【 52311x52404 】เรื่อง การดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการไข้

Page 1

เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การดู แ ลผู้ ป่ วยเบื้ อ งต้ น กลุ่ มอาการไข้

หน้ า 1 จาก 6

เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ ชุ ด วิ ช า 52311 การปฐมพยาบาลและการบำบั ด โรคเบื้ อ งต้ น สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช

การดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการไข้ ภาพปก “Catch a cold” โดย Myriam (2016) จาก pixabay.com/en/cold-catch-a-cold-sniff-1947995

ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การดู แ ลผู้ ป่ วยเบื้ อ งต้ น กลุ่ มอาการไข้

หน้ า 2 จาก 6

ความหมายและลักษณะอาการไข้ ความหมายของอาการไข้ อาการไข้ (Fever หรื อ Pyrexia) เป็ น อาการที่ แ สดงให้ ท ราบว่ า ร่ า งกายมี อุ ณ หภู มิสู ง กว่า ปกติ โดยอุ ณ หภู ม ิ ป กติ (Normal) ของร่ า งกายอยู่ ร ะหว่ า ง 36.5-37.5

o

C ( 97.7- 99.5

o

F)

เมื่อ มีไข้ (Fever) อุ ณหภู มิ ม ากกว่ า 37.5 -38.3 o C (99.5-100.9 o F) สาเหตุของการเป็นไข้ร้อ ยละ 90 เกิ ด จากการที่ มี เ ชื้ อ โรคเข้ า สู่ ร่ า งกาย นอกจากนั้ น พบเนื่ อ งจากสาเหตุ อื่ น เช่ น ภายหลั ง ได้รับ วั ค ซี น มี บ าดแผลหรื อ หลั ง ผ่ า ตั ด แพ้ ย า โรคทางเม็ ด โลหิ ต โรคทางสมอง โรคธั ยรอยด์ และภาวะ ขาดน้ำเป็นต้น เนื่อ งจากการเสียสมดุล ในการปรับ ความร้อ นในร่างกาย อาการไข้ มัก จะมีอ าการอื่นร่วมด้ วย ตามระบบต่างๆ อาการร่วมที่มัก เกิดขึ้นเมื่อ ร่างกายมี ไ ข้ คื อ ครั่ น เนื้ อ ครั่ น ตั ว หนาวสั่ น ปวดศี ร ษะ ปวดเมื่ อ ยตามตั ว อ่ อ นเพลี ย เบื่ อ อาหาร ปากแห้ ง คอแห้ง กระหายน้ำ ปัส สาวะน้อ ยและสีเ ข้ม หายใจหอบเหนื่อ ย ชีพ จรเร็ว ลักษณะอาการไข้ อาการของไข้มี ชนิดหรื อ ลัก ษณะ หรือ รูป แบบแตกต่างกันไป ดัง นี้

ภาพที่ 8.3 ชนิดหรื อ ลัก ษณะของอาการไข้ ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การดู แ ลผู้ ป่ วยเบื้ อ งต้ น กลุ่ มอาการไข้

หน้ า 3 จาก 6

ขออธิบ ายภาพที่ 8.3 1) ไข้ ที่ ม ี ลั ก ษณะสู ง ลอย ดั ง กราฟ A (Continuous or Sustained Fever) หรื อ กราฟ B (Fever continues to abrupt onset and remission) โดยมี ไ ข้ ส ู ง ปานกลาง ระดั บ อุ ณ หภู มิ ขึ้ น ลงได้ บ้ า งแต่ ไ ม่ เ กิ น 1°C ในช่ ว ง 24 ชั่ ว โมง พบในโรคปอดบวม การติ ด เชื้ อ ไทฟอยด์ห รือ ริตเก็ตเซีย (Rickettsia) และในผู้ป่วยที่มีพ ยาธิส ภาพในสมอง เป็นต้น 2) ไข้ ที่ มี ลั ก ษณะสู ง ปานกลางแต่ อ ยู่ สู ง กว่า ระดั บ ปกติต ลอดทั้ ง วั น ดั ง กราฟ C (Remittent Fever) โดยมี ไ ข้ สู ง ปานกลาง ระดั บ อุ ณ หภู มิ ขึ้ น ลงมากกว่ า 1°C ในช่ ว ง 24 ชั่ ว โมงพบใน โรคลิ้นหัวใจอัก เสบติดเชื้อ (infective endocarditis) 3) ไข้ ที่ มี ลั ก ษณะขึ้ น ๆลงๆ ดั ง กราฟ D (intermittent or Septic Fever) มี ช่ ว งที่ ไ ข้ ล งมา สัม ผัส พื้นหรือ ระดับปกติ (Baseline) อย่างน้อ ย 1 ครั้ง ในช่วง 24 ชั่วโมง พบในโรคฝีห นอง วั ณโรคระยะแพร่ ก ระจาย กรวยไตอัก เสบ หรือ มีไข้วันเว้นวัน หรือ ทุก ๆ 2 วัน เช่น การติด เชื้อ มาลาเรีย เป็นต้น 4) ไข้ ที่ มี ลั ก ษณะขึ้ น ลงเป็ น เส้ น โค้ ง เหมื อ นลู ก คลื่ น ดั ง กราฟ E (Undulant Fever) พบใน โรคบรู เ ซลโลซิ ส (Brucellosis) ซึ่ ง เกิ ด จากการดื่ ม นมที่ ไ ม่ ผ่า นขบวนการทำให้ ป ลอดเชื้อ เป็นต้น 5) ไข้ ที่ มี ลั ก ษณะเป็ น ๆหายๆสลั บ กั น ไปมา ที่ เ รี ย กว่ า ไข้ ก ลั บ ซํ้ า ดั ง กราฟ F (Relapsing Fever) มี อ าการไข้ 2-3 วั น แล้ ว หยุ ด ไป 3-4 วั น แล้ ว กลับ มามี ไ ข้อี ก 2-3 วั น สลั บ กันไป มาอยู่ เช่ น นี้ ป ระมาณ 2-10 ครั้ ง พบในโรคติ ด เชื้ อ บางชนิ ด เช่ น ไข้ ห นู ก ั ด (Rat-bite Fever) ไข้โ ลนกัด เห็บ กัด (Louse-born or Tick-born Fever) ไข้ม าลาเรียบางชนิด โรค ไทฟัส และมะเร็ง ต่อ มน้ำเหลือ ง (Lymphoma)

สาเหตุและการวินิจ ฉัยแยกโรค สาเหตุ ข องอาการไข้ ผู้ ป่ ว ยที่ ม าพบแพทย์ ด้ว ยอาการไข้ ให้ แ ยกก่อ นว่ า เป็ น ไข้ เ ฉี ย บพลัน (AFI: Acute Febrile illness) ซึ่ ง เป็ น มาไม่ เ กิ น 1-2 สั ป ดาห์ หรื อ เป็ นไข้เ รื้อ รั ง (Prolong Fever) ซึ่ ง เป็ นมานานเกิ น 3 สั ป ดาห์ โดยทั่ ว ไป สาเหตุ ส่ ว นใหญ่ ที่ ท ำให้ เ กิ ด อาการไข้ คื อ การติ ด เชื้ อ โรคภู มิ แ พ้ตั ว เอง หรื อ โรค ของเนื้อ เยื่อ เกี่ยวพัน ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การดู แ ลผู้ ป่ วยเบื้ อ งต้ น กลุ่ มอาการไข้

หน้ า 4 จาก 6

การวินิจฉัย โรค จากกลุ่ม อาการไข้ ดัง ได้ก ล่าวมาแล้ วข้างต้ น มั ก จะมีอ าการอื่นร่ว มด้ว ย ตามระบบต่างๆ ซึ่ง ต้ อ งอาศั ย การซั ก ประวั ติ และการตรวจร่ า งกายช่ ว ยในการวิ นิ จ ฉั ย โรค ซึ่ ง มี อ าการไข้ ร่ ว มกั บ อาการ อื่นๆ ที่พ บบ่อ ย ถ้าแบ่ง เป็นกลุ่ม จะพบ 5 กลุ่ม ดัง นี้ กลุ่ม ที่ 1 อาการไข้ ไอ เจ็บ คอ อาเจียน หอบ กลุ่ม ที่ 2 อาการไข้ อ่อ นเพลีย เบื่อ อหาร ปวดศีร ษะ ซึม เพ้อ กลุ่ม ที่ 3 อาการไข้ ผื่น ตุ่ม จุด หรือ จ้ำ กลุ่ม ที่ 4 อาการไข้ ชัก กลุ่ม ที่ 5 อาการไข้ ปวดท้อ ง เพื่ อ ให้ ง ่ า ยต่ อ การนำไปใช้ จะแยกโรคตามกลุ่ ม อาการไข้ ที่ มี อ าการร่ ว มคล้ า ยๆ กั น การ วิ นิจ ฉั ยแยกโรค ควรทำเป็ นตารางแสดงลั ก ษณะไข้ อาการร่ วม การตรวจร่ างกาย อาการแทรกซ้ อ น และการรั ก ษาพยาบาลเบื้อ งต้น ดัง ตารางที่ 8.1-8.5

การดูแลเบื้องต้นกลุ่มอาการไข้ เนื่อ งจากอาการไข้ มีได้ห ลายสาเหตุ สาเหตุส่วนใหญ่ที่ท ำให้เ กิดอาการไข้ก็ คือ การติ ดเชื้ อ โรค ซึ่ ง มี ช นิ ด ของเชื ้ อ โรคต่ า งๆ มากมาย ไม่ ว่ า จะเป็ น เชื้ อ ไวรั ส เชื้ อ แบคที เ รี ย เชื้ อ รา ปรสิ ต และ หนอนพยาธิ เป็นต้น การรัก ษาคือ การให้ยาปฏิชีวนะตามผลการเพาะเชื้อ (Culture) ในทางคลินิก นั้น แพทย์ ม ั ก ให้ ย าปฏิ ชี ว นะชนิ ด ออกฤทธิ์ ก ว้ า ง (Broad Spectrum Antibiotics) ไปก่ อ น โดยมี แ นว ทางการรัก ษาเบื้อ งต้นดัง ต่อ ไปนี้ 1. การรักษาตามอาการ ได้แก่ การเช็ดตัวลดไข้ มีห ลายวิธีดัง นี้ 1.1 เช็ ด ตั ว ลดไข้ ด้ว ยน้ำ ธรรมดา น้ ำ อุ ณ หภู มิ 15-30 °C ทำให้ ห ลอดเลื อ ดที่ ผิ ว หนั ง ขยาย รั ก ษาอุ ณ หภูมิน้ำ คงที่ ใช้ ผ้ า เปี ยกถูต ามผิ ว หนั ง กระตุ้ น การไหลเวี ย นเลือ ด เช็ ด เข้ า หาหั ว ใจตามข้ อ พัก ซอกคอ นาน 15-20 นาที

ห่ม ผ้าหากมีอ าการหนาว หรือ หยุดเช็ด และแนะนำให้ดื่ม น้ำมากๆ

1.2 เช็ดตัวลดไข้ด้ว ยน้ำเย็นจั ด (COLD SPONGE) ใช้น้ำเย็นที่อุ ณหภู มิ น้ ำประมาณ 15 °C อั ตราส่ วน น้ำเย็น : น้ำแข็ง = 1:1 ซึ่ง น้ำเย็นช่วยดึง ความร้อ นออกจากร่างกาย

ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การดู แ ลผู้ ป่ วยเบื้ อ งต้ น กลุ่ มอาการไข้

หน้ า 5 จาก 6

1.3 เช็ดตัวลดไข้ ด้ ว ยน้ ำอุ่น (WORM SPONGE) ใช้น้ำอุ่นที่อุ ณหภูมิน้ ำประมาณ 40 °C ซึ่ ง น้ ำ อุ่ น ทำให้ ห ลอดเลื อ ดขยายตั ว (Vasodilatation) และช่ ว ยระบายความร้ อ นไปสู่ สิ่ ง แวดล้ อ ม ได้ม ากขึ้น 1.4 เช็ ด ตั ว ลดไข้ ด้ ว ยแอลกอฮอล์ (ALCOHOL SPONGE) ทำให้ ไ ข้ ล ดลงรวดเร็ ว แต่ มี กลิ่นเหม็น ระคายเคื อ งตา ทำให้ผิ วหนั ง แห้ ง แตก และเป็นพิษทางเดินหายใจ 2. การให้ ย าลดไข้ (Antipyretic Drug) ได้ แ ก่ ยาที่ รู้ จั ก กั น โดยทั่ ว ไป คื อ ยาพาราเซตา มอล (Paracetamol) หรือ ให้ยาในกลุ่ม NSAID (Non Steroidal Anti inflammation Drug) หาก มีก ารอัก เสบร่วมด้ว ย ไม่แนะนำให้ใ ช้ ยาในกลุ่ม สเตียรอยด์ เนื่อ งจากมีผ ลข้างเคียงมาก ห้า มใช้ ย า แอสไพรินในผู้ป่วยเด็ก เนื่อ งจากทำให้เ กิด Reye’s Syndrome ซึ่ง ทำให้เ ด็ก เสียชีวิตได้ 3. การชดเชยตามปัญ หาที่พบ 3.1 เนื่อ งจากการเพิ่ม ขึ้นของอุณหภูมิ 1 °C ทำให้ร่างกายมีก ารเผาผลาญพลัง งานมากขึ้ น ร้ อ ยละ 12 ดัง นั้น หากมีอ าการไข้ร่ ว มกับ อาการเบื่อ อาหาร รับ ประทานได้น้ อ ย แพทย์ ให้ชดเชยด้ ว ย การให้อ าหารทางสายยาง (NasoGastric intubation) หรือ ให้ก ลูโ คสและสารอาหารทางหลอดเลือ ด ดำ (Parenteral Nutrition) 3.2 เนื่อ งจากอาการไข้ท ำให้มีก ารสูญ เสี ยน้ำ ไปโดยไม่รู้สึก ตัว (insensible Loss) เพิ่ม ขึ้ น กว่าปกติ 300-500 ซีซีต่อ ตารางเมตรของพื้นที่ผิวร่ างกายต่ อ องศาเซลเซียสที่เ พิ่ม ขึ้น ต่อ วั น ให้ชดเชย ด้วยการดื่ม น้ำ หรือ กรณีที่ดื่ม น้ำไม่ได้เ นื่อ งจากมีอ าการคลื่นไส้อ าเจียนร่วมด้วย แพทย์พิจ ารณาชดเชย ด้ วยการให้ ส ารน้ ำทางหลอดเลื อ ดดำ 3.3 เนื่อ งจากอาการไข้ท ำให้ชีพ จรหรือ อัตราการเต้นของหัว ใจเร็วขึ้น 15 ครั้ง ต่อ นาทีต่ อ องศาเซลเซี ย สที่เ พิ่ ม ขึ้น จึ ง อาจทำให้ ผู้ ป่ ว ยรู้ สึ ก ใจสั่ น หรื อ ในรายที่ เ ป็น โรคหั ว ใจอยู่ก่ อ น ก็ อ าจเกิด ภาวะหั ว ใจวาย (Congestive Heart Failure) ขึ้ น ได้ ก็ ใ ห้ก ารรั ก ษาด้ ว ยการให้ ยาขั บ ปั ส สาวะ หากมี อ า ก า ร เจ็ บหน้ า อก จา กกล้ าม เนื ้ อหั วใจขา ดเ ลื อ ด ( Ischemic Heart Disease or Coronary Syndrome) แพทย์ให้ก ารรัก ษาด้วยการให้ยาขยายหลอดเลือ ดหัวใจ 3.4 เนื่อ งจากอาการไข้ท ำให้อัตราการหายใจเร็ว ขึ้น (Hyperventilation) ทำให้เ กิดภาวะ เลื อ ดเป็ นด่ างจากการหายใจ (Respiratory Alkalosis) ซึ่ ง ร่า งกายก็ จ ะชดเชยด้ว ยการให้ไ ต (Renal Compensation) มี ก ารดู ด กลั บ (Reabsorption) สารไบคาร์ โ บเนตลดลง เพื่ อ ให้ เ กิ ด ภาวะกรดจาก ขบวนการเมตาบอลิ ก (Metabolic Acidosis) การฝึ ก ให้ ผ ู ้ ป ่ ว ยหายใจลึ ก ๆช้ า ๆ ร่ ว มกั บ การให้ ออกซิเ จนช่วยแก้ไขการเสียสมดุล กรดด่างนี้ ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช


เอกสารประกอบการสอนออนไลน์ เรื่ อ ง การดู แ ลผู้ ป่ วยเบื้ อ งต้ น กลุ่ มอาการไข้

หน้ า 6 จาก 6

3.5 เนื่ อ งจากเชื้ อ โรคที่ เ ป็ น สาเหตุส่ ว นใหญ่ ที่ ท ำให้ เ กิ ด อาการไข้ มี ก ารใช้ แ ร่ ธ าตุ เช่ น แร่ เหล็ก และสัง กะสี เป็นต้น ในการแบ่ง ตัวและเจริญ เติบ โต ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุเ หล่านี้ได้ แพทย์ให้ การรัก ษาด้วยการให้ธาตุเ หล็ก และสัง กะสีชดเชย เป็นต้น 3.6 เนื่ อ งจากเมื่อ เกิ ด อาการไข้ มี ก ารกระตุ้น การสร้ า งสารต่า งๆ ของกระบวนการอั ก เสบ ขึ้ น ในร่ า งกาย สารต่ า งๆนี้ มี ผ ลให้ เ กิ ด ความดั น โลหิ ต ต่ ำ ที่ เ รี ย กว่ า Septic Shock ได้ ให้ รี บ นำส่ง รพ. ทันที แพทย์จ ะให้รัก ษาด้วยการให้ยาเพิ่ม ความดันเลือ ด เช่น โดปามีน เป็นต้น หรือ อาจเกิดภาวะลิ่ม เลือ ดกระจายทั่วไปในหลอดเลื อ ด (Disseminated intravascular clotting, DIC) ตามมาซึ่ง เป็น ภาวะที่เ ป็นอันตรายจนถึง แก่ชีวิตได้ ให้รีบ หาสาเหตุแล้วรัก ษาไปตามสาเหตุนั้นๆ

ชุ ด วิ ชา 523 11 การปฐมพยาบาล และการบำบั ด โรคเบื้ องต้ น

สาขาวิ ช าวิ ท ย าศาสต ร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ยสุ โ ขทั ย ธรรม าธิ ร าช


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.