G-Magz Vol.45

Page 1


2

G-MagZ IT MAGAZINE


CONtents

Editor เริ่มต้นปี 2016 กับ Digital Magazine อย่างเต็มรูปแบบกับ G-Magazine ที่อยู่หน้าจอทุกท่าน ณ ขณะนี้ (ทีมบรรณาธิการ หวังเป็นอย่างยิง่ ว่าผูอ้ า่ นจะชืน่ ชอบทีจ่ ะเสพความรูแ้ บบลดภาวะ โลกร้อน และเพิ่มสีเขียวให้กับโลกใบนี้) ฉบับดิจิทัลปฐมฤกษ์นี้ มีการปรับและเพิ่มเนื้อหาที่ให้ความรู้ มุมมองมากขึ้น พร้อมๆ กับบทความทีน่ า่ ติดตามและเพิม่ ขึน้ ซึง่ ได้แก่ Special Story น�ำเสนอเรือ่ งราวไอที ทีก่ ำ� ลังเป็นประเด็นน่าสนใจและน่าจับตามองเป็นพิเศษ รวมถึงคอลัมน์ Guru Talk บทความดีๆ จากกูรดู า้ นไอที นอกจากนีย้ งั มี Idea Info น�ำเสนอ อินโฟกราฟฟิคจาก ข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ และ Inno & Product บอกเล่านวัตกรรม งานวิจัย ของคนไทยทีส่ ามารถน�ำไปใช้กบั ภาคธุรกิจ รวมทัง้ โครงการภาครัฐได้จริง โดยเนือ้ หา ที่ปรับเพิ่มมานี้ล้วนแต่เป็นหัวข้อที่น่าติดตามและพลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง ทีเดียว จากที่เคยได้เกริ่นถึงความส�ำเร็จขององค์กรต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงโดยการท� ำ Digital Transformation เข้ามาสนับสนุนส่วนงานต่างๆ จนถือเป็นเรื่องปกติที่เห็น ได้ทวั่ ไป (หมายถึงการน�ำระบบดิจทิ ลั เข้ามาใช้งานภายในองค์กรให้มากขึน้ ไม่ใช่แค่ การใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต แต่ต้องมีการน�ำระบบไอที ซอฟต์แวร์มาช่วย บริหารจัดการ มีการพัฒนาเว็บไซต์และระบบ e-Commerce ให้ทันสมัยน่าเชื่อถือ ทัง้ นีเ้ พือ่ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันนัน่ เอง) แม้กระทัง่ ในองค์กรเองทีเ่ ปลีย่ น โครงสร้างการบริหารจากการท�ำงานแบบ Silos มาเป็นการท�ำงานแบบ MultiDiscipline เข้าด้วยกัน ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้อยูร่ อดได้ในอนาคตและท�ำงานได้มปี ระสิทธิภาพ มีความรวดเร็ว ดังนั้นกระบวนการใช้ดิจิทัลในทุกๆ หน่วยงานในองค์กรจึงมีความ ส�ำคัญขึ้นมากเพราะต้องรู้จักการใช้เครื่องมือและวิธีการเข้าใจเรื่องดิจิทัลให้มี ประสิทธิภาพ Digital Transformation ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัวแต่อย่างใด แต่ที่น่ากลัวก็คือ การ ไม่รู้จักและไม่ใช้ Digital Transformation มากกว่า เพราะไม่เช่นนั้นจะเรียกว่า อยู่ ยาก หรืออยู่รอดได้ยากก็ได้ เพราะความเข้มข้นของยุคดิจิทัลนับวันก็จะยิ่งเข้มข้น และลึกขึ้นเรื่อยๆ อาทิแนวโน้ม Advanced Machine Learning ที่ก้าวหน้าด้วย การท�ำ Deep Neural Nets (DNNs) ที่พัฒนาไปถึงขั้นกลายเป็นระบบที่สามารถ รับรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ได้ด้วยตัวเอง สามารถจ�ำแนกและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ ในปัจจุบนั โดยอัตโนมัติ และท�ำให้ฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ตา่ งๆ ในอนาคต สามารถ เรียนรูส้ งิ่ ต่างๆ ใน Environment ทีต่ ดิ ตัง้ ใช้งานอยูไ่ ด้อย่างครอบคลุม และจะกลาย เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่องค์กรใช้เสริมขีดความสามารถในการแข่งขันได้ ด้วย Autonomous Agents and Things ท�ำให้เกิดหุ่นยนต์ที่มีความชาญฉลาด ไม่ว่า จะเป็นหุ่นยนต์ ยานยนต์อัตโนมัติ ผู้ช่วยส่วนตัว อาทิเช่น Apple Siri, Google Now, Microsoft Cortana นั้นก็จะมีความฉลาดมากขึ้น และเทคโนโลยีเหล่านี้จะ เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาต่อเนื่องยาวนานอีกหลายสิบปีทีเดียว ส�ำหรับ G-MagZ ฉบับนี้เต็มไปด้วยเรื่องเทคโนโลยีที่สอดแทรกในยุค “Digital” เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้อ่านอยู่กับยุคดิจิทัลได้อย่างเข้าใจ และท้ายนี้ ขอสวัสดีปี หนุมานไฟ ขอให้ FC และผู้อ่าน G-Magz มีความสุข ความส�ำเร็จ สุขภาพกายใจ แข็งแรง แบบลิ้งจุ้งจุ้ง... รุ่งจริงจริง กันทีเดียว...

Wanida T. wanida.t@g-able.com

นิตยสาร IT ราย 3 เดือน ฉบับที่ 45 มกราคม – มีนาคม 2559 Volume 45 January – March 2016 04 IT NEWS 07 G-NEWS 10 Interview

G-ABLE ปักหมุดมุ่งสู่ตลาดอาเซียน ก�ำหนดทิศทางใหม่ “บริการคือสินค้า”

12 Special Story

ค่ายมือถือปี 59 แข่งเดือด

15 Solutions • Disaster Recovery Site on Cloud ไม่ต้องลงทุน-ใช้งานได้ในไม่กี่วัน • ก้าวเข้าสู่ Cloud ด้วยโจทย์ทางธุรกิจ สนองความต้องการให้เป็นเรื่องง่าย

19 Tech&Trend • SPARC M7 Processor นวัตกรรมใหม่

จากออราเคิลโดดเด่นที่ Software in Silicon • Gartner Top 10 Strategic Technology Trends 2016

25 Biz&Consult

Secured Software Development

27 Success story • ก.ล.ต. เลือก Mverge ติดตั้งระบบคลาวด์

เปลี่ยนสู่ยุค Mobile-First, Cloud-First • Cafe Roamer เรายกกาแฟเกรดดีมาไว้บนมือถือ

32 Inno&Product

• “Cafe Roamer” นวัตกรรมใหม่จาก G-ABLE ยกระดับร้านกาแฟสู่โอกาสใหม่ในการดำ�เนินธุรกิจ • TAMIS ระบบสารสนเทศเพื่อเกษตรกรแบบพกพา

35 Green Idea • บทสรุป COP21 : ความท้าทายของประเทศไทย ในการลดภาวะโลกร้อน

38 Guru Talk

• มารู้จักกับ Agile ให้ถ่องแท้ • 4G กับการพัฒนาอุตสาหกรรม โทรคมนาคมไทย

42 Idea Info PwC เผยผลสำ�รวจภูมิทัศน์ความปลอดภัย

ข้อมูล ปี 2016

เทรนด์อาชีพไอที

วีซ่าเพื่อชีวิต

44 คุยกับหมอไอที 46 บันทึกมุมมอง

การสอบถามข้อสงสัยในเรื่องบทความและเรื่องของเทคโนโลยี การบอกรับและการเปลี่ยนที่อยู่ การอนุญาต และพิมพ์ซ�้ำสามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ G-Magazine@g-able.com

จัดท�ำและลิขสิทธิ์ โดย บริษัท จีเอเบิล จ�ำกัด อาคารปัญจธานี ชั้น 25 เลขที่ 127/27, 29-31 ถนนนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 G-ABLE Call Center โทร. +66 (0) 2685-9333 โทรสาร. +66 (0) 2681-0425 www.g-able.com

G-MagZ IT MAGAZINE

3


IT NEWS

ออโตเดสก์ เปิดโครงการใช้ ซอฟต์แวร์ฟรีหนุนสตาร์ทอัพ ออโตเดสก์ เปิดตัว Autodesk Entrepreneur Impact Program ซึง่ เป็นโครงการสนับสนุนบริษทั สตาร์ทอัพทัว่ โลกทีค่ ดิ ค้นและสร้างสรรค์ สิง่ ใหม่ๆ เพือ่ การเปลีย่ นแปลงเชิงบวกในด้านสิง่ แวดล้อมและสังคม ให้ สามารถสมัครรับซอฟต์แวร์ของออโตเดสก์ไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จา่ ย (ตามเงือ่ นไขของออโตเดสก์) เพือ่ ให้มคี วามพร้อมออกสูต่ ลาดได้รวดเร็วขึน้ โดยออโตเดสก์ ได้เปิดตัวโครงการดังกล่าวในประเทศไทยเมื่อเร็วๆ นี้ เจค เลเยส ผู้อำ�นวยการโปรแกรมของบริษัทออโตเดสก์ ซึ่งทำ� หน้าที่รับผิดชอบโครงการ Autodesk Entrepreneur Impact Program กล่าวว่า เราเล็งเห็นแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็วของกลุม่ ผูป้ ระกอบ การทั่วโลก ที่บริษัทสตาร์ทอัพสามารถนำ�เสนอนวัตกรรมประเภทปรับ เปลี่ยนขนาดได้ซึ่งจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อไป “ปัจจุบนั นี้ ผูป้ ระกอบการรุน่ ใหม่ทมี่ ศี กั ยภาพสามารถมาร่วมมือ กันพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะนำ�พาไปสู่เศรษฐกิจแบบปราศจาก

พร้อมหรือยัง เครื่องซักผ้าอัจฉริยะ กำ�ลังจะบุกบ้านคุณแล้ว! ด้วยเทรนด์เทคโนโลยีเรื่อง Internet of Things ที่ว่าอุปกรณ์แทบจะ ทุกชิ้นในโลกนี้จะสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพื่อเป้าหมายบางอย่าง และนี่ก็ใกล้เวลาแล้วที่เราจะได้สัมผัสกับเครื่องซักผ้าอัจฉริยะ ที่สามารถ แจ้งเตือนและควบคุมได้ผ่านสมาร์ทโฟน ปัญหาของพ่อบ้านแม่บ้านที่ซักผ้าเองคือ ถึงแม้เครื่องซักผ้าจะ ทำ�งานได้เองอัตโนมัตติ งั้ แต่ตน้ จนจบกระบวนการ แต่เราก็ไม่สามารถออก 4

G-MagZ IT MAGAZINE

คาร์ บ อนได้ ซึ่ ง จะช่ ว ยลดปั ญ หาสิ่ ง แวดล้ อ มที่ เ ป็ น ปั ญ หาหนั ก ใน ปัจจุบัน” โดยองค์กรทีจ่ ะมีสทิ ธิส์ มัครรับซอฟต์แวร์ครัง้ นีต้ อ้ งก่อตัง้ มาไม่ถงึ 5 ปี และมีรายได้ต่อปีต�่ำกว่า 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 36 ล้านบาท) โดยองค์กรที่ผ่านเกณฑ์จะสามารถเข้าใช้ซอฟต์แวร์ได้สูงสุด 3 ซอฟต์แวร์ ได้แก่ Autodesk Product Design Suite Ultimate, Autodesk Fusion 360, และ Autodesk Building Design Suite Ultimate Autodesk Entrepreneur Impact Program ถือเป็นการขยาย ขอบข่ายและรีแบรนด์โปรแกรมเดิมอย่าง Autodesk Cleantech Partner Program ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อปี 2552 และได้ด�ำเนินการในบาง กลุ่มประเทศ โดยคัดสรรบริษัทสตาร์ทอัพที่ออกแบบและสร้างโซลูชั่น ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีที่สะอาด หรือ “คลีนเทคโซลูชั่น” เท่านั้น

ไปเที่ยวนอกบ้านแล้วปล่อยให้เครื่องซักผ้าทำ�งานตามลำ�พังได้ เพราะถ้า เราปล่อยผ้าทิ้งไว้ในเครื่องในขณะที่มันปั่นหมาดเรียบร้อยแล้วเป็นเวลา เกินชั่วโมง ก็อาจจะเกิดความอับชื้นและเกิดเชื้อราบนผ้าได้ หรือในกรณีที่ เราปล่อยผ้าไว้ในเครื่องในขณะที่มันปั่นแห้งเรียบร้อยแล้ว ยิ่งปล่อยทิ้งไว้ นานเท่าไหร่โดยไม่เอาผ้าออกไปตาก ผ้าในเครื่องก็จะเกิดความยับ ทำ�ให้ ต้องมาเสียเวลารีดกันอีก เครื่ อ งซั ก ผ้ า อั จ ฉริ ย ะแก้ ปั ญ หานี้ ใ ห้ คุ ณ ด้ ว ยการแจ้ ง เตื อ น กระบวนการซักในขั้นตอนต่างๆ มายังสมาร์ทโฟนของคุณ และแน่นอนว่า จะมีการเตือนเมื่อปั่นผ้าเสร็จเรียบร้อยพร้อมให้เอาไปตาก แต่ถ้าในขณะ นั้นคุณไม่อยู่บ้าน คุณก็สามารถสั่งให้เครื่องซักผ้าเข้าสู่โหมดพิเศษ ให้ เครื่องปั่นผ้าที่อยู่ในถังซักแบบเบาๆ ทุกๆ 2 นาที เพื่อให้มีอากาศไหลผ่าน ผ้า ช่วยแก้ปัญหาไม่ให้ผ้าเกิดเชื้อราอับชื้น และแก้ปัญหาไม่ให้ผ้ายับได้ ด้วย และเมื่อเครื่องซักผ้ารู้ว่าคุณกลับถึงบ้าน (ตรวจจับได้โดยการที่ สมาร์ทโฟนของคุณชื่อมต่อกับ WiFi ของบ้าน) เครื่องซักผ้าก็จะหยุดโหมด การทำ�งานแบบพิเศษ แล้วเตือนให้คณ ุ มาเอาผ้าไปตากทันที ก็จดั ว่าฉลาด สมกับที่เป็นเครื่องซักผ้าอัจฉริยะ แต่ถ้าจะมีการพัฒนาให้เครื่องเอาผ้าไป ตากได้เอง ชีวิตชาวโลกจะดีขึ้นกว่านี้อีก ข่าวจาก : http://news.thaiware.com/7299.html


IT NEWs

หนุนนวัตกรรม IoT เกิดง่าย NEXCOM เปิดดาวน์โหลด เครื่องมือทดสอบฟรี อีกก้าวหนึ่งของการสนับสนุน Internet of Things (IoT) เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท NEXCOM ได้ทำ�การเปิด NEXCOM IoT Studio ให้ดาวน์โหลดฟรี โดยเป็นเครื่องมือในการปรับตั้งค่าอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านเว็บ ช่วยให้ใช้งาน ระบบได้โดยไม่ต้องเขียนคำ�สั่งทำ�ให้การพัฒนาแอพพลิเคชั่นง่ายขึ้น อเล็กซ์ เผิง ผูจ้ ดั การทัว่ ไป IoT Business Unit ของ NEXCOM กล่าว ว่า NEXCOM IoT Studio ถูกออกแบบขึน้ เพือ่ เป็นเครือ่ งมือปรับตัง้ ค่า ทำ�ให้ นักพัฒนาสามารถออกฟีเจอร์ได้ตามความต้องการ ช่วยลดขั้นตอนการ พัฒนาโดยนักพัฒนาไม่ต้องเขียนโค้ดด้วยมือเป็นพันๆ บรรทัดเมื่อใช้ NEXCOM IoT Studio ในการทดสอบ ซึ่ ง จะเป็ น การสนั บ สนุ น ให้ มี แอพพลิเคชั่น IoT ออกสู่ตลาดได้มากขึ้น ทั้งนี้เมื่อติดตั้ง NEXCOM IoT Studio Agent เข้ากับอุปกรณ์ภาค สนามแล้ว นักพัฒนาสามารถเริ่มสร้างแอพพลิเคชั่นโดยใช้แผงปรับตั้งค่า NEXCOM IoT Studio ผ่านเว็บ ด้วยวิธีง่ายๆ คือ การคลิ๊ก-ลาก-วาง ช่วย ให้นักพัฒนาสามารถกำ�หนดได้ว่าต้องรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง ข้อมูลควร มีการประมวลผลอย่างไร และจะส่งข้อมูลไปที่ใด นอกจากนี้นักพัฒนายัง สามารถตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์และดัดแปลงการปรับตัง้ ค่าอุปกรณ์ ในแผงปรับตั้งค่าได้อีกด้วย โดยนักพัฒนาสามารถเชือ่ มต่ออุปกรณ์ในองค์กรเข้ากับแพลตฟอร์ม บริการคลาวด์ได้อย่างราบรื่นโดยอาศัย API แบบ Pre-Integrated จาก ภายนอก ทำ�ให้สามารถเลือกการทำ�งานเพือ่ ตอบสนองเหตุการณ์ตา่ งๆ ได้ มากขึ้น การบูรณาการนี้ทำ�ให้เกิดช่องทางด่วนไปยังคลาวด์ ผลลัพธ์ก็คือ นักพัฒนาสามารถมุง่ ความสนใจไปทีก่ ารพัฒนาแอพพลิเคชัน่ IoT ทีแ่ ปลก ใหม่โดยไม่ต้องสร้างแอพพลิเคชั่นตั้งแต่เริ่มต้น

ภัยไซเบอร์ปี 2016 ร้ายขึ้น!!

เปลี่ยนเป้าหมายไปยังหน่วยความจำ� รายงานจากแล็บของแคสเปอร์สกี้ โดยทีมวิเคราะห์และ วิจัยระดับโลก เผยถึงแนวโน้มหรือเทรนด์ด้านความปลอดภัย ไซเบอร์วา่ ทิศทางการจูโ่ จมการก่อการร้ายของเหล่านักจารกรรม ในปี 2016 อาจจะไม่ใช่เพียงแค่การสร้างมัลแวร์เพื่อให้แพร่ กระจายจากไฟล์เพียงอย่างเดียว แต่มีแนวโน้มว่าจะขยับขยาย หรือเปลีย่ นรูปแบบเป็นหน่วยความจำ�หรือเมมโมรีแ่ ทน เนือ่ งจาก โดยปกติแล้ว เมมโมรีเ่ ป็นส่วนทีต่ รวจสอบยาก เพราะมีการใช้งาน แบบฉับพลัน เมื่อใช้เสร็จก็จะลบความจำ�นั้นๆ ออกไป ทำ�ให้การ ซ่อนตัวและการตรวจจับทำ�ได้ยากกว่าการตรวจสอบจากไฟล์ ส่วนแรนซัมแวร์ (Ransomware) เป็นมัลแวร์ทจี่ โู่ จมโดยวิธี การเรียกค่าไถ่กม็ กี ารเปลีย่ นแปลงรูปแบบการทำ�งานเช่นกัน โดย สามารถเจาะข้อมูลเข้าไปในชีวิตประจำ�วันได้ผ่านทางระบบ ปฏิบตั กิ ารมือถือ การใช้ธนาคารออนไลน์ผา่ นทางสมาร์ทโฟน หรือ พีซี ในการชำ�ระค่าบริการ หรือทำ�ธุรกรรมทางการเงินต่างๆ นอก เหนือจากนีย้ งั มีแนวโน้มว่าแรนซัมแวร์จะจูโ่ จมระบบรถยนต์ และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างอื่นที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย เช่น ตู้เย็น ทีวี เป็นต้น สำ�หรับในประเทศไทยได้พบแรนซัมแวร์จำ�นวน 28% ซึ่งถือว่ายังมีปริมาณน้อยกว่าประเทศอื่นๆ นอกจากนี้การเติบโตของเหล่ามัลแวร์ยังคงมีมากขึ้น เรือ่ ยๆ ทัง้ นีม้ กี ารพัฒนาตัวเองให้มหี น้าตาคล้ายกับรูปแบบงาน ที่ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ท�ำให้ยากต่อการตรวจจับและค้นหา มีการพัฒนาวิธีการท�ำงานที่ซับซ้อนมากขึ้นเพื่อสร้างความ แนบเนียนในการตรวจค้นหาและจัดการ ดังนั้นผู้ใช้บริการจึง ควรศึกษาความรูอ้ ยูส่ ม�ำ่ เสมอ ขณะทีอ่ งค์กรต่างๆ ก็ควรทีจ่ ะให้ ความรูค้ วามเข้าใจแก่พนักงานอยูต่ ลอดเวลา เพือ่ ลดปัญหาซึง่ อาจจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

G-MagZ IT MAGAZINE

5


IT NEWs ธุรกิจโฆษณาบนมือถือรุกไทยด้วยเล็งเห็นศักยภาพ Xaxis แพลตฟอร์มเทคโนโลยีและสือ่ แบบโปรแกรมแมติกรายใหญ่ทสี่ ดุ ในโลก ประกาศ ขยายธุรกิจ Light Reaction ซึ่งเป็นธุรกิจโฆษณาที่เน้นการวัดผลบนมือถือ เข้าสู่ตลาด อินโดนีเซียและไทย การเปิดตัวครัง้ นีเ้ ป็นการขยายตลาดหลังจากทีป่ ระสบความสำ�เร็จกับการ เปิดสำ�นักงานในประเทศจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน โมเดลการวัดผลของ Light Reaction เกิดจากการรวมความรูค้ วามเข้าใจเชิงวิทยาศาสตร์เกีย่ วกับวิธกี ารทีผ่ ชู้ มจะสามารถรับรู้ เชือ่ มโยง และตอบ สนองต่อโฆษณา เข้ากับแหล่งข้อมูลและระบบการวัดของ Xaxis เพื่อมอบผลลัพธ์ที่เชื่อถือได้ให้แก่แบรนด์ระดับโลกต่างๆ แนวทางที่เน้นผลการตอบ สนองของ Light Reaction ยังเปิดทางให้แบรนด์ตา่ งๆ สามารถวัดเปรียบเทียบผลของแคมเปญโฆษณาทัง้ แบบออนไลน์และออฟไลน์ ซึง่ ช่วยเพิม่ มูลค่า ของแบรนด์ผ่านการทำ�ตลาดแบบดิจิทัลได้ การเปิดสำ�นักงานใหม่สองแห่งนี้พิจารณาจาก จำ�นวนผู้ใช้บริการมือถือในอินโดนีเซียและไทยที่มีจำ�นวนมาก และมีโอกาสในการขยายตัว ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นโอกาสในการทำ�ตลาดบนมือถือด้วยเช่นกัน “จากความสำ�เร็จของ Light Reaction ในภูมิภาคนี้ และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายธุรกิจเชิงรุกทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ในปี 2559 เราจึงตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งกับการเข้าสู่ตลาดไทยและอินโดนีเซีย ด้วยการนำ�เสนอผลิตภัณฑ์เฉพาะด้านและความเชี่ยวชาญที่เรามี ผมเชื่อว่า เราเข้าสู่ตลาดนี้เพื่อเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์โฆษณาบนโทรศัพท์มือถือในทั้งสองประเทศด้วยการส่งมอบผลลัพธ์ที่ผู้โฆษณาต้องการ ในขณะเดียวกันก็ยก ระดับประสบการณ์การรับชมโฆษณาของผู้ใช้มือถือไปพร้อมกันด้วย” Auke Boersma กรรมการผู้จัดการ Light Reaction ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าว

IMC เผยผลสำ�รวจ Cloud ระบุ SaaS มาแรง สถาบันไอเอ็มซี (IMC Institute) ได้ทำ�การวิจัยเชิงสำ�รวจเรื่อง Cloud Computing in Thailand Readiness Survey ปี 2558 เป็นปีที่ สอง เพื่อเป็นแนวทาง และข้อมูลในการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ในองค์กรในประเทศไทย โดยการสำ�รวจกระจายไปยังหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ตั้งแต่ขนาดใหญ่ถึงขนาดเล็ก ซึ่งได้ทำ�การสำ�รวจทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ดร.ธนชาติ นุม่ นนท์ ผูอ้ �ำ นวยการ สถาบันไอเอ็มซี กล่าวว่า จาก การสำ�รวจพบว่าหน่วยงานในประเทศไทยมีความตืน่ ตัวในการใช้ Cloud Computing มากขึ้น หน่วยงานมากกว่าครึ่งหนึ่งมีการทำ�หรือมีแผนที่ใช้ Private Cloud และก็มหี น่วยงานจำ�นวนมากสนใจทีจ่ ะใช้ Public Cloud โดยเฉพาะในส่วนของ SaaS เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้วพบว่าในกรณีของการใช้ Public Cloud หน่วยงานส่วนใหญ่ยังใช้บริการของต่างประเทศ ซึ่งในแง่ของ SaaS จะ เน้นการใช้บริการทางด้าน E-mail, Desktop/Office และ Storage นอกจากนีพ้ บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ระบุวา่ หน่วยงานต่างๆ เห็น ประโยชน์ของการนำ� Cloud Computing มาใช้ในแง่ของการลดค่าใช้ จ่าย ทำ�งานได้อย่างต่อเนื่อง การขยายขนาดของการใช้งานได้รวดเร็ว รวมถึงความมีเสถียรภาพของระบบ แต่ก็มีความกังวลในเรื่องของความ ปลอดภัย การขาดบุคลากร รวมถึงกฎระเบียบที่ไม่เอื้ออำ�นวย

6

G-MagZ IT MAGAZINE

ภาพจาก : สถาบันไอเอ็มซี

นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 56.58 มีแผนงานใช้บริการ Public Cloud โดยสามารถจำ�แนกรายละเอียดความต้องการใช้งานตามรูปแบบ การให้บริการ Cloud Computing หรือ Cloud Service Models ดังนี้ • มีความต้องการใช้บริการรูปแบบ SaaS มากเป็นอันดับที่ 1 คิด เป็นสัดส่วนร้อยละ 92.42 • มีความต้องการใช้บริการรูปแบบ IaaS มากเป็นอันดับที่ 2 คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 58.14 • มีความต้องการใช้บริการรูปแบบ PaaS น้อยที่สุด คิดเป็นสัดส่วน เพียงร้อยละ 43.02 ดังนัน้ ในปี 2558 จะเห็นว่าหน่วยงานต่างๆ ขยับสูเ่ ทคโนโลยี Cloud Computing มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน


G-NEWS

BX จับมือ IBM จัด Tech Talk : Fundamental of Big Data 15 ตุลาคม 2558

G-ABLE โชว์ Solution สุดเจ๋ง ในงาน Technology Update@BBL 8 ตุลาคม 2558

ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู ้ น วั ต กรรมด้ า น Big Data หรื อ Big Data Experience Center (BX) ร่วมกับ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จ�ำกัด จัดกิจกรรม Tech Talk ภายใต้หัวข้อ “Fundamental of Big Data” โดยแชร์เรื่องราวของ Big Data ว่าเป็นการจัดการและการประยุกต์ เครื่องมือต่างๆ จากการวิเคราะห์และการพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ เพือ่ ให้องค์กรสามารถน�ำไปใช้ในการวิเคราะห์ได้ ซึง่ ปัจจุบนั ข้อมูลของ องค์กรมีการเติบโตและมีความซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงต้องตอบสนอง ต่อการเข้าถึงทุกๆ ข้อมูล ทัง้ จากภายใน ภายนอก และการจัดการข้อมูล ที่มาจากช่องทาง Social Media เพื่อน�ำมาใช้ในการวิเคราะห์ที่รวดเร็ว ท� ำ ให้ อ งค์ ก รสามารถน�ำข้อมูลไปใช้ประกอบการตัด สินใจด�ำเนิน กิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกิจกรรมจัดขึน้ ที่ Knowledge Exchange Center มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท จีเอเบิล จ�ำกัด ได้จัดงานสัมมนา G-ABLE Technology Update ให้กับลูกค้าธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัด (มหาชน) โดยในงานได้รบั เกียรติจาก คุณสุนนั ทา ผ่องจิตวัฒนา Vice President กลุ่มงานขาย บริษัท จีเอเบิล จ�ำกัด ขึ้นกล่าวเปิดงาน พร้อมทั้งได้กล่าว ถึงวัตถุประสงค์เพือ่ ต้องการบอกเล่าเรือ่ งราวของการน�ำเทคโนโลยีไอที ที่ทันสมัย รวมถึงโซลูชั่นใหม่ๆ ที่มีส่วนช่วยในการท�ำงานหรือต่อยอด ทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก คุณทิพวรรณ เดวีส Vice President ธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัด (มหาชน) ขึ้นจับสลากมอบรางวัลแก่ผู้โชคดี พร้อมกล่าวปิดงาน โดยบรรยากาศ เต็มไปด้วยความสนุกสนาน อบอุน่ และเป็นกันเอง โดยงานสัมมนาจัด ขึ้นที่ IT Inspiration Corner ชั้น 8 ธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัด (มหาชน) ส�ำนักงานใหญ่ พระราม 3

จีเอเบิล ตอกย�ำ้ มาตรฐานคุณภาพบริการ สู่ความเป็นหนึ่ง 10 พฤศจิกายน 2558 G-ABLE Group ประกาศยืนยันมาตรฐานระบบบริหารงาน คุณภาพ ISO 9001 : 2008 ณ ห้องทานตะวัน ชั้น 25 อาคาร ปัญจธานี ซึง่ ได้รบั การการรับรองอย่างต่อเนือ่ งเป็นครัง้ ที ่ 2 โดยใน ครั้งนี้ได้ก�ำหนดตรวจสอบมาตรฐาน 4 บริษัท ได้แก่ G-ABLE, TCS, Mverge และ First Logic โดยทัง้ หมดได้ผา่ นการรับรองระบบ บริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2008 (Yearly Surveillance – Round 2) จากบริษัท TUV NORD ซึ่งเป็นผู้รับรองจากการประเมินผลการตรวจสอบในครั้งนี้ ทัง้ นี้ บริษทั ฯ ทัง้ หมดทีผ่ า่ นการประเมินได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการรักษามาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพทัง้ ภายใน และภายนอกองค์กร โดยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในขั้นตอนการท�ำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย พร้อมกันนี้ยังตอบสนองความพึงพอใจ ของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ทั้งหมดนี้คือความมุ่งมั่น และความตั้งใจของทีมผู้บริหารและทีมงานที่ต้องการพัฒนาศักยภาพในทุกๆ ด้านของ องค์กรอย่างต่อเนื่องสืบไป ISO 9001: 2008 ระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานสากล (Quality Management System) โดยมุง่ สร้างความพึงพอใจต่อลูกค้า อย่างเป็นระบบ ด้วยการส่งเสริมให้มกี ารน�ำเอาแนวทางการบริหารจัดการด้วยกระบวนการบริหารด้าน คุณภาพ และประสิทธิภาพองค์กร G-MagZ IT MAGAZINE

7


จีเอเบิล สนับสนุน โครงการค้นหาสุดยอดฝีมือ โทรคมนาคมและไอซีทีเฉลิมพระเกียรติครั้งที่ 8 10 พฤศจิกายน 2558 บริษัท จีเอเบิล จ�ำกัด ร่วมกับ มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) กรมพัฒนาฝีมอื แรงงาน กระทรวง แรงงาน คณะอนุกรรมการก�ำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างโทรคมนาคม คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการเฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช และสถาบันวิชาการทีโอที ร่วมจัดโครงการ “ค้นหาสุดยอดฝีมือโทรคมนาคมและไอซีทีเฉลิมพระเกียรติครั้งที่ 8” โดยได้รับเกียรติจากคุณต้อง ศรีคชา – ผู้จัดการส่วนพัฒนาและอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถาบันวิชาการทีโอที บริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) ขึ้นกล่าวเปิดงาน โดยงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 88 พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ทรงมีพระชนมายุครบ 83 พรรษา และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ รวมถึง การส่งเสริมพัฒนาอาชีพด้านโทรคมนาคมและไอซีทีให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในมาตรฐานวิชาชีพ ทั้งนี้การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 สาขา ได้แก่ สาขา Digital Economy และ ICT/Cloud Start Up ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ จะได้รับ เงินรางวัลสูงสุดมูลค่า 50,000 พร้อมทั้งรับเกียรติให้เข้ารับโล่ห์เกียรติยศในงาน 5 ธันวามหาราช โดยมีการคัดเลือกจากผู้เข้าแข่งขัน กว่า 500 คน ทัว่ ประเทศ บรรยากาศของการแข่งขันเต็มไปด้วยความมุง่ มัน่ และการสร้างมิตรภาพทีด่ ที เี่ กิดขึน้ ระหว่างผูเ้ ข้าร่วมโครงการฯ โดยงานจัดขึ้นที่อาคารสโมสร สถาบันวิชาการทีโอที

HP-Mverge โชว์ Cloud Solution ตอบโจทย์ทุกความต้องการ 9 ตุลาคม 2558

TCS โชว์ Collaborative Healthcare Solutions 26-27 พฤศจิกายน 2558

บริษทั เอ็มเวิรจ์ จ�ำกัด หรือ Mverge ร่วมกับ บริษทั ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จํากัด หรือ HP จัดงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “Simplify Your Journey to Cloud” ณ โรงแรมแกรนด์ เซ็นเตอร์พอยต์ เทอร์มนิ อล 21 ภายใน งาน Mverge ได้โชว์ 4 โซลูชั่นคลาวด์ Hybrid Cloud Adoption, Backup on Cloud, Private Cloud และ DR on Cloud เพื่อน�ำผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ เรียนรู้และสัมผัสกับทางเลือกใหม่ด้านระบบคลาวด์ ที่สามารถรองรับได้ทุก ความต้องการ และเพื่อการ เตรียมพร้อมกับความก้าวล�้ำของเทคโนโลยี ในอนาคต นอกจากนี้ HP ยังได้อัพเดทเทคโนโลยีใหม่จาก HP Helion และ HP Converged System พร้อมกับการ Live Demo เพื่อแนะน�ำการใช้งาน และโชว์ประสิทธิภาพด้าน Cloud Solution Used Case ให้กับผู้เข้าร่วม สัมมนาทุกท่านได้สัมผัสนวัตกรรมใหม่ล่าสุดจาก HP กันอย่างใกล้ชิด

บริษทั เดอะ คอมมูนเิ คชัน่ โซลูชนั่ จ�ำกัด (TCS) ร่วมกับ Polycom จัดกิจกรรมออกบูธโชว์เทคโนโลยี Collaborative Healthcare Solutions ส�ำหรับกลุ่มลูกค้าซึ่งประกอบด้วย แพทย์ และผู้ร่วมกิจกรรมการศึกษาทางไกลด้านการแพทย์ โดยอัพเดทเกี่ยวกับเทคโนโลยีการประชุมทางไกลด้านการ แพทย์ และเน้นให้กลุ่มลูกค้าที่เล็งเห็นถึงประโยชน์ โดยทีมผู้ เชี่ยวชาญจาก TCS ได้สาธิตการใช้งาน ทั้งตอบข้อสงสัย พร้อมให้ค�ำแนะน�ำ และให้การดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดทั้ง กิจกรรม ซึ่งงานนี้ได้รับความสนใจจากลูกค้าเป็นอย่างดี โดย กิจกรรมจัดขึ้นที่ชั้น 2 อาคาร ศรีสวรินทิรา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

8

G-MagZ IT MAGAZINE


G-NEWs VERITAS มั่นใจ First Logic พร้อมเปิดตลาดด้าน Information Management ยุคใหม่ 5 ตุลาคม 2558 บริษัท เวอร์ริทัส เทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จ�ำกัด ผูน้ ำ� ด้านการจัดการข้อมูลทีจ่ ะ เกิดขึน้ ใหม่จากการแยกส่วนธุรกิจด้าน Information Management จากไซแมนเทค น�ำโดย Mr. Chi-Ho Chris Lin, Sales Leader, Asia Pacific & Japan Region จั บ มื อ กั บ บริ ษั ท เฟิ ร ์ ส ลอจิ ก จ� ำ กั ด ผู้ให้บริการระบบไอทีที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมกับ ประสบการณ์ในสายงาน Information Management รวมถึงการรับรองจากพาร์ทเนอร์ต่างๆ น�ำโดย คุณไตรรัตน์ ใจส�ำราญ ผูจ้ ดั การทัว่ ไป บริษทั เฟิรส์ ลอจิก จ�ำกัด ได้รบั การแต่งตัง้ เป็น Authorized Distributor (Information Management) พร้อมเป็นผู้ช่วยให้องค์กรได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากขุมพลังแห่งสารสนเทศ ด้วยการใช้ข้อมูลที่สะสมอยู่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุดด้วยโซลูชนั่ ของเวอร์รทิ สั รวมทัง้ ยังสามารถให้คำ� แนะน�ำในการบริหารจัดการโครงสร้างพืน้ ฐานให้เป็นไปอย่างง่ายดาย ต้นทุนต�่ำ และท�ำงานได้ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ สอดรับแนวโน้มการจัดการสารสนเทศในยุคที่เผชิญกับการเติบโตของข้อมูล และ ต้นทุนการจัดการสารสนเทศทีเ่ พิม่ ขึน้ ตลอดเวลา โดยความร่วมมือในครัง้ นีเ้ กิดขึน้ ทีส่ ำ� นักงานของ เฟิรส์ ลอจิกชัน้ 10 อาคาร CDG House

Mverge ผลักดัน Microsoft Solutions ตอบโจทย์ทุกองค์กรเพื่ อ ก้าวสู่ คลาวด์เทคโนโลยีอย่างมั่นคง 17 พฤศจิกายน 2015 บริ ษั ท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จ� ำ กั ด และ บริษัท เอ็มเวิร์จ จ�ำกัด บริษัทในกลุ่ม จีเอเบิล ได้จัดงาน “Better Together on Cloud with Microsoft Solutions by Mverge” โดยน�ำเสนอเทคโนโลยีใหม่จากไมโครซอฟท์มา อัพเดทเทรนด์ไอทีให้กบั กลุม่ องค์กร เพือ่ ให้ตระหนักถึงความ เปลี่ยนแปลงของโลกไอทียุคใหม่และในอนาคต ด้วยการ น�ำเสนอ และโชว์ Live Demo โซลูชั่น Cloud หลากหลาย จากไมโครซอฟท์ให้กับผู้เข้าเยี่ยมชมงาน อาทิ โซลูชั่น การส�ำรองข้อมูล StorSimple (Back Up รูปแบบใหม่จาก ไมโครซอฟท์) สามารถเก็บข้อมูลขององค์กรได้ทงั้ บนดิสก์และบนคลาวด์ชว่ ยให้องค์กรสามารถเข้าถึงระบบข้อมูลได้รวดเร็วและประหยัด พื้นที่ยิ่งขึ้น และ Microsoft Enterprise Mobility Suite (EMS) การบริการรูปแบบ Cloud ในลักษณะ Mobile First Cloud First ท�ำให้ผู้ ใช้บริการสามารถเข้าใช้แอพพลิเคชัน่ ขององค์กรได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีระบบปลอดภัยขัน้ สูง ซึง่ ภายในงานได้รบั ความสนใจจาก กลุ่มตัวแทนองค์กรหลากหลายสาขาที่ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้และได้สัมผัสกับเทคโนโลยีล�้ำยุคนี้ โดยงานจัดขึ้นที่ ชั้น 7 ห้องอินฟินิตี้ โรงแรม เอทัส ลุมพินี

G-MagZ IT MAGAZINE

9


Interview

G-ABLE

ปักหมุดมุ่งสู่ตลาดอาเซียน กำ�หนดทิศทางใหม่

“บริการคือสินค้า”

คุณสุเทพ อุ่นเมตตาจิต กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัทจีเอเบิล

จากพันธกิจ “Transform Business to Digital Economy” ของกลุ่มบริษัทจีเอเบิล (G-ABLE) ที่มุ่งเน้นขับเคลื่อนธุรกิจตามการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้น ซึ่งอยู่ระหว่างการ เปลี่ยนผ่านทุกสิ่งไปสู่ดิจิทัล จีเอเบิลในฐานะผู้ให้บริการด้านไอทีอันดับต้นๆ ของประเทศไทยได้ ทำ�การปรับกระบวนทัศน์ใหม่ โดยการเป็นมากกว่าพันธมิตรของลูกค้า หากแต่มองทะลุไปถึงผล รับปลายทาง คือ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับลูกค้าของลูกค้า ดังนั้นบทบาทของจีเอเบิล จากนี้ไปคือ IT Brands for Life and Business ด้วยการให้บริการโซลูชนั่ ทีจ่ ะเข้ามายกระดับการใช้ชวี ติ ประจำ�วันของผู้คน และการดำ�เนินธุรกิจ ให้ดียิ่งขึ้น ก้าวสู่โลก ดิจิทัลมากขึ้น คุณสุเทพ อุ่นเมตตาจิต กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทจีเอเบิล ให้ สั ม ภาษณ์ กั บ G-Magz ต่ อ พั น ธกิ จ ขององค์ ก รที่ ต้ อ งปรั บ ยุทธศาสตร์การดำ�เนินธุรกิจเพื่อให้เติบโตต่อไปอย่างมั่นคงและ ยั่งยืน ครองความเป็นผู้นำ�ในระดับประเทศ และเตรียมตัวขยาย ธุรกิจไปในระดับอาเซียน “จีเอเบิล ได้ปรับเปลี่ยนทิศทางการดำ�เนินธุรกิจ คือ เปลี่ยน บริการให้เป็นสินค้า แทนการทำ�ธุรกิจแบบเดิมที่เน้นการขาย สินค้าแล้วมีบริการควบคู่ไปด้วย ถ้าอธิบายง่ายๆ คือ ให้บริการ โซลูชั่นแก่ลูกค้า โดยที่ลูกค้าไม่ต้องลงทุนซื้อระบบเอง แต่จะใช้ บริการได้ด้วยการชำ�ระค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน” 10

G-MagZ IT MAGAZINE

สำ � หรั บ แนวทางในการขั บ เคลื่ อ นนั้ น คุ ณ สุ เ ทพ กล่ า วว่ า มี องค์ ป ระกอบหลั ก อยู่ 3 ด้ า น คื อ People, Practice และ Partnership โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เติมเต็ม ความรูค้ วามเชีย่ วชาญ และมุมมองใหม่ๆ และสร้างความร่วมมือ กับพาร์ทเนอร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน ซึ่งหาก ทั้ง 3 ด้านทำ�ได้ดีจะผลักดันให้เกิดแผนงานที่ดี ซึ่งจะนำ�ไปสู่การ ขยายตลาดต่อไป “เราอยากให้จีเอเบิล เป็นแบรนด์ที่มีส่วนในการสร้างพลังให้ชีวิต ประจำ�วันของคนทุกคน ได้สัมผัสกับสิ่งใหม่ๆ ที่ดีกว่า เราอยาก เห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับลูกค้า และประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อลูกค้า ของลูกค้า”

“วงแหวนพันธมิตร” หนุนยุทธศาสตร์

จากแนวทางในการขับเคลือ่ นทัง้ 3 ด้านดังกล่าว จีเอเบิลเดินเครือ่ ง ยุทธศาสตร์เพือ่ ก้าวสูอ่ นาคตอย่างมัน่ คงด้วย “วงแหวนพันธมิตร”


Interview Supplier

G-ABLE

Customer

Domain Expert

R&D

Regulator

ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน เป็นวงแหวนเดียวกัน คือ G-ABLE, Supplier, Customer, R&D (ภาควิชาการ), Regulator (ภาครัฐ) และ Domain Expert (ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ) ตามแนวคิดของ คุณสุเทพ เชื่อว่า องค์ประกอบทั้ง 6 มีการเชื่อมโยง สนับสนุนกันเป็นวงแหวนเดียวกัน ซึง่ จะหนุนนำ�ไปสูก่ ารขับเคลือ่ นเชิงธุรกิจ ทีจ่ ะมีผลต่อการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจดิจทิ ลั (Digital Economy) ต่อไป ทัง้ นี้ เป็นเพราะทั้ง 6 องค์ประกอบถูกหล่อหลอมขึ้นมาให้แข็งแกร่งและมั่นคง เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวหน้าต่อในยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี “ผมเชื่อว่าวงแหวนพันธมิตรนี้จะทำ�ให้เราไปไกลกว่าประเทศไทยในวันนี้ เพราะการเกิ ด ความร่ ว มมื อ จากทุ ก ฝ่ า ยทั้ ง 6 ด้ า นจะทำ � ให้ เ กิ ด แรง ขับเคลื่อนมหาศาล ซึ่งความฝันของผม คือ อยากเห็นบริษัทไอทีของ คนไทยไปขยายตลาดในต่างประเทศด้วยกัน และอยากเห็นบริษัทไอที ขยายไปต่างประเทศทุกประเทศที่ธุรกิจด้านอื่นๆ ขยายไป”

ตำ�แหน่งใหม่-ความท้าทายใหม่

เมื่อราวๆ กลางปี 58 ที่ผ่านมา “คุณสุเทพ อุ่นเมตตาจิต“ ได้รับมอบหมาย ภารกิจใหม่ในตำ�แหน่งที่สูงขึ้น นั่นคือ “กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท จีเอเบิล” ที่มีบริษัทในเครือถึง 8 บริษัท ซึ่งย่อมมาพร้อมกับความท้าทาย ครัง้ ใหม่ทยี่ งิ่ ใหญ่กว่าเดิมหลายทบเท่า โดยคุณสุเทพ มองว่าความท้าทาย ครั้งนี้มีปัจจัยประกอบกัน 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจระดับโลก เศรษฐกิจของประเทศไทย ที่ทั้งสองอยู่ในช่วงที่ไม่ดีนัก ส่วนอีก 2 ปัจจัย คือ ช่วงการเปลีย่ นโฉมเทคโนโลยี ซึง่ หากกำ�หนดเส้นทาง ที่ผิดหรือไม่เท่าทัน ไม่เข้าใจทิศทางเทคโนโลยีก็อาจจะส่งผลเสียต่อการ ดำ�เนินธุรกิจ ปัจจัยสุดท้าย คือ ความสำ�เร็จของจีเอเบิลในช่วงที่ผ่านมา เป็นความท้าทายสำ�หรับตำ�แหน่งกรรมการผู้จัดการจะต้องทำ�ให้สำ�เร็จ เช่นกัน

หากกล่าวย�ำ้ ถึงความท้าทายของการรับต�ำแหน่งใหม่ในครัง้ นี้ สิง่ ทีย่ งิ่ ใหญ่ ที่มีผลมาจากการเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีดังที่กล่าวมานั้น ด้านการปรับ เปลีย่ นทิศทางในการด�ำเนินธุรกิจ ซึง่ หมายถึง “เปลีย่ นบริการให้เป็นสินค้า” บนวิสัยทัศน์ที่ว่า “การเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ที่ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการค้นหาค�ำตอบทีด่ กี ว่า ง่ายกว่า สมเหตุ สมผลมากกว่า ในการใช้ชวี ติ และธุรกิจของผูค้ นในอาเซียน” ย่อมเป็น ประเด็นส�ำคัญของความท้าทายอย่างเลี่ยงไม่ได้

ปูรากฐานธุรกิจสู่เป้าหมายใหม่ “อาเซียน”

จากทิศทางการดำ�เนินธุรกิจทีถ่ กู วางให้เปลีย่ นบริการเป็นสินค้า คุณสุเทพ ได้ถ่ายทอดการขับเคลื่อนองค์กรเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงสั้น กลาง และยาว

ช่วงระยะสั้นเปลี่ยนทัศนคติการดำ�เนินธุรกิจ : โดยมองการดำ�เนินธุรกิจ จากต้นทางถึงผลลัพธ์ปลายทาง นั้นคือ มองจากโจทย์ของลูกค้าไปถึง ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับลูกค้าของลูกค้า ซึ่งจะต้องเข้าใจความต้องการ ของลูกค้าให้ลึกซึ้ง และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ช่วงระยะกลางขยายตลาดใหม่ : ขับเคลื่อนกลยุทธ์ที่มุ่งปิดตลาดใหม่ ด้วยการมองกลุม่ เป้าหมายเป็นสองส่วน คือ ลูกค้าใหม่ และฐานลูกค้าเดิม โดยการนำ�เสนอสินค้าหรือบริการใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของ ลูกค้ากลุ่มนั้นๆ คุ ณ สุ เ ทพ ขยายความว่ า “การขยายไปสู่ ต ลาดใหม่ ห รื อ ลู ก ค้ า ใหม่ เราจะมีบริการรูปแบบใหม่ ซึ่งขณะนี้สิ่งที่เราสนใจคือ การให้บริการ SaaS (Software as a Service) และ Cloud Computing เนือ่ งจากปัจจุบนั ตลาดมีความต้องการบริการในลักษณะดังกล่าว” นอกจากนีค้ ณ ุ สุเทพ ยังกล่าวถึงการพัฒนาบุคลากรภายในจีเอเบิลด้วยว่า “เราต้องสร้างผู้นำ�ใหม่ หรือคนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำ�ในองค์กร ซึ่งจะทำ�การ วางตัวผู้นำ�ให้เป็นรุ่นๆ พร้อมที่จะขึ้นมาบริหารอย่างต่อเนื่องต่อไป”

ช่วงระยะยาวขยายตลาดสูป่ ระเทศในอาเซียน : โดยวางความฝันไว้อกี ราว 3 ปีนับจากนี้ คือ อยากเห็นผู้ให้บริการไอทีมีส่วนร่วมในการดำ�เนินชีวิต ประจำ�วันของคนในภูมิภาคนี้ ซึ่งจะหมายถึงการยกระดับคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น จากทิศทางการดำ�เนินธุรกิจที่เริ่มเข้าสู่การปรับเปลี่ยนสู่เส้นทางบริการ ตามนโยบายใหม่ รวมไปถึงการขยายตลาดใหม่ทั้งในกลุ่มลูกค้าเดิม และ ขยายไปยังลูกค้ากลุม่ ใหม่ๆ ผนวกกับการกำ�หนดเป้าหมายขยายตลาดไป ยังภูมิภาคอาเซียนนั้น ทำ�ให้กลุ่มบริษัทจีเอเบิลคาดหวังว่า เริ่มตั้งแต่ ปี 2559 จะมีอัตราการเติบโตปีละ 10-15% ต่อปีต่อเนื่องกันราว 5 ปี นับจากนี้ไป G

G-MagZ IT MAGAZINE

11


Special Report

ค่ายมือถือปี 59

แข่งเดือด

หลังสิน ่ ความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ้ สุดการประมูลคลืน และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ส่งท้ายปี 2558 เป็นที่ เรียบร้อย ดูเหมือนสงครามการแข่งขันในสมรภูมิ มือถือเมืองไทย จะระอุขึ้นมาทันทีเพราะมีตัวแปร หลายประการเข้ามาเกี่ยวข้อง

เริม่ จากตัวแปรแรก คือการเข้ามาของน้องใหม่ แต่ประสบการณ์ และฐานธุรกิจแน่นปึก้ อย่าง “แจส โมบาย บรอดแบนด์” บริษทั ในเครือจัสมิน อินเตอร์เนชั่น หนึ่งในยักษ์สื่อสารที่อยู่ในวงการ มาช้านาน ตัวแปรที่ 2 ที่จะโหมให้การแข่งขันรุนแรงขึ้น คือ ฐานของผู้ใช้ บริการที่ปัจจุบันมากเกินกว่าจ�ำนวนประชากรอยู่แล้ว เกมการ แข่งขันจึงน่าจะออกมาในรูปของช่วงชิงฐานของลูกค้าเดิม

ในวงการความสมดุลของอุตสาหกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลง สงครามอันดุเดือดในปี 2559 กับการเริ่มต้นเดินหน้าให้บริการ 4G จึงปะทุขึ้น แจส ก่อตั้งโดย พิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด (มหาชน) หรือ JAS บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด (มหาชน) ให้บริการ เทคโนโลยีสื่อสารครบวงจรทั้งในและต่างประเทศ มีบริษัท ในเครืออย่าง บริษัท จัสเทล เน็ตเวิร์ค จ�ำกัด ที่ให้บริการด้าน โครงข่ายด้านโทรคมนาคมทั้งในและต่างประเทศ และบริษัท ทริ ป เปิ ล ที บ รอดแบนด์ จ� ำ กั ด ผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารอิ น เทอร์ เ น็ ต ความเร็วสูง หรือ 3BB

ตัวแปรที่ 3 คือ คลืน่ ความถีท่ มี่ จี �ำกัด แต่ละฝ่ายจ�ำเป็นต้องแข่ง กันเพื่อให้ได้ครอบครองคลื่นความถี่ให้มากที่สุด ตัวแปรที่ 4 คือ พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ความ ต้องการทีห่ ลากหลายมากขึน้ นอกจากต้องสูก้ บั คูแ่ ข่งแล้ว การไล่ ให้ทันความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและการเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ใช่โจทย์ข้อง่ายเลยในยุคนี้ ส่องน้องใหม่ หมายเลข 4 วงการมือถือ “แจส โมบาย บรอดแบนด์” เป็นตัวแปรส�ำคัญในอุตสาหกรรม โทรคมนาคม เพราะเข้าร่วมประมูลทั้งคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ กระทัง่ สามารถช่วงชิงคลืน่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ไปครอบครองได้ส�ำเร็จ ท�ำให้เกิด “โอเปอร์เรเตอร์ รายที่ 4” 12

G-MagZ IT MAGAZINE

คุณพิชญ์ โพธารามิก นอกจากนี้ยังมีธุรกิจผลิตสื่อและคอนเทนต์ โดยเฉพาะสื่อ บันเทิง เพลง ภาพยนต์ เช่น หนังสือแนวปาปารัสซี่ Gossip Star /ธุรกิจภาพยนต์ กับค่าย โมโน-ฟิลม์ /ธุรกิจเพลงเครือโมโนมิวสิค เว็บไซต์เอ็มไทย ช่องทีวีดิจิทัล รวมถึงธุรกิจโมบายที่เป็นผู้ให้ บริการคอนเทนต์ผ่านระบบมือถือ


Special Report การเบนเข็มเข้าสู่การเป็นโอเปอร์เรเตอร์รายที่ 4 ของไทย จึง ไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งยากหากมองถึ ง ฐานธุ ร กิ จ ทางด้ า นสื่ อ สาร และ โทรคมนาคมที่แข็งแรง การก้าวเข้ามาในตลาดโทรศัพท์มือถือ จึงเป็นการขยายอาณาจักรจัสมินให้แข็งแกร่งขึ้น และเป็น โอกาสที่ดีในการต่อยอดธุรกิจการสื่อสาร ด้วยการเข้าร่วม ประมูล คลื่นทั้ง 2 ความถี่ ดังนัน้ การได้ใบอนุญาต 4G เป็นก้าวส�ำคัญของแจสโมบาย ปิด ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี จากเดิมจัสมินมีธุรกิจอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงแบบมีสาย หรือ Fixed Line เท่านั้น แต่ตอนนี้มี อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย หรือ Mobile เข้ามาเสริม ท�ำให้ แข่งขันได้ดีขึ้น พิชญ์ โพธารามิก กล่าวว่า หลังช�ำระเงินงวดแรกและได้รับใบ อนุญาต คาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 ตั้งเป้าปีแรกมีลูกค้า 2 ล้านเลขหมาย จากฐานลูกค้า 3BB และ ก่อนหน้านีไ้ ด้มกี ารท�ำแบบสอบถามกับลูกค้า ถึงความต้องการ ด้านโปรโมชั่น ราคา และความเร็วในการให้บริการกับลูกค้า 3BB ด้วย ทรูหมายมั่นเป็นเบอร์ 1 ส�ำหรับการทุ่มสุดตัวในการประมูลครั้งนี้ ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ให้เหตุผลในการเคาะราคาใบประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึง่ เป็นใบทีเ่ อไอเอสหมายตาไว้เช่นกันว่าคลืน่ 900 เมกะเฮิรตซ์ เป็นคลืน่ ทีม่ ีศักยภาพสูง สามารถให้บริการได้ กว้างไกล เพราะค�ำนวณแล้ว สามารถประหยัดการลงทุนโครงข่าย 4G ให้บริการครอบคลุมร้อยละ 97 ของประชากร ในช่วง 3-5 ปี ข้างหน้า ซึ่งยังไม่รวมคุณภาพแฝงในการให้บริการทะลุทะลวง ภายในอาคาร ตั้งแต่ตึกสูง บ้านเรือนทั่วไป ศุภชัยถึงกับออกปากว่า การตัดสินใจครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีที่สุด ในรอบ 20 ปี โดยทรู จ ะบริ ห ารจั ด การคลื่ น ความถี่ ใ ห้ มี ประสิทธิภาพ ลดความเสีย่ งของการประกอบธุรกิจในระยะยาว และจะสามารถขยายฐานลูกค้าของทรูมูฟเอชที่ก�ำลังเติบโต อย่างต่อเนื่อง โดยได้ตั้งเป้าหมายส่วนแบ่งการตลาดไว้ที่ ร้อยละ 34 ในอีก 5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 20 จาก มูลค่าตลาดรวมโทรคมนาคมอยู่ที่ 2.4 แสนล้านบาท ซึ่งทรูจะ ลงทุนเพิ่มเติมอีก 55,000 ล้านบาท ในอีก 3 ปีข้างหน้านี้ การแข่งขันนับจากนี้ ส�ำหรับทรู จะพึ่งพาสินค้า และบริการที่ดี รวมไปถึงโครงข่ายทีด่ ี ซึง่ การลงทุนในคลืน่ ความถีก่ ถ็ อื เป็นหนึง่ กลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายทีด่ เี พือ่ บริการทีด่ ี นอกจากนี้ ทรูจะ ยังเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทั้งโครงข่ายมีสาย และไร้สาย มีส่วนช่วยผลักดันให้การใช้งาน 4G ในเมืองไทย

คุณศุภชัย เจียรวนนท์ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย จากปัจจุบันที่มีการเติบโตอยู่ที่ ร้อยละ 50-100 ก็จะไปสู่ร้อยละ 100-200 เนื่องจากทุกราย พร้อมที่จะลงสนามแข่ง 4G กันทุกรายแล้ว เอไอเอส เดินแผนส�ำรอง แม้เอไอเอสจะไม่ได้ใบอนุญาตจากการประมูลในครั้งนี้ แต่ เอไอเอสก็ มี แ ผนส� ำ รองไว้ แ ล้ ว ด้ ว ยการจั บ มื อ กั บ ที โ อที พันธมิตรเก่าแก่กว่า 25 ปี ใช้คลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ จ�ำนวน 15 เมกะเฮิ ร ตซ์ เท่ า กั บ ว่ า ตอนนี้ เ อไอเอสมี ค ลื่ น ในมื อ 45 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อรองรับความต้องการใช้งาน ดูแลลูกค้า 38 ล้านราย ซึง่ จะเอือ้ ให้ ทีโอที มีรายได้กว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี ขณะที่เอไอเอสจะมีเสถียรภาพในการให้บริการ 4G มากขึ้น โดยเอไอเอสจะเปิดให้บริการ 4G เต็มรูปแบบ ภายในเดือน มกราคม 2559 เพื่อมุ่งสู่การเป็นดิจิทัล เซอร์วิส โพรวายเดอร์ ตามเป้าหมายของบริษัท

คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส ให้ เหตุผลในการถอนตัวจากการประมูลว่า ราคาใบอนุญาตกว่า 75,000 ล้านบาทเกินวงเงินที่ตั้งไว้ เป็นราคาที่ไม่เหมาะสมต่อ การด�ำเนินธุรกิจ และกระทบต่อการให้บริการ เพราะจะไม่มเี งิน ลงทุนไปขยายโครงข่าย และการปรับปรุงการให้บริการ รองรับ การใช้งานที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันได้ G-MagZ IT MAGAZINE

13


Special Report

คุณลาร์ส นอร์ลิ่ง

ดีแทค ประกาศจะขยาย 4G บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในมุมมองของนักการตลาดและผู้เชี่ยวชาญหลายคนห่วงว่า ดีแทค อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงเกินไปหรือไม่ แม้ว่าดีแทค มีคลื่น ในมือ 3 คลืน่ ความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จ�ำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์/ 850 เมกะเฮิรตซ์ จ�ำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์ และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ จ�ำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ แต่ทั้งสามคลื่นก�ำลังจะหมดสัมปทาน อย่างเร็วที่สุดคือ 3 ปีข้างหน้า แต่ในมุมของ ดีแทค ก็มองว่าหลังจากหมดสัมปทานในปี 2561 เชื่อว่าจะมีการน�ำคลื่นเข้าสู่การประมูลต่อไป ถ้าปล่อยให้ สัมปทานหมดไปโดยไม่ท�ำอะไรก็จะเสียทรัพยากรคลื่นไปโดย เปล่าประโยชน์ ดังนัน้ ในระหว่างนีจ้ งึ มีการขยายเครือข่ายอย่าง ต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้เครือข่ายมีความหนาแน่นขึน้ รองรับการใช้งาน ของผู้บริโภคได้ต่อไป ลาร์ส นอร์ลงิ่ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษทั โทเทิล่ แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ออกมาประกาศจะ ขยาย 4G บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ อีก 2,000 สถานีให้เสร็จ ภายในช่วงต้นปีหน้า จากปัจจุบันมีทั้งหมด 2,200 สถานีฐาน และขยาย 4G บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ให้ครอบคลุมทุก จังหวัดภายในครึ่งปีแรกของปี 2559 และจากการลงทุนใน เครือข่ายเพิ่มท�ำให้ดีแทคปรับเป้าลูกค้า 4G ในปีหน้าเป็น 4.5 ล้านราย จากปัจจุบนั มีลกู ค้าทีใ่ ช้งาน 4G แล้ว 2.2 ล้านราย และคาดว่าจะมีลูกค้าใช้งานดาต้าสูงถึงร้อยละ 80 ของทั้ง เครือข่ายดีแทคภายในปี 2560 จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 60 นอกจากนี้คาดว่า จะมีลูกค้าใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์ มือถือเพิ่มถึงร้อยละ 70 ในปี 2559 และร้อยละ 80 ในปี 2560 และเตรียมพัฒนาเครือข่าย 4G ให้มีความเร็วสูงสุดถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที เพือ่ รองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์ มือถือที่เพิ่มมากขึ้น

14

G-MagZ IT MAGAZINE

นักการตลาดมอง เทหมดหน้าตัก-ก�ำไรลดลง สรรค์ชัย เตียวประเสริฐกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ระบุ ว่ามูลค่าการประมูลกว่า 1 แสนล้านบาททั้งคลื่น 1800 และ คลืน่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ของทรู ท�ำให้ตอ้ งดิน้ รนท�ำทุกวิถที างเพือ่ ดึงลูกค้าเข้ามาใช้บริการให้ได้มากที่สุด เพราะหากไม่สามารถ ดึงลูกค้าเข้ามาใช้บริการได้ ก็เท่ากับว่าการลงทุนกลายเป็นศูนย์ เช่นเดียวกับเอไอเอส / ดีแทค / และแจส ที่ จะเดินเครือ่ งเต็มสูบ ไม่ถอย ไม่มีใครยอมใคร สิ่งที่เราจะได้เห็นต่อไปในปี 2559 เมื่อเริ่มให้บริการ 4G อย่าง เป็นทางการ คือ การแข่งขันด้านราคาแพ็กเกจที่จะต�่ำลง อาจ จะถึง 120 บาท ต่อ 1 GB และการขายเครื่องพ่วงแพ็กเกจ และ ตัวเลขฐานลูกค้าของแต่ละค่ายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง ชัดเจน ดังนั้น ใครที่มีฐานลูกค้ามาก ก็จะมีก�ำไรมาก เพราะใน อนาคต ก�ำไรจากการท�ำธุรกิจโทรคมนาคมจะลดลง แต่หากพูด ถึงบริการใหม่ๆ ที่จะได้เห็นในท้องตลาด นับว่าเป็นไปได้ยาก อุตสาหกรรมโทรคมนาคมจากนี้คาดว่าจะเติบโตไม่ถึงร้อยละ 10 ต่อปี / แม้ตัวเลขการเปิดใช้ซิมใหม่ 5-6 ล้านซิมต่อเดือน แต่ ก็เป็นผู้ใช้บริการรายเดิมที่ยกเลิกซิมเก่าแล้วเปิดซิมใหม่ ส่วนพฤติกรรมการใช้ 2G, 3G และ 4G จะมีสัดส่วนที่เปลี่ยน ไปเช่นกัน แต่ในอนาคตข้างหน้า สัดส่วนการใช้ 2G จะลดลง จนเหลือศูนย์ ใน 3-5 ปี “ดี แ ทค” เป็ น รายเดี ย วที่ พ ลาดคลื่ น ทั้ ง 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ และอีก 3 ปีจะเหลือคลื่นให้บริการเพียงย่านเดียว คือ 2100 เมกะเฮิรตซ์ แม้จะออกมาแถลงข่าวบอกถึงความ เชื่อมั่นด้านธุรกิจในอนาคต แต่นักการตลาดก็มองว่า เป็นไป ได้ที่จะถอนตัวออกจากประเทศไทย เนื่องจากตลาดที่อิ่มตัว อัตราการเติบโตที่ลดลง และก�ำไรที่ลดลง ดังนั้น ตลาดพม่าจึง เป็นที่น่าสนใจมากกว่า เพราะสัดส่วนการใช้โทรศัพท์มือถือใน พม่ายังน้อยกว่าไทยหลายเท่า เอไอเอส มีดที ฐี่ านลูกค้ามากทีส่ ดุ บริการดี เครือข่ายสตรอง แต่ เสียทีค่ า่ บริการแพงกว่ารายอืน่ / ดีแทค มีดที คี่ ลืน่ หลายย่าน ไว้ รองรับลูกค้า แต่ในอนาคต ก็มคี วามสุม่ เสีย่ ง/ทรู ตอนนีเ้ ป็นค่าย ที่รวยคลื่น แต่ยังต้องปรับปรุงเรื่องความเสถียร บริการหลัง การขาย การบริหารต้นทุน และที่ส�ำคัญหนี้สะสมจากครั้งเก่า/ และ แจส โมบาย บอร์ดแบนด์ เป็นรายใหม่ที่เขย่าวงการก็จริง แต่ก็เริ่มต้นด้วยต้นทุนที่สูง และแบนด์วิดท์น้อย จึงต้องเร่งมือ เพือ่ ช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาด ย�ำ้ กันชัดๆ ปีหน้าห�ำ้ หัน่ กันดุเดือด แน่ แต่จะบาดเจ็บล้มตายหรือไม่ต้องติดตาม G


Solutions ธฤษรุตติ์ สุจริตธัญตระกูล Solution Consultant บริษัท เอ็มเวิร์จ จำ�กัด

Disaster Recovery Site on Cloud ไม่ต้องลงทุน-ใช้งานได้ในไม่กี่วัน ในโลกปัจจุบันเป็นยุคของการน�ำเทคโนโลยี และการให้บริการ ระบบ Cloud Computing มาประยุกต์ใช้ในการท�ำงานเชิงธุรกิจ มากยิ่งขึ้น ซึ่งการให้บริการ Cloud Technology มีหลากหลาย รูปแบบ ดังเช่น การให้บริการ Cloud Infrastructure รวมถึง การน�ำเอาระบบ Cloud ไปเพิ่มขนาดหรือความยืดหยุ่นในการ จัดเก็บข้อมูล การน�ำไป Run Application เพื่อเพิ่มความ สามารถให้รองรับ Workload ได้ในหลายรูปแบบ รวมถึงการท�ำ Disaster Recovery Site (DR Site) ซึ่งการประยุกต์ใช้ Cloud Computing ด้านการท�ำระบบ Disaster Recovery Site นั้น เป็นการให้บริการหนึ่งที่ในบทความนี้จะขยายความ ท�ำความ เข้าใจ และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อท่าน ทุกวันนี้ หลายๆ องค์กรเริ่มหันมาสนใจการมีระบบส�ำรอง หรือ สถานที่ส�ำรองไว้ใช้ปฏิบัติงานในกรณีฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเกิดจาก ภัยพิบัติ เหตุการณ์ความเสี่ยงที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ หรือ

จะเป็นเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดจากสถานการณ์บ้านเมือง เองก็ตาม โดยองค์กรมีทางเลือกหลักอยู่ไม่มากนักต่อระบบ ส�ำรอง หรือ DR Site นั่นคือ ทางเลือกเช่า หรือทางเลือก ลงทุนสร้าง ส�ำหรับการลงทุนสร้าง Data Center เองส�ำหรับท�ำเป็น DR Site จ�ำเป็นต้องลงทุนอุปกรณ์เองทั้งหมด ได้แก่ ฮาร์แวร์ต่างๆ เช่น เซิร์ฟเวอร์, สตอเรจ รวมถึงระบบเน็ตเวิร์ค นอกจากนี้ยังมีการ ลงทุนด้านซอฟต์แวร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ด้านการ จัดการ และซอฟต์แวร์อนื่ ๆ ตลอดจนมีความเป็นไปได้ทจี่ ะต้อง เช่า Co-Location ส�ำหรับรองรับระบบขององค์กรนั้นๆ ซึ่งใน ความเป็นจริงองค์กรจะต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็น จ�ำนวนมหาศาล รวมถึงยังต้องสูญเสียเวลา และบุคลากรใน การเตรียม DR Site ขององค์กร โดยยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายแอบ แฝงอื่นๆ ในการบริหารจัดการระบบ Data Center ส�ำรองของ องค์กรอีกด้วย ทำ�ไมต้องมี DR Site? หากถามถึงความจ�ำเป็นของ DR Site ต่อองค์กร ว่าควรจะต้อง มีหรือไม่นนั้ ตอบค�ำคือ ปัจจุบนั ในแต่ละธุรกิจ ล้วนมีการแข่งขัน ที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นการที่องค์กรจะการันตี ระบบในการให้ บริการกับลูกค้าได้ตลอดเวลานัน้ มีความส�ำคัญเป็นอันดับต้นๆ จึงมีความจ�ำเป็นจะต้องมีระบบส�ำรองส�ำหรับป้องกันความเสีย G-MagZ IT MAGAZINE

15


Solutions หายกั บ เหตุ ก ารณ์ ที่ ไ ม่ ส ามารถคาดการณ์ ไ ด้ ที่ อ าจจะเกิ ด ผลกระทบต่อธุรกิจ โดยเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ มีทั้งที่เกิดจากฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์ ซึง่ จะท�ำให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้ จากนัน้ องค์กร จ�ำต้องท�ำการประกาศแผน DR ขึ้น โดยล�ำดับถัดไปก็จะเข้าสู่ การกูค้ นื ระบบและเปิดใช้บริการต่างๆ ขององค์กรผ่านออนไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบผ่านอินเทอร์เน็ตได้ โดยไม่ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจขององค์กร

ประโยชน์ท่จ ี ะได้รับจาก DR Site บนระบบ Public Cloud ค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่ ต�ำ่ กว่าการลงทุนสร้าง DR Site

G-ABLE ให้บริการสร้าง DR Site บน Public Cloud การใช้บริการ DR Site บนระบบ Public Cloud เป็นอีกทางเลือก หนึง่ ทีน่ า่ สนใจในยุคปัจจุบนั เนือ่ งจากจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้ จ่ายด้านการลงทุนสร้างเอง ทั้งจะต้องจัดหาสถานที่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบเน็ตเวิรค์ ดังทีก่ ล่าวไว้ ซึง่ ปัจจุบนั มีผใู้ ห้บริการ Public Cloud (Cloud Provider) หลากหลายราย ทั้งที่อยู่ใน ต่างประเทศ (Global Public Cloud) และในประเทศ (Local Public Cloud) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และเงื่อนไข ข้อก�ำหนดในการท�ำ DR Site ขององค์กรนั้นๆ ปัจจุบนั บริษทั G-ABLE ในฐานะผูใ้ ห้บริการ Enterprise Cloud Solution มีการให้บริการสร้างระบบ DR Site บน Public Cloud หรือที่เรียกว่า DRaaS (Disaster Recovery as a Service) ที่ สมบูรณ์แบบ โดย G-ABLE สามารถให้บริการแบบ End-to-End ตั้งแต่เตรียม Environment ในด้าน Infrastructure Public Cloud ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบเน็ตเวิร์ค และ Facility ต่างๆ ที่สามารถรองรับขนาดของระบบหรือขนาดของ ธุรกิจที่แตกต่างกันได้ รวมถึง Environment ที่จ�ำเป็นส�ำหรับ รองรับระบบ DR Site บน Public Cloud ตลอดจนน�ำเสนอ ซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการการท�ำ Data Replication ระบบ ขององค์กร จาก Site ต้นทาง ไปยัง DR Site ปลายทาง เพื่อให้ สอดคล้องกับ RTO (Recovery Time Objective) และ RPO (Recovery Point Objective) ที่แต่ละองค์กรได้ก�ำหนดเอาไว้ เพื่อการันตี Availability ในการเข้าใช้งานระบบเมื่อเกิดปัญหา เพือ่ ให้องค์กรมัน่ ใจได้วา่ จะสามารถกลับมาใช้งานได้ ณ เวลาใด 16

G-MagZ IT MAGAZINE

ง่าย และรวดเร็ว ในการขึ้นระบบ DR Site บน Public Cloud

สามารถท�ำแผนกู้คืน ระบบจากความเสียหาย แบบอัตโนมัติ

สามารถกู้คืนระบบ และเปิด บริการต่างๆ ได้ตามข้อก�ำหนด ทางธุรกิจ (RTO, RPO) โดย ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงผ่าน อินเทอร์เน็ต

การบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ โดยสามารถตรวจสอบขัน ้ ตอนการ ท�ำงาน ทรัพยากรส�ำหรับการกู้คืน ระบบ รวมถึงตรวจสอบ และประเมิน แผนการกู้คืนระบบได้แบบรวมศูนย์

ทัง้ นีด้ ว้ ย DR Site บนระบบ Public Cloud นอกจากไม่ตอ้ งกังวล ด้านค่าใช้จ่ายแล้ว ยังตัดข้อกังวลเรื่องระยะเวลาในการสร้าง DR Site ออกไปอีกด้วย โดยการเลือกใช้ DR Site บนระบบ Public Cloud นัน้ องค์กรสามารถใช้บริการได้ภายในระยะเวลา เพี ย งไม่ กี่ วั น และง่ า ยในการบริ ห ารจั ด การส� ำ หรั บ ผู ้ ดู แ ล (IT Admin) ที่สามารถท�ำแผนกู้คืนระบบจากความเสียหายได้ แบบอัตโนมัติ และสามารถท�ำการทดสอบแผนการกู้คืนระบบ ทุกขั้นตอนได้แบบอัตโนมัติ หากกลุม่ ธุรกิจใดมีความสนใจ หรือก�ำลังมองหาระบบ DR Site บน Cloud ทางเลือกที่ดีทางหนึ่งคือ G-ABLE โดยสามารถให้ บริ ก ารแบบครบวงจร ตั้ ง แต่ ก ารให้ บ ริ ก ารค� ำ ปรึ ก ษา การ ประยุกต์เพื่อน�ำระบบ DR Site ไปอยู่บน Cloud รวมทั้งร่วมกัน วางแผนเพื่อ Design DR Cloud Solution ให้รองรับและตอบ สนองได้ ต รงกั บ ความต้ อ งการของแต่ ล ะกลุ ่ ม ธุ ร กิ จ ด้ ว ย ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สูงจากทีม G-ABLE G สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่ มเติมได้ท่… ี บริษัท เอ็มเวิร์จ จ�ำกัด Call Center โทร +66(0) 2685 9333 mverge.gcu@g-able.com


Solutions ธฤษรุตติ์ สุจริตธัญตระกูล Solution Consultant บริษัท เอ็มเวิร์จ จำ�กัด

ก้าวเข้าสู่

Cloud ปัจจุบนั องค์กรธุรกิจมีการปรับเปลีย่ นด้านบริการตลอดจนการ จัดการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการ ของผู้ใช้บริการ หรือลูกค้า รวมถึงเพื่อรองรับรูปแบบความ ต้องการทีห่ ลากหลายซึง่ ก�ำลังจะเกิดขึน้ ในอนาคต ดังนัน้ ระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ภายในองค์กรจ�ำเป็นต้องรองรับ หรือ สอดคล้องกับรูปแบบการขับเคลื่อนธุรกิจที่หลากหลายเช่นกัน ความต้องการทีห่ ลากหลายดังกล่าว ท�ำให้ผบู้ ริหารจัดการระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศของแต่ละองค์กรจะต้องปรับเปลี่ยนวิธี บริหารจัดการ หรือเปลี่ยนแปลงระบบไอทีให้ทันกับการด�ำเนิน ธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อวางแผนให้ระบบไอทีภายในองค์กร สอดคล้องกับธุรกิจขององค์กร จากโจทย์ดงั กล่าวท�ำให้ผจู้ ดั การ ระบบไอทีจ�ำเป็นต้องพิจารณา และให้ความส�ำคัญกับปัจจัย ต่างๆ เหล่านี้ 1. Cost – การลงทุนระบบไอที ณ ปัจจุบันต้องใช้เงิน ลงทุ น เป็ น จ� ำ นวนมากในช่ ว งแรก ทั้ ง ด้ า นฮาร์ ด แวร์ แ ละ ซอฟต์แวร์ ดังนั้นการให้บริการ หรือนวัตกรรมใหม่ของธุรกิจ อาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย 2. Time – เวลาเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญในการด�ำเนินธุรกิจ หากระบบไอที พ ร้ อ มที่ จ ะให้ บ ริ ก ารได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว และ

ด้วยโจทย์ทางธุรกิจ สนองความต้องการ ให้เป็นเรื่องง่าย สอดคล้องกับธุรกิจได้ จากในอดีตระยะเวลาในการติดตัง้ ระบบ ไอทีหนึ่งระบบต้องใช้เวลา 3–6 เดือน หรือ 1 ปี ปัจจุบันการ ติดตั้งระบบไอทีจะใช้เวลาเพียงไม่ถึง 1 เดือนเท่านั้น จึงส่งผล ให้ธุรกิจสามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน 3. Elastic – ในปัจจุบันระบบไอที รวมทั้งศูนย์ข้อมูลของ องค์กรมีความยืดหยุ่นขึ้นมาก โดยสามารถท�ำการปรับเปลี่ยน ทั้งการเพิ่ม-ลดทรัพยากรได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการ เพิ่ม-ลด CPU, Memory, Disk, การเพิ่มจ�ำนวนเซิร์ฟเวอร์ ฯลฯ โดยสามารถใช้งานได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง จึงสอดรับกับการ ด�ำเนินธุรกิจในยุคนี้ที่มีความต้องการหลากหลาย 4. Location – การเปิดประชาคมอาเซียนนั้น จะท�ำให้ ธุรกิจ และบริการต่างๆ มีการกระจายไปยังต่างประเทศ หรือ ประเทศเพือ่ นบ้านเพิม่ มากขึน้ ดังนัน้ สถานทีต่ งั้ ศูนย์ขอ้ มูลจะมี ความส�ำคัญต่อการด�ำเนินธุรกิจ เพราะหากสถานที่ตั้งศูนย์ ข้อมูลสามารถให้บริการผูใ้ ช้บริการได้อย่างทัว่ ถึงทัง้ ในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนก็ย่อมจะเป็นผลดีต่อธุรกิจ และบริการในอนาคตอย่างแน่นอน Cloud ตอบโจทย์ความต้องการ ณ ปัจจุบันระบบคลาวด์ (Cloud) ช่วยท�ำลายก�ำแพงที่เกิดขึ้น จากปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น โดยคลาวด์มีบริการให้

G-MagZ IT MAGAZINE

17


Solutions

เลือกหลากหลาย ทัง้ จากผูใ้ ห้บริการในประเทศ และผูใ้ ห้บริการต่าง ประเทศ ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการมีรูปแบบการให้บริการแตกต่างกัน ไป ส�ำหรับการน�ำระบบคลาวด์ไปใช้นั้นมีมุมมองต่างๆ ต่อการ ด�ำเนินธุรกิจ และการเพิ่มศักยภาพขององค์กร ดังต่อไปนี้ Cost Efficiency – การลงทุนระบบคลาวด์มีรูปแบบ Pay Per Use หรือช�ำระค่าบริการแบบรายเดือน การลงทุนใน ช่วงแรกจึงไม่สงู นัก ท�ำให้การตัดสินใจเพือ่ ลงทุนกับบริการ ใหม่เป็นไปได้ง่ายมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถเพิ่มหรือลด ระบบตามการใช้งานที่เกิดขึ้นจริงในองค์กรได้ด้วย

Time to Market – ระบบคลาวด์พร้อมที่จะให้ลูกค้า สามารถเข้ า ไปใช้ ง านได้ ใ นทั น ที โดยการให้ บ ริ ก าร ของ G-ABLE จะเตรี ย มระบบโครงสร้ า งพื้ น ฐาน (Infrastructure), ระบบเครือข่าย (Network) และระบบ ปฏิ บั ติ ก าร ซึ่ ง ลู ก ค้ า หรื อ ผู ้ ใ ช้ บ ริ ก ารสามารถติ ด ตั้ ง แอพพลิเคชั่นอื่นๆ ลงไปบนระบบคลาวด์ได้ทันที จึงช่วย ลดเวลาในการติดตั้งให้เหลือเพียง เดือน สัปดาห์ หรือบาง การประยุกต์ใช้งานสามารถเตรียมระบบให้พร้อมใช้งานได้ เพียงแค่ 1 วันเท่านั้น ส่งผลให้องค์กรสามารถมีระบบที่ รองรับต่อความต้องการของการด�ำเนินธุรกิจได้ทันที High Elastic – ระบบคลาวด์ให้ความยืดหยุ่นทั้งทางด้าน เพิม่ -ลดทรัพยากรในแบบอัตโนมัติ และแบบแมนนวล การ เพิ่ม-ลดสามารถใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง หรือเพียงไม่กี่คลิ๊กก็ สามารถปรับเปลีย่ นได้ทนั ที จึงท�ำให้องค์กรไม่เกิดการเสีย เปล่าต่อการใช้งานทรัพยากร และในขณะเดียวกันยังท�ำให้ องค์กรสามารถรองรับความต้องการใช้งานระบบได้อย่าง ไม่จ�ำกัดอีกด้วย Global Location – ระบบคลาวด์มศี นู ย์ขอ้ มูลเพือ่ ให้บริการ ทัว่ โลก สามารถรองรับธุรกิจของลูกค้าทีก่ ระจายไปยังต่าง ประเทศได้ เช่น กลุม่ ธุรกิจทีต่ อ้ งติดต่อประสานงานหรือให้ บริการลูกค้าทีอ่ ยูต่ า่ งภูมภิ าค เป็นต้น ส�ำหรับระบบคลาวด์ ของ G-ABLE สามารถออกแบบให้ Data Center นั้นไป Operation อยู่ในภูมิภาคที่ใกล้เคียงกับงานที่จะต้องให้ บริการเพื่อให้เกิดความสะดวกและมีประสิทธิภาพในการ ท�ำงานมากที่สุด

18

G-MagZ IT MAGAZINE

จากปัจจัยที่กล่าวมาในหลายมิติ ปัจจุบันทีมของ G-ABLE พร้อมที่ จะให้บริการกลุ่มองค์กรที่มีความสนใจจะน�ำ Cloud Technology (IaaS: Infrastructure as a Service) เข้าไปเริ่มประยุกต์ใช้กับ องค์กร โดย G-ABLE มีบริการตั้งแต่เริ่มต้นด้วยการตรวจสอบ ความต้องการ และท�ำการประเมินปัจจัยทีจ่ ะเกิดผลกระทบเมือ่ เริม่ น�ำระบบคลาวด์เข้าไปใช้งาน รวมถึงช่วยออกแบบโครงสร้างพืน้ ฐาน ของระบบคลาวด์ (Design Cloud Infrastructure) ให้สามารถ ตอบโจทย์ทางธุรกิจของลูกค้าให้ดีที่สุด โดย G-ABLE มีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญสูง ได้รับใบ รองรับหรือ Certificate ด้าน Cloud Computing Technology ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนั้น G-ABLE ยังมีผู้เชี่ยวชาญ ด้านการสร้าง Cloud Environment อีกทั้งยังท�ำการดูแลระบบ ความปลอดภั ย ของข้ อ มู ล ตามมาตรฐานความปลอดภั ย หรื อ Compliant ต่างๆ ที่ธุรกิจแต่ละประเภทจะต้องให้ความส�ำคัญ ส�ำหรับการให้บริการนัน้ G-ABLE สามารถรองรับลูกค้าได้ทงั้ องค์กร ทีม่ คี วามต้องการใช้งานคลาวด์ขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรทีต่ อ้ งการ ใช้ ค ลาวด์ ข นาดใหญ่ เช่ น บางองค์ ก รต้ อ งการเครื่ อ ง Virtual Machine จ�ำนวน 1,000 เครื่อง เป็นต้น นอกจากนี้ G-ABLE ยังให้ บริการ Cloud Storage ในหลายรูปแบบด้วย เช่น ความต้องการใน ด้านขนาดพื้นที่ในการจัดเก็บที่มาก หรือรูปแบบที่ต้องการความ สามารถของ IOPS ที่สูงเป็นพิเศษส�ำหรับรองรับงานเฉพาะทาง ทั้งนี้ทาง G-ABLE ยังพร้อมที่จะช่วยกลุ่มลูกค้าท�ำการทดสอบการ ใช้งานระบบคลาวด์ในระบบปิดที่แยกจากระบบอื่นอย่างชัดเจน เพือ่ ให้ลกู ค้าเข้าใจการน�ำระบบคลาวด์ในแบบ IaaS ไปประยุกต์ใช้ งานกับองค์กรของลูกค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั่นเอง G


Tech&Trend

สมศักดิ์ โอฬารชัชวาล Senior System Engineer บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำ�กัด

SPARC M7 Processor

นวัตกรรมใหม่จากออราเคิล โดดเด่นที่ Software in Silicon SPARC M7 Processor นวัตกรรมด้านโปรเซสเซอร์ออกใหม่ ของออราเคิลชิน้ นี้ มีคณ ุ ลักษณะทีน่ า่ สนใจอยูห่ ลายประการไม่วา่ จะเป็นทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ต่างมีความโดดเด่นมาก ในช่วงเวลานี้ เนื่องจากสามารถตอบสนองต่อความต้องการของ การใช้งานทางด้าน Multicore และ Multithread ได้มากขึ้น

นอกเหนือจากความเร็วที่สูงขึ้นแล้ว SPARC M7 Processor ยังมีคุณสมบัติด้านอื่นๆ ที่ โดดเด่น อาทิ ความสามารถของ Software in Silicon ที่มาพร้อมระบบรักษาความปลอดภัย ข้อมูล, การจัดการฐานข้อมูล และการเพิ่ม ความเร็วให้กบั Java Application ซึง่ คุณสมบัติ ต่างๆ เหล่านี้เป็นพื้นฐานโครงสร้างระบบการ ท�ำงานทีส่ ำ� คัญทางด้านความปลอดภัย ตลอด จนการเพิม่ ประสิทธิภาพ และเพิม่ ศักยภาพของ การท�ำงาน

ท�ำงานทีผ่ ดิ ปกติซงึ่ อาจเกิดจาก Malware และ ซอฟต์แวร์ทที่ ำ� งานร่วมกัน จึงท�ำให้การท�ำงาน มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพทั้ ง ทางด้ า น Throughput Performance, Single Thread Performance, Encryption Bandwidth รวมไปถึง Security in Silicon ที่ ป ระกอบไปด้ ว ยการท� ำ งานของ Silicon Secured Memory, The In-Line Data Decompression, SQL in Silicon (In-Memory Acceleration) และ Accelerated Cryptography (Encryption Acceleration) ศักยภาพของ SPARC M7 Processor ที่กล่าว มาเบื้องต้น เป็นการท�ำงานร่วมกันเป็นอย่างดี กับซอฟต์แวร์ของออราเคิล (Oracle Database, Java Application และ Oracle WebLogic) และระบบปฏิบัติการ Oracle Solaris ซึ่งก่อให้ เกิดระบบงานทีม่ คี วามปลอดภัย คุม้ ค่าต่อการ ลงทุ น รวมไปถึ ง เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพของการ ท�ำงานได้อย่างดีเยีย่ ม ตามทีอ่ อราเคิล กล่าวไว้ คือ Hardware and Software Engineered Together

โดยความสามารถของ Software in Silicon ใน การท� ำ งานร่ ว มกั บ นวั ต กรรม Cache และ ออราเคิลได้น�ำเสนอเทคโนโลยี SPARC M7 เทคโนโลยี Memory ของ SPARC M7 Processor ติดตั้งอยู่บนเครื่องรุ่นต่างๆ ซึ่งเป็น Processor นั้น ได้ปฏิวัติระบบป้องกันการ CPU ตระกูลเดียวกันทุกรุ่น ดังต่อไปนี้

G-MagZ IT MAGAZINE

19


Tech&Trend

• Oracle SPARC T7-1 • Oracle SPARC T7-2 • Oracle SPARC T7-4 • Oracle SPARC M7-8 • Oracle SPARC M7-16 • Oracle SuperCluster M7

โดยปกติแล้วสาเหตุของปัญหาด้านการท�ำงาน ผิ ด พลาดเกี่ ย วกั บ การอ้ า งถึ ง ข้ อ มู ล ที่ อ ยู ่ ใ น Memory นั้นมักจะล่าช้า ซึ่งความซับซ้อนของ ฐานข้ อ มู ล และการพั ฒ นาโปรแกรมที่ มี ผู ้ พัฒนาโปรแกรมหลากหลาย และมีปริมาณ ของจ�ำนวนโปรแกรมอยู่หลายบรรทัด จะมีผล ท� ำ ให้ เ กิ ด ความเสี่ ย งได้ เช่ น เรื่ อ ง Buffer Overflow อาจเป็นสาเหตุท� ำให้องค์กรเกิด Silicon Secured Memory ส� ำ หรั บ Silicon Secured Memory ที่ ม า ความเสี่ยง เป็นต้น พร้อมกับ SPARC M7 Processor จะท�ำการ ตรวจสอบและรายงานผลการท� ำ งานของ ปั จ จุ บั น โปรแกรมประยุ ก ต์ มี ก ารใช้ ง าน Memory ที่ มี ก ารท� ำ งานผิ ด พลาด ท� ำ ให้ หลากหลาย Threads ที่ใช้งานบน Memory โปรแกรมนัน้ หยุดการท�ำงาน หรือการเกิดกรณี ร่วมกัน ซึ่งมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดหรือมีการ แอพพลิเคชั่นเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ใน Memory อ้ า งถึ ง ข้ อ มู ล ใน Memory ผิ ด ต� ำ แหน่ ง ได้ โดยไม่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าต ซึ่ ง รู ป แบบของภาษา เนื่องจากมีการใช้งานแบบสุ่ม ซึ่งจะใช้เวลาใน โปรแกรม เช่น ภาษา C, C++ ทีม่ ชี อ่ งโหว่ทำ� ให้ การแก้ไขปัญหา เช่น ข้อผิดพลาดของข้อมูล Memory มีการอ้างการท�ำงานผิดพลาดของ ที่ ไ ม่ ส ามารถหาสาเหตุ ไ ด้ และการใช้ ง าน Memory แล้วเกิด Buffer Overrun ที่ท�ำให้ ซอฟต์แวร์

20

G-MagZ IT MAGAZINE

แก้ปัญหาได้ยาก ซึ่งกรณีดังกล่าว Silicon Secured Memory จะช่วยลดเวลาในการแก้ไข ปัญหาของ Memory ในการอ้างถึงข้อมูลได้ ผลของความเสี่ยงที่เกิดจากการเข้าถึงข้อมูล ใน Memory คือ Heartbleed Bug ที่เกิดจาก Buffer Over-Read Attack คือข้อมูลที่อยู่ ใน Memory และถู ก โจมตี เ ข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ใน Memory เพือ่ ดู User/Password หรือหมายเลข บัตรที่มีการใช้บริการซึ่งก่อให้เกิดความเสีย หายได้ หากผู้โจมตีได้ข้อมูลเหล่านี้ไป และ Venom ที่เกิดจาก Buffer Over-Write Attack เป็ น การโจมตี ใ นส่ ว นของ Virtualization เพื่อหาข้อมูล Account ที่อยู่ใน Guest OS โดยผ่ า นทาง Virtual FDC (Floppy Disk Controller) และเข้าถึง Hypervisor ของ Host Server และสามารถเข้าถึงผ่านระบบ เน็ตเวิร์คต่อไปได้


Tech&Trend

SQL in Silicon: In-Memory Query Acceleration

ที่ท�ำการเชื่อมต่อตรงไปยัง Memory Cache และส่งต่อไปยัง Processor Core ส่งผลให้ In-Memory Query Acceleration ได้ ถู ก ข้อมูลที่อยู่ใน In-Memory ท�ำงานได้อย่าง ออกแบบมาเพื่ อ การใช้ ง านคู ่ กั บ Oracle รวดเร็วขึน้ ถึง 83 เท่าเมือ่ เทียบกับการใช้ Flash Database In-Memory ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม Disk ของการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ได้ทั้งแบบ Row Format ส�ำหรับงาน OLTP Operations และ In-­Line Data Decompression Column Format ส� ำ หรั บ งาน Analytics คุณสมบัตขิ อง In-Line Data Decompression ที่อยู่บน SPARC M7 Processor เป็นการใช้ Operations งานของ Data Analytics Accelerators (DAX) ในการใช้งาน Query Process โดย In-Line Decompress สามารถใช้งานในความเร็วของ Memory ได้ถึง 120 GB ต่อวินาที ซึ่งรูปแบบ การท�ำงานของ Decompression มีดังนี้ • Processor Core น�ำงานของ Query ไปอยูบ่ น Accelerator เพือ่ ท�ำการอ่านข้อมูลที่ เข้ารหัส (OZIP Compression) • Accelerator ท�ำการถอดรหัสพร้อม กับท�ำการ Query ทันทีโดยไม่ต้องมีการอ่าน หรือเขียน • Processor Core มีการส่งข้อมูลออก รูปแบบการท�ำงานของ Core SPARC M7 มี การรับ Database Query ที่สามารถน�ำไปใช้ ในรูปแบบข้อมูลไม่มีการเข้ารหัส งานบน On-Chip Accelerator โดยรูปแบบงาน ของ Accelerated Database Operations มี การท�ำงานดังต่อไปนี้ • Select: Filter to Reduce a Column • Scan: Search (“Where” Clause) • Extract: Decompression • Translate: Lookup to Accelerate Big-to-Small Joins

Encryption Acceleration

ออราเคิลมีการพัฒนาโปรเซสเซอร์ให้ท�ำงาน ร่วมกับ Cryptographic Accelerator โดย ได้น�ำเสนอ Oracle SPARC M7 ที่มีจ�ำนวน Processor Core ถึง 32 Cores ต่อโปรเซสเซอร์ และมี ก ารท� ำ งานร่ ว มกั บ Cryptographic Cypher Hardware ที่รองรับ Algorithms จ� ำ นวน 15 แบบ ดั ง นี้ AES, Camellia, CRC32c, DES, 3DES, DH, DSA, ECC, MD5, RSA, SHA-1, SHA-224, SHA-256, SHA-384, และ SHA-512 โดยการท�ำงานสามารถน�ำไป สนับสนุน Oracle Database และใน Oracle Stack เพื่ อ ให้ มี ก ารรั ก ษาข้ อ มู ล ให้ มี ค วาม ปลอดภัย และไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพ การท�ำงาน จากทีก่ ล่าวมา Software in Silicon ทีม่ าพร้อม กับ Oracle SPARC M7 ถือว่าเป็นนวัตกรรม ใหม่ทเี่ พิม่ ศักยภาพของเครือ่ งรุน่ ใหม่ (SPARC T7 และ SPARC M7) พร้อมกับจ�ำนวนของ Processor Core ที่มีเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อ เทียบกับ Oracle SPARC T5 G

จากการที่น�ำ Query ไปท�ำงานบน On-Chip Accelerator ท�ำให้ Processor Core มีความ สามารถในการท�ำงานต่างๆ ต่อได้ ในส่วนของ ผลลัพธ์จากการใช้งาน On-Chip Accelerator G-MagZ IT MAGAZINE

21


Tech&Trend

ปิยะ ตั้งสิทธิชัย Head of Software Research บริษัท จีเอเบิล จำ�กัด

Gartner

Top 10 Strategic Technology Trends 2016

ในงาน Gartner Symposium/ITxpo 2015 ที่เมือง Orlando นักวิเคราะห์ของ Gartner ได้น�ำ เสนอถึง Top 10 Technology Trends ของปี 2016 ให้กับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา เพื่อเป็นแนวทาง ในการวางแผนและเตรียมการด้านไอทีสำ� หรับองค์กร โดย Technology Trends ทัง้ 10 ข้อนีเ้ รียก ว่าเป็น Strategic Technology Trend ซึ่ง Gartner ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความไว้ว่าเป็นสิ่งที่มีศักยภาพ ทีจ่ ะท�ำให้เกิดผลกระทบต่อองค์กร ทัง้ นีอ้ าจท�ำให้องค์กรยุง่ เหยิงหรือพบกับความเสียหายได้หาก ไม่ได้เตรียมการรับมือเอาไว้ เทคโนโลยีเหล่านี้จะมีผลต่อการวางแผนระยะยาวขององค์กร การ ด�ำเนินโครงการต่างๆ ตลอดจนการริเริ่มโครงการใหม่ๆ ขององค์กร Strategic Technology Trends ทั้ง 10 ข้อ มีดังนี้ 1. The Device Mesh 2. Ambient User Experience 3. 3D Printing Materials 4. Information of Everything 5. Advanced Machine Learning 6. Autonomous Agents and Things 7. Adaptive Security Architecture 8. Advanced System Architecture 9. Mesh App and Service Architecture 10. Internet of Things Platforms ผมขออธิบายเรื่อง 3D Printing Materials ก่อน เนื่องจากไม่ได้สัมพันธ์กับเรื่องที่เหลือ โดย เครื่องพิมพ์สามมิติมีความสามารถเพิ่มขึ้นมาก และมีพัฒนาการในการพิมพ์ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ใน ปัจจุบันวัสดุที่น�ำมาใช้ในการพิมพ์มีความหลากหลายและก้าวหน้ามาก เช่น นิเกิลอัลลอย คาร์บอนไฟเบอร์ กระจก หมึกน�ำไฟฟ้า ยา และสารชีวภาพ เช่น โปรตีน เป็นต้น ความก้าวหน้า เหล่านี้เป็นตัวผลักดันให้มีการใช้เครื่องพิมพ์สามมิติในเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้น และจะมี ผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโดยตรง 22

G-MagZ IT MAGAZINE


กลับมาอีก 9 เรื่องที่เหลือ ทั้ง 9 เรื่องนี้ร้อยเรียงต่อเนื่องกันตาม แผนภูมิสรุปรูปนี้ แกนกลางของเรื่องก็คือ Ambient User Experience ซึ่งหมาย ถึงประสบการณ์ในการใช้งานอุปกรณ์ไอทีทอี่ ยูร่ อบตัวได้อย่าง ต่อเนื่องลื่นไหล สามารถสลับใช้อุปกรณ์ใดก็ได้โดยการใช้งาน จะยังคงต่อเนื่องกันไป ตัวอย่างเช่น ความสามารถ Handoff ของอุปกรณ์ในระบบ iOS และ OSX ของบริษัทแอปเปิล ทั้งนี้ ก็เนือ่ งจากการทีอ่ ปุ กรณ์ตา่ งๆ ได้เชือ่ มต่อกันเป็นโครงข่ายของ อุปกรณ์ทเี่ รียกว่า Device Mesh ซึง่ หมายถึงการทีอ่ ปุ กรณ์ตา่ งๆ จะมีการติดต่อสือ่ สารระหว่างกันตลอดเวลามีการโอนถ่ายข้อมูล และสถานะการท�ำงานต่างๆ ให้แก่กัน อุปกรณ์ในที่นี้ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน อุปกรณ์สวมใส่ รถยนต์ เครือ่ งใช้ไฟฟ้า ภายในบ้าน รวมไปถึงเซ็นเซอร์ต่างๆ ด้วย ข้อมูลต่างๆ ทีส่ ง่ ข้ามไปมาระหว่างอุปกรณ์กค็ อื Information of Everything เดิมทีขอ้ มูลเหล่านีม้ ปี รากฏอยูแ่ ล้วเพียงแต่แยกกัน อยู่ ขาดความสมบูรณ์ หรือขาดความเชือ่ มโยงถึงกัน เทคโนโลยี ในการเชื่อมโยงข้อมูลจะถูกน�ำมาใช้เพื่อการนี้ เช่น Graph Database หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยวิเคราะห์และ เพิ่มความหมายให้กับข้อมูล เพื่อที่จะท�ำให้ข้อมูลที่กระจัด กระจายกันอยูม่ คี วามหมายและความเชือ่ มโยงทีส่ ามารถน�ำไป ประมวลผลได้ หลังจากที่ข้อมูลได้ถูกจัดกลุ่มจัดหมวดหมู่และมีความหมาย แล้ว ข้อมูลเหล่านี้จะต้องถูกน�ำไปศึกษา แต่ด้วยปริมาณที่มีใน ระดั บ มหาศาลและถู ก สร้ า งขึ้ น อยู ่ ต ลอดเวลาซึ่ ง มากเกิ น กว่าความสามารถในการจัดการด้วยมนุษย์ธรรมดาๆ ทั่วไป ดังนั้นเครือข่ายใยประสาทแบบลึก (Deep Neural Network) จึงถูกน�ำมาใช้เพื่อสร้างระบบที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Advanced Machine Learning) ระบบจะเรียนรู้และสร้าง ความเข้ า ใจกั บ ข้ อ มู ล ที่ เ กิ ด ขึ้ น เทคโนโลยี ด ้ า นนี้ จ ะเติ บ โต

ก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว องค์กรต่างๆ จะต้องศึกษาและ พิจารณาว่าจะน�ำเทคโนโลยีด้านนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับ องค์กรได้อย่างไร Machine Learning น� ำ ความชาญฉลาดมาสู ่ อุ ป กรณ์ ต่างๆ รอบๆ ตัวเรา จนเปลี่ยนบทบาทจากการท�ำตามค�ำสั่งมา เป็นเลขาส่วนตัวผูค้ อยให้คำ� แนะน�ำและช่วยก�ำหนดการท�ำงาน ให้กับเรา (Autonomous Agents and Things) ในปัจจุบัน ซอฟต์แวร์เลขาส่วนตัว เช่น Google Now, Microsoft Cortana, Siri มีความฉลาดมาก สามารถคิดและให้ค�ำแนะน�ำที่เป็น ประโยชน์ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย และ ซอฟต์แวร์เหล่านีจ้ ะยิง่ มีความสามารถเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ เมือ่ ผนวก รวมเข้ากับเทคโนโลยีทางด้านฮาร์ดแวร์ที่ก้าวหน้าขึ้นอย่าง เช่น หุ่นยนต์ ก็จะท�ำให้หุ่นยนต์ท�ำหน้าที่ได้ดีขึ้น คอยให้บริการ ต่างๆ และคอยช่วยเหลือมนุษย์ได้ดีขึ้น ในอีก 5 ปีข้างหน้า รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และระบบคอมพิวเตอร์ จะเปลี่ ย นไป มนุ ษ ย์ จ ะออกค� ำ สั่ ง น้ อ ยลง และเปลี่ ย นมา เป็นการตัดสินใจเลือกจากตัวเลือกที่ระบบน�ำเสนอมาให้แทน การเรียนรู้ของระบบด้วย Deep Neural Network ต้องการพลัง ในการประมวลผลที่ ส ลั บ ซั บ ซ้ อ นมากขึ้ น รู ป แบบของการ ประมวลผลโดยอาศัยหน่วยประมวลด้านกราฟฟิก (Graphic Processing Unit : GPU) หรื อ โปรเซสเซอร์ แ บบ FieldProgrammable Gate Arrays (FPGAs อย่าสับสนกับ FPGA ที่หมายถึง Flip-Chip Pin Grid Array ที่เป็นลักษณะขาของ ซีพียู) น�ำไปสู่สถาปัตยกรรมของระบบแบบใหม่ที่ก้าวหน้ามาก ขึ้น (Advanced System Architecture) FPGAs เป็นอุปกรณ์สารกึง่ ตัวน�ำชนิดโปรแกรมได้ทมี่ โี ครงข่าย การเชือ่ มต่อภายในแบบแมทริกซ์ โครงสร้างภายในของ FPGA แทนที่โครงสร้างภายในจะมีลอจิกเกทที่ซับซ้อนและพร้อม ส�ำหรับการประมวลผลค�ำสั่งต่างๆ แต่ โครงสร้างของ FPGAs G-MagZ IT MAGAZINE

23


Tech&Trend

จะมีชุดของลอจิกเกทแบบพื้นฐานเรียงกันเป็นกริด ซึ่งแต่ละ ชุดลอจิกเกทพื้นฐานนี้สามารถก�ำหนดให้เป็นเกทแบบ AND, OR, NOT, XOR ได้ และก�ำหนดให้เชื่อมต่อกับชุดลอจิกเกท ข้างเคียงในรูปแบบใดก็ได้ ท�ำให้สามารถประกอบกันขึน้ มาเป็น ชุดค�ำสัง่ เฉพาะตามทีต่ อ้ งการได้ เช่น ฟังก์ชนั่ การถอดรหัส หรือ ฟังก์ชั่นคณิตศาสตร์ ซึ่งเหมาะกับการน�ำมาใช้เป็นโหนดใน เครือข่ายใยประสาท ระบบทีส่ ร้างขึน้ จาก GPUs and FPGAs จะท�ำงานใกล้เคียงกับ สมองของมนุษย์ซงึ่ นัน่ เหมาะกับการท�ำงานแบบ Deep Learning ซึง่ เป็นสิง่ ทีส่ มาร์ทแมชชีนจ�ำเป็นต้องใช้ การใช้ชปิ สถาปัตยกรรม FPGAs จะช่วยเพิ่มระดับการท�ำงานของ Machine Learning ในอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น IoT, บ้าน, รถ, นาฬิกาข้อมือ เนือ่ งจาก มีขนาดที่เล็กและใช้พลังงานต�่ำมาก เมื่อช่องทางในการใช้งานระบบมีหลากหลายช่องทางมากขึ้น ระบบมี ค วามชาญฉลาดมากขึ้ น ย่ อ มเป็ น โอกาสให้ พ วก มิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาในระบบและเพิม่ ความเสีย่ งต่อผูใ้ ช้งาน และระบบขององค์กรมากขึ้น นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีธุรกิจ ที่ท�ำการซื้อขายช่องโหว่ของระบบอย่างเช่น Hacking Team หรือ บริษัท Zerodium ก็ยิ่งท�ำให้ความเสี่ยงของระบบสูงมาก ขึ้น การป้องกันภัยแบบเดิมๆ ที่ป้องกันด้วยการตรวจตราที่ บริเวณทางเข้าออกของเครือข่าย หรือการใช้กฎต่างๆ ในการ ตรวจสอบการบุกรุกจะไม่เพียงพออีกต่อไป ยิง่ องค์กรทีม่ กี ารใช้ งานอุปกรณ์พกพา และการใช้งานคลาวด์ก็ยิ่งต้องเพิ่มความ ระมัดระวังมากยิ่งขึ้น วิธีการในการตรวจสอบและป้องกันการเจาะระบบจะต้อง ยื ด หยุ ่ น และปรั บ ตั ว ตามสถานการณ์ ไ ด้ ม ากขึ้ น เรี ย กว่ า Adaptive Security Architecture นั่นคือการป้องกันจะต้องฝัง ลงไปในแอพพลิเคชัน่ ทีต่ ดิ ตัง้ ใช้งานบนสมาร์ทโฟน และจะต้อง อาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจากพฤติกรรมของผู้ใช้ระบบที่ผ่าน ช่องทางต่างๆ แล้ววิเคราะห์ว่าเป็นพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิด 24

G-MagZ IT MAGAZINE

ความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของระบบหรือไม่ แล้วน�ำเสนอ หนทางป้องกันส่งตรงไปยังตัวผู้ใช้เพื่อท�ำการปิดกั้นหรือก�ำจัด ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น สถาปัตยกรรมของแอพพลิเคชั่นที่ท�ำงานบน Device Mesh ก็ จะเปลี่ยนไป ลักษณะการท�ำงานของแอพพลิเคชั่นจะเป็นการ ท�ำงานแบบ Apps and Services Architecture คือ แอพพลิเคชัน่ จะท�ำงานโดยการติดต่อกับเซอร์วิสขนาดเล็กหลากหลายตัวที่ ท�ำงานอยูบ่ นเซิรฟ์ เวอร์ซงึ่ อาจจะกระจายอยูบ่ นคลาวด์ ความสลับ ซับซ้อนจะถูกย้ายจากฝั่งเซิร์ฟเวอร์มาอยู่บนตัวแอพพลิเคชั่น ซึง่ เซอร์วสิ จะมีขนาดเล็กลงปรับเปลีย่ นได้งา่ ยและมีความคล่อง ตัวสูงมากขึ้น การติดตั้งและเริ่มใช้งานก็ต้องการความรวดเร็ว และคล่องตัวตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งเทคโนโลยีที่เหมาะสม ส�ำหรับเรื่องนี้คือ เทคโนโลยี Container และ Microservices ทีมงานพัฒนาแอพพลิเคชั่นจะต้องสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ที่ ทันสมัย เพื่อท�ำให้การส่งมอบแอพพลิเคชั่นบนคลาวด์ได้อย่าง รวดเร็ว ยืดหยุ่น และคล่องตัว แม้ว่ามาตรฐานต่างๆ ในการสื่อสารและการท�ำงานระหว่าง อุปกรณ์ต่างๆ ใน IoT ยังไม่ได้ลงตัวเนื่องจากการแข่งขันของ ผู้ผลิตแต่ละราย ซึ่งกว่าจะก�ำหนดมาตรฐานจนเป็นที่ยอมรับ กันได้คงเป็นปี 2018 แต่ทว่าองค์กรที่จะใช้ IoT จะต้องติดตาม และเตรียมพร้อมก�ำหนด IoT Platform ที่มีความเหมาะสมกับ องค์กรของตนเอง มิเช่นนั้นเมื่อถึงเวลาที่มาตรฐานมาถึงก็จะ สายเกินไป Technology Trends ทั้ง 10 ข้อนี้ เป็นแนวทางให้ผู้บริหาร ด้านไอทีขององค์กรได้ตระหนักและน�ำไปพิจารณาเพือ่ วางแผน งานด้านไอทีของตนเอง ผมหวังว่าทุกท่านคงได้เห็นภาพร่าง ของทิศทางเทคโนโลยีด้านไอทีในช่วงเวลา 2-3 ปีต่อจากนี้ และเตรียมพร้อมรับกับอนาคตที่ก�ำลังจะมาถึง สวัสดีปีใหม่ ทุกท่านครับ G


Biz&Consult

ภูมิ ถาวรวรานนท์ Security Consultant บริษัท จีเอเบิล จำ�กัด

Secured

Software Development “ปัจจุบันโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลง เทรนด์ของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว รวม ถึ ง พฤติ ก รรมของผู้ ค นที่ มี แ นวโน้ ม หั น มาใช้งาน IT Solution เช่น Internet Banking, E-Wallet หรือ E-Service ต่ า งๆ ที่ มี ก ารใช้ ง านข้ อ มู ล ส่ ว นตั ว ที่ ส�ำคัญ ไม่ว่าจะเพื่อเข้าใช้งานหรือใช้เพื่อ การสั่งการท�ำธุรกรรมต่างๆ ท�ำให้นัก พั ฒ นาหรื อ องค์ ก รที่ มี ก ารให้ บ ริ ก าร ระบบดังกล่าวต้องค�ำนึงถึงภัยที่อาจจะ เกิดขึ้นต่อระบบด้วยความรอบคอบและ ค� ำ นึ ง ถึ ง ความปลอดภั ย ของข้ อ มู ล ทั้ ง ของผู้ใช้งานและองค์กร”

ถ้าพูดถึงกระบวนการในการพัฒนาระบบทุกคนคงรูจ้ กั System/Software Development Life Cycle (SDLC) ซึ่งเป็นการพูดภาพรวมของขั้นตอนใน การพัฒนาระบบเอาไว้อย่างครบถ้วน ส�ำหรับขั้นตอนการพัฒนาระบบ SDLC แบ่งคร่าวๆ ได้ 6 ขั้นตอนดังนี้ 1. Requirement Gathering and Analysis ขั้นตอนการวางแผนงาน โดยก�ำหนดรูปแบบของซอฟต์แวร์ ประมาณการต้นทุนในการพัฒนาระบบ ก�ำหนดแนวทางของการพัฒนาระบบ ก�ำหนดระยะเวลา และค้นหาความ ต้องการของระบบ วิเคราะห์ความต้องการนัน้ เพือ่ ให้เข้าใจภาพรวมและหน้าที่ การท�ำงานของระบบ 2. Design ขั้นตอนการออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ตรงกับความต้องการที่ได้วิเคราะห์มาแล้ว 3. Implementation or Coding ขั้นตอนการสร้างระบบโดยการเขียน โปรแกรม ตามแนวทางการออกแบบจากขั้นตอนที่ผ่านมา 4. Integration and Testing ขั้นตอนการน�ำระบบทีท่ ำ� มาทดสอบการ ใช้งาน ว่าท�ำงาน ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งการทดสอบนี้จะรวมถึงการทดสอบการ เชื่อมโยงกับระบบซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย และประเมินว่าระบบที่ผ่าน การทดสอบแล้ว เหมาะสมที่จะน�ำไปใช้งานได้หรือไม่ 5. Installation and Deployment ขัน้ ตอนการน�ำระบบที่พัฒนาและผ่าน การทดสอบแล้วไปใช้งาน โดยท�ำการติดตั้ง และสอนวิธีการใช้งาน แก่ผู้ใช้ (บางระบบเป็นการพัฒนาต่อเนือ่ ง หรือเป็นการพัฒนาระบบใหม่มาแทนระบบ เดิม อาจจะต้องมีการน�ำข้อมูลเก่าเข้าระบบใหม่ก่อนการน�ำระบบไปใช้จริง) 6. Maintenance ขั้นตอนของการให้ความช่วยเหลือต่อผู้ใช้ เมื่อพบ ปัญหา โดยหากปัญหาที่เกิดไม่สามารถแก้ไขได้ จะต้องท�ำการพัฒนาระบบ เพิ่มเติม ก็จะเริ่มวนไปที่ขั้นตอนแรกใหม่ G-MagZ IT MAGAZINE

25


Biz&Consult จากวงจรการพัฒนาระบบตามที่กล่าวมานั้น หากเราต้องการพิจารณาถึง ความปลอดภัยของข้อมูลในระบบที่จะด�ำเนินการพัฒนาก็สามารถอ้างอิง ได้ จ ากวงจรการพั ฒ นาเช่ น กั น แต่ ก ระบวนการนี้ จ ะมี ชื่ อ เล่ น ใหม่ ว ่ า Secured System/Software Development Life Cycle (SSDLC) ซึง่ จะ เป็นการระบุวา่ ในแต่ละขัน้ ตอน ของการพัฒนาผู้ที่เกี่ยวข้องในส่วนต่างๆ จะต้องค�ำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลอย่างไรบ้าง แต่กแ็ น่นอนว่าแต่ละ ระบบที่ ท�ำการพัฒนานั้น จะมีข้อควรระวังไม่เหมือนกันตามแต่รูปแบบ การพัฒนาของแต่ละระบบ โดยแต่ละขั้นตอนของวงจรการพัฒนาระบบจะต้องมีการค�ำนึงถึงความ ปลอดภัยของระบบดังนี้ 1. Requirement Gathering and Analysis ในขั้นตอนนี้จะต้อง มีการจัดท�ำ Security Requirements ของระบบ โดยมีการระบุว่าในการ ด�ำเนินการพัฒนาระบบนัน้ จะต้องมีการค�ำนึงถึงความปลอดภัยต่างๆ ด้วย จากการท�ำ Risk Assessment ของระบบว่าระบบนั้นมีความเสี่ยงด้าน ความปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบอย่างไรบ้าง ส�ำหรับขัน้ ตอนนีน้ นั้ นับว่า เป็นขัน้ ตอนทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ในขัน้ ตอนทัง้ หมดเพราะจะเป็นการก�ำหนดให้ผทู้ ี่ รับผิดชอบในส่วนต่างๆ ของการด�ำเนินการพัฒนาระบบต้องค�ำนึงถึงความ ปลอดภัยของข้อมูลในระบบตลอดวงจรการด�ำเนินการพัฒนา 2. Design ในขั้นตอนนี้เป็นการก�ำหนด Secured Design ส�ำหรับ ระบบตามที่เราได้ Security Requirements จากข้อก่อนหน้าแล้ว โดยการ ดีไซน์ระบบให้มีความปลอดภัยนั้นจะมีการท�ำ Analyze Attack Surface เพือ่ หาความเป็นไปได้ในการโจมตีระบบจาก Risk ต่างๆ ทีเ่ รามีอยู่ เพือ่ น�ำ มาสู่การท�ำ Threat Modeling เพื่อดูว่าสุดท้ายแล้วเราจะต้องด�ำเนินการ เสริมความปลอดภัยในด้านใด เพือ่ ให้ระบบของเรามีความเสีย่ งด้านความ ปลอดภัยของข้อมูลอยู่ในระดับที่รับได้ 3. Implementation and Testing ในหัวข้อนี้ขอรวบเนื้อหาทั้งส่วน การด�ำเนินการพัฒนาและการทดสอบระบบ เนื่องในการด�ำเนินการจริง ทั้งสองระบบนี้มักจะท�ำไปควบคู่กันแบบคู่ขนานและมีการแลกเปลี่ยน ข้อมูลที่ท�ำการทดสอบเพื่อแก้ไขระบบอยู่ตลอดเวลา ส�ำหรับการพัฒนาในปัจจุบนั นัน้ จะต้องค�ำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล จากจากโจมตีต่างๆ ที่มีอยู่ในขณะนั้น โดยมักจะอ้างอิงมาจากมาตรฐาน ต่างๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น NIST, SANS และ OWASP เป็นต้น ตั ว อย่ า งการพั ฒ นาแอพพิ เ คชั่ น โดยค� ำ นึ ง ถึ ง ภั ย ที่ อ าจจะเกิ ด ขึ้ น ตาม OWASP Top 10:2013 A3 – Cross-Site Scripting (XSS) ในตัวอย่างนี้ จะพูดถึง Web Page ที่ผู้ไม่หวังดีสามารถใส่ค�ำสั่งที่สามารถขโมยข้อมูล Cookies และ Sessions ID ของผู้อื่นได้โดยไม่ได้รับอนุญาต ผลที่ตามมา คือผู้ใช้งานรายอื่นๆ ที่เข้ามายัง Web Page นี้นั้นถูกขโมยข้อมูลออกไปยัง เครื่องของผู้ไม่หวังดีได้ ดังรูปต่อไปนี้ จากตัวอย่างเราจะสามารถพิจารณาถึงการพัฒนาที่ต้องค�ำนึงถึงการ ป้องกันการไม่ให้ผทู้ ไี่ ม่ได้รบั อนุญาตใส่คำ� สัง่ ไม่พงึ ประสงค์ใน Web Page เช่น การท�ำ Input Validation ในทุกๆ ช่องทาง มีการท�ำ Blacklist และ Whitelist ของข้อมูลที่เราสามารถรับได้ เป็นต้น และการทดสอบที่ต้องมี 26

G-MagZ IT MAGAZINE

การด�ำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยตามมาตรฐานต่างๆ เช่นการท�ำ Vulnerability Assessment หรือ Penetration Testing ก่อนการใช้งานจริง เป็นต้น 4. Installation and Deployment ในขั้นตอนนี้เป็นการน�ำไปใช้งาน จริง ซึ่งหลายๆ ท่านอาจจะคิดว่าไม่น่าจะมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับความ ปลอดภัยของข้อมูล แต่จริงๆ แล้วในขัน้ ตอนนีน้ นั้ ถือเป็นการตรวจสอบและ ยืนยันผลว่าสิ่งที่เราได้ท�ำไปแล้วในขั้นตอนทั้งหมดนั้นได้ด�ำเนินการตาม Security Requirement จริงๆ และส่วนที่ส�ำคัญคือการน�ำข้อมูลทดสอบ ออกจากระบบก่อนใช้งานจริง ไม่วา่ จะเป็นข้อมูลทีเ่ ป็นส่วนการปฏิบตั งิ าน หรือข้อมูลที่เป็นส่วนของการบริหาร เช่น ข้อมูล User ที่เข้าระบบใน การทดสอบ เป็นสิ่งที่หลายๆ ท่านมักลืมแล้วอาจจะเป็นภัยที่ไม่คาดคิดได้ ในอนาคต 5. Maintenance ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนในการรักษาระบบให้ ข้อมูลมีความปลอดภัยอยู่เสมอ เช่น การท�ำ Business Continuity Plan (BCP) เพื่อป้องกันเหตุที่อาจจะท�ำให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ หรือ Backup Plan ในกรณีเหตุฉุกเฉินที่ท�ำให้ข้อมูลในระบบไม่สมบูรณ์ หรือศูนย์หาย และสุดท้ายการท�ำ Incident Response Management เพื่อคอยเฝ้าระวังเหตุต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ท�ำให้ป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้น หรือท�ำให้ระบบสามารถกลับมาท�ำงานได้ในระยะเวลาอันสั้น ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นหากท่านได้น�ำหลักการของ SSDLC ไปใช้ในการท�ำ SDLC ปกติ จะท�ำให้โครงการของท่านมีความปลอดภัยทางข้อมูลมาก ยิ่งขึ้น เพราะในปัจจุบันผู้ที่ไม่หวังดีซึ่งคอยมุ่งโจมตีระบบของท่านนั้นมี จ�ำนวนเพิ่มมากขึ้นและวิธีการโจมตีในปัจจุบันก็ง่ายมากขึ้น ท�ำให้การน�ำ SSDLC ไปใช้เพิ่มเติมต่อยอดในการด�ำเนินการพัฒนานั้นมีประโยชน์ต่อ โครงการของท่านอย่างแน่นอน สุดท้ายนี้ที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงโครงสร้างของการด�ำเนินการพัฒนา โครงการโดยรวม ท�ำให้ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง อีกมากมาย ทัง้ นีท้ มี ผูเ้ ขียน จะน�ำความรูเ้ ชิงเทคนิเกีย่ วกับ OWASP มาน�ำ เสนอให้ท่านในฉบับถัดไป G


Success story

Café Roamer

เรายกกาแฟเกรดดีมาไว้บนมือถือ

คุณซาน - ชาตรี ตรีเลิศกุล เจ้าของธุรกิจ Zana’s Bean Coffee และ Pacamara

จากคนที่ ไ ม่ ช อบดื่ ม กาแฟ ก้ า วมาสู่ ก ารเป็ น นั ก ชิ ม กาแฟระดั บ โลกที่ เ ป็ น ชาวไทยคนแรก ซึ่ ง ได้ รั บ ประกาศนียบัตร Q-Grader จากสมาคมกาแฟชนิดพิ เศษแห่งสหรัฐอเมริกา (SCAA) รวมถึงเป็น คนไทยคนแรกที่ ไ ด้ รั บ ความเชื่ อ ถื อ ให้ นั่ ง เป็ น หนึ่ ง ในกรรมการ International Jury (กรรมการ ด้านรสชาดจากหลายประเทศ) Cup of Excellence ในการประกวดเฟ้นหากาแฟที่ดีท่ส ี ุดของโลก

ปัจจุบัน คุณซาน - ชาตรี ตรีเลิศกุล เป็นเจ้าของร้านกาแฟ Zana’s Bean Coffee (ซาน่าส์บีนส์ คอฟฟี่) จำ�นวน 4 สาขา และ ร้านกาแฟระดับพรีเมีย่ ม ทีเ่ ฟ้นหากาแฟดีจากทัว่ โลกมาคัว่ เอง ใน ชื่อร้าน Pacamara (พาคามาร่า) อีก 4 สาขาในเมืองไทย และอีก 1 สาขาโดยให้สิทธิพันธมิตรรายหนึ่งไปเปิดในสิงคโปร์ รวมทั้ง เตรียมขยายเพิ่มอีก 1 สาขาที่ทองหล่อ โดยจะเปิดร่วมไปกับ สถาบันสอนความรูด้ า้ นกาแฟ ซึง่ พร้อมเปิดตัวปี 2559 นี้ เพือ่ สร้าง ความครบวงจรทางธุรกิจที่มีทั้งโรงคั่วกาแฟ ธุรกิจจัดจำ�หน่าย อุปกรณ์การทำ�กาแฟ ตลอดจนแบรนด์เมล็ดกาแฟของตัวเอง “ตั้งแต่เด็กไม่เคยสนใจ และไม่ชอบดื่มกาแฟเลย เพราะไม่ชอบ รสชาดและกลิ่นสังเคราะห์ของกาแฟสำ�เร็จรูป จนกระทั่งเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ระหว่างใกล้จบการศึกษา มีโอกาสไปเที่ยวต่างประเทศ ก็ได้เห็นว่ามีรา้ นกาแฟอยูท่ กุ หัวระแหงของทุกเมือง มีคนใช้บริการ มากมาย ทำ�ให้เกิดความคิดขึ้นมาว่า ทำ�ไมเมืองไทย ยังไม่มีร้าน ประเภทนี้”

จากนั้นไม่นาน ก็มีกาแฟแบรนด์ดังจากเมืองนอกขยายสาขาเข้า มาประเทศไทย ซึ่งเป็นแบรนด์เดียวกับที่เคยเห็นระหว่างไปเที่ยว ครัง้ นัน้ ประกอบกับเป็นช่วงทีต่ อ้ งทำ�วิทยานิพนธ์ จึงเกิดไอเดียว่า เมื่ อ เรี ย นจบ อยากทำ � ธุ ร กิ จ ของตั ว เอง และควรเป็ น ธุ ร กิ จ ที่ ตัวเองเข้าสู่ตลาดในช่วงต้นๆ เพื่อสะดวกในการทำ�ธุรกิจ ดังนั้น จึงตัดสินใจค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจการเปิดร้านกาแฟเพื่อทำ� เป็นผลงานส่งอาจารย์ และหาความรู้ในการออกมาทำ�ธุรกิจนี้ หลังจบการศึกษา ประเดิ ม ธุ ร กิ จ ร้ า นกาแฟร้ า นแรก โดยออกแบบจั ด สร้ า งใน รูปลักษณ์ “รถเข็น” หนึง่ คัน ตระเวณออกร้านขายตามพืน้ ทีอ่ อฟฟิศ หรืออีเวนท์ต่างๆ ในลักษณะโมบาย ก่อนที่จะได้พื้นที่ตั้งประจำ�ที่ โลตัส สาขาพระราม 3 เป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งแม้ไม่ประสบความ สำ�เร็จตามทีค่ าดหวัง แต่กไ็ ด้เรียนรูค้ รัง้ สำ�คัญ เกีย่ วกับพฤติกรรม ผู้บริโภค ให้เข้าใจว่า “คนซื้อกาแฟเพราะอะไร” จนนำ�มาสู่การ ตีโจทย์ว่า ทำ�ไมร้านนั้นคนเยอะ แต่ของเราคนไม่เยอะตาม และ G-MagZ IT MAGAZINE

27


Success story ต่อยอดสู่ความท้าทายใหม่ด้วยการเปิดเป็น “ร้าน” แห่งแรก ที่อาคาร ปัญจธานี เมือ่ ปี 2542 โดยลงทุนเพิม่ เติมออกแบบเป็นมุมกาแฟ และขยาย สาขาต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ด้วยเป้าหมายตั้งแต่เริ่มก่อตั้งธุรกิจที่วาง Positioning ตัวเองไว้เป็น “ร้านกาแฟหัวก้าวหน้า” ที่ไม่เคยเดินตามแนวทางของ Chain กาแฟ แบรนด์ใหญ่ๆ อย่างที่ผู้ประกอบการร้านกาแฟส่วนใหญ่เลือกทำ� ดังนั้น จึงมุ่งพัฒนาเอกลักษณ์ของร้าน Zana’s Bean Coffee และ Pacamara อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความโดดเด่น ทั้งการคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพ การพัฒนาเมนู จนล่าสุดคือ การนำ�เทคโนโลยีมาเป็นเครือ่ งมือช่วยในงาน บริหารจัดการทัง้ ในส่วนของตัวร้าน และการ “เสิรฟ์ ” กาแฟดีถงึ มือผูบ้ ริโภค ได้ง่ายยิ่งขึ้น และยังเป็น “สื่อ” ในการสร้างให้ลูกค้าเข้าถึงและรู้จักกาแฟ ดีได้ในวงกว้างกว่าเดิม ตอบโจทย์ความคาดหวังในฐานะนักชิมกาแฟระดับ โลก ที่ต้องการพัฒนาวงการการดี่มกาแฟในประเทศไทย ในรูปแบบที่มี คุณภาพมากขึ้น โดยนำ�เอาความคิดเห็นและข้อเสนอของลูกค้ามาเป็นโจทย์ในการทำ�งาน ร่วมกับบริษัท จีเอเบิล จำ�กัด พัฒนาโปรแกรมด้าน Customer Loyalty มุ่ง เอื้ออำ�นวยความสะดวกให้ผู้ซื้อ ผู้ขาย หาโอกาสช่องทางการจัดจำ�หน่าย มากขึ้น จนออกมาเป็นแอพพลิเคชั่น Café Roamer ภายใต้แนวคิดว่า “ด้วยเทคโนโลยี Smart Application เมนูโปรดของคุณพร้อมบริการถึงที่ สะดวกเพียงปลายนิ้ว ให้คุณใช้นาทีผ่อนคลายอย่างคุ้มค่า “เรามีแนวคิดที่จะค่อยๆ ปรับรูปแบบร้าน Zana’s Bean Coffee ให้เป็น ร้านกาแฟชุมชน ทีม่ คี วามทันสมัย โดยจะมีความ Flexible เมนูหลากหลาย ราคาไม่สูง ดังนั้น การเอาแอพฯ มาช่วยจะขับเคลื่อนความคาดหวังได้ดี ขึ้นอย่างแน่นอน เพราะในแง่ความเป็น Mass ที่นำ�เสนอเครื่องดื่มที่ แตกต่างจากกาแฟเจ้าอื่น ถ้าลูกค้าได้มีโอกาสได้ลอง ได้เข้าใจมากขึ้น ก็จะเรียนรู้ได้มากขึ้น” ปัจจุบันเปิดให้ลูกค้า Zana’s Bean Coffee สาขาอาคารปัญจธานี และ ธนาคารแห่งประเทศไทยทัง้ 2 สาขา เข้าไปดาวน์โหลดแอพ Café Roamer และ QRCode ได้ที่เว็บไซต์ http://www.caferoamer.com/download. html รองรับทัง้ ระบบปฏิบตั กิ าร Android และ iOS และในเร็วๆ นีจ้ ะขยาย ผ่านช่องทาง App Store รวมถึงครอบคลุมจำ�นวนสาขาอื่นของร้านด้วย ทั้งนี้ เมื่อเข้าไปท�ำการดาวน์โหลดจะมีเมนูพร้อมภาพสกรีนช็อต แนะน�ำ การลงทะเบียน ตลอดจนค�ำแนะน�ำในการใช้งานทุกขั้นตอน โดยแอพฯ นี้ สามารถใช้งานเสมือนเป็น e-Wallet โดยลูกค้าที่ลงทะเบียนและได้รับ รหัสยืนยันสมาชิกแล้ว จะสามารถเติมเงินเข้าระบบเพื่อใช้จ่ายได้ผ่าน เคาท์เตอร์ของ Zana’s Bean สาขาที่ใช้บริการประจ�ำ โดยมีเงื่อนไขการ เติมเงิน ขั้นต�่ำ 200 บาท เพื่ออ�ำนวยความสะดวกในการเลือกสั่งเมนู ล่วงหน้า โดยเข้าไปดูรายการทัง้ หมดจากทีห่ น้าเมนูในแอพฯ สามารถเลือก สถานที่จัดส่ง หรือมารับที่หน้าร้านได้ 28

G-MagZ IT MAGAZINE

“ที่ผ่านมา ร้านกาแฟแทบทุกรายใช้แอพฯ ลักษณะนี้ เฉพาะในเรื่องการ สะสมแต้มและบัตรสมาชิกเป็นหลัก แต่เรามองไกลกว่านั้น คือ การสร้าง กิจกรรมสือ่ สารระหว่างร้านค้ากับลูกค้าผ่านแอพฯ การสัง่ ซือ้ ผ่านช่องทาง นี้ จะได้ราคาโปรโมชัน่ พิเศษ ได้สทิ ธิพเิ ศษมากกว่าซือ้ แบบทัว่ ไป สอดคล้อง กับปรัชญาการทำ�ธุรกิจของเราคือ มอบสิ่งที่มากกว่าความคาดหวัง ลูกค้าจึงเปลี่ยนแบรนด์ไปลองที่อื่นน้อยลง” คุณซาน เสริมว่า พฤติกรรมลูกค้า Zana’s Bean คือ ไม่อยากรอ ดังนัน้ เมือ่ ใช้แอพฯ ในการชำ�ระเงินได้ง่ายขึ้น ลูกค้าก็มี Loyalty มากขึ้น เพราะส่วน หนึ่งคือ ลูกค้าเคยชินกับการทำ�กิจกรรมต่างๆ ผ่านสมาร์ทโฟนที่อยู่ติดมือ อยู่แล้ว ผนวกกับมียอดเงินอยู่ในบัตร การตัดสินใจจึงง่ายขึ้น พร้อมกันนี้ เปรียบเทียบสถานการณ์ก่อน และหลังการนำ�แอพฯ Café Roamer เข้ามาใช้เมื่อราว 2 ปีที่ผ่านมาว่า ประโยชน์ที่เห็นได้ชัด คือ ทำ�ให้ ลูกค้ามี Loyalty มากขึ้น, การบริหารจัดการช่วงเวลาที่เป็น Peak Hour และ Off-Peak, การบริหารจัดการคิวของลูกค้า, ช่วยจัดการเรือ่ งการทุจริต ในการรับเงินสด ทำ�ให้ยอดเงินเข้ามาเต็มเม็ดเต็มหน่วย, ทำ�ให้ร้านค้า สามารถรู้โปรไฟล์ข้อมูล การซื้อของลูกค้า เช่น เมนูที่ขายดี ทำ�ให้สามารถ นำ�ข้อมูลไปปรับปรุงพัฒนาเรื่องของการจัดการสต็อกได้มากขึ้น ขณะที่ ในส่วนของการเป็นเครือ่ งมือช่วยบริหารจัดการ สิง่ ทีผ่ ปู้ ระกอบการ ร้านกาแฟจะได้รบั คือ การรูช้ ว่ งเวลา และสร้างช่วงเวลาทีเ่ ป็นจุดบอดของ ร้านค้า โดยจากประสบการณ์ที่สัมผัสโดยตรง ก็คือ การปิดจุดอ่อนเรื่อง “พื้นที่” สำ�หรับร้านค้าหรือสาขาตั้งอยู่ในทำ�เลที่เป็นรอง โดยทำ�ให้มีความ โดดเด่นมากขึ้น เนื่องจากลูกค้าสามารถสื่อสารและเข้าถึงผ่านโซเชียลได้ มากขึ้น เช่นเดียวกับร้านค้าก็สามารถโปรโมทร้านผ่านช่องทางเดียวกันนี้ ได้มากขึ้น “ทำ�ให้ในอนาคต เรื่องทำ�เลที่เป็นรองจะหมดไป ทำ�ให้เราได้ ลูกค้าขยายรัศมีพนื้ ทีค่ รอบคลุมจากลูกค้าทัว่ ไปของธุรกิจนี้ จะไม่เกินรัศมี 50-100 เมตรจากตำ�แหน่งที่ตั้ง โดยจะขยายกว้างออกไปอีก เพราะเป็น ลูกค้าที่ใช้บริการแบบกึ่ง Drive-Through มากขึ้นด้วย ทางด้ า นการบริ ห ารจั ด การช่ ว งเวลานั้ น ก็ ส ามารถใช้ เ รื่ อ งโปรโมชั่ น มาจัดการเรื่องช่วงเวลา Off-Peak ได้ ในช่วง Peak พนักงานเราก็สามารถ ทุ่มเทเวลาในการให้บริการ แต่ช่วง Off-Peak เราก็สามารถสร้างยอดขาย จากตัวแอพฯ ได้ “ในอนาคต อยากให้มกี ารติดต่อสือ่ สารระหว่างผูท้ มี่ แี อคเคาน์อยูใ่ นแอพฯ กับทางร้านท�ำได้มากขึ้น ตลอดจนการตลาดผ่านแอพฯ ครอบคลุมยิ่งขึ้น ให้เราอัพเดทข้อมูลโดยการ Push แคมเปญการตลาดต่างๆ เข้าไปที่ตัว แอพฯ ได้มากขึ้น, การสะสมแต้มที่สามารถวัดสถิติได้ เพื่อที่สามารถน�ำ ข้อมูลมาท�ำกิจกรรมโปรโมชั่นให้กับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นตามคะแนนสะสม” คุณซาน กล่าวปิดท้าย G


Success story

คุณกำ�พล ศรธนะรัตน์ ผู้อำ�นวยการ ฝ่ายเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร สำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

คุณอนุกูล ปิยธนานุกูล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ็มเวิร์จ จำ�กัด ในเครือจีเอเบิลกรุ๊ป

ก.ล.ต. เลือก Mverge ติดตั้งระบบคลาวด์ เปลี่ยนสู่ยุค Mobile-First, Cloud-First Mverge นำ� Cloud Service ตอบโจทย์ Li fe Sty le ข อ ง พนักงานในหน่วยงาน กำ�กั บ ดู แ ลตลาดทุ น สู่ยุค Mobile-First, Cloud-First อย่ า ง เต็มรูปแบบ

Mverge ได้รับความไว้วางใจจากส�ำนักงาน คณะกรรมการก� ำ กั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาด หลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นผู้ติดตั้ง Microsoft Office 365 เชื่อมต่อระบบ EMS (Enterprise Mobility Suite) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสื่อสาร การส่งต่อข้อมูลที่สะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย เพื่อ รองรับแนวคิดการท� ำงานได้อย่างครอบคลุม เชือ่ มต่อข้อมูลภายในให้สามารถท�ำงานได้แบบ “Working Anywhere From Any Device” เกิด ความยืดหยุ่นส�ำหรับผู้ใช้งานสูงสุด ซึ่งถือเป็น ระบบคลาว์ เ ซอร์ วิ ส ที่ ส ร้ า งความพร้ อ มใน การปรับตัวสู่ยุค Mobile-First, Cloud-First อย่างเต็มตัว

ความก้ า วหน้ า ทางเทคโนโลยี ส ารสนเทศ มี ส ่ ว นช่ ว ยให้ ก ารด� ำ เนิ น งานของตลาดทุ น มี ประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม การพึง่ พิงเทคโนโลยีดา้ นข้อมูล ก็ทำ� ให้เกิดความ ท้ า ทายใหม่ ต ่ อ ตลาดการเงิ น รวมทั้ ง ต่ อ ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ด้วย ไม่วา่ จะเป็น การ เผชิ ญ กั บ ความเสี่ ย งจากอาชญากรรมทาง คอมพิวเตอร์ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ ใช้ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการท�ำงานนอก ส�ำนักงาน และความจ�ำเป็นที่ต้องรองรับการ ท�ำงานกับอุปกรณ์พกพาที่หลากหลาย แต่ด้วย Microsoft Office 365 ซึ่งท�ำงานประสานกับ

G-MagZ IT MAGAZINE

29


Success story Microsoft Enterprise Mobility Suite (EMS) ท�ำให้ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีเครือ่ งมือส�ำหรับช่วยในการบริหารจัดการ ผูใ้ ช้ อุปกรณ์พกพา คอมพิวเตอร์ ก�ำหนดสิทธิ์ในการ เข้าถึงข้อมูลและระบบ รวมทั้งปกป้องข้อมูล ส�ำคัญไปจนถึงปลายทาง ท�ำให้องค์กรสามารถ บังคับใช้นโยบายด้านความปลอดภัยข้อมูลได้ อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนัน้ ระบบทีท่ ำ� งาน อยู่บนคลาวด์ ก็ยังช่วยให้มั่นใจได้ว่ามีความ พร้อมให้บริการตลอดเวลา ทั้งในสภาวะปกติ หรือในช่วงที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติเกิดขึ้น ภายใต้การลงทุน “โจทย์ ส� ำ คั ญ ของเรา คื อ เรื่ อ ง Business Continuity ซึ่งทั้ง Office 365 และ Enterprise Mobility Suite เข้ามาตอบโจทย์นไี้ ด้อย่างชัดเจน และในแง่ ข องการลงทุ น ในระบบส� ำ รองเพื่ อ รองรับเหตุภัยพิบัตินั้น โซลูชั่นที่อยู่บนคลาวด์ สามารถตอบโจทย์องค์กรได้ตรงจุดกว่า โดยใช้ เงินลงทุนน้อยกว่า อีกทั้งเสียงตอบรับที่ได้จาก ผูใ้ ช้ออกมาในเชิงบวก จากการทีผ่ ใู้ ช้ได้รบั ความ สะดวกในการท�ำงานมากขึ้น สืบเนื่องมาจาก ขนาดของเมล์บ๊อกซ์ที่ใหญ่ขึ้น และสามารถรับ ส่งอีเมล์ขนาดใหญ่ได้มากขึน้ โดยใช้อนิ เทอร์เฟซ เหมือนเดิม”

รักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศและ นโยบายด้ า นข้ อ มู ล การปฏิ บั ติ ต าม พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระท�ำความผิดทาง คอมพิวเตอร์ ซึ่งในทางปฏิบัติ จ�ำเป็นต้องลงทุน ในเครื่องมือด้านไอที เพื่อตรวจสอบ ป้องกันภัย คุ ก คาม รวมทั้ ง ปกป้ อ งข้ อ มู ล ส� ำ คั ญ ด้ ว ย” คุณก�ำพล กล่าว “นอกจากนี้ เรื่องการท�ำงานนอกส�ำนักงาน ไม่ ว่าจะในภาวะปกติ หรือภาวะฉุกเฉิน ทาง ก.ล.ต. มีการปรับใช้มาได้พกั ใหญ่ๆ และมีการพัฒนาให้ ดีขนึ้ ล่าสุดกลายเป็นโครงการ Work Anywhere ซึ่งสอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่ที่ทาง ก.ล.ต. อนุ ญ าตให้ บ ริ ษั ท หลั ก ทรั พ ย์ สามารถใช้ เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง และสามารถให้ บริการในลักษณะ BYOD ได้ ส�ำหรับที่ ก.ล.ต. เราต้องการโซลูชั่นที่ครบวงจร จากต้นทางถึง ปลายทาง เพือ่ ให้การท�ำงานภายนอกส�ำนักงาน ไม่ต่างจากการท�ำงานปกติในส�ำนักงาน คือ สามารถเข้าถึงข้อมูล และระบบต่างๆ ได้อย่าง ปลอดภัย ผ่านอุปกรณ์พกพาของผูใ้ ช้ ซึง่ ฝ่ายไอที สามารถบริหารจัดการเรือ่ งความปลอดภัยได้”

ความต้องการขององค์กร ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตัง้ ขึน้ ในปี พ.ศ. 2535 มีหน้าทีห่ ลักในการก�ำกับดูแล และพัฒนาตลาด ทุนให้ยั่งยืน พร้อมกับท�ำหน้าที่คุ้มครองผู้ลงทุน ด้วย ซึ่งในการเป็นองค์กรเชิงรุกที่จะท�ำหน้าที่นี้ ได้ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงไม่ได้ เป็นเพียงเครื่องมือส�ำคัญในการก�ำกับดูแล แต่ ในขณะเดียวกัน ก็ยงั สร้างความท้าทายใหม่ๆ แก่ ก.ล.ต. ด้วย คุณก�ำพล ศรธนะรัตน์ ผู้อ�ำนวยการ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ชี้ ให้เห็นถึงความท้าทายเหล่านี้

“เรื่องของการเตรียมรับมือกับเหตุฉุกเฉิน หรือ ภัยพิบัติ เพื่อให้องค์กรยังสามารถด�ำเนินงาน ต่ อ ไปได้ ก็เป็นโจทย์หนึ่งที่ส�ำคัญ ซึ่งคลาวด์ คอมพิวติง้ สามารถตอบโจทย์นไี้ ด้เป็นอย่างดี ใน แง่ประโยชน์ทไี่ ด้รบั ต่อการลงทุน แต่กจ็ ะมีความ เป็นห่วงเรื่องข้อมูล ซึ่งเราก็ต้องออกนโยบายให้ มีการจัดล�ำดับชัน้ ข้อมูล ข้อมูลใดมีความส�ำคัญ ก็จะปกป้องด้วยการเข้ารหัส มีการก�ำหนดสิทธิ์ ให้ผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูล และมีระบบ Right Management เข้ามาคุมที่ระดับเอกสารอีกชั้น หนึ่ง ดังนั้น การลงทุนในเครื่องมือที่จะมาช่วย เราจั ด ระบบข้ อ มู ล จั ด ระเบี ย บการท� ำ งาน ปิดช่องโหว่ ก็จะช่วยให้เกิดความมั่นใจในความ ปลอดภัย” คุณก�ำพล กล่าวสรุป

“ทุกวันนี้ มีข้อมูลส�ำคัญในรูปของรายงานต่างๆ ส่งผ่านช่องทางออนไลน์ ระหว่าง ก.ล.ต. กับ Stakeholder มากมาย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจด ทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์ เป็นต้น ภัยคุกคาม ทางไซเบอร์ จึ ง ถื อ เป็ น ประเด็ น ส� ำ คั ญ ที่ ต ้ อ ง ให้การดูแลเป็นพิเศษ ด้วยการออกนโยบาย เพือ่

ทางแก้ปัญหา เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายส�ำคัญข้างต้น ทาง ก.ล.ต. จึงได้พิจารณาทางเลือกการใช้งาน คลาวด์ โดยมีตัวอย่าง ได้แก่ การตัดสินใจย้าย ระบบอีเมล์สู่ Microsoft Office 365 พร้อมกับ ติดตั้งใช้งาน Microsoft Enterprise Mobility

30

G-MagZ IT MAGAZINE

Suite (EMS) ซึ่ ง เป็ น โซลู ชั่ น ที่ ช ่ ว ยในการ บริหารจัดการ และปกป้องผู้ใช้อุปกรณ์พกพา คอมพิวเตอร์ และข้อมูลแบบครบวงจร ตั้งแต่ ต้นทางถึงปลายทาง “ระบบอี เ มล์ ข องทาง ก.ล.ต. ท� ำ งานอยู ่ บ น Microsoft Exchange มาหลายรุ่นแล้ว ซึ่งเรา ก็ พ อใจในประสิ ท ธิ ภ าพการท� ำ งาน การ เปลี่ ย นแปลงในครั้ ง นี้ จึ ง ไม่ ใ ช่ ก ารเลื อ ก ซอฟต์แวร์ใหม่ แต่เป็นการตัดสินใจย้ายระบบไป อยูบ่ นคลาวด์แทน เพือ่ ตอบโจทย์ความต้องการ ขององค์กร” คุณก�ำพล กล่าว ในการด�ำเนินการย้ายระบบครัง้ นี้ ทางไมโครซอฟท์ ประเทศไทย และบริษัท เอ็มเวิร์จ จ�ำกัด ได้เข้า มามีส่วนช่วยสนับสนุน ในการให้ค�ำแนะน�ำ แก้ ปัญหาทางเทคนิค รวมทัง้ การอบรมบุคลากรเพือ่ ให้เป็นวิทยากรในการอบรมภายในอีกทอดหนึ่ง “เนื่องจากการย้ายระบบไปอยู่บนคลาวด์ เป็น เรื่องใหม่ส�ำหรับเรา จึงเป็นการดีที่เราได้รับการ สนั บ สนุ น อย่ า งเต็ ม ที่ ทั้ ง จากไมโครซอฟท์ ประเทศไทย และบริษัทเอ็มเวิร์จ ซึ่งเป็นบริษัท คูค่ า้ ทีไ่ ด้รบั การรับรองจากทางไมโครซอฟท์ และ ผ่านการคัดเลือกตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบี ย บมาตรฐานของ ก.ล.ต.อย่ า ง เคร่งครัด” คุณก�ำพล กล่าว ตามแผนงานทีว่ างไว้ ทางฝ่ายไอทีเลือกทีจ่ ะย้าย ระบบอีเมล์ขึ้นคลาวด์เป็นล�ำดับแรก เนื่องจาก เกีย่ วข้องกับผูใ้ ช้จำ� นวนมาก โดยเริม่ การย้ายระบบ อีเมล์ในเดือนมกราคม และเสร็จสิ้นในเดือน มิถนุ ายนทีผ่ า่ นมา หลังจากนัน้ จึงเริม่ ติดตัง้ ใช้งาน โซลูชั่น EMS โดยใช้เวลาอีกประมาณ 2 เดือน เนื่องจากเรามีผู้ใช้ประมาณ 600 คน และเรา ต้องการให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น จึงเลือกทีจ่ ะทยอยย้ายเมล์บอ๊ กซ์ ทีละส่วน และ ใช้ระบบอีเมล์ในลักษณะไฮบริดจ์ จนการย้าย ระบบเสร็จสมบูรณ์ แม้ในช่วงแรกที่เริ่มใช้งาน Office 365 ทางฝ่ายไอทีได้รับเสียงตอบรับว่า ระบบอีเมล์ทำ� งานช้า แต่หลังจากทีไ่ ด้ตรวจสอบ และบริหารแบนด์วดิ ธ์อย่างเหมาะสมแล้ว ก็พบ ว่า ไม่จ�ำเป็นต้องเพิ่มแบนด์วิดธ์ส�ำหรับรองรับ Office 365 โดยเฉพาะ


Success story ได้จากทุกที่อย่างปลอดภัย “โจทย์ส�ำคัญของเรา คือ เรื่อง Business Continuity ซึ่งทั้ง Office 365 และ EMS เข้ามาตอบโจทย์นี้ได้อย่างชัดเจน โดยท�ำให้เรามั่นใจได้ว่า ระบบของเราพร้อมให้ บริ ก ารตลอดเวลา และการเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล หรื อ ระบบจากภายนอก ก็ท�ำได้เหมือนท�ำงานอยู่ใน ส�ำนักงาน โดยทีเ่ ราได้กำ� หนดนโยบายไว้ใน EMS ซึง่ จะช่วยบริหารจัดการทัง้ ผูใ้ ช้ อุปกรณ์ และสิทธิ์ ในการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลได้อย่างเหมาะสม เช่น ตรวจสอบความปลอดภัย ของสมาร์ทโฟน ประโยชน์ท่ไี ด้รับ นับตั้งแต่ที่ได้มีการย้ายระบบอีเมล์ขึ้นสู่คลาวด์ ว่าต้องไม่มีการ Jailbreak หรือเพิ่มระดับความ อย่างสมบูรณ์เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ทางฝ่ายไอที ปลอดภัยด้วย Two-Factor Authentication หรือ การใช้ Right Management ควบคุมการเข้าถึง ก็ได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้ใช้ ไฟล์เอกสารแม้ที่ปลายทาง เป็นต้น” “เสียงตอบรับทีไ่ ด้จากผูใ้ ช้ออกมาในเชิงบวก จาก การที่ผู้ใช้ได้รับความสะดวกในการท�ำงานมาก “ส่วนในแง่ของการลงทุนในระบบส�ำรองเพื่อ ขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา ขนาดเมล์บ๊อกซ์ ของผู้ใช้ รองรับเหตุภัยพิบัตินั้น โซลูชั่นที่อยู่บนคลาวด์ ทัว่ ไปและผูบ้ ริหารจะจ�ำกัดอยูท่ ี่ 80 MB และ 250 สามารถตอบโจทย์องค์กรได้ตรงจุดกว่า โดยใช้เงิน MB ตามล�ำดับ จึงเป็นหน้าที่ของแต่ละคนที่จะ ลงทุนน้อยกว่า ส่วนมุมมองจากฝ่ายไอทีเอง เรา ต้องบริหารเมล์บอ๊ กซ์ของตนเองไม่ให้เต็ม แต่เมือ่ ก็เห็นว่าโซลูชั่นใหม่นี้ ช่วยลดปัญหา และภาระ เราเปลีย่ นมาใช้ Office 365 ซึง่ สามารถเพิม่ ขนาด ในการดูแลระบบได้มากทีเดียว” คุณก�ำพล กล่าว ของเมล์บอ๊ กซ์ ให้ผใู้ ช้แต่ละคนได้มากถึง 50 GB จึงท�ำให้ไม่เกิดปัญหาลักษณะนี้อีก นอกจากนี้ นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายโซลูชั่นใน Office 365 ที่ Office 365 ยังช่วยให้ผใู้ ช้สามารถรับส่งอีเมล์ทมี่ ี อยู่ในระหว่างการแนะน�ำให้บุคลากรในองค์กร ขนาดใหญ่ได้มากถึง 150 MB ต่ออีเมล์ จากเดิม ได้นำ� ไปใช้งาน ไม่วา่ จะเป็น Skype for Business ทีจ่ ำ� กัดไว้ 10 MB ต่ออีเมล์ ซึง่ ช่วยลดปัญหาทาง และ Yammer ทางฝ่ายไอทีได้เริ่มทยอยอบรม ฝั่งผู้ใช้ จากกรณีที่ไม่สามารถรับอีเมล์เรื่องงาน และเปิดให้ใช้งาน Skype for Business กับผู้ใช้ เนือ่ งจากขนาดอีเมล์ใหญ่เกินก�ำหนด” คุณก�ำพล ในบางกลุ่มก่อน เช่น ศูนย์ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ ซึง่ มีความจ�ำเป็นต้องติดต่อ และประชุม กล่าว ผ่านวิดโี อคอนเฟอเรนซ์อยูเ่ ป็นประจ�ำ จากเดิมที่ นอกเหนือจากนั้น คุณก�ำพล ยังได้ชี้ให้เห็นถึง จะต้ อ งไปใช้ ห ้ อ งคอนเฟอเรนซ์ และเซตอั พ ประโยชน์ที่ส�ำคัญ และชัดเจนยิ่งกว่า คือ การที่ อุปกรณ์ เป็นการเฉพาะ แต่ในปัจจุบัน สามารถ ระบบอีเมล์ขององค์กร มีสภาพพร้อมให้บริการ ใช้เครื่องโน้ตบุ๊กและ Skype for Business ใน (Availability) อยูเ่ สมอ และสามารถเข้าถึงข้อมูล การประชุมทางไกลเป็นกลุ่มเล็กได้ง่ายๆ ช่วย ในส่วนของ EMS นัน้ จะต่างออกไป โดยหลังจาก ที่ติดตั้ง Microsoft Intune, System Center Configuration Manager และ Right Management System แล้ ว เราจะต้ อ งน� ำ นโยบายต่างๆ ที่เราก�ำหนดไว้ ไปทดสอบบน EMS ว่าสามารถควบคุม และบริหารจัดการผู้ใช้ อุปกรณ์ สิทธิ์ในการใช้งาน และการเข้าถึงข้อมูล ให้เป็นไปตามนโยบายได้จริง

ให้การท�ำงานสะดวกมากขึน้ และปลอดภัยสูงขึน้ กว่าการใช้ช่องทางสาธารณะ จึงคาดว่า ภายหลังจากนี้ จะขยายขอบเขตการ ใช้งานให้กว้างขวางมากขึ้นและในส่วนของการ ใช้งาน Yammer เป็นแพลตฟอร์มด้านโซเชียล มีเดียในองค์กรนั้น คุณก�ำพลก็ได้ชี้ให้เห็นถึง แนวทางในการผนวกรวม Yammer เข้ า กั บ โซลูชั่นในการจัดการเอกสาร และการแบ่งปัน องค์ความรู้ ที่มีในองค์กรอยู่แล้ว “เดิมที เรามีทั้งระบบบริหารจัดการเอกสาร และ อินทราเน็ตส�ำหรับการแบ่งปันความรู้ ซึ่งท�ำงาน อยูบ่ น SharePoint และล่าสุด เราได้นำ� Yammer มาใช้ เพื่อตอบโจทย์ด้านโซเชียลมีเดีย โดยทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องท�ำงานร่วมกัน” “ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้ก็จะใช้แอพฯ หรือโปรแกรมอื่น เช่น Facebook และ LINE ซึ่งเราก็เห็นว่า ยังมี ข้ อ จ� ำ กั ด ตามนโยบายด้ า นการรั ก ษาความ ปลอดภัยของ ก.ล.ต. เช่น เราไม่อนุญาตให้ส่ง ข้อมูลส�ำคัญผ่านโปรแกรมเหล่านี้ เราจึงแนะน�ำ ให้ผใู้ ช้เปลีย่ นมาใช้ Yammer แทน โดยให้ถอื เป็น แพลตฟอร์มทางด้านโซเชียลมีเดียส�ำหรับองค์กร อย่างเป็นทางการ และเริ่มมีการโพสต์ข้อมูลที่ น่าสนใจ เพื่อให้บุคลากรภายในเข้ามาติดตาม อ่าน รวมถึงการสร้าง Expert Directory บนนีด้ ว้ ย เพื่ อ ให้ บุ ค ลากรที่ อ ยากทราบเรื่ อ งใด ก็ จ ะมี ผู ้ เ ชี่ ย วชาญในด้ า นนั้ น ๆ มาช่ ว ยตอบค� ำ ถาม โดยอาศัยเครือข่ายทางสังคมเป็นตัวผลักดัน” คุณก�ำพล กล่าวสรุป G

ข้อมูลเกี่ยวกับ Microsoft Office 365 และ Microsoft Enterprise Mobility Suite (EMS)

Office 365 เป็นบริการคลาวด์ที่ช่วยให้คุณสามารถเรียกใช้งานแอพพลิเคชัน Office ที่คุณคุ้นเคย รวมทั้ง อีเมล์ ปฏิทิน วิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ และไฟล์เอกสารล่าสุดของคุณ ได้จากทุกที่ ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ตั้งแต่เครื่องพีซีไป จนถึงสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต Enterprise Mobility Suite (EMS) คือ โซลูชั่นการจัดการและรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจรส�ำหรับ ทั้งระบบคลาวด์และภายในองค์กรของคุณ โดยช่วยจัดการข้อมูลประจ�ำตัวของผู้ใช้ ปกป้องสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และระบบ เพื่อการใช้ทรัพยากรขององค์กรจากทุกที่ ได้อย่างปลอดภัย

สนใจข้อมูล Microsoft Office 365 และ Microsoft Enterprise Mobility Suite ได้ที่ www.mverge.co.th/microsoft หรือ ติดต่อทีมงาน Microsoft Service Mverge Tel : 02-678-0999 Ext. 3265 Email : mverge.ms@g-able.com

G-MagZ IT MAGAZINE

31


Inno&Product

“Café Roamer”

นวัตกรรมใหม่จาก G-ABLE ยกระดับร้านกาแฟสู่โอกาสใหม่ในการดำ�เนินธุรกิจ

อีกก้าวหนึ่งแห่งการพั ฒนานวัตกรรมของ บริษัท จีเอเบิล จ�ำกัด ที่ ไ ด้ ส ร้ า งสรรค์ แ อพพลิ เ คชั่ น ใหม่ ขึ้ น มา ซึ่ ง ในครั้ง นี้ มี ทิ ศ ทาง เป้าหมายขยายไปสู่ ธุ ร กิ จ ขนาดย่ อ ม โดยการตั้ ง ต้ น จากธุ ร กิ จ “ร้านกาแฟ” ด้วยแอพฯ ที่ช่อ ื ว่า “Café Roamer”

แอพฯ Café Roamer ได้รบั การพัฒนาภายใต้แนวคิด Smart Application ซึ่งมุ่งเน้น 2 ส่วนคือ ยกระดับ การด�ำเนินธุรกิจร้านกาแฟ และอ�ำนวยความสะดวก ให้กับลูกค้าของร้านกาแฟ โดยสิง่ ทีเ่ จ้าของร้านกาแฟจะได้รบั คือ มีระบบไอทีใน การบริหารจัดการทั้งระบบ ตั้งแต่งานหลังบ้าน เช่น สต๊อกสินค้า บัญชีรายรับ ข้อมูลการจ�ำหน่ายสินค้า

Café Roamer

ความสะดวกติดมือลูกค้า ที่ช่วย คุณขยายธุรกิจด้วยโลกออนไลน์...เพียงแค่ Tablet ตัวเดียว กับค่าบริการบางๆ ก็เริ่มได้แล้ว

ตลอดจนการรับรายการสัง่ ซือ้ (ออร์เดอร์) จากลูกค้า รวมทัง้ ยังมีขอ้ มูลเพือ่ ใช้ทำ� กิจกรรมการตลาดอีกด้วย ในขณะที่ลูกค้า จะมีความสะดวกในการสั่งซื้อที่ สามารถสั่ ง ผ่ า นแอพฯ ด้ ว ยขั้ น ตอนง่ า ยๆ ได้ รั บ โปรโมชั่นหรือสินค้าราคาพิเศษตามช่วงเวลาที่ร้าน ก�ำหนด สามารถสะสมแต้มได้ ที่ส�ำคัญยังสามารถ สั่งรสชาดได้ตามความชอบ ด้านการใช้งาน Café Roamer เสมือนเป็น E-Wallet ที่ ลูกค้าสามารถเติมเงินไว้ในระบบ เพื่อการสั่งซื้อล่วง หน้า หรือสั่งผ่านแอพฯ ส่วนการเริ่มต้นใช้งานเพียง โหลดแอพฯ Café Roamer จากนัน้ ท�ำการลงทะเบียน ซึ่งแอพฯ จะมีสกรีนช็อตเป็นข้อแนะน�ำในการลง ทะเบียน และเมื่อด�ำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลูกค้าสามารถเติมเงิน และใช้งานได้ทันที โดยสรุป Café Roamer จะเป็นตัวช่วยให้การด�ำเนิน ธุรกิจกาแฟ ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาด มี ความคล่องตัว ทันสมัย บริหารจัดการง่าย รวมทั้งยัง มีประโยชน์อกี หลายด้านทีต่ อบสนองธุรกิจร้านกาแฟ ได้เป็นอย่างดี ด้วยค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ร้านกาแฟ ขนาดเล็กสามารถใช้บริการได้อย่างไม่ต้องกังวล G

Smart Device Drink More Money Café Roamer ให้คุณมากขึ้น ทราบข้อมูลการขายเชิงลึก ได้ลูกค้าที่เหนียวแน่นกับร้านคุณ (Customer Loyalty) ให้ลูกค้าท�ำ Promotion ได้หลากหลาย เจาะจงเป็นรายสินค้า รู้ทุกรายการสั่งของลูกค้า ให้คุณวิเคราะห์การขายได้เหมือนมีระบบ CRM ขนาดย่อม เสริมภาพลักษณ์ ให้กับธุรกิจ เข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท จีเอเบิล จ�ำกัด / 02-685-9191 saas.sale@g-able.com

32

G-MagZ IT MAGAZINE


Inno&Product

TAMIS

ระบบสารสนเทศเพื่อ เกษตรกรแบบพกพา

นั บ แ ต่ อ ดี ต จ น ม า ถึ ง ปั จ จุ บั น ประเทศไทยกับเกษตรกรเป็นสิ่งที่ อยู่คู่กันมายาวนาน ประชาชนส่วน ใหญ่ ข องประเทศท� ำ การเกษตร สื บ ต่ อ กั น มาหลายรุ่ น พื ช หลั ก ที่ ปลูกคือ ข้าว โดยพื ชอื่นๆ นั้นจะ มีการปลูกหมุนเวียนไปตามความ ต้องการของตลาด

ภารกิจในการดูแลเกษตรกรของประเทศเป็น ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งมีการ มอบหมายหน้าที่ให้กรมต่างๆ แยกย่อยลงไป ดูแลเกษตรกรในกลุ่มต่างๆ เช่น กรมการข้าว กรมหม่อนไหม และอื่นๆ ซึ่งในแต่ละกรมจะมี การจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรเป็นของ เมล็ ด พั น ธุ ์ ข ้ า ว กรมส่ ง เสริ ม ต้ อ งการข้ อ มู ล ตัวเอง ในรูปแบบของการลงทะเบียนเกษตรกร เกษตรกร (รวมถึงชาวนา) เพือ่ ใช้เป็นฐานข้อมูล ในการออกนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล เช่น โดยการลงทะเบียนเกษตรกร เป็นการเก็บรวบรวม การจ่ายเงินชดเชยภัยพิบัติธรรมชาติ ซึ่งแต่ละ ข้อมูลในด้านต่างๆ อาทิ ชื่อ ที่อยู่อาศัย พืชที่ หน่วยงานต้องลงทุนทรัพยากรเพื่อใช้ในการ ปลูก ผลผลิตต่อปี รายได้ต่อไร่ หลักเขตของ เก็บข้อมูล และปรับปรุงข้อมูลของเกษตรกร ที่ พื้นที่การท�ำเกษตร และอื่นๆ ตามที่กระทรวง ซ�้ำซ้อนกัน ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลส่วนบุคคลของ ก�ำหนด โดยการจัดเก็บข้อมูลแต่เดิมนั้น มี เกษตรกร หรือข้อมูลกิจกรรมการเกษตร เป็นต้น หลายหน่วยงานในประเทศไทยที่ท�ำการเก็บ โดยข้อมูลมีการเปลีย่ นแปลงตลอดท�ำให้ขอ้ มูล ข้ อ มู ล เกษตรกรเพื่ อ ใช้ ป ระโยชน์ ต าม ที่ลงทุนเก็บมาจึงอาจจะไม่เป็นปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่าง นอกจากนี้การจัดเก็บข้อมูลยังท�ำให้รูปแบบ กันไป การเขียนลงกระดาษ ซึง่ ต้องใช้เวลานานในการ ตัวอย่างเช่น กรมการข้าว ต้องการข้อมูลชาวนา บั น ทึ ก จากนั้ น เจ้ า หน้ า ที่ ต ้ อ งน� ำ ข้ อ มู ล ใน เพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณภาพและพัฒนา กระดาษเหล่านั้นมาบันทึกลงคอมพิวเตอร์อีก

ครั้ง อีกทั้งยังประสบปัญหาเรื่อง เจ้าหน้าที่ บั น ทึ ก ข้ อ มู ล อ่ า นลายมื อ เกษตรกรไม่ อ อก ท�ำให้การบันทึกข้อมูลมีความผิดพลาด ล่าช้า เสี ย เวลา และงบประมาณโดยไม่ ไ ด้ รั บ ประโยชน์อย่างเต็มที่ ผุดความคิดพั ฒนาระบบเก็บ ข้อมูล “TAMIS” จากปัญหาที่เกิดขึ้น วัชรากร หนูทอง นักวิจัย จาก ศู น ย์ เ ทคโนโลยี อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ส�ำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และทีมพัฒนา จึงได้ท�ำการออกแบบ และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศส�ำหรับ ใช้เป็นศูนย์กลางในการเก็บข้อมูลเกษตรกรของ G-MagZ IT MAGAZINE

33


Inno&Product

ทุกหน่วยงาน เพื่อเป็นการลดค่าใช้งาน และ ท�ำให้เกิดการบูรณาการข้อมูลของหน่วยงาน ต่างๆ เพื่อใช้ในการวางแผน ปรับปรุงพัฒนา ธุรกิจ คุณภาพสินค้า และคุณภาพชีวิตของ เกษตรกรชาวไทยอย่างยั่งยืน โดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทีพ่ ฒ ั นาขึน้ มา นี้เป็นโมบายแอพพลิเคชั่นที่สามารถใช้งานได้ บนอุปกรณ์พกพา (แท็บเล็ต) ภายใต้ชื่อว่า “TAMIS”

การลงทะเบียนเกษตรกร ด้วยบัตรสมาร์ทการ์ด

ออฟไลน์ และท�ำการเชื่อมต่อกับระบบ Cloud ในภายหลัง ซึ่งข้อมูลที่เก็บขึ้นไปนั้นสามารถ TAMIS ท�ำงานได้ รองรับความต้องการข้อมูลที่หลากหลายของ ทั้งออนไลน์-ออฟไลน์ TAMIS (Thailand Agriculture Mobile แต่ละหน่วยงานด้วยการออกแบบฐานข้อมูล Information System) เป็นระบบสารสนเทศที่ และเครื่องมือสร้างแบบฟอร์มที่หยืดหยุ่น น�ำแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนในระบบ Android มาใช้งานร่วมกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบ TAMIS สามารถตรวจประเมินแหล่งผลิตตาม ประมวลผลแบบกลุม่ เมฆ (Cloud Computing) มาตรฐานพื ช GAP (Good Agricultural และเทคโนโลยีสมาร์ทการ์ด เหตุที่ใช้พัฒนา Practices) และการตรวจรับรองแหล่งผลิตข้าว แอพพลิเคชั่นในระบบ Android เท่านั้น เพราะ อินทรีย์ (ORG 06) ของกรมการข้าว และรองรับ ระบบนี้เป็นระบบเปิด (Open Source) ซึ่งทีม แบบตรวจรับรองมาตรฐานใหม่ๆ ในอนาคต พัฒนามีความเชี่ยวชาญ อีกทั้งตัวสมาร์ทโฟน อีกด้วย หรือแท็บเล็ตก็สามารถหาซื้อได้ง่าย และราคา แอพพลิเคชั่น TAMIS ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ ไม่สูงนัก ในการให้ บ ริ ก ารของรั ฐ แบบเคลื่ อ นที่ ท� ำให้ TAMIS ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถขึ้นทะเบียน ได้ข้อมูลถูกต้อง แม่นย�ำ โปร่งใส น่าเชื่อถือ เกษตรกรไทยด้วยบัตรสมาร์ทการ์ด ซึง่ เป็นบัตร สะดวก รวดเร็ว พร้อมรวบรวมสรุป และออก ประชาชนรุน่ ใหม่ทรี่ ฐั บาลออกให้แก่ประชาชน ใบรับรองอย่างเป็นระบบ ในบัตรมีข้อมูลประจ�ำตัวของผู้ถือบัตร เมื่อ บัตรสมาร์ทการ์ดเชื่อมต่อกับเครื่องอ่านข้อมูล เริ่มใช้งานจริงแล้ว แอพพลิเคชั่นจะท�ำการเก็บเข้าระบบได้ทันที ช่วยเพิ่ มประสิทธิภาพชัดเจน วัชรากร บอกถึงในช่วงของการทดลองว่า ได้นำ� พร้อมสามารถ่ายภาพเกษตรกรได้ด้วย โมบายแอพพลิ เ คชั่ น ดั ง กล่ า วไปใช้ ง านใน นอกจากนี้ ร ะบบยั ง สามารถเก็ บ พิ กั ด แปลง กรมหม่อนไหมเป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 ปี เพาะปลูกด้วยเทคโนโลยีจีพีเอส (GPS) บน ซึ่งผลที่ได้รับคือ กรมหม่อนไหมสามารถลง แผนทีก่ เู กิลแม็พ (Google Maps) โดยสามารถ ทะเบียนข้อมูลเกษตรกรที่กรมรับผิดชอบอยู่ วาดเขตพื้ น ที่ ข องเกษตรกรรายนั้ น ๆ ลงบน แล้ ว เสร็ จ ภายใน 6 เดื อ น พร้ อ มน� ำ ข้ อ มู ล แผนทีไ่ ด้ทนั ที พร้อมระบุพกิ ดั ทีแ่ น่นอน ป้องกัน ไปใช้ ใ นการช่ ว ยเหลื อ เกษตรกรได้ อ ย่ า งมี ความผิดพลาดหรือสับสน จากนั้นสามารถ ประสิทธิภาพมากขึ้น ท� ำ การเก็ บ ข้ อ มู ล ขึ้ น บนระบบ Cloud หาก ในพื้ น ที่ ที่ มี ก ารส� ำ รวจไม่ ส ามารถเชื่ อ มต่ อ นอกจากนี้ยังเริ่มน�ำไปใช้ในหน่วยงานต่างๆ อินเทอร์เน็ตได้ ระบบสามารถเก็บข้อมูลได้แบบ ของกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งผลการด�ำเนินงาน 34

G-MagZ IT MAGAZINE

การเก็บพิกัด GPS แปลงปลูกพืช บนแผนที่ Google Maps

ปรากฏว่า จากเดิมในแต่ละวันสามารถเก็บ ข้อมูลเกษตรกรได้สูงสุดเพียง 10 คน แต่ด้วย แอพพลิเคชัน่ TAMIS ท�ำให้สามารถเก็บข้อมูล เกษตรกรได้สูงสุด 45 คน ส่ ว นด้ า นการพั ฒ นาแอพพลิ เ คชั่ น ขณะนี้ มี ค วามสมบู ร ณ์ ใ นระดั บ หนึ่ ง และเริ่ ม ส่ ง แอพพลิ เ คชั่ น ให้ ห น่ ว ยงานต่ า งๆ ได้ น� ำ ไป ทดลองใช้ ง านแล้ ว แต่ อ ย่ า งไรก็ ต ามยั ง จะ ท�ำการพัฒนาต่อไป โดยเฉพาะความสามารถ ในการเก็ บ ข้ อ มู ล ในแบบออฟไลน์ ใ ห้ ดี ม าก ขึน้ รวมถึงการพัฒนาให้แอพพลิเคชัน่ สามารถ ท� ำ งานกั บ แท็ บ เล็ ต รุ ่ น ใหม่ ๆ ได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพนั่นเอง G


Green Idea จนิษฐ์ ประเสริฐบรูณะกุล

บทสรุป COP21 : ความท้าทายของประเทศไทยในการลดภาวะโลกร้อน

COP21 คืออะไร COP ย่อมาจาก Conference of Parties การประชุมว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจัดขึ้นเป็นสมัยที่ 21 โดยการ ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ เป็นการเจรจาระหว่าง ผูน้ ำ� ประเทศจากกว่า 190 ประเทศทัว่ โลก โดยมีผเู้ ข้าร่วมประชุม ทั้งผู้น�ำประเทศ หน่วยงานรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมในแต่ละ ประเทศ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ ภาคการเมือง และภาค ประชาชน ในปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน - 11 ธันวาคม 2558 นี้ ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยเนื้อหาการประชุมได้มีการหา ข้ อ ตกลงว่ า ด้ ว ยการต่ อ สู ้ กั บ ภาวะโลกร้ อ น หรื อ ที่ เ รี ย กว่ า “ข้อตกลงปารีส” (Paris Agreement) มีเป้าหมายเพือ่ จ�ำกัดระดับ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกินระดับ 2 องศาเซลเซียส (Well Below 2 °C) จากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม นับเป็นข้อตกลง ด้านสิง่ แวดล้อมทีม่ คี วามครอบคลุมทีส่ ดุ นับตัง้ แต่การจัดท�ำพิธี สารเกียวโต เมื่อปี ค.ศ 1997

ส�ำหรับการประชุม COP สมัยที่ 21 เป็นทีร่ จู้ กั กันในชือ่ The 2015 Paris Climate Conference มีเป้าหมายส�ำคัญคือ เป็นการ ประชุมที่ครบก�ำหนดที่ภาคีจะต้องตกลงกันให้ได้มาซึ่งข้อตกลง ใหม่ที่จะมาแทนที่พิธีสารเกียวโต ซึ่งหมดอายุไปแล้วเมื่อปี พศ. 2555 (ในพิธีสารเกียวโตได้ก�ำหนดข้อผูกพันทางกฎหมาย ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของประเทศภาคี ในกลุ่ม ANNEX1 โดยที่ปริมาณการลด การปล่อยก๊าซเรือน กระจกจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ) และส�ำหรับข้อตกลง ใหม่ทจี่ ะมาแทนทีพ่ ธิ สี ารเกียวโตและจะถูกก�ำหนดขึน้ นี้ จะมีผล ผูกพันและมีผลบังคับใช้กบั ทุกภาคีโดยจะสามารถเริม่ ด�ำเนินการ ได้ภายในปี ค.ศ.2020 หรือ พ.ศ.2563 นี้ COP21 ข้อตกลงและบทสรุป : หากได้ดูสารคดีเรื่อง Six Degrees Could Change The World: จะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงและความหายนะที่จะเกิดขึ้นหาก อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นทีละ 1 องศาเซลเซียส การให้โลกได้ ตระหนักถึงความรุนแรงของภัยพิบตั ติ า่ งๆ และการเปลีย่ นแปลง

G-MagZ IT MAGAZINE

35


GREEN IDEA

ทีน่ า่ ตกใจของการด�ำเนินชีวติ ของทุกสิง่ มีชวี ติ ในโลก แม้ขณะนีอ้ ณ ุ หภูมิ เฉลีย่ ผิวโลกได้เพิม่ ขึน้ ในระดับทีต่ ำ�่ กว่า 1 องศาเซลเซียล แต่ผลกระทบ ได้ปรากฎขึ้นอย่างชัดเจนในหลายประเทศแล้ว เช่น มีชาวคิริบาส ประเทศหมู่เกาะใกล้เส้นศูนย์สูตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ต้องกลาย เป็นผู้ลี้ภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาความขัดแย้ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในยุ โ รปจากการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศและการ แปรปรวนของสภาพภูมอิ ากาศแบบสุดขัว้ จากภัยโลกร้อนทีเ่ กิดขึน้ แล้ว ทั่วโลก การประชุม COP21 นี้ยังเน้นถึงข้อตกลงและความร่วมมือในการ สนับสนุนประเทศและชุมชนที่ประสบภัยในการปรับตัวเข้ากับการ เปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศทีก่ ำ� ลังเกิดขึน้ ในปัจจุบนั ในบางประเทศ รวมถึงประเทศหมู่เกาะขนาดเล็ก (The Alliance of Small Island States: AOSIS) มองว่าการจ�ำกัดการเพิม่ ขึน้ ของอุณหภูมเิ ฉลีย่ ผิวโลก ที่ไม่มากไปกว่า 2 องศาเซลเซียสนั้นยังสูงเกินไป และเรียกร้องให้ข้อ ตกลงของการประชุม COP21 ก�ำหนดให้อณ ุ หภูมเิ ฉลีย่ ผิวโลกสูงขึน้ ไม่ เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิเฉลี่ยที่เราจะต้องเผชิญและ เสี่ยงกับภัยพิบัติร้ายแรงหากสูงเกินไปกว่านี้ ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีข้อสรุปการประชุม ประกอบด้วยเอกสาร จ�ำนวน 31 หน้า ระบุถึงข้อตกลงที่ประเทศต่างๆ เห็นพ้องกัน โดย มีเป้าหมายเพิม่ จากระดับอุณหภูมเิ ฉลีย่ ของโลกไม่ให้เกินระดับ 2 องศา เซลเซียส จากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ด้วยการจัดหาเงินช่วยเหลือ มูลค่า 100,000 ล้านดอลล่าร์แก่ประเทศยากจน ทบทวนความก้าวหน้า ทุกๆ 5 ปี และหาทาง ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนที่เป็นสาเหตุของ ปรากฏการณ์เรือนกระจกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะท�ำได้

ประเทศพัฒนาแล้วควรยังคงเป็นผูน้ ำ� ในการด�ำเนินงานผ่านเป้าหมาย การลดการปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจกในทุ ก สาขา (Economy-Wide Absolute Emission Reduction Targets) ในขณะที่ประเทศก�ำลัง พัฒนาควรเพิ่มความพยายามในการลดก๊าซเรือนกระจก และมุ่งสู่ เป้าหมายการลดหรือจ�ำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกสาขา บนพื้นฐานของสถานการณ์ภายในประเทศที่แตกต่างกัน โดยทั้งโลกมี การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยูท่ ี่ 37,168,339 Gg CO2 Equivalent โดยประเทศไทยมีการปลดปล่อยอยู่ที่ 236,947 Gg CO2 Equivalent หรือประมาณ 0.64% จากตัวเลขทั้งโลก “ข้ อ สรุ ป สาระส� ำ คั ญ 7 ประการที่ ไ ด้ ป ระกาศ ออกมามีดังนี้” • Temperatures ภายใน 85 ปีข้างหน้าหรือปี ค.ศ. 2100 ทุก ประเทศจะช่วยกันปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือใช้พลังงาน สะอาดเพิ่มขึ้น เพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มถึง 2 องศาเซลเซียส “Well Below 2 Degrees Celsius” และไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ใน ระยะยาว • Finance ช่วงปีค.ศ. 2020-2025 ประเทศ ร�่ำรวยจะต้อง สนับสนุนเงิน 1 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขัน้ ต�ำ่ ให้แก่กลุม่ ประเทศก�ำลัง พัฒนาเพือ่ ช่วยสนับสนุนให้ใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม หรือลดการทิ้งขยะ ลดการเผาไหม้จากภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรรม ฯลฯ

ส�ำหรับเนื้อหาในข้อความตกลงปารีสประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก คือ การด�ำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) การ ปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ (Adaptation) ความร่วมมือในการรับมือกับความสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage) และการด�ำเนินงานเพื่อยกระดับการให้การสนับสนุน ด้านการเงิน เทคโนโลยี การเสริมสร้างศักยภาพ (Support; Means of Implementation) พร้อมทั้งวางกรอบเพื่อรับรองความโปร่งใสของการ ด�ำเนินงานและการสนับสนุน (Transparency) โดยมีความยืดหยุ่น และค�ำนึงถึงขีดความสามารถของรัฐภาคีที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ได้ ก�ำหนดกระบวนการเพือ่ ประเมินความคืบหน้าในการบรรลุจดุ ประสงค์ และเป้าหมายของความตกลงฯ ในปี ค.ศ. 2023 และทุกๆ 5 ปีหลังจาก นั้นอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐภาคีตกลงส่งแผนการด�ำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ที่เรียกว่า Nationally Determined Contributions (NDCs) ทุกๆ 5 ปี ซึ่งจะต้องแสดงถึงความพยายามที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย 36

G-MagZ IT MAGAZINE

รูปแสดงข้อสรุปสาระสำ�คัญทั้ง 7 ประการจากข้อตกลง Paris Agreement 2015 (แหล่งข้อมูลสำ�นักข่าว AFP) (แหล่งข้อมูล http://unfccc.int/files/ghg_data/application/pdf/table.pdf)


GREEN IDEA

รูปแสดงแผนของการนำ�ไปสู่การปฏิบัติการสำ�หรับการลดก๊าซเรือนกระจกในทุกๆ 5 ปี ตาม Paris Agreement

• Differentiation ทุกประเทศสัญญาว่าจะรับผิดชอบร่วมกัน ลด ปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยประเทศพัฒนาแล้วต้องเป็นผู้น�ำในการลด การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส�ำหรับประเทศก�ำลังพัฒนาจะ ต้องเพิ่มความพยายามในการลดด้วยเช่นกัน • Emissions Objectives ภายในปี ค.ศ. 2050 เพื่อที่จะลดการ ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างรวดเร็วแต่ละประเทศจะต้องพยายาม เพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนฯ หรือที่เรียกว่า “Carbon Sinks” เพื่อ สร้างความสมดุลย์ระหว่างกิจกรรมของมนุษย์ในการปลดปล่อยและ การเพิ่มแหล่งดูดซับ • Burden-Sharing ประเทศพัฒนาแล้วต้องช่วยเงินสนับสนุน แก่ประเทศก�ำลังพัฒนาด้านกิจกรรมพลังงานสะอาดอย่างต่อเนือ่ ง ส่วน ประเทศอื่นๆ ก็สามารถอาสาให้การสนับสนุนเงินช่วยเหลือได้เช่นกัน • Review Mechanism นับจากปี ค.ศ. 2023 ทุกๆ 5 ปี จะมีการ ประเมินค�ำมั่นสัญญาลดโลกร้อนของทุกประเทศได้ท�ำตามค�ำสัญญา ที่ตกลงกันไว้หรือไม่ • Climate Damage ทุกประเทศจะต้องตระหนักและช่วยกัน แก้ไขรวมถึงลดความเสียหายจาก “ภูมอิ ากาศแปรปรวน” เพือ่ ไม่ให้เกิด ผลกระทบกับประเทศที่มีความเปราะบาง (Vulnerable Country) รวม ทัง้ ได้รบั ผลกระทบและความสูญเสีย จากภาวะการเปลีย่ นแปลงสภาพ ภูมิอากาศ จากทีก่ ล่าวมาจะเห็นได้วา่ เป็นความท้าทายของประเทศไทย ทัง้ ภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกคน ที่จะต้องตระหนักถึงการช่วยกันลดภาวะ

โลกร้อน จากนโยบายของชาติ แผนปฏิบัติการ การบังคับใช้ และการ ควบคุม อีกทั้งให้การสนับสนุนทุกภาคส่วนให้มีกิจกรรมเพื่อลดก๊าซ เรือนกระจก จาก COP21 จะเห็นได้ว่า ถึงเวลาแล้วที่คนไทยทุกคนต้องช่วยกันลด โลกร้อน เริ่มจากชีวิตประจ�ำวัน การลดการทิ้งขยะ ตระหนักเลือกใช้ พลังงานสะอาด และการลดการท�ำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกทีเ่ ป็นสาเหตุ ท�ำให้เกิดภาวะโลกร้อนโดยไม่จ�ำเป็น โดยรัฐเองก็ต้องส่งเสริมให้ทุก ภาคส่วนมีแผนในการลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล และส่งเสริม กิจกรรมที่ท�ำให้เกิดพลังงานสะอาดในประเทศอย่างเป็นรูปธรรมและ ยั่งยืน G

แหล่งข้อมลู :

http://www.tgo.or.th http://www.eppo.go.th/ccep/cop.html http://www.tmd.go.th/programs/%5Cuploads%5Cweatherclimate %5CCOP21_hot%20issue.pdf http://climate.tmd.go.th/content/article/9 http://www.greenpeace.org/ http://unfccc.int/documentation/documents/advanced_search/ite ms/6911.php?priref=600008831 http://unfccc.int/meetings/items/6237.php?filtbody=53 http://newsroom.unfccc.int/ http://unfccc.int/files/ghg_data/application/pdf/table.pdf http://www.fondation.afp.com/content/top-cop21-en

G-MagZ IT MAGAZINE

37


Guru Talk โค้ชกร & โค้ชปอม Lean In Consulting’s

credit: https://www.crisp.se/ konsulter/henrik-kniberg

มารู้จักกับ

Agile ให้ถ่องแท้ ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 มีผู้รู้หลากหลาย คนหลายคณะ ได้ นำ � เสนอระเบี ย บวิ ธี ก าร พัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development Methodology) แบบใหม่ ข องตนเอง ซึ่ ง มี ลักษณะคล้ายกันคือ ไม่เคร่งในระเบียบวิธมี าก เกินไป เมื่อเทียบกับรูปแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมา นานหลายสิบปี ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2001 เหล่าผู้รู้ที่มี ส่วนร่วมในการนำ�เสนอระเบียบวิธีการพัฒนา ซอฟต์ แ วร์ แ บบใหม่ เ หล่ า นี้ ไ ด้ มี โ อกาสนั ด พบปะกัน ณ รีสอร์ท แห่งหนึ่งในรัฐยูทาห์ เพื่อ หารือถึงแนวทางร่วมกันในการนำ�เสนอสิ่งที่ กลุ่มคนเหล่านี้ได้ค้นพบ ซึ่งได้ข้อสรุปว่าชื่อ “อไจล์” อไจล์จึงเป็นชื่อเรียกรวม ของระเบียบวิธีการ พัฒนาซอฟแวร์หลายชนิด ซึ่งมีแนวทางร่วม กัน 4 ข้อ ดังนี้ 38

G-MagZ IT MAGAZINE

1.เน้นที่การให้ความสำ�คัญกับ “คน” โดยเน้ น ที่ ก ารทำ � งานร่ ว มกั น และกระจาย อำ�นาจในการตัดสินใจไปสู่หน้างานจริง 2.เน้นที่การสร้างซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ จริง มากกว่าการยึดถือเอกสารหรือรายงาน อย่างที่ปฏิบัติต่อๆ กันมา 3.เน้นที่การทำ�งานร่วมกันระหว่างนัก พัฒนาและลูกค้าหรือผู้ใช้ตลอดโครงการ เหตุ เพราะความต้องการของระบบนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ สามารถเก็บได้ก่อนที่จะเริ่มงานจริง ฟีดแบค จากลูกค้าหรือผู้ใช้เป็นสิ่งเดียวที่จะบอกได้ว่า ซอฟต์แวร์นั้นถูกต้องหรือไม่ 4.เน้นที่การรับความเปลี่ยนแปลงได้ ตลอดเวลา แม้ ใ นช่ ว งท้ า ยของโครงการ เนื่องจากธุรกิจเป็นสิ่งที่ต้องก้าวไปข้างหน้า และความเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจเกิดขึ้น ทุกวัน ซอฟต์แวร์ที่ไม่สามารถตอบสนองต่อ ความเปลี่ยนแปลงนั้นได้ จะไม่สามารถนำ�พา ธุรกิจไปสู่ความสำ�เร็จได้อย่างยั่งยืน


Guru Talk

credit: http://www.scaledagileframework.com/foundations/

credit: http://www.scaledagileframework.com/foundations/

แนวปฏิบัติ 12 ข้อก้าวสู่ “อไจล์”

“อไจล์” ดีอย่างไร?

นอกจากหลักการ 4 ข้อข้างต้นแล้ว เหล่าผู้รู้ที่นัดพบกันในวันนั้น ยังกำ�หนดข้อปฏิบัติ อีก 12 ข้อ เพื่อให้เราสามารถปฏิบัติตามได้

1

7

2

8

เปลี่ยนจากทำ�งานให้ “เสร็จ” เป็นส่งมอบซอฟต์แวร์ที่มี คุณค่าและสร้างความพึงพอใจให้ แก่ลูกค้า

ซอฟต์แวร์ต้องก้าวไปพร้อม ธุรกิจของลูกค้า ซอฟต์แวร์ จะต้องถูกออกแบบให้สามารถ ยอมรับความเปลีย่ นแปลง (Change) ได้เสมอ แม้จะเป็นช่วงท้ายของ โครงการ

3

ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริงจะ ต้องถึงมือลูกค้า อย่างสม่�ำ เสมอ เพื่อรับรู้ถึงฟีดแบคจากลูกค้า

4

คนจากทั้งฝั่งธุรกิจและ นักพัฒนาจะต้องทำ�งานร่วม กันเป็นประจำ�ทุกวัน ตลอดโครงการ

วัดความก้าวหน้าของงาน จากซอฟต์แวร์ที่ทำ�งานได้จริง ไม่ใช่ เอกสาร หรือรายงาน การทำ�งานต้องยั่งยืน การ โหมงานให้เสร็จตามกำ�หนด ที่กระชั้นชิด จะส่งผลต่อคุณภาพ ของซอฟต์แวร์ ในระยะยาว

9

จะต้องใส่ใจในความสมบูรณ์ ของการสร้างสรรค์ทกุ ขัน้ ตอน เพราะซอฟต์แวร์มีอายุการใช้งานที่ ยาวนานมากกว่าที่คาดคิดไว้เสมอ เช่น ปัญหา Y2K เป็นต้น

10

ซอฟต์แวร์ที่สร้างแล้วเป็น ภาระในการดูแลรักษา เช่น ต้องการทดสอบอย่างสม่ำ�เสมอ ดังนั้นการไม่สร้างซอฟต์แวร์ส่วนที่ ไม่เกิดมูลค่าจะเป็นการดีที่สุด ได้แก่ ไม่สร้างฟีเจอร์ที่ไม่ถูกใช้ หรือใช้ไม่ บ่อยนัก

5

เริม่ จากคัดเลือกคนทีเ่ หมาะสม กับงาน และให้อำ�นาจในการ ตัดสินใจที่เหมาะสม

11

6

12

ใช้การสื่อสารที่มีความกว้าง ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ กล่าวคือ การสนทนาต่อหน้าย่อมดีกว่าการ โทรศัพท์, การโทรศัพท์ย่อมดีกว่า การส่งอีเมล์ เป็นต้น

สถาปัตยกรรม

ซอฟต์แวร์ทด่ี ที ส่ี ดุ มาจาก ทีห่ น้างานจริง ไม่ใช่หอคอยงาช้าง

ทีมที่ดีจะต้องมอง ย้อนถึงสิ่งที่ตนเอง ได้ทำ�ไปแล้วเป็นประจำ� เพื่อนำ� มาปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำ�งาน อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทีมมี ประสิทธิภาพการทำ�งานดีขึ้น

อไจล์ ไ ม่ ไ ด้ มี ชื่ อ เสี ย งโด่ ง ดั ง ขึ้ น มาทั น ที ห ลั ง จากประกาศคำ � แถลงการณ์อไจล์ร่วมกัน หากแต่ใช้เวลาอีกหลายปีกว่า อไจล์ จะ เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมา ส่วนหนึ่งคือ ความสำ�เร็จของบริษัทเทคโนโลยี เกิดใหม่ (Tech Startup) อย่าง Google หรือ Facebook เมื่อมี คำ�ถามว่าพวกเขาทำ�งานกันอย่างไร คำ�ตอบคือพวกเขาใช้ “อไจล์” มีหลายบริษทั ทัง้ ใหญ่และเล็ก ต้องการให้ตนเองประสบความสำ�เร็จ ในแบบเดียวกันกับ Google หรือ Facebook ก็เริ่มนำ�อไจล์ไปปรับ ใช้ในองค์กรของตนเอง เมื่อมีการทำ�งานศึกษาพบว่า ข้อดีของ การนำ�อไจล์ไปใช้มี 4 ด้านคือ พนักงานมีขวัญและกำ�ลังใจใน การทำ�งานดี, เวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ออกสู่ตลาด (Time To Market) สั้นลง, ผลิตภาพสูงขึ้น และข้อบกพร่องของซอฟต์แวร์ (Defect) ลดลง ซึ่งที่สุดแล้วหมายถึง ความก้าวหน้าทางธุรกิจ สิ่งสำ�คัญที่ช่วยให้ธุรกิจที่ใช้อไจล์ประสบความสำ�เร็จนั้นมาจาก การส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้าตั้งแต่ช่วงต้นและต่อเนื่องตลอดการ พัฒนา ซึ่งนอกจากจะช่วยให้สนองตอบต่อตลาดได้รวดเร็วแล้ว ยังสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าอีกด้วย ที่สำ�คัญ ทีมพัฒนาเอง ก็ได้ฟีดแบคเพื่อนำ�มาแก้ไขปรับปรุงซอฟต์แวร์ในเวลาที่รวดเร็ว อีกด้วย โดยสรุป “อไจล์” คือ ระเบียบวิธพี ฒ ั นาซอฟแวร์ ทีท่ �ำ ให้เราสามารถ ส่งมอบงาน ได้อย่าง รวดเร็ว ต่อเนื่อง และ โดนใจ ลูกค้า นั่นเอง G

อ้างอิง http://agilemanifesto.org/ https://en.wikipedia.org/wiki/Agile_software_development https://www.crisp.se/konsulter/henrik-kniberg http://www.scaledagileframework.com/foundations/ G-MagZ IT MAGAZINE

39


Guru Talk

ธีระ กนกกาญจนรัตน์ ผู้อำ�นวยการฝ่ายวิจัย และวิเคราะห์กลยุทธ์ธุรกิจ บริษัท : เจ.เอ็ม.คาตาลิสท์ จำ�กัด

กับการพัฒนาอุตสาหกรรม

โทรคมนาคมไทย

ในช่ ว งกลางเดื อ นพฤศจิ ก ายนที่ ผ่ า นมาเราได้ บ ทสรุ ป สำ�หรั บ การประมู ล คลื่นความถี่ 1800 MHz เพื่อให้บริการ 4G กันไปแล้ว โดย 2 โอเปอเรเตอร์ ที่ชนะการประมูลคือ เอไอเอส และทรู โดยคว้าใบอนุญาตไปครอง ด้วยเม็ดเงิน รวมที่สูงถึง 80,778 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นการประมูลที่เข้มข้น เนื่องจาก ใช้ระยะเวลาถึง 33 ชั่วโมง รวมถึงแสดงให้เห็นถึงบทบาทของผู้เล่นหน้าใหม่ อย่างจัสมิน

40

G-MagZ IT MAGAZINE


Guru Talk

จากการสำ�รวจสภาวะตลาดหลักทีเ่ ริม่ เปลีย่ น ผ่านไปยังระบบ 4G ในต่างประเทศ เราพบ ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดนั้นจะเดินไปใน 2 ทิศทางคือ การเติบโตของอุตสาหกรรมในแนว ราบ (Horizontal) และแนวดิ่ง (Vertical)

การเติบโตในแนวราบ (Horizontal Growth)

เมื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบ 4G เกิดขึ้น สิ่ง ที่ทุกฝ่ายคาดการณ์ไว้คือ ประมาณผู้ใช้งาน อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มอื ถือทีม่ จี �ำ นวนเพิม่ มากขึ้น ความเร็วในการเข้าถึงที่ดีขึ้น และ เครือข่ายที่ครอบคลุม ผนวกกับราคาอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ที่รองรับ 4G มีราคาถูกลง ปัจจัย เหล่านี้จะทำ�ให้ผู้ใช้งานเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ มากยิง่ ขึน้ ซึ่งไม่เพียงเฉพาะผูใ้ ช้งานทีเ่ ปลีย่ น จากระบบ 2G และ 3G เท่านัน้ ในต่างประเทศ เราพบความเคลื่อนไหวของการเข้าถึงเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านระบบ 4G แทนที่การใช้ ระบบบรอดแบนด์ หรือระบบสายในครัวเรือน ด้วยความเร็วในระดับ 4G ที่สามารถเข้าถึง เครือข่ายได้เทียบเท่า หรือเร็วกว่าอินเทอร์เน็ต บรอดแบนด์ รวมถึงการทีบ่ างพืน้ ทีใ่ นประเทศ ยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ความเร็วสูง ทำ�ให้ผู้บริโภคหันมาพึ่งเครือข่าย 4G บนโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก ซึ่งตอบโจทย์ ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่มีการเดินทาง ย้าย ที่อยู่อาศัย และมีความเป็นโมบายมากขึ้น นอกจากการเติบโตของฐานผู้ใช้แล้วจากการ สำ�รวจเราพบว่า ปริมาณการใช้งานก็เพิ่มสูง

สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังการประมูล และเปิดให้ บริการ 4G จึงกลายเป็นจุดสนใจของทุกฝ่าย ว่าผลจากการประมูลในครั้งนี้จะมีผลกระทบ ใดต่อผูบ้ ริโภค และอุตสาหกรรมโทรคมนาคม จะก้าวต่อไปในทิศทางใด ซึ่งเราจะได้เห็น ผู้ ช นะการประมู ล เร่ ง ขยายโครงข่ า ย และ บริการ 4G ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2559 นี้

จากการสำ�รวจสภาวะตลาด หลักที่เริ่มเปลี่ยนผ่านไปยัง ระบบ 4G ในต่างประเทศ เรา พบว่าการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิด นั้นจะเดินไปใน 2 ทิศทางคือ การเติบโตของอุตสาหกรรม ในแนวราบ (Horizontal) และแนวดิ่ง (Vertical)

ขึน้ ด้วยเช่นกัน ทัง้ ด้านบริการออนไลน์ทหี่ ลาก หลาย และเทรนด์ของการบริโภคเนื้อหาที่ เปลี่ยนไป เช่น การบริโภคสื่อที่เป็นวิดีโอมาก ขึ้นกว่าภาพนิ่ง ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้ปริมาณ การใช้งานต่อผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นด้วย มีการคาดการณ์ว่า 4G จะทำ�ให้ปริมาณการ ใช้งานเฉลีย่ ของคนไทยต่อคนต่อเดือนเพิม่ ขึน้ เป็น 1.5 GB โดยเพิม่ ขึน้ จาก 0.97 GB ซึง่ หาก เทียบกันแล้วในประเทศเกาหลีใต้เองก็มีการ เปลี่ยนแปลงในแนวทางเดียวกันที่ปริมาณ การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มอื ถือต่อ คนต่อเดือนนั้นเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวหลังจากมี การเปลี่ยนผ่านระบบ 3G มายัง 4G

การเติบโตในแนวดิ่ง (Vertical Growth)

นอกจากฐานผู้ใช้และปริมาณการใช้งานที่ เพิ่มสูงขึ้นแล้ว 4G ยังเป็นกุญแจสำ�คัญที่ช่วย ปลดล็อคบริการใหม่ๆ ที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึง อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย ไม่ว่า จะเป็นการนำ� Mobile Application เข้าไปใช้ ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมการ เงิน การศึกษา การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงขั้นตอนการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ทีเ่ ป็นการใช้งานแอพพลิเคชัน่ แบบ Real-Time

หรือใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) บนอุ ป กรณ์ พ กพา โดยการบริ ก ารเหล่ า นี้ ต้ อ งการเครื อ ข่ า ยที่ มี ค วามเร็ ว และความ เสถียรสูง สิ่งที่เราจะเห็นการเติบโตในแนวดิ่ง นั้นคือ การให้บริการแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ เจาะลึกลงไปในแต่ละอุตสาหกรรม ในด้านโซเชียลมีเดีย และโมบายคอมเมิร์ซ ก็เช่นกัน เราจะได้พบกับเทรนด์การทำ�การ ตลาดผ่ า นวิ ดี โ อคอนเท้ น ต์ ที่ ไ ด้ รั บ ความ นิยมมากขึ้น 4G จะทำ�ให้เนื้อหาที่ผู้บริโภค สามารถเข้ า ถึ ง ได้ นั้ น มี ค วามสมบู ร ณ์ แ บบ และ Interactive มากยิ่ ง ขึ้ น เช่ น การนำ � เทคโนโลยี 3D มาใช้ แ สดงข้ อ มู ล สิ น ค้ า การเข้าถึงบริการออนไลน์ที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมไปถึ ง การนำ � เทคโนโลยี เ สมื อ นจริ ง (Augmented Reality) เข้ามาใช้ในชีวติ ประจำ� วั น ก็ มี ค วามเป็ น ไปได้ สู ง ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ในเร็ ว วันนี้บนเครือข่าย 4G การเติบโตทัง้ 2 ทิศทางล้วนมีความสอดคล้อง และเอื้อต่อกัน อุตสาหกรรมโทรคมนาคมมี การขยายตัวด้านการเข้าถึงและการประยุกต์ ใช้งานที่มากขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมที่อยู่ใน ระบบนิ เ วศน์ เ ดี ย วกั น เช่ น ตลาดอุ ป กรณ์ โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ หรื อ ปริ ม าณการลงทุ น ใน โครงข่าย รวมไปถึงการจ้างงานทีม่ แี นวโน้มว่า จะเติบโตขึน้ โดยเฉพาะการลงทุนในเครือข่าย นั้น มีการคาดการณ์ว่าจะเป็นเม็ดเงินสูงถึง 1.5 แสนล้านบาท ส่วนรายได้จากการใช้งาน เครือข่ายในอีก 3 ปีข้างหน้านั้นจะเติบโตขึ้น แตะระดับ 3 แสนล้านบาทเลยทีเดียว โดยสรุป 4G จะทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน หลายด้าน ทั้งด้านการใช้งาน คุณภาพ ความ รวดเร็ว ตลอดจนการเติบโตของระบบนิเวศน์ ซึง่ หมายถึงธุรกิจทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง ไปจนถึงเม็ดเงิน ทีไ่ หลเวียนในระบบเศรษฐกิจก็จะมีการขยาย ตัวด้วยเช่นกัน G G-MagZ IT MAGAZINE

41


Idea Info

PwC เมื่อเร็วๆ นี้ ไพร้ซ์ วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ (PwC) เปิดเผยผลสำ�รวจเกี่ยวกับความ ปลอดภั ย ข้ อ มู ล “Global State of Information Security® Survey 2016” เกี่ ย วกั บ ความท้ า ทายข้ อ ใหญ่ สุ ด ด้ า น ความเสีย่ งจากภัยไซเบอร์ และระบบความ ปลอดภัยข้อมูล ในสายตาผู้บริหารระดับ สูงของบริษัทชั้นนำ�ทั่วโลก ผลสำ�รวจซึ่งครอบคลุมความคิดเห็นของ ผู้บริหารระดับสูงต่างๆ ตั้งแต่ระดับ CIO ลงมาถึงระดับผู้อำ�นวยการด้านไอทีของ องค์ ก รมากกว่ า 10,000 คน ใช้ เ วลา รวบรวมเมื่อช่วงกลางปี 2015 ครอบคลุม ใน 127 ประเทศ ระบุชัดเจนว่า ผู้บริหาร

เผยผลสำ�รวจภูมิทัศน์

ความปลอดภัยข้อมูล ปี 2016 ต่างตืน่ ตัวมากขึน้ และเริม่ ปรับเปลีย่ นท่าที ในการลงทุนปรับปรุงระดับความปลอดภัย ขององค์ ก ร โดยเฉพาะเมื่ อ ตระหนึ ก ถึ ง เทคโนโลยี แ ละแนวโน้ ม ใหม่ ๆ ที่ นำ � “ความเสี่ยง” เข้ามาสู่องค์กรมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในบางกรณีสร้างความสูญเสีย เป็นหลักพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

David Burg หัวหน้าที่ปรึกษาด้านความ ปลอดภั ย ไซเบอร์ ใ นสหรั ฐ และทั่ ว โลก ของ ไพร้ซ์ วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ (PwC) ถึง กับเอ่ยปากว่า “เรากำ�ลังเห็นภาพชัดขึ้น เรือ่ ยๆ ว่าสิง่ ทีเ่ ราเคยมองว่าเป็นความเสีย่ ง นั้น กำ�ลังค่อยๆ กลายมาเป็นโซลูชั่นการ แก้ปัญหาที่เป็นไปได้”

โดยการลงทุนด้านความปลอดภัยจากนีไ้ ป ถูกยกระดับเป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์ มี การเชื่อมโยงเรื่องความปลอดภัยข้อมูล แบบข้ามส่วนงานภายในองค์กร เชื่อมโยง กั บ เป้ า หมายและวั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการ เติบโตของธุรกิจด้วย รวมถึงนวัตกรรมและ ความเป็นผู้นำ�

ผลการสำ�รวจสำ�คัญๆ ของ Global State of Information Security® Survey 2016 ระบุวา่ 91% ขององค์กร มีการจัดทำ�กรอบ การทำ�งานด้านความปลอดภัยแล้ว หรือ อย่ า งน้ อ ยก็ มี ก ารผสานหั ว ข้ อ นี้ ไ ว้ เ ป็ น ส่วนหนึง่ นำ�กรอบการทำ�งาน รวมทัง้ หลาย องค์ ก รยั ง ดำ � เนิ น การสอดคล้ อ งกั บ

Security at a glance: How businesses are responding to rising cyber-risks

38% องค์กรจัดสรรงบ ประมาณด้านความ ปลอดภัยข้อมูล เพิ่มขึ้น 24% ในปี 2015

42

G-MagZ IT MAGAZINE

พบเหตุการณ์ละเมิด ความปลอดภัยข้อมูล เพิ่มขึ้น 38% จาก ปี 2014

24%

56% 5%

มีการขโมยทรัพย์สิน ทางปัญญา “ที่จับ ต้องได้” เพิ่มขึ้นใน ปี 2015 ความสูญเสียทางการ เงินลดลง 5% ช่วงปี 2014-2015

22% พนักงาน เป็นต้นตอสำ�คัญ ในการนำ�ภัยไซเบอร์เข้ามาสู่ องค์กร และสร้างให้เกิดการ ละเมิดความปลอดภัยข้อมูลคู่ ค้าทางธุรกิจ เพิ่มขึ้นเป็น 22%


Idea Info

58%

มีการลงทุน ด้านความปลอดภัย ข้อมูลในภาพรวม

องค์กรกำ�ลังลงทุนด้านระบบ ความปลอดภัยหลัก เพื่อปกป้อง ห่วงโซ่การทำ�ธุรกิจ และรับมือภัย คุกคามได้ดียิ่งขึ้น

53% มีโครงการสร้าง ความตระหนักและ อบรมพนักงาน

52%

มีการติดตั้งโปรแกรม ตรวจความปลอดภัยบน คอมพิวเตอร์/มาตรฐาน ความปลอดภัยสำ�หรับ บุคคลที่ 3

มาตรฐานด้านการจัดการความปลอดภัยของ ข้อมูล ISO 27001, กรอบการทำ�งานด้านความ ปลอดภัยไซเบอร์ ของสถาบันมาตรฐานและ เทคโนโลยีแห่งชาติสหรัฐ (NIST) และ SANS Critical Controls เพื่อช่วยในการระบุและ จัดลำ�ดับความสำ�คัญของภัยคุกคาม การตรวจ จับได้อย่างรวดเร็ว บรรเทาความเสีย่ ง และช่วย ให้เข้าใจช่องว่างด้านความปลอดภัย เมื่ อ เจาะลึ ก ในรายละเอี ย ดของผลสำ � รวจ ฉบับนี้ เห็นได้ถงึ สัญญาณชัดเจนของแนวโน้ม ความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยพบว่า ในปี 2015 มีการตรวจพบเหตุการณ์ ละเมิดความปลอดภัยข้อมูลเพิ่มขึ้น 38% เมื่อ เทียบกับปีก่อนหน้านี้, มีการขโมยทรัพย์สิน ทางปั ญ ญา “ที่ จั บ ต้ อ งได้ ” เพิ่ ม ขึ้ น 56%, องค์กรต่างๆ มีการเพิ่มงบประมาณด้านความ ปลอดภัยข้อมูล 24% อย่างไรก็ตาม ในแง่ ความสูญเสียที่เป็นตัวเงินนั้นลดลงจากปีก่อน หน้า 5% ขณะที่พนักงานยังคงถูกระบุว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของต้นตอสำ�คัญในการนำ�ภัยไซเบอร์เข้ามาสู่ ระบบข้อมูลองค์กร คิดเป็นสัดส่วนเพิม่ ขึน้ เป็น

54%

มีการกำ�หนดตำ�แหน่ง หัวหน้าผู้บริหารด้านความ ปลอดภัยข้อมูล (CISO) และเจ้าหน้าที่ด้านความ ปลอดภัยข้อมูล (CSO)

49% มีการลงทุนด้าน การทำ�ประเมินภัย คุกคาม

48%

มีการลงทุนด้านการเฝ้า ติดตามในเชิงรุก/ การวิเคราะห์ความชาญ ฉลาดของระบบความ ปลอดภัย

22% แต่สัญญาณที่น่ายินดี ก็คือ เริ่มเห็น แนวโน้มที่องค์กรต่างๆ ในการจัดทำ�โครงการ ริ เ ริ่ ม เชิ ง กลยุ ท ธ์ แ บบทำ � งานร่ ว มกั น มาใช้ ปรั บ ปรุ ง ด้ า นระบบความปลอดภั ย และลด ความเสี่ ย ง ได้ แ ก่ 69% ทำ � โครงการด้ า น คลาวด์ เบส ซิเคียวริตี้, 59% การวิเคราะห์ บิ๊ก ดาต้า, 91% กรอบการทำ�งานบนพื้นฐาน ความเสีย่ ง, 59% การประกันภัยความเสียหาย บนระบบไซเบอร์ (Cybersecurity Insurance), 65% การทำ�งานร่วมกับพันธมิตรอย่างเป็น ทางการ ในด้านการลงทุนนั้น องค์กรภาคธุรกิจต่างๆ มุ่งทุ่มเงินลงทุนติดตั้งระบบความปลอดภัย หลักๆ เพือ่ คุม้ ครองป้องกันห่วงโซ่การทำ�ธุรกิจ ได้อย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และรับมือภัยคุกคาม ได้ดียิ่งขึ้น โดยพบว่า 58% มีการลงทุนด้าน ความปลอดภัยข้อมูลในภาพรวมแล้ว, 53% มี โครงการสร้ า งความตระหนั ก และอบรม พนักงาน, 52% มีการติดตั้งโปรแกรมตรวจ ความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์/มาตรฐาน ความปลอดภัยสำ�หรับบุคคลที่ 3 ขณะที่ องค์กร 54% มีการกำ�หนดตำ�แหน่ง

องค์กรเริ่มจัดทำ�โครงการเชิงกลยุทธ์ เพื่อปรับปรุงระบบความปลอดภัยและ ลดความเสี่ยง

69%

โครงการด้านคลาวด์ เบส ซิเคียวริตี้ (Cloud-based cybersecurity)

91%

กรอบการทำ�งานบน พื้นฐานความเสี่ยง (Risk-based security framework)

59% การวิเคราะห์ บิ๊ก ดาต้า (Big Data Analytics)

59%

การประกันภัยความ เสียหายบนระบบ ไซเบอร์ (Cybersecurity insurance)

65% การทำ�งานร่วมกับ พันธมิตรอย่างเป็น ทางการ (Formally collaborate with others)

หั ว หน้ า ผู้ บ ริ ห ารด้ า นความปลอดภั ย ข้ อ มู ล (CISO) และเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัย ข้อมูล (CSO) , 49% มีการลงทุนด้านการทำ� ประเมินภัยคุกคาม และ 48% มีการลงทุนด้าน การเฝ้าติดตามในเชิงรุก (Active Monitoring)/ การวิ เ คราะห์ ค วามชาญฉลาดด้ า นระบบ ความปลอดภัย ผลสำ�รวจอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ 69 % ของ ผู้ ต อบแบบสอบถาม ระบุ ว่ า ใช้ บ ริ ก ารด้ า น ความปลอดภัยไซเบอร์ที่อยู่บนคลาวด์ ในการ ปกป้ อ งข้ อ มู ล ที่ มี ค วามอ่ อ นไหว และสร้ า ง ความมั่นใจเรื่องความเป็นส่วนตัว โดยบริการ เหล่านีร้ วมไปถึง การเฝ้าติดตามแบบเรียลไทม์ การยืนยันตัวตนขั้นสูง การระบุตัวบุคคล และ การบริหารจัดการการเข้าถึง ขณะที่ ผลกระทบของบิ๊ก ดาต้า ก็ยังขยายผล ไม่หยุด โดย 59% ของผู้ตอบแบบสอบถาม บอกว่า นำ�การวิเคราะห์บกิ๊ ดาต้า มาใช้ท�ำ แบบ จำ�ลองและเกาะติดภัยคุกคามความปลอดภัย ทางไซเบอร์ ตลอดจนการตรวจสอบเพื่อให้ ทราบว่าข้อมูลถูกนำ�ไปใช้โดยใคร และเมื่อไร G

G-MagZ IT MAGAZINE

43


คุยกับหมอไอที หมอลี

เทรนด์อาชีพ

ไอที

ไอทีเป็นอาชีพที่ประหลาดอย่างหนึ่งคือ “คนที่ เก่ ง ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งจบไอที ” ไม่ ว ่ า ในมุ ม ผู ้ ประกอบการ หรื อ มุ ม ของพนั ก งาน เพราะ ฉะนั้นเราต้องขวนขวายหาความรู้ทางวิชาชีพ ติดตามเทรนด์ (Trend) ข่าวสาร และศึกษา สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาตลอดเวลา แต่ไม่ว่าจะ สาขาไหน ก็ตอ้ งพบชะตากรรมเหมือนกัน เพียง แต่ไอทีมันเร็ว และ Player ที่จะเข้ามาแข่งขัน มันมาแบบจัดหนัก ดังนัน้ ทุกอย่างจึงตกเทรนด์

44

G-MagZ IT MAGAZINE

ไม่ได้และต้องติดตาม Trend Technology ว่ า เคลื่ อ นไปทางไหน จากนั้ น ก็ ไ ปศึ ก ษา เพิม่ เติม ถ้าเป็นไปได้ ก็ไปสอบ Certificate และ ควรเป็น Certificate ที่มี Workshop เพราะ ด้ ว ยประสบการณ์ (ผู ้ เ ขี ย น) แล้ ว คนที่ ไ ด้ Certificate บางคนลงงานจริงไม่ได้ อุ๊บส์ .. ส�ำหรับข้อมูลแรกที่น�ำเสนอคือ ผลส�ำรวจว่า งานไอทีด้านไหนเป็นที่ต้องการตามล�ำดับ


ข้อมูลนีส้ ำ� รวจในอเมริกา ซึง่ จะเห็นว่า 3 อาชีพ แรก เป็นไปตามเทรนด์ของไอที คือ มีการ เข้าสู่ Mobility มากขึ้น มีการน�ำข้อมูลมา วิเคราะห์มากขึ้นในส่วนของ Big Data และ แน่นอนด้วยการขยับขยายด้าน Telecom จาก 3G ไป 5G อย่ า งรวดเร็ ว (ไม่ ใ ช่ ใ นสยาม ประเทศ เราไปแบบมั่นคง ให้เขาใช้ดูก่อน ถ้าดีเราจะตาม) ท�ำให้มคี วามต้องการบุคลากร ด้านนี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่วนอาชีพที่ 4 และ 5 เป็นอาชีพที่ต้องผสม ผสานสมองสองด้ า นให้ เ ป็ น ไปตามความ ต้องการของผูใ้ ช้ ตามทิศทางการสร้างแบรนด์ ขององค์กร ไม่ใช่ผสมผสานเฉพาะเรื่องงาน เท่านัน้ แต่จะต้องผสมผสานเรือ่ งคนเข้าไปด้วย คิดว่าทุกคนคงได้พบกับ Graphic Design ที่ ออกแบบมาแล้วเราต้องมาโปรแกรมมิ่งให้ แต่ละจุด แต่ละปุ่มให้เป็นไปตาม Business Flow แค่คิดก็โอ้ย...ปวดตับ

ส่วน Web Designer มีมาช้านาน แต่ตอนนี้ เว็บไม่ได้แห้ง แบบเก่า มันต้อง Dynamic และ ต้อง Responsive ไปยัง Devices ใหม่ๆ ที่ ขยันออกมาอีก จึงไม่ง่ายเลย บทส�ำรวจนี้จะ ช่วยให้เราไปถูกทิศทาง ใครที่มุ่งไปแล้วจะได้ ไปต่อนะครับ

ข้อมูลจาก http://www.tomsitpro.com/articles/big-data-certifications,2-706.html

ข้างบนเรามองจากมุมของ Trend ที่โลกมัน วิ่งไป แต่ที่งงๆ คือ มันคงไม่ได้ไปสอบถาม เรือ่ งงาน ด้าน Security แน่ๆ เพราะว่างานด้าน Cyber Security ยังไงก็เป็นที่ต้องการ โดย เฉพาะในอนาคตข้างหน้า โลกก�ำลังจะเข้า สู่ Digital Economic เต็มๆ เราต้องมีต�ำรวจ Cyber ที่อาจมีความส�ำคัญพอๆ กับต�ำรวจ ไล่จับขโมย นอกจากนีย้ งั มีขอ้ มูลทีน่ า่ สนใจจากเว็บไซต์อนื่ เพิ่มเติมในเรื่องของ Certificate ที่โลกยอมรับ ว่ามีอะไรบ้าง แต่พอสรุปคร่าวๆ ได้ ว่ามี 5 Certificates (ตามตารางด้ า นซ้ า ย) ที่ โ ลก ยอมรับกัน ข้อสังเกตคือ Certification ล้วนอิงไปกับ Big Data Platform ใหญ่ของโลก เราตามเทรนด์ ง่ายมากในอนาคต ไปดูวา่ ใครมาแรง ก็จะเห็น ทิศทางอาชีพของตัวเอง ตารางด้านซ้ายคือข้อมูลที่มายืนยันว่า ถ้าใคร สนใจใน เรื่อง Big data และมี Certificate รับรองได้…ไม่ตกงานแน่ๆ เป็นการส�ำรวจที่ อเมริกาในช่วงครึ่งหลังของปี 2015 อย่างที่บอกครับ ใครที่อยู่ในอาชีพไอทีก็ต้อง ทันเทรนด์ ทันกระแส และหาความรู้เพิ่มเติม ไปเรือ่ ยๆ เพราะหยุดเมือ่ ไหร่กต็ กขบวนเมือ่ นัน้ เป็นก�ำลังใจให้กับทุกคนนะครับ G

G-MagZ IT MAGAZINE

45


บันทึกมุมมอง สถานีช่องนนทรี

วีซ่า เพื่อชีวิต

ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาข่าวคราวของรัสเซีย ตุรกี ไอซิส ท�ำให้ ประชาชนพลเมืองเริ่มคิดไปต่างๆ นาๆ แต่พอทบทวนความจ�ำ ก็จ�ำได้ว่าเคยอ่านเจอเรื่องที่งดงามและน่าประทับใจอยู่เรื่อง หนึ่ง จึงขออนุญาตน�ำมาแบ่งปันในบันทึกมุมมองฉบับนี้ ชิอุเนะ ซึกิฮาร่า (Chiune Sugihara) เกิดที่จังหวัดกิฟุ ประเทศ ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 มกราคม ปี 1900 เคยมีประสบการณ์ท�ำงาน เป็ น นั ก เจรจาและฑู ต ในประเทศแมนจู กั ว และฟิ น แลนด์ สามารถพูดได้หลายภาษาตั้งแต่อังกฤษ เยอรมัน รัสเซีย และ จีน ในปี 1939 ชิอุเนะ ซึกิฮาร่าและครอบครัว ย้ายจากสถาน ฑูตในฟินแลนด์มาประจ�ำอยู่ที่สถานฑูตญี่ปุ่นในเมืองเคานัส ประเทศลิทัวเนีย * ในตอนแรกซึกิฮาร่าจะไปประจ�ำที่รัสเซีย แต่ถูกทางรัฐบาล รัสเซียปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศ จึงไปประจ�ำที่ลิทัวเนียแทน ลิทวั เนียเป็นประเทศเล็กๆ ถูกขนาบข้างด้วยเยอรมันและรัสเซีย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในปี 1940 มีชาวยิวจ�ำนวนมาก หนีข้ามพรมแดนโปแลนด์เข้ามาในประเทศ ซึ่งทุกคนก็รู้ดีว่า กองทัพนาซีคงจะมาถึงลิทวั เนียในเวลาไม่ชา้ และทางรอดเพียง ทางเดียวก็คอื การเดินทางหนีไปยังประเทศอืน่ ซึง่ ต้องอาศัยวีซา่

46

G-MagZ IT MAGAZINE

ในยามนั้น ลิทัวเนียตกอยู่ใต้อาณัติของรัสเซียซึ่งได้ออกค�ำสั่ง ให้ประเทศต่างๆ ถอนสถานฑูตออกไปจากลิทัวเนียทั้งหมด ประกอบกับการออกวีซา่ นัน้ ถูกควบคุมไว้โดยกฎหมายอเมริกา ไม่วา่ ประเทศใด ทัง้ ยุโรปและรัสเซียต่างก็ปฏิบตั ติ อ่ ชาวยิวอย่าง เย็นชาทีเดียว สถานฑูตญีป่ นุ่ ในยามนัน้ ได้ท�ำสัญญาไม่รกุ รานกับรัสเซียไว้ จึง สามารถเปิดท�ำการอยู่ได้จนกว่าจะมีค�ำสั่งย้ายมาถึง และจาก การที่ญี่ปุ่นได้ประกาศนโยบายว่าจะปฏิบัติต่อทุกประเทศโดย เท่าเทียมกันชาวยิวจ�ำนวนมากจึงพากันมาเฝ้ารออยูห่ น้าสถาน ฑูตญี่ปุ่นเพื่อยื่นค�ำขอให้ออกวีซ่าทรานซิทส�ำหรับใช้เดินทาง ผ่านญี่ปุ่นไปยังประเทศที่สามอีกที แต่ในความจริงแล้ว ญีป่ นุ่ ได้ทำ� สัญญาเป็นพันธมิตรกับเยอรมัน และอิตาลี การออกวีซา่ ให้กบั ชาวยิวนีถ้ กู เกรงว่าจะท�ำความไม่ พอใจให้กับฝ่ายนาซีได้ กระทรวงการต่างประเทศจึงตั้งเงื่อนไข ในการออกวีซา่ ว่าจะออกให้กบั บุคคลทีม่ รี ายได้ประจ�ำในระดับ หนึ่ ง เท่ า นั้ น ซึ่ ง ชาวยิ ว ที่ เ ป็ น ผู ้ อ พยพย่ อ มมี น ้ อ ยคนที่ จ ะมี คุณสมบัติในข้อนี้ และนี่ก็เท่ากับว่าเป็นการขังชาวยิวนับแสน คนไว้ในลิทัวเนียนั่นเอง ชิอุเนะ ซึกิฮาร่า (Chiune Sugihara) กงสุลใหญ่ญี่ปุ่นประจ�ำ ประเทศลิทัวเนีย จ�ำได้ดีว่า เช้าวันหนึ่งปลายเดือนกรกฎาคม ปี 1940 จู่ๆ ก็มีชาวยิวล้อมรอบก�ำแพงสถานกงสุลเต็มไปหมด คนเหล่านี้มาหาชิอุเนะด้วยเหตุผลเดียว นั่นคือ.....ต้องการให้ เขาออกวีซ่าส�ำหรับนักท่องเที่ยวให้ ทว่าแท้จริงแล้วมันไม่ใช่ วีซ่าเพื่อการพักผ่อนอย่างที่ระบุไว้ในเอกสาร แต่เป็น...วีซ่า... เพื่อการรอดชีวิต


ช่วงเวลานั้นมีชาวลิทัวเนียและชาวโปแลนด์เชื้อสายยิวจ�ำนวน มากต้องการอพยพหนีออกนอกประเทศ เพราะลิทัวเนียตกอยู่ ในอาณัติของสหภาพโซเวียต และถูกบีบบังคับให้เข้าร่วม สงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ลิทวั เนียต้องรับมือในการสูร้ บกับกองทัพ นาซีทแี่ ข็งแกร่งและก�ำลังจะพ่ายแพ้ ซึง่ ถ้าแพ้......ก็หมายความ ว่าชาวยิวในลิทัวเนียจะถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และหากไม่มี... วีซ่า...พวกเขาก็จะไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศอย่าง ปลอดภัยได้เป็นอันขาด “แม้แต่นายพราน...ก็ยังไม่สังหารนกที่บิน มาหลบภัย” สุภาษิตของซามูไรบทนีป้ รากฏชัดในใจของชิอเุ นะซ�ำ้ แล้วซ�ำ้ เล่า เขารูต้ วั ว่าเขาคือนายพรานทีฝ่ งู นกบินมาพักอาศัย ชิอเุ นะจึงได้ โทรเลขปรึกษากระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เพื่อขออนุญาต ออกวีซ่าให้ชาวยิวเป็นกรณีพิเศษถึง 3 ครั้งเพราะชาวยิวส่วน ใหญ่ไม่มีเอกสาร ไม่มีพาสปอร์ต และไม่มีแม้แต่....เงินค่าเดิน ทาง แต่...ทุกครั้งได้รับการปฏิเสธ... “เวลาหนี....เหลือน้อยลงทุกที” ผู้คนมาเข้าแถวรอหน้าสถาน กงสุลมากขึน้ เรือ่ ยๆ ชิอเุ นะจึงปรึกษา ยูกโิ กะ ภรรยาของเขา ใน ที่สุดก็ตัดสินใจว่า เขาจะออกวีซ่าให้ชาวยิวทุกคน แม้ไม่ได้รับ อนุญาตก็ตาม! ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม – 28 สิงหาคม ปีนั้น ชิอุเนะและภรรยาช่วยกันออกวีซ่า ซึ่งต้องเขียนด้วยมือตาม ระเบียบของกระทรวงฯ วันละ 18-20 ชั่วโมง และทั้งๆ ที่โซเวียต สัง่ ให้สถานทูตทุกแห่งปิด แต่ชอิ เุ นะก็ทำ� เรือ่ งขอเปิดด�ำเนินการ ต่ออีก 20 วัน ในคืนสุดท้ายก่อนที่จะต้องเดินทางออกจากลิทัว เนีย เขาและภรรยานั่งเขียนวีซ่าตลอดทั้งคืน...ชิอุเนะ...ยังคง เขียนแม้ตอนที่ไปถึงสถานีแล้ว ซึ่งที่นั่นมีชาวยิวเฝ้ารอเขาอยู่ เป็นจ�ำนวนมาก กระทั่งรถไฟเริ่มเคลื่อนออกจากชานชาลา ชิอุเนะจึง...โยนกระดาษเปล่าที่มีลายเซ็นของเขาออกมาทาง หน้าต่าง สุดท้าย...ก็โยนตราประทับของสถานกงสุลออกมา ด้วย เพื่อว่า...ชาวยิวจะใช้มันท�ำวีซ่าปลอมได้ นักประวัติศาสตร์....ประเมินว่า การกระท�ำที่กล้าหาญของ ชิอเุ นะสามารถช่วยเหลือชาวยิวได้ราว 6,000-10,000 คน แม้วา่ ทางกระทรวงฯ จะไม่ได้สอบสวนเขาต่อกรณีที่เกิดขึ้น ทว่า... ผลจากการตัดสินใจโดยพลการครัง้ นัน้ ท�ำให้ชอิ เุ นะหมดอนาคต ในหน้าทีก่ ารงานอย่างสิน้ เชิง เขาถูกกดดันให้ลาออกในปี 1947 หลังจากนั้นชิอุเนะต้องเลี้ยงชีพด้วยการเป็นล่ามแปลเอกสาร และเป็นผู้จัดการบริษัทส่งออก ซึ่งท�ำให้เขาต้องจากครอบครัว ไปใช้ชีวิตล�ำพังในโซเวียตนานถึง 16 ปี

กระทั่งวันที่ 31 กรกฎาคม 1986 เขาเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ รวม อายุ 86 ปี เขาเคยกล่าวกับผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับสิ่งที่ตนท�ำไว้ใน ลิทัวเนียดังนี้ “ผมอาจจะผิดในฐานะนักการฑูต แต่นั่นเป็นสิ่งที่ ควรแล้วส�ำหรับมนุษย์ ผมจะทอดทิ้งพวกเขาเหล่านั้นไปได้ อย่างไร” เมื่อถึงวันฝังศพเขา ทูตอิสราเอลประจ�ำญี่ปุ่นพร้อมด้วยชาวยิว ที่รอดชีวิตจากการช่วยเหลือของชิอุเนะ...ได้มารวมตัวกันเพื่อ เคารพศพและให้ก�ำลังใจ...ยูกิโกะ สื่อมวลชน.....จึงสนใจเรื่อง ราวของอดีตนักการทูตคนนี้ขึ้นมา ภายหลังจึงได้มีการสร้าง อนุสาวรีย์ให้เขาทั้งในญี่ปุ่นและในอีกหลายๆ เมืองทั่วโลก ต่อมาผูค้ นน�ำเรือ่ งของ “ชิอเุ นะ ซึกฮิ าร่า” ไปสร้างเป็นละครและ ภาพยนตร์ รวมทัง้ ท�ำกิจกรรมหลายอย่างเพือ่ ร�ำลึกถึงเขา...และ เดือนตุลาคม ปี 1991 ยูกโิ กะผูเ้ ป็นภรรยาได้รบั โทรศัพท์เชิญตัว จากกระทรวงการต่างประเทศและได้รับค�ำขอขมาอย่างเป็น ทางการเป็นครัง้ แรก ซึง่ นัน่ ก็เป็นเวลา 5 ปีหลังจากการตายของ ชิอุเนะเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม....แม้ว่าชิอุเนะต้องเผชิญความยากล�ำบากและ ความว้าเหว่เป็นเวลานาน เราคง...มิบังอาจคิดว่า....เขาและ ครอบครัวจะไม่มคี วามสุขแท้จริงแล้ว...ความซาบซึง้ ใจทีไ่ ด้ชว่ ย ชีวติ คนนับพันนับหมืน่ คน ยังคงติดตรึงอยูใ่ นใจของสามีภรรยา คูน่ ี้ ดังทีย่ กู โิ กะได้ให้สมั ภาษณ์ไว้เมือ่ ปี 2004 ว่า “ฉันจ�ำได้วา่ ... มีคนมารอทีส่ ถานีรถไฟเต็มไปหมด สีหน้าของพวกเขาเต็มเปีย่ ม ไปด้วยค�ำขอบคุณ เมื่อรถไฟเคลื่อนตัว หลายคนวิ่งตามและ โบกมือให้ มีคนตะโกนขึน้ มาว่า “เราจะ...ไม่ลมื คุณ เราจะได้พบ กันอีก” ฉันและสามีมองภาพนั้นแล้ว...มิอาจกลั้นน�้ำตาไว้ได้ แม้แต่ในขณะนี้ก็เช่นเดียวกัน” และนี่คือ “วีซ่าเพื่อชีวิตของ.. ชิอุเนะ ซึกิฮาร่า” G

ข้อมูลจาก นิตยสารซีเคร็ต และภาพจาก ติช นัท ฮันห์ Facebook https://www.facebook.com/329623057151965/photos /a.329624493818488.80677.329623057151965/ 496866733760929/ http://ohx3.exteen.com/20070614/sugiharachiune-6000

G-MagZ IT MAGAZINE

47


48

G-MagZ IT MAGAZINE


G-MagZ IT MAGAZINE

49


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.