© สงวนลิขสิทธิ์ สำ�นักพิมพ์ Happy Hour พ.ศ. 2559 ห้ามทำ�การลอกเลียนไม่วา่ ส่วนหนึง่ ส่วนใดของหนังสือเล่มนีน้ อกจากจะได้รบั อนุญาต ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ เนตัน มิลส์. สูตรลับปรับสำ�เนียง = Accent Recipe. -- กรุงเทพฯ : แฮปปี้ เอาเออ, 2559. 176 หน้า. 1. ภาษาอังกฤษ -- การออกเสียง. I. นัศรินทร์ ลีลาสุนทรวัฒนา, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 421.52 ISBN 978-616-92350-7-1 พิมพ์ครั้งที่ 1 : สิงหาคม 2559 ราคา 220 บาท พิมพ์ที่ : บริษัท แกรนด์อาร์ต ครีเอทีฟ จำ�กัด 31/10 ซอยวัฒนานิเวศน์ 7 แยก 3 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2693-0787 จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2751-5999 https://www.se-ed.com
Happy Hour Team บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ จุติพร อู่ไพบูรณ์, นัศรินทร์ ลีลาสุนทรวัฒนา ฝ่ายศิลปกรรม Happy Hour Studio พิสูจน์อักษร ขวัญจิต เลิศผดุงธรรม
จัดทำ�โดย : น.ส. จุติพร อู่ไพบูรณ์ (สำ�นักพิมพ์ แฮปปี้ เอาเออ) 39/8 ถ. สุขาภิบาล 5 ซอย 82 แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510 Tel: 099-536-1644 / E-mail: info@happyhourbooks.com Facebook Page: happyhourbook www.happyhourbooks.com This book is protected by copyright. If you want to translate into another language, you must obtain permission from the owner of the original copyright. Please contact us: info@happyhourbooks.com
ในกรณีที่ตอ้ งการซือ้ เป็นจำ�นวนมากเพื่อใช้ ในการสอน การฝึกอบรม การส่งเสริมการขาย หรือเป็นของขวัญ พิเศษ เป็นต้น กรุณาติดต่อสอบถามราคาพิเศษได้ที่ ฝ่ายขาย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8000 โทรสาร 0-2751-5999
ในกรณีซื้อหนังสือแล้วมีการชำ�รุดหรือไม่ครบสมบูรณ์ กรุณาส่งกลับมาที่ สำ�นักพิมพ์ Happy Hour 39/8 ถ. สุขาภิบาล 5 ซอย 82 แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510 แล้วทางสำ�นักพิมพ์จะจัดส่งหนังสือเล่มใหม่ไปให้ท่าน ติดต่อสอบถามได้ที่ โทรศัพท์ 0-2943-1285
Nathan Mills Writer's profile
ประวัติผู้เขียน Nathan Mills (เนตัน มิลส์) มีพื้นเพเดิมอยู่ที่เมือง Columbus รัฐ Ohio และ เติบโตในย่านใกล้เคียงชือ่ Canal Winchester ด้วยความทีเ่ นตันมีความสนใจใน เรือ่ งภาษาตัง้ แต่วยั เยาว์ รวมถึงการมีใจรักในการท่องเทีย่ วและใช้ชวี ติ ในต่างแดน จึงทำ�ให้เนตันเลือกทีจ่ ะเรียนต่อในสาขาการสอนภาษาอังกฤษ และนอกจากนีย้ งั เรียนภาษาอื่นๆ อีก เช่น ภาษาสเปน ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาญี่ปุ่น หลังจากเรียนจบจาก Ohio University เนตันได้เข้าทำ�งานที่มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนคร เป็นเวลา 1 ปี ณ ช่วงเวลานั้นเขาเลือกที่จะไม่กลับไปเรียนต่อ ที่ Ohio แต่เนตันเลือกที่จะเรียนต่อปริญญาโท สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Linguistics) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเนตัน ก็ยังเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษให้กับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศของทาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ควบคู่กันไปกับการเรียนปริญญา โทจนถึงปี พ.ศ. 2549 ยกเว้นปี พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2546 เขาได้กลับไปสอน ที่มหาวิทยาลัยในรัฐ Ohio ถึง 3 แห่ง ได้แก่ Xavier University, The Ohio State University และ Columbus State Community College เนตันได้ย้ายกลับไปอาศัยอยู่ที่รัฐ Ohio อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2549 และเป็น อาจารย์อยู่ที่ Ashland University ณ เมือง Ashland รัฐ Ohio เป็นเวลา 5 ปี หลังจากนั้นเขาได้เป็นผู้อำ�นวยการของ Intensive English Program ของ Ohio Northern University ณ เมือง Ada รัฐ Ohio เขามีบทบาทอย่างมาก ในการพัฒนา Intensive English Program ให้ได้ผ่านการรับรองคุณภาพการ ศึกษา และในที่สุดเขาได้ย้ายกลับมาเมืองไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2559 เพื่อที่ จะเริ่มเปิดหลักสูตรการสอน Accent Reduction (การปรับสำ�เนียงการพูด ภาษาอังกฤษ) ในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่
เนตันเริ่มสนใจเรื่อง Accent Reduction ตั้งแต่ที่เขาสอน Spoken English Program ของ Ohio State University เขาได้รบั การฝึกให้วเิ คราะห์ สำ�เนียงของนักเรียนต่างชาติที่ได้รับหน้าที่ให้สอนในระดับปริญญาตรี เนตันจึงเปิดสอนวิชา Accent Reduction ให้กับนักเรียนต่างชาติกลุ่มนี้ เขาได้น�ำ ประสบการณ์ทเี่ ขาเรียนรูจ้ ากการสอนที่ Ohio State University มาต่อยอดและพัฒนาต่ออย่างสมบูรณ์แบบที่ Ashland University และ Ohio Northern University นอกจากนี้เขายังได้ใช้ความเชี่ยวชาญของเขาในเรื่องการปรับสำ�เนียง ช่วย นักแสดงต่างชาติที่มาทำ�งานในกรุงเทพฯ ยกตัวอย่างเช่น นักแสดงที่มี สำ�เนียงเช็ก (Czech) ที่แสดงในภาพยนตร์เรื่อง Bangkok Dangerous นำ�แสดงโดย Nicolas Cage การช่วยเหลือของเนตันในครัง้ นัน้ เป็นทีช่ นื่ ชม และประสบความสำ�เร็จเป็นอย่างมาก นอกจากบทบาททางด้านการศึกษา และความเชีย่ วชาญด้านภาษา เนตัน ยังเป็นนักอ่านและนักเขียนตัวยง น้อยคนนักทีจ่ ะรูว้ า่ เขามีผลงานด้าน นวนิยายที่ถูกตีพิมพ์ถึง 3 เล่ม และ สิง่ ทีเ่ ขาชอบทำ�ในยามว่างคือการได้ ลิม้ ลองอาหารหลากหลายแนว โดยเฉพาะร้านทีน่ า่ สนใจ และ มีเอกลักษณ์
6
สำ�เนียง คืออะไร ทำ�ไมเราจึงมีสำ�เนียงที่แตกต่างกัน เราสามารถเอาชนะอุปสรรค เรื่องสำ�เนียงของเราได้ไหม ทำ�ไมคุณถึงต้องใส่ใจกับสำ�เนียง
7
คำ�นำ�ผู้เขียน “สำ�เนียงคืออะไร” สำ�เนียงคือสิง่ ทีบ่ ง่ บอกว่าคุณเป็นคนต่างชาติ พูดต่างภาษา หรือไม่กเ็ ป็นบุคคลที่ ไม่ได้พดู ภาษานัน้ ๆ ตัง้ แต่เกิดหรือวัยเยาว์ แต่ทจี่ ริงแล้ว “สำ�เนียงเป็นสัญลักษณ์ ของความกล้าหาญ” มันไม่ใช่เรือ่ งง่ายเลยในความพยายามทีจ่ ะสือ่ สารภาษาที่ สอง เสี่ยงต่อการเข้าใจผิดในที่สาธารณะ เนื่องจาก 9 ใน 10 ของคนส่วนใหญ่ ไม่มีความมั่นใจพอและยังเขินอายในสำ�เนียงของตน ไม่ว่าคุณกำ�ลังเรียนภาษาอังกฤษระดับขั้นไหนอยู่ ผมขอให้คุณภูมิใจในความ มุง่ มัน่ ในการเรียนภาษาอังกฤษของคุณ แม้วา่ จะยังพูดไม่ได้เหมือนเจ้าของภาษา “ทำ�ไมเราจึงมีสำ�เนียงที่แตกต่างกัน” หลักทางภาษาศาสตร์ได้อธิบายไว้วา่ สำ�เนียงนัน้ เกิดขึน้ เมือ่ ภาษาแม่ของเราเป็น อุปสรรคต่อภาษาทีส่ อง ด้วยเหตุผลนีเ้ องจึงทำ�ให้เกิด “interlanguage” ซึง่ เป็น ผลจากการที่ภาษาแม่มีอิทธิพลในการออกเสียงในภาษาที่สอง หลักทางสรีรวิทยาอธิบายไว้ว่า ลิ้น ริมฝีปาก ลำ�คอ และฟัน ไม่ได้ทำ�งานเพื่อ เปล่งเสียงออกมาชัดในวิธีเดียวกับที่เจ้าของภาษาพูด หลักทางสังคมวิทยาได้อธิบายไว้วา่ การทีค่ นเราไม่สามารถพูดได้เหมือนเจ้าของ ภาษานั้น เป็นเพราะว่าเราไม่ได้คลุกคลีทางวัฒนธรรม ทางความคิด หรือทาง อารมณ์ กับวัฒนธรรมของภาษาต่างประเทศนั้นๆ
“เราสามารถเอาชนะอุปสรรคเรื่องสำ�เนียงของเราได้ไหม” ปฏิเสธไม่ได้วา่ การทีจ่ ะพูดได้เหมือนเจ้าของภาษาโดยทีไ่ ม่ได้เรียนมาตัง้ แต่เด็กๆ เป็นเรื่องยาก แต่ถ้าหากรู้หลักทางภาษาศาสตร์ สรีรวิทยา และสังคมวิทยา อุปสรรคนี้อาจจะกลายเป็นเรื่องง่ายดาย เราสามารถเรียนรู้หลักเกณฑ์ต่างๆ ได้ และถ้าหากเรายิ่งฝึกฝนอย่างสมำ่�เสมอ เราจะสามารถเรียนรู้วิธีใหม่ๆ ในการเปล่งเสียงออกมาให้ได้ชัดเจนมากขึ้น วัฒนธรรมของภาษาที่สอง เป็นหัวใจสำ�คัญในการเรียนภาษานั้นๆ ซึ่งเป็นเรื่อง ที่ท้าทายมากที่เราจำ�เป็นจะต้องปรับทัศนคติใหม่ให้เข้าใจวัฒธรรมของเขา แต่ ถ้าหากคุณมีสื่อในการเรียนที่ถูกต้อง และเรียนในโปรแกรมที่ดีกับผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านนี้ เชื่อเหลือเกินว่าคุณจะสามารถพัฒนาสำ�เนียงของคุณให้ใกล้เคียง เจ้าของภาษาได้มากขึ้น “ทำ�ไมคุณถึงต้องใส่ใจกับสำ�เนียง” ในขณะทีบ่ างคนอาจจะกังวลว่าคนอืน่ จะคิดยังไงกับสำ�เนียงทีไ่ ม่ชดั หรืออาจจะ ติดสำ�เนียงไทยๆ ของตน สิ่งเดียวที่คุณควรทำ�ก็คือให้ความเชื่อมั่นกับตัวคุณเอง เพือ่ ทีจ่ ะเปิดโอกาสใหม่ๆ ไม่วา่ คุณเป็นนักศึกษาทีอ่ ยากไปศึกษาต่อต่างประเทศ นักธุรกิจทีอ่ ยากจะขยายตลาดใหม่ๆ หรือแม้แต่ดารานักแสดงทีม่ คี วามปรารถนา ที่จะสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ดีขึ้น ถ้าหากคุณมีส�ำ เนียงทีด่ แี ล้ว คุณอาจจะได้รบั การยอมรับและความเคารพยกย่อง มากขึน้ และสิง่ นีเ้ องทีจ่ ะนำ�โอกาสใหม่ๆ มาสูค่ วามสำ�เร็จของคุณ ขอต้อนรับเข้าสู่ ก้าวแรกในการพัฒนาสำ�เนียงของคุณครับ
OUR
translator ประวัติผู้แปล
นัศรินทร์ ลีลาสุนทรวัฒนา
การศึกษา: The Master of Teaching English to Speakers of Other Languages and Bilingual Education - The University of Findlay (Ohio, USA) ผลงานปัจจุบัน: - เจ้าของผลงานหนังสือชื่อ English at Work และ เลือกใช้ศัพท์ให้ฝรั่ง Like - ตัวอย่างผลงานหนังสือ : https://issuu.com/happyhourbook - นักพากย์เสียง นักบรรยายเสียงภาษาอังกฤษและภาษาไทย - วิทยากรและอาจารย์พิเศษจัด Workshop ด้านภาษาอังกฤษ
10
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ เชือ่ ว่าหลายๆ คนคงจะคุน้ เคยกับการเรียนภาษาอังกฤษแบบท่องคำ�ศัพท์ มาโดยตลอดตั้งแต่เด็กจนโต ยิ่งท่องได้เยอะก็ยิ่งจำ�ได้ แต่การท่องจำ�ที่ ปราศจากความเข้าใจ เมือ่ เวลาผ่านไปถ้าเราไม่ได้ใช้กอ็ าจทำ�ให้ลมื เลือนไปได้ ปัญหาของคนไทยส่วนใหญ่ในการพูดภาษาอังกฤษให้มีสำ�เนียงที่ลื่นหู ถูกต้องตามเจ้าของภาษานั้น ส่วนมากจะติดอยู่ที่กับดักเดิมๆ นั่นก็คือ การออกเสียงด้วยความไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าสำ�เนียงของตัวเองมีจุดผิดพลาด ที่ตรงไหน เมื่อได้มาพบกับอาจารย์เนตัน มิลส์ ทำ�ให้เราได้ทราบว่า การมีสำ�เนียงที่ดี ประกอบไปด้วยรายละเอียดที่มากกว่าแค่การออกเสียง ซึ่งส่วนประกอบเหล่านั้นทำ�ให้เราได้เข้าใจและสามารถแก้ไขสำ�เนียงเดิม ของตัวเองได้ถูกจุด ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนก็สงสัยมาตลอดว่า เราท่องตามฝรั่ง ก็แล้ว ออกเสียงตามอาจารย์กแ็ ล้ว แต่ท�ำ ไมเมือ่ ใช้จริงกลับสือ่ สารออกมา ผิดๆ ถูกๆ ทำ�ให้คนฟังไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิด เวลาที่เจอคำ�ใหม่ ประโยค ใหม่ๆ เรากลับใช้หรือพลิกแพลงให้ถูกต้องไม่ได้เลย ปัญหาข้างต้นทำ�ให้เราต้องการนำ�เสนอวิธแี ก้ไขสำ�เนียงด้วยการเรียนทีต่ า่ ง ออกไป เนือ้ หาในหนังสือเล่มนีท้ �ำ ให้เราเห็นเป็นรูปธรรมว่าเมือ่ เจอคำ�ประเภทนี้ ควรออกเสียงอย่างไร ควรมีการเชื่อมเสียงในแต่ละประโยคอย่างไร ควร ลงเสียงเน้นหนักตรงจุดไหน ขึน้ เสียงสูงหรือเสียงตำ่�อย่างไร ซึง่ นีแ่ หละคือ การออกเสียงด้วยความเข้าใจ ถ้าเราทำ�ความเข้าใจในการพูดแต่ละแบบ ได้แล้วสำ�เนียงก็จะดีตาม เมื่ออยากจะพูดคำ� หรือประโยคไหนออกไป ก็ย่อมสามารถพูดได้ถูกต้องตามแบบเจ้าของภาษา พูดได้ลื่นไหลเป็น ธรรมชาติแน่นอน บรรณาธิการ
Contents สารบัญ
Introduction Introduction 1. Articulation การออกเสียง 2. Linking การเชื่อมเสียง 3. Rhythm จังหวะในการออกเสียง 4. Word Stress เสียงเน้นหนักในคำ� 5. Intonation ทำ�นองเสียงสูง-เสียงตำ่� 12
18 20 22 26 32 37
section 1
การเชื่อมคำ�
Linking 1. 2. 3. 4. 5. 6.
C + C (พยัญชนะลงท้ายและขึ้นต้นที่เหมือนกัน) T+Y and D+Y T between Vowels (ตัว t- ระหว่างเสียงสระ) Simplifying Consonant Clusters (การทำ�ให้กลุ่ม พยัญชนะ (คำ�ควบกลำ�้ ในภาษาอังกฤษ) ออกเสียงง่ายขึ้น) C + V (การเชื่อมเสียงของพยัญชนะและสระ) The Disappearing H (เสียง H ที่หายไป)
section 2
44 48 52 54 58 62
เสียงเน้นหนักในคำ�
Word Stress 7. Compound Nouns (คำ�นามประสม) 8. Reflexive Pronouns (คำ�สรรพนามที่ลงท้ายด้วย -self หรือ -selves) 9. Numbers (ตัวเลข) 10. Two-word Verbs (กริยาคู่) 11. The Schwa (เสียง Schwa) 12. Adjective Suffixes (คำ�ต่อท้ายที่เปลี่ยนคำ�ให้เป็นคำ�คุณศัพท์) 13. Noun Suffixes (คำ�ต่อท้ายที่เปลี่ยนคำ�ให้เป็นคำ�นาม) 14. Verb Suffixes (คำ�ต่อท้ายที่เปลี่ยนคำ�ให้เป็นคำ�กริยา) 15. Adverb Suffixes (คำ�ต่อท้ายที่เปลี่ยนคำ�ให้เป็นคำ�กริยาวิเศษณ์)
68 72 76 78 80 82 88 92 93 13
section 3
ทำ�นองเสียงสูง-เสียงต่ำ�
Intonation 16. Rising Intonation - Yes/No Questions (ทำ�นองเสียงสูง - Yes/No Questions) 17. Rising Intonation - Surprise, Uncertainty, and Confirmation (ทำ�นองเสียงสูง - ประหลาดใจ, ไม่แน่ใจ และการยืนยัน) 18. Rising Intonation - Clarification (ทำ�นองเสียงสูง - เพื่อให้ความกระจ่าง) 19. Rising Intonation - Checking Background Knowledge (ทำ�นองเสียงสูง - เพื่อถามข้อมูลเบื้องต้น) 20. Rising Intonation - Offering Choices (ทำ�นองเสียงสูง - เสนอตัวเลือก) 21: Rising Intonation - Listing Items (ทำ�นองเสียงสูง - การเรียงรายชื่อสิ่งต่างๆ) 22. Falling Intonation - Statements (ทำ�นองเสียงตำ�่ - ประโยคบอกเล่า) 23. Falling Intonation - Seeking Additional Information (ทำ�นองเสียงตำ่� - การสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม) 24. Falling Intonation - Assuming Questions (ทำ�นองเสียงตำ่� - การคาดเดา/คำ�ถามที่ไม่ต้องการคำ�ตอบ) 25. Pausing Intonation - Adverbs (การเว้นหยุด - คำ�กริยาวิเศษณ์) 26. Pausing Intonation - Connecting Clauses (การเว้นหยุด - การเชื่อมอนุประโยค/ประโยคย่อย) 27. Pausing Intonation - Thought Groups (การเว้นหยุด - กลุ่มความคิด) 28. Pausing Intonation - Seeking Answers to Problems (การเว้นหยุด - เพื่อค้นหาคำ�ตอบ) 14
98 100 102 104 106 107 112 113 116 118 120 122 124
section 4
จังหวะในการออกเสียง
Rhythm 29. Content Words (คำ�แสดงเนื้อหา) 30. Focus Words and Falling Intonation (คำ�เน้นและทำ�นองเสียงตำ่�) 31. Focus Words and New Information (คำ�เน้นกับข้อมูลใหม่) 32. Falling Intonation and Correcting Information (ทำ�นองเสียงตำ่�กับการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง) 33. Falling Intonation and Agreeing (ทำ�นองเสียงตำ�่ กับการเห็นด้วย) 34. Focus Words and Contrasting (คำ�เน้นกับการเปรียบเทียบ) 35. Function Words (คำ�ไวยากรณ์) 36. Function Words and the Schwa (คำ�ไวยากรณ์กับเสียง Schwa (/ /)) 37. Function Words and Rhythm (คำ�ไวยากรณ์กบั จังหวะในการออกเสียง)
section 5
128 130 132 134 136 138 144 145 148
การสะกดคำ�และหลักการออกเสียง
Articulation 38. dr- 39. tr- 40. tu- 41. du- 42. -x-
156 157 158 159
43. -cc44. tion/cian45. ssi-/vsi46. ssu-/su-
162 164 166 169
160 15
“สำ�เนียงที่ไม่ชัด” หรือ “สำ�เนียงไม่เหมือนเจ้าของภาษา” เป็นเรื่องธรรมดาของคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ซึ่ง “การที่มีสำ�เนียงที่ไม่ชัด” ไม่ได้บ่งบอกว่าคุณจะไม่มีความสามารถ ในการเรียนรู้ภาษาต่างๆ ได้เลยครับ
16
ในทางตรงข้าม ผมกลับคิดว่า
“การที่คุณกล้าพูดภาษาต่างประเทศ” ถือเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ เพราะมันไม่ง่ายเลยนะครับ ที่คุณจะกล้าเสี่ยงต่อการพูดผิดในที่สาธารณะ ถึงแม้ว่าการพูดผิดเป็นเรื่องที่ยอมรับและเข้าใจได้ แต่การปรับสำ�เนียงของคุณให้ถูกหลัก ก็มีประโยชน์ต่อตัวคุณเองมากๆ ครับ ผมเชื่อว่าถ้าหากคุณมีสำ�เนียงที่ดีแล้ว มันจะช่วยเพิ่มความมั่นใจ ให้กับคุณ และช่วยให้คุณได้รับการเคารพมากขึ้น รวมถึงเป็นการ เปิดโอกาสดีๆ สำ�หรับหน้าที่การงานของคุณด้วยครับ คุณสามารถที่จะพูดภาษาอังกฤษต่อหน้าทุกคน ด้วยสำ�เนียงที่ชัดเจนและฉะฉาน หนังสือของผมเล่มนี้จะอธิบายให้คุณเข้าใจ ว่าอะไรเป็นปัญหาในการพูดภาษาอังกฤษ และเราจะปรับสำ�เนียงให้เหมือนเจ้าของภาษาได้อย่างไร โดยที่ผมจะอธิบายคุณฟังทีละขั้นตอนอย่างละเอียดครับ
17
INTRO DUCTION เราลองมาดูตัวอย่างที่จะทำ�ให้คุณเห็นภาพของ ชั้นต่างๆ ทั้ง 5 ชั้นของเค้กครับ
คุณเคยไหมตอนที่เรียนภาษาอังกฤษ สิ่งที่คุณถูกสอนคือให้ฝึกพูดซำ�้ ๆ หลายๆ ครั้ง เพื่อจะได้มีสำ�เนียงที่สมบูรณ์แบบ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยมีประสบการณ์ แบบนี้มาก่อน ผมแน่ใจว่าคุณคงจะท้อแท้อย่างรวดเร็วเมื่อต้องฝึกพูดประโยค ยาวๆ นั่นเป็นเพราะว่าการพูดภาษาอังกฤษนั้นไม่ใช่เรื่องของการออกเสียงแค่ คำ�คำ�เดียว มันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการพูดได้ชัดเจน ทั้งที่จริงแล้ว การที่จะพูดให้ได้ใกล้เคียงเจ้าของภาษา จำ�เป็นที่จะต้องเรียนรู้ และเข้าใจหลักสำ�คัญถึง 5 ประการ ซึ่งอาจเปรียบได้กับชั้นของเค้กก้อนหนึ่ง การทีค่ ณ ุ อยากจะมีส�ำ เนียงทีด่ นี นั้ ไม่เพียงแค่คณ ุ จำ�เป็นต้องเรียนรูก้ ารออกเสียง คำ�ต่างๆ ในประโยค คุณยังต้องเพิม่ ชัน้ อืน่ ๆ ของเค้กเข้าไปอีกในเรือ่ งของทำ�นอง เสียงสูงตำ�่ ของทัง้ ประโยค รวมถึงการเน้นเสียงในแต่ละพยางค์ของแต่ละคำ�เมือ่ อยู่ในประโยค 18
เราลองมาดูตัวอย่างที่จะทำ�ให้คุณ เห็นภาพของชั้นต่างๆ ทั้ง 5 ชั้นของเค้กครับ
การที่คุณค่อยๆ เพิ่มชั้นต่างๆ เข้าไปในก้อนเค้ก เปรียบเสมือนการค่อยๆ พัฒนาสำ�เนียงการออกเสียงของคุณ แต่การที่คุณเพิ่มชั้นเค้กได้ครบ 5 ชั้น พร้อมกับการเรียนรู้ว่าแต่ละส่วนทำ�งานอย่างไร สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่เป็นหัวใจสำ�คัญ ในการปรับสำ�เนียงของคุณ ให้ได้ใกล้เคียงเจ้าของภาษาอย่างแท้จริง 19
1-ARTICULATION การออกเสียง
การออกเสียงมักจะเป็นสิง่ แรกทีอ่ ยูช่ นั้ บนสุดของเค้กทีน่ กั เรียนนึกถึงเวลาทีอ่ ยาก จะปรับสำ�เนียงตัวเอง ซึ่งการออกเสียงนี้รวมถึงการใช้ ลิ้น ฟัน ลำ�คอ จมูก และ การหายใจเพื่อเปล่งเสียงสระและพยัญชนะต่างๆ
Would you walk to China if you had the time? ส่วนประโยคข้างบนนัน้ ผมขอเดาว่า ‘th’ ในคำ�ว่า ‘the’ อาจไม่งา่ ยสำ�หรับคุณ การทีค่ ณ ุ พูดซำ�้ ไปซำ�้ มาอาจจะไม่ชว่ ยให้การออกเสียงของคุณดีขนึ้ หากไม่มใี คร บอกคุณว่าให้ฝึกออกเสียงอย่างไร 20
วิธีฝึกออกเสียงคำ�นี้ก็คือ วางนิ้วชี้บน ริมฝีปากของคุณ (เหมือนคุณกำ�ลังบอก ใครสักคนให้เงียบ) นิว้ ทีท่ าบต้องสัมผัส ริมฝีปากทั้งด้านบนและด้านล่าง
หลังจากนั้นให้คุณลองพูดคำ�ว่า ‘the’ การที่จะรู้ได้ว่าคุณพูดเหมือนเจ้าของ ภาษา คุณจะต้องแน่ใจว่าลิ้นของคุณ ต้องยื่นมาอยู่ระหว่างฟัน และปลาย ลิ้นต้องสัมผัสกับนิ้ว
(เหมือนคุณกำ�ลังบอก ใครสักคนให้เงียบ)
(ก่อนฝึกล้างมือ กันก่อนนะครับ)
ถ้านิว้ ของคุณวางทาบริมฝีปากของคุณ แล้ว และปลายลิน้ ของคุณสัมผัสกับนิว้ นั่นหมายความว่า ‘the’ ของคุณนั้น ออกเสียงเหมือนกับ ‘the’ ของผมครับ
21
2-LINKING การเชื่อมเสียง
เสียงในคำ�ต่างๆ นั้นสามารถเชื่อมและผสมกันได้ ลองมาดูประโยคต่อไปนี้และ สังเกตว่ามีเสียงไหนที่ถูกเชื่อมกันบ้าง
Wouldyou walkto China if you hadthe time?
เจ้าของภาษาจะเชื่อมและผสมคำ�ทั้ง 3 คู่ในประโยคนี้ เรามาลองดูสัก 2 คู่กัน ก่อน ในภาษาอังกฤษนั้นมีตัวที่เรียกว่า เสียงกัก (Stops) อยู่ 6 ตัว ได้แก่ t, p, k, d, b และ g ที่เรียกว่า ‘เสียงกัก’ เป็นเพราะว่าเวลาคุณพูดคำ�ที่ลงท้ายด้วยตัวอักษรเหล่านี้ คุณจะกักอากาศที่ออกมาจากปาก เสียงจะหยุดหลังจากคุณเปล่งคำ�
22
อย่างไรก็ตาม ในกรณีทเี่ ป็นคำ�ทีล่ งท้ายด้วยเสียงกัก และตามหลังด้วยพยัญชนะ อื่น เจ้าของภาษาจะงดออกเสียง t, p, k, d, b, และ g เพราะการออกเสียงกัก นั้นจะทำ�ให้เกิดลมขึ้น ซึ่งทำ�ให้เหมือนว่าคุณเพิ่มสระระหว่างคำ�
ถ้าคุณออกเสียง /k/ ในคำ�ว่า ‘walk’ ก่อนที่จะพูดคำ�ว่า ‘to’ วิธีการออกเสียง ที่ถูกต้องก็คือ ไม่ต้องออกเสียง /k/ และออกเสียง /t/ ของ ‘to’ ตามหลังทันที อย่าให้มีลมผ่าน ซึ่งใช้หลักการเดียวกับ ‘had the’ ที่มี /d/ ของคำ�ว่า had ที่ อยู่หน้า เสียง /t/ ของคำ�ว่า ‘the’
23
คำ�ว่า ‘Would’ กับ ‘you’ นั้นเชื่อมกัน โดยที่มีการผสมเสียงกันด้วย กฎที่ควรทราบในภาษาอังกฤษก็คือ เมื่อใดก็ตามที่ /d/ มาก่อน /y/ จะทำ�ให้ เกิดเสียง j ขึ้นมา
จำ�ง่ายๆ ว่า
นั่นเอง
ซึ่ง ‘Would you’ จะถูกออกเสียงเป็น Wouljoo เมื่อออกเสียงเร็วๆ
ตัวอย่างอื่นๆ
24
และตอนนี้ ั้นแล้ว! ก็มี 2 ช เค้กของคุณ :D
25
3-RHYTHM จังหวะในการออกเสียง จังหวะในการออกเสียงเป็นเรือ่ งทีเ่ ข้าใจยากขึน้ มาหน่อย แต่ถา้ หากคุณเข้าใจเรือ่ ง นีเ้ หมือนเจ้าของภาษา คุณก็จะสามารถออกเสียงได้อย่างเป็นธรรมชาติและลืน่ ไหล เคยได้ยินไหมครับว่า ภาษาอังกฤษมีจังหวะคล้ายกับกลอนหรือเพลง ใช่ครับ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีจังหวะจริงๆ ลองคิดดูนะครับ เวลาที่มีคนให้คุณพูดเลียนแบบภาษาญี่ปุ่น แต่เมื่อคุณแกล้ง พูดภาษาญี่ปุ่นอยู่ นั่นแหละครับคือการเลียนแบบจังหวะของภาษาญี่ปุ่น และ คุณอาจจะลองทำ�กับภาษาจีนหรือภาษาอื่นๆ ได้อีกด้วย
ภาษาอังกฤษ มีจังหวะอย่างไร มีจังหวะขึ้น-ลงเหมือน ภาษาจีนหรือญี่ปุ่นไหม
ภาษาอังกฤษแตกต่าง จากภาษาอื่นๆ ใช่ไหม 26
สาเหตุที่ภาษาอังกฤษนั้นแตกต่างจากภาษาอื่นๆ นั่นเป็นเพราะว่า ภาษา อังกฤษมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างออกไปครับ
Would you walk to China if you had the time?
เจ้าของภาษาออกเสียง จังหวะกันอย่างไร
ก่อนทีจ่ ะพูดได้เหมือนเจ้าของภาษา สิง่ แรกที่คุณต้องทำ�ความเข้าใจก่อน คือ ในภาษาอังกฤษนัน้ แบ่งกลุม่ คำ�ไว้เป็น 2 กลุม่ ได้แก่
Content Words คือ คำ�แสดงเนื้อหา มีความหมายในตัวเอง ซึ่งเป็นสาระสำ�คัญในการสื่อความหมาย คำ�เหล่านั้นคือ Nouns (คำ�นาม) Verbs (คำ�กริยา) Adjectives (คำ�คุณศัพท์) Adverbs (คำ�กริยาวิเศษณ์)
Negatives (คำ�ปฏิเสธ) WH-question Words (คำ�จำ�พวก why, who, which, where, how, …)
27
Function Words คือ คำ�ไวยากรณ์ (คำ�หน้าที่) เป็นคำ�ที่ไม่ได้มีสาระสำ�คัญในตัว แต่ก็มีหน้าที่สำ�คัญในประโยค คำ�เหล่านั้นก็คือ Prepositions (คำ�บุพบท) เช่น of, from, to The be-verb (คำ�กริยา) เช่น is, are, was, were
Content Words คำ�แสดงเนื้อหา ต้องเน้นคำ�
Modals (คำ�กริยาช่วย) เช่น can, will, could, may Pronouns (คำ�สรรพนาม) เช่น you, he, she, them
Function Words คำ�ไวยากรณ์ ไม่ต้องเน้นคำ�
คุณมองออกแล้วใช่ไหมครับว่า กลุ่มคำ�จำ�พวก Content Words นั้นเป็นคำ�ที่ สำ�คัญกว่า ซึ่งหมายความว่า เราต้องออกเสียงชัด (เน้นคำ�) เวลาพูดคำ�จำ�พวก Content Words ครับ ในทางตรงกันข้าม เราไม่ได้ออกเสียงเน้นคำ� Function Words ซึ่งเจ้าของภาษาพยายามที่จะข้ามคำ�เหล่านี้อย่างรวดเร็วเท่าที่พวกเขาจะทำ�ได้ คล้ายๆ กับเวลาที่พวกเขารำ�คาญเวลาโดนยุงตอม ลองมาดูประโยคนี้กันครับ 28
Would you walk to China if you had the time? ในประโยคข้างบนประกอบด้วย Function Words 4 คำ� และ 3 ใน 4 คำ�นั้น เจ้าของภาษาจะออกเสียงต่างจากที่คุณคิดไว้ เนื่องจากเสียงสระในประโยคจะ เปลี่ยนไปเวลาพูด ข่าวดีก็คือ เสียงสระเกือบทุกคำ�ของ Function Words จะ ออกเสียงเป็นเสียง / / (อะ หรือ เออะ) ดังนั้นคำ�ว่า YOU จะถูกออกเสียงเป็น YA
TO จะถูกออกเสียงเป็น TA
แต่ ‘the’ นั้นมีเสียง / / อยู่แล้ว จึงไม่ได้เปลี่ยนเหมือนคำ�ว่า you กับ to ฟัง Chapter000-1
Woulja walkta China ifya hadthe time?
29
นอกจากจะระวังเรื่อง Rhythm (จังหวะในการออกเสียง) อย่าลืมชั้นอื่นๆ ของ เค้กก้อนนี้ที่มี Articulation (การออกเสียง) กับ Linking (การเชื่อมเสียง) ด้วย ณ ตอนนี้คุณมี layer ของเค้กอยู่ 3 ชั้น ซึ่งถ้าคุณออกเสียงตามที่ผมบอก คุณจะออกเสียงได้เหมือนตัวอย่างต่อไปนี้ครับ
30
ฟัง Chapter000-1
Woulja walkta China ifya hadthe time? Function Words ก็เหมือนเด็กๆ ทีต่ อ้ งอยูก่ บั ผูป้ กครองเสมอ เจ้าของภาษาจะ ออกเสียงสระของ Function Words เปลีย่ นไป เพือ่ ทีจ่ ะให้เกาะอยูก่ บั Content Words ที่อยูห่ น้าตัวของมัน การออกเสียงที่ต่างกันจะทำ�ให้เกิด “จังหวะ” เวลา ที่เราพูด ลองนึกถึง “คลื่นในมหาสมุทร” ดูนะครับ Content Words เหมือนส่วนทีอ่ ยูข่ า้ งบนของคลืน่ ในขณะที่ Function Words เป็นส่วนที่อยู่ข้างล่างของคลื่น Content Words
Function W ords
Content Words นั้นช้าและกระจ่างชัด แต่ Function Words นั้นเร็วและไม่ ชัดเจน ดังนั้นเวลาที่เราพูดเป็นประโยค เราจะพูดเหมือนว่ามีแค่ 6 คำ� แทนที่ จะออกเสียงชัดทั้ง 10 คำ� 31
4-WORD STRESS เสียงเน้นหนักในคำ� หลายคำ�ในภาษาอังกฤษนั้นประกอบด้วยหลายๆ ส่วนที่เรียกว่า Stems และ Affixes (ประกอบด้วย Prefixes และ Suffixes) Stems คือ รากคำ� (คำ�หลักที่ไม่ใช่คำ�ที่ใช้เติม) Affixes คือ คำ�เติม ซึ่ง Affixes ประกอบไปด้วย Prefixes (คำ�ที่เติมข้างหน้า) และ Suffixes (คำ�ที่เติมข้างหลัง) นีเ่ ป็นส่วนทีจ่ ะทำ�ให้คนไทยส่วนใหญ่มอี ปุ สรรคในการพูดภาษาอังกฤษให้เหมือน เจ้าของภาษา
การพูดภาษาอังกฤษสำ�เนียงไทย หมายถึงการไปเน้น พยางค์สุดท้ายของคำ� 32
แต่สิ่งที่คุณอาจจะไม่ทราบก็คือ เจ้าของภาษาแทบจะไม่ค่อยเน้นเสียงที่พยางค์ ที่ 2 หรือพยางค์สุดท้ายเลย อาจจะมีเพียงแค่ 10% เท่านั้นเองที่จะเน้นเสียง พยางค์สุดท้ายแบบคนไทยส่วนใหญ่ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบเน้นพยางค์ท้าย นั่นก็แสดงว่าคุณออกเสียงผิดเกือบ ทุกครั้ง ข่าวดีก็คือ สิ่งที่ผมรวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ คือสิ่งที่ผมต้องการสอน วิธที จี่ ะช่วยให้คณ ุ พูดภาษาอังกฤษ เป็นแนวทางทีง่ า่ ยต่อการฝึกตาม โดยเฉพาะ คำ�ที่มีหลายพยางค์ EXAMPLE: คุณออกเสียงคำ�เหล่านี้อย่างไรครับ
finance
financial
คุณเน้นเสียงพยางค์ไหนครับ คุณเน้นพยางค์เดียวกันทั้ง 2 คำ�หรือเปล่า คุณออกเสียง 2 คำ�นี้แทบจะเหมือนกันเลยหรือเปล่าครับ
FInance คำ�ว่า finance ควรเน้นที่พยางค์แรก
33
ฟัง Chapter000-2
FInance
ฟัง Chapter000-3
fiNANcial
แต่เมื่อคุณเติม -ial เข้าไป คำ�นี้จะกลายเป็นคำ�คุณศัพท์ (Adjective) นั่นก็คือ คำ�ว่า financial ซึ่งจะเปลี่ยนไปเน้นพยางค์ที่ 2 ที่จริงกฎการเน้นคำ�นั้นง่ายมาก เพียงแค่คุณจำ�ว่า ทุกครั้งที่มีการเติม -ial, -ic, -ical, -ity, -ion, -ify, -ious รวมถึงคำ�อื่นๆ ที่เป็น Suffixes คำ�ที่ต้องเน้นเสียง นั้นจะเป็นพยางค์ที่มาก่อน Suffixes เหล่านี้
พยางค์แรก เน้นพยางค์ที่มาก่อน Suffixes เสมอ กฎนี้เป็นจริงเสมอครับ เห็นไหมครับ ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย เพียงแค่คุณต้องฝึก ให้ชินในการออกเสียง ดูตัวอย่างคำ�ต่อไปนี้ครับ
deFIne
34
defiNItion
eCOnomy
ecoNOmic
comMUnicate
communiCAtion
ในคำ�ว่า CommuniCAtion จากตัวอย่างข้างต้น เราจะเปลี่ยนไปเน้นพยางค์ ก่อน -tion และ -ic ซึ่งเป็น Suffix
ลองดูประโยคนี้กันอีกรอบครับ
Would you walk to China if you had the time? เราไม่มคี �ำ ยาวๆ ในประโยคตัวอย่างนี้ แต่ค�ำ ว่า “China” ถือเป็นตัวอย่างทีด่ คี รับ
35
China เป็นคำ� 2 พยางค์ ซึง่ ผมกล่าวไว้กอ่ นหน้านีว้ า่ ส่วนใหญ่ค�ำ ในภาษาอังกฤษ นั้น 9 ใน 10 เราจะเน้นที่พยางค์แรก ถ้าคุณพูดผิด คุณอาจจะเน้นเสียงพยางค์ ที่สองแทน แต่ที่ถูกต้องคือ เราต้องเน้นเสียงที่พยางค์แรกครับ ฟัง Chapter000-4
Would you walk to CHIna if you had the time?
เค้กของคุณ ้ว! แล มีเกือบครบ
36
5-INTONATION ทำ�นองเสียงสูง-เสียงต่ำ�
ตอนนี้เค้กของเรากำ�ลังจะมีครบ 5 ชั้นแล้วนะครับ เค้กของเราจะดูเหมือนเค้กแต่งงานเลยครับ
Stem ของคำ�ว่า intonation คือคำ�ว่า -ton คุณอาจนึกถึงคำ�ว่า ‘tone’ (คำ�นาม) กับ ‘tonal’ (คำ�คุณศัพท์) ภาษาไทยถือเป็น tonal language (ภาษาทีม่ วี รรณยุกต์) เนือ่ งจากว่าความหมาย จะเปลีย่ นเวลาทีค่ ณ ุ ออกเสียงสูงตำ่�ต่างกัน แต่ภาษาอังกฤษต่างออกไป ภาษาอังกฤษ เราใช้ intonation (ภาษาทีใ่ ช้ท�ำ นองเสียงสูง-เสียงตำ�่ ) ทีจ่ ะใช้กบั ประโยคมากกว่าคำ� ซึ่ง intonation นี่แหละครับที่จะมีอิทธิพลต่อความหมายของประโยค ในภาษาอังกฤษนั้นมีทำ�นองเสียง 3 ชนิด นั่นก็คือ 1. Falling (เสียงต่ำ�) จะถูกใช้กับประโยคบอกเล่าและประโยคคำ�ถามที่เป็น WH-words (who, what, …) 37
2. Rising (เสียงสูง) จะถูกใช้กับประโยคคำ�ถามที่ต้องการคำ�ตอบเป็น Yes หรือ No 3. Pausing (การเว้นหยุด) จะถูกใช้กับประโยคบอกเล่ายาวๆ เพื่อให้สื่อสารได้ง่ายขึ้น หรือใช้ เมื่อต้องการจะพูดถึงคำ�กริยาวิเศษณ์หรือวลีที่อยู่ข้างหน้าประโยค ในช่วงท้ายๆ ของเล่ม เราจะเจาะลึกเกี่ยวกับเรื่องทำ�นองเสียงกันครับ แต่ก่อน อื่น เราลองมาดูเสียงตำ่�กับเสียงสูงในประโยคตัวอย่างกันก่อนครับ เนือ่ งจากว่าประโยคตัวอย่างของเรานัน้ เป็นคำ�ถามแบบ Yes/No Question เรา จึงต้องใช้เสียงสูง และเราจะเริ่มใช้เสียงสูงตรง Content Word ที่สำ�คัญที่สุด โดยปกติแล้วคำ�ที่ต้องเน้นเสียงสูงจะเป็นคำ�สุดท้ายของประโยค ซึ่งในประโยค ตัวอย่างนี้ เราจะเน้นคำ�ว่า ‘time’ ครับ
Would you walk to china if you had the T IME?
38
ถ้าหากคุณดูหลักไวยากรณ์ของประโยค คุณจะพบว่าประโยคนีม้ ี 2 ส่วน นัน่ ก็คอื
Would you go to China If you had the time เจ้าของภาษาจะใช้ Pausing หรือการเว้นหยุด เพื่อช่วยให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจ สิ่งที่ผู้พูดต้องการจะสื่อสาร ซึ่งนี่เป็นสิ่งสำ�คัญมาก เจ้าของภาษาจะฟังกลุ่มคำ� วลี และอนุประโยค (ประโยคย่อย) Pausing มักจะช่วยให้เราฟังได้ง่ายขึ้น เพราะถ้าเกิดไม่มี Pausing เข้ามาช่วย หรือใช้ไม่ถูกหลัก จะทำ�ให้เกิดอุปสรรคในการทำ�ความเข้าใจเวลาที่คุณพูด ประโยคยาวๆ คุณจึงควรทีจ่ ะแบ่งกลุม่ คำ�เป็นส่วนๆ เพือ่ ให้เจ้าของภาษาสามารถ จับใจความได้ง่ายขึ้น Pausing จะฟังดูเหมือนการพูดขึน้ ลงเร็วๆ ซึง่ สามารถนำ�ไปใช้กบั คำ�พยางค์เดียว หรือคำ�หลายๆ พยางค์ก็ได้ครับ แต่ในประโยคตัวอย่างของเรานั้น Pausing จะ ถูกนำ�ไปใช้กบั คำ�ว่า ‘China’ เนือ่ งจากว่า China เป็นคำ�สุดท้ายของอนุประโยค แรก (Would you walk to China)
Would you walk to ดูตัวอย่างในหน้าถัดไปครับ
China ใช้ Pausing 39
ฟัง Chapter000-5
Would you walk to china if you had the time? คุณสามารถเน้นเสียงสูงทั้งสองคำ�ตรง China กับ time ได้ เนื่องจากว่าประโยค นี้ขึ้นต้นด้วยประโยคย่อยหลัก ฟัง Chapter000-6
Would you walk to china if you had the time? แต่ในกรณีตรงข้าม เราสามารถเน้นเสียงสูงได้แค่ค�ำ เดียว นัน่ ก็คอื คำ�ว่า ‘China’ เพราะว่าประโยคนี้ไม่ได้ขึ้นต้นด้วย Main Clause หรือประโยคย่อยหลัก ฟัง Chapter000-7
If you had the time, would you walk to china? 40
คราวนี้เราลองมาฟังตัวอย่างเวลาที่ผมและเจ้าของภาษาพูดตามหลักทั้ง 5 ข้อ (Articulation, Linking, Rhythm, Word Stress และ Intonation) ฟัง Chapter000-8
Woulja walkta CHIna ifya hadtha time?
เค้กของคุณ ครบแล้ว!
เริ่มต้น ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการ ่อๆไป ทต ของสิ่งที่คุณจะเจอในบ บ ของหนังสือเล่มนี้ครั
41
section 1 LINKING
42
การเชื่อมคำ�
เราจะมาเริ่มปรับสำ�เนียงของคุณให้ชัดเจนมากขึ้น ผมจะเริ่มจากการ “เชื่อมคำ�” โดยมีจุดประสงค์ที่อยากจะให้คำ�นั้นๆ ฟังลื่นหู ดังนั้นคำ�ใน ภาษาอังกฤษจะมีการเชื่อมเสียงกันระหว่างเสียงลงท้ายกับเสียงขึ้นต้น ของคำ�ที่ต่อกัน ซึ่งในบางครั้ง การเชื่อมคำ�จะทำ�ให้คำ� 2 คำ� หรือหลายๆ คำ�ที่เชื่อมกัน ฟังดูเหมือนเป็นคำ�เดียวยาวๆ
43
CHAPTER 1 (พยัญชนะลงท้ายและขึ้นต้นที่เหมือนกัน) ใน Chapter นี้ผมจะพูดถึง Consonants + Consonants แปลว่า พยัญชนะ + พยัญชนะ เมือ่ เสียงลงท้ายของพยัญชนะเป็นตัวเดียว กับเสียงขึน้ ต้นของคำ�ต่อไป เสียงนัน้ จะถูก ลากยาวต่อ ไม่มกี ารออกเสียงตัวนีส้ องครัง้ ครับ ลองมาฟังตัวอย่างกันครับ
ตัวเดียวกัน ฟัง Chapter001-1
This weekend there is a big game.
44
เจ้าของภาษาจะพยายามจะกลบช่องว่าง ระหว่างคำ�โดยการไม่ออกเสียง /g/ การ หยุดเสียงลงท้ายในคำ�แรกและเริ่มเสียง อีกครั้งในคำ�ต่อไป จะทำ�ให้เกิดเสียงสระ ทีไ่ ม่ตอ้ งการระหว่างคำ�นัน้ (เหมือนมีเสียง เพิ่มมาอีก 1 พยางค์)
ไม่ออกเสียง
ดังนั้นเราควรจะพูดคำ�ว่า ‘big’ โดยที่ไม่ออกเสียงใดๆ จากลำ�คอ จนกว่าเริ่มออกเสียง gaในคำ�ต่อมาคือคำ�ว่า game
ฟัง Chapter001-2
That price is a good deal.
เสียง /d/ จะถูกออกเสียงโดยวางลิ้นไว้ หลังฟันของคุณ เมือ่ คุณพูดคำ�ว่า ‘good’ ให้เก็บลิ้นไว้ที่หลังฟันของคุณ อย่าปล่อย จนกว่าจะพูดคำ�ว่า ‘deal’ 45
ฟัง Chapter001-3
He’ll look for a solution.
เสียง /l/ นัน้ แปลกกว่าเสียงอืน่ ๆ เนือ่ งจาก ว่าคุณสามารถออกเสียง /l/ นี้ได้ยาวๆ เท่ากับการหายใจยาวๆ ในแต่ละครั้ง ไม่ เหมือนเสียง /g/ กับ /d/ ที่คุณไม่สามารถจะออกเสียงได้ยาวๆ ดังนั้นคุณควร จะออกเสียง l- ยาวๆ ก่อนที่จะออกเสียง ‘look’ อย่าลืมนะครับ ออกเสียงให้ เหมือนว่าเป็นคำ�เดียวกัน และนี่จะทำ�ให้คุณมีสำ�เนียงที่ใกล้เคียงเจ้าของภาษา มากขึ้นครับ
46
เสียงที่คล้ายเสียง
เสียงที่คล้ายเสียง
/p/, /b/, /k/, /t/, /dʒ/, หรือ j-, และ /tʃ/, หรือ ch- หลักการ ออกเสียงคำ�เชื่อมเมื่อเจอเสียง จำ�พวกกลุม่ นี้ ต้องกลัน้ เสียงไว้ครับ
/ʃ/, หรือ sh-, /f/, /v/, /s/, /z/, และ th- หลักการออกเสียง คำ�เชือ่ มเมือ่ เจอเสียงจำ�พวกกลุม่ นี้ ต้องลากเสียงให้ยาวขึ้นครับ
ฟัง Chapter001-4
I ate a late dinner.
คำ�ว่า late dinner เราไม่ออกเสียง /t/ เนื่องจากว่า /t/ และ /d/ ออกเสียงตรง ตำ�แหน่งเดียวกัน นั่นก็คือตรงลิ้น
ไม่ออกเสียง ที (T) ฟัง Chapter001-5
I’m waiting for her to come back.
ในทางตรงกันข้ามนัน้ คำ�ว่า come back เราลากเสียง /m/ ให้ยาวจนออกเสียงคำ� ต่อมา เนื่องจากว่าทั้งเสียง /m/ และ /b/ ใช้ริมฝีปากออกเสียง 47
CHAPTER 2 ในภาษาอังกฤษนั้น บางครั้งบางคราว พยัญชนะบางตัวทีต่ ดิ กัน อาจให้เสียงใหม่ ขึ้นมา เช่นเวลาที่ /t/ ติดกับ /y/ จะทำ�ให้ เกิดเสียง ch- ขึน้ ลองมาดูตวั อย่างกันครับ อยู่ติดกัน
เกิดเสียงใหม่
ฟัง Chapter002-1
48
Don’t you know? ในประโยคนี้จะออกเสียงว่า
ฟัง Chapter002-1
Haven’t you heard? ในประโยคนี้จะออกเสียงว่า
ฟัง Chapter002-1
Can’t you go? ในประโยคนี้จะออกเสียงว่า
ฟัง Chapter002-1
I sent you a text. ในประโยคนี้จะออกเสียงว่า
49
การเปลีย่ นแปลงคล้ายๆ กันจะเกิดขึน้ เมื่อมีคำ�ที่มีเสียง /d/ ก่อน /y/ เพียง แต่ว่าเสียงที่ได้นั้นจะเป็นเสียง j-
ฟัง Chapter002-2
Did you know? ในประโยคนี้จะออกเสียงว่า
ฟัง Chapter002-2
I called you. ในประโยคนี้จะออกเสียงว่า
การที่คุณยังออกเสียง /t/ กับ /y หรือ /d/ กับ /y/ ก็ไม่ผิดครับ เพียงแต่การ ที่จะออกเสียงให้เหมือนเจ้าของภาษานั้น คุณอาจจะต้องพูดให้เร็วขึ้นครับ และ การเชื่อมเสียงนี้เองที่จะช่วยให้คุณออกเสียงเร็วขึ้น เพราะการเชื่อมคำ�จะทำ�ให้ คุณออกเสียงง่ายขึ้นครับ 50
ไม่ว่าคุณกำ�ลังเรียนภาษาอังกฤษระดับขั้นไหนอยู่ ผมขอให้คุณภูมิใจ ในความมุ่งมั่นในการเรียนภาษาอังกฤษของคุณ แม้ว่าจะยังพูดไม่ได้เหมือนเจ้าของภาษาก็ตาม
51
section 2 WORD STRESS
66
เสียงเน้นหนักในคำ�
เสียงเน้นหนักในคำ�ภาษาอังกฤษนั้นอาจจะดูเหมือนซับซ้อน แต่ที่จริงผม มีวิธีที่จะทำ�ให้คุณเข้าใจเรื่องนี้ง่ายๆ ครับ คนไทยส่วนใหญ่จะเน้นคำ�ที่ พยางค์สุดท้ายให้ชัดที่สุด แต่มันจะทำ�ให้คุณพูดถูกแค่บางคำ� เนื่องจากว่า 90% ของคำ� 2 พยางค์ในภาษาอังกฤษ เจ้าของภาษาจะ เน้นที่พยางค์แรก อย่างไรก็ตามยังมีอีก 10% ของคำ�ในภาษาอังกฤษที่ เจ้าของภาษาเน้นเสียงที่พยางค์สุดท้าย เป้าหมายของคุณคือการพูดให้ถูกต้องทัง้ 100% ดังนั้นเราจะมาดูกันครับ ว่าอะไรคือ 10% ที่เหลือ และ Chapter ต่อไปนี้จะช่วยให้สำ�เนียงดีขึ้น และเป็นธรรมชาติขึ้นจากการเน้นเสียงที่ถูกต้องครับ
67
CHAPTER 7 Compound Nouns (คำ�นามประสม) คำ�นาม
คำ�นาม
คำ�เดียว/สองคำ�
deadline DEADline
คำ�นามประสมมาจากคำ�นาม 2 คำ�มารวม กัน บางครั้งทั้ง 2 คำ�จะอยู่รวมกันเป็น คำ�เดียว หรือจะเป็น 2 คำ�ก็ได้ ตัวอย่างกลุม่ แรกคือ คำ�นามประสมทีเ่ ป็นคำ�เดียว อย่าง ทีผ่ มได้กล่าวข้างต้นไปว่า 90% ของคำ�ทีม่ ี 2 พยางค์นนั้ ผูพ้ ดู มักจะเน้นทีพ่ ยางค์แรก ในกรณีก็เช่นเดียวกันครับ คำ�นามพยางค์ แรกจะถูกเน้นคำ�ครับ
เน้นคำ� ที่พยางค์แรก
highway HIGHway ตัวใหญ่คือ การเน้นคำ�
68
lifestyle LIFEstyle laptop LAPtop
airport AIRport
ลองมาฝึกประโยคด้านล่างโดยเฉพาะ คำ�นามประสมที่ผมทำ�เป็นตัวใหญ่ไว้ นะครับ ฟัง Chapter007-1
You missed the DEADline. ฟัง Chapter007-2
The HIGHway to the AIRport is very busy. ฟัง Chapter007-3
I bought a LAPtop for my sister. ฟัง Chapter007-4
I don’t like your LIFEstyle.
69
fax machine FAX machine คำ�ประสมต่ อ ไปนี้ เ ป็ น คำ�นาม 2 คำ�ที่ไม่ได้อยู่ ติดกัน แต่เรายังคงเน้น เสียงที่พยางค์แรกครับ
parking lot PARKing lot
car keys CAR keys air conditioner AIR conditioner football player FOOTball player ลองมาฝึกประโยคด้านล่างโดยเฉพาะ คำ�นามประสมที่ผมทำ�เป็นตัวใหญ่ไว้ นะครับ ฟัง Chapter007-5
Who uses a FAX machine these days? ฟัง Chapter007-6
Messi is my favorite FOOTball player. 70
ฟัง Chapter007-7
That PARKing lot is full. ฟัง Chapter007-8
I can’t find my CAR keys. อย่าสับสนระหว่างวลีทเี่ กิดจากคำ�คุณศัพท์กบั คำ�นามนะครับ เพราะคำ�คุณศัพท์ จะถูกเน้นเสียงเท่าๆ กับเวลาที่เราเน้นเสียงคำ�นามเลยครับ
ยกตัวอย่างคำ�คุณศัพท์ + คำ�นาม
the red car
the beautiful girl
the big building this awesome book 71
CHAPTER 8 Reflexive Pronouns (คำ�สรรพนามที่ลงท้ายด้วย -self หรือ -selves) อย่างทีผ่ มได้บอกไปแล้วนะครับว่า คำ�ในภาษาอังกฤษทีเ่ ป็น 2 พยางค์นนั้ ส่วนใหญ่ ถึง 90% เราจะเน้นที่พยางค์แรกกัน แต่ใน Chapter ต่อไปนี้ ผมจะรวบรวม คำ�ประสมที่เจ้าของภาษาไม่ได้เน้นที่พยางค์แรกกันครับ ดังนัน้ หลังจากอ่านบทนีจ้ บ ต่อไปนีห้ ากคุณเจอคำ� 2 พยางค์ทไี่ ม่ได้อยูใ่ นหมวดหมู่ คำ�ต่อไปนี้ คุณก็มั่นใจได้เลยว่าคุณต้องเน้นเสียงที่พยางค์แรก คำ�ประสม 2 พยางค์กลุ่มแรกต่อไปนี้ เรียกว่า Reflexive Pronouns หรือ คำ�สรรพนามที่ลงท้ายด้วย -self หรือ -selves ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างของกลุ่มคำ�ที่ เจ้าของภาษาจะเน้นเสียงที่พยางค์หลังครับ
พยางค์ที่ 1 ส่วนใหญ่คำ�ประสม 90% เน้นเสียงตรงนี้
72
พยางค์ที่ 2 Reflexive Pronouns คำ�สรรพนามที่ลงท้ายด้วย -self หรือ -selves จะเน้นเสียงตรงนี้
ฟัง Chapter008-1
by myself I went by mySELF.
ฟัง Chapter008-1
clean themselves They cleaned it themSELVES. ตัวใหญ่คือการเน้นเสีย
ง
ฟัง Chapter008-1
hurt himself He hurt himSELF. 73
ฟัง Chapter008-1
make it herself She made it herSELF.
ฟัง Chapter008-1
do it yourself You should do it by yourSELF. ตัวใหญ่คือการเน้นเสีย
ง
ฟัง Chapter008-1
see ourselves We see ourSELVES in the mirror. 74
ลองมาดูตัวอย่างกันครับ (และอย่าลืมจำ�หลักในบทก่อนหน้านี้นะครับ) ผมอยากให้คุณแน่ใจก่อนว่า คุณได้นำ�หลักการต่างๆ จาก Chapter ก่อนหน้านี้ มาปรับใช้คู่กับการเชื่อมเสียงในประโยคตัวอย่างต่อไปนี้ ฟัง Chapter008-2
I went by myself. งดออกเสียง tChapter 4 ฟัง Chapter008-3
They finished it themselves. เชื่อมเสียงระหว่าง d- กับ ‘it’ แต่งดออกเสียง tChapter 5 ฟัง Chapter008-4
We brought our friends something to eat. ออกเสียง t- แทน d- เนื่องจากว่า t ในที่นี้ Chapter 3 อยู่ระหว่างสระ 2 ตัว และการลากเสียง s- ยาว Chapter 1 75
section 3 INTONATION
96
ทำ�นองเสียงสูง-เสียงต่ำ�
ในภาษาอังกฤษนั้นไม่มีเรื่องวรรณยุกต์เหมือนในภาษาไทยครับ เราพูด ภาษาอังกฤษด้วยระดับเสียงสูงตำ่�แต่ความหมายไม่ได้เปลี่ยนตาม ที่จริง แล้วในภาษาอังกฤษจะมีทำ�นองและระดับเสียงอยู่ในทุกๆ ประโยคครับ ทำ�นองเสียงนี้มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
เสียงสูง เสียงต่ำ� การเว้นวรรคหยุด
97
CHAPTER 16 Rising Intonation - Yes/No Questions (ทำ�นองเสียงสูง - Yes/No Questions)
ทำ�นองเสียงสูง
Yes/No Questions
am, is, are, was, were, have/has been, will be
do, does, did
เราจะมาเริ่มจากเรื่องที่ง่ายที่สุด นั่นก็คือทำ�นองเสียงสูงครับ เป็นเรื่องที่ต้องรู้ ก่อนที่จะฝึกพูดประโยคคำ�ถามเป็นภาษาอังกฤษ เราใช้ทำ�นองเสียงสูงนี้สำ�หรับ การถามคำ�ถาม Yes/No Question ซึ่งก็คือประโยคคำ�ถามที่ต้องการคำ�ตอบ เป็น yes หรือ no ด้วยหลักทางไวยากรณ์แล้ว ประโยคเหล่านี้มักจะเริ่มต้น ด้วย Be-verb (am, is, are, was, were, have/has been, will be) หรือ Auxiliary (verb ช่วยอย่าง do, does, did) ลองมาฟังทำ�นองเสียงสูงจาก ประโยคตัวอย่างหน้าต่อไปครับ 98
ฟัง Chapter016
Do you want to go? Are you happy? Were you there? Did you do it? Is it interesting?
เป็นกรณีพิเศษที่เน้น do ไม่ใช่ it
ผมอยากให้คุณศึกษาและใส่ใจกับคำ�ที่มีทำ�นองเสียงสูงให้มากๆ ครับ โดยปกติ แล้วคำ�สุดท้ายของประโยคมักจะมีทำ�นองเสียงสูง ยกเว้นในตัวอย่างที่ทำ�นอง เสียงสูงจะไปอยู่ตรงคำ�ก่อนคำ�สุดท้าย (คำ�ว่า ‘do’ แทน ‘it’) เนือ้ หาจะยิง่ เข้มข้นมากขึน้ ในบทท้ายๆ โดยทีผ่ มจะเริม่ จากคำ�สุดท้ายในประโยค จำ�พวกคำ�นาม, คำ�กริยา, คำ�คุณศัพท์ และคำ�กริยาวิเศษณ์ ทั้งนี้ทั้งนั้นคำ�สรรพนาม (เช่น คำ�ว่า me, you, him, her, it, us และ them) ไม่สามารถเป็นคำ�ที่จะเริ่มทำ�นองเสียงสูงได้ ซึ่งทำ�นองเสียงสูงก็จะเปลี่ยนเป็น คำ�ก่อนหน้าที่เหมาะสม นอกจากนี้คำ�สุดท้ายที่มีมากกว่า 1 พยางค์ เช่นใน ประโยค “Are you happy?” กับ “Is it interesting?” ก็จะเห็นได้ว่าผม เน้นเสียงสูงที่พยางค์แรกครับ 99
CHAPTER 17 Rising Intonation - Surprise, Uncertainty, and Confirmation (ทำ�นองเสียงสูง - ประหลาดใจ, ไม่แน่ใจ และการยืนยัน) ทำ�นองเสียงสูงนัน้ โดยปกติใช้ส�ำ หรับประโยคคำ�ถามทีต่ อ้ งการคำ�ตอบเป็น Yes/ No แต่นอกจากนีก้ ย็ งั มีบางประโยคบอกเล่าทีเ่ หมือนเป็นคำ�ถามทัง้ ๆ ทีโ่ ครงสร้าง ของประโยคนั้นเป็นประโยคบอกเล่า มาดูตัวอย่างกันครับ
ประโยคที่แสดงความประหลาดใจ
ฟัง Chapter017-1
A: Jack had a baby last week. B: He’s a dad ? He’s so young! (แทนที่จะพูดว่า ‘Is he a dad already?’) B รู้สึกประหลาดใจที่ Jack มีลูก เขาจึงใช้เสียงสูงในคำ�ว่า dad เพราะผู้พูดนั้น ประหลาดใจที่ได้ยิน
100
การยืนยัน
ฟัง Chapter017-2
A: I have good news! B: You got a new job? (แทนที่จะพูดว่า ‘Did you get a new job?’)
A: Yes! B คิดว่าเขาเดาได้ว่า A จะพูดอะไร หรือไม่เขาก็อยากจะเดาคำ�ตอบ แต่ B ก็อยากที่จะรู้ว่าสิ่งที่เขาคิดหรือเดานั้นเป็นจริงไหม B จึงต้องการการยืนยันโดย การใช้เสียงสูง และการใช้เสียงสูงในประโยคแบบนี้นั้นเป็นการพูดแบบเดา และ ในขณะเดียวกันก็ถาม A ให้บอกคำ�ตอบครับ
ความไม่แน่ใจ
ฟัง Chapter017-3
A: Do you know what time the meeting starts? (โครงสร้างประโยคปกติ)
B: 9:00 (แทนที่จะพูดว่า ‘I think it is 9:00, but I’m not sure.’) B ใช้เสียงสูงเนื่องจากว่า B ไม่แน่ใจว่าคำ�ตอบของเธอนั้นถูกหรือไม่ A จึงควรจะ หาคำ�ตอบที่ถูกต้องจากคนอื่น และไม่ควรตำ�หนิถ้าหากบอกผิดไป 101
CHAPTER 18 Rising Intonation – Clarification (ทำ�นองเสียงสูง - เพื่อให้ความกระจ่าง) อีกหนึ่งประเภทที่เจ้าของภาษาจะใช้เสียงสูงในประโยค นั่นก็คือเมื่อต้องการจะ ถามให้ชัดเพื่อความเข้าใจ มาดูตัวอย่างกันครับ
ถามให้ชัดเพื่อความเข้าใจ
ฟัง Chapter018-1
A: Sam lost his job. B: Wait! He doesn’t work here anymore? (แทนที่จะพูดว่า ‘Do you mean he lost his job?’)
เหตุผลที่ B ใช้เสียงสูง ก็เนื่องจากว่า B อยากจะถามให้ชัดขึ้นเพื่อความกระจ่าง หรือเพราะว่า B แสดงความรูส้ กึ ทีม่ ตี อ่ สิง่ ที่ A พูด B พูดเช่นนีก้ เ็ พราะว่า B ต้องการ เน้นถึงผลของประโยคที่ A พูด นั่นก็คือ B จะไม่ได้เห็น Sam ที่ออฟฟิศอีกแล้ว
102
ถามให้ชัดเพื่อความเข้าใจ
ฟัง Chapter018-2
A: The number is 555-9435. B: 555-9435?
(แทนที่จะพูดว่า ‘Did you say 9435?’)
A: Right. 9435. B ไม่แน่ใจเลขหลักที่สี่ (นั่นก็คือเลข 9) เนื่องจากอาจจะมีเสียงแทรกตอนที่ A พูดเลข 9 B จึงไม่มั่นใจว่าตัวเขานั้นได้ยินถูกต้อง จึงทำ�ให้ B ต้องใช้เสียงสูงเมื่อ พูดถึงตัวเลขที่ B ไม่มั่นใจ
ทำ�นองเสียงสูง
เพิ่มความ กระจ่าง
103
section 4
RHYTHM
126
จังหวะในการออกเสียง
ชั้นที่ 4 ของเค้ก เป็นเรื่อง “Rhythm” หรือ “จังหวะในการออกเสียง” ทุกภาษาในโลกล้วนมีจงั หวะในการออกเสียง เมือ่ ไหร่กต็ ามทีค่ ณ ุ ถูกขอให้ เลียนแบบภาษาสักหนึง่ ภาษา ซึง่ คุณอาจจะพูดไม่เป็น แต่ถา้ คุณเริม่ แกล้ง พูดเลียนแบบ นั่นแสดงว่าคุณกำ�ลังเลียนแบบจังหวะในการออกเสียงของ ภาษานั้นอยู่ครับ วิธีเน้นจังหวะของแต่ละภาษาไม่เหมือนกัน ในบางภาษา ทุกคำ�อาจจะมีจังหวะในการออกเสียงเท่าๆ กันหมด และ อาจจะฟังดูขาดตอน หรือตะกุกตะกัก เช่น ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น ในขณะที่ ภาษาอืน่ ๆ อาจจะมีการพูดจังหวะช้าเร็วไม่เหมือนกัน เช่นในภาษาอังกฤษ ใน Chapter ต่อจากนี้ เราจะมาดูกันครับว่า ที่ผมกล่าวมานั้นจะเกี่ยวกับ เรื่องจังหวะในการออกเสียงอย่างไร
127
CHAPTER 29 Content Words (คำ�แสดงเนื้อหา) คำ�ศัพท์ในภาษาอังกฤษนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม (ผมไม่ได้พูดถึงการแบ่ง หน้าที่ของคำ�นะครับ) 2 กลุ่มที่ผมกล่าวถึงนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องจังหวะของภาษา อังกฤษครับ กลุ่มแรกคือ Content Words (คำ�แสดงเนื้อหา) และอีกกลุ่มคือ Function Words (คำ�ไวยากรณ์ หรือคำ�แสดงหน้าที่) เรามาลองดูกลุม่ Content Words กันก่อนครับ คำ�ประเภทนีเ้ ป็นคำ�ทีม่ คี วามหมาย และสาระสำ�คัญในตัว กลุ่มนี้จะประกอบไปด้วย Nouns (คำ�นาม), Action Verbs (คำ�กริยาที่บ่งบอก การกระทำ�), Adverbs (คำ�กริยาวิเศษณ์), Negative Modals (คำ�ใช้ปฏิเสธ เช่น can’t), Interjections (คำ�อุทาน เช่น OK, wow) และ WH-words (why, what, which) ด้านล่างผมนำ�เป็นบทกลอนและเพลงกล่อมเด็กมาเป็นตัวอย่างครับ คำ�พวก Content Words ผมทำ�เป็นตัวใหญ่ คำ�ที่เป็นตัวเล็กธรรมดาเป็นคำ�จำ�พวก Function Words ครับ ฟัง Chapter029
THIS is the HOUSE that JACK BUILT.
128
ฟัง Chapter029
THIS is the MALT that LAY in the HOUSE that JACK BUILT. THIS is the RAT that ATE the MALT that LAY in the HOUSE that JACK BUILT. THIS is the CAT that KILLED the RAT that ATE the MALT that LAY in the HOUSE that JACK BUILT. คำ�จำ�พวก Content Words ต้องพูดให้ชัด ดังนั้นผู้พูดจะพูดช้าลงเพื่อออกเสียงช้าลง ส่วนคำ�ที่เป็น Function Words ผู้พูดจะพูดเร็วและไม่ชัดเจนเหมือนกลุ่มแรก ซึง่ ในการออกเสียงนัน้ จะเห็นชัดได้จากตัวอย่างว่า เราแบ่งคำ� 2 กลุม่ จากจังหวะ ในการออกเสียงที่แตกต่างกันเวลาเราพูดครับ
129
CHAPTER 30 Focus Words and Falling Intonation (คำ�เน้นและทำ�นองเสียงต่ำ�) ถ้าย้อนดูใน Chapter ก่อนๆ ที่เกี่ยวกับ Intonation หรือเรื่องทำ�นองเสียง ผม ได้บอกไว้ว่าปกติแล้วทำ�นองเสียงจะเริ่มที่ Content Word ซึ่งโดยปกติเจ้าของ ภาษาจะเน้นพูดช้าๆ ชัดๆ แต่มีอยู่ 1 คำ�ที่เจ้าของภาษาจะเน้นพูดชัดกว่าคำ� อื่นๆ ในประโยค นั่นก็คือ “Focus Word” หรือ “คำ�เน้นที่เราจะพูดชัดที่สุดใน ประโยค” และคำ�ทีเ่ น้นนีจ้ ะมีท�ำ นองเสียงอยูท่ คี่ �ำ นี้ เราลองมาดูตวั อย่างกันครับ
The MEETing is on THURSday. ในประโยคข้างบนนั้นมี Content Words 2 คำ� พยางค์ที่ถูกเน้นเสียงนั้นจะชัด กว่าพยางค์อื่นๆ และคำ�อื่นๆ เราควรใช้ทำ�นองเสียงสูงหรือตำ่�ในประโยคนี้ครับ ฟัง Chapter030-1
The MEETing is on THURSday.
130
คำ�ตอบคือ “เสียงตำ�่ ” ใช่ครับ ทำ�นองเสียงตำ่ �จะสื่อถึงความคิดที่สมบูรณ์ หรือ เป็นการจบประโยคครับ โดยปกติแล้วเสียงตำ่�นัน้ จะตกอยูท่ ี่ Content Word คำ� สุดท้ายในประโยค ซึ่งคำ�ว่า MEET กับ THURS จะถูกออกเสียงชัดกว่าพยางค์ อื่นๆ และคำ�อื่นๆ และในประโยคนี้ ‘Thursday’ ซึ่งเป็น Focus Word จะถูก ออกเสียงชัดและดังกว่า ‘meeting’ ครับ ฟัง Chapter030-2
The BOOK is in the LIBrary. LIB ในคำ�ว่า library ควรจะเป็นคำ�ที่เสียงดังที่สุดเพราะเป็นการออกเสียงเพื่อ จะเน้นพยางค์นั้น รองลงมาจะไปเน้นคำ�ว่า book ครับ ดังนั้นคำ�อื่นๆ จะถูก ออกเสียงเร็วกว่า ซึ่งบางครั้งนั้นเราแทบจะไม่ได้ยินด้วยซำ�้ ครับ จังหวะเสียงนั้น จะไปเน้นที่ ‘book’ และตกลงมาที่ is, in, the (3 คำ�นี้เป็น Function Words) และหลังจากนั้นจังหวะเสียงจะเน้นตรงคำ�ว่า ‘library’ อีกทีหนึ่ง ก่อนที่จะจบ ประโยคด้วยทำ�นองเสียงตำ�่ ครับ
เมื่อคุณใช้หลักการเน้นคำ� Content Word และเน้นคำ�ตรง Focus Word ของประโยคได้แล้ว แสดงว่าคุณออกเสียงเรือ่ ง Rhythm ได้ถูกต้องแล้วครับ
131
CHAPTER 31 Focus Words and New Information (คำ�เน้นกับข้อมูลใหม่) โดยปกติแล้ว Focus Word หรือ คำ�เน้น จะเป็น Content Word ตัวสุดท้ายใน ประโยค แต่มีข้อยกเว้นในบางกรณีที่เราดูบริบทหรือความหมายในประโยค ยก ตัวอย่างเช่น ประโยคที่มีข้อมูลใหม่ๆ ที่เราอยากจะเน้นในบทสนทนา ซึ่งตาม หลักแล้ว Focus Word ที่เราเน้นจะไม่ถูกพูดซำ�้ ในบทสนทนาอีกรอบ ลองมา ดูตัวอย่างกันครับ ฟัง Chapter031-1
A: What’s your favorite dessert? B: Probably ice cream. A: What kind of ice cream? จะเห็นว่าคำ�เน้นนัน้ เปลีย่ นไปจาก ice เป็นคำ�ว่า kind เนือ่ งจาก ว่า คำ�ว่า ice cream เป็นข้อมูลเก่าที่ถูกกล่าวถึงแล้ว
B: Oh, definitely chocolate ice cream. คำ�เน้นนัน้ ย้ายมาเป็นคำ�ว่า chocolate ซึง่ เป็นข้อมูลใหม่ครับ 132
ฟัง Chapter031-2
A: I’m confused. When’s the party? B: Which party? คำ�ว่า party นั้นถูกกล่าวถึงแล้วข้างต้น ดังนั้นเราจึง เปลี่ยนคำ�เน้นเป็น Which ครับ
A: You know…the staff party. คำ�ว่า staff เป็นข้อมูลใหม่ครับ
B: Oh. It’s on the twenty-fifth. Tuesday night. A: But there’s a meeting on Tuesday night. เนื่องจาก Tuesday night เป็นข้อมูลเก่า คำ�เน้นจึงเปลี่ยน มาเป็นคำ�ว่า meeting
B: Actually, that’s been postponed. Note: เมื่อคำ�ที่เป็น Focus Word นั้นเป็นคำ�หลายพยางค์ ทำ�นองเสียงจะเริ่ม ที่พยางค์ที่เราเน้นเสียง 133
section 5 Spelling & Sound Patterns
154
การสะกดคำ�และหลักการออกเสียง
ชั้นสุดท้ายของเค้กจะช่วยให้คุณจำ�หลักการออกเสียงได้ดีเวลาที่คุณอ่าน ภาษาอังกฤษครับ ถ้าหากคุณจำ�หลักการต่างๆ ได้ คุณจะรู้ว่าจะต้องออกเสียงอย่างไรให้ ถูกต้องได้อย่างแน่นอนครับ
155
CHAPTER 38 เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเห็น d- และ r- อยู่ด้วยกัน เสียง d- จะถูกเปลี่ยนเป็น /dʒ / หรือ เสียง j- นั่นเอง ลองมาดูตัวอย่างด้านล่างที่ผมเลือกคำ�ที่พบเห็นได้ทั่วไป ในภาษาอังกฤษกันครับ
Dream
Dry
Drive
Draw
Draft
Drain
Drum
156
Drone
ฟัง Chapter038
CHAPTER39 เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเห็น t- และ r- อยู่ด้วยกัน เสียง t- จะถูกเปลี่ยนเป็น /t ʃ / หรือ เสียง ch- นั่นเอง ลองมาดูตัวอย่างด้านล่างที่ผมเลือกคำ�ที่พบเห็นได้ทั่วไป ในภาษาอังกฤษกันครับ
Try
True
Tree
Country
Track
Traffic
Transportation
Tricky
ฟัง Chapter039
157
CHAPTER 40 ตามหลักแล้ว เมื่อ t- และ u- อยู่ด้วยกัน เสียง t- จะถูกเปลี่ยนเป็น /t ʃ / หรือ เสียง chแต่หลักการนี้ ไม่สามารถใช้ได้กับกรณีที่เป็นพยางค์เดียว (เช่น tube, turn) หรือเวลาที่ t- และ u- เป็นอักษร 2 ตัวแรกที่เริ่มคำ� (เช่น tutor) ในกรณีนี้เรา ออกเสียง t- ด้วยเสียง /t/ ครับ ลองมาดูตัวอย่างด้านล่างที่ผมเลือกคำ�ที่พบเห็น ได้ทั่วไปในภาษาอังกฤษกันครับ ฟัง Chapter040
Future
Nature
Feature
Culture
Actually
Adventure
Congratulations 158
Habitual
Immature
CHAPTER 41 ตามหลักแล้ว เมื่อ d- และ u- อยู่ด้วยกัน เสียง d- จะถูกเปลี่ยนเป็น /dʒ / หรือ เสียง jแต่หลักการนี้ ไม่สามารถใช้ได้กับกรณีที่เป็นพยางค์เดียว (เช่น dumb, dunk) หรือเวลาที่ d- และ u- เป็นอักษร 2 ตัวแรกที่เริ่มคำ� (เช่น duty) ในกรณีนี้เรา ออกเสียง d- ด้วยเสียง /d/ ครับ ลองมาดูตวั อย่างด้านล่างทีผ่ มเลือกคำ�ทีพ่ บเห็น ได้ทั่วไปในภาษาอังกฤษกันครับ
Education
Credulous
Module
Individual
Fraudulent
Graduation ฟัง Chapter041
Schedule
Procedure 159
CHAPTER42 x เป็นตัวอักษรในภาษาอังกฤษก็จริง แต่เป็นตัวอักษรที่มีเสียงผสมกันระหว่าง เสียง /k/ + /s/ ซึ่งเราเรียกว่า Consonant Cluster (คำ�ควบกลำ�้ ) หรือการ ผสมกันของเสียงพยัญชนะนั่นเอง ลองมาฟังตัวอย่างกันครับ
Axe
/aeks/
Fix
/fIks/
Extra
** /ɛkstʃ rə /
Apex
/epɛ ks/
X-ray
* /ɛ ksre/
ฟัง Chapter042-1
* เสียงสระถูกออกเสียงตั้งแต่เริ่มคำ� ** คำ�ว่า ‘Extra’ ถือเป็นกรณีที่หายากครับ เนื่องจากว่ามีพยัญชนะถึง 4 ตัว (/k/ + /s/ + ch + /r/) 160
อย่าเพิ่งท้อนะครับ ขอเพียงคุณไม่ลืมหลักการออกเสียง t- ที่จะเปลี่ยนเป็น chเนื่องจากว่าเป็นการรวมเข้ากับ r- ดังนั้นกลุ่มเสียงนี้จะเป็น /k/ + /s/ + ch + /r/ และจะลงท้ายด้วยเสียง Schwa ครับ ลองฝึกออกเสียงเหล่านี้ทีละตัวก่อน ที่จะนำ�มารวมกันเป็นคู่ๆ และก่อนที่รวมเข้าด้วยกันหมดนะครับ
เพิ่มเติมอีกนิดครับ X ยังสามารถออกเสียงด้วยเสียง /z/ ได้ เมื่อ X เป็นอักษรตัวแรกครับ
Xylophone
ฟัง Chapter042-2
Xavier
161
AJ. NATHAN's Intensive Accent Reduction Course คอร์สติวเข้มปรับสำ�เนียง โดย อาจารย์เนตัน มิลส์ อาจารย์เนตันจะไม่สอนให้ท่องจำ�สำ�เนียงที่ถูกต้อง แต่จะมีเทคนิคที่ทำ�ให้คุณ เข้าใจถึง "หลักในการออกเสียงภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องและนำ�ไปใช้ได้จริง และในที่สุดคุณจะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างมั่นใจในทุกๆ สถานการณ์" อาจารย์เปิดคอร์สสอนหลายประเภท เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นเดี่ยว, กลุ่ม, หรือเทรนนิ่งสำ�หรับบริษัทและองค์กรต่างๆ แบบที่ 1: Accent Reduction Course
(คอร์สติวเข้มการปรับสำ�เนียง) มีให้เลือก 2 แบบ 1.1 เรียนเดี่ยว 1.2 เรียนกลุ่มเล็ก 2-4 คน แบบที่ 2: Fundamentals of Accent Reduction
(คอร์สพื้นฐานการปรับสำ�เนียง) กลุ่ม 8-10 คน
แบบที่ 3: Special Project in Accent Reduction Training
(เทรนนิ่งสำ�หรับองค์กร) จัดพิเศษตามความต้องการของผูเ้ รียน เลือกจำ�นวนผูเ้ รียน และชัว่ โมงเรียน ได้ตามใจชอบ 172
1,000 THB discount!
พิเศษ! เพียงซื้อหนังสือ "สูตรลับปรับสำ�เนียง Accent Recipe" มาสมัครเรียนคอร์สปรับสำ�เนียงภาษาอังกฤษ ฟรี! ส่วนลดค่าเรียน 1,000 บาท! ** โปรโมชั่นนี้ใช้ได้ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2559 เป็นต้นไป ** ** ผู้ที่สามารถสิทธิ์ได้ จะต้องเป็นบุคคลธรรมดา ไม่ได้อยู่ในนามของบริษัท หรือองค์กรใดๆ ** สมัครเรียนได้ที่: Email: info.engable@gmail.com Webpage: www.facebook.com/engable Line/Facebook: ENGABLE Tel: 099-536-1644, 092-546-2994 ติดตามผลงานปัจจุบันของอ. เนตันได้ที่: ajarnnathanmills
173