สแกนเพื่อติดตามผลงาน นักศึกษาวารสารฯ ที่นี่
ฉบับพิเศษ - เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
2
พริบพรี แห่งการเปลีย ่ นแปลง
4
งานปัน ้ คน คนปัน ้ ปูน
5
จากตาลโตนดสู่...
6
ละครหุน ่ คนแม่เพทาย บ้านของเยาวชน
7
ไทย - ฝรั่ง ส่วนผสมที่ลงตัว
8
จ้าวแห่งลุ่มน�้ำเพชร
9
ภาพแห่งความทรงจ�ำ
10
ลมหายใจอันแผ่วจาง ของหนังใหญ่
11
พลังศรัทธาที่ไม่มีวัน เสื่อมคลาย
12
วัวลาน... นักสู้แห่งผืนนา
13
ชาวนา แห่งทุ่งเพชรบุรี
14
ชิมปูชัก...ชักคืนปู
15
เรือนไทยเมืองเพชร
หลงรัก
เพชรบุรี มองทวนเข็มนาฬิกาแห่งความเปลีย ่ นแปลง ของย่านเก่า ‘เมืองเพชร’ ผ่านบ้านเรือน และวิถีชีวิตผู้คน ที่ยังสอดประสาน สืบทอด ลมหายใจแห่งขนบประเพณี และวัฒนธรรม
เมื่ อ นั ก ศึ ก ษานิ เ ทศศาสตร์ ปี 2 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เเละการสื่ อ สาร ขออาสาด้ ว ย ความเเข็ ง ขั น ออกไปลั ด เลาะ สั ม ผั ส วิ ถี ชี วิ ต ชาวบ้ า น น� ำ มา ร้อยเรียงเป็นเรื่องราว...
บทบรรณาธิการ
หลงรัก
เพชรบุรี บ่ายร้อนๆ ของเด็กหญิงตัวกระเปี๊ยก พ่อเคยพาฉันไปเที่ยว ‘เขาวัง’ เขาวัง หรือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เป็นโบราณสถานที่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ 4) ทรงสร้างพระราชวังไว้สาํ หรับเสด็จแปรพระราชฐาน นับจากสร้างเเล้วเสร็จ เขาวังก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของเพชรบุรี มนุษย์กลัวความสูงอย่างฉัน หวาดเสียวมากเวลานั่งรถรางไฟฟ้าที่ค่อยๆ ลัดเลาะไต่ ยอดเขาไปเรือ่ ยๆ เเม้มนั จะสูง เเต่ววิ สองข้างก็สวยชะมัด ยิง่ บวกกับบรรดาลิงตัวกระจ้อย (จอมซนเเละว่องไวยิ่ง) เเละสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ก็ไม่เเปลกที่หลายๆ ครอบครัวจะ ใช้ช่วงเวลาหยุดพักผ่อนด้วยการมาเที่ยวเพชรบุรี นอกจากเขาวัง ฉันยังติดใจทะเล (น�้ำเย็นฉ�่ำ เล่นก่อกองทรายก็สนุก) อาหารทะเล สดๆ เเละขนมหวานเเสนอร่อย หากทั้งหมดนี้ฉันก็ได้สัมผัสเพียงผ่านๆ เท่านั้น จนกระทั่งน้องๆ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสาร สาขา นิเทศศาสตร์ เอกวารสารและหนังสือพิมพ์ ขออาสาด้วยความเเข็งขันออกไปลัดเลาะ สัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้าน มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราว ‘หลงรักเพชรบุรี’ ในทุกเเง่มุมของขนม หวาน ตาลโตนด ธรรมะ ศิลปวัฒนธรรม ท้องนา เเละท้องทะเล เพื่อกระชับมิตรระหว่าง นักศึกษากับชุมชนท้องถิ่น อันเป็นที่ตั้งสถานศึกษาของพวกเรา เเล้วจะพบว่าเมืองเพชรบุรเี ป็นจังหวัดทีเ่ ก็บความงามของตัวเองไว้เก่งระดับหาตัวจับ ยาก สมกับค�ำขวัญ “เขาวังคูบ่ า้ น ขนมหวาน เมืองพระ เลิศล�ำ้ ศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม”
กมลพร สุนทรสีมะ
ที่ปรึกษา อาจารย์มานพ เอี่ยมสะอาด อาจารย์นฤชร สังขจันทร์ ผศ.มัทนา เจริญวงศ์ อาจารย์อริน เจียจันทร์พงษ์ อาจารย์ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี บรรณาธิการ กมลพร สุนทรสีมะ
บรรณาธิการศิลปกรรม อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล
กองบรรณาธิการ รัตนสุดา ศุภรัตน์บรรพต ไอรยา โสกขุนทด ธิดารัตน์ แซ่เล้า ณัชชา เชี่ยวกล กาญจนา ปลอดกรรม จริญญา ศรีวัฒนวรัญญู วราภัสร์ มาลาเพชร รินพร ออกเวหา ชญานิศ จ�ำปีรัตน์
ภีมรพี ธุรารัตน์ พสชนัน คนึงหมาย ณัฐกานต์ เจริญขาว เกศราพร เจือจันทร์ กุลนิษฐ์ แสงจันทร์ สกลสุภา กระดังงา พาขวัญ ศักดิ์ขจรยศ ภัทรานิษฐ์ จิตส�ำรวย โชติกา กนิษฐนาคะ
พิสูจน์อักษร อรพิมล สุวรรณวาล
ประสานงาน อุบลวรรณ ทองศรีโชติ
โรงพิมพ์ บริษัท ภัณธรินทร์ จ�ำกัด
เรื่อง ภัทรานิษฐ์ จิตส�ำรวย / โชติกา กนิษฐนาคะ
พริบพรี แห่งการเปลี่ยนแป นแ โลกของเราไม่เคยหยุดหมุน กาลเวลามัก เคลือ่ นสิง่ ต่างๆ ให้เปลีย่ นแปลงอยูเ่ สมอ ตัวเมืองเพชรบุรกี เ็ หมือนกัน บ้านไม้เรียงรายฝั่งตรงข้ามถนนด�ำเนินเกษม ย่ า นวั ด มหาธาตุ ว รวิ ห าร หรื อ ‘วั ด มหาธาตุ’ ตามภาษาคนเพชร ทรงอาคารครึ่ง ปูนครึ่งไม้เป็นภาพคุ้นตาในการใช้ชีวิตของ ผู้คน ผิดกับย่านการท่องเที่ยวรอบนอกอย่าง ชะอ�ำ ริมถนนเพชรเกษม ที่ก�ำลังถูกคลื่นของ การพัฒนาเป็น ‘แหล่งท่องเที่ยวใกล้กรุงฯ’ ถาโถมใส่อย่างต่อเนื่อง เพชรบุรเี ป็นเมืองทีม่ ปี ระวัตกิ ารตัง้ ถิน่ ฐาน และการค้ามายาวนาน ด้วยความส�ำคัญระดับ ‘เมืองหน้าด่าน’ ในกลุม่ หัวเมืองฝ่ายตะวันตก ในสมัยอยุธยาที่นี่มีการติดต่อค้าขายระหว่าง หัวเมืองส�ำคัญ ท�ำให้เกิดการขยายตัวของ ชุมชนการค้าใหม่นอกก�ำแพงเมือง เกิดตลาด ริมนำ�้ ขนาดใหญ่บริเวณวัดมหาธาตุวรวิหารจน กลายเป็นชุมชนการค้าที่ส�ำคัญริมแม่น�้ำเพชร ในเวลาต่อมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เพชรบุรีถูกยกขึ้นเสมือน เมืองหลวงแห่งที่ 2 ท�ำให้มสี งิ่ แปลกใหม่และ ตื่นตาตื่นใจเกิดขึ้นกับชาวเมืองเพชร อาทิ จักรเย็บผ้า เครื่องพิมพ์ดีด สะพานคอนกรีต แห่งแรก ตึกอิฐตึกปูนถูกสร้างขึน้ ในตลาดเป็น ครัง้ แรก แต่สภาพบ้านเรือนของชาวบ้านทัว่ ไป ยังเป็นพืน้ ถิน่ ทีส่ ร้างจากไม้และมุงหลังคาด้วย จากอยูก่ นั อย่างแออัด จนกระทัง่ เมือ่ พ.ศ.2468 ได้เกิดไฟไหม้ครัง้ ใหญ่บริเวณตลาดจากฟากตะวันตกของแม่นำ�้ ตัง้ แต่เชิงสะพานจอมเกล้าไปตามถนนชีสระอินทร์จรดถนนราชด�ำเนินไปจนจรดถนนราชวิถี จนถึงแม่น�้ำเพชรบุรี ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ 6) จึงโปรดฯ ให้ขยายถนนเก่า และห้ามสร้างปลูกเพิงไม้ที่ เป็นเชือ้ ไฟได้อกี ต่อไปในบริเวณไฟไหม้ เหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2493 ท�ำให้เกิดการเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ในตัวตลาด
การคมนาคมทางน�้ ำ บริ เ วณวั ด มหาธาตุ ฯ ซบเซาลง ร้านค้าที่เสียหายจากเพลิงไหม้ถูก สร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้อย่างที่ เห็นในปัจจุบนั เพชรบุรม ี อ ี ดีต
“ตัวเมืองเพชรบุรไี ม่คอ่ ยเปลีย่ นแปลงหรอก ถึงจะเปลีย่ นแปลงมันก็เกิดขึน้ ช้าๆ” ค�ำบอกเล่า ของชาวบ้านหลายๆ คนทีอ่ าศัยในย่านนี้ อย่าง บุญนาค วงศ์กลั ยา แม่คา้ ข้าวแช่ เจ้าแรกในเพชรบุรี (รุน่ ที่ 2) ขายมาตัง้ แต่ขา้ วแช่ ชุดละ 50 สตางค์ จนกลายเป็นชุดละ 20 บาท ในปัจจุบนั ภาพความเปลีย่ นแปลงในความรูส้ กึ ของเธอผ่านไป 2 ห้วงเวลาเท่านัน้ แต่เดิมตัง้ แต่รนุ่ แม่ ครอบครัวของเธอขาย ข้าวแช่อยูภ่ ายในตลาดหน้าวัดมหาธาตุฯ ก่อน ย้ายมาขายบริเวณหน้าร้านขายยาประดิษฐโอสถทีอ่ ยูห่ า่ งออกมา เพราะตลาดถูกทางวัดรือ้ และสร้างเป็นโรงเรียนสุวรรณรังสฤษฏ์วทิ ยาลัย จังหวัดเพชรบุรี ช่ ว งเวลาที่ เ ริ่ ม มี ก ารเปลี่ ย นตลาดเป็ น โรงเรียนนัน้ หลายคนได้สง่ เสียงคัดค้าน แต่การ ก่อสร้างโรงเรียนก็ยงั คงด�ำเนินต่อไปจนส�ำเร็จ “รู ้ สึ ก เสี ย ดายที่ ต ลาดเก่ า ต้ อ งถู ก รื้ อ ทิ้ ง ตลาดเก่าสวยนะ สวยกว่าที่อัมพวาอีก” เธอ ยืนยัน ความสวยงามของวันวานทีแ่ ม่คา้ ข้าวแช่ยงั จ�ำได้กค็ อื ห้องแถวไม้สองชัน้ ล้อมรอบบริเวณ หลังคาทรงโบราณ ตรงกลางเป็นตลาด แต่ดว้ ย ความเก่าของตลาด และการเกิดเหตุเพลิงไหม้ ในตัวตลาดท�ำให้ทุกอย่างเดินทางมาสู่ความ เปลีย่ นแปลงในทีส่ ดุ “ตัวเมืองเพชรไม่คอ่ ยเปลีย่ นแปลง เพราะ ตัวเมืองแคบ การขยายตัวเมืองเลยล�ำบาก ตอนนี้กรมศิลป์ฯ เขาก็มาขอให้บ้านไม้เก่าๆ อนุรกั ษ์ไว้ ให้ซอ่ มแซมเป็นทรงเดิมได้แต่ไม่ให้ เปลี่ยนแปลง” บุญนาคให้ข้อสังเกตก่อนที่จะ หันกลับไปขายข้าวแช่ให้กบั นักท่องเทีย่ ว ‘ไม้’ ถือเป็นภาพติดตาส�ำหรับคนรุ่นหนึ่ง
3
หลงรักเพชรบุรี | ฉบับพิเศษ เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
นแปลง ไม่วา่ จะเป็นตัวเรือน หน้าต่าง อาคาร ล้วนมีไม้ เป็นองค์ประกอบหลัก ศิ นุ ช วิ ส าสะ เจ้ า ของร้ า นขายเครื่ อ ง สังฆภัณฑ์ ‘ศิรพิ าณิช’ บอกว่า อะไรๆ ก็ท�ำจาก ไม้ โดยเฉพาะสะพานข้ามแม่นำ�้ สูงๆ ทีพ่ อตก กลางคืนจะดูนา่ กลัว เพราะไม่คอ่ ยมีคน แต่เมือ่ ร้านสะดวกซือ้ เจ้าดังเข้ามาเปิดตรงหัวมุมถนน ชุมชนก็เปลีย่ นไป “เมือ่ ก่อนทีร่ า้ นขายของช�ำ ขายของเหมือน ร้านสะดวกซือ้ ตอนนี้ ขายทุกอย่างตัง้ แต่ขนม ข้าวสาร นำ�้ ดืม่ ลูกอม ของใช้ เหมือนห้างขนาด ย่อมๆ ตอนนัน้ มีบริษทั มาส่งของทีร่ า้ น แต่จะ ให้ ข ายของแบบเมื่ อ ก่ อ นมั น ก็ ไ ม่ ไ ด้ ด้ ว ย ต�ำแหน่งที่ต้ังเราอยู่ใกล้กับเขามาก เลยต้อง เปลีย่ นมาขายอย่างอืน่ อย่าง เครือ่ งสังฆภัณฑ์ เพราะอยูใ่ กล้วดั เลยหันมาขายพวกของท�ำบุญ แทน โดยไปซือ้ ของจากห้างมาขายเอง รูส้ กึ ว่า ซือ้ เองจะถูกกว่าเวลาทีบ่ ริษทั มาส่ง” อีกสิง่ หนึง่ ทีเ่ ธอสัมผัสได้ อาจจะเรียกว่าเป็น ผลกระทบกลายๆ ก็คือ ความวุ่นวายจากนัก ท่องเที่ยวที่เดินทางมาพร้อมความเจริญ โดย เฉพาะเวลาทีม่ กี รุป๊ ทัวร์ลง ศินชุ เดินออกจากร้านพลางชีไ้ ปยังบ้านไม้ ทีอ่ ยูต่ รงหัวมุมถนนพร้อมกับพูดว่า บ้านไม้ตรง หัวมุมนั้นก็เพิ่งสร้างใหม่ เจ้าของเป็นคนออก เงินค่าซ่อมแซมเอง เสียเงินไปเยอะอยู่ เห็นเขา บอกว่าเป็นล้าน “บ้านไม้จริงๆ สวยนะ ถ้าอนุรกั ษ์ได้กด็ ี แต่ ถ้าไม่มเี งินมันก็ยาก เพราะไม้สร้างแพงกว่าปูน แถวนีท้ รี่ อื้ กันทัง้ หลังก็เพราะปลวกกินจนเกือบ จะล้ม ท�ำเป็นไม้เหมือนเดิมก็ไม่ไหว” แล้วเธอก็ กลับเข้าร้านไป ชีวต ิ ปรับเวลาเปลีย ่ น
“ตัง้ แต่รนุ่ คุณยายแล้ว” ใครบางคนในร้าน ขายน�้ำแข็งและน�้ำอัดลมให้ค�ำตอบ ก่อนที่ เกศนี จันทร์ปลูก หรือ เจ๊เกียว วัย 68 ปี ผู้ สืบทอดร้าน ‘เอีย๊ วเส็ง’ มาจากพ่อแม่จะเล่าถึง วิถชี วี ติ ทีเ่ ปลีย่ นไปจากยุคสมัยทีเ่ ปลีย่ นแปลง
“เมื่อก่อนบ้านเราขายผลไม้ น�้ำตาลโตนด หมากพลู แต่เมื่อพ่อเสียชีวิต แม่ก็ท�ำต่อไม่ได้ เพราะไม่เคยตามพ่อไปรับซือ้ ของจากชาวสวน เลย จึงคิดเปลี่ยนมาเป็นขายน�้ำแข็งแทน” เดิมครอบครัวของเธอเป็นร้านขายผลไม้ ร้านใหญ่ พ่อของเธอขับรถไปรับผลไม้จาก ชาวสวนต่างอ�ำเภอมาเป็นพ่อค้าคนกลางให้กบั คนละแวกนี้ แต่เมือ่ พ่อเสียชีวติ ลง ขณะเธอผู้ เป็นลูกสาวคนโตอายุได้เพียง 5 ขวบ และแม่ ก�ำลังตัง้ ท้องลูกคนสุดท้องในบรรดาลูกทัง้ หมด 5 คน แม่ของเธอจึงเริม่ กิจการใหม่ดว้ ยการขาย น�ำ้ แข็ง ซึง่ โม่นำ�้ แข็งด้วยตนเองจากความช่วย เหลือของพวกลูกๆ หลานๆ จากการทีเ่ ธอยอม ท�ำงานเพือ่ แลกกับการได้เรียนหนังสือ ท�ำให้มี นิสยั ค้าขายติดตัวมาจนถึงทุกวันนี้ “แม่ค้าที่ดีต้องรู้จักสังเกตลูกค้า เราอาจ ถามลู ก ค้ า ในครั้ ง แรกว่ า ต้ อ งการซื้ อ อะไร แต่ครั้งต่อๆ มาแค่เห็นหน้าลูกค้าเราก็ต้อง เดาให้ ออกว่ า ลู กค้ า ต้ องการจะซื้ ออะไร ที่ ส�ำคัญเราต้องพยายามท�ำความรู้จักกับคน อืน่ ๆ ด้วย ท�ำให้เมือ่ เขาต้องการซือ้ สินค้าทีร่ า้ น เรา เขาจะได้เลือกมาซือ้ ทีร่ า้ นเราเป็นร้านแรก” เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่เธอใช้มาตลอดและส่งผล ให้มีลูกค้าประจ�ำจ�ำนวนมาก แม้ร้านหรือ โรงงานขายน�้ำแข็งจะมีมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน ก็ตาม เจ๊เกียวยอมรับว่า วันหนึ่งอาจจะต้องเลิก ขายนำ�้ แข็งเพราะอายุทมี่ ากขึน้ รวมทัง้ คนงาน ก็ไม่ได้มีมากอย่างเมื่อก่อน ท�ำให้ระยะส่ง ท�ำได้ไม่ไกลนัก ทุกวันนี้ลูกค้าขาประจ�ำส่วน ใหญ่จึงมักเป็นร้านขายของละแวกนี้เท่านั้น ขณะที่ อรวรรณ สร้อยประเสริฐ เผยยิม้ อย่างภาคภูมิ ถึงการตัดสินใจไม่ไปท�ำงาน ประจ�ำในบริษัท แต่หันมาช่วยที่บ้านค้าขาย ‘เครือ่ งบวช’ แทน ทุกวันนีเ้ ธอจึงมีความสุขทีไ่ ด้ ดูแลแม่และ ‘เทอดธรรม’ กิจการของครอบครัว แม้ในปัจจุบันลูกค้าที่มาซื้อเครื่องบวชจะ น้อยลง อาจเป็นเพราะปัจจุบันผู้คนไม่ค่อย พิถีพิถันกับเครื่องบวชขอแค่ราคาไม่สูงมาก
นัก และโดยส่วนใหญ่ก็นิยมให้ทางวัดจัดการ ให้เสียมากกว่าก็ตาม “สมัยก่อนชุดผ้าไตร สบง จีวร ต้องซือ้ จาก ร้านทีน่ งั่ เย็บเองเท่านัน้ แต่สมัยนีล้ กู ค้าก็ไม่ได้ สนใจอะไร ร้านจึงแค่ไปรับมาขายก็พอ เมือ่ ก่อน คนในครอบครัวช่วยกันนั่งท�ำเครื่องบวชเอง แต่ระยะหลังมานี้ไม่ได้ท�ำเองทั้งหมดเพราะ ไม่ทนั กับความต้องการ และคนก็ไม่ได้นยิ มเท่า แต่กอ่ น ทัง้ การรับมามีตน้ ทุนตำ�่ กว่าการท�ำเอง” ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ถึงจะคล้อย ตามลูกค้าแต่ก็ยังคงรักษามาตรฐานความ ละเอียดในข้าวของที่สืบทอดมา แม้จะรู้ว่า ลูกค้าบางรายไม่ได้ให้ความส�ำคัญกับการซื้อ เครือ่ งบวชมากสักเท่าไหร่กต็ าม ก้าวเดินเพือ ่ อนาคต
ยิ่งคล้อยแสงบ่ายไปเท่าไร ตัวเมืองเพชร แห่งนีก้ ย็ งิ่ เงียบเสียงลงเท่านัน้ หลายๆ ร้านพา กันเก็บของเตรียมปิดร้าน “5-6 โมงเย็น นีก่ เ็ ริม่ เงียบแล้ว เริม่ ปิดบ้าน กันแล้ว” ชาญไชย ชาวห้วยหมาก เจ้าของร้าน ‘ชาญไชยโทรทัศน์’ ที่เปิดร้านมากว่า 30 ปี บอก เมือ่ มองออกไปตามถนน หากไม่ใช่รา้ น ขายอาหารก็เป็นร้านโต้รงุ่ บ้านเรือนและผูค้ น เริม่ หายหน้าหายตาไป ยวดยานพาหนะยิง่ น้อย ลงไปใหญ่ อันทีจ่ ริง ทุกปีส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กับทางเทศบาล จะร่วมกันจัดงานเพชรบุรีดีจังปีละครั้ง ซึ่งตัว ชาญไชยมองว่า ถ้ามีกจิ กรรมแบบนีบ้ อ่ ยๆ ก็จะ มีสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วเพิม่ คนมาเดินเทีย่ ว แต่ใน ความเป็นจริงกลับไม่ได้เป็นอย่างนัน้ ไม่คอ่ ยมี คนด�ำเนินการ ไม่เหมือนกับชะอ�ำที่ตอนดึกๆ จะครึกครืน้ มากกว่า อดตั้งค�ำถามต่อไม่ได้ว่า เพราะความร่วม มือและการสนับสนุนมีแรงไม่มากพอ อย่างไรก็ตาม ชีวิตของผู้คนต่างต้องเดิน ตามความเปลีย่ นเปลงทีเ่ กิดขึน้ ซึง่ หมายถึงการ ปรับตัวนัน่ เอง
ที่ร้านมหาธาตุโอสถ บริเวณหน้าร้านมี ขนมเบื้องญวน ตั้งโต๊ะเรียกลูกค้าที่ผ่านไป ผ่านมาอยูห่ น้าร้านของ อรุโณทัย พึงใจ ก็นบั เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการปรับตัว ร้านนีส้ บื ทอดกิจการมาถึงรุน่ ที่ 4 แล้ว โดย เปิดขายมาตัง้ แต่รนุ่ ทวด ขายสมุนไพรไทย พ่อ แม่ของเธอจึงได้สานต่อกิจการจนถึงปัจจุบัน นี้ ส่วนขนมเบื้องที่ขายอยู่ตอนนี้เป็นสูตรมา จากทวด แม่เป็นคนสานต่อ นอกจากนี้ที่ร้าน แม่ของเธอยังได้ท�ำขนมไทย และคุกกี้ออก มาขายด้วย รายได้ของทางร้านจึงไม่ได้มาจากการขาย ยาเพียงอย่างเดียว และการขายขนมท�ำให้มคี น แวะเวียนมาซือ้ เรือ่ ยๆ “การมีรา้ นขายยาสมัยใหม่เข้ามาไม่ได้มผี ล หรือปัญหากับร้านขายยาแผนโบราณอย่างร้าน เรา เพราะปั จ จุ บั น ก็ ยั ง มี ค นมาซื้ อ ยาแผน โบราณทีร่ า้ น บางคนก็เข้ามาถามถึงสรรพคุณ ของยา คิดว่าการใช้ยารักษาโรคเป็นความชอบ ของแต่ละคน ซึง่ ส่วนใหญ่ทรี่ า้ นจะเป็นคนวัย กลางคนขึ้นไปที่มาซื้อ แต่ที่ร้านก็ไม่ได้ท�ำยา แผนโบราณเหมือนเดิมทุกอย่าง บางอย่างเรา น�ำมาบดเป็นผงใส่ในแคปซูล อย่างขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร โดยทางร้านท�ำยาแผนโบราณใส่ แคปซูลตามใบสัง่ ยา” เธอเล่า ความเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลกระทบต่อ ชีวติ ของผูค้ น หลายสิง่ อาจน�ำไปสูก่ ารอนุรกั ษ์ หลายสิ่งอาจน�ำไปสู่การล้มหายตายจาก แต่ อย่างไรก็ตาม การหันมามองเห็นคุณค่าในตัว เอง รวมทัง้ การเข้ามามีสว่ นร่วมของหน่วยงาน ทีเ่ กีย่ วข้องอย่างจริงจัง ก็จะสามารถช่วยพยุง ลมหายใจของ ‘ย่านเก่า’ ให้มชี วี ติ และด�ำเนิน ควบคูก่ บั ยุคสมัยต่อไปได้ อย่างน้อย ย่านวัดมหาธาตุฯ ก็นา่ จะเป็น หนึง่ ในนัน้
ตีพมิ พ์ครัง้ แรก : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์จดุ ประกาย ฉบับวันที่ 20 เม.ย. 58
4
งานปั้นคน คนปั้นปูน เรื่อง ณัชชา เชี่ยวกล
หลายคนพูดว่า เพชรบุรีคือ ‘อยุธยาที่ ยังมีชีวิต’ นั่นเพราะเป็นดินเเดนของช่างมี ฝีมือ ที่รังสรรค์ศิลปะต่างๆ ตั้งเเต่สมัยกรุง ศรีอยุธยายังคงเจริญรุ่งเรือง เเละยังคงรักษา ศิลปะของตัวเองอย่างต่อเนื่อง สะท้อนผ่าน ภาพวั ด วาอาราม อั น เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข อง ‘เมืองพระ’ เเละ ‘เเดนธรรม’ หนึ่งในนั้นคือ งานด้านประติมากรรมปูน ปั้น สกุลช่างเมืองเพชร ที่สืบทอดฝีมือช่างมา ตั้งเเต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เเละยังคงมีผู้ สืบทอดอย่างต่อเนื่อง ศิลปินเอกเมืองเพชร
ในบรรดาช่างปูนปั้น คงไม่มีใครไม่รู้จัก ครูทองร่วง เอมโอษฐ์ เจ้าของรางวัลศิลปิน แห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์ - ศิลปะ ปูนปัน้ ) ประจ�ำปี 2554 ที่เริ่มต้นเดินทางใน วงการศิ ล ปะ ด้ ว ยการฝึ ก เรี ย นปั ้ น ปู น กั บ ครูพนิ อินฟ้าแสง ช่างศิลปะพืน้ เมืองเพชรบุรี ที่ท�ำงานศิลปะต่อเนื่องมากว่า 50 ปี ผ่านงาน จิตรกรรม ประติมากรรมปูนปั้น งานเเกะสลัก งานสถาปัตยกรรม เเละวรรณกรรม ครูทองร่วงเล่าให้ฟังว่า ขณะที่ตนอายุ 18 ปี ก�ำลังบวชเป็นสามเณร มีโอกาสพบครูพิน เเละได้เห็นงานอันอ่อนช้อย งดงาม เกิดความ รัก ความศรัทธาในศิลปะเเขนงนี้ จึงลาสิกขาบทออกจากสมณเพศ เพือ่ ศึกษาศิลปะงานปูน ปั้น โดยใช้ระยะเวลาจดจ�ำงานจากครู เเละ ฝึกฝนตัวเองอยู่หลายปี จนพัฒนาฝีมือขึ้นมา เป็นล�ำดับต้นๆ เเละได้รับการยอมรับในที่สุด ผลงานทีส่ ร้างสรรค์เอาไว้มมี ากมายหลาย ประเภท ทัง้ การออกแบบพระพุทธรูป ฐานพระ ประธาน ช่อฟ้า ใบระกา หน้าบัน คันทวย ซุ้ม หน้ า ต่ า ง ศาลาการเปรี ย ญ เเละงานพระ อุโบสถต่างๆ ในวัดของเมืองเพชร ก็ล้วนเป็น ฝีมือของครูทองร่วงทั้งสิ้น เช่น วัดมหาธาตุวรวิหาร วัดพลับพลาชัย วัดโคก เเละวัดเขา บันไดอิฐ ฯลฯ งานของครูเเฝงกลิ่นอายเชิงปริศนาธรรม เกีย่ วข้องกับการล้อการเมืองทีส่ อดเเทรกลงไป ในปูนปัน้ ถือเป็นการบันทึกเหตุการณ์ตา่ งๆ ใน ช่วงเวลานั้นเอาไว้ เพื่อให้ผู้ชมสนุกกับการ ตีความเนือ้ หา วิพากษ์ เเละตัง้ ค�ำถามกับสังคม ด้วยเสน่หอ์ นั คมคายบาดลึกเหล่านีเ้ อง จึง ได้รบั ค�ำชืน่ ชมว่า เป็นศิลปินปูนปัน้ ผูส้ ร้างสรรค์ สังคม ดัง่ เช่นผลงานปูนปัน้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช (นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น) ก�ำลังเเบกฐานพระ
โดยต้องการสื่อว่า ฐานพระที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ แบกไว้เปรียบเสมือนการแบกความดีที่ท่าน ได้ท�ำไว้กบั แผ่นดิน หรื อ งานปู น ปั ้ น เหตุ ก ารณ์ เ รี ย กร้ อ ง ประชาธิปไตย 14 ตุลา 2516 และเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ที่ถูกน�ำมาสอดแทรกในฉาก สงครามระหว่างเมืองผลึกและเมืองลังกาของ งานวรรณคดีชนิ้ เอก เรือ่ งพระอภัยมณีได้อย่าง กลมกลื น กลายเป็ น ผลงานชิ้ น เอกที่ ส ร้ า ง คุณค่า เเละให้ข้อคิดกับผู้ชมเป็นอย่างมาก หากผลงานที่ช่างเอกเเห่งเมืองเพชรบุรี ภูมใิ จทีส่ ดุ ในชีวติ คือการได้มสี ว่ นร่วมในการ บูรณะวัดพระศรีรตั นศาสดาราม และพระบรม มหาราชวัง ในต�ำแหน่งผูเ้ ชีย่ วชาญด้านสถาปัต ย์ฯ และสถาปั ตยกรรมไทย โดยเป็ น ผู ้ ออกแบบและควบคุมช่างในการบูรณะ เพื่อ เตรียมงานฉลอง 200 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ “ไม่ ใ ช่ เ พราะเพี ย งได้ รั บ เชิ ญ จากกรม ศิลปากร ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศิลป์ สถาปัตยกรรม และจิตรกรรมไทยเท่านั้นครับ เเต่ถอื เป็นโอกาสทีห่ าได้ยากในชีวติ ทีค่ รัง้ หนึง่ ผมได้รบั ใช้เบือ้ งยุคลบาท” ครูทองร่วงยิม้ ด้วย ความปลื้มปิติ ที่เป็นส่วนหนึ่งในการรักษา ศิลปะให้คงอยู่สืบไป ปูนปั้นเมืองเพชร
เอกลักษณ์งานปูนปั้นของจังหวัดเพชรบุรี มีความโดดเด่นมาก เพราะอาศัยความประณีต ทุกขัน้ ตอนในการท�ำ เช่น การเตรียมปูน ก็ตอ้ ง เเช่ปูนไว้ในสารส้มนาน 1 เดือน เพื่อลดความ เค็ม จากนั้นจึงน�ำไปร่อนเเละตาก ก่อนน�ำไป บดเเละต�ำซำ�้ ซึง่ การต�ำปูนก็ตอ้ งใช้แรงคนต�ำ กันเป็นเวลานานถึง 3 วัน การต�ำปู น ถื อ เป็ น หั ว ใจหลั ก ของการ ท�ำงาน มีการผสมทรายละเอียด กระดาษฟาง กางหนัง น�้ำตาลโตนด หรือน�้ำตาลทรายแดง เป็นต้น (เดิมใช้เปลือกประดู่เคี่ยวกับหนังวัว ปัจจุบันจะใช้ส่วนผสมกาว 17 แผ่น น�้ำตาล 7 กิโลกรัม น�ำมาเคี่ยวให้เข้ากัน) เเล้วน�ำส่วน ผสมทั้งหมดมาต�ำในครกปูนขนาดใหญ่ เเล้ว ค่อยเข้าสูข่ นั้ ตอนการปัน้ ทีม่ อี ปุ กรณ์มใิ ช่นอ้ ย เช่น เกรียง ไม้กวาด ไม้เนียน ไม้เล็บมือ ขวาน ตะลุมพุก ทอย อ่างดินเผา ผ้าขาว ดินสอ หมึกจีน ลวด และลูกดิ่ง เป็นต้น ช่างปูนปัน้ จะท�ำการออกแบบลวดลายลง บนกระดาษ จากนั้นจึงเขียนลายลงบนผิว กระดาษ เเล้วค่อยลงหมึกลงบนเส้นร่างอีกครัง้ ซึ่งช่างที่มีความช�ำนาญสูงก็จะไม่ร่างเส้น เเต่
จะลงมื อ โกลน (การปั ้ น เพื่ อ ขึ้ น รู ป ร่ า งงาน คร่าวๆ) เพื่อขึ้นรูปเลยโดยตรง เมื่อรอส่วนที่โกลนเริ่มแข็งตัว ช่างจะโบก ปูนทับลงไปอีกครัง้ เพือ่ ใช้เกรียงแต่งลวดลาย ตามที่ต้องการ จากนั้นจึงค่อยลงรายละเอียด ตกแต่งลวดลายบนปูนปัน้ เพิม่ เติม เมือ่ ปูนจับ ตัว มีลักษณะไม่แข็งไม่เหลวจนเกินไป ครูทองร่วงเล่าว่า เทคนิคการตกแต่งลาย ปูนปั้น ส่วนใหญ่สืบสานฝีมือมาจากช่างสมัย อยุธยาตอนปลาย อาศัยเทคนิคเเละความคิด สร้างสรรค์ของครูช่างเเต่ละคน ท�ำให้งานมี เอกลักษณ์เเตกต่างกัน ซึ่งความที่ศิลปินมี อิสระในการสร้างสรรค์ผลงานเช่นนีเ้ อง ท�ำให้ เมืองเพชรบุรีมีวัดวาอารามมากมาย ถือเป็น สถานที่ที่ครูช่างในแต่ละสาขาสามารถถ่าย ทอดความคิดและฝึกฝนฝีมือได้อย่างเต็มที่ เมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่
กว่า 50 ปีเเล้วที่ครูทองร่วงผูกพันกับงาน ปูนปัน้ เเละได้เริม่ โครงการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ ให้เเก่คนรุ่นใหม่ โดยไม่ได้รอคอยให้มีคน สนใจเพียงอย่างเดียว เเต่ได้ผลักดันเเละส่งเสริม เยาวชน ให้เข้ามาสัมผัสงานช่างพืน้ เมือง ผ่าน การทดลองเรียนรู้ เเละลงมือท�ำด้วยตนเอง เช่น โครงการ ‘เปิดบ้านช่างสืบสานงานปูนปัน้ ชื่อดังเมืองเพชรบุรี’ ซึ่งจัดขึ้นภายในบริเวณ บ้านของครูทองร่วง ในต�ำบลช่องสะแก อ�ำเภอ เมืองเพชรบุรี งานนีม้ นี กั เรียนนักศึกษาจากหลายสถาบัน เข้าร่วมกว่า 100 คน โดยมีนายมณเฑียร ทองนิตย์ ผูว้ า่ ราชการจังหวัดเพชรบุรเี ดินทาง มาเปิดงาน แสดงให้เห็นว่าจังหวัดให้ความ ส�ำคัญกับการอนุรกั ษ์สบื สานศิลปะท้องถิน่ มาก ในอนาคตคงมีชา่ งปูนปัน้ รุน่ ใหม่เติบโตขึน้ … ในวัย 71 ปี ครูทองร่วงเเละครูบุญเจือน เอมโอษฐ์ ผู้เป็นภรรยา ยังคงสืบสานเเละ ถ่ายทอดงานศิลปะปูนปั้นให้เเก่คนรุ่นหลัง ด้วยความหวังว่า เมล็ดพันธุ์ที่ปลูกเอาไว้ จะเติบโตเป็นต้น กล้า หยัง่ รากลงผืนดิน กลายเป็นต้นไม้ใหญ่ที่ ให้ร่มเงาเเห่งศิลปะ เเก่ชาวเพชรบุรีสืบไป
5
หลงรักเพชรบุรี | ฉบับพิเศษ เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
จากต้นตาลโตนดสู่... เรื่อง รัตนสุดา ศุภรัตน์บรรพต / ไอรยา โสกขุนทด
“โตนดเต้าเเลจาวตาล เป็นเครื่องหวาน เพชรบุรี กินกับนำ�้ ตาลปี ของมากมีมาช่วยกัน” ค�ำกล่าวข้างต้น บอกเล่าเรื่องราวของต้น ‘ตาลโตนด’ ต้นไม้คเู่ มืองเพชรบุรี ทีใ่ ห้ผลผลิต เป็นนำ�้ ตาลโตนด ส่วนผสมอันหอมหวานของ ขนมเมืองเพชร ซึ่งนอกจากรสชาติหวานล�้ำ ต้นตาลโตนดยังร่วมสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น ท�ำให้เพชรบุรีมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ทั้ง ด้านของกิน ของใช้ หรือเเม้เเต่ของเล่น… หม้อเเกงเมืองเพชร
นานมากแล้ว ตัง้ แต่เรายังเล็กๆ เมือ่ พ่อพา ไปเที่ยวทะเล ขากลับบ้าน เราต้องเเวะเมือง เพชรบุรี เพือ่ ซือ้ ‘ขนมหม้อเเกง’ เป็นของฝาก กลั บ บ้ า น ว่ า กั น ว่ า ถ้ า ใครมาเยื อ นเมื อ ง เพชรเเล้วไม่ได้กนิ ขนมหม้อเเกง ก็เหมือนขาด อะไรไป ต้นก�ำเนิดของขนมหวานเริ่มต้นจากรั้ววัง อย่างขนมหม้อเเกง ทีเ่ ดิมชือ่ ‘ขนมกุมภมาศ’ ได้ รับการเผยเเพร่มาจากลูกหลานชาววัง จากนัน้ คนท้องถิ่นก็ค่อยปรับสูตรกันเรื่อยมา เพื่อให้ รสชาติถูกปากยิ่งขึ้น โดยวัตถุดิบหลัก คือ ‘น�ำ้ ตาลโตนด’ ทีใ่ ห้รสชาติหวานกลมกล่อม เป็น เอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ขนมหม้อเเกงเมืองเพชร มีอยูด่ ว้ ยกันหลาย ร้าน โดยมีเอกลักษณ์คนุ้ ตา คือ ขนมหม้อเเกง ที่บรรจุในถาดสี่เหลี่ยม ใส่ในถุงกระดาษก้น ใหญ่ ทีไ่ ม่วา่ ใครต่างก็หอบหิว้ กลับบ้าน ไม่นา่ เชื่อว่าจะเริ่มต้นมาจากการท�ำวิทยานิพนธ์ ของร้านเเม่บญ ุ ล้น ร้านขึน้ ชือ่ ของเพชรบุรนี เี่ อง นอกจากบรรจุภณ ั ฑ์ทนั สมัย ก็ยงั มีรา้ นค้า ทีย่ งั คงใช้บรรจุภณ ั ฑ์ท�ำจากธรรมชาติ เเอบซ่อน อยูต่ ามตลาดสดของเมืองเพชร เดินเข้าซอยเล็กๆ ในตลาดสดเมืองเพชรบุรี ตามที่แม่ค้าคนหนึ่งชี้ทางให้ เพียงอึดใจเราก็ พบกับร้านขนมหวานในตึกสองคูหา ที่ยังคง ขายขนมหม้อเเกง เเบบตัดขายเป็นชิน้ ๆ ห่อด้วย ใบตอง ราคาเพียง 5 บาท ศุภชัย อรัญญิก เจ้าของร้านขนมหม้อแกง แม่บญ ุ สม ลูกสาวแม่ปน่ิ ร้านขนมไทยร้านเเรก ในเพชรบุรี ทีก่ อ่ ตัง้ มานานกว่า 60 ปี อันเป็นต้น ก�ำเนิดของหม้อเเกงเมืองเพชร เล่าให้ฟงั ว่า “การท�ำขนมส่วนใหญ่กเ็ หมือนกัน จะใช้ไข่ กะทิ เผือก เเละแป้ง เป็นส่วนผสมหลัก เเต่ตา่ ง กันทีใ่ ครจะหยิบตรงไหนมาใส่ ซึง่ ปัจจุบนั นีเ้ รา ยังคงสูตรเดิมเหมือนรุน่ คุณเเม่ เพียงดัดเเปลง ความหวานให้นอ้ ยลง ไม่หวานมาก เพือ่ สุขภาพ ของผูบ้ ริโภค”
จุดเด่นของร้านคือ ความสดใหม่ และการ เลือกใช้สว่ นผสมคุณภาพดี เรามีโอกาสเข้าไป ดูข้างหลังร้าน เห็นคุณป้าหลายคนก�ำลังท�ำ ขนมกันอยู่ เตาอบทัง้ สองเตาก�ำลังท�ำงานอย่าง เเข็งขัน เพียงไม่นานเกินสองชั่วโมงหม้อแกง ถาดเหลืองๆ หอมกรุน่ ก็ออกมาให้ได้ซอื้ กิน ใครอยากมองหาขนมหม้อเเกงรสชาติพื้น ถิ่น ลองมาเดินตามตลาดสดเมืองเพชรบุรีดู อาจพบรสชาติที่ถูกปาก เเละราคาที่ถูกใจ มากกว่าเดิม
มาซือ้ ข้าวเเช่ เธอเล่าให้ฟงั ว่า “ทุกครัง้ ทีม่ าเทีย่ ว หาดปึกเตียน ก็จะเเวะมากินข้าวแช่กบั เพือ่ นๆ เพราะมีคนบอกต่อกันมาว่าของร้านนีอ้ ร่อย เรา ชอบกินข้าวแช่มาก มาลองเเล้วก็ตดิ ใจ ต้องเเวะ มากินตลอด” เธอยิม้ กว้าง เเม่เล็กได้ยินก็ดีใจ เห็นไหมว่าจากเดิมที่ เป็นเพียงร้านเล็กๆ เพียงอาศัยฝีมอื ความอร่อย เเละการบอกกันปากต่อปากของผูค้ น ก็กลาย มาเป็นร้านทีค่ นกินเเน่นขนัด ซึง่ ใครอยากลอง ชิมเเวะมาได้ทอี่ �ำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
ไม่ไหว” ป้าสมรวยมองไปรอบๆ ตัว หยุดคิดครูห่ นึง่ ก่อนเอ่ยต่อว่า “เมือ่ ก่อนท�ำกันหลายบ้าน ตอน นีเ้ สียชีวติ กันไปหมดแล้ว ต่อไปก็ไม่มคี นท�ำต่อ” เธอนิง่ ไปชัว่ อึดใจ “เราไม่ได้หวงนะ เด็กๆ ใครท�ำได้กส็ อน เเต่มนั ไม่มี ต่อไปถ้าไม่มใี ครท�ำ มันก็หายหมด” เสียงรอบตัวเงียบลงจนวังเวง เรามองพัดใบตาลในมือ หรืองานพัดใบตาลจะ หายไป
ข้าวแช่เมืองเพชร
พัดใบตาล
คนเฒ่าคนเเก่นยิ มน�ำ ‘เมล็ดตาล’ มาท�ำเป็น ของเล่น ในพืน้ ทีอ่ �ำเภอบ้านลาด เป็นเเหล่งปลูก ต้นตาลทีม่ มี ากทีส่ ดุ ของเพชรบุรี ท�ำให้ตาผุด เเละยายทองใบ นามมั่น หันมาท�ำของเล่น จากต้นตาล ตาผุดเล่าให้ฟังว่า “คนข้างบ้านน�ำเมล็ด ตาลมาท�ำเป็นตัวนกกระจอกเทศ ตาก็คดิ ว่าเรา น่าจะท�ำได้ ก็เลยมาลองออกเเบบเป็น ลิง ชะนี กระรอก วัว ควาย ช้าง นก เเละเพนกวินดูบา้ ง ซึง่ เด็กๆ ก็ชอบพวกสัตว์อยูเ่ เล้ว ก็เลยขายดี” ตาผุดบอกว่าของเล่น 1 ตัว ใช้สว่ นประกอบ ทีท่ �ำจากธรรมชาติ โดยล�ำตัวท�ำมาจาก ‘เมล็ด ตาล’ ลูกตาท�ำมาจาก ‘เมล็ดกำ�่ ’ เเละ ‘พุทธรักษา’ เพื่ อ ให้ สี ส ้ ม สวยงาม ส่ ว นฐานท�ำมาจาก ‘เถาวัลย์กระไดลิง’ ซึง่ บางครัง้ ถ้าหาไม่ได้จะใช้ เเผ่นไม้เเทน ส่วนยายทองใบ ก็สนุกกับการเเลกเปลีย่ น กับคนในหมูบ่ า้ น จึงน�ำใบตาลมาสานเป็นสัตว์ ต่างๆ เช่น กุง้ ปลา ปู ตัก๊ เเตน ผีเสือ้ เเละของ เล่นพืน้ บ้านอย่างลูกตะกร้อ เมือ่ ของเล่นของสองตายายเริม่ เป็นทีร่ จู้ กั ก็ มีกลุม่ เด็กนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ มาเรียนรู้ กันเป็นประจ�ำ มาเเต่ละครั้งก็ขายของเล่นได้ เป็นจ�ำนวนมาก “คนมาสัง่ ทีละหลายร้อย ก็จะช่วยกันท�ำ หลายคน พอมีคนโค่นต้นตาลหมดอายุ เขาก็ เอามาให้ เวลานักเรียนมาเรียนเราก็ต้องซื้อ ใบตาลมาให้เด็กท�ำ ครูกช็ ว่ ยออกค่าใช้จา่ ยให้” ตาผุ ด เเละยายทองใบ เลยกลายเป็ น ขวัญใจของเด็กๆ เพราะสอนให้พวกเขาสนุกกับ การน�ำสิง่ ต่างๆ ในธรรมชาติมาท�ำเป็นของเล่น
เคล็ดลับความอร่อยของข้าวเเช่เมืองเพชร อยูท่ ตี่ รงไหน? หากข้าวเเช่ชาววัง คือต�ำรับความอร่อยของ ชาววังในเมืองหลวง ข้าวเเช่เมืองเพชรก็เป็น ต�ำรับความอร่อยของชาวบ้านเช่นกัน ด้วย เครื่องเคียงที่เเม้จะน้อยกว่า เเต่ก็ครบครัน ประกอบไปด้วย ปลายี่สนผัดหวาน กะปิทรง เครือ่ ง และไชโป๊วผัดหวาน โดยมีรา้ น ‘ข้าวเเช่เเม่เล็ก สกิดใจ’ เป็น หนึง่ ในต้นต�ำรับทีท่ �ำขายมาตัง้ เเต่สมัยรัชกาล ที่ 4 ถ่ายทอดฝีมอื จากรุน่ สูร่ นุ่ จนเข้าสูร่ นุ่ ที่ 5 เอกลักษณ์รา้ นเเม่เล็ก คือการเพิม่ หมูฝอย ทรงเครือ่ ง เข้ามาเป็นอีกหนึง่ เครือ่ งเคียง เพือ่ ให้ ข้าวเเช่มรี สชาติอร่อยมากขึน้ ยิง่ ส่วนผสมต่างๆ ไม่ต้องพูดถึง เเม่เล็กใช้ของมีคุณภาพ เเละ ลงมือท�ำเองทุกขัน้ ตอน เช่น กะปิ ก็ปรุงเองจน มีกลิน่ หอม ส่วนน�ำ้ ข้าวเเช่กล็ อยด้วยดอกมะลิ หรือดอกชมนาด โดยไม่ลมื อบควันเทียน เพือ่ เพิม่ กลิน่ หอมหวานชวนกินยิง่ ขึน้ ส่วนเครือ่ งเคียงอย่าง ปลายีส่ นผัดหวาน ก็ มีเคล็บลับการปรุงตามสูตรของชาวเมืองเพชร คือการใช้ ‘น�้ำตาลโตนด’ เเทนน�้ำตาล เพื่อ รสชาติหวานอร่อย เเละรสเข้มข้น สามารถเก็บ ไว้ได้นานกว่าร้านอืน่ ๆ “ของเเบบนีต้ อ้ งท�ำด้วยใจรัก ป้ารักอาชีพนี้ จึงตั้งใจท�ำ จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก” เเม่เล็ก สกิดใจ เล่าด้วยรอยยิม้ ภาคภูมิ โดยมีรางวัลแม่ ดีเด่นประเภทอาหารไทยเป็นตัวการันตี นอกจากนี้ ร้านข้าวเเช่เเม่เล็ก ยังออกบูธ ตามงานต่างๆ อยูเ่ สมอ หนึง่ ในงานทีไ่ ปประจ�ำ คือ ตลาดนัดขวัญเรียม ทุกเสาร์ - อาทิตย์ เเละ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งส�ำหรับคนกรุง การไป เดินตลาดน�้ำเพลินๆ พร้อมหาของอร่อยเติม ลงท้องก็ดเี หมือนกัน ขณะทีเ่ ราขอลองกินข้าวเเช่สกั ค�ำ ก็มลี กู ค้า ประจ�ำคนหนึง่ ทีเ่ ดินทางมาจากกรุงเทพฯ เเวะ
ของเล่นเมล็ดตาล
หลังกินข้าวเเช่ของเเม่เล็ก จนเย็นคอชุ่ม ใจเเล้ว เราตามหา ‘พัดใบตาล’ ของป้าสมรวย โมเมตตา ในตัวเมืองเพชรบุรี เพือ่ ช่วยคลาย ร้อนเสียหน่อย ซึ่งตัวพัดจะผลิตจากพืชชนิด ไหนไปไม่ได้ นอกจาก ‘ใบตาลโตนด’ นัน่ เอง ป้าสมรวย เล่าให้ฟงั ว่า ตอนเด็กๆ ตามเเม่ ไปขายพัดใบตาลตามสถานที่ท่องเที่ยวอยู่ บ่อยๆ เมือ่ ถึงวัยทีพ่ อลงมือท�ำได้ ก็อาศัยนัง่ มอง คนนูน้ คนนีท้ �ำพัดใบตาล เเล้วก็จ�ำมาลองฝึกเอง โดยไม่มใี ครสอน พัดใบตาลขายดีมาก เพราะมีลวดลาย ประณีตสวยงาม ทัง้ คนกรุงเทพฯ เเละคนต่าง จังหวัดก็ชอบน�ำไปเป็นของทีร่ ะลึก ลวดลายของพัดใบตาลทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ มี การวาดลายเส้นด้วยปากการ็อตติ้งเป็นรูป ดอกไม้ ซึง่ สมัยก่อนก็จะวาดส่งไปทีพ่ ระราชวัง โดยไม่มกี ารท�ำขาย เเต่หลังจากปากการ็อตติง้ เลิกผลิต คนก็เลิกผลิตลวดลายนีต้ ามไปด้วย ส่วนที่เห็นกันในปัจจุบัน มักจะวาดด้วยสี น�้ำมันเป็นรูปทิวทัศน์ที่สื่อถึงอารมณ์ เเละ จินตนาการของผูว้ าด แต่การท�ำงานก็ย่อมมีอุปสรรคเป็นเรื่อง ธรรมดา เมือ่ ลูกค้าสัง่ ทีละมากๆ ก็ตอ้ งใช้เวลา ในการท�ำ ยิง่ เหลือป้าสมรวยเพียงเจ้าเดียวก็ยงิ่ เป็นงานหนัก เเถมไม่มีคนขึ้นต้นตาลเหมือน สมัยก่อน พัดใบตาลก็เริม่ หายากขึน้ “เมือ่ ก่อนมีคนขึน้ ตาลเยอะ ตอนนีเ้ หลือคน ขึ้นตาลแค่คนเดียว ซึ่งเขาก็เริ่มอายุมากขึ้น เรือ่ ยๆ อีกอย่างคนขึน้ ตาลก็มกั น�ำไปขายให้เเม่ ค้าขนมตาล เพราะเขาใช้ทกุ วัน อย่างเราซือ้ มา ตุนเป็นช่วงๆ เขาก็จะส่งให้คนท�ำขนมมากกว่า มันก็จะหายาก” ป้าสมรวยเปรยให้ฟงั สิ่ ง เหล่ า นี้ ล ้ ว นเป็ น ของล�้ ำ ค่ า ของเมื อ ง “ตอนนีเ้ หลือเราท�ำอยูค่ นเดียว รุน่ ลูกก็ไม่ เพชรบุรี ทีส่ บื ทอดกันมาจากรุน่ สูร่ นุ่ สร้างราย สืบต่อ พอเราเริม่ อายุมากขึน้ ตาก็เริม่ มองไม่ ได้ เเละสร้างเอกลักษณ์ประจ�ำท้องถิน่ ออกมา ค่อยเห็น เเต่พอมีคนมาสัง่ มันก็อดไม่ได้ ต้อง ได้ประทับใจ สมชือ่ …เพชรบุรดี จี งั ท�ำต่อ ใจอยากท�ำไปเรือ่ ยๆ จนกว่าร่างกายจะ
6
หลงรักเพชรบุรี | ฉบับพิเศษ เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
ละครหุ่นคนเเม่เพทาย บ้านของเยาวชน เรื่อง ชญานิศ จ�ำปีรัตน์
“ เราไม่กด ี กัน ้ ว่าเด็กจะดีมาก่อนหรือเลวมาก่อน แต่ถา้ มาอยูด ่ ว้ ยกันแล้ว ก็ตอ ้ งอยูก ่ น ั เหมือนพีเ่ หมือนน้อง เราถึงจะมีความสุข ” คุณแม่เพทาย กว่า 20 ปี บนเส้นทางสายวัฒนธรรมของ คนกลุม่ เล็กๆ ทีร่ วมตัวภายใต้ชอื่ ‘กลุม่ เยาวชน พี่สอนน้องละครหุ่นคนแม่เพทาย’ กลุ่ม นักเเสดงละครหุ่นที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น เเละตั้งใจสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่ หากจะพูดถึงทีม่ าทีไ่ ป หลายคนคงนึกถึง ภาพการสมัครเรียนเเบบกรอกใบสมัคร เข้า เรียนตามเวลา เเล้วก็มกี ารคัดตัวขึน้ แสดงตาม เวทีต่างๆ เหมือนพวกชมรมในสถานศึกษา ทัว่ ไป แต่แท้จริงแล้วกลุม่ เยาวชนนีไ้ ม่ได้เป็น อย่างทีค่ ณ ุ คิด ทว่าเริม่ ต้นจากความเหงาหงอย เเต่พลังใจ กลับลุกโชนด้วยความตัง้ ใจท�ำบางสิง่
เธอจึงเสนอให้ลกู ชายท�ำเกีย่ วกับหุน่ กระบอก ซึ่งตอนนั้นคณะหุ่นกระบอกที่รู้จักก็มีอยู่เพียง คณะเดียว หลังจากนั้น ลูกชายก็ขอร้องให้เธอนั้นไป ทาบทามขอสานต่อคณะหุน่ กระบอกนี้ เพราะ เขาจะเลิกท�ำแล้ว แต่ทางคณะหุ่นกระบอก ปฏิเสธกลับมา พร้อมให้เหตุผลว่า เขาจะ ปิดตาย และให้มนั หายไปพร้อมกับตัวเขาด้วย เธอจึงตัดสินใจดัดเเปลงมาท�ำหุ่นคนเชิด เเทนหุน่ กระบอก ด้วยความหวังว่าในอนาคต หุน่ กระบอกอาจยังไม่หายไป เเล้วเด็กๆ ทีเ่ ชิด ได้กส็ ามารถกลับไปเล่นหุน่ กระบอกได้ดว้ ย ซึง่ โชคดีมาก หลังจากละครหุ่นคนเริ่มมีชื่อเสียง การเเสดงหุน่ กระบอก ก็เกิดใหม่อกี 3 คณะ ทว่า ละครหุน ่ คน ในความรูส้ กึ ของเธอก็ยงั เล่นไม่เหมือนในอดีต “เริ่มต้นจากเด็กที่มานั่งหน้าบ้านท�ำหน้า ทีอ่ อ่ นช้อย งดงาม ราวกับคนจริงๆ หงอยเหงา เลยหาอะไรให้เขาท�ำ” คุณอรวรรณ ลีละกุล หรือทีท่ กุ คนเรียกด้วยความรักว่า ‘คุณ ลานสานฝัน เเม่เพทาย’ พูดขึน้ หลังการก่อตัง้ คณะละครหุน่ คนแม่เพทาย เธอเล่าให้ฟงั ว่า กลุม่ เยาวชนทีส่ ว่ นมากเป็น ก็ได้มโี อกาสเปิดการเเสดงครัง้ เเรกในงานกีฬา เด็กมีปญ ั หา มักมานัง่ ท�ำกิจกรรมร่วมกันทีบ่ า้ น สีของเด็กๆ โรงเรียนบ้านลาดวิทยา อ�ำเภอ ของเธอ เวลามีเด็กมา ก็จะเข้าไปพูดคุยกับพวก บ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึง่ หลานสาวของเธอ เขาว่ามีปัญหาอะไร เธอจะปิดเงียบไม่เล่าให้ ก็มาปรึกษา เพราะเด็กๆ ต้องท�ำการเเสดงขึน้ ใครฟังต่อทั้งนั้น เเถมเด็กบางคนมาจากไหน มาหนึง่ การเเสดงในสีของตนเอง หรือมีปญ ั หาอะไรก็ไม่รู้ เเต่เศร้ามากถึงขัน้ คิด เธอจึ ง ตั ด สิ น ใจเอาละครหุ ่ น คนไปเล่ น ฆ่าตัวตายก็มี แล้วไปคัดเด็กเกเรตัวแสบในโรงเรียนมา เพือ่ สุดท้ายเธอก็เลยเเก้ปญ ั หาโดยการให้พวก เป็นการทดสอบให้รู้กันว่าเด็กไม่เอาไหนก็มี เขาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มานัง่ ท�ำขนม สมาธิเชิดหุน่ คนได้ เเละสามารถพาการเเสดง หรือประดิษฐ์งานต่างๆ เพือ่ ให้จติ ใจสงบ ด�ำเนินไปจนจบ นานวัน จากจุดเริม่ ต้นทีเ่ เสนธรรมดา ก็ได้ ผลปรากฏว่า การเเสดงของเด็กๆ ออกมาดี จุดประกายให้เด็กวัยรุน่ เข้ามาท�ำกิจกรรมมาก มาก ทุกคนท�ำเต็มทีก่ ลายเป็นทีค่ าดไม่ถงึ ของ ขึน้ เธอยิม้ กว้างก่อนพูดว่า ครูอาจารย์ เนือ่ งจากเด็กบางคนทีเ่ ธอดึงมาเชิด “เราไม่กดี กัน้ ว่าเด็กจะดีมาก่อน หรือเลว หุน่ ก็เป็นเด็กเกเร เกือบถูกไล่ออกเเล้ว หากไม่ มาก่อน แต่ถา้ มาอยูด่ ว้ ยกันแล้ว ก็ตอ้ งอยูก่ นั ปรับปรุงตัว เหมือนพีเ่ หมือนน้อง เราถึงจะมีความสุข” ดังนัน้ การเเสดงนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้เด็ก เเล้วจุดเริ่มต้นของละครหุ่นคน มาจาก เกเรเข้ามามีสว่ นร่วมกับกิจกรรมโรงเรียน และ ไหน? สนุกกับสิง่ ทีไ่ ด้ลงมือท�ำ จุดเปลีย่ นของเธอเริม่ ต้น เมือ่ ลูกชายมาขอ สุดท้ายทางโรงเรียนก็ได้เสนอให้จัดการ ค�ำปรึกษาถึงหัวข้อที่จะท�ำจุลนิพนธ์ก่อนจบ เเสดงอีกหนึง่ ครัง้ โดยเธอได้เเต่งเรือ่ งขึน้ มาด้วย
ตนเอง อิงกับวรรณคดีรามเกียรติ์ ตอน หนุมาน จับนางสุพรรณมัจฉา หากเเฝงด้วยประเด็น ‘รักษ์เเม่นำ�้ เพชร’ เพือ่ ให้เด็กๆ รูค้ ณ ุ ค่าของเเม่นำ�้ เพชรบุรี ว่ามีความส�ำคัญมากเเค่ไหน เเม่นำ�้ สายนี้เป็นเเม่น�้ำศักดิ์สิทธิ์อย่างไร โดยเริ่มต้น เล่าตั้งแต่ต้นน�้ำถึงปลายน�้ำ เล่าเกี่ยวกับปลา ชนิดต่างๆ โดยสือ่ ผ่านละครหุน่ คน การเเสดงตอนพิเศษนีเ้ อง ก็ได้เด็กกลุม่ เดิม กลับมาเเสดงอีกครัง้ ในลักษณะการเเสดงร่วม สมัย เพราะมีการผสมผสานวัฒนธรรมด้าน หนังตะลุง เเละโขนลงไปด้วย “การเล่นเป็นหุน่ เวลาแสดงให้ใจเราเหมือน หุ่นนะ แต่มือไม้ให้เหมือนนาฏศิลป์” คุณเเม่ เพทายย�ำ้ เคล็ดลับให้เด็กๆ ฟังเสมอ ทีส่ �ำคัญ การเเสดงครัง้ นีท้ �ำให้เธอได้ฟงั เรือ่ ง เล่าจากผูเ้ ฒ่าผูเ้ เก่ทเี่ ข้ามาชมการเเสดงว่าเคย เห็นการเเสดงเเบบเธอเมือ่ นานเเล้ว เล่ากันว่ามี ขึน้ ตัง้ เเต่สงครามโลกครัง้ ที่ 2 ซึง่ มีการเเสดงที่ เอาไม้มาผูกกับคน เพื่อล้อเลียนหุ่นกระบอก สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้คนดู บ้านของเยาวชน
ด้านการเเสดงละครหุน่ คน โดยพืน้ ฐานแล้ว คนเชิดต้องเร็วกว่าหุน่ หนึง่ ก้าวเสมอ ถ้ารับมือ หุน่ ไหวก็จะใช้เพียง 2 คน แต่ถา้ รับไม่ไหวก็ตอ้ ง ใช้ถงึ 4 คน เพราะบางครัง้ เมือ่ หุน่ ใจลอยไปแล้ว เขาจะเล่นแรง ซึง่ ความแรงคนเราไม่เท่ากัน วัน ไหนหุน่ เล่นแรง ไม่ทนั ได้ยงั้ ร่างกาย ถ้าคนเชิด รับไม่ไหว คนเชิดอาจถึงขัน้ เป็นลมเลยก็วา่ ได้ ดังนั้นหากสุดวิสัยเหลือคนเชิดแค่สองคน ปกติจะไม่รบั งานนอกเด็ดขาด ปัจจุบนั นีม้ เี ด็กเยาวชนทัง้ หมด 16 คน อายุ มากสุดก็ก�ำลังเรียนอยู่ชั้นมหาวิทยาลัยปีที่ 3 จะเข้ามาช่วยการแสดงตอนปิดเทอม ส่วนเด็ก อายุนอ้ ยทีส่ ดุ อายุเพียง 2 ขวบ 8 เดือนเท่านัน้ ! ซึง่ เด็กส่วนใหญ่กม็ าสมัครเอง บางคนพ่อเเม่ก็ พามา เพราะเห็นว่าเป็นกิจกรรมทีม่ ปี ระโยชน์ ทีน่ า่ เเปลกทีส่ ดุ คือ เด็กทุกคนทีเ่ ข้ามา ไม่มใี คร มีพนื้ ฐานนาฏศิลป์เลย
ลูกศิษย์วยั 19 ปี ปิยวรรณ อ่วมจันทร์ ได้เล่าว่าตนอยู่กับคุณแม่เพทายมาตั้งแต่ชั้น ประถม 6 จนตอนนี้เรียนอยู่ชั้นปีที่ 1 คณะ เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพชรบุรี โดยเเรกเริม่ ทีบ่ า้ นก็คดั ค้านไม่ให้เข้า ร่วม แต่สดุ ท้ายก็ตามใจและให้เธอมา เพราะรู้ ว่าเธอรักเเละชอบสิง่ นีม้ าก ตลอดเวลาทีท่ �ำการแสดง เธอรับหน้าทีเ่ ป็น คนเชิด ยังไม่เคยได้เล่นเป็นหุน่ คนเลย เพราะ ต้องอาศัยฝึกฝีมอื จนช�ำนาญมากกว่านี้ ซึง่ เธอ ยังยืนยันว่า เธอไม่ใช่ผู้หญิงที่ร่ายร�ำสวยงาม เเต่กส็ วยขึน้ กว่าเเต่กอ่ นมาก โดยความประทับ ใจอย่างที่สุดต่อกลุ่มละครหุ่นคือ การอยู่กัน เเบบครอบครัวทีอ่ บอุน่ ทุกคนเป็นพีน่ อ้ งกัน ความสุขของการให้
“ต่อให้มีเด็กมาแค่คนเดียว ก็จะสอนให้ จนกว่าจะรับของเราไม่ไหว หรือจนกว่าเราเอง จะป้อนให้ไม่ไหว” คุณเเม่เพทายยืนยันด้วยเเวว ตาเปล่งประกาย พร้อมมุ่งมั่นที่จะช่วยเด็กๆ เสมอ หากไม่ชอบเรียนนาฏศิลป์ หรือเรียนร�ำ ก็ ไม่บงั คับให้เรียน เเต่มาท�ำกิจกรรมอืน่ ๆ ในบ้าน ก็ ไ ด้ เเถมถ้ า ยั ง ไม่ มี ง านท�ำ ก็ ก ลั บ มาหา ครอบครัวได้เสมอ พร้อมทีจ่ ะช่วยสอนวิชาให้หา เลีย้ งชีพได้ คุณเเม่เพทายหวังเพียงว่าให้เด็กๆ มีสมาธิ ตัง้ ใจเรียน ไม่ยงุ่ เกีย่ วกับยาเสพติด หรือวุน่ วาย กับสิง่ ทีไ่ ม่ดี เธอยังหวังว่า ลูกศิษย์จะสามารถ เอาสิง่ ทีเ่ ธอสอนไปต่อยอดได้ในอนาคต ความสุขเล็กๆ ในบ้านหลังน้อยของ ‘กลุม่ เยาวชนพีส่ อนน้องละครหุน่ คนแม่เพทาย’ คือ ความสุขเมือ่ ได้ท�ำสิง่ ดีๆ เพือ่ คนอืน่ สุขทีไ่ ด้มอบ รอยยิม้ เสียงหัวเราะ เเละเเบ่งปันประสบการณ์ ดีๆ ให้กบั คนรุน่ ลูกรุน่ หลาน คุณแม่เพทายได้ท�ำให้รวู้ า่ การท�ำความดี โดยไม่หวังผลตอบแทนนัน้ เป็นเช่นไร และยำ�้ เเง่ คิดทีเ่ ป็นก�ำลังใจให้วา่ หากคนเราพยายามท�ำ สิง่ ใดเเล้ว ไม่มที างทีจ่ ะไม่ประสบความส�ำเร็จ
หลงรักเพชรบุรี | ฉบับพิเศษ เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
ไทย - ฝรั่ง ส่วนผสมที่ลงตัว
7
เรื่อง ณัฐกานต์ เจริญขาว
เราเคยเห็นร้านขายยาเเผนโบราณ อยู่ตามชุมชนเก่าเเก่ เราเคยเห็นร้านขายเบเกอรี่ สไตล์ฝรั่ง อยู่เเทบทุกมุมถนน เเต่หากทั้งสองร้านอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน คุณเคยเห็นไหม? ร้านขายยาไทย ส่วนผสมของยุคเก่า
ถ้าใครเดินผ่านซอยหน้าวัดมหาธาตุ ถนน ด�ำเนินเกษม ต�ำบลคลองกระแชง อ�ำเภอเมือง เพชรบุรี คงได้กลิน่ ของครัวซองต์หอมกรุน่ บวก กับกลิ่นฉุนจางๆ ของยาเเผนโบราณ ทั้งสอง กลิน่ นี้ ล้วนมาจากร้านเดียวกัน ร้าน ‘มหาธาตุโอสถ’ มีลกั ษณะเป็นร้าน 2 คูหา เเบ่งสัดส่วนชัดเจน โซนทางขวาเป็นร้าน ขายยาเเผนโบราณ ซึ่งมีตู้ยาสมุนไพรต่างๆ เรียงรายจนเป็นเอกลักษณ์ ส่วนโซนทางซ้าย กลับเห็นตู้โชว์เค้กเเละ เตาอบขนมปัง เเสดงถึงลักษณะของร้านเบเกอรี่ขนาดย่อมๆ อันเต็มไปด้วยกลิ่นหอมๆ ของขนมปัง ใครเข้ า มาครั้ ง เเรกอาจจะงงกั บ ความ ขัดเเย้งนี้ แต่คนทีเ่ ห็นจนคุน้ ตา มองไปมองมา ความรัก เเละความสุขของคนต่างรุ่น ต่างวัย ก็ผสมกันอย่างลงตัว คุณบรรหาร พึงใจ เจ้าของร้านมหาธาตุ โอสถ (รุน่ 3) วัย 75 ปี เล่าให้ฟงั ว่า เปิดร้าน ขายยามากว่า 100 ปี ในสมัยก่อน ร้านยาเปิด เต็ม 2 คูหา เเต่หลังปี 2540 ยาเเผนปัจจุบนั เข้ามามีบทบาทมากขึน้ คนสมัยใหม่หนั ไปใช้ ยาเเผนปัจจุบัน เเละไปพบเเพทย์ตามสถาน พยาบาลมากกว่ามาหาหมอเเผนโบราณ กิน ยาต้มสมุนไพร หรือกินยาลูกกลอนเหมือนก่อน หากที่ร้านยังพออยู่รอด เพราะคนเฒ่า คนเเก่ ซึ่ ง เติ บ โตคู ่ กั น มา ยั ง คงเชื่ อ มั่ น ใน ประสิทธิภาพของยาสมุนไพรไทยว่ารักษา ได้ทกุ โรค จึงขับเคลือ่ นให้รา้ นอยูไ่ ด้ “เมื่อก่อนร้านมหาธาตุโอสถ ถือเป็นร้าน ขายยาชือ่ ดังในอ�ำเภอเลยนะ ทุกบ้านไม่วา่ ใคร เจ็บไข้ได้ป่วย จะต้องเดินมาจับจ่ายยาเเผน โบราณสูตรมหาธาตุโอสถทัง้ นัน้ ” คุณบรรหาร ร�ำลึกถึงวันวาน เสน่ห์อย่างหนึ่งของร้านมหาธาตุโอสถคือ การมีพื้นที่ปลูกพืชสมุนไพร เป็นของตัวเอง เเตกต่างจากร้านอืน่ ทีต่ อ้ งรับซือ้ มาอีกที ดังนัน้
มั่ น ใจในคุ ณ ภาพได้ เ ลยว่ า ปลอดภั ย ตาม มาตรฐาน เเละไม่วา่ ตัวยาชนิดใด จะหายาก เเค่ไหน เพียงเเค่เดินทางมาทีร่ า้ น ยาทีล่ กู ค้า อยากได้จะถูกจัดสรรให้อย่างแน่นอน สวนสมุนไพรนี้ เป็นสวนที่สามารถเก็บ รั ก ษาพื ช สมุ น ไพรพั น ธุ ์ ห ายากได้ ม ากเป็ น อันดับต้นๆ ของประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะ เพาะปลูกเพือ่ ใช้ในธุรกิจร้านยาของครอบครัว เเล้ว ยังส่งไปขายยังเครือข่ายร้านยาทางภาค ใต้อกี ด้วย ด้วยเหตุนเี้ อง ทายาทรุน่ ต่อไปจึงรักษาสวน สมุนไพรของบรรพบุรุษไว้อย่างดีที่สุด ถึงแม้ ครอบครั ว จะพบเจอกั บ พิ ษ เศรษฐกิ จ มาก เพียงใด ก็ไม่คดิ ขายผืนดินแผ่นนีเ้ พือ่ เเลกเงิน มาเลีย้ งครอบครัว อย่างไรก็ตาม ใช่วา่ รายได้จากการขายยา จะช่วยจุนเจือครอบครัวเหมือนเเต่ก่อน ลูก หลานรุ่นใหม่จึงต้องหารายได้เพิ่มเติมเพื่อให้ สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ ความคิดของการ เปลีย่ นเเปลงจึงเริม่ ต้นขึน้ ร้านขายเบเกอรี่ ส่วนผสมของยุคใหม่
เมื่อ อรุโณทัย พึงใจ บุตรสาวเพียงคน เดียวของครอบครัว เล็งเห็นว่าธุรกิจขายยาไม่ สามารถเติบโตไปได้มากกว่านี้ จึงเริม่ ทีจ่ ะมอง หาช่องทางใหม่ ด้วยการเป็นพนักงานประจ�ำ ในบริษทั ทีม่ รี ายได้มน่ั คง เเต่เมือ่ ต้องห่างไกล บ้าน บวกกับในใจลึกๆ ทีห่ ว่ งครอบครัวเป็นทุน เดิม เธอจึงตัดสินใจลาออก เเล้วกลับมาช่วย ขายยาทีบ่ า้ นดังเดิม ขณะกลับมาอยู่บ้าน เธอเกิดความคิดจะ น�ำวิชาทีร่ ำ�่ เรียนมาจาก สาขาคหกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ เพชรบุ รี มาประกอบ อาชีพเพื่อหารายได้ช่วยเหลือครอบครัวอีก ทางหนึ่ง จากนั้นเธอจึงตัดสินใจเข้าไปคุยกับ คุณบรรหารผูเ้ ป็นพ่อว่า “พ่อช่วยแบ่งพืน้ ทีร่ า้ นอีกครึง่ หนึง่ ให้ลกู ได้ ไหมคะ”
เมือ่ ผูเ้ ป็นพ่อเห็นถึงความตัง้ ใจจริง จึงตอบ ตกลงทันที แต่นนั้ เป็นต้นมา ร้านยามหาธาตุ โอสถ ก็ถกู เเบ่งเป็น 2 ส่วน ฝัง่ หนึง่ เป็นร้านยา อีกฝัง่ เป็นร้านเบเกอรี่ แรกเริ่มของการเปิดร้านเบเกอรี่ ไม่ได้ สวยงามอย่างทีค่ ดิ เพราะย่านตลาดเมืองเพชร ถือเป็นย่านเมืองเก่า ทีผ่ คู้ นไม่นยิ มกินขนมฝรัง่ อย่าง คุกกี้ หรือเค้กกันมากนัก ชาวบ้านมี วัฒนธรรมการกินปาท่องโก๋ตอนเช้าพร้อมกับ กาแฟ ท�ำให้ร้านเบเกอรี่ดูเเปลกตา ดูไม่คุ้น ส�ำหรับชาวบ้าน ซึง่ บางคนมากินเเล้วก็ถกู ปาก เเต่บางคนก็ไม่เคยกลับมาอุดหนุนอีกเลย “ตอนนัน้ ทัง้ ท้อแท้ ผิดหวัง และรูส้ กึ ผิดต่อ ครอบครัวมากเลยค่ะ เพราะเงินทีน่ �ำมาลงทุน เกินกว่าครึง่ หนึง่ เป็นเงินเก็บก้อนสุดท้ายของ ครอบครัว” เธอถอนหายใจ เมื่อผลประกอบการไม่เป็นไปตามที่คาด หวัง ท�ำให้เธอถึงกับถอดใจ และพร้อมทีจ่ ะหัน หลังกลับไปท�ำงานประจ�ำเหมือนเดิม เเต่ดว้ ย ก�ำลังใจจากครอบครัว เธอจึงกัดฟันสู้เเละ อดทนมาถึงวันนี้ ทีท่ กุ อย่างค่อยๆ ดีขนึ้ เพราะ เธอรูจ้ กั พลิกเเพลงส่วนผสม! ขนมในร้านเบเกอรี่ เป็นสไตล์โฮมเมดที่ ปรั บ ปรุ ง สู ต รให้ ร สชาติ ถู ก ปากทั้ ง เด็ ก เเละ ผู้ใหญ่ มีการน�ำสมุนไพรจากร้านมหาธาตุ โอสถเข้ามาเป็นส่วนผสม เช่น เมนูยอดฮิตของ ร้านอย่าง คุกกี้อบเชย คุกกี้พริก เเละคุกกี้ ตะไคร้ เป็นต้น รวมถึ ง เพิ่ ม เมนู ใ ห้ ร ่ ว มสมั ย มากขึ้ น ทั้ ง ครัวซองต์ โดนัท เอแคลร์ จนร้านติดตลาด เป็น ที่นิยมของผู้คน หากใครคิดถึงขนมปังหรือ ครั ว ซองต์ ห อมๆ ก็ ต ้ อ งรี บ ตรงดิ่ ง มาที่ ร ้ า น มหาธาตุโอสถ
‘ขนมเบื้องโบราณ’ หรือ ‘ขนมเบื้องญวน’ สูตรต้นต�ำรับชาววังที่หากินได้ยาก มาจาก คุ ณ ทวดซึ่ ง เคยเป็ น ข้ า รั บ ใช้ ใ นวั ง เก่ า จึ ง ถ่ายทอดสูตรลับเฉพาะมายังลูกหลานเรื่อยๆ ท�ำให้รสชาติที่ออกมา รับประกันได้เลยว่า ต้องไม่เคยกินจากทีไ่ หน ทัง้ แป้งทีผ่ า่ นการปรุงพิเศษ ไส้ในทีพ่ ถิ พี ถิ นั ในการปรุง ใส่มะพร้าว กุง้ คุณภาพดี คลุกเคล้า กั น จนกลมกล่ อ ม พร้ อ มโรยหน้ า ด้ ว ยผั ก ชี เพือ่ เพิม่ ความหอม ดังนั้น ไม่ว่าใครที่อยากลิ้มรสชาติต�ำรับ ชาววัง ก็ตอ้ งมุง่ ตรงมาทีร่ า้ น กินเพียงชิน้ เดียว ก็ตดิ ใจ จนมาอุดหนุนกันต่อเนือ่ ง คุณบรรหารเล่าให้ฟงั ว่า เดิมทีไม่ได้ตงั้ ใจ จะท�ำขนมเบือ้ งแต่อย่างใด หากเมือ่ ครัง้ มีงาน ประจ�ำปีวดั มหาธาตุ ราวปี 2542 ภรรยาเกิด อยากท�ำขนมเบือ้ งโบราณไปลองขาย จากนั้นก็ท�ำขายตามงานเทศกาลต่างๆ เช่น งานวัด เข้าพรรษา สงกรานต์ เเละงาน ลอยกระทง จนลูกค้าบอกกันปากต่อปาก เเล้ว ไถ่ถามกันเข้ามาเสมอว่า เมือ่ ไหร่จะยอมเปิด ร้านเสียที จุดนี้เองที่ท�ำให้คุณอรุโณทัยน�ำไป คิดต่อ เเล้วเริม่ เปิดขายจริงจังนับจากนัน้ เมนูขนมเบือ้ งโบราณ เริม่ ขายตัง้ แต่ชว่ งเช้า ในราคา 20 บาทต่อหนึง่ ชุด ซึง่ ภายใน 1 วัน จะ ท�ำขายเพียง 50 ชุดเท่านัน้ ดังนัน้ ไม่เกิน 10 โมง ก็ขายหมดไปเสียเเล้ว ใครทีม่ าช้าก็ผดิ หวังไป ตามๆ กัน ต้องมาใหม่ในเช้าวันพรุง่ นีใ้ ห้เร็วขึน้ ด้ ว ยการปรั บ ตั ว เหล่ า นี้ เ อง ท�ำให้ ร ้ า น ‘มหาธาตุโอสถ’ ยังคงอยู่ด้วยฝีมือการบริหาร ของคนสองรุ่น ด้านหนึ่งคือ การขายยาเเผน โบราณ ด้านทีส่ องคือ การขายเบเกอรี่ เเละด้าน ทีส่ ามคือ การขายขนมเบือ้ งโบราณ ใครทีส่ นใจอยากลองชิมรสมืออันเป็นส่วน ส่วนผสมสุดท้ายทีล ่ งตัว ผสมทีล่ งตัว เราขอเชิญชวนให้คณ ุ มาลองกิน เเม้รา้ นเบเกอรีจ่ ะค้าขายดีขนึ้ หากหมัดเด็ด สักค�ำ ที่ท�ำเอาครอบครัวอยู่รอดจากพิษเศรษฐกิจ กลับอยูท่ ี่ ‘ขนมเบือ้ งโบราณ’
8
หลงรักเพชรบุรี | ฉบับพิเศษ เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
จ้าวเเห่งลุ่มน�้ำเพชร เรื่อง กาญจนา ปลอดกรรม
“เราอยูก ่ บ ั แม่นำ�้ มาตัง ้ แต่เกิด ไม่วา่ ท�ำอาชีพอะไรก็ตอ ้ งพายเรือ มันจึงเป็นส่วนหนึง ่ ของชีวต ิ คนสมัยก่อน” ช่างเวียน เเม่น�้ำเจ้าพระยาเป็นสายเลือดของชาว กรุงเทพฯ เช่นใด เเม่นำ�้ เพชรบุรกี ไ็ ม่ตา่ งกัน สายน�ำ้ เพชรบุรี คล้ายเส้นเลือดใหญ่หล่อ เลี้ ย งชี วิ ต ของชาวเพชรบุ รี ม าช้ า นาน เป็ น สายนำ�้ ทีใ่ ห้ก�ำเกิด ‘ประเพณีเเข่งเรือยาว’ ที่ เปรียบดั่งชีวาของคนเพชร คอยเชื่อมความ สัมพันธ์ของเเม่นำ�้ เเละคนลุม่ เเม่นำ�้ ทัง้ สองฟาก ฝัง่ ให้เเนบเเน่นไม่ทงิ้ กัน วันนีป้ ระเพณีเเห่งสายน�ำ้ ไม่ได้สญ ู หายไป ตามกาลเวลา หากยังกล้าเเกร่งด้วยหัวใจของ คนเพชร ก่อร่างสร้างเรือ
“เราอยูก่ บั แม่นำ�้ มาตัง้ แต่เกิด เมือ่ ก่อนไม่มี ถนนหรือรถ แต่เรามีเรือ ไม่วา่ ท�ำอาชีพอะไรก็ ต้องพายเรือ มันจึงเป็นเหมือนส่วนหนึง่ ของชีวติ คนสมัยก่อนไปเสียแล้ว” สังเวียน ผึง้ หลวง หรือ ช่างเวียน ทีใ่ ครๆ ต่างรู้จักในฐานะมือหนึ่งของช่างซ่อมเรือยาว ผูผ้ กู พันกับสายนำ�้ ตลอด 55 ปี ช่างเวียนเล่าว่า การเเข่งเรือเริม่ มาจากช่วง ฤดูน�้ำหลาก ที่ชาวบ้านน�ำเรือของตนมาจัด เเข่งขันกันเป็นทีส่ นุกสนาน เรียกว่า ‘เรือมาตร’ จากนัน้ จึงมีการพัฒนามาเป็น ‘เรือยาว’ กลาย เป็นประเพณีเเข่งเรือยาวของคนลุ่มน�้ำเพชร ในทีส่ ดุ เเม้การเเข่งเรือจะเป็นทีน่ ยิ ม เเต่เมือ่ มี ปัญหา กลับหาคนซ่อมเรือทีม่ ฝี มี อื นัน้ ยากนัก “สมัยนัน้ ไม่มคี รูสอน เราต้องเริม่ เรียนรูด้ ว้ ย ตนเอง โดยธรรมชาตินนั่ แหละจะสอนเราเอง” ช่างเวียนพยักหน้า สิง่ ทีช่ ว่ ยบ่มเพาะฝีมอื ล้วน มาจากการฝึกฝนทัง้ สิน้ หลายคนชอบเข้าใจว่า การซ่อมเรือคือซ่อม เเซมส่วนทีช่ �ำรุดเพียงอย่างเดียว เเต่ไม่ใช่! ยังมี การ ‘ต่อเรือ’ นัน่ คือน�ำเรือทีม่ อี ยูเ่ ดิม เเต่มขี นาด สัน้ ไป มาตัดส่วนหัวส่วนท้ายออก แล้วน�ำไม้มา ประกอบต่อกันให้ยาวขึน้ เรียกว่า ‘เรือต่อ’ หรือ ‘เรือเสียบ’ ซึง่ กลายเป็นเรือยาวประเภทเเรก ส่วนเรือยาวอีก 2 ประเภท คือ เรือขุด เเละ เรือประกอบ มีลกั ษณะเเตกต่างกันดังนี้ ‘เรือขุด’ เป็นภูมปิ ญ ั ญาดัง่ เดิมทีส่ ะท้อนถึง ความเพียรพยายาม ความตั้งใจ เเละความ ประณีตงดงามของการท�ำเรือ เพราะเรือขุด เป็นการน�ำไม้ตะเคียนทัง้ ต้น มาผ่าครึง่ แล้วขุด
เนือ้ ไม้โดยใช้ก�ำลังคน การท�ำเรือขุดจึงมีความ ยากล�ำบากตัง้ แต่การหาต้นไม้ ซึง่ ต้องเป็นไม้ ตะเคียนต้นเดียว ที่มีความยาวเเละรูปทรง สวยงามดังทีช่ า่ งเรือคิดไว้ ไปจนถึงหาผูม้ ฝี มี อื สามารถขุดเรือได้ตามทีช่ า่ งเรือต้องการ ดังนัน้ การท�ำเรือขุดจึงใช้ระยะเวลาเป็นปี ปัจจุบนั จึง หาคนท�ำเรือขุดยากนัก ส่วน ‘เรือประกอบ’ พัฒนาขึน้ ภายหลัง โดย การน�ำไม้สกั ทีม่ ลี กั ษณะเป็นแผ่นๆ มาต่อเข้า ด้ ว ยกั น และขั ด จนเป็ น เรื อ ซึ่ ง การท�ำเรื อ ประกอบจะเริม่ ตัง้ แต่การวาง ‘กระดูกงู’ ซึง่ เป็น แกนกลางของเรือทีต่ อ้ งแข็งแรงมาก จึงนิยมใช้ ไม้สกั จากนัน้ จึงวางตัว ‘กง’ ซึง่ เป็นส่วนตัวเรือ ที่มีลักษณะโค้งขึ้นมา เเล้วค่อยขัดให้ไม้มี ลั ก ษณะเรี ย บและสวยงาม โดยใช้ เ วลา ประมาณ 1 เดือน เดีย๋ วนีเ้ รือยาวทีใ่ ช้แข่งล้วน เป็นเรือประกอบทัง้ สิน้ เพราะเบากว่า เวลาพาย ก็เคลือ่ นทีไ่ ด้เร็วกว่าเรือขุดทีท่ งั้ ใหญ่เเละหนัก เกือบครึง่ ชีวติ ทีช่ า่ งเวียนท�ำหน้าทีเ่ ป็นช่าง ซ่อมเรือ เขาพูดด้วยใบหน้ายิม้ เเย้มว่า “เรือเป็น เหมือนเพือ่ นสนิท ถ้าจะให้เลิกซ่อมเรือ เลิกดูเเล คงท�ำไม่ได้ ยังอยากท�ำไปจนถึงวันที่ตัวเอง ไม่สามารถเดินได้ วันนัน้ ค่อยว่ากันอีกที” ช่างเวียนยิม้ กว้าง บ่งบอกถึงความสุขทีไ่ ด้ ซ่อมเรือให้เเหวกว่ายสายนำ�้ ไม่ตอ้ งบอกก็รวู้ า่ ชายผูน้ รี้ กั เรือ เพือ่ นสนิทของเขามากเพียงใด ฝีพายเมืองเพชร
การแข่งเรือยาวมีทงั้ หมด 5 ประเภท คือ 7 ฝีพาย, 23 ฝีพาย, 30 ฝีพาย, 45 ฝีพาย และ 55 ฝีพาย มีสนามวัดท่าหลวง จังหวัดพิจิตร เป็นต้นเเบบ เเละเป็นต�ำนานการเเข่งเรือยาวใน ประเทศไทย ส่ ว นประเพณี ก ารเเข่ ง เรื อ ยาวจั ง หวั ด เพชรบุรี เริม่ มีการจัดตามมาตรฐานสากลเมือ่ 20 ปีที่เเล้ว หลังจากนั้นก็พัฒนาเรื่อยมา จน กลายเป็นงานประเพณีทมี่ ชี อื่ เสียง สนามแข่ ง เรื อ ยาวในจั ง หวั ด เพชรบุ รี มี ทั้งหมด 3 สนามคือ สนามหานน้อย อ�ำเภอ ท่าลาด สนามเทศบาล และสนามองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึง่ เป็นสนามทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ จัดการแข่งขันปีละครัง้ มีทมี เรือยาวลงเเข่ง ประเภท 30 ฝีพาย จ�ำนวน 16 ทีม, 23 ฝีพาย
จ�ำนวน 8 ทีม และ 7 ฝีพาย จ�ำนวน 30 ทีม โดยในเพชรบุรเี อง มีทมี เรือทัง้ หมด 7 ทีม เเต่ละทีมมีฝพี ายประจ�ำกว่าครึง่ ร้อย สามารถ จัดฝีพายลงเเข่งขันได้ทกุ ประเภท เเต่มกั จะเเข่ง ประเภท 7 ฝีพาย 23 ฝีพาย และ 30 ฝีพาย “ฝีพายของเมืองเพชร ส่วนใหญ่กเ็ ป็นชาว บ้านทีท่ �ำนาเป็นอาชีพหลัก เมือ่ หมดฤดูท�ำนาก็ รวมตัวฝึกซ้อม เเต่คเู่ เข่งบางทีมจ้างนักกีฬาทีม ชาติมา ท�ำให้โอกาสชนะน้อยมาก เพราะ นักกีฬามืออาชีพเก็บตัวเเละฝึกซ้อมกันเป็นปี” ดาบต�ำรวจสวัสดิ์ วัฒนะ ผูจ้ ดั การทีมเรือยาว สาวเมืองเพชร กระทิงแดง ให้ขอ้ มูล การเเข่งเรือยาวสิ่งที่ต้องมีเเน่นอน คือ ฝีพาย เรือ รถลากเรือ (หากทีมไหนไม่มกี ต็ อ้ ง เสียค่าใช้จา่ ย) เเละทีข่ าดไม่ได้เลย คือเวลาฝึก ซ้อม ยิง่ ซ้อมมากเท่าไหร่ ก็ยงิ่ มีโอกาสชนะเพิม่ ขึ้นอีกเท่าตัว เพราะความพร้อมเพรียงของ ฝีพายเป็นสิง่ ทีส่ �ำคัญทีส่ ดุ ก่อนการเเข่งขันสิ่งที่ปฏิบัติกันเป็นประจ�ำ คือ การไหว้พระเเม่คงคาหรือเเม่ย่านาง โดย เตรี ย มผลไม้ ที่ ป ระกอบด้ ว ย ส้ ม โอ กล้ ว ย มะพร้าว เเละดอกไม้ธูปเทียน เพื่อขอพรให้ ปลอดภัยเเละได้รบั ชัยชนะในการเเข่งขัน “เรือ่ งแบบนีไ้ ม่เชือ่ อย่าลบหลู่ บรรพบุรษุ เรา ท�ำกันมาช้านาน นับถือแม่นำ�้ ล�ำคลองและพระ แม่คงคา เราก็ท�ำตามกันไป อย่างน้อยทีส่ ดุ ก็ เพือ่ ความสบายใจของทุกคนในทีม” แม้การเเข่งเรือยาว อาจเป็นเเค่การเเข่งขัน ในสายตาของใครหลายคน หากส�ำหรับชาวลุม่ น�ำ้ เพชรเเล้ว สิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ มิใช่ถว้ ยรางวัล เเต่ เป็นการขอให้มปี ระเพณีเเข่งเรือยาวสืบไป เพือ่ ให้พวกเขาได้ท�ำในสิง่ ทีร่ กั “ครั้งแรกๆ ก็ไม่ประสบผลส�ำเร็จเท่าไหร่ หรอก ไปแข่งก็แพ้ตลอด เหมือนเป็นเรือประดับ สนาม เขาเรียกเรือแจกแต้ม แต่เราก็ไม่ได้รสู้ กึ อะไร จะแพ้ชนะไม่เป็นไร ขอให้เรือเราได้ไปแข่ง ก็พอแล้ว” ดาบสวัสดิ์ร�ำลึกถึงความหลัง ดาบสวัสดิเ์ ล่าให้ฟงั ว่า สมัยก่อนทีมไม่มเี รือ เป็นของตัวเอง ต้องไปยืมจากต่างทีมทีร่ จู้ กั สนิท สนมกัน หลังจากนัน้ ไม่วา่ ใครมีปญ ั หาอะไรก็ คอยช่วยเหลือเกือ้ กูลกัน ซึง่ เรือต่างทีมทีม่ คี วาม ผูกพันกันเเบบนี้ เรียกว่า ‘เรือพีเ่ รือน้อง’ “กว่าจะสร้างทีมให้เข้มเเข็งเเบบวันนี้ได้
ยากนะ ต้องใช้เวลานับสิบปี ฝีพายฝึกซ้อมกัน อย่างหนัก เเม้ทกุ คนจะมีอาชีพเป็นชาวนา เเต่ เมือ่ ถึงฤดูกาลเเข่งขัน ก็ปฏิบตั ติ ามกฎกันอย่าง เคร่งครัด เพือ่ ให้ทมี ของคนพัฒนาขึน้ ” หลังพยายามฝึกซ้อมกันอย่างหนัก ก็เริ่ม เห็นผล เมือ่ มีสปอนเซอร์เข้ามาให้การสนับสนุน จากนัน้ ทีมสาวเมืองเพชรก็มรี ะบบจัดการทีมที่ ดีขนึ้ มีเงินทุนพอใช้ ในการไปแข่งและจัดการ ทีมในด้านต่างๆ ทุกวันนีท้ มี สาวเมืองเพชรมีฝพี ายในทีมไม่ ต�ำ่ กว่า 70 คน ส่วนใหญ่เป็นคนเมืองเพชร เเต่ ก็มฝี พี ายนครสวรรค์มาร่วมด้วย เนือ่ งจากสนิท สนมกลมเกลียวกันอยูเ่ เล้ว เเล้วด้านรายได้ละ่ พวกเขามีพอเลีย้ งปาก เลีย้ งท้องไหม? “เราจะท�ำความเข้าใจกันในทีม ว่าจะไม่มี เงินค่าแรงแบบตายตัวให้ เเต่เมื่อได้รับเงิน รางวัลมาก็จะหักรายจ่ายออก เหลือเงินเท่าไหร่ ค่อยน�ำมาหารกัน ได้มากบ้างน้อยบ้าง ทุกคน ก็เข้าใจกันดี ผมพูดเสมอว่า หากใครทนไม่ได้ จะออกก็ไม่ขดั เเต่เพราะเราอยูก่ นั เเบบพีน่ อ้ ง ช่วยเหลือกัน ผมพูดได้เลยว่าความผูกพัน ส�ำคัญกว่าตัวเงิน” ดาบสวัสดิเ์ ล่าด้วยรอยยิม้ ว่า จากวันแรก จนถึงวันนี้ ทีมก้าวมาได้ไกลจากที่เคยคิดไว้ มาก เรียกได้วา่ เกินความคาดหมาย เริม่ ตัง้ เเต่ ไม่มเี เม้กระทัง่ เรือลงเเข่ง จนสามารถเป็น 1 ใน 3 ทีมระดับประเทศ ถือเป็นสิง่ ทีภ่ มู ใิ จทีส่ ดุ ใน การเป็นผูจ้ ดั การทีมเรือยาว “เราท�ำมากว่า 20 ปี จนกลายเป็นความ เคยชินทีเ่ ราต้องท�ำทุกวัน เป็นความผูกพันทีไ่ ม่รู้ จะแยกออกมาได้อย่างไร เวลาไปแข่งเรือยาว แต่ละครัง้ ไม่ใช่แค่เราไปแข่ง แต่เหมือนเราได้ ออกไปเจอเพื่อนสนิทที่คุ้นเคย ถ้าวันหนึ่งมัน หายไป ก็นึกภาพไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไร” ดาบสวัสดิเ์ ล่าจบด้วยเเววตาเปล่งประกาย ... สายน�ำ้ ก�ำเนิด วิถชี วี ติ ผูค้ น ช่วยสร้าง ประเพณี สิ่งเหล่านี้ร้อยเรียงเชื่อมโยงกัน เเละจะ ด�ำเนินต่อไป ตราบทีย่ งั มีสายนำ�้ ให้ผคู้ นได้ชว่ ย กันสืบสานประเพณีเเข่งเรือยาวต่อไปไม่รู้จบ
9
หลงรักเพชรบุรี | ฉบับพิเศษ เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
ภาพแห่ง ความทรงจ�ำ เรื่อง เกศราพร เจือจันทร์
หากจะเก็บความทรงจ�ำทีร่ กั คุณจะเก็บไว้ ที่ไหน ในห้วงความคิด...ที่อาจเลือนรางตาม กาลเวลา ในสมุดบันทึก...ทีอ่ าจโดนปลวกร้าย กัดกิน หรือในภาพถ่าย...ที่บันทึกนาทีส�ำคัญ ให้คณ ุ ได้มองภาพตลอดเวลา เหมือนคนกลุม่ หนึง่ ทีช่ นื่ ชอบการถ่ายภาพ ได้ใช้ภาพถ่ายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความ ทรงจ�ำ ณ ช่วงเวลาที่เรามีความสุข มีความ ประทับใจที่สุดในชีวิต ดังเช่น ภาพถ่ายสามล้อท่ามกลางสายฝน โปรยปราย หน้าวัดมหาธาตุฯ กลายเป็นภาพ ความทรงจ�ำของเมืองเพชรบุรี ที่ท�ำให้คนยุค อดีตไม่ลืมความหลังวันเก่า เเละคนยุคใหม่ก็ เข้าใจชีวติ ของคนในอดีต 1
คนทีถ่ า่ ยภาพนีค้ อื คุณสามารถ เตชะเดช หรือ ‘ลุงเเซ’ ศิลปินร่วมสมัย สาขาทัศนศิลป์ เจ้าของร้าน ‘ห้องภาพเพชรบุร’ี อันเป็นร้านเก่า เเก่หลายสิบปี ตัง้ อยูร่ มิ ถนนพานิชเจริญ เส้น ถนนที่เต็มไปด้วยบ้านไม้ มีลักษณะเหมือน ห้องเเถวยาวติดกัน ลุงเเซชื่นชอบการถ่ายภาพเป็นชีวิตจิตใจ จึงบันทึกภาพการเปลีย่ นเเปลงของเมืองเพชร ไว้มากมาย ตัง้ เเต่กล้องถ่ายภาพยังเป็นกล้อง ฟิลม์ เเละภาพถ่ายยังเป็นขาวด�ำ ภาพที่สะดุดตาเป็นภาพที่บันทึกวิถีชีวิต อันเรียบง่ายของผู้คนในอดีต เช่น ภาพผู้คน จับจ่ายซื้อของย่านพานิชเจริญ หรือภาพถ่าย ผู ้คนเดิ นกั นขวักไขว่บนสะพานข้ามเเม่น�้ำ เพชรบุรี เป็นต้น น่าเศร้า ‘ลุงเเซ’ เพิง่ เสียชีวติ ลงเมือ่ วันที่ 26 ตุลาคม 2557 แต่ถงึ เเม้ทา่ นจะจากโลกนีไ้ ปเเล้ว เเต่ภาพถ่ายของลุงเเซยังคงอยูใ่ ห้คนรุน่ หลังได้ เรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเพชรบุรี นอกจากลุงเเซเเล้ว เมืองเพชรยังมีศิลปิน อีกท่านหนึง่ ทีม่ ผี ลงานภาพถ่ายไม่เป็นรองใคร 2
อาจารย์นคิ ม คุปตะวินทุ ศิลปินร่วมสมัย สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม - ถ่ายภาพ) บุรษุ ร่าง ท้วม ผู้มีน�้ำเสียงดุดัน ฉะฉาน ตรงไปตรงมา ตามเเบบฉบับของนักเลงเมืองเพชร ผูถ้ กู เรียก ขานนามด้วยความเคารพว่า ‘ผู้ที่ภาพถ่าย เหมือนภาพวาด และภาพวาดเหมือนภาพถ่าย’ นัน่ เพราะ เเม้มชี า่ งภาพทีถ่ า่ ยรูปได้เก่งกาจ หลายคน หากไม่ใช่ช่างภาพทุกคนที่จะวาด ภาพได้ ยิง่ นักวาดภาพทีถ่ า่ ยภาพได้สวยงาม อาจมีนอ้ ยเข้าไปใหญ่ อาจารย์นคิ มเติบโตมาในครอบครัวจิตรกร จึงซึมซับเเนวคิด เเนวการวาดภาพ การจัดวาง องค์ประกอบภาพ เเละเทคนิคการใช้สจี ากพ่อ ทีเ่ ป็นครูทางด้านนีม้ าตัง้ เเต่เด็ก ในขณะเรียนอยูช่ นั้ ประถม อาจารย์ใช้เวลา
ว่างหลังเลิกเรียน ฝึกวาดรูปกับช่างวาดภาพ โปสเตอร์ภาพยนตร์ทอี่ ยูข่ า้ งบ้าน หรือบางวัน ก็ขี่จักรยานคันโปรดไปทะเล พร้อมกระเป๋าที่ เต็มไปด้วยอุปกรณ์วาดภาพเเน่นขนัด เพือ่ วาด ภาพคลืน่ ทะเลกระทบหาดทราย อาจารย์เป็นคนที่ชอบทะเลมาก ในทุกๆ สัปดาห์ตอ้ งมี 2-3 วัน ทีข่ จี่ กั รยานไปวาดคลืน่ ทะเล ประสบการณ์เหล่านีห้ ล่อหลอมให้อาจารย์ มีความช�ำนาญด้านการวาดภาพมากขึ้น ส่ ว นการถ่ า ยภาพ สิ่ ง ที่ จุ ด ประกายให้ อาจารย์สนใจ อยูใ่ นเหตุการณ์ทเี่ กีย่ วข้องกับ คนถ่ายภาพทัง้ 2 ครัง้ “เหตุการณ์แรก มีผชู้ ายมาจีบแม่ เพราะช่วง นัน้ พ่อออกไปรับราชการต่างจังหวัด อาจารย์อยู่ กับแม่ 2 คน เนือ่ งด้วยความสวยของเเม่ ก็มี ผูช้ ายมาจีบ ผูช้ ายคนนีพ้ กกล้องติดตัวมาตลอด เเล้วถ่ายภาพความสัมพันธ์ของเเม่ลกู ไป หลัง จากทีเ่ ขาถ่ายภาพนี้ พอเขามาหาเเม่อกี ครัง้ ก็ น�ำภาพถ่ายมาให้ดู ก็เลยสงสัยตัง้ เเต่นนั้ ท�ำไม ถึงมีภาพออกมาจากกล้องตัวเล็กๆ ตัวเดียว” เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีอีกหนึ่งเหตุการณ์ท่ี เป็นหมัดฮุคให้อาจารย์สนใจยิง่ ขึน้ “อาจารย์นงั่ เเทะขนมครกอยูห่ น้าบ้าน ก็มี ผูช้ ายวัยกลางคนเเบกกล้องมาพร้อมเลนส์ตวั ใหญ่ๆ ซึ่งมารู้ในตอนหลังว่าคือ ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ ซึง่ เป็นกองบรรณาธิการ อ.ส.ท. ตอนนัน้ เขามาท�ำสารคดีเกีย่ วกับเพชรบุรี เข้า มาทักทายเเล้วก็ชวนว่า ‘ไอ้หนูชว่ ยเดินไปบน สะพานให้ได้ไหม เดีย๋ วลุงให้ 3 บาท’ ซึง่ ยุคนัน้ 3 บาท ถือว่ามีคา่ มาก อาจารย์พร้อมเพือ่ นอีก คนก็เลยท�ำตาม เขาก็ถ่ายภาพเด็กสองคนที่ หยอกล้อกันบนสะพานข้ามแม่นำ�้ เพชร ในสมัย นัน้ หนังสือสารคดี อ.ส.ท.ราคาเล่มละ 2-3 บาท” สองเหตุการณ์นี้เอง ท�ำให้อาจารย์สงสัย เมื่อมองเลนส์ที่ติดอยู่กับตัวกล้องว่า ท�ำไม กระจกชิน้ เล็กๆ จึงถ่ายภาพออกมาได้ จึงลงมือ ทดลอง โดยการเก็บกระจกใสที่เเตกเป็นชิ้น เล็กๆ ตามกองขยะมาล้างเเล้วเขียนการ์ตนู จาก ก้านไม้ขดี ลงบนกระจกทีเ่ ก็บมา จากนัน้ ค่อยน�ำ ไปส่องกับเทียนไข จึงรูว้ า่ เมือ่ ดึงกระจกออกจาก เทียนไข ภาพก็จะเล็ก เเล้วเมือ่ น�ำกระจกเข้าใกล้ เทียนไข ภาพที่ปรากฏก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น การทดลองเล็กๆ นีเ้ อง อาจารย์จงึ ตัง้ มัน่ ว่า จะซือ้ กล้องถ่ายรูปเป็นของตัวเองให้ได้ พอเริม่ เข้าเรียน ก็เป็นเด็กเรียนดีมาตลอด แต่มชี ว่ งหนึง่ ทีค่ รอบครัวประสบปัญหา เพราะ พ่อลาออกจากราชการ จึงท�ำให้อาจารย์ต้อง ออกมาท�ำงานหาเงินส่งครอบครัวและส่งพีส่ าว เรียนหนังสือ ขณะอายุเพียง 10 ขวบ งานทีท่ �ำ ในช่วงนัน้ คืองานตอกใบรหัสบัตรและวิดน�ำ้ ได้ เงินมาเดือนละร้อยกว่าบาท ด้วยเงินเก็บส่วนนีเ้ อง อาจารย์จงึ ซือ้ กล้อง
Kodak ตัวเล็กๆ มาเป็นของขวัญให้ตัวเอง พอได้กล้องตัวนี้ ก็ไปทะเลบ่อยขึน้ เพือ่ ถ่ายภาพ ทะเล เเล้วน�ำมาวาดภาพ กลายเป็นความชอบ ทีจ่ ะวาดรูปเเนวเงาสะท้อน (Reflection) นัน่ เอง ต่อมาเมื่อปี 2523 อาจารย์กไ็ ด้บรรจุเป็น ข้าราชการครู สอนวิชาจิตรกรรม ได้ถา่ ยทอด ความรูเ้ กีย่ วกับศิลปะให้กบั นักเรียน ตัง้ แต่การ Drawing เพือ่ ให้มพี นื้ ฐานในการวาดทีส่ �ำคัญ อาจารย์เก็บผลงานของนักเรียนไว้ทกุ คน เพือ่ ให้นกั เรียนได้เห็นพัฒนาการของตัวเอง ส่วนเวลาพักผ่อนทุกศุกร์-อาทิตย์ อาจารย์ จะตระเวนไปถ่ายภาพที่แก่งกระจาน เขาวัง เเละสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วอืน่ ๆ ในเพชรบุรี โดยใช้ กล้อง Pentax กล้องตัวทีส่ อง ทีซ่ อื้ มาจากเงิน เดือนข้าราชการเดือนเเรก สิง่ ทีอ่ าจารย์ยดึ มัน่ มาตลอดคือ การเป็นผู้ ให้ ท�ำให้อาจารย์เป็นที่เคารพรักของลูกศิษย์ เเละประชาชนทั่วไป โดยถือคติประจ�ำใจว่า “พู่กันสีและกล้องถ่ายภาพเป็นอุปกรณ์ แทนจินตนาการเท่านั้น สิ่งที่ส�ำคัญที่สุดคือ จิตตั้งมั่น และอุดมการณ์ที่วางไว้” 3
ปัจจุบันอาจารย์เกษียณเเล้ว หลังจากรับ ราชการครูมานานกว่า 30 ปี ช่วงเวลานีอ้ าจารย์ มักออกเดินทาง ถ่ายภาพชีวิตสัตว์ป่าตาม ธรรมชาติ วิวทิวทัศน์ เเละวิถีชีวิต ที่ไม่มีการ ปรุ ง เเต่ ง หรื อ การจั ด ฉากเกิ น จริ ง โดยน�ำ ภาพถ่ายบางภาพมาเป็นเเบบวาดภาพอีกที ในบางโอกาสก็เดินทางไปบรรยายตาม มหาวิทยาลัย เพือ่ ให้ความรูก้ บั นักศึกษา โดยพืน้ ฐานอาจารย์น�ำความรูจ้ ากการวาด ภาพมาประยุกต์ใช้กับการถ่ายภาพ พร้อม ศึกษาเทคนิคการถ่ายภาพ จากหนังสือต่าง ประเทศ เเละหนังสือของประเทศไทย กว่าจะได้ ภาพถ่ายมาได้หนึ่งภาพ อาจารย์มีเทคนิค เฉพาะตัวอยูอ่ ย่างหนึง่ คือ การถ่ายภาพด้วยใจ “ภาพต้องคมชัด องค์ประกอบภาพครบ เนือ้ เรือ่ งจบภายในภาพเดียว ถ้าหากมองต้องรูท้ นั ทีวา่ ก�ำลังท�ำอะไรอยู่ เส้น สาย แสง สี ครบ” ค�ำ พูดนีส้ ะท้อนหลักการถ่ายภาพของอาจารย์นคิ ม นับจากวันที่อาจารย์เริ่มถ่ายภาพ ได้เกิด การเปลี่ยนเเปลงในวงการภาพถ่ายมากมาย
ดัง่ ค�ำทีอ่ าจารย์วา่ ไว้ “ทุกๆ อย่างบนโลก ไม่มีความจีรังยั่งยืน แม้แต่ธรรมชาติของวัตถุตา่ งๆ” อาจารย์เอ่ยขึน้ ทีเ่ ห็นภาพได้ชดั คือ การเปลีย่ นยุคกล้องฟิลม์ ขาวด�ำ เป็นยุคกล้องดิจติ อลทีใ่ ห้ภาพสีสดใส หากถามความรู้สึกของอาจารย์ เเน่นอน อาจารย์ชอบกล้องฟิลม์ มากกว่า เพราะกล้อง ฟิลม์ ท�ำให้รถู้ งึ คุณค่าของการถ่ายภาพ กว่าจะ ได้ภาพถ่ายสักภาพหนึง่ ต้องวางเเผนก่อนการ ถ่าย ทั้งการจัดองค์ประกอบภาพที่มีความ ละเอียดอ่อน การเลือกใช้แสง สี และต้องผ่าน กระบวนการล้างภาพ จนได้ภาพถ่ายออกมา แต่ส�ำหรับกล้องดิจิตอล สามารถดูภาพ และลบทิง้ ได้ทนั ที เลยกลายเป็นข้อเสียทีท่ �ำให้ ไม่เห็นคุณค่าของภาพถ่าย ส่วนความชอบทั้งทางด้านการถ่ายภาพ เเละวาดภาพ อาจารย์ชอบทั้งสองอย่างพอๆ กัน หากจุกทีเ่ เตกต่างคือ การวาดภาพยากกว่า ถ่ายภาพมาก เพราะต้องร่างแบบ รวมถึงต้อง ใช้จนิ ตนาการ ซึง่ เป็นสิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ กว่าจะได้ ภาพสีน�้ำหนึ่งภาพต้องใช้ระยะเวลานับเดือน หากภาพถ่ายนัน้ บันทึกได้รวดเร็วเพียงเสีย้ ว นาที ยิ่งอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ก็จะได้ ภาพถ่ายทีด่ ขี นึ้ ด้วย ต้นเเบบในชีวิตของอาจารย์นิคมมาจาก บุคคล 2 ท่าน “พระองค์เเรกคือ ในหลวง สอนให้เรารูจ้ กั ประหยัด เพราะฟิลม์ มันเเพง กดครัง้ หนึง่ ต้อง เสียเงิน 7 บาท ส่วนอีกคนคือ พ่อ สอนให้รู้จัก การวาดภาพระบายสี สอนให้รู้จักศิลปะ” ด้วยค�ำสอนของทัง้ 2 ท่าน จึงหล่อหลอม อาจารย์นคิ มให้กลายเป็นศิลปินทีผ่ ลิตผลงาน ดีๆ ออกมาอย่างต่อเนือ่ ง ส�ำหรั บ ผู ้ ที่ ส นใจผลงานภาพถ่ า ยของ อาจารย์นคิ ม สามารถติดตามผลงานได้ ช่วง งานเทศกาล ‘พระนครคีรี - เมืองเพชร’ เพราะ อาจารย์จะไปขายภาพถ่ายเป็นประจ�ำทุกปี หรือทางเฟซบุก๊ ชือ่ Nikom Kupatawintu เเละ ใครทีช่ อบเดินทางไปเทีย่ วเเก่งกระจาน คุณอาจ พบอาจารย์ก�ำลังถ่ายภาพธรรมชาติอยู่ที่นั่น อย่างตัง้ อกตัง้ ใจ
10
หลงรักเพชรบุรี | ฉบับพิเศษ เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
ลมหายใจ อันเเผ่วจาง ของหนังใหญ่ เรื่อง พาขวัญ ศักดิ์ขจรยศ
เพชรบุ รี เ ป็ น เมื อ งเก่ า แก่ ที่ มี ม รดกทาง วัฒนธรรมถูกสืบทอดกันมาช้านาน กลายเป็น เสน่ห์ของจังหวัดที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายความ รุ่งเรืองของอดีต หากกลิ่นอายเหล่านั้น ก�ำลัง เบาบางลงทุกที เพราะไม่มีผู้สืบทอดต่อ โดย เฉพาะ ‘หนังใหญ่’ มหรสพชั้นสูง ที่นับวันยิ่ง ห่างไกลจากวิถชี วี ติ ของคนรุน่ ใหม่เข้าไปทุกที หรือใกล้ถงึ เวลาทีห่ นังใหญ่ จะจางหายไป จากใจผู้คน มหรสพชัน ้ สูง
นนท์ ดวงดาว ผูด้ แู ลพิพธิ ภัณฑ์หนังใหญ่ วั ด พลั บ พลาชั ย วั ย 37 ปี เล่ า ให้ เ ราฟั ง ว่ า ประวัตศิ าสตร์ของหนังใหญ่มมี านานมากแล้ว โดยมีหลวงพ่อฤทธิ์ เจ้าอาวาสวัดพลับพลาชัย เป็นผูร้ เิ ริม่ ก่อตัง้ ‘หนังใหญ่คณะวัดพลับพลาชัย’ ครั้งหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จพระราชด�ำเนินมายังเมือง เพชรบุรี ก็ทรงมีรบั สัง่ ให้เจ้าเมืองเพชรบุรไี ปหา หนังใหญ่มาเล่นถวาย เพือ่ จะทรงบ�ำเพ็ญพระ ราชกุศลครบรอบปีส้ินพระชนม์ของพระเจ้า ลูกยาเธอพระองค์เจ้าอุรพุ งษ์ ทีพ่ ระราชวังราม ราชนิ เ วศน์ จึ ง ได้ เ ชิ ญ หนั ง ใหญ่ ค ณะวั ด พลับพลาชัยมาเล่นถวายหน้าพระทีน่ งั่ เมือ่ วัน ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2453 ด้วยการบรรเลงทั้งบทร้อง บทพากย์ บท เจรจา และมุกตลกเเฝงอารมณ์ขนั ทีส่ นุกสนาน เหล่านี้เอง ท�ำให้หนังใหญ่วัดพลับพลาชัย กลายเป็นที่โจษจันเล่าขานกันว่า เล่นได้งาม นักหนา ท�ำให้วดั พลับพลาชัยในสมัยนัน้ เจริญ รุ่งเรืองมาก เพราะมีหลวงพ่อฤทธิ์ช่วยวาง รากฐานการศึกษาฟืน้ ฟูศลิ ปวรรณกรรม จากหลักฐานในกฎมณเฑียรบาล พ.ศ. 2001 บันทึกไว้วา่ หนังใหญ่เป็นมหรสพชัน้ สูงที่ นิยมมาก โดยน�ำศิลปะการเเสดงเเขนงต่างๆ ได้เเก่ หัตถศิลป์ วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ วาทศิลป์ เเละคีตศิลป์ มาผสมผสานจนเกิดอรรถรส
ให้กับผู้ชม แต่หนังใหญ่ไม่ปรากฏหลักฐาน เเน่ชัดว่าเป็นวัฒนธรรมของใคร หากมีข้อ สันนิษฐานว่ามีต้นก�ำเนิดมาจากหนังตะลุง เพราะมีรูปแบบการแสดง ละครที่เล่น เช่น เรือ่ งรามเกียรติ์ ทัง้ วัสดุทใี่ ช้กค็ ล้ายคลึงกัน เเต่ต่างกันตรงที่หนังตะลุงเป็นศิลปะการ เเสดงพืน้ บ้านของภาคใต้ ซึง่ สามารถพบเห็นได้ ทัว่ ไป ลักษณะตัวละครเป็นหนังเดีย่ วตัวเดียว ส่วนหนังใหญ่มกั นิยมเเสดงในงานส�ำคัญของ บ้านเมือง ลักษณะของตัวหนังก็ใหญ่กว่า มีการ ฉลุลวดลายลงรายละเอียดประณีตมากกว่า ทีส่ �ำคัญการเชิดหนังใหญ่ไม่เหมือนการเชิด หนังตะลุง เพราะคนเชิดหนังตะลุงต้องอยูเ่ เต่ใน โรง คนดูจะมองไม่เห็นตัวคนเชิด ส่วนหนังใหญ่ คนเชิดต้องออกมาเชิดนอกจอ เหมือนเป็นผู้ แสดงตามบทของตัวละครทีต่ นเชิด ดังนัน้ คน เชิดหนังใหญ่จึงมีความส�ำคัญมากพอๆ กับ ตัวหนัง หรืออาจมากกว่าเสียด้วยซ�ำ้ ตัวหนังใหญ่
กรรมวิธกี ารท�ำหนังใหญ่ เริม่ ตัง้ แต่น�ำหนัง วัวทั้งตัวมาฟอก โดยมากจะใช้หนังวัวตัวเมีย เพราะผิวหนังบางกว่าตัวผู้ เมื่อน�ำมาฉลุลาย (เพิม่ ความขลัง) ระบายสี เเล้วต้องเเสงไฟ ก็มี ความสวยงามมากกว่า โดยน�ำหนังวัวทีใ่ ช้ได้มาเเช่นำ�้ แล้วขึงให้ตงึ ผึ่งแดดจนแห้ง จากนั้นค่อยขูดขนหรือพังผืด ออกให้หมด น�ำเขม่าก้นหม้อหรือกาบมะพร้าว เผาไฟละลายกับน�้ำข้าว ทาให้ทั่วผืนหนังทั้ง สองด้านจนด�ำสนิท เเล้วค่อยน�ำไปตากให้เเห้ง จากนั้นจึงเอาใบฟักข้าวมาขัดจนหนังขึ้น มัน แล้วร่างภาพหรือลวดลายเพื่อฉลุผืนหนัง โดยอุปกรณ์ที่ใช้คือ ‘สิ่ว’ น�ำมาตอกลวดลาย บนหนัง แล้วจึงน�ำไปขึงเพือ่ แต่งสีตามต้องการ เช่น สีเเดง น�ำ้ ฝางผสมกับสารส้ม หรือสีขาว ที่ เพียงเเค่ขดู สีด�ำออก ก็จะได้สหี นังตามเดิม หลังจากนัน้ น�ำไม้มาขึงเป็นเเนวตัง้ เพือ่ ใช้
ส�ำหรับถือเวลาเชิด หนังใหญ่แต่ละตัว จะฉลุ ลายตามเนือ้ เรือ่ งทีแ่ สดง โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ‘หนังเมือง’ หนังขนาดใหญ่ทฉี่ ลุ ลวดลายเป็นเหตุการณ์ในเรื่องที่ท�ำการเเสดง อาจมีตวั ละครมากกว่าหนึง่ ตัว โดยมีฉากหลัง เเละบริบทอยูร่ อบๆ ตัวละคร เเละ ‘หนังเดีย่ ว’ การฉลุเป็นตัวละครเดีย่ วๆ เช่น หนุมาน องคต พิเภก เเละทศกัณฐ์ เป็นต้น อี ก ทั้ ง ตั ว หนั ง ใหญ่ ยั ง เเบ่ ง ออกเป็ น 2 ประเภท ตามเวลาทีเ่ เสดง ได้เเก่ หนังกลางคืน คือ ตัวหนังที่ใช้เเสดงกลางคืนได้อย่างเดียว จะมีพื้นเป็นสีด�ำกับสีขาวเพียง 2 สี เเละหนัง กลางวัน คือ หนังใหญ่ทใี่ ช้เเสดงได้ทงั้ กลางวัน เเละกลางคืน จะมีหลายสี เช่น ขาว ด�ำ เขียว เหลือง เเละแดง โดยสีจะช่วยขับให้ตัวหนังมี ความสวยงามเด่นชัดยิ่งขึ้น คณะหนังใหญ่
การจัดตั้งคณะหนังใหญ่ขึ้นมาไม่ใช่เรื่อง ง่าย ต้องอาศัยศิลปะหลายเเขนง ดังนัน้ หลวง พ่อฤทธิ์ จึงใช้ความรู้ความสามารถของท่าน ฝึกหัดลูกศิษย์ให้เชิดหนังใหญ่ พากย์เสียง เเละ เล่นดนตรีไทย เพือ่ บรรเลงประกอบการเเสดง ตลอดช่วงที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส การเล่น หนังใหญ่เป็นงานใหญ่สมชือ่ เเม้จะมีลกู ศิษย์ ลูกหาคอยช่วยฉลุหนังตลอด 3 ปี เเต่กท็ �ำตัว หนังได้เพียง 200 ตัว เพราะหนังแต่ละตัว ต้อง ใช้ความประณีต เเละต้องใช้คนมีฝมี อื เท่านัน้ น่าเสียดาย หลังจากหลวงพ่อฤทธิม์ รณภาพ ได้ไม่นาน ก็เกิดเหตุไฟไหม้ที่วัดพลับพลาชัย ครัง้ ใหญ่ ตัววัดเสียหายเกือบทัง้ หมด ทางวัด จึงต้องเร่งบูรณะวัดให้กลับมาสวยงามดังเดิม ท�ำให้การดูเเลหนังใหญ่ได้หยุดชะงักลง ปัจจุบนั ทางวัดได้เล็งเห็นความส�ำคัญของ หนังใหญ่จงึ เก็บรวบรวมความทรงจ�ำเกีย่ วกับ หนังใหญ่เอาไว้ เเล้วก่อตัง้ เป็นพิพธิ ภัณฑ์หนัง ใหญ่วดั พลับพลาชัยขึน้ ภายในวิหารพระคัน-
ธารราฐ อีกฟากของถนนบันไดอิฐ โดยภายใน วิหารมีพระพุทธรูป และรูปจ�ำลองของหลวงพ่อ ฤทธิ์ เเละหลวงพ่อกร อดีตเจ้าอาวาสของวัด ให้ ประชาชนได้สกั การะ พิพธิ ภัณฑ์เเบ่งการจัดเเสดงออกเป็น 2 ส่วน ส่วนเเรกจัดเเสดงในวิหาร เป็นการจัดเเสดงทีม่ ี ไฟส่องสว่าง เพื่อโชว์เงาเเละลวดลายของตัว หนัง ส่วนทีส่ อง อยูใ่ นอาคารไม้ขา้ งๆ กับวิหาร ซึ่งตัวหนังทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาตั้งเเต่สมัย หลวงพ่อฤทธิ์ หากเมือ่ วัดพลับพลาชัยถูกไฟไหม้ ตัวหนัง ใหญ่ก็ถูกย้ายไปเก็บรักษาไว้ที่วัดคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี จนกรมศิลปากรได้ขนึ้ ทะเบียน เเละเก็บรักษาไว้ ทางวัดพลับพลาชัยจึงขอ ความอนุเคราะห์ยมื หนังใหญ่บางส่วนมาเก็บ ไว้ทวี่ ดั เพือ่ จัดแสดงในพิพธิ ภัณฑ์ดว้ ย ผูด้ แู ลพิพธิ ภัณฑ์เปรยขึน้ มาว่า การเล่นหนัง ใหญ่ของจังหวัดเพชรบุรีได้สูญหายไปเเล้ว เนือ่ งจากขาดผูส้ บื ทอดและฟืน้ ฟู แม้คนเฒ่าคน แก่จะยังให้ความสนใจอยูบ่ า้ ง แต่เด็กรุน่ ใหม่ กลับไม่คอ่ ยสนใจเท่าใดนัก ดูได้จากจ�ำนวนผู้ เข้าชมพิพธิ ภัณฑ์ทดี่ เู หมือนจะน้อยลงทุกขณะ ในบางครัง้ ก็มกี ลุม่ นักเรียนนักศึกษาเข้ามาชม เพือ่ ท�ำรายงาน ปีละ 2 - 3 ครัง้ เท่านัน้ แต่สว่ น ใหญ่กเ็ พียงแค่เข้ามาเดินดู เเล้วก็จากไป “คนเพชรสมัยนี้ บางคนอาจจะไม่รดู้ ว้ ยซ�ำ้ ว่ า ในเพชรบุ รี ก็ มี ห นั ง ใหญ่ ” นนท์ ผู ้ ดู เ เล พิพธิ ภัณฑ์เอ่ยขึน้ พร้อมถอนหายใจ ถึงเเม้ความรุ่งเรืองของหนังใหญ่จังหวัด เพชรบุรี จะกลับไปเหมือนเก่าไม่ได้ หากมี พิพธิ ภัณฑ์ทใี่ ห้เด็กๆ เข้ามาเรียนรูป้ ระวัตศิ าสตร์ ทางวัฒนธรรมของบ้านเกิดตัวเอง ก็สามารถต่อ ลมหายใจที่เเผ่วจางของหนังใหญ่ให้ยืดยาว ออกไป ด้วยความหวังว่า วันหนึง่ ลูกหลานชาว เพชรบุรจี ะมาช่วยกันสืบทอดต่อ
11
หลงรักเพชรบุรี | ฉบับพิเศษ เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
พลังศรัทธาที่ไม่มีวัน เสื่อมคลาย เรื่ อ ง ธิ ด ารั ต น์ แซ่ เ ล้ า
ชาวบ้านยังคงศรัทธาประเพณีงานปีผม ี ดเหมือนก่อน เเต่กม ็ ก ี ารปรับตัว ตามยุคสมัย เช่น เดิมทีท ่ ำ� พิธใี นบ้านเจ้าภาพ ก็เปลีย ่ นมาเป็นศาลาประจ�ำหมูบ ่ า้ นเเทน หากทะเล ขนมหวาน เเละงานศิลปะ ท�ำให้ คุณนึกถึงเพชรบุรี งานประเพณีก็เป็นอีกหนึ่ง ทางทีส่ ะท้อนถึงวิถชี วี ติ ของชาวเพชรได้มากขึน้ ด้วย ‘ประเพณี’ เเสดงถึงวัฒนธรรม วิถชี วี ติ เเละความเชื่ อ ของชาวบ้ า น ที่ ศ รั ท ธาต่ อ ผี บรรพบรุษ เเละสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิต์ ามธรรมชาติ เกิด เป็นประเพณี ‘งานปีผมี ด’ สืบทอดกันมาตัง้ เเต่ รุน่ คนเฒ่าคนเเก่ จนถึงรุน่ ปัจจุบนั อันเต็มไป ด้วยพลังศรัทธา ไม่มวี นั เสือ่ มคลาย… 1
ฉันได้ยนิ ชือ่ ประเพณี ‘งานปีผมี ด’ มาจาก เพื่ อ นคนหนึ่ ง นอกจากชื่ อ จะเเปลกเเล้ ว พิธกี รรมของงานนีก้ น็ า่ สนใจไม่เเพ้กนั เพราะมี การเชิญ ‘คุณพ่อ’ หรือจะพูดว่า ‘ผี’ ก็ไม่ผดิ นัก มาหลากหลายองค์ เพือ่ ท�ำความเคารพเเละให้ ของเซ่นไหว้ ซึ่งโชคดีที่ฉันมีโอกาสได้คุยกับ อาจารย์ตมั้ - วิฑรู ย์ ค�ำหอม เเห่งมหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบุรี ผูศ้ กึ ษาและจัดท�ำวิทยานิพนธ์ เรือ่ งประเพณีงานปีผมี ด เลยมีเรือ่ งราวสนุกๆ ของงานนีม้ าเล่าให้ฟงั งานปีผีมด คือ การเชิญ ‘คุณพ่อ’ (ชาว เพชรบุรไี ม่เรียกว่าเจ้าพ่อ เพราะดูเหมือนนักเลง หรือพวกอันธพาล) ผีบรรพบุรษุ ผีบา้ นผีเรือน พระภูมเิ จ้าที่ เเละสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิต์ า่ งๆ ทีอ่ ยูต่ าม ภูเขา ป่าไม้ หรือเเม่นำ�้ มารับอาหารคาวหวาน อันเป็นเครือ่ งสังเวย ด้วยความเชือ่ ว่า ถ้าใคร ประกอบพิธีกรรมนี้จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ไม่เจ็บป่วย เจริญ ก้าวหน้า ท�ำมาค้าขายดีขนึ้ กลับกัน ถ้าบ้านไหน ไม่ท�ำ คนในครอบครัวก็จะเจ็บป่วยหรือท�ำมา ค้าขายไม่ดี ดังนั้น ชาวบ้านต�ำบลโพไร่หวาน ต�ำบล นาวุ้ง เเละต�ำบลดอนยาง จึงจัดงานปีผีมด เป็นประจ�ำทุกปี ในช่วงเดือน 6 - 8 และช่วง สงกรานต์จนถึงก่อนเข้าพรรษา เว้นช่วงเข้า พรรษาไว้ เพราะเชือ่ ว่าคุณพ่อก�ำลังรักษาศีลอยู่ 2
ท�ำไมถึงต้องชือ่ ‘งานปีผมี ด’ ‘มด’ มาเกีย่ วข้องด้วยได้อย่างไร อาจารย์ตมั้ ขยายความให้ฟงั ว่า ‘มด’ นัน้
หมายถึง ‘หมอ’ ทีเ่ เปลว่าผูร้ ใู้ นเรือ่ งต่างๆ จากการทีค่ นสมัยก่อนไม่ได้มตี �ำรา หนังสือ หรือเเบบเรียนให้หาความรู้ เเต่อาศัยการบอก เล่าจากปากต่อปาก เเละการฝึกฝนในครอบครัว ผ่านรุน่ สูร่ นุ่ ดังนั้น ‘ผีมด’ จึงหมายถึง ผีบรรพบุรุษ สามารถเทียบเคียงได้กบั ค�ำว่า ‘ผีเม็ง’ ของทาง ภาคเหนือ ซึง่ ทัง้ 2 กลุม่ นี้ มีความสัมพันธ์กบั ชาวมอญ คาดเดาได้วา่ ในอดีตได้เกิดการเเลก เปลีย่ นทางวัฒนธรรมของคนเเต่ละท้องถิน่ จน เกิดเป็นพิธีกรรมงานปีผีมดขึ้น ซึ่งเป็นเเหล่ง ความเชือ่ ความศรัทธา เเละทีพ่ งึ่ ทางใจของชาว บ้าน เเค่เพียงได้มากราบไหว้บชู าก็รสู้ กึ สบายใจ ทางด้านพิธกี รรมของงานปีผมี ด แบ่งงาน ออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงกลางวัน และกลางคืน ส�ำหรับช่วงกลางวันเรียกว่า ‘งานปี’ จัดขึน้ ตัง้ แต่ 9 โมงเช้า - เทีย่ งวัน ถ้าเลยเทีย่ งวันไป แล้วถือว่าเป็นอันหมดพิธี เพราะเชือ่ กันว่าหลัง จากนัน้ วิญญาณจะไม่มารับของเซ่นไหว้ โดยมีการจัดเตรียมส�ำรับเครื่องเสวยเพื่อ ไหว้คุณพ่อ ประกอบด้วยอาหารคาว ได้เเเก่ ต้มย�ำปลากระเบน ไข่ตม้ 1 ฟอง ต้มจืด ขนมจีน น�ำ้ ยา แกงเผ็ด เเละอาหารหวาน ได้เเก่ ขนม เปียก กาละแม ข้าวเหนียวแดง ขนมกงเกวียน ขนมสามเกลอ (ชะมด) ข้าวตอกกวนน�ำ้ ตาลปัน้ เป็นก้อน นอกจากนีก้ ย็ งั มีปู เเมงดา (ทัง้ เเบบ เป็นเเละตาย) กระบุงที่ใส่ข้าวไว้จนเต็ม เเละ มะพร้าวงอกพร้อมปลูกวางไว้ดว้ ย ในขณะท�ำพิธกี รรมจะมีการหาหญิงคนทรง เพือ่ เชิญคุณพ่อเเต่ละองค์เข้ามาประทับร่าง ซึง่ ร่างทรงแต่ละคนก็มีคุณพ่อประจ�ำตัวเองอยู่ แล้ว โดยจะมี ‘นายนิมนต์’ หรือกลุม่ ผูช้ ายทีท่ �ำ หน้าทีต่ โี ทน ร้องเพลงบทสวดต่างๆ เพือ่ เชิญผี บรรพบุรษุ น่าเเปลกเหมือนกัน ทีม่ ลี �ำดับการเชิญคุณ พ่อเเต่ละองค์มาประทับร่างทรง ดังต่อไปนีด้ ว้ ย 1. คุณพ่อประจ�ำตัวของร่างทรง (เจ้าพ่อ สามก้อน) มาเพื่อบอกว่าวันนี้จะท�ำพิธีงานปี ผีมด 2. คุณพ่อทีเ่ ชือ่ ว่าเป็นเจ้าของถิน่ หรือหมู่ บ้านนัน้ ๆ มาเพือ่ รับรูเ้ เละรับของเซ่นไหว้ 3. คุณพ่อหลักเมือง มาเพือ่ รับรูเ้ เละรับของ
เซ่นไหว้ 4. คุณพ่อยีส่ นุ่ คุณพ่อขีเ้ มา 5. คุณพ่อสายน�ำ้ เขียว คนดูเเลทุกสิง่ ทีเ่ กีย่ ว กับทะเล 6. คุณพ่อโหราม 7. คุณพ่อหงส์ทอง เป็นคนมาตัดสินว่า พิธกี ารในวันนีจ้ บสิน้ ลงแล้ว การเชิญคุณพ่อมีความละเอียดอ่อนตาม ลักษณะของคุณพ่อเเต่ละองค์ดว้ ย เช่น คุณพ่อ สายน�ำ้ เขียว ผูด้ เู เลสิง่ ต่างๆ เกีย่ วกับทะเล คุณ พ่อก็จะเอาปูเเละเเมงดา มาถือไว้ในมือพร้อม ร่ายร�ำ เพือ่ ความเป็นสิรมิ งคล เเล้วพอคุณพ่อ ร่ายร�ำเสร็จ คุณพ่อก็จะเเกะปูทมี่ ดั เอาไว้ โดย ใช้มดี ตัดไปทีเ่ ชือกพร้อมท่องคาถาบอกว่าวันนี้ เจ้าภาพคนนีไ้ ด้จดั งานปีผมี ดให้เเล้ว ดังนัน้ จะ พาความทุกข์ทปี่ ระสบมาลากลงทะเลไปด้วย ฉันฟังอาจารย์ตมั้ เล่า นึกถึงวิถกี ารสะเดาะ เคราะห์ตามวัดต่างๆ ทีใ่ ห้คนท�ำบุญ ปล่อยนก ปล่อยปลา เเต่อนั นีก้ ลับกันเป็นการปล่อยปูลง ทะเลเเทนเท่านัน้ เเสดงว่างานประเพณีเหล่านี้ ล้ ว นมี พื้ น ฐานความเชื่ อ เรื่ อ งเดี ย วกั น คื อ เป็นการท�ำเพื่อจรรโลงจิตใจ ให้รู้สีกดี ผ่อน คลาย สบายใจ เเละคลายความกังวลได้มาก
“ตอนนัน้ รูส้ กึ เหมือนตัวเองถูกสะกดจิต พอ ออกมาจะรูส้ กึ มีความสุขมาก รูส้ กึ เหมือนตัวเอง รวยมาก เพราะคุณพ่อเขาจะให้พรว่าเราจะรวย มาก มีทองเป็นหาบ รวยจนเนือ้ เต้น” อาจารย์ ตัม้ เล่าด้วยรอยยิม้ กับความรูส้ กึ ทีต่ อนนัน้ ไม่มี เงินหรอก แต่กจ็ ะเกิดความมัน่ ใจว่าคุณพ่อมา อวยพร อีกเดีย๋ วพวกเราต้องมีเงินเเน่ๆ
3
5
พอเสร็จงานพิธตี อนกลางวันเเล้ว ชาวบ้าน ก็จะรอเวลา 6 โมงเย็น เพือ่ จัดพิธกี รรม ตอนกลางคืน เรียกว่า ‘ผีมด’ โดยจัดงานกัน ไปถึงเทีย่ งคืน มีการเชิญคุณพ่อมาประทับอีก รอบหนึง่ ประมาณ 40-50 องค์ แล้วแต่เจ้าภาพ ว่าอยากจะเชิญคุณพ่อองค์ไหนบ้าง โดยอาจจะเป็นคุณพ่อเจ้าบ้านชุมชน หรือ คุณพ่อตามภูเขาทีต่ นนับถือ ซึง่ คุณพ่อก็จะมา รับเครือ่ งสังเวย โดยคนทรงจะใช้ชอ้ นท�ำท่าตัก อาหารเสวยเอง แต่ถ้าหากคุณพ่อมาเยอะๆ คนทรงก็จะท�ำท่าตักอาหารทีส่ �ำรับแล้วยกขึน้ สูงเพือ่ เป็นสัญลักษณ์เเทนว่า คุณพ่อทัง้ หลาย ได้รบั เครือ่ งสังเวยแล้ว ฉันนัง่ ฟังอาจารย์ตมั้ เล่าจนเพลิน อดข�ำไม่ ได้ทคี่ รัง้ หนึง่ เมือ่ อาจารย์เป็นเจ้าภาพจัดงานปี ผีมด เเล้วมีการเชิญคุณพ่อเข้ามาประทับร่าง ทรง พอท่านให้พร ก็เกิดความรูส้ กึ ทีเ่ เปลกไป
4
ปัจจุบนั เเม้ชาวบ้านยังคงศรัทธาประเพณี งานปีผีมดไม่เสื่อมคลาย เเต่ก็มีการปรับตัว จึงต่างจากอดีตอยูบ่ า้ ง เช่น จากเดิมทีท่ �ำพิธใี น บ้านเจ้าภาพ ก็เปลีย่ นมาเป็นศาลาประจ�ำหมู่ บ้านเเทน เพราะคนสมัยนีไ้ ม่มเี วลาตระเตรียม งานเองเหมือนเเต่กอ่ น อีกทัง้ ค่าใช้จา่ ยก็เพิม่ สูง ขึน้ จัดทีศ่ าลาประจ�ำหมูบ่ า้ นจะถูกกว่า อีกข้อคือ จากเดิมมีการให้ของตอบเเทน นายนิมนต์ เป็น ปู เเมงดา กล้วย มะพร้าวก็ได้ เปลีย่ นมาให้เงินเป็นค่าตอบเเทน รวมค่าใช้จา่ ย ทัง้ ค่านายนิมนต์ ค่าคนทรง ค่าคนร�ำผี และค่า ส�ำรับอาหารทัง้ ตอนกลางวันเเละตอนเย็น ตก ประมาณ 25,000 บาท ถือเป็นค่าใช้จา่ ยทีเ่ เพง พอสมควร นอกจากในจังหวัดเพชรบุรเี เล้ว งานปีผมี ด ยั ง จั ด ที่ บ ้ า นหั ว กฐิ น หรื อ กฐิ น แดง จั ง หวั ด นครปฐม เเละบ้านทับสะแก จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ อีกด้วย โดยเกิดจากชาวเพชรบุรที เ่ี เต่ง งาน แล้วย้ายถิ่นฐานไปอยู่จังหวัดอื่น ได้น�ำ ประเพณีไปถ่ายทอดต่อ ไม่ น ่ า เเปลกใจ ถ้ า ยั ง คงมี ก ารสื บ ทอด ประเพณีไปเรือ่ ยๆ เพราะนอกจากจะสืบทอด ผ่านระบบเครือญาติเเล้ว ยังช่วยยกระดับจิตใจ ของชาวบ้าน ท�ำให้สบายใจ หายเครียด เเละมี ก�ำลังใจต่อสูก้ บั ชีวติ ต่อไป ส�ำหรับใครทีม่ โี อกาสมาเยือนเพชรบุรี หาก มาช่วงเวลาที่เหมาะสม คุณอาจได้เห็นงาน ประเพณีทอ้ งถิน่ ทีช่ าวบ้านจัดขึน้ ด้วยความเชือ่ พลังศรัทธา เเละความเป็นสิริมงคล อันเป็น เสน่หข์ องชาวท้องถิน่ เเห่งเมืองเพชรบุรี
12
วัวลาน... นักสูเ้ เห่งผืนนา เรื่อง สกลสุภา กระดังงา ‘วัว’ เป็นสัตว์คู่ใจของชาวนาเพชรบุรีมาช้านาน ทั้งผูกพันกับวิถี ชีวิต ผูกพันกับผืนนา เเละผูกพันกับเมล็ดข้าว เรียกได้ว่า ทั้งคู่อาบ น�้ำต่างเหงื่อมาด้วยกัน จนกว่าชาวนาจะได้ข้าวเปลือกมากิน มาใช้ เเละมาขาย เเม้เเต่ยามหมดฤดูกาลท�ำนา วัวก็ยงั เป็นเพือ่ นคลายเหงา ก่อเกิด เป็นการละเล่นพื้นบ้าน ‘วัวลาน’ ที่ยังคงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน นับได้ว่า ‘วัว’ เป็นหัวใจของคนท้องถิ่นโดยเเท้ ก�ำเนิดวัวลานเมืองเพชร
มีคนกล่าวว่า “การแข่งขันวัวลานถือเป็นกีฬาของลูกผู้ชายชาว เมืองเพชร” ค�ำนี้ไม่ผิดนัก ย้อนกลับไปในสมัยก่อน ชาวเพชรบุรีมี อาชีพหลักคือการท�ำนา หลังข้าวออกรวงจนเก็บเกี่ยวเเล้ว ชาวนาก็ จะพาวัวในหมู่บ้านมาช่วยกันนวดข้าว ในลานที่มีลักษณะเป็น วงกลมบนผืนดินเหนียว เรียบสนิท ชาวนาจะผูกวัวเรียงกันเป็นเเถวหน้ากระดานไว้กบั เสากลางลาน จากนั้นวัวก็จะเดินย�่ำรอบเสาเป็นวงกลมไปเรือ่ ยๆ จนกว่าเมล็ดข้าว จะหลุดออกจากรวงข้าวทัง้ หมด ซึง่ ต�ำเเหน่งของวัวก็ตอ้ งมีการคัดเลือก ด้วย เช่น วัวทีอ่ ยูว่ งนอกสุด ต้องเป็นวัวทีม่ พี ละก�ำลัง เเละฝีเท้าดี เพราะ มีระยะทางเดินเป็นวงกลมมากกว่าวัวตัวอื่น ส่วนวัวที่อยู่ข้างในจุด ศูนย์กลางจะมีพละก�ำลังน้อยกว่า การคั ด เลื อ กวั ว เหล่ า นี้ เ อง จึ ง เกิ ด เป็ น การพนั น ขั น ต่ อ กั น สนุกสนานว่า วัวของใครมีพละก�ำลังดี ก็จะได้เดินวนนวดข้าวอยูร่ อบ นอก หากวัวของใครมีพละก�ำลังน้อยกว่า ก็จะเดินคลุกอยู่วงใน หลังจากนั้นก็มีพัฒนาการเรื่อยมา กลายเป็นการรวมตัวของวัว พันธุ์พื้นบ้าน จากหลายหมู่บ้าน หลายต�ำบล มาเเข่งประชันกันว่า วัวของใครมีก�ำลังเเละฝีเท้าดี โดยการแข่งขันจะจัดขึ้นหลังชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเรียบร้อย ตรง กับเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม เเละยังคงใช้ผนื นาหลังการเก็บ เกี่ยวเป็นลานจัดการเเข่งขันตามเดิม
การเปลี่ยนเเปลง
ปัจจุบัน ชาวเพชรบุรีไม่ได้มีอาชีพท�ำนาเป็นหลักอีกต่อไปเเล้ว เเละไม่ มี ใ ครเลี้ ย งวั ว เพื่ อ ใช้ น วดข้ า วเหมื อ นเเต่ ก ่ อ น เพราะมี เทคโนโลยีทางการเกษตรเข้ามาช่วยทุน่ เเรง ส่งผลให้ววั พันธุไ์ ทยพืน้ บ้าน ถูกเลี้ยงเพื่อใช้เเข่งขันวัวลานเพียงอย่างเดียว จนเกิดข้อกังขา ว่าเป็นการทารุณสัตว์หรือเปล่า หากในมุมมองของผู้เลี้ยงวัว ไพฑูรย์ แก้วเจริญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 ต�ำบลเขาใหญ่ อ�ำเภอชะอ�ำ จังหวัดเพชรบุรี กลับมีความเห็นว่า การแข่งขันวัวลาน คือการอนุรักษ์วัวสายพันธุ์พื้นบ้าน เพราะหากไม่ มีการเเข่งขัน วัวพันธุ์พื้นบ้านเหล่านี้จะถูกฆ่าตายและสูญพันธุ์ไป “ผมดูแลเอาใจใส่บ�ำรุงสุขภาพวัวทุกตัวเป็นอย่างดี ทัง้ อาบนำ�้ ให้ กินไข่ไก่สด กล้วยหวี เเละกินซุปไก่สกัด ถ้าไม่ใจรักที่จะดูเเล คงท�ำ ขนาดนี้ไม่ได้” ส่วน อุ๋ย - สมภพ อินทร์ล้วน อีกหนึ่งผู้เลี้ยงวัวลานก็ให้ความ เห็นคล้ายกันไว้ว่า “มันเป็นการแลกเปลีย่ น ได้อย่างก็ตอ้ งเสียอย่าง คนเอาเหงือ่ แลก กับเงิน วัวก็ต้องเสียแรงแลกกับชีวิต” เเม้จะเป็นการทารุณสัตว์ในสายตาคนอื่น เเต่ผู้เลี้ยงวัวทุกคน ยืนยันว่า การเลี้ยงวัวลานต้องเลี้ยงดูจนวัวเเก่ เเละตายในที่สุด ที่ ส�ำคัญต้องดูเเลเอาใจใส่บ�ำรุงสุขภาพ เนื่องจากถ้าวัวสุขภาพไม่ดี ร่างกายอ่อนเเอ ก็ส่งผลกระทบต่อการเเข่งขัน ไม่มีเรี่ยวเเรงในการ เเข่ง ด้วยเหตุนี้เองผู้เลี้ยงวัวจึงผูกพันเเละรักใคร่วัวของตนมาก นักสู้เเห่งผืนนา
เมื่อการแข่งขันวัวลานเมืองเพชรได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ การละเล่นนี้จึงถูกเผยเเพร่ไปยังจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม และจังหวัดสุพรรณบุรี ดังนัน้ การแข่งขันวัวลาน จึงกลายเป็นจุดนัดพบให้ผคู้ นต่างถิน่ ได้ มาพบปะพูดคุยกัน เเละก่อให้เกิดตลาดการค้าวัวทางอ้อม เพราะใน การแข่งขันจะมีผู้สนใจหาซื้อวัวลานในราคาสูง ศึกประชันฝีเท้า อีกทัง้ วัวลานทีส่ วยงามเเละเเข็งเเรง ยังน�ำไปประกวดต่อได้ดว้ ย การเเข่งขันในศึกประชันฝีเท้า วัวจะถูกผูกกับเสาเกียดกลางลาน เช่น ประเภทวัวสวยงามพันธุ์พื้นเมือง หรือการประกวดวัวเทียมไถ เรียงกันไปทั้งหมด 19 ตัว เพื่อให้วัววิ่งเป็นวงกลมรอบเสา โดยวัวตัว เป็นต้น สุดท้ายจะเป็นวัวที่มีพละก�ำลังดีมากเป็นพิเศษ เรียกว่า ‘วัวนอก’ ที่ หรือเเม้กระทั่งงานบวชนาค วัวก็เข้าร่วมในประเพณีด้วยเช่นกัน ต้องเเข่งกับวัวตัวที่ 18 หรือที่เรียกว่า ‘วัวรอง’ ส่วนวัวอีก 17 ตัว ที่ ส่วนข้อเสียซึง่ มองข้ามไม่ได้เลยคือ ลักษณะการร่วมสนุกทีค่ อ่ ยๆ เหลือ เรียกว่า ‘วัวคาน’ ท�ำหน้าที่ช่วยพยุง เเละส่งเสริมให้วัวนอกกับ เปลี่ยนไป วัวรองวิ่งแข่งกัน มีการพนันเกิดขึน้ ในสนามมากขึน้ ดังนัน้ การเเข่งกีฬาวัวลาน จึง โดยวัวนอกและวัวตัวที่ 1 - 18 ต้องเป็นวัวคนละพวงกัน (หมาย ไม่ใช่เพือ่ ความบันเทิงเพียงอย่างเดียว เเต่กลายเป็นเเหล่งหาเงิน ท�ำ ถึง คนละเจ้าของกัน) เพื่อจะได้ตัดสินว่า วัวนอกหรือวัวรอง ใครจะ รายได้ให้ผู้เลี้ยงวัวเเละคนมาร่วมงานอีกด้วย วิ่งชนะกัน วัวที่น�ำมาเเข่งทุกตัว ล้วนเป็นวัวเพศผู้ที่ตอนเเล้ว ซึ่งเป็นพันธุ์โค ประเพณีการเเข่งขันวัวลาน ยังคงได้รบั การสืบทอดอย่างต่อเนือ่ ง พื้นเมืองภาคกลาง (โคลาน) อันมีคุณสมบัติเเข็งเเรง อดทน เเละไม่ จากรุ่นปู่สู่รุ่นพ่อ จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก เเละรุ่นลูกสู่รุ่นหลานไปเรื่อยๆ ตื่นผู้คน ถึงเเม้วา่ จุดประสงค์ของการเเข่งขันจะเปลีย่ นเเปลงไป หากประเพณี ส่วนการตัดสินขึ้นอยู่กับกติกาเเต่ละรอบที่ก�ำหนดไว้ เช่น ถ้า นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวชนบทที่ควรค่าเเก่การอนุรักษ์ เพื่อ ก�ำหนดไว้ว่า วัวต้องวิ่งแข่งกัน 10 รอบ วัวนอกหรือวัวรองที่สามารถ ให้รู้ว่าชีวิตของชาวนาในอดีตผูกพันกับ ‘วัว’ มากเพียงใด วิ่งแซงกันได้มากสุดในแต่ละรอบก็จะชนะไป รางวัลส�ำหรับผู้ชนะ นอกจากความภาคภูมิใจเเล้ว ยังได้ของ รางวัลเล็กๆ น้อยกลับบ้าน เช่น โทรทัศน์ พัดลม ทองค�ำ หรือเเม้ กระทั่งลูกวัว
ธรรมชาติ ม อบวิ ถี ที่ เรี ย บง่ า ยที่ สุ ด ให้ แ ก่ เกษตรกร ไม่ใช่ความ ผิ ด ของเกษตรกรที่ ปฏิเสธความปรารถนา ดีของธรรมชาติ การ เรียนรู้บนเส้นทางใหม่ ท�ำให้คน ้ พบว่า แม้การ วกกลั บ ไปใช้ วิ ถี แ บบ เดิมจะยาก แต่เป็นจุด เริ่ ม ต้ น ค้ น หาความ พอดี...
13
หลงรักเพชรบุรี | ฉบับพิเศษ เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
ชาวนาเเห่งทุ่งเพชรบุรี เรื่อง จริญญา ศรีวัฒนวรัญญู
‘เมล็ดข้าว’ ผลิตผลจากธรรมชาติ ทีม่ ชี วี ติ ด้วยสองมือของชาวนา ผูต้ รากตร�ำทนเเดดอัน ร้อนจ้า ทนภัยธรรมชาติทบี่ างคราก็เเล้งจัด บาง คราก็มฝี นถล่มทลาย บางคราก็โดนเเมลงเเละ ศัตรูพชื เข้าท�ำลายนำ�้ พักนำ�้ เเรงและเม็ดเงินที่ ลงไว้กบั ข้าวจนหมดสิน้ เท่านัน้ ไม่พอ การต่อสูเ้ เทบสิน้ เเรง เมือ่ ราคา ข้าวหนึ่งเกวียนมีราคาต�่ำกว่าต้นทุนการผลิต อย่าหวังถึงก�ำไรให้ลืมตาอ้าปาก ถึงอยากจะ ปลดหนี้เเต่ก็มิอาจปลดได้ ซ�้ำร้ายยังต้องเป็น หนีต้ อ่ ไปไม่หมดสิน้ ดังนั้นค�ำกล่าวที่ว่า “ชาวนาส่วนใหญ่มัก เป็นหนี”้ คงไม่ผดิ นัก ชาวนาเพชรบุรกี เ็ ช่นกัน หรือข้าวหนึง่ จานไม่มคี ณ ุ ค่ามากพอ หนทางทีไ่ ม่ได้เขียวขจี
ระยะทางสูต่ �ำบลไร่มะขาม อ�ำเภอบ้านลาด ยาวนานพอทีจ่ ะท�ำให้เรางีบหลับ ก่อนทีเ่ ราจะ สะดุ้งตื่นเมื่อมีคนสะกิดให้ดูท้องฟ้ากับทุ่งนา สีเขียวจับมือกัน สีเขียวของทุง่ นาท�ำเอายิม้ กว้าง ผ่อนคลาย จนอยากจอดรถเเล้วลงไปถ่ายรูปเล่น คงได้รปู ถ่ายสวยๆ ไปอวดเพือ่ นในโซเชียลเน็ตเวิรก์ เเต่ ส�ำหรั บ คนที่ เ คยชิ น กั บ ภาพทุ ่ ง นา มากกว่าห้างสรรพสินค้า เขาจะเห็นเป็นเช่นไร “สวยมัย้ ไม่รสู้ ิ เพราะอยูก่ บั นามาตัง้ แต่เด็ก” น�้ำเสียงไร้ความตื่นเต้นของ สาคร ศรีหอม เกษตรกรทีเ่ ห็นทุง่ นามาตัง้ แต่จ�ำความได้ เธอมองทุง่ หน้าด้วยสีหน้าราบเรียบก่อนพูด ว่า “ถ้ามีอย่างอืน่ ท�ำ จะไม่ขอเลือกการท�ำนา” ทุง่ นาทิง้ อะไรไว้ให้เธอ? ผิวด�ำกร้านแดด ฝ่ามือหยาบด้าน เเละรอย ตีนกา ที่ฝากไว้ตลอด 50 กว่าปีของการเป็น ชาวนา หญิงใจแกร่งหนึง่ ในสมาชิกของ “ศูนย์ ข้าวชุมชนต�ำบลไร่มะขาม” ควบต�ำเเหน่งหัวหน้า ครอบครัว เลีย้ งดูลกู สาวกับสามีทเี่ ป็นอัมพาต “เมือ่ ก่อนตอนด�ำนาเหนือ่ ยมาก ต้องหาบ กล้าไปไม่รกู้ รี่ อบ ตอนเกีย่ วก็ตอ้ งใช้เวลา 2 - 3 วันถึงจะเสร็จ ความเหนื่อยตอนนั้นมันท�ำให้ อยากเลิก คิดแต่วา่ ไม่เอา ไม่อยากท�ำเเล้ว มัน ท้อ แต่ถา้ ไม่ท�ำนาก็ไม่รจู้ ะไปท�ำอะไร” ความเหน็ดเหนือ่ ยไม่ใช่เหตุผลเดียวทีท่ �ำให้ สาครเคยคิดถอดใจจากอาชีพชาวนา “ท�ำนาอย่างเดียวมันอยู่ไม่ได้ ยิ่งนาเช่านี่ แทบจะไม่ได้อะไรเลย มีทนี่ าของตัวเองน้อย แต่ ตอนนี้ถึงมีที่นาตัวเองก็ไม่เหลือนะ ก�ำไรน่ะ เเค่หกั ทุนก็หมดแล้ว ค่าแรงนีห่ มดแน่ๆ ค่าปุย๋ ค่ายาอีกสารพัด”
สาครเล่าถึงความล�ำบากในอาชีพตลอด หลายสิบปีทผี่ า่ นมาว่า ต้นทุนของชาวนาเสียทัง้ เงินเสียทัง้ เหงือ่ แต่สงิ่ ทีไ่ ด้กลับมาคือ หนีส้ นิ กับ หยาดน�ำ้ ตา ผูห้ ญิงวัย 57 ปีคนนี้ ผ่านสามช่วงเวลาของ การเปลีย่ นแปลงในวิถที อ้ งนา หนึ่ ง คื อ ช่ ว งที่ ช าวนาเดิ น ตามเส้ น ทาง ธรรมชาติ โดยมีวงจรแมลงเป็นผูด้ แู ลการเจริญ เติบโตของข้าว สองคือ ช่วงเวลาที่ชาวนา ต้องการเร่งผลผลิต จึงหันหน้าเข้าหาสารเคมี จนสมดุลของวิถธี รรมชาติกลับตาลปัตร และ สาม ช่วงเวลาปัจจุบนั ทีก่ �ำลังหันกลับไปยังจุด เริม่ ต้น จุดทีย่ กให้ธรรมชาติเป็นผูด้ เู เลไร่นา เธอบอกว่าแนวคิดการปรับลดต้นทุนที่ไม่ จ�ำเป็นคงไม่เกิดขึน้ หากไม่ได้รบั ค�ำแนะน�ำจาก ศูนย์ขา้ วชุมชน เมือ่ เพิม่ ก�ำไรไม่ได้ ต้องหันมา จัดการต้นทุน เพราะเป็นสิง่ ทีส่ ามารถควบคุมได้ “ศูนย์ท�ำให้เรารู้จักคิด รู้วิธีการลดต้นทุน ตอนนีท้ กุ คนก็เป็นสมาชิกในศูนย์หมด เขาก็สอน เราหลายเรือ่ ง เมือ่ ก่อนตอนท�ำนาวิถธี รรมชาติ เราได้ 40 - 50 ถัง แต่พอเห็นคนอืน่ ได้ไร่หนึง่ เป็น ตัน ก็อยากท�ำให้ได้เยอะบ้าง ตอนนัน้ ไม่รนู้ ะว่า ปุย๋ มันมีทงั้ ดีและโทษ นึกจะใส่ปยุ๋ แบบไหนก็ใส่ เอามากมาย เห็นเขาใส่เราก็ใส่ทงั้ ๆ ทีใ่ ส่อะไรก็ ไม่รู้ พอมันสะสมเข้าทุกปีก็ท�ำให้ดินมันเสีย เจ้าหน้าทีเ่ ขามาแนะน�ำว่า ให้ใส่ตามสูตรเท่า นีๆ้ เพราะฟางข้าว หญ้าต่างๆ มันก็เน่าอยูใ่ นนา ย่อยสลายอยู่ในนั้นมันก็กลายเป็นปุ๋ยที่ป้อน อาหารให้ดนิ เอง เราจึงไม่จ�ำเป็นต้องซือ้ ปุย๋ มา ใส่ครั้งเดียวหมดกระสอบ แบบนั้นมันไม่คุ้ม” อีกหนึง่ ชาวนายังสาว กนกนุช พูลพิพธิ วัย 35 ปี บอกว่า ตอนยังเด็ก ไม่ชอบการเป็นชาวนา เพราะเป็นช่วงเวลาที่อยากออกไปวิ่งเล่นกับ เพือ่ น เเต่กลับต้องมาช่วยพ่อเเม่เกีย่ วข้าวเเทน กนกนุช เข้ามาเป็นสมาชิกของศูนย์ขา้ วเมือ่ ประมาณ 4 ปีทแี่ ล้ว จากทีเ่ คยฉีดยาฆ่าแมลง ทุกวัน เมื่อเปลี่ยนวิธีการตามที่ศูนย์แนะน�ำ เธอก็ไม่สามารถสูดกลิน่ ยาฆ่าแมลงอีกเลย “ตอนนัน้ ก็ฉดี ทุกวัน ศูนย์กเ็ ข้ามาสอนให้ใช้ สารอินทรียช์ วี ภาพ ท�ำให้เดีย๋ วนีไ้ ด้กลิน่ สารเคมี ไม่ได้เลย มันแพ้ อึดอัด เพราะเราไม่ได้ฉดี มา นานแล้ว วิธหี ว่าน วิธใี ช้เมล็ดก็เหมือนกัน ลด เมล็ดพันธุ์ ไม่ตอ้ งหว่านแน่นเกินไป ไม่อย่างนัน้ เขาจะแตกกอไม่ได้เลย ก่อนหน้านีไ้ ม่รู้ คิดว่า ต้องหว่านให้แน่นถึงจะได้เมล็ดข้าวเยอะๆ” วันนีค้ วามคิดของกนกนุช ตรงข้ามกับเมือ่ 22 ปีทเี่ เล้ว ความเหนือ่ ยล้าจากการท�ำนา ไม่ได้ บัน่ ทอนความพอใจในอาชีพของตน หากกลับ
ท�ำให้เธอรักเเละผูกพันกับสิง่ ทีเ่ ธอท�ำมากยิง่ ขึน้ “จะท�ำจนท�ำไม่ไหวนัน่ แหละ ใจมันรักแล้ว มันเป็นนายเรา เราเป็นนายมัน ไม่ตอ้ งมีใครสัง่ ใคร มีความสุข ถึงรายได้จะน้อยแต่วนั นีเ้ ราก็ยงั อยูไ่ ด้” เธอยิม้ กว้างด้วยความภูมใิ จ การท�ำนา ด้วยวิถธี รรมชาติเปลีย่ นเธอไปเเล้วโดยสิน้ เชิง เเหล่งเพาะต้นกล้า
“เราพยายามสอนวิธีคิดให้เขามากกว่า อยากท�ำอะไรก็ท�ำไป แต่ท�ำยังไงให้เหลือ เอา ชีวติ รอดได้ ไม่ใช่ไปแนะให้เขาลดต้นทุนอย่าง เดียว แต่ตอ้ งเพิม่ ก�ำไรได้ดว้ ย เพิม่ วิธกี ารขาย แปรรูปนูน่ นี่ ไม่บงั คับให้เขาเปลีย่ น แค่สอนเขา” บรรพต มามาก เลขาธิการศูนย์ข้าวชุมชน ต�ำบลไร่มะขาม เล่าถึงเป้าหมายของศูนย์ฯ แม้ โ ดยต�ำแหน่ ง จะเป็น เลขาธิการ แต่ กระบวนการท�ำงานของความเป็นชุมชน คือ ทุกคนต้องท�ำหน้าทีแ่ ทนกันได้ ทัง้ ด้านวิชาการ ลงแปลงทดลอง วิจัยหลักการขาย ติดตาม ตลาด เรียกว่าครอบคลุมทุกเรือ่ ง เพือ่ กระจาย ความรู้ให้เกษตรกรอย่างถูกต้องและทั่วถึง ศูนย์ขา้ วชุมชนต�ำบลไร่มะขามก่อตัง้ เมือ่ ปี 2551 แต่เดิมใช้ในลักษณะกลุม่ ผูผ้ ลิตพันธุข์ า้ ว ตัง้ แต่ปี 2544 ก่อนมาเริม่ รือ้ ฟืน้ ใหม่ จัดตัง้ เป็น ศูนย์ขา้ วอย่างจริงจัง โดยกรมการข้าว เจ้าหน้าที่ตั้งใจให้ตัวเเทนของเกษตรกรที่ สนใจท�ำหน้าที่ดูเเลเเละพัฒนาศูนย์ข้าวใน ชุมชนของตน ได้เรียนรู้เรื่องเมล็ดพันธุ์ การ จัดการในแปลงนา ฯลฯ เพือ่ น�ำความรูท้ ไี่ ด้ไป ถ่ายทอดสูเ่ กษตรกรคนอืน่ ๆ ในพืน้ ทีต่ อ่ ไป บรรพตบอกว่า แรกเริม่ การก่อตัง้ ศูนย์ฯ นัน้ มีอปุ สรรคถาโถมเข้ามามากมาย ทัง้ ความไม่ จริงจังของแกนน�ำทีเ่ ข้ามาท�ำงาน องค์ความรู้ ไม่เพียงพอ และไม่สามารถถ่ายทอดสูเ่ กษตรกร ได้ ซึง่ สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ภายในตัวศูนย์ฯ แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือ การท�ำให้เกษตรกรเปิด กว้าง และรับฟังข้อมูลใหม่ “มันเป็นเรือ่ งของความสะดวกสบาย ฉีดยา ปุบ๊ แมลงตาย เขาก็เชือ่ เป็นสิง่ ทีเ่ รากดไว้ไม่อยู”่ การล้มล้างความเชื่อเก่าๆ เป็นสิ่งที่ยาก ทีส่ ดุ เพราะถ้าเปลีย่ นความเชือ่ ไม่ได้ ก็จะเกิด การต่อต้านไปเรือ่ ยๆ ศูนย์ขา้ วไม่ได้กา้ วก่ายความเชือ่ ของชาวนา แต่เลือกทีจ่ ะพิสจู น์ให้เห็นกับตาว่า ระหว่างการ ใช้สารเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์ อะไรที่ท�ำให้ต้นทุน ของพวกเขาถูกลงกว่ากัน แบบเรียนของมหาลัยศูนย์ขา้ ว ไม่ได้มแี ค่ วิ ช าลดต้ น ทุ น การผลิ ต แต่ ยั ง มี ต�ำราการ
ปรับปรุงพันธุข์ า้ วให้มเี อกลักษณ์เฉพาะ เป็นของ ต�ำบลไร่มะขามเพียงทีเ่ ดียว ซึง่ เป็นการขยาย ตลาด ท�ำให้พนั ธุข์ า้ วชุมชนเป็นทีร่ จู้ กั มากขึน้ “การจะคุมตลาดได้ เราต้องมีของเราแหล่ง เดียว เพราะหัวเชื้อคือสิ่งส�ำคัญที่สุดในการ ท�ำนาดีๆ ต้องปลูกพันธุด์ ๆี ซึง่ ต้องเหมาะสมกับ พืน้ ทีด่ ว้ ย พันธุห์ ลักของศูนย์ฯ คือ ‘พันธุเ์ พชรบุร’ี แต่ทที่ �ำกับมือคือ ‘พันธุอ์ ไุ ร’ ข้อดีของการผลิต พันธุ์ข้าวเองคือ เราวางใจในเรื่องคุณภาพได้ แน่นอนและสามารถขยายพันธุ์ต่อได้” พันธุ์ข้าวท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบุรีอย่าง ‘ข้าวเหลือง’ หรือ ‘ข้าวไวแสง’ ซึง่ เป็นข้าวนาปี แทบไม่เหลือแล้ว เพราะเมล็ดพันธุ์ไม่มีการ ปรับปรุงใหม่ บวกกับพฤติกรรมการท�ำนาที่ เปลีย่ นไป ตัง้ แต่เริม่ ฉีดยาฆ่าแมลง หรืออัดสาร เคมีคราวละมากๆ ท�ำให้ขา้ วกลายพันธุ์ ถ้าเลิก พฤติกรรมเหล่านี้ พันธุข์ า้ วท้องถิน่ ก็ยงั คงอยู่ “ธรรมชาติมกี �ำหนดการของมันเอง พฤษภา หว่านข้าว ด�ำนา มิถนุ า ข้าวเริม่ งอก ฝนตกมา ดินชุม่ ชืน้ เดือนแปดเดือนเก้า ข้าวยาวหนึง่ เม็ด เดือนสิบน�้ำท่วมไม่ถึงหนึ่งเมตร ข้าวก็รอดไม่ เป็นปัญหา สิบเอ็ดสิบสองข้าวออกรวงเก็บเกีย่ ว น�ำ้ แห้งไป วงจรชีวติ ของเขาด�ำเนินไป และปุย๋ ทีด่ ที สี่ ดุ คือ ปุย๋ อินทรีย์ ปุย๋ หมัก ปุย๋ คอก มันจะ ค่อยๆ ซึม โดยไม่ขา้ มวงจรการเติบโตของข้าว” ปลายทางทีเ่ ติบใหญ่
กฎธรรมชาติมอบวิถที เี่ รียบง่ายทีส่ ดุ ให้แก่ เกษตรกร แต่ไม่ใช่ความผิดของเกษตรกรที่ ปฏิเสธความปรารถนาดีของธรรมชาติ การเรียน รูบ้ นเส้นทางใหม่ ท�ำให้คน้ พบว่า แม้การวกกลับ ไปใช้วถิ แี บบเดิมจะยาก แต่เป็นจุดเริม่ ต้นค้นหา ความพอดี ระหว่างวิถีดั้งเดิมกับวิถีสมัยใหม่ ด้วยความเชื่อว่า…ชาวนายุคไฮเทคต้อง เป็นทัง้ เกษตรกร และนักวิทยาศาสตร์ “เราควรสอนชาวนาว่ายน�้ำให้เป็น ดีกว่า แจกห่วงทีไ่ ม่รวู้ า่ เมือ่ ไหร่มนั จะแตกหรือลมมัน จะแฟบ ถ้าชาวนาคิดเป็น เขาจะรูว้ า่ นำ�้ ทะเลแค่ ปล่อยตัวให้นงิ่ มันก็ลอยได้ และตอนนีเ้ ขาเริม่ ประคองตัวได้แล้ว” บรรพตยิม้ กว้าง กล่าวด้วย น�ำ้ เสียงมุง่ มัน่ เชื่อได้เลยว่าชาวนาต�ำบลไร่มะขาม จะ ค่อยๆ ปรับตัว เเละต่อสูด้ ว้ ยความเข้มเเข็ง เเม้ ราคาข้าวตกต�ำ่ เช่นไร เเต่การรูจ้ กั ลดทุนการผลิต เเละเพิ่มก�ำไร คงท�ำให้ทุ่งนาสีหม่นในวันเก่า เปลีย่ นเป็นทุง่ นาสีทองสดใส ในวันหน้าเเน่นอน
14
หลงรักเพชรบุรี | ฉบับพิเศษ เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
ชิมปูชัก…ชักปูคืน เรื่อง วราภัสร์ มาลาเพชร
“ธนาคารปูแห่งนีไ้ ม่ได้เพาะปูเพือ ่ ขาย แต่เป็นการเพาะเพือ ่ ให้ปู เพิม ่ จ�ำนวนขึน ้ เองตามธรรมชาติได้เร็วขึน ้ ” คุณปัญญา นึกถึง ‘ทะเล’ คิดถึงอะไร หาดทรายเนือ้ ละเอียด ท้องฟ้าสีสด ทะเลสี คราม นำ�้ ทะเลเย็นฉ�ำ่ หรือว่าสองเรา เอ๊ะ! เเต่ เดีย๋ วก่อน ก่อนทีจ่ ะโรเเมนติก เมือ่ มาทะเล จะ ขาดอาหารทะเลสดๆ ไปได้อย่างไร เเม้การเดินทางจะซับซ้อนไปเสียหน่อย เเต่ ใจทีอ่ ยากกินเนือ้ ปูมา้ สด เเน่น เเละเนือ้ เป็นเส้น ไม่รว่ นเป็นเนือ้ ทราย ก็พาเราตามกลิน่ หอมยัว่ น�ำ้ ลายของปูมา้ ผูเ้ ลือ่ งชือ่ ที่ ‘ปูชกั …สะพานยก’ ชิมปูชก ั
ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ - ต้นมีนาคม งานเทศกาลทีเ่ ราขอเก็บไว้ในความทรงจ�ำ คือ เทศกาล ‘ชิมปูชกั @ ชะอ�ำ’ ซึง่ จัดโดยเทศบาล อ�ำเภอชะอ�ำ ต่อเนือ่ งเป็นปีที่ 4 เเล้ว เราจะพบกับร้านขายอาหารทะเลมากกว่า 10 ร้าน ตัง้ เเต่ตน้ สะพานไปจนถึงตีน ‘สะพาน ยก’ (ลาภปากเลยล่ะ) เหตุท่ีชื่อสะพานยก ก็ เพราะเมื่อมีเรือประมงเเล่นผ่าน ก็ต้องยก สะพานขึน้ ก่อน เรือประมงถึงจะผ่านได้สะดวก ชาวบ้านเห็นสะพานต้องยกขึน้ ยกลงทุกวัน ก็ เลยเรียกติดปากกันว่า ‘สะพานยก’ คุณนันธิดา นิว้ งาม หนึง่ ในแม่คา้ อาหาร ทะเล เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนทะเลที่นี่มีความ อุดมสมบูรณ์มาก มีปชู กุ ตลอดปี เเต่หลังจาก สภาพอากาศที่เปลี่ยนเเปลงไป ประกอบกับ ทางเหนือปล่อยน�้ำจากเขื่อนลงทะเลอ่าวไทย บ่อยขึน้ ปูกล็ ดน้อยลง จากวิถชี วี ติ ของชาวประมงทีอ่ อกเรือทุกวัน วันละ 2 รอบ ก็ลดลงเหลือเพียงวันละ 1 รอบ ด้วยความหวังว่าจะได้ปกู ลับมาเยอะขึน้ เเต่! ก็ กลับมาเพียงนิดเดียว เธอยังระบายให้ฟังถึงช่วงที่มีเหตุการณ์ อุทกภัยครัง้ ใหญ่ดว้ ยว่า “ช่วงน�ำ้ ท่วมใหญ่ ทีน่ ี่ ไม่มปี ู ไม่มปี ลาเลย ตลอด 5 เดือน อดเกือบ ตาย” เธอถอนหายใจ ใครจะรู้ มหาอุทกภัยเมือ่ ปี 2554 ไม่เพียง ส่งผลต่อเมืองหลวง ยังกระทบมาถึงชีวิตของ ชาวประมงริมชายฝัง่ ทะเลอีกด้วย หลังจากอุดหนุนปูสดๆ อิม่ อร่อยจนพุงกาง เราก็เดินข้ามสะพานยก มายังฝัง่ ทีม่ เี รือประมง จอดอยูน่ บั 80 ล�ำ ซึง่ ในบริเวณนีก้ ม็ เี พิงทีช่ าว ประมงสร้างติดๆ กันไว้ เพือ่ น�ำปูทจี่ บั ได้มาใส่ ลงถุงตาข่าย เเล้วเเช่ลงในทะเล รอคนมาซือ้ เมือ่ มีนกั ท่องเทีย่ วมาซือ้ พ่อค้า เเม่คา้ จะ วิง่ มาชักปูขนึ้ จากนำ�้ น�ำไปชัง่ แล้วเสนอราคา ถ้าเราได้เห็นขายปูกนั สดๆ เเบบนี้ ไม่ตอ้ งกังวล เลยว่าปูจะเเช่ยา เพราะเขาชักขึน้ จากทะเลกัน สดๆ ดังนัน้ ผูค้ นเลยติดปาก เรียกกันว่า ‘ปูชกั ’
นักท่องเทีย่ วกลุม่ หนึง่ ทีม่ าอุดหนุน เล่าให้ ฟังถึงรสชาติปขู องทีน่ วี่ า่ “ปูเนือ้ แน่นมาก หวาน พอแกะเปลือกออกมาเนื้อจะเป็นรูป ไม่เละ” ยิม้ กว้างๆ ของนักท่องเทีย่ วบอกได้เลยว่าติดใจ ขนาดหนัก เช่นเดียวกับเรา ‘ปูชกั ’ อร่อยจริงๆ ชักปูคน ื
หากเดินเข้ามาเรือ่ ยๆ สักพักจะถึง ‘ชุมชน บ้านคลองเทียน’ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนา เด็กและโรงเรือนขนาดเล็กทีม่ ชี อื่ ว่า ‘โครงการ จัดตัง้ ธนาคารปู กลุม่ ประมง (เรือปู)’ ธนาคาร ปูมา้ แห่งแรกในอ�ำเภอชะอ�ำ จังหวัดเพชรบุรี ถึง แม้จะเป็นเพียงโรงเรือนหลังเล็กๆ แต่กแ็ ข็งแรง มาก ด้วยการลงมือลงแรงร่วมกันของสมาชิก ภายในโรงเรือนมีถงั น�ำ้ พร้อมสายออกซิเจน กว่า 60 ถัง ภายในถังบรรจุแม่ปู ถังละ 1 ตัว หลังจากเราเดินส�ำรวจสักพัก ก็ได้พบกับชายวัย กลางคน หน้าตาใจดี เอ่ยทักทายด้วยส�ำเนียง คนเพชร นัน่ คือ คุณปัญญา พุมเจริญ ประธาน ธนาคารปูมา้ บ้านคลองเทียน คุณปัญญา เล่าให้ฟังว่า สาเหตุที่ต้องมี ธนาคารปูม้า เนื่องจากทะเลชะอ�ำคือแหล่ง ชุกชุมของปูมา้ เเต่เพราะการใช้เรือประมงเเบบ ‘เรือลอบปู’ หรือเรือที่พัฒนาเครื่องมือประมง ให้ชว่ ยจับปูได้มากขึน้ ซึง่ สมาชิกสามารถจับปู รวมกันได้ถงึ วันละ 400 - 500 กิโลกรัม เฉลีย่ ล�ำ ละ 10 - 20 กิโลกรัม ยิง่ ท�ำให้ปมู จี �ำนวนลดลง นัน่ เพราะปูทยี่ งั ตัวเล็กก็ถกู จับไปพร้อมกับ ปูตัวใหญ่ หรือปูที่ไข่ใกล้ฟัก ก็ถูกจับไปด้วย ท�ำให้ปทู จี่ ะกลายเป็นพ่อพันธุเ์ เม่พนั ธุ์ หรือเเม่ ปูที่ก�ำลังให้ก�ำเนิดลูกปู ต้องตายโดยเปล่า ประโยชน์ ด้วยเหตุนเี้ องธนาคารจึงต้องเข้ามา รักษาระบบนิเวศ เพือ่ ไม่ให้ปหู มดไป การประชุมครั้งใหญ่ในหมู่บ้านจึงเกิดขึ้น กรมประมงเลยได้เข้ามาให้ความรู้ในการท�ำ ธนาคารปู โดยให้คนเรือน�ำ ‘แม่ปไู ข่แก่สดี �ำ’ มา ให้ทางธนาคาร สงสัยกันเเล้วสิ ท�ำไมต้องเป็นเเม่ปไู ข่ด�ำ ไข่ปมู อี ยูด่ ว้ ยกัน 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ไข่สี ส้ม ระยะที่ 2 ไข่สเี ทา และระยะสุดท้าย ไข่สดี �ำ ซึ่งเป็นระยะของไข่ที่พร้อมจะฟัก ไข่สีส้มก็ สามารถน�ำมาเพาะได้แต่ใช้เวลาถึง 7-8 วัน ส่วนไข่สดี �ำ รอไม่เกิน 3 วัน แม่ปไู ข่ด�ำก็สลัดไข่ ออกเเล้ว ดังนัน้ เพือ่ ตัดระยะเวลาดูเเลให้สนั้ ลง จึงเลือกดูเเลแม่ปูไข่สีด�ำแทน อีกทั้งพื้นที่ใน โรงเรือนก็ไม่ได้ใหญ่โตมากนัก จ�ำนวนถังก็มี จ�ำกัด ระยะเวลาเท่านีเ้ หมาะสมทีส่ ดุ ส่วนระยะเวลาในการเพาะเลีย้ ง หลังจาก แม่ปสู ลัดไข่แล้ว ก็รอจนกระทัง่ ลูกปูเริม่ มีขา มี
กล้าม เเล้วค่อยน�ำไปปล่อยลงทะเล ส่วนใครสงสัยว่าเลี้ยงปูกันเองไม่ได้เหรอ นัน่ เพราะว่า ถ้าปล่อยปูลงสูท่ ะเล ปูจะโตเร็ว ยิง่ อยูใ่ นทีท่ คี่ ลืน่ ลมดี เพียง 3 เดือน ก็ได้ปตู วั โต เต็มทีเ่ ก็บมาขายได้เเล้ว ส่วนเเม่ปู เมือ่ สลัดไข่เเล้วจะน�ำไปขาย เพือ่ น�ำเงินทีไ่ ด้เข้ากองกลางของธนาคาร เป็นค่าใช้ จ่ายภายใน เช่น ค่าไฟ ค่าน�้ำ ฯลฯ เห็นทาง ธนาคารปูบริหารจัดการได้ดขี นาดนี้ บอกเลย ว่าไม่ใช่เรือ่ งง่าย เขาผ่านช่วงเวลาลองผิดลอง ถูกมาพอสมควรเลยทีเดียว “ปีแรก เราไม่มีความรู้และประสบการณ์ มากนัก เราก็น�ำแม่ปมู าใส่ในตะกร้า ตะกร้าละ 1 ตัว แล้วให้แม่ปใู ช้สญ ั ชาตญาณเขีย่ ไข่ออก มา ปล่อยไปสูธ่ รรมชาติเอง แต่สงิ่ ทีเ่ ราไม่รใู้ น ตอนนัน้ คือ ปลาชนิดอืน่ ๆ ชอบกินลูกปู” ดังนัน้ วิธเี เก้ไขจึงเกิดขึน้ “ปีที่ 2 เราน�ำผ้าตาข่ายมารองใต้แพ เพือ่ กัน้ ไม่ให้ปลาขึน้ มากินลูกปูในตะกร้า จนเราสังเกต เห็นไข่ที่แม่ปูสลัดลงไปเกิดเป็นลูกปู ซึ่งตอน เเรกพวกเราไม่รู้นะว่าคืออะไร ก็เรียกกันมาดู ทุกคนลงความเห็นว่าน่าจะเป็นลูกปูทเี่ ราเพาะ กัน ท�ำเอาดีใจมาก” พวกเขายังไม่หยุดเพียงเเค่นี้ “จนเมือ่ 3 ปีทเี่ เล้ว ทางเทศบาลชะอ�ำเล็ง เห็นว่า เราท�ำธนาคารปูกนั จริงจัง สมาชิกทุกคน ร่วมมือร่วมใจ ดูเเลกันดี จึงได้จดั งบประมาณ ในการท�ำโรงเรื อ นแห่ ง ใหม่ ขึ้ น ให้ มี ค วาม สะดวกสบายกว่ามาก ในโรงเรือนมีถงั ส�ำหรับ ใส่แม่ปปู ระมาณ 60 ถัง ติดตัง้ เครือ่ งเป่าลม ต่อ ท่อ และสายยางลงในแต่ละถัง เพือ่ เพิม่ ออกซิเจนในถังน�ำ้ ” สมาชิกในธนาคาร จะมีหน้าทีผ่ ลัดกันทุก วัน ซึง่ สมาชิกทีเ่ ป็นเวร ต้องท�ำหน้าทีด่ แู ลเก็บ แม่ปไู ข่ ล้างถังส�ำหรับใส่แม่ปู ช้อนลูกปู น�ำลูก ปูไปปล่อยทะเล เเล้วค่อยน�ำแม่ปชู ดุ ใหม่มาใส่ ในถัง วนเวียนเเบบนีไ้ ปเรือ่ ยๆ “ธนาคารปูแห่งนีไ้ ม่ได้เพาะปูเพือ่ ขาย แต่ เป็นการเพาะเพื่อให้ปูเพิ่มจ�ำนวนขึ้นเองตาม ธรรมชาติได้เร็วขึน้ ” คุณปัญญายิม้ ด้วยความ ภาคภูมใิ จ หากวันนี.้ ..ไม่มป ี อ ู ยู่
เมื่ อ ถามถึ ง สาเหตุ ก ารลดลงของปู ใ น ปัจจุบนั นำ�้ เสียงของเขาก็เปลีย่ นไปกลายเป็น น�ำ้ เสียงทีเ่ ต็มไปด้วยความกังวล ปูเป็นสัตว์ทอี่ อกลูกตลอดทัง้ ปี ไม่มฤี ดูหา้ ม จับปู จะมีแค่ชว่ งปูเยอะหรือปูนอ้ ย ซึง่ สาเหตุ หลักเป็นเรือ่ งของสัญชาตญาณและธรรมชาติ
ของปู ช่วงฤดูร้อนปูจะมีจ�ำนวนน้อย เพราะ อุณหภูมนิ ำ�้ ทะเลสูงขึน้ ปูกอ็ ยูไ่ ม่ได้ ส่วนฤดูฝน ปูกน็ อ้ ยเช่นกัน เพราะเขือ่ นทางภาคเหนือต้อง ระบายนำ�้ ออกจากเขือ่ น พอปล่อยนำ�้ ลงทะเล อ่าวไทย ซึง่ บริเวณทะเลชะอ�ำดันอยูใ่ นอ่าวไทย รูปตัว ก. ท�ำให้นำ�้ จืดทีป่ ล่อยมาไม่ไหลไปไหน มาเจอกับน�้ำทะเล เกิดเป็นน�้ำเน่าเสีย ไม่มี อากาศให้สตั ว์ทะเลหายใจ ดังนัน้ เมือ่ สัตว์ทะเลต่างๆ ปรับตัวไม่ทนั ก็ ตาย ส่วนปูนนั้ เมือ่ สภาพน�ำ้ เปลีย่ น จะหนีลง ใต้ ท�ำให้ชว่ งฤดูฝนเป็นอีกฤดูหนึง่ ทีจ่ บั ปูได้นอ้ ย “ปัญหาทัง้ หมดนีม้ นั เป็นไปตามธรรมชาติ ของปู ทางธนาคารท�ำได้เพียงเก็บลูกปูไว้ ไม่ ปล่อยลงทะเลทันที รอให้ถงึ ฤดูหนาวจึงปล่อย ลงทะเลตามเดิม เพราะหน้าหนาวอากาศไม่ ร้อนจนเกินไป คลื่นลมในทะเลก�ำลังดี น�้ำใน ทะเลพอเหมาะ ไม่มนี ำ�้ จืดมาแทรก เสริมให้ปมู ี การเจริญเติบโตเร็วกว่าช่วงอืน่ ฤดูหนาวจึงมีปู เยอะทีส่ ดุ ในทุกๆ ปี” คุณปัญญาขยายความ หลายคนอาจสงสัยว่า เพราะอะไรปูถึงมี ราคาเเพง ลองสังเกตฤดูกาลดูสิ ถ้าเป็นฤดูรอ้ น หรือฤดูฝน ปูจะเเพงกว่าปกติ เพราะมีจ�ำนวน น้อย อีกทั้งชาวประมงต้องมีค่าใช้จ่ายในการ ออกเรือเพิม่ ขึน้ ท�ำให้มตี น้ ทุนสูงขึน้ ตามไปด้วย ส่วน คุณวาสนา นิเกต ชาวประมงและ สมาชิกธนาคาร เล่าให้เราฟังเพิม่ เติมว่า ธนาคาร ปูมีส่วนช่วยให้ทะเลมีปูเยอะขึ้นกว่าเเต่ก่อน ยิง่ ช่วงทีป่ นู อ้ ย ออกทะเลเเทบไม่ได้อะไรกลับ มาเลย เเต่หลังจากมีธนาคารปู ก็สร้างรายได้ เพิ่มขึ้น เพราะช่วงที่มีปูมาก ชาวบ้านจะน�ำ มาเเปรรูปเข้าโรงงาน โดยน�ำปูไปนึ่งหรือต้ม เเล้วแกะให้เหลือเพียงแค่เนื้อปู น�ำไปส่งขาย ตามโรงงาน สร้างรายได้ให้อกี ทาง เรายิ้มกว้างให้เเววตามีความสุขของเธอ การท�ำธนาคารปู นอกจากจะท�ำให้ปเู พิม่ ขึน้ ใน ระบบนิเวศของทะเลชะอ�ำแล้ว ยังเป็นอีกหนึง่ ก�ำลังส�ำคัญทีช่ ว่ ยกระจายรายได้ให้ชาวประมง มีรายได้เพิม่ ขึน้ เพราะเมือ่ มีปมู ากขึน้ จากเมือ่ ก่อน ชาวเรือก็มรี ายได้จากการขายปูทกุ วัน ปิดท้ายด้วยการหันไปถามคุณปัญญาว่า “ถ้าหากวันหนึง่ ไม่มปี ใู นทะเลอีกต่อไป คิดว่า ตอนนัน้ จะเป็นอย่างไรคะ” เขานิ่งเงียบชั่วอึดใจ ก่อนพูดขึ้นด้วยน�้ำ เสียงเจือความเศร้า “ถ้าไม่มปี เู หรอ ก็ไม่อยาก ให้มีวันนั้นหรอกนะ คนทะเลไม่มีปูก็ต้องหา ปลา แต่เชื่อเถอะ ไม่มีวันที่ปูจะหมดหรอก เพราะถ้าเรายังท�ำธนาคารปูแบบนี้ ยังไงก็ไม่มี วันหมด”
15
หลงรักเพชรบุรี | ฉบับพิเศษ เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558
เรือนไทยเมืองเพชร เรื่อง รินพร ออกเวหา
ถ้าอยากรูจ้ กั คนเเต่ละพืน้ ทีใ่ ห้มากขึน้ ดูได้ จากไหน หากมิใช่ ‘บ้านเรือน’ บ้านหลังน้อย (หรือหลังใหญ่) ที่เปี่ยมไปด้วยความอบอุ่น เป็นหลังคาคอยคุ้มเเดดฝน ป้องกันอากาศ ร้อนหนาว เเละให้คนอยู่สุขกายสบายใจ บ้านเรือนยังบอกอะไรมากกว่าทีค่ ดิ บ้าน เเต่ละหลังเล่าเรือ่ งราวทางภูมปิ ระเทศ สภาพ อากาศ ศรัทธาทางศาสนา รวมถึงวิถชี วี ติ ภูม-ิ ปัญญาของคนในชาติทหี่ ล่อหลอมเข้าด้วยกัน ส�ำหรับประเทศไทย เอกลักษณ์ของบ้าน เรือนถูกสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ผ่านกาล เวลาที่ผสมผสานศิลปวิทยาการต่างๆ เเม้ ปัจจุบนั บ้านเเบบไทยจะหาชมได้ยาก หากเมือ่ พูดถึงเเล้ว ภาพของ ‘บ้านเรือนไทย’ ยังคงอยู่ ในหัวใจของทุกคนเสมอ 1
เรื อ นไทย แบ่ ง ออกตามภู มิ ภ าค ได้ 4 ประเภท โดยมีชอื่ เรียกกันติดหูวา่ ‘เรือนไทย 4 ภาค’ ประกอบด้ ว ย เรื อ นไทยภาคเหนื อ เรือนไทยภาคอีสาน เรือนไทยภาคใต้ เเละ เรือนไทยภาคกลาง โดยเเบ่งตามความเเตกต่าง ของวัตถุดบิ ลักษณะเฉพาะ เเละวิธกี ารสร้างที่ ต้องปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ ส�ำหรับบ้านเรือนไทยของชาวเพชรบุรี ถูก จัดไว้ในประเภท เรือนไทยภาคกลาง ‘เรือนไทยภาคกลาง’ เป็นเรือนไทยทีพ่ บ บ่อย และดูคนุ้ ตาชาวไทยมากทีส่ ดุ มีลกั ษณะ เป็นเรือนยกพืน้ ใต้ถนุ สูง (สูงจากพืน้ ดินเสมอ ศีรษะคนยืน) หลังคาทรงสูง มีชายคายืน่ ยาว เพื่ อ กั น ฝนสาดเเละแดดส่ อ ง ซึ่ ง การปลู ก เรือนไทย นิยมวางเรือนไปตามสภาพแวดล้อม เเละทิศทางลมทีเ่ หมาะสม โดยเรือนไทยภาค กลาง สามารถเเบ่งได้ 4 ประเภท คือ ‘เรือนเดีย่ ว’ เป็นเรือนส�ำหรับครอบครัวเดีย่ ว มีเรือนนอนและเรือนครัวอย่างละ 1 หลัง ระเบียง ทอดเป็นทางเชือ่ มระหว่างชานและตัวเรือน ‘เรือนหมู’่ คือเรือนหลายหลังทีป่ ลูกอยูใ่ น ทีเ่ ดียวกัน รองรับครอบครัวทีข่ ยายใหญ่ขนึ้ โดย ปลูกเรือนเพิม่ ในทีด่ นิ ติดกัน เกิดเป็นเรือนหมู่ ‘เรือนหมูค่ หบดี’ เป็นเรือนของคนมีฐานะ ลักษณะเป็นเรือนขนาดใหญ่ สร้างเรือนคู่ (หรือ เรือนแฝด) และเรือนเล็กหลายเรือนรวมเข้าด้วย กัน แต่ละหลังจะมีประโยชน์ใช้สอยต่างกันไป เช่น เรือนนอน เรือนลูก เรือนครัว เป็นต้น ‘เรือนเเพ’ เป็นเรือนทีส่ ร้างริมนำ�้ สามารถ ปรับระดับขึน้ ลงตามระดับน�ำ้ ในแม่นำ�้ ล�ำคลอง อย่างไรก็ตาม เรือนไทยภาคกลางยังถือคติ ร่วมกันอีกว่า หนึง่ เรือนมีเพียง 3 ห้อง ไม่นยิ ม
สร้างเรือน 4 ห้อง เพราะถือเป็นเรือนผี อยูแ่ ล้ว พบแต่ความเดือดร้อน หากมีมากกว่า 4 ห้อง จะเป็นของศาสนสถาน เช่น โบสถ์ วิหาร แม้จะสามารถแบ่งประเภทออกได้เป็น 4 ประเภทข้างต้น เเต่เรือนไทยภาคกลางเองก็ยงั มีหน้าตา และการใช้งานต่างกันไปตามพื้นที่ ท�ำให้เกิดสกุลเรือนไทยภาคกลางที่มีชื่อเสียง แตกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ เรือนไทย อยุ ธ ยาที่ โ ดดเด่ น ด้ า นความอ่ อ นช้ อ ย กั บ เรือนไทยเพชรบุรที มี่ คี วามแข็งแรงคงทน 2
ทวีโรจน์ กล�่ำ กล่ อมจิตต์ นักค้นคว้า ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองเพชรบุรี มีบ้าน เรือนไทยของตัวเองอยูถ่ งึ 2 หลัง โดยเรือนแรก ส�ำหรั บ อยู ่ อ าศั ย และเรื อ นที่ ส องเปิ ด เป็ น พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ชือ่ ว่า ‘มิวเซียมเพชรบุร’ี ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรือนไทยว่า เดิมที อุปกรณ์ไม่ได้ดเี ท่าปัจจุบนั ชาวบ้านมีเพียงมีด เเละขวาน ใช้เป็นเครือ่ งมือช่าง จึงลงมือสร้าง บ้านเรือนไทยเเบบไม่ซบั ซ้อน สันนิษฐานว่าแรก เริ่มใช้ไม้ไผ่ หรือที่เรียกว่า ‘ฝาส�ำหรวด’ หรือ ‘ฝากรุจาก’ มาใช้วธิ สี านเข้าด้วยกันจนเป็นผนัง เเล้วสอดด้วยใบจาก เพื่อน�ำมาประกอบเป็น ฝาเเละหน้าจัว่ เรียกกันว่า ‘เรือนผูก’ คือการตอก ไม้ไผ่แล้วน�ำเชือกหรือหวายมายึดองค์ประกอบ ต่างๆ ของเรือนเข้าด้วยกัน ขณะที่ ‘เรือนสับ’ คือเรือนไม้กระดานใช้วธิ ี การเจาะ เข้าเดือยลูกสลักยึดโครงสร้างต่างๆ โดยไม่ใช้ตะปู จึงสามารถรื้อออกแล้วน�ำมา ประกอบใหม่ได้ตามต้องการ นัน่ คือลักษณะของเรือนไทยยุคเเรกเริม่ เรือนไทยภาคกลางของเพชรบุรี เเละอยุธยา มีความเเตกต่างกันตรงการใช้ไม้ โดยคนชัน้ สูง ในอยุธยานิยมใช้ไม้สัก เพื่อเเสดงถึงอ�ำนาจ บารมี (คนภาคเหนือนิยมปลูกเรือนไม้สกั เพราะ เป็นไม้ทอ้ งถิน่ ) ส่วนชาวเพชรบุรกี ใ็ ช้ไม้ประจ�ำ ท้องถิน่ อย่าง ‘ไม้ตะเเบก’ ซึง่ เป็นไม้ยนื ต้นสูง ใหญ่ เนื้อไม้มีสีเทาถึงสีน�้ำตาลอมเทา เนื้อ ละเอียดปานกลาง เหนียว มีลวดลายสวยงาม และทนทาน จึงนิยมน�ำมาท�ำเสาบ้าน เจ้าของ ‘มิวเซียมเพชรบุรี’ ชี้ให้เราดูเสา เรือนไทยทีท่ �ำจากไม้ตะเเบก คงทนเเข็งเเรงไม่ เเพ้ไม้สัก พร้อมยังอธิบายความแตกต่างของ เรือนไทยอยุธยา และเรือนไทยเพชรบุรี ให้ฟงั อีกว่า หากเปรียบเทียบระหว่างเรือนไทยทัง้ สอง ให้ดทู ี่ ‘ป้านลม’ (ปัน้ ลม) หรือส่วนทีอ่ ยูบ่ ริเวณ หลังคา ท�ำหน้าทีป่ อ้ งกันแรงลมไม่ให้กระแทก โดนหลังคา จะมีความเเตกต่างกันอยู่ 2 เเบบ
เริ่มจาก ประเด็นด้านเศรษฐกิจ ถ้าเป็น ป้านลมแบบอยุธยาจะเป็นทรงแหลมสูง โดย สันนิษฐานว่า สมัยก่อนอยุธยาเป็นราชธานีที่ ร�่ำรวยมาก จึงมีก�ำลังทรัพย์สร้างป้านลมอัน ใหญ่ทเี่ ต็มไปด้วยความอ่อนช้อยงดงาม ขณะ ทีข่ องเพชรบุรี ป้านลมจะป้านและเตีย้ กว่า ดู ทะมัดทะแมง เเม้ยคุ สมัยหลัง บ้านทรงไทยใน เพชรบุรจี ะเริม่ ได้รบั อิทธิพลจากอยุธยา พอให้ เห็นป้านลมทีม่ ที รงเเหลมสูงมากขึน้ ประเด็ น ต่ อ มาคื อ สภาพภู มิ อ ากาศ ซึ่ ง เพชรบุรเี ป็นจังหวัดทีเ่ ป็นทีร่ าบลุม่ ติดทะเล จึง ได้รบั อิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ใน ฤดูฝน ส่งผลให้ฝนตกชุก ดังนัน้ ป้านลมจ�ำเป็น ต้องเตีย้ และป้านเพือ่ กัน้ แรงลมกระแทก หาก สร้างสูงจะสึกกร่อนได้ง่าย ดังนั้นเรือนเมือง เพชรดั้งเดิมจะสร้างหลังคาเตี้ย เพราะต้อง ป้องกันแรงลม และกั้นไม่ให้ฝนสาดใส่พื้นไม้ อีกสิง่ หนึง่ ทีน่ า่ สนใจของบ้านเรือนไทย คือ การตกเเต่งข้าวของภายในบ้านที่สะท้อนวิถี ชีวติ ของผูอ้ ยูอ่ าศัย เช่น ข้าวของประดับเรือนที่ ท�ำจากเขาวัว หรือเขาควาย เพราะสมัยก่อน วัว ควายล้วนเป็นสัตว์ทมี่ บี ญ ุ คุณ เป็นทัง้ พาหนะ เเละช่วยชาวบ้านท�ำไร่ไถนา คนโบราณจึง ทดแทนบุญคุณ ด้วยการเลีย้ งจนพวกมันตาย เเล้วน�ำสิง่ ทีเ่ หลืออยูอ่ ย่าง ‘เขา’ มาประดับบ้าน ทัง้ เรือนไทยยังสะท้อนฐานะของเเต่ละคน อีกด้วย หากย้อนกลับไปในสมัยกรุงศรีอยุธยา ขณะที่ยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จะพบว่า คนยิ่งมียศสูงก็ยิ่งมีที่นา มาก ย่อมปลูกเรือนได้มาก ดังนัน้ หากบิดาเป็น ขุนหลวง แต่ลกู มียศเพียงขุน เมือ่ บิดาเสียชีวติ ลูกจะไม่มีสิทธิย้ายเข้าไปอยู่ในเรือนของบิดา เพราะยศน้อยกว่า ยกเว้นจะปรับยศให้เท่า เทียมกันเสียก่อน หรือหากไม่ได้รบั การปรับยศ ก็อาจน�ำบ้านถวายวัดหรือรื้อทิ้งไปบางส่วน ทั้งหมดคือเรื่องราวของเรือนไทย ที่ไม่น่า เชือ่ ว่า จะบอกลักษณะภูมปิ ระเทศ ภูมอิ ากาศ วิถีชีวิต เเละวัฒนธรรม ได้น่าสนใจเพียงนี้ 3
ระหว่างทีค่ ยุ กับคุณทวีโรจน์ ก็มอี กี บุคคล หนึง่ เข้ามาสมทบ ช่างเช้า - เช้า พิมพ์นาค ผูช้ ายผิวคล�ำ้ ตัวเล็ก หน้าตาแจ่มใส วัย 65 ปี ช่างเช้าเป็นหัวหน้ากลุม่ ช่างท�ำเรือนไทยมา ตัง้ แต่อายุ 27 ปี ทุกวันนีย้ งั ท�ำงานอย่างขยันขัน เเข็งมาตลอด 40 ปี ท�ำทุกวัน วันละ 7 ชัว่ โมง ครึ่ง ท�ำงานทั้งที่บ้านเเละท�ำงานนอกสถานที่ ช่างเช้า เป็นช่างในกลุม่ เรือนไทยบ้านลาด เเห่งเพชรบุรีที่เหลือน้อยนัก อีกทั้งยังมีความ
ช�ำนาญ จนผูค้ นต่างยกย่องว่าเชีย่ วชาญทีส่ ดุ ในประเทศ มักถูกเชิญไปซ่อมแซมเรือนไทย หรือสิง่ ปลูกสร้างจากไม้โบราณอยูเ่ สมอ อาชีพช่างเรือนไทย เป็นอาชีพทีเ่ หนือ่ ยเเสน เหนือ่ ย ต้องมานะ บากบัน่ ทุม่ เทจนเกิดความ เชีย่ วชาญเฉพาะด้าน ท�ำงานหนัก หากไม่รกั และทุม่ เทก็ท�ำไม่ได้ ซึง่ ช่างเช้ายืนยันว่าอาชีพ นีเ้ ป็นอาชีพทีท่ งั้ เหนือ่ ยและเน้นฝีมอื มาก ต้อง ฝึกฝนไปเรือ่ ยๆ จากการลงมือท�ำงานทุกวัน ยิง่ เมือ่ เจออุปสรรค เเละปัญหาระหว่างท�ำงานก็ ต้องอาศัยความช�ำนาญทีส่ งั่ สมมาแก้ไขให้ได้ ขึ้นชื่อว่าเป็นเรือนไทย ย่อมอาศัยความ ประณีต ไม่สามารถเร่งสร้างได้ เรือนไทยหนึง่ หลังใช้เวลาปรุงเรือน (หมายถึง การน�ำชิน้ ส่วน แต่ละชิน้ ทีจ่ ดั เตรียมไว้มาประกอบเข้าด้วยกัน) ประมาณ 1 ปี ผูว้ า่ จ้างทีม่ าทีหลังก็ตอ้ งต่อคิว กันยาว บางทีอาจต้องรอ 1-2 ปีถงึ จะได้ควิ แต่ เพราะเทคโนโลยีที่ทันสมัย ท�ำให้ท�ำงานได้ รวดเร็ว สวยและเรียบร้อยกว่าสมัยก่อนมาก 4
แม้วา่ บ้านเรือนไทยจะได้รบั การยกย่องว่า เป็นหนึ่งในศาสตร์และศิลป์ที่มีความประณีต อ่อนช้อย ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ทว่าปัจจุบัน แทบหาช่างรุน่ ใหม่ไม่ได้ เนือ่ งจากการศึกษาที่ สูงขึน้ ท�ำให้หลายคนไม่สนใจอาชีพทีง่ านหนัก เเต่คา่ เเรงน้อย อย่างช่างเรือนไทย ค่าจ้างขัน้ ตำ�่ ของช่างแต่ละคน ตกประมาณ คนละ 500 บาท เดือนหนึง่ ประมาณ 15,000 บาท ถือเป็นราคาทีน่ อ้ ยนัก เมือ่ เทียบกับราคา ของบ้านเรือนไทยที่มีราคาถึงหลักล้านก็ตาม จึงเป็นความตัง้ ใจลึกๆ ของช่างเช้า ทีอ่ ยาก สอนให้ผคู้ นสามารถประกอบอาชีพสร้างบ้าน เรือนไทยได้ โดยยินดีสอนตั้งเเต่ขั้นพื้นฐาน การจับเครือ่ งไม้เครือ่ งมือ ไปจนถึงงานไม้ตาม ขั้ น ตอนที่ ย ากขึ้ น ดั ง นั้ น ไม่ จ�ำเป็ น ต้ อ งมี พื้นฐานด้านงานไม้มาก่อน เพียงเป็นคนขยัน ภายในระยะเวลา 1 ปี ก็สามารถสร้างได้ ส�ำคัญ คืออาศัยการฝึกฝนเเละเรียนรูต้ อ่ เนือ่ ง เพราะ ช่างมีฝีมือส่วนใหญ่ใช้เวลานับสิบปีในการ ฝึกฝนจนสามารถปรุงเรือนไทยได้เชีย่ วชาญ เเม้เรือนไทยจะได้รบั ความนิยมน้อยกว่าเเต่ ก่อนมาก หากช่างเช้าก็มนั่ ใจว่า ไม่มที างทีบ่ า้ น เรือนไทยจะหายสาบสูญไปตามกาลเวลา เพราะตราบใดที่ยังมีคนอนุรักษ์ เเละเห็น คุณค่าของบ้านเรือนไทย บ้านไม้ทรงสวยทีเ่ ต็ม ไปด้วยความละเอียดลออ เเละสะท้อนวิถชี วี ติ ของคนไทยก็จะไม่จางหายไป
ชั้น 8 อาคาร กสท.โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) ถนนเจริญกรุง แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กทม. 10500 โทรศัพท์ / โทรสาร : 0-2233-4995-7 เว็บไซต์ : www.ict.su.ac.th www.ictsilpakorn.com/ictmedia www.facebook.com/looksilp