นุษยวิเทศคดี Humanities for Cross Border Review วร
ร ณ ภิงคา
ร
ห ม า ย ข่ า ว
สุ
จด
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เมษายน-พฤษภาคม 2556
ที่ปรึกษา
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิช ผศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ ผศ.นัทธนัย ประสานนาม
บรรณาธิการ ดร.อาทิตย์
พงษ์พานิช
กองบรรณาธิการ ผศ.ดร.พงศกร ดร.ชมนาด ดร.เกษวดี อ.ภากร อ.สถิตย์ อ.สายหยุด อ.วิจิตร
ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ
เลขานุการ สุรีย์พร
เมธีธรรม อินทจามรรักษ์ กุหลาบแก้ว สิริทิพา ลีลาถาวรชัย บัวทุม คริเสถียร
นลินรัตนกุล ชุมแสง
งานประชาสัมพันธ์ :
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th
ปกหน้า :
นิสิตผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นดาวและเดือนคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2556 1. นายพชร 2. นางสาวบรรณพร
เทียมทับ สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ตะวันตก สังข์สุข สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
บทบรรณาธิการ “อัลละคะแหม ก็กลับมาพบกันอีกครั้งเนียะคะ สำหรับมนุษยวิเทศคดี สารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เล่มที่ 2” บรรณาธิการกราบขออภัยผู้อ่านทุกท่านเป็นอย่างสูง หากคำกล่าว ต้อนรับสู่ มนุษยวิเทศคดี สารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เล่มที่ 2 ข้างต้น อาจทำให้ผู้อ่านหลายท่านตกอกตกใจหรือไม่พอใจ หากด้วย สารัตถะหลัก ของสารมนุษยศาสตร์เล่มนี้ คือการวิพากษ์การใช้และวิวัฒนาการ การใช้ภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาพม่า สำหรับการติดต่อสื่อสาร ในบริบทสังคมไทยและบริบทอาเซียน บรรณาธิการจึงขอสร้างบรรยากาศ ฉุกประเด็นชวนคิด ด้วยการใช้ “ภาษาไทยพริตตี้” ซึ่งอาจจะถือว่าเป็นรูปแบบ การใช้ภาษาไทยลักษณะหนึ่งในยุคปัจจุบัน มนุษยวิเทศคดี สารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เล่มที่ 2 นี้ เริ่มต้นด้วยบทวิเคราะห์สถานภาพของภาษาอังกฤษในสังคมไทย ดร.ไพสิฐ บริบูรณ์ แสดงทัศนะคติอย่างมีนัยยะสำคัญในการตระหนักรู้ถึงความแตกต่าง ระหว่างภาษาอังกฤษในสถานะที่เป็น “ภาษาต่างประเทศ” และ “ภาษา นานาชาติ” บทความต่อมา อ.วิจิตร คริเสถียร วิเคราะห์โครงสร้างบทสนทนา ภาษาพม่าทางโทรศัพท์ ระหว่างเจ้าหน้าที่ให้บริการข้อมูลชาวไทยกับลูกค้าพม่า ผ่านมุมมองภาษาศาสตร์อย่างน่าสนใจ บทความที่สาม อ.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย แนะนำหนังสือดี ตรงประเด็น ที่น่าอ่านอีกหนึ่งเล่ม คือ World Englishes in ASEAN Contexts ซึ่งร้อยรับ กับประเด็นที่ ดร.ไพสิฐ บริบูรณ์ ฝากไว้ในบทความเด่นเป็นอย่างดี ในส่วนปกิณกะอาเซียน English Vinglish ภาพยนตร์จากแดนภารตะ ชวนเราติดตามตัวละครหลักซึ่งเป็นแม่บ้านชาวอินเดียธรรมดาๆ ว่าเธอจะ สามารถใช้ภาษาอังกฤษต่อรอง และสร้างอัตลักษณ์แห่งความเป็นปัจเจกบุคคล ให้ตัวเองได้อย่างไร ปิดท้ายด้วยผลงานนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ เล่มนี้ของ รัชนีกร เกิดไชย นิสิตปริญญาโทสาขาภาษาอังกฤษ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น ในประเด็นการเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียนระดับ ประถมศึกษาในสังคมไทย บรรณาธิการขอกราบขอบพระคุณผู้เขียนทุกท่านที่รังสรรค์ผลงานดีๆ ให้มนุษยวิเทศคดี บรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มนุษยวิเทศคดี สารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เล่มที่ 2 จะยังประโยชน์ และสร้างความ เพลิดเพลินให้แก่ผู้อ่านทุกท่านเหมือนเช่นที่ผ่านมา
ดร.อาทิตย์ พงษ์พานิช บรรณาธิการ
ประเทศไทยกับการปรับเปลี่ยนภาษาอังกฤษ
จาก “ภาษาต่างประเทศ” สู่ “ภาษานานาชาติ” ไพสิฐ บริบูรณ์
ภาษาอังกฤษมีสถานภาพอย่างไรในโลกใบนี้ ??? ภาษาอังกฤษกำลังแทรกซึมเข้าไปในทุกหย่อมหญ้า เกี่ยวพันกับชีวิตของเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ความจริงแล้วเมื่อ หลายสิบปีก่อน ผู้คนต่างเริ่มพูดถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษ เพราะเป็น “ภาษาสากล” (International language) แต่ที่ ผ่านมาการใช้ภาษาอังกฤษ อาจจะยังจำกัดอยู่ในวงแคบ พอสมควร เช่น ในแวดวงคนทำธุรกิจกับชาวต่างประเทศ คนที่ ต้องติดตามข่าวสารข้อมูลเพื่อการงานจากต่างประเทศ หรือ คนที่อยู่ในวงการการท่องเที่ยว เป็นต้น ณ ปัจจุบันภาษาอังกฤษ กำลังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว เพราะถูกเลือก ให้เป็นภาษากลางสำหรับการสื่อสารระหว่างประเทศสมาชิก ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะเริ่มต้นในปี พ.ศ.2558 อย่างน้อยคนที่ เกี่ยวข้องกับ 7 วิชาชีพ ที่อาเซียนรับรองให้ไปทำงานในประเทศ สมาชิกได้ คือ หมอ พยาบาล ทันตแพทย์ วิศวกร นักสำรวจ สถาปนิก และนักบัญชี ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษ มากขึ้น ยิ่งโลกไร้พรมแดนมากขึ้นเท่าใด ภาษาอังกฤษยิ่งมี ความจำเป็นมากขึ้นเท่านั้น ที่ผ่านมาเรามองภาษาอังกฤษเป็น “ภาษาต่าง ประเทศ” มาตลอด เป็นสิ่งที่เรียนไปก็ไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตจริง เป็นสิ่งที่หลายคนบอกว่า “สำคัญ” แต่อีกหลายคนก็คิดว่า “เหมือนจะสำคัญ” เพราะในขณะที่เรายอมรับว่าสำคัญ แต่ใน ความเป็นจริง มีปัจจัยหลายอย่างทำให้เราไม่สบโอกาสที่จะใช้ ภาษาอังกฤษ เช่น พูดไม่ได้เพราะสำเนียงไม่ให้ หรือเราอาจ อ้างว่าไม่รู้จะไปพูดกับฝรั่งที่ไหน เพราะไม่ได้ก้าวพ้นบ้านเกิด ไปไหนเลย เป็นต้น เราอาจเปลี่ยนความคิดเหล่านี้ได้ โดยให้ ความสำคัญกับภาษาอังกฤษในฐานะ “ภาษานานาชาติ” เพราะ สอดคล้องกับสภาวะของการเรียนการและการใช้ภาษาอังกฤษ ในโลกความเป็นจริง ถึงแม้เวลาที่ใช้ภาษาอังกฤษนั้น
จะตะกุกตะกัก และผิดไวยากรณ์ไปหน่อย จะออกเป็นสำเนียง ไทยไปสักนิด แท้จริงแล้วไม่ต้องพยายามพูดให้เสมือนเจ้าของ ภาษา แต่ขอแค่เรามั่นใจและภาคภูมิใจในการพูดภาษาอังกฤษ ของตนเองก็พอ ภาษาอังกฤษในฐานะ “ภาษานานาชาติ” แฝงไว้ด้วย ความคิ ด ที ่ ว ิ พ ากษ์ ส ิ ่ ง ที ่ เ คยเป็ น มาเกี ่ ย วกั บ ภาษาอั ง กฤษ การใช้ภาษาอังกฤษ ตลอดจนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ใน 3 ประเด็นหลักคือ 1. ความเป็นเจ้าของภาษาอังกฤษ (Ownership of English) หากมองว่าภาษาอังกฤษเป็น “ภาษาต่างประเทศ” ถามว่าใครบ้างคือเจ้าของภาษาอังกฤษ คำตอบอาจจะ หลากหลายพอสมควร บางคนมองว่าเฉพาะคนอังกฤษ หรือคน อเมริกัน บ้างก็ยอมให้ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และแคนาดา เพิ่มเข้ามาด้วย ระดับการยอมรับว่าใครคือ “เจ้าของ” ภาษา อังกฤษ คงจะลดหลั่นกันไปตามความชอบ แต่ที่แน่ๆ คือ ในแวดวงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษบ้านเรา ยึดติดกับ เจ้าของภาษาอังกฤษกันมากถึงมากที่สุด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะในฐานะผู้สอนภาษาอังกฤษ เราต่างต้องการให้ผู้เรียน ได้ สั มผั สกั บสำเนี ย งหรื อ การออกเสี ย งที ่ แท้ จริ ง แบบเจ้า ของ ภาษา แต่ปัญหาที่ตามมาคือ เราต้องจมจ่อมอยู่กับความรู้สึก หวานอมขมกลืน เหมือนกับที่บางคนบอกว่า “ทั้งรักทั้งเกลียด” เช่น สถานศึกษาบางแห่งได้รับงบประมาณจากรัฐบาลให้จ้าง เจ้าของภาษาโดยกำหนดคุณสมบัติต่างๆ ไว้ แต่สถานศึกษานั้น อาจไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนด บางแห่งอาจจำเป็นต้อง จ้างเจ้าของภาษา ทั้งที่ยังขาดคุณสมบัติเหมาะสมตามเกณฑ์ของ ส่วนกลางกำหนด หรือเพียงเพราะเขาเป็น “เจ้าของภาษา” สถานการณ์เช่นนี้ มักจะมีเสียงบ่นจากผู้เกี่ยวข้องว่า อาจารย์ เจ้าของภาษาบางคนไม่ได้สอนอย่างเหมาะสมกับเนื้อหารายวิชา
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน - พฤษภาคม 2556
นุษยวิเทศคดี
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
3
นุษยวิเทศคดี 4
ที่กำหนด บางคนไม่ได้พยายามเรียนรู้ หรือให้ความร่วมมือ ในการพัฒนาการสอนเท่าที่ควร แต่หน่วยงานนั้นไม่สามารถ ทำอะไรได้นอกจากการบ่น เพราะความจำเป็นที่ว่าสถานศึกษา ต้องมีอาจารย์ “เจ้าของภาษา” ประจำอยู่ด้วย เป็นต้น การมองภาษาอังกฤษเป็น “ภาษานานาชาติ” อาจเป็น จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติความคิดเก่า ถึงแม้ในภาษาอังกฤษ จะใช้คำว่า International language เหมือนกับที่เราเคยเรียกว่า “ภาษาสากล” แต่นัยเชิงวิพากษ์ที่เกิดขึ้นใหม่นั้น คำว่า “นานาชาติ” หมายถึง ภาษาอังกฤษที่เป็นของคนจากทุกๆ ชาติ ใครที่ใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสังคมโลก ล้วนแต่ได้ ชื่อว่าเป็นเจ้าของภาษาอังกฤษ ไม่ได้มีใครอยู่เหนือใครอย่างที่ “เจ้าของภาษา” อยู่เหนือ “คนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา” ใครจะพูด ภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงแบบไหน ก็ถือว่าเป็นเจ้าของภาษา อังกฤษด้วยกัน เช่น ตอนที่ผู้เขียนสัมภาษณ์อาจารย์ระดับ มัธยมศึกษาในการทำวิจัยครั้งหนึ่ง เมื่อถามว่าคนไทยจะคิดว่า ตนเองเป็นเจ้าของภาษาอังกฤษได้ไหม ท่านบอกว่าไม่น่าจะ เป็นไปได้ เพราะเราไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครและเราเป็น เจ้าของภาษาไทยอยู่แล้ว สำหรับบางคน คำว่า “เจ้าของ” จึ ง อาจทำให้ ค ิ ด ถึ ง ภาพของประเทศที ่ เ คยเป็ น เมื อ งขึ ้ น และใช้ภาษาอังกฤษจนเก่งมากพอที่จะเรียกได้ว่าเป็นเจ้าของ ภาษาในแบบฉบับของเขา แล้วเราคนไทยต้องการที่จะสร้าง สัมพันธ์กับภาษาอังกฤษในแบบใด หลายประเทศที่ใช้ภาษา อังกฤษเป็น “ภาษาต่างประเทศ” เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม อิหร่าน จีน นักวิชาการของเขาก็พูดถึงเรื่องการร่วมเป็นเจ้าของภาษา อังกฤษกันมาพักหนึ่งแล้ว เป็นไปได้ไหมว่าเราจะร่วมเป็นเจ้าของ ภาษาอังกฤษไปกับนานาประเทศ ช่วยกันปลุกจิตสำนึกใหม่ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิและอำนาจต่อรองที่จะใช้ภาษาอังกฤษใน แบบที่เราเป็น หากภาษาอังกฤษยังมีประสิทธิภาพในการ สื่อสารกับชาวโลก ช่วยกันขจัดความคิดหรือค่านิยมแบบที่ นักวิชาการได้รายงานไว้ว่า การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ของประเทศไทยแฝงไว้ ด ้ ว ยค่ า นิ ย มเสมื อ นเราเป็ น ดั ง “อาณานิคม” ของเจ้าของภาษา (ไพสิฐ บริบูรณ์, 2556: 240-241; Methitham, 2009) เราคงต้องยอมรับว่าค่านิยม เช่นนี้เองที่มีส่วนทำให้เรารู้สึกว่าจำเป็นต้องมี “เจ้าของ” ภาษา อังกฤษไว้ประดับความเป็นภาษาอังกฤษของหน่วยงาน และ พร้อมที่จะยอมรับเจ้าของภาษาบางรายที่ยังขาดคุณสมบัติที่ สอนได้จริง หรือไม่เคยกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองเพียง เพราะว่าบุคคลนั้นพูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงเจ้าของภาษา 2. ภาษาและวัฒนธรรมเป้าหมาย (Target language and culture) หากเรามองว่าภาษาอังกฤษเป็น “ภาษา ต่างประเทศ” เป้าหมายในตัวภาษาและวัฒนธรรมที่เราต้องการ ให้ผู้เรียนพัฒนาไปให้ถึงคือ ต้นแบบภาษาและวัฒนธรรมของ
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน - พฤษภาคม 2556
เจ้ า ของภาษาเดิ ม ต้ อ งการให้ ผ ู ้ เ รี ย นใช้ ภ าษาอังกฤษให้ “ถูกต้อง” ทั้งด้านคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างตลอดจนการ ออกเสียงหรือสำเนียงแบบอังกฤษ/อเมริกัน อันเป็นเป้าหมาย สูงสุด คำว่า “ถูกต้อง” มักจะติดอยู่ที่ปากของผู้สอน เป็นเกณฑ์ ที่เราใช้ตัดสินความสามารถของผู้เรียน รวมถึงในเรื่องสำเนียง ที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของคนไทย จะให้ดีต้อง “เหมือน” เจ้าของภาษาเดิม หรือไม่ก็พยายาม ให้เหมือนเข้าไว้ ส่วนวัฒนธรรมที่นอกเหนือจากที่แฝงอยู่ในตัว ภาษาแล้ว เราก็มักจะนึกถึงวัฒนธรรมแบบข้อมูลภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประเพณี ซึ่งบางทีก็ผิวเผินจนเกินไป สำหรับมุมมองภาษาอังกฤษในฐานะ “ภาษานานา ชาติ” นั้น ส่งเสริมแนวคิดที่ทำให้เรารู้สึกพึงพอใจ ภาคภูมิใจ กับภาษาอังกฤษที่เรามีเราเป็น ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ต้องห้ามผู้เรียนพูดหรือออกเสียงแบบเจ้าของภาษา ผู้เรียน แต่ละคนมีความสามารถไม่เท่าเทียมกัน หากคนใดสามารถ ใช้ภาษาอังกฤษได้ “ถูกต้อง” หรือมีสำเนียงที่ฟังชัดเจนเหมือน เจ้าของภาษา ก็เป็นเรื่องที่ต้องส่งเสริม แต่สำหรับคนที่พยายาม แล้วไม่สามารถไปถึงจุดที่เราเคยตั้งไว้ คือ ให้ได้แบบเจ้าของ ภาษาเดิม ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้สอนจะต้องเคร่งเครียดจริงจังจนเกิน ไปนัก เพราะความกดดันอาจจะตกไปที่ผู้เรียน จนท้อแท้สิ้นหวัง หมดความภาคภูมิใจในตนเอง และหนีห่างจากภาษาอังกฤษ ไปในที่สุด นัยเชิงวิพากษ์ตรงนี้ก็คือ ห้องเรียนภาษาอังกฤษ ไม่จำเป็นต้องยึดโยงกับภาษาอังกฤษเพียงแบบใดแบบหนึ่งอีก ต่อไป แต่ต้องเปิดพื้นที่ให้เกิดความหลากหลายของภาษา อังกฤษ ที่ผู้เรียนจะต้องพานพบในชีวิตจริง เพราะนับวันผู้เรียน ก็ ต ้ อ งนำภาษาอั ง กฤษไปใช้ ก ั บ คนหลากหลายเชื ้ อ ชาติ หากผู ้ เ รี ย นจะต้ อ งใช้ ภ าษาอั ง กฤษกั บ ประเทศในประชาคม อาเซียน ผู้สอนอาจต้องนำภาษาอังกฤษในแบบของเพื่อนบ้าน ในอาเซียนมาใช้ในห้องเรียน ที่สำคัญเราอาจจะต้องแสวงหา ต้นแบบภาษาอังกฤษของคนไทยมาใช้ควบคู่กับภาษาอังกฤษ อื่นๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้เรียนในด้านการออกเสียงภาษา อังกฤษ และสร้างเสริมกำลังใจแก่คนที่ใช้ภาษาอังกฤษแบบมี กลิ่นอายของความเป็นไทย 3. สามัตถิยะการสื่อสาร (Communicative competence) ทางราชบัณฑิตยสถานเรียกทักษะนี้ไว้อย่างนี้ ซึ่งก็คือ “สมรรถนะ” หรือ “สมรรถภาพ” ในการสื่อสาร ในมุมมอง ของภาษาอังกฤษแบบ “ภาษาต่างประเทศ” ทักษะในด้านนี้ ประกอบขึ้นจากทักษะย่อยหลายด้าน เช่น ผู้เรียนสามารถใช้ คำศัพท์ สำนวน โครงสร้างภาษาหรือไวยากรณ์เพื่อการสื่อสาร ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้เหมาะสมกับสถานการณ์หรือบุคคลที่ เขาต้องการสื่อสารด้วย หรือผู้เรียนสามารถเรียงร้อย และเชื่อม ความในภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมตาม
“
ภาษาอังกฤษยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้นเท่านั้น
จุดประสงค์หรือประเภทของข้อความ เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น เกณฑ์ ที่ใช้ในการบอกว่าผู้เรียนจะมีสามัตถิยะการสื่อสารหรือไม่นั้น ยังอ้างอิงแบบเจ้าของภาษาเดิม พูดง่ายๆ คือเรายังต้องใช้ ภาษาอังกฤษให้ได้เหมือนกับเจ้าของภาษาเดิมนั่นเอง ในทางตรงกันข้าม ภาษาอังกฤษในฐานะ “ภาษา นานาชาติ” ยอมรับให้ผู้เรียนพัฒนาภาษาอังกฤษบนพื้นฐาน ทางอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของตนเอง พร้อมกับการแสวงหา จุดที่เหมาะสมในการสื่อสารกันให้เข้าใจ ระหว่างคนที่มีที่มา หรือภูมิหลังแตกต่างกัน โดยที่ผู้ใช้ภาษาอังกฤษยังคงความ เป็นตัวตนไว้ได้ ภาษาอังกฤษก็ต่างคนต่างใช้ ในแบบที่แต่ละคน เป็น ทักษะนี้นักวิชาการเรียกกันว่า “สามัตถิยะการสื่อสาร นานาวัฒนธรรม” นอกจากจะเป็นแนวคิดที่รองรับภาษาอังกฤษ และวัฒนธรรมที่หลากหลายแล้ว แนวคิดนี้ยังสอดคล้องกับ หลักการของการเรียนการสอนที่เน้น “ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” เพราะผู้เรียนไม่ต้องพยายามจะเป็นในสิ่งที่พวกเขาไม่สามารถ ที่จะเป็น หรือไม่ต้องการที่จะเป็นแบบเจ้าของภาษาเดิม บ่อยครั้งเราจะพูดกันว่า ในสภาวะโลกาภิวัตน์ เราต้องการ ผู ้ เ รี ย นที ่ ม ี ค วามเป็ น สากลและความเป็ น ท้ อ งถิ ่ น หรื อ ความ เป็นไทยอยู่ในตัว แนวคิดภาษาอังกฤษเป็น “ภาษานานาชาติ” จึงน่าจะสามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้ไม่น้อย ภาษาอังกฤษในฐานะ “ภาษานานาชาติ” ที่เน้น วิพากษ์ประเด็นหลักสามประการ คือ ความเป็นเจ้าของภาษา เป้าหมายทางภาษาและวัฒนธรรม และสามัตถิยะการสื่อสาร ในการใช้ ภ าษาอั ง กฤษและการเรี ย นการสอนภาษาอั ง กฤษ ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่เราควรจะเปิดใจ รับไว้พิจารณา เพราะการใช้ภาษาอังกฤษและการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษของคนไทยประสบปัญหาต่างๆ มานานหลายปี บางทีอาจจะถึงเวลาที่ผู้สอนภาษาอังกฤษชาวไทย รวมถึงคนไทย
ทุ ก คนจะต้ อ งเริ ่ ม สร้ า งสำนึ ก และจิ น ตนาการเกี ่ ย วกั บ ภาษา อังกฤษที่แปลกและแตกต่างไปจากเดิม เพราะสุดท้ายแล้ว เรา ก็คงหนีไม่พ้นความเป็นไทย และตัวตนแบบไทยๆ ในการใช้ ภาษาอังกฤษ ฝันที่เราอยากเป็นเหมือนเจ้าของภาษา อาจเป็น เรื่องที่อุดมคติจนเกินไปสำหรับใครหลายคน ถึงเวลาแล้ว หรือยัง ที่เราต้องพึ่งพาตนเองมากขึ้นในฐานะผู้สอนภาษา อังกฤษ และเหนือสิ่งอื่นใด กระบวนทัศน์ใหม่นี้จะทำให้คนไทย รู้สึกมั่นใจที่จะพูดภาษาอังกฤษก่อนเป็นลำดับแรก ซึ่งน่าจะเป็น สิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง มิเช่นนั้นแล้ว เราก็คงต้องวนเวียน กับวาทกรรมเดิมๆ พายเรืออยู่ในอ่าง และโทษทุกอย่างว่า เป็นเรื่องของเวรกรรมทำมา ทุกครั้งที่พูดถึงปัญหาภาษาอังกฤษ ในประเทศไทย เอกสารอ้างอิง ไพสิฐ บริบูรณ์. (2556). งานวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่าง ความตระหนักรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษในฐานะภาษา ของโลก, ทัศนคติต่อภาษาอังกฤษที่หลากหลายและ มุมมองเกี่ยวกับสำเนียงการพูดภาษาอังกฤษที่พึง ปรารถนาของอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษในแถบ จังหวัดภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย. สกลนคร: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร. Methitham, P. (2009). An Exploration of Culturally-based Assumptions Guiding ELT Practice in Thailand, a Non-colonized Nation. Unpublished PhD dissertation, Indiana University of Pensylvania, USA.
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน - พฤษภาคม 2556
นุษยวิเทศคดี
“
ยิ่งโลกไร้พรมแดนมากขึ้นเท่าใด
5
การวิเคราะห์โครงสร้างบทสนทนาภาษาพม่าทางโทรศัพท์
ระหว่างเจ้าหน้าที่ให้บริการข้อมูลชาวไทย กับลูกค้าชาวพม่า อ.วิจิตร คริเสถียร
นุษยวิเทศคดี
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
6
ในวงการธุรกิจสื่อสารในปัจจุบันนั้น นอกจากบริษัท ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์ จะจัดตั้งศูนย์ให้บริการข้อมูล หรือ คอลเซ็นเตอร์ขึ้นมา เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกค้าชาวไทยแล้ว หลายๆ บริษัทก็ยังได้ตั้งศูนย์ให้บริการข้อมูล เพื่อให้ความ ช่วยเหลือลูกค้าชาวต่างชาติอื่นๆ อีกด้วย เช่น ชาวจีน ชาว อังกฤษ ชาวเกาหลี และชาวพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกค้า ชาวพม่าที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยนั้นมักจะโทรศัพท์เข้ามาที่ ศูนย์เป็นจำนวนมาก เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ชาวไทยที่พูดภาษาพม่า ได้ ช ่ ว ยแก้ ไ ขปั ญ หาต่ า งๆ เกี่ยวกับ การใช้งานโทรศั พ ท์ หรือช่วยสมัครบริการส่งเสริมการขายต่างๆ ให้กับตนเอง การสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างเจ้าหน้าที่ชาวไทยกับลูกค้า ชาวพม่าในองค์กรดังกล่าวนั้นมีลักษณะเด่น คือ ช่วยทำให้ มองเห็นโครงสร้างบทสนทนา เช่น การแสดงว่ารับฟังอยู่ (backchannel) ได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้เพราะว่าในขณะที่คู่สนทนา พูดคุยกันทางโทรศัพท์ และไม่สามารถมองเห็นการใช้ภาษา ท่าทาง อย่างเช่น การพยักหน้า หรือท่าทางอื่นๆ ที่ถือว่าเป็น สัญลักษณ์แสดงว่ารับฟังอยู่ (backchannel) ได้ คู่สนทนา จึงต้องใช้ลักษณะเสียง เช่น ระดับเสียง (pitch) หรือถ้อยคำสั้นๆ (short verbalization) เข้ามาช่วยเพื่อให้คู่สนทนาคนนั้นรู้ว่าตน กำลังรับฟังอยู่ (Heinz, 2003: 1119) นอกจากนี้การสนทนา ทางโทรศัพท์ยังช่วยทำให้เห็นวิธีการปรับแก้ไขคำพูดที่บกพร่อง ในบทสนทนาได้ชัดเจนด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้เขียนจึงใคร่ ขอยกตัวอย่างผลการศึกษาการวิเคราะห์โครงสร้างบทสนทนา ภาษาพม่าทางโทรศัพท์ระหว่างเจ้าหน้าที่ให้บริการข้อมูลชาว ไทยกับลูกค้าชาวพม่าใน 3 ประเด็น ได้แก่ การเปิดการสนทนา การพูดซ้อนเหลื่อมและการปรับแก้คำพูด จากการศึ ก ษาเรื ่ อ งการเปิ ด การสนทนานั ้ น พบว่ามีการเปิดการสนทนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ การเรียก-ตอบ การทักทาย และการแสดงตัว ซึ่งเจ้าหน้าที่ให้ชาวไทยจะกล่าวคำ ทักทายทั่วไปๆ ในภาษาพม่า ทั้งเพื่อตอบรับต่อการเรียกของ เสียงกริ่งโทรศัพท์และเพื่อทักทายชาวพม่า ส่วนลูกค้าชาวพม่า
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน - พฤษภาคม 2556
นิ ย มกล่ า วทั ก ทายเจ้ า หน้ า ที ่ ด ้ ว ยคำทั ก ทายภาษาพม่ า ว่ า “สวัสดี” ร่วมกับคำเรียกเครือญาติ เช่น พี่สาว” หรืออาจจะกล่าวคำเรียก เครือญาติร่วมกับปัจจัยแสดงความเอ็นดู (appellative suffix) “เอ๋ย” ซึ่งการที่ชาวพม่าใช้คำเรียกเครือญาติ กับ บุคคลที่ไม่รู้จักกันนั้น นอกจากสะท้อนให้เห็นว่าชาวพม่า แสดงออกถึงความเคารพ และความสุภาพต่อบุคคลอื่น ที่ไม่ รู้จักกันแล้วยังสะท้อนให้เห็นว่าลูกค้าชาวพม่า ต้องการแสดง ความสนิทสนมต่อเจ้าหน้าที่ โดยสังเกตได้จากการที่ชาวพม่า ใช้คำเรียกเครือญาติร่วมกับปัจจัยแสดงความเอ็นดู ในส่ ว นของการศึ ก ษาเรื ่ อ งการพู ด ซ้ อ นเหลื ่ อ ม (overlapping) พบว่ามีประเภทของการพูดซ้อนเหลื่อม 4 ประเภท ได้แก่ การพูดซ้อนเหลื่อมท้ายประโยค (terminal overlapping) การพูดซ้อนเหลื่อมเพื่อสานต่อการสนทนา (continue overlapping) การพูดซ้อนเหลื่อมเพื่อเพิ่มข้อมูลที่คู่สนทนา ต้องการ (conditional access to the turn) และการพูดพร้อมกัน (simultaneous talking) และเมื่อเปรียบเทียบการพูดซ้อน เหลื ่ อ มระหว่ า งเจ้ า หน้ า ที ่ ช าวไทยกั บ ลู ก ค้ า ชาวพม่ า ก็ พ บว่ า เจ้าหน้าที่ชาวไทยพูดซ้อนเหลื่อมท้ายประโยคมากกว่าลูกค้าชาว พม่า ส่วนลูกค้าชาวพม่าจะพูดซ้อนเหลื่อม เพื่อสานต่อการ สนทนามากกว่าเจ้าหน้าที่ชาวไทย ทั้งนี้การที่เจ้าหน้าที่ชาวไทย พูดซ้อนเหลื่อมท้ายประโยค ซึ่งจัดว่าเป็นการพูดซ้อนเหลื่อม แบบขัดจังหวะ (interrupt) การพูดของคู่สนทนา ก็เพราะว่า เจ้าหน้าที่รีบแจ้งข้อมูลมากจนเกินไป เพื่อจะไปรับสายโทรศัพท์ ของลูกค้าคนถัดไป ส่วนการที่พบว่า ลูกค้าชาวพม่ามักพูดซ้อน เหลื่อมเพื่อสานต่อการสนทนาเป็นจำนวนมากนั้น ทั้งนี้เพราะว่า ลูกค้าชาวพม่ามองว่าการพูดซ้อนเหลื่อมแบบท้ายประโยคอย่าง ที่เจ้าหน้าที่กระทำนั้น อาจจะนำไปสู่การแย่งผลัดการพูดจาก เจ้าหน้าที่ชาวไทย และเป็นการกระทำที่ไม่สุภาพต่อคู่สนทนา ดังนั้น ลูกค้าชาวพม่าจึงมักจะพูดซ้อนเหลื่อม เพื่อสานต่อการ สนทนาของเจ้าหน้าที่ชาวไทยให้ดำเนินไปได้เท่านั้น
สุภาพในภาษาพม่าไว้อย่างน่าสนใจว่า ชาวพม่าจะเลือกใช้ กลวิธีความสุภาพ โดยการคำนึงถึงเรื่องอำนาจ ความสัมพันธ์ ทางสังคม และความเกรงใจต่อความรู้สึกของผู้ฟัง ซึ่งอาจ เป็นไปได้ว่าการที่ลูกค้าชาวพม่าเลือกที่จะเป็นผู้เริ่มต้นการ ปรับแก้และไม่ปรับแก้คำพูดด้วยตนเองให้นั้น น่าจะเป็นการ กระทำที่ไม่อยากให้คู่สนทนารู้สึกว่ามีจุดบกพร่องในการพูด มากนัก จึงมักจะเริ่มปรับแก้แล้วเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายปรับแก้ คำพูดด้วยตนเองมากกว่า ซึ่งการกระทำดังกล่าวแสดงถึงความ สุภาพในเรื่องของการรักษาหน้าของอีกฝ่ายด้วยเช่นกัน การศึ ก ษาภาษาด้ ว ยวิ ธ ี ก ารวิ เ คราะห์ โ ครงสร้ า ง บทสนทนานั้น นอกจากจะทำให้เห็นว่า บทสนทนาหนึ่ง ประกอบด้วยโครงสร้างอะไรบ้างแล้วนั้น ยังทำให้เราทราบถึง สิ่งที่สะท้อนออกมาจากการเลือกใช้โครงสร้างภาษานั้นด้วย หากผู้เรียนภาษาที่สองเรียนรู้และเข้าใจสิ่งที่สะท้อนออกมา เหล่านั้น ก็น่าจะสามารถนำไปปรับใช้ในการสนทนาภาษาที่สอง ให้ได้ใกล้เคียงเจ้าของภาษามากที่สุดก็เป็นได้ อ้างอิง วิจิตร คริเสถียร. (2555). การวิเคราะห์โครงสร้างบทสนทนา ภาษาพม่าทางโทรศัพท์ ระหว่างเจ้าหน้าที่ให้บริการ ข้อมูลชาวไทยกับลูกค้าชาวพม่า. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นุษยวิเทศคดี
ประเด็นสุดท้ายที่ผู้วิจัยได้ศึกษา คือ การศึกษา ประเภทของการปรับแก้และพบว่า มีการปรับแก้ 3 ประเภท ได้แก่ 1) การเริ่มต้นปรับแก้ด้วยตนเอง (self-initiated) แล้ว ปรับแก้ด้วยตนเอง (self-repair) 2)การเริ่มต้นปรับแก้โดยผู้อื่น (other-initiated) แล้วปรับแก้ด้วยตนเอง (self-repair) และ 3)การเริ่มต้นปรับแก้โดยผู้อื่น (other-initiated) แล้วปรับแก้ โดยผู้อื่น (other-repair) และเมื่อเปรียบเทียบการเริ่มต้นการ ปรับแก้ระหว่างเจ้าหน้าที่ชาวไทยกับลูกค้าชาวพม่า ก็พบว่า การเริ่มต้นการปรับแก้โดยลูกค้าชาวพม่ามีจำนวนมากกว่าการ เริ่มต้นการปรับแก้โดยเจ้าหน้าที่ให้บริการข้อมูลชาวไทย ซึ่งการ เริ่มต้นการปรับแก้ดังกล่าว ลูกค้าชาวพม่าจะเริ่มต้นปรับแก้ ด้ ว ยการกล่ า วคำลงท้ า ยแสดงความสุ ภ าพสำหรั บ ผู ้ ช ายหรื อ ผู้หญิง เช่น “ครับ” “คะ” ในลักษณะที่ออกเสียงด้วยทำนองเสียงสูง แล้วปล่อยให้ เจ้ า หน้ า ที ่ ใ ห้ บ ริ ก ารข้ อ มู ล ชาวไทยปรั บ แก้ ค ำพู ด ด้ ว ยตนเอง ทั้งนี้การปรับแก้ไขคำพูดดังกล่าวน่าจะเกิดจากปัจจัย 2 อย่าง คือ ด้านความสามารถทางภาษา และด้านความสุภาพ ซึ่งปัจจัย ด้านความสามารถทางภาษาที่ส่งผลให้มีการปรับแก้ไขคำพูด คือ การที่เจ้าหน้าที่อธิบายไม่ชัดเจน ใช้ไวยากรณ์ที่ไม่ถูกต้อง หรือ พูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงไทย จึงทำให้เมื่อลูกค้าชาวพม่า ไม่เข้าใจสิ่งที่เจ้าหน้าที่พูด ก็มักจะกล่าวเริ่มต้นการปรับแก้ แล้วให้เจ้าหน้าที่นั้นปรับแก้ไขคำพูดนั้นด้วย และปัจจัยด้าน ความสุภาพที่ส่งผลให้มีการปรับแก้นั้น อัมพิกา รัตนพิทักษ์ (Rattanaphitak, 2012) ได้กล่าวถึงการเลือกใช้กลวิธีความ
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน - พฤษภาคม 2556
7
World Englishes in Asian Contexts …
ภาษาอังกฤษในบริบทเอเชีย อ.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย
นุษยวิเทศคดี
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
8
หนังสือ World Englishes in Asian Contexts เป็นผลงานร่วมของ Yamuna Kachru และ Cecil L. Nelson โดยผู้เขียนทั้งสองเป็นศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์ในสหรัฐ อเมริกา หนังสือดังกล่าวตีพิมพ์เมื่อปี 2549 และเป็นผลงาน ค้นคว้าเกี่ยวกับภาษาอังกฤษรูปแบบต่างๆในทวีปเอเชีย ส่วนแรกของหนังสือ (Theory, Method and Contexts) เปิดประเด็นด้วยการจำแนกสถานะของภาษาอังกฤษในประเทศ ต่างๆ ออกเป็นสามลำดับชั้น ลำดับชั้นในสุดคือภาษาอังกฤษ ในฐานะภาษาแม่ ซึ่งเป็นรูปแบบของภาษาอังกฤษในประเทศ ดังเช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ลำดั บ ชั ้ น ถั ด มาคื อ รู ป แบบของภาษาอั ง กฤษในประเทศอดี ต อาณานิคม เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินเดีย ซึ่งใช้ภาษา อังกฤษเป็นภาษาที่สอง ส่วนลำดับชั้นสุดท้ายคือรูปแบบของ ภาษาอังกฤษในประเทศดังเช่นเวียดนามและไทย ซึ่งใช้ภาษา อังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ในส่วนที่สอง (Acquisition, Creativity, Standard and Testing) ผู้เขียนแสดงให้เห็นว่า การสร้างลำดับชั้นดังกล่าว ทำให้เกิดการสถาปนา “ภาษาอังกฤษมาตรฐาน” ในกลุ่ม ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ในขณะเดียวกันกลุ่ม ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองก็ได้ผลักดันให้เกิด พลังอันสร้างสรรค์ที่ทำให้ภาษาอังกฤษเกิดความหลากหลาย และร่ำรวย ทั้งในเชิงคำศัพท์ ไวยกรณ์ และนัยยะต่างๆ ในเชิง ภาษาศาสตร์ ในส่วนที่สาม (Applied Theory and World Englishes) ผู้เขียนนำเสนอข้อมูลภาษาอังกฤษรูปแบบต่างๆ ในทวีปเอเชียผ่านวิธีการเชิงภาษาศาสตร์ รวมถึงพัฒนาการทาง ประวัติศาสตร์ ที่ส่งผลให้รูปแบบของภาษาอังกฤษแตกต่าง ไปในแต่ละประเทศ โดยผู้เขียนได้เก็บตัวอย่างข้อความและ บทสนทนาภาษาอังกฤษที่ปรากฎในประเทศต่างๆ ในเอเชีย ซึ่งแตกต่างจากภาษาอังกฤษ “มาตรฐาน” อย่างเห็นได้ชัด และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อความเหล่านั้นกับข้อความ ที่มีความหมายเดียวกันในภาษาท้องถิ่นเพื่อแสดงให้เห็นถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางภาษา สิ่งที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้คือการวิเคราะห์นัยยะ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในทวีปเอเชีย ซึ่งผู้เขียนได้ชี้ ให้เห็นถึงการปะทะระหว่างทฤษฎีการสอนภาษาที่สอง หรือ second language acquisition กับทฤษฎีภาษาอังกฤษโลก หรือ
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน - พฤษภาคม 2556
World Englishes โดยชี้ให้เห็นว่า วิธีการสอนภาษาอังกฤษ ในเอเชียมักตกอยู่ในกระบวนทัศน์ของทฤษฎีแรก ซึ่งละเลยพลัง อั น สร้ า งสรรค์ ใ นทฤษฎี ห ลั ง ที ่ ใ ห้ ค วามสำคั ญ กั บ ความ หลากหลายของโลก นอกจากนี้ผู้เขียนทั้งสองยังเห็นว่าแนวคิด “ภาษาอังกฤษมาตรฐาน” (standard English) เป็นแนวคิด ที่แฝงนัยยะเชิงอำนาจที่ยังเป็นปัญหาและสมควรถูกตั้งคำถาม และเสนอให้ ผ ู ้ ส อนภาษาอั ง กฤษทดลองนำข้ อ คิ ด จากทฤษฎี World Englishes ไปปรับใช้ในห้องเรียนเพื่อส่งเสริมพลวัตร อันสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนี้มิได้เสนอแนวทาง ในการปรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างเป็นรูปธรรม ซึ ่ ง อาจเป็ น เพราะผู ้ เ ขี ย นมุ ่ ง ตั ้ ง คำถามเพื ่ อ สั ่ น คลอนวิ ธ ี ค ิ ด แบบเก่ามากกว่าการกะเกณฑ์ในเชิงนโยบาย และแม้หนังสือ จะไม่ได้นำเสนอแนวทางสำเร็จรูป แต่ก็คงเป็นประโยชน์กับ ผู้สอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยและอาเซียนไม่มากก็น้อย สำหรับการเปิดมุมมองใหม่ๆในโลกของภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ อำนาจ และ อัตลักษณ์แห่งปัจเจกบุคคล ดร.อาทิตย์ พงษ์พานิช
เมื่อทราบว่า theme ของจดหมายข่าว มนุษยวิเทศคดี เล่มนี้ คือ “ภาษาอังกฤษในบริบทอาเซียน” บรรณาธิการ ขอร้องและมัดมือชกกองบรรณาธิการทุกท่าน เพื่อให้ได้มาซึ่ง พื้นที่ในคอลัมน์ “ปกิณกะอาเซียน” นี้ เหตุเพราะมีหนังดีโดนใจ ที่ใคร่จะนำเสนอ (โดยจะ spoil เรื่องให้น้อยที่สุด) ดูจากชื่อหนัง English Vinglish คำว่า “Vinglish” ซึ่งเป็นการออกเสียงคำว่า English แบบสำเนียงคนอินเดีย ก็แสดงถึงความเกี่ยวโยงกับ การใช้ภาษาอังกฤษในบริบทพื้นที่ ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็น “ภาษาแม่” โดยตรงแล้ว ครั้งแรกที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ แอบกังวลอยู่ว่าจะดูรู้เรื่อง ไหมหนอ เพราะเวอร์ชันที่ดูไม่มีบทบรรยาย (subtitle) หนังก็ เปิดฉากด้วยภาษาฮินดี แถมก็ยังมีภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเป็นภาษา ที่ผู้เขียนไม่มีความรู้แต่อย่างใด อย่างไรก็ดี เมื่อดูไปได้สักระยะ ก็ได้เห็นความจงใจที่หนังพยายามส่งสารว่า ภาษาไม่ใช่สิ่งสำคัญ ที่สุดที่จะทำให้การสื่อสารกันระหว่างมนุษย์สัมฤทธิ์ผล ผู้เขียน จึงพยายามทำความเข้าใจหนังในส่วนที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ (ซึ่ง โดยรวมก็มีไม่มากนัก) ผ่านอวัจนภาษาหรือภาษาลักษณะอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำเสียงหรือกิริยาท่าทางก็ตาม และพบว่า English Vinglish หยิบยกประเด็นการต่อรองทางอำนาจ และการสร้าง อัตลักษณ์ของปัจเจกบุคคลผ่านนัยยะการใช้ภาษา (ซึ่งในกรณี นี้คือ ภาษาอังกฤษ) ได้อย่างน่าสนใจ English Vinglish เป็นผลงานการกำกับของ Gauri Shinde ผู้ได้แรงบันดาลใจในการสร้างหนังเรื่องนี้มาจากแม่ ของเธอ หนังติดตามการต่อรองอำนาจและการสร้างอัตลักษณ์ ของแม่บ้านสามัญชนชาวอินเดียคนหนึ่ง นาม Shashi Godbole ซึ่ง ถู ก สามี แ ละลู ก สาวดู ถ ูก เพราะเธอไม่สามารถสื่อสารด้ วย ภาษาอังกฤษได้ แต่แล้วก็มีเหตุจำเป็นให้ Shashi ต้องเดินทาง โดยลำพังไปมหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมืองที่ใช้ภาษา อังกฤษเป็นภาษาแม่ เพื่อช่วยพี่สาวจัดเตรียมงานแต่งงานของ หลานสาวกับหนุ่มชาวอเมริกัน ที่มหานครนิวยอร์ก เมืองแห่งความหลากหลายนี้เอง Shashi ตัดสินใจเรียนภาษาอังกฤษระยะสั้น โดยใช้เงินที่เธอ หามาได้จากการขายขนมอินเดียชนิดหนึ่งที่เธอทำได้เอร็ดอร่อย จนเลื่องชื่อ
ในชั้นเรียนเล็กๆ ของเธอ มีผู้ร่วมชั้นเรียนจากหลาย สัญชาติ ไม่ว่าจะเป็น สเปน จีน หรือฝรั่งเศส โดยแต่ละคน ก็มีเหตุผลความจำเป็นที่ต้องมาพัฒนาความรู้ทางด้านภาษา อังกฤษแตกต่างกันไป การมาเรียนภาษาอังกฤษครั้งนี้ Shashi ได้รับความรักจากหนุ่มชาวฝรั่งเศสนาม Laurence นักเรียน ร่วมชั้นเรียน โดยไม่ได้คาดหมาย Laurence พยายามทำความ รู้จัก Shashi แม้สาวเจ้าจะไม่เล่นด้วยก็ตาม เมื่อทั้งคู่สื่อสาร ด้วยภาษาอังกฤษได้ไม่คล่องตัวนัก บ่อยครั้งที่ทั้งคู่สนทนาด้วย ภาษาแม่ของตัวเอง แต่กลับกลายเป็นว่าทั้งคู่สื่อสารกันได้ และ มีความเคารพให้กัน ผิดกับสามีและลูกสาวของ Shashi ที่แม้ว่า ทุกคนจะสื่อสารด้วยภาษาเดียวกัน แต่กลับเกิดความเหินห่าง หมางใจในครอบครัว เมื่อสามีและลูกสาวมีความคิดฝังหัวที่ว่า Shashi เป็นเพียงแม่บ้านอินเดียที่ล้าสมัย พูดภาษาอังกฤษ ก็ไม่ได้ และที่มีหน้าที่เพียงอย่างเดียวคือสนองความต้องการ ให้สมาชิกภายในครอบครัว ท้ายที่สุด Shashi พิสูจน์ให้สามีและลูกสาวเห็นว่า ตนเองไม่ได้เป็นเพียงแม่บ้านที่ใครจะสั่งหรือทำอะไรกับเธอก็ได้ ในทางตรงกันข้าม เธอแสดงให้เห็นว่า เธอมีความสามารถที่จะ พั ฒ นาตนเองได้ เ ฉกเช่ น เดี ย วกั บ สามี แ ละลู ก สาวของเธอ ซึ่งในที่นี้ก็คือ การพูดภาษาอังกฤษ ขอเพียงเธอมีเวลาและได้รับ โอกาสเท่านั้นเอง Shashi ใช้ทักษะการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ ที ่ ต นพั ฒ นาต่ อ รองอำนาจและสร้ า งอั ต ลั กษณ์ ใ หม่ ให้ต นเอง กลายเป็นปัจเจกที่มีความเสมอภาคเช่นเดียวกับสมาชิกทุกคน ในครอบครัว แม้ว่าหนังจะจบแบบ family-oriented ไปสัก เล็กน้อย กล่าวคือ Shashi เลือกที่จะอยู่กับครอบครัว และปฏิเสธ รักจากหนุ่มหล่อแห่งเมืองชวนฝัน แต่หนังก็ได้ทิ้งประเด็นที่ สำคัญได้อย่างมีนัยยะว่า การไม่ยอมแพ้และไม่ยอมรับคำดูถูก แต่กลับพยายามพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพนั้น สามารถทำให้ คำ “ดูถูก” ของคนอื่น กลายเป็นการ “ดูผิด” ของเขาเหล่านั้น ไปก็เป็นได้ และประเด็นสำคัญอีกประการก็คือ แม้ภาษา จะมีความสำคัญ แต่ภาษาก็เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งสำหรับ การสื่อสารเท่านั้น ต่อให้พูดภาษาเดียวกัน หากคู่สนทนา ไม่ เ ปิ ด ใจรั บ ฟั ง ด้ ว ยความเสมอภาคเท่ า เที ย มแห่ ง ความเป็ น ปัจเจกบุคคล การสื่อสารก็มิอาจสัมฤทธิ์ผลไปได้ จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน - พฤษภาคม 2556
นุษยวิเทศคดี
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
9
ความคาดหวังกับความเป็นจริง
ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสู่ประชาคมอาเซียน Expectations VS Reality Check : Are Our Schools Ready for ASEAN? รัชนีกร เกิดไชย
นุษยวิเทศคดี
นิสิตปริญญาโทสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
10
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน - พฤษภาคม 2556
เป็นที่ทราบกันดีว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ จะมีการ เปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่เกิดขึ้นกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ นั่นคือการก่อตั้งประชาคมอาเซียน เพื่อเป็น การร่ ว มมื อ ในการเพิ ่ ม อั ต ราการเจริ ญ เติ บ โตทางเศรษฐกิ จ การพัฒนาสังคมการพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่ ดังนั้น ภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารที่สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับประชากรคนไทยทุกคน แม้กระทรวงศึกษาธิการได้ ส่งเสริมให้ครูได้เข้ารับการ อบรมทั้งเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการ ออกแบบการจัดการเรียนการสอน เพิ่มพูนทักษะรวมไปถึง เทคนิคสอนภาษาอังกฤษ และจัดเตรียมสื่อประกอบการเรียน ที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดสรรงบประมาณในการ จัดซื้อ แท็บเลตให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกคน เพื่อ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง อย่างอิสระโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพราะแม้ไม่มีสัญญาณ อินเทอร์เน็ตก็ยังไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เนื่องจากมีเนื้อหาออฟไลน์อยู่ แต่ผลลัพธ์ที่คาดหวังไว้เหล่านั้นไม่เป็นไปตามที่ควร จะเป็นเท่าใดนัก ด้วยยังมีปัจจัยที่แตกต่าง อาทิ จำนวนครู ผู ้ ส อนที ่ ม ี ค วามรู ้ ค วามสามารถในการสอนภาษาอั ง กฤษ ไม่เพียงพอ ในบางโรงเรียน ครู 1 คน สอนพละศึกษา ภาษา อังกฤษ และ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น แต่ความเป็นจริงที่สุด อีกประการหนึ่ง ของการเรียนภาษา ให้ได้ประสิทธิภาพ คือ ทักษะและการฝึกฝนการใช้ภาษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศไทย ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ แต่เป็นเพียงภาษา ต่างประเทศภาษาหนึ่งเท่านั้น ผู้เรียนจะมีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษ เฉพาะที่โรงเรียนแต่ไม่ได้นำไปใช้ต่อที่บ้าน หรือเรียนภาษา อังกฤษเพียงสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงและเมื่อกลับมาเรียนอีกครั้ง ในสัปดาห์ถัดไป นักเรียนก็ลืมเรื่องที่เคยเรียนไปแล้ว จึงทำให้ ต้องเริ่มทบทวนใหม่ทุกครั้งเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการเรียน ผู้เรียนจึงไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างมี ประสิทธิภาพซึ่งเป็นปัญหาที่หนักอึ้งของประเทศไทยมายาวนาน จากที่กล่าวไปข้างต้น ความคาดหวังที่หลายฝ่าย ต้องการให้เกิดขึ้นกับความเป็นจริงที่ปรากฏ ยังคงเป็นปัญหา ในปัจจุบัน ซึ่งมีช่องว่างและความแตกต่างกันอยู่มาก ปัญหา เหล่านี้ควรจะมีวิธีการแก้ไขและพัฒนาอย่างไร เพื่อลดช่องว่าง และความแตกต่างลง ให้ความเป็นจริงเป็นไปตามความคาดหวัง และเพื่อให้เด็กไทย มีความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 นี้
วันที่ 31 มีนาคม - 1 เมษายน 2556 รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิรัช นิยมธรรม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรนุช นิยมธรรม รองหัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก (สาขาวิชาภาษาพม่า) คณะมนุษยศาสตร์ เดินทางไปเข้าร่วมประชุม Project Steering Committee (PSC) ณ ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้แผนงาน โครงการพัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาไทย ณ Yangon University of Foreign Language (YUFL) โดย สำนักงาน ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) กระทรวงการ ต่างประเทศ
วันที่ 4 เมษายน 2556 รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ดร.ฐิติรัตน์ สุวรรณสม รองคณบดีฝ่ายบริหาร พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญพรรณ ทิพย์คง และอาจารย์ศรีสุดา พุ่มชม นำ Mr. Jean Charconnet ผู้แทนจาก AUF เข้าพบ ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ในโอกาสที่เดินทางมาหารือ โครงการความร่วมมือ ระหว่าง AUF และคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร
วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2556 ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนา บุคลากร “ผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ : ภาวะผู้นำในบริบทอาเซียน” โดยได้ รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัย นเรศวร เป็นวิทยากรให้บรรยาย เรื่อง “ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ในบริบทอาเซียน” และ ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก บรรยายเรื่อง “เทคนิค การบริหารในบริบทอาเซียน” ณ ห้องประชุม HU 1307 คณะมนุษยศาสตร์
นุษยวิเทศคดี
วันที่ 9 พฤษภาคม 2556 รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด โครงการพัฒนาโจทย์ วิจัยทางมนุษยศาสตร์เชิงบูรณาการระดับภาควิชา จัดโดย หน่วยวิจัยมนุษยวิเทศคดี งานวิจัยและบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร. สมทรง บุรุษพัฒน์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2555 และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชไมพร กาญจนกิจสกุล ในฐานะคณะกรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวิทยากรให้ความรู้ ณ ห้องประชุม HU 1307 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน - พฤษภาคม 2556 11
หลั ก สู ต ร ระดั บ ปริ ญ ญาตรี
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
เปิดสอน 10 สาขาวิชา ได้แก่ - สาขาวิชาภาษาไทย - สาขาวิชาภาษาจีน - สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ - สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น - สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล
- สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส - สาขาวิชาภาษาพม่า
ระดับปริญญาตรี สายภาษา มีสิทธิเลือกวิชาเลือกเฉพาะสาขา(หรือวิชาโท) เป็นภาษาที่สอง ได้แก่ - ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ - ภาษาฝรั่งเศส - ภาษาจีน - ภาษาญี่ปุ่น - ภาษาพม่า - ภาษาเขมร - ภาษาอินโดนีเชีย
วิสัยทัศน์ :
วร
ร ณ ภิงคา
ร
จ
าย ด ห ม ข่ า ว
สุ
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- ภาษาเกาหลี - ภาษาเวียดนาม
2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร
คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และ นาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่ อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และสอดคล้องกับ ความต้องการของสังคมและประเทศ
นุษยวิเทศคดี
- สาขาวิชาภาษาเกาหลี - สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย
ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ 85/2521 พิษณุโลก