Reuse

Page 1



reuse

The art of reclaim “การ reuse หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ ไม่ใช่แค่การลดขยะเท่านัน้ แต่ยังเป็นการยืดอายุการใช้ทรัพยากรให้นานขึ้น ทำให้ไม่ต้องไป รบกวนทรัพยากรธรรมชาติใหม่ ซึ่งส่วนหนึ่งทำให้การใช้พลังงาน น้อยลง และช่วยลดผลกระทบที่นำไปสู่ภาวะโลกร้อน”


คำนำสำนักพิมพ์ ทุกวันนี้ เราทิ้งขยะกันง่ายเกินไป เราทิ้งถุงพลาสติกทันทีที่เดิน ออกจากร้านสะดวกซื้อ ทิ้งขวดน้ำพลาสติกที่ดื่มหมดแล้ว โดยไม่ ใส่ใจว่า ขยะเหล่านี้มีจำนวนมากแค่ไหนและจะถูกจัดการอย่างไร ต่อ จากสถิติของธนาคารโลกพบว่า คนไทยทิ้งขยะประมาณหนึ่ง กิโลกรัมต่อคนต่อวัน นั่นหมายความว่า มีขยะกว่า 60 ล้านตัน ในแต่ละวัน ซึ่งในจำนวนนี้ มีขยะเพียงไม่ถึงครึ่งเท่านั้นที่ได้รับ การจัดการอย่างถูกต้อง และในขณะนี้ ปริมาณขยะที่พุ่งสูงขึ้น อย่างรวดเร็วจนแทบจะล้นเมือง ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ของ เกือบทุกประเทศทั่วโลก การนำสิ่งของกลับมาใช้ใหม่เป็นอีกทาง รอดหนึ่งของการแก้ปัญหา เพราะเป็นการลดปริมาณขยะโดยตรง และยังไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานในการแปรสภาพ นอกจากนี้ยัง เป็นการท้าทายความสามารถในเชิงออกแบบของมนุษย์ด้วย หนังสือเล่มนี้ ได้เสนอแนวคิดที่น่าสนใจในอีกรูปแบบหนึ่งของ การนำกลับมาใช้ (reuse) ผ่านกระบวนการดีไซน์จาก ดร.สิงห์ อินทรชูโต และอีกหลาย ๆ ท่านที่มีส่วนร่วมในการเริ่ม “คิด” และ “ลงมือทำ” เพือ่ โลกของเรา สิง่ เล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านีเ้ ป็นการเริม่ ต้น ง่าย ๆ ที่เราทำได้ เพื่อชะลอจำนวนขยะกองมหึมาที่เกิดขึ้นแทบจะ ทุกลมหายใจเข้าออก แม้จะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ก็ เป็นสิ่งที่ควรเริ่มเพื่อลูกหลานของเรา Pbm Publications


คำนำผู้เขียน โลกที่สะอาด ปราศจากมลพิษ แม้เป็นสิ่งที่เราทุกคนปรารถนา แต่ ในความเป็นจริงกลับเป็นสิ่งที่ดูห่างไกลจากชีวิตความเป็นอยู่ของ เรา จนดูเหมือนว่า คนส่วนใหญ่ยอมทำใจลดมาตรฐานชีิวิตความ เป็นอยู่ ยอมที่จะสูดอากาศไม่บริสุทธิ์ ยอมรับสภาพอากาศที่ แปรปรวน และมองโลกทีส่ ะอาด ปราศจากมลพิษ เป็นเพียงดินแดน ในอุดมคติ แต่ขณะเดียวกัน หลายคนที่ยังมีความหวังอยู่ เริ่มใช้ ศาสตร์และศิลป์ต่าง ๆ มาเป็นตัวช่วยในการหาทางออกใหม่ให้ แก่สิ่งแวดล้อม หากวันนี้ คุณยังรู้สึกว่าโลกที่สะอาด ปราศจากมลพิษ อยู่ไกล จนสุดเอื้อม หรื อ ไม่เห็นวี่ แ ววของความเป็นไปได้ ผมอยาก จะบอกว่า อย่าสิ้นหวัง เพราะมันจะเกิดขึ้นได้ด้วยความมานะ ความเชื่อมั่นในอนุภาพของการร่วมมือกัน และความตั้งใจจริง เพียงแค่เราเริม่ ทำสิง่ เล็ก ๆ น้อย ๆ ทีพ่ อจะทำได้ดว้ ยความมุง่ มัน่ หนังสือเล่มนี้ ให้ความรูแ้ ละแนะนำวิธกี ารหนึง่ ทีส่ ามารถปฏิบตั ไิ ด้ ในชีวิตประจำวัน นั่นคือ การ “reuse” ที่จะช่วยให้เราดำเนินชีวิต อย่างเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และยังช่วยลดมลพิษให้โลกใบนีด้ ว้ ย “reuse is a ‘sustainable’ solution” ตราบใดที่เรายังต้องอุปโภค และบริโภค เราก็จะมีของเหลือทิ้งทุกวัน ดังนั้น การ reuse จึง เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ได้ตลอดกาล ดร. สิงห์ อินทรชูโต


สารบัญ บทนำ : ทำไมต้อง reuse

Part 1 : The Art of Reuse

21

Part 2 : Reuse . . . simply for survival

31

Part 3 : Think out of the Box

67

ความสวยงาม ประโยชน์ และโลกของเรา

การนำกลับมาใช้ที่เริ่มจากการคัดแยกขยะ เกร็ดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพื้นที่ฝังกลบขยะ (Landfill) มองขยะในมุมมองใหม่ ต้องเริ่มคัดแยก วงจรชีวิตขยะ คิดแบบ “ขยะ ขยะ” การแยกขยะเพื่องานดีไซน์ คิดจากเศษ จากไอเดียสู่ชิ้นงาน Think out of the box Scrap Lab ตัวอย่างผลงานจากเศษวัสดุ


Part 4 : Design Design Design

111

Part 5 : reuse@home

129

Part 6 : Reuse in commercial world I

133

Part 7 : Reuse in commercial world II

149

Let’s get start

155

คืนชีวิตให้ขยะ…ด้วยการออกแบบ รู้จัก “Design” All about Imagination การนำกลับมาใช้ที่เราทำเองได้ กรณีศึกษาของ Osisu และบริษัทอื่นๆ แนะนำผู้ผลิตสินค้า reuse

มาช่วยโลกกันดีกว่า บทส่งท้าย บรรณานุกรม เกี่ยวกับผู้เขียน How to reuse this book



Pbm Publications

บทนำ ทำไมต้อง reuse หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและติดตามปัญหา ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือเคยได้ชมภาพยนตร์เรื่อง An Inconvenient Truth ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม ปี 2006 ที่เล่าถึงภาวะโลกร้อน โดยมีอดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อัล กอร์ (Al Gore) เป็นผู้ดำเนินเรื่อง คุณอาจเริ่มตระหนักอย่าง จริงจังถึงปัญหาภาวะโลกร้อนที่กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ และ เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเข้ามาทุกวัน ตัวอย่างหนึ่งที่เรารับรู้กันได้ใน ปัจจุบัน คือ ภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น เช่น พายุ เฮอร์รเิ คนแคทรีนา ที่ถล่มเมืองนิวออร์ลีนส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2005 ซึ่งสร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ อเมริกา ปรากฏการณ์คลืน่ ยักษ์สนึ ามิ เมือ่ เดือนธันวาคม ปี 2004 ทีเ่ ข้าถล่มชายฝัง่ ทะเลอันดามันในประเทศไทย ศรีลงั กา อินโดนีเซีย และอีกหลายประเทศ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงของธารน้ำแข็งและพืดน้ำแข็ง ที่อยู่นอกบริเวณเกาะกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกา ที่ละลาย อย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์เชือ่ ว่า น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก ในช่วงฤดูรอ้ นทีผ่ า่ นมานัน้ บางลงกว่าครึง่ นับตัง้ แต่ทศวรรษ 1950 ซึง่ ระดับน้ำทะเลทีส่ งู ขึน้ นีส้ ง่ ผลให้เมืองชายฝัง่ ทะเลหรือมหาสมุทร หลายแห่งตกอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะจมอยู่ใต้น้ำมากขึ้น ทั้งนี้รวมถึง แนวชายฝั่งของประเทศไทยด้วย ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่บางแห่ง ในจังหวัดสมุทรปราการในปัจจุบันก็ถูกน้ำทะเลท่วมแล้ว

9


แต่ในขณะเดียวกัน พื้นที่หลายแห่งทั่วโลกกลับประสบปัญหา ความแห้งแล้งอย่างหนัก เห็นได้จากการเกิดภัยแล้งครั้งรุนแรง ที่สุดในเขตป่าฝนอะเมซอน เมื่อปี 2005

อุณหภูมทิ เี่ พมิ่ ขึน้ และการเปลีย่ นแปลงทีส่ ง่ ผลต่อเรา

10

คำว่า ‘Global Warming’ และ ‘Climate Change’ ซึ่งเกิดขึ้นจาก การกระทำของมนุษย์ ได้มกี ารใช้กนั แพร่หลายในวงการนักวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ปี 1980 โดยเป็นการอธิบายถึงภาวะโดยรวมของ โลกที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นหรือร้อนขึ้น ซึ่งผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ที่ได้เกริ่นถึงข้างต้นนั้นอาจเป็นเหมือนสัญญาณเตือนล่วงหน้า ให้เราหันมาใส่ใจกับปัญหานี้อย่างจริงจัง โดยนักวิทยาศาสตร์ อิสระหลายกลุ่มที่ได้ทำการบันทึกข้อมูลอุณหภูมิของโลกในช่วง ร้อยกว่าปีที่ผ่านมานั้น วิเคราะห์ตรงกันว่า โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ย สูงขึน้ โดย อุณหภูมขิ องโลกตัง้ แต่ปี 1906 – 2005 เพิม่ ขึน้ เฉลีย่ 0.74 องศาเซลเซียส เร็วกว่าช่วง 50 ปีที่ผ่านมา* ในปี 2001 มีรายงานจากการประชุมว่าด้วยการเปลีย่ นแปลงสภาพ ภูมิอากาศ (IPCC – Intergovernmental Panel on Climate Change) ว่าภายในปี 2100 อุณหภูมิที่สูงขึ้น จะส่งผลให้ระดับน้ำ ทะเลเพิม่ สูงขึน้ จาก 90 มิลลิเมตร ไปจนถึง 880 มิลลิเมตร (0.88 เมตร) ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำของเมืองหรือประเทศที่เป็นหมู่เกาะจะจม อยู่ใต้น้ำ นอกจากนี้ยังมีผลกระทบที่เกิดจากพายุและคลื่นสูงด้วย

*Climate Bates, B.C., Z.W. Kundzewicz, S. Wu and J.P. Palutikof. 2008. Change and Water. p 15.Technical Paper of the Intergovernmental Panel on Climate Change.Geneva:IPCC Secretariat.


Pbm Publications

นักวิทยาศาสตร์ยังคาดการณ์อีกว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเพียง 3 องศาเซลเซียสนั้น มากพอที่จะทำให้พืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ละลาย ถาวร โดยผลกระทบจากภาวะโลกร้อนนีจ้ ะส่งผลกระทบต่อประเทศ ด้อยพัฒนามากทีส่ ดุ เพราะขาดแคลนงบประมาณในการเฝ้าระวัง ป้องกันและหาทางแก้ไข เพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ **

สิ่งที่เราสามารถทำได้ การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนในปัจจุบันเป็นการแก้ปัญหาในภาพ รวม คือ เน้นหนักไปในเรื่องการใช้พลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานหลัก ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน (ถ่านหิน น้ำมัน ฯลฯ) เนื่องจากมีความ สัมพันธ์กับปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็น สาเหตุสำคัญทีน่ ำไปสูป่ ญ ั หาภาวะโลกร้อน โดยจะเห็นได้จากการที่ หลายประเทศเริ่ม หั น มาให้ ค วามสำคั ญ อย่ า งจริ ง จั ง ในการใช้ พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียน เช่น การใช้พลังงานชีวภาพ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรืออื่นๆ รวมถึงการออกแบบ สินค้า โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ หรือ รถยนต์ให้ประหยัดพลังงานมากที่สุด แต่นอกจากในเรื่องของพลังงานแล้ว การใช้ทรัพยากรให้เกิด ประโยชน์สูงสุด โดยวิธีการ reuse และ recycle นั้นเป็นอีกทาง หนึง่ ทีต่ อ้ งทำไปพร้อม ๆ กัน เพือ่ ลดการใช้พลังงานให้ได้มากทีส่ ดุ และสามารถลงมือทำได้ทันที

** ธารา บัวคำศรี. (2550). โลกร้อน 5°C. กรุงเทพฯ : ดินสามน้ำหนึ่ง.

11


ทำไมเราควรเลือก reuse ก่อน recycle เป็นวัตถุดิบอีกครั้ง การ recycle หรือการแปลงสภาพ เช่น การนำพลาสติกมาผ่าน การบดและหลอมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นอีกทางหนึ่งในการ ช่วยลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ในภาพรวมนัน้ การ recycle ใช้พลังงานเพียง 1 ใน 4 ของพลังงานที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้า จากวัตถุดิบดั้งเดิม (virgin resources) ซึ่งอาจทำให้เราสบายใจ ที่จะโยนขวดน้ำพลาสติกลงถังขยะ recycle เพื่อรอให้รถขนขยะ มาเก็บและส่งเข้าโรงงาน แท้จริงแล้วการ recycle ใช้พลังงาน มากกว่าที่คิดหลายเท่า

12

โดยเมื่อพูดถึงการ recycle หลายคนอาจนึกถึงแต่เพียงพลังงาน ไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้ว กระบวน การ recycle นั้นเริ่มตั้งแต่เราทิ้งขวดน้ำลงในถังขยะ จากนั้นจะมี การขนส่งซึง่ ต้องใช้พลังงานเชือ้ เพลิงในการขับเคลือ่ นรถและในอีก หลายขั้นตอน กว่าขวดน้ำที่เราทิ้งจะถูกนำไป recycle จนได้ เป็นวัตถุดบิ และเข้าสูก่ ระบวนการผลิต จนกลายเป็นของใช้อกี ครัง้ ยกตัวอย่างเช่น การ recycle ขวดน้ำพลาสติกทีเ่ ริม่ จากรถขนขยะ ทำการขนส่งเข้าสู่โรงขยะ ขวดน้ำพลาสติกจากหลาย ๆ แหล่ง จะถูกรวบรวมและขนส่งต่อไปยังโรงงานที่รับซื้อ ซึ่งในบางกรณี ขวดน้ำพลาสติกเหล่านี้อาจถูกส่งออกข้ามไปยังอีกประเทศ จาก นั้นขวดน้ำพลาสติกจะถูกแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติก และต้องขนส่ง


Pbm Publications

ไปยังโรงงานผู้ผลิตสินค้า และท้ายที่สุด สินค้าที่ผลิตจากเม็ด พลาสติก recycle นั้น จะถูกส่งต่อไปยังตัวแทนจำหน่าย หรือ ร้านค้าต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าการขนส่งทั้งหมดใช้พลังงานมากมาย การ reuse หรือการนำของทีใ่ ช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ จึงเป็นอีกวิธหี นึง่ ทีส่ ำคัญ นอกเหนือจากการพยายามใช้ทรัพยากร ต่าง ๆ ให้คุ้มค่ามากที่สุด เพื่อลดความจำเป็นในการใช้ทรัพยากร ใหม่ลง และยังเป็นการลดปัญหาการทำลายขยะด้วยวิธีต่าง ๆ ด้วย เช่น การเผา การฝังกลบ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นอย่างมาก และที่สำคัญ การ reuse แทบไม่ต้องใช้พลังงาน ในการแปรสภาพเลย ดังนัน้ เราจึงควรให้ความสำคัญและเลือกใช้ วิธกี ารจัดการกับขยะด้วยการ reuse ก่อนการ recycle เพราะเป็น สิ่งที่เราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมทำได้ในทันที 13


การรวบรวมวัตถุดิบ

การรวบรวมวัตถุดิบ

การคัดแยกและย่อย ทำความสะอาด (ถ้าจําเป็น) ทำความสะอาด (ถ้าจําเป็น)

บรรจุและขนส่งไปยังโรงงาน

ผลิตชิ้นงาน

14

แปรสภาพเป็นวัสดุใหม่ ร้านค้า ขนส่งไปยังโรงงานผู้ผลิตสินค้า เพื่อเป็นวัตถุดิบ

ร้านค้า ผู้ใช้

ผู้ใช้


Pbm Publications

Recycle and Reuse รองศาสตราจารย์โรจน์ คุณเอนก ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “ปัญหาขยะ เป็นเหมือนปัญหาเรื่องจอกแหนในบ่อที่เพิ่มขึ้นแบบ ทวีคณ ู วันนีเ้ ราอาจเห็นว่ามีอยูแ่ ค่ครึง่ บ่อ แต่วนั รุง่ ขึน้ ก็เต็มบ่อแล้ว ซึ่งหากถึงเวลานั้นก็สายเกินกว่าจะแก้ไข”

แนวโน้มปัญหาขยะของไทยและของโลก ปั ญ หาขยะของโลกกำลั ง เป็ น ปั ญ หาใหญ่ ใ นทุ ก ประเทศที่ เจริญแล้ว มีการคิดค้นวิธกี ารกำจัดขยะตลอดเวลา ส่วนของ “ขยะ ครั ว เรือน” เป็นส่วนที่มีวิธีการจัดการได้ แต่ที่เป็นปัญหามาก คือ “ขยะมีพิษ” ซึ่งยังวางแนวทางในการจัดการได้ไม่หมด โดย การจัดการขยะในต่างประเทศนั้น มีตัวอย่างการวางระบบในการ จัดการขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ดี เช่น ในประเทศญี่ปุ่น มีโครงการ Zero Emission ที่ให้ความสำคัญเรื่องการ recycle และเน้นความร่วมมือกันระหว่างโรงงานต่าง ๆ ในการคัดแยกเศษ วัตถุดิบเหลือใช้ส่งต่อไปใช้ประโยชน์ต่อในอีกโรงงานหนึ่ง เพราะ วัตถุดิบที่กลายเป็นขยะของโรงงานหนึ่ง อาจกลายเป็นวัตถุดิบ สำคัญในการผลิตของอีกโรงงานหนึ่งได้ สำหรับประเทศไทยเอง จะมีทั้งปัญหาขยะครัวเรือนและขยะมีพิษ โดยเฉพาะขยะมีพษิ เช่น แบตเตอรีจ่ ากโทรศัพท์มอื ถือ ถ่านไฟฉาย

15


หลอดไฟต่าง ๆ หลอดฟลูออเรสเซนส์ กระป๋องสเปรย์ ฯลฯ โดยขยะมีพิษเหล่านี้ยังไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้อง ยกตัวอย่าง เช่น แบตเตอรี่ที่ทิ้งลงดินหรือฝังกลบอย่างไม่ถูกต้อง จะปล่อย สารพิษทีเ่ ป็นโลหะหนักลงสูด่ นิ และแหล่งน้ำ ซึง่ พืชจะดูดซึมสารพิษ นี้เข้าไปสะสมไว้ และเมื่อเราบริโภคพืชผักเหล่านั้น ร่างกายก็จะ ได้รบั สารพิษด้วย นอกจากนี้ การจัดการขยะในบ้านเราส่วนใหญ่ ไม่ได้จัดการอย่างถูกวิธี คือ เป็นเพียงการเก็บและนำไปกองทิ้งไว้ เท่านั้น โดยขยะที่ฝังกลบอย่างถูกวิธีนั้นมีเพียง 35% หรือที่เผา อย่างถูกต้องมีเพียง 1% เท่านั้น

16

สิง่ ทีน่ า่ เป็นห่วง คือ วิธจี ดั การขยะแบบนี้ ในปัจจุบนั เราอาจยังไม่ เห็นปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม แต่หากเรายังคงทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ในไม่ช้าเราจะไม่มีที่ทิ้งขยะ โดยในต่างจังหวัดบางแห่งเริ่มเกิด ปัญหาแล้ว ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ที่ใช้ทิ้งขยะเท่านั้น แต่รวมถึงพื้นที่ บริเวณใกล้เคียงด้วย เพราะไม่มใี ครต้องการอาศัยอยูใ่ กล้กองขยะ ที่ส่งกลิ่นรบกวน นอกจากนี้ เรายังไม่สามารถเก็บขยะได้หมด ขยะตกค้างเป็นปัญหา ใหญ่ โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว เช่น เมืองพัทยา เพราะมีทั้งขยะ จากชุมชน และขยะจากแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งกลายเป็นปัญหาด้าน มลภาวะและการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ และหากขยะอยู่ รอบ ๆ ตัวเรา อาหารที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันอาจมีเชื้อโรค หรือสารพิษปนอยู่ก็ได้ เพราะนาข้าวบางแห่งก็อยู่ติดกับพื้นที่ทิ้ง ขยะ จะเห็นได้ว่าปัญหาร้ายแรงเหล่านี้ไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด


Pbm Publications

การจัดการขยะที่ยั่งยืน ปัจจุบัน ขยะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเราต้องหาวิธีลดตั้งแต่ แนวความคิด คือ ต้องเริม่ จากการมองขยะให้ไม่เป็นขยะ เพราะ ถ้าเราเห็นทุกอย่างเป็นขยะ ก็จะทิง้ ทุกอย่าง ทัง้ ๆ ทีข่ องบางอย่าง อาจยังไม่ใช่ขยะ ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก “ขยะ คือ สิง่ ของจากบ้านเรือนประชาชน ทีป่ ระชาชนไม่ตอ้ งการ แล้วมีผนู้ ำ ไปใช้ประโยชน์ จนเหลือสุดท้าย ที่ไม่มีผู้ต้องการใช้ประโยชน์แล้ว และทิ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บและขนส่งเพื่อไป กำจัด” ฉะนั้น สิ่งที่จะเป็นขยะได้ คือ สิ่งที่ไม่มีใครต้องการจริงๆ ซึ่งเราต้องปลูกฝังความคิดนี้ให้แก่ทุก ๆ คน

การเริ่มแยกขยะ การแก้ปัญหาต้องเริ่มที่ “การแยกขยะ” ซึ่งทำให้การจัดการต่าง ๆ หรือการนำไปใช้ประโยชน์ทำได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น เศษอาหาร ต่าง ๆ ซึ่งเป็นขยะอินทรีย์ สามารถทำเป็นปุ๋ยได้ กระดาษ หรือ พลาสติก ก็นำไปใช้ต่อได้ หรือแม้แต่แบตเตอรี่ หรือถ่านไฟฉาย ก็มีโรงงานนำไปใช้ได้ ดังนั้น ทุกคนจึงควรต้องแยกขยะ ไม่เช่นนั้น ก็จะไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เลย เช่น ขยะอินทรีย์จาก บ้านเรือน หากมีการทิ้งแบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉาย ซึ่งเป็นขยะมีพิษ ปนไปด้วย ก็จะไม่สามารถนำขยะเหล่านั้นไปหมักทำปุ๋ยได้ ซึ่ง เท่ากับว่า ทุกอย่างเป็นขยะ ต้องทําลายทิ้งทั้งหมด

17


ปัญหาขยะที่เกิดขึ้นนี้ ทุกฝ่ายควรต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ทั้งใน ส่วนของผูป้ ระกอบการเอง เช่น โรงงานผลิตแบตเตอรี่ ก็ควรต้องมี ส่วนร่วมในการหาวิธี recycle แบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว หรือต้องรับผิด ชอบจัดการซากเหล่านั้น ดังจะเห็นได้จากโรงงานผลิตแบตเตอรี่ ในหลายประเทศ เช่น ญีป่ นุ่ อเมริกา สวีเดน นัน้ ต่างยึดหลัก นโยบาย PPP (Polluter Pay Principle) ซึ่งหมายถึง ผู้ที่ก่อมลพิษ ต้ อ งเป็ น ผู้ รั บ ผิ ด ชอบค่ า ใช้ จ่ า ยในการจั ด การขยะเหล่ า นี้ ด้ ว ย หรื อ แม้แต่ประชาชนก็ควรต้องมีส่วนร่วมในการจัดการขยะให้ มากขึน้ กว่าที่เป็นอยู่

18

นอกจากนี้ ในหลายประเทศยังมีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ใหม่ เพือ่ การลดปริมาณขยะ เช่น นมสดที่ดื่มกันจะบรรจุในขวดแก้ว ซึ่งสามารถนำกลับไปล้างทำความสะอาด แล้วนำมาบรรจุใหม่ได้ หรืออย่างเช่น วิธกี ารเก็บขยะในประเทศญีป่ นุ่ ทีใ่ นแต่ละวันจะเก็บ ขยะเพียงหนึ่งประเภท เช่น วันนี้เก็บเฉพาะขยะแห้ง อีกวันเก็บ เฉพาะขยะมีพิษเท่านั้น ทำให้ประชาชนต้องใส่ใจและปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัด ในการแยกขยะและทิ้งขยะให้ตรงตามที่ทางการ กำหนดไว้ การแยกขยะ ทำให้ปริมาณขยะลดลงอย่างคิดไม่ถึง ลองนึกว่า หากเราซื้อเสื้อมา 1 ตัว เราแกะถุงพลาสติกใส่เสื้อออก กระดาษ แข็งรองเสื้อ เข็มหมุด ทิ้งลงถังขยะ รวมกับขยะอื่น ๆ หากทุกคนทำ


Pbm Publications

เช่นนี้ เราจะได้ขยะจำนวนมหาศาล แต่หากเราแยกถุงพลาสติก รวมไว้กับถุงพลาสติกอื่น ๆ นำกระดาษแข็งรองเสื้อไปรวมกับ กระดาษใช้แล้วหรือหนังสือพิมพ์ที่อ่านแล้ว เพื่อเก็บรวบรวมไป ขาย และเก็บเข็มหมุดไว้ใช้ เราก็จะไม่มีขยะเลย เราต้องมองขยะไม่เป็นขยะ และหาวิธีใช้ประโยชน์จากมันให้ได้ มากที่สุดก่อนที่จะทิ้ง โดยต้องมองไปถึงผู้อื่นด้วย เพราะสิ่งที่เรา ใช้ไม่ได้ หรือไม่ได้ใช้ อาจจะยังมีประโยชน์ต่อผู้อื่น และการ ร่วมมือกันในการลดปริมาณขยะยังเป็นการช่วยบรรเทาปัญหา สิง่ แวดล้อม ซึง่ จะเกิดแก่ลกู หลานของเราในอนาคตอันใกล้อกี ด้วย การแยกขยะ เป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เด็ก และต้องเริ่มกัน ตั้งแต่วันนี้ ดังจะเห็นได้จากประเทศเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ที่มีการสอนเรื่องการคัดแยกขยะในโรงเรียนกันอย่างจริงจัง ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล และทีส่ ำคัญ การแยกขยะนัน้ จำเป็นต้อง คิดและทำแบบบูรณาการ เริ่มตั้งแต่การออกแบบสินค้าที่ต้อง ทำให้เกิดขยะน้อยลงไป จนถึงตัวบทกฎหมายทีค่ วรกำหนดให้เป็น หน้าที่ของทุกคน ในการร่วมกันรับผิดชอบ ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็น การลดปริมาณขยะที่ต้องนําไปบําบัดหรือทําลายทิ้งให้น้อยลง นั่นเอง

19



Part 1 : The Art of Reuse ความสวยงาม ประโยชน์ และโลกของเรา


Lini-Bench ทําจากเศษไม้สักเหลือทิ้ง

ZigZag Bookshelf ทําจากเศษไม้สัก

Clam และ Starfi Fish เก้าอี้ทําจากเศษไม้ประดู่ที่เหลือทิ้ง และหินเทียมที่ทําจากเศษเรซิน Frame Stool ทําจากเศษไม้ Veneer


Vase

Cosal เป็น Stationery ทําจากท่อเหล็กที่ สั้นเกินกว่าจะนํามาผลิตอุปกรณ์ตกแต่ง รถยนต์

Spiders ม้านั่งในสวน

Bamboo

ผลิตภัณฑ์จากท่อเหล็กที่สั้น เกินกว่าจะนํามาผลิตอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์


ภาพนี้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทําจากเศษวัสดุ เช่น ซองกระดาษฟอยล์จากถุงกาแฟ เศษไม้สัก รากไม้ เหล็กข้ออ้อย เป็นต้น


Grasshopper ทําจากขี้เลื่อยอัด

PMC-Barstool ที่นั่งทําจากกล่องน้ำผลไม้อัด

M-Chair ทําจากเปลือกส้มอัด

Hippo ทําจากแกลบ และแผ่นหินเทียม ทำจากเรซินที่เหลือ จากการผลิต เครื่องประดับแฟชั่น

Papi-stool ทําจากเศษไม้อัดที่เหลือทิ้ง หลังจากการปรับปรุงอาคาร ส่วนกลางทําจากกระดาษ A3 ใช้แล้วนํามาเย็บมือ

Sway ทําจากแผ่นระบายอากาศ ซึ่งเป็นกระดาษอัด


Lamp ทํามาจาก Hair Coloring Tubes


Hills Lamp โคมไฟทําจากถุงพลาสติกใส่ของ


เศษถุงพลาสติกกรุบกรอบ

เศษผ้ายีนส์

เศษมุ้งลวดกันยุง และฝอยกระดาษที่ทิ้งจากสํานักงาน Foil ถุงกาแฟที่ทิ้ง จากร้านกาแฟ

หนังที่มีข้อบกพร่อง

Plastic Shopping Bags

Bag Collection ที่ทำจากของเหลือใช้ต่างๆ


Pbm Publications

The Art of Reuse

Reuse ไม่ใช่แค่เรื่องการนำสิ่งของที่หลายคนเห็นว่าเป็นขยะกลับ มาใช้และช่วยลดปริมาณขยะเท่านัน้ แต่เป็นกระบวนการคิดอย่าง เป็นระบบที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วัสดุศาสตร์ การออกแบบ และประโยชน์ใช้สอยมาผนวกกับศิลปะ เพื่อสร้างสรรค์งานจากชิ้นขยะหรือเศษวัสดุที่ใช้งานได้จริง และ สวยงามพอทีค่ นจะยินดีนำชิน้ งานนัน้ กลับไปตัง้ ในบ้านของตนเอง อย่างภูมิใจ โดยที่หากมองให้ละเอียดแล้ว ชิ้นขยะนั้นยังอยู่ใน สภาพเดิมจากทีถ่ กู ทิง้ และทีส่ ำคัญ การนำกลับมาใช้ตอ้ งไม่สร้าง ขยะที่เป็นปัญหาให้แก่สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น

29



Part 2 : Reuse...simply for survival

การนำกลับมาใช้ที่เริ่มจากการคัดแยกขยะ


ทุกวันนี้ เราบริโภคกันอย่างฟุ่มเฟือย มีสารคดีชื่อ The Story of Stuff ของ Annie Leonard นำเสนอว่า หากไม่มีการจัดการขยะ เราจะต้องการโลกทีอ่ ยูก่ นั นีถ้ งึ 5 ใบ เพือ่ ให้มพี น้ื ทีเ่ พียงพอสำหรับ การบริโภคของเรา อันดับแรกที่ต้องคิดกัน คือ เราบริโภคกัน สิ้นเปลื้องแค่ไหน และการทิ้ง คือ การเริ่มสร้าง “ขยะ” ให้แก่โลก ในความคิดของเรา ขยะเป็นสิง่ ทีไ่ ม่มคี า่ ซึง่ อาจมีการแยกแยะขยะ ได้หลายวิธี แต่หากลองแบ่งขยะตามพฤติกรรมการบริโภคแล้ว จะยิง่ เห็นได้ชดั ว่า ปริมาณขยะมีความสัมพันธ์ก์ บั การบริโภคของเรา อย่างไร ซึ่งโดยวิธีนี้ เราสามารถแบ่งขยะได้ 3 ประเภท คือ

32

ทิ้ง

ขยะที่เราทิ้งทันที หลังจากใช้งานแล้ว หรือ ของสิ่งอื่นที่เราเห็นว่า ไม่มีค่าสำหรับเราแล้ว ไม่วา่ จะเป็นของใช้ในชีวติ ประจำวัน จากการ ทำงาน หรือจากกระบวนการผลิต เช่น เศษ อาหาร น้ำมันพืชที่ผ่านการประกอบอาหาร แล้ว ถุงบรรจุอาหาร แก้วกระดาษ ถุงหิ้ว พลาสติก ขยะมูลฝอย ขยะเปียกทีห่ ากปล่อย ไว้นานจะเกิดการเน่าเหม็น เศษวัสดุกอ่ สร้าง วัตถุดบิ ทีเ่ หลือจากการผลิต และอืน่ ๆ


Pbm Publications

จะทิ้ง

สิ่งของที่เราไม่ได้ใช้แล้ว แต่เราอาจยังไม่ได้ ทิ้งในทันที ซึ่งรวมถึงสิ่งที่เรายังสามารถใช้ ได้ หรือนำไปดัดแปลงใช้ทำสิ่งอื่นได้ โดย ขยะในส่วนนี้อาจเกิดจากการบริโภคมาก เกินความจำเป็น เช่น เสื้อผ้าเก่า ๆ ขวดโหล ซองขนม กระดาษที่พิมพ์แล้วทั้งสองหน้า กระปุกครีม โทรศัพท์มอื ถือทีเ่ สียแล้ว รองเท้า คู่เก่าที่ไม่ใส่แล้ว

ต้องทิ้ง

ของเสียและขยะมีพิษต่าง ๆ ที่เราต้องทิ้ง เท่านั้น เช่น เข็มฉีดยา ถ่านไฟฉาย ยาหมด อายุ​ุ หลอดไฟ กระป๋องยาฆ่าแมลง ขวดน้ำ ยาล้างห้องน้ำ ฯลฯ

ยิ่งมีการบริโภคกันมากเท่าไร ปริมาณสิ่งของที่เรา “ทิ้ง” “จะทิ้ง” และ “ต้องทิ้ง” ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ดังจะเห็นได้จากจำนวน ขยะในประเทศไทยที่มีปริมาณมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

จำนวนขยะในประเทศไทย ปี ค.ศ. 2003 – 2007*

*

กรมควบคุมมลพิษ. (2551). ปริมาณขยะมูลฝอยทีเ่ กิดขึน้ ในประเทศไทย. สืบค้นเมือ่ 14 ตุลาคม 2551,จาก http://www.pcd.go.th/infor_serv/waste_wastethai47_48.html

33


ปริมาณขยะของคนไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ*

จากข้อมูลของธนาคารโลกพบว่า คนไทยทิ้งขยะประมาณ 1.1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน และในปี 2007 มีขยะ 84% ของขยะ ทั้งหมดที่ได้รับการจัดเก็บ และในจำนวนนี้ มีเพียง 36% เท่านั้น ที่ได้รับการจัดการอย่างถูกสุขลักษณะ ส่วนที่เหลือนั้นจะกำจัด ด้วยการกองทิ้งไว้หรือเผาในพื้นที่เปิดทั่วไป

*โรจน์ คุณเอนก. (2551). ทิศทางการจัดการขยะในเมือง. กรุงเทพฯ: เอกสารอัดสำเนา.


ขยะที่เกิดขึ้น = ขยะที่จัดเก็บ =

คาดการณ์การกําจัดขยะมูลฝอย* ในปี 2006-2015

ขยะที่ถูกกําจัด =

*โรจน์ คุณเอนก. (2551). ทิศทางการจัดการขยะในเมือง. กรุงเทพฯ: เอกสารอัดสำเนา.


การฝังกลบ (Landfill)


Pbm Publications

การกำจัดขยะโดยการฝังกลบ

การมีปริมาณขยะเพิ่มขึ้น หมายถึงความต้องการพื้นที่สำหรับฝัง กลบมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน เราต้องหาพื้นที่จำนวนมากเพื่อฝังกลบ ขยะ โดยร้อยละ 70 ของขยะในกรุงเทพมหานครนำไปกำจัดใน สถานีฝังกลบอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ร้อยละ 30 ใน อำเภอ พนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือขยะในเขตเมืองพัทยา ก็ใช้สถานีฝังกลบถึง 90 แห่ง เตาเผา 3 แห่ง และสถานีบำบัด แบบผสมผสานอีก 3 แห่ง* ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ฝังกลบขยะยังไม่พอ รองรับกับปริมาณขยะทีเ่ พิม่ ขึน้ ปัญหา คือ เราจะมีพน้ื ทีร่ องรับขยะ ไปได้ตลอดหรือไม่ 37

วิธีการฝังกลบ นอกจากมีปัญหาในเรื่องของพื้นที่แล้ว ขยะที่ฝัง กลบอยู่ในบ่อจะยังคงอยู่ไปอีกนาน หรือขยะบางประเภท เช่น ขวด หรือเศษแก้ว จะคงอยู่ตลอดไป เหมือนกับที่เราเห็นจาก การขุดค้นทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ แล้วพบเครื่องแก้วที่ยังคงอยู่ ในสภาพดีถึงแม้เวลาจะผ่านไปนับพันปี หรือขยะสมัยใหม่อย่าง กล่องโฟมใส่อาหารจะไม่มีการย่อยสลายเช่นกัน ขยะเหล่านี้จะ อยู่เป็นมลพิษตลอดไป

*พีเคคอมมูนนิเคชัน่ . (2551). การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน. สืบค้นเมือ่ วันที่ 19 สิงหาคม 2551, จาก http://www.thaipr.net



ขยะแต่ละประเภทที่คุณทิ้ง จะอยู่ไปอีกนานแค่ไหน


อายุการย่อยสลายของขยะแต่ละประเภท*

40

ถุงพลาสติก

450 ปี

กระป๋องอะลูมิเนียม

80 – 100 ปี

เศษกระดาษ

2 – 5 เดือน

ถ้วยกระดาษเคลือบ

5 ปี

ก้นบุหรี่

12 ปี

รองเท้าหนัง

25 – 40 ปี

เศษอาหาร เช่น เปลือกส้ม 6 เดือน ขวดแก้ว **

ไม่ย่อยสลาย ต้อง recycle เท่านั้น

ไม้

13 ปี

กล่องโฟม

ไม่ย่อยสลาย

*กรมควบคุมมลพิษ.(2551). ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะมูลฝอย. สืบค้นเมื่อ

9 พฤศจิกายน 2551,จาก http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_rubbish.html

**

ขวดแก้วที่อยู่ในสภาพดี จะนำกลับเข้าโรงงาน เพื่อทำความสะอาด คัดแยกสี และสามารถนำกลับมาใช้หมุนเวียนได้ถึง 30 ครั้ง ส่วนขวดที่แตก จะถูกนำไป หลอมกับวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นแก้วใหม่ ซึ่งสามารถลดต้นทุนและประหยัดพลังงาน ในการผลิตใหม่ได้ โดยแก้วที่ผ่านการ recycle จะมีสภาพและคุณสมบัติ เช่นเดียว กับแก้วใหม่ทุกประการ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.