เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 1 จาก 17
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช
การใช้ยาสำหรับบำบัดโรค
เบื้องต้น
ภาพปก “Medicine” โดย Steve Buissinne (2017) จาก pixabay.com/en/medicine-pills-blood-pressure-2994788/
ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 2 จาก 17
การใช้ยาบำบัดอาการที่สำคั ญ เนื้อ หาตอนนี้เ กี่ยวกับ หลัก ปฏิบัติในการใช้ยาเพื่อ การบำบัดอาการผิ ดปกติของระบบทางเดิน อาหาร การบำบั ดอาการจากโรคไข้ ห วั ด การบำบั ด อาการปวด/ ลดไข้ แ ละการบำบั ด อาการไอ/ขับ เสมหะ นัก ศึก ษาจำเป็นต้อ งเรียนรู้ร ายละเอียดยาแต่ล ะชนิดทั้ง ข้อ บ่ง ใช้ คำเตือ น ข้อ ควรระวัง และข้ อ ห้ามใช้ เพื่อ จะที่จ ะเลือ กใช้ยาและสามารถแนะนำผู้ป่วยได้มีร ายละเอียดดัง นี้ 1. ยาบำบัดอาการผิดปกติข องระบบทางเดิน อาหาร เช่น ยาบำบั ดอาการผิดปกติของระบบทางเดิ น อาหาร เช่น ยาลดกรด ยาแก้ท้อ งอืด/ท้อ งเฟ้อ ยาแก้ท้อ งเสีย ยาแก้ป วดท้อ ง 1.1 ยาลดกรด (Antacid) ชื่อยา
Aluminum hydroxide (Al (OH3)) ซึ่งเป็นสาระสำคัญของยาลดกรดที่นิยมใช้ เช่น Alum milk 240 ml.
ข้อบ่งใช้
ใช้บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย อาการจุกเสียดแน่นท้อง เนือ่ งจากแผลที่ ทางเดินอาหารและจากภาวะกรดไหลย้อนชนิดไม่ก่อให้เกิดแผลทีห่ ลอดอาหาร
ขนาดที่ใช้ในการรักษา
1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-6 ครั้ง
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา หากใช้ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ คำเตือนและข้อควรระวัง ไม่ควรใช้ในเด็กและผูป้ ่วยโรคหัวใจและโรคไต ชื่อยา
Simeticone (Simethicone or activated Dimeticone)
ข้อบ่งใช้
มีคุณสมบัติช่วยลดการเกิดฟอง จึงใช้บรรเทาอาการท้องอืด (flatulence) เนื่องจากมีแก๊สมากในกระเพาะอาหารและลำไส้
ขนาดที่ใช้ในการรักษา
ขนาด 80 mg./เม็ด 1-2 เม็ด เคี้ยวให้ละเอียด รับประทานหลังอาหาร
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา ถ่ายเหลว คลื่นไส้ อาเจียน เรอ เป็นต้น คำเตือนและข้อควรระวัง 1) ระมัดระวังการใช้กบั หญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร และในเด็ก 2) ยาเม็ดชนิดเคี้ยวบางตำรับมีสารเพิ่มความหวาน Aspartame (ซึง่ เป็นแหล่ง Phenyl-alanine) ดังนั้นให้ตรวจสอบก่อนใช้ในผูป้ ่วยที่มีภาวะปัสสาวะมีฟีไนล์ คีโทน (Phenylketonuria) ข้อห้ามใช้
ผู้ทแี่ พ้ต่อยานี้
ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 3 จาก 17
1.2 ยาแก้ท้องอืด/แน่นท้อง (Anti-flatulence) ยาแต่ละสูตรมีปริมาณของส่วนประกอบที่แตกต่างกัน ชื่อยา
Compound Cardamom Mixture (Mist Carminative)
ข้อบ่งใช้
ยาแก้ท้องอืด/แน่นท้อง
ขนาดที่ใช้ในการรักษา
1 ช้อนโต๊ะ หลังอาหาร 3 เวลา
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา แสบร้อนกลางอก ระคายเคืองรอบๆ ทวารหนัก คำเตือนและข้อควรระวัง 1) ระมัดระวังการใช้กบั ผูป้ ่วยที่มีภาวะตับบกพร่องหรือไตเสือ่ ม 2) ไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์และเด็กเพราะมีแอลกอฮอล์ผสมอยู่และมีรสเผ็ด 3) ยานี้มสี ่วนผสมของ Sodium bicarbonate จึงต้องระมัดระวังหรือควร หลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ที่ต้องจำกัดเกลือในอาหาร ข้อห้ามใช้
ผู้ที่แพ้ต่อยานี้ (อาจมีอาการผื่นขึ้น ปวดศีรษะ หัวใจเต้นช้า อาการสั่นของ กล้ามเนื้อ และภาวะกล้ามเนื้อเสียการสั่งการ) หรือแพ้ menthol ซึ่งเป็น ส่วนประกอบของยานี้
1.3 ยาลดการเกร็งกล้ามเนื้อ (Antispasmodic) ชื่อยา
ไฮออสซีน (Hyoscine) ชื่อทางการค้า เช่น บัสโคแพน (Buscopan)
ข้อบ่งใช้
ใช้แก้อาการบิดเกร็ง (colicky pain) ของอวัยวะในช่องท้อง ได้แก่ อาการปวด ท้องเนือ่ งจากนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในท่อไต ปวดประจำเดือน ท้องเดิน เป็นต้น
ขนาดที่ใช้ในการรักษา
10 mg./tab รับประทานหลังอาหาร 3 เวลา
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา อาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่อาจทำให้เสียชีวิตอย่างฉับพลันจากหัวใจ หยุดเต้นได้ คำเตือนและข้อควรระวัง 1) แอนติสปาสโมดิกทุกชนิด อาจทำให้มีอาการปากแห้ง กลืนลำบาก รูม่านตา ขยาย (ตาพร่ามัว) ใจสัน่ (ชีพจรเต้นเร็ว) ท้องอืด แน่นอึดอัดในท้อง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก หรือมีผื่นขึ้น 2) ควรระมัดระวังการใช้ในหญิงตัง้ ครรภ์ 3 เดือนแรก หญิงที่ให้นมบุตร 3) สำหรับอะโทรพีน ถ้าใช้ขนาดมากเกินไปอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้ ทำให้มี อาการตัวแดง หน้าแดง ไข้ขึ้น ตาพร่า (เพราะรูม่านตาขยาย) ปากแห้ง กระหายน้ำ ใจเต้นเร็ว เพ้อ แขนขาไม่มีแรง ปัสสาวะไม่ออก ซึม และอาจถึง ตายได้ จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 4 จาก 17
4) ความเสี่ยงจะเพิม่ ขึ้นหากใช้ร่วมกับยาบางชนิด เช่น Macrolide, Quinolone ข้อห้ามใช้
1) ในผู้ที่เป็นโรคต้อหินแบบมุมปิด โรคกล้ามเนือ้ อ่อนแรงชนิดร้าย 2) คนที่เป็นต่อมลูกหมากโต ชีพจรเต้นเร็ว ภาวะอุดกั้นของทางเดินอาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis) โรคตับหรือโรคไตในระยะทีร่ ุนแรง
2. ยาบำบัดอาการจากโรคไข้หวัด ได้แก่ ยาแก้แพ้/ ยาลดน้ำมูก ยาแก้คัดจมูก ยาแก้ปวด/ ลดไข้ ยาแก้ ไอ ยาขับเสมหะ และยาละลายเสมหะ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1 ยาแก้แพ้/ลดน้ำมูก ได้แก่ ยาแอนติฮิสตามีน (Antihistamine) ใช้บรรเทาหรือป้องกันอาการเยื่อจมูก อักเสบจากภูมิแพ้ โรคหอบหืด ยานี้จะขัดขวางการออกฤทธิข์ องฮิสตามีน มีทั้งสูตรยาเดี่ยวและยาผสม เช่น ชื่อยา
Chlorpheniramine (CPM)
ข้อบ่งใช้
ยาแก้แพ้และหวัด ได้แก่ อาการจาม น้ำมูกไหล ตาแดง คันที่ตาและน้ำตาไหล คันจมูกและลำคอ
ขนาดที่ใช้ในการรักษา
ผู้ใหญ่ 4 mg. รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง เด็ก 2 mg. รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา 1) อาการที่พบทั่วไป ได้แก่ ง่วงซึม วิงเวียนศีรษะ ปากแห้ง จมูกแห้ง คอแห้ง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก 2) อาการที่ต้องพบแพทย์ ได้แก่ มองเห็นไม่ชัด ปัสสาวะลำบาก มีปัญหาในการ หายใจ กระวนกระวาย ตื่นเต้น วิตกกังวล นอนไม่หลับ หน้ามืด วิงเวียนคล้าย จะเป็นลม หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ใจสั่นหรือเจ็บแน่นหน้าอก การชัก การเกร็ง ของกล้ามเนื้อและใบหน้า คำเตือนและข้อควรระวัง 1) ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เพราะอาจมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงได้ และการใช้ในเด็กอายุ 2-6 ปี จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และต้อง ระมัดระวังการใช้ในเด็กอายุ 6-11 ปี 2) ยาทำให้ง่วงซึม จึงควรหลีกเลี่ยงการขับรถหรือการทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างใช้ยานี้ 3) หากมีอาการไม่สบายท้องหลังกินยานี้ ให้กินยาพร้อมอาหารหรือนม 4) ยาอาจทำให้ตาแห้งและมองเห็นไม่ชัด จึงอาจหยอดน้ำตาเทียมเพื่อหล่อลื่น ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 5 จาก 17
5) ระมัดระวังการใช้ร่วมกับยาแก้ไข้หวัดสูตรอื่นๆ เพื่อป้องกันการได้ยาซ้ำซ้อน 2.2 ยาบรรเทาอาการปวด/ลดไข้ ชื่อยา
Acetaminophen หรือ Paracetamol
ข้อบ่งใช้
ใช้เพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการไข้และอาการปวดระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง (ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและมักไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการแพ้)
ขนาดที่ใช้ในการรักษา
รับประทานให้พอดีกับน้ำหนักตัว 10-15 mg/1 kg. [ห่างกัน 4 ชั่วโมง]
(ตรวจสอบอีกครัง้ )
เช่น 30-50 kg. รับประทาน 1 เม็ด ไม่เกิน 5-6 ครั้ง/วัน 50-75 kg. รับประทาน 1.5 เม็ด ไม่เกิน 4-5 ครั้ง/วัน มากกว่า 75 kg. รับประทาน 2 เม็ด ไม่เกิน 3-4 ครั้ง/วัน
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา 1) อาการที่ต้องพบแพทย์ ได้แก่ อาการแพ้ เช่น ผื่นคัน ผื่นลมพิษ บวมตาม อวัยวะต่างๆ (เช่น ใบหน้า คอ ตา ริมฝีปาก ลิ้น มือ แขน น่อง ขา ข้อเท้า) หายใจหรือกลืนลำบาก มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ มีไข้ เจ็บคอ เสียงแหบ ปัสสาวะลำบากหรือมีปริมาณเปลี่ยนแปลงไป มีเลือด ออกหรือมีรอยช้ำอย่าง ผิดปกติ อ่อนเพลียหรือไม่มีแรงอย่างผิดปกติ ตาหรือผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเหลือง อย่างผิดปกติ 2) อาการที่พบทั่วไป ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดหรือไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แต่หากเป็นต่อเนื่องหรือรบกวนชีวิตประจำวัน ให้ไปพบแพทย์ คำเตือนและข้อควรระวัง 1) ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อตับและไม่ควรใช้ในผูป้ ่วยที่เป็นโรคตับ 2) สำหรับผู้ใหญ่ ห้ามกินยานี้ในขนาดสูงมากกว่าครัง้ ละ 1,000 มิลลิกรัม (2 เม็ด) หรือเกินวันละ 4,000 มิลลิกรัม (8 เม็ด) และไม่ควรใช้ยาติดต่อกัน มากกว่า 5-10 วัน 3) สำหรับเด็ก ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานีแ้ ละไม่ควรใช้ยา ติดต่อกันมากกว่า 3-5 วัน ข้อห้ามใช้
1) ผู้มีประวัติการแพ้ยา paracetamol 2) ผู้มีหรือเคยมีภาวะโรคตับหรือมีความผิดปกติในการทำงานของตับ
ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 6 จาก 17
2.3. NSAIDs (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs) ยากลุ่ ม ต้ า นการอั ก เสบที่ ไ ม่ ใ ช่ เ สตี ย รอยด์ มี ย ามากกว่ า 30 รายการตามชื่ อ สามั ญ ซึ่ ง แบ่ ง ออกเป็ น กลุ ่ ม ย่ อ ยตามโครงสร้ า งทางเคมี ไ ด้ 3 กลุ ่ ม ได้ แ ก่ 1) NSAIDs ดั ้ ง เดิ ม เช่ น Aspirin, Ibuprofen, Diclofenac, Naproxen, Indomethacin,
Mefenamic acid, Piroxicam,
Tenoxicam เ ป ็ น ต ้ น 2) ก ล ุ ่ ม Selective COX-2 inhibitor ไ ด ้ แ ก ่ Meloxicam, Etodolac, Nimesulide และ 3) Specific COX-2 inhibitor ได้ แ ก่ Celecoxib, Rofecoxib โดยยาในแต่ ล ะ กลุ่ม มีความแตกต่างกันในแง่ของระยะเวลาการออกฤทธิ์ และผลข้างเคียงต่อ กระเพาะอาหาร ดัง นี้ ข้อบ่งใช้ในภาพรวมของยา NSAIDs 1) ใช้ รั ก ษาหรื อ บรรเทาอาการไข้ และต้ านการอั ก เสบ 2) ใช้รัก ษาอาการปวดทุก ชนิดทั้ง เรื้อ รัง และเฉียบพลัน เช่น ปวดศีร ษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดฟัน ปวดประจำเดือ น ปวดแผล โรคข้อ อัก เสบรูม าตอยด์ 3) ใช้ในการป้อ งกันการเกิดลิ่ม เลือ ดอุดตันในหลอดเลือ ดสมอง และหัวใจ อั นเป็ นผลจาก การที่ยามีฤทธิ์ชะลอการแข็ง ตัวของเลือ ด ทำให้เ กร็ดเลือ ดจับ ตัวเป็นก้อ นได้น้อ ยลง คำเตือนและข้อควรระวังในภาพรวมของยา NSAIDs 1) รั บ ประทานยาหลัง อาหารทันทีและดื่ม น้ำมากๆเนื่อ งจากยานี้จ ะระคายเคือ งกระเพาะ อาหาร 2) ควรระมั ดระวั ง การใช้ ยาในเด็ ก เล็ ก 3) ให้ รั บ ประทานยานี้ เ ฉพาะเวลามี อ าการ ถ้ า ไม่ ห าย สามารถกิ น ซ้ ำ ได้ ทุ ก 4-6 ชั่ ว โมง แต่ยาบางตัวที่มีฤทธิ์ยาวอาจกินซ้ำได้ทุก 12 ชั่วโมง ข้อห้า มใช้ในภาพรวมของยา NSAIDs 1) ผู้ป่วยหรือ ผู้ที่ส งสัยว่าอาจเป็นไข้เ ลือ ดออกหรือ ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร 2) ผู้ที่อ าจมีอ าการแพ้ยากลุ่ม นี้ห รือ ยากลุ่ม อื่น เพราะมีโ อกาสแพ้ข้ามกลุ่ม กันได้ 3) การใช้ ย า NSAIDs (เช่ น diclofenac piroxicam) ร่ ว มกั บ ยาลดน้ ำ ตาลในเลื อ ดใน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือ การใช้ร่วมกับ ยากลุ่ม ซัล โฟนิลยูเ รีย (เช่น glibencalmide chlopropamide เป็นต้น) จะทำให้มีก ารลดน้ำตาลในเลือ ดเพิ่ม มากขึ้น อันเป็นผลจากปฏิกิริยาต่อ กันของยาทั้ง สอง จน อาจไม่มีน้ำตาลเหลือ อยู่ในเลือ ดเลย จึง อาจทำให้ผู้ป่วยอ่อ นแรงเป็นลม และช็อ กหมดสติได้ ดัง นั้น จึง ควรวัดระดับ น้ำตาลในเลือ ด หรือ ลดขนาดของยากลุ่ม ซัล โฟนิล ยูเ รียลงให้เ หมาะสมระหว่างที่มีก ารใช้ ยากลุ่ม เอ็นเสดร่วมด้วยเพื่อ ติดตามเฝ้าระวัง ที่อ าจเกิดขึ้น ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 7 จาก 17
ตั วอย่ า งยาในกลุ่ม ยาต้า นการอักเสบที่ไ ม่ใช่เ สตีย รอยด์ (NSAIDs) ดั้งเดิม เช่น ชื่อยา
Ibuprofen (200, 400 มก.)
ข้อบ่งใช้
สำหรับแก้ปวด แก้ไข้ ปวดศีรษะ ไมเกรน ข้ออักเสบ ปวดประจำเดือน
ขนาดที่ใช้ในการรักษา
ขนาดที่ใช้ต่อวัน 800-1200 mg./วัน แบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหารทันที
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา 1) อาการที่พบทั่วไป ได้แก่ ท้องเสียหรือท้องผูก ไม่สบายท้อง เวียนศีรษะมึนงง แต่ ห ากเป็ น ต่ อ เนื ่ อ งหรื อ รบกวนชี ว ิ ต ประจำวั น ให้ ไ ปพบแพทย์ 2) อาการที่ต้องพบแพทย์ ได้แก่ อาการของการมีเลือดออกที่กระเพาะอาหาร (อุจจาระดำ ปัสสาวะมีเลือดปน ไม่มีแรง เหนื่อยง่ายกว่าปกติ อาเจียนเป็น เลือดหรือมีสีคล้ายเมล็ดกาแฟบด) น้ำหนักขึ้นโดยไม่มีสาเหตุหรือมีอาการบวม เลือดออกผิดปกติหรือมีรอยจ้ำเลือดฟกช้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ ผิวหรือตามีสี เหลือง ผิวซีด อาการคล้ายโรคหวัด มีไข้ แผลพุพอง ผื่นลมพิษ ผื่นคัน อาการ คัน อาการบวมบริเวณหน้า ช่องคอ ลิ้น ริมฝีปาก ตา มือ เท้า ข้อเท้าหรือน่อง กลืนลำบากหรือหายใจลำบาก พูดแล้วเสียงผิดปกติ พูดไม่ชัด ตาพร่า มองเห็น ไม่ชัดเจน ปวดหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน แสบที่ยอดอกหรือ ปวดช่อ งคอ มี อาการกดเจ็บบริเวณกระเพาะ คำเตือนและข้อควรระวัง 1) หลังจากกินยาแล้ว ไม่ควรอยู่ในท่านอนราบในช่วง 10-20 นาที เนื่องจากยา อาจระคายเคืองหลอดอาหาร 2) ระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยหอบหืด มีโรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันสูง เป็นโรคตับโรคไต เป็นโรคแผลในกระเพาะหรือกระเพาะทะลุ หญิงมีครรภ์หรือ หญิงให้นมบุตร ผู้สูบบุหรี่ ผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ข้อห้ามใช้
ในผู้ที่แพ้ยา Ibuprofen, Aspirin, และ NSAIDS ตัวอื่นๆ
2.4 ยาระงับอาการไอ/ขับเสมหะ 2.4.1 ยาระงับอาการไอ เช่น ชื่อยา
Dextromethorphan
ข้อบ่งใช้
ใช้รักษาอาการไอ เนื่องจาก หวัดหรือไข้หวัด
ขนาดที่ใช้ในการรักษา
ผู้ใหญ่ 15-30 mg. วันละ 3-4 ครั้งหลังอาหาร เด็ก 1 mg./kg./day แบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีไม่ควรใช้
ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 8 จาก 17
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา อาการที่อาจพบเมื่อได้รับยาเกินขนาด ได้แก่ หายใจลำบาก ปากและเล็บเขียว มึนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ประสาทหลอน ใจสั่น กล้ามเนื้อเกร็ง ความดันโลหิต เปลี่ยนแปลง (อาจความดันโลหิตสูงหรือต่ำ) คำเตือนและข้อควรระวัง 1) อาการที ่ พ บทั ่ ว ไป ได้ แ ก่ อาการปวดศี ร ษะ ไม่ ส บายท้ อ ง อ่ อ นเพลีย 2) อาการที่ต้องพบแพทย์ ได้แก่ อาการผื่นคันที่ผิวหนัง หน้าบวม ปากบวม ลิ้น บวม หายใจลำบาก สับสน ตื่นเต้น กระสับกระส่าย นอนหลับไม่ค่อยได้ หรือ โกรธง่าย ชัก ข้อห้ามใช้
กรณีมีประวัติแพ้ยา dextromethorphan
2.4.2 ยาขับเสมหะ เช่น ชื่อยา
Guaifenesin
ข้อบ่งใช้
ใช้บรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะที่มีสาเหตุจากโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ หลอดลม อักเสบ รวมถึงอาการติดเชื้อที่ปอดอื่นๆ
ขนาดที่ใช้ในการรักษา
ผู้ใหญ่ 100 mg. ทุก 3-4 ชั่วโมง เด็ก 6-12 ปี 50 mg. ทุก 3-4 ชั่วโมง และเด็ก 2-6 ปี 25 mg. ทุก 3-4 ชั่วโมง
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา อาการที่พบทั่วไป ได้แก่ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ง่วงซึม หรือวิงเวียนศีรษะ คำเตือนและข้อควรระวัง 1) ต้องใช้ยานี้อย่างระมัดระวังในเด็กอายุ 2-12 ปี 2) ควรดื่มน้ำตามมากๆ เมื่อกินยานี้ เพื่อช่วยให้เสมหะถูกขับออกได้ง่ายขึ้น 3) ยานี้จะทำให้ท่านมีอาการง่วงซึมได้ 2.4.3 ยาละลายเสมหะ ชื่อยา
Bromhexine [hydrochloride]
ข้อบ่งใช้
ใช้รักษาอาการมีเสมหะในระบบทางเดินหายใจ
ขนาดที่ใช้ในการรักษา
8-16 mg. ทุก 6-8 ชั่วโมง
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา อาการที่พบทั่วไป ได้แก่ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน คำเตือนและข้อควรระวัง 1) ควรกินยานี้พร้อมอาหาร 2) สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ ได้แก่ ประวัติแพ้ยา บรอมเฮกซีนและยาที่กำลังใช้อยู่ รวมถึงการตั้งครรภ์ วางแผนจะ ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 9 จาก 17
การใช้ ยาบำบัดโรค หลักปฏิบัติในการใช้ยาในส่วนที่เ กี่ยวข้อ งกับ คำเตือ น ข้อ ควรระวัง และข้อ ห้ามใช้ในการใช้ ยาเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อการบำบัดโรคที่พ บบ่อ ย ได้แก่ ยารั ก ษาแผลทางเดิ นอาหาร ยาปฏิ ชีวนะ ยาลด ความดันโลหิตและยารัก ษาโรคเบาหวาน ทั้ง นี้เ พื่อ ให้ผู้ใช้ยาได้รับ ประสิท ธิภาพสูงสุดในการบำบัด บรรเทาโรคต่างๆ และยาบำบัดโรคที่ใช้บ่อ ย มีร ายะเอียดดัง ต่อ ไปนี้
1. ยารักษาแผลที่ทางเดินอาหาร (ulcer-healing drug) ชื่อยา
Omeprazole
ข้อบ่งใช้
ช่วยลดการหลั่งกรดในผู้ที่มีภาวการณ์หลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ป้องกันการบาดเจ็บของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กในผู้ปว่ ย โรคกรดไหลย้อนช่วยรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก
ขนาดที่ใช้ในการรักษา
20 mg. 1 เม็ดก่อนอาหารเช้า 30 นาที -1 ชั่วโมง การรักษาประมาณ 2 สัปดาห์- 1 เดือน ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาของแพทย์
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา 1) อาการอันไม่พึงประสงค์ที่ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที เช่น ผื่นลมพิษ ผื่นคัน มีอาการบวมที่หน้า ลำคอ ลิ้น เปลือกตา ตา มือ เท้า ข้อเท้าและขา ส่วนล่าง มีอาการกลืนลำบากหรือหายใจลำบาก เสียงแหบ ชัก มีการเกร็งของ กล้ามเนื้อ เจ็บกล้ามเนื้อ หรือเป็นตะคริว ปัสสาวะลำบาก มีเลือดออกผิดปกติ หรือมีจ้ำเลือด มีเลือดปนในปัสสาวะ ตาเหลือง ตัวเหลือง 2) อาการอันไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจเกิ ดระหว่ างใช้ เช่น ปวดศีรษะ ให้แจ้ง แพทย์หรือเภสัชกรทราบ คำเตือนและข้อควรระวัง 1) ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องตามแผนการรักษา แม้ว่าอาการของโรคจะหายไป เช่น ผู้ป่วยบางรายที่อาจต้องใช้ยามากกว่า 2 สัปดาห์หรือเป็นเดือน 2) ในผู ้ ท ี ่ ไม่ส ามารถกลืนเม็ดแคปซู ลได้ ให้ แกะเม็ดแคปซู ล แล้ วผสมผงยา ทั้งหมดลงในน้ำดื่มในปริมาณเล็กน้อยเพื่อให้ดื่มได้ 3) ไม่ควรรับประทานยานี้ร่วมกับน้ำชนิดอื่น แต่ให้กินยาพร้อมน้ำเปล่าเท่านั้น 4) แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับ การแพ้ยาต่างๆ ยาอื่นๆ ทั้งที่แพทย์ สั่งจ่ายและที่ใช้เอง การมีโรคหรือภาวะต่างๆ อาการแสบยอดอกร่วมกับอาการ มึนงง ปวดศีรษะเล็กน้อยหรือเหงื่อออก มีโรคตับ ปวดท้อง น้ำหนักลดโดยไม่ ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 10 จาก 17
ทราบสาเหตุ อาเจียนมีเลือดปน หายใจหอบ การตั้งครรภ์ การวางแผนในการ ตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร การมีความผิดปกติของการทำงานของตับ และ การที่อาการของโรคไม่ดีขึ้นหากใช้ยาอย่างต่อเนื่อง 14 วัน (2 สัปดาห์) แล้ว ข้อห้ามใช้
ในผู้ที่แพ้ยาโอมิพราโซล (omeprazole)
2. ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เป็นยาที่ได้มาจากสารที่ผลิตโดยจุลชีพ (ได้แก่ เชื้อรา และแบคทีเรีย) รวมทั ้ ง สารที่เ กิดจากการกึ่งสัง เคราะห์ท ี่ม ีลักษณะคล้ายสารจากธรรมชาติและมีฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการ เจริญเติบโตของจุลชีพชนิดอื่น การใช้ยาต้านจุลชีพนี้ต้องถือหลัก 3 อย่าง ได้แก่ 1) การใช้ให้ถูกกับชนิดของ เชื้อ 2) การใช้ในขนาดที่ถูกต้อง 3) การใช้ในระยะเวลาที่นานพอที่จะไม่ให้เชื้อนั้นมีโอกาสเจริญเติบโตจน ก่อให้เกิดอันตรายได้อีก กล่าวคือ เฉลี่ยระหว่าง 4-14 วัน (โดยทั่วไปให้นาน 7-10 วัน) ทั้งนี้ แล้วแต่ชนิดของ โรค ถ้าขาดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างนี้ จะทำให้ไม่สามารถรักษาโรคให้หายแล้ว ยังทำให้เชื้อ มีการดื้อยาตามมาอีกด้วย อันเป็นผลจากการใช้ยากันอย่างพร่ำเพรื่อโดยไม่คำนึงถึงหลักการดังกล่าว ปัญหาที่ พบบ่อยในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างผิดๆ เช่น 1) ใช้ยาปฏิชีวนะเสมือนหนึ่งเป็นยาลดไข้ พอมีอาการไข้ก็กินยาปฏิชีวนะทุกครั้งไป 2) ใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ในขณะที่เชื้อไวรัสนั้นๆ ไม่สามารถถูกฆ่าได้ ด้วยยาปฏิชีวนะดังกล่าว (ในปัจจุบัน มียาต้านไวรัสที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสบางชนิด) 3) ใช้ยาปฏิชีวนะในขนาดและระยะเวลาที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เช่น กินเพียง 2-3 เม็ด หรือ กินนานเพียง 2-3 วัน พออาการดีขึ้น ก็หยุดยา ทั้งนี้ขอยกตัวอย่างยาปฏิชีวนะกลุ่มทีส่ ำคัญๆ และมีการใช้ค่อนข้างมากอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้ 3.1 กลุ่มเพนนิซลิ ลิน เป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียได้ในหลายส่วนของเนื้อเยื่อ/ อวัยวะ แต่เป็นกลุ่มยาที่ไม่ทน กับกรดในกระเพาะอาหาร จึงต้องกินยาเพนิซิลลินก่อนอาหารและยาจะถูกขับออกจากร่างกายโดยผ่านทางไต แต่ยาบางตัวในกลุ่มนี้ก็ถูกขับออกโดยผ่านกระบวนการที่ตับก่อน ตัวอย่างยาในกลุ่มเพนิซิลลิน เช่น เพนนิซิล ลิน วี (Penicillin V) อะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) แอมพิซิลลิน (Ampicillin) คาร์เบนิซิลลิน (Carbenicillin) คลอกซาซิลลิน (Cloxacillin) ในที่นี้จะกล่าวถึงบางตัวเท่านั้น เช่น
ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 11 จาก 17
3.1.1 เพนนิซิลลิน วี (Penicillin V) ชื่อยา
Penicillin V
ข้อบ่งใช้
ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก (Gram positive) ได้แก่ การติดเชื้อ ของระบบทางเดินหายใจ (เช่น ไข้หวัดที่มีแบคทีเรียแทรกซ้อน คออักเสบ ต่อม ทอนซิลอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น) ของผิวหนัง (เช่น ผิวหนังอักเสบ ไฟลาม ทุ่ง พุพอง บาดแผลสัตว์กัด หรือ คนกัด เป็นต้น) และการติดเชื้ออื่นๆ (เช่น เหงือกอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ไข้รูมาติก เป็นต้น)
ขนาดที่ใช้ในการรักษา
เด็ก 125 mg. 1 เม็ดวันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร ผู้ใหญ่ 250 mg. 1 เม็ดวันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา มีผื่นคันลมพิษขึ้น แน่นหน้าอก ใจสั่น หอบ เป็นลม หรือช็อกได้ คำเตือนและข้อควรระวัง 1) ยาเพนนิซิลลินชนิดฉีดเป็นยาที่มีโอกาสเกิดการแพ้รุนแรงได้ 2) อาการแพ้ยาที่พบได้บ่อย อาจเป็นเพียงแค่ลมพิษ ผื่นคัน แน่นหน้าอก ใจสั่น ไปจนถึงหอบตัวเขียว ความดันต่ำ เป็นลม ช็อกและตายได้ 3) ผู้ที่แพ้ง่าย เพียงการสูดหายใจเข้าหรือสัมผัสถูกตัวยาก็อาจเกิดอาการแพ้ได้ 4) การใช้ยาเพนนิซิลลินในขนาดสูงเป็นเวลานาน อาจทำให้เป็นโรคไตอักเสบ เม็ดเลือดแดงแตก หรือมีไข้ 5) ในบางราย อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน แน่นหน้าอกได้ ข้อห้ามใช้
ในผู้ที่เคยมีประวัติแพ้ยาตัวนี้และยาในกลุ่มเดียวกัน
3.1.2 อะม็อกซีซิลิน (Amoxicillin) ชื่อยา
อะม็อกซีซิลิน (Amoxicillin) ขนาด 250, 500 mg.
ข้อบ่งใช้
โดยใช้รักษาโรคติดเชื้อ - ในทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดที่มีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน คออักเสบ ต่อม ทอนซิล อัก เสบ หลอดลมอัก เสบ หลอดลมฝอยอัก เสบ ปอดอัก เสบ ไซนัส อักเสบ ครู้ปจากแบคทีเรีย เป็นต้น - ที่หู เช่น หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น - ในระบบทางเดินอาหาร เช่น บิด ไทฟอยด์ เหงือกอักเสบ แผลอักเสบจากการ ถอนฟัน เป็นต้น
ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 12 จาก 17
- ในระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ หนองใน เป็นต้น - ผิวหนัง เช่น แผลเปื่อย แผลอักเสบ ฝี ตุ่มหนอง พุพอง เป็นต้น ระยะนานประมาณ 5-10 วัน แล้วแต่ชนิดของโรค ขนาดที่ใช้ในการรักษา
ผู้ใหญ่ 750 mg.-15 g. / day ทุก 8 ชั่วโมง เด็ก 20 kg. 20-40 g. / day ทุก 8 ชั่วโมง
คำเตือนและข้อควรระวัง 1) อาจมีอาการแพ้ เป็นผื่นคัน ลมพิษได้ 2) ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกร ทราบเกี่ยวกับ ประวัติการแพ้ยาต่างๆ ยาประจำที่ใช้อยู่ รวมถึงอาการเจ็บป่วย ที่เป็นอยู่หรือเคยเป็นมาก่อนหน้า เช่น โรคไต โรคตับ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ลมพิษ การตั้งครรภ์ การวางแผนในการตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ข้อห้ามใช้
1) ในผู้ท ี่แพ้ยานี ้ห รือ แพ้ ยาในกลุ ่ม เพนิซ ิล ลิ น 2) ห้ามใช้ ร ่ วมกั บ ยาเม็ ด คุมกำเนิด เพราะอาจทำให้ตั้งครรภ์ได้ 3) ผลข้างเคียงจากการใช้ยา จุกแน่น ท้อง ท้องเดิน และอาจทำให้มีอาการอาเจียน
3.2 กลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolides) ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียโดยการก่อกวนที่สารพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า อาร์เอนเอ (RNA) ทำให้เชื้อไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนในการดำรงชีวิตได้ มักใช้ในการรักษา โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียในทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง ซึ่งตัวอย่างยากลุ่มแมคโครไลด์ เช่น อีรีโทรมัย ซิน (Erythromycin) อาซิโ ทรมัยซิน (Azithromycin) คลาริโ ทรมัยซิน (Clarithromycin) รอซิ โ ทรมัยซิน (Roxithromycin) ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะอีรีโทรมัยซิน (Erythromycin) ชื่อยา
Erythromycin
ข้อบ่งใช้
ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ คอตีบ ไอ กรน หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบจากเชื้อไมโคพลาสมา ริดสีดวงตา อหิวาต์ บิดอะมีบา แผลริมอ่อน ซิฟิลิส หนองในเทียม ฝีมะม่วงและผู้ที่มีประวัติแพ้ยาก ลุ่มเพนิซิลลินในโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง หู จมูก ช่องปาก
ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 13 จาก 17
(แทนเพนวีและอะม็อกซีซิลลิน) และโรคติดเชื้อสแตฟฟีโลค็อกคัส (แทนคล็อก ซาซิลลิน) ขนาดที่ใช้ในการรักษา
250 mg. ในผู ้ ใ หญ่ ว ั น ละ 1-4 g. แบ่ ง ให้ ท ุ ก 6 ชั ่ ว โมง และเด็ ก 30-50 mg./kg./day แบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมง (หลังอาหารและก่อนนอน ระยะเวลาที่ใช้ นาน 7-10 วัน แล้วแต่ชนิดของโรค)
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา อาจทำให้ชาปลายมือปลายเท้า หรือตับอักเสบ คำเตือนและข้อควรระวัง 1) หากใช้ยาในขนาดสูง พบได้บ่อยที่อาจมีอาการมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้ อ งเดิน ซึ ่ ง บรรเทาได้ โ ดยควรลดขนาดยาลงหรื อ กิน ยาลดกรดควบด้วย 2) หลังใช้ยาติดต่อกัน 10-20 วันอาจทำให้ตับอักเสบ (ดีซ่าน) เมื่อหยุดยาจะ หายและ 3) อาจมีอาการผื่นคันจากการแพ้ยาได้ แต่พบน้อย ข้อห้ามใช้
1) ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ เพราะอาจมีพิษต่อตับ 2) ห้ามใช้ร่วมกับยาแก้แพ้ชนิดไม่ ง่วง ชื่อ เทอร์เฟนาดีน (Terfenadine) เนื่องจากอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ จนถึงหยุดเต้นได้ 3) ห้ามใช้ร่วมกับยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตติน เนื่องจาก อาจทำให้เกิดไตวาย
3.3 กลุ่มเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) ยากลุ่มนี้ไม่ทนกรดเช่นเดียวกับกลุ่มเพนิซิลลินและดูดซึมในทางเดินอาหารได้ไม่ดี จึงต้องใช้การฉีดเข้า กล้ามหรือเข้าหลอดเลือด แต่มียาเซฟาโลสปอรินบางตัวมีคุณสมบัติทนกรดได้ดี จึงใช้การกินได้ โดยยาจะออก ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่น ชนิดก่อการอักเสบในทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ยานี้จะถูก ขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะโดยผ่านทางไต โดยส่วนน้อยจะถูกทำลายและผ่านออกทางตับ ยากลุ่มนีเ้ ช่น Cefazolin, Cefaclor, Cefuroxime, Cefotaxime และ Ceftriaxone เป็นต้น 3.4 กลุ่มควิโนโลน (Quinolones) ออกฤทธิ์โดยรบกวนการสร้างโปรตีนในสารพันธุกรรมของเชื้อ แบคทีเรียที่เรียกว่า ดี เอ็น เอ (DNA) ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ทางไต และต่อม ลูก หมาก แต่ ไม่ค่ อ ยใช้ร ัก ษาการติดเชื ้ อในโพรงไซนัส (Sinusitis/ ไซนูไซติส ) ตัวอย่ างยากลุ ่ ม ควิ โ นโลน Ciprofloxacin, Levofloxacin, Norfloxacin และ Ofloxacin เป็นต้น ยาปฏิ ช ี ว นะกลุ ่ ม อื่ น ๆ เช่ น ยากลุ ่ ม เตตราไซคลิ น (Tetracycline) ประกอบด้ ว ย Tetracycline, Chlortetracycline, Oxytetracycline ใช้รักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อในลำไส้ หลอดลม ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 14 จาก 17
อั ก เสบ แผล ฝี ห นอง และยั ง มี ยาคลอแรมเฟนิค อล (Chloramphenicol) ใช้ ร ั ก ษาโรคติ ดเชื ้อ ได้อ ย่าง กว้างขวางเช่นเดียวกับเตตราไซคลีน แต่แนะนำให้ใช้เฉพาะโรคบางชนิด (เช่น ไทฟอยด์ ไทฟัส บาดทะยัก) ไม่ แนะนำให้ใช้รักษาโรคติดเชื้อทั่วไปเพราะอาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อได้ นอกจากยากลุ่มที่กล่าวมาข้างต้นแล้วในเอกสารการสอนนี้ยังมีเนื้อหาที่สำคัญ เกี่ยวกับยาลดความดัน โ ล ห ิ ต ( Anti-Hypertensive drugs) เ ช่ น ไฮ โ ด ร คล อ โ ร ไทอ า ไซ ด ์ (Hydrochlorothiazide) เช่ น Hydrochlorothiazide (HCTZ) และ กลุ่มยาปิดกั้นเบต้า (Beta Blockers) เช่น Propranolol และ Atenolol กลุ่มยาต้านเอซ (ACE inhibitors) เช่น ยาที่ อีนาลาพริล (Enalapril) เป็นต้นและยารักษาโรคเบาหวาน ยาที่ ใช้รักษาโรคเบาหวานมีอ ยู่ 2 แบบ คือ ยาฉีดอินซูลิน ยากินที่ใช้รักษาเบาหวาน เช่น ยาคลอร์โปรปาไมด์ (Chlorpropamide) ยาไกลเบนคลาไมด์ (Glibenclamide) ยาโทลบูตาไมด์ (Tolbutamide) ยาอะซีโตเฮกซา ไมด์ (Acetohexamide) และยาทาลาซาไมด์ (Talazamide) ซึงนักศึกษาสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบัดโรค หน่วยที่ 13
อันตรายและข้อควรระวัง ในการใช้ย า การรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือการไม่มีความรู้ไม่เพียงพอในการใช้ยาอาจนำมาซึง่ อันตรายต่อร่างกายและใน บางกรณีอาจทำให้มีการเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้ยาจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ อันตราย ข้อควรระวัง และข้อห้ามในการใช้ยา เพื่อให้สามารถใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถ ป้องกันอาการอันไม่พึงประสงค์หรืออันตรายที่อาจเกิดจากการใช้ยาได้มีรายละเอียดดังนี้
1. อันตรายจากการใช้ยา ยามีทั้งคุณและโทษ จึงไม่ควรใช้พร่ำเพรือ่ หรือเกินจำเป็น โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตราย มีดังนี้ 1.1 การใช้ยาในทางที่ผิด (Drug Abuse) เป็นการใช้ผิดข้อบ่งใช้ที่ระบุไว้ในฉลากและเอกสารกำกับยา โดยนำผลข้างเคียงของยามาใช้ เช่น ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นยาลดไข้ นำยาสเตอรอยด์ซึ่งเป็นยาลดอาการอักเสบมา ใช้เป็นยาลดไข้ หรือยาเพิ่มน้ำหนัก เพราะยามีผลข้างเคียงทำให้อยากอาหาร ซึ่งใช้ไประยะหนึ่งจะมีอาการบวม น้ำและทำให้กระดูกผุก่อนวัยอันควรได้ เป็นต้น 1.2 ปฏิกิริยาต่อกันของยา (Drug Interaction) ยาที่เข้าสู่ร่างกายพร้อมกันอาจทำให้มีการเสริมฤทธิ์ หรือต้านฤทธิ์กนั และส่งผลต่อการรักษา เช่น แอลกอฮอล์ (เช่น เหล้าหรือเบียร์) จะเสริมฤทธิ์กับยานอนหลับ หรือยาแก้แพ้ ทำให้หลับนานขึ้น และจะเสริมฤทธิ์ยาแอสไพริน ทำให้มีการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารมาก ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 15 จาก 17
ขึ้น ยาอีริโทรไมซิน ถ้ารับประทานพร้อมกับ Theophylline จะทำให้ระดับของยา Theophylline ในกระแส เลือดสูงขึ้น ยาลดกรดจะทำให้การดูดซึมของ Tetracycline, Norfloxacin หรือยาบำรุงโลหิตลดน้อยลงถ้า กินร่วมกัน เป็นต้น 1.3 การตอบสนองต่อยาสำหรับคนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ผู้มีภาวะพร่องเอนไชม์จ-ี 6-พี ดี จากพันธุกรรม อาจทำให้มีภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกได้ หากกินแอสไพริน ซัลฟา คลอแรมเฟนิ คอล ฟูราโซลิโดน พีเอเอส ไพรมาควีนหรือไทอาเซตาโซน ควินิน เป็นต้น 1.4 การใช้ ย าเกิ นขนาด (Overdose) อาจทำให้ เ กิ ด พิษ (Toxicity) ได้ เช่ น การรับ ประทาน แอสไพรินในขนาดมากๆ อาจทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) จนถึงตายได้ การรับประทานพาราเซตา มอลขนาดมากๆ อาจทำให้ตับถูกทำลาย มีภาวะตับวายเฉียบพลันจนถึงตายได้ การรับประทานฟีโนบาร์บทิ าล ขนาดมากๆ จะกดศูนย์ควบคุมการหายใจจนผู้ป่วยอาจหยุดหายใจและตายได้ และการรับประทานยารักษา เบาหวานขนาดเกินกำหนด อาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำจนเป็นลมและอาจตายได้ 1.5 การแพ้ยา (Allergic reaction หรือ Drug Hypersensitivity) อาจพบได้ทั้งกรณีที่เคยหรือไม่ เคยได้รับยามาก่อนก็ได้ ทั้งนี้ไม่ขึ้นอยู่กับขนาดของยาที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย 1.6 การดื้อยา (Drug Resistance) การใช้ยาพร่ำเพรื่อและไม่ครบขนาดที่กำหนด ทำให้เกิดปัญหา การดื้อยาโดยเฉพาะปัญหาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ดังนั้น จึงควรใช้ยาอย่างระมัดระวัง อาทิ ไม่ใช้ยาต้าน แบคทีเรียในโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือโรคภูมิแพ้ ฯลฯ 1.7 อาการข้างเคียงของยา (Side effect) หรือผลไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Drug Adverse Reaction) ซึ่งเป็นผลที่ไม่ต้องการจากการใช้ยาในขนาดปกติซึ่งเกิดได้กับทุกคน เช่น ยาบางชนิดมีผลระคาย เคืองหรือทำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหาร ยาบางชนิดอาจทำให้หูหนวก เสียการทรงตัว หรือเป็นพิษต่อไต รวมถึงบางชนิดมีผลทำให้เกิดพิษต่อตับ ต่อประสาทตา และยาบางชนิดทำให้ฟันมีสีเหลืองดำ เช่น ยาเตตราไซ คลีน โดยเฉพาะในเด็กเล็กและทารกในครรภ์มารดา 1.8 การใช้ยาไม่ถูกต้อง ด้วยการใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เช่น ซื้อยาใช้เองโดยขาดความรู้ ความเข้าใจ เช่น (ซื้อยาตามคำบอกเล่าของผู้ไม่มีความรู้เรือ่ งยาหรือตามคำโฆษณาของผู้ขายที่ไม่มีสถานที่ขาย เป็นหลักแหล่งที่แน่นอนหรือรถเร่ขายยา) ทั้งนี้ อันตรายที่เกิดจากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องนี้ มักเกิดจากความ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ ดังนี้ - ยาที่มีรูปลักษณะคล้ายกัน อาจเป็นยาต่างชนิดและใช้รักษาโรคต่างกัน เช่น ยาเม็ดเคลือบสีเหลือง อาจเป็นยารัก ษาโรคกระดูก โรคหัวใจ หากนำมารัก ษาโรคอื่นจะทำให้โ รคไม่ห ายและเกิดอันตรายได้ - การนำยาที่เคยใช้ได้ผลมารักษาตนเองในครั้งต่อไป ทำให้โรคไม่หาย และอาจเกิดอันตรายได้ เพราะ ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 16 จาก 17
ขนาดยาที ่เ หลื อ อยู่ ไม่เ พี ยงพอในการรัก ษาหรือ อาจหมดอายุ แล้ ว และการป่ วยอาจไม่ ใช่โ รคเดี ย วกั น - โรคที่เป็นอยู่ในแต่ละคนแม้จะมีอาการคล้ายกันแต่อาจไม่ใช่กลุ่มเดียวกัน การขอยาคนที่ตนรู้จักมา รักษาตนเอง ทำให้โรคไม่หาย และอาจเป็นอันตรายมากขึ้นและเกิดการดื้อยาได้ นอกจากนี ้ ย ั ง มี ป ั ญ หาอื ่ น ๆอี ก เช่ น การติ ด ยา (Drug Dependence) การสะสมของยา (Drug accumulation) การได้รับยาที่เกินขนาดหรือเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยาในการใช้ยาซ้ำซ้อนจากการใช้ยาสูตร ผสม ซึง่ ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
2. ข้อควรระวังในการใช้ยา การใช้ยาอาจก่อให้เกิดอันตรายได้หากใช้ไม่เหมาะสมหรือไม่สมเหตุผล จึงต้องคำนึงถึงภาวะโรคต่างๆ อายุผู้ป่วย ภาวการณ์บกพร่องของตับและไต ที่อาจมีผลต่อการขจัดหรือขับยาออกจากร่างกาย ดังนั้น จึงควร ตรวจสอบกับข้อมูลยา คำเตือนและข้อควรระวังของยาแต่ละชนิดให้รอบคอบก่อนเลือกชนิดและขนาดยาที่ใช้ ในผู้ป่วยเหล่านี้ เช่น 2.1 การใช้ยาในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร ก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร โดยเฉพาะใน หญิง ตั้ง ครรภ์ 3 เดือ นแรก และเดื อ นสุ ดท้ายก่ อ นคลอด ยาที่ ควรระวัง ในการใช้ ร ะหว่ างตั ้ง ครรภ์ เช่น Loperamide, Benzodiazepine, Alcohol และยาที่ ควรระวัง ในการใช้ ร ะหว่ างให้นมบุตร เช่น proton pump inhibitor (omeprazole), Benzodiazepine, Alcohol เป็นต้น 2.2 การใช้ยาในเด็ก ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร โดยเฉพาะการใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ยาที่ ควรหลีกเลี่ยงในเด็ก เช่น ยาจำพวก antispasmodic (dicycloverine) เป็นต้น เด็กเล็กควรให้ยาน้ำ หรือยา เม็ดชนิดเคี้ยว หรือแกรนูลที่ผสมในอาหารได้ ไม่ควรผสมยาลงในนมทั้งขวด รับประทานยาให้ครบขนาดที่ใช้ รักษาและถ้าเด็กไปโรงเรียนต้องไปพบครูเพื่อฝากยาให้ป้อนเด็กและควรมีช้อนยาประจำบ้านที่ได้มาตรฐาน และเก็บยาในที่ที่ไม่ให้เด็กหยิบถึง 2.3 การใช้ยาในผู้สูงอายุ ควรตรวจวินิจฉัยโรคก่อนให้การรักษาและประเมินความจำเป็นที่ต้องใช้ยา ยาที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้สูงอายุ เช่น mesalazine ไม่ควรให้ยาที่มีวิธีใช้ยุ่งยากซับซ้อน แต่หากจำเป็น ต้องย้ำให้ แน่ใจว่าผู้สูงอายุเข้าใจวิธีใช้นั้นๆ ในขณะเริ่มต้นควรให้ยาในขนาดต่ำๆ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ จน ได้ผล และควรระวังปัญหาปฏิกิริยาระหว่างกันของยาและผลข้างเคียง 2.4 การใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับและโรคไต ซึ่งการใช้ยาต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ควร ลดขนาดยาตามสัดส่วนความบกพร่องของไตหรือไม่ใช้ยา sulfonylurea กับผู้ป่วยไตเสื่อมและควรหลีกเลี่ยง ยาที่มีพิษต่อตับ เช่น การใช้ยา pioglitazone ยา NSAIDs ชนิดต่างๆ เป็นต้น ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช
เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การใช้ ย าสำหรั บบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น
หน้ า 17 จาก 17
2.5 การใช้ยาบางชนิดที่มีอันตรายร้ายแรง ผู้ป่วยควรได้รับการเตือนและอธิบายวิธีสังเกตผลข้างเคียง ตลอดจนข้อปฏิบัติหากเกิดอาการดังกล่าว เพื่อจะได้สามารถป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น Warfarin เพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยโรคหัวใจ อาจทำให้มีเลือดออกได้ง่าย อินซูลินหรือยาต้านเบาหวาน ชนิดกิน อาจทำให้เกิดอันตรายจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงวิธีป้องกันและ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตนเองหากเกิดภาวะดังกล่าว เป็นต้น 2.7 การใช้ยาและการขับขี่ยานพาหนะ ยาบางชนิดอาจมีผลเสียต่อการขับขี่ยานพาหนะหรือการ ปฏิบัติกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม เช่น ยาต้านฮิสทามีนหรือยาแก้ แพ้ ยาแก้เวียนศีรษะ ยากล่อมประสาท ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น
สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช