ์จนไร้สติ หรือเห็นแก่ประโยชน์เฉพาะหน้ายิ่งกว่าประโยชน์ระยะยาว เราได้เห็นแล้วว่า ความเข้มแข็งของตัวเราเองและความเข้มแข็งของสังคมนั้นเป็นสิ่งเดียวกัน คนในสังคมตะวันตกมี สติปัญญาที่เข้มแข็งกว่าเราและมีสังคมที่เข้มแข็งกว่าเรา เพราะสังคมของเขามีเสรีภาพทางความคิด และการแสดงออก คือมีเสรีภาพในการพูดและในการกระทา สูงกว่าในสังคมของเรา เด็กๆ ในสังคม ตะวันตกได้รับการสนับสนุนให้โต้เถียงและแสวงหาเหตุผลจนถึงที่สุด คนหนุ่มสาวได้รับการ สนับสนุนให้เป็นตัวของตัวเอง ให้รักและบูชาในปัจเจกภาพของตนเอง ไม่ถูกบังคับให้ต้องคล้อยตาม สังคม ประพฤติตามจารีตไปอย่างเชื่องๆ ภาพยนตร์อเมริกันวัยรุ่นแนวสนุกสนานเรื่อง Clueless แสดงการเปลี่ยนผ่านช่วงวัยจากความ เป็นวัยรุ่นที่ไร้สาระมาเป็นคนหนุ่มสาวที่ใช้ชีวิตอย่างมีค่ามีความหมาย ตัวละครสาวน้อยวัยรุ่นมัธยม ปลายปีสุดท้าย ผู้เห็นตนเองเป็นศูนย์กลางของโลก หมกมุ่นกับการสร้างความเด่นให้กับตนเองด้วย เสื้อผ้าอาภรณ์ของใช้ภายนอก เธอเห็นเพื่อนมีความรักและดูแลกันอย่างดีก็อยากมีความรักบ้าง พยายามออกเดทกับหนุ่มหล่อผู้แต่งตัวเท่ที่สุดในโรงเรียน แต่ปรากฏว่าเขาเป็นเกย์ เลยได้กลายเป็น เพื่อนรักไว้เที่ยวช็อบปิ้งแทน หนุ่มอื่นในโรงเรียนนั้นก็ไม่น่าสนใจเลยเพราะแต่งตัวทุเรศและเอาแต่ เล่นกีฬา (แต่นั้นแหละคือส่วนหนึ่งของความเป็นผู้ชายที่แท้จริง คือไม่สนใจรูปลักษณ์ภายนอกเท่ากับ ศักยภาพทางกายภาพของตนเอง) ในที่สุดก็สงสัยว่าตนเองจะแอบรักพี่มหาวิทยาลัยที่มาช่วยงาน
80
กฎหมายกับพ่อที่บ้านทุกวัน ซึ่งเป็นพวก good doer คือพวกชอบทาความดี ซึ่งเธอไม่เคยเข้าใจเขาทั้ง สองเลยว่าทาไปทาไม แต่ในที่สุดด้วยประสบการณ์อะไรบางอย่างเธอก็หันมามองชีวิตตนเอง ตรวจสอบชีวิตตนเองอย่างที่โสกราตีสสอน แล้วก็ตัดสินใจว่า จะเลิกสร้างคุณค่าให้กับตัวเธอเองด้วย สิ่งภายนอกมาสู่การสร้างคุณค่าให้ตัวเธอเองด้วยสิ่งภายใน เปลี่ยนมาสู่การเป็นคนที่มองเห็นคุณค่า และความหมายของตนต่อสังคม การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปด้วยสิ่งที่อยู่ในตัวของเธอเอง ก็เพราะ สังคมทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนสนับสนุนให้เธอคิด สนับสนุนให้โต้เถียงและให้เสรีภาพที่เธอจะเป็น ตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ครั้งหนึ่งเธอตกอยู่ในความยุ่งยากใจและเธอถามพ่อของเธอว่า มีอะไรบ้างไหมที่เราจะไม่ สามารถใช้เหตุผลโต้เถียงหาทางออกให้ตัวเองได้ นี่คือทัศนคติแบบเหตุผลนิยม (rationalism) ที่ต้อง เริ่มสร้างกันจากที่บ้านและที่โรงเรียน ในสังคมไทยมีเด็กสักกี่คนที่เติบโตมาในครอบครัวที่พ่อแม่ ยินยอมให้ลูกโต้เถียงได้ หรือมีครูสักกี่คนที่อนุญาตให้นักเรียนตั้งคาถามโต้เถียงได้ทุกครั้งที่มีข้อ สงสัย หรือสนับสนุนให้นักเรียนโต้เถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นี่คือความเป็นจริงใน สังคมไทยที่เราต้องแก้ไข แต่เราก็ต้องพัฒนาพลังทางปัญญาของเราต่อไป เพื่อให้เข้าใจปัญหาของ สังคมไทยและปัญหาของตัวเราเองให้มากกว่านี้ ในบทหน้าเราจะพูดถึงความสับสนผิดปกติบางอย่าง ของการสั่งสอนคนหนุ่มสาวในสังคมไทย.
บทที่ 5 ตรรกะของการไหว้ : ศีลธรรมแห่งความอ่อนน้อมและความทะนงตน ในท้ายบทที่แล้ว เราได้กล่าวถึงการที่เด็กในสังคมตะวันตกได้รับการสนับสนุนให้เป็นตัว ของตัวเอง ให้รู้จักคิดหาเหตุผลของตนเอง และใช้เหตุผลนั้นโต้เถียงกับผู้ใหญ่ได้อย่างถึงที่สุด ซึ่งมี เด็กไทยไม่กี่คนที่จะมีโอกาสเช่นนั้น นี่เป็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ทาให้สังคมตะวันตกมีความ เข้มแข็งกว่าเราในเกือบทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง ซึ่งต่างก็มีพื้นฐานมาจากความเข้มแข็งทางปัญญาของคนในสังคม กล่าวคือ ความเข้มแข็ง หรือความอ่อนแอของสังคมนั้น เป็นสิ่งที่สัมพันธ์อยู่กับบุคลิกภาพของสมาชิกของสังคม ในบทนี้เรา จะมองดูถึงบุคลิกภาพที่เด่นที่สุดประการหนึ่งของเด็กไทยและคนไทย ได้แก่การอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่ง
81
แสดงออกผ่านทางกิริยาการไหว้ ซึ่งในบทนีเ้ องเราจะหยิบเรื่องการไหว้มาวิเคราะห์ ในฐานะ สัญลักษณ์ของความอ่อนน้อมถ่อมตน เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการและเหตุผลทางศีลธรรม ที่อยู่ เบื้องหลังของการไหว้ ความเคารพต่อผู้อื่น ความเคารพต่อตนเอง ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความ หยิ่งทะนงในเกียรติและศักดิ์ศรีของตนเอง ประเด็นก็คือ สังคมไทยปัจจุบันพยายามอย่างยิ่ง ที่จะกล่อมเกลาเราให้เป็นคนอ่อนน้อมถ่อม ตน จนถึงจุดที่ดูเหมือนว่าเราจะต้องสูญเสียอะไรบางสิ่งบางอย่างไปใช่หรือไม่? อาจจะเป็นบางสิ่ง บางอย่างทีมีค่า เช่น ความรู้สึกถึงเกียรติและศักดิ์ศรีของตนเอง หรืออย่างน้อยที่สุดก็ทาให้เราต้องซ่อน สิ่งที่เราคิด สิ่งที่เรารู้สึกเอาไว้ข้างหลังอากัปกริยาของการอ่อนน้อมถ่อมตน ดังนั้นย่อมเท่ากับการที่เรา กาลังสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง สูญเสียการแสดงออกที่เป็นไปตามธรรมชาติที่แท้จริงของจิตใจ นั่นเอง1 เหตุใดสังคมไทยต้องบังคับให้เราไหว้ ไหว้ และไหว้ อยู่ตลอดเวลา คุณอาจจะตอบว่า การอยู่ ในสังคมนั้นต้องมีมารยาท แต่ก็น่าคิดว่าทาไมต้องมีมารยาท เราเป็นตัวของเราเองตามปกติมไิ ด้หรือ? ทาไมต้องไหว้? การไหว้เป็นมารยาท เป็นความสุภาพ แต่การทาตัวตามมารยาทก็ทาให้หลายๆ ครั้งเรา ก็ต้องไหว้ทั้งๆ ที่ไม่อยากไหว้ แม้เราอาจจะถูกสอนให้ไหว้จนกลายเป็นนิสัย แต่บางครั้ง บาง สถานการณ์ ก็มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในจิตใจของเราไม่ใช่หรือ? ดังนั้นมันจึงไม่จริงตามคากล่าวของ ผู้ใหญ่บางคนเลยว่า “ไหว้ไปเถอะลูก การไหว้ไม่ทาให้นิ้วกุด การไหว้ไม่เคยทาให้เราเสียอะไร การ เมื่อกล่าวว่าสังคมไทยปัจจุบันพยายามสร้างให้เราเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ผมหมายถึงความพยายามที่เกิน เลยจนถึงจุดที่เรียกได้ว่าไร้สาระ ซึ่งปรากฏอยู่ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ยังคงคลั่งไคล้ สร้างคาขวัญ เกี่ยวกับคุณค่าทางจริยาของการเป็นเด็กดีที่น่ารัก มาควบคุมพฤติกรรมของนักศึกษา ซึ่งล้วนแต่อายุเกิน 18 ปี แล้วทั้งสิ้น ระบบโซตัสเองก็ใช้ลัทธิวัฒนธรรมนิยมนี้บังคับให้นักศึกษาปีหนึ่งไหว้รุ่นพี่ทุกคน และให้ไหว้ คนทุกคนที่ดูเหมือนว่าเป็นอาจารย์ในคณะ ในระดับโรงเรียนประถมของโรงเรียนสาธิตสวัสดิการของ มหาวิทยาลัยบางแห่งก็มีการสร้างพิธีกรรมหน้าเสาธง ให้นักเรียนประถมต้นไหว้นักเรียนประถมปลาย โดย อ้างว่าเพราะนักเรียนประถมปลายมีอาวุโสมากกว่านักเรียนประถมต้น นี่ไม่ใช่การซาบซึ้งกับวัฒนธรรมไทย แต่เป็นการถูกหล่อหลอมด้วยความไร้สาระของระบบโซตัส ที่ฝังเข้าไปในกระดูกของผู้บริหารโรงเรียน ดังกล่าว เพราะไม่น่าเชื่อว่าในวัฒนธรรมไทยแต่เดิมมา ความมีอาวุโสจะหมายความง่ายๆแค่ว่ามีอายุแก่กว่า กันสักนิดสักหน่อยก็พอแล้ว หรือเรียนสูงกว่าสักหนึ่งชั้นปีสองสามชั้นปีประถม เพราะในทางวัฒนธรรม แล้ว เด็กไม่ใช่ผู้ที่จะนับความมีอาวุโสต่อกันได้ หรือแม้แต่คนหนุ่มคนสาวด้วยกันเองก็ตามที ดังนั้น สังคมไทยปัจจุบันต้องมีอะไรที่ผิดปกติอย่างแน่นอน ขอทบทวนว่าในบทที่ 1 มีการเสนอว่า สิ่งที่ทาลาย ความสุขในชีวิตของคนหนุ่มสาวก็คือ การชนะและครองอานาจทางวัฒนธรรมอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของฝ่าย อนุรักษ์นิยมในสังคมไทย ซึ่งสนใจแต่การสร้างภาพพจน์และการใช้อานาจบังคับทางศีลธรรม และการสร้าง ระบบชนชั้นโดยเอาศีลธรรมมาอ้างบังหน้า 1
82
ไหว้มีแต่ได้” นี่คือคาพูดที่ไม่จริง เพราะคนที่ไหว้โดยไม่อยากไหว้ ต้องเสียความรู้สึกที่มีต่อตนเอง บางอย่าง หากลองนึกถึงความรู้สึกของพนักงานในห้างร้านต่างๆ ที่ต้องไหว้ผู้ที่มีอายุต่ากว่าตน และ ต้องไหว้อยู่ฝ่ายเดียวเพราะลูกค้าไม่สะดวกหรือไม่สนใจที่จะรับไหว้ คุณคิดว่าเขาเจ็บปวดหรือไม่รู้สึก อะไรเลย? หรือนึกถึงการที่ระบบโซตัสบังคับคุณให้ไหว้รุ่นพี่ ที่บางทีก็มีอายุเท่ากันกับคุณ หรือ อาจจะน้อยกว่าคุณเสียด้วยซ้า คุณรู้สึกอย่างไรบ้างถ้าเขาเฉยๆ ไม่รับไหว้? รู้สึกหรือไม่ว่าคุณสูญเสีย บางสิ่งบางอย่างไป? คาสอนดังกล่าวแท้ที่จริงแล้วหมายความว่า การไหว้จะทาให้เราได้รับผลประโยชน์ตอบ แทนที่สูงค่ากว่าการรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีในตนเอง แน่นอนว่า การถือเกียรติและศักดิ์ศรีจะไม่ทาให้ เราได้รับผลประโยชน์ หรือเป็นที่ชื่นชอบของผู้อื่น แต่ก็ทาให้เรารู้สึกถึงความมีค่าในตนเอง ดังนั้นคา สอนนั้นจึงมีค่าเท่ากับการสอนให้เราขายเกียรติและศักดิ์ศรี แลกกับผลประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ จริงเสมอไปที่การไหว้จะต้องเป็นการยอมสูญเสียศักดิ์ศรีเพื่อแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ บางครั้งการ ไหว้ก็ทาให้เรารู้สึกดี รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้กระทา นั่นคือ เมื่อเราไหว้บุคคลหรือสิ่งที่เรารู้สึกอยากไหว้ เช่น พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ครูบาอาจารย์ พระสงฆ์หรือนักบวชในศาสนาที่เรานับถือ เป็นต้น นั่นคือเมื่อ เราใช้การไหว้เป็นการแสดงออกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อสิ่งที่เราเคารพบูชา ซึ่งเป็นการตอบแทน อย่างหนึ่งที่เราสามารถกระทาได้ ต่อความดีงามที่เราได้รับจากผู้ที่เราเคารพรักศรัทธาด้วยใจจริง ดังนั้น การไหว้จึงเป็นกิริยาที่มีความหมายที่ซับซ้อน สามารถสร้างได้ทั้งความรู้สึกที่ดีและไม่ ดีต่อตัวเราเอง และส่วนผู้รับก็สามารถสร้างความรู้สึกพึงพอใจ ที่จะทาให้เขารู้สึกชื่นชอบพอใจ เอ็นดู เราเป็นพิเศษ แต่ถ้ามองตรงนี้ให้ดี เราก็จะพบว่าไม่จริงเสมอไปว่า การไหว้จะทาให้บุคคลผู้ที่ได้รับ รู้สึกพึงพอใจเสมอไป เป็นไปได้ที่คนบางคนจะรู้สึกราคาญต่อการไหว้ เพราะเขารู้สึกว่าเป็นการ บังคับให้เขาต้องรับไหว้ ซึ่งเขาไม่สะดวกหรือคร้านที่จะต้องคอยทา หรือเขาอาจจะเป็นคน ละเอียดอ่อนพอที่จะรู้สึกถึงความเจ็บปวดของผู้ไหว้ รู้ว่าเป็นการไหว้ที่ผู้ไหว้ฝืนใจกระทา จึงรู้สึกไม่ดี เมื่อถูกไหว้ เช่น ลูกค้าที่มีจิตใจละเอียดอ่อน หวังในใจว่าคนขายของจะไม่ยกมือไหว้เขาเมื่อรับเงิน ดังนั้นเขาจึงรู้สึกไม่ดีเมื่อถูกไหว้ นี่ยังกล่าวไม่หมดถึงความซับซ้อนของการไหว้ เพราะเรายังไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดของ การไหว้ในโอกาสต่างๆ ที่มีถึง 4 ประการ คือ หนึ่งในการทักทาย สองในการลาจากกัน สามในการ แสดงความขอบคุณ และ สี่ในการขอโทษ คาถามสาหรับเราก็คือ “อะไรคือความหมายที่เป็นแก่นแท้ ของการไหว้?” “อะไรคือสิ่งที่ทาให้การไหว้สามารถกระทาสิ่งต่างๆ และสร้างความรู้สึกต่างๆ อย่างที่ กล่าวมาทั้งหมดนั้นได้” คาตอบง่ายๆ ดูเหมือนจะอยู่ในสิ่งที่เราพูดมาแล้ว การไหว้คือการแสดงออก ถึง “ความอ่อนน้อมถ่อมตน” (humility) แต่นี่เป็นคาตอบที่เราสามารถถามต่อไป ด้วยคาถามแบบเดิม
83
ว่า “อะไรคือแก่นแท้ของความอ่อนน้อมถ่อมตน?” “อะไรคือสิ่งที่ทาให้ความอ่อนน้อมถ่อมตน สามารถกระทาสิ่งต่างๆ และสร้างความรู้สึกต่างๆ อย่างที่กล่าวมาทั้งหมดได้?” คาตอบก็คือ ความอ่อนน้อมถ่อมตนคือการลดตัวลงต่ากว่าผู้ที่อยู่ต่อหน้าเรา คือการทาให้ผู้ที่ อยู่ต่อหน้าเรารับรู้ว่าเราเห็นเขาว่ามีค่ามีความสาคัญเหนือเรา (แม้เราอาจจะกล่าวว่า การไหว้คือ สัญลักษณ์ของการมอบดอกบัวให้แก่ผู้ที่เราไหว้ แต่ประเด็นก็จะยังคงเหมือนเดิมคือเราเห็นว่าเขามี ความสาคัญเหนือกว่าตัวเรา จึงต้องมอบของกานัลเชิงสัญลักษณ์นี้ให้เขาก่อน) ดังนั้นสิ่งที่สามารถ แอบซ่อนอยู่เบื้องหลังการไหว้ก็คือ การกาหนดและการแสดงสถานะของเกียรติและศักดิ์ศรีที่ไม่เท่า เทียมกัน สิ่งที่ชี้ให้เราเห็นว่านี่ไม่ใช่เพียงความเป็นไปได้ แต่เป็นความเป็นจริงก็คือ คนไทย เปลี่ยนแปลงตาแหน่งของการไหว้และการรับไหว้ไปตามระดับฐานะทางชนชั้นว่า เท่าเทียมกัน หรือ ห่างกัน มากน้อยแค่ไหน กล่าวคือ คนไทยไหว้และรับไหว้ ด้วยการจรดปลายนิ้วมือที่ตาแหน่งที่ ต่างกันถึง 5 ตาแหน่งคือ หน้าอก คาง จมูก หน้าผาก และ เหนือศรีษะ การไหว้ของคนไทยจึงมีการ แสดงสถานะทางสังคมที่สูงต่าเหนือกว่ากัน ซึ่งทับซ้อนอยู่บน การทักทาย การลา การขอบคุณ และ การขอโทษ จากความหมายของการลดตัวเองลงต่า และยกผู้ที่ถูกไหว้ขึ้นสูงเหนือตัวเองนี้เอง ทาให้เรา สามารถมองเห็นถึงสาเหตุของความรู้สึกดี และไม่ดี ที่เกิดขึ้นจากการไหว้ เรารู้สึกดีที่ได้ไหว้เพราะเรา รู้สึกว่าผู้ที่เราไหว้มีคุณค่าเหนือเราในสถานะบางประการที่เป็นสิ่งที่ดีต่อเรา เช่น พ่อแม่มีคุณค่าเหนือ เราในสถานะของผู้ให้พื้นฐานของชีวิต คือให้เราในสิ่งที่เราจาเป็นต้องได้รับ เพื่อการมีชีวิตรอดและ การเจริญเติบโต อีกทั้งดูแลปกป้องเราจากอันตรายอีกด้วย ครูอาจารย์ก็เช่นกันในฐานะผู้ที่ให้ความรู้ และความสามารถ หรือพระสงฆ์นักบวชในฐานะผู้ที่ให้การดูแลให้คาสอนเพื่อสร้างความสงบสันติ ทางจิตวิญญาณ เรารู้สึกไม่ดีที่ต้องไหว้คนบางคน เพราะเราไม่รู้สึกว่าเรามีคุณค่าความสาคัญต่ากว่าเขา หรือเขามีคุณค่าพิเศษสาหรับเราในประการใดๆ การไหว้ทาให้เรารู้สึกเหมือนว่าเราตกอยู่ใต้อานาจ ของเขา ผู้ได้รับการไหว้รู้สึกดีเพราะเขารู้สึกว่าตนเองได้รับการยกให้มีคุณค่าความสาคัญเหนือกว่าผู้ที่ ไหว้ แต่ก็เป็นไปได้เช่นกันที่ผู้รับไหว้จะรู้สึกไม่ดีเพราะเขาไม่รู้สึกว่าตนเองมีสถานะใดที่เหนือกว่าผู้ ไหว้ และไม่ได้ทาสิ่งใดที่เป็นความดีงามอย่างแท้จริงต่อผู้ไหว้ จึงไม่ต้องการการไหว้ สุดท้ายคือ เรา รู้สึกดีที่ผู้ที่เราไหว้รับไหว้เรา คือไหว้เราตอบ เพราะนั่นคือการที่เขาอ่อนน้อมถ่อมตนต่อเรา เพื่อแสดง ความเสมอกัน ซึ่งเท่ากับเป็นการยกผู้ที่ไหว้ก่อนให้กลับมามีสถานะเสมอกับตนเอง จึงกลายเป็นความ อ่อนน้อมถ่อมตนซึ่งกันและกัน เห็นได้ชัดว่า การไหว้เกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับความรู้สึกเรื่องคุณค่า เกียรติ และศักดิ์ศรี การไหว้เป็นเรื่องของศีลธรรม ด้วยเหตุดังกล่าว ความรู้สึกดีหรือไม่ดีที่เกิดขึ้นในการไหว้จึงบอกอะไร เราบางอย่าง เกี่ยวกับความสับสนทางศีลธรรมของสังคม ประเด็นก็คือ การไหว้ที่ทาให้ผู้ไหว้หรือผู้
84
รับไหว้รู้สึกไม่ดี บ่งบอกถึงความไร้ค่าทางศีลธรรมในการไหว้นั้น เช่นเดียวกับการไหว้ที่ผู้ไหว้และผู้ ได้รับการไหว้รู้สึกดี บ่งบอกถึงความถูกต้องทางศีลธรรมของการไหว้นั้น การไหว้ที่ไร้ค่าทางศีลธรรมก็คือการไหว้ที่เป็นเพียงการประจบประแจง การยอมลดเกียรติ และศักดิ์ศรีของตนลงเพื่อความพึงพอใจของผู้ที่ได้รับการไหว้ เป็นการประจบแบบเดียวกับการให้ ของกานัลหรือการยกยอปอปั้นผู้ที่มีสถานะเหนือกว่า ที่กระทาลงไปเพราะหวังผลประโยชน์ตอบ แทน ผู้ที่สอนว่าจงไหว้ไปเถอะลูก การไหว้มีแต่ได้นั้น ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องถือว่ากาลัง สอนความต่าค่าทางศีลธรรมให้กับคนหนุ่มสาว เพราะกาลังสอนให้คนหนุ่มสาวไหว้แบบ ประจบประแจง คือไหว้เพื่อหวังผล การไหว้ที่มีค่าทางศีลธรรมต้องมาจากใจจริง คือ มาจากความ เคารพและศรัทธาด้วยใจจริง การไหว้ที่ถูกบังคับให้ทาอย่างในระบบโซตัสจึงเป็นการประจบประแจง การบังคับให้คนต้องขายเกียรติและศักดิ์ศรีของตนเอง ขายความรู้สึกว่าตนมีค่าเสมอกับผู้อื่น เพื่อแลก กับการได้รับการยอมรับ “นับรุ่น” จากผู้ที่เข้ามาเรียนก่อน เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่นักศึกษาที่เข้ามา เรียนก่อน จะเป็นผู้ที่สามารถจะมอบสิ่งที่ดี มีคุณค่า ที่มีความหมายต่อนักศึกษาผู้เข้ามาทีหลัง พอที่จะ ให้ผู้ที่เข้ามาทีหลังเกิดความเคารพและศรัทธาได้ด้วยใจจริง ผลประโยชน์ที่อาจให้ได้ก็เป็นเพียงของ เล็กๆ น้อยๆ แต่สิ่งที่มีมากกว่าจริงๆ ก็คือช่องทางในการสร้างแรงกดดันให้ผู้เข้ามาทีหลังซึ่งอ่อนแอ ต้องยอมตนตกอยู่ใต้อานาจ ดังนั้นการไหว้ในระบบโซตัสจึงเป็นการบิดเบือนทางศีลธรรม เช่นเดียวกับการไหว้ลูกค้าของพนักงานบริการต่างๆ ที่เป็นไปเพื่อผลกาไรของเจ้าของกิจการ และ เครื่องหมายแสดงความบิดเบือนนี้ก็คือความรู้สึกเจ็บปวด สูญเสียเกียรติและศักด์ศรีของตนเองที่ เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ไหว้ น่าสมเพชที่ในสังคมทุนนิยมของคนไทย ลูกจ้างจะต้องยอมขายเกียรติและ ศักดิ์ศรีของตนเองให้กลายเป็นทุนให้นายจ้างใช้หาผลกาไรเพิ่มขึ้นให้กับตัวเอง การไหว้ที่เป็นความสูงค่าทางศีลธรรมเป็นอย่างไร? การไหว้ที่ถูกต้องทางศีลธรรมคือการ ไหว้ที่เกิดจากการเคารพด้วยใจจริง ผู้ไหว้รู้สึกดีที่ได้ไหว้ อย่างที่เกิดขึ้นเมื่อเราไหว้พ่อแม่ ครูอาจารย์ และพระสงฆ์หรือนักบวชในศาสนาที่เรานับถือ คาถามในขั้นต่อไปสาหรับเราก็คือ “ความเคารพคือ อะไร?” “ความเคารพสัมพันธ์กับความอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างไร?” “ความเคารพประกอบด้วย เงื่อนไขอะไรบ้าง” คาตอบคือ ความเคารพ คือการเต็มใจในการยอมตนให้อยู่ใต้อานาจการสั่งการของ ผู้ที่อยู่เหนือตน เพื่อตอบแทนต่อความดีงามที่ผู้ที่อยู่เหนือตนได้กระทาให้ ความเต็มใจดังกล่าวเกิดจาก การตระหนักรู้ในสิ่งสองประการ หนึ่ง-รู้ว่าผู้ที่มอบสิ่งที่ดีงามให้แก่ตนนั่น กระทาไปด้วยความปรารถนาดีอย่างบริสุทธิ์ใจ และ พร้อมที่จะกระทาเช่นนั้นยิ่งๆ ขึ้นไป ตราบเท่าที่ตัวเรายังไม่เติบโตเพียงพอในความสามารถที่จะสร้าง สิ่งที่ดีงามให้แก่ตนเอง จนกว่าเราจะสามารถดูแลตนเองในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างสมบูรณ์
85
สอง-รู้ว่าผู้ที่เรายอมตนอยู่ใต้อานาจ ยอมรับให้กาหนดชี้นาการกระทาของเรา กระทาลงไป ด้วยความปรารถนาดีที่บริสุทธิ์สะอาด และแม้ว่าสิ่งที่เราถูกกาหนดให้กระทาอาจจะฝืนต่อความพึง พอใจอย่างง่ายๆ ของเราแต่เป็นไปเพื่อผลดีสาหรับเราอย่างบริสุทธิ์ไม่มีสิ่งใดเจือปน รู้ว่าผู้ที่เรายอม ตนอยู่ใต้อานาจนั่นไม่ได้ต้องการที่จะล่วงเขามาควบคุมจิตใจของเรา กล่าวคือ เขาพร้อมที่จะรับฟัง เหตุผลที่มาจากใจจริงและจากสติปัญญาความคิดอ่านของเรา และจะไม่บังคับให้เราทาในสิ่งที่ฝืนต่อ ใจจริงในสิ่งที่เป็นความหมายในชีวิต หรือเป็น “ตัวตน” ของเรา จากการวิเคราะห์นี้จะเห็นได้ว่า ความเคารพสัมพันธ์โดยตรงกับความอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะความอ่อนน้อมถ่อมตนก็คือการลดความสาคัญของตนลง ยุติการขัดขืน สร้างจิตใจให้พร้อมที่ จะกระทาตามการชี้นาสั่งการของผู้ที่ตนอ่อนน้อมต่อ และเปิดรับต่อความดีที่มีอยู่ในการกาหนดชี้นา นั้นๆ การวิเคราะห์ความหมายและเงื่อนไขของความเคารพที่เสนอมานี้ ใช้ความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อแม่และลูก ครูและศิษย์เป็นต้นแบบ ซึ่งเปิดเผยให้เราเห็นว่า ในความเคารพที่สูงค่าทางศีลธรรมที่ผู้ ต่ากว่ามีต่อผู้ที่สูงกว่านั้น ต่างก็มีพันธะทางศีลธรรมที่เป็นความเคารพของผู้ที่สูงกว่าที่มีต่อผู้ที่ต่ากว่า ด้วย นั่นก็คือ ความบริสุทธิ์ใจในการให้ ในการกาหนดชี้นา และการมีจิตใจที่เปิดรับต่อปัจเจกภาพ หรือ “ตัวตน” ของผู้รับ ในความสัมพันธ์ของการให้และการรับที่สูงค่าทางศีลธรรม ผู้ให้ต้องมีความ เคารพต่อปัจเจกภาพของผู้รับ ผู้รับต้องไม่ต้องสูญเสียปัจเจกภาพของตนเองให้แก่ผู้ให้ ซึ่งหมายความ ว่าในความสัมพันธ์ที่ดีงามอย่างแท้จริงระหว่างพ่อแม่และลูก ครูและศิษย์ ฝ่ายหลังต้องไม่สูญเสีย ตัวตนให้กับฝ่ายแรก นั่นก็คือ หากพ่อแม่สามารถเรียกร้องความเคารพจากลูก ลูกก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องความเคารพ จากพ่อแม่เช่นกัน ซึ่งก็มิใช่อื่นใดนอกจากการขอให้พ่อแม่ยอมรับเหตุผลที่เป็นความรู้สึกจากใจจริง ของลูก ว่าอาจไม่ตรงกับเหตุผลหรือความคิดความต้องการของพ่อแม่ และลูกควรมีสิทธิที่จะเป็นตัว ของตัวเอง ซึ่งอาจต่างไปจากที่พ่อแม่อยากให้เป็น ซึ่งก็คือการที่พ่อแม่มีความเคารพว่าลูกมีความเป็น บุคคลๆ หนึ่ง ที่มีความคิดความต้องการบางอย่างที่เป็นตัวของเขาเอง หากพ่อแม่เห็นว่าวิถีชีวิตหนึ่งดี สาหรับลูก พ่อแม่ย่อมไม่มีสิทธิที่จะบังคับให้ลูกต้องเดินตามวิถีชีวิตแบบนั้น ทาได้แต่การชี้แจง เหตุผลให้ลูกฟัง ลูกแสดงความเคารพด้วยการรับฟัง แต่การที่ลูกจะยอมรับวิถีชีวิตเช่นนั้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับควำมเป็นจริงภำยนอกที่ลูกมองเห็นตามคาอธิบายของพ่อแม่ และควำมเป็นจริงภำยในที่เป็น ธรรมชาติแห่งจิตวิญญาณของลูกเอง คาลิน ยิบราน กวีชาวเลบานอน กล่าวอย่างน่าฟังถึง ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกว่า พ่อแม่เป็นเสมือนคันธนู ลูกเป็นเสมือนลูกศร หน้าที่ของคันธนู คือส่งลูกศรไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะไกลได้ แต่คันธนูไม่ใช่ผู้ที่จะกาหนดเป้าหมายให้กับลูกศร เป้าหมายที่ลูกศรจะพุ่งไปสู่นั้นมีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่จะรู้และกาหนดได้ หมายความว่า จิตวิญญาณ
86
ของลูกคือสิ่งที่จะกาหนดเป้าหมายในการเติบโตของลูกเอง ว่าเขาต้องการที่จะเติบโตไปเป็นอะไร เดินไปในทิศทางใด พ่อแม่ไม่มีสิทธิที่จะบังคับทางเดินในชีวิตของลูก ลูกมิได้ติดหนี้พ่อแม่ที่จะต้อง ชดใช้คืนให้ ด้วยการยกทางเลือกในชีวิตของตนเองให้พ่อแม่เข้ามาเป็นผู้กาหนด แม้ว่าพ่อแม่จะอ้าง ความปรารถนาดี แต่ตัวตนที่เป็นจิตวิญญาณของลูกก็อาจรับรู้ ในสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นคุณค่าดีงามที่เขา รัก ซึ่งต่างไปจากที่พ่อแม่เห็นและรัก ความสัมพันธ์ที่ครูมีต่อศิษย์ก็ย่อมต้องเป็นเช่นเดียวกับที่พ่อแม่มีต่อลูก ครูย่อมไม่มีสิทธิ เรียกร้องความเคารพเชื่อฟังจากศิษย์ หากครูไม่ใช่ผู้ที่ให้อย่างบริสุทธิ์ต่อศิษย์และให้ด้วยความรัก อีก ทั้งความเคารพที่เกิดขึ้นก็ต้องเป็นความเคารพซึ่งกันและกัน ศิษย์มีความเคารพรักและเชื่อฟังในสิ่งที่ ครูสอน และครูมีความเคารพรักต่อความเป็นบุคคลที่มีค่ามีศักดิ์ศรี มีความรู้สึกจากส่วนลึกในใจของ ตนเองของศิษย์ และในความสัมพันธ์ที่บริสุทธิ์ระหว่างครูและศิษย์ ศิษย์ต้องไม่เสียอานาจในตนเอง ให้กับครู ในการสร้างความคิดความเชื่อสาหรับตนเอง ศิษย์ย่อมมีสิทธ์ที่จะซักถามโต้เถียงตรวจสอบ ในสิ่งที่ครูนาเสนอจนถึงที่สุด เพราะนั่นคือการเติบโตทางปัญญาและความสามารถ ที่จะแสวงหา ความรู้ความเชื่อที่ดีที่สุดให้กับตนเอง ซึ่งคือเป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษา ครูไม่ใช่ผู้ที่จะกาหนด ความคิดความเชื่อ และแนวทางการปฏิบัติให้กับศิษย์ แต่เป็นผู้ที่จะแสดงเหตุผลความเป็นจริงต่างๆ ให้ศิษย์นาไปพิจารณาตรวจสอบ เพื่อสร้างขึ้นเป็นเหตุผลของความเป็นจริงของชีวิต และแนวทางการ ปฏิบัติ ของตนเอง สิ่งที่เราเห็นได้อย่างหนึ่งจากการวิเคราะห์ก็คือ การให้และการรับเป็นขั้นตอนของการเติบโต ของผู้ที่ยังเป็นหน่ออ่อน และการมีพันธะต่อการสร้างความดีงามต่อโลกนี้ของผู้ที่เติบโตยิ่งกว่า การ เป็นพ่อแม่และการเป็นครูเป็นการสร้างโลกด้วยความรัก เป็นการต่อสู้ที่จะไม่ให้โลกตกต่าลงด้วยสิ่งที่ ไม่น่าปรารถนา คงรักษาความดี และสร้างความดีงามให้เกิดมากขึ้น ชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะเติบโตเป็น สิ่งที่มีค่ามีความหมายต่อโลก เป็นภาระที่มีต่อโลกของผู้ที่เติบโตแล้ว หากผู้ที่เติบโตแล้วมีความรักต่อ โลกและชีวิตใหม่ เช่นนั้นแล้ว เมื่อชีวิตที่เป็นหน่ออ่อนเติบโตขึ้น เขาก็จะรักโลก สร้างพันธะกิจที่ ตนเองจะมีต่อโลกต่อไป การให้และการรับจึงเป็นวงจรของชีวิตและการสร้างโลก ถ้าผู้ให้ให้อย่าง บริสุทธิ์ จิตวิญญาณของผู้รับก็ย่อมเติบโตได้อย่างอิสระ ไม่รู้สึกขาดแคลนคุณค่าในตนเอง ไม่รู้สึก สูญเสียและแปลกแยกในตนเอง แล้วเขาก็จะกลายเป็นผู้ให้ที่บริสุทธิ์ต่อไป พ่อแม่และครูที่ดีงามอย่าง แท้จริงจึงมิได้หวังสิ่งใดจากลูกหรือศิษย์ หากแต่หวังให้ลูกและศิษย์เกิดความรักต่อโลก และถ่ายทอด ความรักของตนสู่โลกสืบไป เช่นกัน แต่การเติบโตก็เป็นสิ่งที่มีจุดของความเต็มบริบูรณ์ จุดของการบรรลุวุฒิภาวะ นามาสู่ความ เสมอกันของผู้ที่เคยให้และรับต่อกัน วันหนึ่งลูกย่อมเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เป็นอิสระหาเลี้ยงตนเอง เสมอกับพ่อแม่ วันหนึ่งศิษย์ย่อมเติบโตในความรู้ความสามารถเสมอกับครู การไหว้ที่แสดงสถานะ
87
ความสูงต่ากว่ากันก็ย่อมเปลี่ยนไป เมื่อนั้นพ่อแม่และครูย่อมรับไหว้ลูกและศิษย์ในเจตนาของการยก ลูกและศิษย์ให้กลับขึ้นมาเสมอกับตน กลายเป็นความเคารพต่อความเป็นบุคคลที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี ที่เสมอกัน มีความคิดความอ่านที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ด้วยความเสมอภาคกัน ไม่ใช่ในฐานะของ ผู้ให้ที่มีอานาจสามารถชี้นากาหนดแนวทางการประพฤติปฏิบัติ หรือกาหนดความคิดความเชื่อให้กับ ผู้รับอีกต่อไป ในการเติบโตของบุคคล มีบางสิ่งบางอย่างที่สาคัญและมีความหมายอย่างสูงในทางศีลธรรม เมื่อยังเป็นเด็ก พ่อแม่ ครู อาจต้องสั่งสอนและลงโทษ เพื่อให้ลูกและศิษย์เป็นคนดี แต่ท้ายที่สุดแล้ว คนทุกคนจะต้องเติบโตขึ้นเป็นผู้ที่สอนถูกผิด ดีชั่วให้ตนเอง เมื่อนั้นความเคารพจะกลายเป็น ปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เพราะสิ่งที่บุคคลจะต้องเรียนรู้ที่จะเคารพอย่างสูงสุดนั้นจะไม่ใช่บุคคล อื่นอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ ครูอาจารย์ แต่คือตนเอง และนี่คือที่มาของสิ่งที่เรียกว่า “ความเคารพ ในตนเอง” (self respect) รวมทั้งสิ่งที่สัมพันธ์ตามกันมา คือ ความหยิ่งทะนงในเกียรติและศักดิ์ศรีของ ตนเอง (pride) และความอ่อนน้อมถ่อมตน ที่สูงค่าทางศีลธรรม “ความเคารพในตนเอง” คืออะไร? ความเคารพในตนเองคือ ความสามารถที่จะบอกได้เอง ตัดสินได้เอง ว่าอะไรถูกอะไรผิด และเมื่อตนเองตัดสินได้แล้ว ตนเองก็เคารพในการตัดสินนั้น ด้วย การปฏิเสธที่จะทาในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับข้อตัดสินของตนเอง สาหรับบางคน นี่อาจจะฟังดูแปลก เพราะเขาอาจคิดว่า เราจะรู้เองได้อย่างไร ว่าอะไรถูกอะไรผิด เขาคิดว่าเราจะรู้ได้ก็ต้องมีคนที่รู้ดีกว่า มาคอยบอก นี่เป็นวิธีคิดแบบเด็กๆ ที่ทาให้ต้องถามต่อไปว่า แล้วใครสอนคนๆ นั้น ซึ่งต้องจบลงที่ ไหนสักแห่ง แต่ที่จริงแล้วอาจไม่ต้องไปไล่หาที่ไหน ขอลองนึกถึงการเติบโตไปสู่การเกิดอุดมคติ อย่างที่กล่าวถึงในบทที่แล้ว ซึ่งกล่าวไว้ว่า ศีลธรรมที่แท้จริงนั้นเกิดขึ้นเมื่อความรักของเราเติบโตจน เราก้าวข้ามพ้นตนเอง มองเห็นสิ่งที่เป็นคุณค่าสากล มองเห็นว่าสิ่งที่น่าปรารถนาสาหรับเรานั้น เป็น สิ่งที่น่าปรารถนาสาหรับทุกๆ ชีวิตที่มีจิตใจรับรู้สุขทุกข์เหมือนกับเรา นักปรัชญาชาวเยอรมันชื่อ ว่าอิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant ค.ศ. 1724-1804) มิได้มองเรื่องความเป็นสากลของสิ่งที่มีคุณค่า น่าปรารถนา แต่มองเรื่องความเป็นสากลของกฎศีลธรรม เขาเห็นว่า มนุษย์ทุกคนสามารถตัดสินดีชั่ว ถูกผิดได้ด้วยตนเอง ด้วยการถามตัวเองว่า การกระทาแบบหนึ่งๆ สามารถสร้างให้เป็นกฎแห่งความ ประพฤติ ที่ตนเองจะตั้งเจตนาให้เป็นกฎสากล ให้มนุษย์ทุกคนถือปฏิบัติ ได้หรือไม่ เขาถือว่ามนุษย์ ทุกคนมีปัญญาอันเสมอกันที่จะเข้าใจความขัดแย้งในตนเอง ของการบัญญัติกฎของความประพฤติที่ ผิดศีลธรรม และความสอดคล้องในตนเอง ของการบัญญัติกฎความประพฤติที่ถูกศีลธรรม ค้านท์บอกว่าคุณสามารถทดลองได้ด้วยตัวของคุณเอง ด้วยการลองสมมุติว่าคุณกาลังประสบ ปัญหา ต้องการเงิน และเลือกที่จะโกหกด้วยการสัญญาว่าจะคืนเงินให้ แต่ถ้าคุณมีเจตนาที่จะบัญญัติ สิ่งนี้ให้เป็นข้อปฏิบัติสากล คือให้คนทุกคนสามารถพูดโกหกต่อกันได้ในเงื่อนไขดังกล่าว อะไรจะ
88
เกิดขึ้น? คาตอบคือ เราจะอยู่ในโลกที่ไม่มีใครเชื่อถือคาพูดของใครเลย และการทาคามั่นสัญญาที่จะ ตอบแทนชดใช้ต่อกันจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ค้านท์คิดว่า เราไม่สามารถปรารถนาโลกหรือ สังคมที่ผู้คนยึดถือกฎนี้อย่างเป็นสากลได้ นั่นก็คือ เกิดความขัดแย้งขึ้น ระหว่างสิ่งที่คุณปรารถนากับ สิ่งที่คุณบัญญัติให้คุณและคนอื่นปฏิบัติ นี่คือสิ่งที่ใช้ตัดสินว่าสิ่งที่คุณต้องการปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งที่ผิด ศีลธรรม แต่ถ้าคุณจะบัญญัติให้การช่วยเหลือคนที่ประสบความทุกข์ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ โดยไม่ เรียกร้องสิ่งตอบแทน ให้เป็นข้อปฏิบัติสากล อะไรจะเกิดขึ้น? ขอให้ลองพิจารณาดูเองว่าคุณจะ ปรารถนาโลกหรือสังคมแบบที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้าคุณปรารถนา สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือความสอดคล้อง ระหว่างสิ่งที่คุณปรารถนา กับสิ่งที่คุณบัญญัติให้คุณและคนอื่นปฏิบัติ นี่คือสิ่งที่คุณใช้ตัดสินว่าสิ่งที่ คุณปฏิบัตินั้นถูกต้องทางศีลธรรม เราจะไม่เข้าไปดูรายละเอียดเรื่องเกณฑ์การตัดสินทางศีลธรรมของค้านท์ มากกว่านี้ ประเด็น สาหรับเราก็คือทฤษฎีของเขาสามารถให้คาอธิบายเรื่อง ความเคารพในตนเอง ความหยิ่งทะนงใน เกียรติและศักดิ์ศรีของตนเอง และความอ่อนน้อมทางศีลธรรม ได้อย่างสอดคล้องกับคาอธิบายเรื่อง ความเคารพที่เราอภิปรายผ่านมา ขอให้เราลองนึกย้อนสารวจตัวเราเอง ดูเหมือนว่าจิตใจของมนุษย์นั้นมีความสลับซับซ้อน สามารถที่จะเกิดความขัดแย้งในตนเอง คือมีสองจิตสองใจ ใจหนึ่งอยากทา อีกใจหนึ่งเตือนว่าอย่าทา เลยไม่ดี บางทีดูเหมือนว่ามีตัวเราตั้งสามตัวอยู่ในตนเอง ตัวตนหนึ่งเป็นผู้ตัดสินที่จะทาและหาวิธีที่จะ ทา ตัวตนหนึ่งเตือนว่าสิ่งที่จะกระทานั้นผิด อีกตัวตนหนึ่งโน้มน้าวว่าเอาเลย เราจะได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ที่เรา ปรารถนา หรืออาจจะเป็นว่าตัวตนหนึ่งเป็นผู้ตัดสินที่จะทาและหาวิธีที่จะทา อีกตัวตนหนึ่งย้าเตือนว่า สิ่งที่จะกระทานั้นถูกต้องดีงาม แต่อีกตัวตนหนึ่งโน้มน้าวว่า อย่าทาเลย เสียเวลา เสียประโยชน์อะไร ตั้งมากมาย ค้านท์อธิบายว่าในตัวตนของเรานั้น อย่างน้อยที่สุดก็มีองค์ประกอบหลักๆ อยู่สองส่วน ส่วน ที่หนึ่งคือตัวตนที่แสวงหาความพึงใจ เป็นไปตามความโน้มเอียงตามธรรมชาติ มีสภาวะที่ตกอยู่ใต้ การกระทบทางอารมณ์ รักโลภโกรธหลง ฯลฯ ที่จะจูงใจให้เรากระทาการกระทาต่างๆ ไปตามสิ่งที่มา กระทบ อีกตัวตนหนึ่งคือ อานาจทางสติปัญญาที่จะคิดหาเหตุผล เข้าใจสิ่งต่างๆ อย่างมีความเป็น สาเหตุและผล เป็นตัวตนที่คิดค้นหากฎเกณฑ์หรือหลักการที่เป็นสากลของสิ่งที่ตนพบเห็น คือมองหา กฎเกณฑ์หลักการที่ครอบคลุมประสบการณ์ในแต่ละเรื่องทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต นี่คือตัวตนที่ เป็นอานาจทางปัญญาที่ทาให้เราสามารถเข้าใจโลกได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เขาคิดว่าเมื่อเราเอา อานาจของเหตุผลนี้มาประยุกต์ใช้กับเรื่องของความประพฤติ เราก็จะสามารถเข้าถึงหลักการแห่ง ความถูกต้องดีงาม ประเด็นสาคัญก็คือ ตัวตนของเหตุผล และตัวตนของอารมณ์และความความโน้ม เอียงตามธรรมชาตินี้ เป็นอิสระจากกัน จึงสามารถที่จะเกิดความขัดแย้งกันได้ นั่นก็คือตัวตนแห่ง
89
ความรู้สึกทางอารมณ์อาจเรียกร้องให้เรากระทาสิ่งหนึ่ง แต่ตัวตนแห่งเหตุผลเสนอต่อเราว่า การ กระทาแบบนั้น ไม่สอดคล้องกับการที่จะมุ่งเจตนาให้เป็นหลักความประพฤติสากล การเป็นมนุษย์ที่มี ศีลธรรมก็คือ การที่เรายินยอมที่จะให้ตัวตนแห่งเหตุผล เป็นผู้กาหนดชี้นาการกระทาของเรา มากกว่า ที่จะให้ตัวตนแห่งความโน้มเอียงตามธรรมชาติมากาหนดตัวเรา ขอให้สังเกตว่าคาอธิบายของค้านท์ เข้ากับความเชื่อทางศาสนาว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่พิเศษกว่าสัตว์อื่นทั้งหลาย เพราะสามารถรู้ดีชั่วได้ด้วย ตัวเอง เมื่อเรานาคาอธิบายเรื่องตัวตนสองส่วนนี้มาประยุกต์กับเกณฑ์ของความเคารพ เราก็จะได้ คาอธิบายของความเคารพในตนเอง ว่าเป็นเสมือนการที่มีบุคคลสองบุคคลเกิดขึ้นในคน ๆ เดียวกัน บุคคลหนึ่งคือตัวตนที่มีจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ มีเหตุผลที่เข้าถึงหลักการแห่งความดีงาม และความถูก ต้องเที่ยงธรรม บุคคลนี้ปรารถนาให้อีกบุคคลหนึ่งเติบโตขึ้นในวิถีแห่งความดีงาม และสันติสุขใน จิตใจ อีกทั้งบอกกล่าวต่อบุคคลที่สองถึงหลักการแห่งความถูกต้อง บุคคลที่สองมักตกอยู่ใต้สภาวะ อารมณ์ ซึ่งมีความรักโลภโกรธหลง ชอบกระทาตามอาเภอใจ เพื่อความพึงพอใจส่วนตน แต่ก็ยัง พร้อมจะรับฟังและเปิดรับต่อความดีงาม และสติ ที่ตัวตนที่หนึ่งพยายามตักเตือน ในความเป็นจริง บุคคลทั้งสองอยู่ในตัวตนของคนๆ เดียวกัน และผูกพันกันอย่างไม่มีทางตัดขาดจากกันได้ ความ เคารพยึดมั่นในหลักการทางศีลธรรมที่ตัวเราบอกแก่ตัวเรา จึงเป็นความเคารพในตนเอง และมี ธรรมชาติที่ไม่ต่างไปจากความเคารพในผู้ที่มอบสิ่งที่ดีงามให้แก่เราด้วยความบริสุทธิ์ใจ และด้วยการที่เรามีธรรมชาติสองฝ่ายที่สามารถขัดแย้งกันได้นี้เอง ค้านท์จึงบอกเราว่า ใน ฐานะพันธะทางศีลธรรม (moral obigation) เราควรจะมีความหยิ่งทะนงในเกียรติและศักดิ์ศรีของ ตนเอง พร้อมๆ กับที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อบุคคลอื่นทุกๆ คนอย่างไม่แยกแยะ เหตุที่เราต้องมี ความอ่อนน้อมถ่อมตนก็เพราะนั่นคือการตระหนักว่า หากเทียบตัวเรากับมาตรฐานแห่งความดีงาม ที่ ตัวตนแห่งปัญญาและจิตวิญญาณที่บริสุทธิ์เข้าถึงแล้ว เรายังไม่ใช่ผู้ที่สูงส่งดีงามอย่างสมบูรณ์ พร้อม กับการตระหนักว่า บุคคลอื่นแม้จะดูต่าต้อย ด้วยมาตรฐานที่ตัดสินกันจากภายนอกอย่างไร ก็ยังอาจ แสดงมาตรฐานแห่งความดีงาม ที่จะดลใจเราให้เห็นถึงความถูกต้องดีงามที่สูงยิ่งขึ้นได้ นั่นก็คือ เรา เป็นผู้ที่ยังต้องพัฒนาตนเองให้ดีงามยิ่งขึ้นต่อไป บางครั้งโดยความช่วยเหลือดลใจของผู้อื่น การที่เราจะต้องมีความหยิ่งทะนงในเกียรติและศักดิ์ศรีของตนเองนั่น ก็คือการตระหนักว่า เราในฐานะมนุษย์ผู้ซึ่งสามารถคิดและสอนศีลธรรมให้กับตนเองได้ มิได้ต่าต้อยด้อยค่ากว่าผู้ใด ไม่มี เหตุผลใดที่จะสามารถยกมาแสดงได้ว่าเรามีคุณค่าและศักดิ์ศรีในตนเองน้อยกว่าผู้ใด เพราะมนุษย์ทุก คนได้ศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ติดตัวมาแต่กาเนิดในฐานะผู้ที่มีปัญญาสามารถสร้างศีลธรรม ให้กับตนเองได้ ซึ่งมนุษย์ทุกคนมีสิ่งนี้อยู่อย่างเท่าเทียมกัน
90
มีบางสิ่งบางอย่างที่ควรกล่าวถึง เกี่ยวกับบทบาทของค้านท์ในสังคมในยุคสมัยของเขา ค้านท์ พยายามทาบางสิ่งบางอย่างต่อสังคมของโลกตะวันตก อย่างที่โสกราตีสพยายามกระทาในสังคมของ นครรัฐเอเธนส์ ค้านท์มีชีวิตอยู่ในสังคมประชาธิปไตยของโลกยุคปัจจุบัน เขาตระหนักว่า การยืนยัน ว่ามนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในสิทธิและเสรีภาพนั้น ยังไม่พอสาหรับการค้าประกัน ระบอบประชาธิปไตย เราต้องยืนยันว่ามนุษย์ทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่เท่า เทียมกัน แต่เกียรติและศักดิ์ศรีเป็นเรื่องของศีลธรรม ประชาชนจะสูญเสียอานาจในการปกครอง ตนเอง หากเรายังไม่เชื่อในอานาจทางศีลธรรมของตัวเราเอง กล่าวก็คือเราอาจยึดอานาจของเราคืนมา จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้แล้ว แต่อานาจที่เราได้คืนมาก็อาจสูญเสียกลับไปได้อีก ถ้าเราไม่ สามารถแสดงได้ว่า เราคือผู้ที่สามารถปกครองตนเองได้ด้วยอานาจในการตัดสินความถูกผิดทาง ศีลธรรมของเราเอง และเราจะต้องสามารถยืนยันว่า แม้ว่าคนแต่ละคนจะตัดสินความถูกผิดทาง ศีลธรรมให้ตนเอง แต่การตัดสินนั้นก็จะยังเป็นสากลเพราะมีกาเนิดมาจากบางสิ่งบางอย่างซึ่งเป็น สากลในมนุษย์ทุกคน ซึ่งสาหรับค้านท์ สิ่งนั้นก็คืออานาจของปัญญาการใช้เหตุผล สิ่งที่เราได้เห็นจากการวิเคราะห์เรื่องความเคารพก็คือ ธรรมชาติของชีวิตต้องมีการให้และ การรับ นี่นาพามาสู่การที่เรามีความเคารพรักในบุคคลผู้มอบสิ่งที่ดีงามต่อเรา แต่พันธะทางศีลธรรม ของการให้ก็คือ การให้อย่างบริสุทธิ์ใจ การให้เพื่อการเติบโตของผู้รับ มิใช่เพื่อการมีอานาจเหนือผู้รับ อันจะทาให้ผู้รับต้องสูญเสียปัจเจกภาพและอานาจในตนเอง คือสูญเสียสิทธิที่จะตั้งคาถามโต้เถียง และแสดงความไม่เห็นด้วย และสูญเสียเสรีภาพที่จะกาหนดความหมายชีวิตให้ตนเอง ใน ความสัมพันธ์ของการให้และรับที่สูงค่าทางศีลธรรม ผู้ให้มีสิทธ์ที่จะแสดงความรู้สึกนึกคิดและ เหตุผลของตนให้ผู้รับรับฟัง แต่ผู้รับก็มีสิทธิที่จะใช้ความรู้สึกจากใจจริงของตนเองมาตัดสินว่าจะเห็น ด้วยหรือไม่เพียงไร นั่นก็คือ ความเคารพต้องเป็นสิ่งที่บุคคลพึงมีต่อกันทั้งสองฝ่าย กล่าวก็คือ จะต้อง มีขอบเขตที่ผู้รับสามารถรู้สึกว่าตนเสมอภาคกับผู้ให้ เราอาจกล่าวอีกแบบหนึ่งได้ว่า ต้องมีขอบเขต ของความรู้สึกเสมือนเพื่อนระหว่างผู้ให้กับผู้รับ เพราะความเป็นเพื่อนคือความรู้สึกของความรักและ ผูกพันธ์บนความรู้สึกที่เสมอภาคกัน เพื่อนพยายามเข้าใจและยอมรับในตัวเพื่อน ไม่ได้พยายามเข้ามา กาหนดจิตใจเพื่อนให้ได้ดังที่ตนเองต้องการ หรืออย่างที่ตนเองเห็นว่าดี เป็นความรักที่บริสุทธิ์ ไม่ ต้องการอานาจเหนือกันและกัน (คาตรัสของพระพุทธเจ้าจึงแสดงความสัมพันธ์ของการให้และการ รับที่บริสุทธ์ นั่นก็คือ พระพุทธองค์ทรงตรัสเสมอว่าพระองค์คือกัลยาณมิตร) ในความเป็นจริง แม้แต่พ่อแม่ก็อาจไม่ได้ให้ดว้ ยความรักที่บริสุทธิ์ และอาจอาศัยคาว่ารักเป็น เครื่องมือในการมีอานาจเหนือลูก พ่อแม่บางคนต้องการกาหนดความคิดและทางเลือกในชีวิตของลูก และใช้คาพูดว่า “การทาให้คนที่รักเรา ดีต่อเรา เสียใจนั้นเป็นบาปนะลูก” นี่เป็นการละเมิดคุณธรรม ของความรักระหว่างพ่อแม่และลูก แต่ลองนึกถึงคาพูดของลูกว่า “ถ้าพ่อแม่รักหนูจริงก็ต้องทาสิ่งนี้สิ่ง นั้นให้หนู” นี่ก็สามารถเป็นการละเมิดคุณธรรมความถูกต้องของความรักเช่นกัน นั่นคือ ลูกเองก็อาจ
91
อาศัยความรักเรียกร้องบังคับเอาจากพ่อแม่ จนพ่อแม่ต้องสูญเสียบางสิ่งบางอย่างที่มีค่าสาหรับตนเอง เช่นกัน ลูกคือบุคคลๆ หนึ่ง พ่อหรือแม่ก็คือบุคคลๆ หนึ่ง ทั้งสองฝ่ายต้องเคารพความเป็นปัจเจก บุคคลของกันและกัน หรือ ลองนึกถึงความรักระหว่างหนุ่มสาว ที่ในที่สุด กลายเป็นการทาร้ายและ ละเมิดความเป็นตัวตนของกันและกัน ดังนั้นเราต้องระวังที่จะรักษาความรักของเราให้บริสุทธิ์ ด้วย การเคารพตัวตนของกันและกัน (แม้ว่าพ่อแม่จะให้อย่างบริสุทธิ์ การให้นั่นก็ยังกลายเป็นความ ผิดพลาด ที่เกิดขึ้นเมื่อพ่อแม่ให้อย่างไม่มีสติ จนลืมว่าลูกจะต้องเรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเอง นิทานจีน เรื่องพ่อแม่รังแกฉันสอนเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี) ครูอาจารย์เองก็อาจจะไม่ใช่ผู้ที่ให้อย่างบริสุทธิ์ ความสัมพันธ์ระหว่างครูและลูกศิษย์สามารถ กลายเป็นความสัมพันธ์ทางชนชั้น ได้ยิ่งกว่าความสัมพันธ์ที่เป็นส่วนตัว ใกล้ชิด มีความเป็นสายเลือด รองรับ อย่างที่เป็นอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก ในความสัมพันธ์ทางชนชั้น ชนชั้นที่อยู่ ข้างล่างต้องอ่อนน้อมถ่อมตน และระวังที่จะไม่ละเมิด หรือสร้างความระคายเคืองให้แก่คนในชนชั้น บน ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ของตน ต้องยอมสูญเสียสิทธิและเสรีภาพที่จะตั้งคาถามหรือโต้เถียง หรือแสดง ความรู้สึกนึกคิดจากใจจริง ดังนั้น เมื่อครูกลายเป็นผู้ให้ที่ให้อย่างต้องการมีอานาจเหนือศิษย์ ความสามารถในการคิดวิพากษ์วิจารณ์ หรือจิตวิญญาณที่จะต่อสู้เพื่อความถูกต้องของศิษย์ ก็จะถูก ทาลายลงไป ดอกไม้ธูปเทียนที่ใช้บูชาฝากเนื้อฝากตัวไว้ใต้การอบรมสั่งสอนดูแลในวันไหว้ครู อาจ กลายมาเป็นดอกไม้ธูปเทียนที่ใช้กราบเท้าขอขมา แสดงความเป็นผู้แพ้ แสดงตนว่าต่อไปนี้จะยอมตก อยู่ใต้อานาจ จะมิบังอาจล่วงเกินด้วยการตั้งคาถามวิพากษ์วิจารณ์แสดงความไม่เห็นด้วย หรือ กล่าวโทษชี้ความผิดของครูอาจารย์ อีกต่อไป กล่าวมาถึงจุดนี้ เราคงมองเห็นแล้วว่า ทาไมสังคมไทยจึงพยายามที่จะสั่งสอนให้คนมีความ อ่อนน้อมถ่อมตน จนถึงจุดที่คนจะต้องยอมสูญเสียความรู้สึกถึงความมีคุณค่าในตนเอง นั่นก็เพราะ ศีลธรรมในสังคมไทยถูกทาให้ฉ้อฉล และบิดเบือนไปด้วยวัฒนธรรมแบบชนชั้น ที่สืบทอดมาจาก ระบบศักดินา นักสังคมศาสตร์เรียกจิตสานึกทางศีลธรรมแบบนี้ว่า “ระบบอุปถัมภ์นิยม” ซึ่งเป็น จิตสานึกที่ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของการให้และการรับ ระหว่างชนชั้นที่มีอานาจในการครอบครอง ทรัพยากรที่ไม่เท่ากัน โดยการให้ของชนชั้นสูงหรือผู้อุปถัมภ์ ที่กระทาต่อชนชั้นที่อยู่ต่ากว่า หรือผู้รับ การอุปถัมภ์นั้น เป็นการให้ที่ไม่บริสุทธิ์ เพราะผู้อุปถัมภ์มอบสิ่งต่างๆ ให้กับผู้รับอุปถัมภ์ก็เพื่อสร้าง ความมีอานาจเหนือผู้รับเป็นสาคัญ คือเพื่อที่จะผูกมัดผู้รับไว้ใต้อานาจของบุญคุณ ผู้อุปถัมภ์อาจแสดง ความรักอย่างมากมาย และแสดงราวกับว่าสามารถให้ผู้รับอุปถัมภ์ได้ทุกอย่าง แต่สิ่งเดียวที่ผู้อุปถัมภ์ จะไม่มีวันยอมกระทาให้แก่ผู้รับอุปถัมภ์ ก็คือการยกผู้รับให้ขึ้นมาเสมอภาคกับตน ระบอบ ประชาธิปไตยของประเทศไทยอ่อนแอ ก็เพราะคนในสังคมยังสัมพันธ์ต่อกันอย่างไม่เสมอภาค และมี ศีลธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ ตามความคิดของค้านท์ ประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ตราบใดที่
92
ความเคารพของประชาชนยังมิได้มุ่งไปสู่ตนเอง นี่คือสิ่งที่สังคมไทยต้องตระหนัก และหาทางต่อสู้ เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ต่อไป.
93
ภาคสอง
และหญิงผู้หนึ่งซึ่งอุ้มทารกไว้แนบอกก็กล่าวขึ้นว่า “ขอท่านจงพูดให้เราฟังถึงเรื่องของลูก ด้วยเถิด” และเขาก็กล่าวว่า : ลูกของเธอมิใช่ลูกของเธอ พวกเขาเป็นบุตรธิดาแห่งชีวิตอันยิ่งใหญ่ที่โหยหาตนเอง พวกเขาผ่านมาทางเธอแต่มิได้มาจากเธอ เธออาจจะให้ความรักต่อพวกเขาแต่จงอย่าให้ความคิด เพราะพวกเขามีความคิดของเขาเอง เธออาจจะมีบ้านให้ร่างกายของเขาพักพิง แต่มิใช่ให้กับจิตวิญญาณของเขา เพราะจิตวิญญาณของเขาอาศัยอยู่ในบ้านของวันพรุ่งนี้ ซึ่งเธอมิอาจไปเยี่ยมเยียน แม้แต่กระทั้งในความฝัน เธออาจจะพยายามที่จะเป็นเช่นพวกเขา แต่จงอย่าพยายามทาให้เขาเป็นเช่นเธอ เพราะชีวิตไม่ก้าวถอยหลังและไม่รีรออยู่กับเมื่อวาน เธอคือคันธนูที่จะส่งลูกศรอันมีชีวิตก็คือลูกของเธอให้พุ่งออกไป ผู้ยิงธนูเห็นเป้าหมายของเขาอยู่บนเส้นทางอันเป็นอนันต์ ของเขา เพื่อให้ลูกศรของเขาพุ่งออกไปอย่างเร็วและไกล
และเขาโก่งเธอขึ้นด้วยพละกาลัง
ขอให้การโค้งงอของเธอในมือของผู้ยิงธนูจงเป็นไปเพื่อความปิติ เพราะเขาผู้ซึ่งรักลูกศรที่พุ่งออกไป ก็รักคันธนูที่อยู่กับที่เช่นกัน จาก The Prophet ของ คาลิน ยิบราน
94
บทที่ 6 ความต้องการของชีวิต ที่ผ่านมา เราตีความความหมายของการรู้จักตนเองด้วยคาถามสองข้อ คือ เรากาลังดาเนินชีวิต อย่างมีคุณค่าแท้จริงมากน้อยเพียงไร และเรากาลังดาเนินชีวิตอย่างเป็นตัวของตัวเองสักเพียงไหน ใน การพยายามตอบคาถามดังกล่าว เราได้เห็นถึงความพยายามของสังคมที่จะจากัดบุคลิกภาพของเรา กาหนดหรือทาลายปัจเจกภาพของเรา พยายามทาให้เราเป็นเพียงนักคล้อยตาม บังคับให้เรายอมรับวิถี ของสิ่งที่เป็นอยู่ ลดทอนคุณค่าของเราลงเป็นเพียงผู้ที่จะรักษาสภาวการณ์ของโลกให้คงเดิม ให้สิ่ง ต่างๆ เป็นไปอย่างที่เป็นอยู่ ปิดกั้นเราจากการเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์โลกให้ดีงามยิ่งๆขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยวิถีทางทางการเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการที่เราจะเติบโตไปสู่การมีคุณค่า มี อุดมคติ และเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง แต่ในการพิจารณาที่ผ่านมานั้น เราได้ละเลยคาถามหนึ่งที่ สาคัญต่อการรู้จักตนเอง นั่นคือคาถามเรื่องความรู้สึกเป็นสุขและความรู้สึกพึงพอใจต่อชีวิต ดูราวกับ เราจะแอบสมมติไว้ล่วงหน้าว่า การเป็นผู้ที่สร้างสรรค์ความดีงามให้เกิดขึ้นแก่โลก การมีอุดมคติ และ การบรรลุปัจเจกภาพสูงสุด คือเงื่อนไขที่สาคัญที่สุดของการมีความรู้สึกเป็นสุขและความรู้สึกพึง พอใจต่อชีวิต ข้อสมมตินี้อาจไม่จริง หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขและการมีชีวิตที่มีค่า เป็นตัว ของตัวเอง อาจไม่ตรงไปตรงมาเช่นนั้นก็เป็นได้ ที่จริงเราเคยพูดเรื่องความสุขมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อเราวิเคราะห์เรื่องอุดมคติและการ เปลี่ยนแปลงความหมายของโลก เราเคยพูดถึงการที่เรามีตัวเราเองเป็นศูนย์กลางของโลกว่า สิ่งต่างๆ ในโลกมีความหมาย เป็นสิ่งที่น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนา ก็เพราะมันสร้างให้เกิดความสุขหรือ สร้างให้เกิดความทุกข์แก่เรา ความสุขความทุกข์เช่นนั้นดูจะเป็นเรื่องของความต้องการทางกายภาพ หรือความต้องการทางจิตวิทยาที่เป็นไปเองตามธรรมชาติของเรา และดูจะเป็นเรื่องของความรักที่เรามี ต่อตนเองยิ่งกว่าสิ่งอื่น แต่เราก็เคยกล่าวผ่านคาพูดของเจ้าชายผู้แสนสุข ผู้ซึ่งเป็นตัวละครของออสการ์ ไวด์ ถึงสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ที่สุดของมนุษย์ คือความรักที่เรามีต่อผู้อื่น และนี่คือต้นกาเนิดของคุณค่าทาง ศีลธรรมของเรา การเป็นมนุษย์สากล และการก้าวพ้นตนเอง แน่นอนว่าในมนุษย์ปกติ เงื่อนไขและ ธรรมชาติทางจิตวิทยาของเรา ทาให้เรามีความสุขเมื่อเราได้ทาให้คนอื่นพ้นทุกข์หรือมีความสุขเพิ่ม มากขึ้น นี่คือความดี หนึ่งในสิ่งที่เพลโตถือว่าเป็นสิ่งที่มีค่าในตนเองสูงสุดสากลสามประการ คือ ความจริง ความดี ความงาม หากใครคิดว่าความดีงามทางศีลธรรมไม่ได้มีความสาคัญต่อความรู้สึก
95
เป็นสุขของเขาเอง ก็เท่ากับเขามองเห็นแต่ความรักที่เขามีต่อตัวเองและมองไม่เห็นถึงความรักที่เขา สามารถที่จะมีต่อผู้อื่นและชีวิตอื่น ที่จะทาให้เขาก้าวข้ามพ้นตนเองออกไปได้ ประเด็นเรื่องความสุข ศีลธรรม ความรักในตนเองและความรักต่อผู้อื่น ได้รับการวิเคราะห์ โต้เถียงกันอย่างละเอียดในประวัติศาสตร์ของวิชาจริยศาสตร์ตะวันตก โทมัส ฮอบส์(Thomas Hobbes ค.ศ. 1588-1679) นักปรัชญาคนแรกที่เสนอทฤษฎีที่มาของอานาจทางการเมืองของรัฐ ว่าเป็นเรื่องของ สัญญาประชาคม (social contract) เสนอว่าศีลธรรมแบบที่เป็นการให้อย่างบริสุทธิ์นั้นไม่มีอยู่จริง เขา เห็นว่า ความรักต่อผู้อื่นนั้นเป็นความรักในตนเองแบบแอบแฝงเท่านั้น (คือซ่อนความรักในตนเอง หรือความเห็นแก่ตัวไว้เบื้องหลัง) แต่นักปรัชญาส่วนใหญ่เห็นตรงกันข้ามกับฮอบส์ว่าการให้อย่าง บริสุทธิ์นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริง (ซึ่งเราจะพูดถึงรากฐานของศีลธรรมที่บริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อเรา วิเคราะห์ประเด็นปัญหาเรื่องคุณค่าและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ซึ่งจะเป็นการมองไปที่พื้นฐาน ทางจิตใจในส่วนที่เป็นอารมณ์ของมนุษย์ ซึ่งต่างไปจากการมองของค้านท์ซึ่งมุ่งไปสู่ส่วนของเหตุผล) แต่ขอให้เราลองมาดูวิธีการอธิบายแบบหนึ่งที่สามารถนามาใช้ยืนยันว่าความสุขไม่ได้มีค่า เป็นที่น่าปรารถนาสาหรับเราเหนือกว่าความจริงและความดี วิธีอธิบายนี้ก็คือ คนบางคนอาจเกิดมา ร่ารวย มีอานาจที่จะบันดาลให้เขาได้ในทุกอย่างที่เขาต้องการ เขาย่อมมีความสุขและรู้สึกพึงพอใจต่อ ชีวิต แต่เขาอาจจะล้มเหลวในการพิสูจน์คุณค่าของตนเอง ลองสมมติว่า เด็กผู้หญิงคนหนึ่งเกิดใน ครอบครัวที่ร่ารวย มีธุรกิจใหญ่โต พ่อแม่คอยตามใจจนกลายเป็นเด็กที่เอาแต่ใจ ในวัยเด็กมีเพื่อนรักที่ สนิทสนมเป็นพิเศษ แต่เมื่อเติบโตมากขึ้นเพื่อนรักคนนี้ก็ไม่สามารถทนความเอาแต่ใจเห็นตัวเองเป็น ใหญ่ของเธอได้ ก็เหินห่างกันไป แต่เธอก็ไม่ใส่ใจเพราะยังมีเพื่อนอีกมากมายมาห้อมล้อมเอาใจ เพราะ เธอมีเงินที่จะซื้อหาความสุขให้เพื่อนเหล่านั้น เมื่อเธอเรียนจบก็ทางานดูแลกิจการแทนพ่อแม่ที่ได้ตาย จากไป แล้วเธอก็แต่งงานมีสามี มีลูก แต่เธอก็ยังคงความเป็นคนเอาแต่ใจ เจ้าอารมณ์เห็นตัวเองเป็น ใหญ่ อย่างไม่เคยเปลี่ยนแปลง และไม่มีใครเคยพยายามเตือนให้เธอเปลี่ยนแปลงตนเองเลย เคยมีก็แต่ เพื่อนสนิทในวัยเด็กคนนั้น ก่อนที่จะเหินห่างกันไป ทุกคนยังคงคอยตามใจยกยอปอปั้น ยอมรองรับ อารมณ์และการใช้อานาจของเธอเพราะมุ่งหวังในเงินของเธอ วันหนึ่งเธอล้มป่วยลง หมอวินิจฉัยว่า เธอเป็นโรคร้ายแรง และเหลือเวลาในชีวิตอีกไม่นาน เมื่อหมอบอกว่าเธอจะมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกไม่เกิน เจ็ดวันเธอก็ประกาศพินัยกรรม และในขณะที่เธอนอนรอคอยความตายอยู่บนเตียงนั้นเอง สามี ลูก เพื่อนๆ และคนรับใช้ ก็ผลัดกันเข้ามาบอกว่า พวกเขาแต่ละคนล้วนเกลียดชังเธอ แต่ที่คอยยกยอ เอา อกเอาใจหรือแสดงออกว่ารักนั้น เป็นการเสแสร้งที่ยอมทาไปเพื่อเงินและทรัพย์สมบัติของเธอเท่า นั้นเอง คุณคิดว่าผู้หญิงคนนี้จะรู้สึกอย่างไร ทุกวันที่ผ่านมาในชีวิต เธอล้วนแต่มีความสุขจากเงิน ทอง อานาจ ความรักและการเอาอกเอาใจของทุกคนรอบข้าง ซึ่งทาให้เธอรู้สึกพึงพอใจในชีวิต แต่ใน
96
เจ็ดวันสุดท้ายนี้เธอจะยังคงรู้สึกเช่นเดิมต่อไปได้อีกหรือไม่? เธอจะคิดหรือไม่ว่า ถึงเธอได้รู้ว่าความ รัก ความปรารถนาดี และความยกย่องชมเชย ที่คนอื่นให้กับเธอ จะเป็นเพียงการเสแสร้งหลอกลวง ก็ ไม่เห็นเป็นไร เพราะมันได้ทาให้เธอมีความสุขมามากพอแล้ว? แต่มันเป็นไปได้หรือไม่ที่เธอจะมอง ย้อนกลับไปในชีวิตของตัวเอง สารวจสิ่งทั้งหมดที่เธอเคยทา พบว่าทั้งหมดล้วนแต่มีตัวเองเป็น ศูนย์กลางทั้งสิ้น และรู้สึกว่าตนเองล้มเหลวในการสร้างให้ตัวเองมีคุณค่าพอที่จะเป็นที่รักจริงๆ แม้กระทั่งของลูกและสามี เธอจะคิดหรือไม่ว่าครั้งหนึ่งเคยมีคนที่รักเธอจริงและพยายามจะเปลี่ยนเธอ ให้เป็นคนดี พยายามสอนเธอให้คิดถึงจิตใจของผู้อื่น แต่เธอก็ไม่สนใจและผลักใสเขาออกไป ผลก็คือ เธอคือคนที่ล้มเหลวในชีวิต และในวันนี้ความต้องการสูงสุดของเธอก็คือย้อนกลับไปในอดีตเพื่อ เปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อให้ไม่มีวันนี้และเพื่อที่เธอจะได้มีชีวิตที่มีคุณค่าและมีความสุขอย่างแท้จริง แม้นี่จะเป็นเรื่องสมมติ แต่มันก็ชี้ให้เราเห็นว่ามนุษย์ต้องการความดีเหนือกว่าความสุข และชี้ ว่าเราต้องการ “ความจริง” ด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ เราต้องการความชื่นชมที่ออกมาจากใจจริงของผู้คน ความรักที่ออกมาจากใจจริงของคนที่เรารัก ไม่ใช่ความรักจอมปลอมเพื่อผลประโยชน์ ซึ่งในกรณีนี้ หมายถึง เราต้องการรู้สึกถึงการมีคุณค่าอย่างแท้จริงของตัวเราเอง มิใช่การมีคุณค่าและเป็นที่น่า ปรารถนาอย่างปลอมๆ และคาว่า “จริง” หรือ “แท้จริง” ตรงนี้ก็มีความหมายที่ไม่อาจแปลงไปสู่คาอื่น หรือทดแทนด้วยคาอื่น ได้ อาจมีผู้กล่าวว่า ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าอย่างแท้จริง ทาให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขขึ้นใน จิตใจ ดังนั้นความสุขก็ยังเป็นความปรารถนาที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังอยู่ดี แต่เราก็อาจเถียงกลับง่ายๆ ว่า ความรู้สึกเป็นสุขในใจดังกล่าวเป็นเพียงผลพลอยได้ ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการเป็นหลัก สิ่งที่เราต้องการ เป็นหลัก ก็คือความรู้สึกว่าเรามีคุณค่าอย่างแท้จริง แต่เมื่อพูดเรื่องความสุขทางจิตใจ ประเด็นที่น่าสนใจที่ยิ่งไปกว่านั้นสาหรับเราก็คือ ธรรมชาติ ของจิตใจมนุษย์มีความสลับซับซ้อนที่ทาให้มีหลายสิ่งหลายอย่างมากมาย ที่สามารถทาให้เราเกิด ความรู้สึกเป็นสุขขึ้นในจิตใจ และไม่ได้มีอะไรประกันเลยว่ามันจะต้องเป็นสิ่งที่เราถือว่าดีมีคุณค่า หรือสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันเสมอไป ประเด็นนี้สาคัญก็เพราะ ความสุขไม่ว่าจะเกิดขึ้นด้วย เหตุผลใดก็ล้วนทาให้เรารู้สึกพึงพอใจในชีวิตทั้งสิ้น แต่ถึงกระนั้นชีวิตเราก็อาจถูกผลักดันไปใน ทิศทางต่างๆนาๆ เพราะความต้องการต่างๆ ที่ขัดแย้งกัน และทาให้เรามีตัวตนที่แตกแยกออกเป็น เสี่ยงๆ ดังนั้น ขอให้เราลองมาเรียงไล่รายการของสิ่งที่ทาให้เรารู้สึกเป็นสุขและพึงพอใจในชีวิตดูกัน สักนิด 1. การมีวัตถุสิ่งของมาตอบสนองความจาเป็นและความต้องการทางร่างกาย
97
2. การได้รับความสะดวกสบายทางกาย มีความปลอดภัยในร่างกายและทรัพย์สิน 3. การได้รับสุขความบันเทิงทางหูตาจมูกปากลิ้นกาย 4. การได้ทาความดี ช่วยเหลือผู้อื่น 5. การได้รับคายกย่องชมเชยเป็นที่ชื่นชมของผู้อื่น 6. การได้รับความรักจากพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อน และคนรักต่างเพศ 7. การประสบความสาเร็จในสิ่งที่ยากและท้าทายความสามารถ 8. การมีอิสระเสรีที่จะทาสิ่งต่างๆ ที่ตนเองอยากทา 9. การได้ค้นพบและพัฒนาศักยภาพต่างๆ ของในเอง 10. การมีชัยชนะในการแข่งขันและอยู่เหนือผู้อื่น 11. การมีอานาจสามารถบงการผู้อื่น รังแกผู้อื่นได้ 12. การได้รับรู้ความผิดพลาดความไม่ดีของคนอื่น 13. การได้แก้แค้นคนที่เคยทาให้เราเจ็บปวด ได้ทาร้ายคนที่เราไม่ชอบ ฯลฯ สภาวะที่ตรงกันข้ามกับรายการเหล่านี้ก็คือสิ่งที่ทาให้เรารู้สึกเป็นทุกข์และไม่พึงพอใจในชีวิต นั่นก็คือเป็นด้านบวกและด้านลบของสิ่งเดียวกัน รายการเริ่มจากสิ่งที่ดูเป็นของธรรมดา เป็น ธรรมชาติปกติของผู้คน เริ่มจากสิ่งที่เป็นเรื่องของทางกายไปสู่เรื่องทางจิตใจ แต่จากรายการที่ 10. เรา ก็เริ่มเข้าสู่สิ่งที่เป็น “ด้านมืด” ของจิตใจ ซึ่งแม้จะไม่ชอบที่จะกล่าวถึง แต่เราก็ต้องยอมรับว่ามีอยู่จริง และความขัดแย้งในสังคมหรือในตนเองที่จะเกิดขึ้นจากการพยายามตอบสนองความต้องการกลุ่มหลัง นี้ หรือ แม้แต่ในกลุ่มแรก ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ไม่ยาก เช่น เราต้องการความสุขสบายทางร่างกายของ ตนเอง แต่ถ้าทรัพยากรมีจากัดเราก็ต้องแก่งแย่งกัน หรือเราต้องการทาความดีด้วยการช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งเราก็ต้องสละความสุขสบายทางกายออกไป เราต้องการมีเสรีภาพที่จะทาในสิ่งที่ตนเองปรารถนา แต่เราก็ต้องการมีอานาจเหนือคนอื่น ซึ่งก็คือต้องการจากัดเสรีภาพของเขา และดังนั้นคนอื่นก็ต้องการ กาจัดเสรีภาพของเรา เราอาจคิดว่าเราต้องการมีอานาจเหนือคนอื่นเพื่อใช้คนอื่นทางานให้เรามี ความสุขสบายทางกาย แต่กอ็ าจเป็นได้ว่า เราต้องการความรู้สึกมีอานาจเหนือผู้อื่นเพียงเพราะเหตุผล ว่ามันทาให้เรารู้สึกดีที่มีคนตกอยู่ใต้อานาจเรา เราต้องการความรู้สึกยกย่องชื่นชมจากคนรอบข้าง แต่ ถ้าคนอื่นได้รับการยกย่องเป็นพิเศษเหนือกว่าเรา เราก็รู้สึกน้อยหน้า จนเราอาจแอบหาทางขัดขวาง ไม่ให้คนอื่นได้อะไรที่จะเป็นความก้าวหน้าหรือชัยชนะเหนือเรา
98
ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านลองพยายามวิเคราะห์ มองหาความสัมพันธ์ของความสุขหรือความทุกข์ จากการได้รับหรือสูญเสียสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวเอง หรือพยายามวิเคราะห์ค้นหาดูว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะ มีความสุขบางอย่างที่มีบทบาทสาคัญ เป็นแกนกลางของความสุขอื่นๆ จนเราอาจกล่าวว่า นั่นแหละ คือความสุขที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ อริสโตเติล (Aristotle 384-322 ปีก่อน ค.ศ.) ผู้เป็น ศิษย์ของเพลโตและเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดผู้หนึ่งของปรัชญา ตะวันตก เป็นนักปรัชญาคนแรกที่วิเคราะห์ธรรมชาติของความสุขของมนุษย์ เพื่อเสนอคาตอบว่าแก่น แท้ของชีวิตที่ดชี ีวิตที่มีค่า คือชีวิตที่ได้รับความสุขจากการพัฒนาศักยภาพสูงสุดของตนเอง (รายการที่ 9.) แม้ว่าคาสอนของอริสโตเติลจะไม่ได้ให้ภาพของความสุขความพึงพอใจในชีวิตของมนุษย์ที่ ครบถ้วนรอบด้าน เนื่องจากเขามองมนุษย์อย่างเป็นปัจเจก คือแยกออกมาจากสังคม1 แต่คาสอนของ อริสโตเติลก็มีอิทธิพลอย่างสูงต่อจิตวิทยาแบบมนุษยนิยม ที่เราจะศึกษาต่อไป อริสโตเติลพยายามอธิบายความมีอยู่-เป็นอยู่และการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง (being and becoming) เขาให้ความสาคัญกับการวิเคราะห์ความแตกต่างในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่มีชีวิตและ สิ่งไม่มีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิตเช่น ก้อนหิน เปลี่ยนแปลงไปเพราะอานาจของสิ่งภายนอกที่มากระทาต่อ มันเป็นหลัก การเปลี่ยนแปลงของมันเป็นไปอย่างไม่มีเป้าหมายในตัวของมันเอง แต่สิ่งมีชีวิต เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีเป้าหมายที่จะกลายเป็นสิ่งที่สมบูรณ์ในอานาจและคุณสมบัติในตัว ที่ซับซ้อน หลากหลายยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม และมันเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะดังกล่าวก็เพราะอานาจของสิ่งที่มีอยู่ ภายในตัวของมันเอง กาหนดให้มันเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้น ดังนั้นความมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตในขณะๆ หนึ่งจึงมีความจริงสองระดับ ระดับที่หนึ่งก็คือของความจริงของคุณสมบัติต่างๆ ที่มันกาลังมีอยู่เป็นอยู่ ในขณะนั้น ระดับที่สองคือในความเป็นจริงของคุณสมบัติต่างๆ ที่มันจะมีอยู่-เป็นอยู่ เมื่อมัน กลายเป็นอะไรบางอย่างที่แตกต่างจากเดิม แต่สมบูรณ์ในอานาจและคุณสมบัติในตัวยิ่งไปกว่าเดิม ใน จุดใดจุดหนึ่งในอนาคต จากอานาจของสิ่งที่มีอยู่เดิมในตัวมันผลักดันให้เป็นไป ความเป็นจริงใน ระดับที่สองนี้คือสิ่งที่เรียกว่า “ศักยภาพ” เมล็ดข้าวเปลือกมีธรรมชาติของความมีอยู่ที่ต่างจากเม็ดกรวดเม็ดทราย ความเป็นจริงระดับที่ หนึ่งของมันก็คือคุณสมบัติที่มันมีอยู่ในฐานะของเมล็ดข้าว แต่ความเป็นจริงระดับที่สองคือความเป็น ต้นข้าว ที่มีลาต้น ก้าน ใบ และความสามารถที่จะแตกรวง ผลิตเมล็ดข้าวใหม่อีกเป็นร้อยเป็นพันเมล็ด ความเป็นจริงนี้มีอยู่ในฐานะเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดข้าว ที่เกิดจากอานาจที่มีอยู่ใน ตัวเองของเมล็ดข้าว ดังนั้น เมล็ดข้าวจึงเป็นเมล็ดข้าวในภาวะจริง (actuality) และเป็นต้นข้าวในภาวะ แฝง (potentiality) การเปลี่ยนแปลงจากเมล็ดข้าวไปสู่การเป็นต้นข้าวเป็นการเปลี่ยนจากภาวะแฝง
1
ประเด็นนี้จะได้รับการอภิปรายอย่างละเอียดภายหลัง
99
ไปสู่ภาวะจริงที่สมบูรณ์ ดีขึ้นไปกว่าเดิม ซับซ้อนกว่าเดิม มีคุณสมบัติและอานาจในตัวมากกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงที่ทาให้เกิดสภาวะที่สมบูรณ์กว่าเดิมนี้เรียกว่า “พัฒนาการ” (progression) เราสามารถแทนตัวอย่างเมล็ดข้าวด้วยมนุษย์ และนี่ไม่ใช่อุปมาอุปมัย เพราะพืชก็เป็นสิ่งที่มี ชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ แต่เมื่อเราเรียงลาดับชั้นของสิ่งมีชีวิต จากซับซ้อนน้อยไปสู่ซับซ้อนมาก มนุษย์จะอยู่ในชั้นที่สูงที่สุด เพราะมีคุณสมบัติในตัวที่ซับซ้อนที่สุด และมีคุณสมบัติหนึ่งที่มนุษย์มีอยู่ ในคุณภาพที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับสัตว์ทั้งหลาย นั่นคือสติปัญญา หรือความสามารถในการใช้เหตุผล เมื่อประสมเข้ากับอานาจของร่างกาย และความรู้สึกทางอารมณ์ มนุษย์แต่ละคนจึงอยู่ในสถานะของ “ศักยภาพ” ที่มากมายมหาศาล ขอให้นึกถึงการกระทาอันหลากหลายที่มนุษย์สามารถกระทา เพื่อ สร้างสรรค์ผลสาเร็จต่างๆ ให้เกิดเป็นจริงขึ้น แน่นอนว่า หลายๆ อย่างก็อาจเป็นสิ่งที่สัตว์ก็มีร่วมกั น กับมนุษย์ หรืออาจจะมีเหนือมนุษย์ เช่น ความสามารถทางด้านร่างกายที่จะเคลื่อนไหวในลักษณะ ต่างๆ หรือเพื่อประสิทธิผลบางอย่าง เหตุที่ต้องเปรียบเทียบคนกับสัตว์และอ้างถึงความสามารถในการ ใช้เหตุผลก็เพราะอริสโตเติลเป็น “นักสารัตถะนิยม” (essentialist) หมายความว่าอริสโตเติลคิดว่า อานาจทางสติปัญญาคือสิ่งที่นิยามความเป็นมนุษย์ หรือสิ่งที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์อื่นๆ ซึ่งจากจุดนี้ เองอริสโตเติลจึงสรุปว่า ชีวิตที่มีค่าสูงสุดในฐานะมนุษย์ก็คือชีวิตที่มีความสุขจากการพัฒนาและใช้ ศักยภาพทางปัญญาอย่างสูงสุด ข้อสรุปนี้อาจฟังดูเคร่งครัดและเป็นแนวทางแบบสารัตถะนิยมมาก เกินไป ซึ่งเราอาจทาให้อ่อนลงด้วยการทอนเนื้อหาลงมาว่า ชีวิตที่มีค่าสูงสุดในฐานะมนุษย์ก็คือชีวิตที่ มีความสุขจากการพัฒนาและใช้ศักยภาพต่างๆ ที่มีอยู่ในตนเองอย่างสูงสุด กระนั้นก็ตาม เป็นเรื่องยาก ที่จะปฏิเสธว่าในเกือบทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สามารถกระทาและสร้างสรรค์ ในฐานะความสามารถ เพื่อบรรลุสู่เป้าหมายบางอย่าง ล้วนแต่มีปัญญาเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม การนิยามชีวิตที่มีค่าและมีความสุขของอริสโตเติลที่ให้มานี้ ยังต้องตอบคาถาม ว่าชีวิตที่พัฒนาและใช้ศักยภาพสูงสุดนั่นเกี่ยวข้องอย่างไรกับชีวิตที่มีความสุข คาตอบของอริสโตเติล ก็คือ เรามักคิดว่าความสุขเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการตอบสนองความต้องการทางร่างกาย ซึ่งอาจเรียกว่า เป็นความสุขแบบเสพหรือรับเข้ามา และลืมไปว่ามีความสุขที่เกิดขึ้นในการที่เรากระทาการบางอย่าง ออกไป เป็นความสุขที่เกิดขึ้นในขณะการทากิจกรรมที่เราใช้ความสามารถที่มีอยู่ในตัวเรา พยายาม กระทาการเพื่อให้สาเร็จ ในสิ่งซึ่งอยู่ในอานาจของเรา คุณอาจจะนึกถึงความสนุกสนานในการเล่น กีฬา วาดภาพ ร้องเพลง แต่อย่าลืมความสุขที่เกิดขึ้นในการใช้อานาจของสติปัญญาและจินตนาการ มา สร้างคาอธิบายว่าดวงดาวบนท้องฟ้า และสรรพสิ่งต่างๆ ทางานอย่างไร ความสุขนี้ขยายขึ้นเป็นความ ภาคภูมิใจ เมื่อประสบความสาเร็จในแต่ละขั้น นาพาไปสู่การเข้าเผชิญหน้ากับภารกิจที่ยากขึ้น ซึ่งทา ให้เรามุ่งพัฒนาความสามารถนั้นให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ตามการท้าทาย นี่คือความสุขที่เกิดขึ้นในการใช้ ความสามารถและพัฒนาศักยภาพต่างๆ ที่เรามีอยู่ในตัว พัฒนาอานาจในการสร้างสรรค์ที่แฝงซ่อนอยู่ ในตัวเราให้กลายขึ้นเป็นความเป็นจริงขึ้นมา ผู้อ่านควรจะสารวจวิเคราะห์ความรู้สึกของตัวเองอย่าง
100
ละเอียด ว่าความสุขเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างมีขั้นตอน และองค์ประกอบอย่างไรกันแน่ น่าสนใจที่จะคิดว่า เมื่อเด็กทารกพยายามยกตัวขึ้นด้วยขาสองข้างและก้าวเดินนั้น แม้จะล้มแล้วล้มอีก พวกเขาก็ไม่เคย ยอมแพ้ อะไรคือแรงจูงใจให้เขาพยายาม ถ้าไม่ใช่ความสุขที่เกิดขึ้นในการได้พยายามใช้สิ่งที่เขามีอยู่ ในตัวแล้วในฐานะของความสามารถระดับหนึ่ง หรือความสามารถแบบหนึ่ง ทาให้กลายเป็น ความสามารถในระดับขั้นที่สูงขึ้น หรือกลายเป็นความสามารถใหม่ต่อไป ย้อนกลับมาดูความสุขแบบรับเข้ามาหรือความสุขแบบเสพ เป็นการง่ายที่จะใช้ชีววิทยา อธิบายว่าเป็นการตอบสนองความต้องการเพื่อสร้างภาวะที่ปกติสมดุลอยู่ดีของร่างกาย เพื่อเป็นฐาน ของการพัฒนาศักยภาพที่ซับซ้อนและความสามารถที่สูงกว่าต่อไป เราอาจขยายคาอธิบายแบบนี้ ต่อไปถึงความต้องการทางจิตใจ เช่น เด็กต้องการความรู้สึกรักซึ่งเป็นความมั่นคงทางจิตใจจากพ่อแม่ เพื่อประกันความปลอดภัยในการเติบโตไปสู่ความเป็นอิสระและการเป็นตัวของเขาเองในอนาคต หรือเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดว่าความต้องการเสรีภาพเป็นไปเพื่อการได้ค้นพบศักยภาพและการเรียนรู้สิ่ง ใหม่ๆ ความหมายใหม่ๆ ความสุขใหม่ๆ และการพัฒนาความสามารถใหม่ๆให้แก่ตนเอง แม้แต่ใน ความรักแบบหนุ่มสาว ส่วนสาคัญส่วนหนึ่งก็คือเราต้องการคนที่ทาให้เรารู้สึกเป็นตัวของตัวเอง สูงสุด เข้าถึงความรู้สึกนึกคิด และความใฝ่ฝันของเรามากที่สุด เป็นฐานให้ปัจเจกภาพ ซึ่งได้แก่ ศักยภาพและความรักในสิ่งต่างๆ ของเรา ได้พัฒนาเติบโตต่อไป และเพื่อนคือผู้ที่เราร่วมเล่นร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ ค้นหาพัฒนาในสิ่งที่รักสิ่งที่สนใจร่วมกัน ดังนั้นเพื่อนก็คือผู้ที่ร่วมเติบโตในศักยภาพ บางอย่างร่วมไปกับเรา สรุปก็คือ เราสามารถใช้ความสุขในการพัฒนาศักยภาพเป็นแกนกลางเพื่อ อธิบายความสาคัญของความสุขที่เกิดขึ้นในความต้องการอื่นๆ ได้อีกหลายประการ แน่นอนว่าความรักแบบหนุ่มสาวมีความหมายและความสาคัญอะไรบางอย่างที่มากกว่านั้น เป็นความรู้สึกถึงความมีคุณค่าและมีความหมายของความมีอยู่ของตัวเราเองที่เป็นอิสระจากทุกสิ่งทุก อย่าง เมื่อเราสูญเสียความรักของคนที่เรารัก เมื่อเขาเลิกรักเราและหันไปรักและต้องการคนอื่นแทนเรา ตราบใดที่เรายังปรารถนาความรักจากเขา เราจะรู้สึกไร้ค่าไร้ความหมาย และไม่ปรารถนาในสิ่งอื่นใด นอกจากจะได้ความรักของเขากลับคืนมา เราแทบจะลืมความใฝ่ฝันในด้านอื่นๆ และศักยภาพทุกอย่าง ในตัวเรา ความรักอย่างหนุ่มสาวจึงเป็นความสุขและความทุกข์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตมนุษย์ คือการ รู้สึกว่าการมีความหมายของชีวิตเราคือการมีคนอีกคนหนึ่งมารับรู้และปรารถนาในตัวเรา ทั้งทาง ร่างกายและจิตใจ ความรักระหว่างเพื่อนก็สามารถมีความหมายที่ลึกซึ้งกว่าที่กล่าวมาเช่นกัน เพื่อนรัก คือคนที่จะร่วมแบ่งปันความสุขความทุกข์ร่วมกันกับเราอย่างไม่ปรารถนาสิ่งใด เป็นคนที่พร้อมจะอยู่ เคียงข้างเราเสมอเมื่อเราต้องการ ความรักแบบเพื่อนมีความบริสุทธิ์เหมือนความรักของพ่อแม่ คือไม่ เจือปนด้วยความต้องการครอบครองเป็นเจ้าของอย่างความรักแบบหนุ่มสาว ความรักที่บริสุทธ์เช่นนี้ จึงเป็นเสมือนฐานรองรับ หรือสิ่งที่จะมาช่วยค้าจุนความมีตัวตน-ความมีชีวิต-การปรากฏตัว-อยู่บน โลกนี้ของเรา
101
นอกจากแง่มุมที่ลึกซึ้งของความรักแล้ว ข้อจากัดของการอธิบายความสุขทั้งหมดของชีวิต ด้วยความสุขในการใช้และพัฒนาศักยภาพในตัวเอง ก็ยังปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนในแง่อื่นๆ เริ่ม ตั้งแต่ เราจะอธิบายความสุขที่เกิดขึ้นจากการได้รับชัยชนะในการแข่งขันว่าอย่างไร ความสุขแบบนี้ เกิดขึ้นจากความรู้สึกว่าตนเหนือกว่าผู้อื่น สิ่งนี้สามารถเกิดซ้อนอยู่บนความสุขจากการได้ใช้และ พัฒนาศักยภาพ การที่เราเล่นกีฬาแล้วแพ้ เราก็ยังได้ความสนุกสนานจากการใช้ความสามารถ ใช้ ศักยภาพสูงสุดของเรา และก็อาจรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองด้วยซ้าว่าเล่นได้เก่งขึ้นพัฒนาขึ้น นี่คือ จุดสาคัญ ยิ่งกว่านั้นทุกคนคงยอมรับว่า เรามีความสุขในการเล่นกีฬาแพ้คู่แข็งที่เหนือกว่าเรา มากกว่า ที่จะมีความสุขจากการเล่นชนะคู่แข็งที่อ่อนด้อยกว่าเรามากๆ จนเราแทบไม่ต้องใช้ความสามารถ อะไรเลย นี่อธิบายได้ด้วยความสุขในการใช้และพัฒนาศักยภาพ แต่ด้วยเหตุผลนี้ผู้เล่นทุกคนควรมี ความสุขที่ได้ใช้ศักยภาพสูงสุดของตนเองเท่าๆ กัน แพ้ชนะไม่สาคัญ แต่จริงๆ แล้ว แพ้ชนะก็เป็นเรื่อง ที่สาคัญไม่ใช่หรือ และสามารถเป็นเรื่องสาคัญอย่างใหญ่หลวงเสียด้วยนี่เป็นเพราะอะไร? คาตอบก็ คือ เรามีความสุขแบบพิเศษบางอย่างเมื่อเรารู้สึกว่าเราเหนือกว่าผู้อื่นในความสามารถ และเรารู้สึก ภาคภูมิใจมากขึ้น จากการได้รับการยกย่องจากสังคมว่าเหนือกว่าผู้อื่นดังที่พิสูจน์ออกมานั้น นี่ต่างไป จากความภาคภูมิใจในตัวเองที่พบว่าตัวเองได้ใช้ศักยภาพของตนเองจนสามารถกระทาสิ่งบางอย่างได้ สาเร็จ ในแง่หลังนี้ดูเหมือนเราจะแข่งขันเฉพาะกับตัวเอง เราต่อสู้กับการสร้างสิ่งที่เป็นภาวะแฝงใน ตนให้กลายเป็นความจริง และได้รับผลตอบแทนเป็นความภาคภูมิใจในตนเอง ไม่เกี่ยวข้องกับการ รับรู้ของใคร นี่ชี้ให้เห็นว่า มีความรู้สึกภาคภูมิใจที่แตกต่างกันสองชนิด คือ ความรู้สึกภาคภูมิใจในเอง ที่ เกิดจากการที่ตนเองมองตนเองและยกย่องชื่นชมตนเอง กับ ความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้รับจากการ เปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นและจากการมองของสังคม การปรากฏตนต่อสังคม การได้รับการยอมรับ และยกย่องชื่นชมจากสังคมว่าเหนือกว่าผู้อื่น เราอาจเริ่มตั้งข้อสังเกตตั้งแต่ตรงนี้ว่า ชัยชนะที่ทาให้เรา ได้รับการยกย่องจากสังคม อาจเป็นเรื่องของการแข่งขันกันในตาแหน่ง อานาจ หน้าที่ หรือการ แข่งขันกันในการครอบครองวัตถุ หรือ สิ่งต่างๆ ที่สังคมให้ค่าว่าน่าปรารถนา อย่างที่กล่าวด้วยคาว่า “เกียรติ ลาภ ยศ สรรเสริญ” นี่เป็นสิ่งที่ทาให้เกิดความรู้สึกถึงการมีชนชั้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ของ เจ้า-ไพร่ ผู้ดีมีตระกูล-สามัญชน หรือคนไฮโซ คนชั้นกลาง คนชั้นล่าง เราอาจรู้สึกได้ลางๆ ถึง ความสัมพันธ์ของความต้องการชัยชนะในสิ่งเหล่านี้ กับความต้องการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากมีชีวิตอยู่ใน ความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น ความต้องการที่จะไต่บันใดสังคม แสวงหาชื่อเสียง เงินทอง เกียรติยศ ความต้องการที่จะมีอานาจเหนือผู้อื่น ความต้องการที่จะบงการกาหนดควบคุมผู้อื่น ทาร้ายผู้อื่น ซึ่ง แอบซ่อนอยู่ในความต้องการเหล่านั้น นี่พาเราเข้าสู่ความชั่วร้ายและด้านมืดของจิตใจ นี่เป็นสิ่งที่ อริสโตเติลไม่ได้ให้คาอธิบายกับเรา เขามองตัวตนของเราว่ามีธรรมชาติแบบปัจเจก มากกว่าที่จะเป็น แบบที่อยู่ใต้อิทธิพลของความสัมพันธ์ทางสังคม แต่เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าเรามีตัวตนทางสังคมที่
102
ทาให้เราเปรียบเทียบและแข่งขันแบบนี้อยู่จริงๆ ผู้ที่ดูเหมือนจะให้คาอธิบายด้านนี่แก่เราคือนัก ปรัชญาชาวเยอรมันชื่อว่า นิตซ์เช่ (Friedrich Nietzsche ค.ศ. 1844-1900) เขามองเห็นว่าสิ่งที่เป็นพลัง ผลักดันความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ก็คือ “เจตจานงแห่งอานาจ” (will to power) เขาเห็นว่าความคิด ความเชื่อต่างๆ หรือสิ่งที่เรียกอ้างกันในสังคมว่าคือ “ความรู้” และสถาบันทางสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะ เป็นรูปแบบการปกครอง กฎหมาย วัฒนธรรมฯลฯ ล้วนแต่เป็นผลผลิตและการแสดงออกของ เจตจานงแห่งอานาจทั้งสิ้น ความคิดทั้งหมดของเขาเป็นสิ่งที่ซับซ้อนเกินกว่าที่เราจะเข้าไปดูใน รายละเอียดในตอนนี้ ในบทท้ายๆ เราจะกล่าวถึงความคิดของเขาบางส่วน เท่าที่สัมพันธ์กับประเด็น ของเรา แต่จะเห็นได้วา่ นิตซ์เช่มองมนุษย์ว่ามีปฎิสัมพันธ์เชิงการใช้อานาจต่อกัน และล้วนตกอยู่ ภายใต้อิทธิพลของพลังทางสังคม และกระบวนการหรือเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ ซึ่งหมายถึงการ เปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบของความคิดความเชื่อ และรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และ ความเป็นจริงดังกล่าวเป็นธรรมชาติพื้นฐานที่สุดในชีวิตมนุษย์ กล่าวได้ว่าปรัชญาของนิตซ์เช่มี อิทธิพลสูงสุดต่อการมองโลกของวงการปรัชญาและสังคมศาสตร์ยุคปัจจุบัน แต่ก็เกิดขึ้นหลังจากที่ เขาเสียชีวิตไปแล้วเกือบร้อยปี ในประเด็นเรื่องปัจเจกและสังคมกับความชั่วร้ายในจิตใจมนุษย์นั้น ในประวัติศาสตร์ปรัชญา ก่อนหน้านิตซ์เช่ก็เคยมีการโต้เถียงที่น่าสนใจระหว่างนักปรัชญาการเมืองสองคนที่เราเคยเอ่ยนาม มาแล้ว คือ ฮอบส์และรุซโซ ฮอบส์คิดว่ามนุษย์นั้นมีธรรมชาติที่ชั่วร้ายมาตั้งแต่กาเนิด คือ มนุษย์ใน ฐานะปัจเจก มีความต้องการเข้าหาตัวอย่างไม่รู้จักพอ การมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมคือการยอมลดความ ต้องการของตนลง เพื่อแลกกับการพ้นจากสภาพสงครามที่ “คนทุกคนต่อสู้กับคนทุกคน” รุซโซมอง ตรงกันข้ามกับฮอบส์ คือรุซโซเห็นว่า มนุษย์ในฐานะปัจเจก คือในสภาพที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ ก่อนที่จะเข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้นเป็นผู้ที่ดีงาม มีเสรีภาพ มีความต้องการที่สิ้นสุดพอเพียง การ เข้ามาอยู่ร่วมในสังคมต่างหากที่ทาให้มนุษย์เกิดความชั่วร้ายและมีความต้องการที่ไม่รู้จักพอ ความคิด แบบของรุซโซเข้ากับการมองชีวิตมนุษย์ที่มีค่าและมีความสุขว่าเกิดจากภาวะแบบปัจเจกของ อริสโตเติล และสอดคล้องกับทฤษฎีจิตวิทยาปัจจุบัน มากกว่าความคิดแบบของฮอบส์ ในทฤษฎี การเมืองของรุซโซนั้น สังคมต้องรักษาสภาพตามธรรมชาติของมนุษย์ให้มากที่สุด คือให้เสรีภาพ สูงสุดกับปัจเจกบุคคล ข้อจากัดมีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือเสรีภาพจะต้องมาควบคู่กับความ รับผิดชอบที่มีต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม เขาเป็นผู้นากระแสโรแมนติคของยุโรป ภายใต้คาขวัญ “กลับสู่ธรรมชาติ” เขาเขียนหนังสือเรื่องเอมิล (Emile) ซึ่งสมมติให้เป็นชื่อลูกของตน เพื่ออธิบายวิธี เลี้ยงเด็กแบบเสรีนิยม เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นผู้รักประชาธิปไตย ความคิดของรุซโซเป็นแรงบันดาลใจทางทฤษฎี แต่ผู้ที่มีอิทธิพลสูงสุดในทางปฎิบัติต่อการ เลี้ยงเด็กแบบเสรีนิยมของโลกตะวันตกในยุคปัจจุบัน คือนักการศึกษาชาวอังกฤษชื่อว่าเอ เอส นีล (A. S. Neill) เขาอธิบายแยกแยะให้เห็นว่า การให้เสรีภาพแก่เด็กไม่ใช่การปล่อยให้เด็กทาอะไรก็ได้ตาม
103
อาเภอใจ เด็กต้องเรียนรู้ที่จะต้องรับผิดชอบผลของการกระทาของตนเองต่อผู้อื่น เขาสร้างโรงเรียนที่ ให้เสรีภาพแก่เด็ก คือเรียนเมื่อนึกอยากเรียน และสร้างกฎของการอยู่ร่วมกันขึ้นมาเอง ทาให้เด็กที่มี ปัญหาเกเร ลักขโมย ถูกไล่ออกมาจากโรงเรียนอื่น สามารถเรียนหนังสือต่อไป และเปลี่ยนมาเป็นคน ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมได้ (เครื่องมือที่สาคัญที่สุดที่เขาใช้คือทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalysis) ของนายแพทย์ชาวออสเตรียชื่อว่า ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud ค.ศ. 18561939) แต่เขาก็พบด้วยประสบการณ์ว่าการรักษาเด็กที่มีปัญหา ทาได้ด้วยการให้เสรีภาพมากกว่าด้วย การทาจิตวิเคราะห์หาต้นตอของปัญหา) เราได้เคยอภิปรายมาแล้วก่อนหน้าในหลายๆ ที่ว่าเสรีภาพเป็นสิ่งกาหนดปัจเจกภาวะของเรา นักปรัชญาในศตวรรษที่19 และ20 หลายคนได้เสนอแนวคิดว่าความมีอยู่ (existence) และเสรีภาพคือ สภาวะที่เป็นธรรมชาติแก่นแท้ที่สุดของมนุษย์ ไม่มีอานาจใดที่จะสามารถกาหนดให้มนุษย์ต้องเป็น เช่นนั้นเช่นนี้ เมื่อเกิดขึ้นและมีความเป็นอยู่ขึ้นมาแล้ว มนุษย์มีเสรีภาพเสมอที่จะเลือกสิ่งที่จะทาและ สิ่งที่จะเป็น เพราะแม้เมื่อมีปืนมาขู่บังคับ มนุษย์ก็ยังมีอานาจที่จะเลือกความตายแทนการต้องยอมเป็น ในสิ่งที่ตนไม่ต้องการที่จะเป็น แต่ถ้าหากว่าคุณถูกบังคับแล้วคุณยอมตาม นั่นก็ยังคงเป็นผลของการ เลือกของคุณเองอยู่ดี คุณใช้เสรีภาพของคุณด้วยการเลือกที่จะสูญเสียเสรีภาพ แต่ถึงกระนั้นคุณก็ ไม่ได้สูญเสียเสรีภาพไปจริงๆ เพราะคุณก็ยังมีเสรีภาพที่จะเลือกใหม่อยู่ตลอดเวลา คาพูดของซาร์ต (Jean Paul Sartre ค.ศ. 1905-80) ก็คือ “มนุษย์ถูกสาบให้มีเสรีภาพ” คุณไม่สามารถหนีไปให้พ้นจาก ความมีเสรีภาพของคุณเองได้ (แต่นี่ไม่ได้หมายว่าคุณไม่มีสิทธิที่จะพยายามหนี หรือว่าคุณจะต้องรัก เสรีภาพของคุณ) นี่คือความคิดของนักปรัชญาลัทธิอัตถิภาวะนิยม (อัตถิภาวะแปลความมีอยู่) หรือ เอ็กซิสต์เท็นเชียลลิซึม (Existentialism) แนวคิดทางปรัชญานี้ถือว่า ค่าของชีวิตอยู่ที่การเป็นในสิ่งที่ คุณพอใจที่จะเป็น แสวงหาในสิ่งที่เป็นความสุขและเป็นความรู้สึกความต้องการจากใจจริงของตน ดังนั้นแนวคิดนี้ย่อมถือว่า ชีวิตที่มีค่าคือชีวิตที่ใช้และพัฒนาศักยภาพของตนเอง เป็นชีวิตที่มีพันธะ ของหัวใจต่อความรับผิดชอบต่างๆ ที่เราเลือกให้เป็นความหมายในชีวิตของเรา นั่นก็คือการมีพันธะที่ จะใช้ศักยภาพของเราในการสร้างสรรค์ สร้างความเป็นจริงที่เราต้องการให้เกิดมีขึ้นมา อย่างไรก็ตาม แม้เราจะยอมรับในความจริงง่ายๆ ว่า มนุษย์ต้องการเสรีภาพ ซึ่งก็คือความ ต้องการที่จะเป็นผู้มีอานาจในการกาหนดตนเอง เพื่อที่จะได้เป็นและทาในสิ่งที่ตนเองมีความสุขที่จะ ทา แต่สิ่งที่น่าฉงนกว่าความรักและความต้องการในเสรีภาพ ก็คือการเกลียดกลัวเสรีภาพทั้งของ ตนเองและเสรีภาพของผู้อื่น ซึ่งก็คือการยอมสูญเสียปัจเจกภาพของตนเอง และการรังเกียจปัจเจกภาพ ของผู้อื่น การยุติการใช้และพัฒนาศักยภาพของตนเอง ซึ่งเท่ากับการปฏิเสธความสุขที่ทาให้ชีวิตมีค่า และมีความหมายอย่างแท้จริง แล้วหันไปยอมรับความสุขที่ไร้คุณค่าและมีความหมายเพียงแค่ปลอมๆ ไว้แทน ตัวอย่างของความจริงข้อนี้ก็คือ สิ่งที่เราเห็นในระบบโซตัสที่ได้กล่าวถึงไปแล้วหลายครั้ง นัก ปรัชญาอัตถิภาวะนิยมบอกเราว่า เสรีภาพตามมาด้วยผลที่เราอาจไม่ปรารถนา นั่นก็คือ ความประหวั่น
104
พรั่นพรึง ความรู้สึกไม่มั่นคง และความกลัวต่อการที่ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเองอย่างสมบูรณ์ หรือแม้แต่ความรู้สึกว่าชีวิตคือความว่างเปล่าไร้ความหมาย นี่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของคาตอบว่าทาไม คนจึงปฏิเสธเสรีภาพของตนเอง ซึ่งเราจะพยายามทาความเข้าใจอย่างละเอียดต่อไปภายหลัง ความคิดของนักปรัชญาอัตถิภาวะนิยมสอดคล้องกับความคิดของเรา เรื่องความรับผิดชอบที่ เรามีต่อโลก คุณไม่มีสิทธิที่จะพูดว่า ความเป็นจริงของโลกบังคับให้คุณต้องเป็นเช่นนี้เช่นนั้น และสิ่ง ที่โลกเป็นอยู่ไม่ใช่ความรับผิดชอบของคุณ ซาร์ตยืนยันว่า เรามีเสรีภาพที่จะเลือกให้โลกเป็นเช่นไร เท่าๆ กับที่เรามีเสรีภาพที่จะเลือกให้ตนเองเป็นเช่นไร ในทุกๆ วัน คุณมีทางเลือกอยู่เสมอ ว่าจะให้ โลกเป็นเช่นเดิมด้วยการเพิกเฉยต่อมัน หรือจะให้โลกดีขึ้นไปกว่าเดิมด้วยการพยายามเข้าไป เปลี่ยนแปลงมัน มนุษย์สร้างความเป็นจริงของโลก ไม่ใช่โลกสร้างความเป็นจริงของมนุษย์ สรุปก็คือ ปรัชญาอัตถิภาวะนิยมมีศรัทธาสูงสุดต่อมนุษย์
ความรู้สึกชื่นชมยกย่องในตนเอง (self-esteem)
ก่อนที่จะจบบทนี้ ขอให้เราย้อนกลับมาดูความภาคภูมิใจ ความชื่นชมที่เรามีต่อตัวเราเองที่เรา กล่าวค้างไว้ นี่คือสิ่งที่วิชาจิตวิทยาเรียกว่า ความรู้สึกชื่นชมยกย่องในตนเอง (self-esteem) ซึ่งถือว่ามี อิทธิพลต่อบุคลิกภาพของบุคคลในแง่ต่างๆ อย่างมากมาย เช่น บุคคลที่มีความรู้สึกชื่นชมยกย่อง ตนเองที่สูง จะเป็นคนที่มีบุคลิกภาพมั่นใจในตนเอง มีความเชื่อมั่นในความสามารถในตนเองสูง พร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายอย่างไม่ยอมย่อท้ออย่างง่ายดาย มีกาลังใจในตนเองสูงและจะสู้ จนกว่าจะถึงที่สุด ในขณะที่บุคคลที่มีความรู้สึกชื่นชมยกย่องในตนเองต่า จะเป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ ขาดความมั่นใจในตนเองและไม่ค่อยเชื่อมั่นว่าตนเองจะทาอะไรได้สาเร็จ เมื่อเจออะไรยากๆ ก็พร้อม ที่จะยอมแพ้เสียตั้งแต่เริ่มต้น หรือต้องรอคอยให้สถานการณ์บังคับจริงๆ จึงลุกขึ้นสู้ นักจิตวิทยาเสนอ ว่า การสร้างให้เด็กมีความรู้สึกชื่นชมต่อตัวเองที่สูงจะส่งผลต่อความสุขในชีวิตในวัยผู้ใหญ่ และการ เพิ่มความรู้สึกชื่นชมในตัวเองให้กับเด็กจะทาให้เด็กประสบความสาเร็จในการเรียนที่สูงขึ้น เป็นต้น วิชาจิตวิทยาถือว่า ความรู้สึกชื่นชมยกย่องตนเองของเด็กสามารถกระตุ้นได้ด้วยการที่คนรอบ ข้างคอยให้ความรัก แสดงความชื่นชมต่อความเป็นตัวของตัวเอง และการแสดงออกต่างๆ ของเด็ก มองหาแง่มุมต่างๆ ในตัวของเขาที่จะกระตุ้นให้เขารู้สึกภาคภูมิใจ คอยชื่นชมยกย่อง ซึ่งจะทาให้เด็ก รู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง และมั่นใจในสิ่งที่ตนเองเป็น กล้าพูดกล้าคิดกล้าแสดงออก ในทางตรงกัน ข้ามเด็กที่ขาดความรักและความเอาใจใส่ และถูกพ่อแม่ลงโทษ และตาหนิติเตียนว่ามีแต่ความผิด ความไม่ดี ความไร้ค่า และถูกนาไปเปรียบเทียบกับคนอื่นที่เหนือกว่าในด้านต่างๆ เพื่อทาให้เขารู้สึก
105
ต่าต้อย เด็กก็จะรู้สึกด้อย ขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่กล้าพูดไม่กล้าคิด ไม่กล้าแสดงออก ประเด็นที่ น่าสนใจก็คือ ในความเป็นจริง เด็กสองคนอาจมีความสามารถต่างๆ ในตัวเท่า ๆ กัน แต่คนหนึ่งอาจ รู้สึกดีต่อตนเอง มีความรู้สึกชื่นชมยกย่องต่อตนเองสูง แต่อีกคนหนึ่งกลับรู้สึกไม่ดีต่อตนเอง มี ความรู้สึกชื่นชมยกย่องในตนเองต่า เพียงเพราะถูกปฏิบัติจากผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดในลักษณะที่ตรงกัน ข้ามกัน นี่คืออิทธิพลทางจิตวิทยาที่คนอื่นสามารถสร้างให้เกิดขึ้นต่อเราในวัยเด็ก และมีผลต่อ บุคลิกภาพและสภาวะทางจิตใจของเราไปจนโต อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามโนทัศน์นี้ถูกใช้ในวิชาจิตวิทยาให้ครอบคลุมถึงอิทธิพลของ ประสบการณ์ของความสุขและความทุกข์ทั้งหมดตั้งแต่วัยเด็กขึ้นมา ที่มีผลต่อบุคลิกภาพและสภาวะ แนวโน้มทางจิตของเรา ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่เราถูกปฏิบัติโดยผู้ใหญ่ที่เกี่ยวพันใกล้ชิดกับเราในวัย เด็ก และเคราะห์กรรมต่างๆ ในชีวิตของเรา แต่ก็อาจยังมีอีกขอบเขตหนึ่งที่ความรู้สึกนี้ สัมพันธ์อยู่กับ ความเป็นจริงในตัวเรา ที่เรารับรู้ด้วยตนเอง เพื่อเชื่อมเรื่องนี้เข้ากับเรื่องของศักยภาพและเสรีภาพ เราจะต้องเข้าใจว่าความชื่นชมที่พ่อแม่ จะแสดงออกต่อตัวเด็กในสิ่งต่างๆ ที่เขาเป็นและกระทานั้น จะต้องมีความเป็นจริงอยู่ในนั้น มันต้องมี ความน่าภาคภูมิใจอยู่จริง เด็กไม่ต้องการการชื่นชมแบบหลอกๆ หรือว่างเปล่า เขาเองจะต้องรู้สึก ภาคภูมิใจอยู่แล้วด้วย เขาถึงจะยอมรับความชื่นชมยกย่องนั้น ดังนั้น การชื่นชมยกย่องของพ่อแม่จึง เป็นแค่แรงเสริมของสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวเด็ก หรืออาจเป็นแค่จุดเริ่มต้นที่จะทาให้เด็กมีความชื่นชมต่อ ตนเอง ที่เป็นอิสระจากการแสดงออกของพ่อแม่ต่อไปในอนาคต เขาได้รับความชื่นชมจากพ่อแม่ก่อน และหันมารู้สึกชื่นชมต่อตนเองต่อไปได้เอง2 เมื่อเด็กโตขึ้น พ้นจากพัฒนาการตามเงื่อนไขปกติของชีววิทยา ความชื่นชมที่เด็กจะมีต่อ ตัวเอง จะมาจากการพัฒนาในความสามารถพิเศษจริงๆ คือ กีฬา ดนตรี ศิลปะ วิชาการ หรือ งาน ประดิษฐ์ คิดค้น งานและความรับผิดชอบต่างๆ ที่ท้าทายต่อความสามารถ นี่คือการค้นพบความชอบ และความสามารถของตนเอง และเป็นแหล่งของความภาคภูมิใจ และความชื่นชมต่อตนเองอย่าง แท้จริง จากข้อคิดเรื่องภาวะแบบปัจเจกกับภาวะแบบสังคม คงเห็นแล้วว่าจะเป็นสิ่งที่ดีต่อความสุขใน อนาคตของเด็กมากกว่า หากเด็กจะพัฒนาความสามารถพิเศษต่างๆ ในตัว ด้วยแรงจูงใจที่มีอยู่ในสิ่ง นั้นเอง ที่จะเป็นไปเพื่อการแข่งขันกับคนอื่น (ซึ่งนี่อาจเป็นความต้องการทางสังคมของพ่อแม่) ดังนั้น การสนับสนุน การให้อิสระ การอุทิศตนของพ่อแม่เพื่อให้เด็กมีเวลากับสิ่งที่ตนรัก การท้าทาย การ กระตุ้นให้อดทนที่จะสู้และฝึกฝน หรือการควบคุมให้เป็นวินัย จึงเป็นสิ่งที่สาคัญ แต่ไม่ใช่การผลักดัน หรือเราอาจจะมองว่า แม้แต่การที่เด็กทารกยันตัวขึ้นยืนแล้วก้าวเดิน แม้จะล้มแล้วล้มอีกนั้น เด็กน่าจะรู้สึก เป็นสุข สนุก และภาคภูมิใจในตนเองไปพร้อมกัน โดยไม่ต้องรอให้พ่อแม่มายกยอ แต่การที่พ่อแม่มายอก็ เป็นการช่วยเสริมความภาคภูมิใจนั้นให้สูงและชัดเจนยิ่งขึ้นในจิตใจเด็ก 2
106
เด็กเข้าไปสู่การแข่งขัน การต่อสู้เอาชนะผู้อื่นให้ได้อยู่ตลอดเวลา นั่นอาจจะกลายเป็นการสร้างแรง กดดันเกินกว่าที่เด็กจะรับได้ หรือสร้างนิสัยชิงดีชิงเด่น ที่จะเป็นผลร้ายต่อสุขภาพจิตของเด็กใน อนาคต แต่เมื่อโตเข้าสู่วัยรุ่น การเติบโตทางอารมณ์ และสติปัญญาของพวกเขา ก้าวเข้าสู่จุดที่ซับซ้อน ที่สุด บทบาทของพ่อแม่ก็จะลดความหมายลงไป เขาเริ่มเติบโตไปสู่ความเป็นบุคคลที่ต้องกาหนดและ ควบคุมตนเอง เริ่มก้าวเข้าสู่ความรับผิดชอบต่อตนเองและการที่ต้องเลือกทางเดินของชีวิตด้วยตนเอง ความภาคภูมิใจและความชื่นชมที่เขามีต่อตนเอง จะมาจากอิสรภาพที่จะค้นหาความเป็นจริง สร้าง ความหมายของชีวิตและโลกให้แก่ตนเอง โลกแห่งความเป็นจริงที่เป็นปรนัย (objective ) ของทุก อย่างที่เขาพบเห็นภายนอกตน และความเป็นจริงอัตนัย (subjective) ที่เป็นความอารมณ์รู้สึกจากส่วน ลึกของจิตใจของเขา เป็นสิ่งที่เขาจะต้องนาประสานเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างความหมายของชีวิตและโลก ตามการรับรู้ของเขา สร้างชีวิตที่มีความใฝ่ฝันและความรับผิดชอบ และมีความเป็นจริงที่มีความหมาย เฉพาะตัวของเขาเอง อิสรภาพที่สาคัญที่สุดต่อความรู้สึกชื่นชมยกย่องในตนเองตรงนี้ก็คือ การไม่ถูก กาหนดและยัดเยียดความเป็นจริง การไม่ถูกปิดกั้นทางความคิด การมีอิสระที่จะค้นหาความจริงให้แก่ ตนเองอย่างถึงที่สุด ซึ่งหมายถึงอิสรภาพที่จะโต้เถียงและปะทะทางความคิดกับพ่อแม่ เพื่อนฝูง ครูบา อาจารย์ หรือกับคนทั้งโลก การมีอานาจในการยืนยันความคิดและความรู้สึกของตนเอง ไม่ถูกบังคับ ให้ต้องยอมรับในความคิดที่ใจของเขาไม่รู้สึกเห็นด้วย ทั้งนี้ ก็เพื่อการพัฒนาศักยภาพของการเข้าถึง ความเป็นจริงของชีวิตและโลกไปสู่จุดสูงสุด และเมื่อเขาสามารถสร้างหลักการของความจริง ความดี งาม ความถูกต้องให้แก่ตนเอง ด้วยอานาจทางปัญญาและอารมณ์ ซึ่งเป็นความเป็นจริงจากส่วนลึก ของจิตใจของเขาเอง ความรู้สึกชื่นชมยกย่องในตนเอง ความภาคภูมิใจในตนเองของเขาก็จะเติบโต และเปลี่ยนแปลงในความหมาย กลายมาเป็นความรู้สึกต่อตัวเองอีกประเภทหนึ่งที่จะฝังลึกลงเป็น รากฐานของบุคลิกภาพความเป็นตัวตนทางศีลธรรมของเขา สิ่งนั้นก็คือความเคารพต่อตนเอง ที่เราเคย อภิปรายถึงไปก่อนหน้าแล้ว (เมื่อเราอภิปรายถึงเรื่องการเป็นผู้ทรงอานาจทางศีลธรรมในตนเองของ มนุษย์แต่ละคน) ทั้งหมดนีค้ ือแนวคิดในเชิงทฤษฎี และถึงเวลาแล้วเราจะนามันย้อนมามองดูความเป็นจริง เป็นที่น่าสงสัยเหลือเกินว่า ในวัฒนธรรมไทย จะมีเด็กไทยสักกี่คนที่ได้รับโอกาสให้พัฒนาความรู้สึก ชื่นชมในตนเองให้สูงจนสามารถก้าวไปสู้ขั้นของความเป็นผู้มีเคารพในตนเอง คือให้เป็นผู้ที่กล้า นาเอาข้อตัดสินทางศีลธรรมของตนเองไปโต้เถียงกับคนทั้งโลก อย่างเช่นโสกราตีสหรือพระเยซู คาตอบจากบทก่อนๆ หน้าและจากประสบการณ์จริงของพวกเราก็คือ อาจจะแทบไม่มีเลย วัฒนธรรม ไทยเป็นวัฒนธรรมแบบอานาจนิยม แม้อาจจะเริ่มมีบางครอบครัวที่เปิดตาราจิตวิทยาเลี้ยงลูก แต่ ระบบการศึกษาของไทยก็จะทาลายทุกสิ่งทุกอย่างที่พ่อแม่พยายามสร้าง ด้วยสิ่งที่เรียกว่า “หลักสูตร แฝงเร้น” (hidden curriculum) ซึ่งหมายถึงความพยามทุกประการที่จะทาลายปัจเจกภาพของเด็ก ด้วย
107
การทาให้เด็กยอมตนอยู่ใต้อานาจ ด้วยการอาศัยระบบวินัยที่ไร้เหตุผลอย่างที่เราเคยกล่าวมาแล้ว ตั้งแต่บทที่1 และบทที่2 และสรุปไว้ที่ต้นบทนี้ ระเบียบวินัยที่ไร้สาระทาให้เสรีภาพและปัจเจกภาพ กลายเป็นความผิด ความน่าละอาย การถูกตาหนิว่าต่าค่า ไร้คุณค่าในสังคม ด้วยอานาจทางวาจาและ ทางอาญาของผู้ใหญ่คือ ครู ซึ่งสามารถทาให้การศึกษากลายเป็นสิ่งจอมปลอมได้ด้วยวินัยจอมปลอม เหล่านี้ เช่น เด็กเข้ามาฟังครูก็เพื่อหาความเข้าใจ แต่พอจะยกมือถาม ก็ถูกตาหนิว่าเสียมารยาท ต้องรอ ให้ครูพูดให้จบก่อนจึงควรถาม พอครูพูดจบเรื่อง เด็กก็งงจนตั้งคาถามไม่ถูกเสียแล้ว มารยาทคือสิ่งที่ เรียกว่าหลักสูตรแฝงเร้นที่ครูใช้กดหัวนักเรียนให้อยู่ใต้อานาจ ใช้ตาหนิทาให้นักเรียนละอาย ไม่กล้า พูดและสูญเสียความมั่นใจในตนเอง จนไม่กล้าแสดงออกต่อหน้าผู้อื่นอีกต่อไป ผู้เสียประโยชน์คือ เด็กเรียนที่แย่ลง ผู้ได้ประโยชน์ก็คือครู ที่สามารถทาให้เด็กกลายเป็นสัตว์เลี้ยง3เชื่องๆ ของตนและของ ผู้มีอานาจทางสังคมได้ วินัย และข้อปฏิบัติทั้งหลาย ที่สังคมสร้างขึ้นอย่างไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะทาให้คนอยากจะ ปฏิบัติได้ด้วยใจ โดยไม่มีการบังคับชักจูงใดๆ ล้วนแต่เป็นแหล่งแห่งความทุกข์และการสูญเสียตนเอง การสูญเสียความสุข ความภาคภูมิใจ ความมั่นใจในตนเองจากภายในทั้งสิ้น ซึ่งทาให้ในที่สุดแล้ว คน ต้องหาความมั่นใจให้ตนเองด้วยการพึ่งพิงสังคมภายนอก ด้วยการทาตัวให้เหมือนคนอื่น คิดให้ เหมือนคนอื่น พูดให้เหมือนคนอื่น ซึ่งก็คือการสูญเสียปัจเจกภาพทั้งมวลของตัวเองไป และสูญเสีย ความสุขแท้ๆ ของชีวิต ผมเชื่อว่าที่จริงแล้วคุณมีความคิดความรู้สึกของคุณที่เป็นปัจเจกแตกต่างจากคนอื่น นี่เป็นสิ่ง ปกติธรรมดาของมนุษย์ทุกๆ คน เรามีประสบการณ์ต่อความเป็นจริงที่เป็นปรนัยของโลกมามากน้อย ไม่เท่ากัน และต่างแง่ต่างมุมกัน และเราก็มีความเป็นจริงที่เป็นอัตนัยคือ อารมณ์ ความรู้สึกส่วนตัว ที่ ใช้ตีความตอบโต้ต่อโลกที่แตกต่างกัน แต่ถามตัวคุณเองดูว่าคุณกล้าที่จะพูดความรู้สึกนึกคิดของคุณ ออกมาอย่างเปิดเผยหรือไม่ ถ้าหากว่ามันเกิดพิเศษแตกต่างไปจากเพื่อนของคุณ หรือแตกต่างไปจาก คนส่วนใหญ่ในสังคม คนทั่วไปมักไม่กล้า แต่นั่นแสดงความเป็นผู้ที่ขาดความชื่นชมในตนเอง เหตุผล มีสองประการหลักๆ เท่านั้น ก็คือ การขาดการได้รับความยกย่องชมเชยมาเมื่อสมัยเด็กๆ พร้อมกับการ ถูกตาหนิติเตียนลงโทษมามาก เมื่อคุณพูดหรือทาอะไรออกไปอย่างเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งสัมพันธ์กับ
ในแง่หนึ่งแล้ว นี่ไม่ใช่คาประชดประชันด้วยอารมณ์โกรธ เพราะการทาให้เด็กหยุดตั้งคาถามก็คือการ ทาลายศักยภาพทางปัญญาของเด็ก เป็นการลดศักยภาพที่สาคัญที่สุดที่มนุษย์มีอยู่ ที่ทาให้มนุษย์พิเศษจาก สัตว์ตามความคิดของอริสโตเติลลงให้ต่าสุดเท่าที่จะทาได้ ซึ่งก็คือการทาให้มนุษย์กลับลงไปอยู่ร่วมใน คุณสมบัติต่างๆ กับสัตว์อย่างสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่งนั่นเอง 3
108
การถูกบังคับควบคุม และการขาดเสรีภาพถ้าไม่ใช่ที่บ้านก็ที่โรงเรียน4 เด็กไทยขาดความเชื่อมั่นใน ตนเองอย่างมาก อย่าว่าแต่การจะพูดความคิดที่แตกต่างออกมาเลย แม้แต่การเดินคนเดียว ไปกินข้าว คนเดียวในมหาวิทยาลัยก็ยังรู้สึกผิดปกติเขินอาย เวลาเพื่อนขอให้ทาอะไร แม้ไม่อยากทาก็ไม่กล้า ปฏิเสธเพราะกลัวเสียเพื่อน บางทีก็น่าสมเพชตัวเองใช่หรือไม่ ที่ยอมปล่อยให้เพื่อนและสังคมมา ละเมิดสิทธิทุกอย่างของตัวเอง อยากแก้ไขตัวเองไหม อยากเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริงไหม ในวันนี้ ขอให้คุณรู้ว่าคุณต้องกล้า อย่ายอมให้ใครมามีอิทธิพลเหนือคุณอีกต่อไป หมดเวลา แล้วที่คุณจะเก็บความคิดของคุณไว้ข้างใน จงภาคภูมิใจ แสดงมันออกมา อย่ากลัวว่ามันจะผิด ยิ่งผิดก็ ยิ่งดี เพราะผิดเป็นครู แต่อย่ายอมให้ใครมาบอกว่าความคิดของคุณผิดโดยที่เขาไม่ยอมอธิบายว่าผิด อย่างไร เพราะนั่นคือการเป็นอันธพาลทางความคิด เมื่อมีใครไม่เห็นด้วยกับ คุณจงเข้าโต้เถียงเพื่อ ปกป้องความคิดของคุณ แต่ก็อย่าเชื่อมั่นในตนเองอย่างฝังหัวปิดหูปิดตา และกรุณาอย่าให้อารมณ์ โกรธเข้าครอบงา คุณเห็นแล้วว่าหนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยข้อโต้เถียงระหว่างนักปรัชญา แต่สิ่งที่สาคัญ ที่สุดคืออย่างเอา “ตัวตน” เข้าไปผูกยึดกับความคิดใดความคิดหนึ่งโดยเด็ดขาด5 โปรดเข้าใจว่า “ตัวตน” ของเราเติบโตไปกับความคิดที่แตกแขนง เชื่อมโยง และแก้ไขตัวมันเองไปเรื่อยๆ ประเด็นที่ สาคัญที่สุดคือ จงรักสิทธิต่างๆ ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิที่จะมีเสรีภาพทางความคิด และสิทธิที่จะมี ความสุขในเรื่องใดก็ตามที่ควรแก่เหตุผล “หลักสูตรแฝงเร้น” เป็นการวิเคราะห์เป้าหมายของการจัดการศึกษาโดยสังคม ของนักวิเคราะห์การศึกษา สายนีโอมาร์คซิสท์ (Neo-Marxist) ที่พยายามแสดงให้เห็นว่า การศึกษาไม่ได้มีเฉพาะส่วนที่เป็นหลักสูตรที่ แสดงเนื้อหาอย่างเปิดเผยเท่านั้น แต่จะมีส่วนที่เป็นเป้าหมายที่แอบซ่อนอยู่ ที่ไม่มีการแสดงไว้ในหลักสูตรที่ เป็นลายลักษณ์อักษรของเนื้อหาวิชา แต่จะเป็น “ระเบียบวิธีปฏิบัติในการเรียน” ที่ถูกออกแบบมาในทิศทาง ที่จาเพาะเจาะจง เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ในเชิงอานาจในรูปแบบหนึ่งๆ เช่น ในรูปแบบที่ครูเป็นผู้ทรง อานาจสูงสุด เป็นศูนย์กลางและตัดสินใจทุกอย่างในชั้นเรียน นักเรียนมีบทบาทเป็นผู้รับและคอยตอบสนอง อย่างเดียว เป็นต้น สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นจากการออกแบบวางแผนของผู้มีอานาจจัดการศึกษา แล้วก็ค่อยๆ กลายเป็นความเคยชินของครู จนในที่สุดก็กลายเป็น “วัฒนธรรม” ทางการศึกษาของชาติไปในที่สุด 4
การยึดตัวตนไว้กับความคิดอย่างฝังหัว ก็คือการใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล เป็นเครื่องหมายแสดงที่ชัดเจน ของความขาดความชื่นชมในตนเอง จนต้องอาศัยความคิดที่ตนเห็นว่า “ศักดิ์สิทธิ์” “สูงส่ง” มาสร้างคุณค่า ให้กับตนเอง และรู้สึกเจ็บปวดที่จะเห็นความคิดนั้นถูกโจมตี จนไม่อาจยอมรับการตรวจสอบวิพากษ์ใดๆ ด้วยใจเปิดรับอย่างแท้จริง มนุษย์ย่อมมีอารมณ์เป็นพื้นฐาน แต่เราเองก็ต้องตรวจดูอารมณ์ของเราด้วย ว่ามัน กีดกันเราออกจากการรับรู้ความเป็นจริงหรือไม่ ไม่ควรมีความเป็นจริงที่ “สูงส่ง” ใดๆ ที่หยุดการเรียนรู้ของ เรา หรือทาให้เราโกรธและอยากบังคับคนอื่นให้หยุดพูด ถ้ามีของเช่นนั้นเมื่อใด เราควรสงสัยแล้วว่า เราเอง คือผู้ที่แอบซ่อนความรู้สึกว่าตัวเองอ่อนแอด้อยค่า และโหยหาสิ่งที่มีอานาจมายกตนให้สูงเสมอ หรือ เหนือกว่าผู้อื่น 5
109
ในบทนี้เราได้อภิปรายถึง ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้สึกถึงความมีคุณค่าของตนเอง และ ความรู้สึกพึงพอใจต่อชีวิต เราได้สารวจเข้าไปในสิ่งที่เป็นความสุขและความต้องการต่างๆ ของชีวิต โดยอาศัยแนวคิดเรื่องชีวิตที่มีค่าและมีความสุขของอริสโตเติลเป็นแกนกลางในการวิเคราะห์ เราได้ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ทางปรัชญาและมโนทัศน์ทางจิตวิทยาเข้าด้วยกัน โดยผ่าน มโนทัศน์เรื่องความรู้สึกชื่นชมยกย่องในตนเอง เราได้เห็นบทบาทความสาคัญของการใช้ศักยภาพ และการพัฒนาศักยภาพ ต่อความรู้สึกดังกล่าว และบทบาทความสาคัญของเสรีภาพทั้งในระดับ ปรัชญาและระดับจิตวิทยา ศักยภาพที่สาคัญที่สุดในมนุษย์ก็คือศักยภาพทางปัญญา สิ่งที่เรายังคงต้อง หาทางอธิบายต่อไปก็คือ ความรู้สึกถึงความมีอานาจเหนือผู้อื่นที่เกิดขึ้นจากชัยชนะในการแข่งขันทาง สังคม และความต้องการที่เป็นด้านมืดของจิตใจ.
110
บทที่ 7 พัฒนาการแห่งจิตใจ เราชอบพูดกันว่า “ต่างคนก็ต่างจิตต่างใจ” เพื่อบ่งบอกว่ามนุษย์แต่ละคนนั้นแตกต่างกันไปใน ความรู้สึกนึกคิด ความชอบ รสนิยม ลักษณะทางอารมณ์ ฯลฯ ดังนั้นจงอย่าหวังให้ใครมาคิดอะไร หรือทาอะไรเหมือนอย่างที่เราทา และนี่ดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีคิดที่จะทาให้เรายอมรับคนอื่นอย่างที่เขา เป็นอยู่ แต่ถ้าเราถือเอาคาพูดนี่เป็นจริงเป็นจัง เราก็อาจจะสรุปไปว่า มนุษย์แต่ละคนแตกต่างกันไป อย่างอิสระ ไม่มีทิศมีทาง ใครจะคิดจะชอบอะไรไปในทิศทางไหนก็ได้ หรือเราอาจจะมีความคิดที่ ซับซ้อนขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง คือคิดว่า สิ่งที่แต่ละคนเป็น ย่อมจะเป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งภายนอก เช่น การเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมทางสังคมหรือวัฒนธรรม บวกกับอิทธิพลของสิ่งภายในอันได้แก่ กรรมพันธุ์ที่รับสืบทอดมาจากพ่อแม่ปู่ย่าตายาย แต่สิ่งเหล่านั้นเองก็สามารถที่จะแตกต่างกันไปอย่าง อิสระอีกเช่นกัน แม้ความคิดเช่นนั้นจะมีเหตุมีผลและซับซ้อนขึ้น แต่ก็ยังอาจเป็นการมองเห็นความ จริงเกี่ยวกับมนุษย์อย่างผิวเผิน เข้าไม่ถึงความลึกซึ้งบางอย่างเกี่ยวกับตัวเราเองและผู้อื่น ดังนั้นขอให้ เราตั้งข้อสงสัยว่า จริงหรือว่ามนุษย์แต่ละคนแตกต่างกันไปอย่างอิสระ หรือต่างกันไปเพียงแค่ตาม อิทธิพลของกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม เป็นไปได้หรือไม่ว่า (1) ภายใต้ความแตกต่างนั้น จะมีบางสิ่ง บางอย่างที่เป็นลักษณะที่มนุษย์ทุกคนมีร่วมกันอย่างเป็นสากล หรือ (2) เป็นไปได้หรือไม่ว่าความ แตกต่างหรือความเหมือนที่อาจมีนั้น เกิดขึ้นและพัฒนาไปอย่างเป็นขั้นตอน มีระเบียบ มีรูปแบบและ เหตุผลบางประการรองรับอยู่เบื้องหลัง จิตวิทยาเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ คือด้วย วิธีการทดลองและสุ่มตัวอย่าง และมีแขนงหนึ่งของวิชาจิตวิทยาที่ศึกษาประเด็นคาถามในย่อหน้าที่ แล้ว และเสนอคาตอบที่น่าสนใจที่เราอาจนามาใช้อธิบายบุคลิกภาพ ความคิดความอ่านและความ ต้องการในชีวิตของเรา เพื่อให้เราเข้าใจตัวเราเองและผู้อื่นมากขึ้น คือแขนงที่เรียกว่าจิตวิทยา พัฒนาการ (developmental psychology) นักจิตวิทยาที่ทางานในแขนงนี้ศึกษาแง่มุมของบุคลิกภาพ และความรู้สึกนึกคิดของเราที่แปรเปลี่ยนไปตามช่วงวัย พยายามมองลงไปภายใต้ความแตกต่าง หลากหลาย เพื่อหาระเบียบแบบแผนของการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะในเรื่องของการใช้สติปัญญาใน
111
การคิดเพื่อเข้าใจความเป็นจริงของโลก (cognition) ในเรื่องของการใช้เหตุผลทางศีลธรรม (moral reasoning) คือการตัดสินดีชั่วถูกผิด และในเรื่องของความต้องการและแรงจูงใจในชีวิต (need and motivation) พวกเขาค้นพบว่าในช่วงเวลาต่างๆ ของการเติบโตของเรา ความรู้สึกนึกคิดของเราในเรื่อง ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปอย่างเป็น “พัฒนาการ” ตามความหมายที่เราได้กล่าวถึงในบทที่แล้ว คือ มุ่ง ไปสู่ลักษณะทีซ่ ับซ้อนกว่าเดิม มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสูงขั้นขึ้นในคุณภาพ มี “คุณค่า” หรือ ความหมายที่สูงขึ้นไปกว่าเดิม ดังนั้นในสาขาจิตวิทยาพัฒนาการ เราจะพบกับความคิดทางปรัชญา หลายๆ ความคิดที่เราเคยศึกษามาแล้วก่อนหน้า นักจิตวิทยาพัฒนาการเป็นนักจิตวิทยามนุษยนิยม (humanistic psychology) คือมองมนุษย์ว่า เป็นมนุษย์ตามความหมายทางปรัชญา ไม่ได้มองมนุษย์ว่าเป็นเหมือนนกพิราบหรือหนูหรือสุนัข เหมือนนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม(behaviorist psychology) ที่นาสัตว์มาทดลองเพื่อศึกษาความ เชื่อมโยงของ “สิ่งเร้า” และ “การตอบสนอง” เพื่อสร้างเงื่อนไข “การเรียนรู้” เพื่อให้เกิดพฤติกรรม ตามที่นักจิตวิทยาต้องการ ซึ่งมุ่งอธิบายมนุษย์ตามแบบจาลองที่ได้มาจากการศึกษาสัตว์ นักจิตวิทยา มนุษยนิยมมองมนุษย์ว่ามีอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเอง มีปัญญาที่จะคิดสร้างความเข้าใจในความ เป็นจริงของโลก มีความคิดทางศีลธรรม มีความต้องการในความดีงาม ความงอกงามในชีวิต เหนือไป กว่าความต้องการทางกายภาพ และความต้องการตามสัญชาติญาณอย่างสัตว์ (อย่างไรก็ตามในประวัติศาสตร์ของวิชาจิตวิทยา ทฤษฎีจิตวิทยาแบบพฤติกรรมนิยมเป็น ทฤษฎีที่ตอบสนองต่อเกณฑ์ของความเป็นวิทยาศาสตร์อย่างสุดโต่งที่สุด ด้วยการถือว่าจิตมนุษย์เป็น กล่องดา คือเป็นสิ่งที่มองจากภายนอกไม่เห็น และยอมรับเฉพาะข้อมูลที่เห็นได้ตรงๆ คือ “สิ่งเร้า” ซึ่ง หมายถึงสิ่งทางกายภาพที่มากระทบต่ออวัยวะของสิ่งมีชีวิต และ “การตอบสนอง” ซึ่งหมายถึง พฤติกรรมที่สิ่งมีชีวิตกระทาออกไปภายนอก ซึ่งทั้งสองอย่างเป็นสิ่งสามารถสังเกตเห็นได้โดย สาธารณะชน หมายความว่า ใครๆ ก็สามารถเห็นได้รับรู้ได้เท่าๆ กันและตรงกัน ทฤษฎีนี้จึงมีสถานะ พิเศษที่ต่างจากทฤษฎีประเภทอื่นๆ ที่ยอมรับข้อมูลของสิ่งที่เกิดขึ้นในจิต ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิดและ จิตนาการ ซึ่งทฤษฎีนี้ได้กลายเป็นกระบวนทัศน์ (หมายถึง กรอบวิธีคิดที่ใช้เป็นหลัก) ของ สังคมศาสตร์ซึ่งพาไปสู่วิธีคดิ แบบที่ไม่ว่าจะพูดถึงอะไรก็ต้องมีตัวชี้วัด แม้แต่สิ่งที่เป็นนามธรรมอย่าง ที่สุดอย่างความคิดเรื่องคุณธรรมความดีของผู้คน กลายเป็นวิชาพฤติกรรมศาสตร์ และกลายเป็น กระบวนทัศน์ของวิธีการสอนและการประเมินผลการศึกษา ที่ทาให้เกิดการยกเลิกการสอบด้วย ข้อสอบอัตนัย แล้วเปลี่ยนมาเป็นข้อสอบแบบปรนัยที่เราเคยอ้างถึงมาแล้ว สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ความ เป็นวิทยาศาสตร์ตรงนี้เคยถูกนามาใช้เพื่อผลทางการเมืองเพื่อทาให้เด็กไทยเรียนรู้แบบจาเพียงอย่าง เดียว ไม่ต้องเข้าใจ หรือทาพฤติกรรมออกมาภายนอกโดยไม่ต้องเกิดจากความซาบซึ้งทางจิตใจภายใน คุณควรลองคิดย้อนไปถึงความคิดของนิตซ์เช่ว่าเขาเสนอเรื่องความรู้ไว้อย่างไร)
112
แง่มุมแรกของความเป็นมนุษย์ที่นักจิตวิทยาพัฒนาการเข้าไปศึกษาก็คือ ความสามารถทาง พุทธิปัญญาของมนุษย์ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการคิด การเรียนรู้ความเป็นจริงและการแก้ปัญญา ผู้ที่บุกเบิกและมีอิทธิพลสูงสุดในแขนงนี้ก็คือนักจิตวิทยาชาวสวิสซ์ชื่อเพียเจ (Jean Piaget ค.ศ. 18961980) ผู้นาเสนอทฤษฏีขั้นตอนพัฒนาการทางพุทธิปัญญาของมนุษย์ ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลง ของวิธีการคิดในการสร้างความเข้าใจความเป็นจริงของโลก ที่พัฒนาขึ้นเป็นลาดับขั้นจากวัยเด็กมาสู่ วัยผู้ใหญ่ โดยจะเติบโตจากวิธีคิดแบบง่ายๆ ตามวิธีที่สิ่งต่างในโลกตอบโต้ต่อการกระทาของร่างกาย และปรากฏต่อสัมผัส เช่น การเรียนรู้โลกด้วยการอมและการเขย่าดูของเด็กทารก มาสู่วิธีคิดที่ซับซ้อน และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดสูงสุดในวิธีการคิดแบบวิพากษวิธีและแบบวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างที่น่าสนใจก็คือวิธีการคิดของเด็กๆ เช่น เพียเจทาการทดลองที่แสดงให้เห็นว่า เด็กเล็กๆ จะยัง ไม่สามารถคิดประมวลคุณสมบัติหลายๆ อันเข้าด้วยกันได้ และพวกเขาจะคิดว่าความเป็นจริงเป็นไป ตามลักษณะปรากฏที่เด่นๆ ของสิ่งนั้นๆ เช่น ถ้าคุณนาเหยือกแก้วน้าส้มที่มีรูปทรงเดียวกันและบรรจุ นาส้มในปริมาตรที่เท่ากันมาให้เด็กดู ภาพที่ดูเหมือนกันจะทาให้เด็กตัดสินว่าน้าส้มในเหยือกทั้งสอง มีปริมาตรเท่ากัน แต่ถ้าคุณเทน้าส้มจากเหยือกหนึ่งไปสู่ภาชนะแก้วใบใหม่ที่เป็นทรงแคบแต่สูง แม้ คุณจะเทต่อหน้าเด็ก ภาพที่เกิดขึ้นจะต่างออกไปจากเดิม และเด็กจะตัดสินว่าน้าส้มที่อยู่ในภาชนะที่ แคบแต่สูงนั้นมีปริมาณมากกว่าในเหยือกที่ยังไม่ได้เทไปไหน แสดงให้เห็นว่าเด็กยังไม่สามารถคิด ชดเชยความกว้างที่ลดลงด้วยความสูงที่มากขึ้นได้ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นอีกนิดหนึ่ง เขาจะสามารถทาการ คิดชดเชยดังกล่าวได้ และจะเกิดการเรียนรู้กฎการคงตัวในปริมาตรของสสารที่เปลี่ยนรูปร่างไป ซึ่ง เป็นพัฒนาการไปสู่วิธีการคิดและประสิทธิภาพในการเข้าใจความเป็นจริงของโลกที่ก้าวหน้าขึ้น ผู้อ่านทุกคนน่าจะผ่านขั้นตอนของพัฒนาการทางพุทธิปัญญามาสู่ขั้นสุดท้ายในลาดับของเพีย เจแล้ว คือในขั้นของการคิดในเชิงของความสัมพันธ์ทางตรรกะแบบอุปนัย (induction) หมายถึงการ สรุปหลักการสากลจากตัวอย่างที่เห็นซ้าจานวนมากๆ และแบบนิรนัย (deduction) หมายถึง ความสัมพันธ์ในเชิงความครอบคลุมหรือการตัดขาดจากกันระหว่างมโนทัศน์หรือความคิดต่างๆ และ ในเชิงของความสามารถในการสร้างข้อสมมติฐาน หมายถึงสิ่งที่ถ้าสมมติว่าจริงจะสามารถนามาใช้ อธิบายปรากฏการณ์ที่เราสงสัยได้ และตรวจสอบเพื่อปรับเปลี่ยนข้อสมมติฐานไม่ว่าจะในแบบวิ พากษวิธีหรือในแบบวิทยาศาสตร์ แต่เราก็อาจมีความสามารถในระดับนี้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าเราถูก กระตุ้นให้ใช้และพัฒนาประสิทธิภาพของการคิดของเราไปไกลเพียงไร นี่ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพเงื่อนไข ของสิ่งแวดล้อมหรือนิสัยของตัวเราเอง โสกราตีสพยายามกระตุ้นชาวเอเธนส์ให้ใช้ความสามารถทาง สติปัญญาของตนอย่างสูงที่สุด คือให้เชื่อในสิ่งต่างๆ เพราะกาลังทางปัญญาในการค้นหาความเป็น จริงของเราจริงๆ ไม่ใช่เชื่อเอาอย่างง่ายๆ เพราะเห็นผู้คนยึดถือเอาอย่างนั้น เพราะไม่ใช่ว่าเมื่อเราก้าว พ้นความเป็นเด็กแล้ว เราจะมีความสามารถทางสติปัญญาที่จะเข้าถึงความเป็นจริงได้เท่าๆ กัน ซึ่งเราก็ ได้เห็นแล้วว่า วัฒนธรรมมีบทบาทอย่างไรต่อการเติบโตทางสติปัญญาของคนในสังคม ดังนั้นย่อม
113
เป็นไปได้ว่า เรามีความคิดความเชื่อที่ต่างกันเพราะเราใช้ความสามารถทางปัญญาของเราไม่เท่ากัน และเข้าถึงความเป็นจริงได้ลึกซึ้งและมั่นคงในความคิดความเชื่อในลักษณะที่ต่างกัน เช่น ความมั่นคง เพราะตนเองได้ตรวจสอบแล้วอย่างละเอียดถ้วนถี่ ย่อมต่างจากความมั่นคงเพราะเชื่อไปเองอย่างฝังหัว เพราะมีอารมณ์ไปผูกพัน ทฤษฎีของเพียเจไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกับเรา ผู้ซึ่งอยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือเป็นคนหนุ่ม คนสาว มากนัก แต่การค้นคว้าทดลองที่นักจิตวิทยารุ่นต่อมานาโดย วิลเลียม เพอรี (William Perry) ทา เป็นสิ่งที่เกี่ยวกับเราโดยตรง เพอรี่ต้องการที่จะรู้ว่านักศึกษาในมหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ความเชื่อในเรื่องธรรมชาติเฉพาะตัวของ “ความเป็นจริง” (Reality) ไปอย่างไรบ้างในช่วงชั้นปีต่างๆ ในระดับปริญญาตรี ซึ่งความเชื่อนี้จะสัมพันธ์อยู่กับความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ (Critical Thinking) เขาพบว่าการเปลี่ยนแปลงสามารถสรุปลงมาเป็นขั้นตอนใหญ่ๆ ได้ 3-4 ขั้นตอน คือในตอนแรก เราจะมีทัศนคติแบบทวินิยม (dualism) คือเห็นว่าความจริงความเท็จเป็นของ ที่ตัดขาดแยกกันได้อย่างสมบูรณ์ ทุกอย่างมีคาตอบที่ตายตัว มีคนที่เป็นผู้รู้ความจริงที่เขาสามารถบอก เราได้อย่างเด็ดขาด ว่าอะไรเป็นจริง อะไรเป็นเท็จ เรามีหน้าที่เพียงแค่คอยจดจาและเชื่อตามเท่านั้น นี่ เป็นระดับที่เราเชื่ออะไรอย่างฝังหัวและไม่มีการคิดวิพากษ์วิจารณ์เลย ในขั้นตอนต่อไป เราจะเริ่มพบว่ามีอะไรอีกมากมายที่ดูเหมือนจะไม่มีใครรู้จริงๆ เราจะคิดว่า นอกจากสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงที่เด็ดขาดซึ่งมีอยู่ไม่มากนักแล้ว เหนือไปจากนั้นทั้งหมดเป็นเพียงแค่ ความคิดเห็น คุณจะใช้ความรู้สึกจากภายในของตัวเองตัดสิน และคิดว่าทุกคนมีสิทธิที่จะตัดสินทุก อย่างไปตามใจของตนเอง นั่นก็คือ เราจะคิดว่าความจริงเป็นเรื่องอัตนัยอย่างสมบูรณ์ คือเป็นอัตนัย นิยม (subjectivism) นี่เป็นขั้นที่เราเห็นความแตกต่างขัดแย้งของความคิดความเชื่อต่างๆ แต่ไม่รู้ว่าจะ จัดการกับมันอย่างไร จึงยกให้เป็นอิสระของคนแต่ละคน ในขั้นต่อไปอีก เราจะเห็นว่าความคิดความเชื่อไม่ใช่สิ่งที่เสนอออกมาลอยๆ แล้วแต่ใจจะ จินตนาการ แต่มีการแสวงหาพยานหลักฐานมาสนับสนุน แต่ถึงกระนั้นก็ยังแตกต่างกันไปได้หลาย ทาง เราจะมีทัศนคติแบบสัมพัทธนิยม (relativism) คือเห็นว่าใครอยากคิดอยากเชื่ออะไรก็ได้ แล้วแต่ ว่าจะหาอะไรมาเป็นพยานหลักฐานสนับสนุน ความเป็นจริงที่พิสูจน์ได้แล้วอย่างเด็ดขาดไม่มี มีแต่ ทฤษฎี และทฤษฎีมีให้เลือกเอาตามใจชอบ นี่คือการที่เราเริ่มมีความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ แต่ยังเข้าไม่ ถึงหลักการที่แท้จริงของมัน (และนี่คือความคิดแบบของพวกโซฟิสต์ในสมัยกรีกที่เราเคยพูดถึง มาแล้ว) ในขั้นตอนสุดท้าย เราจะมีทัศนคติแบบสัมพัทธนิยมแบบผูกพันตัวเอง (committed relativism) ต่อความจริง คือเราจะเห็นว่าความเป็นจริงของโลกเป็นสิ่งที่ซับซ้อนเกินกว่าที่ทฤษฎีหนึ่ง ทฤษฎีใดจะสามารถสรุปรวบยอดได้ แต่ละทฤษฎีจะมองความเป็นจริงจากแง่มุมที่ต่างกัน แต่ละ
114
ทฤษฎีก็มีขอบเขตความสามารถในการอธิบายที่มากน้อยต่างกัน และมีนัยและความหมายต่อการ ดาเนินชีวิตของเราในทิศทางที่ต่างกัน เรามีหน้าที่ที่จะต้องคัดเลือก คิดเชื่อมโยงแง่มุมของทฤษฎีต่างๆ เข้าหากัน สร้างความครอบคลุมให้มากที่สุดและให้มีนัยหรือความหมายต่อการดาเนินชีวิต ที่จะทาให้ เรามีชีวิตอย่างมีค่ามากที่สุด นี่คือการที่เรามีความสามารถในการคิดวิพากษ์วิจารณ์สูงสุด เข้าถึง หลักการที่รองรับสถานะทางญาณวิทยา (epistemological status) ของความเชื่อ อันได้แก่ปัจจัยที่ กาหนดน้าหนักของความน่าเชื่อถือ ของความคิดความเชื่อต่างๆ และความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันขึ้น เป็นระบบ และเรามองเห็นถึงความผูกพันของการดาเนินชีวิตของเรา ต่อระบบความคิดความเชื่อที่เรา เลือกยึดถือ เพอรีท่ าการศึกษากับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยระดับชั้นยอดของอเมริกา ซึ่งมีมาตรฐานทาง การศึกษาต่างจากของเรามาก ทาให้ไม่สามารถนามาเปรียบเทียบทานายได้ว่านักศึกษาในมหาวิทยาลัย ของไทยในระดับชั้นปีใดจะมีพัฒนาการอยู่ขั้นใด (เขานาเสนอผลการศึกษาของเขาในปี ค.ศ. 1970 และเท่าที่ผมรู้ ยังไม่มีการศึกษาแบบเดียวกันนี้ในสังคมไทย) จากเค้าโครงที่ให้มาคุณอาจจะพอรู้ว่า ขณะนี้คุณอยู่ในระดับใด และขอให้คุณรอดูไปเองว่าในสี่ปีของการศึกษาในมหาวิทยาลัย ความเชื่อ เรื่องความจริงของคุณจะพัฒนาไปอย่างไร วัฒนธรรมเองก็เป็นตัวแปรที่สาคัญ เมื่อมองดูวัฒนธรรม ทางปัญญาของไทยแล้ว เป็นไปได้ว่าอาจต้องรอถึงการศึกษาระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก เราจึง จะพัฒนาไปถึงจุดสูงสุดตามเค้าโครงพัฒนาการความคิดวิพากษ์วิจารณ์ของเพอรี่ ประเด็นของเพอรี่ก็ คือความหลากหลายและความลึกซึ้งของความรู้ที่นักศึกษาได้เรียนรู้มากขึ้นๆตามระดับชั้นปี มีผลต่อ พัฒนาการของทัศนคติต่อความจริงและความสามารถในการคิดวิพากษ์วิจารณ์ แต่ที่จริงแล้วตัว ทัศนคติต่อความจริงและความสามารถในการคิดวิพากษ์วิจารณ์เอง ก็สามารถมีผลต่อคุณภาพของการ เรียนรู้เช่นกัน คนที่มีจิตสานึกเชิงวิพากษ์วิจารณ์สูงจะเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจในเหตุผลและหลักการ และ นามาวิเคราะห์เปรียบเทียบ มากกว่าเพื่อจดจาไว้นาไปใช้สอบหรือทางาน ดังนั้นเขาจะเรียนรู้ได้ดีใน วิชาที่มีเนื้อหาในระดับทฤษฎี แต่ก็อาจเรียนไม่ดีในวิชาที่มีแต่การให้ข้อมูลที่กระจัดกระจายไม่มี เหตุผลและหลักการทางทฤษฎีรองรับ และถ้าคุณเคยผ่านการคิดแบบวิพากษวิธีของโสกราตีสมา พอสมควรคุณก็สามารถที่จะมีความคิดในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ได้ โดยไม่ต้องรอเรียนรู้ทฤษฎีและความรู้ ขั้นสูงของวิชาเฉพาะต่างๆในมหาวิทยาลัย ดังนั้นคุณควรลองหาบทสนทนาอื่นของโสกราตีส นอกเหนือไปจาก อพอลโลจี และไครโต มาอ่าน แล้วคุณจะพบว่าคาถามของโสกราตีสและการคิด แบบวิพากษวิธีของเขาจะท้าทายให้คุณต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการคิด และคิดได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้นอย่าง
115
ไม่น่าเชื่อ สรุปก็คือการพัฒนาไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นอัตโนมัติ แต่เกิดขึ้นจากการถูกกระตุ้น ถูกท้าทาย ให้คิดไปให้ไกลกว่าเดิม1 แง่มุมต่อไปของความเป็นมนุษย์ที่นักจิตวิทยาพัฒนาการเข้าไปศึกษาก็คือ การให้เหตุผลและ การสร้างข้อตัดสินทางศีลธรรม ผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ลอเร็นซ์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg ค.ศ. 1927-1987) เขาศึกษาพัฒนาการในการให้เหตุผลต่อข้อตัดสินทางศีลธรรม จากวัยเด็กมาสู่วัย ผู้ใหญ่ เช่นเดียวกับเพียเจ เขาพบว่า ในวัยเด็กขั้นต้น เหตุผลที่เด็กให้จะเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่เด่น ที่สุด คือการลงโทษและการให้คาชมเชยของพ่อแม่ ขอบเขตของความเสียหาย หรือของสิ่งที่น่า ปรารถนา เช่น เด็กจะคิดว่า ถ้าทาให้เกิดความเสียหายมาก ก็ผิดมาก หรือถ้าทาให้เกิดสิ่งที่พ่อแม่ ปรารถนามาก ก็ถูกมาก/ดีมาก พัฒนาไปสู่ความคิดที่เป็นนามธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเรื่องของเจตนา คือเด็กจะสามารถคิดต่อไปได้ว่า ถึงทาให้เกิดความเสียหาย แต่ถ้าไม่มีเจตนาก็ไม่ผิดมากเท่ากับการ ไม่ได้ทาให้เกิดความเสียหายเลยแต่มีเจตนาที่ไม่ดี และพัฒนาต่อไปถึงขั้นของการเชื่อว่าสิ่งที่เป็น โดยปกติแล้ว ความสามารถในการคิดวิพากษ์วิจารณ์ปรากฏอย่างสูงในผู้ที่ศึกษาในสาขาวิชาปรัชญา และ สาขาวิชาที่คาบเกี่ยวกับวิชาปรัชญา ในสาขาอื่นๆ ที่ค่อนข้างห่างออกไปนั้นต้องรอให้เป็นการศึกษาขั้นสูง มากๆ เช่น ระดับปริญญาเอก ซึ่งจะมีการโต้เถียงตรวจสอบสถานะทางญาณวิทยาของความรู้ความเชื่อของตัว วิชาอย่างหนัก ผู้เรียนจึงจะเกิดความสามารถในการคิดวิพากษ์วิจารณ์อย่างเป็นจริงเป็นจัง แต่ก็มีความ พยายามในสังคมตะวันตกที่จะทาให้เกิดความสามารถในการคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้เร็วที่สุดที่จะเร็วได้ ใน ผู้เรียนวิชาชีพอื่นๆ ซึ่งอาจทาด้วยการทาวิชาปรัชญาให้เป็นวิชาการศึกษาทั่วไปในมหาวิทยาลัย หรือการ พยายามถ่ายโอนเอาวิธีการของวิชาปรัชญาไปใช้ในวิชาอื่นๆ ซึ่งย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะวิชาอื่นนั้นโดย ธรรมชาติแล้วเน้นการถ่ายทอดตัวเนื้อหาความรู้ มากกว่าการโต้เถียงเรื่องความน่าเชื่อถือของความรู้หรือของ กระบวนการหาความรู้ และผู้ทสี่ อนเนื้อหาวิชาก็มักจะไม่ใช่ผู้ที่จะสามารถตั้งข้อสงสัยต่อเนื้อหาที่ตนสอนได้ อย่างเป็นเรื่องเป็นราว แต่การวิจัยอย่างเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้ในโลกตะวันตก โดยนักจิตวิทยาสาขาพุทธิ ปัญญานิยมก็ทาให้เกิดความก้าวหน้าไปได้พอสมควร แต่ก็ยังอาจมีการโจมตีได้ว่า การดึงเอาตัววิธีการของ วิชาปรัชญาออกจากเนื้อหาของปรัชญา เพื่อไปใช้กับวิชาเฉพาะนั้น ในที่สุดแล้วจะได้ประโยชน์อะไรที่ แท้จริง เพราะวิชาปรัชญามองชีวิตและความเป็นจริงในภาพรวม แต่วิชาเฉพาะมองความเป็นจริงอย่างเฉพาะ ด้าน แยกส่วน ตอบปัญหาใดๆ ก็เฉพาะจากมุมมองแคบๆ ของตน ฉะนั้นต่อเมื่อวิชาปรัชญาเข้าเชื่อมต่อกับ วิชาเฉพาะเหล่านั้นแล้วเท่านั้น ที่มันจะก้าวข้ามความคับแคบของมุมมองของตนเองได้ 1
เมื่อวงการอุดมศึกษาไทยพยายามเดินตามโลกตะวันตกในเรื่องนี้บ้าง เราก็ประสบปัญหาสองประการ หนึ่ง นักวิชาการทางการศึกษาคิดว่าตนเองสามารถทาเรื่องนี้ได้โดยไม่ต้องพึ่งนักปรัชญา ซึ่งแน่นอนว่า เป็น ความหลงผิดอย่างที่สุด สองวัฒนธรรมไทยและระบบอานาจในสังคมไทยปัจจุบันจะไม่มีวันยอมให้นักเรียน นักศึกษาไทยมีความสามารถในการคิดวิพากษ์วิจารณ์เป็นอันขาด ดังนั้น ถือได้ว่า การเรียนการสอนเพื่อ พัฒนาความคิดวิพากษ์วิจารณ์ ยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย นอกวงของวิชาปรัชญา
116
ข้อตกลงยอมรับกันในสังคม เช่น ขนบธรรมเนียม จารีต กฎหมาย ผลประโยชน์ของสังคม คือสิ่งที่ เป็นตัวตัดสินความถูกผิดทางศีลธรรม จนมาถึงจุดสูงสุดของพัฒนาการ คือขั้นของการเคารพใน หลักการและการยึดมั่นในคุณธรรม เช่น ความยุติธรรม มนุษยธรรม และการมีมโนธรรมอย่างเป็น อิสระจากสังคม ตามแบบของค้านท์ สิ่งที่น่าสนใจที่โคลเบิร์กพบก็คือ ไม่ใช่ว่าผู้ใหญ่ทุกคนจะพัฒนาการคิดเหตุผลทางศีลธรรม ไปถึงขั้นสูงสุด คนส่วนใหญ่จะติดอยู่ที่ขั้นของสิ่งที่เป็นข้อตกลงและเป็นที่ยอมรับร่วมกันในสังคม เช่น ผลประโยชน์ของสังคม หรือผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่หรือจารีตและกฎหมาย โดยจะใช้สิ่ง เหล่านี้เป็นเกณฑ์ตัดสินอย่างเด็ดขาดตายตัว ในขณะที่ คนที่เข้าถึงการใช้เหตุผลทางศีลธรรมที่สูงกว่า นั้น พร้อมที่จะปฏิเสธกฎหมายหรือจารีตของสังคม หากมันสร้างให้เกิดความอยุติธรรมหรือละเมิดต่อ หลักมนุษยธรรม โคลเบิร์กพบว่าการเปลี่ยนวิธีคิดทางศีลธรรมจะเป็นไปแบบตามลาดับขั้น จากขั้นที่ต่ากว่า ไปสู่ขั้นที่สูงกว่าหนึ่งขั้น ไม่มีการกระโดดข้ามขั้น ไม่มีการก้าวถอยหลังมาสู่การใช้เหตุผลที่ต่ากว่า และเขาพบว่าคนจะเปลี่ยนระดับของการใช้เหตุผลทางศีลธรรมไปสู่ขั้นที่สูงกว่าเดิม ก็ต่อเมื่อเขาต้อง เผชิญหน้ากับปมปัญหาทางจริยธรรมที่ท้าทายวิธีคิดในขณะนั้นของเขาเท่านั้น ในแง่นี้วรรณกรรมจึง เป็นเครื่องมือของการพัฒนาการคิดเหตุผลทางศีลธรรมที่ดีที่สุด เพราะเราจะถูกนาเข้าไปสู่สถานการณ์ ทางศีลธรรมต่างๆ ที่ท้าทายให้เราคิดว่าตัวละครควรจะตัดสินใจทาอย่างไรและด้วยเหตุผลอะไร เหตุผลของเราจะถูกท้าทายด้วยเหตุผลของตัวละคร ที่จะทาให้เราเห็นความถูกต้องของเหตุผลใน ระดับที่สูงขึ้น และรับมาเป็นวิธีคิดของเราต่อไป วรรณกรรมคลาสสิคของวิคเตอร์ ฮูโก เรื่อง Les Miserables (แปลเป็นภาษาไทยโดย “จูเลียต” ในชื่อว่า “เหยื่ออธรรม”) แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของระดับของความคิดทางศีลธรรมที่ต่างกัน ระหว่างตัวละครสองตัว ที่พัฒนามาเป็นความแตกต่างในความหมายของชีวิต คือความคิดต่อคุณค่า ของความมีอยู่ในตนเอง คนหนึ่งให้ความหมายของชีวิตตนเองกับการปกป้องกฎหมายและสถาบัน ของสังคม อีกคนหนึ่งให้ความหมายของชีวิตของตนเองกับการปกป้องมนุษยธรรม สาหรับคนที่สอง กฎที่พระเจ้าเปิดเผยต่อเขาในความรักและมนุษยธรรม ย่อมถูกต้องสูงส่งกว่ากฎที่ตราขึ้นในสังคม หรือตราขึ้นโดยสถาบันทางกฎหมายของมนุษย์ เขาละเมิดกฎหมายเพื่อมนุษยธรรมที่เขารับรู้ด้วยใจ และมโนธรรมส่วนตัว เมื่อสังคมอยุติธรรมต่อคนจน เขาจึงขโมยขนมปังมาให้ตนเองและเด็กยากจน กินเพื่อประทังชีวิต เมื่อถูกจับก็ดิ้นรนหนีจากคุกและขโมยทรัพย์สมบัติของโบสถ์มาเพื่อตั้งตัว ครั้ง เดียวที่เขาทาร้ายผู้อื่นก่อน ก็คือตีบาทหลวงที่ตื่นมาพบเขาขณะกาลังจะขโมยจนสลบ และเมื่อได้รับ การให้อภัย เขาก็ตั้งใจว่าจะไม่ทาร้ายใครอีกต่อไป เขาไม่ยอมทาร้ายตอบแม้กับบุคคลที่หนึ่งซึ่งมอง เขาเป็นอาชญากร และทาทุกวิถีทางที่จะไล่ล่าเอาตัวเขากลับไปรับโทษที่สังคมกาหนด คนผู้นี้ยกชีวิต
117
ของตนให้กับการปกป้องกฎหมาย ทาหน้าที่กันคนชั่วร้ายออกจากคนดี สาหรับเขาคนดีและคนชั่ว สามารถบ่งชี้แยกจากกันได้อย่างเด็ดขาด คนดีคือคนที่เคารพกฎหมายและจารีตศีลธรรม คนชั่วคือคน อย่างเช่นขโมยและโสเภณี ซึ่งละเมิดกฎหมายและจารีตศีลธรรม เขาเห็นว่าสถาบันที่มนุษย์ตั้งขึ้นมา เพื่อปกป้องการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นปกติสุขในสังคม ย่อมถูกต้องอย่างไม่มีข้อสงสัย เขาไม่เคยสนใจ ความอยุติธรรมที่คนยากจนต้องได้รับ เขาพร้อมจะปกป้องพลเมืองดี แต่เมื่อเห็นโสเภณีถูกทาร้าย รังแกเขากลับคิดว่าสมควรแล้ว แต่ในการไล่ล่าตัวบุคคลที่สอง ความเชื่อของเขาก็ถูกสั่นคลอนทีละ น้อย เมื่อเขาต้องรับรู้ต่อมนุษยธรรมของอาชญากรขโมยขนมปังที่เขาไล่ล่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การไล่ ล่านี้ดาเนินไปจนปลายชีวิตของคนทั้งสอง และลงเอยด้วยการยุติภาระกิจและชีวิตของตนเองของผู้ ตามล่า เพราะตระหนักในที่สุดว่าสิ่งที่ตนยึดถือมาตลอดนั้นไม่ใช่ความถูกต้องทางศีลธรรมที่แท้จริง คุณคงพ้นจากวิธีคิดทางศีลธรรมแบบเด็กๆ ไปแล้ว แต่ถ้าคุณยังอยู่ในระดับที่โคลเบิร์กเรียก ว่า ระดับสิ่งที่เป็นข้อตกลงและยืดถือร่วมกันของสังคม (ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะอยู่ตรงนี้) นั่นก็คือ ถ้า คุณยังเชื่อในความถูกต้องอย่างสมบูรณ์ของกฎหมายขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีและสถาบันทาง สังคม การอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ย่อมท้าทายคุณวิธีคิดของคุณ และช่วยให้คุณพัฒนาการคิดทาง ศีลธรรมขึ้นไปสู่ขั้นที่สูงขึ้น หรือขอให้ลองอ่านวรรณกรรมขนาดสั้นเรื่องนายกับทาส (Man and Master) ของตอลสตอย (Leo Tolstoy ค.ศ. 1828-1910) ดูสักนิด ตอลสตอยประกาศอย่างชัดเจนว่า หน้าที่ของวรรณกรรมคือการยกระดับความคิดและความรู้สึกทางศีลธรรมของสังคม แต่เขาใช้การ กระตุ้นทางอารมณ์มากกว่าการกระตุ้นทางปัญญา ผลงาน Les Miserables เป็นวรรณกรรมขนาดใหญ่ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมสอนศีลธรรมที่ยอดเยี่ยมที่สุดของยุโรป และขอให้นึกถึงนิทาน เรื่องเจ้าชายผู้แสนสุขของออสการ์ ไวด์ที่เราเคยกล่าวถึงไปแล้ว หรือนิทานเรื่องเด็กขายไม้ขีดไฟของ แอนเดอร์สัน (Anderson, Hans Christian. ค.ศ. 1805-1875) ที่เป็นที่รู้จักกันดี ลองคิดดูว่านิทานสอง เรื่องนี้ช่วยยกระดับความรู้สึกทางศีลธรรมของเราได้อย่างไร2 มีความคิดที่ไร้สาระของนักสังคมศาสตร์ที่มองว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคมคือ การสร้างมนุษย์ให้มี คุณธรรมจากภายใน พวกเขากล่าวอ้างว่า ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ฟรอยด์ วัฒนธรรม จารีต ประเพณี กฎระเบียบของสังคม คือสิ่งที่พ่อแม่ผู้ใหญ่ และสังคม พยายามปลูกฝังให้กลายเป็นซูเปอร์อีโก้ในเด็ก และ กลายเป็น “มโนธรรม” เมื่อโตขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ทาให้มนุษย์กลายเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ แต่พวกเขากลับไม่รู้ หรือแกล้งทาเป็นไม่รู้ ว่าฟรอยด์บอกว่า วัฒนธรรม จารีต ประเพณี บรรทัดฐานต่างๆ ทางสังคม คือสิ่งที่ทา ให้มนุษย์เป็นโรคจิต (ฟรอยด์เป็นจิตแพทย์) สาหรับฟรอยด์ กระบวนการขัดเกลาทางสังคมคือความพยายาม ที่จะเอาอานาจจากภายนอกเข้าไปใส่ไว้ข้างในตัวบุคคล ดังนั้น มันจึงเป็นการเอา คุณธรรมจากภายนอกใส่ เข้าไปในตัวเด็กผ่านกระบวนการของการใช้อานาจควบคุม ในขณะที่วรรณกรรมและงานศิลป์สอนศีลธรรม ด้วยวิธีที่ต่างกันอย่างมาก คือ ด้วยการกระตุ้นอารมณ์ ท้าทายความคิดและจินตนาการ คืออาศัยสิ่งที่มนุษย์มี อยู่แล้วในจิตใจของมนุษย์ แล้วยกระดับสิ่งนั้นให้เข้มข้นขึ้น จึงเป็นการพัฒนาคุณธรรมจากภายใน ไม่ต้อง 2
118
ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการทฤษฎีสุดท้ายที่เราจะพิจารณาก็คือ ทฤษฎีลาดับขั้นของความ ต้องการ หรือลาดับขั้นของแรงจูงใจในชีวิตของ อับราแฮม มาสโลว์ (Abraham H. Maslow ค.ศ. 19081970) ซึ่งเขาเสนอว่ามนุษย์จะพัฒนาแรงจูงใจในชีวิตไปเป็นลาดับขั้น หมายความว่าเราจะเริ่มต้นด้วย การหาทางตอบสนองความต้องการระดับล่างสุดก่อน เมื่อความต้องการระดับล่างได้รับการ ตอบสนองอย่างพอเพียงแล้วก็จะเกิดความต้องการในขั้นต่อไปขึ้น แล้วเราก็จะหันไปหาทาง ตอบสนองความต้องการขั้นใหม่นี้ และเมื่อความต้องการขั้นใหม่นี้ได้รับการตอบสนองอย่างพอเพียง เราก็จะเกิดความต้องการขั้นใหม่ต่อไป เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เรียงไปตามลาดับดังนี้คือ 1. ขั้นความต้องการทางกายภาพคือการมีความสุขและการพ้นทุกข์ทางกาย รวมทั้งการมีความสุขทางเพศ 2. ขั้นความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเป็นเรื่องของการคาดหวังถึงความสุข ในอนาคต 3. ขั้นความต้องการความรักซึ่งไม่ใช่ความต้องการทางเพศ แต่คือการเป็นส่วนหนึ่งของผู้อื่น 4. ขั้นความต้องการการยอมรับและการยกย่อง ความรู้สึกมีเกียรติมีศักดิ์ศรี 5. ขั้นความต้องการค้นพบและพัฒนาศักยภาพสูงสุดของตนเอง (self actualization)
เราสามารถเห็นได้ทันทีถึงอิทธิพลของความคิดเรื่องสารัตถะของความเป็นสิ่งต่างๆ ที่พัฒนา สูงขั้นขึ้นมาเรื่อยๆ ตามแนวคิดแบบอริสโตเติลซึ่งเราได้อภิปรายถึงในบทที่ผ่านมา ตามความคิดของ อริสโตเติล พืชเป็นชีวิตขั้นต่าที่สุด แต่ก็ต่างจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ก้อนหิน ก้อนดิน เพราะสิ่งมีชีวิต เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีเป้าหมายในตนเองในขณะที่สิ่งไม่มีชีวิตไม่มีเป้าหมายในตนเอง พืชต้องการ “อาหาร” เพื่อที่จะดารงสภาพชีวิต คือเติบโตและสืบพันธ์ สัตว์เหมือนพืชคือต้องการอาหาร แต่มี ความรู้สึกสุขทุกข์ มันจึงมีความสามารถในการเคลื่อนไหว เพื่อให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวย ที่สุดต่อชีวิต มนุษย์เหมือนสัตว์ที่มีความรู้สึกแต่ก็มีคุณสมบัติที่เหนือขึ้นมาอีก คือมีความคิดและการ อาศัยการบังคับควบคุมและความรุนแรง และในทางตรงกันข้าม ส่งเสริมเสรีภาพ ศักยภาพ และการเติบโต ทั้งทางอารมณ์และปัญญา ความผิดของนักสังคมศาสตร์เหล่านั้นอยู่ตรงที่ พวกเขายอมให้ “มโนธรรม” เป็นสิ่งที่ได้มาจากข้างนอก อย่างไม่อนุญาตให้ผู้ที่ได้รับการยัดเยียด “มโนธรรม” ตรวจสอบ และโดยไม่สนใจเลยว่ามันจะทาให้เจ้าของ มีชีวิตที่ดีมีความสุขอย่างแท้จริงหรือไม่เพียงไร ซึ่งขัดกับคาสอนเรื่องการรู้จักตนเองของโสกราตีสอย่าง เต็มที่ แม้โสกราตีสจะยืนยันว่ามนุษย์ต้องการความดี เขาก็ยืนยันเช่นกันว่า มนุษย์แต่ละคนต้องหาเอาเองว่า ความดีของตนคืออะไร ไม่ใช่ให้คนอื่นมากาหนด เพราะมิเช่นนั้นแล้ว มันย่อมไม่ใช่ชีวิตที่มีความสุขอย่าง แท้จริง นักสังคมศาสตร์เหล่านี้กาลังรับใช้รัฐในการใช้การศึกษาสร้างพลเมืองที่เชื่องปกครองง่าย ยอมรับ บรรทัดฐานทุกอย่างของสังคมอย่างไม่มีการตรวจสอบ ตัวอย่างของแนวคิดแบบนี้ของนักสังคมศาสตร์ไทย สามารถหาดูได้ในหนังสือสังคมศาสตร์เบื้องต้น และหนังสือสังคมศาสตร์ที่เป็นการศึกษาทั่วไปของ มหาวิทยาลัยไทย
119
ใช้เหตุผลเพื่อแสวงหาความเข้าใจในความเป็นจริงและแสวงหาความหมายของชีวิต เกิดความคิดเรื่อง ตัวตนและความสัมพันธ์ของตนกับชีวิตอื่น ตามแนวคิดแบบอริสโตเติลความต้องการของเราเกิดจาก ธรรมชาติขั้นต่างๆ ตั้งแต่ขั้นที่เรามีร่วมกับพืชและสัตว์ มาจนถึงขั้นที่เกิดจากสารัตถะที่เป็นลักษณะที่ พิเศษเฉพาะของเราที่เหนือขึ้นมา ขั้นล่างสนับสนุนความมีอยู่ของขั้นบน ความต้องการแบบพืชและ สัตว์เป็นไปเพื่อการเกิดขึ้นและความมีอยู่ของความต้องการแบบมนุษย์ ดังนั้น ทฤษฎีของมาสโลว์จึงเป็นเหมือนการสรุปของการวิเคราะห์ในบทที่แล้ว ว่าความ ต้องการหลักๆ ในชีวิต สนับสนุนความต้องการในการค้นพบและพัฒนาศักยภาพสูงสุดของตนเอง และสอดคล้องกับความคิดในแบบของรุซโซ ว่ามนุษย์ไม่ได้มีธรรมชาติที่เห็นแก่ตัวและมีแนวโน้ม ไปสู่ความชั่วร้ายอย่างที่ฮอบส์คิด มนุษย์ไม่ได้มีธรรมชาติที่จะมีความสุขจากการได้ทาร้ายผู้อื่น มาส โลว์อธิบายความชั่วร้ายของมนุษย์ว่า มนุษย์หันเข้าหาความรุนแรงเพราะการต้องปกป้องตนเอง หรือ ตอบโต้ต่อการถูกทาร้ายในสิ่งที่เป็นความต้องการขั้นสูงสุดในขณะนั้นของเขา ซึ่งจะเกิดขึ้นกับคนที่ ยังคงอยู่ในความต้องการขั้นล่างๆ ยิ่งกว่าผู้ที่มีความต้องการขั้นสูงแล้ว ยิ่งกว่านั้นมนุษย์ก็ไม่ได้มีความ ต้องการที่ไม่สิ้นสุด ในทางตรงกันข้าม คนที่พัฒนาแรงจูงใจในชีวิตไปสู่ขั้นสูงสุดจะเป็นคนสมถะ อุทิศตนเองต่อสิ่งที่ตนเองทา กล่าวคือจะเป็นผู้ที่มีชีวิตแบบ “เกิน” ไม่ใช่แบบ “ขาด” เพราะเขาจะมี ความสุขจากการกระทาการต่างๆ ออกไป ด้วยการใช้ศักยภาพของเขาในทางสร้างสรรค์ มากกว่าที่จะ แสวงหาบางสิ่งบางอย่างเข้ามาใส่ตัว แต่มาสโลว์เชื่อว่าก่อนที่มนุษย์จะเป็นผู้ให้อย่างแท้จริงได้ เขาก็ ต้องได้รับเข้ามาในสิ่งที่เป็นความต้องการแบบขาดอย่างพอเพียงเสียก่อน ด้วยทฤษฎีของมาสโลว์ เราน่าจะมีพื้นฐานไว้ตอบปัญหาที่เราตั้งไว้ตั้งแต่เริ่มต้นของหนังสือ แล้ว ว่าทาไมนักศึกษาบางคนจึงเขามาเรียนด้วยจิตวิญญาณของความอยากรู้อยากเห็นอยากที่เต็มเปี่ยม แต่บางคนกลับเรียนด้วยอาการของการป่วยเป็นโรคของความแปลกแยกในตนเองของสังคมทุนนิยม คือเรียนไปเพียงพอผ่านๆ เพื่อให้ได้ใบปริญญาไว้เอาไปประกอบอาชีพเท่านั้น และทาไมคนหนุ่มคน สาวในสมัย 14 ตุลาจึงมีชีวิตที่มีอุดมคติ ในขณะที่คนหนุ่มคนสาวปัจจุบันนั้นมีชีวิตในแต่ละวันที่หา ความมีคุณค่าที่แท้จริงใดๆไม่ได้เลย นอกจากคุณค่าที่ได้มาด้วยเปลือกนอกและอัตลักษณ์ร่วมต่างๆ และเมื่อเรียนจบแล้วก็เป็นได้แค่ปริญญาชน ไม่ใช่ปัญญาชนเหมือนคนหนุ่มสาวในสมัย 14 ตุลา เพราะความสามารถทางปัญญานั้นห่างชั้นกันอย่างไม่อาจจะเทียบกันได้เลย3 ลาพังหนังสือ “ศึก-” ที่เด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยทาขึ้น มาเพื่อ วิพากษ์การศึกษาไทยในช่วงเวลานั้น ก็มีคุณภาพสูงกว่าที่บัณฑิตทางครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ ปัจจุบันจะ ร่วมมือกันทาได้แล้ว แต่หนังสือนั้นก็สร้างความโกรธแค้นให้กับบรรดาครูหัวอนุรักษ์นิยมทั้งหลายอย่าง ที่สุด จนถูกสั่งให้รวบรวมมาเผาทาลายไปจนเกือบหมด จนเวลาผ่านไป 30 ปีเราจึงมาดิ้นรนปฏิรูปการศึกษา ไทยกันตามที่เด็กสวนกุหลาบฯ เรียกร้อง 3
120
ประเด็นที่สาคัญก็คือ ในอดีตของยุค 14 ตุลานั้น การศึกษาขั้นมหาวิทยาลัยยังจากัดอยู่ในวง แคบๆ ที่มีแต่ลูกหลานคนชั้นกลางระดับพ่อค้าที่มีฐานะ (ไม่ใช่ระดับหาบเร่แผงลอย) นายทุนย่อย ข้าราชการ และนายทุนใหญ่-ชนชั้นสูง ที่มีจานวนยังไม่มากนักในสังคม ที่จะไต่เต้าขึ้นไปถึงได้ เด็ก เหล่านั้นล้วนแต่ได้รับโอกาสที่พอเพียงในชีวิต ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นล่างๆ มามาก พอแล้ว และพร้อมแล้วสาหรับความต้องการขั้นสูง คือขั้นของการค้นพบและพัฒนาศักยภาพสูงสุดใน ตนเอง และยิ่งกว่านั้นในช่วงนั้น ระบบทุนนิยม คือเงินตราก็ยังไม่มีอานาจครอบงาจิตใจผู้คนมากมาย นัก เด็กยังมีอิสระที่จะเลือกในสิ่งตนรักตนชอบได้ค่อนข้างมากโดยพ่อแม่ไม่เข้าไปบงการมากนัก และตัวการศึกษาเองก็มีคุณภาพสูงเพราะยังไม่มีเจตนาที่จะทาให้เด็กโง่ (เช่น ยังใช้การสอบแบบอัตนัย เป็นหลัก) คนบางคนจึงไปได้ไกลอย่างที่สุด พวกเขาจึงนับว่ามีชีวิตที่โชคดีมาก บางคนจึงสามารถไป ได้ไกลอย่างที่สุดและกลายเป็นผู้ที่สามารถให้ได้อย่างสูงที่สุด คือเป็นผู้ที่อุทิศชีวิตให้แก่ระบบ ประชาธิปไตย และต่อสู้เพื่อผู้ที่ถูกกดขี่รังแกทั้งหลาย เพื่อที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของการเป็นผู้ที่บรรลุศักยภาพสูงสุดและการมีชีวิตอย่างผู้ให้ ซึ่ง อาจเป็นการให้ที่มากราวกับไม่มีความปรารถนาใดๆ เพื่อตนเองอยู่เลย เราจะมาดูชีวิตของคนๆ หนึ่งที่ มีโอกาสที่ดีในชีวิตด้วยฐานะทางชาติตระกูล แต่เพื่อที่จะไปสู่ความฝันก็ต้องปฏิเสธชาติตระกูลและ คนที่รักตนและตนรัก และด้วยความรักต่อ “คุณค่า” อะไรบางสิ่งบางอย่างและความฝันที่ง่ายและ บริสุทธิ์ เธอก็สามารถทิ้งมรดกที่ดินอันล้าค่าด้วยความงามตามธรรมชาติ และมีมูลค่านับเป็นเงิน มหาศาลไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เชยชม โดยเธอขอเพียงที่พักไว้สาหรับตัวเธอเองเป็นบ้านหลังเล็กๆ หลัง หนึ่งเท่านั้น บุคคลผู้นี้ชื่อว่า เบ็ตทริกซ์ พอตเตอร์ (Beatrix Potter ค.ศ.1866-1943) ในโลกของภาษาอังกฤษจะไม่มีเด็กคนไหนที่ไม่รู้จักเบ็ตทริกซ์ พอตเตอร์ เพราะเธอคือผู้แต่ง หนังสือนิทานและวาดภาพเรื่อง “Peter Rabbit” ที่เด็กๆ ทุกๆ คนหลงใหลในความงดงามของภาพและ เรื่องราวที่น่ารักสนุกสนาน นิทานของเธอมีชีวิตมาแล้วเป็นร้อยปีและจะไม่มีวันตาย เรื่องราวในชีวิต ของเธอและตัวละครในนิทานของเธอถูกนามาแสดงในภาพยนตร์เรื่อง “Miss Potter” ซึ่งแทบจะทุก ฉากและทุกคาพูดในเรื่องถูกจัดวางเพื่อให้ถ่ายทอดถึงระบบความคิดและการรับรู้ของโลกตะวันตก ถึง คุณค่าของปัจเจกภาพ (individuality) ของมนุษย์ พร้อมกับแอบซ่อนคาอธิบายเชิงจิตวิทยาและสังคม วิทยาถึงปัญหาของสังคมชนชั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาต่อความเป็นผู้หญิง ที่ผู้หญิงผู้ดีที่ถูกตีกรอบ ชีวิตสามารถซ่อนความขมขื่นจนกลายเป็นความเจ้าระเบียบ เจ้ายศเจ้าอย่าง แต่อิจฉาแม้ความสุขใน ความโชคดีบางอย่างของลูกสาวของตนเอง แล้วก็อาศัยกรอบของสังคม ข้ออ้างเรื่องความรัก ผลประโยชน์ของตนเอง แนวคิดเรื่องความกตัญญู มาทาลายความสุขในชีวิตของลูกของตน ปัจจุบัน โลกตะวันตกยึดถือว่าปัจเจกภาพเป็นสิ่งที่จะต้องรักษาไว้ให้ได้ไม่ว่าจะภายใต้ เงื่อนไขอะไร เมื่อใดก็ตามที่มีคนถามว่าเขาควรทาอย่างไรดี มีคาตอบเพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือ “จง
121
เป็นตัวของคุณเอง” โลกตะวันตกใช้เวลาเกือบร้อยปีในการเรียนรู้ว่าเพื่อปัจเจกภาพ เมื่อลูกอายุ 18 เขา จะต้องออกจากบ้านเพื่อไปให้พ้นจากอานาจของพ่อแม่ ถ้าเขาไม่ออกไปปัจเจกภาพของเขาจะถูกทา ร้ายอย่างแน่นอน หรือไม่เช่นนั้นปัญหาก็จะเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย เมื่ออายุ 33 มิสพอตเตอร์ขนกระเป้า ก้าวออกจากบ้าน เพราะไม่อาจทนให้พ่อแม่ใช้ข้ออ้างเรื่องความรักและความหวังดีมาทาร้ายตนอีก ต่อไป มิสพอตเตอร์มีชีวิตอยู่ในเวลาที่ลูกผู้หญิงแม้แต่ในสังคมผู้ดีอังกฤษ ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้รับ การศึกษาเพื่อที่จะมีอาชีพการงานของตนเอง โลกแห่งอาชีพการงานในสังคมเป็นของผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงผู้ดมี ีหน้าที่เพียงแต่งตัวให้สวยๆ รักษาตัวไม่ให้เสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียงเพื่อรอเวลาให้ผู้ชาย ดีๆ มาหลงรัก และเลือกไปแต่งงานเท่านั้น ในภาพยนตร์ เรื่องเริ่มขึ้นที่มิสพอตเตอร์มีอายุได้ 32 ปี แล้ว แต่ก็ยังไม่แต่งงาน ซึ่งผิดมาตรฐานของสังคมอย่างยิ่ง เธอหอบผลงานของเธอโดยมีพี่เลี้ยงอาวุโส เป็นเพื่อนหญิง ตามธรรมเนียมสังคมที่ไม่อนุญาตให้หญิงโสดไปไหนมาไหนคนเดียว เดินเข้าออก ตามสานักพิมพ์เพื่อเสนอขายผลงานเรื่องเจ้ากระต่ายน้อยปีเตอร์ และในที่สุดก็ได้รับการตอบสนอง โดยพี่น้องอาวุโสคู่หนึ่ง แต่ไม่ใช่เพราะเห็นว่าจะประสบความสาเร็จ แต่เพราะเห็นว่าอาจจะตรงกัน ข้ามและจะช่วยกีดกันน้องชายคนเล็ก ชื่อว่านอร์แมน ที่ขอเข้ามาร่วมงานออกไปได้ถ้าให้ดูแลงานชิ้น นีแ้ ล้วล้มเหลว แต่ทั้งบีทริกซ์และนอร์แมนช่วยกันทาหนังสือออกมาอย่างมีคุณภาพและขายในราคาที่ ถูกมากจนประสบความสาเร็จ พาไปสู่การสร้างงานชิ้นต่อๆ ไปและความสัมพันธ์ที่สนิทแน่นจน กลายเป็นความรัก และเธอก็ได้พบว่าอุปสรรคที่เคยแอบซ่อนอยู่ในชีวิตได้ปรากฏออกมาเป็นความ จริงอันรุนแรงในที่สุด พ่อแม่ปฏิเสธว่านอร์แมนมาจากชนชั้นที่ต่ากว่าไม่คู่ควรกับเธอ แต่เมื่อเธอ ยืนยันว่าอย่างไรก็จะแต่งให้ได้ พ่อแม่ก็ขอหน่วงเหนี่ยวเวลาออกไปและกันเธอห่างจากนอร์แมนไป อยู่ที่สถานที่ท่องเที่ยวของชนชั้นสูงแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตทะเลสาบดิสทริก (Lake District) ตลอดฤดู ร้อน แล้วในวันปลายฤดูหนาวก่อนฤดูร้อนที่พวกเขาจากกันนั้นฝนตกหนัก นอร์แมนฝ่าฝนมาส่งบีท ริกซ์ที่สถานีรถไฟ และเธอก็ไม่รู้เลยว่าเขาเริ่มป่วยเป็นปอดบวมหลังจากนั้น จนจดหมายจากเขาขาด หายไป แล้วพี่สาวของเขาก็จดหมายมาบอกว่าเขาเสียชีวิตแล้ว บีทริกซ์ไม่เคยสนใจในรายได้ของตนเองที่เกิดจากหนังสือนิทานมาก่อนเลย เพราะเธอ ปรารถนาเพียงแค่ให้งานของเธอปรากฏโฉมต่อโลกและต่อเด็กๆ แต่ความทุกข์จากการถูกทาลาย ความรักทาให้เธอตัดสินใจว่าไม่อาจอยู่ใต้หลังคาบ้านของพ่อแม่ได้อีกต่อไปแล้ว เธอใช้รายได้ของ เธอซื้อบ้านฟาร์มหลังหนึ่งที่เขตทะเลสาบดิสตริกและนอนเจ็บปวดร้องให้คิดถึงนอร์แมน แต่แปดปี หลังจากย้ายมาอยู่ที่นั้นเธอก็แต่งงานกับนักฏหมายท้องถิ่นลูกหลานชาวนา ซึ่งช่วยเหลือเธอนารายได้ จากการขายหนังสือของเธอมาซื้อที่ดินฟาร์มรอบๆ ทะเลสาบดิสทริก เพื่อแย่งไว้จากพวกนักพัฒนา ที่ดินที่จะเอาไปขายต่อเชิงธุรกิจ จนเธอเป็นผู้ที่มีพื้นที่ฟาร์มมากที่สุดในประเทศอังกฤษ โดยเธอขอให้
122
ชาวไร่อยู่ทาฟาร์มเลี้ยงตัวต่อไป แล้วเธอก็ยกฟาร์มทั้งหมดนั้นให้เป็นสมบัติของประเทศ เพื่ออนุรักษ์ ไว้ให้คงความงามของธรรมชาติตามสภาพฟาร์มนั้นไว้ตลอดไป สภาพชนบทแห่งทะเลสาบดิสทริกคือแหล่งแห่งความบันดาลใจสาหรับบีทริกซ์ เธอได้มาที่นี่ ครั้งแรกตั้งแต่วัยเด็ก อาจจะประมาณ 11-12 ขวบ หนีจากชีวิตในเมืองที่แออัดคับแคบมาสู่ธรรมชาติ อันงดงามที่มีสัตว์ป่าตัวน้อยและสัตว์ตามฟาร์มให้วิ่งไล่จับ มันคือการที่วิญญาณของเธอได้รับการ ปลดปล่อยเลยทีเดียว มันคือประสบการณ์ที่เฉพาะคนชนชั้นสูงหรือไม่ก็คนชนชั้นล่างจริงๆ คือชาวไร่ ชาวนาจริงๆ เท่านั้นที่จะได้สัมผัส แต่ใครละที่จะนาประสบการณ์เช่นนี้พาความหมายชีวิตของเขา ไปสู่ความไฝ่ฝันที่ไกลที่สุด บีบริกซ์เป็นลูกคนรวยที่พ่อแม่มีเวลาที่จะคอยเอาใจใส่ มีพี่เลี้ยงคอยดูแล ตลอดเวลา คอยเล่านิทานให้ฟังก่อนนอน หาของเล่นให้เล่น อ่านหนังสือให้ฟัง ส่งเสริมจิตนาการใน ทุกแง่ทุกมุม เธอจึงเป็นคนที่มีจิตนาการในการแต่งเรื่องแต่งนิทานสูงมาตั้งแต่เด็ก และอีกสิ่งหนึ่งที่ เธอมีความรักเป็นพิเศษคือการวาดภาพและระบายสี ทั้งหมดนั้นประสมออกมาเป็นภาพของสัตว์จาก ชนบทที่เธอได้พบเห็นเป็นเพื่อนเล่น พร้อมเรื่องราวเป็นนิทานที่มีชีวิตชีวา เมื่อเป็นภาพก็งดงามและ เมื่อเป็นเรื่องราวก็เต็มไปด้วยชีวิตชีวา ที่จิตใจที่เรียบง่ายบริสุทธิ์ของเด็กทุกคนอยากติดตาม ใน ตอนต้นของชีวิตเธอมีเพียงน้องชายของเธอและเด็กอื่นๆ อีกไม่กี่คนที่คอยชื่นชมนิทานของเธอ และมี แต่พ่อเท่านั้นที่คอยชื่นชมฝีมือภาพวาดของเธอ นอกจากนั้นก็เป็นตัวเธอเองที่รู้ว่าผลงานของเธอนั้นมี เสน่ห์เพียงไร แต่นั่นก็เพียงพอแล้วที่เธอจะมีความชื่นชมในตัวเองอย่างสูง เห็นว่าตัวเธอเองมีค่าเกิน กว่าแค่การจะเป็นภรรยาของ “ผู้ชายที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี” ที่ไม่ได้รักเธอเพราะรู้จักและชื่นชมตัวตน แท้ๆ ของเธอจากข้างในและเธอเองก็คงไม่มีโอกาสรู้จักตัวตนของเขาจากข้างในเช่นกัน และที่พ่อแม่ ต้องการเช่นนั้นก็เพียงเพื่อให้ช่วยยกฐานะของวงศ์ตระกูลให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไปเท่านั้น มีสิ่งประหลาดอยู่อย่างหนึ่งเกี่ยวกับแม่ของเธอ แม้ว่าเมื่อยามเล็กจะดูแลเธออย่างดี และก็พร่า สอนเธออยู่เสมอว่าเป้าหมายของชีวิตคือการแต่งงานกับผู้ชายที่มีชาติตระกูล แต่เมื่อโตขึ้นก็ยิ่งห่าง เหิน ยิ่งมีความเป็นศัตรูที่คอยจ้องจับผิดและควบคุมบังคับ และตั้งแต่เมื่อเธอเริ่มต้นหัดวาดภาพระบาย สี แม่ไม่เคยยกย่องชื่นชมงานของเธอเลย กลับพยายามทาเป็นมองไม่เห็นมันอยู่ตลอดเวลา ที่เธอได้ ความสามารถนี้มาก็เพียงเพราะการสนับสนุนของพ่อผู้ซึ่งเคยอยากเป็นศิลปินมาในสมัยเด็ก แต่ที่ ไม่ได้เป็นก็เพราะถูกปู่บังคับให้เรียนกฎหมายแทน พ่อซึ่งก็ไม่ได้รักงานกฎหมายเลย พอเลิกงานก็เข้า สโมสรเข้าสังคมหาความสุขนอกบ้านชดเชยตลอดเวลา แม่เองก็คอยเข้าสังคมไว้สนับสนุนฐานะทาง สังคมของพ่อและตัวเอง หรืออยู่บ้านคอยจัดบ้านให้หรูไว้รับแขกผู้สมฐานะที่มาเยี่ยม และจัดปาร์ตี้ สังสรรค์ในแวดวงผู้ดีด้วยกัน นี่คือทั้งหมดในชีวิตของแม่ สิ่งที่เราเห็นในปัญหาของพ่อและแม่ของ บีทริกซ์ก็คือการเป็นคนที่ถูกทาลายปัจเจกภาพ เพราะถูกพ่อแม่ของตัวเองกาหนดความหมายของชีวิต ไว้ให้และยอมตาม แล้วก็ลงเอยด้วยการมีชีวิตแบบสัตว์สังคม คือไม่มีความไฝ่ฝันใดๆของตนเองอย่าง เป็นปัจเจกอีกต่อไป
123
อย่างไรก็ตาม ความเป็นสัตว์สังคมแบบผู้ชายก็ยังดีกว่าแบบผู้หญิงเพราะยังได้รับการศึกษา และมีอาชีพการงาน ได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพหลายด้านๆ แม้อาจไม่ใช่ด้านที่ตนรักจริงๆ และมีโอกาสที่จะมีอิสระนอกบ้านสูงกว่าผู้หญิง ผู้ชายจึงยังพอมีความสุขโดยรวมๆ และมีความชื่นชม ในตนเองมากกว่าผู้หญิง พ่อของบีทริกซ์แม้จะอยู่ใต้อานาจของสังคมเช่นเดียวกับแม่ ก็ยังสามารถมี ความอ่อนโยนในจิตใจมากกว่าแม่ แม่นั้นใจร้ายราวกับอิจฉาที่เห็นบีทริกซ์กล้าที่จะมีอิสระที่ตนไม่ เคยมี มีความสามารถพิเศษเฉพาะตัวที่ตนเองไม่เคยได้รับโอกาสให้ค้นพบในตนเอง ปนไปกับความ หลงในตัวตนทางสังคมของตน จนบังคับลูกให้เอาชีวิตมาเป็นฐาน เอมิลี่ ซึ่งเป็นพี่สาวของนอร์แมน เป็นสาวโสดเหมือนบีทริกซ์ เธอชื่นชมบีทริกซ์มากที่ไม่เดือดร้อนวุ่นวายแต่อย่างใดกับการขึ้นคาน เธอพูดว่าการแต่งงานคือการไปเป็นทาสรับใช้ผู้ชาย ซึ่งมีของมาแลกสองอย่างเท่านั้น คือเงินและลูก นี่ คือคาพูดที่สรุปถึงความไร้คุณค่าในตัวเองอย่างยิ่งของชีวิตผู้หญิงแบบที่แม่ของบีทริกซ์เผชิญ ที่ทาให้ เธอกลายเป็นสัตว์สังคมที่ใจร้ายต่อลูกของตนอย่างยิ่ง เมื่อเอมิลี่ได้มาเยี่ยมบีทริกซ์ที่ทะเลสาบดิสทริกซ์ เธอก็ได้คาตอบอย่างหนึ่งให้กับตัวเธอเอง และเราก็ได้คาอธิบายอย่างหนึ่งตามทฤษฎีของมาสโลว์ เธอถามบีทริกซ์ว่า “เพราะที่นี่เองหรือ” หมายความว่าเธอสงสัยมาตลอดว่า อะไรคือสิ่งที่ทาให้บีทริกซ์และเธอก้าวไปได้ไม่เท่ากัน ทั้งสอง เป็นคนฉลาด มีความคิดอิสระ ได้รับการเลี้ยงดูที่ดี เพียงแค่ต่างกันด้วยพื้นฐานทางชนชั้นเท่านั้น คือเอ มิลี่มากจากชนชั้นพ่อค้าที่ทาให้ยังขาดอะไรบางอย่าง เราได้กล่าวไว้ว่าผลงานภาพวาดและเรื่องเล่านิทานสัตว์ของบีทริกซ์ เกิดจากการประสมกัน ของประสบการณ์ทั้งหมดในชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก ความรักและความสามารถพิเศษของบีทริกซ์ แน่นอน ว่าการประสมที่ไปได้ไกลถึงระดับนี้จะไม่มีวันเกิดขึ้นได้เลย จากอะไรที่ลูกหลานของชนชั้นล่างและ ชนชั้นกลางมีอยู่ในตนเอง ลูกหลานของชนชั้นล่างมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ แต่ก็ขาดคนคอยทะนุถนอม จินตนาการ และขาดแคลนวัตถุที่จะสนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาความสามารถทางศิลปะ และ ตัวเองยังอาจต้องเดือดร้อนช่วยพ่อแม่ดิ้นรนเพื่อปากท้องอยู่เรื่อยๆ ลูกหลานของชนชั้นกลางอาจพอมี โอกาสได้รับการดูแลจิตนาการบ้าง มีวัตถุและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถพิเศษ แต่ก็จะ ขาดโอกาสที่จะมีประสบการณ์พิเศษ (เช่นการไปสัมผัสคลุกคลีกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้งอย่างตัวชน ชั้นล่างเอง หรืออย่างลูกหลานคนรวยจริงๆ ที่สามารถมีเงินไปใช้ชีวิตอยู่ในชนบท) ซึ่งทาให้สามารถมี แรงบันดาลใจอย่างต่อเนื่องและหมกมุ่นอยู่กับสิ่งนั่นได้เป็นเวลานานๆ เพราะฉะนั้น การพัฒนา ศักยภาพสูงสุดในหลายๆ ด้านของตนเองไปพร้อมๆ กันนั้น จึงเป็นเรื่องของคนที่มีความพร้อมใน ทุกๆ ด้านของชีวิตเท่านั้น ทันทีที่เอมิลี่ได้เห็นความงามของทะเลสาบดิสทริกส์และรู้ว่าบีทริกส์ได้มา คลุกคลีอยู่ที่นี่เสมอๆ ตั้งแต่สมัยเด็กซึ่งเด็กจากชนชั้นกลางอย่างเอมิลี่ไม่เคยมีโอกาส เธอจึงได้รับ คาตอบ
124
แต่เด็กจากชนชั้นกลางอย่างเอมิลี่และนอร์แมน หรือเด็กจากชนชั้นล่างในชนบทก็มีชีวิตที่ ดีกว่าบีทริกซ์ในแง่อื่น คือมีความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เป็นไปอย่างอบอุ่นอ่อนโยน เป็นไปตาม ธรรมชาติของจิตใจอย่างง่ายๆ ไร้การปรุงแต่ง ไม่ต้องมีกรอบของจารีตกฏเกณฑ์ทางสังคม หรือมีสิ่งที่ เรียกว่า “มารยาท” “สมบัติผู้ด”ี มาคอยดัดคอยแต่งให้เกิดเป็นรูปแบบพิธีกรรมที่เป็นความเกินจาเป็น ในชีวิตต่างๆ ขึ้นมา และที่สาคัญที่สุดก็คือสร้างความแปลกแยกห่างเหินต่อกัน แม้ว่าพ่อจะอ่อนโยน ต่อบีทริกซ์มากและแม่จะเหน็บแนมเธอตลอดเวลา แต่ไม่ว่าอย่างไรเธอก็ต้องรักษามารยาทอย่างมาก ในการพูดจากับพ่อแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอถูกฝึกมาแต่เด็ก ต่างจากนอร์แมนและเอมิลี่มากที่สามารถ ล้อเล่นกับแม่ของพวกเขาได้อย่างเป็นกันเอง เราอาจกล่าวว่า สังคมคือกรอบและอานาจ ยิ่งมนุษย์เป็น สัตว์สังคมและใต่สูงขึ้นไปมากเท่าไร เขาก็จะยิ่งต้องตกอยู่ใต้อานาจและสูญเสียความสัมพันธ์ต่อกัน อย่างง่ายๆ ตามธรรมชาติไปมากขึ้นเท่านั้น4 โชคดีที่สิ่งที่บีทริกซ์ขาดไปนี้เป็นตัวแปรที่สาคัญน้อยมาก แล้วสาหรับบุคลิกภาพของบีทริกซ์ เพราะมันเกิดขึ้นเมื่อเธอโตพอควรแล้ว ชีวิตของบีทริกซ์คือชีวิตของคนที่ค้นพบตนเองและใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และเป็นผู้ให้ ให้ในทุกสิ่งที่ตนเองมีอยู่ภายในหรือสามารถหามาได้ เธอมีความปราถนาของตนเองอยู่เพียงประการ เดียวเท่านั้นในชีวิต คือการมีชีวิตตามแบบของตนเอง “ทาในสิ่งที่ตนเองรัก” ไม่ให้ใครอื่นใดทั้งสิ้นมา กาหนด นี่คือความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์ และสามารถทาให้เธอบรรลุถึงความต้องการขั้นนี้ได้ เพราะความต้องการขั้นอื่นๆ ของเธอได้รับการตอบสนองไปอย่างเพียงพอแล้ว ขอให้เราย้อนกลับมาที่ความต้องการความชื่นชมยกย่องของมาสโลว์ เราเห็นแล้วว่ามีสอง แบบคือความรู้สึกชื่นชมยกย่องที่เรามีต่อตัวเราเอง และความรู้สึกชื่นชมยกย่องที่คนในสังคมมีต่อเรา
แม้แต่ในสังคมชนบทมนุษย์ก็ยังสามารถสูญเสียความสัมพันธ์ตามธรรมชาติระหว่างกันเมื่อความเชื่อ ทางศาสน และความเป็นตัวตนที่ไม่ใช่เรื่องชนชั้นเข้ามายุ่งเกี่ยว ในภาพยนตร์เรื่อง The Fiddler On The Roof ความสุขของลูกสาวชาวนายิวสามคนเกือบถูกพ่อแม่ทาลาย จากการบังคับให้แต่งงานกับคนที่ไม่รัก หรือไม่ ยอมให้แต่งงานกับคนที่ตัวเองรัก เพราะ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาจารีต ปัญหาศาสนา ตามลาดับ สองปัญหา แรกพ่อแม่ยังทาใจให้ยอมรับจนได้ในที่สุด แต่ปัญหาที่สามนั้น ตัวพ่อใจร้ายถึงที่สุด คือตัดขาดจากลูกสาว เลย เพราะการแต่งงานกับคนต่างศาสนามีค่าเท่ากับการทรยศต่อเผ่าพันธุ์ของตน ความเป็นเผ่าพันธุ์ยิวนั้น สาคัญกว่าลูกที่ตนให้กาเนิดและเลี้ยงดูมา เราอาจลองคิดเทียบดูว่า ถ้าพ่อแม่เราคิดว่าความเป็นคนไทยสาคัญ สาหรับท่านมากกว่าการที่เราเป็นลูกของท่าน และท่านจะบังคับให้เราแต่งงานหรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ แสดงออกถึงความเป็น “คนไทย” ตามที่ท่านนิยามเท่านั้น เช่น ใส่เสื้อสีเหลือง บุกยึดเขาพระวิหาร คุณจะ รู้สึกว่าอย่างไร ความเป็นพ่อแม่ลูกซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติสามารถสูญหายไปได้จากความคลั่งในลัทธิความ เชื่อ นี่กระมังที่ทาให้มนุษย์ต่างจากสัตว์ เรามีชีวิตอยู่ในระบบความเชื่อ แต่สัตว์มีชีวิตอยู่ในระบบธรรมชาติ ถ้าเช่นนั้น ในแง่นี้เราหรือสัตว์กันแน่ที่มีชีวิตที่ดีกว่ากัน 4
125
ดังนั้นความต้องการความยกย่องชื่นชมจึงเป็นทางสองแพร่ง โดยมีหนึ่งทางเป็นทางตัน ทางนั้นก็คือ ความต้องการความยกย่องชมเชยจากสังคม ซึ่งก็คือความต้องการการมีอานาจในสังคมนั่นเอง เป็น ทางตันเพราะนาไปสู่การแข่งขันไต่เต้าบันไดสังคม และนาไปสู่การเป็นมนุษย์ที่มีความต้องการแบบ ขาดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มาสโลว์พบว่าคนส่วนใหญ่ติดอยู่ในขั้นนี้ แม้แต่คนที่มีสติปัญญาสูงมีตาแหน่ง ใหญ่โตก็อาจติดอยู่ในขั้นนี้ อีกทางหนึ่งคือความรู้สึกยกย่องชื่นชมในตนเอง คนที่ได้รับสิ่งนี้อย่าง เพียงพอจะพัฒนาต่อไปสู่ขั้นของความต้องการแบบเกิน คือความต้องการที่จะสร้างความเป็นจริง สูงสุดของตนเอง นี่คือทางที่นาไปสู่การเกิดขึ้นของนักอุดมคติและผู้ที่ทุ่มเทตนเองให้กับสิ่งที่เขาเห็น ว่ามีค่าในตัวมันเอง ไม่ว่าจะเป็นความจริงทางศาสนา ความยุติธรรมในสังคม การอนุรักษ์ธรรมชาติ การสร้างสรรค์ทางศิลปะ การแสวงหาความรู้บริสุทธิ์ เราจะพบว่า คนที่มาจากครอบครัวของชนชั้น กลางและชนชั้นสูงเท่านั้นที่จะพัฒนาถึงขั้นนี้ หรือขอให้ลองมองดูว่า มีนักศึกษาสักกี่คนที่ได้ค้นพบ ความชอบแท้ๆ ของตนเอง และมีโอกาสที่ได้เลือกเรียนในสิ่งที่ตนรัก เพราะความรักในสิ่งนั้นจริงๆ ไม่ใช่เพื่อความมั่นคงในชีวิตหรือเกียรติยศหน้าตาในสังคม แม้แต่คนที่มีตาแหน่งใหญ่โตที่สุดใน สังคมก็อาจจะไม่ใช้คนที่พัฒนาแรงจูงใจไปถึงขั้นสูงสุด มาสโลว์เชื่อว่าคนที่สามารถก้าวไปถึงขั้นของการสร้างความเป็นจริงแก่ตนเอง จะเป็นคนที่มี พัฒนาการทางศีลธรรมสูงสุดด้วย เขาจะเป็นคนที่ยุติธรรม มีความกล้าหาญทางศีลธรรม มีความมั่นใจ ในตนเอง แต่พร้อมที่จะเรียนรู้ยอมรับคาวิพากษ์วิจารณ์เพราะสามารถแยกตัวตนและความคิดเห็นออก จากกัน ยอมรับและพร้อมที่จะแก้ไขความบกพร่องของตนเอง แต่เขาก็จะเป็นคนเก็บตัว ชอบใช้เวลา กับตัวเอง ทาในสิ่งที่เขารักมากกว่าที่จะอยู่ท่ามกลางสังคม ไม่สนใจต่อตาแหน่งและการยกย่องทาง สังคมมากมายนัก ไอสไตน์ และมาติน ลูเธอร์ คิง และมหาตมะคานธี เป็นตัวอย่างของคนที่พัฒนาถึง ขั้นสูงสุดของมาสโลว์ แต่ก็อาจจะเป็นคนที่โลกไม่รู้จักคนไหนก็ได้เช่นกันที่มีคุณสมบัติดังกล่าว มีข้อที่จะต้องระวังบางประการในการเข้าใจทฤษฎีของมาสโลว์ ประการที่หนึ่ง เราควรเข้าใจว่าคนทุกคนสามารถมีความต้องการทุกอย่างอยู่ในตัว เราไม่ควร คิดว่าคนที่ไปถึงขั้นของความต้องการสร้างความเป็นจริงแห่งตนแล้ว จะไม่มีความต้องการการความ ชื่นชมยกย่องทางสังคม และความต้องการอื่นๆ เขาอาจมีความต้องการทั้งหมดอยู่ในตัว แต่ความ ต้องการที่จะใช้และพัฒนาศักยภาพในตัวเองมีพลังมากที่สุด คนที่อยู่ในขั้นของความต้องการความชื่น ชมยกย่อง ก็อาจมีความต้องการที่จะสร้างความเป็นจริงแห่งตน แต่เป็นความต้องการที่อ่อนๆ เมื่อ เทียบกับความต้องการความยกย่องชื่นชม ดังนั้นสิ่งที่จะใช้ตัดสินก็คือ อะไรคือแรงจูงใจที่สูงที่สุดและ มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของเขามากที่สุด ประการที่สอง ทฤษฎีของมาสโลว์ เป็นเหมือนการประมวลและการเชื่อมโยงความเป็นจริง มากกว่าที่จะให้คาอธิบายถึงพลังที่ผลักดันบุคลิกภาพ และรูปแบบการดาเนินชีวิตของผู้คน ทฤษฎีของ
126
มาสโลว์ยืนยันเพียงแค่ว่าความต้องการไหนจะต้องได้รับการตอบสนองก่อน แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า จะต้องได้รับการตอบสนองแค่ไหนจึงจะพอ อันจะทาให้คนพัฒนาบุคลิกภาพไปสู่แรงจูงใจขั้นสูงกว่า ต่อไป ประการที่สาม ทฤษฎีของมาสโลว์เสนอว่าคนที่พัฒนาแรงจูงใจไปถึงขั้นสูงสุดจะเป็นคนที่มี ความสุข มีสุขภาพจิตดี มีจิตใจมั่นคง เขาเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยร่วมหรือตัวบ่งชี้ที่สาคัญ แต่นี่อาจ ไม่เป็นจริงเลย พื้นฐานสภาพจิตใจของบุคคลเป็นผลกระทบของเคราะห์กรรมต่างๆ ในช่วงต่างๆ ของ ชีวิต คนที่มีแรงจูงใจขั้นสูงสุดอาจต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งกับสังคม โสกราตีสกล้ายืนยันตนเอง และเผชิญหน้ากับความตายด้วยจิตใจที่สงบเยือกเย็น มหาตมคานธีก็มีจิตใจที่สงบสันติอย่างที่สุด นี่ เข้ากับความคิดของมาสโลว์ แต่ไม่มีอะไรให้ต้องสงสัยเลยว่ากาลิเลโอจะไม่ใช่คนที่มีแรงจูงใจขั้น สูงสุดในชีวิต แต่เขาก็ล้มเหลวในชีวิตแต่งงาน และมีอาการของความเครียดและโรคประสาทอย่าง ชัดเจนในช่วงหลังของชีวิต รุซโซเองก็ไม่ได้มีสภาพจิตใจที่ปกติเท่าใดนัก นี่เป็นประเด็นที่สาคัญ เพราะนักจิตวิเคราะห์อย่างอีริค ฟรอมม์ (Erich Fromm ค.ศ. 1900-80) เห็นว่าคนที่เป็นโรคประสาท จานวนมากเป็นคนที่มีความเป็นมนุษย์สูงกว่าคนที่เป็นปกติ ดังนั้น เราจะถือว่าทฤษฎีของมาสโลว์เป็นเพียงโจทย์ ของสิ่งที่เราจะต้องแสวงหาคาอธิบาย ต่อไป คือ ทาไมคนส่วนใหญ่จึงติดอยู่แค่ขั้นความต้องการความชื่นชมยกย่องจากสังคม? อะไรกันแน่ ที่ขัดขวางและหยุดยั้งการพัฒนาเติบโตของพวกเขา? อะไรกันแน่ที่ทาให้ผู้คนติดอยู่ในการดิ้นรน แสวงหาทรัพย์สมบัติ ความร่ารวย อานาจ และเกียรติยศหน้าตาในสังคม หรือในการเป็นมนุษย์ที่มี ความต้องการอย่างไม่รู้จักเพียงพอ?
วิเคราะห์ความฟุ่มเฟือยในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แต่ก่อนอื่น ขอให้เราใช้ทฤษฎีของมาสโลว์มาสารวจความเป็นจริงของตัวเรา เพื่อที่จะดูว่า อะไรคือแรงจูงใจที่สูงที่สุดขณะนี้ของเรา ขณะนี้คุณกาลังเรียนรู้ทุกวิชาด้วยความรู้สึกท้าทายหรือ เปล่า คุณทุ่มเทจิตใจลงไปเพราะมันท้าทายต่อความสามารถ ท้าทายต่อความอยากรู้อยากเห็นอยาก เข้าใจในความเป็นจริงของโลก หรือเพราะคุณรักในสิ่งที่คุณกาลังเรียนรู้หรือไม่ คุณคงมีความรู้สึก เช่นนี้อยู่ในระดับมากน้อยต่างกัน คงไม่ใช่ว่าคุณไม่ได้มีแรงจูงใจต่อการค้นพบและพัฒนาศักยภาพ เลย แต่อาจจะมีเพียงแค่อ่อนๆ คุณอาจคิดถึงเรื่องนาไปใช้ประกอบอาชีพแสวงหาความมั่นคงในชีวิต มากกว่า คุณอาจจะอยากได้เกียรตินิยมเพื่อจะได้ไต่เต้าเรียนต่อหรือสมัครงานได้ง่าย คุณอาจคิดหา เลือกเรียนวิชาที่ง่ายๆ เพื่อให้ได้เกรดสวยๆ หรือคุณอาจจะเลือกหาวิชาที่คุณชอบจริงๆ หรือแม้แต่ ตอนนี้คุณก็อาจคิดแล้วว่าจะต้องเรียนต่อปริญญาโทปริญญาเอกเพื่อให้เหนือกว่าคนอื่น
127
หันมามองดูกิจกรรมพิเศษของคุณนอกห้องเรียน ตั้งแต่เริ่มต้นเข้ามา พวกคุณบางคนก็มี ความรู้สึกไม่มั่นคง กลัวต่อการที่จะต้องดูแลตัวเอง เมื่อมีรุ่นพี่เสนอตัวเข้ามาดูแลให้ความช่วยเหลือ คุณก็ดีใจตอบรับอย่างไม่รู้อะไร รีบเข้ากลุ่มรวมพลเข้าพวกเพื่อให้มีสังกัด แล้วคุณก็เผชิญหน้าต่อการ ใช้อานาจอย่างไร้สาระ คุณเจ็บปวดแต่ก็ยอมทนเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากรุ่นพี่ และจากเพื่อนส่วน ใหญ่ที่ยอมตนอยู่ใต้อานาจของรุ่นพี่ เพื่อให้ได้รุ่น เราเคยอธิบายไว้ว่าเพราะคุณต้องการ “อัตลักษณ์ ร่วม” คือได้มีชื่อว่าเป็น “กาสะลอง” “กาลพฤกษ์” “จามจุรี” ช่อที่เท่านั้นเท่านี้หรือมีเลือดสีนั่นสีนี้ นั่น เป็นประเด็นของวิชาสังคมวิทยา แต่เบื้องหลังพลังผลักดันทางสังคมก็คือจิตวิทยา นักจิตวิทยาได้ทา การทดลอง และพบว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะพยายามกลืนตนเองให้เข้ากับกลุ่มคนที่ตนต้องอยู่ร่วม ด้วย หรือยอมรับอานาจและคาสั่งของคนอื่นที่ตนสมัครใจเข้าไปผูกพัน เช่น ในการทดลองให้ตอบ คาถาม คนจะตัดสินใจเลือกคาตอบที่ตนเองรู้ว่าผิดเพื่อให้เข้ากับคนอื่นๆ ที่เป็นตัวล่อ หรือเมื่อสมัคร เข้ามาสู่การทดลองแล้ว คนจะยอมรับคาสั่งของผู้ทดลองให้กดปุ่มช็อตไฟฟ้าตัวล่อซึ่งตอบคาถามผิด แต่สถานการณ์ที่นักจิตวิทยาทดลองนี้ยังนับว่าตื้นมากเมื่อเทียบกับชีวิตจริง ในระบบโซตัส ของไทย นักศึกษายอมกลืนตนเองและสยบให้กับอานาจจนอาจบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หรือฆ่าตัวตาย เพราะทนไม่ไหว ในอเมริกามีความเชื่อแบบแฟชั่น ว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่สามารถดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ได้รวดเดียว 5 แก้ว และเมื่อมีคนที่ไม่เคยชินกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พยายาม พิสูจน์ตัวเองแบบนั้น เพราะถูกท้าทายจากสังคมที่ตนเพิ่งไปเข้าร่วมเป็นพวก เช่น เพิ่งเข้าไปเป็นน้อง ใหม่ แล้วก็เสียชีวิตเพราะร่างกายรับไม่ไหว ทาให้มีการสารวจกันอย่างจริงจังว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่ทา เช่นนั้นได้ หรือเคยพิสูจน์ตนเองแบบนั้นมาแล้วจริงหรือไม่ เมื่อผลออกมาว่ามีเพียงคนส่วนน้อย เท่านั้น แรงกดดันของแฟชั่นนี้ก็ลดน้อยลงไปได้บ้าง ดังนั้นคาถามก็คือ แนวโน้มตามธรรมชาติของคนที่จะกลืนตนเองด้วยการทาตัวให้เหมือนกับ ผู้อื่น หรือจะยอมรับอานาจของคนที่ตนเข้าไปผูกพันมีมากแค่ไหนกันแน่? ดูเหมือนว่าคนจะยอม คล้อยตามสังคมจนตัวตาย นักจิตวิทยาเชื่อว่าวัฒนธรรมเป็นตัวแปรที่สาคัญ ในวัฒนธรรมที่ส่งเสริม ตัวตนเดี่ยว (หมายถึงตัวตนที่เป็นปัจเจกสูง) คนจะยอมกลืนตนเองและยอมตามอานาจในขอบเขตที่ น้อยกว่าคนในวัฒนธรรมที่สนับสนุนตัวตนร่วม (หมายถึงตัวตนที่เป็นปัจเจกต่า) แต่ทฤษฎีของมาส โลว์จะมุ่งมองไปที่รายบุคคล และบอกว่าประเด็นสาคัญอยู่ที่ว่าคุณกาลังมีแรงจูงใจในชีวิตสูงสุดอยู่ใน ขั้นใด ในกรณีนี้ก็คือคุณอยู่ในขั้นความต้องการความรัก และการได้รับการยกย่องยอมรับจากหมู่คณะ และการเป็นส่วนหนึ่งของผู้อื่นอยู่หรือไม่ หากคุณมีความต้องการขั้นนี้สูงมาก คุณก็จะยอมคล้อยตาม จนอาจเกินขอบเขตที่ร่างกายหรือจิตใจคุณจะทนได้ คนที่ก้าวพ้นขั้นนี้ไปสู่ขั้นความต้องการความชื่น ชมในตนเอง จะมีความมั่นใจตนเอง รักในอิสรภาพของตนเอง จะแยกตนออกมาจากสังคมหมู่มาก แสวงหาโอกาสที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองในกิจกรรมอื่น คือในกลุ่มคนเล็กๆ ทีม่ ีความสนใจใน สิ่งเดียวกับตนเองมากกว่า อาจมีคนกล่าวว่าคนที่แยกตัวออกไปมี “ทักษะทางสังคม” น้อยกว่าคนอื่น
128
และจะประสบความสาเร็จในสังคมน้อยกว่า นี่คงจะจริงเพราะคนที่แยกออกไปเป็นอิสระ จะก้าวข้าม ไปสู่ขั้นการค้นพบ และสร้างความเป็นจริงแห่งตน มากกว่าที่จะหลุดเข้าไปติดอยู่ในวังวนของการ แข่งขันในอานาจ เกียรติ และความยกย่องชื่นชมจากสังคม และการติดอยู่ในวังวนของการแข่งขัน นี้ เองคือสิ่งที่นักศึกษาไทยผู้มีรุ่นและมี “ทักษะทางสังคม” ทั้งหลายล้วนแต่พากันพัฒนาไปถึงเมื่อพวก เขากลายเป็นบัณฑิต พยานหลักฐานก็คือสิ่งทั้งหลายที่บัณฑิตทาในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ในระยะเวลายี่สิบปีที่ผ่านมานี้ พิธีพระราชทานปริญญาบัตรจัดขึ้นอย่างใหญ่โตมากขึ้นทุกที บัณฑิตและผู้มาร่วมงานก็ใช้จ่ายเงินเพื่อหน้าตาอย่างฟุ่มเฟือยมากขึ้นจนถึงขั้นที่เรียกได้ว่าไร้สาระ และมีคนเริ่มตั้งคาถามว่าบัณฑิตไทยปัญญาอ่อนหรือเปล่า เพราะอาจไม่มีที่ไหนในโลกที่ผู้คนทุ่มเท ให้กับพิธีการนี้ เท่ากับในประเทศไทยปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีการสมมติให้มีพิธีกรรมพิเศษ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการสาเร็จ การศึกษา แต่สิ่งที่น่าประหลาดก็คือ ทาไมสิ่งที่มาประกอบจึงต้องหรูหราฟุ่มเฟือย อย่างเห็นได้ชัดว่า เป็นการแข่งขันกันในหน้าตา และจะต้องทุ่มเททุกอย่างลงไป เช่น การไล่เลี้ยงอาหารกันสามวันสาม คืนระหว่างญาติสนิทมิตรสหายรุ่นพี่รุ่นน้อง หมดเงินเป็นหมื่นๆ การจ้างตากล้อง การถ่ายวิดีโอการ ถ่ายรูปเป็นร้อยๆ ภาพ การแต่งหน้าราวกับเข้าพิธีแต่งงานของบัณฑิตสาวหรือแฟนบัณฑิตหนุ่ม การ แจกของขวัญแสดงความยินดีด้วยช่อดอกไม้ขนาดใหญ่ หรือดอกไม้ราคาแพงจากต่างประเทศ หรือ การให้ของขวัญเป็นตุ๊กตาตัวใหญ่ๆ การโอ้อวดกันว่าใครมีดาราหรือคนไฮโซมาร่วมถ่ายรูปแสดง ความยินดี มีผู้วิเคราะห์ว่าสิ่งที่สาคัญที่สุดคือการถ่ายรูป สิ่งประกอบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นแขก แฟน เพื่อน ดอกไม้และตุ๊กตา นี่คือฉากของการถ่ายรูปที่จะมีบัณฑิตเป็นหัวใจอยู่ตรงกลาง ยิ่งมีตัวประกอบ หรูหราที่ปรากฏแสดงอยู่ในภาพถ่ายได้มากเท่าไร ก็แสดงออกถึงความเป็นผู้ที่ได้รับความรักจากคน อื่นมากเท่านั้น ผู้วิเคราะห์ประชดว่าดอกไม้ที่มาห้อมล้อมในรูปถ่ายนั้น มากมายราวกับพวงหรีด ประดับงานศพ ตุ๊กตาตัวโตเพื่อให้มีสีสัน และเพื่อแสดงความน่ารักไร้เดียงสาราวกับเด็กของบัณฑิต สาว ซึ่งที่จริงก็ควรจะโตพ้นวัยเล่นตุ๊กตาไปนานแล้ว แล้วถ้าบัณฑิตสาวได้แหวนเพชรเป็นของขวัญ ในวันนั้น ก็คงโมโหมากเพราะมันไม่อาจทาให้การถ่ายรูปของเธอเด่นขึ้นได้ การเลี้ยงกันอย่างใหญ่โต ก็เพื่อแสดงความเป็นที่รักเป็นที่รู้จักชื่นชอบของผู้คนมากมาย ทั้งหมดนี่คือภาพ คือการแสดง เป็นเครื่องหมายของการประสบความสาเร็จในชีวิต ประเด็น สาคัญไม่ใช่อยู่ที่การแสดงว่าเป็นผู้สาเร็จการศึกษาแต่อย่างใดทั้งสิ้น นั่นเป็นแค่องค์ประกอบรอง องค์ประกอบหลักคือการประสบความสาเร็จทางสังคมของการเป็นที่รักของคนจานวนมากมาย (ผล ของการมีทักษะทางสังคมสูง) นี่คือสาเหตุของความฟุ่มเฟือย และความหรูหราอย่างไร้สาระ ความ ต้องการความรักการเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ เมื่อตอนเป็นน้องใหม่ กลายมาเป็นการแสวงหา และ การแข่งขันกันการแสดงออกถึงการเป็นที่รักที่ยกย่องชื่นชมของผู้คนเมื่อเป็นบัณฑิต ยิ่งมีคนมาแสดง
129
ความรักมาร่วมชื่นชมมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นชัยชนะในหน้าตามากขึ้นเท่านั้น อาจมีคนกล่าวแก้ตัวว่า ถ้า ความสุขซื้อหาได้ด้วยเงินก็ดีไม่ใช่หรือ คาตอบก็คือ ใช่ ถ้าคุณใช้จ่ายอยู่ในขอบเขตของเหตุผล แต่มี ใครสักกี่คนที่ไม่ต้องก่อหนี้ยืมสิน หรือใช้จ่ายเงินออมของตนไปจนหมดในเวลาสามสี่วันนั้น คุณไม่ ควรเก็บเงินทองไว้ใช้ในสิ่งอื่นที่มีคุณค่ายิ่งกว่าหรือ? คุณอาจจะตอบว่าคุณค่าของสิ่งต่างๆ อยู่ที่ ความรู้สึกในจิตใจ แต่จิตใจของคุณหลงใหลอยู่ในอะไร? นักสังคมวิทยาจะบอกว่า เมื่อคุณเห็น ความสุขทางใจของคุณอยู่ที่การแสวงหาและใช้จ่ายเงิน คุณกาลังหลงอยู่ในมายาคติของลัทธิบริโภค นิยม ตามทฤษฎีของมาสโลว์นั่นคือคนที่ติดอยู่ในขั้นของการแสวงหาความยกย่องชื่นชมจากสังคม. สรุป เราได้เห็นประเด็นหลักๆ ของจิตวิทยาพัฒนาการ และได้เห็นว่าเรากาลังอยู่ในจุดไหน บนลาดับขั้นของพัฒนาการ เราแตกต่างหรือเหมือนกับคนอื่นด้วยเหตุผลอะไร เรายังอยู่ในพัฒนาการ ขั้นต่าก็เพราะเราถูกขัดขวางหรือไม่ได้ถูกกระตุ้นให้คิด ไม่มีสิ่งมาท้าทายเพื่อให้เราต้องใช้กาลัง ปัญญาเอาชนะและยกความคิดอ่านของเราขึ้นไปสู่ระดับที่สูงขึ้น คาพูดที่ผู้เขียนอยากกล่าวก็คือโลกนี้ กาลังรอคุณอยู่ รอให้คุณเติบโตจากการเป็นผู้ที่จะเอาจากโลกมาเป็นผู้ที่จะให้ต่อโลก ดังนั้นจง แสวงหาและเผชิญหน้ากับความท้าทาย.
130
บทที่ 8 ด้านมืดของจิตใจ : ทาไมเราจึงไม่ต้องการความสัมพันธ์ที่เสมอภาค ในภาพยนตร์เรื่อง Good Will Hunting วิล ฮันติ้ง เป็นเด็กหนุ่มที่มีสมองเป็นอัจฉริยะทาง คณิตศาสตร์ แต่เขากลับเลือกที่จะเป็นภารโรงในมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะแอบแก้สมการทางคณิตศาสตร์ ที่เขียนไว้บนกระดาน เขาเป็นคนฉลาด สามารถเรียนรู้ทุกอย่างที่เขาต้องการจะรู้ ด้วยการอ่านหนังสือ ในห้องสมุด มีจิตใจที่รักความถูกต้องยุติธรรม แต่ก็กลับมีประวัติการใช้ความรุนแรงหลายต่อหลาย ครั้ง ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ ผู้ค้นพบอัจฉริยภาพของวิล ต้องประกันตัววิลออกมาจากสถานี ตารวจในข้อหาวิวาททาร้ายร่างกายผู้อื่น เขาต้องการให้วิลเป็นนักคณิตศาสตร์อาชีพ แต่วิลไม่ต้องการ แน่นอนว่าเขามีความสุขกับการใช้ศักยภาพทางคณิตศาสตร์ของเขา แต่เขาต้องการมีชีวิตอย่างง่ายๆ ใช้ แรงกายเลี้ยงชีพ และมีความสุขในการเที่ยวเตร่ดื่มเหล้าเบียร์กับเพื่อนรักที่ไร้การศึกษาสามสี่คน แต่ ศาสตราจารย์ประกันตัวเขาออกมาด้วยข้อตกลงว่า เขาจะยอมรับการบาบัดรักษาทางจิต เป้าหมายของ การบาบัดก็คือ ค้นหาเพื่อแก้ไขปมที่หยุดเขาจากการเติบโตไปสู่การมีชีวิตที่ใช้ศักยภาพของตนเอง อย่างเต็มที่ และหยุดเขาจากการแสวงหาและเป็นในสิ่งที่เขารู้สึกว่ามีค่าสูงสุด ภาพยนตร์แสดงให้เห็น ว่าปมนั้นก็คือ การถูกทอดทิ้งและการถูกทาร้ายทางร่างกายอย่างรุนแรงจากพ่อขี้เมาในวัยเด็ก ปมทั้ง สองนี้ทาให้เขาชดเชยด้วยการยึดติดอยู่กับเพื่อนผู้ภักดี ไม่สนใจต่ออนาคต ปฏิเสธความรักของผู้หญิง ที่ตนรัก เพราะกลัวการถูกทอดทิ้งอีกครั้งหนึ่ง และมีชีวิตอยู่กับการชกต่อยทะเลาะวิวาทกับคนที่ตน ไม่ชอบ เพื่อระบายความโกรธที่สั่งสมมาจากวัยเด็ก ภาพยนตร์แสดงให้เห็นว่า การบาบัดเกิดขึ้นบนพื้นฐานความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนระหว่างผู้ บาบัดและผู้รับการบาบัด ผู้บาบัดต้องใจเย็นสร้างความสัมพันธ์ และรอคอยเวลาที่ผู้รับบาบัดมีความ พร้อม เพื่อนาผู้รับบาบัดกลับไปมองประสบการณ์ที่เป็นปมฝังลึกอยู่ในจิตใจของตน เพื่อเปลี่ยน วิธีการมองให้เห็นเหตุการณ์นั้นตามความเป็นจริง แทนการตีความที่บิดเบือนที่เกิดจากความเข้าใจผิด ของวัยเด็ก เพื่อให้ผู้รับการบาบัดสามารถปลดปล่อยเหตุการณ์ที่เป็นปมนั้นออกไปจากจิตใจ หัน
131
กลับมามองชีวิตของตนใหม่ ก้าวเดินต่อไปข้างหน้าอย่างไม่ถูกปมนั้นหน่วงเหนี่ยวไว้ และวิลเองก็ ช่วยให้นักจิตวิทยาที่บาบัดตนนั้นปลดปล่อยปมที่เหนี่ยวรั้งชีวิตของเขาด้วยเช่นกัน สิ่งที่หน่วงเหนี่ยวเราไว้จากการเติบโตคือปมในอดีตของเรา หมายถึงสิ่งที่สร้างความรู้สึกเป็น ทุกข์ ที่ไม่มีทางระบายออกและถูกเก็บกดไว้ในจิตใจ เราอาจไม่รู้ตัวว่าเรามีปมบางอย่างอยู่ เพราะเรา ปฏิเสธที่จะรับรู้มัน หรือรีบหันเหจิตใจไปจากมันทันทีที่มันเข้ามาสู่ความรู้สึก เพราะมันเป็น ประสบการณ์ที่เจ็บปวด แต่แม้เมื่อมันพ้นจากการรับรู้ของเรามันก็ยังไปแอบซ่อนอยู่เบื้องหลังของ จิตใจ “จิตวิเคราะห์” หรือ Psychoanalysis คือสาขาของวิชาจิตวิทยาที่ศึกษากลไกต่างๆ ของจิตที่ เกี่ยวข้องกับปมและการเก็บกดทางจิตใจ เริ่มต้นโดย ซิกมันด์ ฟรอยด์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ช่วยให้เรา เข้าใจธรรมชาติด้านมืดของจิตใจ การแสวงหาอานาจ การหันเข้าหาความรุนแรง การถดถอยเหนี่ยวรั้ง ของพัฒนาการ พฤติกรรมที่ไร้สาระเกินเลยและออกนอกขอบเขตของเหตุผล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถพัฒนาแรงจูงใจในชีวิต ไปให้สูงกว่าขั้นของการต้องการความยกย่อง ชื่นชม ความรุนแรงและธรรมชาติของระบบโซตัส หรือความฟุ่มเฟือยอย่างไร้สาระของพิธี พระราชทานปริญญาบัตร และที่จริงแล้ว จิตวิเคราะห์ยังเปิดเผยให้เราเห็น ถึงความสัมพันธ์ของสิ่ง มากมายที่เราไม่เคยรับรู้เลยว่ามีความเชื่อมโยงต่อกัน หรือมีเหตุผลที่ลึกซึ้งบางอย่างซ่อนอยู่เบื้องหลัง นักจิตวิทยาใช้จิตวิเคราะห์ในการบาบัดผู้เจ็บป่วยทางจิต และนักการศึกษาอย่างเอ เอส นีลใช้จิต วิเคราะห์ช่วยให้เด็กที่มีปัญหา สามารถปรับตัวและเรียนรู้ต่อไปในโรงเรียนแบบเสรีของเขา และ เติบโตเป็นผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ต่อไปได้ เราได้เห็นจากบทที่แล้วว่า บางครั้งก่อนการเกิดขึ้นเป็นความรู้แบบวิทยาศาสตร์ ความเป็น จริงเกี่ยวกับมนุษย์เดียวกันนั้น อาจถูกรับรู้มาแล้วก่อนหน้าในฐานะความคิดทางปรัชญา หรืออาจถูก นามาสร้างสรรค์เป็นเรื่องราวโดยนักประพันธ์ผู้ที่หยั่งเห็นความจริงที่ลึกกว่าที่คนทั่วไปจะมองเห็น ธรรมชาติของจิตใจของมนุษย์ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์เคยได้รับการพรรณามาก่อนหน้าแล้ว ในงาน ของนักประพันธ์ชาวรัสเซีย ชื่อว่าดอสโตเยฟสกี้ (Feodor Dostoyevsky ค.ศ. 1821-81) ซึ่งปรากฏอย่าง ชัดเจนที่สุดในวรรณกรรมเรื่อง Notes from Underground (แปลโดย ศ. ศุภศิลป์ ในชื่อว่า “บันทึกจาก ใต้ถุนสังคม”) หนังสือเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็นสองภาค ภาคแรกเป็นการนาเสนอข้อโต้เถียงปรัชญา ปฏิเสธลัทธิเหตุผลนิยม ซึ่งเชื่อมโยงอยู่กับความคิดเรื่องความก้าวหน้าของมนุษยชาติ ภาคที่สองเป็น นิยายขนาดสั้นเล่าเหตุการณ์สาคัญตอนหนึ่งในชีวิตของผู้ที่เสนอความคิดทางปรัชญาไว้ในบันทึก ส่วนแรก งานชิ้นนี้ของดอสโตเยฟสกี้ไม่เพียงแต่ล้าหน้ายุคสมัยของเขา ในการเข้าถึงธรรมชาติทาง จิตวิทยาของมนุษย์เท่านั้น แต่การปฏิเสธลัทธิเหตุผลนิยม และการปฏิเสธความคิดเรื่องความก้าวหน้า ของมนุษยชาติของเขาก็ล้าหน้าความคิดทางปรัชญาของยุคสมัยของเขาด้วยเช่นกัน เขาไม่เชื่อว่าด้วย
132
การชี้นาของเหตุผล การตระหนักรู้ใน “ประโยชน์สุขที่แท้จริงของตนเอง” (ตามคาพูดของโสกราตีส) หรือการเข้าถึงใน “สิ่งอันสูงส่งและงดงาม” (ตามคาพูดของค้านท์) มนุษย์จะสามารถเติบโตพ้นความ ชั่วร้ายและสร้างโลกที่สมบูรณ์ ซึ่งรุ่งเรืองทางวัตถุด้วยวิทยาศาสตร์ สงบและสันติและเสมอภาค เพราะความขัดแย้งทั้งหลายได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไปด้วยศีลธรรมที่มนุษย์ผู้มีปัญญาที่สว่างกระจ่าง แล้ว สามารถมีร่วมกันอย่างเป็นสากล ตามแนวคิดแบบค้านท์ กล่าวก็คือ เขาไม่เชื่อในความเพ้อฝัน ของยุค “ความสว่างทางปัญญา” หรือยุค “enlightenment” ของยุโรป ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของการ ปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ และการล่มสลายของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชในยุโรป ซึ่งนักปรัชญาส่วน ใหญ่ในสมัยนั้นถือว่าประวัติศาสตร์ของยุโรปได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคสมัยใหม่แล้ว เป็นกระแสความคิดที่ เรียกตัวเองว่า “ลัทธิสมัยใหม่นิยม” หรือ “นวยุคนิยม” (Modernism) อันมีค้านท์เป็นผู้นา (อาจกล่าวได้ ว่าค้านท์คือจุดสุดยอดของลัทธิเหตุผลนิยมที่เริ่มต้นไว้โดยโสกราตีส) แต่ดอสโตเยฟสกี้เชื่อว่ามนุษย์นั้นมีธรรมชาติเบื้องลึกที่ไร้เหตุผล (irrational) ดังนั้นจึงเต็มไป ด้วยความขัดแย้งในตนเอง คือ มีทั้งความปรารถนาที่ดีและความปรารถนาที่ชั่วร้าย ทั้งต้องการที่จะยก ย่องชื่นชมตัวเองในความดีงาม แต่ก็มีความสุขความสะใจในการเห็นตัวเองตกต่าลงไปสู่ความชั่วร้าย อย่างไรก็ตาม เขาก็เห็นว่า ความขัดแย้งในตนเองนี้เกิดจากการถูกกระทา คือเป็นผลของความเจ็บปวด ที่ผลักดันไปสู่ความต้องการที่จะแก้แค้น หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า เป็นผลของความรู้สึกด้อย อานาจ ที่ผลักดันไปสู่ความต้องการมีอานาจเหนือผู้อื่น และแรงผลักดันนี้อยู่นอกเหนืออานาจการ หักล้างของเหตุผลหรือการควบคุมของศีลธรรม ในหนังสือบันทึกจากใต้ถุนสังคมภาคที่หนึ่ง ตัวผู้ดาเนินเรื่อง คือ “ผม” เล่าเรื่องตัวของเขา เล็กน้อย ว่าเขาเป็นเขาเป็นคนมีการศึกษา เป็น “ปัญญาชน” แต่ค่อนข้างจน เคยทางานเป็นข้าราชการ เขาเล่าถึงการกลั่นแกล้งที่เขากระทาต่อผู้ที่มาติดต่อการงานกับเขา พูดถึงความสุขในความเจ็บปวด ความสุขในความแค้น วิธีที่ผู้คนจัดการกับความแค้นในลักษณะที่ต่างกัน แล้วจึงเริ่มโต้เถียงกับ ความคิดทางปรัชญาที่เขาไม่เห็นด้วย “ผม” ยืนยันว่า กาลังบันทึกความคิดเห็นของตนเอง แต่เขาก็พูด ราวกับกาลังตอบโต้กับผู้อ่าน และคาดเดาว่าผู้อ่านจะรู้สึกอย่างไรต่อตัวเขา และจะตอบโต้กับความคิด ของเขาอย่างไร และตลอดเวลาเขาแสดงออกด้วยน้าเสียงที่เยาะเย้ย ถากถาง ดูหมิน่ ดูแคลนผู้อ่าน เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกโกรธ เขาชอบพูดในสิ่งที่ขัดแย้งกันเอง จนผู้อ่านอาจทั้งรู้สึกโกรธ งง ราคาญ และ อาจสรุปเอาง่ายๆ ว่าเขาเป็นคนบ้า ยิ่งเมื่อเขาเล่าถึงเหตุการณ์ในชีวิตของเขาในภาคสอง ว่าเขาดูถูก ตัวเอง แต่ก็ยกตัวเองว่าฉลาดกว่าคนอื่น และทั้งรู้สึกดูถูกคนอื่น แต่ก็กลัวคนอื่นพร้อมๆ กับรู้สึกว่าคน อื่นๆ ก็ดูถูกตน และยิ่งพบว่าเขาโกรธแค้นเอาอย่างเป็นจริงเป็นจังกับอะไรเล็กๆ น้อยๆ แล้วก็ จินตนาการเพ้อฝันเหตุการณ์ว่าจะแก้แค้นเป็นเรื่องราวใหญ่โต แล้วก็ไม่กล้าทาจริง แต่ก็ยังพยายามหา ข้อแก้ตัวที่ฟังดูดีมาหลอกตัวเอง เราก็ยิ่งอาจจะเห็นเขาเป็นคนบ้า จนอาจหมดความสนใจที่จะหาทาง ทาความเข้าใจกับคาพร่าเพ้อของเขา
133
มีข้อที่เราต้องระวังในการอ่านนิยายเรื่องนี้ของดอสโตเยฟสกี้ ประการที่หนึ่งก็คือ “ผม” ไม่ใช่ตัวตนของดอสโตเยฟสกี้ แม้ว่าข้อโต้เถียงทางปรัชญาจะเป็นความคิดของเขาเองอย่างแน่นอน แต่เขาก็เอามันมาพูดผ่านปากของตัวละคร ที่เขาต้องการเสียดสีล้อเลียน เพื่อที่จะไม่ให้มันมีอิทธิพล ต่อผู้อ่านอย่างง่ายๆ แต่ให้ผู้อ่านรับรู้น้าหนักของมันด้วยตัวเอง หรือแม้แต่เมื่อมันออกมาจากปากของ คนประเภทที่ผู้อ่านจะไม่ชอบ ประการที่สองก็คือ ดอสโตเยฟสกี้เองก็มีเป้าหมายทางศีลธรรม นั่นก็ คือ เขาต้องการจะบอกเราว่า สิ่งที่ชั่วร้ายที่สุดที่มนุษย์กระทาต่อกัน คือการแบ่งแยกและดูถูกเหยียด หยามกันในสังคม “ผม” เล่าให้เราฟังว่า ในวัยเด็ก การที่เขาเป็นเด็กกาพร้าและยากจน ทาให้เขาถูก เพื่อนในชั้นเรียนดูถูกเหยียดหยาม กีดกันออกไปจากกลุ่ม และเมื่อเป็นผู้ใหญ่ เดินอยู่บนถนน เขาก็ยัง ถูกคนที่มีอานาจ ทากับเขาราวกับเป็นแค่กิ่งไม้ใบหญ้าที่ปัดให้พ้นทาง สิ่งที่ดอสโตเยฟสกี้แสดงให้เรา เห็น คือสภาพจิตใจของคนที่ถูกคนอื่นดูถูกเหยียดหยาม กีดกันจากการคบหาสมาคม สภาพความรู้สึก นึกคิดของเขา และแนวโน้มที่เขาจะตอบโต้ออกมาในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การที่ “ผม” พูดกับ ผู้อ่านด้วยน้าเสียงและท่าทีที่หยาบกระด้างดูหมิ่นดูแคลน ก็เพราะความโกรธแค้นต่อสังคมของเขา ที่ เป็นผลจากการถูกกระทา การที่ดอสโตเยฟสกี้เลือกที่จะนาเสนอความคิดของเขาในรูปของบันทึกของ คนลักษณะเช่นนี้ ก็เพื่อที่จะให้ผู้อ่านถูกกระทบโดยตรงจากอารมณ์โกรธของตัวละครผู้เคราะห์ร้าย ของเขา เขาต้องการให้เราเอาชนะความโกรธของตัวเอง และหันกลับมาสงสารตัวละครของเขา ในภาคสอง “ผม” เล่าให้ฟังผ่านๆ ว่าเขาถูกญาติห่างๆ ส่งเข้าเรียนในโรงเรียนประจา แสดงให้ เห็นถึงการถูกทอดทิ้ง และไม่ได้รับความรักมาตั้งแต่วัยเด็ก นี่ดูเหมือนจะให้คาอธิบายส่วนหนึ่งต่อ จิตใจของเขา ที่ทั้งต้องการความรักและกลัวที่จะรัก แม้เขาจะถูกเพื่อนๆ ดูถูกกีดกันออกจากกลุ่ม แต่ เขาก็พยายามเรียนจนเก่ง และทาให้เพื่อนร่วมห้องคนหนึ่งหันมาหลงใหลบูชา แต่แล้วเขาก็ไม่ชอบ ทา จนเพื่อนคนนั้นทนเขาไม่ไหว เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกในวัยผู้ใหญ่ ในความสัมพันธ์ระหว่างเขากับ “ลิซ่า” ดังนั้นเขาจึงมีอะไรคล้ายกับวิล ฮันติ้ง ที่พยายามสลัดรักจากผู้หญิงที่ตนรัก เพราะกลัวที่จะถูก ทอดทิ้งทีหลัง แต่ “ผม” โชคร้ายกว่าวิล ผู้ซึ่งถูกพ่อทาทารุณทางกาย แต่เขาถูกทาทารุณทางจิตใจด้วย การถูกเหยียดหยาม และกีดกันทางสังคม เพราะเขามีชีวิตอยู่ในสังคมแบบศักดินาและแบ่งแยกชนชั้น ของยุโรปในอดีต ในขณะที่วิลมีชีวิตอยู่ในสังคมอเมริกันปัจจุบัน ที่สังคมออกมาตรการต่างๆ เพื่อ ป้องกันการดูถูกเหยียดหยามและการกีดกันทางสังคมไว้ได้พอสมควร ในภาพยนตร์เรื่อง Good Will Hunting เราจะเห็นว่าแม้แต่ภารโรงก็มีอานาจที่จะเยาะเย้ย และบังคับศาสตราจารย์ให้อ่อนน้อมสุภาพ ต่อตน หากต้องการความช่วยเหลือที่นอกเหนือจากภาระงานปกติของพวกเขา มีคาศัพท์หนึ่ง ในวิชาสังคมศาสตร์ยุคปัจจุบัน ที่สามารถนามาบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นกับ “ผม” นัน่ ก็คือคาว่า “คนชายขอบของสังคม” คาๆ นี้หมายถึง การที่คนส่วนน้อยสูญเสียสิ่งที่มีค่าในชีวิต เพราะถูกผลักดันออกไปจากเครือข่ายของผลประโยชน์ที่ระบบศูนย์กลางอานาจ ดูแลคุ้มครองให้กับ คนส่วนใหญ่ซึ่งสัมพันธ์ใกล้ชิดกับระบบอานาจ อาจด้วยสาเหตุที่คนส่วนน้อยดังกล่าว ตัดขาดตนเอง
134
อยู่นอกขอบเขตทางกายภาพของสังคมใหญ่ เช่น คนเผ่าผีตองเหลือง ซึ่งสภาพชีวิตดั้งเดิมของเขาถูก ทาลายไปโดยระบบเศรษฐกิจของสังคมเมือง หรืออาจจะเป็นคนที่อยู่ภายในขอบเขตทางกายภาพของ สังคม แต่ก็ถูกตัดขาดจากระบบผลประโยชน์ เพราะขาดคุณสมบัติบางอย่าง เช่น ผู้อพยพลี้ภัยจาก ภายนอกประเทศ ชาวสลัมซึ่งบุกรุกที่ของทางราชการ ทาให้เขาต้องอยู่นอกระบบทะเบียนราษฎร์ อัน ทาให้ไม่ได้รับการดูแลเรื่องสาธารณูปโภค สาธารณสุขและการศึกษาสาหรับบุตร หรือผู้ที่ดาเนินชีวิต นอกแบบแผนของคนส่วนใหญ่ เช่น หญิงโสเภณี ที่ไม่ได้รับการดูแลคุ้มครองทางกฎหมาย แรงงาน ต่างด้าวนอกกฎหมาย หรือคนที่สูญเสียเกียรติและศักดิ์ศรีในสังคม เพราะถูกกีดกันออกไป เพราะเหตุ จากบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นกับพวกเขา เช่น คนพิการ คนเป็นโรคเอดส์ หรือ คนที่ต้องสูญเสีย “ตัวตน” คือไม่อาจเป็นอย่างที่ตนต้องการเป็นได้ เพียงเพราะอคติและการดูถูกแบ่งแยกของสังคม เช่น คนเพศที่สาม และคนรักร่วมเพศที่แม้จะอยู่ร่วมกันแบบสามีภรรยา ก็ไม่สามารถจดทะเบียนสมรสเพื่อ สิทธิทางกฎหมายใดๆ คาว่า “คนชายขอบของสังคม” จึงมีนัยพอที่จะครอบคลุมถึงใครก็ตามที่ถูก กระทาให้ไร้ตัวตนไร้เกียรติและศักดิ์ศรีในสังคม แม้ว่า “ผม” จะออกมาเดิน กิน พบปะผู้คน และทางานอยู่ใน “ท่ามกลาง” สังคมเป็นบางครั้ง บางคราวก็ตาม แต่เขาก็แยกตัวเองออกจากสังคม มองตนเองว่ามีชีวิตอาศัยอยู่ในอาณาบริเวณ “ใต้ถุน” ของสังคม เพราะความจนและความไร้เกียรติและศักดิ์ศรี เช่นเดียวกับหญิงโสเภณี แต่ประเด็นสาคัญ อยู่ที่การถูกกีดกัน การถูกผลักใสออกไปอยู่ข้างนอกขอบวงของสังคมเพราะอคติ ความรังเกียจและ ความไร้น้าใจของคนที่เกาะกลุ่มกันอยู่ในส่วนกลางของสังคม ในชั้นเรียนเขาถูกทาให้กลายเป็นคน ชายขอบ เพราะเพื่อนร่วมชั้นพากันห้อมล้อมเอาใจลูกคนรวยมีศักดินาคนหนึ่งที่เขาไม่ชอบ นี่คือพื้น หลังสาคัญที่เขาเล่าให้ฟังว่านามาสู่การเป็นคนใต้ถุนสังคม และนามาสู่เหตุการณ์บางอย่างที่ฝังใจเขา ในภายหลังอย่างไร เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในความสัมพันธ์กับหญิงโสเภณีชื่อ “ลิซ่า” ซึ่งเป็นช่วงชีวิตหลังจากที่เขา เรียนจบอย่างนับว่ามีการศึกษาสูง แต่กลับรับราชการในตาแหน่งพื้นๆ ตาแหน่งหนึ่ง เขาเล่าว่าเขาหยิ่ง ทะนง เพราะเขาคิดว่าเขาแตกต่างไม่เหมือนผู้คนอื่น และแม้จะพยายาม แต่ก็ไม่สามารถคบหาใคร เป็นเพื่อนสนิทสนมได้นานนัก จึงแยกตัวเองออกจากผู้คน แต่บางครั้งเขาก็อยากที่จะออกมาสัมผัสกับ มนุษย์ผู้อื่นบ้าง ซึ่งสะท้อนว่าเขาแอบซ่อนความต้องการที่จะมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่ลึกๆ จึง ออกมาเยี่ยมบ้านเจ้านาย มานั่งฟังคนที่มีตาแหน่งสูงพูดคุยกันบ้าง บางครั้งเขาก็ออกมาเดินบนถนนที่มี ผู้คนออกมาเที่ยวกินดื่ม ครั้งหนึ่งเขาเห็นชายคนหนึ่งถูกโยนออกมาทางหน้าต่างของร้านเหล้า เขารู้สึก อิจฉา เพราะคิดว่าชายคนนั้นคงมีเรื่องดูหมิ่นศักดิ์ศรีกัน จึงเกิดการทะเลาะชกต่อย เขาอยากจะกล้า อย่างนั้นบ้าง คือแม้จะถูกโยนออกมา ก็ยังลุกขึ้นยืนปัดฝุ่น เชิดหน้า และเดินจากไปได้อย่างทะนง เขา จึงเดินเข้าไปในร้านเหล้า คิดเพ้อฝันว่าจะเกิดเรื่องชกต่อยบ้าง ในร้านนั้นเองเขายืนขวางทางนายทหาร
135
ที่ร่างสูงใหญ่กว่าเขามากคนหนึ่งอย่างไม่รู้ตัว นายทหารคนนั้นจับไหล่เขา ดึงเขาออกไปจากทาง แล้ว ก็เดินต่อไปอย่างไม่ขอโทษสักคา เขาโกรธมาก แต่กลับไม่กล้าหาเรื่องชกต่อยอย่างตั้งใจ ในเวลาสองปีต่อจากนั้น เขาเฝ้าติดตาม และสืบจนรู้จักที่อยู่ ชื่อเสียงเรียงนามของนายทหาร นั้น ด้วยความแค้นเคือง เขาจินตนาการเพ้อฝันถึงหนทางแก้แค้น คิดกระทั่งจะเขียนจดหมายไปท้า ดวลปืน แต่ก็ไม่กล้าทาจริง มีถนนหนึ่งที่คนชั้นสูงชอบไปเดิน เขาเองก็ไปเดินพบและสวนทางกับ นายทหารคนนั้นบ่อยๆ ที่นั่น เขาพบว่านายทหารคนนั้นต้องคอยหลบทาง ให้กับบรรดานายพลและ คนสูงศักดิ์ เช่นเดียวกับเขาและคนต่าศักดิ์คนอื่น แต่กับคนสามัญและคนที่แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าราคาถูก อย่างเขา นายทหารคนนั้นจะเดินตรงเข้าใส่ให้พวกเขาหลบทางให้ ราวกับพวกเขาเป็นแค่อากาศธาตุ และทุกครั้งที่สวนทางกัน เขาเองก็เป็นฝ่ายหลีกทางให้นายทหารผู้นั้น เขาเฝ้าคิดอย่างขมขื่นว่าทาไม ทั้งสองจึงไม่ควรหลีกทางให้แก่กันและกัน อย่างคนที่เคารพซึ่งกันและกัน1 และตัดสินใจวางแผนที่จะ เดินชนไหล่กับนายทหารผู้นั้น เพื่อเรียกศักดิ์ศรีของตนกลับคืนมา เขาทาตามแผนด้วยการเบิก เงินเดือนล่วงหน้า และยืมเงินเจ้านายมาซื้อเสื้อผ้าราคาแพงใส่ เพื่อสร้างรูปลักษณ์ภายนอกให้เป็นผู้ดีมี ฐานะ แต่เขาก็เกือบทาไม่สาเร็จ เพราะไม่กล้าเดินชนไหล่กับนายทหารผู้นั้นเสียที ในที่สุดเขาก็กลั้นใจ หลับตาเดิน จนชนไหล่กับนายทหารผู้นั้นจนได้ ไหล่ของทั้งสองชนกันอย่างไม่มีใครหลบให้ใคร ไม่ มีการขอโทษกัน แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยอมให้มันผ่านไปอย่างสันติ เขารู้สึกว่า ในที่สุดเขาก็กู้ศักดิ์ศรี ยก “ฐานะทางสังคม” หรือตัวตนทางสังคม2 ขึ้นมาเสมอกับนายทหารผู้นั้นสาเร็จจนได้ แต่ก็ต้องยอม เจ็บปวด กับการลดตัวลงไปขอยืมเงินเจ้านาย ซึ่งก็เท่ากับว่าเขาก็ยังขาดทุนในเกียรติและศักดิ์ศรีอยู่ นั่นเอง (จะเห็นได้ว่านี่เป็นการนาเอาแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังการหาเสื้อผ้าราคาแพงมาสวมใส่ หรือ รถยนต์หรูมาขับขี่ หาโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ มาประดับตัว เพื่อสร้างความ “เทียมบ่าเทียมไหล่” กับ ผู้คนอื่นๆ ในสังคม มาสร้างเป็นเหตุการณ์ได้อย่างตรงตามตัวอักษรมากที่สุด) เหตุการณ์ฝังใจระหว่างเขากับ “ลิซ่า” เกิดตามมาจากเหตุการณ์ระหว่างเขาและเพื่อนเก่าในวัย เรียน วันหนึ่งหลังจากเรื่องของนายทหารนั้นจบไปแล้ว ความต้องการที่จะพบกับมนุษย์ ผลักดันเขาให้ ไปหาเพื่อนสมัยที่เรียนอยู่ในโรงเรียนคนหนึ่ง และรู้ว่ากลุ่มเพื่อนกาลังจะเลี้ยงส่งลูกคนรวยมีศักดินาที่ ไม่ถูกกับเขา ซึ่งตอนนี้ทางานเป็นนายทหาร และกาลังจะถูกส่งไปประจาเมืองอื่น และเช่นเคย กลุ่ม เพื่อนไม่แยแสเอาใจใส่ต่อตัวเขา พูดด้วยเพียงแค่ตามมารยาท ด้วยความโกรธเขาจึงขอไปร่วมออกเงิน นี่ชวนให้เราย้อนนึกไปถึงความขมขื่นที่เกิดขึ้นในการไหว้ของระบบโซตัส และในการทาให้การไหว้การ เป็นส่วนส่งเสริมการขายของระบบทุนนิยมไทยที่เราเคยพูดถึงมาแล้ว ทาไมเราจะต้องมาไหว้คนที่เพียงแค่ เข้ามาอยู่ในสถานศึกษาก่อนเรา หรือคนที่เอาเงินมาซื้อสินค้าและบริการของธุรกิจที่เราเป็นลูกจ้าง และก็ ไม่ได้มีอะไรดีวิเศษให้เราเคารพเลย คุณค่าในตัวเองที่ควรจะมีอย่างเท่าเทียมกับผู้อื่นของเรา อยู่ตรงไหน 1
2
ซึ่งสาหรับนิตซ์เช่แล้วธาตุแท้ของมันก็คือความพยายามที่จะเอาชนะกันในเชิงอานาจ
136
เลี้ยงส่งด้วย เมื่อถูกแสดงทีท่ารังเกียจ เขาก็ยิ่งต้องไป เพื่อไปทาให้พวกนั้นราคาญเป็นการแก้แค้น กลุ่มเพื่อนไม่ต้องการให้เขาอยู่เลี้ยง จึงเลื่อนเวลานัดออกไปหนึ่งชั่วโมงโดยไม่ส่งข่าวมาบอก เขาไป ถึงตามเวลาเดิม เดาเจตนาออก จึงอดทนรอเป็นชั่วโมง เมื่อกลุ่มเพื่อนมาถึง ก็ไม่มีใครแยแสต่อเขา เขา จึงหาเรื่องทะเลาะกับเพื่อนที่เป็นทหาร จึงถูกไล่ออกมาจากวง แต่เขาก็ยังไม่ยอมจากไป คิดวนเวียน หาทางที่จะกู้เกียรติตนเองอีก สุดท้ายเมื่อรู้ว่ากลุ่มเพื่อนจะไปหาความสุขต่อกัน “ที่นั่น” ก็ฉุดแขนขอ ยืมเงินเพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งโยนมาให้ด้วยความราคาญ เขาตามไปเพื่อจะไปหาเรื่องกับเพื่อนคนที่ไม่ถูก กันและดูถูกเขา วูบหนึ่งระหว่างทางก็เกิดตกใจกลัวสิ่งที่ตัวเองกาลังทา แต่ก็ห้ามตัวเองไม่อยู่ สุดท้ายก็ คิดว่าเป็นไงเป็นกัน จะตบหน้าท้าดวลกับเพื่อนทหาร คิดว่าจะไปยืมเงินจากใครมาซื้อปืน จินตนาการ ถึงคาพูดหรูๆ ที่จะใช้ ฉากลงเอยที่จะได้แสดงการให้อภัยและจิตใจที่สูงส่งดีงามกว่าของตนเอง โดย คิดเลียนแบบมาจากวรรณกรรมที่เคยอ่าน แต่เมื่อไปถึง “ที่นั่น” ก็ไม่พบเพื่อนคนใดเลย เขารู้สึกโล่งใจ ว่าพ้นจากสถานการณ์เสี่ยงภัยไปได้ แต่ก็ยังโกรธเกรี้ยว โสเภณีสาวคนหนึ่งเดินเข้ามา เขาเกิดความ ต้องการทางเพศและต้องการที่จะระบายความแค้นลงไปที่ใครสักคน จึงตกลงซื้อบริการของหญิงสาว คนนั้นกับแม่เล้า เหตุการณ์สาคัญเกิดขึ้นในห้องของหญิงโสเภณี หลังจากเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึง3 เขา เริ่มต้นสนทนา และรู้ว่าเธอชื่อ “ลิซ่า” เขาโกหกว่ามาที่นี่เพราะเมา และเริ่มพูดถึงความต่าช้าทาง ศีลธรรมที่เพิ่งผ่านไป เริ่มแรกลิซ่าตอบโต้อย่างทะนงตัว และหาว่าเขาท่องจาคาพูดมาจากหนังสือ แต่ เขาก็ค่อยๆ ปั้นแต่งคาพูด บรรยายถึงชีวิตของโสเภณี ที่มีแต่จะถูกใช้หาประโยชน์ ยิ่งแก่ตัวก็ยิ่งไร้ค่า และที่สุดก็จะต้องตายไปอย่างไร้คนแยแส ถูกรังเกียจและโยนทิ้งเหมือน “ผ้าขี้ริ้วเก่าๆ” เขาพูดถึง ความรักระหว่างชายหนุ่มหญิงสาว ที่โสเภณีไม่มีวันได้รู้จัก โดยเจตนาที่แท้จริงคือ ต้องการที่จะให้ลิ ซ่ารู้สึกเจ็บปวดกับความต่าต้อยด้อยค่าของตน เพื่อชดเชยให้กับความรู้สึกเดียวกันนั้นที่คนอื่นกระทา ต่อเขา ซึ่งเป็นการแก้แค้นเอากับคนบริสุทธิ์ที่ไม่เคยได้ทาอะไรกับตนเลย แต่เขาต้องทาราวกับว่าพูด ทุกอย่างออกมาด้วยความบริสุทธิ์ใจ หวังดี อยากให้ลิซ่าเกิดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ซึ่งเขาก็ประสบ ความสาเร็จตามเจตนาอันชั่วร้ายของตน ถ้อยคาของเขาทาให้ลิซ่าเจ็บปวด ร้องไห้คร่าครวญด้วย ความรู้สึกอดสูใจในชีวิตอันต่าค่าของตนเอง และเห็นเขาเป็นเหมือนผู้ปรารถนาดี เป็นที่พึ่งทางใจ เป็นราวกับพ่อพระที่มาโปรด มาช่วยฉุดจิตวิญญาณของตนออกจากปลักตมของความชั่วร้าย ที่จริง แล้วแม้ในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ เขาก็มีเจตนาร้าย เพราะเขาอยากให้ตัวเขาเองดูน่าเกลียดน่าขยะแขยง ในสายตาของลิซ่า เพื่อที่เขาจะได้มีความสุขทางเพศแต่เธอรู้สึกเจ็บปวดด้วยความรังเกียจ
เป็นธรรมเนียมของวรรณกรรมในยุคนั้นที่จะไม่กล่าวถึงฉากเพศสัมพันธ์ (ผู้อ่านที่ไม่ประสีประสาอาจงง กับจุดนี้ได้) 3
137
สิ่งที่น่าสนใจมากตรงนี้ก็คือ ดอสโตเยฟสกี้ทาให้เราเห็นว่า คนที่ซ่อนปมปัญหาไว้ข้างใน หากฉลาดพอและสถานการณ์เอื้ออานวย ก็สามารถจะนาเอาศีลธรรมออกมาบังหน้าและใช้มันทาร้าย “เหยื่อ” เพื่อระบายความโกรธแค้นเจ็บปวดของตนเอง และผู้ที่อ่อนแอเพราะมีปัญหาของตนเองซ่อน อยู่ภายใน ก็จะตกอยู่ใต้อานาจของ “วาทกรรม” ทางศีลธรรมนั้น แม้จะเจ็บปวด แต่ด้วยความเป็น “มา โซคิสต์” (masochist) ที่แฝงอยู่ในตัว ก็จะเกิดความรักความบูชาในตัว “ซาดิสต์” (sadist) ผู้ที่กระทา รุนแรงกับตน หลงเชื่อถ้อยคาว่าเขาทาร้ายตน ก็เพราะความรักความปรารถนาดีอยากให้ตนเป็นคนดี ยิ่งขึ้น เราควรหยุดและหันกลับมามองชีวิตจริงของเราตรงนี้สักนิดว่า มีอะไรที่พอจะเทียบเคียงกับ วาทกรรมที่ “ผม” ใช้กระทากับ “ลิซ่า” หรือไม่ มองดูชีวิตคุณในมหาวิทยาลัย คุณเข้ามาใหม่ วัฒนธรรมชนชั้น การเลี้ยงดูของพ่อแม่ การอบรมของโรงเรียน พร่าสอนให้คุณอ่อนน้อมคล้อยตาม คุณไม่เคยมีเสรีภาพที่จะเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง รู้สึกอ่อนแอ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้า ที่จะอยู่อย่างเป็นเอกเทศและรับผิดชอบตนเอง ในภาษาของนักจิตวิทยา คุณคือคนที่ขาดความรู้สึกยก ย่องชื่นชมในตนเอง มีคนกลุ่มใหญ่ประกาศตนว่าเขารักคุณ จะปกป้องดูแลคุณ คุณก็รีบวิ่งเข้าไปสู่ อ้อมแขนของเขา แล้วก็พบว่า จะต้องยอมตนอยู่ใต้เขา ยกมือไหว้เขาเพื่อประจบเอาใจ วัฒนธรรมชน ชั้นที่คุณเติบโตมาทาให้เรื่องนี้เป็นของง่าย แล้วในที่สุดคุณก็ถูกฝึกทหาร ถูกขู่ตะคอก ถูกทารุนแรง ราวกับโกรธกันมาสักร้อยปี ทาอะไรก็กลายเป็นความผิดไปหมด แต่หลังจากนั้นเมื่อสาสมแก่ใจเขา แล้ว ก็จะมีการเล่นละครหลั่งน้าตาในพิธี “กาซาบ” ที่เป็นสูตรสาเร็จ ที่จะบอกว่าที่ทาไปทั้งหมดนั้นใจ จริงแล้วไม่ได้อยากทาเลย (แต่ก็ทาได้อย่างเมามันสมจริงมาก!) ที่ต้องฝืนใจทาก็เพราะความรัก ความหวังดี อยากให้คุณเข้มแข็งอดทน สามารถเผชิญความยากลาบากในอนาคตได้ ละลายพฤติกรรม แข็งข้อ ดัดให้เป็นคนมีระเบียบวินัย หัดให้เคารพกฎของคนหมู่มาก กลายเป็นพลเมืองที่มีค่าของ ประเทศชาติต่อไปในอนาคต (ดูเหมือนเขาจะทาหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่กว่าพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของเราเสียอีก แต่ทว่าที่จริงแล้วเขาทาคุณให้กลายเป็นพลเมืองที่ไร้ค่าที่สุดของระบบประชาธิปไตยต่างหาก คือทา ให้คุณไม่กล้าที่จะแตกต่าง และเกลียดชังคนที่แตกต่างจากคุณ) นี่คือ “วาทกรรม” ทางศีลธรรมที่เขาใช้ อ้างเพื่อแสวงหาอานาจเหนือคุณ แต่คุณก็หลงเชื่อ ปลาบปลื้มว่าเขารักคุณจริงๆ ทั้งๆ ที่พ่อแม่ผู้ที่รัก คุณจริงๆ จะทาอะไรอย่างนั้นกับคุณ ก็ต่อเมื่อคุณทาความผิดจริงๆ เท่านั้น ไม่มีพ่อแม่ที่สุขภาพจิต ปกติคนไหนที่จะลงโทษลูกเพียง เพื่อให้ “เข้มแข็ง อดทน เผชิญกับความยากลาบากในอนาคตได้” สรุปก็คือ ในสถาบันอุดมศึกษาของไทย มนุษย์ผู้มีปัญหาทางจิตสองกลุ่มมาเจอกัน สถานการณ์และ วัฒนธรรมเอื้ออานวย กลุ่มหนึ่งได้เล่นบทบาท “ซาดิสต์” อีกกลุ่มเล่นบทบาท “มาโซคิสต์” (แต่เรื่องที่ น่าเศร้าก็คือ “มาโซคิสต์” บางคนบาดเจ็บ และตายจากไปเสียก่อน ก่อนที่จะได้เปลี่ยนมาเล่นบท “ซาดิสต์” กับ “เหยื่อ” ที่จะเข้ามาใหม่ในปีต่อไป)
138
คุณอาจจะอยากเถียงหัวชนฝาว่า ความตายจากระบบโซตัสนั้นเป็นความผิดพลาดที่บังเอิญ เกิดขึ้นเพียงบางครั้งบางคราว ฉะนั้นไม่ว่าอย่างไรระบบโซตัสก็เป็นของดีจริงๆ เพราะมันสร้างความ สามัคคีซึ่งเป็นคุณธรรมทางสังคมที่ชาติต้องการ และมันสร้างคนให้มีความเคารพในกฎระเบียบ กติกา จารีต ประเพณี บรรทัดฐาน ข้อบังคับๆ ต่างของสังคม และสร้างให้เกิดความรักในพวกพ้องหมู่ คณะ ความเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกันของพวกเรา นี่มีน้าหนักเหนือกว่าความเจ็บปวดเพียงแค่ชั่วครั้ง ชั่วคราว และความตายของคนไม่กี่คน มากนัก4 สรุปก็คือคุณพร้อมจะยืนยันจริงๆ ว่าความรุนแรง ต่างๆ ที่คุณถูกกระทาเหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งอันควรแก่เหตุผลและเป็นความถูกต้องแล้ว เพราะมันเป็น สิ่งที่ทาให้คุณเป็นคนที่ดีขึ้นจริงๆ มันเป็นเหมือนน้าตาแห่งความเจ็บปวดของลิซ่า ถ้าไม่เจ็บปวดก็จะ ไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นคนเลว แต่ขอให้เอาความรู้จากบทที่แล้วมาประยุกต์ใช้ในเรื่องนีก้ ันดูสักนิด ลองคิดดูสิว่า ระบบ โซตัสช่วยพัฒนาระดับสติปัญญาของคุณให้เติบโตขึ้นไปได้อย่างไรบ้าง สงสัยว่าคงจะเป็นไปในทาง ตรงกันข้าม คงจะเป็นเรื่องตลกมากที่จะบอกว่าการฝึกวินัยแบบพลทหารช่วยพัฒนาสติปัญญาของ นักศึกษา ถ้าบอกว่าช่วยทาลายจะน่าเชื่อมากกว่า ตามเค้าโครงพัฒนาการทางการคิดวิพากษ์วิจารณ์ ของเพอรี่ อย่างมากคุณก็จะเป็นได้แค่พวกทวินิยมทางความคิดเรื่องความจริง คือเห็นว่าจริงเท็จเป็น ของที่ตัดสินได้อย่างเด็ดขาด แต่ส่วนใหญ่แล้วคุณเองไม่มีปัญญาจะบอกได้ ต้องให้ที่ผู้รู้มากกว่า คือ ครูบาอาจารย์หรือผู้ใหญ่ในสังคมมาบอกให้ ถ้าสังคมส่วนใหญ่พูดอะไรตรงกันมากๆ ก็แปลว่าต้อง จริง ดังนั้น “ชาติ” ต้องเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง (ไม่ใช่ของสมมติแน่นอน) และความสามัคคีต้องพาไปสู่ ความดีเสมอไม่มีวันพาไปสู่ความชั่วแน่ (แต่ เอ เพราะ มีใครบางคนที่มีเสียงและมีอานาจอยู่ในสังคม สอนคุณทุกวันเรื่องชาติและความสามัคคีใช่ไหม แล้วคุณรู้เบื้องหลังอะไรของผู้ที่ทรงอานาจบ้างไหม รู้ไหมว่าเขารักษาอานาจของเขาไว้ จากการต่อสู้ทางการเมืองสมัยที่การรุกรานของถูกลัทธิ คอมมิวนิสต์อย่างไร รู้ไหมว่ามีใครตายไปบ้าง คุณรู้เรื่องหกตุลาไหม รู้ไหมว่าคอมมิวนิสต์คืออะไร มาจากไหน ทาไมคนยากคนจนถึงยอมไปเข้าพวกกับคอมมิวนิสต์กันมากมาย คุณเคยได้ยินคนที่สอน ให้คุณรักชาติสอนให้คุณรักในสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ซึ่งเป็นหลักการแห่งประชาธิปไตย พร้อมไปด้วยบ้างไหม ฯลฯ คุณ คุณจะงงมากไหม ถ้ามีใครมาชวนให้คุณถามเรื่องของผู้ทรงอานาจใน สังคม ว่าเขาร่ารวยขึ้นมาจากอะไร) ถ้าคุณไม่มีความคิดอะไรเลยสักอย่าง เพราะไม่เคยถามตัวเอง เลย ไม่มีคาตอบอะไรสักอย่าง คุณก็เป็นได้แค่ทหารเลว คือต้องให้ข้างบนคอยบอกว่าอะไรคือสิ่งที่จริง
รายละเอียดของเหตุผลพวกนี่เป็นสิ่งเราพิจารณากันมาแล้วตั้งแต่บทที่ 1 แต่ในตอนนั้นเรามุ่งมองประเด็น เชิงศีลธรรมเป็นหลัก และถามถึงประเด็นเชิงจิตวิทยาเป็นรอง คราวนี้เราจะมองกลับกัน คือ มองประเด็นเชิง ความรู้สึกนึกคิดทางจิตวิทยาของคุณเป็นหลัก 4
139
เท็จ ใช่ ไม่ใช่ ในทุกๆ เรื่อง จะทาอะไรก็คงไม่รู้เหตุผลจริงๆ ว่าจะต้องทาลงไปเพราะอะไร รอให้คน ผู้ที่อยู่ในระดับที่รู้อะไรดีกว่าสั่งการลงมาเพียงอย่างเดียว แล้วทาไมคุณถึงชอบในการเป็นแค่ทหารเลวของระบบโซตัส (คาว่าทหารเลวเป็นสานวน พูด หมายถึงทหารระดับล่างที่ฟังคาสั่งแล้วปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียว ไม่มีอานาจและสิทธิในการ ตัดสินใจด้วยตนเอง) อาจเป็นเพราะระดับการใช้เหตุผลทางศีลธรรมตามทฤษฎีของโคลเบิร์กสาหรับ คุณอยู่แค่ระดับของการเป็นเด็กดีเด็กน่ารักของพ่อแม่ หรืออยู่แค่ขั้นการยึดถือกฎระเบียบของสังคม ซึ่งทาให้จิตใจของคุณยังคงชอบการแต่งเครื่องแบบนักศึกษา เหมือนกับที่ตอนที่เป็นเด็กนักเรียน ประถมคุณอาจชอบการเป็นลูกเสือ เนตรนารี อนุกาชาด ที่แสดงตนด้วยเครื่องแบบที่ดูเท่ ดูดี รูปแบบ ที่พิเศษ แสดงออกต่อสังคมถึงการมีพันธะกิจพิเศษมีความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกับผู้อื่น มีการฝึก วินัย ที่เหมือนกับการได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพ โดยวัยประถมก็ถูกฝึกมาแล้ว มัธยมก็ยังอาจถูกฝึก อีก เข้ามหาวิทยาลัยก็ยังถูกฝึกอีก ปัญหาก็คือ วัยที่มากขึ้นแต่จิตใจของคุณกลับยังติดยึดอยู่กับที่ ไม่เติบโตตามไปด้วย เพราะ คุณยังแยกแนวคิดเรื่องบุคลิกภาพไม่ออกจากความเป็นคนดีของการเป็นเด็กดีเด็กน่ารักของพ่อแม่ หรือการยึดถือกฎระเบียบของสังคม ซึ่งก็คือการเป็นเด็กดีเด็กน่ารักของสังคม คุณจึงภาคภูมิใจกับการ แต่งเครื่องแบบของมหาวิทยาลัยที่ทั้งร้อน ทั้งอึดอัดทรมานน่าราคาญ และกระจุกกระจิก ยุ่งยาก วุ่นวาย ด้วยหัวเข็มขัด เน็คไท ตุ้งติ้ง เข็มกลัด ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดนั้นที่จริงแล้ว เป็นเพียงเครื่องแสดง สถานะของการเป็นผู้อยู่ใต้อานาจของชนชั้นผู้ให้การอุปถัมภ์ ผู้ซึ่งมีอานาจและอภิสิทธิ์ต่างๆ เหนือ คุณ ก็เท่านั้นเอง พวกเขาคือคนคุณไม่อาจจะตั้งคาถามและโต้เถียงได้5 และพวกเขาเพียงต้องแต่งตัวใน ชุดสุภาพมาทางานเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว ซึ่งพวกเขาก็ได้แก่ ครูบาอาจารย์ของคุณนั่นเอง จิตใจของคุณยังเติบโตไม่พอ ที่จะเข้าใจถึงคุณค่าของความดีงามทางศีลธรรมในระดับความ เป็นกฎที่เที่ยงธรรมและยุติธรรมหรือความเป็นกฎอันเป็นสากล อันได้แก่ กฎแห่งมโนธรรมหรือกฎ ถ้าคุณยังคิดว่าไม่จริง ก็ขอให้คุณลองพยายามคิดถึงพันธะกิจที่นักเรียนนักศึกษามีต่อสังคม ที่ทาให้พวกเขา จาเป็นต้องแต่งเครื่องแบบ เพื่อที่จะต้องประกาศตนต่อสังคม ทหาร หมอ ตารวจ พยาบาล มีพันธะกิจต่อ สังคมที่ทาให้พวกเขาต้องมีเครื่องแบบเพื่อการแสดงตนให้สังคมรู้จักตน ทุกสังคมจึงกาหนดเครื่องแบบให้ บุคคลในอาชีพเหล่านี้ แต่นักเรียนนักศึกษาไม่มีพันธะกิจต่อสังคม มีแต่พันธะกิจต่อตนเอง เครื่องแบบและ วินัยแบบทหารจึงไม่มีความจาเป็นใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นเพื่อฝึกการเป็นผู้อยู่ใต้อานาจให้กับนักเรียนนักศึกษา อังกฤษเป็นผู้สร้างระบบโซตัสมาใช้ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในสมัยที่ตนเป็นเจ้าอาณานิคม เพื่อสร้าง เครือข่ายของระบบอุปถัมภ์ในระบบการปกครองของตน แล้วนักการศึกษาไทยก็รับมาใช้เพื่อประโยชน์ของ ระบบอุปถัมภ์ในการปกครองของไทย ระบบโซตัสในไทยจึงมีประวัติศาสตร์เก่าแก่เท่าๆ กับโรงเรียนฝึก ข้าราชการไทย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั้งหลายที่สร้างข้าราชการให้ประเทศ 5
140
ซึ่งสร้างขึ้นบนความสัมพันธ์ที่เสมอภาคอย่างแท้จริงในมวลมนุษย์นั้น ซึ่งจะไม่มีวันยืนยันต่อคุณเลย ว่าคุณต้องสวมเครื่องแบบนักศึกษาเท่านั้น จึงจะเรียนหนังสือรู้เรื่อง หรือเป็นคนดีมีคุณธรรม เหมือนกับที่จะไม่มีวันยืนยันกับคุณเลยว่า กฎหมายหรือกฎระเบียบของสังคมที่ถูกคนกลุ่มใดกลุ่ม หนึ่งตราขึ้นมา จะเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ ไปได้ และตามทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ ระดับของความต้องการสูงสุดในชีวิตของคุณยังติด ชะงักอยู่ที่ความต้องการการเป็นที่ยอมรับของหมู่คณะ หรือไม่ก็ความต้องการความยกย่องชื่นชมจาก สังคม และเพราะคุณได้รับความรักความชื่นชมยกย่องมาน้อยไปในชีวิต ถูกควบคุมบังคับและตาหนิติ เตียนมามากเกินไป และขาดความรู้สึกถึงความมีคุณค่าในตนเองที่เกิดจากการค้นพบศักยภาพและ ความสามารถต่างๆ ในตนเอง และทั้งสติปัญญาของคุณและสภาพทางจิตวิทยาของคุณยังหลับใหลอยู่ ในมายาที่ประกอบขึ้นจาก “โลกทัศน์” แบบหนึ่งที่สังคมพยายามสร้างขึ้นสะกดผูค้ น เรียกว่า “โลก ทัศน์แบบอานาจนิยม”6 คุณจึงเชื่อว่าคุณคือคนเลวแบบลิซ่าที่ต้องถูกทรมานเพื่อให้กลายเป็นคนดี แต่ถ้าจะให้เรียกแบบลึกที่สุดก็ควรจะเรียกว่า โลกทัศน์แบบที่เห็นว่ามนุษย์คือสัตว์สังคม และผมเกรงว่านี่ คือโลกทัศน์ที่รองรับวิชาสังคมศาสตร์ทั้งหมด (หมายรวมสังคมวิทยา มานุษยวิทยา) และทาให้วิชา สังคมศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการกดขี่คุมขังมนุษย์ไว้ในมายาคติ และถ้าเราเอาความคิดเรือ่ งความชื่นชมใน ตนเองมาพิจารณา เราก็อาจมองเห็นอะไรบางอย่าง ว่าทาไมคนที่ศึกษาวิชาเหล่านี้ จึงเชื่ออย่างเอาจริงเอาจังว่า มนุษย์ที่เป็นปัจเจก จะกลายเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ก็ต่อเมื่อเขาเข้ามาอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ในขณะที่วิชา มนุษยศาสตร์อาจเห็นไปในทางตรงกันข้ามเลยก็ได้ 6
เมื่อผมพูดว่าสังคมศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ขุมขังมนุษย์ไว้ในมายาคติ ผมหมายความว่า ด้วยความเชื่อว่า มนุษย์มีคุณค่าขึ้นมาได้เพราะความเป็นสัตว์สังคมนั้น ปัญหาย่อมเกิดขึ้นมาทันทีว่า ถ้าเช่นนั้นแล้ว สังคมศาสตร์จะปลดปล่อยมนุษย์จากพันธนาการต่างๆ ที่สังคมสร้างขึ้นกดบังคับมนุษย์ได้อย่างไร ในขณะที่ มนุษย์ศาสตร์เชื่อว่ามนุษย์มีคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ เพราะภาวะแห่งความเป็นปัจเจกบุคคล การที่มนุษย์ ศาสตร์จะปลดปล่อยมนุษย์ออกจากพันธนาการของสังคมย่อมเป็นไปตามธรรมชาติอย่างยิ่ง วิชาสังคมศาสตร์พยายามมองมนุษย์อย่างเป็นปรนัยที่เด็ดขาดคือมีความเป็นสาธารณะที่ไม่ขึ้นกับผู้มอง คนใดคนหนึ่ง แต่วิชามนุษย์ศาสตร์คือการมองโลกผ่านมุมมองของปัจเจกบุคคล ที่สามารถมีความเป็นจริงที่ ผ่านการตีความอย่างจากัดเฉพาะตนของผู้ตีความผู้หนึ่ง ตัวอย่างเช่นหนังสือเล่มนี้คือการตีความโลกของนาย เอกศักดิ์ ยุกตะนันทน์ ผู้เดียวเท่านั้น แต่ทั้งสองวิชาก็ซ่อนความเชื่อในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ที่กลับ ทิศทางกัน เมื่อมองในเรื่องของการนาความรู้ไปใช้สร้างความดีงามต่อชีวิตผู้คน คือการปลดปล่อยเขาจาก ความทุกข์ สังคมศาสตร์มีความขัดแย้งในตนเองปรากฏขึ้นทันที แต่มนุษย์ศาสตร์ไม่มี ประเด็นก็คือ สังคมศาสตร์เคยตั้งคาถามกับความเชื่อพื้นฐานนี้ของตนเองหรือไม่ ทาไม่ต้องเชื่อเช่นนี้ เชื่อแบบ มนุษยศาสตร์แทนได้หรือไม่ หรือถ้าเชื่อแบบนั้นแล้วสังคมศาสตร์จะพังทลายลงเช่นนั้นหรืออย่างไร หรือ ว่ามันเป็นเพื่อแค่เกมของการหาอานาจ หาความรู้สึกยกย่องชื่นชมในตนเองของนักสังคมศาสตร์? ผู้ซึ่งขาด
141
กลับมาสู่ “บันทึกจากใต้ถุนสังคม” ในที่สุดด้วยเจตนาอันชั่วร้าย แต่ด้วยคาพูดที่แยบยล “ผม” สามารถเอาชนะจิตใจและได้รับความรักความเทิดทูนจากลิซ่า แต่เขาก็สวมบทบาทผู้หวังดี ผู้บริสุทธิ์ ใจ อย่างเป็นจริงเป็นจังมากเกินไป จนพลาดให้ที่อยู่ของตนแก่ลิซ่า บอกเธอว่าจะมาเยี่ยมพูดคุยด้วย เมื่อไรก็ได้ และนั่นพาไปสู่เหตุการณ์ที่เปลี่ยนชัยชนะและอานาจที่เขามีเหนือเธอ ให้กลับมาเป็นความ พ่ายแพ้ และการตกอยู่ใต้อานาจเธอ ในภายหลัง ทันทีที่จากมา เขาก็เริ่มทุกข์ทรมานด้วยความกลัวว่าเธอจะมาเยี่ยม และมาพบความจริงว่าเขา มีความเป็นอยู่ที่ยากจน และเป็น “คนชายขอบ” ที่อาศัยอยู่ “ใต้ถุนของสังคม” ไม่ต่างไปจากเธอเอง และในวันที่สาม เธอก็มาเยี่ยมจริงๆ เธอมีท่าทางเขินอาย และแทบไม่พูดอะไร แต่เขาเองกลับกราด เกรี้ยว ระเบิดออกไปอย่างควบคุมไม่ได้ และตามด้วยการร้องให้อย่างที่ลิซ่าเคยทาต่อหน้าตน เขาสารภาพว่าทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นการเล่นละคร คาพูดในคืนนั้นของเขาจามาจากหนังสือ จริงๆ เขาเพียงแต่ต้องการจะระบายความโกรธแค้นที่มีต่อ “พวกมัน” ที่กระทาต่อเขาราวกับเป็นแมลง หวี่แมลงวัน ด้วยการทาให้ใครสักคนเจ็บปวดเหมือนที่ตนเองเจ็บปวด เขาคือคนที่อ่อนแอ เจ็บปวด รวดร้าวอยู่ในจิตวิญญาณ ลิซ่ามึนงงในตอนแรก แล้วก็พลันเข้าใจ และรู้สึกสงสารในตัวเขา เข้ามา สวมกอดเพื่อปลอบโยนเขาด้วยความรู้สึกจากใจจริง แต่นี่ยิ่งทาให้เขารู้สึกต้อยต่ามากยิ่งขึ้น ความ ต้องการความสงสารเห็นใจ ถูกท่วมท้นไว้ด้วยความรู้สึกเจ็บปวดจากความต้อยต่าและพ่ายแพ้ แต่ แทนที่เขาจะยอมรับความรู้สึกสงสารของลิซ่า แล้วสร้างความรักความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน บนพื้นฐาน ของความเห็นอกเห็นใจในชะตากรรมของกันและกัน ยอมให้จิตวิญญาณของทั้งสองฝ่ายหลอม รวมเข้าด้วยกัน เพื่อปลอบประโลมกันและกัน เขากลับตัดสินใจที่จะต่อสู้กับลิซ่าเพื่อที่จะได้อยู่เหนือ เธออีกครั้งหนึ่ง ทั้งๆ ที่ลิซ่าก็ไม่ได้ต้องการที่จะอยู่เหนือเขาเลย เขาทาสิ่งที่เขารู้ว่าชั่วร้ายที่สุด คือยัด ธนบัตรใส่มือลิซ่าและหนีไปอยู่หลังฉากกั้นห้อง (ซึ่งเป็นเงินสดที่เขาต้องเก็บไว้จ่ายเป็นเงินเดือนคน รับใช้ –ไม่น่าเชื่อว่าเขามีคนรับใช้ แต่นั่นคือการต่อสู้แสวงหาอานาจอีกส่วนหนึ่งของเขา) แต่เขาก็พ่าย แพ้อีกเช่นเคย เพราะเมื่อลิซ่าจากไป เขาก็ออกมาพบธนบัตรใบนั้นถูกขย้าโยนไว้มุมห้อง เขาวิ่งตาม ออกไปเพื่อจะขอโทษ แต่ก็ไม่พบลิซ่า
ความรู้สึกยกย่องชื่นชมในตนเอง จึงต้องเขาร่วมกับผู้อื่นในสังคม แล้วก็พบว่าตนเองมีค่าเพิ่มขึ้นจากการยก ย่องและยอมรับของคนอื่น ที่ได้จากการมองโลกแบบเห็นตรงกันกับผู้อื่นอย่างไร้ปัจเจกภาวะ ถ้าเช่นนั้น มนุษย์เป็นสัตว์สังคมก็เพราะความอ่อนแอ ความขาด ความพร่อง ในจิตวิญญาณใช่หรือไม่ ความเป็นสัตว์ สังคมไม่อาจใช่ทางแห่งความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ไปได้เลย เป็นได้ก็แต่อาการแสดงของความพร่อง และ ความขาดเท่านั้น มีใครตอบได้หรือไม่ว่าความเป็นปรนัย ความเป็นสาธารณะสาคัญอย่างไร ถ้าหากว่ามัน ช่วยปลดปล่อยมนุษย์ไม่ได้.
142
เหตุการณ์นี้ฝังอยู่ในความทรงจาของเขานานกว่า 20 ปี และก่อนที่จะจบบันทึก เขาพูดว่า อย่างน้อยที่สุด เขาก็ยังดีกว่า “พวกคุณทุกคน” เพราะเขาใช้ชีวิตอย่างสุดโต่ง รู้จัก “ชีวิตที่เป็นอยู่จริง” มากกว่าคนที่ทาทุกอย่างตามตัวหนังสือ และไม่เคยทาอะไรจากใจจริงๆ ของตนเลย “พวกคุณ” เป็น คนประเภทที่ “ทาทุกอย่างเหมือนกันไปหมด” เกรงกลัวการมีเสรีภาพที่จะต้องคิดเอง และตัดสินใจ ทุกอย่างเอาด้วยตัวเอง นอกจากคาบรรยายเหตุการณ์แล้ว ถ้อยคาที่อยู่ใน “บันทึก” ของภาคที่สอง ก็คือเรื่องของ ความเก็บกด การชดเชยด้วยการจินตนาการ ความฝันเฟื่อง การสร้างมโนภาพของวีรกรรมและ เกียรติยศ สลับด้วยความต้องการที่จะกระทาการอันชั่วร้าย เพื่อแก้แค้นในสิ่งที่ตนถูกกระทา ตามด้วย ความกลัวและความหวาดวิตกต่อหายนะที่จะเป็นผลตามมา ลงเอยด้วยความรู้สึกสูญเสียและการจม ลึกลงไปในความเจ็บปวด แต่แรงผลักดันที่จะแสวงหาการแก้แค้น ก็ไม่มีวันจบสิ้นไปจากจิตใจ จิตใจ ถูกท่วมท้นไว้ด้วยความต้องการที่จะมีอานาจเหนือผู้อื่นบ้าง จนไม่สามารถที่จะยอมรับความสัมพันธ์ เสมอภาคฉันท์เพื่อน ต้องการแต่จะผลักตนเองให้มีอานาจเหนือใครก็แล้วแต่ที่ตนเองมีโอกาสที่จะยก ตนให้อยู่เหนือกว่าได้ ซึ่งก็กลับนาพาไปสู่ความพ่ายแพ้ และความเจ็บปวดอย่างไม่รู้จักจบสิ้น คุณอาจจะคิดว่า ชะตากรรมของ “ผม” เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนโชคร้ายไม่กี่คนเท่านั้น เช่น อาจจะเกิดขึ้นในโรงเรียน ในชั้นเรียน ด้วยโชคเคราะห์ ฐานะความเป็นอยู่ หรืออะไรบางอย่าง ทาให้ เด็กคนหนึ่ง แตกต่างออกไป อย่างที่ทาให้เขาต้องถูกดูถูกล้อเลียนอย่างไม่มีวันจบสิ้น ทุกคนรุมล้อเขา อย่างเกินกาลังที่เขาจะโต้ตอบได้ อาจด้วยความขี้เหล่ เสื้อผ้าที่เก่าขาด และร่างกายที่สกปรกกว่าเด็กคน อื่น ขาดแคลนสิ่งที่คนอื่นมี แต่นี่เป็นชะตากรรมของคนโชคร้ายไม่กี่คนจริงๆ หรือ มีใครบ้างไหมที่ ไม่เคยพบเห็นเหตุการณ์แบบนี้ในชั้นเรียนของตน ถ้าเราไม่ใช่คนที่ดูถูก กีดกันคนเช่นนั้นออกจาก กลุ่มพรรคพวกเสียเอง เราก็อาจเคยเป็นคนที่ถูกกระทา หรือถูกอิทธิพลของกลุ่มชักจูงไป จนเกิด ความรู้สึกแบ่งแยก ดูถูก เขาแอบซ่อนอยู่ในใจ ผู้เขียนรู้สึกขัดเขินกับชื่อที่ปู่ตั้งให้กับลูกสาว แล้วก็ พลันจาได้ว่า เป็นเพราะชื่อนั้นคล้องจองกับชื่อของเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง ที่ถูกเพื่อนในชั้นเรียนประถม ล้อเลียนและดูถูก เพราะเธอขี้เหล่ เก้งก้าง และใส่เสื้อผ้าที่ไม่สะอาดอยู่เสมอ เนื้อตัวก็เหม็น ด้วย อิทธิพลของสังคมชั้นเรียน ชื่อของเธอกลายเป็นสัญลักษณ์ของอะไรที่ไม่น่ารัก ไม่น่าพึงปรารถนา ที่ แอบซ่อนอยู่ในจิตใต้สานึกของผู้เขียน (ถึงตอนนี้ผมได้แต่ภาวนาให้เธอได้รับความรักจากที่บ้าน มาก พอที่เธอจะเอาชนะความรู้สึกด้อยค่าที่โรงเรียนได้) กลุ่มสาว “ไฮโซ” ในชั้นเรียนที่ดูถูก กีดกัน และยก ตนเหนือคนอื่น จะสามารสร้างความเจ็บปวดให้กับจิตใจของคนอื่นได้อย่างไม่น่าเชื่อ ภาพยนตร์ฮอล ลีวูดเพ้อฟันเรื่อง “Thirteen Going on Thirty”? (ชื่อภาษาไทยว่า “ต๊กกะใจตื่นมาสามสิบ”) แสดงให้ เห็นว่าจิตใจที่ถูกทาให้เจ็บปวดเช่นนั้น จะพาไปสู่การต่อสู้เพื่อชัยชนะ อานาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ ด้วย จิตใจที่สูญเสียความดีงามทั้งสิ้นไปได้อย่างไร
143
แต่การถูกดูถูกเหยียบย่าจาก “นายทหาร” ในสังคมใหญ่นั้น ไม่ใช่ชะตากรรมเฉพาะตัวของ “ผม” อย่างแน่นอน นี่คือปรากฏการณ์สามัญในสังคมชนชั้น ซึ่งก็คือสังคมที่กาหนดว่า คนที่ต่างกัน ในชาติตระกูล ฐานันดร ยศศักดิ์ การถือครองตาแหน่งและอานาจในสังคม คือคนที่ต่างกันในเกียรติ คุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นคน และนี่คือเป้าหมายการโจมตีของดอสโตเยฟสกี้ และในแง่นี้ วรรณกรรมเรื่องนี้ของดอสโตเยฟสกี้พุ่งเป้ามาที่สังคมไทย ยิ่งกว่าที่สังคมตะวันตกยุคปัจจุบัน ลองคิด ดูสิว่า เมื่อสวนทางกันบนถนน คุณจะต้องหลีกทางให้ใคร สังคมไทยยังคงสืบทอดวัฒนธรรมศักดินา ที่แสดงออกอย่างชัดเจนผ่านภาษา เรามีคาว่า “คุณ” ซึ่งเป็นคาพูดแบบ “ผู้ดี” เพื่อใช้เรียกกันอย่าง สุภาพ ยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน แต่เหนือขึ้นไปก็คือคาว่า “ท่าน” ขยับต่อไปสู่คาว่า “พณฯท่าน” ซึ่งย่อมาจากคาว่า “พ่อเหนือหัวเจ้าท่าน” แล้วก็ขยับต่อไปสู่คา “ราชาศัพท์” นาไปสู่คาพูดที่ เปรียบเทียบสถานะของผู้พูดเป็นธุลีดินและผู้ฟังเป็นพระเจ้าที่อวตารมาอยู่ในร่างมนุษย์ สะท้อน จักรวาลวิทยาของฮินดู ดังนั้นคาพูดของเราจึงยังคงสะท้อนสถานะเจ้า-ไพร่ จากสมัย สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และลัทธิเทวาสิทธิราชย์ ของสมัยโบราณ นี่คือโครงสร้างทางสังคมที่แบ่งคน เป็นชั้นๆ ซ้อนกันเป็นปิรามิด มีกษัตริย์อยู่บนสุด ที่สาคัญก็คือ คนในระดับล่างที่สุด ไม่มีโอกาสที่จะ เป็น “ท่าน” คาพูดอย่างสุภาพที่สุดที่จะได้รับเรียกก็คือ “นายนั่น นายนี่” อย่างหยาบก็คือ “อ้ายและ อี” แต่การดูถูกกันในสังคม ก็ยังไปได้ไกลกว่าระบบศักดินา เพราะเรายังแบ่งแยกกันด้วย รากเหง้าที่มา เช่น เมืองกรุง บ้านนอก หรือเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ไทย จีน ลาว เขมร แขก มอญ หรือฐานะ ความรวยจน คนอยู่ตึก และคนสลัม แต่ไม่ว่าอย่างไรรากฐานของ “วาทกรรม” ในการแบ่งแยกและดู ถูกกัน ก็คือความแตกต่างในอานาจ ที่ฝ่ายหนึ่งมีเหนืออีกฝ่ายหนึ่งนั่นเอง สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดก็คือ การแบ่งแยกและดูถูกเหยียดหยามซึ่งกันและกัน สามารถสร้างให้เกิดความเจ็บปวดที่รุนแรง จนถึงจุด ที่ฝ่ายที่ถูกดูถูกรู้สึกรังเกียจรากเหง้าที่มา ที่เป็น “ตัวตน” ของตนเอง ปฏิเสธ “ตัวตน” เก่าและพยายาม สวมใส่ “ตัวตน” ใหม่แทน ในอดีต คนที่มาจากจังหวัดภาคอีสาน ที่มาเรียนและทางานในกรุงเทพฯ เมื่อขยับฐานะทางสังคมขึ้นมาเป็นเศรษฐีอยู่ในสังคม “ไฮโซ” อาจพยายามปิดบังรากเหง้าที่มาของ ตนเอง ในอดีต คนฝั่งซ้ายของแม่น้าโขงที่เป็น “อาณานิคม” ภายใต้ “จักรวรรดินิยมสยาม” คือคนลาว แต่ปัจจุบันเขาจะปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนลาว แต่คือ “ไทยอีสาน” ทั้งๆ ที่ภาษาที่เขาพูดทีบ่ ้านก็คือภาษา ลาว และปู่ย่าตายายของเขา ก็เรียกตนเองว่าเป็นคนลาว และเขาแทบจะรังเกียจสัณฐานบางส่วนบน ใบหน้าของเขา การรังเกียจตัวตนของตนเองนี้เองคือผลของความชั่วร้ายที่สุดของความแตกต่างใน อานาจ การกดขี่ และการแบ่งแยกและดูถูกเหยียดหยามกันในสังคมระหว่างคนต่างชนชั้นและเผ่าพันธุ์ ในทางสังคมวิทยา การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจการเมือง ที่ทาให้คนเลื่อนชั้นทาง สังคมอย่างอิสระ และอุดมการณ์ความเสมอภาคของระบอบประชาธิปไตย อาจทาให้การดูถูกกีดกัน กันด้วยอาชีพ ฐานะ ชาติ ตระกูล ค่อยๆ ลดความรุนแรงลง แต่ดูราวกับว่าธรรมชาติบางอย่างในตัว
144
มนุษย์ จะยังคงผลักดันให้คนเราดูถูกแบ่งแยกซึ่งกันและกันอยู่เสมอ ซึ่งสังคมบางสังคมอาจประสบ ความสาเร็จในการสร้างวาทกรรมและมาตรการมาสลายธรรมชาติเช่นนั้น สร้างให้คนรู้สึกเสมอภาค กันในเกียรติศักดิ์ศรีและอานาจในสังคมได้บ้าง ในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยช่วงหลัง 14 ตุลาคม 2516 เคยเกิดการต่อสู้กันอย่างชัดเจน ระหว่างวาทกรรมชนชั้นและวาทกรรมของความเสมอภาคภาคใต้อิทธิพลของลัทธิมาร์คซ์ ชนชั้นสูง สร้างวาทกรรมดูถูกคนละดับล่างของสังคมซึ่งเป็นคนจน ว่าที่จนก็เพราะโง่และเกียจคร้าน ลัทธิ มาร์คซ์ตอบโต้ด้วยการเรียกชนชั้นสูงว่า “กระดุมพี” ซึ่งหมายถึงผู้ที่ไม่ได้ใช้แรงงานในการผลิต แต่ แย่งชิงทรัพยากรของการผลิตมาไว้ในการครอบครองด้วยอานาจของระบบศักดินา การฉ้อฉลและการ สืบทอดมรดก และใช้ให้ผู้ไร้ทรัพยากรทางานในการผลิตแทน และสร้างความร่ารวยให้แก่ตนเอง ด้วยมูลค่าเพิ่มของแรงงานส่วนเกิน ที่ขูดรีดจากผู้ใช้แรงงาน โดยกระดุมพีจะกล่าวหาว่าผู้ใช้แรงงาน ทางานเท่าไรก็ยังจนเพราะไม่ขยันและฉลาดเหมือนตนเอง แต่ลัทธิมาร์คซ์อธิบายว่าที่ผู้ใช้แรงงานยัง จนอยู่ตลอดเวลาก็เพราะถูกกระดุมพีกดขี่เอารัดเอาเปรียบ และเสนอว่าผู้ใช้แรงงานคือผู้ที่มีเกียรติและ มีคุณค่าเพราะเขาคือ “ผู้สร้างโลก” คือผู้ที่ลงมือลงแรงจริงๆ ในการผลิตและการสร้างสรรค์โลก ใน วรรณกรรมเรื่อง “ปีศาจ” ของเสนีย์ เสาวพงศ์ ตัวละครเอกซึ่งเป็นนักศึกษาหนุ่มผู้มาจากชนชั้นชาวนา ถูกเชิญไปปรากฏตัวต่อหน้างานเลี้ยงของชนชั้นสูง ที่เป็นพ่อแม่และญาติของแฟนสาวที่เป็นนักศึกษา ด้วยกัน เพื่อที่จะล้อเลียน และเหยียดหยามให้เขาได้อาย ว่าบังอาจข้ามชนชั้นมารักผู้ที่สูงศักดิ์กว่า แต่ เขากลับยืนหยัดอย่างทะนง และกล่าวว่าเขาคือปีศาจของกาลเวลา ที่กาลังหลอกหลอนศักดินาทั้งหลาย ที่กาลังจะถูกกงล้อของกาลเวลาบดทาลายให้สิ้นซากไปจากประวัติศาสตร์ นี่เป็นนิยายสั้นที่ทรงพลัง และถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สดุ เรื่องหนึ่งของยุค 14 ตุลา ซึ่งเต็มไปด้วยนิยาย เรื่องสั้น บทเพลงและบท กวี “เพื่อชีวิต” มากมายที่สรรเสริญและยกย่องคนชนชั้น “กรรมาชีพ” บทเรียนของเรื่องนี้ก็คือ เมื่อมีอุดมการณ์ทางการเมืองรองรับ วาทกรรมของการกดขี่เหยียด หยามทางชนชั้น ก็เป็นสิ่งซึ่งสามารถปะทะต่อสู้กันได้ กล่าวคืออุดมการณ์ทางการเมือง “ให้อานาจ” ต่อชนชั้นล่างที่จะสร้างวาทกรรมขึ้นมารับมือ หรือเอาชนะต่อวาทกรรมการกดขี่เหยียดหยามของชน ชั้นบน ขอให้เราลองย้อนกลับลงมาดูจิตวิทยาส่วนบุคคลว่าก็มีอะไรที่คล้ายกัน คนปกติทุกคนมีกลไก ทางจิตวิทยาที่จะมองตนเองว่าดีและพิเศษเหนือกว่าคนอื่น นั้นคือเราจะมองหาข้อดีที่เรามีและใช้บอก ตัวเองว่าเราเหนือกว่าคนอื่นๆ ในแง่นั้นแง่นี้ นี่เป็นกลไกที่เราใช้สร้างความรู้สึกยกย่องตัวเอง และ ป้องกันตัว กับการที่ถูกคนที่เสมอในอานาจกับเรา มาดูถูกเอาในเรื่องบางเรื่อง เช่น เด็กสาวคนหนึ่งถูก เด็กสาวอีกคนในห้องเรียนที่ผิวขาวและสวยกล่าวว่า “ดาและขี้เหล่” เธอก็อาจจะตอบโต้ด้วยการกล่าว “แต่ฉันก็ฉลาดและเรียนเก่งกว่าเธอ” ด้วยอานาจทางสังคมที่เสมอกัน วาทกรรมเป็นสิ่งที่สามารถตอบ โต้กันได้ ความเจ็บปวดจึงสามารถได้รับการชดเชยด้วยการกระทาโต้ตอบกลับไปตรงๆ
145
สิ่งที่น่าวิเคราะห์อย่างยิ่งในตรรกะของการโต้ตอบ และกระทาต่อกัน ดังกล่าวก็คือ การดูถูก เหยียดหยามกัน ต้องอาศัยระบบของการให้คุณค่าว่าสิ่งใดบ้างที่เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา ที่สองฝ่ายรู้สึก ตรงกัน ตามธรรมชาติอย่างง่ายๆ ของจิตใจ เช่น ใครๆ ก็ชอบของหอม และความสวยความงาม การมี สติปัญญาสูง การดูถูกกันก็คือ การบอกออกมาด้วยถ้อยคาอย่างชัดเจน หรือด้วยท่าที ว่าฉันเหนือกว่า เธอ เพราะฉันมีในสิ่งที่เธออยากได้อยากมี แต่ไม่อาจมีได้ และขยายไปสู่การสร้างกลุ่มคนที่มีสิ่งที่น่า ปรารถนานั้นร่วมกัน และกีดกันคนที่ไม่มีออกไป และคู่กันไปกับระบบของสิ่งที่มีคุณค่าน่าปรารถนา ก็คือระบบของความรู้สึกรังเกียจขยะแขยง ต่อบางสิ่งบางอย่าง ที่ทั้งสองฝ่ายรู้สึกตรงกันตามธรรมชาติ อย่างง่ายๆ ของจิตใจเช่นกัน เช่น ใครๆ ก็ไม่ชอบกลิ่นเหม็น สิ่งสกปรก อะไรที่ดูน่าเกลียดน่ากลัว เช่น แมลงมุม ใส้เดือน การดูถูกกันก็คือการแสดงความรังเกียจต่อคุณภาพทางลบบางอย่าง ที่อีกฝ่ายหนึ่งมี การเปรียบเทียบอีกฝ่ายหนึ่งกับสิ่งที่น่าขยะแขยง และกีดกันผลักใส สร้างอิทธิพลในกลุม่ ให้แยกคนๆ นั้นออกไป จนคนอาจถูกเปรียบเปรยว่า เหม็น สกปรก น่ารังเกียจเหมือนหนอน แมลงหวี่ แมลงวัน แต่บางครั้งระบบของคุณค่าก็เป็นสิ่งที่ถูกเสกสรรปั้นแต่งขึ้น โดยฝ่ายหนึ่งและกาหนดใส่ลงไปใน ความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่ง ด้วยอานาจที่เหนือกว่า การแบ่งแยกผู้ดีและไพร่ เป็นปรากฏการณ์ที่ชนชั้นผู้มีอานาจทางการเมือง ที่เป็นคนกลุ่มน้อย มีอานาจทางวาทกรรมเหนือคนส่วนใหญ่ที่ไร้อานาจทางการเมือง เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่เกิดขึ้น ในประวัติศาสตร์ของทุกวัฒนธรรม ที่พัฒนาไปถึงขั้นของการมีรัฐและมีระบบทาส นิตซ์เช่เป็นนัก ปรัชญาคนแรกที่หยิบระบบคุณค่าหรือระบบศีลธรรม ที่เกิดขึ้นบนความสัมพันธ์แบบชนชั้นมา วิพากษ์อย่างละเอียด แต่เราจะกล่าวถึงตรงนี้แต่เพียงจุดเดียวเท่านั้น คือ เขาชี้ให้เห็นว่า ถ้าเราศึกษา รากเหง้าทางภาษาของคาว่า “ดี” และ “ชั่ว” เราจะพบว่า คาว่า “ดี” เดิมมีความหมายเท่ากับคุณภาพ ของจิตใจ การกระทา และกริยาท่าทางของชนชั้นที่มีอานาจในการปกครองซึ่งมีฐานะเป็น “นาย” หรือ “เจ้า” ส่วนคาว่า “ชั่ว” เดิมมีความหมายเท่ากับคุณภาพของจิตใจ การกระทา และกริยาท่าทาง ของชนชั้นที่อยู่ใต้อานาจในการปกครอง ซึ่งมีฐานะเป็น “บ่าว” “ไพร่” หรือ “ทาส” นิตซ์เช่อ้าง พยานหลักฐานจากภาษายุโรป แต่ก็สอดคล้องอย่างชัดเจนกับภาษาไทย เห็นได้จากคนที่เป็น “นาย” หรือ “เจ้า” ซึ่งได้แก่ผู้ที่สืบทอดและถือครองศักดินา มีอานาจที่จะนาคาว่า “ดี” มากาหนดใส่ตัวเอง เรียกตัวเองว่า “ผู้ดี” ซึ่งก็คือการใช้อานาจกาหนดต่อสังคมว่า ตนเองคือผู้ที่ครอบครองคุณสมบัติทาง จิตใจ กิริยามารยาท และการแสดงออกที่เป็นคุณค่าทางศีลธรรม เป็น “ความดีงาม” ส่วน “ความชั่ว ช้า” คือคุณสมบัติทางจิตใจ อากัปกิริยา และการแสดงออกของ “ไพร่ ทาส หรือสามัญชน” ประจักษ์ พยานก็คือ ในภาษาไทยคาว่า “ชั่วช้า” นั้นใช้ต่อกับคาว่า “สามานย์” และคาๆ นี้มรี ากมาจากคาว่า “สามัญ” ดังนั้นคนชั่วช้าก็คือคนที่มีจิตใจ การกระทา และอากัปกริยา อย่างคนสามัญ คาว่า “กิริยา สถุลหรือกิริยาไพร่” ที่ใช้ด่ากันก็อาจยังคงได้ยินอยู่จนปัจจุบัน และคนบางคนอาจเคยได้ยินสานวนว่า “หยาบคายเหมือนแม่ค้ากลางตลาด”
146
สิ่งที่เราเห็นตรงนี้ก็คือ มาตรฐานที่เกิดขึ้นในฐานะวิถีชีวิตของคนชนชั้นสูง ซึ่งย่อมต้องถูกทา ให้ซับซ้อน เป็นพิธีการไปตามความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน เป็นพิธีการของอาชีพราชการและการมี ฐานันดร ทั้งต้องใช้อานาจอาญาสิทธิกับคนที่อยู่ใต้ และทั้งคอยประนีประนอมกับคนระดับเดียวกัน ต้องคอยไตร่ตรองผลได้ผลเสียของตนเองอย่างรอบคอบ หรือยอมอ่อนข้อ คล้อยตาม คนที่เหนือกว่า เพื่อรักษาสถานะและแสวงหาความก้าวหน้า ชีวิตที่เต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ของกิริยามารยาท ที่ต้องคอย ระวังให้ดูดีต่อผู้ที่อยู่ต่ากว่า เพื่อสร้างภาพพจน์ของความสง่างามและบารมี หรืออ่อนน้อมสุภาพ เพื่อ ไม่ให้ระคายเคืองผู้ที่อยู่สูงกว่า แง่หนึ่งก็คือการสูญเสียอานาจที่จะแสดงออกตามธรรมชาติที่แท้จริง ของจิตใจ ห้อหุ้มตัวเองไว้ใน “มารยา” ที่เสกสรรปั้นแต่ง แต่คนในชนชั้นนี้ก็มีอานาจที่จะกาหนด มาตรฐานนี้ให้เป็นระบบคุณค่าในสังคม เรียกขานว่านี้คือ “สมบัติผู้ดี” และคาว่า “สมบัติผู้ดี” นี้เองก็ได้กลายมาเป็นคาจอมปลอมที่ใช้ดูถูกแบ่งแยกคนที่ถูกขัดเกลา ปรุงแต่งกิริยามารยาท การวางสีหน้าท่าทาง การนั่ง การยืน การเดิน การวางมือวางไม้ การใช้ช้อนใช้ ส้อมบนโต๊ะอาหาร การเลือกสรรทางวาจาถ้อยคา ฯลฯ ออกจากชนชั้นสามัญที่ไม่เคยถูกปรุงแต่งขัด เกลา คนที่ไม่เคยใช้คาว่า “คุณ” เรียก พ่อ แม่ ปู่ ย่า ยาย ที่ตนรัก คนที่ไม่เคยใช้คาว่า “ทาน” หรือ “รับประทาน” แทนคาว่า “กิน” ดูเหมือนว่ากระทรวงศึกษาธิการเคยพยายามที่จะยัดเยียด “สมบัติผู้ดี” ลงไปในเด็กนักเรียนประถมสามัญชน คือพยายามทา “สมบัติผู้ดี” ให้เป็น “วัฒนธรรมของชาติ” แต่ คงเป็นเรื่องตลกมากที่จะสอนลูกชาวนาและกรรมกรให้ไหว้พ่อไหว้แม่ก่อนไปโรงเรียนและเมื่อกลับ มาถึงบ้าน หรือสอนให้พวกเขาเรียกพ่อแม่ของตนว่า “คุณพ่อ” “คุณแม่” หรือพูดคาว่า “ทาน” แทนคา ว่า “กิน” ประเด็นก็คือ ทาไมจะต้องเปลี่ยนสามัญชนให้ดัดจริตเป็นผู้ดี สิ่งที่เป็นอยู่อย่างไม่ได้ดัดแปลง ปรุงแต่งเป็นสิ่งที่ “ไม่มีค่า” เพียงเพราะอานาจทางวาทกรรมของชนชั้นสูง ที่มีรูปแบบวิถีชีวิตและ ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ซับซ้อนเท่านั้น เพื่อให้เห็นอคติที่เกิดจากชนชั้น ขอให้เราลองสมมุติเรื่องปีศาจให้ดาเนินต่อไปจนบัณฑิต หนุ่มสาวผู้ต่างศักดิ์ทั้งสองแต่งงานกัน และเดินทางไปอยู่กับครอบครัวของฝ่ายชายในชนบท ฝ่าย หญิงจะรู้สึกอย่างไรต่อพฤติกรรมและการกินอยู่หลับนอนของสามัญชนชาวนาที่เป็นพ่อแม่พี่น้องของ ฝ่ายชาย ตนเองเติบโตมาในบ้านช่องที่มีคนรับใช้คอยดูแลให้สะอาดสะอ้านเป็นระเบียบ ตนเองก็ถูก อบรมให้มีวินัยและรักสะอาดในการกินอยู่หลับนอน เช่น เมื่อยามกิน ทุกอย่างมีความเฉพาะของมัน แก้วน้า ชามข้าว ถ้วยแกงจืด ช้อนส้อม ที่แบ่งแยกเฉพาะของคนแต่ละคน และช้อนกลางสาหรับ กับข้าวที่กินร่วมกัน ทุกอย่างเหล่านี้หายไปหมดในบ้านของชาวนา ทุกคนหยิบข้าวเหนียวด้วยมือจาก กระติบเดียวกัน ตักน้าแกงเข้าปากด้วยช้อนเดียวกัน ดื่มน้าจากขันเดียวกัน กินข้าวล้อมวงบนเสื่อใต้ถุน บ้าน แล้วก็โยนเศษอาหารไปทั่ว หญิงสาวอาจรู้สึกดูถูกกับพฤติกรรม “สามัญๆ” พวกนี้ รวมทั้ง รังเกียจบ้านที่สกปรกไร้ระเบียบ ข้าวของที่วางกองไม่เป็นที่เป็นทาง
147
แต่นี่คือวิถีชีวิตที่มีเหตุผลในตัวของมันเองเช่นเดียวกับวิถีชีวิตของพวกผู้ดี ชาวนาใช้ชีวิตส่วน ใหญ่อยู่ในสวนและท้องนา หรือใต้ถุนเรือน ทอผ้า ทาเครื่องไม้เครื่องมือ ทุกคนในหมู่บ้านเดินผ่านเข้า มาพูดคุยและแวะกินเล่นใต้ถุนบ้านได้อย่างเป็นเครือญาติ ไม่มีพิธีรีตอง และมารยาท ว่าเวลาไหนควร หรือไม่ควรมา เศษอาหารที่โยนไปทั่วก็เพราะเขามีหมู หมา เป็ด ไก่ ที่เลี้ยงไว้ในลานบ้านคอยตามจิก กิน เศษขยะที่เหลือทิ้งแห้งอยู่ก็อาจถูกกวาดมาเผาเอาควันไล่ยุงในตอนเย็น บนเรือนอาจไม่เป็น ระเบียบสะอาดสะอ้านเพราะมันเป็นเพียงที่หลับนอนตอนกลางคืนเท่านั้น “ผู้ด”ี อาจหาว่าการกินน้า จากขันเดียวกันและกินแกงจากช้อนเดียวกันผิดสุขลักษณะ แต่อาหารที่สดและสะอาดเพราะเก็บมา จากไร่จากนาในแต่ละวัน ไม่มีสารเคมีและยาฆ่าแมลง อร่อยและสดอย่างที่อาหารที่คนเมืองกินไม่อาจ เทียบได้ ดังนั้น การใช้มาตรฐานของชีวิตแบบหนึ่งมาตัดสินมาตรฐานชีวิตอีกแบบหนึ่งว่ามีค่าน่า ปรารถนาน้อยกว่า เป็นเพียงอคติที่ใช้ดูถูกแบ่งแยกกันเท่านั้น หญิงสาวลูกผู้ดีคนนั้นจะต้องเรียนรู้ที่จะ เอาชนะอคติ ที่ถูกปลูกฝังไว้จากชีวิตวัยเด็กของตนเอง และเติบโตไปสู่การเข้าใจเห็นค่าในบุคลิกภาพ ของผู้อื่น อย่างที่เขาเป็นอยู่ตามธรรมชาติของเขาเอง แต่ปัญหาของอคติระหว่างชนชั้นสามารถรุนแรงได้ยิ่งกว่าที่เสนอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ คนชั้นล่าง รับเอาอคติของชนชั้นสูงเข้ามาใส่ในตนเอง จนเกลียดมาตรฐานชีวิตของคนในชนชั้นของ ตน กลายเป็นการเกลียดตนเอง วรรณกรรม “หลังลัทธิอาณานิคม” (postcolonialism) เรื่องหนึ่งวาด ภาพของหญิงผิวดา ที่ไปทางานบ้าน เป็นคนรับใช้อยู่ในบ้านของ “ผู้ดีผิวขาว” เธอค่อยๆ รับเอา มาตรฐานของระบบคุณค่าของ “ผู้ดีผิวขาว” เข้ามาไว้ในตัวทีละน้อยอย่างไม่รู้ตัว และเริ่มรู้สึกรังเกียจ บ้านช่องที่สกปรกของเธอ พ่อแม่ ลูก และสามี ที่สกปรกเนื้อตัวเหม็นด้วยเหงื่อไคล จนกลายเป็นความ รังเกียจตนเอง และมาตรฐานชีวิตของตนเอง7 อย่างไรก็ตาม ขอให้เรามาดูอานาจในการกดขี่ทางวาท กรรมของระบบศักดินา ในเรื่องที่พิเศษอย่างมากเรื่องหนึ่ง คือ ประวัติของการทาให้คาของภาษา ท้องถิ่นกลายเป็นคาหยาบ เช่น คาว่า “อ้าย” และ “อี” ในสังคมจีน ในยุคหนึ่งกวีจีนได้วาดภาพพรรณนาให้เทพธิดาจีนมีเท้าที่เล็กและเหินลอยไปบนผิวน้า สร้าง ให้นางราจีนเริ่มราในท่าที่เขย่งบนปลายเท่าเหมือนการจะเหินลอยของเทพธิดา และเริ่มมัดเท้าให้เล็กเรียว พา ไปสู่ค่านิยมในหมู่ชายชั้นสูง โสเภณี หญิงชั้นสูง หญิงชั้นกลาง หญิงชั้นล่าง ไปตามลาดับ กลายเป็น วัฒนธรรม ค่านิยมที่แสดงสถานะทางชนชั้นของผู้หญิง แน่นอนว่าค่านิยมนี้เกิดจากรสนิยมและความ ต้องการทางเพศของผู้ชายชั้นสูงที่ถ่ายทอดลงมาด้วยวาทะของกวี และด้วยเหตุที่ผู้ชายมีอานาจเป็นใหญ่ใน สังคม สามารถกาหนดความมีคุณค่าให้ผู้หญิงได้ สร้างให้กลายเป็นความรู้สึกทางชนชั้นในหมู่ผู้หญิงไปใน ที่สุด ฉะนั้นไม่ว่ามันจะสร้างความทุกข์ทรมานทางกายอย่างไรต่อผู้หญิง แต่เพื่อแลกกับความรู้สึกถึงสถานะ ทางชนชั้นในสังคมที่สูงขึ้น ผู้หญิงทั้งหลายก็ปรารถนาที่จะมีเท้าที่เล็กผิดรูปร่างทั้งสิ้น นี่ก็คือการรังเกียจ มาตรฐานชีวิตของตนเอง ซึ่งในทางจิตวิทยาแล้ว ก็คือการขาดความรู้สึกชื่นชมในตนเองที่มักเกิดขึ้นกับคน ในชนชั้นระดับล่างๆ นั่นเอง 7
148
ในภาษา “อีสาน” คาว่า “อ้าย” และ “อี” เป็นคาสุภาพ ใช้เรียกผู้ที่เป็นที่รัก คาว่า “อ้าย” มี ความหมายเท่ากับคาว่า “พี่ชาย” ต่างจากคาว่า “บัก” ซึ่งมีความหมายเท่ากับคาว่า “ชาย” เฉยๆ คาว่า “อี” ใช้เรียกกับหญิงที่เป็นพี่หรือน้อง และใช้เรียกพ่อแม่ได้ เช่น “อีพ่อ” “อีแม่” แต่ในภาษา “ภาค กลาง” คาว่า “อ้าย” และ “อี” เป็นคาหยาบ ใช้เรียกคนที่ถูกกดให้ต่ากว่า และนาหน้าคาหยาบที่ใช้ด่า กันเท่านั้น ปัญหาก็คือ ทาไมคาๆ เดียวกันสามารถมีสองความหมาย สองการใช้ ที่ตรงกันข้ามกันได้? คนบางคนอาจคิดอย่างไร้เดียงสาว่าเป็นเพียงความบังเอิญ แต่มีคาไหนในภาษาของคนสองชาติพันธุ์ที่ ใกล้ชิดกัน ที่บังเอิญได้ขนาดนี้? บางคนอาจบอกว่า คาว่า “ไอ้” ต่างหากที่เป็นคาหยาบ แต่ทาไมสอง คาจึงต่างกันแค่ว่าคาหนึ่งออกเสียงแบบนุ่มยาว และและอีกคาออกเสียงแบบกระชากสั้น เท่านั้นเอง แต่นี่ก็แสดงนัยที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ของผู้ออกเสียง คนออกเสียงนุ่มและยาว เพราะความรักและ เอ็นดู ออกเสียงห้วนสั้นเพราะความเกลียดโกรธ คาตอบสามารถค้นหาได้ในประวัติศาสตร์ คนลาวคือทาสของคนสยาม คนลาวที่เป็นทาส เรียกกันเอง ด้วยคาที่แสดงความรักความสนิทสนม คนสยามที่เป็นนาย หยิบคาที่ทาสลาวใช้เรียกกัน มาใช้เรียกทาสเหล่านั้นตามไปด้วย แต่ด้วยอารมณ์ที่ต่างออก ไปตามความสัมพันธ์แบบกดขี่เหยียด หยาม คนลาวทาสไม่เคยใช้คาทั้งสองนามาต่อด้วยคาหยาบ เพราะนั้นอยู่นอกกฎเกณฑ์ทางภาษาที่ใช้ กันอยู่ในวิถีชีวิตของเขา แต่นายทาสคนสยามสามารถทาเช่นนั้นได้เพราะนั่นไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่เขาต้อง เคารพ คาว่า “อ้าย” และ “อี” จึงถูกนามาต่อด้วยคาที่แสดงถึงสิ่งที่น่ารังเกียจ และทาสลาวก็ต้องยอม ทนด้วยความขมขื่น เพราะไม่มีอานาจที่จะต่อกรกับวาทกรรมนี้ได้ และถ้าเราค้นไปในหลักฐานทาง ราชการ เราจะพบว่ารัชกาลที่ 4 แห่งกรุงสยาม ได้ตรากฎหมายคานาหน้าชื่อหญิงชายขึ้นเป็นครั้งแรก และกาหนดให้ใช้คาว่า “อ้าย” นาหน้าทาสชาย และ “อี” นาหน้าทาสหญิง ให้ใช้คาว่า “อีหนู” “อ้าย หนู” นาหน้าลูกทาส ! “นาย” “นาง” “นางสาว” นาหน้าสามัญชนที่เป็นอิสระ ตอนนี้คาว่า “อ้าย” และ “อี” เป็นคาของทั้งคนไทยภาคกลางและคนไทยอีสาน สาหรับภาษาไทยทั้งสองคาคือคาหยาบเท่านั้น แต่สาหรับภาษาลาวของคนอีสานปัจจุบันทั้งสองคามีทั้งความหมายหยาบและความหมายสุภาพ ความหมายสุภาพได้มาจากความหมายดั่งเดิม ความหมายหยาบได้มาจากอานาจทางวาทกรรมของคน ภาคกลาง กล่าวโดยสรุป สิ่งที่มุ่งแสดงในบทนี้ก็คือ การที่คนไม่สามารถเติบโตไปสู่การบรรลุศักยภาพ สูงสุดของเขา และใช้ชีวิตในการสร้างสรรค์ ก็เพราะเขาถูกหน่วงเหนี่ยวไว้ด้วยปมปัญหาทางจิตวิทยา บางครั้งก็เป็นปมที่เกิดจากประสบการณ์ ที่เป็นเคราะห์กรรมส่วนตัว เช่น การขาดความรักจาก ครอบครัว และการถูกกระทาด้วยความรุนแรงจากพ่อหรือแม่ในวัยเด็ก บางครั้งก็เป็นปมที่เกิดจาก
149
ประสบการณ์ทางสังคม คือเกิดจากการถูกรังแก ถูกดูถูกเหยียดหยาม กีดกัน แบ่งแยก จากสังคมที่ตน อยู่ร่วม อีกประเด็นหนึ่งก็คือ มนุษย์มีธรรมชาติที่ต้องการความเสมอภาคในเกียรติและศักดิ์ศรี ดังนั้น สังคมชนชั้นจึงสร้างความความเจ็บปวด ที่บาดลึกลงบนจิตวิญญาณของคนชนชั้นล่างทั้งหลาย และ แม้จะดูเหมือนว่า ความขัดแย้งทางชนชั้นจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการต่อสู้ปฏิวัติ เพื่อสร้างความ เสมอภาคในสังคม เปลี่ยนระบบสมบูรณาสิทธิราชมาเป็นระบบประชาธิปไตย แต่ความบาดเจ็บทาง จิตใจที่รุนแรงของสังคมชนชั้น ที่ฝังรากอยู่ในวัฒนธรรม ก็สามารถสร้างความต้องการอานาจเหนือ กันและกัน ขึ้นมาแทนที่ความต้องการความเสมอภาค และนาไปสู่การปฏิเสธการมีความสัมพันธ์อย่าง เสมอภาคในสังคม แม้ว่าโครงสร้างทางการปกครองจะเป็นระบบประชาธิปไตยแล้วก็ตาม สิ่งที่ควรกล่าวไว้ ณ ที่นี้ก็คือ การที่คนส่วนใหญ่ในสังคม ต้องการการแก้แค้นชดเชย อัน นาไปสู่การสืบทอดระบบชนชั้นนั้น จะเกิดขึ้นในสังคมซึ่งวาทกรรมของอุดมการณ์แห่งความเสมอ ภาคและเสรีภาพ ยังไม่สามารถสร้างอานาจขึ้นมาต่อกร กับวาทกรรมของอุดมการณ์แห่งชนชั้นได้ หมายความว่า อุดมการณ์แห่งความเสมอภาคและเสรีภาพยังไม่ได้รับการปลูกฝังลงให้เป็นอุดมการณ์ หลักของสังคมอย่างแท้จริง จนสังคมสามารถสร้างมาตรการขึ้นมาปกป้องความสัมพันธ์ที่เสมอภาค ในระดับวิถีชีวิตได้ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เป็นคาอธิบายว่า ในท่ามกลางของระบบการ ปกครองแบบประชาธิปไตย ทาไมนักศึกษาไทยจึงยังคงมัวเมาอยู่กับระบบโซตัส นักศึกษาควรตั้ง คาถามต่อประสบการณ์การเติบโตทั้งหมดของตนเอง ว่าอะไรบ้างที่ได้สร้างบาดแผลไว้ในใจ ที่หน่วง เหนี่ยวตนเองไว้ ไม่ให้เติบโตไปสู่การมีความสัมพันธ์อย่างเสมอภาคระหว่างกันและกัน ดังนั้น ในการอธิบาย ปัญหาของบุคลิกภาพ และการถดถอยหน่วงเหนี่ยวในพัฒนาการของ แรงจูงใจในชีวิต เราก็กาลังอธิบายความอ่อนแอของระบอบประชาธิปไตยไปพร้อมๆ กัน.
150
บทที่ 9 แทนที่ศีลธรรมแบบพ่อด้วยศีลธรรมแห่งมนุษย์ มนุษย์ทุกคนต้องการความเคารพยกย่องจากผู้อื่นว่ามีเกียรติและศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน นี่คือ ที่มาของพันธะทางศีลธรรมของการสร้างสังคมแห่งความเสมอภาค แต่สังคมแห่งความเสมอภาคก็ ไม่ใช่สิ่งที่จะสร้างขึ้นได้ง่ายๆ คงเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะครอบครองอานาจ และสิ่งที่น่าปรารถนา ต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน แม้ลัทธิสังคมนิยมจะเคยพยายามเปลี่ยนแปลงโลกให้เป็นเช่นนั้น แต่ก็ยังไม่ยัง เคยประสบความสาเร็จ และดูเหมือนว่าความหวังเช่นนั้นก็จบสิ้นไปแล้วในความรู้สึกของคนส่วน ใหญ่ และด้วยการครอบครองที่ไม่เท่าเทียมกัน ด้วยความรัก ความหลงตนเอง มนุษย์ก็ยังสามารถยก ตนเองเหนือกันและกันเป็นชั้นๆ และสร้างวาทกรรมที่ทาให้ผู้ที่อยู่ต่าลงมาเป็นชั้นๆ ยอมรับฐานะ ลดหลั่นเช่นนั้น วาทกรรมดังกล่าวมีพันธะทางศีลธรรมที่บิดเบือนเป็นแกนกลาง หมายความว่า เรา อาจจะคิดว่าเราควรสร้างสังคมที่มนุษย์ทุกคนรู้สึกเสมอภาคเท่าเทียมกัน แต่ถ้าพันธะทางศีลธรรมถูก เข้าใจอย่างผิดพลาดบิดเบือน เราอาจคิดว่าเรามีพันธะทางศีลธรรมต่อการรักษาสังคมแบบชนชั้นแทน ก็เป็นได้ นักสังคมวิทยาเรียกระบบชนชั้นในสังคมไทยว่าระบบอุปถัมภ์ เพื่อที่จะแสดงว่าระบบชนชั้น แบบนี้มีพันธะทางศีลธรรมบางอย่างเป็นแกนกลาง เพื่อสร้างและรักษาความสัมพันธ์ทางจิตใจ ระหว่างกัน เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ปกติคาว่า “ชนชั้น” หมายความว่ามีกลุ่มคนที่มี อานาจเหนือผู้อื่นและใช้อานาจนั้นบังคับขูดรีดเอาผลประโยชน์จากกลุ่มคนที่ไร้อานาจ นั่นคือระบบ ชนชั้นแบบดิบๆ ที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีความรู้สึกของความสัมพันธ์ทางจิตใจต่อกัน ดังนั้นจึงไม่มีพันธะ ทางศีลธรรมต่อกัน ระบบอุปถัมภ์ไม่ใช่ระบบดิบๆ เช่นนั้น คาว่า “อุปถัมภ์” เป็นคาทางศีลธรรม แสดงความเมตตา และการให้ความช่วยเหลือ ต่อผู้ที่มีน้อยกว่าตน สร้างให้เกิดพันธะทางศีลธรรมต่อผู้ ที่ได้รับการอุปถัมภ์ ที่จะต้องตอบแทนต่อผู้ให้การอุปถัมภ์ นักสังคมวิทยาจะกล่าวว่าระบบอุปถัมภ์ ของไทยมีศีลธรรมคือ “เมตตาธรรม” และ “ความกตัญญู” เป็นแกนกลางของความสัมพันธ์ แต่แม้
151
กระนั้นความมีชนชั้น คือความแตกต่างกันในอานาจ และการขูดรีดผลประโยชน์ ที่ผู้อยู่เหนือเอาจากผู้ อยู่ล่าง ก็ยังคงมีอยู่เป็นธาตุแท้ของความสัมพันธ์ จิตวิทยาเบื้องหลังความสัมพันธ์ทางสังคมแบบนี้ก็คือ ความรักความหลงในตนเองว่ามีค่าและ อยู่เหนือผู้อื่นของผู้ให้การอุปถัมภ์ และความรู้สึกต่าต้อยต้องการที่พึ่งพิง ไร้ความเชื่อมั่นในตนเอง ของผู้รับการอุปถัมภ์ เป็นไปได้ว่าในระบบนี้ พันธะทางศีลธรรมที่มีระหว่างกัน จะพัฒนาไปถึงขีดสูงสุด จนการ ขูดรีดที่ผู้อยู่ข้างบนกระทาต่อผู้อยู่ข้างล่าง เป็นไปในขอบเขตที่น้อยที่สุด หรือไม่มีการขูดรีดตาม ความหมายปกติเลย คือ ผู้ให้อาจมีเมตตาอย่างสูงสุด คือให้ได้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนมีทรัพยากรที่จะ ใช้กระทา เหลือความเป็นชนชั้นอยู่แต่เพียงในความแตกต่างกัน ของเกียรติและศักดิ์ศรี และอานาจที่ผู้ ที่อยู่ข้างบนจะกาหนดความถูกผิด และความน่าปรารถนาไม่น่าปรารถนาต่างๆ ให้ผู้อยู่ข้างล่างต้องยึด มั่นตาม ด้วยพันธะของความกตัญญู จนสูญเสียอานาจ ในการกาหนดคุณค่าในชีวิตของตนเอง เราจะเรียกระบบศีลธรรมที่มี “เมตตาธรรม” และ “ความกตัญญู” นี้เป็นแกนกลางว่าอย่างไร ดี? คาว่าระบบอุปถัมภ์มุ่งเน้นที่ความเป็นชนชั้น ที่มีระบบศีลธรรมแบบนั้นเป็นตัวยึดเหนี่ยว แต่ตอนนี้ เราต้องการที่จะเน้นที่ตัวระบบศีลธรรมนี้เอง ในฐานะที่สร้างผลให้เกิดความต่างในระดับของ เกียรติยศและศักดิ์ศรีของคนในสังคม และสร้างความเป็นชนชั้นตามขึ้นมา คือสลับที่การเน้นและ สลับความสัมพันธ์ทางตรรกะ ระบบศีลธรรมนี้เน้นความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นผู้ให้ การเป็นผู้รับ และการใช้อานาจ ดังนั้นต้นแบบที่ดีที่สุดคือครอบครัว เพราะพ่อแม่เป็นผู้ให้กับลูก แต่ก็ใช้อานาจกับ ลูก ดังนั้นขอให้เรียกระบบศีลธรรมแบบนี้ว่า “ศีลธรรมแบบพ่อ” แม้อาจจะเรียกให้เต็มได้ว่า “ศีลธรรมแบบพ่อแม่” แต่จะขอใช้ตามการใช้ของวิชาสังคมวิทยาที่เรียกสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ว่า “สังคมแบบพ่อ” (patriarchal society) และจะถือว่าแม่คือผู้ได้รับอานาจและทรัพยากรในการให้ต่อลูก มาจากพ่อ คาว่า “ศีลธรรมแบบพ่อ” เป็นคาที่มีนัยบ่งถึงการให้ ที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความรัก ซึ่ง โดยอุดมคติแล้วควรจะเป็นความรักที่บริสุทธิ์ แต่ในความเป็นจริงอาจจะไม่ใช่ เราอาจบรรยาย “พ่อ” ในฐานะต้นแบบทางศีลธรรมได้ดังนี้ พ่อคือผู้ที่ใช้แรงกายแรงปัญญา แสวงหาทรัพยากรของความอยู่ดีกินดี ของตนเองและครอบครัว พ่อส่งผ่านทรัพยากรไปให้แม่ เพื่อใช้ ในการดูแลลูก ลูกเป็นผู้รับ เพราะไม่อาจแสวงหาทรัพยากรของชีวิตด้วยตนเองได้ พ่อคือต้นกาเนิด ของความดีทั้งมวล เพราะพ่อคือผู้ให้คนแรก โดยมีแม่เป็นผู้ให้คนที่สอง เพราะเป็นผู้สนับสนุนภารกิจ ของพ่อ ลูกคือผู้รับ การให้คือความดี ดังนั้นลูกคนที่หนึ่งจะยังไม่มีความดีในตนเอง แต่เมื่อครอบครัว ขยายออก ลูกคนโตสามารถกลายเป็นผู้ให้ต่อน้อง เขาได้ความดีในฐานะผู้ให้ต่อน้อง เขาเป็นผู้ช่วยพ่อ สร้างชีวิตที่ดีให้กับลูกคนอื่น ความดีนี้เกิดขึ้นเป็นขั้นๆ ไปตามอานาจในการสร้างชีวิตที่ดีให้กับผู้อื่น พี่คนรองๆ สามารถให้ต่อน้องไปเรื่อยๆ จึงมีความดีลดหลั่นลงมา จนถึงน้องคนสุดท้อง แต่น้องคน
152
สุดท้องคือผู้ที่รับเพียงอย่างเดียว เพราะไม่มีใครอยู่ต่ากว่าเขา ที่เขาจะมีบทบาทเป็นผู้ให้อีกแล้ว การ สร้างความดีระหว่างกันของลูกๆ และการที่พี่ให้ต่อน้อง คือการกตัญญูตอบแทนพระคุณพ่อ เพราะไม่ มีอะไรที่พ่อต้องการกลับจากลูก พ่อคือผู้ที่ครอบครองฐานชีวิตทุกอย่างอยู่แล้ว แต่สิ่งที่พ่อต้องการ ตอบจากลูก คือการให้ระหว่างกัน เพราะพ่อต้องการความสุขของลูกทุกคน ในสังคมไทยเราได้ยินเสียงของวาทกรรมทางศีลธรรมแบบนี้ตลอดเวลา เราถูกเรียกร้องให้ สร้างความดีต่อกัน ในฐานะความกตัญญูต่อผู้ให้สูงสุด ผู้ที่เป็นต้นกาเนิดของความดี ในชีวิตของคน ทุกคน ความดีระหว่างเรา ไม่ได้เกิดด้วยเหตุแห่งความรักระหว่างเรา เท่ากับที่เกิดจากความรัก และ ความกตัญญู ต่อผู้ที่ให้ทุกสิ่งต่อเรา สรุปก็คือ ในวาทกรรมนี้พ่อคือต้นแบบของความดีงามทาง ศีลธรรม แต่วาทกรรมนี้ก็มีนัยว่า ความดี หรือเกียรติ หรือคุณค่าของคน มีไม่เท่ากัน หากแต่ลดหลั่น เป็นชั้นๆ ตามการครอบครองทรัพยากร ซึ่งกลายมาเป็นอานาจของการให้ คนที่ไม่อาจให้อะไรต่อใคร ได้ เพราะเขาคือผู้ที่ขาดแคลน ก็จะกลายเป็นคนที่ไม่มีความดีอยู่เป็นสมบัติของตนเองเช่นกัน สิ่งที่ยังต้องเติมเข้าไปในภาพอุปมาอุปมัยดังกล่าว ก็คือ อานาจที่มีเหนือกันเป็นขั้นๆ พ่อถือ ครองอานาจสูงสุด ลูกจะต้องเคารพบูชาเชื่อฟังพ่อ ในฐานะพันธะของความกตัญญู พ่อกาหนดว่า อะไรคือสิ่งที่ดี ที่ลูกจะต้องทาตาม ไม่มีสิทธิโต้เถียงตั้งคาถาม และพี่ก็มีอานาจเดียวกันเช่นนั้นเหนือ น้อง ลูกที่ดื้อดึงเกเรไม่เชื่อฟังหรือบังอาจตั้งคาถามโต้เถียง ก็ย่อมถูกลงโทษ และประณามว่าอกตัญญู เมื่อการถืออานาจเหนือลูกเข้ามาเป็นเงื่อนไขประกอบของการให้ ความรักของพ่อก็ย่อมไม่บริสุทธิ์ จริง พ่อที่รักลูกอย่างบริสุทธิ์ย่อมไม่สร้างความแตกต่างในอานาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่สร้างความ แตกต่างแบบฟ้ากับดิน แต่ย่อมปรารถนาที่จะก้าวลงมาสู่ความสัมพันธ์ที่เสมอกันฉันท์เพื่อนกับลูก ยอมรับได้ว่าบางครั้งพ่อก็ผิด และขอโทษลูกได้ ยอมรับได้ว่า สิ่งที่พ่อกล่าวว่าดีสาหรับลูก ลูกอาจเห็น ว่าไม่ใช่สิ่งที่ดีจริงสาหรับตน ซึ่งหมายความว่า ในความรักที่บริสุทธิ์ของพ่อแม่ ลูกจะต้องไม่สูญเสีย ตัวตน วาทกรรมของศีลธรรมแบบพ่อ ที่เรียกร้องความกตัญญูจนลูกสูญเสียตนเอง จึงไม่ใช่ศีลธรรมที่ บริสุทธิ์จริง ดังนั้นความสัมพันธ์ทางศีลธรรมในระบบอุปถัมภ์จึงเป็นศีลธรรมที่จอมปลอม ภาพยนตร์เพลงของวอลท์ดิสนีย์เรื่อง Mary Poppins แสดงการเปลี่ยนของสังคมตะวันตก จากสังคมพ่อเป็นใหญ่ หรือ ครอบครัวแบบพ่อใช้อานาจต่อลูก มาสู่สังคมเสมอภาค หรือครอบครัวที่ พ่อเสมอกับลูกๆ ได้อย่างน่ารักสนุกสนาน พ่อทางานธนาคาร แม่เป็นแม่บ้าน พ่อกาหนดทุกอย่างใน บ้าน แม่ไม่เคยเถียงพ่อตรงๆ แต่แม่ก็ออกจากบ้าน ไปร่วมขบวนการเรียกร้องความเสมอภาคในสิทธิ ทางการเมืองของสตรี พ่ออยากสอนลูกให้เห็นค่าของเงิน และการทาธุรกิจ จึงให้เงินลูกไปฝาก ธนาคารที่ตนทางาน แต่ลูกต้องการเอาเงินไปให้ขอทาน พ่อบังคับให้ลูกทาตามสิ่งที่ตนเห็นว่าดี แต่ใน ที่สุดลูกก็ดื้อทาตามใจตนเองแบบเด็กๆ ไปตะโกนขอถอนเงินจากธนาคาร เกิดความโกลาหล ลูกค้า คนอื่นเกิดความตระหนก ว่าธนาคารจะไม่ยอมคืนเงินฝาก แห่กันถอนเงินตาม ธนาคารจึงล่มในวัน
153
นั้นเอง พ่อถูกไล่ออกจากงาน จึงสานึกในความโง่ ในการใช้อานาจบังคับให้ลูกยอมรับความคิดและ ค่านิยมของตน ทั้งๆ ที่ลูกมีคุณค่าอื่นอยู่ในใจเป็นของตนเอง เมื่อสานึกแล้วจึงลงมาชวนลูกไปเล่นว่าว ซึ่งลูกรอคอยมานาน เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน และความรักที่บริสุทธิ์ของพ่อ ในการเรียนรู้ทางศีลธรรมของเด็ก ครอบครัวและการให้ของพ่อแม่คือต้นแบบของศีลธรรม จริงๆ ไม่ใช่แค่ในเชิงของอุปมาอุปมัยเพื่ออธิบายศีลธรรมในสังคม แต่การให้ของพ่อแม่ต้องบริสุทธิ์ อยู่เหนือความปรารถนาที่จะมีอานาจเหนือลูก เพราะเมื่อนั้นศีลธรรมที่ลูกมีต่อผู้อื่นก็จะเป็นการให้ที่ บริสุทธิ์เช่นกัน มิใช่เพราะต้องการความเหนือกว่าในอานาจ หรือในเกียรติและศักดิ์ศรี เป็นการตอบ แทน แต่ในศีลธรรมของระบบอุปถัมภ์นิยม การที่ผู้ให้การอุปถัมภ์เรียกร้องเอาอานาจเหนือผู้รับการ อุปถัมภ์ ถือตนว่ามีเกียรติมีศักดิ์ศรีเหนือกว่า คือตัวธรรมชาติธาตุแท้ของระบบดังกล่าว ระบบอุปถัมภ์ คือระบบชนชั้น ระบบชนชั้นคือการมีอานาจและเกียรติยศศักดิ์ศรีที่ไม่เท่าเทียมกัน ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ ก็คือ การมีสถาบันชั้นสูงที่เป็นผู้อุปถัมภ์ชนชั้นล่าง แต่อยู่เหนืออานาจการวิพากษ์วิจารณ์ของชนชั้น ล่าง พ่อแม่ที่กาหนดวิถีชีวิตของลูก ครูบาอาจารย์ที่ไม่อนุญาตให้ศิษย์โต้เถียงแสดงความคิดเห็นของ ตนเอง ซึ่งบังคับเอาจากพันธะทางศีลธรรมของความกตัญญู การที่ผู้สมัครเลือกตั้งใช้อานาจเงินซื้อ เสียงได้เสมอ ก็เพราะอาศัยพันธะของความกตัญญู ภายใต้วาทกรรมของศีลธรรมแบบพ่อนี้เอง เราจะ เห็นการให้ที่ผู้ให้บังคับเอาอานาจเหนือผู้รับ อยู่ในทุกกรณีของความสัมพันธ์ทางสังคมแบบอุปถัมภ์ นิยม แต่การเปิดเผยให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันในอานาจ และความไม่บริสุทธิ์ของการให้ ก็ยัง ไม่เพียงพอสาหรับการเอาชนะระบบศีลธรรมแบบชนชั้น ตราบใดที่เรายังไม่อาจเอาชนะความคิดว่า ความดีงามทางศีลธรรมเกิดจากอานาจของการให้ในสิ่งที่มีค่าน่าปรารถนา ต่อผู้ที่ขาดแคลน ตราบนั้น เกียรติยศ คุณค่า และศักดิ์ศรีของผู้คนในสังคมย่อมไม่มีวันเสมอภาคเท่าเทียมกัน บทเรียนจากวิชาจริย ศาสตร์จึงเป็นสิ่งสาคัญ ขอให้เรามาพิจารณา อย่างละเอียดที่สุด ถึงผลตามนัยของความคิดว่าค่าทางศีลธรรมของ บุคคล อยู่ที่อานาจของการให้ ความคิดเช่นนี้มีอยู่จริงในสังคม และแสดงออกผ่านคาพูดว่า “ค่าของ คนอยู่ที่ผลของงาน” ซึ่งหมายความว่าใครสร้างผลงานเป็นความดีในสังคมได้มากเท่าไร คน ๆ นั้นก็ ย่อมมีค่ามากขึ้นเท่านั้น คาพูดนี้ฟังดูธรรมดา แต่เราก็จะรู้สึกถึงความจอมปลอมของมัน ทันทีที่เรานา ความคิดนี้มาใช้ เพราะตามความคิดนี้ หมอมีค่ามากกว่าพยาบาล เพราะหมอมีอานาจในการรักษา ความป่วยไข้ได้มากว่าพยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัยย่อม มีค่ากว่าอาจารย์โรงเรียนมัธยม ประถม อนุบาล ไป ตามลาดับ และอาจารย์ย่อมมีค่ามากกว่าภารโรง อย่างเทียบกันไม่ได้ เราสามารถจัดลาดับ ความสาคัญของอาชีพต่างๆ ต่อสังคมได้ไม่ยาก และคนก็มีค่าลดหลั่นกันไป ตามความรู้ความชานาญ
154
สถานะและบทบาทในสังคม ด้วยศีลธรรมอันบิดเบี้ยวเท่านั้น ที่จะทาให้เราเห็นจริงเห็นจังไปกับ ความคิดเช่นนี้ได้ แต่อย่าคิดว่าความคิดเช่นนี้ห่างไกลจากตัวเรา ซึ่งเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย มองดูความ หยิ่งทะนงและภาคภูมิใจในตัวเองของคุณ คุณทะนงว่าคุณเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ที่ย่อมเหนือกว่า นักเรียนพาณิชย์หรือนักเรียนอาชีวะ เพียงเพราะคุณชนะเรียนเก่งกว่า หรือเพราะคุณคิดว่าในอนาคต ต่อไป คุณจะเป็นคนที่มีอานาจ ที่จะทาในสิ่งที่มีคุณค่าต่อสังคมมากกว่าพวกเขา และนักเรียนแพทย์ก็ คงหยิ่งทะนง ว่าเขาเหนือพวกคุณ ความรู้สึกทะนงตนและมีอานาจอาจมีเรื่องเงินทองมาประกอบ แต่ ครู หมอ พยาบาล สามารถทะนงตนกว่าพ่อค้านักธุรกิจที่ร่ารวย แต่เราก็รู้สึกไม่ใช่หรือว่า ความทะนง ตนว่าเราเหนือต่อกันในด้านทั้งปวง ล้วนคือความหลงตัวเองอันจอมปลอม ค่าของความเป็นมนุษย์ ของนายกรัฐมนตรีและคนกวาดถนน หรือขอทาน ต่างกันตรงไหน? ในศีลธรรมที่ออกมาจากหัวใจ ลึกๆ เราอยากยืนยันว่ามนุษย์ทุกคนมีค่า มีเกียรติและศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน ขอให้ดูนัยทางศีลธรรม ที่บิดเบี้ยวที่สุดของคาพูดว่า “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” ตาม ความคิดนี้ คนที่ไม่สามารถให้อะไรกับใครได้เลย เป็นได้แต่เพียงผู้รับ และเป็นได้แต่เพียงภาระของ สังคม ย่อมไม่มีค่าในตนเองเลย ไม่ว่าจะเป็นคนไร้ความรู้ ไร้ทรัพยากร ขอทาน คนพิการ คนปัญญา อ่อน เด็กๆ ทั้งหลาย ซึ่งนี่คือสถานะการณ์ของน้องคนสุดท้องในครอบครัวในระบบศีลธรรมแบบพ่อ แล้วยิ่งคนที่เป็นปัญหาต่อสังคมอีกละ อาชญากรนอกจากไม่มีค่าต่อสังคม แล้วยังมีค่าทางลบอีกด้วย ถ้าอย่างนั้นเราจะไม่ยอมรับเลยหรือว่า แม้ว่าเขาจะเป็นผู้ที่กระทาผิดต่อผู้อื่นก็ตาม เขาก็ยังมีค่าของ ความเป็นมนุษย์อยู่ในตัว เห็นได้ชัดว่า เราต้องเอาชนะความคิดที่ว่า ความดีตัดสินกันที่อานาจของการ ให้ ให้จงได้ แต่จะด้วยวิธีอะไร? นักจริยศาสตร์จะบอกเราว่า ถ้าเราคิดว่าความดีเกิดขึ้นจากอานาจของการให้ เรากาลังคิดผิด ด้วยการมองความดีว่าเป็นคุณสมบัติของการกระทา แต่การกระทาที่ดีต้องออกมาจากจิตใจที่ดีไม่ใช่ หรือ? ค้านท์ยืนยันว่าถ้ามี “เจตนาที่ดี” แต่ไม่มีอานาจในการกระทาตามเจตนานั้น เพราะถูกขัดขวางไว้ ด้วยอุปสรรคทั้งปวงที่เหนืออานาจที่เขาจะเอาชนะ ไม่ว่าจะเพราะด้วยความพิการ หรือความขาดไร้ ทรัพยากร ฯลฯ ความดีงามทางศีลธรรมก็เกิดขึ้นแล้วอย่างสมบูรณ์ ขอเพียงแค่มี “เจตนาที่ดี” อยากที่ จะกระทาก็พอ ตัวการกระทาและผลสาเร็จของการกระทา ไม่ได้ช่วยเพิ่มอะไรให้กับคุณค่าและความดี งามที่เกิดขึ้นไปเรียบร้อยแล้วจากการมีเจตนาที่ดี นั้นเลย คนที่เป็นกษัตริย์กับคนที่เป็นขอทาน อาจมี จิตใจที่ปรารถนาดีต่อผู้อื่นเท่าๆ กัน และคนทั้งสองย่อมมีคุณค่า และความดีงามทางศีลธรรมที่เท่า เทียมกันทุกประการตามการอธิบายนี้ แม้คนหนึ่งจะมีอานาจทุกประการที่จะบันดาลในสิ่งที่ตนเจตนา ให้เป็นจริง แต่อีกคนหนึ่งไม่อาจแม้แต่จะช่วยตนเองเสียก่อน
155
ดังนั้นการเอาชนะระบบศีลธรรมแบบที่ความดีตัดสินกันด้วยอานาจของการให้ ทาได้ด้วย การตระหนักว่า เราไม่อาจมองความดีที่ภายนอก แต่ต้องมองกลับไปให้ถึงจุดกาเนิดของมัน เราต้อง มองความดี ไม่ใช่ที่เปลือก แต่ที่แก่นแท้ของมัน และนี่คือความผิดพลาดโง่เขลาของระบบศีลธรรม แบบชนชั้น แต่นี่อาจเป็นผลของเจตนาที่จะปิดกั้นสายตาของตนเองจากความเป็นจริง และการมีมโน สานึกที่บิดเบือนไปเพราะผลทางจิตวิทยาของความต้องการอานาจ เพื่อมาชดเชยชีวิตที่ต้องอยู่ใต้ อานาจกันเป็นชั้นๆ และนี่ให้คาอธิบายต่อข้อเท็จจริงที่ว่า ในระบบอุปถัมภ์ คนสามารถลดตนเองลง เป็นธุลีดิน เรียกตนเองเป็นฝุ่นผงธุลีดินราวกับคนในวรรณะจัณฑาลของฮินดู ต่อหน้าผู้ที่ตนเองรู้สึก กตัญญู ว่าเป็นผู้ที่เมตตา ให้ทุกสิ่งทุกอย่างต่อตน และตนบูชาให้เป็นเทพเจ้า แต่คนเช่นนี้ก็จะต้องการ ความกตัญญู และการยอมลดตัวเองลงต่าของผู้ที่รับการอุปถัมภ์จากตนเช่นกัน นั้นก็คือ เขาย่อม ต้องการคาเรียกว่า “ท่าน” “พณฯท่าน” และรูปแบบการปฏิบัติต่อเขาที่เหมาะสมตามคาเรียกนั้น จาก สามัญชนผู้เป็น “นายนั่น” “นางนี”่ ทั้งหลาย (และเห็นได้ไม่ยากว่านี่ก็คือสิ่งที่นายทุนหลายๆ คนก็ ต้องการจากลูกจ้างของตนด้วย) กลับมาสู่บทเรียนของวิชาจริยศาสตร์ อะไรคือต้นกาเนิดของความดีที่อยู่ภายในจิตใจมนุษย์ ค้านท์ใช้คาว่า “เจตนาที่ดี” อย่างที่เขาจะอธิบายเชื่อมโยงศีลธรรม เข้ากับการ “เคารพ” ต่อเหตุผล ซึ่ง ได้มาจากอานาจทางปัญญาของมนุษย์ เพราะเขาเป็นนักปรัชญาแนวเหตุผลนิยม เราจะไม่ขยายความ ทฤษฎีของเขาอีกครั้งในที่นี้ แต่จะเสนอคาอธิบายในทิศทางตรงกันข้าม คือมุ่งไปสู่ความรู้สึกทาง อารมณ์ของมนุษย์ โดยจะอธิบายว่าความรู้สึกทางจิตใจ หรือความรู้สึกทางอารมณ์ คือแก่นแท้ของ ความรู้สึกถึงคุณค่าทางศีลธรรม ที่มีอยู่ในตัวเองของเราและของมนุษย์ผู้อื่นทุกคน ผู้เขียนเลือกทางนี้ เพราะเห็นว่า เมื่อเราถามหาเหตุผลว่า “ทาไม” มันจะต้องจบลงที่จุดๆ หนึ่ง ซึ่งเราไม่สามารถหาเหตุผล อื่นมาตอบต่อไปได้อีกแล้ว ที่นั่นคือที่ที่เราจะตอบได้แต่เพียงว่า “เพราะมันเป็นเช่นนั้น” หรือ “เพราะ ฉันรู้สึกเช่นนั้น” “ทาไมฉันจึงควรเคารพต่ออานาจในการใช้เหตุผลของฉัน ก็เพราะฉันรู้สึกเช่นนั้น” ดังนั้น ลึกลงไปจากเหตุผล ก็คือความรู้สึกทางอารมณ์ ได้แก่สิ่งที่เป็นความจริงแบบอัตวิสัยของคนแต่ ละคน หมายความว่า วิพากษวิธีต้องจบลงที่ใดที่หนึ่ง และที่นั่นเราต้องถามต่อหัวใจ ถ้าเราถูกถามว่า อะไรคือสิ่งที่เรารู้สึกว่าสูงค่าที่สุดในตัวเรา อะไรคือสิ่งที่ทาให้เรารับรู้ตนเอง ว่าเป็น “มนุษย์” ซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีคุณค่าทางศีลธรรมอยู่ในตนเอง และเป็นค่าที่เรารู้ด้วยความรู้สึก ไม่ใช่ด้วยความคิด คาตอบที่ผู้เขียนจะให้ก็คือ “การมีหัวใจที่จะรับรู้ถึงความรู้สึกของชีวิตอื่น” ลองมา ดูสิว่าคุณจะให้คาตอบเดียวกันนี้หรือไม่ การมีหัวใจก็คือการมีความรู้สึกสุขและทุกข์ และหัวใจของมนุษย์ก็เป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์ คุณ เคยหรือไม่ที่รู้สึกมีความสุขในขณะที่รู้สึกทุกข์ คุณเคยยิ้มด้วยความดีใจเมื่อรับรู้ว่าน้าตาของคุณกาลัง รินไหลด้วยความทุกข์หรือไม่ นี่ฟังดูแปลกประหลาด แต่นี่แหละคือความมหัศจรรย์ของหัวใจ แต่ดู
156
เหมือนว่าในแต่ละวันเราจะมีหัวใจน้อยกว่ามีหัวคิด ลองคิดถึงชีวิตของคุณแต่ละวัน มันดาเนินไปตาม แบบแผนที่คุณวางไว้ เพื่อพาไปสู่สิ่งที่คุณมุ่งหวังปรารถนาในอนาคต ตื่นมาก็อาบน้า แต่งตัว กิน อาหาร คุยเล่น หัวเราะกับเพื่อน เข้าเรียน พยายามทาความเข้าใจและจดจาบทเรียน กลับที่พัก ออกมา เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพและความสนุกสนาน หรือมีกิจกรรมนันทนาการอื่น แล้วก็กลับที่พัก เข้านอนผัก ผ่อน เพื่อที่จะตื่นมาทาในสิ่งเดิมๆ ในวันต่อไป อาจมีความสุขในเชิงของความสนุกสนาน และความ ทุกข์ในเชิงของความเหนื่อยยากอยู่นิดๆ หน่อยๆ คนส่วนใหญ่ในสังคมก็คงมีชีวิตเป็นรูปแบบที่ ซ้าซากเช่นนี้ไม่ต่างไปนัก นั่นก็คือเรามีชีวิตเหมือนหุ่นยนต์ที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้ เรารู้สึกถึงความเป็น มนุษย์ของเราเท่าไรกันเชียว ในแต่ละวัน แทบจะไม่เลย เรามีชีวิตอยู่กับหัวคิด และแผนงาน มากกว่า กับหัวใจ เราอาจจะลืมๆ ไปด้วยซ้าว่าเรามีหัวใจ จนวันหนึ่ง อะไรบางอย่างทาให้คุณร้องไห้ด้วย ความรู้สึกเจ็บปวด แต่คุณไม่ได้ร้องไห้ให้ตัวคุณเอง หรือให้คนที่คุณรักและผูกพันด้วย แต่ร้องไห้ ให้กับคนที่คุณไม่เคยรู้จักเลยแม้แต่น้อย อาจเพราะเคราะห์กรรมของเขา ถูกนามาเสนอเป็นข่าวใน โทรทัศน์หรือในหนังสือพิมพ์ หรือด้วยความบังเอิญอะไรก็แล้วแต่ คุณรับรู้ถึงความเจ็บปวดสูญเสีย อันลึกซึ้งของเขา แล้วคุณก็หลั่งน้าตา และถ้าในวันนั้น คุณจาไม่ได้ว่าเมื่อไรคือครั้งสุดท้ายที่คุณเคย ร้องไห้ ให้กับคนที่คุณไม่เคยรู้จักมาก่อน คุณอาจยิ้มออกมาทั้งน้าตา และพูดกับตัวเองว่า นี่ฉันยังมี หัวใจอยู่ ฉันยังมีความเป็นมนุษย์อยู่ แม้เวลาจะผ่านไปนานจนจาไม่ได้ แต่สิ่งที่มีค่าที่สุดในตัวฉัน ก็ยัง อยู่เป็นตัวของฉัน คุณดีใจว่าวันเวลาที่คุณหมดไปกับการหมกมุ่นอยู่กับชีวิต ความสุข ความปรารถนา ของตัวเอง มันไม่ได้กัดกล่อนจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ของคุณให้หมดสิ้นไป นี่คือขณะที่คุณจะยิ้ม ให้กับน้าตาของคุณ ความเป็นมนุษย์ในความหมายทางศีลธรรม คือความสามารถที่จะรับรู้ถึงความรู้สึกของชีวิต อื่น เสมือนเป็นความรู้สึกของตนเอง นี่คือการข้ามพ้นตนเอง การสลายไปของขอบเขตของตัวตน คือ การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชีวิตอื่นอย่างเป็นสากล ไม่ใช่การเป็นอันหนึ่งอันเดียวแบบการขยายออก ของตัวตนที่สร้างการแบ่งแยกและความเป็นพวกเขาพวกเรา ในความหมายเช่นนี้ “กวี” คือผู้ที่มีความ เป็นมนุษย์สูงสุด และเป็นต้นแบบของศีลธรรม และนี่คือศีลธรรมแห่งความเป็นมนุษย์ของเรา “กวี” เป็นผู้ที่มีความสุขในความทุกข์ของตนเอง เป็นผู้ที่ยิ้มให้กับน้าตาของตน เพราะเขาเห็น คุณค่า และความหมาย ของความสุขและทุกข์ในชีวิตของเขา เขารับรู้ว่าความสุขทุกข์ของเขา เป็น ชะตากรรมที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ดังนั้นมันจึงเป็นความสุขความทุกข์ของทุกคน และนั่นก็เป็น ความสุขความทุกข์ของเขา เขาแสวงหาหนทาง ที่จะรับรู้ความสุขความทุกข์ของผู้อื่น เพื่อที่จะถ่าย ทอดมันออกมา ให้มนุษย์ทั้งมวลได้รับรู้ และได้ร่วมรู้สึกอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้ “มนุษยธรรม” เกิดขึ้นบนโลก เมื่อมนุษย์รับรู้ความทุกข์ของผู้อื่นอย่างไม่แบ่งแยก และทาทุกอย่างที่อยู่
157
ในอานาจของตน เพื่อบรรเทามัน ใน “มนุษยธรรม” ความสุขความทุกข์ของมนุษย์ หรือของชีวิตทั้ง มวล มีค่าเท่าเทียมกัน ด้วย “มนุษยธรรม” เราให้ เพื่อให้ผู้เป็นทุกข์พ้นทุกข์ และกลับมามีความสุข เท่าที่เรามี เราให้อย่างที่ปรารถนาให้ผู้ที่ตกอยู่ในสถานะที่ต่าต้อย ได้ขึ้นมามีคุณค่าเสมอกับเรา ความเป็นมนุษย์ในฐานะสิ่งที่มีค่าทางศีลธรรม เป็นสิ่งที่เรามีอย่างเท่าเทียมกัน เพราะมันเกิด อยู่ในหัวใจของความสามารถที่จะรู้สึกถึงความรู้สึกของผู้อื่น เสมือนกับเป็นความรู้สึกของเราเอง นี่ คือสิ่งที่เราเรียกว่า “ความสงสาร” แต่ทว่าแม้แต่เราเองก็ไม่ได้มี “ความเป็นมนุษย์” อยู่ตลอดเวลา เรามี ความเป็นมนุษย์อยู่จริงก็แต่เฉพาะเวลาที่เรารู้สึกด้วยหัวใจเท่านั้น ในชีวิตประจาวัน บางทีเราก็ไม่รู้ว่า หัวใจของเราไปซ่อนเร้นอยู่ที่ใด ดังนั้น อาชญากร ผู้ที่กระทาผิดต่อผู้อื่น ก็มีความเป็นมนุษย์เท่าๆ กับ เรา และเราต้องมีความหวังต่อเขาเสมอว่า แม้ว่าหัวใจของเขาจะหลับใหลไป ก็อาจตื่นขึ้นมาอีกครั้งได้ เช่นเดียวกับหัวใจของเรา. และ ณ บัดนี้เราได้ข้ามพ้นศีลธรรมแบบพ่อมาสู่ศีลธรรมแห่งมนุษยธรรมแล้ว.
158
บทที่ 10 เงิน วัตถุ ตัวตน และความสุข ขอให้เราสมมุติว่าเราได้ทาลายความเชื่อทางศีลธรรมที่รองรับวัฒนธรรมอุปถัมภ์นิยม และ ทาลายสังคมชนชั้นที่มีรากเหง้ามาจากระบบศักดินา ให้จบสิ้นลงไปแล้ว สมมุติว่าเราก้าวไปสู่ความ เป็นประชาธิปไตยแบบตะวันตก สังคมสามารถออกมาตรการประกันความเท่าเทียมกันในเกียรติและ ศักดิ์ศรีของสมาชิกทุกคนในสังคม คาถามก็คือ ระบบชนชั้นในสังคมจะจบสิ้นลงไปด้วยเลยหรือไม่ นักสังคมวิทยาจะตอบเราทันทีว่าไม่ สังคมประชาธิปไตยมาคู่กับสังคมทุนนิยมซึ่งทาให้เกิดชนชั้น แบบใหม่ คือชนชั้นที่แบ่งแยกกัน บนพื้นฐานของอานาจทางเศรษฐกิจ หมายความว่า คนในสังคมยัง ถูกแบ่งแยกออกจากกันเป็นชนชั้นใหญ่ๆ สามชนชั้น คือ ชนชั้นที่ครอบครองวัตถุอย่างล้นเหลือ ชน ชั้นที่ครอบครองวัตถุอย่างพอเพียงต่อความต้องการ และอาจเกินกว่าที่ต้องการสักเล็กน้อย และชนชั้น ที่ครอบครองวัตถุอย่างขาดแคลน ไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือที่เรียกกันว่า ชนชั้นเศรษฐีและคน ไฮโซ ชนชั้นกลาง และชนชั้นแรงงาน ตามลาดับ ในสังคมเช่นนี้ การดูถูกเหยียดหยามกันด้วยอานาจ อื่นๆ อาจจบสิ้นลงไปแล้ว แต่ก็ยังมีการกีดกัน แบ่งแยก ที่เกิดจากอานาจในการครอบครองวัตถุ ที่เป็น ผลมาจากความหลงในตนเอง มองตนเองว่าพิเศษ เหนือกว่าผู้อื่น เพราะสามารถครอบครองสิ่งผู้อื่นก็ ปรารถนา แต่ไม่สามารถครอบครองได้ การแสดงออกอย่างโอ้อวดในสังคมว่า “ดูนี่สิ ฉันมีในสิ่งที่เธอ ไม่มีปัญญาจะมี” ที่จริงแล้ว ความแตกต่างในการครอบครองสิ่งที่น่าปรารถนา สามารถสร้างให้ผู้ที่มีน้อยกว่า หรือไม่มี รู้สึกต่าต้อยกว่าผู้อื่นในสังคม กดดันให้เขาต้องการที่จะมีในสิ่งนั่นๆ บ้างได้ด้วยตัวของมัน เองอยู่แล้ว หากเพียงคนส่วนน้อยมีเช่นนั้น แรงกดดันก็จะมีไม่มากนัก แต่ถ้าจานวนของผูค้ นที่มี เช่นนั้นมีมากขึ้น จนเป็นคนส่วนใหญ่ แรงกดดันก็จะยิ่งทวีมากขึ้น ตัวอย่างเช่น หากในชั้นเรียนมีเด็กเพียงคนสองคน ที่มีพ่อแม่ที่มีรถเก๋งขับไปส่งที่โรงเรียน แรงกดดันที่มีต่อเด็กที่ไม่มีรถเก๋งขับไปส่งก็จะมีน้อยมาก เพราะพวกเขาจะเป็นคนส่วนใหญ่ แต่ถ้าเด็ก ที่มีรถเก๋งขับไปส่งที่โรงเรียนมีมากขึ้นๆ แรงกดดันต่อเด็กที่ไม่มีก็จะเพิ่มมากขึ้น และอาจถึงจุดที่ รุนแรงที่สุด เมื่อเด็กถูกคนอื่นพูด หรือแสดงออกอย่างแบ่งแยกว่า “เขาไม่มีเหมือนพวกเรา” หากเด็ก
159
ไม่มีความรู้สึกถึงความมีคุณค่าในตนเองด้านอื่นๆ เป็นเกราะป้องกันตัว เช่น การได้รับความรัก ความ ชื่นชม การดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดของพ่อแม่ เด็กก็อาจรู้สึกต่าต้อย จนดิ้นรนเรียกร้องพ่อแม่ให้หา ซื้อรถเก๋งมาขับ เพื่อให้เท่าเทียมกับเพื่อนคนอื่นๆ ธรรมชาติทางจิตวิทยานี้เอง คือที่มาของความผิดทางศีลธรรม ของการแสดงออกแบบโอ้อวด ตัวเอง หากเราต้องการสร้างความรู้สึกเสมอภาคในสังคม เราจะต้องมีความละเอียดอ่อนต่อความรู้สึก ของผู้อื่น และระวังที่จะไม่แสดงออก ถึงการครอบครองในสิ่งต่างๆ ที่คนอื่นไม่มีอย่างที่เป็นการโอ้ อวด คนเราอาจได้สิ่งต่างๆ ที่น่าปรารถนา มาไว้ในครอบครองอย่างไม่เท่าเทียมกัน ด้วยเหตุแห่งแรง พยายาม หรือโชคลาภ สวรรค์บันดาล แต่เราไม่ควรแสดงออกในสิ่งที่เรามีเหนือกว่ากันด้วยความรู้สึก อยากจะโอ้อวด เพราะลาพังการครอบครองสิ่งที่น่าปรารถนา เหนือกว่าผู้อื่น ก็เป็นแรงกดดันทาง จิตใจต่อคนที่รู้ว่าเรามีมากกว่าอยู่แล้ว และเราควรยกเขา ให้กลับขึ้นมาเสมอกับเราในแง่อื่นๆ ทุกแง่ที่ เราทาได้ ดังนั้นในการสร้างความสัมพันธ์ที่เสมอภาคในสังคม ท่ามกลางความแตกต่างในโชคลาภ และอานาจของการครอบครอง เราต้องพยายามเอาชนะความต้องการที่จะรูส้ ึกว่าตนเองเหนือกว่า พิเศษกว่าผู้อื่น ไม่ว่าจะในสิ่งใด เพื่อที่จะไม่แสดงออกอย่างโอ้อวดในสิ่งนั้นๆ เราอาจมีความเชื่อมั่น ในตนเอง มีความภาคภูมิใจในตนเอง แต่เราก็ควรแสดงออกอย่างสุภาพอ่อนโยนต่อบุคคลทุกคน ใน ฐานะมนุษย์ผู้มีคุณค่าเสมอภาคเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเรามองกลับมายังสิ่งที่เป็นอยู่จริง เราก็จะพบว่า ในเรื่องของการครอบครอง วัตถุแล้ว คนส่วนใหญ่ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีล้นเหลือ คนที่มีระดับพอเพียง หรือคนมีอย่างขาด แคลน เราก็จะพบว่า เกือบทุกคนแสดงพฤติกรรมของความต้องการอย่างไม่สิ้นสุดและไม่รู้จักพอ เมื่อ โทรศัพท์มือถือ เริ่มต้นกลายเป็นสินค้าที่ชนชั้นกลางสามารถซื้อหาใช้ได้อย่างสะดวก ชนชั้นล่างก็เริ่ม ดิ้นรน ยอมเป็นหนีเ้ ป็นสิน ซื้อหาเพื่อให้มีใช้บ้าง นี่เป็นพฤติกรรมระดับมวลชน ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจาก แรงกดดันของการเห็นเศรษฐีข้างบ้าน หรือลูกเศรษฐีที่เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนมีในสิ่งที่ตนไม่มี และ การถูกแบ่งแยกกีดกันจากการคบหาสมาคม แต่เป็นผลของวิวัฒนาการอีกประการหนึ่งที่ควบคู่มากับ การเกิดขึ้นของสังคมทุนนิยม นั่นก็คือ การขยายตัวของเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และอุตสาหกรรม การโฆษณา นั่นก็คือ สังคมทุนนิยมได้พัฒนามาสู่สังคมบริโภคนิยมวัตถุนิยม โดยอาศัยระบบการโฆษณา เป็นแรงผลักดันให้มนุษย์ทุกคนเชื่อว่า ชีวิตที่ดี คือ ชีวิตที่มีวัตถุไว้ในการครอบครอง ซึ่งหมายความว่า ยิ่งเรามีวัตถุไว้ในครอบครองมากเท่าไร ชีวิตของเราก็ยิ่งเป็นชีวิตที่ดี เป็นชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น เท่านั้น และในสังคมเช่นนี้ การหาเงินและการใช้เงินคือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต และเงินคือพระเจ้า เพราะสามารถบันดาลให้เราได้ในทุกสิ่งที่ปรารถนา
160
ดังนั้นขอให้เรามามองดูโลกทุนนิยมบริโภคนิยมกันให้ดี ประเด็นหลักของเราเป็นเรื่องตัวตน แต่ขอให้เรามองดูเรื่องที่ใหญ่กว่าตัวเราเสียก่อน ขอทบทวนประวัติศาสตร์สักนิด โลกทุนนิยมบริโภค นิยมเกิดตามมาจากชัยชนะของระบบทุนนิยมเสรีนิยม เหนือระบบสังคมนิยม ระบบเสรีนิยมทุนนิยม เชื่อในเรื่องของเสรีภาพของปัจเจกบุคคล ในการครอบครองทุนและการใช้ทุนมาแสวงหาประโยชน์ ให้ตนเองอย่างไม่มีข้อจากัด ในตอนนี้เราอยู่ในโลกทุนนิยมอย่างเต็มตัว และดูเหมือนจะไม่มีทางหวน กลับไปหาระบบสังคมนิยมได้อีกแล้ว (แต่ก็ไม่แน่) สิ่งที่เราต้องตระหนักก็คือ เรากาลังมีชีวิตอย่างที่ ทาอันตรายต่อโลก หัวใจของระบบทุนนิยมคือการผลิตอย่างไม่หยุดยั้ง เปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติ ให้ กลายเป็นสินค้า ทาลายป่า ดิน น้า อากาศ เผาผลาญน้ามันดิบ และก๊าซธรรมชาติ ทาให้สิ่งมีชีวิต เผ่าพันธุ์อื่นสูญพันธุ์ สร้างขยะที่เกิดจากการผลิต และการบริโภคขึ้นมาทับถมแผ่นดิน และผืนน้า ฯลฯ ซึ่งกล่าวง่ายๆ ก็คือเรากาลังฆ่าธรรมชาติให้ตายลงไปทีละน้อย ๆ เกิดปฏิกิริยาในสังคม เป็นกระแส อนุรักษ์ธรรมชาติขึ้น แต่ก็หยุดยั้ง และลดทอนการผลิตไม่ได้ ได้แต่ตามตรวจ จับ ปรับ แก้ แล้วก็สร้าง ความฝันลมๆ แล้งๆ ว่า เราจะสามารถทาให้โลกกลับมาสะอาดขึ้นอีกได้ หาพลังงานที่สะอาด และที่ ใช้ได้ไม่มีวันหมดมาทดแทนได้ โดยยังรักษาชีวิตในระบบทุนนิยมบริโภคนิยมไว้พร้อมๆ กัน (...นี่ อาจเป็นการหลอกตัวเอง อย่างง่ายๆ แต่ไม่เป็นไรหรอก ชะตากรรมที่เลวร้ายเป็นของคนในอนาคต ไม่ใช่ของเรา ภาวะโลกร้อนก็จะยังไม่ทาให้โลกพินาศไปในเร็ววันนี้ รถขับเคลื่อนสี่ล้อขนาดใหญ่ เป็นที่นิยมกันอย่างบ้าคลั่ง เพราะคนมีเงินคิดว่ามันจะพาเขากลับไปหาป่าเขาที่เป็นธรรมชาติได้ แต่เขา ก็ใช้มันขับไปสานักงาน ไปตลาด ส่งลูกไปโรงเรียน และผลาญน้ามันไปอย่างไม่สนใจคนในอนาคต น่าตลกที่ว่า สาหรับพวกเขา ธรรมชาติคือที่ผักผ่อน ที่ที่เขาจะหวนไปหาเป็นครั้งคราว หลังการใช้ชีวิต เกือบทั้งหมด ในการลดทอน และทาลายธรรมชาตินั่นเอง...) ตอนนี้ ขอให้เรามาเริ่มดูโลกทุนนิยมบริโภคนิยมตามที่มันสัมพันธ์กับความเป็นตัวเรา นั่นก็ คืออย่างที่มันมีผลต่อคุณค่า และความหมายในชีวิตของเรา กันได้แล้ว โลกทุนนิยมบริโภคนิยมสัมพันธ์กับเรามากที่สุด ผ่านการเห็นเงินเป็นสิ่งที่จะตอบสนอง ความต้องการของเราที่ไม่มีวันพอ โลกทุนนิยมบริโภคนิยมคือโลกของการสร้างมายาคติให้กลายเป็น ความจริง และความเชื่อที่ว่ามนุษย์มีความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุดก็เป็นมายาคติอันแรกที่ถูกสร้างให้ เป็นความจริง เพื่อรับใช้และรองรับตัวระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั่นเอง คุณอาจจะเชื่อจริงๆ ว่าคุณ เกิดมาพร้อมกับความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะคุณก็รู้สึกอยู่เช่นนั้น (พุทธศาสนาก็ดูเหมือนจะ ยืนยันเช่นนั้น และชักชวนให้คุณเข้าวัด ทาบุญทาทาน ปฏิบัติธรรม ทาสมาธิ สวดมนต์ ภาวนา เพื่อ เอาชนะและทาลายตัวตน เพื่อที่จะขืนกับตัณหาความอยากต่างๆ -ในแง่นี้พุทธศาสนาดูเหมือนจะมี มุมมองที่แคบต่อชีวิต เพราะเห็นว่าชีวิตมีเพียงสองทิศทางเท่านั้นคือ การลอยไปตามตัณหาและความ อยาก กับการต่อสู้เอาชนะมัน มองไม่เห็นเรื่องของการใช้ชีวิตเพื่อพัฒนาศักยภาพในทุกๆ ด้าน เท่าใด นัก)
161
ที่จริงแล้ว ความต้องการอันไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ใช่ธรรมชาติที่ติดตัวคุณมาแต่กาเนิด แต่เกิดจาก อานาจของการโฆษณา ขอให้คุณลองพิจารณาว่า เฉลี่ยแล้ว วันหนึ่งๆ คุณเห็นโฆษณาสินค้าจานวนกี่ ชิ้น และคุณ “บริโภค” การโฆษณาเป็นเวลากี่ชั่วโมงต่อวัน มันมีผลพอที่จะทาให้คุณอยากได้นั่นอยาก ได้นี่ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือไม่ (ที่ผู้หญิงบ้าคลั่งผมสวยและหุ่นดีนั้นไม่ใช่อิทธิพลของการโฆษณาและ ละครทีวีที่มาคั่นโฆษณาหรือ) เชื่อได้ว่า ถ้าคุณไม่ดูทีวีที่มีโฆษณา หนังละคร ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร คุณจะลดความต้องการวัตถุไปได้มากทีเดียว แต่ดูเหมือนการโฆษณาจะอยู่ในทุกหนทุก แห่งที่คุณติดต่อสัมพันธ์กับสังคม คาถามหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ การโฆษณาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? คาตอบก็คือ ในช่วงหนึ่งของ การพัฒนาระบบทุนนิยมในอเมริกา ผู้ใช้แรงงานเริ่มรู้สึกว่ามีสิ่งต่างๆ เพียงพอต่อความต้องการ และ ต้องการจะลดชั่วโมงการทางานในโรงงานลง เขาไม่ได้รู้สึกต้องการเงินที่จะได้มากขึ้นตามชั่วโมง ทางานที่มากขึ้น แต่แน่นอนว่านายทุนต้องการขยายการผลิต เพื่อนาออกไปขายเพิ่มผลกาไร เกิด สถานการณ์ที่ระบบเศรษฐกิจชะลอตัว หยุดการเติบโต ปัญหาก็คือนายทุนต้องการกาไรเพิ่มขึ้นอีก แต่ ผู้ใช้แรงงานรู้สึกเพียงพอแล้ว จะทาอย่างไรดี? สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ มีนักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์หัวใสเสนอ ว่า ระบบเศรษฐกิจของอเมริกาจะเติบโตต่อไปได้ ถ้าสามารถทาให้ผู้ที่ใช้แรงงานในการผลิตนั่นเอง กลายมาเป็นผู้บริโภคสินค้าที่ผลิตไปพร้อมๆ กัน ดังนั้น ต้องมีการสร้างความต้องการให้เกิดขึ้นในตัว ของผู้ใช้แรงงาน นักเศรษฐศาสตร์จึงสร้างทฤษฎีขึ้นมาว่า มนุษย์มีศักยภาพที่จะถูกสร้างให้มีความ ต้องการได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งศักยภาพนั้นจะกลายเป็นความจริงขึ้นมาได้ก็ด้วยการโฆษณา อุตสาหกรรมโฆษณาจึงเกิดขึ้น แล้วผู้ใช้แรงงานในการผลิตก็เริ่มกลายเป็นผู้บริโภค คือเริ่มรู้สึกไม่ เพียงพอในวัตถุที่ตนมี และเงินก็เริ่มกลายเป็นพระเจ้า ดังนั้น ความต้องการวัตถุและเงินตรา จึงไม่ใช่ สิ่งที่มีมาแล้วแต่กาเนิด แต่เป็นสิ่งที่สังคมสร้างให้เกิดขึ้น เมื่อเริ่มแรก การโฆษณาเป็นเพียงการให้ข้อมูลว่ามีสินค้าเช่นนี้ เช่นนั้น มีอรรถประโยชน์ และผลิตจากวัสดุ เช่นนี้ เช่นนั้น สามารถซื้อหาได้ด้วยราคาเท่านี้เท่านั้น ซึ่งเป็นการถือว่าความ ต้องการมีแฝงอยู่แล้ว เมื่อผู้รับได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการที่แฝงอยู่ ก็จะเกิดความต้องที่เป็นจริง แล้วก็จะหาซื้อสินค้าที่สนองความต้องการนั้นมาบริโภค แต่ในปัจจุบันเราจะพบการโฆษณาแบบการ ให้ข้อมูลเปล่าๆ เช่นนั้นน้อยมาก แต่จะพบกับการกระตุ้นเร้าอารมณ์ ซึ่งไม่พ้นไปจากการนาเสนอ ภาพพจน์ของชีวิต ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข ไม่ว่าทางวัตถุหรือทางจิตใจ ล้นไปด้วยความหมายและ คุณค่า หรือความสนุกสนานความสาราญอย่างล้นเหลือ โดยมีภาพของการบริโภคสินค้าเป็น ส่วนประกอบของชีวิตเช่นนั้น อย่างเช่นในการโฆษณาน้าอัดลม หรือบางครั้งก็อาจจะเป็นการเสนอ ภาพ ของฟังชั่นที่พิเศษกว่าตัวอรรถประโยชน์พื้นฐานของสินค้านั้น หรือคุณสมบัติทางสุนทรียะของ รูปลักษณ์ของสินค้า และนาไปเชื่อมโยงอย่างอิสระ กับสิ่งอื่นที่มีความหมายและคุณค่าทางอารมณ์ เช่น ส่วนเว้าส่วนโค้งของผู้หญิง หรือของกลีบดอกไม้ เป็นต้น
162
และบางครั้ง อาจจะไม่มีการกล่าวถึงตัวข้อมูลของสินค้า หรือแสดงภาพของสินค้าเลย มีแต่ เพียงภาพพจน์ที่กระตุ้นเร้าอารมณ์ เกี่ยวกับค่านิยมที่ถ่ายทอดเป็นความหมาย หรือเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบคุณค่า ที่ยึดถืออยู่ในสังคม และนาเอาชื่อของสินค้าไปต่อท้ายไว้ เพื่อสร้างภาพพจน์ว่าสินค้านี้ สนับสนุนระบบคุณค่านั้นๆ ของสังคม เช่นการเอา เบียร์ กาแฟ โทรศัพท์มือถือ หรือบัตรเครดิต ไป ต่อท้ายโฆษณาที่สื่อเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ เสรีภาพทางความคิด ความกตัญญูต่อพ่อแม่ ลัทธิ ชาตินิยม ลัทธิวัฒนธรรมนิยม หรือคุณค่านามธรรมอื่นๆ แต่ที่จริงสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเป็นเพียงแค่ เรื่องราวประกอบเสน่ห์ของภาพอันงดงาม หรือเย้ายวน น่าตื่นตาตื่นใจต่างๆ ที่จะตรึงตาของเราไว้ตรง นั้น และเปิดรับต่อ “ข่าวสารที่แท้จริง” ซึ่งได้แก่สาระว่าคนอื่นๆ ในสังคมล้วนแต่ครอบครอง และ บริโภคสินค้านั้น และสาระนี้ก็สามารถสร้างผลกระทบทางจิตวิทยาได้ด้วยตัวของมันเอง ตามที่กล่าว มาแล้วแต่ต้น คือทาให้เรารู้สึกว่าสินค้านี้มีความน่าปรารถนา (หรืออาจไม่ใช่ตัวสินค้านั้นตรงๆ แต่ เป็นตัวสิ่งที่สินค้านั้นบอกว่าจะทาให้เกิดขึ้น เช่น ผมที่ยาวสลวยสวยงามของผู้หญิง) คนทุกคนล้วน ปรารถนามัน ดังนั้น สินค้านี้ หรือคุณภาพทางรูปกายนั้นๆ จึงเป็นสัญลักษณ์ของความพิเศษเหนือผู้อื่น ดังนั้น เพื่อให้เหมือนคนอื่น เท่าเทียมคนอื่น หรือเหนือกว่าคนอื่น ฉันก็ต้องบริโภคสินค้านั้น เช่นกัน โบดริยาร์ด (Baudrillard ค.ศ. 1929-2007) เป็นนักวิจารณ์ระบบบริโภคนิยมที่แหลมคมที่สุด คนหนึ่ง เขาชี้ให้เราเห็นว่า ในแง่หนึ่ง สินค้าสร้างราคาขายให้สูงขึ้น ด้วยการนาเอาคุณค่าในเชิง สุนทรียะใส่เสริมเข้าไปกับประโยชน์ในการใช้สอย เพื่อสร้างความพิเศษให้กับสินค้า หรืออีกแง่หนึ่ง ก็คือใส่ฟังชั่นที่พิสดารต่างๆ เข้าไปเพื่อสร้างความทันสมัยของการเป็นเทคโนโลยีล่าสุด เขายืนยันว่า ทั้งสองแง่เป็นคุณสมบัติที่เราบริโภค เพียงเพื่อใช้สร้างความรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้ที่พิเศษเหนือผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราปรากฏตัวต่อหน้าสังคมพร้อมกับวัตถุนั้นๆ ได้กล่าวแล้วว่า เมื่อเราออกไปสู่สังคม เราจะเผชิญแรงกดดันของการอยากมีสิ่งที่คนอื่นมี ดังนั้น เราจึงสามารถสรุปเกี่ยวกับการโฆษณาได้ง่ายๆ ว่า มันคือการนาสังคมเข้ามาใส่เรา แม้เมื่อเรา กาลังดาเนินชีวิตเป็นส่วนตัวอยู่ในบ้าน ในห้องน้า ห้องนอน และการโฆษณาทาให้แรงกดดันของ สังคม มีอานาจจนเราสุดจะต้านทานไหว เพราะมันทาให้เราอยู่กับค่านิยมของสังคม แทบทุกชั่วโมงที่ เราตื่นลืมตา ดังนั้นโบดริยาร์ดจึงขนานนามมนุษย์ในโลกวัตถุนิยมบริโภคนิยมว่าเป็น “อภิสัตว์สังคม” (hypersocial) เพราะเป็นทาสสังคมยิ่งกว่ายุคใดในประวัติศาสตร์ สังคมปัจจุบันซับซ้อนไปด้วยคุณค่า และความหมาย ที่สื่อสารต่อกันผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ แต่ โบดริยาร์ดจะบอกเราว่า สัญลักษณ์และความหมายต่างๆ ที่สื่อสารแลกเปลี่ยนกันอยู่ในสังคมนั้น ล้วน แต่อ้างอิงกลับไปกลับมา อยู่ภายในตัวมันเอง อย่างไม่มีความเป็นจริงภายนอกใดๆ รองรับ ทั้งหมดคือ ความกลวงเปล่า นี่อาจจะเป็นความคิดที่เข้าใจยาก แต่ความกลวงเปล่าในสาระที่สื่ออยู่ในโฆษณาก็
163
อาจพอทาให้เรา “รู้สึก” ถึง “ความจริง” ของความคิดเช่นนี้ได้บ้าง (หรือคุณอาจจะลองคิดถึงความ กลวงเปล่าในลัทธิชาตินิยม วัฒนธรรมนิยม สถาบันนิยม) ลองมาดูโฆษณากันสักสองชิ้น โฆษณาที่หนึ่ง ปรากฏในโทรทัศน์ เมื่อหลายปีมาแล้ว เป็นตัวอย่างแห่งปี ที่นักสังคมศาสตร์ หยิบมาวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราวเป็นดังนี้คือ ชายหนุ่มหน้าตาดีพอสมควรผู้หนึ่งก้าวออกมาจาก ออฟฟิศบนถนนย่านธุรกิจของกรุงเทพ ฯ แสดงภาพพจน์ของคนที่มีอาชีพการงานที่ดี น่าจะทางาน ระดับบริหาร เพราะแต่งสูท มีช้างที่ควาญพาเดินขอทานผ่านมา ลงเอยด้วยการที่หนุ่มคนนั้นวิ่งตาม ช้างนั้นไป เอานาฬิการาคาแพงที่ตนสวมใส่ขอแลกซื้อช้างจากควาญ และนาช้างตัวนั้นกลับไปสู่ป่า แสดงความเป็นคนดี มีจิตสานึกรักธรรมชาติ รวมแล้วก็คือภาพพจน์ตามค่านิยมของสังคมว่า สุดยอด แห่งคุณค่าของชีวิต คือ “เก่ง สวย-หล่อ รวย ดี” นักสังคมศาสตร์วิจารณ์ว่า ภาพที่เสนอในโฆษณานั้น คล้องจองเข้ากันดี แต่ในความเป็นจริงคือความเป็นตรงกันข้ามที่หักล้างกันเอง หนุ่มคนนั้นอาจเป็น นักบริหารในโลกธุรกิจทุนนิยม อาจเป็นเศรษฐีเล่นหุ้นอยู่ในตลาดหุ้น ลงทุนและเก็งกาไรจากหุ้นของ บริษัทที่สร้างสารพิษแอบไปทิ้งในแม่น้า หรือทาเหมืองแร่และทาลายป่า ทาให้ช้างและควาญหมด หนทางในการดาเนินชีวิตตามปกติ ต้องออกมาเร่ร่อนขอทานตามข้างถนน ซึ่งหมายความว่า ชีวิตของ คนที่เก่งและรวย ประสบความสาเร็จในโลกทุนนิยม คือการขโมยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ จิตสานึกรักธรรมชาตินั้นจึงเป็นเพียงความจอมปลอม กลวงเปล่า ของสัญลักษณ์ที่จับมาเชื่อมโยงใส่ กันในโฆษณา โฆษณาที่สอง เป็นภาพของชายหนุ่มในวัยระดับที่เพิ่งเริ่มต้นทางาน เขานาของขวัญมาให้แม่ เพื่อแสดงความรัก ความกตัญญู อาจจะเนื่องในวันเกิด ของขวัญนั้นคือแพ็คเกจทัวร์เที่ยวรอบโลก แม่ ถามว่า มีเงินหรือ ชายหนุ่มก็แสดงบัตรเครดิตให้ดู แม่ยิ้มด้วยความชื่นชม ชายหนุ่มยิ้มด้วยความ ภาคภูมิใจที่ได้ทาให้แม่มีความสุข สื่อสาระว่า เพื่อให้ความฝันของแม่เป็นจริง หนี้แค่นี้เป็นเรื่องเล็ก แต่ขอให้คุณลองหยุดคิดดูว่า จะมีแม่ที่ไหน ที่ภูมิใจที่ลูกต้องเป็นหนี้ เพื่อความสุขแบบนั้นของตนเอง มีแต่แม่ที่เป็นคนชนชั้นกลางเท่านั้นที่จะไม่มีเงินเที่ยวรอบโลกด้วยตัวเอง แต่ก็มีความใฝ่ฝันเช่นนั้น (คนชั้นล่างคงไม่อาจเอื้อมที่จะฝันเช่นนั้น) แต่ชีวิตของชนชั้นกลางนั้น มีเงินที่ก็ยังนับว่าจากัด พ่อแม่ ต้องระวังในการใช้เงินให้ดี เพื่อครองชีวิตมาจนส่งลูกให้เรียนจบสูงๆ ได้งานดีๆทา ค่านิยมที่สาคัญ สาหรับชนชั้นกลางก็คือการประหยัด การไม่ก่อหนี้และไม่ใช้จ่ายเกินตัว บัตรเครดิตคือการใช้เงินของ อนาคต อันเป็นวิถีชีวิตที่พ่อแม่ชนชั้นกลางไม่เคยสัมผัส แม่ที่แท้จริงไม่อาจภูมิใจที่ลูกมีนิสัยชอบ สร้างหนี้ แต่โฆษณาก็สามารถสร้างภาพที่กลวงเปล่า ขัดแย้ง หักล้างกันในตัวเองนี้ได้ เพื่อกระตุ้น อารมณ์ของคุณ เพื่อให้คุณคิดว่า นี่ก็คืออีกเหตุผลหนึ่งที่ฉันก็ควรมีบัตรเครดิตเช่นกัน สรุปก็คือ โฆษณาจะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสินค้านั้นๆ กับความต้องการทางจิตวิทยา ของเรา สร้างการกระทบที่ทาให้เราเสีย “สมดุล” ทางจิตใจ เกิดความอยากที่จะดิ้นรนหาวัตถุนั้นมา
164
บริโภคหรือครอบครอง เพื่อให้จิตใจกลับเป็นปกติ ซึ่งหมายความว่านักโฆษณาเป็นนักจิตวิทยาที่ ไม่ได้ต้องการใช้จิตวิทยา เพื่อช่วยรักษาให้จิตใจขอเรากลับมามาสู่สภาวะสมดุล แต่เพื่อที่จะทาให้เรา หลุดออกจากสมดุล (ความรู้ทางจิตวิทยาทั่วไปๆ อาจพอเพียง แต่บางครั้งนักโฆษณาจะตั้งเป้าไปที่ กลุ่มบุคคลเฉพาะในสังคม เช่น คนที่อยู่ในวัยหนึ่ง มีการศึกษาเฉลี่ยระดับหนึ่ง มีฐานะทางเศรษฐกิจ ระดับหนึ่ง มีลักษณะของรสนิยมทางนันทนาการแบบหนึ่ง แล้วออกสารวจ อาจด้วยการสุ่มตัวอย่าง สัมภาษณ์ เพื่อค้นหาความต้องการทางจิตใจที่มีอิทธิพลสูงสุด ที่เป็นลักษณะทั่วไปของคนเฉพาะกลุ่ม นั้น แล้วหาทางสร้างความหมาย ที่เชื่อมโยงความต้องการทางจิตใจนั้นเข้ากับสินค้าของเขา คุณเองก็ อาจเคยมีประสบการณ์ของการเป็นผู้ให้ข้อมูลมาแล้ว) เราจะยุติเรื่องการโฆษณาลงตรงนี้ และจะหาทางอธิบายกลับมาที่ตัวเราว่า อะไรกันแน่คือสิ่ง ที่กาหนดความสัมพันธ์ของตัวเรากับวัตถุ เรามีความต้องการทางร่างกายและจิตใจ เราต้องการ อรรถประโยชน์ในตัววัตถุ เพื่อตอบสนองความต้องการทางร่างกาย ใบบทที่ 6 เราพูดเรื่องความ ต้องการต่างๆ ของชีวิต ทั้งร่างกายและจิตใจ ในบทที่ 8 เราเห็นความดิ้นรนและการกระทาอันไร้ เหตุผล ที่เกิดจากความต้องการการยอมรับในเกียรติและศักดิ์ศรี ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของสังคม ซึ่ง เกี่ยวพันกับความรู้สึกมีอานาจและไร้อานาจในสังคม ความสัมพันธ์ที่เรามีต่อวัตถุ ที่เกิดมาจากความ ต้องการทางร่างกายนั้นไม่มีอะไรซับซ้อน และจะปรากฏออกมาเป็นพฤติกรรมที่สมเหตุสมผล แต่ที่ ปรากฏออกมาเป็นพฤติกรรมของการบริโภคอย่างไร้สาระนั้น เป็นความต้องการทางจิตใจ ที่สามารถ สรุปว่า คือการที่เรานิยามความเป็นตัวเราผ่านวัตถุ เราใช้วัตถุเพื่อบอกตนเองและผู้อื่นในสังคมว่า “ฉัน คือใคร” “ฉันพิเศษอย่างไร” ซึ่งสามารถสรุปลงมาที่การนิยามตัวตนสามรูปแบบ คือ หนึ่ง “ฉันคือผู้มีปัจเจกภาพ มีความคิดความรู้สึกที่เป็นพิเศษเฉพาะของตนเอง อย่างเป็นอิสระ จากกาหนดของสังคม” นีค่ ือตัวตนแบบปัจเจก สอง “ฉันคือส่วนหนึ่งของกลุ่มคนที่มีชื่อเรียกเฉพาะเช่นนี้ๆ ผู้ซึ่งมีค่าเหนือผู้ที่มีชื่อเรียกอื่น” นี่คือตัวตนร่วม สาม “ฉันคือสมาชิกของชนชั้นผู้ซึ่งครอบครองอานาจ เกียรติศักดิ์ศรี และวัตถุอันมีคุณค่าน่า ปรารถนาเหนือกว่าใครๆ” นี่คือตัวตนทางชนชั้น ลองดูนักศึกษาสาวที่แต่งตัวในเครื่องแบบนักศึกษาที่ตัดเย็บอย่างธรรมดา คือเป็นเครื่องแบบ สาเร็จรูป แต่สวมสร้อยข้อมือที่พันขึ้นด้วยด้าย หรือเส้นลวดหลากสี เป็นลวดลายเหมือนงานศิลปะ เทียบกับ นักศึกษาสาวที่แต่งเครื่องเครื่องแบบที่ตัดเย็บอย่างประณีต ด้วยผ้าราคาแพง จากร้านสั่งตัด และอาจสวมแหวนเพชร และสร้อยข้อมือทองคาประดับพลอย และเทียบกับ นักศึกษาที่สวมเสื้อ เครื่องแบบ ที่ข้างหลังพิมพ์รูปที่แสดงคณะวิชาที่ตนศึกษา นักศึกษาคณะพิเศษบางคณะ ที่สวมเสื้อ นอกผูกเนคไท หรือ นักศึกษาคณะแพทย์ที่สวมเสื้อกาวน์ทับเครื่องแบบนักศึกษาปกติ ออกมาทาน
165
อาหารที่โรงอาหารรวมของมหาวิทยาลัย นี่คือขอบเขตที่น้อยที่สุด ที่นักศึกษาแสดงความเป็นตัวตน แบบต่างๆ ของตนเองออกมาผ่านวัตถุ ซึ่งคุณก็คงวิเคราะห์เองได้ไม่ยากว่าใครกาลังแสดงตัวตนแบบ ไหน ตัวอย่างเหล่านี้เป็นกรณีที่ไม่ได้ใช้วัตถุแสดงตัวตนตามค่านิยมแบบแฟชั่น (เช่น การใช้มือถือ ราคาแพง การใส่เสื้อรัดรูปและกระโปรงสั้นเพื่อแสดงความเซ็กซี่) เราอาจจะคิดว่าการแสดงตัวตน แบบปัจเจก น่าจะเป็นความสัมพันธ์กับวัตถุ ที่ทาให้เราเป็น “ทาส” ของวัตถุและสังคมน้อยที่สุด แต่ก็ ขอให้เรามามองมาดูความสัมพันธ์นี้ให้ละเอียด เราทุกคนมีความชอบที่เป็นพิเศษเฉพาะของตนเอง เช่น สี ลวดลายและวัสดุทใี่ ช้ตัดเย็บเครื่องแต่งกาย และตรงนี้เราก็ต้องการให้เครื่องแต่งกายของเรา “สะท้อน” บุคลิกภาพของเรา ซึ่งก็หมายถึงภาพพจน์ที่เรามองตัวเราเองว่าเราเป็นคนแบบไหน และ ไม่ใช่คนแบบไหน ฉันคือใคร ฉันไม่ใช่ใคร เราอาจมีค่านิยมที่ใช้แยกแยะตนเองจากคนบางประเภท ในสังคม หรือใช้แยกแยะตนเอง ออกจากคนส่วนใหญ่ของสังคม แต่แล้วเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายก็อาจ กลายเป็นเรื่องยุ่งยาก ในการเลือกหาให้เหมาะกับภาพพจน์ที่เราต้องการ “ฉาย” ออกไปตามค่านิยม ส่วนตนนั้น เช่น การที่นักศึกษา หรือคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง ต้องหาเสื้อม่อฮ่อม หรือเสื้อผ้าฝ้ายที่ทอ ด้วยมือ ผลิตเป็นอุตสาหกรรมพื้นบ้าน มาสวมใส่ เพื่อที่จะใช้บอกว่า ฉันเป็นคนที่เป็นส่วนหนึ่งของ “ชาวบ้าน” และรักวิถีชีวิตแบบพื้นบ้าน ฉันไม่ใช่พวกฟุ้งเฟ้อบ้าแฟชั่น ก็อาจเป็นเรื่องยุ่งยากจนเกิน ควรไปก็ได้ หมายความว่าอาจเสียเวลายุ่งยากหา พอๆ กับคนที่หลงใหลแฟชั่น และใช้เวลาให้หมดไป กับการเดินตามห้างสรรพสินค้า หาเสื้อผ้าให้เข้ากับรสนิยมเฉพาะตนของพวกเขา ก็เป็นได้ ในหนังสือเล่มนี้ เรานิยามปัจเจกภาพว่าคือการค้นพบความชอบ ศักยภาพ และการพัฒนา ศักยภาพของตนเองไปสู่จุดสูงสุด ดังนั้น คนที่มีความเป็นปัจเจกที่แท้จริงย่อมเห็นค่าของเวลา ว่าควร จะได้นามาใช้พัฒนาศักยภาพของตน และนามาใช้สร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งที่มีค่า มากกว่าจะนาไปใช้ อย่างอื่น ดังนั้นเขาย่อมมีแนวโน้มที่จะเติบโตข้ามพ้นความต้องการที่จะการ “ฉาย” ภาพพจน์ของ ตัวตนของเขาผ่านเครื่องแต่งกาย และวัตถุเครื่องใช้ไปได้ในที่สุด ในขณะที่คนที่มีปัจเจกภาพแบบ ปลอม ๆ ก็คือคนที่จะพบว่า การเดินตามห้างสรรพสินค้า เลือกหาเครื่องแต่งกาย คือเวลาของความสุข หรือคนที่เห็นว่าปัจเจกภาพของตนเอง เป็นเพียงความชอบในวัตถุ ที่แตกต่างจากความนิยมหลงใหล ของสังคม แต่ไปไม่ถึงปัจเจกภาพในฐานะศักยภาพ รถโฟล์ครุ่นโบราณ และมอเตอร์ไซค์สกูตเตอร์เวสป้ามีสมรรถภาพและอรรถประโยชน์ต่า มากเมื่อเทียบกับราคา จนอยู่ในขั้นที่ถือได้ว่าไร้เหตุผล แต่คนก็ชอบและอยากครอบครองมัน เพราะ มันมีรูปลักษณ์สุนทรีย์และเป็นเอกลักษณ์ และช่วยนิยามผู้ครอบครองว่า “ฉันคือคนที่มีความชอบของ ตนเองที่พิเศษ แตกต่างจากความชอบของคนส่วนใหญ่” แต่เบื้องหลังก็คือแนวโน้มเดียวกัน ที่ปรากฏ ในนักสะสมวัตถุพิเศษ เช่น แสตมป์ พระเครื่อง เหรียญและธนบัตร รุ่นที่หายาก ฯลฯ ต่างกันเพียงแต่
166
ของกลุ่มหลังนี้ไม่ใช่ของที่ใช้ประกอบการ “ฉาย” ภาพพจน์ความพิเศษของตนเองในสังคม นักสะสม พวกนี้ต้องการความรู้สึกพิเศษของตนเอง ผ่านการครอบครองวัตถุพิเศษ โดยเขาอาจรับรู้อยู่คนเดียว โบดริยาร์ดวิจารณ์ว่า คนพวกนี้มีลักษณะเหมือนคนที่เป็นโรคจิต เพราะต้องการสิ่งที่ขัดแย้งกันใน ตนเอง พวกเขาต้องการครอบครองวัตถุพิเศษประเภทหนึ่งทุกๆ ชิ้น พร้อมๆ กับที่ต้องการที่จะไม่ให้ ตนได้มาครบทุกชิ้น เพราะถ้ามันครบทุกชิ้นจริงเมื่อไร เขาก็จะไม่มีอะไรให้ทาในชีวิตของตนเองอีก ต่อไป คนที่เริ่มต้นด้วยแรงจูงใจของการพัฒนาศักยภาพอาจลงเอยด้วยการเป็นนักสะสมของพิเศษไป ในที่สุด พอคุณเริ่มเล่นกีตาร์เป็นคุณก็เริ่มอยากได้กีตาร์ราคาแพง เสียงดีๆ เพื่อที่จะเล่นให้ได้เพราะๆ ดังใจ และศักยภาพไม่ถกู ขัดขวางไว้ด้วยคุณสมบัติที่บกพร่องของกีตาร์ราคาถูก แต่นักดนตรี สมัครเล่นหลายคน ลงเอยด้วยการเป็นนักสะสมเครื่องดนตรีราคาแพง วัตถุพวกนั้นตอบสนองความ ต้องการทางจิตวิทยาบางอย่างของเขา ซึ่งไม่ใช่การพัฒนาศักยภาพไปสู่จุดสูงสุด และเป็นเพียงปัจเจก ภาพปลอมๆ และในที่สุด เงินก็จะกลายเป็นเครื่องมือในการสะสมวัตถุพิเศษของเขา เราทุกคนเมื่อ ตอนเป็นเด็ก ก็อยากสะสมของที่ตนเองชอบไว้เล่น หรือไว้ดูเล่น แต่เราก็จะเติบโตผ่านช่วงเช่นนั้นไป ได้ นักสะสมเป็นคนที่แรงกดดันทางจิตวิทยาบางอย่าง ดึงรั้งเขาไว้ไม่ให้เติบโต หรือถดถอยกลับไปสู่ นิสัยแบบเด็กๆ “ตัวตนร่วม” เป็นเรื่องของอานาจทางการปกครอง ในส่วนที่เป็นมิติทางจิตใจ การมีจุด ศูนย์กลางของระบบอานาจที่ครอบครองความเชื่อ ความศรัทธา มีอิทธิพลต่อจิตใจของเราอย่างเป็น อิสระจากปัจเจกภาพและสถานะของอานาจทางชนชั้น และสร้างให้เกิดการแบ่งแยกความเป็นพวกเรา และความเป็นคนอื่น ได้แก่ ลัทธิชาตินิยม วัฒนธรรมนิยม เผ่าพันธุ์นิยม กษัตริย์นิยม ศาสนานิยม สถาบันนิยม เป็นต้น นี่คือการที่เรานิยามตัวตนของเรา ผ่านตัวตนที่ “ใหญ่และสาคัญ” กว่าตัวตนแบบ ปัจเจกของเรา จากที่ได้อภิปรายและชี้ให้เห็นมาแล้วว่า ตัวตนร่วมเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังของระบบ อานาจปกครองในสังคม ทาลายศักยภาพทางปัญญา และทาลายความเป็น “มนุษย์สากล” หรือ ภราดร ภาพระหว่างมนุษย์ที่แตกต่างกันในความเชื่อ ชาติศาสนา และเผ่าพันธุ์ และชี้มาแล้วว่าระบบโฆษณา ใช้ตัวตนร่วมเป็นเครื่องมืออยู่เสมอ เช่น โฆษณาคาราบาวแดง แต่หากพิจารณาผลในตัวมันเองของ ตัวตนร่วม กับการใช้และการครอบครองวัตถุ เราจะพบว่ามันมีผลต่อความบ้าวัตถุของเราน้อยมาก อย่างมาก เราก็จะหาผ้าไทยและชุดไทยมาใส่ทุกวันศุกร์ ใส่เสื้อสีเหลือง ซื้อเสื้อยืดคอปกคุณ… ติด ปฏิทิน หรือรูปถ่าย รูปวาด ไว้ในบ้าน ติดสติกเกอร์ไว้ที่รถหรือในร้านว่า เรารัก…อะไรก็ว่าไป ดังนั้น ไม่มีอะไรให้เรากล่าวถึงมากไปกว่านี้ การนิยามตัวตนตามชนชั้นทางเศรษฐกิจ การใต่เต้าสถานะทางสังคม ที่มีอานาจเงินเป็น เครื่องมือ และความร่ารวยเป็นเป้าหมาย คือสิ่งที่สร้างความเป็นทาสวัตถุและเงินตราให้เรามากที่สุด เรามีรถไว้ใช้ประโยชน์พาไปไหนมาไหน และคุ้มแดดคุ้มฝน เราควรจะเป็นนายมัน แต่มันต่างหากที่ เป็นนายเรา ดูเหมือนมันจะสั่งเราได้ว่า จงดูแลขัดถูประดับประดาฉันให้งดงามที่สุด เมื่อมีใครมาขูด
167
ขีดรถเราให้เป็นรอย เราโกรธแค้นเจ็บปวดราวกับมีใครเอามีดมากรีดเนื้อ หรือเหมือนมีคนมาทาให้ผู้ที่ เรารักเจ็บปวด แรงกายและพลังชีวิตทั้งหมดของเราก็หมดไปกับการดิ้นรนหาเงินเพื่อที่จะหาซื้อวัตถุ ให้มาเป็นนายเรานี่แหละ ตอนนี้คุณยังเป็นนักศึกษา แต่ความกระหายเงินและวัตถุก็มีอยู่ท่วมท้น เช่นกันใช่ไหม? ดูเหมือนว่าเราต้องการเงินและวัตถุเพื่ออรรถประโยชน์ ซึ่งก็คือการใช้สอยเพื่อความสุขความ สบาย นี่ย่อมเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล เมื่อการหาเงินและวัตถุพาเราไปสู่ความสุข ไม่ได้พาไปสู่ความ ทุกข์แทน แต่ในลัทธิทุนนิยมบริโภคนิยม เรากลับแสวงหาเงินจนมันทาลายความสุขในชีวิต และใช้ เงินซื้อหาวัตถุด้วยราคาที่แพงกว่าอรรถประโยชน์ที่มันมี เพราะดูเหมือนเราจะต้องการเงินราวกับเงิน เป็นสิ่งเดียวกับความสุข และพาเราไปเผชิญความทุกข์ของความรู้สึกอยากมีมากขึ้นโดยไม่รู้จบ ผล การสัมภาษณ์คนจานวนหนึ่งในประเทศอเมริกายืนยันว่าข้อเท็จจริงทางจิตวิทยาของคนอเมริกัน ปัจจุบันคือ เขารู้สึกมีความสุข เมื่อพบว่ามีเงินทองและทรัพย์สินมากกว่าคนอื่น แต่ก็หมดความสุข ทันทีที่พบว่ามีคนอื่นที่มีมากกว่า ซึ่งเราก็คงรับรู้ความรู้สึกเช่นนี้อยู่ในตัวเอง ผลของการสัมภาษณ์ชิ้น หนึ่งได้แสดงว่า เขาไม่ได้ต้องการมีเงินมาก เท่ากับที่ต้องการมีเงินมากกว่าคนอื่น คือ เมื่อให้เลือก ระหว่างการได้เงินเดือน สมมติว่าสัก 5,000 เหรียญ แต่คนอื่นได้มากกว่า กับการได้เงินเดือน 2,500 เหรียญ แต่คนอื่นได้น้อยกว่า คุณจะเลือกอะไร นักศึกษาส่วนใหญ่ตอบว่า ขอรับเงินเดือนที่น้อยแต่ มากกว่าคนอื่น สรุปก็คือเราไม่ได้ต้องการรวย แต่เราต้องการรวยกว่าคนอื่น เห็นได้ชัดว่าความ ต้องการเงินของเรา เป็นเรื่องของการต่อสู้เพื่อชัยชนะในการแข่งขัน เงินกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าน่า ปรารถนาในตัวเอง ที่ใช้บอกได้ว่าใครเหนือใครในสังคม ความต้องการเงินของเราไม่ได้อยู่ในระบบ ของความมีเหตุมีผลอีกต่อไปแล้ว มันเป็นความต้องการที่มาจากปมทางจิตวิทยาของความต้องการชัย ชนะและอานาจ และพาเราไปอยู่ในวังวนของการต่อสู้แข่งขัน อันไม่มีวันจบสิ้น แม้แต่บิลเกตซึ่ง ร่ารวยที่สุดในโลกก็ไม่ใช่คนที่มีความสุขจริง เพราะเขาย่อมกลัวอยู่ตลอดเวลาว่าจะมีคนอื่นขึ้นมารวย เหนือเขา ดังนั้นเขาต้องทุ่มพลังชีวิตที่มีลงไปกับการหาเงินให้มากขึ้น อย่างไม่หยุดหย่อน วัตถุที่เราใช้เงินซื้อหามาก็เป็นเรื่องของการต่อสู้แข่งขันเช่นเดียวกัน มันคือสิ่งที่ใช้บอกว่าใคร เหนือใครในสังคม เพราะเราบริโภควัตถุในฐานะของแฟชั่น หรือในฐานะของการกาหนดชนชั้น ซึ่ง ทาให้เราต้องจ่ายเงินเกินกว่าอรรถประโยชน์ที่เราใช้จริง เพื่อที่จะมีของใหม่ล่าสุดในท้องตลาด และ เพื่อที่จะมีสินค้า “แบรนด์เนม” (brand name) ที่ “เอ็กคลูซิฟ” (exclusive) คือเฉพาะคนรวยจริงๆ เท่านั้นจึงจะมีได้ เราใช้จ่ายเงินอย่างหลุดออกไปจากระบบราคาตลาดแบบเสรี ที่กาหนดโดยดีมานด์ (demand) และซับพลาย (supply) (อุปสงค์-อุปทาน) เพราะเราสามารถซื้อสินค้าตามอรรถประโยชน์ที่ เราต้องการได้ถูกลงมาก เมื่อมัน “ตกรุ่น” คือมีรุ่นใหม่กว่าออกมา และความต้องการอรรถประโยชน์ นั้นของเรา ก็ไม่มีอะไรกาหนดให้เป็นความเร่งด่วน ยกเว้นแต่ว่า หากเรายอมรอมันก็จะเป็นของที่ ใครๆ ก็มีไปเสียแล้ว ซึ่งปมทางจิตวิทยาบางอย่างในตัวเราทาให้เรายอมรับสภาวะนั้นไม่ได้ สินค้าแบ
168
รนด์เนมราคาแพงกว่าสินค้าที่มีอรรถประโยชน์เท่ากัน ที่ไม่มีแบรนด์เนม เป็นหลายเท่าตัว สินค้าที่ เป็นตัวนาแฟชั่นกับสินค้าเลียนแบบราคาต่างกันอย่างมหาศาล นี่เป็นข้อเท็จจริงพื้นๆ ที่แสดงอย่าง ชัดเจนว่า เราไม่ได้บริโภควัตถุเพื่ออรรถประโยชน์ แต่เพื่ออานาจเชิงสัญลักษณ์ของมัน ในการกาหนด นิยามว่าตัวเราคือใคร อยู่ในตาแหน่งใดของสังคม “ฉันคือสิ่งที่ฉันกิน-ฉันคือสิ่งที่ฉันสวม-ฉันคือสิ่งที่ ฉันขับขี่….” ก็เพราะสิ่งที่ฉันกิน สวม ขับขี่ … ช่วยจัดวางฉันลงบนตาแหน่งขั้นบันไดบางอย่างของ สังคม และเราถูกขับดันอยู่ด้วยปมปัญหาทางจิตวิทยาให้แข่งขันไต่เต้าขั้นบันไดนั้น ดังนั้น เงินและวัตถุในสังคมบริโภคนิยมจึงเป็นเพียงสิ่งที่เราดิ้นรนหามาเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ ของอานาจบางอย่าง ที่ตัวเรา และสังคม จ้องวัดว่าใครมีมากน้อยกว่ากัน ซึ่งก็คืออานาจในการ ครอบครองมาตรฐานชีวิตที่สูงค่าเปี่ยมล้นไปด้วยความสุขทางวัตถุที่เป็นที่ปรารถนาไขว่คว้าของคน ทุกคน ในความคิดของนักจิตวิทยา การแข่งขันไต่เต้าขั้นบันไดของอานาจดังกล่าว เกิดมาจากความ ต้องการความยกย่องชื่นชมจากสังคม เป็นทางตันของพัฒนาการของแรงจูงใจในชีวิต เพราะมันพา ไปสู่การแข่งขันอันไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อที่จะเข้าใจประเด็นนี้ได้อย่างชัดเจน ขอให้เรามองดูที่ตรรกะของ เงินตราและตรรกะของแฟชั่น เงินคือกระดาษและเหรียญที่สังคมใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ในทางเศรษฐศาสตร์ เงิน คือสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่าหรืออรรถประโยชน์ แทนการแลกเปลี่ยนวัตถุสิ่งของหรือบริการ กันตรงๆ ก่อนหน้าการเกิดขึ้นของเงิน วัตถุสิ่งของและบริการถูกแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้มีความ ต้องการที่ตรงกัน และอาศัยความรู้สึกพึงพอใจ ที่เท่าเทียมกันระหว่างสองฝ่าย เป็นตัวตัดสินความ เท่ากันของมูลค่า ซึ่งย่อมแปรผันได้อย่างเป็นอัตนัย คือขึ้นอยู่กับความรู้สึกต่อสถานการณ์เฉพาะของ ตนเองของทั้งสองฝ่าย แต่เมื่อเกิดเงินขึ้น เงินเริ่มกลายเป็นตัววัดมูลค่า ที่มีมาตรฐานที่เป็นอิสระจากผู้ แลกเปลี่ยน สิ่งของและบริการเริ่มมีมูลค่าที่คงตัว ข้ามคู่แลกเปลี่ยน คือมีราคาสูงต่าที่ตายตัวเป็นปรนัย ในสังคม ตามที่กาหนดโดยความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทานในสังคม ยิ่งกว่านั้นเงินก็ กลายเป็นมูลค่าที่สะสมไว้ได้ ในขณะที่วัตถุและบริการที่แลกเปลี่ยนกันตรงๆ มีอายุ ที่อาจหมดค่าไป ด้วยตัวของมันเองในช่วงสั้นๆ ประเด็นง่ายๆ สองข้อนี้เพียงพอที่จะชี้ให้เราเห็นว่า เงินกลายเป็น สัญลักษณ์ของอานาจ และมีศักยภาพที่จะสร้างความชั่วร้ายในสังคมได้อย่างไร ลองมาดูประเด็นหลังก่อน คุณอาจจะคิดว่ามนุษย์มีความเห็นแก่ตัว และมีแนวโน้มที่จะเอารัด เอาเปรียบกัน ในการแลกเปลี่ยนอรรถประโยชน์กันอยู่แล้ว แต่การที่เงินเป็นมูลค่าที่สะสมได้ ทาให้ คุณต้องการที่จะแลกเปลี่ยน อย่างที่คุณต้องการได้เงินกลับมามากที่สุด แต่จ่ายอรรถประโยชน์หรือ บริการจากตัวคุณออกไปน้อยที่สุด มีผลสารวจอย่างชัดเจนว่า คนหนุ่มคนสาวรุ่นปัจจุบันต้องการ ทางานที่สบายที่สุด แต่เรียกร้องเงินเดือนมากๆ นี่อาจจะไม่ใช่การเอารัดเอาเปรียบแต่เป็นเพียงนิสัย เสียของคนในโลกวัตถุนิยมบริโภคนิยม ที่เห็นว่าความสุขความสาราญคือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต
169
และไม่เห็นค่าของการพัฒนาศักยภาพในตนเอง แต่ขอให้ดูการแลกเปลี่ยนในระบบทุนนิยมทั้งระบบ นายทุนใช้กลไกการตลาด ขูดรีดแรงงานของคนจน เพื่อสร้างความร่ารวยให้กับตัวเอง คุณอาจไม่คิด ว่าคุณคือนายทุน แต่ขอให้ดูจิตสานึกแบบนายทุน ที่แอบซ่อนอยู่ในตัวคุณ ตอนนี้คุณอาจจะเป็น นักเรียนแพทย์ ทันตแพทย์ คุณรู้สึกอย่างไรบ้างที่กลไกราคาตลาดทาให้ แพทย์ ทันตแพทย์ทางานได้ รายได้เฉลี่ยวันละ สองพัน สามพันบาท หรือมากกว่านั้น (หักค่าใช้จ่ายแล้ว) แต่พวกเขาจ้างคนมา ทางานบ้าน ด้วยค่าแรงหนึ่งร้อยห้าสิบบาทหรือสองร้อยต่อวัน กลไกของราคาตลาดไม่สนใจศีลธรรม แต่เราก็อาจใช้มันตัดสินว่า การจ้างแรงงานที่หาได้กลาดเกลื่อน ด้วยราคาหนึ่งร้อยห้าสิบบาทสองร้อย บาทต่อวัน คือสิ่งที่ “ชอบธรรม” แล้ว เช่นเดียวกับ การจ้างแรงงานที่หาได้ยาก ด้วยราคาสามพันบาท ต่อวัน เงินเป็นสัญลักษณ์ของอานาจไปได้ ก็ด้วยการที่มันกาหนดให้ทุกสิ่งทุกอย่าง มีราคาที่อาจถือ ได้ว่าตายตัว หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ในช่วงชีวิตของเรา โดยทั่วไปอานาจเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น ในความสัมพันธ์ของการให้และการรับระหว่างบุคคล “ผู้มี” และ “ผู้ขาด” ที่มีลักษณะของการให้เปล่า แสดงความ “เมตตา” ทาให้เกิดชนชั้นและพันธะทางศีลธรรม อย่างที่เราเคยอภิปรายมาแล้วในเรื่อง ระบบอุปถัมภ์ อานาจไม่เกิดขึ้นในการแลกเปลี่ยนอรรถประโยชน์แบบการตลาด แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ ในการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ถูกแลกเปลี่ยนมีค่าอย่างเทียบกันไม่ได้ หมอที่รักษาคนไข้โดยรับค่าตอบแทน เพียงน้อยนิด คือตามที่คนไข้ผู้ขาดแคลน พอจะตอบแทนให้ได้ ย่อมสร้างให้เกิดสถานะของผู้ให้ ผู้รับ และพันธะทางศีลธรรม ซึ่งก็คือความรู้สึกเป็นบุญคุณ แต่เมื่อหมอทาให้หน้าที่ทางศีลธรรมของตน กลายเป็นการแลกเปลี่ยนแบบการตลาด พันธะทางศีลธรรมก็สลายไปทันที (ครูอาจารย์ก็อยู่ในกรณี เดียวกัน) เงินในฐานะสัญลักษณ์ของอานาจ ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จึงปรากฏในตรรกะของ การให้และแลกเปลี่ยนของขวัญ บุคคลไม่ได้มีเจตนาของการแลกเปลี่ยนอรรถประโยชน์ แต่ต้องการ แสดงออกทางจิตใจ ด้วยการมอบของขวัญให้ ก่อนที่จะมีเงินตรา ผู้รับอาจให้ของที่ตนมีพอเหลือ แบ่งปันเป็นของขวัญ เป็นน้าใจ กลับคืน ซึ่งหากอยู่ในสถานะที่ทาได้ ความรู้สึกสูงต่าในอานาจ ความรู้สึกถึงการเป็นหนี้บุญคุณจะไม่เกิดขึ้นเลย และไม่มีความรู้สึกว่าของขวัญที่แลกเปลี่ยนกันต้องมี ค่าเสมอกัน เหมือนการแลกเปลี่ยนอรรถประโยชน์ ผลไม้จากสวนของญาติชาวไร่ อาจได้รับยาดอง เหล้าสูตรพิเศษกลับจากญาติหมอยา แต่ในสังคมเงินตราปัจจุบัน ของทุกชนิดมีราคาท้องตลาด ทุกคน รู้ว่ากฎคือ “ให้ของขวัญตอบที่มีราคาในท้องตลาดเท่ากับของขวัญที่ได้รับหรือมากกว่า” เพราะการรับ ของขวัญทาให้เป็นหนี้บุญคุณ ตกอยู่ใต้อานาจ เราต้องยกสถานะของตนกลับให้เสมอ หรือเหนือกว่า ผู้ที่ให้กับเรา เรื่องนี้เปรียบเทียบโดยตรงได้กับเรื่องการแสดงอานาจในการไหว้และการรับไหว้ที่เคย อภิปรายไว้ สรุปคือ เงินเป็นตัวแทนของมูลค่าที่กลายมาเป็นตัววัดอานาจ แม้แต่ในความสัมพันธ์ส่วน บุคคล และการแสดงออกทางจิตใจ (ซึ่งบางครั้งอาจเป็นเรื่องของธรรมเนียมทางสังคมเสียมากกว่า) เราก็จ้องวัดอานาจกันอยู่ตลอดเวลา
170
ตอนนี้ ขอให้เราหันมาดูตรรกะของแฟชั่น เราอาจคิดว่าแฟชั่นเป็นเรื่องของการสร้างปัจเจก ภาพด้วยความแตกต่าง แต่ที่จริงแล้วความแตกต่างที่สร้างขึ้นมา เป็นเพียงการแสดงออกของอานาจ โลกของแฟชั่นเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นโลกที่ไร้สาระกลวงเปล่าที่สุด แฟชั่นเปลี่ยนแปลงทุกวัน ด้วยการบอกว่า นี่คือสิ่งใหม่ ถ่ายทอดความหมายใหม่ ค้นพบแง่มุมของความเป็นตัวคุณในมิติใหม่ ทั้งหมดก็คือเพื่อสร้างให้เกิดความเป็นผู้ที่อยู่ข้างหน้า บนพื้นฐานของการเป็นผู้ที่ถือครองสัญลักษณ์ ของความหมายใหม่ คุณค่าใหม่ เป้าหมายของแฟชั่นมีประการเดียวนี้เท่านั้น แต่ในเมื่อตรรกะของมัน คือ ความใหม่ และความเป็นผู้อยู่ข้างหน้า มันจึงหยุดนิ่งไม่ได้ การประกาศตัวของคุณผ่านวัตถุ ว่าฉัน คือผู้ถือครองความหมายใหม่ ในตัวของมันเอง จะมีความหมายก็ต่อเมื่อ คนส่วนใหญ่ปรารถนาที่จะ ครอบครองความหมายนั้นตาม แต่เมื่อนั้นก็จะเกิดสินค้าเลียนแบบ และการผลิตจานวนมาก ซึ่งทาให้ ราคาถูกลงเรื่อยๆ จนคนจานวนมากสามารถครอบครองมันได้ และความเป็นผู้อยู่ข้างหน้าของคุณก็ จบลง ดังนั้น ก็ต้องมีการสร้างสิ่งใหม่ ที่ถ่ายทอดความหมายใหม่ คุณค่าใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้คุณพา ตัวเองไปอยู่ข้างหน้าเหนือผู้อื่นอีกครั้งหนึ่ง แต่แล้วก็มีการผลิตขนานใหญ่ ให้คนส่วนใหญ่ซื้อหามา ครอบครองตาม การวิ่งไล่ตามและการกระโดดหนีไปอยู่ข้างหน้านี้ วนเวียนอยู่อย่างไม่มีวันจบสิ้น จนกว่าใครจะยอมแพ้เดินออกไปจากการแข่งขัน ตราบที่ความใหม่ที่ใส่ลงไปในสินค้าแฟชั่นเป็นเพียงตัวแนวคิด การแข่งขันจะไม่มีวันจบ แต่ ก็มีวิธีที่คุณจะอยู่ข้างหน้า ด้วยการครอบครองวัตถุประเภทนั้นเพียงครั้งเดียว คือเมื่อสินค้านั้นเป็นของ ที่ “เอ็กคลูซิฟ” คือเป็นสินค้าที่นิยามและแบ่งแยกชนชั้น ได้ด้วยตัวของมันเอง ไม่ใช่ด้วยความใหม่ ของแนวคิด วิธีหนึ่งก็คือ ด้วยการเป็น “ของแท้” (genuine) เป็น “ตัวต้นแบบ” ที่ลงตัวมีมาตรฐานและ คงเอกลักษณ์ เช่น แว่นตากันแดดเรย์แบนด์ กางเกงยีนส์ลีวาย หรือแรงเลอร์ กระเป๋าหลุยส์วิคตอง หรือผลิตขึ้นด้วยวัสดุที่ราคาแพงเป็นพิเศษ หรือประดับด้วยอัญมณีไปเสียเลย หรือปนๆ กันไป ทั้งหมดนี้ แล้วก็กลายเป็น สินค้าแบรนด์เนม ที่ขายได้ด้วยราคาที่สูงอย่างไร้เหตุผล อย่างสินค้าที่กล่าว ชื่อไปแล้ว รวมทั้งรถเบ็นซ์ นาฬิกาและคอมพิวเตอร์ประดับเพชร และโถส้วมทองคา ฯลฯ ทั้งหมดนี้ เพื่อความรู้สึกเหนือผู้อื่น จากการเป็นที่มองตามด้วยความอิจฉาของ “สามัญชน” สรุปก็คือ แฟชั่นมี หน้าที่เดียวเท่านั้น คือการกาหนดความเป็นชนชั้น ที่เกิดขึ้นจากอานาจการบริโภค หรือเป็นเจ้าของ วัตถุ เมื่อคุณบริโภคแฟชั่น คุณกาลังมองขึ้นไปยังชนชั้นที่อยู่สูงกว่าแล้วใช้สินค้านั้น ยกตนเองให้เข้า ไปร่วมอยู่ในชนชั้นนั้น ตัดตนเองจากชนชั้นที่ตนเคยอยู่ หรือถ้าคุณอยู่เหนือกว่าอยู่แล้ว คุณก็กาลังใช้ มันเพื่อกันไม่ให้คนอื่นมาเท่าเทียม เมื่อรวมภาพทั้งหมดที่เรามองผ่านมา เราจะเห็นความไร้สาระ เกินเลยขอบเขตของเหตุผล ใน ความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวเรา เงิน และวัตถุ ที่เกิดจากการเป็นทาสสังคม นึกย้อนกลับไปถึงความ เหลวไหลไร้สาระของพิธีพระราชทานปริญญา ที่มีสถาบันชั้นสูงเป็นแกนกลางกิจกรรม การสร้าง ภาพคุณค่า ความหมายของตัวตน ที่ประกอบขึ้นด้วยความโออ่า หรูหรา ตระการตา ของภาพและฉาก
171
ประกอบความเป็นสัตว์สังคมของเรา นึกถึงความคิดของโบดริยาร์ด ว่าสัญลักษณ์ของความหมาย ทั้งหลาย ล้วนอ้างอิงกันไปกันมา อย่างไม่มีความจริงภายนอกรองรับ ที่จริงแรงกายและพลังชีวิตของ เราเป็นเพียงแหล่งของความร่ารวยของนายทุนเท่านั้น เหมือนในภาพยนตร์เรื่อง The Metrix ที่ร่างกาย ของมนุษย์เป็นเพียงแหล่งพลังงานให้เครื่องจักรและสมองกล แต่ถูกสร้างมายาให้คิดว่าตนเองกาลัง ดาเนินชีวิตอย่างอิสระ นายทุนสร้างภาพมายาให้กลายเป็นความจริงสาหรับเรา หลอกให้เราคิดว่าเรามี เสรีภาพ มีปัจเจกภาพอยู่ในการเลือกบริโภค แต่ที่จริงก็คือการหลอกให้เราบริโภคอย่างแข่งอานาจ ระหว่างกัน เพื่อความร่ารวยของเขา แต่เขาเองก็อยู่ในความเป็นจริงปลอมๆ นั้นด้วย เพราะเขาก็ร่วม ต่อสู้แข่งขัน เพื่อความยิ่งใหญ่ในโลกเงินตรานั้นด้วยเช่นกัน ขอให้เรามองย้อนกลับ มาที่คาพูดของผู้ที่มองความฟุ่มเฟือย ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ในแง่ดีว่า “ถ้าความสุขซื้อหาได้ด้วยเงินก็ดีไม่ใช่หรือ” แน่นอนว่านั้นเป็นสิ่งที่ดี หากเราเป็นนายไม่ใช่ ทาสของเงิน หรือทาสของความสุขที่ไร้สาระ จนทาร้ายตนเอง ซึ่งหมายความง่ายๆ ว่า ถ้าเราไม่ต้องไป กู้หนี้ยืมสิน หรือออมเงินมาทั้งปีเพื่อใช้วันเดียว ฉะนั้น ขอให้เรากลับมาดูความสัมพันธ์ของความสุข กับเงิน ในความเป็นจริงของชีวิต อีกครั้งหนึ่ง ชีวิตปฏิเสธเงินไม่ได้ แต่เราต้องรู้จักขอบเขต ในการหาและการใช้เงินจะสร้างความสุขอย่าง ที่ไม่ทาให้เกิดความทุกข์ นักการเงินเองสามารถสร้างกราฟ ที่แสดงจุดสูงสุดของขอบเขตนั้นได้ เขา สามารถชี้ให้เราเห็นว่าเกินขอบเขตหนึ่ง การหาเงิน และการใช้เงิน สร้างความทุกข์มากกว่าความสุข มันบั่นทอนพลังชีวิต ที่เราควรจะมีเหลือไว้ทาในสิ่งอื่นที่มีค่าและมีความหมายทางจิตใจ เขาเรียกจุด นั้นว่า “ขอบเขตของความพอเพียง” คนอเมริกัน ซึ่งในภาพรวมเป็นผู้มีชัยชนะสูงสุด ในการแข่งขัน ครอบครองวัตถุและเงินตรา เริ่มค่อยๆ พบว่า ชีวิตของตนเองไม่มีความสุขที่แท้จริง คนพันธุ์ใหม่ ที่ เห็นเงินเป็นพระเจ้าหรือพวก “แยปปี้” เริ่มพบว่าตนเองเป็นหนี้สินจากบัตรเครดิตจนท่วมหัว เท่าๆ กับ สมบัติที่ซื้อหามา เหนื่อยกับการวิ่งวุ่นหาเปลี่ยนงาน เพื่อให้ได้เงินเดือนมากขึ้น พบว่าทรัพย์สมบัติที่ ซื้อหาสะสมไว้จานวนมากไม่เคยได้มีโอกาสใช้ เงินที่ดิ้นรนหามาได้จากงานที่มีเงินเดือนดีๆ ต้องแบ่ง มาเป็นค่าบาบัดอาการเจ็บป่วยทางจิตของตน และความสุขสาราญ จากการกินดื่มเที่ยวเล่นอย่างหลุด โลก ก็ไม่อาจช่วยบาบัดอาการเจ็บป่วยนั้นได้ คนที่ตระหนักได้เช่นนั้น เริ่มหันมามองหาความสัมพันธ์ ใหม่ระหว่างตนเอง วัตถุ และเงินตรา มองหาทางที่จะทาให้ตนหลุดพ้นจากความเป็นทาส พวกเขาเริ่ม เรียนรู้ขอบเขตของความพอเพียงในวัตถุและเงินตรา ซึ่งไม่ใช่ความเพียงพอแบบปฏิกิริยา (หมายถึง การใช้อารมณ์ตอบโต้อย่างปราศจากปัญญา) คือ ยอมพอเพราะไม่อาจหาได้มากกว่านั้น แต่พอเพราะ
172
พบแล้วว่า การหาและใช้เงินมากกว่าจุดนั้น ไม่คุ้มกับพลังของชีวิตที่ต้องใช้จ่ายออกไป และควรเก็บ ออมพลังชีวิตนั้นไว้ทาในสิ่งอื่น ที่มีค่า มีความหมายต่อชีวิต มากกว่า1 เราเป็นนักศึกษา จึงอาจยังไม่มีประสบการณ์กับบทเรียนแบบนั้น แต่นี่ก็เป็นสิ่งเห็นจริงและ เข้าใจได้ง่ายๆ ตอนนี้ นักศึกษาจานวนมากดิ้นรนหาเงิน ไม่ใช่เพื่อเอามาใช้จ่ายในการเรียน แต่เพื่อซื้อ หาวัตถุมาแข่งขันกัน นักศึกษาหญิงหลายคนขายตัวเองเป็นสินค้า ก็ด้วยเหตุผลนี้เท่านั้น สมมุติว่าชีวิต ของคุณคือเรียนหนังสือ ทางานพิเศษหาเงิน แล้วก็ใช้เงินซื้อหาวัตถุ เที่ยวเล่น (กินดื่ม) ซึ่งก็คงไม่ใช่สิ่ง ที่ “ผิด” ตรงไหน แต่ลองตอบมาดูสิว่า แล้วชีวิตของคุณในแต่ละวันมีคุณค่าที่ตรงไหน? คุณอาจจะ ถามกลับว่า “ทาไมฉันต้องคิดเรื่องคุณค่าด้วย?” ถ้าคุณยังไม่ต้องการชีวิตที่มีคุณค่า ก็คงไม่มีใครมา บังคับคุณได้ แต่คุณควรลองมองดูตัวเอง ว่าคุณกาลังถูกผลักดันอยู่ด้วยอะไร และมันจะพาคุณไปที่ใด ต่อไป คนที่เป็นทาสวัตถุและแฟชั่นจนขายตัวเองเป็นวัตถุทางเพศได้นั้น กาลังทาลายคุณค่าของตนเอง ในฐานะผู้ที่จะเป็นที่รักด้วยหัวใจของใครสักคน เขากาลังสร้างนิสัย ที่จะเห็นเงินตรา และความสุข ทางเพศสาคัญกว่าความรัก และเมื่อคนไม่เห็นค่าของความรัก ทาตัวเองเป็นวัตถุเสียแล้ว ก็ยากที่จะมี ใครมาปฏิบัติต่อเขาเหนือกว่าการเป็นวัตถุไปได้ เราส่วนใหญ่อาจไม่ได้กาลังทาตัวเองเป็นวัตถุ แต่เรา กาลังนิยามตนเองด้วยวัตถุ “ฉันคือสิ่งที่ฉันกิน-ฉันคือสิ่งที่ฉันสวมใส่-ฉันคือสิ่งที่ฉันขับขี่” หรือกาลัง นิยามตนเองว่า “ฉันคือร่างกายอันเป็นที่น่าปรารถนาทางเพศเหนือกว่าใคร” เรากาลังลืมไปแล้วว่า เรา ทุกคนคือตัวเราจากข้างใน เราคือจิตใจ นิสัย ความรู้สึกนึกคิด ความใฝ่ฝัน อันมีค่าของเรา เราคือ ศักยภาพ และความสามารถ เราไม่ใช่สิ่งที่เรากิน สวมใส่ หรือขับขี่ ของเหล่านั้นไม่อาจนิยามคุณค่า ของเราจากภายในได้ ดังนั้น เราต้องแสวงหาความรู้สึกชื่นชมยกย่องจากภายในตัวของเราเองไม่ใช่ จากสังคม เราต้องยกย่องชื่นชมตนเอง “ฉันคือตัวฉัน ฉันมีค่าด้วยตัวของฉันเอง.”
เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ระหว่างเงินตราที่เป็นอานาจ และการค้นพบและการพัฒนาศักยภาพในตัวของคุณ คุณจะเลือกอะไรก่อน การหาจุดพอดีระหว่างทั้งสองอย่างเป็นเรื่องยาก ถ้าคุณรักคนตรีอย่างที่สุด แต่คุณต้อง ทาธุรกิจเลี้ยงชีวิตให้รอดก่อน แต่คุณเผลอหลงไปกับมัน หลุดเข้าไปอยู่ในการแข่งขัน จนเหลือเวลาแบ่งให้ ดนตรีได้เพียงนิดหน่อย ในที่สุดคุณกลายเป็นมหาเศรษฐีพันล้าน คุณสามารถซื้อเครื่องดนตรีที่ราคาแพง เท่าที่คุณจะต้องการ แต่คุณก็พบว่า ชั่วโมงซ้อมที่คุณมีมาในชีวิตไม่เพียงพอที่จะทาให้คุณเล่นได้ดังที่ใจ ปรารถนา ผมอยากรู้เหลือเกินว่า คุณจะอยากเปลี่ยนชีวิตที่ผ่านมาของคุณให้เป็นอีกแบบหนึ่ง ที่ไม่ร่ารวย แต่ ได้ร่าเรียนดนตรีและฝึกซ้อมมาตลอด จนสามารถเล่นทุกอย่างได้ดังใจปรารถนาหรือไม่ 1
173
บทที่ 11 ตัวตนและปมปัญหาทางจิต เราเรียนรู้จากบทที่แล้วว่า สิ่งที่แฝงอยู่เบื้องหลังการดิ้นรนแสวงหาเงินทอง และการ ครอบครองวัตถุอย่างบ้าคลั่ง รวมทั้งความฟุ่มเฟือยอย่างไร้เหตุผลของผู้คน ก็คือการแข่งขันเพื่อ เอาชนะกันและกัน และความต้องการที่จะใช้วัตถุมากาหนดชนชั้นทางสังคมของตน เราอาจจะคิดว่า เราหาเงินเพื่อความมั่นคงของชีวิต หรือต้องการตัวอรรถประโยชน์ของวัตถุ แต่ที่จริงนั่นเป็นเพียง เหตุผลที่เรายกขึ้นมาอ้างกับตัวเอง เพื่อบังหน้าแรงขับทางจิตวิทยา ของความต้องการอานาจที่ซ่อนอยู่ เบื้องหลัง ความต้องการนี้ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด แต่เกิดขึ้นจากการกระทบกันระหว่างตัวตน ทางสังคมของเรา กับระบบทางเศรษฐกิจและสังคมแบบทุนนิยม หากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ สังคมเป็นไปในรูปแบบอื่น เราอาจไม่ต้องดิ้นรนแสวงหาวัตถุกันอย่างบ้าคลั่งขนาดนี้ก็เป็นได้ นักจิตวิทยาสังคมอย่าง อีริค ฟรอมม์พยายามวิเคราะห์ให้เห็นว่า พลังที่บีบคั้น ควบคุมและบง การชีวิต ซึ่งได้แก่เงื่อนไขทางสังคมและวัฒนธรรม ที่รองรับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม สร้างให้คน ส่วนใหญ่รู้สึกไร้อานาจ เพราะต้องคล้อยตามต่อผู้ที่อยู่เหนือกว่าอยู่ตลอดเวลา เริ่มจากที่บ้าน ใน โรงเรียน จนมาถึงสังคมภายนอก ซึ่งในที่สุด คนส่วนใหญ่ก็ลงเอยด้วยการถูกทาให้กลายเป็นฟันเฟือง ตัวเล็กๆ ของระบบจักรกลทางเศรษฐกิจที่ใหญ่โตมโหฬาร พวกเขาเจ็บปวด จากการที่ไม่สามารถเป็น ตัวของตัวเอง ไม่สามารถคิด พูด กระทา ตามใจจริงของตนได้ สูญเสียบูรณภาพแห่งตัวตน ในที่สุดก็ เกิดเป็นพยาธิสภาพ คือความเจ็บป่วยทางจิต ที่ผลักดันให้พวกเขาหันไปสู่กลไกหลีกหนีที่ฟรอมม์ เรียกว่าบุคลิกภาพแบบอานาจนิยม (authoritarian personality) และการคล้อยตามแบบหุ่นยนต์ (automaton) ซึ่งที่จริงแล้ว ก็คือการปรับตัว และผลของการปรับตัวให้เข้ากับแรงบีบคั้นของระบบ เศรษฐกิจและสังคมนั่นเอง ซึ่งเมื่อยอมปรับตัวตามไปแล้ว พวกเขาก็สามารถทางานประจาวันใน สังคม คือเรียนหนังสือ หาเลี้ยงชีพ สร้างครอบครัวและดูแล ไปได้อย่างไม่ติดขัด ทาให้พวกเขาดูเป็น “คนปกติ” ตามเกณฑ์ตัดสินทางจิตเวชศาสตร์ แต่ที่จริงแล้วพวกเขาต้องสูญเสียคุณภาพของความเป็น มนุษย์ไปจนเกือบหมดสิ้น และซ่อนความป่วยไข้ไว้ลึกๆ
174
ยิ่งกว่านั้น การที่คนส่วนใหญ่คิดว่าตนเองยังเป็นตัวของตัวเอง คือมีความคิด ความรู้สึก และ ความต้องการ ที่เป็นของตนเองนั้น เป็นเพียงมายา เพราะที่จริงแล้ว ความคิด ความรู้สึกและความ ต้องการที่เขามีอยู่ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่สังคมยัดใส่เข้าไปในตัวเขา หรือมีที่มาจากสังคมที่แวดล้อมตัวเขา ทั้งสิ้น และสาหรับฟรอมม์คนที่มีอาการของโรคประสาทนั้น แท้ที่จริงแล้ว อาจเป็นผู้ที่มีความเป็น มนุษย์เหนือกว่า “คนปกติ” เพราะอาการทางโรคประสาทของเขา เกิดจากการที่เขาพยายามขัดขืนต่อ พลังของสังคมที่เข้ามากาหนด ควบคุมความคิด ความรู้สึก ความต้องการ และการกระทาของตัวเขา ซึ่งก็คือการต่อสู้เพื่อพยายามรักษาบูรณภาพ(หรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของส่วนต่างๆ) ในตัว เขาไว้ให้ได้นั่นเอง ฟรอมม์เรียกสังคมที่พยายามทาลายบูรณภาพของบุคคล ทาลายปัจเจกภาพของ บุคคล สร้างให้คนส่วนใหญ่ มีบุคลิกภาพแบบอานาจนิยม และคล้อยตามแบบหุ่นยนต์ รับเอาความคิด ความรู้สึก ความต้องการของคนอื่นมาเป็นของตน ว่าเป็นสังคมที่วิปลาส (insane society) หากเปรียบเทียบทฤษฎีบุคลิกภาพของมาสโลว์กับของฟรอมม์ เราจะพบว่า ทฤษฎีของฟ รอมม์จะมองความเป็นจริงได้ครบถ้วนกว่า ได้เคยชี้ให้เห็นแล้วว่า ทฤษฎีของมาสโลว์เป็นเพียงการ สรุปรวบยอดบุคลิกภาพของคนลงมาเป็นลาดับขั้นของพัฒนาการ ให้เห็นภาพว่าคนที่ก้าวไปถึงขั้น ของการเป็นตัวของตนเองอย่างสมบูรณ์ จะเป็นคนที่พัฒนาศักยภาพของตัวเองอย่างสูงสุด แสดงออก ในทางสร้างสรรค์ และเป็นผู้มีความสุขในตนเอง มีสุขภาพจิตดี ตัวอย่างเช่นไอสไตน์ แต่นี่เป็นการ มองข้ามความสัมพันธ์เชิงปฎิปักษ์ ระหว่างสังคมและปัจเจกภาพของบุคคล เราได้เห็นมาแล้วว่า สังคมเอเธนส์ต้องการปิดกั้นศักยภาพทางปัญญาของคนหนุ่ม และประหารชีวิตคนที่พัฒนาปัญญาไป ถึงขั้นสูงสุด อาจด้วยที่เหตุการณ์ไม่ได้ยืดเยื้อ และไม่ได้ดาเนินมาตลอดช่วงชีวิต หรือมีความเชื่อทาง ศาสนารองรับโสกราตีสจึงไม่มีอาการของโรคประสาท ไม่เหมือนกาลิเลโอซึ่งแสดงอาการของโรค ประสาทอย่างชัดเจนในบั้นปลายของชีวิต การที่สืบ นาคะเสถียรฆ่าตัวตาย เพื่อเรียกร้องต่อสังคม ก็ ย่อมเกิดจากความหดหู่สิ้นหวังอย่างที่สุด ในการที่ต้องต่อสู้เพื่อความถูกต้องอยู่เพียงลาพัง ดังนั้นอาจ กล่าวได้ว่า การพัฒนาศักยภาพ และการทางานที่สร้างสรรค์คือความเป็นปกติสุขของสภาพจิตใจ แต่ก็ ขึ้นอยู่กับว่าสังคมจะมีความวิปลาส เป็นปฏิปักษ์ต่อปัจเจกภาพของบุคคล มากเพียงไรด้วย ในแง่ประวัติศาสตร์ การที่อีริค ฟรอมม์สร้างทฤษฎีบุคลิกภาพแบบอานาจนิยมและการคล้อย ตามแบบหุ่นยนต์ ขึ้นมาอธิบายคนในสังคมทุนนิยมปัจจุบัน ก็เพราะเขาต้องการอธิบายการเกิดขึ้นของ ลัทธิเผด็จการนาซีในเยอรมันและในประเทศทุนนิยมอื่นๆ เขาสงสัยว่า ทาไมคนจานวนมากที่ดูแล้วก็ เป็นปกติดี จึงหันหลังให้กับระบอบประชาธิปไตย ยกชีวิตตนเองไว้ใต้การตัดสินบงการของผู้นา เปลี่ยนจากคนปกติ ไปเป็นคนที่ถูกผลักดันด้วยความเกลียดชัง และความกระหายอานาจ เพียงด้วย คาพูดที่กระตุ้นโน้มน้าว และบุคลิกภาพแบบผู้นาของฮิตเลอร์ ราวกับว่าพวกเขาไม่มีสติปัญญาเป็น ของตนเอง แม้ประวัติศาสตร์ส่วนนี้จะจบไปแล้ว แต่ตัวเงื่อนไขหลักคือลัทธิทุนนิยมก็ยังคงอยู่ บุคลิกภาพแบบอานาจนิยมและการคล้อยตามแบบหุ่นยนต์ ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไป และสาหรับเรา ทฤษฎี
175
ของฟรอมม์ให้คาอธิบายที่ดีที่สุด ว่าทาไมระบบโซตัสจึงเฟื่องฟูอยู่ในทุกสถาบันอุดมศึกษาของไทย สร้างความเจ็บปวดและความสูญเสียอย่างไร้สาระให้กับปัจเจกบุคคล แต่ก็สืบทอดวนเวียนราวกับเป็น ขั้นตอนสุดยอด อันขาดไม่ได้ ของกระบวนการทางสังคมที่ผนวกเข้าไว้กับการศึกษา ซึ่งไม่ว่าจะมีคน ตายไปสักกี่คน มีภาพอัปลักษณ์ออกมาให้สังคมรับรู้สักเท่าใด ก็ยังมีเสียงจากสังคมอยู่เสมอว่าระบบ โซตัสเป็นสิ่งที่ดี มีนักศึกษาที่กล้าหาญเพียงไม่กี่คน ที่สามารถหันหลังให้ระบบนี้ได้อย่างไม่แยแส นักศึกษาส่วนใหญ่ยอมตนเข้าไปเป็นเหยื่อ และเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้กระทาในปีต่อไป ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยก็พอใจอยู่เสมอ ว่าระบบนี้ช่วยแบ่งเบาภาระในการปกครองควบคุมนักศึกษา ของ มหาวิทยาลัย สิ่งที่ต้องย้าก็คือ สิ่งที่ยังอธิบายไม่ได้ในระบบโซตัส ก็คือตัวการกระทาของการใช้ความ รุนแรงอย่างไร้เหตุผล ที่ปรากฏอยู่ในฐานะส่วนหนึ่งของพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ของกิจกรรมเชียร์ ซึ่ง มีองค์ประกอบหลักก็คือ การว๊าก การฝึกวินัย การฝึกร้องเพลงคณะและเพลงสถาบัน การลงโทษน้อง ใหม่ การลงโทษตัวเองของสต๊าฟ และพิธีกาซาบ ส่วนอื่นของระบบโซตัส ได้แก่ การฝึกหัดระบบชน ชั้น การแสดงความเคารพ และความสัมพันธ์ของการให้และการรับนั้น ได้รับการอธิบายไปแล้วใน เชิงสังคมวิทยา ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอุปถัมภ์นิยม ที่สืบทอดมาจากระบบศักดินา และระบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย ซึ่งยังคงเป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ทางสังคมของไทย แม้จน ปัจจุบัน และปัญหาทางจริยศาสตร์ของวิธีคิดทางศีลธรรมของระบบสังคมนี้ ก็ได้รับการวิเคราะห์ มาแล้วอย่างละเอียด เรื่องที่มหาวิทยาลัยสนับสนุนระบบโซตัส เพื่อผลทางการปกครอง ก็เป็นเรื่องที่ เข้าใจได้ง่ายๆ (สถาบันอุดมศึกษาบางแห่ง กาหนดให้การเข้าร่วมกิจกรรมโซตัส เป็นส่วนหนึ่งของ คะแนนความประพฤติหรือคะแนนกิจกรรม ที่จะบันทึกไว้ในทรานสคริปท์) ซึ่งสะท้อนทั้งความ ต้องการของสังคม และของผู้ที่ถือครองอานาจในสังคม ซึ่งก็ถูกกาหนดโดยตัวโครงสร้างของ ความสัมพันธ์ทางสังคมนั่นเอง เราเคยอธิบายการที่นักศึกษาน้องใหม่ ก้าวเข้าสู่ระบบโซตัส ว่ามาจากปัญหาทางบุคลิกภาพ ของการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และความต้องการการยอมรับของสังคม ซึ่งเป็นความต้องการทาง จิตวิทยาขั้นต้นๆ ของมนุษย์ตามทฤษฎีของมาสโลว์ แต่ทาไมความต้องการการยอมรับจึงรุนแรง ถึง ขนาดยอมตนเป็นเหยื่อการทาร้ายของผู้ที่อ้างว่ามีความรักความปรารถนาดีต่อตน เราเคยเปรียบเทียบ พฤติกรรมเช่นนี้ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง “ผม” และ “ลิซ่า” ในวรรณกรรมเรื่อง Notes from Undergrounds ของดอสโตเยฟสกี้ว่า “ผม” ใช้ “ลิซ่า” เป็นเหยื่อระบายความโกรธแค้นที่ตนมีต่อสังคม โดยอาศัยศีลธรรมเป็นเครื่องมือ ซึ่งทาให้ “ลิซ่า” รู้สึกว่า “ผม” มีความปรารถนาดีต่อตนเอง เราเรียก พฤติกรรมของ “ผม” ว่าเป็นพฤติกรรมแบบซาดิสต์ เพราะเขามีความสุขจากการทาให้คนอื่นเจ็บปวด และเรียก “ลิซ่า” ว่าเป็นมาโซคิสต์เพราะหลงชื่นชมคนที่ทาร้ายตนเอง เราเรียกสต๊าฟเชียร์ว่าเป็น ซาดิสต์และน้องใหม่ว่าเป็นมาโซคิสต์ ด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน นี่ไม่ใช่การเปรียบเทียบแบบหลวมๆ
176
เพราะอีริค ฟรอมม์ได้พัฒนาทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ต่อจากซิกมันด์ ฟรอยด์มาถึงจุดที่เขาสามารถแสดงให้ เห็นว่า แนวโน้มหรือสัญชาตญาณแบบซาดิสซ์และมาโซคิสต์ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน โดยแฝง อยู่ในจิตใต้สานึก และเขาอาศัยกลไกทางจิตที่เกี่ยวข้อง พัฒนาขึ้นเป็นทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับบุคลิกภาพ ทางสังคมของมนุษย์ในแบบที่ฟรอยด์ไม่เคยอธิบายถึง ในบทนี้เราจะอาศัยทฤษฎีจิตวิเคราะห์ มาอธิบายพฤติกรรมอันไร้เหตุผล หรือเกินเลยขอบเขต แห่งเหตุผลมนุษย์ การใช้ศีลธรรมมาเป็นเครื่องมือในการกดขี่ควบคุมและทาร้าย หรือบังหน้าความ ต้องการอื่นของจิตใจ โดยใช้ระบบโซตัสเป็นกรณีศึกษา แต่ก่อนหน้านั่น เราจะดูประวัติศาสตร์ของ การตั้งข้อสงสัย ต่อเหตุผลและศีลธรรมของมนุษย์ เพื่อเป็นพื้นฐานกันสักเล็กน้อย ในแง่ประวัติศาสตร์ นิตซ์เช่เป็นนักปรัชญาคนแรกที่พยายามอธิบายให้เราเห็นว่า เหตุผล ทั้งสิ้นทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่เราอ้างเพื่อใช้หลอกกันและกัน รวมทั้งหลอกตัวเราเอง เพื่อแสวงหา อานาจ เขาเห็นว่าระบบศีลธรรมที่สร้างขึ้นบนอานาจทางเหตุผลของมนุษย์ เป็นความหลงผิดอย่าง มหันต์ และเรียกค้านท์ว่า เป็นคริสเตียนเจ้าเล่ห์ คือสร้างระบบศีลธรรมแบบไม่อ้างอิงสิ่งเหนือ ธรรมชาติขึ้นมา ได้อย่างสอดคล้องโดยสมบูรณ์กับระบบศีลธรรมแบบคริสเตียน ซึ่งอ้างอิงภาวะเหนือ ธรรมชาติ คือ พระเจ้า นรก สวรรค์ เป็นหลักค้าประกันผลของความดีชั่ว เขาพยายามวิเคราะห์ให้เห็น ว่า ศีลธรรมแบบคริสเตียน ซึ่งเน้นการเสียสละตัวตน เป็นชัยชนะของการต่อสู้เพื่อแสวงหาอานาจของ ชนชั้นทาสชาวยิวเหนือนายชาวโรมัน ประเด็นหลักของเขาก็คือ ศีลธรรมแบบการเสียสละตัวตนเป็น เครื่องมือที่ผู้อ่อนแอใช้ต่อสู้ป้องกันตัว และเอาชนะผู้ที่เข้มแข็งกว่าในสังคม ศีลธรรมแบบนี้เป็นทั้งผล ของความป่วยไข้ของผู้สร้าง และทาให้เกิดความป่วยไข้ในผู้ที่ตกอยู่ใต้การควบคุมของมัน เขา เรียกร้องให้ปัจเจกบุคคล ต่อสู้เพื่อความเป็นอิสระจากอานาจของสังคม ก้าวไปสู่การเป็น “อภิมนุษย์” คือก้าวขึ้นไปอยู่เหนือระบบศีลธรรมของสังคมที่สั่งสอนศีลธรรมแบบนี้ ซึ่งไม่จาเป็นต้องหมายความ ว่าไร้ศีลธรรม แต่เป็นผู้ที่สร้างศีลธรรมให้แก่ตนเอง และมีอานาจเหนือตนเองอย่างสมบูรณ์ คาร์ล มาร์คซ์เป็นนักปรัชญาคนต่อมาที่อธิบายว่าเหตุผลทั้งมวล อันได้แก่ กฎหมาย ศีลธรรม ค่านิยม ความคิด ความเชื่อ ที่ใช้รองรับความสัมพันธ์ทางสังคม และเป้าหมายชีวิตของคนในสังคม ที่ เป็นที่ยึดถือรวมกันของทั้งสังคม เป็นสิ่งที่เรียกว่า “จิตสานึกของสังคม” ซึ่งถูกกาหนดโดยวัตถุและ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และวัตถุ ได้แก่รูปแบบของการผลิตและการครอบครองปัจจัยในการผลิต ในสังคม ซึ่งวิวัฒนาการไปตามเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ และเป็นสิ่งที่สามารถเรียกได้ว่า “อุดมการณ์” คือแอบซ่อนการตัดสินคุณค่าที่เบ็ดเสร็จตายตัว ทาให้เกิดระบบคิดที่ปิดและมองโลก
177
ด้านเดียว1 สร้างให้เกิดมายาคติซึ่งรับใช้แต่ผลประโยชน์ของชนชั้นผู้ถือครองอานาจในสังคม ตัวอย่าง ของมายาคติ ก็เช่น ในระบบศักดินา ปัจจัยการผลิตของสังคมถูกครอบครองโดยกษัตริย์ ซึ่งถ่ายทอด “ศักดินา” ลงมาเป็นทอดๆ ในโครงสร้างแบบปิรามิด สร้างให้เกิดจิตสานึกทางสังคมที่บิดเบือน อันได้แก่ การที่ ผู้หญิงถูกทาให้เป็นสมบัติของผู้ชาย และจิตสานึกทางศีลธรรมแบบชนชั้น ที่เราได้อภิปรายถึงไปแล้ว เป็นต้น ในสังคมทุนนิยม ปัจจัยการผลิตถูกครอบครองโดยปัจเจกบุคคล สร้างให้เกิด “จิตสานึก จอมปลอม” (false consciousness) ซึ่งนอกจากการเห็นเงินเป็นพระเจ้าอย่างที่พูดถึงในบทที่แล้ว ก็คือ การเชื่อว่าเป้าหมายของชีวิตคือการสะสมทุน และการใช้ทุนเพื่อขยายทุน อันก่อให้เกิดภาวะของความ แปลกแยกต่อตนเองและต่อโลกของคนทั้งสังคม ซึ่งก็คือการที่คนสูญเสียความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด เป็นไปตามใจจริงของตนเอง ระหว่างตนและสิ่งที่ตนเป็น อีกทั้งวัตถุในโลก ทั้งวัตถุที่เป็นฐานของ การผลิตและสิ่งที่ตนผลิตขึ้น2 ตัวอย่างเช่น ลองนึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และวัตถุของช่างฝีมือ กับของคนงานใน ระบบสายพานการผลิตในโรงงาน ว่าเขาทั้งสองจะรู้สึกอย่างไรกับการใช้แรงงานของตน ช่างฝีมือที่ ผลิตชิ้นงานด้วยมือของตนเองในทุกกระบวนการอย่างภาคภูมิใจ ย่อมมีความรู้สึกถึงความเป็นมนุษย์ ที่มีรสนิยมและจินตนาการของตนเอง ที่สะท้อนออกมาในวัตถุที่เขาผลิต แต่สาหรับคนงานในระบบ สายพาน เขาย่อมรู้สึกว่าตนเองเป็นเพียงส่วนประกอบของเครื่องจักรกลเท่านั้น เช่น คนงานหนึ่งคน อาจมีหน้าที่ขันน็อตเพียงสองตัวของชิ้นส่วนแบบเดียวกันที่ลาเลียงมาตามสายพานเท่านั้น (ตาม ภาพยนตร์ของชาร์ลี แชม์ปลินเรื่อง Modern Time) และนั่นก็คือฐานะที่เจ้าของโรงงานคิดต่อเขาด้วย ซึ่งก็คือ ความแปลกแยกระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันเอง (มนุษย์เห็นมนุษย์ด้วยกันเองเป็นวัตถุแบบ เครื่องจักรกล) สาหรับคุณ ความแปลกแยกต่อตนเองของพวกคุณบางคนก็คือ การถูกอุดมการณ์ทุน นิยมบังคับให้ต้องมาเป็นนักศึกษา ทั้งๆ ที่ใจจริงของคุณไม่ต้องการ ซึ่งคุณก็ขัดขืนด้วยการเรียนบ้าง ไม่เรียนบ้าง (นี่คือสิ่งที่เราพูดไว้ตั้งแต่บทที่1 ว่าพวกคุณส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคแปลกแยกต่อตนเอง ของสังคมทุนนิยม ไม่ได้มาเรียนในมหาวิทยาลัยด้วยจิตวิญญาณของความอยากรู้อยากเห็นสักเท่าใด เลย)
1
เราอธิบายความหมายของคานี้มาแล้วอย่างละเอียดในบทที่ 2
เราพูดถึงปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นโลกของวัตถุในฐานะฐานของการ ผลิต ซึ่งถูกทาให้แปลกแยกออกจากมนุษย์ มาแล้วในบทที่แล้ว 2
178
ความคิดของมาร์คซ์มุ่งไปสู่การปลดปล่อยมวลชนของทั้งโลก ที่เป็นผู้ใช้แรงงานในการผลิต ของระบบทุนนิยม เขาเรียกร้องให้คนงานร่วมกันต่อสู้ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการครอบครองปัจจัยการ ผลิต และก็มีผู้นาคือเหมาเจ๋อตุง (Mao Tse-tung ค.ศ. 1893-1976) และสตาลิน (Stalin, Joseph. ค.ศ. 1879-1953) ใช้กาลังอาวุธพาคนงานและชาวนาคนยากคนจน ที่ถูกชนชั้นสูงนายทุนคนรวยกดขี่ ปฏิวัติเปลี่ยนโครงสร้างของสังคม แต่การเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการใช้กาลังอาวุธภายใต้ศรัทธาต่อตัว ผู้นา ก็ได้รับการพิสูจน์ด้วยกาลเวลาแล้วว่า นาพาไปสู่การสูญเสียคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่หนักยิ่ง ไปกว่าเดิม คือมีทั้งการเข่นฆ่าทาลายกันขนานใหญ่ ด้วยความเกลียดชังของ “ซ้ายพิฆาตขวา” และการ สูญเสียเสรีภาพของมวลชน ให้กับระบบราชการอันใหญ่โตของพรรคคอมมิวนิสต์ รวมทั้งการเกิดขึ้น ของระบบทุนนิยมโดยรัฐ แทนการเกิดระบบสังคมนิยมที่วาดฝันไว้ (เรากล่าวถึงเรื่องนี้มาแล้วในตอน ที่อธิบายประวัติการเกิดขึ้นของ “คนพันธุ์ใหม่” ในบทที่2 ) ความคิดของมาร์คซ์เป็นแบบวิทยาศาสตร์คือยึดหลัก “วัตถุนิยม” หมายถึงการเชื่อว่า สาเหตุ ทางวัตถุกาหนดคุณสมบัติของปรากฏการณ์ของจิต คือความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ และการใช้ พยานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และมานุษยวิทยา เพื่อสร้างทฤษฎีของปรากฏการณ์ทางสังคม อัน ได้แก่ ระบบความคิดความเชื่อ การใช้เหตุผลต่างๆ และศีลธรรมที่คนในสังคมยึดถือร่วมกัน ซึ่งถือว่า เป็นการแสดงออกของจิตสานึกในระดับมหภาค แต่ก็เป็นสิ่งที่ถูกบิดเบือนไปตามโครงสร้าง ความสัมพันธ์ทางสังคม และสร้างให้เกิดวิถีชีวิต ที่สร้างความพิการและป่วยไข้ทางจิต ความไม่เชื่อถือต่อศีลธรรมและต่อเหตุผลที่มนุษย์ยกขึ้นมากล่าวอ้างกันและกัน หรือแม้แต่ต่อ ตนเองได้รับการอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ในระดับจุลภาค คือในระดับปัจเจกบุคคล เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นเมื่อ ซิกมันด์ ฟรอยด์สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งไม่เพียงแต่เปิดโลกใหม่ของการ บาบัดรักษาผู้ป่วยทางจิต แต่ยังเปิดโลกใหม่ของการวิเคราะห์อารยธรรมมนุษย์ได้อย่างที่ไม่เคยมีมา ก่อน รวมถึงการอธิบายปรากฏการณ์พิเศษที่ไม่เคยเป็นที่เข้าใจ อย่างเช่น ความฝัน การสะกดจิต ได้ อย่างเป็นจริงเป็นจัง อย่างไรก็ตาม การที่ฟรอยด์เป็นนายแพทย์ คือมีพื้นฐานมาจากวิทยาศาสตร์ กายภาพ และไม่เคยศึกษาสังคมอย่างจริงจัง ทาให้เขาอาศัยระบบทางชีววิทยา ซึ่งเป็นภาวะที่ติดตัว มนุษย์มาแต่กาเนิด เป็นกลไกเพียงอย่างเดียวในการอธิบาย และทาให้ทฤษฎีของเขาผิดพลาดไปใน หลายๆ จุด ซึ่งฟรอมม์แก้ไขด้วยการนาเอาเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการผลิต และการครอบครองปัจจัยการผลิตของสังคม ตามทฤษฎีของมาร์คซ์เข้ามาร่วมอธิบาย เราอาจแบ่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้ ส่วนแรกคือส่วนที่เป็นฐานล่างของทฤษฎี ได้แก่คาอธิบายว่า (1) มีส่วนของจิตที่ไม่ได้อยู่ในความสานึกรู้ของบุคคลเรียกว่าจิตใต้สานึก (subconscious) ซึ่ง
179
(2) เป็นที่สะสมของแรงขับที่จะผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปแบบต่างๆ ใน ทุกทิศทางที่แรงขับนั้นจะสามารถปลดปล่อยตัวเองออกไปได้ และ (3) แรงขับดังกล่าวคือ ความต้องการทางเพศ หมายถึงความสุขที่เกิดที่อวัยวะรับสัมผัส และ ความก้าวร้าว คือความต้องการที่จะทาลายสิ่งที่มาขัดขวางความสุข เรียกว่าสัญชาติญาณชีวิตและความ ตาย ส่วนที่สอง คือคาอธิบาย เชิงทฤษฎีของโครงสร้างของจิต ว่ามีการทางานที่แบ่งเป็นสามส่วน ส่วนที่หนึ่งเรียกว่า “อิด” (id) เป็นส่วนของแรงขับของความต้องการทางเพศ และความก้าวร้าวที่ เกิดขึ้นในจิตไร้สานึก ซึ่งเป็นแรงขับที่ “มืดบอด” คืออยู่นอกอานาจการจัดการของเหตุผล และปรากฏ ตัวเป็นแรงกระตุ้น ให้จิตส่วนที่รู้สานึกตัว แสวงหาวิธีการในการตอบสนอง หากไม่ได้รับการ ตอบสนองก็จะถูกเก็บกด เป็นพลังงานที่ค้างอยู่ในจิตไร้สานึก ที่จะคอยปลดปล่อยแรงกระตุ้นเพื่อให้ ได้รับการตอบสนองต่อไป จิตส่วนที่สองที่รู้ตัวและรับรู้แรงกระตุ้นของอิด เรียกว่า “อีโก้” (ego) เป็น ส่วนที่มีอานาจของการเรียนรู้ สร้างความคิด ความเข้าใจในหลักเหตุผล และความสัมพันธ์ของความ เป็นจริงต่างๆ ของโลก โดยตัวของมันเองแล้วไม่มีแรงขับใดๆ แต่ทาหน้าที่ในการหาทิศทางที่เป็นไป ได้ที่จะตอบสนองแรงขับจากอิด โดยอาศัยความรู้ที่เก็บสะสมไว้ เกี่ยวกับความเป็นสาเหตุและ ผลต่างๆ ของสิ่งในโลก กิจกรรมทั้งหมดของจิตส่วนนี้จะปรากฏต่อความสานึกรู้ของเราในฐานะ ความคิด จิตส่วนที่สามเรียกว่า “ซูเปอร์อีโก้” (superego) เป็นแรงกระตุ้นที่ปรากฏต่อจิตส่วนที่สานึก รู้ตัวที่คอยต้านทานแรงกระตุ้นของอิด แรงกระตุ้นส่วนนี้ไม่ได้เกิดจากสัญชาตญาณตามธรรมชาติ เหมือนอิด แต่เกิดจากการซึมซับเอาอานาจควบคุม ที่มีต้นกาเนิดมาจากภายนอกจิตเข้ามาไว้ข้างในจิต ในฐานะของศีลธรรม ซึ่งเริ่มต้นจากอานาจของพ่อแม่ มาจนถึงอานาจของสังคม ที่ถูกแปรเปลี่ยนเป็น “มโนธรรม” คือการรู้ถูกผิดดีชั่ว ที่เมื่อซึมซับเข้ามาแล้วก็จะปรากฏเสมือนเป็นการตัดสินของตนเอง และสร้างให้เกิด “ความรู้สึกผิด” เมื่ออีโก้ฝ่าฝืนคาตัดสินนั้น ส่วนที่สาม เป็นส่วนที่เชือ่ มโยงคาอธิบายทางทฤษฎีมาสูต่ ัวปรากฏการณ์ ได้แก่รายละเอียด ของพัฒนาการของความสุขทางเพศ ตามช่วงวัย ที่แยกเป็นขั้นปาก ขั้นทวารหนัก ขั้นอวัยวะเพศ พัฒนาการของอีโก้และซูเปอร์อีโก้ และรายละเอียดของปมปัญหาทางจิต ที่เกิดจากการที่แรงกระตุ้น ของอิดถูกขัดขวาง ความกลัว ความวิตกกังวล รวมทั้งรายละเอียดของกลไกที่จิตใช้มาแก้ไข ซึ่งให้ คาอธิบายต่อบุคลิกภาพและอาการป่วยไข้ทางจิตแบบต่างๆ ตามที่เกิดขึ้นจริง ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ บุคลิกภาพตลอดจนปมปัญหาทางจิตตลอดช่วงชีวิตของ เรา ล้วนแต่มีต้นตอมาจากปมปัญหาที่เกิ ดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพ่ อและแม่ ตามช่วง พัฒนาการทางเพศในวัยเด็กทั้งสิ้น โดยแม้เราจะลืมเรื่องทั้งหมดไปแล้ว แต่ มันก็ยังเก็บซ่อนไว้ในจิต ใต้สานึก และผลักดันความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม และบุคลิกภาพของเราอยู่ตลอดเวลา ปมในจิตใต้
180
สานึกของมนุษย์ ที่มีรากเหง้ามาจากวัยเด็กนี้เอง ที่ซ่อนกุญแจไขปริศนาของสิ่งที่อธิบายได้ยาก ที่เป็น ลักษณะร่วมของพัฒนาการของมนุษยชาติ อันเป็นเรื่องทางสังคมที่ข้ามเผ่าพันธุ์และปรากฏเป็นข้อมูล ทางมานุษยวิทยาได้อย่างมากมาย ซึ่งฟรอยด์ให้ข้อสรุปว่า ยิ่งมนุษย์พัฒนาไปสู่อารยธรรมที่สูงขึ้นมาก เท่าไร มนุษย์ก็จะยิ่งเป็นโรคจิตมากขึ้นเท่านั้น เพราะเขาเห็นว่า อารยธรรมของมนุษย์ ถูกผลักดันจาก ความต้องการของสังคมสองประการเท่านั้น คือ ความต้องการที่จะขัดขวางพฤติกรรมที่เป็นไปตาม สัญชาตญาณธรรมชาติของมนุษย์ และการหาทางออกให้กับการเก็บกดที่เกิ ดตามมาในรูปแบบที่ สังคมยอมรับได้ ซึ่งเป้าหมายทั้งสองนี้ก็จะปรากฏซ่อนอยู่ใน ขนบธรรมเนียม จารี ตประเพณี ศาสนา ศิลปวิทยาการ ของทุกอารยธรรม สิ่งที่น่าสนใจและจะเกี่ยวข้องกับเรามากที่สุดต่อไปในการวิเคราะห์ระบบโซตัสก็คือ การ แสดงออกอย่างการซ่อนเร้นปิดบังและแปลงรูปของแรงกระตุ้นจากจิตใต้สานึก เมื่อมันปรากฏออกมา เป็นผลผลิตหรือพฤติกรรมทางสังคม ขอให้ดูตัวอย่างเรื่องเพศ ในขณะที่สังคมบังคับให้คนปกปิด อวัยวะเพศ และศาสนาเองก็ดูเหมือนจะเป็นผู้ที่ห้ามปรามอย่างเอาจริงเอาจังที่สุดในเรื่องเพศ แต่คุณ อาจไม่รู้เลยว่าวัตถุทางศาสนาอย่างสถาปัตยกรรมบางอย่างที่เราเคารพบูชานั้น ที่จริงแล้วแสดงออกใน เรื่องเพศอยู่ด้วย เช่น พระเจดีย์ถูกวิเคราะห์ว่าเป็นการพัฒนารูปทรงต่อมาจากพระปรางค์ พระปรางค์ เป็นสถาปัตยกรรมของศาสนาฮินดู ซึ่งบูชาเทพเจ้าที่มีกิจกรรมทางเพศอย่างมนุษย์ และพระปรางค์เอง ก็พัฒนารูปทรงมาจากศิวลึงค์ ซึ่งก็คืออวัยวะเพศชายนั่นเอง ในปราสาทหินของขอมโบราณ จะมี ศูนย์กลางอยู่ที่หินศิวลึงค์ซึ่งตั้งอยู่บนฐานหินที่เป็นสัญลักษณ์ของโยนี คืออวัยวะเพศหญิงของพระแม่ อุมาเทวี หลักฐานทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในอารยธรรมดึกดาบรรพ์ ล้วนบูชาเรื่องเพศในฐานะของพลังที่ให้กาเนิดและสืบต่อชีวิต (ที่จริงแล้ว ตามหลักฐานทางโบราณคดี การบูชาอวัยวะเพศหญิงเกิดขึ้นก่อน เพราะเพศหญิงเป็นพลังที่ให้กาเนิดและเลี้ยงดูชีวิตที่สาคัญกว่า เพศชาย การบูชาศิวลึงค์เกิดขึ้นเมื่อสังคมมนุษย์วิวัฒนาการมาถึงขั้นที่ผู้ชายเป็นใหญ่) แต่เมื่อศาสนา และอารยธรรมพัฒนาสูงขึ้น เรื่องเพศที่มนุษย์เคยบูชา ก็ถูกถือเป็นต้นเหตุของความทุกข์ ความชั่วร้าย และการผิดบาปไปเสีย (เทพเจ้าหลายองค์ก็เลยกลายเป็นพระเจ้าองค์เดียวที่เป็นสิ่งนามธรรม และเป็น อิสระจากเนื้อหนังมังสาไปอย่างสมบูรณ์) ตัวอย่างต่อไปคือ ประเพณีบุญบั้งไฟขอฝนของชาวอีสาน การส่งบั้งไฟขึ้นไปบนท้องฟ้า มี ความหมายเกี่ยวกับฝนได้ ก็เพราะบั้งไฟเป็นสัญลักษณ์ของอวัยวะเพศชาย และท้องฟ้าเป็นสัญลักษณ์ ของอวัยวะเพศหญิง น้าฝนเป็นทั้งสัญลักษณ์ของขั้นสุดท้ายของเพศสัมพันธ์และพลังของการให้ กาเนิดชีวิตใหม่ คือการกาเนิดและเติบโตของพืชพันธุ์ธัญญาหารที่เลี้ยงชีวิต อย่างไรก็ตาม การที่คนยุค ดึกดาบรรพ์ถือเรื่องเพศเป็นสัญลักษณ์ของกาเนิดชีวิตและการเติบโตนั้น เป็นเพียงการให้ความหมาย เพื่อตกแต่งพลังขับดันจากจิตใต้สานึกเท่านั้น ในบางประเพณี เรื่องเพศอาจแอบซ่อนอยู่โดยไม่ เกี่ยวกับการให้ความหมายเรื่องการให้กาเนิด เช่น หน้ากากผีตาโขนของชาวจังหวัดเลยมีลักษณะที่เด่น
181
ที่สุดคือจมูกที่ใหญ่ยาวแหลมแทนอวัยวะเพศชาย (แต่อาจมีความหมายเกี่ยวกับอานาจที่ไม่ใช่การให้ กาเนิด) และในประเพณีที่เป็นเทศกาลพิเศษ ข้อห้ามบางอย่างทางสังคมจะได้รับการยกเลิกไปชั่วคราว เพื่อให้คนแสดงความต้องการตามธรรมชาติออกมาได้ตรงๆ เช่น ในประเพณีสงกรานต์ ชายหนุ่มหญิง สาว จะได้รับการอนุญาตให้ถูกเนื้อต้องตัวกันได้ ผ่านการประแป้ง คือผ่านการบดบังด้วยความหมาย ทางศีลธรรม เกี่ยวกับสิ่งที่ดีงาม และแก่นแท้อีกประการหนึ่ง ของประเพณีนี้ ก็คือ การปลดปล่อยให้ คนสามารถใช้การสาดน้าเข้าใส่ผู้อื่น หาความสุขจากความก้าวร้าวได้อย่างไม่ต้องรู้สึกผิด ศิลปะ พื้นบ้านมากมาย มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ แต่ได้รับการยอมรับ เพราะตกแต่งไว้ด้วย องค์ประกอบทางศิลปะ และช่วยปลดปล่อยผู้สร้างและผู้เสพจากความเก็บกดที่เกิดจากการควบคุม ของสังคม มาดูเรื่องของตานาน นิทาน ละคร เรื่องเล่า และวรรณกรรม อริสโตเติล เสนอทฤษฎีว่าคุณค่า ของละครเกิดขึ้นจากการที่มันช่วย “ชาระล้าง” จิตใจจากความขุ่นข้องหมองใจที่สะสมและกดดันอยู่ ภายใน ซึ่งเกิดจากการที่เราสมมุติเอาตัวเราเองไปใส่ในตัวละคร หรือจากการเปรียบเทียบ จนรู้สึกว่า โชคเคราะห์และชะตากรรมต่างๆ ที่ตัวละครเผชิญนั้น ก็เป็นของตัวเราเองด้วย ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ให้ คาอธิบายอย่างละเอียดว่าการชาระล้างจิตใจนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ดูจากเรื่องของเด็กก่อน การที่นิทานอย่างเรื่องซินเดอเลลลาและสโนว์ไวท์ จับใจเด็กหญิงชายมาได้ทุกยุคทุกสมัยก็ เพราะ เรื่องราวของนิทานตอบสนองต่อทั้งความรักทั้งความเกลียดแม่ที่เด็กมีอยู่ในใจ ตามทฤษฎีจิต วิเคราะห์ เด็กทารกใช้เวลานานในการเรียนรู้ว่าแม่ผู้คอยให้ความสุขกับตน และแม่ผู้คอยดุว่าและ ลงโทษตนนั้นเป็นคนๆ เดียวกัน และเมื่อโตจนเรียนรู้แล้ว ก็เกิดปมในจิตใจของความทั้งรักและเกลียด ที่ยังคอยแยกแม่เป็นสองคนในจินตนาการ และเมื่อโตมากขึ้นในขั้นตอนหนึ่ง ความเป็นศัตรูต่อแม่ผู้ คอยดุว่าก็มีมากขึ้น ดังนั้นแม้ว่าแม่แท้ๆ จะยังมีชีวิตอยู่ เด็กก็จินตนาการว่าแม่ที่ตนรักได้ตายจากไป แล้ว ต้องอยู่กับแม่เลี้ยงใจร้ายที่แย่งความรักของพ่อไปจากตน ตนเองเป็นผู้ถูกกระทา และจะ จินตนาการให้แม่เลี้ยงใจร้าย (หรือแม่มดใจร้าย) ต้องตายไปตามความโกรธแค้นของตน หรือผนวก เรื่องเข้ากับจินตนาการทางเพศ ถึงการเติบโตเป็นสาว มีชายที่ตนรักได้พาออกไปจากอานาจของแม่ เลี้ยงใจร้าย หรือถ้ายังเป็นเด็กชายหญิงที่ยังเล็กมาก ก็จะจินตนาการถึงการพลัดพลาดจากพ่อแม่ ตกไป อยู่ในเงื้อมมือของแม่มดใจร้าย ซึ่งเด็กจะต่อสู้จนแม่มดพ่ายแพ้ตายไป และตนได้ย้อนกลับไปอยู่กับ พ่อแม่ที่ใจดีในที่สุด อย่างในนิทานเรื่องแฮนเซิลแอนด์เกรเทิล ดังนั้นความตายของแม่มด ก็คือสิ่งที่ เด็กจินตนาการอยากให้เกิดกับแม่ผู้ที่ตนโกรธแค้นนั่นเอง การที่ตัวละครอย่างโดราเอม่อนจับใจเด็กมาได้กว่าสามสิบปีที่ถูกสร้างขึ้นมา ก็เพราะมัน ตอบสนองความต้องการจากจิตใต้สานึกของเด็ก ในขณะที่เด็กกาลังเติบโตและเรียนรู้โลกนั้น เด็ก ต้องการความช่วยเหลือจากแม่ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดและสนิทสนมมากที่สุดอยู่ตลอดเวลา แต่ใน
182
ความเป็นจริง แม่ก็ไม่อาจคอยช่วยเหลือในทุกสิ่งทุกอย่างได้ และบ่อยครั้งที่แม่ต้องคอยดุว่าสั่งสอน บังคับให้ช่วยตัวเอง อันสร้างความโกรธแค้นขัดเคืองให้แก่เด็ก ซึ่งเด็กก็ต้องการกลั่นแกล้ง ให้แม่ เดือดร้อนวุ่นวายบ้างเพื่อแก้แค้น ซึ่งทาไม่ได้กับแม่ตัวจริง ดังนั้นโดราเอม่อนจึงมาเป็นผู้คอยช่วยเหลือ ให้เด็กได้สมความปรารถนาในทุกอย่างแทนแม่ พร้อมกับคอยสั่งสอน แต่ก็เป็นเหมือนเพื่อน ที่เด็ก อาจจะกลั่นแกล้งเล่นๆ หรือ เถียง โวยวาย ตอบโต้ต่อการดุว่ากลับไปได้บ้าง โดยไม่ต้องถูกลงโทษ แต่ เด็กก็อาจรู้สึกผิดกลับไปขอโทษ และรักษาความสัมพันธ์ไว้ได้เสมอ ดังนั้นโดราเอม่อนจึงเป็นตัวแทน ของแม่ ที่คอยช่วยเหลือ และมีความเป็นเพื่อนกับเด็กตามที่เด็กต้องการนั่นเอง ความขัดแย้งระหว่างลูกและพ่อแม่ที่สาคัญที่สุดเป็นเรื่องเพศ และเป็นปมของความอิจฉาต่อ ผู้ให้กาเนิดที่มีเพศเดียวกับตน คือการที่เด็กชายต้องการฆ่าพ่อ เพื่อเอาแม่มาเป็นของตน และเด็กหญิง ต้องการฆ่าแม่ เพื่อเอาพ่อมาเป็นของตน และปมนี้ก็ปรากฏในตานานของทุกอารยธรรม แต่จะถูก บิดเบือนไปในระดับต่างๆ เพราะการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กาเนิดและบุตร และการฆ่าบุพการี เป็นข้อห้าม และความผิดที่รุนแรงที่สุด คือเป็น “ตาบู” (tabu) ของทุกสังคม ฟรอยด์เรียกปมนี้ว่า “ปม โอดิบุส” (Oedipus complex) ตามตานานของกรีก ในสังคมไทยเราจะได้ยินเรื่องควายทรพีฆ่าพ่อคือท รพา เพื่อแย่งฝูงตัวเมีย ซึ่งถูกให้เหตุผลรองรับว่าเพราะพ่อฆ่าลูกตัวผู้ทุกตัวก่อน มหากาพย์รามเกียรติ์ก็ กาเนิดขึ้นจากการที่ทศกัณฐ์ต้องการนางสีดาผู้เป็นลูกสาวมาเป็นเมีย ซึ่งเป็นการสลับที่ของปม ใน ตานานของกรีกนั้นโอดิบุสฆ่าพ่อเพราะไม่รู้จัก และเอาแม่มาเป็นเมียอย่างไม่รู้ว่าเป็นแม่ ซึ่งเป็นการ บิดเบือนปม ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ซูเปอร์อีโก้ยังพออนุญาตให้เราพอรับฟังเรื่องได้ และเรื่องก็ถูกตกแต่ง เพื่อประนีประนอมกับซูเปอร์อีโก้ต่อไป ด้วยการให้โอดิบุสต้องตาบอดและประสบชะตากรรมถึงตาย เพื่อชดใช้ความผิด เราอาจไม่ยอมรับเรื่องปมโอดิบุสนี้ เพราะลืมไปแล้ว หรือต้องการปกบิด แต่คง ยอมรับว่า เราเคยหึงหวงพ่อแม่ฉันท์ชู้สาวกับคนอื่น และกลัวพ่อหรือแม่จะนอกใจตนเองมาแล้ว ทั้งสิ้น สาหรับฟรอยด์นคี่ ือพัฒนาการปกติของเด็กทุกคน ปมโอดิบุสเป็นปมหนึ่งที่มีบทบาทเด่นในทฤษฎีบุคลิกภาพของฟรอยด์ เพราะเป็นคาอธิบาย หลักของพัฒนาการของซูเปอร์อีโก้ และบุคลิกภาพของการเป็นเพศชายหญิง และการผิดเพศ ที่จะเป็น ความเป็นตัวเราไปตลอดชีวิต คือในเด็กเล็กๆ นั้นจะมีทั้งความเป็นผู้ชายและผู้หญิงอยู่ในตัว และ สามารถมุ่งเป้าความต้องการทางเพศไปสู่ทั้งพ่อและแม่ได้พร้อมๆกัน การกลายเป็นชายและหญิงตาม อวัยวะเพศนั้น เกิดจากการที่ปัจจัย “ภายในตนเอง” หมายถึงน้าหนักของพลังในตนเองที่มีมาแต่กาเนิด ที่จะโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง และปัจจัยภายนอก คือวิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ร่วมกันทาให้ พัฒนาการเป็นไปตาม “ปกติ” คือ เด็กชายมุ่งความต้องการทางเพศไปที่แม่ และเลียนแบบพฤติกรรม ของพ่อ เด็กหญิงมุ่งเป้าความต้องการทางเพศไปที่พ่อ และเลียนแบบพฤติกรรมของแม่ ซึ่งเกิดจาก ความอิจฉา ความกลัว และกลไกทางจิต ดังนี้คือ
183
เด็กนั้นจะรักอวัยวะเพศของตนเพราะเป็นแหล่งของความสุข เด็กผู้ชายจะมีปมของการกลัว การถูกตัดอวัยวะเพศ และเด็กผู้หญิงจะมีปมของความกลัวการบาดเจ็บฉีกขาดของอวัยวะเพศ เมื่อ เด็กผู้ชายมุ่งความต้องการทางเพศไปที่แม่ รู้สึกอิจฉาพ่อที่ได้มีความสุขทางเพศกับแม่ เกิดความ ต้องการที่จะกาจัดพ่อ แต่เมื่อแสดงความก้าวร้าวออกไปก็จะถูกลงโทษ ซึ่งเด็กก็รู้ว่าพ่อมีอานาจมาก อย่างที่ตนไม่อาจสู้ได้ เกิดความกลัวว่าจะถูกพ่อแก้แค้นด้วยการทาลายอวัยวะเพศ เด็กก็จะต้องเก็บกด ความก้าวร้าวต่อพ่อหรือแม่ไว้ เมื่อเด็กชายเห็นพ่อเป็นคู่แข่ง แต่ไม่สามารถกาจัดพ่อได้ก็จะคิดว่าที่แม่ มีความสัมพันธ์ทางเพศกับพ่อ ก็เพราะรักในบุคลิกภาพและการกระทาต่าง ๆ ของพ่อ เด็กผู้ชายก็จะ หันไปเลียนแบบบุคลิกภาพและการกระทาของพ่อ เพื่อให้แม่หันมารักตนเองอย่างพ่อ และเพราะไม่ เคยสมหวัง ในที่สุดเด็กชายก็จะต้องการขจัดและข่มความรู้สึกต้องการทางเพศกับแม่ให้หายไปจาก จิตใจ ซึ่งเด็กชายก็จะใช้กลไกของการหันไปบูชาให้พ่อเป็นต้นแบบของตน เปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ ของตนไปในทางของความเป็นชายเหมือนพ่อ สาหรับเด็กผู้หญิงก็จะหันไปบูชาแม่เป็นต้นและพัฒนา บุคลิกภาพไปสู่ความเป็นผู้หญิงแบบแม่ พร้อมกับการพัฒนาบุคลิกภาพทางเพศเด็กชายและหญิงจะรับเอาความรู้สึก ความคิด ความ เชื่อ คาสั่งสอนของพ่อและแม่เข้ามาเป็นของตนเอง ซึ่งก็คือการรับเอาระบบศีลธรรมของสังคมเข้ามา เป็นความคิดความเชื่อของตนเองนั่นเอง เกิดเป็นซูเปอร์อีโก้ และเนื่องจากเด็กชายและหญิงสูญเสียแม่ และพ่อ ในฐานะของเป้าหมายของความสุขทางเพศไป ความหลงใหลจึงหันกลับเข้ามาหาตัวเอง กลายเป็นความรู้สึกรัก และหลงตัวเอง รู้สึกดีต่อตนเอง และภาคภูมิใจต่อตนเองเมื่อทาสิ่งที่ซูเปอร์อีโก้ บอก และจะรู้สึกผิด ต่าต้อย และต้องการจะลงโทษตัวเอง เมื่อทาสิ่งที่ขัดกับซูเปอร์อีโก้ เหมือนกับที่ พ่อแม่เคยลงโทษตนเองเมื่อขัดคาสั่ง ดังนั้นมโนธรรมจึงเกิดจากการรับอานาจการควบคุมและลงโทษ ของพ่อแม่เข้ามาไว้ในตน บวกกับปมรักหลงตนเอง บางส่วนของทฤษฎีบุคลิกภาพของฟรอยด์ได้รับการโต้เถียงอย่างหนัก คือการอธิบายความ แตกต่างของบุคลิกภาพหญิงชายแบบปมเด่นและปมด้อยด้วยปัจจัยทางชีววิทยา นักจิตวิทยายอมรับว่า ผู้ชายโดยทั่วไปจะมีลักษณะเหมือนคนมีปมเด่น มีความภาคภูมิในตนเองสูง คือมีความกล้าที่จะเผชิญ กับสิ่งท้าทายมากกว่าผู้หญิง กล้าคิด ริเริ่มและนาคนอื่น กล้าเผชิญหน้า ชอบการแข่งขันและพัฒนา ศักยภาพของตนเอง เป็นฝ่ายนาการกระทา ในขณะที่ผู้หญิงมีลักษณะเหมือนคนมีปมด้อย ที่ขาดความ ภาคภูมิใจในตนเอง คือเป็นผู้คล้อยตาม รอคอย สะกดกลั้น เป็นผ่ายรับ และเมื่อเปรียบเทียบเชิง ความสัมพันธ์ทางอานาจแล้วจะเห็นว่า ผู้หญิงถูกกาหนดโดยผู้ชาย เช่น ในขณะที่ผู้ชายมีอิสระทางเพศ ผู้หญิงกลับถูกหน่วงเหนี่ยวไว้ด้วยค่านิยมพรหมจรรย์ ผู้หญิงนิยามคุณค่าของตนตามความต้องการ ของผู้ชาย คือสร้างบุคลิกภาพและรูปลักษณ์ให้เป็นไปตามความพอใจของผู้ชาย มากกว่าที่ผู้ชายจะ พยายามทาตามความพอใจของผู้หญิง ผู้หญิงสนใจเรื่องความสวยงามของรูปร่างหน้าตาอย่างรุนแรง ยอมใส่รองเท้าส้นสูงที่ทรมานตนเอง (อันเป็นลักษณะของคนมีปมด้อยอย่างชัดเจน) ออกกาลังกาย
184
ด้วยการเต้นแอร์โรบิคเพื่อรักษาทรวดทรง และแข่งขันกันในความเซ็กซี่ ซึ่งก็คือการแสดงออกของ การเป็นวัตถุที่ผู้ชายปรารถนาทางเพศ ในขณะที่ผู้ชายสร้างคุณค่าของตนเองตามแบบที่ตนเองพึง พอใจ ไม่ต้องอ้างอิงความต้องการของผู้หญิง เล่นกีฬาเพื่อความสนุกสนาน และการพัฒนาศักยภาพ ไม่ใช่เพื่อการสร้างรูปลักษณ์ทางร่างกาย ฟรอยด์อธิบายเรื่องนี้ด้วยปมที่เกี่ยวข้องกับสัณฐานของอวัยวะเพศเพียงอย่างเดียว คือผู้ชายมี อวัยวะเพศที่ยื่นออกมา ในขณะที่ผู้หญิงมีอวัยวะเพศที่เข้าไปข้างใน ทาให้เด็กผู้หญิงคิดว่าตนเคยมี อวัยวะเพศแบบผู้ชายมาก่อน แต่ถูกพ่อแม่ตัดทิ้งไป เป็นการลงโทษต่อความไม่ดีของตนเอง เด็กผู้หญิง จึงเสียความภาคภูมิใจในตนเองและพัฒนาต่อไปเป็นบุคลิกภาพแบบปมด้อย ในขณะที่เด็กผู้ชายยัง รักษาความภาคภูมิใจที่เกิดจากอวัยวะส่วนนี้ไว้ได้ และพัฒนาต่อไปเป็นบุคลิกภาพแบบปมเด่น ซึ่ง การอธิบายเช่นนี้ มีค่าเท่ากับการตีตราว่าผู้หญิงจะนิยามคุณค่าของตนเอง ตามความต้องการของผู้ชาย ต่อไปจนโลกสลาย เพราะมีพื้นฐานมาจากปัจจัยทีม่ ีมาแต่กาเนิดและความกลัวต่ออานาจของพ่อแม่ นักสังคมวิทยาเถียงว่า ลาพังกลไกการเลียนแบบแม่จากปมโอดิบุสก็เพียงพอแล้วที่จะอธิบาย บุคลิกภาพแบบยอมตามผู้ชายของเพศหญิง ซึ่งเป็นบทบาทที่สังคมกาหนดให้กับแม่ จากการที่ผู้ชาย เป็นฝ่ายที่ถือครองอานาจในสังคม ซึ่งอธิบายได้ด้วยวิวัฒนาการของเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ตาม ทฤษฎีของมาร์คซ์ ดังนั้นเรื่องนี้จึงน่าจะเกิดจากปัจจัยหลังกาเนิด คือเงื่อนไขในการเลี้ยงดูตาม ลักษณะแบบผู้ชายเป็นใหญ่ในครอบครัวมากกว่า ซึ่งผู้หญิงก็จะสามารถปลดปล่อยตนเองจากอานาจ การกาหนดของผู้ชายได้ เมื่อเงื่อนไขของสังคมเปลี่ยนไปเป็นแบบเท่าเทียมกัน การที่ผู้หญิงถูกปิดกั้นเรื่องทางเพศเพื่อประโยชน์ของผู้ชาย เป็นตัวอย่างที่ดีของการทางาน ของกลไกความผิดปกติทางจิต ที่เกิดจากการที่ซูเปอร์อีโก้รับศีลธรรมแบบจอมปลอมของสังคมไว้ ผ่านการใช้อานาจของพ่อแม่ ในยุคสมัยของฟรอยด์ ความเข้มงวดทางเพศของสังคมมุ่งไปที่ผู้หญิง เพื่อจะประกันว่า ผู้หญิงจะเป็นสมบัติที่ดีของผู้ชาย พ่อแม่จะคอยกันไม่ให้เด็กหญิงแตะต้องอวัยวะ เพศและเล่นอวัยวะเพศของตนเอง (ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของพัฒนาการทางเพศ) ในรายที่พ่อแม่ใช้การ ลงโทษทางกาย และการว่ากล่าวอย่างรุนแรงเพื่อควบคุม ใช้ความผิดบาปทางศาสนาเป็นเครื่องมือ เด็ก จะเกิดความรู้สึกผิด เมื่อเกิดความรู้สึกทางเพศ ซึ่งกลายเป็นความขัดแย้งทางจิตใจ ผู้หญิงคนนั้นจะ เติบโตขึ้นมาพร้อมกับความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนไม่ดี ไม่มีค่า หาทางเก็บกดความต้องการทางเพศ ไม่ให้ปรากฏขึ้นในจิตใจ เมื่อเผลอเกิดความรู้สึกทางเพศก็จะคิดลงโทษตนเอง เช่นเดียวกับที่พ่อแม่ เคยทากับตน เมื่อแต่งงานแล้วก็ยังรู้สึกว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องชั่วร้าย และขัดข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ คาอธิบายของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ว่าซูเปอร์อีโก้เกิดขึ้นจากความรักความหลงใหลที่หันจากพ่อ แม่มาสู่ตนเอง ซึ่งได้รับพลังมาจากการใช้อานาจควบคุม ดุด่า ว่ากล่าว ลงโทษของพ่อแม่ เมื่อทาผิด หรือยกย่องชมเชยเมื่อทาสิ่งที่พ่อแม่พอใจ ช่วยให้คาอธิบายต่อความรู้สึกยกย่องในตนเองและ
185
ความรู้สึกด้อยค่าในตนเอง เราเคยกล่าวว่า เด็กสองคนอาจมีความสามารถเท่าเทียมกัน แต่คนหนึ่งอาจ มีความรู้สึกยกย่องในตัวเองสูง ในขณะที่อีกคนมีความรู้สึกยกย่องในตนเองต่า ขึ้นอยู่กับวิธีปฏิบัติของ พ่อแม่ต่อเด็ก ประเด็นก็คือ ภาพรวมของความรู้สึกที่เด็กมีต่อตนเองนั้นย่อมขึ้นอยู่กับภาพรวมของ สัดส่วนของ การให้เสรีภาพ การยกย่องชมเชย และการควบคุม การดุว่า การลงโทษของพ่อแม่ ซึ่งก็ คือสัดส่วนของความสุขและความเก็บกดในใจของเด็กนั่นเอง ในสังคมที่ครอบครัวและโรงเรียนใช้ อานาจกับเด็กอย่างเกินเลย ย่อมทาให้เด็กมีความมั่นคงทางจิตใจต่ากว่าในสังคมที่ให้เสรีภาพและระวัง เรื่องการใช้อานาจกับเด็ก ในรายละเอียดนั้น ความรู้สึกที่คนมีต่อตนเอง มีความซับซ้อนอย่างมาก สามารถขัดแย้ง ผสมปนเปกันอยู่ภายใน ทั้งความรู้สึกมีค่าและด้อยค่า ขึ้นอยู่กับปมความเก็บกดต่างๆ นานา ที่เก็บอยู่ในจิตใต้สานึกมาตั้งแต่เด็ก ก่อนเรื่องของการสัมผัสอวัยวะเพศ มีปมอีกปมหนึ่งที่สาคัญก็คือ ปมของการถูกควบคุมการ ขับถ่าย เมื่อถึงอายุขนาดหนึ่ง ความสุขทางสัมผัสของเด็กจะย้ายจากปากมาสู่ก้น ซึ่งเป็นความรู้สึก สนุกต่ออานาจในการควบคุมการขับถ่ายของตน เด็กมีความสนใจต่อปัสสาวะและอุจจาระของตนเอง รู้สึกถึงอานาจของตนเองในการ “ผลิต” วัตถุ และการที่ตนเองเป็น “เจ้านาย” ของกระบวนการนี้อย่าง สมบูรณ์ แต่ผู้ใหญ่จะพยายามเข้ามาควบคุม และฝึกหัดเด็กให้ขับถ่ายให้ถูกที่ถูกเวลา ซึ่งหากเข้มงวด จนเกินไป ก็จะเกิดความขัดแย้งในจิตใจของเด็ก เกิดการต่อสู้ขัดขืนและการเก็บกด ซึ่งฟรอดย์อ้างว่า เป็นสาเหตุของบุคลิกภาพแบบสุดโต่งสองแบบคือเก็บอะไรไม่อยู่ คือ สุรุ่ยสุร่ายอย่างหมดเนื้อหมดตัว หรือหาและเก็บทุกอย่างแบบไม่ยอมให้เสียวัตถุอะไรออกไปจากตัว คือตระหนี่ถี่เหนียวถึงที่สุด แต่เรื่องนี้ก็ได้รับการโต้เถียงจากทางสังคมวิทยาเช่นกัน เราได้เห็นมาแล้วว่า คนในสังคมทุน นิยมสามารถมีบุคลิกภาพพร้อมกันทั้งสองแบบ คือหาเงินเป็นชีวิตจิตใจ และใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อ หน้าตา แต่กดราคาค่าแรงงานของคนที่มาทางานให้ตน ซึ่งนักสังคมวิทยาวิเคราะห์ว่าเป็นสิ่งที่เกิดมา จากการที่เงินและวัตถุ เป็นทั้งตัวอานาจและสัญลักษณ์ของอานาจในสังคมทุนนิยมบริโภคนิยม ดังนั้น เรื่องนี้น่าจะเป็นผลของความแตกต่างของความรู้สึกถึงเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และอานาจในสังคมชนชั้น มากกว่า อย่างไรก็ตาม นี่ก็เกี่ยวข้องกับปมความรักในตนเอง ความรู้สึกมีค่า ด้อยค่า ซึ่งก็เกิดจาก ความสัมพันธ์เชิงอานาจของการถูกบังคับควบคุม ที่เริ่มมาตั้งแต่วัยทารก ซึ่งเมื่อคนปะทะกับ สภาพแวดล้อมของสังคมชนชั้นและระบบทุนนิยม คนก็จะพัฒนาบุคลิกภาพแบบอานาจนิยมขึ้น ชดเชย ฟรอมม์ชี้ให้เห็นว่าแม่บ้านของชนชั้นกลางจะมีลักษณะร่วมกันคือ ตระหนี่ถี่เหนียว ต่อรอง ราคากับแม่ค้าในตลาดที่ยากจนกว่าตนมาก และจะมีความสุขมากจากการที่สามารถประหยัดเงินจาก การจับจ่ายประจาวันได้แม้เพียงเล็กน้อย เขาอธิบายว่า นี่เป็นรูปหนึ่งของบุคลิกภาพแบบอานาจนิยม เราพร้อมที่จะอธิบายความผิดปกติทางจิตแบบซาดิสต์และมาโซคิสต์แล้ว แต่เพื่อที่จะขยาย การอธิบายมาสู่ระบบโซตัส เราจะต้องเข้าใจสิ่งที่เรียกว่ากลไกการป้องกันทางจิตเสียก่อน เราเห็นแล้ว
186
ว่าหน้าที่ของซูเปอร์อีโก้คือการต้านทานแรงขับของอิด แต่เมื่อแรงขับของอิดไม่ได้รับการตอบสนอง หรือตอบสนองไม่ได้ อาจเป็นด้วยเงื่อนไขภายนอกขัดขวาง หรือเพราะซูเปอร์อีโก้ขัดขวางก็ตาม ย่อม เกิดความเครียดขึ้นในจิต หรือเมื่อทาไปตามแรงขับของอิดแล้ว แต่ซูเปอร์อีโก้บังคับให้เกิดความรู้สึก ผิด ก็เกิดเป็นความเครียดในจิตอีกเช่นกัน จิตก็จะสร้างกลไกขึ้นมาหาทางบรรเทาความเครียดนั้น ที่ รู้จักกันทั่วไปและเป็นกลไกอย่างง่ายๆ ที่คนใช้ในชีวิตประจาวัน ก็เช่น กลไกการปฏิเสธแบบองุ่น เปรี้ยว คือหมาป่าอยากกินองุ่นแต่กระโดดไม่ถึง จึงบอกตัวเองว่าองุ่นเปรี้ยว และตนเองไม่ต้องการกิน หญิงสาวอาจจะหลงรักผู้ชายที่เขาไม่รักตอบจึงบอกตัวเองว่าเขาไม่ดีพอสาหรับตน หรือกลไกการโยน ความผิดให้คนอื่นแบบราไม่ดีโทษปี่โทษกลอง คือเมื่อทาผิดพลาดเกิดความละอาย เจ็บปวดที่จะต้อง โทษตนเอง ก็หาคนอื่นมากล่าวโทษแทน กลไกการชดเชยด้วยจินตนาการและการเพ้อฝันกลางวัน (เหมือนในเรื่องบันทึกจากใต้ถุนสังคม) การชดเชยด้วยการแก้ไข เป็นต้น กลไกบางอย่างเป็นการตอบโต้ต่อสถานการณ์ที่รุนแรง เช่น การเก็บกดจนหายไปจากความ รู้ตัวและการทาตรงกันข้าม เด็กที่มีน้องเกิดใหม่ย่อมอิจฉาน้องที่มาแย่งความรักของแม่ แต่กลัวแม่จะ ไม่รัก จึงเก็บกดความรู้สึกเกลียดน้องจนหายไปจากจิตใจ ทาพฤติกรรมเป็นตรงกันข้ามคือรักน้อง รวมทั้งเลียนแบบพฤติกรรมแม่ คือเอาใจใส่ดูแลน้องราวกับตนเป็นแม่เสียเองด้วย นักจิตวิทยาพบว่า เด็กสองขวบจะใช้กลไกสองอย่างนี้มากเป็นพิเศษ กลไกอย่างหนึ่งเป็นกลไกที่ดีทางสังคม คือการแปรรูปตัวการกระทาไปสู่สิ่งที่ยอมรับได้ หรือ การนาตัวการกระทาไปใส่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ เช่น เด็กเปลี่ยนการเล่นอุจจาระไปเล่นดินน้ามันแทน การปลดปล่อยความก้าวร้าวในการเล่นกีฬา การเอาเรื่องเพศไปใส่ในศิลปะ หรือแปรรูปไปเป็นการ เล่นแบบสองแง่สองง่าม การแปรรูปแล้วใส่ความหมายที่ดีปิดบังอย่างประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น เมื่อความปรารถนาอันหนึ่งถูกซูเปอร์อีโก้ขัดขวาง กลไกประการหนึ่งก็คือ การสร้างเหตุผล บังหน้า (rationalization) ขึ้นมาปิดกั้นซูเปอร์อีโก้ เพื่อที่จะตอบสนองความปรารถนานั้นได้โดยไม่ รู้สึกผิด เด็กวัยรุ่นอาจมีความรู้สึกทางเพศกับครู ต้องการที่จะเข้าใกล้ครู แต่ซูเปอร์อีโก้อาจห้ามว่าไม่ดี ก็อาจสร้างเหตุผลบังหน้าขึ้นมาว่า ตนเองสนใจในการเรียน เข้านั่งใกล้ครูเพื่อให้ฟังครูได้ชัดเจนขึ้น ในระดับสังคม เราได้เห็นแล้วว่ากลไกการอ้างเหตุผลบังหน้านั่นเกิดขึ้นตลอดเวลาในลัทธิบริโภคนิยม นิตซ์เช่ยืนยันว่าเหตุผลที่ใช้ในสังคมทั้งหมด ได้แก่ วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ไสยศาสตร์ เป็น เหตุผลที่อ้างขึ้นบังหน้าความต้องการอานาจ ซึ่งฟรอมม์แยกแยะว่าเหตุผลที่ไม่ใช่เหตุผลบังหน้า คือ เหตุผลที่เราไม่รู้ข้อสรุปอยู่ล่วงหน้า และบังคับให้เรายอมรับในสิ่งที่เราไม่ปรารถนามาก่อน เหตุผลที่ เข้ากับความปรารถนาทั้งหลายของเราคือเหตุผลบังหน้า หรือเหตุผลจอมปลอม ดังนั้น ในระบบโซตัส เหตุผลทั้งหลายที่รุ่นน้องใช้อ้าง เพื่อพาตัวเองไปอยู่ใต้อานาจของรุ่นพี่ ทาตามความต้องการและคาบงการของรุ่นพี่ และเหตุผลทั้งหลายที่รุ่นพี่ยกขึ้นมาอ้าง เพื่อที่จะได้ใช้
187
อานาจต่อรุ่นน้อง ล้วนแต่เป็นเหตุผลที่ใช้บังหน้าความต้องการที่ซ่อนไว้ข้างหลัง ซึ่งเมื่อดูจากสิ่งที่ เกิดขึน้ จริงๆ ไม่ใช้จากคาพูด ก็จะพบว่าคือการที่รุ่นน้องต้องการพึ่งพิง และรุ่นพี่ต้องการหาความสุข จากการใช้อานาจทาร้ายผู้อื่น แต่มีความรักความเสียสละอันยิ่งใหญ่ ที่ชวนซาบซึ้งจนต้องหลั่งน้าตา กันทั้งสองฝ่าย (ในพิธีกาซาบ) เป็นการตกแต่งและหน้าฉาก เท่านั้น ทั้งหมดนี้มีรูปแบบที่ตรงกันอย่าง สมบูรณ์กับคู่รักแบบซาดิสต์และมาโซคิสต์ ซาดิสต์และมาโซคิสต์เป็นชื่อความวิปริตทางเพศ ที่ฝ่ายหนึ่งจะเกิดความรู้สึกกระตุ้นทางเพศ เมื่อได้ทาร้ายคู่ของตน และอีกฝ่ายเกิดความรู้สึกกระตุ้นทางเพศเมื่อถูกคู่ของตนทาร้าย ฟรอยด์อธิบาย ได้เพียงจากอาการว่าเกิดจากการที่สัญชาตญาณทางเพศและความก้าวร้าวซึ่งปกติแยกกันอยู่ เกิดมา ผนวกและสืบเนื่องกัน ฟรอมม์ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่แบบนี้อย่างละเอียด และพบว่า ความสัมพันธ์แบบนี้มีลักษณะที่เรียกว่า ความสัมพันธ์แบบซิมไบโอซิส (symbiosis) คือ ถึงแม้ว่าจะมี ความวิปริตอยู่ในความสัมพันธ์ คือ มีการทาร้าย ความเจ็บปวดและความสูญเสียในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ กลไกภายในของทั้งสองฝ่าย ตอบสนองต่อความต้องการที่เป็นตัวผลักดันบุคลิกภาพของกันและกัน ได้อย่างสมบูรณ์ กล่าวง่ายๆ คือบุคลิกภาพของทั้งสองฝ่ายตอบสนองกันได้อย่างสมบูรณ์ จนหาก ขาดกันและกันไป แต่ละฝ่ายก็จะเสียสมดุลอย่างรุนแรงจนไม่อาจอยู่ได้ จะดิ้นรนหาคู่อย่างที่มี ความสัมพันธ์แบบเดิมอีก หรือทาทุกอย่างเพื่อจะได้กลับมาอยู่ด้วยกันอีก เป็นเสมือนความรักอัน ยิ่งใหญ่ ที่จะไม่มีใครมาสามารถจับแยกออกจากกันได้ และเขาพบว่า ความสัมพันธ์แบบนี้พบได้ ทั่วไป รวมทั้งพบว่าเรื่องเพศไม่ใช่แกนกลางอย่างที่เคยเข้าใจ แต่เป็นส่วนประกอบเสริมเท่านั้น แกนกลางที่แท้จริงคือความรู้สึกด้อยค่า ไร้อานาจ และความกลัวต่อการอยู่โดดเดี่ยว อีกทั้งคนๆ เดียวก็ สามารถเป็นได้ทั้งซาดิสต์และมาโซคิสต์ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ การที่คนได้รับความพึงพอใจจากการทาร้ายผู้อื่นดูจะเป็นผลตรงๆ ของการได้ระบายความ โกรธ เด็กเล็กๆ ทั้งรักทั้งโกรธพ่อแม่ และจะแสดงออกด้วยการมากอดพ่อแม่ด้วยความรักและบีบรัด แน่นๆ หรือเหยียบเท้าไปพร้อมกับกอด (เด็กอาจบอกมาตรงๆ ด้วยซ้าว่านี่คือการแก้แค้น) แต่ถ้าการใช้ อานาจของพ่อแม่เป็นไปอย่างรุนแรง เด็กไม่มีโอกาสระบายความก้าวร้าวต่อพ่อแม่ตรงๆ ได้เลย เด็กก็ จะไประบายกับสัตว์เลี้ยง หรือเพื่อนที่โรงเรียน สามีที่เก็บกดความโกรธแค้นมาจากนอกบ้าน และใช้ ภรรยาเป็นที่ระบาย เมื่อระบายแล้วก็อาจเริ่มเกิดความต้องการทางเพศ หันไปอ่อนหวานและขอมี เพศสัมพันธ์ (แต่ภรรยาที่เป็นปกติย่อมสูญเสียความรักในตัวสามี และต้องการตัดขาดจาก ความสัมพันธ์ในที่สุด) เพราะคนปกติย่อมพยายามหนีจากสิ่งที่ทาให้ตนเจ็บปวด ทั้งกรณีของสามี ระบายความโกรธแค้นจากนอกบ้านไปที่ภรรยา และกรณีของเด็กระบายความโกรธแค้นพ่อแม่ไปที่ สัตว์เลี้ยงตรงกับพฤติกรรมแบบซาดิสต์ คือทาร้ายอีกฝ่ายหนึ่งทั้งที่ไม่ได้สร้างความโกรธแค้นให้
188
แต่การพึงพอใจต่อความเจ็บปวดแบบมาโซคิสต์เป็นไปได้อย่างไร? ความพึงพอใจต่อความ เจ็บปวดเฉยๆ ในทางชีววิทยาแล้วเป็นไปไม่ได้เลย เพราะหน้าที่ของความเจ็บปวดคือการบอกว่า ร่างกายกาลังถูกทาลาย แต่เมื่อดูที่เด็ก ด้วยความเก็บกดทางจิตอย่างรุนแรง เด็กอาจหันมาทาร้ายตนเอง ด้วยการคิดให้ตนเองเป็นคนเดียวกับพ่อหรือแม่ที่ตนแค้น ซึ่งเป็นกลไกการป้องกันทางจิตอีกแบบ หนึ่ง และเมื่อผ่านวัยที่ซูเปอร์อีโก้พัฒนาเต็มที่แล้ว คนก็อาจทาให้ตนเองเจ็บปวดเพื่อเป็นการลงโทษ ตนเอง เหมือนที่พ่อแม่เคยทาต่อตนในวัยเด็ก แม้ในกรณีนี้ คนก็ไม่ได้มีความสุขจากความเจ็บปวด หากแต่ใช้ความเจ็บปวดมาชดเชยความรู้สึกผิด และความทุกข์ที่เกิดจากความรู้สึกต่าต้อยด้อยค่าใน ตนเอง อาจกล่าวว่าเป็นใช้ความเจ็บปวดทางกาย มาบรรเทาความเจ็บปวดทางจิตใจก็ได้ ฟรอมม์เชื่อว่า นี่คือคาอธิบายลักษณะที่ดูเหมือนการพึงพอใจต่อความเจ็บปวดของมาโซคิสต์ จริงๆ แล้วมาโซคิสต์ ไม่ใช่คนที่วิปริตไปเพราะรู้สึกมีความสุขกับความเจ็บปวดของตนเอง แต่เป็นคนที่รู้สึกต่าต้อยด้อยค่า อยู่ในตนอย่างรุนแรง และแสวงหาการลงโทษ เราอาจจะคิดว่า นอกจากการได้พบคนที่ตนเองสามารถใช้ระบายความโกรธแค้น และคนที่ ช่วยลงโทษตนเองแล้ว ความรักระหว่างซาดิสต์และมาโซคิสต์จะเป็นเรื่องของสัญชาตญาณทางเพศ อีกเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อเอาปมความรักและความโกรธที่เด็กมีต่อพ่อและแม่มาร่วมพิจารณาแล้ว เรา จะพบว่าเรื่องของความต้องการอานาจคือแกนกลางของความสัมพันธ์ที่แท้จริง เราต้องไม่ลืมว่าใน ความรู้สึกต่าต้อยด้อยอานาจของเด็กที่เกิดจากการใช้อานาจของพ่อแม่นั้น เด็กก็จะมีความต้องการ อานาจอย่างรุนแรง และในช่วงของปมโอดิบุส จะพัฒนาไปสู่การเลียนแบบพ่อหรือแม่ รับความคิด ความรู้สึกของพ่อแม่มาเป็นของตน บูชาพ่อหรือแม่ในฐานะต้นแบบบุคลิกภาพของตน โดยมี เป้าหมายที่จะกลืนตนเองไปเป็นคนหนึ่งคนเดียวกับพ่อหรือแม่ ซึ่งก็เพื่อที่จะได้ร่วมอยู่ในอานาจของ พ่อหรือแม่ ได้เห็นว่าอานาจของคนที่ตนบูชา คืออานาจของตนเองด้วย ดังนั้นมาโซคิสต์จึงรักและ บูชาซาดิสต์ในฐานะสัญลักษณ์ของอานาจ ตอบสนองต่อความต้องการอานาจอย่างรุนแรงของตนเอง ด้วย ดังนั้น ความสัมพันธ์แบบซาดิสต์และมาโซคิสต์จึงสามารถเกิดขึ้นได้ในคู่ความสัมพันธ์ที่ไม่ได้มี เรื่องเพศมาเกี่ยวข้องเลย ซึ่งในระดับสังคมก็คือความสัมพันธ์แบบชนชั้นที่เป็นคู่อุปถัมภ์ นายกับทาส เจ้านายกับลูกน้อง รุ่นน้องและสต๊าฟเชียร์ ประชาชนกับผู้นาแบบเผด็จการ หรือราษฎรกับกษัตริย์ เป็น ต้น ฟรอมม์อธิบายว่า การที่เด็กแสดงออกอย่างสงบเสงี่ยมเจียมตัว เป็นเด็กดี ว่านอนสอนง่าย คือ การปรับตัวของเด็กต่อการใช้อานาจของพ่อแม่ ในลักษณะของการยอมจานนโดยสิ้นเชิง อันเป็นการ ปรับตัวที่เปลี่ยนลึกลงไปถึงแก่นของบุคลิกภาพ อันทาให้เด็กสูญเสียปัจเจกภาพของตนเองไปแทบ หมดสิ้น และในลักษณะเช่นนี้ เด็กก็เริ่มต้นการถูกหล่อหลอมไปสู่บุคลิกภาพแบบอานาจนิยมแล้ว แต่ นี่ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้น และความสัมพันธ์เชิงอานาจระหว่างเด็กและพ่อแม่ก็ย่อมควรจะลดลง เมื่อเด็ก เติบโตไปสู่การพึ่งตัวเองได้มากขึ้น คือเริ่มเป็นอิสระจากพ่อแม่ และการปรับตัวก็ได้ผ่านจุดวิกฤตที่
189
เกิดขึ้นในช่วงปมโอดิบุสไปแล้ว ฉะนั้นจึงเป็นไปได้ว่าเด็กจะสามารถฟื้นฟูสภาพจิตใจของตนเอง และสร้างปัจเจกภาพของตนให้เข้มแข็งขึ้นมาได้ใหม่ แต่ทาไมคนส่วนใหญ่ในสังคมจึงทาเช่นนั้น ไม่ได้ และถูกหล่อหลอมไปสู่บุคลิกภาพแบบอานาจนิยมอย่างเข้มข้นรุนแรงยิ่งขึ้น? อะไรคือปมใหม่ ที่ผลักดันบุคลิกภาพให้ปรับเปลี่ยนไปสู่การสูญเสียปัจเจกภาพลึกขึ้นไปอีก? คาตอบก็คือปมแห่งความ กลัวต่อเสรีภาพ นี่คือจุดที่ฟรอมม์เชื่อมจิตวิเคราะห์ของ ฟรอยด์เข้ากับปรัชญาเอ็กซิสเทนเชียลิซึมหรือ ปรัชญาอัตถิภาวะนิยม และเข้ากับการวิเคราะห์สังคมของมาร์คซ์ ตามสภาวะทางชีววิทยา ทารกของมนุษย์เป็นชีวิตที่ต้องพึ่งพิงอาศัยผู้ให้กาเนิดมากที่สุดใน บรรดาสัตว์ทั้งหลาย เด็กไม่มีทางมีชีวิตรอดได้เลยถ้าไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด อย่างน้อยที่สุดก็ ในเวลาห้าปี นักจิตวิทยาเชื่อว่าเด็กมีความรู้สึกเป็นสุข และมั่นคงปลอดภัยมากที่สุด เมื่ออยู่ในครรภ์ มารดา ซึ่งก็คือการเป็นอันหนึ่งอันเดียวโดยสมบูรณ์กับสิ่งแวดล้อม การคลอดคือการถูกแยกขาดจาก สิ่งแวดล้อม และเป็นความเครียดครั้งแรกในชีวิต เด็กต้องเรียนรู้ความสัมพันธ์ของตนเองกับ สิ่งแวดล้อมใหม่ คือแม่ ในฐานะวัตถุที่สัมผัสได้ เคลื่อนที่ได้ และหลังจากนั้น เด็กก็จะเผชิญ ความเครียดตลอดเวลา เมื่อแม่ผู้คอยให้ความสุขเคลื่อนห่างออกไปจากตัว เคยกล่าวแล้วว่าในเดือน ต้นๆ ของชีวิต เด็กไม่รู้จักความเป็นตัวตนของตนเองแยกจากตัวตนของแม่ และเมื่อรู้แล้ว ทุกครั้งที่แม่ ออกไปจากสายตา เด็กก็จะกลัวการสูญเสียแม่ หลังจากนั้น เด็กก็ต้องพัฒนาความมั่นคงทางจิตใจขึ้น จากการมีแม่ไว้ในจินตนาการ เป็นความมั่นคงจากการรู้สึกถึงความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับสิ่งที่คอยให้ความสุข ต่อจากนั้น กระบวนการเติบโตของเด็ก ก็คือการเริ่มรู้จักตัวตนในฐานะ ปัจเจกภาพ ที่พัฒนาไปบนความขัดแย้งของการทั้งรักทั้งโกรธแม่อย่างที่กล่าวไปแล้ว ซึ่งเด็กก็จะ เติบโตไปสู่การเป็นอิสระจากแม่ในที่สุด ดังนั้น กระบวนการของการเติบโต ก็คือกระบวนการของการเป็นอิสระ หลุดออกจากสาย ของความสัมพันธ์ดั้งเดิม ที่เริ่มต้นตั้งแต่การกาเนิดอยู่ในครรภ์ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ให้ความรู้สึก ปลอดภัยและมั่นคงทางจิตใจ ฟรอมม์เรียกกระบวนการนี้ว่าเป็น “เสรีภาพจาก..” (freedom from …) คือการหลุดพ้นจากพันธนาการของการถูกควบคุมขัดขวาง แต่ก็ต้องสูญเสียสิ่งที่ให้ความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย ดังนั้นจึงเป็นเสรีภาพในแง่ลบ คือสร้างให้เกิดความกลัว และความไม่มั่นใจในตนเอง ตรงนี้ เองที่ธรรมชาติ หรือสังคม เข้ามารับช่วงของการสร้างสายสัมพันธ์ใหม่ให้ โดยในสังคมแบบดั้งเดิม เมื่อเด็กเริ่มโตไปสู่การช่วยตัวเองได้ และเป็นอิสระจากพ่อแม่ เขาก็เริ่มต้นรับบทบาทที่สังคม กาหนดให้ ตัวอย่างเช่น ในสังคมชนเผ่าซึ่งมนุษย์ยังต้องต่อสู้กับธรรมชาติเป็นหลัก ทุกคนมีหน้าที่เพื่อ ความอยู่รอดของเผ่า ดังนั้นเขาจึงรู้สึกว่าความมีอยู่ของตนเองและพลังในชีวิตของตนมีความหมายต่อ ความอยู่รอดของคนอื่นๆ ทุกคน ในสังคมศักดินา บทบาทของสมาชิกใหม่ของสังคม ก็คือการสืบ ทอดบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นเจ้า หรือว่าไพร่ ในลักษณะเช่นนี้บุคคลได้รับความหมาย ของชีวิต ซึ่งคือคาตอบว่า “ฉันคือใคร” โดยเขาไม่ต้องดิ้นรนแสวงหา แต่ได้รับมาจากสังคมที่ตนอยู่
190
และเขาก็ได้รับสายสัมพันธ์ใหม่ของการเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยที่ใหญ่กว่า เคว้งคว้าง ไม่รู้ว่าตนเองคือใคร
ไม่ต้องรู้สึกโดดเดี่ยว
ดังนั้น นักปรัชญาอัตถิภาวะนิยมจึงถูกต้องแล้วในการเสนอว่า ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของมนุษย์ คือปัญหาเรื่องความหมายของคุณค่าของการมีอยู่ของตนเอง และถูกต้องในการชี้ให้เห็นว่า คนจะกลัว และไม่กล้าเผชิญหน้าต่อเสรีภาพของตนเอง และการตัดสินใจที่ผิดพลาดต่อปัญหานี้ เป็นสาเหตุของ ความป่วยไข้ทางจิตของคนจานวนมากในสังคม แต่นักปรัชญาอัตถิภาวะนิยมก็ผิดพลาดตรงที่คิดว่านี่ เป็นปัญหาระดับอภิปรัชญา ซึ่งหมายความว่า มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยต้องเผชิญปัญหานี้ ที่จริงแล้ว เริ่มต้นจากศตวรรษที่ยี่สิบเท่านั้น ที่มนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหานี้อย่างจริงจัง ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเกิดตามมาจากความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ ด้วยระบบนี้ มนุษย์ถูกปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากอานาจความจาเป็นของธรรมชาติ รวมทั้งจากอานาจความจาเป็น ของสังคม ที่เคยกาหนดความหมายชีวิตให้ผู้คน ระบบทุนนิยมสร้างให้เกิดรัฐแบบประชาธิปไตย สร้างการศึกษาสาหรับมวลชน เพื่อเป็นกลไกให้กับระบบเศรษฐกิจ และสร้างความเป็นไปได้ของการ เลือกทางเดินชีวิต ซึ่งแต่เดิมไม่มีทางเป็นไปได้เลย ทาให้มนุษย์ต้องตอบคาถามว่า “ฉันคือใคร” นี่คือ ภาวะของความเป็นปัจเจก ซึ่งก็คือการถูกตัดขาดจากสายสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่น โดดเดี่ยวและ อ้างว้าง และเป็นด้านลบของ “เสรีภาพจาก...” แต่การมีทางเลือกให้ชีวิตก็คือการมี “เสรีภำพที่จะเป็น ...” (freedom to …) ซึ่งเป็นด้านบวก เป็นการสร้างตนเองขึ้นมาตามความหมายที่ตนจะให้แก่ตนเอง ด้วยการค้นหาความเป็นจริงที่แฝงเป็นศักยภาพอยู่ในตนและในความรักความชอบของตน ปมก็คือ แม้ว่าระบบทุนนิยมจะสร้างทางเดินชีวิตให้คนเลือก กลไกของระบบทุนนิยมก็จะถูก “ออกแบบ” มาในวิถีทางที่จะควบคุมผู้คนให้กระทาไปในทิศทางที่สนองตอบต่อผลประโยชน์ของผู้ที่ ถือครองปัจจัยการผลิตและครอบครองอานาจในสังคม และยอมตามต่อการเอารัดเอาเปรียบต่างๆ ใน สังคม ไม่ว่าจะเป็นกลไกของอานาจรัฐ ระบบการศึกษา ค่านิยม ศีลธรรม และศาสนา รวมทั้งการตก อยู่ใต้อานาจเงินของนายทุน ความคาดหวังอันเป็นแรงกดดันจาก “จิตสานึกจอมปลอม” ของผู้คนที่ แวดล้อมเกี่ยวข้อง กลายเป็นความบีบคั้นอันสร้างให้เกิดความทุกข์ เช่นเดียวกับที่คนเคยพบในวัยเด็ก จากการใช้อานาจของพ่อแม่ ควำมกลัวต่อกำรต้องอยู่โดดเดี่ยวกลายเป็นพลังขับในจิตใจเช่นเดียวกับ ความกลัวต่อการสูญเสียความรักของพ่อแม่ในวัยเด็ก ผลักดันให้คนหาทางหนี ด้วยการเข้าไปสยบ ยอมต่ออานาจต่างๆ ในสังคม เหมือนที่เคยสยบยอมต่ออานาจของพ่อแม่มาแล้วครั้งหนึ่ง นี่เป็นการ สร้างสายสัมพันธ์กับคนอื่นในสังคมขึ้นมาใหม่ หลังจากหลุดจากสายสัมพันธ์ดั้งเดิม แต่ด้วยการ สูญเสียอานาจและบูรณภาพในตนเองไปโดยสิ้นเชิง ด้วยการกลืนรวมตนเองเข้ากับผู้ที่ถือครอง สัญลักษณ์ของ “ตัวตนร่วม” ของสังคม เหมือนกับที่เคยพยายามกลืนตนเองเข้ากับพ่อและแม่ในวัยเด็ก
191
นี่คือคาอธิบายของการที่คนเยอรมันพยายามกลืนตัวเองเข้ากับฮิตเลอร์ ซึ่งถือครองสัญลักษณ์ ของอานาจ ของ “เชื้อชาติเผ่าพันธุ์เยอรมัน” การที่คนไทยพยายามกลืนตนเองเข้ากับสถาบันที่ถือเป็น สัญลักษณ์ของชาติ การที่นักศึกษารุ่นน้องพยายามกลืนตนเองเข้ากับรุ่นพี่ ซึ่งมีอานาจในการ “ให้รุ่น” ทั้งหมดเกิดจากการที่คนรู้สึกไร้อานาจ และต้องการมีสายสัมพันธ์กับผู้อื่น จึงพยายามกลืนตนเองเข้า กับผู้ที่ตนรู้สึกว่ามีอานาจมากกว่า การกลัวต่อความอ้างว้างโดดเดี่ยว ให้คาอธิบายต่อ “ความรัก” ที่ยิ่งใหญ่ของ “คู่รัก” ทั้งหลาย ซึ่งหากตรงกันก็ยากที่จะมีพลังใดมาแยกคู่รักแบบนี้ออกจากกันได้ แม้จะมีความขัดแย้งอย่างรุนแรง ซ่อนอยู่ภายใน คู่ซาดิสต์มาโซคิสต์แสดงเรื่องนี้อย่างชัดเจน เรากล่าวว่า มาโซคิสต์ไม่ได้มีความสุขกับความเจ็บปวด แต่แสวงหาการลงโทษ แต่ “การ ลงโทษ”โดยคู่ซาดิสต์ของตนก็อาจเป็นไปอย่างรุนแรง (ตามแรงกดดันในใจของซาดิสต์เอง) และ ลาพังความต้องการการลงโทษและความต้องหลีกเลี่ยงความทุกข์ ซึ่งก็คือปมของความรักตัวเองและ ความเกลียดตัวเอง ก็ขัดแย้งกันอยู่ในใจอยู่แล้ว ดังนั้นในบางครั้ง การถูกทาร้ายอย่างรุนแรงเกินไป ก็ จะทาให้มาโซคิสต์ (นอกจากจะทั้งรักทั้งเกลียดแล้ว) คิดอยู่เสมอว่าต้องการจะตัดขาดความสัมพันธ์ แต่เมื่อคิดขึ้นมาก็ต้องเผชิญหน้ากับความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างไม่มีที่ให้เกาะยึดสาหรับความมีอยู่อัน ว่างเปล่าไร้ความหมายในตัวเองของตน เมื่อซาดิสต์บอกว่าที่ทาไปทั้งหมดก็เพราะความรักที่มี อยาก ให้มาโซคิสต์เป็นคนดี มาโซคิสต์ก็จะใช้เหตุผลนี้ปิดบังความกลัวความโดดเดี่ยวของตน และบอก ตนเองว่า ที่อยู่ต่อไปเพราะเห็นความรักความปรารถนาดีที่ซาดิสต์มีต่อตน แต่ถ้าปมความรักในตนเอง ของมาโซคิสต์มีอานาจมาก จนมาโซคิสต์ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว ว่าต้องการตัดความสัมพันธ์ เราก็จะ เห็นความเป็นจริงอีกแบบหนึ่งของซาดิสต์แสดงออกมา ที่จริงแล้ว ในจิตใต้สานึกของซาดิสต์เองก็เต็มไปด้วยความรู้สึกต่าต้อยด้อยค่าไร้อานาจ เช่นเดียวกับมาโซคิสต์ แต่ที่แสดงออกต่างกันก็เพราะใช้กลไกคนละอย่าง ในขณะที่มาโซคิสต์ใช้ กลไกการกลืนรวมและหันไปเทิดทูนบูชาผู้มีอานาจ ซาดิสต์ใช้กลไกของการแสดงออกแบบตรงกัน ข้าม คือแสดงตนเป็นผู้ที่มีอานาจ ซึ่งจะเป็นไปได้ก็ต้องมีผู้ยอมตนมาเป็นเป้าการใช้อานาจ ดังนั้น ซาดิสต์จึงขาดมาโซคิสต์ไม่ได้ (มาโซคิสต์ขาดคนที่จะมาให้ความรักไม่ได้ แต่ถ้าได้คนปกติมาเป็นคู่ก็ จะไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการอานาจ จึงจะหันไปหาคู่แบบซาดิสต์แทน) มาโซคิสต์ทาให้ ความปรารถนาในจิตใต้สานึกของซาดิสต์ได้รับการตอบสนองอย่างสมบูรณ์ ซาดิสต์จึงต้องการผูกพัน มาโซคิสต์ไว้กับตน แต่ซาดิสต์ก็จะแสดงออกว่า ถ้ามาโซคิสต์ไม่พอใจในสิ่งที่ตนกระทาก็สามารถไป จากตนเมื่อไรก็ได้ เพื่อแสดงภาพของการเป็นคนเข้มแข็งอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องการอะไรจากใคร และจะบอกว่าที่เรียกร้อง บงการ ควบคุมให้ทาตาม ก็เพราะนั่นเป็นการตอบแทนต่อการปกป้องดูแล การอุปถัมภ์ต่างๆ ที่ตนให้ออกไป อีกทั้งความรุนแรงและการลงโทษที่ตนทาไปต่อมาโซคิสต์ ก็เพราะ
192
ความรักอยากให้เป็นคนดี เป็นคนอ่อนน้อม เป็นที่รักของทุกคน จอมปลอมเช่นเดียวกับการปิดกั้นทางเพศต่อผู้หญิง)
(นี่คือศีลธรรมแบบชนชั้นที่
สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อมาโซคิสต์ยืนยันที่จะไปจากซาดิสต์ก็คือ ซาดิสต์จะแสดงความรู้สึกอ่อนแอ ไร้คุณค่าที่ซ่อนอยู่ภายในออกมา รู้สึกหมดหวังในชีวิตโดยสิ้นเชิง ซึ่งก็สมเหตุสมผล เพราะเขากาลัง สูญเสียสิ่งที่เป็นศูนย์กลางของความหมายของชีวิต คือการได้แสดงบทบาทของผู้มีอานาจ ถึงตรงนี้ ซาดิสต์ก็จะร้องไห้คร่าครวญ ตีอกชกหัว ทาร้ายตนเอง อ้อนวอนต่อมาโซคิสต์ไม่ให้ไปจากตน ตนเอง ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากมาโซคิสต์ เขาจะร้องขอความเมตตา ขอความรักจากมาโซคิสต์ ขอร้องว่าอย่าทิ้งเขาไปให้ต้องเผชิญกับความโดดเดี่ยวตามลาพังเลย เขาจะต้องตายแน่นอน เขาจะยอม เปลี่ยนตนเองทุกอย่าง จะไม่ทารุนแรงกับมาโซคิสต์อีกต่อไป แล้วมาโซคิสต์ก็อาจรู้สึกสงสารยอมอยู่ กับซาดิสต์ต่อไป (แล้วความสัมพันธ์ก็จะค่อยๆ เปลี่ยนกลับไปอยู่ในรูปเดิมในที่สุด วนมาสู่การที่มา โซคิสต์ต้องการจากไปอีก เป็นวัฏจักรที่ไม่มีวันสิ้นสุด) จะเห็นได้ว่า เราสามารถที่จะอธิบายพฤติกรรมและความรู้สึกทุกอย่างในระบบโซตัสได้ ด้วย ความสัมพันธ์แบบซาดิสต์มาโซคิสต์ รวมทั้งการพากันร้องไห้ให้กับความรักที่ยิ่งใหญ่ที่ทั้งสองฝ่ายมี ต่อกันในพิธีกาซาบ ซึ่งรุ่นพี่จะทาร้ายตนเอง ร้องให้ ตาหนิและลงโทษตัวเอง ว่าไม่สามารถทาให้น้อง เห็นความรัก ความปรารถนาดีของตนเองได้ เพราะรุ่นน้องยังแสดงอาการขัดขืน แล้วรุ่นน้องก็จะเกิด ความซาบซึ้งร้องไห้ตาม หลงเชื่อว่ารุ่นพี่รักตนจริง ไม่แสดงอาการขัดขืนอีกต่อไป ซึ่งถือเป็นการจบ กระบวนการที่เป็นหัวใจของระบบโซตัส พิธีกรรมจะเริ่มขึ้นใหม่ เมื่อสถานการณ์เปิดโอกาสให้มา โซคิสต์เปลี่ยนไปเป็นซาดิสต์ นั่นก็คือเมื่อมีมาโซคิสต์รุ่นใหม่เข้ามาในปีต่อไป และจะเห็นว่ากิจกรรม ทั้งหมด ถูกตกแต่งรูปร่าง นาไปเกาะเกี่ยวไว้กับกิจกรรมกีฬา กิจกรรมบันเทิง กิจกรรมการปกครอง ตนเอง ปกปิดหน้าตาที่แท้จริงไว้ด้วยเหตุผลบังหน้าที่ได้มาจากศีลธรรมและซูเปอร์อีโก้จอมปลอม และ “จิตสานึกจอมปลอม” ของสังคมชนชั้น รวมทั้งจากกลไกของ “ตัวตนร่วม” (และจะเห็นได้ไม่ ยากว่า การปลดปล่อยความต้องการทางเพศ ก็จะเป็นแกนกลางของกิจกรรมรองลงมาจากความ ต้องการอานาจ) สรุปก็คือระบบโซตัส ก็คือการยกระดับความสัมพันธ์แบบซาดิสต์มาโซคิสต์ระดับ บุคคล มาเป็นระดับกลุ่มคนนั้นเอง อีริค ฟรอมม์ชี้ให้เห็นว่า ในสังคมทุนนิยม บุคลิกภาพแบบอานาจนิยมสามารถแสดงออกได้ ในหลายรูปแบบ ซาดิสต์และมาโซคิสต์เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งที่เห็นได้เด่นชัดเท่านั้น แบบอื่นก็เช่น การเป็นปฏิปักษ์ต่อโลกตรงๆ เกิดจากความรู้สึกว่าโลกใช้อานาจบีบคั้นตนเองอยู่ตลอดเวลา วิธีที่จะ พ้นจากการบีบคั้นได้ก็คือการทาลายโลกลงเสียให้ราบคาบ ให้หมดอานาจเหนือตนโดยสิ้นเชิง บุคลิก ของนายทุนและชนชั้นกลางที่ต้องการขูดรีดแรงงานของชนชั้นล่าง ก็เป็นการแสดงออกอีกลักษณะ หนึ่ง การคล้อยตามแบบหุ่นยนต์ ซึ่งก็คือการรับเอาความคิด ความรู้สึก และความต้องการของสังคม
193
เข้ามาเป็นของตน ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเกิดจากความต้องการที่จะกลืนตนเองเข้ากับ คนส่วนใหญ่ การเชื่อในอานาจใดๆ ก็ตามว่าจะปกป้องคุ้มครองตนเองได้ การยอมตนอยู่ใต้อานาจ อย่างเด็ดขาด ไม่ว่าต่ออะไร ล้วนแต่เป็นผลของบุคลิกภาพแบบอานาจนิยม คนที่เชื่อไสยศาสตร์ คนที่ ยอมอยู่ใต้อานาจของ “มโนธรรม” อย่างไม่ตั้งคาถามตรวจสอบตนเอง ล้วนเป็นนักอานาจนิยม แต่ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกภาพแบบอานาจนิยมในลักษณะไหน ก็ล้วนแต่เกิดจากกลไกที่ใช้ ปกป้องตัวเองจากความเจ็บป่วยทางจิต ของความรู้สึกไร้อานาจในตัวเอง และความกลัวต่อเสรีภาพ แต่กลไกที่ใช้ก็ไม่สามารถรักษาความป่วยไข้ทางจิตได้จริง แม้ความต้องการบางอย่างจะได้รับการ ตอบสนอง แต่ความขัดแย้งหลักๆ ในจิตใจก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม คนอาจหาทางลืมมันเสียด้วยการดิ้นรน หาความสุขจากความบันเทิงและกีฬา ซึ่งแม้จะช่วยได้บ้างแต่ก็ไม่ใช่การรักษาที่แท้จริง การรักษาที่แท้จริงคือการหันกลับไปสู่ความเป็นตัวของตัวเองอย่างสมบูรณ์ การหันไปบูชา เสรีภาพของตนเอง ซึ่งจะต้องได้มาจากความกล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับความโดดเดี่ยวของการมี เสรีภาพ (และจะพาไปสู่การบูชาเสรีภาพของผู้อื่นด้วยเช่นกัน) นี่คือการหันไปสู่ “เสรีภาพที่จะเป็น...” ในสิ่งต่างๆ ที่ตนรักด้วยจิตใจ ทางานสร้างสรรค์ต่างๆ ที่เป็นการพัฒนา และใช้ศักยภาพของตนเอง อย่างสมบูรณ์ ฟรอยด์ผดิ ที่คิดว่างานสร้างสรรค์ต่างๆ คือการชดเชยจากการไม่ได้รับความสุขทางเพศ แน่นอนว่าการถูกขัดขวางความสุขทางเพศทาให้คนป่วยไข้ แต่คนที่ได้รับความสุขทางเพศอย่าง เพียงพอแล้ว ก็ยังคงต้องการค้นพบความต้องการด้านอื่นของตนเอง และตอบสนองความต้องการ เหล่านั้น ยิ่งๆ ขึ้นต่อไป ความต้องการอานาจเหนือคนอื่นเกิดจากความเก็บกด ไม่ใช่ความต้องการตาม ธรรมชาติปกติของจิตใจ ในงานสร้างสรรค์ที่ทาด้วยใจรักต่อสิ่งที่ทาและต่อผู้อื่น ผู้ที่มีเสรีภาพจะกลับ เข้ามาสู่ความสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้อื่นอีกครั้งหนึ่ง และจะเป็นความสัมพันธ์ที่เปิดกว้าง ในลักษณะที่เขา ยังเป็นตัวของตัวเองอยู่อย่างสมบูรณ์ รักษาบูรณภาพในตนเองไว้ได้ อีกทั้งเป็นความสัมพันธ์บน พื้นฐานของความรู้สึกในอานาจและคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ตัวอย่างก็คือ การ กลับมาสู่ฝูงเพื่อช่วยเหลือปลดปล่อยนกนางนวลตัวอื่น ของโจนาธาน ลิฟวิงสตัน ด้วยการสอนนก นางนวลตัวอื่นให้บินได้อย่างที่ใจต้องการ ต่อไป.
194
บทที่ 12 เหนือความดีชั่วถูกผิด ในบทที่ 8 เมื่อเราพูดถึงภาพยนตร์เรื่อง Good Will Hunting เราได้พูดถึงการที่นักจิตวิเคราะห์ ช่วยปลดปล่อยวิล ฮันติ้ง ออกจากปมของประสบการณ์ที่เจ็บปวดในสมัยเด็ก ด้วยการช่วยให้เขา มองเห็นโลก “ตามความเป็นจริง” ทาให้เขาสามารถก้าวต่อไปในชีวิต เติบโตไปสู่การเป็นผู้ใช้ ศักยภาพอย่างสมบูรณ์ได้ แต่ผู้ที่ไม่เข้าใจทฤษฎีจิตวิเคราะห์ จะไม่เข้าใจว่าการที่นักจิตวิเคราะห์พาวิล ย้อนกลับไปมองประสบการณ์ที่ฝังเป็นปมซ่อนไว้ในจิตใต้สานึก และกล่าวว่า “มันไม่ใช่ความผิดของ เธอ” เกี่ยวอะไรกับการมองโลกตามความเป็นจริง และทาไมสิ่งแค่นี้ จึงเพียงพอที่จะทาให้วิลสามารถ เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาไปสู่ทางที่ดีขึ้นได้ ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์แล้ว การมองโลกที่บิดเบือนไปของวิลก็คือ ความคิดที่ว่าที่พ่อใช้ความ รุนแรงและทอดทิ้งเขาและแม่ไปนั้น เกิดมาจากความไม่ดีของตัวของเขาเอง นี่คือการโทษตัวเองและ เป็นการตีความโลกแบบผิดๆ ของเด็ก และแม้เมื่อโตขึ้น รู้เหตุรู้ผลมากขึ้น จนเขารู้แล้วว่าพ่อทาร้าย ตนเองและแม่จากความ “ไม่ดี” ของพ่อเอง แต่ความรู้นี้ก็ยังถูกแยกจากตัวความฝังใจในอดีต ที่ถูกเก็บ กดไว้ในจิตใต้สานึก ดังนั้นการ พาเขากลับไปสู่ความฝังใจอันเจ็บปวดในอดีต และเตือนเขาว่าทั้งหมด ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดของเขา เป็นการช่วยพาความจริงลงไปสู่จิตใต้สานึก ช่วยให้เขาเห็น ประสบการณ์อันเจ็บปวดนั้นในความหมายอื่น สามารถมองดูมันได้อย่างไม่เจ็บปวดเท่าเดิม มองเห็น ว่ามันได้เหนี่ยวรั้งเขาไว้กับพฤติกรรมแบบใด และช่วยให้เขาตอบต่อตนเองได้ว่า จะทาอย่างไรต่อไป กับชีวิตของตนดี มีคนจานวนมากที่ผ่านประสบการณ์อันเจ็บปวดและขมขื่นอย่างรุนแรง มาเช่นเดียวกับวิล และแม้ว่าเหตุการณ์อาจเกิดขึ้นเมื่อโตพ้นวัยเด็กแล้ว และไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ลูกเช่นเดียวกับวิล แต่จิตใจของเขาก็ยังอาจถูกทาร้ายด้วยความรู้สึกผิดและการโทษตัวเองอยู่ ตลอดเวลา จนมีชีวิตเพียงเพื่ออยู่ไปวันๆ อย่างไร้พลังที่จะสร้างสรรค์ และมักจะหาทางออกให้แก่ จิตใจด้วยด้วยการหมกมุ่นกับศรัทธาทางศาสนาแบบงมงาย หรือแม้ว่ามีปัญญาพอที่จะเข้าถึงแก่นของ คาสอนทางศาสนา แต่ก็หันไปหาทัศนะคติแบบวางเฉยต่อโลก ยึดถือว่าตนเองมีฐานะเพียง “ผู้ด”ู ซึ่ง เท่ากับว่าก็ยังใช้พลังของตนเพียงครึ่งทาง คือแสวงหาความเข้าใจแต่กลับไม่ใช้ความเข้าใจนั้น เข้าไป
195
ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของผู้คน เป็นผลของความทุกข์ทางจิตใจที่มีรากฐานมาจาก ความรู้สึกผิด (guilt) เป็นกลไกสาคัญ เราอาจเป็นคนๆ หนึ่งที่โชคร้ายเช่นนั้น ดังนั้นในบทนี้ เราจะมา ดูที่มาของความรู้สึกผิด และผลของมันต่อชีวิตของเราอย่างละเอียด ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ปมของความรู้สึกผิดจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อจิตของเราได้พัฒนา โครงสร้างการทางานที่เรียกว่าซูเปอร์อีโก้ขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ซูเปอร์อีโก้ทาให้เราเกิดความคิดเรื่องดี ชั่วถูกผิด คือ รู้สึกชื่นชมในตนเองเมื่อทา “ความดี” และรู้สึกผิดเมื่อทา “ความชั่ว” ความรู้สึกชื่นชมใน ตนเองพัฒนามาจากปมความหลงรักร่างกายตนเอง (narcissism) แต่ความรู้สึกผิดพัฒนามาจากปมการ ถูกลงโทษ ถูกประณามโดยพ่อแม่ กล่าวคือ ตามปกติเมื่อพ่อแม่ลงโทษลูกนั้นก็จะบอกไปพร้อมกันว่า เพื่อให้ลูกเป็นคนดี ดังนั้น เมื่อเด็กถูกพ่อลงโทษอย่างรุนแรง และเห็นแม่ถูกทาร้ายอย่างรุนแรงร่วมไป ด้วย เด็กก็จะหันมาโทษตนเองว่าทั้งหมดนั้นเกิดจากความ “ไม่ดี” ของตนเอง ซึ่งวิลก็คือตัวอย่างของ กรณีเช่นนี้ โดยทั่วๆ ไปแล้ว ซูเปอร์อีโก้จะเกิดจากการรับเอาระบบศีลธรรมของสังคมที่มีอยู่ในตัวพ่อแม่ เข้ามาเป็นของตน ซึ่งบางส่วนก็เป็นศีลธรรมที่บิดเบือนอยู่ในตัวด้วยเหตุผลทางสังคมวิทยา คือเป็น อานาจการกดขี่ปิดกั้นของสังคม อย่างเช่นในเรื่องเพศและชนชั้น แต่บางส่วนก็เป็นศีลธรรมแบบที่ เป็น “มนุษยธรรม” จริงๆ บนพื้นฐานของความรู้สึกสงสารเมตตาต่อชีวิตอื่น ที่เป็นสัญชาตญาณตาม ธรรมชาติของมนุษย์ และซูเปอร์อีโก้ก็อาจสามารถใช้อานาจทางเหตุผลของอีโก้ คิดสร้างหลักการ สากลของศีลธรรมในแบบของค้านท์ขึ้น จนสามารถกลายเป็นระบบศีลธรรมของตนเองอย่างแท้จริง ในที่สุด แต่ประเด็นที่สาคัญที่สุด ก็คือ ซูเปอร์อีโก้มีส่วนที่ถือกาเนิดมาจากการลงโทษของพ่อแม่ ที่ กลายมาเป็นความรู้สึกผิดและการกล่าวโทษตนเอง กล่าวคือ สามารถมีการรับรู้ความเป็นจริงอย่าง บิดเบือนเกิดขึ้นไปพร้อมกับการตัดสินทางศีลธรรม ในกรณีของเด็ก เมื่อเด็กถูกลงโทษอย่างรุนแรงเด็กจะหันมาโทษตนเอง หรือเมื่อเห็นแม่ถูก พ่อทาร้ายอย่างรุนแรง เด็กก็จะหันมาโทษตนเองเช่นกัน หรือเมื่อพ่อแม่แยกกัน เด็กก็อาจมองว่าเพราะ ตนเองเป็นเด็กไม่ดี พอๆ กับที่อาจโทษและโกรธแม่ว่าไม่ดีพอ ทาให้พ่อต้องจากไป ดังนั้น เมื่อเกิด ความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นในครอบครัว โดยพ่อแม่ไม่ใช้เหตุผลต่อกัน และไม่สร้างความเข้าใจแก่เด็ก ให้ดี พ่อแม่ก็จะสามารถสร้างความรู้สึกผิดไว้ในใจเด็กได้อย่างไม่รู้ตัว ทั้งๆ ที่เด็กไม่ได้มีความผิด อะไรด้วยเลย และที่จริงแล้ว อาจไม่มีใครเป็นผู้ผิดเลยแม้แต่คนเดียว แต่ทว่า ไม่ใช่แต่เด็กเท่านั้นที่จะ โทษตนเอง ผู้ใหญ่ก็โทษตนเองเช่นกัน เมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรบางอย่างที่สร้างความเจ็บปวดสูญเสีย อย่างรุนแรงให้คนที่เรารัก เราจะมองหาความเป็นเหตุเป็นผลต่างๆ ที่จะคิดให้เราเข้าไปเกี่ยวข้องกับ ความสูญเสียนั้น และมองดูว่า “ถ้าไม่ใช่เพราะเราทาอย่างนี้อย่างนั้น คนที่เรารักก็จะไม่ต้องสูญเสีย เช่นนั้น” นั่นคือ ผู้ใหญ่ก็จะโทษตนเองเช่นเดียวกับเด็กๆ และจะต้องใช้เวลานานพอสมควร ที่เราจะ
196
หายจากความรู้สึกเจ็บปวดที่มีเหตุมาจากของการสูญเสียของผู้ที่เรารักนั้น และหายจากการโทษว่าเป็น ความผิดของตนเองได้ และแม้เมื่อความเจ็บปวดจางหายไปจากจิตสานึกแล้ว ความรู้สึกผิดจากการ โทษตนเองก็ยังแอบเก็บซ่อนไว้ในจิตใต้สานึกของเราอยู่ดี หรือลองนึกถึงกรณีที่ความสูญเสียนั้นเป็น สิ่งที่เกิดมาจากความผิดของเราจริงๆ แม้ว่าเราอาจไม่ได้ตั้งใจ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่เราก็อาจโทษ ตนเองอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น และมีชีวิตติดอยู่ในปลักของความทุกข์ในอดีต ตลอดไป ดังนั้น ความรู้สึกผิดและการโทษตนเองจึงเป็นอันตรายที่ซ่อนอยู่ภายในความรู้สึกทาง ศีลธรรมที่สร้างให้เรารู้สึกมีค่าในตนเอง ในประเด็นหลังนี้ แม้ว่าศีลธรรมจะเติบโตออกมาจากปมของ ความรักความหลงใหลต่อร่างกายของตนเองในฐานะสิ่งที่ให้ความสุข ปมความหลงตนเองนี้จะ กลายเป็นศีลธรรมจริงๆ ก็ต่อเมื่อเรามีความรักต่อผู้อื่น มากพอที่จะทาให้เราก้าวพ้นจากการมองเห็น แต่ตนเอง มามองเห็นผู้อื่นเท่าๆ กับที่เห็นตนเอง และเห็นถึงอานาจในตนเองที่จะสร้างความสุขหรือ ความพ้นทุกข์ของผู้อื่น และเกิดความรู้สึกชื่นชมตนเองในความสัมพันธ์เช่นนั้นกับชีวิตอื่น แทนความ ชื่นชมตนเองแบบการหลงรักตนเอง แต่พร้อมกับการเกิดความชื่นชมต่อตนเองแบบนี้ เราก็ก้าวเข้าสู่ สังเวียนแห่งความขัดแย้งภายในตนเอง นั่นคือ เมื่อนั้นอะไรบางอย่างจะทาให้เราต้องเผชิญหน้ากับคาถามว่า “ทาอย่างไรเราจึงจะ สร้างความสุขให้ตัวเอง อย่างไม่ทาร้ายความสุขของผู้อื่นที่เรารัก” หรือ “หากความสุขของเรากับ ความสุขของคนที่เรารักขัดกัน เราจะทาอย่างไร” นี่เป็นปัญหาที่มนุษย์ผู้มีศีลธรรมทุกคนต้องเผชิญ คนบางคนจะเลือกตัวเองก่อน แล้วทาดีที่สุดเท่าที่จะทาได้ให้กับคนที่ตนรัก (ในฐานะสิ่งที่สาคัญ อันดับสอง) คนเช่นนี้ทาสิ่งที่ “ผิด” เพราะความรักในตัวของเขาเอง แต่ก็ไม่ใช่ว่าเขาจะไม่มีความรัก ให้ใครเลย แต่สิ่งที่น่าคิดก็คือ ความสุขของเรากับผู้ที่เรารักเป็นสิ่งที่ต้องขัดแย้งกันอยู่เสมอไป จริง หรือ มีทางแก้ไขความขัดแย้งหรือไม่ บางที ในทางปฏิบัติ เราต้องคิดถึง “สิทธิ” ต่อความสุขว่าเป็น ของใครมากกว่ากัน เช่น พ่อแม่มีสิทธิไหมที่จะมีความสุขกับการโน้มน้าวจนลูกยอมเรียนแพทย์ แต่ใจ ลูกอยากเรียนศิลปะ “สิทธิ” ต่อความสุขในเรื่องนี้เป็นของใคร หรือ พ่อแม่มีสิทธิไหมที่จะบังคับให้ลูก ช่วยทางานบ้าน คือมีความสุขจากการที่ลูกช่วยทางาน แต่ลูกอยากมีความสุขจากการออกไปเที่ยว หรือนอนเล่น การประนีประนอม (เช่น ด้วยการยอมรับการผัดผ่อน) สักนิดก็อาจช่วยแก้ความขัดแย้ง ได้ ในเชิงปฏิบัติ การคิดเรื่องสิทธิอาจไม่สามารถพาเราไปพ้นเรื่องความถูกผิดและความขัดแย้ง ได้อย่างสิ้นเชิง แต่ก็อาจทาให้เกิดการยอมรับและเข้าใจซึ่งกันและกันได้ แต่ประเด็นสาคัญ ก็คือ ถูกผิด ไม่ใช่สิ่งที่จะตัดสินกันได้อย่างทันทีทันใด เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ความรู้สึกทางจิตใจของทั้งสอง ฝ่ายเป็นสิ่งที่สาคัญ ดังนั้น คนที่เอาตนเองมาก่อน และเอาคนที่ตนรักมาที่สองในเรื่องบางเรื่องนั้นก็ ยากที่จะตัดสินว่าผิด และความขัดแย้งอาจหายไป เมื่อสามารถสร้างความเข้าใจกันและการยินยอมต่อ
197
กันได้ เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความปรารถนาที่จะรักษาความสัมพันธ์ทางจิตใจระหว่างกัน ดังนั้น ศีลธรรม จึงไม่ใช่สิ่งที่เด็ดขาดตายตัว แต่คนบางคนอาจถือศีลธรรมเป็นสิ่งเด็ดขาด และไม่ยอมทาสิ่งที่ “ผิด” ต่อผู้ที่ตนรัก เขาขอ ยอมให้ตัวเองเป็นที่สองของลาดับความสาคัญ มากกว่าที่จะต้องรู้สึก “ผิด” เขารู้สึกว่าเขาจะทาในสิ่งๆ หนึ่งไม่ได้ แม้ว่าหัวใจของเขาจะปรารถนาในสิ่งนั้นมากเพียงไร เพราะว่าสิ่งนั้น “ผิด” เพราะความ กลัวว่าตนเองจะทาให้ผู้ที่ตนรักเจ็บปวด หรือเขาจินตนาการว่าหากอะไรที่ร้ายแรงเกิดขึ้น เขาจะต้อง แบกรับความรู้สึกผิดไว้ตลอดไป แต่เป็นไปได้อย่างไรที่เราจะเลือกผู้อื่นก่อนตัวเราเอง? มีแต่ความ กลัวอย่างรุนแรงต่อความรู้สึกผิดเท่านั้น ที่จะทาให้เราขืนพยายามเช่นนั้น แต่เราก็กลับต้องมีชีวิตอยู่ กับความป่วยไข้ของการสูญเสียตนเอง เพิ่มขึ้นมาจากความรู้สึกผิดที่มีมาอยู่แล้วในอดีต คนทั่วๆไปสูญเสียตัวเองให้กับอานาจทางศีลธรรมของสังคม หรือไม่ก็สูญเสียตนเองให้กับ อานาจการคิดทางศีลธรรมของตนเอง ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์แล้ว สิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังการถือ ศีลธรรมแบบตายตัวเบ็ดเสร็จเด็ดขาดก็คือ ความกลัวต่อความรู้สึกผิดของตนเอง พร้อมๆ กับการบูชา ความรู้สึกผิด และในนี้มีความกระหายอานาจการแสวงหาอานาจซ่อนอยู่ เพราะซูเปอร์อีโก้คือการรับ อานาจควบคุมจากภายนอกมาไว้ข้างในตน แต่เมื่อเรารับมันเข้ามาได้ เราก็ย่อมเห็นว่ามันสามารถถูก ใส่เข้าไปในคนอื่นและใช้ควบคุมคนอื่นได้ ดังนั้น ในการตกอยู่ใต้อานาจภายนอก เราเองก็สามารถ เป็นอานาจภายนอกที่จะเข้าไปอยู่ภายในและควบคุมคนอื่นได้เช่นกัน นีอ่ าจดูเข้าใจยาก แต่ลองดูตัวอย่างรูปธรรม คือการเชื่อเรื่องนรก สวรรค์ บุญและบาป ทาไม คนจึงเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้มีจริง ทั้งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์แล้ว นรก สวรรค์ บุญ และบาป ก็คือ ตัวแทนของการให้รางวัลและการลงโทษของพ่อแม่ ที่พ่อแม่ตอบแทนให้กับการ กระทาถูกและผิดของเรา กล่าวก็คือ อานาจภายนอกอันได้แก่กฎเกณฑ์ของสังคม สร้างความถูกผิด ของการยอมรับได้ ยอมรับไม่ได้ ขึ้นมา พ่อแม่รับมันมาใช้กับเรา มันเข้าไปทางานในระดับจิตใต้ สานึกมาตั้งแต่วัยเด็ก จนกลายเป็นสิ่งที่มีอานาจเด็ดขาด ถูกแปลงรูปออกมาเป็นความเชื่อในอานาจ เหนือธรรมชาติ ควบคุมมวลมนุษย์ทุกคนอย่างเบ็ดเสร็จไปจนถึงชีวิตหลังความตาย กลายเป็นศาสนา ความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์มีอยู่ในทุกอารยธรรมของมนุษย์ เป็นข้อเท็จจริงทางมานุษยวิทยา ที่ทฤษฎี จิตวิเคราะห์สามารถให้คาอธิบายได้อย่างเป็นระบบ แต่ทว่า แม้แต่ในโลกวิทยาศาสตร์ของยุคปัจจุบัน คนเราก็ยังเชื่อในอานาจของโลกที่อยู่ นอกเหนือธรรมชาติ หากเราถามว่าทาไม เขาก็จะตอบเราว่า การเชื่อในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์ กว่าการไม่เชื่อ เพราะหากโลกเหนือธรรมชาติมีอยู่จริงแล้ว เราไม่เชื่อเราก็จะขาดทุน ถ้าเชื่อก็กาไร ถ้า ไม่มีอยู่จริง การเชื่อไปก็ไม่ขาดทุนแต่เท่าตัว เพราะสังคมก็ควบคุมเราด้วยกฎเกณฑ์เดียวกันอยู่แล้ว (เขาจะไม่พูดว่า ถ้าไม่มีอยู่จริง การไม่เชื่อก็กาไร หากเราฉลาดและกล้าพอที่จะหลบเลี่ยงหรือหันเห
198
อานาจทางสังคมมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับเราได้ ) แต่ที่จริงแล้วเราไม่จาเป็นต้องมาถกเถียง เรื่องว่า ความเชื่อหรือไม่เชื่อในอานาจเหนือธรรมชาติให้กาไรหรือขาดทุนใดๆ ทั้งสิ้น เพราะทั้งหมดนั้นเป็น เพียงเหตุผลบังหน้า ความเชื่อของเขาที่จริงแล้วมาจากความต้องการพึ่งพิงอานาจ คนที่เชื่อเรื่องโลก เหนือธรรมชาติก็คือคนที่เชื่อเรื่องค่าทางศีลธรรมที่ตายตัว ซึ่งก็คือคนที่ทั้งกลัวทั้งบูชาความรู้สึกผิด ของซูเปอร์อีโก้ นั่นเอง การตระหนักว่า ความรู้สึกผิดและการโทษตนเองเป็นสิ่งที่อันตรายต่อสุขภาพจิตของตัวเอง เป็นสิ่งที่เห็นได้ไม่ยาก แต่ทาไมคนจึงไม่ยอมเอาชนะซูเปอร์อีโก้ของตนเอง คาตอบก็คือ เพราะเขายัง ต้องการให้คนอื่นมีซูเปอร์อีโก้ เพราะหวังให้มันควบคุมและลงโทษคนอื่น ได้แก่ คนที่เคยทาร้ายเขา และเขาไม่มีอานาจใดที่จะไปจัดการกับคนๆ นั้นได้ นี่จึงมาพร้อมกับความต้องการนรกสวรรค์ ไว้ให้ รางวัลต่อตนเองที่เป็น “คนดี” เพราะยอมอยู่ใต้อานาจของซูเปอร์อีโก้อย่างศิโรราบ (แต่ก็ยังขมขื่นกับ ความรู้สึกผิดในอดีต) และไว้ลงโทษ “คนชั่ว” ผู้ไร้ศีลธรรม ผู้ไร้ซึ่งซูเปอร์อีโก้ การเอาชนะซูเปอร์อี โก้เรียกร้องให้เขาต้องมองความเป็นจริงของความดีชั่วถูกผิดในแบบอื่น เรียกร้องให้เขาต้องมองว่ามัน ไม่ใช่ความผิดของเขา และมันไม่ใช่ความผิดของใคร ที่สมควรได้รับการลงโทษทั้งสิ้น เราทุกคนเป็น มนุษย์ที่ทาผิดทาพลาดได้ เราทุกคนถูกผลักดันด้วยแรงซึ่งบางครั้งเราก็ไม่ทันรู้ตัว หรือแม้รู้ตัวก็ไม่มี แรงพอที่จะขืน นี่เรียกร้องให้เราให้อภัยกับตัวเอง และให้อภัยกับคนที่เคยทาเราเจ็บปวด นิตซ์เช่เรียกร้องให้มนุษย์ปลดปล่อยตัวเองจากอานาจของศีลธรรม ก้าวไปให้พ้นจาการ ครอบงาของความคิดเรื่องดีชั่วถูกผิด เขาประกาศว่า พระเจ้าตายแล้ว ซึ่งหมายความว่า ไม่มีนรก สวรรค์ ไม่มีอานาจนอกธรรมชาติอยู่เหนือมนุษย์ ศีลธรรม นรก สวรรค์ พระเจ้า เป็นสิ่งที่ม นุษย์สร้าง ขึ้นมาเพื่อแสวงหาอานาจเหนือกันและกัน แต่ในการดิ้นรนหาอานาจผ่านศีลธรรมนั้น เราก็จะตกอยู่ใต้ อานาจของมันด้วย และทาให้เราป่วยไข้ ข้อเรียกร้องของนิตซ์เช่ฟังดูไม่น่ายอมรับเท่าๆ กับข้อ เรียกร้องของนักจิตวิเคราะห์ “คุณต้องเอาชนะความรู้สึกผิดของคุณเองให้ได้” “แต่ถ้ามนุษย์ไม่รู้สึกผิด มนุษย์ก็จะชั่วร้าย” ในแง่หนึ่ง คาพูดนี้อยู่นอกประเด็นของทั้งนิตซ์เช่และของนักจิตวิเคราะห์ เพราะ ประเด็นของเขาก็คือ คุณจะดูแลตัวคุณให้มีชีวิตที่ดีที่สุดได้อย่างไร การมีชีวิตที่ถูกเหนี่ยวรั้งไว้ด้วย ความป่วยไข้ไม่ใช่ชีวิตที่ดี คุณไม่มีอิสรเสรีภาพที่จะเป็นในสิ่งที่คุณต้องการจะเป็น เพราะคุณเป็นทุกข์ กับความโกรธแค้นที่ถูกกระทา มีความรู้สึกผิดซ่อนอยู่ข้างหลัง และห่วงแต่คนอื่นจนไม่มีจิตใจเหลือ ให้แก่ตัวเอง ในอีกแง่หนึ่ง คาพูดของคุณเองก็เกิดจากความเข้าใจผิด เพราะการเอาชนะศีลธรรมหรือ การเอาชนะความรู้สึกผิดของซูเปอร์อีโก้ ไม่ได้หมายความว่า ให้ทาลายความรักต่อผู้อื่นให้หมด ให้ เหลือแต่ความรักในตัวเอง เพียงแต่ให้รักตัวเองให้มากขึ้น มากเท่าๆ กับที่รักผู้อื่น หรือรักตนเองให้ มากกว่าสักนิด และประเด็นคือ คุณต้องให้อภัยต่อตนเองที่รักตัวเอง และให้อภัยต่อผู้อื่นที่เขารักตัวเอง เช่นกัน และที่สาคัญที่สุดก็คือคุณต้องรักตนเอง
199
แต่คาถามก็อาจยังเหลืออยู่ “เมื่อเอาความรู้สึกผิดออกไปแล้ว มนุษย์จะรู้จักดีชั่วถูกผิด อย่างไร” “มีมนุษย์บางคนไม่รักคนอื่น เราจะทาอย่างไรกับเขา” หรือ “เมื่อเอานรก สวรรค์ บาป บุญ ออกไปหมด แล้วคุณจะทาอย่างไรกับความชั่วร้ายของมนุษย์” คาตอบก็คือ มนุษย์ควรจะเรียนรู้ถูกผิด สาหรับตัวเขาผ่านประสบการณ์ของความเป็นจริงของโลกอย่างที่มีอยู่จริงๆ เขาต้องเรียนรู้เอาเอง หรือ จากตัวอย่างที่เป็นอยู่จริงๆ ว่า เมื่อเขาทาสิ่งเช่นนี้ เช่นนั้นแล้ว อะไรจะเป็นผลตามมา มนุษย์สร้างความ ยุติธรรมระหว่างกันและกันได้โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งเหนือธรรมชาติ เมื่อเขาฆ่าผู้อื่นเพราะความประสงค์ ร้าย เขาย่อมถูกฆ่าตอบ หรืออย่างดีที่สุด ก็ถูกจากัดอิสรภาพจนกว่าคนอื่นจะรู้สึกปลอดภัย สาหรับ อะไรที่เหนือกว่าระบบความยุติธรรมในสังคม มนุษย์ก็ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองถึงผลของวิถีชีวิตแบบ ต่างๆ ที่เขาใช้ และพิจารณาเลือกเอาเอง ว่าเขาต้องการสร้างชีวิตของเขาให้เป็นเช่นไร สรุปก็คือ เขา จะต้องเรียนรู้จากความสุขความทุกข์ที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้อื่นเอาเอง ไม่ว่าจะกับผู้ที่เขา รักหรือไม่รัก ด้วยความรู้นั้นเขาต้องตัดสินใจเอาเองว่าเขาต้องการมีชีวิตอย่างไร แล้วสร้างชีวิตให้เป็น อย่างที่เขาต้องการต่อไป ก่อนที่จะจบ ผู้เขียนอยากกล่าวถึงท่าทีที่เราควรมีต่อศาสนา ท่าทีของหนังสือเล่มนี้คือ ธรรมชาตินิยม (naturalism) หมายความว่า ความเป็นจริงต่างๆ เป็นสิ่งที่เรารับรู้ได้ในระบบของ ธรรมชาติ หมายถึงสิ่งที่รับรู้ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และขยายต่อออกไปด้วยการใช้เหตุผลอนุมาน ไปถึง โดยยังอยู่ในระบบธรรมชาติ (เช่น เชื้อโรค อะตอม ยีน และจิตใต้สานึก เป็นต้น) ดังนั้นหนังสือ เล่มนี้จึงปฏิเสธความเชื่อทางศาสนาต่อสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ และอธิบายว่านั่นคือสิ่งที่มนุษย์ปรุง แต่งขึ้น ด้วยเงื่อนไขสองประการ คือหนึ่ง ตอบสนองต่อความต้องการในจิตใต้สานึก และสอง เพื่อใช้ แสวงหาอานาจควบคุมซึ่งกันและกัน คือ เพื่อผู้ที่ถือครองอานาจในสังคมจะได้ใช้ประโยชน์ครอบงาผู้ ที่อยู่ใต้อานาจ หรือเพื่อที่สมาชิกที่เท่าๆ กันในสังคมใช้ควบคุมซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตาม ศาสนาก็มี ส่วนของคาสอน ที่ว่าด้วยความเป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับตัวตนของเรา อย่างที่สามารถตีความได้ว่า เป็น ความจริงที่อยู่ในระบบธรรมชาติ เช่น สภาวะของความเป็นพระอรหันต์ นิพพานและสวรรค์ในฐานะ ความสงบทางจิตอย่างสมบูรณ์ พระเจ้าในฐานะกฎของธรรมชาติ หรือพระเจ้าในฐานะสัญลักษณ์ของ ความรักความเมตตาในจิตใจของมนุษย์ ความเป็นจริงทางศาสนาเช่นนี้ คือสิ่งที่ช่วยแก้ไขความขัดแย้ง ในสังเวียนจิตใจของเรา มอบความสงบให้กับจิตวิญญาณของเรา ตอบสนองต่อปัญหาของตัวตน อย่าง ที่หยั่งลึกถึงที่สุดของจิตใจ มีคุณค่าสาหรับชีวิตในวันนี้ เดี๋ยวนี้ หนังสือเล่มนี้ยอมรับความเป็นจริงทาง ศาสนาส่วนนั้นอย่างสมบูรณ์.
200
บรรณานุกรม กฤษณมูรติ. แด่หนุ่มสาว (พจนา จันทรสันติ แปล) กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง 2522. กีรติ บุญเจือ. แก่นปรัชญาปัจจุบัน กรุงเทพ : ไทยวัฒนาพานิช 2522. กีรติ บุญเจือ. ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม กรุงเทพ : ไทยวัฒนาพานิช 2522. โดมิงเกซ, โจ. จะเลือกเงินหรือชีวิต : เปลี่ยนทัศนคติต่อเงิน สู่อิสรภาพของชีวิต. กรุงเทพ : มูลนิธิ โกมลคีมทอง 2546. นีล, เอ เอส. เสรีภาพไม่ใช่การตามใจ (สมบัติ พิศสะอาด แปล) กรุงเทพ : มูลนิธิเด็ก 2538. นีล, เอ เอส. ชีวิต เสรีภาพ ซัมเมอร์ฮิล (เตือนตา สุวรรณจินดา และคณะ แปล) กรุงเทพ : มูลนิธิเด็ก 2539. ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์.การ์ตูนที่รัก กรุงเทพ : มติชน มิถุนายน 2543 พิมพ์ครั้งที่ 2 พฤศจิกายน 2543 ปราโมทย์ เชาวศิลป์. คู่มือทฤษฎีจิตวิเคราะห์ กรุงเทพ : สหประชาพาณิชย์ 2526. พินิจ รัตนกุล. ทฤษฎีความรักของเพลโต พระนคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2514. พินิจ รัตนกุล. โสกราตีสและปัญหาเรื่องความดี กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2518. พินิจ รัตนกุล. เพลโตและปัญหาเกี่ยวกับคุณธรรม กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2519. พินิจ รัตนกุล. ความรัก ความว่างเปล่า และเสรีภาพ ปรัชญาชีวิตของ ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ : ศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาเอกซิสเตนเชียลลิสม์ ของนักคิด-นักเขียนผู้ปฏิเสธรางวัลโนเบล กรุงเทพ : สามัญชน 2537. ฟรอมม์, อีริค. หนีไปจากเสรีภาพ. (พิมพ์ครั้งที่2) กรุงเทพ : มูลนิธิเด็ก 2537. รัสเซลล์, เบอร์ทรันด์. ปัญหาปรัชญา. (กีรติ บุญเจือ แปล) สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2520. วิทย์ วิศทเวทย์. จริยศาสตร์เบื้องต้น : มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2523
201
วิทย์ วิศทเวทย์. ปรัชญาการศึกษาไทย 2411-2475 กรุงเทพฯ : โครงการพัฒนาสังคมศาสตร์ที่ เกี่ยวข้องกับการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สานักนายกรัฐมนตรี 2526. ส. ศิวรักษ์. โสกราตีส : บุคลิกลักษณะ ประวัติ และปรัชญา โดย บริบูรณ์ (ยูไทโฟร อโปโลเกีย ไครโต และเฟโด) พระนคร : ศึกษิตสยาม, 2514. สเตช, ดับบลิว. ที. ปรัชญากรีก (ปรีชา ช้างขวัญยืน แปล) พระนคร : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศ ไทย 2514. เสน่ห์ จามริก. การเมืองกับการศึกษาของไทย กรุงเทพฯ : โครงการพัฒนาสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง กับการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สานักนายกรัฐมนตรี 2526. อัมพร สุคันธวณิช และ ศรีรัฐ โกวงศ์. (บรรณาธิการ) มนุษย์กับสังคม พิมพ์ ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 2552. อมรา พงศาพิชญ์ และ ปรีชา คุวินทร์พันธุ์. (บรรณาธิการ). ระบบอุปถัมภ์ กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 2539. เอกศักดิ์ ยุกตะนันทน์. “พัฒนาการของการคิดวิเคราะห์วิจารณ์” ใน คู่มือการเรียนการสอนการคิด วิเคราะห์วิจารณ์ อาพร ไตรภัทร. (บรรณาธิการ). มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2543 หน้า 32-44. Brill, A. A. (ed. and trans.) The Basic Writings of Sigmund Freud. New York : The Modern Library, 1938. Charles G. Morris with Albert A. Maisto. Understanding Psychology. (5th ed.) Prentice-Hall : New Jersey, 2001. Cliff, Tony. State Capitalism in Russia. London:Bookmarks, 1996 Horrocks, Chris and Zoran Jevtic. Baudrillard for Beginners. Icon Books Ltd. : Cambridge, 1996. Kant, Immanuel. Foundations of the Metaphysics of Morals, trans. L. W. Beck, Indianapolis, IN: Bobbs-Merill, 1959. Kant, Immanuel. Lectures on Ethics, trans. L. Infield, New York: Harper & Rowe, 1963. Kurfuss, Joanne G., Critical Thinking: Theory, Research, Practice, and Possibilities. ASHE-ERIC Higher Education Report No. 2. Washington, D.C.: Association for the Study of Higher Education, 1988.
202
Martin, Mike W., Everyday Morality, California : Wadsworth, 1995. Mill, John Stuart. On Liberty. New York : Pyramid Books, 1956. Nietzsche, Friedrich. On the Genealogy of Morality. translated by Carol Diethe of Middlesex University, 1887. Nietzsche, Friedrich. Beyond Good and Evil. translated by R.J. Hollingdel Harmondsworth : Penguin Books, 1972.. Nietzsche, Friedrich. Thus Spoke Zarathustra. translated by R.J. Hollingdel Harmondsworth : Penguin Books, 1969. Perry, William G., Jr. Forms of Intellectual and Critical Development in the College Years: A Scheme. New York: Holt Rinehart, 1970. Ping, Wang. Aching for Beauty: Footbinding in China. New York: Anchor Book, 2002. Plato. Plato in Twelve Volumes, Vol. 8 translated by W.R.M. Lamb Cambridge, MA, Harward University Press; London, William Heinemann Ltd. 1955. Pojman, Louis P. Ethics : Discovering Right and Wrong. (2nd ed.) Belmont California : Wadsworth, 1995. Trupp, Michael S. M.D. On Freud. Belmont California : Wadsworth, 2000.
203
ดรรชนี บทวิพากษ์, 162, 163
ก กฤษณมูรติ, 23, 27, 41 กลัวความโดดเดี่ยว, ปม, 191 กลัวเสรีภาพ, ปม, 189, 193 กล้าหาญทางศีลธรรม, ความ, 27, 40, 46, 68, 125 กวี ในฐานะต้นแบบทางศีลธรรม, 156 กษัตริย์นิยม, ลัทธิ, 29, 58, 59, 166 กามูส,์ 52 กาซาบ, พิธ,ี 175, 192 เกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์, 42, 45, 90, 149, 150, 154
เกียรติและศักดิ์ศรีของตนเอง, 81, 84 หยิ่งทะนงใน, ความ, 81, 87, 88, 89
ข ขัดเกลาทางสังคม, กระบวนการ, 117 ขันติธรรม, หลัก, 13, 14
ค คนชายขอบ, 133, 134, 141 คนพันธุ์ใหม่, 20, 25, 34, 171 ครูและศิษย์, ความสัมพันธ์, 86, 91 คล้อยตาม, นัก, 34, 41, 94 คอมมิวนิสต์, ระบบ, 24, 26, 28, 30, 31, 32, 33, 42, 178 ค้านท์, 95, 116, 132, 154, 155, 176, 195 กับประชาธิปไตย, 90, 91 ทฤษฎีจริยศาสตร์ของค้านท์, 87, 88, 89 คึกฤทธิ์ ปราโมช, 26, 58 คุณค่าในตนเองและคุณค่าภายนอก, 47, 48 คุณธรรมทางเพศ. ดู เพศสัมพันธุ์และความรัก เคารพ, ความ การวิเคราะห์, 84, 85, 90 เคารพตนเอง, ความ, 81, 87, 88, 89, 92, 106 โคลเบิร์ก, ลอเร็นซ์, 115, 116, 117 ไครโต, 56, 114
ง เงิน กับปมความต้องการอานาจ, 167, 168 ตรรกะของเงินตรา, 168, 169
จ จักรวาลวิทยา. ดู ศาสนา:กับโครงสร้างของสังคม จิตใต้สานึก, 142, 176, 178, 179, 180, 181, 185, 191, 194, 196, 197
จิตนิยม. ดู เพลโต จิตวิเคราะห์, ทฤษฎี, 103, 131, 176, 178, 179, 181, 182, 184, 194, 195, 197
จิตสานึกของสังคม, 176, 178 จิตสานึกจอมปลอม, 177, 190, 192 จิตสานึกต่อสังคม, 25, 28, 34, 36, 40, 41, 48, 49 โจนาธาน ลิฟวิงสตัน นางนวล. ดู บาค, ริชาร์ด
ช ชนชั้น, ความสัมพันธ์ทาง. ดู อุปถัมภ์, ระบบ ชนชั้น, สังคม, 143, 149, 185, 192 ชาตินิยม, ลัทธิ, 22, 24, 25, 29, 52, 162, 166 ชาย/หญิง, ความเป็น, 123 ชีวิตกับการสร้างสรรค์, 2, 21, 41, 94, 103, 148, 193, 194 ชื่นชมยกย่องในตนเอง, ความรู้สึก, 41, 104, 106, 124, 125, 127, 137, 151, 172 กับความเคารพตนเอง, 106
เงื่อนไขทางจิตวิทยาของ, 104, 105, 106
ซ ซาดิสต์, 137, 175, 185, 187, 188, 191, 192 ซาร์ต, 103, 104 ซูเปอร์อีโก้, 179, 182, 183, 184, 186, 188, 192, 195, 197, 198
เซ็นเซอร์, 76 โซตัส, 5, 26, 33, 82, 84, 103, 127, 131, 137, 149, 175, 176, 185, 186, 192
ฆ โฆษณา กับการพัฒนาระบบทุนนิยม, 159, 161, 162
โซฟิสต์, 60, 63, 64, 65, 66, 113
204
ด ดอสโตเยฟสกี,้ ฟีโอดอร์, 131, 132, 133, 137, 143, 175
ต ตอลสตอย, 117 ตัวตน กับวัตถุ, 165, 166, 167 การขยายออกของ, 52, 53, 156 การข้ามพ้น, 52, 54, 156 ความเป็นจริงแห่งตน, 125, 128 ตัวตนทางสังคม, 101, 173 ตุลาคม 14 2516, 24, 26, 144 ตุลาคม 6 2519, 24, 26, 28, 29, 30
ท ทฤษฎีพฒ ั นาการของการให้เหตุผลทางศีลธรรม. ดู โคลเบิรก์ , ลอ เร็นซ์ ทฤษฎีลาดับขั้นของความต้องการ. ดู มาสโลว์, อับราแฮม ทฤษฏีพัฒนาการทางพุทธิปัญญา. ดู เพียเจ, จีน ทุนนิยม, ระบบ, 26, 28, 30, 33, 34, 37, 38, 160, 163, 169, 185, 190
ทุนนิยมโดยรัฐ, 32, 178 แท้ง, การทา, 9, 10
ธ ธรรมชาตินิยม, 199
น นิตซ์เช่, 102, 111, 145, 176, 186, 198 นิทานเรื่อง The Happy Prince. ดู ไวด์, ออสการ์ นีล, เอ เอส, 102, 131
บ บริโภคนิยม, ลัทธิ, 129, 159, 160, 162, 167, 168, 185, 186 บาค, ริชาร์ด, 27, 193 โบดริยาร์ด, 162, 166, 171
ป ประชาธิปไตย, 24, 25, 28, 35, 36, 41, 43, 44, 57, 58, 59, 60, 61, 62, 63, 90, 91, 102, 137, 143, 149, 158, 174, 190 ความอ่อนแอของ. ดู สังคม, ความอ่อนแอของ
ประวัติศาสตร์, เงื่อนไขทาง, 20, 102, 177, 178, 184
ปริญญาบัตร, พิธีพระราชทาน, 128 ป้องกันทางจิต, กลไกการ, 69, 185, 188 ปัจเจกภาพ, 22, 94, 100, 164, 165, 166, 170, 188, 189 และศีลธรรม, 85, 90 และสังคม, 94, 174 ปัญญาชน-ปริญญาชน, 20, 119 ปีศาจ. ดู เสนีย์ เสาวพงศ์ แปลกแยกต่อตนเอง, 3, 4, 23, 86, 177
ผ ผิด, ความรู้สึก, 179, 184, 186, 188, 194, 195, 196, 197, 198, 199
ผู้หญิง, 42, 161, 162, 182, 183, 192 กับความเสมอภาคทางเพศ, 44, 45, 61, 72 กับศาสนา, 43 บุคลิกภาพแบบปมด้อย, 183, 184
พ พฤติกรรมนิยม, จิตวิทยา, 111 พลังของนักศึกษาไทย, การทาลาย, 33, 34 พ่อ ในฐานะต้นแบบทางศีลธรรม, 151, 152 พอเพียง, ขอบเขตของความ, 171 พ่อแม่ลูก, ความสัมพันธ์, 3, 4, 83, 85, 86, 90, 91, 151 บทบาทต่อพัฒนาการทางศีลธรรม, 115, 179 พ่อแม่ลูก, ปมความขัดแย้งทางจิต. ดู โอดิบสุ , ปม พัฒนาการ, จิตวิทยา, 110, 111, 112, 115, 118, 129 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร, 170, 171 พินิจ รัตนกุล, 27, 56 พุทธศาสนาและระบบอุปถัมภ์, 7 เพลโต, 54, 56, 94 เพศ, พัฒนาการทาง, 179 เพศทีส่ าม, 134 เพศสัมพันธ์, 71, 72, 73, 180, 182, 184 เพศสัมพันธ์และความรัก, 73, 74 เพอรี, วิลเลียม, 113, 114 เพียเจ, จีน, 112, 113, 115 เพื่อน, 90, 100
ฟ ฟรอมม์, อีริค, 126, 173, 174, 175, 176, 178, 185, 186, 187, 188, 189, 192
ฟรอยด์, ซิกมันด์, 103, 131, 176, 178, 179, 180, 182, 183, 184, 187, 189, 193
แฟชั่น, 127, 165, 167, 168, 172 ตรรกะของแฟชั่น, 170
205
ภ ภาพยนตร์เรื่อง About Schmidht, 55 ภาพยนตร์เรื่อง About Schmidht, 55 ภาพยนตร์เรื่อง Clueless, 79 ภาพยนตร์เรื่อง Good Will Hunting, 130, 133, 194 ภาพยนตร์เรื่อง Mary Poppins, 152 ภาพยนตร์เรื่อง The Fiddler On The Roof, 124 ภาพยนตร์เรื่อง The Metrix, 171 ภาพยนตร์เรื่อง Thirteen Going on Thirty, 142 ภาวะจริง-ภาวะแฝง, 98, 101 ภาษากับสถานะภาพทางชนชั้นและอานาจ, 44, 45, 143, 145, 147, 148
ม มนุษย์, ความเป็น, 89, 90, 99, 112, 115, 126, 154, 156, 157, 173, 174, 177, 178, 193
มนุษยธรรม, 116, 117, 156, 195 มนุษยนิยม, จิตวิทยา, 111 มาโซคิสต์, 137, 175, 185, 187, 188, 191, 192 มาร์คซ์, คาร์ล, 28, 144, 176, 178, 184, 189 มาสโลว์, อับราแฮม, 118, 119, 125, 126, 127, 129, 174, 175
มีอยู,่ ความ. ดู ภาวะจริง-ภาวะแฝง
ย ยิบราน, คาลิน, 1, 27, 85, 93 เยซู, พระ, 16, 68
ร รพินทรนาถ ฐากูร, 27 รัก, ความ ของพ่อแม่, 100, 152 ความต้องการ, 74 คุณธรรมของความรัก, 90 บทบาทต่อการเติบโต, 100 และอานาจ, 16 หนุ่มสาว, 74, 100 รัสเซลล์, เบอร์ทรันด์, 54, 61 รุซโซ, 41, 102, 119, 126 รุนแรง, ความ จิตวิทยาของ. ดู จิตวิเคราะห์, ทฤษฎี ทางการเมือง, 31 ในวัฒนธรรม, 5 แรงจูงใจ. ดู มาสโลว์, อับราแฮม
ล โลกทัศน์แบบอานาจนิยม, 140
ว วรรณกรรมเรื่อง Les Miserables. ดู ฮูโก, วิคเตอร์ วรรณกรรมเรื่อง Notes from Underground. ดู ดอสโตเยฟสกี,้ ฟีโอดอร์ วาทกรรม, 137, 143, 144, 145, 146, 147, 148, 149, 150, 152, 153
ระบบการให้คุณค่า, 145 วิทยากร เชียงกูล, 23 วิทศ์ วิทย์เวทย์, 22 วิพากษ์วิจารณ์, การคิด, 60, 91, 113, 114 วิพากษ์วิจารณ์, การสอนการคิด, 115 วิพากษวิธ,ี 30, 68, 112, 114, 155 ไวด์, ออสการ์, 42, 94, 117
ศ ศักยภาพ, 21, 74, 148, 161, 166, 172, 183, 190 ศักยภาพทางปัญญา, 99, 106, 166, 174 ศักยภาพในตนเอง, การค้นพบและการพัฒนา, 97, 98, 99, 100, 101, 103, 109, 118, 119, 125, 126, 127, 160, 165, 174, 193 ศักยภาพและการสร้างสรรค์, 99, 119
ศักยภาพและความเป็นจริง, 98, 99 ศาสนา กับการต่อต้านอุดมคติ, 50 กับโครงสร้างของสังคม, 43 กับทัศนะแบบปัจเจกนิยม, 49 กับสิง่ เหนือธรรมชาติ, 49, 197, 199 ในฐานะอุดมการณ์, 49 ศีลธรรม ในฐานะอานาจจากภายนอก, 41, 179, 184 ศีลธรรมแบบพ่อ, 151, 152, 153, 154 ศึกษา, การ กับการปกครอง, 22, 23, 25, 118 กับการพัฒนาตนเอง, 21, 48, 86 กับระบบทุนนิยม, 23, 48, 190 กับอาชีพ, 21, 48 ความตกต่าของการศึกษาไทย, 34
ส สถาบันนิยม, ลัทธิ, 5, 20, 52, 166 สมบัติผู้ด,ี 146 สมัยใหม่นิยม, ลัทธิ, 132
206
สังคม, ความอ่อนแอของ, 58, 149 สังคมทุนนิยม, 3, 84, 158, 159, 174, 177 สังคมนิยม, 27, 150, 160, 178 สังคมศักดิ์สทิ ธิ์นิยม, 57, 60, 61, 68 สังคมเหตุผลนิยม, 57, 60, 64, 68 สัมพัทธนิยม, 60, 63, 64, 113 สารัตถะนิยม, 99 สิทธิ, 196 สุข, ความ ความสุขและคุณค่า, 95, 96 สุลักษณ์ ศิวรักษ์, 26, 27, 56 เสน่ห์ จามริก, 22 เสนีย์ เสาวพงศ์, 144 เสรีภาพจาก, 189, 190 เสรีภาพทางเพศ. ดู เพศสัมพันธ์ เสรีภาพที่จะเป็น, 137, 190, 193 เสรีภาพในการพูดและการแสดงออก, 79 เสรีภาพและความเสมอภาค ความขัดแย้งระหว่าง, 31 โสกราตีส, 16, 56, 57, 60, 62, 66, 90, 114 กับเทวบัญชา, 60, 65, 66 กับปัญหาเรือ่ งความดี, 62, 63, 65 ความโกรธแค้นของชาวเอเธนส์, 64, 66 โสกราตีส, คาสอนของ เรื่อง การรู้จกั ตนเอง, 65, 74, 132 เรื่องการตรวจสอบตนเอง, 65, 68 เรื่องการรู้จักตนเอง, 118 เรื่องความรู้และความคิดเห็น, 64 โสกราตีส, อุดมคติของ, 27, 59, 64, 68, 112
ห หลักสูตรแฝงเร้น, 106, 107, 108 เหตุผลนิยม, ลัทธิ, 131, 132, 155 เหตุผลบังหน้า, 186, 187, 192, 198 ไหว้, การ ปัญหาทางศีลธรรมและการวิเคราะห์, 82, 83, 84
อ อนุรักษ์นิยม, 73, 79
อนุรักษ์นิยม เสรีนิยม, 8, 9, 10, 13, 14 อนุรักษ์นิยม-อานาจนิยมทางศีลธรรม, ลัทธิ, 76 อพอลโลจี, 56, 66, 114 อภัย, การให้, 68, 116, 136, 198 อริสโตเติล, 98, 99, 101, 102, 109, 118, 181 คาสอนเรือ่ งชิวิตที่ดีและมีความสุข, 99 อ่อนน้อมถ่อมตน, ความ, 80, 81, 82, 83, 84, 85, 87, 89, 91 อัตถิภาวะนิยม, ปรัชญา, 16, 103, 104, 189, 190 อัตลักษณ์ร่วม, 11, 12, 34, 52, 53, 54, 127, 164, 166, 190, 192
อัลซิไบดัส, 65 อิด, 179, 186 อิสรภาพและคุณค่า-คาถามหลักของชีวิต, ค, 190 อีโก้, 179, 195 อุดมการณ์, 28, 31, 49, 51, 149 อุดมการณ์ทางการเมือง. ดู คอมมิวนิสต์, ระบบ และ ทุนนิยม, ระบบ อุดมคติ, 119 อุดมคติ, ความหมายของ การข้ามพ้นตนเอง, 52, 53 การเปลี่ยนแปลงความหมายของโลก, 46, 47 ความเป็นสากล, 53, 54 ความรักต่อสิ่งที่มีค่าในตนเอง, 53 อุดมคติกบั วิชาชีพ, 48 อุดมคติคอื ฉันทะ, 50 อุดมคติและเป้าหมายชีวิต, ความแตกต่าง, 51 อุดมคติและอุดมการณ์, ความแตกต่าง, 51 อุปถัมภ์, ระบบ, 91, 150, 151, 152, 153, 155, 175, 188 เอ็กซิสต์เท็นเชียลลิซึม. ดู อัตถิภาวะนิยม, ปรัชญา แอนเดอร์สัน, 117 โอดิบสุ , ปม, 182, 184, 188, 189 กับพัฒนาการของบุคลิกภาพทางเพศ, 182
ฮ ฮอบส์, 95, 102, 119 ฮูโก, วิคเตอร์, 116, 117 เฮเกิล Hegel, Friedrich., 30 โฮเมอร์, 62
207
ประวัติผู้เขียน -
เกิดเมื่อ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 หนองคาย จบประถมศึกษาปีที่7 ที่โรงเรียนแสนยานุกรวิทยา กรุงเทพ ฯ จบมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพ ฯ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาดนตรีศึกษา (คบ. เกียรตินิยม อันดับสอง) จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - จบการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาปรัชญา (อบ.) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - เริ่มรับราชการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นในตาแหน่งอาจารย์ระดับ 3 ในสาขาวิชาดนตรี ตะวันตก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 - ปัจจุบันมีตาแหน่งเป็น รองศาสตราจารย์ระดับ 9 ในสาขาวิชาปรัชญา สังกัดภาควิชาปรัชญา และศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ควำมฝันแห่ง 20 ปีแรกในชีวิตของข้ำพเจ้ำ วัยเริ่มต้นของชีวิตคือวัยของการแสวงหาความใฝ่ฝันและแรงบันดาลใจในชีวิต เราต้องมี ความฝันที่หลากหลากหลาย มากมายที่สุดที่เป็นไปได้ เพื่อเลือกเฟ้นหาอันที่เรารักมากที่สุด แล้ว ทาให้มันกลายเป็นความจริง เพื่อให้ชีวิตของเรามีความหมายอย่างสมบูรณ์ ความฝันแรกที่สุดที่ผมจาได้คือเป็นอยากวิศกรอย่างพ่อ ด้วยเหตุผลง่ายๆ เพราะเป็นอาชีพที่ หาเงินได้มาก จะได้เอามาปลูกบ้านหลังใหญ่ๆ ซื้อรถสปอร์ตขับ มีสนามบาส และสระว่ายน้าใน บ้าน นีเ่ ป็นความฝันตอนประถมศึกษาปีที่สาม แล้วผมก็พบว่าผมชอบวาดรูป และวาดได้ดีเป็นที่สองของห้องเรียน และชอบต่อเนื่องมา เรื่อยๆ เริ่มฝึกฝนระดับของการใช้ดินสอลากเส้นถึงระดับหนึ่ง ต่อเนื่องจากประถมต้นมาจนถึง มัธยมต้น ซึ่งทาให้ผมโยนความฝันแรกทิ้งไปอย่างเห็นว่าไร้สาระสุดๆ และเริ่มอยากเป็นจิตกร อย่างเป็นจริงเป็นจัง แต่ในช่วงต้นของประถมปลายความคิดแบบปรัชญาก็เกิดขึ้น เกิดคาถามว่าทุกอย่างนั้นมัน อะไรกันแน่ เริ่มคิดอย่างเอาจริงเอาจังว่า ดีชั่วถูกผิดที่ผู้ใหญ่สอนนั้นทาไมมันยุ่งยากซับซ้อนเสีย เหลือเกิน มีความเป็นเหตุเป็นผลอะไรรองรับอยู่จริงหรือไม่ ถ้ามีคืออะไร เริ่มตั้งคาถามกับคาสั่ง คาสอนทุกอย่างของพ่อแม่ว่ามีเหตุผลอะไรมารองรับ จนพ่อแม่คิดว่าต่อไปคงต้องไปเรียน กฎหมายเป็นทนายความ เพราะใช้เหตุผลมาซักฟอก ยอกย้อน เก่งเสียเหลือเกิน ในช่วงต้นของประถมปลายนั้นเอง คุณปู่ก็พาไปฝึกสมาธิกับอาจารย์พร รัตนสุวรรณ แต่ไม่ ฝึกสาเร็จ จึงเลิกตามคุณปู่ไปในที่สุด ตอนปลายประถมปลายแม่ส่งไปเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
208
ที่วัดเบญจมบพิตรกับน้องชายอีกสองคน ตนเองเรียนได้ปีเดียวก็ขอเลิก พร้อมกับประกาศเลิกเป็น คนพุทธ เพราะทนไม่ได้ที่พระบังคับให้ท่องจาว่านรกเจ็ดชั้นและสวรรค์เจ็ดชั้นมีอะไรบ้าง เหตุที่ ประกาศเลิกเป็นพุทธเพราะเห็นว่าพุทธศาสนาแบบนี้ขัดกับวิชาวิทยาศาสตร์ที่เรียนที่โรงเรียน นี่ รวมถึงพุทธศาสนาแบบกฎแห่งกรรมของ ท. เลียงพิบูลย์ ที่แม่เปิดให้ฟังทุกวันในวิทยุด้วย ซึ่ง พิสดารมากเพราะถ้าเราฆ่าแมลงสาบมาก แมลงสาบจะมารุมกัดเราจนตายในที่สุด ทาอะไรก็ต้อง ได้อย่างนั้นตอบไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า ในช่วงประถมปลายทุกเช้าเพื่อนจะจับกลุ่มร้องเพลง ผมก็ไปร้องด้วย พบว่าตัวเองชอบร้อง เพลงมาก ที่บ้านพ่อก็ชอบฟังเพลงฝรั่งมากด้วยเพราะเป็นนักเรียนนอก เริ่มอยากเรียนดนตรี แต่ พ่อบอกว่าค่าสอนรายชั่วโมงแพงมาก มีลูกห้าคนถ้าขอเรียนกันหมดก็จนตาย พอเข้าระดับมัธยมศึกษาก็ได้เรียนดนตรีสมใจ มีการสอนขับร้องตามโน้ตสากลในชั้นเรียน ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิชาทฤษฎีดนตรีตะวันตก เรียนเก่งไม่มีใครสู้ได้ หลังจากนั้นก็เรียนต่อด้วย ตนเองจากตาราของพระเจนดุริยางค์ เริ่มหัดร้องเพลงฝรั่งเพราะเบื่อเพลงไทยที่บังคับทานอง เริ่ม หัดเล่นกีตาร์เพลงป๊อปของตะวันตก แต่ลึกๆ ชอบดนตรีออร์เคสตร้า เพราะอิทธิพลของเพลงโหม โรงจาก The South Pacific ของพ่อ พอรู้จักดนตรีคลาสสิคแท้ๆ ก็เริ่มมีความฝันที่จะเป็นนัก ประพันธ์ดนตรีแบบบีโธเฟน ความฝันนี้เข้ามาแทนที่ความฝันที่อยากจะเป็นจิตรกรไปทั้งหมด การร้องเพลงฝรั่งทาให้หัดแปลเพลงและเริ่มเก่งภาษาอังกฤษ ชีวิตในวัยมัธยมต้นของผมคือการได้เห็นการเมืองแบบประชาธิปไตยเต็มใบหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ดนตรีพาไปสู่การเรียนรู้ทางการเมืองด้วย เพราะพอหัดเล่นกีตาร์ก็รู้จักเพลงโฟลค์ รู้จักวง คาราวาน เจ้าของเพลงคนกับควาย แล้วก็ไปตามฟังการแสดงของพวกเขาที่ธรรมศาสตร์ เป็นการ เริ่มต้นการไปเดินอ่านโปสเตอร์ความรู้ทางการเมืองตามกาแพงตึกธรรมศาสตร์ เริ่มเกิดจิตสานึก ทางการเมือง จิตสานึกว่าสังคมคือสิ่งที่เราสามารถสร้างสรรค์ให้เกิดความยุติธรรมขึ้นมาได้ ด้วย กระบวนการแห่งการต่อสู้เรียกร้องตามวิธีทางแห่งประชาธิปไตย (แล้วผมก็กลายเป็นหัวหน้า พรรคการเมืองในโรงเรียนคนหนึ่งไปในตอนมัธยมศึกษาตอนปลาย) แต่ความฝันทางการเมือง ของผมเป็นรูปเป็นร่างที่สุดก็ในเรื่องของการศึกษา คือในความฝันที่อยากจะเป็นครู เพราะเชื่อว่า เราจะเปลี่ยนสังคมได้อย่างแท้จริงก็ด้วยการเปลี่ยนความคิดของผู้คน ซึ่งทาได้ด้วยการศึกษา เท่านั้น ที่มาเป็นคนละเรื่องกับการไปเดินอยู่ที่ธรรมศาสตร์ พออยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองผมก็เบื่อโรงเรียนอย่างหนัก เพราะคาถามทางปรัชญาหนักๆ เริ่ม เข้ามาอยู่ในหัว เราเกิดมาทาไม ที่สาคัญคือ การศึกษาคืออะไร ความรู้ที่โรงเรียนให้ไม่เห็นมีอะไร เลยที่เป็นความเข้าใจใน “ความเป็นจริง” อยู่ในโรงเรียนมาจนจะครบสิบปีแล้วไม่เห็นรู้สึกว่า ตนเองได้สิ่งที่มีค่าอะไรจากการศึกษาเลยนอกจากข้อมูลที่เป็นความจาทั้งหลาย ไม่รู้สึกว่าทาอะไร เป็นขึน้ มาเลย ถ้าออกจากโรงเรียนตอนนี้ก็หาเลี้ยงตัวเองแทบไม่ได้ (สิบปีได้แค่อ่านหนังสือออก
209
คิดเลขได้ จาข้อมูลที่สังคมอยากให้จาได้จานวนหนึ่งเท่านั้น นี่หรือคือสิ่งที่การศึกษาให้กับชีวิต) การศึกษาเกือบสิบปีไม่ได้ทาให้ตนเองรู้สึกว่ามีอะไรที่มีคุณค่าในตัวเองขึ้นแม้เลยสักนิด เริ่มคิดว่า จบมัธยมศึกษาตอนต้นจะไปหาเรียนสายอาชีวะเสียดีกว่าจะได้รู้สึกว่าทาอะไรเป็น มีค่าในตนเอง ขึ้นมาบ้าง แต่โชคดีว่าผมพูดเขียนอะไรออกไปบางอย่างในวิชาเรียนแล้วครูท่านหนึ่งสังเกตเห็นจึงบอก ว่า มีความคิดแบบนักปรัชญา เด็ก ม.ศ. 2 ไม่รู้จักคานี้ และไม่มีหนังสือหมวดนี้อยู่ในห้องสมุด โรงเรียน โชคดีที่โรงเรียนผมอยู่ใกล้หอสมุดแห่งชาติ ผมจึงเริ่มต้นโดดเรียนไปอ่านหนังสือ ปรัชญาอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ เล่มแรกที่เจอก็คือ หนังสือปรัชญาชีวิต หรือ The Prophet ของคา ลิน ยิบราน ที่แม้จะออกแนวศาสนา ซึ่งผมประกาศปฏิเสธไปแล้ว แต่ผมก็สร้างวิธีอ่านของตนเอง จนอ่านสาเร็จ และรักงานชิ้นนี้มาก หลังจากนั้นก็ค้นพบบทสนทนาของโสเครตีส และพบว่าเขา ใช้วิธีแบบเดียวกับที่ผมใช้ซักฟอกพ่อแม่ที่บ้าน จึงอ่านไล่ไปทุกเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด แน่นอนว่า ใช้เวลานานต่อเนื่องจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ต่อเนื่องไปจนถึงการหันไปอ่านพุทธปรัชญา ของอาจารย์พร รัตนสุวรรณ อ่านปรัชญาฮินดูในหนังสือสาธนา ของระพินทร นารถฐากูร การหา อ่านงานของท่านพุทธทาส และการประกาศตนกลับมาเป็นชาวพุทธอีกครั้ง แต่เป็นพุทธที่ยอมรับ แต่เพียงไตรลักษณ์ และสุญญตา เท่านั้น ผมเริ่มฝันที่จะเป็นอย่างโสเครตีส คือได้พูดคุยกับคนหนุ่มคนสาวเรื่องคุณค่าและความหมาย ของชีวิต ผมรู้อยู่ว่าเขาตายอย่างไร แต่ก็เริ่มเป็นนักอุดมคตินิยมอย่างเขา และรู้สึกว่าพร้อมที่จะ แลก ถ้านั่นคือการช่วยเหลือปลดปล่อยผู้คนจากพันธนาการของสังคม ในอีกระดับหนึ่ง ผมก็ตั้งจิตอฐิษฐานว่าในชีวิตนี้ขอให้เข้าถึงความจริงของไตรลักษณ์ที่ พระพุทธเจ้าสอนในลักษณะที่รู้แจ้งเห็นจริง ไม่ใช่แค่การเชื่อว่าจริงในระดับคิดเอาด้วยเหตุผลทาง ปรัชญา ไม่ใช่เพราะอยากพ้นทุกข์ แต่เพราะอยากมีปัญญาเห็นภาวการณ์ตามที่เป็นอยู่จริง ในหอสมุดแห่งชาติผมพบหนังสือสังคมศาสตร์ปริทรรศน์และงานของศรีบูรพา ที่ช่วยสร้าง ความรู้และจิตสานึกทางการเมืองของผมให้ก้าวลึกคู่ไปกับการเรียนรู้ทางปรัชญา โดยที่ไม่ถูกตี กรอบโดยลัทธิมาร์คซ์ที่ยึดมั่นกันแบบคัมภีร์ เหมือนนักศึกษาหัวก้าวหน้าจานวนมากในยุคนั้น การที่ผมเป็นปฏิปักษ์กับการศึกษาในโรงเรียนทาให้ผมเห็นจุดอ่อนและผนวกมันเข้ากับการเมือง และเห็นว่ามันคือทางของการสร้างสังคมที่ดีงามด้วยสันติวิธี ผมเห็นตัวอย่างชีวิตของโกมล คีม ทอง เห็นงานวิพากษ์การศึกษาของนักเรียนสวนกุหลาบฯ ในหนังสือศึก- และเมื่อตนเองตั้งพรรค การเมืองในโรงเรียน ก็ได้เป็นบรรณาธิการจุลสารหนึ่งฉบับที่วิพากษ์การศึกษาเช่นกัน และมี ความใฝ่ฝันที่จะเป็นครูประถมอย่างโกมล คีมทอง ยังมีอีกด้านหนึ่งในชีวิตที่กลายเป็นความใฝ่ฝันอันสาคัญไม่แพ้กัน เพื่อนที่หัดกีตาร์ให้ผมมี บ้านอยู่ริมแม่น้าเจ้าพระยาและมีเรือแคนนู ผมจึงใช้เวลาตอนเย็นและเสาร์อาทิตย์อยู่กับเขา พาย
210
เรือแคนนูอยู่ในแม่น้าเจ้าพระยา เข้าออกตามคลองต่างๆ สร้างวิถีชีวิตที่รักสันโดษและรัก ธรรมชาติ รักนกนางนวล นกเหยี่ยวที่หากินอยู่ตามแม่น้า พอโตขึ้นอีกหน่อย เวลาปิดเทอม เราก็มี กลุ่มที่ออกเที่ยวตามวนอุทยาน กลายเป็นพวกที่รักป่ารักเขา จนเพื่อนในกลุ่มไปเรียนทางวน ศาสตร์เพื่อเป็นผู้พิทักษ์ป่า ผมเองก็มีความฝันว่าจะเป็นนักปลูกป่า แม้นึกไม่ออกว่าจะเลี้ยงตัวเอง ได้อย่างไรก็ตาม เรามีความฝันที่เราพยายามสร้างให้กลายเป็นความจริง และก็มีแรงขับดันบางอย่างที่ออกมา จากธรรมชาติภายในของเรา ผมมีความอ่อนไหวทางอารมณ์และความเอาจริงเอาจังทางปัญญา ที่ ดูเหมือนจะได้มาโดยพันธุกรรม มันอาจทาให้เรามีปัญหาในชีวิต เช่นมันทาให้เราอ่อนไหวต่อ โลก และคิดกับโลกเสียจนปวดหัว แต่มันก็เป็นมรดกที่ทาให้เราสร้างตัวเราขึ้นมาเป็นตัวเรา ผมมี บิดาที่มีไอคิวสูงอย่างไม่น่าเชื่อ แต่มีอารมณ์ที่ไม่มั่นคงอย่างที่สุด มันทาให้ผมเรียนรู้ที่จะฝึก ตนเองให้มีใจที่สงบนิ่งเมื่ออยู่กับเขา และเอามาใช้ในการสอนดนตรีให้กับลูกและลูกศิษย์ และทา ให้ผมเรียนรู้ลึกลงไปถึงจิตใจของผู้คน มองจิตใจของผู้คนในฐานะผลของการถูกกระทา เมื่อผม อายุ 15 แม่ของผมเปิดเผยปมทางจิตของพ่อของผม และทาให้ผมสืบไปหาปมทางจิตของคุณปู่ ของผม และตั้งแต่นั้นมาผมก็พยายามเข้าใจผู้คนถึงสาเหตุเบื้องหลังที่มาจากประวัติของเขา มัน เคยทาให้ผมฝันที่จะเป็นกวีและนักเขียนที่จะเรียนรู้ชีวิตและจิตวิญญาณของผู้คน และเมื่อผมเข้า เรียนการสอนดนตรีในระดับปริญญาตรี ผมเลือกเรียนวิชาจิตวิทยาทุกวิชาเท่าที่ผมสามารถมี โอกาสเรียนได้ และเมื่อผมเป็นนักปรัชญาผมไม่เคยมองปรัชญาและจิตวิทยาแยกขาดจากกันเลย ปรัชญา ชีวิต และจิตวิญญาณ เป็นเรื่องเดียวกันเสมอสาหรับผม ความใฝ่ฝันสุดท้ายที่ผมเกือบจะลืมไปก็คือ ผมฝันมาเกือบตลอดว่าเมื่อโตขึ้นมีลูกของตนเอง และเมื่อลูกของตนเองโตแล้ว ถ้ามีเงินมากพอก็จะทาบ้านเลี้ยงเด็กกาพร้า เพราะผมอยากใช้ชีวิตอยู่ กับเด็กเล็กๆ เพราะเด็กคือความงามที่สุดและความบริสุทธิ์ที่สุดของโลกนี้ ผมพบตั้งแต่ผมเป็น วัยรุ่นว่าเมื่อผมไม่มีความสุข แล้วได้ออกไปนอกบ้าน ได้ไปเห็นเด็กเล็กๆ ยิ้ม หัวเราะ หรือแม้แต่ ร้องให้งอแง ความงดงามบริสุทธิ์สะอาดไร้เดียงสาของพวกเขาก็จะทาให้จิตใจของผมมีความสุข ขึ้นมาทันที ตอนนี้ลูกคนเล็กของผมอายุสิบสอง ผมยังไม่มีวี่แววว่าจะได้ทาความฝันนี้ให้เป็นจริง แต่ก็ยังหาความสุขเช่นนี้ให้ชีวิต ด้วยการอาสาไปสอนภาษาอังกฤษด้วยวิธีธรรมชาติให้เด็ก อนุบาลและเด็กประถมต้นในเวลาที่ทาได้ เอาการ์ตูนฝรั่งไปเปิดให้พวกเขาดู เอาหนังสือนิทาน ฝรั่งของลูกไปอ่านให้เขาฟัง พูดภาษาอังกฤษปนไทยให้เขาฟัง เพื่อให้พวกเขาเรียนรู้เสียงของ ศัพท์ภาษาอังกฤษไปทีละนิด โดยมีผมเป็นล่ามเชื่อมโลกของสองภาษาเข้าด้วยกันให้พวกเขา เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เต็มไปด้วยความหมาย ที่ผมสร้างขึ้นมาจากความรักและความฝันในยี่สิบ ปีแรกในชีวิตของผม ร่วมกับการเป็นอาจารย์สอนปรัชญา อาจารย์สอนดนตรี และนักดนตรี คลาสสิคของจังหวัดขอนแก่น.