นุษยวิเทศคดี Humanities for Cross Border Review วร
ร ณ ภิงคา
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 กุมภาพันธ์-มีนาคม 2556
ร
ห ม า ย ข่ า ว
สุ
จด
ความหมายในสุภาษิตพม่าเทียบกับสุภาษิตไทย
ເບຍລາວ (มัน)มีอะไรที่น่าหัวเราะ?
กับ
เขยไทย
สื่อไทย สื่ออะไรให้อาเซียน America is in the Heart See Myanmar ผ่านการเป็นเจ้าภาพ Sea Games
ที่ปรึกษา
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิช ผศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ ผศ.นัทธนัย ประสานนาม
บรรณาธิการ ดร.อาทิตย์
พงษ์พานิช
กองบรรณาธิการ ผศ.ดร.พงศกร ดร.ชมนาด ดร.เกษวดี อ.ภากร อ.สถิตย์ อ.สายหยุด อ.วิจิตร
ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ
เลขานุการ สุรีย์พร
เมธีธรรม อินทจามรรักษ์ กุหลาบแก้ว สิริทิพา ลีลาถาวรชัย บัวทุม คริเสถียร
นลินรัตนกุล ชุมแสง
งานประชาสัมพันธ์ :
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th
ปกหน้า : พระมหามัยมุนี เมืองมัณฑะเลย์
ทุกๆ เช้า ราวตีสี่ครึ่ง ที่วัดยะไข่ เมืองมัณฑะเลย์ จะมีพิธี ล้างพระพักตร์ “พระมหามัยมุนี” พระพุทธรูป ศักดิ์สิทธิ์ที่มีพุทธลักษณะ งดงามเป็นที่เลื่องลือ ซึ่งชาวพุทธ แห่งลุ่มอิระวดีเชื่อกันว่าสร้างขึ้น ในสมัยพุทธกาล โดย พระพุทธเจ้า ทรงประทานลมหายใจเข้าไปในกาย พระพุทธรูป องค์นี้ ประหนึ่งให้เป็นตัวแทนเผยแผ่ พุทธศาสนา จึงเป็นที่มาของธรรมเนียมการล้างพระพักตร์ให้องค์พระ ทุกๆ เช้า เริ่มจากประพรมพระพักตร์ด้วยน้ำ ผสมเครื่องหอมทำจาก เปลือกไม้ “ตะนะคา” จากนั้นใช้แปรง ขนาดใหญ่ ขัดสีบริเวณพระโอษฐ์ แล้วใช้ผ้าขนหนูเช็ดพระพักตร์ให้แห้ง ขัดสีให้เนื้อทองสัมฤทธิ์ที่พระพักตร์ นั้นสุกปลั่งเป็นเงางามอยู่เสมอ พระนาม “พระมหามัยมุนี” มีความหมายว่า “มหาปราชญ์” เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ ปางมารวิชัย ที่ถือเป็น 1 ใน 3 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดในจิตใจ ชาวพม่า เช่นเดียวกับพระมหาเจดีย์ชเวดากอง ที่นครย่างกุ้ง และพระธาตุอินทร์แขวน ที่รัฐมอญ (เรื่องและภาพ – ธีรภาพ โลหิตกุล)
บทบรรณาธิการ มนุษยวิเทศคดี สารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (Humanities for Cross Borders Review) เป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบจดหมายข่าว เพื่อ การประชาสัมพันธ์ “สุวรรณภิงคาร” มาเป็น “มนุษยวิเทศคดี สารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร” โดยจะนำเสนอกิจกรรมของคณะมนุษยศาสตร์ นวัตกรรม และความรู้ด้านมนุษยศาสตร์ในมุมมองที่หลากหลายขึ้น มุ่งเน้น เนื้อหา เกี่ยวกับกลุ่มประเทศในประชาคม ASEAN และ กลุ่มประเทศ ASEAN +3 ผ่านการนำเสนอบทความวิชาการและปกิณกะสารคดี นอกจากนี้ยังใช้เป็นสื่อ และเครื ่ อ งมื อ ในการให้ ค วามรู ้ แ ก่ โ รงเรี ย นที ่ ม ี ก ารเรี ย นการสอนเกี ่ ย วกั บ ประชาคมอาเซียน ทั้งยังมีกองบรรณาธิการจากบุคลากรภายในคณะ และ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เพื่อผลักดันจุลสารประชาสัมพันธ์ชุดนี้ ให้เป็นสื่อเชื่อม สัมพันธ์ และความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้ง กับประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ คอลัมน์แรก เรื่องเด่น ผศ.วิรัช นิยมธรรม สกัดความรู้มาเป็น บทความกระชับสั้น สะท้อนให้เห็นถึงประเด็นทางวัฒนธรรมผ่านการใช้สุภาษิต จากสองประเทศอย่างมีนัยสำคัญ จากผลงานวิจัยเรื่อง “ความหมายในสุภาษิต พม่าเทียบกับสุภาษิตไทย” โดยนิสิตชาวเมียนมาร์ที่กำลังศึกษาในระดับ ปริญญาโท สาขาวิชาภาษาไทย คอลัมน์ต่อมา “ศิลปกรรม ภาษา และวัฒนธรรม” ฉบับปฐมฤกษ์นี้ ขอเสนอสองบทความเรียกน้ำย่อย อันได้แก่ “ເບຍລາວ กับ เขยไทย (มัน)มีอะไรที่น่าหัวเราะ?” เสียงหัวเราะที่อาจกลายเป็นการดูถูกเย้ยหยัน ในการใช้ภาษาลาวในบริบทภาษาไทย โดย อาจารย์สายหยุด บัวทุม และ “ความเป็นอื่นในสื่อเพื่อการเรียนการสอนและการประชาสัมพันธ์ประชาคม อาเซียน” โดย ดร.เกษวดี กุหลาบแก้ว มุ่งวิเคราะห์สื่อการเรียนการสอน และการประชาสัมพันธ์ต่างๆเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนที่ผลิตขึ้น (และผลิตซ้ำ มายาคติบางประการ) อย่างแพร่หลายในสังคมไทย อีกหนึ่งคอลัมน์ที่น่าสนใจ คือ Book Review ได้ปริทัศน์วรรณกรรม เรื่อง America is in the Heart ซึ่งเป็นงานเขียนกึ่งอัตชีวประวัติของ คาร์ลอส บูโลซาน (Carlos Bulosan 1913-1956) นักเขียนชาวฟิลิปปินส์ผู้อพยพ ไปอาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเหมาะสำหรับผู้มีความสนใจทางด้าน ฟิลิปปินส์ศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยอาจารย์สถิตย์ ลีลาถาวรชัย สีสันอาเซียน หนึ่งคอลัมน์เบาๆ โดยฉบับนี้ อาจารย์วิจิตร คริสเถียร ชวนสนทนาประเด็นร้อนๆ เมื่อประเทศเมียนมาร์กำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการ แข่งขันกีฬาซีเกมส์ในปลายปีนี้ ส่งท้ายด้วยคอลัมน์ผลงานนิสิต จากสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล ที ่ ไ ด้ ถ ่ า ยทอดประสบการณ์ แ ละความประทั บ ใจในการสหกิ จ ศึ ก ษา ณ มหาวิทยาลัย Yogyakarta State University ประเทศอินโดนีเซีย บรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จดหมายข่าวคณะมนุษยศาสตร์ ภายใต้ชื่อใหม่ มนุษยวิเทศคดี จะยังประโยชน์ จุดประเด็นวิพากษ์ และสร้าง ความเพลิดเพลินให้แก่ผู้อ่านทุกท่านเหมือนเช่นที่ผ่านมา ดร.อาทิตย์ พงษ์พานิช บรรณาธิการ
“
“
ความหมายในสุภาษิตพม่า เทียบกับสุภาษิตไทย
Seinn Lei Tun นิสิตปริญญาโทสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
กว้างขวางขึ้น และมีบทบาทมากขึ้นในโลกสมัยใหม่ผ่านระบบ สื่อสารประเภทต่างๆ ที่ผ่านมา สุภาษิตพม่าได้รับความสนใจในการศึกษา ไว้มากมาย และมีการรวบรวมเผยแพร่อยู่ตลอด และจากการ สำรวจพบว่าชาวพม่าโดยทั่วไปยังเห็นความสำคัญของสุภาษิต และมีการใช้ตามโอกาส เพื่อสื่อความหมายที่กระชับ เข้าใจง่าย ในการโต้ตอบ แสดงตัวตน และสั่งสอน ดังยืนยันได้จาก งานวิจัยหลายเล่มของนักวิชาการพม่าได้สรุปไว้ และผู้เขียน ก็ขอยืนยันให้เห็นถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ว่าสุภาษิตพม่ายังมี นัยสำคัญต่อการสื่อสารในภาษาพม่า และชาวพม่ามักเข้าใจ ความหมายของสุภาษิตที่คงความนิยมอยู่ในปัจจุบัน อันที่จริงสุภาษิตพม่าที่เคยมีผู้รวบรวมไว้นั้นมีเป็น จำนวนมากถึงประมาณห้าพันสำนวน อย่าไรก็ตาม ผู้เขียน ได้คัดสรรมาศึกษาเฉพาะที่ผู้เขียนในฐานะที่เป็นชาวพม่ารุ่นใหม่ คนหนึ่งยังคุ้นเคย และพอเข้าใจความหมายเกือบทั้งหมด ซึ่งมี จำนวน 150 สำนวน พร้อมกันนี้ได้แปลออกมาเป็นสำนวน ภาษาแบบไทยที่กระชับและสื่อความหมายชัด เพื่อการเทียบ เคียงกับสุภาษิตไทยเท่าที่พอจะคาดคะเนได้ว่าน่าจะคล้ายกับ สุภาษิตของพม่า อีกทั้งยังได้นำสุภาษิตพม่าที่คัดสรรมานั้นไป สอบถามความคิดเห็นของชาวพม่าในพื้นที่เมือง เช่น นครย่างกุ้ง ศูนย์กลางเศรษฐกิจพม่า และเนปยีด่อ ราชธานีของพม่า ในฐานะศูนย์ราชการของประเทศ โดยได้จัดจำแนกประเภท ของสุภาษิตพม่าตามกลุ่มความหมาย ถ้อยคำที่พบใช้ในสุภาษิต และการเทียบเคียงกับสุภาษิตไทย ดังอาจกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้ ความหมายของสุภาษิตพม่า สุภาษิตพม่าอาจนำมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงการมองโลก และวิธีคิดของชาวพม่า โดยลองจำแนกเป็นการมองโลกในเชิง
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2556
นุษยวิเทศคดี
สุ ภ าษิ ต ย่ อ มสะท้ อ นการมองโลกของเจ้ า ของภาษา และกำหนดพฤติกรรมที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ จนกลาย มาเป็นอัตลักษณ์ของผู้คนในสังคมโดยอ้อม ผู้เขียนได้มีโอกาส ศึกษาสุภาษิตพม่าในขณะที่เป็นนิสิตปริญญาโท ของคณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยใช้วิธีวิทยาที่เรียกว่า Content Analysis จนได้ข้อค้นพบที่ผู้เขียนเองก็ตื่นเต้น และ ได้เห็นความเป็นพม่าที่ไม่เคยคิดมาก่อน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ ต่อคนไทยให้เข้าใจคนพม่า ซึ่งต่างไม่น้อยหน้ากันในทาง อารยธรรม และที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้น สุภาษิตพม่าบางส่วน ก็เหมือนกับสุภาษิตไทย อย่างชนิดที่ไม่น่าจะเป็นความบังเอิญ โดยบริบท ณ เวลานี้ ประเทศพม่ามีนามใหม่ว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เพิ่งเริ่มปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตยเพียง 2 ปี และได้ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ตามกลไกตลาดมานานกว่า 20 ปี ย่อมส่งผลให้วิถีชีวิตของ ชาวพม่าได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะทางสังคมวัฒนธรรม ในส่วนนี้ ภาษาเป็นภาพสะท้อนอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าว วิธีคิดของคนพม่าซึ่งอาจมองผ่านในมิติของการสื่อสาร ก็น่าจะสะท้อนบางอย่างออกมาให้เห็น ผู้เขียนจึงสนใจความ สำคัญของสุภาษิตพม่า ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาหนึ่งในการ กำหนดวิธีคิดและการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ร่วมสังคม และหากพิจารณาจากกายภาพ ณ ปัจจุบัน สังคมพม่าเริ่ม ปรับเปลี่ยนตามกระแสนิยมมากขึ้น อาทิ การแต่งกายของคน รุ่นใหม่ การบริโภคสินค้าต่างประเทศ การสื่อสารด้วยระบบ เทคโนโลยีที่ทันสมัย การเดินทางที่สะดวกขึ้นกว่าแต่ก่อน และ การทำธุรกิจ การค้าในสังคมเมืองก็มีการขยายตัวมาอย่าง ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม วิถีชีวิตแบบชาวพุทธยังนับว่ามั่นคง อีกวัดเจดีย์ยังเป็นพื้นที่ทำบุญและแสวงบุญของชาวพุทธพม่า จนพัฒนามาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติเมื่อพม่า เปิดประเทศมากขึ้น อีกทั้งภาษาพม่าก็ยังเป็นภาษาที่ใช้กัน
3
นุษยวิเทศคดี 4
บวก (พฤติกรรมพึงประสงค์) และการมองโลกในเชิงลบ (พฤติกรรมไม่พึงประสงค์) พบว่ากลุ่มความหมายในด้านลบ มีหลากหลายถึง 27 ประเด็น ในขณะที่กลุ่มความหมาย ในเชิงบวกมีเพียง 8 ประเด็นเท่านั้น กล่าวคือ สุภาษิตพม่า สะท้อนการมองโลกในเชิงลบผ่านการสร้างถ้อยคำเพื่อการสืบ ทอดไว้มากกว่าในเชิงบวกถึง 3 เท่าตัว ซึ่งสะท้อนว่าสังคมพม่า ให้ความสำคัญต่อการกำจัดข้อด้อยของมนุษย์มากกว่าการเสริม แรงในทางบวก สุภาษิตจึงมีเป้าหมายในการตักเตือน ไม่ว่าจะ ด้วยการสะกิดใจหรือให้กำลังใจ อาจสรุปได้ดังนี้ สุ ภ าษิ ต พม่ า ที ่ ส ื ่ อ ความหมายในเชิ ง ลบอั น ไม่ พ ึ ง ประสงค์ มีจำนวน 27 ประเด็น เน้นเรียงตามลำดับ ได้แก่ บกพร่อง (7 สำนวน) โอ้อวด (7 สำนวน) ไม่ซื่อตรง (5 สำนวน) โลภมาก (5 สำนวน) แบกรับปัญหา (5 สำนวน) พิกล (5 สำนวน) ไม่น่าวางใจ (4 สำนวน) ไม่ทิ้งนิสัยเดิม (4 สำนวน) เลินเล่อ (4 สำนวน) ไม่เจียมตน (4 สำนวน) โง่เขลา (4 สำนวน) ปกปิด (4 สำนวน) ไม่รู้จักแทนคุณ (3 สำนวน) ไม่รับผิด (3 สำนวน) เห็นผิดเป็นถูก (3 สำนวน) ไม่เคารพ ยำเกรง (3 สำนวน) จำยอม (3 สำนวน) ซ้ำเติม (3 สำนวน) ไม่ควรค่า (3 สำนวน) แก้ไม่ตรงเหตุ (3 สำนวน) มักง่าย เห็นแก่ตัว (2สำนวน) ลืมมองตน (2 สำนวน) เข้าไปยุ่ง (2 สำนวน) บาดหมาง (2 สำนวน) แก้เผ็ด (2 สำนวน) ไม่ก้าวหน้า (2 สำนวน) และพาลหาเรื่อง (1 สำนวน) ส่วนสุภาษิตที่สื่อ ความในเชิงบวกอันพึงประสงค์ มีจำนวน 8 ประเด็น เรียงตาม ลำดับ ได้แก่ พึ่งพาอาศัย (12 สำนวน) พากเพียร (10 สำนวน) เหมาะควร (7 สำนวน) แก่กล้า (6 สำนวน) เชื่อมั่นในตน (5 สำนวน) โชคช่วย (5 สำนวน) พึงระวังใจ (5 สำนวน) และ ไม่ถือสา (5 สำนวน) อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่าพม่าให้ความสำคัญต่อ พฤติกรรมที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตที่ดี ชอบความละเอียด ถี่ถ้วน ถ่อมตน มีมานะอดทน ถือสัจจะ และรู้จักความพอดี นอกนั้นจะให้ความสนใจต่อการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อาจด้วย การตักเตือนหรือการเสียดสีให้สติ ตัวอย่างสุภาษิตที่คนพม่า ในปัจจุบันให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ได้แก่ ยังมีเวลาให้ทุ่มเท . อยากมากได้น้อย . ไปไถนาลืมวัว ส่วนที่นิยมรองลงมา ได้แก่ หอยหายใจเช่นปลาบ่อน้ำเสีย . หมาหางงอสวมกระบอกไม้ไผ่ . ผงซักฟอกดีผ้าโพกขาว . เวลากับกระแสน้ำไม่รอคน . ตระกร้า ก็ขอบคนก็เสื้อผ้า สะท้อนได้ว่า คนพม่าให้ความสำคัญกับเวลา ในช่วงของวัยเล่าเรียนและวัยทำงาน แต่ก็สอนให้อดกลั้น
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2556
ต่อความโลภตามคติทางพุทธศาสนา และตระหนักในสิ่งจำเป็น ต่อชีวิต นอกจากนี้สุภาษิตที่คนพม่าชอบจดจำยังสะท้อนว่า คนพม่าน่าจะไม่ค่อยอดกลั้นต่อสิ่งผิดปกติหรือไม่เหมาะควร ไม่พอดี หรือไม่เอาใจใส่ ไม่ว่าในแง่ของนิสัย พฤติกรรม หรือการ วางตัวเมื่อเข้าสังคม การใช้คำในสุภาษิตพม่า ความหลากหลายของถ้อยคำที่ใช้ในการสร้างสุภาษิต พม่านั้นพบว่าจะอยู่ที่คำกริยาแสดงอาการ และกริยาแสดง สภาวะ กริยาแสดงอาการ โดยมากมักเป็นอาการของคนแทบ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะการกิน การอยู่อาศัย การได้รับ การเคลื่อนไป บางอาการสะท้อนวัฒนธรรม เช่น ถกเขมร ตบแขน (แสดง การท้าทาย) มีอาการเฉพาะสัตว์อยู่ไม่มากนัก ได้แก่ ขวิด ตอม เลีย ร้องขัน ในส่วนของกริยาแสดงสภาวะนั้น พบมากที่สุดคือ คำว่า ตาย และ ดี ส่วนคำทางวัฒนธรรม ได้แก่ โชคร้าย และ ตกนรก สุภาษิตพม่าอ้างถึงสิ่งมีชีวิตทั้งที่เป็นคนและสัตว์พอกัน สัตว์ที่ถูกกล่าวถึงบ่อย ได้แก่ ปลา นก วัว ช้าง งู และแมว ส่วนพืช มักกล่าวถึง ได้แก่ ข้าวและพืชผัก ส่วนสิ่งอื่นๆ ที่กล่าวถึงบ่อยได้แก่ ทองคำ ขี้ เท้า มือ เรือ ป่า เวลา และคำพูด ส่วนคำทางวัฒนธรรม ได้แก่ พระพุทธเจ้า เทวดา พญานาค พระอินทร์ ยักษ์ เจดีย์ ฉัตร ปราสาท นรก พิณ โสร่ง เจ้า โยม เณร ขอทาน ขโมย และอาคันตุกะ ส่วนคำที่เป็นชื่อสถานที่ ได้แก่ พุกาม เมืองจีน และลำน้ำมู ซึ่งต่างเกี่ยวกับพื้นที่ตอนบนของ ประเทศพม่า สุภาษิตพม่ากับสุภาษิตไทย สุภาษิตพม่าที่ตรงหรือเหมือนกับสุภาษิตไทยมีเพียง 11 สำนวน อย่างไรก็ตาม สำนวนที่สะท้อนการมองโลก ในเชิงลบมีมากกว่าเชิงบวก ในเชิงลบได้แก่ สอนจระเข้ว่ายน้ำ (โอ้อวด) ปลาหมอตัวเดียวเน่าทั้งลำเรือ (ไม่น่าวางใจ ~ปลาเน่า ตัวเดียวเหม็นทั้งลำเรือ) อยากมากได้น้อย (โลภมาก~โลภมาก ลาภหาย) แมวไม่อยู่หนูตื่น (ไม่เคารพยำเกรง~แมวไม่อยู่หนู ระเริง) ตบมือข้างเดียวไม่ดัง (ปกปิด) สิงห์สองตัวไม่อาจอยู่ ในถ้ำเดียว (บาดหมาง) เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า (ซ้ำเติม) และ ปนกับหมาเลียหูเลียแก้ม (ไม่เจียมตน~เล่นกับหมาหมาเลีย
ในมิติโลกทัศน์ การดำเนินชีวิต ความเชื่อ และค่านิยมที่มี บางส่วนเหมือนไทย บางส่วนคล้ายคลึง และบางส่วนแตกต่าง อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้เป็นเพียงการคัดสรรเฉพาะ สุภาษิตพม่าที่ผู้เขียนคุ้นเคย จึงยังขาดความเป็นปรนัยอยู่มาก แต่ก็เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อชาวไทยที่สนใจเรียนรู้ภาษาและ วัฒนธรรมพม่า อันจะช่วยให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมพม่าอย่าง ราบรื่น อันเนื่องจากความจำเป็นในโลกยุคใหม่ที่ประชาชน ของทั้งสองประเทศจะไปมาหาสู่กันมากขึ้นกว่าแต่ก่อน หมายเหตุ อ่านงานวิจัยฉบับเต็มของผู้เขียนได้ใน สารนิพนธ์เรื่อง การศึกษาความหมายในสุภาษิตพม่า เทียบกับ สุ ภ าษิ ต ไทย (สาขาวิ ชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2556)
นุษยวิเทศคดี
ปาก) ส่ ว นในเชิ ง บวกได้แ ก่ เวลากับ กระแสน้ำ ไม่ ร อคน (พากเพียร~เวลากับกระแสน้ำไม่คอยใคร) โชคร้ายหนโชคดีหน (ไม่ถือสา~ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน) และ เสือปลอดภัยเพราะป่า ป่าปลอดภัยเพราะเสือ (พึ่งพาอาศัย~น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า) นอกจากนี้ ยังมีสุภาษิตพม่าที่จัดว่าคล้ายกับสุภาษิตไทย จำนวน 44 สำนวน จึงอาจสะท้อนได้ว่า คนพม่ากับคนไทยในบาง พื้นที่น่าจะมีการแลกเปลี่ยนทางภาษาหรือความคิดผ่านชุด ความรู้หรืออาจเกิดจากความใกล้ชิด ส่วนสุภาษิตที่คนพม่า คุ้นเคยเช่นเดียวกับไทย ได้แก่ อยากมากได้มาก เวลากับสายน้ำ ไม่รอคน ปลาหมอตัวเดียวเน่าทั้งลำเรือ และ สอนจระเข้ว่ายน้ำ ในส่ ว นสุ ภ าษิ ต พม่ า ที ่ พ อเที ย บได้ ก ั บ สุ ภ าษิ ต ไทย มีจำนวน 64 สำนวน และที่ผู้เขียนยังไม่อาจเทียบเคียงกับ สุภาษิตไทยได้นั้น มีจำนวน 31 สำนวน ในด้านลบได้แก่ประเด็น บกพร่อง (3 สำนวน) ไม่ซื่อตรง (2 สำนวน) พิกล (2 สำนวน) ไม่ควรค่า (2 สำนวน) โอ้อวด (1 สำนวน) เลินเล่อ (1 สำนวน) ไม่เจียมตน (1 สำนวน) โง่เขลา (1 สำนวน) ไม่รับผิด (1 สำนวน) มักง่ายเห็นแก่ตัว (1 สำนวน) แก้เผ็ด (1 สำนวน) ไม่ก้าวหน้า (1 สำนวน) ส่วนในด้านบวกได้แก่ประเด็น เชื่อมั่น ในตน (3 สำนวน) ไม่ถือสา (3) เหมาะควร (2) แก่กล้า (2 สำนวน) พึงระวังใจ (2 สำนวน) พึ่งพาอาศัย (1 สำนวน) และ โชคช่วย (1 สำนวน) จึงอาจสะท้อนได้ว่า คนพม่ามีมุมมอง เฉพาะตัว ส่วนที่ต่างจากไทยอย่างน่าสนใจในแง่ของบริบท ที่กำหนดถ้อยคำเพื่อสร้างสุภาษิต อาทิ ผงซักฟอกดีผ้าโพกขาว สะท้อนว่าพม่าให้ความสำคัญกับผ้าโพกหัว ซึ่งคนไทยอาจ ไม่นิยมใช้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสังคมพม่ากับสังคมไทย มีความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในทางพุทธ ศาสนา จึงน่าจะมีส่วนให้มีมุมมองและวิธีคิดที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่ปรากฏเป็นตัวภาษาต่างกันตามสภาพแวดล้อมทาง ธรรมชาติและสังคม ดังนั้น จากการเทียบเคียงสุภาษิตพม่ากับ สุ ภ าษิ ต ไทยจึ ง ได้ พ บความสอดคล้ อ งกั น ทางวั ฒ นธรรมอยู ่ พอควร อาจกล่าวได้ว่า การศึกษาสุภาษิตพม่านั้นถือว่าเป็น ประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจการมองโลก วิธีคิด และวิถีชีวิต ของผู้คนในสังคมพม่า เพื่อช่วยให้คนต่างชาติเข้าถึงวิถีชีวิตของ ชาวพม่าได้ทางหนึ่ง เพราะวัฒนธรรมทางภาษาเป็นเรื่องยากที่ จะเรียนรู้ภายในระยะเวลาอันสั้น ผู้เขียนจึงได้พยายามวิเคราะห์ สุภาษิตพม่าในระดับของความหมาย พร้อมกับได้เทียบเคียง กับสุภาษิตไทย ก็เพื่อที่จะช่วยให้คนไทยเข้าใจคนพม่ามากขึ้น
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2556
5
ເບຍລາວ ...กับ
นุษยวิเทศคดี
อ้ า ยหนุ ่ ม ลาวแวะเวี ย นเยี ่ ย มยามเมื อ งไทยมองเห็ น สาวไทยขยันขันแข็งมุมานะทำงานอย่างไม่เหน็ดไม่เหนื่อย จึงได้ เอ่ยปากชมสาวไทยว่า “ ” (เจ้าคือมาดุแท้) สาวไทยตกใจรีบแก้คำ “ไม่ใช่นะคะ น้องใจดีนะคะ น้องไม่ดุเลย” อ้ายหนุ่มลาวได้แต่ทำหน้างงๆ เหตุการณ์เช่นนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในการ ติดต่อสื่อสารระหว่างสองเพื่อนบ้านไทย – ลาว อันเนื่องมาจาก ภาษาของทั้งสองประเทศมีความใกล้เคียงกัน คนลาว-คนไทย สามารถพูดคุยติดต่อสื่อสารกันได้โดยที่ไม่ต้องผ่านล่าม เราก็ เข้าใจกันได้ แต่ก็ยังไม่ทั้งหมด เพราะในความคล้ายคลึงก็ยังคง มีความแตกต่างซ่อนเร้น ก่อเกิดความคลาดเคลื่อนในการ สื่อสารอยู่บ้าง อย่างเช่น อ้ายหนุ่มลาวที่เอ่ยชมสาวไทยว่า เป็นคน “ ”(ดุ) นั้นไม่ได้จะหมายถึง ใจร้ายโหดเหี้ยม ในความหมายของคำไทย แต่หมายถึง มีความขยันหมั่นเพียร ซึ่งปัญหาของการสื่อสารนี้เกิดขึ้นจากลักษณะของคำพ้องรูปพ้องเสียง ระหว่างภาษาไทยกับภาษาลาวนั่นเอง อี ก กรณี ห นึ ่ ง ที ่ เ กิ ด ความเข้ า ใจที ่ ผ ิ ด เพี ้ ย นคื อ “ ”(เบียร์ลาว) ด้วยเหตุที่รูปอักษรของทั้งสองภาษา มี ค วามคล้ า ยคลึ ง กั น เมื ่ อ คนไทยเห็ น ป้ า ยโฆษณาเบี ย ร์ ล าว จึงเข้าใจว่าคือรูปสระ “เ - ย” ในภาษาไทย และด้วยรสชาติ ที่ถูกคอเหล่าคอเบียร์จึงบอกต่อๆ กันว่าถ้าได้ไปเที่ยวที่ลาว ต้องไปชิม “เขยลาว” ให้ได้
6
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2556
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์เล่านี้ยังจะคงเป็นเรื่องราว น่ารักๆ เป็นเรื่องเล่าหยิกแกมหยอกเพื่อสร้างสัมพันธ์อันดี ระหว่างไทย – ลาว แต่สิ่งที่น่ากังวลในขณะนี้คือ พฤติกรรมของ คนไทยบางกลุ่ม เช่นนักท่องเที่ยวเวลาไปเที่ยวที่ สปป.ลาว เห็นป้ายโฆษณาหรือได้ยินภาษาที่มีความหมายคล้ายคลึงกับคำ ในภาษาไทยก็ ห ั วเราะและขบขั นกั นสนุ กสนาน บางครั้ง ก็เป็นการขบขับแบบไม่มีสาเหตุ จนลืมคำนึงกันไปหรือเปล่าว่า มั น เป็ น การเสี ย มารยาทอย่ า งยิ ่ ง ที ่ จ ะไปหั ว เราะหรื อ ขบขั น วัฒนธรรมประจำชาติของเพื่อนบ้าน ยกตัวอย่าง เช่น คำว่า “ ”(บ่อนเสียปี้) บ่อน หมายถึง สถานที่, จุด ปี้ หมายถึง บัตร ตั๋ว ดังนั้น บ่อนเสียปี้ ก็คือ จุดจำหน่ายตั๋ว หรือคำว่า “ ”(ปี้ยนต์) ก็หมายถึง ตั๋วเครื่องบิน หรือคำว่า ห้องคลอด ในภาษาลาวจะเรียกว่า “ ” (ห้อง ประสูติ) หรือคำว่า “ ”(โดน) หมายถึง นาน ถ้ามีชาวลาว ถามว่า “เจ้ามาฮอดโดนแล้วบ่” นั่นหมายความว่า คุณมาถึง นานหรือยัง ไม่ใช่มาถึงแล้ว “โดน...” ในความหมายคำสแลง ของไทย ซึ่งกลุ่มคำเหล่านี้จะเป็นที่ขบขันจนมีการนำล้อเลียน ผ่านสื่อออนไลน์คือ Facebook และมีการแชร์ต่อๆ กัน เพราะ ถือว่าเป็นเรื่องตลก จนลืมคิดไปว่าสิ่งนั้น แสดงมุมมองความคิด ที ่ แ คบของตน ทำให้ น ึ ก ถึ ง คำกล่ า วของอาจารย์ ส มบั ต ิ พรหมมินทร์ ค้อนทอง (2551หน้า 10) ซึ่งได้กล่าวถึงลักษณะ ของสังคมลาวในด้านภาษาไว้ว่า
เขยไทย
(มัน)มีอะไรที่น่าหัวเราะ?
อ.สายหยุด บัวทุม
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สำเนียงท้องถิ่น (เสียงเหน่อ) ซึ่งในปัจจุบันคงยกเลิกไปแล้ว แต่น้อยมากที่จะได้ยินเสียงผู้ประกาศข่าว นักประชาสัมพันธ์ อ่านข่าวด้วยสำเนียงถิ่น เมื ่ อ จะก้ า วเข้ า สู ้ ป ระชาคมอาเซี ย น การเรี ย นรู ้ วั ฒ นธรรมภาษาของเพื ่ อ นบ้ า นเป็ น สิ ่ ง จำเป็ น เพื ่ อ ประโยชน์ ในการติ ด ต่ อ สื ่ อ สารอั น จะสร้ า งความสั ม พั น ธ์ ท ี ่ ด ี ต ่ อ กั น การศึกษาภาษาลาวหรือภาษาเพื่อนบ้านชาติอื่นๆ ก็ควรจะเป็น ไปในทางสร้างสรรค์ เรียนรู้เพื่อป้องกันการสื่อสารที่จะก่อให้เกิด ความเข้าใจผิด อันเนื่องมาจากความผิดเพี้ยนกันในด้าน ความหมาย ผิดวัตถุประสงค์ที่มุ่งจะสื่อออกไป ดังตัวอย่าง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับภาษาไทย – ลาว ที่มีความคล้ายคลึง กันมาก บางคำพ้องรูป-พ้องเสียง แต่มีความแคบกว้างทาง ความหมาย บางคำความหมายแตกต่างไปคนละเรื่อง เมื่อเรา ศึกษาและเรียนรู้ภาษาอย่างถูกต้องแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป ว่ า เวลาสั ่ ง เข้ า ต้ ม (ข้ า วต้ ม) ที ่ สปป.ลาว แล้ว จะได้ รับประทานข้าวต้มมัด เพราะเมื่อใดที่ไปนั่งร้านอาหาร ณ สปป. ลาว แล้วอยากรับประทานข้าวต้มร้อนๆ สักถ้วย เราจะพูดว่า “อ้ายๆ ขอข้าวเปียกถ้วยหนึ่ง” ( : เข้าเปียก)
นุษยวิเทศคดี
“เรื่องสำเนียงภาษาพูดของลาว มีจุดน่าสนใจตรง ประเด็นที่ว่า ผู้คนในสังคมลาวเป็นสังคมของคนใจกว้าง เพราะ ทุกคนยอมรับความแตกต่างของสำเนียงที่พูดได้เป็นอย่างดี และอย่างเต็มอกเต็มใจ ไม่มีใครคอยกระแนะกระแหน หรือ เคอะเขิน คอย “แซว” กันซ้ำเติมให้เป็นที่น่าอับอาย คนลาว ไม่ทำกัน ท่านที่เคยข้ามไปฝั่งลาว ถ้าตั้งข้อสังเกตให้ดีจะพบว่า เมื่อคนลาวจากต่างถิ่นมาเจอกันหรือจะพูดคุยกันอย่างเป็นการ เป็นงานในที่ประชุมก็ตาม ใครมีกำเนิดมาจากภาคไหนถิ่นไหน ก็พูดสำเนียงภาษาถิ่นตนเองไปได้เต็มที่ ถึงแม้ถ้อยคำโทนเสียง วรรณยุกต์ ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี จะแผกเพี้ยนกันไปคนละ ระดั บ กั บ อี ก ฝ่ า ยหนึ ่ ง ก็ ไ ม่ ว ่ า กั น เพี ย งให้ เ ป็ น ที ่ เ ข้ า ใจ สื่อความหมายกันได้ก็พอแล้ว จึงน่าจะถือได้ว่าระดับจิตของ คนลาวนั้น “หลุดพ้น” ในเรื่องสำเนียงที่ถือกันว่า “เหน่อ” มาได้นานเต็มที ใครจะว่าอีกฝ่ายเหน่อ-เจ้าก็เหน่อคือกัน” อ่ า นข้ อ ความจบก็ ใ ห้ ย ้ อ นนึ ก ถึ ง พฤติ ก รรมของไทย ที่มีการรณรงค์ให้คนในประเทศออกเสียง สำเนียงภาคกลาง เช่น มีเกณฑ์การสอบใบผู้ประกาศข่าวในยุคหนึ่งว่า จะต้องไม่มี
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2556
7
สื่อไทย สื่ออะไรให้อาเซียน ดร.เกษวดี กุหลาบแก้ว
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
นุษยวิเทศคดี
การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในอีกไม่กี่ปี ข้างหน้านี้ ได้จุดกระแสความตื่นตัว สนใจใคร่รู้ รวมทั้งข้อกังขา สารพัดเกี่ยวกับประเทศของเราและเพื่อนบ้านขึ้นในสังคมไทย เป็นวงกว้าง สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือกระแสความต้องการ เสาะแสวงหาความรู้เกี่ยวกับชาติสมาชิกทั้งสิบ ซึ่งก็ได้รับการ ตอบสนองอย่างคึกคัก จากบรรดาผู้ผลิตสื่อความรู้ต่างๆ สื่อมวลชน และสื่อของภาครัฐ แต่อย่างไรก็ดี การให้ความรู้ เกี่ยวกับอาเซียนผ่านสื่อเหล่านี้ เท่าที่เห็นยังคงมีปัญหาอยู่ โดยเฉพาะเนื ้ อ หาที ่ เ น้ น การเรี ย นรู ้ ล ั ก ษณะประจำชาติ แ บบ เหมารวม ตายตัว เน้นจุดต่างมากกว่าจุดร่วม ซึ่งนำไปสู่ความ รู้ผิด เข้าใจผิดเกี่ยวกับเพื่อนบ้านได้ง่าย สื ่ อ ส่ ว นใหญ่ ม ุ ่ ง เน้ น การนำเสนอภาพลั ก ษณ์ ข อง อาเซียน ในฐานะกล่องใหญ่กล่องหนึ่ง ที่บรรจุรวมชาติ กลุ่มชน และวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างย่อยๆ ออกไปถึงสิบแบบ สื่อส่วนมากเน้นการรวบรวมสิ่งที่มีลักษณะ “ประจำชาติ” ของ สมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศมานำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นการ แต่งกาย คำทักทาย สถานที่สำคัญ ตราแผ่นดิน ธงชาติ ดอกไม้ประจำชาติ มรดกวัฒนธรรมประเพณีที่โดดเด่น ซึ่งก็ ปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ ว ่ า เป็ น การให้ ค วามรู ้ ใ นระดั บ พื ้ น ฐานที ่ ส ุ ด อย่างหนึ่ง แต่การนำเสนอแบบนี้ ไม่สามารถพาคนไทยข้ามพ้น กรอบความคิดแบบชาตินิยมเดิมๆ ไปสู่จิตสำนึกแบบภูมิภาค นิยม ซึ่งน่าจะเป็นหัวใจของการสร้างประชาคมอาเซียนได้ การมุ ่ ง เน้ น ความรู ้ ใ นอั ต ลั ก ษณ์ ป ระจำชาติ เ พี ย ง อย่างเดียว นับว่าสวนทางกับความจำเป็น ที่จะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจเพื่อนบ้านอย่างลึกซึ้ง เพราะเป็นการเน้นจุดต่าง ละเลยการแสวงหาจุดร่วมและรากเหง้าทางสังคมวัฒนธรรมที่
8
เชื ่ อ มโยงกั น ซึ ่ ง ในปั จ จุ บ ั น สื ่ อ ที ่ น ำเสนอจุ ด ร่ ว มทาง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความคิดจิตใจของคนในกลุ่มประเทศ อาเซียน ให้ผู้คนระดับเดินดินกินข้าวแกงได้รับรู้ และเข้าใจง่ายๆ นั้น แทบจะหากันไม่เจอมีเพียงสื่อและการให้ความรู้ที่ตอกย้ำ ความเป็นอื่นของผู้คนและดินแดนที่ไม่ใช่ “เรา” สร้างความ เข้าใจผู้อื่นในลักษณะที่ผิวเผิน เหมารวมและตายตัว ซึ่งมุมมอง แบบนี้ มักเป็นที่มาของความขัดแย้งระหว่างชนชาติ เนื่องจาก มายาคติที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับความเป็นไทยและเทศไม่ได้รับการ แก้ไข แถมยังถูกผลิตซ้ำขึ้นมาอีก ดังจะเห็นได้บ่อยๆ จาก วาทกรรม “ไทยคือผู้นำของอาเซียน” ที่แทรกอยู่ในสื่อความรู้ และประชาสัมพันธ์จำนวนมาก ซึ่งตอกย้ำความเหนือกว่า ของไทยต่อเพื่อนบ้าน และนิยามชนชาติอื่นโดยเอาตนเองเป็น ศูนย์กลาง นอกจากนี้ การให้ความรู้เรื่องอาเซียนแบบสูตรสำเร็จ โดยมองว่าอาเซียนคือกลุ่มของรัฐชาติ ที่แต่ละรัฐก็มีชนชาติ วัฒนธรรมแบบเดียว ภายใต้ดินแดนเดียวกันนั้น ยังทำให้เกิด ปัญหาอคติในการเลือกสิ่งที่เป็นตัวแทนมานำเสนอด้วย ดังเช่น ที่สื่อของทางการแห่งหนึ่ง ระบุว่าคำทักทายประจำชาติของ ประเทศสิงคโปร์คือคำว่า หนีห่าว ซึ่งเป็นคำในภาษาจีนกลาง ข้อมูลแบบนี้วาดภาพให้สิงคโปร์เป็นเกาะของคนจีน แต่ในความ เป็นจริงของสังคมสิงคโปร์ซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ และวัฒนธรรมอย่างสูง ไม่มีใครทักทายกันเช่นนี้ สื่อเช่นที่ กล่าวมาสร้างความรู้ผิดเข้าใจผิด ไม่ต่างอะไรกับการรีบเร่ง กวดวิชาให้สังคมไทยจนขาดความเข้าใจในพลวัตที่เป็นจริงและ เป็นปัจจุบันของประชาคมอาเซียน
ขอบคุณภาพจาก http://loadebookstogo.blogspot.com
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2556
America is in: Carlos the Bulosan Heart วรรณกรรมเรื่อง America is in the Heart เป็น งานเขียนกึ่งอัตชีวประวัติของ คาร์ลอส บูโลซาน (Carlos Bulosan 1913-1956) นักเขียนชาวฟิลิปปินส์อพยพในสหรัฐอเมริกา และตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1946 เรื่องราวในหนังสือเริ่มต้นด้วยชีวิตอันแร้นแค้นของ ครอบครั ว บู โ ลซาน ซึ ่ ง มี อ าชี พ เป็ น เกษตรกรในจั ง หวั ด อันห่างไกลความเจริญของฟิลิปปินส์ในสมัยที่ฟิลิปปินส์ยังเป็น ดินแดนใต้อาณัติของสหรัฐอเมริกา ตลอดเวลา ครอบครัว บูโลซานต้องเผชิญกับภาวะหนี้สิน ความอดอยาก การถูก เอาเปรียบจากนายทุนท้องถิ่น และการถูกเหยียดหยามทั้งจาก ผู้ปกครองผิวขาวและคนพื้นเมืองที่มีฐานะ คาร์ลอสในวัยเด็ก จึ ง ฝั น ที ่ จ ะอพยพไปสหรั ฐ ฯ ซึ ่ ง เป็ น ความฝั น ร่ ว มของชาว ฟิลิปปินส์ชนชั้นแรงงานที่แทบหาโอกาสลืมตาอ้าปากไม่ได้ใน ประเทศของตน คาร์ ล อสในวั ย หนุ ่ ม จึ ง เพี ย รพยายามหารายได้ จนสามารถเก็บเงินเป็นค่าเรือโดยสารไปสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ชีวิตในประเทศใหม่ก็ไม่ได้สวยงามอย่างในภาพฝัน คาร์ลอส ผู ้ ไ ร้ ก ารศึ ก ษาและไม่ ร ู ้ ภ าษาอั ง กฤษต้ อ งอพยพขายแรงงาน ไปตามดินแดนชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ และเผชิญกับสภาพ ความเป็นอยู่และสภาพการทำงานที่เลวร้าย การเอารัด เอาเปรียบจากนายจ้างผิวขาว และการกีดกันอาชีพโดยกรรมกร อพยพจากชาติต่างๆ ซึ่งหลายครั้งพัฒนาไปสู่ความรุนแรง คาร์ลอสเฝ้ามองเพื่อนผู้อพยพชาวฟิลิปปินส์ส่วนหนึ่งหลีกหนี ความคับแค้นด้วยการหันเข้าหาเหล้า การพนัน และโสเภณี ในขณะที่ตนใช้เวลาศึกษาภาษาอังกฤษจนสามารถเขียนหนังสือ เรื่องนี้ขึ้นเพื่อบอกเล่าวีรกรรมการต่อสู้ชีวิตของตนและเพื่อน ร่วมชาติ และแม้ความจริงของ “อเมริกา” จะไม่ได้สวยงาม อย่างในภาพฝัน แต่คาร์ลอสก็ไม่เคยสิ้นหวังกับ “อเมริกา” เพราะ “America is in the heart” อเมริกาอยู่ในหัวใจ
อ.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วรรณกรรมเรื่องนี้มักถูกจัดเป็นวรรณกรรมอเมริกัน แต่ ก ็ เ ป็ น หนั ง สื อ ที ่ ผ ู ้ ส นใจองค์ ค วามรู ้ อ าเซี ย นไม่ ค วรละเลย โดยเฉพาะผู้สนใจฟิลิปปินส์ศึกษา เนื่องจากพลวัตรการอพยพ สู่สหรัฐฯ และประเทศต่างๆทั่วโลกได้กลายเป็นปรากฎการณ์ สำคัญในสังคมฟิลิปปินส์ และหนังสือเรื่องนี้ก็คือสักขีพยาน ของการอพยพระลอกใหญ่ระลอกหนึ่งในต้นศตวรรษที่ผ่านมา สำหรั บ ผู ้ ท ี ่ ส นใจศึ ก ษาประเทศฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ ใ นสมั ย อาณานิ ค ม หนังสือเรื่องนี้ก็คงมีประโยชน์ไม่น้อย เนื่องจากตัวบทให้ รายละเอียดเกี่ยวกับสภาวะและความคิดอ่านของชาวอาณานิคม ฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ ช นชั ้ น รากหญ้ า ซึ ่ ง แตกต่ า งจากมุ ม มองของ นักชาตินิยมฟิลิปปินส์ในสมัยใกล้เคียงกัน ที่ประกอบไปด้วย ชนชั้นนำ ข้าพเจ้าจึงขอแนะนำวรรณกรรมอเมริกันเรื่องนี้ แก่ท่านที่สนใจศึกษาอาเซียน โดยเฉพาะกรณีของประเทศ ฟิลิปปินส์
นุษยวิเทศคดี
I was to hear that girl’s voice in many ways afterward in the United States. It became no longer her voice, but an angry chorus shouting: “Why don’t they ship those monkeys back where they came from?” America is in the Heart P. 99
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2556
9
ประสบการณ์และความประทับใจ Yogyakarta State
@ University นรินทร์ กล่ำบ้านยาง
นุษยวิเทศคดี
นิสิตสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
10
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ผมชื่อ นายนรินทร์ กล่ำบ้านยาง นิสิตชั้นปีที่ ๔ สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล ภาควิชาดนตรีวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มีโอกาสได้เดินทาง ไปสหกิจศึกษา ในโครงการสหกิจศึกษาต่างประเทศ ณ มหาวิทยาลัย Yogyakarta State University ประเทศอินโดนีเซีย โดยปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ช่วยสอน ระหว่างวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ประเทศอิ น โดนี เ ซี ย ในความคิ ด แรกของกระผม จากการที่เคยได้ดูข่าวสาร คิดว่าต้องเป็นประเทศที่น่ากลัว แต่ความจริงแล้วไม่เลย ประเทศนี้ก็ถือได้ว่ามีความใกล้เคียงกับ ประเทศไทยผู้คนอัธยาศัยดี แต่รถติดกว่าเยอะมาก และเนื่อง จากประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ใหญ่มาก มีหมู่เกาะ มากมาย ทำให้การเดินทางระหว่างเมืองต่างๆ ต้องเดินทางโดย เครื่องบิน และในความคิดกระผม อินโดนีเซียเป็นเมืองที่มี มลพิษมากที่สุดประเทศหนึ่ง การที่กระผมได้ไปสหกิจศึกษาครั้งนี้ ทางภาควิชา ดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัย Yogyakarta State University ได้มอบหมายให้ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้ช่วยสอน มีอาจารย์ พี่เลี้ยงคือ ดร.สุวารตะ เซอบัว โดยมีหน้าที่ Workshop ในเรื่องดนตรีสำหรับเด็ก ดนตรีบำบัด และดนตรีไทย ให้กับนิสิต ภาควิชาดนตรีศึกษา ชั้นปีที่ ๑-๔ เพราะมีน้อยมหาวิทยาลัย ที่จะสอนในรายวิชาเหล่านี้ ผมได้มีโอกาสเรียนรู้ในเรื่องภาษา
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2556
อินโดนีเซีย และเรียนดนตรีกาเมลัน เพราะถ้าอยู่ที่ประเทศไทย การเรียนดนตรีกาเมลัน จะต้องเรียนที่สถานทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก ต่างจังหวัดอย่างกระผม ที่จะเข้าไปเรียน วันแรกที่เข้าปฏิบัติงาน กระผมได้รับการต้อนรับ อย่างอบอุ่นจากทางคณะภาษาและศิลปะ มีการแนะนำให้ รู้จักกับหน่วยงานและภาควิชาต่างๆ ของคณะ และวันนี้เองที่ผม ได้รู้จักกับเพื่อนสนิทชาวอินโดนีเซียคนหนึ่ง เขามีชื่อว่า นายอารดิ มาการา ซึ่งผมเรียกเขาว่า อารดิ เขาคอยช่วยเหลือ เรื่องต่างๆ ในมหาวิทยาลัย สิ่งที่สร้างความยากลำบาก ในการใช้ชีวิตของกระผมเป็นอย่างมาก คืออาหาร เนื่องจาก ทั้งรสชาติ กลิ่น และวัตถุดิบ แตกต่างกับอาหารไทย วิธีการรับประทานเหมือนกับคนไทยในสมัยก่อนคือ รับประทาน ด้วยมือ และการที่กระผมทานอาหารไม่ค่อยได้ ทำให้เกิดเรื่องดี กับกระผมคือ สามารถลดน้ำหนักลงได้ ๑๕ กิโลกรัม ในระยะเวลา ๔ เดือน การที่กระผมได้รับประสบการณ์ที่ดีเหล่านี้ เป็นผล มาจากการให้ความสนับสนุนของมหาวิทยาลัยนเรศวร และ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ ที ่ ส นั บ สนุ น ทุ น ให้ ก ระผมในการ สหกิจศึกษาครั้งนี้ รวมถึง อาจารย์ภากร สิริทิพา ผู้ช่วยศาสตราจารย์แก้วกร เมืองแก้ว และอาจารย์จีระรัตน์ เอี่ยมเจริญ ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องดังกล่าวให้กระผม
See Myanmar ผ่านการเป็นเจ้าภาพ Sea Games อ.วิจิตร คริเสถียร
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
นาย มยัต ตู หย่า ซอ ฝ่ายการต่างประเทศ คณะกรรมการโอลิมปิกเมียนมาร์ ได้เปิดเผยว่า ทางเมียนมาร์ ได้มีการสร้างหมู่บ้านนักกีฬาบนพื้นที่กว้างขวาง มีสิ่งอำนวย ความสะดวกครบครันและ ภายหลังจากเสร็จสิ้นซีเกมส์ ทางการ เมียนมาจะใช้หมู่บ้านนักกีฬานี้ เป็นมหาวิทยาลัยกีฬา ซึ่งถือว่า เป็นศูนย์กีฬามาตรฐานสูงสุดของประเทศต่อไป รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบัน เอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการด้าน เมียนมาร์ กล่าวถึงการจัดการแข่งขันกีฬาของเมียนมาร์ ในการ ประชุมสัมมนาวิชาการเรื่องการเปลี่ยนแปลงในเมียนมาร์ว่า “ทางการเมี ย นมาร์ ม ี โ อกาสแสดงตั ว ตนในเวที โ ลกอี ก ครั ้ ง จากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 3 เนื่อง จากที่ผ่านมารัฐบาลพลเรือนของเมียนมาร์ได้ทุ่มงบประมาณ มหาศาลปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาประเทศ ทำให้สามารถ ระบุได้ชัดเจนว่า ตนเองหลุดพ้นจากความเป็นประเทศด้อย พัฒนา ส่วนประเทศในภูมิภาคก็ได้ให้การสนับสนุน โดยเห็น ได้ชัดจากการยกเก้าอี้ประธานอาเซียนให้เมียนมาร์ในปีหน้า รัฐบาลเมียนมาร์มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเคียงคู่กับ มหาอำนาจ ที่ผ่านมาทางการเมียนมาร์ก็หวังสร้างความเชื่อมั่น ให้กับประชาชน เพราะจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2558 โดย มีพรรคเอ็นแอลดีของนางออง ซาน ซูจี เป็นพรรคคู่แข่ง " สิ่งน่าสนใจอย่างหนึ่ง คือ ซีเกมส์จะช่วยผลักดัน เศรษฐกิจของเมียนมาร์ได้เป็นอย่างดี เพราะมีแบรนด์ชื่อดัง อย่างซัมซุง และโค้กเข้ามาสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ จึงมั่นใจว่า เศรษฐกิจเมียนมาจะเติบโตมากขึ้นอย่างแน่นอน นับถอยหลังอีกไม่เกิน 7 เดือน เราก็จะได้ยลโฉม กันแล้วว่า การจัดการแข่งขันครั้งนี้ ประเทศเมียนมาร์จะโชว์ ให้เห็นถึงศักยภาพของตน ในการจัดการแข่งขันในเวทีโลก ได้มากน้อยแค่ไหน ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งในปี 2558
นุษยวิเทศคดี
“กีฬาๆ เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลส ทำคนให้เป็นคน” ขอเริ่มต้นด้วยบทเพลงเกี่ยวกับกีฬาสักหน่อย เพราะว่าหัวข้อของ คอลัมน์จะบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพ จัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ของประเทศพม่า หรือสาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมาในปลายปีนี้ จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ประเทศเมียนมาร์เคยจัด ซีเกมส์มาแล้วถึง 2 ครั้งด้วยกัน โดยยุคแรกๆ นั้น ประเทศ เมียนมาร์เคยเป็นเจ้าภาพกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 2 ในปี 1961 (2504) และครั้งที่ 4 ในปี 1969 (2512) จากนั้ก็ห่างหาย ไปนานกว่า 44 ปี ในคราวนี้ ทางสหพันธ์กีฬาแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ได้กำหนดให้ประเทศเมียนมาร์รับหน้าสื่อเป็น เจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 11-22 ธ.ค. 2556 ที่จะยึดเอาฤกษ์งามยามดี 11-12-13 เป็นวันเปิดงาน โดยจะจัดในเมืองต่างๆ 4 เมือง ได้แก่ เมืองหลวงเนปี่ด่อ ย่างกุ้ง มัณฑเลย์ และเมืองปะเตง เมื่อพูดถึงคำว่า เนปี่ด่อ ในภาษาพม่านั้น หมายถึง เมืองหลวง หรือ ราชธานี ส่วนเปียงมนานั้น คือ ชื่อของเมืองนี้ และอาจจะเรียกรวมๆ ได้คือ เปียงมนา เนปี่ด่อ ทางเมียนมาร์ ได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองย่างกุ้งมาที่เมืองหลวงใหม่แห่งนี้ ตั้งแต่ปี 2548 จนบัดนี้ก็ยาวนานกว่า 8 ปีแล้ว แม้ว่าจะมี ผู้คนอาศัยอยู่ในเมืองนี้ไม่มากนัก แต่ก็มีโรงแรมผุดขึ้นมาราวกับ ดอกเห็ด ประมาณ 30 แห่ง เหตุเพราะรัฐบาลมีนโยบายให้คนที่ ซื้อที่ดินไว้นั้นต้องก่อสร้างโรงแรมต่างๆ ให้เสร็จก่อนงาน กีฬาซีเกมส์จะเริ่มขึ้น ไม่เช่นนั้นที่ดินที่ซื้อไว้จะโดนรัฐเรียกคืน ได้นั่นเอง กลับมาที่ความพร้อมสำหรับการเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ กันดีกว่า ต้องยอมรับว่าเมียนมาร์เตรียมทุกอย่างไว้อย่าง “อลังการงานสร้าง” ด้วยการเนรมิตสนามกีฬาในกรุงเนปี่ด่อ ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด และสร้างสนามกีฬาแห่งชาติใหม่ชื่อว่า ซาบู ติริ (Zabuthiri) จุผู้ชมได้กว่า 30,000 คน นอกจากนั้นยังมี สนาม “เซยาติริ” (Zayarthiri) และสนามตุวันนา (Thuwanna Stadium)ในกรุงย่างกุ้ง
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2556
11
วิสัยทัศน์ :
2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร
คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และ นาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่ อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และสอดคล้องกับ ความต้องการของสังคมและประเทศ
จ
าย ด ห ม ข่ า ว
วร
ร ณ ภิงคา
ร
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
หมากเตอะเติ่น เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ชาวอีสานใช้เรียก “โปงลาง” มาจากคำว่า “หัวเตอะ เติ่น” ที่แปลว่าอาการหัวเราะเสียงดังลั่นติดต่อกัน เป็นนัยว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ สร้างความสุข ความบันเทิงให้ผู้คนได้อย่างม่วนซื่นรื่นรมย์มาก (ภาพและคำ – ธีรภาพ โลหิตกุล)
สุ
นุษยวิเทศคดี
ปกหลัง
ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ 85/2521 พิษณุโลก