G-Magz Vol.49

Page 1


พระราชกรณียกิจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ในรัชกาลที่ ๙ • ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ได้ทรงประดิษฐ์วิทยุใช้ ในการรับสัญญาณจากสถานีวิทยุกระจาย เสียงในยุโรปด้วยพระองค์เอง • พ.ศ. ๒๔๙๕ พระองค์ได้ทรงจัดตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึน้ ในพระราชวังสวนดุสติ เป็นอักษรย่อของพระทีน่ งั่ อัมพรสถาน ต่อมาได้ยา้ ยสถานีวทิ ยุ ไปตัง้ ในบริเวณ พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน • พระองค์ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารทุกอย่างในการพัฒนา และช่ ว ยให้ โ ครงการต่ า งๆ หลายโครงการประสบ ความส�ำเร็จตามเป้าหมาย ทรงเห็นความส�ำคัญของ การสื่อสารสองทาง ๐ ทรงใช้วิทยุสื่อสารในการปฏิบัติ

• ทรงตัง้ สถานีหาทิศวิทยุโดยใช้เครือ่ งอุปกรณ์งา่ ยๆ ทีพ่ ระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน และทรงตรวจค้นหา ทิศทางที่มาของคลื่น วิทยุในเวลากลางคืน

• ทรงเป็นต้นก�ำเนิดแห่งความคิดริเริ่มในการออกแบบและ สร้างสายอากาศด้านความถี่สูงมากเพื่อใช้กับวิทยุสื่อสาร ส่วนพระองค์ • พ.ศ. ๒๕๐๓ เสด็จประพาสโรงงานคอมพิวเตอร์ใหญ่ที่ ซิลกิ อนวอลเลย์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ขณะนัน้ ประเทศไทย ยังไม่ได้ติดตั้งคอมพิวเตอร์แม้แต่เครื่องเดียว

พระราชกรณียกิจเสมอ

• พระองค์เป็นผู้เชี่ยวชาญและใช้ ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ใน พระราชกรณียกิจต่างๆ

• พ.ศ. ๒๕๓๐ ทรงโปรดเกล้ า โปรดกระหม่ อ มให้ ส� ำ นั ก คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดท�ำโครงการพัฒนาระบบ คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎก และชุดอรรถกถา และมีพระบรมราชวินจิ ฉัยในการออกแบบโปรแกรม BUDSIR TV ส�ำหรับใช้ในการสืบค้นพระไตรปิฎก

๐ ทรงคิ ด ค้ น สร้ า งโปรแกรม

๐ ทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสาร

๐ การจัดท�ำฟอนท์อักษรไทย

๐ ทรงใช้คอมพิวเตอร์เพือ ่ บันทึก

คอมพิวเตอร์เพือ่ ประมวลผล ข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง

เช่น ฟอนท์ทาสติก

คอมพิวเตอร์เพือ่ สนับสนุน พระราชกรณียกิจ

พระราชกรณียกิจต่างๆ

๐ ทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วยคอมพิวเตอร์ ให้กบ ั

ข้าราชการ และประชาชนชาวไทย

• ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ในรัชกาล ที่ ๙ มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เกิดขึ้นมาก มีการจัดตั้งหน่วยงานต่างๆ ดังเช่น ๐ ส�ำนักงานคณะกรรมการ

วิจัยแห่งชาติ

๐ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

และสิ่งแวดล้อม

๐ ส�ำนักงานพลังงาน

๐ ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์

๐ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

๐ ให้ทุนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์

ปรมาณูเพื่อสันติ

๐ จั ด ตั้ ง มหาวิ ท ยาลั ย ทั้ ง

ข อ ง รั ฐ แ ล ะ เ อ ก ช น จ�ำนวนมาก

20

G-MagZ IT MAGAZINE

และเทคโนโลยีแห่งชาติ

และเทคโนโลยียังต่างประเทศ

๐ จัดตัง้ สมาคมวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีหลายสาขา

๐ ต่อมาหน่วยงานต่างๆ และประชาชน

เริ่มตื่นตัวน�ำคอมพิวเตอร์มาใช้ใน การท�ำงาน น�ำมาซึ่งการใช้ในการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

๐ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้ทำ� การบันทึกพระไตรปิฎก และอรรถกถา

จ�ำนวน ๑๑๕ เล่ม บนแผ่น CD-ROM แผ่นเดียวเรียกว่า BUDSIR ON CD ROM เป็นผลงานดีเด่น ได้รับรางวัลดีดังนี้

- รางวัลดีเด่น ด้านสิ่งประดิษฐ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล

- รางวัลดีเด่นสาขาการประดิษฐ์ ของสภาวิจัยและพัฒนาแห่งชาติ จากพุทธศาสนิกชนแห่งโลก

- รางวัล Distinguish Award จากมหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย ที่เบิร์กลีย์ • พระองค์ทรงบริการอินเทอร์เน็ตบ่อยครั้ง จนสามารถกล่าว ได้ว่า พระองค์เชี่ยวชาญในการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นอย่างสูง • ได้มกี ารจัดท�ำเครือข่ายคอมพิวเตอร์กาญจนาภิเษก เป็นศูนย์รวม ข้อมูลที่น่าสนใจ ประกอบด้วยงานหลักสองส่วน ๐ เครือข่ายพระราชกรณียกิจ

๐ เครือข่ายกระจายความรูส ้ ำ� หรับ

ประชาชน และเครือข่ายเพื่อ โรงเรียนไทย

• พ.ศ. ๒๕๓๗ มูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถวายรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้ สถิตสถาพร อีกทั้งเพื่อเป็นเกียรติและสิริมงคลอันสูงค่าแก่วงการ วิทยาศาสตร์ไทย *คัดย่อข้อมูลจากหนังสือพระมหากษัตริย์กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย โดยสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)



CONtents

Editor

นิตยสาร IT ราย 3 เดือน ฉบับที่ 49 มกราคม – มีนาคม 2560 Volume 49 January – March 2016

แม้ ก ้ า วผ่ า นปี ลิ ง สู่ปีไ ก่แ ต่ชาวไทยยังคงไม่คลายความอาลัย และ ยังคงส�ำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณ อันยิ่งใหญ่อย่างหาที่สุดมิได้ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช พระผูเ้ สด็จสูส่ วรรคาลัย และด้วยพระอัจฉริยภาพของพระองค์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศาสตร์ และศิ ล ป์ ซึ่ ง เปี ่ ย มล้ น ด้ ว ยคุ ณ อนั น ต์ แ ก่ บ รรดาพสกนิ ก รชาวไทย G-Magz จึงขอเป็นอีกหนึง่ สือในการถ่ายทอดเรือ่ งราวพระราชกรณียกิจ ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสือ่ สารเพือ่ สานต่อ พระราชปณิธาน และขอตามรอยเบือ้ งพระยุคลบาท ตลอดไป G-Magz ฉบับนี้เริ่มต้นด้วยการรวมข้อมูล Trend Technology ปี 2017 ที่เป็นภาพรวมและของประเทศไทย รวมถึงแนวโน้มของกระแส Digital Disruption ที่ยังคงถาโถมสร้างการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างต่อเนื่องด้วย นวัตกรรมใหม่ๆ ต่อด้วยทักษะอาชีพทีเ่ ป็นทีต่ อ้ งการของตลาดในปี 2016 ที่ผ่านมา เพื่อเปรียบเทียบและเป็นไอเดียหรือแนวทางให้กับนักไอทีว่า จะเพิ่มทักษะ หรือพัฒนาตนเองให้ตอบโจทย์กับอาชีพในยุคดิจิทัล ได้อย่างไร ท้ายนี้ขอสวัสดีปีใหม่กับผู้อ่านทุกท่าน ขอให้ปีใหม่นี้ น�ำพาความสุข เป้าหมายใหม่ๆ รวมถึงความส�ำเร็จครั้งใหม่ พร้อมแรงบันดาลใจใหม่ๆ มาสู่ชีวิต ขอให้เป็นปีที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขกันทุกคน สวัสดีปีใหม่

Wanida T. wanida.t@g-able.com

05 IT NEWS 08 G-NEWS

G-ABLE โชว์ Insurance on Cloud ในงาน Thailand Insurance CIO Forum 2016

12 Special REPORT

Thailand IT Trends 2017 5 ประเด็นฮ็อต

18 Tech&Trend Veritas Resiliency Platform

ก�ำกับดูแล Business Application แบบครบวงจร

21 Success story G-ABLE ยกระดับความปลอดภัย

ด้วยมาตรฐาน ISO 27001 : 2013 ตอบโจทย์ลูกค้าทั่วโลก

23 Inno&Product ห้องสมุดศตวรรษที่ 21 รับอนาคตโลกดิจิทัล 25 Green Idea

Paleoclimatology กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ตอนที่ 1

28 Guru Talk

• Thailand 4.0 เปลี่ยนวิถีชีวิตและธุรกิจ • มองเทรนด์ IoT ปี 2017

34 Idea Info • Fintech พ่อมดไฮเทคแห่งโลกการเงิน

พลิกโฉมหลากนวัตกรรมปี 2017 • บริหารจัดการบัญชีออนไลน์อย่างไร ไม่ให้ลูกค้า “หลุดมือ”

42 คุยกับหมอไอที

Top Skills of 2016

45 บันทึกมุมมอง

ประวัติเพลงสรรเสริญพระบารมี

การสอบถามข้อสงสัยในเรื่องบทความและเรื่องของเทคโนโลยี การบอกรับและการเปลี่ยนที่อยู่ การอนุญาต และพิมพ์ซำ�้ สามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ G-Magazine@g-able.com

จัดท�ำและลิขสิทธิ์ โดย บริษัท จีเอเบิล จ�ำกัด อาคารปัญจธานี ชั้น 25 เลขที่ 127/27, 29-31 ถนนนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 G-ABLE Contact Center โทร. +66 (0) 2685-9333 โทรสาร. +66 (0) 2681-0425 www.g-able.com

G-MagZ IT MAGAZINE

3


IT NEWS 7-Eleven น�ำร่องเปิดบริการส่งสินค้าผ่านโดรน เป็นเจ้าแรกในอเมริกา 7-Eleven (เซเว่ น อี เ ลฟเว่ น ) กลั บ กลายเป็ น แบรนด์ เ จ้ า แรกใน สหรัฐอเมริกาที่เริ่มบริการจัดส่งสินค้าด้วยโดรน โดยได้ร่วมมือกับ Flirtey บริษัทสตาร์ทอัพผู้ผลิตโดรนเชิงพาณิชย์ เริ่มให้บริการขนส่งสินค้าในสาขา เมืองรีโน มลรัฐเนวาดา โดยจะท�ำการเลือกลูกค้าจ�ำนวน 12 ราย ที่อยู่ใน พื้นที่ ก่อนจะท�ำการจัดส่งในพื้นที่รัศมี 1 ไมล์ จาก 7-Eleven สาขาดังกล่าว ทัง้ นีใ้ นช่วงแรกนัน้ มีรายงานว่า สินค้าทีล่ กู ค้านิยมใช้บริการจัดส่งผ่านโดรน ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ต้องอุ่นร้อน, เครื่องดื่ม หรือยาสามัญประจ�ำบ้าน ซึ่งโดยเฉลี่ยลูกค้าจะได้รับสินค้าภายใน 10 นาที หลังจากส่งออเดอร์ไป โดย Flirtey ได้ท�ำการสร้างโดรนจัดส่งทั้งหมด 77 ล�ำ ไว้ให้บริการ ซึ่งบินได้ โดยไม่ต้องมีผู้ควบคุมแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม 7-Eleven จ�ำเป็นต้องรอ ใบอนุ ญ าตในการให้ บ ริ ก ารอย่ า งเป็ น ทางการจากส� ำ นั ก ก� ำ กั บ ดู แ ล อุตสาหกรรมการบินแห่งสหรัฐฯ หรือ FAA ก่อน เนื่องจากการให้บริการ ส่งสินค้าดังกล่าวยังถือเป็นเรื่องผิดกฏหมาย ความเคลือ่ นไหวของ 7-Eleven ถือเป็นเรือ่ งทีค่ อ่ นข้างเซอร์ไพรส์ไม่นอ้ ย เมือ่ ก่อนหน้านี้ บริษทั ดังอย่าง Amazon และ Google ตกเป็นข่าว อย่างหนักเกีย่ วกับการทดลองส่งสินค้าผ่านโดรน แต่จนแล้วจนรอดก็กลับกลายเป็น 7-Eleven ทีเ่ ริม่ ให้บริการจริงจัง และยังมีแผนทีจ่ ะขยาย ขอบเขตการจัดส่งสินค้าผ่านโดรนไปยังเมืองต่างๆ มากขึ้นในปี 2017 นี้ http://tech.mthai.com/it-news/64135.html

แบงค์ชาติประกาศแนวทาง Regulatory Sandbox ส�ำหรับ FinTech เมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยก�ำหนดคุณสมบัติและ หลักเกณฑ์ในการเข้าร่วมทดสอบนวัตกรรมที่น�ำเทคโนโลยีใหม่ มาสนับสนุนการให้บริการทางการเงินภายใต้กรอบ Regulatory Sandbox ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมทดสอบสามารถ น�ำเสนอบริการทางการเงินแก่ผู้บริโภคจริง ภายในพื้นที่หรือ สภาพแวดล้อมของการประกอบธุรกิจและการให้บริการที่จ�ำกัด ภายใต้กรอบหลักเกณฑ์การก�ำกับดูแลที่ยืดหยุ่น โดยมีหลักการ ส�ำคัญ 3 ประการ คือ 1. ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางการเงิน 2. มีการคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสม โดยค�ำนึงถึงสิทธิของ ผู้บริโภคเป็นส�ำคัญ

3. ดูแลความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เพื่อส่งเสริมให้ FinTech ของไทยมีการพัฒนาและสามารถเติบโตได้อย่างยัง่ ยืน รวมทัง้ มีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค 4. โดยในเอกสารจะประกอบไปด้วย ประเภทของธุรกรรมทาง การเงินทีส่ ามารถน�ำมาทดสอบ คุณสมบัตขิ องผูส้ มัคร การด�ำเนินการ ระยะเวลาการทดสอบ ขั้นตอนการออกจากการทดสอบ ผลลัพธ์ และ ขั้นตอนการสมัครเข้าร่วม Regulatory Sandbox

ที่มา: http://techsauce.co/news/bank-of-thailand-has-annouced-regulatory-sandbox-rule/ G-MagZ IT MAGAZINE

5


IT NEWS

ซอฟต์แวร์ไทย คว้า 8 รางวัล APICTA ที่ไต้หวัน สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) ร่วมกับ ส�ำนักงาน ส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA และ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) จัดงานประกาศความส�ำเร็จจากการประกวดผลงานด้านซอฟต์แวร์ ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ “Asia Pacific ICT Alliance (APICTA) Awards” ณ กรุงไทเป ไต้หวัน โดยทีมจากประเทศไทยได้รับรางวัลทั้งสิ้น 8 รางวัล แบ่งเป็นรางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล และรางวัลรองชนะเลิศ 7 รางวัล โดยรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ บริษัท อีคาร์ทสตูดิโอ จ�ำกัด จากผลงาน ระบบ LIMS (Location Information Management System) ในหมวด Financial Industry Application สมาคม ATCI เดินหน้าผลักดันต่อ แนะแนวทางพัฒนาศักยภาพซอฟต์แวร์ไทยต่อเนือ่ ง ส�ำหรับการประกวดผลงานด้านซอฟต์แวร์ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ Asia Pacific ICT Alliance (APICTA) Awards ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 5 ธันวาคม 2559 ณ กรุงไทเป ไต้หวัน ที่ผ่านมา โดยมีเกณฑ์พิจารณาตัดสิน ได้แก่ Uniqueness, Market Potential, Functionality/Features, Quality/ Application of Technology และ Application ทีมไทยที่คว้ารางวัลชนะเลิศ ครั้งนี้ คือ บริษัท อีคาร์ทสตูดิโอ จ�ำกัด จากหมวด Financial Industry Application เป็นบริษัทที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ APICTA Awards เป็น ครั้งที่ 3 จาก Application ที่แตกต่างกัน

Amazon Go ร้านสะดวกซื้อ แห่งปี 2017

รางวัลรองชนะเลิศ 7 รางวัล ได้แก่

หมวด Tertiary School Project มหาวิทยาลัยมหิดล ชื่อผลงาน : โปรเทียร์ หมวด School Projects โรงเรียนชลกัลยานุกูล ชื่อผลงาน : Perfect KINOKO หมวด School Projects โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ชื่อผลงาน: สิ่งเร้าในโลกเสมือน หมวด School Projects โรงเรียนสตรีอ่างทอง ชื่อผลงาน: Angle Words หมวด Tourism and Hospitality Applications บริษัท แอทเทนดี จ�ำกัด ชื่อผลงาน: Happenn หมวด E-Inclusion and E-Community Applications ทีม Visionear ชื่อผลงาน: Visionear หมวด Health and Wellbeing Application บริษัท เมคเกอร์ ภูเก็ต จ�ำกัด ชื่อผลงาน: Smart Patient Room & Patient Monitoring

Amazon อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของโลกจะเปิดให้บริการ Amazon Go ร้านช�ำสะดวกซื้อใน ปี 2017 และเตรียมขยายสาขากว่า 2,000 แห่งทั่วอเมริกาในอีก 10 ปี จุดเด่นของ Amazon Go คือลูกค้าไม่ต้องต่อคิว ไม่ต้องพกเงินสด แค่เปิดแอพหยิบสินค้า และ เดินออกไป ระบบจะตัดเงินจากบัญชีโดยอัตโนมัติ โดย Amazon Go จะสร้างประสบการณ์ ช้อปปิ้งแบบ ‘Just Walk Out’ ให้กับลูกค้าอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน Amazon Go สะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยีอัจฉริยะอย่าง Deep-Learning, Computer Vision และ Sensor Fusion จะเข้ามามีบทบาทในธุรกิจค้าปลีกมากยิ่งขึ้น และเชื่อมต่อประสบการณ์ ของผู้บริโภคผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ในเวลาเดียวกัน ส่วนเรื่องคิดค�ำนวณราคาสินค้า ใช้ Machine-Learning มีความแม่นย�ำและสามารถระบุได้ว่า มีสนิ ค้าอะไรถูกหยิบออกจากชัน้ วางของ และบันทึกข้อมูลสินค้าทีถ่ กู หยิบลงในตะกร้าออนไลน์ ถ้าหากลูกค้าเกิดเปลีย่ นใจและวางสินค้าคืนไว้ทเี่ ดิม ระบบก็จะอัพเดทข้อมูลใหม่ตามอัตโนมัติ และไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องการขโมย เพราะลูกค้าที่เข้ามาซื้อของใน Amazon Go ได้ จะต้องมี แอพพลิเคชั่นและมีบัญชีของ Amazon เท่านั้น ซึ่งแทร็กข้อมูลของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว มองในอีกแง่หนึ่ง เป็นการเชื่อมโยงของตลาดออนไลน์กับออฟไลน์ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคได้ ทุกช่องทาง แต่ด้วยวิธีการและแนวคิดของ Amazon Go อาจหมายถึงการส่งสัญญาณว่า รูปแบบของธุรกิจค้าปลีกจะเปลีย่ นไปจากเดิมอย่างแน่นอน และธุรกิจหมวดของช�ำและอาหาร ก็ยงั เป็นทีต่ อ้ งการในกลุม่ ผูบ้ ริโภคอยู่ เพียงแต่ตอ้ งจับทางให้ถกู ว่าจะเข้าถึงลูกค้าหรือน�ำสินค้า ไปถึงมือผู้บริโภคได้อย่างไร จึงจะสะดวกที่สุดและเหมาะสมที่สุด ที่มา: http://themomentum.co/successful-feature-amazon-go

6

G-MagZ IT MAGAZINE


IT NEWS

AWS เปิด Price List API ให้ดึงราคาบริการ Cloud ไปใช้ค�ำนวนได้ง่ายๆ การค�ำนวนค่าใช้จา่ ยของระบบ Cloud เพือ่ ประเมินการ ลงทุนล่วงหน้าถือเป็นหนึง่ ในขัน้ ตอนทีแ่ ทบทุกคนต้องท�ำ ก่อนเริม่ ใช้งานบริการ Cloud ซึง่ Amazon Web Services (AWS) มีราคาของบริการ Cloud แตกต่างกันไปตามแต่ละ Region ล่าสุด Amazon ได้เปิด API ข้อมูลราคา Price List ออกมาให้ทุกคนน�ำไปค�ำนวนค่าใช้จ่ายกันได้ง่ายขึ้น API ส�ำหรับตรวจสอบราคา Price List จะอยู่ในรูปของ https://pricing.us-east-1.amazonaws.com/offers/v1.0/ aws/{offer_code}/current/index.{format} โดยผู้ใช้งาน สามารถเลือก Format ได้ว่าจะเป็น json หรือ csv และ สามารถปรับแต่งค่า Parameter ต่างๆ เพื่อให้ดึงราคาที่ ต้องการออกมาได้ รวมถึงยังสามารถเลือกให้ AWS ส่ง ข้อมูลราคาผ่านมาทาง Amazon Simple Notification Service (SNS) ก็ได้เช่นกัน ใครสนใจพัฒนาโปรแกรมประเมินค่าใช้จ่ายของ AWS ใน แต่ละความสามารถส�ำหรับแต่ละ Region สามารถศึกษา รายละเอียดเพิม่ เติมได้ท ี่ http://docs.aws.amazon.com/ awsaccountbilling/latest/aboutv2/price-changes.html

ที่มา: https://www.techtalkthai.com/aws-launches-price-list-api/

OutSystems 10 ช่วยให้การพั ฒนา แอพมือถือง่ายขึ้น เอ้าซิสเต็มส์เผยพร้อมให้บริการ OutSystems 10 แพลตฟอร์ม การพัฒนาแอพพลิเคชัน่ บนอุปกรณ์มอื ถือทีเ่ ขียนค�ำสัง่ น้อยกว่าและมา พร้อมกับความสามารถชัน้ สูงส�ำหรับแอพพลิเคชัน่ มือถือขนาดใหญ่เป็น รายแรก OutSystems 10 ช่วยให้นักพัฒนาทั่วไปสามารถสร้างแอพพลิเคชั่น ทีร่ องรับการขยายตัวและปลอดภัย ต่างจากทีผ่ า่ นมาซึง่ มีเพียงวิศวกร ซอฟต์แวร์ทมี่ ที กั ษะชัน้ สูงเท่านัน้ ทีส่ ามารถท�ำได้ OutSystems 10 มา พร้อมกับความสามารถใหม่ 7 ประการ คือ 1. สร้างองค์ประกอบของแอพพลิเคชัน่ มือถือได้งา่ ยแบบลากแล้ว ปล่อยทั้งส่วนติดต่อผู้ใช้งาน ส่วนเชื่อมต่อระบบหลังบ้าน กลไกการ ค�ำนวณตรรกะเชิงธุรกิจและอื่นๆ อีกมากมาย 2. สร้างครัง้ เดียว – ท�ำงานได้ทกุ ที่ ด้วยการใช้โค้ดโปรแกรมเดียว แต่สามารถรันได้บนทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android 3. สร้างประสบการณ์การใช้งานประสิทธิภาพสูงให้ผู้ใช้ได้อย่าง ราบรื่น เวลาตอบสนองน้อยกว่า 80 มิลลิวินาที ด้วย OutSystems 10 มาพร้อมกับชุดไลบรารีเ่ สริมทีก่ ระทัดรัด มี Widget Interface ทีส่ วยงาม และพร้อมรองรับการเขียนโค้ดปรับแต่งควบคุมได้ระดับพิกเซล 4. ท�ำงานร่วมกับความสามารถพืน้ ฐานของอุปกรณ์และเซ็นเซอร์ ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ด เช่น กล้อง เซ็นเซอร์โมชัน ทัชไอดี และอื่นๆ เพียงลากแล้วปล่อยฟังก์ชั่นเกี่ยวกับเซ็นเซอร์ลงในโมเดลเท่านั้น 5. สร้างประสบการณ์ออฟไลน์ทเี่ หนือชัน้ และปลอดภัยบนอุปกรณ์ ทางธุรกิจโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมโครงสร้างภายใน รองรับการออฟไลน์ตั้งแต่การเก็บ Cache ข้อมูลส�ำรองอย่างง่าย ไปจนถึ ง การจั ด การข้ อ มู ล ออฟไลน์ ที่ ซั บ ซ้ อ น ทั้ ง การเข้ า ถึ ง และ การ Synchronize 6. น�ำไปติดตั้งแจกจ่ายใช้งานได้ง่าย ประหยัดเวลา ด้วยการ ทดสอบได้ทันทีบนอุปกรณ์ใดก็ได้ สร้างแพ็กเกจแอพพลิเคชั่นส�ำหรับ แอพสโตร์งา่ ยๆ เพียงคลิกเดียว และอัพเดทแอพอัตโนมัตผิ า่ นเครือข่าย 7. ลดการตกค้างส�ำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นมือถือ ด้วย นักพัฒนาสามารถเริ่มจากศูนย์จนมีศักยภาพในการพัฒนาสูงสุดได้ใน เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ G-MagZ IT MAGAZINE

7


G-NEWS

G-ABLE โชว์ Insurance on Cloud ในงาน Thailand Insurance CIO Forum 2016

จีเอเบิล จับมือ ธ.ก.ส. ชู FCRM เสริมระบบ ตรวจจับการทุจริตและป้องกันการฟอกเงิน

วันที่ : 28 – 30 ตุลาคม 2559 สถานที่ : โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จ.เพชรบุรี

วันที่ : 27 ตุลาคม 2559 สถานที่ : อาคารศูนย์นวัตกรรมการเรียนรูเ้ พือ่ การออกแบบและเทคโนโลยี (KX)

เมือ่ เร็วๆ นี้ บริษทั จีเอเบิล จ�ำกัด ร่วมงานสัมมนา Thailand Insurance CIO Forum 2016 ภายใต้ชื่องาน Digital Insurance น�ำเสนอ โซลูชั่น Insurance on Cloud โดยได้โชว์ GISWEB ระบบ Core Application ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานในธุรกิจประกันวินาศภัย รวมถึง Watson Analytics DR on Cloud ระบบตรวจจับการทุจริต และอาชญากรรมทางการเงิ น เพื่ อ เพิ่ ม ศั ก ยภาพให้ กั บ ธุ ร กิ จ ประกันวินาศภัย ซึ่งตอบโจทย์งานขายในการขยายธุรกิจอย่าง มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ภายในบูธมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ ค�ำแนะน�ำพร้อมตอบข้อซักถาม รวมถึงมีกิจกรรมแจกของรางวัล ต่างๆ และได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นจ�ำนวนมาก โดยบรรยากาศเต็มไปด้วยความความสนุกสนานและเป็นกันเอง

บริ ษั ท จี เ อเบิ ล จ� ำ กั ด ร่ ว มกั บ ธนาคารเพื่ อ การเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดกิจกรรมเปิดตัว “โครงการพัฒนา ระบบงานตรวจจับการทุจริตและระบบงานการป้องกันการฟอกเงิน” (Fraud Detection and Anti-Money Laundering) โดยการติดตั้ง ระบบ Fraud Detection (FCRM) ซึง่ เป็นระบบมาตรฐานสากลทีใ่ ช้ ในการตรวจจับการทุจริตในลักษณะ Near Real Time และ Batch โดยเชื่อมโยงกับระบบข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาการให้บริการแก่ลูกค้าในการเฝ้าระวังและ ติดตามธุรกรรมที่ต้องสงสัยได้อย่างทันเวลา สร้างความเชื่อมั่น ต่อการท�ำธุรกรรมผ่านระบบของธนาคาร ป้องกันความเสียหาย ที่ส่งผลกระทบกับลูกค้า ทั้งยังเป็นการสนับสนุนการด�ำเนินการ ตามกฏหมายการบริหารงานให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น

G-ABLE จับมือ HPE น�ำ Big Data Solutions สร้างความได้เปรียบองค์กรแบบมืออาชีพ

วันที่ : 20 ตุลาคม 2559 สถานที่ : ห้อง 1AB, ชัน้ 10, อาคารศูนย์นวัตกรรมการเรียนรูเ้ พือ่ การออกแบบ และเทคโนโลยี (KX)

8

G-MagZ IT MAGAZINE

บริ ษั ท จี เ อเบิ ล จ� ำ กั ด ร่ ว มกั บ บริ ษั ท ฮิ ว เลตต์ แพคการ์ ด เอ็นเตอร์ไพรซ์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด [HPE] จับมืออัพเดทเทคโนโลยี ด้าน Big Data เพือ่ น�ำองค์กรให้มวี สิ ยั ทัศน์ และเล็งเห็นถึงศักยภาพ ในการใช้ขอ้ มูล น�ำมาสร้างกลยุทธ์ความได้เปรียบในการแข่งขันทาง ธุรกิจ และสามารถปรับใช้ Big Data Solutions ให้ตอบสนอง เป้าหมายพื้นฐานของธุรกิจในด้านการลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย ระบบบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมเพิ่มรายได้จาก แผนการตลาดอย่างตรงจุด, บริหารจัดการกับความเสี่ยงได้อย่างมี ประสิทธิภาพ พร้อมกับได้จดั เสวนาพูดคุยแลกเปลีย่ นประสบการณ์ การใช้เทคโนโลยี BI (Business Intelligence) จากวิทยากรรับเชิญ รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้เชี่ยวชาญด้าน Big Data จากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับผูเ้ ชีย่ วชาญจาก HPE พร้อม ทีมงานมืออาชีพของ G-ABLE ที่พร้อมให้ค�ำปรึกษา เพื่อสร้าง ความมัน่ ใจให้กบั ลูกค้าทุกระดับ ในการเลือกใช้ Big Data Solutions จาก G-ABLE


G-NEWS

G-ABLE โชว์ BlackstoneOne ในงาน OWASP Day

MVERGE ควง HPE เปิดห้องจิบน�ำ้ ชายามบ่าย อัพเดท Data Center เทรนด์เทคโนโลยีอนาคต

วันที่ : 11 พฤศจิกายน 2559 สถานที่ : โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค

วันที่ : 2 พฤศจิกายน 2559 สถานที่ : โรงแรมโซฟิเทล โซ กรุงเทพฯ

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท จีเอเบิล จ�ำกัด ได้ร่วมงานสัมมนา OWASP Day : Let’s Secure โดยงานนีม้ ีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ และแลกเปลี่ยน ความรู ้ เ พื่ อ ต่ อ ยอดองค์ ค วามรู ้ ใ หม่ ด ้ า นการรักษาความปลอดภัย บนแอพพลิ เ คชั่ น โดยทางบริ ษั ท ฯ ได้ น� ำ เสนอเทคโนโลยี BlackstoneOne เครื่ อ งมื อ ส� ำ หรั บ สแกนหาช่ อ งโหว่ ใ นระดับขั้น ของเน็ตเวิรค์ เซิรฟ์ เวอร์ และเว็บแอพพลิเคชัน่ แบบเรียลไทม์ 24 ชั่วโมง มี Dashboard แสดงผลและมีการสร้างรายงานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานได้อย่างง่ายดาย รวมทั้ง เทคโนโลยี นี้ ยั ง สามารถสแกนหาช่ อ งโหว่ ไ ด้ ค รอบคลุ ม มากกว่ า 400,000 รายการ พร้อมทัง้ แนะน�ำวิธกี ารแก้ปญ ั หาในการปิดช่องโหว่ นั้นๆ ทั้งนี้ภายในงานยังได้มีการจัดเวลาในช่วงบ่ายส�ำหรับผู้ที่สนใจ ร่วมฟังสัมมนา และร่วมเวิรค์ ช็อป ในหัวข้อต่างๆ ซึง่ ได้รบั ความสนใจ จากผู้เข้าร่วมงานเป็นจ�ำนวนมาก

MVERGE จับมือกับ HP Enterprise (HPE) เชิญลูกค้าร่วม จิบน�ำ้ ชายามบ่าย อัพเดทเทรนด์ Data Center เทคโนโลยีในอนาคต ซึ่งก�ำลังเป็นที่จับตามองมากที่สุด ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยรองรับ กับการใช้ Data Center ภายในองค์กร ท�ำให้ผู้ใช้งานสามารถ บริหารจัดการดาต้าในองค์กรได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพและราบรืน่ ปรับตัวสู่โลกเทคโนโลยีในอนาคตได้ง่ายขึ้น พร้อมกันนั้นยังได้ แลกเปลี่ยนมุมมมอง เพื่อเพิ่มวิสัยทัศน์ให้เกิดการปรับตัวและ มองเห็นทิศทางการแข่งขันในอนาคตอย่างมืออาชีพ แลกเปลี่ยน ปัญหาและร่วมแชร์ประสบการณ์ในการท�ำ Data Center ผ่าน HPE Composable และ G-ABLE Cloud อย่ า งเจาะลึ ก ทุ ก แง่ มุ ม ในบรรยากาศทีเ่ ป็นกันเอง สร้างความพึงพอใจให้กบั ลูกค้าทีไ่ ด้รบั สาระ ความอบอุน่ และความมัน่ ใจในการดูแลจาก G-ABLE ทัง้ ก่อน และหลังการขายอย่างครบวงจร

First Logic ชู 2 โซลูช่น ั

ด้านความปลอดภัยของ Oracle ในงาน CDIC2016

วันที่ : 12 -13 ตุลาคม 2559 สถานที่ : ไบเทค บางนา

บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จ�ำกัด จับมือ บริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จ�ำกัด ร่วมงาน “Cyber Defense Initiative Conference 2016 หรือ CDIC 2016 ซึ่งเป็นโครงการอบรมการป้องกันความปลอดภัยข้อมูลคอมพิวเตอร์ ครั้งที่ 15 ภายใต้แนวคิด Time to Trust : “Trust and Innovation for Digital Value-Based Economy” โดยเฟิร์ส ลอจิก น�ำเสนอ Oracle Database Security เป็นโซลูชั่น ที่เน้นการรักษาความปลอดภัยในระดับฐานข้อมูลจาก Oracle สามารถเลือก รูปแบบการป้องกันระบบฐานข้อมูลได้ตามลักษณะการท�ำงานหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการ Encryption Database การป้องกันการเข้าถึงข้อมูล ที่เข้ามา โดยไม่ผ่านแอพพลิเคชั่น หรือแม้แต่การเลือกปกปิดข้อมูลตามความเหมาะสม เพื่อน�ำออกไปใช้งาน และ Oracle Identity Management เป็นโซลูชั่นที่เข้ามา ช่วยบริหารจัดการผู้ใช้งานให้เป็นไปตามนโยบายขององค์กร และครอบคลุมใน เรื่องความปลอดภัยควบคู่กัน ประกอบด้วย Identity Management – Access Management – Directory เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพในการปกป้องความปลอดภัย ของข้อมูลและความน่าเชื่อถือในการด�ำเนินธุรกิจองค์กร

G-MagZ IT MAGAZINE

9


G-NEWS

First Logic – Oracle เดินหน้าชู

First Logic จับมือ Oracle รุกตลาด Cloud

วันที่ : 25 พฤศจิกายน 2559 สถานที่ : สเตทรูม 3 ชั้น 8 เดอะเวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ

วันที่ : 14 ธันวาคม 2559 สถานที่ : ห้องพินนาเคิล 4-6 ชั้น 4 โรงแรมอินเตอร์คอนทิเนนทัล กรุงเทพฯ

บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จ�ำกัด ในฐานะตัวแทนจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ รายใหญ่ของ Oracle ร่วมกับบริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จ�ำกัด จัดงานสัมมนา “Oracle Engineering Systems - Simplify your Journey to Cloud” ขึ้น น�ำเสนอ เทคโนโลยีและโซลูชั่นจาก Oracle ที่มีความหลากหลาย เพื่อ ตอบสนองต่อความต้องการทางด้านไอทีภายในองค์กร ในทุกแง่มมุ อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ อาทิ โซลูชนั่ ทางด้าน System, Database, Middleware และ Cloud นอกจากนี้ยังมีบริการจาก เฟิร์ส ลอจิก ที่มีผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งทักษะและประสบการณ์ใน โซลูชนั่ ทุกๆ ด้าน พร้อมให้บริการออกแบบ ติดตัง้ และดูแลระบบ งานไอทีภายในองค์กรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จ�ำกัด ร่วมงาน “Oracle Cloud Day” น�ำเสนอ Oracle Cloud ซึง่ เป็นเทคโนโลยีทใี่ ห้บริการทัง้ ในรูปแบบของ IaaS, PaaS และ SaaS โดยจุดเด่นของ Oracle Cloud คือ สามารถ ท�ำงานได้ทงั้ บนเซิรฟ์ เวอร์ภายในองค์กร (On Premise) หรือย้าย ไปบน Public Cloud ได้ โดยที่ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือ ปรับแต่งใดๆ เนื่องจาก Oracle ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์มาเพื่อ รองรับการ Integrate และ Compatibility ทัง้ ยังสามารถสร้างระบบ ในรูปแบบของ Hybrid Cloud ได้อีกด้วย นอกจากนี้ Oracle ยังมี ฮาร์ดแวร์รองรับในทุกรูปแบบ พร้อมทัง้ Tool ในการบริหารจัดการ ที่ง่ายและรวดเร็ว เพื่อตอบโจทย์ความยืดหยุ่น รวดเร็ว และ ความปลอดภัยในการด�ำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน

Engineering Systems เร่งบุกตลาด Cloud

MVERGE น�ำทีม G-ABLE CLOUD โชว์ Cloud Disaster Recovery ทางเลือกใหม่ของการตอบโจทย์ BCM วันที่ : 29 พฤศจิกายน 2559 สถานที่ : ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิร์ลด

10

G-MagZ IT MAGAZINE

สูก ่ ลุม ่ End User

Mverge ร่วมส่งวิทยากรรับเชิญจากทีม G-ABLE Cloud เพื่อน�ำเสนอ สาระความรู้ด้าน Disaster Recovery with SRM and NSX ภายในงาน vForum2016 โดยทีมงาน G-ABLE Cloud ได้มงุ่ เน้นให้องค์กรขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ได้เล็งเห็นถึงปัญหาเรือ่ งการเลือกใช้เทคโนโลยี ต่างๆ ที่เหมาะสม สามารถส่งผลกระทบด้านการเกิดดาวน์ไทม์ให้น้อย ทีส่ ดุ เพือ่ ลดความเสียหายต่อธุรกิจได้อย่างมหาศาล ในขณะทีโ่ ซลูชนั่ ด้าน Disaster Recovery (DR) กลับต้องใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูง และ มีระบบทีซ่ บั ซ้อน G-ABLE Cloud จึงได้พฒ ั นาโซลูชนั่ ขึน้ มาเพือ่ ท�ำให้ทกุ องค์กรสามารถท�ำ DR ได้อย่างสะดวก ง่ายดาย สร้างความคุ้มค่าให้กับ งบการลงทุน ด้วยการสร้าง DR on Cloud ร่วมกับการใช้ Site Recovery Manager(SRM) เพื่อช่วยให้การสร้าง DR Site ง่ายขึ้น พร้อมกับการน�ำ เทคโนโลยีด้าน NSX ช่วยท�ำให้ระบบบริหารจัดการเน็ตเวิร์ค เกิดความ เสถียรสูงสุด ติดตัง้ ง่าย ภายในเวลาเพียงไม่กชี่ วั่ โมง สะดวกในการบริหาร จัดการในการกู้คืนระบบต่างๆ ท�ำให้สามารถออกแบบ DR Data Center ที่ไม่ซับซ้อนและยุ่งยากอีกต่อไป


G-NEWS

G-ABLE โชว์ Data Virtualization เจาะกลุ่ม Banking รองรับแผน Enterprise Data Analytics ในอนาคต วันที่ : 18 – 20 พฤศจิกายน 2559 สถานที่ : อินเตอร์คอนทิเนนทัล หัวหิน รีสอร์ท จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

G-ABLE ซึ่งเป็นหนึ่งในคู่คา้ รายหลักของ Cisco ในประเทศไทย จัดทีม ผู้เชี่ยวชาญด้าน Data Virtualization เพื่อสาธิตและให้ค�ำแนะน�ำแบบ Case by Case ให้กับกลุ่ม Banking และองค์กรที่ก�ำลังมองหาโซลูชั่น ที่สามารถสนับสนุนกับแผนพัฒนาระบบ Enterprise Data Analytics และต่อยอดสู่การวางแผนปรับปรุงระบบข้อมูลองค์กรในอนาคตอย่าง ยืดหยุ่น ภายในงาน Cisco-Thailand FSI Summit 2016 โดยน�ำเสนอ ข้ อ มู ล เชิ ง ลึ ก ถึ ง ระบบข้ อ มู ล องค์ ก รของธุ ร กิ จ การเงิ น ที่ ต ้ อ งอาศั ย การวิเคราะห์ข้อมูลที่ละเอียด แม่นย�ำและฉับไว ด้วยการน�ำ Data Virtualization เข้ามาตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของกลุ่ม Banking ได้อย่างครบถ้วน อาทิ สามารถรวมฐานข้อมูลและแหล่งข้อมูล หลากหลาย ให้สามารถ Query ขึ้นมาใช้งานพร้อมๆ กันจากศูนย์กลาง ด้วยวิธกี ารทีต่ อ้ งการได้อย่างง่ายดาย เสมือนถูกจัดเก็บอยูใ่ นฐานข้อมูล เดียว ทัง้ ในรูปแบบของ SQL, Web Services, Messaging หรือ Hadoop สามารถใช้งานข้อมูลจากหลายแหล่งได้แบบ Real-Time โดยไม่ตอ้ งเสีย เวลาท�ำการ Migrate หรือ Transform ข้อมูล สามารถเข้าถึงข้อมูล จ�ำนวนมากได้ด้วยความเร็วสูง รองรับการน�ำไปใช้งานได้หลากหลาย สามารถก� ำ หนดสิ ท ธิ์ ก ารเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ได้ ห ลากหลายระดั บ ส� ำ หรั บ ผู้ใช้งานแต่ละคน มีระบบ Self Service ท�ำให้ผู้ที่ต้องวิเคราะห์ข้อมูล สามารถท�ำงานร่วมกันได้อย่างรวดเร็ว รองรับการเพิ่มขยายระบบให้มี ขนาดใหญ่ขึ้นได้ตามต้องการในอนาคต

จีเอเบิลมุ่งผลักดันไอซีทีสู่มาตรฐานวิชาชีพ ตามรอยพ่ อหลวงพระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย วันที่ : 8 พฤศจิกายน 2559 สถานที่ : สถาบันวิชาการทีโอที บริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน)

บริ ษั ท จี เ อเบิ ล จ� ำ กั ด ร่ ว มกั บ มู ล นิ ธิ ส ภาวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน คณะอนุกรรมการก�ำหนดมาตรฐานฝีมอื แรงงาน แห่งชาติสาขาช่างโทรคมนาคม คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ เฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช และสถาบันวิชาการทีโอที บริษทั ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) ร่วมจัดโครงการ ค้นหาสุดยอดฝีมือ โทรคมนาคมและไอซีทเี ฉลิมพระเกียรติครัง้ ที่ 9 โดยมีวตั ถุประสงค์ เพื่อน้อมถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุ ล ยเดช พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และเพื่อเป็นการ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ ด้านโทรคมนาคมและไอซีทีให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในมาตรฐาน วิชาชีพ โดยการแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 สาขา ได้แก่ สาขา

Digital Economy I Community WIFI Network และ ICT | Mobility Application ผูท้ ไี่ ด้รบั รางวัลชนะเลิศ จะได้รบั เงินรางวัลสูงสุดมูลค่า 50,000 บาท ซึง่ ในปีนรี้ างวัลชนะเลิศ สาขา Digital Economy และ ICT เป็นของทีมจาก สถาบันวิชาการทีโอที และสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี ตามล�ำดับ โดยผู้ชนะเลิศทั้ง 2 สาขาจะ ได้รับเกียรติให้เข้ารับโล่เกียรติยศ จากมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช โดยโครงการดังกล่าว มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมแข่งขันกว่า 500 คน ทั่วประเทศ บรรยากาศของการแข่งขันเต็มไปด้วยความมุ่งมั่น และการสร้างมิตรภาพทีด่ ที เี่ กิดขึน้ ระหว่างผูเ้ ข้าร่วมโครงการฯ

G-MagZ IT MAGAZINE

11


SPECIAL REPORT

Thailand IT Trends 2017 5 ประเด็นฮ็อต

ในช่ ว งต้ นปี ข องทุกๆ ปี บริษัทวิจัย และสถาบันต่างๆ หลายสำ�นัก ได้อ อกมาประกาศแนวโน้มแห่งปีนั้นๆ ซึ่งปีนี้ กลุ่มบริษัทจีเอเบิล ได้เผย Thailand IT Trends 2017 เช่นกัน โดยจัดทำ�เป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้น ในประเทศไทย 5 ด้าน ประกอบด้วย Thailand 4.0 / Digital Transformation, IoT/Ambient and AR/VR, FinTech, Blockchain และ Big Data Analytics นอกจากนั้นในบทความนี้ยังน�ำเสนอ Gartner Top 10 Strategic Technology Trends for 2017 และปิดท้ายด้วย แนวโน้มเทคโนโลยี 10 ด้านของประเทศไทยในมุมมองของ IDC I. ก้าวสู่ยุค Thailand 4.0 / Digital Transformation การแต่ ง ตั้ ง รั ฐ มนตรีใ หม่กระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ทีป่ ระกาศเดินหน้าโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ ปูพรมบรอดแบนด์ราคาย่อมเยาว์เข้าถึงหมู่บ้าน 40,432 หมู่บ้าน ด้วยเงินลงทุน 15,000 ล้านบาท และท่าทีอันชัดเจนของรัฐบาลที่ เร่งรัดกฎหมายดิจทิ ลั อีโคโนมี ทีเ่ กีย่ วข้องซึง่ ยังค้างอยู ่ พร้อมเดินหน้า เปิดบริการ PromptPay ภายในไตรมาสแรกปี 2560 หลังจากล่าช้า จากก� ำ หนดเดิ ม ตุ ล าคมปี 2559 ล้ ว นเป็ น สั ญ ญาณบวกที่ จ ะเห็ น ประเทศไทยขั บ เคลื่ อ นสู ่ เ ป้ า หมาย Thailand 4.0 ซึ่ ง ไทยจะใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลและวิทยาศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ใช้นวัตกรรม เป็นฐานราก (Innovation Based Driven Economy) 12

G-MagZ IT MAGAZINE

นอกจากการขับเคลื่อนด้วยรัฐบาลแล้ว เอกชนเป็นส่วนหนึ่งที่ส�ำคัญ ต่อการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ยุค 4.0 โดยเอกชนจะยังคงเร่งการ เปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ดิจิทัล จากจุดที่เพิ่งเริ่มต้นใน 1-2 ปีที่ผ่านมา จะขยับการใช้เทคโนโลยีล�้ำหน้ามากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดอย่าง ยั่งยืน ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ใน ยุคดิจิทัล


SPECIAL REPORT มีการกล่าวกันว่า ยุคของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของดิจิทัล หรือ Digital Disruption นั้น จะท�ำให้ธุรกิจ 4 ใน 10 ของทุกอุตสาหกรรมไม่ สามารถอยู่รอดได้ และถูกแทนที่ด้วยดิจิทัลภายในห้าปี Digital Transformation จะกลายเป็นเรื่องหลักส�ำคัญขององค์กรธุรกิจ โดยมีเทคโนโลยี Cloud Computing, Big Data Analytics และ Internet of Things มาเป็นส่วนส�ำคัญ ทัง้ นีธ้ รุ กิจเทคโนโลยี, สือ่ และบันเทิง, ค้าปลีก และบริการการเงิน จะถูกท้าทายขนานใหญ่จากดิจิทัล แม้ธรุ กิจจะต้องเผชิญความท้าทายจากดิจทิ ลั ในทางตรงข้ามเทคโนโลยี ดิจิทัล ก็สร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ นวัตกรรมสินค้าและบริการ โดยมีการ คาดการณ์วา่ ภายในปี 2558 จนถึงปี 2567 การเปลีย่ นผ่านดิจทิ ลั จะสร้าง โอกาสทางธุรกิจสูงถึง 24 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐทั่วโลก ในปี 2017 จะเห็นองค์กรธุรกิจลงทุนเทคโนโลยีทเี่ พิม่ “ความชาญฉลาด” ทั้ ง การเพิ่ ม การปฎิ สั ม พั น ธ์ ลู ก ค้ า การท� ำ ให้ พ นั ก งานท� ำ งานมี ประสิทธิภาพดีขึ้น การปรับปรุงส่วนปฏิบัติการให้ดียิ่งขึ้น และการ ปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการที่คล่องตัวกว่าเดิม โดยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) จะเข้ามามีบทบาทต่อการปรับเปลี่ยนการท�ำงาน แบบอัตโนมัติมากขึ้น II. สร้างประสบการณ์ใหม่ด้วย IoT, Ambient และ AR/VR การมาของ IoT (Internet of Things) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นับว่าอยู่ ในช่วงเริม่ ต้น ซึง่ ท�ำให้คนไทยรูจ้ กั กันมากขึน้ มีเพียงผูป้ ระกอบการ และ คนบางกลุ่ม (นักวิจัย นักศึกษา) ที่ท�ำการพัฒนานวัตกรรมออกมาใน รูปแบบของ IoT สู่ตลาดให้พอได้สัมผัส และน�ำไปสู่การใช้งานบาง โครงการ ดังเช่น Smart Home, Smart City เป็นต้น Ambient เป็นยุคที่เทคโนโลยีถูกฝังไว้ในทุกๆ สิ่ง ท�ำให้ท�ำงานได้อย่าง ชาญฉลาด หรืออาจกล่าวให้เห็นภาพได้วา่ เป็นยุคทีต่ อ่ ยอดจาก IoT โดย เทคโนโลยีถูกเติมเต็มความฉลาดเข้าไปมากกว่าความสามารถในการ ต่อเชือ่ มอินเทอร์เน็ตเท่านัน้ คือ ได้ผนวกความสามารถในการประมวลผล

วิเคราะห์ และพยากรณ์ จากข้อมูลรอบข้าง เพือ่ ตอบสนองความต้องการ ของมนุษย์ สามารถท�ำตามค�ำสัง่ หรือโจทย์ของมนุษย์ รวมทัง้ การท�ำงาน แบบอัตโนมัติได้ด้วย ตัวอย่างที่เกิดขึ้นบ้างแล้ว คือ Google Home และ Amazon Alaxa ยิ่งกว่านั้น Ambient ยังสามารถชี้แนะมนุษย์ได้ด้วย Data Analytics ที่กลั่นกรองมาจากข้อมูลจ�ำนวนมาก AR/VR (Augmented Reality/ Virtual Reality) เทคโนโลยีโลกเสมือน เป็นอีกทิศทางหนึง่ ของนวัตกรรมทีเ่ กิดขึน้ ในยุคนี้ ซึง่ มีทงั้ AR ทีเ่ ป็นการ สร้างวัตถุเสมือนขึ้นมา โดยให้เห็นภาพว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่อยู่ ในสภาพแวดล้อมจริง อย่างเช่นเกมส์ Pokemon Go ส่วน VR เป็น การสร้างโลกเสมือนใบใหม่ขึ้นมา โดยมนุษย์จะเข้าไปอยู่ในสภาพ แวดล้อมเสมือนเหล่านั้น ปัจจุบันมีการพัฒนาเนื้อหาต่างๆ ออกมาบ้าง แล้วแต่ยังไม่แพร่หลายนัก นวัตกรรมต่างๆ ที่กล่าวมานี้ จะสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้คนทั้ง หลายได้สัมผัสจริง จากที่ในอดีตเคยได้พบเห็นในภาพยนตร์แนวนิยาย วิทยาศาตร์ หรือ Science Fiction ดังเช่น ภาพยนตร์เรื่อง Star Trek จากปีนี้ไปมนุษย์จะก้าวเข้าสู่โลกเสมือนที่เป็นโลกใหม่แบบจับต้องได้ ใช้งาน ใช้ประโยชน์ได้อย่างจริงจัง ในที่นี้ขอยกตัวอย่างโลกเสมือนที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ ในระดับบุคคลจะได้ สัมผัสกับเกมส์รูปแบบใหม่ที่เสมือนจริงมากขึ้น ในแวดวงการศึกษา จะ มีการสร้างเนื้อหาเพื่อการเรียนการสอนแบบโลกเสมือน เป็นการตั้งต้น จินตนาการให้กับนักเรียน เช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ต้อง สร้างเหตุการณ์จริงขึ้นมา แต่สามารถเรียนรู้การเกิด การเปลี่ยนแปลง และผลลัพธ์ ได้จากการใช้เทคโนโลยี AR/VR เข้ามาเป็นเครือ่ งมือ เป็นต้น ส่วนในภาคธุรกิจก็สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น การลอง สวมเสื้อผ้าในระหว่างเลือกซื้อ โดยไม่ต้องสวมจริง แต่ใช้เทคโนโลยี โลกเสมือนเข้ามาอ�ำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า ซึ่งยังสามารถพัฒนา ให้เทคโนโลยีท�ำการทักทายลูกค้า แนะน�ำสินค้าให้กับลูกค้า ด้วยการ ประมวลผลจากประวัติและพฤติกรรมของลูกค้า เป็นต้น

G-MagZ IT MAGAZINE

13


SPECIAL REPORT 3. การกูย้ มื เงิน P2P จะเกิดการกูย้ มื ระหว่างบุคคลต่อบุคคลมากขึน้ แทนการกู ้ ยื ม ผ่ า นคนกลางอย่ า งธนาคาร ทั้ ง หมดนี้ เ กิ ด ขึ้ น ได้ บ น ความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีที่สามารถตรวจสอบเครดิตและพิสูจน์ตัวตน โดยล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยได้ด�ำเนินการเปิดตัวเทคโนโลยี Sand Box เพื่อทดสอบการให้บริการซึ่งสอดคล้องกับ P2P 4. AI (Artificial Intelligence) & RoboAdvisory เทคโนโลยีในการ วิเคราะห์ข้อมูลเกิดมากขึ้น RoboAdvisory มีความสามารถในการ วิเคราะห์หนุ้ ในตลาดหลักทรัพย์ ซึง่ มีระบบการวิเคราะห์คำ� นวณทีแ่ ม่นย�ำ กว่ามนุษย์ 5. Crowd Funding การระดมทุนในรูปแบบกลุม่ บุคคลจะเกิดมากขึน้ 6. Big Data มีการใช้ประโยช์จากข้อมูลจ�ำนวนมาก ด้วยการน�ำไป วิเคราะห์ และศึกษาพฤติกรรมหรือความต้องการต่างๆ 7. More Efficient Insurance โดย RoboAdvisory จะเข้ามามีบทบาท ต่อการใช้งานเชิงวิเคราะห์มากขึ้น ในวงการประกันอาจมีระบบบริหาร จัดการด้านการให้บริการประกันภัยรถยนต์ ที่สามารถเก็บค่าบริการ ตามการใช้รถจริง III. FinTech โอกาสใหม่ Startup ไทย FinTech หรื อ นวั ต กรรมทางการเงิ น ถู ก จั บ ตามองและกล่ า วถึ ง เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในสถาบันการเงินในช่วงปีทผี่ า่ นมา นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนจากรัฐบาล ธนาคาร และกลุ่มทุนเข้ามาเสริม รับกับ กระแสโลกทีก่ ำ� ลังพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ออกมาตามความสามารถของ เทคโนโลยีในยุคปัจจุบนั ทีเ่ ข้ามามีบทบาทส�ำคัญต่อคนทัว่ ไป ธุรกิจ และ สังคมทั่วโลก ในขณะเดียวกันกระแส Tech Startup หรือผู้ประกอบการใหม่ด้าน เทคโนโลยี ก�ำลังมาแรง มีคนรุ่นใหม่จ�ำนวนมากมีความพยายามที่จะ คิดค้นนวัตกรรมออกมาเพื่อให้เกิดสินค้า หรือบริการรูปแบบใหม่ๆ ซึ่ง หนึ่งในความพยายามคือ การเข้าสู่วงจรของ FinTech จึงถูกจับตามอง เป็นอย่างมาก ดังนั้นการสร้างนวัตกรรมทางการเงิน หรือ FinTech จึง เป็นโอกาสใหม่ที่หอมหวนของเหล่า Tech Startup แนวโน้มยิ่งมาแรงในปี 2017 ด้วย FinTech และ Startup สอดคล้องกับ เป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการน�ำประเทศไทยก้าวข้ามกลุ่มประเทศที่มี รายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง ตามนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยการปรับเปลีย่ นโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่ง FinTech เป็นนวัตกรรม ทางการเงินที่จะเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางการพัฒนาประเทศไทย ที่จะ เกิดขึ้นจากแนวคิดที่สร้างสรรค์ของ Tech Startup นับจากนี้ไป ในเชิงของเทคโนโลยี คุณกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ประธานสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึง 7 โอกาสจาก FinTech ประกอบด้วย 1. Personal Finance ทีเ่ กิดการใช้งานขึน้ พอสมควรในรูปแบบดิจทิ ลั 2. Mobile Payments Transfers มีการใช้งานแล้ว และมีแนวโน้มว่า จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยที่สูงขึ้น 14

G-MagZ IT MAGAZINE

IV. Blockchain ยุคที่สองของอินเทอร์เน็ต จากกระแสการมาของ Blockchain ในช่วงปีที่ผ่านมา ที่อยู่ในช่วงของ การเริม่ ต้นท�ำความรูจ้ กั ท�ำความเข้าใจ มีการหาพันธมิตร ศึกษาแนวทาง และความเป็นไปได้ ตลอดจนธุรกิจบางแห่งเริ่มทดลองใช้บ้างแล้ว นับจากปี 2017 นี้ไปมีแนวโน้มว่า ธุรกิจหลายประเภทจะตื่นตัวกับ Blockchain มากขึ้น เพราะเล็งเห็นประโยชน์ ความสะดวก และความ ปลอดภัยที่มาควบคู่กัน หากเปรียบให้อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกที่มีอิทธิพลต่อการ ด�ำรงชีวติ ประจ�ำวันของผูค้ นทัว่ โลกมาแล้ว Blockchain ก็เปรียบเป็นยุค ทีส่ องของอินเทอร์เน็ตทีจ่ ะปฎิวตั กิ ารด�ำเนินธุรกิจ และเพิม่ คุณภาพชีวติ ให้ผู้คนทั่วโลกเลยทีเดียว Blockchain เป็นแพลตฟอร์มเครือข่ายที่เชื่อถือได้ ผู้ใช้จะท�ำการบันทึก ข้อมูลหรือรายการลงไปในระบบในรูปแบบดิจทิ ลั และท�ำการเข้ารหัสแบบ


SPECIAL REPORT

Cryptography จึงไม่สามารถแก้ไขข้อมูลทีบ่ นั ทึกลงไปแล้วได้ หรือแก้ไข ได้ยากมากๆ โดยจัดเก็บเป็นแพ็คเกจข้อมูลทีเ่ รียกว่า Block ต่างคนต่าง สร้าง Block และแต่ละ Block มีการเชื่อมต่อกันเป็นลูกโซ่ หรือที่เรียกว่า Chain การท�ำงานของ Blockchain นี้ เป็นธุรกรรมระหว่างสอง ฝ่ายโดยตรง (Peer to Peer Transaction) ซึง่ ไม่ตอ้ งมีคนกลาง หรือหน่วยงานกลาง อย่างรัฐบาล ธนาคาร หรือหน่วยงาน ก�ำกับดูแล ด้วยข้อดีของ Blockchain ท�ำให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ จึงสามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย เช่น กรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน หุ้น สินทรัพย์ต่างๆ รวมไปถึง การโอนเงินข้ามแดนที่ลดเวลาเหลือเพียงชั่วโมงเศษๆ จากที่ต้องใช้เวลาราว 5 วัน ด้วยค่าธรรมเนียมการโอน ลดลงจาก 10% เหลือเพียง 1% เท่านั้น ส�ำหรับประเทศไทยนัน้ ปัจจุบนั กลุม่ ธุรกิจธนาคาร เป็นกลุม่ ทีต่ นื่ ตัวทีส่ ดุ น�ำโดย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารผู้น�ำ ด้านดิจิทัล ต่างก็ออกมาทดลองใช้และหาความร่วมมือผ่านพันธมิตร กรณีธนาคารกสิกรไทย ทดลองใช้ Blockchain ท�ำการรับรองเอกสาร ต้นฉบับ ในโครงการ Hyperledger ที่ออกแบบมาเพื่อการประยุกต์ใช้ ส�ำหรับองค์กรต่างๆ เพือ่ ให้สามารถท�ำงานในมาตรฐานเดียวกันได้อย่าง รวดเร็ ว มี ลั ก ษณะพิ เ ศษที่ ส ามารถก� ำ หนดสิ ท ธิ์ ใ ห้ ใ ช้ ไ ด้ เ ฉพาะผู ้ ที่ เกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น Private Blockchain ปั จ จุ บั น ธนาคารและสถาบั น การเงิ น ชั้ น น� ำ ทั่ ว โลกก� ำ ลั ง ตื่ น ตั ว ใน เทคโนโลยี Blockchain ด้วยความเชื่อมั่นว่าจะเป็นนวัตกรรมที่ช่วย ยกระดับการท�ำธุรกรรมทางการเงินในหลายรูปแบบที่ผู้บริโภคจะได้ ประโยชน์ ทั้งในแง่ความรวดเร็ว ความปลอดภัย และการลดค่าใช้จ่าย เช่นเดียวกับองค์กรภาครัฐของไทยที่มีส่วนในการก�ำกับทิศทางในภาค การเงินการธนาคาร ก�ำลังมุ่งศึกษาการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมนี้ เพื่อสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์โลกดังกล่าว อีกทั้งเพื่อ ผลักดันให้ประเทศพร้อมเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล V. Big Data Analytics กับเรื่องมาแรงแห่งปี 2017 หัวข้อนี้นับเป็นแนวโน้มที่มาแรงหลายปีต่อเนื่อง ส�ำหรับประเทศไทย ในช่วงที่ผ่านมายังมีการใช้งานอยู่เพียงน้อยนิด หากแต่ในปี 2017 นั้น การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในเชิงธุรกิจ ทั้งด้านการตลาด การพัฒนา สินค้าและบริการ ตลอดจนการเข้าถึงและวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค จะเกิดมากขึน้ ในที่นี้ได้ข้อสรุปจากแนวคิดของ รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำ� นวยการ สถาบันไอเอ็มซี ผู้เชี่ยวชาญด้าน Big Data ซึ่งชี้ให้เห็น 7 เทรนด์ที่จะ เกิดขึ้นในโลกของ Big Data Analytics คือ

1. องค์กรจะให้ความส�ำคัญกับการใช้ Open Source ในการเก็บ ข้อมูลมากขึ้น 2. Hadoop หรือแพลตฟอร์มการเก็บข้อมูลกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ การลงทุน Big Data ก่อนขยายไปใช้เครือ่ งมือการประมวลผลรูปแบบอืน่ เนื่องจากองค์กรต้องการการวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งที่หลากหลาย 3. ต้องการการตอบสนองที่รวดเร็วขึ้น สืบเนื่องจากเทคโนโลยี IoT ที่มาแรง ท�ำให้การวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็วนั้นเป็นสิ่งส�ำคัญ 4. Apache Spark นับเป็นแนวโน้มหนึ่งของ Big Data Analytics ทีท่ ำ� ให้การประมวลผลท�ำได้เร็วขึน้ เนือ่ งจากมีความสามารถหลากหลาย 5. การท�ำ AI & Machine Learning ที่เริ่มเห็นมากขึ้นจากการ น�ำข้อมูลมาพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคต โดยเฉพาะวิเคราะห์ และ พยากรณ์ด้านการลงทุน 6. การท�ำ Data Lake ท�ำการโหลดข้อมูลที่มีแนวโน้มจะใช้งานมา เก็บไว้ เพื่อให้น�ำข้อมูลมาประมวลผลได้เร็วขึ้น ส่วนข้อมูลที่ยังไม่ได้ใช้ ก็สามารถส่งไปเก็บไว้ใน Data Warehouse ได้เช่นเดิม 7. Big Data Analytics มีแนวโน้มทีเ่ กิดการใช้งานขึน้ บนเครือ่ งมือที่ อยู่บนคลาวด์ ทั้งนี้สิ่งส�ำคัญที่สุด ไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยีแต่ควรต้องพัฒนาบุคลากรให้มี ความรู้ความสามารถที่จะใช้เครื่องมือให้เกิดประโยชน์มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามระบบความปลอดภัยสารสนเทศ หรือ IT Security ยังคงมีความส�ำคัญเช่นเดิม โดยแทรกอยูใ่ นทุกแนวโน้มทัง้ 5 ด้าน ที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งยังแทรกซึกอยู่ในเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย โดยสิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ คือ การเริม่ จากความระมัดระวังด้วยตนเองเป็น พื้นฐานที่สำ� คัญที่สุด G-MagZ IT MAGAZINE

15


SPECIAL REPORT

Gartner ทำ�นาย 10 แนวโน้มเทคโนโลยีปี 2017 เมือ่ เร็วๆ นี้ Gartner ได้ประกาศเทคโนโลยีแนวโน้ม 10 ประการ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ทั่วโลก ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่มหลัก คือ Intelligent, Digital, Mesh ประมวลได้วา่ โลกก�ำลังก้าวสูย่ คุ หลอมรวมระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือน Top 10 Strategic Technology Trends for 2017 ที่ Gartner ท�ำนาย ประกอบด้วย 1. Artificial Intelligence and Advanced Machine Learning

ภายใต้ AI และ Machine Learning ประกอบด้วยเทคโนโลยี ต่างๆ เช่น Deep Learning, Neural Networks และ Natural-Language Processing (NLP) ฯลฯ เกิ ด ความก้ า วหน้ า ของนวั ต กรรมด้ า น ความเข้าใจ การเรียนรู้ การวิเคราะห์และพยากรณ์ อีกทั้งยังสามารถ ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งในอนาคตจะเกิดขึ้นจากความสามารถ ในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 2. Intelligent Apps

มีการสร้างแอพใหม่ๆ ที่มีความชาญฉลาด เป็นผู้ช่วยให้กับ พนักงานในองค์กร หรือที่เรียกว่าแอพ Virtual Personal Assistants (VPAs) แอพดังกล่าวจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง การท� ำ งานภายในองค์ ก ร ท� ำ ให้ ก ารท� ำ งานง่ า ยขึ้ น และพนั ก งาน มีประสิทธิภาพมากขึน้ 3. Intelligent Things

Intelligent Things จะครอบคลุมเทคโนโลยี 3 ประเภทหลัก คือ หุ่นยนต์, โดรน และยานพาหนะอิสระ (Autonomous Vehicles) จะเกิดขึน้ และส่งผลต่อตลาดอย่างมาก สนับสนุนการเกิดธุรกิจ ดิจทิ ลั อุปกรณ์ตา่ งๆ จะกลายเป็นสิง่ ทีช่ าญฉลาดด้วยการประยุกต์ใช้ AI น�ำเข้าไปพัฒนาให้สงิ่ ต่างๆ มีความอัจฉริยะ โดยในอนาคตมีแนวโน้มว่า อุปกรณ์ต่างๆ จะท�ำงานร่วมกัน (Collaboration) 4. Virtual & Augmented Reality

เทคโนโลยี VR และ AR ท� ำ ให้ วิ ธี ก ารโต้ ต อบของคน เปลี่ยนแปลงไป โดยซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมานั้นจะสร้าง สภาพแวดล้ อ มเสมื อ น อาทิ VR สามารถใช้ ส� ำ หรั บ การฝึ ก อบรม ด้วยการจ�ำลองสถานการณ์ขนึ้ มาเพือ่ ให้เกิดประสบการณ์จริง ขณะที่ AR ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือนจะถูกน�ำไปใช้งาน มากขึน้ ธุรกิจสามารถสร้างกราฟิกทีม่ มี ติ ลิ งบนอุปกรณ์ตา่ งๆ ได้ 5. Digital Twins

ภายใน 3-5 ปี นับจากนี้ สิ่งต่างๆ นับพันล้านชิ้นจะเป็น Digital Twins โดยมาพร้อมกับเซ็นเซอร์ เพือ่ รายงานสถานะ การท�ำงานของอุปกรณ์ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น Digital Twins คือ โมเดลซอฟต์แวร์แบบพลวัต (Dynamic) โดยในด้านการ ใช้งาน Digital Twins จะน�ำไปสูก่ ารรายงาน และแจ้งเตือนผ่านระบบเพือ่ ให้ช่างเข้าไปท�ำการซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ก�ำลังจะช�ำรุด ช่วยให้ธุรกิจ สามารถวางแผนการบ�ำรุงรักษาอุปกรณ์ การพยากรณ์การท�ำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น 16

G-MagZ IT MAGAZINE

6. Blockchain

Blockchain เป็นการแลกเปลีย่ นสิง่ ทีม่ มี ลู ค่า เช่น Bitcoin ซึง่ ปัจจุบันเริ่มมีการน�ำมาใช้มากยิ่งขึ้น เพราะความปลอดภัยที่ เชือ่ ถือได้ ความรวดเร็ว เริม่ เป็นทีร่ จู้ กั มากขึน้ และถูกคาดหวังว่าจะช่วย เปลี่ยนแปลงโมเดลอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมากมาย ในอนาคตอันใกล้นี้ Blockchain จะเปลี่ยนอุตสาหกรรมทางการเงิน ซึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคือ การโอนเงินที่มีค่าธรรมเนียมต�่ำเพียง 1% น้อยกว่า การโอนเงินผ่านคนกลางอย่างธนาคาร รวมทั้งใช้เวลาโอนเพียงหนึ่ง ชั่วโมงสามสิบนาทีเพียงเท่านั้น นอกจากนี้ Blockchain ยังสามารถ ประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆ ได้ เช่น การระบุตัวตน การออกใบรับรอง หรือ การเก็บบันทึกเอกสารต่างๆ ที่มีมูลค่า 7. Conversational Systems

Conversational Systems เป็นระบบการสือ่ สารหรือสนทนา ด้วยเสียง ในอนาคตอุปกรณ์ต่างๆ สามารถสนทนาหรือ สือ่ สารระหว่างกันได้ และสามารถสือ่ สารกับมนุษย์ได้ ซึง่ หมายถึงทุกสิง่ ทุกอย่างจะมีการสื่อสาร หรือสนทนาระหว่างกันตลอดเวลา โดยการ สนทนานั้นอาจมีความซับซ้อนยากง่ายต่างกันไป ยกตัวอย่างของการ สอบปากค�ำพยานในเหตุการณ์อาจท�ำให้อุปกรณ์สามารถแสดงผลลัพธ์ ยากๆ ออกมาได้ เช่น แสดงภาพของผู้ต้องสงสัย เป็นต้น 8. Mesh App and Service Architecture (MASA)

Mesh App และ Service Architecture (MASA) เป็น สถาปัตยกรรมแบบโซลูชั่นหลายช่องทางที่สนับสนุนผู้ใช้ จ�ำนวนมาก โดยน�ำอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้เพื่อติดต่อกันผ่านเครือข่าย ซึ่ง สถาปัตยกรรมนี้มีเซอร์วิสต่างๆ ทั้งที่เป็น Miniservices, Microservice และ APIs ต่างๆ MASA เป็นแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรม ของเทคโนโลยี 9. Digital Technology Platforms

แนวโน้มนี้เป็นตัวสร้างบล็อกที่รวบรวมความสามารถและ องค์ประกอบด้านเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อก�ำหนด รูปแบบการท�ำงานร่วมกัน โดยองค์กรจะต้องน�ำ 5 แพลตฟอร์มมาจัดการ คือ Information System Platform, Customer Experience Platform, Analytics and Intelligence Platform, IoT Platform และ Business Ecosystem Platform เพื่อทําให้เกิด New Platforms สําหรับ IoT, AI และ Conversational Systems ซึ่งจะเป็นคีย์สําคัญในปี 2020 10. Adaptive Security Architecture

การมาของแพลตฟอร์มต่างๆ ยังต้องค�ำนึงถึงสถาปัตยกรรม ด้านความปลอดภัย เนื่องจากแฮกเกอร์ก็มีพัฒนาการที่มี ความสามารถในการโจมตีเก่งขึ้นเช่นกัน ซึ่งการพัฒนาในทุกขั้นตอน ยังต้องให้ความส�ำคัญกับความปลอดภัยอย่างละเอียด ทั้งหมดคือ 10 แนวโน้มปี 2017 จากการ์ทเนอร์ที่ได้สรุปความ มาไว้ในที่นี้


SPECIAL REPORT แนวโน้มเทคโนโลยี 10 ด้านของประเทศไทยในมุมมอง IDC DX ดังนั้นนักการตลาดทั่วประเทศจะต้องริเริ่มและน�ำคอนเทนต์ใน รูปแบบ AR/VR มาใช้ประโยชน์ เพื่อหาวิธีการใหม่ในการปฏิสัมพันธ์ กับลูกค้า 5: การเติบโตของ IoT ในปี 2560 รถยนต์อัจฉริยะ ประกันภัยเชิง เทเลเมติกส์ เทคโนโลยีดา้ นสุขภาพส่วนบุคคล และอาคารอัจฉริยะ เป็น 4 ด้านที่ใช้งาน IoT แพร่หลายมากที่สุดของประเทศไทย ซึ่งจะกระตุ้น การลงทุนในเทคโนโลยี IoT ถึง 7 พันล้านบาท

ไอดี ซี ป ระเทศไทยประกาศคาดการณ์ เ ทคโนโลยี ส� ำ คั ญ ส� ำ หรั บ ประเทศไทยส�ำหรับปี 2560 เป็นต้นไป โดยเน้นว่าผลจากการท�ำ Digital Transformation หรือ DX ขององค์กรต่างๆ ทั่วโลกนั้นจะเข้าสู่ระดับ เศรษฐกิจมหภาคในอีก 3-4 ปีขา้ งหน้า ซึง่ จะก่อให้เกิดการเปลีย่ นแปลง วิธที บี่ ริษทั ด�ำเนินการ และการปรับเปลีย่ นรูปแบบของเศรษฐกิจโลกใน ที่สุด แนวโน้มเทคโนโลยี 10 ด้านของประเทศไทยในมุมมอง IDC มีดังนี้ 1: รุง่ อรุณแห่งเศรษฐกิจ DX ภายในปี 2563 นัน้ ผูป้ ระกอบการทีใ่ หญ่ ทีส่ ดุ ในไทย จะพบว่าธุรกิจส่วนใหญ่ขนึ้ อยูก่ บั ความสามารถในการสร้าง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ บริ ก าร และประสบการณ์ ก ารใช้ ง านที่ มี ดิ จิ ทั ล เป็ น องค์ประกอบ ซึ่งเป็นผลมาจากการท�ำ Digital Transformation โดยใช้ Cloud, Analytics, Social และเทคโนโลยีอนื่ ๆ เพือ่ สร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขัน 2: รายได้เชิงดิจิทัล ภายในปี 2062 นั้น 25% ของโครงการด้านไอทีจะ สามารถสร้างบริการและแหล่งรายได้ใหม่เชิงดิจิทัล ที่เกิดจากการ เปลี่ยนข้อมูลให้เป็นรายได้ ในยุค DX การ Transformation ด้านข้อมูล เป็นแนวทางทีม่ งุ่ เน้นไปทีก่ ารวิเคราะห์ การพัฒนาคุณค่า และประโยชน์ ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ข้อมูลจะกลายเป็น “ทุนดิจิตอล” ในการ สร้างรายได้ 3: การซัพพอร์ตโดยใช้ดจิ ทิ ลั ภายในปี 2561 นัน้ 60% ของการบริการ ซัพพอร์ตลูกค้าจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัลและเกิดขึ้นในชุมชนออนไลน์ โดยองค์กรธุรกิจจะใช้โซเชียลมีเดียในการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ แนะน�ำสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้า และแก้ปัญหาของลูกค้า 4: อินเตอร์เฟซแบบ 360 องศา จากความก้าวหน้าของ AR/VR จะท�ำให้ประเทศไทยเห็นโลกดิจิทัลเชื่อมต่อกับโลกแห่งความเป็นจริง ซึง่ จะเป็นการเพิม่ และขยายปฏิสมั พันธ์ระหว่างบุคคลต่างๆ ในเศรษฐกิจ

6: รถยนต์อจั ฉริยะ ภายในปี 2562 นัน้ 25% ของรถยนต์ทเี่ ปิดตัวใหม่ จะมาพร้อมความสามารถในการรายงานสภาพความสึกหรอ แจ้งซ่อม บ� ำ รุ ง ส่ ง ข้ อ มู ล กลั บ ไปหาผู ้ ผ ลิ ต และตรวจสอบการเคลมประกั น ในไม่ช้านี้นวัตกรรมที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยปัญหาในระบบเครื่องกล หรือไฟฟ้าของรถยนต์จะเปลีย่ นจากการเก็บข้อมูลย้อนหลังไปสูก่ ารเก็บ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ 7: การปฏิสมั พันธ์กบั ผูป้ ว่ ย ในปี 2017 การปฏิสมั พันธ์ระหว่างผูป้ ว่ ย กับผูใ้ ห้บริการด้านสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์ชวี ภาพ จะเปลีย่ นแปลง อย่างก้าวกระโดดจากเชิงรับเป็นเชิงรุก 8: กลยุทธ์มัลติคลาวด์ กว่า 55% ของแผนกไอทีจะด�ำเนินกลยุทธ์ การสรรหาและจัดการสถาปัตยกรรมมัลติคลาวด์ภายในปี 2563 ซึ่งจะ ช่วยผลักดันความเร็วของการเปลีย่ นแปลงภายในแผนกไอที องค์กรต่างๆ ของไทยก�ำลังท�ำการย้ายจากไอทีแบบดั้งเดิมไปสู่แพลตฟอร์มคลาวด์ 9: การยกเครื่องเพย์ทีวี ในปี 2561 การเติบโตของผู้ใช้บริการทีวีที่มี การออกอากาศแบบ OTT (Over-The-Top) จะผลักดันให้เพย์ทีวี แบบเดิมนัน้ ต้องท�ำการยกเครือ่ งตนเองผ่านการใช้งานคลาวด์มากขึน้ 10: คอกนิทีฟไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ภายในปี 2562 กว่า 30% ของระบบ ไซเบอร์ซเิ คียวริตขี้ ององค์กรในประเทศไทยจะใช้เทคโนโลยี Cognitive/ AI ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เพื่อช่วยในการจัดการกับ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นและซับซ้อนขึ้นอย่างมาก สุ ด ท้ า ยนี้ ไอดี ซี ค าดการณ์ ว ่ า โลกจะได้ เ ห็ น แพลตฟอร์ ม ที่ 4 ปรากฏขึน้ ภายในปี 2563 ซึง่ ในความเป็นจริงแล้ว หนึง่ ในสามของ บริษัทด้านสุขภาพ/วิทยาศาสตร์ชีวภาพและสินค้าอุปโภคบริโภค จะเริม่ พัฒนาสินค้า/บริการกลุม่ แรกทีม่ กี ารผสานแพลตฟอร์มที่ 3 กับร่างกายมนุษย์ ที่จะท�ำให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ ประเภท “มนุษยชาติเสริม” จนกลายเป็นกระแสหลักได้ในช่วงปี 2568 เป็นต้นไป G

G-MagZ IT MAGAZINE

17


TECH&TREND ชัยณรงค์ พงษ์อดุลยสุข Senior Systems Engineer บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำ�กัด

Veritas Resiliency Platform ก�ำกับดูแล Business Application แบบครบวงจร ปัจจุบนั องค์กรเริม่ ขยาย Data Center ใหม่ตามธุรกิจทีเ่ ติบโต ในลักษณะที่เป็น Hybrid Cloud มากขึ้น และเป็นสิ่งที่ก�ำลัง แทรกเข้ามาในโลก Infrastructure แบบ On-Premise ดั้งเดิม เมื่อองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้ ระบบงานและข้อมูล ทางธุรกิจที่ส�ำคัญท�ำงานกระจายอยู่หลายแพลตฟอร์มซึ่ง Data Center อยู่บน Cloud มากขึ้นทั้ง Private และ Public Cloud องค์กรจึงจ�ำเป็นต้องมีโซลูชนั่ ทีส่ ามารถบริหารจัดการ และตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจในด้าน Service Level Objective หรือ Business Uptime ตามที่องค์กรตั้งไว้ ให้ทัน กับการเปลี่ยนแปลงของโลกและเทคโนโลยีต่างๆ World is Moving to Cloud จาก ผลส�ำรวจ “Veritas ‘State of the Hybrid Cloud’ Report Jan 2016” จะเห็นได้ว่า องค์กรเริ่มชะลอการลงทุน IT Infrastructure แบบ On-Premise แต่ไปเพิ่มการลงทุน Private/Public หรือ Hybrid Cloud มากขึ้น แต่อย่างไร Infrastructure แบบ On-Premise ก็ยังคงไม่หายไป หากแต่ จะเป็นโลกที่องค์กรต้องบริหารจัดการผสมผสานกันระหว่าง Legacy และ Cloud Technology

It will be Hybrid World จะเห็ น ได้ ว ่ า องค์ ก รในอนาคตจะมี แ พลตฟอร์ ม ที่ ใ ช้ ใ น การด�ำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลที่หลากหลายขึ้น การที่จะน�ำ แอพพลิ เ คชั่ น ที่ ใ ห้ บ ริ ก ารทางธุ ร กิ จ บนสภาพแวดล้ อ ม ลักษณะนี้ ทีมแอพพลิเคชัน่ ขององค์กรมีความท้าทายทีจ่ ะต้อง พบเจออยู่หลายๆ เรื่อง เช่น ระบบฐานข้อมูลอยู่บน Solaris, ระบบแอพพลิเคชั่นอยู่บน Virtualize และ Web Server อยู่ บน Amazon Web Service เป็นต้น ดังนั้นจะน�ำ Business Application ที่มีสภาพแวดล้อมลักษณะนี้ ย้ายไปยังอีก Data Center หนึ่งโดยง่ายเพื่อการันตี Uptime ได้อย่างไร และ ยิ่งหากเป็น Business Application มีลัก ษณะเป็นแบบ Multi-Tier ที่ต้องพึ่งพากันเอง เช่น App A จะท�ำงานได้ ต้องมี App B กับ App C ท�ำงานก่อน ก็จะยิ่งซับซ้อนมากขึ้น ทีมไอทีที่ดูแล Business Application หนึ่ง อาจประกอบไป ด้วยผูด้ แู ลระบบต่างๆ ได้แก่ ผูด้ แู ล Operating System, ผูด้ แู ล VM, ผู้ดูแล Storage, ผู้ดูแล Database, ผู้ดูแล Network และ เจ้าของแอพพลิเคชัน่ ดังนัน้ จึงพบว่ามีปจั จัยทีอ่ าจจะท�ำให้เกิด ปัญหา ได้แก่

ฉบับเต็ม https://www.veritas.com/content/dam/Veritas/docs/reports/veritas-survey-executivereport-rev-q-2016-01-15.pdf

18

G-MagZ IT MAGAZINE

• หลายหลากทีมงาน ผู้ดูแล และ Skill • หลากหลายเครื่องมือ แยกตามแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็น Proprietary • Run Book ที่สลับซับซ้อน และง่ายที่จะเกิด ข้อผิดพลาด • ใช้เวลาในการท�ำแผนการทดสอบนาน และ ต้องมีกระบวนการ Failback หลังทดสอบเสร็จ • ทีมงานที่มีจ�ำนวนจ�ำกัด สวนทางกับจ�ำนวน แอพพลิเคชั่นที่มากขึ้นตั้งแต่หลักสิบจนถึง หลักหลายร้อย • Application Owner ไม่สามารถมั่นใจในเรื่อง Uptime ได้


TECH&TREND

ด้วยองค์ประกอบและข้อจ�ำกัดต่างๆ เหล่านีท้ ำ� ให้เจ้าของแอพพลิเคชัน่ มีความกังวล และไม่มคี วามมัน่ ใจว่าแอพพลิเคชัน่ ทีใ่ ห้บริการทางธุรกิจ จะกลับมาให้บริการได้อย่างรวดเร็ว หรือสามารถมี Uptime ทีต่ อ้ งการ รวมทัง้ จะส่งผลกระทบต่อไปในระดับองค์กรทีต่ อ้ งพบกับความท้าทาย เหล่านี้ และจะท�ำให้ธุรกิจที่ยังต้องพึ่งพาแอพพลิเคชั่นด�ำเนินงาน อย่างต่อเนื่องได้อย่างไร Veritas Resiliency Platform จึงเป็นหนึ่งในโซลูชั่นที่ช่วยให้องค์กร สามารถน�ำ Business Application ที่มีสภาพแวดล้อมหลากหลาย ย้ า ยไปยั ง อี ก Data Center หนึ่ ง ไม่ ว ่ า แอพพลิ เ คชั่ น นั้ น จะมี Component อยูบ่ น Physical, Virtual หรือ Cloud ก็ตาม เพียงแค่ตงั้ ค่า การท�ำงาน ขั้นตอน หรือกระบวนการต่างๆ ในการ Stop-Start Business Application จากนัน้ เพียงแค่กดคลิกเดียว ก็สามารถ Fail-Over หรื อ Fail-Back ระบบงานที่ มี ค วามส� ำ คั ญ ไปยั ง Data Center ปลายทางได้ทันที ความสามารถหลัก • มีหน้าจอ Dashboard เดียว แสดงให้เห็นสถานะของ Business Application ไม่ว่าจะอยู่บนสภาพแวดล้อม Physical, Virtual หรือ Cloud • Veritas เป็นผลิตภัณฑ์เดียวที่มีหน้าจอแสดงถึง Business Uptime ทีแ่ อพพลิเคชัน่ กระจายอยูบ่ นสภาพแวดล้อมทีห่ ลากหลาย เช่น อยู่บนหลาย Storage Vendor, หลากหลาย Virtualize, Hyper-V, VMWare หรือหลากหลายแพลตฟอร์ม • แสดงแผนภาพการท�ำงาน Application Resiliency โดยสรุป เพือ่ ให้องค์กรประเมินความเสี่ยงแบบเชิงรุก • แสดงสถานะการท�ำงานของ Application, Virtual Machine, Multi-Tier Business Application และ Storage ตั้งแต่ต้นจนจบ

• กดแค่ ค ลิ ก เดี ย ว ก็ ส ามารถน� ำแอพพลิ เ คชั่ น ที่ อยูบ่ น สภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ไปยัง Data Center ปลายทางได้

หน้าจอ Global Dashboard ช่วยให้ผู้ดูแลระบบเห็นถึงสถานะของ Business Application หรือ Asset ต่างๆ ที่กระจายอยู่ตาม Data Center แบบภาพรวม จากหน้าจอ Dashboard สามารถเข้าไป ดูรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ได้ รวมถึงสั่งการ Migrate Rehearsal หรือ Take-Over พร้อมทั้งแสดงรายงานผลการท�ำงานต่างๆ ได้ ก�ำหนด Multi-Tier Service ด้วย “Virtual Business Service” ด้วยความสามารถช่วยระบุได้วา่ แอพพลิเคชัน่ ใดๆ จะท�ำงานได้นั้น ต้องประกอบด้วยส่วน ต่างๆ อะไรบ้าง เพื่อก�ำหนดขั้นตอนการ Stop-Start ได้อย่างถูกต้อง เช่น ตอน Stop ให้เริ่มจาก Web-Tier จากนั้นเป็น App-Tier และสุดท้ายคือ Database-Tier ตอน Start ให้ เ ริ่ ม จาก Database-Tier จากนั้ น เป็ น App-Tier และสุดท้ายคือ Web-Tier ที่อีก Data Center เป็นต้น ท�ำให้ง่ายและรวดเร็ว เมื่อต้องการ Stop-Start เนื่องจากระบุเป็น Business Application ได้ทันที

G-MagZ IT MAGAZINE

19


TECH&TREND

ทดสอบการย้ายระบบงานอย่างมั่นใจ หลังจากก�ำหนดการตั้งค่าเพื่อผูกความสัมพันธ์ของ Component ต่างๆ ใน Business Application แล้ว ผู้ใช้งานสามารถทดสอบการ ย้ายระบบงาน เพื่อตรวจสอบ Service Level ของแอพพลิเคชั่นว่า เป็นไปตามที่ก�ำหนดไว้ ซึ่งการทดสอบนี้ไม่กระทบกับระบบงานหลัก จึงสามารถทดสอบได้ทนั ที ไม่จำ� เป็นต้องมีการเตรียมการทีว่ นุ่ วายใน แต่ละ Component และท�ำการ Clean-up หลังจากทดสอบเสร็จ

Single-Click Migration for Complex Multi-Tier Applications ผู ้ ใ ช้ ง านสามารถน� ำ แอพพลิ เ คชั่ น ที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั น หลายๆ แอพพลิเคชัน่ มาผูกเป็น Resilient Group ได้ ท�ำให้งา่ ยในการผูก Flow ทั้งหมด เมื่อผู้ใช้สั่งการย้าย Data Center แล้ว แอพพลิเคชั่นต่างๆ จะท�ำการย้ายระบบอัตโนมัตติ ามทีผ่ ใู้ ช้งานก�ำหนดการ Flow ไว้ ท�ำให้ ไม่ต้องมี Run Book หรือ Manual ที่วุ่นวายอีกต่อไป ก�ำหนดระดับความส�ำคัญของระบบงาน ก�ำหนด SLA ส�ำหรับแอพพลิเคชัน่ ได้ดว้ ย RPO RTO เช่น Gold เป็น ระบบงานที่ Critical มี SLA อยู่ในระดับ Near Zero RPO และ Low RTO ซึ่งต้องใช้ Technology Storage Replicate บวกกับขนาดของ ลิงก์ที่เพียงพอและเสถียร เป็นต้น ส่วน Silver และ Bronze ก็จะ ลดหลั่นลงมา ซึ่งในแต่ละระดับต้องการเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้วย

รายงานส�ำหรับการท�ำ Compliance หรือท�ำ Recovery Audit แสดงถึงผลการ Rehearsal Migrate Takeover เพื่อใช้ในกรณีอ้างอิง หรือใช้ในการท�ำ Audit หรือ Compliance รวมถึงการตั้งเวลาทดสอบ การย้ายระบบงานอัตโนมัติ และส่งผลการทดสอบทาง Email ให้ เจ้าของแอพพลิเคชั่นเพื่อให้มั่นใจได้ว่ากระบวนการทั้งหมดถูกต้อง และสามารถท�ำงานได้จริงๆ

Veritas Resiliency Platform จึงเป็นซอฟต์แวร์โซลูชั่นเดียว ที่ช่วย ลดความซับซ้อนและขั้นตอนในการน�ำแอพพลิเคชั่นที่มีความส�ำคัญ ต่อธุรกิจ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะอยู่บนโลกของ Physical, Virtual หรือ Cloud เพือ่ ให้ธรุ กิจขององค์กรสามารถด�ำเนิน ต่อไปได้ และหากว่าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น Veritas Resiliency Platform จะช่วยให้เกิดผลกระทบกับองค์กรยุคดิจิทัลน้อยที่สุด และ น�ำธุรกิจกลับคืนมาให้บริการได้อย่างมั่นใจ G 20

G-MagZ IT MAGAZINE


SUCCESS STORY

G-ABLE

ยกระดับความปลอดภัย ด้วยมาตรฐาน ISO 27001 : 2013 ตอบโจทย์ลูกค้าทั่วโลก ในโลกของธุ ร กิ จ ข้ อ มู ล ถื อ เป็ น ส่ ว นสำ � คั ญ อย่างยิ่งต่อการแข่งขันในปัจจุบัน เพราะเป็น เสมื อ นรากฐานต่ อ การพั ฒ นาแนวทางและ ทิศทางธุรกิจในอนาคต องค์กรต่างๆ จึงให้ ความสำ�คัญต่อความปลอดภัยในข้อมูลมากขึ้น และเพื่ อ สร้ า งความเชื่ อ มั่ น ให้ กั บ กลุ่ ม ธุ ร กิ จ ทั้งในและต่างประเทศ G-ABLE พร้อมแล้ว เพื่ อ ก้ า วสู่ ISO/ IEC 27001 : 2013 มาตรฐานด้านความมัน่ คงปลอดภัยของข้อมูล สารสนเทศ ตอกย้ำ � คุ ณ ภาพการให้ บ ริ ก าร ด้านข้อมูลและสร้างความเชื่อมั่น เพิ่มเติมจาก มาตรฐานความปลอดภัยอื่นๆ ในระดับสากล ที่ทาง G-ABLE ให้ความสำ�คัญในการรองรับ การให้บริการแก่กลุ่มธุรกิจในตลาดโลก

คุณพงศ์เทพ วัฒนศิริกุล ผู้อำ�นวยการอาวุโส ฝ่ายงานบริหารโครงการ บริษัท จีเอเบิล จำ�กัด

โดยสร้างความแข็งแกร่งในมาตรฐานความปลอดภัยที่มีอยู่เดิม ซึง่ ตลอดเวลาทีผ่ า่ นมา G-ABLE ให้ความส�ำคัญด้านความปลอดภัย ข้อมูลลูกค้าต่อเนื่องมาโดยตลอด เห็นได้จากการเข้าสู่มาตรฐาน ต่างๆ และผ่านการตรวจสอบที่เข้มงวดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงสามารถต่อยอดสูม่ าตรฐาน ISO/ IEC 27001 : 2013 เพือ่ ขยายฐาน สูก่ ารให้บริการระดับโลก เป้าหมายส�ำคัญคือ เพิม่ ความเชือ่ มัน่ ให้กบั คู่ค้าในธุรกิจ กับการแข่งขันด้านการให้บริการข้อมูลในตลาดโลก ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ตรงตามวัตถุประสงค์ คุณพงศ์เทพ วัฒนศิริกุล ผู้อ�ำนวยการอาวุโส ฝ่ายงานบริหาร โครงการ บริษัท จีเอเบิล จ�ำกัด กล่าวว่า G-ABLE ใส่ใจในด้านการ บริการและมีการพัฒนาจนได้รับมาตรฐานในระดับต่างๆ ที่ยอมรับ กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ISO 9001, ISO 29110, CMMI Level 3 และ BCP ด้วยกระบวนการจัดการบนมาตรฐานต่างๆ เหล่านี้ รวมถึงการเตรียมพร้อม องค์ประกอบส�ำคัญคือ G-ABLE มีพื้นฐานของมาตรฐานความปลอดภัยอื่นๆ อยู่เดิมแล้ว เพียงแต่ เพิ่มรายละเอียดตามข้อก�ำหนดของ ISO/ IEC 27001 ที่เกี่ยวข้อง กับไอทีและดาต้าเซ็นเตอร์เข้าไปเท่านั้น ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์กร

มีความคุ้นเคยอยู่แล้ว ท�ำให้มีแบบแผนและการท�ำงานง่ายขึ้น ตัวแปรส�ำคัญอยูท่ กี่ ารให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และการสนับสนุน ที่ดีทั้งจากทีมงานและผู้บริหาร จึงท�ำให้ขั้นตอนต่างๆ ไม่ติดขัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบุคลากร เครื่องมือ การให้ความรู้และการติดตาม ส่งผลให้ G-ABLE สามารถก้าวเข้าสูม่ าตรฐาน ISO/ IEC 27001 : 2013 ได้อย่างรวดเร็วและพร้อมให้บริการแก่องค์กรธุรกิจต่างๆ ทั่วโลก G-ABLE ย�ำ้ ชัด ISO/ IEC 27001 : 2013 (ISMS) ส�ำคัญต่อข้อมูล ปัจจุบันมีกฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy Law) มากขึ้น เช่นเดียวกับกฏหมายเกี่ยวกับการกระท�ำ ความผิดด้านคอมพิวเตอร์ “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�ำ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” ซึ่งมีการเพิ่มบทลงโทษที่มากขึ้น จึงชี้ให้เห็นถึงความใส่ใจขององค์กรต่อความปลอดภัยข้อมูล ดังนั้น องค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลของลูกค้า อย่างเช่น บริษัท ด้ า นไอที บริ ษั ท ที่ ป รึ ก ษา สื่ อ สารมวลชน Banking Finance Security Insurance Telecom Marketing หรือ Advertisement ก็เข้าข่ายในมาตรฐาน ISO/ IEC 27001 ด้วยกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เพื่อที่จะให้ผ่านการรับรอง ต้องมองถึง G-MagZ IT MAGAZINE

21


SUCCESS STORY ความพร้อมในด้านบุคลากร การดูแลและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะมาตรฐานดังกล่าว จะมีการตรวจสอบซ�ำ้ ในทุกปีอีกด้วย ไม่ว่า จะเป็นการตรวจสอบพื้นฐานหรือหลังจากมาตรฐานมีการเปลี่ยน เวอร์ชั่นก็ตาม ISO/ IEC 27001 จึงถือเป็นมาตรฐานที่องค์กรต่างๆ ควรยึดถือเพื่อความปลอดภัย แต่จะขอการรับรองหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ ความพร้อมขององค์กรแต่ละแห่ง ยึดหลัก CIA สร้างความเชื่อมั่น หากองค์กรสามารถด�ำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและมีข้อมูลที่พร้อม ส�ำหรับการใช้งาน เกิดความปลอดภัย ย่อมส่งผลให้เกิดความมั่นคง ต่อธุรกิจ ดังนั้นความส�ำคัญในการจัดการข้อมูลตามมาตรฐาน ISO/ IEC 27001 : 2013 จึงต้องอาศัยหลักการส�ำคัญ เพื่อให้บรรลุผลตาม เงื่อนไขที่เรียกว่า CIA ซึ่งประกอบไปด้วย C : Confidentiality เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ ในการเข้าถึง ข้อมูลส�ำคัญตามสิทธิ์ส�ำหรับผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น มีการก�ำหนด รูปแบบการเข้าถึงให้ชัดเจน เช่น ข้อมูลส�ำคัญมากน้อยเพียงใด เผยแพร่ได้เฉพาะแผนกหรือตัวบุคคล โดยจัดสรรเป็นระดับผูใ้ ช้ทตี่ า่ งกัน ออกไป I : Integrity ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วนและสมบูรณ์ แม้จะ หลากหลายทีม่ า ก็ตอ้ งถูกปรับให้ขอ้ มูลถูกต้องเพียงหนึง่ เดียว รวมถึง มีการ Tag หรือยืนยันตัวตนของผูท้ เี่ ข้าถึงข้อมูลในแต่ละครัง้ ได้อกี ด้วย ทุกข้อมูลจะถูกตรวจสอบเส้นทางและป้องกันการแก้ไขไฟล์โดยผู้ที่ ไม่ได้รับอนุญาต เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเอาไว้เหล่านั้นมี ความถูกต้องและเป็นความลับอย่างแท้จริง A : Availability ความพร้อมในการใช้งาน ข้อมูลต้องพร้อมส�ำหรับการ ใช้งานได้เสมอ แม้จะอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม ข้อมูลมีการส�ำรองเอาไว้ เมื่อเกิดภัยพิบัติหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน สู่เป้าหมายได้รับการรับรองในเวลาอันสั้น ด้วยวิสยั ทัศน์จากผูบ้ ริหารได้ยำ�้ ชัดถึงเป้าหมายส�ำคัญในการยกระดับ G-ABLE ให้เข้าสูค่ คู่ า้ ทัว่ โลก และมีมาตรฐานรองรับ ISO/ IEC 27001 จึงมีการวางแผน เตรียมความพร้อม เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายในระยะ เวลาอันรวดเร็ว “จากจุดเริ่มต้นกระบวนการเข้าสู่ ISO/ IEC 27001 จนถึงขั้นการได้ รับการรับรองใช้เวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น ทุกอย่างราบรื่น ง่ายและ เป็นธรรมชาติทงั้ ผูใ้ ช้งานและผูป้ ฏิบตั ิ ไม่ท�ำให้เกิดความอึดอัดต่อการ เปลี่ยนแปลงหรือส่งผลกระทบต่อการท�ำงาน รวมทั้งบริษัทมีรูปแบบ หรือเทมเพลตทีเ่ คยท�ำเอาไว้อยูเ่ ดิม จากมาตรฐานต่างๆ มากมายก่อน หน้านี้ จึงลดขั้นตอนบางอย่าง เช่น การท�ำคู่มือ มาตรฐานการท�ำงาน ให้ความรูแ้ ละปรับใช้ในองค์กร เมือ่ นับจากเริม่ ต้นกระบวนการ ด�ำเนิน งานและได้รับการรับรอง” คุณพงศ์เทพ กล่าว 22

G-MagZ IT MAGAZINE

นอกจากนี้ในปี 2017 มีแนวความคิดที่จะเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน ISO 20000 ITMS (Information Technology Service Management) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลด้านการบริหารบริการไอทีโดยเฉพาะ ยกระดับ-สร้างความเชื่อมั่น-เสริมศักยภาพ ให้กับองค์กร การพัฒนาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมาย ในการเข้าสู่ มาตรฐาน ISO/ IEC 27001 ไม่เพียงส่งผลดีต่อกลุ่มธุรกิจที่เป็นลูกค้า ในแง่ ข องความปลอดภั ย เท่ า นั้ น แต่ ยั ง ยกระดั บ ภาพลั ก ษณ์ ใ ห้ G-ABLE กลายเป็นองค์กรทีม่ มี าตรฐานเทียบเท่าระดับสากล ด้วยการ ผ่านการรับรองมาตรฐานส�ำคัญมาอย่างต่อเนือ่ ง และเพือ่ เป็นการสร้าง ความเชื่อมั่นต่อคู่ค้า นอกจากนี้ G-ABLE ยังมีการเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือกับปัญหา ที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Treatment Plan แต่เมื่อไม่เคยเกิดปัญหา จริง เช่น ประท้วง น�ำ้ ท่วม หรือภัยพิบตั ิ จึงต้องน�ำสิง่ เหล่านัน้ มาจ�ำลอง และสร้างเป็นแผนการรับมือในการแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าเมื่อเกิด สถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นจริง พร้อมกับเขียนเป็นกระบวนการ ขั้นตอน ตามข้อกฏหมาย แล้วน�ำมาประเมินหาทางออก ดังนั้นการท�ำแผน ร่วมกันในแต่ละภาคส่วนจึงต้องสอดคล้องกัน เพื่อท�ำให้การท�ำงาน บรรลุสู่เป้าหมายเป็นผลส�ำเร็จ สร้างแพลตฟอร์มสู่มาตรฐานเดียว ลดความซับซ้อน กุญแจสู่ความส�ำเร็จประการส�ำคัญคือ การปรับรูปแบบงานเอกสาร และข้อมูลภายในองค์กรให้เป็นแพลตฟอร์มเดียวกัน ซึ่งจะต้องผ่าน การปรับปรุง พัฒนาวิธีการท�ำงานของหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร เพือ่ ท�ำให้เกิดความสะดวกและท�ำงานได้งา่ ยขึน้ ด้วยการสร้างเครือ่ งมือ ที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงกระบวนการต่างๆ ให้เป็นแบบสากล คุณพงศ์เทพ กล่าวว่า “ข้อมูลต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียว แก้ไขหรือ ท� ำ งานภายในที่ เ ดี ย วกั น ตรวจสอบได้ ถื อ เป็ น การปรั บ รู ป แบบ การท�ำงานไปในตัว โดยไม่สง่ ผลกระทบต่อระบบงาน รวมถึงช่วยให้เกิด การรับรู้ถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูลที่ส�ำคัญ และแนวทาง ป้องกัน ที่เข้าไปอยู่ในทุกขั้นตอนการท�ำงาน” G-ABLE พร้อมแล้ว ด้วยการให้บริการ บนมาตรฐานระดับโลก ISO/ IEC 27001 การได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/ IEC 27001 ที่ทั่วโลกเชื่อมั่น เป็ น สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่ ท� ำ ให้ G-ABLE ได้ รั บ ความเชื่ อ ใจจากลู ก ค้ า ใน การท�ำงานเทียบเท่าระดับสากล และเป็นอีกหนึง่ ปัจจัยทีท่ ำ� ให้ G-ABLE มีคุณสมบัติตามข้อก�ำหนดของบางหน่วยงานที่ให้ความส�ำคัญกับ ระบบความปลอดภัยสารสนเทศ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น อีกทั้งยังเพิ่มมิติแห่งความปลอดภัยในฐานะผู้ให้บริการอีกด้วย G


INNO&PRODUCT รูปโฉมห้องสมุดศตวรรษที่ 21 สร้ า งจากตู้ ค อนเทนเนอร์ ที่ รองรับผู้ ใช้บริการได้ 10-20 คน มีระบบไอทีภายในให้สบื ค้น ข้อมูลผ่านเครือ่ งคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค และสมาร์ทโฟน

ห้องสมุดศตวรรษที่ 21

รับอนาคตโลกดิจิทัล

“ห้องสมุด” ที่คุ้นเคยจะเต็มไปด้วยหนังสือและใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก แต่ภาพลักษณ์ของห้องสมุดในศตวรรษที่ 21 จะมีขนาดเล็กลง แต่ ด ้ ว ยเทคโนโลยี ไ อที ท� ำ ให้ สื บ ค้ น ข้ อ มู ล จ� ำ นวนมหาศาลจาก ทั่วโลกผ่านการเชื่อมโยงด้วยระบบอินเทอร์เน็ต รูปโฉมใหม่ของ ห้องสมุดนี้มาจากแนวคิดของ ครู นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคล�ำปาง ได้สร้างแบบจ�ำลองห้องสมุดศตวรรษที่ 21 ขึ้นมา ผลงานห้องสมุดศตวรรษที่ 21 (21st Century Library) เกิดขึ้น จาก ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดให้มกี ารแข่งขันสุดยอดฝีมอื อาชีวะไทย ผ่านทางรายการสุดยอด ฝีมืออาชีวะไทย (Thailand’s Best Skills) ออกอากาศทางสถานี โทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) โดยทีมรถด่วนเทคนิคล�ำปาง (LPTC Special Express) จากวิทยาลัยเทคนิคล�ำปาง ได้นำ� เสนอ แนวคิดดังกล่าว แปลงตู้คอนเทนเนอร์เป็นห้องสมุด แนวคิดในการสร้างห้องสมุดศตวรรษที่ 21 จะน�ำตูค้ อนเทนเนอร์เก่า หมดสภาพมาดัดแปลง โดยเลือกตูข้ นาด 20 ฟุต หรือกว้าง 2.5 เมตร ยาว 6 เมตร สูง 2.6 เมตร ด้วยการขยายเพิ่มพื้นที่ใช้สอยด้านข้าง ซึ่งสามารถถอดประกอบได้ง่าย และเคลื่อนย้ายโดยใช้ระบบลากจูง ส่วนแหล่งจ่ายไฟฟ้ามี 2 ระบบ คือ พลังงานทางเลือกจากโซล่าเซลล์ และไฟฟ้ากระแสสลับ ระบบ 1 เฟส 220 โวลต์

ทีมฯ ได้เลือกใช้ตคู้ อนเทนเนอร์ เพราะแข็งแรงใช้งานได้งา่ ย ซึง่ ตูจ้ ะ แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 โซนคือ โซนปิดและโซนเปิด โดยโซนปิด จะมี แ อร์ คอมพิ ว เตอร์ เหมาะส� ำ หรั บ บุ ค คลที่ จ ะเข้ า มาสื บ ค้ น สื่อสารสนเทศหรือบุคคลที่จะเข้ามาท�ำงาน ส่วนโซนเปิดจะเปิดโล่งเพือ่ ให้ลมผ่าน ด้วยการเจาะผนังด้านข้างของ ตู้คอนเทนเนอร์ทั้งสองด้าน โซนนี้เหมาะส�ำหรับบุคคลที่จะมาพัก ผ่อนหย่อนใจรับอากาศธรรมชาติ ปกติแล้วพืน้ ทีภ่ ายในตูม้ ปี ระมาณ 18 ตารางเมตร แต่สามารถขยายพื้นที่ภายในตู้ขึ้นได้เป็น 2 เท่าตัว คือ 36 ตารางเมตร โดยดึงตัวฐานล่างทีท่ ำ� ไว้เหมือนลิน้ ชักออก เพือ่ ท�ำเป็นพื้นของส่วนที่ขยายออก มุมนี้เหมาะส�ำหรับเด็กเพราะจะมี ของเล่น พร้อมกับสร้างทางลาดให้ผพู้ กิ ารเข้ามาใช้บริการได้สะดวก

Mr. Richard Moretimer บริษัท แอลดี ไดแด๊คติค (ประเทศไทย) จำ�กัด ได้เข้ามาแนะนำ� วิธีการจัดซื้อตู้คอนเทนเนอร์ ใหม่แทนตู้มือสองเพราะสามารถสั่งตัดตามแบบที่ต้องการได้

G-MagZ IT MAGAZINE

23


INNO&PRODUCT

นักศึกษา

จ�ำนวน (คน)

สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ สาขาวิชาช่างไฟฟ้าก�ำลัง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์

4 2 2 2

ครูที่ปรึกษาสาขาวิชาละ 1 ท่าน รวม 4 ท่าน

ยืนจากซ้ายไปขวา (คนที่ 4) อาจารย์โสภาพรรณ ใฝนันตา หัวหน้าทีม, คนที่ 5 อาจารย์สมาน เขื่อนควบ, อาจารย์รัตนา ชามาตย์ และทีมนักศึกษา

ส่วนตัวฐานของตูจ้ ะยกขึน้ มา 20 เซนติเมตร เพือ่ ป้องกันการเกิดสนิม ใต้ทอ้ งตู้ ขณะทีด่ า้ นหัวของตูจ้ ะท�ำคล้ายๆ รถไฟ เพราะเป็นเอกลักษณ์ ของวิทยาลัย และจังหวัดล�ำปาง ห้องสมุดยุคดิจิทัล อาจารย์โสภาพรรณ ใฝนันตา อาจารย์ที่ปรึกษาและหัวหน้าทีม กล่าวว่าห้องสมุดศตวรรษที่ 21 มีรปู แบบให้บริการด้วยการผสมผสาน การท�ำงานของห้องสมุดอัตโนมัติ ห้องสมุดเสมือน และห้องสมุดดิจทิ ลั ด้วยการเชือ่ มต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย รองรับการเชือ่ มต่อผูใ้ ช้ 50 IP Address ด้วยการสืบค้นข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นห้องสมุดจาก แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ให้สามารถอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ตาม หมวดหมู่ที่มีอยู่ในห้องสมุด

Moretimer บริษทั แอลดีไดแด๊คติค (ประเทศไทย) จ�ำกัด ได้แนะน�ำให้ ใช้ตู้คอนเทนเนอร์มือหนึ่ง แทนการใช้ตู้คอนเทนเนอร์มือสอง เพราะ สามารถสั่งให้บริษัทตัดเป็นรูปทรงตามที่ต้องการได้และมีประกัน ในการดูแลรักษา นอกจากนี้สามารถต่อรองราคาได้อีกด้วย รับรางวัลระดับภาคเหนือ การร่วมมือกันในครั้งนี้ ทีมรถด่วนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับภาค ของภาคเหนือ ประเภททีมปฏิบัติตามโจทย์ “ห้องสมุดศตวรรษ 21” (21st Century Library) จากรายการสุดยอดฝีมืออาชีวะไทย หรือ Thailand’s Best Skills ภายใต้โครงการสร้างภาพลักษณ์และค่านิยม ในการเรียนอาชีวศึกษา อย่างไรก็ดีโครงการห้องสมุดศตวรรษที่ 21 เป็นเพียงแนวคิด ยังต้อง มีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาต่อไปเพื่อให้ใช้ได้จริงในอนาคต G

สุดยอดฝีมืออาชีวะไทย

ส่วนห้องสมุดได้เลือกใช้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติตามมาตรฐาน OBEC Library Automation System สามารถเพิ่มจ�ำนวนหนังสือและ สือ่ มัลติมเิ ดียได้ตลอดเวลา และมีระบบคัดกรองอายุตามความเหมาะสม ของสื่อและผู้อ่าน ส่วนบริการยืมและคืนหนังสือจะเป็นอัตโนมัติโดย ใช้เทคโนโลยีระบบ RFID (Radio Frequency Identification)

สุดยอดฝีมืออาชีวะไทย เป็นโครงการสร้างภาพลักษณ์และค่านิยมใน การเรียนอาชีวศึกษา เป็นการเฟ้นหาผู้ที่มีความสามารถ จากรูปแบบ การแข่งขันทักษะวิชาชีพในสาขาวิชาต่างๆ ของผู้เรียนอาชีวศึกษาทั้ง ภาครัฐและภาคเอกชน ในการร่วมกันสรรค์สร้างผลงานตามโจทย์และ ภารกิจที่ก�ำหนด ในรูปแบบวาไรตี้

รวมนักศึกษา 4 สาขา ห้องสมุดศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของอาจารย์และ นักศึกษาระดับ ปวช. และปวส. จาก 4 สาขา คือ สาขาวิชาช่างเชื่อม โลหะ สาขาวิชาช่างไฟฟ้าก�ำลัง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และ สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ จ�ำนวน 10 คน และอาจารย์ทปี่ รึกษาจาก ทุกสาขา ซึ่งเป็นการท�ำงานเชื่อมโยงและต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ของแต่ละสาขามาท�ำงานร่วมกัน

โครงการสุดยอดฝีมืออาชีวะไทย หรือ Thailand’s Best Skills มีเป้าหมายในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี สร้างความตระหนักของการ เรียนสายอาชีพ ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาจาก ทุกภาคส่วน เพือ่ ให้เกิดแรงขับเคลือ่ นทีส่ �ำคัญต่อการศึกษาอาชีวศึกษา ของประเทศ และพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาให้เป็นผู้ทรงคุณค่าของ สังคม โดยการจุดประกายเส้นทางสายอาชีพส�ำหรับเยาวชนไทย สร้างเส้นทางแห่งความพยายาม เป็นการน�ำเสนอตัวตนของเด็กอาชีวะ ผ่านรายการ “สุดยอดฝีมืออาชีวะไทย” (Thailand’s Best Skills) ที่จะท�ำให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในสังคมไทย

ส�ำหรับงบลงทุนประมาณ 300,000 บาท ประกอบด้วย วัสดุโครงสร้าง งานสี อุปกรณ์ตกแต่งภายใน วัสดุแหล่งจ่ายไฟฟ้าโซล่าเซลล์ และ วัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้า

โดยออกอากาศทุกวันศุกร์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) และทางรายการจะน�ำผลงานจากการแข่งขันของแต่ละโจทย์ที่ สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ตอ่ สังคม ประเทศชาติได้จริง และจะได้น�ำผลงาน ขึน้ ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระอัธยาศัย

การพัฒนาห้องสมุดศตวรรษที่ 21 ได้มีบริษัทเอกชนมาให้ค�ำแนะน�ำ ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด ซึ่งโครงการดังกล่าว Mr. Richard 24

G-MagZ IT MAGAZINE


GREEN IDEA จนิษฐ์ ประเสริฐบูรณะกุล Senior AEROSPACE Mapping Manager บริษัท จีไอเอส จำ�กัด อาจารย์พิเศษประจำ�ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Paleoclimatology กับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศโลก ตอนที่ 1 จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน ทำ � ให้ นั ก วิ ท ยาศาสตร์ มี ค วามสนใจศึ ก ษาและหา หลักฐานเพื่อค้นหาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีผลต่อภูมิอากาศโลกในอดีต จากปรากฏการณ์ Climate Change ซึ่งอธิบายการเปลี่ยนแปลง สภาพภู มิ อ ากาศโลก ที่ เ ป็ น ผลมาจากการ เปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ทำ�ให้เกิดการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก

รูปที่ 1 ตัวอย่างการขุดแท่งน้ำ�แข็งในทวีปแอนตาร์กติกา เพื่อใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก (แหล่งข้อมูล : http://www.econ.yale.edu/~nordhaus/ homepage/documents/icecore_review.pdf)

ดังปรากฏการณ์ Medieval Warm Period (MWP) เป็ น ช่ ว งเวลาที่ ภู มิ อ ากาศของโลกอุ ่ น ขึ้ น ในแถบ แอตแลนติคเหนือในช่วงปี ค.ศ. 950 – 1250 ก่อนที่จะ เกิ ด ปรากฏการณ์ Little Ice Age(LIA) ในช่ ว งปี ค.ศ.1300-1850 โดยสาเหตุในการเกิดการเปลีย่ นแปลง ภูมิอากาศโลกในอดีตนั้นมีหลายสาเหตุ อาทิ ปริมาณ ความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ ความผิดปกติของ กระแสน�้ำอุ่นหลัก การเกิดภัยพิบัติอย่างรุนแรง เช่น หมอกควันที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิด หรือข้อสมมติฐาน จากปรากฏการณ์ที่เกิดจากสัณฐานโลก แกนหมุนของ โลก และการโคจรของโลกตามวั ฏ จั ก รของทฤษฎี มิ ล านโควิ ท ช์ (Milankovitch Theory) การศึ ก ษา ประวั ติ ศ าสตร์ ก ารเปลี่ ย นแปลงของภู มิ อ ากาศผ่ า น ช่วงเวลาโดยเรียกการศึกษานี้ว่า Paleoclimatology Paleoclimatology ศึกษา ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงของ ภูมิอากาศโลก Paleoclimatology ประกอบด้วยค�ำสองค�ำ คือ Paleo และ Climatology ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาที่ว่าด้วยการ ศึกษาประวัตศิ าสตร์การเปลีย่ นแปลงของภูมอิ ากาศโลก ทางด้านกายภาพ เป็นการศึกษาประวัตศิ าสตร์โลกหรือ การศึกษาภูมิอากาศบรรพกาล ผ่านหลักฐานตัวแทน ทางภูมิอากาศที่ผ่านช่วงเวลานับพัน หมื่น และแสนปี ที่เรียกว่า Climate Proxies ซึ่งจะเป็นหลักฐานทาง กายภาพในการระบุลักษณะทางภูมิอากาศในช่วงเวลา ในอดีตโดยผ่านการตรวจวัดโดยตรงจากหลักฐานที่ ปรากฏในช่วงเวลานั้น นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์จะ ท�ำการสร้างแบบจ�ำลองสภาพทางภูมอิ ากาศของโลกใน ช่วงเวลานั้นเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลง G-MagZ IT MAGAZINE

25


GREEN IDEA

ของภู มิ อ ากาศของโลกในอดี ต จากที่ มี ก ารบั น ทึ ก นั ก วิ ท ยาศาสตร์ มี ก ารเก็ บ หลั ก ฐานและสถิ ติ ข อง ภูมิอากาศตั้งแต่ช่วงทศวรรษปี 1880 โดยการประเมิน รูปแบบก่อนหน้านี้จะประเมินจากหลักฐานตัวแทนทาง ภูมิอากาศอันได้แก่ แกนแท่งน�้ำแข็ง (Ice Cores) วงปี ต้นไม้ (Tree Rings) ซากฟอสซิลดึกด�ำบรรพ์ (Sub Fossil) หลุมเจาะ (Boreholes) ปะการัง (Corals) และตะกอนดิน ทะเลสาบและมหาสมุทร Lake and Ocean Sediments โดยหลักฐานตัวแทนสามารถระบุย้อนกลับไปในช่วง เวลาต่างๆ กัน อาจเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี หรือแสนปี แล้วแต่ชนิดของหลักฐานทางกายภาพที่เก็บได้ แกนแท่งน�ำ้ แข็ง (Ice Core) กับ การศึกษาการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศโลก แกนแท่งน�้ำแข็ง (Ice Cores) คือ แท่งแกนของน�้ำแข็ง ทีไ่ ด้มาจากการขุดเจาะจากแผ่นเปลือกน�ำ้ แข็งจากส่วน ต่างๆ ของโลกโดยเฉพาะแถบทวีปแอนตาร์กติกาและ เกาะกรีนแลนด์ (จากรูปที่ 1) โดยหลักฐานจากแกนแท่ง น�้ำแข็งจะมีหลักฐานซึ่งเกิดจากการตกทับถมของหิมะ รวมทั้งฟองอากาศนับเวลาย้อนหลังได้หลายแสนปี แกนน�้ำแข็งดังกล่าวสามารถน�ำมาวิเคราะห์หาปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ถูกกักเก็บไว้ในระดับความ ลึกต่างๆ ได้ โดยแท่งน�ำ้ แข็งทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั คือ Vostok Ice Core โดยขุดเจาะจากเกาะกรีนแลนด์เป็นแท่งน�้ำแข็ง ทีย่ าวทีส่ ดุ ทีส่ ามารถเก็บข้อมูลหลักฐานการเปลีย่ นแปลง ภูมิอากาศโลกได้ถึง 400,000 ปี และแกนแท่งน�้ำแข็ง Law Dome ในทวีปแอนตาร์กติก ซึ่งขุดห่างจากทวีปออสเตรเลียประมาณ 120 กิโลเมตร โดยแกนน�ำ้ แข็งนีใ้ ช้ในการศึกษาสภาพภูมอิ ากาศในเขต ซีกโลกใต้ในอดีต สิ่งที่ปรากฏในแกนแท่งน�้ำแข็งเพื่อ ศึกษาหลักฐานที่แท่งน�้ำแข็งสามารถเก็บรักษาไว้ได้ อันประกอบด้วย ฟองอากาศ อัตราส่วนของไอโซโทป ของธาติออกซิเจน (Oxygen-16 หรือ Oxygen-18 Isotopes) หลั ก ฐานละอองเรณู ส่า หร่ าย (Algae) ฝุ่นละอองในอากาศ หรือละอองจากฝุ่นภูเขาไฟ ซึ่ง สามารถระบุถงึ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทรี่ นุ แรงของ โลกในช่วงเวลาในอดีตได้ อาทิ จากการศึกษาอัตราส่วน (Ratio) ระหว่ า ง ออกซิเจน-18 และออกซิเจน-16 จากหลักฐานของ Ice Core สามารถระบุอุณหภูมิ ของโลกได้ กล่าวคือ หากอุณหภูมิโดยทั่วไป ไอโซโทป ออกซิเจน-18 จะมีคุณสมบัติหนักกว่า ออกซิเจน-16

26

G-MagZ IT MAGAZINE

รูปที่ 2 : กราฟแสดงแบบจำ�ลองเพื่อหาปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อุณหภูมิ และฝุ่นละออง โดยสามารถ คำ�นวณย้อนหลังได้ 420,000 ปี โดยสร้างขึ้นจากหลักฐานที่ขุดได้จากแท่งน้ำ�แข็ง Vostok (แหล่งที่มา : NOAA)

ในสภาพภูมิอากาศปกติ โดยไอโซโทปออกซิเจน-16 จะระเหยมากและไอโซโทปออกซิเจน-18 จะระเหยน้อย ดังนั้นค่า Ratio ของออกซิเจนจะต�่ำ แต่หากอุณหภูมิ ของโลกสูงขึน้ ไอโซโทปออกซิเจน-18 จะระเหยมากขึน้ และตกลงมาเป็นฝน ซึง่ จะท�ำให้คา่ Ratio ของไอโซโทป ของออกซิเจนสูงกว่าสภาพอากาศที่ปกติ จากหลั ก ฐานทางกายภาพดั ง กล่ า วนั้ น ท� ำ ให้ นั ก วิทยาศาสตร์สามารถสร้างแบบจ�ำลองเพื่อหาปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อุณหภูมิ และฝุ่นละอองได้ โดยสามารถค� ำ นวณย้ อ นหลั ง ได้ ถึ ง 420,000 ปี (กราฟจาก NOAA ในรูปที่ 2) วงปีต้นไม้ (Annual Rings หรือ Tree Rings) กับการศึกษา การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก นักวิทยาศาสตร์สามารถรู้อายุต้นไม้ได้จากการนับเส้น วงปี โดยดูจากหน้าตัดของเนื้อไม้หรือเจาะเนื้อไม้ออก มาดู เส้นวงปีเกิดจากต้นไม้สร้างท่อล�ำเลียงน�้ำขึ้นใหม่ ในแต่ละปีพร้อมกับปล่อยสารสีน�้ำตาลออกมาเรียกว่า สารลิกนิน ซึ่งจะอยู่ในเนื้อไม้ หากปีไหนที่ฝนตกชุก เราจะเห็นเส้นวงปีวงกว้างสีนำ�้ ตาลอ่อน แต่ปไี หนทีฝ่ นตก น้อยแห้งแล้งสารลิกนินเข้มข้นมากจะท�ำให้เห็นเส้น วงปี ค ่ อ นข้ า งแคบและสี น�้ ำ ตาลชั ด และด้ ว ยเหตุ ที่ สภาพอากาศและความสมบู ร ณ์ ข องธรรมชาติ ที่


GREEN IDEA แตกต่างกันท�ำให้ต้นไม้มีเส้นวงปีไม่เท่ากันในแต่ละปี นั ก วิ ท ยาศาสตร์ จึ ง ได้ น� ำ หลั ก การนี้ ไ ปใช้ ศึ ก ษา การเปลีย่ นแปลงภูมอิ ากาศและสภาพแวดล้อมในอดีตได้ ในการศึกษาประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จากหลักฐานวงปีของต้นไม้ หรือเรียกตามศัพท์วชิ าการ ว่า รุกขกาลวิทยา (Dendroclimatology) เป็นกระบวน การทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาภูมอิ ากาศในอดีตจาก ต้นไม้ ต้นไม้แต่ละต้นและแต่ละชนิดจะมีจ�ำนวนวงปี ไม่ เ หมื อ นกั น ขึ้ น อยู ่ กั บ อายุ แ ละสภาพแวดล้ อ มใน การเติบโต วงปีของต้นไม้ชว่ ยในการนับระยะเวลา และ ความหนาของวงปีบง่ บอกถึงความยาวนานของฤดูแล้ง และฤดูฝน โดยต�ำหนิหรือรอยแผลที่เปลือกบ่งบอกถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น อาทิ การเกิดไฟป่า เป็นต้น สิ่ ง ที่ ป รากฏในวงปี ต ้ น ไม้ จึ ง ท� ำ ให้ นั ก วิ ท ยาศาสตร์ สามารถใช้เ ป็ น หลักฐานในการศึกษาปรากฏการณ์ ภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ ได้ ในการสร้างแบบจ�ำลองสภาพภูมิอากาศในอดีตและ อนาคต จะต้ อ งเกิ ด จากการคาดคะเนข้ อ มู ล ในเชิ ง ปริมาณน�ำ้ ฝนในอดีตเป็นเวลาหลายร้อยปี แต่เนือ่ งจาก การตรวจวัดปริมาณน�้ำฝนในอดีตนั้นยังขาดการเก็บ ข้ อ มู ล อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง และเป็ น ช่ ว งระยะเวลาอั น สั้ น จึงท�ำให้นกั วิทยาศาสตร์ใช้ขอ้ มูลตัวแทน (Proxy Data) อย่างการวิเคราะห์วงปีไม้ หรือเทคนิคทางด้านรุกขกาล วิทยา โดยการเจาะเอาไส้ไม้ตัวอย่าง (Sample Core) ด้วยสว่านเจาะวัดความเพิม่ พูน (Increment Borer) แล้ว น�ำมาวิเคราะห์ผลด้วยเครื่องอ่านวงปีไม้ด้วยระบบ ดิจิทัลในห้องปฏิบัติการวงปีไม้และการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมอิ ากาศ แล้วน�ำผลค่าเส้นดัชนีวงปีไม้มาใช้เป็น ข้อมูลตัวแทน กล่าวคือ ลายเส้นบนเนื้อไม้ในแต่ละวงนั้นเกิดจากการ ได้รับอิทธิพลของปริมาณน�้ำฝนที่แตกต่างกันในแต่ละ รอบปี สามารถที่ จ ะบ่ ง บอกได้ ถึ ง สภาพภู มิ อ ากาศ ในอดีต ทั้งปริมาณน�้ำฝนและอุณหภูมิ ในช่วงเวลาที่ กรมอุตนุ ยิ มวิทยายังไม่ได้เริม่ จดบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ วงปีไม้ยังสามารถช่วยบ่งบอกถึงสภาพสิ่งแวดล้อม ต่างๆ ในอดีตในพื้นที่ที่ต้นไม้นั้นเจริญเติบโตเพื่อให้

รูปที่ 3 ตัวอย่างวงปีจากต้นสน Douglas Fir ที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ 1527 ถึงปี 1650 (แหล่งที่มา : http://www.kpbs.org/news/2013/jul/01/global-warming-aggravating-el-nino/)

ทราบถึงสภาพแวดล้อมในอดีตว่ามีการเปลี่ยนแปลง อย่างไร จากภาพรูปที่ 3 แสดงให้เห็นถึงการศึกษาวงปี จากต้นสน Douglas Fir ที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศโลกตั้งแต่ปี ค.ศ 1527 ถึงปี 1650 ซึ่ง เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกที่ส�ำคัญ จากตั ว อย่ า งข้ า งต้ น แสดงให้ เ ห็ น ว่ า การศึ ก ษา Paleoclimatology จากหลักฐานตัวแทนทางภูมอิ ากาศ Climate Proxies ด้ ว ยหลั ก ฐานต่ า งๆ เพื่ อ ช่ ว ย นักวิทยาศาสตร์ในการศึกษาหาสาเหตุทที่ ำ� ให้ภมู อิ ากาศ โลกมีการเปลี่ยนแปลงผ่านหลักฐานทางกายภาพที่ เก็บได้ ท�ำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าใจสาเหตุของ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เคยเกิดขึ้นในอดีต อาทิ การเปลี่ยนแปลงของแสงอาทิตย์ (Changes in Solar Outputs) การเปลี่ยนแปลงของการหมุนรอบ ตัวเองและการโคจรของโลก (Changes in Earth’s Orbit) การเคลือ่ นทีข่ องเปลือกโลกและทวีป (Changes in Distribution of Continents) การเปลี่ยนแปลง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ (Changes in Atmosphere) โปรดติดตาม Paleoclimatology กับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศโลก ในตอนต่อไป G

แหล่งข้อมูล : http://www.econ.yale.edu/~nordhaus/homepage/documents/icecore_review.pdf http://www.kpbs.org/news/2013/jul/01/global-warming-aggravating-el-nino http://www.michigan.gov/documents/dnr/TreeAge_401065_7.pdf http://www.en.mahidol.ac.th/TRC/index.html G-MagZ IT MAGAZINE

27


GURU TALK อาจารย์จิรพล ทับทิมหิน เลขาธิการ IAC (International Academy of CIO)

Thailand 4.0 เปลี่ยนวิถีชีวิตและธุรกิจ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแนวทาง ประเทศไทย 4.0 หรือ Thailand 4.0 กับวิถีชีวิตใหม่ที่ก�ำลังจะเปลี่ยนแปลงไปใน 2 ทศวรรษข้างหน้าที่เชื่อกันว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติของ ประชาชน การเปลี่ยนการท�ำงานของภาคเอกชน การเปลี่ยนการ ท�ำงานของข้าราชการ และการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและการ ศึกษา โดยจะมุง่ เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน ICT หรือ ด้านดิจิทัล ที่มุ่งเน้นใน 2 วาระส�ำคัญ ได้แก่ • การพัฒนาแบบบูรณาการทัง้ ในระดับโครงสร้างพืน้ ฐาน ระบบ งานบริการ และบริหารจัดการ ตามมาตรฐานสากล ภายใต้ กรอบงบประมาณและการลงทุ น ที่ เ หมาะสมเป็ น ระยะ (Phase) ตามแนวทางการพัฒนาสู่ Thailand 4.0 ที่มุ่ง “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ด้วยการสร้าง “ความเข้มแข็ง จากภายใน” ขั บ เคลื่ อ นตามแนวคิ ด “ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพียง” • การพัฒนาด้าน ICT จะเป็นความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ เอกชน และประชาสังคม ตามแนวทางการพัฒนาสู่ ประเทศไทย 4.0 ภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” โดยผนึกก�ำลัง กับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การวิจัยพัฒนา และด้าน บุคลากร ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของการ “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน” ในขณะเดียวกัน การพัฒนา ในระดับโครงการก็มุ่งเน้นในการด�ำเนินการส�ำคัญ ได้แก่ 28

G-MagZ IT MAGAZINE

• การตั้งเป้าหมายในการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิด สร้างสรรค์ และนวัตกรรม ทั้งในระบบบริการและบริหาร จัดการ ทีส่ อดคล้องกับทิศทาง ประเทศไทย 4.0 ในการเปลีย่ น จาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต�่ำ ไปสู่ High Value Services และเปลีย่ นจากแรงงานทักษะต�ำ่ ไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง • การต่ อ ยอดความได้ เ ปรี ย บเชิ ง แข่ ง ขั น ใน โครงการด้ า น โครงสร้างพื้นฐาน ICT ที่สอดคล้องกับกรอบการพัฒนา ประเทศไทย 4.0 ในกลุ ่ ม เทคโนโลยี ดิ จิ ทั ล โดยเฉพาะ เทคโนโลยีอนิ เทอร์เน็ต เพือ่ สร้างความพร้อมในยุคเศรษฐกิจ ดิจิทัล • การยกระดับบริการอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่ One Stop Online Service รวมทัง้ โครงการบริหารจัดการด้วยแอพพลิเคชัน่ ทีม่ ี ความสอดคล้องกับกรอบการพัฒนา ประเทศไทย 4.0 ในกลุม่ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High Value Services) ที่จะก่อให้เกิด มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอันเป็นเป้าหมายส�ำคัญของรัฐบาล ในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล


GURU TALK ทัง้ นี้ รัฐบาลในปัจจุบนั ทีว่ างยุทธศาสตร์ไว้นคี้ าดหวังว่า จะเป็นแนวทาง ทีเ่ ป็นความหวังของประเทศในการเพิม่ มูลค่าทางเศรษฐกิจอันมีผลท�ำให้ GDP ของประเทศเติบโตขึน้ ได้ในอนาคตข้างหน้า และสามารถก้าวข้าม กับดักเส้นแบ่งเขตประเทศรายได้ปานกลางขึ้นไปได้ รวมทั้งความ เหลือ่ มล�ำ้ ความไม่สมดุลทีม่ อี ยูท่ งั้ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา โดยต้องตีจากแนวคิดที่ท�ำให้ประเทศประสบความส�ำเร็จในอดีตที่มี รูปแบบเดิมๆ ได้แก่ ในยุค Thailand 1.0 กับความส�ำเร็จของประเทศที่ ขับเคลื่อนด้วยสังคมเกษตรกรรม จากนั้นก็ก้าวสู่การพัฒนาด้วยอุตสาหกรรมเบา ในยุค Thailand 2.0 มีการจ้างแรงงานเป็นหลัก ซึง่ ท�ำให้เกิดการเคลือ่ นย้ายแรงงานจากภาค เกษตรกรรมไปสูก่ ารเป็นแรงงานในโรงงานจ�ำนวนมากในยุคนัน้ และเมือ่ พัฒนาไปได้ระยะหนึง่ ความได้เปรียบในด้านค่าจ้างแรงงานก็เคลือ่ นย้าย ไปยังประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาค ประเทศไทยจึงต้องพัฒนาตนเอง ไปสูย่ คุ Thailand 3.0 เพือ่ มุง่ สูก่ ารพัฒนาอุตสาหกรรมทีม่ คี วามซับซ้อน มากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และที่อยู่ในห่วงโซ่แห่ง คุณค่า อันเป็นที่ประจักษ์ว่า ไทยเราเป็นฐานการผลิตส�ำคัญของโลกใน หลายๆ ผลิตภัณฑ์จนกระทัง่ ปัจจุบนั ซึง่ จะมีการแข่งขันมากขึน้ ทุกขณะ ท�ำให้ยากที่จะรักษาอัตราการเติบโตของมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจไว้ได้ อย่างยั่งยืน ดังนั้นการวางยุทธศาสตร์ประเทศไทยสู่ยุค Thailand 4..0 จึงเป็นเรื่อง ความทันยุคสมัย เนื่องจากเป็นการพัฒนาในยุคที่จะต้องใช้องค์ความรู้ ที่สั่งสมไว้ในทศวรรษที่ผ่านมา บวกกับภูมิปัญญาของประเทศ จุดแข็ง ทางสังคมและวัฒนธรรม เพื่อก้าวสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High Value Services) ซึ่งจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอันเป็นเป้าหมาย ส�ำคัญของรัฐบาลในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลดังกล่าวข้างต้น กระบวนทัศน์ใหม่ภายใต้ Thailand 4.0 ในการด� ำ เนิ น การให้ บ รรลุ ผ ลลั พ ธ์ เ ชิ ง ยุ ท ธศาสตร์ ก ารขั บ เคลื่ อ น Thailand 4.0 มีโจทย์ทจี่ ะต้องด�ำเนินการเพือ่ ให้เป้าหมายบรรลุผลส�ำเร็จ โดยมีวาระส�ำคัญในแง่ของการปรับกระบวนทัศน์ใหม่กันทั้งกระบวนใน 3 ประเด็นดังนี้ ประการแรก คือ การขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่มั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม โดยการพัฒนาแบบบูรณาการทั้งในระดับ โครงสร้างพื้นฐาน ระบบบริการ และระบบบริหารจัดการข้อมูล ตาม มาตรฐานสากล ส่งเสริมให้มกี ารพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั โดยเฉพาะเทคโนโลยีอนิ เทอร์เน็ต เพือ่ สร้างความพร้อมในยุคเศรษฐกิจ ดิจทิ ลั ภายใต้กรอบงบประมาณทีเ่ หมาะสมแบ่งเป็นระยะ (Phase) อย่าง ต่อเนือ่ ง ด้วยการสร้าง “ความเข้มแข็งจากภายใน” ขับเคลือ่ นตามแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ประการที่สอง เป็นการเปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้าง มูลค่าค่อนข้างต�ำ่ ไปสู่ High Value Services และเปลี่ยนจากแรงงาน

ทั ก ษะต�่ ำ ไปสู ่ แ รงงานที่ มี ค วามรู ้ ความเชี่ ย วชาญ และทั ก ษะสู ง ซึ่งผู้เกี่ยวข้องมองว่าเป็น “Reform in Action” ที่จะต้องมีการผลักดัน การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปการวิจัยและการพัฒนา และ การปฏิรูปการศึกษาไปพร้อมๆ กัน ประการทีส่ าม การพัฒนาความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทัง้ รัฐและเอกชน ซึ่ ง เป็ น การผนึ ก ก� ำ ลั ง ของทุ ก ภาคส่ ว นภายใต้ แ นวคิ ด “ประชารั ฐ ” โดยเป็นประชารัฐที่ผนึกก�ำลังกับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การวิจัย พัฒนา และบุคลากรระดับโลก ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของการ “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน” ทิศทางการพั ฒนาที่นำ� ไปสู่การเปลี่ยนแปลง การลงทุนในด้านวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีของผู้ประกอบการ รายใหญ่ของโลกจะเป็นเครื่องชี้ส�ำคัญในทิศทางการพัฒนาและปรับตัว ไปสู่กระแสหลักทางเทคโนโลยี ได้แก่ Cloud Service, M2M, e-Health และ Energy Saving เป็นต้น ตัวอย่างทางเลือกในการพัฒนาด้านเทคโนโลยี M2M ประกอบด้วย ด้านยานยนต์เป็นการพัฒนา Connected Car เพื่อเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ในตัวรถ การพัฒนา Trackers เป็นอุปกรณ์ตรวจตราดูวัตถุเป้าหมาย (Object Monitoring) และระบบตรวจตราไร้สาย (Wireless Monitoring System) ในการเก็บข้อมูลเพื่อตัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและเป็นส่วน หนึ่งในเครือข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ และในส่วนของการพัฒนาด้าน e-Health ประกอบด้วย E-Bracelets เพือ่ ติดตามการใช้ยาและข้อมูลการ เยียวยารักษาส�ำหรับผู้ป่วย และ Mobile Router เพื่อให้พนักงาน ER ได้เข้าถึงเครือข่ายไร้สายคุณภาพสูงเชื่อมกับศูนย์การแพทย์ เพื่อช่วย เหลือผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น ผู้ประกอบการจะต้องปรับโครงสร้างการลงทุนให้เหมาะสมกับการ เปลี่ยนแปลงในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นเรื่องส�ำคัญ ทิศทางการแบ่ง สัดส่วนการลงทุนจึงจ�ำเป็นจะต้องมีการปรับให้สอดคล้องกัน โดย ข้อเท็จจริงก็คือ การให้น�้ำหนักกับตลาดในส่วนการให้บริการ Content ด้วยการร่วมมือในรูปแบบประชารัฐ ระหว่างรัฐ เอกชน และภาคส่วนที่ เกี่ยวข้อง ในหน่วยงานของรัฐ เจ้าของโครงการยังคงมีสิทธิ์และมีส่วนร่วมในการ ด�ำเนินงาน ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้ศักยภาพในด้านบุคลากรที่มี ความรู้ความช�ำนาญในภาคเอกชน การส่งเสริมและพัฒนาผูป้ ระกอบการ โดยเฉพาะ SME ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ด้วยแนวคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมที่จะเพิ่มศักยภาพและขีดความ สามารถในการแข่งขันในตลาดระดับภูมภิ าค การสนับสนุนในด้านข้อมูล สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่ทันสมัยและทันการณ์ การบริการและ อ�ำนวยความสะดวก และการบ่มเพาะผูป้ ระกอบการหน้าใหม่ (Start-Up) เทคนิคและวิธกี ารในการบริหารจัดการ การจัดหาแหล่งเงินทุนทีเ่ หมาะสม การบริ ห ารจั ด การด้ า นการเงิ น ที่ ส อดคล้ อ งกั น กั บ ด้ า นเทคโนโลยี รวมทั้งมาตรการการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล G-MagZ IT MAGAZINE

29


GURU TALK

การพัฒนา High Speed Internet ให้ครบคลุมทัว่ ถึง จะเป็นกุญแจส�ำคัญ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจทิ ลั ในยุคปัจจุบนั ให้มศี กั ยภาพและ ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาส ในการปรับฐานความเท่าเทียมและเสมอภาคกันในทุกสังคมและชุมชน รวมทั้งการก�ำหนดราคาค่าบริการ Internet ให้มีความเหมาะสมตาม เกณฑ์มาตรฐานสากล ที่ยึดหลักค่าครองชีพพื้นฐานเป็นส�ำคัญ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทิศทางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทั้งภาคผลิตและบริการในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีกระแสหลัก 4 ด้าน ได้แก่ Data/Information (Big Data), Cloud Computing, Social และ Mobile จะเป็นตัวเร่ง ขั บ เคลื่ อ นให้ ก ารพั ฒ นาด้ า นดิ จิ ทั ล ไปข้ า งหน้ า และสามารถรองรั บ ความต้องการของผูบ้ ริโภค ทัง้ ในระดับการผลิตและการให้บริการ โดยมี Mobile Application บนอุปกรณ์เข้าถึงอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บรรดา Consumerized Smart Device ในรูปแบบทีห่ ลากหลายโดยไม่มขี ดี จ�ำกัด เป็นเครื่องมือให้ผู้บริโภคสะท้อนความต้องการจากการด�ำเนินชีวิตและ การประกอบอาชีพซึ่งจะเป็นกุญแจส�ำคัญในการพัฒนาต่อไป การด�ำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการไทยทั้งภาคผลิตและบริการจะต้องรู้ เท่าทันการหลอมรวมเทคโนโลยีกระแสหลักดังกล่าวนี้ ให้เกิดผลิตภัณฑ์ และบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โดยอิงกระแสสากลหลักและการคาดการณ์ด้านการพัฒนาจากบรรดา ผู้เชี่ยวชาญในวงการที่ได้ท�ำนายเทคโนโลยีแห่งอนาคต ประกอบด้วย เทคโนโลยีที่เด่นๆ ได้แก่ IoT/IIoT, (Internet of Things/ Industrial Internet of Things) เป็นส�ำคัญ ซึ่งจะรายล้อมด้วยโครงข่ายเซ็นเซอร์ (Censor Network) และเทคโนโลยี M2M โดย IoT จะเป็นเวทีใหญ่ของ การหลอมรวมให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรม เพือ่ การด�ำรงชีวติ และประกอบอาชีพของประชาชน

การเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนทั่วไป พฤติกรรมการบริโภคเนือ้ หาสาระของประชาชนทัว่ ไป จะเป็นไปในแนว การใช้ชอ่ งทางโมบายเป็นหลัก หรือ Mobile First โดยมุง่ เน้นให้เว็บไซต์ รองรับการท�ำงานบนโปรแกรม Browser ของโทรศัพท์มือถือได้อย่าง สมบูรณ์ การใช้งานต้องไม่ยุ่งยากซับซ้อนหรือไม่ไปสร้างความร�ำคาญ ให้แก่ User หรือประชาชนทั่วไป ซึ่งต้องการเชื่อมต่อเข้าสู่โลกออนไลน์ ตลอดเวลา เพื่อท่องเว็บได้อย่างคล่องตัว ต้องการได้รับข้อมูลข่าวสาร การแจ้งเตือนต่างๆ การบริหารจัดการทั้งทางธุรกิจและชีวิตประจ�ำวัน การเสพความบันเทิงออนไลน์ การสืบค้นข้อมูลได้ตลอดเวลา และที่ ส�ำคัญต้องการ Shopping แบบออนไลน์ 24 ชั่วโมง นั ก พั ฒ นามื อ อาชี พ และประชาชนทั่ ว ไปซึ่ ง พั ฒ นาได้ ด ้ ว ยตนเอง การประกอบธุรกิจส่วนตัว จะต้องเน้นความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล สาระส�ำคัญได้อย่างสะดวก ตลอดจนจะต้องมีการออกแบบขนาดการ แสดงผลตามหลักการของ Responsive Web Design ทีจ่ ะต้องมีการน�ำ เทคนิคหลายๆ เรือ่ งเข้ามาประยุกต์ ซึง่ รวมถึง User Interface Design, User Experience Design, Information Architecture, Adaptive Web Design, Human-Computer Interaction, และ Web Usability เป็นต้น เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงภาคเอกชนในการลงทุน และการท�ำงาน ทิศทางการลงทุนจะเป็นไปในการเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ โดยในภาค โทรคมนาคม จากเดิม ที่อิงการเติบ โตจากระบบโครงสร้างพื้นฐาน ด้านโทรคมนาคมและการสือ่ สารทีเ่ ริม่ มีการอิม่ ตัวไปสูก่ ารสร้างมูลค่าเพิม่ ให้กับโครงสร้างพื้นฐาน โดยการเกาะกระแสหลักการพัฒนาด้าน ICT ด้วยกลยุทธ์การพัฒนาและเสาะหาพันธมิตรทางธุรกิจในด้านนี้ ทัง้ ในรูปแบบ ของการให้พันธมิตรเป็นผู้พัฒนาและให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม และสื่อสารเพื่อการสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มบนเครือข่าย ดั ง ตั ว อย่ า งที่ ด� ำ เนิ น การกั น แล้ ว ในประเทศ ก้าวหน้าในโลกตะวันตก การพัฒนาเครือข่าย ทางเลือกเพื่อให้บริการในรูปแบบของ FiOS ซึ่ง เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมในด้านการพัฒนา ระบบงานประยุกต์ด้านโทรคมนาคม (Telecom Application Development) รวมทั้งการส่งเสริม การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อบริการธุรกรรมพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ตลอดจนการ ส่งเสริมการพัฒนาในรูปแบบ Application Store เพื่ออ�ำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและ ผู้ใช้งาน เป็นต้น โดยมีทิศทางและกลยุทธ์การ ลงทุนในด้านโทรคมนาคมและการสือ่ สาร ทีต่ อ้ ง สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา เศรษฐกิจดิจทิ ลั (Digital Economy) ในแนวทาง

ภาพจาก http://www.tnt.co.th/en/services/responsive-webdesign/

30

G-MagZ IT MAGAZINE


GURU TALK การขยายกิจการและบริการโทรคมนาคมเพือ่ ให้มผี ลิตภาพ (Productivity) และคุณภาพบริการทีพ่ ร้อมเทียบเคียงได้กบั มาตรฐานในภูมภิ าค AEC, APEC และในระดับสากล เพื่อการพัฒนามูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องในระยะข้างหน้า การเปลี่ยนการท�ำงานของภาครัฐและข้าราชการ ภาครัฐเองควรต้องก�ำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการสูค่ วามก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี รวมทั้งแนวทางการบริหารจัดการให้ภาคธุรกิจ ข้าราชการ และประชาชนเข้าใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี พร้อมด้วยการก�ำหนด ปัจจัยและเงื่อนไขในการส่งเสริมและยกระดับความสามารถในการ แข่งขัน ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรูท้ เี่ กีย่ วข้องเพือ่ ความสัมฤทธิผ์ ล ในการพัฒนา ทั้ ง นี้ ค วรใช้ ช ่ อ งทางและกลไกในการส่ ง เสริ ม และพั ฒ นา ภายใต้ คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ส�ำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรมส่งเสริมการส่งออก ส�ำนักงาน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) กรมทรัพย์สนิ ทางปัญญา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการส่งเสริม Venture Capital เป็นต้น แนวทางในการส่งเสริมและพั ฒนาในระยะสั้น-ยาว ระยะยาว ควรมุ ่ ง เป้ า หมายแบบองค์ ร วม เริ่ ม จากการประเมิ น สถานการณ์ของผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้อง การเทียบเคียงกับ ระเบียบวิธกี ารสากล เพือ่ วางยุทธศาสตร์และแผนด�ำเนินงานในทิศทาง ทีถ่ กู ต้อง ซึ่งจะเป็นค�ำตอบในลักษณะของ Scenario: Do Things Right น�ำไปปฏิบตั ใิ นทิศทางสากลทีเ่ น้นการส่งเสริมมากกว่าการออกกฎเกณฑ์ โดยใช้แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) ที่เหมาะสมที่สุด เมื่อ เปรียบเทียบเงื่อนไขสภาพแวดล้อมการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและ สังคมที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย เช่น ประเทศมาเลเซีย และอินเดีย ซึง่ สามารถยกระดับไปสูค่ วามร่วมมือสองฝ่ายระหว่างประเทศ เพือ่ ให้มี การแลกเปลีย่ นความรูแ้ ละประสบการณ์ระหว่างกัน ส่งผลให้การพัฒนา และยกระดับสู่มาตรฐานในภูมิภาคและสากลได้อย่างยั่งยืนต่อไป ระยะสั้ น โดยการประเมิ น สถานการณ์ เ ป็ น ระยะ เป็ น เรื่ อ งๆ ไป ตามล�ำดับความส�ำคัญ เพือ่ ให้รเู้ ท่าทันเทคโนโลยีสำ� คัญ และสถานการณ์ รอบด้าน ที่จะกระทบวงรอบการพัฒนาในแต่ละด้าน รวมทั้งการใช้ ประโยชน์จากวง AEC โดยให้ความส�ำคัญกับวงความร่วมมือ ASEAN+1 อย่างประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ในด้าน จุดเด่นของแต่ละประเทศและความเป็นผู้นำ� ในเชิงรุก ซึ่งต้องอาศัยการ บูรณาการความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการวางยุทธศาสตร์ โดยบูรณาการ พัฒนาตามวาระทีว่ างไว้อย่างเป็นระบบ มีการพัฒนาบุคลากรในแนวทาง เดียวกัน ทัง้ ในส่วนของผูป้ ระกอบการ ภาคประชาสังคม และหน่วยงาน ก�ำกับดูแล เพื่อให้ตระหนัก ปรับตัว และปรับเปลี่ยนไปสู่ยุคของการ แข่งขันในโลกยุคดิจทิ ลั ซึง่ จะต้องรูเ้ ท่าทันเทคโนโลยีทมี่ กี ารเปลีย่ นแปลง อย่างรวดเร็ว รูปแบบของการด�ำเนินธุรกิจ และเทคนิคการบริหารจัดการ ตามแนวปฏิบัติสากล

ประการส�ำคัญคือ การส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีเป็นธรรม ปกป้องสิทธิของผู้บริโภค สร้างความเติบโต ความมั่นใจในระดับการ แข่งขันที่เป็นธรรม ภายใต้ กฎหมาย กฎกติกา ที่สร้างความสมดุล ไม่ให้มีพฤติกรรมในลักษณะของการผูกขาดตลาด เพื่อพัฒนาไปสู่การ บริการอย่างครอบคลุมทั่วถึง ในแนวทางและวาระการพัฒนาด้าน เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและการศึกษา • ด้านสังคมและการศึกษาในยุคดิจิทัล จะต้องปรับเปลี่ยนไปสู่การรู้ เท่าทันทางเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้มีศักยภาพในการประยุกต์ ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคมชุมชน และท้องถิ่น ดังนั้น การศึกษาในระบบจะไม่มคี วามคล่องตัวพอต่อพลวัตทางเทคโนโลยี จากการตั้งข้อสังเกตของผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ประเด็นส�ำคัญในการ พัฒนาในยุคดิจิทัล ไม่ได้อยู่ที่ว่าจะต้องท�ำอะไรแค่ไหนถึงจะพอ แต่ความส�ำคัญจะอยู่ที่ว่า จะสามารถท�ำได้เร็วเพียงใด ดังนั้น การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจะเพิม่ ความส�ำคัญ มากขึน้ เรือ่ ยๆ อันเนือ่ งมาจากการมีสว่ นร่วมของนักเรียนนักศึกษา ในการออกแบบเนื้อหา หลักสูตร และวิธีการในการเรียนรู้ใน ยุคดิจิทัลซึ่งมีวงรอบของการเปลี่ยนแปลงสั้นลงทุกขณะจึงต้อง มีการปรับตัวอย่างรวดเร็วและทันการณ์ • ประชาสังคมจะมีการเรียนรู้ในการระดมความรู้ ความคิด และ ทรัพยากร ผ่านทาง Social Media/Network เพือ่ ให้เกิดพลังในการ สร้างสรรค์ผลงานและผลผลิต อันเป็นที่ต้องการร่วมกันในรูปแบบ Crowd Sourcing อย่างกว้างขวาง ซึง่ จะท�ำให้พลังประชาสังคมเข้า มาแทนที่ระบบการสร้างงาน การจัดสรรทรัพยากร และการผลิต แบบเดิมๆ ซึ่งจะท�ำให้ภาคประชาสังคมกลายเป็นพลังขับเคลื่อน การพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ ได้อย่างเป็นรูปธรรมเพิ่ม มากขึ้นเป็นล�ำดับในยุคสังคมดิจิทัล เมือ่ ประเทศไทยขับเคลือ่ นสู่ Thailand 4.0 เมือ่ นัน้ เราจะเห็นความ เปลี่ยนแปลงที่ดีต่อทุกๆ ภาคส่วนในที่สุด G G-MagZ IT MAGAZINE

31


GURU TALK คุณกำ�พล โชคสุนทสุทธิ์ ประธาน Thailand IoT Consortium

มองเทรนด์ IoT ปี 2017 ทีผ่ า่ นมาผูค้ นจ�ำนวนมากมอง IoT (Internet of Things) ว่าใช้ Device มาเป็นเกณฑ์หลัก โดยก่อนหน้านีห้ ลายท่านเคยได้เห็นและสัมผัสกับ อุปกรณ์ IoT มาแล้ว แต่อาจไม่เข้าใจว่าเป็นอุปกรณ์ WiFi ที่สามารถ ติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ด้วยกันในเครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตได้ และในช่วงกว่า 10 ปีมานี้ IoT มีราคาสูงเกินกว่าทีห่ ลายท่านจะจับต้องได้ หลักการหรือไอเดียของ IoT พอจะยกตัวอย่างตูเ้ ย็นทีม่ คี วามสามารถ ตรวจสอบสิ่งของที่อยู่ในตู้เย็นว่าใกล้หมดอายุหรือไม่ สามารถสั่งของ จากซูเปอร์มาร์เก็ตมาเติมได้ โดยในยุคก่อนอาจจะยังไม่เห็นการเกิดขึน้ ของไอเดียเหล่านั้น

มาถึงยุคปัจจุบันอุปกรณ์ต่างๆ มีราคาถูกลง แต่มีความสามารถ มากขึ้น เฉกเช่นเดียวกับการมาของ IoT ที่อุปกรณ์หลายๆ ประเภท ถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต รับส่ง ข้อมูลต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์ ท�ำให้เห็นความแตกต่างของโลกดิจิทัล กับโลกฟิสคิ อล เราสามารถเชือ่ มโยง 2 โลกเข้าด้วยกันได้อย่างรวดเร็ว และราคาถูกมากๆ ซึ่งแน่นอนว่าปีนี้จะได้เห็น IoT ประเภทอื่นๆ เพิ่ม มากขึ้น Amazon Echo เป็นตัวอย่างหนึ่งที่น่าตื่นเต้น เพราะสามารถสั่งงาน ให้เปิดเครื่องปรับอากาศ ชงกาแฟ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยง กัน ในปีนจี้ ะได้เห็นปรากฎการณ์ของ IoT อีกหลายๆ มุม ไม่วา่ จะเป็น ในมุมของตลาด และธุรกิจที่เกี่ยวกับ IoT เข้ามากระทบกับชีวิตของ ผู้บริโภค จับตามูลค่าตลาด IoT มีการคาดการณ์ว่า IoT ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 14.4 ล้านล้าน ดอลล่าร์สหรัฐฯภายในปี 2022 และแน่นอนว่าทุกคนมองเห็นการ เกิดขึน้ ของตลาด ทัง้ ในมุมของผูใ้ ช้ หรือในมุมของผูผ้ ลิต ซึง่ ท�ำให้เกิด ความตื่นเต้นในตลาดอย่างมาก

Source: Embracing the Internet of Everything To Capture Your Share of $14.4 Trillion, white paper published by Cisco

32

G-MagZ IT MAGAZINE

ขณะที่ประเทศไทยควรต้องมองว่ามีส่วนใดบ้างที่สามารถน�ำอุปกรณ์ IoT ไปใช้และเพิ่มมูลค่า ซึ่งปัจจุบันหลายอุตสาหกรรมมีศักยภาพอยู่ ไม่น้อย เช่น Smart Home ปัจจุบันมีมากกว่า 10.7 ล้านครัวเรือนที่ เชือ่ มต่ออินเทอร์เน็ต ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรมีมลู ค่าการส่งออก กว่า 1.2 ล้านล้านบาท ส่วนโรงงานทั่วประเทศมีกว่า 139,821 แห่ง


GURU TALK

ขอยกตัวอย่าง Smart Famer สามารถน�ำ IoT ไปใช้เพือ่ เพิม่ ผลผลิตหรือ ยอดขายได้ แต่ในปีทผี่ า่ นมาเกิดเหตุการณ์สนิ ค้าการเกษตรตกต�ำ่ ท�ำให้ ยังมองเห็นภาพไม่ชดั แต่ทงั้ นีส้ งิ่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือการมองตลาด ไม่ใช่แค่ ต้นน�้ำถึงปลายน�้ำ หากแต่ควรจะมองห่วงโซ่ที่มีมูลค่าจริงๆ ในส่วนของ IoT โดยองค์ประกอบของอุปกรณ์ IoT จะเริม่ ตัง้ แต่ Chip Card, Sensor, Processor, Transponder (ตัวรับ-ส่งสัญญาณ) ดังนั้นการมอง IoT ไม่ได้มองแค่เป็นอุปกรณ์ทเี่ ชือ่ มต่อ WiFi แต่ตอ้ งมองถึงการเป็นอุปกรณ์ ที่สามารถเก็บข้อมูล และส่งต่อรายละเอียดได้ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มครองสัดส่วน 30-40% อย่างไรก็ตามตลาดหลักที่สามารถสร้างรายได้ให้มากที่สุดของ IoT คือ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มที่ปัจจุบันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ต่าง ให้ความส�ำคัญกับส่วนนี้ เพราะเป็น Segment ที่ใหญ่ที่สุด คิดเป็น สัดส่วนราว 30-40% รองลงมาคือ ระบบเชือ่ มต่อ และผูพ้ ฒ ั นาซอฟต์แวร์ มีสัดส่วนอย่างละ 15-20% ดังนัน้ โอกาสของผูป้ ระกอบการในไทยคือ การน�ำอุปกรณ์ IoT มาพัฒนา เป็น Smart Module หรือ Smart Object ให้สามารถใช้งานร่วมกันภายใต้ Smart Home หรือ Smart City เพราะในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจ IoT ยังไม่ได้เริ่มอย่างจริงจัง แต่อยู่ระหว่างการเริ่มต้นในขณะนี้ ระยะของการสื่อสาร “จุดเปลี่ยนครั้งส�ำคัญ” จุดเปลี่ยนส�ำคัญที่จะเกิดขึ้นในตลาดอุปกรณ์ IoT คือ การคิดค้นและ พัฒนาอุปกรณ์สง่ สัญญาณระยะไกลทีใ่ ช้พลังงานต�่ำ มีราคาถูก ซึง่ เริม่ มี การพัฒนาชิ้นส่วนดังกล่าวขึ้นมาแล้วภายใต้ชื่อ LPWA (Low Power Wide Area Network) เพราะหาก Smart Object สามารถสื่อสาร ระยะไกลได้ โดยไม่สนิ้ เปลืองแบตเตอรี ก็จะช่วยเพิม่ โอกาสในการลงทุน เพื่อให้เกิดการใช้งานในระยะยาว

Low Power Wide Area Network(LPWA)

3 เทคโนโลยีท่น ี ่าสนใจ ปัจจุบันเทคโนโลยีเด่น ได้แก่ Dash 7, LoRa และ Sigfox โดย Dash 7 เริม่ เข้ามาในเมืองไทยเมือ่ 3 ปีทผี่ า่ นมา ใช้คลืน่ 433 MHz เพือ่ ส่งข้อมูล ผ่าน RFID โดยสามารถส่งข้อมูลระหว่าง Node ได้ทันที หากแต่ เทคโนโลยีดังกล่าวไม่ได้รับความสนใจในขณะนั้นเนื่องจาก IoT ใน ตอนนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ส่วน LoRa และ Sigfox รุกตลาดโลกสูงมาก และเชื่อว่าในปี 2017 นี้ จะได้ยนิ ชือ่ 2 แบรนด์นมี้ ากขึน้ ส�ำหรับ LoRa จะมีการตัง้ หน่วยงานกลาง ขึ้นมาเพื่อเปิดให้นักพัฒนาสามารถน�ำ Source Code ไปพัฒนาให้ อุปกรณ์ใช้การเชื่อมต่อผ่าน LoRa ได้ โดยไม่ได้สนใจในแง่ของธุรกิจ มากนัก อาจจะเก็บเพียงค่าลิขสิทธิ์บางส่วนเท่านั้น ขณะที่ Sigfox จะโฟกัสไปที่ Base Station เหมือนกับเครือข่ายโทรศัพท์ มือถือ โดยให้ผู้ใช้งานเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายของ Sigfox ซึ่งกลายเป็น ตัวกลางในการติดต่อสื่อสาร ท�ำให้มีข้อจ�ำกัดในการใช้งานค่อนข้างสูง และจะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการน�ำไปใช้งาน

เบื้องต้น การใช้งานอุปกรณ์ IoT ก็เหมือนกับการเลือกเทคโนโลยี ถ้าเลือกอุปกรณ์ที่รองรับการเชื่อมต่อ WiFi ก็จะมีข้อดีที่สามารถรับส่ง ข้อมูลทีม่ ปี ริมาณ Bandwidth ขนาดใหญ่ได้ แต่กจ็ ะมีขอ้ จ�ำกัดในแง่ของ ระยะทางที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล แต่หากใช้ LPWA ก็อาจจะส่งข้อมูลได้ น้อยลง แต่ได้ความครอบคลุมของพื้นที่ใช้งานมากขึ้น

อย่างไรก็ตามคลื่นความถี่ถือเป็นตัวแปรส�ำคัญที่จะท�ำให้ IoT เติบโต น้อยหรือมาก ทั้งนี้ประเทศไทยยังมีโอกาสการเติบโตที่สูง เนื่องจาก ใช้คลื่น 920-035 MHz ที่เป็นคลื่น RFID จะถูกน�ำมาใช้ในการให้บริการ IoT โดยเป็นคลื่นที่เปิดเป็นสาธารณะ ไม่มีค่าใช้จ่ายจากการใช้คลื่น ดังกล่าว ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหลายจะให้บริการอยู่ในช่วงคลื่นนี้

ทั้งนี้เทคโนโลยีอย่าง WiFi ช่วยให้ส่งข้อมูลผ่าน Bandwidth ได้สูง แต่ระยะทีใ่ ช้ในการรับส่งข้อมูลจะสัน้ มาก เพราะฉะนัน้ ถ้าต้องการติดต่อ สือ่ สารระยะไกล แม้วา่ จะท�ำได้แต่ตอ้ งมีการลง Access Point จ�ำนวนมาก เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่การใช้งาน ในขณะที่ถ้าใช้ LPWA อาจจะใช้ ปริมาณที่น้อยลง แต่ก็ต้องมองว่าเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นแบบใด

โอกาสของประเทศไทย เมื่อมีการเชื่อมต่อระยะที่ไกลขึ้น ท�ำให้มีโอกาสที่จะน�ำเทคโนโลยี IoT ไปประยุกต์ใช้ใน Smart City, Smart Famer และการตรวจสอบเรื่อง สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่จะท�ำให้ส่งผลดีต่อการใช้งาน เพิ่มผลผลิต ไปจนถึง การเพิ่มมูลค่าในตลาดต่อไป G

G-MagZ IT MAGAZINE

33


IDEA INFO

Fintech

พ่อมดไฮเทคแห่งโลกการเงิน พลิกโฉมหลากนวัตกรรมปี 2017

F i n t e c h กำ � ลั ง ข ย า ย บ ท บ า ท ใ ห ม่ จ า ก คำ � จำ � กั ด ความที่ เ คยมุ่ ง เน้ น ไปยั ง กลุ่ ม บริ ษั ท Startups ด้ า นการเงิ น ขนาดเล็ ก ๆ ซึ่ ง สร้ า ง แรงเหวี่ ย งขนาดใหญ่ ส ะเทื อ นสถาบั น การเงิ น รายหลักๆ ทัว่ โลกทีค่ รองรากฐานอย่างแข็งแกร่ง มานานปี เพราะในนาทีนี้ นวัตกรรมเทคโนโลยี ทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ ที่ผู้ ให้บริการ Fintech แต่ ล ะรายทยอยส่ ง ออกมานำ � เสนอผู้ บ ริ โ ภค อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ได้ ท วี บ ทบาทเพิ่ ม ขึ้ น เรื่ อ ยๆ ต่อชีวิตประจำ�วันทั้งในโลกส่วนตัวและโลกธุรกิจ นวัตกรรมบริการทางการเงินจาก Fintech ล้วนพัฒนา ขึ้ น โดยการใช้ ป ระโยชน์ เ ทคโนโลยี ก ารวิ เ คราะห์ , แพลทฟอร์มโทรศัพท์มือถือ, เทคโนโลยีดิจิทัล และ อีกมากมาย ทีน่ ำ� มาบูรณาการผสมผสานสูบ่ ริการใหม่ๆ เพือ่ ช่วงชิงฐานลูกค้ามาไว้ในมือ เพราะ “ความท้าทาย” ข้อส�ำคัญของพฤติกรรมผูบ้ ริโภคเทคโนโลยีดา้ นบริการ ทางการเงิ น ก็ คื อ ไม่ ยึ ด ติ ด กั บ ผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารรายใด เป็นการเฉพาะ และพวกเขาคาดหวังเพิม่ ขึน้ ตลอดเวลา ต่ อ คุ ณ ภาพและประสิ ท ธิ ภ าพบริ ก าร โดยเฉพาะ ประเด็นความปลอดภัย เมื่อเร็วๆ นี้เว็บไซต์ CloudTweaks ได้น�ำเสนอบท วิ เ คราะห์ แ นวโน้ ม ภาพรวมอุ ต สาหกรรม Fintech ปี 2017 ว่า แม้จะเป็นกระแสทีม่ าแรงมากในกลุม่ บริษทั

34

G-MagZ IT MAGAZINE

ทางการเงิ น และสร้ า งแรงสั่ น สะเทื อ นภาคบริ ก าร ทางการเงิน แต่นกั วิเคราะห์สว่ นใหญ่กม็ องว่า แนวโน้ม นี้ยังไม่ได้เป็นความเสี่ยงของภาคการเงินแบบดั้งเดิม ซึ่งยังครองความเชื่อถือจากลูก ค้า ด้วยจุดแข็งด้า น การป้องกันการทุจริต, คุณภาพบริการ, ความโปร่งใส อย่างไรก็ตาม ลูกค้าให้คะแนน Fintech สูงกว่าในแง่ Value for Money และประสิทธิภาพของบริการ จึงเป็น โจทย์ข้อใหญ่ส�ำหรับผู้พัฒนา Fintech ต้องมองถึง การสร้างสรรค์บริการการเงินรูปแบบใหม่ๆ ทีย่ ดึ ลูกค้า เป็นศูนย์กลางยิ่งขึ้น นอกเหนือจากนวัตกรรมเด่นๆ ในปัจจุบันอย่างเช่น แพลทฟอร์มการกู้ยืมเงินแบบ P2P, การระดมทุนในรูปแบบ Crowdfunding และ แอพพลิเคชั่นด้านการช�ำระเงิน เป็นต้น อีกแนวโน้มส�ำคัญทีส่ ดุ คือ Fintech จะมีบทบาททีย่ งั่ ยืน ในภาคอุตสาหกรรมการเงินแน่นอน เพราะนอกเหนือ จากบรรดา Startups แล้ว เราก็เริม่ เห็นสถาบันการเงิน รายใหญ่ๆ ทีเ่ ติบโตจากบริการทางการเงินแบบดัง้ เดิม ก�ำลังเร่งเดินหน้ายุทธศาสตร์ที่จะผสานรวม Fintech เข้ามาอยู่ในแผนธุรกิจหลักขององค์กร และแน่นอนว่า ด้วยต้นทุนความแข็งแกร่งด้านทรัพยากรและเงินลงทุน โดยเฉพาะประสบการณ์ในตลาดบริการทางการเงิน อย่างยาวนาน ท�ำให้แนวโน้ม Fintech ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นไป น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง


IDEA INFO

รายงานแนวโน้ม อุตสาหกรรม FinTech ในปี

2017

มากกว่า 50% ของลูกค้าการเงินทั่วโลกใช้บริการ จากบริษัทด้าน FinTech อย่างน้อย 1 ราย การเติบโตของบริการ FinTech ได้แรงขับเคลื่อนจาก ความคาดหวังของลูกค้า , การสนับสนุนด้านเงินทุนจากกลุ่มลงทุน (VC) , ความง่ายในการเข้าสู่ตลาด, วิวัฒนาการทางเทคโนโลยี

ตลาดที่มีระดับการยอมรับและใช้บริการ FinTech สูงสุด คือ ประเทศจีน (84.4%) รองลงมาคือ อินเดีย (76.9%) ผู้บริโภคที่เป็น Tech-Savy และ Gen Y คือกลุ่มแรกๆ ที่ตอบรับบริการ FinTech ; โดยเปิดรับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่ไม่ค่อยยึดติดกับผู้ให้บริการรายใด

โทรศัพท์มือถือ คือช่องทางสำ�คัญที่สุดอันดับ 2 สำ�หรับลูกค้าในกลุ่ม Gen Y (47.6%) และ Tech-Savy (56.5%)

ลูกค้ามากกว่า 55% ไม่รู้สึกว่าเชื่อมั่น หรือไม่เชื่อมั่นต่อผู้ ให้บริการ ด้านการเงินทั้งธนาคาร หรือบริษัทด้าน FinTech FinTech เป็นสนามเปิดส�ำหรับทุกฝ่ายในการจับลูกค้าใหม่ บริษัทการเงินแบบดั้งเดิมยังคงรักษาจุดแข็งด้านการป้องกันการทุจริต, คุณภาพบริการ, ความโปร่งใส ; ขณะที่ลูกค้าให้คะแนน FinTech สูงกว่า ในแง่ Value for Money, ประสิทธิภาพของบริการ FinTechs ได้รับความเชื่อถือมากกว่าบริษัทการเงินแบบดั้งเดิมเล็กน้อย (56.3% ต่อ 52.9%) ในเรื่องการมอบประสบการณ์เชิงบวก มีลูกค้าเพียง 1 ใน 3 ที่มีประสบการณ์เชิงบวกตลอดทั้งกระบวนการ ที่มีปฏิสัมพันธ์กับการให้บริการ บริษัทด้านการเงินทั้ง 2 รูปแบบ ยังคงมีคะแนนต่ำ�สำ�หรับประสบการณ์เชิงบวกโดยรวมและความน่าเชื่อถือ ความเชื่อถือต่อบริษัทการเงินแบบดั้งเดิม (36.6%) และ FinTechs (23.6%) G-MagZ IT MAGAZINE

35


IDEA INFO บริษัทการเงินแบบดั้งเดิมมีความเชื่อมั่นต่อยุทธศาสตร์ FinTech แต่ยังต้องต่อสู้เพื่อนำ�นวัตกรรมเข้ามาใช้ มีบริษัทน้อยกว่า 3% ที่สามารถฝังนวัตกรรมเข้าไปในวัฒนธรรมองค์กร มีการฝังวัฒนธรรมด้านนวัตกรรมเชิงรุก และโครงการริเริ่มที่ วางรากฐานอย่างดีอยู่ในยุทธศาสตร์องค์กร ยุทธศาสตร์ด้าน FinTech ยังมีการจ�ำกัดไว้เพียงโครงการริเริ่ม เชิงโครงสร้างแบบปานกลาง ยังไม่มีการเริ่มต้น/ไม่มีความคืบหน้า หรือโครงการเฉพาะกิจใดๆ ในยุทธศาสตร์ด้าน FinTech มีผู้บริหารบริษัทด้านการเงินแบบดั้งเดิมเพียง 44% ที่ “เชื่อมั่นอย่างมาก” ต่อการ ก�ำหนดยุทธศาสตร์เพื่อรับมือความท้าทายของ FinTech มีผบู้ ริหารน้อยกว่า 40% เชือ่ ว่าได้นำ� นวัตกรรมเข้ามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพในบริษทั การเงินแบบดั้งเดิม ส่วนประสิทธิผลในการบรรลุผลลัพธ์ยังต�่ำกว่านั้น คืออยู่ที่ 10% การขาดแคลนวัฒนธรรมที่เอื้ออ�ำนวยต่อนวัตกรรมในกลุ่มบริษัทการเงินแบบดั้งเดิม 40% เป็นปัจจัยข้อใหญ่สุดที่ทำ� ให้ล้าหลังด้านศักยภาพในการให้บริการ FinTech

ขั้นตอนต่อไปนี้จะช่วยให้บริษัทแบบดั้งเดิมนำ�นวัตกรรม เข้ามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจัยแห่งความส�ำเร็จหลักๆ ของการน�ำนวัตกรรมเข้ามาใช้ การสนับสนุนจากผู้บริหาร (64%), การปรับเปลี่ยนวิธีคิดขององค์กรในเชิงนวัตกรรมและความว่องไว (50.7%) Discover ; เอื้ออ�ำนวยให้เกิดการค้นพบเทคโนโลยีใหม่ๆ, ประเด็นปัญหาในภาคธุรกิจ และท�ำความเข้าใจกับผลกระทบต่อองค์กร Devise ; ใช้เครื่องมือสนับสนุนต่างๆ ร่วมกันเพื่อช่วยในการก�ำหนดกรอบความคิด, ข้อมูลเชิงลึกของรูปแบบธุรกิจ, สร้างต้นแบบ, วางสถาปัตยกรรมในแง่เทคนิค Deploy ; น�ำไปสูค่ วามสอดคล้องกับผูบ้ ริหาร, มีการติดตัง้ ใช้งานท�ำให้มนั่ ใจได้วา่ นวัตกรรม จะถูกใช้ด้วยความรวดเร็วและกว้างขวาง Sustain ; ช่วยสร้างกระบวนการนวัตกรรมขัน้ สูง, ยกระดับความสามารถ, มีแนวทางปฏิบตั ิ ที่เป็นเลิศ

www.worldfintechreport2017.com 36

G-MagZ IT MAGAZINE


IDEA INFO จำ�นวนบริษัทที่ผู้นำ�กลุ่มทุนด้าน FinTech เข้าไปลงทุน Y Combinator SV Angel

24 บริษัท

Accel Partners

24 บริษัท

QED Investors

22 บริษัท

Andreessen Horowitz 500 Startups Google Greylock Partners

20 บริษัท

16 บริษัท 13 บริษัท

Index Ventures Khosla Ventures

32 บริษัท

12 บริษัท 12 บริษัท

12 บริษัท

เทคโนโลยีทางการเงิน คาดการณ์และแนวโน้ม

มากกว่า 50% ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์วา่ ภายในปี 2030 การชำ�ระเงิน ส่วนใหญ่จะไม่ได้อยู่ในรูปแบบเงินสด และไม่ใช้กระดาษ การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และรูปแบบการชำ�ระเงินทางเลือก มีแนวโน้มจะเป็น 2 นวัตกรรมที่มีผลกระทบยิ่งใหญ่ที่สุดต่อภาคบริการทางการเงินในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

ความปลอดภัยในการชำ�ระเงิน : ปี 2030

6 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสอบถามจากภาคธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่, ค้าปลีก, บริการทางการตลาดและ การพาณิชย์แบบบูรณาการ เชื่อว่าเครื่องอ่านลายนิ้วมือ จะเป็นวิธีการที่มีบทบาทส�ำคัญในการคุ้มครอง ความปลอดภัยให้ผู้บริโภคช�ำระเงินผ่านมือถือ ภายในปี 2030

G-MagZ IT MAGAZINE

37


IDEA INFO ข้อมูลจากการสำ�รวจ ผลสำ�รวจคาดการณ์เทคโนโลยีทางการเงินที่จะเห็นได้ ชัดเจนในปี 2030

56%

การชำ�ระเงินส่วนใหญ่ในปี 2030 จะอยู่ในรูปแบบที่ไม่ใช้เงินสด และไม่ใช้กระดาษ

22%

การซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียในปี 2030 จะครองสัดส่วน เกือบ 50% ของธุรกรรมการขายช่วงเทศกาลวันหยุดยาว

13%

Blockchain จะกลายเป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งถูกนำ�มาใช้ทั่วไป ทั้งในอุตสาหกรรมการเงินและอื่นๆ

9%

แพลทฟอร์มแบบ P2P อย่างเช่น แอพพลิเคชั่น Venmo จะได้รับ ความนิยมแซงหน้าธนาคารออนไลน์ และธนาคารผ่านมือถือ ในเรื่องธุรกรรมโอนเงิน

ผลสำ�รวจวิธีการที่มีบทบาทสำ�คัญในการคุ้มครอง ความปลอดภัยให้ผู้บริโภคชำ�ระเงินผ่านอุปกรณ์พกพา ภายในปี 2030

38

52%

เครื่องอ่านลายนิ้วมือ

20%

การอ่านม่านตา

10%

อื่นๆ

9%

การใส่รหัสผ่าน

9%

การอ่านดีเอ็นเอ

G-MagZ IT MAGAZINE

ผลสำ�รวจนวัตกรรมที่จะมีผลกระทบยิ่งใหญ่ที่สุดต่อภาค บริการทางการเงินในอีก 3-5 ปีขา้ งหน้า

27%

การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่

26%

รูปแบบทางเลือกในการชำ�ระเงิน/การกู้ยืมเงิน

19%

Blockchain

17%

Internet of Things

9%

Artificial Intelligence

2%

อื่นๆ

ผลสำ�รวจนวัตกรรมที่จะมีผลกระทบยิ่งใหญ่ที่สุดต่อการ ชำ�ระเงินและการป้องการการทุจริตในอีก 3-5 ปีขา้ งหน้า

28%

ไบโอเมตริกซ์

27%

การแปลงข้อมูลให้เป็นชุดข้อมูลเสมือนและเข้ารหัส

17%

Blockchain

14%

บัตรเครดิตติดชิป (EMV)

12%

ระบบจดจำ�ใบหน้า

2%

อื่นๆ

(ที่มา : Mashable) http://mashable.com/2016/01/27/financial-tech-brandspeak/#bgfLECvAikq6


IDEA INFO

บริหารจัดการบัญชีออนไลน์อย่างไร ไม่ให้ลูกค้า “หลุดมือ” ในยุคทีท่ กุ ข้อมูลเกีย่ วกับผูบ้ ริโภค สามารถถูกนำ�มาต่อยอดและเปลีย่ นรูปมาสูก่ ารเป็น “สินทรัพย์” ทางธุรกิจได้ ทำ�ให้ บริษทั ต่างๆ ต้องเกาะติดแม้แต่ “ชือ่ บัญชีผู้ใช้งาน” เพือ่ เป็นช่องทางทำ�ความรูจ้ กั และเข้าใจลูกค้าและว่าทีล่ กู ค้าได้อย่าง ลึกซึง้ ประตูแห่งโอกาสทางธุรกิจก็ยงิ่ เปิดกว้างมากขึน้ เมือ่ พฤติกรรมผูบ้ ริโภค เริม่ หันมาใช้บญ ั ชีผู้ ใช้เครือข่ายสังคม ออนไลน์ที่ใช้งานประจำ� ในการเชือ่ มต่อเข้าถึงทุกบัญชีออนไลน์หรือข้อมูลออนไลน์ โดยไม่จ�ำ เป็นต้องสร้างหรือจดจำ�ชือ่ บัญชีผู้ ใช้งานและรหัสผ่านอื่นๆ ให้มากมายอีกต่อไป เมื่อเร็วๆ นี้ ผลส�ำรวจโดย Janrain บริษัทผู้พัฒนาและให้บริการ แพลตฟอร์มการเข้าถึงและก�ำหนดอัตลักษณ์ลูกค้าระบุว่า หนึ่งใน บทบาทส�ำคัญของ CIO ในยุคที่ข้อมูลเป็นสินทรัพย์เปี่ยมมูลค่า ส�ำหรับทุกองค์กรคือ ต้องช่วยให้องค์กรพบหนทางที่ง่ายกว่าเดิม ส�ำหรับลูกค้าในการเข้าถึงบัญชีออนไลน์ เนือ่ งจากปฏิเสธไม่ได้เลย ว่า ปัจจุบนั ผูบ้ ริโภคต่างก็เหนือ่ ยหน่ายกับการกรอกข้อมูลลงทะเบียน ต่างๆ อีกทัง้ ต้องจ�ำชือ่ ผูใ้ ช้และรหัสผ่านยาวเหยียดทีใ่ ช้ยนื ยันตัวตน และหากจะหลีกเลี่ยงจากความน่าร�ำคาญข้างต้น วิธีการหนึ่งก็คือ การเข้าถึงผ่านบัญชีผใู้ ช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ “Social Log-In” ซึง่ ผูใ้ ช้งานสามารถเชื่อมต่อทุกข้อมูลออนไลน์ผ่านบัญชี โซเชียล อย่างเช่น เฟซบุ๊ก เมื่ อ หั น มาดู ตั ว เลขจ� ำ นวนผู ้ ใ ช้ ง านเครื อ ข่ า ยโซเชี ย ลยอดนิ ย ม อันดับ 1 ของโลก จากข้อมูลเชิงสถิติอย่างเป็นทางการล่าสุดจาก เฟซบุ๊กระบุว่า สิ้นไตรมาส 3 ปี 2016 มีจ�ำนวนผู้ใช้งานที่เป็น Active Users สูงถึง 1.79 พันล้านคนนัน้ ยิง่ มองเห็นได้อย่างชัดเจน ถึง “ข้อมูลผู้บริโภค” จ�ำนวนมหาศาลที่จะหลั่งไหลเข้าสู่ภาคธุรกิจ ต่างๆ ผ่านรูปแบบการเชื่อมต่อโลกออนไลน์ผ่าน Social Log-In ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาหลายฉบับได้ข้อสรุปตรงกันว่า ยังมี ผูใ้ ช้งานจ�ำนวนมาก หลีกเลีย่ งวิธกี ารทีเ่ รียกว่า Social Log-In เพราะ ไม่ต้องการให้บริษัทหรือองค์กรต่างๆ ได้ข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับ กิจกรรมบนสื่อสังคมออนไลน์ ขณะที่มีหลายคนกังวลเกี่ยวกับ ความปลอดภัย และการถูกจูโ่ จมด้วยข้อความมหาศาลด้านกิจกรรม การตลาดจากบริษัทต่างๆ แบบไม่มีทางหนีรอด เจมี่ เบ็คแลนด์ รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Janrain กล่าวว่า Social Log-In ก็คอื ผลประโยชน์ขนั้ ต�ำ่ (Table Stakes) ทีธ่ รุ กิจออนไลน์ จะได้ไว้ในมืออยู่แล้ว เนื่องจากผู้ใช้งานเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักจะใช้ บัญชีโซเชียลในการลงทะเบียนเว็บไซต์ใหม่ๆ ด้วย แต่ทงั้ นีผ้ บู้ ริหาร ของธุรกิจออนไลน์ ก็ต้องเข้าใจถึงข้อกังวลเรื่องความปลอดภัย ข้อมูลส่วนบุคคลด้วย โดยเฉพาะเมื่อมีข่าวสารเกี่ยวกับการรั่วไหล ของข้อมูลลูกค้าจ�ำนวนมากถูกน�ำเสนอออกมาเป็นระยะๆ โดยผลส�ำรวจครัง้ นี้ พบว่า มีสดั ส่วนถึง 94% ยังกังวลเกีย่ วกับความ เป็นส่วนตัวของข้อมูล และ 61% แสดงความกังวล “อย่างมาก” อย่างไรก็ตาม 2 ใน 3 ของผูต้ อบแบบส�ำรวจ มีแนวคิดเปิดกว้างส�ำหรับ เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการเข้าถึงบัญชีทางออนไลน์ อย่างเช่น วิธีสแกน ลายนิ้วมือ หรือระบบจดจ�ำเสียง G-MagZ IT MAGAZINE

39


IDEA INFO อีกหนึง่ ข้อมูลน่าสนใจทีพ่ บจากรายงานการส�ำรวจฉบับนี้ ก็คอื “ปฏิกริ ยิ า” ของผู้บริโภคที่จะมีต่อข่ าวสารที่ไม่ตรงกับความสนใจของพวกเขา โดยเฉพาะหากได้รับข่าวสารพวกนั้น “ถี่” หรือมากเกินไป โดยกลุ่มตัวอย่าง 85% บอกว่าจะยกเลิกการรับข่าวสารผ่านอีเมล์จากบริษทั นัน้ ๆ, 63% ไม่ใส่ใจการสื่อสารที่มาจากบริษัทนั้นอีกต่อไป, 59% ตั้งค่าให้เป็นเมล์ขยะ, 36% เลิกเข้าไปยังเว็บไซต์ และ 27% บอกว่าจะหยุดซื้อผลิตภัณฑ์ จากบริษัทนั้น ผลส�ำรวจข้างต้น สะท้อนชัดเจนถึง โจทย์ทา้ ทายส�ำหรับภาคธุรกิจคือ จ�ำเป็นต้องมีแนวทางที่ “ดียิ่งขึ้น” ในการใช้ข้อมูลจากบัญชีลูกค้าไปท�ำ การตลาด ควบคู่กับการอธิบายอย่างชัดเจนแก่ลูกค้าว่าข้อมูลบัญชีที่พวกเขาเข้าถึงนั้น ถูกน�ำไปใช้และแบ่งปันอย่างไร

บัญชีออนไลน์กับการสูญเสียลูกค้า ผู้ใช้บัญชีออนไลน์ส่วนใหญ่ กังวลกับข่าวการรั่วไหลของ ข้อมูลจ�ำนวนมาก

การค้นพบความส�ำคัญจากผลส�ำรวจ 94% กังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และ 61% กังวล “อย่างมาก”

ภาคธุรกิจต้องท�ำงานให้ดขี นึ้ เพื่ออธิบายถึงการน�ำข้อมูล ในบัญชีลูกค้าไปใช้

การยอมรับล็อกอินผ่านโซเชียล 58% ใช้ Social Log-In เป็นทางเลือกในการเข้าถึงบัญชี

43% ของผู้ใช้ Social Log-In เข้าถึงบัญชีออนไลน์ของบริษัท

เงื่อนไขที่ยินยอมร่วมกัน – ส่วนที่ 1

เงื่อนไขที่ยินยอมร่วมกัน – ส่วนที่ 2

47% เต็มใจแบ่งปันข้อมูลกับบริษัท หากแน่ใจว่าข้อมูลจะ

45% เต็มใจแบ่งปันข้อมูลนั้นก็ต่อเมื่อบริษัท “ให้ความชัดเจน”

ออนไลน์จากบริษทั นัน่ หมายความว่าก�ำลังใช้ขอ้ มูลของตัวเอง จากเฟซบุ๊ก หรือกูเกิลเพื่อเชื่อมต่อออนไลน์นั่นเอง

ถูกบริษัทนั้นๆ น�ำไปใช้เท่านั้น

40

ความสะดวกสบาย

G-MagZ IT MAGAZINE

บอกว่า ไม่อยากเสียเวลากรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการเชื่อมต่อ และ 42% ไม่อยากสร้างและไม่ต้องการจ�ำชื่อผู้ใช้/รหัสผ่านอื่นๆ

ว่าจะน�ำข้อมูลไปใช้อย่างไร


IDEA INFO อุปสรรคในการสร้างความมีส่วนร่วม

มีวิธีการที่ดีกว่าหรือไม่ ?

56% ของผูท้ ไี่ ม่ใช้งาน Social Log-In บอกว่า ไม่ตอ้ งการให้บริษทั รู้ชื่อบัญชี และรู้เกี่ยวกับกิจกรรมในบัญชีที่ใช้งาน และ 49% กังวล เรื่องความเสี่ยงด้านความปลอดภัย/ความเป็นส่วนตัว

2 ใน 3 ของผู้ตอบแบบส�ำรวจมีแนวคิดเปิดรับวิธีการสแกน ลายนิ้วมือ หรือระบบจดจ�ำเสียง เพื่อเข้าถึงบัญชีทางออนไลน์

ผลงานต�่ำกว่ามาตรฐาน

สแปม สแปม และสแปม

มีเพียง 21% ของผู้ตอบแบบส�ำรวจ ที่รู้สึกว่าบริษัทต่างๆ “ท�ำดีแล้ว” ในการท�ำตลาดออนไลน์เข้าถึงพวกเขาได้แบบเจาะจง หรือตรงกับความสนใจ

56% บอกว่าได้รับข่าวสารที่ไม่ตรงกับความสนใจจากบริษัทไม่ตำ�่ กว่า 4 ข้อความ/วัน และ 27% ได้รับ10 ข้อความเป็นอย่างน้อย

ปฏิกิริยาของผู้บริโภคต่อข่าวสารที่ไม่ตรงกับความสนใจ

ยกเลิกการรับข่าวสารผ่านอีเมล์ : 85% เลิกสนใจการสื่อสารที่มาจากบริษัทนี้อีกต่อไป : 63% ตั้งค่าให้เป็น “เมล์ขยะ” : 59% ไม่เข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์บริษัทนั้นอีกต่อไป : 36% หยุดซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทนั้น : 27% (ที่มา : CIO Insight) G-MagZ IT MAGAZINE

41


คุยกับหมอไอที หมอลี

Top Skills of 2016 เริ่มต้นปีระกา 2017 ก็น่าจะเป็นเวลาทบทวนกันเสียทีว่า ทักษะ ทีเ่ รามียงั เป็นทีต่ อ้ งการของตลาดหรือไม่ ผมเองก็ไม่ได้เอาความเห็น ซึ่งได้ศึกษา รวบรวม ส่วนตัวมาคุยให้ฟัง แต่เป็น ข้อมูลการจ้างงาน และความต้องการในการว่าจ้างจากกิจกรรมบน เว็ บ ไซต์ linkedin.com ท� ำ ให้ พ บ 10 สุ ด ยอดทั ก ษะซึ่ ง เป็ น ที่ต้องการที่สุดในปี 2016 มาฝากกัน (ซึ่งน่าจะต่อเนื่องถึงปีนี้) เราจะมาเริ่มนับถอยหลังจากอันดับท้ายไปอันดับต้น เพื่อจะได้ไม่ ให้เสียเวลาไปศึกษาและพัฒนา Skill เพิ่ม มาเริ่มกันเลย 9 – SEO/SEM Marketing SEO = Search Engine Optimization ง่ายๆ คือวิธกี ารหลายๆ แบบ ทีส่ ามารถใช้เพือ่ ให้แน่ใจว่าเว็บไซต์และเนือ้ หาทีเ่ ป็น Digital Content ทั้ ง หมดของเรา ต้ อ งแสดงเสมอเมื่ อ มี ค นมาค้ น Keyword ที่ เกี่ยวข้อง 10 – Storage Systems and Management ทักษะทีต่ อ้ งการคงไม่ใช่แค่ไปดูแลเครือ่ ง แต่ผทู้ ยี่ งั มีความสามารถ ในการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลส�ำหรับบริษทั ทัง้ หมด ถูกออกแบบ การจั ด การให้ ข ้ อ มู ล มี ค วามปลอดภั ย สามารถกู ้ ข ้ อ มู ล ได้ เ มื่ อ ต้องการ มีการจัดการที่ง่าย รวมทั้งสามารถที่จะใช้ประโยชน์จาก Cloud Storage ได้ งานที่เกี่ยวข้อง: ผู้ดูแลระบบวิศวกรการจัดเก็บข้อมูล 42

G-MagZ IT MAGAZINE

SEM = Search Engine Marketing คือ การตลาดยุคใหม่ที่จะต้อง ใช้ทุกวิธี ไม่ว่าจะเสียเงิน หรือฟรี เพื่อให้คนมาไลค์ หรือ มี Traffic เข้ามาที่เว็บไซต์ของบริษัทให้มากที่สุด ดังนั้น Marketing ยุคหน้าต้องเข้าใจเรื่อง SEO และ SEM ไม่ใช่ แค่การสร้าง Content การจัดแคมเปญต่างๆ แต่ต้องเข้าใจที่จะดึง ประโยชน์จาก SEO และ SEM มาสร้าง Digital Content งานทีเ่ กีย่ วข้อง: SEO Campaign Manager, Content Marketer, Search Marketing Specialist


คุยกับหมอไอที

6 – Network and Information Security เป็นเพราะอินเทอร์เน็ตยังคงเติบโต และพัฒนาขึน้ ตลอด บริษทั ก็ตอ้ ง ใช้อนิ เทอร์เน็ตเป็นพืน้ ฐาน ความปลอดภัยของข้อมูลและเครือข่ายของ บริษัทก็ยังคงน่ากังวล ฉันใดฉันนั้นบริษัทมีความจ�ำเป็นต้องจ้างผู้ที่มี ทักษะด้าน Security มากขึน้ เพือ่ ให้แน่ใจว่า ข้อมูลทีเ่ ก็บอยูบ่ นเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีการป้องกันอย่างดี ปลอดภัย ยากที่บุคคลภายนอกจะ เข้ามาล้วงเอาง่ายๆ

8 – Data Presentation สิ่งหนึ่งที่ทุกบริษัทต้องมีข้อมูลและมีความต้องการเพิ่มขึ้น ที่จะจัด ระเบียบข้อมูลรวบรวมไว้เป็นข้อมูลที่สังเคราะห์ เพื่อให้พนักงาน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เข้าใจและน�ำไปใช้ต่อได้ ผมคิดว่าถ้าจะพูดง่ายๆ คือ เราต้องการคนที่เปลี่ยนข้อมูลให้เป็น รายงาน และโยงความสัมพันธ์ของรายงานเข้าด้วยกันได้ เพื่อให้ฝ่าย ที่เกี่ยวข้องเอาไปใช้ งานที่เกี่ยวข้อง: Data Presentation Analyst

นอกจากนีก้ ารเพิม่ ความนิยมบน Cloud และ IoT ทีก่ ำ� ลังจะมา ยิง่ ท�ำให้ ทักษะด้าน Security ทวีความส�ำคัญยิ่งขึ้น งานที่เกี่ยวข้อง: Security IT Consultant, Security Architect

7 – Mobile Development แน่นอนว่าปัจจุบัน ทุกคนแทบจะมี Smart Phone หรือ Tablet ซึ่งความต้องการแอพพลิเคชั่นต่างก็มีมากขึ้น เพื่อท�ำให้ชีวิตง่ายขึ้น ในส่วนขององค์กรก็ต้องการแอพพลิเคชั่นที่ท�ำงานได้จากทุกที่ ท�ำให้ ต้นทุนลด ท�ำให้เกิดความได้เปรียบต่อองค์กรอื่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 จ� ำ นวนประกาศงานส� ำ หรั บ นั ก พั ฒ นาแอพหรื อ โปรแกรมเมอร์ ไ ด้ เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทักษะนี้ไม่มีตายครับ

5 – User Interface Design โปรแกรมทีด่ ตี อ้ งใช้งานง่าย สวยงาม และท�ำความเข้าใจได้ดว้ ยตนเอง ต้องสร้างความรู้สึก Wow เมื่อแรกพบ แน่นอนจะท�ำเช่นนี้ได้คงไม่ได้ เกิดจากคนเขียนโปรแกรมเป็นแน่ เบือ้ งหลังต้องมีคนออกแบบหน้าตา ทีจ่ ะ Interface กับผูใ้ ช้งาน ตามเงือ่ นไขข้างต้นดูจะง่ายแต่เป็นงานยาก และเป็นที่ต้องการมากในสองปีที่ผ่านมา

งานที่เกี่ยวข้อง : Mobile Application Development, Programmer

งานที่เกี่ยวข้อง : Technical Designer

G-MagZ IT MAGAZINE

43


คุยกับหมอไอที

4 – Middleware and Integration Software Middleware เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเชื่อมแอพพลิเคชั่น รวมทั้ง โปรแกรมต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นมาใช้งานเองในองค์กร นิยามง่ายๆ คือ บริษทั ต้องการคนทีม่ ที กั ษะในการช่วยรวมแอพพลิเคชัน่ ทีม่ อี ยูเ่ ข้าด้วยกัน เพือ่ จะได้ไม่ตอ้ งพัฒนาหรือสร้างฟังก์ชนั่ ใหม่ หรือถึงขัน้ ต้องมีการเปลีย่ น ไปใช้ซอฟต์แวร์ใหม่ แต่ก็ไม่รู้ว่าแนวทางใดจะยุ่งกว่ากัน คนที่เคยท�ำ Middleware กั บ Software Integration คงรู ้ ดี แต่ ที่ แ น่ ๆ คื อ ทักษะนี้มีประโยชน์ งานที่เกี่ยวข้อง: Software Engineer, Information Technology Engineer

3 – Web Architecture or Development ปัจจุบนั ทุกบริษทั เข้าสูโ่ ลกออนไลน์กนั ครับ ไม่วา่ จะผ่าน “Website” ของ ตัวเอง หรือผ่านตัวกลาง ผ่าน Social ซึ่งไม่ว่าจะผ่าน Channel ไหน ย่อมต้องการผู้ที่มีทักษะฝีมือออกแบบเว็บไซต์สวยงาม ใช้งานง่าย โดนใจ และที่ส�ำคัญการแข่งขันสูงต้องมีความคล่องตัวรวดเร็ว งานที่เกี่ยวข้อง : Web Developer / Web Design

2 – Statistical Analysis and Data Mining งานนีม้ คี วามเกีย่ วข้องกับทักษะที่ 8 แต่เกีย่ วข้องกับการวิจยั มากขึน้ และ ต้องขุดต้องคุ้ยข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ Digital หรือ Physical แล้ว ตีความออกมา สร้างความสัมพันธ์ เพือ่ สามารถน�ำไปวิเคราะห์ ซึง่ มีความ เกี่ยวข้องกับค�ำว่า Big Data ที่ก�ำลังดัง ท�ำอย่างไรให้ข้อมูลมีค่า แน่นอนทุกบริษัทมีข้อมูลอยู่แล้ว ทักษะนี้จึงเป็นที่ต้องการมากต้องหา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ มาจัดการกับข้อมูลในบริษัท เพื่อให้น�ำไปต่อยอด สร้างมูลค่า ให้บริษัทเติบโตขึ้น งานที่เกี่ยวข้อง: Data Scientist

1 – Cloud and Distributed Computing ทักษะอันดับหนึ่งที่อยู่ในความต้องการคือ Cloud Computing และ Distributed Computing อาจเป็นเพราะ Cloud กลายเป็น Business หลักของโลกไปแล้ว ไม่วา่ Google, Amazon หรือ Microsoft ล้วนแต่หนั หัวเรือออกสู่ทะเลน่านน�้ำนี้ คนที่มีทักษะด้าน Cloud และ Distributed Computing ย่อมเป็นที่ต้องการมากมาย ถ้าเราเป็นแค่ผู้ใช้งาน ไม่ใช่ Application Development Company เราคงมองทักษะนี้ไม่ออกว่าเอาไปท�ำอะไร ขึ้น Cloud แล้วก็น่าจะจบ แต่เบือ้ งหลังยังมีเรือ่ งต้องท�ำอีกมากมาย ผูท้ ำ� Development Application on Cloud ก็ตอ้ งมีทกั ษะในการออกแบบ การเลือกแพลตฟอร์ม และอืน่ ๆ อีกหลายเรื่อง ส่วนผู้ให้บริการก็ต้องแข่งกันมากมาย บริการมีความ หลากหลาย และมีเสถียรภาพมากที่สุด งานที่เกี่ยวข้อง : Cloud Engineer, Cloud Architect, Distributed Programming Programmer etc.

ขอบคุณข้อมูลจาก https://blog.linkedin.com/2016/10/20/top-skills-2016-week-of-learning-linkedin

44

G-MagZ IT MAGAZINE


บันทึกมุมมอง สถานีช่องนนทรี

ประวัติเพลง

สรรเสริญพระบารมี ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน นบพระภูมบิ าลบุญดิเรก เอกบรมจักริน พระสยามินทร์ พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์ ขอบันดาล ธ ประสงค์ ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ชโย ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ทีผ่ า่ นมา ฟังเพลงนีท้ ไี รหลายคนเกิด อาการน�้ำตาซึม เพราะเมื่อใดได้ยินท�ำนองหรือฟังเพลงนี้ ก็ระลึก ถึ ง แต่ พ ระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช พระผูเ้ สด็จสูส่ วรรคาลัยเป็นทีส่ ดุ แต่ทราบกันหรือไม่วา่ เพลงนีค้ อื เพลงประจ�ำของพระมหากษัตริย์ไทย ไม่ว่าจะกี่รัชกาลก็ยังคงใช้ เพลงสรรเสริญพระบารมีดังเดิม ตามประวั ติ เ พลงสรรเสริ ญ พระบารมี มี เ ค้ า โครงว่ า ในสมั ย กรุงศรีอยุธยา ได้มเี พลงทีม่ ลี กั ษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมี อยูก่ อ่ นแล้ว ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริยเ์ สด็จลงท้องพระโรง และเสด็จขึ้น มีชื่อเรียกว่า “สรรเสริญนารายณ์” แต่ในบางแหล่ง ระบุชื่อเพลงว่า “เสด็จออกขุนนาง” แต่เพลงสรรเสริญพระบารมีในฐานะเพลงชาตินั้น เริ่มปรากฏใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการใช้เพลง “ก็อดเซฟเดอะคิง” ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติ ของสหราชอาณาจักร บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่ องค์พระมหากษัตริย์ ตามแบบอย่างการฝึกทหารของอังกฤษ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ใช้ท�ำนองเพลงนี้ แต่งค�ำร้องสรรเสริญพระบารมีถวายโดยให้ชอื่ ว่า “จอมราชจงเจริญ” จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปี พ.ศ. 2414

45

G-MagZ IT MAGAZINE

G-MagZ IT MAGAZINE

45


บันทึกมุมมอง

ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สิงคโปร์นั้น ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง “ก็อดเซฟเดอะคิง” บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จ ปัญหา จึงเกิดขึน้ ว่าทัง้ อังกฤษและไทยต่างใช้เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงเดี ย วกั น ต่ อ มาเมื่ อ เสด็ จ พระราชด� ำ เนิ น ไปยั ง เมื อ ง ปัตตาเวีย ชาวดัตช์ (ฮอลันดา) ที่ตั้งอาณานิคมที่นั่น ได้ถาม ถึงเพลงประจ�ำชาติของไทย เพื่อจะได้น�ำไปบรรเลงรับเสด็จ พระองค์จึงมีพระราชด�ำริแก่ครูดนตรีไทย ให้แต่งเพลงแตรวง รับเสด็จเพื่อใช้แทนเพลง “ก็อดเซฟเดอะคิง” ตอนนั้นคณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลั ย ใช้ เ ป็ น เพลงสรรเสริ ญ พระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายเฮวุดเซน (Heutsen) ครู ด นตรี ใ นกรมทหารมหาดเล็ ก ชาวฮอลันดา เรียบเรียงท�ำนองขึน้ ใหม่ให้เป็นทางดนตรีตะวันตก และได้ใช้เป็น เพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414 ต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญ พระบารมี ฉ บั บ ของพระประดิ ษ ฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) หรือครูมีแขก) ครูดนตรีคน ส�ำคัญทีไ่ ด้ประดิษฐ์ทำ� นองขึน้ ทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อราว พ.ศ. 2416 ภายหลังจากพระราชพิธี บรมราชภิเษกครั้งที่ 2 ได้ไม่นาน ซึ่งได้เค้า ท�ำนองมาจากเพลงสรรเสริญนารายณ์ของ เก่า และได้เรียบเรียบเสียงประสานส�ำหรับ ดนตรีตะวันตกโดย นายปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพัน ธ์ชาว รัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2431 สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยา นริ ศ รานุ วั ด ติ ว งศ์ ทรงนิ พ นธ์ เ นื้ อ ร้ อ ง ประกอบและได้ออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการใน ปี เ ดี ย วกั น ต่อ มาทรงนิพนธ์เนื้อ ร้อ งของเพลงนี้อีก หลาย เนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่างๆ กัน เช่น ทหาร นักเรียนชาย นักเรียนหญิง เป็นต้น แต่มีเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี อีกส�ำนวนหนึง่ ทีเ่ ป็นพระนิพนธ์ในพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ส�ำนวนนี้เป็นส�ำนวนส�ำหรับทหารเรือขับร้องโดยเฉพาะ

G-MagZ G-MagZ 46 46 IT MAGAZINE IT MAGAZINE

เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น เดิมทีเป็น เนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรง ของสมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าช เจ้ า ฟ้ า มหาวชิ รุ ณ หิ ศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมือ่ ถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงน�ำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำ� ร้องขึน้ ใหม่ โดยทรงรักษาค�ำร้องเดิมเอาไว้ เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนค�ำร้องในท่อนสุดท้ายว่า “ฉะนี้ ให้เป็น ชโย” และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เพลง สรรเสริญพระบารมี ไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติอกี ต่อไป แต่ยงั คง ใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ดั ง นั้ น การเปลี่ ย นรั ช กาลที่ 9 มาสู ่ รั ช กาลที่ 10 สมเด็ จ พระเจ้าอยูห่ วั มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ก็ยงั คง ใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเช่นเดิม

ไปรษณี ย บั ต รที่ มี ล ายพระราชหั ต ถ์ พ ระบาทสมเด็ จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขณะยังทรงพระเยาว์ ทรงเขี ย นถึ ง สมเด็ จ พระศรี ส วริ น ทิ ร าบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โดยระบุในจดหมายเพียงสั้นๆ ว่า “เล็กคิดถึงมาก” ไปรษณียบัตรที่เปี่ยมล้นไปด้วย “ความรัก และความคิดถึง” ของทั้งสองพระองค์ G


ข าวดี๊ดี !!

ขยายเวลารับสมัคร

วันนี้ - 30 มกราคมนี้ ** ช าอด หมดโอกาส ** พลาดแล วพลาดเลยนะจ ะ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.