Suwan11

Page 1

สุ

วรรณภิงคาร

ย ะ ม นุษ ศ า ส

ศว

มห

าวิท

ต ร์

คณ

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ยาลัยนเร

ปีที่ 8 ฉบับที่ 24 สิงหาคม-กันยายน 2555

ISSN : 1906-9014 (สงวนลิขสิทธิ์)

นานาทรรศนะ หน้า 3

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี...แรงบันดาลใจของนักคติชนรุ่นใหม่

นานาสาระทางวิชาการ หน้า 6

Local Language and Wisdom Preservation Fieldwork Project

กระดานศิษย์เก่า หน้า 8

ประสบการณ์ดนตรีประกอบละครเวทีในแบบ ลื้อ ลื้อ

วิจัยชวนคิด หน้า 10

สนามของคติชนที่ขยายขอบเขตไป จากไทย-ไท สู่ประชาคมอาเซียน


ที่ปรึกษา

คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต

บรรณาธิการ ดร.อรอุษา

สุวรรณประเทศ

กองบรรณาธิการ

ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์ อ.วราภรณ์ เชิดชู อ.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย อ.วทัญญ ฟักทอง ว่าที่ร้อยตรีมาโนชญ์ สองแกะ

ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ

เลขานุการ สุรีย์พร

บทบรรณาธิการ

นลินรัตนกุล ชุมแสง

งานประชาสัมพันธ์ :

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th ข้อมูลผู้เขียน 1. ณัฐธิดา ฟักขาว นิสิตปริญญาโทสาขาวิชาคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: rolilala_tu@windowlives.com 2. Ajarn Duangporn Thongnoi Department of English Faculty of Humanities, Naresuan University e-mail: suleebhorn@gmail.com 3. นพดล คชศิลา ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 4. รศ.ดร.ประจักษ์ สายแสง อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดีและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: prachakhas@nu.ac.th 5. ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดีและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: onusas@nu.ac.th 6. สุรีย์พร ชุมแสง นักประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: sureepornpr@yahoo.com

สุวรรณภิงคารฉบับนี้นำเสนอเรื่องราว “มนุษยศาสตร์กับท้องถิ่น” ซึ่งเป็นอีกบทบาทหนึ่งของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะ ศูนย์กลางการศึกษาของศาสตร์ด้านมนุษยศาสตร์ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ที่คำนึงถึงการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เน้นการมี ส่วนร่วมของชุมชน ให้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกปฏิบัติของนิสิต เชิดชู ปราชญ์ชาวบ้าน และปลูกฝังให้นิสิตรักท้องถิ่น เห็นคุณค่าของมรดกทาง วัฒนธรรมของชาติ และสามารถสืบทอดธำรงมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ เอาไว้ได้ บทบาทของคณะมนุ ษ ยศาสตร์ ก ั บ ท้ อ งถิ ่ น เห็ น ได้ จ ากกิ จ กรรม รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษานอกสถานที่กับผู้รู้ในชุมชน ในคอลัมน์ นานาทรรศนะ การออกค่ายกิจกรรมของนิสิตซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่าง การเรียนการสอน การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในคอลัมน์ นานาสาระทางวิชาการ ตลอดจนสามารถเห็นผลสำเร็จอันเป็นรูปธรรม จาก ศิษย์เก่า ในคอลัมน์กระดานศิษย์เก่า อย่างไรก็ตาม เมื่อปริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เปลี่ยนแปลงไป นิยามของคำว่า “ท้องถิ่น” ก็กำลังจะเปลี่ยนไปตามปริบท เหล่านั้น นักวิจัยทางมนุษยศาสตร์จะวิจัยอะไร ชวนคิดร่วมกันได้ในคอลัมน์ วิจัยชวนคิด หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สุวรรณภิงคารฉบับนี้ จะสามารถแสดงให้เห็น ถึงภาพของคณะมนุษยศาสตร์ในอีกแง่มุมหนึ่ง คือมุมที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ เครือข่ายท้องถิ่นและภาคประชาชนได้เป็นอย่างดี และขอขอบคุณผู้อ่าน ทุกท่านที่ติดตามสุวรรณภิงคารของเราด้วยดีเสมอมา

ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ บรรณาธิการ Onusas@nu.ac.th


พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี

จากความรักความชื่นชอบในศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน และหัวใจของความเป็นนักอนุรักษ์ความเป็นไทยของ“คุณลุงจ่า” หรือ จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ เจ้าของและผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก วันนี้ “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี” แหล่งรวบรวมภูมิปัญญาพื้นบ้านอันสูงค่า กำลังก้าวเข้าสู่ ทศวรรษที่ ๓ ของการที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ลูกหลานได้เรียนรู้ และ รู้จักตนเองจากความเป็นพื้นบ้าน คุณลุงจ่า หรือ จ่าสิบเอกทวี บูรณเขตต์ เจ้าของและ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี เป็นชาวพิษณุโลกโดยกำเนิด เดิมรับราชการทหารแต่ลาออกจากราชการมายึดอาชีพช่าง หล่อพระ ด้วยฝีมืออันประณีตของคุณลุงจ่า ปี ๒๕๒๖ คุณลุง จึงได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาการช่างฝีมือ แขนงช่างหล่อ จากสำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ และด้วยความชอบเก็บสะสมของใช้พื้นบ้าน เป็นงานอดิเรกมาตลอดชีวิต ในปีเดียวกันนี้เองคุณลุงจ่าจึงได้ เปิดบ้านเป็นพิพิธภัณฑ์ให้คนทั่วไปเข้าชม ภายใต้แนวคิดว่า จะเก็บอดีตให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและเข้าใจรากเหง้าของตนเอง ผู ้ เ ขี ย นมี โ อกาสได้ ส ั ม ผั ส ตั ว ตนและหั ว ใจของคนทำ พิพิธภัณฑ์อย่างคุณลุงจ่าทวีอย่างใกล้ชิด ในกิจกรรมการศึกษา คติชนในวัฒนธรรมประเพณีจากวิทยากรผู้รู้ในชุมชนซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของรายวิชาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคติชนวิทยา โดยมี ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ เป็นอาจารย์ประจำวิชาและผู้ควบคุม ดูแลนิสิตในการไปศึกษานอกสถานที่ ณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน

ณัฐธิดา ฟักขาว

นานาทรรศนะ

...แรงบันดาลใจของนักคติชนรุ่นใหม่

จ่าทวีในครั้งนี้ ก้าวแรกเมื่อเข้าไปถึงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี ก็สามารถสัมผัสได้ถึงหัวใจของความเป็นนักอนุรักษ์ความเป็น ไทยของคุณลุงจ่าที่มีมานะอดทนตั้งใจสะสมของพื้นบ้านไว้เพื่อ ให้ลูกหลานได้เรียนรู้และรู้จักตนเอง เข้าใจรากเหง้าของตนเอง ในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ส่วนต่างๆ จะมีวิทยากรซึ่งเป็นคนพื้นที่ ที ่ ม ี ห ั ว ใจของนั ก อนุ ร ั ก ษ์ เ ช่ น เดี ย วกั บ คุ ณ ลุ ง จ่ า คอยบรรยาย ความรู้และอธิบายถึงเกร็ดต่างๆ แต่ในการศึกษานอกสถานที่ ของพวกเราในครั้งนี้ คุณลุงจ่าได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร บรรยายด้วยตนเอง และพวกเรายังมีโอกาสได้นั่งพูดคุยและ สัมภาษณ์คุณลุงจ่าอย่างใกล้ชิดหลังจากเดินชมพิพิธภัณฑ์ครบ ทุกส่วนแล้วอีกด้วย ภายในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีประกอบไปด้วยอาคาร แสดงภูมิปัญญาและวิถีชีวิตต่างๆ เช่น ประวัติเมืองพิษณุโลก เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ อาทิ อุปกรณ์จับปลา จำพวกไซ ข้อง แห อุปกรณ์ดักสัตว์อย่างเช่น ดักหนู ดักลิง ดักแมลงสาบ กระต่ายขูดมะพร้าว ผ้าทอพื้นเมือง จับปิ้ง (เครื่องปิดบัง อวัยวะเพศของเด็กผู้หญิง มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม อาจทำจาก กะลาหรือเครื่องเงินหรือทองก็ได้ ตามแต่ฐานะของผู้สวมใส่) ฯลฯ ดนตรีพื้นบ้าน เช่น การเล่นเพลงมังคละ การเล่นเพลง พินเลเล ฯลฯ วิถีชีวิตของคนในสมัยก่อน เช่น การคลอดลูก การสร้ า งบ้ า นเรื อ น ฯลฯ ทำให้ ท ราบว่ า วิ ถ ี ช ี ว ิ ต ของเรา ในสมัยก่อนเเป็นอย่างไร

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2555

3


นานาทรรศนะ

ภู ม ิ ป ั ญ ญาใดบ้ า งที ่ ถ ู ก สร้ า งขึ ้ น เพื ่ อ ตอบสนองกั บ วิ ถ ี ช ี ว ิ ต เรายังได้เรียนรู้ที่มาของคำสุภาษิต สำนวนต่างๆ เรียนรู้ความ เชื่อต่างๆ ที่อยู่ในวิถีชีวิต เช่น ที่มาของคำว่า สุ่มสี่สุ่มห้า เกิดจาก การใช้สุ่มดักปลา เมื่อลงสุ่มครั้งแรกแล้วไม่ได้ปลาก็ลองครั้งใหม่ ลองครั้งที่สอง สาม สี่ ห้า เมื่อลองหลายครั้งเข้าก็กลายเป็น ที่มาของคำว่า “สุ่มสี่สุ่มห้า” เกิดจากการไม่ตั้งใจทำอะไร ให้สำเร็จในครั้งเดียวทำอะไรสุ่มๆ ไม่มุ่งมั่นตั้งใจ หรือความเชื่อ ที่แทรกอยู่ในภูมิปัญญาของการสร้างกระไดขึ้นเรือน ว่าต้อง สร้างได้เป็นเลขคี่ เพราะมีความเชื่อว่า “กระไดคู่กระไดผี กระไดคี่กระไดคน” เป็นต้น

และในโอกาสขึ้นปีที่ ๓๐ ของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี คุ ณ ลุ ง จ่ า ก็ ไ ด้ เ พิ ่ ม ส่ ว นจั ด แสดงพั น ธุ ์ ป ลาน้ ำ จื ด ของจั ง หวั ด พิษณุโลก นอกเหนือไปจากสวนนกไทยศึกษาที่มีอยู่แล้วอีกด้วย เพื่อพัฒนาให้พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับ วัฒนธรรมพื้นบ้านและวิถีชีวิตของชาวพิษณุโลกในทุกๆ ด้าน ความรู ้ ร อบตั ว ที ่ อ ยู ่ ใ นวิ ถ ี ช ี ว ิ ต ที ่ เ ราหลงลื ม ในการ ตามหาความหมาย ลืมแก่นแกนของชีวิตเราเอง มองข้าม ความสำคัญของภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษที่ได้สั่งสมและสร้างสรรค์ มาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ในบางครั้งการหาความหมาย โดยการย้อนกลับและมองวิถีชีวิตของตนเอง มองโดยปราศจาก อคติใดๆ มองให้ลึกซึ้งเหมือนที่ลุงจ่าทวีได้มองเห็น และเข้าใจ มาก่อนหน้าเราว่า สำคัญเพียงใดกับการที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจ รากเหง้าของตนเอง

ณัฐธิดา ฟักขาว

“ตอนนี้เด็กไทยไม่ต้องการเป็นตัวเอง ต้องการเป็น ต่างชาติ แต่งกาย วาจาจะเป็นต่างชาติ ไม่เป็นตัวเอง ไม่รู้จัก บรรพบุรุษ ไม่มีเอกลักษณ์ศักดิ์ศรีอะไรเลย ลอกเลียนเขาหมด ทุกอย่าง เป็นทั้งเกาหลี เป็นทั้งฝรั่ง เลยไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร ไม่สนับสนุน ปู่ย่าตาทวดเปลี่ยนตัวเองเป็นคนอื่น” ทวี บูรณเขตต์,๑๔ ก.ย. ๕๕, สัมภาษณ์ แม้จะยากลำบากเพียงใด แต่ด้วยความรักในงาน อนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน คุณลุงจ่าจึงมีแรงผลักดัน ให้หล่อหลอมผลงานชิ้นเอกที่เกิดจากงานอดิเรกออกมาเป็น พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีที่ทรงคุณค่ายิ่งในปัจจุบัน แต่ด้วย ความรั ก เพี ย งอย่ า งเดี ย วไม่ เ พี ย งพอที ่ จ ะต่ อ ลมหายใจของ พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีจึงเกิดวิกฤตหลายครั้ง ในเรื่องการแบกรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง กับพิพิธภัณฑ์ อย่างไรก็ดี ด้วยกำลังใจ จากครอบครั ว และความมุ ่ ง มั ่ น ที ่ จ ะสร้ า ง ประโยชน์ให้กับประเทศชาติ สร้างความรู้ให้เกิดแก่ เยาวชนไทย คุณลุงจ่าจึงยังคงมุ่งมั่น และต่อสู้เพื่อให้ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวียังคงอยู่ต่อไป “เรานี้ได้ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ คนอื่น เขาว่าผมไม่ทำประโยชน์ ลูกหลานไม่มาเรียนถือว่า “โง่” เรานี่มี สารพัด ทั้งใบไม้ใบหญ้าคนอื่นเขาเก็บแต่สังคโลก พระพุทธรูป นี่มันพื้นบ้านพื้นเมือง มหาวิทยาลัยไหนก็ไม่มีเป็นที่ภูมิใจ” ทวี บูรณเขตต์,๑๔ ก.ย. ๕๕, สัมภาษณ์ ด้วยหัวใจของนักอนุรักษ์ที่มุ่งมั่นจะสร้างให้เกิดการ เรียนรู้ของเยาวชนให้รู้จักตนเอง ในฐานะนักคติชนมือใหม่ ได้เข้ามาสัมผัส และเรียนรู้ถึงแนวทางและวิธีคิดของคุณลุงจ่าทวี

4

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2555


นานาทรรศนะ

๓. การเน้นวิชาชีพมากกว่าวิชาการ มากว่าการ สร้างสรรค์ความรู้ให้กับสังคม มุ่งแต่ผลผลิตทางเศรษฐกิจ ทำให้คนที่จะมาดูแลสานต่อด้านวัฒนธรรมของชาติขาดแคลน จากการพูดคุยอย่างใกล้ชิดกับคุณลุงจ่า ทำให้เห็น ได้ว่าคุณลุงจ่าทวีรักและตั้งใจที่จะสร้าง “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี” แห่งนี้ให้เป็นแหล่งการศึกษาพื้นบ้านของเยาวชนไทย ให้ได้มาเรียนรู้และรู้จักตนเอง และอีกสิ่งหนึ่งที่นักคติชนมือใหม่ อย่างข้าพเจ้าสัมผัสได้ ก็คือ “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี” ไม่ได้ เป็นเพียงพิพิธภัณฑ์โบราณ เป็นโรงเก็บของเก่าอย่างที่หลายคน คิดภาพไว้ หากแต่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีเป็นพิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่นที่มีชีวิต มีลมหายใจอันเกิดความตั้งใจจริงของลุงจ่าทวี ผสมอยู่ด้วย จึงก่อเกิดเป็น “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี” อันทรง คุณค่ายิ่ง ที่จะอนุรักษ์และสืบทอดองค์ความรู้ของท้องถิ่น ให้คงอยู่ยั่งยืนสืบไป

ณัฐธิดา ฟักขาว

บูรณเขตต์ ยิ่งทำให้เกิดการคิดต่อและเกิดแรงบันดาลใจ ต่อไปอีกว่า เราในฐานะนักคติชนคนหนึ่งย่อมต้องมีหน้าที่ ในการสานต่อ เรียนรู้ และเข้าใจความเป็นตัวเราเสียก่อนว่า ความเป็ น ไทยภู ม ิ ป ั ญ ญาแบบพื ้ น บ้ า นไทยก็ ม ี ศ ั ก ดิ ์ ศ รี แ ละ เอกลักษณ์ไม่น้อยไปกว่าชาติอื่นๆ คุณลุงจ่ายังได้มอบแนวคิด ให้เราในฐานะนักคติชนได้ฉุกคิดว่าต้องหันกลับมาย้อนมอง ตัวเอง มองให้เห็นความเป็นตัวเราจากตัวเราเอง ไม่ใช่มองเห็น คนอื่นในตัวเราเอง นอกจากนี้ยังได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ การศึ ก ษาของไทยที ่ ส ่ ง ผลกระทบต่ อ การอนุ ร ั ก ษ์ ว ั ฒ นธรรม พื้นบ้านว่า ๑. การศึกษาทำให้เด็กมาสนใจวัฒนธรรมพื้นบ้าน ได้ไม่ต่อเนื่อง ๒. การเรียนการสอนยังขาดการสร้างแนวคิดการ อนุรักษ์ในหมู่เยาวชน

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2555

5


นานาสาระทางวิชาการ

Local Language and Wisdom Preservation Fieldwork Project Ajarn Duangporn Thongnoi Translated from the summary report of the department of language and folklore's project.

Ajarn Duangporn Thongnoi

The Local Language and Wisdom Preservation Fieldwork Project of the former department of language and folklore (now divided into the department of Thai language, the department of linguistics, and the department of literature and folklore) was organized to integrate education, student activity, research and cultural preservation to enable the students to be the leading language and culture researchers. The project also enables them to participate in culture, language, and local wisdom preservation and organize the cultural preservation cooperation between the department and local communities. The location of this fieldtrip is Bannamjuang, TambonBopak ,Charttrakarn district, Phitsanulok where the White Hmongs are living. The village is located in Phusoydaow National Park, 42 kilometres from the centre of Chart-

6

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2555

trakran district. As this area is the border between Thailand and Laos, there are many villages of the White Hmongs and Green Hmongs. They live in the villages with their own clans. Hmongs in Thailand and Laos always communicate and visit each other, hence the lingua franca are Hmong and Lao languages. Thai is used only when they have to do document work with government authorities and when they are educated in schools. White Hmong language Hmong language at Bannamjuang consists of 56 consonants, 14 vowels and 7 tones. The syllabus structure is C(C)(V)V and the sentence structure is SV(O). The Roman alphabets are used in written system. Hmong is an isolated language. Example of White Hmong vocabularies are shown in the table below:


Woven textile The White Hmong’s beautiful shell patterns which have been passed down for generations show local wisdom and uniqueness. The patterns are still popular and used in the dress of the tribe.

นานาสาระทางวิชาการ

Local wisdoms White Hmong wisdoms show beliefs and traditions inherited from their ancestors such as follows:

After the fieldtrip, the department of Linguistics, the department of Thai language and the department of literature and folklore organized the student presentation session to enable the students to be able to present their works to the public and develop the desirable graduate characteristics. The presentation session was organized on 20 September 2012 at HU1103, Faculty of Humanities building. White Hmongs from Bannamjuang were invited to exhibit their unique tradition and culture to the public.

The spirit rite The White Hmongs believe in family spirit. They have the “spirit rite” performed by the shaman or the witch doctor to bring back people’s good spirits. They believe that the rite can protect their descendants and get rid of misfortunes.

Ajarn Duangporn Thongnoi

Local dishes White Hmongs always use fresh herbs and vegetables that have medical properties to cook, hence their dishes are healthy. Child play Apart from original plays and games that are similar to those in the central part of Thailand such as Toey, Jamjee, or snake dance, (but the games’ songs are in Hmong language) White Hmong children also use modern things in their daily lives such as rubber tires to make toys.

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2555

7


ประสบการณ์ดนตรีประกอบละครเวที กระดานศิษย์เก่า

ในแบบ ลื้อ ลื้อ

นพดล คชศิลา

นพดล คชศิลา เป็นศิษย์เก่าสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หลังจาก สำเร็จการศึกษาได้เข้ารับราชการครูสอนดนตรีไทย ที่โรงเรียน วัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์ฯ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร และได้สร้างผลงานออกมามากมาย อาทิ - ออกแบบและควบคุมการบรรเลงดนตรีพื้นบ้าน ภาคเหนือประกอบ ละครเวทีเรื่อง “ศศิวิภา ริชาต์สัน” สาขา วิชาศิลปะการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา ในปี พ.ศ. 2555 - เผยแพร่การบรรเลงพิณเปี๊ยะ บันทึกภาพและเสียง โครงการดุ ร ิ ย ทรรศน์รัตนโกสิน ทร์ โดยหอสมุ ด ดนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สำนักหอสมุด แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2555 - ที่ปรึกษางานวิจัย บรรเลงดนตรี ควบคุมการ ฝึกซ้อมการบรรเลงดนตรีไตลื้อ ประกอบละครเวทีร่วมสมัย เรื่อง“ลังกาสิบโห”ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2555-2556 จดหมายข่าวสุวรรณภิงคารฉบับนี้ จึงได้มีโอกาส

8

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2555

สัมภาษณ์ศิษย์เก่าคนเก่งเกี่ยวกับ “ประสบการณ์ดนตรี ประกอบละครเวทีในแบบ ลื้อ ลื้อ” ที่นพดล ต้องการ อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านให้คงอยู่ต่อไป ความว่า ... “ ในช่วงกลางปี 2555 ผู้เขียนได้รับการติดต่อจาก ผศ. พรรัตน์ ดำรุง ภาควิชาศิลปะการแสดง คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการบรรเลงดนตรีไตลื้อ และ บันทึกเสียงปี่ไตลื้อ เพื่อประกอบละครเวทีเรื่อง “ลังกาสิบโห” ซึ่งเป็นละครเวทีที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จากสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยมีเนื้อหาในเรื่องที่ถอด มาจากวรรณกรรมไตลื้อ และการสร้างบทละครขึ้นมาจาก สภาพสังคมปัจจุบัน โดยละครเรื่องนี้ จะได้แสดง ณ ประเทศ ไต้หวัน เป็นที่แรก ความท้าทายของการใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน ในการ ประกอบละครเวทีเรื่องนี้ หนีไม่พ้นหัวเรื่องใหญ่ๆ คือ 1. ไม่เคยบรรเลงเครื่องดนตรีไตลื้อ ประกอบละครเวทีมาก่อน เพราะไม่มีอยู่ในบริบทการบรรเลง 2. การสร้างเสียงของเครื่องดนตรีเพื่อให้เข้ากับเวลา และ อารมณ์ของการแสดง


นพดล คชศิลา

กระดานศิษย์เก่า

3. การบันทึกเสียง และการขยายเสียงเพื่อใช้ในการแสดงจริง ซึ ่ ง ตั ว ผู ้ เ ขี ย นเองแก้ ป ั ญ หาเหล่ า นี ้ ไ ด้ ด ้ ว ยการร่ ว ม ฝึกซ้อม และประกอบกับมีประสบการณ์ในการบรรเลงดนตรี ประกอบการแสดงโขน-ละคร ในขณะที่ศึกษาที่สาขาวิชา ดุริยางคศาสตร์ไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อยู่แล้วบ้าง จึงสามารถบรรเลงดนตรีและบันทึกเสียงจน การแสดงเป็นไปได้ด้วยดี ในโอกาสต่อมา คือ ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2555 ละครเวทีเรื่องลังกาสิบโห ได้มาแสดงเผยแพร่ที่ อ.เชียงคำ จ.พะเยา และจ.ลำปาง คณะทำงานจึงได้ปรับการบรรเลง ดนตรีประกอบละครใหม่ทั้งหมด โดยใช้เครื่องดนตรี คือ ซึง สะล้อ และกลองต่างๆ เพิ่มเข้ามา โดยได้รับการสนับสนุนจาก สมาคมไทลื้อ จ.พะเยา และมีนักดนตรีกลุ่มหลานหลิน เจ้าหลวงเมืองล้า ต.น้ำแวน อ.เชียงคำ จ.พะเยา ในการร่วม บรรเลงดนตรีสดประกอบละครเวทีในครั้งนั้น ซึ่งได้รับความ เมตตาจาก ครูมิ สินนภา สารสาส ในการออกแบบ เสียงจากเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ให้การเป็นเสียงลม เสียงมาร และอีกหลายเสียงที่นักดนตรีบ้านๆ แบบผู้เขียน คาดไม่ถึง การแสดงในครั้งนั้นเรียกได้ว่า จุดประกายหรือเติมเชื้อไฟ ให้ ก ั บ นั ก ดนตรี แ ละชาวบ้ า นให้ เ ริ ่ ม สื บ สานรากเหง้ า ของ ตนเองและตามรอยของบรรพบุ ร ุ ษ ชาวไตลื ้ อ ของเขา ได้เป็นอย่างดี และในระหว่างวันที่ 16-28 มกราคม พ.ศ. 2556 ในเทศกาล Our Roots Right Now ก้าวหน้า จากรากแก้ว ในโครงการเวทีวิจัยและเทศกาลละครเวที ร่วมสมัยไทย–อาเซียน ที่หอประชุมศูนย์ศิลปการละคร สดใส พันธุมโกมล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ละครเวทีเรื่อง ลังกาสิบโห ก็เป็นหนึ่งในการแสดงของประเทศ ไทย ที่มีการใช้ดนตรีสดประกอบการแสดงละคร ซึ่งสร้างความ ประทับใจกับตัวผู้เขียนเอง นักแสดงและผู้ชมทั้งชาวไทย และ ชาวต่างชาติ เป็นอย่างมาก ดนตรีของชาวไตลื้อ คงส่งเสียงดังต่อไป ตราบเท่าที่ มีคนมองเห็นคุณค่าและมีคนซาบซึ้งถึงความงาม หากท่าน ผู้อ่านต้องการรับชม รับฟังการแสดงละครเรื่อง ลังกาสิบโห หรือดนตรีไตลื้อแบบต่างๆ เพียงท่านเปิดโปรแกรม YOUTUBE และพิมพ์ในช่องค้นหาด้วยคำว่า “ลังกาสิบโห” “ขับลื้อ” หรือ “DAI LUE” ท่านก็จะได้รับชม ศิลปะและบทเพลงที่ภาคภูมิใจ ของเราในแบบ ลื้อ ลื้อ

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2555

9


ม ค า ช ะ ร ป ่ ู ส ท ไ ย ท ไ จาก สน

รศ.ดร.ประจักษ์ สายแสง ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ เมื่อกล่าวถึงการศึกษาวิจัยทางคติชนวิทยาแต่เดิมมา ตั้งแต่วิชานี้เข้ามาในเมืองไทยเมื่อราว 40 ปีมาแล้วนั้น จะเห็น ได้ว่า การศึกษาวิจัยส่วนใหญ่เน้นการศึกษาผลผลิตทาง วั ฒ นธรรมของกลุ ่ ม ชนในสนามที ่ อ ยู ่ ใ นขอบเขตของ ประเทศไทย หรือจะเลยออกนอกประเทศไปบ้าง ก็เป็นแต่เพียง เขตพื้นที่ที่กลุ่มชนชาติไทอาศัยอยู่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อปริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เปลี่ยนแปลงไป ประเทศไทยและอีก 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ จะรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวในฐานะ “ประชาคม อาเซียน” ก็ทำให้ตระหนักว่านิยามของคำว่า “ท้องถิ่น” สำหรับ นักคติชนนั้น อาจจะต้องมองให้กว้างขวางออกไปด้วยเช่นกัน ทีนี้ เมื่อท้องถิ่นเปลี่ยนไปจาก ไทย-ไท กลายเป็น ประชาคมอาเซียน คำถามก็คือ เราจะศึกษาอะไรในพื้นที่สนาม ที่ขยายขอบเขตออกไปนี้ อันที่จริง ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งในปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของประเทศอันจะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ได้มีการติดต่อประสานกันทางวัฒนธรรมมาเป็นเวลาไม่น้อย กว่า 7 ทศวรรษ โดยเฉพาะทางภาษา วรรณกรรมและดนตรี ว่าด้วยทางดนตรี คนไทยสนใจและเป็นมิตรทาง สุนทรียะกับชนชาติต่างๆ เห็นได้จากเพลงไทยที่มีทำนองเลียน สำเนียงของชนชาติต่างๆ เรียกกันว่า ออก 12 ภาษา ปรากฏ ในชื่อเพลง เช่น ลาวกะแซ เขมรเป่าใบไม้ ทยอยญวน แขกเชิญเจ้า พม่าเห่ มอญมอบเรือ ฯลฯ ว่าด้วยการละเล่น ชื่อการละเล่นบางประเภทปรากฏ ชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น แสกเต้นสาก โซ่ทั่งบั้ง มอญซ่อนผ้า คุลาตีไม้ ฯลฯ ว่าด้วยวรรณกรรม วรรณกรรมลาวกับวรรณกรรม อี ส านของไทยมี ลั ก ษณะเป็ น อั น หนึ่ ง อัน เดีย วกั นจนไม่ น่ า จะ ทึกทักเอาว่าเป็นวรรณกรรมของใคร เช่น วรรณกรรมเรื่อง ขุนทึง ขุนเทือง การะเกด สินไซ ท้าวปลาแดกปลาสมอ ท้าวก่ำกาดำ ท้าวขูลูนางอั้ว ส่วนวรรณกรรมซึ่งถ่ายทอดกันมาก็มีไม่น้อย เช่น

รศ.ดร.ประจักษ์ สายแสง, ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ

วิจัยชวนคิด

ไป ต ข เ บ อ ข ย า ย ข ่ ี ท น ช ิ ต ค อาเซียน ามของ

10

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2555

พระราชนิพนธ์เรื่องดาหลัง ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชนิพนธ์ เรื่องอิเหนาในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทั้งสองเรื่องนี้มีเค้ามาจาก ชวาอินโดนีเซีย วรรณกรรม เรื่องเณรแก้วของกัมพูชา ได้ไปจาก เรื่องขุนช้างขุนแผน ของไทย เป็นต้น เรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งคือคำในภาษาต่างๆ ในดินแดนเหล่านี้ คำว่า หนู (a rat) พม่าเรียกว่า จ็วด เวียดนาม ก็เรียกว่า จ็วด ไทยเรียกปีที่มีสัญลักษณ์หนูว่า ปีชวด เวียดนาม เรียกแพะว่า เซ หรือ เย พม่าเรียกแพะว่า เสะ เวียดนาม เรียกไก่ว่า ก่า ไทยเรามีปีระกา เวียดนาม เรียกงูใหญ่ มังกรว่า หร่ง ไทยมีปีมะโรง เวียดนามเรียก กระต่ายว่าถ้อ ไทยมีปีเถาะ เวียดนามเรียกสุนัขว่า จ๊อ ไทยมี ปีจอ ในขณะที่กัมพูชาเรียก สุนัขว่า จ๊อแก หรือ จะแก เวียดนาม เรียกมะม่วงว่า สว่าย กัมพูชาเรียกมะม่วงว่า สวาย ไทยเรามี มะม่วงชนิดหนึ่งเรียกว่า มะม่วงสวาย สุกรซึ่งเป็นที่นิยมของคนจีนในมาเลเซียคือสุกรจาก ประเทศไทย เรียกว่า ตือเซียม คำว่า ตือเซียม นี้ ในเวลา ต่อมาเป็นคำที่ส่อความหมายไปในทางไม่เหมาะสม เพราะ หมายถึ ง นั ก ท่ อ งเที ่ ย วไทยซึ ่ ง ชอบไปจั บ จ่ า ยของในมาเลเซี ย และถูกหลอกให้ซื้อสินค้าราคาถูกในราคาแพง เป็ดไทยเป็นที่ นิยมในเวียดนาม เรียกชื่อเป็นภาษา เวียดนามว่า หวิดเซียม หวิด หมายถึง เป็ด เซียม หมายถึง สยาม หยิบยกมาเพียงเรื่องภาษา วรรณกรรม และดนตรี ยังเห็นประเด็นชวนวิจัยมากมาย ในเรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นกีฬา การละเล่นพื้นบ้าน อาหาร ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ฯลฯ ก็ยังมีประเด็นให้ศึกษาเปรียบเทียบอีกมาก ใครที่คิดจะทำวิจัย แต่ยังไม่มีหัวข้อ ก็อาจหันมามองพื้นที่สนามอาเซียนดูบ้าง จะวิจัยเล็ก วิจัยใหญ่ หรือวิจัยชุดโครงการ หัวข้ออินเทรนด์ ขนาดนี้ เชื่อแน่ว่ามีทุนวิจัยมากมายจากหลายแหล่งทุนรออยู่ แน่นอน


วันที่ 27 สิงหาคม 2555 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิรัช นิยมธรรม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและคณาจารย์ภาควิชาภาษาตะวันออก ร่วมให้ การต้อนรับ คณะผู้ดูงานจากคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ที่เดินทางมาศึกษาดูงาน การจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาภาษาพม่า และศูนย์ พม่าศึกษา ณ ห้องประชุม HU 1307 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

วันที่ 17 กันยายน 2555 รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ พร้อมด้วย คณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ ร่วมให้การต้อนรับคณาจารย์ และนิสิตจากคณะภาษาและศิลปะ มหาวิทยาลัยย็อกยาการ์ต้า (Yogyakarta State University) ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ที ่ เ ดิ น ทางมาแลกเปลี ่ ย นทางภาษา และวั ฒ นธรรม ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : สิงหาคม-กันยายน 2555

11

ข่าวกิจกรรม สุรีย์พร ชุมแสง

วันที่ 18 สิงหาคม 2555 ผู้ช่วยศาสตราจารย์แก้วกร เมืองแก้ว รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการ “ปลูกแฝกรักษ์ต้นน้ำ ตามคำแม่ของแผ่นดิน” จัดโดย งานกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ เพื่อ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมี พระชนมายุครบ 80 พรรษา เนื่องในวันพระราชสมภพ 12 สิงหามหาราชินี ณ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัด พิษณุโลก

วันที่ 23 สิงหาคม 2555 คณ ะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ลงนาม ความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับคณะมนุษยศาสตร์และสั งคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม เป็นระยะเวลา 4 ปี เพื่อ ร่วมมือกันดำเนินกิจกรรม และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้ การค้นคว้าวิจัยทางด้าน มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพ ื่อประโยชน์ในการพัฒนา คุณภาพการศึกษา โดยมี รองศาส ตราจารย์ ดร.กาญจนา วิชญาปกรณ์ คณบดีคณะมนุษยศาส ตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมลงนามกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย ์ ดร.ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม ณ มหาวิทยาลัยมหาสารค าม


วารสารมนุษมหาวิยศาสตร์ ทยาลัยนเรศวร เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ ของอาจารย์ และนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ ตลอดจน บุคคลทั่วไป สนใจติดต่อกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ โทร. 0-5596-2006

วิสัยทัศน์ :

ย ะ ม นุษ ศ า ส

ร ศว

มห

าวิท

ต ร์

คณ

คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ

ยาลัยนเร

ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และ สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศ 2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร

สุวรรณภิงคาร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ชำระค่ า ฝากส่ ง เป็ น รายเดื อ น ใบอนุ ญ าตเลขที ่ 85/2521 พิ ษ ณุ โ ลก

ท่ า นที ่ ส นใจจดหมายข่ า วนี ้ กรุ ณ าส่ ง ชื ่ อ ที ่ อ ยู ่ ข องท่ า นมายั ง งานประชาสั ม พั น ธ์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร อ.เมื อ ง จ.พิ ษ ณุ โ ลก 65000 โทรศั พ ท์ 0-5596-2035 โทรสาร 0-5596-2000 ไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยใดๆ ทั ้ ง สิ ้ น

สุวรรณภิงคาร

หรื อ “กลศ” หมายถึ ง หม้ อ ดิ น สำหรั บ ใส่ น ้ ำ ดิ น และน้ ำ เป็ น แม่ บ ทของสิ ่ ง ทั ้ ง ปวง อั น เปรี ย บได้ ก ั บ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ ที ่ เ ป็ น รากฐานแห่ ง ศาสตร์ ท ั ้ ง ปวง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.