สุ
วรรณภิงคาร
ย ะ ม นุษ ศ า ส
ร ศว
มห
าวิท
ต ร์
คณ
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ยาลัยนเร
ปีที่ 7 ฉบับที่ 15 กุมภาพันธ์-มีนาคม 2554
ISSN : 1906-9014 (สงวนลิขสิทธิ์)
นานาทรรศนะ หน้า 3
คมความคิด บัณฑิต “มนุษยฯ” สัมภาษณ์บัณฑิตคณะมนุษยศาสตร์ ประจำปี 2552
นานาสาระทางวิชาการ หน้า 6
รู้จักและเข้าใจ “วิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์”
เก็บมาฝาก หน้า 8
สีสันแห่งศรัทธา นำพาสู่อินเดีย
กระดานศิษย์เก่า หน้า 10 ขอแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าดีเด่น
ที่ปรึกษา
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต รองคณบดีฝ่ายวิจัย
บรรณาธิการ ดร.อรอุษา
บทบรรณาธิการ
สุวรรณประเทศ
กองบรรณาธิการ ดร.ชมนาด อ.สถิตาภรณ์ อ.วราภรณ์ อ.สถิตย์ อ.ศิระวัสฐ์
ศิลปกรรม ณัฐวุฒิ
เลขานุการ สุรีย์พร
อินทจามรรักษ์ ศรีหิรัญ เชิดชู ลีลาถาวรชัย กาวิละนันท์
นลินรัตนกุล ชุมแสง
งานประชาสัมพันธ์ :
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-5596-2035 http://www.human.nu.ac.th ข้อมูลผู้เขียน 1. อ.สถิตาภรณ์ ศรีหิรัญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ e-mail: cookies_min@hotmail.com 2. ผศ.คมกริช การินทร์ หัวหน้าภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ e-mail: khomkrichk@nu.ac.th 3. ณัฐชยา นัจจนาวากุล รองหัวหน้าภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์ (หัวหน้าสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย) ภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ e-mail: nachaya85_n@yahoo.co.th 4. อ.ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาภาษาไทย โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ประธานชมรมศิษย์เก่าสุวรรณภิงคาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: van.kavi@hotmail.com 5. สุรีย์พร ชุมแสง นักประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร e-mail: sureepornpr@yahoo.com
สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านทุกท่าน สุวรรณภิงคารฉบับนี้ขอร่วมแสดงความยินดีกับ ดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิต และบัณฑิตใหม่ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่เข้ารับพระราชทาน ปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2552 เมื่อวันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา และในเดือนเดียวกันนี้เอง คณะมนุษยศาสตร์ยังได้มีการจัดโครงการวันเกียรติยศ และ ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2553 ขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554 กองบรรณาธิการจึงขอแสดงความยินดีกับทั้งนิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัล ในโครงการดังกล่าวมา ณ โอกาสนี้ หลังจากที่สุวรรณภิงคารฉบับปรับโฉมต้อนรับศักราชใหม่ ได้เปิดตัวสู่สายตา ท่านผู้อ่านไปเมื่อเดือนที่แล้ว ก็ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดียิ่งจากท่านผู้อ่าน ทั้งภายใน และภายนอกคณะมนุษยศาสตร์ ทำให้พวกเรามีกำลังใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น กองบรรณาธิ ก ารขอขอบคุ ณ ทุ ก ท่ า นที ่ ต ิ ด ตามอ่ า นจดหมายข่ า วของเรามาโดยตลอด ที่สำคัญหลายท่านยังได้กรุณาให้คำแนะนำ และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ซึ่งเราก็ยินดี รับฟังและจะนำทุกเสียงทุกคำแนะนำของท่านมาพิจารณาปรับปรุงจดหมายข่าวของเรา ให้มีความทันสมัย มีเนื้อหาสาระที่เข้มข้น และเข้าถึงผู้อ่าน ทุกกลุ่มมากขึ้นต่อไปนะคะ มีผู้อ่านท่านหนึ่งเขียนอีเมล์มาถามดิฉันว่า สุวรรณภิงคาร เปิดรับบทความ จากบุคคลภายนอกหรือไม่ ดิฉันได้ตอบคำถามนี้โดยตรงถึงท่านผู้นั้นไปแล้วทางอีเมล์ แต่ขอนำมาตอบไว้ ณ ที่นี้ด้วยอีกครั้งหนึ่งว่า สุวรรณภิงคาร ยินดีเปิดรับข้อเขียนจาก ทุกท่านไม่ว่าจะเป็นบุคลากรภายในหรือภายนอกคณะมนุษยศาสตร์ โดยกองบรรณาธิการ จะพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับการส่งและความเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาของคอลัมน์ ประจำของเรา ซึ่งคอลัมน์ประจำของเราประกอบไปด้วย • นานาทรรศนะ หลากความคิดเห็นหลายมุมมอง จากการสัมภาษณ์บุคคล ที่จะช่วยเปิดมุมมองและขยายโลกทัศน์ของท่านให้กว้างขวางกว้างไกลออกไป • นานาสาระทางวิชาการ หลากความรู้หลายกระบวนการเกี่ยวกับวิชาการและ การเรียนการสอนจากทุกสาขาวิชาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหลอมรวมสู่ความสมบูรณ์ ในความเป็นมนุษยศาสตร์ • เก็บมาฝาก หลากเรื่องราวหลายประสบการณ์ที่คัดสรรมาถ่ายทอดเล่าสู่ กันฟัง • กระดานศิษย์เก่า ช่องทางสื่อสารระหว่างศิษย์เก่ากับศิษย์ปัจจุบัน และเวที ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของศิษย์เก่า เพื่อสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของศิษย์เก่าในการ พัฒนาคณะมนุษยศาสตร์และมหาวิทยาลัยนเรศวร • ข่าวกิจกรรม ข่าวดังและกิจกรรมเด่นในรอบเดือนของคณาจารย์ นิสิต และ บุคลากรคณะมนุษยศาสตร์ ที่จะช่วยให้ทุกท่านมองเห็นภาพคณะมนุษยศาสตร์ชัดเจน ยิ่งขึ้น ผู้สนใจสามารถส่งข้อเขียนมาตีพิมพ์กับเราได้ตามที่อยู่ของคณะมนุษยศาสตร์ ที่ปรากฏในจดหมายข่าวนี้ หรือจะส่งอีเมลถึงบรรณาธิการโดยตรงก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ บรรณาธิการ Onusas@nu.ac.th
์ ณ ษ ัมภา
ส
ได้รับ และสัมผัสได้ทุกครั้งที่ย่างก้าวเข้าไปยังคณะมนุษยศาสตร์ ผมจึงรู้สึกว่าที่นี่เหมือนบ้านของผมที่อบอวลไปด้วยความรัก ความอบอุ่น” (เฉลิมชัย ไกลทุกข์ บัณฑิตสาขาวิชา ดุริยางคศาสตร์สากล) แม้ ว ่ า การให้ ค วามรู ้ แ ละบรรยากาศที ่ ด ี ข องสถาบั น การศึกษาจะเป็นบทบาทหน้าที่ตามปกติของสถาบันการศึกษา โดยทั่วไป แต่สำหรับคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นยิ่งกว่านั้น ดังคำกล่าวของ ชวลิต จูเจี่ย บัณฑิตสาขา วิชาภาษาจีนว่า “คณะมนุษยศาสตร์ช่วยทำให้กรวดเม็ดเล็กๆ ให้กลายเป็นเพชรเม็ดงาม” ส่ ว นเมื ่ อ ถามถึ ง ความประทั บ ใจที ่ ม ี ต ่ อ คณะ มนุษยศาสตร์ เหล่าบัณฑิตกล่าวว่าคือ ความรัก ความเอาใจใส่ ดูแล และมิตรภาพ “สิ่งที่ผมประทับใจที่สุดคือความเอาใจใส่ ในจุดนี้ ผมรวมถึงความเอาใจใส่ของคณาจารย์ บุคลากร และรุ่นพี่ ตั้งแต่วันแรกที่ผมเข้ามา ณ ร่มแก้วแห่งนี้ บุคคลกลุ่มแรก ที่ผมรู้จักก็คือรุ่นพี่ ที่คอยช่วยเหลือในด้านต่างๆ เอาใจใส่ดูแล น้องใหม่ที่เพิ่งเข้ามาเป็นอย่างดี เมื่อได้เข้าเรียน ก็ได้เจอกับ อาจารย์หลายๆ ท่าน ท่านคอยดูแล และถ่ายทอดวิชาความรู้ ให้กับนิสิตอย่างเต็มความสามารถ และที่ผมประทับใจที่สุด คือ อาจารย์ที่ปรึกษาของผม ท่านคอยดูแลเอาใจใส่นิสิตในปกครอง ของตนเป็นอย่างดี ท่านเปรียบเสมือนพ่อคนที่สอง ที่คอยสั่งสอน ลูกของตนให้เป็นคนดีและเป็นคนเก่ง บุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่ผม ประทับใจที่สุด คือพี่ๆ เจ้าหน้าที่ในคณะทุกๆ คน พี่ๆ ทุกคน เป็นกันเองมากๆ เป็นเหมือนพี่เหมือนน้องเลยก็ว่าได้ เมื่อผม ไปติดต่อธุระก็มักจะได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างดี” (ชวลิต จูเจี่ย บัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีน) “นับแต่วันแรกที่ก้าวเข้าสู่รั้วมนุษยศาสตร์ ก็ได้รับ การต้อนรับจากรุ่นพี่ และคณาจารย์เป็นอย่างดี ความเป็น กันเอง ความอบอุ่น ทำให้ตลอดเวลาการศึกษาทั้ง 4 ปี ไม่มีความเหงาเลย ทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่สร้างคนสร้างสังคม จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์-มีนาคม 2554
อ.สถิตาภรณ์ ศรีหิรัญ / สุรีย์พร ชุมแสง
ก่อนพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2552 ไม่นานนัก กองบรรณาธิการ สุวรรณภิงคารเห็นเป็นโอกาสเหมาะที่สุดที่จะสัมภาษณ์ตัวแทน บัณฑิตสาขาวิชาต่างๆ ของคณะมนุษยศาสตร์ เกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับ และความประทั บ ใจในคณะมนุ ษ ยศาสตร์ ด ้ ว ยคำถามง่ า ยๆ เพียง 4 ข้อ ทว่า...คำตอบที่ได้รับกลับลึกซึ้งและน่าประทับใจ สมกับความเป็นบัณฑิต เมื่อเราถามว่า “คณะมนุษยศาสตร์ ให้อะไรแก่คุณบ้าง” เหล่ า บั ณ ฑิ ต เห็ น พ้ อ งกั น ว่ า คื อ ความรู ้ ท างวิ ช าการ ที่คณาจารย์ในแต่ละสาขาวิชาสอนอย่างเข้มข้น ดังคำกล่าว ของ ชวลิต จูเจี่ย บัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีน ซึ่งมีความ มุ่งมั่นทางวิชาการ ปัจจุบันได้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยเทียนจิน นอร์มอล สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า “ในด้านการเรียน ผมเรียนอยู่สาขาวิชาภาษาจีน อาจารย์ ทุกท่านในสาขา ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับนิสิตทุกคนอย่างเต็ม ความสามารถ ผมยังจำได้ว่าตอนผมและเพื่อนไปฝึกงาน มีอาจารย์ชาวจีนเคยพูดว่า “มหาวิทยาลัยนเรศวร สุดยอดจริงๆ สอนเด็กให้พูดภาษาจีนได้ขนาดนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย” หลังจากได้ฟัง ประโยคที่อาจารย์ท่านนั้นพูดมา ผมก็พูดได้เต็มปากเลยว่า สาขาภาษาจีนคณะมนุษยศาสตร์ของเรา เป็นหนึ่งไม่เป็นสอง รองใคร” ทั้งนี้ บัณฑิตของคณะมนุษยศาสตร์ยังได้ชื่นชม บรรยากาศอั น อบอุ ่ น ของคณะมนุ ษ ยศาสตร์ แ ทบจะเป็ น เสียงเดียวกันว่า “มิ ต รภาพที ่ ไ ด้ จ ากเพื ่ อ นภายในคณะที ่ ม ี ใ ห้ ก ั น ถึงแม้ว่าจะเรียนกันคนละสาขา แต่เกือบทุกคนในคณะจะรู้จักกัน เพราะกิจกรรมที่คณะได้จัดขึ้น” (ยงยุทธ์ โพธิ์สระ บัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย) “สิ่งพิเศษที่ผมคิดว่ายากจะหาจากที่ไหน นั่นก็คือ ความรัก ความอบอุ่น ความจริงใจ จากอาจารย์ พี่เจ้าหน้าที่ พี่ๆ น้องๆ ชาวคณะมนุษยศาสตร์ทุกๆ คน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผม
นานาทรรศนะ
: ” ฯ ย ษ ุ น ม “ ต ิ ฑ ณ ั บ ด ิ ค คมความ 2 5 5 2 ี ป ำ จ ะ ร ป ์ ร ต ส า ศ ย ษ ุ น ม สัมภาษณ์บัณฑิต
3
อ.สถิตาภรณ์ ศรีหิรัญ / สุรีย์พร ชุมแสง
นานาทรรศนะ
โดยเฉพาะในห้องสโมสรนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ ที่มี คณาจารย์ พี่ๆ เจ้าหน้าที่งานกิจการนิสิต และอดีต คณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตที่ให้คำปรึกษาตลอดการ ทำงานในสโมสรคณะมนุษยศาสตร์ และขอขอบคุณ กัลยาณมิตรทุกคนที่ร่วมทำงานมา” (วสุพล คำเหล็ก บัณฑิตสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย) นอกจากนี้ บัณฑิตวรัชญา ห้อยระย้า ของสาขา วิชาภาษาอังกฤษ ยังได้กล่าวถึงความประทับใจส่วนตัวที่มีต่อ อาจารย์ที่ปรึกษาของเธอ ในฐานะที่ผลักดันให้ได้รับทุน การศึกษาที่ต่างประเทศอันเป็นบันไดสำคัญไต่ขึ้นสู่การอาชีพ ในปัจจุบันว่า “...อีกความประทับใจที่ได้จากการเรียนที่นี่คือ การที่อาจารย์ดวงพร ทองน้อย อาจารย์ที่ปรึกษา ได้แนะนำ ให้ส่งเรียงความภาษาอังกฤษเพื่อชิงทุนเรียนภาษาที่ประเทศ อังกฤษ ด้วยกำลังใจ ความเข้าใจ และแรงผลักดันครั้งนั้น ทำให้ดิฉันได้เป็นนักเรียนไทย 1 ใน 3 คนที่ได้รับทุนนี้ เป็นความประทับใจที่จะไม่ลืมเลย” ทั้งนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่า “ครอบครัวที่อบอุ่น สร้างคน ที่มีคุณภาพฉันใด คณะที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ก็สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพได้ ฉันนั้น” เมื ่ อ เปิ ด โอกาสให้ แ สดงวิ ส ั ย ทั ศ น์ ด ้ ว ยคำถามว่ า “อยากเห็ น คณะมนุ ษ ยศาสตร์ เ ป็ น อย่ า งไรในอนาคต” เหล่าบัณฑิตก็ไม่รั้งรอแสดงออกมาอย่างหลากหลาย มองใกล้ มองไกล ต่างกันไป ดังนี้ “เป็นคณะที่เติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ นิสิตมีความ ความสามารถทัดเทียมสังคมภายนอก” (วริศรา โพธิ์แก้ว บัณฑิตสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย) “อยากเห็นคณะของเรามีการเรียนการสอนที่เข้มข้น มีกิจกรรมหลากหลายให้นิสิตได้เข้าร่วม มีสายรหัส รุ่นพี่ รุ่นน้องที่ชัดเจนและเหนียวแน่นขึ้น นอกจากนี้อยากให้คณะ ของเรามีห้องสมุดที่มีหนังสือมากขึ้น โดยเฉพาะหนังสือ
ชวลิต จูเจี่ย
ยงยุทธ์ ึ่ง
ิยมอันดับหน าจีน เกียรติน
สาขาวิชาภาษ (เหรียญทอง) ญาโท ต่อระดับปริญ ปัจจุบัน ศึกษา ยนจิน นอร์มอล เที ย ลั ยา ท ิ าว ณ มห ะชาชนจีน สาธารณรัฐปร
4
โพธิ์สระ
สาขาวิชาภาษาไทย ที่ทำงาน โรงเรียนเอกบูรพา วิเทศศึกษา ตำแหน่ง ครูสอนภาษาไทย
เหล็ก วสุพล คำ ศิลป์ไทย สาขาวิชานาฏ นอนุบาลพิษณุโลก เรีย ที่ทำงาน โรง
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์-มีนาคม 2554
เฉพาะของแต่ละสาขารวมทั้งที่สำหรับ นั่งอ่านหนังสือ ทำการบ้าน หรือสำหรับการนั่งติว กันเป็นกลุ่ม”(กัลปพฤกษ์ คงศัตรา บัณฑิตสาขาวิชา ภาษาญี่ปุ่น) “อยากให้มีสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการ ของสังคม ให้นิสิตเลือกเรียนเพิ่มมากขึ้นครับ” (ยงยุทธ์ โพธิ์สระ บัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย) “อยากให้คณะคงสิ่งดีๆ ที่มีอยู่อย่างนี้ตลอดไป มีความก้าวหน้าทางวิชาการยิ่งๆ ขึ้นไปคะ” (ธิดา สาริกรรม บัณฑิตสาขาวิชาภาษาศาสตร์) ท้ายที่สุดของคำถามนี้ วสุพล คำเหล็ก บัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย อยากเห็นคณะมนุษยศาสตร์ “ยิ่งใหญ่ ทัดเทียมมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก” ดูเหมือนจะเป็น เป้าหมายที่อยู่ไกล แต่ขณะนี้มหาวิทยาลัยนเรศวรก็มีนโยบาย ที ่ จ ะพั ฒ นาก้ า วเข้ า สู ่ ค วามเป็ น ประชาคมอาเซี ย นและ ขับเคลื่อนสู่ความเป็นนานาชาติ ดังนั้นเราจึงหวังว่าในอนาคต อันใกล้ เราจะสามารถ “ยิ่งใหญ่” ได้ ทั้งในระดับอาเซียน และระดับโลก เป็นลำดับไป เมื่อจะสิ้นสุดการสัมภาษณ์เหล่าบัณฑิตฝากความ ห่วงใยและข้อคิดที่เป็นประโยชน์ทางด้านการเรียนและการ เตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ “อยากจะให้ศิษย์ปัจจุบันและรุ่นน้องๆ ที่จะเข้ามา ศึกษาในอนาคตช่วยกันพัฒนา และสร้างชื่อเสียงให้กับคณะฯ ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ตระหนักถึงคุณค่าของคำว่า “มนุษยศาสตร์” และที่สำคัญคืออย่าลืมพระคุณของคณาจารย์ ที่ท่านคอยอบรมสั่งสอนเรามาตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้” (คุณัญญา บัวพรหมมาตร์ บัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส) “ตอนเป็นนิสิตก็คิดว่า 4 ปีในรั้วมหาวิทยาลัย นั้น นานมาก แต่ ณ วันนี้ จบมาทำงานก็นึกเสียดายช่วงเวลา
เฉลิมชัย ไกล ทกุ ข์
ลป์
ูนาฏศิ ตำแหน่ง คร
วรัชญา ห้อยระย้า สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ที่ทำงาน Boston Bright Language School ตำแหน่ง Personal Coach,
สาขาวิชาดุริยาง คศาสตร์สากล กำลังศึกษาต่อ ป.บัณฑิต คณะศึกษาศาสต ร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร
สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส เกียรตินิยมอันดับ๑ ที่ทำงาน มหาวิทยาลัยพะเยา ตำแหน่ง อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
ว่าที่ ร.ต
ม่าศึกษา สาขาวิชาพ ยข่าวกรองทางทหาร ่ว ที่ทำงาน หน
วริศรา โพธิ์แก้ว สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย ที่ทำงาน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา
ตรงนั้น เพราะจะย้อนกลับไปอีกก็ไม่ได้แล้ว จึงอยากฝาก ให้รุ่นน้องใช้เวลาที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด จะทำอะไรก็อย่า รอเวลา ลงมือทำเลย แต่ต้องมีสติ คิดให้ดีก่อนลงมือทำ เสมอ และอย่าเก่งเพียงในตำราอย่างเดียว จงพัฒนาทักษะ การใช้ชีวิตด้วย เนื่องจากต่อไปจะได้เป็นคนที่สมบูรณ์ ทั้งกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญา ก้าวออกจากรั้ว มหาวิทยาลัยไป ก็ขอให้ภูมิใจและให้ทุกคนยอมรับว่าเรา ก็จบออกมาจากสถาบันที่มีคุณภาพ เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เช่นกัน” (วรัชญา ห้อยระย้า บัณฑิตสาขาวิชาภาษา อังกฤษ) “ขอให้ น ้ อ งทุ ก คนมี ค วามรั ก ความและสามั ค คี ในสังคมของชาวเรา “มนุษยศาสตร์” ทั้งเรื่องความร่วมมือ ของนิสิตเก่าและนิสิตใหม่ในการร่วมกิจกรรมของคณะ เพราะกิจกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้น้องมีพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจน การนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ทุกคนมีความ เชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ หรือ ประกอบอาชีพได้ ...วิชาการเพียงสิ่งเดียวไม่สามารถทำให้ เราอยู่ในสังคมอย่างผาสุกได้” (ว่าที่ ร.ต. ณรงค์ชัย เนียมจันทร์ บัณฑิตสาขาวิชาพม่าศึกษา)
กัลปพฤกษ
์ คงศัตรา
สาขาวิชาภาษาศาสตร์ ที่ทำงาน โรงพยาบาลพัทยาอิ นเตอร์เนชันแนล ตำแหน่ง พนักงานเก็บเงินโรงพยาบาล
สาขาวิชาภาษ าญ ที่ทำงาน Br ี่ปุ่น idgestone Tire Thailand Co .,Ltd ตำแห Manufacturing น่งงาน ล่ามภ าษาญี่ปุ่น
อ.สถิตาภรณ์ ศรีหิรัญ / สุรีย์พร ชุมแสง
คุณัญญา บัวพรหมมาตร์
นานาทรรศนะ
ธิดา สาริกรรม
ร์
เนียมจันท . ณรงค์ชัย
“อยากฝากให้รุ่นน้องทุกคนที่เรียนในเอกภาษา ของตนได้เรียนรู้เข้าถึงภาษาได้อย่างครบถ้วน ตั้งใจศึกษา ให้มากๆ เพราะทุกวันนี้ภาษามีความจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิต ประจำวัน และตามสถานการณ์ของโลก ไม่จำเป็นต้อง ศึกษาเฉพาะสาขาวิชาที่เราเรียน ควรศึกษาภาษาอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย จะได้เป็นผู้รอบรู้ และรู้รอบ การที่เรา เสียเวลาท่องศัพท์แค่ 3 นาที แล้วได้คำศัพท์สัก 4-5 คำก็ถือว่าได้คำศัพท์ไว้ในสมองแล้ว ควรใช้เวลาให้คุ้มค่า ในการเรียนก็แล้วกันนะครับ และบริหารเวลาโดยการคิด อย่างมีสติ ขอบคุณครับ” (วสุพล คำเหล็ก บัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย) จะเห็ น ได้ ว ่ า บั ณ ฑิ ต ของคณะมนุ ษ ยศาสตร์ ม ี นานาทรรศนะที่สร้างสรรค์ คมคาย สมกับความเป็น “บัณฑิต” อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ในส่วนความคิดเห็น ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงคุณภาพ คณะมนุษยศาสตร์ จะน้อมรับไว้เพื่อประโยชน์ อันสำคัญ คือ การสร้างบัณฑิต ที่มีคุณภาพ เก่งคน เก่งงาน เก่งสังคม และมีชีวิตที่เป็นสุข รู้จัก อดทน อุทิศ และมีอิสระทางความคิด “สร้าง มนุษย์ที่มีคุณภาพ ให้มีส่วนสร้างคุณภาพแก่สังคม” ต่อไป
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์-มีนาคม 2554
5
นานาสาระทางวิชาการ
รู้จักและเข้าใจ “วิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์”
ผศ.คมกริช การินทร์
“วิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์” อาจเป็นคำที่ไม่ คุ้นเคยสำหรับใครหลายคน เมื่อได้ยินได้ฟังคำคำนี้ก็อาจจะ มีการแปลความหมายไปต่างๆ กัน เพราะส่วนมากแล้วเรามักจะ ได้ยินเฉพาะคำว่า ดนตรี หรือ นาฏศิลป์ เท่านั้น ทีนี้พอมีคำว่า วิทยาการ เข้ามานำหน้าด้วยก็อาจจะทำให้งุนงงกันไปบ้างว่า แท้จริงแล้ว วิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์ นั้นคืออะไร ความจริงก็ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ ถ้าเราเปิด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฉบับล่าสุด พ.ศ.2542 ก็จะ พบว่า ดนตรี หมายถึง เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง, เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิด อารมณ์รัก โศก หรือ รื่นเริง ได้ตามทำนองเพลง นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ ส่วน วิทยาการ นั้น หมายถึง ความรู้แขนงต่างๆ เช่น ปัจจุบัน วิทยาการต่างๆ ก้าวหน้าไปมาก, บางทีใช้ว่า ศิลปะวิทยาการ ดังนั้น คำว่า วิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์ จึงหมายถึง วิชาการศึกษา เกี่ยวกับดนตรีและนาฏศิลป์ นั่นเอง โดยศึกษาในทุกด้าน ของศาสตร์ดนตรีและนาฏศิลป์ เช่น ประวัติศาสตร์ พัฒนาการ บทบาทหน้าที่ต่อสังคม การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงของ ดนตรีและนาฏศิลป์ รวมถึงการค้นคว้าวิจัยทางดนตรีและ นาฏศิลป์ด้วย โดยทั่วไปการเปิดสอนดนตรีและนาฏศิลป์หลักสูตร ต่างๆ ในสถาบันการศึกษานั้น จะแยกออกเป็นเอกเดี่ยว ของแต่ละสาขาวิชา เช่น สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล และสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงระดับปริญญาเอก แต่ภาควิชา ศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มีการบูรณาการด้านการเรียนการสอนโดยนำศาสตร์ทั้งสอง สาขามารวมกันภายใต้ความเชื่อพื้นฐานว่าดนตรีและนาฏศิลป์ เป็นของคู่กันและพัฒนาเป็นหลักสูตรปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิตวิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์ ดังปรัชญาของ หลักสูตรที่ว่า “วิ ท ยาการดนตรี แ ละนาฏศิ ล ป์ เ ปิ ด มิ ต ิ ใ หม่ ใ ห้ ก ั บ ผู้ที่เสาะแสวงหาองค์ความรู้ทางการวิจัย การค้นหาความหมาย และความพึงพอใจในความงามอันก่อให้เกิดแรงกระตุ้นในการ สร้างสรรค์ผลงานทางด้านดนตรีและนาฏศิลป์ อีกทั้งยังแสดง
6
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์-มีนาคม 2554
ให้เห็นถึงวิวัฒนาการเชิงสร้างสรรค์ความงามและความเจริญ ทางวัฒนธรรมของมนุษย์” โดยมีวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรอบรู้และความเข้าใจ ทาง วิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์ มีทักษะในการวิจัยเพื่อให้ได้มา ซึ่งองค์ความรู้ทางวิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์ และสามารถ นำความรู ้ จ ากการศึ ก ษาวิ ท ยาการดนตรี แ ละนาฏศิ ล ป์ ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบ อาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์ ได้เปิดการเรียนการสอน หลักสูตรดังกล่าวครั้งแรก เมื่อปีการศึกษา 2550 ซึ่ง มหาบั ณ ฑิ ต รุ ่ น แรกสำเร็ จ การศึ ก ษาและเพิ ่ ง จะเข้ า รั บ พระราชทานปริ ญ ญาบั ต รในพิ ธ ี พ ระราชทานปริ ญ ญาบั ต ร ประจำปีการศึกษา 2553 ที่ผ่านมา สำหรั บ การจั ด การเรี ย นการสอนของหลั ก สู ต ร วิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์นั้น ภาควิชาได้จัดการเรียน การสอนโดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ แบบภาคปกติ เรียนวันจันทร์-ศุกร์, ภาคพิเศษ เรียนวันเสาร์-อาทิตย์ และ การจัดการเรียนการสอนสำหรับครูประจำการ เรียนเฉพาะ ในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน ประมาณช่วงปลายเดือนมีนาคม ถึงเมษายน ทั้งนี้สามารถเข้าไปดูกำหนดการรับสมัครในแต่ ละช่วงได้ในเว็บไซต์ของงานรับเข้าศึกษา กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.acad.nu.ac.th/acad_ admission/ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่งานบริการ วิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ โทร. 0-5596-2050 ทีนี้ผมจะขอเล่าถึงรูปแบบและวิธีการเรียนการสอน รวมทั ้ ง บรรยากาศในการเรี ย นการสอนให้ ฟ ั ง โดยสั ง เขป เริ่มที่เรื่องของนิสิตก่อนนะครับ นิสิตของเราจะมีหลากหลาย ทั้งที่เป็นดนตรีไทย ดนตรีสากล และนาฏศิลป์ หรือสาขาอื่น ที่สนใจ หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในด้านดนตรีและนาฏศิลป์ ดังนั้น ในห้องเรียนเราจะมีนิสิตที่มีความหลากหลาย ในสาขา อาชีพทั้งครู นักดนตรี นักแสดง และผู้ว่างงาน (หมายถึง บัณฑิตที่พึ่งจบใหม่แล้วเรียนต่อเลยน่ะครับ) ทำให้เกิด บรรยากาศในการเรียนที่บอกได้เลยว่า มันสุดยอด!! เพราะเรา ได้นิสิตที่มีความหลากหลาย เมื่อเปิดประเด็นอภิปราย ในชั้นเรียน จึงได้แนวคิดและมุมมองที่แตกต่างกัน ซึ่งตรงกับ ปรัชญาของหลักสูตร คือ เปิดมิติใหม่ให้กับผู้ที่แสวงหา
นานาสาระทางวิชาการ ผศ.คมกริช การินทร์
องค์ความรู้ เพราะโดยทั่วไป ส่วนมากคนดนตรีก็จะรู้เรื่องดนตรี คนนาฏศิลป์ก็จะรู้เรื่องนาฏศิลป์ มีเพียงส่วนน้อย ที่รู้และเข้าใจ ศาสตร์ทั้งสองศาสตร์อย่างถ่องแท้ แต่เราก็ไม่ได้คาดหวัง ว่านิสิตของเราจะต้องรู้ลึก รู้ดี เหมือนสโลแกนของนิตยสาร ตามท้องตลาด หรือ คม ชัด ลึก แต่อย่างใด เราแค่หวังเพียงว่า นิสิตได้เปิดโลกทัศน์มุมมองในทางดนตรีและนาฏศิลป์ให้กว้าง ขึ้น สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆ ได้อย่าง เหมาะสม ดังความเชื่อพื้นฐานของเราที่ว่า ดนตรีและนาฏศิลป์ เป็นของคู่กัน ส่วนด้านผู้สอน เรามีอาจารย์ประจำที่มีความรู้ และ ประสบการณ์ครอบคลุมทั้งสองศาสตร์ คือ ดนตรีและนาฏศิลป์ หมายถึงว่า เรามีอาจารย์ที่จบโดยตรงทางดนตรีไทย ดนตรี สากลและทางนาฏศิลป์ นะครับ ไม่ใช่คนเดียวจบทั้งสามสาขา ซึ่งก็ไม่แน่ อาจจะมีต่อไปในอนาคต (อาจจะเป็นมหาบัณฑิต ของเราคนใดคนหนึ่งก็ได้ ซึ่งเราก็หวังว่าจะเป็นอย่างนั้น) นอกจากนี ้ ย ั ง มี อ าจารย์ พ ิ เ ศษจากหลากหลายสายอาชี พ ทั้งนักวิชาการ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักดนตรี นักแสดง ที่เราเชิญมาบรรยายพิเศษให้แก่นิสิตของเราตามความสนใจ ของนิสิต และความเหมาะสมกับศาสตร์ของสาขาวิชา รวมทั้ง ตามสถานการณ์ของยุคสมัย เพราะการเรียนการสอนของเรา ต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ และสามารถปรับ ประยุกต์ได้ตามสถานการณ์
ในท้ายนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจ และได้ความรู้เกี่ยวกับคำว่า วิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์ มากยิ่งขึ้น และสำหรับผู้ที่สนใจในสาขาวิชานี้ก็สามารถเข้ามา ศึกษากับเราที่ภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรแห่งนี้ได้ เพราะเราเชื่อว่าดนตรีและ นาฏศิลป์เป็นสิ่งจรรโลงใจแก่มนุษย์ เป็นสุนทรียะที่ทุกคน สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ดนตรี แ ละนาฏศิ ล ป์ เ ป็ น ของคู ่ ก ั น และเป็ น สมบั ต ิ ของชาติที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ แต่กระนั้น เรายังขาดครู ที ่ เ ข้ า ใจทั ้ ง สองศาสตร์ อ ย่ า งถ่ อ งแท้ อ ยู ่ อ ี ก เป็ น จำนวนมาก และเรารอคุณอยู่ มหาบัณฑิตคนนั้น. รายการอ้างอิง - ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน. นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น: กรุงเทพมหานคร. - งานบริการการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์. คู่มือหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการดนตรี และนาฏศิลป์ หลักสูตรใหม่ ปี พ.ศ.2550. - http://www.human.nu.ac.th/academic/course.php สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2554.
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์-มีนาคม 2554
7
เก็บมาฝาก
สีสันแห่งศรัทธา ....
อ.ณัฐชยา นัจจนาวากุล
นำพาสู่อินเดีย
อินเดีย ประเทศที่หลายท่านไม่ฝันใฝ่ว่าจะมาเยือน รวมทั้งพวกเราชาวศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วย รองศาสตราจารย์นุชนาฏ ดีเจริญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คมกริช การินทร์ อาจารย์รุ่งนภา ฉิมพุฒ และผู้เขียน อาจารย์ณัฐชยา นัจจนาวากุล กับการเตรียมตัวเพียง 1 สัปดาห์ เพื่อเข้าร่วม การประชุมในครั้งนี้ ที่จัดขึ้นโดยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และคณะกรรมการสมัชชา สงฆ์ไทยฯ สหภาพพระธรรมทูตไทยแห่งทวีปยุโรป ผู้แทนองค์กร พระธรรมทูตแห่งสหราชอาณาจักร และพระธรรมทูตโอเซียเนีย โดยได้มีการลงนามในปฏิญญามหานครนิวยอร์ก และมี ข้ อ ตกลงร่ ว มกั น ที ่ จ ะจั ด ประชุ ม สั ม มนาพระธรรมทู ต สายต่างประเทศทั่วโลก ครั้งที่ 1 ที่แดนพุทธภูมิ ในการนี ้ ท างคณะสงฆ์ ไ ทยจากสายโอเซี ย เนี ย และเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เชิญให้คณาจารย์จาก ภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์ เข้าร่วมโครงการดังกล่าว เพื่อเป็น ตั ว แทนของกลุ ่ ม ฆราวาสที ่ เ คยปฏิ บ ั ต ิ ง านด้ า นการให้ ค วาม ร่วมมือทางวิชาการและศิลปวัฒนธรรม ในประเทศต่างๆ รวมทั้ง แสดงผลงานการทำงานกับวัดไทยในต่างประเทศของภาควิชา ศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ เช่น วัดพุทธสามัคคี นคร ไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ , วัดพรหมคุณาราม มลรัฐอริโซน่า และวัดพุทธมหามุนี มลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา รวมทั้งนำเสนอประสบการณ์ในการทำงาน ปัญหาและอุปสรรค ที่พบในการทำงานด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในต่างแดน การประชุมนี้จัดขึ้นที่วัดไทยพุทธคยา หรือที่คนอินเดีย เรียกกันว่า โบดคยา (Bodhgaya) ดินแดนที่พระพุทธองค์ทรงตั้ง สัตยาธิษฐานว่า “แม้เลือดในกายเราจะเหือดแห้งไป แม้เนื้อหนัง จะผุพังไป ถ้าไม่บรรลุธรรมแล้วจะไม่ลุกออกจากอาสนะนี้ 8
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์-มีนาคม 2554
โดยเด็ดขาด” และในคืน 15 ค่ำ เดือน 6 นั่นเอง พระองค์ ก็ตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา นั่นเอง นับเป็นครั้งแรกที่มีพระธรรมทูตจากประเทศต่างๆ เข้าร่วม ประมาณ 160 รูป และฆราวาสอีกกว่า 200 ชีวิตมารวมตัวกัน ผลการประชุมสรุปว่า เราได้รับโอกาสให้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการความร่วมมือทางด้านวิชาการและศิลปะวัฒนธรรม ซึ่งได้บรรจุไว้ในแผนของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รวมทั้งได้สะท้อนแนวทางในการดำเนินโครงการด้านศิลปะ วัฒนธรรมในต่างประเทศ อุปสรรคและแนวทางในการแก้ไข ปัญหาด้านต่างๆ ให้กับคณะสงฆ์และหน่วยงานทางด้าน พระพุทธศาสนา ได้รับรู้และนำไปเป็นข้อมูลในการดำเนินงาน มีการนำเสนอความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่เป็นภารกิจของ พระธรรมทูต เช่น การจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ เหมาะสมในนานาประเทศ การจัดทำแผนการดำเนินโครงการ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมในประเทศต่างๆ รวมทั้งการพัฒนางาน พระธรรมทูตที่พึงประสงค์ในอนาคต นอกจากนี้ยังได้จัดทำ ปฏิญญาพุทธคยา โดยมีการลงความเห็นว่าในคราวต่อไปจะได้ จัดการประชุมขึ้น ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา จุดมุ่งหมายของคณะผู้จัดงาน ได้นำการเดินทางเพื่อ นมัสการสังเวชนียสถานที่ต่างๆ เข้ามาควบคู่ไปกับการประชุม หารือแต่ละแห่งตามเส้นทางสังเวชนียสถาน (สงเวช = ปลุกเร้า ทำให้คึกคัก เกิดกำลัง แข็งขัน เป็นสถานที่ซึ่ง พระพุทธองค์ทรงอยากให้ระลึกถึงพระองค์ได้ เป็นสถานที่ กระตุ้นเตือนใจ เกิดกำลังใจที่จะสามารถเข้าถึงแก่นของ หลักธรรมที่ทรงค้นพบได้ต่อไป) เมื่อการประชุมแบบนี้มากับ พระ ก็ถือเป็นโอกาสอันดีค่ะ ที่จะได้ปฏิบัติกิจต่างๆ ตามทางของ พระคุณเจ้าด้วย เช้าวันต่อมาการเดินทางสู่สังเวชนียสถาน
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์-มีนาคม 2554
เก็บมาฝาก
please ไว้ค่ะ การเดินทางข้ามเมืองในแต่ละครั้งใช้เวลา ยาวนาน แม้ระยะทางสั้นๆเพียง 120 กิโลเมตร แต่เรา ต้องใช้เวลานั่งรถบัสประมาณ 4 ชั่วโมง การเดินทาง ข้ามเมืองใช้เวลาไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง เราจึงจินตนาการ กันว่าเบาะที่นั่งในรถมีระบบนวดรอบทิศทาง ตั้งแต่หัว จรดเท้า (ซึ่งมาจากการโขยกโยกเยกของรถค่ะ) ในเรื่อง ห้องน้ำไม่ต้องถามถึงค่ะ เรานิยมชมชอบใช้บริการห้องน้ำ ที่กว้างที่สุดในโลก อากาศดีเป็นที่หนึ่ง ท้องทุ่งกว้าง แค่ปิดตาซะเราก็จะไม่เห็นใครแล้วค่ะ หลังๆ มาพวกเราเริ่ม ติดใจบริการเสริมอย่างนี้กันมาก สิ่งสำคัญอีกประการคือ ทุกขเวทนาในสังขารของมนุษย์ค่ะ ท้องเสียเป็นสิ่งแรกที่เรา ต้องเผชิญ เพราะสุขอนามัยที่นี่ต้องระวังให้ดีเชียว ทำเอา อาจารย์ทั้ง 3 ท่าน หน้าซีดเซียวเพราะอาการท้องเสีย เลยได้ โ อกาสใช้ บริ ก ารห้ อ งน้ ำ ตามธรรมชาติ อ ิ น เดี ย แทบ ตลอดทาง การเดิ น ทางของพวกเราไม่ ไ ด้ ส บายอย่ า งที ่ ค ิ ด บางวันเราได้นอนหลับเพียง 3-4 ช.ม. ก็ต้องออกเดินทาง กันต่อ การเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ได้อะไรกลับไปมาก เกินคุ้ม เพราะเรามากับพระ กิจวัตรทุกอย่างก็ต้องทำตาม ท่านค่ะ ทำวัตรเช้า-เย็นบนรถบัส สวดมนต์ นั่งสมาธิ เวียนเทียน แผ่เมตตา เลยกลายเป็นผลพลอยได้ในบุญ ไปด้วย ทุกเส้นทางที่เรานั่งรถไปเยือน ล้วนเป็นดินแดน ตามรอยพระพุทธบาทของพระพุทธองค์ ตั้งแต่ 2550 กว่าปี ที่ผ่านมา แค่เรานั่งรถยังเหนื่อยขนาดนี้ แต่พระพุทธองค์ ใช้การเดินเท้า คงต้องลำบากกว่าเราหลายร้อยพันเท่าเป็นแน่ กลับมาคราวนี้ได้อะไรมากมายค่ะ นอกจากภาระกิจ หน้าที่ทางการงานที่สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ก็ได้ข้อเตือนใจ ในการดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท มีเป้าหมาย และ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะแม้หนทางจะมหาโหดเท่าใด แต่ ช าวพุ ท ธทั ้ ง หลายในโลกนี ้ ต ่ า งหลั ่ ง ไหลกั น ไปตาม สังเวชนียสถานต่างๆ ด้วยใบหน้าที่ปิติ อิ่มเอม มีความสุข กันทุกคน สีสันของผู้คนที่มาจากต่างวัฒนธรรม ทำให้เห็น ความหลากหลายของตัวตน แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนมีเหมือนกัน คือ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา หลายคนบอกว่า มีเงิน ทองกองเท่าหัว จะไปทัวร์ยุโรปหรืออเมริกาก็ได้สบายมาก แต่คนจะมาอินเดียโดยเฉพาะ 4 สังเวชนียสถานแล้วนั้น ต้องคิดให้มากกว่าการมีเงินทองกองไว้ ไปยุโรป อเมริกา ไปง่ายๆ ด้วยตัณหา แต่ศรัทธาเท่านั้นจึงจะพาท่านมา อินเดียได้ .........นี่แหละค่ะ สีสันและความงดงาม แห่งความ ศรัทธาของคนที่มาอินเดีย
อ.ณัฐชยา นัจจนาวากุล
แห่งที่ 2 ก็เริ่มขึ้น เพื่อมุ่งหน้าไปยังกรุงราชคฤห์ เมืองหลวง ที่ใหญ่ที่สุดเมื่อครั้งพุทธกาล เมืองที่พระพุทธศาสนามั่นคง ภายหลังที่พระเจ้าพิมพิสารไดเป็นพุทธสาวกแล้ว เมืองนี้ ในสมัยก่อนเป็นแหล่งรวมเจ้าลัทธิต่างๆ มาประกาศ ธรรมตามแนวทางของตน โดยเฉพาะท่านอาฬารดาบส และ อุทกดาบส ผู้เคยเป็นอาจารย์ของพระพุทธเจ้า เราได้ไปวัด เวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เพื่อสวดมนต์ เจริญสมาธิ และประกาศปฏิญญา วันมาฆบูชา เดินทางขึ้นไปบนเขาคิชฌกูฏ เพื่อเข้าเฝ้า ที่ประทับของพระพุทธองค์ที่มีกลิ่นหอม ซึ่งได้ชื่อว่า พระมูล คันธกุฎี ณ เมืองแห่งนี้ยังปรากฏร่องรอยโรงพยาบาลสงฆ์ แห่งแรกของโลกโดยหมอชีวกโกมารภัจจ์ และตโปธาราม บ่ออาบน้ำร้อนแยกชั้นวรรณะของคนอินเดีย ที่ทุกวันนี้ก็ยังคง นิยมใช้บริการกันอยู่ ตามเส้ น ทางสั ง เวชนี ย สถานยั ง มี น าลั น ทา มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก ซึ่งปรากฏร่องรอยเพียงฐาน ก่ออิฐ และเมื่อครั้งที่คนนอกศาสนาเข้ามาทำลายนาลันทา ได้มีการฆ่าพระสงฆ์และเผาพระคัมภีร์ในห้องสมุดซึ่งใช้เวลา นานกว่า 6 เดือน จึงจะเผาหมด พระพุทธเมตตา ที่ศักดิ์สิทธิ์ทำด้วยหินสีดำ และเสาพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งจารึกพระราชโองการของท่าน เราเดินทางต่อไปยัง กุสินารา ในรัฐอุตรประเทศ สถานที่ซึ่งพระองค์ ดับขันธปรินิพาน เพื่อปิดการประชุมพระธรรมทูตที่นั่น โดยมี พระราชรัตนรังษี พระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล เป็น ประธานมอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้าร่วมทุกคน การเดินทางสู่สังเวชนียแห่งต่อไป เป้าหมายอยู่ที่ ลุมมินเด หรือลุมพินี ในประเทศเนปาล ณ วิหารมายาเทวี สถานที่ประสูติ พระพุทธองค์ ซึ่งทรงประกาศเป้าหมายของ การมาประสูติอีกครั้ง ว่าเป็นครั้งสุดท้าย และจะไม่มีภพชาติ อีกต่อไป สถานที่สุดท้ายที่เราเดินทางมาถึง คือ เมือง พาราณสี เมืองแห่งกองไฟที่ครุกรุ่นริมคงคามหานทีมากว่า 4,000 ปี และไม่เคยมีซักวันที่จะมอดดับลง ส่งท้ายด้วย การสวดปาติโมกข์ ณ ธัมเมกขสถูป ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สารนาท เป็นสถานที่แสดงธรรมแก่พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์องค์แรก การเดินทางในคราวนี้ ถนนหนทางในอินเดีย ทำเอาเราหัวสั่นหัวคลอน ทั้งฝุ่น ขรุขระ ทั้งเล็กและแคบ ผู้คนมากมาย วัวควายมากมี เสียงแตรหลากหลายเมโลดี้ ที่อาจารย์คมกริชบอกว่าเราน่าจะคิดผลิต เมโลดี้แตร มาส่งขายที่อินเดียกัน เพราะท้ายรถทุกคันจะติดคำว่า Horn
9
อ.ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์
กระดานศิษย์เก่า
ขอแสดงความยินดี
กับศิษย์เก่าดีเด่น
54 ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 25 าก ผู ้ ช ่ ว ยศ าส ตร าจ าร ย์ คณ ะม นุ ษ ยศ าส ตร ์ ไ ด้ ร ั บ เก ี ย รต ิ จ รนิสิต ศิริลักษณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจกา นพ.ศิริเกษม รต ิ บ ั ต รแ ก่ น ิ ส ิ ต ที ่ ส ร้ า ง เป ็ น ผู ้ ม อบ เข็ ม เก ี ย รต ิ ย ศแ ละ เก ี ย เนื่องในโครงการวันเกียรติยศและ ชื่อเสียงให้แก่คณะ ประจำปีการศึกษา 2553 ศิษย์เก่าดีเด่น คณะมนุษยศาสตร์ จิตรา แสงนวกิจ ศิษย์เก่า โดยมีศิษย์เก่าเข้ารับรางวัล ได้แก่ สุ ด้านความสำเร็จในอาชีพ สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ได้รับรางวัล าญจน์ ศิษย์เก่าสาขาวิชา หน้าที่การงาน กอบชัย ธนะสุก ร้างคุณประโยชน์แก่สังคม ภาษาอังกฤษ ได้รับรางวัลด้านส ษย์เก่าสาขาวิชาภาษาไทย และสถาบัน ธิดารัตน์ มูลลา ศิ ก่าสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย และ รัฐศาสตร์ จั่นเจริญ ศิษย์เ าร ได้รับรางวัลด้านผลงานเด่นทางวิชาก
10
จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์-มีนาคม 2554
่ได้เป็นเพียงแค่ ความสำเร็จของศิษย์เก่าในวันนี้ ไม แต่ยังเป็นความสำเร็จ ความสำเร็จของศิษย์เก่าเท่านั้น เป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของ อันยิ่งใหญ่ของคณาจารย์ ง และเป็นความสำเร็จอันมหาศาลขอ คณะมนุษยศาสตร์ ก่งให้ ที่ได้หล่อหลอมและร่วมกันสร้างคนเ มหาวิทยาลัย เป็นคนที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น ด้เพียงอยากเห็น เชื่อว่า..คณะมนุษยศาสตร์ ไม่ไ แต่ยังหวังว่าศิษย์เก่า ความสำเร็จของศิษย์เก่าเพียงเท่านั้น และหาโอกาสมีส่วนร่วมกันพัฒนา ทั้งหลายจะไม่ลืมคุณ พร้อมรับใช้ งและดี สถาบันการศึกษาแห่งนี้ให้ผลิตคนเก่ ประเทศชาติและสังคมต่อไป ุวรรณภิงคาร ในนามของชมรมศิษย์เก่าส ขอแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าดีเด่น คณะมนุษยศาสตร์ ทุกท่านมา ณ ที่นี้
วันที่ 29 มกราคม 2554 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รักษาการแทนในตำแหน่งคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการจัดประชุมทางวิชาการ เรื่อง “นำศิลปะร่วมสมัย ไปสู่สถาบันการศึกษา” ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ ตามโครงการปาฐกถาราชบัณฑิตสัญจร โดยความร่วมมือกับคณะมนุษยศาสตร์และ สถานอารยธรรมศึกษาโขง–สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนี้ ได้รับเกียรติจาก ภาคีสมาชิก จากราชบัณฑิตยสถานเป็นวิทยากรให้ความรู้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ (องค์ปาฐก) ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ (วิทยากรด้านทัศนศิลป์) นายมติ ตั้งพานิช (วิทยากรด้านสถาปัตยกรรม) ศาสตราจารย์ ดร.พรสรรค์ วัฒนางกูร (วิทยากรด้านวรรณศิลป์) ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก (วิทยากรด้านศิลปะการแสดง) และศาสตราจารย์ ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ (วิทยากรด้านดนตรี) ทั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 นิสิตสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย ได้รับ รางวัลในการประกวดโครงงานนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 11 “Student Research Project Exhibition” จัดโดย กองบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยนิสิตสาขาวิชานาฏศิลป์ไทยได้รับรางวัลดังต่อไปนี้ 1.นางสาวอรรถพร ซาสอนตา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการสร้างสรรค์ผลงานทาง นาฏศิลป์ ชุด “ภาณยักษ์” 2. นายเทพพร บุตรดาน้อย ได้รับรางวัลชมเชย ในการสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏศิลป์ ชุด “มาลัยพุทธบูชา” คณะมนุษยศาสตร์ จึงขอแสดงความยินดีมา ณ ที่นี้ จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ : กุมภาพันธ์-มีนาคม 2554
11
สุรีย์พร ชุมแสง
วันที่ 21-22 มกราคม 2554 สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส นำน ิสิต เข้าร่วมงานวันประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส ซึ่งจัดโดยฝ่ายวัฒนธรรมและ ความร่วมมือ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย ณ กรุงเทพมหานคร โดยนิสิตได้รับรางวัล คือ 1. นางสาวนวลประภา ทองลิขิตสกุ ล นิสิตชั้นปีที่ 3 ได้รับรางวัล ที่ 2 การแข่งขันร้องเพลงภาษาฝรั่งเศส ระดับอุดมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ จึงขอแสดงความยินดีมา ณ ที่นี้
ข่าวกิจกรรม
วันที่ 11 มกราคม 2554 นายสัชฌุกร แก้วช่วย นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาเกาหลี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการประกวดสุนทรพจน์ ภาษาเกาหลีแห่งประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยได้รับรางวัล เป็นเงินสดจำนวน 10,000 บาท พร้อมใบประกาศจากสถานทูตเกาหลี ประจำ ประเทศไทย คณะมนุษยศาสตร์ จึงขอแสดงความยินดีมา ณ ที่นี้
Call for Paper ถึง 16 มิถุนายน 2554
วิสัยทัศน์ :
ย ะ ม นุษ ศ า ส
ร ศว
มห
าวิท
ต ร์
คณ
คณะมนุษยศาสตร์มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นสังคมที่มีคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้แบบต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้ง เป็นหน่วยงานที่อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัย สมบูรณ์แบบ พันธกิจ : 1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม และจริยธรรม 2. ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ด้านภาษา วรรณคดี คติชน ดนตรี และนาฏศิลป์ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ 3. บริการทางวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคม 4. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ 5. ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ 6. สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
ยาลัยนเร
ประเด็นยุทธศาสตร์ : 1. สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม จริยธรรม และ สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศ 2. มุ่งสร้างงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านภาษาและดำเนินการสู่การเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาคติชนวิทยา 3. ส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง 4. ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเข้าใจวัฒนธรรมต่างชาติ 5. จัดระบบบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส คล่องตัว ยุติธรรม เอื้อต่อการดำเนินงาน ที่รวดเร็วและบุคลากรมีส่วนร่วม ตลอดจนบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล มุ่งนำการ จัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร
สุวรรณภิงคาร จดหมายข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชำระค่ า ฝากส่ ง เป็ น รายเดื อ น ใบอนุ ญ าตเลขที ่ 85/2521 พิ ษ ณุ โ ลก
ท่ า นที ่ ส นใจจดหมายข่ า วนี ้ กรุ ณ าส่ ง ชื ่ อ ที ่ อ ยู ่ ข องท่ า นมายั ง งานประชาสั ม พั น ธ์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร อ.เมื อ ง จ.พิ ษ ณุ โ ลก 65000 โทรศั พ ท์ 0-5596-2035 โทรสาร 0-5596-2000 ไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ ่ า ยใดๆ ทั ้ ง สิ ้ น
สุวรรณภิงคาร
หรื อ “กลศ” หมายถึ ง หม้ อ ดิ น สำหรั บ ใส่ น ้ ำ ดิ น และน้ ำ เป็ น แม่ บ ทของสิ ่ ง ทั ้ ง ปวง อั น เปรี ย บได้ ก ั บ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ ที ่ เ ป็ น รากฐานแห่ ง ศาสตร์ ท ั ้ ง ปวง