【 52311x52404 】เรื่อง ทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

Page 1

เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อเอกสารประกอบการสอนออนไลน์ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 1 จาก 16

ชุ ด วิ ช า 52311x52404 การปฐมพยาบาล การตรวจประเมิ น การบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น การฟื้ น ฟู ส ภาพและการส่ ง ต่ อ สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช

ทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ภาพปก “Emergency” โดย Paul Brennan (2017) จาก Pixabay

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 2 จาก 16

ทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

เรี ยบเรี ยงเนื้ อหาโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ วินชนะ ศรี วิไ ลทนต์ ภาควิ ชาเวชศาสตร์ ฉุกเฉิ น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิ ทยาลั ยธรรมศาสตร์ และ ผู้ ช่วยศาสตราจารย์ เ อกพล กาละดี สาขาวิ ชาวิ ทยาศาสตร์ สุขภาพ มหาวิ ทยาลั ยสุ โขทั ยธรรมาธิ ราช ตอนที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน การช่วยเหลือเพื่อฟื้นชีวิตทันทีหลังเกิดอาการหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจมีความสำคัญอย่างมากต่อ การรอดชีวิตของผู้ที่เกิดหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจ การช่วยฟื้นชีวิตที่ผ่านมาพบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ หลายอย่าง เช่น ขาดการเตรียมพร้อม การเริ่มช่วยฟื้นชีวิตช้าหรือไม่สามารถเริ่มการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานได้ ในทันที การทำการช่วยฟื้นชีวิตอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และการดูแลหลังช่วยฟื้นชีวิตแล้วไม่ดีพอ การให้ความรู้และฝึกอบรมเรื่องการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐานจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะการให้ความรู้ และฝึกอบรมแก่บุคลากรสาธารณสุขที่จะต้องให้บริการสาธารณสุขโดยตรงแก่ประชาชน รวมถึงอาจจะต้องทำ หน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนทั่วไปเองอีกด้วย การฝึกการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในปัจจุบัน เน้นการทำตามกระบวนการขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน อย่างถูกต้อง ร่วมกับการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ ผ่านการฝึกอบรมสามารถปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติได้อย่างมี ประสิทธิภาพและคุณภาพมากขึ้น เพื่อช่วยให้คนที่หัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจมีโอกาสรอดชีวิตได้มากขึ้น ระหว่างรอการช่วยฟื้นชีวิตขั้นสูงต่อไป 1. เป้าหมายของการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (basic life support) เป็นการดูแลช่วยเหลือเพื่อรักษาชีวิตจากภาวะหยุด หายใจและหรือหัวใจหยุดเต้น ภาวะนี้ผู้ป่วยจะไม่มีการไหลเวียนของโลหิตไปยังอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย การช่วยชีวิตเป็นการกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตด้วยการกดหน้าอกและกระตุ้นระบบหายใจด้วยการเป่าปาก ช่วยหายใจ (ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย, 2559; ชื ่นจิ ตร โพธิศัพท์สุข, 2556; Pollak, ed., 2005) กระบวนการนี้ท ำให้ยัง มีเ ลือ ดบางส่วนไปเลี้ยงยัง อวัยวะที่สำคัญ ของผู้ป่วย โดยเฉพาะหัวใจและสมอง มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 3 จาก 16

2. ข้อบ่งชี้ในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจะต้องกระทำในกรณีที่มภี าวะหัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจซึ่งเกิดจากสาเหตุ ใดก็ได้ 1. หัวใจหยุดเต้น เป็นภาวะที่หัวใจหยุดกิจกรรมอย่างสมบูรณ์ ทั้งด้านการผลิตสัญญาณไฟฟ้า และการบีบตัว (Pollak, ed., 2005) หัวใจทำงานภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติและระบบ ไฟฟ้าของตนเอง ต้องการออกซิเจนและสารอาหารตลอดเวลา สามารถทนต่อการขาดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เพียง 2-3 วินาที ก่อ นที่จะเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (heart attack) อั ตราการเต้นของหัวใจจะ แตกต่างกันตามอายุ ผู้ใหญ่ประมาณ 60-100 ครั้ง/นาที, เด็ก 70-150 ครั้ง/นาที, ทารก 100-160 ครั้ง/นาที (Pollak, ed., 2005) ข้อบ่งชี้ว่าหัวใจหยุดเต้นในทางปฏิบัติ ได้แก่ ไม่รู้สึกตัว ร่วมกับอาการหายใจเฮือก (air hunger or gasping) โดยอาจพบร่วมกับอาการเกร็งหรือกระตุก (seizure or convulsion) ในช่วงสั้นๆได้ โดยปกติคนที่หัวใจจะหยุดเต้นจะหายใจเฮือกไม่สม่ำเสมอได้อีก 2-4 นาที ถ้ารอให้หยุดหายใจแล้วค่อยช่วยฟืน้ ชีวิตจะช้าไป ถ้าพบอาการหยุดหายใจหรือหายใจเฮือก ร่วมกับเรียกไม่รู้สึกตัว ต้องเริ่มช่วยฟื้นชีวิตเลย (ทนัน ชัย บุญบูรพงศ์, 2554 ก) หัวใจหยุดเต้นเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือด หัวใจตีบหรือหัวใจวาย เกิดตามหลังภาวะหยุดหายใจ (กรมควบคุมโรค กระทวงสาธารณสุข, 2545) ลิ่มเลือด อุ ด ตั น ที ่ ป อด (pulmonary embolism) ภาวะขาดอากาศหายใจ (asphyxia) อิ เ ล็ ก โตรไลต์ ผ ิ ด ปกติ (electrolyte disturbance) ได้รับสารพิษ ติดเชื้อทั่วร่างกาย (sepsis) บาดเจ็บ/เลือดออก ร่างกายมีอุณหภูมิ ต่ำกว่าปกติ เป็นต้น ส่วนใหญ่จะมีอาการเตือนถึงภาวะหัวใจหยุดเต้นแต่คนมักไม่ได้สังเกต เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย มีอาการแน่นหน้าอกเมื่อมีภาวะเครียดหรือออกแรง พักแล้วจะดีขึ้น รวมทั้งมีปัจจัยเสีย่ งที่สำคัญใน คนอายุน้อย ได้แก่ การสูบบุหรี่ พักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และหรือมีโรคอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น หรือพันธุกรรม มีประวัติการเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจของพ่อแม่/ ญาติพี่น้อง (เกรียงไกร เฮงรัศมี, 2562) ผู้ใหญ่มักจะมีหัวใจหยุดเต้นก่อนหยุดหายใจ แต่เด็กและทารกมักจะ หยุดหายใจก่อนหัวใจหยุดเต้น (Pollak, ed., 2005) 2. หยุดหายใจ เป็นภาวะที่ไม่มีการหายใจ เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น จมน้ำ กล้ามเนื้อ หายใจเป็นอัมพาต สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ อยู่ในสถานที่ทไี่ ม่มีอากาศ การสูดดมควันพิษ ได้รับยา เกินขนาด ไฟฟ้าดูด ฟ้าผ่า บาดเจ็บ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน สมองทำงานผิดปกติจากสาเหตุต่าง ๆ เป็น ต้น (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2545) สาเหตุที่ทำให้เด็กและทารกหยุดหายใจมีหลากหลาย เช่น สำลักสิ่งแปลกปลอมลงไปในทางเดินหายใจ เช่น เมล็ดถั่ว ไส้กรอกชิ้นเล็ก ๆ ลูกอม ของเล่นเล็ก ๆ การติดเชือ้ เช่น ครูป (croup) ลิ้นไก่อักเสบ (epiglottis) จมน้ำ ไฟดูด เป็นต้น ส่งผลให้ร่างกายขาดออกซิเจน การทำงาน ของอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว เมื่อระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงและหรือออกซิเจนต่ำ ก้านสมองจะส่งสัญญาณ ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 4 จาก 16

ประสาทไปตามไขสั น หลั ง ควบคุ ม ให้ ก ล้า มเนื ้อ กะบั ง ลม (diaphragm) และกล้ า มเนื ้ อ ระหว่ างซี ่ โ ครง (intercostal muscle) หดตัว ทำให้อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น เมื่อระดับคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนปกติ ในกรณีที่หยุดหายใจก่อนหัวใจหยุดเต้น ร่างกายจะยังคงมีออกซิเจนในปอดที่จะช่วยให้มีชีวิตต่ออีก 2-3 นาที แต่ถ้าหัวใจหยุดเต้นก่อนหยุดหายใจ หัวใจและปอดจะหยุดการรับออกซิเจนทันที จึงไม่สามารถมีชีวิตต่อได้อกี (Pollak, ed., 2005) 3. หลักการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ได้แก่ 1) เริ่มช่วยชีวิตโดยเร็วทันที 2) ขอความช่วยเหลือทุกครั้ง 3) กดหน้าอกอย่างมีคุณภาพ 4) ช่วยหายใจอย่างเหมาะสม 5) การกระตุกหัวใจโดยเร็วถ้าเหมาะสม 1. เริ่มช่วยชีวิตโดยเร็วทันที เมื่อพบว่าไม่หายใจหรือไม่มีชีพจรต้องเริ่มช่วยชีวิตทันที จึงต้องประเมิน ภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นให้ได้เร็วที่สุด โดยประเมินความรู้สึกตัวด้วยการตีที่ไหล่พร้อมเรียก ประเมิน การหายใจด้วยการดู (ไม่ต้องดู ฟัง และสัมผัส) และประเมินหัวใจหยุดเต้นด้วยการจับชีพจร นาน 5-10 วินาที ไม่ควรจับชีพจรนานเกิน 10 วินาที โดยจับชีพจรข้างคอหรือขาหนีบ (carotid and femoral artery) สำหรับ เด็กและผู้ใหญ่ และที่ข้อพับแขน (brachial artery) สำหรับทารก ไม่ต้องรอให้หัวใจหยุดหรือหยุดหายใจ ในผู้ ที่ไม่มีชีพจร หรือหายใจเฮือก (air hunger/gasping) เริ่มต้นช่วยชีวิตได้ทันที (ทนันชัย บุญบูรพงศ์, 2554 ก) ถ้าไม่ช่วยภายใน 4 นาที จะมีคนรอดชีวิตน้อยมาก หรือรอดชีวิตก็อาจมีระบบประสาทส่วนกลางได้รับอันตราย มีความผิดปกติของเลือด การเต้นของหัวใจ จึงต้องนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด (Buttaro, Trybulski, Bailey and Sandberg-Cook, 2008) จะไม่ช่วยชีวิตในกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว โดยมีอาการที่ชัดเจน ได้แก่ เนื้อแข็ง (rigor mortis) และส่วนต่ำสุดของร่างกายที่นอนทับอยู่เป็นสีม่วง (dependent lividity or livor mortis) ซึง่ จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นระยะเวลานานแล้ว และผู้ป่วยแสดงความจำนงไว้ว่าไม่ให้ช่วยชีวิตหรือมีคำสัง่ แพทย์ไม่ให้ช่วยชีวิต ในกรณีที่ผู้ช่วยเหลือไม่ทราบเจตจำนงไม่ให้ช่วยชีวิตของผู้ป่วย ควรให้การช่วยชีวิตไปก่อน เพราะการช่วยเหลือที่มากไปดีกว่าการช่วยเหลือที่น้อยไป เนื่องจากอาจทำให้พลาดโอกาสที่จะรักษาชีวิตผู้ป่วย ไว้ได้ (Pollak, ed., 2005; สันต์ หัตถีรัตน์, 2555) 2. ขอความช่วยเหลือทุกครั้ง การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานไม่ได้ใช้อุปกรณ์/เครื่องมือผ่านเข้าไปในร่างกาย ของผู้ป่วย แต่ถ้าทำอย่างถูกต้องจะมีประสิทธิผลเพียงพอที่จะดำรงรักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ในระยะเวลาหนึ่งที่สนั้ เพื่อ รอการช่วยชีว ิตขั้นสูง (advanced life support: ALS) ต่อ ไป ในบางกรณี เช่น สำลัก จมน้ำ ฟ้าผ่า (lightning injuries) การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานอาจเป็นการช่วยเหลือทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่สามารถทำ ให้หัวใจกลับมาเต้นปกติได้ใหม่ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยเหล่านี้ยังต้องได้รับการส่งต่อเพื่อรับการประเมินเพิ่มเติม ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 5 จาก 16

นอกจากนั้นกลไกที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นจะซับซ้อน ต้องการการแก้ไขขั้นสูงที่รวดเร็ว ทันกับระยะเวลาวิกฤตที่จะทำให้เซลล์สมองไม่ตาย ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่หายใจ หัวใจจะเกิดการระคายเคือง (cardiac irritability) ในช่วงหนึ่งนาทีแรก (0-1 นาที) สมองเริ่มมีโอกาสจะได้รับอันตรายในช่วงเวลา 4-6 นาที แรก และจะได้รับอันตรายในช่วงเวลา 6-10 นาที ถ้านานกว่า 10 นาที อันตรายที่เกิดกับสมองจะไม่สามารถ กลับฟื้นคืนมาได้ (irreversible brain damage) (Pollak, ed., 2005) การช่วยชีวิตจะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยบริการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐานและขั้นสูง การช่วยชีวิตขั้นสูงและการดูแลหลังหัวใจหยุดเต้นที่ ถู ก ต้ อ งเหมาะสม ดัง จะเห็ น ได้ จ ากการกำหนดของสมาคมหัวใจแห่ ง อเมริกา (AHA, 2019 b) ที่ก ำหนด ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐานและขั้นสูง และการช่วยชีวิตขั้นสูงและการดูแลหลังหัวใจหยุดเต้น เป็น ส่วนหนึ่งของวงจรแห่งการรอดชีวิตสำหรับผู้มีหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล การขอความช่วยเหลือจึงเป็นสิง่ สำคั ญ ต่อ การรอดชีวิตของผู้ป่ วย นอกจากนั้นการขอความช่วยเหลือ ยังเป็ นการเตรี ยมความพร้ อ มของ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่จะให้การช่วยเหลือที่มีความต่อเนื่องและรวดเร็วทันกับระยะเวลาวิกฤต จึงต้องขอความ ช่วยเหลือทุกครั้งก่อนช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน 3. กดหน้าอกอย่างมีคุณภาพ การกดหน้าอกอย่างถูกวิธีจะช่วยให้มีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจได้ ประมาณร้อยละ 20-30 ช่วยต่อเวลาการมีชีวิตของสมองและหัวใจออกไปได้อีกหลายนาที แต่ถ้ากดไม่ถูกต้อง หัวใจและสมองจะขาดเลือดตลอดเวลาที่กดหน้าอก ส่งผลให้หัวใจไม่กลับมาเต้น หรือสมองขาดเลือดถาวรแม้ หัวใจจะกลับมาเต้นอีกครั้ง (AHA, 2019 b) การกดหน้าอกอย่างมีคุณภาพ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียน เลือด ต้องกดหน้าอกในอัตราความเร็วและความลึกที่เหมาะสม วางมือให้ถูกตำแหน่ง ลดการขัดจังหวะการกด หน้าอก ยอมให้มีการขัดจังหวะการกดหน้าอก ไม่เกิน 10 วินาที เพื่อทำกิจกรรม ดังนี้ กระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า ใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ประเมินชีพจรที่หลอดเลือดแดงคาโรติด ใส่ทอ่ ทางเดินหายใจ เปลี่ยนคนกดหน้าอก และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากสถานการณ์อันตราย ไม่แนะนำให้หยุดกด หน้าอกเพื่อ เคลื่อนย้ายส่งโรงพยาบาล ควรกดหน้าอกจนผู้ป่วยกลับมามีการไหลเวียนเลือ ด/สั ญญาณชีพ (return of spontaneous circulation: ROSC) ก่อนจึงเคลื่อนย้าย ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายควรใช้เครื่องมือ กดหน้าอกอัตโนมัติ (automatic mechanical chest compressor) (ทนันชัย บุญบูรพงศ์, 2554 ก) การกด หน้าอกจะมีความเร็ว ความลึ ก ตำแหน่ งที่ วางมือแตกต่ างกันตามอายุ โดยแบ่ งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ทารก (infant) หมายถึงเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี เด็ก (children) หมายถึง เด็กอายุ ระหว่าง 1-14 ปี ผู้ใหญ่ (adult) หมายถึง คนที่มีอายุมากกว่า 14 ปี ขึ้นไป (Pollak. ed., 2005) 4. ช่วยหายใจอย่างเหมาะสม โดยเปิดทางเดินหายใจให้โล่งด้วยการจัดท่าให้เหมาะสม เปิดปากให้ กว้างตลอดเวลา ขจัดสิ่งแปลกปลอม ช่วยหายใจในอัตราที่เหมาะสมกับการกดหน้าอก หลีกเลี่ยงการระบาย อากาศที่มากเกินไป อากาศจากการหายใจออกของผู้ช่วยเหลือจะมีออกซิเจน ร้อยละ 16 เพียงพอที่จะดำรง รักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ การช่วยหายใจไม่ต้องการเครื่องมือใด ๆ (Pollak, ed., 2005) แต่อาจใช้อุปกรณ์ที่จะกีด

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 6 จาก 16

ขวาง (barrier device) ป้องกันไม่ให้ปากของผู้ช่วยเหลือสัมผัสกับปาก/จมูกหรือสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยโดยตรง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ การช่วยหายใจปฏิบัติดังนี้ (สันต์ หัตถีรัตน์, 2552) 4.1 การเตรียมผู้ป่วย จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบ ผู้ช่วยเหลือใช้มือหนึ่งกดหน้าผากผู้ป่วยลง อีกมือ หนึ่งเชยคางผู้ป่วยขึ้น (เงยหน้า-เชยคาง) ถ้าสงสัยว่ากระดูกหอหัก ใช้วิธียกคาง/ขากรรไกร เปิดปากผูป้ ่วยให้ กว้าง เช็ดน้ำมูก น้ำลาย และล้วงสิ่งแปลกปลอมออกจากปากผู้ป่วย 4.2 การเป่าปาก ผู้ช่วยเหลือหายใจเข้าเต็มปอดของตนเอง อ้าปากคร่อมไปบนปากของผู้ป่วยจน สนิท บีบจมูกผู้ป่วยให้แน่น เป่าลมหายใจเข้าไปในปากผู้ป่วยช้า ๆ ประมาณ 1-1.5 วินาที (สันต์ หัตถีรัตน์, 2552) ถ้ายังไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ กดหน้าอก 30 ครั้ง ช่วยหายใจ 2 ครั้ง นานครั้งละ 1 วินาที ให้เห็นทรวงอก ขยายขณะพักกดหน้าอก ถ้าใส่ท่อช่วยหายใจแล้ว ช่วยหายใจ 1 ครั้ง ทุก 6-8 วินาที หรือ 8-10 ครั้ง/นาที (ไชย พร ยุกเซ็น, ธาวินี ไตรณรงค์สกุล และยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา, บ.ก., 2558) ทนันชัย บุญบูรพงศ์ (2554 ก) กล่าวว่า ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการช่วยหายใจและให้ออกซิเจน ได้แก่ เริ่มช่วยหายใจช้า การช่วยหายใจกรณีที่ยังไม่ใส่ท่อ ทางเดินหายใจและผ่านท่อทางเดินหายใจไม่มี ประสิทธิภาพ หยุดการช่วยหายใจในเวลาที่ไม่ควร และเสนอว่าไม่ควรหยุดช่วยหายใจ (artificial ventilation) เพื่อดูว่าผู้ป่วยหายใจได้เองหรือยัง หรือเพราะผู้ป่วยหายใจเฮือกหรือผู้ป่วยพยายามที่จะหายใจเอง ไม่หยุดช่วย หายใจแม้ว่าหัวใจจะกลับมาเต้นได้แล้ว ควรช่วยหายใจโดยควบคุมการหายใจด้วยเครื่องต่อไปอีกอย่างน้อย 46 ชั่วโมง ให้มีอัตราการหายใจ 10-12 ครั้ง/นาที สำหรับผู้ใหญ่ 12-20 ครั้ง/นาที สำหรับเด็ก หลังจากนั้นจึง ประเมินใหม่ว่าต้องช่วยหายใจต่อไปหรือไม่ ยกเว้นการช่วยฟื้นชีวิตได้ผลดีมาก ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ตอบสนองต่อ คำพูดดี จึงให้หายใจเองไม่ต้องช่วยหายใจ 5. กระตุกหัวใจโดยเร็วถ้าเหมาะสม โดยใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ เพราะหัวใจหยุดเต้น กะทันหันมักเกิดจากหัวใจห้องล่างสั่นพลิ้วหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง ไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ การ กระตุกหัวใจจึงเป็นการรักษาที่เฉพาะเจาะจงสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุดทำให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นจังหวะปกติ ได้อีกครั้ง ประกอบกับเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ สามารถอ่านคลื่นหัวใจขณะหัวใจหยุดเต้น และ วิเคราะห์ว่าสามารถกระตุกหัวใจได้หรือไม่ โดยไม่ต้องให้ผู้ควบคุมเครื่องฯ แปลผลการวิเคราะห์ บุคคลอื่นที่ ไม่ใช่แพทย์แต่ผ่านการอบรม สามารถทำการกระตุกหัวใจได้ (Hammond and Zimmermann, eds., 2013; ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย, 2559) หยุดการช่วยชีวิตเมื่อมีเหตุการณ์ให้หยุด (STOP) ต่อไปนี้ 1) เอส (S: start) ผู้ป่วยเริ่มหายใจและมีชพี จร 2) ที (T : transfer) ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อไปยังบุคคลอื่นที่มีทักษะในการช่วยฟื้นชีวิตมากขึ้นหรือทีมช่วย ฟืน้ ชีวิตขั้นสูง 3) โอ (O: out of strength) ผู้ช่วยเหลือไม่มีกำลังหรืออ่อนล้าจนไม่สามารถปฏิบัติการช่วยชีวติ ได้ และ 4) พี (P: physician) แพทย์ผู้ให้การรักษาผู้ป่วยด้วยการปฏิบัติการแพทย์มีคำสั่งให้หยุดการช่วยชีวติ ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 7 จาก 16

(Pollak, ed., 2005; สันต์ หัตถีรัตน์, 2555) หลังช่วยฟื้นชีวิต ควรมีการประเมินความสำเร็จของการช่วยฟื้น ชีวิตด้วยตัวชี้วัดที่ดี เช่น ค่าเฉลี่ยความดันเลือดแดง (mean arterial pressure: MAP) มากกว่า 50 มม.ปรอท เพราะการจับชีพจรคาโรติดและขาหนีบยังไม่ดีพอ หรือใช้ค่าเอ็นไทดอลคาร์บอนไดออกไซด์ (end-tidal CO2) และแคบโนกราฟ (capnograph) มากกว่า 40 มม.ปรอท เป็นต้น ที่มา: วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล. (2562). การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยเหลือผู้ได้รับอุบัติเหตุ. ในเอกสาร การสอนชุดวิชา การตรวจประเมิน การบำบัดโรคเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพและการส่งต่อ (หน่วยที่ 6). นนทบุร:ี สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ตอนที่ 2

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินควรทำอย่างไร

การให้ความช่วยเหลือต่อผู้ประสบกับสถานการณ์ฉุกเฉินจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานในการช่วยเหลือ คนที่คุณรักหรือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทุกคนจึงควรเรียนรู้เรื่องการแจ้งเหตุเพื่อขอความช่วยเหลือ การช่วยฟื้น คืนชีพขั้นพื้นฐาน รวมถึงการใช้เครื่อง เอ อี ดี (AED) ระหว่างที่ทีมกู้ชีพยังเดินทางไปไม่ถึง ซึ่งเราจะมาเรียนรู้ ไปด้วยกันครับ เมื่อพบผู้ป่วยฉุกเฉิน ขั้นตอนแรกต้องมีการประเมินความปลอดภัยของที่เกิดเหตุก่อน โดยคิดเสมอว่า การที่เราจะเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น จะมีอันตรายอะไรที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราหรือไม่ ถ้าคิดว่าไม่ ปลอดภัย เช่น มีผู้นอนหมดสติอยู่กลางถนน มีรถวิ่งไปมา ก็อาจจะไม่ปลอดภัยสำหรับตัวเราผู้ช่วยเหลือ ก็ไม่ ควรวิ่งเข้าไปช่วยโดยไม่มีผู้ควบคุมรถให้ ขั้นตอนต่อมาต้องมีการแจ้งเหตุฉุกเฉิน 1669 โดยการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ผู้แจ้งเหตุควรให้ข้อมูลดังนี้ 1. ผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บเป็นอะไร/มีอาการอย่างไร/รู้สึกตัว/รู้สติตื่น พูดได้หรือไม่ 2. ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บอยู่ที่ไหน 3. หมายเลขโทรศัพท์ของผู้แจ้งเหตุ 4. ชื่อผู้แจ้งเหตุ สำหรับแนวทางการให้การช่วยเหลือจาก 1669 มีขั้นตอนดังนี้

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 8 จาก 16

ระบบปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 9 จาก 16

อาการฉุกเฉินที่ควรแจ้งเหตุมีดังนี้ 1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ 2. มีสิ่งแปลกปลอมอุดตันทางเดินหายใจ 3. หายใจเร็วและเหนื่อยหอบอย่างรุนแรง และหายใจมีเสียงดัง 4. ชักต่อเนื่องไม่หยุด 5. อาการชักในหญิงในตั้งครรภ์ 6. งูพิษกัด และมีอาการหนังตาตกหรือหายใจลำบาก 7. ถูก/โดนไฟไหม้ ได้รับสารพิษ สัตว์มีพิษกัดต่อย 8. ได้รับบาดเจ็บที่ดวงตา และการมองเห็นลดลงฉับพลัน 9. เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง 10. แขนขาอ่อนแรงซีกเดียวอย่างฉับพลัน 11. ปวดท้องคลอดที่มีนำ้ เดินร่วมกับมีเลือดออกทางช่องคลอด 12. บาดแผลโดนยิงที่ศีรษะ หรือลำคอ หรือหน้าอก หรือท้อง 13. บาดแผลโดนแทงที่ลำคอ หรือหน้าอก หรือท้อง 14. บาดแผลที่มีเลือดไหลออกปริมาณมาก และห้ามเลือดไหลไม่หยุด 15. มีอาการเหงื่อแตก ตัวเย็น จากการเสียเลือดมาก 16. บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุจราจร ตกจากที่สูง จมน้ำ ไฟฟ้าช็อต ตอนที่ 3-4

แนวทางการช่วยชีวิตฉุกเฉิน การช่วยชีวิตฉุกเฉิน

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 10 จาก 16

หลักการช่วยฟื้นคืนชีพ มีหลักการและขั้นตอนการฝึกดังนี้ครับ 1. ปลอดภัยไว้ก่อน โดยตรวจสอบความปลอดภัยก่อนเข้าช่วยเหลือ ถ้าอยู่ใน สถานการณ์ไม่ปลอดภัย เช่น ไฟฟ้ารั่ว ไฟไหม้ ตึกถล่ม ห้ามเข้าไปช่วยเหลือโดยเด็ดขาด

2. ปลุกเรียก ตบไหล่ ตรวจสอบดูว่าผู้ป่วยหมดสติหรือไม่ โดยตบที่ไหล่ทั้งสองข้าง พอที่จะปลุกคนหลับให้ตื่น ซึ่งอาจพูดว่า “คุณ คุณ เป็นอย่างไรบ้าง” พร้อมจัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบบนพื้นที่แข็ง

หากผู้ป่วยตื่นหรือรู้สึกตัวหรือหายใจเองได้ให้จัดท่านอนตะแคง

3. โทร 1669 เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ซึ่งอาจพูดว่า “ช่วยด้วย มีคนหมดสติ” และโทร 1669 หรือให้คนอื่นโทรก็ได้ พร้อมกับนำเครื่อง เอ อี ดี (AED) มา

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 11 จาก 16

4. ประเมินผู้หมดสติ ตรวจดูว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่ หากไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก ต้องรีบกดหน้าอก

5. กดหน้าอก การกดหน้าอกทำตามขั้นตอนดังนี้ 5.1 จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงายโดยผู้ช่วยเหลือนั่งคุกเข่าอยู่ ด้านข้างของผู้ป่วย 5.2 วางส้นมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก 5.3 วางมืออีกข้างวางทับประสานกันไว้ แขนสองข้างเหยียด ตรง โดยให้แนวแขนตั้งฉากกับหน้าอกของผู้ป่วย

5.4 เริ่มทำการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ด้วยความเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที โดยให้ส้นมือสัมผัสกับหน้าอกของผู้ป่วยตลอดการกดหน้าอก 5.5 ถ้ามีหน้ากากเป่าปาก เป่าปากผ่านหน้ากาก 2 ครั้ง สลับกับการกดหน้าอก 30 ครั้ง โดย นับ “หนึ่ง และสอง และ สาม และสี่ ..... และสิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม.........ยี่สิบ ยีบเอ็ด (ยี่สิบเอ็ด) ยีบสอง (ยี่สิบสอง).........ยีบเก้า สามสิบ”

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 12 จาก 16

5.6 ถ้าไม่มีหน้ากากเป่าปาก หรือไม่เคยฝึกเป่าปาก ให้ทำการกดหน้าอกอย่างเดียว อย่างต่อเนื่อง 5.7 กระทำการกดหน้าอกและเป่าปากอย่างต่อเนื่องจนกว่าทีมกู้ชีพจะไปถึงที่เกิดเหตุ 6. เมื่อเครื่อง เอ อี ดี (AED) มาถึง 1. เปิดเครื่อง 2. ถอดเสื้อผู้ป่วยออก 3. ถ้าตัวเปียกน้ำ ให้เช็ดน้ำออกก่อน แล้วติดแผ่นนำไฟฟ้า

7. ติดแผ่นนำไฟฟ้า ติดแผ่นนำไฟฟ้าบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า ด้านขวา และชายโครงด้านซ้าย (ตามภาพ) หลังจากนั้นไม่สัมผัสตัวผู้ป่วย

8. ปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่อง เอ อี ดี (AED) 1. หากเครื่องเอ อี ดี (AED) แปลผลว่าไม่ต้อง ช๊อกไฟฟ้าหัวใจ ให้กดหน้าอกต่อไป 2. หากเครื่องสั่งให้ช๊อกไฟฟ้าหัวใจ ผู้ช่วยเหลือพูด หรือตะโกนว่า “ถอยห่าง/ห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย” 3. กดปุ่ม ช๊อกตามเครื่องสั่ง

9. กดหน้าอกต่อหลังทำการ ช๊อกไฟฟ้าหัวใจแล้วทันที

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 13 จาก 16

10. ส่งต่อ เมื่อทีมกู้ชีพมาถึง 1. ทีมกู้ชีพจะทำการซักประวัติจากผู้ช่วยเหลือ 2. อะไรที่ผู้ช่วยเหลือได้ทำให้ผู้ป่วย 3. ทีมกู้ชีพจะนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และเหมาะสม สรุปแนวทางการช่วยชีวิตฉุกเฉิน

ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

ตอนที่ 5

หน้ า 14 จาก 16

เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (เอ อี ดี) “เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ เอ อี ดี” (Automated External Defibrillator, AED)

เป็นอุปกรณ์อิเล็ก ทรอนิกส์แบบพกพาชนิดหนึ่ง สามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็น อันตรายถึงชีวิต ชนิดเวนทริคูลาร์ฟิบริลเลชัน (ventricular fibrillation) (ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว) และเวนทริคู ลาร์ แทคี คาร์เ ดีย (ventricular tachycardia) (ภาวะหัว ใจห้อ งล่างเต้นเร็ว ผิดปกติ) ได้โ ดย อัตโนมัติ และสามารถให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าหยุดรูปแบบการเต้น ของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้อง

ปัจจุบันหากสังเกตให้ดีจะเห็นตู้กระจกเล็ก ๆ ติดตั้งอยู่ในที่สาธารณะทั้งในและต่างประเทศ โดยมี อักษรใหญ่เขียนว่า AED สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) รณรงค์อย่างต่อเนื่องถึงการเรียนรู้ขั้นตอนของห่วงโซ่การ รอดชีวิต เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการกู้ชีพให้ผู้ป่วยฉุกเฉิน หัวใจ หยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล โดยสิ่งที่ สำคัญของกระบวนการกู้ชีพ คือการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ หรือ AED ซึ่งขณะนี้ใน ประเทศไทยยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ด้วยเพราะข้อจำกัดหลายประการ อาทิ อุปกรณ์ดังกล่าวมีราคา สูง แต่ถือเป็นโอกาสอันดีที่ สพฉ. ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชนจากหลายองค์กร บริจาคเครื่องฟืน้ คืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ จำนวนหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนต่อไป สพฉ. จะนำเครื่องดังกล่าวไปติดตั้งให้กบั หน่วยงานและพื้นที่สาธารณะต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด เพื่อรณรงค์ให้มีการติดตั้งเครื่อง AED ในที่สาธารณะ ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันของผู้มาใช้บริการ ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 15 จาก 16

ผู้เข้าให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินจะต้องตระหนักถึงหลัก “3H” คือ 1. Hazard ก่อนการช่วยเหลือผู้ช่วยเหลือควรตรวจสอบอันตรายหรือภาวะเสี่ยงก่อนโดยจะต้องดูว่า บริเวณที่ผู้ป่วยอยู่นั้นมีอะไรอันตรายบ้างที่จะมีผลกระทบต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน 2. Help คือการช่วยเหลือโดยโทรผ่านสายด่วน 1669 พร้อมทั้งทำการปฐมพยาบาลตามคำแนะนำของผู้ ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน 3. Hello คือการเข้าไปปลุกเรียกผู้ป่วยฉุกเฉินซึ่งหากผู้ป่วยไม่ตอบสนองจากการช่วยเหลือตามแนวทาง สาม H แล้วให้ผู้เข้าให้การช่วยเหลือทำการฟื้นคืนชีพทันทีและรีบนำเครื่อง AED เข้ามาช่วยในการฟืน้ คืนชีพก็จะทำให้โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้น สำหรับเครื่อง AED เป็นเครื่องมือที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบอิเล็กทรอนิกส์พกพา ซึ่งประชาชนทั่วไปที่ได้รับ การฝึกฝนการใช้ก็สามารถใช้เครื่องนี้ได้ ภายใต้คำแนะนำของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินผ่านสายด่วน 1669 โดยเมื่อมีการเปิดการใช้งานของเครื่อง AED เครื่องก็จะสามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็น อันตรายถึงชีวิตได้ และสามารถให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าหยุดรูปแบบ การเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้องได้ โดยการรักษานั้น ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในเครื่องจะออกคำสั่งให้เราเป็นผู้ปฏิบัติตามได้ คือเริ่มแรกผู้ที่ทำการช่วยเหลือจะต้องเปิด ฝาเครื่อง AED และฉีกซองบรรจุอิเล็คโทรด โดยแผ่นอิเล็คโทรดจะมีอยู่ 2 ชิ้น ชิ้นแรกจะต้องนำไปติดบนทรวง อกตอนบนของผู้ป่วย และแผ่นที่สองจะต้องติดบนผิวทรวงอกตอนล่างของผู้ป่วย จากนั้นเครื่อง AED จะทำ การวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งขณะนี้ห้ามผู้ที่ช่วยเหลือสัมผัสตัวผู้ป่วยเด็ดขาด จากนั้นเมื่อเครื่อง วินิจฉัยเสร็จแล้วจะขึ้นสัญญาณให้ทำการช็อคไฟฟ้า ให้ผู้ช่วยเหลือตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีผู้ใดสัมผัสกับตัว ของผู้ป่วยอยู่ จึงทำการกดที่ปุ่มช็อคตามสัญญาณที่ปรากฏอยู่บนตัวเครื่อง และสลับกับการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ ผู้ป่วยหรือ CPR อย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นทุกๆ 2 นาที เครื่อง AED จะทำการวิเคราะห์รูปแบบการเต้นของ หัวใจอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบว่าจะต้องทำการช็อคด้วยไฟฟ้าอีกหรือไม่ ให้ผู้ช่วยเหลือปฏิบัติตามขั้นตอนเดิม ให้ทำวนไปเรื่อยๆจนกว่าเจ้าหน้าที่กู้ชีพจะมาถึง โดยการช่วยเหลือควรเริ่มต้นทำภายใน 3-5 นาที จะช่วยเพิม่ โอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินได้มากขึ้น ข้อมูลจาก: กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) http://www.niems.go.th/th/View/ContentDetails.aspx?CateId=110&ContentId=2558021709572 3381 เอกสารอ้างอิง: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.). (2559). คู่มือสำหรับประชาชนในการช่วยชีวิตผู้ป่วย ฉุกเฉินที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นด้วยเครื่อง เอ อี ดี. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน แห่งชาติ (สพฉ.) ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การเคลื่ อ นย้ า ยผู้ บ าดเจ็ บ และการนำส่ ง สถานพยาบาล

หน้ า 16 จาก 16

ตอนที่ 6 การช่วยชีวิตฉุกเฉินร่วมกับการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ ในสถานการณ์พิเศษ การช่วยชีวิตฉุกเฉินร่วมกับการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ เอ อี ดี ในสถานการณ์พิเศษ 6.1 ผู้ป่วยเด็ก 6.2 ผู้ป่วยจมน้ำ 6.3 ผู้ป่วยถูกไฟฟ้าช็อต 6.1 การช่วยเหลือผู้ป่วยเด็ก มีลำดับขั้นตอนเหมือนในผู้ป่วยผู้ใหญ่ ยกเว้นสัดส่วนปริมาณของการกด หน้าอกและการช่วยหายใจที่อาจมีความแตกต่างกันบ้าง โดยให้พิจารณาว่าในขณะนั้นมีผู้ช่วยเหลือที่สามารถ ช่วยผู้ป่วยได้อยู่กี่คน ถ้ามีผู้ช่วยเหลือเพียงคนเดียว ให้ทำการกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง (30 ต่อ 2 เหมือนผู้ป่วยผู ้ใหญ่) แต่ถ้าในขณะนั้นมีผู้ช่วยเหลืออยู่อย่างน้อย 2 คน ขึ้นไป ให้ผู้ที่ทำการกด หน้าอก กดหน้าอก 15 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจโดยผู้ช่วยเหลืออีกคนหนึ่ง จำนวน 2 ครั้ง (15 ต่อ 2) วิธีการกดหน้าอก ในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี และผู้ช่วยเหลือเป็นผู้ใหญ่ และนำการกดหน้าอกด้วยการใช้ มือข้างเดียว วางลงบนตำแหน่งเดียวกับผู้ป่วยผู้ใหญ่ และกดให้มีความลึก 5 เซนติเมตร และอัตราเร็ว 100120 ครั้งต่อนาที การใช้ AED ใช้งานเครื่องเดียวกับผู้ป่วยผู้ใหญ่ และมีลำดับขั้นตอนการใช้งานเหมือนกัน 6.2 ในการช่วยเหลือผู ้ที่จมน้ำ สิ่งสำคัญคือการเริ่มต้นการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานให้เร็วที่สุดเท่าที่เร็วได้ เพราะมีความสัมพันธ์กับการรอดชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง อย่างไรก็ตาม การเริ่มต้นช่วยชีวิตควรเริ่มหลังจาก ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือขึ้นมาจากน้ำแล้ว ผู้ช่วยเหลือที่ไม่เคยได้รับการฝึกฝนการช่วยคนจมน้ำ และไม่มี อุปกรณ์ช่วยเหลือที่ดีพอ ห้ามลงไปช่วยผู้ที่จมน้ำด้วยตนเอง เพราะจะเป็นอันตรายต่อชีวิตผูช้ ่วยเหลือได้ หลังจากผู้ป่วยได้รับการช่วยขึ้นมาจากน้ำแล้ว ถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว และไม่หายใจ ให้เริ่มต้นกระบวนการ ช่วยชีวิตฉุกเฉินตามขั้นตอนปกติได้เลย มีข้อควรระวังคือ ผู้ที่จมน้ำส่วนหนึ่งจะมีการบาดเจ็บของกระดูกต้นคอ ร่วมด้วยได้ ดังนั้นไม่ควรขยับศีรษะหรือคอของผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น ให้ทำการกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง และเมื่อจะใช้เครื่อง AED ต้องมีการเช็ด บริเวณหน้าอกของผู้ป่วยให้แห้ง ก่อนการติดแผ่นอิเล็คโทรด และก่อนการใช้งานเครื่อง AED เพื่อป้องกันการ รั่วของกระแสไฟฟ้า 6.3 ในการช่ วยเหลือผู้ป ่วยถูกไฟฟ้ าช็อต สิ ่ง สำคัญคือการประเมินความปลอดภัยก่อ นที่จะเข้าไป ช่วยเหลือ ตรวจสอบว่ายังมีไฟฟ้ารั่วอยู่หรือไม่ ได้ตัดไฟในบริเวณนั้นหรือยัง การเข้าไปช่วยเหลือโดยไม่มีการ ตรวจสอบอย่างชัดเจนก่อน จะเป็นอันตรายต่อผู้เข้าไปช่วยเหลือได้ ขั้นตอนการช่วยชีวิตฉุกเฉินในผูท้ ี่ถูกไฟฟ้าช็อต ไม่มีความแตกต่างจากผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นด้วยสาเหตุอนื่ ให้ทำการกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง และใช้เครื่อง AED อย่างรวดเร็ว เรี ยบเรี ยงเนื้ อหาโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ วินชนะ ศรี วิไ ลทนต์ ภาควิ ชาเวชศาสตร์ ฉุกเฉิ น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิ ทยาลั ยธรรมศาสตร์ และ ผู้ ช่วยศาสตราจารย์ เ อกพล กาละดี สาขาวิ ชาวิ ทยาศาสตร์ สุขภาพ มหาวิ ทยาลั ยสุ โขทั ยธรรมาธิ ราช ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.