【 52311x52404 】เรื่อง การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บและการนำส่งสถานพยาบาล

Page 1

เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อเอกสารประกอบการสอนออนไลน์ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 1 จาก 17

ชุ ด วิ ช า 52311x52404 การปฐมพยาบาล การตรวจประเมิ น การบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น การฟื้ น ฟู ส ภาพและการส่ ง ต่ อ สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบาดเจ็บ และการนำส่งสถานพยาบาล

ภาพปก “Medical Emergency” โดย Zhong Chen (2015) จาก Pixabay

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 2 จาก 17

การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บและการนำส่งสถานพยาบาล

เรีย บเรีย งเนื้อ หาโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิ นชนะ ศรีวิไ ลทนต์ ภาควิ ชาเวชศาสตร์ ฉุก เฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิ ทยาลั ย ธรรมศาสตร์

ตอนที่ 1 หลักทั่วไปในการเคลื่อนย้ายผู้ได้รับอุบัติเหตุ หลักทั่วไปในการเคลื่อนย้ายผู้ได้รับอุบัติเหตุ/บาดเจ็บอย่างปลอดภัย มีดังนี้ การประเมินความจำเป็น ในการเคลื่อนย้าย การเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัย และการบันทึกเหตุการณ์ระหว่างการเคลื่อนย้าย 1.1 การประเมินความจำเป็นในการเคลื่อนย้าย โดยทั่วไปจะห้ามขยับเขยื้อนผู้บาดเจ็บเด็ดขาด โดยเฉพาะผู้ได้รับอุบัติเหตุตกจากที่สูง ถูกรถชนหรือตกจากรถที่วงิ่ เร็ว ถูกตีที่ศีรษะหรือคอ หรือได้รับอุบัติเหตุ อื่นๆ จนนอนนิ่งอยู่กับพื้นเพราะอาจมีกระดูกคอหัก การเคลื่อนย้ายผู้ได้รับอุบัติเหตุ/บาดเจ็บที่มีกระดูกคอหัก อาจทำให้หยุดหายใจหรือพิการตลอดชีวิต ดังนั้นจึงต้องประเมินความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายก่อนเสมอ ความจำเป็นในการเคลื ่อนย้ าย ได้แก่ 1) จุ ดเกิดเหตุม ีอันตราย เช่ น ไฟไหม้ ตึกถล่ม วัตถุระเบิด เครื่องจักร การจมน้ำ ขาดอากาศ หายใจขัด เป็นต้น จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ที่ปลอดภัย เหมาะสม 2) ผู้บาดเจ็บไม่อยู่ในสภาพที่ เหมาะสมสำหรับให้การปฐมพยาบาล/ช่วยเหลื อ เช่น ตกลงไปในบ่อน้ำ ต้อง เคลื่อนย้ายขึ้นจากน้ำ และ 3) ต้องนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เมื่อผู้บาดเจ็บอยู่ในภาวะคุกคามต่อชีวิตและไม่ สามารถแก้ไขได้แล้ว หรืออยู่ในสภาวะปลอดภัยแต่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลเพิ่มเติม 1.2 การเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัย การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บทุกครั้งจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ของผู้บาดเจ็บและผู้ช่วยเหลือทุกคน โดยใช้กลไกการเคลื่อนไหวร่างกายที่ถูกต้อง (body mechanics) และ การจับ ที ่ มีพลัง (power grip) การจัดท่าผู้ บาดเจ็บให้เ หมาะสมก่อ นการเคลื่ อ นย้าย และเลือ กใช้วิธี การ เคลื่อ นย้ายที ่ ม ีป ระสิ ทธิ ภาพและมี ประสิ ท ธิ ผล ทำให้ ผู ้ บาดเจ็ บเกิ ดความเจ็บ ปวดน้ อ ยที ่ สุ ด ไม่ เกิดการ กระทบกระเทือนเพิ่มขึ้น ทำให้สภาวะผู้บาดเจ็บคงที่มากที่สุด ในระหว่างเคลื่อนย้ายจะต้องประเมินผู้บาดเจ็บ อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเคลื่อนย้ายและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 1.2.1 กลไกการเคลื่อนไหวร่างกายที่ถูกต้องและการจับ ที่มีพลัง กลไกการเคลื่ อนไหว ร่างกาย หมายถึง การทำงานประสานกันของกลุ่มกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการตอบสนองต่อสิ่ง กระตุ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อคงไว้ซึ่งความสมดุลทางสรีรภาพของร่างกายตามปกติ การเคลื่อนไหวร่างกาย ที ่ ถ ู ก ต้ อ งจะมี ท ่ าทางที่ ด ี (good posture/alignment) มี ก ารทรงตั ว ที ่ ส มดุล (body balance) และใช้ กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสม 1) การมีท่าทางที่ดี 2) การทรงตัวที่สมดุล ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 3 จาก 17

3) การใช้กล้ามเนื้อที่เหมาะสม 4) การจับที่มีพลัง 1.2.2 การจัดท่าผู้บาดเจ็บให้เหมาะสม ก่อนเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บจะต้องจัดท่าให้เหมาะสม ช่วยให้ผู้บาดเจ็บสุขสบายและไม่เกิ ดอันตราย/พิ การ เช่น ก่อนเคลื่อนย้าย จัดให้ผู้ได้ รับบาดเจ็บที่ ศีรษะ/ กระดูกคอ/หลัง/ขา/เชิงกรานหัก อยู่ในท่านอนและใส่ปลอกคอ จัดให้ผู้มีอาการเจ็บหน้าอกไม่มีความดันโลหิต ต่ำ อยู่ในท่านั่งที่สุขสบาย จัดให้ผู้มีอาการช็อกอยู่ในท่านอนศีรษะต่ำเล็กน้อย (Trendelenburg) หรือนอน หงายราบยกเท้าสูง 6-12 นิ้ว จัดให้หญิงตั้งครรภ์ ความดันโลหิตต่ำอยู ่ในท่ านอนตะแคงซ้าย เป็นต้น และ เปลี่ยนท่าให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของผู้บาดเจ็บ (Pollak, (Ed.), 2005) 1.2.3 เลือกวิธีการเคลื่อนย้ายที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เลือกวิธีการที่เหมาะสม กับการบาดเจ็บ จำนวนผู้ช่วยเหลือ วัสดุอุปกรณ์ที่มีเคลื่อนย้ายผู้ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ/กระดูกคอ/หลัง/ขา/ เชิงกรานหัก ในท่านอนโดยใส่ปลอกคอ ไม่เคลื่อนย้ายในท่านั่ง ใช้รถเข็นนอนหรือเปลผ้าห่ม เคลื่อนย้ายโดยให้ ปลายเท้าของผู้บาดเจ็บไปก่อนศีรษะเสมอ ยกเว้น ขึ้นบันได/ขึ้นที่สูง ให้ศีรษะของผู้บาดเจ็บไปก่อนปลายเท้า และผู้มีบาดแผลที่ขา ลงบันได/ลงเขา โดยให้ศีรษะของผู้บาดเจ็บไปก่อนปลายเท้า (กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข, 2545) กำหนดบุคคลที่จะช่วยในการเคลื่อนย้าย วัสดุ/อุปกรณ์ พาหนะสำหรับการเคลื่อนย้าย ให้ เพียงพอและเหมาะสม และเตรียมความพร้อมของผู้ช่วยเหลือ วัสดุอุปกรณ์ พาหนะ และผู้บาดเจ็บสำหรับการ เคลื่อนย้าย ดังนี้ 1) การเตรียมความพร้อมของผู้ช่วยเหลือ 2) การเตรียมความพร้อมของวัสดุ/อุปกรณ์ และพาหนะ 3) การเตรียมความพร้อมของผู้บาดเจ็บ 1.2.4 ประเมินผู้บาดเจ็บอย่างต่อเนื่อง ระหว่างการเคลื่อนย้ายจะต้องประเมินผู้บาดเจ็บ อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะสัญญาณชีพและระดับความรู้สึกตัว เนื่องจากสภาวะของผู้บาดเจ็บอาจเปลี่ยนแปลงได้ ตลอดเวลา โดยเฉพาะถ้าได้รับอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงหลายระบบ การบาดเจ็บของอวัยวะ สำคัญ เช่น ศีรษะ คอ ทรวงอก เป็นต้น 1.2.5 รับรู/้ ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเคลื่อนย้าย และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ระหว่างการเคลื่อนย้ายถ้าผู้บาดเจ็บเกิดปัญหาที่คุกคามต่อชีวิต เช่น หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น เป็นต้น จะต้องให้การช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามมาตรฐานหรือแนวปฏิบัติที่กำหนด อย่างต่อเนื่องจนผู้บาดเจ็บปลอดภัย หรือถึงโรงพยาบาล

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 4 จาก 17

1.3 การบันทึกเหตุการณ์ระหว่างการเคลื่อนย้าย การบันทึก เหตุการณ์ระหว่างเคลื่อ นย้ ายจะ ครอบคลุม ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผู้บาดเจ็บ ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเคลื่อนย้าย การปฐมพยาบาล/ ช่วยเหลือที่ให้แก่ผู้บาดเจ็บ การตอบสนองของผู้บาดเจ็บต่อการปฐมพยาบาล ทั้งนี้เพื่อจะได้นำข้อมูลไปใช้ใน การวางแผนการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่องและครบถ้วน ตอนที่ 2 การเคลื่อนย้ายแบบฉุกเฉิน การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยสามารถกระทำได้หลายวิธีขึ้นกับสภาวะและการบาดเจ็บของผู้ป่วย จำนวน ผู้ช่วยเหลือ วัสดุ/อุปกรณ์ที่มี และสภาพแวดล้อม ดังนี้ การเคลื่อนย้ายแบบฉุกเฉิน กระทำก่อนจะประเมินขั้นต้นและให้การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ ใช้ใน กรณีที่จุดเกิดเหตุมีอันตราย เช่น ไฟไหม้ ตึกถล่ม วัตถุระเบิด เป็นต้น จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ที่ ปลอดภัย เหมาะสม หรือผู้บาดเจ็บไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมสำหรับให้การปฐมพยาบาล/ช่วยเหลือ และผู้ชว่ ย เหลืออยู่ตามลำพัง การเคลื่อนย้ายแบบฉุกเฉินให้ปลอดภัยด้วยการลากหรือดึง (drag) จะต้องรักษากระดูกสัน หลังให้อยู่ในแนวปกติเสมอ คือ หลังตรง ไม่เอียงไปด้านข้าง ไม่เอื้อมมากจนหลังเหยียดมากเกินไป คุกเข่าใกล้ ศีรษะผู้บาดเจ็บเพื่อลากผู้บาดเจ็บที่นอนอยู่บนพื้นจะได้ไม่ต้องก้มหลัง ในกรณีที่สงสัยว่ากระดูกสันหลัง/คอหัก ควรตรึงผู้บาดเจ็บตามแนวยาวของลำตัว ก่อนเคลื่อนย้าย กรณีที่ผู้บาดเจ็บอยู่บนพื้น สามารถเคลื่อนย้ายได้ 4 วิธี โดยปฏิบัติ ดังนี้ 1) การดึงเสื้อบริเวณคอและไหล่ จัดให้ผู้บาดเจ็บนอนหงายราบ ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าใกล้ศีรษะ ให้มีระยะห่างพอสมควร ใช้มือสองข้างจับเสื้อบริเวณคอและไหล่ของผู้บาดเจ็บโดยหงายฝ่ามือขึ้น แล้วลาก ผู้บาดเจ็บไปตามพื้นช้าๆ จนอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัย 2) การสอดแขนใต้รักแร้ จัดให้ผู้บาดเจ็บนอนหงายราบ แขนแนบลำตัว ผู้ช่วยเหลือคุกเข่า ใกล้ศรี ษะ สอดแขนเข้าไปใต้รักแร้ด้านหลังของผู้บาดเจ็บ ไม่ดึงศีรษะผู้บาดเจ็บ ลากผู้บาดเจ็บไปบนพื้นไม่ยก ตัวผู้บาดเจ็บขึ้นสูง ระวังกระดูกสันหลังบาดเจ็บ โดยสลับเท้าย่อตัวลาก จนอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัย 3) การลากปลายเท้า จัดให้ผู้บาดเจ็บนอนหงายราบ แขนแนบศีรษะ ผู้ช่วยเหลือนั่งคุกเข่า จับข้อเท้าทั้งสองของผู้บาดเจ็บ ลากผู้บาดเจ็บไปบนพื้น โดยสลับเท้าย่อตัวลาก จนอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัย 4) การใช้ผ้าห่ม จัดให้ผู้บาดเจ็บนอนหงายราบบนผ้าห่ม ผู้ช่วยเหลือนั่งคุกเข่า จับชายผ้าห่ม ลากผู้บาดเจ็บไปบนพื้น โดยสลับเท้าย่อตัวลาก จนอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัย

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 5 จาก 17

ตอนที่ 3 การเคลื่อนย้ายแบบไม่ฉุกเฉิน กรณีผู้ช่วยเหลือคนเดียว 2.2 การเคลื่ อนย้ ายแบบไม่ฉุกเฉิน กระทำหลังการประเมินผู้บาดเจ็บและให้การปฐมพยาบาลจน ผู้บาดเจ็บมีสภาวะคงที่ สามารถเคลื่อนย้ายด้วยผู้ช่วยเหลือที่มีจำนวนแตกต่างกันและสภาพของผู้บาดเจ็บ ดังนี้ 2.2.1 ผู้ช่วยเหลือคนเดียว สามารถเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บที่รู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว โดยปฏิบัติดังนี้ (สันต์ หัตถีรัตน์, 2552) 1) ผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวเดินได้ เคลื่อนย้ายด้วยการพยุงเดิน โดยผู้ช่วยเหลือใช้แขนข้างที่อยู่ใกล้ ผู้บาดเจ็บสอดไปโอบเอวผู้บาดเจ็บ จับแขนอีกข้างของผู้บาดเจ็บพาดบ่าผู้ช่วยเหลือ ผู้ช่วยเหลือใช้มืออีกข้างจับ มือผู้บาดเจ็บไว้ พยุงเดินไปช้าๆ ดังภาพที่ 6.27 (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2545)

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 6 จาก 17

2) ผู้บาดเจ็บ รู้ส ึกตัวเดินไม่ไ ด้ เคลื่อนย้ายด้วยการอุ้มโดยผู้ช่ว ยเหลือ นั่งคุกเข่าข้าง ผู้บาดเจ็บ ใช้แขนข้างหนึ่งสอดเข้าใต้รักแร้ผู้บาดเจ็บ อีกข้างสอดเข้าใต้เข่าผู้บาดเจ็บ ยกตัวผู้บาดเจ็บขึ้นวางบน เข่าผู้ช่วยเหลือ แล้วยืดขา ยืนขึ้นให้หลังตรง การอุ้มเข้าเอว/ขี่หลัง โดยผู้ช่วยเหลือนั่งคุกเข่าอุ้มผู้บาดเจ็บเข้า เอวด้านหลัง ใช้มือโอบขาผู้บาดเจ็บเข้ามากระชับกับเอว ให้ผู้บาดเจ็บโอบไหล่/คอของผู้ช่วยเหลือ ใช้ในกรณีที่ ผู้บาดเจ็บน้ำหนักน้อยหรือเด็ก ดังภาพที่ 6.28 (สันต์ หัตถีรัตน์, 2552)

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 7 จาก 17

3) ผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัว แต่ไม่มีกระดูกคอและหลังหัก เคลื่อนย้ายด้วยการแบก โดยจับผู้บาดเจ็บพาด บนไหล่ผู้ช่วยเหลือ ผู้ช่วยเหลือใช้แขนข้างหนึ่งสอดระหว่างขาของผู้บาดเจ็บ ใช้มือข้างเดียวกันจับข้อมือ ผู้บาดเจ็บไว้ และการลากแบบคลาน โดยมัดมือผู้บาดเจ็บไว้ แล้วคล้องมือที่มัดไว้บนคอผู้ช่วยเหลือ ผู้ช่วยเหลือ คลานไปบนพื้นโดยลากผู้บาดเจ็บไปด้วย ดังภาพที่ 6.29

ตอนที่ 4 การเคลื่อนย้ายแบบไม่ฉุกเฉิน กรณีผู้ช่วยเหลือสองคน กรณีผู้ช่วยเหลือ 2 คน ใช้ในกรณีผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวดี ไม่มีการบาดเจ็บของคอและหลัง 1) เดินได้ เคลื่อนย้ายด้วยการพยุงเดิน โดยผู้ช่วยเหลือ 2 คน ยืนข้างผู้บาดเจ็บคนละด้าน ผู้ช่วยเหลือ แต่ละคน ใช้แขนข้างที่อยู่ใกล้ผู้บาดเจ็บโอบเอวผู้บาดเจ็บไว้ จับแขนของผู้บาดเจ็บข้างที่อยู่ติดกับ ผู้ช่วยเหลือ พาดบ่าผู้ช่วยเหลือ ใช้มืออีกข้างจับมือผู้บาดเจ็บไว้ ให้สัญญาณแล้วเดินไปช้าๆ พร้อมๆ กัน ดังภาพที่ 6.30

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 8 จาก 17

2) เดินไม่ได้ เคลื่อนย้ายด้วยการนั่งเก้าอี้ การทำเปลมือ/ประสานมือ การอุ้มแบบพยุงแขนและขา (สันต์ หัตถีรัตน์, 2552) โดยปฏิบัติ ดังนี้ (1) การนั่งเก้าอี้ ในกรณีขึ้นลงบันได ผ่านทางแคบๆ โดยจัดให้ผู้บาดเจ็บนั่งบนเก้าอี้ จับมือ ผู้บาดเจ็บประสานไว้บนตักของตนเอง หรือให้กอดอกไว้ ให้สัญญาณแล้วยืนขึ้นพร้อมกัน ดังภาพที่ 6.31

ภาพที่ 6.31 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยการนั่งบนเก้าอี้ ที่มา: สันต์ หัตถีรัตน์. (2552, น. 57).

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 9 จาก 17

(2) การอุ้มนั่งบนเปลมือ/ประสานมือ ดังภาพที่ 6.32 (ก) แบบจับ 4 มือ โดยผู้ช่วยเหลือ 2 คน นั่งคุกเข่าหันหน้าเข้าหากัน ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคน ใช้มือขวาจับข้อมือซ้ายของตนเอง แล้วใช้มือซ้ายจับข้อมือขวาของผู้ช่วยเหลืออีกคน ไขว้ประสานกันเหมือน เปล 4 มือ ชันเข่าข้างหนึ่งขึ้นให้ชนกัน วางเปลมือบนเข่าข้างที่ชันขึ้นชนกัน ให้ผู้บาดเจ็บนั่งบนมือที่ประสานกัน ไว้เหมือนเปลบนเข่า เอาแขนโอบรอบไหล่ของผู้ช่วยเหลือทั้งสองคน ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งให้สัญญาณ แล้วยืนขึน้ พร้อมกันโดยยืดเข่าขึ้น แล้วเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บไปยังสถานที่ที่ปลอดภัย (ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและ สุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย, 2559) (ข) แบบจับ 3 มือ โดยผู้ช่วยเหลือ 2 คน นั่งคุกเข่าหันหน้าเข้าหากัน ผู้ช่วยเหลือคนที่หนึง่ ใช้มือขวาจับข้อมือซ้ายของตนเอง แล้วใช้มือซ้ายจับข้อมือขวาของผู้ช่วยเหลือคนที่สอง ผู้ช่วยเหลือคนที่สองใช้ มือขวาจับข้อมือขวาของผู้ช่วยเหลือคนที่หนึ่ง ไขว้ประสานกันเหมือนเปล 3 มือ ชันเข่าข้างหนึ่งขึ้นให้ชนกัน วางเปลมือบนเข่าที่ชันขึ้นชนกัน ให้ผู้บาดเจ็บนั่งบนมือที่ประสานกันไว้เหมือนเปลบนเข่า เอาแขนโอบรอบไหล่ ของผู้ช่วยเหลือทั้งสองคน ผู้ช่วยเหลือคนที่สองใช้มือซ้ายที่ว่างอยู่ประคองหลังผู้บาดเจ็บไว้ ผู้ช่วยเหลือคนหนึง่ ให้สัญ ญาณ แล้วยืนขึ้นพร้อมกันโดยยืดเข่าขึ้น แล้วเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บไปยัง สถานที่ที่ปลอดภัย (ศูนย์ ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย, 2559) (ค) แบบจับ 2 มือ โดยผู้ช่วยเหลือ 2 คน นั่งคุกเข่าหันหน้าเข้าหากัน ทั้งสองคนใช้มือที่อยู่ ด้านเดียวกันจับข้อมือของผู้ช่วยเหลืออีกคน ไขว้ประสานกัน 2 มือ ชันเข่าข้างหนึ่งขึ้นให้ชนกัน วางเปลมือบน เข่าที่ชันขึ้นชนกัน ให้ผู้บาดเจ็บนั่งบนมือที่ประสานกันไว้เ หมือนเปลบนเข่า เอาแขนโอบรอบไหล่ของผู้ ช่วยเหลือทั้งสองคน ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนใช้มือที่ว่างอยู่ประคองหลังผู้บาดเจ็บไว้ ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งให้ สัญญาณ แล้วยืนขึ้นพร้อมกันโดยยืดเข่าขึน้ แล้วเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บไปยังสถานที่ที่ปลอดภัย (ศูนย์ฝึกอบรม ปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย, 2559)

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 10 จาก 17

(3) การอุ้มแบบพยุงแขนและขา จัดให้ผู้บาดเจ็บอยู่ ในท่านั่ ง ผู ้ช่วยเหลือคนแรกนั ่งคุกเข่า ด้านหลังผู้บาดเจ็บ สอดมือใต้รักแร้ผู้บาดเจ็บ จับข้อมือทั้งสองข้างของผู้บาดเจ็บไว้ ผู้ช่วยเหลืออีกคนนั่งคุกเข่า ด้านหน้าหันหลังให้ผู้บาดเจ็บ ระหว่างขาสองข้างของผู้บาดเจ็บ ใช้มือสองข้างช้อนใต้เข่าผู้บาดเจ็บ ให้สัญญาณ แล้วยืนขึ้นพร้อมกัน ดังภาพที่ 6.33 (สันต์ หัตถีรัตน์, 2552)

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 11 จาก 17

ภาพที่ 6.33 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยการอุ้มแบบพยุงแขนและขา ที่มา: สันต์ หัตถีรัตน์. (2552, น. 57) (4) การใช้เปลหาม อาจจะเป็นเปลสนามหรือเปลผ้าห่มจัดให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่านอนหงายบนเปล สนาม ใช้ผ้ารัดตัวผู้บาดเจ็บให้ติดกับเปลเพื่อไม่ให้ตก ผู้ช่วยเหลือ 2 คน จับด้ามเปลโดยหงายฝ่ามือขึ้นให้ด้าม เปลอยู่ในอุ้งมือ นิ้วหัวแม่มือเหยียดออก ให้สัญญาณแล้วยืนขึ้นพร้อ มกัน ผู้ช่วยเหลือ ที่ยืนอยู่ปลายเท้า ผู้บาดเจ็บหันหน้าไปทางเดียวกับผู้ช่วยเหลือที่ยืนอยู่ด้านศีรษะผู้บาดเจ็บ ให้สัญญาณอีกครั้งแล้วเดินไปพร้อมๆ กัน โดยให้คนที่อยู่ปลายเท้าผู้บาดเจ็บเดินนำหน้าเสมอ ยกเว้นตอนขึ้นที่สูงให้คนที่อยู่ด้านศีรษะผู้บาดเจ็บเดิน นำหน้า ตอนที่ 5 การเคลื่อนย้ายแบบไม่ฉุกเฉิน กรณีผู้ช่วยเหลือมากกว่า 2 คน

ผู้ช่วยเหลือมากกว่า 2 คน ใช้ได้ทั้งผู้บาดเจ็บที่รู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว มีน้ำหนักมาก และมีผู้ช่วยเหลือ จำนวนมากพอ โดยปฏิบัติ ดังนี้ 1) ผู้ช่วยเหลือ 3 คน จัดให้ผู้บาดเจ็บนอนหงายเอามือกอดอกหรือแนบลำตัว ผู้ช่วยเหลือทั้ง 3 คน คุกเข่าข้างตัวผู้บาดเจ็บโดยอยู่ด้านเดียวกัน คนที่อยู่ใกล้ศีรษะผู้บาดเจ็บ สอดมือรองศีรษะและไหล่ผู้บาดเจ็บ มืออีกข้างรองใต้หลังส่วนบน คนที่อยู่ตรงกลาง สอดมือรองเหนือเอวผู้บาดเจ็บ มืออีกข้างรองใต้ต้นขา คน สุดท้ายสอดมือรองเหนือเข่าของผู้บาดเจ็บ มืออีกข้างรองใต้น่อง คนอยู่ด้านศีรษะให้สัญญาณ ยกผู้บาดเจ็บมา ไว้บนเข่า แล้วให้สัญญาณอีกครั้ง ลุกขึ้นยืนพร้อมกัน ผู้ช่วยเหลือทุกคนกระชับแขนเข้าหาตัวเพื่อให้ผู้บาดเจ็บ แนบตัวผู้ช่วยเหลือ ดังภาพที่ 6.34

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 12 จาก 17

ภาพที่ 6.34 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยการอุ้ม 3 คน ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2545, น. 104-107). 2) ผู้ช่วยเหลือ 4 คน สามารถเคลื่อนย้ายโดยไม่ใช้อุปกรณ์และใช้อุปกรณ์ โดยปฏิบัติดังนี้ จัดให้ ผู้บาดเจ็บนอนหงายเอามือกอดอกหรือแนบลำตัว (1) การเคลื่อนย้ายโดยไม่ใช้อุปกรณ์ ผู้ช่วยเหลือทั้ง 4 คน คุกเข่าข้างตัวผู้บาดเจ็บโดยอยู่ด้านละ 2 คน หรือด้านหนึ่ง 3 คน อีกด้าน 1 คน คนแรกที่อยู่ใกล้ศีรษะผู้บาดเจ็บ สอดมื อรองศีรษะและไหล่ของ ผู้บาดเจ็บ สอดมืออีกข้างรองใต้หลังส่วนบน คนที่สองที่อยู่ใกล้ศีรษะอีกด้านของผู้บาดเจ็บ สอดมือรองหลัง ผู้บาดเจ็บระหว่างมือของคนแรก สอดมืออีกข้างเหนือเอวผู้บาดเจ็บ คนที่สามซึ่งอยู่ด้านเดียวกับคนแรก สอด มือรองเอวผู้บาดเจ็บ สอดมืออีกข้างเหนือเข่าผู้บาดเจ็บ คนที่สี่ซึ่งอยู่ด้านเดียวกับคนที่สอง สอดมือรองใต้ต้นขา ผู้บาดเจ็บ อยู่ระหว่างมือของคนที่สาม สอดมืออีกข้างรองน่องผู้บาดเจ็บ คนแรกให้สัญญาณ ยกผู้บาดเจ็บมาไว้ บนเข่า แล้วให้สัญญาณอีกครั้ง ลุกขึ้นยืนพร้อมกัน ดังภาพที่ 6.35 ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 13 จาก 17

(2) การเคลื่อนย้ายโดยใช้อุปกรณ์ อาจใช้เปลสนามหรือเปลผ้าห่ม ผู้ช่วยเหลือทั้ง 4 คน คุกเข่า ข้างตัวผู้บาดเจ็บโดยอยู่ด้านละ 2 คน พลิกตัวผู้บาดเจ็บแบบท่อนไม้นอนบนเปลสนามหรือเปลผ้าห่ม ผู้ช่วย เหลือ 2 คน อยู่ที่ศีรษะและปลายเท้าผู้บาดเจ็บ อีก 2 คน อยู่ด้านซ้ายและขวาของผู้บาดเจ็บ ผู้ช่วยเหลือที่อยู่ ด้านศีรษะให้สัญญาณยกเปลขึ้นพร้อมกัน ยืนหันหน้าไปทางเดียวกัน ให้สัญญาณอีกครั้ง แล้วออกเดินพร้อมกัน ในกรณีที่ผู้บาดเจ็บมีกระดูกหลังหรือคอหัก จัดให้นอนหงายราบ ใช้เปลหรือไม้แข็งรอง เข้าเฝือกคอก่อน ผู้ชว่ ย เหลือ 3 คน พลิกตัวผู้บาดเจ็บแบบท่ อนไม้ อีกคนประคองศีรษะ เลื่อนเปลมาชิดด้านหลังผู้บาดเจ็บ พลิก ผู้บาดเจ็บนอนหงายบนเปลแบบท่อนไม้ ยึดบริเวณคอและลำตัวติดกับเตียงให้แน่นก่อนเคลื่อนย้าย ดังภาพที่ 6.36

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 14 จาก 17

การเคลื่อนย้ายผู้ได้รับอุบัติเหตุจะกระทำใน 3 กรณี เช่นเดียวกับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน ได้แก่ การเคลื่อนย้ายออกจากสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย การเคลื่อนย้ายเพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่เหมาะสมสำหรับให้การ รักษาพยาบาล และการเคลื่อนย้ ายเพื่อส่งโรงพยาบาล โดยปฏิบัติตามหลักทั่วไปในการเคลื่อนย้ายผู้ได้รับ อุบัติเหตุ ได้แก่ การประเมินความจำเป็นในการเคลื่อนย้าย การเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัย และการบันทึก เหตุการณ์ระหว่างการเคลื่อนย้าย การเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัยจะต้องปฏิบัติตามวิธีการเคลื่อนย้ายที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถทำได้โดยผู้ช่วยเหลือคนเดียว สองคน และมากกว่าสองคน โดยเลือกให้เหมาะสมกับสภาวะของ ผู้บาดเจ็ บ ซึ่งอาจจะรู้สึ กตั วหรือ ไม่ รู้สึ กตัว เดินได้ หรือเดินไม่ได้ มีกระดูกสันหลัง/คอหักหรือไม่ หัก และ ทรัพยากรที่มีในขณะเคลื่อนย้าย ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 15 จาก 17

ตอนที่ 6 การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่ศีรษะ หลักการสำคัญในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่ศีรษะ ได้แก่ การประเมินขั้นต้น การช่วยชีวิต ตาม หลักการดูแลผู้ได้รับอุบัติเหตุ และการป้องกันการเกิดการบาดเจ็บทุติยภูมิของเนื้อสมอง โดยให้ออกซิเจน และ รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ การตรวจวินิจฉัยด้วยเอกซ์เรย์ คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การรักษาพยาบาลถูกต้องเหมาะสม การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่ศีรษะใช้หลักการเดียวกับหลักการปฐมพยาบาลและแนวปฏิบัติการ ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่ศีรษะ 5 ประการ ได้แก่ 1) การประเมินและแก้ไขภาวะคุกคามต่อชีวิต 2) การทำแผล และการห้ามเลือด 3) การประเมินระบบประสาท 4) การประคับประคองจิตใจและอารมณ์ และ 5) การแจ้ง/ ส่งต่อผู้บาดเจ็บที่ศีรษะ โดยปฏิบัติดังนี้ 1. การประเมิ นและแก้ไขภาวะคุกคามต่อชีวิต ประเมินขั้นต้นโดยตรวจทางเดินหายใจ การ หายใจ การไหลเวียนเลือด (สัญญาณชีพ) และภาวะขาดออกซิเจนอย่างรวดเร็ว ถ้าพบความผิดปกติของ ทางเดินหายใจ การหายใจ การไหลเวียนเลือด ได้แก่ หายใจลำบาก หายใจเร็ว ใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ หรืออกบุ๋ม ปลายมือปลายเท้าเขียว ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรผิดปกติ ความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำ ช่วยเหลือ แก้ไขจนกว่าจะพ้นจากภาวะคุกคามต่อชีวิต แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที 2. การทำแผลและการห้ามเลือด ทำแผลและปกป้องบาดแผลเช่นเดียวกับการปฐมพยาบาลผู้มี บาดแผล บาดแผลปิด เช่น ศีรษะโน ฟกช้ำ ใช้น้ำแข็งประคบ บาดแผลเปิดทำความสะอาดบาดแผลด้วย น้ำเกลือปราศจากเชื้อ/น้ำต้มสุก/น้ำสะอาด ถ้ามีเลือดออก ห้ามเลือดโดยใช้ผ้าก๊อซปราศจากเชื้อ/ผ้าสะอาดกด ขอบบาดแผล หรือ บริเวณรอบๆ บาดแผล ยกเว้นบริเวณที่ กะโหลกศีรษะยุ บ เพราะการกดจะทำให้เ กิด อันตรายต่อเนื้อเยื่อด้านล่างมากขึ้น ถ้าบาดแผลเปิดขนาดใหญ่ห้ามเลือดโดยการเย็บแผล ทาครีมยาปฏิชีวนะที่ ขอบแผลหนังศีรษะ (wound margin) เพื่อให้ชุ่มชื้นส่งเสริมการหายของแผล ปกป้องบาดแผลด้วยการปิด บาดแผลเปิดด้วยผ้าก๊อซปราศจากเชื้อ/ผ้าสะอาด ยกเว้นบาดแผลเปิดที่หนังศีรษะขนาดเล็กไม่ต้องปิดบาดแผล ถ้ามีน้ำไขสันหลังไหลออกจากจมูก/หู ไม่ต้องอุด ใช้ผ้าสะอาดรองที่จมูก/หู และเปลี่ยนผ้าเมื่อชุ่ม ห้ามสั่งน้ำมูก ห้ามแยงวัตถุใดๆ เข้าไปในจมูก/หู ห้ามใส่สายยางเข้าทางจมูก ถ้ามีกระดูกหักดามกระดูกเพื่อป้องกันไม่ให้มี การบาดเจ็บมากขึ้น 3. การประเมินระบบประสาท ประเมินความผิดปกติของระบบประสาทเพื่อจะได้ทราบการ บาดเจ็บทุติยภูมิ ได้แก่ ระดับความรู้สึกตัวโดยใช้มาตรวัดระดับความรู้สึกตัวของกลาสโกว์ (Glasgow coma scale) ประเมินความผิดปกติของประสาทสมอง (cranial nerve) รูม่านตา (pupillary) ถ้ารูม่านตาไม่ขยาย และเล็ก (fixed, pinpoint) แสดงว่าสมองส่วนพอนส์ผิดปกติหรือได้รับฝิ่น (opiates) ถ้ารูม่านตาไม่ขยายและ โต (fixed, dilate) ข้ า งเดี ย ว หนั ง ตาตก (ptosis) แสดงว่ า มี ค วามผิ ด ปกติ ข องประสาทสมองคู ่ ท ี ่ 3 ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 16 จาก 17

(oculomotor nerve) ถ้ารูม่านตาไม่ขยายสองข้าง (bilateral, fixed) แสดงว่าก้านสมองผิดปกติหรือได้รับ สารพิษ อาจเกิดสมองตาย (brain death) ปฏิกิริยาสะท้อ น (reflex) จะมีค วามผิดปกติ แตกต่ างกั นตาม ตำแหน่งของสมองที่บาดเจ็บ การเคลื่อนไหวของตา การทดสอบรอมเบิร์ก (Romberg’s test) การเดิน (gait) การทดสอบใช้นิ้วแตะที่จมูกกับปลายนิ้ว (finger to nose test) ความจำ ความตั้งใจ คลำกะโหลกศีรษะเพื่อ หารอยแตก/ยุบ/ยกของกะโหลกศีรษะ รอยช้ำรอบตา/หลังหู เลือดในช่องหู ซักประวัติกลไกการเกิดบาดเจ็บ สาเหตุ อุบัติเหตุหรือตั้งใจ การเปลี่ยนแปลงของอาการทางระบบประสาท การหายใจ การไหลเวียนเลือด ภาวะความจำเสื่อม (amnesia) ความรู้สึกตัวก่อนเกิดการบาดเจ็บ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เช่น โรคหลอดเลือด สมอง หัวใจขาดเลือด ภาวะการหายใจถูกกด ตรวจร่างกายตามมาตรฐานที่กำหนด การประเมินต้องกระทำอย่างต่อเนื่องเพราะอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การบาดเจ็บที่ ศีรษะมีความรุนแรงหลายระดับ ความรุนแรงน้อย คะแนนประเมินจะอยู่ระหว่าง 13-15 คะแนน ประมาณ ร้อยละ 80 ของผู้บาดเจ็บที่ศีรษะ จะมีความรุนแรงน้อย ความรุนแรงปานกลาง คะแนนประเมินจะอยู่ระหว่าง 9-12 คะแนน รุนแรงมาก คะแนนประเมินจะอยู่ระหว่าง 3-8 คะแนน (ไชยพร ยุกเซ็น, ธาวินี ไตรณรงค์สกุล และยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา, (บ.ก.), 2558) การประเมินจะช่วยให้การตัดสินใจรักษาพยาบาลถูกต้องมาก ขึ้น ถ้าคะแนนความรู้สึกตัวต่ำกว่า 8 คะแนน ต้องใส่ท่อหายใจทางปาก ใส่สายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารทาง ปาก (oral gastric tube) ไม่ควรใส่สายยางทางจมูก (nasogastric tube) ถ้าออกซิเจนต่ำให้ออกซิเจน รักษา ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) ให้สูงกว่า 100 มิลลิเมตรปรอท ความเข้มข้นของออกซิเจน (oxygen saturation) มากกว่า ร้อยละ 95 ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดง (PaCO2) ระหว่าง 35-38 มิลลิเมตร ปรอท ให้สารละลายที่เป็นกลางทางหลอดเลือดดำ (Isotonic Solution) รักษาความดันโลหิตเฉลี่ยให้เท่ากับ (MAP) 70-90 มิลลิเมตรปรอท และปัสสาวะออก 0.5-1 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยใส่สายสวน ปัสสาวะเพื่อ ประเมินปริมาณปัสสาวะ (Hammond & Zimmermann, (Eds.), 2013) ดูแลช่วยเหลือถ้ามี อาเจียน ขจัดเสมหะและเศษอาหารออกจากปากเพื่อป้องกันการสำลัก ถ้าชักสอดผ้าระหว่างฟันเพื่อป้องกัน การกัดลิ้น 4. การประคับประคองจิตใจและอารมณ์ พูดปลอบใจและให้กำลังใจเพื่อลดความวิตกกังวลและ ความกลัว จัดท่าให้สุขสบายและลดความเจ็บปวด ดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องและไม่ทิ้งผู้บาดเจ็บไว้ตามลำพัง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการช่วยเหลือ โดยที่การบาดเจ็บที่ศีรษะมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน อาจไม่มีอาการ ผิดปกติในระยะแรก แต่อาการอาจเปลี่ยนแปลงในภายหลังได้ โดยเฉพาะภายใน 24 ชั่วโมงแรก ผู้บาดเจ็บที่ ศีรษะทุกรายจึงต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในกรณีที่มีความรุนแรงน้อยอาจสังเกตอาการอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ถ้าไม่พบอาการผิดปกติแพทย์อาจให้กลับบ้านได้ บางรายอาจไม่ต้องตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ จึงต้อง ให้เ หตุผลที่ไม่ต้องตรวจเอกซ์เ รย์คอมพิวเตอร์ ให้ข้อ มูลและคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตนที่ถ ูก ต้อ ง โดยเฉพาะการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาการทางระบบประสาท หากพบความผิดปกติ เช่น ความรู้สึกตัว ลดลง ซึมลง ปลุกตื่นยาก กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงมากขึ้น คลื่นไส้ อาเจียนติดกันหลายครั้ง ปวดศีรษะรุนแรง ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 17 จาก 17

มีสิ่งคัดหลั่งออกจากจมูก/หู ถ้ามีให้ใช้ผา้ รองห้ามใช้ผ้าอุด ปวดต้นคอ คอแข็ง วิงเวียน ตาพร่ามัว ปวดตุ๊บๆ ใน ตา กระสับกระส่าย พูดลำบาก ชัก ชีพจรเต้นช้า ไข้สูง พฤติกรรมเปลี่ยน เช่น เอะอะ โวยวาย เป็นต้น ให้รีบมา โรงพยาบาลทันที ในกรณีมีความรุนแรงปานกลางและรุนแรงมากจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระยะเวลา หนึ่ง เพื่อให้ออกซิเจนทางท่อช่วยหายใจและให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ จึงต้องอธิบายเหตุผลและประโยชน์ ของการเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล บอกให้ผู้บาดเจ็บทราบก่อนปฏิบัติการช่วยเหลือใดๆ ทุกครัง้ เพื่อให้เข้าใจและให้ความร่วมมือ และปฏิบัติการช่วยเหลือโดยเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้บาดเจ็บ รวมทั้งรักษาความลับของผู้บาดเจ็บ 5. การแจ้ง/ส่งต่อผู้บาดเจ็บที่ศีรษะ ควรนำส่งโรงพยาบาลทุกราย โดยเฉพาะถ้าไม่รู้สึกตัวต้องนำส่ง โรงพยาบาลทันทีหรือโดยเร็วที่สุด แจ้งขอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาลหรือหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินทาง โทรศัพท์ ใส่ปลอกคอก่อนเคลื่อนย้ายเพื่อไม่ให้มีการบาดเจ็บของสมองเพิ่ม จัดให้นอนหงายศีรษะอยู่ในท่า สมดุล (neutral) คางตรงกับ สะดือ ศีรษะสูง 30 องศา ยกเว้นมีการบาดเจ็บของไขสันหลังร่วมด้ว ยและ ผู้บาดเจ็บไม่สุขสบาย จัดให้นอนหงายราบศีรษะอยู่ในท่าสมดุล ลดสิ่งกระตุ้น เช่น แสง เสียง เป็นต้น ระหว่าง นำส่งโรงพยาบาลสังเกตการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทอย่างต่อเนื่อง เช่น ความรู้สึกตัว กล้ามเนื้ออ่อน แรง ความดันในสมองสู งขึ้ น เป็นต้น เมื่อถึงโรงพยาบาล แพทย์จะตรวจวินิจฉัยเพิ ่มเติมด้ วยการเอกซ์เรย์ คอมพิวเตอร์ และอาจรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการและรักษาพยาบาลเพิ่มเติม เช่น ผ่าตัดและให้ยา ปฏิชีวนะ ถ้ามีก้อนเลือดในชั้นเหนือดูรา มีเศษกระดูกทิ่มแทงเยื่อหุ้มสมอง เนื้อสมอง และหลอดเลือดสมอง ให้ ยาป้องกันบาดทะยัก ถ้าบาดแผลสกปรก ให้ยาปฏิชีวนะและให้นอนพัก ถ้ามีเลือด/น้ำไขสันหลังไหลออกจาก จมูก/หู น้ำไขสันหลังจะหยุดเองภายใน 7-10 วัน ถ้าไม่หยุดแพทย์อาจพิจารณาผ่าตัด เรีย บเรีย งเนื้อ หาโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิ นชนะ ศรีวิไ ลทนต์ ภาควิ ชาเวชศาสตร์ ฉุก เฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิ ทยาลั ย ธรรมศาสตร์

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.