มนุษยวิเทศคดี9

Page 1

นุษยวิเทศคดี Humanities for Cross Border Review วร

ร ณ ภิงคา

ห ม า ย ข่ า ว

สุ

จด

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 มิถุนายน - กรกฎาคม 2557


ที่ปรึกษา

คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิช ผศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ ผศ.นัทธนัย ประสานนาม

บรรณาธิการ อ.สายหยุด

บัวทุม

กองบรรณาธิการ ดร.อาทิตย์ ดร.ทศพล ผศ.ดร.พงศกร ดร.ชมนาด ดร.ภูริวรรณ อ.สถิตย์ อ.วิจิตร อ.อชิรพจณิชา อ.ศศิวรรณ

ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ

เลขานุการ สุรีย์พร

พงษ์พานิช สุรนัคครินทร์ เมธีธรรม อินทจามรรักษ์ วรานุสาสน์ ลีลาถาวรชัย คริเสถียร พลายนาค นาคคง

นลินรัตนกุล ชุมแสง

งานประชาสัมพันธ์ :

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th

ปกหน้า :

SOAS University of London

บทบรรณาธิการ ภารกิ จ หลั ก ของคณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร เป็นหน่วยงาน ที่มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ในสาขาวิชา ภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี นาฏศิลป์ และส่งเสริมให้บุคลากร นิสิต ของคณะมนุษยศาสตร์ได้ทำกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการ และ ส่ ง เสริ มทำนุ บำรุ ง ศิ ล ปวั ฒ นธรรมให้ กั บนั กเรี ย นในเขตภาคเหนือตอนล่า ง คณะฯ จึงได้จัดกิจกรรมในรูปแบบของงานวิชาการ และสืบสานด้าน ศิลปวัฒนธรรม นาฏศิลป์ และดนตรีออกมาให้บริการวิชาการแก่ชุมชน อย่างสม่ำเสมอ เพราะตระหนักดีว่าศิลปวัฒนธรรมประจำชาติแต่ละชาติ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความอัตลักษณ์ของชาตินั้นๆ ประเทศที่มีความเจริญ รุ่งเรือง จะต้องมีศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติของตน ชาติไทย ก็เช่นเดียวกัน มีความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมายาวนาน นับเป็นมรดกที่สำคัญที่ควรทำนุบำรุงและส่งเสริม เพื่อสืบทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง ต่อไป มนุษยวิเทศคดี สารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเล่มนี้ จึงขอ นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับดนตรี นาฏศิลป์ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี คุณกฤษฏิ์ เลกะกุล นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชา ดนตรี (Ethnomusicology) มหาวิทยาลัย SOAS, University of London มาให้ ข้อคิดการเรียนและการสอนดนตรีของ School of Oriental and African Studies (SOAS) และแนะนำสถานที่ศึกษาต่อด้านดนตรีอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ จากนั้น เป็นบทความเรื่อง “มุมมองสองวัฒนธรรม ในงาน Tawau International Folk Music Festival” โดย ดร.ณัฐชยา นัจจนาวากุล จากการ ไปเผยแพร่วัฒนธรรมนาฏศิลป์และดนตรี ณ ประเทศมาเลเซีย ต่อด้วย ผลการประกวดนาฏศิลป์ไทยระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ครั้งที่ 24 (ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ) โดยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดร่วมกับเทศบาลนครพิษณุโลก ปิดท้ายด้วย โครงการ “การสอนดนตรีด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์และ บูรณาการ” โดย สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล ภาควิชาดนตรีวิทยา ขอให้ทุกท่านเพลิดเพลินกับดนตรี และนาฏศิลป์ในฉบับนี้นะคะ

อ.สายหยุด บัวทุม บรรณาธิการ


เรื่องเล่าและข้อคิดการเรียนการสอนดนตรี

@

è

School of Oriental and African Studies (SOAS), University of London กฤษฏิ์ เลกะกุล

นับว่าเป็นความโชคดีของผมที่ได้มีโอกาสมาศึกษาต่อ หลักสูตรปริญญาเอก ด้านมนุษยดนตรีวิทยา หรือ Ethnomusicology ที่มหาวิทยาลัย SOAS ประเทศอังกฤษ เป็นมหาวิทยาลัย เดียวของอังกฤษที่สามารถรวมนักศึกษาที่เป็นทั้งนักดนตรี และ นักแต่งเพลงชาติต่างๆ จากทั่วโลกมาไว้ได้ นอกจากนี้ทางด้าน วิชาการดนตรีก็มีความเข้มข้นไม่แพ้ทางอเมริกา อาจเป็นเพราะ มหาวิทยาลัยนี้เปิดกว้างในการเรียนดนตรีทั้งดนตรีแบบแผน และพื้นบ้านของชาติต่างๆ ทำให้เมื่อแรกเข้ามารู้สึกถึงความ ประทั บ ใจ และอิ ่ ม ใจที ่ ไ ด้ เ ห็ น ดนตรี ห ลากหลายทั ้ ง จาก อินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ไทย อินเดีย แอฟริกัน ตะวันออกกลาง ฯลฯ มารวมตัวกันที่นี่ อาจกล่าวได้ว่าการเรียน ดนตรีในมหาวิทยาลัย SOAS เป็นรูปแบบการเรียนรู้ดนตรี แบบบูรณาการณ์ที่ได้เรียนทั้งวิชาการ และปฏิบัติร่วมกัน โดยตรง ร่วมกับคนหลากหลายชาติ และได้เห็นทั้งความคิด ภาพจริงเสียงจริงของคนและเครื่องดนตรีในวัฒนธรรมต่างๆ ประสบการณ์ ท ี ่ ด ี ข องผมที ่ เ รี ย นที ่ น ี ่ ค ื อ ได้ ม ี โ อกาส มาสอนที่ชมรมดนตรีไทยของมหาวิทยาลัย SOAS ตั้งแต่ปี 2011 จนถึงปัจจุบัน ในฐานะครูสอน และครูผู้ช่วยสอน นักศึกษาที่ผมสอนมีทั้งคนไทยและคนต่างชาติซึ่งมี ทัศนะคติที่ แตกต่างกันออกไปของการมาเรียนดนตรี สำหรับนักศึกษา คนไทยต้องการเรียนดนตรีไทยเพราะเขา เห็นดนตรีเป็น ที่ผ่อนคลายจากการเรียนและเป็นศูนย์กลางของผู้คน และ วัฒนธรรม เขารู้ว่าดนตรีมีประโยชน์และ ดนตรีไทยเป็นสิ่ง ทำให้พวกเขามีเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมไม่เหมือนชาติอื่น ซึ่งตรงนี้แปลกเหมือนกันที่วิชาดนตรีไทยกลับไม่ค่อยเป็นที่ โปรดปรานของนักศึกษาไทยหรือคนไทยเท่ากับดนตรี ตะวันตก

สิ่งที่ผมเห็นจากนักศึกษาที่มาเรียนดนตรีกับชมรม ดนตรี ไ ทยทั ้ ง คนไทยและคนต่ า งชาติ ค ื อ ในความคิ ด ของเขา ดนตรี คือดนตรี เขาไม่ค่อยแบ่งแยกกันที่ว่าดนตรีไหนเท่ห์ หรู มีระดับ ตรงนี้น่าสนใจ การมีทัศนคติต่อดนตรีไทยเช่นนี้ของ นักศึกษาที่ลอนดอน ทำให้วิธีการสอนของผมต้องเปลี่ยนไป นักศึกษาที่นี่ที่ส่วนใหญ่ต้องการเหตุผลอธิบายสิ่งต่างๆ มากกว่า การปฏิ บ ั ต ิ ต ามอย่ า งเดี ย วแบบการสอนดนตรี ไ ทยสมั ย ก่ อ น ทุกครั้งที่สอนดนตรี ทั้งรูปแบบการปฏิบัติ แต่ละเครื่องมือ เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้อง ซออู้ ซอด้วง ฯลฯ แม้แต่การ บรรเลงรวมวงดนตรีผมได้สอดแทรก เรื่องราวของประวัติศาสตร์ การเชื่อมต่อของดนตรีไทยกับดนตรี และวัฒนธรรมชาติอื่นๆ พร้อมกับสอนให้สังเกตุ ลักษณะการบรรเลงแต่ละเพลง ว่ามี เหตุผลการเชื่อมต่อ และธรรมเนียมปฏิบัติอย่างไรในดนตรีไทย และมีส่วนที่เหมือน หรือต่างกันกับชาติอื่นๆ อย่างไร ผมสอนดนตรี ไ ทยที ่ น ี ่ เ ป็ น เชิ ง การสร้ า งทั ศ นคติ ใ น ดนตรีที่มากกว่าการปฏิบัติ เป็นการสร้างความเชื่อมโยงวิชา ด้านประวัติศาสตร์ สังคม และปฏิบัติ ที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจ ความสำคั ญ ของดนตรี แ ละทำให้ เ ขาได้ ค ิ ด และเข้ า ใจใน วัฒนธรรมไทยผ่านทางเสียงดนตรีมากกว่าการท่องจำ ซึ่งนำไป สู่การปฏิบัติ และการพัฒนาความคิดเกี่ยวกับดนตรีไทยต่อไป การสร้างทัศคติในดนตรีมีผลดีอย่างมากต่อการเรียน ดนตรี หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการสอนที่ทำให้ เขาเข้าใจความเป็น ดนตรีมากกว่าความเก่งหรือความมีฝีมือในเชิงปฏิบัติดนตรี ซึ่งความคิดนี้ได้รับผลตอบรับที่ดีจากนักศึกษา และจาก ความคิดนี้ทำให้ผมคิดได้ว่าเป็นไปได้หรือเปล่าในแง่มุมหนึ่ง ที่ ดนตรีไทยไม่ได้รับการยอมรับเท่ากับดนตรีอื่นๆ เป็นเพราะเรา

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2557

นุษยวิเทศคดี

นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาดนตรี มหาวิทยาลัย SOAS, University of London

3


นุษยวิเทศคดี

ปลูกฝังแต่ความเป็นคนเก่ง คนดี และความดีในดนตรี แต่ไม่ได้ ปลูกฝังวิธีคิดการสื่อสารและ ความเข้าใจในดนตรีให้คนเรียน และคนฟัง? รูปแบบการเรียนการสอนดนตรีไทยในประเทศไทย จากประสบการณ์ตัวเองที่ผ่านมา กล่าวได้ว่า ครูอาจารย์ดนตรี ไทย ทั้งโรงเรียน และมหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่จะส่งเสริม กับการที่ทำให้นักศึกษาดนตรีไทยที่คณะดนตรี ของตนเป็น คนเก่ง มีฝีมือ และทำอย่างไรที่จะทำให้นักดนตรีประจำ มหาวิทยาลัยเรามีชื่อเสียงทัดเทียมหรือเก่งกว่าที่อื่นด้วยการ ประกวด หรือไปบรรเลงโชว์ตามงานดนตรีต่างๆ แต่การสอน ดนตรี ใ นต่ า งประเทศไม่ ใ ช่ เ รื ่ อ งของฝี ม ื อ หรื อ ความเก่ ง กาจ แต่คือการสอนที่ทำอย่างไรให้เขาเข้าใจดนตรีและมีทัศนะคติ ที่ดีต่อดนตรีไทย เพราะสิ่งนี้ทำให้ผู้เรียนอยากจะศึกษาและมี ความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนาดนตรีต่อไปได้อีก ดังนั้นปรัชญาดนตรีที่กล่าวว่า สอนให้คนดนตรีเป็นทั้ง คนดี และคนเก่งนั้น ส่วนตัวแล้วคิดต่างจากนี้ เพราะความดี และความเก่งของตัวเองไม่ได้ทำให้เข้าถึงดนตรี มากกว่าการ เอาชนะและปิดรับความเห็นจากผู้อื่นหรือดนตรีอื่น สิ่งที่สำคัญ ในการเรียนรู้ดนตรีไม่ใช่ทำให้ เราเป็นคนเก่งกว่าคนอื่น หรือ เป็นคนดีกว่าคนอื่น แต่เป็นการที่ทำให้เราเข้าใจว่าดนตรี เป็นอย่างไร เราเล่นดนตรีเพื่ออะไรและความเข้าใจนี่แหละที่จะ นำเราไปสู่การสืบทอดและพัฒนาดนตรี คำว่า “ดนตรี” จริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่ไม่เป็นสากล และ เป็นสากลในตัวเอง เป็นสิ่งที่คนร่วมสร้างและเล่นที่ไม่ใช่ความ

4

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2557


นุษยวิเทศคดี

ยากง่าย สูงต่ำ หยาบหรือไพเราะ ซึ่งถ้าเข้าใจปรัชญาพื้นฐาน ตรงนี ้ และเมื ่ อ นำความรู้เ หล่านี้ไปใช้ควบคู่กับ การสอน ดนตรีไทย จะทำให้ตัวเราเข้าใจว่าความจริงการเรียนการสอน ดนตรีไทย นั้นมีมากกว่าคำว่า “เล่นดนตรีไทย หรือเล่นดนตรี ประจำชาติ” เราเรียนรู้ว่าการเรียนดนตรีนั้นไม่ใช่แค่การเล่น แต่คือความเข้าใจในการเล่น เราต้องเข้าใจว่าเราเล่นดนตรีเพื่อ อะไร สร้างเสียงเพื่ออะไร และเราสามารถมองอะไรได้บ้าง นอกเหนือจากตัวดนตรี ซึ่งถ้าเราสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ได้ เราจะเห็นว่าการเรียนดนตรีนั้นมีคุณค่ามากมาย มิใช่เพียง สร้างเสียงเพลงต่อสังคม แต่สามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวัน และพัฒนาจิตใจ วัฒนธรรม และสังคมไทยได้ต่อไปในอนาคต

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2557

5


มุมมองสองวัฒนธรรม...ในงาน Tawau International Folk Music Festival ดร.ณัฐชยา นัจจนาวากุล

นุษยวิเทศคดี

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

6

เกาะบอร์เนียว Borneo เป็นเกาะที่ตั้งอยู่บนพื้นที่เขต เส้นศูนย์สูตร ถือเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก เป็นที่ ตั้งของประเทศต่างๆ ถึง 3 ประเทศด้วยกัน คือ มาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซีย พื้นที่ประเทศมาเลเซียฝั่งตะวันออก มีรัฐซาบาห์ (Sabah) เป็นรัฐใหญ่ ประกอบไปด้วยเมืองต่างๆ มากมาย หนึ่ง ในนั้นเป็นเมืองตากอากาศแห่งหนึ่ง ชื่อ ตาหว่าว (Tawau) เป็นเมืองที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ในรัฐ Sabah รองลงมาจาก เมือง Kotakinabalu และ เมือง Sandakan เมือตาหว่าว มีพื้นที่ ติดกับรัฐ Kalimantan ประเทศ อินโดนีเซีย ด้านเหนือมีพื้นที่ ติดกับทะเลซูลุ (Sulu Sea) และทางใต้ติดกับทะเล เซเลเบส (Celebes Sea) นานมาแล้วคนท้องถิ่นที่นี่อาศัยป่าเป็นบ้าน เมื่อเริ่มมี ผู้คนจากภายนอกเข้ามาอาศัยบนเกาะมากขึ้น ศาสนา และ ศิลปวัฒนธรรมภายนอก จึงเดินทางเข้ามาพร้อมกับผู้คนเหล่านี้ ส่งผลให้ในปัจจุบัน คนพื้นเมืองที่นี่จึงเริ่มมีวิถีชีวิตแบบเมือง และนับถือศาสนาแตกต่างกันออกไป เช่น กลุ่มชาติพันธ์ บาเจ่า (Bajao) เป็นกลุ่มคนที่นับถือศาสนาอิสลาม กลุ่มชาติพันธ์ คาดาซานดูซุน Kadazanduzun และกลุ่มชาติพันธุ์ มูรุท (Murut) นับถือศาสนาคริสต์ และมีบางส่วนที่นับถือศาสนาพุทธ ถึงแม้ Tawau จะมีประชากรหลากหลายเชื้อชาติศาสนา แต่ต่างก็อยู่ ร่ ว มกั น อย่ า งสงบสุ ข และประกอบสั ม มาอาชี พ ร่ ว มกั น อย่ า ง แข็งขัน ส่งผลให้เมือง Tawau เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความ นิยมจากผู้คนภายนอกอย่างไม่ขาดสาย จากนโยบายส่ ง เสริ ม การอนุ ร ั ก ษ์ แ ละความมุ ่ ง มั ่ น ในการรั ก ษาอั ต ลั ก ษณ์ ข องกลุ ่ ม ชาติ พ ั น ธุ ์ ข องคนในท้ อ งถิ ่ น นับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา กระทรวงการท่องเที่ยว วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม รัฐซาบาห์ (Ministry of Tourism, Culture and Environment Sabah, Malaysia) จึงได้ริเริ่มจัดงาน Tawau International Folk Music Festival ขึ้น โดยใช้ศิลปวัฒนรธรรม และการดนตรีเป็นสื่อในการสร้างสรรฺค์และกระตุ้นให้เห็นค่า ในการอนุรักษ์ ในขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ของเมืองให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดยในงานมีนี้มีประเทศ

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2557

อินโดนีเซีย และประเทศไทย เข้าร่วมงานดังกล่าว ร่วมกับกลุ่ม ชาติพันธ์ต่างๆ ในรัฐซาบาห์ จำนวนมากว่า 25 กลุ่มชาติพันธ์ โดยมุ่งเน้นให้นำเสนอศิลปะการแสดง การขับร้องและการดนตรี เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนและผู้คนในสังคมเห็นความสำคัญ ของวัฒนธรรมประจำกลุ่มชาติพันธุ์ พร้อมกับเรียนรู้เรื่องราว การดำรงอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การแสดงที่ถือเป็นงานชิ้นสำคัญของงานนี้ คือ การ สร้างงานดนตรี Tawau Ethnic Orchestra ( TEO ) โดย Mr.Cyril Alosius หัวหน้ากลุ่มงานดนตรีและการแสดง ประจำเทศบาล เมือง TAWAU ซึ่งเป็นผู้ที่เคยได้รับทุนในโครงการ Naresuan Cultural International Exchange Program เมื่อประมาณปี 2007 เพื่อศึกษาภาษา ดนตรี นาฏศิลป์ไทย ภายใต้การ ดำเนินงานของสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย คณะมนุษยศาสตร์ โดย Mr.Cyril ได้รับแนวคิดจากการที่ตนเองมองเห็นศักยภาพ ทางด้านดนตรีของเด็กในชุมชน และการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง ของคนในสังคม ผนวกกับต้องการส่งเสริมให้เด็กๆ ในเมือง Tawau หันมาเล่นดนตรีประจำกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองให้มาก ขึ้น จึงได้เกิดการสร้างวงดนตรี ภายใต้แนวความคิดประสาน สำเนียง เสียงหนึ่งเดียว มีผู้บรรเลงกว่า 100 ชีวิต ใช้เครื่อง ดนตรีประเภทต่างๆ เช่น Gong (ฆ้อง) Gulintang (กูลินตาง) Jews Harp (จ๊องหน่อง) ขลุ่ยและกลองประเภทต่างๆ โดยกลุ่ม เครื่องตียังคงรักษาเอกลักษณ์ การบรรเลงในรูปแบบ Interlocking Rhythmic Pattern โดยใช้หลักการผสานเสียงระหว่างกลุ่ม เครื่องดนตรี ภายใต้การสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ แต่กลับแสดง ให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียวและเอกลักษณ์ของผู้คนบนแผ่นดิน Tawau ได้เป็นอย่างดี ในปี 2014 นี้ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับเกียรติ ให้เป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการแสดงในงานดังกล่าว ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 โดยได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่ง จาก เทศบาลเมืองตาหว่าว (Tawau Municipal Council Sabah, Malaysia) และจากกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร โดย ในปีนี้ เน้นการนำเสนองานแสดงพื้นบ้านมังคละ และการแสดง สร้างสรรค์ชุดใหม่ ภายใต้แนวคิดเรื่องรากแห่งความเป็นไทย


คำถามมากมาย ภายใต้ความยืดหยุ่นในโครงสร้างของ ศิลปะการแสดงพื้นบ้านไทย ที่ส่งผลอันดีต่อการสร้างสรรค์ เพื่อสืบสาน แต่กลับกลายเป็นว่าในบางพื้นที่ การทำงานพื้นบ้าน ถูกยึดติดกับพื้นที่และบุคคล จนทำให้ไม่สามารถฉีกหนี หรือเป็น อิสระทางความคิดและเสรีภาพของศิลปะได้เลย นี่คือประเด็น หนึ่ง ที่กลุ่มคนหลากหลายชาติพันธ์ใน Tawau ก้าวข้ามผ่าน ความคิดนี้มาได้ การเข้าร่วมงานในครั้งนี้ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยการ สนับสนุนจาก Tawau Municipal Council Sabah, Malaysia และขอบพระคุณท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่กรุณา ให้ ก ารสนั บ สนุ น การเปิ ด โลกทั ศ น์ ส ำหรั บ คนทำงานด้ า น ศิลปวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร และสื่อให้เห็นซึ่งศักยภาพของนิสิตในต่างแดน ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2557

นุษยวิเทศคดี

(Spirit of Thailand ) โดยมีคณาจารย์และนิสิตระดับปริญญาตรี ชมรมมังคละ และชมรมดนตรีไทย จำนวน 16 คน พร้อมกันนี้ยังได้ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มประเทศอาเซียนมากยิ่งขึ้น งานดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากผู้คน ท้องถิ่น และสื่อมวลชนเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิด โลกทัศน์ และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ให้กับ คณาจารย์ และนิสิต พร้อมกับข้อคิดดีๆ ที่ว่า “ความแตกต่าง เรื่องชาติพันธุ์ มิใช่ข้อจำกัดในการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน” การมองศิลปวัฒนธรรมข้ามพรมแดน มิใช่เป็นเพียงการเปรียบ เทียบซึ่งความเจริญทางวัตถุ แต่หากเป็นการมองให้ลึกซึ้งลงไป ภายใต้แนวคิดแห่งการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและสืบสาน จากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างต่องเนื่อง สิ่งเหล่านี้ เมื่อหันกลับมามองงาน ด้านวัฒนธรรมในประเทศไทยแล้ว ล้วนทำให้เกิดประเด็น

7


โครงการประกวดนาฏศิลป์ไทย ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ครั้งที่ ๒๔

ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

นุษยวิเทศคดี

ภาควิ ช าศิ ล ปะการแสดง คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับเทศบาลนครพิษณุโลก จัด โครงการประกวดนาฏศิลป์ไทยระดับประถมศึกษา และมัธยม ศึกษา ครั้งที่24 (ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชิ น ี น าถ) เพื ่ อ เป็ น การเทิ ด พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาในวันที่ 12 สิงหาคม 2557 และยังเป็นการ ทำนุบำรุง เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทางด้านนี้ ซึ่งเป็น ภารกิจหลักประการหนึ่งของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร ณ โรงละครอาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ เข้าร่วมพิธีเปิด และกล่าวรายงาน

8

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2557

วัตถุประสงค์การจัดโครงการฯ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็น ประธานในพิธีเปิด ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ตวงฤดี ถาพรพาสี นาฏศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, อาจารย์นงลักษณ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา นาฏศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, อาจารย์อุษา แดงวิจิตร นาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, รองศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิเวชกุล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และอาจารย์อัจฉรา จันที วิทยาลัยนาฏศิลป์กรุงเทพ เป็นคณะกรรมตัดสินการประกวด โดยมีผลการประกวด ดังต่อไปนี้


ระดับประถมศึกษา รางวั ล ชนะเลิ ศ

โรงเรี ย นไทยรั ฐ วิ ท ยา 12 (บ้ า นเอก)จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ การแสดงชุ ด “ฟ้ อ นไหว้ ส าป๋ า ระมี องค์ ร าชิ น ี ถ ิ ่ น สยาม”

รางวั ล รองชนะเลิ ศ อั น ดั บ ที ่ 1

กลุ ่ ม เด็ ก และเยาวชน คณะมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฎ กำแพงเพชร จั ง หวั ด กำแพงเพชร การแสดงชุ ด รำถวายพระพร “สมเด็ จ พระราชิ น ี ศ รี ส ยาม”

รางวั ล รองชนะเลิ ศ อั น ดั บ ที ่ 2

โรงเรี ย นกวางตง จั ง หวั ด สุ โ ขทั ย การแสดงชุ ด รำถวายพระพร “เทิ ด ไท้ อ งค์ ร าชิ น ี ”

รางวั ล ชมเชย

โรงเรี ย นอนุ บ าลแม่ เ ปิ น (บ้ า นตลุ ก ตาสาม) จั ง หวั ด นครสวรรค์ การแสดงชุ ด “รำถวายพระพรนาถมาตาองค์ ม หาราชิ น ี "

รางวั ล ชนะเลิ ศ

โรงเรี ย นสาธิ ต มหาวิ ท ยาลั ย พะเยา จั ง หวั ด พะเยา การแสดงชุ ด “ฟ้ อ นนบปู จ าพระแม่ ฟ ้ า มิ ่ ง แก้ ว ”

รางวั ล รองชนะเลิ ศ อั น ดั บ ที ่ 1

โรงเรี ย นยุ พ ราชวิ ท ยาลั ย จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ การแสดงชุ ด “ยอขั น บายศรี ฟ้ อ นวี ฮ ่ ม เกล้ า ถวายพระแม่ เ จ้ า ของชาวไทย”

รางวั ล รองชนะเลิ ศ อั น ดั บ ที ่ 2

ศู น ย์ ศ ิ ล ปวั ฒ นธรรมเฮื อ นวั ช รพล โรงเรี ย นไทยรั ฐ วิ ท ยา 12 (บ้ า นเอก) จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ การแสดงชุ ด “ฉุ ย ฉายถวายพระพร สมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ร ิ ก ิ ต ิ ์ ฯ ”

รางวั ล ชมเชย

โรงเรี ย นพะเยาพิ ท ยาคม จั ง หวั ด พะเยา การแสดงชุ ด “แซ่ ซ ร้ อ งสดุ ด ี พระบรมราชิ น ี น าถ”

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2557

นุษยวิเทศคดี

ระดับมัธยมศึกษา

9


การเรียน คือการทำให้เข้าใจ การเรียนดนตรี...คือการทำให้เข้าใจดนตรี อ.จีรรัตน์ เอี่ยมเจริญ

นุษยวิเทศคดี

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

10

สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล ภาควิชาดนตรีวิทยา ได้จัดโครงการ “การสอนดนตรี ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ และบูรณาการ” เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ทางด้านดนตรี ให้แก่นิสิต ครูอาจารย์ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์จีรรัตน์ เอี่ยมเจริญ รักษาการหัวหน้าภาควิชาดนตรี วิทยา เป็นวิทยากรให้ความรู้ ณ ห้อง HU 6303 อาคารคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยวิทยากรได้กล่าว ถึงความสำคัญของการเรียน การสอนดนตรีไว้ว่า “พื้นฐานของการเรียน ดนตรีนั้นคือ การฟัง การร้อง การเล่นและร้อง การอ่าน การเขียน การสร้างสรรค์ การเรียน การสอนดนตรีผ่านกิจกรรมทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้รอบ หากในกิจกรรมมีเนื้อหาด้านดนตรี ที่มิใช่แค่ ตัวดนตรี เพราะการเกิดดนตรีนั้นมีที่มา ไม่ว่าจะด้วยเรื่องประวัติศาสตร์ ความเป็นพื้นถิ่นดั้งเดิม หรือ การมีวิวัฒนาการ การพัฒนาด้านต่างๆ ดนตรีล้วนผ่านการสร้างสรรค์จากมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการ อยู่ร่วมกัน ทักษะความสัมพันธ์ ความรู้สึกต่างๆ การเรียน ดนตรีนั้นยังเชื่อมโยงกับสิ่งที่หลากหลาย ในตัวมนุษย์ ซึ่งดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะทางเรื่องเสียง การรับรู้เหล่านั้นผู้เรียน ต้องเข้าใจศิลปะ อีกหลากหลายแขนงที่เชื่อมโยงกัน การพัฒนาความคิดจึงต้องมีการสร้างสรรค์ตั้งแต่การเรียนการสอน ผู้สอนจึงควรทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัว และเชื่อมโยงเพื่อประสบการณ์ของผู้เรียน และสิ่งที่ได้คือ การเรียนรู้ตัวตนของตนเอง ผู้อื่น สิ่งอื่น และทุกสิ่งอย่างบูรณาการ”

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2557


นุษยวิเทศคดี จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2557

11


วารสารมนุษมหาวิยศาสตร์ ทยาลัยนเรศวร เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ ของอาจารย์ และนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ ตลอดจน บุคคลทั่วไป สนใจติดต่อกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ โทร. 0-5596-2006

วิสัยทัศน์ :

2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

วร

สุ

นุษยวิเทศคดี

าย ด ห ม ข่ า ว

ร ณ ภิงคา

คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และ นาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่ อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และสอดคล้องกับ ความต้องการของสังคมและประเทศ

ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ 85/2521 พิษณุโลก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.