มนุษยวิเทศคดี6

Page 1

นุษยวิเทศคดี Humanities for Cross Border Review วร

ร ณ ภิงคา

ห ม า ย ข่ า ว

สุ

จด

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ปีที่ 1 ฉบับที่ 6 ธันวาคม 2556 - มกราคม 2557


ที่ปรึกษา

คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิช ผศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ ผศ.นัทธนัย ประสานนาม

บรรณาธิการ อ.สายหยุด

บัวทุม

กองบรรณาธิการ ดร.อาทิตย์ ดร.ทศพล ผศ.ดร.พงศกร ดร.ชมนาด ดร.ภูริวรรณ อ.สถิตย์ อ.วิจิตร อ.อชิรพจณิชา อ.ศศิวรรณ

ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ

เลขานุการ สุรีย์พร

พงษ์พานิช สุรนัคครินทร์ เมธีธรรม อินทจามรรักษ์ วรานุสาสน์ ลีลาถาวรชัย คริเสถียร พลายนาค นาคคง

นลินรัตนกุล ชุมแสง

งานประชาสัมพันธ์ :

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th

ปกหน้า :

สัญลักษณ์ครบรอบ 10 ปีแห่งการก่อตั้ง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

บทบรรณาธิการ มนุษยวิเทศคดี สารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เล่มที่ 6 ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความยินดีเนื่องในโอกาสครบ 10 ปี แห่งการก่อตั้ง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยจะนำเสนอหนึ่งพันธกิจหลัก ของคณะคือผลิตบัณฑิตด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ ให้ถึงพร้อมด้วยศักยภาพตามมาตรฐานสากล มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการ ประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน เริ ่ ม ต้ น ด้ ว ยบทสั ม ภาษณ์ เ ส้ น ทางการก้ า วสู ้ แ วดวงนั ก เขี ย นของ นายธนบัตร ใจอินทร์ นิสิตสาขาวิชาภาษาไทยนักเขียนรุ่นใหม่ในรวมบทกวี “ตราบนิรันดรกานท์” ต่ อ ด้ ว ยบทความบอกกล่ า วเล่ า ประสบการณ์ ก ารเขี ย นบทความ วิชาการพร้อมเสนอแนะกลวิธีในการเขียนของ อ.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย และ อ.ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์ แถมท้ายด้วยเทคนิคการนำเสนองานวิจัย ภาคบรรยายที่น่าสนใจ เรื่องที่สาม ประกาศผลการประกวดและเผยแพร่นวัตกรรมด้าน มนุษยศาสตร์เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 10 ปี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในหัวข้อ “หนึ่งอัตลักษณ์ แห่งความหลากหลาย ในอาเซียน” ในรูปแบบการประกวดเรื่องสั้น และดุริยนาฏลีลาอาเซียน ปิดท้ายด้วยเรื่องราวประสบการณ์ของนิสิตที่ได้เข้าร่วมการประกวด สุนทรพจน์ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความเชิงวิชาการที่เผยแพร่นี้ คงเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ในแวดวงวิชาการ และนิสิต นักศึกษา หากท่านมีบทความที่มีประโยชน์และมีสาระที่จะแบ่งปันให้กับสาธารณชน กองบรรณาธิการยินดีที่จะเป็นสื่อกลางนำบทความของท่านมาเผยแพร่ในฉบับ ต่อๆ ค่ะ

อ.สายหยุด บัวทุม บรรณาธิการ


ธนบัตร è ใจอินทร์

นักเขียนรุ่นใหม่...ในรวมบทกวี “ตราบนิรันดรกานท์” ธนบัตร ใจอินทร์ นิสิตคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

มีงานเขียนอะไรบ้าง/ ผลงานการประกวดที่ผ่านมา 1. บทกวีนิพนธ์เรื่อง “อุบัติเหตุบนกระจกรถทัวร์” ได้รับการแปลเป็นภาษามาลายู โดยสมาคมนักเขียนแห่ง ประเทศมาเลเซีย ปี 2557 2. บทกวีนิพนธ์เรื่อง “อุบัติเหตุบนกระจกรถทัวร์” ได้รับคัดเลือกให้เข้ารอบ 30 เรื่องสุดท้าย ตีพิมพ์รวมเล่ม ในหนั ง สื อ รวมบทกวี น ิ พ นธ์ ย อดเยี ่ ย มนายอิ น ทร์ อ ะวอร์ ด ประจำปีพุทธศักราช 2556 โดยบริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พัชลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน) 3. ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ “ยุวกวีตามรอย ศิลปินแห่งชาติ เขียนแผ่นดินสุวรรณภูมิเวียดนาม” กับ อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ณ เมืองนาตรัง, เมืองดาลัด ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ ๒๐ – ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สนับสนุนโดยกระทรวงวัฒนธรรม 4. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ การแข่งขันกลอนสด ราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ ครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๗ ณ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจันทบุรี

5. ผลงานบทกวี ได้ตีพิมพ์รวมเล่มในหนังสือ “ตราบ นิรันดรกานท์” ร่วมกับนักเขียนท่านอื่น เริ่มออกจำหน่ายเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2557 โดยสำนักพิมพ์แม่โพสพ ในการเขียนแต่ละครั้ง มีวิธีเลือกเรื่องหรือประเด็นอย่างไร เรื่องที่ผมเลือกมาเขียนนั้น มีหลักในการเลือก 2 ข้อคือ 1.กระทบใจ 2.สะกิดใจ คำว่ากระทบใจหมายถึง ต้องเป็นเรื่อง ที่สะเทือนอารมณ์ อาจเป็นเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เรา คุ้นเคย แต่ไม่เคยให้ความสำคัญ หรือว่าชอบมองข้ามไป เพราะ คิดว่าไม่ส่งผลหรือไม่มีความสำคัญกับชีวิต สะกิดใจหมายถึง ต้องเป็นเรื่องที่ให้ข้อคิดได้ทั้งกับตัวเราและผู้อื่น ดังมีคำหนึ่ง ที่บอกไว้ว่า “วรรณกรรมเป็นคันฉ่องส่องสังคม” เป็นเครื่อง บันทึกสภาพสังคมและเป็นเครื่องชี้นำสิ่งที่ดีให้กับสังคม ถือเป็น อีกหนึ่งหน้าที่ที่สำคัญของงานเขียนครับ ส่วนเวลาเขียนส่วนมากเขียนตอนกลางคืนครับ รู้สึกว่า อารมณ์ลื่นไหลดี เขียนได้เยอะกว่าเวลาอื่น แต่ทั้งนี้ต้องรู้สึก อยากเขียนด้วยครับ เคล็ดลับการเขียน /อุปสรรคที่เกิดขึ้นในการสร้างผลงาน เขียนในเรื่องที่เรารู้จริง หรือมีความรู้สึกจริงๆ ตัวอย่าง เช่น เขียนเรื่องความรัก ต้องมีความรักจริงๆ เพราะคนอ่าน จะสามารถรู้สึกได้ว่าสิ่งที่เราเขียนนั้น เราซื่อสัตย์ต่อตัวเอง หรือไม่ หรือเราแค่สร้างภาพหลอกลวงให้คนอื่นเชื่อถือ และบาง เรื่องที่เราเขียนอาจมีข้อมูลที่บางคนรู้ เพราะฉะนั้นถ้าเราเขียน ด้วยข้อมูลที่บิดเบือนด้วยความรู้แบบงูๆ ปลาๆ ก็อาจทำให้ งานเขียนของเราชิ้นนั้นด้อยคุณค่าได้ นอกจากนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีวินัยในตนเอง การเขียน หนังสือก็เหมือนงานทั่วไป แต่ต่างตรงที่ไม่มีใครคอยบังคับ เป็นงานอิสระ ดังนั้นคนที่คอยควบคุมที่ดีที่สุด คือตัวเราเอง ควบคุมตนเองด้วยวินัย เขียนเป็นประจำ เป็นเวลา เพื่อเป็นการ ฝึกฝีมืออย่างสม่ำเสมอ จึงจะส่งผลให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

นุษยวิเทศคดี

ประวัติส่วนตัว/เข้าสู่วงการเขียนหนังสือยังไง สวัสดีครับ ผมชื่อนายธนบัตร ใจอินทร์ นิสิตชั้นปีที่ ๓ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ ได้เริ่มเข้าสู่วงการ นักเขียน จากการประกวดแข่งขันต่างๆ ครับ แต่ก่อนหน้าจะ ประกวดนั้นได้ ชีวิตการเขียนของผมเริ่มต้นจากการเป็นสมาชิก ชมรมนักกลอนของโรงเรียนตะพานหิน จ.พิจิตร ตอนนั้นเรียน อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครูคนแรกของการเขียนกลอน คือ คุณครูมนตรี เกตุพันธ์ ครับ คุณครูได้สอนให้ผมได้รับรู้ถึงความ งดงามของภาษาไทย ผ่านรูปแบบการประพันธ์ต่างๆ ทั้ง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ได้เรียนรู้ถึงคุณสมบัติอันเป็นเอกลักษณ์ ของภาษาไทยที่หาภาษาใดเปรียบเทียบได้ยากในเรื่องของการ ที่มีคำคล้องจอง ชมรมนักกลอนของโรงเรียนจึงทำให้ผมได้ ซึมซับความรักในภาษาไทยมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2556-มกราคม 2557 3


แนวทางที่ยึดปฏิบัติเพื่อการเป็นนักเขียนที่ดี การเป็นนักเขียนที่ดี จะต้องเป็นนักอ่านที่ดีด้วยครับ งานเขียนก็เปรียบเสมือนกับสินค้าชนิดหนึ่ง ถ้าต้องมีการส่งออก ก็ต้องมีการนำเข้าก่อน เหมือนการเขียนที่จะต้องมีข้อมูลวัตถุดิบ ประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งจะได้มาด้วยการอ่าน หรือการออกไป พบเจอสิ่งๆ นั้นด้วยตนเอง ต้องเป็นคนช่างสังเกตสิ่งรอบตัว อยู่เสมอ ต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอด เวลา งานเขียนเป็นสิ่งที่ว่าด้วยจินตนาการ ดังนั้นความคิดเป็น สิ่งสำคัญยิ่ง จึงต้องอ่านเพื่อลับคมความคิด เพื่อการนำเสนอ ให้ผู้อ่านรู้สึกว่า งานของเราไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน เรา เพราะเราเหมือนใครๆ เราอาจไม่ใช่คนที่ถูกเลือกจากผู้อ่าน

นุษยวิเทศคดี

มีนักเขียนคนไหนเป็นแบบอย่างหรือเป็นครูหรือเปล่าคะ มีครับ แบบอย่างของผมคือ อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ครับ อ.เนาวรัตน์ เป็นกวี ผู้ประพันธ์ผลงานได้ครบทั้งรสคำ และรสความ ได้รสคำคือ ความไพเราะ อลังการทางด้านการใช้คำคล้องจอง ทำให้ผมเห็น คุณค่าของภาษาไทยอย่างแท้จริง ภาษาที่บรรพบุรุษได้สั่งสม ตกทอดมาจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ได้รสความคือการใช้คำเพื่อ สื่อภาพอย่างได้อรรถรส ได้แง่คิดเตือนจิตใจ เป็นอัฉริยลักษณ์ ทางด้านภาษา

4

ผู้ที่ผลักดัน และช่วยขัดเกลาผลงาน ช่วยอ่าน ช่วยวิจารณ์ ผมได้มีโอกาสเข้าค่ายกล้าวรรณกรรม เมื่อตอนอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 ค่ายนี้จะคัดเลือกเยาวชนทั่วประเทศ จาก งานเขียน และเข้าร่วมอบรมจากนักเขียนชื่อดังของไทย เช่น อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ อ.ศักด์สิริ มีสมสืบ อ.ไพวรินทร์ ขาวงาม อ.ชมัยพร แสงกระจ่าง ซึ่งช่วยให้คำวิจารณ์ คำแนะนำ ปรับปรุงงานเขียนให้ดีขึ้น สำหรั บ คำวิ จ ารณ์ ก ั บ นั ก เขี ย นถื อ เป็ น ของคู ่ ก ั น ครั บ เหมือนต้นไม้อยากโตเร็วต้องใช้ปุ๋ย คนป่วยอยากหายเร็ว ต้อง ใช้ยา คำวิจารณ์จากครูถือเป็นยาขมสำหรับนักเขียนใหม่ที่มี ไฟแรง และมีความอหังการ์ในตนเองสูง คิดว่างานของตนเองนั้น แน่นอนที่สุด เมื่อมีผู้มาวิจารณ์งานเขียนของตนว่ามีจุดด้อย ก็อาจเสียกำลังใจไปบ้าง แต่หากทำใจยอมรับกับการวิจารณ์นี้

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2556-มกราคม 2557

และนำงานเขียนกลับมาปรับปรุง ก็จะทำให้สามารถเติบโต และมีฝีมือดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว...ไม่มีใครมองเห็นหน้าตาของ ตนเอง(ห้ามใช้กระจก) เราจึงต้องอาศัยคนอื่นบอกให้ เช่นเดียว กันกับคำวิจารณ์ครับ เจ็บนิดหน่อยและกับการเติบโต เพราะยา ที่ดีนั้นต้องขม ฝากถึงคนที่ต้องการเป็นนักเขียน อยากเป็นนักเขียน มี 3 สิ่งที่ต้องทำครับ คือ เขียน เขียน และเขียน


นุษยวิเทศคดี จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2556-มกราคม 2557 5


การเขียนบทความเชิงวรรณกรรม อ.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย

นุษยวิเทศคดี

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

6

ในการผลิ ต ผลงานวิ ช าการด้ า นมนุ ษ ยศาสตร์ นักวิชาการทุกท่านคงเริ่มต้นทำงานด้วยการเลือกหัวข้อที่ตน สนใจ โดยส่วนตัว ผู้เขียนมักสนใจประเด็นเก่าที่เคยอยู่ในกระแส ในอดีต แต่ได้เสื่อมความนิยมไปมากแล้วในปัจจุบัน ผู้เขียน มองว่า ประเด็นจำพวกนี้มีเนื้อหามากมายให้ศึกษาและเป็น เนื้อหาที่ยังไม่ตาย แม้ว่าจะถูกถกเถียงหักล้างจนเกิดสิ่งใหม่ ขึ้นแทนที่ การศึกษาประเด็นเก่าเพื่อคิดใหม่จึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย และน่าสนใจ ที่ผ่านมา ผู้เขียนสนใจศึกษาวรรณกรรมที่มีลักษณะ รื้อถอน โดยอ่านเทียบเคียงกับทฤษฎีปรัชญาของ มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger) ซึ่งผลิตผลงานช่วงกลาง ศตวรรษที่ 20 ผู้เขียนพบว่า งานของ Heidegger มีลักษณะ คลี่คลายแนวคิดบริสุทธ์ของนักปรัชญาคลาสสิค ซึ่งการคลี่คลาย ดังกล่าวกลับเสริมสร้างให้แนวคิดปรัชญาบริสุทธิ์เข้มแข็งยิ่งขึ้น ในการศึกษาที่ผ่านมา ผู้เขียนนำทฤษฎีปรัชญาของ ไฮเดกเกอร์ (Heidegger) วางเทียบเคียงกับงานวรรณกรรมที่มีลักษณะ รื้อถอน เพื่อชี้ให้เห็นว่าวรรณกรรมที่มุ่งรื้อทำลายแนวคิดบริสุทธิ์ ของปรัชญาคลาสสิค บางครั้งกลับเสริมสร้างให้แนวคิดดังกล่าว เข้มแข็งขึ้น แม้ตัวบทจะเปิดช่องให้เกิดการคลี่คลายในขณะ เดียวกัน ในการศึกษาทฤษฎีปรัชญากระแสเก่า ผู้ศึกษาคงต้อง สืบสาวหนังสือและบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุด เพื ่ อ หาช่ อ งทางต่ อ ยอดงานศึกษาเหล่านั้น ในกรณี ข อง ไฮเดกเกอร์ (Heidegger) บทความที่เกี่ยวข้องยังถูกผลิตออกมา ไม่ขาดสายและยังเปิดช่องให้ผู้ศึกษาในปัจจุบันสามารถสร้าง ประเด็นใหม่ๆ ที่น่าสนใจได้ นอกจากการสืบค้นข้อมูล ผู้เขียน ยังให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการอ่านงานทฤษฎีปรัชญาของ ไฮเดกเกอร์ (Heidegger) ซึ่งมักเป็นตัวบทที่ไม่ได้ถูกสร้างให้ หยุดนิ่ง ต้องอาศัยการทำความเข้าใจและโต้ตอบด้วยรูปแบบ เดียวกันเพื่อไม่ให้หลงทางจากบริบท

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2556-มกราคม 2557

อนึ่ง หนังสือและบทความหลายชิ้นที่ตอบโต้แนวคิด ของ ไฮเดกเกอร์ (Heidegger) นั้น เขียนโดยนักทฤษฎีปรัชญา ร่วมสมัย ซึ่งอยู่ในกระแสที่มีลักษณะเฉพาะและแตกต่างจาก บริบทของ ไฮเดกเกอร์ (Heidegger) เมื่อกลางศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ งานศึกษาแต่ละชิ้นยังมีลักษณะเฉพาะในตัวเอง ผู ้ เ ขี ย นจึ ง ต้ อ งระมั ด ระวั ง เป็ น พิ เ ศษในการศึ ก ษาแม้ ก ระทั ่ ง บทวิจารณ์ที่รายล้อมทฤษฎีหลัก และเนื่องจากผู้เขียนศึกษางานวรรณกรรม วิธีการ ตอบโต้กับตัวบทวรรณกรรมก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ผู้ศึกษา คงต้องสืบค้นบทวิเคราะห์หรือวิจารณ์งานวรรณกรรมที่จะใช้ ศึกษาผ่านหนังสือและบทความตามวารสารวิชาการ และ ประมวลแนวคิดทั้งหมดเพื่อสร้างแนวคิดของตนต่อประเด็น ในงานวรรณกรรม นอกจากนี้ ผู้เขียนเชื่อว่า การศึกษาบริบท ของงานวรรณกรรมและนักเขียนยังเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะทำให้ การตีความมีน้ำหนัก ผู้เขียนจึงให้ความสำคัญต่อการศึกษา บทสัมภาษณ์ คำนำ การตีพิมพ์หนังสือ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับ วรรณกรรมที่ใช้ในผลงาน หมายเหตุ: บทความเรื่อง Farce, Philosophy and Heidegger in Joel Fineman’s Reading of Wilde’s The Importance of Being Earnest โดย สถิตย์ ลีลาถาวรชัย ได้รับรางวัล Top Paper Award จากงานประชุมสัมนาวิชาการ International Conference on Advancement of Development Administration (ICADA) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2556 จัดโดย สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) “Unhiddenness is not simply one river bank and hiddenness the other, but the essence of truth as deconcealment is the bridge, or better, the bridging over of each towards and against the other” The Essence of Truth: On Plato’s Cave Allegory and Theaetetus โดย Martin Heidegger


เขียน-เสนองานวิจัยอย่างไร ให้โดนใจ...และได้รับรางวัล อ.ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ประการสุ ด ท้ า ยนี ้ เ ป็ น กลวิ ธ ี เ ฉพาะของผู ้ เ ขี ย นเอง การนำเสนองานวิจัยภาคบรรยาย หรือโปสเตอร์ คือการ ประชาสัมพันธ์งานวิจัยเรื่องหนึ่งๆ สู่สาธารณชนได้สะดวก และ รวดเร็วที่สุด ผลทางอ้อมของการนำเสนองานอีกนัยหนึ่งก็คือ การตีตราจองประเด็นวิจัยนั้นๆ ดังนั้นการนำเสนองานวิจัย ในการประชุมที่เฉพาะสาขาวิชาหรือมีห้องย่อยแยกแต่ละสาขา อย่างชัดเจน ย่อมเอื้อประโยชน์อีกทางหนึ่งให้งานวิจัยได้รับ รางวัล กลวิธีง่ายๆ ทั้งสี่ประการนี้ ผู้เขียนอาศัยครูพักลักจำ กอปรกั บ ได้ ร ั บ ประสบการณ์ ต รงตลอดหลายปี อ ั น ล่ ว งผ่ า น อนึ่งงานวิจัยจะมีค่ายิ่งก็ต่อเมื่อมีการนำไปใช้ อย่างไรก็ดี กระบวนการเขียน และการนำเสนอภาคบรรยายก็เป็นประโยชน์ ในลักษณะย่อยงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ให้กระชับ เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น จากการเขี ย นและนำเสนองานวิ จ ั ย มาบ้ า งทั ้ ง ในระดั บ ชาติ และนานาชาติ ผู ้ เ ขี ย นหวั ง ว่ า เทคนิ ควิ ธี ด ั ง กล่า วนี้ค งก่อ อรรถประโยชน์ยิ่งแก่ผู้อ่านตามสมควร

นุษยวิเทศคดี

การ “เขียนได้ เขียนเป็น” กลายเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่ “การเขียนให้โดนใจและพ่วงท้ายด้วยรางวัล” นี้ต่างหากที่เป็น เรื่องท้าทาย ด้วยเหตุดังกล่าวผู้เขียนจึงเกิดแรงบันดาลใจ ให้นำเสนอกลวิธีการเขียน ตลอดจนการนำเสนองานวิจัยในเวที วิชาการ เพื่อรับการพิจารณาให้ได้รับรางวัล ณ ห้ อ งประชุ ม ใหญ่ ข องศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เวลา 16.00 น. ผลงานวิจัยเรื่องคำเรียกสี ในภาษาอูรักลาโว้ยถิ่นภูเก็ตของผู้เขียน ได้รับคัดเลือกให้ได้รับ รางวัลดีเด่น ภาคบรรยายด้านมนุษยศาสตร์ ในการประชุม วิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณครั้งที่ 24 ประจำปี 2557 ความสำเร็จจากรางวัลนี้ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่ามีมูลเหตุสำคัญๆ 4 ประการที่ต้องการแบ่งปันเพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่าน กล่าวคือ ประการแรกสำคัญที่สุด ผู้วิจัยควรเขียนงานวิจัย เรื่องซึ่งตนเองรัก และมีทักษะ การเขียนบทความวิจัยควรเริ่ม จากประเด็นที่โปรดปรานและถนัด งานเขียนนั้นก็จะมีคุณภาพ คือน่าอ่าน เมื่อนำเสนอด้วยการบรรยายก็ย่อมน่าฟังด้วย ประการถัดมา ผู้วิจัยควรคำนึงว่าการเขียนบทความ วิจัย มิใช่การเขียนรายงานการวิจัย เนื่องจากพื้นที่สำหรับ 1 บทความวิจัยเพื่อการนำเสนอ ในการประชุมวิชาการ มี จ ำนวนหน้ า ที ่ จ ำกั ด เพียง 8-15 หน้าเท่านั้น การเขี ย นบทความวิ จ ั ย ที ่ ด ี จ ึ ง ควรประณี ต ตั ้ ง แต่ การตั้งชื่อบทความให้ครอบคลุม ตรงประเด็น เฉพาะบางส่วนของผลการวิจัย ที่ต้องการนำเสนอ เนื ้ อ หาของบทความจึ ง ควรกระชั บ ตลอดจน เสนอแนะแนวทางวิจัยต่อยอดด้วย เพื่อ ประโยชน์ แก่การขยายองค์ความรู้ประเด็นนั้นๆ ให้กว้างขวาง ส่ ว นกลวิ ธ ี ก ารนำเสนอภาคบรรยายที ่ น ่ า ประทับใจ สำหรับผู้ประเมินบทความและผู้ฟัง น่าจะเป็น การตอบคำถามท้ายการนำเสนอ ในลักษณะให้ผู้ฟังมีส่วน ร่วมคิดวิเคราะห์ด้วย

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2556-มกราคม 2557 7


ปี

นุษยวิเทศคดี

“คณะแห่งนวัตกรรมด้านมนุษยศาสตร์” นี้คือ เอกลักษณ์องค์กรที่คณะมนุษยศาสตร์ ได้ ก ำหนดไว้ โ ดยสอดรั บ กั บ วิ ส ั ย ทั ศ น์ ใ นการพร้ อ มอยู ่ ร ่ ว มประชาคมอาเซี ย นและประชาคมโลก การพัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมายดังกล่าวจำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูล และสาระที่เกี่ยวข้องกับการ สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านมนุษยศาสตร์ซึ่งเป็นความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ และประสบการณ์ทางภาษา ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม มาพัฒนาและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ อาจอยู่ในรูปแบบของชุดความรู้ งานจัดแสดงศิลปวัฒนธรรม หรือสื่อต่างๆ ผ่านกระบวนการคิด ในมุมมองต่างๆ ที่น่าสนใจ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการการศึกษาและเชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคตต่อไป หน่วยนวัตกรรมมนุษยศาสตร์ จึงได้จัดโครงการประกวดและเผยแพร่นวัตกรรมด้าน มนุษยศาสตร์ เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 10 ปีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในหัวข้อ “หนึ่งอัตลักษณ์ แห่งความหลากหลายในอาเซียน” ในรูปแบบการประกวดเรื่องสั้น และดุริยนาฏลีลา อาเซียน โดยมีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดทั้งในระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดี คณะมนุษยศาสตร์ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ดังต่อไปนี้

8

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2556-มกราคม 2557


โครงการประกวดและเผยแพร่นวัตกรรมด้านมนุษยศาสตร์ เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 10 ปี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผลการประกวดเรื่องสั้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รางวัลที่ 1 รอยรัก รางวัลที่ 2 ปาฏิหาริย์แห่งกาลเวลา รางวัลที่ 3 ค่ายอาเซียนรวมใจ เราชาวไทยร่วมมือ

นายธีระพร ช่วยโสภา นางสาวกัญญาณัฐ คำสีสังข์ นางสาวประภาวลี เทพพิทักษ์

โรงเรียนจ่านกร้อง โรงเรียนจ่านกร้อง โรงเรียนนครบางยางพิทยาคม

ระดับอุดมศึกษา รางวัลที่ 1 ไม่มีผู้ได้รับการคัดเลือก รางวัลที่ 2 วัน ละ สาร นางสาวศิรประภา นุชยิ้มย่อง มหาวิทยาลัยนเรศวร รางวัลที่ 3 เรียนรู้ภาษา เข้าใจวัฒนธรรม สร้างความก้าวหน้าและร่วมมือในกลุ่มอาเซียน นางสาวทารินทร์ ปิ่นทอง มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผลการตัดสินการประกวดดุริยนาฏลีลาอาเซียน นิสิตจากสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นิสิตจากสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นิสิตจากสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

นุษยวิเทศคดี

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รางวัลที่ 1 วง 10 series รางวัลที่ 2 วง 717 รางวัลที่ 3 วง เพลิน

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2556-มกราคม 2557

9


ประสบการณ์การประกวด... สุนทรพจน์ นางสาวจิราศิลป์ บุตรจันทร์ นิสิตสาขาวิชาภาษาเกาหลี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

นุษยวิเทศคดี

สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวจิราศิลป์ บุตรจันทร์ ตอนนี้ กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะมนุษยศาสตร์ สาขา ภาษาเกาหลีค่ะ ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2 คือของ ที่ระลึกจากประเทศเกาหลี ชุดฮันบก (ชุดประจำชาติเกาหลี) และทุนการศึกษา จำนวน 5,000 บาท จากการประกวด สุทรพจน์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ค่ะ ภาษาเกาหลีเป็น ภาษาที่คนนิยมใช้กันมากขึ้น และกำลังจะเข้าสู่อาเซียน ในอนาคต ดิฉันหวังว่าจะเป็นประโยนช์ต่อการ ศึกษาและอาชีพการงานที่ดีค่ะ ความภาคภูมิใจนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มี คณาจารย์ ส าขาวิ ช าภาษาเกาหลี ทุกท่าน ที่คอยฝึกสอนท่าทาง ในการพูด ควบคู่กับการออกเสียง และสำเนียงภาษาเกาหลี จาก ประสบการณ์นี้ ทำให้ดิฉันมั่นใจ และกล้ า ที ่ จ ะพู ด ภาษาเกาหลี มากขึ้นค่ะ

10

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2556-มกราคม 2557


นางสาวณัฐธิดา งามทรง นิสิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ดิฉันนางสาวณัฐธิดา งามทรง ได้รับคัดเลือกให้เป็น หนึ่งในตัวแทนผู้เข้าประกวด สุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่นประจำปี 2556 ณ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ เชียงใหม่ค่ะ หลังจากที่ได้รู้ว่าจะต้องเข้าแข่งขัน ฉันได้ฝึกกับ อ.ทาคุยะ ชิชิโดะค่ะ ในช่วงแรกๆ จะเป็นจำเนื้อหา ที่เราต้องพูดและมีการ แก้เนื้อหาเพื่อให้เนื้อเรื่องสละสลวยขึ้น จากนั้นก็เป็นการฝึกการ ออกเสียงให้ถูกต้องค่ะ และหลังจากที่ ฝึกซ้อมทั้งเรื่องสำเนียง ท่าทางแล้ว จากนั้นก็ได้มีโอกาสพูดหน้าชั้นเรียนให้น้องๆ และ เพื่อนๆ ฟังค่ะ เป็นการลดความประหม่าในการแข่งขันค่ะ จนในที่สุดฉันก็ได้รับรางวัลที่ 4 มาค่ะ ซึ่งรางวัลที่ได้รับเป็น โทรศัพท์มือถือโซนี่ Xperia L ค่ะ ซึ่งมือถือ เครื่องนี้ก็ได้ยกให้ คุณแม่ไปเรียบร้อยแล้วค่ะ จบการแข่งขันนี้ ฉันได้อะไรดีๆ กลับมามาก ทั้งมิตรภาพ ทั้งประสบการณ์ และเป็นการเหมือน เปิดโลกกว้าง ทำห้ฉันได้รู้ว่ายังมีอะไร อีกหลายอย่างที่เราต้อง เรียนรู้อีกมากค่ะ

นายศรัณยวุฒ กังวาลวงศ์ไพศาล ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษาประจำปี ๒๕๕๗ (English Speech Competition 2014) โดยโครงการจัดตั้งสถาบันภาษาร่วมกับสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ในการแข่งขันครั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับ ประสบการณ์ใหม่มากมาย เนื่องด้วยการแข่งขันสุนทรพจน์ครั้งนี้เป็นการแข่งขันครั้งแรกของผม โดยผมได้รับเทคนิคในการพูดใหม่ๆ จากเพื่อนๆ ในหลายสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้อุปกรณ์ประกอบการนำเสนอหรือการพูดที่ดูเป็นธรรมชาติ ส่วนในเรื่องการเตรียมตัวนั้น ในส่วนของเนื้อหาผมก็ได้ร่างไว้และนำไปปรึกษาอาจารย์ในภาควิชาภาษาอังกฤษ เพื่อนำมาแก้ไขในส่วนที่ไม่สมบรูณ์และยังได้เรียนรู้ คำศัพท์ใหม่ๆ และโครงสร้างประโยคที่สวยงามอีกด้วย รวมถึงการฝึกซ้อมกับตัวแทนอีกคนหนึ่งซึ่งเราสองทั้งสองคน จะพลัดกันพูด และคอยดูแลว่าเพื่อนจะพูดตามเนื้อหาได้ตรงหรือไม่ ใจความขาดหายหรือไม่ สำเนียงตรงไหนต้องเน้นเสียง และในการแข่งขันครั้งนี้ ผมได้รับรางวัลชมเชย ซึ่งได้สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ตัวผมเอง อีกทั้งยังสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับคณะมนุษยศาสตร์ และมหาวิทยาลัย นเรศวร อีกด้วย

นุษยวิเทศคดี

นิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : ธันวาคม 2556-มกราคม 2557 11


หลั ก สู ต ร

ระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ระดับปริญญาโท

เปิดสอน 5 สาขาวิชา ได้แก่ - สาขาวิชาภาษาไทย - สาขาวิชาภาษาอังกฤษ - สาขาวิชาวิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์

- สาขาวิชาภาษาศาสตร์

- สาขาวิชาคติชนวิทยา

ระดับปริญญาเอก

เปิดสอน 3 สาขาวิชา ได้แก่ - สาขาวิชาภาษาไทย

- สาขาวิชาภาษาศาสตร์

- สาขาวิชาคติชนวิทยา

เปิ ด รั บ นิ ส ิ ต ตลอดปี ก ารศึ ก ษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.0-5596-2055 วิสัยทัศน์ :

2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

วร

สุ

นุษยวิเทศคดี

าย ด ห ม ข่ า ว

ร ณ ภิงคา

คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และ นาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่ อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และสอดคล้องกับ ความต้องการของสังคมและประเทศ

ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตเลขที่ 85/2521 พิษณุโลก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.