มนุษยวิเทศคดี3

Page 1

นุษยวิเทศคดี Humanities for Cross Border Review วร

ร ณ ภิงคา

ห ม า ย ข่ า ว

สุ

จด

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 มิถุนายน-กรกฎาคม 2556

Officier dans l'ordre des Palmes Académiques รายงานสรุปการประชุมสัมมนาระดับนานาชาติมนุษยวิเทศคดี ครั้งที่ 2 :

การเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสในบริบทอาเซียน

สัญญะที่ขัดแยง ในภาพวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย การศึกษาภาษาและศิลปวัฒนธรรม

ณ ประเทศฝรั่งเศส


ที่ปรึกษา

คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิช ผศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ ผศ.นัทธนัย ประสานนาม

บรรณาธิการ ดร.อาทิตย์

พงษ์พานิช

กองบรรณาธิการ ผศ.ดร.พงศกร ดร.ชมนาด ดร.เกษวดี อ.ภากร อ.สถิตย์ อ.สายหยุด อ.วิจิตร

ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ

เลขานุการ สุรีย์พร

เมธีธรรม อินทจามรรักษ์ กุหลาบแก้ว สิริทิพา ลีลาถาวรชัย บัวทุม คริเสถียร

นลินรัตนกุล ชุมแสง

งานประชาสัมพันธ์ :

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th

ปกหน้า :

ภาพถ่ายโดย ผศ.ดร.พงศกร เมธีธรรม

บทบรรณาธิการ Salut และ Bienvenue ผู้อ่านทุกท่านสู่ มนุษยวิเทศคดี สารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เล่มที่ 3 เราขอมอบพื้นที่ทั้งหมดในฉบับนี้ ให้แก่ ภาษาที่มีความผูกพันกับคณะมนุษยศาสตร์อย่างแนบแน่นภาษาหนึ่ง ภาษานี้ ยังเป็นภาษาประจำชาติของประเทศที่มีความผูกพันกับประเทศไทยในหลาก หลายมติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และภาษานั้นก็คือ ภาษาฝรั่งเศส เล่มนี้ เริ่มต้นด้วยความภาคภูมิใจและปราบปลื้มใจของคณะมนุษยศาสตร์ เมื่อ ผศ.ดร.เพ็ญพรรณ ทิพย์คง ได้รับได้รับมอบเหรียญอิสริยาภรณ์ ปาล์มอะคาเดมิก ชั้นออฟฟิซิเยร์ (Officier dans l'ordre des Palmes Académiques) และประกาศนียบัตรปาล์มอะคาเดมิก จาก สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดย ฯพณฯท่าน ตีแยรี วีโต (Mr.Thierry Viteau) เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศ เราลองมาติดตามบทสัมภาษณ์ของคุณครูภาษาฝรั่งเศสท่านนี้ ว่าท่านมีเคล็ดลับในการทำงานอย่างไรจึงประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับ ในระดับนานาชาติ บทความต่อมา ขอต่อเนื่องด้วยอีกหนึ่งความภาคภูมิใจ เมื่อภาควิชา ภาษาตะวันตกและคณะมนุษยศาสตร์ ประสานพลังประสานใจจัดการประชุม สัมมนาระดับนานาชาติมนุษยวิเทศคดี ครั้งที่ 2 : การเรียนการสอนภาษา ฝรั่งเศสในบริบทอาเซียน โดยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและมีผู้เข้าร่วมจาก นานาประเทศ บทความนี้ อ.นิภารัตน์ อิ่มศิลป์ กรุณาสรุปสาระสำคัญจากการ ประชุมดังกล่าวไว้อย่างครบถ้วน น่าสนใจ บทความที่สาม ขอเพิ่มความจัดจานและสีสันทางวิชาการขึ้นอีกนิด ดร. ซอทอง บรรจงสวัสดิ์ ชวน “มอง” ภาพของวัฒนธรรมไทยร่วมสมัยที่ปรากฏใน นิตยสารท่องเที่ยวภาษาฝรั่งเศส ผ่านสัญญะ (ที่ขัดแย้ง) เราลองช่วยมาหา คำตอบจากบทความนี้ด้วยกันว่า ศาสนาพุทธ พระสงฆ์ จีวร ช้างไทย พังค์ เซเว่นอีเลเว่น โค๊ก และทุนนิยม เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไรในบทความนี้ ส่งท้ายด้วยบทความจากนิสิตสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส คณะมนุษยศาสตร์ คนเก่งที่ได้รับทุนจาก สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเรียนการสอน ภาษาฝรั่งเศส (Bureau de Coopération pour le Français - BCF) สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยเพื่อเดินทางไปศึกษาเรียนรู้ ภาษาและศิลปวัฒนธรรม ณ เมืองแบรสต์ (Brest) ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ณัฐพงษ์ ไสยรัตน์ จะมาเล่าให้เราฟังว่า นิสิตคนเก่งคนนี้ได้รับประสบการณ์ดีๆ อะไรจากการเดินทางครั้งนี้บ้าง บรรณาธิการขอกราบขอบพระคุณผู้เขียน และกองบรรณาธิการ ทุกท่าน ที่สละเวลารังสรรค์ผลงานดีๆ ให้มนุษยวิเทศคดี และขอกราบ ขอบพระคุณผู้อ่านทุกท่านที่กรุณาให้การติดตามผลงานของเราจนมาถึงเล่ม ปัจจุบัน บรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มนุษยวิเทศคดี สารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เล่มที่ 3 จะยังประโยชน์และสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ ผู้อ่านทุกท่านเหมือนเช่นที่ผ่านมา

ดร.อาทิตย์ พงษ์พานิช บรรณาธิการ


Officier dans l'ordre des Palmes Académiques ผศ.ดร.เพ็ญพรรณ ทิพย์คง

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ตั้งแต่ดิฉันได้รับราชการที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จนถึง ณ ปัจจุบัน เป็นอาจารย์สอนภาษาฝรั่งเศส ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ยึดถือคติพจน์ ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้เป็นแนวทางในการทำงาน และเป็น กำลังใจไม่ว่าจะจับงานใดย่อมทำได้สำเร็จลุล่วงด้วยดีเสมอ ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตก แก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์

รางวัลคือผลจากการทำงาน อยากทราบถึงผลงานที่อาจารย์ ได้ ท ำ จนได้ ร ั บ เหรี ย ญอิ ส ริ ย าภรณ์ ป าล์ มอะคาเดมิก ส์ ในครั้งนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน ดำเนินงานบริหาร โครงการห้องเรียนสองภาษา (ไทย-ฝรั่งเศส) ระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นที่รู้จักในองค์กรต่างประเทศ และเปิดสอนแห่งเดียว ในประเทศไทย ที่จังหวัดพิษณุโลกเท่านั้น โครงการนี้เป็นความ ร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวร กับสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา เขต 1 จังหวัดพิษณุโลก ผู้อำนวยการโรงเรียน เฉลิมขวัญสตรี โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา และโรงเรียน จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก วัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน ในหลักสูตรห้องเรียนสองภาษา (ภาษาไทย-ฝรั่งเศส) ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.3) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) สายคณิ ต ศาสตร์ - วิ ท ยาศาสตร์ มี ค วามรู ้ ความสามารถในการสื ่ อ สารภาษาฝรั ่ ง เศสได้ เพื ่ อ สร้ า ง นักวิทยาศาสตร์ไทยรุ่นใหม่ ที่มีความรู้ภาษาฝรั่งเศส และเพื่อ ส่งเสริมนักเรียนที่มีผลการเรียนดี ให้มีโอกาสไปศึกษาต่อ ในระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย ในกลุ ่ ม ประเทศที ่ ใ ช้ ภ าษาฝรั ่ ง เศสได้ นั ก เรี ย นในโครงการฯต้ อ งเรี ย นวิ ช าภาษาฝรั ่ ง เศส วิ ช า คณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และวิชาชีววิทยา เป็นภาษาฝรั่งเศส ปัจจุบันนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการกำลัง ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โครงการนี ้ ไ ด้ ร ั บ การสนั บ สนุ น อย่ า งต่ อ เนื ่ อ งจาก สถานทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย และหน่วยงาน องค์กรระหว่างประเทศที่เป็นกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส Organisation Internationale de la Francophonie (OIF)

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2556

นุษยวิเทศคดี

เหตุผลที่อาจารย์ได้รับเลือกให้เข้ารับเครื่องราชฯ ครั้งนี้ ก่อนอื่น ดิฉันขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหรียญอิสริยาภรณ์ ปาล์มอะคาเดมิกส์ ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ว่ามีกี่แบบ และ ใครบ้างที่จะเป็นผู้ได้เข้ารับเหรียญอิสริยาภรณ์ปาล์มอะคาเดมิก ได้บ้าง เหรียญอิสริยาภรณ์ปาล์มอะคาเดมิกของสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส มี 3 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่1 ระดับต้น Chevalier ขั้นที่2 ระดับกลาง Officier และ ขั้นที่3 ระดับสูงสุด Cammandeur ซึ่งจะให้แก่บุคคลที่ประกอบอาชีพนักการศึกษา ครู ศิลปิน นักเขียน นักร้อง นักแสดง ช่างแกะสลัก นักวาดภาพ ซึ ่ ง ทำคุ ณ ประโยชน์ อ ย่ า งแพร่ ห ลายทางด้ า นการศึ ก ษาและ ศิลปวัฒนธรรมฝรั่งเศสในโลก บุคคลที่ได้รับอิสริยาภรณ์ ปาล์มอะคาเดมิกส์ เป็นชาวต่างชาติหรือชาวฝรั่งเศสก็ได้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการฝรั่งเศสจะเป็นผู้เสนอ ชื่อผู้ที่ได้รับอิสริยาภรณ์ต่อนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสลงนามแต่งตั้ง ต่อไป

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2556 ผศ.ดร.เพ็ญพรรณ ทิพย์คง ได้รับมอบเหรียญอิสริยาภรณ์ ปาล์มอะคาเดมิก ชั้นออฟฟิซิเยร์ (Officier dans l'ordre des Palmes Académiques) และประกาศนียบัตรปาล์มอะคาเดมิก จาก สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดย ฯพณฯท่าน ตีแยรี วีโต (Mr. Thierry Viteau) เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ณ ทำเนียบ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย กองบรรณาธิการ จึงขอสัมภาษณ์ถึงความรู้สึกและผลงานต่างๆ ต่อการพัฒนา การเรียนการสอนและการใช้ภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทย

3


นุษยวิเทศคดี

และศูนย์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส Centre Régional Francophone d'Asie-Pacifique (CREFAP) ประจำ ประเทศเวียดนาม โดยให้ทุนพัฒนาบุคคลากรด้านการสอน วิชาภาษาฝรั่งเศส วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ แก่ทั้ง 3 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการห้องเรียนสองภาษา (ภาษาไทยฝรั่งเศส) เพื่อเข้าร่วมอบรมด้านการสอน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาฝรั่งเศส จำนวน 9 ทุน ระยะเวลา 1 เดือน ในสถาบันต่างๆดังนี้ สถาบันอบรมการพัฒนาครู ณ เมือง Montpellier ในปี พ.ศ. 2553 สถาบันอบรมการสอนภาษา ณ เมือง Grenoble ในปี พ.ศ. 2554 และ สถาบันภาษา ณ เมือง Besançon ในปี พ.ศ. 2556 อีกทั้งสนับสนุนทุนนิสิตฝึกงาน ชาวฝรั่งเศสให้มาปฏิบัติหน้าที่อบรมครูผู้สอนภาษาฝรั่งเศส คณิ ตศาสตร์ และวิ ทยาศาสตร์ สนับ สนุน ผู้เ ชี่ย วชาญ ภาษาฝรั่งเศสเป็นวิทยากรของโครงการห้องเรียนสองภาษาเพื่อ อบรมบุคคลากรในโครงการฯ นอกจากนั้น นักเรียนใน โครงการฯ ปีการศึกษา 255-2556 ยังได้รับการสนับสนุน ทุนด้านภาษาและวัฒนธรรมจำนวน 2 ทุน ระยะเวลา 1 เดือน และทุนนักเรียนคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ทุน ระยะ เวลา 15 วัน จากสาธารณรัฐฝรั่งเศส อีกด้วย ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2547–2552 ดิฉันได้ดำรง ตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส และหัวหน้าภาควิชา ภาษาตะวันตก ในขณะที่ดำรงตำแหน่งได้บริหารงานโครงการ การเรี ย นการสอนภาษาฝรั ่ ง เศสระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย มหาวิทยาลัยนเรศวร (Projet Filière Universitaire Transversale Francophone) ซึ ่ ง เป็น ความร่ว มมือด้านวิช าการระหว่ า ง สำนักงานมหาวิทยาลัยแห่งประชาคมโลกผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส (AUF) กับมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้าน วิ ช าการในการเรี ย นการสอนภาษาฝรั ่ ง เศส ให้ แ ก่ น ิ ส ิ ต มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวรคณะต่ า งๆ ตั ้ ง แต่ น ิ ส ิ ต ชั ้ น ปี ท ี ่ 1-4 (หลักสูตร 4 ปี ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2549–ปัจจุบัน เป็นวิทยากรอบรมครู ภาษาฝรั ่ ง เศสให้ แ ก่ ส ำนั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาขั ้ น พื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

4

ความภาคภู ม ิ ใ จที ่ ม หาวิ ท ยาลั ย นเรศวรได้ เ ป็ น ที ่ ร ู ้ จ ั ก แก่ สถาบันการศึกษาในประเทศ และองค์กรต่างประเทศ ในช่ ว งระยะเวลาที ่ เ ป็ น อาจารย์ ส อนภาษาฝรั ่ ง เศส พ.ศ.2545 ได้ ด ำเนิ น การกรอกแบบฟอร์ ม ของสำนั ก งาน มหาวิทยาลัยแห่งประชาคมโลกผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส (AUF) เพื่อ สมัครให้มหาวิทยาลัยเข้าเป็นสมาชิก ตั้งแต่ พ.ศ.2546 และ แปลรายวิชาในหลักสูตรวิชาเอกเป็นภาษาฝรั่งเศส และได้จัด กิจกรรมต้อนรับ คุณ Daniel Weissberg ผู้อำนวยการ

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2556

ของสำนักงานมหาวิทยาลัยแห่งประชาคมโลกผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส ซึ ่ ง มาเยี ่ ย มเยี ย น และตรวจสอบข้ อ มู ล การเรี ย นการสอน คณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2547 ส่งผลให้มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับการตอบรับเป็น สมาชิกวิสามัญของสำนักงานมหาวิทยาลัยแห่งประชาคมโลก ผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส (AUF) ตั้งแต่นั้นมาถึงปัจจุบัน และเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2549 ได้เป็นตัวแทน มหาวิทยาลัยฯ นำเสนอผลงานของมหาวิทยาลัยฯ ในการประชุม อธิการบดี CONFRASIE ณ เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม เพื ่ อ ให้ ค ณะกรรมการการประชุ ม และผู ้ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม มี ม ติ เห็ น ชอบรั บ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวรเป็ น สมาชิ ก สถาบั น ระดั บ มหาวิทยาลัยของ CONFRASIE ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบรับ มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นสมาชิก CONFRASIE เพื่อเป็นการ แลกเปลี่ยนความร่วมมือทางด้านวิชาการระดับมหาวิทยาลัย ในทวีปเอเชีย เป็นผู้ดำเนินการจัดประชุมวิชาการ Consortium ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 25-30 มิถุนายน 2549 กับ สถาบันการศึกษาที่เป็นสมาชิกของสำนักงานระดับมหาวิทยาลัย ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส เป็นผู้รับผิดชอบศูนย์ฝึกอบรมและการสอน สองภาษา คณะมนุษยศาสตร์ และตั้งแต่ 2549-2552 ได้รับเชิญจากสำนักงานมหาวิทยาลัยแห่งประชาคมโลกผู้ใช้ ภาษาฝรั่งเศส (AUF) เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิการพิจารณา ทุนระดับปริญญาเอก พ.ศ. 2543–2554 ดำเนินงานบริการวิชาการสู่สังคม ได้แก่ โครงการค่ายภาษาฝรั่งเศส ให้แก่นักเรียนในสถาบัน การศึกษาต่างๆ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้ทำกิจกรรม ร่วมกันเพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านทักษะการพูดภาษาฝรั่งเศส โดยการจั ด แข่ ง ขั น วิ ช าการภาษาฝรั ่ ง เศสด้ า นภาษาและ วัฒนธรรมฝรั่งเศส เพื่อฝึกฝนนิสิตสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ให้ เ ป็ นผู ้ นำในการทำกิ จกรรมฐานต่ า งๆ ส่ งเสริมความ รับผิดชอบและความสามัคคีในการทำกิจกรรมร่วมกัน พ.ศ.2543-2544 นอกจากการทำหลักสูตรการสอน แล้ว ดิฉันได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าโครงการการผลิตชุดวิชา บทเรียนเว็บไซด์ (E-learning) วิชาภาษาฝรั่งเศส 1 (Le Français I) ร่วมกับคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ จำนวน 5 สถาบัน พ.ศ. 2545-2546 หัวหน้าโครงการการผลิตชุดวิชา ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยว (Le Français du Tourisme) ร่วมกับคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ จำนวน 6 สถาบัน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานบริหารเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย ด้านผลงานวิจัย ดิฉันได้ร่วมงานวิจัย และได้รับทุน สนับสนุนการวิจัย จากหลายหน่วยงาน อาทิ


ภาษาฝรั่งเศส Conseil d’Orientation et d’Accompagnement du Centre régional francophone d’Asie-Pacifique (CREFAP/OIF) จากการที ่ ด ิ ฉ ั น ได้ ร ั บ การเชิ ด ชู เ กี ย รติ แ ละประกาศ ผลงาน ในการได้รับเหรียญอิสริยาภรณ์ปาล์มอะคาเดมิกส์ ขั้น Officier และประกาศนียบัตรอิสริยาภรณ์ปาล์มอะคาเดมิกส์ ขั้น Officier จากสาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2556 นั้น ดิฉันขอขอบคุณทุกคนที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนดิฉัน ในการทำงานทุกด้าน การให้คำแนะนำ และการให้กำลังใจ เพื่อให้งานต่างๆ สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ขอขอบคุณเพื่อน ร่วมงาน ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้อำนวยการโรงเรียน และ คณาจารย์ภาษาฝรั่งเศส วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ รองศาสตราจารย์ พูนพงศ์ งามเกษม และ คุณ Anne Emmanuelle GROSSI ผู้ช่วยที่ปรึกษาฝ่ายความร่วมมือด้านภาษาฝรั่งเศส สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2556

นุษยวิเทศคดี

พ.ศ.2553-2554 ได้รับ งบประมาณสนับสนุ น การวิจัย จากสำนักงานมหาวิทยาลัยแห่งประชาคมโลกผู้ใช้ ภาษาฝรั่งเศส (AUF) เรื่อง “วัฒนธรรมการสอน/วัฒนธรรม การเรียน” พ.ศ.2556-2558 ได้ ร ั บ งบประมาณสนั บ สนุ น การวิจัย จากศูนย์ภูมิภาคภาษาฝรั่งเศสแห่งเอเชีย-แปซิฟิก (CERFAP) เรื่อง “พัฒนานักเรียนห้องเรียนสองภาษาของไทย และเวียดนาม ภาษาฝรั่งเศสที่เข้มข้นระดับมัธยมศึกษาโดย เน้นความสามารถทางพหุภาษา พหุวัฒนธรรม วิธีการเรียน การสอนทางภาษาในมิติทางสังคม” พ.ศ.2545–ปัจจุบัน รับผิดชอบการทำโครงการต่างๆ เพื่อขอความช่วยเหลือสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลฝรั่งเศส และหน่วยงานต่างประเทศ CREFAP/OIF ในโครงการห้องเรียน สองภาษา (ไทย-ฝรั่งเศส) พ.ศ.2553–ปัจจุบัน ได้รับเชิญจากศูนย์ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส ให้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการ พิจารณาการดำเนินงานของศูนย์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ใช้

5


รายงานสรุปการประชุมสัมมนาระดับนานาชาติมนุษยวิเทศคดี ครั้งที่ 2 :

การเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสในบริบทอาเซียน อ.นิภารัตน์ อิ่มศิลป์

นุษยวิเทศคดี

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

6

การประชุ ม สั ม มนาในครั ้ ง นี ้ จ ั ด ขึ ้ น ณ อาคาร เอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีคณาจารย์ผู้สอนภาษา ฝรั่งเศสทั้งระดับมหาวิทยาลัยและมัธยมศึกษาร่วมโครงการ ทั้งสิ้นจำนวน 84 คนจากประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา ภาคเช้าเป็นการปาฐกถาขององค์ปาฐก 3 ท่านคือ ดร.เสาวนิตย์ ชัยมุสิก อดีตศึกษานิเทศก์ภาษาฝรั่งเศส สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง ศึกษาธิการ รศ.ดร.ธิดา บุญธรรม อุปนายกสมาคมครู ภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย และคุณ TRAN Thi Mai Yen ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในเอเชีย แปซิฟิก และการนำเสนอบทความวิจัยจากคณาจารย์ จาก สถาบันการศึกษาต่างๆ คือ อาจารย์ Frédéric Carral จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาจารย์ Jean-Philippe Jeannerot จากมหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งองค์ปาฐกและผู้นำเสนอผลงานเน้นถึง “สถานการณ์ ท ี ่ ต กต่ ำ ”ของการเรี ย นการสอนภาษาฝรั ่ ง เศส ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัย อาทิเช่น การพัฒนาการเรียน การสอนภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การปฏิรูปการศึกษา ที ่ ใ ห้ อ ิ ส ระแก่ โ รงเรี ย นในการเปิ ด สอนภาษาต่ า งประเทศ นอกจากนี้ยังได้มีการนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังนี้

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2556

- ด้านการสอน ควรมีการสร้างแบบเรียนภาษา ฝรั่งเศส โดยใช้พื้นความรู้ที่มีมาแล้วจากภาษาอังกฤษ และการ พัฒนาการสอนแบบใช้โครงการ - ด้านนโยบาย ควรมีการประสานงานระหว่างสถาบัน หรือการดำเนินด้านต่างๆ ร่วมกัน เช่น การพัฒนาการสอน ภาษาฝรั่งเศสให้เป็นวิชาโท หรือการยกเลิกการสอบแข่งขัน เข้ามหาวิทยาลัย เป็นต้น การดำเนินงานในภาคบ่าย กิจกรรมในช่วงบ่ายเป็นการสัมมนาโต๊ะกลมแบ่งเป็น 2 ห้อง ห้อง 209 ผู้ดำเนินรายการคือ อาจารย์ Laurence Foratier มีผู้นำเสนอผลงานจำนวน 4 ท่านดังนี้คือ 1. อาจารย์ Duong Thi Quynh Nga การเรียนรู้ เพื่อการสื่อสารในชั้นเรียนภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาต่างประเทศ กรณีของชั้นเรียนภาษาฝรั่งเศสที่สอง ที่สถาบัน Polytechnique de Hanoï 2. อาจารย์ Laure Yanamthong การกระตุ้นผู้เรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ วิธีการสอน การพูด สำหรับนิสิตไทย 3. อาจารย์ Nguyen Huu Hai การใช้เกม ในการสอน พูดในชั้นเรียนที่มีจำนวนนักเรียนมากในระดับมัธยมศึกษา


ของการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสในประเทศของตนเองและ การเตรียมตัวด้านการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสเมื่อเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ผู้นำเสนอผลงานวิจัย ยังได้มี การเสนอแนวทางต่างๆ เพื่อช่วยให้ภาษาฝรั่งเศสยังคงเป็น ภาษา ที่มีผู้เรียนอยู่และยังคงความสามารถในการแข่งขันกับ ภาษาอื่นได้ ดังนี้ - การกำหนดนโยบายทางภาษาที่ชัดเจน การใช้วิธี การสอนภาษาฝรั่งเศสที่เหมาะสมกับบริบทและตอบสนองความ ต้องการของผู้เรียนทั้งระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา - การสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาทั้ง ในและต่างประเทศ ทั้งระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อ พัฒนาการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสให้มีประสิทธิภาพใน ระยะยาวต่อไป - การใช้แนวทางการสอนพหุภาษาเข้ามาช่วยในการ เรียนการสอนภาษาระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา รวมถึง การใช้ ส ร้ า งความหลากหลายของโปรแกรมการสอนภาษา ฝรั่งเศสและการใช้สื่อเทคโนโลยี (TIC) มาช่วยในการสอน - การใช้กลวิธีการสอนที่ปรับให้เหมาะสม ตามกลุ่ม ผู้เรียน (la méthodologie différenciée) เพื่อปรับพื้นฐาน การเรียน กลุ่มผู้เรียนที่มีพื้นฐานความรู้และกลุ่มที่ไม่มีพื้น ความรู้ภาษาฝรั่งเศสให้เท่ากัน - การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาฝรั่งเศส ใน ประชาคมอาเซียน - การสร้างแรงจูงใจให้นิสิตในการเรียนภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี ้ ย ั ง การนำเสนอผลงานรู ป แบบโปสเตอร์ เรื่อง พื้นที่การใช้ภาษาฝรั่งเศสในเอเชียแปซิฟิก : โครงการระดับ ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในมุมมองของประคมอาเซียน โดยอาจารย์ ปิยจิตร สังข์พานิช จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม การสัมมนาในครั้งนี้ ทำให้เรารู้จักสภาพการจัดการ เรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสที่แท้จริงในประชาคมอาเซียนและ เป็นการเตรียมอนาคตให้กับผู้เรียนภาษาฝรั่งเศส ส่งเสริมการ พัฒนาบุคลากร รวมทั้งสนับสนุนนโยบายชาติในการพัฒนาการ จั ด การเรี ย นการสอนให้ ส อดคล้ อ งกั บ ประชาคมอาเซี ย น เพื ่ อ สร้ า งความเป็ น หนึ ่ ง เดี ย วกั น ทางมาตรฐานการศึ ก ษาที ่ เท่าเทียม

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2556

นุษยวิเทศคดี

4. อาจารย์ ฐนวิชณ์ ไกรเพิ่ม กิจกรรมในห้องเรียน ภาษาฝรั่งเศส : ขั้นตอนที่จะนำไปสู่การออกเสียงที่ดีขึ้น หัวข้อหลักในการสัมมนาโต๊ะกลมในห้องนี้คือ การสอน พูดในห้องเรียนภาษาฝรั่งเศส ผู้นำเสนอผลงานวิจัยต่างเสนอ เทคนิคและวิธีการที่หลากหลายในการสอนพูดภาษาฝรั่งเศส ในชั้นเรียน เช่น การสอนให้ผู้เรียนทำความเข้าใจสิ่งที่ฟัง และ ฝึกพูด การใช้เกมส์และกิจกรรมการละเล่นต่างๆ และการฝึก การออกเสียงภาษาฝรั่งเศส จากการนำเสนอผลงานวิจัยของผู้ นำเสนอทั้ง 4 ท่าน ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และองค์ ความรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนารวมถึงสรุปสถานการณ์ การสอนภาษาฝรั่งเศสและปัญหาที่ผู้สอนได้ประสบเหมือนๆ กัน อาทิ ผู้เรียนขี้อายไม่กล้าแสดงออก จำนวนผู้เรียนที่มากเกินไป และไม่สามารถแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อให้เกิด ประสิ ท ธิ ภ าพในการเรี ย นการสอน การขาดแคลนห้ อ ง ปฏิบัติการทางภาษา เป็นต้น แม้ว่าผู้สอนภาษาฝรั่งเศสจะ ประสบปัญหาและข้อจำกัดต่างๆ ก็ตาม ผู้สอนต่างก็พยายาม สร้างบรรยายกาศในห้องเรียนให้มีชีวิตชีวา ใช้พลังและความคิด ริ เ ริ ่ ม สร้ า งสรรค์ ใ นการสร้ า งกิ จ กรรมเพื ่ อ พั ฒ นาการเรี ย น การสอนภาษาฝรั่งเศส ห้อง 210 ผู้ดำเนินรายการคือ คุณ Arnaud Chuette มีผู้นำเสนอผลงานจำนวน 4 ท่านดังนี้คือ 1. อาจารย์ SOR Sary : การเรียนและการสอน ภาษาฝรั่งเศสในราชอาณาจักรกัมพูชา : ยุทธศาสตร์การจัด การเรียนการสอน 2. อาจารย์ TRAN Dinh Binh : อนาคตแบบใด สำหรับการจัดการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสในสาธารณรัฐ สั ง คมนิ ย มเวี ย ดนามในขบวนการการจั ด การเรี ย นการสอน ผสมผสานกับภูมิภาคและโลก 3. ดร. ปิยสุดา ม้าไว : ยุคของประชาคมอาเซียน : ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสใน ประเทศไทย 4. อาจารย์ TRAN Van Cong : การจัดการเรียน การสอนภาษาฝรั่งเศสในห้องเรียนที่ผู้เรียนมีระดับความรู้ที่ แตกต่างกัน ผู้นำเสนอผลงานวิจัยต่างนำเสนอสถานการณ์ปัจจุบัน

7


สัญญะทีในภาพวั ่ขัดแยง ้ฒนธรรมไทยร่วมสมัย ดร. ซอทอง บรรจงสวัสดิ์

นุษยวิเทศคดี

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

8

สัญญะ (sign) คือสิ่งที่มนุษย์กำหนดร่วมกัน เพื่อใช้สื่อ ความหมาย ประกอบด้วยสองส่วน คือ รูปสัญญะ กับความหมาย สัญญะ รูปสัญญะอาจเป็นเสียง ตัวหนังสือ ท่าทาง รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ต่างๆ การจะบอกว่ารูปใดมีความหมายใดนั้น เกิดจากข้อตกลงร่วมกันในสังคมที่มนุษย์ต้องเรียนรู้ ศาสตร์ที่ว่า ด้วยการศึกษาสัญญะเรียกว่าสัญวิทยา หรือสัญศาสตร์ (semiology, semiotics) หากเราลองศึ ก ษาสั ญ ญะเกี ่ ย วกั บ เมื อ งไทยในสื ่ อ ตะวันตก ก็จะเห็นมุมมองภายนอกที่มีต่อตัวเรา โดยทั่วไป ประเทศไทยมักถูกนำเสนอในฐานะที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่าง ประเพณีและความทันสมัย กำลังเปลี่ยนจากวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ไปสู่วิถีชีวิตแบบตะวันตก หากแต่คำกล่าวนี้เป็นภาพจำเจ (cliché) ที่ถูกฉายซ้ำๆ ในวาทกรรมเกี่ยวกับเมืองไทย โดย มองข้ามความจริงที่ว่าจุดเปลี่ยนผ่านจากโลกเก่าแบบไทย ไปยัง โลกใหม่แบบตะวันตกไม่ได้เพิ่งมาเกิดขึ้นในปัจจุบัน และการรับ วัฒนธรรมจากที่อื่นเพื่อปรับใช้กับสิ่งที่มีอยู่เดิมเป็นกลไกในการ สร้างวัฒนธรรมในทุกสังคมมนุษย์ ในสังคมไทย การ “กลาย สภาพ” ของวัฒนธรรมไทยในปัจจุบันก็เป็นไปอย่างรวดเร็ว และ มักจะมีสิ่งที่ขัดแย้งคนละขั้วมาปรากฎอยู่ร่วมกัน ภาพของ วัฒนธรรมไทยร่วมสมัยจึงมีลักษณะแบบสองโฉมหน้า มีความ ลักลั่นกำกวม ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างสัญญะประเภท รูปภาพ (icons) สองประเภท ที่พบว่าใช้เป็นภาพตัวแทน (representations) ของประเทศไทยอยู่บ่อยครั้ง นั่นคือ พระ และช้าง ภาพของพระถูกใช้เพื่อสื่อถึง “เมืองแห่งพุทธศาสนา” หรือเมืองไทย การมีอยู่ของพระสงฆ์มิใช่เพียงเรื่องของจำนวน พระสงฆ์ที่มีมากมายทุกหนแห่งในประเทศไทย (อันเป็นเรื่อง แปลกในสายตาชาวตะวันตกบางคน) แต่ยังหมายถึงการมี ส่วนร่วม และความใกล้ชิดของพระสงฆ์ในสังคมไทย Bernard Formoso1 กล่าวว่าวัฒนธรรมไทยมีพื้นฐานมาจากความสัมพันธ์

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2556

ระหว่าง “สังฆะ” (หรือสงฆ์) กับ “สังคม” บทบาทของสงฆ์ มีความหลากหลายในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้ประกอบ พิธีกรรม (ทั้งพุทธและผี) ตัวแทนของพระพุทธเจ้า คนสักยันต์ ผู้แก้ปัญหาทุกระดับตั้งแต่ไล่ผีไปจนถึงรับเลี้ยงสุนัข ที่มีคนนำไป ปล่อยตามวัด ฯลฯ สัญญะประเภทรูปภาพที่ใช้แทนพุทธศาสนา อาจอยู่ในรูปข้าวของเครื่องใช้ของพระสงฆ์ซึ่งเป็นรูปแบบของ การใช้โวหารประเภทอธินามนัย (metonymy) คือการใช้ ส่วนหนึ่งส่วนใดเพื่อหมายความถึงภาพรวม (จีวร = พระ) ดัง ตัวอย่างภาพประกอบหน้าปกของหนังสือ Thaïlande : neuf jours dans le royaume par 55 photographes internationaux2 ที่ใช้จีวรแทนพระสงฆ์ในพุทธศาสนา เพื่อสื่อความหมายถึง ดินแดนที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา อันมีนัยยะถึง ประเทศไทย (จีวร = พระสงฆ์ = พุทธศาสนา = เมืองไทย) นอกจากนี้ หนังสือหลายเล่มมักเสนอภาพศาสนากับสิ่งที่ไม่น่า จะอยู่ร่วมกันได้ เพื่อตอกย้ำความเก่าที่ปรากฏพร้อมกับความ ใหม่ เช่น พระดื่มโคคาโคล่าบนหน้าปกหนังสือ Thaïlande Bouddhisme renonçant capitalisme triomphant3 ที่จัดวาง ตัวแทนของพุทธศาสนาไว้เคียงข้างทุนนิยมอเมริกัน (ซึ่งใช้ น้ำอัดลมเป็นสัญลักษณ์) เกิดเป็นคู่ตรงข้าม ระหว่าง พุทธศาสนา กับ ทุนนิยม หรือแม้แต่การเชื่อมโยงระหว่าง สั ญ ญะของโลกเก่ า กั บ โลกใหม่ ใ นภาพที ่ พ ระสงฆ์ ก ำลั ง รั บ บิณฑบาตจากวัยรุ่นที่แต่งกายพังค์ สัญญะทั้งสองฝ่ายมีความ แตกต่างด้วยคู่ตรงข้ามทางความหมาย (เก่า กับ ใหม่, ตะวันออก กับ ตะวันตก) และสีที่แตกต่าง (สีส้มของจีวรพระและ แจ็กเก็ตหนังของวัยรุ่นพังค์ ซึ่งเกิดเป็นคู่ตรงข้ามอีกคู่คือ สว่าง vs มืด ซึ่งคู่นี้มักใช้ในวาทกรรมของศาสนาพุทธด้วย) สำหรับภาพของช้างที่ชาวตะวันตกถ่ายทอดออกมา มักเป็นภาพของช้างที่ตระเวนในเมืองโดยเฉพาะในย่านสถาน เริงรมย์ยามค่ำคืน ตามปกติ ความหมายแฝงของช้าง ในวัฒนธรรมไทยคือเป็นสัตว์ประจำชาติ มีบทบาทสำคัญในการ


ปกป้องอธิปไตยของชาติ ในยุคหนึ่งจึงใช้รูปช้างบนธงชาติ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นธงไตรรงค์ใน ค.ศ. 1916 หากแต่ภาพ ที่ตะวันตกรับรู้ในปัจจุบัน ช้างกลายเป็นสัตว์ลำบากที่ต้องอพยพ ไปทำงานในเมืองเวลากลางคืน ตระเวนขอเงินเลี้ยงชีพ ถ้าหาก /ช้าง/ ซึ่งความหมายตามตัวอักษรหมายถึง < สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมขนาดใหญ่มีงวง > มีความหมายแฝงถึง «เกียรติภูมิของ ชาติ» ภาพของช้างที่เร่ร่อนขอทานในเมืองก็น่าจะหมายความ ถึง «เกียรติภูมิของชาติที่ตกต่ำ» หรือ «การสูญเสียความ ภาคภูมิใจในอดีต» 4 ได้เช่นกัน โดยเฉพาะภาพของช้างที่อยู่ ท่ามกลางแสงสีของสถานบันเทิงยามค่ำ ก็ยิ่งขับเน้นความ ไม่เข้าพวก ความแปลกประหลาด และอาจเรียกว่าเป็นคู่ตรงข้าม ของธรรมชาติ กับวัฒนธรรม ( Nature vs Culture) ก็ว่าได้ ภาพช้างเร่ร่อนในเมืองไทยมีความเป็นอัตลักษณ์ไทยอย่างยิ่ง ประการแรก ภาพทำนองนี้พบได้ในประเทศไทยเท่านั้น ประการ ที่สอง ภาพนี้ไม่ได้นำเสนอความทันสมัยที่รุกรานธรรมชาติ หากแต่เป็นธรรมชาติที่ล้ำเข้ามาในเมือง (เพราะความเจริญของ เมืองไปรุกล้ำธรรมชาติก่อน) และประการสุดท้ายความหมาย แฝงของช้างในฐานะที่เป็นเกียรติภูมิของชาตินั้นก็ปรากฎแต่ใน บริบททางวัฒนธรรมไทยเท่านั้น ความคิดเรื่องเกียรติภูมิ ที่นำเสนอผ่านภาพช้างจัดอยู่ในสิ่งที่ Roland Barthes เรียกว่า “มายาคติ” (myth) ด้วยเหตุนี้คนไทยจำนวนมากจึง “อับอาย”

และ “เจ็บปวด” เมื่อเห็นช้างเดินเร่ร่อนขอทานแถวย่าน สถานบันเทิงพัฒน์พงศ์ เพราะเราเจ็บปวดและอับอายผ่าน ความหมายแฝงและมายาคติที่สังคมไทยยึดถือ ซึ่งกลบ ความหมายตามตัวอักษรที่ว่าช้างคือ <สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดใหญ่มีงวง> ไปเสีย สัญญะที่ขัดแย้งกันในภาพตัวอย่างที่ศึกษา มักเป็น ความขัดแย้งที่สัมพันธ์กัน อาจจะผ่านสัญญะของมือพังค์ที่ เอื้อมไปใส่บาตรพระและมือที่ยกขึ้นไหว้ พระกับพังค์อยู่ใน ระนาบเดียวกันด้วยการใส่บาตรที่มีมือเป็นตัวกลาง และเป็น สัญญะของการให้ และมือในการไหว้ที่สื่อถึงการแสดงความ เคารพนับถือ หรือในภาพอื่นๆ ก็มีการจัดวางองค์ประกอบ ในภาพให้สัญญะที่ต่างกันเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ดังเช่น ในกรณีของช้างที่เข้าไปเดินอยู่ท่ามกลางนักท่องราตรีและผู้ที่ทำ งานกลางคืน หรือภาพของพระที่เป็นผู้ใช้ผู้บริโภคสิ่งใหม่ๆ เพื่อรับสิ่งอื่นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตน หรือสร้างอัตลักษณ์ใหม่ แม้ ว่ า ในสายตาคนไทยทั ่ วไปจะถื อ ว่ าเป็ นสิ ่ ง ที ่ คุ ้ นชิน ไปแล้ว ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาความหมายสัญญะ (ไม่ว่าจะเป็น ความหมายตามตัวอักษรหริอความหมายแฝง) เราจะพบว่า ความขัดแย้งอย่างมีสัมพันธภาพเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ไทยร่วมสมัย และบ่อยครั้งยังแฝงไว้ด้วยภาพการผสมผสาน ทางวัฒนธรรม (acculturation) อีกด้วย

1

นุษยวิเทศคดี

FORMOSO Bernard. Thaïlande : bouddhisme renonçant, capitalisme triomphant. Paris : La Documentation française, 2000, 179 p. 2 ฉบับภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า Thailand: Nine Days in the Kingdom (by 55 of the World Great Photographers) Editions Didier Millet, 2009. 3 ชื่อหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนสามารถแปลเป็นไทยได้ว่า “ประเทศไทย...พุทธศาสนาพ่าย ทุนนิยมมีชัย” 4 การใช้เครื่องหมาย /.../ ใช้ประกอบข้อความที่อยู่ในฐานะ สัญญะ ส่วนเครื่องหมาย <...> ใช้กับ ความหมายโดยตรง ตามตัวอักษร(denotative meaning) และเครื่องหมาย « ... » ใช้กับความหมาย โดยนัย หรือความหมายแฝงที่ต้องตีความ (connotative meaning)

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2556

9


การศึกษาภาษาและศิลปวัฒนธรรม

นุษยวิเทศคดี

ณ ประเทศฝรั่งเศส

10

ในทุกๆปีสำนักงานความร่วมมือเพื่อการเรียนการสอน ภาษาฝรั่งเศส (Bureau de Coopération pour le Français BCF) สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จะมีการ มอบทุนนี้แก่ นักเรียน นิสิตและนักศึกษาทั่วประเทศจำนวน 11 ทุน แบ่งออกเป็น ทุนสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย 6 ทุน และทุนสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 5 ทุน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และผมเป็นใน 1 ใน 5 ที่ได้ รับทุนการศึกษาเพื่อไปแลกเปลี่ยนภาษาและศิลปวัฒนธรรม ณ เมืองแบรสต์ (Brest) ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อเดินทางไปถึงเมืองแบรสต์ (Brest) แคว้น เบรอตาญ (Bretagne) ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ฝรั่งเศส บรรดาครอบครัวอุปถัมภ์ได้มารอรับคณะนักเรียนทุน กลับบ้าน ซึ่งใช้เวลาในการเดินทางค่อนข้างน้อย เนื่องจาก การจราจรของผู ้ ใช้ ร ถใช้ถ นนเป็น ระเบียบและเคร่งครัด มาก พวกเขาต้อนรับผมอย่างเป็นกันเอง ทำให้ผมกล้าพูดคุยกับ พวกเขาอย่างเป็นกันเองเช่นกัน และแสดงความคิดเห็นในเรื่อง ต่างๆ เช่น เรื่องอาหาร วัฒนธรรม ประเพณีไทยเป็นต้น ซึ่งจะ เป็นการพูดคุยที่ฉะฉานและชัดเจน มีการโต้แย้งเพื่อยืนยัน ความคิดเห็นของตนเอง ซึ่งตอนแรกนั้นผมเข้าใจว่าพวกเขา ทะเลาะกัน ทว่าไม่ได้เป็นอย่างที่คิดไว้ หลังจากรับประทาน อาหาร พวกเขาก็พูดคุยกันตามปกติ นี่เป็นสิ่งที่ผมชื่นชอบถึง ความกล้าแสดงความคิดเห็น การยอมรับและเคารพความ คิดเห็นของผู้อื่น และการโต้แย้งอย่างถูกวิธีทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจ ประโยคที่ว่า “สังคมดีต้องเริ่มจากครอบครัว” ได้ดียิ่งขึ้น วันต่อมาผมต้องไปเรียนภาษาฝรั่งเศสที่สถาบันศึกษา ภาษาต่างประเทศ (Centre International d’Etude des Langues) ตั้งอยู่ที่เขตเรอแล็ก แกร์รูย่ง (Relèque-Kerhuon) ได้พบปะเพื่อนๆ ชาวไทย แต่พวกเราก็ต้องเรียนแยกชั้นเรียนกัน ตามระดับความสามารถทางภาษาฝรั่งเศส ได้แก่ A1, A2, B1, B2, C1, C2 ผมได้เรียนชั้น B1 กับเพื่อนชาวไทยอีก 4 คน อาจารย์ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด และอนุญาตให้โต้แย้งกัน โดย อาจารย์จะไม่เป็นผู้ตัดสินนักเรียน แต่ให้เพื่อนๆ ในห้องเรียน เป็นผู้พิจารณา เพราะการสอนของฝรั่งเศสนั้นจะเป็นการคิด วิเคราะห์ โดยจะให้คุณค่ากับคำถามจำพวก “อย่างไร เพราะ อะไร และทำไม” เป็นต้น อาจารย์จึงได้บอกกับทุกคนว่า “ต่างคนต่างความคิด เราไม่สามารถลบล้างหรือเปลี่ยนแปลง

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2556

ณัฐพงษ์ ไสยรัตน์

นิสิตสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ความคิดของคนอื่นให้เชื่อหรือเข้าใจแบบเดียวกับที่เราคิดได้” ข้ า พเจ้ า เพิ ่ ง ได้ เ ข้ า ใจวิ ธ ี ก ารเรี ย นการสอนของชาวยุ โ รป ก็ครั้งนี้เอง นอกจากการเรียนแล้ว ผมได้ไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญ ของประเทศฝรั่งเศสมากมาย ได้แก่ Place de la liberté ตั้งอยู่ ใจกลางเมือง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้า คมนาคม และการ ท่องเที่ยว บริเวณย่านนี้มีถนนสยาม (Rue de Siam) ซึ่งเป็น ถนนที ่ ค ณะทู ต ที ่ ส มเด็ จ พระนารายณ์ ม หาราชทรงส่ ง คณะ ทูตไทยมาเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 ได้ขึ้นฝั่ง ประเทศฝรั่งเศสจึงให้เกียรติด้วยการตั้งชื่อถนน ตามชื่อประเทศไทย Musée de baraquement พิพิธภัณฑ์ ที่จัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองแบรสต์ สมัย สงครามโลกครั้งที่สอง l’Océanopolis พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ Point Saint Mathieu เป็นจุดสิ้นสุดเขตแดนฝรั่งเศส ทางด้านทิศ ตะวันตก มีพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์ทหารผู้พลีชีพเมื่อครั้งประเทศ ฝรั่งเศสเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง วิหาร Le Mont Saint Michel ตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเลชายฝั่งตะวันตก ซึ่งตัวเกาะนั้น เป็นหินแกรนิตสร้างขึ้นในสมัยยุคกลาง ที่ขาดไม่ได้คือ ประตูชัย หอไอเฟล และรับประทานอาหารบนเรือ บาโต้ มูช (Bateau mouche) ซึ่งล่องไปตามแม่น้ำแซน (Seine) ผ่านสถานที่ สำคัญต่างๆ กลางกรุงปารีส การได้ไปใช้ชีวิตที่ประเทศฝรั่งเศสครั้งนี้ ผมได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวฝรั่งเศส วิธีการเรียน การสอน ศิลปะ ภาพวาด ภาพเขียน สถาปัตยกรรม และ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่ชาวฝรั่งเศสให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก รวมไปถึงระบบการจัดการด้านคมนาคม และสาธารณูปโภค ต่างๆ นับเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยาก อีกทั้งยังมีมิตรภาพจาก เพื่อนร่วมทางอีกมากมาย การได้มีโอกาสไปฝรั่งเศสครั้งนี้ เป็น แรงผลั ก ดั น ให้ ข ้ า พเจ้ า มี ก ำลั ง ใจที ่ จ ะทำตามความฝั น คื อ การได้ เ ป็ น อาจารย์ ส อนภาษาฝรั ่ ง เศสในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ซึ่งเป็นหนึ่งในอาชีพที่มีเกียรติ ข้าพเจ้ารักที่จะถ่ายทอดความรู้ แก่ผู้อื่น และจะเดินหน้าต่อไปเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการ และประสบการณ์ชีวิตให้สูงขึ้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้ของตนให้ก้าว สู่ความเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคม สามารถสร้างความ เจริญแก่ชาติบ้านเมืองในอนาคตต่อไป


วันที่ 27 พฤษภาคม 2556 รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ได้กล่าวรายงานถึงภูมิหลังของการลงนามความร่วมมือ ทางวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวร และ Yangon University of Foreign Languages(YUFL) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ โดยมีอธิการบดี จาก Modalay University of Foreign Languages, อธิการบดีจาก Shwebo University และ อธิการบดีจาก Maubin University ให้เกียรติมาร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม ความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ ณ ห้องเสลา 1 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัย นเรศวร

วันที่ 21 มิถุนายน 2556 รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ เข้าร่วม สัมมนาวิชาการเรื่อง “Impact of Internationalization Towards University Ranking” เพื่อเตรียมความพร้อมให้มหาวิทยาลัยนเรศวรก้าวไปสู่เวทีโลก ซึ่งต้อง เตรียมการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยการนำ “เกณฑ์ คุณภาพการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (EdPEx: Education Criteria for Performance Excellence)” มาปรับใช้ในองค์กรเพื่อเตรียมความพร้อมรับการประเมินในอนาคต ทุกรูปแบบ วิทยากรโดย Prof.Dr.Joseph Burke นักวิชาการที่มีชื่อเสียง จากประเทศสหรัฐอเมริกา บรรยายในหัวข้อ “A Better Educational Standard and University Management Towards World University Ranking” และ คุณสุภัทร จำปาทอง ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา บรรยายในหัวข้อ “Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx” ณ ห้องประชุม Main Conference อาคารศูนย์บริการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : มิถุนายน - กรกฎาคม 2556

นุษยวิเทศคดี

วันที่ 18 มิถุนายน 2556 ดร.ฐิติรัตน์ สุวรรณสม รองคณบดีฝ่ายบริหาร ให้เกียรติกล่าวเปิดโครงการอบรมการจัดทำคลังข้อมูลมนุษยศาสตร์ “การสร้าง ฐานข้อมูลด้วยการใช้งาน Google Site” เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความชำนาญ ทางด้านการใช้เทคโนโลยี เพื่อจัดการฐานข้อมูลของงานและสร้างแหล่งความรู้ทาง การศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ สำหรับนิสิต บุคลากร ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป ณ ห้อง ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (64) อาคารปราบไตรจักร มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยากร โดย คุณพิทักษ์พงษ์ เมฆาวรนันท์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

11


เพลงกล่อมเด็กฝรั่งเศส

Fais dodo Colas mon p’tit frère, Fais dodo, t’auras du lolo. Maman est en haut Qui fait du gâteau, Papa est en bas Fait du chocolat. Fais dodo Colas mon p’tit frère, Fais dodo, t’auras du lolo. Faites de la bouille Pour l’enfant qui crie, Et tant qu’il criera Il n’en aura pas. Fais dodo Colas mon p’tit frère, Fais dodo, t’auras du lolo.

เพลงนอนหลับเถอะ เจ้าโคล่าน้องชายคนเล็กของฉัน จงหลับเสีย แล้วเจ้าจะได้ดื่มนม แม่ของเจ้าอยู่ชั้นบน กำลังทำขนมให้เจ้าอยู่ ส่วนพ่อของเจ้าอยู่ข้างล่าง กำลังทำขนมช็อกโกเล็ต จงนอนเสีย เจ้าโคล่าน้องชายคนเล็กของฉัน จงนอนหลับสิ แล้วเจ้าจะได้ดื่มนม จงอุ่นนมให้ร้อนนะ สำหรับลูกของเราที่กำลังส่งเสียงแผดร้องจ้า และตราบใดที่เจ้ายังแผดเสียงร้อง เจ้าก็จะไม่ได้ดื่มนม จงนอนเสีย เจ้าโคล่าน้องชายคนเล็กของฉัน จงนอนสิแล้วเจ้าจะได้ดื่มนม

วิสัยทัศน์ :

2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

วร

สุ

นุษยวิเทศคดี

าย ด ห ม ข่ า ว

ร ณ ภิงคา

คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และ นาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่ อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และสอดคล้องกับ ความต้องการของสังคมและประเทศ

ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ 85/2521 พิษณุโลก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.