นุษยวิเทศคดี Humanities for Cross Border Review วร
ร ณ ภิงคา
ร
ห ม า ย ข่ า ว
สุ
จด
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2557
ที่ปรึกษา
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิช ผศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ ผศ.นัทธนัย ประสานนาม
บรรณาธิการ อ.สายหยุด
บัวทุม
กองบรรณาธิการ ดร.อาทิตย์ ดร.ทศพล ผศ.ดร.พงศกร ดร.ชมนาด ดร.ภูริวรรณ อ.สถิตย์ อ.วิจิตร อ.อชิรพจณิชา อ.ศศิวรรณ
ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ
เลขานุการ สุรีย์พร
พงษ์พานิช สุรนัคครินทร์ เมธีธรรม อินทจามรรักษ์ วรานุสาสน์ ลีลาถาวรชัย คริเสถียร พลายนาค นาคคง
นลินรัตนกุล ชุมแสง
บทบรรณาธิการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ให้ความสำคัญกับการ ลงนามความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่าง ประเทศ เพื่อร่วมมือกันพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งทางวิชาการ ซึ่งถือเป็น กลไกสําคัญในการขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นที่ยอมรับในระดับ สากลได้อย่างต่อเนื่อง และส่งผลในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีกับ ต่างประเทศ ในการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนตามนโยบายและการ ดําเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนของกระทรวงศึกษาธิการ โดยยึดหลักการ ผสานประโยชน์และความชํานาญซึ่งกันและกันให้เกิดความร่วมมืออันดีในการ สนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาการศึกษา ภาษา ศิลปวัฒนธรรม การวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนสนับสนุน การจัดกิจกรรมโครงการทางวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การศึกษาดูงาน การพัฒนาบุคลากร การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การศึกษาวิจัย เพื่อให้เกิด องค์ความรู้ใหม่ๆ อันจะนํามาซึ่งการเอื้อประโยชน์ ทางการศึกษาต่อกันอย่าง ยั่งยืนต่อไป มนุษยวิเทศคดี สารประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ ฉบับนี้ จึงได้ นำเสนอความร่วมทางวิชาการกับสถาบันและองค์กรต่างๆ ซึ่งส่งผลให้นิสิต ในคณะได้รับประโยชน์ทางการศึกษาอย่างเต็มที่ และมีศักยภาพพร้อมจะออก ไปสู่ตลาดแรงงานอย่างเต็มภาคภูมิ
งานประชาสัมพันธ์ :
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th
ปกหน้า :
เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง คณะมนุษยศาสตร์ และหน่วยงานภายนอก
อ.สายหยุด บัวทุม บรรณาธิการ
เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ
è
ระหว่างคณะมนุษยศาสตร์และหน่วยงานภายนอก ดร.ทศพล สุรนัคครินทร์
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมมนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หนึ่งในวิสัยทัศน์ที่สำคัญของ ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จิ นายน อธิ ก ารบดี ม หาวิทยาลัยนเรศวร ในการเตรี ย ม ความพร้อมให้มหาวิทยาลัยก้าวไปสู่เวทีโลกและเข้าสู่การเป็น มหาวิทยาลัยระดับ world class คือการยกระดับความเป็น นานาชาติ ข องมหาวิ ท ยาลั ย โดยการสร้ า งพั น ธมิ ต รเชิ ง ยุทธศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ และกิจกรรมทางวิชาการ ร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนารอบด้าน ทั้งทางด้านบุคลากร นิสิต หลักสูตร และงานวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ ภายใต้การนำของ รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ได้นำ เอาวิสัยทัศน์ดังกล่าวมาเป็นตัวกำหนดทิศทางการดำเนินงาน เพื ่ อ สนองตอบนโยบายของมหาวิ ท ยาลั ย ในการแสวงหา พันธมิตรและเครือข่ายทางวิชาการ ด้านมนุษยศาสตร์ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิด
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในด้านต่างๆ ทั้งทางด้านภาษา วรรณคดี คติชนวิทยา ดนตรี และนาฏศิลป์ อีกทั้งเพื่อแสดงถึง ศักยภาพของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ในฐานะผู ้ ก ำกั บ ดู แ ลเครื อ ข่ า ยทางวิ ช าการด้ า น มนุษยศาสตร์ ผู้เขียนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการรวบรวม และเผยแพร่รายชื่อและกิจกรรมทางวิชาการที่คณะมีร่วมกับ หน่วยงาน และสถาบันต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ประชาคมในมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไปได้ทราบถึง ความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านการแสวงหาพันธมิตร และ เครือข่ายทางวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์ และเพื่อเป็นข้อมูล สำหรับคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตในการเสนอกิจกรรม และ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่สืบเนื่องจากข้อตกลงทางวิชาการ ดังกล่าว
ในปีการศึกษา 2556 คณะมนุษยศาสตร์มีเครือข่าย ความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานและสถาบันต่างๆ ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ จำนวน 17 แห่ง ดังนี้
คณะมนุษยศาสตร์ หน่วยงาน/ สถาบัน
กิจกรรม
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร ร่ ว มกั บ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “การส่งเสริมการอ่านข่าวสารและวรรณกรรมเพื่อนบ้าน กลุ่ม CLMV” - วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่งบุคลากร จำนวน 8 ท่าน เพื่อขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านการบริหารจัดการ การวิจัยและบริการวิชาการ การพัฒนานิสิต และการประกัน คุณภาพภายใน กับคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
College of Foreign Languages, Hue University, Vietnam
- วันที่ 11 มกราคม 2556 คณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ เดินทางไปที่มหาวิทยาลัยเว้ ประเทศเวียดนาม เพื่อเจรจา ความร่วมมือทางวิชาการใน 3 ประเด็นหลัก คือ สนับสนุน
นุษยวิเทศคดี
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2557
3
การตั้งภาควิชาภาษาไทย ที่มหาวิทยาลัยเว้ โดยผ่านกิจกรรม การแลกเปลี่ยนนิสิตและอาจารย์ การให้ความร่วมมือ และ สนับสนุนในการจัดการประชุมทางวิชาการ และการตกลง ในการร่วมพัฒนาวารสารวิชาการสายมนุษยศาสตร์ โดย แลกเปลี่ยนบทความเพื่อลงวารสารประจำคณะของตนเอง Faculty of Languages and Arts, Yogyakarta State University, Indonesia
- วันที่ 19-28 สิงหาคม 2556 คณะนิสิตจากYogyakarta State University เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนภาษาและ ศิลปวัฒนธรรม ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร - วันที่ 5-6 มีนาคม 2557 คณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการวิจัยนานาชาติ ในหัวข้อ The Conference of Arts and Humanities : Rethinking the Human Dignity and National Identity” ณ Yogyakarta State University โดย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากร (Plenary Speaker) บรรยายในหัวข้อ Dignity in Humility : the Representation of Central Female Characters in Thai Literary Works
ภาควิชาภาษาตะวันออก หน่วยงาน/ สถาบัน Aichi University, Japan
- โครงการแลกเปลี่ยนนิสิต
Osaka International University, Japan
- โครงการแลกเปลี่ยนนิสิต
Tianjin Normal University, China
- โครงการแลกเปลี่ยนนิสิต
Hyung Hee University, South Korea
- โครงการแลกเปลี่ยนนิสิต - Kyung Hee University ส่งบุคลากรมาปฏิบัติงาน ในสาขา วิชาภาษาเกาหลี - Kyung Hee University ลดค่าธรรมเนียมการศึกษา 30% สำหรับนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ที่สนใจศึกษาต่อ
Dongduk Women’s University, South Korea
- โครงการแลกเปลี่ยนนิสิตและบุคลากร
Mokwon University, South Korea
- โครงการแลกเปลี่ยนนิสิต - วันที่ 4-14 กุมภาพันธ์ 2557 นิสิตจาก Mokwon University เดินทางมาร่วมกิจกรรม Korean Language Camp & Thai Culture Study กับนิสิตสาขาวิชาภาษาเกาหลี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร - วันที่ 30 พฤษภาคม - 2 เมษายน 2557 คณะผู้บริหาร คณะมนุษยศาสตร์เดินทางไปร่วมงานฉลองครบรอบ 60 ปี ของ Mokwon University ร่วมกับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย นเรศวร โดยอธิการบดีได้รับเชิญเป็นวิทยากร (Plenary Speaker) บรรยายในการประชุมวิชาการนานาชาติ หัวข้อ “Direction of Improvement of Local Universities by Structural Reform”
นุษยวิเทศคดี 4
กิจกรรม
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2557
ภาควิชาภาษาตะวันตก หน่วยงาน/ สถาบัน
กิจกรรม
สำนักงานประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยที่มีการใช้ ภาษาฝรั่งเศส (Agence Universitaire de la Francophonie AUF)
- AUF มอบทุนการศึกษาจำนวน 2 ทุนแก่คณาจารย์สาขา วิชาภาษาฝรั่งเศส - AUF จัดหาอาจารย์จำนวน 2 คนมาปฏิบัติงานที่สาขาวิชา ภาษาฝรั่งเศส
ภาควิชาดนตรีวิทยา หน่วยงาน/ สถาบัน
กิจกรรม
Universitas Hindu, Indonesia
- วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555 คณาจารย์จาก Universitas Hindu Indonesia ร่วมเป็นวิทยากรอบรมในโครงการอบรมเชิง ปฏิบัติการนาฏศิลป์อาเซียนจัดโดยภาควิชาดนตรีวิทยา - 1-31 สิงหาคม 2555 คณาจารย์จาก Universitas Hindu Indonesia เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ณ คณะมนุษยศาสตร์
สถานพัฒนาการเรียนรู้ภาษาเมียนมาร์ กิจกรรม
Yangon University of Foreign Language(YUFL), Myanmar
- มอบทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโทแก่อาจารย์จาก YUFL ปีละ 2 ทุน มาเรียน ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร - ให้ความช่วยเหลือเรื่องการพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย และ จัดหาผู้ช่วยสอนภาษาไทย หรือ TA
สถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ (Saranrom Institute of Foreign Affairs Foundation: SIFAF)
- วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551 โครงการเสวนา “สถานการณ์ พม่ากับการเท่าทันสื่อหลากอุดมการณ์ทางการเมือง” - วันที่ 26 มกราคม 2555 โครงการสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ “พม่าในประชาคมอาเซียน” - วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2555 โครงการสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ “การสร้างเครือข่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ ภาษาและวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียน” - วันที่ 23 สิงหาคม 2555 โครงการสัมมนาทางวิชาการ หัวข้อ “ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในมิติประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน”
โรงเรียนสรรพวิทยา อ.แม่สอด จ.ตาก
- ร่วมพัฒนาหลักสูตรภาษาพม่า เดือนละ 2 ครั้ง
สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จ.พิษณุโลก
- แปลเอกสาร - จัดเตรียมล่ามภาษาพม่า
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
- จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับอาจารย์ที่สอนภาษาพม่า
ในปีการศึกษา 2557 คณะมนุษยศาสตร์มีนโยบายที่จะขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการจัดกิจกรรม โครงการทางวิชาการ การศึกษาดูงาน การพัฒนา บุคลากร การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการศึกษาวิจัยเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อการศึกษาและเอื้อให้ ให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ (เชิงวิชาการ) อย่างยั่งยื่นต่อไป จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2557
นุษยวิเทศคดี
หน่วยงาน/ สถาบัน
5
ความประทับใจที่ได้รับจากการเป็นผู้ช่วยสอนภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเมืองย่างกุ้ง (YUFL)
ศิษย์เก่าสาขาวิชาภาษาพม่า
นุษยวิเทศคดี
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
6
สื บ เนื ่ อ งจากทางมหาวิ ท ยาลั ย นเรศวรได้ ล งนาม ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ เมืองย่างกุ้ง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ จึงได้ มีการจัดส่งบุคลากรในสังกัดไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยสอน ภาษาไทย ณ ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ จำนวน 4 คน ด้วยกัน ซึ่งทั้ง 4 คนได้บอกเล่า ประสบการณ์และความ ประทับใจของตน จากการที่ได้ไปปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ นางสาวโศภิต คลังวิเชียร (อีฟ) ได้เล่าถึง ประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ว่า มีคนเคยบอกดิฉันว่า “อย่ามัวแต่นั่งรอโอกาสให้มาหาเรา เราควรวิ่งไปหาโอกาส นั้นบ้าง” หลังจากที่ดิฉันได้ทราบข่าวจากทางศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวรว่า มีโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากร เพื่อไป สอนภาษาไทยที่ประเทศเมียนมาร์ จึงตัดสินใจส่งใบสมัคร และก็ ได้รับโอกาสอันน่าภูมิใจ ในการเป็นผู้ช่วยสอนภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศย่างกุ้ง (YUFL) ซึ่งถือได้ว่าเป็น โอกาสอันดีที่จะได้แลกเปลี่ยนภาษา วัฒนธรรมประเพณี อันดีงามต่างๆ ของไทยให้กับนักศึกษาชาวพม่า ดิฉันได้รับ มอบหมายจากแผนกวิชาภาษาไทยให้สอน 3 รายวิชาด้วยกัน ได้แก่ วิชาการฟัง สำหรับนักศึกษาระดับอนุปริญญาชั้นปีที่ 2 วิชาการอ่าน สำหรับนักศึกษาระดับอนุปริญญาชั้นปีที่ 4 และ วิชาการฟังและการพูด (Listening and Speaking Skills) สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาชั้นปีที่ 3 หลายเดือนที่ผ่านมา ดิฉันได้ทุ่มเททำหน้าที่เป็น ผู้ช่วยสอนอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ให้กับ นักศึกษาพม่าที่เลือกเรียนสาขาวิชาภาษาไทยและมีความสนใจ ในความเป็นไทย และนักศึกษาที่นี่มีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ อย่างมากค่ะ ส่วนสิ่งที่ได้รับจากการมาปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้ คือ ประสบการณ์ในการสอน มิตรภาพ ทัศนคติที่ดีของนักศึกษา ที่มีต่อประเทศไทย ดิฉันได้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน และ
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2557
สามารถนำประสบการณ์จริงที่ได้รับจากประเทศเมียนมาร์ไป บอกเล่าให้คนอื่นได้ฟัง นอกเหนือจากการสอนในมหาวิทยาลัย ดิฉันและน้องๆ อาสาสมัครผู้ช่วยสอนยังได้รับโอกาสให้ไปสอน ภาษาไทยระดับพื้นฐานให้กับลูกหลานคนไทย ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง จึงรู้สึกภาคภูมิใจมาก ต้องขอ ขอบคุณสำนักความร่วมมือเพื่อพัฒนาระหว่างประเทศ(สพร.) และศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ผศ.วิรัช นิยมธรรม และ ผศ.อรนุช นิยมธรรม ที่ได้มอบโอกาสดีนี้ให้พวกเราค่ะ นางสาวจิราภรณ์ สุขแป้น (อีฟ) ได้เล่าถึง ประสบการณ์ แ ละความประทั บ ใจที ่ ไ ด้ ไ ปเป็ น ผู ้ ช ่ ว ยสอนว่ า “ประสบการณ์ใหม่ คือการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นคติ สอนใจในการทำงานของดิฉันค่ะ ดิฉันได้รับโอกาสให้มาปฏิบัติ หน้าที่เป็นผู้ช่วยสอนภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยภาษาต่าง ประเทศ เมืองย่างกุ้ง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เพื่อพัฒนาภาษาไทยให้กับนักศึกษาพม่าและยังได้นำความรู้ ภาษาพม่าที่ได้เรียนมาประยุกต์เข้ากับการสอน และการสื่อสาร อีกด้วย ดิฉันได้รับมอบหมายให้สอน 2 รายวิชา ได้แก่ รายวิชา การอ่านและการเขียน สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 และ 3 ส่วนรายวิชาการพูด สำหรับนักศึกษาอนุปริญญา ปีที่ 3 และ 4 นั้น โดยสอนในเวลา 7.00- 8.50 น. ความประทับใจครั้งแรกเมื่อถึงประเทศเมียนมาร์ คือ ประทับใจชาวพม่าทุกคนที่สวมใส่เครื่องแต่งกายแบบพม่า เช่น ผ้าถุง โสร่งและรองเท้าหูคีบ ซึ่งเป็นชุดที่เหมาะสมกับสภาพ อากาศของที่นี่ ส่วนตัวดิฉันเอง ก็ได้มีโอกาสสวมใส่ชุดแบบ ชาวพม่าในเวลาที่จะต้องไปสอนทุกครั้ง นอกจากนี้ดิฉันยังได้นำ ภาษาพม่ า มาใช้ ส นทนาแลกเปลี ่ ย นความรู ้ เ ก่ า และใหม่ ก ั บ อาจารย์ นักศึกษาและชาวพม่าทุกคนที่ดิฉันได้พบ สำหรับ ดิฉันแล้ว ทุกๆ อย่างในประเทศเมียนมาร์ คือความประทับใจ และประสบการณ์ใหม่ที่จะต้องเรียนรู้อย่างไม่มีวันสิ้นสุดค่ะ”
นางสาวมัทนา อินกลัด (บู้) เล่าว่า “การมา ประเทศเมียนมาร์ในครั้งนี้จะแตกต่าง ดิฉันได้มีโอกาสมาสอน ภาษาไทย และเรียนรู้ภาษาพม่าอย่างเต็มที่ค่ะ การมาปฏิบัติ หน้ า ที ่ เ ป็ นผู ้ ช่ วยสอนภาษาไทย ณ มหาวิ ท ยาลัย ภาษา ต่างประเทศย่างกุ้ง ทำให้ได้เปิดมุมมองและได้รับความรู้ต่างๆ ที่ไม่เคยสัมผัสได้ในตำราเรียน ได้เห็นวิถีชีวิตของชาวพม่า ที่ดำเนินไปด้วยความพอเพียง เรียบง่าย และยังคงรักษา วั ฒ นธรรมดั ้ ง เดิ มไว้ มากมาย อี ก ทั ้ ง ยั ง ทำให้ด ิฉ ัน มีการ พัฒนาการทางด้านการใช้ภาษาพม่าดีขึ้นอีกด้วย ความภาคภูมิใจที่ได้มาทำหน้าที่ คือ การที่ได้เป็น ส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวต่างชาติได้เรียนรู้ภาษาไทย สังคม และ วัฒนธรรมไทย เพราะปัจจุบันประเทศเมียนมาร์ กำลังพัฒนา ประเทศตนเอง เพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงเป็น ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชาชนชาวเมียนมาร์หันมาให้ความสนใจ เรียนภาษาเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้น การมาสอนภาษาไทยครั้งนี้ จึงเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่การันตีว่า ประชาชนชาวเมียนมาร์มีความ ต้องการใช้ภาษาไทยมากยิ่งขึ้น และมีส่วนที่ทำให้มหาวิทยาลัย ภาษาต่างประเทศ เมืองย่างกุ้ง จำเป็นต้องเปิดหลักสูตร ภาษาไทยในหลายระดับ เพื่อรองรับความต้องการของผู้เรียน ในอนาคตอันใกล้ ในท้ายนี้ ดิฉันรู้สึกยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ในการทำหน้าที่ด้านความร่วมมือ เพื่อพัฒนาการศึกษาระหว่าง ประเทศ ตามวัตถุประสงค์ของโครงการในด้านการปฏิบัติงาน ครั้งนี้ค่ะ”
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2557
นุษยวิเทศคดี
นางสาวรวิวรรณ เสาเขียว (นุช) “เมื่อโอกาส เข้ามาแล้ว เราก็ต้องรีบคว้าโอกาสนั้นไว้ ดิฉันมีโอกาสได้ เดินทางมาเป็นผู้ช่วยสอนภาษาไทย ที่มหาวิทยาลัยภาษา ต่างประเทศย่างกุ้ง ในรายวิชาการพูด ให้กับนักศึกษาระดับ อนุปริญญาชั้นปีที่ 2 ดิฉันเริ่มสอนจากการกล่าวทักทาย และ ชวนให้นักศึกษาได้ฝึกการสนทนาไปด้วย โดยเน้นเรื่องการ ฟังเสียง แก้ไขการออกเสียง การวางกรรมและกริยาในประโยค และการใช้คำศัพท์ที่ถูกต้องให้กับนักศึกษา ส่วนนักศึกษา อนุปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ดิฉันสอนรายวิชาการเขียน โดยให้ นั ก ศึ ก ษาอ่ า นเนื ้ อ เรื ่ อ งและช่ ว ยกั น อธิ บ ายความหมายและ คำศัพท์ใหม่ ตลอดจนอธิบายโครงสร้างประโยค และการใช้ คำศัพท์ ฝึกการเขียนต่างๆ โดยการให้ตั้งคำถาม และตอบ ด้วยตนเอง ฝึกให้เขียนจดหมายถึงเพื่อน เขียนเรียงความ และ แปลเรื่องสั้นๆ นอกจากนี้แล้ว ดิฉันยังมีโอกาสได้สอนรายวิชา การอ่าน ให้กับนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 โดยใช้สื่อการสอน คือ หนังสือเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้นักศึกษา นั้นได้ฝึกการอ่านจากเนื้อเรื่อง จนสามารถออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 นั้น ดิฉันได้รับหน้าที่สอนวรรณคดีไทยต่างๆ ซึ่งต้องใช้ทั้งการอ่าน การฟัง การเขียนและการแปล นักศึกษาแต่งประโยคด้วยคำศัพท์ เพื่อทบทวนว่าตนเข้าใจความหมายคำของศัพท์มากน้อยเพียงใด ดิ ฉ ั น รู ้ ส ึ ก ประทั บ ใจในหน้ า ที ่ ท ี ่ ไ ด้ ร ั บ มอบหมาย เพราะเราสามารถสอนให้ น ั ก ศึ ก ษาได้ ฟ ั ง เสี ย งที ่ ถ ู ก ต้ อ งและ คอยฝึกให้พวกเขากล้าพูด กล้าแสดงออก นักศึกษาน่ารัก ให้เกียรติอาจารย์ ตั้งใจเรียน และพร้อมที่จะรับความรู้จาก พวกเราตลอดเวลา การที่เราสามารถใช้ภาษาพม่าสนทนา กับคนเมียนมาร์ได้นั้น พวกเขารู้สึกดีใจและยินดีที่จะสนทนา ด้วย และก็ยังช่วยสอนในเรื่องการใช้คำศัพท์วัยรุ่น การใช้ชีวิต อาหารการกินอีกด้วยค่ะ”
7
ประสบการณ์การเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน...
@ Mokwon University ประเทศเกาหลี นิสิตสาขาวิชาภาษาเกาหลี
นุษยวิเทศคดี
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
8
นางสาวพุธิตา สิงหเดช, นางสาวณิชา สุนทรชาติ, นางสาววัลวิภา อ่อนเงิน, นางสาวอารยา ตุ่นทา นิสิตสาขาวิชา ภาษาเกาหลี ชั้นปีที่ 3 จำนวน 4 ราย ได้รับทุนการศึกษาจาก Mokwon University ประเทศเกาหลี เป็นระยะเวลาระยะเวลา 1 ปี มีคาบเรียนที่ต้องเรียนร่วมกับนักเรียนเกาหลี และมีคาบเรียน ที่เรียนร่วมกับนักเรียนต่างชาติ วิชาที่เรียนกับคนเกาหลี ค่อนข้างจะยาก เพราะอาจารย์พูดเร็ว พวกเราจึงต้องตั้งใจฟัง อาจารย์มากๆ พวกเราลงเรียนวิชาประวัติศาสตร์วรรณกรรม ( ), วิชาภาษาศาสตร์ ( ), วิชา วรรณกรรมสมัยใหม่ ( ), และวิชาแนวคิดทาง วรรณกรรม ( ) วิ ช าภาษาเกาหลี ว ิ ช านี ้ เ รี ย นเฉพาะเด็ ก ต่ า งชาติ แบ่งเป็นสามห้องสามระดับคือ ระดับต้น ระดับกลาง และระดับ สูง พวกเราเรียนห้องระดับกลาง เรียนไวยากรณ์ บทสนทนา บางคาบก็เรียนข้อสอบวัดระดับ การใช้ชีวิต มหาวิทยาลัยจัดให้เราอยู่หอพักห้องละ 2 คน มีห้อง ครัว ห้องซักผ้า และฟิตเนส ห้องครัวจะมีเวลาเปิด-ปิด วันจันทร์ ถึ ง ศุ ก ร์ จ ะมี ร ถรั บ ส่ ง ของมหาวิ ท ยาลั ย มารั บ ที ่ ห น้ า หอพั ก ทุกวันอาทิตย์พวกเราต้องเข้าโบสถ์ เพื่อร่วมกิจกรรมทางศาสนา
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2557
สำหรับชาวต่างชาติ ซึ่งจะใช้ภาษาอังกฤษสอนพระคัมภีร์ มีการ ร้องเพลงของศาสนาคริสต์ ทุกสิ้นเดือนที่โบสถ์จะจัดงานกีฬา ให้ทุกคนเล่นกีฬาด้วยกัน บางครั้งก็จะจัดกิจกรรมนอกสถานที่ พานักเรียนต่างชาติไปทัศนศึกษาตามสถานที่ท่องเที่ยวของ เกาหลี ที่แรกที่เราไปไปคือโซล ได้ไปเที่ยวพระราชวังคยองบก โซลทาวเวอร์ และมยองดง ในส่วนของมหาวิทยาลัย ก็ได้พาไปทัศนศึกษาที่ ด็อกยูซาน เป็นสถานที่ที่ขึ้นชื่อสำหรับการเล่นสกี แต่ว่าพวกเรา ไปช่วงปลายฤดูหนาวย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิ สวนสนุกเอเวอร์แลนด์ มีการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดทั้งวัน ทำให้สนิทกับ เพื่อนต่างชาติและเพื่อนเกาหลีมากขึ้น ความประทั บ ใจที ่ ไ ด้ ม าแลกเปลี ่ ย นที ่ น ี ่ ม ี ม ากมาย แต่ที่ประทับใจที่สุด คือมิตรภาพ พวกเรามีทั้งเพื่อนเกาหลีที่ช่วย ในเรื่องการเรียน ไม่ว่าจะเป็นตอนทำการบ้านภาษาเกาหลี หรือในช่วงสอบ เพื่อนก็จะช่วยบอกว่าข้อสอบจะออกอะไรบ้าง มีเพื่อนต่างชาติที่สนิทกันมากขึ้นตอนไปเข้าค่าย ช่วยเหลือตั้งแต่ เรื่องเรียนไปจนถึงการหางานพาร์ทไทม์ และพี่ๆ คนไทยที่คอย ดูแลพวกเราเป็นอย่างดี การได้มาอยู่ที่นี่ทำให้พบกับมิตรภาพ ดีๆ มากมายในที่ใหม่ สภาพแวดล้อมใหม่ ถึงจะกลับไปมิตรภาพ ดีๆ ก็คงยังทำให้ประทับใจไม่ลืม
ชีวิตนักเรียนแลกเปลี่ยน ในมหาวิทยาลัยสตรีดงด๊อก
วิชชุดา วงศ์ใหญ่
นิสิตสาขาวิชาภาษาเกาหลี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สุดท้ายนี้ การที่ได้มาเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่นี่ คุ้มค่ามาก ได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆมากมาย ทั้งเรื่องวัฒนธรรม ที่ต่างกัน ถือเป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่าจริงๆ ตอนนี้มีเพื่อน ต่างชาติและเพื่อนเกาหลีเยอะเลยค่ะ ไม่รู้สึกเหงาเหมือนตอน มาแรกๆ และแม้ว่าจะเรียนยากแค่ไหนก็จะพยายามทำให้ดี ที่สุดค่ะ ขอบคุณทางมหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยสตรี ดงด็อกที่ให้โอกาสได้มาแลกเปลี่ยนที่นี่ รักประเทศเกาหลี รักภาษาเกาหลีค่ะ
นุษยวิเทศคดี
สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาววิชชุดา วงศ์ใหญ่ นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะมนุษย์ศาสตร์ สาขาวิชาภาษาเกาหลี มหาวิทยาลัย นเรศวรค่ะ ได้รับคัดเลือกให้รับทุนเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยน ที่มหาวิทยาลัยสตรีดงด๊อก ประเทศเกาหลี (Dongduk Women’s University) เป็นระยะเวลา 1 ปี รู้สึกดีใจมากๆ เลยค่ะ เพราะฝันมาตลอดว่าอยากมาเรียนที่ประเทศเกาหลี แต่ก็แอบ กลัวนิดหน่อยค่ะ เพราะว่าต้องไปเรียนอยู่ในโซลคนดียว ดังนั้น จึงตั้งขยันและตั้งใจให้มากกว่าคนอื่น และสร้างประสบการณ์ ใหม่ที่เกาหลีซึ่งเป็นโอกาสที่หาไม่ได้ง่ายๆ ที่นี่เป็นมหาวิทยาลัยหญิงล้วน ดังนั้นมาเรียนที่นี่จึง รู้สึกปลอดภัยค่ะ ปรับตัวง่าย เพื่อนชาวต่างชาติ และเพื่อน เกาหลีนิสัยดีค่ะ เป็นมิตร และเรื่องการคมนาคม การสัญจร ต่างๆ ส่วนเรื่องชีวิตหอพักในมหาวิทยาลัยนั้น หอพักที่นี่ สะอาดค่ะ มี 8 ชั้น มีห้องออกกำลังกาย ห้องอ่านหนังสือ ห้องนั่งเล่น ห้องซักผ้าฯลฯ แต่ค่อนข้างตกใจกับห้องน้ำมากค่ะ เป็นแบบห้องน้ำสาธารณะคืออาบรวมกัน ตอนอยู่ที่ไทยไม่เคย อาบน้ำรวมกับคนอื่นดังนั้นช่วงแรกๆที่มาอาบน้ำ ไม่กล้าอาบ อายมากๆ เลยค่ะ แต่ตอนนี้ชินแล้วค่ะ อาบได้โดยไม่อายแล้วค่ะ เรื่องการเรียน ที่นี่เค้าจัดให้เรียนวิชาภาษาเกาหลี ที่ศูนย์ภาษา เรียนด้วยกันกับนักเรียนต่างชาติคนอื่นๆ และวิชา ที่เรียนรวมกับเพื่อนคนเกาหลี ซึ่งจะยากนิดหนึ่ง ก่อนเรียน มีการสอบคัดแบ่งระดับก่อนเรียน เนื้อหาเรียนง่าย ไม่ค่อยยาก อาจารย์ใจดีและสอนเข้าใจ นอกจากนั้นทางศูนย์ภาษายังจัด โปรแกรมทัศนศึกษา ไปศึกษาวัฒนธรรมเกาหลียังสถานที่ต่างๆ ตอนช่วงแรกๆ ที่เข้าเรียน อาจเป็นเพราะมาใหม่และยังปรับตัว ไม่ได้กับการเรียนที่นี่ เลยทำให้เรียนไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ค่ะ ข้อสอบก็เป็นแบบเขียนยากมาก แต่มาช่วงปลายภาค เริ่มคุ้น เคย เรียนเข้าใจขึ้น ข้อดีของการเรียนที่นี่คือ เค้าจัดโปรแกรมติวให้แก่ นักเรียนต่างชาติทุกๆ สัปดาห์โดยมีเพื่อนนักเรียนคนเกาหลี มาติวให้ เพราะเนื้อหายาก การฟังที่อาจารย์สอนแค่ในห้องนั้น อาจจะไม่เข้าใจ จึงช่วยให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้นค่ะ
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2557
9
ความประทับใจ
ณ มหาวิทยาลัยเจียงซู
สรินทิพย์ คงครินทร์
นุษยวิเทศคดี
นิสิตสาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
10
ดิฉันเชื่อว่า การได้มีโอกาสไปเรียนยังประเทศเจ้าของ ภาษาที่เราเรียนจะทำให้ภาษาของเรานั้นมีการพัฒนาที่รวดเร็ว ยิ่งขึ้น ดิฉันนางสาวสรินทิพย์ คงครินทร์ รับทุนจากสถาบัน ขงจื้อ เดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยเจียงซู เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยเดินทางมาพร้อมกับอาจารย์ และรุ่นพี่อีกหนึ่งคน หลังจาก ลงเครื่องที่เซี่ยงไฮ้ และนั่งรถไฟความเร็วสูงไปเมืองเจิ้นเจียง ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเจียงซู เป็นครั้งแรกที่ได้นั่งรถไฟ ความเร็วสูงตื่นเต้นจนไม่กล้าที่จะนอนหลับเพราะกลัวว่าจะเลย สถานีที่เราจะลง เมื่อมาถึงมหาวิทยาลัย เราได้รับการต้อนรับ จากนักเรียนคนไทยที่ศึกษาอยู่ที่นี่เป็นอย่างดีและพาเราเข้า หอพักขนาดใหญ่ สูง 15 ชั้น นักเรียนต่างชาติจะอยู่รวมกัน โดย ไม่แยกหญิง/ชาย ดิฉันได้อยู่กับรุ่นพี่ที่มาด้วยกัน เป็นห้องที่ จัดเตรียมไว้สำหรับเด็กทุน มีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครัน ที่หอนี้จะมีนักเรียนอินเดีย และพวกแอฟริกาเป็นส่วนใหญ่ พวกเขาจะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองคือแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่สี ฉูดฉาด ซึ่งคนเอเชียไม่กล้าแต่งแน่นอน ครั ้ ง แรกที ่ ไ ด้ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม กั บ บรรดานั ก เรี ย นทุ น ซึ่งมาจากหลายๆ ประเทศ ทำให้ดิฉันอยากจะกลับประเทศไทย เพราะทุกคนที่นี่ล้วนแต่พูดภาษาอังกฤษซึ่งมีน้อยคนมากที่จะ พูดภาษาจีน ดังนั้นสำหรับคนที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษอย่างดิฉัน ก็เริ่มมีปัญหา เพื่อนกลุ่มแรกที่รู้จักคือเพื่อนจากปากีสถาน เขา พยายามที่จะเข้ามาพูดคุยกับดิฉัน เพื่อช่วยสอนภาษาอังกฤษ จึงทำให้ดิฉันสามารถพูดคุย สื่อสารกับเพื่อนคนอื่นๆ ได้ นี่คือ ความประทับใจแรกในการเริ่มต้นใช้ชีวิตในต่างแดนของดิฉัน คลาสเรี ย นภาษาของที ่ น ี ่ จ ะแบ่ ง เป็ น สามระดั บ ระดับพื้นฐาน ระดับกลาง และระดับสูง ดิฉันเรียนระดับกลาง เพื่อนในคลาสก็มาจากหลายๆ ประเทศ มาจากอินโดนีเซีย เกาหลี แคนนาดา โปแลนด์ เยอรมัน คองโก ฟิจิ ญี่ปุ่น เป็นต้น อาจารย์ที่สอนแม้จะเป็นวัยรุ่นอายุไม่ถึง 30 ปี แต่พวกท่าน มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เป็นทั้งครูเป็นทั้งเพื่อนให้กับ นักเรียนทุกคนได้ตลอดเวลา นอกจากการเรียน เราทำกิจกรรมร่วมกันมากมาย ทั้งทำอาหารทานด้วยกัน ไปทัศนศึกษา ในภาคเรียนที่ 1
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2557
มหาวิทยาลัยได้มีการจัดพานักเรียนต่างชาติไปที่ SHANDONG (ชานตง) ไปศึกษาเกี่ยวกับประวัติท่านขงจื้อ และไปปีนภูเขา TAISHAN (ไท่ชาน), ไปNANJING (นานกิง) และภาคเรียนที่ 2 ได้พาไปที่ทะเลสาบ XIHU (ซีหู) ทุกกิจกรรม ทุกสถานที่ที่ทาง มหาลัยจัดไปนั้นล้วนคุ้มค่า ได้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน ดิฉันไม่เพียงแต่ได้เรียนภาษาจีน แต่ยังได้เรียนรู้วัฒนธรรม ของเขาด้วย ทั้งเขียนพู่กันจีน รำไทเก๊ก ทำขนมไหว้พระจันทร์ ห่อขนมบะจ่าง เป็นต้น อีกทั้งยังได้เข้าร่วมการแข่งขันต่างๆ เช่น Tingxie dasai ( ), jiangsudaxue ,hanyuqiao ( ), 2014 hanyuqiao quanqiu waiguoren hanyu dasai (2014 ) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้เข้าร่วมการ แข่งขันที่เกี่ยวกับภาษาจีน ทุกการแข่งขันต้องฝึกซ้อมเป็นอย่าง หนัก ทุกวันต้องเรียนเพิ่มเติมตั้งแต่ 17.00-22.00 น. แต่ผล ตอบแทนที่ได้มานั้นมันคุ้มค่ากับความเหนื่อย สิ่งที่คุ้มค่านั้น ไม่ใช่เงินรางวัลหรอเกียรติบัตรที่ได้มา แต่มันคือความรู้และ มิตรภาพ ที่ไม่มีขายแต่มันได้มาจากการร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน ผ่านทั้งรอยยิ้ม ทั้งคราบน้ำตา กว่าที่พวกเราจะประสบความ สำเร็จ ตลอดระยะเวลา 1 ปี ดิฉันต้องขอขอบคุณสถาบัน ขงจื้อ ที่ได้มอบทุนนี้ให้ดิฉัน ผศ.เอกสัณห์ ชินอัครพงศ์ และ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ทำให้ดิฉันได้มี โอกาสดีๆ แบบนี้ ขอบคุณทุกคำปรึกษาของอาจารย์ และเพื่อนๆ ที่มหาวิทยาลัยเจียงซูสำหรับความช่วยเหลือ การดูแล และ มิตรภาพที่ดี ขอบคุณค่ะ
สหกิจศึกษา
³ ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑ·Ѥ¤Øâª¤Ø นูรดีนา ปันจอร์
นิสิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร การได้มาเป็นนิสิตแลกเปลี่ยนที่ประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้ ดิฉันได้มีโอกาสได้รับรู้ และสัมผัสถึงนิสัยใจคอ ความคิด มารยาทและความเข้มงวด ของคนญี่ปุ่นจึงทำให้ญี่ปุ่นเป็น ประเทศที่มีความปลอดภัยสูงติดอันดับโลก ไม่ค่อยมีเรื่องการ โจรกรรม เพราะไม่มีใครกล้าทำผิดกฎ ตัวอย่างเช่น การเข้าคิว รอขึ้นรถไฟ รถบัส รอข้ามถนน เป็นต้น อีกสิ่งหนี่งที่น่าสนใจ คือการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เดือนแรกที่ข้าพเจ้าไปถึงญี่ปุ่น ใบไม้ยังเป็นสีเขียวและในระยะเวลา 1 ถึง 6 สัปดาห์ ใบไม้ เปลี่ยนเป็นเหลือง แดง และร่วงลง อากาศก็ปรับอุณหภูมิต่ำลง เรื่อยๆ อากาศเปลี่ยน เสื้อผ้า อาหารการกิน ของขายต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงตามฤดูอย่างเห็นได้ชัด การอยู่ญี่ปุ่นต้องติดตาม พยากรณ์อากาศอย่างสม่ำเสมอ เพราะที่นี่พยากรณ์อากาศ แม่นยำมาก บอกฝนจะตกก็จะเห็นทุกคนพกร่มติดตัวในวันนั้นๆ การได้มาประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้ ข้าพเจ้าคิดเสมอว่า ได้รับโอกาสที่ไม่ได้หากันง่ายๆ ถือเป็นโอกาสดีมากๆ ที่ได้มา เรียนรู้ในสิ่งที่ห้องเรียนไม่มีให้ ได้รู้จักเพื่อนมากมาย ได้เข้าใจ ญี ่ ป ุ ่ น มากขึ ้ น กว่ า เดิ ม ได้ ล องทำอะไรหลายๆ อย่ า ง เป็น ประสบการณ์ที่หาได้ยากจริงๆ และก็ต้องขอขอบคุณอาจารย์ ทุกท่านที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุนตลอดมาค่ะ
นุษยวิเทศคดี
ดิฉัน น.ส.นูรดีนา ปันจอร์ ได้เดินทางไปสหกิจศึกษา ณ มหาวิทยาลัยทัคคุโชคุ ในช่วงแรกยอมรับเลยว่าไม่รู้เรื่อง เพราะไวยากรณ์ที่เรียนส่วนใหญ่เป็น N1-N2 ทั้งนั้น แต่ก็ พยายามตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์พูด ก่อนเรียนอาจารย์ก็จะให้ คำศัพท์ที่เป็นคันจิมา เพื่อให้เราหาความหมายก่อนเข้า ห้องเรียน เวลาเรียนจะรู้เรื่องมากขึ้น ส่วนตัวชอบวิชาการ สนทนา เพราะในแต่ละสัปดาห์การเรียนจะไม่เหมือนเดิม อย่างเช่น การนำเสนอข่าวที่เราเลือกจากหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่น หรือ การเล่านิทานพื้นบ้านของประเทศตัวเอง หรือการอธิบาย ขั้นตอนการทำอาหารไทย เป็นต้น ผู้เรียนทุกคนในห้องจึงมี ส่วนร่วมกันมากขึ้น อีกหนึ่งวิชาที่ชอบคือวิชาเรียนรู้ญี่ปุ่น เพราะ ได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบันของญี่ปุ่น รวมทั้ง ข่าวสาร มารยาท ความคิด สถิติต่างๆ ศาสนา ความเชื่อ และวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นที่ลึกซึ้งขึ้น นอกเหนื อ จากการแปลเอกสารที ่ ไ ด้ ร ั บ มอบหมาย จากทางมหาวิทยาลัยทัคคุโชคุ และการจัดทำเล่มไกด์บุ๊ค ได้มี โอกาสเข้าร่วมกิจกรรมงานวัฒนธรรมนานาชาติ อาทิ ร่วมเดิน แฟชั่นในชุดไทยและแสดงรำไทยร่วมกับคนญี่ปุ่น เพื่อช่วย หารายได้เข้ากลุ่มเอ็นจีโอ เข้าร่วมแข่งขันสุนทรพจน์ภาษา อังกฤษกับคนญี่ปุ่น และเข้าร่วมโครงการผู้ช่วยนักศึกษาแลก เปลี่ยน ซึ่งทำให้ได้รู้จักเพื่อนญี่ปุ่นและเพื่อนต่างชาติ เช่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อียิปต์ และซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2557
11
วารสารมนุษมหาวิยศาสตร์ ทยาลัยนเรศวร เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ ของอาจารย์ และนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ ตลอดจน บุคคลทั่วไป สนใจติดต่อกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ โทร. 0-5596-2006
วิสัยทัศน์ :
2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
วร
สุ
นุษยวิเทศคดี
จ
าย ด ห ม ข่ า ว
ร ณ ภิงคา
ร
คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และ นาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่ อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และสอดคล้องกับ ความต้องการของสังคมและประเทศ
ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ 85/2521 พิษณุโลก