เฉลิมรัตน์ราชกุมารี พระมิ่งขวัญเจ้าฟ้าประชาราษฏร์ ปวงข้าบาทน้อมประนตบทศรี เจ้าฟ้าหญิงแห่งวงศ์พงศ์์จักรี ขัตติยนารีศรีชาติไทย พระจริยวัตรจรรยางามเรืองโรจน์ พระทรงโปรดกานท์กลอนอักษรสมัย วรรณกรรมล้ำค่าทรงวิจัย สนพระทัยงานเด่นเช่นกวี อีกพระราชกรณียกิจพระก่อเกื้อ ทรงช่วยเหลือปวงไทยให้สุขี ดำเนินตามรอยเท้าเจ้าชีวี เสด็จทั่วทุกท้องที่ชนปรีดา มิ่งมงคลศุภฤกษ์เวียนมาครบ กาลบรรจบทวยราษฏร์ซ้องสองเมษา ขอทวยเทพทุกชั้นสวรรยา อำนวยพรองค์เจ้าฟ้าฯทรงพระเจริญ
สุ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ชานนท์ ถาวร ศิษย์เก่าภาควิชาภาษาไทย
วรรณภิงคาร
ย ะ ม นุษ ศ า ส
ร
ศว
มห
าวิท
ต ร์
คณ
จดหมายข่ า วเพื ่ อ การประชาสั ม พั น ธ์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร
ยาลัยนเร
พระสาทิสลักษณ์ จาก แฟนเพจ "ชมรมคนรักในหลวง"
ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 เมษายน - พฤษภาคม 2558
ISSN : 1906-9014 (สงวนลิขสิทธิ์)
บทบรรณาธิการ
ที่ปรึกษา
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และกิจการพิเศษ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา
บรรณาธิการ
อ. ว่าที่ร้อยตรีโสภณ ลาวรรณ์
กองบรรณาธิการ
รศ. นท. ดร.วัฒนชัย หมั่นยิ่ง รศ. ดร.พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์ ผศ.จุไรรัตน์ โสภา ดร.อรทัย ชินอัครพงศ์ ดร.ซอทอง บรรจงสวัสดิ์ ดร.จิตติมา นาคีเภท ดร.จุฑามาศ บุญชู อ.ดวงพร ทองน้อย อ.ภูมินทร์ ภูมิรัตน์
ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ
เลขานุการ สุรีย์พร
นลินรัตนกุล
เฉลิมรัตน์ราชกุมารี เนื่องในวาระวันคล้ายวันพระราชสมภพ ในสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ปกจดหมายข่าวสุวรรณภิงคาร ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 นี้จึงเป็นบทกลอนถวายราชสดุดี ประพันธ์โดยนายชานนท์ ถาวร ศิษย์เก่า ภาควิชาภาษาไทย กองบรรณาธิการจึงขอถวายพระพรมา ณ โอกาสนี้ เนื้อหาในเล่นเรื่องเด่น จากหนังสือสู่หน้าเวที นิสิตภาควิชา ภาษาไทยได้นำผลการเรียนรายวิชาทักษะการอ่าน ซึ่งได้ฝึกปฏิบัติ การขับเสภา มาจัดแสดงละครเสภาเรื่องกากี โดยได้รับความร่วมมือจาก นิสิตปริญญาโทภาควิชาภาษาไทย นิสิตสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย รองศาสตราจารย์นาวาโท ดร.วัฒนชัย หมั่นยิ่ง, นายวรวิทย์ ทองเนื้ออ่อน และผู้เกี่ยวข้องร่วมกันจัดแสดงละครเสภา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลกที่รับชม ส่วนต่อไปจึงเป็นความรู้ เรื่องนาฏยศัพท์ที่ควรรู้ ต่อด้วยสาระความรู้เรื่องปี่พาทย์เสภา เปิดบ้าน มนุษยศาสตร์ บุคลากรกับงานวิจัยสายมนุษยศาสตร์ ได้รับความร่วมมือ จากรองศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรารัชต์ มหามนตรี ซึ่งอาจารย์ทั้งสองท่านได้รับรางวัลวิจัยดีเด่น ร่วมทั้ง ได้สร้างชื่อเสียงให้กับคณะมนุษยศาสตร์ ไปถึงข่าวกิจกรรมก็เช่นเคย มีกิจกรรมเด่นๆ ของคณะมานำเสนอให้ผู้อ่านได้รับข่าวสารเช่นเดิม กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านผู้อ่านทุกท่าน จะได้รับ ประโยชน์ และข่าวสารในเล่มจดหมายข่าวสุวรรณภิงคารฉบับนี้ และ ติดตามฉบับต่อๆ ไป
ชุมแสง
งานประชาสัมพันธ์ :
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th
วิสัยทัศน์ :
คณะมนุษยศาสตร์พร้อมอยู่ร่วมในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก ด้วยการสร้างความ สมบูรณ์และความหลากหลายขององค์ความรู้ทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตให้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และทักษะทางปัญญาด้านมนุษยศาสตร์ 2. สร้างองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์บนพื้นฐานของพหุวัฒนธรรมและสหวิชาการ 3. บริการวิชาการเพื่อพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ 5. แสวงหาพันธมิตรและเครือข่ายทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ในภูมภิ าคท้องถิน่ ภาคเหนือตอนล่าง ภายใน ประเทศ ภูมิภาคอาเซียน และนานาประเทศ ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ในด้านการวิจัยให้มีคุณภาพมาตรฐาน โดยเน้นการวิจัยทั้งในระดับท้องถิ่น ภาคเหนือตอนล่าง ระดับประเทศ ระดับอาเซียน และระดับนานาชาติ
อ. ว่าที่ร้อยตรีโสภณ ลาวรรณ์ บรรณาธิการ
2. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ในด้านการผลิตบัณฑิตที่ถึงพร้อมด้วยคุณภาพและศักยภาพตาม มาตรฐานสากล เพื่อพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และประชาคมโลก 3. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ให้มีระบบในการสนับสนุนเกื้อกูลและเป็นผู้นำในการบริการชุมชน ทั้งในและต่างประเทศ 4. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ให้มีระบบในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้ประชากรในพื้นที่ มีความสุขอย่างยั่งยืนในวิถีการดำรงชีพ และเพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างชาติ โดยเฉพาะชาติสมาชิกอาเซียน 5. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ให้มีระบบสานสัมพันธ์อันดีกับศิษย์เก่า เพื่อร่วมกันสร้างชื่อเสียง อำนวยประโยชน์แก่ชุมชนส่งเสริมแนะแนวทางวิชาการและอาชีพแก่นิสิตปัจจุบัน 6. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ให้มีระบบการบริหาร และการจัดการที่เอื้ออำนวยต่อสวัสดิการแก่ บุคลากรและนิสิตของคณะมนุษยศาสตร์ โดยยึดหลักปัญญาธรรม คารวธรรม และสามัคคีธรรม 7. พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์ให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานตามเกณฑ์การประกันคุณภาพ การศึกษา และได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ละครเสภาเรื่อง
เรื่องเด่น
จากหน้าหนังสือสู่หน้าเวที
“กากี”
แนะนำตัวผู้ให้สัมภาษณ์ “สวัสดีครับ พวกเราคณะนักแสดงละครเสภาเรื่อง กากี ตอนหั ก เหลี ่ ย มพญาครุฑ นิส ิตภาควิช าภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 65000 แห้ๆๆ เยอะไป... ชั้นปีที่ 3 ครับ นิสิตที่ร่วมแสดง มีดังต่อไปนี้ 1. น้องเหลือมศรี ชื่อนี้มีแต่ของอร่อย (นายศราวุธ สุดงูเหลือม) แสดงเป็น ท้าวพรหมทัต 2. น้องสู้ไหมจ๊ะ ณ ฝรั่งเศส (นายพชร ลำเจียก) แสดงเป็น มานพ 3. น้องวาเนสซ่า สุนัขสี่ขาพันธุ์กระเป๋า (นายกุลภัสสร์ ภักดีปัญญา) แสดงเป็น กากี 4. น้องอ้ำ (สุรพงษ์ กล่ำบุตร) นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม แสดงเป็น นาฏกุเวร 5. น้องจุ๋มมุ สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน (นางสาวศิราพร บุญเก) ขับร้อง 6. น้องหมิววิ่ง สิงโตออสเตรเลีย (นางสาวกาญจนา วงกรต) ขับร้อง 7. น้องจูนจิน แลบลิ้นตลอดวัน (นางสาวกรรณาภรณ์ เครื่องคำ) ขับร้อง และ 8. น้องนิออน เป็นลิงอเมซอนเท่านั้น (นางสาวเบญจวรรณ บุญประเสริญ) ขับร้องครับ”
ลาวรรณ์ (เว้นวัน) และอาจารย์ป้ามิ้ม รองศาสตราจารย์ นาวาโท ดร. วัฒนชัย หมั่นยิ่ง (ผู้กองป้อม) ท่านเปิดรายวิชา ขึ้นมาเพื่อให้นิสิตสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 ได้ฝึกทักษะ การอ่านตีความร้อยกรองอย่างเป็นจังหวะ มีท่วงทำนองในการ ขับเห่ ทั้งเสภาไทย ลาว และกาพย์เห่เรือ ซึ่งเรื่องในวรรณคดี ที่อาจารย์ป้ามิ้ม ท่านนำมาสอนเพื่อฝึกอ่านตีความในรายวิชา ภาคการศึกษานี้คือ วรรณคดีเรื่องกากี กลอนสุภาพ ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) พวกเราพูดได้ว่าอาจารย์ท่านสอน ได้อย่างถึงเนื้อหาสาระ ทำให้พวกเราเข้าใจในตัวละคร และ เหตุผลของเรื่องราวตลอดทั้งเรื่อง”
ความเป็นมาในการจัดแสดงละครเสภาครั้งนี้ “พวกเราได้เรียนรายวิชาศิลปะการอ่าน รหัสวิชา 208301 ซึ่งเป็นวิชาเอกเสรีนะครับ อาจารย์ว่าที่ร้อยตรี โสภณ
วรรณกรรมเรื่องนี้สะท้อนสังคมปัจจุบันอย่างไร “ทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า กากีกลอนสุภาพ ฉบับนี้ วัตถุประสงค์ของผู้เขียนก็เพื่อ ‘ให้ชายชาญรู้เชิงกษัตริย์’
ทำไมถึงเลือกแสดงเรื่อง “กากี” “เพราะว่ากลุ่มคนส่วนใหญ่ มักจะรู้จักกากีในด้านที่ ไม่ดี ดังปรากฏในคำดูหมิ่นสตรีที่มีมาตั้งแต่โบราณกาลว่า วันทอง โมรา กากี พวกเราในฐานะนักอ่าน จึงพยายามปรับ มุมมอง เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมตัวละครอย่างกากี ว่าทำไมกากี ถึงมีสามีสามคน (ฉบับนี้) คณะผู้เรียนและอาจารย์ผู้สอนทั้ง สองท่าน ได้ปรึกษาหารือและมีความคิดเห็นตรงกันว่าจะมีงาน กลุ่มรวมกัน โดยคิดโครงการแสดงละครนอก เพื่อให้นิสิต ในรายวิชาได้ใช้ความสามารถจากการฝึกฝนระหว่างที่เรียน อีกทั้งสามารถใช้ทักษะในการเป็นคณะทำงานหรือเป็นทีมงาน เพื่อจัดงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ครับ”
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน - พฤษภาคม 2558
3
เรื่องเด่น กล่าวคือ ให้ผู้อ่านได้เข้าใจเล่ห์มารยาของสตรี เรื่องนี้จึงสะท้อน สังคมไทยตามทัศนะของพวกเราว่า สังคมไทยไม่ว่าจะยุคสมัยใด ก็ยังคงมีเรื่องอคติระหว่างฝ่ายชายที่พึงมีต่อฝ่ายหญิง ความไม่ ทั ด เที ย มเรื ่ อ งเพศและคู ่ ค รองระหว่ า งฝ่ า ยชายและฝ่ า ยหญิ ง ทั้งที่จริงแล้ว เหตุและปัจจัยที่ผลักดันให้กากีเป็นจำเลยของเรื่อง ก็ถือเป็นเหตุผลที่สมควร ซึ่งบางสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ฝ่ายชาย ก็เป็นต้นเหตุของเรื่องราวนั้นด้วยครับ” ได้รับประสบการณ์อะไรในการจัดทำละครครั้งนี้ “ได้อย่างยิ่งยวดเลยครับ ต้องบอกก่อนนะครับว่า งานนี้พวกเราช่วยกันลงมือทำตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเสร็จงาน พวกเราจึ ง ได้ ร ั บ ประสบการณ์ เ พิ ่ ม เติ ม อย่ า งล้ น หลาม นั ่ น ก็ เ พราะว่ า นอกจากพวกเราจะศึ ก ษาในห้ อ งเรี ย นแล้ ว พวกเรายั ง ได้ ร ั บ ประสบการณ์ เ พิ ่ ม เติ ม จากการเรี ย นรู ้ น อก ห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกร่ายรำและฝึกการเป็นนักแสดง 4
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน - พฤษภาคม 2558
จากวิทยากรผู้สอน คือ ครูพี่เป้ (นายวรวิทย์ ทองเนื้ออ่อน) อีกทั้งยังได้ฝึกประสบการณ์การทำงานไม่ว่าจะเป็น การประสาน งานทั้งภายในและภายนอก เพื่อขอความร่วมมือในการจัด โครงการ แอบกระซิบให้รู้กันโดยทั่วเลยนะครับว่า เราได้รับ งบประมาณสนับสนุนจากคณาจารย์หลายท่าน และพี่ๆ จาก ห้างร้านเอกชน อีกทั้งหัวเรือใหญ่อย่างอาจารย์ป้ามิ้ม และ อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีพี่โสภณ ลาวรรณ์ ที่สนับสนุนตลอดการ เตรียมงาน ทั้งกำลังแรงกาย กำลังแรงใจ และทุนทรัพย์ พวกเรา ปลาบปลื้มใจกันมาก ท้ายที่สุดนี้พวกเราขอกราบขอบพระคุณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณาจารย์จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาราชภัฏพิบูลสงคราม พี่ๆ เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายในคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร รวมถึงท่านผู้ชมทุกท่าน ที่มาให้กำลังใจพวกเราตลอดการ เตรียมงานและการแสดง พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่าน จะได้รับความสุขจากผลงานของพวกเราในครั้งนี้นะครับ”
เรียนรู้ภาษา/นานาสาระ
นาฏยศัพท์ที่ควรรู้จัก ดร.จิตติมา นาคีเภท
นาฏยศัพท์ (นาด-ตะ-ยะ-สับ) คือ ศัพท์ทาง นาฏศิลป์ หรือ คำที่ใช้เรียกลักษณะของท่า ปฏิบัติมือและเท้า ทางนาฏศิลป์ไทย ชาวไทยทุกคนต่างก็เคยเล่าเรียนวิชานาฏศิลป์ไทย มาแล้วทั้งสิ้น ด้วยเหตุเพราะนาฏศิลป์ไทยนั้นเป็นเอกลักษณ์ ประจำชาติ ไ ทย และได้ ถ ูกปลูกฝังให้กับ ชาวไทยทุกชนชั ้ น ดังปรากฏอยู่ในการศึกษาแทบทุกระดับชั้น ดังนั้นแล้วชาวไทย ทุกคนจึงรู้จักการ “จีบ” และการ “ตั้งวง” จีบ คือ การที่ปลายนิ้วโป้งจรดติดกับข้อสุดท้ายของ
ปี่พาทย์เสภา
นิ้วชี้ แล้วกรีดนิ้วที่เหลืออีกสามนิ้ว ได้แก่ นิ้วกลาง นิ้วนาง และ นิ้วก้อยให้ตึง (คล้ายกับพัด) จุดสำคัญของการ “จีบ” คือ หักข้อมือให้ฝ่ามือเข้าหาลำแขน ตั้งวง คือ การเหยียดนิ้วทั้งสี่ ได้แก่ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยให้ตึง พร้อมทั้งดึงนิ้วโป้งไปด้านหน้า จุดสำคัญของการ “ตั้งวง” คือ นิ้วทั้งสี่ต้องเรียงชิดติดกัน และ หักข้อมือให้หลังมือเข้าหาลำแขน
ส.สังคีตศิลป์
เดิ ม เป็ น การเล่ า นิ ท านให้ พ ระมหากษั ต ริ ย ์ ก ่ อ นเข้ า บรรทม การเล่นเสภา ผู้ขับจะขยับกรับเสภาไปพร้อมกัน ซึ่งต้อง ใช้ความสามารถเฉพาะตัว โดยจะถือกรับเสภาไว้ในมือทัง้ สองข้าง ข้างละคู่ ขยับกรับให้สอดคล้องกับทำนองขับ ซึ่งถือเป็นศิลปะ ชั้นสูงของผู้ขับเสภา ต่อมาให้มีดนตรีเข้ามาบรรเลงประกอบ ในการขับเสภา แต่บรรเลงเฉพาะกิรยิ าอารมณ์ตา่ งๆ ของตัวละคร ในบท เช่น ไป มา โกรธ ดีใจ หรือเสียใจ เป็นต้น ส่วนใหญ่จะใช้ เพลงหน้าพาทย์และเพลงสองชั้น การเริ่มเรื่องละครเสภานั้น เริม่ ด้วยวงปีพ่ าทย์บรรเลงเพลง “รัวประลองเสภา” ผูข้ บั ขับเสภา
ในบทไหว้ครู แล้วขับเข้าเรื่อง บทเสภาบทใดไพเราะ ผู้ขับก็จะ ร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ แล้วขับเสภาเดินเรื่องต่อ กระทำสลับกัน จนจบเรื่อง เช่น การเล่นละครเสภา เรื่องกากี เป็นต้น สำหรับวงปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงในครั้งนี้ ได้เปลี่ยนแปลง เครื่องดนตรีบางชิ้นในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง คือ นำตะโพนและ กลองทัดออก นำเอากลองสองหน้ามาตีแทน รูปขนาดของวง ปี่พาทย์คงเหมือนเดิม วงปี่พาทย์เสภาเครื่องห้าประกอบด้วย เครื่องดนตรีดังนี้ ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ฉิ่ง และกลอง สองหน้า
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน - พฤษภาคม 2558
5
เปิดบ้านมนุษยศาสตร์
บุคลากรกับงานวิจัยสายมนุษยศาสตร์
6
รองศาสตราจารย์ ดร.สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์ ได้รับ รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยประเภท Oral Presentation ดีเด่น จากงานประชุมวิชาการพะเยาวิจัย ครั้งที่ 4 จึงขอสัมภาษณ์ อาจารย์เกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานวิจัยและวิธีการนำเสนอ งานวิจัยให้ได้รับรางวัล การศึกษาเรื่องระบบคำของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยในเขต ภาคเหนือตอนล่างเป็นงานวิจัยที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาสองปี ทั้งนี้เนื่องจากการศึกษาระบบคำของภาษาในกลุ่มชาติพันธุ์ไทย เป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนวิถีชีวิต วัฒนธรรม สังคม ของชาติพันธุ์ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง จึงเป็นมูลเหตุให้ขยายการศึกษา ระบบคำเรี ย กสั ม ผั ส เป็ น อี ก หั ว ข้ อ หนึ ่ ง นอกเหนื อ จากระบบ คำเรียกอื่นๆ ที่ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว อุ ป สรรคในการลงพื ้ น ที ่ ภ าคสนามมี เ พี ย งเล็ ก น้ อ ย เพราะส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับเจ้าของภาษาเนื่องจากทำงานใน พื้นที่มาหลายปีดังที่กล่าว ถ้าจะมีติดขัดอยู่บ้างก็น่าจะเป็นเรื่อง ของการดำเนินการด้านเอกสารการวิจัยและการฝึกอบรมผู้ช่วย เก็บข้อมูลที่ต้องใช้เวลาบ้าง แต่ก็ไม่ใช่อุปสรรคสำคัญแต่อย่างใด โดยปกติการนำเสนอผลงานวิจัยของแต่ละคนในเวที สัมมนา คิดว่าเป็นที่หนักใจสำหรับทุกคน เพราะเป็นเรื่องที่
ทุกคนศึกษาด้วยตนเอง อยู่แล้ว ดังนั้นในการตอบ คำถาม จึงไม่มีใครทราบ เรื่องนั้นๆ ดีเท่านักวิจัย คำถามที ่ ไ ม่ เ กี ่ ย วเนื ่ อ ง กับนักวิจัยโดยตรง เป็น คำถามที่ใกล้ชิดบ้าง หรือ ไม่ ใ กล้ ก ั น เลยต่ า งหาก ที ่ เ ราต้ อ งมี ค วามรู ้ และ ปฏิภาณในการตอบคำถาม รวมทั้ง การใช้ภาษาที่สื่อสารเข้าใจง่าย และ กระชับความ ตรงกับประเด็นที่ถามที่ผู้นำเสนอแต่ละคน มีแตกต่างกัน ในกรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน คำถามเกี่ยวกับประเด็น การศึ ก ษาระบบคำเรี ย กสั ม ผั ส ของกลุ ่ ม ชาติ พ ั น ธุ ์ ไ ทยใน รายละเอี ย ดแทบไม่ ม ี เ ลย จะเป็ น คำถามในความรู ้ อ ื ่ น ๆ ที่เกี่ยวข้องมากกว่า ซึ่งเป็นต้นทุนความรู้ของเราอันนี้น่าจะเป็น สิ่งที่คณะกรรมการมองเห็น ก็ต้องขอบคุณคำถามทุกคำถาม ที่ย้ำเตือนให้เรารู้ว่าความรู้นั้นต้องขวนขวายเพิ่มเติมในตนเสมอ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรารัชต์ มหามนตรี อาจารย์ประจำ ภาควิชาภาษาไทย ได้รับ “รางวั ล ดี ” ในการ ประกวดบทความวิ จ ั ย จากสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ แรงจูงใจในการ ทำวิจยั เรือ่ งนี้ แรงจู ง ใจในการทำวิ จ ั ย เรื่อง “อำนาจของภาษา คำสอนที่ ปรากฏในโคลงโลกนิ ต ิ ” เกิ ด จากภาควิ ช า ภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีโครงการประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง “ภาษากับอำนาจ” ระหว่างวันที่ 30-31 มกราคม 2557 ประกอบกับ ขณะนั้น อาจารย์กำลังทำวิจัยเรื่อง “โลกทัศน์ของคนไทยจากภาษิต” ซึ่งต้องเก็บข้อมูลจากวรรณกรรมคำสอน เรื่อง “โคลงโลกนิติ” ด้วย ทำให้สังเกตเห็นลักษณะภาษา ในวรรณกรรมคำสอน ที่แสดงให้เห็นอำนาจของภาษาสอดคล้อง กับประเด็นในการ ประชุมวิชาการ จึงเป็นแรงจูงใจให้ทำงานวิจัยเรื่องนี้เพื่อไป นำเสนอค่ะ
อุปสรรคและการแก้ปัญหาในการทำวิจัย ปัญหาที่พบในการวิจัยอยู่ในขั้นตอนการอภิปรายผล ที่ต้องอธิบายว่า เหตุใดภาษาคำสอนรูปแบบต่างๆ ในโคลง โลกนิติ จึงมีอำนาจโน้มน้าวใจให้คนไทยเชื่อฟังคำสอน แม้จะมี คำตอบเบื้องต้นในใจว่าเป็นเพราะสอดคล้องกับธรรมชาติและ ความต้องการของมนุษย์ แต่งานวิจัยจำเป็นต้องอ้างอิงทฤษฎี เพื่อความน่าเชื่อถือ จึงแก้ปัญหาด้วยการไปศึกษาทฤษฎี จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) หลายๆ ทฤษฎีที่อธิบายเกี่ยวกับ ธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์ แล้วพยายามเชื่อมโยง ให้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ที่ได้ค่ะ จุดเด่นในงานวิจัยที่ทำให้ได้รับรางวัล งานวิจัยนี้ได้รับ “รางวัลดี” สาขาภาษาและการสื่อสาร จากการประกวดบทความวิจยั ระดับชาติ ด้านพัฒนบริหารศาสตร์ ประจำปี 2558 ของสำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จุดเด่นที่คิดว่าทำให้ได้รับรางวัล คือ การนำ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) และทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology) มาศึกษาโคลงโลกนิติในเชิงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษาคำสอนกับอำนาจในการควบคุมสังคมซึ่งเป็นการมองใน อีกแง่มุมหนึ่ง แตกต่างจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโคลงโลกนิติ ที่ผ่านมาซึ่งศึกษาในประเด็นที่มา เนื้อหา แนวคิด และกลวิธี นำเสนอค่ะ
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน - พฤษภาคม 2558
ข่าวกิจกรรม
วันที่ 28-29 เมษายน 2558 งานวิจัยและบริการ วิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดการประชุม เชิงปฏิบัติการ “การเขียนผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร ที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ” (Publishing Papers in Accredited International Journals: The Workshop) วิทยากร โดย Dr.Rachel Harrison Associate Dean (Research) Faculty of Languages and Cultures, SOAS, University of London ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.รสริน ว่องวิไลรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และ รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะ มนุษยศาสตร์ ให้เกียรติมอบวุฒิบัตรแก่ผู้เข้ารับการอบรม ณ ห้องประชุม 209 อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร
วันที่ 7 พฤษภาคม 2558 รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ให้เกียรติ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสืบทอด พัฒนา สร้างสรรค์ ศิราพัสตราภรณ์ (การประดิษฐ์เครือ่ งแต่งกายโขน ละคร) จัดโดย งานวิจัยและบริการวิชาการ ร่วมกับภาควิชาศิลปะการแสดง โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์คมสันฐ หัวเมืองลาด ผู้เชี่ยวชาญ นาฏศิลป์ไทย (โขนพระ) นาฏศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร เป็นวิทยากรให้ความรู้ และในวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ได้ให้เกียรติกล่าวปิดโครงการ พร้อมทั้งมอบวุฒิบัตรแก่ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 12 คน ณ ลานเอนกประสงค์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
วันที่ 15 พฤษภาคม 2558 รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ให้เกียรติ เป็ น ประธานในพิ ธ ี เ ปิ ด โครงการให้ ค วามรู ้ เ กี ่ ย วกั บ ความ ปลอดภัยภายในอาคารแก่บุคลากรคณะมนุษยศาสตร์ จัดโดย หน่วยอาคารสถานที่ คณะมนุษยศาสตร์ เพื่อให้ความรู้ในการ ใช้งานอาคารด้วยความปลอดภัยจากอัคคีภัย ตลอดจนแนว ปฏิบัติการอพยพหนีไฟ และสามารถเผชิญในสถานการณ์ ฉุกเฉินได้ โดยได้รับเกียรติจาก คุณนรเศรษฐ์ จิตกำเนิด สิบเอกชัชพงษ์ เครือบุษผา และสิบเอกวีรยุทธ ยิ้มสบาย เป็นวิทยากรให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการ “การวางแผนป้องกัน อั ค คี ภ ั ย และการอพยพหนี ไ ฟ” ณ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : เมษายน - พฤษภาคม 2558
7
ประกาศรับสมัครเข้าศึกษาต่อ ระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2558 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีสาขาวิชาที่เปิดรับ ดังนี้
ระดับปริญญาโท - สาขาวิชาภาษาไทย - สาขาวิชาภาษาศาสตร์
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ - สาขาวิชาคติชนวิทยา
ระดับปริญญาเอก - สาขาวิชาภาษาไทย - สาขาวิชาคติชนวิทยา
- สาขาวิชาภาษาศาสตร์
ย ะ ม นุษ ศ า ส
ร ศว
มห
าวิท
ต ร์
คณ
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานบริการการศึกษา หมายเลขโทรศัพท์ 0-5596-2055
ยาลัยนเร
สุวรรณภิงคาร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชำระค่ า ฝากส่ ง เป็ น รายเดื อ น ใบอนุ ญ าตเลขที ่ 85/2521 พิ ษ ณุ โ ลก
ท่ า นที ่ ส นใจจดหมายข่ า วนี ้ กรุ ณ าส่ ง ชื ่ อ ที ่ อ ยู ่ ข องท่ า นมายั ง งานประชาสั ม พั น ธ์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร อ.เมื อ ง จ.พิ ษ ณุ โ ลก 65000 โทรศั พ ท์ 0-5596-2035 โทรสาร 0-5596-2000 ไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยใดๆ ทั ้ ง สิ ้ น
สุวรรณภิงคาร
หรื อ “กลศ” หมายถึ ง หม้ อ ดิ น สำหรั บ ใส่ น ้ ำ ดิ น และน้ ำ เป็ น แม่ บ ทของสิ ่ ง ทั ้ ง ปวง อั น เปรี ย บได้ ก ั บ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ ที ่ เ ป็ น รากฐานแห่ ง ศาสตร์ ท ั ้ ง ปวง