อภิปรัชญา บทนำร่วมสมัย

Page 1

อภิปรัชญา บทนาร่วมสมัย

ไมเคิล เจ ลูซ

เอกศักดิ์ ยุกตะนันทน์ แปลและเรียบเรียง

มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555


หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออภิปรัชญาในส่วนที่ว่าด้วยภววิทยา คือเกี่ยวข้องกับปัญหาเรื่องประเภท ชนิดที่กว้างที่สุดและธรรมชาติที่พื้นฐานที่สุดของสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ (categories of being) โดยแปล มาจาก Loux, Michel J. (1998) Metaphysics: A Contemporary Introduction, London: Routledge. แต่มีเนื้อหาบางส่วน รวมทั้งเชิงอรรถที่ถูกตัดออกไปหรือย่อให้กระชับขึ้น รวมทั้งมีการปรับแต่ง ตัวอย่างเพื่อให้เข้ากับภาษาไทย เอกศักดิ์ ยุกตะนันทน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2555


1

สารบัญ บทที่ 1 ปัญหาเรื่องสิ่งสากล 1 : สัจนิยมทางอภิปรัชญา ................................................................. 3 สัจนิยมและนามนิยม (Realism and Nominalism) ....................................................................... 3 ภววิทยา (0ntology) ของสัจนิยมทางอภิปรัชญา .......................................................................... 5 สัจนิยมและภาคแสดง .................................................................................................................. 9 สัจนิยมและการอ้างอิงเชิงนามธรรม ......................................................................................... 16 การแสดงตัวอย่างในฐานะข้อจากัดต่อลัทธิสัจนิยม .................................................................. 20 ข้อจากัดว่าด้วยภาคแสดงที่ถูกนิยาม และภาคแสดงที่ไม่ถูกนิยาม ........................................... 29 มีคุณลักษณะที่ไม่ถูกแสดงตัวอย่างหรือไม่? .............................................................................. 34 บทที่ 2 ปัญหาเรื่องสิ่งสากล 2 : ลัทธินามนิยมปัญหาเรื่องสิ่งสากล 2 : ลัทธินามนิยม ................ 40 แรงจูงใจของลัทธินามนิยม ........................................................................................................ 40 นามนิยมแบบเคร่งครัด (Austere Nominalism).......................................................................... 47 ลัทธินามนิยมแบบอภิภาษา (Metalinguistic Nominalism) ......................................................... 60 ทฤษฎีโทรป (Trope Theory) ...................................................................................................... 71 บทที่ 3 สิ่งเฉพาะรูปธรรม 1: ฐานรองรับ มัด และแก่นสาร .......................................................... 82 ทฤษฎีฐานรองรับ (Substratum Theory) และทฤษฎีมัด (Bundle Theory) ................................. 82 ข้อโต้แย้งต่อทฤษฎีมัด เรื่องประโยคภาคประธานและภาคแสดง ............................................. 90 ข้อแย้งต่อทฤษฎีมัด เรื่องเอกลักษณ์ของสิ่งที่ไม่มีความแตกต่าง ............................................. 96 ข้อโต้เถียงสนับสนุนทฤษฎีฐานรองรับ .................................................................................... 101 ปัญหาสาหรับทฤษฎีฐานรองรับ .............................................................................................. 104 ทฤษฎีแก่นสารของอริสโตเติล ................................................................................................. 108


2

บทที่ 4 ประพจน์และเครือญาติ ................................................................................................... 120 ทฤษฎีประพจน์แบบดั่งเดิม ...................................................................................................... 120 ลัทธินามนิยมว่าด้วยประพจน์.................................................................................................. 129 ข้อเท็จจริง สภาวการณ์ และเหตุการณ์ ................................................................................... 143 บทที่ 5 สิ่งจาเป็นจริงและสิ่งเป็นไปได้ ......................................................................................... 154 ปัญหาว่าด้วยโมดัลภาวะ .......................................................................................................... 154 โลกที่เป็นไปได้ ......................................................................................................................... 160 ลัทธินามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้ ........................................................................................... 165 อภิปรัชญาของลัทธินามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้ – เดวิด ลิวอิซ ........................................... 171 ลัทธิความเป็นจริงนิยม และโลกที่เป็นไปได้ – อัลวิน แพลนทิงกา ......................................... 179 บทที่ 6 สิ่งเฉพาะรูปธรรม 2 : การคงทนผ่านกาลเวลา ............................................................... 195 สองทฤษฎีของการคงทน ลัทธิเอ็นดิวแรนทิซึม และลัทธิเปอร์ดิวแรนทิซึม ........................... 195 สองทฤษฎีของกาลเวลา ปัจจุบันกาลนิยม และอนันตกาลนิยม ............................................. 200 ภววิทยาของลัทธิเปอร์ดิวแรนทิซึม.......................................................................................... 206 ข้อโต้เถียงสนับสนุนลัทธิเปอร์ดิวแรนทิซึม เรื่องการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ ......................... 211 ข้อโต้เถียงสนับสนุนลัทธิเปอร์ดิวแรนทิซึม เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ ................... 216 บรรณานุกรม ............................................................................................................................ 228


3

บทที่ 1 ปัญหาเรื่องสิ่งสากล 1 : สัจนิยมทางอภิปรัชญา

สัจนิยมและนามนิยม (Realism and Nominalism) เราสามารถจาแนกวัตถุต่างๆ ที่เราคิด และพูดถึง ได้ในหลายวิธี เมื่อเราจาแนกวัตถุ ด้วยสี เราก็จะได้วัตถุกลุ่มที่มีสีแ ดง สีเหลือง สีน้าเงิน เมื่อเราจาแนกวัตถุด้วยรูปทรง เราก็ จะ ได้วัตถุที่มีรูปสามเหลี่ยม วงกลม หรือสีเหลี่ยมจัตุรัส หรือถ้าเราจาแนกตามประเภท เราก็จะ ได้ช้าง ต้นไทร อะมีบา การจาแนกแจกแจงที่กล่าวมานี้เป็นองค์ประกอบที่สาคัญอย่างยิ่งของ ประสบการณ์ที่เรามีต่อโลก แทบจะไม่มีอะไรเลยที่นับเป็นประสบการณ์ที่ไม่เกี่ยวพั นไปถึง การจัดกลุ่มอย่างที่กล่าวมา ถึงแม้เกือบทุกคนจะยอมรับว่า วิธีของเราในการจาแนกสิ่งต่างๆ สะท้อนถึงผลประโยชน์ วัตถุประสงค์ หรือระบบคุณค่าของเรา แต่ก็คงไม่มีใครที่จะปฏิเสธว่า หลายวิธีของเราในการจาแนกวัตถุ ถูกกาหนดด้วยตัววัตถุเอง มันไม่ใช่ว่าเราเลือกเอาตามอา เภทใจที่จะเรียกบางสิ่งว่าสามเหลี่ยม บางสิ่งว่าวงกลม และบางสิ่งว่าสี่เหลี่ยมจัตุรัส สิ่งของมัน เป็นของมันเช่นนั้นอยู่แล้ว เช่นเดียวกัน มันไม่ใช่เพียงแค่ผลที่ตามมาของความคิดหรือภาษา ของมนุษย์ ที่ทาให้มีเกิดมีช้าง ต้นไทร และอะมีบา สิ่งของในโลกมีมาเช่นนั้น และภาษาและ ความคิดของเราสะท้อนข้อเท็จจริงที่เป็นมาอยู่ก่อนแล้ว เกี่ยวกับสิ่งของพวกนั้น ดังนั้น วัตถุต่างๆ จึงมีความคล้ายคลึงระหว่างกันที่เป็นปรนัย ก่อนหน้าที่เราจะจาแนก มันตามแบบที่เราท า สิ่งของที่เราคุ้นเคยในชีวิตประจาวันนั้นมีความสอดคล้องต้องกันใน คุณลักษณะ หรือในคุณสมบัติ นี่ไม่ใช่ข้ออ้างของทฤษฎีทางอภิปรัชญา ในทางตรงกันมาข้าม มันเป็นสิ่งที่ถือว่าจริงอยู่แล้วก่อนหน้าการคิดทางปรัชญา แต่ก็เป็นสิ่งที่นาไปสู่การคิดทฤษฎี ทางปรัชญาที่สาคัญ คาถามที่มีมาตั้งแต่กาเนิดของอภิปรั ชญา ก็คือคาถามว่า มีวิธีการอะไร ไหมในการอธิบ ายข้ อ เท็ จจริงที่ว่ าสิ่งต่างๆ มีค วามสอดคล้องหรื อตรงกั นในคุณ ลัก ษณะ สมมติว่ามีข้อเท็จจริงอยู่ว่าสิ่งของกลุ่มหนึ่งมีความตรงกันในคุณ ลักษณะของการมีสีเหลือง มี


4

ข้อเท็จจริงอะไรที่พื้นฐานกว่า นั้นหรือไม่ อย่างที่มันเป็นเพราะและเพียงเพราะว่าข้อเท็จที่ พื้นฐานนี้เกิดเป็นจริงเกี่ยวกับวัตถุเหล่านั้น จึงทาให้พวกมันมีสีเหลือง? ถ้ามี เป็นไปได้ไหมที่ เราจะสร้างหลักการทั่วไปจากกรณีนี้ ? นั่นก็คือ มีแบบแผนทั่วไปของข้อเท็จจริงอยู่หรือไม่ ที่ เมื่อเกิดมีความตรงกันในคุณลักษณะ มันเป็นจริงก็เพราะและเพียงเพราะว่า ข้อเท็จจริงที่เป็น แบบแผนทั่วไปนั้นเป็นสิ่งที่เป็นจริง? ปั ญ หานี้ ไ ด้ รั บ ค าตอบในเชิ ง ยื น ยั น ว่ า มี ในพาเมนิ ดี ส (Parmenides) ของเพลโต (Plato) ซึ่งเขากล่าวว่า “มีแบบซึ่งสิ่งอื่นเข้าไปรับ แล้วจึงทาให้สิ่งเหล่านั้นถูกเรียกด้วยชื่อของ แบบนั้น ด้วยการเข้าไปรับซึ่งแบบของความเหมือน หรือ แบบของความใหญ่ หรือแบบของ ความงาม หรือแบบของความยุติธรรม พวกมันจึงเป็นสิ่งที่เหมือนกัน หรือใหญ่ หรืองาม หรือ ยุติธรรม”1 สิ่งที่เสนอมานี้คือกรอบทั่วไปของการอธิบายความตรงกันในคุณสมบัติ กรอบนี้ บอกเราว่า เมื่อวัตถุจานวนหนึ่ง a . . . n ตรงกันในคุณลักษณะ จะมีสิ่ง ส และความสัมพันธ์ พ อย่างชนิดที่ แต่ละสิ่งของ a . . . n เข้าไปอยู่ในความสัมพันธ์ พ กับสิ่ง ส ซึ่งก็คือข้ออ้างว่า ด้วย การมีความสัมพันธ์ พ กับสิ่ง ส ที่ ทาให้สิ่งของต่างๆ จาก a ถึง n มีความตรงกันในคุณสมบัติ ด้วยการเป็นสิ่งที่สวยงาม หรือเที่ยงธรรม หรืออะไรก็แล้วแต่ ปรากฏว่านักปรัชญาจานวนมาก หลังจากเพลโต ชื่นชอบต่อกรอบการอธิบายนี้ 2 แต่พวกเขาก็อาจไม่ได้ใช้ถ้อยคาของเพลโต ในขณะที่ เพลโตพู ด ว่า สิ่ ง ของเข้ า ไปรั บ แบบ พวกนัก ปรัช ญายุ ค หลัง พู ดว่ า สิ่ งของแสดง ตัวอย่าง (exemplify) ของคุณลักษณะ คุณภาพ หรือคุณสมบัติอันหนึ่ง ถึงกระนั้นแบบแผนการ อธิบายที่พวกเขาเสนอก็เป็นอันเดียวกันกับของเพลโต สิ่งของต่างๆ ถูกกล่าวถึงหรือบรรยาย ด้วยวิธีบางอย่าง ก็ เพราะสิ่งของเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กับคุณภาพหรือคุณสมบัติที่กล่าวถึง ความตรงกันในคุณสมบัติมีรากฐานมาจากการมีคุ ณลักษณะหรือคุณสมบัติหนึ่งที่ มีร่วมกัน ของสิ่งของเหล่านั้น นักปรัชญาผู้ซึ่งรับกรอบวิธีคิดแบบของเพลโตได้รับการขนานนามว่า นักสัจนิยมทาง อภิปรัชญา หรือเรียกสั้นๆ ว่า นักสัจนิยม แต่แม้ว่าพวกเขาจะชื่นชอบต่อคาอธิบายถึงความ 1

Parmenides 130E-131A ใน Hamilton and Cairns (1961)

2

ดูใน Russell (1912) (chaps IX and X)

Strawson (1959: chaps V and VI) Donagan (1963)

Wolterstorff (1973) Loux (1978a) และใน Armstrong (1989a)


5

ตรงกันในคุณสมบัติว่าเป็นการที่มีสิ่งบางอย่างร่วมกัน คาอธิบายแบบของเพลโตก็ยังมีผู้ที่ไม่ เห็นด้วย พวกที่วิพากษ์และไม่เห็นด้วยกับเพลโตเป็นที่รู้จักกันในนามของนักนามนิยม พวก เขาเถียงว่ากลไกทางอภิปรัชญาที่ตามมาจากกรอบการอธิบายของเพลโต มีสิ่งที่เป็นปัญหา หลายประการ พวกนั ก นามนิ ย มบางคนถื อ ว่ า ปั ญ หาดั ง กล่ า วชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง ความต้ อ งการ คาอธิบายแบบอื่น ซึ่งคือการอธิบายความตรงกันในคุณ ลักษณะอย่างที่ไม่อ้างอิงไปถึงสิ่งที่มี ร่วมกัน ในขณะที่บางคนก็ถือว่ามันชี้ว่าไม่มีความต้องการคาอธิบายเชิงทฤษฎีใดๆ ซึ่งก็คือ การถือว่าปรากฏการณ์ของความตรงกันในคุณ ลักษณะเป็นข้อเท็จจริงในระดับพื้ นฐาน ไม่ สามารถที่จะมีการวิเคราะห์ต่อไปอีกได้ ข้อโต้เถียงระหว่างนักสัจนิยมและนักนามนิยมอาจ เป็นข้อโต้เถียงที่เก่าแก่ที่สุดในอภิปรัชญา แน่นอนว่าประเด็นที่พวกเขาโต้เถียงกันเป็นเรื่อง สาคัญในอภิปรัชญา เราจะมาสร้างความกระจ่างในประเด็นเหล่านี้ และจะเริ่มต้นด้วยการวาง เค้าโครงรูปร่างของทัศนะที่เรียกว่าสัจนิยมทางอภิปรัชญา

ภววิทยา (0ntology) ของสัจนิยมทางอภิปรัชญา นักสัจนิยมทางอภิปรัชญาต้องการที่จะยืนยันว่าคาอธิบายที่ เพียงพอของความตรงกัน ในคุณลักษณะ เป็นสิ่งที่วางอยู่บนการแยกแยะวัตถุออกเป็นสองประเภท ได้แก่อะไรที่เรียกว่ า สิ่ ง เฉพาะ (particular) และอะไรที่ เ รี ย กว่ า สิ่ ง สากล (universal) ประเภทของสิ่ ง เฉพาะ ครอบคลุมไปถึง อะไรที่คนที่ไม่ใช่นักปรัชญาคิดถึงและเรียกว่า “สิ่งของ” ได้แก่สิ่งที่รู้จัก คุ้นเคยกันทุกอย่าง ตั้งแต่ มนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งที่ไม่มีชีวิต นักสัจนิยมบอกเราว่า ความพิเศษ ของสิ่งเฉพาะวางอยู่บนข้อที่ว่ามันครองที่ในอวกาศและมีอยู่ในเวลา ส่วนสิ่งสากลถูกตีความ ว่า คื อสิ่ ง ที่ ส ามารถปรากฏซ้ าได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ ง สิ่ง สากลที่ เป็ นอั นหนึ่งอั นเดีย วกั น สามารถที่จะถูกแสดงออก หรือ ถูกปรากฏให้เห็นเป็นตัวอย่าง โดยสิ่งเฉพาะจานวนมากที่ ครองที่ในอวกาศอย่างอิสระแยกขาดจากกัน ฉะนั้น คนหลายๆ คนสามารถแสดงตัวอย่างของ คุณธรรมประการเดียวกันในเวลาเดียวกัน รถหลายๆ คันสามารถแสดงตัวอย่างพร้อมๆ กันถึง รูปทรงแบบเดียวกัน และบ้านหลายๆ หลัง ณ เวลาหนึ่ง แสดงตัวอย่างถึงสีเดียวกัน คุณธรรม รูปทรงและสี ทั้งหมดเป็ นสิ่งสากล นักสัจนิยมทางอภิปรัชญาอ้างว่า สิ่งเฉพาะที่เ ราคุ้นเคยมี ความตรงกันในคุณลักษณะก็ด้วยเหตุแห่งการที่พวกมันร่วมกันแสดงตัวอย่างของสิ่งสากลสิ่ง


6

เดียวกัน ดังนั้น จึงมีสิ่งที่ไม่สามารถปรากฏซ้าที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับสิ่งที่สามารถปรากฏ ซ้าได้ และการที่วัตถุสิ่งของต่างๆ ที่เราคุ้นเคยในชีวิตประจาวัน มีคุณลักษณะที่ตรงกัน ก็เกิด มาจากข้อเท็จจริงนี้ ตามปกติแล้วนักสัจนิยมต้องการที่จะอ้างว่ามีสิ่งสากลอยู่มากกว่าหนึ่งประเภท ทุก กรณีของความตรงกันในคุณ ลักษณะที่เราพูดมาเกี่ยวพันอยู่กับอะไรที่เรียกว่า สิ่งสากลหนึ่ง ตาแหน่ง หรือ สิ่งสากลแบบโมนาดิก (monadic) ซึ่งเป็นสิ่งสากลที่สิ่งเฉพาะแสดงตัวอย่าง อย่างแยกขาดจากกัน หรือเป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง แต่มีสิ่งสากลที่เป็นความสัมพันธ์ (relation) คือเป็นสิ่งสากลที่ถูกแสดงตัวอย่างโดยปัจเจกวัตถุมากกว่าหนึ่งชิ้นที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ฉะนั้น การอยู่ห่างกันหนึ่งไมล์ จึงเป็นบางสิ่งบางอย่างที่ถูกแสดงตัวอย่างโดยวัตถุคู่หนึ่ง นั่น คือ สิ่งหนึ่งอยู่ห่างจากอีกสิ่งหนึ่งเป็นระยะทางหนึ่งไมล์ และมันก็เป็นสิ่งสากล เพราะคู่ของ วัตถุจานวนมากสามารถมีความสัมพันธ์เช่นนั้นได้ในเวลาหนึ่งๆ และเช่นเดียวกัน การอยู่ข้าง กัน ก็เป็นความสัมพันธ์ทางอวกาศระหว่างวัตถุ วัตถุหนึ่งอยู่ข้างอีกวัตถุหนึ่ง ซึ่งก็เป็นสิ่งสากล อีกเช่นกัน คู่ของวัตถุจานวนมากสามารถตรงกันในเรื่องดังกล่าว ความสัมพันธ์ทั้งสองนี้เป็น สิ่ง ที่ เรีย กว่า ความสัม พั นธ์ แบบสมมาตร ไม่ว่าจะเป็นคู่ของวัตถุ ก ข ใดๆ ก็ ตาม ซึ่ง ก มี ความสัมพันธ์อันใดอันหนึ่งนั้นกับ ข วัตถุ ข ก็จะมีความสัมพันธ์เดียวกันนั้นกับ ก แต่ไม่จริง ว่าทุกความสัมพันธ์จะเป็นแบบสมมาตร ความสัมพันธ์หลายอย่างเป็ นของอย่างที่คู่ของวัตถุ จะมีความสัมพันธ์ต่อกัน ก็ต่อเมื่อมีระเบียบอะไรบางอย่าง เช่น การเป็นพ่อ เป็นความสัมพันธ์ ที่ เ ป็ น แบบอสมมาตร ถ้ า สิ่ ง ก เป็ นพ่ อของสิ่ง ข สิ่ ง ข ก็ ไ ม่อ าจเป็ นพ่ อของสิ่ง ก ได้ นั ก ตรรกวิทยาเรียกมันว่าเป็นคู่ความสัมพันธ์แบบจัดลาดับ (ordered pair) ความสัมพันธ์ทั้งสามที่ เราดูมาเป็นความสัมพันธ์แบบสองตาแหน่ง หรือเรียกว่าความสัมพันธ์แบบไดแอดิด (dyadic) ซึ่งก็ชัดเจนว่าสามารถมีความสัมพันธ์แบบสามตาแหน่ง สี่ตาแหน่ง ไปจนถึง n ตาแหน่ง ดั ง นั้ น ความสั ม พั น ธ์ จึ ง เป็ น สิ่ ง สากลแบบหลายต าแหน่ ง หรื อ เป็ น โพลี แ อดิ ก (polyadic) แต่สี คุณธรรม และรูปทรง ทั้งหมดเป็นสิ่งสากลแบบโมนาดิก แต่ละอย่างถูกแสดง ตัวอย่างโดยวัตถุที่ถูกพิจารณาอย่างเป็นปัจเจก นักสัจนิยมจานวนมากรวบเอาสิ่งสากลแบบโม นาดิกทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันภายใต้ชื่อว่า “คุณสมบัติ” (property) แต่นักสัจนิยมบางคนยืนยัน ว่าจะต้องมีการแยกแยะย่อยออกไป พวกเขาเสนอให้แยกระหว่างคุณสมบัติกับประเภท (kind)


7

ประเภทคื อ สิ่ ง อย่ า งเช่ น สายพั น ธ์ และตระกู ล ทางชี ววิ ท ยา ในขณะที่ วัต ถุ แสดงตั ว อย่ า ง คุณสมบัติด้วยการเป็นเจ้าของคุณสมบัติ สิ่งของแสดงตัวอย่างของประเภทด้วยการเป็นของใน ประเภทนั้นๆ นักปรัชญาที่ทาการแยกแยะดังนี้บอกเราว่า ในขณะที่ประเภททาให้สิ่งเฉพาะ เป็นอะไรอย่างที่มันเป็น คุณสมบัติเป็นสิ่งที่ปรับแต่งหรือแสดงลักษณะของสิ่งเฉพาะที่ถูกถือ อยู่ก่อนหน้าแล้วว่าเป็นประเภทอะไรบางอย่าง พวกเขาจึงมักอ้างว่า ชนิดหรือประเภทเป็นสิ่ง สากลแบบที่มีอานาจจาแนก (individuative universal) หมายความว่า ชนิด ทาให้สมาชิกของ มันเป็นสิ่งเฉพาะที่แยกจากสิ่งเฉพาะอื่นในชนิดเดียวกัน เช่นเดียวกับที่แยกมัน ออกจากสิ่ง เฉพาะอื่นที่ต่างชนิดกัน ฉะนั้น ทุกๆ อย่างที่อยู่ในชนิดของมนุษย์จึงถูกแยกออกเป็นปัจเจกที่ แยกขาดจากกัน คือเป็นมนุษย์แต่ละคน ซึ่งถูกแบ่งแยกออกเป็นหน่วยที่แยกเฉพาะ จากมนุษย์ คนอื่นและจากสิ่งประเภทอื่น ดังนั้น ความตรงกันในคุณลักษณะจึงสามารถเกี่ ยวพั นไปถึงสิ่งสากลหลากหลาย ประเภท สิ่งเฉพาะหลายๆ สิ่งสามารถตรงกันด้วยการเป็นสมาชิกของสิ่งประเภทเดียวกัน สามารถตรงกันในการเป็นเจ้าของคุณสมบัติเดียวกัน และกลุ่มของสิ่งที่มีจานวนต่างๆ เช่น สอง สาม สี่ จนถึง n ก็สามารถเข้ามาอยู่ในความสัมพันธ์อันเดียวกัน และนักสัจนิยมก็ต้องการ ที่จะอ้างว่า การมีคุณลักษณะที่ตรงกันตามแบบแผนเหล่านี้ เป็นเรื่องของความมากน้อยเป็น ลาดับขั้น หมาและแมวมีความตรงกันในชนิด คือเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน แต่ความ ตรงกันในชนิดดังกล่าวก็ไม่ใกล้ชิดเหมือนอย่างความตรงกันของสุนัขสองตัว สิ่งที่ก่อให้เกิด ความแตกต่างของความมากน้อยของความตรงกัน ก็คือข้อเท็จจริงที่ว่าสิ่งสากลที่สิ่งเฉพาะ แสดงตัวอย่ าง แสดงถึงความทั่วไปที่มากน้อยต่างกั น ยิ่งสิ่งสากลที่มีร่วมกันมีความจากั ด เฉพาะมากขึ้นเท่าไร ความตรงกันในคุณลักษณะก็จะยิ่งใกล้ชิด กันมากขึ้นเท่านั้น สิ่งสากลจึง มีความทั่วไปที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ จึงพอสรุปได้ว่า ทุกๆ ลาดับชั้นการซ้อนกันนั้น จะสิ้นสุดลง ที่สิ่งสากลที่มีความจาเพาะเจาะจงอย่างที่สุด คือเป็นสิ่งสากลแบบที่ไม่มีสิ่งสากลอื่นที่มีความ ทั่วไปน้อยกว่า หรือมีความจาเพาะเจาะจงมากกว่าอยู่ภายใต้พวกมัน และสิ่งเฉพาะที่ร่วมกัน แสดงตัวอย่ า งของสิ่ ง สากลที่จ าเพาะเจาะจงที่สุด ดังกล่าว ก็ จะตรงกั นในสี รูป ทรง ชนิ ด ความสัมพันธ์ทางอวกาศ หรืออะไรก็แล้วแต่


8

ดัง นั้น สิ่ง เฉพาะจึงแสดงตัวอย่า งของสิ่งสากลหลากหลายประเภท และในหลาย ระดับขั้นของความทั่วไป แต่นักสัจนิยมต้องการที่จะอ้างเกี่ยวกับสิ่งสากลที่ใช้ในการอธิบาย ความตรงกันในคุณลักษณะระหว่างสิ่งเฉพาะ ว่าตัวของพวกมันเองก็สามารถที่จะตรงกันใน การแสดงตัวอย่างสิ่งสากลที่เหนือขึ้นไป ฉะนั้น คุณสมบัติของแดง เหลือง เขียว ก็มีคุณสมบัติ ของเฉดสีที่หลากหลาย และพวกมันทั้งหมดก็อยู่ในประเภทของสี และพวกมันก็ตั้งอยู่ใน ความสัมพันธ์ของความสว่างกว่า กัน และความมืดกว่ากัน และแน่นอนว่าสิ่งสากลที่แสดง ตัวอย่างโดยสีสามารถที่จะมีความจาเพาะเจาะจงที่มากน้อยต่างกัน ดังนั้นจึงอธิบายว่าทาไม เมื่อเทียบกันระหว่างสีแดงและสีเขียว สีแดงจึงใกล้กับสีส้มกว่ามากกว่าที่สีเขีย วจะใกล้กับสี ส้ม ฉะนั้น ทัศนะดั้งเดิมที่ว่าสิ่งเฉพาะสอดคล้องต้องกันในคุณลักษณะด้วยเหตุแห่งการ ร่วมกันแสดงตัวอย่างของสิ่งสากลหนึ่ง จึงพาไปสู่ภาพที่สลับซับซ้อนอยู่พอควร สิ่งเฉพาะ และกลุ่มขนาดต่างๆ ของสิ่งเฉพาะแสดงตัวอย่างของสิ่งสากลที่แตกต่างกัน ออกไป คือแสดง ตัวอย่างของคุณสมบัติ ชนิดและความสัมพันธ์ ตัวสิ่งสากลนั้นเองก็มีคุณสมบัติที่สูงขึ้นไป และเป็นสมาชิกของชนิดที่สูงขึ้นไป และตั้งอยู่ในความสัมพันธ์ที่สูงขึ้นไป และสิ่งที่กล่าวมาก็ เป็นจริง กับคุ ณสมบัติ ชนิดและความสัมพันธ์ ที่สูงขึ้นไปเหล่านั้น ซึ่งดูเหมือนว่าจะไปได้ เรื่อยๆ อย่างไม่รู้จักสิ้นสุด และลาดับที่ดูเหมือนจะไม่มีที่จบของสิ่งสากลที่แสดงตัวออกมา ก็ อยู่ในลาดับชั้นของความทั่วไปที่ซ้อนกันอย่างสลับซับซ้ อน นาพามาซึ่งรูปแบบของความ ตรงกันในคุณลักษณะที่แสดงออกถึงความทั่วไปในหลายระดับขั้น อะไรที่เริ่มต้นในฐานะ ของสิ่งที่ขยายออกมาจากสามัญสานึกจึงเติบโตขยายออกไปเป็นทฤษฎีทางอภิปรัชญาอย่าง เต็มขั้น มีภววิทยาที่ห่างไกลอย่างยิ่งจากสามัญสานึก คนบางคนอาจปฏิเสธที่จะยอมรับความซับซ้อนของทฤษฎีนี้ แต่นักสัจนิยมต้องการที่ จะยื น ยั น ว่ า ความสลั บ ซั บ ซ้ อ นของโครงสร้ า งนี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ใ ห้ ป ระโยชน์ ใ นทางทฤษฎี โครงสร้างที่เกิดขึ้นแสดงออกถึงทฤษฎีที่เต็มรูป ที่มีความสามารถที่จะอธิบายปรากฏการณ์ใน วงกว้ า ง ถึ ง แม้ ว่ า ปรากฏการณ์ ที่ นั ก สั จ นิ ย มอ้ า งว่ า พวกเขาสามารถใช้ ท ฤษฎี อ ธิ บ าย จะ หลากหลายในทิศทาง เราจะพิจารณากันเพียงแค่สองปรากฏการณ์ ทั้งสองอย่างเป็นประเด็น ในเรื่องของการมีค่าความจริงของภาษาหรืออรรถศาสตร์ (semantics) ซึ่งมีบทบาทที่สาคัญใน


9

ประวัติศาสตร์ของสัจนิยมทางอภิปรัชญา ประเด็นแรกเกี่ยวข้องกับการสร้างประโยคคาพูด แบบภาคประธานและภาคแสดง(subject-predicate discourse) อันที่สองเป็นเรื่องของการ อ้างอิงถึงสิ่งนามธรรม(abstract reference) ตามความคิดของนักสัจนิยมปรากฏการณ์ทั้งสอง นาพาไปสู่ปัญหาปรัชญาที่ยุ่งยาก แต่พวกเขายืนยันว่ากลไกทางทฤษฎีที่สัมพันธ์อยู่กับลัทธิสัจ นิยมทางอภิปรัชญาสามารถจะให้คาตอบที่ตรงไปตรงมาและน่าพึงพอใจต่อปัญหาเหล่านั้น

สัจนิยมและภาคแสดง ประโยคแบบภาคประธานและภาคแสดงเป็นรูปแบบที่พื้นฐานของประโยคคาพูด บอกเล่า ประโยคข้างล่างคือตัวอย่าง (1) โสเครตีสกล้าหาญ (2) เพลโตเป็นมนุษย์ (3) โสเครตีสเป็นครูของเพลโต ในการใช้ประโยคแบบนี้ เราอ้างถึงสิ่งเฉพาะและกล่าวบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับมัน คือ บรรยายหรืออธิบายถึง คุณสมบัติของมัน บ่งบอกว่ามันเป็นสิ่งประเภทอะไร หรือแสดง ความสัมพันธ์ของมันกับสิ่งอื่น ตัวอย่างเช่น ในการใช้ (1) เราอ้างถึงโสเครตีสและพูดเกี่ยวกับ เขาว่าเขากล้า หาญ การบรรยาย (1) แบบนี้เสนอแนะว่ามีแต่ภาคประธานคือ “โสเครตีส ” เท่านั้นที่มีบทบาทในเชิงการอ้างอิงถึงสิ่งของ แต่นักสัจนิยมทางอภิปรัชญาต้องการจะยืนยัน ว่าคาอธิบายดังกล่าวไม่สมบูรณ์ พวกเขาอ้างว่าการวิเคราะห์ (1) ในแบบที่น่าพึงพอใจจะแสดง ว่าคาว่า “กล้าหาญ” ในภาคแสดงก็มีบทบาทในเชิงการอ้างอิงเช่นกัน3 สมมติ ว่ า (1) เป็ น จริ ง เห็ น ได้ ชั ด ว่ า ความจริ ง ของมั น ขึ้ น อยู่ กั บ สิ่ ง สองประการ ประการที่หนึ่งคืออะไรที่ (1) พูด และประการที่สองคือวิธีที่โลกเป็นอยู่ ทั้งสองประการเป็น เรื่องของโครงสร้าง อะไรที่ (1) พูดเป็นเรื่องของคาและระเบียบของคา ในอีกทางหนึ่ง วิธีที่ โลกเป็นอยู่ก็เป็นเรื่องของโครงสร้างที่ไม่ใช่ทางภาษา มันเป็นเรื่องวิธีที่สิ่งของในอาณาเขต 3

ดูใน Donagan (1963: 126-33)


10

หนึ่งของโลกเป็นอยู่ และวิธีที่มันสัมพันธ์ต่อกัน ดังนั้นความเป็นจริงของ (1) จึงเกี่ยวพันถึง โครงสร้างทางภาษาและโครงสร้างที่ไม่ใช่ทางภาษา และนักสัจนิยมยืนยันว่า เพราะว่ามีความ สอดคล้องระหว่างโครงสร้างทั้งสอง (1) ถึงเป็นจริง กล่าวคือ เป็นเพราะว่าโครงสร้างทาง ภาษาของ (1) สอดคล้องหรือสะท้อนโครงสร้างของอาณาบริเวณหนึ่งของโลก นี่คือสิ่งที่ทา ให้ (1) เป็นจริง เห็นได้ชัดว่า เราจะได้ความสอดคล้องที่ต้องการก็ต่อเมื่อมีสิ่งที่เข้าคู่ไปกับชื่อ เฉพาะ “โสเครตีส” แต่นักสัจนิยมโต้เถียงว่า (1) จะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อ คาว่า “กล้าหาญ” ก็ ต้องมีสิ่งที่เข้าคู่ไปด้วยเช่นกัน ตามที่ปรากฏใน (1) คาว่า “กล้าหาญ” ไม่ได้แสดงบทบาทใน เชิงไวยากรณ์ (อย่างคาว่า “และ” “หรือ”) ซึ่งไม่ได้เข้ามามีความสัมพันธ์ใดๆ กับวัตถุในโลก บทบาทของมันใน (1) คือการเข้าไปสัมผัสกับสิ่งในโลกด้วยการอ้างอิง ดังนั้น ถ้า (1) จะเป็น จริ ง ทั้ ง ภาคประธานและภาคแสดงต้อ งมีสิ่ ง มารองรั บ และสิ่ง ที่ รองรับ ค าทั้ ง สองต้อ งมี ความสัมพันธ์กันในอย่างที่ทาให้อะไรที่ (1) พูดเป็นจริง แต่ตามที่คาว่า “กล้าหาญ” ปรากฏใน (1) มันอ้างอิงถึงสิ่งอะไรบางอย่าง อย่างชนิดที่ ด้วยเหตุแห่งการที่สิ่งที่ถูกอ้างอิงถึงด้วยคาว่ า “โสเครตีส” เข้าไปตั้งอยู่ในความสัมพันธ์กับมัน จึงทาให้ “โสเครตีส” เป็นอย่างที่ (1) พูดว่า เขาเป็น คือ กล้าหาญ อย่า งไรก็ตาม นักสัจนิยมทางอภิปรัชญาไม่รีรอที่จะชี้ว่าคาว่า “กล้าหาญ” เป็นคา ทั่วไปที่สามารถใช้กับบุคคลอื่นนอกจากโสเครตีสด้วย ดังนั้น จึงสามารถไปอยู่ในประโยค แบบภาคประธานและภาคแสดงอื่น ตัวอย่างเช่น สมมติว่าไม่เพียงแค่ (1) เท่านั้นที่เป็นจริง แต่ (4) เพลโตกล้าหาญ ก็เป็นจริงด้วย เมื่อใช้ข้อโต้เถียงแบบเดียวกับ (1) กับ (4) คาว่า “กล้าหาญ” ใน (4) ก็มีบทบาท ในเชิงการอ้างอิงถึงสิ่งภายนอกภาษาไม่น้อยไปกว่าใน (1) แต่อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งที่ถูกอ้างอิงถึงด้วยคาว่า “กล้าหาญ” ในทั้งสองประโยค? เห็นได้ชัดว่าอะไรที่เราพูดเกี่ยวกับ เพลโตเมื่อเราใช้ภาคแสดง “กล้าหาญ” กับเขา ก็เป็นอย่างเดียวกันทุกประการกับอะไรที่เราพูด ถึงโสเครตีส เมื่อเราใช้ภาคแสดง “กล้าหาญ” กับเขาใน (1) และตามความคิดของนักสัจนิยม นี่หมายความว่า อะไรก็แล้วแต่ที่ถูกอ้างอิงถึงด้วย “กล้าหาญ” ใน (1) และ (4) ย่อมเป็นสิ่ง เดียวกัน นักสัจนิยมสรุปว่า คาว่า “กล้าหาญ” อ้างอิงถึงสิ่งๆ เดียวใน (1) และ (4) ซึ่งเป็นสิ่งๆ


11

เดียว อย่างที่ ด้วยการที่โสเครตีสและเพลโตเข้ามาสัมพันธ์กับมัน ทั้งสองคนจึงถูกถือว่ากล้า หาญ และแน่นอนว่า ข้อโต้เถีย งแบบเดีย วกันก็ใ ช้ได้กับประโยคภาคประธานและภาค แสดงที่ เ ป็ นจริง อื่นๆ ที่ มี ค าว่า “กล้า หาญ” อยู่ ใ นฐานะภาคแสดง ในประโยคเช่นนั้นทุ ก ประโยค ค าว่า “กล้า หาญ” ท าหน้า ที่ อ้า งอิ ง ถึง วัต ถุ ๆ หนึ่ ง และตราบเท่ า ที่ คานี้ ถูก ใช้ ใ น ความหมายเดียวกันในทุกประโยค มันก็ย่อมอ้างอิงถึงสิ่งเดียวกันในทุกประโยค ในประโยค ประเภทดังกล่าวทุกประโยค มันอ้างอิงถึงสิ่งๆ หนึ่ง และด้วยการที่สิ่งที่ถูกอ้างอิงถึงในภาค ประธานของประโยคเข้าไปสัมพันธ์กับมัน ประโยคจึงเป็นจริง อะไรคือกลไกทางอภิปรัชญา ที่เป็นที่ต้องการในการพูดถึงเรื่องราวของค่าความจริงของประโยคอย่าง (1) และ (4)? นักสัจ นิยมยืนยันว่ากรอบทางภววิทยาที่เป็นใจกลางของคาอธิบายของพวกเขา เป็นกลไกในการ อธิบายเรื่องดังกล่าว เมื่อมีการถือเอาว่ามีสิ่งสากล หรือ สิ่งที่ปรากฏซ้าได้ และมีความสัมพันธ์ ของการแสดงเป็นตัวอย่าง ที่ ผูกมันเข้ากับสิ่งเฉพาะ คาอธิบายถึงค่าความจริงของประโยค อย่าง (1) และ (4) ก็จะเป็นไปได้อย่างง่ายดาย มันเป็นเพราะว่า คาว่า “กล้าหาญ” มีสิ่งสากล บางอย่างเป็นสิ่งที่มันอ้างถึง ซึ่งก็ได้แก่ คุณธรรมของความกล้าหาญ และเพราะว่าทั้ง เพลโต และโสเครตีสแสดงตัวอย่างของสิ่งสากลดังกล่าว (1) และ (4) ถึงเป็นจริง นักสัจนิยมต้องการที่จะขยายเรื่องราวที่บอกเราเกี่ยวกับ (1) และ (4) ให้เป็นคาอธิบาย ทั่วไปของประโยคแบบภาคประธานและภาคแสดง ภาคแสดงอ้างอิงไปถึงสิ่งสากล และอะไร ที่ทาให้ประโยคแบบภาคประธานและภาคแสดงเป็นจริ ง ก็คือ การที่สิ่งที่อ้างอิงไปถึงโดยคา ของภาคประธาน แสดงตัวอย่างของสิ่งสากลที่ถูกอ้างอิงถึงโดยคาของภาคแสดง และนักสัจ นิยมก็จะอ้างว่า มี สิ่งสากลอยู่มากมายหลายอย่างที่สามารถเป็นสิ่งที่ถูกอ้างอิงถึงโดยคาของ ภาคแสดง ภาคแสดงของประโยคอย่ าง (1) ซึ่งเราบอกเล่าเกี่ ย วกั บ วัตถุหรือพู ดว่ามันเป็น อย่างไร เป็นภาคแสดงที่อ้างอิงไปถึงคุณสมบัติ ประโยคภาคประธานและภาคแสดงอื่นเป็น อาจเป็นเหมือนกับ (2) เพลโตเป็นมนุษย์ คือทาให้เราสามารถระบุว่าสิ่งที่พูดถึงเป็นอะไร หรือชนิดของสิ่ง นั้นคืออะไร ฉะนั้นภาค แสดงของพวกมันจึงอ้างอิงไปถึงชนิด และประการสุดท้าย มีประโยคอย่าง


12

(3) โสเครตีสเป็นครูของเพลโต ที่ทาให้เราสามารถกล่า วว่า สิ่ง ที่ ถูกพูดถึง มีความสัมพันธ์ต่อกัน นั้นคือ ภาคแสดงของมัน อ้างอิงไปถึงความสัมพันธ์ เพื่อที่การวิเคราะห์นี้จะสมบูรณ์ เราต้องการคาอธิบายของความสัมพันธ์เชิงการอ้างอิง ที่ผูกภาคแสดงเข้ากับคุณสมบัติ ชนิด และความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ของการอ้างอิงที่เป็น ตัว อย่ า งต้ น แบบของเรา คื อ ความสัม พั น ธ์ร ะหว่า งชื่ อและเจ้ า ของชื่ อ เป็ น ความสัม พั น ธ์ ระหว่างคาว่า “โสเครตีส” กับนายโสเครตีส และนักสัจนิยมบางคนต้องการที่จะอ้างว่า นี่ก็คือ ความสัมพันธ์ที่ภาคแสดงมีกับสิ่งสากล4 ตัวอย่างหลักของพวกเขาได้แก่ประโยคอย่าง (5) สิ่งนี้มีสีแดง ซึ่ง เราระบุ สีข องสิ่ง เฉพาะบางอย่ า ง พวกเขาบอกว่า (5) บรรจุไ ว้ด้วยชื่อสองชื่อ ที่ผูก เข้า ด้วยกันด้วยคาว่า “มี” “สิ่งนี้” เป็นชื่อของสิ่งเฉพาะอะไรบางอย่าง “สีแดง” เป็นชื่อของสิ่ง สากลบางอย่าง คาว่า “มี” แสดงถึงความสัมพันธ์ของการแสดงตัวอย่าง ที่ผูกสิ่งเฉพาะที่ถูก เรียกชื่อว่า “สิ่งนี้” เข้ากับสิ่งสากลที่ถูกเรียกชื่อว่า “สีแดง” คาอธิบายนี้สนับสนุนอย่างเต็มที่ ต่อทั ศนะที่ว่า ความจริงของประโยคแบบภาคประธานและภาคแสดงเป็นเรื่องของความ สอดคล้องระหว่างโครงสร้างทางภาษาและโครงสร้างที่ไม่ใช่ภาษา เพราะตามทัศนะนี้ เราได้ ความสอดคล้องแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ระหว่างถ้อยคาที่ประกอบกันขึ้นเป็น (5) กับสิ่งภายนอก ภาษาที่ทาให้ (5) เป็นจริง แต่ในขณะที่ข้ออ้างว่า ภาคแสดงเป็นชื่อเรียกสิ่งสากล อาจฟังว่า ใช้ได้ดีกับประโยคอย่างเช่น (5) แต่เมื่อเราหันไปดูประโยคแบบภาคประธานและภาคแสดง อื่นๆ เราจะพบว่าการวิเคราะห์เป็นไปอย่างไม่ค่อยราบรื่นเท่าใดนัก ลองพิจารณา (1) โสเครตีสกล้าหาญ ดูอีกครั้งหนึ่ง มันไม่เหมาะที่จะถือว่าภาคแสดงคือชื่อ ถ้าหากว่าคาเป็นชื่อของสิ่ง ของ มันย่อม สามารถมีบทบาทเป็นคาของภาคประธานในประโยคแบบภาคประธานและภาคแสดง และใน บทบาทดังกล่าวมันก็จะอ้างอิงถึงสิ่งที่มันเป็นชื่อ แต่คาว่า “กล้าหาญ” ดูจะไม่ใช่เช่นนั้น มัน 4

ดูตัวอย่างใน Bergmann (1959: 190-1)


13

ไม่สามารถทาหน้าที่ทางไวยากกรณ์เป็นภาคประธานของประโยคได้ มันจะต้องเป็นคาว่า “ความกล้าหาญ” ต่างหากที่สามารถทาหน้าที่เป็นคาของภาคประธานของประโยคได้ และตัว คานีเ้ องก็ไม่สามารถทาหน้าที่ของภาคแสดง มีคาอย่างนี้อีกมาก ลองพิจารณา (6) เหรียญนี้กลม (7) เพลโตฉลาด (8) อัลซิไปดัสเหนื่อย ไม่มีกรณีไหนในกรณีเหล่านี้ที่เหมาะสมที่จะอ้างว่าภาคแสดงทาหน้าที่เป็นชื่อของสิ่งสากลที่ ถูกอ้างอิงถึง ในแต่ละกรณีมันมีคาอื่น (ทรงกลม ความฉลาด ความเหนื่อย) ที่เหมาะสมกว่าที่ จะถือว่าเป็นชื่อของสิ่งสากล ข้อเท็จจริงที่ว่าเราไม่สามารถถือภาคแสดงของ (1) (6) (7) หรือ (8) ให้เป็นชื่อของสิ่งสากล เสนอแนะว่า คาว่า “สีแดง” ก็ไม่ได้แสดงบทบาทของชื่อของสิ่ง สากลใน (5) ด้วยเช่นกัน และที่จริงแล้ วมันก็ไม่ได้เป็น คาว่า “สีแดง” และสีอื่นๆ เป็นคาที่ กากวม มันสามารถทาหน้าที่เป็นคานาม (อย่างเช่น “สีแดงคือสีๆหนึ่ง) และในการใช้เช่นนั้น มันก็เหมาะสมที่ จะถือว่ามันเป็นชื่อ แต่มันก็ยั งสามารถทาหน้าที่เป็นคาวิเศษณ์ (อย่างเช่น “บ้านสีแดง”) และในกรณีเช่นนั้นมันย่อมไม่ใช่ชื่อ ใน (5) คาถูกใช้ในแบบคาวิเศษณ์ และคา ว่า “กล้าหาญ”ใน (1) ก็เช่นเดียวกัน เรากาลังสนใจต่ออุปสรรคในเชิงไวยากรณ์ของการตีความภาคแสดงให้เป็นชื่อ แต่ อุปสรรคดังกล่าวมีรากฐานทางอรรถศาสตร์ ชื่อเป็นคาเอกพจน์ มันบ่งถึงเจ้าของชื่อเพียงคน เดียวเท่านั้น ภาคแสดงเป็นคาทั่วไป และในฐานะเช่นนั้น มันมีความสัมพันธ์เชิงการอ้างอิงกับ วัตถุแต่ละชิ้นที่มันสามารถไปเป็นภาคแสดง ตามสานวนของนักอรรถศาสตร์ ภาคแสดงเป็น จริ ง ต่ อ วั ต ถุ เ หล่ า นั้ น หรื อ ได้ รั บ การตอบสนองโดยวั ต ถุ เ หล่ า นั้ น แต่ ถ้ า การที่ มั น มี ความสัมพันธ์อันนั้น กันมันออกจากการทาหน้ าที่เป็นชื่อของสิ่งสากล จะมีความสัมพันธ์เชิง การอ้างอิงแบบอื่นอีกไหมที่มันอาจจะมีต่อสิ่งสากล? นักสัจนิยมจานวนมากยืนยันว่ามี พวก เขาอ้างว่า นอกจากการที่มันเป็นจริงต่อวัตถุ หรือได้รับการตอบสนอง โดยวัตถุที่มันสามารถ เข้าไปเป็นภาคแสดง คาของภาคแสดงแสดงออก(express) หรือมีนัย(connote)ถึงสิ่งสากล5 5

ดูตัวอย่างใน

Walterstorff (1973: 85) Strawson (1959: chap.V) และใน Loux (1978a: 30-3)


14

ฉะนั้นคาว่า “กล้าหาญ” จึงเชื่อมโยงอยู่กับบุคคลทั้งหมดที่กล้าหาญ ด้วยความสัมพันธ์ของ การได้รับการตอบสนองโดยบุคคลเหล่านั้น แต่นักสัจนิยมอ้างว่า มันแสดงออก หรือมีนัยไป ถึงสิ่งสากลที่บุคคลทั้งหมดเหล่านั้นมีร่วมกัน ได้แก่ คุณธรรมแห่งความกล้าหาญ เช่นเดียวกัน คาว่า “กลม” ก็ได้รับการตอบสนองโดยทุกสิ่ง (และเพียงเฉพาะโดยสิ่ง)ที่กลม แต่นักสัจนิยม บอกว่า มันมีความสัมพันธ์ทางอรรถศาสตร์ของการแสดงออกถึง (หรือมีนัยไปถึง)สิ่งสากลที่ ปัจเจกวัตถุเหล่านั้นทั้งหมดมีร่วมกัน ได้แก่ การมีรูปทรงเป็นวงกลม เพื่อที่จะสร้างความชัดเจนให้แก่ข้ออ้างที่ว่าภาคแสดงแสดงออกถึงสิ่งสากล นักสัจ นิยมโต้เถียงว่า การใช้คาภาคแสดงกับวัตถุหนึ่ง เป็นอะไรที่มากกว่าการเพียงแค่ ระบุว่าวัตถุ เป็นสมาชิกของชุดหรือเซ็ทของวัตถุเซ็ทหนึ่ง มันเป็นการระบุเช่นกันถึงสิ่งสากลที่ทาให้วัตถุ กลายเป็นสมาชิกของเซ็ทนั้น ฉะนั้น เมื่อเราพูดว่าสิ่งหนึ่งเป็นสามเหลี่ยม เราไม่ได้เพียงแค่พูด ว่า มันเป็นสมาชิกของเซ็ทๆ หนึ่ง เรากาลังชี้ไปถึงคุณสมบัติที่มีร่วมกันของสมาชิกทั้งหมด ของเซ็ท และบอกด้วยว่าวัตถุที่ถูกพูดถึงแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัตินั้น ตามความคิดของนักสัจ นิยม ข้อเท็จจริงที่ว่า การใช้คาภาคแสดงป็นมากกว่าการระบุถึงสิ่งที่ เป็นจริงต่อวัตถุของภาค ประธาน ถูกแสดงให้เห็นโดยข้อเท็จจริงที่ว่า ประโยคภาคประธานและภาคแสดงแบบ (1) ถึง (8) ของเรา สามารถเขียนใหม่ให้แสดงออกโดยตรงถึงสิ่งสากลได้ ตัวอย่างเช่น (1) สามารถ เขียนใหม่ให้เป็น (1a) โสเครตีสแสดงตัวอย่างของความกล้าหาญ และ (6) ก็สามารถเขียนใหม่ให้เป็น (6a) เหรียญนี้แสดงตัวอย่างของรูปวงกลม ในทั้ ง สองกรณี ประโยคภาคประธานและภาคแสดงเดิ ม เปิ ด ทางให้ กั บ ประโยคซึ่ ง มี ค า เอกพจน์ปรากฏอยู่ ซึ่งมีอะไรที่ดูเหมือนจะเป็นการเรียกชื่อความสัมพันธ์ต่อสิ่ งสากล ที่นักสัจ นิยมถือว่าภาคแสดงของประโยคอ้างอิงถึง ณ ตรงนี้นักสัจนิยมต้องการที่จะอ้างว่า ความ เป็นไปได้ของการเขียนใหม่ดังกล่าวเป็นความจริงทั่วไป ประโยคภาคประธานและภาคแสดง ใดๆ ก็ตามที่อยู่ในรูปของ “a เป็น F” ล้วนแต่สามารถเขียนใหม่ให้อยู่ในรูปของ “a แสดง ตัวอย่างของ ความ-F” แต่ถ้าการเขียนใหม่แบบนี้เป็นไปได้เสมอ การใช้คาทั่วไปF มาเป็นภาค


15

แสดงของวัตถุๆ หนึ่ง ก็เท่ากับการพูดว่า วัตถุนั้นแสดงตัวอย่างของสิ่งสากลของความ-F และ นี่ย่อมหมายความตามมาว่า ถึงแม้ว่าภาคแสดงจะไม่ได้เป็นชื่อเรียกของสิ่งสากล การใช้พวก มันในบริบทของประโยคภาคประธานและภาคแสดง เป็นการนาเข้ามาซึ่ง สิ่งสากล เป็นการ พูดถึง หรืออ้างอิงถึงสิ่งสากล ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์เชิงการอ้างอิงอยู่ในที่นี้ แม้จะเป็นแบบ ที่อ่อนกว่าการเรียกชื่อ แต่ก็อิงอาศัยการเรียกชื่อเป็นหลักสาคัญ ความสัมพันธ์ดั งกล่าวเป็นสิ่ง ที่นักสัจนิยมเรียกว่าการแสดงออกหรือการบ่งบอกเป็นนัย และนักสัจนิยมก็จะอ้างว่า ภาค แสดงสามารถแสดงออกหรือบอกเป็นนัยถึงสิ่งสากลหลายประเภท ภาคแสดงของประโยค อย่าง (1) แสดงออกหรือบอกเป็นนัยถึงคุณสมบัติ การกล่าวยืนยัน (1) คือการพูดว่า วัตถุที่ถูก พูดถึงแสดงตัวอย่างของคุณสมบั ตินั้น ด้วยการเป็นเจ้าของหรือด้วยการมี คุณสมบัตินั้น ภาค แสดงของ (2) แสดงออกถึงชนิด การกล่าวยืนยัน (2) คือการพูดว่า สิ่งบางสิ่งแสดงตัวอย่าง ของชนิ ด ดั ง กล่ า วด้ ว ยการเป็ น สมาชิ ก ของชนิ ด นั้ น ภาคแสดงของ (3) แสดงออกถึ ง ความสัมพั นธ์แบบสองตาแหน่ง การกล่าวยื นยั น (3) คือการพู ดว่า สิ่งเฉพาะคู่หนึ่งแสดง ตัวอย่างของความสัมพันธ์สองตาแหน่งด้วยการมีความสัมพันธ์ต่อกันในแบบดังกล่าว ดังนั้น ภาคแสดงจึงแสดงออกหรือมีนัยไปถึงคุณสมบัติ ชนิดและความสัมพันธ์ และ เมื่อใดก็ตามที่เรามีประโยคภาคประธานและภาคแสดงที่เป็นจริง สิ่งสากลที่แสดงออกโดย ภาคแสดงก็จะถูกแสดงตัวอย่างโดยสิ่งที่ ถูกอ้างอิงถึงโดยคาที่เป็นภาคประธานของประโยค นัก สัจนิย มอ้า งว่า คาอธิบายนี้ทาในสิ่งที่เราต้องการ กล่าวคือมันอธิบายวิธีที่ประโยคภาค ประธานและภาคแสดงสามารถที่จะสอดคล้องไปกับโลก และมันทาสิ่งดังกล่าวด้วยวิธีที่เป็น ธรรมชาติและอย่างน่าพอใจ สิ่งที่ทาให้คาอธิบายดูเป็นธรรมชาติก็คือการที่มันเชื่อมโยงอยู่กับ การตีความความตรงกันในคุณลักษณะของนักสัจนิยม คาทั่วไปมีบทบาทเป็นภาคแสดง และ ไม่ว่าจะบนทฤษฎีใด คาทั่วไปเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความตรงกันในคุณลักษณะ นั่นก็คือ ทุ ก หน่วยซึ่ ง ค าทั่ วไปหนึ่ง เป็ นจริงต่อพวกมัน ล้ วนแต่ตรงกั น ในคุณ ลัก ษณะหรือมีความ เหมื อนกั น ในลั ก ษณะบางอย่ าง แต่ต ามความคิ ด ของนั ก สัจ นิ ย ม ทุ ก หน่ ว ยซึ่ง ตรงกั น ใน คุณลักษณะแสดงตัวอย่างของสิ่งสากลอะไรสักอย่าง และตามคาอธิบายของนักสัจนิยม คา ทั่วไปซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงของความตรงกันในคุณลักษณะ แสดงออกหรือมีนัยไปถึงสิ่ง สากลเดียวกัน ซึ่งรองรับการตรงกันในคุณลักษณะดังกล่าว ดังนั้น เราจึงมีคาอธิบายของการ แสดงความด้วยภาคแสดง ที่เข้าคู่ไปกับคาอธิบายของการตรงกันในคุณลักษณะ และทั้งสอง


16

คาอธิบายสอดประสานกันในวิธีที่มันต้องเป็น ถ้าเราจะให้คาอธิบายที่น่าพึงพอใจต่อความจริง ของประโยคภาคประธานและภาคแสดง สิ่งสากลที่ถูกอ้างอิงไปถึงโดยภาคแสดงก็คือสิ่ง สากลที่ต้องถูกแสดงตัวอย่างโดยสิ่งที่คาของภาคประธานอ้างอิงไปถึง ถ้าหากว่าสิ่งที่ถูกอ้าง ถึงนั้นจะเป็นอะไรบางอย่างที่ให้ตัวอย่างของความตรงกันในคุณลักษณะที่แสดงออกโดยคา ภาคแสดงนั้น

สัจนิยมและการอ้างอิงเชิงนามธรรม นักสัจนิยมต้องการที่จะอ้างว่าภววิทยาของสิ่งสากล สามารถอธิบายได้มากกว่าเรื่อง ของการแสดงความโดยภาคแสดง พวกเขาคิดว่าทฤษฎีทางอภิปรัชญาของพวกเขาสามารถที่ จะช่วยเราในการอธิบายปรากฏการณ์ของการอ้างอิงเชิงนามธรรม เราเห็นปรากฏการณ์นี้อย่าง ชัดเจนที่สุดในการใช้ของสิ่งที่เรียกว่า คานามธรรมเอกพจน์(abstract singular term) ตัวอย่าง ของคานามธรรมเอกพจน์ก็ได้แก่คาอย่าง “ความฉลาด” “มนุษยชาติ” และ “ความกล้าหาญ” ทั้งหมดเป็นคาเอกพจน์ มันสามารถที่จะมีบทบาทเป็นภาคประธาน และพวกมันมักจะคู่มากับ คาที่สามารถแสดงบทบาทของภาคแสดง ซึ่งก็ได้แก่คาทั่วไป ฉะนั้นเราจึงมี “ความฉลาด”/ “ฉลาด” “มนุษยชาติ”/ “มนุษย์” “ความกล้าหาญ”/ “กล้าหาญ” “สีแดง” (ที่ใช้เป็นคานาม) / “สี แดง” (ที่ใช้เป็นคาวิเศษณ์) ตามที่เข้าใจเอาอย่างง่ายๆ แล้ว คาที่จับคู่กันมาพวกนี้ดูเหมือนจะ สัมพันธ์กันด้วยวิธีพิเศษอะไรบางอย่าง คานามธรรมเอกพจน์ดูเหมือนจะเป็นเครื่องมือสาหรับ การอ้างอิงถึงคุณสมบัติหรือชนิด และคาทั่วไปดูเหมือนจะเป็นคาที่เป็นจริง หรือได้รับการ ตอบสนองโดยทุกวัตถุที่แสดงตัวอย่างของคุณสมบัติหรือชนิดดังกล่าว นักสัจนิยมยืนยันว่า ความเข้าใจดังกล่าวถูกต้องแล้ว และอ้างว่าถ้าเราไม่ถือว่าคานามธรรมเอกพจน์เป็นเครื่องมือ ในการอ้างอิงถึงสิ่งสากล เราจะไม่สามารถให้คาอธิบายที่น่าพึงพอใจกับประโยคที่มีพวกมัน ปรากฏอยู่ ข้างล่างนี้คือตัวอย่างของประโยคประเภทดังกล่าว (9) ความกล้าหาญคือคุณธรรมทางศีลธรรม (10) ความเป็นสามเหลี่ยมคือรูปทรงชนิดหนึ่ง (11) สมชายชอบสีแดงมากว่าสีฟ้า


17

(12) มนุษย์ชาติเป็นประเภทๆ หนึ่ง (13) ความฉลาดคือเป้าหมายแห่งกิจกรรมทางปรัชญา รวมทั้งประโยคที่เราพูดถึงเมื่อเราอธิบายบทบาทในการอ้างอิงของภาคแสดง (1a) โสเครตีสแสดงตัวอย่างของความกล้าหาญ (6a) เหรียญนี้แสดงตัวอย่างของรูปวงกลม นักสัจนิยมชี้ว่าประโยคพวกนี้สามารถเป็นจริงได้ และโต้เถียงว่ามีแต่ เพียงนักสัจนิยมทาง อภิปรัชญาเท่านั้นที่สามารถอธิบายวิธีที่พวกมันเป็นจริง นักสัจนิยมยืนยันว่า ถ้าเราจะอธิบาย สิ่งที่ป ระโยคพวกนี้พูด เราต้องถือว่า คานามธรรมเอกพจน์ก าลังทาหน้ าที่ในแบบที่ความ เข้าใจตามสามัญสานึกของเราบอกว่ามันทา กล่าวคือ มันแสดงบทบาทของการอ้างอิงอย่าง ตรงไปตรงมาที่สุด นั่นก็คือ พวกมันกาลังทาหน้าที่เป็นชื่อของสิ่งสากล แต่ถ้ามันกาลังทา หน้าที่ดังกล่าว ประโยคที่มีพวกมันปรากฏอยู่จะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อสิ่งสากลที่พวกมันเป็นชื่อ มีอยู่จริงๆ ดังนั้นจึงมีแต่นักปรัชญาที่ยอมรับภววิทยาของสิ่งสากลเท่านั้น ที่สามารถอธิบาย ความเป็นจริงของประโยคซึ่งมีคานามธรรมเอกพจน์ปรากฏอยู่ ลองพิจารณา (9) ใน (9) เราอ้างอิงไปถึงคุณสมบัติบางอย่าง ได้แก่ คุณสมบัติที่แสดง ตัวอย่างโดยคนทุกคนที่กล้าหาญ และเราก็พูดต่อไปว่ามันเป็นสิ่งชนิดอะไร นั่นก็คือพูดว่า มัน เป็นคุณธรรมทางศีลธรรมชนิดหนึ่ง ดังนั้น (9) จึงเป็นการอ้างเกี่ยวกับคุณสมบัติบางอย่าง ที่ ความเข้าใจเบื้องต้นบอกเราว่า เป็นคุณสมบัติที่ถูกเรียกชื่อโดยคานามธรรมเอกพจน์ว่า “ความ กล้าหาญ” และข้ออ้างนี้จะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่ อคุณสมบัติดังกล่าวมีอยู่จริง เพราะแน่นอนว่า ข้ออ้างว่าความกล้าหาญเป็นสิ่งชนิดหนึ่งจะไม่สามารถเป็นจริงถ้าไม่มีสิ่ง อย่างเช่นความกล้า หาญ แบบเดียวกัน ใน (10) เรากล่าวอ้างอิงไปถึงคุณสมบัติที่ถูกแสดงตัวอย่างโดยวัตถุรูป สามเหลี่ยมทั้งหมด (และเฉพาะโดยวัตถุรูปสามเหลี่ ยมเท่านั้น) และเราพูดถึงคุณสมบัตินั้นว่า มันเป็นรูปทรงชนิดหนึ่ง ฉะนั้น (10) จึงเป็นข้ออ้างถึงคุณสมบัติที่ความเข้าใจเบื้องต้นบอกเรา ว่าเป็นสิ่งที่ถูกอ้างอิงถึงโดยคานามธรรมเอกพจน์ว่า “ความเป็นรูปสามเหลี่ยม” และการที่ (10) จะเป็นจริงได้มันก็ ต้องเป็นจริงอยู่ก่ อนว่า สิ่งที่ ถูกอ้างอิงถึงโดยคานามธรรมเอกพจน์ ดังกล่าวมีอยู่จริง ไม่ว่าจะอย่างไร มันก็ไม่อาจจะเป็นจริงได้ว่า ความเป็นรูปสามเหลี่ยมจะเป็น


18

สมาชิกของรูปทรงชนิดหนึ่งได้ ถ้าการเป็นรูปสามเหลี่ยมจะไม่มีอยู่จริง และเราก็สามารถ กล่าวถึงความเป็นจริงของ (11) ถึง (13) และ (1) และ (6) ได้ด้วยวิธีแบบเดียวกัน ในแต่ละ กรณี เรามีคานามธรรมเอกพจน์ และประโยคที่เรากล่าวถึงสามารถจะพูดในสิ่งที่มันพูดได้ก็ เพราะ คานามธรรมในนั้นกาลังทาหน้าที่ในแบบที่ความเข้าใจเบื้องต้นบอกเราว่ามันทาหน้าที่ นั่นคือ เพียงเพราะว่ามันกาลังแสดงบทบาทเป็นชื่อเรียกของสิ่งสากล แต่ละประโยคเหล่านี้จะ เป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อสิ่งสากลที่ถูกเรียกชื่อโดยคานามธรรมดังกล่าวมีอยู่จริง และก็มีประโยค แบบนี้อีก มากมาย ซึ่ง จะเป็ นจริง ได้ ก็ ต้องเป็นจริงอยู่ก่ อนหน้าว่าสิ่งสากลซึ่งความเข้าใจ เบื้องต้นของเราบอกว่าเป็นสิ่งที่ถูกอ้างอิงไปถึ งโดยคานามธรรมเหล่านั้น มีอยู่จริง และก็เห็น ได้ชัดว่าประโยคดังกล่าวจานวนมากเป็นจริง และมีแต่นักสัจนิยมทางอภิปรัชญา ซึ่งเป็นนั ก ปรัชญาที่ถือว่าสิ่งสากลมีจริงเท่านั้นที่สามารถอธิบายได้ว่าทาไม ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าประโยคซึ่งมีคานามธรรมเอกพจน์บรรจุอยู่สามารถเป็นจริงได้ จึงเป็นอะไรที่นักสัจนิยมอ้างว่ามีแต่ตนเท่านั้นที่สามารถอธิบายได้ พวกเขายืนยันว่า อะไรที่ เราเรียกว่าการอ้างอิงเชิงนามธรรมไม่ได้จากัดอยู่เฉพาะแต่กับประโยคอย่างที่เราพิจารณามา มี ประโยคซึ่งไม่ได้บรรจุด้วยคานามธรรมเอกพจน์ แต่ก็ดูเหมือนว่าจะเกี่ยวพั นไปถึงการอ้างอิง ถึงสิ่งอย่างคุณสมบัติ ชนิดและความสัมพันธ์6 ตัวอย่างที่พวกเขาคิดถึงได้แก่ (14) มะเขือเทศลูกนั้นกับรถดับเพลิงคันนั้นมีสีเดียวกัน (15) สายพันธุ์บางชนิดสามารถผสมพันธุ์กันได้ (16) มีความสัมพันธ์ที่ยังไม่ถูกค้นพบ ที่ผูกอนุภาคเข้าด้วยกัน (17) เขามีลักษณะทางบุคลิกภาพแบบเดียวกับญาติผู้น้องของเขา (18) รูปทรงนั้นถูกแสดงตัวอย่างหลายครั้ง ถึง แม้ ป ระโยคเหล่า นี้จ ะไม่ มี ค าเอกพจน์ซึ่ งเป็ นชื่ อของสิ่ง สากล นัก สัจ นิย มก็ บ อกเราว่ า ทั้งหมดนี้เป็นข้ออ้างเกี่ยวกับสิ่งสากล คือเป็นข้ออ้างเกี่ยวกับสี ลักษณะทางบุคลิกภาพ รูปทรง ซึ่งสิ่งของมีร่วมกัน ชนิดทางชีววิทยา และความสัมพันธ์ และพวกเขายืนยันว่า ประโยคเหล่านี้ ไม่อาจเป็นจริงได้ นอกเสียจากว่าสิ่งสากลที่เกี่ยวข้องมีอยู่จริง ฉะนั้น (14) ถึง (17) จึงเป็นการ 6

ดูตัวอย่างใน Chisholm (1989: 141-2)


19

กล่าวตรงๆ ถึงความมีอยู่ของสิ่งสากลที่ตอบสนองต่อเงื่อนไขบางอย่าง และไม่มีประโยคไหน จะเป็นจริงได้ นอกเสียจากว่าจะมีสิ่งสากลที่ตอบสนองต่อเงื่อนไขเหล่านั้น และในขณะที่ (18) จะไม่ได้กล่าวตรงๆ ถึงความมีอยู่ ความเป็นจริงของมันก็ตั้งอยู่บนความมีอยู่ของรูปทรง บางอย่าง ที่สามารถแสดงตัวอย่างได้อย่างหลากหลาย ดังนั้น เราจึงมีข้ออ้างที่ว่ามีประโยคซึ่ง ค่าความจริงของพวกมัน สามารถทาให้เราอนุมานไปถึง ความมีอยู่ของสิ่งอะไรบางอย่างที่นัก สัจนิยมเรียกว่าสิ่งสากล พวกเขาชี้ว่า มีประโยคอย่าง (14) ถึง (18) หลายประโยคที่เป็นจริง และสรุป ว่า มี แต่นัก ปรัช ญาที่ย อมรับต่อความมีอยู่ ของสิ่งสากลเท่านั้น ที่ส ามารถอธิบาย ข้อเท็จจริงนี้ได้ ฉะนั้น ประโยคซึ่งแสดงปรากฏการณ์ของการอ้างอิงเชิงนามธรรมจึงครอบคลุมทั้ง ประโยคที่มีและไม่มีคานามธรรมเอกพจน์ ในทั้งสองกรณี นักสัจนิยมยืนยันว่า ในการอธิบาย ความจริงของมัน เราต้องยอมรับภววิทยาของลัทธิสัจนิยมทางอภิปรัชญา มีข้อสังเกตเกี่ยวกับ ข้อโต้เถียงในแนวนี้อยู่สองประการ ประการที่หนึ่ง ข้อโต้เถียงนี้เป็นอิสระจากคาอธิบายของ นักสัจนิยมในเรื่องของภาคแสดง ข้ออ้างของนักสัจนิยมเกี่ยวกับประโยคอย่าง (9) ถึง (18) ไม่ มีการสมมติล่วงหน้าถึงทฤษฎีภาคแสดงใดๆ ถึงแม้เราจะถือเอาว่า คุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ เพียงประการเดียวที่เชื่อมโยงอยู่กับภาคแสดง คือคุณสมบัติของการเป็นจริ งต่อหรือการได้รับ การตอบสนองโดยหน่วยซึ่งเป็นภาคประธาน ข้อเท็จจริงก็ยังคงมีอยู่ว่า ในความเข้าใจเบื้องต้น ประโยคอย่าง (9) ถึง (18) มีอานาจในการสร้างข้ออ้างเกี่ยวกับสิ่งที่นอกเหนือไปจากสิ่งเฉพาะ รูปธรรมที่เราคุ้นเคย เป็นไปได้ที่จะคิดว่าข้อโต้เถียงนี้ถูกถือไว้ล่วงหน้าแล้วในการวิเคราะห์ ภาคแสดงของนักสัจนิยม ตามที่เราเห็น เมื่อนักสัจนิยมพยายามที่จะอธิบายและให้เหตุผล รองรับต่อข้ออ้างที่ว่า ภาคแสดงอ้างอิงถึงสิ่งสากล พวกเขาอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่า ประโยคภาค ประธานและภาคแสดงปกติที่ อยู่ในรูป “a เป็น F” สามารถเขียนใหม่ให้อยู่ในรูปของ “a แสดงตัวอย่างของความ-F” แต่เป็นเพียงเพราะว่าประโยคแบบหลังบรรจุไว้ด้วยคานามธรรม เอกพจน์ และเพราะว่า เราถือว่าความจริงของประโยคที่บรรจุด้วยคาเหล่านั้นผูกมัดเราให้ต้อง ยอมรับความมีอยู่ของสิ่งสากล เราจึงถือว่ าการสามารถเปลี่ยนรูปไปหากันได้ดังกล่าว เป็น ประจักษ์พยานถึงทฤษฎีว่าด้วยภาคแสดงของนักสัจนิยม


20

ประการที่ สอง ข้ออ้างของนัก สัจนิย มเกี่ ยวกับประโยคซึ่งพัวพันถึงการอ้างอิงเชิง นามธรรม เป็นสิ่งที่ไม่สามารถประเมินค่า น้าหนัก อย่างแยกขาดจากคาอธิบายแบบอื่นที่ว่า ด้วยบทบาทของเครื่องมือในการอ้างอิงถึงสิ่งนามธรรม เพราะสิ่งที่จะให้น้าหนักกับ ข้ออ้าง ดังกล่าวของนักสัจนิยมก็คือความล้มเหลวของการวิเคราะห์ประโยคอย่าง (9) ถึง (18) ในแบบ อื่น ถ้าเป็นไปได้ว่าเราสามารถมีคาอธิบายในแบบของนักนามนิยมที่น่าพอใจในเรื่องเนื้อหา และความจริงของประโยคซึ่งพัวพันถึงการอ้างอิงเชิงนามธรรม ข้ออ้างของนักสัจนิยมที่ว่า ความเป็นจริงของประโยคดังกล่าวผูกมัดให้เราต้องยอมรับภววิทยาของสิ่งสากล ก็กลายเป็น เรื่องไม่จาเป็น และนี่ก็เป็นจริงเช่นกันกับข้อโต้เถียงที่สร้างจากความจริงของภาคประธานและ ภาคแสดง ค าอธิ บ ายที่ เ พี ย งพอของวิ ธี ที่ ป ระโยคภาคประธานและภาคแสดงสามารถ สอดคล้องกับข้อเท็จจริงภายนอกภาษา ที่ไม่ได้ตีความภาคแสดงว่าผูกพันในเชิงอ้างอิงไปถึง สิ่งสากล ย่อมจะเป็นการตั้งคาถามต่อ ข้ออ้างของนักสัจนิยมที่ว่า เราต้องการสิ่งสากลเพื่อใช้ อธิบายความจริงของประโยคแบบภาคประธานและภาคแสดง ดังนั้น เราจึงควรถือว่าข้อ โต้เถียงทั้งสองคือคาท้าทายต่อนักนามนิยมให้สร้างทฤษฎีว่าด้วยภาคแสดง และการอ้างอิงเชิง นามธรรม ที่เป็นระบบและง่ายต่อความเข้าใจ เป็นทฤษฎีที่อธิบายพื้นฐานทางอภิปรัชญาของ ความเป็นจริงของประโยคภาคประธานและภาคแสดง และการใช้เครื่องมือในการอ้ างอิงเชิง นามธรรม ซึ่งไม่มีการอ้างอิงไปถึงสิ่งที่มีร่วมกัน นักนามนิยมรับรู้ถึง พันธะกิจนี้ และพยายาม อย่างยิ่งที่จะแสดงว่าคาอธิบายดังกล่าวเป็นไปได้

การแสดงตัวอย่างในฐานะข้อจากัดต่อลัทธิสัจนิยม การอภิปรายของเราเสนอภาพว่านักสัจนิยมมีความเป็น กลุ่มก้อนที่เป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน แต่ที่จริงพวกเขามีความเห็นที่แตกต่างกันไปได้ในหลายๆ ประเด็น ประเด็นที่สาคัญ ที่สุดเป็นเรื่องความเป็นสากลของทฤษฎี คาอธิบายของเราเสนอภาพว่า ในทุกๆ กรณีของ ความตรงกันในคุณลักษณะ นักสัจนิยมจะตั้งสิ่งสากลขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบาย เราถือด้วย ว่า ทุกๆ คาทั่วไปที่ทาหน้าที่เป็นภาคแสดงในประโยคภาคประธานและภาคแสดงที่เป็นจริง แสดงออกหรือมีนัยไปถึงสิ่งสากล และถือว่าทุกๆ คานามธรรมเป็นชื่อของสิ่งสากล แต่นักสัจ นิยมจานวนมากไม่เต็มใจที่จะยอมรับการใช้ทฤษฎีแบบที่ไม่มีข้อจากัด พวกเขายืนยันว่าต้องมี


21

การวางข้อจากัดต่อทฤษฎี เพื่อที่วา่ จะมีสิ่งสากลมารองรับเพียงแค่บางวิธีที่เราสามารถกล่าวว่า สิ่งเป็น รองรับคาทั่วไปที่มีจานวนจากัด และรองรับคานามธรรมเพียงแค่บางคาในภาษาของ เรา หากเราได้เห็นถึงเหตุผลรองรับข้อจากัดดังกล่าว เราก็จะเห็นถึงรูปแบบที่หลากหลายของ สัจนิยมทางอภิปรัชญา เราควรเริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการตั้ ง ข้ อ สั ง เกตว่ า ไม่ มี รู ป แบบไหนของลั ท ธิ สั จ นิ ย มทาง อภิปรัชญาที่สามารถยอมให้ใช้กรอบการอธิบายของเพลโตอย่างไม่มีข้อจากัด หรือถือว่า คา ภาคแสดงที่ไม่เท่าเทียมกันทุกคา หรือ คานามธรรมที่ไม่เท่าเทียมกันทุกคา สัมพันธ์อยู่กับสิ่ง สากลที่เป็นหน่วยเฉพาะ แยกต่างหากจากกัน รูปแบบของทฤษฎีที่ไม่มีการวางข้อจากัดใดเลย พาเราไปสู่ปฏิทรรศน์ (paradox) ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ขอให้เรามาดูการวิเคราะห์ภาค แสดงที่กระทาโดยนักสัจนิยมแบบที่ไม่มีการวางข้อจากัด สมมติว่าเรายอมรับการวิเคราะห์ว่า ใช้ ไ ด้ กั บ ทุ ก ภาคแสดง และถื อว่า มีสิ่งสากลรองรับ คาทั่วไปทุก คาที่ส ามารถเข้าไปอยู่ ใ น ตาแหน่งของภาคแสดง ในประโยคภาคประธานและภาคแสดงที่เป็นจริง ขอให้ลองพิจารณา คาว่า “ไม่แสดงตัวอย่างของตนเอง” คาๆ นี้เป็นคาที่ซับซ้อนในเชิงโครงสร้างทางไวยากรณ์ แต่ถ้า ต้องการเราก็ ส ามารถนาคาๆ เดีย วเข้ามาแทนที่ ภาคแสดงที่ซับซ้อนนี้ ดังนั้น ความ ซับซ้อนทางโครงสร้างไวยากรณ์จึงอาจถือได้ว่าเป็นเรื่องนอกประเด็น ดังนั้น เราจึงมีคาทั่วไป ที่เราสมควรจะต้องยอมรับ ซึ่งเป็นคาที่จริงต่อ หรือได้รับการตอบสนอง โดยทุกสิ่งที่ไม่แสดง ตัวอย่างของตนเอง และมันเป็นคาทั่วไปที่สามารถทาหน้า ที่เป็นภาคแสดงในประโยคที่เป็น จริง ตัวอย่างเช่น คาดังกล่าวเป็นจริงกับ นายชวน หลีกภัย เลขสอง และทัชมาฮาล เนื่องจากสิ่ง เหล่านั้นไม่แสดงตัวอย่างของตนเอง ในอีกด้านหนึ่ง มีสิ่งที่เป็นสิ่งสากลบางอย่างที่ ไม่อาจใช้ กับภาคแสดงนี้ คุณสมบัติของการไร้ตัวตนเป็น สิ่งที่แสดงตัวอย่างตัวของมันเอง เนื่องจาก คุณสมบัติดังกล่าวเป็นเรื่องของการไม่มีตัวตน มันก็ย่อมแสดงตัวอย่างของตนเอง เช่นเดียวกัน ถ้ามีสิ่งอย่างเช่น คุณสมบัติของการเป็นสิ่งเดียวกันกับตัวเอง ในเมื่อคุณสมบัตินี้ เป็นเรื่องของ การเป็ น สิ่ ง เดี ย วกั น กั บ ตั วเอง จึ งแสดงตั วอย่ างของตั วเอง และดั งนั้ น ทั้ ง สองสิ่ง นี้ จึง ไม่ ตอบสนองต่อภาคแสดง “ไม่แสดงตัวอย่างของตนเอง” เนื่องจากมีประโยคภาคประธานและภาคแสดงที่เป็นจริง ซึ่งคาๆ นี้ทาหน้าที่เป็นภาค แสดง รูปแบบที่ไม่มี ข้อจากัดใดๆ เลยของทฤษฎีภาคแสดงของนักสัจนิยม จะบอกเราว่า มี


22

คุณสมบัติหนึ่งซึ่งแสดงออกหรือมีนัยไปถึงโดยคาภาคแสดงนี้ การถือว่ามีคุณสมบัติดังกล่าว พาทันทีไปสู่ปฏิทรรศน์ เพราะคุณสมบัติต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ แสดงตัวอย่างของ ตัวเอง หรือไม่แสดงตัวอย่างของตัวเอง สมมติว่ามันแสดงตัวอย่างตัวของมันเอง เนื่องจากมัน เป็นคุณสมบัติของสิ่งซึ่งสิ่งนั้ นจะแสดงตัวอย่างของตัวเอง ก็ต่อเมื่อมันไม่แสดงตัวอย่างตัว ของมันเอง จึงกลายเป็นว่ามันไม่แสดงตัวอย่างของตัวเอง ดังนั้น ถ้ามันแสดงตัวอย่างของ ตนเอง มันก็ไม่แสดงตัวอย่างของตัวเอง แต่สมมติในอีกทางหนึ่งว่า มันไม่แสดงตัวอย่างของ ตัวเอง มันก็จะกลายเป็นว่า มันแสดงตัวอย่างของตัวเอง เพราะว่า มันเป็นคุณสมบัติของการไม่ แสดงตัวอย่า งของตัวเอง ดังนั้นถ้ามันไม่แสดงตัวอย่างของตัวเอง มันก็แสดงตัวอย่างของ ตัวเอง แต่แล้ว มันก็แสดงตัวอย่างของตัวเอง ก็แต่เฉพาะในกรณีที่มันไม่แสดงตัวอย่างของ ตัวเอง เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงปฏิทรรศน์นี้ เราไม่มีทางเลือกนอกจากจะปฏิเสธว่า มีสิ่งสากลที่ รองรับคาทั่วไปว่า “ไม่แสดงตัวอย่างของตัวเอง” คาอธิบายภาคแสดงของนักสัจนิยม จึงไม่ สามารถใช้ได้กับคาทั่วไปทุกคาที่ทาหน้าที่เป็นภาคแสดงในประโยคภาคประธานและภาค แสดงที่เป็นจริง เป็ น ที่ อ้า งว่ า ต้ อ งมี ก ารวางข้ อจ ากั ดต่ อ ทฤษฎี ข องนั ก สัจ นิ ย มเพิ่ ม ขึ้น ไปจากนี้ อี ก ข้ออ้างบอกว่า ถ้าไม่มีข้อจากัดที่เพิ่มขึ้นมาทฤษฎีของนักสัจนิยมจะพาเราไปสู่ การถอยหลัง อย่างไม่รู้จบสิ้น ข้อโต้เถียงนี้ปรากฏอยู่ใน Parmenides ของเพลโต และได้รับการยกขึ้นมา กล่าวซ้ามาโดยตลอด 7 ความยุ่งยากที่นักสัจนิยมเผชิญวางอยู่ บนแนวคิดแกนกลางของการ แสดงตัวอย่าง ตามกรอบการอธิบายเรื่องความตรงกันในคุณลักษณะของเพลโต เมื่อมีวัตถุ จานวนหนึ่งซึ่งสอดคล้องในการที่ทั้งหมดเป็น F ความสอดคล้องของพวกมันมีพื้นฐานอยู่บน การที่มันเป็นตัวอย่างที่หลากหลายของสิ่งสากลที่เรียกว่า ความ-F ความยุ่งยากก็คือ ไม่ว่าใน การใช้กรอบของเพลโตครั้งใดก็ตาม การใช้ดังกล่าวอธิบายหนึ่งกรณีของความตรงกันใน คุณลักษณะ ที่ว่าวัตถุเดิมทั้งหมดเป็น F เพียงเพื่อที่จะเผชิญกับกรณีใหม่ คือ พวกมันทั้งหมด แสดงตัวอย่างของความ-F แต่แล้วเราก็ต้องอาศัยสิ่งสากลขั้นต่อไป ซึ่งได้แก่ การเป็นตัวอย่าง ของความ-F และเราก็ ต้องพู ดว่า กรณี ที่ส องของความตรงกั น ในคุณสมบัติ เป็นจริงใน 7

Parmenides 131E-132B ใน Hamilton and Cairns (1961) และสาหรับการอภิปรายปัญหานี้ในยุคปัจจุบัน ดู

Strawson (1959: chap. V) Donagan (1963: 135-9) Loux (1978a: 22-7) และใน Armstrong (1989a: 53-7)


23

ท่ามกลางหมู่วัตถุดั้งเดิมของเรา ก็ด้วยเหตุแห่งการที่ พวกมันร่วมกันแสดงตัวอย่างของสิ่ง สากลที่สองนี้ แต่แล้วเราก็อธิบายกรณีที่สองของความตรงกันในคุณสมบัติ เพียงเพื่อที่จะ เผชิญกรณีที่ส าม วัตถุเดิมทั้งหมดของเราสอดคล้องกันในการแสดงตัวอย่างของการแสดง ตัวอย่างของความ-F ดังนั้นเราจาเป็นต้องอาศัยสิ่งสากลที่สาม ซึ่งจะสร้างให้เกิดความตรงกัน ในคุณลักษณะขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้เราต้องการสิ่งสากลต่อไปอีก และเราก็จะถอยหลัง ไปอย่างไม่รู้จบ ข้ อสรุปคืออะไร? ถ้าเรายอมรับกรอบการอธิบายของเพลโต เราไม่มีวันที่จะ ได้คาอธิบายที่สมบูรณ์ พึงเห็นได้ชัดว่าความยุ่งยากเดียวกันก็เป็นสิ่งที่นักสัจนิยมเผชิญ ในการที่จะอธิบาย ความจริงของประโยคภาคประธานและภาคแสดง นักสัจนิยมต้องการอ้างว่า ประโยคภาค ประธานและภาคแสดงใดๆ ก็ตามที่อยู่ในรูป (20) a เป็น F เป็นจริงก็ต่อเมื่อสิ่งที่อ้างอิงไปถึงโดย a แสดงตัวอย่างของสิ่งสากลที่แสดงออกโดย F แต่แล้ว ประโยคดั้ง เดิม ที่ (20) ของเราจะเป็นจริงก็ ต่อเมื่อ ประโยคภาคประธานและภาคแสดง ประโยคใหม่ (21) a แสดงตัวอย่างของความ-F เป็นจริง และดูเหมือนว่าคาอธิบายความจริงของ (20) ของเราจะยังไม่สมบูรณ์ จนกว่า เราจะ แสดงพื้นฐานของความจริงของประโยคใหม่นี้ อย่างไรก็ตาม (21) บรรจุไว้ด้วยภาคแสดงใหม่ (“แสดงตัวอย่างของความ-F”) มันจึงแสดงออกถึงสิ่งสากลใหม่ (การแสดงตัวอย่างของความF) ทฤษฎีของนักสัจนิยมบอกเราว่า (21) สามารถเป็นจริงได้ต่อเพียงเมื่อ สิ่งที่ a อ้างอิงถึง แสดงตัวอย่างของสิ่งสากลใหม่นี้ แต่เงื่อนไขที่ว่าจะได้รับการตอบสนองก็ต่อเพียงเมื่อ (22) a แสดงตัวอย่างของการแสดงตัวอย่างของความ-F เป็ นจริง ดังนั้นจึง ดูเหมือนว่าคาอธิบายความเป็นจริงของ (20) จะเรียกร้องคาอธิบายของ ประโยคที่สาม ซึ่งทาให้ดูเหมือนว่าเราจะก้าวเข้าสู่ การถอยหลังอย่างไม่รู้จบ จึงดูเหมือนว่า ทฤษฎีของนักสัจนิยมจะไม่สามารถทาในสิ่งที่มันควรจะทาได้


24

การถอยหลังที่แสดงมาทั้งสองแบบดูเหมือนจะบอกเราว่า เราจะต้องปฏิเสธคาอธิบาย เรื่องการตรงกันในคุณลักษณะของนักสัจนิยมทางอภิปรัชญา แต่นักสัจนิยมก็โต้เถียงว่า การ ถอยหลังทั้งสองบอกเราอีกแบบหนึ่ง พวกเขายอมรับว่าเราต้องหลีกเลี่ยงการถอยหลัง แต่พวก เขาคิดว่ามีวิธีง่ายๆ ที่จะทาเช่นนั้น เราเพียงแค่ยอมให้มีข้อจากัดในการใช้กรอบการอธิบาย ของเพลโต และทฤษฎีภาคแสดงที่ตามมา สาหรับการถอยหลังแบบแรก เราสามารถปฏิเสธว่า ทุกๆ แบบของความตรงกันในคุณลักษณะจะมีสิ่งสากลเฉพาะอย่างรองรับ กล่าวให้ชัดก็คือ เราสามารถปฏิเสธว่า เมื่อความสอดคล้องตรงกันเกิดขึ้นกับวัตถุจานวนหนึ่งซึ่งแสดงตัวอย่าง ของสิ่งสากลสิ่งหนึ่ง จะมีสิ่งสากลขั้นต่อไปมารองรับการตรงกันนั้น กับการถอยหลังแบบที่ สอง เราก็สามารถปฏิเสธว่า คาทั่ วไปทุกคาที่มีความหมายต่างกันแสดงออกถึงสิ่งสากลที่ ต่างกัน ในขณะที่ยอมรับว่ามีสิ่งสากลที่สอดคล้องกับภาคแสดงของประโยคที่อยู่ในรูปของ (20) เราสามารถปฏิเสธว่ามีสิ่งสากลขั้นต่อไปที่สอดคล้องกับภาคแสดงของประโยคที่อยู่ใน รูปของ (21) หรือประโยคที่ตามต่อมา ดังนั้น ข้ออ้างจึงเป็นว่า ถ้าเราจากัดการใช้กรอบของเพลโต และทฤษฎีว่าด้วยภาค แสดง ของนักสัจนิยม เราก็จะสามารถหลีกเลี่ยงการถอยหลังเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม เราอาจท้า ทายต่อความคิดที่ว่าจะต้องมีการวางข้อจากัด ถ้าการถอยหลังที่เราแสดงมาเป็นของจริง มันก็ เป็นเรื่องยากที่จะเห็นว่าทาไมนักสัจนิยมควรจะวุ่นวายไปกับมัน ลองพิจารณาความเชื่อที่ว่า การใช้ก รอบของเพลโตพาไปสู่การถอยหลังอย่างที่ส ร้างให้เกิดปัญหา นักสัจนิย มอ้างว่า ตนเองมี ก รอบส าหรั บ การให้ ค าอธิ บ ายที่ ส มบู ร ณ์ กั บ กรณี ใ ดก็ ต ามของการตรงกั น ใน คุณลักษณะ แต่การถอยหลังดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นการตั้งคาถามต่อข้ออ้างนี้ ถ้ามีกรณีที่ไม่มีที่ สิ้ น สุ ด ของความตรงกั น ในคุ ณ ลั ก ษณะรองรั บ อยู่ เ บื้ อ งหลั ง กรณี ใ ดกรณี ห นึ่ ง ที่ ย กขึ้ น มา ข้ อเท็ จจริง ดัง กล่า ว ก็ ไ ม่ ไ ด้ท าอันตรายต่อ การที่นัก สัจนิย มจะใช้ก รอบของเพลโต มาให้ คาอธิบายต่อกรณีเริ่มต้นของความตรงกันในคุณลักษณะ เมื่อนักสัจนิยมบอกเราว่า ทุกวัตถุ ตัวอย่างของเราเป็น F เพราะพวกมั นทั้ง หมดแสดงตัวอย่ างของความ-F พวกเขาได้ใ ห้ คาอธิบายที่สมบูรณ์ของกรณีเริ่มต้นของความตรงกันในคุณลักษณะ ถ้าคาอธิบายนามาซึ่ง กรณีใหม่ของความตรงกันในคุณลักษณะ นักสัจนิยมย่อมมีอิสระที่จะใช้กรอบของเพลโตกับ กรณีที่สอง แต่พวกเขาก็ไม่ได้ถูกผูกมัดให้ต้องทาอย่างนั้น กล่าวก็คือ ความสาเร็จของการใช้ กรอบของเพลโตในการอธิบายความตรงกันในคุณลักษณะในกรณีแรก ไม่ได้แขวนอยู่บนการ


25

อธิบายกรณีที่สอง และนี่ก็ย่อมเป็นจริงกับแต่ละกรณีของความตรงกันในคุณลักษณะที่ถูกถือ ว่าเกิดตามมา ดังนั้น ถึงแม้การถอยหลังจะเกิดขึ้นได้จริง มันก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร และ ดังนั้น ก็ไม่เห็นจะต้องวางข้อจากัดใดกับการใช้กรอบของเพลโต เราสามารถใช้ประเด็นอย่างเดียวกันตอบข้ออ้างที่ว่า นักสัจนิยมต้องวางข้อจากัดต่อ การใช้ทฤษฎีความจริงของภาคประธานและภาคแสดงของพวกเขา ถึงแม้ว่าการถอยหลังที่อ้าง กันว่าต้องการการวางข้อจากัดจะเป็นจริง มันก็ไม่ใช่สิ่งที่เสียหาย ถ้าคาอธิบายความจริงของ (20) ของนักสัจนิยม จะนามาซึ่งประโยคภาคประธานและภาคแสดงที่เป็นจริงประโยคใหม่ คือ (21) ความสาเร็จในการอธิ บายความเป็นจริงของ (20) ของนักสัจนิยม ก็ไม่ได้วางอยู่บน การอธิบายความจริงของ (21) ถ้าเป้าหมายคือการกาจัดหรือวิเคราะห์ประโยคบอกเล่าแบบ ภาคประธานและภาคแสดงให้หายไป การโผล่ขึ้นมาของ (21) ก็อาจจะเป็นประเด็นปัญหา จริงๆ แต่นักสัจนิยมก็ไม่ได้ถูกผูกมัดให้ต้องถือว่ามั นเป็นไปได้ที่จะกาจัดประโยคบอกเล่า แบบดังกล่าว ที่จริงแล้วถ้ามีการถอยหลังอยู่ ณ ตรงนี้ มันก็เป็นปัญหากับทุกความพยายามที่จะ แสดงพื้นฐานทางภววิทยาของความเป็นจริงของประโยคภาคประธานและภาคแสดง ไม่ว่าจะ เป็นความพยายามของนักสัจนิยมหรือของนักนามนิยม8 ลองพิจารณาทฤษฎีความเป็นจริงของ ภาคประธานและภาคแสดงของนักนามนิยม สาหรับแต่ล ะประโยคภาคประธานและภาค แสดงที่อยู่ในรูป a เป็น F ทฤษฎีของพวกเขาจะระบุเงื่อนไข C และจะบอกเราว่า ประโยคนั้น จะเป็นจริงเมื่อเงื่อนไข C ได้รับการตอบสนอง แต่แล้วก็จะมีประโยคภาคประธานและภาค แสดงใหม่ (“a เป็นประโยคอย่างที่เงื่อนไข C ได้รับการตอบสนอง”) และประโยคที่หนึ่งของ เราจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อประโยคที่สองเป็นจริง ทฤษฎีดังกล่าวของนักนามนิยมก็จะนาไปสู่การ ถอยหลัง อย่างเดียวกันกับทฤษฎีของนักสัจนิยม แต่การถอยหลังของทั้งสองกรณีก็ไม่ใช่สิ่ง เสียหาย ดังนั้น ถึงแม้จะมีการถอยหลัง ก็ไม่จาเป็นต้องมีการวางข้อจากัดต่อการใช้ทฤษฎีภาค แสดงของนักสัจนิยม แต่ แ ม้ ว่ า มั น จะไม่ เ สี ย หาย การถอยหลั ง ทั้ ง สองก็ ดู เ หมื อ นว่ า จะมี ผ ลที่ ต ามมาว่ า เบื้ องหลัง กรณี ใ ดก็ ตามของการตรงกั นในคุณลั ก ษณะ หรือ เบื้องหลัง ความเป็ นจริ งของ ประโยคภาคประธานและภาคแสดงใดๆ ก็ตาม จะมีสิ่งสากลจานวนนับไม่ถ้วนรองรับ นักสัจ 8

Armstrong (1989a: 54-5)


26

นิยมบางคนอาจจะเห็นว่านี้เป็นเรื่องน่าเป็นห่วง และเพื่อที่จะรักษาจานวนสิ่งสากลให้มีน้อย ที่ สุ ด พวกเขาอาจรู้ สึ ก ว่ า จ าเป็ น จะต้ อ งวางข้ อ จ ากั ด ต่ อ ทฤษฎี ว่ า ด้ ว ยความต รงกั น ใน คุณลักษณะ และทฤษฎีการแสดงความด้วยภาคแสดงของพวกนักสัจนิยม แต่ถ้านักสัจนิยม กังวลต่อภววิทยาที่ขยายตัวออกอย่างไม่จากัด พวกเขาก็ยังสามารถปฏิ เสธว่าการถอยหลัง ดังกล่าวเป็นเรื่องไม่จริง พวกเขาสามารถท้าทายต่อความคิดที่ว่า เมื่อเรากล่าวว่าวัตถุที่ตรงกัน ในการเป็นF เป็นเพราะทั้งหมดร่วมกันแสดงตัวอย่างของความ-F เป็นการที่เราระบุถึงการ ตรงกันในคุณลักษณะกรณีที่สอง เราสามารถพูดว่า ในการใช้กรอบของเพลโตมาระบุถึง พื้นฐานทางภววิทยาของกรณีความตรงกันในคุณลักษณะกรณีหนึ่ง เราได้ให้การบรรยายที่ ชัดเจนและแจ่มแจ้งในเชิงอภิปรัชญาต่อกรณีนั้น ยิ่งกว่าที่จะเป็นการนากรณีใหม่เข้ามา พวก เขาสามารถอ้างว่า ภาคแสดงของ (21) (“เป็นตัวอย่างของความ-F”) เป็นเพียงแค่ความแตกต่าง ในรูปแบบทางไวยากรณ์ จากภาคแสดงที่ปรากฏใน (20) (“เป็น F”) พวกเขาสามารถอ้างว่า ในเชิงไวยากรณ์แล้ว ภาคแสดงทั้งสองเท่าเทียมกัน และไม่ได้วางอยู่บนพื้นฐานทางภววิทยาที่ ต่างกัน ดังนั้น ความพยายามทั้งสองในการโต้เถียงว่าทฤษฎีของนักสัจนิยมพาเราไปสู่การ ถอยหลังที่บังคับให้ต้องมีการวางข้อจากัด จึงไม่ได้เป็นข้อโต้เถียงที่มีพลังมากนัก อย่างไรก็ ตามมีวิธีที่สามในการสร้างข้อโต้เถียงดังว่า ข้อโต้เถียงที่สามนี้เป็นปัญหาที่แท้จริงสาหรับนัก สัจนิยม เป็นปัญหาที่ จะแก้ไขได้ก็ด้วยเพียงการวางข้อจากัด ต่อขอบเขตการใช้ทฤษฎี ตาม ความคิดของนักสัจนิยมแล้ว สาหรับการที่สิ่งเฉพาะ a ที่จะเป็น F ได้นั้น ทั้งสิ่งเฉพาะ a และ สิ่งสากล ความ-F จะต้องมีอยู่จริง อย่างไรก็ตาม ตามวิธีที่เราบรรยายทฤษฎี ของนักสัจนิยม การแสดงตัวอย่างความ-F ของ a นั้นเป็นข้อเท็จจริงในเชิงของความสัมพันธ์ มันเป็นเรื่องของ a และความ-F ตั้งอยู่ในความสัมพันธ์ของการแสดงตัวอย่าง แต่นักสัจนิยมก็ยืนยันว่าตัว ความสัมพันธ์นั้นเองก็เป็นสิ่งสากล และวัตถุคู่หนึ่งจะสามารถมีความสัมพันธ์ต่อกันก็ต่อเมื่อ พวกมันแสดงตัวอย่างของความสัมพันธ์นั้น ด้วยการตั้งอยู่ในความสัมพันธ์นั้น สิ่งที่ตามมาก็ คือ ถ้าเราจะให้ได้มาซึ่งผลที่ว่า a เป็น F เราก็จะต้องการการแสดงเป็นตัวอย่างในระดับที่ สูงขึ้นไป (เรียกว่าการแสดงเป็นตัวอย่าง 2) ซึ่งมีหน้าที่ในการประกันว่า a และ ความ-F ตั้งอยู่ ในความสัม พั น ธ์ ข องการแสดงเป็ น ตัว อย่ า ง แต่ ตั ว การแสดงเป็ น ตั ว อย่ า ง 2 เองนั้ น ก็ เ ป็ น ความสัมพันธ์ ดังนั้นเราจึงต้องการการแสดงเป็นตัวอย่างในระดับขั้นที่สูงขึ้นไปอีก (เรียกว่า


27

การแสดงเป็นตัวอย่าง3) ซึ่งมีหน้าที่ประกันว่า a และ ความ-F และการแสดงเป็นตัวอย่าง เป็น สิ่งที่สัมพันธ์กันโดยสิ่งที่เรียกว่าการแสดงเป็นตัวอย่าง 2 เห็นได้ชัดว่าการไต่ระดับของการ แสดงเป็นตัวอย่าง จะไปได้เรื่อยๆ อย่างไม่รู้จบ ดังนั้น จึงดูเหมือนว่าเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทาง เดียวที่เราจะประกันผลลัพธ์ที่เราต้องการที่ว่า a เป็น F ได้ ก็คือด้วยการปฏิเสธว่าการเป็น ตัวอย่างเป็นแนวคิดที่อยู่ภายใต้การทางานของทฤษฎีของนักสัจนิยม ข้อโต้เถียงที่เพิ่งเสนอมานี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยแบรดเลย์ (F. H. Bradley)9 ข้อ โต้เ ถีย งของเขาต้องการที่ จะแสดงว่ า สิ่ งอย่ างเช่น ความสัม พั นธ์ ไ ม่อ าจมี อยู่ จ ริง แต่เ รามี เป้าหมายเพียงแค่เพื่อที่จะแสดงว่า คาอธิบายของนักสัจนิยมเกี่ยวกับอะไรที่เกี่ยวพันไปถึงใน การที่สิ่งมีคุณสมบัติหนึ่ง หรือเป็นสิ่งชนิดหนึ่ง หรือตั้งอยู่ในความสัมพันธ์หนึ่ง เป็นสิ่งที่ไม่ สามารถนามาใช้กับตนเองได้ นักสัจนิยมบางคนถือว่า แม้การถอยหลังนี้จะเป็นจริง แต่มันก็ ไม่ใช่สิ่งที่เสียหาย 10 พวกเขาถือว่าการถอยหลังนี้ไม่มีอันตรายอะไรมากไปกว่าการถอยหลัง สองแบบแรก อย่างไรก็ตามนักสัจนิยมกลุ่มนี้เป็นเพียงส่วนน้อย ส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นการถอย หลังที่ไม่อาจยอมรับได้ แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าทาไมจึงเป็นเช่น นั้น เพราะว่าในระดับผิวหน้าแล้ว การถอยหลังนี้ก็ดูเหมือนจะมีแบบแผนเชิงโครงสร้า งแบบเดียวกับการถอยหลังสองแบบแรก บางที อาจจะเป็นเพราะว่า เขารู้สึกว่าการถอยหลังนี้ทาให้การอธิบายในสิ่งที่เราเริ่มต้นอธิบาย คือการเป็น F ของ a เป็นไปไม่ได้ บางทีอาจเป็นเพราะว่า พวกเขารู้สึกว่าตราบใดที่นักสัจนิยม ยังไม่สามารถชี้ไปถึงกลไกเชื่อมโยงอะไรบางอย่าง ซึ่งมีบทบาทที่มั่นคงอย่างที่เป็นอิสระจาก กลไกการเชื่อมโยงระดับที่สูงเหนือขึ้นไป พวกเขาก็ยังไม่ประสบความสาเร็จในการอธิบายว่า ทาไมสิ่งเฉพาะ a ถึงเป็น F อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ชัดเจนว่าความคิดในแนวนี้ถูกต้อง เพราะ มันก็มีเหตุผลดีที่จะคิดว่า ทันทีที่นักสัจนิยมบอกเราว่า a เป็น F เพราะ a และความ-F ตั้งอยู่ใน ความสัมพันธ์ของการแสดงเป็นตัวอย่าง เขาก็ได้อธิบายความจริงว่า a เป็น F แล้วอย่าง สมบูรณ์ แน่นอนว่ามีอะไรเกิดขึ้นใหม่ที่นักสัจนิยมอาจจะต้องการก้าวเข้าไปอธิบาย ได้แก่ ข้อเท็จจริงใหม่ที่ว่า a และ ความ-F ตั้งอยู่ในความสัมพันธ์ของการแสดงตัวอย่าง อย่างไรก็

9

Bradley (1930: 17-8)

10

ดูใน Wolterstroff (1973: 102)


28

ตาม ความล้มเหลวในการอธิบายข้อเท็จจริงใหม่นี้ก็ดูจะไม่ทาอันตรายใดๆ กับคาอธิบาย ข้อเท็จจริงเริ่มต้นที่ว่า a เป็น F แต่ไม่ว่าเราจะเห็นว่าเหตุผลดังกล่าวน่ายอมรับหรือไม่ก็ตาม ข้อเท็จจริงก็คือ การถอย หลังแบบที่สามนี้เป็นเรื่องใหญ่ โตในประวัติศาสตร์ของลัทธิสัจนิยมทางอภิปรัชญา นักสัจ นิยมพากันเชื่อว่าพวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากที่จะหยุดการถอยหลังเสีย ตั้งแต่ก่อนที่มัน จะเกิด11 พวกเขายืนยันว่าคาอธิบายของนักสัจนิยมเรื่องการแสดงเป็นตัวอย่างไม่อาจนามาใช้ กับตัวมันเองได้ แน่นอนว่าควรจะต้องมีก ารให้เหตุผลรองรับต่อการวางข้ อจากัดนี้ พวกเขา เสนอเหตุผลว่าการแสดงตัวอย่างไม่ใช่ความสัมพันธ์ พวกเขาอ้างว่า ในขณะที่ความสัมพันธ์ สามารถเชื่อมวัตถุเข้าด้วยกันก็โดยผ่านข้อต่อของการแสดงตัวอย่าง การแสดงตัวอย่างเชื่อม วัตถุเข้ามาสู่ความสัมพันธ์อย่างที่ไม่ต้องผ่านการเชื่อมต่อใดๆ อีกต่อไป มันเป็นตัวเชื่อมซึ่งไม่ ต้ อ งอาศั ย สิ่ ง อื่ น มาเชื่ อ มต่ อ ข้ อ เท็ จ จริ ง นี้ ถู ก ถื อ เป็ น ลั ก ษณะเด็ ด ขาดและเป็ น ลั ก ษณะ ระดับพื้นฐานของมโนทัศน์การแสดงตัวอย่าง ดังนั้น ในขณะที่เราพูดถึงการแสดงตัวอย่างว่า เป็นความสัมพันธ์ที่ผูกสิ่งเฉพาะเข้ากับสิ่งสากล และผูกสิ่งสากลเข้าด้วยกัน เราจะสะท้อนการ คิดของนักสัจนิยมเกี่ยวกับแนวคิดนี้ได้ดีกว่า ถ้าเราจะเดินตามนักสัจนิยมและพูดถึงการแสดง เป็นตัวอย่างว่าเป็น “ข้อต่อ” (nexus) โดยที่การใช้คานี้มุ่งหมายที่จะแสดงถึงธรรมชาติแบบที่ ไม่เป็นความสัมพันธ์ ของการเชื่อมต่อที่อยู่ในแนวคิดเรื่องการแสดงตัวอย่าง ดัง นั้ น นั ก สั จ นิ ย มจึ ง พากั น ปฏิ เ สธว่ า ค าอธิ บ ายเรื่ อ งการแสดงตั ว อย่ า งสามารถ นามาใช้กับตัวของมันเองได้ ข้อดีที่เกิดขึ้นจากข้อจากัดนีก้ ็คือ มันทาให้ข้ออ้างเมื่อก่อนของเรา ที่ว่ากรอบของเพลโตไม่สามารถใช้ได้กับภาคแสดง “ไม่แสดงตัวอย่างของตัว เอง” ไม่ดูเป็น ความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงปฏิทรรศน์อย่างไร้เหตุผล เพราะถ้ามีเหตุผลให้คิดว่ากรอบการ อธิบายของเพลโตไม่สามารถใช้กับแนวคิดเรื่องการแสดงตัวอย่าง มันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะ คิดว่ามันย่อมไม่อาจใช้ได้กับแนวคิดที่ สร้างออกมาจากแนวคิดนั้น และด้วยการอ้างว่าการ แสดงตัวอย่างไม่ใช่ความสัมพันธ์ นักสัจนิยมก็มีเหตุผลมารองรับให้กับ การปฏิเสธว่ากรอบ ของพวกเขาใช้กับมันได้ พวกเขาจึงดูเหมือนจะมีเหตุผลอันเหมาะสม ที่เป็นอิสระจากความไม่

11

ดูตัวอย่างใน

Donagan (1963: 138) Strawson (1959: 169) และใน Bergmann (1964: 87-8)


29

อาจยอมรับได้ของปฏิทรรศน์ ที่จะกันแนวคิดเรื่องการไม่แสดงตัวอย่างของตนเอง ออกจาก ขอบเขตการทางานของกรอบของพวกเขา

ข้อจากัดว่าด้วยภาคแสดงที่ถูกนิยาม และภาคแสดงที่ไม่ถูกนิยาม นักสัจนิยมเกือบทั้งหมดยอมรับข้อจากัดที่เราได้แสดงมา แต่นักสัจนิยมบางคนเสนอ ข้อจากัดเพิ่มเติมขึ้นมาจากนั้น ขอให้ดูตัวอย่างภาคแสดง “bachelor” คาอธิบายของนักสัจนิยม บอกเราว่ามีสิ่งสากลสิ่งหนึ่งที่สัมพันธ์ควบคู่มากับภาคแสดงนี้ เป็นสิ่งสากลแบบไหน? น่าจะ คือคุณสมบัติของการเป็น bachelor แต่สิ่งสากลนี้เป็นคุณสมบัติของสิ่งๆ หนึ่ง ก็แต่ในกรณีที่ สิ่งๆ นั้นมีคุณสมบัติของความเป็นมนุษย์ และมีคุณสมบัติของการเป็น ผู้ชาย และมีคุณสมบัติ ของการเป็นโสด ตกลงเรามีคุณสมบัติอยู่กี่อย่าง? เราต้องการคุณสมบัติของการเป็นมนุษย์ คุณสมบัติของการเป็นผู้ชาย และคุณสมบัติของการเป็นโสด เพื่อมารองรับภาคแสดง “มนุษย์” ภาคแสดง “ผู้ชาย” และภาคแสดง “โสด” แล้วเราต้องการคุณสมบัติของการเป็น bachelor เพิ่ม ขึ้นมาอีกหรือไม่? เราสามารถที่จะให้คาอธิบายที่พอเพียงต่อภาคแสดงว่า “bachelor” ด้วยการ อ้างอิงไปถึงคุณสมบัติอื่นทั้งสาม ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พื้นฐานกว่า ดังนั้นจะไม่เป็นเรื่องเกิน ความจาเป็นหรือ ที่จะเพิ่มคุณสมบั ติที่สี่เข้ามาในรายการคุณสมบัติของเรา? แต่ข้อสงสัยต่อ ความต้องการที่จะตั้งคุณสมบัติเพิ่มเติมขึ้นมาให้กับภาคแสดง bachelor ก็สามารถที่จะขยาย ต่อมาถึงกรณีของ “โสด” ถ้าเราต้องยอมรับว่าต้องมีคุณสมบัติหนึ่งมารองรับภาคแสดง “โสด” ซึ่งแปลว่า “ยังไม่แต่งงาน” ซึ่งสามารถนิยามได้ด้วยภาคแสดงอื่นที่พื้นฐานกว่า คือ “แต่งงาน แล้ว” และถ้าเรายอมรับว่าเราต้องการคุณสมบัติที่สอดคล้องกับ ภาคแสดง “แต่งงานแล้ว” เรา จะยังต้องการคุณสมบัติเชิงปฏิเสธในกรณีของ “ยังไม่แต่งงาน” อีกหรือไม่? ทาไมเราไม่พูด แทนว่า “ยังไม่แต่งงาน” เป็นจริงต่อสิ่งๆ หนึ่ง ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นขาดคุณสมบัติที่สอดคล้องกับ ภาคแสดง “แต่งงานแล้ว”? ดังนั้น จะไม่เป็นเรื่องเกินความจาเป็นหรือที่จะเพิ่มคุณสมบัติเชิง ปฏิเสธเข้ามาในภววิทยาของเรา? และถ้าเรายอมรับว่าภาคแสดง “แต่งงานแล้ว” ก็เป็นสิ่งที่ สามารถนิยามได้ด้วยภาคแสดงอื่นที่พื้นฐานกว่า ความสงสัยที่เรามีต่อ “bachelor” และ “ยังไม่ แต่งงาน” ก็สามารถที่จะขยายต่อไปได้อีก


30

ความสงสัยเหล่านี้ได้ทาให้นักสัจนิยมวางข้อจากัดที่เข้มงวดให้กับการวิเคราะห์ภาค แสดงแบบที่เราแสดงมา พวกเขายืนยันว่าจะต้องมีการแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่เขาเรียกว่า ภาค แสดงที่ถูกนิยาม และภาคแสดงที่ไม่ถูกนิยาม12 แนวคิดก็คือ มีภาคแสดงบางคาที่ไม่ถูกนิยาม ด้วยคาของภาคแสดงอื่น ภาคแสดงพื้นฐานเหล่านี้ ได้ความหมายของมันมาจากการที่เข้าคู่มา กับสิ่งสากล ภาคแสดงอื่นที่เหลือถูกนิยามโดยอาศัยคาของภาคแสดงพื้นฐานดังกล่าว ดังนั้น ตามทัศนะนี้ จึงไม่จริงว่ามีสิ่งสากลที่เข้าคู่มากับทุกภาคแสดงที่ไม่ได้มีความหมายตรงกัน มี ก็ แต่ในกรณีของภาคแสดงที่เป็นพื้นฐาน หรือที่ไม่อาจนิยามได้เท่านั้นที่จะมีสิ่งสากลเป็นคู่ของ มัน คุณสมบัติเชิงความหมายของภาคแสดงที่ถูกนิยามสามารถที่จะอธิบายได้ ด้วยการอ้างอิง ไปถึงสิ่งสากลที่ควบคู่มากับภาคแสดงที่ไม่ถูกนิยาม ที่เป็นคานิยามให้กับภาคแสดงดังกล่าว แม้ว่าการวางข้อจากัดกับการวิเคราะห์ภาคแสดงของนักสัจนิยมนี้จะดูดี แต่มันก็มี ปัญหา ข้อยุ่งยากหลักก็คือว่า ภาคแสดงไม่ใช่อะไรที่จะแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มที่พื้นฐานและ กลุ่มที่ถูกนิยามได้อย่างง่ายๆ นักปรัชญาต้องสร้างการแบ่งแยก และก็เป็นที่โต้เถียงกันว่าการ แบ่งแยกดังกล่า วอาจจะเป็นอะไรที่หากฎเกณฑ์ ที่เด็ดขาดไม่ได้ ภาคแสดงหนึ่งภายใต้การ ตีความแบบหนึ่ง อาจถูกถือเป็นภาคแสดงที่เป็นพื้นฐานหรือไม่ถูกนิยาม แต่ภายใต้การตีความ แบบอื่นซึ่งก็อาจจะมีเหตุผลพอๆ กัน อาจถูกถือเป็นภาคแสดงที่ถูกนิยามก็เป็นได้ ดังนั้น ถ้า การแบ่งแยกระหว่างภาคแสดงที่ถูกนิยามและภาคแสดงที่ไม่ถูกนิยามจะเป็นเครื่องแสดงว่ามี สิ่งสากลอะไรอยู่บ้าง มันก็ต้องไม่เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจไปตามอาเภอใจของผู้ แบ่งแยก เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงจากข้อกล่าวหาว่าไร้กฎเกณฑ์ นักสัจนิยมที่เห็ นว่าการแบ่งแยกมี ประโยชน์ จาเป็ นจะต้องหาหลั ก การทางปรัชญาอะไรบางอย่าง มารองรับการระบุว่า ภาค แสดงบางอย่างเป็นภาคแสดงระดับพื้นฐาน เหตุผลรองรับหนึ่งที่สาคัญมากก็คือเหตุผลเชิง ญาณวิทยา นักสัจนิยมที่เห็นดีกับแนวทางของนักประสบการณ์นิยมในเรื่องของทฤษฎีความรู้ ยืนยันว่าภาคแสดงที่เป็นพื้นฐานคือภาคแสดงซึ่ง เมื่ อมองจากมุมมองของนักประสบการณ์ นิยม แสดงออกถึงคุณลักษณะหรือคุณสมบัติทางเชิงญาณวิทยาที่เป็นพื้นฐาน ซึ่งก็คือการเห็น ภาคแสดงซึ่งแสดงออกถึงสี เสียง กลิ่น รูปทรง รส ว่าเป็น ภาคแสดงพื้นฐาน และพวกเขาก็ 12

ดูตัวอย่างใน Donagan (1963:128-9) และใน Bergmann (1954: 122)


31

กล่าวว่ามีสิ่งสากลที่จาเพาะและแยกขาดจากกันรองรับควบคู่ไปกับภาคแสดงเหล่านั้น พร้อม กับอ้างว่าภาคแสดงอื่นสามารถนิยามได้โดยการอ้างอิงไปถึงสิ่งสากลเหล่านั้น ถึงแม้ทัศ นะนี้จะเป็นที่ชื่นชอบในครึ่งแรกของศตวรรษนี้ แต่จนถึงวันนี้มันก็อ่อน กาลังลงมาก เพราะพวกที่ยอมรับทัศนะดังกล่าวพบว่า มีภาคแสดงจานวนมากที่พวกเขาไม่ สามารถวิเคราะห์ได้เพียงแค่ด้วยการอาศัยคุณสมบัติของระบบรับสัมผัสหรือระบบการรับรู้ ภาคแสดงที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม เป็นสองกรณีที่ ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นปัญหาส าหรับนักสัจนิยมแบบประสบการณ์นิยม การที่พบว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะวิเคราะห์ภาคแสดงเหล่านั้นด้วยคาที่ว่าด้วยการรับรู้ทางประสาทสัมผัส นัก สัจนิยมพวกนี้ถูกบังคับ ให้ต้องปฏิเสธว่าภาคแสดงดังกล่าวมีความหมายในเชิงการบรรยาย และทาให้ต้องยอมรับคาอธิบายถึงบทบาทของมันในภาษาที่อ่อนด้วยเหตุผลอย่างยิ่ง พวกเขา อ้า งว่า ภาคแสดงที่ เกี่ ย วข้ องกั บทฤษฎี ทางวิ ท ยาศาสตร์ เป็นเพี ย งเครื่องมือ ที่จะพาเราจาก ข้อความทางประสาทสัมผัสชุดหนึ่งไปสู่อีกชุดหนึ่ง และภาคแสดงที่เป็นเรื่องทางจริยธรรม เป็นแค่เพียงเครื่องมือทางภาษาในการระบายความรู้สึกหรืออารมณ์ เกี่ยวกับบุคคล การกระทา หรือวิถีชีวิตของพวกเขา แต่ก็ไม่ใช่แค่แนวทางของนักประสบการณ์นิยมเท่านั้น ที่ก่อให้เกิดความสงสัยต่อ แนวคิดที่ว่าการแบ่งแยกระหว่างภาคแสดงที่ถูกนิยามและไม่ถูกนิยาม เป็นเรื่องที่สาคัญทาง ภววิทยา ไม่ว่าเราจะแบ่งแยกภาคแสดงออกเป็น ภาคแสดงพื้นฐานและภาคแสดงที่ถูกนิยาม ด้วยวิธีการเช่นไร เราก็ถูกบังคับให้ยอมรับต่ อความคิดที่ว่า ทุกภาคแสดงที่ไม่ใช่ภาคแสดง พื้นฐาน สามารถที่จะได้รับการนิย ามอย่างสมบูรณ์ ด้วยการอ้างอิงไปถึงภาคแสดงที่เป็น พื้นฐาน แต่จากการวิเคราะห์คาว่า “เกม” ที่มีชื่อเสียงของวิตเก็นสไตน์ 13 เขาแสดงให้เห็นว่า ในข้ อเท็ จจริง แล้ว มี ภาคแสดงอยู่เพี ย งไม่กี่คาในภาษา ที่เป็นเหมือนคาว่า “bachelor” คือ สามารถนิยามได้ด้วยคาที่พื้นฐานหรือซับซ้อนน้อยกว่า คาส่วนใหญ่ในภาษาเป็นเหมือนกับคา ว่า “เกม” คือเป็นภาคแสดงที่ยากที่จะหาเงื่อนไขจาเป็นและเงื่อนไขพอเพียงมารองรับการใช้ คาว่า “เกม” เป็นคาที่มีโครงสร้างทางความหมายที่หลวมกว่าคาอย่าง “bachelor” ซึ่งทาให้มัน ไม่สามารถที่จะนิยามอย่างเป็นทางการได้ 13

Wittgenstein (1953: 66)


32

ดังนั้น ด้วยอิทธิพลของวิตเก็นสไตน์ การแบ่งแยกระหว่างภาคแสดงพื้นฐานและภาค แสดงที่ถูกนิยามจึงไม่มีบทบาทที่สาคัญในการทางานของนักสัจนิยมสมัยใหม่ พวกเขาบางคน ปฏิเสธตรงๆ ต่อการวางข้อจากัดในเรื่องที่ เกิดจากการแบ่งแยกดังกล่าว 14 พวกเขาเป็นนักองค์ รวมเกี่ยวกับสิ่งสากล พวกเขาปฏิเสธต่อความพยายามที่จะลดทอนชุดหนึ่งของสิ่งสากลไปสู่ อีกชุดหนึ่ง ในด้านหนึ่ง พวกเขายอมรับต่อข้อเท็จจริงที่ว่า ในกรณีที่เราสามารถให้คานิยาม อย่างเป็นทางการให้กับภาคแสดง ความพยายามใดก็ตามในการที่จะแบ่งแยกระหว่างภาค แสดงที่ ถูก นิ ย ามและไม่ ถู ก นิ ย าม ล้ วนแต่เ ป็น การกระท าที่ไ ร้ห ลัก การรองรั บ ในขณะที่ ยอมรับว่ากรอบของเพลโตและทฤษฎีภาคแสดงที่คู่กันมา เป็นสิ่งที่ไม่สามารถนามาใช้กับ แนวคิดเรื่องการแสดงตัวอย่าง แต่พวกเขาก็ยืนยันว่าเราต้องยอมรับต่อสิ่งสากลที่ รองรับภาค แสดงอย่าง “bachelor” และ “ยังไม่แต่งงาน” ว่าเป็นจริงเท่าๆ กับสิ่งสากลที่รองรับภาคแสดง อย่าง “เขียว” และ “แดง” ในอีกด้านหนึ่ง พวกเขาก็เห็นด้วยกับวิตเก็นสไตน์ที่ว่า เป็นเรื่องยาก ที่จะให้คานิยามอย่างเป็นทางการกับภาคแสดงจานวนมาก อย่างไรก็ตามเขาก็พบว่าข้อเท็จจริง นี้ไม่ใช่อะไรที่ทาให้นักสัจนิยมจะต้องลาบากใจ ดังนั้น ในการตอบสนองต่อข้อเรียกร้องให้ ระบุถึงสิ่งสากลที่มีร่วมกันในทุกสิ่งที่เรียกว่า “เกม” พวกเขาก็ชี้ไปยังคุณสมบัติของการเป็น เกม และพวกเขาก็ถือว่า ความเป็นไปไม่ได้ที่จะลดทอนคุณสมบัตินี้ไปสู่สิ่งสากลที่เป็นที่รู้จัก กันมากกว่า ไม่ใช่สิ่งที่เป็นปัญหา แต่นักสัจนิยมร่วมสมัยคนอื่น แม้จะยอมรับต่อความล้มเหลวในการแบ่งแยกระหว่าง ภาคแสดงที่ถูกนิยามและที่ไม่ถูกนิยาม ก็ยังยืนยันว่าจาเป็นที่จะต้องมีการวางข้อจากัดต่อการ ใช้กรอบอธิบายของเพลโต 15 พวกเขายอมรับว่าการใช้คาภาคแสดงเพีย งบางคาเท่านั้นที่มี อานาจในการยืนยันทางภววิทยา และพวกเขาอ้างว่า ความผิดของนักประสบการณ์นิยมไม่ได้ อยู่ที่การพยายามจากัดขอบเขตการใช้งานของลัทธิสัจนิยม แต่อยู่ที่การที่พวกนักประสบการณ์ นิยมระบุว่ามีแต่เพียงภาคแสดงที่เป็นเชิงการสังเกต หรือที่เป็นในเชิ งของการรับรู้ เท่านั้นที่ เป็นภาคแสดงที่มีความน่าสนใจในเชิงภววิทยา และอยู่ในการที่พวกเขาอ้างว่า ความสัมพันธ์ ระหว่างภาคแสดงที่มีอานาจในการยืนยั นทางภววิทยา กับภาคแสดงอื่นเป็นเรื่องของการ 14

ดูตัวอย่างใน Loux (1978a: 20-1)

15

ดูตัวอย่างใน Armstrong (1989a: 87)


33

นิยามหรือการแปลมาหากัน นักสัจนิยมกลุ่มนี้กล่าวว่าเพื่อนนักองค์ รวมหรือพวกที่ต่อต้าน การลดทอน เป็นพวกที่ถือลัทธิก่อนประสบการณ์นิยม (apriorism) ซึ่งได้แก่ทัศนะที่ว่า เรา สามารถตัดสินว่ามีสิ่งสากลอะไรอยู่บ้าง เพียงแค่ด้วยการนั่งพิจาณาเกี่ยวกับโครงสร้างของ ภาษาของเรา ตามทัศนะของนักองค์รวม ในการที่จะตัดสินว่ามีสิ่งสากลอะไรอยู่บ้าง ต้องการ เพียงแค่การตรวจดูคลังของภาคแสดงที่รอให้เราหยิบไปใช้ กล่า วก็คือ สาหรับทุกภาคแสดงที่ ไม่เท่าเทียมกันในความหมายทุกคา จะมีสิ่งสากลที่แยกต่างหากจากกั นรองรับ นักสัจนิยมที่ ต่อต้านลัทธิก่อนประสบการณ์นิยมอ้างว่า คาถามว่ามีสิ่งสากลอะไรอยู่บ้าง เป็นคาถามเชิง ประจัก ษ์ที่ ต้องตอบโดยการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น พวกเขาจึงเป็น นักสัจนิยมเชิง วิทยาศาสตร์ ซึ่งถือว่า วิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ ซึ่งก็ได้แก่วิชาฟิสิกส์ เป็นผู้ที่จะเสนอเกณฑ์ ในการตัดสินว่ามีอะไรอยู่จริงบ้าง ดังนั้น พวกเขาจึงอ้างว่า ภาคแสดงที่มีความสาคัญในเชิงภว วิทยาคือภาคแสดงที่จาเป็นสาหรับการสร้างทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่ถูกต้อง แต่ถ้าเรายอมรับข้ออ้างนี้ เราจะทาอย่างไรกับภาคแสดงซึ่งไม่มีบทบาทในทฤษฎีทาง ฟิสิกส์ ทัศนะที่ว่ามีกฎสาหรับที่จะแปลภาคแสดงที่เป็นเรื่องทางฟิสิกส์ไปสู่ภาคแสดงที่ไม่ได้ เป็นเรื่องทางฟิสิกส์ ไม่ใช่ทัศนะที่ เป็นทางเลือกของนักปรัชญาผู้ซึ่งพยายามที่จะจับคู่ลัทธิสัจ นิยมทางอภิปรัชญากับลัทธิสัจนิยมเชิงวิทยาศาสตร์ และเราพบว่า นักปรัชญาผู้ซึ่งปกป้องสัจ นิย มทั้ งสองแบบ กลับเสนอทัศนะที่แตกต่างกั น เกี่ ยวกับความสัมพั นธ์ระหว่างกรอบที่มี ความสาคัญทางภววิทยา ของทฤษฎีทางฟิสิก ส์ กับกรอบที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ของสามัญ สานึก ทัศนะที่หนึ่งจะไม่ปฏิเสธว่ามีสิ่งสากลที่คู่มากับภาคแสดงและคานามธรรมที่ไม่ได้เป็น ส่วนหนึ่งของทฤษฎีทางฟิสิกส์ แต่มันให้ความสาคัญทางภววิทยาเป็นอันดับต้นกับคุณสมบัติ ชนิด และความสัม พันธ์ในฟิสิกส์ สิ่งดังกล่าวถูกตีความว่ามีสถานะทางภววิทยาในระกั บ พื้นฐาน และสิ่งสากลอื่นๆ ถูกถือว่าขึ้นกับสิ่งดังกล่าว ข้ออ้างก็คือว่า ในขณะที่สิ่งสากลซึ่ง ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับทฤษฎีทางฟิสิกส์ อาจไม่สามารถวิเคราะห์ลดทอนลงมาสู่สิ่งสากลที่เป็นเรื่อง ของทฤษฎีทางฟิสิกส์ แต่สิ่งอย่างหลังเป็นตัวก าหนดและตัดสิน สิ่งอย่างแรก ชนิดในทาง ฟิสิกส์ที่สิ่งๆ หนึ่งเป็น คุณภาพในทางฟิสิกส์ที่มันมี และความสัมพันธ์ทางฟิสิกส์ที่มันตั้งอยู่ เป็นสิ่งที่ตัดสินว่าอะไรจะเป็น ชนิด คุณสมบัติ และความสัมพันธ์ แบบไม่ใช่ฟิสิกส์ ที่สิ่งนั้น จะแสดงออกให้เห็น ซึ่งมักจะพูดด้วยคาพูดว่า สิ่ งสากลที่ไม่ใช่แบบฟิสิกส์ เป็นสิ่งที่ ตั้งอยู่ ข้างบน (supervene) สิ่งสากลทางฟิสิกส์ ตามทัศนะนี้ ทันทีที่เราระบุข้อเท็จจริงทางฟิสิกส์


34

ทั้งหมด (นั่นก็คือ ข้อเท็จจริงทั้งหมดที่ได้รับการยอมรับโดยทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่เป็นจริง ) ก็ถือ ว่า เราได้ ตั ด สิ น ข้ อ เท็ จ จริ ง ทั้ ง หมดที่ ไ ม่ ใ ช่ เ รื่ อ งทางฟิ สิ ก ส์ ด้ ว ยเช่ น กั น ดั ง นั้ น ในขณะที่ คุณสมบัติ ชนิดและความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่เรื่องทางฟิสิกส์ อาจจะไม่สามารถวิเคราะห์ได้ด้วย คาของสิ่งสากลของฟิสิกส์ แต่สิ่งแบบหลังก็เป็นสิ่งที่ให้พื้นฐานทางภววิทยากับสิ่งอย่างแรก ทัศนะที่สอง เป็นทัศนะแบบนักกาจัดนิยม (eliminativist) ซึ่งปฏิเสธที่จะตีความภาค แสดงและคานามธรรมที่ไม่สามารถอ้างอิงไปถึงสิ่ง สากลที่อยู่ในทฤษฎีฟิสิกส์ ว่ามีอานาจใน การยืนยันทางภววิทยาใดๆ ตามการมองของพวกเขา ภาษาสามัญของเราเป็นการแสดงออก ของทฤษฎีว่าโลกเป็นอย่างไร และในแบบเดียวกับทฤษฎีทั้งหลาย มันย่อมสามารถถูกแทนที่ ด้วยทฤษฎีซึ่งให้ภาพของโครงสร้างของความเป็นจริงที่ถูกต้องแม่นยากว่า ตามทัศนะของนัก กาจัดนิยม ทฤษฎีว่าด้วยธรรมชาติของโลกที่ดีที่สุดของเราก็คือทฤษฎีของฟิสิกส์ ถ้ามีส่วนใด ของคาอธิบายของโลกตามแบบสามัญสานึกของเราที่เข้าไม่ได้กับทฤษฎีของฟิสิกส์ ส่วนนั้นก็ ย่อมผิด บรรดาภาคแสดงและคานามธรรมที่มุ่งหมายที่จะอ้างถึงสิ่งสากล ที่ไม่สามารถเข้ากับ ภาพของโลกที่วาดโดยฟิสิกส์ ล้วนแต่เป็นคาที่ว่างเปล่า สิ่งสากลที่พวกมันต้องการพูดไปถึง ไม่มีอยู่จริง นักกาจัดนิยมอ้างว่า ไม่มีอะไรแปลกประหลาดในเรื่องนี้ มันแค่เป็นกรณีหนึ่งของ การที่สิ่งที่ถูกเสนอโดยทฤษฎีหนึ่งถูกตัดทิ้งไปเพราะมีทฤษฎีอื่นที่อธิบายได้ดียิ่งกว่า

มีคุณลักษณะที่ไม่ถูกแสดงตัวอย่างหรือไม่? ในขณะที่ความแตกต่างที่เรากล่าวมามีบทบาทสาคัญในประวัติศาสตร์ของลัทธิสัจ นิย มทางอภิป รั ช ญา มี ป ระเด็น หนึ่ง ที่ ส าคั ญที่สุ ด ที่แ บ่งแยกนัก สัจนิ ย มออกจากกั น เป็ น ประเด็นในเรื่องของ แนวคิดว่าด้วยสิ่งสากลที่ ไม่มีตัวอย่างแสดง เท่าที่ผ่านมาเรามุ่งความ สนใจไปที่กรณีของการตรงกันในคุณลักษณะที่มีอยู่จริง และที่การใช้คาทั่วไปและคานาม ธรรมเอกพจน์ในประโยคซึ่งเป็นจริงได้จริงๆ อย่างไรก็ตามมีกระแสซึ่งยืนยันว่าการเน้นใน เรื่องความเป็นจริงเป็นเรื่องผิด เพราะมันพาเราไปสู่การถือว่า สิ่งสากลทั้งหลายมีตัวอย่างอยู่ จริง นักสัจนิยมในแนวทางนี้ต้องการที่จะยืนยันว่า นอกจากสิ่งสากลที่มีตัวอย่างให้เราเห็น แล้ว ยังมี คุณสมบัติ ชนิดและความสัมพันธ์มากมาย ที่ตอนนี้ไ ม่มีตัวอย่าง และในอดีตก็ไม่


35

เคยมีตัวอย่าง และจะไม่มีตัวอย่างแม้ในอนาคต16 สิ่งสากลพวกนี้บางส่วนขาดตัวอย่างเพียงแค่ โดยบั ง เอิ ญ เป็ น เช่ น นั้ น ก็ คื อ มั น เป็น สิ่ ง สากลประเภทที่ เ ป็น ไปได้ ที่ จ ะมี ตั ว อย่ า ง แต่ ใ น ข้อเท็จจริงแล้วไม่เคยมี ไม่ต้องสงสัยว่า มีรูปทรงที่ซับซ้อนมากมายหลายรูปทรงที่วัตถุทาง กายภาพสามารถที่จะอยู่ในรูปทรงนั้นได้ แต่ก็ไม่เคยมีวัตถุใดเคยอยู่ในรูปทรงเหล่านั้น ฉะนั้น นักสัจนิยมเหล่านี้จึงอ้างว่า รูปทรงดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสากลที่ไม่มีตัวอย่างแสดงโดยเพียงแค่ ความบังเอิญ แต่นักสัจนิยมเหล่านี้หลายคนก็อ้างต่อไปว่า นอกจากสิ่งสากลที่โดยบังเอิญแล้ว ไม่มีตัวอย่างแสดงให้เราเห็น ยังมีคุณลักษณะที่ไม่มีตัวอย่างแสดงอย่างที่เป็นไปโดยจาเป็น ซึ่ง ก็คือ คุณลักษณะที่ไม่มีสิ่งใดจะสามารถแสดงตัวอย่างของมันได้ ตัวอย่างเช่น เป็นไปไม่ได้ที่ จะมีสิ่งที่ทั้งเป็นจัตุรัสและทั้งกลม นักสัจนิยมเหล่านี้อ้างว่ามีคุณลักษณะที่คู่ไปกับมัน ซึ่งเป็น สิ่งที่ไม่มีตัวอย่างด้วยความจาเป็น ดังนั้น นักสัจนิยมบางคนจึงเชื่อว่า มีคุณสมบัติ ชนิดและความสัมพันธ์ที่ไม่มีตัวอย่าง แสดง เนื่องจากมีหลักฐานว่า เพลโตเชื่อเช่นนี้ จึงขอให้เราเรียกพวกเขาว่า นักเพลโตนิยม17 ตรงกันข้ามกับพวกเขาคือนักสัจนิยมที่ยืนยันว่าทุกๆ สิ่งสากลจะต้องมีตัวอย่างอย่างน้อยหนึ่ง ตัวอย่างไม่ ณ เวลาใด ก็เวลาหนึ่ง มีเหตุผลดีที่จะคิดว่ าอริสโตเติล (Aristotle) ยอมรับภววิทยา ที่มีสิ่งสากลที่มีตัวอย่างแสดง เพราะเขาบอกว่า ถ้าทุกอย่างมีสุขภาพที่ดี ก็จะไม่มีสิ่งที่เ รียกว่า โรค ถ้าทุกอย่างมีสีขาว สีดาก็จะไม่มีอยู่18 ดังนั้น ขอให้เราเรียกนักสัจนิยมที่ปฏิเสธสิ่งสากลที่ ไม่มีตัวอย่างว่า นักสัจนิยมแบบอริสโตเติลนิยม อะไรคือประเด็นที่แบ่งแยกนักเพลโตนิยมออกจากนักอริสโตเติลนิยม19 เพื่อที่จะตอบ คาถามนี้ ขอให้เรามาดูว่าทาไมนักอริสโตเติลนิยมจึงปฏิเสธสิ่งสากลที่ไม่มีตัวอย่างแสดง พวก เขาบอกว่า การยอมรับ ต่อสัจนิย มแบบเพลโตนิย มเป็นการปฏิเสธว่าคุณสมบัติ ชนิดและ ความสัมพันธ์ต้องมีรากฐานอยู่ในโลกแห่งกาลเวลาและอวกาศ ตามที่พวกเขามอง สิ่งสากล 16

ดูตัวอย่างใน Donagan (1963: 131-3) และใน Loux (1978a: chap. V)

17

ดูใน Phaedo 73A-81A และใน Republic 507B-507C ใน Hamilton and Cairns (1961)

18

ดูใน Categories 11 (14a8-10) ใน McKeon (1941) และใน Armstrong (1989a: 75-82)

19

ประเด็นทั้งหลายที่อยู่ในวิพากษวิธีที่ตามมาจากนี้ได้รับการอภิปรายใน Donagan (1963)

(1989a) Loux (1978a)

Armstrong


36

แบบของนักเพลโตนิยมเป็นอะไรที่ “ลอยตัวอย่างเป็นอิสระ” ด้วยการมีเงื่อนไขของการมีอยู่ที่ เป็นอิสระจากโลกที่เป็นรูปธรรมของกาลเวลาและอวกาศ นักอริสโตเติลนิยมยืนยันว่าการรับ แนวคิดเกี่ยวกับสิ่งสากลในแบบนี้ เป็นการรับภววิทยาแบบ “สองโลก” ในแบบที่เราพบได้ใน ความคิดของเพลโต ตามทัศนะนี้ เราตัดแบ่งความเป็นจริงออกเป็นสองส่วน โดยที่สิ่งสากล และสิ่งเฉพาะครอบครองอาณาเขตซึ่งตัดขาดไม่สัมพันธ์ต่อกัน การตัดความจริงออกเป็นสอง อาณาเขตดังกล่าวสร้างปัญหาที่ไม่อาจแก้ไขได้ทั้งในอภิปรัชญาและญาณวิทยา เป็นเรื่องยากที่ จะเข้า ใจว่า จะมีค วามเชื่อมต่อได้อย่า งไรระหว่างวัตถุที่อยู่ ในกาลอวกาศและสิ่งที่อยู่ นอก กาลเวลาและอวกาศอย่างสมบูรณ์ นักสัจนิยมมีพันธะที่จะต้องถือว่ามีความเชื่อมต่อเช่นว่านั้น การตีความความตรงกันในคุณลักษณะของนักสัจนิยมบอกเราว่า พื้นฐานทางภววิทยาของสิ่ง เฉพาะซึ่ ง มี อ ยู่ ใ นกาลอวกาศ เป็ น อย่ า งที่ มั น เป็ น อยู่ เป็ น ของอย่ า งชนิ ด ที่ มั น เป็ น และมี ความสัมพันธ์ต่อกันและกันอย่างที่มันเป็น ก็จากการที่มันเชื่อมโยงหรือผูกอยู่กับคุณสมบัติ ชนิดและความสัมพันธ์ ยิ่งกว่านั้น มันก็เป็นปัญหาอย่างยิ่งว่าสิ่งอย่างเราๆ ซึ่งอาศัยอยู่ในโลก แห่ง กาลอวกาศของสิ่ ง เฉพาะ จะมี ค วามสามารถทางพุ ทธิปัญญาที่จะเข้าถึง สิ่งที่อยู่ นอก กาลเวลาและอวกาศ แบบที่นักเพลโตนิยมบอกเราว่า คุณสมบัติ ชนิด และความสัมพันธ์ เป็น เนื่องจากมันดูเหมือนว่าไม่อาจมีความสัมพันธ์ในเชิงสาเหตุและผลใดๆ ระหว่างสิ่งเฉพาะที่ อยู่ในกาลอวกาศอย่างตัวเราและสิ่งที่อยู่นอกกาลเวลาและอวกาศ มันจึงดูเหมือนกับว่า เรื่อง เดียวที่เราสามารถพูดเกี่ยวกับความรู้ในสิ่งสากล ก็คือเรื่องแบบที่ทาให้ความรู้ในสิ่งสากลของ เราเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กาเนิดหรือเป็นสิ่ง ก่อนประสบการณ์ แต่นักอริสโตเติลนิยมสงสัยต่อ แนวคิดเรื่องความรู้ที่มีมาแต่กาเนิด พวกเขาต้องการที่จะยืนยันว่า ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติ ชนิด และความสัมพันธ์เป็นเหมือนกับความรู้ทั้งหมดของเรา คือมีกาเนิดมาจากประสบการณ์ พวกเขาต้องการที่จะปฏิเสธว่า เราสามารถแยกขาดหรือตัดความรู้เรื่องสิ่งสากล ออกจาก ความรู้ของเราในเรื่องของสิ่งเฉพาะที่มีอยู่อย่างเป็นรูปธรรมในกาลอวกาศ ตามทัศนะของ พวกเขา เราเข้าใจสิ่งเฉพาะก็เพียงโดยการเข้าใจถึงชนิดที่สิ่งเฉพาะนั้นเป็นสมาชิก คุณสมบัติที่ มันแสดงออกมาให้เห็น และความสัมพันธ์ที่มันมีต่อกัน และในทางกลับกัน เราก็เข้าใจไปถึง ชนิด คุ ณสมบั ติและความสัม พั นธ์ด้วยการมีก ารสัมผัส ทางญาณวิทยากับสิ่งเฉพาะที่เป็น ตัวอย่างแสดงถึงพวกมัน


37

ถ้าเช่นนั้นแล้ว นักเพลโตนิยมจะปกป้องแนวคิดเรื่องสิ่งสากลที่ไม่มีตัวอย่างแสดงว่า อย่างไร? กลยุทธ์หนึ่งก็คือการโต้เถียงว่า ตัวข้อพิจารณาเกี่ยวกับการมีความหมายและความ จริ ง ของภาษาที่ พ าให้ เ ราต้ อ งยอมรั บ ต่อ ความมี อยู่ ข องสิ่ ง สากลที่ มี ตัว อย่ า งแสดง ก็ เ ป็ น ข้อพิจารณาที่รองรับต่อข้ออ้างที่ว่ามีสิ่งสากลที่ไม่ถูกแสดงตัวอย่าง นัก เพลโตนิยมจะเถียงว่า มันไม่ใช่แค่ภาคแสดงของประโยคภาคประธานและภาคแสดงที่เป็นจริงเท่านั้น ที่อ้างอิงไปถึง สิ่งสากล ประโยคที่เป็นเท็จก็อ้างอิงไปถึงสิ่งสากลด้วยเช่นกัน สมมติว่ามีวัตถุ a และบุคคล บ โดยที่ บ เชื่ออย่างผิดๆ ว่า (20) a เป็น F เป็นจริง บ จึงอาจกล่าวยืนยัน (20) ถึงแม้ว่าสิ่งที่ บ กล่าวด้วย (20) จะเป็นเท็จ แต่ บ ก็ได้กล่าว ยืนยันอะไรบางอย่าง แต่มันคืออะไร? ถ้า (20) เกิดเป็นจริง ในการกล่าว (20) บ ก็ได้กล่าวว่า วัตถุ a แสดงตัวอย่างของสิ่งสากล ความ-F นักเพลโตนิยมจะเถียงว่า อะไรที่ บ ยืนยันในการ กล่าว (20) ไม่สามารถขึ้นกับการที่ (20) เป็นจริงหรือเป็นเท็จ ดังนั้นอะไรที่ บ ยืนยันในการ กล่าว (20) ก็ย่อมต้องเป็นสิ่งเดียวกันกับที่ บ กล่าว ถ้าหากว่า (20) เกิดเป็นจริงขึ้นมา ฉะนั้น บ จึงยืนยันอย่างผิดๆ ว่า a แสดงตัวอย่างของ ความ-F แต่นักเพลโตนิยมจะอ้างต่อไปว่า F อาจจะเป็นคาทั่วไป ซึ่งอาจจะเป็นภาคแสดงถึงรูปทรงรูปหนึ่ง ซึ่งไม่เป็นจริงหรือได้รับการ ตอบสนองโดยวัตถุใดที่มีอยู่ เคยมีอยู่ หรือจะมีอยู่ ดังนั้นข้อพิจารณาในเชิงค่าความจริงเท็จที่ พาเรามาสู่การถือว่ามีสิ่งสากลที่ถูกแสดงตัว อย่าง ก็รองรับต่อภววิทยาของสิ่งสากลที่ไม่มี ตัวอย่างแสดงด้วยเช่นกัน พวกเขาอาจะโต้เถียงต่อไปว่า F อาจจะเป็นภาคแสดงที่เป็นไป ไม่ได้ที่จะเป็นจริงต่อสิ่งใดเลย ดังนั้น ข้อโต้เถียงเดียวกันนั้นก็ดูเหมือนจะรองรับความเชื่อว่า มีคุณสมบัติ ชนิด และประเภท แบบที่เป็นจริงโดยจาเป็นที่จะไม่มีตัวอย่างแสดง นักเพลโตนิยมจะยืนยันว่าสิ่งสากลทั้งหมด ไม่ว่ามีหรือไม่มีตัวอย่างแสดง เป็นสิ่งที่มี อยู่อย่างจาเป็น ต่างไปจากสิ่งเฉพาะซึ่งมีอยู่ก็จริง แต่ก็มีอยู่อย่างบังเอิญ คือไม่จาเป็นว่าต้องมี อยู่ คุณสมบัติ ชนิดและความสัมพันธ์เป็นของอย่างชนิดที่เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีอยู่ เพื่อที่จะ แสดงดังว่า พวกเขาบอกเราว่า สาหรับคุณสมบัติใ ดๆ ก็ตาม ข้ออ้างที่ว่ ามันเป็นคุณสมบัติ ไม่ใช่แค่เป็นจริง แต่เป็นจริงโดยจาเป็น นักเพลโตนิยมยืนยันว่า เหมือนกันกับที่ความเป็นจริง ของข้ออ้างเกี่ยวกับวัตถุๆ หนึ่ง สมมติไว้ล่วงหน้าแล้วถึงความมีอยู่จริงของวัตถุนั้น ความเป็น


38

จริงโดยจาเป็นเกี่ยวกับวัตถุนี้หรือวัตถุนั้น ย่อมสมมติไว้ล่วงหน้าแล้วถึงความมีอยู่อย่างจาเป็น ของวัตถุนั้น ความเป็นจริงที่จาเป็น คือความเป็นจริงที่ไม่สามารถที่จะไม่เป็นจริง และเมื่อ ความเป็นจริงโดยจาเป็นเป็นข้ออ้ างเกี่ยวกับวัตถุๆ หนึ่ง วัตถุดังกล่าวย่อมไม่อาจที่จะไม่มีอยู่ ดังนั้นคุณสมบัติทั้งหลายจึงเป็นสิ่งซึ่งไม่อาจที่จะไม่มีอยู่ ซึ่งก็คือ คุณสมบัติทั้งหลายเป็นสิ่งที่ มีอยู่อย่างจาเป็น และในเรื่องของชนิด และความสัมพันธ์ เราก็สามารถกล่าวอย่างเดียวกัน ดังนั้น นัก เพลโตนิยมจึงยื นยันที่จะให้เราแยกระหว่างความมีอยู่ของคุณสมบัติ ชนิด หรือ ความสัมพันธ์ และการมีตัวอย่างแสดงของพวกมัน ในขณะที่อย่างหลังเป็นเรื่องของความ บังเอิญ อย่างแรกไม่เคยเป็นเรื่องของความบังเอิญ ในการวิพากษ์นักอริสโตเติลนิยม นักเพลโตนิยมจะโต้เถียงว่า จากการที่ ไม่ยอมสร้าง การแบ่งแยกเช่นนี้ นักอริสโตเติลนิยมทาให้ความมีอยู่ของสิ่งสากล ขึ้นอยู่กับความมีอยู่ของ อะไรบางอย่างที่จะเป็นตัวอย่างแสดงของมัน ซึ่งเป็นการมองเรื่องอย่างผิดทิศผิดทาง เรายกสิ่ง สากลขึ้นมาพูดก็เพื่อที่จะอธิบายการที่สิ่งเฉพาะหลายๆ สิ่งมีคุณลักษณะที่ ตรงกัน เพื่อที่จะ อธิบายว่าทาไมสิ่งเฉพาะที่มีอยู่อย่างเป็นรูปธรรมเป็นในอย่างที่พวกมันเป็น ดังนั้น สิ่งสากล จึงถูกถือว่ามีสถานะทางภววิทยาที่สาคัญกว่าสิ่งเฉพาะที่เป็นตัวอย่างแสดงถึงมัน ทัศนะของ นักอริสโตเติลนิยมเป็นการมองที่กลับทิศกลับทาง กลายเป็นว่าความมีอยู่ข องสิ่งสากลไป ขึ้นกับ การมี อยู่ของสิ่ง เฉพาะ ที่เป็นของชนิดนี้ชนิดนั้น มีคุณลักษณะเช่นนี้เช่นนั้น หรือมี ความสัมพันธ์ต่อกันในแบบนี้แบบนั้น ทัศนะดังกล่าวจึงสวนทางกับแก่นของความเข้าใจที่ นาไปสู่การคิดลัทธิสัจนิยมทางอภิปรัชญาขึ้นมา ประการสุดท้าย ถึงแม้นักสัจนิยมบางคน (ร่วมทั้งตัวเพลโตเอง) พร้อมที่จะยอมรับภว วิทยาแบบ “สองโลก” นักเพลโตนิยมหลายๆ คนจะอ้างว่านักอริสโตเติลนิยมคิดผิดในการที่ ถือเอาว่าปัญหาทางอภิปรัชญาของทฤษฎี “สองโลก” เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดกับภววิทยาของสิ่ง สากลที่ไม่มีตัวอย่างแสดง พวกเขาจะยืนยันว่า ตามทัศนะของเขา ข้อต่อของการแสดงเป็น ตัวอย่าง เป็นสิ่งที่เชื่อมสิ่งสากลและสิ่งเฉพาะเข้าด้วยกัน และพวกเขาจะอ้างว่าถึงแม้แนวคิดนี้ จะเป็นเป็นแนวคิดทางภววิทยาระดับพื้นฐาน แต่มันก็เป็นแนวคิดที่ยอมรับได้อย่างสมบูรณ์ และนักอริสโตเติลนิยมก็มีพันธะที่จะต้องรับมันไม่น้อยไปกว่านักเพลโตนิยม และพวกเขาจะ โต้เถียงว่า ความเชื่อมั่นของนักอริสโตเติลนิยมที่ว่านัก เพลโตนิยมเผชิญหน้ากับปัญหาทาง


39

ญาณวิทยาที่ไม่มีทางแก้ไขได้ เป็นเรื่องที่ถูกให้ความสาคัญมากเกินจริง พวกเขาจะยืนยันว่า ในขณะที่สิ่งสากลบางอย่างจะไม่มีตัวอย่างในโลกแห่งกาลอวกาศ สิ่งสากลจานวนมากมี ตัวอย่างแสดง และพวกเขาจะอ้างว่า ความรู้ของเราในเรื่องของสิ่งสากลที่มีตัวอย่างเป็นสิ่งที่ ได้มาด้วยประสบการณ์ ตามที่พวกเขาเห็น พุทธิปัญญาของเราสามารถเข้าถึงสิ่งสากลก็โดย การมีประสบการณ์ต่อสิ่งเฉพาะในกาลอวกาศซึ่งเป็นตัวอย่างของสิ่งสากล ความรู้อื่นใดก็ ตามที่เรามีเกี่ยวกับสิ่งสากล มีรากฐานอยู่บนความรู้เกี่ยวกับสิ่งสากลที่มีตัวอย่างแสดงเหล่านี้ ฉะนั้น เราจึงมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งสากลที่ไม่มีตัวอย่างแสดง จากการดึงออกมาจากความรู้ใน เชิงประจักษ์ของเราที่มีต่อคุณสมบัติ ชนิดและความสัมพันธ์ที่มีตัวอย่างแสดง ถ้ ามีสิ่งสากลที่ ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ ที่อาจระบุได้ กับสิ่งสากลที่มีตัวอย่างแสดงที่เราพบในชีวิตประจาวัน นักเพลโตนิยมก็จะยอมรับว่า เราไม่มีความรู้ในสิ่งสากลพวกนั้น เขาจะปฏิเสธความคิดที่ว่านี้ เป็นเรื่องน่าประหลาดใจ แต่เขาจะอ้างว่านี้คือเรื่องที่เราควรคาดไว้แล้วล่วงหน้า.


40

บทที่ 2 ปัญหาเรื่องสิ่งสากล 2 : ลัทธินามนิยม

แรงจูงใจของลัทธินามนิยม ลัท ธิ นามนิ ย มปฏิเ สธความมี อยู่ ข องสิ่ง สากล ท าไมจึง เป็ นเช่ นนั้ น ? ค าถามนี้ มีห ลาย คาตอบ เพราะลัทธินามนิยมโจมตีลัทธิสัจนิยมทางอภิปรัชญาจากมุมมองหลายๆ ด้าน บางครั้งการ วิจารณ์ของพวกเขามุ่งเป้าไปที่แนวคิดเรื่องการมีตัวอย่างแสดงที่หลากหลาย โดยพวกเขาอ้างว่า การที่สิ่งเฉพาะที่มีจานวนมากแสดงตัวอย่างของสิ่งสากลที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พาไปสู่ความ ไม่สอดคล้องต้องกันภายในความคิด1 เนื่องจากสิ่งเฉพาะที่ถูกอ้างว่าเป็นตัวอย่างของสิ่งสากลหนึ่ง เป็นสิ่งที่กินที่ในอวกาศที่แยกและตัดขาดจากกัน การที่พวกมันร่วมกันแสดงตัวอย่างของสิ่งสากล นั้น มีค่าเท่ากับการถือว่าจริงล่วงหน้าว่า สิ่งที่เป็นหนึ่งเดียวไปปรากฏอย่างสมบูรณ์ในหลายๆ อาณาเขตของอวกาศที่ตัดขาดจากกัน ในเวลาเดียวกัน นักนามนิยมยืนยันว่า การมีที่ อยู่มากกว่า หนึ่งที่เช่นนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ พวกเขาชี้ว่า ถ้าเกิดมันเป็นไปได้ขึ้นมา มันก็ย่อมเป็นไปได้ ที่ ข้ออ้างอย่างเช่น (1) สีแดงอยู่ห่างจากตัวมันเอง 15 ไมล์ และ (2) รูปทรงสามเหลี่ยมกาลังทั้งถอยออกห่าง และเคลื่อนที่เข้าใกล้ตัวของมันเอง ที่จะเป็ นจริง แต่นั ก นามนิยมถือว่า ถ้า เราถือว่าข้ออ้างทั้งสองเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ มันก็ จาเป็นที่ จะต้องเป็นเท็จ โดยเราไม่ต้องการข้อโต้เถียงใดมาแสดง 1

นี่เป็นข้อวิจารณ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยของเพลโต ดูตัวอย่างใน Philebus 15E และใน Parmenides 131AE ใน Hamilton

and Cairns (1961)


41

ในบริบทอื่น เราพบว่านักนามนิยมปฏิเสธต่อสิ่งสากล บนพื้นฐานที่ว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่ เราจะให้คาอธิบ ายที่ไ ม่ เป็นวงกลม ว่าด้วยเงื่อนไขแห่งเอกลัก ษณ์ (identity) ของสิ่งอย่ างเช่น คุณสมบัติ ชนิดและความสัมพันธ์2 ตามทัศนะของนักนามนิยม เรามีสิทธิที่จะนาวัตถุชนิดหนึ่งเข้า มาอยู่ในภววิทยาของเราได้ ก็ต่อเมื่อ เราพร้อมที่จะให้คาอธิบายว่า เมื่อไรที่เรามีวัตถุชนิดนั้นที่เป็น ชิ้นหนึ่งชิ้นเดียวกัน และเมื่อใดที่เรามีวัตถุแบบที่ว่าที่เป็นคนละชิ้นกัน พวกเขาบอกว่า มีปัญหาที่ ยากเกินกว่าที่จะแก้ไขอยู่ในทุกความพยายามที่จะให้คาอธิบายถึงเงื่อนไขแห่งเอกลักษณ์ของสิ่ง สากล เราไม่ ส ามารถให้ เกณฑ์ แห่ง เอกลัก ษณ์ ของสิ่งสากลด้ วยการอ้า งอิงไปถึง หน่วยที่เป็ น ตัวอย่างแสดงของพวกมัน นั่นก็คือ เราไม่สามารถพูดว่า สิ่งสากล ส เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันกับสิ่ง สากล ส' ถ้า และเพียงถ้า ทุกวัตถุที่เป็นตัวอย่างของ ส เป็นตัวอย่างของ ส' และเมื่อมันเป็นจริง ในทางกลับกัน เพราะเราสามารถมีสิ่งสากลที่แตกต่างไปจากกันได้ ถึงแม้ว่าพวกมันจะมีตัวอย่าง แสดงโดยวัตถุทั้งหมดที่เป็นชุดเดียวกัน ทุกอย่างที่เป็นตัวอย่างของสิ่งสากลที่มีชื่อว่า มนุษยชาติ ก็ เป็นตัวอย่างของสิ่งสากลของสิ่งที่เรียกว่า การเป็นสัตว์สองเท้าขนบาง และทุกๆ หน่วยเฉพาะที่ เป็นตัวอย่างของสิ่งอย่างหลัง ก็จะเป็นตัวอย่างของสิ่งอย่างแรกด้วย แต่ถึงอย่างนั้ นเราก็มีสิ่งสากล ที่เป็นคนละอย่างกัน อะไรที่ทาให้มนุษยชาติและการเป็นสัตว์สองเท้าขนบางเป็นของคนละอย่าง กัน? ไม่ใช่ ชุดของวัตถุที่เป็ นตัวอย่างของพวกมัน สิ่งสากลทั้งสองเป็นคนละสิ่งสากลก็เพราะ เนื้อหาของมันต่างกัน แต่ในการที่จะอธิบายว่าอะไรคือสิ่งที่ทาให้สิ่งสากล ส และสิ่งสากล ส' ต่างกันโดยเนื้อหา เราจาเป็นที่ต้องอาศัยสิ่งสากลอื่น ได้แก่สิ่งสากลที่จะปรากฏอยู่ในคานิยามของ ส และ ส' อย่างไรก็ตาม การนาสิ่งสากลอื่นเข้ามาจะทาได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถแน่ใจว่า พวกมันเป็น สิ่งสากลที่เป็นคนละอย่างกัน แต่นักนามนิยมก็บอกว่า เราจะแน่ใจอย่างนั้นได้ ก็ต่อเมื่อเรามีสิ่งที่ เราพยายามจะอธิบายอยู่ในมืออยู่แล้ว ซึ่งก็คือ เงื่อนไขแห่งเอกลักษณ์ของสิ่งสากล ในอีกบริบทหนึ่ง นักนามนิยมก็วิจารณ์นักสัจนิยมด้วยการชี้ไปถึงปัญหาที่เราอภิปรายกัน ไปในบทก่อน ได้แก่ข้ออ้างที่ว่าลัทธิสัจนิยมทางอภิปรัชญาพาไปสู่การถอยหลังอย่างไม่รู้จบ นั่นก็ คือ ในการอธิบายความตรงกันในคุณลักษณะ หรือในการอธิบายภาคแสดง ที่อ้างอิงไปถึง การ แสดงตัวอย่างของคุณสมบัติ ชนิดและความสัมพันธ์ นักสัจนิยมพาตัวเองไปสู่การถอยหลังอย่าง ไม่รู้จบที่ไม่อาจจะยอมรับได้ และนอกจากนั้นลัทธิสัจนิยมยังพาไปสู่ปัญหาใหญ่ในเรื่องทางญาณ 2

ดูตัวอย่างใน Quine (1960: 209)


42

วิทยา เพราะถ้าการอธิบายของนักสัจนิยมว่าสิ่งสากลเป็นสิ่งเชิงนามธรรมเป็นเรื่องที่ถูกต้อง มันก็ เป็นไปไม่ได้ที่จะอธิบายว่าสิ่งอย่างเราๆ ซึ่งอยู่ในโลกของสิ่งเฉพาะที่มีอยู่อย่างเป็นรูปธรรมจับ ต้องได้ จะสามารถมี อานาจทางญาณวิทยาในการเข้า ถึงคุณสมบัติ ชนิดและความสัมพันธ์ ได้ อย่างไร ในขณะที่ข้อวิจารณ์หลายๆ ข้อที่กล่าวมา อาจอธิบายถึงความรู้สึกทางลบต่อสิ่งซึ่งแสดง ตัวอย่างอันหลากหลาย แต่ก็เป็นเรื่องยากที่ข้อวิจารณ์ดังกล่าวจะให้คาอธิบายที่เพียงพอต่อการ ปฏิเสธลัทธิสัจนิยมทางอภิปรัชญา ลองพิจารณาข้อ วิจารณ์ข้อแรก ข้อโต้แย้งก็คือว่า เนื่องจากสิ่ง เฉพาะจานวนมากที่ถือว่าแสดงตัวอย่างของสิ่งสากลเดียวกัน ล้วนแต่ครองที่ในอวกาศที่แยกขาด จากกัน นักสัจนิยมจึงถูกถือว่ายอมรับต่อข้ออ้างที่เป็นเท็จโดยจาเป็น ที่ว่าสิ่งๆ หนึ่งสามารถไป ปรากฏอยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกัน มากกว่าหนึ่งที่ในเวลาเดียวกันได้ อย่างไรก็ตาม ข้อโต้แย้ง ถือเอาเองว่านักสัจนิยมถือว่าสิ่งสากลต้องการที่อยู่ในกาลอวกาศ นั่นก็คือ ตัวสิ่งสากลเองนั้นก็ ตั้งอยู่ในที่ที่ตัวอย่างของมันตั้งอยู่ ถึงแม้นักสัจนิยมบางคนพร้อมจะยอมรับข้ออ้างนี้ แต่ก็ไม่ใช่ว่า นักสัจนิยมทุกคนจะยอมรับเช่นนั้น นักสัจนิยมอย่างรัซเซิล (Russell) ปฏิเสธความคิดที่ว่าสิ่งสากล มีตาแหน่งที่ตั้งอยู่ในกาลอวกาศ เขาชี้ว่าในขณะที่สิ่งสากลการอยู่ทางทิศเหนือของเป็นสิ่งที่สร้าง ให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่ (อย่างเช่นความสัมพันธ์ระหว่างเชียงใหม่และลาปาง) แต่ไม่ มีที่ไหนที่เราจะพบตัวความสัมพันธ์ดังกล่าว มันไม่ได้มีอยู่ทั้งในเชียงใหม่และในลาปาง มันสร้าง ความสัมพันธ์ให้กับจังหวัดทั้งสอง แต่มันก็ไม่ได้อยู่ในจังหวัดทั้งสอง ดังนั้น เขาจึงถือว่า ในขณะ ที่สิ่งเฉพาะซึ่งเป็นตัวอย่างของสิ่งสากลจะครองสถานที่ในอวกาศ แต่สิ่งสากลที่ถูกแสดงตัวอย่าง ไม่เคยเป็นสิ่งที่ครองสถานที่ในอวกาศ3 ฉะนั้น จึงดูเหมือนว่านักสัจนิยมไม่ได้ถูกผูกมัดให้ถือว่าสิ่งสากลกินที่ในอวกาศ ดังนั้นข้อ โต้แย้งจึงไม่ได้แสดงว่าลัทธิสัจนิยมมีปัญหา อย่างมากที่สุด ข้อโต้แย้งก็ชี้ปัญหากับเพียงลัทธิสัจ นิยมแบบที่ถือว่าสิ่งสากลมีที่ตั้งอยู่ ณ ที่สิ่งเฉพาะที่เป็นตัวอย่างของมันตั้งอยู่ แต่ขอให้สังเกตว่า ข้อโต้แย้งนี้ประสบความสาเร็จในการโจมตีลัทธิสัจนิยมแบบนี้ ก็แต่พียงแต่ถ้าหากมันเป็นเท็จโดย จาเป็นที่ว่าสิ่งๆ หนึ่งจะครองที่ในอวกาศสองหรือมากกว่าสองที่ในเวลาเดียวกัน มันก็เป็นเรื่อง

3

Russell (1912: 98)


43

ชัดเจนที่นักสัจนิยมผู้ถือว่า สิ่งสากลกินที่ในอวกาศ จะปฏิเสธว่าข้ออ้างดังกล่าว 4 นักสัจนิยมพวก นั้นจะยอมรับว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งเฉพาะหนึ่งสิ่งจะกินที่ในอวกาศสองที่หรือมากกว่าสองที่ใน เวลาเดียวกัน และจะอ้างว่า เมื่อความเป็นไปไม่ได้นี้เข้าคู่มากับแนวโน้ มของเราที่จะสนใจเพียงแค่ กับตาแหน่งในอวกาศของสิ่งเฉพาะ มันพาเราไปสู่การสรุปว่า ข้ออ้างที่ทั่วไปมากกว่านั้นเป็นสิ่งที่ เป็นเท็จโดยจาเป็น นักสัจนิยมจะยืนยันว่า ด้วยธรรมชาติของมันแล้ว สิ่งสากลที่ถูกแสดงตัวอย่าง โดยสิ่งเฉพาะ เป็นสิ่งที่สามารถครองที่ในอวกาศได้มากกว่าหนึ่งที่ในเวลาเดียวกัน และเขาจะ ยืนยันว่า ความแปลกประหลาดของข้ออ้าง (1) และ (2) ไม่ได้เกิ ดจากความเป็นไปไม่ไ ด้ทาง อภิปรัชญา แต่เกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่า การพูดจาของเราเกี่ยวกับที่ตั้งในอวกาศเป็นเรื่องที่จากัดอยู่ กับสิ่งเฉพาะ เราก็เลยคิดไปอย่างผิดๆ ว่าหลักการเกี่ยวกับการกินที่ในอวกาศของสิ่งเฉพาะก็เป็น จริงเกี่ยวกับสิ่งสากลด้วย เป็นเรื่องยากที่จะเอาผิดกับการตอบข้อโต้แย้งด้วยวิธีแบบนี้ และนักนามนิยมเองก็ยอมรับ5 ดั ง นั้ น ข้ อ โต้ แ ย้ ง ที่ ห นึ่ ง จึ ง ไม่ ไ ด้ มี น้ าหนั ก อย่ า งแท้ จ ริ ง ส าหรั บ ที่ จ ะปฏิ เ สธลั ท ธิ สั จ นิ ย มทาง อภิปรัชญา แล้วหันมารับลัทธินามนิยมแทน ข้อโต้แย้งที่สองก็เป็นเช่นเดียวกัน ข้อโต้แย้งที่สองเริ่มต้นด้วยการเรียกร้องคาอธิบายทั่วไปเกี่ยวกับเงื่อนไขของเอกลักษณ์ ของสิ่งสากล แล้วก็ท้าทายนักสัจนิยมให้คิดหาคาอธิบายที่ไม่วนเป็นวงกลมหรือถอยหลังไปไม่รู้ จบ นักสัจนิยมบางคนรับคาท้าและพยายามให้คาอธิบายแบบที่นักนามนิยมเรียกร้อง แต่โดยทั่วไป แล้ ว นั ก สั จ นิ ย มจะเถี ย งว่ า ข้ อ เรี ย กร้ อ งต่ อ เงื่ อ นไขแห่ ง เอกลั ก ษณ์ ข องสิ่ ง สากลเป็ น สิ่ ง ที่ ไ ม่ เหมาะสม6 พวกเขายอมรับว่าในบางกรณีมันเป็นไปได้ที่จะให้เงื่อนไขของเอกลักษณ์ที่ไม่เป็น วงกลม เซ็ทของนักคณิตศาสตร์เป็นกรณีตัวอย่าง เราสามารถพูดว่าเซ็ท a เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน กับเซ็ท b ถ้าและเพียงถ้า สมาชิกทุกตัวของเซ็ท a เป็นสมาชิกของเซ็ท b และเมื่อมันเป็นจริง ในทางกลับกันด้วย แต่นักสัจนิยมจะปฏิเสธว่ากรณีของเซ็ทเป็นตัวอย่างของความจริงทั่วไป ใน หลาย ๆ กรณี เราพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้เงื่อนไขแห่งเอกลักษณ์แบบที่นักนามนิยมเรียกร้อง แต่ พวกเขาก็จะยืนยันว่า การที่เราไม่สามารถให้เงื่อนไขของเอกลักษณ์ในกรณีเหล่านี้ไม่ได้สร้างให้ 4

ดูตัวอย่างใน Donagan (1963: 135)

5

ดูตัวอย่างใน Lewis (1983: 345)

6

ดูตัวอย่างใน Loux (1978a: 99-101)


44

เกิดปัญหา นักสัจนิยมอาจชี้ว่า แม้แต่สิ่งที่ไม่อาจจะโต้แย้งได้อย่างสสารวัตถุ ความพยายามที่จะให้ เงื่อนไขแห่งเอกลักษณ์ของพวกมันก็ยังมีปัญหา เราอาจคิดว่าเราสามารถให้คาอธิบายถึงเงื่อนไข ดังกล่าวด้วยการอ้างอิงไปถึงที่ตั้งในกาลอวกาศที่สสารวัตถุตั้งอยู่ แต่นักสัจนิยมก็ชี้ว่า ถ้านี่จะถูก ถือว่าเป็นคาอธิบายที่ใช้ได้อย่างเป็นการทั่วไป มันเองก็วนเป็นวงกลมหรือไม่ก็พาไปสู่ การถอย หลัง เพราะคาอธิบายใดก็แล้วแต่ที่ทาให้เอกลักษณ์ของวัตถุกลายเป็นเอกลักษณ์ของสถานที่ตั้ง และเวลา ล้ ว นแต่ ต้ อ งเผชิ ญ กั บ ข้ อ โต้ แ ย้ ง ที่ ว่ า เอกลั ก ษณ์ ข องสถานที่ แ ละเวลาเองก็ ขึ้ น กั บ เอกลักษณ์ของวัตถุที่ตั้งอยู่ภายในมัน ดังนั้น ก็อาจกลายเป็นว่า เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ ได้ที่จะให้ เงื่อนไขของเอกลักษณ์สาหรับสสารวัตถุแบบที่นักนามนิยมเรียกร้อง นักสัจนิยมยืนยันว่า การที่เรา ไม่สามารถให้เงื่อนไขของเอกลักษณ์ที่ต้องการ ไม่ได้สร้างปัญหาให้กับการยอมรับสสารวัตถุว่า เป็นสิ่งที่มีอยู่ประเภทหนึ่ง ซึ่งเท่ากับการแสดงว่า ข้อเรียกร้องจะเอาเงื่อนไขแห่งเอกลักษณ์ของสิ่ง สากลเป็นเรื่องผิด ดังนั้น นักสัจนิยมก็จะสรุปว่า ถ้าเราไม่สามารถให้เงื่อนไขของเอกลักษณ์ของสิ่ง สากลที่ไม่วนเป็นวงกลม ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็ไม่ได้ทาให้เราต้องตั้งข้อสงสัยต่อการยืนยันใน ความมีอยู่ของสิ่งสากล นักนามนิยมอาจจะไม่เห็นว่าคาตอบแบบนี้น่ายอมรับเท่าใดนัก แต่คาตอบก็ผลักภาระใน การพิสูจน์มาให้กับนักนามนิยม ถ้าข้อวิจารณ์จะเป็นข้อโต้แย้งที่เด็ดขาดต่อลัทธิสัจนิยม เราจะ ต้องการคาอธิบายที่ปกป้องต่อการเรียกร้องเงื่อนไขแห่งเอกลักษณ์ แต่ข้อเท็จจริงก็คือ นักนามนิยม ไม่ค่อยจะเห็นเรื่องนี้เป็น เรื่องสาคัญนัก ดังนั้นดูเหมือนเราจะต้องสรุปว่า ข้อโต้แย้งที่สองก็ไม่ ประสบความสาเร็จในการแสดงให้เห็นถึงแรงจูงใจที่จะทาให้เราหันมารับลัทธินามนิยม ตามที่เราเห็นในบทที่แล้ว นักสัจนิยมให้ความเอาใจใส่อย่างยิ่งต่อข้อโต้เถียงที่ว่าลัทธิสัจ นิยมพาไปสู่การถอยหลังอย่า งไม่รู้จบ ในขณะที่พวกเขายอมรับว่า ถ้าหากการแสดงตัวอย่างเป็น เรื่องของความสัมพันธ์แบบเดียวกันกับความสัมพันธ์ที่เราคุ้นเคยและมุ่งหมายจะอธิบาย ลัทธิสัจ นิย มก็ จะพาไปสู่ก ารถอยหลัง อย่ า งไม่ รู้จบที่ย อมรับไม่ได้ แต่นักสัจนิย มเห็นว่านี่เป็นตัวชี้วัด สาหรับการสร้างลัทธิสัจนิยมที่มีความเพียงพอในทางทฤษฎี ยิ่งกว่าที่จะเป็นการหักล้างทัศนะของ พวกเขา นัก สัจนิย มบอกเราว่า การแสดงตัวอย่างเป็นข้อต่อหรือเป็นสิ่งที่ผูก องค์ประกอบเข้า ด้วยกัน มากกว่าที่จะเป็นความสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม นักนามนิยมอาจจะเห็นรูปแบบต่างๆ ของ ข้อโต้แย้ง (ที่ ว่าลัทธิสัจนิย มพาไปสู่การก้าวถอยหลัง ) ว่ามีน้าหนักมากกว่าที่ตัวนักสัจนิยมจะ


45

ยอมรับ เขาอาจจะเห็นว่าการที่นักสัจนิยมปฏิเสธการแสดงตัวอย่ างว่าเป็นความสัมพั นธ์ เป็น แนวคิดที่สร้างขึ้นมาแค่เฉพาะกิจ คือไม่มีเหตุผลอื่นใดรองรับ และเห็นว่า การแบ่งแยกระหว่างตัว ผูกหรือข้อต่อ และความสัมพันธ์เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาลอยๆ กระนั้นก็ตาม ในการเผชิญหน้ากับ อะไรที่นักสัจนิยมจะยกขึ้นมาตอบต่อข้อโต้แย้งนี้ มันย่อมเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ ถ้านักนามนิยม จะเห็นว่าข้อโต้แย้งที่สามนี่ มีน้าหนักพอเพียงที่จะทาให้เราต้องโยนลัทธิสัจนิยมทางอภิปรัชญาทิ้ ง ไป และในแบบเดียวกัน ข้อกังวลทางญาณวิทยาเกี่ยวกับความสามารถทางพุทธิปัญญาของเราที่จะ เขาถึง สิ่ง นามธรรม ก็ ไ ม่ เพี ย งพอที่จะอธิบายการที่นัก นามนิยมจะโยนสิ่งที่มีตัวอย่ างแสดงที่ หลากหลายทิ้ง ข้อกังวลดังกล่าวมีบทบาทที่สาคัญในการอภิปรายตอบโต้กันของสัจนิยมรูปแบบ ต่างๆ เกินกว่าที่เราจะคิดไปว่ามันแสดงถึงเหตุผลที่จะปฏิเสธสัจนิยมทางอภิปรัชญาทุกรูปแบบ ดังนั้น จึงไม่มีข้อโต้แย้งใดที่เราพิจารณามา ที่อธิบายได้อย่างน่าพึงพอใจถึงข้อที่ได้เปรียบ ของทฤษฎีของนักนามนิยม ข้อโต้แย้งทั้งหมดผูกอยู่กับเรื่องความยุ่งยากเชิงเทคนิคในลัทธิสัจนิ ยม แต่ความกังวลของนักนามนิยมเกี่ยวกับลัทธิสัจนิยมไม่ใช่เรื่องเชิงเทคนิค ลัทธินามนิยมมีที่มาที่ ตรงไปตรงมามากกว่านั้น มันเป็นเรื่องของการมีแนวคิดบางอย่างเกี่ยวกับกิจกรรมของอภิปรัชญา ตามการมองของนักนามนิยม งานของนักอภิปรัชญาก็เป็นเช่นเดียวกันกับงานของนักวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ คือการสร้างทฤษฎีขึ้นมาอธิบายโลก แน่นอนว่าทฤษฎีทางอภิปรัชญามีความทั่วไปและ ความรวบยอดที่ เหนือกว่าทฤษฎีของวิทยาศาสตร์เฉพาะแขนง แต่ใ นระดับพื้ นฐานแล้ว สิ่งที่ เกิดขึ้นในศาสตร์ทั้งสองก็เป็นสิ่งแบบเดียวกัน มีปรากฏการณ์บางอย่างที่ต้องการคาอธิบาย และ การสร้างทฤษฎีก็คือความพยายามที่จะให้คาอธิบายที่เป็นที่ต้องการ แกนกลางของทฤษฎีใดๆ ก็ ตาม ก็คือวัตถุและโครงสร้างพิเศษที่ทฤษฎีตั้งขึ้นมา ทฤษฎีให้หลักการซึ่งบรรยายถึงธรรมชาติ และพฤติกรรมของสิ่งที่ทฤษฎีตั้งขึ้น และแสดงให้เห็นว่าสิ่งดังกล่าวอธิบายปรากฏการณ์ที่เป็น อาณาเขตการศึกษาของทฤษฎี เหตุผลที่รองรับการตั้งตัวการทางทฤษฎีก็คือบทบาทของพวกมัน ในการอธิบายปรากฏการณ์ที่ เกี่ ยวข้อง และในการประเมินคุณค่าของทฤษฎี เราพยายามที่จะ ตัดสินว่าตัวการที่ทฤษฎีตั้งขึ้นมานั้นอธิบายปรากฏการณ์ที่ต้องการคาอธิบาย ได้มากน้อยเพียงใด ในบริบทนี้ เรามักจะมองหาทฤษฎีคู่แข่ง ซึ่งได้แก่ทฤษฎีในรูปแบบอื่น ที่คิดขึ้นมาเพื่ออธิบาย ปรากฏการณ์ในอาณาบริเวณศึก ษาเดียวกัน และเราก็จะเปรีย บเทียบอานาจในการอธิบายของ ทฤษฎีที่เราสนใจกับทฤษฎีที่เป็นคู่แข่ง เมื่อหลายๆ ทฤษฎีมีอานาจในการอธิบายที่เท่าเทียมกัน องค์ประกอบอืน่ ก็จะเข้ามาเป็นตัวตัดสินการเลือกทฤษฎีของเรา องค์ประกอบที่เพิ่มเขามาอาจแปร


46

ผันตามแต่กรณี แต่องค์ประกอบหนึ่งที่สาคัญเสมอก็คือความเรียบง่ายของทฤษฎี ถ้าสิ่งอื่นๆ ทุก อย่างเท่าเทียมกัน เราจะเลือกคาอธิบายที่มีข้อผูกมัดทางทฤษฎีที่น้อยกว่า นั่นคือ เราจะเลือกทฤษฎี ที่มี การตั้ง ตัวการขึ้ นมาใช้ ใ นการอธิบายที่ น้อยกว่า ดังนั้น ในการเลือกระหว่างทฤษฎีหลายๆ ทฤษฎี เราจะอาศัยหลักของความเรียบง่ายทางทฤษฎีมาเป็นเกณฑ์ คือ ถ้าสองทฤษฎีมีอานาจใน การอธิบายที่เท่าเทียมกัน ทฤษฎีที่ตั้งตัวการขึ้นมาน้อยตัวกว่าจะเป็นทฤษฎีที่น่าพึงพอใจยิ่งกว่า ข้ออ้างของนักนามนิยมก็คือ ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการเลือกทฤษฎีที่ว่ามานี้ สร้างให้เกิด ปัญหากับกรอบการทางานทางภววิทยาของลัทธิสัจนิยมทางอภิปรัชญา ภววิทยาของนักสัจนิยม เสนอภาพของสิ่งที่แยกขาดจากกันเป็นสองประเภท มันเสนอให้เรายอมรับตัวการที่แตกต่างและ ลดทอนเข้าหากันไม่ได้สองชนิดได้แก่สิ่งเฉพาะและสิ่งสากล อย่างไรก็ตาม ตามความคิดของนัก นามนิยม ปรากฏการณ์ที่ได้รับการอธิบายโดยทฤษฎีแบบที่มีภววิทยาของสิ่งสองประเภทของนัก สัจนิยม เป็นสิ่งที่สามารถอธิบายได้อย่างเท่าเทียมกันด้วยทฤษฎีแบบที่มีภววิทยาของสิ่งประเภท เดียวเท่านั้น ได้แก่ภววิทยาที่มีแต่สิ่งเฉพาะ ดังนั้น บนพื้นฐานของความเรียบง่ายทางทฤษฎี เรา จาเป็นต้องเลือกทฤษฎีของนักนามนิยม ยิ่งกว่าที่จะเลือกทฤษฎีของนักสัจนิยม ในงานของวิลเลียมแห่งออคแฮม (William of Ockham) นักนามนิยมแห่งยุคกลางผู้ซึ่งเป็น บิดาแห่งนักนามนิยมยุคใหม่ทั้งหลาย ความเรียบง่ายในคาอธิบายทางอภิปรัชญาถูกสรรเสริญว่า เป็นความเยี่ยมยอดทางทฤษฎี โดยที่หลักแห่งความเรียบง่ายถูกขนานนามว่าเป็น “มีดโกนของ ออคแฮม” ซึ่งมีนัยว่า ในการยอมรับหลักการนี้ เรามีพันธะที่จะต้องตัดเอาสิ่งที่ไม่มีบทบาทในการ อธิบายทั้งสิ้นทั้งหลายออกจากทฤษฎีของเรา ในอภิปรัชญาของออคแฮมเอง สิ่งสากลที่ถูกเข้าใจว่า เป็นสิ่งภายนอกภาษาเป็ นเหยื่อรายแรกของมีดโกน และในเกื อบทุกทฤษฎีของนัก นามนิยมที่ ตามมา การตัดสิ่งที่มีตัวอย่างแสดงที่หลากหลายทิ้งล้วนแต่กระทาในนามของหลักการแห่ง “มีด โกนของออคแฮม” แน่นอนว่าความยุ่งยากทั้งหลายที่เราได้พิจารณามา มีบทบาทในข้อวิจารณ์ของ นักนามนิยมต่อนักสัจนิยม แต่โดยทั่วไปแล้ว ข้อยุ่งยากดังกล่าวถูกนาเสนอในฐานะตัวอย่างของ ปมอันยุ่ ง เหยิ ง ทางทฤษฎี ที่ เกิ ดตามมาจากการตั้งให้มีสิ่งที่ไ ม่จาเป็นหรือเกิ นจาเป็นขึ้นมาใน คาอธิบาย


47

นามนิยมแบบเคร่งครัด (Austere Nominalism) ถ้าประเด็นของความเพียงพอในการอธิบายและความเรียบง่ายทางทฤษฎีเป็นประเด็นหลัก ที่ทาให้นักนามนิยมโยนสิ่งที่สามารถมีตัวอย่างแสดงได้หลากหลายทิ้ง เราก็สามารถคาดได้ว่า นัก นามนิยมจะโต้เถียงว่าทฤษฎีทางอภิปรัชญาซึ่งอาศัยเพียงแค่สิ่งเฉพาะ มีอานาจในการอธิบายที่ พอเพียงและเทียบเท่ากับลัทธิสัจนิยมทางอภิปรัชญา และพวกเขาจะโต้เถียงว่า สิ่งที่เรียกว่าภว วิท ยาของสิ่ง เฉพาะให้ ทุ ก อย่ า งที่ เ ราต้ อ งการในการเข้ าใจปรากฏการณ์ ข องความตรงกั น ใน คุณสมบัติ การเป็นภาคแสดง และการอ้างอิงเชิงนามธรรม ที่เราอภิปรายมาเมื่อบทที่แล้ว และนี่เอง คือสิ่งที่นักนามนิยมทั้งหลายทา แต่พวกเขาก็ทาสิ่งดังกล่าวในทิศทางที่ต่างกันออกไป กล่าวก็คือ พวกเขาอธิบายปกป้องกรอบการทางานทางภววิทยาที่แตกต่างกันออกไป ถึงแม้ว่ากรอบทั้งหมด ของพวกเขาจะตรงกันในแง่ที่กาหนดว่ามีแต่สิ่งเฉพาะเท่านั้นที่มีอยู่จริง แต่สิ่งเฉพาะที่พวกเขา ตั้งขึ้นในทางทฤษฎีก็แตกต่างชนิดกันไป และวิธีที่กรอบการทางานพวกนั้นเข้าไปยุ่งเกี่ยวจัดการ กับตัวปรากฏการณ์ที่เป็นแกนกลางของข้อถกเถียงเรื่องสิ่งสากล ก็เป็นสิ่งที่แตกต่างกันออกไปอีก เช่นกัน เพื่อให้เห็นความหลากหลายในการคิดทางทฤษฎีของนักนามนิยม เราจะอภิปรายรูป แบบ ทางอภิปรัชญาของนักนามนิยมที่แตกต่างกันออกไปสามรูปแบบ รูปแบบแรกของลัทธินามนิยมคือรูปแบบที่เคร่งครัดที่สุด ตามทัศนะนี้ สิ่งที่มีอยู่จริงมีแต่ สิ่งเฉพาะที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้เท่านั้น ตัวอย่างมาตรฐานของสิ่งเฉพาะก็ได้แก่สิ่งอย่างเช่น คน แต่ละคน ต้นไม้แต่ละต้น สัตว์แต่ละตัว สสารวัตถุที่ไม่มีชีวิตแต่ละชิ้น แต่นักปรัชญาผู้ซึ่งยอมรับ ต่อลัทธินามนิยมแบบเคร่งครัด ก็มีอิสระอยู่พอสมควรในการถือว่าอะไรบ้างที่มีอยู่ ถ้าเขาเห็นดีกับ กรอบของสามัญสานึก และถือว่าวัตถุที่เราคุ้นเคยกันในชีวิตประจาวันเป็นสิ่งที่จริงอย่างเต็มที่ ตัวอย่างมาตรฐานดังกล่าวก็จะอยู่ในรายการของสิ่งที่มีอยู่จริงของเขา แต่ถ้าเขาเป็นนักสัจนิยมเชิง วิทยาศาสตร์แบบนักตัดทิ้งนิยม เขาก็จะถือว่ามีแต่สิ่งที่ได้รับการยืนยันด้วยทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่ดี ที่สุดของเราเท่า นั้นที่มี อยู่จริง และถือเอาว่าสิ่งที่ส ามัญส านึกถือว่าเป็นวัตถุนั้นไม่ได้มีอยู่จริง รายการของสิ่ง ที่ มีอยู่ข องเขาก็ จะจากั ดอยู่กั บควากแต่ล ะตัว กลูออนแต่ล ะตัว มูออนแต่ละตัว ลักษณะเฉพาะตัวของลัทธินามนิยมแบบเคร่งครัดที่เรากาลังอภิปรายถึงก็คือ วัตถุประเภทใดก็ ตามที่มันถือว่าเป็นจริง สิ่งพวกนั้นล้วนแต่ถือว่าเป็นสิ่งเฉพาะที่มีอยู่อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เรื่อง ง่ายขึ้น ผมจะถือว่า นักนามนิยมถือว่าสิ่งเฉพาะที่อยู่ในภาพของโลกตามสามัญสานึกของเราเป็น


48

สิ่งที่จริง และผมจะอาศัยวัตถุเหล่านั้นและสิ่งที่เราอ้างเกี่ยวกับพวกมัน มาวางรูปร่างของคาตอบ ของนักนามนิยมต่อปัญหาเรื่องสิ่งสากล แต่ประเด็นเชิงโครงสร้างที่ผมจะเสนอเกี่ยวกับกรอบทาง ภววิท ยาของลั ท ธิ นามนิ ย มแบบเคร่ง ครั ดจะไม่ขึ้ นกั บสิ่ งที่ ผมเลือ กใช้นี้ อะไรก็ ตามที่ ผมพู ด เกี่ยวกับลัทธินามนิยมแบบเคร่งครัดที่ยอมรับสิ่งตามสามัญสานึก จะสามารถใช้ได้กับลัทธินาม นิยมแบบเคร่งครัดในแบบนักสัจนิยมเชิงวิทยาศาสตร์ ผู้ซึ่งมีทัศนคติต่อกรอบของสามัญสานึกใน แบบนักตัดทิ้งนิยม นักนามนิยมแบบเคร่งครัดต้องการที่จะอ้างว่า เราไม่ต้องการสิ่งสากลเพื่อมาใช้จัดการกับ ปรากฏการณ์ของความตรงกันในคุณลักษณะ ถ้าอย่างนั้นแล้วเราจะอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว อย่างไร? นักนามนิยมอย่างเคร่ งครัดตอบว่า เราไม่ต้องอธิบายตัวปรากฏการณ์นั้นเลย แต่เราควร จะถือว่าความตรงกันในคุณลักษณะเป็นลักษณะพื้นฐานของโลกที่ไม่อาจวิเคราะห์ต่อไปได้ 7 ตาม ทัศนะนี้ มันเป็นข้อเท็จจริงพื้นฐานของโลกที่ไม่อาจอธิบายในเชิงลดทอนได้ ที่วัตถุจะสอดคล้อง กันในคุณสมบัติของการเป็นสีเหลือง หรือสอดคล้องในคุณสมบัติของความกล้าหาญ หรือในการ เป็นรูป ทรงสามเหลี่ยม ไม่มี ข้อเท็ จจริงอะไรอื่นที่จะใช้อธิบายข้อเท็จจริงเหล่านี้ มันเป็นวัส ดุ พื้นฐานที่เราอาศัยมาสร้างเรื่องราวของโลก ณ ตรงนี้ นักนามนิยมแบบเคร่งครัดยืนยันว่าคาอธิบาย ทางภววิท ยาทุ กรูปแบบ ต้ องถือข้อเท็จจริงบางอย่ างว่าเป็นข้อเท็จจริงพื้นฐาน นักสัจนิย มเชิง อภิป รัช ญาอาศั ย กรอบของเพลโตและบอกเราว่า วัตถุทั้งหลายเป็นรูปสามเหลี่ย มก็เพราะมัน ทั้งหมดเป็นตัวอย่างแสดงของคุณสมบัติ ของความเป็นสามเหลี่ยม และยืนยันว่า การเป็นตัวอย่าง แสดงของรูปทรงสามเหลี่ยมของพวกมันเป็นข้อเท็จจริงระดับพื้นฐาน ซึ่งไม่มีข้อเท็จจริงอื่นใด สาหรับมาใช้ อธิบ าย นัก นามนิยมแบบเคร่งครัดเพียงแค่เสนอให้เราใช้แนวคิดของข้อเท็จจริง ระดับพื้นฐานล่วงหน้าเข้ามาอีกหนึ่งก้าว และถือข้อเท็จจริงที่ว่าสิ่งบางสิ่งเป็นรูปสามเหลี่ยม ว่า เป็นข้อเท็จจริงระดับพื้นฐาน นักนามนิยมแบบเคร่งครัดมักจะปกป้องกลยุทธ์นี้ ด้วยการท้าทายอานาจในการอธิบาย ของกรอบของเพลโต ถ้ากรอบของเพลโตจะให้คาอธิบายที่แท้จริงของความตรงกันในคุณลักษณะ สิ่งสากลจะต้องเป็นสิ่งที่สามารถถูกชี้เฉพาะและบรรยายได้อย่างเป็นอิสระจากข้อเท็จจริงที่มันถูก นาเสนอขึ้ นมาเพื่ อ อธิบ าย มิ ฉ ะนั้ น มั นก็ จ ะเป็ น เพี ย งการอธิบ ายแบบปลอมๆ เหมื อ นอย่ า งที่ 7

ดูตัวอย่างข้ออ้างเช่นนี้ได้ในบทความ “On what there is” ที่มีชื่อเสียงของ Quine ใน Quine (1954: 10)


49

ปรากฏการณ์ของการนอนหลับถูกอธิบายด้วย virtus dormitiva ซึ่งเป็นสมรรถนะที่สามารถระบุชี้ เฉพาะเพียงแค่ว่าเป็นสิ่งที่เป็นสาเหตุแห่งการนอนหลับ นักนามนิยมแบบเคร่งครัดยืนยันว่าสิ่ง สากลของนักสัจนิยมขาดซึ่งความสามารถที่จะชี้เฉพาะและบรรยายได้อย่างเป็นอิสระในแบบที่เขา เรียกร้อง8 นักสัจนิยมเริ่มต้นด้วยการตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งหลายสิ่งสอดคล้องกันในการเป็นรูปวงกลม และยืนยันว่าข้อเท็จจริงนี้ต้องการคาอธิบาย แล้วก็บอกเราว่า คาอธิบายเกิดขึ้นในข้อเท็จจริงใหม่ ได้แก่ข้อเท็จจริงที่ว่าสิ่งดังกล่าวทั้งหมดแสดงตัวอย่างของสิ่งสากลของการเป็นรูปวงกลม นักนาม นิยมแบบเคร่งครัดยืนยันว่า นี่เป็นเพียงสิ่งที่ดูเหมือนคาอธิบายเท่านั้น เขาถามว่า สิ่งที่เป็นความ เป็นรูปวงกลมที่ย กขึ้ นมาอธิบ ายนี้คืออะไร? และการที่สิ่งๆ หนึ่งจะเป็นตัว อย่างแสดงของสิ่ง ดังกล่าวนั้นมันจะต้องเป็นอย่างไร? คาตอบเดียวที่เราจะให้ได้ก็คือว่า การเป็นรูปวงกลมเป็นสิ่ง สากลที่ มีอยู่ร่วมกันในบรรดาสิ่งที่เป็นวงกลมทั้งหลาย และการแสดงตัวอย่างของการเป็นรูป วงกลมก็คือการเป็นวงกลม ดังนั้นแล้ว ข้อเท็จจริงที่นักสัจนิยมถือว่าเป็นคาอธิบาย ก็คือข้อเท็จจริง ประการเดียวกันกับที่เขามุ่งจะอธิบาย เราจึงได้ภาพหลอกๆ ของการอธิบาย เพียงเพราะนักสัจนิยม จับข้อเท็จจริงของความตรงกันในคุณลักษณะมาตกแต่งให้ดูต่างออกไปด้วยคาพูดแบบใหม่ แล้วก็ อ้า งว่า เป็นค าอธิบาย นัก นามนิย มแบบเคร่งครัดเสนอว่า เราควรจะซื่ อตรงต่อกั น และควรจะ ปฏิเสธเสียแต่ต้นว่า ความตรงกันในคุณลักษณะเป็นข้อเท็จจริงที่วางอยู่บนข้อเท็จจริงอื่น และเรา ควรถือว่ามันเป็นข้อเท็จจริงพื้นฐานที่ไม่สามารถวิเคราะห์ลดทอนต่อไปได้ นั ก นามนิ ย มแบบเคร่ ง ครั ด ต้ อ งการที่ จ ะอ้ า งต่ อ ไปว่ า ถ้ า เรายอมรั บ ตามพวกเขาว่ า ปรากฏการณ์ของการตรงกันในคุณลักษณะเป็นสิ่งพื้นฐานที่ไม่สามารถลดทอนต่อไปได้ เราก็จะมี ทุกอย่างที่เราต้องการสาหรับที่จะนามาใช้อธิบายความเป็นจริงของประโยคภาคประธานและภาค แสดง ในบทที่หนึ่ง เราพบว่านักสัจนิยมทางอภิปรัชญายืนยันว่าทฤษฎีที่พอเพียงของความเป็นจริง ของภาคประธานและภาคแสดง จะต้องมีรูปแบบบางอย่าง หนึ่งมันต้องแสดงว่าความเป็นจริงของ ประโยคภาคประธานและภาคแสดง เป็นเรื่องของความสอดคล้องระหว่างโครงสร้างทางภาษากับ โครงสร้างอะไรบางอย่างที่ไม่ใช่ทางภาษา สองมันต้องแสดงวิธีที่ความสอดคล้องกันนี้ เป็นสิ่งที่ ขึ้นตรงกับความสัมพันธ์ในเชิงการอ้างอิงที่ผูกคาที่เป็นองค์ประกอบของประโยคเข้ากับสิ่งในโลก นักสัจนิยมอ้างว่าทฤษฎีใดก็ตามที่อยู่ในรูปแบบนี้ต้องตีความภาคแสดงว่าเป็นสิ่งที่อ้างอิงไปถึงสิ่ง 8

ข้อกล่าวหาว่าคาอธิบายของนักสัจนิยมวนเป็นวงกลมปรากฏอยู่ใน Pears (1951)


50

สากล นักนามนิยมแบบเคร่งครัดยอมรับต่อเงื่อนไขที่นักสัจนิยมตั้งขึ้น แต่ก็โต้เถียงว่าทฤษฎีซึ่ง กรอบทางภววิทยาที่มีแต่เพียงสิ่งเฉพาะของพวกเขา สามารถตอบสนองต่อเงื่อนไขดังกล่าว ทฤษฎีของนักนามนิยมแบบเคร่งครัดเป็นอะไรที่ตรงไปตรงมา มันบอกเราว่า อะไรที่ทา ให้ประโยคภาคประธานและภาคแสดงที่อยู่ในรูป “a เป็น F” เป็นจริง ก็คือเพราะ a เป็น F9 ฉะนั้น อะไรที่ทาให้ประโยค “โสเครตีสกล้าหาญ” เป็นจริงก็คือการที่โสเครตีสกล้าหาญ และอะไรที่ทา ให้ป ระโยค “เพลโตฉลาด” เป็นจริง ก็คื อการที่เพลโตฉลาด ตามทัศนะของนัก นามนิย มแบบ เคร่งครัด คาอธิบายนี้ตอบสนองต่อเงื่อนไขทั้งสองที่นักสัจนิยมตั้งขึ้น ประการที่หนึ่ง มันทาให้ ความเป็นจริงของประโยคภาคประธานและภาคแสดงเป็นเรื่องของความสอดคล้อง สิ่งที่คาอธิบาย บอกเราก็คือ ถ้า “โสเครตีสกล้าหาญ” เป็นจริง มันก็เป็นจริงด้วยเหตุของลักษณะที่เป็นอยู่ของวัตถุ ที่ไม่ใช่วัตถุทางภาษา ซึ่งก็คือตัวโสเครตีส มันเป็นเพราะว่า ด้วยข้อเท็จจริงแล้ว โสเครตีสกล้าหาญ จึงทาให้ “โสเครตีสกล้าหาญ” เป็นจริง ดังนั้นมันจึงเป็นเพราะว่าสิ่งของมันเป็นอย่างที่ประโยค ภาคประธานและภาคแสดงพูดว่ามันเป็น ประโยคพวกนั้นจึงกลายเป็นจริงขึ้นได้ ดังนั้น สิ่งที่ทา ให้ประโยคภาคประธานและภาคแสดงเป็นจริงก็คือการที่สิ่งข้างนอกในโลกเป็นอย่างที่มันเป็น คือ กล้าหาญ ฉลาด เป็นสามเหลี่ยม มีสีเหลือง ฯลฯ แต่ถ้าเรายอมรับข้ออ้างของนักนามนิยมแบบ เคร่งครัดที่ว่า การที่วัตถุเป็นสามเหลี่ยม มีสีเหลือง หรืออะไรก็แล้วแต่ เป็นเรื่องของข้อเท็จจริง พื้นฐานของโลก คือ เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้วางอยู่บนข้อเท็จจริงอื่นที่มีอานาจในการอธิ บาย เราก็ จะมีทฤษฎีที่เป็นแบบความสอดคล้องที่ไม่มีการอ้างอิงไปถึงสิ่งสากล ประการที่สอง คาอธิบาย สามารถแสดงว่าความสอดคล้องที่ทาให้ประโยคภาคประธานและภาคแสดงเป็นจริง เกิดจาก ความเชื่อมต่อในเชิงการอ้างอิงระหว่างคาที่เป็นองค์ประกอบของประโยคกับวัตถุที่อยู่นอกภาษา ข้อเท็จจริงที่ว่า “โสเครตีสกล้าหาญ” สามารถบอกเราเกี่ยวกับความเป็นจริงของโลก เป็นสิ่งที่ขึ้น ตรงต่อข้อเท็จริงที่ ก) คาว่า “โสเครตีส” ของภาคประธานเป็นชื่อเรียกวัตถุอะไรบางอย่าง ข) คาว่า “กล้าหาญ” ของภาคแสดงเป็นจริงกับวัตถุบางอย่าง หรือได้รับการตอบสนองโดยวัตถุบางอย่าง ค) หน่วยที่ถูกเรียกชื่อโดยคาของภาคประธาน เป็นหนึ่งในบรรดาหน่วยทั้งหลาย ที่ตอบสนองต่อคา ของภาคแสดง ฉะนั้น สิ่งที่เป็นรากฐานให้กับความสอดคล้องระหว่างภาษากับโลกจึงเป็นเรื่อง ของการเรียกชื่อและความตอบสนอง ทั้งสองอย่างเป็นมโนทัศน์ที่เป็นเรื่องของการอ้างอิง ซึ่งผูก 9

ดูใน Quine (1954: 10-13) และในคาอธิบายของ Wilfrid Sellars ใน “Naming and Saying” Sellars (1963a)


51

ถ้อยคาของภาษาเข้ากับสิ่งที่ไม่ใช่ภาษา และเพราะว่า ทั้งสองอย่างผูกถ้อยคาทางภาษาที่ถูกต้อง เหมาะสม เข้ า กั บ วัตถุภายนอกภาษาที่ถูก ต้องเหมาะสม ที่ทาให้ ถ้อยคาที่เรีย งต่อกั นสามารถ สอดคล้องไปกับโลกได้ ดังนั้น นักนามนิยมแบบเคร่งครัดจึงสามารถแสดงวิธีที่อานาจในการ อ้างอิงของคาที่เป็นองค์ประกอบ ทาให้ประโยคภาคประธานและภาคแสดงสอดคล้องกับโลก และคาอธิบายของพวกเขาทาเช่นนี้ได้ พร้อมไปกับการถือว่าหน่วยที่ภาคแสดงอ้างอิงไปถึงเป็นสิ่ง เฉพาะรูปธรรมที่เป็นจริงต่อคาของภาคแสดง คาอธิบายที่นักนามนิยมแบบเคร่งครัดนาเสนออาจฟังดูว่าเป็ นคาอธิบายแบบพื้นฐานไร้ สาระ พอถูกถามว่าทาไม “โสเครตีสกล้าหาญ” จึงเป็นจริง เขาก็ตอบมาอย่างทื่อๆ ว่า “เพราะว่าโส เครตีสกล้าหาญ” นักนามนิยมแบบเคร่งครัดยอมรับว่าคาอธิบายเป็นแบบที่ไม่พูดอะไรใหม่ แต่ก็ ยืนยั นว่า การที่ มันไม่พู ดอะไรใหม่นี้เป็นข้อดีของทฤษฎี เขาอ้างว่ าทฤษฎีความจริงควรจะให้ ผลลัพธ์ที่เราถือว่าไม่พูดอะไรใหม่ ถ้าถูกถามว่าทาไม “โสเครตีสกล้าหาญ” ถึงเป็นจริง เราไม่ ต้องการคาตอบว่า “เพราะว่าลูกตาลึงสุกมีสีแดง” หรือคาตอบว่า “เพราะว่าน้าคือ H2O” ในการพูด ว่า “โสเครตีส กล้า หาญ” เป็ นจริงเพราะโสเครตีส กล้าหาญ เราได้ระบุถึงสิ่งเพี ย งอย่ างเดีย วที่ สามารถถื อว่า เป็ น รากฐานที่ ไ ม่ ใ ช่สิ่ งในภาษาที่ทาให้ป ระโยคนั้ นเป็ นจริ ง นั ก นามนิย มแบบ เคร่งครัดยอมรับว่า คาอธิบายความเป็นจริงของประโยคภาคประธานและภาคแสดงของนักสัจ นิยม อาจดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่พูดซ้าความน้อยกว่า แต่ก็ยืนยันว่า เมื่อพิจารณากันอย่างจริงจังแล้ว คาอธิบายของนักสัจนิยมก็พูดซ้าความอย่างที่ไม่ต่างออกไปเลยแม้แต่น้อย นักสัจนิยมบอกว่า “โส เครตีสกล้าหาญ” เป็นจริง เพราะโสเครตีสเป็นตัวอย่างของความกล้าหาญ ในการอธิบายนี้ นักสัจ นิยมดูเหมือนว่าจะหนีรอดจากข้อหาว่าพูดในสิ่งที่ไม่มีสาระอะไรใหม่ เพราะว่าเขาไม่ได้ใช่ตัวรูป ประโยคเดิมที่ความเป็นจริงของมันเป็นสิ่งที่เขาต้องการอธิบาย มาใช้ตอบ แต่นักนามนิยมแบบ เคร่งครัดก็เตือนเราว่า ความหมายเดียวที่เราสามารถจะเข้าใจสาหรับข้ออ้างที่ว่า สิ่งๆ หนึ่งเป็น ตัวอย่างของความกล้าหาญ ก็คือว่ามันกล้าหาญ แต่ถ้าการพู ดเกี่ยวกับการเป็นตัวอย่างของความ กล้าหาญ เป็นเพียงแค่การพูดเกี่ยวกับการกล้าหาญ คาอธิบายความจริงของ “โสเครตีสกล้าหาญ” ของนักสัจนิยมก็เป็นการพูดที่ซ้าความเท่าๆ กันกับของนักนามนิยมแบบเคร่งครัด และนักนาม นิยมก็จะพูดว่า นี่ไม่ใช่อะไรที่จะใช้มาแย้งกับทฤษฎีของทั้งสองฝ่าย


52

ปัญหาต่อมาของเราคือ นักนามนิยมจะตอบอย่างไรต่อปรากฏการณ์ของการอ้างอิงเชิง นามธรรม ที่เป็นเรื่องความจริงของประโยคอย่าง (3) ความกล้าหาญคือความดีงามทางศีลธรรม (4) ความเป็นสามเหลี่ยมเป็นรูปทรงชนิดหนึ่ง (5) สมศรีชอบสีแดงมากกว่าสีฟ้า และ (6) สีแดงคือสีๆ หนึ่ง ซึ่งทั้งหมดนี้บรรจุไว้ด้วยสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นสามัญนามของสิ่งสากล ประโยคพวกนี้ดูเหมือนจะ เป็ นเครื่องมือในการสร้า งข้ ออ้า งเกี่ ย วกั บ สิ่งสากล ซึ่งถูกเรีย กชื่อโดยคานามธรรมเอกพจน์ที่ ประกอบอยู่ ในประโยค เนื่องจากข้ออ้า งพวกนี้เป็นจริง จึงดูเหมือนว่าเราจะถูกบังคับให้ต้อง ยอมรับถึงความมีอยู่ของสิ่งอย่างเช่น คุณสมบัติ ชนิด และความสัมพันธ์ นักนามนิยมแบบเคร่งครัดยอมรับว่าประโยคประเภทนี้สามารถเป็นข้ออ้างที่เป็นจริง แต่ก็ ยืนยันว่า ข้ออ้างดังกล่าวไม่ใช่อะไรอย่างที่ระบุถึงโดยนักสัจนิยมทางอภิปรัชญา ตามความคิดของ นักนามนิยมแบบเคร่งครัด ประโยคพวกนี้มีลักษณะที่ดูเหมือนว่าจะแสดงออกถึงข้ออ้างเกี่ยวกับ สิ่งสากล แต่จริงๆ แล้วมันเป็นการอ้างเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะรูปธรรมธรรมดาๆ เพื่อให้เราอ่าน (3) ถึง (6) ตามแบบเดียวกับพวกเขา นักนามนิยมแบบเคร่งครัดเตือนเราถึงความสัมพันธ์ระหว่างประโยค อย่าง (7) โสเครตีสแสดงตัวอย่างของความกล้าหาญ และ (8) เพลโตแสดงตัวอย่างของความฉลาด กับประโยคอย่าง (9) โสเครตีสกล้าหาญ และ


53

(10)เพลโตฉลาด ตามที่เราได้เห็นมา นักนามนิยมแบบเคร่งครัดอ้างว่าถ้าประโยคอย่าง (7) และ (8) จะมีความหมาย ความหมายของมันก็อยู่ในประโยคอย่าง (9) และ (10) พวกเขายืนยันว่า (7) และ (8) ไม่อาจจะมี ความหมายเป็นอะไรที่ยิ่งไปกว่า (9) และ (10) ได้ ประโยคแบบแรกเป็นเพียงอีกวิธีหนึ่งในการพูด ประโยคแบบหลัง ดังนั้น (7) และ (8) จึงไม่ได้เป็นเรื่องข้ออ้างเกี่ยวกับสิ่งสากล ถึงแม้พวกมันฟัง จะดูเหมือนว่าเป็นข้ออ้างถึงสิ่งสากลก็ตาม แต่ที่จริงแล้ว มัน เป็นข้ออ้างที่ตรงไปตรงมาเกี่ยวสิ่ง เฉพาะรูปธรรม และ “ความกล้าหาญ” และ “ความฉลาด” ซึ่งเป็นคานามธรรมเอกพจน์ ที่ปรากฏ อยู่ใน (7) และ (8) ก็ ไม่ได้เป็นคาเอกพจน์จริงๆ กล่าวก็ คือ มันไม่ได้เป็นชื่อของสิ่งใดเลย ใน ประโยคที่ให้ความหมายกับ (7) และ (8) คาทั้งสองถูกแทนที่ด้วยคาทั่วไป คือคาว่า “กล้าหาญ” และ “ฉลาด” และจากการแสดงของนักนามนิยมแบบเคร่งครัด การใช้คาแบบหลังไม่ได้บังคับให้ เราต้องยอมรับความมีอยู่ของอะไร นอกไปจากสิ่งเฉพาะรูปธรรมที่เป็นจริงต่อคาดังกล่าว นักนามนิยมแบบเคร่งครัดต้องการอ้างว่า วิธีจัดการกับ (7) และ (8) สามารถใช้จัดการกับ ประโยคทุกประโยคที่มีคานามธรรมเอกพจน์เป็นส่วนประกอบ 10 เขาอ้างว่าไม่มีความจาเป็นใดๆ ที่จะต้องถือว่าคานามธรรมเอกพจน์เป็นชื่อเฉพาะของสิ่งสากล เราสามารถกาจัดมันออกไปจาก การพูดจาได้เสมอ สาหรับทุกๆ ประโยคที่บรรจุไว้ด้วยคานามธรรมเอกพจน์ เป็นได้เสมอที่เราจะ ระบุถึงประโยคที่มีคาทั่วไปที่สัมพันธ์กันตั้งอยู่แทนที่ อย่างที่ประโยคอย่างหลังให้ความหมายของ ประโยคอย่ า งแรก นี่เป็ นข้ ออ้ า งที่ส าคัญมาก ถ้าการแปลความหมายแบบที่ นัก นามนิย มแบบ เคร่งครัดเสนอสามารถทาได้จริงอย่างเป็นทั่วไป ข้ออ้างของนักสัจนิยมที่ว่าความเป็น จริงของ ประโยคอย่าง (3) ถึง (7) บังคับให้เราต้องยอมรับความมีอยู่ของสิ่งสากล ก็จะเป็นข้ออ้างที่มีปัญหา และดูเหมือนว่าเราก็จะมีเหตุผลอันควรมารองรับให้กับการอ้างว่า การพูดเกี่ยวกับสิ่งสากลที่จริง แล้วเป็นการพูดเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะรูปธรรม การพูดที่ดูเหมือนจะเกี่ยวกับความเป็นรูปสามเหลี่ยม สามารถตีความว่าเป็นการพูดเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมเฉพาะ การพูดที่ดูเหมือนว่าเกี่ยวกับมนุษยชาติ สามารถที่ตีความว่าไม่ได้เป็นอะไรนอกเหนือไปจากการพูดถึงมนุษย์แต่ละคน และการพูดที่ดู เหมือนว่าเกี่ยวกับความกล้าหาญก็สามารถที่จะเข้าใจได้ว่าเป็น การพูดเกี่ยวกับคนกล้าหาญแต่ละ คน 10

ทัศนะเช่นนี้สามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงงานของ William of Ockham ดูใน Loux (1974: 58-68)


54

แต่ก่ อนที่ เราจะยอมเชื่ ออย่ างนั้น อย่ างน้อยที่สุด นัก นามนิย มแบบเคร่งครัดก็ ต้องให้ เหตุผลที่ดีพอสาหรับการที่จะคิดว่า การแปลความหมายของประโยคอย่างที่เสนอมาเป็นสิ่งที่ทา ได้กับทุกประโยคที่มีคานามธรรมเอกพจน์ปรากฏอยู่ ปัญหาก็คือนักนามนิยมแบบเคร่งครัดมัก สร้างข้อเสนอดังกล่าว โดยไม่ยอมให้คาอธิบายในรายละเอียดถึงวิธีที่จะแปลความหมายในกรณี เฉพาะแต่ละกรณี และข้อเท็จจริงก็คือ การแปลความหมายดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีปัญหาอย่างหนัก นั่นก็คือ สาหรับบางประโยคที่มีคานามธรรมปรากฏอยู่ การแปลความหมายสามารถเป็นอะไรที่ ตรงไปตรงมาอย่างที่ให้โดย (7) และ (8) ฉะนั้น นักนามนิยมอย่างเคร่งครัด อาจต้องการอ้างว่า (4) ควรจะถูกอ่านว่าเป็น (4-ก) วัตถุสามเหลี่ยมเป็นวัตถุที่มีรูปทรง และอ่าน (6) สีแดงเป็นสีๆ หนึ่ง ว่าควรที่จะแปลความหมายว่า (6-ก) วัตถุสีแดงเป็นวัตถุที่มีสี อย่างไรก็ตาม ในกรณีอื่น การแปลความหมายอย่างที่ต้องการเป็นอะไรที่ตรงไปตรงมาน้อยกว่า นั้น ตัวอย่างเช่น เราอาจจะคิดว่านักนามนิยมแบบเคร่งครัดจะอ่าน (3) ว่าเป็น (3-ก) บุคคลที่กล้าหาญเป็นบุคคลที่ดีงามทางศีลธรรม และอ่าน (5) ว่าเป็น (5-ก) สมศรีชอบวัตถุสีแดงมากกว่าวัตถุสีฟ้า แต่โชคไม่ดี การแปลความหมายของทั้งสองกรณีไม่ให้ผลที่น่าพึงพอใจ ถ้าประโยคหนึ่งจะมี ความหมายเดียวกันกับอีกประโยคหนึ่ง อย่างน้อยทั้งสองประโยคก็ต้องมีค่าความจริงที่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม ในทั้งสองกรณี ประโยคที่ถือว่าเป็นการแปลความหมายที่เสนอมาสามารถเป็นเท็จ ในขณะที่ประโยคที่ต้องการจะแปลความหมายสามารถเป็นจริง ฉะนั้น (3) แสดงออกถึงสิ่งที่ดู เหมือนว่าจะเป็นจริงโดยจาเป็น แต่มันเป็นไปได้ที่ (3-ก) จะเป็นเท็จ ขอเพียงแค่มีบุคคลที่กล้าหาญ


55

ที่ข าดความดีง ามทางศี ลธรรมอื่นๆ ซึ่งทาให้ไ ม่อาจจะถือว่าเขาเป็นผู้ดีงามทางศีล ธรรม แบบ เดียวกัน เป็นไปได้ที่ (5) จะเป็นจริงในขณะที่ (5-ก) เป็นเท็จ สมศรีอาจชอบสีแดงมากกว่าสีฟ้า แต่ เพราะว่าวัตถุที่มีสีแดงเกือบทั้งหมดมีคุณสมบัติอื่นซึ่งสมศรีไม่ชอบ ดังนั้นเธอจึงชอบวัตถุสีฟ้า มากกว่าวัตถุสีแดง อาจจะดูเหมือนว่า มีวิธีที่ตรงไปตรงมาที่นัก นามนิยมแบบเคร่งครัดจะจัดการกับปัญหานี้ พวกเขาเพียงแค่อาศัยวลีว่า “เมื่อสิ่งอื่นทุกอย่างเท่าเทียมกัน” และถือว่า (3) หมายความว่า (3-ข) เมื่อสิ่งอื่นทุกอย่างเท่าเทียมกัน บุคคลที่กล้าหาญเป็นบุคคลที่ดีงามทางศีลธรรม และถือว่า (5) หมายความว่า (5-ข) เมื่อสิ่งอื่นทุกอย่างเท่าเทียมกัน สมศรีชอบสิ่งสีแดงมากกว่าสิ่งสีฟ้า อาจเป็นได้ว่า (3-ข) และ (5-ข) ให้การแปลความหมายของ (3) และ (5) ที่น่าพึงพอใจ แต่ถึงแม้ว่า จะเป็ นอย่ างนั้น มั นก็ไ ม่ชั ดเจนแต่ประการใดว่านี่คือชัย ชนะของลัทธินามนิย มแบบเคร่งครัด ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อนักนามนิ ยมแบบเคร่งครัดมองหาวิธีที่จะอธิบายอานาจของวลี “เมื่อสิ่งอื่นทุก อย่างเท่าเทียมกัน” ใน (3-ข) และ (5-ข) แน่นอนว่าเป็นเรื่องง่ายที่จะให้คาอธิบายแบบที่เข้าใจอย่าง ง่ายๆ ถึงอานาจของวลีนี้ คือ เมื่อเราพูดว่าเมื่อสิ่งอื่นทุกอย่างเท่าเทียมกัน คนที่กล้าหาญเป็นคนที่ดี งามทางศีลธรรม เรากาลังพูดว่าถ้าเขามีคุณธรรมทางศีลธรรมอื่นๆ อยู่พร้อมกับการเป็นคนกล้า หาญ เขาก็เป็นคนที่ดีจริงๆ และเมื่อเราพูดว่าเมื่อสิ่งอื่นทุกอย่างเท่าเทียมกันสมศรีชอบสิ่งสีแดง มากกว่าสิ่งสีฟ้า เรากาลังพูดว่าเมื่อวัตถุคู่หนึ่งตรงกันในคุณสมบัติอื่นทั้งหมด ยกเว้นแต่เรื่องสี สมศรีจะชอบสิ่งสีแดงมากกว่าสิ่งสีฟ้า เป็นเรื่องที่ชัดเจนว่านักนามนิยมแบบเคร่งครัดไม่สามารถที่ จะรับการอ่านวลีดังกล่าวในแบบที่เข้าใจเอาง่ายๆ อย่างนี้ เพราะการอ่านดังกล่าวมีการอ้างอิงอย่าง ชัดเจน ถึงสิ่งอย่างที่นักนามนิยมแบบเคร่งครัดพยายามที่จะใช้การแปลความหมายของพวกเขา กาจัดออกไปจากการพูดจา อาจดูเหมือนว่านักนามนิยมแบบเคร่งครัดสามารถอธิบายอานาจของวลี “เมื่อสิ่งอื่นทุก อย่างเท่าเทียมกัน” ใน (3-ข) และ (5-ข) โดยอาศัยการพูดเกี่ยวกับวัตถุที่ตอบสนองต่อคาของภาค แสดง เขาอาจจะพูดว่า (3-ข) บอกเราว่า ถ้าหากพวกเขาตอบสนองหรือเป็นจริงต่อภาคแสดงที่เป็น เรื่องของคุณธรรมทั้งหมด บุคคลซึ่งกล้าหาญก็เป็นคนที่ดีงามทางศีลธรรม และบอกว่า (5-ข) บอก


56

เราว่า เมื่อวัตถุสีแดงและวัตถุสีฟ้าตอบสนองต่อภาคแสดงทั้งหมดที่ไม่ใช่เรื่องสี สมศรีจะชอบวัตถุ สีแดงมากกว่าวัตถุสีฟ้า ข้อยุ่งยากในวิธีแบบนี้อยู่ตรงที่ว่า ไม่มีอะไรจะประกันว่าภาษาของเราจะมี คาภาคแสดงมากพอที่จะทาให้แน่ใจได้ว่า (3-ข) และ (5-ข) จะออกมาจริงพร้อมกับ (3) และ (5) อาจจะเป็นได้ (และน่าจะเป็น) ว่าคาศัพท์ทางศีลธรรมของเรามีอยู่อย่างจากัด คือภาษาของเราไม่ ไม่ได้มีคาทั่วไปที่สอดคล้องกับทุกๆ ลักษณะทางบุคลิกภาพของบุคคลที่ดีงามทางศีลธรรม แต่ถ้า เป็นดังนั้น ก็เป็นไปได้ที่จะมีบุคคลผู้ซึ่งตอบสนอง หรือเป็นจริงต่อภาคแสดงเกี่ยวกับคุณธรรมที่มี อยู่ทั้งหมด แต่ก็ยังไม่ใช่ผู้ที่ดีงามทางศีลธรรมอย่างแท้จริง ผลก็คือการแปลความหมาย (3) ของนัก นามนิยมแบบเคร่งครัดออกมาว่าเป็นเท็จ ในขณะที่ (3) เป็นจริง และก็เป็นเรื่องแน่นอนว่าภาษา ของเราไม่ได้มีภาคแสดงที่บอกถึงทุกๆ วิธีที่วัตถุจะตรงกันในคุณลักษณะ แต่ถ้าเป็นอย่างนั้น วัตถุ สีแดงและวัตถุสีฟ้าอาจจะตอบสนองต่อภาคแสดงทั้งหมดที่มีอยู่ที่ไม่ใช่เรื่องสี แต่ก็ยังอาจแตกต่าง กันในแบบที่ ถึงแม้จะชอบสีแดงมากกว่าสีฟ้า สมศรีก็ยังชอบวัตถุสีฟ้ามากกว่าวัตถุสีแดง ดังนั้น ผลก็ยังเป็นว่า ประโยคที่ถูกแปลความหมาย และประโยคที่นักนามนิยมแบบเคร่งครัดเสนอว่าเป็น คาแปล มีค่าความจริงที่แตกต่างกัน เท่าที่ผมจะบอกได้ กลยุทธ์เดียวที่นักนามนิยมแบบเคร่ งครัดจะใช้ได้ ก็คือการปฏิเสธวลี “เมื่อสิ่งอื่นทุกอย่างเท่าเทียมกัน” อย่างที่เราพบใน (3-ข) และ (5-ข) ว่าเป็นสิ่งที่สามารถวิเคราะห์ ได้อย่างสมบูรณ์ ตามทัศนะนี้ การใช้วลีดังกล่าวเป็นเรื่องของการส่งสัญญาณว่ากาลังมีการเสนอ ข้ออ้างหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งซึ่งขึ้นกับเงื่อนไขหรือข้อบังคับที่หลากหลาย ถึงแม้ว่าเป็นไปได้ที่ผู้พูดจะให้ ตัวอย่างของเงื่อนไขหรือข้อบังคับที่บอกให้รู้โดยวลีดังกล่าว แต่ก็ไม่มีรายการที่สิ้นสุดครบถ้วน ของเงื่อนไขข้อบังคับทั้งหมดที่ครอบคลุมโดยการใช้วลีดังกล่าว เพราะการใช้วลี “เมื่อสิ่งอื่นทุก อย่างเท่าเทียมกัน” เป็นของที่ปลายเปิดอย่างนี้นี่เอง มันถึงมีประโยชน์มาก ดังนั้น นักนามนิยม แบบเคร่งครัดจะบอกว่า ข้อเรียกร้องให้พวกเขากาจัดวลีดังกล่าวออกไปจาก (3-ข) และ (5-ข) ด้วย การระบุให้ชัดเจนว่าวลีดังกล่าวครอบคลุมเงื่อนไขอะไรบ้าง เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เหตุผลที่ทาให้ การใช้วลีดังกล่าวเป็ นสิ่งที่ เหมาะสมในแต่ล ะกรณี ก็ เพราะเราไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ว่า เงื่อนไขดังกล่าวมีอะไรบ้าง ดังนั้น (3-ข) และ (5-ข) จึงถูกต้องตามรูปแบบที่พวกมันเป็นอยู่ ไม่ ต้องการการวิเคราะห์อะไรต่อไป


57

อย่างไรก็ตาม ประโยคซึ่งมีคานามธรรมเอกพจน์ไม่ใช่เรื่องเดียวที่เป็นปัญหาสาหรับนัก นามนิยมแบบเคร่งครัด ในตอนที่เราอภิปรายปรากฏการณ์ของการอ้างอิงเชิงนามธรรม เราตั้ง ข้อสังเกตว่าประโยคอย่าง (11)มะเขือเทศลูกนั้นและรถดับเพลิงคันนั้นมีสีเดียวกัน และ (12) เขามีลักษณะทางบุคลิกภาพแบบเดียวกันกับญาติผู้น้องของเขา ดูเหมือนจะผูกมัดให้เราต้องยอมรับความมีอยู่ของสิ่งสากล ประโยค (11) และ (12) ไม่ได้บรรจุไว้ ด้ ว ยค านามธรรมเอกพจน์ แต่ มั น มี ค าที่ ดู เ หมื อ นจะเป็ น ค าทั่ ว ไป (“สี ” และ “ลั ก ษณะทาง บุคลิกภาพ”) ที่เป็นจริงกับสิ่งสากล และทั้งสองประโยคดูเหมือนจะมีนัยว่ามีวัตถุซึ่งตอบสนอง หรือเป็นจริงต่อคาทั่วไปนั้น เห็นได้ชัดว่ากลยุทธ์ในการจัดการกับการอ้างอิงอย่างตรงไปตรงมาถึง สิ่งสากล ด้วยการแทนที่คานามธรรมเอกพจน์ด้วยคาทั่วไปที่เข้าคู่กัน เป็นสิ่งที่นามาใช้ตรงนี้ไม่ได้ ถ้านักนามนิยมแบบเคร่งครัดต้องการจะอ้างว่า (11) และ (12) ที่จริงแล้วเป็นข้ออ้างเกี่ยวกับสิ่ ง เฉพาะ เขาก็จะต้องพูดว่าทั้งสองเป็นข้ออ้างเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะที่ตรงกันในสีและบุคลิกภาพ กลวิธีก็ คือหาวิธีอะไรบางอย่างที่จะแสดงออกถึงการตรงกันนี้ โดยปราศจากการอ้างอิงไปถึงสิ่งสากล อย่างที่เราเพิ่งทาลงไป กลยุทธ์หนึ่งที่เป็นไปได้ตรงนี้คือการนากริยาวิเศษณ์มาขยายความกริยา “ตรงกัน” ดังนั้น นักนามนิยมแบบเคร่งครัดสามารถที่จะพูดว่า (11) เป็นประโยคที่เท่าเทียมกันกับ (11-ก) มะเขือเทศลูกนั้นและรถดับเพลิงคันนั้นตรงกันอย่างสีๆ และ (12) เป็นประโยคที่เท่าเทียมกันกับ (12-ก) เขาและญาติผู้น้องของเขาตรงกันอย่างบุคลิกๆ พร้อมกับการพูดเพิ่มเติมว่า คากริยาวิเศษณ์ที่แสดงออกถึงรูปแบบของการตรงกันดังกล่าว เป็น ถ้อยคาที่ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ชัดเจนว่ากลยุทธ์นี้จะพาเราไปได้ไกลแค่ไหน เพื่อให้เห็นถึงความยุ่งยาก ที่นักนามนิยมแบบเคร่งครัดต้องเผชิญ ผู้อ่านอาจลองหาวิธีอ่านประโยคอีกสองประโยคที่พูดไว้ ในบทที่หนึ่ง


58

(13) สายพันธุ์บางสายพันธุ์สามารถสืบพันธุ์ข้ามกันได้ (14) รูปทรงนั้นถูกแสดงตัวอย่างหลายครั้ง นี่ไ ม่ใ ช่ เรื่องที่ จะท าได้ง่ า ยๆ และทั นทีที่ นัก นามนิยมแบบเคร่งครัดให้วิธีอ่านความหมายของ ประโยคเหล่านี้ นักสัจนิยมก็จะหาประโยคแบบใหม่ที่แตกต่างออกไปมาท้าทายนักนามนิยมแบบ เคร่งครัดอีก ผลก็คือ ไม่ชัดเจนว่าโครงการแปลที่เสนอโดยนักนามนิยมแบบเคร่งครัดจะเป็นสิ่งที่ สามารถทาสาเร็จได้จริง แต่ก็มีนักนามนิยมแบบเคร่งครัดบางคนที่จะไม่รู้สึกว่ามีปัญหาแต่อย่างใด ถ้าหากประโยคที่แสดงออกถึงความเชื่ อที่เรายอมรับเอาโดยสามัญสานึก จะไม่สามารถเปลี่ยนให้ เป็นข้ออ้างเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะ นักนามนิยมแบบเคร่งครัดพวกนี้จะตีความการที่เราไม่สามารถแปล ประโยคพวกนั้นได้ ว่าปัญหาอยู่ที่ความเชื่อที่ประโยคพวกนั้นแสดงออกไม่ใช่อยู่ที่ลัทธินามนิยม พวกเขาเห็นว่า ความเชื่อที่เกิ ดขึ้นตามสามัญสานึกอยู่ในสถานะที่อาจตั้งคาถามได้ ถึงแม้ว่าพวก เขาจะไม่พร้อมที่จะโยนความเชื่อพวกนั้นทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดทิ้ง แต่เขาก็ถือว่าการสร้าง ทฤษฎีทางปรัชญา ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าการสร้างหลักการทั่วไปมารองรับข้อมูลที่ได้มาก่อน หน้าการคิดปรัชญา พวกเขาถือว่าถ้าหากคาอธิบายทางปรัชญาที่มีอานาจในการอธิบายสูงและมี ความพิเศษทางทฤษฎี มีความไม่ลงรอยกันกับความเชื่อในชีวิตประจาวันกลุ่มเล็กๆ เราก็ควรที่จะ ทบทวนแก้ไขความเชื่อของเรายิ่งกว่าที่จะโยนทฤษฎีทิ้ง 11 และในกรณีที่เรากาลังดูอยู่นี้ นักนาม นิยมแบบเคร่งครัดเหล่านี้เชื่อว่าทฤษฎีควรจะอยู่เหนือข้อมูล ตามการมองของพวกเขา ภววิทยาที่มี เพี ยงแค่ สิ่งเฉพาะรูปธรรมเป็ นสิ่งที่ น่าพึ งพอใจกว่าภววิทยาที่รกรุงรังไปด้วยสิ่งที่น่าสงสัย ที่ ปราศจากเงื่อนไขของเอกลักษณ์ที่ชัดเจน และพาไปสู่ความสัมพันธ์ทางอภิปรัชญาที่พาถอยหลัง ไม่รู้จบ และให้คาอธิบายที่ก็ยังเป็นที่น่าสงสัยว่ามีค่าจริงหรือเปล่า ข้อเท็จจริงที่ว่า ความเชื่อระดับ สามัญสานึกไม่ลงรอยอย่างสมบูรณ์กับภววิทยาที่มีเพียงแค่สิ่งเฉพาะรูปธรรม ไม่ใช่เหตุผลอัน เหมาะสมที่จะทาให้เราต้องยอมรับกรอบการทางานอันยุ่งยากของสัจนิยมทางอภิปรัชญา นักนาม นิยมแบบเคร่งครัดเหล่านี้เห็นว่าไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ ที่ความเชื่อบางความเชื่อของเราจะมี สรรพสาเนียงแบบของเพลโตปนอยู่อย่างยากที่จะขจัดออกไป เขาจะเตือนเราว่าลัทธิสัจนิยมทาง อภิปรัชญาถือกาเนิดมาตั้งแต่เริ่มเกิดการคิดทางปรัชญา ดังนั้น เราก็คาดได้เลยว่า มันจะต้องเข้ ามา

11

เราพบความคิดเช่นนี้ได้ในงานเขียนหลายๆ ชิ้นของ Quine ดูตัวอย่างใน Quine (1960: 122-3)


59

ปนเปื้อนอยู่ในความเชื่อในชีวิตประจาวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ข้อเท็จจริงที่ว่าลัทธินาม นิยมไม่อาจจะขจัดการปนเปื้อนนี้ได้สาเร็จไม่ใช่ข้อที่บอกว่าทฤษฎีของลัทธินามนิยมผิด ดังนั้น เราจึงมีนักนามนิยมแบบเคร่งครัดอยู่สองพวก คือพวกที่เป็นแบบที่เราเพิ่งบรรยาย มา กับพวกที่เห็นว่าการที่ความเชื่อของเราบางความเชื่อไม่ลงรอยกับภววิทยาแบบสิ่งประเภทเดียว เป็นเรื่องที่เป็นปัญหา ซึ่งชี้ว่าเราอาจจะต้องยอมรับภววิทยาแบบสิ่งสองประเภทของนักสัจนิยม แต่ถ้าเราสมมติว่าโครงการแปลความหมายของนักนามนิยมแบบเคร่งครัดอย่างที่เราอภิปรายกันมา สามารถทาให้สาเร็จลุล่วงลงได้ ความสาเร็จดังกล่าวก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่แพงมาก ประการที่ หนึ่ง เพื่อที่จะได้มาซึ่งภววิทยาที่มีแต่สิ่งเฉพาะรูปธรรม นักนามนิยมแบบเคร่งครัดถูกบังคับให้ ต้อ งถื อ ว่า ข้ อเท็ จ จริง จ านวนมากเป็น ข้ อเท็ จจริง ระดั บ พื้ น ฐานไม่ อ าจที่ จะวิ เคราะ ห์ต่ อ ไปได้ ข้อเท็จจริงที่ว่าสิ่งของบางสิ่งเป็นรูปสามเหลี่ยม ข้อเท็จจริงที่ว่าสิ่งของบางสิ่งเป็นมนุษย์ และยังมี ข้อเท็จจริงอื่นอีกที่มีจานวนไม่จากัด ล้วนแต่ต้องถูกถือว่าเป็นข้อเท็จจริงพื้นฐานลดทอนไม่ได้ วลี ที่ว่า “เมื่อสิ่งอื่นทุกอย่างเท่าเทียมกัน ” ที่เราเจอในประโยคอย่าง (3-ข) และ (5-ข) ก็ต้องถูกถือว่า วิเคราะห์ไม่ได้ และกริยาวิเศษณ์จานวนมากมายนับไม่ถ้วน ที่นักยามนิยมแบบเคร่งครัดสร้าง ขึ้นมาเพื่อจัดการกับประโยคอย่าง (11) ถึง (14) ก็ต้องล้วนแต่ถูกถือว่าวิเคราะห์ไม่ได้เช่นกัน ประการที่สอง วิธีที่นักนามนิยมแบบเคร่งครัดอธิบายประโยคที่มีการอ้างอิงเชิงนามธรรม เป็ นการท างานแบบแก้ ปั ญหาไปทีล ะชิ้น พวกเขาเคยไม่ใ ห้คาอธิบายถึงหลัก การในการแปล ความหมายประโยคที่สามารถใช้ได้อย่างเป็นทั่วไป สิ่งเดียวที่เขาบอกก็คือจะต้องเป็นแปลมาสู่ ประโยคที่พูดถึงแต่สิ่งเฉพาะ ผลก็คือ คาอธิบายที่เขาให้ต่อประโยคใดประโยคหนึ่งที่ดูเหมือนจะ เกี่ยวข้องกับสิ่งสากล และคาอธิบายที่เขาให้กับประโยคอื่น ไม่จาเป็นที่ต้องแสดงความเชื่อมโยง กันอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ที่เราจะคิดว่าประโยคอย่าง (3) ถึง (8) และ (11) ถึง (14) มีโครงสร้างรองรับที่เป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน นั่นก็คือ พวกมันทั้งหมดแสดงออกถึงรูปแบบ ทางอรรถศาสตร์อันเดียวกัน ในขณะที่ลัทธินามนิยมแบบเคร่งครัดไม่อาจจะหารูปแบบที่เป็นหนึ่ง เดียวมารองรับประโยคดังกล่าว สัจนิยมซึ่งมีภววิทยาแบบสิ่งสองประเภทสามารถให้คาอธิบายที่ เป็นระบบต่อการอ้างอิงเชิงนามธรรม คาอธิบายของนักสัจนิยมสามารถรองรับต่อความเข้าใจของ เราที่ว่าประโยคอย่าง (3) ถึง (8) และ (11) ถึง (14) แสดงโครงสร้างทางอรรถศาสตร์ที่เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน


60

เหตุที่เราควรจะต้องกล่าวถึงประเด็นพวกนี้ก็เพราะ นักนามนิยมแบบเคร่งครัดยืนยันว่า ทฤษฎีของพวกเขาเรียบง่ายกว่า และดังนั้นจึงน่าพอใจมากกว่าของนักสัจนิยม แต่แม้เราจะสมมติ ว่าทั้งสองสองทฤษฎีมีอานาจในการอธิบายเท่ากัน มันก็ยังเป็นจริงแค่เพียงบางส่วนที่ว่าคาอธิบาย ของนักนามนิยมแบบเคร่งครัดเรียบง่ายกว่าของนักสัจนิยม ในทางภววิทยาแล้ว มันเป็นทฤษฎีที่ เรียบง่ายกว่าในแง่ที่ว่ามันกาหนดให้มีสิ่งน้อยประเภทกว่าของนักสัจนิยม แต่มันก็เป็นทฤษฎีที่ถือ ได้ว่างุ่มง่ามกว่ามาก คาศัพท์ทางทฤษฎีของมันมีสิ่งที่เป็นพื้นฐานวิเคราะห์ไม่ได้อยู่มากกว่า และ การอธิบายการอ้างอิงเชิงนามธรรมของมันก็ไม่มีความเป็นระบบ ต่างไปจากคาอธิบายของนักสัจ นิยมที่สามารถให้คาอธิบายที่เป็นรูปแบบหนึ่งเดียว ที่เข้ากับความเข้าใจตามสามัญสานึกของเรา มากกว่า ดังนั้น ถึงแม้ว่าเราจะสมมติว่าโครงการแปลของนักนามนิยมแบบเคร่งครัดจะสามารถ ดาเนินการได้สาเร็จ ความสาเร็จของพวกเขาก็ไม่ใช่สิ่งที่จะบังคับอย่างเบ็ดเสร็จให้เราต้องรับ ทฤษฎีของพวกเขา เรายังจะต้องเทียบเคียงน้าหนักของความเรียบง่ายในเชิงภววิทยาในคาอธิบาย ของพวกเขา กั บ อะไรที่ เราอาจเรีย กว่า ความเรี ย บง่ายในเชิง การอธิบ ายของลัทธิ สัจ นิย มทาง อภิปรัชญา ของสองอย่างนี้เป็นความเรียบง่ายที่ต่างชนิดกัน และก็ไม่ชัดเจนว่าอันไหนจะน่าพึง พอใจมากกว่ากันสาหรับทฤษฎีทางภววิทยา

ลัทธินามนิยมแบบอภิภาษา (Metalinguistic Nominalism) นักนามนิยมบางคนจะปฏิเสธว่าเราจาเป็นต้องเลือกระหว่างความเรียบง่ายสองประเภทนี้ พวกเขาอ้างว่าทฤษฎีที่เป็นหนึ่งเดียวสามารถที่จะแสดงทั้งความเรียบง่ายทางภววิทยา ของลัทธิ นามนิยมแบบเคร่งครัด และความเรียบง่ายในเชิงการอธิบายของลัทธิสัจนิยม ทฤษฎีดังกล่าวเห็น ด้วยกั บ ลัท ธินามนิย มแบบเคร่ง ครัดในการถือว่ามีแต่สิ่งเฉพาะรูปธรรมเท่านั้นที่มีอยู่ จริง แต่ ปฏิเสธการวิเคราะห์การอ้างอิงเชิงนามธรรมของนักนามนิยมแบบเคร่งครัด นักนามนิยมแบบ เคร่งครัดถือว่าประโยคอย่าง (3) ถึง (8) และ (11) ถึง (14) ที่จริงแล้วเป็นข้ออ้างเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะ รูปธรรม พวกเขาถือว่าการพูดเกี่ยวกับความกล้าหาญเป็นการพูดเกี่ยวกับบุคคลที่กล้าหาญ การพูด เกี่ยวกับความเป็นสามเหลี่ยมเป็นการพูดเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมเฉพาะ การพูดเกี่ยวกับมนุษยชาติ เป็นการพูดเกี่ย วกั บมนุษย์แต่ล ะคน อย่างไรก็ตาม เราได้เห็นแล้วว่าข้ออ้างนี้พ าไปสู่ก ารสร้าง คาอธิบายไปที ละกรณี ในแบบที่ทุ กๆ ประโยคที่มีคาที่อ้างอิงถึงสิ่งนามธรรม ได้รับการแปล


61

ความหมายอย่างแยกจากกัน และรูปแบบทางอรรถศาสตร์ที่เป็นหนึ่งเดียวกันในประโยคเหล่านั้น ก็หล่นหายไป นักนามนิยมแบบที่ผมกาลังนึกถึงนี้ต้องการที่จะอ้างว่า เราสามารถที่จะคงรักษาภว วิทยาที่ประหยัดแบบของลัทธินามนิยมแบบเคร่งครัด พร้อมๆ กับที่ให้คาอธิบายต่อการอ้างอิงเชิง นามธรรมอย่างเป็นระบบ หากเราตระหนักว่าประโยคอย่าง (3) ถึง (8) และ (11) ถึง (14) ที่จริง แล้วล้วนแต่เป็นการสร้างข้ออ้างเกี่ยวกับตัวภาษาเอง ยิ่งกว่าที่จะเป็นเรื่องของสิ่งภายนอกที่ภาษา พูดถึง ตามทัศนะนี้ ทั้งนักสัจนิยมและนักนามนิยมแบบเคร่งครัดทาผิดในเรื่องเดียวกัน ทั้งสองฝ่าย ต่างถือไปว่าประโยคที่มีคาที่อ้างอิงเชิงนามธรรมเป็นประโยคของภาษาวัตถุ ได้แก่ประโยคซึ่งทา ให้เราสามารถสร้างข้ออ้างเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่นอกภาษา ทั้งสองฝ่ายต่างกันตรงที่ถือว่าอะไรคือสิ่ง ภายนอกภาษาที่ถูกพู ดถึง ฝ่ายหนึ่งถือว่ามันคือสิ่งสากลนามธรรม อีกฝ่ายหนึ่งถือว่ามันคือสิ่ง เฉพาะรูปธรรม ผู้วิจารณ์ของเรายืนยันว่าประโยคที่มีการอ้างอิงเชิงนามธรรมเป็นประโยคที่เป็น อภิภาษา (metalanguage) นั่นก็คือ ที่จริงแล้ว มันคือประโยคที่สร้างข้ออ้างเกี่ย วกับถ้อยคาของ ภาษา ที่เราใช้ในการพูดถึงสิ่งภายนอกภาษา นักวิจารณ์ถือว่าเป็นไปได้ที่จะแปลประโยคดังกล่าว ในแบบที่ทาให้อานาจในเชิงอภิภาษาของพวกมันปรากฏออกมา และพวกเขายืนยันว่า การแปลจะ เป็นไปอย่างเป็นระบบ แสดงให้เห็นถึงรูปแบบทางอรรถศาสตร์ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างที่ มันเป็นอยู่ในประโยคเหล่านั้น ทัศนะที่เสนอโดยนักวิจารณ์ผู้นี้เป็นรูปแบบหนึ่งของลัทธินามนิยม เพราะมันมีแกนกลางทางภววิทยาอันเดียวกันกับของนักนามนิยมแบบเคร่งครัด ผมจะขอเรียก ทัศนะนี้ว่าลัทธินามนิยมแบบอภิภาษา ถึงแม้ลัทธินามนิยมแบบอภิภาษาจะเป็นผลผลิตของปรัชญาวิเคราะห์ของศตวรรษที่ยี่สิบ แต่มันมีรากซึ่งถอยหลังกลับไปไกลถึงสมัยกลาง โรสเซลิน (Roselin of Compiène) แห่งศตวรรษ ที่สิบสอง ผู้ซึ่งประกาศตนเป็นนักนามนิยมอย่างเป็นทางการเป็นคนแรก ถือว่าการพูดเกี่ยวกับสิ่ง สากลที่จริงแล้วเป็นการพูดเกี่ยวกับถ้อยคาบางถ้อยคาของภาษา ได้แก่คาที่สามารถใช้เป็นภาค แสดงให้กับสิ่งเฉพาะหลายๆ สิ่ง ดังนั้นมีแต่ชื่อ (นาม) ซึ่งเป็นคาทั่วไปเท่านั้นที่สามารถมีความ เป็นสากล อย่างไรก็ตามดูเหมือนเขาจะระบุให้ถ้ อยคาทางภาษาเป็นเพียงการเปล่งเสียงออกมา ภายนอก ทัศนะเรื่องภาษาของเขาจึงถูกโจมตีโดยนักนามนิยมรายต่อมาคือ อะเบลาร์ด (Abelard) ผู้ ซึ่งอ้างว่า การที่จะอธิบายความเป็นสากลของภาษาเราต้องอาศัยแนวคิดเรื่องการมีความหมาย 12 12

ข้อวิจารณ์ของ Abelard อยู่ใน Logica Ingredientibus ใน McKeon (1929: 208-58)


62

สาหรับเขา สิ่งสากลเป็นถ้อยคาทางภาษาที่มีความหมาย และลัทธินามนิยมถูกท้าทายให้อธิบายว่า ถ้อยคาที่ใช้เป็นภาคแสดงสามารถมีความหมายได้อย่างไร ถ้าหากไม่มีสิ่งที่มีตัวอย่างที่หลากหลาย อยู่จริง ทัศนะของโรสเซลินได้รับการขัดเกลาต่อโดยนักนามนิยมที่ลึกซึ้งที่สุดของยุคกลางคือ วิ ลเลียมแห่งออคแฮม ผู้ซึ่งเห็นด้วยกับอะเบลาร์ดว่ามีแต่ถ้อยคาที่มีความหมายเท่านั้นที่สามารถจะ เป็นสิ่งสากล แต่เขาก็ยืนยันว่า ในการที่จะอธิบายการมีความหมายของภาษาพูดหรือภาษาเขียน เรา ต้องอาศัยภาษาภายในของวิญญาณหรือภาษาของความคิด 13 ภาษาของความคิดมีคาทั่วไปของมัน เอง และสาหรับออคแฮมมันคือสิ่งสากลระดับพื้นฐาน แต่ แม้แต่สาหรับสิ่งสากลภายในจิตเหล่านี้ ออคแฮมก็ยังยอมรับต่อความเชื่อของโรสเซลินที่ว่า สิ่งสากลเป็นสิ่งที่ควรจะถูกเข้าใจในฐานะของ ความสามารถของถ้อยคาทางภาษาที่จะใช้เป็นภาคแสดงของวัตถุที่หลากหลาย ดัง นั้ น นั ก นามนิ ย มดั้ ง เดิม ทุ ก คนเห็ นตรงกั น ว่ า การพู ด เกี่ ย วกั บ สิ่ ง สากลเป็ น การพู ด เกี่ยวกับองค์ประกอบของภาษา พวกเขาเห็นตรงกันว่า ตัวแนวคิดเรื่องสิ่งสากลเป็นสิ่งที่จะต้อง ได้รับการอธิบายด้วยเรื่องของการเป็นภาคแสดงในภาษา ขอให้สังเกตว่าข้ออ้างหลังนี้เป็นทัศนะที่ กลับ ด้า นกั นกั บ ของนัก สัจนิย ม ทั้ ง นัก สัจนิย มดั้งเดิมและนัก นามนิย มยุ คกลางมองเห็นความ เชื่อมโยงระหว่างแนวคิดเรื่องสิ่งสากลและปรากฏการณ์ของการเป็นภาคแสดง แต่ทั้งสองฝ่ายต่าง เห็นตรงกันข้ามว่าความเชื่อมโยงนี้ควรจะได้รับการอธิบายอย่างไร นักสัจนิยมดั้งเดิม ถือว่าเรามี แนวคิดเรื่องสิ่งสากลอยู่ก่อนหน้าแล้วในฐานะสิ่งที่มีร่วมกัน หรือสิ่งที่มีตัวอย่างที่หลากหลาย และ ใช้แนวคิดนั้นในการวิเคราะห์การเป็นภาคแสดง ในทางกลับกัน โรสเซลิน อะเบลาร์ด และออค แฮม เห็นว่าการใช้คามาเป็นภาคแสดงเป็นปรากฏการณ์ระดับพื้นฐาน และใช้มันมาอธิบายแนวคิด เรื่องสิ่งสากล ไม่ว่าจะอย่างไร นักนามนิยมยุคกลางเหล่านี้ต่างถือว่าการพูดเกี่ยวกับสิ่งสากลเป็นการพูด ในระดับอภิภาษาเกี่ยวกับคาทั่วไปหรือคาที่เป็นภาคแสดง และออคแฮมคิดว่าความเข้าใจนี้ให้ แนวทางสาหรับการแปลประโยคซึ่งสร้างปัญหาให้กับนักนามนิยมอย่าง (3) ถึง (8) และ (11) ถึง (14) แต่อย่างไรก็ตาม ออคแฮมก็ไม่ได้ให้อะไรมากไปกว่าตัวอย่างการแปลที่กระจัดกระจายไม่ เป็นระบบ และต้องรอจนถึงครึ่งหลังของศตวรรษของเรา ที่รูปแบบที่ได้รับการอธิบายอย่างเป็น ระบบและละเอียดครบถ้วนของลัทธินี้จะปรากฏขึ้นในงานของวิลฟริด เซ็ลลาร์ส์ (Wilfrid Sellars) 13

ดู Loux (1974: 88-104)


63

การเข้าใจลัทธินามนิยมของเซ็ลลาร์ส์จะง่ายขึ้น ถ้าเรามาทาความรู้จักกับรูปแบบของลัทธิ นามนิยมทางอภิภาษาที่เสนอโดยรูดอล์ฟ คาร์แนบ (Rudolf Carnap) ตามที่เขาเสนอไว้ใน The Logical Syntax of Language14 เสียก่อน คาร์แนบสนใจในเรื่องของประโยคที่มีคานามธรรม เอกพจน์ เขาเสนอให้ เราแปลประโยคเช่ น นั้น ว่า เป็ นประโยค “ในแบบวัต ถุเ ทีย ม” (“pseudo material mode”) ได้แก่ประโยคที่ดูเบื้องหน้าว่าเป็นประโยคที่เป็นข้ออ้างเกี่ยวกับวัตถุที่อยู่นอก ภาษา แต่เมื่อวิเคราะห์แล้วเราจะเห็นว่ามันเป็นประโยคที่อ้าง “ในรูปแบบทางการ” (“formal mode”) คือเป็นข้ออ้างทางอภิภาษาเกี่ยวกับถ้อยคาบางคา ดังนั้นประโยคซึ่งมีคานามธรรมเอกพจน์ ปรากฏอยู่ ดูเหมือนจะเป็นการอ้างไปถึงสิ่งที่อยู่นอกภาษา อันได้แก่สิ่งสากลอะไรบางอย่าง แต่ ภายใต้การตีความทางปรัชญาที่เหมาะสม มันจะดูเหมือนเป็นข้ออ้างเกี่ยวกับถ้อยคาทางภาษา ตามที่คาร์แนบนาเสนอ ประโยคที่มีคานามธรรมเอกพจน์ปรากฏอยู่ที่จริงแล้วเป็นข้ออ้าง เกี่ ย วกั บ ค าทั่ ว ไปที่ คู่ ไ ปกั บ ค านามธรรมนั้ น ฉะนั้ น อะไรที่ ดู เ หมื อ นจะเป็ น การพู ด เกี่ ย วกั บ คุณสมบัติที่เรียกว่าความเป็นสามเหลี่ยม ที่จริงแล้วเป็นการพูดเกี่ยวกับคาทั่วไปว่า “สามเหลี่ยม” อะไรที่ดูเหมือนจะเป็นการพูดเกี่ยวกับชนิดที่เรียกว่ ามนุษยชาติ ที่จริงแล้วเป็นการพูดเกี่ยวกับคา ทั่วไปว่า “มนุษย์” อะไรที่ดูเหมือนจะเป็นการพูดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เรียกว่าความเป็นพ่อ ที่ จริงแล้วเป็นการพูดเกี่ยวกับคาทั่วไปว่า “พ่อ” ฉะนั้น (3) จะอ่านใหม่ได้ว่าเป็น (3-ค) “กล้าหาญ” เป็นภาคแสดงเกี่ยวกับคุณธรรม (4) จะอ่านใหม่ว่าเป็น (4-ค) “สามเหลี่ยม” เป็นภาคแสดงเกี่ยวกับรูปทรง และประโยคอย่าง (15) ความกล้าหาญเป็นคุณสมบัติชนิดหนึ่ง (16) ความเป็นพ่อเป็นความสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง (17) มนุษยชาติเป็นชนิดๆ หนึ่ง ถูกแปลความหมายว่าเป็น 14

Carnap (1959: 284-314)


64

(15-ก) “กล้าหาญ” เป็นคาวิเศษณ์ (16-ก) “เป็นพ่อของ” เป็นภาคแสดงหลายตาแหน่ง (17-ก) “มนุษย์” เป็นสามัญนาม ดังนั้น แม้ (15) ถึง (17) จะดูเหมือนเป็นเรื่องของข้ออ้างที่เราระบุถึงประเภททางภววิทยาของสิ่ง นามธรรมหลายๆ อย่าง แต่ที่จริงแล้วพวกมันเป็นประโยคซึ่งเราระบุถึงรูปแบบทางไวยากรณ์ของ ถ้อยคาทางภาษาบางคา สิ่งสาคัญในคาอธิบายที่คาร์แนบเสนอต่อเราก็คือความเป็นระบบของมัน ถึงแม้คาร์แนบ จะไม่ ไ ด้ใ ห้ค าอธิบ ายอย่ า งละเอีย ดของการตีความในแบบของอภิภาษาว่าด้วยการอ้างอิงเชิง นามธรรม ข้อชี้แนะและตัวอย่างที่เขาให้ก็เพียงพอที่จะทาให้เราเห็นถึงวิธีที่จะแปลความหมายของ ประโยคที่ มี ค าที่ อ้ า งอิ ง เชิ ง นามธรรม ยิ่ ง กว่ านั้น ค าอธิบ ายของเขาแสดงออกถึ งรู ปแบบทาง อรรถศาสตร์ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในประโยคที่พูดถึงคานามธรรมเอกพจน์ทั้งหลาย ทัศนะ ของเขาจึงก้าวหน้ากว่าคาอธิบายแบบแก้ปัญหาไปทีละชิ้นของนักนามนิยมแบบเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม มีข้อวิจารณ์คาอธิบายของเขาอยู่สองประการที่ควรจะพิจารณา ประการที่ หนึ่ง ไม่ชัดเจนว่าคาอธิบายของคาร์แนบจะกาจัดการอ้างอิงถึงสิ่งสากลทั้งหมดออกไปได้สาเร็จ เป็นไปได้ที่จะอ้างว่าคาอธิบายเพียงแค่แทนที่สิ่งสากลชนิดหนึ่งด้วยสิ่งสากลอีกชนิดหนึ่ง ลอง พิจารณาการแปล (3) ของคาร์แนบ (3) ดูเหมือนจะมีการอ้างอิงไปถึงสิ่งสากลที่อยู่นอกภาษา อัน ได้แก่คุณสมบัติของความกล้าหาญ คาร์แนบแปล (3) ด้วย (3-ค) ซึ่งกาจัดการอ้างอิงถึงสิ่งสากลนั้น ออกไป สิ่งที่เราได้มาแทนก็คือการอ้างอิงถึงคาๆ หนึ่ง ได้แก่คาทั่วไปว่า “กล้าหาญ” อย่างไรก็ตาม ความยุ่งยากอยู่ตรงที่ว่า ตัวคาเองก็เป็นสิ่งที่อยู่ภายใต้การแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่เรียกว่า ไทพ์และโท เก็น (type and token) ซึ่งอาจเรียกว่า ชนิดและหน่วยเฉพาะ โทเก็นหรือหน่วยเฉพาะคือถ้อยคาทาง ภาษาที่ถูกเข้าใจในฐานะของตัวเขียนเฉพาะตัว หรือการเปล่งเสียงเฉพาะครั้ง ฉะนั้นถ้าคุณและผม ต่างเปล่งเสียงของคาว่า “มนุษย์” การเปล่งเสียของเราแต่ละคนเป็นหน่วยเฉพาะที่เป็นคนละหน่วย กัน หน่วยเฉพาะพวกนั้นเป็นโทเก็น แต่มันก็เป็นโทเก็นหรือหน่วยเฉพาะของคาๆ เดียวกัน คาๆ เดียวกันซึ่งมันทั้งสองเป็นโทเก็น ก็คือคาว่า “มนุษย์” ในฐานะที่ถูกเข้าใจว่าเป็นไทพ์หรือเป็นชนิด ดั ง นั้ น ไทพ์ ห รื อ ชนิ ด ที่ เ ป็ น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย ว สามารถมี โ ทเก็ น หรื อ หน่ ว ยเฉพาะที่ ม ากมาย หลากหลาย และความสัมพันธ์ระหว่างไทพ์และโทเก็นก็เป็นความสัมพันธ์ที่ผูกสิ่งสากลเข้ากับ


65

ตัวอย่างของมัน กล่าวก็คือ โทเก็นหรือหน่วยเฉพาะคนละหน่วยของไทพ์หรือชนิดๆ เดียวกัน เป็นตัวอย่างของไทพ์นั้นๆ ดังนั้นแล้ว ทฤษฎีใดก็ตามที่เสนอให้เราเข้าใจถ้อยคาทางภาษาในฐานะ ของไทพ์ ย่อมจะผูกมัดให้เรายอมรับความมีอยู่ของสิ่งสากล หรือสิ่งที่สามารถมีตัวอย่างแสดงที่ หลากหลาย และคาอธิบายของคาร์แนบก็ดูเหมือนจะเป็นทฤษฎีเช่นว่านั้น การแปล (3) ของเขา อ้างอิงไปถึงคาว่า “กล้าหาญ” และใน (3-ค) คาว่า “กล้าหาญ” ทาหน้าที่เป็นคาเอกพจน์ อย่างไรก็ ตาม มันไม่ได้ดูเหมือนจะเป็นคาเอกพจน์ซึ่งอ้างอิงไปถึงโทเก็นเฉพาะใดๆ ของคาว่า “กล้าหาญ” มันเป็นกลางระหว่างโทเก็นที่แตกต่างกันของ “กล้าหาญ” และอ้างอิงไปถึงไทพ์ที่เป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันของโทเก็นที่แตกต่างกันนั้นทั้งหลาย แต่ดังนั้นแล้ว การวิเคราะห์ของคาร์แนบจึงเพียงแค่ แทนที่สิ่งสากลนอกภาษา เช่น คุณสมบัติของความกล้าหาญ ด้วยสิ่งสากลทางภาษา ได้แก่ ไทพ์ หรือชนิดของคาว่า “กล้าหาญ” แม้การวิเคราะห์ของคาร์แนบจะกาจัดสิ่งสากลที่ตั้งขึ้นมาโดยนัก สัจนิยมได้สาเร็จ มันก็ยังห่างไกลจากการเป็นทฤษฎีแบบนามนิยมที่แท้จริง ประการที่ส อง ค าอธิบ ายของคาร์แนบมีผลที่ว่าการใช้คานามธรรมเอกพจน์เป็นสิ่งที่ ขึ้นกับภาษา ในลักษณะที่ดูเหมือนว่าทาให้การแปลจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่งมีปัญหาอย่าง สูง ตามคาร์แนบ เมื่อเราผู้ซึ่งพูดภาษาไทย เปล่งประโยคภาษาไทย (3) สิ่งที่เรากาลังพูดถึงจริงๆ ก็ คือคาของภาษาไทย แต่เมื่อคนที่พูดภาษาอังกฤษเปล่งคาพูดภาษาอังกฤษที่เทียบเท่ากับ (3) เขาก็ กาลังอ้างเกี่ยวกับคาในภาษาอังกฤษ แต่กลายเป็นว่าคนที่พูดภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กาลังพูด เกี่ ย วกั บ คนละสิ่ง กั นเมื่ อ พวกเขาเปล่งคาพูดออกมาเป็นประโยคที่เป็นคาแปลของกั นและกั น อย่างไรก็ตาม ควรจะเป็นเรื่องชัดเจนว่าประโยคหนึ่งเป็นคาแปลของอีกประโยคหนึ่งก็ต่อเมื่อสิ่งที่ ถูกพูดถึงด้วยการใช้ประโยคหนึ่ง ก็ถูกพูดถึงโดยการใช้อีกประโยคหนึ่งด้วย และในความหมายนี้ ประโยคสองประโยคไม่สามารถพูดถึงสิ่งเดียวกันได้ นอกเสียจากว่าประโยคทั้งสองจะเห็นเรื่อง เกี่ยวกับสิ่งเดียวกัน ดังนั้น ในการทาให้ประโยคที่มีคานามธรรมเอกพจน์เป็นเรื่องเกี่ยวกับคาจาก ภาษาซึ่งเป็นที่มาของประโยคนั้น คาอธิบายของคาร์แนบให้ผลที่ไม่น่าพอใจว่าไม่มีประโยคแบบ ดังกล่าวของภาษาหนึ่ง ที่สามารถจะเป็นคาแปลของประโยคแบบเดียวกันของอีกภาษาหนึ่ง ข้อยุ่งยากสองข้อนี้นามาสู่นามนิยมแบบอภิภาษาของเซ็ลลาร์ส์ 15 เขาตอบต่อปัญหาแรก ด้วยการโต้เถียงว่า ทฤษฎีทางอภิภาษาเกี่ยวกับสิ่งรูปธรรมไม่ได้ผูกมัดให้เราต้องต้องยอมรับความ 15

การนาเสนอทัศนะของเซ็ลลารส์ในรายละเอียดปรากฏอยู่ใน Sellars (1963b)


66

มีอยู่ของถ้อยคาทางภาษาอย่างที่เข้าใจว่าเป็นไทพ์หรือว่าเป็นสิ่งสากล และเขาเถียงว่าปัญหาที่สอง จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราถือเอาอย่างผิดๆ ว่าการอ้างอิงแบบอภิภาษาเป็นสิ่งที่จากัดกับตัวภาษาที่ใช้พูด ถึงแม้ว่าเซ็ลลาร์ส์ไม่ยอมรับการแปลความหมายประโยค (3) และ (4) ในแบบของคาร์ แนบ เขาก็ปฏิเสธว่าเราต้องตีความการแปลดังกล่าวว่าหมายรวมถึงชื่อของสิ่งสากลทางภาษา เขา บอกเราว่า คาว่า “กล้าหาญ” และ “สามเหลี่ยม” อย่างที่ปรากฏใน (3-ค) และ (4-ค) ของคาร์แนบ เป็นสิ่งที่เท่าเทียมกับถ้อยคาว่า “คาว่า “กล้าหาญ”” และ “คาว่า “สามเหลี่ยม”” และ เซ็ลลาร์ส์อ้าง ว่า ถ้อยคาเหล่านี้คืออะไรที่เขาเรียกว่าคาเอกพจน์แบบกระจาย คาดังกล่าวอาจดูเหมือนจะเป็นชื่อ ของสิ่งนามธรรม อันได้แก่สิ่งสากล แต่จริงๆ แล้วมันเป็นเครื่องมือสาหรับการบ่งชี้ว่า กาลังมีการ อ้างอย่างเป็นทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะทั้งหลาย ตัวอย่างคาเอกพจน์แบบกระจายของเซ็ลลาร์ส์ ก็คื อ คาว่า “สิงโต” อย่างที่ปรากฏใน (18) สิงโตมีสีน้าตาลอ่อน อีกตัวอย่างคือ คาว่า “พลเมืองชาวอเมริกัน” ใน (19) พลเมืองชาวอเมริกันมีเสรีภาพในการพูด ตามที่มันทาหน้าที่อยู่ใน (18) คาว่า “สิงโต” อาจจะดูเหมือนว่ากาลังพูดถึงสิ่งนามธรรมประการ หนึ่ง อันได้แก่สิงโตสากล แต่เซ็ลลาร์ส์เถียงว่าถึงแม้เราจะคิดว่ามีสิ่งนามธรรมอย่างว่า เราก็ยังต้อง ปฏิเสธว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกอ้างอิงถึงโดย “สิงโต” ใน (18) คือถึงแม้ว่า (18) จะเป็นจริง แต่ก็ไม่มีสิ่ง สากลไหนที่มี สีน้าตาลอ่อน สิ่ง สากลไม่ใช่ของประเภทที่จะมีสีได้ มีแต่สิงโตเฉพาะแต่ล ะตัว เท่านั้นที่มีสีน้าตาลอ่อน และสาหรับเซ็ลลาร์ส์นี่คือสิ่งที่ (18) มุ่งหมายที่จะบอก เช่นเดียวกันถึงแม้ “พลเมืองชาวอเมริกัน” อาจดูเหมือนกาลังพูดถึงสิ่งนามธรรมบางประการ แต่มันก็ไม่อาจจะมี บทบาทดังกล่าวได้ สิ่งนามธรรมไม่มีสิทธิทางการเมือง มีแต่พลเมืองแต่ละคนเท่านั้นที่มี สิทธิใน เรื่องของเสรีภาพในการพูด ดังนั้นทั้งใน (18) และ (19) เรามีคาเอกพจน์แบบกระจาย คาซึ่งในรูป ของมันแล้วดูเหมือนจะเป็นชื่อของสิ่งสากล แต่จริงๆ แล้วเป็นเครื่องมือที่ทาให้เราสามารถสร้าง ข้ออ้างที่เป็นการทั่วไปเกี่ยวกับปัจเจกวัตถุ ในการอ้างว่าคาว่า “กล้าหาญ” และ “สามเหลี่ยม” ตามที่ปรากฏใน (3-ค) และ (4-ค) ของ คาร์แนบเป็นคาเอกพจน์แบบกระจาย เซ็ลลาร์ส์กาลังปฏิเสธว่า (3-ค) และ (4-ค) ผูกมัดคาร์แนบให้


67

ต้องยอมรับต่อความมีอยู่ของคาของภาษาแบบที่ถูกเข้าใจว่าเป็นไทพ์หรือเป็นสิ่งสากล ถึงแม้ว่า พวกมันจะดูเหมือนข้ออ้างเกี่ยวกับสิ่งสากล ที่จริงประโยคเหล่านี้เป็นข้ออ้างทั่วไปเกี่ยวกับปัจเจก วัตถุ ปัจเจกวัตถุไหน? คาตอบคือตัวโทเก็นซึ่งก็ได้แก่การเปล่งเสียงแต่ละครั้ง หรือตัวหนังสือที่ถูก เขียนเฉพาะครั้งทั้งหลาย ของคาว่า “กล้าหาญ” และ “สามเหลี่ยม” มันอาจฟังดูแปลกที่จะพูดถึง การเปล่งเสีย งหรือตัวเขียนที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง แต่เซ็ลลาร์ส์ก็ชี้ว่า เราใช้คาเชิงอภิภาษามาเป็น สามัญนาม เมื่อเราถามว่ามีคาว่า “มนุษย์” อยู่จานวนกี่คาบนหน้าที่ 23 ของหนังสือสักเล่มหนึ่ง สิ่ง ที่เซ็ลลาร์ส์กาลังอ้างก็คือ ถ้าเราถือการใช้สามัญนามของถ้อยคาแบบอภิภาษาว่าเป็นสิ่ งพื้นฐาน เรา ก็ จะสามารถเข้ า ใจวิธีก ารที่ ก ารพู ด แบบอภิ ภาษา อย่ า งที่อ ยู่ ใ นการวิเ คราะห์ข องคาร์ แนบ ว่ า สามารถเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์กับลัทธินามนิยม เซ็ลลาร์ส์ตีความความเป็นอภิภาษาของประโยค อย่ าง (3) และ (4) ในลัก ษณะที่ ต่างไปจากการตีความของคาร์แนบ แม้การตีความของเขาก็ ดู เหมือนจะสมมติล่วงหน้าถึงความมีอยู่ของสิ่งสากลทางภาษา แต่เขาก็จะยืนยันว่าสิ่งที่ดูเหมือนจะ เป็นชื่อของสิ่งสากลทางภาษาในคาอธิบายของเขา ที่จริงแล้วเป็นคาเอกพจน์แบบกระจาย ซึ่งช่วย ให้เราสามารถสร้างข้ออ้างทั่วไปเกี่ยวกับการเปล่งคาพูดหรือการเขียนคาที่เป็นหน่วยเฉพาะแต่ละ ครั้ง ในการแก้ปัญหาที่สอง เซ็ลลาร์ส์โต้เถียงว่าวิธีปกติของเราในการพูดเกี่ยวกับคาไม่ได้เป็น รูปแบบเดียวที่เป็นไปได้ของการพูดแบบอภิภาษา ปกติแล้วเราพูดถึงคาด้วยการใส่เครื่องหมาย อัญประกาศไว้รอบคาของภาษาหนึ่ง เพื่อที่จะสร้างคาที่อ้างอิงไปถึงโทเก็นหรือหน่วยเฉพาะของ คาๆ นั้น ในภาษานั้น เซ็ลลาร์ส์ยืนยันว่าการพูดจาแบบอภิภาษาไม่จาเป็นต้องจากัดอยู่กับภาษา เฉพาะในแบบดังกล่า ว ค าจากภาษาที่ต่างกันสามารถมีอานาจแบบเดีย วกัน กล่าวคือ พวกมัน สามารถทาหน้าที่ที่เท่าเทียมซึ่งกันและกัน คาว่า “มนุษย์” ในภาษาไทย และคาว่า “human” ใน ภาษาอังกฤษ ทั้งสองเป็นคาที่ทาหน้าที่อย่างเท่าเทียมกั นในภาษาของตน พวกมันทางานอย่าง เดียวกันในการตอบสนองต่อข้อมูลการรับรู้ทางประสาทสัมผัส พวกมันเข้าประกอบอยู่ในการ อนุมานในรูปแบบเดียวกัน และพวกมันมีบทบาทในการชี้นาพฤติกรรมในรูปแบบเดียวกัน เซ็ล ลาร์ส์ยืนยันว่าเราสามารถสร้างรูปแบบของการอ้างอิงเชิงอภิภาษา แบบที่แสดงออกถึงข้อเท็จจริง ที่ว่าคาจากภาษาที่ต่างกันทาหน้าที่ที่เท่าเทียมกันได้ เขาสร้างรูปแบบดังกล่าวขึ้นมาด้วยการใช้ เครื่องหมายจุด แทนที่จะใช้เครื่องหมายอัญประกาศรอบคาจากภาษาหนึ่ง เพื่ออ้างอิงไปถึงโทเก็น ของคานั้นในภาษานั้น เราสามารถใช้จุดรอบคาของภาษาของเราเพื่อสร้างสามัญนามแบบอภิ


68

ภาษาที่เป็นจริงกับคาในภาษาต่างๆ ที่มีบทบาทหน้าที่ที่ตรงกับคาๆ นั้นในภาษาของเรา ฉะนั้น การใช้เครื่องหมายจุดรอบคาว่า “มนุษย์” ในภาษาไทย ก็จะสร้างคาในภาษาไทย (·มนุษย์·) ซึ่งเป็น จริงกับคาในภาษาอื่นทั้งหลายซึ่งทาหน้าที่ที่เท่าเทียมกับคาว่า “มนุษย์” ในภาษาไทย และเราใช้ เครื่องหมายจุดกับคาว่า “แดง” ในภาษาไทย เพื่อที่จะได้คาในภาษาไทย (·แดง·) ซึ่งเป็นจริงกับ คาในภาษาอื่นทั้งหลายที่แสดงบทบาททางภาษาเดียวกันกับที่คาว่า “แดง” แสดงในภาษาไทย การใช้จุดรอบคาจึงเป็นเครื่องมือของการพูดแบบอภิภาษาที่พาเราข้ามภาษา และสิ่งที่ รองรับข้ออ้างนี้ก็คือความเข้าใจที่ว่าภาษาที่ต่างกันสามารถมีคาซึ่งทาหน้าที่ที่เท่าเทียมกัน ความ เชื่อหลักของเซ็ลลาร์ส์อยู่ตรงที่ว่าประโยคที่มีคาซึ่งอ้างอิงเชิงนามธรรมนั้น ที่จริงแล้วเป็ นข้ออ้าง ทางอภิภาษาในแบบที่ข้ามภาษาและเป็นเรื่องเชิงหน้าที่ของคา และด้วยการใช้เครื่องหมายจุดรอบ คาเราสามารถตีความประโยคในแบบของนักนามนิยมได้ ฉะนั้น (3) สามารถวิเคราะห์ว่าเป็น (3-ง) คาว่า ·กล้าหาญ· เป็นภาคแสดงทางคุณธรรม แต่คาว่า ·กล้าหาญ· ไม่ได้ทาหน้าที่เป็นชื่ อของไทพ์ทางภาษาในภาษาต่างๆ มันเป็นคาเอกพจน์ แบบกระจาย ดังนั้น ที่จริงแล้ว (3-ง) จึงเป็นข้ออ้างทั่วไปเกี่ยวกับคาอย่างที่เข้าใจเป็นโทเก็น ได้แก่ ข้ออ้างว่า (3-ฉ) คาว่า ·กล้าหาญ· ในฐานะหน่วยเฉพาะทั้งหลาย เป็นภาคแสดงทางคุณธรรม และแบบเดียวกัน (4) ก็จะถูกวิเคราะห์ว่าเป็น (4-ง) คาว่า ·สามเหลี่ยม· ในฐานะหน่วยเฉพาะทั้งหลาย เป็นภาคแสดงทางรูปทรง และ (6) จะถูกวิเคราะห์ว่าเป็น (6-ข) คาว่า ·แดง· ในฐานะหน่วยเฉพาะทั้งหลาย เป็นภาคแสดงทางสี ในขณะที่ (15) จะถูกวิเคราะห์ว่าเป็น (15-ข) คาว่า ·กล้าหาญ· ในฐานะหน่วยเฉพาะทั้งหลาย เป็นคาวิเศษณ์ และ (17) ว่าเป็น


69

(17-ข) คาว่า ·มนุษย์· ในฐานะหน่วยเฉพาะทั้งหลายเป็นสามัญนาม การวิเคราะห์เหล่านี้มีโครงสร้างทางไวยากรณ์แบบเดียวกับกับของคาร์แนบ แต่ก็ต่าง ออกไปในประการสาคัญ ในขณะที่การแปลประโยคอย่าง (3) (4) (6) (15) และ (16) ล้วนแต่แสดง ว่าพวกมันเป็นข้ออ้างเกี่ยวกับคาในภาษาไทย การตีความของเซ็ลลาร์ส์แสดงว่าพวกมันเป็นข้ออ้าง ที่ข้ามภาษาเกี่ยวกับคาที่ทาหน้าที่ที่เท่าเทียมกัน ดังนั้น คาอธิบายของเซ็ลลาร์ส์จึงไม่ต้องเผชิญกับ ข้อปัญหาที่สองของเรา ลองพิจารณา (6) การวิเคราะห์ประโยคนี้ของคาร์แนบมีผลตามมาว่า เมื่อผู้ พูดภาษาไทยกล่าวประโยคนี้ออกมา สิ่งที่เขากาลังพูดถึง (คาภาษาไทยว่า “แดง” หรือโทเก็นใน ภาษาไทยของ “แดง”) เป็นอะไรที่แตกต่างจากสิ่งที่ผู้พูดภาษาอังกฤษกาลังพูด (คาภาษาอังกฤษว่า “red” หรือโทเก็นในภาษาอังกฤษของ “red”) เมื่อเขากล่าวยืนยันประโยค (20) Red is a color. ซึ่งตามทัศนะของคาร์แนบ ไม่มีคาอธิบายให้กับข้อเท็จจริงที่ว่า (20) และ (6) เป็นคาแปลของกัน และกัน แต่ทันทีที่เราเข้าใจการอ้างอิงแบบอภิภาษาใน (6) ว่าเป็นตัวอย่างของการอ้างอิงแบบข้าม ภาษา ซึ่งแสดงออกโดยการใช้จุดรอบคาแบบของเซ็ลลาร์ส์ ปัญหาก็หายไป เนื่อ งจากการใช้จุด รอบคาสร้างให้เกิดคาที่เป็นจริงกับคาทั้งหลายทั้งมวลที่ทาหน้าที่ที่เท่าเทียมกันกับคาๆ นั้น การใช้ จุดรอบคากับคาที่ทาหน้าที่ที่เท่าเทียมกันจากภาษาต่างๆ สร้างให้เกิดคาแบบอภิภาษาขึ้นในภาษา เหล่านั้น ซึ่งเป็นคาแบบอภิภาษาที่เป็นจริงกับสิ่งๆ เดียวกัน สิ่งที่ผู้พูดภาษาไทยพูดเมื่อเขากล่าว (6) (คาว่า ·แดง· ในฐานะหน่วยเฉพาะทั้งหลาย เป็นภาคแสดงทางสี ) ก็จะเป็นอย่างเดียวกันกับที่ผู้พูด ภาษาอื่นพูด เมื่อเขากล่าวประโยคที่เท่าเทียมกับ (6) ในภาษาของเขา ในขณะที่คาอธิบายของเซ็ลลาร์ส์ต่างออกไปจากของคาร์แนบในประเด็นดังกล่าว แต่ คาอธิบายของเขาก็เป็นระบบในแบบเดียวกับของคาร์แนบ มันแสดงถึงรูปแบบทางอรรถศาสตร์ที่ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในประโยคซึ่งประกอบขึ้นด้วยคานามธรรมเอกพจน์ การพูดเกี่ยวกับคา นามธรรมเอกพจน์ “ความ-F” ล้วนแต่เป็นการพูดเกี่ยวกับคาว่า ·F· ทั้งหลาย ซึ่งก็คือโทเก็นของคา ที่เท่าเทียมกับ F ในภาษาอื่นๆ ทั้งหลาย ในขณะที่คาร์แนบให้ข้อเสนอแนะและตัวอย่างที่กระจัด กระจาย ค าอธิบ ายของเซ็ล ลาร์ส์ใ ห้ โครงสร้า งทั่วไปทางตรรกะที่ช่วยชี้ท างในการวิเคราะห์ ประโยคทั้งหลายในแบบอภิภาษา การวิเคราะห์คานามธรรมเอกพจน์ของเขาได้รับการเสริมด้วย กลไกทางเทคนิคที่ช่วยในการแปลประโยคอย่าง


70

(11) มะเขือเทศลูกนั้นและรถดับเพลิงคันนั้นมีสีเดียวกัน และ (12) เขามีลักษณะทางบุคลิกภาพแบบเดียวกับญาติผู้น้องของเขา ซึ่งแม้จะไม่ได้มีคานามธรรมเอกพจน์ปรากฏอยู่ แต่ก็ดูเหมือนจะมีการอ้างอิงไปถึงสิ่งสากล เราจะไม่เข้าไปดูในรายละเอียดของกลไกทางเทคนิคดังกล่าว ผู้อ่านที่สนใจสามารถค้น เข้าไปในงานของเซ็ลลาร์ส์ได้ด้วยตัวเอง เท่าที่ผมรู้ เซ็ลลาร์ส์เป็นนักนามนิยมคนเดียวที่แสดง ออกมาให้เห็นอย่างจริงจัง ถึงวิธีที่จะแปลความหมายในแบบอภิภาษาของประโยคต่างๆ ที่เราถือ ว่าจริง ถึงกระนั้นก็ตามทฤษฎีของเขาก็ยังมีผู้วิจารณ์16 มีบางคนที่อ้างว่ามีประโยคที่ดูเหมือนเป็น การอ้างไปถึงสิ่งสากล ที่ไม่สามารถวิเคราะห์ด้วยการอาศัยคาอธิบายในกรอบอภิภาษาอย่างที่เซ็ล ลาร์ส์พัฒนาขึ้นมา อย่างไรก็ตาม การอภิปรายถึงประโยคดังกล่าวเป็นสิ่งที่ซับซ้อนไปด้วยกลไก ทางเทคนิคของทฤษฎีของเขา ดังนั้นเราจะหันมาดูข้อโต้แย้งที่เป็นเรื่องที่ว่าด้วยลักษณะทั่วไปของ ทฤษฎีของเขา ซึ่งเป็นข้อโต้แย้งที่น่าสนใจยิ่งกว่า ข้อกล่าวหาก็คือ แม้ว่าคาอธิบายของเซ็ลลาร์ส์จะ กาจัดการอ้างอิงไปถึงสิ่งสากลที่อยู่นอกภาษา และสิ่งสากลแบบที่เข้าใจว่าเป็นไทพ์ แต่ก็มีการ นาเอาสิ่งสากลชุดใหม่เข้ามา ตามทฤษฎีของเขา การพูดเกี่ยวกับสิ่งสากล “ความ-F” ที่จริงแล้วเป็น การพูดเกี่ยวกับถ้อยคาทางภาษาซึ่งเข้าใจเป็นโทเก็น อันได้แก่การเปล่งเสียงแต่ละครั้งหรือคาเขียน แต่ละตัวของ F แต่คาถามก็ยังมีอยู่ว่าอะไรที่ทาให้การเปล่งเสียงแต่ละครั้งหรือการเขียนแต่ละตัว เหล่านั้นทั้งหมดเป็น ·F· เซ็ลลาร์ส์ตอบว่าเพราะว่าพวกมันทั้งหมดแสดงบทบาททางภาษาเดียวกัน กับที่คาว่า “F” ในภาษาของเรา แต่นี่ไม่ใช่การที่เซ็ลลาร์ส์ถูกบังคับให้ต้องยอมรับความมีอยู่ของ บทบาททางภาษา อย่างที่ถูกเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่สามารถเข้าไปมีรู ปร่างอยู่ในโทเก็นทั้งหลายจาก ภาษาต่างๆ หรอกหรือ? คาตอบของเซ็ลลาร์ส์ก็คือ การพูดของเขาเกี่ยวกับบทบาททางภาษาเป็นเพียงวิธีในการพูด ย่อๆ ถึงข้อเท็จจริงที่ซับซ้อนอย่างยิ่งเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางภาษา ตามที่เขามอง การพูดเกี่ยวกับ บทบาทหรือหน้าที่ของถ้อยคาของภาษา สามารถที่จะแปลความให้เป็นการพูดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ ของภาษาซึ่งควบคุมพฤติกรรมของผู้ใช้ภาษา และเขาเถียงว่าในการวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย การพูด 16

ดูการอภิปรายถึงข้อวิจารณ์เหล่านี้ใน Loux (1978a: 78-85) และ Loux (1978b)


71

เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางภาษาสามารถูกอธิบายอย่างเป็นอิสระ แม้แต่จากการถือว่าถ้อยคาของภาษา อย่างที่เข้าใจว่าเป็นโทเก็น ว่าเป็นสิ่งที่มีอ ยู่จริง นั่นคือ เขาต้องการที่จะอ้างว่า คาอธิบายของเขา ไม่ได้บังคับให้เราต้องถือว่าการเปล่งเสียงแต่ละครั้งหรือคาเขียนแต่ละตัว เป็นสิ่งอย่างที่มีตัวมีตน อยู่จริง เขาเชื่อว่า ในที่สุดวัตถุหรือสิ่งอย่างเดียวที่คาอธิบายของเขาถือว่ามีอยู่จริง ก็คือมนุษย์ผู้ซึ่ง พูดและเขียนแต่ละคน ในขณะที่มันอาจถูกเรียกว่าทฤษฎีอภิภาษา แต่ลัทธินามนิยมของเซ็ลลาร์ส์ก็ ไม่ใช่ทฤษฎีเกี่ยวกับถ้อยคาของภาษา เพราะในที่สุดแล้ว ก็ไม่มีถ้อยคาของภาษา มีแต่บุคคลผู้ซึ่ง พูดและเขียนภาษา ดัง นั้ น จึ ง ประเด็ น อยู่ ส องประเด็ น หนึ่ ง ความเชื่ อ ว่ า บทบาททางภาษาสามารถที่ จ ะ วิเคราะห์ด้วยการอ้างอิงไปถึงกฎเกณฑ์ทางภาษา สอง แนวความคิดว่ากฎเกณฑ์ทางภาษาเป็นสิ่งที่ สามารถเข้าใจได้โดยไม่จาเป็นต้องอ้างอิงถึงสิ่งอะไรนอกไปจากสิ่งเฉพาะรูปธรรม นี่เป็นข้ออ้างที่ เป็นที่สงสัยได้ว่าจะสามารถอธิบายอย่างเป็นจริงเป็นจังได้มากแค่ไหน ผู้วิจารณ์อาจจะเถียงว่า ใน การอธิบ ายกฎเกณฑ์ ทางภาษา เราต้องพูดเกี่ ยวกั บบรรทัดฐานและมาตรฐานต่างๆ และเขาจะ ปฏิเสธความคิดที่ว่า การพูดดังกล่าวเป็นเรื่องที่สามารถจะเข้าใจได้อย่างที่ไม่ต้องอ้างอิงไปถึงภว วิทยาของลัทธิสัจนิยมทางอภิปรัชญา ซึ่งผู้ที่เชื่อตามเซ็ลลาร์ส์ย่อมไม่ ยอมรับ ดังนั้น ประเด็น ดั้งเดิมที่แยกนักสัจนิยมและนักนามนิยมจึงปรากฏซ้าในอีกระดับหนึ่ง และเราได้เห็นถึงความท้า ทายและคงทนของปัญหาเกี่ยวกับสิ่งสากล

ทฤษฎีโทรป (Trope Theory) ถึงแม้นักนามนิยมแบบเคร่งครัดและนักนามนิยมแบบอภิภาษาจะเห็นไม่ตรงกัน เกี่ยวกับ วิธีในการวิเคราะห์ประโยคที่มีการอ้างอิงเชิงนามธรรม แต่พวกเขาก็เห็นตรงกันว่ามีแต่สิ่งเฉพาะ รูปธรรมเท่านั้นที่มีอยู่จริง ลัทธินามนิยมแบบที่สามที่เราจะพิจารณายอมรับกรอบทางภววิทยาที่ เปิดกว้างกว่านั้น ผู้ที่สนับสนุนลัทธินามนิยมรูปแบบนี้ถือว่า นอกเหนือไปจากสิ่งเฉพาะรูปธรรม แล้ว สิ่งอย่างเช่นคุณสมบัติก็มีอยู่จริง แต่พวกเขาไม่ยอมรับว่าคุณสมบัติเป็นสิ่งที่มีตัวอย่างแสดงที่ หลากหลาย พวกเขาถื อว่า สี รู ป ทรง ขนาด และบุคลิ ก ภาพ เป็นสิ่ งที่มี อยู่ จ ริง แต่สิ่ งดัง กล่า ว ทั้งหลายล้วนแต่เป็นสิ่งเฉพาะ ซึ่งต่างไปจากที่นักสัจนิยมยึดถือ ตามการมองของนักนามนิยมพวก


72

นี้ สิ่งเฉพาะรูปธรรมมีสี มีรูปทรง และคุณสมบัติอะไรอื่นอีกมาก แต่คุณสมบัติที่สิ่งเฉพาะมีนั้นก็ เป็ น สิ่ ง เฉพาะเช่ น เดี ย วกั น กั บ ตั วสิ่ ง ที่ ถื อ ครองคุ ณสมบั ติ พวกเขาถือ ว่ า มั นเป็ น ไปไม่ ไ ด้ ท าง อภิปรัชญาที่สิ่งที่เป็นคนละสิ่งจะมีคุณสมบัติที่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่ งเดียวกัน ฉะนั้น สิ่งเฉพาะที่เป็นลูก บอลลูก หนึ่ง มี สีแดง แต่ มั นเป็ นสีแดงอย่ า งที่ไ ม่มีสิ่งเฉพาะอื่นใดจะสามารถมีไ ด้ และมันก็ มี รูปทรงกลมซึ่งเป็นรูปทรงกลมที่ไม่มีสิ่งเฉพาะอื่นใดจะสามารถมีได้ และมันก็มีขนาดและน้าหนัก ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สิ่งอื่นไม่สามารถมีได้ เช่นกัน เป็นเรื่องสาคัญที่จะเข้าใจว่ากาลังมีการปฏิเสธอะไรกันแน่ เมื่อมีการพูดว่าไม่มีสิ่งเฉพาะ สองสิ่งที่มีคุณสมบัติเดียวกัน ตัวอย่างเช่น อาจจะเป็นที่คิดไปว่า ไม่มีสิ่งเฉพาะสองสิ่งใดๆ ที่จะ เหมือนกันจริงๆ ในทางหนึ่งทางใด ดังนั้น ในระหว่างสิ่งเฉพาะที่เป็นคนละสิ่ งกันทั้งหลายจะต้อง มีความแตกต่างเสมอ ในสี รูปทรง ขนาด น้าหนัก และอะไรอื่น ซึ่งอาจจะเป็นความแตกต่างที่ เล็กน้อยมาก คนที่คิดเช่นนี้อาจสรุปว่าไม่มีวัตถุสองชิ้นที่จะมีคุณสมบัติที่เป็นอย่างเดียวกัน แต่นัก ปรัชญาที่ไม่ยอมรับว่าวัตถุต่างชิ้นจะถือครองคุณสมบัติหนึ่งเดียวร่วมกันได้ อาจไม่ได้โต้แย้งต่อ ข้อดัง กล่า วด้วยเหตุแห่ง คุ ณลักษณะของตัวคุณสมบัติ พวกเขาอาจสรุปว่าคุณสมบัติเป็นสิ่งที่ สามารถมี ตัวอย่ างแสดงที่ หลากหลาย แต่เขาก็ อาจจะเถีย งว่า จากสภาพที่เป็นอยู่ ของโลกเชิง ประจักษ์ ไม่เคยมีคุณสมบัติใดที่มีตัวอย่างแสดงที่มากกว่าหนึ่ง17 แต่นัก นามนิยมที่เรากาลัง พิจารณาอยู่ นี้ ไม่ไ ด้โต้แย้งกับการที่วัตถุต่างชิ้นจะถือครอง คุณสมบัติหนึ่งเดียวร่วมกัน เพียงด้วยเหตุแห่งการที่พวกเขาคิดว่าเขาไม่เคยพบวัตถุที่เหมือนกัน จริงๆ ในด้านหนึ่งด้านใด พวกเขายอมรับว่าสิ่งเฉพาะรูปธรรมสามารถที่จะเหมือนกันจริงๆ แต่เขา ก็ยังยืนยันว่าแม้เมื่อเป็นเช่นนั้นพวกมันก็ยังมีคุณสมบัติที่เป็นคนละคุณสมบัติกันอยู่ดี ดังนั้น พวก เขาไม่ได้ปฏิเสธการถือครองคุณสมบัติหนึ่งเดียวร่วมกัน บนพื้นฐานของความเป็นไปไม่ได้เชิง ประจัก ษ์ ที่สิ่ง จะเหมื อนกั นจริง ๆ แต่บ นพื้นฐานของสิ่งที่พ วกเขาถือเป็ นข้อเท็จจริงที่เด็ดขาด เกี่ยวกับคุณสมบัติ กล่าวคือ พวกเขาเชื่อว่าด้วยธรรมชาติของมันแล้ว คุณสมบัติเป็นสิ่งเฉพาะ และ สามารถที่จะถือครองได้โดยวัตถุเฉพาะหนึ่งชิ้นเท่านั้น

17

ข้ออ้างนี้ใช้ได้เฉพาะกับสิ่งสากลที่จาเพาะเจาะจงอย่างที่สุดเท่านั้น สาหรับสิ่งสากลที่กว้างๆ อย่างการมีสหี รือการมี

รูปทรง ย่อมเป็นไปได้อย่างเต็มที่ที่วัตถุต่างๆ จะมีคุณสมบัตินี้ร่วมกัน


73

นั ก นามนิ ย มของเราเชื่ อ ว่ า ไม่ ใ ช่ แ ค่ ว่ า สิ่ ง เฉพาะรู ป ธรรมจะสามารถเหมื อ นกั น แต่ คุณสมบัติของพวกมันก็สามารถเหมือนกันด้วยเช่นกัน ฉะนั้น พวกเขาจะพูดว่าเสื้อสองตัวสามารถ มีคุณสมบัติของการมีสีแดงที่เหมือนกัน ซึ่งอาจจะเหมือนกันจริงๆ อย่างแยกไม่ออก แต่เขาก็ยัง ยืนยันให้เราแยกแยะระหว่างความเหมือนกันจริงๆ ของคุณสมบัติ กับความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียว ของคุณสมบั ติ แบบเดีย วกั น เขาจะพู ดว่า เหรีย ญสองเหรียญสามารถมีคุณสมบัติของการเป็น วงกลมที่เหมือนกันจริงๆ อย่างแยกไม่ออก แต่ก็ยังยืนยันว่ารูปทรงที่เหมือนกันจริงๆ นั้นก็ยังเป็น คนละรูปทรงกัน พวกเขาจะยอมรับว่าเราสามารถพูดว่าเสื้อสองตัว “มีสีเดียวกัน” และเหรียญสอง เหรียญ “มีรูปทรงเดียวกัน” แต่เขาจะอ้างว่าเรากาลังพูดอย่างหลวมๆ ซึ่งถ้าจะเข้าใจให้ถูกต้องแล้ว การบรรยายลักษณะของสิ่งของว่ามีลักษณะเดียวกัน ที่จริงแล้วเป็นการบรรยายความเหมือนกันที่ มีระหว่างคุณสมบัติที่เป็นคนละคุณสมบัติกัน แนวความคิดที่ว่าตัวคุณลักษณะของสิ่งเฉพาะเองก็เป็นสิ่งเฉพาะ มีผู้อ้างว่ามีมาแล้วตั้งแต่ อริสโตเติล18 หรืออย่างน้อยวิลเลียมแห่งออคแฮมก็ถือเช่นนั้น19 เขายืนยันว่าหน่วยต่างๆ จากปทาร ถะของอริสโตเติล ได้แก่สิ่งอย่างเช่น คุณภาพทางผัสสะ และบุคลิกลักษณะ ล้วนแต่เป็นสิ่งเฉพาะ หนึ่งเดียว คือมันเป็นสิ่งที่จริงอย่างจาเป็นที่ มันจะถูกแสดงให้เป็นที่รู้จักโดยวัตถุๆ เดียว ทัศนะนี้ ได้รับการบรรยายอย่างชัดเจนเมื่อวิลเลียมส์ (D. C. Williams) อธิบายถึงความหมายของการพูดว่า อมยิ้ ม คู่ หนึ่ ง ว่า มี รูป ทรงเดีย วกั น ว่ามี ความหมายแบบเดีย วกั บการพู ดว่าทหารสองคน “สวม เครื่องแบบเดียวกัน ” แต่ไม่ได้มีความหมายเหมือนอย่างที่อยู่ในการพูดว่าเด็กสองคน “มีพ่อคน เดียวกัน” ซึ่งวิลเลียมส์เรียกคุณลักษณะที่ถือว่าเป็นสิ่งเฉพาะนี้ว่า “โทรป” (trope)20 แต่ทาไมนักนามนิยมจึงเพิ่มโทรปเข้ามาในภววิทยาของตน? คาตอบส่วนหนึ่งก็คือ ผู้ที่ถือ ทัศนะนี้คิดว่า สิ่งอย่าง เสียง สี กลิ่น รส รูปทรง เป็นวัตถุโดยตรงของการรับรู้ของเรา การปฏิเสธ ว่าสิ่งเหล่านี้มีจริงทาให้การอธิบายความรู้เชิงประจักษ์ของเรากลายเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ และ แม้ว่าเราจะไม่ยอมรับว่าคุณภาพทางผัสสะเป็นวัตถุที่พื้นฐานที่สุดของการรับรู้ ข้อเท็จจริงก็ยังคงมี อยู่ว่าเราสามารถมุ่งความสนใจลงไปที่คุณภาพทางผัสสะเหล่านั้น อย่างเช่น ผมสามารถมุ่งความ 18

ดู Categories 2 (1a20-1b9) ใน McKeon (1941)

19

ดู Loux (1974: 56-8 และ 178-80)

20

Williams (1953: 5-6)


74

สนใจลงไปที่สีของวัตถุ ดังนั้น คาอธิบายทางภววิทยาของสิ่งที่ผมกาลังทาก็ควรที่จะมีการอ้างอิง ถึงอะไรบางอย่างที่มีอยู่จริง และสามารถที่จะเป็นวัตถุแห่งการพุ่งความสนใจของผมได้จริงๆ ซึ่ง ลักษณะของสิ่งของที่สามารถเป็นวัตถุของการมุ่งความสนใจก็ไม่ได้จากัดอยู่แค่คุณภาพทางผัสสะ แต่ครอบคลุมไปถึงอะไรอีกมากมายที่เราพูดว่าเป็นบุคลิกลักษณะของสิ่งของ ดังนั้น นักภววิทยาก็ ควรจะรวมสิ่งดังกล่าวไว้ในรายการของสิ่งที่มีอยู่จริงด้วย แต่ถ้าเขาทาดังว่า ทาไมเขาถึงไม่ควรเดินตามนักสัจนิยมและตีความว่าสิ่งเหล่านั้นว่าเป็น วั ต ถุ ที่ ส ามารถมี ตั ว อย่ า งที่ ห ลากหลาย? ตรงนี้ นั ก นามนิ ย มจะเถี ย งว่ า ไม่ ว่ า เราจะต้ อ งการ คุณลักษณะอย่างที่เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่สามารถแสดงตัวอย่างซ้าๆ หรือไม่ก็ตาม อย่างไรเสียเราก็ จาเป็นต้องยอมรับโทรปหรือคุณสมบัติอย่ างที่ตีความว่าเป็นสิ่งเฉพาะอยู่ดี เมื่อผมมุ่งความสนใจ ไปที่สีของทัชมาฮาล ผมไม่ได้กาลังคิดถึงสีชมพูทั่วไป แต่กาลังคิดถึงสีชมพูหนึ่งเดียวที่เป็นพิเศษ เฉพาะของทัชมาฮาลเท่ านั้น ดังนั้นในการทาความเข้าใจกับการมุ่งความสนใจ เราจาเป็นต้อง ยอมรับโทรป แต่เราไม่จาเป็นต้องยอมรับคุณลักษณะตามแบบที่เข้าใจโดยนักสัจนิยม ซึ่งนักนาม นิยมก็จะโจมตีความคิดของนักสัจนิยมด้วยข้อโต้เถียงต่างๆ ที่เราเคยกล่าวถึงมาบ่อยครั้งแล้ว ดังนั้น นักนามนิยมก็จะอ้างว่า “ทฤษฎีโทรป” มีเครื่องมือสาหรับจัดการกับปรากฏการณ์ ที่นักสัจนิยมอ้างว่าต้องอาศัยภววิทยาของสิ่งสากลมาอธิบาย นั่นหมายความว่าโทรปควรจะช่วย เราในการอธิบายความตรงกันในคุณลักษณะในระหว่างสิ่งเฉพาะหลายๆ สิ่ง ซึ่งนักทฤษฎีโทรปก็ กล่าวว่า การที่สิ่งเฉพาะตรงกันในคุณลักษณะเกิดจากการที่พวกมันมีโทรปที่คล้ายคลึงกัน และยิ่ง โทรปของพวกมั นมีค วามคล้ายคลึง กันมากเท่ าไร สิ่งเฉพาะรูปธรรมก็จะยิ่งมีความตรงกั นใน คุณลักษณะมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้น ความตรงกันในคุณลักษณะหรือความคล้ายคลึงกันของสิ่ง เฉพาะ จึงถูกอธิบายด้วยความคล้ายคลึงกันของโทรปของพวกมัน แต่นักทฤษฎีโทรปก็ปฏิเสธว่า ตัวความคล้ายคลึงกันของโทรปเองเป็นสิ่งที่ต้องการคาอธิบาย การที่โทรปคล้ายคลึงกันไม่ว่าจะ ในระดับใดถูกถือว่าเป็นข้อเท็จจริงพื้นฐานของโลก ที่ไม่สามารถวิเคราะห์อธิบายต่อไปได้ นักทฤษฎีโทรปจะอธิบายเรื่องของภาคแสดงอย่างไร? ในการตอบคาถามนี้เราต้องเข้าไป ดูคาอธิบายของทฤษฎีโทรปในเรื่องของการอ้างอิงเชิงนามธรรม อาจจะดูเหมือนว่านักทฤษฎี โทรปควรจะเดินตามนักนามนิยมแบบเคร่งครัดในการปฏิเสธว่าคานามธรรมเอกพจน์เป็นชื่อ และ ควรจะอ้างว่าประโยคที่ดูเหมือนจะอ้างถึงสิ่งสากลนั้น ที่จริงแล้วเป็นวิธีในการสร้างข้ออ้างทั่วไป


75

เกี่ยวกับโทรป ฉะนั้น พวกเขาสามารถอ้างว่าประโยคที่มีคานามธรรมเอกพจน์ว่า “ความฉลาด” แม้จะดูเหมือนจะเป็นข้ออ้างเกี่ยวกับสิ่งสากล แต่ที่จริงแล้วมันเป็นเพียงวิธีใ นการพูดเกี่ยวกั บ โทรปบางอย่าง ซึ่งก็คือโทรปทั้งหลายของความฉลาด และพวกเขาสามารถอ้างว่าประโยคที่มี คานามธรรมเอกพจน์ว่า “ความเป็นสามเหลี่ยม” แม้ดูเหมือนจะเป็นข้ออ้างเกี่ ยวกับสิ่งสากล แต่ที่ จริ ง แล้ ว มั น เป็ น เพี ย งวิ ธี ใ นการพู ด เกี่ ย วกั บ โทรปของรูป ทรง ซึ่ ง ก็ คื อ โทรปทั้ ง หลายของรู ป สามเหลี่ยม กลยุทธ์ดังกล่าวจะเป็นการอธิบายการอ้างอิงเชิงนามธรรมในแบบของนักกาจัดทิ้ง นิยม เหมือนกับของนักนามนิยมแบบเคร่งครัดและนักนามนิยมแบบอภิภาษา นั่นก็คื อคาอธิบายนี้ จะถือว่า เครื่องมือในการอ้างอิงเชิงนามธรรม (คาในภาษาซึ่งดูเหมือนเป็นเครื่องมือในการพูดถึง สิ่งสากล) เป็นสิ่งที่สามารถกาจัดออกไปจากการพูดจา ในความหมายที่ว่า ทุกประโยคที่มีอะไรที่ดู เหมือนจะเป็นคาที่อ้างถึงสิ่งสากล สามารถจะแทนที่ได้อย่างไม่สูญเสียความหมาย ด้วยประโยคที่ ไม่มีคาที่อ้างถึงสิ่งสากล หากนักทฤษฎีโทรปจะใช้กลยุทธ์แบบของนักกาจัดทิ้งนิยมดังกล่าว เขาก็มีหน้าที่ที่จะให้ คาแปลในแบบของทฤษฎีโทรป ให้กับประโยคต่างๆ ที่เราเห็นว่าเป็นปัญหา วิลเลียมแห่งออคแฮม เป็นหนึ่งคนที่ยอมรับกลยุทธ์ดังกล่าว เขาเสนอว่าการพูดที่ดูเหมือนว่าเกี่ยวกับสิ่งสากลในปทารถะ ของคุณภาพของอริสโตเติล สามารถที่จะวิเคราะห์ให้เป็นการพูดเกี่ยวกับคุณภาพที่เป็นปัจเจก เฉพาะ อย่างไรก็ตาม นักทฤษฎีโทรปในศตวรรษของเราถูกกดดันจากความยุ่งยากที่เรากล่าวถึงใน สองส่วนต้น บังคับไม่ให้ยอมรับกลยุทธ์แบบของนักกาจัดทิ้ง นอกจากนั้นพวกเขาก็ยังไม่เห็นด้วย กับคาอ้างแบบของนักกาจัดทิ้งที่ว่า ความฉลาด ความเป็นสามเหลี่ยม มนุษยชาติ และความเป็นพ่อ ไม่มีอยู่จริง นักทฤษฎีโทรปร่วมสมัยยอมรับว่าคานามธรรมเอกพจน์เป็นชื่อ แต่พวกเขาปฏิเสธว่ามัน เป็นชื่อของสิ่งสากล ถ้าเช่นนั้นแล้วมันเป็นชื่อของอะไร? คาตอบของนักทฤษฎีโทรปก็คือ มันเป็น ชื่อของเซ็ทของโทรปที่คล้ายคลึงกัน21 มันอาจฟังแปลกที่นักทฤษฎีโทรปถือว่าเซ็ทเป็นของที่พวก เขาจะนามาใช้ได้อย่างอิสระ เราอาจจะคิดว่าเซ็ทก็คือสิ่งสากล มันคือสิ่งหนึ่งเดียวที่มีสมาชิกที่ หลากหลาย และอาจดูเหมือนว่าความสัมพันธ์ระหว่างเซ็ทและสมาชิกของมัน ก็คือความสัมพันธ์ อย่างเดียวกันกับที่ผูกสิ่งสากลเข้ากับหน่วยทั้งหลายที่เป็นตัวอย่างของมัน แต่ข้อเท็จจริงก็คือ เซ็ท 21

Williams (1953: 10)


76

ต่างไปจากสิ่งสากลในประเด็นสาคัญประการหนึ่ง คือ เซ็ทมีเงื่อนไขแห่งเอกลักษณ์ที่ชัดเจน มี คาตอบที่ตรงไปตรงมาสาหรับคาถามว่า เมื่อไรที่เซ็ท a และ b จะเป็นเซ็ทเดียวกัน หรือเป็นคน ละเซ็ทกัน เซ็ท a เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันกับเซ็ท b เมื่อสมาชิกทั้งหมดของ a เป็นสมาชิกของ b และมีแต่สมาชิกของ a เท่านั้นที่เป็นสมาชิกของ b เงื่อนไขดังกล่าวนี้ไม่เป็นจริงกับสิ่งสากล สิ่ง สากลคนละสิ่ง สามารถมี ตัว อย่ า งแสดงที่ เป็นชุ ดเดีย วกั น ดังนั้นสิ่ งสากลจึ งขาดเงื่ อนไขแห่ ง เอกลักษณ์ที่ชัดเจนอย่างที่เซ็ทมี ยิ่งกว่านั้น เรายังมีทฤษฎีเซ็ทซึ่งบอกเราถึงคุณสมบัติแง่ต่างๆ ของ เซ็ท ที่ทาให้เราเข้าใจถึงพฤติกรรมของมันในทุกๆ ด้าน นักนามนิยมแบบเคร่งครัดและนักนาม นิยมแบบอภิภาษาจะไม่ยอมรับภววิทยาที่ครอบคลุมถึงเซ็ท เพราะพวกเขาถือว่ามีแต่สิ่งเฉพาะ รูปธรรมเท่านั้นที่มีอยู่จริง แต่นักทฤษฎีโทรปจะถือว่าเซ็ทเป็นสิ่งจาเป็น เราต้องการเซ็ทสาหรับ การคิดทางคณิตศาสตร์ การปฏิเสธเซ็ทย่อมเท่ากับการปฏิเสธคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่อ าศัย คณิตศาสตร์ ดังนั้น เราจึงไม่มีทางเลือกนอกจากจะยอมรับเซ็ทไว้ในภววิทยา และนามันมาใช้ใน การวิเคราะห์การอ้างอิงเชิงนามธรรมของเรา นัก ทฤษฎี โ ทรปเสนอให้ เราถื อ ค านามธรรมเอกพจน์ ว่ า เป็ นชื่ อ ของเซ็ ทของโทรปที่ คล้ายคลึงกัน เป็นเรื่องสาคัญที่จะต้องเห็นว่าทาไมต้องนาโทรปเข้ามาร่วมในการวิเคราะห์ ถ้าไม่มี โทรป การใช้ทฤษฎีเซ็ทกับการอ้างอิงเชิงนามธรรมจะเจอปัญหาหนัก สมมติว่านักนามนิยมแบบ เคร่งครัดในส่วนที่สองของเราจะยอมอ่อนลงสักนิดและยอมรับเซ็ทไว้ในภววิทยาของพวกเขา เรา ก็อาจคิดไปได้ว่านักนามนิยมดังกล่าวสามารถที่จะถือว่าคานามธรรมเอกพจน์ “ความ-F” เป็นชื่อ ของเซ็ท ซึ่งสมาชิกทั้งหลายได้แก่สิ่งเฉพาะรูปธรรมทั้งหมดที่เป็น และเฉพาะเพียงที่เป็น F นั่นคือ เราอาจจะคิดไปว่า พวกเขาสามารถที่จะถือว่า “ความกล้าหาญ” เป็นชื่อของเซ็ทซึ่งสมาชิกได้แก่ บุคคลผู้ซึ่งกล้าหาญทั้งหมด และมีเพียงเฉพาะบุคคลผู้ ซึ่งกล้าหาญเท่านั้นเป็นสมาชิก และถือว่า “ความเป็นวงกลม” เป็นชื่อของเซ็ทซึ่งสมาชิกได้แก่สิ่งเฉพาะที่เป็นวงกลมทั้งหมด และมีเพียง เฉพาะสิ่งเฉพาะที่เป็นวงกลมเท่านั้นเป็นสมาชิก แต่ด้วยเงื่อนไขของเอกลักษณ์ของเซ็ทแล้ว ความ พยายามนี้จะเผชิญกับความล้มเหลวอย่างแน่นอน เพราะถ้าเกิดเรามีคาทั่วไปหลายคาที่ได้รับการ ตอบสนอง หรือเป็นจริงกับสิ่งเฉพาะรูปธรรมที่เป็นเซ็ทเดียวกัน คาอธิบายก็จะบังคับให้เราต้อง พูดว่า คานามธรรมเอกพจน์ที่สอดคล้องกับคาทั่วไปนั้นเป็นชื่อของสิ่งๆ เดียวกัน ตัวอย่างได้แก่ ทุกสิ่งที่มีหัวใจก็จะมีไต และเป็นจริ งในทางกลับกัน คือทุกสิ่งที่มีไตก็จะมีหัวใจ ดังนั้นเนื่องจาก เซ็ ท ของสิ่ ง ที่ มี หั ว ใจและเซ็ ท ของสิ่ ง ที่ มี ไ ตเป็ น เซ็ ท เดี ย วกั น นั ก นามนิ ย มแบบเคร่ ง ครั ด ที่


77

ยอมรับเซ็ทก็จาเป็นต้องถือว่าการมีหัวใจและการมีไตเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ไตก็คือไตและหัวใจก็คือ หัวใจ เป็นคนละสิ่งกัน แต่ขอให้สังเกตว่าทันทีที่เรานาโทรปเข้ามาร่วมในการอธิบาย ความยุ่งยากก็จะหายไป ตามคาอธิบายของนักทฤษฎีโทรป การมีหัวใจเป็นเซ็ทของโทรปที่มีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้นมัน จึงเป็นเซ็ทซึ่งสมาชิกของมันก็ได้แก่สิ่งอย่างเช่น การที่คุณมีหัวใจ และการมีหัวใจของผม การมีไต ก็เช่นเดียวกัน คือเป็นเซ็ทของโทรปที่มีความคล้ายคลึงกัน แต่โทรปที่เป็นของสิ่งอย่างหลังนี้ก็เป็น อะไรที่ต่างไปจากโทรปที่เป็นสมาชิกของสิ่งอย่างแรก ซึ่งได้แก่ การที่คุณมีไต และการที่ผมมีไต โทรปของการที่คุณมีไต เป็นสิ่งที่ต่างไปจากโทรปของการที่คุณมีหัวใจ ดังนั้นการเป็นสมาชิกของ ทั้งสองเซ็ทจึงไม่ทับซ้อนกัน เราจึงได้ผลที่เราต้องการ คือ “การมีหัวใจ” และ “การมีไต” เป็นชื่อ ของสิ่งคนละอย่างกัน ดังนั้น คานามธรรมเอกพจน์จึงเป็นชื่อของเซ็ทของโทรปที่มีความคล้ายคลึงกัน “ความ ฉลาด” เป็นชื่อของเซ็ทของโทรปที่สอดคล้องกันในการเป็นความฉลาด “ความกล้าหาญ” เป็นชื่อ ของเซ็ทของโทรปที่สอดคล้องกันในการเป็นความกล้าหาญ “การเป็นรูปสามเหลี่ยม” เป็นชื่อของ เซ็ท ของโทรปที่ส อดคล้องกั นในการเป็นรูปสามเหลี่ย ม เป็นเรื่องง่ายที่จะเห็นวิธีที่คาอธิบาย รูปแบบนี้จะกลายเป็นทฤษฎีว่าด้วยภาคแสดง เราเพี ยงแค่ต้องคิดว่ าคาทั่วไปเป็นสิ่งที่เข้าคู่มา กั บ เซ็ ท ของโทรปที่ ถูก เรีย กชื่ อโดยคานามธรรมเอกพจน์ที่ ส อดคล้องกั บคาทั่วไปนั้น ฉะนั้ น “ฉลาด” จึงถูกผูกโยงในเชิงอรรถศาสตร์เข้ากับเซ็ทของโทรปที่เป็นสิ่งที่อ้างอิงถึงของ “ความ ฉลาด” “กล้าหาญ” ถูกผูกโยงในเชิงอรรถศาสตร์เข้ากับเซ็ทของโทรปที่เป็นสิ่งที่อ้างอิงถึงของ “ความกล้าหาญ” การนาคาทั่วไปมาเป็นภาคแสดงให้กับสิ่งเฉพาะหนึ่ง จึงเป็นการพูดว่าสิ่งเฉพาะ รูปธรรมนั้นมีโทรปๆ หนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกของเซ็ทที่มีโทรปอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันร่วมเป็นสมาชิก และประโยคภาคประธานและภาคแสดงที่เกิดขึ้นจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อสิ่งเฉพาะรูปธรรมที่ถูกอ้างอิง ถึง โดยค าที่ เป็ น ภาคประธาน มี โทรปเช่น ว่านั้ นอยู่ จริ ง เราจึงได้ค าอธิ บายของความจริง ของ ประโยคภาคประธานและภาคแสดง ในแบบที่แสดงให้เห็นว่าความจริงคือความสอดคล้องกับ ข้อเท็จจริงที่อยู่นอกภาษา ที่มีรากฐานมาจากความสัมพันธ์ทางอรรถศาสตร์ระหว่างองค์ประกอบ ของประโยคและวัตถุที่อยู่ในโลก


78

สิ่งหนึ่งที่อาจยกขึ้นมาโต้แย้งต่อคาอธิบายแบบนี้ก็คือ มันอธิบายกรณีที่หนึ่งของความจริง ของประโยคภาคประธานและภาคแสดงด้วยการอ้างถึงความเป็นจริงของกรณีที่สอง ฉะนั้น เรา อธิบายความจริงของ “โสเครตีสฉลาด” ด้วยการอ้างอิงไปถึงโทรปที่โสเครตีสมี แต่โทรปที่ว่าจะ ทาหน้าที่ในการอธิบายของมันได้ก็ต่อเมื่อมันเป็นโทรปชนิดที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น มันต้องไม่ใช่ โทรปของสี หรือโทรปของรูป ทรง มั นต้องเป็นโทรปของความฉลาด แต่นัก ทฤษฎีโทรปจะ อธิบายข้อเท็จจริงที่ว่าโทรปที่เกี่ยวข้องเป็นโทรปของความฉลาดว่าอย่างไร? พวกเขาใช้กลยุทธ์ที่ เราได้พบมาหลายครั้งแล้วเมื่อเราอธิบายรูปแบบต่างๆ ของลัทธินามนิยม พวกเขายืนยันว่าการที่ โทรปเป็นอะไรอย่างที่มันเป็น คือเป็นชนิดอย่างที่มันเป็น เป็นข้อเท็จจริงพื้นฐานที่ไม่สามารถ วิเคราะห์อธิบายต่อไปได้อีก โทรปเป็นอะไรอย่ างที่มันเป็น ไม่ว่าจะเป็น ความฉลาด ความเป็นสี แดง ความเป็นรูปวงกลม การที่มันเป็นของอย่างที่ว่า เป็นอะไรที่ไม่สามารถวิเคราะห์อธิบายหรือ ลดทอนได้ แต่เพราะมันเป็ นอย่ า งที่ มั นเป็ น วัตถุรูปธรรมที่ถือครองมันจึงเป็นสิ่งที่มันเป็น มี ลักษณะอย่างที่มันมี และมีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน อย่างที่มันเป็นอยู่ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการรู้จักทฤษฎีโทรปเพียงแค่อย่างตื้นๆ เราเพียงได้เห็นวิธีที่ทฤษฎี โทรปเข้ามาแก้ปัญหาเรื่องสิ่งสากล ในรายละเอียดแล้ว ทฤษฎีโทรปสามารถที่จะขยายคาอธิบาย ออกไปในหลายทิศหลายทาง แต่อย่างน้อยเราก็พอได้เห็นสิ่งที่เป็นความน่าสนใจของทฤษฎีโทรป มันทาให้เราสามารถเป็นนักนามนิยมแบบที่ไม่ต้องขัดแย้งกับความเข้าใจตามสามัญสานึกที่ฝังราก ลึกของเรา มันให้การรองรับต่อความเชื่อที่ว่า เมื่อเรามุ่งความสนใจไปที่สิ่งอย่างเช่น สี รูปทรง ขนาด และน้าหนัก เรากาลังทาอย่างนั้นจริงๆ ไม่ใช่ว่ากาลังทาอย่างอื่น เราไม่จาเป็นต้องปฏิเสธว่า มีสิ่ง อย่ างเช่ น ความเป็ นรูปสามเหลี่ย ม ความฉลาด และความกล้าหาญ (ซึ่งนัก นามนิยมแบบ เคร่งครัดปฏิเสธ) ถ้าเราเป็นนักทฤษฎีโทรป เราก็สามารถยอมรับว่าของอย่างที่ว่ามีจริง เราเพียงแค่ ถือว่าพวกมันไม่ได้เป็นอะไรอย่างที่นักสัจ นิยมทางอภิปรัชญาบอกว่ามันเป็น เท่านั้น และเราก็มี ทฤษฎีว่าด้วยการพูดจาเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งเป็นระบบระเบียบอย่างเดียวกันกับที่ทฤษฎีอภิภาษา ของเซ็ลลาร์ส์เป็น แต่เรามีทฤษฎีที่สมเหตุสมผลยิ่งกว่า เพราะถึงแม้คาอธิบายของเซ็ลลาร์จะมีสิ่งที่ เป็นกลไกทางเทคนิคที่น่าประทับใจแต่มันก็มีปัญหาที่สาคัญ เพราะมันตีความการพูดที่ดูเหมือน จะเป็นเรื่องของสิ่งนามธรรม ด้วยการเปลี่ยนให้เป็นการพูดในเนื้อหาเรื่องราวที่ต่างไปจากที่เรา คาดหวังว่ามันน่าจะเป็น นั่นก็คือ เซ็ลลาร์ส์บอกเราว่า ในที่สุดแล้ว การพูดเกี่ยวกับความกล้าหาญ หรือสีแดง จริงๆ แล้วเป็นแค่การพูดเกี่ยวกับคา และนั่นดูจะขัดกับความเข้าใจตามสามัญสานึก


79

ของเรา ในทางกลับกัน นักทฤษฎีโทรปตีความการพูดพวกนั้นในวิธีแบบที่เราอยากจะตีความ คือ ในฐานะการพูดเกี่ยวกับสิ่งภายนอกภาษาที่มีอยู่จริง อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อที่สามารถยกขึ้นมาวิจารณ์ทฤษฎีโทรปได้บางประการซึ่งผมจะยกขึ้น มากล่าวเพี ยงประการเดียว เป็นข้อวิจารณ์ที่มุ่งเป้าไปที่การที่ทฤษฎีโทรปใช้ทฤษฎีเซ็ทขึ้นมา อธิบายการอ้างอิงเชิงนามธรรม นักวิจารณ์ยอมรับว่า ด้วยการทาให้เซ็ทของโทรปเป็นสิ่งที่คานาม ธรรมเอกพจน์อ้างอิงถึง นักทฤษฎีโทรปทาได้ดีกว่าคาอธิ บายที่ทาให้คาเหล่านั้นเป็นชื่อของสิ่ง เฉพาะรูปธรรม แต่พวกเขาก็อ้างว่ายังมีกรณีซึ่งเงื่อนไขแห่งเอกลักษณ์ของเซ็ทสร้างให้เกิดปัญหา กับนักทฤษฎีโทรป22 ได้แก่กรณีอย่างที่คาทั่วไปที่ควบคู่มากับคานามธรรมเอกพจน์ เป็นคาซึ่งไม่ เป็นจริงต่อสิ่งใด (หรือไม่ได้รับการตอบสนองโดยสิ่งใดเลย) ในกรณีอย่างนั้น นักทฤษฎีโทรป จาเป็นต้องอ้างว่าคานามธรรมเอกพจน์พวกนั้น เป็นชื่อของสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นผลที่ไม่น่า พึง พอใจ ขอให้ดูค าทั่ วไปอย่ างเช่น “ม้ามังกร” “คชสีห์” คาพวกนี้ไ ม่เป็นจริงกั บสิ่งใดทั้งสิ้น เพราะม้ า มั ง กรและคชสีห์เป็ นสิ่งที่ ไ ม่มีอยู่ จริง ดังนั้นจึงไม่มีโทรปที่สัมพั นธ์อยู่ กั บคาเหล่านี้ อย่างไรก็ตามนักทฤษฎีโทรปถือว่าคานามธรรมเอกพจน์เป็นชื่อเซ็ทของโทรป ซึ่งพวกเขาจะระบุ ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกอ้างอิงถึงด้วย “ความเป็นม้ามังกร”? ตัวเลือกเดียวที่มีอยู่ก็คือเซ็ทที่ว่างเปล่าไม่มี สมาชิก เนื่องจากไม่มีโทรปใดๆ อยู่ เซ็ทเปล่าจึงเป็นเพียงเซ็ทเดียวที่สมาชิกของมันเป็นโทรปแบบ ที่ต้องการ ปัญหาก็ คือ นักทฤษฎีโทรปต้องพูดอย่างเดียวกันนี้กับสิ่งที่ถูกอ้างอิงถึงโดย “ความ เป็นคชสีห์” เนื่องจากก็ไม่มีโทรปอะไรอยู่ตรงนี้เช่นกัน คาที่ว่าจึงเป็นชื่อของเซ็ทที่ว่ างเปล่า แต่ โชคไม่ดี ตามเงื่อนไขแห่งเอกลักษณ์ของเซ็ทแล้ว เซ็ทที่ว่างเปล่ามีอยู่เพียงเซ็ทเดียว ดังนั้น นัก ทฤษฎีโทรปก็ต้องพูดว่าการเป็นม้ามังกรและการเป็นคชสีห์เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน และนักวิจารณ์ ก็จะชี้ว่า ตามความเข้าใจของเราแล้ว ทั้งสองอย่างเป็นของคนละอย่างกัน นักทฤษฎีโทรปอาจจะตอบข้อวิจารณ์นี้ด้วยการพูดว่า เมื่อคาทั่วไปไม่เป็นจริงกับสิ่งใด เลย คานามธรรมเอกพจน์ที่คู่กับมันย่อมไม่ได้เป็นชื่อของสิ่งใดทั้งสิ้น ฉะนั้น พวกเขาก็แค่ปฏิเสธ ว่าสิ่งอย่างม้ามังกรและคชสีห์มีอยู่จริง และขอให้สังเกตว่าสิ่งที่นักทฤษฎีโทรปพู ดตรงนี้ ก็เป็น อะไรอย่างเดียวกันกับที่นักสัจนิยมแบบอริสโตเติลนิยมพูด เมื่อพวกเขากล่าวว่าสิ่งสากลที่ไม่มี ตัวอย่างแสดงเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง นักอริสโตเติลนิยมจะไม่ยอมรับในแบบเดียวกันกับนักทฤษฎี 22

ดู Loux (1978a :74)


80

โทรปว่า “ความเป็นม้ามังกร” หรือ “ความเป็นคชสีห์” เป็นชื่อของสิ่งหนึ่งสิ่งใด มีแต่นักปรัชญาที่ เชื่อว่าคาเหล่านี้เป็นชื่อของสิ่งบางอย่างเท่านั้นที่จะเห็นว่าข้อวิจารณ์ที่ยกขึ้นมาโจมตีนักทฤษฎี โทรปนี้เป็นสิ่งที่มีน้าหนักจริง ซึ่งก็จะมีแต่นักเพลโตนิยมซึ่งเห็นว่าสิ่งสากลที่ไม่มีตัวอย่างแสดงมี อยู่จริงเท่านั้นที่จะเห็นว่าข้อโจมตีนี้มีน้าหนัก แต่แม้ว่าเราจะเป็นนักสัจนิยมแบบเพลโตนิยม เรา เองก็คงต้องยอมรับว่าความมีอยู่ของสิ่งสากลที่ไม่มีตัวอย่างแสดงไม่ใช่อะไรที่สอดคล้องกับสามัญ สานึกเท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่ลักษณะพิเศษของเซ็ทจะสร้างปัญหาให้กับการวิเคราะห์คา นามธรรมเอกพจน์ของนักทฤษฎีโทรป ลักษณะที่น่าสนใจประการหนึ่งของเซ็ทก็คือการที่เซ็ทมี สมาชิ กอย่ างที่ มันมี เป็นสิ่งที่ เป็นจริงโดยจาเป็น 23 เซ็ทเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาจากสมาชิกของมัน เอกลักษณ์ของเซ็ทถูกตัดสินโดยเอกลักษณ์ของสมาชิก สาหรับเซ็ทใดก็ตาม มันเป็นไปไม่ได้ที่ เซ็ทนั้นจะมีสมาชิกมากกว่าที่มันมีอยู่ตามความเป็นจริง คราวนี้ นักทฤษฎีโทรปบอกเราว่าความ กล้าหาญเป็นเซ็ทของโทรปที่คล้ายคลึงกัน จากการที่เซ็ทมีสมาชิกที่มันมีโดยจาเป็น นักทฤษฎี โทรปจึงถูกบังคับให้ต้องอ้างว่า เซ็ทของความกล้าหาญไม่สามารถที่จะมีสมาชิกที่ต่างออกไปจาก ที่ มั น เป็ น อยู่ จริง กล่า วคื อ มั น ไม่ ส ามารถมีส มาชิ ก มากไปกว่ าหรือน้ อยไปกว่าที่ มัน มีอยู่ จริ ง อย่างไรก็ตาม ตามคาอธิบายของนักทฤษฎีโทรป บุคคล ซึ่งเป็นวัตถุรูปธรรมจะถือว่าเป็นคนกล้า หาญ ก็ต่อเมื่อพวกเขามีโทรปซึ่งเป็นสมาชิกของเซ็ทที่เป็นเอกลักษณ์กับความกล้าหาญ แต่ถ้าเซ็ท ไม่สามารถมีสมาชิกมากหรือน้อยกว่าที่มันมีอยู่ ผลก็จะตามมาว่าไม่สามารถที่จะมีคนที่กล้าหาญ มากหรือน้อยไปกว่าที่มีอยู่ในความเป็นจริง ดังนั้น นักทฤษฎีโทรปจึงดูเหมือนจะถูกผูกมัดให้ถือ ทัศนะที่ว่า มันเป็นไปไม่ได้ในทางอภิปรัชญาที่จะมีคนกล้าหาญเพิ่มขึ้นมาแม้แค่หนึ่งคนจากที่มัน มีอยู่ หรือที่จะมีคนกล้าหาญน้อยลงไปสักหนึ่งคนจากที่มีอยู่ สิ่งอื่นๆ ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นความ เป็นสามเหลี่ยม ความเป็นวงกลม ความฉลาด มนุษยชาติ ก็จะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีสิ่งไหนใน พวกนี้ที่จะมีสมาชิกมากหรือน้อยไปกว่าที่มันมีอยู่ในข้อเท็จจริง ดังนั้น จึงไม่สามารถมีวัตถุรูป สามเหลี่ยมมากหรือน้อยไปกว่าที่มันมีอยู่ ไม่สามารถมีวัตถุรูปวงกลมมากหรือน้อยไปกว่าที่มีอยู่ ไม่สามารถมีคนฉลาดมากหรือน้อยไปกว่าที่มีอยู่ หรือไม่สามารถมีมนุษย์มากหรือน้อยไปกว่าที่มี อยู่ แต่นี่เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดว่าไม่จริง. 23

ดู Wolterstorff (1973: 176-81)


81


82

บทที่ 3 สิ่งเฉพาะรูปธรรม 1: ฐานรองรับ มัด และแก่นสาร

ทฤษฎีฐานรองรับ (Substratum Theory) และทฤษฎีมดั (Bundle Theory) การแบ่งแยกระหว่างสิ่งเฉพาะรูปธรรมและคุณลักษณะต่างๆ ที่สิ่งเฉพาะรูปธรรมมีหรือ ครอบครอง มีบทบาทสาคัญในการคิดทางอภิปรัชญา แต่ก็ไม่ใช่ว่านักอภิปรัชญาทุกคนจะยอมรับ การแบ่งแยกนี้ นักนามนิยมแบบเคร่งครัดยืนยันว่าในความหมายอย่างเข้มงวดแล้วคุณลักษณะเป็น สิ่ง ที่ ไ ม่ มี อยู่ จ ริง แต่ ส าหรั บ นัก ปรัช ญาที่ ย อมรั บ ในการแบ่ง แยก นี่เ ป็ น การแบ่ ง แยกที่ส าคั ญ ระหว่างสิ่งที่ดูเหมือนว่าจะเป็นประเภททางภววิทยาสองประเภทที่แตกต่างและลดทอนเข้า หากัน ไม่ได้ ในที่นี้เราจะมาดูข้อโต้เถียงว่าด้วยธรรมชาติของสิ่งเฉพาะ โดยเราจะเริ่มต้นด้วยการพิจารณา ทฤษฎีที่มองธรรมชาติของสิ่งเฉพาะอย่างต่างกันออกไปสองทฤษฎี ซึ่งจะพาไปสู่การพิจารณา ทฤษฎีที่สาม โดยที่การมุ่งความสนใจไปที่ความขัดแย้งระหว่างสองทฤษฎีแรก จะช่วยให้เราเข้าใจ ถึง ความยุ่ ง ยากของความพยายามที่ จะให้ คาอธิ บายทางอภิป รั ช ญาต่ อ แนวคิด เรื่ องสิ่ ง เฉพาะ รูปธรรม ที่ผ่านมาเราใช้ตัวอย่างในการบอกว่า “สิ่งเฉพาะรูปธรรม” หมายถึงอะไร เราบอกว่าสิ่ง เฉพาะรูปธรรมคือของแบบที่คนที่ไม่ใช่นักปรัชญาคิดว่าเป็น “วัตถุสิ่งของ” ได้แก่ คน สัตว์ พืช และสิ่งที่ไม่มีชีวิต เป็นการยากที่จะหาเกณฑ์การใช้คาที่ครอบคลุมตัวอย่างทั้งหมดเหล่านี้ แต่เราก็ พอจะชี้ไปยังลักษณะบางประการที่ตัวอย่างเหล่านี้มีร่วมกัน ประการที่หนึ่ง พวกมันทั้งหมดเป็น สิ่งเฉพาะตัว มันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถูกแสดงตัวอย่าง แต่มันแสดงตัวอย่างของคุณลักษณะหลายๆ อย่าง ยิ่งกว่านั้น พวกมันเป็นสิ่งที่จากัดด้วยเวลา คือ มันเกิดมีขึ้นในเวลาหนึ่ง ดารงความมีอยู่ใน ช่วงเวลาที่มีความยาวระยะหนึ่ง และสลายหายไปจากความมีอยู่ในอีกเวลาหนึ่ง พวกมันมีอยู่ใน ฐานะความบังเอิญ หมายความว่าแม้มันมีอยู่ แต่ก็เป็นไปได้ที่ พวกมันจะไม่มีอยู่ พวกมันเป็นสิ่งที่


83

สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา หมายความว่าพวกมันอาจมีคุณสมบัติที่ต่างออกไปจากเดิม เมื่อเวลาผ่านไป มันเป็นสิ่งที่กินที่ในอวกาศ หมายความว่า ในแต่ละขณะของความมีอยู่ มันต้องมี ตาแหน่งที่ตั้งอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง และถ้ามันไม่ใช่สิ่งพื้นฐาน มันก็ต้องประกอบขึ้นด้วยส่วนต่างๆ ซึ่ง ครอบครองอาณาบริเวณในอวกาศที่เราสามารถระบุได้ว่าเป็นที่ใด หน้า ที่ ข องเราก็ คื อการให้คาอธิบายถึงธรรมชาติ หรือโครงสร้างทางภววิทยาของสิ่ง เหล่านี้ แต่นั่นคืออะไรกันแน่และทาไมมันถึงเป็นเรื่องจาเป็น? แต่ขอให้สังเกตก่อนว่า นี่ไม่ใช่งาน ที่อยู่ในความสนใจของนักนามนิยมแบบเคร่งครัด เนื่องจากพวกเขาปฏิเสธความมีอยู่ของสิ่งอย่าง คุณลักษณะ พวกเขาจึงเห็นว่าสิ่งเฉพาะรูปธรรมเป็นอะไรที่ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ คือเป็นสิ่งที่ไม่ มีโครงสร้างทางภววิทยา นักนามนิยมแบบเคร่งครัดจะยอมรับว่าสิ่งเฉพาะรูปธรรมสามารถที่จะ ถูกบรรยายได้ในหลายๆ ลักษณะ แต่ก็จะไม่ยอมรับว่าสิ่งเฉพาะรูปธรรมประกอบขึ้นด้วยสิ่งที่ แตกต่างและแยกเฉพาะจากกัน ที่สอดคล้องไปกับคาอธิบายแต่ละคาอธิบายที่เราให้กับมัน1 ในทาง ตรงกันข้าม นักสัจนิยมและนักทฤษฎีโทรปถือว่า สาหรับแต่ละคาบรรยายที่เราให้กับสิ่งเฉพาะ รูปธรรมที่แตกต่างกันในความหมาย จะมีสิ่งที่พิเศษเฉพาะ ซึ่งได้แก่คุณสมบัติหรือโทรป ซึ่งเรา พูดว่า สิ่งเฉพาะรูป ธรรมแสดงตัวอย่ างหรือครอบครอง และทั้งสองทัศนะถือว่าคุณลัก ษณะที่ เชื่อมโยงอยู่กับสิ่งเฉพาะรูปธรรมเป็นสิ่งสาคัญที่ทาให้สิ่งเฉพาะเป็นอะไรอย่ างที่มันเป็น ดังนั้น สาหรับทั้งสองทัศนะ สิ่งเฉพาะรูปธรรมดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อนอะไรบางอย่าง “ความมีอยู่เป็นอยู่” ของมัน เป็นเรื่องของความซับซ้อนของหน่วยต่างๆ ที่ประกอบเข้าด้วยกันใน โครงสร้างอะไรบางอย่าง การบรรยายคุณลักษณะทางภววิทยาของสิ่ งเฉพาะรูปธรรม ก็คือการให้ คาอธิบายถึงรูปแบบทั่วไปของโครงสร้างนี้ นักอภิปรัชญามักอาศัยคาศัพท์พิเศษ เพื่อพูดเกี่ยวกับโครงสร้างชนิดที่สัมพันธ์อยู่กับสิ่ง เฉพาะรูปธรรม แกนกลางของความคิดอยู่ตรงที่ว่ามีสิ่งในระดับละเอียด ที่เข้ามาอยู่ด้วยกันที่ทาให้ เกิดเป็นสิ่งในระดับหยาบ ที่เป็นสิ่งเฉพาะรูปธรรมที่เราคุ้นเคย แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งใน ระดับละเอียดกับสิ่งเฉพาะรูปธรรม ก็ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบและส่วนรวมทาง 1

David Armstrong เรียกสิ่งเฉพาะว่า “blob” คือเป็นสิ่งซึ่งปราศจากโครงสร้างใดๆ ทั้งสิ้น (Armstrong (1989a: 38))

แม้ว่ามันอาจจะมีส่วนประกอบทางกายภาพ แต่ส่วนประกอบพวกนั้นก็ถูกถือว่าเป็นเหมือนส่วนรวมของพวกมัน คือไม่ สามารถวิเคราะห์อธิบายในเชิงอภิปรัชญาได้


84

กายภาพ และไม่ ใช่ เรื่องของวัส ดุสารที่ มีอยู่ใ นสสารวัตถุ นักอภิปรัชญาใช้คาว่า องค์ประกอบ (constituent) และองค์รวม (whole) เพื่อพูดถึงความสัมพันธ์แบบพิเศษที่ว่านี้ สิ่งเฉพาะรูปธรรมถูก ถือว่าเป็นองค์รวมหรือเป็นสิ่งซับซ้อน ที่มีหน่วยที่พื้นฐานกว่าในทางภววิทยาเป็นองค์ประกอบ และข้ออ้างในเรื่องนี้ก็คือ ในการบรรยายคุณลักษณะทางภววิทยาของสิ่งๆ หนึ่ง อย่างแรกที่ต้องทา ก็คื อการระบุ ถึงสิ่ง ที่ ท าหน้า ที่ เป็ นองค์ ป ระกอบของมัน อย่ างที่ส องก็ คือการระบุถึงชนิดของ ความสัมพันธ์ที่สิ่งเหล่านี้มีต่อกัน แต่อะไรคือสิ่งประเภทที่ทาหน้าที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งเฉพาะ? เราได้กล่าวไปแล้วถึง คุณสมบัติหรือโทรปว่าสัมพันธ์กับสิ่งเฉพาะในฐานะองค์ประกอบ มีอะไรอย่างอื่นอีกหรือไม่ที่ เข้ามาอยู่ร่วมในฐานะองค์ประกอบของสิ่งเฉพาะ? ทัศนะหนึ่งที่มีอิทธิพลยืนยันว่า ในท่ามกลาง องค์ประกอบของสิ่งเฉพาะ มีสิ่งที่แตกต่างออกไปอยู่สิ่งหนึ่ง มันเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวคุณลักษณะของ สิ่งเฉพาะ แต่ทาหน้าที่เป็นตัวรองรับ ตัวครอบครอง ของคุณลักษณะต่างๆ ที่สัมพันธ์กับสิ่งเฉพาะ ตามทัศนะนี้ จึงมีสิ่งที่ต่างกันอยู่สองชนิดที่เข้ามาร่วมกันเป็นองค์ประกอบของสิ่งเฉพาะใดๆ ก็ ตาม อย่ า งที่ หนึ่ง ก็ คื อคุ ณลั ก ษณะต่า งๆ ที่ สัมพั นธ์อยู่ กั บสิ่งเฉพาะ และอย่ างที่ส องก็ คืออะไร บางอย่างที่ทาหน้าที่รองรับหรือเป็นเจ้าของคุณลักษณะพวกนั้น ในการพิจารณาเบื้องต้นทัศนะนี้อาจฟังดูแปลก เพราะเราดูเหมือนจะคิดว่าตัวสิ่งเฉพาะ รูปธรรมเองคือตัวสิ่งที่ครอบครองหรือรองรับคุณลักษณะอะไรต่างๆ ที่สัมพันธ์กับมัน เราพูดถึง คุณลักษณะพวกนั้นว่าเป็นของมัน(สิ่งเฉพาะ) ถ้าเราเป็นนักสัจนิยมทางอภิปรัชญา เราก็จะพูดว่า มันแสดงตัวอย่างของคุณลักษณะพวกนั้น และถ้าเราเป็นนักทฤษฎีโทรป เราก็พูดว่ามันเป็นเจ้าของ คุณลักษณะพวกนั้น ทัศนะที่เสนอขึ้นมานี้กาลังบอกเราว่าข้ออ้างที่ว่ามานี้ผิด เพราะในความหมาย อย่างเข้มงวดแล้ว มันไม่ใช่ตัวสิ่งเฉพาะที่เป็นตัวเจ้าของหรือเป็นตัวรองรับคุณลักษณะต่างๆที่เรา เชื่อมโยงเข้ากับมัน แต่เป็นตัวการอะไรบางอย่างในระดับละเอียดที่ทาหน้าที่เป็นองค์ประกอบของ สิ่งเฉพาะ ร่วมกับคุณลักษณะเหล่านั้น แต่เราก็เชื่อว่าคุณลักษณะแต่ละอย่างที่สัมพันธ์กับสิ่งเฉพาะมีตัวรองรับ แม้ว่าเราเป็นนัก เพลโตนิยม และถือว่ามีคุณลักษณะที่ไม่ถูกแสดงตัวอย่างอยู่จริง เราก็จะยังเห็นด้วยว่าคุณสมบัติที่ เชื่อมโยงอยู่ กับสิ่งเฉพาะเป็ นคุณสมบัติที่ ถูกแสดงตัวอย่ าง เราจะเห็นด้วยว่าพวกมันถูกแสดง ตัวอย่างโดยบางสิ่งบางอย่าง แต่คุณลักษณะและอะไรที่เป็นเจ้าของมันเป็นสิ่งคนละสิ่งกัน เรา


85

แยกแยะคุณลักษณะจากเจ้าของของมัน ซึ่งเท่ากับการวางคุณลักษณะไว้ด้านหนึ่ง และวางสิ่งที่ ครอบครองมันไว้อีกด้านหนึ่ง นี่เท่ากับการถือว่าไม่ว่าสิ่งที่เป็นเจ้าของคุณลักษณะนี้จะเป็นอะไรก็ แล้วแต่ มันเป็นสิ่งที่สามารถถูกเข้าใจได้อย่างเป็นอิสระจากคุณลักษณะนั้น มันเป็นสิ่งอย่างที่การ เป็นอะไรที่มันเป็น ไม่ต้องสมมติล่วงหน้าถึงตัวคุณลักษณะที่มันรองรับหรือเป็นเจ้าของ ข้ออ้างก็ คือว่า ถ้าเราเห็นด้วยว่าสิ่งที่รองรับคุณลักษณะมีเอกลักษณ์ที่เป็นอิสระจากคุณสมบัตินั้น เราก็ถูก บังคับให้ต้องถือว่าสิ่งเฉพาะรูปธรรมไม่ ใช่ตัวรองรับหรือเป็นตัวเจ้าของ ของคุณลักษณะต่างๆ ที่ เราถือว่าสัมพันธ์อยู่กับมัน ลองพิจารณาลูกบอลสีแดงเล็กๆ ลูกหนึ่ง เราเชื่อมโยงคุณลักษณะหลายประการเข้ากับลูก บอลนี้ ได้แก่ สีแดง รูปทรงกลม พื้นผิวที่เรียบ น้าหนักขนาดหนึ่ง และเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดหนึ่ง เป็นต้น ข้อสมมติฐานเกี่ยวกับความเป็นอิสระของคุณลักษณะและสิ่งที่เป็นเจ้าของมัน บังคับให้ เราพูดว่าสิ่งที่เป็นเจ้าของคุณลักษณะเหล่านี้เป็นอะไรบางอย่างที่มีเอกลักษณ์ หรือความเป็นตัว ของมั น เอง ที่ เป็ น อิ ส ระจากคุ ณ ลั ก ษณะที่ มั น มี ฉะนั้ น สิ่ ง ที่ เ ป็น เจ้ า ของสี แ ดงต้ อ งเป็ น อะไร บางอย่างที่ตัวมันเองไม่เป็นสีแดง คือเป็นอะไรบางอย่าง ซึ่งการเป็นในสิ่งที่มันเป็นไม่ยุ่งเกี่ยวกับ การที่มันเป็นสีแดง แต่เจ้าลูกบอลเป็นองค์รวมหรือเป็นสิ่งซับซ้อน ซึ่ง “ความมีอยู่เป็นอยู่” ของมัน ครอบคลุมไปถึงคุณลักษณะสีแดง ดังนั้น เจ้าลูกบอลอย่างที่เรารู้จัก จึงไม่สามารถเป็นสิ่งที่เป็ น เจ้าของตัวจริงของคุณลักษณะสีแดง ในแบบเดียวกัน สิ่งที่เป็นเจ้าของจริงๆ ของรูปทรงกลม ต้อง เป็นสิ่งซึ่งในตัวมันเองแล้วไม่เป็นทรงกลม คือเป็นอะไรบางอย่าง ซึ่งการเป็นในสิ่งที่มันเป็นไม่ยุ่ง เกี่ยวกับการที่มันเป็นทรงกลม แต่ลูกบอลของเราเป็นองค์รวมซึ่งครอบคลุมไปถึง รูปทรงดังกล่าว ดังนั้น เจ้าลูกบอลจึงไม่สามารถเป็นเจ้าของของคุณลักษณะดังกล่าวอีกเช่นกัน และเห็นได้ชัดว่า สาหรับคุณลักษณะอื่นที่เหลือเรื่องราวก็จะเป็นเช่นเดียวกัน กล่าวคือ สาหรับคุณลักษณะทุกอย่าง และแต่ละอย่าง อะไรที่เป็นเจ้าของจริงๆ ของคุณลักษณะนั้นเป็นบางสิ่งบางอย่างที่การเป็นอะไรที่ มันเป็น เป็นสิ่งที่เป็นอิสระไม่ยุ่งเกี่ยวกับคุณลักษณะนั้นๆ เนื่องจากการเป็นอะไรที่เจ้าลูกบอล เป็น (คือการที่มันเป็นองค์รวม) เกี่ยวพันถึงการที่มันมีคุณลักษณะทุกๆ อันที่เป็นองค์ประกอบของ มัน เจ้าลูกบอลจึงไม่สามารถเป็นเจ้าของจริงๆ ของคุณลักษณะเหล่านั้น แต่ถ้าเจ้าลูกบอลไม่ได้เป็นเจ้าของคุณลักษณะต่างๆ ของมันแล้วอะไรเป็น ? เห็นได้ชัดว่า คุ ณ ลั ก ษณะแต่ ล ะอั น ที่ สั ม พั น ธ์ อ ยู่ กั บ ลู ก บอลไม่ ไ ด้ มี เ จ้ า ของที่ แ ยกเฉพาะตั ด ขาดจากกั น


86

คุณลักษณะทั้งหมดมีสิ่งที่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันเป็นตัวรองรับ ข้อเท็จจริง ที่ว่าพวกมันทั้งหมดมี สิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันรองรับ คืออะไรที่ทาให้คุณลักษณะทั้งหลายเข้ามาอยู่ร่วมกัน ซึ่งทาให้พวกมัน กลายเป็นสิ่งที่สัมพันธ์อยู่กับวัตถุรูปธรรมเพียงหนึ่งชิ้น และเจ้าของที่พวกมันทั้งหมดมีร่วมกัน ดัง กล่าวก็ต้องไม่ใ ช่อะไรที่ป ราศจากความสัมพั นธ์โดยสิ้ นเชิงกั บลูก บอล แต่ต้องเป็นอะไรที่ สัมพันธ์กับลูกบอลอย่างแนบแน่นที่สุด ซึ่งจะได้รับการประกันว่าเป็นดังกล่าว ก็ต่อเมื่อเจ้าสิ่งนั้น เข้ามาร่วมอยู่ในการเป็นองค์ประกอบหนึ่งของลูกบอล ดังนั้นในบรรดาองค์ประกอบทั้งหลายของ องค์รวมที่ซับซ้อนที่ประกอบกันขึ้นเป็นลูกบอล มีองค์ประกอบอยู่ตัวหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของหรือเป็น ตัวรองรับองค์ประกอบอื่นที่เหลือทั้งหมด อันได้แก่ คุณลักษณะทั้งหลายของลูกบอล แต่เจ้าองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นมานี้คืออะไร? ข้อโต้เถียงของเราแสดงว่า ไม่ว่าเอกลักษณ์ หรือ การเป็ น ตัวของมั น เองของสิ่ ง นั้ นจะเป็ นอะไร เอกลั ก ษณ์ ที่ว่ าก็ ไ ม่อ าจจะเกี่ ย วพั นไปถึ ง คุณลักษณะใดๆ ก็ตามที่มันเป็นเจ้าของ และข้อโต้เถียงยังแสดงด้วยว่า คุณลักษณะใดก็ตามที่อาจ เป็นไปได้ที่จะเข้ามาเชื่อมโยงกับลูกบอล แต่ที่จริงแล้วไม่เป็น ก็ไม่สามารถที่จะประกอบขึ้นเป็น เอกลัก ษณ์ข องเจ้าองค์ป ระกอบที่ท าหน้าที่เป็นเจ้าของคุณลักษณะของลูก บอล ขอให้เรียกเจ้า องค์ประกอบนั้นว่า อ และลองพิจารณาถึงคุณลักษณะ ค ที่แม้จะไม่ได้สัมพันธ์อยู่กับลูกบอล แต่ก็ อาจเป็นได้ที่จะเป็นดังกล่าว ถึงแม้ว่า อ จะไม่ได้เป็นเจ้าของ ค แต่มันก็เป็นไปได้ที่จะเป็นเจ้าของ ค แต่ ถ้ า อย่ า งนั้ น อ ก็ ต้ อ งพร้ อ มในทางภววิ ท ยาที่ จ ะมี บ ทบาทดั ง กล่ า ว กล่ า วคื อ มั น ต้ อ งมี ความสามารถอยู่ในตนเองที่จะเป็นเจ้าของ ค และมันจะเป็นเจ้าของ ค ได้ก็ต่อเมื่อมันมีเอกลักษณ์ ที่เป็นอิสระจาก ค ดังนั้น ไม่ว่าเอกลักษณ์ของ อ จะคืออะไร การมีเอกลักษณ์นั้นของมันต้องเป็น อิสระจาก ค นี่เป็นความจริงกับคุณลักษณะใดๆ ก็ตามที่ไม่ได้เชื่อมโยงอยู่กับลูกบอล แต่ก็เป็นไป ได้ที่จะเป็นดังกล่าว เอกลักษณ์ของ อ ไม่สามารถที่จะเกี่ยวพันไปถึงคุณลักษณะพวกนั้นได้ ดัง นั้น ทั้ ง คุ ณลัก ษณะที่ เป็ นอยู่ จริงและคุณลัก ษณะที่อาจเป็นไปได้ ต่างก็ ไ ม่ส ามารถ ประกอบกันขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของ อ แล้วอาจมีคุณลักษณะอื่นอีกไหมที่อาจเป็นได้? ถ้ามันเป็นได้ มันก็ต้องเป็นคุณลักษณะที่สัมพันธ์กับ อ ในลักษณะที่คุณลักษณะทั้งหลายที่เชื่อมโยงอยู่กับลูก บอล เข้ ามาสัมพั นธ์กั บลูกบอล คื อในฐานะองค์ประกอบขององค์รวม แต่ถ้าเป็นอย่างนั้น เจ้า คุณลักษณะใหม่นี้ก็ต้องการตั วรองรับ และในแบบเดียวกับที่เจ้าลูกบอลไม่สามารถเป็นเจ้าของ หรื อ ตั ว รองรั บ คุ ณ ลั ก ษณะที่ เ ป็ น องค์ ป ระกอบของมั น ดั ง นั้ น อ ก็ ไ ม่ ส ามารถเป็ น เจ้ า ของ


87

คุณลักษณะใหม่นี้ จึงกลายเป็นว่าเราต้องการเจ้าของในเจ้าของอีกทีหนึ่ง ซึ่งก็คือองค์ประกอบหนึ่ง ของ อ ซึ่ ง ท าหน้า ที่ เ ป็ น เจ้ า ของคุณ ลัก ษณะที่ ถือ ว่า ก าหนดเอกลัก ษณ์ ของ อ แต่ อะไรจะเป็ น คุณลักษณะที่กาหนดเอกลักษณ์ของสิ่งรองรับตัวใหม่นี้ ? ต้องไม่ใช่คุณลักษณะที่ อ ตัวที่สองนี้ รองรับ ดูเหมือนว่าวิธีเดียวที่คุณลักษณะจะสามารถกาหนดเอกลักษณ์ของ อ ที่สอง ก็คือการที่ อ ที่ สองจะต้องเป็นองค์รวมที่เกิดจากองค์ประกอบที่ย่อยต่อไปอีก ซึ่งพาเราไปสู่การถอยหลังอย่างไม่ รู้จบ ซึ่งเป็ นการถอยหลังที่เราจะหลีกเลี่ยงได้ก็แต่เพียงโดยการยอมรับเสียว่ามีตัวเจ้าของของ คุณลักษณะ ที่เอกลักษณ์ของมันเป็นอิสระไม่เกี่ยวพันกับคุณลักษณะใดๆ ทั้งสิ้น และเราก็ควร ยอมรับในข้อนี้เสียตั้งแต่เจ้าของหรือผู้รองรับที่เป็น อ ตัวแรก ซึ่งเท่ากับว่าเราจาเป็นต้องยอมรับ ทัศนะที่ ว่าวัตถุรูปธรรมทั้งหลายที่เราคุ้นเคยเป็นองค์รวม ซึ่งองค์ประกอบของมันได้แก่ หนึ่ง คุ ณ ลั ก ษณะทั้ ง หลายที่ ต ามสามั ญ ส านึ ก ของเราแล้ ว เชื่ อ มโยงอยู่ กั บ วั ต ถุ และสอง เจ้ า ของ คุณลักษณะเหล่านั้น ซึ่งความเป็นตัวของมันเองหรือเอกลักษณ์ของมัน เป็นอิสระไม่ยุ่งเกี่ยวกับ คุณลักษณะใดๆ นักปรัชญาเรียกตัวสิ่งที่เป็นเจ้าของของคุณลักษณะนี้ว่า “ฐานรองรับที่ว่างเปล่า” (bare substratum) ซึ่งชื่อก็ บอกอย่างชัดเจนว่า เจ้าองค์ประกอบนี้ยื นอยู่ภายใต้ หรือรองรับ คุณลักษณะทั้งหลาย แต่การเป็นสิ่งอย่างที่มันเป็นนั้นไม่เกี่ยวพันไปถึงคุณลักษณะใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น นักทฤษฎีฐานรองรับที่ว่างเปล่าจึงถือว่าสิ่งเฉพาะรูปธรรมที่เราคุ้นเคย ประกอบขึ้น ด้ ว ยองค์ ป ระกอบที่ แ ตกต่ า งจากกั น อย่ า งเด็ ด ขาดเป็ น สองประเภท ได้ แ ก่ คุ ณ ลั ก ษณะและ ฐานรองรั บ ที่ ว่า งเปล่า ถ้า นัก ทฤษฎีดังกล่าวเป็นนัก สัจนิย ม เขาก็จะพู ดว่าคุณสมบัติถูก แสดง ตัวอย่างโดยฐานซึ่งรองรับอยู่เบื้องล่าง ถ้าเขาเป็นนักนามนิยม เขาก็จะพูดถึงโทรปว่าเป็นของตัว ฐานนั้น แต่ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ภาษาใดก็ตามในการบรรยายถึงภววิทยาของสิ่งเฉพาะ นักทฤษฎี ฐานรองรับจะยืนยันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างฐานรองรับและคุณลักษณะของมันเป็น “กาว” ทาง ภววิทยาที่ยึดองค์ประกอบที่แตกต่างเข้าด้วยกัน และให้ผลเป็นวัตถุเฉพาะแต่ละชิ้น ดังนั้น นัก ทฤษฎีฐานรองรับที่เป็นนักสัจนิยมเกี่ยวกับคุณลักษณะ จะพูดว่าเป็นเพราะตัวฐานรองรับที่ว่าง เปล่าหนึ่งฐานแสดงตัวอย่างของคุณสมบัติหลายๆ คุณสมบัติออกมาพร้อมๆ กัน เราจึงมีสิ่งๆ เดียว แทนที่จะกระจัดกระจายเป็นหลายสิ่ง และนักนามนิยมที่ยอมรับการวิเคราะห์ฐานรับ ก็จะพูดว่า การที่ ก ลุ่ ม ของโทรปกลุ่ ม หนึ่ ง และตั ว ฐานรั บ หนึ่ ง ตั ว ประกอบกั น ขึ้ น เป็ น หนึ่ ง สิ่ ง ก็ เ พราะ องค์ประกอบหลังถือครององค์ประกอบแรกแต่ละตัว ตามทัศนะนี้ สิ่งเฉพาะรูปธรรมจึงไม่ใช่สิ่ง


88

ระดับพื้นฐาน แต่เป็นสิ่งที่ถูกก่อสร้างขึ้นมาจากสิ่งที่เป็นพื้นฐานกว่าในทางภววิทยา ซึ่งได้แก่ คุณลักษณะที่สัมพันธ์เชื่อมโยงอยู่กับมันและตัวสิ่งที่ทาหน้าที่เป็นฐานรองรับ2 ต่อไปเราจะมาดูข้อวิจารณ์ต่อทฤษฎีฐานรองรับที่ว่างเปล่า ข้อวิจารณ์หลักๆ เป็นของ นั ก ปรั ช ญาที่ ย อมรั บ ลั ท ธิ ป ระสบการณ์ นิ ย มมาใช้ ใ นภววิ ท ยา ตามทั ศ นะนี้ สิ่ ง พื้ น ฐานทาง อภิปรัชญาต้องถูกจากัดอยู่กับสิ่งซึ่งสามารถที่จะเป็นวัตถุโดยตรงของการรับรู้ และนักปรัชญา พวกนี้ถือว่าฐานรองรับที่ ว่างเปล่าขัดแย้งกับเกณฑ์นี้ ประสบการณ์ตรงไม่ว่าจะเป็นของการรับรู้ ภายนอกหรือภายใน คือการเข้าใจถึงคุณลักษณะบางอย่างของสิ่งบางสิ่ง และเนื่องจากฐานรองรับ ที่ว่างเปล่าเป็นสิ่งซึ่งการเป็นอะไรที่มันเป็น เป็นอิสระจากคุณลักษณะทั้งมวล พวกมันจึงเป็นสิ่งที่ อยู่พ้นจากการเข้าถึงได้โดยประสบการณ์ และด้วยการถือว่าข้อยืนยันใดๆ ก็ตามจะเป็นสิ่งที่มี ความหมายก็ต่อเมื่อมันมีเนื้อหาที่สามารถตรวจสอบได้ด้วยประสบการณ์ นักประสบการณ์นิยมจึง อ้างว่า เนื่องจากฐานที่ว่างเปล่าอยู่พ้นไปจากการเข้าถึงด้วยประสบการณ์ การพูดว่ามีฐานรับที่ว่าง เปล่าจึงเป็นคาพูดที่ไร้ความหมาย ไม่ ว่ า จะตี ค วามข้ อ อ้ า งของนั ก ทฤษฎี ฐ านรองรั บ ว่ า ไร้ ส าระหรื อ แค่ ว่ า เป็ น เท็ จ นั ก ประสบการณ์นิยมก็เถียงว่า เราสามารถอธิบายโครงสร้างของวัตถุรูปธรรมได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าเรา จากัดตัวเราไว้กับคุณลักษณะที่เชื่อมโยงอยู่กับมันแบบที่เราเข้าถึงได้ด้วยประสบการณ์ ดังนั้น ตาม ทัศนะนี้ วัตถุที่เราคุ้นเคยจึงเป็นสิ่งซับซ้อนหรือองค์รวม ซึ่งองค์ประกอบของมันไม่มีอะไรมากไป กว่าคุณลักษณะที่สามารถเป็นวัตถุแห่งการสานึกรู้ ไม่ว่าจะจากการรับรู้ภายในหรือภายนอก ด้วย การปฏิเสธตัวเจ้าของที่รองรับอยู่ข้างใต้คุณลักษณะ นักประสบการณ์นิยมมักสร้างอุปมาอุปมัย ขึ้นมาเพื่อแสดงออกถึงการวิเคราะห์โครงสร้างของสิ่งเฉพาะของพวกเขา สาหรับพวกเขา สิ่ง เฉพาะรู ป ธรรมหนึ่ ง ๆ ไม่ ไ ด้ เ ป็ นอะไรมากไปกว่ า “มั ด ” “ก้ อ น” “กอง” หรื อ “ที่ ร วม” ของ คุณลักษณะที่เรารู้จักผ่านประสบการณ์

2

ประวัติของทฤษฎีฐานรองรับเริ่มมาตั้งแต่ Aristotle เพราะเขาถือว่าสิ่งที่เป็นเจ้าของคุณลักษณะต้องเป็นคนละสิ่งกับตัว

คุณลักษณะ ดูใน Metaphysics Z.3 (1029a22) ใน McKeon (1941) ตัวอย่างของนักปรัชญาคนอื่นๆ ได้แก่ Locke (1690: II.xxiii.6) Russell, “On the relations of universals and particulars,” ใน Russell (1956) และ Bergmann (1967: 24)


89

แต่อะไรคือ “กาว” ทางภววิทยาที่ยึดหน่วยที่แตกต่างหลากหลายเข้าด้วยกันให้เป็นกอง หรือเป็นมั ดแต่ล ะมั ด นัก ทฤษฎี ฐานรองรับที่ว่างเปล่ามีคาตอบในเรื่องนี้ใ ห้แก่ เรา ดังนั้น นัก ประสบการณ์นิยมก็ควรจะมีคาตอบเช่นกัน นักทฤษฎีแบบมัดหรือกอง (bundle theorist) ล้วนอ้าง ไปถึงความสัมพันธ์พิเศษว่าเป็นสิ่งที่ผูกคุณลักษณะต่างๆ ในมัดหรือในกองเข้าด้วยกัน พวกเขาตั้ง ชื่อให้ความสัมพันธ์นี้ไปหลากหลายทิศทาง บางคนก็เรียกว่า “การปรากฏร่วมกัน” บางคนก็พูดว่า “การครองที่ตั้งร่วมกัน” และบางคนก็ใช้คาอย่าง “การประชุมกัน” และ “การเป็นจริงร่วมกัน” แต่ ไม่ ว่ า จะเรี ย กอย่ า งไร ความสั ม พั น ธ์ นี้ ก็ ถู ก ยึ ด ถื อ ในแบบเดี ย วกั น คื อ เป็ น ความสั ม พั น ธ์ ระดั บ พื้ น ฐานที่ ไ ม่ ส ามารถวิ เ คราะห์ ไ ด้ และถู ก ตี ค วามว่ า คุ ณ ลั ก ษณะต่ า งๆ เข้ า ไปอยู่ ใ น ความสัมพันธ์นี้เพียงแค่ด้วยความบังเอิญ นั่นคือ คุณลักษณะต่างๆ ที่เข้าไปอยู่ในความสัมพันธ์นี้ อาจไม่เป็นเช่นนั้นก็ไ ด้ นี่คื อเหตุผลที่ว่าทาไมสิ่งเฉพาะรูปธรรมจึงมีอยู่จริงเพียงแค่โดยความ บังเอิญ นักทฤษฎีแบบกองหรือมัดเห็นด้วยกับนักทฤษฎีฐานรองรับ ในการปฏิเสธความคิดที่ว่า วัตถุรูปธรรมเป็นสิ่งระดับพื้นฐานในทางภววิทยา พวกเขาถือข้อเท็จจริงที่ว่าวัตถุที่เราคุ้นเคยมี โครงสร้าง ว่าเป็นสิ่งที่แสดงว่าพวกมันเป็นสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นมาจากอะไรที่พื้นฐานกว่า พวกเขาไม่ ยอมรับการแบ่งแยกระหว่างคุณลักษณะและสิ่งเฉพาะที่ครอบครองคุณลักษณะว่าเป็นการแบ่งแยก ในระดับพื้นฐาน ในระดับที่พื้นฐานที่สุดทางภววิทยาแล้ว สิ่งที่มีอยู่จริงมีเพียงคุณลักษณะเท่านั้น ความคิดเรื่ องสิ่ง ที่เป็นเจ้าของคุ ณลักษณะ หรือสิ่งที่แสดงตัวอย่ างคุณลัก ษณะ เป็นความคิดที่ อนุมานหรือสร้างตามขึ้นมาภายหลัง3 ฉะนั้น นักทฤษฎีแบบกองหรือมัดที่เป็นนักสัจนิยมเกี่ยวกับ คุ ณลัก ษณะ จะไม่ ย อมรับ การแบ่งแยกระหว่ างสิ่ง สากลและสิ่งเฉพาะ ว่ าเป็น การแบ่ง แยกที่ พื้นฐานที่สุด พวกเขาจะยืนยันว่า ในความเป็นจริงระดับล่างสุดแล้ว มีแต่สิ่งสากลเท่านั้น และเขา จะไม่อธิบายความเป็นสากล ด้วยการพูดถึงการที่คุณสมบัติหนึ่งถูกแสดงตัวอย่างด้วยวัตถุหลาย ชิ้ น แต่ จ ะอธิ บ ายอย่ า งที่ ไ ม่ มี ก ารอ้ า งอิ ง ไปถึ ง ตั ว เจ้ า ของคุ ณ สมบั ติ หรื อ ตั ว ที่ แ สดงตั ว อย่ า ง คุณสมบัติ ตัวอย่างเช่น พวกเขาจะพูดถึงสิ่งที่ปรากฏขึ้นอย่างซ้าๆ หรือสิ่งที่สามารถระบุตาแหน่ง ได้ในหลายๆ ตาแหน่ง และเขาก็จะพูดว่าสิ่งเฉพาะเป็นสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นมาจากสิ่งสากล ที่ได้รับ การบรรยายด้วยคากลางๆ อย่างนั้น ขอให้สังเกตว่าคาอธิบายของนักทฤษฎีมัดหรือกองที่เป็ นนัก 3

ตัวอย่างของนักปรัชญาเหล่านี้ได้แก่ Berkeley (1710: paragraph 1) Hume (1739: Book I, Part I, section vi)

Russell (1940: 93) Ayer (1954) Williams (1953: 4-8) Hochberg (1964) Castañesda (1974)


90

สัจนิยมทางอภิปรัชญา เป็นขั้วตรงข้ามกับคาอธิบายของนักนามนิยมแบบเคร่งครัด นักนามนิยม แบบเคร่งครัดยืนยันว่า ในความเป็นจริงระดับล่างสุดแล้ว มีแต่สิ่งเฉพาะที่ไร้โครงสร้าง และการ พูดที่ดูเหมือนจะเกี่ยวกับตัวคุณสมบัติที่จริงแล้วเป็นการพูดเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะรูปธรรมที่เป็นสิ่ง พื้นฐานทางภววิทยา กรอบทางภววิทยาของทั้งสองกรอบเป็นภววิทยาแบบสิ่งประเภทเดียว กรอบ แรกยอมรั บ เพี ย งสิ่ ง สากล กรอบหลั ง ยอมรั บ เพี ย งสิ่ ง เฉพาะ นั ก ทฤษฎี แ บบมั ด ซึ่ ง ตี ค วาม คุณลักษณะตามแบบทฤษฎีโทรปก็ถือภววิทยาแบบสิ่งประเภทเดียวเช่นเดียวกัน แต่สาหรับพวก เขา สิ่งที่มีอยู่จริงในระดับพื้นฐานก็คือคุณลักษณะต่างๆ แบบที่ตีความว่าเป็นสิ่งเฉพาะ หรือสิ่งที่มี ซ้าไม่ได้ และตามทัศนะของพวกเขา อะไรที่อนุมานหรือก่อสร้างตามขึ้นมาไม่ใช่มโนคติของสิ่ง เฉพาะ แต่คือ หนึ่ง มโนคติของวัตถุรูปธรรมอันซับซ้อนของสามัญสานึก และสอง มโนคติของสิ่ ง สากล ซึ่งนักทฤษฎีโทรปถือว่าเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาตามทฤษฎีเซ็ท

ข้อโต้แย้งต่อทฤษฎีมัด เรื่องประโยคภาคประธานและภาคแสดง ดั ง นั้ น เราจึ ง มี รู ป แบบทั่ ว ไปอยู่ ส องรู ป แบบในการวิ เ คราะห์ แ นวคิ ด เรื่ อ งสิ่ ง เฉพาะ รูปธรรม ได้แก่ ทฤษฎีฐานรองรับ ซึ่งถือว่าสิ่งเฉพาะคือสิ่งซับซ้อ นที่ประกอบขึ้นจากคุณลักษณะ ทั้งหลายที่สัมพันธ์อยู่กับมัน ร่วมกับฐานซึ่งเป็นเจ้าของคุณลักษณะดังกล่าวที่รองรับอยู่ข้างใต้ และทฤษฎีมัดหรือกองซึ่งตีความวัตถุที่เราคุ้นเคย ว่าเป็นกลุ่มก้อนของคุณลักษณะที่เข้ามาสัมพันธ์ กันด้วยการปรากฏอยู่ร่วมกัน การถือครองตาแหน่งที่ ตั้งร่วมกัน หรือการเกิดขึ้นด้วยกัน สิ่งที่ น่าสนใจในการโต้เถียงกันของผู้ที่สนับสนุนทฤษฎีทั้งสองก็คือ พวกเขาเห็นว่าไม่อาจมีรูปแบบใน การวิเคราะห์อื่นใดได้อีกแล้วนอกจากในสองรูปแบบนี้ นั่นก็คือ ดูเหมือนพวกเขาจะคิดว่า นักภว วิทยาคนใดก็ตามที่ยอมรับว่าสิ่งเฉพาะรูป ธรรมมีโครงสร้าง จะต้องยอมรับอันใดอันหนึ่งของ คาอธิบายทั้งสองนี้ คุณจะต้องเป็นนักทฤษฎีฐานรองรับ หรือเป็นนักทฤษฎีมัดหรือกอง อย่างใด อย่างหนึ่งเท่านั้น ขอให้เราสมมติไปก่อนว่าพวกเขาถูก และขอให้เรามาดูว่าจะมีข้อพิจารณาใดบ้างที่จะ เข้าข้ างหรือคัดค้านต่อคาอธิบายทั้ง สอง ทฤษฎีมัดโต้เถีย งกับทฤษฎีฐานรองรับที่ว่างเปล่าบน พื้นฐานของลัทธิประสบการณ์นิยม ส่วนทฤษฎีฐานรองรับก็ชี้ไปถึงสิ่งที่พวกเขาถือว่าเป็นปัญหา


91

ส าคั ญ ในทฤษฎี มั ด และอ้ า งว่ า ปั ญ หาดั ง กล่ า วจะสามารถแก้ ไ ขได้ ก็ เ พี ย งด้ ว ยการยอมรั บ ว่ า นอกเหนือไปจากคุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบของวัตถุแล้ว ยังมีอีกองค์ประกอบหนึ่งซึ่งตรงกับ คาบรรยายฐานรับที่ว่างเปล่าของพวกเขา ข้อโต้แย้งประการหนึ่งได้แก่ข้อที่ว่าทฤษฎีมัดหรือกอง เข้าไม่ได้กับความเข้าใจตามสามัญสานึกของเรา ว่าวัตถุที่เราคุ้นเคยนั้นยังคงเป็นตัวของมันอยู่ แม้ว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงของวัตถุเป็นเรื่องของการหายไปของคุณลักษณะเก่า หรือการเกิดมีคุณลักษณะใหม่ขึ้นมา แต่เนื่องจากนักทฤษฎีแบบมัดหรือกองถือว่า วัตถุไม่ใช่อะไร มากไปกว่ามัดหรือกองของคุณลักษณะ พวกเขาจึงถูกบังคับให้ต้องถือทัศนะที่ว่าวัตถุหลังการ เปลี่ยนแปลงเป็นวัตถุคนละชิ้นกับวัตถุก่อนการเปลี่ยนแปลง คุณลักษณะคนละอย่างย่อมบังคับให้ เราถือว่าเป็นคนละมัด ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เราย่อมมีมัดของคุณลักษณะคนละมัด และดังนั้นจึงมีวัตถุคนละชิ้นกัน นี่อาจเป็นข้อโต้แย้งที่สาคัญ แต่ผมจะขอผ่านมันไปด้วยเหตุผล สองประการ ประการที่หนึ่ง มันไม่ชัดเจนว่านี่เป็นปัญหาเพียงเฉพาะกับนักทฤษฎีมัดหรือกอง ถึงแม้ข้ออ้างหลัก (“คุณลักษณะคนละอย่างย่อมบังคับให้เราถือว่าเป็นคนละมัด ”) จะอาศัยถ้อยคา ของทฤษฎี ว่า วัต ถุคื อมั ดหรื อกองของคุ ณลั ก ษณะ แต่ ข้อ อ้า งดั งกล่า วก็ เ ป็น เพี ย งตัว อย่ างของ หลักการที่ทั่วไปกว่านั้น ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและองค์รวม เพราะถ้ามันจริง ว่า ความแตกต่างของคุณลักษณะหมายถึงความแตกต่างของมัด มันก็เป็นจริงเพียงเพราะว่า ความ แตกต่ า งขององค์ ป ระกอบหมายถึ ง ความแตกต่ า งขององค์ ร วมหรื อ สิ่ ง ซั บ ซ้ อ นที่ เ กิ ด จาก องค์ประกอบนั้น แต่นักทฤษฎีฐานรองรับก็ตีความคุณลักษณะว่าเป็นองค์ประกอบของวัตถุ ไม่ ต่างไปจากนักทฤษฎีแบบมัดหรือกอง ดังนั้นแล้ว ถ้านักทฤษฎีแบบมัดหรือกองถูกบังคับให้ต้อง ถือว่าวัตถุหลังการเปลี่ยนแปลงเป็นวัตถุคนละชิ้นกับวัตถุก่อนการเปลี่ยนแปลง นักทฤษฎีแบบ ฐานรองรับก็ต้องถูกบังคับให้ถือแบบเดียวกัน ประการที่ สอง ประเด็นเรื่องความคงทนต่อการ เปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ใหญ่เกินกว่าที่เราจะดูกันอย่างละเอียดในที่นี้ ดังนั้น เราเพียงแต่จะตรวจดู คาอธิบายที่แตกต่างกันทั้งสองว่าพอจะมีอะไรบ้างที่จะใช้มารองรับความเข้าใจตามสามัญสานึก ของเรา ข้อคัดค้านต่อทฤษฎีมัดหรือกองของคุณลั กษณะอีกประการหนึ่ง ก็คือว่า มันไม่สามารถ ให้คาอธิบายที่น่าพอใจต่อประโยคคาพูดแบบภาคประธานและภาคแสดง ในการสร้างข้ออ้างแบบ ภาคประธานและภาคแสดง เราก าลั ง บ่ ง บอกว่ า วั ต ถุ ห นึ่ ง มี คุ ณ ลั ก ษณะหนึ่ ง แต่ ต ามทฤษฎี ฐานรองรับ การไม่ยอมรับว่าวัตถุประกอบขึ้นด้วยตัวเจ้าของคุณลักษณะ ทาให้นักทฤษฎีแบบกอง


92

หรือมั ดไม่ มีอะไรที่จะนามาใช้อธิบายการบ่งบอกคุณลักษณะของสิ่งของ แต่นี่เหมือนกั บการ ยืนยันอย่างหัวดื้อว่าทุกคุณลักษณะต้องการสิ่งที่เป็นเจ้าของ และยืนยันว่าความคิดว่าคุณลักษณะมี อยู่ได้โดยไม่ต้องมีอะไรรองรับ เป็นความคิดที่ไม่สอดคล้องในตนเอง แต่นี่เป็นการยืนยันที่ทวน คาถามของนักทฤษฎีมัดหรือกอง เป็นแค่การปฏิเสธทฤษฎีฝ่ายตรงข้ามอย่างไม่มีเหตุผลอื่นมา รองรับ แต่แม้จะดูเหมือนว่าเป็นการอ้างที่ทวนคาถาม คือการเอาสิ่งที่ถูกตั้งคาถามมายืนยันว่าจริง แต่เราก็อาจเข้าใจในอีกทางหนึ่ง ว่าเป็นการที่นักทฤษฎีฐานรองรับท้าทายให้นักทฤษฎีมัดหรือกอง สร้างคาอธิบายขึ้นมารองรับการบ่งบอกคุณลักษณะ ลองพิจารณาเจ้าลูกบอลสีแดงที่เราเคยพูดถึง ขอให้เราเรียกมันว่า “แซม” ซึ่งเราต้องยอมรับว่าประโยคภาคประธานและภาคแสดงแต่ละข้อนี้ เป็นจริง (1) แซมสีแดง (2) แซมเป็นทรงกลม (3) แซมเป็นเงาวาว (4) แซมมีเส้นผ่าศูนย์กลางสองนิ้ว (5) แซมหนัก 200 กรัม ในแต่ละประโยคของ (1) ถึง (5) คุณลักษณะหนึ่งถูกหยิบยกขึ้นมา และเรากาลังกล่าวว่ามี ความสัม พั นธ์อะไรบางอย่ างระหว่า งคุ ณลัก ษณะแต่ละอย่ างที่ว่ากับสิ่งอื่นอะไรบางอย่าง นัก ทฤษฎีมัดหรือกองถูกเรียกร้องให้ตอบสองคาถาม คือ อะไรคือเจ้าสิ่ งอื่นบางอย่างที่คุณลักษณะแต่ ละอย่างที่ว่าถูกพูดว่าสัมพันธ์ด้วย? และอะไรคือความสัมพันธ์ที่ถูกพูดว่ามีอยู่ระหว่างสิ่งทั้งสอง? คาตอบที่นักทฤษฎีมัดหรือกองจะตอบได้ก็คือ สาหรับคาถามที่หนึ่ง มันก็คือมัดหรือกอง ของคุณลักษณะที่เป็นลูกบอลของเรา ซึ่งถูกเรียกว่า “แซม” ที่เป็นหน่วยซึ่งคุณลักษณะแต่ละอย่าง พวกนั้น ถูกพูดว่าเข้ามาสัมพันธ์ด้วย สาหรับคาถามที่สอง ในการอ้างแต่ละข้อดังกล่าว เรากาลัง พูดว่าคุณลักษณะที่พูดถึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งในมัดหรือกองนั้น แต่นักทฤษฎีฐานรองรับก็จะ เถียงว่าคาตอบแบบนี้เป็นคาตอบที่ไม่น่าพึงพอใจ เพราะมันทาให้ประโยค (1) ถึง (5) เป็นจริงอย่าง ที่เป็นการพูดซ้าความ (tautology) กล่าวคือ นักทฤษฎีมัดหรือกองกาลังอ้างว่า ในแต่ละกรณีของ (1) ถึง (5) เราถือเอามั ดหรือกองของคุ ณลัก ษณะทั้งมัด ขึ้นมาพู ดว่ามีคุณลัก ษณะหนึ่งเป็น


93

องค์ ป ระกอบของมั น แต่ นั ก ทฤษฎี ฐ านรองรั บ จะเถี ย งว่ า เป็ น ไปไม่ ไ ด้ ที่ จ ะเข้ า ใจถึ ง มั ด ของ คุณลักษณะทั้งมัด โดยที่ไม่รู้อย่างชัดเจนว่ามันมีคุณลักษณะใดเป็นองค์ประกอบบ้าง การเข้าใจมัด ก็คือการเข้าใจถึงสิ่งทั้งหมดที่ประกอบขึ้นเป็นมัดนั้น แต่ถ้าเป็นอย่างนั้น ประโยคอย่าง (1) ถึง (5) ก็ไม่สามารถที่จะจริงพร้อมๆ กับ การมีเนื้อหาที่บอกให้รู้อะไรใหม่ แต่นักทฤษฎีฐานรับจะชี้ว่า เป็นไปได้ที่ประโยคอย่าง (1) ถึง (5) จะเป็นจริงพร้อมๆ กับให้ความรู้ใหม่ และจะสรุปว่าคาตอบที่ นักทฤษฎีมัดให้ต่อคาถามทั้งสองไม่น่าพอใจ แต่ถ้าเป็นเช่นนั้น นักทฤษฎีมัดก็อาจเลี่ยงมาตอบว่าไม่ใช่มัดของคุณลัก ษณะทั้งมัด แต่ เป็นสิ่งที่ค รอบคลุม น้อยกว่า นั้น ที่เป็นสิ่งที่ถูกพู ดว่าสัมพั นธ์กับคุณลักษณะที่อยู่ในภาคแสดง ตัวอย่างเช่น ในกรณีของ (1) นักทฤษฎีมัดอาจจะพูดว่า สีแดงไม่ได้ถูกนาเข้ามาสัมพันธ์กับมัดทั้ง มัดที่เป็นลูกบอลของเรา แต่ถูกนาเข้ามาสัมพั นธ์กับมัดที่ “เล็กกว่า” ซึ่งครอบคลุมคุณลักษณะ ทั้งหมดที่เชื่อมโยงอยู่กับลูกบอล ยกเว้นแต่ตัวคุณลักษณะสีแดงเอง ซึ่งในการตอบเช่นนี้เขาก็ สามารถทาให้ (1) เป็นจริงพร้อมๆ กับที่ให้ความรู้ใหม่ นั่นก็คือ นักทฤษฎีมัดสามารถพูดว่าในการ ยืนยัน (1) เรากาลังพูดว่าสีแดงปรากฏร่วมกัน หรือเกิดขึ้นร่วมกัน กับคุณลักษณะแต่ละอันในมัดที่ ครอบคลุมน้อยกว่าหรือ “เล็กกว่า” นี้ และเนื่องจากเราสามารถเข้าใจมัดที่ “เล็กกว่า” นี้อย่างที่ไม่ ต้องรู้ว่าสีแดงปรากฏร่วมกับคุณลักษณะแต่ละอันของมัน ข้ออ้าง (1) จึงให้ความรู้ใหม่ วิธีนี้สามารถที่จะนามาใช้อ่าน (2) ถึง (5) โดยนักทฤษฎีมัดสามารถพูดว่า ในการยืนยัน (2) เรากาลังพูดว่าทรงกลมปรากฏร่วมกัน หรือเกิดขึ้นร่วมกัน กับคุณลักษณะแต่ละอันในมัด ที่ ครอบคลุมคุณลักษณะทั้งหมดที่เชื่อมโยงอยู่กับลูกบอล ยกเว้นแต่ตัวคุณลักษณะทรงกลม หรือใน การยืนยัน (3) เรากาลังพูดว่าการเป็นเงาวาวปรากฏร่วมกัน หรือเกิดขึ้นร่วมกัน กับคุณลักษณะแต่ ละอันในมัด ที่ครอบคลุมคุณลักษณะทั้งหมดที่เชื่อมโยงอยู่กับลูกบอล ยกเว้นแต่ตัวคุณลักษณะ การเป็นเงาวาว นี่จะทาให้ประโยค (2) ถึง (5) สามารถเป็นจริงพร้อมกับให้ความรู้ใหม่ แต่นัก ทฤษฎีฐานรับก็จะแย้งว่านี่เป็นวิธีการตอบที่ ยังไม่น่าพอใจอยู่นั้นเอง เพราะมันทาให้นักทฤษฎีมัด ต้องถือว่าไม่มีประโยคไหนใน (1) ถึง (5) ที่พูดถึงสิ่งเดียวกัน ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับความเข้าใจ ของเรา นักทฤษฎีฐานรับจึงสรุปว่านักทฤษฎีมัดไม่สามารถตอบคาถามทั้งสองของตนได้อย่างน่า พอใจ ถ้านักทฤษฎีมัดตอบคาถามทั้งสองในแบบที่ทาให้สิ่งที่เรากาลังพูดถึงใน (1) ถึง (5) เป็นสิ่ง


94

หนึ่งสิ่งเดียวกัน พวกเขาก็ทาให้ข้อยืนยันดังกล่าวเป็นจริงแบบการพูดซ้าความ แต่ถ้าพวกเขาตอบ คาถามในแบบที่ทาให้ข้อยืนยันดังกล่าวเป็นจริงแบบบอกอะไรใหม่ พวกเขาก็ทาให้ข้อยืนยันแต่ ละข้อเป็นข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งคนละสิ่งกัน และแน่นอนว่า ตรงจุดนี้ นักทฤษฎีฐานรับก็จะเถียงว่า มีแต่การนาเอาฐานรับที่ว่างเปล่าเข้ามาร่วมในการอธิบายเท่านั้น ที่เราจะสามารถให้คาอธิบายที่น่า พอใจต่อข้อความอย่าง (1) ถึง (5) ซึ่งก็คือการอ้างว่า ทั้งหมดคือการบรรยายคุณลักษณะให้กับ องค์ประกอบอีกองค์ประกอบหนึ่ง ที่เป็นตัวเจ้าของรองรับอยู่ข้างใต้ ซึ่งเอกลักษณ์ของมันเป็น อิสระจากคุณลักษณะทั้งหลายที่ยกมาบรรยาย นักทฤษฎีมัดจะตอบโต้ต่อข้อโต้แย้งนี้ว่าอย่างไรดี ? วิธีหนึ่งก็คือการเถียงว่า ถ้าประโยค คาพูดแบบภาคประธานและภาคแสดงสร้างปัญหาให้กับนักทฤษฎี มัด มันก็สร้างปัญหาให้กับนัก ทฤษฎีฐานรับไม่ต่างออกไป นักทฤษฎีฐานอ้างว่าฐานรับเป็นหน่วยซึ่งเราบรรยายคุณลักษณะ ให้กับมัน แต่ถ้าอย่างนั้นมันก็ควรเป็นสิ่งที่เราสามารถชี้เฉพาะออกมาในฐานะวัตถุของการอ้างอิง ได้ แต่ปัญหาก็คือฐานรับเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ไม่มีคุณลักษณะใดๆ อยู่ในตนเอง นั่นหมายความว่าไม่ มีอะไรในฐานรับที่ด้วยตัวของมันเองแล้ว จะทาให้เราสามารถแยกมันออกจากสิ่งอื่นได้ มันจะถูก ชี้เฉพาะได้ก็แต่ด้วยการอาศัยคุณลักษณะที่ปรากฏร่วมกับมันเท่านั้น แต่คุณลักษณะเหล่านั้นก็ล้วน แต่เป็นคุณลักษณะ ที่สามารถถือว่าเป็นจริงสาหรับ มัน แต่แล้วก็ดูเหมือนว่านักทฤษฎีฐานรับเองก็ ต้องเผชิญกับข้อยุ่งยากที่ตัวเองตั้งให้กับนักทฤษฎีมัด อีกแนวทางหนึ่งในการตอบโต้ซึ่งน่าพอใจกว่า ก็คือการเถียงว่านักทฤษฎีฐานรับเองเป็นผู้ ผิ ด ในการถื อ ว่ า นั ก ทฤษฎี มั ด ต้ อ งยอมรั บ ต่ อ ทฤษฎี ก ารอ้ า งอิ ง ที่ ที่ จ ริ ง แล้ ว นั ก ทฤษฎี มั ดไม่ จาเป็นต้องยอมรับ ข้อโต้แย้งของนักทฤษฎีฐานรับถือเอาเองว่า นักทฤษฎีมัดยอมรับต่อทัศนะที่ว่า ความสามารถของผู้พู ด ในการเข้ า ใจวัตถุรูปธรรมที่ถูก อ้างอิงถึงด้วยชื่ออย่ าง “แซม” สมมติ ล่วงหน้าถึงความสามารถที่จะระบุคุณลักษณะทุกประการของวัตถุรูปธรรมนั้น นี่เป็นคาอธิ บาย การใช้ชื่อเฉพาะที่ยากที่จะยอมรับ มันถือว่าผู้ที่ใช้ชื่อเฉพาะมีความรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งที่มี ชื่อนั้น แต่ข้อเท็จจริงก็คือ เราสามารถใช้ชื่อเฉพาะได้อย่างถูกต้องโดยไม่รู้ถึงคุณลักษณะมากมายที่ เป็นของสิ่งนั้น นักทฤษฎีมัดสามารถปฏิเสธว่าการวิเคราะห์สิ่ งเฉพาะรูปธรรมของตนบังคับให้ ต้องถือทัศนะอย่างนั้น การคิดว่าเป็นเช่นนั้นเท่ากับการสับสนระหว่างอภิปรัชญากับญาณวิทยา พวกเขาสามารถถามว่า ทาไมถึงคิดไปว่าความสามารถในการคิดและพูดเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะ จึงต้อง


95

มีการสมมติล่วงหน้าถึงความเข้าใจในทุกๆ คุณลักษณะของโครงสร้า งทางภววิทยาที่รองรับสิ่ง เฉพาะ? พวกเขาสามารถอ้างว่านักทฤษฎีมัดมีอิสระในการเลือกทฤษฎีว่าด้วยชื่อเฉพาะ พวกเขา สามารถถือว่าความสามารถของผู้พูดในการเข้าใจถึงสิ่งที่ถูกอ้างอิงโดยชื่อเฉพาะ สมมติล่วงหน้า ถึงความเข้าใจถึงเพียงแค่คุณลักษณะบางอย่างของสิ่งเฉพาะก็พอ ซึ่ง ทาให้การบรรยายคุณลักษณะ อื่นๆ ให้กับเจ้าของชื่อสามารถที่จะทั้งจริงและให้ความรู้ใหม่ ยิ่งกว่านั้น เขาสามารถถือว่า เรา สามารถที่จะเข้าใจถึงสิ่งซับซ้อนสิ่งหนึ่งและตั้งชื่อให้กับมัน อย่างที่ไม่เข้าใจถึงองค์ประกอบของ มั นเลยก็ เป็ น ได้ 4 ซึ่ง ถ้า เป็ น อย่ า งนั้น ก็ จะไม่มี ข้ อความที่บรรยายคุ ณลัก ษณะให้ กั บสิ่ งเฉพาะ ข้อความใดที่เป็นจริงแบบซ้าความ ในฐานะคาตอบต่อข้อโต้แย้งของนักทฤษฎีฐานรองรับ มันแสดงให้เห็นว่านักทฤษฎีมัด ไม่ จาเป็ นต้องตี ค วามความสามารถของผู้ที่พู ด ถึงวัตถุว่าสมมติล่วงหน้าถึงความรู้ทุก อย่ าง ที่ แสดงออกโดยประโยคภาคประธานและภาคแสดงที่เป็นจริงเกี่ยวกับวัตถุนั้น แต่ถึงกระนั้น นัก ทฤษฎี มั ด ก็ ยั ง ถู ก บั ง คั บ ให้ ต้ อ งถื อ ทั ศ นะที่ เ ราอาจเห็ น ว่ า เป็ น ปั ญ หา กล่ า วคื อ ตามทฤษฎี มั ด เอกลักษณ์หรือ “ความมีอยู่เป็นอยู่” ของวัตถุรูปธรรมหนึ่งๆ เกี่ยวพันไปถึงคุณลักษณะแต่ละอัน และทุกๆ อัน ที่เข้ามาร่วมเป็ นองค์ประกอบของมัน การเป็นในสิ่งที่มันเป็นเป็นเรื่องของการมี คุณลักษณะเหล่านั้นเป็นองค์ประกอบ อาจเป็นได้ที่ผู้พูดอาจหยิบวัตถุนั้นขึ้นมาพูดถึงโดยไม่รู้หรือ เข้าใจถึงคุณลักษณะแต่ละอันที่ว่า จึงอาจจะมีประโยคภาคประธานและภาคแสดงเกี่ยวกับวัตถุที่ เป็นจริงที่ให้ความรู้ใหม่ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นความรู้ใหม่หรือไม่เป็นความรู้ใหม่ ประโยค ภาคประธานและภาคแสดงทุกประโยคที่เป็นจริงเกี่ยวกับวัตถุๆ หนึ่ง เป็นการระบุว่าวัตถุนั้นมี คุณลักษณะประการหนึ่งอย่างที่เป็น สารัตถะ (essence) หรือเป็นจริงโดยจาเป็น ต่อวัตถุนั้น ในแง่ ที่ว่า ถ้าคุณลักษณะนั้นไม่เข้ามาร่วมอยู่ในองค์ประกอบของวัตถุ วัตถุนั้นก็จะไม่อาจถือว่ามีอยู่จริง กล่า วก็ คื อ ตามทฤษฎี มั ด ประโยคภาคประธานและภาคแสดงที่เป็นจริงทุก ประโยคเป็นการ พรรณนาถึง สารัตถะของวัตถุ 5 และนี่น่าจะเป็นความแตกต่างหลักระหว่างทฤษฎีฐานรับและ ทฤษฎีมัด ทฤษฎีมัดต้องตีความการบ่งบอกถึงคุณลักษณะทุกคุณลักษณะที่ตรงกับความเป็นจริงว่า 4

ดูตัวอย่างใน Russell (1940: 315-21) ทัศนะแบบนี้ได้รับการรองรับโดย “new theory of reference” อย่างที่พบได้

ใน Kripke (1972) 5

ดูความพยายามในการสร้างทฤษฎีมัดที่ไม่มีผลเช่นนี้ใน Gasking (1960) และ Simons (1994)


96

เป็นสิ่งที่จริงอย่างจาเป็น ในขณะที่ทฤษฎีฐานรับปฏิเสธ ตามทฤษฎีฐานรับ เจ้าของจริงๆ ของ คุณลักษณะทั้งหลายของวัตถุเป็นสิ่งหนึ่งเดียวและว่างเปล่าไร้คุณลักษณะ ดังนั้น ทุกประโยคที่ เป็นจริงเป็นเรื่องของการบ่งบอกถึงคุณลักษณะซึ่งเป็นสิ่งภายนอก ของตัวฐานรับที่เป็นเจ้าของ คุณลักษณะนั้น จึงไม่มีประโยคไหนที่เป็นจริงโดยจาเป็น ทุกประโยคเป็นจริงเพียงโดยบังเอิญ

ข้อแย้งต่อทฤษฎีมดั เรือ่ งเอกลักษณ์ของสิ่งทีไ่ ม่มีความแตกต่าง มีข้อโต้แย้งอีกข้อหนึ่งต่อทฤษฎีมัด ที่มุ่งเป้าไปเฉพาะที่ทฤษฎีมัดที่ยอมรับลัทธิสัจนิยม ทางอภิ ป รั ช ญา และตี ค วามคุ ณ ลั ก ษณะของวั ต ถุ ว่ า เป็ น คุ ณ สมบั ติ หรื อ เป็ น สิ่ ง ที่ มี ตั ว อย่ า งที่ หลากหลาย ข้ อโต้แย้ง เริ่มต้นด้วยการอ้า งว่า นัก ทฤษฎีมัดถูก บังคับให้ต้องยอมรับหลักการที่ เรียกว่า หลักแห่งเอกลักษณ์ของสิ่งที่ไม่มีความแตกต่าง (Identity of Indiscernibles) (อมต) และ อ้างว่า แต่เนื่องจากหลักการนี้เป็นเท็จ ดังนั้นทฤษฎีมัดจึงเป็นเท็จตามไปด้วย หลัก การ (อมต) อ้า งว่า เป็ นไปไม่ ไ ด้ที่ วัตถุ รูปธรรมที่ต่างชิ้นกั นจะมีคุณ ลัก ษณะทุ ก ประการที่ตรงกัน หรือกล่าวอย่างเป็นทางการก็คือ (อมต)

เป็นจริงโดยจาเป็นที่ว่า สาหรับวัตถุ ก และ ข ถ้าคุณลักษณะ ล จะเป็นคุณลักษณะ ของ ก เมื่อและต่อเฉพาะเมื่อ ล เป็นคุณลักษณะของ ข ด้วย ดังนั้นแล้ว ก ย่อมเป็นสิ่ง หนึ่งสิ่งเดียวกันกับ ข

สิ่งที่หลักการนี้บอกเราก็คือว่า การที่เราไม่สามารถเห็นความแตกต่างไม่ว่าจะประการใดระหว่าง วัตถุ นั่นย่อมหมายความว่าวัตถุนั้นเป็นวัตถุชิ้นหนึ่งชิ้นเดียวกั น ถ้าเราจะเข้าใจว่าหลักการนี้มี บทบาทสาคัญอย่างไรต่อข้อโต้แย้งที่มีต่อทฤษฎีมัด เราก็ต้องเข้าใจว่าทาไมทฤษฎีมัดถึงถูกคิดว่า ถูกบังคับให้ต้องรับหลักการนี้ และทาไมหลักการ (อมต) นี้ถึงถูกคิดว่าเป็นเท็จ ประการที่หนึ่ง นักทฤษฎีมัดบอกเราว่าวัตถุรูปธรรมที่เราคุ้นเคยทั้งหลายเป็นเพียงผลรวม ของการประกอบกันขึ้นมาของคุณลักษณะทั้งหลาย ตามการมองของพวกเขา วัตถุไม่ได้เป็นอะไร มากไปกว่าการมาปรากฏร่วมกัน หรือการมาอยู่ร่วมกัน ของคุณลักษณะที่สามัญสานึกบอกเราว่า วัตถุนั้นๆ มี แต่นักทฤษฎีมัดไม่ได้ถือว่าการวิเคราะห์นี้เป็นเพียงความจริงโดยบังเอิญ คือแม้จะจริง


97

แต่ก็อาจเป็นเท็จได้ พวกเขาคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่วัตถุจะมีฐานรองรับที่ว่างเปล่าเป็นองค์ประกอบ ดังนั้น พวกเขาจึงถือว่าคาอธิบายโครงสร้างของสิ่งเฉพาะของพวกเขาเป็นเรื่องที่จริงโดยจาเป็น พวกเขายอมรับหลักการของทฤษฎีมัด (ทม) ที่ว่า (ทม)

เป็นความจริงโดยจาเป็นที่ว่า สาหรับสิ่งรูปธรรม ก ใดก็ตาม และสาหรับสิ่ง ข ใดก็ ตาม ถ้า ข เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ ก แล้ว ข ย่อมเป็นคุณลักษณะประการหนึ่ง

ยิ่งกว่านั้น นักทฤษฎีมัดถูกบั งคับให้ต้องยอมรับคาอธิบายบางอย่าง ของความสัมพันธ์ระหว่าง องค์ ป ระกอบและองค์ ร วม ที่ มั น เป็ น ส่ ว นประกอบ แนวคิ ด หลั ก ที่ ร องรั บ การใช้ ค าว่ า “องค์ประกอบ” และ “องค์รวม” โดยนักภววิทยา ก็คือความคิดที่ว่า สิ่งบางอย่างเป็นเพียงสิ่งที่ ประกอบกันขึ้นมาจากสิ่งอื่นที่พื้นฐานกว่ า แนวคิดก็คือว่าหน่วยที่ถูกประกอบขึ้นมาไม่ใช่อะไร มากไปกว่าหน่วยย่อยๆ ที่เข้ามาอยู่ร่วมกัน ดังนั้น เราจึงสามารถให้ “สูตร” ของสิ่งที่ซับซ้อนด้วย การระบุถึงหน่วยที่ถือว่าเป็นองค์ประกอบของมัน แต่ข้อบังคับในการใช้คาพวกนี้ก็คือ ไม่สามารถ ที่ จ ะมี สิ่ ง ซั บ ซ้อ นที่ เ ป็ น วั ตถุ ค นละชิ้ น กั น ที่ มีอ งค์ป ระกอบเดีย วกั น ทุก ประการ ความเป็น สิ่ ง เดียวกันในองค์ประกอบย่อมหมายถึงความเป็นสิ่งเดียวกันในทางจานวน นี่เป็นหลักการที่รองรับ การใช้คาว่าองค์ประกอบและองค์รวมของนักภววิทยา เราสามารถเรียกมันว่า หลักเอกลักษณ์แห่ง องค์ประกอบ (ออป) (ออป)

เป็นจริงโดยจาเป็นที่ว่า สาหรับวัตถุที่ซับซ้อน ก และ ข ใดก็ตาม และสาหรับสิ่ง ค ใดก็ตาม ถ้า ค จะเป็นองค์ประกอบของ ก เมื่อและต่อเพียงเมื่อ ค เป็นองค์ประกอบ ของ ข ด้วย เมื่อนั้นแล้ว ก และ ข ย่อมเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน จะเห็นได้ว่า (ทม) และ (ออป) ร่วมกันให้ผลเป็น (อมต) ถ้ามันเป็นไปไม่ได้สาหรับวัตถุ

ซับซ้อนที่ต่างชิ้นกันที่จะมีองค์ประกอบทั้งหมดร่วมกัน และในฐานะความจาเป็นทางอภิปรัชญา ถ้าหากสิ่งเฉพาะทั้งหลายเป็นวัตถุซับซ้อนซึ่งมีแต่คุณลักษณะต่างๆ เป็นองค์ประกอบ มันก็ย่อม เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุเฉพาะต่างชิ้นที่จะมีคุณลัก ษณะทั้งหมดร่วมกัน แต่นักทฤษฎีฐานรับอ้างว่า ใน ความเป็นจริงแล้ว มันเป็นไปได้ที่วัตถุต่างชิ้นจะมีคุณลักษณะที่ไม่มีความแตกต่างใดๆ เลย คือ มีสี


98

เดียวกัน มีรูปทรงเดียวกัน มีขนาดเดียวกัน มีน้าหนักเดียวกัน ฯลฯ 6 และพวกเขาอ้างว่า เนื่องจาก (ทม) และ (ออป) ร่วมกันให้ผลเป็น (อมต) การที่ (อมต) เป็นเท็จย่อมให้ผลตามมาว่า อย่างน้อย (ทม) หรือ (ออป) อันใดอันหนึ่งต้องเป็นเท็จ และเขาก็จะชี้ว่า เนื่องจาก (ออป) เป็นหลักการในเชิง ของการเป็นกฎกติกาในการใช้ค าว่า “องค์ประกอบ” และ “องค์รวม” เราจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากยอมรับให้มันจริง ดังนั้น สิ่งที่จะผิดได้ก็คือหลักการของทฤษฎีมัด (ทม) อย่ า งไรก็ ต าม ข้ อ โต้ แ ย้ ง ต่ อ ทฤษฎี มั ด ข้ อ นี้ มี ส มมติ ฐ านข้ อ หนึ่ ง ซ่ อ นอยู่ การดึ ง ข้ อ สมมติฐานนี้ออกมา จะทาให้เราเห็นว่าทาไมข้อโต้แย้งนี้จึงใช้ได้เฉพาะกับนักทฤษฎีมัดที่เป็นนัก สัจนิยม ลองพิจารณานักทฤษฎีมัดที่ตีความคุ ณลักษณะในแบบของนักทฤษฎีโทรป หรือในแบบ ของนักนามนิยม นักทฤษฎีมัดเหล่านั้นสามารถยอมรับว่าทั้ง (ทม) และ (ออป) เป็นจริง และทั้ง สองหลักการร่วมกันให้ผลเป็น (อมต) และยอมรับว่าเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งที่ต่างชิ้นกันแต่ไม่มีความ แตกต่างใดๆ ในทางคุณภาพเลย แต่พวกเขาก็จะไม่ยอมรับว่า ความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งต่างชิ้นที่ไม่ มีความแตกต่างใดๆ เลย แสดงให้เห็นว่าหลักเอกลักษณ์ของสิ่งที่ไม่มีความแตกต่าง (อมต) เป็น หลักการที่เท็จ พวกเขาจะเถียงว่า การที่หลัก (อมต) จะเป็นเท็จ มันต้องเป็นไปได้สาหรับวัตถุที่ต่าง ชิ้นกันที่จะมีอะไรที่เป็นตัวคุณลักษณะจริงๆ ที่เป็นอันเดียวกัน แต่พวกเขาจะอ้างว่าแม้เมื่อวัตถุต่าง ชิ้นไม่มีความแตกต่างใดๆ ให้เห็นได้เลย พวกมันก็ไม่ได้มีคุณลักษณะที่เป็นอันเดียวกันแม้แต่สัก อย่ า งเดีย ว เขาจะเตือนเราว่า คุณลัก ษณะเป็นโทรป และไม่มีโทรปใดที่สามารถจะเข้าไปเป็น องค์ประกอบได้มากกว่าหนึ่งสิ่ง แต่ถ้ามันเป็นไปไม่ได้สาหรับวัตถุรูปธรรมที่ต่างชิ้นกัน ที่จะมี แม้แต่หนึ่งคุณลักษณะร่วมกัน ผลที่ตามมาก็คือความเป็นจริงของ (อมต) ดังนั้น (อมต) จึงเป็น ความเป็นจริงที่เป็นผลโดยตรงของทฤษฎีโทรป แต่ถึงแม้นักทฤษฎีโทรปของเราจะปฏิเสธการที่ วัตถุต่างชิ้นจะมีคุณลักษณะที่เป็นอันเดียวกัน แต่พวกเขาก็ยืนยันว่ามันเป็นไปได้สาหรับวัตถุที่ต่าง ชิ้ นกั นที่ จะมี คุ ณลัก ษณะที่ เหมื อนกั นจนแยกไม่ออก ที่จริง พวกเขาต้องการที่จะอ้างว่า ความ เหมือนกันระหว่างวัตถุรูปธรรมก็คือความเหมือนกันของคุณลักษณะของพวกมัน แต่แล้ว ถ้าเรามี กรณีของวัตถุสองชิ้นที่เหมือนกันอย่างสมบูรณ์ คือไม่มีความแตกต่างใดๆ ให้เห็นได้ เป็นเพียงการ ที่ เ รามี วั ต ถุ คู่ ห นึ่ ง ซึ่ ง คุ ณ ลั ก ษณะทุ ก อั น ของวั ต ถุ ที่ ห นึ่ ง มี ค วามเหมื อ นอย่ า งแยกไม่ อ อกกั บ 6

ดูใน Bergmann (1967: 22-4) และ Allaire (1963: 281-3) และดูการอภิปรายที่ละเอียดกว่านี้ในเรื่องหลัก

เอกลักษณ์ของสิ่งที่ไม่มีความแตกต่าง ใน Black (1952) Ayer (1954)


99

คุณลักษณะของวัตถุที่สอง และคุณลักษณะทุกอันของวัตถุที่สองมีความเหมือนอย่างแยกไม่ออก กับคุณลักษณะของวัตถุที่หนึ่ง เมื่อเข้าใจในแบบนี้แล้ว การที่เหมือนจนมองไม่เห็นความแตกต่าง จึงเป็นสิ่งที่เข้ากันได้กับความจริงของ (อมต) แม้นักทฤษฎีมัดแบบนามนิยมจะหลบเลี่ยงข้อโต้แย้งของนักทฤษฎีฐานรับไปได้ แต่ก็ไม่ ชัดเจนว่านักทฤษฎีมัดที่ถือการตีความคุณลักษณะในแบบสัจนิยมจะทาดังกล่าวได้ นักทฤษฎีพวก นี้ตีความความตรงกันในคุณลักษณะว่าเป็นการร่วมกันแสดงตัวอย่างของคุณสมบัติประการเดียว ดังนั้นพวกเขาต้องถือว่า เมื่อมีวัตถุที่ตรงกันในคุณลักษณะ พวกมันต้องมีองค์ประกอบร่วมกัน อย่างน้อยก็หนึ่งอย่าง ได้แก่คุณลักษณะที่ว่า แต่เนื่องจากนั กทฤษฎีมัดยอมรับ (ทม) และถือว่า องค์ประกอบของวัตถุไม่มีอะไรอื่นมากไปกว่าคุณลักษณะต่างๆ ของมัน พร้อมกับยอมรับ (ออป) และถือว่าเอกลักษณ์ขององค์ประกอบให้ผลเป็นเอกลักษณ์ขององค์รวม นักทฤษฎีมัดที่เป็นนักสัจ นิ ย มต้ อ งปฏิ เ สธความเป็ น ไปได้ ที่ วั ต ถุ ต่ า งชิ้ น จะไม่ มี ค วามแตกต่ า งใดๆ เลย แต่ นั ก ทฤษฎี ฐานรองรับจะอ้างว่า เป็นไปได้สาหรับวัตถุต่างชิ้นที่จะไม่มีความแตกต่างใดๆ เลย และด้วยข้อนี้ เขาก็จะอนุมานว่าทฤษฎีมัดเป็นเท็จ แต่ มั น เป็ น ไปได้ จ ริง ๆ หรื อ ที่วั ต ถุ ที่เ ป็ น คนละชิ้น จะไม่ ไ ม่ มีค วามแตกต่า งใดๆ เลย ประจักษ์พยานประการเดียวของนักทฤษฎี ฐานรับอยู่ในข้ออ้างที่ว่าวัตถุต่างชิ้นสามารถที่จะมีสี เดียวกัน รูปทรงเดียวกัน ขนาดเดียวกัน น้าหนักเดียวกัน ฯลฯ แต่เราก็อาจแย้งว่าแม้จะมีวัตถุอย่าง ว่า พวกมันก็ไม่สามารถเป็นตัวอย่างแย้งของ (อมต) สมมติว่าเรามีลูกบอลสองลูก ให้ชื่อว่า แซม และ ปีเตอร์ ทั้งสองมีคุณสมบัติที่เหมือนกันทุกประการในเชิงประจักษ์ ดังนั้น จึงเหมือนกันจนไม่ มีใครสามารถบอกได้ว่าลูกไหนเป็นลูกไหน ดูเหมือนแซมและปีเตอร์จะเป็นตัวอย่างแย้งของ (อมต) แต่ก็ดูเหมือนเราอาจจะเถียงได้ว่าไม่ใช่ เพราะแต่ละฝ่ายมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่อีกฝ่ายไม่มี แซมมีคุณสมบัติของการเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันกับแซม แต่ปีเตอร์ไม่มีคุณสมบัตินี้ และปีเตอร์มี คุณสมบัติของการเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันกับปีเตอร์ แต่แซมไม่มีคุณสมบัตินี้ ดังนั้นแซมและปี เตอร์จึงไม่ได้มีคุณสมบัติที่เหมือนกันทุกประการ ดังนั้นหลัก (อมต) จึงเป็นจริง เพราะไม่ว่ าจะ เป็ นวัตถุ ก ข อะไรก็ ตาม วัตถุทั้งสองก็ จะต่างกั นในแง่ที่ว่า ก จะมีคุณสมบัติของการเป็นสิ่ง เดียวกันกับ ก ซึ่ง ข จะไม่มีคุณสมบัตินี้ และ ข ก็จะมีคุณสมบัติของการเป็นสิ่งเดียวกันกับ ข ซึ่ง ก ก็จะไม่มีคุณสมบัตินี้


100

นักปรัชญาบางคนอาจไม่ยอมรับว่ามีคุณสมบัติอย่างที่เรียกว่า การเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน กับ แซม และ การเป็ นสิ่ง หนึ่ง สิ่งเดียวกั นกั บปีเตอร์ แต่นักทฤษฎีฐานรับสามารถยอมรับให้มี คุณสมบัติอย่างนี้ก็ได้ แต่พวกเขาก็จะเถียงว่า มันเป็นคุณสมบัติที่นักทฤษฎีมัดไม่สามารถนามาใช้ ในการวิเคราะห์แนวคิดเรื่องสิ่งเฉพาะ เพราะนักทฤษฎีมัดถือว่าแนวคิดเรื่องสิ่งเฉพาะเป็นแนวคิด ที่เกิดตามมาภายหลังจากแนวคิดที่พื้นฐานกว่า พวกเขายืนยันว่าสิ่งเฉพาะเป็นเพียงสิ่งที่ก่อสร้าง ขึ้นมาจากสิ่งที่เป็นพื้นฐานยิ่งกว่า ซึ่งเราอาจกล่าวว่าพวกเขาถือทัศนะเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะในแบบ ของนักลดทอนนิยม เมื่อเป็นดังนั้น จึงไม่มีสิ่งใดที่พวกเขาจะตีความว่าเป็นองค์ประกอบของสิ่ง เฉพาะที่สามารถสมมติไว้ล่วงหน้าแล้วถึงแนวคิดเรื่องสิ่งเฉพาะ แต่คุณสมบัติอย่างการเป็นสิ่ง เดียวกันกับแซม และการเป็นสิ่งเดียวกันกับปีเตอร์ สมมติไว้ล่วงหน้าแล้วถึงความคิดว่าด้วยสิ่ง เฉพาะ ดั ง นั้ น นั ก ทฤษฎี มั ด จึ ง ไม่ ส ามารถน าคุ ณ สมบั ติ ทั้ ง สองมาใช้ ใ นการสร้ า งสู ต รของ โครงสร้างทางภววิทยาของสิ่งเฉพาะ ถ้าเราเรียกคุณสมบัติที่ไม่มีการสมมติล่วงหน้าถึงสิ่งเฉพาะว่า เป็นคุณสมบัติบริสุทธิ์ และเรียกคุณสมบัติที่มีการสมมติล่วงหน้าถึงสิ่งเฉพาะว่าเป็น คุณสมบัติไม่ บริสุทธิ์ เราก็สามารถพูดว่านักทฤษฎีมัดถูกบังคับให้รับความคิดที่ว่าสิ่งเฉพาะเป็นองค์รวม หรือ สิ่งซับซ้อน ที่องค์ประกอบของมันมีแต่คุณสมบัติบริสุทธิ์เท่านั้น ดังนั้น (ทม) จึงไม่ได้แสดงออก อย่างแท้จริงถึงทัศนะของนักทฤษฎีมัด พวกเขาถือหลักการที่เข้มงวดกว่านั้น ได้แก่ (ทม2) (ทม2)

เป็นจริงโดยจาเป็นที่ว่า สาหรับสิ่งรูปธรรม ก ใดๆ ก็ตาม และสาหรับสิ่ง ข ใดๆ ก็ ตาม ถ้ า ข เป็ นองค์ ป ระกอบหนึ่งของ ก แล้ว ข จะเป็ นคุณสมบัติ /คุณ ลัก ษณะที่ บริสุทธิ์

(ทม2) และ (ออป) ร่วมกันจะให้ผลเป็นหลักการที่เข้มงวดกว่า (อมต) ซึ่งจะกล่าวว่า การไม่มีความ แตกต่างใดๆ ในคุณสมบัติบริสุทธิ์ย่อมจะหมายถึงการเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน เรียกหลักการนี้ว่า (อมต2) (อมต2)

เป็ น จริ ง โดยจ าเป็ น ที่ ว่ า ส าหรั บ สิ่ ง รู ป ธรรม ก และ ข และส าหรั บ คุ ณ สมบั ติ / คุณลักษณะบริสุทธิ์ ค ถ้า ค จะเป็นคุณสมบัติของ ก เมื่อและต่อเพียงเมื่อ ค เป็น คุณลักษณะของ ข เมื่อนั้นแล้ว ก และ ข ย่อมเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน

เนื่องจากคุณสมบัติอย่างการเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันกับแซม และการเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันกับปี เตอร์ เป็นคุณสมบัติไม่บริสุทธิ์ นักทฤษฎีมัดจึงไม่อาจยกมันมาใช้ตอบกับตัวอย่างแย้งที่นักทฤษฎี


101

ฐานยกขึ้นมา ปีเตอร์และแซมอาจไม่เป็นตัวอย่างแย้งของ (อมต) แต่ก็เป็นตัวอย่างแย้งของ (อมต2) เพราะว่าพวกมันเป็นวัตถุต่างชิ้นที่ตรงกันในทุกคุณสมบัติบริสุทธิ์ นักทฤษฎีฐานรองรับอ้างว่า เป็นไปได้ที่จะมีวัตถุสองชิ้นดังกล่าว ดังนั้น (อมต2) จึงเป็นเท็จ ซึ่ง (ทม2) ก็ย่อมเป็นเท็จตามไป ด้วย นักทฤษฎีฐานรองรับจะชี้ต่อไปด้วยว่า คุณสมบัติอีกแบบหนึ่งที่นักทฤษฎีมัดอาจยกขึ้นมา ตอบต่อตัวอย่างแย้งของ (อมต) ก็จะไม่สามารถใช้ตอบต่อตัวอย่างแย้งของ (อมต2) เนื่องจากอาจ เป็นที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่วัตถุสองชิ้นจะครองที่ตั้งในกาลเวลาและอวกาศเดียวกัน ซึ่งย่อมเป็น เหตุผลให้คิ ดว่าไม่มีวัตถุสองชิ้นที่จะตรงกันในคุณสมบัติที่เป็นเรื่องของที่ตั้งในกาลเวลาและ อวกาศของพวกมัน แม้จะยอมรับในเรื่องนี้ นักทฤษฎีฐานรองรับก็จะเถียงว่าคุณสมบัติเหล่านี้ไม่ บริสุทธิ์ พวกเขาจะเถียงว่าเนื่องจากอวกาศและกาลเวลาเป็นโครงสร้างแบบสัมพัทธ์ คุณสมบัติที่ ระบุตาแหน่งที่ตั้งในกาลเวลาและอวกาศของวัตถุจะเป็นคุณสมบัติอย่างเช่น การอยู่ห่างไปทาง เหนือสองกิโลเมตรจากสนามหลวง และการอยู่ห่างไปทางตะวันตกแปดสิบเมตรจากเสาชิงช้า ซึ่ง เป็นคุณสมบัติที่สมมติไว้ล่วงหน้าแล้วถึงสิ่งเฉพาะรูปธรรม และดังนั้นย่อ มไม่อาจนับเป็นหน่วยที่ ทฤษฎีมัดจะตีความว่าเป็นองค์ประกอบของวัตถุที่เราคุ้นเคยได้

ข้อโต้เถียงสนับสนุนทฤษฎีฐานรองรับ ข้อโต้เถียงที่ทฤษฎีฐานรับยกมาคัดค้านทฤษฎีมัดอาจสรุปซ้าได้ดังนี้ เนื่องจากนักทฤษฎี มัดยอมรับ (ทม2) และ (ออป) ดังนั้นพวกเขาต้องยอมรับความจริงของ (อมต2) ถ้าเขาเป็นนักสัจ นิยมเกี่ยวความตรงกันในคุณลักษณะ พวกเขาก็ต้องยอมรับว่าวัตถุรูปธรรมที่ไม่มีความแตกต่างไม่ ว่าจะประการใด ย่อมเป็นวัตถุที่มีองค์ประกอบเดียวกัน นักทฤษฎีมัดพวกนั้นต้องยอมรับว่า ถ้ามัน เป็นไปได้สาหรับวัตถุรูปธรรมที่ต่างชิ้นกันที่จะไม่มีความแตกต่างไม่ว่าจะประการใดแล้วละก็ หลัก อมต2 ก็ต้องเป็นเท็จ แต่เนื่องจากมันเป็นไปได้จริง ดังนั้น (อมต2) จึงเป็นเท็จ ผลก็คือ (ทม2) หรือ (ออป) อันใดอันหนึ่งต้องเป็นเท็จ แต่ (ออป) เป็นจริง ดังนั้น (ทม2) ต้องเป็นเท็จ อย่างน้อย เมื่อเข้าคู่ไปกับการเข้าใจคุณลักษณะในแบบสัจนิยม ว่าเป็นสิ่งที่สามารถแสดงตัวอย่างได้อย่าง หลากหลาย นี่เป็นข้อโต้แย้งที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นข้อหักล้างที่เด็ดขาดต่อทฤษฎีมัดแบบสัจ


102

นิยม7 แต่นักทฤษฎีฐานรองรับถือว่าข้อโต้แย้งนี้ไม่เพียงหักล้างทฤษฎีมัด แต่ยังสามารถนามาใช้ ยืนยันความมีอยู่ของฐานรองรับที่ว่างเปล่าด้วย นักทฤษฎีฐานรับถือเช่นเดียวกับนักทฤษฎีมัดว่าสิ่งเฉพาะรูปธรรมเป็นสิ่งซับซ้อน ซึ่งมีสิ่ง ที่พื้นฐานกว่าในเชิงภววิทยาเป็นองค์ประกอบ และพวกเขาก็ถือว่าคุณสมบัติบริสุทธิ์ที่เชื่อมโยงอยู่ กับวัตถุเฉพาะหนึ่งๆ ก็คือองค์ประกอบของวัตถุนั้น และประการสุดท้ าย นักทฤษฎีฐานรับเกือบ ทั้งหมดเป็นนักสัจนิยมเกี่ยวกับการตรงกันในคุณลักษณะ และถือว่าการตรงกันในคุณลักษณะเป็น เรื่องของการมีองค์ประกอบร่วมกัน แต่นักทฤษฎีฐานรับจะต้องมีคาอธิบายให้กับปรากฏการณ์ที่ พวกเขาถือว่า แสดงให้เห็นว่าการวิเคราะห์แบบของทฤษฎีมัดเป็นเท็จ นั่ นก็คือ พวกเขาจะต้องมี คาอธิบายให้กับความเป็นไปได้สาหรับวัตถุที่ต่างชิ้นกันที่จะไม่มีความแตกต่างใดๆ ให้รับรู้ได้เลย นึก ถึ ง ลู ก บอลแซมและปี เ ตอร์ ถึ ง แม้ จ ะเป็ น คนละลูก กั น แต่ ทั้ ง แซมและปี เ ตอร์ ก็ ต รงกั น ใน คุ ณ สมบั ติ บ ริ สุ ท ธิ์ ทั้ ง หมด แต่ อ ะไรคื อ สิ่ ง ที่ ท าให้ แ ซมและปี เ ตอร์ เ ป็ น วั ต ถุ ค นละชิ้ น ? หลั ก เอกลักษณ์แห่งองค์ประกอบ (ออป) บอกเราว่าเอกลักษณ์แห่งองค์ประกอบย่อมหมายถึงการเป็น วัตถุชิ้ นหนึ่งชิ้นเดีย วกัน ดัง นั้น ถ้าเรามี วัตถุคนละชิ้นก็ต้องหมายความว่ามีความแตกต่างของ องค์ประกอบ ดังนั้นแซมและปีเตอร์ต้องมีความแตกต่างในองค์ประกอบ แต่คุ ณสมบัติบริสุทธิ์ ของพวกมันก็คือองค์ประกอบซึ่งทั้งสองมีร่วมกันอย่างสมบูรณ์ ตามนี้แล้ว ทั้งแซมและปีเตอร์ต่าง ก็ต้องมีองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นมาอย่างน้อยหนึ่งอย่างที่ต่างกัน แต่องค์ป ระกอบที่เพิ่ มขึ้ นมานี้คื ออะไร? มันไม่ใ ช่คุณสมบัติบริสุทธิ์ แต่คุณสมบัติไ ม่ บริสุทธิ์ก็ไม่สามารถอธิบายการเป็นวัตถุคนละชิ้นของแซมและปีเตอร์ แน่นอนว่าทั้งสองต่างกัน ในคุณสมบัติไม่บริสุทธิ์ แต่เนื่องจากเป้าหมายของเราก็คือการระบุถึงองค์ประกอบซึ่งสิ่งเฉพาะถูก ประกอบขึ้นมา สิ่งที่เราอาศัยในการอธิบายโครงสร้างทางภววิทยาของสิ่งเฉพาะ ย่อมไม่สามารถ สมมติ ล่ ว งหน้ า ถึ ง สิ่ ง ซั บ ซ้ อ นที่ เ ป็ น สิ่ง เฉพาะ แต่ คุ ณ สมบั ติ ไ ม่ บ ริ สุ ท ธิ์ ทั้ งหลายมี ก ารสมมติ ล่วงหน้าดังกล่าว ดังนั้น คุณสมบัติไม่ว่าจะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ก็ไม่อาจใช้มาอธิบายความเป็น วัตถุค นละชิ้ นของปีเตอร์และแซม แต่กระนั้นก็ ตาม ทั้งสองมีองค์ประกอบที่อีกฝ่ายไม่ มี และ องค์ประกอบที่ว่านี้เป็นสิ่งที่ทาให้ทั้งสองเป็นวัตถุคนละชิ้น เนื่องจากไม่มีคุณสมบัติใดสามารถที่ จะอธิบายความเป็นวัตถุคนละชิ้นของปีเตอร์และแซม องค์ประกอบที่จะอธิบายดังกล่าวได้จึงต้อง 7

แต่ก็มีข้อยกเว้น ดูตัวอย่างใน Casullo (1984) และ O’Leary-Hawthrone (1995)


103

เป็นองค์ประกอบที่ไม่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติใด กล่าวคือ พวกมันต้องเป็นหน่ วยซึ่งมีเอกลักษณ์ที่ เป็นอิสระจากคุณสมบัติทุกประการ แต่นี่คือคาอธิบายของสิ่งที่เราเรียกว่าฐานรองรับที่ว่างเปล่า ดังนั้นสิ่งที่อธิบายความเป็นคนละสิ่งของสิ่งที่ไม่มีความแตกต่างใดๆ ก็คือการที่แต่ละสิ่งนั้นมี องค์ประกอบซึ่งเป็นหนึ่งเดียวต่อมัน ได้แก่ฐานรองรับที่ว่างเปล่า ดังนั้น แซมและปีเตอร์จึงเป็นสิ่ง ซับซ้อน ซึ่งองค์ประกอบของมันก็คือ หนึ่ง คุณสมบัติบริสุทธิ์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงอยู่กับมัน และสอง องค์ประกอบซึ่งเป็นหนึ่งเดียวเฉพาะตัวของมันแต่ละอัน ได้แก่ ฐานรองรับที่ว่างเปล่า8 เราจึง มี ข้อโต้เถีย งที่ แสดงว่า แซมและปีเ ตอร์ต่างก็มีองค์ประกอบหนึ่งเพิ่ มขึ้นมาจาก คุณสมบัติที่ทั้ งสองมีร่วมกัน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่เป็นของเฉพาะตัวของมันแต่ล ะอัน แต่ข้อ โต้เถียงนี้สามารถใช้ได้กับกรณีที่นอกเหนือไปจากแซมและปีเตอร์ได้หรือไม่ ? อาจดูเหมือนว่าไม่ อาจดูเหมื อ นว่า ข้ อโต้เ ถีย งนี้ใ ช้ ไ ด้ เฉพาะเมื่อ มีวัตถุต่างชิ้ นที่ไ ม่ปรากฏว่ามีความแตกต่างทาง คุ ณ ภาพใดๆ เท่ า นั้ น คื อ อาจคิ ด ไปว่ า เมื่ อ เรามี วั ต ถุ เ ฉพาะที่ ต่ า งชิ้ น และมี ค วามแตกต่ า งใน คุณสมบัติบริสุทธิ์ เราก็ไม่จาเป็นต้องตั้งแนวคิดเรื่ององค์ประกอบเพิ่มเติมขึ้นมาเป็นหลักในการ อธิบาย แต่ถ้าเราตั้งแนวคิดเรื่อ งฐานรับที่ว่างเปล่าขึ้นมาเพียงเฉพาะเมื่อมีวัตถุต่างชิ้นที่ปราศจาก ความแตกต่าง ก็เท่ากับว่า เรากาลังบรรยายวัตถุเฉพาะรูปธรรมว่ามีโครงสร้างที่แตกต่างออกไป จากกัน ทั้งที่พวกมันเป็นของประเภทเดียวกัน ยิ่งกว่านั้น เราก็กาลังทาให้โครงสร้างทางภววิทยา ของสิ่งของกลายเป็นสิ่งที่ขึ้นกับความบังเอิญ ข้อเท็จจริงก็คือว่า สาหรับวัตถุรูปธรรมใดๆ ก็ตาม ความเป็นไปได้ย่อมมีอยู่เสมอที่มันจะมีคู่ซึ่งไม่มีความแตกต่างใดๆ เลยในคุณภาพ และความ เป็นไปได้นี้ต้องได้รับการยืนยันโดยโครงสร้างทางภววิทยาที่รองรับอยู่เบื้องล่างมัน ดังนั้นข้อ โต้เถียงที่ยืนยันถึงความมีอยู่ของฐานรองรับในกรณีของแซมและปีเตอร์จึงใช้ได้อย่างเป็นสากล กั บ ทุ ก กรณี กล่า วคื อ วัตถุเฉพาะทุก ชิ้นเป็น สิ่งซับซ้อนที่ ประกอบขึ้ นด้วยองค์ป ระกอบที่มั น สามารถมี ร่วมกั บสิ่ง อื่น ซึ่งได้แก่ คุณสมบัติบริสุทธิ์ ร่วมกั บอีก องค์ประกอบหนึ่งที่เป็นพิเศษ เฉพาะสาหรับมัน ซึ่งได้แก่ ฐานรองรับที่ว่างเปล่า เราจึง มี ข้ อโต้ เถี ย งใหม่ ใ ห้กั บ ทัศ นะที่ว่ า วั ตถุ เ ฉพาะมีฐ านรองรับ ที่ ว่ างเปล่ า ร่ วมเป็ น องค์ประกอบๆหนึ่ง ในขณะที่ข้อโต้เถียงก่อนหน้าเสนอฐานรองรับที่ว่างเปล่าว่าเป็นตัวที่ถือครอง คุณลักษณะต่างๆ ที่สัมพันธ์อยู่กับวัตถุชิ้นหนึ่งๆ ข้อโต้เถียงที่สองนี้เสนอฐานรองรับที่ว่างเปล่าว่า 8

ดูตัวอย่างวิธีการอธิบายแบบนี้ใน Allaire (1963: 283)


104

เป็นองค์ประกอบของวัตถุที่อธิบายถึงการเป็นวัตถุที่ต่างชิ้นออกไปจากวัตถุอื่น ข้อโต้เถียงทั้งสอง แตกต่างกัน ถึงแม้ข้อโต้เถียงแรกจะใช้ได้กับนักทฤษฎีฐานรับทั้งที่เป็นนักนามนิยมหรือเป็นนักสัจ นิยม แต่ข้อโต้เถียงที่สองสามารถใช้ได้เฉพาะแต่กับนักทฤษฎีฐานรับที่เป็นนักสัจนิยมเท่านั้น นัก ทฤษฎีโทรปผู้ซึ่งยอมรับภววิทยาของฐานรองรับไม่สามารถอ้างเหตุผลรองรับภววิทยานั้น ผ่าน กรณีของสิ่งเฉพาะรูปธรรมคนละชิ้นที่เหมือนกันอย่างไม่มีความแตกต่าง เพราะว่า ตามทัศนะของ พวกเขา วัตถุดั ง กล่า วไม่ ไ ด้มี อ งค์ ป ระกอบใดๆ ร่วมกั น การมีวัตถุเฉพาะต่างชิ้นที่ไ ม่มีความ แตกต่ า งใดๆ ให้ สั ง เกตเห็ นได้ ไม่ ใ ช่ เ หตุผ ลที่ จะถื อ ว่ าวั ต ถุ เ หล่ า นั้ น มีอ งค์ ป ระกอบอื่น ใด ที่ นอกเหนือไปจากโทรปของพวกมัน ยิ่งไปกว่านั้น ข้อโต้เถียงทั้งสองกาหนดบทบาทที่แตกต่างกันออกไปให้กับฐานรองรับ ที่ ว่ า งเปล่ า ข้ อ โต้ เ ถี ย งแรกท าให้ ฐ านรองรั บ ที่ ว่ า งเปล่ า เป็ น ตั ว เจ้ า ของที่ ร องรั บ อยู่ เ บื้ อ งล่ า ง คุณลักษณะ คื อเป็นหน่วยซึ่ง เราระบุ ว่า ครอบครองคุณลักษณะทั้งหลายที่เชื่อมโยงอยู่ กับวัตถุ เฉพาะ แต่ข้อโต้เถียงที่สองทาให้ฐานรองรับเป็นหลักของความเป็นวัตถุที่ต่างชิ้นกั น และอย่าง น้อยก็เป็นไปได้ในทางทฤษฎีที่จะมีองค์ประกอบของวัตถุที่เป็นคนละองค์ประกอบกันที่ทาหน้าที่ ทั้งสอง และข้อเสนอที่ว่า สิ่งที่ทาหน้าที่เป็นตัวเจ้าของของคุณลักษณะที่เชื่อมโยงอยู่กับวัตถุเฉพาะ ก็เป็นองค์ประกอบซึ่งรองรับการเป็นวัตถุที่ต่างชิ้นออกไปจากกัน ก็ ดูเหมือนจะมีน้าหนักอย่างยิ่ง เราก็คิดไม่ใช่หรือว่า อะไรก็แล้วแต่ที่เป็นเจ้าของคุณลักษณะที่เชื่อมโยงอยู่กับสิ่งเฉพาะชิ้นหนึ่ง ก็ เป็นอะไรบางอย่างที่เป็นคนละสิ่งกันกับอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นเจ้าของคุณลักษณะที่เชื่อมโยงอยู่กับ สิ่งเฉพาะอีกชิ้นหนึ่ง? ดังนั้น มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่องค์ประกอบที่แสดงบทบาททั้งสองจะถูก ถือโดยนักทฤษฎีฐานรับที่เป็นนักสัจนิยมว่าเป็นองค์ประกอบเดียวกัน อย่างที่ไม่จาเป็นต้องแสดง เหตุผลรองรับ

ปัญหาสาหรับทฤษฎีฐานรองรับ ที่ผ่านมา ทฤษฎีฐานรองรับถูกนาเสนอว่าเป็นคาตอบของปัญหาที่เกิดขึ้นกับทฤษฎีมั ด ปัญหาว่าด้วยการบรรยายถึงคุณลักษณะ ปัญหาว่าด้วยการเป็นวัตถุที่ต่างชิ้นจากกัน แต่ทฤษฎีฐาน รับก็มีปัญหาของตนเอง ในตอนเริ่มต้นบท เราพบว่าทฤษฎีมัดมีรากฐานมาจากข้อกังวลของนัก


105

ประสบการณ์นิยมเกี่ยวกับความคิดเรื่องฐานรองรับที่ว่างเปล่า ซึ่งก็มีรากฐานมาจากหลักการทาง วิธีวิทยาว่า นักภววิทยาไม่ควรสร้างหลักการที่ถือเอาสิ่งที่ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ว่ามี อยู่จริง และข้ออ้างก็คือว่า เนื่องจากประสบการณ์คือการตระหนักรู้ถึงสิ่งว่ามีคุณลักษณะบางอย่าง และเนื่องจากฐานรับที่ว่างเปล่าเป็นสิ่งซึ่งในตนเองแล้วไม่มีลักษณะใดๆ การถือว่ามันมีอยู่จริงจึง เป็นการละเมิดต่อหลักทางวิธีวิทยาของนักประสบการณ์นิยม เราอาจคาดว่านักทฤษฎีฐานรับจะท้าทายต่อหลักของนักประสบการณ์นิยม แต่ข้อเท็จจริง ก็คือนักทฤษฎีฐานรับเกือบทั้งหมดยอมรับต่อโครงการของนักประสบการณ์นิยม ดังนั้น พวกเขา จึงตอบโต้ต่อข้อคัดค้านดังกล่าวด้วยการอ้างว่า ฐานรองรับที่ว่างเปล่าเป็นส่วนประกอบที่ควรค่า แก่การยอมรับไว้ในอภิปรัชญาของนักประสบการณ์นิยม พวกเขาอ้างว่านักทฤษฎีมัดเป็นฝ่ายผิด ในการถือว่าฐานรองรับที่ว่างเปล่าไม่สามารถเป็นวัตถุของการประจักษ์รู้ เขาอ้างว่าการรู้จักกับ วั ต ถุ ที่ ต่ า งชิ้ น ที่ ไ ม่ มี ค วามแตกต่ า งใดๆ ทางคุ ณ ภาพก็ คื อ การรู้ จั ก กั บ ฐานรองรั บ ที่ ว่ า งเปล่ า ฐานรองรับที่ว่างเปล่าคือองค์ประกอบของวัตถุที่ทาให้มันเป็นวัตถุคนละชิ้นแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น เมื่อเราเผชิญหน้ากับคู่ของวัตถุอย่างแซมและปีเตอร์ เราก็กาลังอยู่ในบริบททางการรับรู้ซึ่ง สิ่งที่เป็นหลักของการเป็นวัตถุต่างชิ้นแสดงตัวของมันเองให้ประจักษ์ต่อเรา 9 และในแบบเดียวกัน นักทฤษฎีฐานรับก็อ้างว่า ในการประจักษ์รู้ถึงคุณลักษณะใดๆ ก็ตามที่เชื่อมโยงอยู่กับวัตถุเฉพาะ เราก็กาลังเผชิญหน้ากับสิ่งที่เป็นเจ้าของคุณลักษณะนั้น ข้ออ้างก็คือว่า เนื่องจากความคิดเรื่อง คุณลักษณะและเจ้าของเป็นความคิดที่คู่กัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะรู้จักถึงคุณลักษณะโดยไม่รู้จักกับ เจ้าของของคุณลักษณะ ถ้าคุณลักษณะสามารถเป็นวัตถุของการตระหนักรู้ทางประสาทสัมผัส ฐานรับที่เป็นเจ้าของก็ต้องสามารถเป็นวัตถุของการตระหนักรู้ทางประสาทสัมผัสเช่นเดียวกัน10 แน่นอนว่า นักทฤษฎีมัดจะเห็นว่าการตอบโต้แบบนี้เป็นการตอบแบบทวนคาถาม คือการ ถือเอาล่วงหน้าว่าจริงในสิ่งที่ต้องการการพิสูจน์ ถ้าเช่นนั้นแล้ว นักทฤษฎีฐานรองรับก็ควรจะ ยอมรับเสียว่าการนาแนวคิดเรื่องฐานรองรับเข้ามาสู่การอธิบาย เป็นสิ่งที่เข้าไม่ได้ กับหลักการของ ลัท ธิป ระจัก ษ์ นิย ม แล้วก็ โต้ว่า เนื่องจากเราต้องการฐานรองรับที่ว่างเปล่าเพื่ อที่จะใช้ใ นการ วิเคราะห์การบรรยายคุณลักษณะให้กับวัตถุ และในการอธิบายความเป็นไปได้ของวัตถุต่างชิ้นที่ 9

ดู Allaire (1963: 288)

10

ข้ออ้างนี้อยู่ใน Martin (1980)


106

เหมือนกันทุกประการ ข้อบังคับที่ลัทธิประสบการณ์นิยมกาหนดบังคับต่ออภิป รัชญาจึงถือได้ว่า เข้มงวดเกินไป ข้อคัดค้านต่อทฤษฎีฐานรองรับอีกประการหนึ่งก็คือ ข้ออ้างว่ามันเป็นทฤษฎีที่ขัดแย้งใน ตนเอง11 นักทฤษฎีฐานรองรับบอกเราว่า สิ่งที่เป็นเจ้าของคุณลักษณะนั้นว่างเปล่า แต่การว่างเปล่า ก็คือการไม่เป็นเจ้าของคุณลักษณะใดๆ ดังนั้น ข้ออ้างหลักของทฤษฎีฐานรองรับจึงกลายเป็นอะไร ที่ขัดแย้งในตนเอง ด้วยการอ้างว่าสิ่งที่เป็นเจ้าของคุณลักษณะไม่เป็นเจ้าของคุณลักษณะ แต่นัก ทฤษฎีฐานรับก็จะตอบว่าข้อคัดค้านนี้เกิดจากการเข้าใจคาว่า “ว่างเปล่า” ผิด ฐานรองรับไม่ได้ว่าง เปล่าในความหมายว่าไม่มีคุณลักษณะ แต่ว่างเปล่าในความหมายที่ว่าในตัวของมันเองแล้วมันไม่มี คุ ณ ลั ก ษณะใดๆ ซึ่ ง หมายความว่ า ไม่ มี คุ ณ ลั ก ษณะใดๆ ที่ ฐ านรองรั บ หนึ่ ง มี ที่ จ ะเข้ า มาเป็ น ตัวกาหนดเอกลักษณ์ของฐานรองรับนั้น ฐานรองรับมี “ความมีอยู่เป็นอยู่” อย่างที่เป็นอิสระจาก คุ ณลัก ษณะทุ ก ประการ อย่ า งที่ เราเคยกล่ าว ไม่มี คุณลัก ษณะใดๆ ของฐานรับ ที่เป็ นส่วนใน สารัตถะแก่นแท้ของมัน ไม่มีคุณลักษณะใดที่เป็นสารัตถะหรือเป็นสิ่งที่จาเป็นสาหรับฐานรับ ดังนั้น นักทฤษฎีฐานรองรับจะปฏิเสธว่าตนเองอ้างในสิ่งที่ขัดแย้ง ว่าสิ่งที่เป็นเจ้าของคุณลักษณะ ไม่เป็นเจ้าของคุณลักษณะ เขาจะพูดว่า ข้ออ้างของเขาก็คือคุณลักษณะใดก็ตามที่ฐานรับถือครอง ล้วนแต่ไม่ใช่ตัวสารัตถะแก่นแท้ของมัน การตอบโต้นี้วางอยู่บนความคิดที่ว่ามีสิ่งซึ่งไม่มีคุณลักษณะใดเป็นสารัตถะแก่นแท้ของ มัน12 เราอาจสงสัยว่าความคิดนี้สอดคล้องในตนเองหรือไม่ เราอาจจะถามว่า ในการที่ฐานรองรับ ที่ว่างเปล่าไม่มีคุณลักษณะอย่างที่ถือได้ว่าเป็นสารัตถะ แต่ลักษณะที่ว่านี้ของฐานรับที่ว่างเปล่า เป็ น เพี ย งแค่ สิ่ ง ที่ เ ป็ น จริ ง โดยบั ง เอิ ญ หรื อ ไม่ ? และการที่ ฐ านรั บ ที่ ว่ า งเปล่ า เป็ น ตั ว รองรั บ คุณลักษณะ นี่เป็นลักษณะที่เป็นจริงเพียงโดยบังเอิญของฐานรับที่ว่างเปล่าหรือไม่ ? เป็นไปได้ ไหมที่สิ่งอาจเป็นไปในทางอื่น ที่ทาให้ตัวการอื่นอะไรบางอย่างแสดงบทบาทนี้แทนพวกมัน ? และในการที่ฐานรับที่ว่างเปล่าถูกถือว่าเป็นตัวการหลักของความเป็นวัตถุต่างชิ้น เราก็อาจถามว่า เป็นไปได้ไหมพวกมันจะไม่เป็นดังกล่าว? เป็นไปได้ไหมที่ฐานรับที่ว่างเปล่าเดียวกันจะเป็นสิ่งที่ ปรากฏซ้าได้ และเข้าไปอยู่เป็นองค์ประกอบของวัตถุเฉพาะหลายๆ ชิ้น? 11

Sellars เสนอข้อโต้แย้งนี้ใน “Particulars” อยู่ใน Sellars (1963a: 282-3)

12

ดูตัวอย่างข้ออ้างเช่นนี้ใน Bergmann (1967: 26)


107

คาถามเหล่านี้ ดูเหมือนว่าจะต้องถูกตอบว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะลักษณะที่กล่าวมาทั้งหลาย ของฐานรับที่ว่างเปล่าเป็นลักษณะที่บังคับอย่างเด็ดขาดว่าต้องเป็นเช่นนั้น และเราก็อยากกล่าวว่า ลักษณะที่บังคับอย่างเด็ดขาดของสิ่งๆ หนึ่งย่อมเป็นสารัตถะแก่นแท้ของสิ่งๆ นั้น แต่ลักษณะ เด็ดขาดดังกล่าวของฐานรับก็ไม่ได้ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งพิเศษ ในการที่เป็นสารัตถะหรือเป็นจริง โดยจาเป็นต่อฐานรับ มีคุณลักษณะอย่างเช่น การเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกับตัวเอง การมีสีแดงหรื อไม่ มีสีแดงอย่างใดอย่างหนึ่ง การเป็นสิ่งที่มีสีถ้ามีสีเขียว คุณลักษณะพวกนี้เป็นสารัตถะของทุกวัตถุ และดังนั้นก็เป็นสารัตถะของฐานรับด้วย และมีคุณลักษณะซึ่งแม้จะไม่เป็นสารัตถะของทุกวัตถุ แต่ก็เป็นสารัตถะของแต่ละสิ่งที่ถือครองคุณลักษณะพวกนั้น ได้แก่คุณลักษณะอย่างเช่น การเป็น คนละสิ่งกับเลขเจ็ด และการเป็นฐานรับหรือไม่ก็เป็นมนุษย์ ทุกฐานรับครอบครองคุณลักษณะ ดังกล่าวหลายๆ อย่าง และดูเหมือนจะครอบครองพวกมันอย่างที่เป็นสารัตถะคืออย่างที่เป็นจริง โดยจาเป็น ดังนั้น จึงเริ่มดูเหมือนว่า แนวคิดเรื่องสิ่งที่ว่างเปล่าอย่างสมบู รณ์จะเป็นสิ่งที่มีปัญหา ดู เหมือนว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะมีคุณลักษณะที่เป็นสารัตถะหรือที่เป็นจริงโดยจาเป็นต่อมัน เช่นนั้น แล้ว ถ้าวัตถุรูปธรรมมีองค์ประกอบพิเศษที่ทาหน้าที่เป็นเจ้าของคุณลักษณะ และเป็นหลักของการ เป็ นวัตถุต่า งชิ้ นอยู่ จริง องค์ ป ระกอบนั้นก็ ไ ม่ใ ช่สิ่ง ว่างเปล่า พวกมันย่ อมมีคุณลัก ษณะที่เป็น สารัตถะบางอย่าง หรืออาจจะหลายอย่าง เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ ทั้งหลาย แน่นอนว่า นัก ทฤษฎี ฐานรับจะคัดค้านกั บทั้งหมดที่ว่ามา คือจะปฏิเสธไม่ย อมรับว่ามี คุณลักษณะแบบที่ว่ามาในสองย่อหน้าก่อน ข้อยุ่งยากก็คือพวกเขาต้องคิดหาเหตุผลแบบที่ไม่ใช่ การทวนคาถามมารองรับการปฏิเสธนี้ ซึ่งก็ไม่ชัดเจนว่าจะคืออะไร แต่เราก็อาจคิดว่า แทนที่จะ ปฏิเสธ พวกเขาอาจยอมรับทัศนะที่ว่าฐานรองรับมีคุณลักษณะอย่างที่เป็นสารัตถะต่อมัน และ หาทางบรรยายฐานรองรับให้สอดคล้องไปกับทัศนะนี้ แต่โชคไม่ดี เพราะว่านี่ไม่ใช่เรื่องง่าย อาจมี ข้อโต้เถียงว่าถ้าฐานรองรับไม่ว่างเปล่ามันก็ไม่สามารถมีบทบาทอย่างที่นักทฤษฎีฐานรับบรรยาย ให้กับมัน ฐานรองรับถูกถือว่าเป็นเจ้าของตัวจริงของคุณลักษณะ สิ่งที่พามาสู่ความคิดเรื่องสิ่งที่ รองรับคุณลักษณะ ก็คือความคิดว่าเจ้าของที่แท้จริงของคุณลักษณะต้องมี เอกลักษณ์หรือสารัตถะ ที่เป็นอิสระจากคุณลักษณะนั้น ซึ่งบังคับให้เราต้องสรุปว่า ฐานรับหนึ่งไม่สามารถเป็นเจ้าของ คุณลักษณะใดก็ตามที่เป็นสารัตถะของมัน แต่ในแบบเดียวกับที่เราถูกบังคับให้ถือว่ามีฐานรับมา เป็นเจ้าของคุณลักษณะที่เชื่อมโยงอยู่กับวัตถุเฉพาะ ดูเหมือนว่ าเราก็ถูกบังคับให้ถือว่ามีสิ่งใหม่ ที่ เป็นองค์ประกอบของตัวฐานรับเอง ที่ทาหน้าที่เป็นเจ้าของคุณลักษณะที่เป็นสารัตถะของตัวฐาน


108

รับเริ่มแรกของเรา แต่เรื่องก็จะไม่จบตรงนี้ เพราะเจ้าตัวฐานรับใหม่ที่ตั้งอยู่ในระดับล่างลงไปนี้ เอง ก็จะมีคุณลักษณะหลายประการที่เป็นสารั ตถะของมัน แล้วเราก็จะต้องการฐานรับใหม่ที่อยู่ ล่างลงไปกว่านั้นอีก เพื่อเป็นเจ้าของคุณลักษณะพวกนั้น แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ไปอย่างไม่รู้จบ นี่ เป็นผลของการที่เรายอมรับว่าไม่มีสิ่งอะไรที่ว่างเปล่า ในแบบเดียวกัน ถ้าฐานรับมีสารัตถะ ก็ไม่ชัดเจนว่าฐานรับจะเป็นคาตอบสุ ดท้ายให้กับ คาถามเรื่องการเป็นสิ่งที่ต่างชิ้นกันที่มีคุณลักษณะร่วมกันทุกประการ เพราะทันทีที่เรายอมรับให้ ฐานรั บ มี ส ารัต ถะ ปั ญ หาที่ ฐ านรั บ ถู ก เสนอมาเพื่ อ แก้ ไ ขก็ จะเกิ ด ขึ้น กั บ ตัว มั น เอง ฐานรั บ จะ กลายเป็ นองค์ ร วมของสิ่ง ซับ ซ้ อน ซึ่ง ประกอบขึ้นจากคุณลัก ษณะที่เป็นสารั ตถะของมัน แต่ คุณลักษณะที่เป็นสารัตถะของฐานรับหนึ่งก็จะเป็นสารัตถะของฐานรับอื่นๆ ด้วย การเป็นเจ้าของ คุณลักษณะที่สัมพันธ์อยู่กับวัตถุเป็นธรรมชาติที่เป็นสารัตถะของฐานรับทั้งหลาย การเป็นสิ่งที่ แยกต่างหากจากกันก็เป็นธรรมชาติที่เป็นสารัตถะของฐานรับทั้งหลาย การเป็นคนละสิ่งกับเลข เจ็ด การมีสีถ้ามีสีเขียว การมีสีแดงหรือไม่มีสีแดงอย่างใดอย่างหนึ่ง เหล่านี้ล้วนเป็นธรรมชาติที่ เป็นสารัตถะของฐานรับทั้งหลาย แต่แม้จะเป็นสิ่งที่แยกต่างหากจากกัน ฐานรับก็เริ่มดูเหมือนจะ เป็นสิ่งที่มีคุณภาพที่ไม่มีความแตกต่างใดๆ ให้รับรู้ได้ ดังนั้ นเราก็ต้องการคาอธิบายให้แก่ความ เป็นสิ่งคนละสิ่งกันของพวกมัน คาอธิบายเดียวที่เป็นได้ก็คือ การถือว่ามีฐานรองรับระดับล่างลง ไปอยู่ในแต่ละฐานรองรับเริ่มต้นของเรา คือเป็นฐานรองรับระดับล่างที่ทาให้ฐานรองรับเริ่มต้น ของเราเป็นสิ่งที่แยกเป็นคนละสิ่งต่างหากจากกัน แต่เนื่องจากไม่มีอะไรที่ว่างเปล่า ปัญหาเดิมก็จะ เกิดขึ้นกับฐานรองรับใหม่ที่อยู่ระดับล่างนี้อีกเช่นกัน ซึ่งก็จะพาไปสู่การถอยหลังอย่างไม่รู้จบอีก ครั้งหนึ่ง ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่นักทฤษฎีฐานรับจะยืนยันว่าฐานรับเป็นสิ่งว่างเปล่า และถ้า ความคิดเรื่องสิ่งที่ว่างเปล่าไร้ซึ่งคุณลักษณะทุกประการเป็นเรื่องที่ไม่สอดคล้องในตนเอง ทฤษฎี ฐานรับก็จะเจอปัญหาหนัก

ทฤษฎีแก่นสารของอริสโตเติล ถ้าเราถือว่าวัตถุรูปธรรมมีโครงสร้างทางภววิทยาอะไรบางอย่าง ก็ดูเหมือนว่าเราจะมี ทางเลือกอยู่สองทางคือทฤษฎีมัดและทฤษฎีฐานรองรับ แต่ถ้าแนวความคิดเรื่องสิ่งที่ว่างเปล่าไร้


109

คุณลักษณะเป็นสิ่งที่มีปัญหา ทฤษฎีฐานรองรับก็ไม่ใช่ทางเลือกที่น่าพึงพอใจ และถ้าวัตถุต่างชิ้น สามารถมีคุณลักษณะทุกประการที่ตรงกันอย่างแยกไม่ออก ทฤษฎีมัดที่ตีความคุณลักษณะในแบบ สัจนิยมก็ไม่ใช่ทางเลือกที่น่าพึงพอใจอีกเช่นกัน ดูเหมือนเราจะมีทางเลือกอยู่แค่การยอมรับทฤษฎี มัดที่ตีความคุณลักษณะในแบบทฤษฎีโทรป 13 หรือไม่ก็ถือตามนักนามนิยมแบบเคร่งครัดว่าวัตถุ รูปธรรมไม่ได้มีโครงสร้างทางภววิทยาอย่างใดทั้งสิ้น แต่ที่จริงนักภววิทยายังมีอีกทางเลือกหนึ่ง คือการถือว่าตัวสิ่งเฉพาะรูปธรรมบางสิ่งเป็น สิ่งระดับพื้นฐานที่ไม่สามารถลดทอนได้ พร้อมๆ กับการถือว่าการมีโครงสร้างที่ซับซ้อนไม่ได้ ขัดแย้งกับการเป็นสิ่งระดับพื้นฐานดังกล่าว แนวคิดนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่อริสโตเติล ซึ่งเขาถือว่าสิ่ง เฉพาะอย่าง คน พืช สัตว์ เป็นสิ่งพื้นฐานที่ไม่สามารถลดทอนลงไปสู่สิ่งที่เป็น พื้นฐานยิ่งกว่า14 นัก ปรัชญาในสายอริสโตเติลปฏิเสธแนวทางในการอธิบายสิ่งเฉพาะในฐานะสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นมาจาก วัสดุพื้นฐาน ตามการมองของพวกเขา หน้าที่ของนักภววิทยาไม่ใช่การก่อสร้างความคิดเรื่องสิ่ง เฉพาะขึ้นมาจากวัสดุพื้นฐานที่มีอยู่ก่อนหน้า ความคิดเรื่องสิ่งเฉพาะต้ องถูกถือว่ามีอยู่แล้วก่อน หน้าการค้นคว้าทางภววิทยา และหน้าที่ของนักภววิทยามีเพียงแค่การบรรยายพรรณนาความคิด ดังกล่าวตามที่มันเป็นอยู่ในตัวของมันเอง ตามทัศนะนี้ นักภววิทยาไม่สามารถขุดลงไปภายใต้ ความคิดเรื่องสิ่งเฉพาะ ทั้งนักทฤษฎีฐานรับและนักทฤษฎีมัดผิดที่คิดว่ าทาอย่างนั้นได้สาเร็จ พวก เขาบอกเราว่าสิ่งเฉพาะสามารถ “ก่อสร้าง” ขึ้นมาจากสี รูปทรง น้าหนัก ขนาด ฯลฯ สาหรับนัก ปรัช ญาสายอริส โตเติล ไม่ มีรายการใดดังกล่าวที่มากพอที่จะให้ความคิดว่าด้วยสิ่งเฉพาะ แต่ ยิ่งกว่านั้น ไม่มีหน่วยใดในรายการดังกล่าว ที่แสดงถึงสิ่งที่สามารถเข้าใจได้อย่างเป็นอิสระจาก วัตถุเฉพาะที่พวกมันถูกถือว่าเป็นต้นกาเนิด ความคิดเรื่องสีของเราเป็นความคิดว่าด้วยลักษณะที่ ปรากฏต่อสายตาของพื้นผิวของสสารวัตถุ ความคิดเรื่องรูปทรงก็เป็นความคิดถึงคุณลักษณะหนึ่ง ที่วัตถุเฉพาะแสดงออกมาให้เห็น ในฐานะผลของความสัมพันธ์ ที่มีอยู่ระหว่างส่วนประกอบทาง 13

นี่อาจจะเป็นเหตุผลของการที่ทฤษฎีนี้กลับมาปรากฏอีกครั้งในยุคปัจจุบัน ดูใน Campbell (1990)

Simons (1994)

Bacon (1995)

14

ความคิดนี้ปรากฏอย่างเด่นชัดใน Categories 5 ดูเพิ่มเติมใน Physics II.1 และ 8 รวมทั้ง Metaphysics Z และ H

ทั้งหมดอยู่ใน McKeon (1941) ตัวอย่างของนักปรัชญาร่วมสมัยที่ถือแนวคิดแบบอริสโตเติลได้แก่ Anscombe (1964) Strawson (1959: Part I) Wiggins (1980) Loux (1978a: chap. IX) Van Inwagen (1990) Hoffman and Rosenkrantz (1994) นักปรัชญาเหล่านี้มีความคิดที่แตกต่างกันออกไปในรายละเอียด และไม่ได้ยอมรับความคิดทั้งหมด

ของอริสโตเติล


110

กายภาพของพวกมัน ความคิดเรื่องน้าหนักหรือขนาด ก็เป็นความคิดที่สามารถเข้าใจได้ ก็ด้วย เพียงผ่านการอ้างอิงถึงระบบการวัดที่ซับซ้อน ซึ่งสมมติไว้ล่วงหน้าแล้วถึงวัตถุเฉพาะที่มีอยู่ก่อน แล้ว15 ตามความคิดของนักปรัชญาสายอริสโตเติล ความยุ่ง ยากในคาอธิบายของนักทฤษฎีฐาน รับและนักทฤษฎีมัด มีรากเหง้ามาจากการที่พวกเข้าอาศัยกรอบการทางานแบบองค์ประกอบและ องค์ รวมมาเป็ นหลั ก คิ ด นั ก ปรัช ญาสายอริส โตเติล ปฏิ เสธความคิ ดที่ ว่าเราไม่ส ามารถเข้ าใจ ความสั ม พั น ธ์ ข ององค์ ป ระกอบและองค์ ร วม ยกเว้ น แต่ ใ นฐานะของความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ าง ส่วนประกอบและส่วนรวม และพวกเขาเห็นว่า ความคิดที่ว่าคุณลัก ษณะของสิ่งหนึ่งถือเป็น ส่วนประกอบของสิ่งๆ นั้นเป็นความเข้าใจผิด ตามการมองของพวกเขา นักภววิทยาที่พูดเกี่ยวกับ องค์ประกอบและองค์รวมกาลังคิดในวิธีที่เลียนแบบนักวิทยาศาสตร์ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์พูด ถึงอะตอมว่ารวมกันเป็นโมเลกุล นักภววิทยาก็พูดถึงคุณลักษณะว่ารวมกันเป็นสิ่งเฉพาะ นี่เป็น ความสับ สนอย่ า งที่ สุ ด นัก ปรั ช ญาสายอริส โตเติ ล ยื นยั นว่ านั ก อภิ ปรั ชญาที่ ถือ ว่า สิ่ง เฉพาะมี โครงสร้าง ไม่จาเป็นต้องบรรยายโครงสร้างทางภววิทยาของสิ่งเฉพาะตามวิธีคิดแบบนี้ แต่แม้จะปฏิเสธกรอบการคิดของทฤษฎีมัดและทฤษฎีฐานรับ นักปรัชญาสายอริสโตเติลก็ เห็นด้วยกับนักทฤษฎีมัดว่า “ความมีอยู่เป็นอยู่” ของสิ่งเฉพาะหรือการเป็นอะไรอย่างที่มันเป็น มี รากฐานอยู่บนคุณลักษณะที่เชื่อมโยงอยู่กับมัน พวกเขาเป็นนักสัจนิยมในเรื่องของคุณลักษณะ และเห็นว่า “ความมีอยู่เป็นอยู่” ของสิ่งเฉพาะมีรากฐานอยู่บนสิ่งสากลที่มันเป็นตัวอย่างแสดง แต่ พวกเขาก็ยืนยันว่าทฤษฎีมัดผิดในสองทางคือ หนึ่ง ในการถือว่าทุกคุณลักษณะที่เชื่อมโยงอยู่กับ วัตถุเฉพาะ ก าหนดการเป็ นสิ่ง ที่ มั นเป็ นอย่ างเท่าเทีย มกั น สอง ในการจากั ดคุณลัก ษณะที่ใ ช้ บรรยายสิ่ง เฉพาะไว้แค่ เฉพาะกั บ กลุ่ม ที่นัก สัจนิยมเรีย กว่าคุณสมบัติ ในประเด็นที่สองนี้ นัก ปรัชญาสายอริสโตเติลจะไม่ยอมรับว่าคุณสมบัติครอบคลุมสิ่งสากลทั้งหมดที่เชื่อมโยงอยู่กับสิ่ง เฉพาะ ยังมีชนิดที่สิ่งเฉพาะเป็นสมาชิก สิ่งสากลอย่าง มนุษย์ สุนัข กุหลาบ มะลิ พวกเขาจะยืนยัน ว่าชนิดเหล่านี้ไม่สามารถถูกลดทอนหรือวิเคราะห์ลงมาสู่คุณสมบัติที่สิ่งเฉพาะครอบครอง พวก มันเป็นสิ่งสากลประเภทที่พิเศษเฉพาะลดทอนไม่ได้ คือเป็นสิ่งสากลที่เป็นหลักสาคัญของ “ความ มีอยู่เป็นอยู่” ของสิ่งเฉพาะ 15

ดูข้อยืนยันนี้ใน Chisholm (1976: 37-52)


111

ชนิดเป็นสิ่งสากลที่วัตถุแสดงตัวอย่างด้วยการเป็นสมาชิกของมัน ซึ่งอาจชวนให้สับสน กับเซ็ทของนักคณิตศาสตร์ เพราะเราพูดถึงชนิดและเซ็ทด้วยภาษาแบบเดียวกัน เราพูดว่าเซ็ทมี สมาชิก และเราก็พูดถึงสมาชิกของชนิด แต่มีความแตกต่างที่สาคัญระหว่างทั้งสองสิ่ง เอกลักษณ์ ของเซ็ทถูกตัดสินด้วยสมาชิกของมัน ฉะนั้นเซ็ทจึงถูกสร้างขึ้นจากสมาชิกของมัน แต่ชนิดเป็นสิ่ง ที่ มี อยู่ ก่ อนสมาชิ ก ของมั น มั นก าหนดเอกลัก ษณ์ของสมาชิก ของมัน ตามการอธิบายของนั ก ปรัชญาสายอริสโตเติล ชนิดเป็นเครื่องแสดงสมาชิกของมันว่าเป็นอะไร 16 อริสโตเติลบอกว่า เมื่อ ชนิดเป็นสิ่งสากลที่วัตถุหนึ่งเป็ นสมาชิก สิ่งสากลนั้นทาให้เราสามารถถามคาถามว่า “มันคือ อะไร?” อย่างที่ถามลงไปที่วัตถุนั้น ฉะนั้น เราสามารถระบุว่าบุคคลหนึ่งเป็นอะไรด้วยการพูดว่า เขาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ระบุว่าสัตว์ตัวหนึ่งเป็นอะไรด้วยการพูดว่ามันเป็นสุนัขตัวหนึ่ง และระบุว่า พืชต้นหนึ่งคืออะไรด้วยการพูดว่ามันเป็นต้นมะลิ ความเข้าใจที่รองรับความคิดเรื่องชนิดของนัก ปรัชญาสายอริสโตเติล ก็คือความคิดที่ว่าการระบุว่าสิ่งเฉพาะเป็น อะไรคือการระบุถึงแก่นของ “ความมีอยู่เป็นอยู่” หรือสารัตถะของสิ่งนั้น ดังนั้น ชนิดซึ่งสิ่งเฉพาะเป็นสมาชิกเป็นเครื่องหมาย แสดงว่าสิ่งเฉพาะมีสารัตถะอย่างที่มันมี ฉะนั้ น ชนิดเหล่านั้นจึงเป็นแก่นแท้หรือจาเป็นต่อสิ่ง เฉพาะที่เป็นสมาชิกของพวกมัน ถ้าสิ่งเฉพาะไม่แสดงตัวอย่างของชนิดของมันสิ่งเฉพาะนั้นก็จะ ไม่มีอยู่ ชนิดที่สิ่งเฉพาะหนึ่งเป็นสมาชิกจึงให้เงื่อนไขแห่งความมีอยู่กับสิ่งเฉพาะนั้น ชนิดไม่สามารถลดทอนลงมาสู่คุณสมบัติ แน่นอนว่าด้วยการเป็นสมาชิกของชนิดๆ หนึ่ง สิ่งเฉพาะจะครอบครองคุณสมบัติหลายประการ การที่สิ่งหนึ่งเป็นสมาชิกของชนิด กุหลาบ มันก็ จะมีคุณสมบัติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวหลายประการ เช่น ลักษณะของดอก ใบ กิ่ง ก้าน แต่นัก ปรัชญาสายอริสโตเติลจะปฏิเสธ การที่สิ่งหนึ่งเป็นสมาชิ กของชนิดกุหลาบ ว่าเป็นสิ่งที่สามารถ ลดทอนหรือวิเคราะห์ว่าเกิดจากการที่มันครอบครองคุณสมบัติเหล่านั้น ตามการมองของพวกเขา เพราะว่ามันเป็นสมาชิกของชนิดนั้นมันจึงมีคุณสมบัติพวกนั้น ไม่ใช่เพราะว่ามันมีคุณสมบัติพวก นั้นมันจึงเป็นสิ่งชนิดนั้น ชนิดที่สิ่งเฉพาะเป็นสมาชิกแสดงถึงลักษณะของการมีอยู่เป็นอยู่ที่เป็น เอกภาพไม่สามารถลดทอนไปสู่อะไรที่พื้นฐานกว่า แต่ในขณะที่นักปรัชญาสายอริสโตเติลถือชนิดว่าเป็นเครื่องหมายแสดงว่าสิ่งเฉพาะเป็น อะไรที่ มั น เป็ น ชนิ ด จึ ง ก าหนดสารั ต ถะของสิ่ ง เฉพาะ แต่ พ วกเขาก็ ป ฏิ เ สธว่ า ทุ ก สิ่ ง สากลที่ 16

ดู Aristotle, Categories 5

Wiggins (1980: chap. 1) Loux (1976b)


112

เชื่อมโยงอยู่กับสิ่งเฉพาะแสดงออกถึงสารัตถะของมัน พวกเขายืนยันว่าคุณสมบัติหลายอย่างของ สิ่งเฉพาะเป็นคุณลักษณะที่อยู่ภายนอกสารัตถะของสิ่งเฉพาะนั้น พวกมันไม่ได้เป็นเครื่องแสดงว่า สิ่งเฉพาะเป็นอะไรที่มันเป็น พวกมันเพียงแค่เสริมแต่งสิ่งเฉพาะซึ่งถูกแสดงความเป็นสิ่งอะไร บางอย่างไว้ก่อนหน้าแล้วด้วยชนิดของมั น สีหน้าของคนๆ หนึ่งอาจมีลักษณะเฉพาะตัวอะไร บางอย่าง เช่น อาจดูสดชื่นหรือเคร่งครึม แต่มันไม่ได้กาหนดแกนกลางแห่งมีอยู่เป็นอยู่ของเขา หรือหล่อน มนุษย์สามารถมีอยู่อย่างที่ไม่ได้แสดงลักษณะทางสีหน้าเช่นนั้น และสิ่งหนึ่งสามารถ เป็นมนุษย์ได้โดยไม่ได้แสดงลักษณะทางสีหน้าเช่นนั้น ดังนั้นการที่บุคคลหนึ่งมีลักษณะทางสี หน้า แบบหนึ่ง จึง เป็ นสิ่ง ที่ เป็ นไปเพี ย งแค่ โดยบังเอิ ญ เป็นเพี ย งลัก ษณะจร (accidental) ไม่ใ ช่ สารัตถะของการเป็นมนุษย์ที่เขาเป็น ดังนั้น ในขณะที่นักปรัชญาสายอริสโตเติลเห็นด้วยกับทฤษฎี มัด ในการคิดว่าเราต้องมอง ไปที่สิ่งสากลที่เชื่อมโยงอยู่กับสิ่งเฉพาะ หากเราต้องการที่จะอธิบายถึงความมีอยู่เป็นอยู่ของมัน แต่พวกเขาแยกแยะระหว่างแก่นหรือสารัตถะของความมีอยู่ ซึ่งถูกกาหนดโดยชนิดที่สิ่งเฉพาะ เป็นสมาชิก และสิ่งสากลที่อยู่นอกขอบเขตของแก่นของความมีอยู่นั้น แต่พวกเขาก็ยังเห็นร่วมกับ ทฤษฎีฐานรองรับว่าคุณลักษณะที่เชื่อมโยงอยู่กับสิ่งเฉพาะต้องมีเจ้าของ แต่พวกเขาไม่เห็นด้วย การกับการตีความว่าเจ้าของนั้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสิ่งเฉพาะ และไม่เห็นด้วยว่ามันเป็นสิ่ง ที่ว่างเปล่า พวกเขายืนยันว่าตัวสิ่งเฉพาะนั้นเองคือสิ่งที่เป็นเจ้าของสิ่งสากลที่เชื่อมโยงอยู่กับมัน มันคือสิ่งที่แสดงตัวอย่างของสิ่งสากลพวกนั้น และเนื่องจากพวกเขาเห็นว่าด้วยการเป็นสมาชิก ของชนิดหนึ่งๆ สิ่งเฉพาะเป็นสิ่งซึ่งมีสารัตถะ พวกเขาจึงปฏิเสธข้อสมมติฐานหลักของทฤษฎีฐาน รับที่ว่า สิ่งที่เป็นเจ้าของคุณ ลักษณะมีเอกลักษณ์อย่างที่เป็นอิสระจากคุณลักษณะนั้นๆ พวกเขา ยืนยันว่าในกรณีที่สิ่งสากลเป็นเพียงลักษณะจรที่บังเอิญจริงของสิ่งเฉพาะ ข้อสมมติฐานดังกล่าว เป็นจริง ตัวอย่างเช่น สมมติว่าโสเครตีสกล้าหาญ ความกล้าหาญเป็นเพียงคุณลักษณะจรของโส เครตีส เพราะโสเครตีสอาจมีอยู่ อย่างที่ไม่มีความกล้าหาญก็ได้ ในกรณีอย่างนี้ สมมติฐานของ ทฤษฎีฐานรับเป็นจริง เรามีเจ้าของซึ่งแก่นของความมีอยู่ของมันไม่รวมถึงคุณลักษณะที่มันเป็น เจ้ า ของ อย่ า งไรก็ ต าม โสเครตี ส ก็ เ ป็ น เจ้ า ของชนิ ด มนุ ษ ย์ ด้ ว ย ตั ว โสเครตี ส เอง และไม่ ใ ช่ องค์ประกอบบางอย่างในตัวเขา ที่เป็นสิ่งที่เป็นมนุษย์ แต่ชนิดมนุษย์เป็นสิ่งซึ่งเป็นเครื่องแสดงว่า โสเครตีสเป็นอะไร ดังนั้น ในกรณีนี้ เจ้าของไม่ใช่อะไรบางอย่างที่มีเอกลักษณ์อย่างที่เป็นอิสระ


113

จากสิ่งสากลที่มันเป็นเจ้าของ ถ้าเอาความเป็นมนุษย์ออกไปจากโสเครตีส ก็จะไม่เหลืออะไรที่จะ สามารถเป็นเจ้าของ ของอะไรก็ตาม คาอธิบายของนักปรัชญาสายอริสโตเติลว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งและคุณลักษณะ ของมัน จึงอยู่ตรงกลางระหว่างคาอธิบายของทฤษฎีมัดและทฤษฎีฐานรองรับ นักทฤษฎีมัดตีความ คุณลักษณะทั้งหมด ที่เชื่อมโยงอยู่กับสิ่งๆ หนึ่งว่าเป็นสิ่งที่เป็นสารัตถะหรือจาเป็ นสาหรับมัน กล่าวคือวัตถุไม่ใช่อะไรมากไปกว่าคุณลักษณะของมัน และทุกคุณลักษณะกาหนดการเป็นสิ่งที่ วัตถุนั้นเป็นอย่างเท่าเทียมกัน เราจึงอาจกล่าวว่า นักทฤษฎีมัดเป็นนัก สารัตถะนิยมแบบสุดขั้ว (ultraessentialist) คือถือว่า ทุก คุณลัก ษณะที่เชื่อมโยงอยู่ กับสิ่งเฉพาะหนึ่งเป็นสารัตถะของสิ่ง เฉพาะนั้น ในทางตรงกันข้าม นักทฤษฎีฐานรองรับถือว่าตัวเจ้าของคุณลักษณะเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ปราศจากซึ่งสารัตถะใดๆ กล่าวคือ ทุกคุณลักษณะที่เราอาจบรรยายให้กับตัวเจ้าของเป็นอะไรที่อยู่ นอกแก่นของความเป็นอยู่มีอยู่ของตัวเจ้าของนั้น ทุกคุณลักษณะเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างบังเอิญ กั บ ตั ว เจ้ า ของของมั น เราจึ ง สามารถเรี ย กนั ก ทฤษฎี ฐ านรั บ ว่ า เป็ น นั ก ต่ อ ต้ า นสารั ต ถะนิ ย ม (antiessentialist) นักปรัชญาสายอริสโตเติลอยู่ตรงกลางระหว่างนักสารัตถะนิยมแบบสุดขั้วกับ นักต่อต้านสารัตถะนิยม พวกเขาถือว่าตัวสิ่งเฉพาะเองเป็นเจ้าของทุกคุณลักษณะที่เชื่อมโยงอยู่กับ มัน และถือว่า ในขณะที่บางคุณลักษณะเป็นสารัตถะของตัวเจ้าของ แต่บางคุณลักษณะก็เป็นเพียง ความบังเอิญ สิ่งเฉพาะเป็นสมาชิกของชนิดของมันด้วยคุณสมบัติที่เป็นสารัตถะของมัน แต่มันก็ แสดงคุณลักษณะมากมายที่อยู่ภายนอกแก่นของความมีอยู่เป็น อยู่ของมัน มันแสดงคุณลักษณะ เหล่านั้นเพียงโดยความบังเอิญ เราได้กล่าวว่าชนิดซึ่งสิ่งเฉพาะเป็นสมาชิกแสดงถึงวิถีแห่งความมีอยู่เป็นอยู่ที่ประสาน เป็นหนึ่งเดียวลดทอนไม่ได้ นักปรัชญาสายอริสโตเติลอ้างว่าด้วยเหตุดังกล่าว เราจึงสามารถถือว่า สิ่งเฉพาะที่เป็นสมาชิกของชนิดเป็นสิ่งพื้นฐาน ตามทัศนะนี้ สิ่งเฉพาะหนึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งชิ้น ของชนิดของมัน และการเป็นตัวอย่างของชนิดๆ หนึ่งก็คือการแสดงถึงรูปแบบของความมีอยู่ เป็นอยู่ที่เป็นของชนิดนั้น เนื่องจากรูปแบบของความมีอยู่เป็นอยู่เป็นเอกภาพที่ลดทอนไม่ได้ สิ่ง ซึ่ง แสดงออกถึง มั นจึ ง เป็ นสิ่ง ที่ เป็นเอกภาพลดทอนไม่ไ ด้ กล่ าวคือ เป็นสิ่งที่ไ ม่อาจถูก ถือว่ า ก่อสร้างขึ้นมาจากสิ่งที่พื้นฐานกว่า แน่นอนว่าการที่สิ่งเฉพาะเป็นในสิ่งที่มันเป็นเกิดตามมาจาก การที่ มั น เป็ น ตั ว อย่ า งของชนิ ด ของมั น แต่ นั ก ปรั ช ญาสายอริ ส โตเติ ล จะปฏิ เ สธว่ า ชนิ ด เป็ น


114

ส่ ว นประกอบหรื อ เป็ น องค์ ป ระกอบของวั ต ถุ คื อ เป็ น อะไรที่ เ ข้ า มาร่ ว มอยู่ ใ นสิ่ ง ที่ เ ป็ น องค์ประกอบของวัตถุ พวกเขาจะอ้างว่าชนิดเป็นอะไรที่วัตถุเป็น ดังนั้น ด้วยการเป็นตัวอย่างหรือด้วยการเป็นสมาชิกของชนิดของมัน วัตถุรูปธรรมจึง แสดงรูปแบบของความมีอยู่ที่เป็นหนึ่งเดียวลดทอนไม่ได้ และนั่ นคือการเป็นสิ่งที่มีอยู่ในฐานะ ปัจเจกหรือสิ่งเฉพาะหนึ่งๆ การที่สิ่งสากลอย่างมนุษย์หรือสุนัขถูกแสดงตัวอย่าง ก็คือการที่ปัจเจก หนึ่งหรือสิ่งเฉพาะหนึ่งมีความมีอยู่ของมันขึ้นมา ถ้าชนิด มนุษย์ถูกแสดงตัวอย่าง เราก็ได้มนุษย์ที่ เป็นบุคคลเฉพาะคนหนึ่ง ถ้าชนิดสุนัขถูกแสดงตัวอย่าง เราก็ได้สุนัขที่เป็นสุนัขเฉพาะตัวหนึ่ง นัก ปรัชญาสายอริสโตเติลจึงถือว่าไม่มีปัญหาอะไรพิเศษในการอธิบายความเป็นสิ่งเฉพาะของวัตถุ รูปธรรม พวกเขาอ้างว่าด้วยการที่วัตถุแสดงตัวอย่างของชนิดที่มันเป็น มันก็จะแสดงตัวให้เห็นใน ฐานะสิ่งเฉพาะ และการแสดงตัวอย่างซ้าๆ กันหลายๆ ครั้งของชนิดหนึ่ง เราก็จะได้ความมีอยู่ของ สิ่งเฉพาะที่มีอยู่อย่างเป็นคนละสิ่งแยกต่างหากจากกัน แม้ว่าจะเป็นสิ่งชนิดเดียวกันก็ตาม และนักปรัชญาสายอริสโตเติลจะอ้างว่า ปัญหาเรื่องความเป็นไปได้ของสิ่งที่ต่างชิ้นที่มี คุณสมบัติตรงกันทุกประการก็จะไม่ ใช่ปัญหาแต่อย่างใด ถ้าเรายอมรับว่าคุณลักษณะของวัตถุ ไม่ได้มีแต่เพียงคุณสมบัติต่างๆ ของมัน แต่มีชนิดที่วัตถุนั้นเป็นสมาชิกร่วมอยู่ด้วย ชนิดเป็นสิ่งซึ่ง การแสดงตั ว อย่ า งซ้ าๆ ของมั น ให้ ผ ลเป็ น สิ่ ง เฉพาะที่ เ ป็ น คนละสิ่ ง แยกต่ า งหากจากกั น แต่ คุณสมบัติเป็นสิ่งที่คงความเป็นสิ่งๆ เดียวกันแม้ได้รับการแสดงตัวอย่างซ้ากันหลายๆ ครั้ง ถ้าวัตถุ สองชิ้นแสดงตัวอย่างของความแดง ความแดงนั้นก็เป็นสิ่งๆ เดียวกันในสองวัตถุ ถ้าวัตถุสองชิ้น เป็นรูปสามเหลี่ยม ความเป็นรูปสามเหลี่ยมในวัตถุที่หนึ่งก็เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันความเป็นรูป สามเหลี่ยมในวัตถุที่สอง ดังนั้น ถ้าเราเป็นนักสัจนิยมว่าด้วยคุณลักษณะ และถือว่าคุณลักษณะ ทั้ ง หมดที่ เ ราใช้ บ รรยายวั ต ถุ จะมี ก็ แ ต่ สิ่ ง ที่ เ รี ย กว่ า คุ ณ สมบั ติ ความเป็ น คนละสิ่ ง ของวั ต ถุ ที่ ปราศจากความแตกต่างใดๆ ก็จะกลายเป็นปัญหาใหญ่สาหรับเรา อย่างไรก็ตาม นักปรัชญาสาย อริสโตเติลอ้างว่า ถ้าเราถือว่าแก่นของความมีอยู่เป็นอยู่ของวัตถุเกิดอยู่บนการแสดงตัวอย่างชนิด ที่มันเป็นสมาชิก ความเป็นคนละสิ่งของวัตถุที่ปราศจากความแตกต่างใดๆ ก็จะได้รับการอธิบาย ทันที เพราะมันเกิดขึ้นจากการเป็นตัวอย่างคนละตัวอย่างของชนิดที่มันเป็นสมาชิก นั่นก็คือ ชนิด สร้างความเป็นคนละสิ่งให้กับสองวัตถุ ถึงแม้ว่าพวกมันจะมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นมาที่ตรงกัน


115

ทุ ก ประการก็ ต าม เราได้ ค วามแตกต่ า งกั น เป็ น คนละสิ่ ง นี้ ม าจากข้ อ เท็ จ จริ ง ทางภววิ ท ยา ระดับพื้นฐานเกี่ยวกับพวกมัน ว่าพวกมันแสดงตัวอย่างของชนิดที่พวกมันเป็นสมาชิก17 ดังนั้น ชนิดซึ่งสิ่งเฉพาะเป็นสมาชิกจึงให้ความเป็นสิ่งเฉพาะที่แยกต่างหากจากสิ่งเฉพาะ อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกของชนิดเดียวกันหรือไม่ก็ตาม อริสโตเติลมักจะกล่าวถึงข้อเท็จจริงนี้ว่า สิ่งสากลอย่างมนุษย์ สุนัข มะลิ เป็นสิ่งสากลแบบที่สร้างความเป็นปัจเจกเฉพาะ(individuative universal) ให้เกิดขึ้น ชนิดตัดแบ่งโลกออกเป็นมนุษย์แต่ละคน สุนัขแต่ละตัว มะลิแต่ละต้น ชนิด จึงให้หลักแห่งการระบุ การแยกแยะ และการนับวัตถุ เราอาศัยชนิด สุนัขในการระบุสุนัข แยกแยะ และนับพวกมัน และเมื่อเราทาสิ่งเหล่านั้น เราเพียงแค่กาลังทบทวนวิธีที่ชนิด สุนัขตัดแบ่งโลก ออกเป็นตัวอย่างต่างๆ ของมัน ชนิดเป็นสารัตถะหรือเป็นแก่นของความมีอยู่ของสมาชิกแต่ละตัวของมัน และด้วยการ เป็นตัวอย่างหนึ่งของชนิดที่มันเป็น สิ่งเฉพาะสามารถเป็นเจ้าของคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่อยู่ ภายนอกแก่นของความมีอยู่ของมัน ดังนั้น สิ่งเฉพาะจึงมีโครงสร้างที่ นักภววิทยาสามารถบรรยาย คือมีแกนกลางของความมีอยู่ที่ได้มาจากชนิดของมัน และมีกลุ่มของคุณสมบัติที่อยู่รอบนอกของ แกนกลางนั้นซึ่งเป็นคุณลักษณะจรของสิ่งเฉพาะ แต่แม้จะมีโครงสร้าง สิ่งเฉพาะก็ไม่ได้สร้าง ขึ้นมาจากสิ่งที่เป็นพื้นฐานกว่า เนื่องจากชนิดเป็นรูปแบบของความมีอยู่ที่เป็นเอกภาพลดทอน ไม่ได้ สิ่งเฉพาะจึงเป็นสิ่งที่เป็นเอกภาพลดทอนไม่ได้ด้วยเช่นกัน การเป็นมนุษย์แต่ละคน สุนัขแต่ ละตัว มะลิแต่ละต้น จึงเป็นสิ่งพื้นฐาน ไม่สามารถวิเคราะห์ออกมาเป็นองค์ประกอบย่อยๆ ได้ อริ ส โตเติ ล เรี ย กลั ก ษณะเช่ น นี้ ข องสิ่ ง เฉพาะว่ า แก่ น สาร(substance ซึ่ ง แปลมาจากค านามว่ า “ousia” ของภาษากรีก ซึ่งแปลงมาจากคากริยาที่ตรงกับคาว่า “to be” ของภาษาอังกฤษ) อริ ส โตเติ ล ใช้ ค าว่ า แก่ น สารกั บ สิ่ ง มี ชี วิ ต อย่ า งคน พื ช สั ต ว์ และกั บ ปฐมธาตุ ซึ่ ง นัก วิท ยาศาสตร์ถือว่า ประกอบกั นขึ้นมาเป็นสสารวัตถุทั้งหลาย ส่วนสิ่งสากลอื่นๆ ซึ่งได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ อย่าง รถ นาฬิกา คอมพิวเตอร์ สิ่งสากลที่แสดงถึงบทบาทหรือขั้นตอนที่สิ่งเป็นไป เช่น ช่างไม้ ดักแด้ และสิ่งสากลที่แสดงถึงการมาอยู่รวมกันของวัตถุทางกายภาพ เช่น ภูเขา หนอง บึง ช่อดอกไม้ ทั้งหมดนี้สามารถที่จะวิเคราะห์ลงมาสู่ชนิดทางชีววิทยาหรือชนิดทางกายภาพที่อยู่ 17

ดู Loux (1978a: 158-66)


116

เบื้องหลังร่วมกันกับคุณสมบัติจรของสมาชิกของชนิดเหล่านั้น ดังนั้น พวกมันจึงไม่อาจนับว่าเป็น สิ่งสากลพื้นฐาน และดังนั้น สิ่งที่เป็นตัวอย่างของพวกมันจึงไม่ถือว่าเป็นแก่นสาร อริสโตเติลถือ ว่าชนิดทางชีววิทยาแต่ละชนิดเป็นรูปแบบแห่งความมีอยู่ที่พิเศษเป็นเอกภาพที่ไม่สามารถลดทอน ได้ สิ่งสากลเหล่านี้ถือเป็นชนิดพื้นฐานทางธรรมชาติ และสมาชิกของชนิดทางชีววิทยาจึงนับว่า เป็นสิ่งเฉพาะที่เป็นแก่นสาร เราจึงสามารถเรียกทัศนะของอริสโตเติลว่า ทฤษฎีสิ่งเฉพาะแบบแก่น สาร นี่เป็นการอธิบายแนวคิดของนักปรัชญาสายอริสโตเติลแต่เพียงคร่าวๆ อย่างไรก็ตาม มี ประเด็นบางอย่างที่ควรได้รับการกล่าวถึงก่อนที่จะจบ ประการที่หนึ่ง ที่ผ่านมาเราพูดว่าสิ่งเฉพาะ เป็นสมาชิกของชนิดๆ หนึ่ง แต่ในความเป็นจริง สิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ แสดงตัวอย่างของชนิดหลาย ชนิด นักชีววิทยาบอกเราว่า นอกจากจะเป็นมนุษย์แล้ ว เรายังอยู่ในตระกูลไพรเมท เป็นสัตว์เลี้ยง ลูกด้วยนม เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง และเป็นสัตว์ นักปรัชญาสายอริสโตเติลที่ยอมรับการจาแนก ประเภททางชีววิทยาคงต้องถือว่าการที่เราเป็นสมาชิกของชนิดทั้งหมดดังกล่าวเป็นสารัตถะของ เรา แต่เขาจะปฏิเสธว่านี่หมายความว่าเรามีหลายๆ สารัตถะ เพราะเขาจะอ้างว่าชนิดต่างๆ ที่สิ่งๆ หนึ่งเป็นสมาชิกซ้อนกันเป็นลาดับชั้นอย่างเป็นระเบียบ โดยที่ชนิดที่ทั่วไปมากกว่าจะครอบคลุม ชนิดที่ ทั่ วไปน้อยกว่า และสิ่งที่ ให้ส ารัตถะที่สมบูรณ์แก่ แก่นสารหนึ่งก็คือชนิดที่อยู่ใ นระดับ ล่างสุด ประการที่ สอง ข้ออ้า งนี้ เท่ ากั บการบอกด้วยว่าสารัตถะเป็นสิ่งที่มีร่วมกั นโดยสมาชิก ทั้งหมดของชนิดหนึ่งๆ แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นที่ผู้ที่เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องสารัตถะทุกคนจะเห็น ตรงกัน ไลบ์นิซและนักปรัชญาคนอื่นยืนยันว่าสิ่งเฉพาะแต่ละสิ่งมีสารัตถะที่เป็นปัจเจกเฉพาะ ของตัวเอง พวกเขาชี้ไปถึ งคุณสมบัติของเอกลักษณ์ อย่างเช่น การเป็นสิ่งเดียวกันกับแซม และ การเป็นสิ่งเดียวกันกับปีเตอร์ ที่เราเคยพูดถึงเมื่อก่อนหน้า 18 พวกเขาอ้างว่าทุกๆ แก่นสารเฉพาะมี คุณสมบัติประเภทนี้ โดยที่มันเป็นคุณสมบัติที่มีเฉพาะตัวของแต่ละสิ่งเฉพาะและมีอยู่ในผู้ถือ ครองอย่างเป็นสารัตถะของมัน พวกเขาอ้างว่าสารัตถะที่เป็นปัจเจกเฉพาะนี้จาเป็นสาหรับการ แก้ปัญหาปรัชญาจานวนมากมาย นักปรัชญาสายอริสโตเติลจาเป็นต้องตอบโต้ต่อข้ออ้างพวกนี้ พวกเขาอาจพยายามหาเหตุผลมาปฏิเสธคุณสมบัติเอกลักษณ์ที่ไลบ์นิซว่า หรือพวกเขาอาจอ้างว่า 18

ดูการอภิปรายแนวคิดสารัตถะนิยมแบบไลบ์นิซในบทที่ 5


117

คุ ณ สมบั ติ ดั ง กล่ า วเป็ น เพี ย งสิ่ ง ที่ ส ร้ า งขึ้ น มาจากคุ ณ ลั ก ษณะทั้ ง ที่ เ ป็ น สารั ต ถะและที่ เ ป็ น คุณลักษณะจรที่เชื่อมโยงอยู่กับแก่นสารเฉพาะ และนอกจากนั้น พวกเขาก็ยังต้องแสดงให้เห็นว่า แม้ จะถือว่ามี เพีย งสารัตถะแบบทั่วไปที่มีร่วมกันระหว่างสมาชิก ของชนิด พวกเขาก็ ส ามารถ แก้ปัญหาทางปรัชญาแบบที่ไลบ์นิซอ้างว่า บังคับให้เราต้องยอมรับในสารัตถะแบบปัจเจก ประการที่สาม นักปรัชญาสายอริสโตเติลปฏิเสธไม่ยอมรับว่าทุกอย่างที่เราเรียกว่าสิ่ง เฉพาะรูปธรรมเป็นแก่นสาร แต่พวกเขาก็ควรมีคาอธิบายให้แก่ “สิ่ง” อย่างเช่น ภูเขา รถยนต์ ช่าง ไม้ ถ้าพวกมันไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริ งด้วยตัวของมันเอง แล้วมันคืออะไร? แนวทางหนึ่งในการตอบก็ คือปฏิเสธไปเลยว่าสิ่งอย่างเช่นภูเขาและรถยนต์ไม่มีอยู่จริง 19 สิ่งที่มีอยู่จริงมีแต่สิ่งมีชีวิตและสิ่ง พื้นฐานทางกายภาพ ผู้ที่สนับสนุนทัศนะนี้ไม่จาเป็นต้องปฏิเสธว่า เมื่อคนธรรมดาใช้คาอย่าง “ภูเขา” “รถยนต์” เขากาลัง พู ดอะไรที่เป็นจริง แต่ถ้าเขาปฏิเสธ เขาก็ ต้องยื นยั นว่าอะไรที่คน ธรรมดาพูดโดยอาศัยคาเหล่านี้ สามารถถอดความหมายออกมาเป็นข้ออ้างที่ไม่ได้อ้างถึงความมีอยู่ ของอะไรนอกไปจากสิ่งมีชีวิตและสิ่งพื้นฐานทางกายภาพ ตัวอริสโตเติลเองจัดการกับปัญหานี้ ด้วยวิธีที่ต่างออกไป เขาถือว่า การอ้างว่าไม่มีสิ่งอย่างเช่นภูเขา นาฬิกา ช่างไม้ เป็นอะไรที่ขัดกับ ความเข้าใจตามสามัญสานึกของเราอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถรองรับความเข้าใจดังกล่าว เขาเสนอ ทัศนะว่า กริยา “มีอยู่” มีความหมายหลายระดับ 20 ในความหมายระดับปฐมภูมิหรือความหมาย แกนกลาง คาว่า “มีอยู่” ใช้ได้เฉพาะกับสิ่งที่อริสโตเติลเรียกว่าแก่นสาร แต่เขาก็ยืนยันว่านี่เป็นสิ่ง ที่เข้ากันได้กับการใช้คา “มีอยู่” ในความหมายระดับทุติยภูมิเพื่อบรรยายสถานะของความมีอยู่ของ สิ่งเฉพาะที่ต่าชั้นลงไป กล่าวคือ สิ่งอย่างภูเขา นาฬิกา ช่างไม้ ก็มีอยู่ แต่พวกมันมีอยู่ในความหมาย ชั้นรองของคาว่า “มีอยู่” ประการสุดท้าย นอกจากสิ่งพื้ นฐานทางกายภาพแล้ว สิ่งที่นัก ปรัชญาสายอริสโตเติล เรียกว่าแก่นสารเป็นสิ่งซึ่งมีโครงสร้างทางกายภาพที่ซับซ้อน สิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งที่มีส่วนประกอบ ทางกายภาพหลายๆ อย่ า ง ข้ อเท็ จ จริ ง นี้ ก่ อ ให้ เ กิ ด ค าถามเกี่ ย วกั บข้ อ อ้ า งของนัก ปรั ชญาสาย อริสโตเติลที่ว่าแก่นสารเป็นเอกภาพที่ลดทอนไม่ได้ ถึงแม้เราอาจยอมรับว่าสิ่งที่เป็นแก่นสารของ อริสโตเติลไม่สามารถที่จะตีความว่าก่อสร้างออกมาจากคุณสมบัติของพวกมัน เราก็ยังอาจสงสัย 19

ดู Van Inwagen (1990: 98-114)

20

ดูตัวอย่างใน Metaphysics .2 และ Z.1.


118

ว่า หนึ่ง ความซับซ้อนทางกายภาพของสิ่งที่มีชีวิต หมายความตามมาหรือไม่ว่า สิ่งมีชีวิตเป็นเพียง การมารวมเข้าด้วยกันของส่วนประกอบทางกายภาพของพวกมัน และสอง เป็นไปได้หรือไม่ที่จะ อธิบายรูปแบบของความมีอยู่หรือวิถีชีวิตของแก่นสารชนิดใดชนิด หนึ่ง ด้วยการอ้างอิงไปถึง พฤติกรรมและบุคลิกลักษณะของส่วนประกอบทางกายภาพของมัน นี่เป็นประเด็นของลัทธิลดทอนนิยม (reductionism) ที่นักปรัชญาสายอริสโตเติลพยายาม อย่างยิ่งที่จะหาทางตอบ คาตอบของอริสโตเติลเองมีสองด้าน เขาอ้างว่าเมื่อเราพูดถึงส่วนประกอบ ของสิ่งมีชีวิต เราอาจพูดถึงสิ่งที่คนธรรมดาเรียกว่าส่วนประกอบ อย่างเช่น แขน ขา ตา ไต ตั บ หรือเราอาจพูดถึงสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ถือว่าเป็นปฐมธาตุที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นสสารวัตถุต่างๆ ซึ่งแตกต่างกันไปตามทฤษฎีวิทยาศาสตร์ของแต่ละยุคแต่ละสมัย อริสโตเติลเถียงว่า ถ้าเรากาลัง พู ด ถึ ง ส่ ว นประกอบในความคิ ด ของคนธรรมดา ข้ อ เท็ จ จริ ง ที่ ว่ า สิ่ ง มี ชี วิ ต เกิ ด ขึ้ น มาจา ก ส่วนประกอบไม่ได้สร้างปัญหาให้กับเอกภาพที่ลดทอนไม่ได้ของสิ่งมีชีวิต 21 ตามการมองของเขา สารัตถะของส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตจะสามารถระบุเฉพาะได้ก็ด้วยอาศัยการอ้างอิงไปถึง สภาพโดยรวมของสิ่งมีชีวิตที่เป็นเจ้าของส่วนประกอบนั้น ตัวอย่างเช่น ไตของมนุษย์เป็นอวัยวะ ที่ มี บ ทบาทบางอย่ า งในระบบการท างานทั้ ง หมดของร่ า งกายมนุ ษ ย์ อริ ส โตเติ ล ถื อ ว่ า นี่ เ ป็ น สารัตถะของไตมนุษ ย์ การเป็ นไตของมั นก็ คือการที่มันมีบทบาทที่เหมาะสมบางประการใน ร่างกายของมนุษย์ และนี่เป็นจริงกับส่วนประกอบต่างๆ ทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต และเขาอ้างว่า นี่ แสดงว่ า สภาพความมี อ ยู่ เ ป็ นอยู่ โดยรวมของสิ่ ง มีชี วิ ตเป็น สิ่ งที่ ส าคั ญ เป็ นอั น ดับ ต้ น และไม่ สามารถลดทอนลงมาสู่ส่วนประกอบของมัน แต่ อริ ส โตเติ ล ก็ รู้ว่ า วิธี ใ นการตอบต่ อ ลัท ธิล ดทอนนิ ย มแบบนี้ ใช่ไ ม่ไ ด้กั บ หน่ วยซึ่ ง นักวิทยาศาสตร์ถือว่า รองรับสสารวัตถุที่ สร้างขึ้นเป็นสิ่งมีชีวิต หน่วยดังกล่ าวมีสารัตถะหรือ เอกลักษณ์ที่เป็นอิสระจากส่วนรวมที่มันเข้าไปเป็นส่วนประกอบ ดังนั้น ข้ออ้างที่ว่าสิ่งมีชีวิตไม่ใช่ อะไรมากไปกว่าการมาอยู่ร่วมกันของหน่วยเหล่านั้น และสามารถลดทอนลงมาสู่บุคลิกลักษณะ และความสัมพันธ์ของหน่วยพวกนั้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องหาทางตอบด้วยวิ ธีอื่น มีประเด็นที่ควร ยกขึ้นมาอธิบายในที่นี้อยู่สองประเด็น ประการแรก อริสโตเติลเถียงว่า ในขณะที่สิ่งพื้นฐานทาง กายภาพอาจเป็นแก่นสารที่แท้จริงเมื่อมันมีอยู่อย่างเป็นอิสระจากการที่พวกมันร่วมกันประกอบ 21

ดูตัวอย่างใน De Anima II.1 (412b10-24) ใน McKeon (1941)


119

ขึ้นเป็นระบบของสิ่งมีชีวิต ข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ได้ขัดแย้งกับการที่พวกมันมีสถานะทางภววิทยา ระดับต่าลงไปเมื่อพวกมันปรากฏอยู่ในสิ่งมีชีวิต อริสโตเติลบอกเราว่า เมื่อเราพบสิ่งพื้นฐานทาง กายภาพในสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ สิ่งพื้นฐานทางกายภาพพวกนั้นเป็นเพียงแก่นสารในแบบเสมือนจริง หรือแก่นสารในแบบของศักยภาพ(virtual or potential substance)22 ในบริบทแบบนั้น พวกมัน ไม่ใช่แก่นสารที่เป็นจริง ดังนั้นการที่พวกมันปรากฏอยู่ในสิ่งมีชีวิตนั้นไม่ได้มีผลในทางใดต่อ เอกภาพของชี วิตนั้น อย่ า งไรก็ตาม พวกมันมีศัก ยภาพที่จะมีอยู่ ภายนอกสิ่งมีชีวิต ซึ่งในกรณี เช่นนั้น มันจะมีอยู่ในฐานะแก่นสารที่เป็นจริง คือมีอยู่อย่างเต็มรูปแบบสมบูรณ์ในตัวเอง ประการ ที่สอง อริสโตเติลเถียงว่า ด้วยสารัตถะของมันแล้ว ระบบการทางานทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตเป็น ระบบซึ่งเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย (teleological) ในความหมายที่ว่ามันเป็นเรื่องของการที่สิ่งหนึ่งมี อยู่หรือทางานเพื่ออีกสิ่งหนึ่ง23 อริสโตเติลชี้ว่าสิ่งพื้นฐานทางกายภาพไม่ได้แสดงการมีอยู่อย่างมี เป้าหมายอย่างระบบการทางานของสิ่งมีชีวิต และเขาท้าทายนักลดทอนนิยมให้แสดงถึงวิธีที่การมี ระบบการทางานอย่างที่มีเป้าหมายของสิ่งมีชีวิต จะสามารถสร้างออกมาจากระบบของวัตถุที่ตัว มันไม่ได้มีอยู่อย่างมีเป้าหมาย.

22

ดูตัวอย่างใน Metaphysics Z.16 และ H.5-6

23

ดู Physics II.1 และ 8


120

บทที่ 4 ประพจน์และเครือญาติ ทฤษฎีประพจน์แบบดัง่ เดิม นอกจากนักสัจนิยมจะอ้างว่ามีสิ่งนามธรรม อย่างเช่น คุณสมบัติ ชนิด และความสัมพันธ์ แล้ว พวกเขายังอ้างด้วยว่ามีสิ่งนามธรรมอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ประพจน์ (proposition) เราสามารถ ทาความรู้จักประพจน์โดยการพิจารณาถึงการสร้างข้อความทางภาษา เมื่อคนผู้หนึ่งสร้างข้อความ ข้อหนึ่งขึ้นมาเขาต้องทาอะไรบ้าง? เขาต้องออกเสียง (หรือเขียน) ออกมาเป็นคาพูดที่ประกอบขึ้น เป็นประโยคหนึ่งในภาษาๆ หนึ่ง สมมติว่าประโยคนั้นได้แก่ (1) โสเครตีสกล้าหาญ นักสัจนิยมจะบอกเราว่า ในการพูดว่า (1) ผู้พูดเลือกเอาสิ่งเฉพาะสิ่งหนึ่ง คือโสเครตีส และสิ่ง สากลสิ่งหนึ่งได้แก่ คุณสมบัติความกล้าหาญ ขึ้นมาอ้างอิงถึง แต่นักสัจนิยมยืนยันว่าผู้พูดกระทา อะไรบางอย่างที่มากกว่าการพูดหรือเขียนประโยคและการอ้างอิง เขากาลังสร้างข้ออ้าง/คายืนยัน/ การประกาศความ เขาไม่สามารถทาสิ่งนั้นได้โดยไม่ได้กาลังอ้าง/ยืนยัน/ประกาศอะไรบางอย่าง ตามความคิดของนักสัจนิยม1 มีอะไรบางอย่างที่ผู้พูดอ้าง/กล่าว/ยืนยัน/ประกาศ และสิ่งที่เขาอ้าง/ กล่าว/ยืนยัน/ประกาศ ไม่ใช่ประโยคคาพูดที่เขาเปล่งออกมา และไม่ใช่วัตถุที่เขาอ้างอิงถึง เราไม่สามารถระบุถึงสิ่งที่ผู้พูดยืนยันหรือประกาศ ว่าเป็นตัวประโยคคาพูดที่ถู กพูดหรือ เขียนออกมา เพราะผู้พูดสามารถกล่าวยืนยันในสิ่งเดียวกันนั้นด้วยการใช้ประโยคที่ต่างออกไปใน ภาษาอังกฤษ จีน ฝรั่งเศส และถ้าเราดูตัวอย่างที่ต่างออกไป เราก็สามารถจะเห็นว่าการพูดหรือ เขียนประโยคเดียวกันที่เป็นคนละครั้ง สามารถที่จะเป็นการกล่าว/อ้าง/ยืนยันในคนละสิ่ง สมมติว่า ผู้พูดของเราไม่ได้พูด (1) แต่เป็น 1

ตัวอย่างของนักสัจนิยมเหล่านี้ของศตวรรษที่ 19 และ 20 ได้แก่ Bolzano (1837) Moore (1953) Frege (1919)

Russell (1904)


121

(2) ฉันกาลังจะไปที่ร้านขายของ ถ้าผู้พูดอยู่ต่างสถานที่กัน การพูดประโยคเดียวกันนี้ก็สามารถจะเป็นการกล่าว/อ้าง/ยืนยัน ถึงคน ละสิ่งกัน ดังนั้น อะไรที่ถูกพูดโดยประโยคอย่าง (1) จึงไม่ใช่ตัวประโยคเอง แต่เป็นอะไรอย่างอื่ น และสิ่งที่ถูกพูดโดย (1) ก็ไม่ใช่ตัววัตถุที่คาว่า “โสเครตีส” และ “กล้าหาญ” หยิบยกขึ้นมาพูดถึง และที่จริงแล้ว มันก็ดูเหมือนว่าจะไร้ความหมายที่จะพูดว่า ผู้พูดกล่าวยืนยันในสิ่งเฉพาะรูปธรรม อย่างโสเครตีสหรือในสิ่งสากลอย่างความกล้าหาญ แน่นอนว่า ถ้าเราจะระบุถึง อะไรที่ผู้พูดกล่าว อ้าง เราต้องอ้างอิงไปถึงวัตถุทั้งสอง แต่เราก็ไม่สามารถระบุถึงสิ่งที่ถูกกล่าวได้เพียงแค่ด้วยการ เรียงไล่รายการของวัตถุที่ถูกพูดถึง การจะระบุถึงอะไรที่ผู้พูดกล่าวหรือประกาศออกมาเราต้องอาศัยประโยคที่เต็มรูป มีวิธี หนึ่งที่เราสามารถใช้ในการระบุเช่นนั้น นี่คือตัวอย่าง (3) มาลียืนยันว่าโสเครตีสกล้าหาญ (4) มาลีพูดว่าหล่อนกาลังจะไปที่ร้านขายของ (5) ต้อมกล่าวว่าสองบวกสองเท่ากับสี่ (6) สมชายอ้างว่าอังกฤษแพ้ตกรอบ ใน (3) – (6) เราระบุสิ่งที่ผู้พูดกล่าว/อ้าง/ยืนยัน ด้วยการใช้อนุประโยคว่า- ด้วยการนาหน้าประโยค บอกเล่าด้วยคาว่า “ว่า” เราสร้างถ้อยคาที่แสดงบทบาททางไวยากรณ์ในแบบของคานาม ฉะนั้น ในตัวอย่างของเราอนุประโยคว่า- ล้วนทาหน้าที่เป็นกรรมตรงของกริยา นักสัจนิยมต้องการอ้างว่า อนุประโยคว่า- แสดงลักษณะแบบคานามออกมาให้เห็นไม่เพียงแต่ในเชิงของไวยากรณ์ แต่ในเชิง อรรถศาสตร์ คื อ ในเชิ ง ของเนื้อหาและความหมายด้ว ยเช่น กั น ตามที่ เราได้ ก ล่ าวมาแล้ว อนุ ประโยคเหล่านั้นช่วยเราในการระบุถึงสิ่งที่ผู้พูดกล่าว/อ้าง/ประกาศ หมายความว่าพวกมันเป็น เครื่องมือในการอ้างอิง กล่าวคือ มันเป็นถ้อยคาที่ช่วยเราหยิบยกเอาบางสิ่งบางอย่างออกมา ซึ่งก็


122

คือสิ่งที่ผู้พูดยืนยันหรือประกาศเมื่อเขากล่าวประโยคบอกเล่าต่างๆ บางครั้งนักสัจนิยมก็เรียกวัตถุ ที่อนุประโยคว่า- อย่างใน (3) – (6) อ้างอิงไปถึง ว่า “คาประกาศ” (statement)2 นักสัจนิยมอ้างว่าสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าคาประกาศ เป็นสิ่งซึ่งสามารถประเมินค่าว่าเป็นจริง หรือเท็จได้เสมอ และด้วยการที่พวกมันสามารถประเมินค่าได้ดังกล่าว พวกมันจึงสามารถเป็น วัตถุแห่งการยืนยันหรือการประกาศ การยืนยันบางอย่างก็คือการเสนอว่าสิ่งนั้นเป็นจริง แน่นอน ว่าคนอาจจะผิดได้ สิ่งที่คนเสนอว่าจริงอาจไม่จริง ซึ่งถ้าเป็นดังนั้นแล้วมันก็เป็นเท็จ ยิ่งกว่านั้น ไม่ใช่ว่าทุกการกล่าวคาประกาศเป็นการยืนยันคาประกาศ ยังมีการปฏิเสธ ซึ่งเป็นการเสนอบางสิ่ง ว่า เป็ นเท็ จ และอะไรที่ เรากล่าวยืนยั น เราก็ส ามารถปฏิเสธ และอะไรที่เรากล่าวปฏิเสธ เราก็ สามารถกล่าวยืนยัน ดังนั้น คาประกาศจึงเป็นสิ่งที่เราปฏิเสธหรือยืนยัน และมีค่าจริงหรือเท็จเสมอ นักสัจนิยมยืนยันว่านี่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคาประกาศที่ไม่ได้เป็นจริงเพียงโดยบังเอิญ แต่เป็นสิ่ง ที่เป็นจริงโดยจาเป็นที่ว่าทุกๆคาประกาศ ซึ่งก็คือ ทุกๆสิ่งที่ได้รับการยืนยันหรือปฏิเสธ จะต้อง เป็นจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่ง3 ดังนั้นจึงมีแนวคิดสามอย่างอยู่ ในคาอธิบายของนักสัจนิยมเกี่ยวกับการสร้างคาประกาศ กล่า วคื อ มี สิ่ง พิ เศษประเภทหนึ่ง ซึ่ง ประการที่หนึ่ง เป็นวัตถุของการประกาศยื นยันและการ ประกาศปฏิเสธ ประการที่สอง เป็นสิ่งซึ่งจาเป็นจะต้องมีค่าจริงหรือเท็จ ประการที่สาม เป็นสิ่งที่ ถูกอ้างอิงถึงโดยอนุประโยคว่า- ในการสนับสนุนข้ออ้างที่ว่าสิ่งชนิดเดียวสามารถแสดงบทบาท ทั้งสาม นักสัจนิยมชี้ว่าอนุประโยคว่า- ที่ใช้เป็นกรรมของกริยาที่แสดงออกถึงการยืนยันและการ ปฏิเสธ สามารถทาหน้าที่เป็นประธานของภาคแสดง “จริง “เท็จ” จาก (3)-(5) เราจึงได้ (7) (ที่)ว่าโสเครตีสกล้าหาญ เป็นจริง (8) (ที่)ว่ามาลีกาลังไปที่ร้านขายของ เป็นเท็จ (9) (ที่)ว่าสองบวกสองเป็นสี่ เป็นจริง

2

การใช้คาเรียกนี้เริ่มที่ Strawson (1950)

3

แต่ก็มีนักปรัชญาส่วนน้อยที่ถือว่าประพจน์สามารถมีค่าที่สาม คือ ทั้งไม่จริงและทั้งไม่เท็จ ได้แก่ประพจน์อนาคตกาลแบบ

ความบังเอิญ


123

อย่างไรก็ตาม โครงสร้างทางไวยากรณ์แบบเดียวกันสามารถเป็นกรรมตรงของกริยาที่ ไม่ได้แสดงออกถึงการพูด/การอ้าง/การยืนยัน/การประกาศ/การปฏิเสธ ลองดูตัวอย่าง (10)โตเชื่อว่าใครบางคนอยู่ในห้อง (11) แดงสงสัยว่าดาจะไม่มา (12) มาลีหวังว่าเธอจะชนะการประกวดร้องเพลง ใน (10) - (12) อนุประโยคว่า- ทาหน้าที่เป็นกรรมตรงของกริยาที่แสดงออกถึงการคิด นักสัจนิยม ยืนยันว่าในการใช้เช่นนี้ พวกมันช่วยให้เราระบุถึงสิ่งที่คนเชื่อ สงสัย หวัง และกลัว และในแบบ เดียวกับที่พวกเขาอ้างว่ามีสิ่งพิเศษที่ทาหน้าที่เป็นวัตถุของการยืนยันและการปฏิเสธ เขาก็จะอ้างว่า มีสิ่งที่ทาหน้าที่เป็นวัตถุของการคิด ซึ่งก็เป็นสิ่งที่มีค่าจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่งโดยจาเป็น เช่นเดียวกัน พวกเขาเชื่อมโยงลักษณะนี้ของวัตถุดังกล่าวเข้ากับธรรมชาติของการกระทาในแต่ละ ข้อ การคิดอะไรบางอย่างก็คือการคิดว่ามันเป็นจริง การเชื่ออะไรบางอย่างก็คือการเชื่อว่ามันเป็น จริง การสงสัยอะไรบางอย่างก็คือการสงสัยว่ามันเป็นจริง การหวังก็เช่นเดียวกัน เราจึงได้ข้ออ้างแบบเดิมว่ามีสิ่งอะไรบางอย่างซึ่งตอบสนองต่อเงื่อนไขสามข้อ พวกมัน เป็นวัตถุแห่งกริยาการคิด คือเป็นสิ่งที่ผู้คิดคิดถึง พวกมันเป็นวัตถุแห่งการอ้างอิงของอนุประโยค ว่า- ซึ่งเชื่อมโยงอยู่กับกริยาที่แสดงออกถึงรูปแบบต่างๆ ของการคิด และพวกมันเป็นจริงหรือไม่ก็ เท็จโดยจาเป็น นักสัจนิยมเรียกสิ่งพวกนี้ว่า ความคิด (thought)4 ซึ่งใช้ในความหมายของการเป็น วัตถุของกริยาการคิด ไม่ใช่ในฐานะของตัวกริยาเอง การที่เรามีข้อโต้เถียงที่ตรงกัน ที่ใช้ยืนยันความมีอยู่ของคาประกาศ และที่ใช้ยืนยันความมี อยู่ของความคิด เสนอว่าของสองอย่างนี้น่าจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และที่จริงแล้วเรามี ของหนึ่งสิ่งไม่ใช่สองสิ่ง ข้อเท็จจริงก็คือว่าสิ่งที่เรายืนยันและปฏิเสธก็เป็นสิ่งเดียวกันกับสิ่งที่เรา คิด อะไรที่ เรายื นยั นก็ คืออะไรที่เราเชื่อ อะไรที่เราปฏิเสธก็ คืออะไรที่เราไม่เชื่อ การกล่าวคา ประกาศออกมาเป็นเพียงการทาให้ความคิดของเราปรากฏต่อสาธารณะ นักปรัชญานิยมเรียกวัตถุ นามธรรมนี้ว่า “ประพจน์” เพราะคาว่า “คาประกาศ” และ “ความคิด” มีข้อจากัดในแง่ที่ว่าพวกมัน ทาให้ดูเหมือนว่าวัตถุของการประกาศและวัตถุของการคิด มีความมีอยู่ที่ขึ้นกับตัวการกระทาที่มี 4

ดูใน Frege (1919)


124

พวกมันเป็นวัตถุ การเรียกอะไรบางอย่างว่าคาประกาศ เสนอว่าเป็นเรื่องสาคัญว่ามันจะต้องถูก กล่าวประกาศออกมาจริงๆ และการเรียกสิ่งหนึ่งว่าความคิดเสนอว่าเป็นเรื่องจาเป็นที่มันต้องเป็น วัตถุของกริยาการคิด แต่นักสัจนิยมปฏิเสธอย่างเด็ดขาดว่าสิ่งที่เรากล่าวหรือคิดจาเป็นที่ต้องถูก กล่าวหรือถูกคิด พวกมันทั้งหมดเป็นสิ่งนามธรรมที่เป็นอิสระจากภาษาและเป็นอิสระจากจิต เป็น ข้อเท็จจริงโดยบังเอิญที่พวกมันอันใดอันหนึ่งจะถูกประกาศ/ปฏิเสธ/เชื่อ/สงสัย หรือเป็นวัตถุของ สิ่งที่เรียกว่าทัศนคติในเชิงประพจน์ (propositional attitude) แบบใดแบบหนึ่ง นักสัจนิยมจะบอก เราว่าวัตถุของการประกาศและของการคิดมีอยู่อย่างเป็นนิรันดรและมีอยู่อย่า งจาเป็น พวกมันมีอยู่ เสมอและเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีอยู่ นั่นก็คือ ประพจน์เป็นสิ่งที่มีความมีอยู่ของมันอยู่แล้วก่อนหน้า เมื่อเรากล่าวประกาศหรือเชื่อประพจน์ใดประพจน์หนึ่ง เราเพียงแค่ “เข้าใจ” ความเป็นจริงที่มีอยู่ ก่อนหน้าแล้วข้อหนึ่ง แต่แม้จะยืนยันว่ามันเป็นเพียงข้อเท็จจริงโดยบังเอิญที่ประพจน์หนึ่งถูก กล่าวหรือคิด นักสัจนิยมก็ถือว่าเป็นความเป็นจริงโดยจาเป็นที่ว่าประพจน์เป็นสิ่งที่สามารถถูก กล่าวออกมาได้ หรือสามารถถูกคิดถึงได้ไม่ว่าจะโดยใครก็ตาม 5 พวกมันสามารถเป็นวัตถุร่วมกัน ของผู้คิดและผู้พูดหลายคน และด้วยการที่พวกมันเป็นเช่นนั้น การสื่อสาร และการมีแนวความคิด ร่วมกันเกี่ยวกับโลกจึงเป็นไปได้ อะไรที่ผมเชื่อผมสามารถประกาศออกมาให้คุณพิจารณา และ คุณก็สามารถเชื่อเช่นเดียวกันได้ เราได้ก ล่าวว่า เป็นเรื่องจาเป็นว่าทั ศนคติใ นเชิงประพจน์จะต้องมีค่าจริงหรือเท็จ แต่นี่ ไม่ ใช่ ก ารกล่ า วว่า ทุ กๆ ประพจน์มี ค่ าความจริงที่มันมีอย่างจาเป็น มีบางประพจน์ (อย่ างเช่น ประพจน์ที่ว่าสองบวกสองเท่ากับสี่ ) ที่เป็นจริงโดยจาเป็น คือไม่สามารถที่จะไม่เป็นเช่นนั้น บาง ประพจน์ (อย่างเช่นประพจน์ที่ว่า สามเหลี่ยมบางรูปมีสี่ด้าน) เป็นเท็จโดยจาเป็น คือเป็นไปไม่ไ ด้ ที่จะเป็นจริง แต่ก็มีประพจน์อื่นๆ ที่แม้จาเป็นที่จะต้องมีค่าจริงหรือเท็จ มันก็มีค่าจริงหรือเท็จที่มัน มี อ ย่ า งบั ง เอิ ญ ประพจน์ บ างประพจน์ (อย่ า งเช่ น ประพจน์ ที่ ว่ า ยิ่ ง ลั ก ษณ์ ชิ น วั ต รเป็ น นายกรัฐมนตรีของไทย) เป็นจริงโดยบังเอิญ พวกมันเป็นจริง แต่พวกมันก็เป็นไปได้ ที่จะเป็นเท็จ ประพจน์บางประพจน์ (อย่างเช่น ประพจน์ว่าปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรสี่สิบล้านคน) เป็น เท็จโดยบังเอิญ คือ พวกมันเป็นเท็จแต่ก็อาจจะจริงได้ เห็นได้ชัดว่าประพจน์ซึ่งเป็นจริงโดยจาเป็น หรือเป็นเท็จโดยจาเป็นจะไม่มีวันเปลี่ยนค่าความจริงเท็จของพวกมัน ประพจน์พวกนั้นมีค่าความ 5

ดูตัวอย่างคาอธิบายในบทที่ 4 ของ Chisholm (1976)


125

จริงเท็จที่พวกมันมีอย่างเป็นนิรันดร เราอาจถามว่าประพจน์ที่มีค่าความจริงเท็จเพียงโดยบังเอิญจะ เป็นแบบเดียวกันหรือไม่ ถ้าเราถือว่าประพจน์มีรายละเอียดของเวลาและสถานที่กากับเสมอ คือถ้า เราถือว่า ประพจน์ว่า “ผมกาลังจะไปที่ร้านขายของ” ที่ผมกล่าววันนี้และที่ผมกล่าววันพรุ่งนี้เป็น คนละประพจน์กัน สองประพจน์ดังกล่าวก็จะสามารถมีค่าจริงเท็จที่ต่างกัน แต่ไม่ว่าค่าจริงเท็จที่ แต่ละประพจน์มีจะเป็นอะไร แต่ละประพจน์ก็จะมีค่าจริงเท็จนั้นอย่างเป็นนิรันดร6 นั ก สั จ นิ ย มไม่ ไ ด้ ถื อ เพี ย งแค่ ว่ า ประพจน์ มี ค่ า จริ ง หรื อ เท็ จ อย่ า งจ าเป็ น แต่ ถื อ ด้ ว ยว่ า ประพจน์เป็นเจ้าของเบื้องต้นแห่งค่าจริงเท็จ เมื่อเราพูดถึงสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ประพจน์ว่าจริงหรือเท็จ เช่น เราพูดว่าประโยคเป็นจริงหรือเป็นเท็จ หรือว่าความเชื่อเป็นจริงหรือเป็นเท็จ การกาหนดค่า ความจริงเท็จให้สิ่งพวกนี้เกิดจากการที่พวกมันรั บค่าความจริงเท็จมาจากประพจน์ที่เป็นเนื้อหา ของพวกมัน เมื่อเราพูดว่าประโยคหนึ่งเป็นจริงหรือเป็นเท็จ เราหมายความว่ามันแสดงออกถึง ประพจน์ที่เป็นจริงหรือเป็นเท็จ เมื่อเราพูดว่าความเชื่อหนึ่งเป็นจริงหรือเป็นเท็จ เราหมายความว่า วัตถุของความเชื่อซึ่งได้แก่ประพจน์ๆ หนึ่งมีค่าจริงหรือเท็จ ด้วยการที่ประพจน์เป็นเจ้าของเบื้องต้นของค่าความจริงเท็จ พวกมันจึงเป็นสิ่งที่ทาหน้าที่ เป็นหน่วยของความสัมพันธ์ทางตรรกะ อย่างเช่น การเป็นจริงตามกัน ความเข้ากันได้ และความ เข้ า กั น ไม่ ไ ด้ การพู ด ว่ า ความเป็ น จริ ง ของสิ่ ง หนึ่ ง ตามมาจากความเป็ น จริ ง ของอี ก สิ่ ง หนึ่ ง หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งที่หนึ่งจะเป็นเท็จและสิ่งที่สองเป็นจริง และการพูดว่าสองสิ่งเข้า กั น ได้ คื อ การพู ด ว่ า เป็ น ไปได้ ที่ ทั้ ง คู่ จ ะเป็ น จริ ง ดั ง นั้ น หน่ ว ยซึ่ ง เป็ น หน่ ว ยพื้ น ฐานของ ความสัม พั นธ์จึง เป็ นสิ่งซึ่ง เป็ นเจ้าของเบื้องต้นแห่งค่าจริงเท็จ ซึ่งหน่วยพื้ นฐานดังกล่าวก็ คือ ประพจน์ นักสัจนิยมจึงถือว่าประพจน์เป็นสิ่งที่ให้เนื้อหาเรื่องราวต่อตรรกวิทยา สาหรับนักสัจนิยม อนุประโยคว่า - อ้างอิงไปถึงประพจน์ และตามที่พวกเขาเข้าใจ อนุ ประโยคว่า - เป็ นเพียงคาเอกพจน์ที่ซับซ้อน คือเป็นคาเอกพจน์ที่สร้างออกมาจากคาอื่นๆ แต่ ในขณะที่พวกเขาถืออนุประโยคดังกล่าวเป็นคาเอกพจน์ที่อ้างอิงไปถึงประพจน์ พวกเขาก็ยืนยันว่า พวกมันมีพฤติกรรมไม่เหมือนคาเอกพจน์พวกอื่น อย่างน้อยที่สุดก็ในแง่หนึ่ง ลองพิจารณาคา เอกพจน์ “คนกรุงเทพที่มีอายุมากที่สุด ” สมมติว่ามันอ้างอิงถึง นายสมบูร ณ์ สุขสม (นามสมมติ) 6

ดูในบทที่ 4 ของ Chisholm (1976)


126

อายุ 101 ปี ถ้าเราเอาคาเอกพจน์นี้มาเปลี่ยน คือแทนคาว่า “กรุงเทพ” ด้วยคาที่อ้างอิงถึงสิ่งเดียวกัน คือ “เมืองหลวงของไทย” ผลที่ได้ก็จะเป็นคาเอกพจน์ “คนเมืองหลวงของไทยที่มีอายุมากที่สุด ” ซึ่งยังคงอ้างอิงถึง นายสมบูรณ์ สุขสม ฉะนั้น การแทนที่ด้วยคาที่อ้างอิงถึงสิ่งเดียวกันจึงรักษาสิ่งที่ ถูกอ้างอิงไปถึงของคาเอกพจน์อย่าง “คนกรุงเทพที่มีอายุมากที่สุด” แต่ในกรณีของอนุประโยคว่าเรื่องจะต่างออกไป เมื่อคาที่เป็นองค์ประกอบของพวกมันถูกแทนที่ด้วยคาที่อ้างอิงถึงสิ่งเดียวกัน เราจะไม่อาจไว้ใจว่าพวกมันจะรัก ษาสิ่งที่ถูกอ้างอิงถึงไว้ให้คงเดิม ประพจน์ที่ถูกอ้างอิงถึงด้วย “นายสมบูรณ์ สุขสม เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช” เป็นคนละประพจน์กับ “คนกรุงเทพที่มี อายุมากที่สุดเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงที่สุดในกรุงเทพ” ขอเพียงแค่เราคิดถึงความ เป็นไปได้ที่ค่าความจริงเท็จของประพจน์ที่สองนี้จะเปลี่ยนไป สมมติว่า นางสุมาลี สีมา (นาม สมมติ) อายุ 102 ปีย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงเทพ หรือสมมติว่าด้วยเหตุของการบริหารผิดพลาด ชื่อเสียง ของโรงพยาบาลศิริราชตกจากอันดับหนึ่งมาเป็นอันดับสองหรือสาม ไม่ว่าจะด้วยเหตุการณ์ไหน มันก็อาจจะเป็นว่า ในขณะที่ประพจน์ว่านายสมบูรณ์ สุขสม เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช เป็น จริง แต่ประพจน์ว่าคนกรุงเทพที่มี อายุม ากที่สุดเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงที่สุดใน กรุงเทพ เป็นเท็จ และถ้าพวกมันสามารถมีค่าความจริงที่ต่างกัน พวกมันก็ไม่อาจเป็นประพจน์ เดียวกันได้7 นักสัจนิยมถือว่าลักษณะพิเศษนี้ของอนุประโยคว่า- ช่วยอธิบายถึงข้อเท็จจริงที่น่าฉงน เกี่ยวกับทัศนคติในเชิงประพจน์ สมมติว่ามีเจ้าหน้าที่บางคนของโรงพยาบาลศิริราชไม่รู้ถึงอายุ ของนายสมบูรณ์ (หรือว่ารู้ถึงแต่ก็ไม่รู้ว่านี่คืออายุที่มากที่สุดของคนกรุงเทพขณะนั้น) เขาก็จะเชื่อ ว่านายสมบูรณ์ สุขสม เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช โดยที่ไม่เชื่อว่าคนกรุงเทพที่มีอายุมาก ที่สุดเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช แต่เราอาจสงสัยว่านี่เป็นไปได้อย่างไร เพราะนายสมบูรณ์ เป็นคนๆ เดียวกันกับคนกรุงเทพที่มีอายุมากที่สุด การเชื่อว่า นายสมบูรณ์ สุขสม เข้ารักษาตัวที่ โรงพยาบาล น่าจะเท่ากับการเชื่อว่าคนกรุงเทพที่มีอายุมากที่สุดเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ดังนั้น เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวไม่น่าจะเชื่อในสิ่งหนึ่งแต่ไม่เชื่อในอีกสิ่งหนึ่ง นักสัจนิยมจะอ้างว่า ความ

7

ดูการอภิปรายเรื่องนี้ใน

Frege (1892) ใน “On denoting” และ “The philosophy of logical atomism” ของ

Russell (1956) และ Kaplan (1975)


127

ผิดพลาดอยู่ในข้อสมมติฐานที่ว่าสิ่งอ้ างอิงของอนุประโยคว่า- ถูกกาหนดเพียงแค่โดยสิ่งอ้างอิง ของคาที่เป็นองค์ประกอบ แม้ว่าคาที่เป็นองค์ประกอบของทั้งสองวลีจะอ้างอิงถึงสิ่งเดียวกัน แต่ (ที่) “ว่านายสมบูรณ์ สุขสม เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช” และ (ที่)“ว่าคนกรุงเทพที่มีอายุมากที่สุดเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช” อ้างอิงถึงประพจน์ที่ต่างกัน จึง ไม่มีอะไรเป็นปัญหาในการที่เจ้าหน้าที่จะเชื่อในสิ่งอ้างอิงของ อันหนึ่ง แต่ไม่เชื่อในสิ่งอ้างอิงของอีกอันหนึ่ง และนักสัจนิยมยืนยันว่าข้อเท็จจริงในเชิงความหมายนี้เกี่ยวกับ อนุประโยคว่า- มีพื้นฐาน มาจากลักษณะที่เป็นธรรมชาติในตัวเองของประพจน์ที่เป็นสิ่งอ้างอิงของอนุประโยคพวกนั้น ประพจน์เป็นภาพแสดงของโลก มันแสดงภาพว่าสิ่งในโลกเป็นไปในทางหนึ่งทางใด 8 ดังนั้น เอกลักษณ์ของประพจน์จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับเอกลักษณ์ของวัตถุที่ประพจน์แสดงถึง แต่มันขึ้นกับ คุณลักษณะที่ประพจน์แสดงภาพว่าวัตถุนั้นๆ เป็นด้วยเช่นกัน จึงไม่น่าแปลกใจว่าเมื่อเราแทนที่คา ในวลีนั้นด้วยคาที่อ้างอิงถึงสิ่งเดียวกัน แต่เป็นคาที่แสดงออกถึงคุณลักษณะที่ไม่ได้แสดงออกโดย คาที่ถูกแทนที่ เราก็ได้สร้างประพจน์ที่ต่างออกไป อะไรที่ถูกหยิบขึ้นมาโดยอนุประโยคว่า - ที่ เกิ ดขึ้ นใหม่ เป็นอะไรบางอย่ างที่เสนอภาพโลกในลัก ษณะที่ต่างออกไป ประพจน์จึงถูก แยก จาเพาะว่าเป็นคนละสิ่งต่างหากจากกันจากการที่มันเสนอภาพของโลกที่แตกต่างกันออกไป สรุปก็คือ เมื่อนักสัจนิยมอ้างว่ามีสิ่งอย่างเช่นประพจน์อยู่จริง พวกเขากาลังอ้างว่ามีสิ่ง ประเภทพิเศษประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นวัตถุของการยืนยันและการปฏิเสธและของกริยาการคิด ถึงแม้ จะเป็นจริงเพียงโดยบังเอิญว่าสิ่งนี้บางอันถูกประกาศยืนยันหรือคิดถึงจริงๆ แต่เป็นความจริงโดย จาเป็นที่ว่าทุกประพจน์เป็นสิ่งซึ่งสามารถถูกยืนยันได้หรือถูกคิดถึงได้ นักสัจนิยมอธิบายสิ่งพิเศษ พวกนีว้ ่าเป็นสิ่งนามธรรมซึ่งมีอยู่อย่างจาเป็นและเป็นนิรันดร พวกเขาอ้างว่าประพจน์เป็นสิ่งอย่าง ที่ทุก คนสามารถเข้ าถึงได้ และดังนั้นจึงเป็นตัววัตถุของการสื่อสารของแนวคิดที่เรามีร่วมกั น เกี่ยวกับโลก พวกเขาบอกว่าสิ่งเหล่านี้ถือครองค่าจริงเท็จโดยจาเป็น มันเป็นเจ้าของเบื้ องต้นของ 8

ดูการอภิปรายเรื่องนี้ใน Plantinga (1987) pp. 208-9


128

ค่าจริงเท็จที่ทาให้มันเข้าไปอยู่ในความสัมพันธ์ทางตรรกะแบบต่างๆ สุดท้าย นักสัจนิยมบอกว่า สิ่งพวกนี้คือสิ่งที่ อนุประโยคว่า - อ้างอิงถึง และพวกเขายืนยันว่าพฤติกรรมทางตรรกะที่พิเศษ เฉพาะตัวของอนุประโยคว่า- ชี้ถึงลักษณะสาคัญของประพจน์ นั่นก็คือ แต่ละประพจน์เสนอภาพ ของโลกในแบบที่เฉพาะตัวแบบหนึ่ง นี่คือประเด็นพื้นฐานที่นักสัจนิยมเห็นตรงกัน แต่พวกเขาก็อาจมีความเห็นที่ไม่ลงรอยกัน ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดเรื่องประพจน์และแนวคิดเรื่องความหมายของประโยค นัก สัจนิยมบางคนอ้างว่าประพจน์ทาหน้าที่เป็นความหมายของประโยคบอกเล่า9 ตามทัศนะดังกล่าว ประพจน์เป็นอะไรที่ประโยคบอกเล่าหนึ่งมีร่วมกันกับประโยคทั้งหลายที่มีความหมายเดียวกับมัน ผู้ที่มองประพจน์ในแบบนี้จะบอกเราว่าประพจน์เป็นสิ่งซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับโครงสร้าง ของประโยคที่แสดงมันออกมา เขาจะบอกว่าประพจน์มีสิ่งอย่ างความหมายเป็นองค์ประกอบของ มัน และเขาจะบอกเราว่าการคิดถึงประพจน์ในแบบนี้ตามมาจากความคิดที่ว่าประพจน์วาดหรือ แสดงภาพของโลกในลักษณะต่างๆ ข้ออ้างหลักก็คือ ถ้าประพจน์เป็นสิ่งซึ่งเสนอภาพของโลกต่อ สิ่งที่มีปัญญา มันต้องเป็นหน่วยในทางความหมายอะไรบางอย่าง คือเป็นหน่ วยที่ชี้ไปที่โลก จึงมี การอาศั ย การที่ ป ระพจน์มี ค วามสัม พั นธ์อย่ างใกล้ชิดกั บประโยคที่แสดงออกถึงมันขึ้นมาใช้ อธิบาย ประโยคเป็นถ้อยคาที่ประกอบขึ้นจากคาที่พื้นฐานกว่า และความหมายของมันก็คือผลของ การท างานของความหมายของค าที่ เป็ นองค์ป ระกอบ จึ ง มีเ หตุ ผ ลให้คิ ด ว่า ประพจน์ ซึ่ งเป็ น ความหมายของประโยคบอกเล่า จะมีองค์ประกอบที่พื้นฐานกว่าในเชิงความหมาย และคิดว่านี่ เป็นแค่ความหมายของคาที่ร่วมกันสร้างถ้อยคาที่ซับซ้อนซึ่งมีประพจน์เป็นความหมาย ผู้ที่คิด เช่นนี้อ้างว่ามันช่วยให้คาอธิบายในเชิงอรรถศาสตร์ให้แก่พฤติกรรมพิเศษของอนุประโยคว่า- ถ้า ประพจน์เป็นความหมายของประโยคบอกเล่า และองค์ประกอบของมันก็คือความหมายของคาที่ สร้างขึ้นเป็นประโยค ก็เป็นเรื่องง่ายที่จะเข้าใจว่าทาไมการแทนที่คาในอนุประโยคว่า- ด้วยคาที่ อ้างอิงถึงสิ่งเดียวกัน จึงไม่สามารถประกันว่าจะรักษาสิ่งอ้างอิงของทั้งอนุประโยคนั้น ไว้ให้คงเดิม คาที่อ้างอิงถึงสิ่งเดียวกันสามารถมีความหมายหรือให้ความเข้าใจที่แตกต่างกัน คาอย่าง “นาย สมบู ร ณ์ สุข สม” และ “คนที่ มี อ ายุ ม ากที่ สุ ด ในกรุ ง เทพ” อ้ า งอิ งถึ ง สิ่ ง เดีย วกั น แต่ต่ า งกั น ใน ความหมาย เมื่อเราแทนที่คาหนึ่งด้วยอีกคาหนึ่งในอนุประโยคว่า- เราเปลี่ยนความหมายของอนุ 9

ดูตัวอย่างใน Church (1956)


129

ประโยคนั้น และจากมุมมองทางอรรถศาสตร์ นี่ก็คือการเปลี่ยนสิ่งอ้างอิงของอนุประโยคนั้น นั่นก็ คือ เราทาให้มันกลายเป็นชื่อเรียกของประพจน์ที่ต่างออกไป แม้ว่าการตีความประพจน์ในเชิงอรรถศาสตร์นี้จะมีอิทธิพลมาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าผู้ที่ยอมรับ ในภววิทยาของประพจน์ทุกคนจะยอมรับมัน10 ประการที่หนึ่ง ความคิดที่ว่าประพจน์เป็นสิ่งมี โครงสร้ า งและประกอบขึ้ น จากองค์ ป ระกอบได้ รั บ การวิ จ ารณ์ จ ากหลายด้ า น มี ก ารอ้ า งว่ า คาอธิบายประพจน์ในเชิงองค์ประกอบแบบนี้เป็นความสับสนอย่างผิดประเภท ประพจน์ไม่ใช่ วั ต ถุ ท างกายภาพแต่ เ ป็ น สิ่ ง นามธรรม แต่ สิ่ ง นามธรรมไม่ ใ ช่ ข องแบบที่ ส ามารถที่ จ ะมี องค์ประกอบ ประการที่สอง มีการอ้างว่าการถือว่าประพจน์และความหมายของประโยคเป็นสิ่ง เดียวกันเข้าไม่ค่อยได้กับลักษณะสาคัญอื่นๆ ของความคิดเรื่องประพจน์ ฉะนั้น เราจึงได้รับการ บอกว่า ผู้พูดไม่ได้ประกาศหรือปฏิเสธความหมาย ผู้คิดไม่ได้เชื่อ หรือหวัง หรือกลัวความหมาย และบอกว่า เราไม่ ส ามารถพู ดถึงความหมายว่าจริงหรือเท็จ และข้อเท็จจริงที่ว่าประโยคหนึ่ง (อย่างเช่น “ตอนนี้ฉันอยู่ที่นี่”) ที่แม้จะแสดงออกซึ่งความหมายเดียวไม่เปลี่ยนแปลง แต่ก็สามารถ ถูกใช้โดยผู้พูดคนละคนเพื่อยืนยันประพจน์คนละประพจน์ ก็ถูกอ้างว่าแสดงว่าเราไม่อาจตีความ ประพจน์ว่าเป็นความหมายของประโยค ดังนั้นจึงมีความเห็นที่ไม่ตรงกันในนัยสาคัญท่ามกลางผู้ ที่ยอมรับภววิทยาของประพจน์

ลัทธินามนิยมว่าด้วยประพจน์ ภววิทยาของประพจน์ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยผู้ที่ไม่เห็นด้วยในแบบเดียวกับภววิทยาของ สิ่งสากล เช่น มีการกล่าวหาว่ามันเป็นทฤษฎีทางอภิปรัชญาที่รกรุงรัง ทาให้เกิดสิ่งนามธรรมที่ ลึก ลับ และแปลกประหลาด ทาให้เกิดภววิทยาแบบ “สองโลก” ที่ส ร้างปัญหาทางญาณวิทยา ตามมา เป็นการอธิบายแบบปลอมๆ และสุดท้ายคือมันละเมิดหลัก(มีดโกน)ของออคคัม กล่าวก็คือ นัก อภิป รั ช ญาสามารถอธิ บ ายปรากฏการณ์ ที่นัก สัจ นิย มสนใจได้โ ดยไม่ ต้อ งอาศั ย ประพจน์ ประพจน์จึงเป็นสิ่งเกินจาเป็น

10

ดูข้อวิจารณ์ทัศนะนี้ได้ในบทนาของ Pitcher(1964) และใน Cartwright (1962)


130

แน่นอนว่า ประเด็นสุดท้ายจะเป็นแกนกลางของการโต้แย้งระหว่างผู้ที่เห็นด้วยและผู้ที่ไม่ เห็นด้วยกับประพจน์ กลยุทธ์ที่ถูกใช้มากที่สุดโดยผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับประพจน์ ก็คือการเถียงว่า ข้ออ้างที่นักสัจนิยมถือว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับประพจน์ที่จริงแล้วเป็นเพียงวิธีในการสร้างข้ออ้างแบบ อภิภาษา คือเป็นเรื่องของข้ออ้างเกี่ยวกับประโยคคาพูด กลวิธีเบื้องต้นก็คืออ้างว่างานหลักของนัก ทฤษฎีในเรื่องนี้ก็คือการระบุสิ่งที่เป็นเจ้าของค่าจริ งเท็จ แล้วก็อ้างว่าความเชื่อมั่นของนักสัจนิยม ว่าประโยคคาพูดไม่สามารถจะเป็นสิ่งดังกล่าวได้ เป็นความเชื่อที่เท็จ เราได้เคยผ่านข้อโต้เถียงที่ นักสัจนิยมใช้ยืนยันความเชื่อของตนมาแล้ว ข้อโต้แย้งหนึ่งก็คือ เนื่องจากประโยคเดียวสามารถใช้ แสดงทั้งความจริงและความเท็จ มันจึงไม่อาจเป็นเจ้าของเบื้องต้นของค่าจริงเท็จได้ ตัวอย่างที่พวก เขาใช้ก็ได้แก่ (13) ฉันกาลังจะไปที่ที่คุณเพิ่งไป ในบางบริบท (13) แสดงออกถึงความจริง ในบางบริบทมันแสดงออกถึงความเท็จ ตามความคิด ของนัก สัจนิยม การตีความให้ประโยคคาพู ดเป็นเจ้าของเบื้องต้นของค่าจริงเท็ จให้ผลที่ไม่น่า พอใจว่า (13) ทั้งจริงทั้งเท็จ11 ผู้ที่ สนับสนุนแนวทางอธิบ ายแบบอภิภาษาปฏิเสธความคิดที่ว่า (13) แสดงให้เห็นว่า ประโยคไม่สามารถเป็นเจ้าของค่าจริงเท็จ พวกเขาอ้างว่ามันแสดงเพียงแค่ว่าประโยคไม่สามารถมี ค่าจริงหรือเท็จอย่างสัมบูรณ์ ปัญหาของประโยคอย่าง (13) ก็คือมันมีคาดรรชนี (indexical) (คา อย่างเช่น “ฉัน” “เธอ” “ที่นี่” และ “ตอนนี้” ซึ่งสิ่งที่ถูกอ้างอิงถึงจะขึ้นกับสถานการณ์ที่แวดล้อม การพูด ได้แก่ว่า ใครเป็นผู้พูด ใครเป็นผู้ฟัง พูดเมื่อไร และพูดที่ไหน เป็นต้น ) พวกเขาชี้ว่าเรา สามารถที่จะระบุตัวประกอบเชิงบริบทที่กาหนดสิ่งอ้างอิงของคาดรรชนีในประโยคอย่าง (13) ได้ เสมอ เมื่อนั้นเราก็สามารถกล่าวว่าประโยคดังกล่าวมีค่าจริงหรือเท็จ ตามที่สัมพัทธ์กับตัวประกอบ เชิงบริบทเหล่านั้น ดังนั้น อะไรที่ (13) แสดงจึงไม่ใช่ว่าประโยคไม่มีค่าความจริง แต่แสดงว่า ประโยคมีค่าความจริงเท็จอย่างที่สัมพัทธ์กับบริบทของการพูด12

11

ข้อโต้แย้งนี้ใช่ไม่ได้กับนักสัจนิยมที่ถอื ว่าประพจน์สามารถเปลี่ยนค่าจริงเท็จได้

12

ดู Lemmon (1966)


131

ดัง นั้น ถ้ า เราบรรยายการมีค่าความจริงเท็จให้สัม พั นธ์กั บบริบทของการพู ด เราก็ ไ ม่ จาเป็นต้องนาประพจน์เข้ามาใช้ในฐานะเจ้าของค่าความจริง แล้วประโยคที่แสดงออกถึงทัศนคติ เชิงประพจน์ละ? ผู้ที่สนับสนุนแนวทางอธิบายแบบอภิภาษาจะทาอย่างไรกับประโยค (14) แดงเชื่อว่าสองบวกสองเป็นสี่ วิธีการเบื้องต้นก็คืออาศัยความสัมพันธ์มาผูกบุคคลเข้ากับประโยค วิธีหนึ่งที่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับ ประพจน์จะพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับประโยค ได้รับการเสนอขึ้นโดยไควน์ (Quine)13 เขาเสนอให้เราใช้ภาคแสดง “เชื่อ-จริง” และวิเคราะห์ (14) ว่าเป็น (14-ก) แดงเชื่อ-จริง “สองบวกสองเท่ากับสี่” ถ้าเรานาภาคแสดงอย่าง “พูด-จริง” “หวัง-จริง” และ “กลัว-จริง” เข้ามาใช้ เราก็จะเห็นได้ไม่ยากถึง วิธีที่จะขยายคาอธิบาย (14) มาสู่ทัศนคติเชิงประพจน์ทั้งหลาย แต่สุดท้ายไควน์เองก็ไม่ยอมรับคาอธิบายนี้ และไม่ยากที่จะเห็นว่าทาไม ปัญหาหนึ่งก็คือ เราจะเข้าใจภาคแสดงใหม่ที่คาอธิบายนาเข้ามาใช้ว่าอย่างไร การเชื่อ -จริงที่มีต่อประโยคหนึ่งคือ อะไร? ถ้าใครไม่เห็นปัญหาตรงนี้ ก็น่าจะเป็นเพราะว่าเขาเข้าใจ (14-ก) ว่าเป็น (14-ข) แดงเชื่อว่าประโยค “สองบวกสองเป็นสี่” เป็นจริง แต่ประเด็นของการนาเอาภาคแสดง “เชื่อ-จริง” เข้ามาใช้ก็เพื่อกาจัดการอ้างอิงถึงประพจน์ อย่างที่ ดูเหมือนจะปรากฏให้เห็นในประโยคอย่าง (14) (14-ก) จึงไม่อาจเข้าใจว่าเป็น (14-ข) เพราะ (14ข) ก็ดูเหมือนว่ามีการอ้างอิงถึงประพจน์ไม่ต่างไปจาก (14) ได้แก่ประพจน์ว่าประโยค “สองบวก สองเป็นสี่” เป็นจริง แต่ผู้ที่สนับสนุนแนวทางแบบอภิภาษาอาจสามารถอธิบายภาคแสดงอย่าง “เชื่อ-จริง” ใน แบบของนักพฤติกรรมนิยม หรือหาทางทาให้เราเชื่อว่าภาคแสดงเหล่านี้เป็นสิ่งพื้นฐานวิเคราะห์ ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าพวกเขาสร้างความเข้าใจในภาคแสดงใหม่พวกนี้ได้สาเร็จ ก็ยังมีปัญหา ใหม่รอเขาอยู่ พวกเขาบอกเราว่า (14) เป็นข้ออ้างว่า บุคคลหนึ่งคือแดง อยู่ในความสัมพันธ์หนึ่ง 13

ดู Quine (1960: 211-16)


132

คือความสัมพันธ์เชื่อ-จริง กับประโยคหนึ่ง คือประโยคคาพูด “สองบวกสองเป็นสี่” ดังนั้นเมื่อคน ที่พูดภาษาไทยพูด (14) สิ่งที่เรากาลังพู ดถึงก็คือประโยคภาษาไทยประโยคหนึ่ง แล้วประโยค ภาษาอั ง กฤษที่ ต รงกั น ละ? นั ก ทฤษฎี อ ภิ ภ าษาคงจะบอกเราว่ า มั น คื อ ข้ อ อ้ า งว่ า แดงอยู่ ใ น ความสัมพันธ์เชื่อ-จริง กับประโยคภาษาอังกฤษ “Two plus two equals four.” เป็นเรื่องยากที่เราจะ คาดหวังให้ผู้พูดภาษาอังกฤษมาพูดกันเรื่องประโยคในภาษาซึ่งพวกเขาไม่เข้าใจ แต่แล้วผลก็จะ กลายเป็นว่า อะไรที่เราผู้ซึ่งพูดภาษาไทยพูดเกี่ยวกับคนๆ หนึ่ง ว่าเขาเชื่อว่าสองบวกสองเป็นสี่ เป็นสิ่งที่ต่างไปอย่างสิ้นเชิง จากอะไรที่ผู้ที่พูดภาษาอังกฤษพูดเกี่ยวกับเขา เมื่อเขาพูดคาแปลภาษา อังกฤษของ (14) การเชื่อว่าสองบวกสองเป็นสี่เป็นของอย่างหนึ่งสาหรับคนพูดภาษาไทย และเป็น ของอีกอย่างหนึ่งของคนพูดภาษาอังกฤษ เราเคยผ่านข้อยุ่งยากนี้มาแล้ว เมื่อเราอภิปรายคาอธิบายของนักนามนิยมแบบอภิภาษา ใน เรื่องการพูดที่ดูเหมือนว่าเกี่ยวกับสิ่งอย่างคุณสมบัติ ชนิดและความสัมพันธ์ ปัญหาอยู่ ที่การอ้างอิง ทางอภิภาษาแบบมาตรฐานเป็นสิ่งที่จากัดเฉพาะต่อภาษา ในแบบที่การพูดที่ดูเหมือนว่าเกี่ยวกับ สิ่งนามธรรมจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น เราเคยเอาชนะปัญหานี้ด้วยการใช้การล้อมคาด้วยจุดของเซ็ล ลาร์ส์ เราใช้วิธีนั้นเพื่อสร้างคาแบบอภิภาษาที่ข้ามเส้นแบ่งแยกทางภาษา คื อการใช้จุดล้อมคา ค สร้างคาสามัญนาม (·ค·) ซึ่งเป็นจริงกับคาของทุกภาษาที่เท่าเทียมกันในเชิงของการทาหน้าที่กับคา ที่ถูกล้อมด้วยจุด ในกรณีปัจจุบัน การใช้วิธีของเซ็ลลาร์ส์จะเป็นการใช้จุดล้อมประโยค สิ่งที่ได้ก็ จะเป็นถ้อยคาแบบอภิภาษา ที่เพียงพอที่จะใช้จัดการกับปรากฏการณ์ที่นักสัจนิยมถือว่าชี้ถึงภว วิทยาของประพจน์14 ฉะนั้น (15) (ที่)ว่าสองบวกสองเป็นสี่เป็นประพจน์ที่จริง ถูกวิเคราะห์ว่าเป็น (15-ก) (ประโยค) ·สองบวกสองเป็นสี่· ทั้งหลายเป็นประโยคบอกเล่าที่จริง และ (16) แดงพูดว่าสองบวกสองเป็นสี่ 14

ดู Sellars (1963b)


133

จะถูกอ่านว่าเป็น (16-ก) แดงกล่าว (อย่างยืนยัน) (ประโยค) ·สองบวกสองเป็นสี่· หนึ่งประโยค การจัดการกับทัศนคติเชิงประพจน์อื่นๆ จะซับซ้อนมากขึ้นเล็กน้อย การพูดเกี่ยวพันไปถึง สาธารณะ ในขณะที่การเชื่อ/หวัง/กลัวไม่เป็นเช่นนั้น แต่เซ็ลลาร์ส์อ้างว่าของอย่างหลังก็ไม่ต่างไป จากของอย่างแรก คือทั้งหมดล้วนเป็นการที่บุคคลสร้างหน่วยเฉพาะ (โทเก็น) ของถ้อยคาทาง ภาษาขึ้นมา ตรงนี้ เซ็ลลาร์ส์อาศัยทฤษฎีว่าการคิดก็คือการพูดอยู่ข้างใน หลักการก็คือการคิดคือ การพูดกับตนเอง ความคิดจึงเป็นเรื่องของหน่วยที่สามารถที่จะบรรยายในเชิงของการทาหน้าที่ ต่างๆ ในแบบเดียวกันกับภาษาสาธารณะ ดังนั้น การใช้จุดล้อมจึงใช้ได้กับคาทางจิตไม่ต่างจาก คาพูดหรือคาเขียน เซ็ลลาร์ส์เรียกภาษาของความคิดว่าภาษาจิต (Mentalese) และเขาบอกว่าการพูด ถึงทัศนคติเชิงประพจน์ อย่างเช่นความเชื่อ เป็นการอ้างเกี่ยวกับการสร้างหน่วยเฉพาะ (โทเก็น) ของถ้อยคาในภาษาจิต15 ฉะนั้น (14) จึงถูกวิเคราะห์ว่าเป็น (14-ค) แดงสร้างหน่วยเฉพาะ (โทเก็น) ของภาษาจิต ·สองบวกสองเป็นสี่· (หนึ่งหน่วย) แนวคิ ดหลั ก ในที่ นี้ก็ คื อ อนุป ระโยคว่า - ซึ่ง นัก สัจ นิย มถือว่ าเป็ นคาเอกพจน์ที่ เป็น ชื่อของสิ่ ง นามธรรม (ที่เป็นอิสระจากจิต เป็นอิสระจากภาษา) ที่จริงแล้วเป็นการอ้างอิงไปถึงประโยคบอก เล่าต่างๆ เนื่องจากคาอธิบายของเซ็ลลาร์ส์ระบุประโยคที่อยู่ในทัศนคติเชิงประพจน์ด้วยการอาศัย บทบาทหน้าที่ มากกว่าที่จะถือเป็นหน่วยจากภาษาบางภาษา มันจึงสามารถแสดงว่าการพูดถึง ทัศนคติเชิงประพจน์ที่เกิดขึ้นในภาษาที่ต่างกันว่าสามารถที่จะเป็นสิ่งเดียวกันได้อย่างไร แต่คาอธิบายของเซ็ลลาร์ส์ก็มีปัญหาบางอย่าง เราจะเข้าใจปัญหาดังกล่าวผ่านการพิจารณา วิธีการในการจัดการกับประพจน์ที่ต่างออกไป ที่พัฒนาขึ้นโดยอาเธอร์ ไพรออร์ (Arthur Prior)16 ไพรออร์อ้างเช่นเดียวกับเซ็ลลาร์ส์ ว่าเขาสามารถรองรับการพูดทั้งหมดของนักสัจนิยมเกี่ยวกับ ประพจน์ ด้วยการอาศัยภววิทยาที่ไม่ตั้งสิ่งนามธรรมขึ้นมาเป็นหลักอธิบาย แต่เขาต่างออกไป ตรงที่ปฏิเสธว่าเราต้องเข้าใจการพูดเรื่องประพจน์ในเชิงอภิภาษา ตามความคิดของเขา การพูดที่ดู เหมือนเกี่ยวกับประพจน์ ไม่ใช่การพูดเกี่ยวกับประโยค มันเป็นการพูดเกี่ยวกับสิ่งรูปธรรมที่เป็น 15

ดูตัวอย่างใน Sellars (1975)

16

ดูบทที่ 1-3 ของ Prior (1971)


134

หัวข้อของการพูดจาธรรมดาๆ ทั้ งหลาย ฉะนั้น การพูดที่ดูเหมือนจะเกี่ ยวกับประพจน์ว่าบน พระจันทร์มีกระต่าย ไม่ใช่การพูดเกี่ยวกับสิ่งนามธรรมที่เป็นอิสระจากจิต เป็นอิสระจากภาษา และทั้งไม่ใช่การพูดเกี่ยวกับประโยคคาพูดด้วยเช่นกัน มันเป็นแค่การพูดเกี่ยวกับพระจันทร์ การ พูดเกี่ยวกับประพจน์ว่าหญ้ามีสีเขียว ไม่ใช่การพูดเกี่ยวกับสิ่งแบบของเพลโต และไม่ใช่การพูด เกี่ยวกับถ้อยคาทางภาษา แต่คือการพูดเกี่ยวกับหญ้า ไพรออร์ต้องการจะอ้างว่าบริบทพื้นฐานซึ่ง ความคิดเรื่องประพจน์ปรากฏขึ้นมาก็คือในการบรรยายค่าจริงและเท็จ ฉะนั้น เราจึงมี (17) (ที่)ว่าหญ้าเป็นสีเขียวเป็นประพจน์ที่จริง และ (18) (ที่)ว่าหญ้าเป็นสีม่วงเป็นประพจน์ที่เท็จ ในการจัดการกับประโยคเหล่านี้ ไพรออร์อาศัย ทฤษฎีความจริงแบบเกินความจาเป็น ของแฟรงค์ แรมเซ (Frank Ramsey)17 ตามทฤษฎีนี้ ความคิดเรื่องความจริงเป็นเรื่องเกินจาเป็นในความหมาย ที่ว่า การกล่าวยืนยันว่า p เป็นจริง ไม่ได้เป็นการทาอะไรมากไปกว่าการกล่าว p และการกล่าว ยืนยันว่า p เป็นเท็จ ก็ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าการปฏิเสธ p ฉะนั้นความคิดเรื่องค่าจริงเท็จจึง กาจัดออกไปได้จากการสนทนา การยืนยัน (17) จึงเป็นแค่การยืนยัน (17-ก) หญ้ามีสีเขียว และการยืนยัน (18) ก็คือการปฏิเสธ (18-ก) หญ้ามีสีม่วง แต่ถ้าการพูดเรื่องประพจน์ปรากฏเป็นเบื้องแรกในบริบทของการที่เราพูดถึงค่าจริงเท็จ ก็ ยังมีกรณีขั้นสองของการพูดถึงความเชื่อและทัศนคติอื่นๆ ที่ดูเหมือนจะเกี่ยวพันไปถึง ประพจน์ ในการจัดการกับกรณีเหล่านี้ ไพรออร์ยืนกรานว่านักสัจนิยมเข้าใจผิดในเรื่องของรูปแบบทาง ตรรกะของประโยคที่บรรยายถึงทัศนคติเชิงประพจน์ 18 นักสัจนิยมอ้างว่าประโยคอย่าง (14) แตก ออกได้เป็น แดง / เชื่อ / ว่าสองบวกสองเป็นสี่ โดยที่ “เชื่อ” แสดงออกถึงความสัมพันธ์ ระหว่าง 17 18

Ramsey (1927) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง pp.38-9 ใน Mellor (1990) Prior (1971: 18-19)


135

บุคคลและอะไรอื่นบางอย่าง และ “ว่าสองบวกสองเป็นสี่” เป็นคาเอกพจน์ที่เป็นชื่อของ “อะไรอื่น บางอย่าง” ที่ว่านั้น ไพรออร์เสนอให้เราแตกประโยคต่างออกไปเป็น แดง / เชื่อว่า / สองบวกสอง เป็นสี่ ตามวิธีการอ่านของไพรออร์ “เชื่อว่า” ไม่ได้แสดงออกถึงความสัมพันธ์ มั นเป็นอะไรที่เรา อาจจะเรียกว่า ตัวปฏิบัติการ (operator) ที่สร้างภาคแสดงขึ้นจากประโยค กล่าวคือ มันเป็นคาซึ่ง เมื่อนาไปใช้กับประโยคบอกเล่า จะสร้างให้เกิดภาคแสดงแบบซับซ้อน (ตัวอย่างเช่น “เชื่อว่าสอง บวกสองเป็นสี่”) ซึ่งได้รับการตอบสนองโดย (หรือเป็นจริงต่อ) บุคคล ดังนั้น ตามการอธิบายของ ไพรออร์ การพูดว่าคนๆ หนึ่งเชื่อว่าหญ้ามีสีเขียว ไม่ใช่การยืนยันความมีอยู่ของความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งอะไรอื่น ได้แก่ ประพจน์ มันเป็นเพียงการบรรยายหรืออธิบายถึงบุคคลนั้น ด้วยภาคแสดงทางจิตวิทยาที่ซับซ้อน ที่เป็นแบบหนึ่งตาแหน่ง ซึ่งสร้างขึ้นจากการใช้ตัวปฏิบัติการ “เชื่อว่า” กับประโยคบอกเล่า “หญ้าเป็นสีเขียว” แต่คาอธิบายที่ไพรออร์ให้ก็ยังมีปัญหาอยู่ประการหนึ่ง ไม่ว่าจะมุ่งเป้าไปที่ค่าจริงเท็จหรือ ทัศนคติเชิงประพจน์ คาอธิบายใช้ได้เฉพาะในกรณีที่เรามีอนุประโยคว่า- ที่มีรายละเอียดเต็มที่ คือ เป็นอนุประโยคที่บรรจุไว้ด้วยประโยคบอกเล่าที่สมบูรณ์ อย่าง “(ที่)ว่าสองบวกสองเป็นสี่” หรือ “(ที่)ว่าหญ้ามีสีเขียว” แต่มีกรณีที่ดูเหมือนว่าเราจะพูดเกี่ยวกับประพจน์ แต่ “ประพจน์” ที่ว่าไม่ได้ ถูกระบุรายละเอียด กลวิธีที่ไพรออร์ใช้จัดการกับประโยคอย่าง (14) (17) (18) ดูเหมือนจะใช้ไม่ได้ กับกรณีแบบนี้ นี่คือตัวอย่าง (19) แดงเชื่อความเท็จอะไรบางอย่าง (20) โตเชื่อทุกอย่างที่เล็กพูด ถึงแม้จะมีความคิดเรื่องจริงเท็จอยู่ใน (19) (ซึ่งสามารถกาจัดทิ้งได้ตามทฤษฎีเกินจาเป็น) แต่ก็ไม่มี การระบุรายละเอียดของอนุประโยคว่า- และในขณะที่ทั้ง (19) และ (20) อ้างอิงถึงความเชื่อ แต่ พวกมันก็ไม่ได้ระบุถึงประโยคซึ่งถูกสร้างเป็นภาคแสดงโดยตัวปฏิบัติการ “เชื่อว่า” ผลก็คือในทั้ง สองกรณี ดูเหมือนเราจะต้องยอมรับว่ามีสิ่งอยู่จริงๆ ที่เป็นตัวเจ้าของค่าจริงเท็จและเป็นวัตถุของ ทัศนคติเชิงประพจน์


136

เพื่อแก้ปัญหาพวกนี้ ไพรออร์เสนอให้เราใช้ตัวแปรแทนประโยค และถือประโยคอย่าง (19) และ (20) ว่าเป็นเรื่องของการกาหนดจานวนให้กับตัวแปรพวกนั้น19 ฉะนั้น เขาอ่าน (19) ว่า (19-ก) สาหรับบาง p ไม่เป็นจริงว่า p และแดงเชื่อว่า p และอ่าน (20) ว่า (20-ก) สาหรับทุกๆ p ถ้าโตพูดว่า p แล้วเล็กจะเชื่อว่า p ความคิ ดพื้ นฐานก็ คื อ ให้ใ ช้ วิธีก ารของไพรออร์ (ในการจัดการกั บค่าจริงเท็จและทัศนคติเชิง ประพจน์) กับเนื้อหาที่ตามหลังตัวกาหนดจานวน (“สาหรับบาง p” และ “สาหรับทุกๆ p”) ฉะนั้น ความเข้าใจหลักของทฤษฎีความจริงแบบเกินจาเป็นที่ว่า การยืนยันว่า p เป็นจริง ก็คือการยืนยัน p การยืนยันว่า p เป็นเท็จ ก็คือการปฏิเสธ p จึงปรากฏตัวขึ้นมาในข้อเท็จจริงที่ว่า ความคิดเรื่องความ เป็นเท็จที่อยู่ใน (19) เปิดทางให้กับ “ไม่เป็นจริงว่า p” ซึ่งตามหลังตัวระบุจานวน “สาหรับบาง p” ใน (19-ก) และเราต้องอ่าน “เชื่อว่า p” และ “พูดว่า p” ที่อยู่ใน (20-ก) ว่าแสดงถึงโครงสร้างแบบ ตั ว ปฏิ บั ติ ก าร/ประโยค (เชื่ อ ว่ า / p และ พู ด ว่ า / p) ยิ่ ง กว่ า ที่ จ ะแสดงถึ ง โครงสร้ า งแบบ ความสัมพันธ์ (เชื่อ / ว่า p และ พูด / ว่า p) แม้จะเข้าใจกลยุทธ์ทั่วไป แต่ผู้อ่านก็ยังอาจรู้สึกประหลาดใจกับการที่ไพรออร์ ใช้ (19-ก) และ (20-ก) เพื่ อแก้ปั ญหาที่ เกิ ดขึ้ นจาก (19) และ (20) ความประหลาดใจจะมีมากกับ (19-ก) เพราะเมื่อเราใช้เครื่องหมายของตรรกวิทยาสัญลักษณ์กับ (19-ก) เราจะได้ (19-ข) (p) (ไม่จริงว่า p และ (แดงเชื่อว่า p)) แต่ (19-ข) มีการใช้สิ่งที่นักตรรกวิทยาเรียกว่าตัวระบุจานวนแบบความมีอยู่ แม้ตัวระบุจานวนที่ว่า สามารถอ่านว่า “สาหรับบาง. . .” แต่วิธีอ่านที่เป็นมาตรฐานกว่าคือ “มี. . . อยู่” ดังนั้นจึงดูเหมือน เราจะมีการยืนยันความมีอยู่อยู่ในการอ่าน (19) ของไพรออร์ และวัตถุที่ดูเหมือนเรากาลังยืนยัน ความมีอยู่นั้นก็น่าสงสัยว่าจะเป็นตัวสิ่งที่ไพรออร์กาลังพยายามกาจัดออกไป ซึ่งก็คือประพจน์ นั่นเอง

19

Ibid., pp. 24-6.


137

ดูเหมือนไพรออร์พร้อมที่จะท้าทายความคิดที่ว่าเราต้องเข้าใจตัวระบุจานวนแบบความมี อยู่ ว่า เป็ นเครื่องมื อของการยื นยั นความมีอยู่ ของวัตถุ 20 เขาเห็นว่า เราควรจะตี ความตัวแปรที่ ตามหลังตัวระบุจานวนว่าเป็นเหมือนกับที่ว่างที่จะต้องเติมด้วยถ้อยคา และประโยคที่มีการระบุ จานวนจะถูกถือว่าเป็นจริง ก็ต่อเมื่อที่ว่างของมันสามารถเติมลงไปแล้วให้ประโยคที่จริง ฉะนั้น การเขียน (19-ข) ก็เหมือนกับการเขียน แดงเชื่อว่า_________ และไม่จริงว่า__________ พร้อมกับการกล่าวว่ามีวิธีในการเติมช่องว่างในแบบที่จะสร้างประโยคที่จริง ตามทัศนะนี้ ความ จริงของ (19-ข) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความมีอยู่ของสิ่งนามธรรมที่น่าสงสัยอะไร (19-ข) จะออกมาว่า จริงในกรณีที่มีถ้อยคาซึ่งเมื่อแทน pใน แดงเชื่อว่า p และไม่เป็นจริงว่า p แล้วทาให้คาพูดพวกนี้กลายเป็นประโยคที่เป็นจริง ซึ่งถ้าแดงเป็นคนธรรมดาอย่างเราๆ ที่เชื่ออะไร อย่างผิดๆ ได้ ถ้อยคาที่จะใช้มาเติมเพื่อให้ได้ผลอย่างที่ว่าก็คงหาได้ไม่ยาก ดังนั้น ดูเหมือนว่าเรา สามารถเข้าใจการทางานของตัวระบุจานวนใน (19-ข) ได้อย่างที่ไม่จาเป็นต้องถือว่ามีสิ่งอย่างเช่น ประพจน์อยู่จริง การที่ไพรออร์ใช้ประโยคอย่าง (19-ก) ในการแก้ “ปัญหาของอนุประโยคว่า- ที่ ไม่ มี ก ารระบุ ร ายละเอี ย ด” จึ ง นั บ ได้ ว่ า เป็ น ความก้ า วหน้ า ของการสร้ า งภววิ ท ยาแบบที่ ไ ม่ มี ประพจน์ แต่ก็ยังมีกรณีของสิ่งที่นักสัจนิยมเรียกว่า “อนุประโยคว่า- ที่ไม่มีชื่อเรียก” รออยู่อีก ใน กรณีของอนุประโยคว่า- ที่ไม่มีการระบุรายละเอียด เป็นกรณีที่แม้ในความเป็นจริงเราไม่ได้ระบุ รายละเอียดของอนุประโยคว่า- แต่เราก็สามารถที่จะทาได้ถ้าเราต้องการ ในกรณีใหม่นี้เราพูดถึงค่า ความจริงเท็จกับ อนุประโยคว่า - อย่างที่เราไม่ระบุรายละเอียดและโดยที่เราไม่ สามารถที่จะทา เช่นนั้นได้เลย มันเป็นเรื่องของความจริงเท็จของอะไรที่เราไม่มีถ้อยคาที่จะใช้พูดถึง สมมติว่ามี เม็ดฝุ่นของดวงดาวที่เล็กมากและอยู่ห่างไกลมากจากเรา และจากผู้ใช้ภาษาอื่นๆ ที่อาจจะมีอยู่ ซึ่ง ทาให้ไม่มีผู้ใช้ภาษาไหนๆ ก็ตามมีความรู้ถึงมัน ดังนั้น มันจึ งไม่มีชื่อ ป้าย หรืออะไรมาใช้ระบุถึง กระนั้น เจ้าเม็ดฝุ่นที่ว่าก็เป็นสิ่งที่มีทั้งค่าจริงและเท็จเกี่ยวกับมัน ซึ่งทาให้ 20

Ibid., 34-7.


138

(21) มีความจริงซึ่งไม่มีภาษาพูดถึง (22) มีความเท็จซึ่งไม่มีภาษาพูดถึง เป็นจริง และเมื่อเราเขียน (21) และ (22) ตามวิธีของไพรออร์ เราก็จะได้ (21-ก) สาหรับบาง p p จริง และไม่มีคาพูดสาหรับ p (21-ข) สาหรับบาง p p ไม่จริง และไม่มีคาพูดสาหรับ p ถ้าเราถือว่าตัวระบุจานวนใน (21-ก) และ (21-ข) ว่าเป็นการยืนยันความมีอยู่ เราก็จะไม่มี ปัญหาในการเข้าใจ (21-ก) และ (21-ข) ว่าอาจเป็นจริง เราสามารถพูดว่า (21-ก) เป็นจริง ก็แต่ใน กรณีที่มีสิ่งนามธรรม ที่เป็นอิสระจากภาษาและเป็นอิสระจากจิต ซึ่งก็คือประพจน์ ซึ่งมีคุณสมบัติ ของค่าจริงเท็จ แต่ไม่มีคุณสมบัติของการถูกแสดงออกในภาษาใด แต่ถ้าเรายอมตามไพรออร์ด้วย การตีความตัวระบุจานวนไปในเชิงภาษา เราก็จะไม่สามารถเข้าใจความเป็นจริงของ (21-ก) และ (21-ข) เพราะตามการตีความดังกล่าว (21-ก) เป็นจริงก็ต่อเมื่อมีถ้อยคามาแทนที่ p ใน p และไม่มีคาพูดสาหรับ p แล้วได้ประโยคที่เป็นจริง เห็นได้ชัดว่าจะไม่มีคาพูดที่จะทาให้เกิดเป็นเช่นนั้นได้ ตามที่ไพรออร์ เข้ าใจ (21-ก) สามารถเป็นจริงก็ แต่ในฐานะของปฏิ ทรรศ์ คือสิ่งซึ่งให้ผลเป็นความขัดแย้งใน ตนเอง เนื่องจาก (21-ก) บอกเราว่ามีความจริงซึ่งไม่มีคาพูดสาหรับมัน ดังนั้นจึงมีคาพูดซึ่งทาให้ ถ้อยคาข้างบนกลายเป็นประโยคที่จริง เมื่อและเฉพาะต่อเมื่อ ไม่มีคาพูดเช่นนั้น กลวิธีของไพร ออร์ในการจัดการกับ “ประพจน์” ที่ไม่ระบุรายละเอียด จึงใช้ไม่ได้กับกรณีที่เรากล่าวว่ามีความ จริงหรือความเท็จ ที่ไม่มีประโยคคาพูดมาแสดงถึงมัน นักสัจนิยมจะยืนยันว่ามีความจริงและความ เท็ จ เช่ น นี้ อีก มาก ความพยายามของไพรออร์ใ นการก าจั ด การพู ดเกี่ ย วกั บ ประพจน์ จึ งนั บ ว่ า ล้มเหลว กลวิธีของเซ็ลลาร์ส์ในการกาจัดการพูดเกี่ยวกับประพจน์ก็เผชิญปัญหาเดียวกัน คาอธิบาย ของเซ็ลลาร์ส์มุ่งเป้าไปที่อนุประโยคว่า- โดยที่คาอธิบายบอกว่าให้ตัดคาว่า “ว่า” ออกแล้วล้อมสิ่ง ที่เหลือด้วยจุด แต่เราทาตามคาสั่งนี้ไม่ได้เมื่อ อนุประโยคว่า- ไม่มีการระบุรายละเอียด เซ็ลลาร์ส์


139

หันไปหาการกาหนดจานวนแบบเดียวกับไพรออร์21 และบอกให้เรากาหนดจานวนเหนือคาที่ล้อม ด้วยจุด เพื่อให้อะไรที่เราพูดในกรณีอย่าง (19) และ (20) ก็คือว่ามีประโยคบอกเล่าที่ตอบสนองต่อ เงื่อนไขในเชิงหน้าที่ที่ไม่ได้ระบุ (ก็คือมีบทบาททางภาษาบางอย่างที่ไม่ได้ระบุ ) นักสัจนิยมจะ ยอมรับว่าวิธีของเซ็ลลาร์ส์ใช้ได้ดี เมื่อมีประโยคบอกเล่าที่มีบทบาททางภาษาที่ต้องการอยู่จริงๆ แต่พวกเขาก็จะยืนยันว่ามันใช้ไม่ได้เมื่อเรามีความจริงหรือความเท็จที่ไม่มีคาพูดสาหรับมัน เพราะ คาอธิบายจะบอกเราแบบเดียวกับคาอธิบายของไพรออร์ ว่ามีประโยคบอกเล่าในที่ๆไม่มี คาอธิบายที่เราดูผ่านมาทั้งหมดล้วนแต่เป็นส่วนประกอบของทฤษฎีทางอภิปรัชญาแบบ นามนิยม แต่ก็มีผู้ที่ไม่ใช่นักนามนิยมที่ขัดแย้งกับความคิดเรื่องประพจน์อยู่เช่นกัน คนหนึ่งก็คือ เบอร์ทรัด รัซเซ็ล ตลอดอาชีพนักปรัชญาของเขา เขาเป็นนักสัจนิยมในเรื่องของคุณลักษณะ ไม่ว่า จะเป็นคุณสมบัติ ชนิด หรือความสัมพันธ์ และในช่วงต้นเขาก็ยอมรับภววิทยาของประพจน์อย่าง เต็มหัวใจ แต่ภายหลังเขาก็เกิดความสงสัยต่อความคิดเรื่อง “ความเป็นเท็จแบบวัตถุวิสัย” ซึ่งทาให้ เขาพยายามหาวิธีที่จะอธิบายสิ่งต่างๆ อย่างที่ไม่ต้องมีประพจน์ ผลผลิตประการหนึ่งของเขาก็คือ ทฤษฎีความสัมพันธ์แบบหลายหน่วย22 ความคิดเรื่องความเป็นเท็จแบบวัตถุวิสัยก็คือความคิดถึงบางสิ่งบางอย่าง ว่ามันเป็นวัตถุ ของกริยาการคิดและมันมีคุณสมบัติของความเป็นเท็จ ซึ่งก็คือความคิดถึงประพจน์ที่เป็นเท็จ นั่นเอง เนื่องจากสิ่ง ที่เป็นเจ้า ของค่าความจริงและสิ่งที่เป็นเจ้า ของค่าความเท็จต้องเป็นสิ่งใน ประเภทเดียวกัน ดังนั้น ถ้าไม่มีประพจน์ที่เท็จ ก็ต้องไม่มีประพจน์ที่จริง สรุปก็คือไม่มีประพจน์ ถ้าอย่างนั้นแล้วอะไรคือสิ่งที่เป็นจริงหรือเท็จ ? สิ่งที่รัซเซ็ลเสนอก็คือ ให้เราทิ้งความคิดที่ว่าการ กระทาของจิตมีวัตถุรองรับ ที่มีคุณสมบั ติของความจริงหรือความเท็จ และให้เรารับคาอธิบายว่า ตัวการกระท าของจิตเองเป็ นเจ้าของเบื้องต้น และเป็นเจ้าของที่แท้จริงของค่าจริงเท็จ ตัวการ กระทาของจิตที่เขาเลือกให้คาอธิบายก็คือการเชื่อ ตามคาอธิบายประพจน์แบบดั่งเดิม ความเชื่อเป็นความสัมพั นธ์แบบสองหน่วย คือเป็ น ความสัมพันธ์ที่ผูกบุคคลเข้ากับประพจน์ รัซเซ็ลเสนอให้เราถือความเชื่อว่าเป็นความสัมพันธ์ที่มี 21

ดู Sellars (1963b: 193ff)

22

ดู Russell (1912: chap. XII)


140

มากกว่า สองหน่วย เขานับ สิ่ง สากลอย่ า งคุณสมบัติและความสัมพั นธ์ว่าเป็นสิ่งที่จะเข้ามาอยู่ ความสัมพันธ์แบบหลายหน่วยที่เป็นการเชื่อ สมมติว่าตัวอย่างของเราก็คือขุนแผนเชื่อว่ านางวัน ทองรักขุนช้าง ตามคาอธิบายในแบบประพจน์ ความเชื่อนี้จะถูกวิเคราะห์ว่าเป็นความสัมพันธ์ ระหว่างขุนแผนกับสิ่งนามธรรมที่ถูกอ้างถึงด้วยคา “ว่านางวันทองรักขุนช้าง” แต่รัซเซ็ลเสนอให้ เราถือความเชื่อว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ผูกหน่วยสี่หน่วย ได้แก่ ขุนแผน การรัก นางวันทอง และขุน ช้าง เข้า ด้วยกัน รัซเซ็ลกล่า วว่า ความสัมพั นธ์ดังกล่าว “ถักทอ” หน่วยทั้งสี่เข้าเป็นโครงสร้าง ซับ ซ้อนที่ เป็ นการที่ ขุ นแผนเชื่ อว่า นางวันทองรัก ขุนช้าง เขายื นยั นว่าการที่จะให้คาอธิบายที่ พอเพียงต่อโครงสร้างซับซ้อนนั้น เราต้องทามากกว่าการกล่าวถึงความสั มพันธ์และหน่วยทั้งสี่ เพราะสามารถมีโครงสร้างของการเชื่อที่เป็นเรื่องของหน่วยทั้งสี่ ที่เป็นคนละสิ่งกับการที่ขุนแผน เชื่อว่านางวันทองรักขุนช้าง คือมีโครงสร้างของการเชื่อที่เป็นการที่ขุนแผนเชื่อว่าขุนช้างรักนาง วันทอง และมีโครงสร้างของการเชื่อที่เป็นการที่ขุนช้างเชื่อว่านางวันทองรักขุนแผน เพื่อที่จะบ่งชี้ ถึงอะไรที่เป็นความเฉพาะตัวของการที่ขุนแผนเชื่อว่านางวันทองรักขุนช้าง รัซเซ็ลบอกว่าเราต้อง อ้างอิงถึงระเบียบการเรียงตัวที่หน่วยทั้งสี่ตั้งอยู่ในความสัมพันธ์ของการเชื่อ ความเชื่อดังกล่าวเป็น ความสัมพันธ์แบบสี่หน่ว ยที่สัมพันธ์ขุนแผน การรัก นางวันทอง และขุนช้าง เข้าด้วยกัน ตาม ระเบียบการเรียงตัวนี้เท่านั้น แต่อะไรที่ทาให้การเชื่อแบบนี้เป็นจริงหรือเป็นเท็จ? คาตอบของรัซเซ็ลเริ่มต้นด้วยการแยก หน่วยที่หนึ่ง คือ ขุนแผน ออกมาจากหน่วยอื่นๆ ที่เหลือ เขาเรียกหน่วยนี้ว่า ผู้เป็นเจ้าของของการ เชื่อ หน่วยที่เหลือทั้งสาม ได้แก่ การรัก นางวันทอง และขุนช้าง เขาเรียกว่าเป็น วัตถุของการเชื่อ หน่วยที่หนึ่งในรายการของวัตถุของความเชื่อ ได้แก่ การรัก เป็นความสัมพันธ์ แต่รัซเซ็ลยืนยันว่า ภายในโครงสร้างซับซ้อนของการที่ขุนแผนเชื่อว่านางวันทองรักขุ นช้าง การรักไม่ได้กาลังทา หน้าที่เป็นความสัมพันธ์ แต่เป็นหนึ่งในสี่หน่วยที่ถูก “ถักทอ” เข้าด้วยกันเป็นหน่วยซับซ้อนโดย ความสัมพันธ์ของการเชื่อ อย่างไรก็ตาม ใน “โลกของความเป็นจริง ” การรักสามารถ “ถักทอ” สองวัตถุที่เหลือของการเชื่อ ได้แก่ นางวันทองและขุนช้าง เข้ าด้วยกันเป็นโครงสร้างซับซ้อนที่ เป็นการรักขุนช้างของนางวันทอง ถ้าเป็นเช่นนั้น การเชื่อของขุนแผนว่านางวันทองรักขุนช้าง ก็ เป็นจริง ถ้าเป็นอย่างอื่น ก็เป็นเท็จ


141

คาอธิบ ายของรัซ เซ็ลปราศจากรายละเอีย ดอื่นๆ ที่จะทาให้มันเป็นทฤษฎีที่เต็มรูป และ ก่อให้เกิดประเด็นที่จะถามได้มากมาย เช่น ทาไมการรักจึงสามารถปรากฏในบริบททางจิตวิทยา ของความเชื่อในฐานะหน่วยหนึ่งหน่วย แล้วปรากฏในความเป็นจริงในฐานะบางสิ่งบางอย่างที่ผูก สิ่ง อื่นเข้ าด้วยกัน ? ถ้า ความสัม พั นธ์ที่อยู่ ใ นการเชื่อของขุนแผนว่านางวันทองรัก ขุนช้าง เป็น ความสัมพันธ์แบบสี่หน่วย ก็มีความสัมพันธ์ที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง คือเป็นความสัมพันธ์แบบ สามหน่วย ที่อยู่ในการเชื่อของขุนแผนว่าหญ้ามีสีเขียว ทาไมเราจึงเรียกความสัมพันธ์ทั้งคู่ด้วยคาๆ เดียวกันว่า “การเชื่อ”? นี่เป็นเพียงความบังเอิญทางภาษาหรือไม่ ? และถ้าเจ้าของค่าจริงเท็จไม่ใช่ วัตถุเชิงประพจน์ แต่เป็นการกระทาของจิต เราจะเข้าใจกิจกรรมของตรรกวิทยาว่าอย่างไรดี เพราะ ตรรกวิทยาดูเหมือนจะถือค่าจริงเท็จว่าเป็นคุณสมบัติของสิ่งที่เป็นเนื้อหาหรือเป็นวัตถุของการ กระทาของจิตและของการสร้างคาประกาศ? นี่เป็นคาถามที่ทฤษฎีที่ทาในสิ่งที่รัซเซ็ลพยายามทา ต้องมีคาตอบให้กับคาถามพวกนี้ และให้กับคาถามอื่นๆ ที่อาจตามมาจากข้อเสนอของรัซเซ็ล ทัศนะต่างๆ ที่เราอภิปรายมามุ่งโจมตีต่อกรอบคิดเรื่องประพจน์ อย่างที่เป็นไปในทิศทาง เดียวกัน พวกมันพยายามแสดงให้เห็นว่า เราสามารถรองรับความเข้าใจเบื้องต้นทางปรัชญาที่เป็น แรงจูงใจของประพจน์ ได้ด้วยกรอบทางภววิทยาที่เป็นอิสระจากประพจน์ แต่ในระยะหลังๆ นี้ กรอบคิดเรื่องประพจน์ถูกท้าทายในลักษณะที่ต่างออกไปจากเดิม การท้าทายตั้งคาถามไปที่ตัว ข้อมูลที่พาไปสู่กรอบคิดนั้น คาท้าทายไม่ได้เกิดขึ้นจากภายในอาณาเขตของอภิปรัชญาเอง แต่เกิด จากปรัชญาภาษาและปรัชญาจิต แม้มันจะพาเราออกไปสู่ต่างแดน แต่การอภิปรายเรื่องประพจน์ ของเราจะขาดความสมบูรณ์ ถ้าเราไม่เห็นถึงท่าทีและทิศทางของข้อท้าทายนี้ ตามหลักที่เป็นมาแต่ดั่งเดิมของแนวคิดเรื่องประพจน์ ในการที่การกระทาหนึ่งของจิตจะมี เนื้ อ หา ตั ว บุ ค คลผู้ เ ป็ น เจ้ า ของการกระท าจะต้ อ งเข้ า ไปอยู่ ใ นความสั ม พั น ธ์ บ างอย่ า ง (เช่ น ความสัมพันธ์ของการเชื่อ ความสัมพันธ์ของการหวัง ความสัมพันธ์ของการกลัว) กับสิ่งนามธรรม ที่เรียกว่าประพจน์ ยิ่งกว่านั้น นักทฤษฎีประพจน์ถือว่า ประพจน์ที่ให้เนื้อหากับการกระทาของจิต เป็ น ของที่ มี พ ร้ อ มอยู่ แ ล้ ว ส าหรั บ บุ ค คลผู้ ก ระท าการกระท านั้ น ประการสุ ด ท้ า ย นั ก ทฤษฎี ประพจน์อ้างว่าเจ้าสิ่งนามธรรมที่มีอยู่พร้อมแล้วสาหรับบุคคล เป็นสิ่งซึ่งเป็นเจ้าของเบื้องแรกของ ค่าจริงเท็จ นักวิจารณ์รุ่นหลังนี้อ้างว่านักทฤษฎีประพจน์เข้าใจผิดในทั้งสามเรื่อง


142

นักวิจารณ์พวกนี้ใช้การทดลองทางความคิดมาท้าทายต่อแนวคิดดั่งเดิมพวกนี้ การทดลอง ทางความคิดที่มีชื่อเสียงที่สุดเป็นของฮิลารี พัทนัม (Hilary Putnam) เป็นการทดลองที่ว่าด้วยโลกคู่ แฝด23 เขาขอให้เราสมมติว่ามีที่อีกที่หนึ่งที่เหมือนโลกในทุกๆ เรื่อง อะไรที่โลกมีโลกคู่แฝดนี้ก็จะ มีด้วย ประวัติศาสตร์และสภาวการณ์ปัจจุบันของโลกคู่แฝดนี้ก็เป็นสิ่งเดียวกันกับของโลกเรา และ คุณก็ จะมี คู่ แฝดอยู่ ใ นโลกนั้นที่ เหมื อนกั บคุณทุก โมเลกุ ล แต่มีเรื่องหนึ่งที่โลกคู่แฝดแตกต่าง ออกไปจากโลกของเรา ในขณะที่เรามี H2O อยู่ในแม่น้า ลาธาร ทะเล มหาสมุทร ฯลฯ แต่ในโลกคู่ แฝด สิ่งที่อยู่ในแม่น้า ลาธาร ทะเล มหาสมุทร เป็นอะไรที่ประสาทสัมผัสทั้งหลายของเราจะรับรู้ ในแบบเดียวกันกับน้าบนโลก คือ เป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส แต่เป็นสารเคมีที่มี โครงสร้างที่ต่างออกไป คือเป็นสาร XYZ ซึ่งผู้คนบนโลกคู่แฝดก็เรียกสารนี้ว่าน้า สมมติว่าคุณ กาลังเกิดความคิดว่าน้าคือ H2O และคู่แฝดของคุณซึ่งมีสภาวะทางกายภาพและทางจิตวิทยาอย่าง เดียวกันกับคุณ และเขาก็กาลังมีความคิดที่เขารายงานออกมาด้วยคาพูดว่า “ฉันกาลังคิดว่าน้าคือ H2O” พัทนัมอ้างว่า แม้ว่าคุณและคู่แฝดของคุณจะอยู่ในสภาพที่ไม่มีความแตกต่างทางคุณภาพ ใดๆ ทั้งสิ้น แต่เนื้อหาของความคิดของคุณและของคู่แฝดก็แตกต่างกัน ในขณะที่คุณคิดว่าเจ้าสิ่งที่ คุณสัมผัสอยู่ทุกวันคือ H2O คู่แฝดของคุณก็คิดว่าสิ่งที่ต่างออกไป แต่เขาก็สัมผัสและสัมพันธ์กับ มันอยู่ทุกวันในแบบเดียวกัน ก็เป็น H2O ด้วย ในขณะที่ความคิดของคุณเป็นสิ่งที่จริง ความคิดของ คู่แฝดของคุณกลับเป็นสิ่งที่เท็จ พัทนัมต้องการที่จะอ้างว่า บทเรียนของเรื่องนี้ก็คือ ข้อสมมติฐาน ทั้งหลายที่รองรับแนวคิดแบบดั่งเดิมเรื่องประพจน์เป็นสิ่งที่ผิด ความคิดว่าสิ่งที่ตัดสินเนื้อหาของ การกระทาทางจิตของบุคคล มีแค่ความสัมพันธ์ของบุคคลกับสิ่งนามธรรม ถูกตั้งข้อสงสัย สิ่งที่ เป็นสภาพแวดล้อมรูปธรรมที่บุคคลแตะต้องสัมพันธ์ด้วยโดยตรงกลายเป็นสิ่งที่ต้องนับเข้ามาใน ฐานะส่วนหนึ่งของเนื้อหาของการกระทาของจิตด้วย สอง ความคิดที่ว่าเนื้อหาของการกระทาของ จิตเป็ นสิ่งที่ มี อยู่ พ ร้อมให้กั บ บุ คคลก็ ถูก ตั้งคาถาม เพราะคุณ และคู่แฝดของคุณเหมือนกั นทุก ประการในทางกายภาพและในทางจิตวิทยา ประการสุดท้าย ความคิดที่ว่าสิ่งที่มีอยู่พร้อมให้บุคคล อยู่แล้ว คือสิ่งที่เป็นเจ้าของเบื้องแรกของค่าจริงเท็จก็ถูกตั้งคาถาม อะไรที่คุณและคู่แฝดของคุณ สามารถเข้าถึงในเชิงจิตวิทยาเป็นสิ่งที่ไม่มีความแตกต่างกัน แต่กระนั้น สิ่งที่คุณคิดเป็นจริง แต่สิ่ง ที่คู่แฝดของคุณคิดเป็นเท็จ

23

ดู Puttnam (1975)


143

การทดลองทางความคิ ดของพัทนัมให้ผลที่ไปไกลกว่าประเด็นทางอภิปรัชญาเกี่ย วกั บ ประพจน์ มันก่อให้เกิดคาถามในหลายๆ บริเวณของปรัชญา เช่น คาถามในปรัชญาภาษาเกี่ยวกับ ธรรมชาติของความหมาย และความสัมพันธ์ของความหมายกับการอ้างถึง คาถามในปรัชญาจิต เกี่ยวกับธรรมชาติของจิตเอง และเกี่ยวกับการลดทอนสิ่งทางจิตภาพมาสู่สิ่งทางกายภาพ คาถามใน ปรัช ญาวิท ยาศาสตร์ เ กี่ ย วกั บ ข้ อจ ากั ดในการอธิบ ายทางจิ ตวิ ทยา เป็ นต้ น มีง านเขี ย นเกิ ดขึ้ น มากมายรอบๆ การทดลองทางความคิดประเภทนี้ ส่วนหนึ่งเป็นความพยายามที่จะตัดสินถึงผล ของมันที่มิใช่แค่ดูเหมือนว่าเป็น แต่เป็นผลที่เป็นจริง กับกรอบการคิดแบบดั่งเดิมของประพจน์ ความพยายามดังกล่าวสร้างข้อโต้เถียงมากมาย และยังไม่มีผลอะไรออกมาที่ชัดเจน

ข้อเท็จจริง สภาวการณ์ และเหตุการณ์ นักอภิปรัชญาที่สนับสนุนภววิทยาของประพจน์มักอ้างว่ามีสิ่งแบบอื่นที่มีสถานะทางภว วิทยาที่ใกล้เคียงกับประพจน์ พวกเขาพูดถึงสิ่งอย่างข้อเท็จจริง(fact) สภาวการณ์ (state of affairs) และเหตุการณ์ (event) สิ่งเหล่านี้มีบทบาทที่สาคัญในการคิดทางอภิปรัชญาในยุคหลังๆ นี้ ประเด็น ทางปรัชญาในเรื่องของสิ่งประเภทนี้เป็นอะไรที่ซับซ้อนและยุ่งยาก เราไม่มีเวลามากพอที่จะเข้า ไปดูในประเด็นทางปรัชญาดังกล่าวในรายละเอียด แต่เรามีความจาเป็นที่จะต้องรู้จักคุ้นเคยกับสิ่ง ประเภทนี้เพื่อรองรับการอภิปรายในบทต่อๆไป ดังนั้น ขอให้เราเริ่มต้นด้วยข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงคืออะไร? คาตอบมาตรฐานก็คือ ข้อเท็จจริงคือสิ่งในโลกที่ทาให้ประพจน์ที่จริง เป็นจริง24 เราคงจาได้ถึงการอภิปรายเรื่องความเป็นจริงของประโยคภาคประธานและภาคแสดง ข้ออ้างก็คือ ในการที่ประพจน์ใดประพจน์หนึ่งจะเป็นจริง มันจะต้องมีความสัมพันธ์พิเศษกับสิ่ง ในโลก กล่ า วคื อ มั น ต้ อ ง “เข้ า กั บ ” สิ่ ง ในโลก ค าที่ มั ก ใช้ กั น ก็ คื อ มั น ต้ อ ง สอดคล้ อ ง (correspond)หรือสอดรับกับสิ่งในโลก ดังนั้น ประพจน์ที่เป็นจริงจะตั้งอยู่ในความสัมพันธ์ของ ความสอดคล้องกับหน่วยในโลก และด้วยเหตุแห่งการตั้งอยู่ในความสัมพันธ์ดังกล่าวมันจึงถูกถือ ว่าจริง ข้อโต้เถียงหลักที่ใช้ยืนยันความมีอยู่ของข้อเท็จจริง ในฐานะประเภททางภววิทยาที่แยก ต่างหากจากสิ่งประเภทอื่น เริ่มต้นด้วยการชี้ว่า เราไม่สามารถระบุได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ถึง 24

ดู “The philosophy of logical atomism” ใน Russell (1956) และ Wittgenstein (1961)


144

อะไรในโลกที่ ทาให้ป ระพจน์หนึ่งเป็นจริง เพีย งแค่ด้วยการเรียงไล่รายการของสิ่งเฉพาะและ คุณลักษณะที่ มีอยู่ในโลก ประพจน์ที่ว่าโอบามาเป็นคนผิวดาเป็นจริง แต่เราไม่สามารถระบุได้ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ถึงอะไรในโลกที่ทาให้ประพจน์นี้เป็นจริง เพียงแค่ด้วยการกล่าวถึงบุคคล เฉพาะคนหนึ่ง ซึ่งได้แก่โอบามา และกล่าวถึงคุณสมบัติของการมีผิวดา และกล่าวเพิ่มเติมว่าหน่วย ทั้งสองมีอยู่จริง เพราะการมีอยู่จริงของสิ่งทั้งสองไม่เป็นการเพียงพอสาหรับความเป็นจริงของ ประพจน์ที่ว่าโอบามาเป็นคนผิวดา หรือเราอาจจะคิดว่า ถ้าเราเพิ่มเติมรายการด้วยข้อต่อที่เรียกว่า การแสดงตัวอย่าง เราก็จะระบุถึงสิ่งที่ถือว่าเป็นตัวที่ทาให้ประพจน์ดังกล่าวเป็นจริงได้ สาเร็จ แต่ ถ้าเราตรึกตรองดูสักนิดก็จะรู้ว่าไม่ใช่ เป็นไปได้ที่ทั้งโอบามา คุณสมบัติของการมีผิวดา และข้อ ต่อของการแสดงตัวอย่าง จะมีอยู่จริง แต่ประพจน์ที่ว่าโอบามาเป็นคนผิวดาเป็นเท็จ ไม่มีรายการ ใดของสิ่งเฉพาะ สิ่งสากล และตัวเชื่อมต่อ ที่พอเพียงสาหรับการที่จะระบุถึงสิ่งที่ทาให้ประพจน์ นั้นเป็นจริง การที่จะระบุถึงสิ่งในโลกที่สอดคล้องหรือสัมพันธ์อย่างเข้าคู่ไปกับประพจน์นั้น ที่ทา ให้ประพจน์นั้นเป็นจริง เราต้องพูดอะไรอย่างเช่น “มันเป็นเรื่องจริงที่ว่าโอบามาเป็นตัวอย่างของ คุณสมบัติของการมีผิวดา” หรือ “มันเป็นข้อเท็จจริงที่ว่าโอบามาแสดงตัวอย่างของคุณสมบัติของ การมีผิวดา” และเมื่อเรากล่าวอย่างนี้ เรากาลังชี้ไปถึงอะไรบางอย่างที่อยู่นอกเหนือไปจากสิ่ง เฉพาะ คุณสมบัติและการเชื่อมต่อที่สัมพันธ์กับเรื่อง เรากาลังชี้ไปถึงข้อเท็จจริงข้อหนึ่ง แน่นอน ว่าข้อเท็จจริงที่เรากาลังชี้ไปถึง เกี่ยวพันไปถึงสิ่งเฉพาะ คุณสมบัติและข้อต่อดังกล่าว แต่มันไม่ สามารถจะลดทอนลงเป็ นสิ่ง เหล่า นั้น มั นเป็น สิ่งในประเภทที่แยกเฉพาะต่า งหากออกมาสิ่ ง เหล่านั้น ข้อเท็จจริงจึงเป็นสิ่งที่เป็นเรื่องจริงหรือสิ่งที่เป็นความจริง เรายกมันขึ้นมาพูดด้วยการอาศัย นามวลีที่อยู่ในรูป “ข้อเท็จจริงที่ว่า . . .” นามวลีพวกนี้บรรจุไว้ด้วยประโยคบอกเล่าเต็มรูป และ ประโยคบอกเล่าเต็มรูปที่เราใช้ในการระบุถึงข้อเท็จจริง ก็เป็นประโยคเดียวกันกับที่ปรากฏอยู่ใน วิธีมาตรฐานที่เราใช้ในการพู ดถึง ประพจน์ที่ข้อเท็จจริงนั้นทาให้เป็นจริง ฉะนั้นในการพูดถึง ประพจน์ เราใช้วลีว่า “ประพจน์ที่ว่าโอบามาเป็นคนผิวดา” และในการระบุถึงข้อเท็จจริงที่ทาให้ ประพจน์นั้นเป็นจริง เราใช้วลีว่า “ข้อเท็จจริงที่ว่าโอบามาเป็นคนผิวดา” ดังนั้น จึงมีความตรงกัน ในรูปร่างระหว่างสิ่งที่เราใช้ในการระบุประพจน์ที่จริง และสิ่งที่เราใช้ในการระบุข้อเท็จจริง ผู้ที่ ตีความประพจน์ว่าเป็นสิ่งที่มีโครงสร้าง มักอาศัยความตรงกันในรูปร่างนี้ในความพยายามที่จะ อธิบ ายความสัม พั นธ์ข องความสอดคล้อง ที่พ วกเขาอ้างว่ามีอยู่ ระหว่างประพจน์ที่จริง และ


145

ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวทาให้ประพจน์เหล่านั้นเป็นจริง พวกเขาอ้างว่าความตรงกันในเชิงภาษามี รากฐานมาจากความตรงกั นทางภววิท ยาที่ร องรั บอยู่ เ บื้องล่าง ทั้งประพจน์แ ละข้อ เท็จ จริง มี องค์ ป ระกอบซึ่ง เชื่ อมต่อหรือผูก โยงเข้าด้วยกั นในวิธีบางอย่ าง มีความคล้ายคลึงกั นระหว่า ง โครงสร้างทางภาษาของประโยค กับโครงสร้างทางภววิทยาของประพจน์และข้อเท็จจริง ฉะนั้น หน่วยซึ่งประกอบขึ้นเป็นประพจน์ ซึ่งได้แก่หน่วยทางความหมาย ชี้ไปสู่วัตถุ หรือเสนอภาพของ วัตถุในโลก หน่วยพวกนั้นเชื่อมต่อกันในวิธีบางอย่างของการประกอบกันขึ้นเป็นประพจน์ และ ด้วยการที่พวกมันประกอบกันขึ้นในวิธีเช่นนั้น ประพจน์ในฐานะผลรวมจึงเสนอภาพของโลกว่ า เป็นไปในลักษณะบางอย่าง ส่วนในด้านของข้อเท็จจริง องค์ประกอบของมันได้แก่สิ่งเฉพาะและ/ หรื อ สิ่ ง สากล หน่ ว ยพวกนี้ เ ชื่ อ มต่ อ เข้ า ด้ ว ยกั น ในวิ ธี บ างอย่ า งของการประกอบกั น ขึ้ น เป็ น ข้อเท็จจริง ประเด็นก็คือ หน่วยที่ประกอบกันขึ้นเป็นข้อเท็จจริงเป็นของแบบที่ถูกชี้ไปถึงหรือถู ก เสนอภาพ โดยหน่วยที่ป ระกอบขึ้นเป็นประพจน์ และเมื่อใดก็ตามที่หน่วยที่ประกอบขึ้นเป็น ข้อเท็ จจริง เชื่ อมต่อกั นในแบบที่ประพจน์ใ นฐานะภาพรวมนาเสนอหรือวาดภาพว่าพวกมัน เชื่อมต่อกัน ประพจน์นั้นก็จะถือได้ว่าเป็นจริง ความเป็นจริงของประพจน์จึงเป็นเรื่องของความ สอดคล้องในความหมายที่เข้มงวดที่สุด องค์ประกอบแต่ละหน่วยของประพจน์เสนอภาพของ องค์ประกอบหนึ่งหน่วยของข้อเท็จจริง และโครงสร้างของประพจน์ในฐานะผลรวม เสนอภาพ ของข้อเท็จจริงในฐานะภาพรวม ดังนั้น จึงมีความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่งระหว่างองค์ประกอบ และองค์รวม และเราก็ได้รับการบอกว่า ความจริงก็คือความสอดคล้อง แต่ก็ไม่ใช่ว่านักทฤษฎีข้อเท็จจริงทุกคนจะเข้าใจแนวคิดเรื่องความสอดคล้องว่าเป็นเรื่อง ของการเข้า คู่ กันแบบหนึ่งต่อหนึ่งอย่ างที่บรรยายมา นัก ทฤษฎีข้อเท็จจริงบางคนเสนอว่า เรา สามารถใช้แนวคิดว่าข้อเท็จจริงคือสิ่งที่สร้างให้ประพจน์เป็ นจริง โดยที่เราไม่จาเป็นต้องถือว่า ข้อเท็จจริงและประพจน์เป็นของแบบที่มีองค์ประกอบ แต่นี่ก็เป็นเพียงเสียงส่วนน้อย นักทฤษฎี ข้อเท็จจริงส่วนใหญ่เห็นว่า ทั้งประพจน์และข้อเท็จจริงมีอะไรที่เรียกว่าโครงสร้างทางตรรกะ25 ซึ่ง เกิดขึ้นทั้งจากธรรมชาติในตัวเองขององค์ประกอบของประพจน์และข้อเท็จริง และจากชนิดของ ความเชื่อมต่อที่ผูกองค์ประกอบเข้าด้วยกันเป็นประพจน์หรือข้อเท็จจริงที่พวกมันเป็น ฉะนั้น จึงมี นัก อภิ ป รั ช ญาที่ บ อกเราว่ า มี ป ระพจน์ แ บบเฉพาะ(ตัว อย่ า งเช่น ประพจน์ ที่ บ อกว่ าสิ่ ง เฉพาะ 25

ดู “The philosophy of logical atomism,” Lecture I ใน Russell (1956)


146

อย่างเช่น โอบามาเป็นคนผิวดา) เช่นเดียวกับที่มีข้อเท็จจริงแบบเฉพาะ ข้อเท็จจริงดังกล่าวถูกกล่าว ว่าแสดงถึงรูปแบบสองรูปแบบ คือเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการที่สิ่งเฉพาะหนึ่งสิ่งเป็นตัวอย่าง ของสิ่งสากลแบบหนึ่งตาแหน่ง ได้แก่ คุณสมบัติๆ หนึ่ง หรือชนิดๆ หนึ่ง หรือไม่ก็เป็นข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นจากสิ่งเฉพาะหลายๆ สิ่งเข้ามาอยู่ในความสัมพันธ์ต่อกันในแบบๆ หนึ่ง ซึ่งสามารถที่จะ เป็นโครงสร้างทางตรรกะแบบสองตาแหน่ง สามตาแหน่ง สี่ตาแหน่ง ฯลฯ ยิ่งกว่านั้น นักทฤษฎี ข้อเท็จจริงยังกล่าวถึงข้อเท็จจริงแบบทั่วไปที่ลดทอนไม่ได้ ซึ่งได้แก่ข้อเท็จจริงอย่างเช่นมนุษย์ ทุก คนต้องตาย สามเหลี่ยมทุกรูปมีสามด้าน ข้ออ้างที่ใช้รองรับข้อเท็จจริงแบบนี้ได้แก่ ข้อที่ว่าเราไม่ สามารถอนุมานความเป็นสากลที่แสดงออกด้วยคาว่าทุกๆ จากการไล่ลาดับข้อเท็จจริงแบบเฉพาะ ไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะยาวแค่ไหน และประการสุดท้าย นักทฤษฎีข้อเท็จจริงยังบอกว่า เช่นเดียวกับที่ เราแยกแยะระหว่างประพจน์แบบปฏิฐานและประพจน์แบบปฎิเสธ เราก็ต้องแยกแยะระหว่าง ข้อเท็จจริงแบบปฏิฐาน อย่างเช่น ข้อเท็จจริงที่ว่านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี และ ข้อเท็จจริงแบบปฏิเสธ อย่างเช่น ข้อเท็จจริงที่ว่าเธอไม่ได้เป็นนักแบดมินตันทีมชาติ ออกจากกัน ด้วยเช่นกัน ญาติ ใ กล้ ชิ ด ของข้ อ เท็ จ จริ ง ได้ แ ก่ สิ่ ง ที่ นั ก ปรั ช ญาเรี ย กว่ า สภาวการณ์ 26 ซึ่ ง ได้ แ ก่ ข อง อย่างเช่น การเป็นคนรูปร่างผอมของนายชวน หลีกภัย การที่สองบวกสองมีผลลัพธ์เท่ากับสี่ การที่ สะพานพุ ท ธเป็ นสะพานข้ ามแม่ น้าเจ้าพระยาที่เก่ าแก่ ที่สุดในกรุงเทพฯ การที่เก้าเป็น จานวน จาเพาะ การที่ประเทศไทยเป็นแชมป์ฟุตบอลโลก พวกมันเป็นสถานการณ์ ซึ่งเป็นของแบบที่เป็น เรื่องจาเป็นที่ พวกมั นต้องมี คุ ณสมบัติของการเป็นจริงหรือไม่ก็ เป็นเท็จ สภาวการณ์บางอย่ าง (อย่ า งเช่ น สภาวการณ์ ข องการที่ ส องบวกสองมี ผ ลลั พ ธ์ เ ท่ า กั บ สี่ ) เป็ น จริ ง โดยจ าเป็ น บาง สภาวการณ์ (อย่า งเช่น สภาวการณ์ข องการที่เก้ าเป็นจานวนจาเพาะ) เป็นเท็จโดยจาเป็น บาง สภาวการณ์ (อย่างเช่น สภาวการณ์ของการเป็นคนรูปร่างผอมของนายชวน หลีกภัย ) เป็นจริงเพียง โดยบังเอิญ และบางสภาวการณ์ (อย่างเช่น สภาวการณ์ของการที่ประเทศไทยเป็นแชมป์ฟุตบอล โลก) เป็นเท็จเพียงโดยบังเอิญ ตามที่เข้าใจกัน สภาวการณ์เป็นเหมือนสิ่งสากลของนักสัจนิยมแบบเพลโตนิยม นักเพลโต นิยมยืนยันว่าสิ่งสากลเป็นสิ่งนิรันดรและมีความมีอยู่อย่างจาเป็น นักปรัชญาที่ยอมรับสภาวการณ์ 26

ดูตัวอย่างการอภิปรายเรื่องสภาวการณ์ใน Plantinga (1970)


147

ก็ถือว่าทุกสภาวการณ์มีอยู่อย่างเป็นนิรันดรและอย่างจาเป็น และในแบบเดียวกับที่ นักเพลโตนิยม แยกแยะระหว่างความมีอยู่ของสิ่งสากล(อย่างเช่นคุณสมบัติ) กับการถูกแสดงตัวอย่าง นักปรัชญา ที่ยอมรับสภาวการณ์ก็ถือว่าความมีอยู่ของสภาวการณ์ และการเป็นจริงเป็นเท็จของมัน เป็นคนละ เรื่องกัน แม้ว่าจะเป็นเท็จโดยจาเป็น แต่สภาวการณ์ของการที่เก้าเป็นจานวนจาเพาะก็มีอยู่ มีสิ่ง อย่างว่า และนักปรัชญาที่ยอมรับสภาวการณ์ก็ไม่เห็นว่ามีปัญหาอย่างใดในการยอมรับข้อที่ว่านี้ สิ่งที่จะเป็นปัญหาก็คือการอ้างว่าสภาวการณ์นี้เป็นจริง แต่แน่นอนว่ามันไม่เป็นจริง และไม่อาจ เป็นจริง จะเห็นได้ว่า สภาวการณ์มีความสัมพั นธ์อย่ างใกล้ชิด กั บประพจน์ สิ่งที่เชื่อมโยงอยู่ กั บ สภาวการณ์ของการที่สองบวกสองเท่ากับสี่ ก็คือประพจน์ที่ว่าสองบวกสองเท่ากับสี่ และสิ่งที่ เชื่อมโยงอยู่ กับสภาวการณ์ของการที่เก้าเป็นจานวนจาเพาะ ก็คือประพจน์ที่ว่าเก้ าเป็นจานวน จาเพาะ ความเชื่อมโยงกันดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ นักปรัชญาที่ยอมรับสภาวการณ์ยืนยัน ว่ามีค วามสัมพันธ์เข้า คู่กันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ระหว่างประพจน์และสภาวการณ์ ประพจน์หนึ่ง ประพจน์ตัดสินเพียงแค่หนึ่งสภาวการณ์ และสภาวการณ์หนึ่งสภาวการณ์ก็ถูกตัดสินโดยเพียงแค่ หนึ่ง ประพจน์ ยิ่ ง กว่า นั้ น มี ค วามสั มพั น ธ์ที่ต ายตั วระหว่ างคุ ณสมบัติข องประพจน์ และของ สภาวการณ์ที่ประพจน์นั้นๆ ตัดสิน ประพจน์ๆ หนึ่งเป็นจริงก็ต่อเมื่อสภาวการณ์ที่มันตัดสินเป็น จริง และประพจน์ๆ หนึ่งเป็นเท็จก็ ต่อเมื่อสภาวการณ์ที่คู่กั นไม่เป็นจริง และในแบบเดียวกั น ประพจน์จะเป็นจริงโดยจาเป็นก็ต่อเมื่อสภาวการณ์ที่ มันตัดสินเป็นจริงโดยจาเป็น ประพจน์จะ เป็นเท็จโดยจาเป็นก็ต่อเมื่อเป็นไปไม่ได้ที่สภาวการณ์ที่มันตัดสินจะเป็นจริง ความเป็นจริงหรือ เป็นเท็จโดยบังเอิญของประพจน์ก็เกิดขึ้นในทานองเดียวกัน นักทฤษฎีสภาวการณ์ถือว่าความ เชื่อมโยงนี้รองรับความคิดที่ว่าความเป็นจริงของประพจน์ถูกตัดสินโดยวิธีที่สิ่งในโลกเป็นไป การที่ประพจน์หนึ่งจะเป็นจริงก็คือการที่สภาวการณ์ที่มันตัดสินเป็นความเป็นจริงของโลก ดังนั้น จึงมีความสอดคล้องระหว่างประพจน์ที่จริงและโลก ซึ่งนักทฤษฎีสภาวการณ์บอกว่าเราสามารถ อธิบายความสอดคล้องนี้ในภาษาของข้อเท็จจริง การที่ข้อเท็จจริงข้อหนึ่งมีอยู่คืออะไร? มันก็คือ การที่สภาวการณ์หนึ่งเป็นความเป็นจริงของโลก ฉะนั้น มันเป็นข้อเท็จจริงว่านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ต่อเมื่อสภาวการณ์การเป็นนายกรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์ เกิด เป็นจริง และถ้าสภาวการณ์ดังกล่าวเกิดเป็นจริงขึ้นมาจริงๆ เราก็สามารถพูดว่ามีข้อเท็จจริงที่ สอดคล้องกับประพจน์ที่ว่านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี


148

อย่างไรก็ตาม การพูดเรื่องข้อเท็จจริงและการพูดเรื่องสภาวการณ์กระตุ้นให้เกิดข้อกังวล ในกรณีของข้อเท็จจริง ข้อกังวลก็คือว่า แนวคิดเรื่องข้อเท็ จจริงกับแนวคิดเรื่องประพจน์ที่จริง มี ความใกล้ ชิ ดกั นเกิ น กว่า ที่ มั น จะมี บ ทบาทในการอธิบ ายอย่ างที่ นัก ทฤษฎี ข้อเท็ จจริ งคิด การ สอดคล้องกับข้อเท็จจริงถูกถือว่าคือสิ่งที่ทาให้ประพจน์เป็นจริง แต่ถ้านี่จะเป็นการอธิบายความ เป็นจริงของประพจน์ที่ไม่ใช่การพูดอย่างซ้าความ เราก็ต้องการแนวคิดเรื่องข้อเท็จจริงที่เป็นอิสระ จากความเข้าใจของเราในเรื่องประพจน์ที่เป็นจริง แต่ก็ดูเหมือนว่ามันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะว่า การพูดว่านี่หรือนั่นเป็นข้อเท็จจริงคืออะไร? มันก็คือการพูดว่ามันเป็นจริงไม่ใช่หรือ ? ฉะนั้น การ พูดว่า เป็นข้อเท็จจริงว่านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี ก็คือการพูดที่ไม่มากไม่น้อย ไปกว่าการพูดว่ามันเป็นจริงว่าเธอเป็นนายกรัฐมนตรี แต่แล้ว ก็ยากที่เราจะอ้างว่าได้ให้คาอธิบาย ต่อความจริงของประพจน์ดังกล่าว ด้วยการเสนอข้อเท็จจริงที่ว่าเธอเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะของ ทั้งสองอย่างที่จริงแล้วเป็นของอย่างเดียวกัน ในกรณี ข องสภาวการณ์ ข้ อ กั ง วลก็ คื อ ว่ า เราไม่ ต้ อ งการพร้ อ มกั น ทั้ ง ประพจน์ แ ละ สภาวการณ์ นักทฤษฎีสภาวการณ์บอกเราว่า มีความสัมพันธ์เข้าคู่กันแบบหนึ่งต่อหนึ่งระหว่างสิ่ง จากประเภททั้งสอง แต่ประพจน์และสภาวการณ์เหมือนกันอย่างมากจนยากที่จะเชื่อว่าเราต้องการ ทั้งคู่ ทั้งสองอย่างเป็นของที่รับรู้ในความเข้าใจ ดังนั้น ทั้งคู่จึงสามารถทาหน้าที่เป็นเนื้อหาหรือ วัตถุของการกระทาของจิต หรือของการกล่าวยืนยันและปฏิเสธ ยิ่งกว่านั้น แนวความคิดว่าด้วยค่า ความจริงของประพจน์ กับแนวคิดว่าด้วยการเป็นความจริงของโลก หรือการไม่เป็นความจริงของ โลก ของสภาวการณ์ ก็เหมื อนกันเสียจนกระทั่ง งานทางทฤษฎีอะไรที่เราใช้สิ่งหนึ่งทา เราก็ สามารถใช้อีกสิ่งหนึ่งแทนได้ และถ้าเป็นเช่นนั้น ก็มีเหตุผลให้คิดว่าทฤษฎีทางภววิทยาใดก็ตามที่ ถือประพจน์และสภาวการณ์ว่าเป็นประเภททางอภิปรัชญาที่แ ยกต่างหากจากกัน มีความผิดโทษ ฐานที่ทบทวีให้เกิดมีสิ่งจานวนมากขึ้นโดยไม่จาเป็น ข้ อ กั ง วลทั้ ง สองกระตุ้น ให้ เ กิ ด กรอบทางภววิ ท ยาที่ น าเสนอโดยโรเดอร์ ริ ค ชิ ส โฮล์ ม (Roderick Chisholm) ในช่วงทศวรรษที่เจ็ดสิบ27 เขาไม่เชื่อว่าความคิดเรื่องข้อเท็จจริงจะสามารถ แยกออกจากความคิ ดเรื่องประพจน์ที่เป็นจริงได้ และเขาก็ตระหนักถึงความคล้ายคลึงที่ผูกโยง แนวคิ ด เรื่ อ งประพจน์ แ ละสภาวการณ์ เ ข้ า ด้ ว ยกั น ที่ จ ริ ง แล้ ว เขาคิ ด ว่ า ความคล้ า ยคลึ ง ขยาย 27

ดูบทที่ 6 ของ Chisholm (1976)


149

ครอบคลุม ข้ า มประพจน์และสภาวการณ์ไ ปถึงสิ่งที่เราเรีย กว่าเหตุก ารณ์ด้วย แบบเดีย วกั บที่ ประพจน์ เป็ น จริ ง หรื อ เป็ น เท็ จ และสภาวการณ์ เ ป็น ความจริ ง หรือ ไม่เ ป็ นความจริง ของโลก เหตุ ก ารณ์ก็ เป็ น สิ่ง ที่ เกิ ดขึ้ น /เป็ นไป หรื อไม่เกิ ดขึ้น /ไม่ เป็น ไป ส าหรับ เขา ความคล้ ายคลึง นี้ สนับสนุนความคิดที่ว่าเรามีสิ่งอยู่ประเภทเดียว มากกว่าที่จะมีสิ่งสามประเภทที่แยกต่างหากจาก กัน ชิสโฮล์มถือแนวคิด เรื่องสภาวการณ์ว่าเป็นแนวคิดระดับพื้นฐาน ตามการอธิบายของเขา สภาวการณ์มีคุณลักษณะที่สาคัญสองประการ หนึ่ง มันเป็นสิ่งที่เราสามารถเข้าใจหรือนึกคิดถึง ซึ่งก็คือการที่มันสามารถเป็นวัตถุของการกระทาของจิต สอง มันเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นและ เป็นไป หรือไม่เกิดขึ้นไม่เป็นไป และการเกิดขึ้นของสภาวการณ์ก็เป็นคนละเรื่องกับความมีอยู่ ของมัน กล่าวคือ ทุกๆ สภาวการณ์มีอยู่อย่างจาเป็น แต่ไม่ใช่ว่าทุกๆ สภาวการณ์จะเกิดขึ้นหรือ เป็นไป ชิสโฮล์มคิดว่ามีสภาวการณ์อยู่สองชนิดหรือสองประเภท สาหรับสภาวการณ์บางอย่าง มัน เป็นสิ่งซึ่ง ถ้าเกิด ขึ้นมันก็จะเกิดขึ้นตลอดเวลา และถ้ามันไม่เกิดขึ้นมันก็จะไม่เกิดขึ้นตลอดกาล สาหรับสภาวการณ์ประเภทนี้ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะมีเวลาคนละเวลา ได้แก่เวลา t และ t' ซึ่ง สภาวการณ์ประเภทนี้จะเกิดขึ้น ณ เวลา t และไม่เกิดขึ้น ณ เวลา t' ชิสโฮล์มเรียกสภาวการณ์ ประเภทนี้ว่าประพจน์ และเขาบอกว่า การเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นของมันก็คือการมีค่าจริงหรือเท็จ ของมัน สาหรับสภาวการณ์อีกประเภทหนึ่ง มันเป็นไปได้ที่จะมีเวลาคนละเวลา t และ t' ซึ่ง สภาวการณ์ประเภทหลังนี้จะเกิดขึ้น ณ เวลา t และไม่เกิดขึ้น ณ เวลา t' ชิสโฮล์มเรียกสภาวการณ์ อย่างนี้ว่าเหตุการณ์ และเขาบอกว่าการเกิดขึ้นของมันก็คืออะไรที่เราเรียกว่าการอุบัติขึ้น หรือการ เกิดขึ้นของเหตุการณ์ ชิสโฮล์มกาลังถือว่าคุณสมบัติที่เป็นสารัตถะของสภาวการณ์ที่เขาเรียกว่าประพจน์ ก็คือการ ที่มันไม่เคยเปลี่ยนค่าความจริงเท็จของมัน ค่าความจริงเท็จที่ประพจน์หนึ่งมี ไม่ว่ามันจะมีค่าความ จริงเท็จนั้นอย่างจาเป็นหรืออย่างบังเอิญ มันก็จะมีค่าความจริงเท็จนั้นตลอดไป เราเคยได้กล่าว มาแล้วว่า ถ้าเราถือว่าประพจน์ที่ถูกแสดงออกโดยประโยคๆ หนึ่งจะมีรายละเอียดของเวลาและ สถานที่ ก ากั บ อยู่ ด้ ว ยเสมอ ประพจน์ ก็ จ ะมี ค่ า จริ ง เท็ จ อย่ า งตายตั ว (แต่ ถ้ า เราไม่ ถื อ ดั ง กล่ า ว ประพจน์ก็ อาจมี ค่ า จริง เท็ จที่ เปลี่ย นไปเปลี่ย นมาได้ เพราะประโยคว่า “นายกรัฐมนตรีก าลั ง


150

เดินทางไปที่ทาเนียบรัฐบาล” อาจเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ ขึ้นกับว่าถูกกล่าวเมื่อวันเวลาไหน) ดังนั้น ชิสโฮล์มกาลังถืออย่างที่ว่า แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้ นก็คือ เขากาลังถือว่าความตายตัวของค่าจริงเท็จคือ คุณสมบัติที่นิยามความเป็นประพจน์ของสภาวการณ์ และสาหรับสภาวการณ์ที่เขาเรียกว่าเหตุการณ์ ชิสโฮล์มถือว่าเหตุการณ์เป็นสิ่งซึ่งสามารถ เกิดซ้าๆ ได้ มันจึงเป็นสิ่งที่มีความทั่วไปกากับอยู่ในแง่ที่ว่า การเกิดขึ้นของมั นไม่จากัดเฉพาะกับ เวลาใด เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์สามารถเกิดขึ้น ณ เวลาที่จาเพาะเจาะจงบางเวลา และถ้ามัน เกิดขึ้น มันก็คงความมีอยู่ต่อไปหลังจากเวลานั้น และมันก็สามารถเกิดขึ้นอีกในเวลาต่อมา ดังนั้น ตามทัศนะของชิสโฮล์ม เมื่อเวลาที่ผมพูดไปถึงเหตุการณ์ที่ดูเหมือนจะเกิดซ้าไม่ได้ ที่จริงผมไม่ได้ กาลังทาอย่างนั้น เมื่อเวลาที่ผมพูดถึงน้าท่วมกรุงเทพฯ ที่เกิดขึ้นในปี 2554 และเมื่อผมพูดถึงน้า ท่วมกรุงเทพฯ ที่เกิดขึ้นในปี 2485 ผมอาจไม่ได้กาลังยืนยันความมีอยู่ของเหตุการณ์ที่จาเพาะ เจาะจงสองเหตุการณ์ อย่างที่เกิดขึ้นอย่างละครั้ ง ผมอาจจะกาลังพูดถึงเหตุการณ์เดียว อย่างที่บ่งชี้ ว่ามันเกิดขึ้น ณ ต่างเวลา ดังนั้นไม่เพียงชิสโฮล์มจะถือว่าเหตุการณ์เป็นสิ่งทั่วไปที่สามารถเกิด หรืออุบัติซ้าๆ ได้ แต่เขากาลังถือว่านี่คือคุณสมบัติที่นิยามความเป็นเหตุการณ์ของสภาวการณ์ ชิสโฮล์มอ้างว่ากรอบที่เขาเสนอมานี้สามารถรองรับข้อมูลต่างๆ ที่ทฤษฎีว่าด้วยประพจน์ ทฤษฎีว่าด้วยข้อเท็จจริง และทฤษฎีว่าด้วยเหตุการณ์ จะต้องสามารถรองรับ ถ้าหากจะเป็นทฤษฎีที่ ถือได้ว่าเพียงพอ นี่เป็นข้ออ้างที่สูงมาก อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนเมื่อถึงตอนนี้เขาจะเปลี่ยนความคิด ไปแล้ว28 ในปีหลังๆ นี้ เขาให้ความสนใจกับกรอบทางภววิทยาที่ปฎิเสธเวลาว่าเป็นสิ่งที่มีตัวมีตน กรอบดังกล่าวไม่อาจรองรับการมีเนื้อหาของประพจน์แบบที่ทาให้ค่าจริงเท็จของมันคงตัวไม่ เปลี่ ย นแปลง กล่ า วคื อ ถ้ า เวลาไม่ มี อ ยู่ จ ริ ง ท าไมเราจึ ง ควรคิ ด ว่ า เมื่ อ ผมพู ด ในวั น นี้ ว่ า “นายกรัฐมนตรีกาลังเดินทางไปที่ทาเนียบรัฐบาล” ผมกาลังแสดงออกถึงประพจน์ที่ต่างออกไป จากประพจน์ที่แสดงออกด้วยประโยคเดียวกัน ที่ผมจะพูดในวันพรุ่งนี้ แต่แม้จะไม่ชัดเจนว่าจุดยืน ของชิสโฮล์มในเรื่องการเปลี่ยนแปลงค่าจริงเท็จจะเป็นอย่างไร ก็ไม่มีอะไรให้ต้องสงสัยอีกแล้วว่า ในตอนนี้เขาปฏิเสธความคิดที่ว่าเหตุการณ์เป็นสิ่งที่เกิดซ้าได้ และเขาเห็นว่าเหตุการณ์เป็นสิ่ง เฉพาะ

28

ดู “States and events” ใน Chisholm (1989)


151

ในเรื่องดังกล่าว ชิสโฮล์มเข้าร่วมกับแนวคิดกระแสหลักว่าด้วยเหตุการณ์ของยุคหลัง ซึ่ง มองว่าเหตุการณ์เป็นสิ่งเฉพาะที่สามารถระบุวันเวลาและสถานที่ ตามทัศนะนี้ เมื่อผมพูดถึงน้า ท่วมกรุงเทพฯ เมื่อปี 2485 ผมกาลังพูดถึงเหตุการณ์เฉพาะที่ไม่อาจเกิดซ้าได้ มีทฤษฎีที่ตีความ เหตุการณ์ว่าเป็นสิ่งเฉพาะอยู่สองทฤษฎีที่มีอิทธิพลและควรกล่าวถึง ทฤษฎีแรกเป็นของเจกวอน คิม (Jaegwon Kim)29 ตามทัศนะของเขา ความคิดเรื่องเหตุการณ์ เป็นความคิดเกี่ยวกับการที่ สิ่ง เฉพาะแบบบั ง เอิ ญ จริ ง เป็ น ตั ว อย่ า งแสดงของคุ ณ สมบั ติ ห นึ่ ง ณ เวลาหนึ่ ง ตามความคิ ด นี้ เหตุการณ์เป็นสิ่งที่มีโครงสร้าง กล่าวคือ ทุกๆ เหตุการณ์จะเป็นเรื่องของ หนึ่ง สิ่งเฉพาะแบบ บังเอิญจริงหนึ่งสิ่งหรือหลายสิ่ง สอง คุณสมบัติบางอย่าง สาม เวลาบางเวลา และการที่เหตุ การณ์ จะมีอยู่หรือเกิดขึ้น ก็คือการที่สิ่งเฉพาะหนึ่งสิ่งหรือหลายสิ่งที่ว่า มีคุณสมบัติอย่างที่ว่า ณ เวลาที่ว่า ดัง นั้ น เหตุ ก ารณ์ ก และเหตุ ก ารณ์ ข จะเป็ นเหตุก ารณ์เ ดี ย วกั นก็ ต่ อเมื่ อ เหตุก ารณ์ ทั้ งสองมี องค์ ป ระกอบของสิ่ ง เฉพาะ คุ ณ สมบั ติ และเวลา ที่ เ ป็ น หนึ่ ง เดี ย วกั น ทั้ ง หมด ตามทั ศ นะนี้ เหตุการณ์น้าท่วมกรุงเทพฯ ของปี 2485 และของปี 2554 จึงเป็นคนละเหตุการณ์ เพราะแม้ว่าสิ่ง เฉพาะที่เกี่ยวข้องจะเป็นสิ่งเดียวกัน คือ กรุงเทพฯ และคุณสมบัติที่สิ่งเฉพาะนั้นแสดงตัวอย่างจะ เป็นคุณสมบัติเดียวกัน คือ การถูกน้าท่วม แต่องค์ประกอบเรื่องเวลาเป็นคนละเวลากัน คาอธิบายเรื่องเหตุการณ์ที่ต่างออกไปเป็นของโดนัลด์ เดวิดสัน (Donald Davidson)30 เดวิด สันคิดว่ามีเหตุผลอยู่สองประการที่ทาให้เราต้องถือว่าเหตุการณ์เป็นประเภททางภววิทยาเฉพาะ ของตัวเอง เหตุผลที่หนึ่งก็คือ เราต้องการเหตุการณ์ไว้ให้ทาหน้าที่เ ป็นหน่วยของความสัมพันธ์ ของความเป็นสาเหตุและผล เหตุผลที่สองก็คือ เราต้องการเหตุการณ์เอาไว้อธิบายพฤติกรรมของ คากริยาวิเศษณ์ ในประโยคอย่าง (21) น้าเดือดอย่างรวดเร็วในครัวเมื่อเช้านี้ เขาต้องการที่จะอ้างว่า วิธีเดียวที่เราจะสามารถให้คาอธิบายที่น่าพอใจถึงรูปแบบทางตรรกะของ ประโยคอย่าง (21) ก็คือด้วยการตีความคากริยาวิเศษณ์ในประโยค ซึ่งได้แก่ “อย่างรวดเร็ว” “ใน ครัว” และ “เมื่อเช้านี้” ว่าเป็นเหมือนคาคุณศัพท์ที่ใช้ขยายความหรือบรรยายเหตุการณ์ ตามการ 29

ดูตัวอย่างใน “Events and property exemplifications” ใน Kim (1993)

30

ดูตัวอย่างใน “The individuation of events” ใน Davidson (1980)


152

ตีความของเขา (21) เป็นเรื่องของการยืนยันความมีอยู่ มันบอกเราว่ามีเหตุการณ์ๆ หนึ่ง ได้แก่การ เดือดของน้า และบรรยายเหตุการณ์นั้นว่าเป็นไปอย่างรวดเร็ว เกิดขึ้นในครัว และเกิดขึ้นเมื่อเช้านี้ ตามทัศนะนี้ เหตุการณ์เป็นสิ่งเฉพาะ แต่เป็นสิ่งเฉพาะที่สามารถที่จะบรรยายหรืออธิบายได้ด้วยวิธี ต่างๆ นาๆ ตามทัศนะของเดวิดสัน มีเหตุการณ์ๆ เดียวที่สามารถบรรยายว่าเป็นการที่ผมสับสวิตช์ เป็นการที่ผมเปิดไฟ เป็นการที่ผมทาให้แมวตกใจ เป็นการที่ผมเปิดเผยความสกปรกของห้อง และ เป็ น การที่ ผ มให้ แ สงสว่ า งส าหรั บ ที่ คุ ณ จะอ่ า นหนั ง สื อ พิ ม พ์ ขอให้ สั ง เกตว่ า ตามการเข้ า ใจ เหตุการณ์ในแบบของคิม เราจะมีเหตุการณ์ที่ต่างกันออกไปห้ าเหตุการณ์ เหตุการณ์ทั้งห้าเกิดขึ้น ในเวลาเดียวกัน แต่มันเป็นเรื่องของคุณสมบัติที่ต่างกันออกไปห้าอย่าง แม้ว่าผมจะปรากฏร่วมอยู่ ในทั้งห้าเหตุการณ์ แต่มีสิ่งเฉพาะหนึ่งสิ่งหรือมากกว่านั้น ที่แยกต่างหากจากผม และแยกต่างหาก จากกั น อยู่ ใ นแต่ล ะเหตุก ารณ์ อย่ างไรก็ ตาม ตามความเข้าใจของเดวิดสัน เหตุก ารณ์เป็นสิ่ง เฉพาะที่ไร้โครงสร้างในความหมายที่ว่า เหตุการณ์ใดๆ ก็ตามล้วนแต่สามารถที่จะบรรยายได้ด้วย วิธีที่หลากหลาย โดยที่แต่ละวิธีนั้นอาจพาดพิงไปถึงคุณสมบัติที่ต่างกันและสิ่งเฉพาะที่ต่างกัน แต่ ถ้าเหตุการณ์ปราศจากซึ่งโครงสร้าง (อย่างที่คิมบรรยายว่ามี) เหตุการณ์หนึ่งจะถูกตัดสินว่าเป็นสิ่ง ที่ต่างหากจากเหตุการณ์อื่นด้วยวิธีอะไร? อะไรคือสิ่งที่แยกแยะเหตุการณ์ออกเป็นหน่วยเฉพาะ? เดวิดสันถือข้อเท็จจริงที่ว่าเราสามารถบรรยายเหตุการณ์ได้หลายวิธี ว่าเป็นสิ่งที่แสดงว่าเหตุการณ์ ไม่ได้ถูกแยกแยะเป็นหน่วยเฉพาะจากคุณลักษณะที่มีอยู่ “ภายในตัวเอง” ของมัน ดังนั้น ด้วยการ อาศัยปัจจัย “ภายนอก” เท่านั้นที่เหตุการณ์หนึ่งจะถูกตัดสินว่าแยกต่างหากจากเหตุการณ์อื่น และ ในการระบุปัจจัยภายนอก เดวิดสันอาศัยความเชื่อมโยงที่มีอยู่ระหว่างความคิดเรื่องความเป็น สาเหตุและผลและความคิดเรื่องเหตุการณ์ เขาบอกว่าเหตุการณ์ ก จะเป็นสิ่งเดียวกันกับเหตุการณ์ ข ก็ต่อเมื่อ ก และ ข มีสาเหตุทั้งหมดที่เป็นอย่างเดียวกัน และมีผลทั้งหมดที่เป็นอย่างเดียวกัน เราจึงมีทฤษฎีว่าด้วยเหตุการณ์อยู่สามทฤษฎี มีคาอธิบายของชิสโฮล์มในทศวรรษที่เจ็ด สิบที่ตีความเหตุการณ์ว่าเป็นสภาวการณ์แบบทั่วไปหรือเกิดซ้าๆ ได้ ซึ่งถูกแยกเป็นหน่วยเฉพาะ ด้วยเนื้ อหาที่ มั นปรากฏต่ อสิ่ ง ที่ มี ปั ญ ญา มีค าอธิบ ายของคิม ที่ตีค วามเหตุก ารณ์ว่ าเป็ นหน่ว ย เฉพาะที่มีโครงสร้าง ซึ่งมี สิ่งเฉพาะหนึ่งสิ่งหรือมากกว่าหนึ่งสิ่ง คุณสมบัติประการหนึ่ง และ เวลาๆ หนึ่ง เป็นองค์ประกอบ และมีคาอธิบายของเดวิดสันซึ่งตีความเหตุการณ์ว่าเป็นสิ่งเฉพาะไร้ โครงสร้าง ที่ถูกแยกแยะออกจากกันด้วยประวัติของความเป็นสาเหตุและผลของพวกมัน คาถาม สาคัญของอภิปรัชญาในยุคหลังๆ นี้ก็คือ จะมีคาอธิบายใดหรือไม่ที่สามารถตอบต่อข้อเรียกร้อ ง


153

ต่างๆ ทั้งหมด ที่ทฤษฎีว่าด้วยเหตุการณ์จะต้องเผชิญ ตัวอย่างของข้อเรียกร้องพวกนี้ก็ได้แก่ การที่ ทฤษฎี เหตุก ารณ์จะต้องสามารถรองรับประโยคอย่ างที่เดวิดสันพู ดถึง การที่ทฤษฎีเหตุการณ์ จะต้องช่วยสร้างความกระจ่างให้กับความคิดว่าด้วยความเป็นสาเหตุและผล เพราะเหตุการณ์ ถูก ถือว่าเป็นสิ่งแบบที่ตั้งอยู่ในความสัมพันธ์ของความเป็นสาเหตุและผล เราต้องการคาอธิบายของ เหตุการณ์ที่สอดคล้องกับทฤษฎีว่าด้วยการอธิบาย เพราะหนึ่งในสิ่งหลักๆ ที่เราอธิบายก็คือการ เกิ ดขึ้ นของเหตุก ารณ์ เราต้อ งการความเข้ าใจต่อ เหตุก ารณ์ ถ้า เราจะเข้ าใจความคิ ดเรื่อ งการ เปลี่ยนแปลงและเวลา ความก้าวหน้าในปรัชญาจิตซึ่งคาถามเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ ทางจิตและเหตุการณ์ทางกายภาพ เป็นคาถามสาคัญซึ่งถือไว้ล่วงหน้าแล้วว่าเรารู้ว่าเหตุการณ์เป็น สิ่งประเภทอะไร และเนื่องจากการกระทาของมนุษย์ก็เป็นเหตุการณ์ประเภทหนึ่ง จึงยากที่ เราจะ หวังที่ จะสร้างความกระจ่างให้กั บทฤษฎีว่าด้วยการกระทา หรือให้กั บจริยศาสตร์ ถ้าเราไม่มี คาอธิบายที่ดีพอให้กับความคิดเรื่องเหตุการณ์ อาจเป็นได้ว่าหนึ่งในสามทฤษฎีที่เราอภิปรายมา (หรือบางทีอาจเป็นทฤษฎีอื่น ) จะให้ แนวความคิดเรื่องเหตุการณ์ที่เพียงพอที่จะตอบสนองต่อข้อเรียกร้องทั้งหมดนี้ แต่ก็อาจเป็นได้ว่า ความคิดว่าด้วยเหตุการณ์ของเราจะขาดซึ่งเอกภาพแบบที่จะทาให้มันสามารถอยู่ใต้ทฤษฎีเดียว อาจเป็นได้ว่าเราต้องการทฤษฎีแบบของชิสโฮล์มเพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องกลุ่มหนึ่ง แบบ ของคิ ม เพื่ อตอบสนองข้อเรีย กร้องอีกกลุ่มหนึ่ ง แบบของเดวิดสัน หรือแบบของคนอื่น 31 เพื่ อ ตอบสนองข้อเรียกร้องอีกกลุ่มหนึ่ง ยังไม่มีข้อตัดสินใดๆ ในเรื่องนี้.

31

ตัวอย่างเช่นทฤษฎีที่อธิบายเหตุการณ์ว่าเป็นโทรป ดู Bennett (1988)


154

บทที่ 5 สิ่งจาเป็นจริงและสิ่งเป็นไปได้ ปัญหาว่าด้วยโมดัลภาวะ ตลอดสี่บ ทที่ ผ่า นมา เราใช้ แ นวความคิดเรื่องความจาเป็ น ความเป็นไปได้และความ บังเอิญ อย่างอิสระ เราเปรียบเทียบประพจน์ที่จริงหรือเท็จโดยจาเป็นกับประพจน์ที่เป็นจริงหรือ เท็จโดยบังเอิญ เราแยกแยะระหว่างประพจน์ที่เป็นไปได้ที่จะจริงกับประพจน์ที่เป็นไปไม่ได้เลยที่ จะจริง ในแบบเดีย วกัน เราก็ เปรียบเทียบสภาวการณ์ที่เกิ ดขึ้นหรือที่ไ ม่เ กิ ดขึ้นโดยจาเป็น กั บ สภาวการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นเพียงโดยบังเอิญ ยิ่งกว่านั้น เราแยกแยะระหว่างคุณลักษณะที่ เป็นสารัตถะของวัตถุ ซึ่งวัตถุแสดงตัวอย่างของคุณลักษณะพวกนั้นอย่างจาเป็น กับคุณลักษณะที่ มันแสดงให้เห็นเพียงโดยบังเอิญ ความคิดเรื่องความจาเป็น ความเป็นได้ ความเป็นไปไม่ได้ และ ความเป็นไปโดยบังเอิญ แนวคิดพวกนี้รวมกันเรียกว่าโมดัลภาวะ (modality) การอธิบายแนวคิด พวกนี้ของเราเป็นไปอย่างคร่าวๆ ตัวอย่างเช่น เราพูดว่าประพจน์เป็นจริงโดยจาเป็นเมื่อมันเป็นไป ไม่ได้ที่จะเป็นเท็จ เราพูดว่าคุณลักษณะหนึ่งเป็นสารัตถะหรือเป็นสิ่งเป็นจริงโดยจาเป็นของสิ่งๆ หนึ่ง ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นไม่สามารถมีอยู่โดยปราศจากคุณลักษณะนั้น นั่นก็คือ เราอธิบายแนวคิดเรื่อง โมดัลภาวะประเภทหนึ่งด้วยแนวคิดเรื่องโมดัลภาวะอีกประเภทหนึ่ง นี่เท่ากับการถือไว้ล่วงหน้า ว่าแนวคิดเรื่องโมดัลภาวะเป็นสิ่งที่ไ ม่ มีปัญหา ซึ่งก็คือการถือเอาว่าเราทุก คนมีความเข้าใจต่อ แนวคิดพวกนี้ และถือว่านี่เป็นข้อเท็จจริงที่เราไว้วางใจได้ อย่างไรก็ตาม มีนักปรัชญาจานวนมากที่จะท้าทายการใช้แนวความคิดพวกนี้อย่างอิสระ ของเรา1 พวกเขาจะอ้างว่าแนวคิดเรื่องโมดัลภาวะเป็นสิ่งที่มีปัญหา พวกเขาจะพูดว่าเราคิดไปเอง ว่าเราเข้าใจแนวคิดเรื่องโมดัลภาวะอย่างชัดเจน และว่าเรากาลังทาตัวเองให้คลุมเครือด้วยการนา 1

นักปรัชญาที่วิจารณ์และคัดค้านการใช้แนวความคิดเรื่องความจาเป็นและความเป็นไปได้ ที่เด่นที่สุดคือ Quine ดู

ตัวอย่าง “Two dogmas of empiricism” ใน Quine (1954) และ Quine (1960: 195-200)


155

แนวคิดพวกนี้มาใช้ เหตุผลที่นักปรัชญาพวกนั้นตั้งข้อสงสัยต่อแนวคิดเรื่องโมดัลภาวะมีได้หลาย ประการ เหตุ ผ ลประการหนึ่ ง มาจากการใช้ แ นวทางของนั ก ประสบการณ์ นิ ย ม ในเรื่ อ งของ อภิปรัชญา นักประสบการณ์นิยมท้าทายต่อการใช้แนวคิดที่ไม่สามารถสืบกลับไปหาต้นตอใน ประสบการณ์ที่เรามีต่อโลก พวกเขายืนยันว่าประสบการณ์ไม่เคยเปิดเผยว่าอะไรจาเป็นหรือว่า อะไรเป็นไปได้ แต่บอกแค่ว่าอะไรเป็นอยู่ และพวกเขาอ้างเหตุผลว่า ถ้าประสบการณ์ที่เรามีต่ อ โลกแสดงว่าโลกไม่มีลักษณะแบบโมดัล เราก็ไม่มีอะไรมารองรับการใช้แนวคิดแบบโมดัลมา บรรยายโครงสร้างทางอภิปรัชญาของโลก ตามทัศนะของพวกเขา การพูดเรื่องโมดัลภาวะว่าอะไร จาเป็น เป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้ เป็นสิ่งทาได้เฉพาะกับภาษาเท่านั้น พวกเขายอมรับว่าเรา สามารถพูดว่า มันเป็นจริงโดยจาเป็นว่าคนโสดคือคนที่ยังไม่แต่งงาน แต่พวกเขาก็จะไม่ยอมรับว่า การพูดเช่นนี้เป็นการแสดงถึงลักษณะประการใดของโลก การพูดเรื่องความจาเป็นจริงเพียงแค่ สะท้อนการตัดสินใจของเราว่าจะใช้คาในลักษณะเช่นไรเท่านั้น คนโสดเป็นคนที่ยังไม่แต่งงาน เป็นจริงโดยจาเป็นก็แต่เพียงในความหมายที่ว่ามันเป็นจริงโดยความหมายของคาว่า “โสด” และ คาว่า “ยังไม่แต่งงาน” เท่านั้น นั่นก็คือ มันเป็นความจาเป็นที่เป็นเรื่องทางภาษาเท่านั้น การโต้แย้งกับการใช้แนวคิดแบบโมดัลในอภิปรัชญาของนักประสบการณ์นิยม มีประวัติ ยาวนานย้อนกลับไปถึงฮูม (Hume) มีข้อโต้แย้งอีกแบบหนึ่งที่มีอิทธิพลอยู่ในช่วงต้นของศตวรรษ ที่ยี่สิบ ซึ่งถือกาเนิดมาจากแนวคิดว่าด้วยภาษาที่เหมาะสมและพอเพียงสาหรับปรัชญา ข้ออ้างก็คือ ว่า ชุดของประโยคหรือกลุ่มของข้อความ จะผ่านมาตรฐานที่จะเป็นภาษาที่เหมาะสมและพอเพียง สาหรับปรัชญา ก็ต่อเมื่อมันมีลักษณะในเชิงของการครอบคลุม (extensional) แล้วชุดของประโยค หรือกลุ่มของข้อความที่มีลักษณะในเชิงของการครอบคลุมคืออะไร? นี่เป็นคาถามที่ยาก แต่ก็อาจ พอตอบได้ว่า ส่วนหนึ่งของภาษาจะมีลักษณะในเชิงของการครอบคลุม ถ้าประโยคแต่ละประโยค ของมันจะไม่เปลี่ยนค่าความจริงไปจากเดิม เมื่อเราแทนที่คาที่เป็นส่วนประกอบของประโยคพวก นั้นด้วยคาที่อ้างอิงถึงสิ่งเดียวกัน คาเอกพจน์สองคาอ้างอิงถึงสิ่งเดียวกันเมื่อพวกมันเป็นชื่อของสิ่ง เดียวกัน คาทั่วไปสองคาอ้างอิงถึงสิ่งเดียวกันเมื่อพวกมันเป็นจริงต่อวัตถุกลุ่มเดียวกัน หรือได้รับ การตอบสนองด้วยวัตถุกลุ่มเดียวกัน และประโยคสองประโยคอาจกล่าวว่าอ้างอิงถึงสิ่งเดียวกันถ้า พวกมันมีค่าความจริงเดียวกัน ประโยคแต่ละประโยคข้างล่างนี้เป็นสิ่งที่แสดงบริบทในเชิงของ การครอบคลุม


156

(1) บิล คลินตันมาเที่ยวพักผ่อนที่เมืองไทย (2) มนุษย์ทุกคนต้องตาย (3) สองบวกสองเป็นสี่ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีของไทย สมมติเราแทนที่ “บิล คลินตัน” ใน (1) ด้วยคาที่อ้างอิงถึงสิ่งเดียวกันคือ “ประธานาธิบดีคนที่สี่สิบ สองของสหรัฐอเมริกา” เราก็จะได้ประโยคที่มีค่าความจริงเท็จแบบเดียวกับ (1) และในแบบ เดียวกัน ถ้าเราแทนที่คาทั่วไปว่า “มนุษย์” ด้วยคาที่อ้างอิงถึงสิ่งเดียวกันคือ “สัตว์สองเท้าขนบาง” เราก็จะได้ประโยคซึ่งจะเป็นจริงถ้า (2) เป็นจริง และจะเป็นเท็จถ้า (2) เป็นเท็จ และเช่นเดียวกัน ถ้าเราแทนที่ “สองบวกสองเป็นสี่” ใน (3) ด้วย “รูปสามเหลี่ยมมีมุมสามมุม” เราก็จะได้ประโยคที่ มีค่าความจริงเดียวกันกับ (3) นักปรัชญาในครึ่งแรกของศตวรรษที่ยี่สิบมักจะอ้างว่ากลุ่มของข้อความที่สมควรค่าต่อ การยอมรับในการค้นคว้าทางปรัชญา จะต้องมีลักษณะในเชิงของการครอบคลุมในความหมาย แบบที่กล่าวมา ทาไม? มีเหตุผลอยู่หลายประการ แต่ข้ออ้างหลักก็คือว่า เมื่อภาษาเป็นไปในเชิง การครอบคลุม เราก็จะเห็นความสัมพันธ์ในเชิงการอนุมานระหว่างประโยคต่างๆ อย่างชัดเจน และเหตุผลในเรื่องนี้ก็คือ เรามีระบบทางตรรกะที่มั่นคง ที่เราเข้าใจการทางานของพวกมันอย่าง ทะลุปรุโปร่ง ที่จะใช้วางรายละเอียดของความสัมพันธ์ทางตรรกะระหว่างประโยคในภาษาที่มี ลักษณะในเชิงของการครอบคลุม เรามีตรรกวิทยาระดับประพจน์ที่ให้รายละเอียดของพฤติกรรม ทางตรรกะของตัวเชื่อมประโยคหรือประพจน์ (“ไม่ใช่ว่า” “และ” “หรือ” “ถ้า แล้วก็” “ถ้าและต่อ เพียงถ้า”) และมีตรรกวิทยาระดับภาคแสดง ที่แสดงถึงวิธีที่โครงสร้างภายในของประโยคจะมีผล ต่อความสัมพันธ์ในเชิงการอนุมานที่ประโยคมีต่อกัน รวมถึงมีทฤษฎีเซ็ทที่แสดงถึงความสัมพันธ์ ในเชิงการอนุมานระหว่างประโยคที่แสดงถึงความสัมพันธ์ตามทฤษฎีเซ็ท ดังนั้น เมื่อภาษาเป็ นการครอบคลุม เราก็จะมีตรรกวิทยาที่บอกให้เรารู้อย่ างชัดเจนว่า ประโยคใดจะตามมาจากชุดของประโยคใด และนี่เ ป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าทาให้ภาษาแบบการ ครอบคลุมเป็นภาษาที่เหมาะกับการค้นคว้าทางปรัชญา แต่นี่ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของโมดัลภาวะ อย่างไร? ประเด็นก็คือ เราไม่อาจวางใจว่าประโยคที่มีคาที่แสดงถึงแนวคิดเชิงโมดัลจะผ่านเกณฑ์ ของการครอบคลุม ตัวอย่างจะช่วยให้เห็นถึงข้อยุ่งยากดังกล่าว เนื่องจาก (4) สองบวกสองเป็นสี่ และ คนโสดคือคนที่ยังไม่แต่งงาน


157

เป็นจริงโดยจาเป็น (5) มันเป็นจริงโดยจาเป็นว่าสองบวกสองเป็นสี่ และ คนโสดคือคนที่ยังไม่แต่งงาน ก็เป็นจริง แต่ถ้าเราแทนที่ “สองบวกสองเป็นสี่ ” ใน (5) ด้วยประโยคที่มีค่าความจริงเดียวกั น อย่างเช่น “บิล คลินตัน เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา” ซึ่งได้ออกมาเป็น (6) มันเป็นจริงโดยจาเป็นว่าบิล คลินตัน เป็นประธานาธิบดี และ คนโสดคือคนที่ยังไม่ แต่งงาน ผลที่ ไ ด้ นี่ ก็ อ อกมาเป็ น เท็ จ เพราะการที่ เ ป็ น จริ ง เพี ย งโดยบั ง เอิ ญ ที่ ว่ า บิ ล คลิ น ตั น เป็ น ประธานาธิบดี ประโยคเชื่ อมที่ว่า “บิล คลินตัน เป็นประธานาธิบดี และ คนโสดคือคนที่ยังไม่ แต่งงาน” ก็ย่อมเป็นจริงโดยบังเอิญตามไปด้วย ดังนั้น การนาความคิดเรื่องความจาเป็นเข้ามาใช้ ทาให้ (4) ซึ่งเป็นประโยคแบบการครอบคลุม กลายเป็นประโยคแบบที่ไม่ใช่การครอบคลุม หรือ ตามที่ พู ด กั น อี ก แบบหนึ่ ง การน าความคิ ด เรื่ อ งความจ าเป็ น เข้ า มาใช้ เ ปลี่ ย นบริ บ ทแบบการ ครอบคลุมให้เป็นบริบทแบบความเข้าใจภายใน (intensional context) (7) คนที่แก่ที่สุดในกรุงเทพฯ คือคนที่มีอายุมากกว่าคนอื่นทุกคนในกรุงเทพฯ ก็อยู่ในบริบทแบบการครอบคลุม ซึ่งค่าความจริงของมันจะไม่เปลี่ยนเมื่อเราแทนที่ “คนที่แก่ที่สุด ในกรุงเทพฯ” ด้วยคาว่า “นายสมบูรณ์ สุขสม” อย่างไรก็ตาม (7) แสดงออกถึงความจริงที่จาเป็น ดังนั้น (8) มันเป็นจริงโดยจาเป็นว่าคนที่แก่ที่สุดในกรุงเทพฯ คือคนที่มีอายุมากกว่าคนอื่นทุก คนในกรุงเทพฯ ก็เป็นจริงด้วย แต่ (8) ไม่อยู่ในบริบทแบบการครอบคลุ มแบบที่ (7) เป็นอีกต่อไปแล้ว เพราะเมื่อ เราแทนที่คาที่อ้างถึงสิ่งเดียวกันดังกล่าวใน (8) ผลที่เราได้ก็คือ (9) มันเป็นจริงโดยจาเป็นว่านายสมบูรณ์ สุขสม คือคนที่มีอายุมากกว่าคนอื่นทุกคนใน กรุงเทพฯ


158

ซึ่ ง เป็ น เท็ จ ด้ ว ยเหตุ ที่ ว่ า เป็ น เรื่ อ งเป็ น ไปได้ ที่ จ ะมี ค นที่ อ ายุ ม ากกว่ า นายสมบู ร ณ์ สุ ข สมใน กรุงเทพฯ ดังนั้น การนาคาที่แสดงถึงแนวคิดแบบโมดัลเข้ามาใช้ในภาษาเปลี่ยนบริบทแบบการ ครอบคลุมมาเป็นบริบทแบบที่ไม่เป็นการครอบคลุม ซึ่งตามทัศนะของนักปรัชญาหลายคนใน ทศวรรษที่สี่สิบและห้าสิบ นี่หมายความว่าแนวคิดแบบโมดัลไม่เหมาะสมกับการค้นคว้าทาง ปรัชญา2 เนื่องจากระบบแบบการครอบคลุมของตรรกวิทยาระดับประพจน์และระดับภาคแสดง และทฤษฎีเซ็ท ไม่สามารถรองรับประโยคที่มีคาแบบโมดัล นักปรัชญาที่ใช้คาพวกนี้จึงไม่อาจ อธิบายถึงความสัมพันธ์ในเชิงการอนุมานระหว่างข้ออ้างแบบโมดัลทั้งหลายที่พวกเขาอยากอ้าง พวกเขาไม่มีความเข้าใจที่มั่นคงว่าในการสร้างข้ออ้างแบบโมดัลขึ้นมาหนึ่งข้อ เขาถูกผูกมัดให้ ต้องยอมรับอะไรบ้าง ผู้วิจารณ์ยืนยันว่านี่คือการไม่เข้าใจอย่างแท้จริงว่าตัวเองกาลังพูดอะไร อาจเป็นที่คิดไปว่า สิ่งที่เราต้องการก็คือระบบตรรกวิทยาที่วางรายละเอียดความสัมพันธ์ ทางตรรกะระหว่างประโยคแบบโมดัล ซึ่งก็คือ ตรรกวิทยาโมดัล และก็มีงานเขียนถึงระบบแบบ โมดัลขึ้นมาจริงๆ แต่ปัญหาก็คือมีระบบอย่างว่าอยู่จานวนมาก 3 นักตรรกวิทยาได้พยายามสร้าง ระบบระเบียบให้กับการอนุมานแบบโมดัล แต่พวกเขาก็พบว่ามันเป็นไปได้ที่จะสร้างตรรกวิทยา โมดัลที่แตกต่างและไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งให้คาตอบที่ต่างกันกับคาถามที่ว่า “ประโยคโมดัลไหนบ้าง ที่จะตามมาจากชุดของประโยคโมดัลที่กาหนดให้ ?” และนี่ก็เข้าทางของผู้ที่วิจารณ์การใช้แนวคิด ทางโมดัล พวกเขาเห็นว่า ความเป็นไปได้ที่จะมีระบบของการอนุมานเชิงโมดัลที่แตกต่างกั น แสดงให้เห็นว่าเราไม่มีความเข้าใจที่ชัดเจนต่อแนวคิดเรื่องความจาเป็นและความเป็นไปได้ ซึ่งยิ่ง ช่วยให้พวกเขายึดมั่นยิ่งขึ้นต่ออุดมคติของภาษาแบบการครอบคลุม ความสงสัยต่อการใช้แนวคิดเรื่องความจาเป็น ความเป็นไปได้ และความบังเอิญ จึงเป็น ผลของแนวทางแบบนักประสบการณ์นิยมในอภิปรัชญา และของข้อพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องของ ความครอบคลุมของภาษา แน่นอนว่านักปรัชญามากมายยังคงคิดว่าเราต้องใช้แนวคิดเชิงโมดัลกับ การค้ น คว้า ทางอภิป รั ช ญา แต่ค วามก้ า วหน้ าของแนวคิด ดังกล่า วมาเกิ ดขึ้นในช่วงปลายของ 2

ดูตัวอย่างใน Quine (1947 และ 1953)

3

ดูการอภิปรายปัญหานี้ใน Loux, “Modality and metaphysics,” in Loux (1979)


159

ทศวรรษที่ห้าสิบและทศวรรษที่หกสิบ เมื่อนักตรรกวิทยาเริ่มพบว่าเขาสามารถให้คาอธิบายที่ ชัดเจนต่อแนวคิดเรื่องความจาเป็นและความเป็นไปได้ ที่อยู่ในตรรกวิทยาโมดัลหลายๆ ระบบ ด้วยการประยุกต์ใช้ความคิดแบบของไลบ์นิซ (Leibniz) ที่ว่า โลกของเราซึ่งเป็นโลกที่เป็นจริง เป็นแค่หนึ่งในโลกที่เป็นไปได้ที่แตกต่างกันออกไป ที่มีจานวนอันนับไม่ถ้ว น4 แกนกลางของ ความคิดก็คือ ในแบบเดียวกับที่ประพจน์สามารถเป็นจริงหรือเท็จในโลกของความเป็นจริง พวก มันก็สามารถมีค่าจริงหรือเท็จในโลกอื่นๆ ที่เป็นไปได้ ฉะนั้นประพจน์ที่ว่า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็น นายกรัฐมนตรี เป็นจริงในโลกของเรา และถึงแม้ว่าไม่น่าสงสัยว่ามันจะเป็ นจริงในโลกที่เป็นไป ได้อีก จานวนมาก แต่ก็ ยั ง มี โลกที่เป็นไปได้อีก มากที่มันเป็นเท็จ นัก ตรรกวิทยาโมดัล อ้างว่า ความคิดที่ว่าประพจน์สามารถมีค่าจริงเท็จในโลกที่เป็นไปได้ ช่วยให้เราสามารถอธิบายการใช้ แนวคิดแบบโมดัลกับประพจน์ การพูดว่าประพจน์หนึ่งเป็นจริงหรือเป็นความเป็นจริง ก็คือการ พูดว่ามันเป็นจริงในโลกที่เป็นไปได้หนึ่งโลกที่เป็นโลกของเรา การพูดว่าประพจน์หนึ่งเป็นจริง โดยจาเป็น ก็คือการพูดว่ามันเป็นจริงในโลกที่เป็นไปได้ทุกๆ โลก การพูดว่าประพจน์หนึ่งเป็นไป ได้ ก็คือการพูดว่ามันเป็นจริงในโลกที่เป็นไปได้อย่างน้อยไม่โลกใดก็โลกหนึ่ง ตามการอธิบาย แบบนี้ แนวคิดเรื่องความจาเป็นและความเป็นไปได้ได้รับการอธิบายด้วยการระบุจานวนให้แก่ โลก การพูดว่าประพจน์ p เป็นจริงโดยจาเป็น ก็คือการใส่ตัวระบุจานวนแบบสากลให้กับโลก ได้แก่การพูดว่า “สาหรับโลก W ที่เป็นไปได้ใดๆ ก็ตาม p เป็นจริงใน W ” การพูดว่าประพจน์ p เป็นไปได้ที่จะเป็นจริง ก็คือการใส่ตัวระบุจานวนแบบสิ่งเฉพาะหรือแบบความมีอยู่ให้กับโลก ซึ่ง คือการพูดว่า “มีโลก W อย่างน้อยหนึ่งโลก ที่ p เป็นจริงใน W ” ลั ก ษณะส าคั ญ ประการหนึ่ ง ของแนวทางเข้ า ใจโมดั ล ภาวะแบบนี โ อไลบ์ นิ ซ นี้ ก็ คื อ ความสามารถของมันในการอธิบายการมีตรรกวิทยาโมดัลได้หลายๆ แบบ ซึ่งเกิดจากการวาง ข้อจากัดแบบต่างๆ ให้กับการระบุจานวนให้กับโลกที่เป็นไปได้ ข้อจากัดที่ต่างกันสอดคล้องกับ ระบบโมดัลที่นักตรรกวิทยาสร้างขึ้นมาอย่างแตกต่างกันในความพยายามอธิบายการอนุมานแบบ โมดัลของพวกเขา แต่ยิ่งไปกว่านั้น ในการบอกเราว่า เนื้อหาเรื่องราวของการพูดเกี่ยวกับโมดัล ภาวะคือสภาวะรวบยอดของโลกที่เป็นไปได้ ผู้ที่สนับสนุนการใช้แนวทางแบบนีโอไลบ์นิซกับ 4

คนที่สาคัญคนหนึ่งในเรื่องนี้คือ Sual Kripke ดูใน Kripke (1963) อรรถศาสตร์ของ Kripke ได้รับการนาเสนออย่าง

ย่อๆ ใน Loux, “Modality and metaphysics,” in Loux (1979)


160

ตรรกวิทยาโมดัล สามารถอธิบายความล้มเหลวของนักประสบการณ์นิยมที่จะพบความจาเป็นและ ความเป็นไปได้ด้วยการค้นลงไปในเนื้อหาของประสบการณ์ประจาวัน เมื่อเราพูดว่าอะไรจาเป็น หรือเป็นไปได้ เราไม่ได้กาลังพูดเกี่ยวกับวิธีที่โลกเป็นอยู่จริงๆ แต่เรากาลังพูดเกี่ยวกับสภาวะรวบ ยอดของโลกต่างๆ ที่เป็นไปได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ว่าทาไมนักประสบการณ์นิยมไม่สามารถบ่งชี้ ถึงสิ่งที่เป็นเนื้อหาเรื่องราวของการพูด เกี่ยวกับโมดัลภาวะ จากการเพียงแค่สืบค้นลงไปในเนื้อหา ของประสบการณ์จากประสาทสัมผัสตามที่เป็นอยู่จริงๆ

โลกที่เป็นไปได้ กลยุ ท ธ์ ใ นการจั ด การกั บ ตรรกวิ ท ยาโมดั ล ด้ ว ยแนวทางแบบนี โ อไลบ์ นิ ซ ประสบ ความสาเร็จอย่างสูง และนาไปสู่ยุคทองของการศึกษาเรื่องโมดัลสภาวะ จนนักปรัชญาพากันเชื่อ ว่าถ้าเราใช้กรอบวิธีคิดว่าด้วยโลกที่เป็นไปได้อย่างจริงจัง และใช้มันเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีทาง ภววิทยาโดยรวมของเรา เราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาทางปรัชญายากๆ ต่างๆ ลงได้ การที่นัก ปรัชญาพากันเต็มใจที่จะยอมรับการตีความโลกที่เป็นไปได้แบบของนักสัจนิยมอาจชวนให้น่ า ฉงนเมื่อเราคิดถึงมันเป็นครั้งแรก เท่าที่ผ่านมาเราเจอกับสิ่งประหลาดต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น คุณสมบัติ ชนิด ความสัมพันธ์ ฐานรองรับที่ว่างเปล่า ประพจน์ และสภาวการณ์ การอ้างว่าสิ่ง ประเภทดังกล่าวเหล่านั้นมีอยู่จริงอาจฟังดูเป็นเรื่องเพ้อฝันสาหรับคนธรรมดา แต่เมื่ อเทียบกับ ข้ออ้างว่าโลกเราเป็นเพียงหนึ่งในโลกที่เป็นไปได้จานวนมาก ข้ออ้างหลังนี้เพ้อฝันกว่าอย่างเทียบ กันไม่ได้ ความคิดว่ามีโลกที่เป็นไปได้จานวนนับไม่ถ้วนอยู่จริงๆ เป็นอะไรที่ห่างไกลจากแนวคิด ตามสามัญสานึกของเราเสียจนกระทั้งพาให้เราสงสัยว่าสิ่งที่เรียกว่าอภิปรัชญานั้นคืออะไรกันแน่ แต่ “นักอภิปรัชญาแบบโลกที่เป็นไปได้ ” จะบอกเราว่าท่าทีดังกล่าวเป็นความเข้าใจผิด 5 พวกเขายืนยันว่าแม้ว่าคนธรรมดาจะไม่พูดถึงโลกที่เป็นไปได้ใ นแบบเดีย วกับนัก ปรัชญา แต่ กรอบคิดของโลกที่เป็นไปได้ก็มีรากฐานอยู่ในความเข้าใจตามสามัญสานึกของเรา พวกเขาอ้างว่า เราทุกคนมีความเชื่อร่วมกันที่เกิดขึ้นตามสามัญสานึกเกี่ยวกับโลกที่เป็นไปได้ ซึ่งพวกเขาอธิบาย ว่าเราทุกคนเชื่อว่าสิ่งในโลกอาจเป็นไปในแบบอื่น นั่นก็คือ เราเชื่อว่าวิธีที่สิ่งต่างๆ เป็นอยู่ใน 5

ดูการยืนยันข้ออ้างนี้ใน “Possible worlds,” in Lewis (1973) ตีพิมพ์ซ้าใน Loux (1979)


161

ความเป็นจริงเป็นเพียงแค่หนึ่งในหลายวิธีที่สิ่งต่างๆ สามารถที่จะเป็นไป แต่เราไม่ได้เชื่อเพียงแค่ ว่าสิ่งสามารถที่จะเป็นไปได้มากมายหลากหลายวิธี เราถือด้วยว่าวิธีต่างๆ ที่สิ่งสามารถที่จะเป็นไป เป็นตัวสร้างความจริงให้กับความเชื่อแบบโมดัลที่มีอยู่แล้วตามสามัญสานึกของเรา ถ้าเราเชื่อว่า อะไรบางอย่างเป็นไปโดยจาเป็น (คือมันต้องเป็นเช่นนั้น) สิ่งที่เราเชื่อก็คือว่าไม่ว่าสิ่งอื่นๆ ต่างๆ อาจจะเป็นไปอย่างไร สิ่งอย่างที่ว่าก็ยังต้องเป็นจริงอยู่ดี ซึ่งเราก็พูดว่าไม่ว่าอะไรจะเป็นอย่างไรมัน ก็ต้องเป็นไปเช่นนั้น และในแบบเดียวกัน ถ้าเราเชื่อว่าบางสิ่งบางอย่างเป็นไปได้ (คือมันสามารถ เป็นจริงได้) สิ่งที่เราเชื่อก็คือว่ามีวิธีหนึ่งที่สิ่งต่างๆ สามารถที่จะเป็นไป ซึ่งถ้าเกิดเป็นจริงดังว่า ขึ้นมา สิ่งๆ นั้นก็จะกลายเป็นจริง นักอภิปรัชญาแบบโลกที่เป็นไปได้บอกเราว่าการพูดเกี่ยวกับโลกที่เป็นไปได้ เป็นเพียง การสร้างระบบระเบียบให้กับความเชื่อตามสามั ญสานึกในเรื่องนี้ของเรา ตามทัศนะนี้ เมื่อนักภว วิทยาพูดถึงโลกที่เป็นไปได้ พวกเขาเพียงแค่กาลังตั้งชื่อทางเทคนิคให้กับสิ่งที่เราทุกคนเชื่อกันอยู่ แล้วไม่ว่าจะเป็นนักปรัชญาหรือไม่เป็น ซึ่งได้แก่วิธีทั้งหมดที่สิ่งอาจเป็นไป และเมื่อพวกเขาบอก เราให้เข้าใจแนวคิดแบบโมดัลว่าเป็นการระบุจานวนให้กับโลกที่เป็นไปได้ พวกเขาเพียงแค่กาลัง สร้างความชัดเจนให้กับความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งพวกนี้กับความเชื่อแบบโมดัลธรรมดาของเรา ความคิดที่ว่าประพจน์ p เป็นจริงโดยจาเป็นก็ต่อเมื่อ สาหรับโลก W ที่เป็นไปได้ใดๆ ก็ตาม p เป็น จริงใน W เป็นเพียงแค่การสร้างความเป็นแบบแผน ให้กับความเชื่อที่ว่าประพจน์หนึ่งจาเป็นจริง ถ้าไม่ว่าอะไรจะเป็นอย่างไรมันก็เป็นจริง ความคิดที่ว่าประพจน์ p เป็นไปได้เมื่อมีโลก W อย่าง น้อยหนึ่งโลก ที่ p เป็นจริงใน W ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าการแสดงออกอย่างเป็นแบบแผนของ ความเชื่อที่ว่า สิ่งนี้สิ่งนั้นสามารถที่จะเป็นจริง ถ้าหากว่ามีวิธีหนึ่งที่สิ่งต่างๆ ในโลกอาจเป็นไป ซึ่ง ถ้าโลกเป็นไปเช่นนั้นแล้ว สิ่งที่ว่านั้นก็จะเป็นจริง ดังนั้น ความเข้าใจแนวคิดแบบโมดัลที่อยู่ในตรรกวิทยาโมดัลและในอภิปรัชญาของโลก ที่เป็นไปได้ จึงถูกอ้างว่าไม่ใช่สิ่งที่นักปรัชญาประดิษฐ์สร้างขึ้น แต่เป็นเพียงการขยายความความ เข้าใจตามสามัญสานึกของเราออกไปเท่านั้น โมดัลภาวะแบบที่เข้าใจในวิธีนี้เป็นตัวอย่างของสิ่งที่ เรียกว่าโมดัลภาวะแบบ de dicto ซึ่งเป็นความจาเป็น หรือความเป็นไปได้ที่ใช้กับประพจน์ทั้ง ประพจน์ เมื่อเราบรรยายโมดัลภาวะแบบ de dicto ให้กับประพจน์หนึ่งๆ เรากาลังพูดว่า ประพจน์ นั้นมีคุณสมบัติประการหนึ่ง ซึ่งได้แก่คุณสมบัติของความจาเป็นจริงหรือความเป็นไปได้ที่จะจริง


162

และตามที่เราได้เห็นมาแล้ว คาอธิบายของโมดัลภาวะแบบ de dicto ด้วยโลกที่เป็นไปได้ ตีความ คุณสมบัติพวกนี้ว่าเป็นการระบุจานวนให้กับโลก และในแบบเดียวกันกับที่ประพจน์มีคุณสมบัติ ของการเป็นจริงเมื่อมันเป็นจริงในโลกที่เป็นอยู่ ประพจน์ก็จะมีคุณสมบัติของความจาเป็นจริงเมื่อ มันเป็นจริงในทุกโลกที่เป็นไปได้ และจะมีคุณสมบัติของความจริงแบบเป็นไปได้เมื่อมันเป็นจริง ในโลกใดโลกหนึ่งที่เป็นไปได้ แน่นอนว่าเราสามารถขยายคาอธิบายนี้ไปครอบคลุมคุณสมบัติ แบบโมดัลของความเป็นไปไม่ได้ และความเป็นไปโดยบังเอิญของประพจน์ การพูดว่าประพจน์ หนึ่งเป็นไปไม่ได้ ก็คือการบรรยายว่ามันมีคุณสมบัติของการเป็นไปไม่ได้ที่จะจริง หรือของการ เป็นเท็จโดยจาเป็น ประพจน์จ ะมีคุณสมบัติที่ว่าเมื่อมันไม่เป็นจริงในโลกที่เป็นไปได้โลกใดเลย หรือเมื่อมันเป็นเท็จในทุกโลกที่เป็นไปได้ การพูดว่าประพจน์หนึ่งเป็นจริงหรือเท็จโดยบังเอิญ ก็ คือการบรรยายว่ามันมีคุณสมบัติของการเป็นจริงหรือเป็นเท็จในโลกที่เป็นอยู่ แต่ก็มีโลกใดโลก หนึ่งที่เป็นไปได้ที่มันเป็นเท็จ หรือที่มันเป็นจริง แนวคิดเรื่องโมดัลภาวะที่ต่างออกไป คือแนวคิดแบบที่เรากล่าวถึงในบทต้นๆ เมื่อเราพูด ถึงอะไรที่ เป็นสารัตถะและอะไรที่เป็ นเพียงความบังเอิญของวัตถุ โมดัลภาวะแบบนั้นเรียกว่า โมดัลภาวะแบบ de re ในขณะที่โมดัลภาวะแบบ de dicto เป็นเรือ่ งของคุณสมบัติความจาเป็นจริง/ เท็จ ความเป็นไปได้ที่จะจริง /เท็จ ความบังเอิญจริง /เท็จ ที่เป็นของประพจน์ทั้งประพจน์ โมดัล ภาวะแบบ de re เป็นสถานะทางโมดัลของการที่สิ่งๆ หนึ่งแสดงตัวอย่างของคุณลักษณะบางอย่าง เมื่อผมพูดว่าความเป็นมนุษย์เป็นคุณสมบัติที่จาป็นหรือที่เป็นสารัตถะของบิล คลินตัน แต่การเป็น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงคุณสมบัติที่บังเอิญจริงหรือเป็นเพียงคุณสมบัติจรของ เขา ผมกาลังพูดถึงโมดัลภาวะแบบ de re ผมไม่ได้กาลังพูดถึงประพจน์ แต่กาลังพูดถึงมนุษย์ เฉพาะคนหนึ่ง และผมกาลังแยกแยะสถานะทางโมดัลของการที่ เขาแสดงตัวอย่างของคุณสมบัติ หรือคุณลักษณะที่แตกต่างกันสองประการ ผมกาลังพูดว่าเขามีคุณสมบัติหนึ่งในสองอย่างนั้น อย่างจาเป็น และมี คุณสมบั ติอีกอย่ างหนึ่งอย่างบังเอิญ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผมกาลังบรรยาย คุณสมบัติแบบโมดัลให้กับวัตถุบางอย่างที่ไม่ใช่ประพจน์ ได้แก่ บิล คลินตัน ผมกาลังบรรยายถึง คุณสมบัติแบบโมดัลของการเกิดขึ้นอย่า งเป็นสารัตถะหรืออย่างจาเป็นจริง ของการที่เขาแสดง ตัวอย่างของการเป็นมนุษย์ และคุณสมบัติแบบโมดัลของการเกิดขึ้นอย่างบังเอิญของการที่เขา แสดงตัวอย่างของการเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา


163

เราสามารถเห็นความแตกต่างระหว่างโมดัลภาวะแบบ de dicto และแบบ de re ด้วยการ สมมติว่านายชวน หลีกภัย กาลังคิดถึงเลขสอง เลขสองมีคุณสมบัติของการเป็นเลขคู่อย่างจาเป็น ดังนั้น การบรรยายข้างล่างถึงโมดัลภาวะแบบ de re จึงเป็นจริง (1) สิ่งที่นายชวน หลีกภัยกาลังคิดถึงเป็นเลขคู่อย่างจาเป็น แต่การบรรยายโมดัลภาวะแบบ de dicto ที่สอดคล้องกันไปใน (2) เป็นเรื่องจาเป็นว่าสิ่งที่นายชวน หลีกภัยกาลังคิดถึงเป็นเลขคู่ กลับเป็นเท็จ ซึ่งอาจอธิบายได้ดังนี้ คือ (1) บอกเราว่าวัตถุบางอย่าง ซึ่งก็คือวัตถุที่นายชวนกาลัง คิดถึงอยู่ในตอนนี้เป็นเลขคู่อย่างจาเป็น และเนื่องจากวัตถุดังกล่าวคือเลขสอง ดังนั้น (1) จึงเป็น จริง แต่ (2) บอกเราว่าประพจน์ๆ หนึ่ง ซึ่งได้แก่ประพจน์ว่า (3) สิ่งที่นายชวน หลีกภัยกาลังคิดถึงเป็นเลขคู่ มีคุณสมบัติของการเป็นจริงโดยจาเป็น แต่สมมติว่านายชวนกาลังคิดถึงหลุมดาหนึ่งในกาแลคซี่ที่ อยู่ห่างไกลออกไป ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น (3) ก็จะเป็นเท็จ แต่เนื่องจากเป็นไปได้ที่เขาอาจกาลังคิดถึง หลุมดาที่ว่า (3) จึงไม่ได้จริงโดยจาเป็น ข้ออ้างแบบ de dicto ใน (2) จึงเป็นเท็จ ฉะนั้น การพูดถึงโมดัลภาวะแบบ de re จะต้องแยกให้ดีจากการพูดถึงความจาเป็น ความ เป็นไปได้ และความบั งเอิญ ของประพจน์ กระนั้นก็ตาม ผู้ที่สนับสนุนกรอบวิธีคิดของโลกที่ เป็นไปได้ก็อ้างว่าเราสามารถสร้างความกระจ่างให้กับโมดัลภาวะแบบ de re ด้วยการอ้างอิงกรอบ ที่ว่าเช่นเดียวกันกับโมดัลภาวะแบบ de dicto สิ่งที่ต้องการก็คือการตระหนักว่าในแบบเดียวกับที่ ประพจน์เป็นจริงหรือเท็จในโลกที่เป็นไปได้ต่างๆ วัตถุเองก็อาจมีอยู่หรือไม่มีอยู่ในโลกที่เป็นไป ได้ต่างๆ ซึ่ง เราอาจพู ดว่าโลกที่ เป็นไปได้มีประชากร และประชากรของโลกที่เป็นไปได้ก็จะ แตกต่างกันออกไป ในสภาพรวบยอดของโลกที่เป็นไปได้ มีโลกบางโลกที่วัตถุบางวัตถุมีอยู่ และ มีโลกอื่นที่วัตถุพวกนั้นไม่มีอยู่แต่ก็มีวัตถุอื่นอยู่ และแน่นอว่าวัตถุต่างๆ สามารถมีอยู่ในโลกที่ เป็นไปได้มากกว่าหนึ่งโลก ผมมีอยู่ในโลกของความเป็นจริง แต่ถ้าสิ่งเกิดต่างไปจากที่มันเป็นอยู่ ผมก็อาจจะยังคงมีอยู่ ผู้ที่สนับสนุนกรอบวิธีคิดของโลกที่เป็นไปได้อ้างว่าข้อเท็จจริ งนี้ให้วิธีที่เรา จะอธิบายโมดัลภาวะแบบ de re กล่าวคือ การพูดว่าวัตถุ ก มีคุณสมบัติ ข อย่างจาเป็น คือการพูด


164

ว่า ก มี ข ในโลกที่เป็นจริงและในทุกโลกที่เป็นไปได้ที่ ก มีอยู่ ซึ่งเท่ากับการพูดว่า ก มีคุณสมบัติ ข อยู่จริงๆ และไม่มีโลกที่เป็นไปได้ไหนที่ ก มีอยู่โดยไม่มี ข ฉะนั้นจึงมีเหตุผลที่จะคิดว่าบิล คลินตัน มีคุณสมบัติของการเป็นบุคคลหรือเป็นมนุษย์อย่างจาเป็น เพราะไม่เพียงแค่ว่าเขาเป็นคน จริงๆ แต่ก็มีเหตุผลให้คิดว่า ในทุกๆโลกที่เป็นไปได้ที่เขามีอยู่เขาก็เป็นคน แต่ในอีกทางหนึ่ง การ พูดว่าสิ่งหนึ่งมีคุณสมบัติหนึ่งเพียงแค่โดยบังเอิญ ก็คือการพูดว่า ในขณะที่สิ่งนั้นมีคุณสมบัติที่ว่า นั้นในโลกของความเป็นจริง แต่ก็มีโลกที่เป็นไปได้อย่างน้อยหนึ่งโลกที่สิ่งนั้นมีอยู่โดยไม่แสดง ตัวอย่างคุณสมบัตินั้น ฉะนั้น ในขณะที่บิล คลินตัน มีคุณสมบัติของการเป็นประธานาธิบดี เขามี คุณสมบัติที่ว่าเพียงโดยบังเอิญ หมายความว่า ถึงแม้เขาจะมีคุณสมบัตินั้นจริงๆ แต่ก็มีวิธีที่สิ่งต่างๆ อาจเป็ น ไปในแบบที่ ถ้ า หากมั น เกิ ด เป็ น ไปเช่ น นั้ น บิ ล คลิ น ตั น ก็ อ าจมี อ ยู่ แ ต่ ไ ม่ เ คยได้ เ ป็ น ประธานาธิบดี ดังนั้น เหมือนกับการพูดเกี่ยวกับความเป็นจริงแบบจาเป็นและความเป็นจริงแบบเป็นไป ได้ การพูดเกี่ย วกับ สารัตถะและคุณสมบั ติจรก็ส ามารถเข้าใจว่าเป็นการพู ดในเรื่องของโลกที่ เป็นไปได้ และในทั้งสองกรณี เราจะมีการระบุจานวนให้กับโลก แต่ตัวระบุจานวนจะทางานอย่าง ต่างกันออกไป ในกรณีของโมดัลภาวะแบบ de dicto การระบุจานวนให้กับโลกจะเป็นแบบไม่มี เงื่อนไข เมื่อเราพูดว่าประพจน์หนึ่งเป็นจริงโดยจาเป็น เรากาลังพูดว่ามันเป็นจริงในทุกๆ โลกที่ เป็นไปได้ แต่เมื่อเราพูดว่าสิ่งหนึ่งมีคุณสมบัติหนึ่งอย่างจาเป็นหรืออย่างเป็นสารัตถะ เราก็กาลัง อาศัยการระบุจานวนให้กับโลก แต่จะมีเงื่อนไขมาควบคุมการใช้งานตัวระบุจานวน การอ้ างว่าบิล คลินตัน เป็นคนอย่างจาเป็นหรืออย่างเป็นสารัตถะไม่ใช่การอ้างว่าในทุกๆ โลกที่เป็นไปได้ บิล คลินตันเป็นคน บิล คลินตันไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่อย่างจาเป็นซึ่งหมายถึงสิ่งที่มีอยู่ในทุกๆ โลกที่เป็นไป ได้ เขาเป็นเพียงสิ่งที่มีอยู่โดยบังเอิญ หมายถึงมีโลกที่เป็นไปได้จานวนมากที่เขาไม่มีความมีอยู่ และดั ง นั้น ก็ ไ ม่ มี คุ ณ สมบั ติใ ดๆ ทั้ ง สิ้ น การอ้ างว่า เขาเป็น คนอย่ า งจาเป็น เป็น การอ้า งแบบมี ข้อจากัดว่าเขาเป็นคนจริงๆ และเป็นคนในทุกโลกที่เขามีอยู่ และในแบบเดียวกัน เมื่อเราพูดว่าบิล คลินตัน เป็นประธานาธิบดีเพียงโดยบังเอิญ เราไม่ได้กาลังอ้างว่า มีโลกๆ หนึ่งซึ่งไม่เป็นจริงว่าเขา เป็นประธานาธิบดี แต่เรากาลังอ้างในสิ่งที่เข้มงวดกว่านั้น คืออ้างว่า มีโลกหนึ่งซึ่งเขามีอยู่ และ ไม่ได้เป็นประธานาธิบดี ดังนั้น ในที่นี้จึงมีข้อจากัดในการระบุจานวนให้กับโลก เรากาลังระบุ จานวนเพียงเฉพาะกับโลกที่บิล คลินตันมีอยู่เท่านั้น


165

ลัทธินามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้ กรอบวิธีคิดของโลกที่เป็นไปได้จึงช่วยให้ความกระจ่างกับแนวคิดเรื่องโมดัลภาวะ และดู เหมือนจะมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างการพูดถึงโมดัลภาวะทั้งแบบ de dicto และแบบ de re และการพูดเกี่ยวกับวิธีที่สิ่งต่างๆ อาจเป็นไป ซึ่งก็คือการพูดเกี่ยวกับโลกที่เป็นไปได้แบบต่างๆ แต่เราจะตีความความสัมพันธ์นี้อย่างไรดี? ปรากฏว่านักอภิปรัชญาแบบโลกที่เป็นไปได้ไม่ได้ตอบ ค าถามนี้ใ นแบบเดี ย วกั นทั้ ง หมด ที่ จริ งแล้ว มีทั ศนะเกี่ ย วกั บ วิธี ที่เ ราจะเข้า ใจความเชื่ อมโยง ระหว่างโมดัลภาวะและโลกที่เป็นไปได้ที่ต่างกันอย่างเป็นตรงกันข้ามสองทัศนะ นักปรัชญากลุ่ม หนึ่งที่ชอบโลกที่เป็นไปได้ยืนยันว่าแนวคิดว่าด้วยโลกที่เป็นไปได้ ซึ่งได้แก่ ความจาเป็น ความ เป็นไปได้ และความบังเอิญจริง ของประพจน์ คุณสมบัติสารัตถะและคุณสมบัติจร ทั้งหมดนี้เป็น องค์ ประกอบในเครือข่ ายของแนวคิดที่ส นับสนุนและเชื่อมโยงซึ่งกั นและกั น 6 พวกเขาเชื่อว่า เป็นไปไม่ได้ที่เราจะเข้าใจแนวคิดหนึ่งแนวคิดใดในบรรดาแนวคิดเหล่านี้ ด้วยการอาศัยแนวคิดที่ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย ตามทัศนะนี้ สิ่งที่เราต้องทาถ้าเราจะเข้าใจปรากฏการณ์ของ โมดัลภาวะ ก็คือการสร้างความกระจ่างให้แก่แต่ละแนวคิดในเครือข่าย ด้วยการแสดงให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ของมันกับแนวคิดอื่นในเครือข่าย นักอภิปรัชญาแบบโลกที่เป็นไปได้อีกกลุ่มหนึ่งมี แนวทางของความเข้าใจต่อกรอบวิธีคิดของโลกที่เป็นไปได้ที่แตกต่างออกไป พวกเขาอ้างว่า กรอบคิดของโลกที่เป็นไปได้ ให้เครื่องไม้เครื่องมือสาหรับโครงการการลดทอนของลัทธินาม นิยมแบบเคร่งครัด7 ความตรงกันข้ามของแนวทางทั้งสองเป็นประเด็นใหญ่ในอภิปรัชญาสมัยใหม่ ซึ่งเราจะเข้าใจประเด็นเรื่องโมดัลภาวะอย่างชัดเจนก็ต่อเมื่อเราเข้าใจประเด็นที่เป็นข้อโต้แย้ ง ระหว่างผู้ที่สนับสนุนแนวทางทั้งสองนี้ เราจะเริ่มต้นด้วยการเข้าไปดูทัศนะของผู้ที่ยอมรับโลกที่ เป็นไปได้ จากความสนใจที่จะสร้างโครงการลดทอนของลัทธินามนิยมให้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมา

6

แนวคิดในทิศทางนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในงานเขียนของ Alvin Plantinga ดูใน Plantinga (1970, 1974, 1976, and

1987) รวมไปถึงโดย Stalnaker (1976) และ Adams (1974)

7

David Lewis นาเสนอแนวคิดนี้ใน “Possible Worlds,” in Lewis (1973) และ Lewis (1986) รวมไปถึง

Cresswell (1972) และ Hintikka (1975)


166

นักปรัชญาเหล่านี้อ้างว่ากรอบวิธีคิดของโลกที่เป็นไปได้ทาได้มากกว่าการสร้างความ ชัดเจนให้กับการพูดเรื่องโมดัลภาวะแบบ de dicto และแบบ de re พวกเขายืนยันว่ากรอบวิธีคิด ดังกล่าวช่วยนักอภิปรัชญาในการสร้างคาอธิบายว่าด้วยแนวคิดเรื่องคุณสมบัติและประพจน์ อย่าง ที่เป็นแบบของลัทธินามนิยมอย่างแท้จริง ในขณะที่นักอภิปรัชญาพวกนี้เห็นด้วยกับภววิทยาของ ลัทธินามนิยมแบบที่เคร่งครัดมากๆ แต่พวกเขาก็ยังเชื่อว่าทฤษฎีอภิปรัชญาที่สมบูรณ์และเพียงพอ ไม่อาจปฏิเสธการพูดเกี่ยวกับสิ่งอย่างคุณสมบัติและประพจน์ และพวกเขาก็รับรู้ว่าความพยายามที่ จะให้การวิเคราะห์ตามแบบของลัทธินามนิยมในเรื่องดังกล่าวต้องเผชิญกับความยุ่งยากอะไรบ้าง นี่คือสิ่งที่เราอภิปรายไปในบทที่สองและบทที่สี่ อย่างไรก็ตาม พวกเขาอ้างว่าความยุ่งยากเหล่านั้น ไม่ได้แสดงถึงความล้มเหลวของโครงการของนักนามนิยม มันแสดงเพียงแค่ว่า นักนามนิยมจะไม่ สามารถดาเนินโครงการให้ลุล่วงได้ ถ้าพวกเขาจากัดตัวเองไว้กับเนื้อหาของโลกในความเป็นจริง และก็ ไ ม่มี อะไรบั ง คับ ให้พ วกเขาต้องจากั ดตัวเองเช่นนั้น เพราะยั งมีโลกอื่นๆที่เป็นไปได้อีก มากมายที่มีวัตถุหลากหลายอิงอาศัยอยู่ “นักนามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้” ถือว่าโลกแต่ละโลก เหล่านั้นมีความตรงกันกับโลกในความเป็นจริงของเรา ในแง่ที่ว่าสิ่งที่มีอยู่ในโลกเหล่านั้นมีเพียง แค่สิ่งเฉพาะรูปธรรมเท่านั้น และข้ออ้างก็คือว่า ด้วยการอาศัยโลกที่เป็นไปได้และสิ่งเฉพาะที่อยู่ ในโลกเหล่านั้น เรามีเครื่องไม้เครื่องมือที่จะดาเนินโครงการของการสร้างอธิบายแบบลดทอน ให้กับการพูดเกี่ยวกับคุณสมบัติ ประพจน์ และอะไรอื่นๆ พวกเขาอ้า งว่า สิ่งที่ ต้องการมี แค่เครื่องไม้เครื่องมือของทฤษฎีเซ็ทเท่านั้น ด้วยการใช้ ทฤษฎีเซ็ทกับโลกที่เป็นไปได้ทั้งหมดและกับเนื้อหาของพวกมัน เราจะสามารถให้คาอธิบายแบบ นามนิยมกับสิ่งที่สร้างขึ้นเป็นภววิทยาของลัทธิสัจนิยม ซึ่งตามที่เราเคยอธิบายมา นักนามนิยม แบบเคร่งครัดจะพูดว่า คุณสมบัติหนึ่ง อันได้แก่ ความ-F เป็นเพียงเซ็ทซึ่งสมาชิกของมันคือสิ่ง เฉพาะทั้งหมดที่เป็นF และมีแต่สิ่งที่เป็นF เท่านั้นเป็นสมาชิก ตามทัศนะนี้ ความเป็นสามเหลี่ยม เป็นแค่เซ็ทๆ หนึ่ง ที่สมาชิกของมันคือวัตถุที่เป็นรูปสามเหลี่ยมทั้งหมดที่มีอยู่ และ “ความกล้า หาญ” ก็ เป็ นชื่ อของเซ็ท ซึ่ง มี ปัจเจกบุ ค คลทุก คนที่กล้าหาญ และมีเฉพาะแต่บุคคลที่ก ล้าหาญ เท่านั้นเป็นสมาชิก เราเคยกล่าวถึงข้อยุ่งยากของทัศนะนี้มาแล้วว่ามันมีผลที่ทาให้คุณสมบัติที่เรารู้ ว่าแตกต่างกลายมาเป็นของอย่างเดียวกัน เซ็ท a เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกับเซ็ท b ก็ต่อเมื่อ a และ b มี สมาชิกเดียวกัน แต่แล้ว เนื่องจากว่ามนุษย์ทุกคนเป็นสัตว์สองเท้าขนบาง และสัตว์สองเท้าขนบาง ทุกตัวเป็นมนุษย์ เซ็ทของสิ่งที่เป็นมนุษย์จึงเป็นเซ็ทเดียวกันกับเซ็ทของสิ่งที่เป็นสัตว์สองเท้าขน


167

บาง และเราก็ได้ผลที่ไม่น่าพอใจว่าคุณสมบัติของการเป็นมนุษย์และคุณสมบัติของการเป็นสัตว์ สองเท้าขนบาง เป็นคุณสมบัติเดียวกัน นักนามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้ยืนยันว่า ด้วยการผนวก ทฤษฎีเซ็ทเข้ากับกรอบคิดว่าด้วยโลกที่เป็นไปได้ เราสามารถเอาชนะข้อยุ่งยากนี้ได้ ด้วยการที่มีเซ็ทของสิ่งที่เป็นสัตว์สองเท้าขนบางในโลกที่เป็นอยู่จริง และมีเ ซ็ทของสิ่งที่ เป็นมนุษย์ในโลกที่เป็นอยู่จริง ก็จะมีเซ็ทของสิ่งแบบเดียวกันในโลกอื่นที่เป็นไปได้ทั้งหลาย นั่น คือ สาหรับโลกที่เป็นไปได้ W แต่ละโลก จะมีเซ็ทซึ่งสมาชิกของมันคือสิ่งที่เป็นสัตว์สองเท้าขน บางอยู่ใน W และจะมีเซ็ทซึ่งประกอบขึ้นด้วยมนุษย์และมีแต่มนุษย์ เท่านั้นเป็นสมาชิกอยู่ใน W และสาหรับโลกที่เป็นไปได้บางโลกจะเป็นเหมือนโลกของความเป็นจริงในแง่ที่ว่า เซ็ททั้งคู่เป็น อันหนึ่งอันเดียวกันในโลกพวกนั้น แต่นี่จะไม่เป็นจริงกับทุกโลกที่เป็นไปได้ มีโลกที่เป็นไปได้ หลายโลกที่เซ็ทของสัตว์สองเท้าขนบางเป็นคนละเซ็ทกับเซ็ทของมนุษย์ในโลกนั้น มีบางโลกที่มี สัตว์สองเท้าขนบางที่ไม่ใช่มนุษย์ หรือบางทีอาจจะด้วยเหตุของความผิดปกติทางพันธุกรรม บางอย่าง เกิดมีมนุษย์ที่มีขนหนาหรือมีมากกว่าสองขา ดังนั้นเมื่อดูผ่านสภาพรวบยอดของโลกที่ เป็นไปได้ เซ็ทของสิ่งที่เป็นสัตว์สองเท้าขนบางจึงแยกต่า งหากไปจากเซ็ทของสิ่งที่เป็นมนุษย์ แต่ แล้วถ้าเราเอาเซ็ทของสัตว์สองเท้าขนบางที่อยู่ในโลกที่เป็นไปได้ที่ต่างกันเข้ามารวมกัน แล้วสร้าง สิ่งตามทฤษฎีเซ็ทขึ้นมาจากเซ็ทพวกนั้น และถ้าเราทาอย่างเดียวกันกับเซ็ทของมนุษย์ในโลกที่ เป็ น ไปได้ต่า งๆ ผลที่ เป็ น โครงสร้ างตามทฤษฎี เซ็ ทที่เ กิ ดขึ้ นก็ จ ะแตกต่า งกั น และถ้า เราระบุ คุ ณ สมบั ติ ข องการเป็ น สั ตว์ ส องเท้ าขนบางกั บโครงสร้ างทางทฤษฎี เ ซ็ท อั นที่ ห นึ่ ง และระบุ คุณสมบัติของการเป็นมนุษย์กับโครงสร้างอันที่สอง เราก็จะได้สิ่งที่นักนามนิยมแบบเคร่งครัด กาลังค้นหา ซึ่งคือคาอธิบายคุณสมบัติทั้งสองอย่าง อย่างที่แสดงว่าแตกต่างกัน แต่กระนั้นก็ไม่ได้ เป็นอะไรมากไปกว่าสิ่งตามทฤษฎีเซ็ทที่สร้างออกมาจากสิ่งเฉพาะเท่านั้น นักนามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้ชวนให้เรารับคาอธิบายนี้ และใช้เป็นหลักการทั่วไป ให้กับคุณสมบัติทั้งหมด หลักการทั่วไปดังกล่าวมักถูกแสดงออกผ่านคากล่าวที่ ว่าคุณสมบัติเป็น ฟัง ก์ ชั นจากโลกที่ เป็ นไปได้ไ ปสู่เซ็ทของวัตถุ การจัดการจริงๆ ของการสร้างหลัก การทั่วไป ดัง กล่า วเป็นเรื่องทางเทคนิควิธีของทฤษฎีเซ็ทซึ่งไม่สาคัญส าหรับเรา แก่ นของความเข้าใจที่ รองรับการสร้างหลักการทั่วไปดังกล่าวก็คือว่า คุณสมบัติหนึ่ง หรือ ความ-F เป็นเซ็ทๆ หนึ่ง เป็น เซ็ทที่ใหญ่มาก ที่ถูกวางโครงสร้างมาในแบบที่มันจับคู่โลกที่เป็นไปได้แต่ละโลกกับเซ็ทหนึ่งของ


168

วัตถุ ซึ่งได้แก่เซ็ทของวัตถุที่เป็นF ในโลกนั้น พูดตามแบบที่มักชอบพูดกันก็คือ คุณสมบัติเป็นสิ่ง ทางทฤษฎี เ ซ็ ท ที่ “ก าหนด” เซ็ ท ของวั ต ถุ ใ ห้ กั บ โลก ฉะนั้ น ความเป็ น สามเหลี่ ย มจึ ง เป็ น แค่ โครงสร้างทางทฤษฎี เซ็ทที่ อาจพูดว่า วิ่งผ่านโลกที่เป็นไปได้แต่ล ะโลก และก าหนดเซ็ทของ ปัจเจกวัตถุที่เป็นสามเหลี่ยมในโลกนั้นๆ ความกล้าหาญเป็นสิ่งทางทฤษฎีเซ็ทที่จับคู่โลกที่เป็นไป ได้แต่ละโลก กับเซ็ทของปัจเจกบุคคลที่กล้าหาญในโลกนั้นๆ นอกเหนือไปจากเรื่องทางเทคนิคแล้ว ข้ออ้างของนักนามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้เป็น สิ่งที่ชัดเจน คือถ้าเราประสานทฤษฎีเซ็ทเข้ากับกรอบวิธีคิดของโลกที่เป็นไปได้ เราก็จะสามารถ อธิบายการพูดเกี่ยวกับคุณสมบัติได้อย่างสอดคล้องกับมาตรฐานของลัทธินามนิยม แต่นักนาม นิยมแบบโลกที่เป็นไปได้ยังต้องการที่จะก้าวต่อไปข้างหน้าด้วยการอ้างว่า การประสานทฤษฎีเซ็ท เข้ากับกรอบวิธีคิดของโลกที่เป็นไปได้ ยังทาให้เราสามารถวิเคราะห์มโนทัศน์ของประพจน์ตาม แบบของนักนามนิยมแบบเข้มงวดได้อีกด้วย ข้ออ้างของพวกเขาก็คือว่าประพจน์ๆ หนึ่งไม่ใช่ อะไรมากไปกว่า เซ็ท ของโลกที่ เป็ นไปได้เซ็ทหนึ่ง เข้าใจง่ายๆ ก็ คือ เซ็ทของโลกทั้งหลายที่ ประพจน์นั้นเป็นจริง อย่างไรก็ตาม ถ้าถือเป็นนิยาม การอ้างว่าประพจน์ p คือเซ็ทของโลกที่ เป็นไปได้ที่ p เป็นจริง เป็นการอ้างที่วนเป็นวงกลม คือสิ่งที่เราต้องการอธิบายมาปรากฏอยู่ใน คาอธิบาย ดังนั้นเราต้องถามว่าอะไรคือการที่ประพจน์ p เป็นจริงในโลก W มันก็คือการที่ W เป็น โลกที่มันเป็นจริงว่า p ไม่ใช่หรือ? และมันไม่ใช่หรอกหรือว่า W เป็นโลกที่มันเป็นจริงว่า p เมื่อ และต่อเพียงเมื่อ W เป็นโลกที่เป็นไปในลักษณะบางอย่าง แต่ W จะต้องเป็นโลกในแบบไหน มัน ถึงจะเป็นโลกที่เป็นจริงว่า p ? มันต้องเป็นอะไรที่เราอาจเรียกว่าโลกในแบบอย่าง-p เราสามารถ เข้าใจนักนามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้ว่าเขากาลังเสนอให้เราถือว่าแนวคิดของโลกในแบบอย่างp เป็นแนวคิดระดับพื้นฐาน เราสามารถแสดงออกถึงข้อเสนอนี้ด้วยการพูดว่า มันเป็นข้อเท็จจริง ทางภววิทยาระดับพื้นฐานเกี่ยวกับโลกที่เป็นไปได้โลกหนึ่งว่ามันเป็นโลกประเภท-[หงส์ทุกตัว เป็นสีขาว] โลกประเภท-[สมบัติ เมทะนี เป็นนายกรัฐมาตรี ] โลกประเภท-[เยอรมันนีชนะ สงครามโลกครั้งที่สอง] ซึ่งถ้าเราถือว่าข้อเท็จจริงประเภทนี้เป็นข้อเท็จจริงระดับพื้นฐานที่ไม่ สามารถลดทอนหรือวิเคราะห์อธิบายต่อไปได้ ข้ออ้างที่ว่าประพจน์เป็นเซ็ทของโลกที่เป็นไปได้ก็ จะไม่เป็นวงกลม มันแค่เป็นการอ้างว่าประพจน์ที่ว่าหงส์ทุกตัวเป็นสีขาวเป็นเซ็ทที่มีโลกที่เป็นไป ได้ทั้งหมดที่เป็นโลกประเภท-[หงส์ทุกตัวเป็นสีขาว] เป็นสมาชิก (และไม่มีโลกแบบอื่นใดเป็ น สมาชิก) หรือเป็นการอ้างว่าประพจน์ที่ว่าสมบัติ เมทะนี เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นเซ็ทที่มีโลกที่


169

เป็นไปได้ทั้งหมดที่เป็นโลกประเภท-[สมบัติ เมทะนี เป็นนายกรัฐมนตรี ] เป็นสมาชิก (และไม่มี โลกแบบอื่นใดเป็นสมาชิก ) และเป็นการอ้างว่าประพจน์ที่ว่าเยอรมันนีชนะสงครามโลกครั้ง ที่ สองเป็นเซ็ทที่มีโลกที่เป็นไปได้ทั้งหมดที่เป็นโลกประเภท-[เยอรมันนีชนะสงครามโลกครั้งที่ สอง] เป็ นสมาชิ ก (และไม่ มี โลกแบบอื่นใดเป็นสมาชิก ) เมื่อเข้าใจในแบบนี้ ข้อเสนอที่ ว่า ประพจน์เป็นเซ็ทของโลกก็เป็นแค่ส่วนขยายของวิธีที่นักนามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้จัดการกับ คุณสมบัติ แกนกลางของวิธีคิดในแบบหลังก็คือความคิดที่ว่าคุณสมบัติความ-F เป็นสิ่งทางทฤษฎี เซ็ท ซึ่งสมาชิกทั้งหมดคือสิ่งที่เป็น F หรือสิ่งในแบบอย่าง-F การเสนอว่าประพจน์ p เป็นเซ็ทของ โลกที่เป็นไปได้ที่เป็นที่เป็นโลกในแบบอย่าง-p เป็นเพียงแค่การชวนให้เราถือประพจน์ ว่าเป็น เสมือนคุณสมบัติระดับที่กว้างขวางมากๆ ที่ตัดแบ่งโลกที่เป็นไปได้ทั้งหลายออกเป็นเซ็ทต่างๆ ตามแต่ว่ามันตอบสนองหรือไม่ตอบสนองกับเงื่อนไขคาบรรยายบางอย่าง เมื่อมีคาอธิบายในแบบลดทอนที่ว่าด้วยคุณสมบัติและประพจน์อยู่ในมือ นักนามนิยม แบบโลกที่เป็นไปได้ก็เสนอให้ เราทบทวนข้ออ้างเดิมของเราเกี่ยวกับโมดัลภาวะแบบ de dicto และแบบ de re ซึ่งแต่เดิมเราอธิบายพวกมันในภาษาของคุณสมบัติและประพจน์ แต่ถ้านักนาม นิยมแบบโลกที่เป็นไปได้ถูกต้องว่า การพูดเกี่ยวกับสิ่งอย่างประพจน์และคุณสมบัติ ไม่ใช่การพูด เกี่ยวกับสิ่งพื้นฐานที่ลดทอนไม่ ได้อย่างที่นักสัจนิยมทางอภิปรัชญาชื่นชอบ แต่เป็นการพูดตาม แบบทฤษฎีเซ็ทเกี่ยวกับโลกที่เป็นไปได้และสิ่งที่อิงอาศัยอยู่ในโลกเหล่านั้น มันก็ควรเป็นไปได้ที่ จะอธิบายอะไรที่อยู่ในการพูดถึงโมดัลภาวะทั้งแบบ de dicto และแบบ de re ในแบบของนักนาม นิยมอย่างเคร่งครัด สาหรับนักนามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้ การพูดว่าประพจน์หนึ่งเป็นจริงโดยจาเป็น ก็คือ การพูดว่าเซ็ทของโลกเซ็ทหนึ่ง มีโลกทุกโลกที่เป็นไปได้เป็นสมาชิก ฉะนั้น การพูดว่าประพจน์ ที่ว่าสองบวกสองเป็นสี่เป็นจริงโดยจาเป็น เป็นการพูดว่าเซ็ทของโลกประเภท-[สองบวกสองเป็น สี่] มีโลกที่เป็นไปได้ทุกโลกเป็นสมาชิก การพูดว่าประพจน์หนึ่งเป็นไปได้ คือการพูดว่าเซ็ทของ โลกเซ็ทหนึ่งไม่ว่างเปล่า คือมีโลกอย่างน้อยหนึ่งโลกเป็นสมาชิก ดังนั้น การพูดว่าเป็นไปได้ที่ สมบั ติ เมทะนีจะเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ คือการพู ดว่าเซ็ทของโลกประเภท-[สมบัติ เมทะนีเป็น นายกรัฐมนตรี] มีโลกอย่างน้อยหนึ่งโลกเป็นสมาชิก ในแบบเดียวกัน การพูดว่าประพจน์หนึ่ง บังเอิญจริง ก็คือการพูดถึงเซ็ทของโลกเซ็ทหนึ่งว่า ในขณะที่มันมีโลกที่เป็นอยู่จริงเป็นสมาชิก แต่


170

ไม่ใช่ว่าโลกทุกโลกที่เป็นไปได้จะเป็นสมาชิกของมัน ฉะนั้น ข้ออ้างที่ว่ามันเป็นจริงเพี ยงโดย บังเอิญที่ว่าบิล คลินตัน เป็นประธานาธิบดี ก็คือการอ้างว่าในขณะที่เซ็ทของโลกประเภท-[บิล คลินตัน เป็นประธานาธิบดี ] มีโลกของเราที่เป็นอยู่จริงเป็นสมาชิก แต่ก็มีโลกที่เป็นไปได้อื่นที่ ไม่ได้เป็นสมาชิก และประการสุดท้าย การพูดว่าประพจน์หนึ่ง (สมมติว่าเป็นประพจน์ที่ว่ามีคน โสดที่แต่งงานแล้ว) เป็นไปไม่ได้ หรือเป็นเท็จโดยจาเป็น ก็คือการอ้างว่าเซ็ทของโลกเซ็ทหนึ่ง (เซ็ทของโลกประเภท-[มีคนโสดที่แต่งงานแล้ว]) เป็นเซ็ทที่ว่างเปล่าไม่มีสมาชิก ดังนั้น ตามความคิดของนักนามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้ การพูดเกี่ยวกับโมดัลภาวะ แบบ de dicto สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นการพูดในแบบของทฤษฎีเซ็ท การพูดเกี่ยวกับโมดัลภาวะ แบบ de re ก็เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม นักนามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้เห็นไม่ตรงกันว่า คาอธิบายจะเป็นไปในทิศทางใด คงจาได้ว่าสาหรับนักนามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้ คุณสมบัติ ความ-F เป็นเซ็ทที่จับคู่โลกที่เป็นไปได้แต่ละโลกกับเซ็ทของวัตถุที่เป็น Fในโลกนั้นๆ หรือตามที่ เราพูดก็คือ คุณสมบัติเป็นฟังก์ชั่นที่กาหนดเซ็ทของวัตถุประเภท Fให้กับโลกแต่ละโลก เมื่อเข้าใจ เช่นนี้ก็เป็นการง่ายที่จะเข้าใจเรื่องราวแบบหนึ่งที่นักนามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้อาจบอกเรา เกี่ยวกับโมดัลภาวะแบบ de re ตามเรื่องราวนี้ การที่วัตถุ x จะแสดงตัวอย่างของคุณสมบัติหนึ่งใน ความเป็นจริง ก็คือการที่ x เป็นสมาชิกของเซ็ทของวัตถุที่สิ่งทางทฤษฎีเซ็ทที่เป็นคุณสมบัตินั้น กาหนดให้กับโลกที่เป็นจริง การที่ x จะแสดงตัวอย่างของคุณสมบัตินั้นโดยจาเป็นหรืออย่างเป็น สารัตถะ ก็คือการที่ x เป็นสมาชิกของเซ็ทของสิ่งที่คุณสมบัตินั้นกาหนดให้กับโลกที่เป็นจริง และ เป็นสมาชิกของแต่ละเซ็ทที่คุณสมบัตินั้นกาหนดให้กับโลกที่เป็นไปได้อื่นที่มี x อยู่ กล่าวอีกอย่าง หนึ่งก็คือ x แสดงตัวอย่างของคุณสมบัติ ความ-F อย่างเป็นสารัตถะหรืออย่างจาเป็น ก็ต่อเมื่อ x เป็นสมาชิก ของเซ็ทของวัตถุประเภท F ในโลกที่เป็นจริง และเป็นสมาชิกของเซ็ทของวัตถุ ประเภท F ในโลกอื่นๆ ที่เป็นไปได้ทุกโลกที่มี x อยู่ และการที่ x แสดงตัวอย่างของคุณสมบัติ ความ-F เพียงโดยบังเอิญ ก็คือการที่แม้ว่า x จะเป็นสมาชิกของเซ็ทของวัตถุประเภท F ในโลกที่ เป็นจริง แต่ก็มีโลกอื่นๆ ที่มี x อยู่อย่างที่ x ไม่ได้เป็นสมาชิกของเซ็ทของวัตถุประเภท F แต่เราก็ จะเห็นในส่วนต่อไปว่าเรื่องราวนี้ถูกปฏิเสธโดยเดวิด ลิวอิซ (David Lewis) นักนามนิยมแบบโลก ที่เป็นไปได้ผู้มีอิทธิพลมากที่สุด แต่แม้ว่าเขาจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับโมดัลภาวะแบบ de re ที่ต่าง ออกไป แต่เรื่องของเขาก็สอดคล้องกับที่เราเล่าไปในแง่ที่ตีความการพูดถึงความจาเป็นหรือความ


171

บังเอิญของคุณสมบัติของวัตถุ ว่าเป็นการพูดในแบบของทฤษฎีเซ็ท คือเป็นการที่สิ่งเฉพาะเป็น สมาชิกหรือไม่เป็นสมาชิกของเซ็ท

อภิปรัชญาของลัทธินามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้ – เดวิด ลิวอิซ นอกจากคุณสมบัติ ประพจน์ ความจาเป็น ความเป็นไปได้ และความบังเอิญ จะได้รับการ ตีความอธิบายด้วยการอาศัยแนวคิดของทฤษฎีเซ็ทแล้ว นักนามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้ยังอ้างว่า กรอบวิธีคิดของโลกที่เป็นไปได้ยัง สามารถแก้ปมที่เคยเป็นปัญหาสาหรับนักนามนิยมอีกหลาย อย่าง อย่างแรกก็คือ การพูดเรื่องความหมาย ความหมายเป็นสิ่งที่ยากที่นักนามนิยมจะวิเคราะห์ อธิบายเสียจนกระทั่งพวกเขาเสนอให้เราเลิกพูดเรื่องความหมายไปเสียเลย แต่นักนามนิยมแบบ โลกที่เป็นไปได้ยืนยันว่า เราสามารถสร้างคาอธิบายตามแบบของทฤษฎีเซ็ทให้กับความหมายของ ภาษา อย่างที่แสดงให้เห็นได้ว่า แนวคิดเรื่องความหมายไม่ได้บังคับให้เราต้องยอมรับอะไรที่มาก ไปกว่าโลกที่เป็นไปได้และสิ่งเฉพาะที่อิงอาศัยอยู่ในโลกเหล่านั้น8 อีกอย่างหนึ่งก็คือ เรื่องของการ สมมติที่ขัดแย้งกับความเป็นจริง ที่อยู่ในรูป “ถ้ามันเกิดเป็นจริงขึ้นมาได้ว่า p มันก็อาจเป็นจริงว่า q ” น้าหนักของการสมมติแบบนี้เป็นเรื่องที่ยากที่จะอธิบายถ้าหากเรามุ่งความสนใจลงไปเพียงแค่ที่ โลกของความเป็นจริง แต่นักนามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้จะบอกเราว่า ถ้าเราถือว่าการสมมติที่ ขัดแย้งกับความเป็นจริงเป็นการอ้างเกี่ยวกับโลกที่เป็นไปได้ มากกว่าที่จะเกี่ยวกับโลกที่เป็นอยู่ จริง เราก็จะสามารถอธิบายมันได้อย่างราบรื่น9 แต่ไม่ว่าจะในกรณีใด คาอธิบายของนักนามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้ก็เป็นไปในแบบ ของการลดทอน คาอธิบายที่พวกเขาให้ที่ว่าด้วยคุณสมบัติ ประพจน์ โมดัลภาวะแบบ de dicto และแบบ de re ความหมาย และการขัดแย้งกับความเป็นจริง ทั้งหมดถูกออกแบบมาเพื่อแสดงให้ เราเห็นว่า รูปแบบต่างๆ ของการพูดที่ดูเหมือนว่าจะเป็นปัญหาเหล่านี้ ล้วนสามารถรองรับไว้ได้ ในภววิทยาแบบที่นาเสนอโดยนักนามนิยมแบบเคร่งครัด ซึ่งเป็นภววิท ยาที่มีแต่สิ่งเฉพาะเท่านั้น แต่ถ้าพวกเขาปรารถนาที่จะอธิบายลดทอนสิ่งพวกนั้นลงมาสู่สิ่งเฉพาะ มันก็ย่อมดีกว่าถ้าเราจะ 8

ดูตัวอย่างใน Lewis (1972)

9

ดูตัวอย่างใน Lewis (1973)


172

สามารถเข้าใจว่าโลกที่เป็นไปได้คืออะไรอย่างที่เป็นอิสระจากการอ้างอิงไปถึงสิ่งที่มันถูกนามาใช้ อธิบาย ฉะนั้น การนาเสนอ “อย่างเป็นทางการ” ของกรอบวิธีคิดของโลกที่เป็นไปได้ของนักนาม นิยม ก็ต้องไม่มีการนาแนวคิดเรื่องคุณสมบัติ ประพจน์ โมดัลภาวะแบบ de dicto และแบบ de re ความหมาย และการขัดแย้งกับความเป็นจริง เข้ามาใช้ เมื่อพวกเขาพยายามทาให้เราเข้าใจว่าสิ่งที่ เขาเรียกว่าโลกที่เป็นไปได้นั้นคืออะไร ถ้าเช่นนั้น เขาจะนาเสนอโลกที่เป็นไปได้ด้วยวิธีเช่นไร? มี กลยุทธ์หลายอย่างถูกนามาใช้ แต่ที่โดดเด่นที่สุดเป็นของเดวิด ลิวอิซ10 ลิวอิซบอกเราว่าถ้าเราอยากจะรู้ว่าโลกที่เป็นไปได้เป็นของประเภทใด เราก็ไม่ได้ต้องการ คาอธิบายทางปรัชญาที่ยุ่งยากซับซ้อนแต่ประการใด เราเพียงมองไปรอบๆ โลกที่เป็นจริง เขา ยืนยันว่าโลกที่เป็นไปได้อื่นเป็นเพียงแค่ “สิ่งอื่นๆ ในแบบเดียวกันที่เพิ่มขึ้นมา ที่ไม่ได้แตกต่างกัน ในชนิด แต่ต่างกันเพียงในอะไรที่เป็นไป”11 นี่คือการที่ลิวอิซใช้ความเข้าใจตามสามัญสานึกของ เราที่ถูกอ้างว่ารองรับอยู่ภายใต้กรอบของโลกที่เป็ นไปได้ โลกที่เป็นไปได้โลกหนึ่งก็คือผลรวม แบบหนึ่งของวิธีที่สิ่งต่า งๆ อาจเป็นไป เขาบอกว่าโลกที่เป็นจริงเป็นแค่ผลรวมแบบหนึ่งของ ผลรวมหลายๆ แบบที่สิ่งต่างๆ อาจจะเป็นไป และมันก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าตัวฉัน “และสิ่งที่ แวดล้อมตัวฉัน”12 มันก็คือสิ่งที่เราเรียกว่าเอกภพ มั นคือวัตถุเฉพาะที่ใหญ่มากๆ ที่ครอบคลุมวัตถุ เฉพาะอื่นๆ ที่มีความครอบคลุมน้อยกว่าไว้ในฐานะส่วนประกอบ โดยที่สิ่งเฉพาะแต่ละสิ่งจะ ตั้งอยู่ในความสัมพันธ์ทางกาล-อวกาศแบบต่างๆ กับสิ่งเฉพาะอื่นๆ ทุกอัน และไม่มีความสัมพันธ์ กับอะไรอื่น ลิวอิซสรุปว่าเนื่องจากโลกที่เป็ นไปได้อื่นแต่ละโลกเป็นสิ่งประเภทเดียวกัน โลกที่ เป็นไปได้อื่นจึงเป็นเพียงวัตถุรูปธรรมที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งส่วนประกอบของมันก็เป็นวัตถุรูปธรรมที่มี ความสัมพันธ์ทางกาลเวลาและอวกาศต่อกันและกัน และไม่มีความสัมพันธ์ทางกาลเวลาและ อวกาศกับอะไรอื่น และตามความคิดของลิวอิซ วัตถุรูปธรรมทั้งหมดเหล่านี้เป็นจริงและมีอยู่อย่าง เต็มที่ คือมีอยู่จริงๆ แต่เนื่องจากโลกที่เป็นไปได้แต่ละโลกอยู่ในกาลเวลาและอวกาศที่ปิด นั่นก็ คือ เนื่องจากสิ่งในโลกๆ หนึ่งมีความสัมพันธ์ทางกาลเวลาและอวกาศเฉพาะกับสิ่งอื่นในโลก เดียวกัน จึงไม่มีความสัมพันธ์ ในเชิงความเป็นสาเหตุและผลระหว่างวัตถุจากแต่ละโลก ดังนั้น ในขณะที่โลกอื่นและสิ่งที่อยู่ในมันเป็นจริงเหมือนโลกของเราและวัตถุที่อยู่ในโลกของเรา แต่ก็ 10 11 12

ดู “Possible Worlds,” in Lewis (1973) และ Lewis (1986) ดูกลวิธีที่ต่างออกไปได้ใน “Possible worlds,” in Loux (1979: 184) Ibid.

Cresswell (1972)


173

ไม่มีวัตถุจากโลกที่เป็นไปได้ไหนที่มีระยะห่างในเชิงกาลเวลาและอวกาศกับวัตถุในโลกของเรา และจึงไม่มีความสัมพันธ์ในเชิงความเป็นสาเหตุและผลระหว่างวัตถุของโลกอื่นกับวัตถุของโลก ของเรา แต่เราคิดว่าโลกของเรามีสถานะทางภววิทยาที่พิเศษกว่าโลกอื่นไม่ใช่หรือ เมื่อเราพูดว่ามี แต่โลกของเราเท่านั้นที่เป็นจริง? ลิวอิซไม่คิดเช่นนั้น เขาไม่คิดว่าเราบรรยายคุณสมบัติพิเศษอะไร ให้กับโลกของเรา เมื่อเราเรียกมันว่า “โลกที่เป็นอยู่จริง” ตามการมองของเขา คาว่า “ที่เป็นอยู่จริง” เป็นเพียงคาดรรชนีซึ่งสิ่งที่มันอ้างอิงถึงถูกตัดสินโดยบริบทที่แวดล้อมมัน 13 มันเป็นเหมือน “ฉัน” และ “ที่น”ี่ “ฉัน” เป็นคาที่ใช้อ้างอิงถึงบุคคล ลักษณะพิเศษของมันอยู่ตรงที่ว่าไม่ว่าจะในการพูด ครั้งใดมันจะอ้างอิงไปถึงคนที่พูดมันออกมา เมื่อผมพูดคาว่า “ฉัน” ออกมาผมไม่ได้กาลังบอกว่า ผมเป็นบุคคลที่มีความพิเศษอะไรในเชิงอภิปรัชญา ในลักษณะเช่นเดียวกัน “ที่นี่” ก็เป็นคาที่ใช้ อ้างอิงไปถึงสถานที่ และไม่ว่าจะในการพูดครั้งใดมันก็จะอ้างอิงไปถึงสถานที่ที่การพูดเกิดขึ้น ใน การพูดถึงสถานที่หนึ่งว่า “ที่นี่” เราไม่ได้กาลังบรรยายว่ามันมีสถานะทางภววิทยาแบบพิเศษที่ สถานที่อื่นมีไม่ได้ ลิวอิซอ้างว่า “โลกที่เป็นอยู่จริง” ก็เป็นคาในแบบเดียวกัน คานี้เป็นเครื่องมือ สาหรับการอ้างอิงถึงโลกที่เป็นไปได้โลกหนึ่ง และในแต่ละครั้งของการกล่าว โลกที่มันอ้างอิงถึง ก็คือโลกที่ การพูดนั้นเกิ ดขึ้ น ซึ่งเท่ากับว่าผู้พูดอยู่ ในโลกใดโลกนั้นก็จะเป็นสิ่งที่ถูก อ้างอิงถึง ดังนั้น เมื่อเราพูดว่าโลกของเราเป็นจริง เราไม่ได้กาลังระบุว่ามันเป็นโลกที่เป็นไปได้ที่มีสถานะ ทางภววิทยาแบบพิเศษที่โลกอื่นไม่มี เราเพียงเลือกมันขึ้นมาพูดว่าเป็นโลกที่เราอยู่ แน่นอนว่าเมื่อ เราอยู่ในโลกนี้ การใช้คาว่า “โลกที่เป็นอยู่จริง” ของเราก็ย่อมเลือกโลกออกมาเพียงโลกเดียวคือ โลกนี้ แต่เรื่องราวก็จะเป็นอย่างเดียวกันสาหรับผู้ที่อยู่ในโลกที่เป็นไปได้อื่นๆ ถ้าผู้อยู่อาศั ยในอีก โลกหนึ่งใช้คาว่า “โลกที่เป็นอยู่จริง” ในความหมายเดียวกันกับเรา การใช้คาดังกล่าวของพวกเขาก็ ย่อมเป็นการเลือกโลกที่เป็นไปได้ออกมาเพียงโลกเดียว คือโลกของพวกเขา ดังนั้น ถึงแม้เราใช้คาว่า “โลกที่เป็นอยู่จริง ” เพื่ออ้างอิงถึงโลกของเราเพียงโลกเดียว โลกที่เป็นไปได้อื่นๆ รวมทั้งสิ่งที่อิงอาศัยอยู่ในโลกเหล่านั้นก็ยังคงมีอยู่จริงอย่างเต็มที่ แต่ถ้าเป็น อย่างนั้น ก็เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจการที่วัตถุธรรมดาใดๆ จะกลายเป็นปัจเจกวัตถุแบบข้ามโลก คือ เป็นปัจเจกที่มีความมีอยู่ในโลกมากกว่าหนึ่งโลก เพราะถ้าโลกที่เป็นไปได้ทั้งหมดกาลังดาเนินไป 13

Ibid.


174

ตามวิถีของตนเองจริงๆ และถ้าปัจเจกวัตถุทั้งหลายในโลกเหล่านั้นกาลังดาเนินชีวิตหรือความมีอยู่ ของตนเองไปตามแบบของตนเองจริงๆ แสวงหาแนวทางของชีวิตในแบบที่เป็นของตนเองจริงๆ ความคิดที่ว่ามีหนึ่งปัจเจกที่อาศัยอยู่ในโลกมากกว่าหนึ่งโลก ก็ย่อมเท่ากับความคิดว่ามีหนึ่งปัจเจก อยู่จริงๆ ที่มีชีวิตแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละโลกนั้น และแสวงหาแนวทางของชีวิตในแบบ ที่เป็นของตนเองจริงๆ อย่างที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละโลก นี่เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจว่าปัจเจก ใดจะทาอย่า งนั้นได้อย่า งไร ลิวอิซ ก็เห็นด้วย 14 เขาบอกเราว่าเหตุผลที่เราเห็นว่าความคิดเรื่อง ปัจเจกวัตถุที่มีอยู่อย่างข้ามโลกเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ก็เพราะว่าความมีอยู่ของหนึ่งปัจเจกในโลกที่ เป็นไปได้มากกว่าหนึ่งโลก เท่ากับการถือล่วงหน้าว่าหลักการที่เรียกว่า หลักแห่งการไม่มีความ แตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่ งเดียวกัน (Indiscernibility of Identicals) เป็นหลักการที่เท็จ หลักการดังกล่าวอาจกล่าวอย่างเป็นทางการได้ดังนี้ เป็นจริงอย่างจาเป็นที่ว่า ส าหรับวัตถุ ก และ ข ใดๆ ก็ตาม ถ้า ก เป็นสิ่งหนึ่งสิ่ง เดียวกันกับ ข แล้วละก็ สาหรับคุณสมบัติ P ใดๆ ก็ตาม ก แสดงตัวอย่างของ P เมื่อ และต่อเพียงเมื่อ ข แสดงตัวอย่างของ P หลักการนี้กล่าวกลับกันกับหลักแห่งเอกลักษณ์ของสิ่งที่ไม่มีความแตกต่างที่เราพบในบทที่สาม หลักแห่งเอกลักษณ์ของสิ่งที่ไม่มีความแตกต่างบอกเราว่า เมื่อสิ่งสองสิ่งไม่มีความแตกต่างใน คุณสมบัติใดเลย ย่อมเป็นจริงตามมาว่าสิ่ งทั้งสองเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน แต่หลักที่กลับกัน คือ หลักแห่งการไม่มีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน บอกเราว่า เมื่อสิ่งสองสิ่งเป็น สิ่ง หนึ่ง สิ่งเดีย วกั น ย่ อมเป็ นจริง ตามมาว่า สิ่งทั้งสองจะไม่มีความแตกต่างใดๆ ในคุณสมบัติ ในขณะที่หลักแรกถูกโต้เถียงอย่างหนักว่าไม่จริง นักปรัชญาทุกคนยอมรับในหลักแห่งการไม่มี ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าความมีอยู่ของปัจเจกแบบข้ามโลกเข้าไม่ได้กับหลักนี้อย่างไร ลิวอิ ซขอให้เราสมมติว่าปัจเจกหนึ่งเรียกว่า x มีตัวตนอยู่ในโลกสองโลก เรียกว่า W1 และ W2 ซึ่งเราก็ สามารถเรียก x ที่เราพบใน W1 ว่า x-ใน-W1 และเรียก x ที่เราพบใน W2 ว่า x-ใน-W2 คราวนี้ถ้า W1 และ W2 เป็นคนละโลกกันจริงๆ สิ่งต่างๆ ก็ต้องเกิดขึ้นกับ x-ใน-W1 อย่างที่ต่างไปจากที่เกิดขึ้นกับ 14

ดู Lewis (1986: 198-205)


175

x-ใน-W2 สมมติว่าในขณะที่ x-ใน-W1 เป็นคนรักในดนตรีคลาสสิค ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการ ฝึกซ้อมไวโอลิน x-ใน-W2 เป็นนักอภิปรัชญาที่หมกมุ่นอยู่กับการอ่านหนังสือปรัชญา แต่ถ้าเป็น ดังว่า ก็จะมีคุณสมบัติที่ x-ใน-W1 มีซึ่ง x-ใน-W2 ไม่มี ได้แก่ การรักดนตรีคลาสสิค การเป็นนัก ไวโอลิน ซึ่งถ้า x อาศัยอยู่พร้อมกันในสองโลก W1 และ W2 จริงก็จะเกิดการละเมิดหลักแห่งการไม่ มีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน ลิวอิซสรุปว่าในเมื่อเราไม่พร้อมที่จะโยนหลัก นี้ทิ้ง เราก็ต้องโยนความคิดที่ว่ามีปัจเจก x ที่อยู่ในโลกมากกว่าหนึ่งโลกทิ้งไป บางคนอาจจะแย้งว่าที่ ลิวอิซสามารถแสดงความขัดแย้ง ระหว่างปัจเจกที่มีอยู่อย่างข้าม โลก กับหลักแห่งการไม่มีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน ได้สาเร็จ ก็เพราะว่า เขาเลือกบรรยายสถานการณ์ของ x ในแบบที่เขาบรรยาย ถ้าบรรยายในอีกแบบหนึ่งก็จะไม่มีความ ขัดแย้งอะไรดังกล่าว กล่าวคือ แทนที่จะพูดว่า x-ใน-W1 มีคุณสมบัติของการรักในดนตรีคลาสสิค ซึ่ง x-ใน-W2 ไม่มีคุณสมบัตินี้ เราก็อาจจะพูดอีกแบบหนึ่งว่า x มีคุณสมบัติของการรักในดนตรีใน W1 และพูดว่า x ขาดคุณสมบัติของการรักในดนตรีใน W2 นี่เป็นการเสนอให้เราใช้อะไรที่เรียกว่า คุณสมบัติแบบที่มีการชี้โลกกากับ มาใช้บรรยาย กรณีของ x คุณสมบัติแบบที่มีการชี้โลกกากับคือคุณสมบัติที่สิ่งหนึ่งมี ก็ต่อเมื่อมันมีคุณสมบัติอื่น ในโลกเฉพาะที่ เป็ นไปได้ โลกหนึ่ ง ข้ออ้ างก็ คือ ว่า ด้วยการอาศัย คุณสมบั ติแบบนี้ มาบรรยาย สถานการณ์ของ x เราสามารถหลีกเลี่ยงข้อสรุปที่ว่ามีคุณสมบัติที่สิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันทั้งมีและไม่มี คุณสมบัติของการรักในดนตรีใน W1 กับคุณสมบัติของการรักดนตรีใน W2 เป็นคุณสมบัติที่ ต่างกัน ดังนั้นจึงดูเหมือนว่าจะไม่มีปัญหาอะไรในการอ้างว่าสิ่งๆ เดียวกันมีของอย่างแรกแต่ไม่มี ของอย่างหลัง ลิวอิซยอมรับว่ากลยุท ธ์นี้ช่วยผู้ที่ปกป้องแนวคิดเรื่องปัจเจกแบบข้ามโลก ให้รักษาหลัก แห่งการไม่มีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันเอาไว้ได้ แต่เขาก็เถียงว่ามันต้อง จ่ายออกไปด้วยราคาที่แพงเกินไป ถ้าเป้าหมายคือการทาให้กรณีของ x ไม่เป็นตัวอย่างแย้งของการ ไม่มีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ เราต้องไม่อนุญาตให้บรรยายเรื่องราวแบบที่ลิวอิซ ทา เราต้องถือว่าวิธีเดียวที่อนุญาตให้ใช้บรรยายเรื่องราวก็คือด้วยการอ้างอิงไปถึงคุณสมบัติแบบที่ มีการชี้โลกกากับเท่านั้น แต่การอ้างแบบนี้ก็คือการอ้างว่าเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะเป็นคนรั กดนตรี เป็นนักไวโอลิน หรือเป็นนักอ่านหนังสือ มันก็คือการถือว่าสิ่งอะไรต่างๆ ไม่ได้มีคุณสมบัติพวกนี้


176

แต่มีเฉพาะคุณสมบัติที่อยู่ในรูปการเป็นผู้รักดนตรีใน W1 การเป็นนักไวโอลินใน W2 และการเป็น นักอ่านหนังสือใน W3 แต่ลิวอิซอ้างว่าทัศนะเช่นนั้นให้ผลประหลาดๆ ที่ ว่า ไม่จริงว่าผมเป็น มนุษย์ ไม่จริงว่านายชวน หลีกภัยมาจากตรัง ไม่จริงว่าจีนเป็นเจ้าเหรียญทองโอลิมปิค ไม่ว่าสิ่งจะ มีคุณสมบัติแบบที่มีการชี้โลกอยู่หรือไม่ก็ตาม มันก็มีคุณสมบัติแบบที่เราคุ้นเคย คือคุณสมบัติ แบบที่ไม่มีการบ่งชี้ด้วยโลก และเพราะว่ามันเป็นเช่นนั้น ความมีอยู่ของปัจเจกแบบข้ามโลกจึง เป็นตัวอย่างแย้งของหลักการที่ไม่มีใครอยากสละทิ้ง ดังนั้นลิวอิซจึงปฏิเสธที่จะยอมรับปัจเจกแบบข้ามโลก ตามทัศนะของเขาปัจเจกแต่ละ ปัจเจกอยู่ในโลกที่เป็นไปได้แค่หนึ่งโลกเท่านั้น จึงมีแต่เพียงสิ่งที่เราเรียกว่า ปัจเจกแบบผูกติดกับ โลก นี่คือสิ่งที่เราควรคาดไว้ล่วงหน้าจากทฤษฎีที่ถือว่าโลกที่เป็นไปได้ทุกโลกมีสถานะทางภว วิทยาที่เท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม ความคิดว่าปัจเจกผูกติดอยู่กับโลกมีผลที่ดูเหมือนว่าจะขัดแย้ง กับความเข้า ใจตามสามัญสานึกของเรา ถ้าผมมีตัวตนอยู่เพีย งแค่ในหนึ่งโลกที่เป็นไปได้ เมื่อ ถือเอาตามที่เราเข้าใจโมดัลภาวะโดยอาศัยกรอบวิธีคิดเรื่องโลกที่เป็นไปได้ สิ่งต่างๆ ก็ไม่สามารถ จะเป็นไปในแบบอื่นได้สาหรับผม ตามทฤษฎีโลกที่เป็นไปได้ การพูดว่าสิ่งอาจเป็นไปในแบบอื่น ได้สาหรับผม ก็คือการพูดว่ามีโลกที่เป็นไปได้โลกหนึ่งที่สิ่งเป็นอย่างอื่นสาหรับผม แต่ถ้าเป็น เช่นนั้น แนวคิดที่ว่าผมมีอยู่ในโลกนี้แค่โลกเดียวย่อมให้ผลตามมาว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจริง สาหรับผมในโลกนี้เป็นเรื่องของความจาเป็นทางอภิปรัชญา และนี่ย่อมเป็นจริงกับทุกๆ ปัจเจกอื่น ในโลกนี้ และกับทุกปัจเจกอื่นในโลกที่เป็นไปได้อื่นทุกโลก ดัง นั้น ถ้าปัจเจกทั้งหลายผูกติดอยู่ กับโลก ก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีปัจเจกไหนที่สามารถที่จะมีวิถีแห่งความเป็นอยู่ ที่ต่างไปแม้เพียงสัก นิดเดียวจากวิถีที่มันเป็นอยู่ เราจะเห็นปัญหานี้อย่างชัดเจนเมื่อเราย้อนกลับไปดูวิธีที่นักทฤษฎีโลกที่เป็นไปได้อธิบาย โมดัลภาวะแบบ de re ตามการอธิบายนั้น การพูดว่าสิ่งหนึ่งแสดงตัวอย่างของคุณสมบัติหนึ่ง อย่างจาเป็น ก็คือการพูดว่ามันแสดงตัวอย่างคุณสมบัตินั้นในโลกที่เป็นอยู่จริงและในโลกอื่นทุก โลกที่มันมีอยู่ ในขณะที่การพูดว่าสิ่งหนึ่งแสดงตัวอย่างคุณสมบัติหนึ่งอย่างบังเอิญ ก็คือการพูด ว่า ในขณะที่ มั น มี คุ ณ สมบั ติ นั้ น อยู่ จริ ง ๆ แต่ ก็ มี โ ลกที่ เ ป็น ไปได้ โ ลกหนึ่ ง ที่ มั น มีอ ยู่ โ ดยไม่ มี คุณสมบัตินั้น แต่ถ้าไม่มีปัจเจกไหนอยู่ในโลกมากกว่าหนึ่งโลก ทุกคุณสมบัติที่ถูกแสดงตัวอย่าง โดยปัจเจกใดก็ตามในโลกที่เป็นอยู่จริง ก็ย่อมจะเป็นสิ่งที่ปัจเจกนั้นมีอย่างเป็นสารัตถะ นั่นก็คือ


177

เนื่องจากไม่มีปัจเจกไหนในโลกที่เป็นอยู่จริงมีตัวตนอยู่ในโลกอื่น ทุกคุณสมบัติที่ปัจเจกพวกนั้น แสดงตัวอย่างในโลกที่เป็นอยู่จริง จึงเป็นคุณสมบัติที่มันแสดงตัวอย่างในทุกโลกที่มันมีอยู่ และก็ แน่นอนว่านี่ย่อมเป็นจริงกับปัจเจกในแต่ละโลกที่เป็นไปได้ของลิวอิซด้วย แต่ถ้าเราปฏิเสธการที่ จะมีปัจเจกแบบข้ามโลก การแยกแยะระหว่างคุณสมบัติที่เป็นสารัตถะต่อสิ่งๆ หนึ่ง กับคุณสมบัติ ที่มันแสดงตัวอย่างเพียงแค่โดยบังเอิญ ก็จะเป็นสิ่งที่เราไม่อาจทาได้อีกต่อไป แต่การที่เราให้ ความสนใจและยอมรับกรอบวิธีคิดเรื่องโลกที่เป็นไปได้มาตั้งแต่ต้นก็เพราะมันช่วยให้ความเข้าใจ ต่อเราในเรื่องนี้ ถ้าเราเดินตามลิวอิซและปฏิเสธการที่จะมีปัจเจกแบบข้ามโลก ไม่เพียงแค่จะ เกิดผลที่ขัดแย้งกับความเข้าใจที่ว่าไม่มีปัจเจกไหนที่แสดงตัวอย่างคุณสมบัติของมันอย่างบังเอิญ แต่เรายั งถูก บัง คั บให้ต้องสละหนึ่งในการวิเคราะห์ที่พ าให้เรารับเอากรอบทั้งหมดของโลกที่ เป็นไปได้มาเป็นวิธีคิดของเราตั้งแต่แรก แต่ลิวอิซตอบว่าข้อกังวลเหล่านี้เป็นความเข้าใจผิด 15 เขายืนยันว่าเราสามารถอธิบายการ แยกแยะต่างๆ ในโมดัลภาวะแบบ de re ได้โดยไม่ต้องอาศัยปัจเจกแบบข้ามโลก ในขณะที่เขาไม่ ยอมรับให้ปัจเจกจากคนละโลกที่เป็นไปได้มีความสัมพันธ์ของการเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน เขาก็ยัง ต้องการที่จะอ้างว่ามีความสัมพันธ์ที่อ่อนกว่านั้นที่ผูกปัจเจกของโลกหนึ่งเข้ากับปัจเจกของอีกโลก หนึ่ง และเขาเชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์นี้เพียงพอที่จะรองรับความเข้าใจตามสามัญสานึกของเรา เกี่ยวกับโมดัลภาวะ เขาเรียกความสัมพันธ์นี้ว่า ความสัมพันธ์แบบคู่เหมือน(counterpart relation) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ของความคล้ายคลึง เขาอธิบายว่า “คุณอยู่ในโลกที่เป็นจริงเท่านั้น แต่คุณมีคู่ เหมือนอยู่ในโลกอื่นๆ อีกหลายโลก คู่เหมือนของคุณคล้ายกับคุณอย่ างยิ่งในเนื้อหาและในบริบท ในแง่สาคัญๆ พวกเขาเหมือนคุณยิ่งกว่าที่จะมีสิ่งใดอื่นในโลกของพวกเขาที่เหมือนคุณ แต่พวก เขาก็ไม่ใช่คุณจริงๆ เพราะพวกเขาแต่ละคนอยู่ในโลกของเขาเอง และมีแต่คุณเท่านั้นที่อยู่ในโลก ที่เป็นจริง”16 สิ่งที่ลิวอิซต้องการจะอ้างก็คือว่า เราสามารถรักษาคาอธิบายแบบโลกที่เป็นไปได้ ที่ เราใช้ในการแยกแยะระหว่างคุณสมบัติสารัตถะและคุณสมบัติบังเอิญของปัจเจก ด้วยการอ้างอิง ไปถึง คู่ เหมื อนของปัจเจกนั้น เราสามารถพู ดว่าคุณสมบัติหนึ่งเป็นสารัตถะต่อปัจเจกหนึ่ง ก็ ต่อเมื่อปัจเจกนั้นและคู่เหมือนทั้งหมดของปัจเจกนั้ นแสดงตัวอย่างของคุณสมบัตินั้น และพูดว่า

15 16

Ibid. Lewis (1986: 112)


178

คุณสมบัติหนึ่งเป็นสิ่งบังเอิญต่อปัจเจกหนึ่ง ก็ต่อเมื่อปัจเจกนั้นแสดงตัวอย่างคุณสมบัติที่ว่า แต่คู่ เหมือนบางรายของปัจเจกนั้นไม่แสดงตัวอย่างคุณสมบัตินั้น ด้วยวิธีการอธิบายแบบนี้ ดูเหมือนว่า เราก็จะได้ผลที่เราต้องการ บิล คลินตัน เป็นคนอย่างเป็นสารัตถะ เขาเป็นคน แต่จะไม่มีอะไรที่จะ คล้ายกับเขามากพอที่จะเป็นคู่เหมือนของเขา นอกจากว่าสิ่งนั้นจะเป็นคนเช่นกัน การเป็นคนจึง เป็ นคุ ณสมบั ติที่มี ร่วมกั นโดยคลินตัน และทั้งหมดของวัตถุจากโลกที่เป็นไปได้อื่นๆ ที่เป็นคู่ เหมือนของเขา แต่คลินตันเป็นประธานาธิบดีโดยบังเอิญ เพราะคู่เหมือนในโลกอื่นของเขาบาง คนไม่อาจก้าวไปถึงตาแหน่งนี้ ดังนั้น ถ้าเราจับทฤษฎีคู่เหมือนของลิวอิซ มาเข้าคู่กับคาอธิบาย เรื่องโลกที่เป็นไปได้ของเขา เราก็สามารถหลีกเลี่ยงข้อสรุปที่ว่าไม่มีปัจเจกใดที่มีคุณสมบัติที่มันมี โดยบังเอิญ หมายความว่าเรายังสามารถรักษาการแยกแยะต่างๆ ในโมดัลภาวะแบบ de re ไว้ได้ ทฤษฎีคู่เหมือนเป็นการปิดท้ายการอภิปรายแนวคิดเรื่องโลกที่เป็นไปได้ของลิวอิซ โลกที่ เป็ น ไปได้ แ ต่ ล ะโลกเป็ น วั ต ถุ รู ป ธรรมหนึ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น มาจากวั ต ถุ รู ป ธรรมอื่ น ๆ ซึ่ ง ทั้ ง หมดมี ความสัมพันธ์ในเชิงกาลเวลาและอวกาศต่อกันและกัน และไม่มีความสัมพันธ์นี้กับอะไรอื่น โลก ทั้งหมดเป็นจริงเท่าๆ กัน การที่เราสามารถอ้างอิงถึงโลกนี้ได้ด้วยคาว่า “โลกที่เป็นอยู่จริง” ไม่ได้ แสดงว่าโลกของเรามีสถานะทางภววิทยาพิเศษใดๆ “โลกที่เป็นอยู่จริง” เป็นเพียงคาเรียกแบบ ดรรชนีชี้เฉพาะ เนื่องจากโลกที่เป็นไปได้ทุกโลกเป็นจริงเท่าๆ กัน จึงไม่มีปัจเจกไหนที่อยู่ในโลก ที่เป็นไปได้มากกว่าหนึ่งโลก ปัจเจกทั้งหมดมีอยู่อย่างที่ถูกจากัดไว้กับโลก แต่นี่ไม่ได้ทาให้ทุกๆ คุณสมบัติที่ปัจเจกหนึ่งมีเป็นสิ่งที่มันมีโดยจาเป็น เพราะการแยกแยะระหว่างอะไรที่เป็นสารัตถะ และอะไรที่เป็นไปโดยบังเอิญต่อปัจเจก ไม่ได้ตั้งอยู่บนการที่สิ่งเป็นไปอย่างไรสาหรับปัจเจกนั้น ในโลกที่เป็นไปได้อื่น แต่ตั้งอยู่บนการที่สิ่งเป็นไปอย่างไรสาหรับปัจเจกพวกที่เป็นคู่เหมือนของ มันในโลกที่เป็นไปได้อื่นๆ เมื่อเราคิดย้อนไปถึงข้อเรียกร้องที่ มีต่อคาอธิบายโลกที่เป็นไปได้ของลิวอิซ เราก็จะรู้สึก ถึงน้าหนักของคาอธิบายของเขา ลิวอิซอาศัยกรอบวิธีคิดของโลกที่เป็นไปได้ก็เพราะเขาต้องการ แก้ปัญหาให้กับการพูดเรื่องคุณสมบัติและประพจน์ เพื่อสร้างความเข้าใจถึงโมดัลภาวะ เพื่อให้ คาอธิบายถึงความหมายของภาษา และการสมมติแบบที่ขัดแย้งกับความเป็นจริง แต่เขาผูกมัด ตนเองไว้กับโครงการของลัทธินามนิยมแบบที่เคร่งครัดมากๆ เขาต้องการที่จะอ้างว่าสิ่งที่มีอยู่จริง มีแต่สิ่งเฉพาะรูปธรรมและเซ็ทเท่านั้น เขาต้องการที่จะอ้างว่าเราสามารถได้ประโยชน์จากกรอบ


179

วิธีคิดของโลกที่เป็นไปได้ พร้อมกับที่เดินไปตามแนวทางที่ขีดไว้โดยลัทธินามนิยมแบบเคร่งครัด ในการทาเช่นนั้น โลกที่เป็นไปได้ต้องถูกนาเสนอและอธิบายในแบบของนักนามนิยมจริงๆ คือ ต้ อ งเป็ น ไปได้ ที่ จ ะพู ด ว่ า โลกที่ เ ป็ น ไปได้ คื อ อะไรอย่ า งที่ ไ ม่ มี ก ารอ้ า งอิ ง ไปถึ ง แนวคิ ด เรื่ อ ง คุณสมบัติหรือประพจน์ และโดยไม่เอาโมดัลภาวะมาใช้เป็นตัวอธิบาย และดูเหมือนลิวอิซก็จะทา ได้เช่นนั้น เขาเริ่มต้นด้วยสิ่งที่ง่ายๆ ในทางภววิทยา ได้แก่เอกภพที่เป็นตัวฉันและสิ่งที่แวดล้อมตัว ฉัน โลกที่เป็นไปได้อื่นๆ ได้รับการเสนอว่าเป็นสิ่งแบบเดียวกันนั้นที่เพิ่มขึ้นมา และโลกที่เป็นไป ได้ทั้ งหมดถู ก อธิบ ายว่า เป็ นสิ่ง เฉพาะรูปธรรมที่ไ ม่ไ ด้สร้างขึ้นมาจากอะไรอื่นนอกไปจากสิ่ง เฉพาะรูปธรรม นี่คือการตีความกรอบวิธีคิดของโลกที่เป็นไปได้ในแบบของนักนามนิยมอย่างที่ ไม่มีอะไรอื่นมาเจือปน

ลัทธิความเป็นจริงนิยม และโลกที่เป็นไปได้ – อัลวิน แพลนทิงกา แต่ทว่านักปรัชญาส่วนใหญ่ “จ้องมองเขาแบบไม่อยากจะเชื่อ ”17 และเห็นว่านี่เป็นเรื่อง เพ้อฝันแบบนิยายวิทยาศาสตร์ เป็นไปได้อย่างไรที่จะมีคนเชื่อว่าโลกแห่งความเป็นไปได้และคู่ เหมือนจะมีอยู่จริงๆ เท่าๆ กับโลกนี้? แม้จะมีคนไม่กี่คนที่ยอมเชื่อตามเขา แต่ข้อเท็จจริงก็คือลิวอิ ซเชื่ออย่างนั้นจริงๆ ภววิทยาของเขาเป็นตัวอย่างของสิ่งที่เราอาจจะเรียกว่า ลัทธิความเป็นไปได้ นิยม (possibilism) ซึ่งเชื่อในความมีอยู่ของวัตถุที่เป็นไปได้แม้มันจะไม่ใ ช่วัตถุที่เป็นจริง นัก ปรัชญาส่วนใหญ่หัวดื้อถือทัศนะที่ว่าสิ่งที่มีอยู่จริงก็คือวัตถุทั้งหลายของโลกของความเป็นจริงนี้ เท่านั้น ซึ่งเราอาจเรียกทัศนะนี้ว่าลัทธิความเป็นจริงนิยม (actualism) แม้พวกเขาจะยอมรับอานาจ ในการอธิบายของแนวทางแบบนักความเป็นไปได้นิยมของลิวอิซ ในเรื่องของปรากฏการณ์แบบ โมดัล แต่พวกเขาก็ยังปฏิเสธทัศนะของลิวอิซ เพียงเพราะว่ามันถือเอาว่ามีจริงในสิ่ งที่สามัญสานึก ของเราบอกว่าไม่ได้มีอยู่จริงๆ อย่างไรก็ตาม นักปรัชญาจานวนมากต้องการปฏิเสธว่าแนวทางของลิวอิซ มีอานาจในการ อธิบายจริง อย่ างที่ลิวอิซ อ้า ง ซึ่ง พวกเขาให้เหตุผลทั้งจากแง่ใ นทางเทคนิค และจากแง่ใ นทาง ปรัชญา ในทางเทคนิค พวกเขาอ้างว่าการอธิบายประพจน์และคุณสมบัติในแบบทฤษฎีเซ็ทของ 17

Lewis (1986)


180

ลิวอิซพาไปสู่ผลที่ไม่น่าพอใจ18 คือถ้าเราถือว่าประพจน์คือเซ็ทของโลกที่เป็นไปได้ (ที่ประพจน์ นั้นเป็นจริงในโลกเหล่านั้น) เราก็จะได้ผลว่ามีประพจน์อยู่แค่ประพจน์เดียวที่เป็นจริงโดยจาเป็น หรือเป็นเท็จโดยจาเป็น เพราะความเป็นจริงโดยจาเป็น ถูกถือว่าเป็นเซ็ทของโลกที่เป็นไปได้ทุก โลก แต่เนื่องจากเซ็ทจะเป็นเอกลักษณ์ หรือเป็นเซ็ทหนึ่งเซ็ทเดียวกัน เมื่อใดก็ตามที่มันมีสมาชิกที่ เป็นเอกลักษณ์หรือเป็ นสิ่ง หนึ่งสิ่งเดีย วกั น ดังนั้น จึงมีเซ็ทอยู่ แค่เซ็ทเดียวที่มีสมาชิกเป็นโลก ทั้ ง หมดที่ เป็ น ไปได้ แต่ นี่ขั ด กั บ การที่ มี ป ระพจน์ ที่แ ตกต่ า งกั น มากมายที่ เป็ น จริ ง โดยจาเป็ น ประพจน์ว่าสองบวกสองเป็นสี่ และประพจน์ว่าคนโสดเป็นคนที่ยังไม่แต่งงาน เป็นจริงโดยจาเป็น ทั้ ง คู่ แต่ก็ แตกต่า งและดัง นั้ นจึง เป็ นคนละประพจน์กั น ในทานองเดีย วกั น ลิว อิซ บอกเราว่ า ประพจน์ที่เป็นเท็จโดยจาเป็นหรือประพจน์ที่เป็นไปไม่ได้ คือเซ็ทของโลกที่เป็นไปได้ที่ว่างเปล่า ไม่มีสมาชิก แต่มีเซ็ทดังกล่าวอยู่เพียงแค่เซ็ทเดียว ในขณะที่มีประพจน์ที่เป็นไปไม่ได้ที่แตกต่าง กันอยู่มากมาย ปัญหาแบบเดียวกันก็เกิดขึ้นกับคาอธิบายเรื่องคุณสมบัติด้วย คุณสมบัติถูกถือว่า เป็นโครงสร้างทางทฤษฎีเซ็ทที่กาหนดเซ็ทของวัตถุให้กับโลกที่เป็นไปได้แต่ละโลก (ได้แก่เซ็ท ของวัตถุที่แสดงตัวอย่างของคุณสมบัติดังกล่าวในโลกนั้นๆ) แต่แล้ว คุณสมบัติคู่ใดๆ ก็ตามที่ถูก แสดงตัวอย่างพร้อมกันข้ามโลกที่เป็นไปได้ทั้งหมด (นั่นก็คือ ถูกแสดงตัวอย่างโดยวัตถุเดียวกัน ในโลกที่เป็นไปได้แต่ละโลก) ก็จะถูกถือโดยทัศนะนี้ว่าเป็นคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์หรือเป็น หนึ่งเดียวกัน ฉะนั้น ในทุกๆ โลกที่เป็นไปได้ สิ่งที่มีด้านสามด้านก็จะเป็นสิ่งที่มีมุมสามมุม และ ในทางกลับกันสิ่งที่มีมุมสามมุมก็จะเป็นสิ่งที่มีด้านสามด้าน จึงมีโครงสร้างทางทฤษฎีเซ็ทแบบที่ นักนามนิยมแบบโลกที่เป็นไปได้ถือว่าเป็นคุณสมบัติอยู่แค่หนึ่งเดียว ผลก็คือ นักนามนิยมแบบ โลกที่เป็นไปได้ถูกบังคับให้ถือว่าคุณสมบัติของการมีสามด้านกับคุณสมบัติของการมีสามมุม เป็นคุณสมบัติหนึ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดูเหมือนว่าจะไม่จริง นอกจากปัญหาทางเทคนิคแล้ว ความคิดที่ว่าประพจน์เป็นเซ็ทก็มีปัญหาในทางปรัชญา 19 ประพจน์เป็นของประเภทที่เราเชื่อหรือเรารู้ การเป็นเพียงแค่เซ็ทไม่อาจที่จะเป็นวัตถุของทัศนะคติ เชิงประพจน์พวกนี้ได้ ในลักษณะเดียวกัน ประพจน์เป็นสิ่งที่ถือครองค่าจริงเท็จ แต่เซ็ทไม่เป็นทั้ง

18 19

ดูตัวอย่างใน Pantinga (1976: 259) Plantinga (1987: 208)


181

จริงหรือเท็จ และประพจน์เป็นสิ่งที่แสดงภาพว่าสิ่งในโลกเป็นไปในทางหนึ่งทางใดบางอย่าง แต่ เซ็ทไม่มีความสามารถใดๆ ที่จะแสดงภาพสิ่งในโลก เพราะพวกมันเป็นเพียงการรวมกลุ่มของวัตถุ ดังนั้น ผู้วิจารณ์แนวทางของลิวอิซจึงยืนยันให้เราทิ้งความคิดแบบของนักความเป็นไปได้ นิยม ที่ว่ามีสิ่งที่ไม่อาจพบได้ในโลกของความเป็นจริง และให้ถือทัศนะแบบของนักความเป็นจริง นิยม ที่ว่าเนื้อหาของโลกของเราครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ และพวกเขาโต้เถียงว่าโครงการ แบบการลดทอนที่ผลักดันอยู่เบื้องหลังลัทธิความเป็นไปได้นิยมของลิวอิซเป็นสิ่งที่ไร้ผล แต่ กระนั้น ผู้วิจารณ์จานวนมากก็ยังพอใจกรอบวิธีคิดแบบโลกที่เป็นไปได้ พวกเขาอ้างว่าเราสามารถ บ่ ง ชี้ โลกที่ เป็ นไปได้แบบต่ า งๆ ด้ว ยสิ่ งที่เ ราพบในโลกของความเป็น จริ ง พวกเขาถือ ว่า เรา สามารถอธิบายความคิดว่าสิ่งต่างๆ ในโลกสามารถที่จะเป็นไปในหลายทิศทางในแบบของนัก ความเป็นจริงนิยมได้ แต่ในคาอธิบายของพวกเขา กรอบวิธีคิดแบบโลกที่เป็นไปได้มีบทบาทที่ ต่างไปจากในคาอธิบายของลิวอิซ โลกที่เป็นไปได้ไม่ได้ถูกใช้เพื่อลดทอนสิ่งแบบโมดัลไปสู่สิ่งที่ ไม่ใช่โมดัลในแบบที่นักนามนิยมพยายามทา นักปรัชญาพวกนี้ปฏิเสธความคิดที่ว่าเราสามารถ ออกไปอยู่นอกเครือข่ายของความคิดเรื่องประพจน์ คุณสมบัติ โมดัลภาวะแบบ de re และโมดัล ภาวะแบบ de dicto และอะไรพวกนี้ได้ พวกเขายืนยันว่าความคิดถึงโลกที่เป็นไปได้เป็นส่วนหนึ่ง ของเครือข่ายของความคิดแบบโมดัล และเราจะเข้าใจมันได้ก็โดยอาศัยความคิดต่างๆในเครื่อข่าย ร่วมกั นเท่ า นั้น พวกเขาปฏิเสธว่าความเข้าใจทางปรัชญาต้องเกิ ดขึ้นจากวิธีก ารแบบลดทอน เท่านั้น สาหรับนักลดทอน เมื่อมีชุดของแนวความคิดชุดหนึ่งมาให้ พวกเขาจะอ้างว่าแนวความคิด ต่า งๆ ในชุ ด นั้น สร้ า งให้ เกิ ดความยุ่ งยากสับ สน และเสนอที่ จะขจั ดความสั บสนนั้ นด้ วยการ ลดทอนแนวความคิดในชุดนั้นไปสู่แนวความคิดที่อยู่ภายนอก ซึ่งก็คือการที่พวกเขาคิดว่าความ เข้ าใจของเราต่อเครือข่ ายของความคิด เกิ ดขึ้นจากการที่เราสามารถอธิบายความคิดต่างๆ ใน เครื่อข่ายนั้นด้วยความคิดอื่น แต่ผู้วิจารณ์ลิวอิซเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่เราจะออกจากเครือข่ายของ ความคิ ด แบบโมดั ล และก็ ไ ม่ มี ค วามจ าเป็ น อะไรที่ ต้ อ งท าเช่ น นั้ น เพราะพวกเขาเห็ น ว่ า แนวความคิดแบบโมดัลเป็นระเบียบเรียบร้อยดีอยู่แล้ว แต่เราก็สามารถเข้าใจพวกมันได้อย่าง ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ถ้าเราสามารถแสดงระเบียบและโครงสร้างของแนวคิดแบบโมดัล ด้วยการแสดงให้ เห็นถึ ง ความสัม พั นธ์ที่ พ วกมั นมีต่อ กั น ซึ่งพวกเขาอ้างว่าความคิ ดเรื่อ งโลกที่เป็ นไปได้เป็ น เครื่องมือที่ดีที่จะช่วยเราในการทาเช่นนั้น


182

สิ่งที่ต้องทาก็คือ การอธิบายโลกที่เป็นไปได้ในแบบของนักความเป็นจริงนิยม พร้อมๆ กับในแบบที่ไม่ใช่การลดทอน คาอธิบายที่มีอิทธิพลมากที่สุดมาจากอัลวิน แพลนทิงกา (Alvin Plantinga)20 ตามความคิดของเขา การอธิบายโลกในเชิงอภิปรัชญาต้องอาศัยแนวคิดเรื่องโมดัล ภาวะ และต้องอ้างอิงไปถึงสิ่งอย่างคุณสมบัติ ชนิด ความสัมพันธ์และประพจน์ แต่เขาปฏิเสธ ความคิดที่ว่าเราสามารถเข้าใจความจาเป็น ความเป็นไปได้ และความบังเอิญ ด้วยการอาศัยแนวคิด ที่ ไ ม่ ใ ช่ แบบโมดัล รวมทั้ ง ความคิ ด ที่ ว่า เราสามารถอธิ บายคุ ณ สมบัติ แ ละประพจน์ด้ ว ยสิ่ ง ที่ ประกอบกันขึ้นเป็นภววิทยาของนักนามนิยม เขาเห็นว่าการพูดเรื่องโมดัลภาวะแบบต่างๆ และ การพูดเรื่องคุณสมบัติและประพจน์เป็นสิ่งที่ต้องมาคู่กัน เราไม่สามารถเข้าใจแนวคิดเรื่องโมดัล ภาวะแบบ de dicto อย่างเป็นอิสระจากแนวคิดเรื่องประพจน์ซึ่งเป็นตัวสิ่งที่เราบรรยายว่าอยู่ใน โมดัลภาวะ de dicto แบบต่างๆ และเราไม่สามารถเข้าใจการพูดถึงโมดัลภาวะแบบ de re นอกเสีย จากในฐานะของการระบุสถานะทางโมดัลของการที่สิ่งหนึ่งแสดงตัวอย่างของคุณสมบัติ ชนิด และความสัมพันธ์อะไรบางอย่าง และในทางกลับกัน เราก็ไม่สามารถเข้าใจแนวคิดเรื่องประพจน์ นอกเสียจากในฐานะของสิ่งที่อยู่ในโมดัลภาวะ de dicto แบบต่างๆ และการมีความคิดเรื่อง คุณสมบัติ ชนิดและความสัมพันธ์ ก็คือการมีความคิดถึงบางสิ่งบางอย่างที่การแสดงตัวอย่างของ มันเป็นสิ่งที่อยู่ในโมดัลภาวะ de re แบบต่างๆ โมดัลภาวะและสิ่งอย่างประพจน์และคุณสมบัติ เป็นส่วนประกอบของเครือข่ายของแนวคิดที่สัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ซึ่งไม่มีส่วนไหนสามารถ เข้าใจได้อย่างเป็นอิสระจากส่วนอื่น และแพลนทิงกาก็ต้องการที่จะอ้างว่าแนวความคิดเรื่องโลกที่ เป็นไปได้ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งในเครือข่ายนี้ และเนื่องจากเขาถือว่าไม่มีองค์ประกอบไหนใน เครือข่ายที่สามารถเข้าใจได้โดยอาศัยแนวคิดที่อยู่นอกเครือข่าย เขาจึงเห็นว่าความพยายามที่จะ อธิบายโลกที่เป็นไปได้ด้วยสิ่งที่ไม่เป็นแบบโมดัล หรือด้วยสิ่งที่เป็นแบบของนักนามนิ ยมล้วนๆ ย่อมจะล้มเหลว แต่ความล้ม เหลวนี้ก็ไม่ ได้แสดงว่าความคิดเรื่องโลกที่เป็นไปได้เป็นสิ่งที่ไ ร้ ประโยชน์ในเชิงอภิปรัชญาหรือว่าไม่น่าสนใจ แต่ที่จริงแล้วมันคือจุดศูนย์กลางของความพยายาม ของนักอภิปรัชญาที่จะอธิบายโครงสร้างทางโมดัลของโลก ดังนั้น แพลนทิงกาจึงต้องการอธิบายโลกที่เป็นไปได้ในแบบที่ไม่ใช่การลดทอน และเป็น คาอธิบายในแบบนักความเป็นจริงนิยม ซึ่งตามการมองของเขา การยอมรับลัทธิความเป็นจริงนิยม 20

แพลนทิงกาพัฒนาแนวคิดของเขาผ่านงานหลายๆ ชิ้น แต่ผู้อ่านน่าจะเริ่มต้นด้วย Plantinga (1976)


183

เป็นทางเลือกเดียวในการอธิบายโลกที่เป็นไปได้ เขาเห็นว่าความคิดแบบความเป็นไปได้นิยมของ ลิวอิซที่ว่ามีสิ่งที่มีอยู่อย่างที่ไม่ได้มีอยู่ในความเป็นจริง เป็นความคิดที่ไม่สอดคล้องในตนเอง เพราะความคิ ดเรื่องการมี อยู่แบบเดีย วที่เรามีก็ คือความคิดถึงสิ่งที่มีอยู่ ใ นความเป็นจริง 21 แต่ กระนั้น ก็เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจการที่นักความเป็นจริงนิยมจะยอมรับความคิดที่ว่าโลกของเรา เป็นเพียงหนึ่งในโลกที่เป็นไปได้ที่มีจานวนมากมาย การเป็นนักความเป็นจริงนิยมน่าจะเท่ากับ การปฏิเสธแนวคิดว่ามีโลกที่เป็นไปได้ที่หลากหลาย ประเด็นก็คือ เนื่องจากแพลนทิงกาปฏิเสธ การวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ในเครือข่ายของความคิดแบบโมดัลในแบบที่เป็นการลดทอน เขา จึงมีอิสระที่จะใช้องค์ประกอบของเครื่องข่ายนั้นมาอธิบายว่าโลกที่เป็นไปได้คืออะไร และแสดง ให้เห็นว่าข้ออ้างที่ว่ามีโลกที่เป็นไปได้ที่ไม่เป็นจริงเป็นสิ่งที่เข้ากันได้กับลัทธิความเป็นจริงนิยม แพลนทิงกายอมรับการอธิบายสิ่งนามธรรมในแบบของนักเพลโตนิยมที่เราดูกันมาในบท ที่หนึ่ง ซึ่งยืนยันให้เราแยกระหว่างความมีอยู่ของคุณสมบัติ ออกจากการปรากฏเป็นตัวอย่างหรือ การแสดงตัวอย่างของคุณสมบัตินั้น ตามทัศนะนี้ คุณสมบัติทุกอย่างเป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างจาเป็น แต่ ไม่ จริ ง ว่า ทุ ก คุ ณสมบั ติ ต้อ งถูก แสดงตั ว อย่ า ง ดัง นั้ น คุ ณสมบั ติ จึง มี อยู่ จริ ง แม้ จ ะไม่ถู ก แสดง ตัวอย่างเลยก็ตาม แพลนทิงกาอ้างว่าเราต้องแยกแยะในแบบเดียวกันกับสิ่งนามธรรมประเภทที่เรา อภิปรายถึงในบทที่สี่ ที่เราเรียกว่าสภาวการณ์ สภาวการณ์คือของอย่างเช่น การเป็นผู้เขียนตารา วิชาอภิปรัชญาขั้นแนะนาของข้าพเจ้า การเป็นผู้ที่เกิดที่จังหวัดตรังของนายชวน หลีกภัย การได้ เหรียญเงินโอลิมปิกของแก้ว พงษ์ประยูร หรือการเป็นแชมป์บอลโลกของไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิด เป็ นจริง ขึ้นหรือไม่เกิดเป็ นจริง ขึ้น และการที่ส ภาวการณ์เกิดเป็นจริงขึ้นมาก็เป็นเหมือนกั บที่ คุณสมบัติหนึ่งถูกแสดงตัวอย่างโดยสิ่งในโลก แพลนทิงกายืนยันว่า ในแบบเดียวกับ ที่เราแยก ระหว่ า งความมี อยู่ ข องคุ ณสมบั ติอ อกจากการแสดงตั วอย่ า งของคุณ สมบั ตินั้น เราก็ ต้อ งแยก ระหว่างความมีอยู่ของสภาวการณ์หนึ่งๆ ออกจากการเกิดเป็นจริงขึ้นของมัน ทุกๆ สภาวการณ์มี อยู่อย่างจาเป็น ดังนั้น ทุกๆ สภาวการณ์จึงมีอยู่ ซึ่งหมายถึงมีอยู่ในโลกนี้ แต่บางสภาวการณ์ไม่ได้ เกิดขึ้นจริง สิ่งที่แพลนทิงกาเสนอก็คือโลกที่เป็นไปได้ทุกๆ โลกเป็นสภาวการณ์ประเภทหนึ่ง และเนื่องจากสภาวการณ์ทั้งหมดมีอยู่อย่างจาเป็น โลกที่เป็นไปได้ทั้งหมดจึงมีอยู่จริงในฐานะ ส่วนหนึ่งของเนื้อหาของโลกที่เป็นจริง อย่างไรก็ตาม ไม่จริงว่าโลกที่เป็นไปได้ทั้งหมดจะเกิดขึ้น 21

Plantinga (1976: 257)


184

จริง มีเพียงโลกเดียวเท่านั้น คือโลกแห่งความเป็นจริงของเราที่เกิดขึ้น และการที่มันเป็นความเป็น จริงก็คือการที่มันเกิดขึ้นนั่นเอง และเนื่องจากการเป็นความเป็นจริงของโลกๆ หนึ่งเป็นคนละ อย่างกับความมีอยู่จริง ข้ออ้างที่ว่ามีเพียงโลกที่เป็น ไปได้โลกเดียวเท่านั้นที่เป็นความเป็นจริง จึง กลายเป็นสิ่งที่เข้าได้กับข้ออ้างที่ว่าไม่มีสิ่งไหนที่ไม่มีอยู่จริงๆ แต่สภาวการณ์ไหนละที่เป็นโลกที่เป็นไปได้ต่างๆ ถ้าเราแยกแยะระหว่างสภาวการณ์ อย่างที่การเกิดขึ้นของมันเป็นไปไม่ได้ (อย่างเช่น การที่เลขเก้าเป็นเลขคู่ ) กับสภาวการณ์อย่างที่ การเกิดขึ้นของมันเป็นไปได้ (อย่างเช่น การที่ไทยเป็นแชมป์บอลโลก) และเรียกของอย่างหลังว่า สภาวการณ์ที่เป็นไปได้ เราก็จะสามารถพูดว่า สาหรับแพลนทิงกา โลกที่เป็นไปได้คือสภาวการณ์ ที่เป็นไปได้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกสภาวการณ์ที่เป็นไปได้จะเป็นโลกที่ เป็นไปได้ การที่ไทยเป็นแชมป์ บอลโลกไม่ใช่โลกที่เป็นไปได้โลกหนึ่ง มันไม่ใช่สภาวการณ์ที่มีความครอบคลุมเพียงพอ โลกที่ เป็นไปได้โลกหนึ่งก็คือสภาวการณ์หนึ่งที่มีความครอบคลุมที่กว้างมาก เป็นอะไรที่เราอาจจะ เรียกว่าสภาวการณ์ที่ครอบคลุมอย่างกว้างที่สุด22 เพื่อที่จะอธิบายแนวความคิดนี้ แพลนทิงกาบอก เราว่าสภาวการณ์สามารถมีความสัมพันธ์ทางตรรกะต่อกันและกัน เขาพูดว่าสภาวการณ์หนึ่งอาจ รวมเอาอีกสภาวการณ์หนึ่งเข้าไว้ หรืออาจตัดขาดกับอีกสภาวการณ์หนึ่ง เขานิยามความสัมพันธ์ ทั้งสองว่า สภาวการณ์ S รวมเอาสภาวการณ์ S' เข้าไว้ ก็ต่อเมื่อมันเป็นไปไม่ได้ที่สภาวการณ์ S จะ เกิดขึ้นโดยที่สภาวการณ์ S' ไม่เกิดขึ้นด้วย และสภาวการณ์ S ตัดขาดกับสภาวการณ์ S' ก็ต่อเมื่อมัน เป็นไปไม่ได้ที่สภาวการณ์ทั้งคู่จะเกิดขึ้นด้วยกัน ฉะนั้น สภาวการณ์ของการที่มีหนังสืออุตมรัฐ ของเพลโตเล่มหนึ่งอยู่บนโต๊ะทางานของผม จึงรวมเอาสภาวการณ์ของการมีบางสิ่งบางอย่างอยู่ บนโต๊ะทางานของผม และรวมเอาสภาวการณ์ของการที่ผมมีโต๊ะทางาน และรวมเอาสภาวการณ์ ของการมีอยู่ของโต๊ะอย่างน้อยหนึ่งตัวและหนังสืออย่างน้อยหนึ่งเล่ม ในอีกทางหนึ่ง สภาวการณ์ ของการที่นายสมบูรณ์ สุขสมเป็นคนที่อายุมากที่สุดในกรุงเทพฯ ตัดขาดจากสภาวการณ์ของการที่ นางละออง งามตาเป็นคนอายุมากที่สุดในกรุงเทพฯ และตัดขาดจากสภาวการณ์ของการที่นาง ละออง งามตามีอายุมากกว่านายสมบูรณ์ สุขสม และตัดขาดจากสภาวการณ์ของการที่ไม่มีสสาร วัตถุใดๆ อยู่เลย ด้วยการอาศัยแนวคิดของการรวมเข้าไว้หรือการตัดขาดจากกันของสภาวการณ์ แพลนทิ งกาบอกเราว่าสภาวการณ์หนึ่งเป็ นสภาวการณ์ที่ครอบคลุมอย่างกว้างที่สุด ก็ ต่อเมื่อ 22

Plantinga (1976: 258)


185

สาหรับสภาวการณ์ S ใดๆ ก็ตาม สภาวการณ์ดังกล่าวรวมเอา S ไว้ด้วย หรือไม่เช่นนั้นก็ตัดขาดกับ S ซึ่งอาจพูดได้ว่า สภาวการณ์ที่ครอบคลุมอย่างกว้างที่สุดตั ดสินสภาวการณ์แต่ละสภาวการณ์ ด้วยการถ้าไม่รวมมันเข้าไว้ก็ตัดมันออกไป และด้วยการนาความคิดเรื่องสภาวการณ์ที่เป็นไป ได้มารวมกับกับความคิดเรื่องสภาวการณ์ที่ครอบคลุมอย่างกว้างที่สุด แพลนทิงกาก็บอกว่าโลกที่ เป็นไปได้โลกหนึ่ง ก็คือสภาวการณ์ที่เป็นไปได้ที่ครอบคลุมอย่างกว้างที่สุดสภาวการณ์หนึ่ง โลกที่เป็นไปได้ต่างๆ จึงเป็นสภาวการณ์ที่เป็นไปได้ทั้งหลายที่มีคุณสมบัติของความ ครอบคลุม กว้า งที่สุด และเหมือนกับสภาวการณ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด การเกิดขึ้นของพวกมัน เป็นไปได้ แต่มีเพียงหนึ่งเดียวในพวกมันเท่านั้นที่เกิดขึ้นจริงๆ นั่น ก็คือโลกของเรา เป็นเรื่อง สาคัญที่เราจะต้องเข้าใจความแตกต่างของกรอบวิธีคิดเรื่องโลกที่เป็นไปได้ของลิวอิซกับของแพ ลนทิงกา สาหรับลิวอิซ การยอมรับกรอบคิดของโลกที่เป็นไปได้บังคับให้เราต้องยอมรับความมี อยู่ของสิ่งที่เราจะไม่พบในโลกของความเป็นจริง ได้แก่สิ่งที่เป็ นไปได้ที่ไม่เป็นจริง แต่แพลนทิง การะบุโลกที่เป็นไปได้ต่างๆ ด้วยสิ่งที่อยู่ในโลกของความเป็นจริง ลิวอิซพยายามอย่างหนักที่จะ แสดงว่ากรอบคิดของโลกที่เป็นไปได้ สามารถที่จะถูกนาเสนอและอธิบายโดยการอาศัยสิ่งที่ไม่ เป็ นโมดัล และเป็ นสิ่ง ในแบบของนัก นามนิย มอย่ างเคร่งครัด แพลนทิงกาไม่รีรอที่จะอาศัย แนวคิดเรื่องสภาวการณ์ในแบบนักเพลโตนิยม และแนวคิดแบบโมดัลของความเป็นไปได้ การ รวมเข้าไว้ และการตัดขาดจากกัน มาอธิบายโลกที่เป็นไปได้ ลิวอิซเสนอทฤษฎีว่าความเป็นจริง เป็นคาดัชนี ตามทัศนะของเขา การที่เราผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในโลกนี้ประสบความสาเร็จในการอ้างอิงถึง โลกเพียงแค่โลกเดียว เมื่อเราใช้คาว่า “โลกของความเป็นจริง ” เป็นข้อเท็จจริงที่เข้ากันได้อย่าง เต็มที่กับความคิดที่ว่าสิ่งที่เป็นไปในโลกที่เป็นไปได้อื่นๆ มีสถานะทางภววิทยาที่ไม่แตกต่างไป จากสิ่งที่เป็นไปในโลกนี้ แต่แพลนทิงกาตีความการเป็นความเป็นจริงของโลกที่เป็นไปได้ว่าเป็น การเกิดขึ้นของสภาวการณ์ และการเกิดขึ้นเป็นคุณสมบัติของสภาวการณ์ที่มีความสาคัญในเชิงภว วิทยา ข้อเท็จจริงที่ว่าสภาวการณ์ที่ครอบคลุมอย่างกว้างที่สุดสภาวการณ์หนึ่งเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ทา ให้มันมีสถานะทางภววิทยาที่เป็นพิเศษหนึ่งเดียว มีโลกที่เป็นไปได้โลกเดียวเท่านั้นที่เกิดขึ้น และ ข้อเท็จจริงที่ว่ามันเกิดขึ้น ให้ผลที่ว่าอะไรที่เป็นไปในโลกนั้น และเพียงแค่ในโลกนั้นโลกเดียว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นไปจริงๆ แต่ความแตกต่างที่สาคัญที่สุดระหว่างคาอธิบายทั้งสองก็คือ ในขณะที่โลกที่ เป็นไปได้ของลิวอิซเป็นสิ่งเฉพาะรูปธรรม แพลนทิงกาถือว่าโลกที่เป็นไปได้


186

ต่างๆ เป็นสิ่งนามธรรม ในทัศนะของเขา แม้แต่โลกแห่งความเป็นจริงของเราก็เป็นสิ่งนามธรรม23 ด้วยเหตุนั้นโลกของความเป็นจริงจึงเป็นสิ่งที่แตกต่างไปจากเอกภพทางกายภาพ ที่เป็นตัวฉันและ สิ่งแวดล้อมทั้งหมดของฉัน สาหรับแพลนทิงกาแล้ว สิ่งที่เราเรียกว่าเอกภพทางกายภาพเป็นสิ่งที่ มีอยู่อย่างบังเอิญ ทั้งมันและวัตถุทางกายภาพต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นมันอาจไม่มีอยู่เลยก็ได้ แต่ โลกแห่งความเป็นจริงเป็นสภาวการณ์หนึ่งและดังนั้นจึงมีอยู่อย่างจาเป็น ซึ่งหมายความว่ามั นไม่ อาจที่จะไม่มีอยู่ มันอาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ แต่มันก็เกิดขึ้น และเพราะว่ามันเกิดขึ้น เอกภพทาง กายภาพและวัตถุทางกายภาพต่างๆ จึงมีอยู่ ตามที่เราเห็นในบทที่แล้ว ทฤษฎีหนึ่งที่ยอมรับความมีอยู่ของสภาวการณ์ (ทฤษฎีของชิส โฮล์ม ในทศวรรษที่เจ็ดสิบ ) ถือประพจน์ว่าเป็นสภาวการณ์ประเภทหนึ่ง แพลนทิงกายอมรับว่า ประพจน์และสภาวการณ์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ สาหรับทุกๆ สภาวการณ์ จะมี ประพจน์หนึ่ง ซึ่งสัมพันธ์กันในลักษณะที่ว่า ของอย่างแรกจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อของอย่างหลังเป็น จริง แต่เขาก็ต้องการรักษาความแตกต่างระหว่างประพจน์และสภาวการณ์24 โดยเขาอ้างเหตุผลว่า ประพจน์มีคุณสมบัติหนึ่งที่สภาวการณ์ไม่มีซึ่งได้แก่การมีค่าจริงหรือเท็จ และเขาอ้างว่าประพจน์ สามารถเป็นจริงหรือเท็จในโลกที่เป็นไปได้ด้วยเช่นกัน ตามการอธิบายของเขา ประพจน์ p เป็น จริงในโลกที่เป็นไปได้ W ก็ต่อเมื่อมันเป็นไปไม่ได้ที่ W จะเกิดขึ้นโดยปราศจากการที่ p เป็นจริง พูดอีกแบบหนึ่งก็คือ ประพจน์หนึ่งเป็นจริงในโลกที่เป็นไปได้หนึ่ง ถ้าและแต่เพียงถ้า หากโลก นั้นเกิดกลายเป็นความเป็นจริงขึ้นมา ประพจน์นั้นก็จะกลายเป็นจริงด้วย ด้วยการอธิบายแบบนี้ แนวความคิดที่เราคุ้นเคยเกี่ยวกับความจาเป็น ความเป็นไปได้และความเป็นไปไม่ได้แบบ de dicto ก็จะตามมา ประพจน์ที่จริงโดยจาเป็นคือประพจน์ที่เป็นจริงในโลกที่เป็นไปได้ทุกโลก ประพจน์ ที่เป็นไปได้ที่จะจริงก็คือประพจน์ที่เป็นจริงในโลกที่เป็นไปได้บางโลก ประพจน์ที่เป็นไปไม่ได้ หรือเป็นเท็จโดยจาเป็น ก็คือประพจน์ที่ไม่เป็นจริงในโลกไหนเลยหรือเป็นเท็จในโลกทุกโลก และก็ ต ามมาด้ ว ยว่ า ประพจน์ ที่ จ ริง ก็ คื อ ประพจน์ ที่ เ ป็ น จริง ในโลกของความเป็ นจริ ง และ ประพจน์ที่เป็นจริงโดยบังเอิญก็คือประพจน์ที่เป็นจริงในโลกของความเป็นจริง แต่เป็นเท็จในโลก ที่เป็นไปได้อื่นบางโลก แต่อย่า งไรก็ตาม เขาก็เตือนเราให้ระวังอย่าเข้าใจผิดเกี่ยวกับแนวคิด

23 24

Ibid. Ibid., pp. 258-9.


187

เหล่านี้ ประการที่หนึ่ง พวกมันไม่มีอานาจในการนิยามโมดัลภาวะแบบ de dicto ด้วยคาที่ไม่ได้ เป็นแบบโมดัล เพราะมีแนวคิดแบบโมดัลที่แฝงอยู่ในความคิดเรื่องโลกที่เป็นไปได้ เช่นเดียวกับ สานวนเชิงโมดัลในการนิยามความเป็นจริงในโลกหนึ่ง ที่ถูกถือไว้แล้วล่วงหน้าว่าจริงโดยแนวคิด พวกนี้ ประการที่สอง แนวคิดพวกนี้ไม่ได้มีผลที่เป็นการอธิบายว่าการที่ประพจน์หนึ่งเป็นจริงคือ อะไร แพลนทิงกายืนยันว่าคาอธิบายที่เป็นแบบของนักความเป็นจริงนิยมต้องเริ่มต้นด้วยความคิด พื้นฐานเรื่องความจริง และใช้มันในการอธิบายความจริงในโลกที่เป็นไปได้ และก็แน่นอนว่า คาอธิบายของเขาก็ถูกวางโครงสร้างมาในแบบนั้น25 ในแบบเดียวกับที่เขาคิดว่าประพจน์เป็นจริงหรือเท็จในโลกที่เป็นไปได้ แพลนทิงกาอ้าง ว่าวัตถุก็มีอยู่ในโลกที่เป็นไปได้ ข้ออ้างว่าวัต ถุมีอยู่ในโลกที่เป็นไปได้อาจดูเหมือนการบอกว่า โลกที่เป็นไปได้เป็นเหมือนกระป๋องใส่ของขนาดยัก ษ์ แต่แพลนทิงกายืนยันว่าเราสามารถให้ คาอธิบายของความมีอยู่ในโลก ที่เข้ากับการมองว่าโลกที่เป็นไปได้เป็นสิ่งนามธรรม ด้วยการถือ ความคิดเรื่องการมีอยู่จริงว่าเป็นความคิดระดับพื้นฐาน เราสามารถพูดว่าวัตถุ x มีอยู่ในโลกที่ เป็นไปได้ W ก็ต่อเมื่อมันเป็นไปไม่ได้ที่ W จะเป็นโลกของความเป็นจริงโดยปราศจากการมีอยู่ ของ x การพูดว่าสิ่งหนึ่งมีอยู่ในโลกที่เป็นไปได้โลกหนึ่ง จึงไม่ใช่การพูดว่ามันมีตัวตนอยู่อย่าง เป็นสิ่งกายภาพในโลกนั้น แต่เป็นแค่การพูดอย่างสมมติว่าถ้าหากโลกนั้นเกิดกลายเป็นความเป็น จริงขึ้นมาสิ่งที่ว่าก็จะมีอยู่ ไม่เพี ยงแต่วัตถุมีอยู่ในโลกต่างๆ มันก็ยั งครอบครองคุณสมบัติอยู่ในโลกนั้นๆ ด้วย คาอธิบายของเขาในเรื่องนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับคาอธิบายของเขาในเรื่องความจริงและ ความมีอยู่ในโลก เขาถือความคิดเรื่องการมีคุณสมบัติว่าเป็นความคิดระดับพื้นฐานและบอกเราว่า การพูดว่าวัตถุ x มีคุณสมบัติ P ในโลก W เป็นแค่การพูดว่า ถ้าหาก W เกิดกลายเป็นความเป็นจริง ขึ้นมา x ก็จะมี P และด้วยการนาความคิดเรื่องความมีอยู่ในโลกๆ หนึ่งมาผนวกเข้ากับความคิด เรื่องการมีคุณสมบัติในโลกๆ หนึ่ง แพลนทิงกาก็สามารถอธิบายโมดัลภาวะแบบ de re (ในแบบที่ เราคุ้นเคย)ว่า สิ่งหนึ่งมีคุณสมบัติหนึ่งอย่างเป็นสารัตถะหรืออย่างจาเป็น ก็ต่อเมื่อมันมีคุณสมบัติ นั้นในโลกของความเป็นจริงและในทุกๆ โลกที่มันมีอยู่ สิ่งหนึ่งมีคุณสมบัติ หนึ่งอย่างบังเอิญเมื่อ มันมีคุณสมบัตินั้นในโลกของความเป็นจริง แต่มีบางโลกที่มันมีอยู่และไม่มีคุณสมบัตินั้น 25

Ibid.


188

เราได้เห็นมาแล้วว่า ถ้าผู้นาเสนอคาอธิบายแบบนี้จะหลีกเลี่ยงผลตามมาที่ว่าไม่มีสิ่งไหน ที่แสดงคุณสมบัติของมันอย่างบังเอิญ พวกเขาก็ต้องยอมรับความคิดที่ว่า มีปัจเจกแบบข้ามโลก นั่นก็คือ ถ้าเราจับคู่คาอธิบายแบบข้างบนเข้ากับทัศนะที่ว่าไม่มีปัจเจกไหนที่มีอยู่ในโลกมากว่า หนึ่งโลก เราก็จะได้ผลว่าทุกๆ วัตถุมีคุณสมบัติทุกอย่างของมันอย่างจาเป็น เพราะว่าถ้าไม่มีวัตถุที่ มีอยู่จริงๆ วัตถุใดจะมีอยู่ในโลกที่เป็นไปได้อื่น นอกไปจากมีอยู่ในโลกของความเป็นจริงเท่านั้น ทุกๆ คุณสมบัติที่วัตถุหนึ่งมีก็จะกลายเป็นคุณสมบัติที่มันมีในโลกของความเป็นจริงและในทุก โลกที่มันมีอยู่ ใครก็ตามที่คิดว่าปัจเจกทั้งหมดผูกติดอยู่กับโลก พร้อมกับคิดว่าสิ่งมีคุณสมบัติ บางอย่างของมันเพียงแค่โดยบังเอิญ ดู เหมือนจะถูกบังคับในปฏิเสธคาอธิบายแบบข้างบน และ ยอมรับในคาอธิบาย (แบบของลิวอิซ) ที่แบ่งแยกสารัตถะและคุณสมบัติบังเอิญด้วยความสัมพันธ์ ของคู่เหมือน จึงไม่น่าแปลกใจที่แพลนทิงกาจะยอมรับปัจเจกแบบข้ามโลก เขาเชื่อว่าความพยายามที่จะ รักษาการแบ่งแยกระหว่างสารัตถะและคุณสมบัติบังเอิญด้วยความสัมพันธ์ของคู่เหมือน เป็นความ พยายามที่ล้มเหลว เพราะมันเป็นคาอธิบายที่ขัดแย้งอย่างยิ่งกับสามัญสานึกของเรา ความเชื่อตาม สามัญสานึกของเราเกี่ยวกับเรื่องของความจาเป็นและความบังเอิญ แสดงออกในความเชื่อที่ว่ามี หลายแบบหลายวิธีที่สิ่งต่างๆ อาจดาเนินไปในแบบอื่นสาหรับเรา ความเชื่อนี้เป็นแกนกลางของ ความรู้สึก และทั ศ นคติต่างๆ ที่เรามีเกี่ ย วกั บตัวเรา และสถานการณ์ของเราในโลก มันทาให้ ความรู้สึกและทัศนคติพวกนั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ และแม้กระทั้งเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล การที่ผม เพิ่งจะรอดอย่างหวุดหวิดมาจากการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงทางรถยนต์ ผมก็ย่อมรู้สึกโล่งใจอย่างยิ่งที่ อุบัติเหตุนั้นไม่ได้เกิดขึ้น ที่ผมไม่ได้ทารถพัง ที่ผมรอดมาจากการทาให้ตนเองเองบาดเจ็บ และที่ ผมไม่ต้องเข้าไปนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เป็นเรื่องธรรมดาและสมเหตุผลอย่างยิ่งที่ผมจะมี ความรู้สึกเช่นนั้น แต่ตามการอธิบายความเป็นไปได้ของทฤษฎีคู่เหมือน ข้ออ้างที่ว่าอาจเป็นไป ได้ที่ผมจะเกิดอุบัติเหตุ ทาให้รถพัง ทาให้ตัวเองบาดเจ็บ และต้องเข้าไปนอนโรงพยาบาล ที่จริง แล้วไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับตัวผมแต่เป็นเรื่องของคนอื่น คนที่อาจดูเหมือนผมอย่างมาก คนที่อาจจะมี ภูมิหลังเหมือนผมอย่างมาก แต่ก็เป็นคนอื่นที่ไม่ใช่ผม แต่ถ้านั่นคือสิ่งที่ผมเชื่อเมื่อผมคิดว่าผม อาจเกิดอุบัติเหตุ ทาไมผมถึงรู้สึกโล่งใจเป็นอย่างยิ่งที่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปอย่างนั้น ? มันต้อง


189

เป็นเพราะผมเชื่อว่าผมรอดตัวมาจากสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับตัวผมเอง สถานการณ์ที่ผม ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงสาหรับตัวผมเอง ไม่ใช่สาหรับคนอื่น ผมถึงมีความรู้สึกโล่งใจขนาดนั้น26 แพลนทิงกายอมรับปัจเจกที่มีอยู่แบบข้ามโลก โดยปฏิเสธข้อโต้แย้งของลิวอิซที่ว่ามัน เท่ากับการละเมิดหลักแห่งการไม่มีความแตกต่างของสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน27 ขอทบทวนว่าลิวอิซให้ เหตุผลว่า ด้วยการที่เรามี x ใน W1 และ x ใน W2 ที่แสดงตัวอย่างของคุณสมบัติที่ต่างกัน และถ้าเรา ตีความ x ใน W1 และ x ใน W2 ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน ก็เท่ากับการที่เราถือว่าการเป็นสิ่งๆ เดียวกัน สามารถเข้าได้กับการที่สิ่งนั้นแสดงตัวอย่างของคุณสมบัติที่ต่างกัน แพลนทิงกาตอบการ อ้างเหตุผลนี้ด้วยข้อโต้แย้งที่เราได้กล่าวถึงมาแล้ว เขาบอกว่าการที่ x มีผิวคล้าใน W1 และ x มีผิว ขาวใน W2 ไม่ใช่การที่ x ทั้งมีและไม่มีคุณสมบัติเดียวกัน แต่คือการที่ x มีคุณสมบัติแบบที่มีการ บ่งชี้โลกกากับของการมีผิวคล้าใน W1 และไม่มีคุณสมบัติแบบที่มีการบ่งชี้โลกกากับของการมีผิว คล้าใน W2 แต่เนื่อ งจากทั้ ง สองอย่ างเป็นคุ ณสมบัติ แบบที่ มีก ารบ่ งชี้โลกก ากั บ ที่แตกต่างกั น สถานการณ์ของ x จึงไม่ใช่กรณีของการมีและไม่มีคุณสมบัติเดียวกัน ผู้อ่านคงพอจาได้ว่าลิวอิซแย้งการใช้คุณสมบัติแบบที่มี การบ่งชี้โลกกากับ ว่าเท่ากับการ ทาให้เราไม่อาจพูดว่า x มีคุณสมบัติแบบปกติธรรมดา อย่างเช่น การมีผิวคล้าและการมีผิวซีด (อย่างที่ไม่มีการบ่งชี้โลกกากับ) ซึ่งตรงนี้แพลนติงกาอ้างว่าไม่เป็นความจริง จากข้อเท็จจริงที่ว่า เราอาจพูดว่า x มีคุณสมบัติของการมีผิวคล้าใน W1 และไม่มีคุณสมบัติของการมีผิวคล้าใน W2 มัน ไม่ได้ตามมาว่าเราไม่อาจบรรยายเกี่ยวกับ x ด้วยการอาศัยคุณสมบัติที่ไม่มีการชี้โลก เขายืนยันว่า ในฐานะนักความเป็นจริงนิยม เขาถือว่าความคิดเรื่องการมีผิวคล้า(เฉยๆ) มีมาก่อนความคิดเรื่อง การมีผิวคล้าใน W1 และความคิดเรื่องการมีผิวคล้าใน W2 และสาหรับเขาแล้ว ความคิดสองอย่าง หลังนี้ต้องได้รับการอธิบายด้วยความคิดอย่างแรก ดังนั้นสิ่งต่างๆ จึงมีคุณสมบัติที่ไม่มีโลกกากับ ได้แก่คุณสมบัติที่พวกมันมีในความเป็นจริง แต่ถ้า W1 เป็นโลกของความเป็นจริง x ก็จะไม่ได้มี เพียงแค่คุณสมบัติแบบที่มีการบ่งชี้โลกกากับของการมีผิวคล้าใน W1 แต่จะมีคุณสมบัติแบบที่ไม่มี การบ่งชี้โลกกากับของการมีผิวคล้า(เฉยๆ) ด้วยเช่นกัน และจากการที่ x ไม่ได้มีคุณสมบัติแบบที่มี

26

ดูข้อวิจารณ์นี้ใน Kripke (1971: 148-9)

27

ดู Plantinga (1973)


190

การบ่งชี้โลกกากับของการมีผิวคล้าใน W2 มันก็ไม่ได้ตามมาว่า x จะต้องไม่มีคุณสมบัติแบบที่ไม่ มีการบ่งชี้โลกกากับของการมีผิวคล้า(เฉยๆ) แม้ว่าเราจะยอมรับว่าความมีอยู่ของปัจเจกแบบข้ามโลกไม่ได้ขัดแย้งกับหลักแห่งการไม่มี ความแตกต่างของสิ่งที่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน แต่เราก็อาจยังคงเห็นความคิดเรื่องปัจเจกแบบข้าม โลกว่ายากที่จะเข้าใจ เป็นไปได้อย่างไรที่ สิ่งๆ เดียวจะมีอยู่ในหลายๆ โลกพร้อมๆ กัน ? แต่แพ ลนทิงกายืนยันว่าปัจเจกแบบข้ามโลกไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ที่ฝันเฟื่องขึ้นมาของนักอภิปรัชญา มันมี อยู่แล้วในความเชื่อปกติของเรา เมื่อผมเชื่อว่าสิ่งต่างๆ อาจเป็นไปในแบบอื่นสาหรับผม ผมเชื่อ ว่ามันอาจเป็นไปในแบบอื่นสาหรับตัวผมคนนี้ ความเชื่อนี้จะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อผมเป็นปัจเจก แบบข้ า มโลก ตามการอธิบ ายของแพลนทิ งกา การพู ด ว่าผมมี อยู่ ใ นโลกที่เป็ นไปได้ อื่นๆ ที่ นอกเหนือไปจากโลกนี้เป็นแค่การพูดว่ามีโลกอื่นที่แตกต่างไปจากโลกที่เป็นจริง ซึ่งถ้าหากว่า โลกพวกนั้นเกิดกลายเป็นจริงขึ้นมาผมก็จะยังคงมีอยู่ มันเป็นแค่การสมมติแบบที่ขัดกับความจริง ไม่ใช่การพูดว่าผมมีความมีอยู่หลายๆ ความมีอยู่ หรือว่าผมปรากฏตัวอยู่ในฐานะสิ่งกายภาพ ใน ส่วนต่างๆ ของความเป็นจริงในเวลาเดียวกัน ความคิดว่าผมมีอยู่ในโลกที่เป็นไปได้ที่ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าความคิดว่ามีสภาวการณ์ที่เกี่ยวพันโดยตรงกับผมที่อาจจะเกิดขึ้นแต่ก็ ไม่ได้เกิดขึ้น หรือความคิดว่ามีประพจน์ที่เป็นเท็จโดยบังเอิญเกี่ยวกับผม แต่ถ้า ความคิ ดเรื่องปั จเจกแบบข้า มโลกไม่เป็นปัญหา แพลนทิงกาก็ สามารถแยกแยะ สถานะต่างๆ ของโมดัลภาวะแบบ de re ได้ในแบบที่เราต้องการ สิ่งต่างๆ ก็จะมีคุณสมบัติทั้งแบบ ที่เป็นสารัตถะและแบบบั ง เอิญ ในการถือเช่นนั้น แพลนทิงกาเข้าร่วมกั บนัก อภิปรัชญาที่ถือ แนวทางแบบของอริสโตเติล ซึ่งตามที่เราเห็นในบทที่สาม พวกเขามีจุดยืนที่ต่างไปจากทั้งนัก ทฤษฎีมัด ผู้ซึ่งถือว่าคุณสมบัติทุกอย่างของสิ่งๆ หนึ่ง เป็นสารัตถะของสิ่งๆ นั้น และต่างไปจาก นักทฤษฎีฐานรองรับ ผู้ซึ่งถือว่าไม่มีคุณสมบัติใดเลยของสิ่งๆ หนึ่งที่เป็นสารัตถะของมัน เราเรียก นัก ทฤษฎี มั ดว่า เป็ น นัก สารัตถะนิย มแบบสุดขั้ว และเรีย กนัก ทฤษฎีฐานรองรับว่า นัก ต่อต้าน สารัตถะนิยม เราอาจพูดว่าทั้งแพลนทิงกาและนักอภิปรัชญาในแนวทางของอริสโตเติล เป็น นัก สารัตถะนิยม แต่นักสารัตถะนิยมในแบบของอริสโตเติลถือว่า คุณลักษณะที่เป็นสารัตถะของ สิ่งๆ หนึ่งมีก็แต่คุณลักษณะที่มันมีร่วมกับสิ่งอื่นๆ เท่านั้น ในขณะที่แพลนทิงกาถือว่ามีคุณสมบัติ


191

ที่เป็นสารัตถะในแบบที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของปัจเจกวัตถุ ซึ่งเราอาจเรียกเขาว่า นักสารัตถะ นิยมแบบไลบ์นิซ28 แพลนทิงกายอมรับว่ามีหลายคุณสมบัติที่เป็นสารัตถะของสิ่งๆ หนึ่ง ที่ก็เป็นสารัตถะของ สิ่ง อื่น ด้ วยเช่ น กั น ฉะนั้ น ทุ ก ๆ วั ต ถุมี คุณ สมบั ติข องการเป็น สิ่ง เดีย วกั น กั บ ตัว เองอย่ า งเป็ น สารัตถะ ของการเป็นสีแดงหรือไม่เป็นสีแดงอย่างใดอย่ างหนึ่ง และของการมีสีถ้าเป็นสีเขีย ว คุณสมบัติพวกนี้ทั้งหมดเป็นอะไรที่แพลนทิงกาเรียกว่า คุณสมบัติสารัตถะแบบพื้นๆ ด้วยการที่ พวกมันเป็นสารัตถะของวัตถุทุกชิ้น และก็มีคุณสมบัติที่เป็นสารัตถะของวัตถุมากกว่าหนึ่งชิ้นแต่ ไม่เป็นสารัตถะของวัตถุทุกชิ้น การเป็นคนละสิ่งกับจานวนสองเป็นหนึ่งในคุณสมบัติเช่นว่า การ เป็นคนก็เป็นอีกอันหนึ่ง สรุปว่ามีคุณสมบัติสารัตถะที่มีร่วมกันโดยหลายๆ สิ่ง แต่แพลนทิงกา ต้องการอ้างด้วยว่ามีสารัตถะแบบปัจเจก ซึ่งเขาอธิบายความคิดเรื่องสารัตถะแบบปัจเจกของสิ่งๆ หนึ่ง ด้วยการพูดว่ามันเป็นคุณสมบัติที่สิ่งนั้นมีอย่างเป็นสารัตถะ และเป็นไปโดยจาเป็นว่าไม่มีสิ่ง อื่นใดที่มีคุณสมบัตินั้น ดังนั้น สารัตถะแบบปัจเจกประการหนึ่งของบิล คลินตัน ก็คือคุณสมบัติ หนึ่งซึ่งเป็นของอย่างที่บิล คลินตัน มีในโลกของความเป็นจริงและในทุ กๆ โลกที่เขามีอยู่ และไม่ มีอะไรอื่นที่ไม่ใช่บิล คลินตัน ที่มีคุณสมบัตินั้น คุณสมบัติของบิล คลินตัน ที่ตรงกับนิยามนี้ก็ ได้แก่ คุณสมบัติของการเป็นสิ่งๆ เดียวกันกับบิล คลินตัน บิล คลินตันมีคุณสมบัตินี้อยู่จริง และ เขามี มั นในทุก โลกที่ เป็ นไปได้ที่เขามีอยู่ และไม่มีโลกที่เป็นไปได้ไ หนที่จะมีวัตถุที่ไ ม่ใช่บิล คลินตัน ที่มีคุณสมบัตินี้ และเนื่องจากมีคุณสมบัติแห่งเอกลักษณ์อย่างนี้สาหรับทุกวัตถุ ทุกสิ่งทุก อย่างจึงมีสารัตถะแบบปัจเจกอย่างน้อยหนึ่งอย่าง อย่างไรก็ตาม แพลนทิงกายืนยันว่าทุกๆ วัตถุมีสารัตถะแบบปัจเจกหลายอย่ าง โดยเขา อ้า งเหตุผ ลว่า ทุ ก ๆ คุ ณสมบั ติ แบบบ่ งชี้โ ลกที่ สิ่งหนึ่ งมี มันมี คุณสมบัตินั้ นอย่ างเป็ นสารัตถะ สมมติว่า W เป็นโลกที่เป็นไปได้หนึ่ง ซึ่งในโลกนี้บิล คลินตัน ไม่ได้เป็นนักการเมืองแต่เป็นพระ คาทอลิก ดังนั้น หนึ่งในคุณสมบัติที่บิล คลินตัน มีในโลกของความเป็ นจริง ก็คือคุณสมบัติแบบ บ่งชี้โลกของการเป็นพระคาทอลิกใน W เพราะไม่ว่าจะอย่างไร สิ่งที่เขาเป็นอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อ ไปอยู่ใน W แล้วเขาจะเป็นพระคาทอลิก แต่บิล คลินตัน ไม่ได้มีคุณสมบัตินี้เฉพาะในโลกของ ความเป็นจริงเท่านั้น หากแต่มีมันในทุกๆ โลกที่เขามีอยู่ เพราะในทุกๆ โลกที่เขามีอยู่ เขาเป็น 28

ดู Plantinga (1976: 262ff. และ 1970: 366-85)


192

ปัจเจกซึ่งเมื่อไปอยู่ใน W แล้วจะเป็นพระคาทอลิก ดังนั้น การเป็นพระคาทอลิกใน W จึงเป็น คุณสมบัติสารัตถะของบิ ล คลินตัน และนี่เป็นจริงกั บทุก คุณสมบัติแบบบ่งชี้โลกที่เขามี ทุก คุณสมบัติพวกนั้นเป็นสารัตถะของเขา แต่คราวนี้ขอให้เรามาดูคุณสมบัติ P อะไรบางอย่าง ซึ่ง เป็นคุณสมบัติในแบบที่มีโลกที่เป็นไปได้ W* ซึ่งในโลกนี้ บิล คลินตันเป็นปัจเจกเดียวที่แสดง ตัวอย่าง P เราได้แสดงให้เห็นแล้วว่าคุณสมบัติแบบบ่งชี้โลกของการมี Pใน W* เป็นสารัตถะของ บิล คลินตัน แต่มันก็เป็นสิ่งเฉพาะตัวของเขาอย่างจาเป็นด้วย ไม่มีโลกที่เป็นไปได้ไหนที่มีปัจเจก ที่ไม่ใช่บิล คลินตัน ที่มีคุณสมบัติของการมี Pใน W* เพราะสมมติว่ามีโลกที่เป็นไปได้ W** ที่ เป็ นโลกซึ่งมี ปั จเจกที่ มีคุ ณสมบั ติแบบบ่ ง ชี้โลกของการมี Pใน W* ปัจเจกนั้นก็ต้องเป็นบิล คลินตัน เพราะมีแต่เขาคนเดียวเท่านั้ นที่มี Pใน W* ดังนั้นแล้ว คุณสมบัติแบบบ่งชี้โลกของการมี Pใน W* ก็ย่อมเป็นสารัตถะแบบปัจเจกของบิล คลินตัน คือเป็นสารัตถะของเขาและเป็นสิ่ง เฉพาะตัวของเขาอย่างจาเป็น ดังนั้น บิล คลินตันจึงมีสารัตถะแบบปัจเจกมากกว่าหนึ่งอย่าง และ แพลนทิงกาก็ชี้ว่านี่เป็นจริงสาหรับพวกเราแต่ละคนด้วย ที่จริงแล้ว เขาอ้างด้วยซ้าว่าวัตถุทุกอย่าง มีสารัตถะแบบปัจเจกมากมายหลายอย่าง การที่จะเข้าใจว่าทาไมเขาถึงอ้างเช่นนี้ ต้องการเพียงแค่ ว่าคุณคิดดูให้ดีว่า มีคนเพียงคนเดียวที่เท่านั้นที่ครอบครองบริเวณของอวกาศที่ตนเองครอบครอง อยู่ ในขณะที่กาลังอ่านย่อหน้านี้ ขอเรียกคุณสมบัติของการครอบครองอวกาศบริเวณนั้นในเวลา นั้นว่า Q ซึ่งก็จะมีใครสักคนเพียงคนเดียวที่มี Q ในโลกนี้ เขาเป็นปัจเจกเดียวที่มี Q ในโลกนี้ ดังนั้น ก็จะมีคุณสมบัติแบบบ่งชี้โลกของการมี Q ในโลกนี้ ซึ่งเขาเป็นคนเดียวที่มีคุณสมบัติแบบ บ่งชี้โลกนี้ เนื่องจากเขามีมันในทุกโลกที่เป็นไปได้ที่เขามีอยู่ มันจึงเป็นสารัตถะของเขา และ เนื่องจากไม่มีโลกที่เป็นไปได้ไหนที่จะมีสิ่งที่ไม่ใช่เขาที่มีคุณสมบัติแบบบ่งชี้โลกนี้ มันจึงเป็นสิ่ง เฉพาะตั ว ของเขาอย่ า งจ าเป็ น และดั ง นั้ น มั น จึ ง เป็ น สารั ต ถะแบบปั จ เจกของเขา ถ้ า เราใช้ จินตนาการพิจารณาดูว่า การอ้างเหตุผลแบบนี้สามารถขยายไปครอบคลุมอะไรได้อีกบ้าง เราก็จะ เห็นว่าเราแต่ละคนมีสารัตถะแบบปัจเจกอยู่มากมาย แต่เราก็ อาจจะแย้ ง ว่า สารัตถะแบบปัจเจกของแพลนทิงกาเป็นคุณสมบัติที่ไ ม่มีความ น่าสนใจใดๆ ในทางอภิปรัชญา พวกมั นเป็นคุณสมบั ติอย่างเช่น การเป็นสิ่งๆ เดีย วกันกับบิล คลินตัน การเป็นผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์ใน W การเป็นคนแรกที่ว่ายน้าข้ามช่องแคบอังกฤษใน W คนอาจจะรู้สึกว่าไม่มีอะไรสาคัญมากมายนักในคุณสมบัติพวกนี้ แต่แพลนทิงกาอ้างว่าสิ่งที่เขา เรียกว่าสารัตถะแบบปัจเจกเป็นแนวคิดที่ให้ผลที่ สาคัญอย่างยิ่ง เพราะเพียงแค่การเข้าไปตรวจดู


193

สารัตถะแบบปัจเจกของสิ่งๆ หนึ่ง จิตที่รู้ในกฎเกณฑ์ของการเป็นไปของทุกสิ่งทุกอย่าง ก็จะ สามารถเห็นถึงคุณสมบัติทุกอย่างที่สิ่งๆ นั้นมีอยู่ในความเป็นจริง 29 เขาอธิบายข้ออ้างนี้ด้วยการ บอกเราว่าคุณสมบัติหนึ่งบอกถึงอีกคุณสมบัติหนึ่ง ตามการอธิบายของเขา คุณสมบัติ P บอกถึง คุณสมบัติ P' ก็ต่อเมื่อ มันเป็นความจาเป็นที่ว่า ทุกๆ วัตถุที่แสดงตัวอย่าง P จะแสดงตัวอย่างของ P' ด้ ว ย ฉะนั้ น คุ ณ สมบั ติ ข องการเป็ น สี แ ดงบอกถึ ง คุ ณ สมบั ติ ข องการมี สี อ ะไรบางอย่ า ง คุ ณ สมบั ติ ข องการเป็ น โสดบอกถึ ง คุ ณ สมบั ติ ข องการไม่ แ ต่ ง งาน คุ ณ สมบั ติ ข องการเป็ น สามเหลี่ยมบอกถึงคุณสมบัติของการมีด้านสามด้าน และแพลนทิงกาอ้างว่าคุณสมบัติสารัตถะ แบบปัจเจกใดๆ ก็ตามที่วัตถุหนึ่งมีบอกถึงคุณสมบัติสารัตถะทั้งหมดของสิ่งนั้น ตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของการเป็นสิ่งๆ เดียวกันกับโสเครตีส บอกถึงคุณสมบัติสารัตถะทั้งหมดของโสเครตีส แน่นอนว่า ไม่มีใครสามารถเป็นโสเครตีส นอกจากว่าเขามีคุณสมบัติทั้งหมดที่โสเครตีสมีอย่าง เป็นสารัตถะ แต่เราได้เห็นมาแล้วว่าคุณสมบัติแบบบ่งชี้โลกทั้งหมดของสิ่งๆ หนึ่งเป็นสารัตถะ ของสิ่งนั้น ซึ่งก็ตามมาว่าคุณสมบัติสารัตถะแบบปัจเจกใดๆ ก็ตามที่วัตถุหนึ่งมีบอกถึงคุณสมบัติ แบบบ่งชี้โลกแต่ละอย่างของสิ่งนั้น แพลนทิงกาสรุปว่า เพียงแค่ด้วยการพิจารณาถึงสารัตถะแบบ ปัจเจกของสิ่งๆ หนึ่ง สิ่งที่เป็นสัพพัญญูจะสามารถอนุมานว่า สิ่งต่างๆ จะเป็นไปอย่างไรสาหรับ ปัจเจกนั้นในโลกที่เป็นไปได้แต่ละโลกที่สิ่งนั้นมีอยู่ และเนื่องจากสิ่งที่เป็นสัพพัญญูย่อมรู้ว่าโลก ที่เป็นไปได้ไหนเป็นโลกที่เป็นจริง ด้วยการพิจารณาสารัตถะแบบปัจเจกของสิ่งๆ หนึ่ง สิ่งที่เป็น สัพพัญญูย่อมสามารถอนุมานไปถึงคุณสมบัติทุกอย่างที่สิ่งนั้นมีอยู่จริงๆ เราอาจขุดลึกเข้าไปในคาอธิบายกรอบคิดของโลกที่เป็นไปได้ของแพลนทิงกายิ่งกว่านี้ แต่นี้ก็เพียงพอที่เราจะที่จะเข้าใจการอธิบายของเขาว่าสวนทางกับวิธีการอธิบายของลิวอิซอย่างไร ลิวอิซไม่ใช่คนเดียวที่พยายามใช้โลกที่เป็นไปได้มาสร้างคาอธิบายแบบลดทอนที่เป็นเป้าหมาย ของนักนามนิยมแบบเคร่งครัด และในแบบเดียวกัน ก็มีนักปรัชญาคนอื่นนอกเหนือไปจากแพ ลนทิ ง กาที่ พ ยายามนาเสนอลัท ธิค วามเป็น จริงนิย มเกี่ ย วกั บโลกที่เ ป็นไปได้แบบที่ไ ม่ใ ช่ก าร ลดทอน แต่คาอธิบายของทั้งสองคนนี้เป็นรูปแบบที่พัฒนาไปไกลที่สุดของแนวทางสองแบบใน การศึ ก ษาเรื่องโมดั ล ภาวะ การเข้า ใจทัศนะของเขาทั้ งสองคือการเข้าใจกลยุ ทธ์หลัก ๆ ที่นั ก

29

Plantinga (1970: 385)


194

อภิปรัชญาร่วมสมัยใช้ในการเผชิญหน้ากับแนวคิดที่ยุ่งยากซับซ้อนของความจาเป็น ความเป็นไป ได้ และความบังเอิญ.


195

บทที่ 6 สิ่งเฉพาะรูปธรรม 2 : การคงทนผ่านกาลเวลา สองทฤษฎีของการคงทน ลัทธิเอ็นดิวแรนทิซึม และลัทธิเปอร์ดิวแรนทิซึม ในบทที่สาม เราพูดว่าสิ่งเฉพาะรูปธรรมเป็นสิ่งที่จากัดด้วยเวลา คือ มันเกิดมีขึ้นในเวลา หนึ่ง ดารงความมีอยู่ในช่วงเวลาที่มีความยาวระยะหนึ่ง และสลายหายไปจากความมีอยู่ในอีกเวลา หนึ่ง ดังนั้นสิ่งเฉพาะรูปธรรมจึงเป็นสิ่งที่คงทนผ่านกาลเวลา ผมมีอยู่เมื่อวานนี้เมื่อผมพยายาม แปลบทที่ห้าให้เสร็จ และผมมีอยู่ในวันนี้เมื่อผมเริ่มแปลบทที่หก นายเอกศักดิ์ของวันนี้เป็นคน เดีย วกั บ นายเอกศั ก ดิ์ข องเมื่ อวานนี้ ข้อ อ้างซึ่งเรายื น ยั นว่ าปัจ เจกที่มีอ ยู่ ใ นเวลาหนึ่ งเป็ นวัต ถุ เดียวกันกับปัจเจกที่มีอยู่ในเวลาอื่น เรียกว่าข้ออ้างของความเป็นสิ่งเดียวกันในลาดับเวลา ข้ออ้าง แบบนี้เกิดขึ้นทั่วไป และความเชื่อพื้นฐานของเราเกี่ยวกับตัวเราเองและโลกรอบตัวเราก็ตั้งอยู่บน การถือว่าข้ออ้างแบบนี้เป็นความจริง

เราแต่ละคนมองตนเองว่าเป็นสิ่งที่มีมโนสานึกที่เป็น

ประสบการณ์ต่อโลก แต่ถ้าเราไม่เชื่อว่าเราเป็นสิ่งที่คงทนผ่านกาลเวลา เราก็คงไม่อาจเข้าใจ ความคิ ด เรื่ อ งประสบการณ์ และถ้ า เราไม่ เ ชื่ อ ว่ า สิ่ ง ต่ า งๆ รอบตั ว เราก็ ค งทนผ่ า นกาลเวลา เช่นเดียวกัน เราก็คงไม่อาจเข้าใจความคิดที่ว่าประสบการณ์ของเราเป็นประสบการณ์ต่อโลก แน่นอนว่ามีนักสงสัยที่ไม่ยอมรับว่าความเชื่อเหล่านี้ของเรา เป็น สิ่งที่ถูกต้องตามหลัก เหตุผล แต่เราก็ไม่เคยพบว่าข้ออ้างที่นักสงสัยใช้เป็นฐานรองรับการปฏิเสธความเชื่อของเรา ว่ามี ความน่าเชื่อยิ่งไปกว่าความเชื่อที่พวกเขาพยายามหักล้าง แต่ถ้าเราแทบไม่เคยมีความสงสัยใน ความจริงของข้ออ้างเรื่องการเป็นสิ่งเดียวกันในลาดับเวลา เราก็ยังคงมีคาถามในเรื่องเนื้อหาของ ความเชื่อเหล่านั้นอยู่นั่นเอง การที่วัตถุคงทนผ่านกาลเวลาเป็นเรื่องของอะไร? นักอภิปรัชญา เสนอคาตอบให้เราสองคาตอบ คาตอบทั้งสองอธิบายปรากฏการณ์ของการคงทนผ่านกาลเวลา ด้วยโครงสร้างทางภววิทยาที่แตกต่าง ตามคาตอบที่หนึ่ง สิ่งเฉพาะรูปธรรมคงทนผ่านกาลเวลา โดยมีความมีอยู่อย่างที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในแต่ละขณะของกาลเวลา นักปรัชญาที่ตีความความ


196

คงทนในวิธีนี้เป็นผู้ที่เชื่อในสิ่งที่เรียกว่า ลัทธิเอ็นดิวแรสทิซึม (endurantism)1 ตามการมองของ พวกเขา คาว่า “นายเอกศักดิ์ของเมื่อวาน” กับ “นายเอกศักดิ์ของวันนี้” พูดถึงสิ่งเฉพาะรูปธรรมชิ้น เดียว และข้ออ้างที่ว่าสิ่งอ้างอิงของถ้อยคาที่หนึ่งเป็นบุคคลเดียวกับสิ่งอ้างอิงของถ้อยคาที่สอง เป็นการยืนยันถึงเอกลักษณ์อย่างแท้จริง การคงทนผ่านกาลเวลาจึงถูกตีความว่าคือความเป็นสิ่ง หนึ่งสิ่งเดียวกันของสิ่งที่มีอยู่ ณ เวลาหนึ่ง กับสิ่งที่มีอยู่ ณ อีกเวลาหนึ่ง ตรงกันข้ามกับลัทธิเอ็นดิวแรนทิซึมคือลัทธิเปอร์ดิวแรนทิซึม (perdurantism) ตามทัศนะ ที่สองนี้ การยืนยันการเป็นสิ่งเดียวกันตามลาดับเวลาไม่ใช่การยืนยันเอกลักษณ์แต่ประการใด ทั้ ง สิ้น ค าว่า “นายเอกศั ก ดิ์ข องเมื่ อวาน” กั บ “นายเอกศัก ดิ์ของวันนี้ ” ไม่ไ ด้พู ดถึงสิ่งเฉพาะ รูปธรรมชิ้นเดียว คาว่า “นายเอกศักดิ์ของเมื่อวาน” พูดถึงส่วนของผมที่มีอยู่เมื่อวานนี้ ส่วนคาว่า “นายเอกศักดิ์ของวันนี้ ” พูดถึงส่วนของผมที่มีอยู่วันนี้ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน นักเปอร์ดิวแรนซ์ นิยมเรียกส่วนเหล่านี้ด้วยชื่อที่แตกต่างกันไป บางทีก็เรียกว่าช่วงระยะ หรือขั้นตอนของสิ่งเฉพาะ รูปธรรม แต่คาที่พวกเขามักจะใช้กันก็คือ ชิ้นส่วนทางกาลเวลาหรือส่วนประกอบทางกาลเวลา ของสิ่งเฉพาะรูปธรรม แกนกลางของความคิดอยู่ตรงที่ว่าสิ่งเฉพาะรูปธรรมเป็นก้อนมวลรวมของ ชิ้นส่วนทางกาลเวลาทั้งหลายของมัน สิ่งที่มีอยู่ ณ เวลาต่างๆ ไม่ใช่ตัวสิ่งเฉพาะรูปธรรมแต่เป็น สิ่งที่สัมพันธ์กับสิ่งเฉพาะรูปธรรมในฐานะส่วนประกอบของส่วนรวม ดังนั้น การคงอยู่ของผม จากเมื่อวานมาถึงวันนี้ ไม่ได้เป็นเรื่องของการที่ผมมีอยู่อย่างทั้งหมดครบถ้วนในเวลาที่ต่างกัน ผม สามารถที่จะคงทนจากวันหนึ่งมาถึงวันต่อไปก็ด้วยการมีชิ้นส่วนที่มีอยู่ในแต่ละวัน2 นี่น่าจะทาให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าอะไรคือสิ่งที่นักเอ็นดิวแรนซ์นิยมยืนยัน เมื่อพวกเขาบอกเรา ว่า การคงทนผ่านกาลเวลาเป็นเรื่องของการที่สิ่งๆ หนึ่งมีอยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในคนละขณะ ของกาลเวลา พวกเขาปฏิเสธว่าสิ่งเฉพาะรูปธรรมมีอะไรอย่างที่นักเปอร์ดิวแรนซ์เรียกว่าชิ้นส่วน 1

David Lewis เป็นผู้ที่ริเริ่มการใช้คาว่า “endure” และ “perdure” เพื่ออธิบายสองทัศนะเกี่ยวกับการคงทนผ่าน

กาลเวลา 2

ทัศนะของนักเอ็นดิวแรนซ์ตรงกับความเข้าใจตามสามัญสานึกของเรา จึงไม่ค่อยได้รับการอธิบายอย่างละเอียด ในขณะที่

นักเปอร์ดิวแรนซ์พยายามอย่างหนักที่จะแสดงรายละเอียดความคิดของพวกตน ดูคาอธิบายของนักเปอร์ดิวแรนซ์ใน Williams (1951) “Identity, ostension, and hypostasis,” in Quine (1954) Lewis (1976) Lewis (1986: 202-5) Armstrong (1980) และ Heller (1990)

ตน ดูใน Merricks (1994)

ภายหลังนักเอ็นดิวแรนซ์จึงพยายามแสดงรายละเอียดของทัศนะของ


197

ทางกาลเวลา สาหรับพวกเขาสิ่งเฉพาะรูปธรรมเป็นสิ่งสามมิติ คือเป็นสิ่งที่แผ่ตัวออกไปในมิติทั้ง สามของอวกาศ สิ่งที่จะนับได้ว่าเป็นส่วนต่างๆ ของสิ่งเฉพาะรูปธรรมก็คือส่วนประกอบทาง อวกาศ ซึ่งได้ แก่ส่วนที่ครอบครองบริเวณย่อยของบริเวณอวกาศโดยรวมที่ครอบครองอยู่โดย ส่วนรวมทั้งหมดของสิ่งเฉพาะรูปธรรม ตามทัศนะนี้ ผมเป็นส่วนรวมอันมีส่วนประกอบได้แก่สิ่ง อย่างเช่น แขนของผม ขาของผม และอณูทางฟิสิกส์ที่ประกอบขึ้นมาเป็นพวกมัน และเนื่องจาก นักเอ็นดิวแรนซ์จากัดความหมายของส่วนประกอบไว้กับสิ่งประเภทนี้ พวกเขาจึงสามารถพูดว่า เมื่อใดก็ตามที่ผมมีอยู่ผมมีอยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ นั่นก็คือ ผมมีอยู่พร้อมกับสิ่งทั้งหลายที่ ณ เวลานั้นนับว่าเป็นส่วนประกอบของผม และการคงทนผ่านกาลเวลาของผมก็คือการที่ผมมีอยู่ เช่นนั้น ณ เวลาที่ต่างกัน แต่นักเปอร์ดิวแรนซ์ถือสิ่งเฉพาะรูปธรรมว่ามีสี่มิติ เวลาเป็นอีกมิติหนึ่งที่เท่าเทียมกันกับ มิติทั้งสามของอวกาศ สิ่งของแผ่ตัวออกไปในเวลาเช่นเดียวกับในอวกาศ ดังนั้น สิ่งต่างๆ จึงกินที่ ในเวลาเช่นเดียวกับที่มันกินที่ในอวกาศ และการที่สิ่งๆ หนึ่งแผ่ตัวออกไปในอวกาศก็คือการที่ ส่วนประกอบของมันครองอาณาบริเวณต่างๆ ฉะนั้น การที่มันแผ่ตัวออกไปในกาลเวลาก็คือการ ที่ส่วนประกอบทางกาลเวลาของมันครองเวลาของขณะต่างๆ และนักเปอร์ดิวแรนซ์ยืนยันว่าคาว่า “ส่วนประกอบ” มีความหมายอย่างเดียวกัน ไม่ว่าจะใช้กับเรื่องของอวกาศหรือเรื่องของเวลา มือ ของผมเป็ นส่วนประกอบของผมที่มีตาแหน่งที่ตั้งของมันเอง นายเอกศัก ดิ์ของเมื่อวานก็ เป็น ส่วนประกอบของผมที่มีกาลเวลาของตัวเอง และนายเอกศักดิ์ของเมื่อวานก็ไม่ได้เป็นตัวผมมาก ไปกว่าที่มือของผมเป็นตัวผม ยิ่งไปกว่านั้น นักเปอร์ดิวแรนซ์ไม่ยอมรับว่าส่ว นประกอบทาง กาลเวลาของผมเป็นสิ่งนามธรรมไม่ว่าจะชนิดใด ส่วนประกอบทางกาลเวลาของผมไม่ใช่สิ่งใน ทฤษฎีเซ็ท มันไม่ใช่คู่ความสัมพันธ์ระหว่างผมกับกาลเวลา แต่มันเป็นสสารวัตถุที่เป็นรูปธรรม และเป็นสิ่งเฉพาะเช่นเดียวกับส่วนประกอบทางอวกาศของผม ส่วนประกอบทางกาลเวลาของผม มีคุณสมบัติต่างๆ ในแบบเดียวกับที่ส่วนประกอบทางอวกาศของผมมี และในแบบเดียวกับที่ คุ ณ สมบั ติ ท างอวกาศของตั ว ผมในฐานะส่ ว นรวม เป็ น ผลของคุ ณ สมบั ติ ท างอวกาศของ ส่วนประกอบทางอวกาศของผม คุณสมบัติทางกาลเวลาของตัวผมในฐานะส่วนรวม ก็เป็นผล ของคุณสมบัติทางกาลเวลาของส่วนประกอบทางกาลเวลาของผม และในแบบเดียวกันกับที่ ณ เวลาหนึ่งๆ ผมเป็นส่วนรวมทางอวกาศที่เกิดขึ้นมาจากส่วนประกอบทางอวกาศต่างๆ ของผม ณ เวลานั้น ผมก็เป็นส่วนรวมทางกาลเวลาที่เกิดขึ้นมาจากส่วนประกอบทางเวลาต่างๆ ของผมด้วย


198

เช่นกัน ผมเป็นผลรวมของสิ่งอย่างเช่น นายเอกศักดิ์ของเมื่อวานนี้ นายเอกศักดิ์ของวันนี้ และนาย เอกศัก ดิ์ข องพรุ่งนี้ และการคงทนผ่า นกาลเวลาของผมเป็นเรื่องของการมีสิ่งเหล่านี้ใ นฐานะ ส่วนประกอบของผม แต่นักเปอร์ดิวแรนซ์ก็จะไม่พอใจแค่การเห็นว่าผมประกอบขึ้นมาจากสิ่งอย่างเช่น นาย เอกศักดิ์ของเมื่อวานนี้ นายเอกศักดิ์ของวันนี้ และนายเอกศักดิ์ของพรุ่งนี้ แต่ละสิ่งเหล่านี้ก็เป็นสิ่ง ที่คงทนผ่านกาลเวลา และประกอบขึ้นด้วยส่วนประกอบทางกาลเวลาที่มีอยู่ ณ เวลาที่ต่างกันด้วย เช่นกัน ฉะนั้น นายเอกศักดิ์ของเมื่อวานนี้มีอยู่ตลอดหนึ่งวัน การคงทนผ่านกาลเวลาที่ว่าก็เกิด จากการที่มันประกอบขึ้นด้วยส่วนประกอบทางกาลเวลาที่เป็น นายเอกศักดิ์ของเมื่อเช้าวาน นาย เอกศักดิ์ของเมื่อบ่ายวาน และนายเอกศักดิ์ของเมื่อคืนวาน ที่มีอยู่ ณ เวลาที่ต่างกัน และนักเปอร์ ดิวแรนซ์ก็บอกว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นส่วนประกอบเพียงแค่ของส่วนประกอบทางกาลเวลาหนึ่ง ของผม (นายเอกศักดิ์ของเมื่อวานนี้ ) แต่เป็นส่วนประกอบของผมในฐานะส่วนรวมด้วยเช่นกัน อาจเปรียบเทียบได้กับการที่มีซ้ายของผมเป็นส่วนประกอบทางอวกาศหนึ่งของผม โดยที่มันเองก็ มีส่วนประกอบทางอวกาศ ที่ ไ ด้แก่นิ้วมือซ้ายทั้งห้าของผม และอุ้งมือซ้ายของผม สิ่งเหล่านี้ ทั้งหมดเป็นส่วนประกอบทางอวกาศของผม มากเท่าๆ กับการที่มือซ้ายของผมเป็นส่วนประกอบ ทางอวกาศของผม ส่วนประกอบทางกาลเวลาของส่วนประกอบทางกาลเวลาหนึ่งของผม ก็เป็น ส่วนประกอบทางกาลเวลาของผมด้วย แต่แล้ว สิ่งอย่างเช่น นายเอกศักดิ์ของเมื่อเช้าวานนี้ ก็เป็น สิ่งที่คงทนผ่านกาลเวลา ดังนั้น ตัวมันเองก็มีส่วนประกอบทางกาลเวลาที่มีอยู่ ณ เวลาที่ต่างกัน และส่วนประกอบที่แยกย่อยลงไปนี้ก็เป็นส่วนประกอบของผมในฐานะผลรวม อีกเช่นกัน เรา สามารถซอยส่วนประกอบย่อยนี้ให้ย่อยเล็กลงไปได้อีก ถ้าเช่นนั้นแล้วผมมีส่วนประกอบทาง กาลเวลาที่เล็กที่สุดหรือไม่? ถ้ามี มันก็ดูเหมือนว่าจะเป็นชิ้นส่วนของผมที่ไม่มีการแผ่ขยายไปใน เวลา ซึ่งก็คงเป็นสิ่งที่มีอยู่แค่ชั่ววูบ ไม่มีการคงอยู่ผ่านกาลเวลา และเป็นชิ้นส่วนของผมที่แผ่ขยาย ออกไปเพียงในอวกาศสามมิติ นักเปอร์ดิวแรนซ์เห็นไม่ตรงกันในเรื่องนี้ บางคนถือว่าลัทธิเปอร์ ดิวแรนทิซึมบังคับให้ต้องยอมรับในชิ้นส่วนที่มีอยู่แค่ชั่ววูบ แต่บางคนก็ไม่เห็นด้วย 3 นักเปอร์ดิว แรนซ์กลุ่มหลังนี้ยอมรับว่า ไม่มีอะไรที่ขัดแย้งตนเองอยู่ในการเสนอว่ามีชิ้นส่วนอย่างที่ว่า และ ยอมรับว่า การคิดถึงชิ้นส่วนสามมิติที่มีอยู่แค่ชั่ววูบ ไม่ไ ด้มีปัญหาอะไรมากไปกว่าการคิดถึง 3

ดูตัวอย่างใน Heller (1990)


199

ชิ้นส่วนแบบสองมิติ ซึ่งคือการคิดถึงแค่เฉพาะผิวหน้าของสิ่งสามมิติ แต่พวกเขาก็ไม่อยากจะ ยอมรับ ว่า มีอะไรในการวิเคราะห์ก ารคงทนผ่านกาลเวลาของพวกเขา ที่บังคับให้ต้องยอมรับ ชิ้นส่วนที่มีอยู่แค่ชั่ววูบเช่นนั้น พวกเขาอยากพูดเพียงแค่ว่า สาหรับชิ้นส่วนทางกาลเวลาใดๆ ก็ ตาม จะมีชิ้นส่วนทางกาลเวลาที่ย่อยเล็กลงไปกว่านั้น4 แต่ไม่ว่าจะอย่างไร นักเปอร์ดิวแรนซ์จะยืนยันว่าผมมีส่วนประกอบทางเวลามากมาย หลายชิ้นส่วน และจะยืนยันว่ามีชิ้นส่วนเหล่านั้นมากมายที่ เหลื่อมซ้อนกัน ส่วนประกอบของ กาลเวลาที่เหลื่อมซ้อนกันได้แก่ส่วนประกอบที่มีชิ้นส่วนของกาลเวลาหนึ่งร่วมกัน มีนายเอกศักดิ์ ของเมื่อวันวานและนายเอกศักดิ์ของวันนี้ และก็มีนายเอกศักดิ์ที่มีอยู่จากเที่ยงวันวานมาถึงเที่ยง วันนี้ด้วย ชิ้นส่วนที่ว่าของผมมีส่วนทางกาลเวลาร่วมกันกับส่วนประกอบทางกาลเวลาของผมที่ เป็นนายเอกศักดิ์ของเมื่อวานนี้ เช่นเดียวกันกับที่ร่วมกันกับส่วนประกอบทางกาลเวลาของผมที่ เป็ นนายเอกศั ก ดิ์ข องวันนี้ ความสามารถของเราที่จะซอยแบ่งส่วนประกอบทางกาลเวลาใน ลักษณะแบบนี้ อาจทาให้ดูเหมือนว่าการนับว่าอะไรเป็นส่วนประกอบทางกาลเวลาของสิ่งๆ หนึ่ง เป็นเรื่องที่ไม่สลักสาคัญอะไร เพราะดูเหมือนว่าส่วนประกอบทางกาลเวลาจะมีอยู่ก็แต่ในจิตของ นักอภิปรัชญาที่มองวัตถุที่แผ่ขยายไปในกาลเวลาในวิธีที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เดี๋ยวก็มองแบบหนึ่ง อีกเดี๋ยวก็มองอีกแบบหนึ่ง แต่นักเปอร์ดิวแรนซ์อ้างว่านี้เป็นการเข้าใจผิด พวกเขายอมรับว่ามีวิธี มากมายนับ ไม่ ถ้วนในการตัดแบ่งสิ่งที่คงทนผ่านกาลเวลาอย่ างผม แต่ก็ ยืนยันว่าชิ้นส่วนทาง กาลเวลาที่ได้มาจากการแบ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงอย่างเป็นปรนัย พวกเขาเตือนเราว่าเราก็มี หลากหลายวิธีในการตัดแบ่ง “ชิ้นส่วนทางอวกาศ” นิ้วชี้ข้างซ้ายของผมเป็นชิ้นส่วนทางอวกาศ ของผม เช่นเดียวกันกับส่วนที่เป็นเศษสองส่วนสามตอนบนของมัน หรือส่วนที่เป็นครึ่งล่างของ มัน หรือส่วนที่เป็นเศษหนึ่งส่วนสามตรงกลางของมัน ชิ้นส่วนเหล่านี้มีอยู่จริงอย่างเป็นปรนัย ไม่ใช่ว่ามีอยู่เพียงในจิตของนักทฤษฎี ผู้ซึ่งคิดแบ่งนิ้วออกเป็นส่วนๆ ด้วยวิธีต่างๆ ถ้ าพวกมันมีอยู่ แค่เพียงในจิต ผมก็คงจะไม่มีส่วนที่จะเรียกว่านิ้วชี้ข้างซ้าย และนี่ก็เป็นจริงกับเรื่องของชิ้นส่วน ทางเวลาเช่นกัน 4

คาถามที่น่าสนใจก็คือ เราสามารถถือได้หรือไม่ว่าวัตถุที่แผ่ขยายไปในกาลเวลาอย่างผมประกอบขึ้นเพียงแค่จากชิ้นส่วนที่

มีอยู่แค่ชั่ววูบเท่านั้น ข้อแย้งก็คือ ในเมื่อเราไม่สามารถตีความวัตถุสามมิติว่าประกอบขึ้นเพียงแค่จากชิ้นส่วนสองมิติของมัน (เพราะไม่ว่าเราจะเอารูปทรงสองมิติมาทับซ้อนกันมากเพียงไร เราก็ไม่สามารถสร้างวัตถุสามมิติขึ้นมาได้) ดังนั้น เราก็ไม่ สามารถสร้างวัตถุสี่มิติจากชิ้นส่วนสามมิติได้ เช่นกัน


200

ดังนั้น ผมจึงมีส่วนประกอบทางเวลามากมาย แต่ละชิ้นมีเวลาของมันเอง แต่นักเปอร์ดิว แรนซ์ปฏิเสธว่าผมอย่างที่เป็นนายเอกศักดิ์ทั้งหมด มีอยู่ในเวลาต่างๆ ที่ส่วนประกอบทางเวลาของ ผมมีอยู่ ผมใหญ่เกินไปที่จะเข้าไปอยู่ในช่วงเวลาเหล่านั้น ซึ่งตรงนี้ เขาก็เตือนเราอีกครั้งให้นึกถึง การกินที่ในอวกาศ ณ เวลาหนึ่งๆ ส่วนประกอบทางอวกาศของผมแต่ละส่วนมีที่อยู่ของมันเอง แต่ผมในฐานะนายเอกศักดิ์ทั้งหมด ไม่ได้มีอยู่ในที่ที่มือซ้ายของผมครอบครองอยู่ ไม่ว่าจะในเวลา ไหน เพราะผมตัวใหญ่เกินไปที่จะเข้าไปอยู่ในที่ตรงนั้น การครองที่ในเวลาของส่วนประกอบทาง เวลาต่างๆ ของผมก็เป็นเช่นเดียวกัน แน่นอนว่า เราอาจพูดว่าผมมีอยู่วันนี้ในความหมายที่ว่า ชิ้นส่วนหนึ่งของส่วนประกอบทางกาลเวลาของผมมีอยู่วันนี้ แต่ในความหมายที่ถูกต้อง มีแต่ เพียงชิ้นส่วนทางกาลเวลาของผมที่มีอยู่ในเวลาขนาดต่างๆ ที่เล็กกว่าการกินที่ในเวลาทั้งหมดของ นายเอกศักดิ์ที่เป็นส่วนรวม

สองทฤษฎีของกาลเวลา ปัจจุบันกาลนิยม และอนันตกาลนิยม เห็นได้ว่าทัศนะของนักเอ็นดิวแรนซ์นิยมก็คือสิ่งที่ขยายมาจากสามัญสานึกของเรา แม้เรา จะไม่พูดอย่างนั้น แต่เราก็คิดถึงตัวเราและสิ่งต่างๆ รอบตัวเราว่ามีอยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ใน เวลาต่างๆ เราคิดว่านายเอกศักดิ์ของเมื่อวานนี้และนายเอกศักดิ์ของวันนี้สัมพันธ์กันด้วยการเป็น สิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันจริงๆ แต่ทัศนะของนักเปอร์ดิวแรนซ์นิยมเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากสามัญสานึก ด้วยการมองว่าสิ่งเฉพาะรูปธรรมเป็นมวลรวมของหน่วยทางกาลเวลาที่เล็กลงไป และการคงทน ผ่านกาลเวลาของสิ่งเฉพาะเกิดขึ้นจากความมีอยู่ของหน่วยทางกาลเวลาที่เล็กลงไปเหล่านั้นใน เวลาต่างๆ ความแตกต่างที่เป็นแกนกลางของทั้งสองทัศนะก็คือ นักเอ็นดิวแรนซ์ถือสิ่งเฉพาะ รูปธรรมว่าเป็นสิ่งที่กินพื้นที่ในอวกาศสามมิติและมีอยู่ในเวลาขณะต่างๆ แต่นักเปอร์ดิวแรนซ์ถือ สิ่งเฉพาะว่าเป็นสิ่งสี่มิติที่กินพื้นที่แผ่ออกไปทั้งในกาลเวลาและอวกาศ ความแตกต่างนี้สะท้อน ถึงทัศนะที่ตรงข้ามกันว่าด้วยธรรมชาติของเวลา ตามปกติแล้ว นักเอ็นดิวแรนซ์นิยมจะเป็นผู้ที่ ยึดถือในสิ่งที่เราอาจเรียกว่าลัทธิปัจจุบันกาลนิยม(presentism)5 พวกเขาเห็นว่ามีแต่อะไรที่มีอยู่ใน ปัจจุบันนี้เท่านั้นที่มีอยู่จริงๆ และมีแต่อะไรที่กาลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้เท่านั้นที่กาลังเกิ ดขึ้นจริงๆ 5

สาหรับคาอธิบายของนักเอ็นดิวแรนซ์ที่ไม่เป็นแบบปัจจุบันกาลนิยม ดู Haslanger (1989) และ Johnston (1987)


201

สิ่งที่จบสิ้นความมีอยู่ไปแล้วหรือสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง แม้พวกเขาจะยอมรับว่าสิ่งที่ จบสิ้นความมีอยู่ไปแล้วครั้งหนึ่งเคยจริงและเคยมีอยู่ และแม้พวกเขาจะยอมรับว่า จะมีสิ่งที่ตอนนี้ ยังไม่มีอยู่ แต่พวกเขาก็จะยืนยันว่าการยอมรับนี้ไม่ได้หมายความว่ามีสิ่งซึ่งตอนนี้ไม่มีอยู่ สาหรับ นักเอ็นดิวแรนซ์ การใช้คาว่า “เดี๋ยวนี้” และ “ปัจจุบัน” มีบทบาทที่สาคัญในการบรรยายของเราถึง โลก เพราะพวกมันทาให้เราสามารถกาหนดลงไปได้ว่าอะไรที่มีอยู่จริงๆ และอะไรกาลังเกิดขึ้น จริงๆ ในทางกลับกัน นักเปอร์ดิวแรนซ์นิยมไม่ยอมรับว่ามีอะไรที่พิเศษในเชิงภววิทยาเกี่ยวกับ เวลาที่ผมเรียกว่า “เดี๋ยวนี้” หรือ “ปัจจุบัน” พวกเขาถือว่าเวลาทั้งหมดรวมทั้งทุกสิ่งที่มีอยู่และ เกิดขึ้นในเวลาเหล่านั้น มีสถานะทางภววิทยาที่เท่าเทียมกัน คือเป็นจริงเท่าๆ กัน เราเคยกล่าว มาแล้วว่าเวลาสาหรับนักเปอร์ดิวแรนซ์เป็นแค่อีกมิติหนึ่งที่สิ่งของแผ่ตัวออกไป และทุกเวลา ทุก สิ่ง และทุกเหตุการณ์ มีที่อยู่ของมันเองในมิติที่แผ่ออกไปนี้ การแผ่ออกไปที่ว่าเป็นระเบียบเชิง กาลเวลาของโลก ระเบียบนี้คงตัวและตายตัว โดยตั้งอยู่ในความสัมพันธ์ของการเกิดขึ้นก่อน การ เกิ ดขึ้ นพร้อมกั น และการเกิ ด ขึ้ นหลัง ทุก ๆ เวลามีความสั มพั นธ์ต่อกั นในรูปใดรูปหนึ่งของ ความสัมพันธ์ทั้งสามนี้ และนี่ก็เป็นจริงกับสิ่งที่บรรจุอยู่ในเวลาต่างๆ ด้วย ไม่ว่าตาแหน่งของพวก มันในระเบียบนี้จะเป็นอย่างไร ทุกๆ เวลา และทุกๆ สิ่งในเวลาเป็นจริงเท่าๆ กัน ทั้ งบิล คลินตัน และจอร์จ วอชิงตันมีอยู่ ซึ่งก็แน่นอนว่าทั้งสองคนต่างมีอยู่ในเวลาของตนเอง แต่ต่างก็มีอยู่อย่าง สมบูรณ์เท่าๆ กัน ทั้งการสู้รบที่บางระจัน และการสู้รบที่นอร์มังดีเกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน แต่ทั้ง สองเหตุการณ์ก็เกิดขึ้นอย่างแท้จริงเท่าๆ กัน คาอธิบายเรื่องเวลาตามทัศนะนี้จึงเป็นแบบที่อาจ เรียกว่าลัทธิอนันตกาลนิยม (eternalism) นักอนัตกาลนิยมเตือนเราว่าคาว่า “เดี๋ยวนี้” และ “ปัจจุบัน” เป็นคาดัชนี คาดัชนีเป็นคาที่ ใช้ในการอ้างอิง ซึ่งสิ่งที่อ้างอิงไปถึงถูกตัดสินด้วยบริบทของการกล่าวคานั้น “เดี๋ยวนี้” เป็นคา ดัชนีที่บอกถึงเวลาที่การกล่าวคานั้นเกิดขึ้น นักอนันตกาลนิยมถือว่า เมื่อผมอ้างอิงถึงเวลาหนึ่งว่า “เดี๋ยวนี้” หรือ “ปัจจุบัน” ผมไม่ได้กาลังบ่งชี้ว่ามันเป็นเวลาที่มีความพิเศษในทางภววิทยาอะไร บางอย่าง ผมเพียงแค่ระบุว่ามันเป็นเวลาที่การพูดของผมเกิดขึ้น เมื่อ ผมบอกนักศึกษาของผมว่า ขณะนี้ฝนกาลังตก ผมไม่ได้กาลังบรรยายสถานะที่พิเศษให้กับเหตุการณ์หนึ่ง ผมแค่ระบุเวลาของ เหตุการณ์นั้นด้วยอีกเหตุการณ์หนึ่ง ผมกาลังบอกว่ามันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับ


202

การเปล่งค าพูดของผม และนัก อนันตกาลนิย มก็ยื นยันให้เรายืดถื อแบบเดีย วกั นนี้กั บการพู ด เกี่ยวกับอดีตและอนาคต การพูดถึงเหตุการณ์หนึ่งว่าเป็นอดีตหรืออนาคตไม่ใช่การปฏิเสธว่ามันมี สถานะทางภววิท ยาที่ไ ม่ เป็ นจริง อย่ า งสมบูรณ์ แต่เป็นแค่เพี ยงการพู ดว่ามันเกิ ดขึ้นก่ อนหรือ หลังจากการเปล่งคาพูดครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการเปล่งคาพูดที่ผมใช้ระบุวันเวลาให้กับเหตุการณ์นั้น ดังนั้น นักเอ็นดิวแรนซ์จึงเป็นนักปัจจุบันกาลนิยม และนักเปอร์ดิวแรนซ์จึงเป็นนักอนันต กาลนิยม ความแตกต่างของแนวคิดเรื่องเวลาของทั้งสองทัศนะพาไปสู่ข้อถกเถียงที่น่าสนใจในตัว ของมันเอง6 แต่เราได้เห็นแล้วว่าการแบ่งแยกระหว่างนักเอ็ นดิวแรนซ์และนักเปอร์ดิวแรนซ์ มี รากฐานมาจากการมีทัศนะที่ตรงกันข้ามเกี่ยวกับธรรมชาติของเวลา เป็นเพราะว่านักเอ็นดิวแรนซ์ ปฏิเสธความเป็นจริงของเวลาและสิ่งที่อยู่ในเวลาที่อยู่นอกปัจจุบันกาล พวกเขาถึงปฏิเสธการพูด ถึงส่วนประกอบทางเวลา เป็นเรื่องสมเหตุผลที่จะคิดว่ าเป็นไปไม่ได้ที่ส่วนรวมหนึ่งจะเป็นจริง นอกเสียจากว่าส่วนประกอบทั้งหมดของมันจะเป็นจริง แต่ถ้าสิ่งที่มีอยู่ในขณะนี้เท่านั้นที่เป็นจริง ก็ ย่ อมจะดูเหมื อนว่า สิ่ง เฉพาะรูป ธรรมจะไม่ ส ามารถที่จะมีส่วนประกอบที่เป็น สิ่งที่เ คยมีอ ยู่ เมื่อก่อน แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีอยู่แล้ว หรือเป็นสิ่งที่จะมีอยู่ แต่เดี๋ยวนี้ยังไม่มีอยู่ ถ้าเราเป็นนักปัจจุบัน กาลนิยม ก็ ดูเหมือนเราจะถูก บังคั บให้อ้า งว่า มีแต่สิ่งที่มีอยู่ในขณะนี้เท่านั้นที่จะสามารถเป็น ส่วนประกอบของสิ่งเฉพาะรูปธรรมที่มีอยู่ ณ เวลาขณะนี้ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่ จะ เข้า ใจว่า หนึ่ง ทาไมนักเอ็นดิวแรนซ์จึงปฏิเสธที่จะยอมรับในอะไรที่ไม่ใช่ส่วนประกอบทาง อวกาศ และสอง ทาไมพวกเขาถึงถือการคงทนผ่านกาลเวลา ว่าเป็นเรื่องของการที่วัตถุสามมิติ ปรากฏตัวอยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในเวลาที่ต่างกัน ในด้านของลัทธิเปอร์ดิวแรนทิซึม เราได้เห็น แล้วว่าหลักความเชื่อเรื่องส่วนประกอบทาง เวลาถือไว้ล่วงหน้าแล้วว่าเวลาทั้งหมดและทุกอย่างที่อยู่ในเวลามีความเป็นจริงเท่าๆ กัน สิ่งๆ หนึ่งไม่สามารถมีส่วนประกอบที่ไม่มีอยู่ ดังนั้น มันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ทฤษฎีอนันตกาลจะพา ไปสู่ทัศนะที่ว่าวัตถุที่คงทนผ่านกาลเวลาเป็นมวลรวมของชิ้นส่วนทางกาลเวลา ข้ออ้างที่ว่าเวลา ทั้งหมดและทุกสิ่งที่อยู่ในเวลาเป็นความจริงเท่าๆ กัน เป็นการเสนอให้ถือว่าเวลาเป็นอีกมิติหนึ่งที่ เสมอกันกับมิติทางอวกาศทั้งสาม ผู้ที่เข้าใจเวลาในลักษณะนี้เตือนไม่ให้เราพูดว่ากาลเวลาและ 6

ดูการอภิปรายประเด็นข้อถกเถียงเหล่านี้ได้ใน anthology ว่าด้วยธรรมชาติของเวลา ตัวอย่างเช่น Oaklander and

Smith (1994) Gale (1967) LePoidevin and Macbeth (1993)


203

อวกาศ แต่ให้พูดว่า กาลอวกาศ ซึ่งแสดงออกได้ดีกว่าถึงการแผ่ออกไปทั้งสี่มิติของโลก และเขาก็ เตือนไม่ให้เราพูดถึงสิ่งเฉพาะรูปธรรมว่าเป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติเชิงอวกาศและคุณสมบัติเชิงเวลา แต่เราควรจะคิดว่าสิ่งเฉพาะคือสิ่งที่ครอบครองอาณาบริเวณหนึ่งของกาลอวกาศ มิติทั้งสี่ของกาล อวกาศสร้างให้โลกของเรามีลักษณะทางโครงสร้างอย่างที่มันมี และสร้างให้สิ่งในโลกมีรูปร่าง และการประกอบเข้าด้วยกันในลักษณะที่พวกมันเป็น ตามทัศนะนี้ สิ่งที่อยู่ในอาณาบริเวณย่อย ของอาณาบริเวณของกาลอวกาศที่ถูกครอบครองอยู่โดยส่วนรวมของสิ่งเฉพาะ ก็ย่อมเป็นจริง เท่า ๆ กั บสิ่ง เฉพาะส่วนรวมนั้น ดังนั้น สิ่งที่อยู่ในบริเวณย่ อยที่ว่าก็ ย่อมสามารถถูกถือว่าเป็น ส่วนประกอบของสิ่งเฉพาะส่วนรวมนั้น และตามทัศนะที่ประสานการกินที่ในกาลเวลาและใน อวกาศเข้าด้วยกันเช่นนี้ สิ่งที่อยู่ในอาณาบริเวณย่อยเช่นว่าก็ย่อมสัมพันธ์กับสิ่งเฉพาะรูปธรรม ส่วนรวม ในแบบเดียวกับที่มือซ้ายของผม ณ เวลาหนึ่ง สัมพันธ์อยู่กับตัวผม ณ เวลานั้น นั่นก็คือ มันควรจะถูกถือว่าเป็นส่วนประกอบหนึ่งของสิ่งเฉพาะส่วนรวมหนึ่ง อะไรที่นักเอ็นดิวแรนซ์ เรียกว่าช่วงระยะ หรือขั้นตอนของสิ่งเฉพาะรูปธรรม ก็คือสิ่งที่อยู่ในอาณาบริเวณย่อยประเภทนี้ จึง ไม่ น่ า แปลกที่ นั ก เอ็ น ดิ ว แรนซ์ จ ะเรี ย กช่ ว งระยะหรื อ ขั้ น ตอนของวั ตถุ ว่ า เป็ น ชิ้น ส่ ว นทาง กาลเวลา และที่พวกเขาจะถือว่าสิ่งที่แผ่ขยายไปในกาลเวลาเป็นมวลรวมของชิ้นส่วนทางกาลเวลา การคิดเช่นนี้ย่อมพัฒนาตามมาจากแนวคิดของนักอนันตกาลนิยม ที่ว่าเวลาเป็นเพียงแค่อีกมิติหนึ่ ง ที่สิ่งต่างๆ แผ่ตัวออกไป7 ดังนั้น แนวคิดเรื่องกาลเวลาของนักปัจจุบันกาลนิยมจึงนาไปสู่คาอธิบายเรื่องความคงทน ในแบบของนักเอ็นดิวแรนซ์ ในขณะที่แนวคิดของนักอนัตกาลนิยมนาไปสู่คาอธิบายในแบบของ นักเปอร์ดิวแรนซ์ ความขัดแย้งระหว่างทัศนะเรื่องเวลาทั้งสอง รวมทั้งระหว่ างคาอธิบายเรื่อง ความคงทนที่ควบคู่มา เตือนให้เรานึกถึงความขัดแย้งที่เราได้เห็นมาแล้วในเรื่องของโมดัลภาวะ คือความขัดแย้งระหว่างลัทธิความเป็นไปได้นิยมของลิวอิซ และลัทธิความเป็นจริงนิยมของแพ ลนทิงกา มีความคล้ายคลึงที่สาคัญระหว่างทัศนะทั้งสองคู่ ลิวอิซถือโลกที่ เป็นไปได้ทั้งหมดว่า จริงเท่าๆ กัน ในแบบเดียวกัน นักเปอร์ดิวแรนซ์ก็ถือกาลเวลาทั้งหมดว่ามีสถานะทางภววิทยาที่ เท่าเทียมกัน และในแบบเดียวกับที่แพลนทิงกาปฏิเสธที่จะยอมรับวัตถุที่ไม่อาจพบได้ในโลกของ ความเป็นจริง นักเอ็นดิวแรนซ์ก็ยืนยันว่ามีแต่สิ่งที่มีอยู่เดี๋ยวนี้เท่านั้นที่มีอยู่จริงๆ และการที่ลิวอิซ 7

แต่ก็ไม่ใช่ว่านักอนันตกาลนิยมทุกคนจะยอมรับแนวคิดเรื่องชิ้นส่วนทางกาลเวลา ดูตัวอย่างใน Mellor (1981)


204

ไม่ยอมรับว่าคาว่า “โลกที่เป็นจริง” บ่งบอกถึงโลกที่มีสถานะทางภววิทยาที่พิเศษกว่าโลกอื่นๆ ก็ เป็นภาพสะท้อนของการที่นักเปอร์ดิวแรนซ์ไม่ยอมรับว่าคาว่า “ในปัจจุบัน” หรือ “เดี๋ยวนี้” บ่ง บอกถึงเวลาที่มีสถานะทางภววิทยาที่พิเศษกว่าเวลาอื่นๆ คาเหล่านั้นว่าถูกถือว่าเป็นคาดัชนีในทั้ง สองกรณี และในการที่ แพลนทิ ง กาถือว่า ความเป็นจริงเป็นคุณสมบัติที่ส าคัญทางภววิทยาที่ แสดงออกโดยโลกที่เป็นไปได้เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น นักเอ็นดิวแรนซ์ก็อ้างแบบเดียวกันเกี่ยวกับ ความคิดเรื่องเวลาของการเป็นปัจจุบันหรือการเป็นสิ่งที่กาลังเกิดขึ้นขณะนี้ มีความคล้ายคลึงอีกหลายอย่างระหว่างทฤษฎีทั้งสองคู่ การที่ลิวอิซมีทัศนะว่าโลกต่างๆ มีสถานะทางภววิท ยาที่เสมอภาคกั น ดูเหมือนว่าจะตัดขาด (คือไม่อาจเป็นจริงพร้อมกั น ) กั บ ทฤษฎีปัจเจกแบบข้ามโลก ซึ่งถือว่าปัจเจกที่อยู่ ในโลกที่เป็นไปได้หนึ่ง เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน อย่างแท้จริง กับปัจเจกที่มีอยู่ในโลกที่เป็นไปได้อีกโลกหนึ่ง ในแบบเดียวกัน แนวคิดที่ว่าเวลา ทั้งหลายเป็นจริงเท่าๆ กัน ก็ตัดขาดกับทฤษฎีปัจเจกแบบข้ามกาลเวลา ซึ่งถือว่าปัจเจกต่างๆ ที่มีอยู่ มีอยู่อย่างครบถ้วนสมบู รณ์ในตัวเองแล้วในขณะต่างๆ ของเวลา และในแบบเดียวกับที่ลิวอิซ หาทางที่จะรองรับสามัญสานึกของเราที่ว่าสิ่งต่างๆ อาจเป็นไปในแบบอื่นสาหรับสิ่งเฉพาะหนึ่ง โดยการอ้างอิง ไปถึง สิ่ง ในโลกอื่นที่ แม้ จะเป็นคนละสิ่งกับสิ่งเฉพาะนั้น แต่ก็ มีความสัมพั นธ์ บางอย่างต่อกัน นักเปอร์ดิวแรนซ์ก็วิเคราะห์สามัญสานึกของเราเรื่องการคงทนผ่านกาลเวลา ว่า เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของสิ่งที่อยู่ต่างกาลเวลา และทัศนะของลิวอิซในเรื่องของสิ่งที่เราอาจ เรียกว่า ปัจเจกในโมดัลภาวะ ซึ่งหมายถึงปัจเจกแบบที่ความเป็นไปได้ทั้งหลายมีอยู่จริงสาหรับเขา ก็เป็นไปในแบบของมวลรวมแม้ว่าเราจะไม่เคยใช้คาพูดแบบนี้กับเขาก็ตาม 8 คาอธิบายของลิวอิซ เสนอทัศนะที่ว่าบิล คลินตันในโมดัลภาวะ (ซึ่งหมายถึงบิล คลินตันผู้ที่ความเป็นไปได้ทุกประการ มีอยู่จริงสาหรับเขา ไม่ว่าความเป็นไปได้นั้นจะกลายเป็นจริงหรือไม่กลายเป็นจริง ) เป็นมวลรวม แบบหนึ่งของบิล คลินตันที่เป็นจริงและคู่เหมือนของเขาในโลกที่เป็นไปได้อื่นๆ เห็นได้ชัดว่า ทัศนะนี้เหมือนกับการที่นักเปอร์ดิวแรนซ์มองปัจเจกที่คงทนผ่านกาลเวลาว่าเป็นมวลรวมของ ส่วนประกอบทางกาลเวลาของปัจเจกนั้น และปฏิกิริยาของแพลนทิงกาและของนักเอ็นดิวแรนซ์ ต่อคาอธิ บายเหล่านี้ก็เป็นไปใน ทิศทางเดียวกัน คาอธิบายในทั้งสองเรื่องถูกปฏิเสธว่าเข้าไม่ได้กับความเชื่อตามสามัญสานึก แพ 8

ลิวอิซยอมรับประเด็นนี้ใน Lewis (1986: 203)


205

ลนทิงกายืนยันว่าความเชื่อของผมเกี่ยวกับคนๆ หนึ่งไม่ได้เป็นความเชื่อเกี่ยวกับใครอื่นทั้งนั้น นอกจากตัวคนผู้นั้นคนเดียว และชาวเอ็นดิวแรนซ์อ้างว่าความเชื่อของเราเกี่ยวกับการคงทนผ่าน กาลเวลา เป็นความเชื่อว่าสิ่งต่างๆ ยังคงเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันจริงๆ ผ่านกาลเวลา ยิ่งไปกว่านั้น ทั้งแพลนทิงกาและนักเอ็นดิวแรนซ์ต่างก็ไม่เห็นว่าเอกลักษณ์แบบที่พวกเขาเห็นว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของสามัญสานึกของเรา ได้แก่ เอกลักษณ์ ข้ามโลก และเอกลักษณ์ข้ามกาลเวลา จะมีปัญหาอะไร ในทางปรัชญา ทั้งแพลนทิงกาและนักเอ็นดิวแรนซ์ต่างก็ไม่เห็นว่าเอกลักษณ์ดังกล่าวต้องได้รับ การวิเคราะห์อธิบายในทางปรัชญาด้วยความคิดอื่น สาหรับแพลนทิงกา ปัจเจก “ผู้อยู่ในโมดัล ภาวะ” ซึ่งความเป็นไปได้ทุกประการที่ไม่เป็ นจริงมีอยู่สาหรับเขา ไม่ใช่สิ่งอะไรบางอย่างที่เรา ต้อง “ปรุงแต่ง” ขึ้นมาจากสิ่งอื่น แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตั้งแต่เราเริ่มต้นคิดเรื่องภววิทยา ในแบบ เดียวกัน นักเอ็นดิวแรนซ์ก็ถือความคิดที่ว่าสิ่งๆ หนึ่งมีอยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในตนเอง ณ ขณะ ต่างๆ ของกาลเวลา ว่าเป็นความคิดทางภววิทยาระดับพื้นฐานที่ไม่อาจวิเคราะห์อธิบายได้ ดัง นั้น จึง มี ความคล้ายคลึงอย่างมีนัย สาคัญ ในความเชื่อมโยงระหว่างทัศนะเกี่ ยวกั บ ธรรมชาติของโมดัลภาวะและกาลเวลา กับทัศนะเกี่ยวกับเอกลักษณ์ข้ามโลกและเอกลักษณ์ข้าม กาลเวลา ถ้าเราให้ความเป็นจริงแก่ ภาพรวมทั้งหมด ไม่ว่าจะในเรื่องของโมดัลภาวะหรือในเรื่อง ของเวลา เราก็ดูเหมือนจะต้องปฏิเสธความคิดที่ว่า ปัจเจกที่อยู่ในภาพย่อยหนึ่งภาพเป็นสิ่งหนึ่งสิ่ง เดียวกันอย่างแท้จริง กับหน่วยในภาพย่อยอื่นๆ และเราก็ถูกบังคับให้ถือว่าความคิดของการที่ หน่วยหนึ่งคงตัวข้ามภาพย่อย ก็คือความคิดว่าบางสิ่งบางอย่างเป็นมวลรวมของหน่วยที่เป็นคนละ หน่วยจากภาพย่อยต่างๆ แต่ถ้าเราให้ความเป็นจริงแก่ภาพเพียงแค่หนึ่งภาพจากภาพทั้งหมด และ อ้างว่ามีแต่เนื้อหาของภาพนั้นเท่านั้นที่มีอยู่จริง เราก็จะสามารถรองรับความคิดที่ว่าปัจเจกจาก ภาพที่มีสถานะพิเศษนั้น เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันอย่างแท้จริง กับปัจเจกในภาพย่อยอื่นบางภาพ และดั ง นั้ น จึ ง ไม่ เ ป็ น เรื่ อ งน่ า แปลกใจที่ ลิ ว อิ ซ จะเป็ น นั ก ความเป็ น ไปได้ นิ ย มพร้ อ มกั บ เป็ น นักอนันตกาลนิยม หรือที่แพลนทิงกาจะเป็นนักความเป็นจริงนิยมพร้อมกับเป็นนักปัจจุบันกาล นิยม แต่อย่ างไรก็ตาม ก็ดูเหมือนจะไม่มีความขัดแย้งที่ชัดเจนแต่อย่างใด ถ้านักปรัชญาจะถือ ทัศนะในเรื่องทั้งสองอย่างสลับขั้วกัน


206

ภววิทยาของลัทธิเปอร์ดิวแรนทิซึม การอธิบายความแตกต่างระหว่างลัทธิเอ็นดิวแรนทิซึมและลัทธิเปอร์ดิวแรนทิซึม เท่าที่ ผ่านมา เราเน้นไปที่การอธิบายการคงทนผ่านกาลเวลาของสิ่งเฉพาะรูปธรรมที่เราคุ้นเคย นี่อาจทา ให้เข้าใจผิดว่าภววิทยาของลัทธิเปอร์ดิวแรนทิซึมมีแต่สิ่งเฉพาะรูปธรรมของสามัญสานึกเท่านั้น ที่จริงแล้ว นักเปอร์ดิวแรนซ์เชื่อในความมีอยู่จริงของสิ่งอย่างที่เปิดกว้างกว่านั้นมาก พวกเขาถือ ว่าหน่วยทางเวลาเล็กๆ ที่เป็นส่วนประกอบของสิ่งเฉพาะที่เราคุ้นเคย สามารถเข้ามาอยู่ร่วมกันและ ประกอบกันขึ้นเป็นวัตถุ มากมายไปกว่าที่สามัญสานึกของเราคุ้นเคยที่จะรับรู้ 9 ในขณะที่นักเปอร์ ดิวแรนซ์ถือว่านายเอกศักดิ์ส่วนรวมสามารถแบ่งย่อยให้เป็นส่วนประกอบที่เป็นนายเอกศักดิ์ของ วันนี้ นายเอกศักดิ์ของเมื่อวาน หรือนายเอกศักดิ์ของพรุ่งนี้ แต่พวกเขาก็จะอ้างว่าหน่วยแต่ละ หน่วยเหล่านี้ สามารถเข้าไปเป็นส่วนประกอบของสิ่งที่ไม่ใช่นายเอกศักดิ์ส่วนรวม ตัวอย่างเช่น พวกเขาจะยืนยันว่ามีสิ่งๆ หนึ่งที่เราอาจเรียกว่าพระอภัยมณี ซึ่งประกอบขึ้นจากนายเอกศั กดิ์ของ เมื่อวานนี้ เสาชิงช้าจากเที่ยงวันที่ 11 มกราคม 2499 ถึงเที่ยงคืนของวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2504 สถานีรถไฟหัวลาโพงจากบ่ายสองโมงถึงบ่ายสามโมงของวันที่ 17 ธันวาคม 2524 และเศษสอง ส่วนสามล่างของหอไอเฟิล ของวันปีใหม่ 2535 นักเปอร์ดิวแรนซ์จะอ้างว่าพระอภัยมณีมี อยู่จริง เท่าๆ กับนายเอกศักดิ์ส่วนรวม และจะอ้างว่านายเอกศักดิ์ของเมื่อวานเป็นส่วนประกอบของพระ อภัยมณี เท่าๆ กับที่เป็นส่วนประกอบของนายเอกศักดิ์ส่วนรวม รวมทั้งจะอ้างว่านายเอกศักดิ์ของ เมื่อวานเป็นส่วนประกอบของสิ่งแปลกประหลาดอย่างพระอภัยมณี อีกมากมายนับไม่ไม่ถ้วน เราอาจสงสัยว่าสิ่งแปลกประหลาดอย่างพระอภัยมณี ก็ควรถูกนับว่าเป็นวัตถุชิ้นหนึ่งด้วย เหตุผลอะไร แต่สาหรับนักเปอร์ดิวแรนซ์ นี่เป็นเพียงแค่การซอยแบ่งและรวมหน่วยของชิ้นส่วน ทางกาลเวลาแบบที่เราเคยพบมาแล้ว เราคงจาได้ว่านักเปอร์ดิวแรนซ์ยืนยันว่ามีวิธีนับไม่ถ้วนใน การซอยแบ่งนายเอกศักด์ส่วนรวมในมิติของกาลเวลา และผลที่ได้ก็เป็นจริงเท่าๆ กันและเป็น ส่วนประกอบทางเวลาของนายเอกศักดิ์ส่วนรวมเท่าๆ กัน ในการยืนยันความเป็นจริงของพระ อภัยมณี นักเปอร์ดิวแรนซ์จะอ้างเหตุผลว่า นอกจากเราจะซอยแบ่งชิ้นส่วนทางกาลเวลาของวัตถุ ได้ด้วยวิธีที่นับไม่ไม่ถ้วน เราก็สามารถนับชิ้นส่วนทางกาลเวลาให้มาประกอบเข้าด้วยกันได้ด้วย วิธีที่นับไม่ถ้วนเช่นเดียวกัน และพวกเขาจะยืนยันว่าผลแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการรวมหน่วยย่อย 9

ดูตัวอย่างใน Heller (1990: 49-51)


207

เข้ า ด้วยกั นก็ เป็นจริงอย่ างเป็ นปรนัย ในแบบเดีย วกั นกั บความเป็นปรนัย ของผลแบบต่างๆ ที่ เกิดขึ้นจากการซอยแบ่งวัตถุเป็นหน่วยย่อย ดังนั้น พระอภัยมณีจึงเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่มีอยู่จริง ในโลก ในการมองของนักเปอร์ดิวแรนซ์ มีอคติอันไร้เหตุผลอยู่เบื้องหลังทัศนะที่ว่า นายเอกศักดิ์ ของเมื่อวานเป็นส่วนประกอบทางเวลาได้ก็แต่เฉพาะของสิ่งเฉพาะรูปธรรมแบบที่เราคุ้ นเคยอย่าง นายเอกศักดิ์ส่วนรวมเท่านั้น พวกเขาถือว่าไม่มีอะไรที่มากาหนดเป็นเด็ดขาดในเชิงอภิปรัชญา ว่า เราจะต้องคิดจากสิ่งเฉพาะของสามัญสานึกไปสู่ส่วนประกอบทางกาลเวลาของพวกมันเท่านั้น พวกเขาจะยอมรับว่าการคิดในทิศทางดังกล่าว (ที่เราอาจเรียกว่าการวิเคราะห์ทางภววิทยา) เป็น เรื่องที่ไม่มีอะไรผิด แต่พวกเขาก็จะยืนยันว่าการคิดในทางตรงกันข้าม (ที่เราอาจเรียกว่าการคิด สังเคราะห์ท างภววิทยา) ก็ เป็นเรื่องที่ไม่มีอะไรผิดเท่าๆ กัน ถ้าสิ่งที่มีอยู่ มีเพียงแค่ส สารที่แผ่ ออกไปในสี่มิติ เราก็สามารถเริ่มต้นคาอธิบายของเราด้วยวัตถุ ที่เราคุ้นเคย และมองว่าพวกมันเกิด ขึ้นมาจากสิ่งที่ “เล็กกว่า” ทางกาลเวลา แต่เนื่องจากสิ่งที่ “เล็กกว่า” ทางกาลเวลาเป็นจริงเท่าๆ กับ สิ่งที่ “ใหญ่กว่า” ทางกาลเวลา เราก็สามารถเริ่มต้นด้วยสิ่งอย่างแรก และมองว่าพวกมันประกอบ กันขึ้นเป็นสิ่งที่ “ใหญ่กว่า” ทางกาลเวลา และถ้าในกรณีแรกมีวิธีที่นับไม่ไม่ถ้วนในการตัดวัตถุ ลงเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนประกอบของมัน ในกรณีหลัง ก็ย่อมดูเหมือนว่าจะมีวิธีที่นับไม่ถ้วนใน การประสานสิ่งต่างๆ เข้ามาเป็นส่วนรวมด้วยเช่นกัน และนักเปอร์ดิวแรนซ์ไม่ยอมรับว่าผลของ การประสานกันด้วยวิธีนับไม่ถ้ วนนั้นเป็นเรื่องของจินตภาพ หรือเป็นเรื่องของความนึกคิด มาก ไปกว่าผลของการตัดแบ่งด้วยวิธีนับไม่ไม่ถ้วน ในทั้งสองกรณี สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งจากการแบ่งและ การรวม มีอยู่จริงๆ อย่างเป็นปรนัยในการแผ่ออกไปในสี่มิติที่เป็นโลกของสสารวัตถุ สาหรับนักเปอร์ดิวแรนซ์ สิ่งที่ มีอยู่มีแค่สสารที่แผ่ออกไปในสี่มิติ การมองเช่นนี้ย่อมพา ไปสู่การคิดว่าสสารวัตถุชิ้นหนึ่งไม่ใช่อะไรมากไปกว่าเนื้อหาของบริเวณหนึ่งของกาลอวกาศที่ถูก เติมด้วยสสาร ดังนั้น บริเวณใดก็ตามของกาลอวกาศที่ถูกเติมก็ ย่อมมีส สารวัตถุชิ้นหนึ่งอยู่ 10 บริเวณของกาลอวกาศที่ครอบครองอยู่โดยพระอภัยมณีเป็นบริเวณหนึ่งที่ถูกเติม ดังนั้นพระอภัย มณีก็ย่อมเป็นสสารวัตถุอย่างเต็มตัวชิ้นหนึ่ง และนักเปอร์ดิวแรนซ์จะปฏิเสธว่า ข้อเท็จจริงที่ว่า ชิ้นส่วนของพระอภัยมณีตั้งอยู่อย่างกระจัดกระจายในกาลอวกาศทาให้สถานะของการเป็นวัตถุชิ้น 10

Ibid.


208

หนึ่งของมันมีปัญหา พวกเขาจะชี้ว่าถ้าทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่ดีที่สุดของเราถูกต้อง สิ่งอย่างต้นไม้ แมว เก้าอี้ ล้วนเป็นกลุ่มของอนุภาคที่มีที่ว่างมากมายระหว่างพวกมัน แต่เราก็ไม่เคยถือข้อเท็จจริง ที่ว่าส่วนประกอบของพวกมันกระจัดกระจายอยู่ในอวกาศ ว่าเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับสถานะการเป็น วัตถุของพวกมัน เนื่องจากเวลาเป็นอีกมิติหนึ่งที่เท่าเทียมกับมิติทางอวกาศทั้งสาม มันก็ย่อมไม่ ถูกต้องที่จะปฏิเสธสถานะการเป็นวัตถุชิ้นหนึ่งของพระอภัยมณี เพียงแค่ด้วยเหตุที่ชิ้นส่วนของมัน กระจัดกระจายอยู่ในกาลอวกาศ สรุปก็คือ นักเปอร์ดิวแรนซ์ถือว่า อาณาบริเวณใดก็ตามของกาลอวกาศที่มีสสารบรรจุอยู่ นับเป็นหนึ่งวัตถุ ไม่ว่าอาณาบริเวณนั้นจะเกิดจากการแบ่งส่วนและการรวมหน่วยด้วยวิธีใดก็ตาม ซึ่งทาให้พวกเขาสามารถอ้างได้ว่ามีสสารวัตถุจานวนมากมายกว่าที่สามัญสานึกของเรารับรู้ ตาม ทัศนะของพวกเขา สิ่งที่แยกวัตถุหนึ่งออกจากวัต ถุอื่นๆ ก็คือตาแหน่งที่ตั้งของมันในกาลอวกาศ ขอบเขตของกาลอวกาศของสสารวัตถุเป็นเครื่องแสดงให้เรารู้ว่ามันเป็นสสารวัตถุที่มันเป็น และ การที่มันครอบครองอาณาบริเวณของกาลอวกาศที่มันครอบครองอยู่ก็เป็นคุณสมบัติสารัตถะของ วัตถุ ฉะนั้น มันจึงเป็นคุณสมบัติสารัตถะของนายเอกศักดิ์ของเมื่อวานนี้ ที่เขามีตัวตนอยู่ตั้งแต่ เที่ยงคืนของวันที่ 1 กันยายน 2555 ถึงเที่ยงคืนของวันที่ 2 กันยายน 2555 และที่เขาครอบครอง พื้นที่ของอวกาศบริเวณต่างๆ อย่างที่เขาครอบครองในขณะต่างๆ ของ 24 ชั่วโมงนั้น ไม่ว่าจะวัตถุ ใด รวมทั้งพระอภัยมณีของเรา การครอบครองพื้นที่ของอวกาศที่มันครอบครองในขณะต่างๆ ของเวลาที่มันมีอยู่ ถือเป็นคุณสมบัติสารัตถะของมัน ในการที่นักเปอร์ดิวแรนซ์ถือว่ามีสสารวัตถุอยู่มากกว่าที่สามัญสานึกของเรารับรู้ ภาระจึง ตกแก่พ วกเขาที่จะต้องอธิบ ายว่าอะไรคือความพิ เศษของมวลรวมของชิ้นส่วนทางกาล เวลาที่ ประกอบกันขึ้นเป็นวัตถุของสามัญสานึก11 พวกเขามีพันธะที่จะต้องอธิบายว่าทาไมเราถึงเคยชินที่ จะตัดแบ่งสสารที่แผ่ออกไปในสี่มิติ ออกเป็น ต้นไม้ หมา แมว เก้าอี้ แต่ไม่ตัดแบ่งมันออกเป็นสิ่ง แปลกๆ อย่างพระอภัยมณี การที่สามัญสานึกของเราลาเอียงเข้าข้างมวลรวมของของอย่างแรก ชี้ ว่ามวลรวมพวกนั้นต้องมีลักษณะอะไรพิเศษบางอย่าง และเป็นหน้าที่ของนักเปอร์ดิวแรนซ์ที่จะ บอกว่าลักษณะพิเศษนั้นคืออะไร เนื่องจากนักเปอร์ดิวแรนซ์ถือว่าสสารวัตถุทั้งหลายไม่ใช่อะไร มากไปกว่ามวลรวมของชิ้นส่วนทางเวลา พวกเขาย่อมถูกบังคับให้ถือว่าสิ่งพิเ ศษเกี่ยวกับวัตถุของ 11

ดู Armstrong (1980: 67-8) และ Lewis (1976: 55-6)


209

สามัญสานึก เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่างชิ้นส่วนทางเวลาของพวกมัน ซึ่งพวกเขา บอกว่า ความพิเศษของวัตถุของสามัญสานึก ได้แก่ การที่ชิ้นส่วนทางกาลเวลาของมันตั้งอยู่ใ น ความสัมพันธ์ของความคล้ายคลึง และความสัมพันธ์ของความเป็นสาเหตุและผล ต่อกัน ในขณะ ที่ชิ้ นส่วนทางกาลเวลาของพระอภัยมณีอยู่ อย่ างกระจัดกระจาย ชิ้นส่วนทางกาลเวลาของสิ่ง เฉพาะที่เราคุ้นเคย มีความสัมพันธ์ของการอยู่ใกล้ชิดกันในกาลอวกาศอย่างเรียงไล่ไปเป็นลาดับ กล่าวคือ ส าหรับทุ กๆ ชิ้ นส่วนทางกาลเวลา ก ของสิ่งเฉพาะที่เราคุ้นเคย จะมีอีก ชิ้นส่วนทาง กาลเวลา ข ของสิ่ง เฉพาะเดีย วกันนั้น อย่างที่ ก อยู่ ติดกั บ ข และถ้า ข ไม่ไ ด้เป็นชิ้นส่วนทาง กาลเวลาชิ้นแรกหรือชิ้นสุดท้ายของสิ่งเฉพาะนั้น ก็จะมีชิ้นส่วนทางกาลเวลาที่ส าม ค ของสิ่ง เฉพาะเดียวกันนั้น อย่างที่ ค ไม่ได้เป็นชิ้นส่วนทางกาลเวลาของ ก หรือ ข และ ข อยู่ติดกับ ค ผลก็ คือมีการเชื่อมต่อกันทางกาลอวกาศของชิ้นส่วนทางกาลเวลาของสิ่งเฉพาะที่เราคุ้นเคย และตัวของ สิ่ง เฉพาะที่ เ ราคุ้ น เคยเองก็ จะเป็ นอะไรที่ เหมือนกั บหนอนของกาลอวกาศ ที่เป็ นปล้อ งๆ แต่ เชื่อมต่อและยาวต่อเนื่องกันไปหนึ่งตัว ยิ่งไปกว่านั้น ชิ้นส่วนที่ อยู่ติดกันในกาลอวกาศของสิ่ง เฉพาะหนึ่ง มีความคล้ายคลึงต่อกันและกันอย่างมาก ที่ทาให้บุคลิกลักษณะทางคุณภาพโดยรวม ของสิ่งเฉพาะส่วนรวมเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยตามกาลเวลา และในขณะที่ชิ้นส่วนทางกาลเวลา ของสิ่งอย่างพระอภัยมณี ไม่มีความสัมพันธ์ในเชิงของความเป็นเหตุและผลต่อกัน แต่ชิ้นส่วนทาง กาลเวลาของสิ่งเฉพาะที่ เราคุ้ นเคย มีความสัมพันธ์ของการเป็นสาเหตุของความมีอยู่และของ บุคลิกลักษณะ ของชิ้นส่วนทางกาลเวลาในอันดับต่อมา สรุปว่า สาหรับนักเปอร์ดิวแรนซ์ มีวิธีนับไม่ถ้วนในการตัดโลกของสสารที่แผ่ออกไปใน มิติทั้งสี่ ไม่มีวิธี การใดที่มีสถานะพิเศษทางภววิทยา ทุกๆ วิธีในการตัดอาณาบริเวณของกาล อวกาศที่ มี ม วลสารเติ ม อยู่ ให้ ผลเป็ นสิ่ งที่ ส มควรจะได้รั บการเรี ย กว่า “สสารวัต ถุ ” อะไรที่ แยกแยะกลุ่มย่อยของสสารวัตถุที่เป็นสิ่งที่รับรู้โดยสามัญสานึกเป็นเพียงแค่ความสัมพันธ์ที่ผูก ชิ้นส่วนของพวกมันเข้าด้วยกัน วัตถุที่เราคุ้นเคยเป็นแค่มวลรวม ซึ่งชิ้นส่วนทางกาลเวลาของพวก มันตั้งอยู่ในความสัมพันธ์ของความใกล้ชิดในกาลอวกาศ ความคล้ายคลึง และความเป็นสาเหตุ และผล และการที่วัตถุที่เราคุ้นเคยชิ้นหนึ่งคงทนผ่านกาลเวลา ก็คือการที่มันเป็นมวลรวมของ ชิ้นส่วนทางกาลเวลาที่สัมพันธ์กันในลักษณะเหล่านี้


210

แต่นักเอ็นดิวแรนซ์จะบอกว่าทั้งหมดนี้ผิด เนื่องจากพวกเขาไม่ยอมรับภาพแบบสี่มิติของ โลก พวกเขาก็จะปฏิเสธว่ามีวัตถุที่กระจัดกระจายไปในกาลอวกาศอย่างพระอภัยมณี และพวกเขา ก็จะเห็นว่าโครงการของนักเปอร์ดิวแรนซ์ ในอันที่จะอธิบาย “ความลาเอียง” ของสามัญสานึก ที่ เข้าข้างสิ่งอย่างต้นไม้ แมว และเก้าอี้ เป็นเรื่องที่ไม่จาเป็น พวกเขาจะยืนยันว่าสิ่งที่จะนับว่าเป็น ส่วนประกอบของวัตถุชิ้นหนึ่ง มีก็แต่ส่วนประกอบทางอวกาศของมันเท่านั้น และด้วยการปฏิเสธ ว่าความคิดเรื่องการคงทนผ่านกาลเวลาสามารถวิเคราะห์อธิบายได้ด้วยแนวความคิดอื่น พวกเขาก็ จะยืนยันว่าความคิดว่าสิ่งๆ หนึ่งสามารถคงทนหรือมีอยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ณ เวลาต่างๆ เป็น แนวคิดทางภววิทยาระดับพื้นฐาน ปฎิกริยาของนักเอ็นดิวแรนซ์ต่อลัทธิเปอร์ดิวแรนทิซึม น่าจะเตือนให้เรานึกถึงปฎิกริยา ของนักทฤษฎีแก่นสารแบบอริสโตเติลที่มีต่อทั้งทฤษฎีมัดและทฤษฎีฐานรองรับ นักทฤษฎีแก่น สารไม่ ย อมรั บ การพู ด เกี่ ย วกั บ องค์ ป ระกอบและองค์ ร วมของนั ก ทฤษฎี มั ด และนั ก ทฤษฎี ฐานรองรับ ในแบบเดียวกัน นักเอ็นดิวแรนซ์ก็ไม่ยอมรับการพูดเกี่ยวกับส่วนประกอบและมวล รวมทางกาลเวลาของนักเปอร์ดิวแรนซ์ และข้ออ้างของนักอริสโตเติลที่ว่าแนวความคิดเรื่องสิ่ง เฉพาะรูปธรรมเป็ นแนวคิ ดทางภววิท ยาระดับพื้ นฐาน ก็เป็นภาพสะท้อนของการที่นักเอ็นดิว แรนซ์ยืนยันว่า ความคิดเรื่องเอกลักษณ์ตามลาดับเวลาเป็นแนวความคิดที่ไม่ต้องการการวิเคราะห์ ทางภววิทยาใดๆ แน่นอนว่ามีความแตกต่างที่สาคัญระหว่างประเด็นที่เป็นจุดสนใจของบทที่สาม และของบทนี้ ในบริบทก่อนหน้า เราตัดเวลาออกจากภาพ เราสนใจในโครงสร้างทางภววิทยา ของสิ่งเฉพาะ ณ เวลาหนึ่งเท่านั้น และคาถามในเรื่องของประเด็นดังกล่าว ก็เป็นอิสระจากคาถาม ในเรื่องของการคงทนผ่านกาลเวลา ทั้งนักเอ็นดิวแรนซ์และนักเปอร์ดิวแรนซ์จึงต่างก็ดูเหมือนจะ มีอิสระที่จะเลือกทฤษฎีทั้งสามเอาตามใจชอบ ยิ่งกว่านั้น ความแตกต่างในบทที่สามเป็นเรื่องของ คาอธิบายถึงสิ่งเฉพาะรูปธรรมที่เป็นแบบลดทอนและแบบไม่ลดทอน ทั้งนักทฤษฎีมัดและนัก ทฤษฎีฐานรองรับต่างก็พยายามลดทอนสิ่งเฉพาะรูปธรรม ลงไปสู่สิ่งประเภทอื่นที่เป็นพื้นฐานยิ่ง กว่าในทางภววิทยา แต่ในขณะที่นักเปอร์ดิวแรนซ์ยืนยันในการวิเคราะห์การคงทนผ่านกาลเวลา การวิเคราะห์ที่พวกเขาให้ไม่ได้มีผลเป็นการอธิบายสิ่งเฉพาะรูปธรรมในแบบลดทอน 12 แม้พวก เขาจะวิ เ คราะห์ ว่ า การคงทนผ่ า นกาลเวลาของสิ่ ง เฉพาะ ก็ คื อ การที่ มั น เป็ น มวลรวมของ 12

ดู Lewis (1976: 77)


211

ส่วนประกอบทางกาลเวลา ส่วนประกอบเหล่านั้นก็เป็นสิ่งที่อยู่ในประเภททางภววิทยาเดียวกัน กับส่วนรวมที่พวกมันประกอบขึ้นมา พวกมันเป็นรูปธรรม มีตัวตน มีเนื้อมีหนัง และเป็นสิ่ง เฉพาะมากเท่าๆ กับตัววัตถุที่พวกมันเป็นส่วนประกอบ อย่างไรก็ตาม จากมุมมองทางประวัติศาสตร์ ทฤษฎีแก่นสารแบบของอริสโตเติลและ คาอธิบายเรื่องการคงทนของนักเอ็นดิวแรนซ์มีความคล้ายคลึงอย่างมีนัยสาคัญ ทั้งสองทฤษฎี ยื น ยั น ความส าคั ญ ของกรอบทางภววิ ท ยาที่ ป รากฏตั ว อยู่ ใ นประสบการณ์ ที่ เ รามี ต่ อ โลก แนวความคิดตามสามัญสานึกของเราที่มีต่อโลกเป็นแบบที่ตัดโลกออกเป็นสิ่งอย่างเช่น ต้นไม้ แมว มนุษย์ เราเชื่อว่าสิ่งพวกนั้นเป็นจริงอย่างเต็มที่และไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาจากสิ่งที่เป็นจริงยิ่ง กว่า และเราก็เชื่อด้วยว่าพวกมันเป็นสิ่งที่สามารถมีอยู่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ณ ขณะต่างๆ ของ เวลา ทั้ง นักทฤษฎีแก่ นสารแบบของอริส โตเติล และนักเอ็นดิวแรนซ์ต่างก็ เชื่อว่าแนวคิดตาม สามัญสานึกของเราทางานอย่างแม่นยาในการ “ตัดความเป็นจริงที่รอยต่อของมัน” เนื่องจากความ เชื่อว่าสิ่งเฉพาะรูปธรรมที่เราคุ้นเคยเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะลดทอนได้ในทางภววิทยา และความเชื่อว่า พวกมั นเป็ นสิ่ง หนึ่ง สิ่ งเดียวกั นอย่ างแท้จริง ณ ต่างขณะของเวลา ดูเหมือนจะเป็นความเชื่อที่ ตามมาตรงๆ จากแนวความคิ ด ตามสามั ญ ส านึ ก ของเราเกี่ ย วกั บ โลก จึง ไม่ น่า แปลกใจที่ นั ก อภิปรัชญาที่ยอมรับในความเชื่อหนึ่งจะยอมรับในอีกความเชื่อหนึ่งไปพร้อมกันด้วย ทฤษฎีแก่น สารแบบของอริสโตเติลและลัทธิเอ็นดิวแรนทิซึมจึงมักจะมาคู่กัน

ข้อโต้เถียงสนับสนุนลัทธิเปอร์ดิวแรนทิซมึ เรื่องการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ เท่าที่ผ่านมา เราพยายามอธิบายความแตกต่างของคาอธิบายเรื่องการคงทนผ่านกาลเวลา ของนักเอ็นดิวแรนซ์และของนักเปอร์ดิวแรนซ์ แต่เรายังไม่ได้พิจารณาถึงเหตุผลว่าเราควรจะ ยอมรับในคาอธิบายแบบไหนมากกว่ากัน อย่างไรก็ตาม การที่คาอธิบายของนักเอ็นดิวแรนซ์เข้า ได้กับความเข้าใจตามสามัญสานึกของเรา ในเรื่องของการอ้างถึงความเป็นสิ่งเดียวกันตามลาดับ เวลา ยิ่งกว่าคาอธิบายของนักเปอร์ดิวแรนซ์ ทาให้ดูเหมือนว่าคาอธิบายแบบของนักเอ็นดิว แรนซ์ จะมีน้าหนักมากกว่า 13 ซึ่งทาให้นักเปอร์ดิวเรนซ์เป็นฝ่ายที่จะต้องพยายามหาเหตุผลมาอธิบายว่า 13

ดู Merricks (1994)


212

แม้ว่าการอธิบายความคงทนผ่านกาลเวลาด้วยส่วนประกอบทางเวลาจะดูเหมือนว่าขัดแย้งกับ สามัญสานึกของเรา แต่มันก็สามารถเข้ากับความเชื่อพื้นฐานของเราในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง ได้ดีกว่าคาอธิบายของนักเอ็นดิวแรนซ์ นักเอ็นดิวแรนซ์อธิบายการคงทนผ่านเวลาด้วยการเป็นสิ่ง หนึ่งสิ่งเดียวกันของสิ่งที่มีอยู่ ณ เวลาหนึ่ง กับสิ่งที่มีอยู่ ณ อีกเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเป็นเรื่องของการ คงทนผ่านการเปลี่ยนแปลง นักเปอร์ดิวแรนซ์ยืนยันว่าการเชื่อว่าเรามีสิ่ งหนึ่งสิ่งเดียวกัน ณ ต่าง ขณะเวลา จะประสบกั บปั ญหาความยุ่ง ยากทางตรรกะอย่างหนัก ในขณะที่นัก เปอร์ดิวแรนซ์ สามารถอธิบายการคงทนผ่านการเปลี่ยนแปลงได้ว่าคือการที่สิ่งเฉพาะส่วนรวมมีชิ้นส่วนทาง กาลเวลาที่แตกต่างกัน ที่มีอยู่ ณ ต่างขณะเวลา ข้อโต้แย้งที่นักเปอร์ดิวแรนซ์ใช้ในการแสดงว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นปัญหาสาหรับนัก เอ็ น ดิ ว แรนซ์ ปรากฏในสองรู ป แบบ แบบที่ ห นึ่ ง เป็ น ข้ อ โต้ แ ย้ ง ที่ อ้ า งอย่ า งทั่ ว ไปว่ า การ เปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติใดๆ ก็ตามของสิ่งเฉพาะ ที่ไม่ใช่คุณสมบัติแบบสัมพัทธ์ เป็นสิ่งที่เข้า ไม่ได้กับคาอธิบายเรื่องการคงทนผ่านเวลาของนักเอ็นดิวแรนซ์14 แบบที่สองเป็นข้อโต้แย้งที่อ้าง ในสิ่ ง ที่ แ คบลงมาว่ า การเปลี่ ย นแปลงชนิ ด หนึ่ ง ที่ ส ามารถเกิ ด ขึ้ น กั บ สิ่ ง เฉพาะ ได้ แ ก่ ก าร เปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในคาอธิบายของนักเอ็นดิวแรนซ์ 15 ถ้าข้อ โต้แย้งแบบที่หนึ่งประสบความสาเร็จ ข้อโต้แย้งแบบที่สองก็ไม่จาเป็น เพราะถ้าการเปลี่ยนแปลง ในคุ ณ สมบั ติ ใ ดๆ ก็ ต ามของสิ่ ง หนึ่ ง เป็ น ไปไม่ ไ ด้ ใ นค าอธิ บ ายของนั ก เอ็ น ดิ ว แรนซ์ การ เปลี่ยนแปลงในเรื่องของส่วนประกอบก็ย่อมเป็นไปไม่ได้เช่นกัน เพราะสาหรับสิ่งใดก็ตามที่อาจ เป็นส่วนประกอบของสิ่งเฉพาะ จะมีคุณสมบัติหนึ่งที่สิ่งเฉพาะนั้นแสดงตัวอย่างก็ต่อเมื่อสิ่งๆ นั้น เป็นส่วนประกอบหนึ่งของมัน แต่ถ้าข้อโต้แย้งแบบที่หนึ่งที่อ้างอย่างทั่วไปนี้มีปัญหา เราก็อาจจะ ยังมีความหวังกับข้อโต้แย้งแบบที่สอง ที่อ้างเฉพาะกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบ เริ่มด้วยข้อโต้แย้งที่หนึ่ง เราเชื่อว่าเป็นไปได้ที่สิ่งเฉพาะรูปธรรมแบบที่เราคุ้นเคยจะเผชิญ กับการเปลี่ยนแปลง และคงทนผ่านการเปลี่ยนแปลงพวกนั้น ลองพิจารณากรณีหนึ่งที่สิ่งนี้เกิดขึ้น สมชายเป็นอาจารย์สอนอภิปรัชญาที่ชอบการเที่ยวทะเลอย่างมาก ทันทีที่ปิดเทอมใหญ่ในฤดูร้อน เขาก็จะตรงลิ่วไปทะเล ว่ายน้า ตกปลา ดูปะการัง แน่นอนว่าผิวเขาต้องคล้าลงไป แต่พอถึงเดือน 14

ดู Armstrong (1980: 68) และ Lewis (1986: 202-5)

15

ดู Heller (1990: 2-4 และ 19-20)


213

มิถุนายน เขาก็กลับมามหาวิทยาลัย เริ่มต้นเขียนหนังสืออภิปรัชญาว่าด้วยการคงทนผ่านกาลเวลา เขาหมกมุ่นกับงานจนแทบไม่ออกไปเห็นเดือนเห็นตะวัน ซึ่งพอถึงปลายฤดูหนาวผิวคล้าจากแดด ของเขาก็จางหายไป ถ้าเราเรียกสมชายแบบที่เขาเป็นในฤดูร้อนว่าสมชายของฤดูร้อน และเรียก สมชายแบบที่เขาเป็นในฤดูหนาวว่าสมชายของฤดูหนาว เราก็สามารถบรรยายถึงเขาด้วยการพูด ว่า สมชายของฤดูร้อนผิวคล้า และสมชายของฤดูหนาวผิวไม่คล้า ทีนี้ ถ้าเราเป็นนักเอ็นดิวแรนซ์ เราก็จะพูดว่าสมชายของฤดูร้อนเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันกับสมชายของฤดูหนาว แต่ถ้าเราพูดอย่าง นั้น เราก็ถูกบังคับให้อ้างว่าการคงทนผ่านการเปลี่ยนแปลงในสีผิวของสมชาย เป็นข้อยกเว้นของ หลักแห่งการไม่มีความแตกต่างของสิ่งที่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน ที่เราพบในบทที่แล้ว เราคงจาได้ ว่า หลัก ดัง กล่า วบอกเราว่า เป็ นจริงโดยจาเป็นว่า ส าหรับวัตถุ ก และ ข ถ้า ก เป็นสิ่งหนึ่งสิ่ง เดียวกันกับ ข แล้ว สาหรับคุณสมบัติ P ใดๆ ก็ตาม P เป็นคุณสมบัติของ ก เมื่อและต่อเพียงเมื่อ P เป็นคุณสมบัติของ ข เราเคยพูดว่านี่เป็นหลักการที่นักปรัชญาไม่อยากจะสละทิ้ง แต่ถ้าเรายอมรับ คาอธิบายเรื่องการคงทนของนักเอ็นดิวแรนซ์ การที่เรายอมรับว่าสมชายคงทนจากฤดูร้อนมาถึงฤดู หนาวย่อมบังคับให้เราสละหลักการนี้ทิ้ง เพราะตามการอธิบายดังกล่าว สมชายของฤดูร้อนเป็นสิ่ง หนึ่งสิ่งเดียวกันกับสมชายของฤดูหนาว แต่สมชายแรกผิวคล้าในขณะที่สมชายหลังผิวไม่คล้า ดังนั้น ดูเหมือนว่าการที่ลัทธิเอ็นดิวแรนทิซึมจะสามารถรองรับความเชื่อตามสามัญสานึก ของเรา ว่าสมชายคงอยู่ผ่านกาลเวลา ต้องแลกมาด้วยการปฏิเสธหลักแห่งการไม่มีความแตกต่าง ของสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ แต่นักเปอร์ดิวแรนซ์ยืนยันว่าคาอธิบายของพวกเขา สามารถรักษาหลัก ดังกล่าวไว้ได้พร้อมๆ กับความเชื่อว่าสมชายมีอยู่ก่อน-ระหว่าง-และหลังการเปลี่ยนแปลง ตาม การอธิบายของนักเปอร์ดิวแรนซ์ สมชายของฤดูร้อนและสมชายของฤดูหนาวเป็นสิ่งคนละสิ่งกัน ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาอะไรอยู่ในข้อเท็จจริงที่ว่าสมชายแรกผิวคล้าแต่สมชายหลังผิวไม่คล้า แต่ แม้ว่าสมชายของฤดูร้อนและสมชายของฤดูหนาวจะเป็นสิ่งคนละสิ่งกัน นักเปอร์ดิวแรนซ์ก็ถือว่า ทั้งสองเป็นส่วนประกอบของมวลรวมหนึ่งเดียวของชิ้นส่วนทางกาลเวลา ที่สัมพันธ์กันด้วยการ เชื่อมต่อกันในกาลอวกาศ ด้วยความคล้ายคลึงกัน และด้วยการเป็นสาเหตุและผลต่อกัน ด้วยเหตุ นั้น เราจึงมีสิ่งที่มีอยู่หนึ่งสิ่ง คือสมชายส่วนรวม ซึ่งการแผ่ขยายไปในกาลเวลาของเขาคลุมทั้งฤดู ร้อนฤดูฝนฤดูหนาว และเราก็รักษาความเชื่อว่าเขาคงทนผ่านกาลเวลาไว้ได้ กล่าวก็คือ เรามี หนอนของกาลอวกาศหนึ่งตัวที่ปล้องต่างๆ มีคุณสมบัติที่ต่างกัน เนื่องจากเป็นคนละปล้องกัน จึง


214

ไม่มีการละเมิดหลักแห่งการไม่มีความแตกต่างของสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์กัน และเนื่องจากเป็นปล้อง ของหนอนที่เชื่อมต่อกันเป็นตัวเดียว เราจึงได้ความคงทนผ่านกาลเวลาและผ่านการเปลี่ยนแปลง แน่นอนว่า นักเอ็นดิวแรนซ์จะไม่ยอมรับว่าทัศนะของตนขัดแย้งกับหลักแห่งการไม่มี ความแตกต่างของสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ พวกเขาจะอ้างว่าความขัดแย้งเกิดขึ้นมาจากวิธีที่นักเปอร์ดิว แรสซ์ใช้บรรยายสถานการณ์ของสมชาย ซึ่งแทนที่จะบรรยายว่ามีคุณสมบัติหนึ่งเดียวที่สมชาย ของฤดูร้อนมี แต่สมชายของฤดูหนาวไม่มี นักเอ็นดิวแรนซ์ก็จะชี้ว่า เราสามารถบรรยายว่า มีสอง คุณสมบัติ คือการมีผิวคล้าในฤดูร้อน และการมีผิวคล้าในฤดูหนาว ซึ่งสมชายมีคุณสมบัติที่หนึ่ง แต่ไม่มีคุณสมบัติที่สอง ด้วยการใช้คุณสมบัติแบบที่มีดัชนีบอกเวลากากับเช่นนี้ คาอธิบายถึงสิ่งที่ เกิดขึ้นกับสมชายก็จะไม่ขัดแย้งกับหลักแห่งการไม่มีความแตกต่างของสิ่งที่ เป็นเอกลักษณ์ แต่ นักเปอร์ดิวแรนซ์ก็จะโต้กลับว่านักเอ็นดิวแรนซ์จะขจัดความขัดแย้งที่ว่าได้สาเร็จก็ต่อเมื่อพวกเขา พร้อมที่จะยืนยันว่า วิธีเดียวที่จะบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นกับสมชายก็คือด้วยการใช้คุณสมบัติที่กากับ ด้วยเวลา ซึ่งนักเอ็นดิวแรนซ์ก็จะอ้างว่านี่เป็นราคาที่สูงเกินไป เพราะมันจะตามมาว่าคุณสมบัติ ประเภทเดียวที่สมชายมีคือคุณสมบัติที่กากับด้วยเวลา แต่ถ้าเรายอมรับทัศนะนี้ เราก็ต้องยอมรับ ข้อสรุปที่ยากจะยอมรับที่ว่าไม่เคยเป็นจริงว่าสมชายผิวคล้า(เฉยๆ) หรือว่าผิวขาว (เฉยๆ) ทั้งหมดนี้น่าจะฟังดูคล้ายกับอะไรที่เราพบมาในบทที่ห้า เพราะว่าข้อโต้เถียงของนักเปอร์ ดิวแรนซ์และการโต้ก ลับ ของอีก ฝ่า ย เป็ นเหมือนกั บการทบทวนวิพ ากษวิธีที่เกิ ดขึ้นในความ พยายามของลิวอิซที่จะแสดงว่าไม่มีปัจเจกแบบข้ามโลก จึงไม่น่าแปลกใจว่าข้อโต้เถียงที่เพิ่ง เสนอมานี้ก็เป็นของลิวอิซด้วยเช่นกัน16 แล้วนักเอ็นดิวแรนซ์จะยอมรับหรือไม่ว่า การบรรยายสิ่ง ที่ เกิ ดขึ้ นกั บ สมชายด้วยคุ ณสมบั ติแบบมี เวลาก ากั บ บังคับไม่ใ ห้พ วกเขาบรรยายสมชายด้ว ย คุณสมบัติแบบไม่มีเวลากากับ ? แน่นอนว่าไม่17 เราคงจาได้ว่านักเอ็นดิวแรนซ์เป็นนักปัจจุบัน กาลนิยม พวกเขาจะไม่ยอมรับว่าเราจะสามารถบรรยายโลกได้อย่างถูกต้องโดยปราศจากการใช้ ภาษาที่บอกกาลเวลา พวกเขาจะยืนยันว่าความคิดว่าสิ่งหนึ่งมีคุณสมบัติหนึ่ง ณ เวลาหนึ่ง อย่างที่ ไม่บอกว่าเป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต เป็นความคิดที่ต้องถูกวิเคราะห์ พวกเขาจะบอกว่าการ พูดว่าสิ่ง x มีคุณสมบัติ P ณ เวลา t ก็คือการพูดว่า เมื่อ t เป็น (หรือเคยเป็น หรือจะเป็น) ปัจจุบัน x 16 17

Lewis (1986: 202-5)

ดูการตอบโต้ของนักเอ็นดิวแรนซ์ ต่อข้อโต้เถียงนี้ ใน Merricks (1994)


215

มี (หรือเคยมี หรือจะมี) P ดังนั้นแล้ว พวกเขาก็จะบอกว่า ถ้าเป็นจริงว่าสมชายผิวคล้าในฤดูร้อน และผิวไม่คล้าในฤดูหนาว อะไรจะเป็นจริงเกี่ยวกับสมชายก็ย่อมขึ้นกับว่าขณะนี้เป็นฤดูอะไร ถ้า ตอนนี้เป็นฤดูร้อน ก็จะเป็นจริงว่าตอนนี้สมชายผิวคล้า และก็เป็นจริงเช่นกันว่า เมื่อถึงฤดูหนาว สมชายจะไม่ผิวคล้า แต่ข้อเท็จจริงนี้ ไม่ได้ทาให้เกิดผลตามมาว่าตอนนี้สมชายทั้งผิวคล้าและผิว ไม่คล้า หรือว่า ในฤดูหนาวสมชายจะทั้งผิวคล้าและผิวไม่คล้า และในแบบเดียวกัน ถ้าตอนนี้เป็น ฤดูหนาว ก็จะเป็นจริงว่าตอนนี้สมชายผิวไม่คล้า และข้อเท็จจริงนี้ก็ไม่ได้ทาให้เกิดผลตามมาว่า ตอนนี้สมชายทั้งผิวคล้าและผิวไม่คล้า หรือว่า ในฤดูร้อนที่แล้วสมชายทั้งผิวคล้าและผิวไม่คล้า เช่นกัน กล่าวสั้นๆ ก็คือ นักเอ็นดิวแรนซ์จะอ้างว่า ถ้าเราใช้ภาษาอย่างบอกกาลเวลาว่าเป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ให้ชัดเจน เราก็จะเห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับสมชายไม่ได้เป็นตัวอย่างแย้งของ หลักแห่งการไม่มีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ ดังนั้น นักเอ็นดิวแรนซ์จึงไม่ได้ถูกกันออกจากการบรรยายสิ่งเฉพาะด้วยคุณสมบัติที่ไม่มี เวลากากับ ที่จริงแล้ว ความเข้าใจต่อธรรมชาติของเวลาของพวกเขา ทาให้การบรรยายแบบที่ว่า เป็นการบรรยายในระดับพื้นฐาน และไปด้วยกันได้กับหลักแห่งการไม่มีความแตกต่างระหว่างสิ่ง ที่เป็นเอกลักษณ์ พวกเขาจะอ้างว่า ความผิดพลาดของข้อโต้แย้งของลิวอิซที่ว่า การคงทนผ่านการ เปลี่ยนแปลงจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อลัทธิเปอร์ดิวแรนซ์ทิซึมเป็นจริง อยู่ตรงที่มันถือว่าทฤษฎีเวลา ของนั ก อนั น ตนิ ย มถู ก ต้ อ ง ตามความคิ ด เรื่ อ งเวลาของนั ก อนั น ตนิ ย ม ความคิ ด ว่ า สิ่ ง หนึ่ ง มี คุ ณสมบั ติหนึ่ง เป็ นความคิ ดที่ เ ป็นอิส ระจากการเป็นอดีต ปัจ จุบัน หรืออนาคต ด้วยเหตุนั้ น ข้ออ้างว่าสิ่งหนึ่งยังคงเป็นสิ่งเดิมผ่านการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติย่อมเป็นปัญหาจริงๆ สาหรับ นักอนันตนิยม วิธีเดียวที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาก็คือการใช้คุณสมบัติที่มีดัชนีบ่งชี้เวลากากับ แต่ตาม การอธิบายของนักอนันตนิยม คุณสมบัติที่มีดัชนีบ่งชี้เวลากากับเป็นสิ่งที่วิเคราะห์ไม่ ได้ ดังนั้น ถ้า เราเป็นนัก อนันตนิย ม การอ้า งว่าสิ่งหนึ่งสิ่งเดีย วกั นมีอยู่ ก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงใน คุณสมบัติ ย่อมบังคับเราให้ถือว่าหลักแห่งการไม่มีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เป็น เท็จ หรือไม่ก็ต้องถือว่า เราไม่อาจบรรยายสิ่งด้วยคุณสมบัติที่ไม่มี ดัชนีบ่งชี้เวลากากับ แต่นัก เอ็นดิวแรนซ์ถือแนวคิดเรื่องเวลาของลัทธิปัจจุบันกาลนิยม ดังนั้นข้อโต้เถียงของลิวอิซจึงไม่มีผล ต่อพวกเขา เนื่องจากพวกเขาถือว่าการพูดเกี่ยวกับการมีคุณสมบัติที่มีดัชนีบ่งชี้เวลากากับ สามารถ วิเคราะห์ได้ด้วยความคิดเรื่องการมีคุณสมบัติที่ไม่มีดัชนีบ่งชี้เวลากากับ การที่พวกเขาเต็มใจที่จะ บรรยายวัตถุที่เปลี่ยนแปลงด้วยคุณสมบัติที่มีดัชนีบ่งชี้เวลากากับ จึงไม่ได้บังคับพวกเขาไม่ให้


216

บรรยายมันด้วยคุณสมบัติที่ไม่มีดัชนีบ่งชี้เวลากากับ และที่จริงแล้วการบรรยายแบบแรกถูกเข้าใจ ผ่านการบรรยายแบบหลัง และเนื่องจากเมื่อใดก็ตามที่เราบรรยายวัตถุด้วยคุณสมบัติที่ไม่มีดัชนี บ่งชี้เวลากากับ นักเอ็นดิวแรนซ์ยืนยันให้เราใช้ภาษาอย่างที่บอกการเป็นอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต ดังนั้น พวกเขาก็สามารถอ้างได้ว่าการเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวผ่านการเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องที่ไม่ได้ ขัดแย้งแต่ประการใดกับหลักแห่งการไม่มีความแตกต่างของสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ จะเห็นได้ว่า การโต้ตอบของนักเอ็นดิวแรนซ์ก็คือการเปลี่ยนการโต้ตอบของแพลนทิงกา ต่อลิวอิซในเรื่องปัจเจกข้ามโลกมาเป็นเรื่องของเวลา ในระดับภาพใหญ่ เราสามารถถือว่าแพ ลนทิงกาเถียงว่า ข้อผิดพลาดที่อยู่ในข้อโจมตีแนวคิดเรื่องปัจเจกข้ามโลกโดยลิวอิซ เกิดจากการที่ มันถือว่าลัทธิความเป็นไปได้นิยมเป็นจริง แพลนทิงกายอมรับว่าในบริบทของลัทธิความเป็นไป ได้นิยมการเป็นเอกลักษณ์ของปัจเจกข้ามโลกมีปัญหา แต่เขาก็เถียงว่ามันไม่มีปัญหาเมื่ออยู่ใน บริบทของลัทธิความเป็นจริงนิยม เขาชี้ว่าในกรอบคิดของนักความเป็นจริงนิยม ความคิดว่าสิ่งมี คุณสมบัติที่มีดัชนีชี้โลกกากับสามารถวิเคราะห์อธิบายด้วยความคิดว่ามันมีคุณสมบัติ แบบเปล่าๆ ที่ไม่มีดัชนีชี้โลกกากับ และเขาโต้เถียงว่า เมื่อเราบรรยายความเป็นไปของปัจเจกข้ามโลกในแบบ ของนักความเป็นจริงนิยม คืออย่างที่อ้างอิงถึงแต่เฉพาะคุณสมบัติที่สิ่งนั้นมีอยู่จริงๆ เราก็จะพบว่า ไม่มีความขัดแย้งใดๆ ระหว่างความมีอยู่ของปัจเจกข้ามโลกและหลักแห่งการไม่มีความแตกต่าง ของสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ กลวิธีที่นักเอ็นดิวแรนซ์ใช้ในการตอบโต้กับนักเปอร์ดิวแรนซ์ ในเรื่อง ปัจเจกข้ามเวลา จึงได้มาจากวิธีที่แพลนทิงกาตอบโต้กับลิวอิซในเรื่องของปัจเจกข้ามโลก นั่นเอง

ข้อโต้เถียงสนับสนุนลัทธิเปอร์ดิวแรนทิซมึ เรื่องการเปลี่ยนแปลง ส่วนประกอบ ข้อโต้เถียงที่สองที่นักเปอร์ดิวแรนซ์ใช้ในการสนับสนุนคาอธิบายของพวกเขาในเรื่องการ คงทนผ่านกาลเวลา คือข้ออ้างว่า คาอธิบายของพวกตนสามารถรองรับการที่สิ่งเฉพาะคงทนผ่าน การเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบ ในขณะที่นักเอ็นดิวแรนซ์จะไม่สามารถอธิบายเรื่องนี้ได้อย่าง ไม่มีปัญหา วิทยาศาสตร์บอกว่าตัวผมมีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบอยู่ตลอดเวลา ที่เกิดจากการ สูญเสียอะตอมเก่าในร่างกายและได้รับอะตอมใหม่เข้ามาแทน แต่เราก็เชื่อว่าผมคงทนผ่านการ


217

เปลี่ยนแปลงเช่นนี้ นักเปอร์ดิวแรนซ์อ้างว่ามีแต่คาอธิบายเรื่องการคงทนผ่านกาลเวลาของพวก ตนเท่านั้นที่เข้าได้กับความเชื่อนี้ นักเปอร์ดิวแรนซ์จะสร้างข้อโต้เถียงอะไรขึ้นมารองรับข้ออ้างนี้ ? เราได้เห็นแล้วว่านัก เอ็นดิวแรนซ์สามารถตอบต่อข้อโต้เถียงของลิวอิซเรื่องการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติได้สาเร็จ ดังนั้น การเปลี่ยนข้อโต้เถียงของลิวอิซให้มาเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ ก็ไม่ น่าจะสร้างความยุ่งยากอะไรให้กับนักเอ็นดิวแรนซ์ กล่าวคือ นักเปอร์ ดิวแรนซ์อาจอ้างว่า การที่ สิ่งหนึ่งยังคงเป็นสิ่งเดิมผ่านการเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกับหลักการที่บอก เราว่า ถ้า สิ่ง ก และสิ่ง ข เป็ นสิ่งหนึ่งสิ่งเดีย วกัน ทุกอย่ างที่เป็นส่วนประกอบของ ก ย่อมเป็น ส่ ว นประกอบของ ข และในทางกลั บ กั น ทุ ก อย่ า งที่ เ ป็ น ส่ ว นประกอบของ ข ย่ อ มเป็ น ส่วนประกอบของ ก (เราอาจเรียกหลักการนี้ว่า หลักแห่งการไม่มีความแตกต่างในส่วนประกอบ ของสิ่งที่ เป็นเอกลัก ษณ์ ) ปั ญหาจะไม่ได้อยู่ ที่ว่าหลัก การนี้เป็นจริงหรือเท็จ แม้ถือว่าจริง นัก เอ็นดิวแรนซ์ก็จะตีความหลักการนี้ในแบบของนักปัจจุบันนิยม ในแบบเดียวกับที่พวกเขาตีความ หลักแห่งการไม่มีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ และจะชี้ว่า ถ้าเราใช้ภาษาอย่างที่บอก ว่าเป็นอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต ให้ชัดเจน หลักการดังกล่าวก็จะไม่ขัดแย้งกับการที่สิ่งหนึ่งยังคง เป็นสิ่ง เดิมแม้ ส่วนประกอบของมันจะเปลี่ย นแปลงไป กล่าวคือนักเอ็นดิวแรนซ์จะโต้เถียงว่า แม้ว่านายเอกศักดิ์ของเมื่อวาน และนายเอกศักดิ์ของวันนี้ จะประกอบขึ้นจากอะตอมคนละชุด แต่ มั นก็ ไ ม่ ใ ช่ ก ารที่ นายเอกศั ก ดิ์ทั้ งมีและไม่มีอะตอมชุดหนึ่งในเวลาเดีย วกั น การที่สิ่ง หนึ่งเคย ประกอบขึ้นด้วยอะตอมชุดหนึ่ง และขณะนี้ประกอบขึ้นด้วยอะตอมอีกชุดหนึ่ง เป็นเรื่องของสิ่งที่ เคยจริง และสิ่งที่กาลังเป็นจริง แต่ก็มีข้อโต้เถียงอีกแบบหนึ่งที่อาจสร้างข้อยุ่งยากให้กับนักเอ็นดิวแรนซ์ ซึ่งเสนอขึ้นโดย มารค์ เฮลเลอร์ (Mark Heller)18 แต่เนื่องจากข้อโต้เถียงของเขาไม่เหมาะสาหรับผู้ที่เพิ่งเริ่ม ศึกษา เราจะใช้ข้อโต้เถียงที่ต่างออกไปในบางแง่ แต่ก็ได้รับความคิดหลักๆ มาจากเขา ขอให้เราพิจารณา เดส์การ์ตส์อย่างที่เขาเคยเป็นก่อนเวลา t ซึ่งก่อนเวลา t ดังกล่าว เขามีทุกอย่างที่เป็นส่วนประกอบ ของร่างกายของเขาอย่างครบถ้วน คือมีอวัยวะทุกอย่างที่มนุษย์ปกติพึงมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมือข้าง ซ้าย เพื่อที่จะอ้างอิงถึงเดส์การ์ตส์อย่างที่เขาเคยเป็นก่อนเวลา t ขอให้เราใช้คาว่า “เดส์การ์ตส์ 18

ดู Heller (1990: 2-4 และ 19-20)


218

ก่อน t ” แต่ถ้าเดส์การ์ตส์มีอยู่ก่อน t ก็มีสิ่งอีกอย่างหนึ่งที่ก็มีอยู่ก่อน t เช่นเดียวกัน เราสามารถ เรียกสิ่งนี้ว่าเดส์การ์ตส์ลบ เดส์ การ์ตส์ลบเป็นสิ่งซึ่งมีทุกอย่างที่เดส์การ์ตส์มียกเว้นมือข้างซ้าย เพื่อที่จะอ้างอิงถึงเดส์การ์ตส์ลบอย่างที่เป็นอยู่ก่อนเวลา t ขอให้เราใช้คาว่า “เดส์การ์ตส์ลบก่อน t ” แต่ทว่าเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้น ณ เวลา t ที่ทาให้เดส์การ์ตส์ถูกผ่าตัดและเสียมือข้างซ้ายของเขา ไป เพื่อที่จะหมายเรียกเดส์การ์ตส์ที่เสียมือข้างซ้ายนี้ ขอให้เราใช้คาว่า “เดส์การ์ตส์หลัง t ” ทีนี้ เราทุกคนเชื่อว่าสิ่งสามารถอยู่รอดหลังการสูญเสียบางส่วนของมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราเชื่อว่า มนุษย์สามารถมีชีวิตรอดแม้จะสูญเสียมือข้างซ้าย ถ้าเราเป็นนักเอ็นดิวแรนซ์ เราก็จะตีความการ อยู่รอดนี้ว่าคือการเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน หรือที่เรียกว่าการเป็นเอกลักษณ์ทางจานวน ซึ่งเราก็จะ ถือว่า (1) เดส์การ์ตส์ก่อน t เป็นเอกลักษณ์ทางจานวนกับเดส์การ์ตส์หลัง t แต่เดส์การ์ตส์ไม่ใช่สิ่งเดียวที่อยู่รอด เดส์การ์ตส์ลบก็อยู่รอดด้ วย แน่นอนว่า ไม่มีมือข้าง ซ้ายอยู่ติดกับเดส์การ์ตส์ลบอีกต่อไป แต่นี้ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับการคงอยู่ของเดส์การ์ตส์ลบ ใน แบบเดียวกับที่หนังสือเล่มหนึ่งบนชั้นยังคงมีอยู่แม้หนังสือเล่มที่ติดกันจะถูกหยิบออกไป เดส์การ์ ตส์ลบก็ยังคงมีอยู่หลังการที่มือซ้ายถูกแยกออกไป แล้วถ้าเราเป็นนักเอ็นดิวแรนซ์ เราก็จะตีความ แบบเดิมว่านี่คือการเป็นเอกลักษณ์ทางจานวน ถ้าเราใช้คาว่า “เดการ์ตส์ลบหลัง t ” ในการอ้างถึง เดส์การ์ตส์ลบอย่างที่มันเป็นอยู่หลังการเสียมือซ้าย เราก็ย่อมพูดได้ว่านักเอ็นดิวแรนซ์จะยอมรับ ในความจริงของ (2) เดส์การ์ตส์ลบหลัง t เป็นเอกลักษณ์ทางจานวนกับเดส์การ์ตส์ลบก่อน t ดังนั้น เราจึงมีเดส์การ์ตส์หลัง t และเดส์การ์ตส์ลบหลัง t แต่สิ่งทั้งสองสัมพันธ์กันอย่างที่ กินที่ในอวกาศบริเวณเดียวกัน สร้างขึ้นจากเซล หรือโมเลกุล หรืออะตอม ชุดเดียวกัน ดังนั้นจึงมี ส่วนประกอบทุกส่วนที่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน และไม่ว่าผมจะทาอะไรกับสิ่งหนึ่ง ก็เท่ากับทากับ อีกสิ่งด้วย แต่การพูดเช่นนี้ก็เท่ากับการพูดว่าสิ่งทั้งสองเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน ไม่ใช่คนละสิ่ง ดังนั้นแล้ว ก็ย่อมเป็นจริงว่า (3) เดส์การ์ตส์หลัง t เป็นเอกลักษณ์ทางจานวนกับเดส์การ์ตส์ลบหลัง t


219

ฉะนั้น ถ้าเราเป็นนักเอ็นดิวแรนซ์ เราก็ถูกบังคับให้ถือว่า (1) (2) และ (3) เป็นจริง ทั้งสาม เป็นข้อความที่ว่าด้วยเอกลักษณ์ทางจานวน อย่างไรก็ตาม เอกลักษณ์ทางจานวนมีคุณสมบัติที่ สาคัญทางตรรกะจานวนหนึ่ง หนึ่ง มันเป็นความสัมพันธ์ที่สะท้อนกลับ (reflexive) หมายความว่า สาหรับทุกวัตถุ ก ก เป็นเอกลักษณ์ทางจานวนกับ ก สอง มันเป็นความสัมพันธ์แบบสมมาตร (symmetrical) หมายความว่า ถ้าวัตถุ ก เป็นเอกลักษณ์ทางจานวนกับวัตถุ ข ข ก็จะเป็นเอกลักษณ์ ทางจานวนกับ ก ด้วย สาม มันเป็นความสัมพันธ์แบบส่งผ่าน (transitive) หมายความว่า ถ้า ก เป็น เอกลักษณ์ทางจานวนกับ ข และ ข เป็นเอกลักษณ์ทางจานวนกับ ค ก ก็จะเป็นเอกลักษณ์ทาง จานวนกับ ค ด้วย แต่เมื่อเอกลักษณ์ทางจานวนเป็นสิ่งที่ส่งผ่านกัน ความเป็นจริงของ (1) (2) และ (3) ย่อมทาให้เป็นความจริงตามมาว่า (4) เดส์การ์ตส์ก่อน t เป็นเอกลักษณ์ทางจานวนกับเดส์การ์ตส์ลบก่อน t นั่นก็คือ ถ้าเป็นจริงว่าเดส์การ์ตส์หลัง t เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันกับเดส์การ์ตส์ก่อน t และเดส์การ์ ตส์ลบหลัง t เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันกับเดส์การ์ตส์ลบก่อน t และเดส์การ์ตส์หลัง t เป็นสิ่งหนึ่งสิ่ง เดียวกันกับเดส์การ์ตส์ลบหลัง t ก็ย่อมเป็นจริงว่า เดส์การ์ตส์ก่อน t เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันกับเดส์ การ์ตส์ลบก่อน t ด้วยเช่นกัน ฉะนั้น นักเอ็นดิวแรนซ์จึงถูกบังคับให้ถือว่า (4) จริง ปัญหาก็คือ เรารู้ว่า (4) เป็นเท็จ เอกลัก ษณ์ ท างจานวนไม่ เพี ย งแต่ ส ะท้ อนกลั บ สมมาตรและส่ งผ่ าน แต่ มัน ยั ง หมา ยถึ งการมี คุณสมบัติที่ไม่มีความแตกต่างกันด้วย หลักแห่งการไม่มีความแตกต่างของสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นหลักการที่เป็นจริง นั่นก็คือ เอกลักษณ์ทางจานวนย่อมตามมาด้วยการไม่มีความแตกต่างใน คุณสมบัติ แต่เดส์การ์ตส์ก่อน t และเดส์การ์ตส์ลบก่อน t แตกต่างกันในคุณสมบัติ ฝ่ายหนึ่งมีมือ ซ้ายแต่อีก ฝ่ายหนึ่งไม่มี ฝ่ายหนึ่งมีมวลสารมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองมีรูปร่างต่างกันและ ครอบครองบริเวณของอวกาศที่ต่างกัน หลักแห่งการไม่มีความแตกต่างของสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์จึง บอกเราว่า (5) เดส์การ์ตส์ก่อน t ไม่เป็นเอกลักษณ์ทางจานวนกับเดส์การ์ตส์ลบก่อน t และนักเอ็นดิวแรนซ์ก็ไม่อาจปฏิเสธข้อนี้ได้ แต่แล้วพวกเขาก็ถูกบังคับให้ยอมรับประพจน์ที่ ขัดแย้งกันคือ (4) และ (5)


220

(การที่ เ ดส์ ก าร์ ต ส์ สู ญ เสี ย มื อ ข้ า งซ้ า ยนี้ อาจเปลี่ ย นให้ เ ป็ น การที่ เ ขาสู ญ เสี ย อนุ ภ าค อิเล็คตรอนไปหนึ่งตัว ผลก็จะไม่แตกต่างออกไป เพราะก็เป็ นการสูญเสียส่วนประกอบส่วนหนึ่ง ไปเหมือนๆ กั น ตามการอธิบ ายของนักเอ็นดิวแรนซ์ การที่เดส์การ์ตส์คงอยู่หลังการสูญเสีย อนุภาคอิเล็คตรอนไปหนึ่งตัว จะนาไปสู่ความขัดแย้งในแบบเดียวกับที่เราพบในการที่เขาคงอยู่ หลังการสูญเสียมือข้างซ้าย) แต่นักเปอร์ดิวแรนซ์จะอ้างว่าพวกเขาสามารถอธิบายความสามารถที่สิ่งหนึ่งๆ จะคงอยู่ หลังการสูญเสียส่วนประกอบได้อย่างที่ไม่เกิดความขัดแย้ง เพราะการอธิบายของพวกเขาไม่มีการ ถือล่วงหน้าว่าประพจน์อย่าง (1) และ (2) เป็นจริง ตามการมองของนักเปอร์ดิวแรนซ์ เดส์การ์ตส์ เป็นมวลรวมของส่วนประกอบทางกาลเวลา การคงทนผ่านกาลเวลาของเขาเป็นเรื่องของการมีอยู่ ของส่วนประกอบทางเวลาที่ต่างกัน ณ เวลาต่างๆ ฉะนั้น เดส์การ์ตส์ก่อน t และเดส์การ์ตส์หลัง t จึง เป็ นแค่ส่วนประกอบทางกาลเวลาอย่า งที่ว่า ตามการมองของนัก เปอร์ดิวแรนซ์ การที่เดส์ การ์ตส์มีชีวิตรอดหลังการสูญเสียอวัยวะ ไม่ได้เป็นเรื่องของการเป็นเอกลักษณ์ทางจานวนของเดส์ การ์ตส์ก่อน t และเดส์การ์ตส์หลัง t แต่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่อ่อนกว่านั้น คือเป็นเรื่องของ การที่ชิ้นส่วนทางกาลเวลาทั้งสองเป็นส่วนประกอบของหนอนแห่งกาลอวกาศที่ยาวต่อเนื่องไป หนึ่งตัว และพวกเขาก็เสนอให้ เราเข้าใจการอยู่รอดของเดส์การ์ตส์ลบในแบบเดียวกัน แม้ว่าเดส์ การ์ตส์ลบก่อน t และเดส์การ์ตส์ลบหลัง t จะไม่มีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองก็เป็นคน ละชิ้นส่วนทางกาลเวลาของมวลรวมที่เป็นเดส์การ์ตส์ลบ นักเปอร์ดิวแรนซ์จะอ้างว่ามวลรวมของ เดส์การ์ตส์และมวลรวมของเดสการ์ตส์ลบ มีความสัมพันธ์พิเศษต่อกันอย่างที่ทาให้ (3) เป็นจริง ทั้งสองเป็นมวลรวมที่แม้จะต่างกันแต่ก็มีส่วนประกอบหนึ่งร่วมกัน นั่นก็คือ ทั้งสองเป็นมวลรวม ที่เหลื่อมซ้อนกัน ส่วนประกอบทางกาลเวลาก่อน t ของมวลรวมทั้งสองเป็นคนละสิ่งกัน แต่หลัง t มีสิ่งอยู่สิ่งเดียวที่เป็นส่วนประกอบทางกาลเวลาของมวลรวมทั้งสอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเรียกด้วย สองชื่อ คือ เดส์การ์ตส์หลัง t และเดส์การ์ตส์ลบหลัง t เดส์การ์ตส์และเดส์การ์ตส์ลบจึงเป็น หนอนกาลอวกาศสองตัวที่กลืนเข้าด้วยกันหลัง t ก่อน t มวลรวมทั้งสองกินที่ในกาลอวกาศที่เป็น คนละบริเวณ แต่หลัง t มวลรวมทั้งสองกินที่ในกาลอวกาศที่เป็นบริเวณเดียวกัน ด้วยการปฏิเสธ (1) และ (2) นักเปอร์ดิวแรนซ์ไม่ต้องเผชิญกับความขัดแย้งอย่างที่นัก เอ็นดิวแรนซ์ต้องเจอ แต่จริงหรือไม่ว่านักเอ็นดิวแรนซ์ถูกบังคับให้ต้องยอมรับทั้ง (4) และ (5)


221

พร้อมๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประพจน์ที่สร้างปัญหาอย่าง (4)? จะจริงก็ต่อเมื่อนักเอ็นดิวแรนซ์ ต้องยอมรับความจริงของ (1) ถึง (3) แต่นักเอ็นดิวแรนซ์ทุกคนจะปฏิเสธอย่างน้อยก็ข้อใดข้อหนึ่ง ของ (1) ถึง (3) นักเอ็นดิวแรนซ์บางคนปฏิเสธไปเลยว่าวัตถุไม่สามารถคงความเป็นสิ่งเดียวกันผ่านการ เปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบ 19 พวกเขาถือทัศนะที่เรียกว่า ลัทธิสารัตถะนิยมแบบ mereological ได้แก่ ทัศ นะที่ว่า ไม่ ว่า จะเป็ นส่วนประกอบใดที่วัตถุหนึ่งมี วัตถุนั้นมีส่วนประกอบที่ว่าอย่าง จาเป็นหรืออย่างที่เป็นสารัตถะ นักเอ็นดิวแรนซ์พวกนี้ถือว่าการคงทนผ่านกาลเวลาเป็ นเรื่องของ การเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน (หรือการเป็นเอกลักษณ์ทางจานวน) ของสิ่งที่มีอยู่ ณ เวลาหนึ่งกับสิ่ง ที่มีอยู่ ณ อีกเวลาหนึ่ง และในขณะที่พวกเขายอมรับว่าเป็นไปได้ที่วัตถุจะคงความเป็นสิ่งเดียวกัน ผ่านการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง แต่พวกเขาไม่ยอมรับว่าเป็นไปได้ที่วัตถุจะคงความเป็นสิ่ง เดียวกันผ่านการสูญเสียส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของมันก็ตาม นักปรัชญาพวกนี้จะตอบ โต้ต่อข้อโต้เถียงของเราด้วยการปฏิเสธข้อสมมติฐานที่เป็นจุดเริ่มต้นของมัน แต่พวกเขาจะอธิบายอย่างไร ถึงการที่ผมเชื่อว่าโต๊ะที่ผมกาลังใช้เขียนหนังสืออยู่ตอนนี้ เป็นตัวเดียวกับที่ผมใช้อยู่เมื่อสิบนาทีก่อน แม้ว่ามันได้สูญเสียอะตอมบางส่วนของมันไปก็ตาม? พวกเขาไม่ควรจะตอบว่าผมเชื่อในสิ่งที่ผิดและเชื่อในสิ่งที่ไม่ควรเชื่อ เพราะการที่พวกเขาเชื่อใน ลัทธิเอ็นดิวแรนทิซึมก็เพราะว่ามันเข้าได้อย่างดีกับความเชื่อตามสามัญสานึกของเราในเรื่องการ คงทนผ่านกาลเวลา จึงไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องที่พวกเขาจะปฏิเสธความเชื่อเกือบทั้งหมดของเราใน เรื่องดังกล่าวว่าเป็นความเชื่อที่ผิด คาตอบแบบหนึ่งที่พอจะยอมรับได้มาจากโรเดอริค ชิสโฮล์ม 20 ชิสโฮล์มอ้างว่ามีความหมายที่ต่างกันออกไปสองความหมายอยู่ในการที่เราพูดว่าสิ่ง ก เป็นสิ่ง เดียวกันกับสิ่ง ข คือความหมายแบบ “เข้มงวดและเป็นไปในเชิงปรัชญา” และแบบ “หลวมๆ และ เป็นของคนทั่วไป” ในความหมายแบบ “เข้มงวดและเป็นไปในเชิงปรัชญา” การพูดดังกล่าวคือ การยืนยันเอกลักษณ์ทางจานวนของสิ่งทั้งสอง และชิสโฮล์มอ้างว่านี่เป็นความหมายของ “เป็นสิ่ง เดียวกัน” ที่ใช้อยู่ในข้ออ้างของลัทธิสารัตถะนิยมแบบ mereological ที่ว่า เป็นไปไม่ได้ที่สิ่งที่มีอยู่ หลังการสูญเสียส่วนประกอบจะ “เป็นสิ่งเดียวกัน” กับสิ่งที่มีอยู่ก่อนการสูญเสียส่วนประกอบ 19 20

ดู Chisholm (1973) Ibid.


222

เขายืนยันว่าข้ออ้างนี้ไม่ได้ขัดแย้งกับความเชื่อที่ว่าโต๊ะที่ผมกาลังใช้เขียนหนังสืออยู่ตอนนี้ เป็นตัว เดียวกับที่ผมใช้อยู่เมื่อสิบนาทีก่อน เพราะความเชื่อดังกล่าวใช้ความคิดเรื่องการเป็นสิ่งเดียวกันที่ เป็ นแบบ “หลวมๆ และเป็ นของคนทั่ วไป” ซึ่ งเป็ นความคิ ดที่ใ ช้ ไ ด้โ ดยไม่บัง คับว่ าต้อ งเป็ น เอกลักษณ์ของส่วนประกอบ ตามการมองของชิสโฮล์ม มีสิ่งอันเป็นปฐมภูมิ ได้แก่สิ่งในความหมายแบบ “เข้มงวดและ เป็ นไปในเชิ ง ปรัชญา” และเป็นไปไม่ไ ด้ที่สิ่งพวกนี้จะอยู่รอดหลังการสูญเสีย ส่วนประกอบ มโนคติของเราเกี่ยวกับสสารวัตถุอย่าง โต๊ะ เก้าอี้ ไม่ใช่มโนคติของสิ่งปฐมภูมิ แต่เป็นมโนคติของ ลาดับที่เรียงต่อกัน หรือสายโซ่ ของสิ่งปฐมภูมิ สิ่งที่ควบคู่มากับมโนคติดังกล่าวก็คือเกณฑ์ที่บอก เราว่า เมื่อไรที่เรามีโต๊ะตัวเดียวกัน เก้าอี้ตัวเดียวกัน ในความหมายแบบ “หลวมๆ และเป็นของคน ทั่วไป” เกณฑ์ดังกล่าวจะระบุความสัมพันธ์ที่ต้องมีอยู่ระหว่างสิ่งปฐมภูมิที่อยู่ในสายโซ่หนึ่ง เพื่อที่สายโซ่นั้นจะประกอบขึ้นเป็นสิ่งที่เราเรียกในภาษาปกติว่าเป็นโต๊ะตัวเดียวกัน หรือเก้าอี้ตัว เดียวกัน ดังนั้น สิ่งอย่างโต๊ะ เก้าอี้ มีสถานะเป็นวัตถุก็เพียงจากข้อตกลงหรือธรรมเนียมนิยมที่ รองรั บ การใช้ ค าว่ า “โต๊ ะ ” และ “เก้ า อี้ ” ของเรา พวกมั น เป็ น วั ต ถุ เ พี ย งในความหมายแบบ “หลวมๆ และเป็นของคนทั่วไป” แต่สถานะนั้นก็เพียงพอที่จะรองรับความเชื่อตามสามัญสานึก ของเราว่าโต๊ะและเก้าอี้ยังคงเป็นสิ่งเดิม แม้ว่าส่วนประกอบของมันจะเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม แต่ชิสโฮล์มก็ถือว่า ไม่จริงว่ามโนคติตามปกติทั้งหมดของเรา เป็นมโนคติของสิ่งที่เป็น วัตถุเพียงแต่ในความหมายแบบ “หลวมๆ และเป็นของคนทั่วไป” เขาเถียงว่ามโนคติของความ เป็นบุคคลคนหนึ่งไม่อาจเป็นมโนคติแบบนั้น21 สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจิตของเราแสดงถึงความเป็น หนึ่งเดียวของมโนสานึก ซึ่งมันไม่อาจเป็นเช่นนั้นได้ถ้าเราแต่ ละคนเป็นเพียงแค่สายของสิ่งที่ ไม่ได้เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน เพื่อที่จะอธิบายเอกภาพของประสบการณ์ในมโนสานึกของเรา เรา ต้องตีความบุคคลว่าเป็นสิ่งซึ่งความคงทนผ่านกาลเวลาของมันเป็นเรื่องของเอกลักษณ์ทางจานวน หรือความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน ในความหมายแบบ “เข้มงวดและเป็นไปในเชิงปรัชญา” นั่นก็ คือ เราต้องถือว่า ตลอดชีวิตของเรา เราแต่ล ะคนเป็นสิ่งปฐมภูมิหนึ่งสิ่ง แต่เนื่องจากสิ่งที่ผม เรียกว่าร่างกายของผมซึ่งเป็นการประชุมกันของเลือดเนื้อและกระดูก เปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ ของมันอยู่ตลอดเวลา มันก็ย่อมตามมาว่า ผมเป็นอะไรบางอย่างที่แยกต่างหากจากร่างกายของผม 21

ดู Chisholm (1971)


223

ร่างกายของผมเป็นวัตถุชิ้นหนึ่งเพียงแค่ในความหมายแบบ “หลวมๆ และเป็นของคนทั่วไป” แต่ ผมเป็นวัตถุชิ้นหนึ่งในความหมายแบบ “เข้มงวดและเป็นไปในเชิงปรัชญา” แต่ถ้าผมไม่ใ ช่ร่างกายที่ประกอบขึ้นด้วยอวัยวะต่างๆ แล้วผมเป็นอะไร? ดูเหมือนว่า ความเป็นไปได้หนึ่งก็คือ ผมเป็นสิ่งที่ไม่ใช่สสาร เป็นจิตดวงหนึ่ง ซึ่งไม่มีส่วนประกอบที่อาจ สูญเสียไป แม้เขาจะยอมรับความเป็นไปได้นี้ แต่ชิสโฮล์มก็อ้างว่าเขาถือทัศนะเกี่ยวกับเอกลักษณ์ แห่งบุคคลที่สอดคล้องกับคาอธิบายของนักสสารนิยม ที่อธิบายความเป็นบุคคลด้วยวัตถุกายภาพ22 ซึ่งเขาก็เสนอว่าบุคคลอาจเป็นวัตถุระดับจุลภาคที่ตั้งอยู่ตรงไหนสักแห่งในสมอง ลัทธิสารัตถะ นิยมแบบ mereological ต้องการเพียงแค่ว่าวัตถุดังกล่าวมีส่วนประกอบอะไรก็ตามที่มันมีอยู่ อย่าง ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดชีวิตของตัวบุคคลที่วัตถุนั้นเป็น ด้วยการอธิบายแบบนี้ ชิสโฮล์มจะตอบโต้ต่อข้อโต้เถียงเรื่องเดส์การ์ตส์ ด้วยการอ้างว่าค่า ความจริงของ (1) เดส์การ์ตส์ก่อน t เป็นเอกลักษณ์ทางจานวนกับเดส์การ์ตส์หลัง t จะขึ้นอยู่กับว่า “เดส์การ์ตส์ก่อน t ” และ “เดส์การ์ตส์หลัง t ” บ่งถึงอะไร ถ้าเราเข้าใจว่าคาทั้ ง สองบ่งถึงเดส์การ์ตส์อย่างที่ถือว่าเป็นบุคคลๆ หนึ่งแล้วละก็ (1) ก็จะเป็นจริง เพราะเนื่องจากเดส์ การ์ตส์ไม่ได้เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกับร่างกาย การสูญเสียมือข้างซ้ายจึงไม่มีผลใดๆ กับเอกลักษณ์ ของเขา แต่ชิสโฮล์มก็จะอ้างว่า ด้วยการตีความเช่นนี้ (3) เดส์การ์ตส์หลัง t เป็นเอกลักษณ์ทางจานวนกับเดส์การ์ตส์ลบหลัง t จะกลายเป็นข้อความที่เท็จ เพราะไม่ว่าเดส์การ์ตส์ลบหลัง t จะเป็นอะไร มันก็เป็นมวลสสาร ซับซ้อน ซึ่งเป็นวัตถุชิ้นหนึ่งก็แต่ในความหมายแบบ “หลวมๆ และเป็นของคนทั่วไป” และบุคคล ผู้ซึ่งเป็นเดส์การ์ตส์ก็ไม่ได้เป็นสิ่ งหนึ่งสิ่งเดียวกันกับวัตถุดังกล่าว และชิสโฮล์มจะอ้างว่า ถ้าเรา ตีความ “เดส์การ์ตส์หลัง t ” ในแบบที่ทาให้ (3) เป็นจริง (1) ก็จะกลายเป็นเท็จ นั่นก็คือ ถ้าเรา ตีความคาดังกล่าวว่าบ่งถึงตัวเนื้อหนังร่างกายที่คงอยู่หลังการผ่าตัดแล้วละก็ ไม่ว่าเราจะตีความ “เดส์การ์ตส์ก่อน t ” ว่าบ่งถึงบุคคลผู้ซึ่งเป็นเดส์การ์ตส์ หรือว่าบ่งถึงร่างกายก่อนการผ่าตัด (1) ก็ 22

ดู “Is there a mind-body problem?,” in Chisholm (1989)


224

จะเป็นเท็จทั้งคู่ ร่างกายที่โผล่ออกมาจากห้องผ่าตัดเป็นสิ่งคนละสิ่งกับบุคคลผู้ซึ่งเป็นเดส์การ์ตส์ แต่เนื่องจากมันมีส่วนประกอบน้อยกว่าร่างกายก่อนการผ่าตัด มันก็ไม่ใ ช่สิ่งเดียวกันกับร่างกาย นั้นเช่นกัน ชิสโฮล์มจะพูดว่าไม่ว่าเราจะตีความถ้อยคาที่บ่งถึงสิ่ง ที่อยู่ใน (1) ว่าอย่างไร เราก็จะ ไม่ไ ด้ผลว่าทั้ ง (1) และ (2) และ (3) เป็ นจริงพร้อมกั น ซึ่งเขาก็จะสรุปว่าข้อโต้เถียงเรื่องเดส์ การ์ตส์ของเราไม่อาจแสดงว่านักเอ็นดิวแรนซ์ถูกบังคับให้ต้องยอมรับในความจริงของประพจน์ที่ สร้างปัญหาอย่าง (4) นอกจากคาอธิบายของชิสโฮล์มแล้ว ทฤษฎีเอกลักษณ์ทางจานวนของปีเตอร์ กีช (Peter Geach)23 ก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่นักเอ็นดิวแรนซ์จะหลบเลี่ยงจากการยอมรับใน (4) กีชปฏิเสธ ความคิดที่ว่ามีแนวคิดเรื่องเอกลักษณ์ทางจานวนอยู่แนวคิดเดียวที่ใช้ได้กับทุกสิ่ง เท่าที่ผ่านมาเรา ถือเอาว่า เป็ นเช่ นนั้น เราถือว่ า เอกลัก ษณ์เป็น ความสัมพั นธ์ที่ทุ ก สิ่งมีกั บตัวเอง แต่กี ชอ้างว่ า ประโยคที่ อ ยู่ ใ นรู ป “ก เป็ น สิ่ ง เดี ย วกั บ ข” ขาดความหมายที่ ค รบถ้ ว นในตั ว เอง การจะให้ ความหมายที่สมบูรณ์กับประโยคเช่นนั้นเราต้องตอบคาถามว่า “เป็นสิ่งอะไรเดียวกัน?” และเขา อ้างว่าคาตอบต้องอาศัยคาบอกชนิด (และคาประกอบการนับ) เสมอ เช่น “เป็นบุคคลคนเดียวกัน” “เป็ น สุ นั ข ตั ว เดี ย วกั น ” “เป็ น ปากกาด้ า มเดี ย วกั น ” ส าหรั บ กี ช ทุ ก ค าตอบเหล่ า นั้ น ชี้ ไ ปถึ ง ความสัมพันธ์ที่เป็นเฉพาะตัวของการเป็นเอกลักษณ์ ฉะนั้น จึงมีความสัมพันธ์ของการเป็นบุคคล คน เดียวกัน ความสัมพันธ์ของการเป็นสุนัขตัวเดียวกัน ความสัมพันธ์ของการเป็นโต๊ะตัวเดียวกัน ดังนั้นกีชจึงถือว่ามีความสัมพันธ์ของการเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไปมากมาย สิ่งที่โดด เด่ น เกี่ ย วกั บ ทั ศ นะของเขา ก็ คื อ ความคิ ด ว่ า มั น เป็ น ไปได้ ที่ สิ่ ง ก และสิ่ ง ข จะตั้ ง อยู่ ใ น ความสัมพันธ์เอกลักษณ์ ที่ถูกตัดสินโดยมโนคติของชนิดๆ หนึ่ง แต่ไม่ตั้งอยู่ในความสัมพันธ์ เอกลักษณ์ ที่ถูกตัดสินโดยมโนคติของชนิดอีกชนิดหนึ่ง ทั้งๆ ที่มโนคติหลังก็เป็นจริงกับทั้ง ก และ ข ตัว อย่ า งของสิ่ง ที่ กี ช คิ ด ถึง ก็ คื อ สมมติ ว่า บุค คลคนเดีย วรั้ง ตาแหน่ งทางราชการสอง ตาแหน่ง เขาเป็นทั้งผู้ว่าการธนาคารชาติ และอธิการบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มันก็จะเป็น จริงว่า ผู้ว่าการธนาคารชาติเป็นบุคคลคนเดียวกันกับอธิการบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ ก็ จ ะเป็ น เท็ จ ว่ า ผู้ ว่ า การธนาคารชาติ เ ป็ น ต าแหน่ ง ทางราชการเดี ย วกั น กั บ อธิ ก ารบดี ข อง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากกีชคิดว่าเป็นไปได้ที่สิ่ง ก และสิ่ง ข จะตรงกันตามมโนคติ 23

Geach (1967)


225

เอกลักษณ์หนึ่ง แต่ต่างกันตามมโนคติเอกลักษณ์อีกชนิดหนึ่ง เขาจึงเถียงว่าคุณสมบัติการส่งผ่าน ของความสัมพันธ์เอกลักษณ์ จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อเรากาลังทางานอยู่กับมโนคติเอกลักษณ์ที่เป็น หนึ่งเดียว ฉะนั้น การอ้างเหตุผลที่ว่าสิ่ง ก อยู่ในความสัมพันธ์เอกลักษณ์กับสิ่ง ค เพราะ ก อยู่ใน ความสัมพันธ์เอกลักษณ์กับ ข และ ข อยู่ในความสัมพันธ์เอกลักษณ์กับ ค มีข้อบังคับว่าเราต้องมี ความสัมพันธ์เอกลักษณ์ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทั้งสามกรณี ข้อโต้เถียงเรื่องเดส์การ์ตส์ของเราใช้คุณสมบัติการส่งผ่านของความสัมพันธ์เอกลักษณ์ ในการอนุมาน (4) (ข้ออ้างว่าเดส์การ์ตส์ก่อน t เป็นเอกลักษณ์ทางจานวนกับเดส์การ์ตส์ลบก่อน t) จากข้ออ้างเอกลักษณ์ (1) (2) (3) แต่ถ้าเรายอมรับทัศนะเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของกีช เราก็ต้องถือว่า ข้ออ้างทั้งสามแต่ละข้อมีความหมายที่ไม่ครบถ้วน เพื่อที่จะได้ความหมายที่ครบถ้วน เราต้องระบุ อย่างจาเพาะเจาะจงลงไปว่าข้ออ้างแต่ละข้อทั้งสามเป็นความสัมพันธ์เอกลักษณ์อะไร และข้ออ้ าง ของกีชเกี่ยวกับการส่งผ่านของเอกลักษณ์ บอกเราว่าเราจะสามารถอนุมาน (4) จาก (1) – (3) ได้ก็ ต่อเมื่อมีความสัมพันธ์เอกลักษณ์ที่เป็นอย่างเดียวกันในข้ออ้างทั้งสาม แต่ดูเหมือนว่าเราจะไม่มีความสัมพันธ์เอกลักษณ์ที่เป็นหนึ่งเดียวกันดังกล่าว ข้ออ้าง (1) บอกว่าเดส์การ์ตส์หลัง t เป็นสิ่งเดียวกันกับเดส์การ์ตส์ก่อน t เป็นสิ่งอะไรเดียวกัน? น่าจะคือว่า เป็นบุคคลคนเดียวกัน ข้ออ้าง (2) บอกว่าเดส์การ์ตส์ลบหลัง t เป็นสิ่งเดียวกันกับเดส์การ์ตส์ลบ ก่อน t เป็นสิ่งอะไรเดียวกัน? น่าจะคือว่าเป็นก้อนเนื้อหนังมังสาก้อนเดียวกัน หรือว่ามวลรวม ของเซลชุดเดียวกัน หรือว่ามวลรวมของโมเลกุล หรือว่า อะตอม ชุดเดียวกัน หรือว่าอะไรก็แล้วแต่ และมันก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สมเหตุสมผลที่จะคิดว่า (3) (ข้ออ้างว่าเดส์การ์ตส์หลัง t เป็นสิ่งเดียวกันกับ เดส์การ์ตส์ลบหลัง t) เป็นจริง ไม่ว่าเราจะเข้าใจมันว่าพูดถึง ความสัมพันธ์ของการเป็นบุคคลคน เดียวกัน หรือว่าเป็นเนื้อหนังมังสาก้อนเดียวกัน สิ่งที่ตามมาก็คือ เราจะอนุมาน (4) จาก (1) – (3) ได้ก็ต่อเมื่อหนึ่งในความสัมพันธ์เอกลักษณ์ทั้งสอง สามารถใช้บรรยายหน่วยที่ถูกกล่าวถึงใน (1) และ (2) ได้อย่างเป็นความจริง แต่ไม่ว่าจะใช้ความสัมพันธ์เอกลักษณ์ไหน ก็จะไม่ได้ผลอย่างที่ กล่าว ไม่จริงว่า เดส์การ์ตส์ลบหลัง t เป็นบุคคลเดียวกันกับเดส์การ์ตส์ลบก่อน t เพราะเดส์การ์ ตส์ลบก่อน t ไม่ใช่มนุษย์คนหนึ่งหรือบุคคลคนหนึ่ง แต่เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ ก่อน หน้าการผ่าตัดมีแค่มนุษย์คนหนึ่งและเขามีมือข้างซ้าย แต่ก็ไม่จริงอีกเช่นกันว่าเดส์การ์ตส์หลัง t เป็นกลุ่มก้อนเซลเดียวกันกับเดส์การ์ตส์ก่อน t เพราะถ้าเป็นเรื่องเหมาะสมที่จะเรียกสิ่งทั้งสองว่า


226

กลุ่มก้อนเซล เราก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกไปจากที่จะเรียกสิ่งทั้งสองว่าเป็นคนละกลุ่มก้อนเซล เพราะสิ่งหลังมีเซลมากกว่าสิ่งแรก ดังนั้น ถ้านักเอ็นดิวแรนซ์ยอมรับทัศนะเรื่องเอกลักษณ์ของกีช พวกเขาก็สามารถปฏิเสธ ไม่ยอมรับว่า (4) ตามมาจาก (1) ถึง (3) อีกวิธีหนึ่งในการตอบโต้กับข้อโต้เถียงคือการถือว่า (3) ไม่เป็นจริง โดยอ้างจากความเข้าใจง่ายๆ ว่า เนื่องจากเดส์การ์ตส์หลัง t และเดส์การ์ตส์ลบหลัง t มี ประวัติความเป็นมาที่ต่างกัน ทั้งสองจึงไม่อาจเป็นสิ่งเดียวกันได้ เดส์การ์ตส์หลัง t เป็นสิ่งที่ครั้ง หนึ่งเคยมีมือซ้าย แต่เดส์การ์ตส์ลบหลัง t ไม่เคยมีมือซ้าย เดส์การ์ตส์หลัง t เป็นสิ่งที่ครั้งหนึ่งเคย ครอบครองบริเวณของอวกาศ ที่เดส์การ์ตส์ลบหลัง t ไม่เคยครอบครอง แต่สิ่งทั้งสองจะเป็นคน ละสิ่งได้อย่างไรถ้าภายหลัง t สิ่งทั้งสองครอบครองพื้นที่ในอวกาศเดียวกัน ? ผู้เสนอวิธีตอบแบบ นี้ก็จะบอกว่าการคิดว่ามีวัตถุที่ต่างกัน แต่ครอบครองพื้นที่ในอวกาศเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องที่เป็น ปัญหา24 เพราะเราก็เจอปรากฏการณ์แบบนี้อยู่บ่อยๆ ก้อนของสสารที่ประกอบหรือสร้างขึ้นเป็น วัตถุที่เราคุ้นเคย เป็นบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างไปจากวัตถุที่มันสร้างขึ้น แต่กระนั้น ก้อนของ สสารที่สร้างขึ้นเป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง จะครอบครองพื้นที่ในอวกาศเดียวกันกับที่วัตถุนั้นครอบครอง เสมอ ไม่ว่าจะในเวลาใดก็ตาม ฉะนั้น ถ้านักเอ็นดิวแรนซ์ยอมรับความคิดว่ามีวัตถุที่ต่างกันแต่ครอบครองพื้นที่ในอวกาศ เดียวกัน พวกเขาก็สามารถปฏิเสธ (3) ว่าไม่เป็นจริง และหลีกเลี่ยงการถูกบังคับให้ยอมรับใน (4) ไปได้ กลยุทธ์สุดท้ายของนักเอ็นดิวแรนซ์ ก็คือการปฏิเสธว่ามีสิ่งอย่างที่เราเรียกว่าเดส์การ์ตส์ลบ นี่เป็นกลยุทธ์ที่เสนอขึ้นโดยปีเตอร์ แวน อินวาเก็น (Peter Van Inwagen)25 ที่จริงแล้วตัวแวน อิน วาเก็น เองคือคนแรกที่เล่าเรื่องเดส์การ์ตส์ แต่เขาไม่ได้ใช้เรื่องนี้เพื่อสนับสนุนคาอธิบายเรื่องการ คงทนผ่านกาลเวลาของนักเปอร์ดิวแรนซ์ อย่างที่เฮลเลอร์ใช้ เขาใช้มันในฐานะ reductio ad absurdum ของทัศนะที่ว่ามีสิ่งอย่างที่แวน อินวาเก็น เรียกว่า “ชิ้นส่วนที่ประกอบกันขึ้นอย่างไร้ กฎเกณฑ์” ได้แก่สิ่งอย่างเช่น ทั้งหมดของเดส์การ์ตส์ยกเว้นมือข้างซ้าย ข้อสมมติฐานว่ามีสิ่งอย่าง เดการ์ตส์ลบพาไปสู่ความขัดแย้งที่เราพบระหว่าง (4) และ (5) ได้แก่ความขัดแย้งของการถือว่า เดส์การ์ตส์ก่อน t ทั้งเป็นสิ่งเดียวกันและเป็นคนละสิ่งกันกับเดส์การ์ตส์ลบก่อน t ผลของการ 24 25

ดูตัวอย่างใน Wiggins (1980: 30-5) Van Inwagen (1981)


227

ปฏิเสธว่ามีสิ่งอย่างเดส์การ์ตส์ลบก็คือการทาให้ (2) เป็นเท็จ เพราะว่า เนื่องจากข้ออ้างที่เ ป็น ประเด็นอยู่ใน (2) ก็คือข้ออ้างว่า เดส์การ์ตส์ลบก่อน t เป็นเอกลักษณ์กับอะไรที่เหลืออยู่ของเดส์ การ์ตส์หลังการผ่าตัด ความเป็นจริงของมันตั้งอยู่บนการถือว่าจริงไว้ล่วงหน้า ว่าก่อนการผ่าตัด มี สิ่งอย่างที่เป็นส่วนทั้งหมดของเดส์การ์ตส์ยกเว้นมือข้างซ้าย สรุปได้ว่า นักเอ็นดิวแรนซ์มีกลวิธีมากมายที่จะหลบเลี่ยงจากความขัดแย้ง ที่ข้อโต้เถียงที่ แปลงมาจากของเฮลเลอร์อ้างว่าจะเกิดตามมาจากคาอธิบายเรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ ของนักเอ็นดิวแรนซ์ แต่นักเปอร์ดิวแรนซ์ก็จะโต้ อย่างที่เฮลเลอร์ทา ว่ากลวิธีทั้งหมดเป็นสิ่งที่ ขัดแย้งกับสามัญสานึก26 พวกเขาจะโจมตีคาอธิบายเรื่องความเป็นบุคคลของชิสโฮล์ม ด้วยการ เถียงว่ามนุษย์ไม่ใช่จิตวิญญาณ หรือสิ่งระดับจุลภาคประหลาดๆ แต่เป็นสิ่งที่มีเลือดเนื้อแบบที่ กาลังนั่งอยู่ที่โต๊ะ เขียนหนังสืออภิปรัชญา พวกเขาจะเถียงว่าคาอธิบายของกีชขัดแย้งกับความ เข้าใจที่เป็นแกนกลางของตรรกวิทยา ที่ว่ามีมโนคติเรื่องเอกลักษณ์อยู่หนึ่งเดียว ที่สามารถใช้ได้ อย่ า งเป็ นสากล ที่มี คุ ณสมบัติข องการสะท้อน ความสมมาตร การส่งผ่าน และการไม่มีความ แตกต่า งในคุ ณสมบั ติ และพวกเขาจะเถี ย งว่ า การที่แ วน อิ น วาเก็ น ไม่ย อมรับ ว่ ามี ชิ้ นส่ ว นที่ ประกอบกันขึ้นอย่างไร้กฎเกณฑ์ ก็ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ว่า ถ้าเรามีเดส์การ์ตส์นั่งอยู่ข้างหน้าเรา ตอนนี้ เราก็จะมีทั้งหมดของเดส์การ์ตส์อย่างที่ไม่รวมมือข้างซ้ายของเขา ตั้งอยู่ต่อหน้าเรา นักเอ็นดิวแรนซ์ก็จะสวนกลับว่า ที่จริงแล้ว ไม่ใช่ทัศนะของพวกเขา แต่เป็นทัศนะของ นักเปอร์ดิวแรนซ์เองต่างหากที่ขัดกับสามัญสานึกของเรา เช่น พวกเขาจะโจมตีว่า ข้ออ้างของ นักเปอร์ดิวแรนซ์ที่ว่าขอบเขตทางกาลอวกาศของสิ่งเฉพาะเป็นคุณสมบัติสารัตถะของมัน ขัดแย้ง กับความเชื่อที่เราทุกคนมี ตัวอย่างเช่น เราเชื่อว่าเป็นไปได้ที่ฮิตเลอร์จะมีชีวิตยาวกว่าที่เป็นจริงไป อีกหนึ่งวัน เราเชื่อว่าเราแต่ละคนอาจไปอยู่ในที่ต่างไปจากที่ที่เราอยู่จริง นักเอ็นดิวแรนซ์จะชี้ว่า นักเปอร์ดิวแรนซ์ถูกบังคับให้ถือว่าความเชื่อเช่นนี้เป็นเท็จ 27 ซึ่งนักเปอร์ดิวแรนซ์ก็คงพร้อมที่จะ ตอบกลับ และโจมตีก ลับ มาใหม่ด้วยข้อ โต้เถีย งแบบอื่น และดังนั้ นข้อโต้เถีย งในเรื่องนี้ก็ จ ะ เ ห มื อ น กั บ ข้ อ โ ต้ เ ถี ย ง ทุ ก เ รื่ อ ง ใ น ป รั ช ญ า ที่ จ ะ ไ ม่ จ บ ล ง ง่ า ย ๆ .

26

ดู Heller (1990: chaps I and II)

27

ดู Van Inwagen (1981: 134-5)


228

บรรณานุกรม Adams, R. (1974) “Theories of actuality,” Nous; in Loux (1979) Allaire, E. (1963) “Bare particulars,” Philosophical Studies; in Loux (1976a). Anscombe, G.E.M. (1964) “Substance,” Proceedings of the Aristotelian Society, Supp. Vol. Armstrong, D. (1980) “Identity through time,” in Van Inwagen (1980). Armstrong, D. (1989) Universal, Boulder, CO: Westview Press. Ayer, A.J. (1954) “The Identity of indiscernibles,” in Loux (1976a); from A.J. Ayer, Philosophical Essays, London: St Martin’s Press. Bacon, J. (1995) Universals and Property Instances: The Alphabet of Being, Oxford: Blackwell. Bennett, J. (1988) Events and Their Names, Indianapolis: Hackett. Bergmann, G. (1954) The Metaphysics of Logical Positivism, Madison, WI: University of Wisconsin Press. Bergmann, G. (1959) Meaning and Existence, Madison, WI: University of Wisconsin Press. Bergmann, G. (1964) Logic and Reality, Madison, WI: University of Wisconsin Press. Bergmann, G. (1967) Realism, Madison, WI: University of Wisconsin Press. Berkeley, G. (1710) A Treatise Concerning Human Knowledge, Colin Turbayne (ed.) New York: Liberal Arts Press, 1957. Black, M. (1952) “The identity of indiscernibles,” Mind; in Loux (1976a). Bolzano, B. (1837) Theory of Science, Rolf George (ed. and trans.) Oxford: Blackwell, 1972; first published 1837. Bradley, F.H. (1930) Appearance and Reality, Oxford: Oxford University Press. Capitan, W. and Merrill, D. (1964) Metaphysics and Explanation, Pittsburgh: University of Pittsburgh Press. Campbell, K. (1990) Abstract Particulars, Oxford: Blackwell. Cartwright, R. (1962) “Propositions,” in Butler (1962). Castañesda, H.N. (1974) “Thinking and the structure of the world,” Philosophia. Castañesda, H.N. (ed.) (1975) Action, Knowledge, and Reality: Critical Studies in Honor of Wilfrid Sellars, Indianapolis: Bobbs-Merrill. Casullo, A. (1984) “The contingent identity of particulars and universals,” Mind.


229

Carnap, R. (1959) The Logical Syntax of Language, Patterson, NJ: Littlefield, Adams and Co. Chisholm, R. (1971) “Problems of identity,” in Munitz (1971). Chisholm, R. (1973) “Parts as essential to their wholes,” Review of Metaphysics. Chisholm, R. (1976) Person and Object, LaSalle, IL: Open Court. Chisholm, R. (1989) On Metaphysics, Minneapolis: University of Minnesota Press. Church, Alonzo (1956) “Propositions and sentences,” in The Problem of Universals, Notre Dame, IN: University of Notre Dame Press. Cresswell, M. (1972) “The world is everything that is the case,” Australasia Journal of Philosophy; in Loux (1979). Davidson, D. (1980) Essays on Actions and Events, Oxford: Oxford University Press. Davidson, D. and Harman, G. (1972) Semantics of Natural Language, Dordrecht: Reidel. Donagan, A. (1963) “Universal and metaphysical realism,” Monist; in Loux (1976a). Frege, G. (1892) “Sense and reference,” in Geach and Black (1952). Frege, G. (1919) “The thought,” in Klemke (1968). Gale, R. (1967) The Philosophy of Time, Garden City, NY: Doubleday. Gasking, D. (1960) “Clusters,” Australasian Journal of Philosophy. Geach, P. (1967) “identity,” Review of Metaphysics. Geach, P. and Black, M. (1952) Translations from the Philosophical Writings of Gottlob Frege, Oxford: Blackwell. Hamilton, E. and Cairns, H. (eds) (1961) Plato: The Collected Works, New York: Pantheon Books. Haslanger, S. (1989) “Endurance and temporary intrinsic,” Analysis. Heller, M. (1990) The Ontology of Physical Objects, Cambridge: Cambridge University Press. Hintikka, J. (1975) The Intention of Intentionality, Dordrecth: Reidel. Hochberg, H. (1964) “Things and qualities,” in Capitan and Merrill (1964). Hoffman, J. and Rosenkrantz, G. (1994) Substance among Other Categories, Cambridge: Cambridge University Press. Hume, D. (1739) Treatise of Human Nature, L.A. Selby-Bigge (ed.), with revisions by P.H. Nidditch, Oxford: Oxford University Press, 1978. Johnston, M. (1987) “Is there a problem about persistence?,” Proceeding of the Aristotelian Society, Supp. Vol. Kaplan, D. (1975) “How to Russell a Frege Church,” Journal of Philosophy; in Loux (1979). Kim, J. (1993) Supervenience and Mind, Cambridge: Cambridge University Press. Klemke, E. (1968) Essays on Frege, Urbana, IL: University of Illinois Press.


230

Kripke, S. (1963) “Semantical considerations on modal logic,” Acta Philosophica Fennica. Kripke, S. (1971) “Identity and necessity,” in Munitz (1971). Kripke, S. (1972) “Naming and necessity,” in Davidson and Harman (1972). Lemmon, E. (1966) “Sentences, statements, and propositions,” in Williams and Montefiore (1966). LePoidevin, R. and Macbeth, M. (1993) The Philosophy of Time, Oxford: Oxford University Press. Lewis, D. (1972) “General semantics,” in Davidson and Harman (1972). Lewis, D. (1973) Counterfactuals, Cambridge, MA: Harvard University Press. Lewis, D. (1976) “Survival and identity,” in Rorty (1976). Lewis, D. (1986) On the Plurality of Worlds, Oxford: Blackwell. Loux M.J. (1974) Ockham’s Theory of Terms: Part I of Ockham’s Summa Logicae, Notre Dame, IN: University of Notre Dame Press. Loux, M.J. (1976a) Universals and Particulars, 2nd edn, Notre Dame, IN: University of Notre Dame Press. Loux, M.J. (1976b) “The concept of a kind,” Philosophical Studies. Loux, M.J. (1978a) Substance and Attribute, Dordrecht: Reidel. Loux, M.J. (1978b) “Rules, roles, andontological commitments,” in Pitt (1978). Loux, M.J. (1979) The Possible and the Actual, Ithaca, NY: Cornell University Press. McKeon, R. (1929) Selections from Medieval Philosophers, 2 vols, New York: Scribner’s. McKeon, R. (1941) The Basic Works of Aristotle, New York: Random House. Martin, C.B. (1980) “Substance substantiated,” Australasian of Philosophy. Mellor, D.H. (1981) Real Time, Cambridge: Cambridge University Press. Mellor, D.H. (ed.) (1990) F.P. Ramsey: Philosophical Papers, Cambridge: Cambridge University Press. Merricks, T. (1994) “Endurance and indiscernibility,” Journal of Philosophy. Moore, G.E. (1953) Some Main Problems in Philosophy, New York: Macmillan. Munitz, M. (1971) Identity and Individuation, New York: New York University Press. Munitz, M. (1973) Logic and Ontology, New York: New York University Press. Oaklander, L.N. and Smith, Q. (eds.) (1994) The New Theory of Time, New Haven, CT: Yale University Press. O’Leary-Hawthrone, J. (1995) “The bundle theory of substance and the identity of indiscernibles,” Analysis. Pears, D.E. (1951) “Universals,” Philosophical Quarterly; in Loux (1976a).


231

Pitcher, G. (1964) Truth, Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall. Pitt, J. (1978) The Philosophy of Wilfrid Sellars, Dordrecht: Reidel. Plantinga, A. (1970) “World and essence,” Philosophical Review; in Loux (1979) Plantinga, A. (1973) “Transworld identity or worldbound individuals,” in Loux (1979); from Munitz (1973). Plantinga, A. (1974) The Nature of Necessity, Oxford: Oxford University Press. Plantinga, A. (1976) “Actualism and possible worlds,” Theoria; in Loux (1979). Plantinga, A. (1987) “Two concepts of modality,” Philosophical Perspectives. Plato, Parmenides, in Hamilton and Cairns (1961). Prior, A. (1971) Objects of Thought, P. Geach and A. Kenny (eds) Oxford: Oxford University Press. Puttnam, H. (1975) “The meaning of ‘meaning’,” in Minnesota Studies in the Philosophy of Science, Vol. VII. Quine, W.V. (1947) “The problem of interpreting modal logic,” Journal of Symbolic Logic. Quine, W.V. (1953) “Three grades of modal involvement,” Proceeding of Xth International Congress of Philosophy (Brussels). Quine, W.V. (1954) From a Logical Point of View, Cambridge, MA: Harvard University Press. Quine, W.V. (1960) Word and Object, MA: MIT Press. Ramsey, F.P. (1927) “Facts and propositions,” in Mellor (1990) From Proceedings of Aristotelian Society, Supp. Vol., 1927. Rorty, A. (ed.) (1976) The Identity of Person, Berkeley: University of California Press. Russell, B. (1904) Principles of Mathematics, New York: Norton. Russell, B. (1912) Problem of Philosophy, Oxford: Clarendon Press. Russell, B. (1940) Inquiry into Meaning and Truth, London: Allen and Unwin. Russell, B. (1956) Logic and Knowledge, R. Marsh (ed.) London: Allen and Unwin. Sellars, W. (1963a) Science, Perception, and Reality, London: Routledge and Kegan Paul. Sellars, W. (1963b) “Abstract entities,” Review of Metaphysics; in Loux (1976a). Sellars, W. (1975) “The structure of knowledge II,” in Castañesda (1975). Simons, P. (1994) “Particulars in particular clothing: three trope theories of substance,” Philosophy and Phenomenological Research. Stalnaker, R. (1976) “Possible worlds,” Nous; in Loux (1978a) Strawson, P.E. (1950) “On referring,” Mind. Strawson, P.E. (1959) Individuals, London: Methuen. Van Inwagen, P. (ed.) (1980) Time and Change, Dordrecht: Reidel.


232

Van Inwagen, P. (1981) “The doctrine of arbitrary undetached parts,” Pacific Philosophical Quarterly. Van Inwagen, P. (1990) Material Being, Ithaca, NY: Cornell University Press. Wiggins, D. (1980) Sameness and Substance, Cambridge, MA: Harvard University Press. Williams, B. and Montefiore, A. (1966) British Analytical Philosophy, London: Routledge and Kegan Pual. Williams, D.C. (1951) “The myth of passage,” Journal of Philosophy. Williams, D.C. (1953) “The elements of being I,” Review of Metaphysics. Wittgenstein, L. (1953) Philosophical Investigations, G. E. M. Ascombe (trans.) London: Macmillan. Wittgenstein, L. (1961) Tractatus Logico-Philosophicus, D. Pears and B. McGuiness (trans.) London: Routledge and Kegan Pual. Wolterstorff, N. (1973) On Universals, Chicago: University of Chicago Press.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.