เรื่ อ งราววิ ถี ชี วิ ต ที่ เ กี่ ย วโยงกั บ ตาลเมื อ งเพชร ดนยา สุ เวทเวทิ น
ต.ตาลโตนด
ต.ตาลโตนด ดนยา สุเวทเวทิน พิมพ์ครั้งแรก: มีนาคม พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานคร จ�ำนวน 136 หน้า โทรศัพท์ 08-3079-4989 อีเมล์ zalapao28@gmail.com ที่ปรึกษา คณะที่ปรึกษา
อาจารย์ ดร.กันยิกา ซอว์ อาจารย์อริน เจียจันทร์พงษ์ อาจารย์บรรยงค์ สุวรรณผ่อง อาจารย์วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง อาจารย์ภมรศรี แดงชัย
ภาพ
คณาธิป วิไล ดนยา สุเวทเวทิน นวพล วิชัย องค์การบริหารส่วนต�ำบลถ�้ำรงค์
ภาพประกอบ
เจริญ นรานิรัติศัย สิทธิพร คงทรัพย์
กราฟิก
ดนยา สุเวทเวทิน
ค� ำ น� ำ ผู ้ เ ขี ย น เนือ่ งจากว่า ฉันเป็นเด็กคนหนึง่ ทีไ่ ด้อยูอ่ าศัยและเติบโตขึน้ มาใน จังหวัดเพชรบุรี ในยุคที่ความเจริญเริ่มเข้ามามากแล้ว และในยุคที่ผู้ใหญ่ หลายคนมักพูดว่า 'ตาลโตนด' เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเรา บวกกับจาก ที่สังเกตคนว่าคนส่วนใหญ่ ถ้าพูดถึงเพชรบุรีเขาจะไม่ค่อยนึกถึงต้นตาล ฉันก็ไม่รวู้ า่ ท�ำไมเหมือนกัน ก็เมือ่ ตาล เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด แท้ ๆ และนั่นเองเป็นจุดเริ่มต้นที่ท�ำให้ฉันอยากเขียนถึงเพชรบุรีในด้าน ที่คนส่วนใหญ่อาจจะหลงลืมกันไปบ้าง ยิ่งได้เข้าไปท�ำความรู้จักกับชุมชนที่ยังคงมีการ 'อนุรักษ์ต้นตาล' ชุมชนทีย่ งั อนุรกั ษ์วถิ ชี วี ติ ทีข่ อ้ งเกีย่ วกับต้นตาลอย่างเต็มรูปแบบ ไม่เพียง เท่านัน้ ภายในชุมชนยังคงมีการอนุรกั ษ์ศลิ ปวัฒนธรรม ประเพณี ทีม่ กี าร สืบทอดกันมาตัง้ แต่บรรพบุรษุ เอาไว้ให้คนในร่นุ ปัจจุบนั และยังเปิดโอกาส ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเรียนรู้ชุมชนมากขึ้น แม้ว่าฉันจะไม่ใช่คนในชุมชนนี้ก็ตาม แต่การที่ได้มาเยี่ยมชุมชน แห่งนี้มันไม่สร้างระยะห่างแก่ฉันเลย ไม่ว่าจะเป็น เด็ก และหญิงสาว ที่ ท�ำให้ฉันหัวเราะ คู่รักวัยชรา ที่สร้างความประทับใจ หรือจะเป็นคุณลุง คุณป้าที่ให้ขนมติดไม้ติดมือฉันกลับไป การได้ออกเดินทางท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนนี้ อย่างน้อย...คุณอาจจะแค่ได้มาเทีย่ วและกลับไป แต่อย่างมาก...คุณจะได้ ทัง้ การท่องเทีย่ วและซึบซับการรักษ์บา้ นเกิดจากคนในท้องถิน่ ไปพร้อมๆกัน ดนยา สุเวทเวทิน
ชุมชนธ�ำมรงค์
สวนอนุรักษ์ต้นตาล
บ้านนามมั่น
ขนมตาล
มวยใบตาล
วัดถ�้ำรงค์
สาร บั ญ
ชุ ม ชนธ� ำ มรงค์
08
ใครเขาปลู ก ตาล?
18
เศษตาลไม่ เ หลื อ
42
วั ฒ นธรรมพื้ น ถิ่ น
60
รสหวานจากโตนด
96
วั ด ถ�้ ำ รงค์
114
จุ ด ก� ำ เ นิ ด ชุ ม ช น ถ�้ ำ ร ง ค ์
หนึ่ง ชุ ม ชนธ� ำ มรงค์ จังหวัดเพชรบุรี เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีถนนหนึ่งสายเชื่อมเป็น เส้นทางการคมนาคมเพือ่ ใช้ไปมาหาสูก่ บั จังหวัดอืน่ ถนนนัน้ มีชอื่ ว่า ถนน เพชรเกษม ถนนสายนี้คับคั่งไปด้วยรถนานาชนิดที่แล่นบนท้องถนน ไม่ ว่านักท่องเที่ยวอยากลงสู่ภาคใต้หรือเที่ยวหาดชะอ�ำ เมื่อเข้าสู่จังหวัด เพชรบุรีจะต้องผ่านอ�ำเภอเข้าย้อยเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะเข้าสู่อ�ำเภอ เมือง และอ�ำเภอบ้านลาด ก่อนที่จะผ่านอ�ำเภอท่ายางและไปสู่จุดหมาย ที่ท่านปักหมุดหมายเอาไว้ ในการเดินทางครั้งนี้ ฉันไม่ได้มีจุดหมายเพื่อออกไปท่องเที่ยวยัง สถานที่แห่งใดที่น่าตื่นเต้นเหมือนครั้งก่อน แต่กลับแวะชุมชนหนึ่งใน อ�ำเภอบ้านลาด ชุมชนแห่งนีช้ อื่ ว่า 'ชุมชนถ�ำ้ รงค์' ตัง้ อยูร่ มิ ถนนเพชรเกษม ฝัง่ ขาเข้ากรุงเทพฯ การทีไ่ ด้มาชุมชนแห่งนีอ้ าจไม่ได้รบั ความสนุก มัน ฮา กลับไปเหมือนที่อื่นๆ แต่การมาเยือนชุมชนนี้กลับได้ปลีกตัวเองออกมา จากความวุ่นวายและความแออัด ได้มาสัมผัสธรรมชาติ เรียนรู้วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ต่างๆของคนในชุมชนนี้ ที่อาจท�ำให้เข้าใจค�ำว่า 'คนเมือง เพชร' ได้มากขึ้น ย้อนกลับไปในอดีต จากเว็บไซต์องค์การบริหารส่วนต�ำบลถ�ำ้ รงค์ กล่าว ว่า พืน้ ทีบ่ ริเวณถ�ำ้ รงค์นเี้ ป็นป่า มีเจ้าเมืองไม่ปรากฏพระนามองค์หนึง่ ได้เสด็จ 09
ประพาสป่าและแม่น�้ำเพชรบุรีในบริเวณต�ำบลนี้ พระองค์ทรงประทับใจ มาก ในขณะทีพ่ ระองค์ทรงประพาสชมวิวทิวทัศน์ในช่วงเวลากลางวันนัน้ ได้มีหญิงสาวชาวบ้านคนหนึ่งเห็นพระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย และพระ วรกายชุม่ โชกไปด้วยพระเสโท หญิงสาวผูน้ นั้ จึงได้ถวายน�ำ้ ให้พระองค์ดมื่ แก้กระหาย แต่ในภาชนะใส่นำ�้ นัน้ นอกจากจะมีนำ�้ แล้วยังมีใบหญ้าทีเ่ รียก ว่า หญ้าคา ใส่ลงไปด้วย เมื่อพระองค์เห็นทรงกริ้วมาก จึงได้เรียกให้หญิงผู้นั้นมาเข้าเฝ้า และได้ไตร่ถามสาเหตุทนี่ างใส่หญ้าคาผสมน�ำ้ ลงไปด้วย พระองค์ได้รบั ค�ำ ตอบว่า เห็นพระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยและกระหายน�้ำ จึงใส่หญ้าคาผสม ลงไปเพือ่ กันไม่ให้พระองค์รบี เสวยน�ำ้ เพราะจะท�ำให้พระองค์เกิดอาการ จุกเสียดและอาจทรงประชวรได้ เมื่อพระองค์ได้รับฟังเช่นนั้นก็ทรงปลื้ม พระทัย และรู้สึกขอบใจในความห่วงใยของหญิงชาวบ้านผู้นั้น จึงได้มอบ แหวน ซึ่งสมัยก่อนยังเรียกแหวนกันว่า ธ�ำมรงค์ ให้แก่หญิงผู้นั้น ต่อมา ชาวบ้านเลยขนานนามให้บริเวณต�ำบลแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า บ้านธ�ำมรงค์ ซึง่ ต่อมามีการพูดเพีย้ นจากค�ำว่า บ้านธ�ำมรงค์ เป็น บ้านถ�ำ้ รงค์ จนถึงปัจจุบนั เป็นเวลาเกือบ 40 ปี ที่ต�ำบลถ�้ำรงค์แยกต�ำบลออกมาจากต�ำบล ต�ำหรุ ซึ่งเดิมนั้นต�ำบลถ�้ำรงค์ขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของต�ำบลต�ำหรุ อ�ำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี แต่เมื่อปี 2522 ทางกระทรวงมหาดไทย ได้แยกต�ำบลถ�้ำรงค์ออกจากต�ำบลต�ำหรุ และปัจจุบันต�ำบลถ�้ำรงค์นี้มี หมู่บ้านอยู่ 6 หมู่ด้วยกัน คงเป็นทีท่ ราบกันดี ว่าในอดีต จังหวัดเพชรบุรมี ชี อื่ เสียงโด่งดังใน เรือ่ งของต้นตาล ไม่วา่ จะเป็นจังหวัดทีม่ ตี น้ ตาลเยอะ การท�ำน�ำ้ ตาลโตนด หรือขนมหวาน ที่มีการน�ำน�้ำตาลโตนดเป็นส่วนผสมในการท�ำ จนคนใน จังหวัดขนานนามกันว่า ต้นตาล เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรเี ลยก็วา่ ได้ 10
(บน) ภาพจ�ำลองต้นตาลในอดีต (ล่าง) ภาพแสดงปริมาณต้นตาลในปัจจุบัน 11
อีกทั้ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 4 ได้ น�ำเงินภาษีจากการท�ำน�้ำตาลโตนดไปสร้างพระต�ำหนักบนเขาวังอีกด้วย แต่ในปัจจุบนั จ�ำนวนของต้นตาลได้เหลือน้อยลงเต็มที และในเวลาไม่มาก นั้นอาจท�ำให้ ตาล หายไปจากจังหวัดเพชรบุรี เริ่มต้น ‘ชุมชนถ�้ำรงค์’ เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีชื่อเรียกเป็นชื่อถ�้ำ เพราะ เพชรบุรเี ป็นอีกหนึง่ จังหวัดทีม่ ถี ำ�้ อยูม่ ากมาย บางถ�ำ้ ยังเป็นแหล่งท่องเทีย่ ว ทีผ่ คู้ นนิยมมายาวนาน ไม่วา่ จะเป็นถ�ำ้ เขาย้อย ถ�ำ้ เขาหลวง ถ�ำ้ เขาบันไดอิฐ และถ�ำ้ เขาเตาหม้อ หากขับรถผ่านเฉยๆคงต้องเผลอคิดว่าหากมาชุมชนนี้ ก็ต้องไปเที่ยวในถ�้ำเท่านั้น เมือ่ ได้มาท�ำความรูจ้ กั กับชุมชนแห่งนี้ ฉันต้องยอมรับเลยว่า ความ รู้สึกที่ฉันมีต่อชุมชนนี้ในตอนแรกกลับหายไป ฉันกลับว่า ชุมชนแห่งนี้ มี เสน่ ห ์ ม ากพอที่ จ ะดึ ง ดู ด นั ก ท่ อ งเที่ ย วอี ก มากมายให้ ม าเยี่ ย มเยื อ น ชุมชนนีอ้ าจมีบา้ นเรือนทีอ่ ยูอ่ าศัยกันแบบธรรมดา บ้านแต่ละหลัง ไม่ได้มคี วามเป็นอยูท่ ใี่ หญ่โตมากนัก วิถชี าวบ้านส่วนใหญ่กป็ ระกอบอาชีพ ส่วนใหญ่อย่างทีค่ นทัว่ ไปเขาท�ำกัน แต่ชมุ ชนนีเ้ ป็นชุมชนทีย่ งั มากไปด้วย การอนุรกั ษ์ ซึง่ เรือ่ งราวของการอนุรกั ษ์ในชุมชนนัน้ มีหลายรูปแบบเสียเหลือเกิน 'อนุรกั ษ์แรก' เป็นการอนุรกั ษ์วถิ ชี วี ติ ของคนเพชรบุรใี นสมัยก่อน อนุรกั ษ์เอกลักษณ์ของจังหวัด และยังมีรปู แบบการอนุรกั ษ์จาก ผูเ้ ป็นพ่อ สู่ผู้เป็นลูก นั่นคือ สวนอนุรักษ์ต้นตาล สวนตาลแห่งนี้เป็นสวนตาลแห่ง เดียวของจังหวัดทีเ่ ป็นสวนอนุรกั ษ์ ทีส่ ามารถเรียกนักท่องเทีย่ วให้มาเยีย่ ม เยือนชุมชนได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากนักท่องเทีย่ วจะได้เดินสูดอากาศ จากธรรมชาติแล้ว ยังได้เรียนรู้ตั้งแต่การปลูกตาล ไปจนถึงการน�ำไปท�ำ ขนมได้ด้วย แถมยังมีการสาธิตและให้ได้ลองหัดลองท�ำจริงกันอีกด้วย 12
ทางเข้าชุมชนถ�้ำรงค์ บริเวณริมถนนเพชรเกษม ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ 13
'อนุรักษ์ที่สอง' เป็นการอนุรักษ์ผ่านเอกลักษณ์ของจังหวัด และ เป็นการอนุรักษ์ผ่านคนรัก นั่นคือ การน�ำเอกลักษณ์อย่างต้นตาลมาเป็น ตัวแทนของจังหวัด เพือ่ ใช้เป็นของทีร่ ะลึกอย่างกลุม่ ต้นตาลประดิษฐ์ ส่วน การอนุรกั ษ์ผา่ นคนรัก นัน่ คือ บ้านนามมัน่ เป็นบ้านทีม่ สี องตายายท�ำของ ทีร่ ะลึกจากวัสดุจากตาล ของทีท่ งั้ สองตายายแห่งบ้านนามมัน่ ท�ำออกมา นั้นก็มีรูปแบบที่น่ารักและยังสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้ ‘อนุรักษ์ที่สาม’ เป็นการอนุรักษ์ผ่านความสนุกสนาน และความ เชื่อ ในรูปแบบของวัฒนธรรม ประเพณีชุมชน ได้แก่ การแข่งขันมวย ใบตาล การแข่งแรลลี่ล้อโตนด การเล่นผีกระด้ง และการเล่นเห่เรือบก ที่ ในสมัยก่อนสิง่ เหล่านีเ้ ป็นสิง่ ทีค่ นในชุมชนสามารถจัดเล่นกันได้เรือ่ ยๆ แต่ เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ท�ำให้ปัจจุบันยังคงมีการเล่นกันแค่ในงานประจ�ำ ปีของชุมชนถ�ำ้ รงค์เสียส่วนใหญ่ แต่หากมีผสู้ นใจก็สามารถแสดงและสาธิต ให้ดูได้เช่นกัน รวมทัง้ ชุมชนแห่งนีย้ งั มีอาหารท้องถิน่ ทีม่ สี ว่ นประกอบในการท�ำ มาจากตาล ปัจจุบันก็หาทานได้ยากเต็มที แม้ว่าฉันจะเป็นคนจังหวัด เพชรบุรเี องแท้ๆ แต่กข็ อสารภาพว่าอาหารบางอย่าง ฉันก็ยงั ไม่เคยได้เห็น และยังไม่เคยได้ทานมาก่อน รวมถึงวัดถ�้ำรงค์ ที่เป็นวัดคู่ชุมชนของต�ำบลนี้มาช้านาน เป็นทั้ง ศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน และเป็นศูนย์กลางในการจัดงานต่างๆก็เป็น สิ่งที่ยังสามารถเรียกนักท่องเที่ยวมาได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ฉันว่าในการเดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ นอกจากจะได้รับในด้านความรู้สึก อย่างความสนุกสนานแล้ว สิ่งหนึ่งที่ ควรได้รับนั่นคือ บรรยากาศ ชุมชนนี้เป็นชุมชนที่มีบรรยากาศดี สงบ ร่มรื่น เหมาะแก่การมา 14
พักปอดได้อย่างดี สังเกตได้จากก�ำแพงบ้าน คนส่วนใหญ่มักจะสร้าง ก�ำแพงด้วยผนังปูน แต่ส�ำหรับชุมชนนี้พบเห็นก�ำแพงปูนได้น้อยมาก ที่ จะเห็ น ได้ ม ากจนเกลื่ อ นตานั้ น จะเป็ น ก� ำ แพงต้ น ไม้ เ สี ย มากกว่ า ส�ำหรับการเดินทางมาเยือนชุมชนนีถ้ อื ว่าสะดวกและสบาย ไม่วา่ จะเป็นเรื่องเส้นทาง หรือการเข้าไปชมสิ่งต่าง ชุมชนแห่งนี้มีการบริการ และการต้อนรับทีด่ ี แม้วา่ จะไม่ใช่คนในท้องถิน่ ก็ตาม การเดินทางหากมา จากกรุงเทพฯ ก็แค่ขับรถมาตามถนนเพชรเกษมขาล่องใต้ ระยะทางจาก ตัวเมืองกับชุมชนถ�้ำรงค์มีระยะเพียงแค่ 11 กิโลเมตร เองเท่านั้น ใช้เวลา จากตัวเมืองไม่เกินครึง่ ชัว่ โมง หากขับมาให้สงั เกตฝัง่ ขวามือ เมือ่ พบภูเขา และเห็นทางเข้าวัดถ�ำ้ รงค์กเ็ ตรียมเข้าถนนเลนส์ซา้ ยและจะพบกับอุโมงค์ ทางลอดกลับรถไปฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ เมือ่ ขึน้ อุโมงค์มาก็แสดงว่าท่านอยู่ ณ ชุมชนถ�ำ้ รงค์เรียบร้อยแล้ว ขับออกมาทางถนนประมาณ 100 เมตร จะพบกับซุ้มทางเข้าวัดถ�้ำรงค์ ก็ ให้เลี้ยวซ้ายแล้วขับมาอีกประมาณ 200 เมตร จะพบกับสามแยก หาก ไม่รู้ว่าจะต้องไปที่ใดก่อนอย่างฉันก็แค่แวะที่ อบต. ถ�้ำรงค์ ที่อยู่ตรงข้าง หน้าแยกนั้น ที่นั่นจะมีการบริการที่ดีมาก ทั้งรถรับส่ง และการติดต่อไป ยังสถานที่ที่ฉันต้องการไป ฉันยังจดจ�ำความรู้สึกและเรื่องราวต่างๆที่ได้ไปพบเจอในชุมชน ถ�้ำรงค์แห่งนี้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการต้อนรับของคนในชุมชน แนวคิดในการอนุรักษ์ความเป็นอยู่ต่างๆ และรสชาติความอร่อยของ อาหารท้องถิ่นที่ได้ทานที่นี่ครั้งแรก นั่นคือ เสน่ห์ของชุมชนนี้ที่พร้อมจะ มอบให้นักท่องเที่ยวได้มาเยี่ยมเยือนทุกเมื่อ
15
อ.หัวหิน
ทิ ศ ใต้
อ.ชะอ�ำ จ.สมุทรสงคราม
ถนนเพชรเกษม
อ.ท่ายาง
ถนนเพชรเกษม
จ.สมุทรสาคร
อุโมงค์กลับรถ ปากทางเข้าวัดถ�้ำรงค์ 1 กม.
วัดถ�้ำรงค์
อบต.ถ�้ำรงค์
คลองชลประทาน วัดท่าไชยศิริ
ถนนเพชรเกษม ห้างบิ๊กซี
เขาวัง
7 กม.
ตลาดเพชรบุรี
16
...การเดิ น ทาง...
องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต� ำ บลถ�้ ำ รงค์
ที่อยู่ : หมู่ 3 ตำ�บลถ�้ำรงค์ อำ�เภอบ้านลาด เวลาเปิด-ปิด : 9.00 น. - 16.00 น. โทรศัพท์ : 032-491-467
การเดินทางมาชุมชนถ�ำ้ รงค์สามารถเดินทางโดยใช้ทางหลวงแผ่น ดินหมายเลข 4 หรือถนนเพชรเกษม ชุมชนถ�้ำรงค์อยู่ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ หากไม่รจู้ กั สถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว เมือ่ มาถึงสามารถเข้าไปติดต่อได้ที่ อบต.ถ�ำ้ รงค์ จะมีรถบริการและพาไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่าง
17
อ นุ รั ก ษ ์ จ า ก พ ่ อ สู ่ ลู ก
สอง ใ ค ร เ ข า ป ลู ก ต า ล ? คนบ้าที่ยังปลูกตาลในบ้านถ�้ำรงค์ การมาเยือนชุมชนนี้ หากไม่ได้มาสัมผัสวิถชี วี ติ ชุมชนทีม่ คี วามโดดเด่น เรื่องตาลโตนด คงเรียกได้ว่าเหมือนยังมาไม่ถึงชุมชนถ�้ำรงค์ก็เป็นได้ เพราะปัจจุบันที่แห่งนี้ยังอนุรักษ์ชื่อเสียงที่โด่งดังของเพชรบุรีเอาไว้ เพื่อ การสืบสานให้ลกู หลานและเพือ่ ถ่ายทอดความรูใ้ ห้แก่ผทู้ สี่ นใจ ท�ำให้สวน อนุรักษ์ต้นตาลแห่งบ้านถ�้ำรงค์นี้ไม่เคยเงียบเหงา มีผู้คนแวะเวียนเข้ามา เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา หากเปรียบอายุของตาลที่สวนแห่งนี้ คงเปรียบได้กับเด็กชั้น อนุบาล แม้ว่าวันนี้ตาลจะมีล�ำต้นที่สูงและอายุถึง 22 ปี แล้วก็ตาม แต่ โดยทั่วไปตาลมีอายุมากได้ถึง 400 กว่าปี ความรู้สึกแรกที่ฉันได้เดินเข้า มาในบริเวณสวนอนุรักษ์ต้นตาล นอกจากจะได้รับอากาศที่สดชื่นและ บรรยากาศที่ร่มรื่นแล้ว นั่นคือความเป็นระเบียบเรียบร้อยของต้นตาล ที่ วางเรียงตรงกันเป็นแถวทัง้ 450 ต้น เมือ่ เดินเข้าไปก็จะพบกับลานกิจกรรม ที่มีคุณลุงท่านหนึ่งก�ำลังพูดบรรยายปิดท้าย ณ สวนอนุรักษ์ต้นตาล เมือ่ คุณลุงพูดจบ ผูท้ นี่ งั่ ฟังต่างก็พากันลุกจากเก้าอีเ้ พือ่ ไปยังจุดอืน่ ใน สวนทีส่ นใจ คุณลุงท่านนัน้ จึงเดินออกมาต้อนรับฉันด้วยท่าทีทใี่ จดี และเป็น กันเองพร้อมทักชวนให้ฉนั ไปนัง่ ทีเ่ ก้าอี้ 19
“ลุงชือ่ ถนอม นะหนู เรียกลุงว่าลุงถนอมก็ได้” เขาเล่าว่า ต้นตาลทีเ่ ห็นทัง้ หมดในสวนแห่งนีเ้ ป็นฝีมอื การปลูกของเขา แต่เพียงผูเ้ ดียว เริม่ ปลูกเมือ่ วันที่ 12 สิงหาคม 2535 และเลือกปลูกพันธ์ไุ ข่ใหญ่ นัน่ เพราะว่า เมือ่ น�ำมาท�ำขนมแล้วให้สที สี่ วยและขนาดของลูกไม่เล็กจนเกินไป สมัยก่อนเพชรบุรมี ชี อื่ เสียงเรือ่ งตาลโตนดมาก แล้วส่วนประกอบของ ตาลสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้ทกุ ส่วน ไม่วา่ จะเป็น อาหาร ขนม จักสาน ของ ทีร่ ะลึก ยารักษาโรค หรือแม้กระทัง่ จะน�ำไปสร้างบ้านเรือนก็ยงั ได้ โดยทัว่ ไป ตาลโตนดจะไม่คอ่ ยมีคนปลูก จะเป็นตาลทีข่ นึ้ เองตามธรรมชาติเสียส่วนใหญ่ แล้วยิง่ ปัจจุบนั นีห้ ายากมากส�ำหรับคนทีจ่ ะมาปลูกตาล “ตาลเมืองเพชรนี่ รัชกาลที่ 4 ท่านทรงจุดประกายตาลเมืองเพชรของ เรานะ” เขาเล่าว่า พระต�ำหนักบนเขาวัง ท่านก็ทรงน�ำเงินภาษีจากการท�ำ น�ำ้ ตาลโตนดไปสร้าง เพราะสมัยก่อนคนเพชรบุรหี ากไม่ทำ� นาก็ทำ� ตาลมีอยูส่ อง อย่าง นัน่ คือวิถชี วี ติ ของคนเพชรอย่างแท้จริง สอดคล้องกับที่ นิพทั ธ์พร เพ็งแก้ว กล่าวไว้ในหนังสือ ‘เล่าเรือ่ ง เมือง เพชร’ ว่า ตัง้ แต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์มาแล้ว น�ำ้ ตาลโตนดมิใช่ให้เพียงคุณ ประโยชน์แก่ชาวบ้านเท่านัน้ หากยังท�ำรายได้ให้กบั ภาครัฐด้วยเช่นกัน ในบรรดา สินค้า 7 อย่างของเพชรบุรี ซึง่ ส่งไปจ�ำหน่ายต่างเมือง เมือ่ ร.ศ. 117 อันได้แก่ ข้าวเปลือก น�ำ้ ตาลโตนด กัญชา หอยแมลงภูแ่ ห้ง ถ่านไม้ซาก ปลาเค็มต่างๆ และเกลือ พบว่าน�ำ้ ตาลโตนดเป็นสินค้าทีส่ ามารถเรียกเก็บภาษีได้เป็นอันดับ 1 ของจังหวัด ปักหลักแรกเริม่ “ตอนทีล่ งุ ปักหลักไม้กอ่ นเตรียมเอาเม็ดตาลลงหลุม ก็มชี าวบ้านเขา เห็นแล้วก็มาถามว่าลุงจะปลูกอะไร พอลุงบอกว่าลุงจะปลูกตาลเท่านัน้ ละ เขา หาว่าลุงจะบ้าหรือเปล่า” เขาเล่าพลางหัวเราะ 20
สวนอนุรักษ์ต้นตาล ของ ลุงถนอม และ พี่อ�ำนาจภู่เงิน
21
ลุงถนอม ภู่เงิน ก�ำลังสานหมวกด้วยการน�ำใบตาลมาตัดเป็นเส้น
22
“จริงๆไม่มีใครเขาศรัทธาเรื่องนี้อยู่แล้วนะหนู” “ลุงเข้าใจนะส�ำหรับคนทีม่ องต่างมุม” บางคนเป็นทุกข์นะ ปัญหา ของคนที่ไม่ปลูกต้นตาลเป็นเพราะว่า ต้องใช้เวลาเป็นสิบปีกว่าจะได้ผล ระหว่างทีย่ งั ไม่ได้ผลลุงก็ทำ� อย่างอืน่ ไม่ได้นอนรอผลทีไ่ ด้จากตรงนีอ้ ย่างเดียว “สามค�ำที่ลุงคิด คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต แค่นี้ นอกจากนั้น ไม่มีค�ำว่าท้อกับลุงเลย” ลุงถนอมเล่าว่า พ่อแม่ของเขาไม่ได้ปลูกตาล แต่ก็ประกอบอาชีพ ที่เกี่ยวกับตาล สมัยก่อนชลประทานยังเข้ามาไม่ถึง พอความเจริญเริ่มแผ่ ขยายมากขึ้นคนก็ตัดตาลที่ขึ้นตามธรรมชาติ เพื่อปลูกผัก ผลไม้ ชนิดอื่น บางคนฟันทิ้งเป็นร้อยๆต้น พอตอนนี้กลับเพิ่งคิดเสียดาย ย้อนกลับไปในปี 2534 ตอนนั้นลุงถนอมตั้งค�ำถามให้กับตัวเอง ว่าท�ำไมคนถึงไม่ปลูกตาล ทัง้ ๆทีต่ าลสามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ได้ทกุ ส่วน หลังจากนั้นเขาจึงเริ่มศึกษาวิธีการปลูกตาล และปีต่อมาเขาจึงเริ่มปลูก บนเนื้อที่ 10 ไร่ ด้วยวัย 55 ปี บนเนื้อที่ที่เป็นมรดกของตนและมีความ ตั้งใจมอบสวนตาลแห่งนี้ให้แก่วงศ์ตระกูลของตนต่อไป และเพื่อต้องการ อนุรักษ์ตาลเมืองเพชร “นึกถึงเพชรบุรี ต้องนึกถึงตาลโตนด เพราะมันเป็นวิถีชีวิตของ คนเมืองเพชร” “ปลูกเองคนเดียว เดือนเดียวจบ” เพราะเราปลูกแบบไม่ต้อง ขุดหลุม ปักไม้ไว้ก่อน พอเอาเม็ดแช่น�้ำเสร็จก็เอาไปวางไว้ที่หลักไม้ หา อะไรหนุนเอาไว้แล้วก็เอาหญ้าปิดกันแสงแดด ขั้นตอนนี้ต้องระวังเพราะ ตาลยังอ่อนอยู่ ถ้าไม่ระวังจะหัก ต้องค่อยๆวาง “อีกอย่างทีล่ งุ เลือกปลูกตาลเพราะต้นทุนเป็นศูนย์ เขาเจริญเติบโต ได้ดว้ ยตัวเอง แล้วเราก็ไม่ตอ้ งเสีย่ งเรือ่ งสารพิษ” ทีส่ วนแห่งนีจ้ ะเน้นเรือ่ ง 23
ธรรมชาติและไม่ใช้สารเคมี คนปัจจุบันของแพงเขาไม่กลัว แต่กลัวของไม่แท้มากกว่า เดี๋ยวนี้ น�ำ้ ตาลแท้ๆดูกนั ยากมากแล้ว เพราะส่วนใหญ่จะใช้อย่างอืน่ ผสม บางทีก่ ็ ใช้น�้ำตาลทรายบ้าง น�้ำตาลมะพร้าวปนบ้าง แต่น�้ำตาลแท้ๆเก็บไว้ไม่เท่า ไหร่จะนิ่มตัว ไม่ถึงกับแตก แต่ถ้าเป็นน�้ำตาลทรายจะแข็งเป็นก้อนเลย อย่างขนมหม้อแกง สมัยก่อนจะใช้น�้ำตาลโตนดเป็นส่วนผสม ปัจจุบันนี้ก็ยังมีร้านที่ยังใช้อยู่ แต่บางร้านก็รสชาติเพี้ยนไปหมดแล้ว เขาเล่าว่า ทุกวันนี้เขาก็สบายใจแล้วที่มีโอกาสได้เห็นผลของตาล ที่เขาปลูก และหากมีลูกหลานอยู่สวนตาลถ้าไม่เกียจคร้านไม่มีวันจน เพราะการปลู ก ตาลเปรี ย บเสมื อ นการปลู ก อาชี พ ไปพร้ อ มๆกั น “เศรษฐี หนูรไู้ หมว่ามาจากอะไร” เขาหันมาถามฉันพร้อมกับรอย ยิ้ม พร้อมกับเฉลยว่า เศษ เขามันถี่ เขาไม่หมิ่นเงินน้อย ค่อยๆเก็บหอม รอมริบสักวันรวมกันก็ได้มากเอง ท�ำน�้ำตาลเคี่ยว เคี่ยวน�้ำตาล ในทุกๆเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี จะเป็นช่วงที่ สวนตาลแห่งนี้คงจะคึกคักน่าดู เพราะเป็นช่วงที่น�้ำตาลออกและน�ำ น�้ำตาลที่ได้จากต้นมาแปรรูปกันต่อไป การท�ำน�ำ้ ตาลนัน้ จะเริม่ จากการน�ำกระบอกไม้ไผ่ทใี่ ช้สำ� หรับรอง น�ำ้ ตาลขึน้ ไปเพือ่ รองน�ำ้ ตาล และน�ำน�ำ้ ตาลทีไ่ ด้ไปเคีย่ ว ทีส่ วนนีไ้ ม่ใช้สาร เคมีเพราะฉะนั้นจึงเป็นธรรมดาหากที่จะมี มด แมลงต่างๆ ที่ชอบความ หวานจะมาลองลิ้มรสความหวานจากตาลโตนดกันบ้าง “เราจะใส่พยอมลงไปในกระบอกตาล 2-3 เกร็ด” เพื่อเป็นการ ผสานเนื้อน�้ำตาล เวลาเคี่ยวแล้วน�้ำตาลจะแห้งดี พอรองใส่น�้ำตาลมา เรียบร้อยแล้วก็จะน�ำไปเทใส่ตะกร้าหรือตะแกรงที่รองด้วยผ้าขาวบาง 24
ฐานกิจกรรมสาธิตการเคี่ยวน�้ำตาล ก่อนที่น�ำไปท�ำเป็นน�้ำตาลข้น
25
ตรงนี้เวลาเทออกมาพวกแมลงจะมากองกันเต็ม “ระหว่างนั้นก็รมควันกระบอก” เป็นวิธีโบราณที่ท�ำกันมาเพื่อใช้ ความร้อนเป็นการฆ่าเชื้อ หลังจากเทแล้วก็จะเริ่มติดไฟเคี่ยวน�้ำตาล พอเคี่ยวไปสักพักมัน จะพุ่งฟองอากาศออกมา น�้ำจะระเหยไปเรื่อยๆ น�้ำตาลจะเริ่มแก่มีสีเป็น สีเหลืองเข้ม การเคี่ยวต้องรู้วิธีให้ไฟสม�่ำเสมอ กว่าน�้ำตาลจะออกมาสวย ก็ใช้เวลาราวชัว่ โมงเศษ หากปล่อยเอาไว้นานน�ำ้ ตาลจะไหม้ตอ้ งรีบยกออก น�ำไม้ปลายมนมาคนเพือ่ เป็นการฟอกอากาศอยูส่ กั พักจนน�ำ้ ตาลแห้งได้ที่ ลุงถนอมเล่าให้ฉันฟังต่อว่า หากจะท�ำน�้ำตาลปึก ก็จะใช้เหล็ก กลมๆ ใหญ่ๆ คนน�้ำตาล เมื่อคนเสร็จจะน�ำเหล็กไปกระแทก หากไม่คน ก่อนแล้วน�ำไปกระแทกเลยจะสามารถเก็บน�ำ้ ตาลได้แค่ประมาณ 2 เดือน เท่านัน้ เพราะน�ำ้ ตาลจะคืนตัวและไม่สวย หากน�ำไปคนก่อนสามารถเก็บ น�้ ำ ตาลได้ เ ป็ น ปี อั น นี้ ลุ ง บอกว่ า เป็ น ภู มิ ป ั ญ ญาของคนปลู ก ตาล เพียงพอ อย่างพอเพียง หากได้ลองพูดคุยกับชาวบ้านที่บ้านถ�้ำรงค์ แน่นอนว่าไม่มีใครที่ ไม่รจู้ กั ทัง้ สวนตาลลุงถนอมและตัวของลุงเอง นัน่ เป็นเพราะว่าคุณลุงเป็น ผูใ้ หญ่หนึง่ คนทีช่ าวบ้านให้ความเคารพ และในอดีตได้เคยเป็นก�ำนันผูใ้ หญ่ บ้านตลอดเวลาลุงถนอมได้ท�ำให้หมู่บ้านเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “ลุงพอจะทราบไหมคะ ว่าท�ำไมที่นี่ก�ำแพงบ้านส่วนใหญ่ถึงเป็น ก�ำแพงต้นไม้แทนก�ำแพงปูน” ฉันถามเขา วันนี้ฉันมีโอกาสแวะเข้ามานั่ง คุยที่บ้านของคุณลุง “ตอนที่ลุงเป็นก�ำนันก็ถามความคิดเห็นว่าจะเอาไหม ปลูกต้นไม้ แทน” เพราะว่าก�ำแพงปูนมันแบ่งชนชั้นกัน และอีกอย่างหากปลูกต้นไม้ ชาวบ้านจะปลูกอะไรก็ได้เราไม่จำ� กัดเขา จะปลูกพริกปลูกอะไรก็สดุ แล้วแต่ 26
ตอนเช้าๆก่อนตักบาตรก็ให้ชาวบ้านพกไม้กวาดมาหน้าบ้านกัน ด้วย ก่อนพระจะมาก็กวาดหน้าบ้านของตัวเองกัน เขาเล่าว่า อย่างเด็กๆนักเรียนก็เคยชวนให้เขามาเรียนลุงจะสอน เขาพับตั๊กแตนจากใบตาล สอนให้ฟรีเอาไปขายได้ แต่ว่าจนป่านนี้ก็ยัง ไม่มีใครมาเลย “ลุงก็เลยแขวนเอาไว้หน้าบ้าน อันนีแ้ หละหนู” เขาหัวเราะพร้อม ชี้นิ้วไปที่แขวนตั๊กแตนเอาไว้หน้าบ้าน สภาพตั๊กแตนตัวนั้นถูกปกคลุมไป ด้วยคราบฝุ่นหนาๆ “ไม้กวาดลุงก็เคยบอกนะว่าจะสอนท�ำ ท�ำกันทุกบ้านก็ประหยัด เงินได้เยอะ” แต่ว่าเขาก็ไม่ท�ำกัน บางคนก็บอกว่าไปซื้อเอาง่ายกว่าเยอะ ความจริงแล้ววันนีฉ้ นั ได้มาคุยกับคุณลุงเพราะความบังเอิญ พอดี ฝนตกจึงแวะหลบฝนที่บ้านของเขา แต่ความบังเอิญที่ฉันได้พบจากเขาก็ คือ ลุงถนอมก�ำลังนัง่ สานหมวกอยูเ่ พียงล�ำพังทีห่ น้าบ้าน เขาก็เชือ้ เชิญให้ ฉันเข้าไปหลบฝนและนั่งคุยกันก่อน “คุณลุงก�ำลังท�ำอะไรอยู่คะ” ตอนนี้ฉันก�ำลังตลกตัวเอง ทั้งๆที่ เห็นแต่ก็กลับถามว่าเขาท�ำอะไร “สานหมวกอยู่จ๊ะหนู” เขาคุยพร้อมกับมือที่บรรจงหยิบใบตาล สานไปทีละเส้น ระหว่างนั้นฉันก็เหลือบไปเห็นไก่เกือบสิบตัวเดินเล่นกัน อยู่ที่หน้าบ้าน ไก่พวกนีจ้ ริงๆแล้วเป็นไก่วดั มาอยูท่ บี่ า้ นนานแล้วตัง้ แต่สมัยก่อน ที่บ้านลุงยังมีโรงสีข้าวเล็กๆ ความจริงก็ตายไปหลายตัวแล้ว ฉันหันไปเห็นรูปทีต่ ดิ ตรงฝาผนังจึงถามคุณลุงว่าในรูปเป็นรูปอะไร เขาจึงตอบว่า ได้รับรางวัลบ้างจากที่หมั่นท�ำความดีสะสมมาเล็กๆน้อยๆ “ลุงเรียกว่ารางวัลคือ ยาหอม” ทีบ่ า้ นถ�ำ้ รงค์อยูก่ นั อย่างพอเพียง 27
(บน) ท่วงท่าการสานหมวกของลุงถนอม (ล่าง) หมวกสานจากเส้นใบตาล
28
ตัวลุงไม่ต้องใช้ทรัพย์สินอะไรมากหรอก แต่ลุงเป็นคนรวย รวยน�้ำใจ ไป ที่ไหนก็ไม่ต้องกลัว ต้นตาลในวันพรุ่งนี้ ในวันที่ฉันมาที่สวนตาลแห่งนี้ ต้องยอมรับเลยว่าตอนแรกนั้นมี ความคิดบางความคิดทีอ่ าจแวบเข้ามาในหัวว่าจะมีคนสนใจต้นตาลขนาด ไหนกันเชียว แต่พอได้มาจริงๆแล้วกลับท�ำให้ความคิดนั้นหายไปในทันที มีคนสนใจทีน่ จี่ ริงๆไม่วา่ จะมาทีส่ วนหรือวันทีฉ่ นั แวะไปหาลุงถนอมทีบ่ า้ นก็ตาม “เราไม่หวง ใครอยากมา มาได้เลย” คุณลุงบอกว่า แม้ว่าที่นี่จะ เป็นสวนของลุง แต่วา่ ตอนนีเ้ ป็นแหล่งเรียนรูไ้ ปแล้ว จึงเปิดตลอด 24 ชัว่ โมง จะโทรติดต่อหรือมาเลยก็ได้ ลุงยินดีต้อนรับ เขาถือว่าได้แจกจ่ายความรู้ที่ตนพอมี และถ้ามีส่วนให้คนเริ่มหัน มาอนุรักษ์กันมากขึ้นก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก “อีกไม่นานคนเพชรจะใกล้เกลือกินด่างนะ” เขาพูดเพราะคนส่วน ใหญ่ทมี่ าดูทสี่ วนและสนใจอยากจะปลูกมักจะเป็นคนต่างจังหวัดมากกว่า คนจังหวัดเพชรบุรีซะอีก เขาบอกว่า ก็นา่ เสียดายหากว่าต่อไปต้นตาลจะน้อยลงไปมากกว่า นี้ แต่อย่างไรก็เป็นไปตามภาวะของโลก เพราะสื่อเดี๋ยวนี้ล่อใจกันมาก การประกอบอาชีพไม่หนักแน่นเหมือนสมัยก่อน คนในยุคปัจจุบนั ท�ำอะไร ก็แข่งขันที่จะรวยกันมากกว่า แต่อย่างไรก็ไม่สามารถไปบังคับ ในเมื่อสังคมได้เห็นเป็นตัวอย่าง แล้วเกิดความเข้าใจ หากเขาจะท�ำตามต่อหรือไม่เราก็ไม่สามารถไปบังคับ เขาได้แต่กเ็ ข้าใจ แต่กอ็ ยากให้ตนื่ ตัวในเรือ่ งการอนุรกั ษ์ตรงนีเ้ พราะจะได้ ช่วยรักษาเพชรน�้ำเอกของจังหวัดเอาไว้ให้นานที่สุด ลุงถนอมยังได้ให้ขอ้ คิดกับฉันอีกว่า การด�ำเนินชีวติ เป็นสิง่ ทีก่ ว้าง 29
แต่ละอาชีพที่เราเลือกเดินต้องเดินไปในทางที่ถูกต้อง ไม่คดโกง แล้วคน รุ ่ น หลั ง จะเดิ น ตามเราได้ เ ท่ า กั บ เป็ น ตราประทั บ ของวงศ์ ต ระกู ล ก่อนที่ฉันจะลากลับ ลุงถนอมได้เอ่ยปากชวนให้มาเที่ยวที่สวน ของแกอีก หากว่างๆก็มานั่งคุยด้วยกันอีก และฉันก็ได้รับค�ำลุงแกอย่าง ไม่ลังเลก่อนที่พี่อ�ำนาจ ภู่เงิน ลูกชายของลุงถนอม ที่รับมรดกเป็นสวน ตาลแห่งนี้จะเดินเข้ามา สวนอนุรักษ์ต้นตาล ที่สวนตาลแห่งนี้คงมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน ในส่วนของ ลุงถนอมรับหน้าที่การบรรยาย ส่วนพี่อ�ำนาจ รับหน้าที่ในด้านการสาธิต ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขึ้นตาล ยีตาล นึ่งขนม หรือเคี่ยวน�้ำตาล ซึ่งกิจกรรมก็ จะแบ่งแยกออกเป็นฐานการเรียนรู้ ซึง่ ฐานหลักๆจะแบ่งออกเป็น 4 ฐาน ได้แก่ ฐานขึน้ ตาล ฐานเคีย่ ว ตาล ฐานยีตาล และฐานแปรรูปตาลสุก อย่างแปรรูปตาลสุกเราเอามานึง่ กันให้เห็นเลย พี่อ�ำนาจบอกว่าหากผู้ที่สนใจมีเวลามากพอก็จะเพิ่มฐาน ตามความเหมาะสมและเวลาของผู้สนใจ แต่ละฐานต้องใช้เวลาในการ เรี ย นรู ้ ซึ่ ง จะต้ อ งตกลงกั น ก่ อ นว่ า มากั น กี่ ค นและมี เวลาเท่ า ไหร่ อย่างฐานที่ฉันก�ำลังนั่งคุยกับพี่อ�ำนาจคือ ฐานแปรรูปตาลสุก เป็นการน�ำเนื้อตาลสุกมายีก่อนที่จะน�ำไปท�ำเป็นขนมตาล ซึ่งฐานนี้เพิ่ง ท�ำมาได้ 3 ปีกว่าแล้ว ย้อนกลับไปเมือ่ 20 กว่าปีทแี่ ล้ว พีอ่ ำ� นาจอายุเพียงแค่ 17 ปี ตอน นั้นเขาก็ยังงงอยู่ที่พ่อมาบอกว่าจะปลูกตาล แต่ก็ไม่ได้เถียงอะไร ท�ำได้ เพียงแค่ค้านในใจ “จริงๆตอนทีแ่ กปลูกฝังแรกๆก็เป็นการรองพืน้ ” พูดเชิงให้รวู้ า่ จะ ปลูกตาล เป็นการมองอนาคตแล้วสอนตนไปเรือ่ ยๆ พูดทีเล่นทีจริง แต่พอ 30
ตาลโตนดที่จะน�ำไปยี ก่อนน�ำเนื้อที่ได้จากการยีไปท�ำเป็นขนมตาล
31
มีดปาดตาล อุปกรณ์ประจ�ำตัวส�ำหรับผู้ที่ขึ้นไปท�ำน�้ำตาลโตนดบนยอดตาล
32
กระบอกรองน�้ำตาล ข้างในใส่เกร็ดพยอมเพื่อให้น�้ำตาลหอมและเก็บได้นาน
33
เวลาผ่านไปจนถึงวันนี้เขาก็รู้ว่ามาถูกทาง เขาเล่าว่า หน้าทีท่ กุ วันนีด้ แู ลทุกส่วนและจะเข้ามาทีส่ วนนีท้ กุ วัน ยิง่ ถ้าเป็นช่วงทีน่ ำ�้ ตาลออกจะต้องมาทีส่ วนตัง้ แต่ 6 โมงเช้า กว่าจะได้กลับ ก็เกือบ 1 ทุ่ม ในทุกเช้าต้องไปเก็บน�้ำตาลก่อนด้วยการปีนขึ้นไปตามนั่ง ร้านที่ผ่านแต่ละต้น แล้วน�ำลงมาส่งให้คนแปรรูปที่เตาเคี่ยวน�้ำตาล แล้ว ก็ขนึ้ ไปทีต่ น้ เพือ่ ไปบีบน�ำ้ ตาลจากต้นอืน่ พีอ่ ำ� นาจบอกว่าเขาท�ำแบบนีท้ กุ วัน “เรื่องการส่งขายต้องท�ำอย่างไรบ้างคะ” “ของสวนเราจะขายหน้าสวนอย่างเดียว” เพราะว่าขาดแรงงานคนทีจ่ ะ ขึน้ ไปท�ำน�ำ้ ตาล ท�ำให้วตั ถุดบิ ทีส่ ง่ ออกไม่เพียงพอ จึงขายแค่ภายในสวนเท่านัน้ “คนที่มาที่สวนแล้วได้ลองชิมสักครั้งจะติดใจ” เนื่องจากว่าสวน ตนเป็นของแท้ไม่มีสิ่งเจือปนท�ำให้การสั่งของส่วนใหญ่จะมาจากการได้ มาลองชิมทีส่ วนแล้วติดใจมากกว่า ส่วนใหญ่จะเป็นน�ำ้ ตาลข้นส�ำเร็จรูปแล้ว น�ำ้ ตาลสด 20 ลิตร หากน�ำมาเคีย่ วเป็นน�ำ้ ตาลข้นจะได้นำ�้ ตาลแค่ ไม่เกิน 3 กิโลกรัม หากใครเคยมาลองชิมทีส่ วนสักครัง้ อาจจะแยกออกว่า อันไหนเป็นน�้ำตาลแท้ๆ หรืออันไหนมีสิ่งเจือปนผสม ฉันถามพี่อ�ำนาจว่าราคาของน�้ำตาลแท้ๆจากที่สวนนี้ราคาเท่าใด เขาบอกว่าราคากิโลกรัมละ 120 บาท แต่ฉันมีความรู้สึกว่าราคาอาจจะ สูง แต่หากเป็นของแท้ก็คุ้มค่าที่จะจ่าย และในขั้นตอนกว่าจะได้ออกมา นัน้ ก็ตอ้ งใช้เวลาและก�ำลัง ดีกว่าเสียเงินถูกกว่านีไ้ ม่กสี่ บิ บาทแต่ได้ของปลอม พีอ่ ำ� นาจบอกว่า ตอนนีม้ คี วามคิดทีจ่ ะพัฒนาให้ตอบสนองต่อการ ท่องเทีย่ วมากขึน้ อยากจะสร้างเป็นบ้านพักโฮมสเตย์ แต่วา่ ยังต้องคิดให้ รอบคอบมากกว่านี้ แต่ที่แน่ๆในอนาคตพี่อ�ำนาจตั้งใจให้สวนตาลแห่งนี้ จะต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับตาล “ครอบคลุมขนาดไหนคะพี่อ�ำนาจ” 34
เขาบอกว่า ในอนาคตอยากให้ครอบคลุมทุกอย่างที่เกี่ยวกับตาล แม้ว่าเศษเล็กเศษน้อยก็สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ได้ อย่างเศษเล็กๆจะ น�ำมาท�ำเป็นถ่านเชื้อเพลิง รุ่นสุดท้ายที่ขึ้นตาล “ปัจจุบันพี่อ�ำนาจยังขึ้นตาลอยู่รึเปล่าคะ” “ก็ยงั ขึน้ อยูค่ รับ” เขาพูดพร้อมพยักหน้ารับ เขาเป็นคนเดียวทีอ่ ายุ น้อยทีส่ ดุ ในบ้านถ�ำ้ รงค์ทยี่ งั ขึน้ ตาลอยู่ ขึน้ ตาลคือการขึน้ ไปท�ำน�ำ้ ตาลบนยอดตาล เวลาขึน้ ต้องมีกระบอกส�ำหรับน�ำไปรองน�ำ้ ตาล มีด แล้วไม้ใช้สำ� หรับบีบลูกตาล “ท�ำไมเดี๋ยวนี้คนถึงไม่ขึ้นตาลกันแล้วละคะ” “มือกับเท้าต้องสัมพันธ์กัน” มันเป็นงานที่เสี่ยง ต้นตาลสูง เวลา ขึ้นไปโอกาสที่พลัดตกลงมาก็มีมาก เขาอธิบายว่า บางครั้งอุปกรณ์ที่ใช้ขึ้นไปอาจจะไม่แข็งแรงพอ ไม้ พระองค์ที่ใช้ปีนขึ้นไปอาจจะหักลงมาก็ได้ เพราะฉะนั้นต้องจับให้แน่น นอกจากนั้นยังมีเรื่องของพวกแมลงต่างๆ อย่างต่อหัวเสือ ผึ้ง บางทีขึ้น ไปแล้วก็มีเหมือนกันที่ถูกต่อย ส่วนใหญ่คนที่มีประสบการณ์ที่จะขึ้นตาลมักจะเป็นคนที่มีอายุ มากเกือบทั้งนั้น คนรุ่นใหม่ที่จะมาแทนที่แทบจะไม่มี “ขึ้นตาลแล้วห้ามตก เพราะถ้าตกส่วนมากก็จะตาย” ฉันแอบถามเขาว่า เคยมีบางความรู้สึกที่แวบเข้ามาบ้างไหมว่า ท�ำไมเขาถึงยังต้องขึ้นต้นตาลอยู่ เขาตอบกลับมาว่า ไม่เคยมีเลย เขาคิด ว่ามันอาจจะเป็นสิง่ ทีส่ บื ทอดกันมาทางสายเลือด เขาพูดจบพร้อมกับเผยยิม้ พี่อ�ำนาจเล่าว่า เขาจะยังคงขึ้นตาลต่อไป เพราะนอกจากจะเป็น อาชีพของตนแล้ว ยังเป็นความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในไม่กี่คนที่ยัง อนุรักษ์วิถีชีวิตแบบนี้ไว้ให้กับรุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียนรู้ต่อไป 35
พี่อ�ำนาจ ภู่เงิน ขณะก�ำลังขึ้นไปท�ำน�้ำตาลบนยอดต้นตาลโตนด
36
“ถ้าไม่ประมาทก็ไม่พลาด” ตนมองว่าคนที่พลาดตกต้นตาลส่วน ใหญ่เกิดจากความประมาท บางครั้งไม้พระองค์ท่ีใช้อาจจะเก่าแต่ยังไม่ ยอมเปลี่ยน เมื่อฝืนขึ้นจึงเกิดอุบัติเหตุตกต้นตาล คุ้มค่าที่ได้รับ ย้อนกลับไปถามพี่อ�ำนาจถึงช่วงแรกที่ชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับลุง ถนอมว่าปัจจุบันนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง เขาบอกว่า ชาวบ้านก็เริ่มเห็นเป็น แบบอย่างกันแล้ว พี่อ�ำนาจเล่าว่า เมื่อสิบปีที่แล้วเคยมีคนต่างจังหวัดเข้ามาที่สวน แล้วได้พูดคุยกัน ตนก็ชักชวนให้เขาปลูกตาลเพราะว่าเขามีที่กว่า 20 ไร่ พอเวลาผ่านไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมาเขากลับเข้ามาที่สวนตาลอีกครั้ง “ถ้าผมปลูกตัง้ แต่วนั ทีพ่ บี่ อกผมนะ ป่านนีม่ นั คงจะออกลูกมาให้ ผมแล้ว” พีอ่ ำ� นาจบอกว่า เมือ่ ได้พบกับชายคนนัน้ อีกครัง้ ก็ได้สนทนากัน เรือ่ งเดิม แต่คราวนีช้ ายคนนัน้ พูดด้วยความเสียดายทีเ่ พิง่ ตัดสินใจปลูกเมือ่ ปีที่ผ่านมาเสียงที่พี่อ�ำนาจใช้เล่าให้ฉันฟังอยู่นั้น จากความรู้สึกมัน แสดงออกถึงความจริงใจ อัดอั้นและแววตาที่มีจุดหมาย เขาบอกว่าคนที่สนใจเรื่องตาลมักจะเป็นคนต่างจังหวัดมากกว่า คนท้องถิน่ เขาจึงอดห่วงไม่ได้วา่ ในอนาคต ตาล จะยังเป็นเอกลักษณ์ของ จังหวัดได้อยู่หรือไม่ เพราะในปัจจุบันก็มีน้อยเต็มที จู่ๆขณะที่ฉันก�ำลังนั่งเขียนหนังสือเล่มนี้ก็ได้นึกถึงข้อคิดที่พี่ อ�ำนาจเคยบอกเอาไว้เมื่อตอนที่ฉันเข้าไปที่สวนตาลว่า “เราอย่าเอาแต่ เดินไปข้างหน้าอย่างเดียว ให้หันมาดูข้างหลังบ้าง บางทีสิ่งที่เห็นอยู่ข้าง หน้าอาจจะมีฝุ่นบังอยู่ แต่สิ่งที่อยู่ข้างหลังเราที่เราผ่านมาแล้ว มันไม่มี อะไรมาบดบัง สิ่งที่อยู่ข้างหลังอาจจะดีกว่าสิ่งที่อยู่ข้างหน้าก็ได้ ถ้าเรา รู้จักเลือกใช้” 37
สวนอนุรักษ์ต้นตาล
38
พี่อ�ำนาจ ก�ำลังปาดงวงตาลและน�ำกระบอกไปรองน�้ำตาลที่ได้บนยอดตาล
39
อ.หัวหิน
ทิ ศ ใต้
อ.ชะอ�ำ
ถนนเพชรเกษม
อ.ท่ายาง
1 กม.
อุโมงค์กลับรถ
1 กม.
สวนอนุรักษ์ต้นตาล
ปากทางเข้าวัดถ�้ำรงค์ บ้านลุงถนอม อบต.ถ�้ำรงค์ วัดถ�้ำรงค์
คลองชลประทาน วัดท่าไชยศิริ
ถนนเพชรเกษม ห้างบิ๊กซี
เขาวัง
7 กม. ตลาดเพชรบุรี
40
...การเดินทาง...
สวนอนุ รั ก ษ์ ต ้ น ตาล
ที่อยู่ : หมู่ 4 ตำ�บลถ�้ำรงค์ อำ�เภอบ้านลาด เวลาเปิด-ปิด : 8.00 น. - 18.00 น. โทรศัพท์ : 032-440-535 (ลุงถนอม ภู่เงิน) 087-800-7716 (พี่อำ�นาจ ภู่เงิน)
สวนอนุรักษ์ต้นตาลลุงถนอม เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น ช่วงเดือนไหนก็ตาม และไม่ว่าจะติดต่อมาก่อนหรือไม่ ภายในสวนตาลมี กิจกรรมหลายกิจกรรมคอยรองรับนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมี เวลาศึกษามากสามารถชมได้หลายกิจกรรม แต่ระยะเวลาในการศึกษา 4 ฐานการเรียนรู้หลัก อย่างน้อยควรใช้เวลา 2 ชั่วโมง เส้นทางการเดิน ทางไปยังสวนตาลจะมีปา้ ยบอกทาง แต่ปา้ ยบอกทางค่อนข้างมีสที ซี่ ดี จาง แล้ว หากเดินทางไม่ถูกสามารถถามชาวบ้านได้ตลอดทาง
41
อ นุ รั ก ษ ์ จ า ก ค น รั ก แ ล ะ เ อ ก ลั ก ษ ณ ์
สาม เศษตาลไม่ เ หลื อ ตาลโตนด ไม่เพียงแต่จะให้น�้ำตาลรสชาติ หวานๆ แต่ ยัง ใช้ ประโยชน์ได้ทุกส่วน ชุมชนถ�้ำรงค์ ขึ้นชื่อว่าเป็นชุมชนที่ยังคงอนุรักษ์ ต้นตาลทัง้ ทีจะมีแค่สวนตาลอย่างเดียวก็คงจะไม่ได้ ฉันรูม้ าว่าชุมชนนีก้ ไ็ ด้ รับรางวัลโอท็อปด้วย เป็นรางวัลทีน่ ำ� เอกลักษณ์อย่างต้นตาลมาเป็นแม่แบบ ในการประดิษฐ์ เพื่อมอบให้เป็นของที่ระลึก ของทีร่ ะลึกของชุมชนนีก้ ไ็ ม่ได้มเี ฉพาะกลุม่ ต้นตาลประดิษฐ์อย่าง เดียวเท่านั้น แต่ยังมีตาพุฒและยายทองใบแห่งบ้านนามมั่นที่ยังคง ประดิษฐ์ของที่ระลึกจากลูกตาลและใบตาลที่คนทั่วไปมักจะโยนทิ้ง หลังจากที่แวะสวนตาลแล้วฉันก็ได้แวะซื้อลูกชิ้นบริเวณทางเข้า สวนตาลและเห็นแผ่นป้ายติดไว้ที่ร้านนั้นว่า กลุ่มต้นตาลประดิษฐ์ ฉันจึง ถามกับคนขายว่ากลุ่มต้นตาลประดิษฐ์คือกลุ่มอะไร? กลุ่มต้นตาลประดิษฐ์ที่ประดิษฐ์ต้นตาล ฉันยังคงก�ำลังซือ้ ลูกชิน้ อยูแ่ ละก�ำลังสงสัยอยูด่ ว้ ยเช่นกันว่าท�ำไม ร้านขายลูกชิ้นร้านนี้ถึงได้มีป้ายติดที่บ้าน ทั้งป้ายกลุ่มต้นตาลประดิษฐ์ และบ้านชิน อ่วมพ่วง ชิน อ่วมพ่วง เป็นเจ้าของบ้านและก็เป็นคนเดียวกันกับที่ก�ำลัง ขายลูกชิ้นให้ฉันอยู่ เขาบอกว่า ป้ายกลุ่มต้นตาลประดิษฐ์นั้นเป็นกลุ่ม 43
ถาดต้นตาลประดิษฐ์ จากกลุ่มต้นตาลประดิษฐ์
44
แม่บ้านที่รวมตัวกันในชื่อของกลุ่มต้นตาลประดิษฐ์ “จังหวัดเพชรบุรีมีแค่ที่นี่ที่เดียว” เพราะเมื่อได้รางวัลโอท็อปสี่ ดาวจึงได้จดลิขสิทธิ์เอาไว้ เขาเล่าว่า คนในชุมชนนีผ้ กู พันหากินกับต้นตาลมานานตัง้ แต่สมัย บรรพบุรุษ ทางกลุ่มจึงรวมตัวขึ้นมา เริ่มจากการมองหาเอกลักษณ์ของ จังหวัดก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อนึกถึงต้นตาลจึงเริ่มต้นการประดิษฐ์ ก่อนทีจ่ ะเป็นกลุม่ ต้นตาลประดิษฐ์ ป้าชินบอกว่า จริงๆแล้วก็เคย เป็นกลุม่ แป้งปัน้ มาก่อน แต่ตอนนัน้ ไม่ได้มชี อื่ เรียกกลุม่ แบบนี้ เพราะตอน นั้นยังไม่ใช่ ประดิษฐ์ออกมาแล้วแตกร้าวไม่ทน เขาเล่าว่า สมาชิกทั้งหมดมีอยู่ 23 คน แต่คนที่ท�ำกันจริงๆมีเพียง 6 คนเท่านั้น กลุ่มนี้เริ่มมาจากสมัยที่นายก อบต. คนเก่าติดต่อกับครูที่ จังหวัดหนึง่ ให้มาสอนเหล่าแม่บา้ นทีส่ นใจเพือ่ ทีจ่ ะได้นำ� มาเป็นอาชีพเสริม ประดิษฐ์ให้เป็นต้น “อยากเห็นไหมจ๊ะ” ป้าชินเดินเข้าไปหยิบต้นตาลประดิษฐ์ในบ้าน ออกมาให้ฉันดู “อุปกรณ์ที่ใช้ ท�ำมาจากอะไรคะ” ฉันถาม เขาเล่าว่า ข้างในของล�ำต้นท�ำมาจากท่อพีวีซี น�ำมาพันด้วย กระดาษทิชชู่ แล้วพันด้วยเชือกเปาะ ลงแป้งข้าวเจ้าทากาวและทาสีดำ� ทับ ใบตาลท�ำมาจากใบออแกซ่าน�ำไปติดลวด ลูกตาลท�ำมาจากเม็ด โฟมกลมๆน�ำไปทาสีให้ดูคล้ายกับสีของลูกตาลจริงๆ กาบท�ำมาจาก กระดาษสาติดลวด ส่วนหญ้าที่ถาดเป็นมอสจริงๆสามารถรดน�้ำได้ “ใช้เวลาท�ำนานไหมคะ” ฉันถามพร้อมกับเอามือจับที่ถาด “ถ้าเตรียมอุปกรณ์เสร็จแล้วก็ใช้เวลาไม่นานจ๊ะ” ป้าชินบอกว่า ในการท�ำล�ำต้นอาจดูเหมือนท�ำง่ายๆ แต่ความจริงแล้ว 45
ต้องใช้เวลาในการท�ำนานถึง 3 วัน เพราะต้องทาสีด�ำ ทากาวและแป้งถึง 3 ครัง้ ด้วยกัน และต้องน�ำไปตากแดด หากไม่ทำ� ถึง 3 ครัง้ ล�ำต้นจะไม่แข็ง เวลาทีใ่ ช้ทำ� กันส่วนใหญ่จะเป็นตอนกลางคืน เพราะตอนกลางวัน ทุกคนจะมีอาชีพหลัก ในกลุม่ ทีท่ ำ� จะมีการแบ่งงานกันท�ำว่าใครท�ำส่วนไหน ท�ำใบ ใส่กาบ ใส่ลูก หรือล�ำต้น เขาเล่าว่า จริงๆมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เหมือนกัน ไม่ได้เป็นแบบที่ ฉันเห็นตั้งแต่ทีแรก มีการลดขนาดของล�ำต้น แล้วก็จัดสวนถาดโดยการ ใส่สิ่งแวดล้อมเข้าไป อาจจะเป็นทุ่งนา หญ้า วัว ควาย ให้ดูมีชีวิตชีวา เพราะอยากสืบทอดเอกลักษณ์ “ดีใจที่ประกวดแล้วได้รางวัล ถึงแม้ว่าจะเป็นรางวัลสี่ดาว” เขา พูดด้วยความภูมิใจพร้อมใบหน้าที่เปื้อนยิ้ม สมาชิกในกลุม่ ก็เป็นผูใ้ หญ่อายุ 40 ปี ขึน้ ไปกันทุกคน ป้าชินจึงยัง ไม่แน่ใจว่าหากหมดรุน่ ตนไปแล้วจะมีรนุ่ ต่อไปมาสืบทอดงานตรงนีห้ รือเปล่า “ทั้งๆที่ต้นตาลเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด แต่หนูเชื่อไหมว่างาน แบบนีย้ งั ไม่มใี ครท�ำเลย เราเป็นทีแ่ รกและทีเ่ ดียวทีท่ ำ� ” เขาดีใจเสมอเมือ่ มีคนมาเรียนรู้และเขายินดีและพร้อมที่จะสอน “เด็กรุ่นใหม่ยังไม่รู้ว่าคุณค่าของต้นตาลมีประโยชน์มากแค่ไหน เราอยากให้เขาเห็นคุณค่าที่มีมากและอยากให้อนุรักษ์ไว้” แม้ว่าต้นตาล ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจะไม่ใช่ต้นตาลจริงๆ แต่ก็สามารถแสดงถึงเอกลักษณ์ที่ เมื่อนึกถึงแล้วต้องนึกถึงจังหวัดเพชรบุรีได้ ฉันจ้องมองถาดต้นตาลประดิษฐ์อยูน่ าน เผลออดคิดไม่ได้วา่ หาก ต้นตาลที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และต้นตาลที่ปลูกจริงๆไม่มีคนสืบทอด... ...แล้วต่อไปเอกลักษณ์ของจังหวัดเราจะเปลี่ยนเป็นอะไร? เอกลักษณ์...ของเพชรบุรี 46
ความรั ก ษ์ จากบ้ า น นามมั่ น “ก๊อง ก๊อง ก๊อง ก๊อง” เสียงลมพัดผ่านท�ำให้โมบายลูกตาลเคลือ่ นไหว “สวัสดีค่ะ มีคนอยู่ไหมคะ” ฉันตะโกนถามเมื่อเห็นว่าหน้าบ้าน ไม่มีคนอยู่ พลางมองโมบายต่างๆในบ้าน คุณยายตัวเล็กที่ใบหน้ามีแต่รอยยิ้ม ในมือก�ำใบตาลเดินออกมา รับพร้อมเชื้อเชิญให้เข้าไปนั่ง บนโต๊ะล้วนเต็มไปด้วยของเล็กๆน้อยๆที่ จักสานจากใบตาล ไม่ว่าจะเป็นตะกร้า ปู ปลา กุ้ง ตั๊กแตน หรือจะเป็นเข่งที่แม่ค้า สมัยก่อนใช้หาบของ สิ่งเหล่านี้ยังสามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะ ใส่ของ ทับกระดาษ หรือท�ำเป็นแจกันติดฝาผนัง บ้านที่บางช่วงไม่เงียบเหงา “คุณยายท�ำเองคนเดียวหรือคะ” “คุณยายก็ท�ำคนเดียวค่ะ” คุณยายทองใบตอบกลับมาด้วยเสียง ที่ เ ล็ ก แต่ น ่ า รั ก ท� ำ ให้ ฉั น รู ้ สึ ก เหมื อ นเขาเป็ น ญาติ ผู ้ ใ หญ่ ข องฉั น ถ้าท�ำทีน่ คี่ ณ ุ ยายท�ำเองคนเดียว แต่หากวันไหนมีคนสนใจมาเรียน แล้วมีจ�ำนวนมาก จะมีคนมาช่วยสอนอีก 2 คน สมัยก่อนยายทองใบจะออกไปสอนตามโรงเรียนต่างๆ แต่ปจั จุบนั คุณยายมีอายุที่เพิ่มขึ้นท�ำให้ไม่สะดวก จึงสอนแค่ที่บ้านหลังนี้เท่านั้นแต่ 47
(บน) คุณยายทองใบ บรรจงสอดเส้นใบตาลสด (ล่าง) ปู ที่ถูกสานจนเสร็จเป็นตัว 48
ก็ไม่ใช่ปญั หา เพราะยังคงมีหน่วยงาน กลุม่ นักท่องเทีย่ วทีส่ นใจเข้ามาศึกษาถึงทีบ่ า้ น เขาเล่าว่า มีคนสนใจแวะมาอยู่เรื่อยๆท�ำให้บ้านไม้สองชั้นหลังนี้ ไม่เงียบเหงาสักเท่าไหร่ หากวันไหนมากันมากหน่อยก็เกือบร้อยคน บาง ครัง้ เด็กๆก็พกข้าวกล่องมานัง่ กินกัน พืน้ ทีข่ า้ งล่างจากตอนนีท้ ดี่ โู ล่งกว้าง คงดูเล็กไปชั่วขณะ “เขาจะชอบท�ำปูกนั นะ” คุณยายทองใบบอกว่าส่วนใหญ่เวลาหัด สอนจะถามว่าใครอยากเลือกท�ำอะไร บางครัง้ หากคนมาเยอะจะให้แบ่ง กลุ่มที่อยากจะท�ำแล้วเขาจะไล่สอนทีละกลุ่ม ครั้งหนึ่งเมื่อคุณยายยังสาว ระหว่างทีเ่ ราคุยกัน มือของคุณยายก็ยงั คงน�ำใบตาลสดแต่ละเส้น มาไขว้กันให้เป็นรูปเป็นร่าง สมัยนีค้ นในชุมชนมักรูจ้ กั คุณยายทองใบ นามมัน่ ในฐานะคุณยาย ที่น�ำใบตาลมาสานให้เป็นสัตว์ สิ่งของต่างๆ แต่คงมีคนจ�ำนวนไม่มากที่รู้ ว่าเขาประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับตาลมาตั้งแต่สมัยสาวๆ “สมัยสาวๆคุณยายเคยเคีย่ วน�ำ้ ตาลค่ะ” เขาพูดพร้อมกับยิม้ เล็กๆ ขณะที่มือยังคงสานใบตาล เมื่อหลายสิบปีมาแล้วตอนที่คุณยายทองใบยังเป็นสาว เขาเป็นผู้ หญิงที่ท�ำอาชีพเคี่ยวน�้ำตาล เมื่อเวลาผ่านไป อายุที่เพิ่มขึ้น ท�ำให้เขาท�ำ ไม่ไหว ก่อนทีจ่ ะมีโอกาสได้ไปทีจ่ งั หวัดกาญจนบุรแี ล้วเห็นกุง้ ทีถ่ กู จักสาน แขวนเอาไว้ที่ต้นไม้ “คุณยายเห็นกุ้งมันแขวนไว้ใต้ต้นไม้เหมือนว่าเขาจะทิ้ง คุณยาย เลยไปขอเขาเอากลับมา” “แต่ว่าตอนนั้นคุณยายท�ำกุ้งออกมาแล้วเหมือนตุ๊กแก” เขาหัว เราะเล็กๆ 49
คุณยายเริม่ ท�ำงานจักสานจากตาลได้ประมาณ 6 ปีแล้ว เริม่ มาจาก ที่คุณยายออกไปท�ำงานนอกบ้านไม่ไหว เมื่อได้ไปเจอกับตัวอย่างกุ้งแล้ว มาลองฝึกหัดจึงท�ำให้คณ ุ ยายเริม่ หันมาใช้ใบตาลมาจักสานจนถึงทุกวันนี้ ความสุขของคุณยาย “วันนี้คุณยายท�ำได้กี่อย่างแล้วคะ” ฉันถาม “วันนี้คุณยายท�ำได้ 5 อย่างแล้วจ๊ะ” เขาบอกว่า บางวันก็ท�ำได้ มาก บางวันก็ท�ำได้น้อย ท�ำบางอย่างก็จุกจิกหลายขั้นตอน แล้วแต่ว่า วันไหนอยากท�ำอะไร “ท�ำเข่งทีแ่ ม่คา้ ใช้หาบกันนานทีส่ ดุ เลยค่ะ” คุณยายบอกว่าทีย่ าก เพราะไม้คานส�ำหรับหาบต้องดัดไว้เป็นเดือน หากจะท�ำกุง้ ต้องหาขวดนม ขวดเล็กๆเอาไว้ท�ำเป็นช่วงล�ำตัว เขาเล่าว่า เขาต้องซื้อนมมาแต่ให้คนอื่นกินแทน เหลือขวดเปล่า แล้วค่อยเอามาให้เขา บางทีขณะทัวร์มาเทีย่ วก็มาซือ้ ช่วงนีไ้ ม่คอ่ ยคึกคัก เท่าเมื่อก่อน ด้วยความชอบที่จะท�ำและสนุก ท�ำให้คุณยายยังสานต่อไป เรื่อยๆแม้ว่าอาจจะไม่คึกคักสักเท่าใด ถ้าช่วงไหนทีเ่ งียบๆ คุณยายก็ไม่เหงา แม้ทบี่ า้ นหลังนีเ้ ขาจะอาศัย อยู่กับคุณตาพุฒเพียงแค่สองคนก็ตาม แต่ก็ยังมีน้องแมวและน้องหมาที่ คอยมาออดอ้อนและอยู่เฝ้าบ้าน คุณยายทองใบวางกรรไกรที่ใช้ตัดใบตาลลง พร้อมเดินไปหยิบ ใบตาลทีย่ งั ไม่ได้ตดั มาเช็ดท�ำความสะอาด ก่อนทีค่ ณ ุ ตาพุฒจะเดินเข้ามา ในบ้านหลังจากที่ออกไปเก็บลูกตาล คุณตาพุฒแห่งบ้านนามมั่น “นัน่ ไง ตาพุฒกลับมาพอดีเลยค่ะ” คุณยายทองใบเรียกฉัน ฉันหันไป สวัสดี คุณตาพุฒยิม้ ให้แต่ไม่พดู อะไร ก่อนทีจ่ ะหิว้ ถุง ลูกตาลทีอ่ อกไปเก็บ 50
บ้านแห่งนีน้ า่ ประทับใจ เต็มไปด้วยรอยยิม้ และความน่ารักจาก... สองตายายแห่งบ้านนามมั่น...
51
มาวางไว้ที่โต๊ะท�ำงานของเขา ฉันจึงเริ่มเดินเข้าไปพูดคุย “ของที่อยู่บนโต๊ะนั้นมีเยอะจังเลยค่ะคุณตา” “ตอนแรกก็มีแค่ 2 อย่าง” มีแค่เต่ากับไก่ ตอนนี้มี 20 กว่าอย่าง แล้วเพราะว่ามีคนมาดูที่บ้านแล้วบอกว่ามากี่ครั้งก็มีของอยู่แบบเดิม เขาและคุณยายทองใบจะแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน คุณยายท�ำ เรื่องของจักสานแต่คุณตาจะน�ำลูกตาลมาประดิษฐ์ให้เป็นสิ่งของต่างๆ ของที่วางอยู่บนโต๊ะมีหลากหลาย อย่าง ช้าง ไก่ เต่า วัว ควาย ลิง ชะนี โมบาย หรือตุ๊กแก บางอันฉันพอเดาได้ว่าเป็นอะไร แต่บางอันดูน่า รักกว่าของจริงเสียอีก คุณตาพุฒเล่าว่า ของแต่ละอันใช้เวลาในการออกแบบไม่นาน ส่วน ใหญ่จะเป็นการนัง่ นึกจินตนาการว่าจะท�ำออกมาให้มลี กั ษณะแบบใดและ ต้องใช้ประโยชน์ได้เล็กๆน้อยๆ อย่างเสียบปากกา นามบัตร ดินสอ “คุณตาชอบประดิษฐ์ให้เป็นตัวตัว” เขาบอกว่า หากให้เขาไปนั่ง ท�ำจักสานอย่างคุณยายทองใบเขาก็คงไม่ท�ำเพราะใจไม่ได้ชอบที่จะท�ำ ลมพัดผ่านมาเรื่อยๆ เสียงดัง “ก๊อง ก๊อง ก๊อง ก๊อง” ของบ้านนี้ก็ ยังคงดังอยู่เรื่อยๆเช่นกัน ย้อนความหลังกับคุณตา เป็นเวลา 11 ปีแล้ว ที่ตาพุฒเริ่มน�ำลูกตาลที่คนอื่นมักโยนทิ้งมา ประดิษฐ์ให้เป็นของใช้ ที่เริ่มมาจากการลองท�ำเล่นๆ เขาเล่าว่า เมื่อสมัยที่เขายังหนุ่มๆก็ท�ำอาชีพขึ้นตาล แต่เมื่อป่วย เป็นโรคกระเพาะจึงท�ำงานหนักไม่ค่อยไหว ท�ำให้คุณตาต้องหยุดการขึ้น ตาลไปโดยปริยาย แต่ช่วงชีวิตของเขาก็ยังคงผูกพันอยู่กับเรื่องที่เกี่ยวกับ ตาล เมื่อมีบุคคลหนึ่งเอาตัวแบบไก่มาให้เขาดู “ตาก็ยกไก่ตัวนั้นให้เป็นครูของเรา” เขาลองท�ำจากแบบอย่าง 52
จนกระทัง่ วันนีเ้ ขายังเก็บไก่ตวั นัน้ เอาไว้ แม้ว่าตรงขาไก่จะหายไปแล้วแต่ เขาก็ท�ำฐานติดขึ้นมาใหม่ เขาอธิบายในการท�ำตัวไก่ให้ฉันฟังว่า ต้องไปเอาเม็ดตาลที่มีคน น�ำไปยีเพือ่ ทีจ่ ะใช้ทำ� ขนมแล้วเขาไม่เอา ตาพุฒจะน�ำมาแต่งท�ำรูปทรง ใช้ขนตรง เม็ดตาลมาท�ำเป็นหาง ใช้กาวติด เจาะตีนไก่ แล้วเอาไม้ไผ่ใส่เข้าไปเพือ่ ท�ำเป็นขา “ส่วนใหญ่จะท�ำให้เสร็จสักตัววันเดียวไม่เสร็จหรอก” เพราะบาง อย่างกว่าจะเข้าที่ต้องใช้เวลา บางครั้งเบื่อที่จะท�ำอันนี้แล้วก็ท�ำอย่างอื่น เปลี่ยนไปเรื่อยๆ “คุณตาว่าของชิ้นไหนท�ำง่ายที่สุดคะ” ฉันถามเขาพร้อมกับยิ้ม และมองไปที่โต๊ะโชว์ของ “กระดิ่งแขวนจ๊ะ” ถ้าเราเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้วมันท�ำไว แล้ว อันนี้คนก็สั่งท�ำเยอะ เขาอธิบายว่า ต้องไปหาเส้นแขนงไผ่มาท�ำเป็นข้อ 3 ข้อ ใช้ใบตาล ตัดเป็นรูปใบโพธิ์พับเอาไว้ให้แบนราว 7-8 คืน อย่างลูกตาลที่จะน�ำมาใช้ ก็ต้องเลือกเอาลูกสวยๆ เขาต้องน�ำลูกตาลมาตัดแล้วทดลองเสียงก่อนว่า เสียงนั้นก้องดีแล้วหรือไม่ ต้องมาไล่เสียง หากยังเขาก็ตัดซ�้ำ หรือหากตัด จนทรงไม่สวยแล้วจะน�ำไปท�ำอย่างอื่น เขาพูดพร้อมเดินไปหยิบลูกตาล มาทดสอบเสียง คุณตาพุฒบอกว่า ช่วง 2-3 ปีแรก คนสนใจเข้ามาเยอะมาก ช่วง นัน้ ของเต็มตูโ้ ชว์หมดเลย จนต้องใช้เวลาตอนกลางคืนท�ำด้วย แถมเขายัง ชอบท�ำในตอนกลางคืนมากกว่าตอนกลางวันซะอีก ช่วงนั้นบางเดือนจะ มีคนเข้ามากันมากถึง 8 คณะ บางเดือนก็ 10 กว่าคณะ แต่ช่วงนี้ดูห่าง หายไป ไม่ค่อยมาเท่าไหร่ ถึงปัจจุบนั เขาจะท�ำเพิม่ หลายสิบอย่าง แต่เมือ่ ถามว่าชอบท�ำอะไร 53
บรรดาสัตว์ชนิดต่างๆที่ถูกประดิษฐ์จากลูกตาล ด้วยฝีมือของตาพุฒ
54
มากทีส่ ดุ เขาก็ยงั คงชอบเต่าและไก่ ด้วยเหตุผลทีว่ า่ เขาเริม่ มาจากสิง่ เหล่านัน้ เสียงดังเมื่อสายลมพัด คุณตาเล่าว่าอุปกรณ์ทนี่ ำ� มาใช้อย่างลูกตาลก็ไปเก็บเอาตามทีเ่ ขา ทิง้ คนทีค่ อยสนับสนุนจะมีแต่เป็นค�ำพูดเสียมากกว่า พูดปลอบใจ แต่หาก เขาจะให้เงินทุนมาตัวเขาเองก็ไม่สบายใจ ปัจจุบันนี้บ้านหลังนี้ไม่ค่อยคึกคักเท่าเมื่อก่อน คุณตาจึงไม่ได้ ท�ำงานหนักเท่าเดิม เป็นการท�ำบ้าง พักบ้าง เขาคิดว่ามันคงอิ่มตัวแล้ว เขามักคิดอยู่เสมอว่าผลงานที่เขาท�ำเป็นครูสอนตัวเขาเอง หาก ท�ำออกมาแล้วไม่ดีก็เพียงแค่แก้ไขปรับปรุงให้ดีกว่าเก่า “เคยมีเด็กๆเข้ามาแล้วบอกว่า หนูเกลียดตุก๊ แก แต่เห็นตุก๊ แกของ ลุงแล้วหนูจะซื้อ” เขายิ้มออกมาด้วยความดีใจ ระหว่างทีฉ่ นั คุยกับคุณตา คุณยายก็ยงั คงนัง่ สานใบตาลไปเรือ่ ยๆ “คุณตารู้สึกอย่างไรคะเวลาที่มีคนชมว่าผลงานเราน่ารัก” เขาคิดสักครู่ พร้อมกับยิม้ แล้วตอบว่า “มีความภูมใิ จทีช่ นิ้ งานออก มาได้ดงั่ ใจ และดีใจทีไ่ ด้สบื สานงานตรงนี้ เพราะบางคนเขามองข้ามคิดว่าเป็น ของทีไ่ ม่มคี ณ ุ ค่า มันเป็นของท้องถิน่ เรา พอเอามาท�ำเขาก็มองว่าคุณค่ามันตก” ตาพุฒยังพูดอีกด้วยว่า ทุกวันนีเ้ ขายังคงภูมใิ จทีไ่ ด้เป็นแนวทางให้ กับคนรุ่นหลัง แม้ว่าตัวเขาอาจจะไม่ได้ท�ำผลงานออกมาได้ดีที่สุด แต่เขา เชื่อว่าคนรุ่นต่อไปจะต้องท�ำออกมาได้ดีกว่า ระหว่างทีฉ่ นั ก�ำลังก้าวเดินออกจากบ้านนามมัน่ แห่งนี้ สายลมพัด ผ่านเสียงกระดิง่ แขวนดังอีกเช่นเคย ฉันหันหลังไปเพือ่ ทีจ่ ะบอกลาคุณยาย ทองใบอีกครั้ง แต่คุณตาบอกว่าเขาเข้าไปหยิบของหลังบ้าน ฉันอดคิดไม่ได้วา่ คุณยายคงไปหยิบใบตาลมาเพือ่ ทีจ่ ะมาท�ำความ สะอาดและน�ำมาสานเหมือนอย่างเคย 55
กรงนก ฝีมือคุณตาพุฒ
56
โมบายจากลูกตาล ที่ห้อยรอบบ้านนามมั่น
57
ทิ ศ ใต้
ถนนเพชรเกษม
อ.ท่ายาง
500 ม.
ต้นตาลประดิษฐ์
อุโมงค์กลับรถ
ปากทางเข้าวัดถ�้ำรงค์ 1 กม.
อบต.ถ�้ำรงค์
วัดถ�้ำรงค์ คลองชลประทาน วัดขลุบ 1.5 กม.
บ้านนามมั่น
วัดท่าไชยศิริ
ถนนเพชรเกษม ห้างบิ๊กซี
เขาวัง
7 กม. ตลาดเพชรบุรี
58
...การเดิ น ทาง... กลุ ่ ม ต้ น ตาลประดิ ษ ฐ์
ที่อยู่ : หมู่ 4 ตำ�บลถ�้ำรงค์ อำ�เภอบ้านลาด เวลาเปิด-ปิด : 9.00 น. - 17.00 น. โทรศัพท์ : 08-6625-2539
บ้ า นนามมั่ น
ที่อยู่ : หมู่ 2 ตำ�บลถ�้ำรงค์ อำ�เภอบ้านลาด เวลาเปิด-ปิด : 9.00 น. - 17.00 น. โทรศัพท์ : 032-588-253
สนใจอยากเรียนรู้วิธีการประดิษฐ์ ควรติดต่อก่อนเพื่อการจัด เตรียมสถานทีแ่ ละอุปกรณ์ ทัง้ สองสถานทีย่ นิ ดีตอ้ นรับผูส้ นใจทุกท่าน ไม่ ว่าจะมาเป็นกลุม่ เล็กหรือหมูค่ ณะ ระยะเวลาทีเ่ หมาะสมแก่การเรียนรูค้ วร ใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง
59
อ นุ รั ก ษ ์ จ า ก ศิ ล ป ะ วั ฒ น ธ ร ร ม
สี่ วั ฒ นธรรมพื้ น ถิ่ น ชุมชนแต่ละชุมชนคงมีศิลปวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา อย่างแตกต่างกันออกไป ส�ำหรับชุมชนถ�ำ้ รงค์แห่งนีย้ งั คงมีศลิ ปวัฒนธรรม ทีถ่ กู ถ่ายทอดจากรุน่ สูร่ นุ่ ท�ำให้คนในรุน่ ปัจจุบนั ได้มโี อกาสเห็นศิลปวัฒนธรรม เหล่านั้น แม้ว่าบางสิ่งจะถูกถ่ายทอดเพียงแค่ช่วงงานประจ�ำปีของชุมชน ก็ตาม แต่ยังถือได้ว่ายังพอมีโอกาสได้เห็นและก็ยังไม่มีใครล่วงรู้ได้ว่า ใน อนาคตรุ ่ น หลั ง สิ่ ง เหล่ า นี้ จ ะยั ง คงถู ก ถ่ า ยทอดสื บ ต่ อ ไปเฉกเช่ น คนในรุ่นก่อนๆได้ด�ำเนินตามกันมา หากได้ผ่านบ้านเรือนต่างๆในชุมชนใครจะรู้ว่าบางบ้านที่เราได้ ผ่านอาจเป็นบ้านธรรมดา แต่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบ้านเหล่านั้นล้วนแต่เป็น ผู้ที่ท�ำหน้าที่สืบทอดศิลปวัฒนธรรมของชุมชนนี้ให้คงอยู่เอาไว้ ไม่ว่าจะ เป็น มวยใบตาล แรลลี่ล้อโตนด การเล่นผีกระด้ง และการเล่นเห่เรือบก ‘มวยใบตาล’ ชุมชนถ�้ำรงค์เป็นที่ขึ้นชื่อเรื่องตาลโตนดอยู่แล้ว คนในชุมชนจึงไม่พลาดที่จะน�ำใบตาลแห้งมาเป็นส่วนประกอบในการ แข่งขันมวยใบตาล นอกจากจะเป็นกีฬาที่ได้ทดลองไหวพริบแล้ว ยังได้ ความสนุกสนานการมีน�้ำใจนักกีฬากันอีกด้วย ไม่เพียงเท่านัน้ คนในชุมชนยังมี ‘แรลลีล่ อ้ โตนด’ ทีเ่ รียกได้วา่ เป็น ของเล่นในรุน่ คุณปู่ แม้กาลเวลาผ่านไปท�ำให้ปจั จุบนั มีเทคโนโลยีและของ 61
เล่นต่างๆ แต่ส�ำหรับคนพื้นถิ่นนั้นพวกเขาไม่เคยลืมของเล่นยอดนิยม ที่ นิยมเล่นกันทั้งรุ่นคุณปู่และรุ่นปัจจุบัน ส่วนในเรื่องของความเชื่อ ก็มี ‘ผีกระด้ง’ ที่ถึงแม้ว่าการเล่นสิ่งนี้ จะไม่ได้นำ� ส่วนประกอบของต้นตาลมาใช้ แต่การเล่นนีก้ ม็ คี วามสอดคล้อง กับวิถีชีวิตของคนในชุมชนในเรื่องของการท�ำนา เนื่องจากตาลนั้นจะขึ้น ตามคันนาเสียส่วนใหญ่ และอุปกรณ์ทนี่ ำ� มาใช้กเ็ ป็นกระด้งทีใ่ ส่ขา้ วนัน่ เอง ‘เห่เรือบก’ เป็นอีกหนึ่งการละเล่นที่มีการดัดแปลงมาจากการ เล่นเห่เรือน�้ำ หากได้พบเห็นผู้คนช่วงวัยที่มีริ้วรอยบนใบหน้า แต่งหน้า และแต่งกายผิดไปจากชุดปกติแล้วคงเป็นที่เดาได้ว่าที่แห่งนั้นต้องมีการ จัดเห่เรือบกขึ้นสักแห่งเป็นแน่นอน แม้ว่าศิลปวัฒนธรรมหลายอย่างจะถูกน�ำมาเผยแพร่ให้คนส่วน ใหญ่ได้มโี อกาสเห็นเพียงแค่ในช่วงงานประจ�ำปี แต่หากว่ามีนกั ท่องเทีย่ ว ที่อยากจะมาสัมผัส เรียนรู้ ในช่วงเวลาอื่นๆที่ไม่ได้เป็นช่วงเทศกาลงาน ประจ�ำปีก็สามารถเดินทางมาชมกันได้ เพราะบ้านทุกบ้านที่ด�ำเนินงาน ต่างๆพร้อมทีจ่ ะเปิดประตูตอ้ นรับผูส้ นใจให้มาเยีย่ มเยือนและได้ทำ� ความ รู้จักกับศิลปวัฒนธรรมของคนในชุมชนนี้กันอย่างเต็มที่ ฉันยังมั่นใจด้วยว่า บ้านทุกบ้านจะต้อนรับด้วยความเต็มใจอย่าง ที่ฉันได้สัมผัสมา....
62
มวยใบตาล ขณะทีท่ กุ อย่างเงียบสงัด มีเพียงเสียงระฆังดังเป็นสัญญาณให้รวู้ า่ เวลาการแข่งขันได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และเสียงกอบแก๊บก็พลันดังขึ้นมาจาก เวที ก่อนที่บรรดาชาวบ้านที่มาลุ้นมวยใบตาลจะส่งเสียงเชียร์ผู้แข่งขันที่ ปิดตาแข่งกันอยู่บนเวทีการต่อสู้ไหวพริบที่อยู่เบื้องหน้าของฉัน สายตา ของผู้ชมทุกคู่จับจ้องไปที่ผู้แข่งขันบนเวที บนเวที มีเพียงชาย 2 คน ก�ำลังท�ำหน้าทีเ่ ป็นผูแ้ ข่งขันในยกนี้ และ กรรมการอีก 1 คน ชายทัง้ สองยืนนิง่ อย่างมีสติ พร้อมตัง้ การ์ดเพือ่ ป้องกัน ฝ่ายตรงข้ามจะเข้ามาจู่โจม เมื่อเขาค่อยๆก้าวเดินทีละก้าวจะมีเสียง ใบตาลที่ใช้ปูพื้นเวทีเสียดสีกัน “ปีนคี้ นก็ยงั มากันเยอะเหมือนเดิมนะพีน่ ดิ ” เสียงคนคุยกันดังมา จากโต๊ะรับสมัครผู้แข่งขันที่อยู่ด้านล่างเวทีห่างกันไม่ไกลมากนัก เมื่อฉัน ถามชาวบ้านจึงได้ความว่า ชายผิวเข้มที่นั่งประจ�ำการอยู่ที่โต๊ะรับสมัคร นั้นเป็นผู้ที่ริเริ่มให้มีการจัดแข่งขันมวยใบตาลขึ้นนี่เอง สุทิน หวานหนู หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า ลุงนิด ชายผู้ที่ มีความผูกพันกับการแข่งขันมวยมาตั้งแต่อดีต และเป็นบุคคลส�ำคัญที่ ท�ำให้มกี ารจัดแข่งขันมวยใบตาลขึน้ ในงานประจ�ำปีของชุมชนถ�ำ้ รงค์ เวลา นี้เขามีอายุ 63 ปี 63
จากใบตาล สู่ลานมวย หลังจากที่ท�ำการแข่งขันกันจนหมดยกของมวยคู่นี้แล้ว ระหว่าง ช่วงพักเปลีย่ นคูต่ อ่ ไป ฉันจึงเดินเข้าไปนัง่ คุยกับชายผิวเข้มวัยปลดเกษียณ ที่โต๊ะรับสมัครตัวนั้น หากมองภาพเวทีที่อยู่ข้างหน้าฉันตอนนี้คงคลายกันกับการเล่น มวยตับจากอย่างที่หลายๆคนคงเคยเห็นกันมาบ้าง เพียงแต่ที่นี่เป็นการ น�ำใบตาลแห้งมาปูทพี่ นื้ เวทีแทน อันทีจ่ ริงชุมชนนีก้ ม็ าการเล่นมวยใบตาล กันมานานแล้ว แต่ยังไม่มีใครที่จะเป็นผู้จัดขึ้นมาเท่านั้นเอง ลุงนิดบอกว่า ทีไ่ ม่มใี ครจัดเพราะเป็นสิง่ ทีเ่ ก่าเกินไป นอกจากนัน้ ตัวเขายังท�ำขึ้นมาในเชิงอนุรักษ์เพื่อให้คนรุ่นปัจจุบันและรุ่นหลังได้เห็น ได้เล่นกันจริงๆ แต่ไม่ได้เล่นกันจนถึงเลือดตกยางออก “ท�ำให้ได้เห็นว่าคนในพื้นถิ่นมีไหวพริบกันมากน้อยแค่ไหน” เพราะเป็นการแข่งขันจากการฟังเสียงเท้าที่เหยียบลงบนใบตาล โดยที่ผู้ แข่งขันต้องปิดตา ล�ำพังตัวเขาคนเดียวคงจัดเตรียมงานเองทั้งหมดไม่ไหว แต่ก็ชื่น ใจไปอีกนิดที่ได้ยินเขาบอกว่ามีเด็กวัยรุ่นในชุมชนนี้แหละที่เป็นคนคอย ช่วยลุงเตรียมงานต่างๆ ท�ำให้งานออกมาสนุกสนานไปได้ด้วยดีทุกครั้งที่ จัด สถานทีท่ จี่ ดั งานก็คอื โรงเรียนถ�ำ้ รงค์ทเี่ ป็นเหมือนศูนย์กลางของชุมชน ที่ใช้เป็นสถานที่ในการจัดงานต่างๆ จากผูค้ นทีห่ อ้ มล้อมเวทีนอี้ ยูน่ นั้ จากสายตาของฉันทีเ่ ห็นมีทงั้ เด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ที่มาเชียร์ติดขอบเวที ส่วนผู้ที่ลงแข่งขันนั้นส่วนมาก คงเป็นฝ่ายชายเสียมากกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีฝ่ายหญิงมา ร่วมแข่งขันเลย “ผู้หญิงจะมี 2-3 คู่ที่มาแข่ง” 64
ลุงนิด สุทิน หวานหนู ผู้ที่หลงรักการต่อยมวยมาตั้งแต่วัยรุ่น และฟื้นฟูการแข่งมวยใบตาลที่ชุมชนถ�้ำรงค์
65
ขึ้นสู่สู่ลานมวย ฉันพักหยุดคุยกับเขาเมื่อนักมวยคู่ต่อไปขึ้นแข่งขัน ฉันรอจนการ แข่งขันคู่นี้จบลง ก่อนที่เขาจะเล่าให้ฉันฟังต่อว่า เวลาก้าวเท้าเดินจะ เหยียบทางตาลแล้วเสียงดัง อันนั้นเป็นการทดสอบไหวพริบของผู้ชกได้ “กริ๊ง กริ๊ง”นอกจากนี้ยังมีกระดิ่งอันเล็กๆที่ลุงนิดเรียกว่า พรวน ผูกไว้ที่เอวของผู้แข่งขันทั้งสอง เมื่อคนไหนเดินหรือขยับตัวกระดิ่งที่ผูก ติดเอวของคนนั้นก็จะดังขึ้นมา “จะได้รู้ว่าคู่ต่อสู้อยู่ตรงไหน” เพราะในการแข่งขัน ผู้แข่งจะต้อง ปิดตา ลุงนิดบอกว่า ไม่ตอ้ งกังวลไปเรือ่ งการเกิดอุบตั เิ หตุแม้วา่ จะปิดตา เล่นก็ตาม เพราะบนเวทีนั้นจะมีกรรมการที่คอยแยกคู่ต่อสู้ออกจากกัน และมีการใช้กติกาทีท่ ำ� ให้มโี อกาสเสีย่ งในการเกิดอุบตั เิ หตุ หรือท�ำให้เลือด ตกยางออกได้น้อยที่สุด เขาจะคอยย�้ำเสมอว่า การแข่งขันนี้เป็นการอนุรักษ์เพื่อจัดเป็น งานประเพณี “เมื่อกี้ตอนที่แข่งหนูได้ดูไหมละ” เขาหันมาถามฉัน “อย่าพลีพลาม” เขาบอกว่าเวลาแข่งต้องค่อยๆเดิน ไม่อย่างนั้น จะเป็นอย่างผู้ชกคู่เมื่อสักครู่ที่จบไป ที่เดินไม่ทันระวังท�ำให้เสียงกรอบ ใบตาลดังจนคู่ต้อสู้ตามมาท�ำคะแนนเสียได้ เขาอธิบายให้ฟงั ว่า ในการแข่งขันต่อยได้เพียงอย่างเดียว ห้ามถีบ ห้ามเตะ ห้ามศอก เพราะอาจเกิดอันตรายได้ กอดรัดกันได้ อุปกรณ์มี เพียงอย่างเดียวคือนวม และที่ส�ำคัญคือห้ามใส่รองเท้า การคัดเลือกผู้แข่งขัน ลุงนิดบอกว่า จะเลือกจากสัดส่วน หากดู ตัวเท่ากันพอฟัดพอเหวีย่ งก็จบั ให้คกู่ นั ไม่ตอ้ งมีการชัง่ น�ำ้ หนักให้เสียเวลา 66
ในการแข่งขัน ไม่เพียงแค่ใช้ไหวพริบของผูแ้ ข่งขันเพียงอย่างเดียว เท่านั้นแต่ยังใช้เสียงเชียร์จากคนดูที่มาส่งเสียงริมขอบเวที แม้จะมีเสียง เชียร์ทดี่ งั และมันส์แค่ไหน แต่ในบางครัง้ ก็มบี า้ งทีก่ รรมการบังเอิญรับหมัด ไปด้วยความไม่ตงั้ ใจของผูแ้ ข่งขันทีม่ องไม่เห็น คงนึกไปว่านัน่ คือคูต่ อ่ สูข้ องตน แม้ว่าเวลาที่ใช้แข่งแต่ละคู่จะเป็นเวลาประมาณ 3 นาที แล้วให้ เวลาพัก 2 นาที คู่ละ 3 ยก แต่ลุงนิดก็บอกว่า เวลาเพียงแค่นั้นหากได้ ลองขึ้นไปแข่งพร้อมทั้งปิดตา จะเกิดการระวังตัวเองเป็นพิเศษและจะมี ความรู้สึกว่าเวลามันนานกว่านั้น “คนทีข่ นึ้ ชกส่วนใหญ่จะไม่ได้ทำ� อะไรมาก” จะยืนนิง่ เพือ่ คอยฟัง เสียงของคู่ต่อสู้ “คุณลุงเคยลงแข่งรึเปล่าคะ” ฉันถามลุงสุทิน เขายิม้ เล็กๆ พร้อมตอบกลับมาว่า เขาก็เคยแข่งมาก่อน ความรูส้ กึ ตอนที่แข่งแล้วต้องระมัดระวัง อย่าให้ใครมาโดนตัวเรา และต้องหาทาง จูโ่ จมเข้าไปให้ได้กอ่ นทีเ่ ขาจะเข้ามา เพราะนัน่ เป็นโอกาส หากว่าเราพลาด ท่าให้เขาเข้ามาก็ตอ้ งรัดเขาเอาไว้ เพือ่ เป็นการป้องกันให้ตวั เองเจ็บตัวน้อยทีส่ ดุ บางที เขาก็ลงแข่งเพื่อเป็นแบบอย่างให้เด็กๆได้เห็น และเขาหวัง ว่าในการเป็นผู้ชมของคนเหล่านั้นจะเกิดการอนุรักษ์ตาม ส�ำหรับมวยใบตาล ลุงสุทินคิดว่า คนที่มีไหวพริบดี คือ คนฉลาด เขาบอกว่าเขาไม่ใช่คนเมือง บางครั้งถ้าไม่รู้เรื่องอะไรก็จะซื่อจนไม่รู้อะไร เลยจริงๆ เขาบอกว่า การแข่งมวยใบตาลท�ำให้สามารถดูได้วา่ คนไหนมีไหว พริบคนไหนสามารถแก้สถานการณ์ได้ หรือว่าคนไหนมีลูกหลบ ลูกหลีก ทีค่ ล่องแคล่ว ท�ำให้แก้เกมได้ดี มวยคูน่ นั้ ก็จะสนุก สนุกทัง้ คนแข่งและคน ดู ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ขับขันสามารถเอาตัวรอดได้หรือไม่ 67
กรรมการท�ำหน้าที่ต้อนผู้แข่งขันให้ท�ำแต้มกันมากขึ้น ภาพ: องค์การบริหารส่วนต�ำบลถ�้ำรงค์
68
ช่วงชีวิตที่เป็นนักมวย “ลุงเคยเป็นนักมวยมาก่อน” เขาพูดพร้อมชีน้ วิ้ เข้าหาตัวเอง ก่อน ที่จะเล่าย้อนไปในอดีตเมื่อสมัยที่เขายังเป็นหนุ่มให้ฉันฟัง ลุงนิด เป็นคนทีห่ ลงรักการแข่งขันมวยมาตัง้ แต่ครัน้ อายุ 18 “มัน ชอบเป็นชีวิต” ในวัยนั้นเขามักจะแอบพ่อแม่ออกไปเปรียบมวยอยู่หลาย ต่อหลายครั้งกว่าจะได้ขึ้นชกจริง แม้เมือ่ ขึน้ ชกจะมีการบาดเจ็บเล็กน้อยแต่เขาก็ยงั คงชืน่ ชอบอย่าง จริงจัง เขาเล่าว่า บางครั้งต่อยกลับมาเดินไม่ไหวเลยก็มี แต่ก็ขอแค่ให้ได้ ต่อยเท่านั้นก็พอ เพราะเขาชอบที่ได้สู้ ชอบที่ได้ต่อยมวย ก่อนที่จะขึ้นชกอย่างน้อยราวสองสัปดาห์ เขาต้องฝึกซ้อมอยู่คน เดียวไม่มีใครมาฝึกหรือมาสอนให้ เขาอาศัยการวิ่งไปกลับจากบ้านไป จนถึงวัดท่าไชยศิริ เป็นระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร แล้วก็กลับมาเตะ กระสอบทรายที่บ้านอีกประมาณ 100 ที เวทีที่ลุงไปต่อยก็มีหลายที่แต่จะเป็นการแข่งตามงานวัดเสียส่วน ใหญ่ ออกต่างจังหวัดอย่างนครปฐมลุงเขาก็ไปมาแล้ว “ขนาดว่าลุง แต่งงานแล้วแฟนคลอดลูกอยู่โรงพยาบาล ลุงยังแอบไปชกมวยเลย” เขา ข�ำทิ้งท้าย ลุงนิดเล่าต่อว่า ตอนอายุ 18 ถึง 23 ปี นั่นคือช่วงชีวิตของการ แข่งมวยของตัวเขา ก่อนทีจ่ ะผันตัวมาเปิดค่ายมวยเล็กๆทีบ่ า้ นของตัวเอง ตอนนั้นมีนักมวยที่เป็นเด็กๆแถวบ้านอยู่ประมาณ 8 คน แต่ก็ ท�ำได้เพียง 5 ปี เพราะเมื่อเขามีครอบครัวจึงตัดสินใจหยุดค่ายมวย ก่อน หันหน้าไปเอาจริงเอาจังในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม “ตอนนั้นลุงนิดมีการฝึกซ้อมเด็กอย่างไรคะ” บางทีเขาคิดว่าตัวเขาอาจจะไปฝึกเด็กมากเกินไป ท�ำให้เด็กๆไม่คอ่ ย 69
มุ่งมั่นตั้งใจในการฝึกซ้อมเท่าไหร่ แต่เขาก็ท�ำได้แค่เตือนเด็กเหล่านั้น เด็กจะต้องมาซ้อมประมาณสี่โมงเย็นจนถึงหนึ่งทุ่ม แต่จะไม่ได้ ซ้อมกันตลอด เพราะอุปกรณ์ตา่ งๆทีใ่ ช้ไม่พอจึงต้องพลัดเปลีย่ นวนกันไป เวลาแข่งเขาจะดูจากรูปร่าง น�้ำหนัก และประสบการณ์การต่อยของเด็ก แต่ละคน วันนี้ ที่จัดแข่งมวยใบตาล เมื่อการแข่งขันยกต่อไปของคู่นี้เริ่มขึ้น เสียงเชียร์จากขอบเวทีก็ ดังขึ้นเรื่อยๆ ความสนุกจึงเริ่มด�ำเนินต่อไป… แม้ว่าวันนี้ชายวัยปลดเกษียณคนนี้จะไม่ได้ขึ้นไปต่อยมวยเอง ก็ตามแต่เขายังคงด�ำเนินงานทีเ่ ขารักอย่างการแข่งมวย และน�ำเอาวัสดุใน ท้องถิ่นอย่างใบตาลมารวมเป็นกีฬาที่เด็กในรุ่นปัจจุบันนี้ยังคงสนใจ ส�ำหรับบางคน อาจคิดว่ากีฬามวยใบตาลไม่น่าจัดแข่ง ไม่สนุก เพราะมันล้าสมัย แต่ส�ำหรับคนที่นี่สิ่งเหล่านี้มันคือสิ่งที่พวกเขาได้มา สนุกสนานร่วมกัน ส�ำหรับชายวัยปลดเกษียณที่หลงรักการแข่งมวยมาตั้งแต่ยังไม่ บรรลุนิติภาวะ เขาภูมิใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นตัวอย่างของเด็กรุ่น ใหม่ที่ยังสนใจและจะอนุรักษ์ต่อไป “ใบตาลแห้ง บางคนคิดว่าเป็นขยะ” แต่สามารถน�ำมาท�ำเป็นกีฬา ที่สนุกสนานแบบนี้ได้ คนในเมืองอาจจะเห็นว่าไม่มีประโยชน์ เป็นขยะ แต่ส�ำหรับคนในชุมชนมองว่ามันมีประโยชน์สามารถน�ำมาใช้ต่อได้ เขาบอกว่า คนสมัยนี้มีความเป็นอยู่แบบก้าวหน้ากันไปหมด จน ไม่มีใครมาอนุรักษ์ของเก่าๆแบบนี้ หากเขาไม่ท�ำกีฬาตรงนี้ต่อไปเด็กๆ คงจะไม่รู้กันว่าคนในรุ่นก่อนเขาเล่นอะไรกันและเล่นอย่างไร ลุงนิดจึงอยากให้คนรุน่ ใหม่หนั มาอนุรกั ษ์สงิ่ ต่างๆกันมากขึน้ แม้วา่ 70
เมื่อผู้แข็งเริ่มกล้าออกหมัด ความสนุกจึงเริ่มขึ้น ภาพ: องค์การบริหารส่วนต�ำบลถ�้ำรงค์
71
สิง่ เหล่านัน้ จะเป็นของเก่าล้าสมัยไปบ้างก็ตาม แต่หากไม่มใี ครอนุรกั ษ์ ต่อ ไปสิ่งเหล่านั้นก็จะไม่มีอีกและคงจะสูญหายไปตลอดกาล เขาเชื่อว่า เมื่อเด็กเหล่านี้ได้เห็น ได้เล่น ได้เชียร์ มาสนุกกันในวัน นีต้ อ่ ไปในวันข้างหน้า พวกเขาคงอยากให้รนุ่ ลูก รุน่ หลาน รุน่ ต่อๆไป ได้มี โอกาสได้เห็นกีฬาพืน้ บ้านของชุมชนแบบนี้ อย่างทีพ่ วกเขาได้เห็นกันในวันนี้ ...เมื่ อ หมดยกที่ ส ามสั ก พั ก ฉั น จึ ง เดิ น ออกมานอกขอบเวที บรรยากาศทัง้ บริเวณเวทีและบริเวณรอบๆงานยังคงคึกคัก และจะดูคกึ คัก มากกว่าช่วงก่อนหน้านี้เสียด้วยซ�้ำ เสียงเชียร์เริ่มดังขึ้นอีกครั้ง ท�ำให้เสียงกรอบใบตาลดังแผ่ว ก่อน ที่เสียงเฮจะดังลั่น นั่นเป็นสัญญาณว่าคู่ที่ขึ้นชกคู่นี้คงมีฝ่ายใดที่พลาดท่า เสียแต้มและอีกฝ่ายคงได้แต้มไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย...
72
แรลลี่ ล ้ อ โตนด เมื่อเดินออกมาจากขอบเวทีมวยใบตาลได้นิดหน่อย ฉันก็สะดุด ตากับกลุ่มเด็กนักเรียนที่ก�ำลังเล่นรถแข่งหรืออะไรสักอย่าง? “พีค่ รับ สนใจเล่นแรลลีไ่ หมครับ” เด็กนักเรียนวัยประถมเงยหน้า มาถามฉันอย่างสุภาพ “แรลลี่?” ฉันยืนดูว่าเล่นแรลลี่อะไรกัน แรลลี่ที่ฉันเคยได้ยิน น่า จะเป็นการขับรถแรลลี่ทางไกลมากกว่า ระหว่างทีก่ ำ� ลังยืนดูอยูน่ น้ั มีชายวัยกลางคนก�ำลังยิม้ แย้ม ในขณะ ทีใ่ นมือของเขาก�ำลังถืออุปกรณ์เพือ่ ซ่อมแซมรถแข่งทีเ่ ด็กๆใช้เล่นแรลลีก่ นั “ลุงน้อย ลุงน้อย” เสียงเด็กชายร้องเรียกชายคนดังกล่าวพร้อม ลากรถอีกคันมาให้เขาซ่อม ลุงน้อยทีเ่ ด็กเหล่านีเ้ รียกกัน แท้จริงแล้วคือคนทีท่ ำ� แรลลีล่ อ้ โตนด มาเป็นของเล่นให้เด็กๆเหล่านีไ้ ด้เล่นกันอย่างสนุกสนาน แต่แรลลีล่ อ้ โตนด นี้ก็ไม่ใช่ของเล่นส�ำหรับเด็กเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ผู้ปกครอบ พ่อแม่ ก็ สามารถเล่นได้เหมือนกัน แรลลี่นี้เป็นของเล่นพื้นบ้านที่สามารถเล่นกัน ได้ทั้งครอบครัว นอกจากจะได้ความสนุกจากการเล่นแล้ว ยังได้กระชับความ สัมพันธ์กับคนในครอบครัวได้มากขึ้น เป็นข้อดีตรงที่ว่า ในปัจจุบัน 73
แม้จะมีของเล่นต่างๆออกมามากมาย แต่บางอย่างก็ไม่สามารถท�ำด้วยกัน ทั้งครอบครัวได้ แถมยังแทรกความคิดให้เด็กเหล่านั้นรู้จักรู้แพ้ รู้ชนะ รู้ อภัยกันอีกด้วย ของเล่นรุ่นคุณปู่ “เอาคันนีไ้ ปเลย” เขาตะโกนบอกเด็กนักเรียนให้เอารถแรลลีท่ ที่ ำ� เตรียมเอาไว้ไปแข่งกันก่อน เมื่อเด็กๆแข่งกันจนเหนื่อยแล้ว พวกเขาต่างพากันมานั่งพัก บ้าง ก็วิ่งไปซื้อไอติมหลอดแท่งละหนึ่งบาทมากิน บ้างก็ไปเดินเล่นในงาน “ว่ายังไงหนู” ลุงน้อยเปรยถามพร้อมกับรอยยิ้ม ก่อนที่จะวาง อุปกรณ์ที่ถืออยู่วางลง พร้อมชวนให้ฉันไปนั่งที่ด้านหลังของพื้นที่แข่ง เป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ที่เขาคอยท�ำของเล่นให้แก่เด็กๆตาม โรงเรียนได้เล่นกัน ของเล่นดังกล่าวนัน้ ก็เป็นของเล่นทีค่ ณ ุ ปูท่ ำ� ให้เขาเล่น เมื่อสมัยเป็นเด็ก “มันเป็นของเล่นพื้นเมือง” เดิมทีนั้นมีชื่อเรียกว่า แข่งรถขาล้อ ตาล ก่อนที่จะมาเปลี่ยนเป็นแรลลี่ล้อโตนด เวลาทีเ่ ขาไปสอนเด็กนักเรียนตามโรงเรียนในชุมชน เขาต้องเตรียม อุปกรณ์เอง อย่างล้อตาลเขาต้องขึ้นไปเลือกตาลลูกโตๆมาจากต้นตาล ขนาดพอทีจ่ ะรับน�ำ้ หนักคนตัวใหญ่ได้ ขาล้อจะใช้ทางตาลมาท�ำ ส่วนทาง ตาลที่ใช้ก็ต้องยาวประมาณ 2 เมตร เพื่อเอาไว้ยึดและลากเพื่อให้รถ เคลื่อนที่เวลาแข่งกัน เด็กๆจะชอบใจมากหากวันไหนลุงน้อยขนอุปกรณ์ไปสอนพวกเขา เพราะพวกเขาจะได้เล่นแข่งกัน แต่จะเป็นเด็กชั้นประถมเสียมากกว่าที่ ชอบเล่น “บางทีพอ่ ลากลูกนัง่ บางทีแม่นงั่ พ่อลาก” เขาหัวเราะเล็กๆ พร้อม 74
ลุงน้อย สุริยะ ชูวงศ์ ผู้ที่ถ่ายทอดของเล่นรุ่นคุณปู่ให้แก่เด็กๆ
75
เด็กๆก�ำลังเล่นแรลลี่ล้อโตนดกันอย่างสนุกสนาน ภาพ: องค์การบริหารส่วนต�ำบลถ�้ำรงค์
76
ท�ำมือออกท่าทาง “แค่ 50 เมตร ก็เหนื่อยจะแย่แล้ว” ระยะทางที่ใช้แข่งกัน ประมาณ100 เมตร ลากไป 50 เมตร ลากกลับอีก 50 เมตร เขาบอกว่า ถ้าคนทีไ่ ม่เคยนัง่ จะนัง่ ไม่ทน นัง่ ได้ไม่นานแล้วก็จะตก เพราะทรงตัวไม่อยู่ เล่นแรลลี่จะเหนื่อยและสนุก เพราะทางตาลที่เอามา ใช้นั่งกับลากขนาดแค่ประมาณหนึ่งคืบมือ ไม่ได้มีขนาดกว้างมาก เมือ่ ถามไปว่าเวลาเล่นมีกติกาอะไรบ้าง เขาตอบว่า ถ้าล้อทีน่ งั่ แข่ง หลุดจะไม่แพ้ แต่ถ้าคนที่นั่งแข่งหลุดออกมาจากตัวรถจะถือว่าแพ้ทันทีก็ จะให้กลับมาเริ่มต้นใหม่ที่จุดเริ่มต้นเลย เวลาแข่งลุงน้อยจะท�ำรถส�ำรองเอาไว้ประมาณ 4 คัน แล้วก็น�ำ อุปกรณ์ไปเผือ่ ท�ำกันตรงนัน้ ไปเลย อย่างทีเ่ มือ่ กีน้ เี้ ขาก�ำลังสนุกกับการท�ำ ให้เด็กๆแข่ง ฉันคิดว่าภาพที่เขานั่งท�ำอุปกรณ์ขณะที่เด็กๆก�ำลังแข่งกัน อย่างสนุกสนานคงเป็นภาพที่ชินตา แต่ของเล่นชิ้นนี้มีวันหมดอายุ เพราะเก็บได้แค่ 7 วัน หากเก็บไว้ นานกว่านี้ลูกตาลที่น�ำมาใช้อาจจะเน่าได้ ฉันคิดว่าก็ต้องเป็นอย่างนั้นอยู่ แล้วแหละเพราะลูกตาลก็ใช้ลูกตาลจริงๆก็ต้องมีเน่าเปื่อยเป็นธรรมดา ของเล่นในเวลาปัจจุบัน ใช่วา่ จะมีแต่เด็กทีเ่ ล่นเพียงอย่างเดียว ยังมีเด็กทีค่ อยช่วยลุงน้อย ท�ำของเล่นเอาไว้ให้เพื่อนๆได้เล่นอยู่เป็นจ�ำนวนไม่น้อย ลุงน้อยมั่นใจว่า เด็กนักเรียนที่เขาเคยไปสอนท�ำแรลลี่ล้อโตนด ต้องท�ำกันเป็นทุกคน เพราะท�ำง่าย ไม่ยุ่งยาก และพวกเขาได้เรียนรู้วิธี การท�ำและการเล่นว่าเป็นอย่างไร เขาจึงค่อนข้างแน่ใจว่าในอนาคตมือ เล็กๆทีว่ นั นีล้ ากล้อโตนดเล่นกันเหล่านีจ้ ะเป็นมือทีค่ อยถ่ายทอดของเล่น รุ่นคุณปู่ ชิ้นนี้ให้คนได้มาสนุกสนานกันอย่างที่ตัวเขาท�ำในวันนี้ 77
เขาภูมใิ จทีไ่ ด้เป็นส่วนหนึง่ ของจังหวัด เพราะเวลามีงานพระนคร คีรีก็จะได้น�ำมาโชว์ให้คนได้เล่นได้เห็นกัน และยังได้น�ำของเล่นสมัยรุ่น คุณปู่มาสืบทอดให้รุ่นหลานได้เล่นกัน “ได้ทั้งก�ำลัง ได้ทั้งความสามัคคี” ใช่ ของเล่นในสมัยก่อนเล่นแล้วได้ท้ังก�ำลัง ได้ทั้งความสามัคคี แต่... ของเล่นในปัจจุบันบางทีก็เล่นแล้วไม่ได้ก�ำลัง แถมยังท�ำให้ความ สัมพันธ์กับคนใกล้ตัวลดลงไปอีกเสียด้วยซ�้ำ….
78
บ้ า นศิ ริ นั น ท์ บ้ า นแห่ ง การละเล่ น หลังจากที่ฉันได้เดินดูกิจกรรมต่างๆที่งานประจ�ำปีแล้ว ท�ำให้ฉัน รู้ว่าบางบ้านในชุมชนก็ช่วยๆกันท�ำแต่ไม่ได้เป็นแกนน�ำอะไร บางบ้านก็ เป็นแกนน�ำหลัก แถมบางบ้านทีเ่ ป็นแกนน�ำหลักแล้วยังท�ำหลายกิจกรรม ไปพร้อมๆกัน ขณะที่ฉันก�ำลังเขียนหนังสือเล่มนี้ และเขียนถึงตอนที่คุณก�ำลัง อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ฉันก�ำลังนึกถึงบรรยากาศของบ้านศิรินันท์ บ้านหลัง นีน้ อกจากจะมีคนอยูอ่ าศัยกันเยอะแล้วยังมีความเป็นกันเองกับฉันเอาซะ มากๆแถมทั้งคุณลุงและคุณป้าก็ใจดีเสียเหลือเกิน บ้านศิรนิ นั ท์ บ้านหลังนีเ้ ต็มเปีย่ มไปด้วยการสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ของชุมชน ไม่วา่ จะเป็นการเล่นผีกระด้ง ทีไ่ ด้ยนิ ชือ่ แล้วอาจสะดุดหูวา่ จะ ออกมาเป็นแบบใดหรือน่ากลัวขนาดไหน และเห่เรือบกที่เป็นการปรับ เปลี่ยนรูปแบบมาจากการเห่เรือน�้ำ เห่เรือบกนั้นก็ไม่ได้มีแต่เพียงผู้ใหญ่วัยชราเพียงอย่างเดียวที่ยัง เล่นแต่ยังมีเห่เรือกบกที่เป็นเรือล�ำเล็ก หรือว่าเรือเด็กวัยรุ่นที่ให้คนหนุ่ม สาวมาพายกัน เมือ่ นึกถึงวันทีไ่ ด้คยุ กับเด็กจากเรือล�ำเล็กฉันก็อดชืน่ ใจไม่ ได้ทเี่ ด็กในวัยหัวเลีย้ วหัวต่อจะมีความคิดทีโ่ ต จนบางครัง้ ผูใ้ หญ่อย่างเราๆ ก็อาย 79
ก�ำลังจะเข้าผี ภาพ: องค์การบริหารส่วนต�ำบลถ�้ำรงค์
80
คนเข้าผี “เร็ว รีบๆไปเตรียมของ เดี๋ยวเล่นแล้วจะไม่ทัน” เสียงพูดคุยกัน ของชาวบ้านที่เดินแซงหน้าฉันด้วยความเร่งรีบ เขาเดินมุง่ หน้าไปยังลานกว้าง ในบริเวณนัน้ มีทงั้ อุปกรณ์ เครือ่ งดนตรี และคนที่มายืนรอดูกิจกรรมอะไรสักอย่างที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นอีกไม่กี่นาที ...เสียงขบวนกลองยาวเริ่มบรรเลงขึ้น อันเป็นสัญญาณที่บอกว่า ผีกระด้งได้เริ่มขึ้นแล้ว ขบวนกลองยาวเดินมาหยุดลงที่ทางสามแพร่ง หญิงชรารูปร่าง ผอมบางก�ำลังนั่งยองๆอยู่ที่ทางสามแพร่ง ประนมมือก�ำลังท�ำพิธีกรรม เซ่นไหว้ ที่พื้นมีกระด้งสานวางไว้ ภายในกระด้งมีแป้งหอม น�้ำมันหอม ข้าวสุก หางปลาสุก หวี และกระจก จะวางพร้อมกับเหล้าหรือกระแช่ที่ ใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้ ณ ตอนนัน้ ฉันไม่ได้อยูใ่ นขบวน ขอเพียงรอดูความสนุกสนานของ ขบวนอย่างห่างๆจะดีกว่า เมือ่ ขบวนกลับมาถึงลานทีจ่ ะเล่น จะมีชาวบ้านสองคนน�ำสากต�ำ ข้าวที่มีด้ามยาวๆมาวางไว้ตรงกลางลานเล่น 2 ด้าม แล้วขึ้นไปนั่งขี่สาก คนละด้าน สากนัน้ จะแบ่งเป็นด้านหัวและด้านท้าย ทัง้ สองทีข่ สี่ ากอยูน่ นั้ จะโยกกระด้งไปทางซ้ายทีขวาที “นางด้งเอย เข้าป่าลาหงส์ เข้าดงไม้หมาก ข้าวสากไม้แดง ข้าว แสงแมงเม่า กระด้งฝัดข้าว ออนางปีบปีบ ออนางปายปาย คนดิ้นตายใน แม่น�้ำเอย” เสียงกลองยาวและเสียงปรบมือจากชาวบ้านให้จังหวะ หญิงชรา อีกหนึง่ คนทีท่ ำ� หน้าทีร่ อ้ งเพลงเข้าผี เมือ่ สิน้ เสียงขับร้องเขาจึงเดินเอามือ ไปจับที่กระด้ง 81
ก่อนทีส่ หี น้าของเขาจะเปลีย่ นไป แลดูขงึ ขัง และเหวีย่ งกระด้งไป รอบๆอย่างไร้ซึ่งการควบคุม ท�ำให้คนที่ท�ำหน้าที่ช่วยจับคนเข้าผีต้องน�ำ กระด้งไปซ่อนให้ไกลจากตัวคนเข้าผี กลองยาวยังคงให้จังหวะต่อไป คนที่เข้าผีจะร�ำตามจังหวะการตี กลองยาว หากใครตีกลองยาวไม่เข้าจังหวะจะถูกคนที่เข้าผีฟาดด้วย กระด้ง คนอื่นๆที่ร่วมกันเล่นในวงจะช่วยกันร้องเพลงและร�ำตามจังหวะ กลองยาว พวกเขาจะคอยกันไม่ให้คนที่เข้าผีไปท�ำร้ายคนอื่นๆ และที่ ส�ำคัญจะต้องคอยน�ำกระด้งไปซ่อน เพราะกระด้งคือสิง่ ส�ำคัญของการเล่น คนที่เข้าผีจะใช้กระด้งไปฟาดคนอื่นๆ เมื่อเข้าผีได้สักพัก ใบหน้าของผู้ถูกเขายังคงขึงขัง การเคลื่อนไหว ของเขาดูไม่คล่องแคล่วอย่างตอนแรก การหายใจเริม่ เร็วและแรงขึน้ ผูร้ ว่ ม วงจึงหวีดร้องใส่หคู นทีเ่ ข้าผีเพือ่ ให้ผอี อก พวกเขามีความเชือ่ กันว่าผูท้ เี่ ข้าผี จะไม่รู้สึกตัวว่าก�ำลังท�ำอะไรอยู่ แต่หูของเขาจะได้ยินเสียง ผู้ร่วมวงต่างเข้าไปยึดตัวหญิงชราที่เข้าผีไม่ให้ร�ำต่อพร้อมทั้งหวีด ร้องใส่หขู องเขา ก่อนทีจ่ ะรีบไปหยิบกระด้งใบทีน่ ำ� ไปซ่อนเอาไว้มาให้หญิง คนนั้นจับเพื่อให้ผีออก หลังจากที่หญิงคนนั้นจับกระด้ง ใบหน้าของเขาไม่ขึงขังแต่กลับ ซีดเซียว ร่างกายดูออ่ นแรงราวกับทิง้ น�ำ้ หนักตัวลงมาทีพ่ นื้ ในขณะทีผ่ รู้ ว่ ม วงจะช่วยกันพัดและยื่นยาดมมาให้สูดดม ก่อนที่จะช่วยกันประคองออก ไปนั่งในที่ที่อากาศถ่ายเท ความเชื่อของชุมชน ชาวบ้านทีน่ มี่ คี วามเชือ่ กันว่า ทางสามแพร่ง จะมีวญิ ญาณบรรพบุรษุ และวิญญาณทัว่ ไปทีย่ งั คงวนเวียนอยูม่ ากมายในบริเวณนัน้ จึงได้ใช้สถานที่ี 80
ผู้ที่เข้าผีก�ำลังอาละวาด ภาพ: องค์การบริหารส่วนต�ำบลถ�้ำรงค์
81
ชาวบ้านช่วยกันยึด เพื่อที่จะให้ผีออกจากผู้เล่น ภาพ: องค์การบริหารส่วนต�ำบลถ�้ำรงค์
84
สัมฤทธิ์ ศิรนิ นั ท์ ผูท้ เี่ ป็นหัวหน้าขบวนกลองยาวและผูท้ ยี่ งั จัดการ เล่นผีกระด้งเล่าว่า เทศกาลสงกรานต์หรือช่วงปีใหม่ไทยจะเป็นช่วงทีช่ าว บ้านออกมาร้องร�ำท�ำเพลงเล่นผีกระด้งกัน “คนที่จะเข้าผีได้ต้องมีเชื้อสายมาก่อน” เป็นการสืบทอดกันจาก รุ่นบรรพบุรุษ มีเรือ่ งเล่าอยูว่ า่ คนทีจ่ ะเข้าผีแล้วแม่ของตัวเองก็เคยเข้าผีแต่ยงั มี ชีวิตอยู่นั้นผีจะไม่เข้า แต่ถ้าแม่ของเขาเสียไปแล้วจะสามารถเข้าได้ เรื่อง นีล้ งุ จ๋อยก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าเป็นเพราะความบังเอิญหรือเหตุใด แต่คน โบราณเชื่อกันว่าที่เข้าไม่ได้เป็นเพราะตัวของแม่นั้นยังมีบุญเหลืออยู่ “ตอนแม่อยู่นี่พยายามตั้งเท่าไหร่ พอแม่ไม่อยู่นี่ได้เรื่องเลย” ผีกระด้ง เป็นการละเล่นของคนในชุมชนนีม้ าตัง้ แต่รนุ่ บรรพบุรษุ ย้อนกลับไปในปี 2437 บรรพบุรุษรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย มักจะเล่นกันในช่วง เทศกาลสงกรานต์หรือช่วงปีใหม่ไทย ถือกันว่าเป็นการได้พกั ผ่อนจากการ ท�ำงานหนักมาตลอดทั้งปี “ท�ำไมถึงเป็นผีกระด้งคะ” ฉันถามเขาด้วยความสงสัย ทีส่ มัยบรรพบุรษุ ใช้กระด้งมาเป็นทีส่ งิ สถิตวิญญาณในยามการละ เล่นเนือ่ งจากกระด้งเป็นของทีใ่ ช้อยูใ่ นชีวติ ประจ�ำวัน เป็นเครือ่ งมือท�ำมา หากินของคนในหมู่บ้านที่เล่นกันเพื่อความสนุกสนานและคลายเครียด เขาอธิบายว่า การเล่นผีกระด้งนีไ้ ม่จำ� เป็นต้องเซ่นท�ำพิธที กุ ปีกไ็ ด้ จริงๆแล้วเป็นการจัดเล่นตามความสมัครใจของชาวบ้าน หากปีไหนไม่ พร้อมทีจ่ ะเล่นก็ไม่ตอ้ งจัด คนในหมูบ่ า้ นเชือ่ กันว่าหากไม่จดั ก็ไม่เกิดผลที่ ไม่ดีต่อพวกเขา “กระด้งที่ใช้ก็ต้องเป็นกระด้งมีดี” “มี ดี คื อ อะไรเหรอคะ” มี ดี คื อ กระด้ ง ที่ ม องตามแนวทแยง 85
แล้วจะเห็นเป็นลายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ดี จะอยู่ตรงกลางกระด้ง ส่วน ใหญ่จะเป็นกระด้งแบบโบราณถึงจะมีดีตรงกลาง ด้วยความกลัวมีมากกว่า ฉันคุยกับลุงจ๋อยแค่ประเดี๋ยวประด๋าวในขณะที่เขาพักจากการตี กลอง เมื่อกิจกรรมทุกอย่างในการเล่นผีกระด้งสิ้นสุดลงแล้วฉันจึงได้เดิน เข้าไปคุยกับแกอีกครั้ง แกบอกว่า ต้องเลิกเล่นก่อน 6 โมงเย็น เพราะถ้ามืดแล้วผีจะไม่ ออกและห้ามเล่นใกล้ป่าช้าหรือใกล้วัด เพราะคนโบราณพูดกันว่าเดี๋ยว เขาจะออกมาเล่นด้วย “บางคนที่เขาไม่เชื่อว่าจะมีจริงๆก็มีนะ” ปัจจุบนั คนทีจ่ ะเล่นส่วนใหญ่จะค่อนไปทางวัยชรา ส่วนวัยรุน่ หนุม่ สาวทีม่ เี ชือ้ สายเคยเล่นมาก่อนก็ไม่กล้าเล่นกันแล้ว ด้วยความกลัวทีว่ า่ ถ้า เล่นแล้วผีจะไม่ยอมออก ส่วนคนทีอ่ ยากลองเล่นก็ไม่สามารถเล่นได้หากบรรพบุรษุ ไม่มเี ชือ้ สายการเข้าผี แต่แกบอกว่าตั้งแต่เล่นมาก็ยังไม่เคยเจอที่ว่าผีเข้าแล้วไม่ ยอมออก จากทีฉ่ นั เห็นส่วนใหญ่จะมีแต่คนมายืนดูเสียมากกว่า เมือ่ ถามลุง จ๋อยเขาบอกว่าคนมาดูจะมีมากกว่าคนเข้าผี คนมาเล่นไม่ค่อยจะมีเท่าไหร่ คงเป็นเพราะว่ากลัวกันหมด เลย ท�ำให้คนที่จะมาสืบทอดก็ไม่มี ฉันแอบคิดในใจว่า...ไม่เป็นไร หาก วันนี้...ยัง ไม่มีคนเล่น ไม่มีคนสืบทอด แต่แอบหวังว่า วันหน้า...คงจะมี คนสืบทอดที่เล่นผีกระด้งที่บ้าน ถ�้ำรงค์ 86
ป้าแจ๋ว เห่เรือบก พลบค�่ำวันนี้เป็นคืนที่ลานสนามหญ้าหน้าโรงเรียนวัดถ�้ำรงค์เต็ม ไปด้วยผู้คนมากมาย บริเวณนี้เป็นพื้นที่ของวัดถ�้ำรงค์ที่เป็นย่านใจกลาง ชุมชนเต็มไปด้วยการประดับประดาตกแต่งไฟ แสง สี ในงานประจ�ำปีของ ชาวถ�้ำรงค์ เมื่อเสียงจากการเป่านกหวีดลากยาวขึ้นพร้อมกับเหล่าหญิงชรา พายเรือบกออกมา อันเป็นสัญญาณที่บอกให้รู้ได้ว่า กิจกรรมการเห่เรือ บกได้เริ่มขึ้นแล้ว พร้อมๆกับที่คณะเห่เรือบกของบ้านศิรินันท์จะได้ออก มาแสดงลีลาจังหวะการพายสู่สายตาของผู้ชม ครั้งนี้ยังนับเป็นครั้งแรกของฉันที่ได้มีโอกาสเดินเบียดผู้คนที่มา รอชมการเล่นเห่เรือบก เมื่อฉันมองตั้งแต่การเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่ยังไม่เริ่มพายจะเห็นได้ว่า มีหญิงชรารูปร่างผอมบางอยู่หนึ่งคนที่ คอยถามไถ่ถึงความพร้อมของเหล่าฝีพาย เมื่อเพ่งมองดูแล้วจึงรู้สึกคุ้นๆหน้าของเขา เมื่อนึกไปนึกมาจึงจ�ำ ได้วา่ เขาผูน้ คี้ อื คนทีน่ ำ� ของไปเซ่นผีกระด้งเมือ่ ช่วงตอนเย็นของวัน เขาคน นั้นคือ ป้าแจ๋ว เห่เรือบก มี เห่เรือบก แทน เห่เรือน�้ำ “เป็นเวลา 16 ปีแล้ว ที่มาร่วมกันฟื้นฟู” ในวันนั้น แจ๋ว ศิรินันท์ หรื อ ป้ า แจ๋ ว ผู ้ ที่ ฟ ื ้ น ฟู ก ารเห่ เรื อ บกในชุ ม ชนถ�้ ำ รงค์ อายุ 66 ปี จุดเริ่มต้นที่มีการเล่นเห่เรือบกเพราะว่า จังหวัดเพชรบุรีมีการ สร้างเขื่อนขึ้นที่อ�ำเภอท่ายางซึ่งอยู่ใกล้กับต�ำบลถ�้ำรงค์ เมื่อเขื่อนปิดกั้น ทางเดินน�ำ้ ท�ำให้แม่นำ�้ เพชรแห้งขอดลง ผูค้ นทีเ่ คยเห่เรือน�ำ้ จึงไม่สามารถ เห่ได้ดั่งเดิมจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการเห่เรือน�้ำเป็นการเห่เรือบนบก แทน 87
(บน) ป้าแจ๋ว ศิรินันท์ ผู้ฟื้นฟูการเห่เรือบก (ล่าง) น้องแน็ท กุศลาภรณ์ ชูทาน เด็กสาววัยรุ่นที่ไม่อายในการสืบสาน
88
“เอาเนื้อร้อง ท�ำนองมาดัดแปลงกับท่าการพาย” ส่วนใหญ่นิยม เล่นกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ งานทอดกฐิน ที่เขามาฟื้นฟูเพราะเห็นว่าเห่เรือบกเริ่มจะสูญหายไปเต็มที จึง อยากที่จะมาสืบทอดให้รุ่นหลานได้เห็นได้เล่นกัน เพราะตัวของเขาก็ได้ รับการสืบทอดมาจากรุ่นแม่ นอกจากที่ป้าแจ๋วจะท�ำหน้าที่ฟื้นฟูแล้ว เขา ยังท�ำหน้าที่ฝึกซ้อม ทั้งการร้องและจังหวะลีลาการพาย เขาบอกว่า อาศัยสถานที่ซ้อมตามลานวัดหรือไม่ก็สนามโรงเรียน ซ้อมช่วงตอนโรงเรียนเลิกแล้ว แต่แกไม่สามารถบอกได้ว่าแต่ละคนต้อง ใช้เวลาฝึกซ้อมนานแค่ไหน เพราะขึน้ อยูก่ บั ความพร้อมเพรียงของการร้อง ท่วงท่าในการพาย หากพายแล้วสวยเหมือนพายเรือน�้ำจริงๆจึงจะออก เรือไปท�ำการแสดงได้ เมื่อสิ้นเสียงนกหวีดเป่าให้สัญญาณแล้ว เหล่าฝีพายรุ่นใหญ่ จ�ำนวน 16 คน ยกพายขึน้ ในแนวตัง้ ก่อนทีจ่ ะมีคนเปล่งเสียงบทร้องออก มา ฝีพายจึงใช้พายจ้วงพายดั่งการพายเรือน�้ำและร้องรับไปพร้อมๆกัน ประกอบกับการให้จังหวะของฉิ่งและกลองยาว การแต่งกายของเหล่าฝีพายทีเ่ ห่เรือบกก็ไม่ได้บงั คับตายตัวว่าต้อง แต่งแบบใด ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความต้องการ แต่โดยส่วนมากจะ สวมเสื้อแขนกระบอกหรือไม่ก็เสื้อลายดอกที่มีสีสันสดใส นอกจากการ ร้องการแต่งกายอาจเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนสร้างความคึกครื้นโดยรวมได้ “ความแตกต่างอยูท่ เี่ พลงประกอบ” ป้าแจ๋วบอกว่า เพลงทีใ่ ช้รอ้ ง แต่ละงานจะต่างกันออกไปตามสถานที่และโอกาส จึงต้องมีคนคอยแต่ง เพลงให้ แต่ปัจจุบันนี้คนที่คอยแต่งเพลงให้ก็ไม่อยู่แล้ว “แต่ตอนนี้คนที่คอยแต่งเพลงให้ก็ไม่อยู่แล้ว” เด็กสาววัย 17 คน หนึ่งรีบเปรยขึ้น 89
“เขาเป็นพระ มรณภาพไปแล้ว” เด็กสาวกล่าว ฉันถามเขาว่า เมื่อไม่มีคนแต่งเพลงให้แล้วท�ำอย่างไร เขาตอบว่า ต้องใช้เพลงเก่า อย่างเขาเป็นเด็กพายเรือล�ำเล็กก็ต้องใช้เพลงเก่าของรุ่น ป้าแจ๋วมาร้องแทน “พวกหนูไม่มีเพลงใหม่แล้ว” เด็กสาวสวนกระแส สาววัย 17 เขาคือ กุศลาภรณ์ ชูทาน หรือ น้องแน็ท เป็นสมาชิก ที่เล่นเห่เรือบกกับป้าแจ๋วมาตั้งแต่อายุ 15 แม้วา่ การแสดงวันนีจ้ ะมีเพียงแค่เรือรุน่ ใหญ่ เขาจึงไม่ได้แสดง แต่ เขาก็คอยมาให้ก�ำลังใจป้าๆทุกคน หากไม่มีโอกาสได้คุยกับเขาฉันคงคิด ว่าน้องคงไม่ได้สนใจเห่เรือบกนีส้ กั เท่าไหร่เพราะแค่ภายนอกด้วยการแต่ง ตัวอย่างวัยรุ่นทั่วไป ใครจะไปคิดล่ะว่าเด็กวัยรุ่นขนาดนี้จะมาเล่นอะไรแบบนี้ด้วย… ย้อนกลับไปเมือ่ ตอนทีน่ อ้ งแน็ทเรียนอยูช่ นั้ ม.3 มีผใู้ หญ่สนับสนุน ทุนให้จำ� นวนหนึง่ มาสร้างเรือบกล�ำของเด็กขึน้ เขาจึงลองชักชวนเพือ่ นๆ และคนแถวบ้านมาลองเล่นดู “หนูกอ็ าศัยว่าจ�ำมาจากป้าแจ๋ว” เขาหมัน่ ไปดูบอ่ ยๆเวลาทีม่ กี าร ซ้อม คอยลักจ�ำมาว่าควรร้องอย่างไร แบ่งจังหวะ แบ่งท่อนร้องอย่างไร อย่างถ้าเป็นผูช้ ายมาเล่นเสียงร้องจะไม่คอ่ ยเข้ากับเสียงของผูห้ ญิงเท่าไหร่ “แล้วมีแบบเพื่อนล้อเพื่อนว่าบ้างรึเปล่าเพราะแน็ทก็ 15 เอง” “แรกๆมีเพือ่ นมาถามว่าไม่อายเหรอ” เพือ่ นถามเขาว่าไปเล่นพาย เรือ แต่งตัวเป็นสุ่มแบบนั้น แต่ถึงอย่างไรเขาก็ไม่อาย “ต่อให้ได้เงินหรือไม่ได้เงินหนูก็ไม่อาย” น้องแน็ทพูดพร้อมส่าย หัวเล็กๆแบบไม่ใส่ใจ “หนูขอแค่ได้สบื ทอดเห่เรือบกก็พอ” ฝีพายวัยรุน่ ไม่สนใจค�ำพูดเหล่านัน้ 90
เรือผู้ใหญ่ ที่ใช้ในการเห่เรือบก
91
เธอบอกเล่าความรู้สึกให้ฉันฟังว่า การที่เขามาเล่นเห่เรือบก นอกจากจะได้ความสนุกสนานขณะที่เล่น ได้มิตรภาพจากการซ้อมแล้ว ยังได้เป็นเหมือนตัวแทนของชุมชน “เวลาเราไปเล่นที่อื่น คนอื่นจะได้รู้ว่าชุมชนเรายังมีการอนุรักษ์ แบบนี้ ทีอ่ นื่ จะมีอะไรก็ชา่ งเขา แต่ของเรามีประเพณีน”ี้ เขาพูดด้วยความ ภูมิใจที่สามารถหัดซ้อมให้น้องๆได้และได้เป็นตัวแทนชุมชน ทันใดนั้นเขาก็ขับร้องเพลงที่ใช้เห่เรือบกให้ฉันฟัง... “ยุคใหม่ปัจจุบัน สาละวันว้าวุ่น ชนชั้นนายทุน กักตุนธิปไตย น�ำ้ มันเบนซิล ได้ยนิ กันทุกแห่ง ดีเซลเข้ามาแซงแทนน่าใจหาย ชาวประมง ต้องชะงัก ต้องหนักชาวเล จอดเรือหว้าเหว่ จะไปเฮหาใคร (ป้าแจ๋วที่ยืน ฟังอยูก่ ร็ อ้ งสอนขึน้ มาว่า ไม่รจู้ ะเห่ไปหาใคร) อีกทัง้ เป็ดไก่เกิดเป็นไข้หวัด นก ขืนหยิบเอามาฉกบริโภคกลัวตาย ไข่เป็ดไข่ไก่ ตกใบละสามบาท ราคา ขึน้ พงาดไม่บงั อาจจับจ่าย ปุย๋ ยาสารพันทีเ่ ป็นสารเคมี ดันมาแพงหูฉปี่ ราณี กันทีไ่ หน พวกเราชาวเรือขอให้เอือ้ อาทร คลายความเดือดร้อนขอพรท่าน ผู้ใหญ่ บ้านเมืองจะสุขสันต์ คอรัปชั่นออกไป ” เมือ่ ไม่ม…ี น้องแน็ทพูดเชิงน้อยใจว่า หากยังไม่มีคนสนับสนุนและคนที่มา ร่วมเล่นเห่เรือบกอาจจะสูญหายไปจากชุมชน “หมดแล้วคือหมดกัน” “หนูอยากให้คนรุน่ หลังอย่างรุน่ หนูมาอนุรกั ษ์กนั มากขึน้ จะได้มี คนที่สืบทอดกันอยู่ เราจะได้ไม่น้อยหน้าใคร” “ถึงเราจะเป็นแบบพายเรือ คนอืน่ อาจจะคิดว่าพายเรือกระจอกๆ ไปท�ำอะไรที่มีแสงสีดีกว่า แต่เราก็คิดว่าเราเป็นตัวแทนชุมชนท�ำให้บ้าน เรามีชื่อเสียง ไม่ต้องไปสนใจคนอื่น” เสียงเป่านกหวีดลากยาวอีกครัง้ ดึงฉันให้กลับมาในปัจจุบนั พร้อมกับ 92
ภาพตรงหน้าทีบ่ อกให้รวู้ า่ การเล่นเห่เรือบกก�ำลังจะสิน้ สุดลง ก่อนทีเ่ หล่า ฝีพายจะยกพายชูขึ้นตรงในแนวตั้งและพวกเขาส่งยิ้มหวานไปยังผู้ชม เสียงกลองยาวเริ่มเบาลง เหล่าฝีพายยังยืนอยู่กับที่ ผู้คนที่มาชม และฉันต่างพากันปรบมือให้กำ� ลังใจกับผูท้ รี่ ว่ มพายเรือบกและผูใ้ ห้จงั หวะ ในการเห่เรือบกที่อยู่ตรงหน้า เขาเหล่านั้นเป็นผู้ที่ไม่ใช่แค่ท�ำการแสดง เพือ่ ความสนุกสนาน แต่เป็นการแสดงทีย่ งั คงอนุรกั ษ์วฒ ั นธรรมของชุมชน เอาไว้ให้คงอยู่ต่อไป ทุกคนต่างพากันถ่ายภาพการแสดงนี้ ถึงบรรยากาศในช่วงสุดท้าย จะวุ่นวายไปด้วยผู้คนเล็กน้อย แต่ฉันเชื่อว่า…ปีหน้าและปีต่อๆไป เห่เรือ บกจะยังมีคนมาชมการแสดงอย่างเช่นที่เคยเป็นมา ก่อนทีจ่ ะผ่านพ้นคืนนีไ้ ป ฉันก็เป็นอีกหนึง่ คนทีไ่ ด้ถา่ ยรูปคูก่ บั การ แสดงเห่เรือบกนี้… แต่อาจจะเป็นการถ่ายภาพทีต่ า่ งจากคนอืน่ เพราะฉันมีเฟรมภาพ ที่ใหญ่และกว้าง พอที่จะบันทึกเรื่องราวของทุกคนที่ได้มาอยู่ร่วมกันใน ช่วงเวลาที่มีการแสดงสั้นๆในงานประจ�ำปีแห่งนี้…
93
ทิ ศ ใต้
ถนนเพชรเกษม
อ.ท่ายาง
550 ม.
มวยใบตาล
อุโมงค์กลับรถ
ปากทางเข้าวัดถ�้ำรงค์ 1 กม.
อบต.ถ�้ำรงค์
วัดถ�้ำรงค์ คลองชลประทาน 1.3 กม.
วัดขลุบ
บ้านศิรินันท์
1.1 กม.
แรลลี่ล้อโตนด วัดท่าไชยศิริ
ถนนเพชรเกษม ห้างบิ๊กซี
เขาวัง
7 กม. ตลาดเพชรบุรี
94
...การเดิ น ทาง... มวยใบตาล
ที่อยู่ : หมู่ 4 ตำ�บลถ�้ำรงค์ อำ�เภอบ้านลาด เวลาเปิด-ปิด : ควรโทรติดต่อก่อนล่วงหน้า โทรศัพท์ : 08-7171-7965
แรลลี่ ล ้ อ โตนด
ที่อยู่ : หมู่ 2 ตำ�บลถ�้ำรงค์ อำ�เภอบ้านลาด เวลาเปิด-ปิด : ควรโทรติดต่อก่อนล่วงหน้า โทรศัพท์ : 08-1986-8786
บ้ า นศิ ริ นั น ท์
ที่อยู่ : หมู่ 2 ตำ�บลถ�้ำรงค์ อำ�เภอบ้านลาด เวลาเปิด-ปิด : ควรโทรติดต่อก่อนล่วงหน้า โทรศัพท์ : 08-9143-2918
การละเล่นส่วนใหญ่ถกู จัดขึน้ เฉพาะช่วงงานประจำ�ปีของชุมชนใน เดือนเมษายนเท่านั้น หากสนใจเข้าชมในช่วงเวลาอื่นๆสามารถโทรติดต่อ ก่อนล่วงหน้า
95
อ นุ รั ก ษ ์ ผ ่ า น อ า ห า ร ก า ร กิ น
ห้า รสหวานจากโตนด หลังจากที่ได้เที่ยวชมทั้งสถานที่ต่างๆและศิลปวัฒนธรรมของ ชุมชนถ�้ำรงค์แล้ว ก็เกิดความเหนื่อยล้า ดั่งค�ำที่ว่า ‘กองทัพต้องเดินด้วย ท้อง’ หากฉันจะจบการเยือนถ�ำ้ รงค์เพียงเท่านีฉ้ นั คิดว่ามันยังมีอะไรทีข่ าด หายไป เมื่อท้องเริ่มส่งเสียงความหิวออกมาจึงรู้สึกได้ว่ายังเหลือสถานที่ หนึง่ ทีฉ่ นั ยังไม่ได้แวะนัน่ คือ โรงครัวของชาวถ�ำ้ รงค์ โรงครัวในทีน่ ไี้ ม่ใช่โรง อาหารแต่อย่างใด แต่คืออาหารเด็ดประจ�ำชุมชนนั่นเอง หากมีโอกาสได้มาเยือนถ�ำ้ รงค์ ชุมชนทีม่ ตี าลโตนดเป็นเอกลักษณ์ แล้วไม่มีโอกาสได้มาลิ้มลองความอร่อยของขนมและอาหารที่ท�ำจากลูก ตาลคงเรียกได้ว่าเหมือนมาไม่ถึงถ�้ำรงค์ เพราะทีน่ นี่ อกจากจะขึน้ ชือ่ เรือ่ งแหล่งอนุรกั ษ์ตน้ ตาลแล้ว ยังขึน้ ชื่อเรื่องอาหารจากตาล จนต้องบอกว่าอาหารบางอย่างที่มีที่นี่หาทานที่ อื่นแทบจะไม่ได้แล้วในทุกวันนี้ แน่นอนว่า ‘ขนมตาล’ น่าจะเป็นขนมที่หลายๆคนรู้จักและเคย ได้ลมิ้ รสกันมาแล้ว ส�ำหรับของทีช่ มุ ชนนีจ้ ะนึง่ ให้ทานกันแบบสดๆร้อนๆ ท�ำให้ได้กลิ่นหอมน่าทานที่เพิ่งออกมาจากซึ้งนึ่ง และรสชาติที่ได้ก็หวาน จากตาลโตนดแท้ๆ 97
ที่พลาดไม่ได้คงเป็น ‘ลูกตาลเชื่อม’ และ ‘โตนดทอด’ แค่ฟังชื่อ ก็รู้แล้วว่าเป็นของหวาน ทานเล่นๆ เผลอๆ เกือบอิ่มแทนข้าวได้เลย แต่ จะหวานแค่ไหนและหวานต่างจากที่อื่นหรือไม่เอาเป็นว่าควรหาโอกาส มาลองทานกันเอง แต่อาหารแนะน�ำที่ไม่ควรพลาดสุดๆนั่นคือ ‘แกงหัวตาล’ รับ ประกันความอร่อยและรับประกันได้เลยว่ามีนอ้ ยคนนักทีจ่ ะรูจ้ กั และเคย ได้ทาน ขนาดฉันอยู่ที่เพชรบุรีมาตั้งแต่เกิดยังไม่มีโอกาสได้ลองทานเลย จะว่าไปแล้ว ระหว่างที่ก�ำลังนั่งเขียนหนังสือเล่มนี้ท้องก็เริ่มร้อง คงเป็นเพราะว่าตอนนี้ฉันก�ำลังหิวแล้วและยังไม่ได้ทานอะไรเลย หากได้ ทานขนมตาลสักชิ้นสองชิ้นก็คงพอคลายความหิวลงไปได้บ้าง...
98
ของคาวและหวาน...ต้ อ งป้ า ชิ น สิ่งหนึ่งที่หากมาเยือนเพชรบุรีแล้วสิ่งที่ห้ามพลาดคือ ขนมหวาน นอกจากขนมหม้อแกงยังมีขนมหวานอย่างอื่นที่อร่อยไม่แพ้กัน ขนมตาลเป็นขนมหวานที่ขึ้นชื่ออีกหนึ่งอย่างของจังหวัดที่ถูกส่ง ไปขายยังจังหวัดอืน่ ๆ แต่หากได้มาเยือนเพชรบุรแี ละเยือนชุมชนต้นตาล ทั้งทีแต่พลาดขนมตาลที่นึ่งร้อนๆออกจากซึ้งก็คงน่าเสียดาย ฉันไม่รรี อแต่อย่างใด รีบกัดลงไปทีข่ นมตาลเนือ้ สีเหลืองฟู ห่อด้วย กระทงที่ส่งกลิ่นหอมมาตั้งแต่นึ่งอยู่ในซึ้ง เมื่อได้คุยกับ ชิน อ่วมพ่วง หรือ ที่ทุกคนเรียกกันว่า ป้าชิน เขา เป็นแม่ครัวประจ�ำของชุมชน ไม่วา่ จะเป็นงานไหนต่องานไหนเขาต้องเป็น หนึ่งตัวแทนที่ปรุงความอร่อยให้ผู้มาเยี่ยมเยือนได้ชิม เขาไม่ได้ท�ำอร่อยแค่ขนมตาลอย่างเดียว แต่เขาท�ำอาหารคาวที่ หาทานได้ยากมากอย่างแกงหัวตาลได้แซ่บอีกด้วย แต่เขาไม่ได้ท�ำขายเป็นอาชีพ ท�ำเพียงแค่ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ อยากทานของอร่อยจากปลายจวักเขาเท่านัน้ และท�ำไปแจกในงานประจ�ำปี ของชุมชนถ�้ำรงค์ที่จัดขึ้นเพียงปีละครั้งเท่านั้น นอกจากนั้นต้องโทรนัดป้าชินก่อนล่วงหน้าถึงจะได้ทาน โชคดี ที่ ฉันมาได้จังหวะในช่วงงานประจ�ำปีพอดี 99
ขนมตาล…สีเหลือง เนื้อฟู ป้าชินเล่าว่า เขาไม่ได้ท�ำขายแต่จะเป็นเหมือนตัวแทนของชุมชน ทีไ่ ด้ทำ� ไปเลีย้ งต้อนรับเวลาทีม่ งี านต่างๆหรือนักท่องเทีย่ วมาเทีย่ วทีช่ มุ ชน เหมือนเป็นพืน้ เพชีวติ ของคนในชุมชนทีท่ านมาตัง้ แต่สมัยก่อนแล้วยังท�ำ ต่อกันมารุ่นต่อรุ่น “สมัยก่อนจะใช้แป้งโม่” เพราะทุกบ้านเมือ่ ก่อนจะมีเครือ่ งโม่แป้ง แป้งที่คนโบราณใช้ท�ำจึงนุ่ม แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีเครื่องโมแป้งจึงต้องปรับ สูตรการท�ำตามอัตราส่วนของแต่ละคน หรือบางคนอาจจะไม่ปรับก็ได้ เขายังเล่าอีกว่า ตอนนี้มีการปรับสูตรในการท�ำตามอัตราส่วน ปรับเพื่อให้เนื้อขนมนุ่มกว่าของเดิม ส่วนความหวาน ความมัน ก็ได้ปรับ เหมือนกัน แต่ตรงนี้จะแล้วแต่ความชอบแต่ละคน เมื่อได้คุยกัน ป้าชิน จึงได้เผยเคล็ดลับการท�ำขนมตาลออกมา อย่างไม่ปิดบัง แถมยังบอกด้วยว่าควรใช้ลูกตาลที่สุกงอม เพราะเมื่อน�ำ ไปยีเนื้อจะหลุดออกจากเม็ดง่าย ป้าชิน แกจะเริ่มจากน�ำลูกตาลสุกน�ำมายีมือก่อน พอยีเสร็จแล้ว น�ำไปกรองผ่านผ้าขาวบางเพือ่ ไม่ให้ขนตาลร่วงหล่นลงไป แล้วเอาเนือ้ ตาล ที่ยีแล้วใส่ผ้าขาวบางแขวนเอาไว้ให้น�้ำหยดออกจากเนื้อตาล อัตราส่วนของเขาคือ แป้งข้าวเจ้า 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อตาล 4 ขีด ใช้น�้ำตาลทราย 8 ขีด ใส่กะทิประมาณ 1.5 กิโลกรัม เมื่อเอาส่วนผสมมา นวดรวมกันให้ได้เป็นเนือ้ เดียว ก่อนทีจ่ ะน�ำไปนึง่ ต้องพักทิง้ เอาไว้จนขนม ขึ้นประมาณสามชั่วโมง เวลานึ่ง ป้าชิน แกจะใช้ไฟแรงเสมอกัน ถ้าไฟไม่ เสมอกันจะท�ำให้เนื้อขนมจะขึ้นฟูไม่สวย เขาอธิบายว่า ลูกตาลที่น�ำมาท�ำก็มีผลต่อขนม อย่างตาลไข่จะ ท�ำให้ขนมขึ้นฟูง่าย แต่จะให้เนื้อน้อย มีสีเหลืองอ่อน ส่วนตาลหม้อจะ 100
ขนมตาลหอมกรุ่น สีเหลือง เนื้อนิ่ม
101
ขนมตาลจากชุมชน ฝีมือ ป้าชิน แม่ครัวประจ�ำชุมชน
102
ขึ้นฟูเหมือนกัน แต่ขนมจะมีสีเข้ม แต่ว่าตาลไข่จะให้กลิ่นหอมกว่า ป้าชินเขาบอกว่า มีคนต่างจังหวัดติดต่อมาให้แกท�ำส่งเหมือนกัน แต่แกไม่รับท�ำ เพราะคิดว่าการขนส่งมันล�ำบาก แล้วขนมตาลถ้าค้างคืน แล้วความอร่อยจะมีน้อยกว่าตอนท�ำเสร็จออกจากซึ้งใหม่ๆ เขาจึงเลือก ที่จะปฏิเสธไป ว่าไปแล้ว ฉันก็กัดขนมตาลเข้าไปอีกหนึ่งชิ้น ถ้ารวมๆกันที่ฉันกิน เข้ า ไป หากป้ า แกท� ำ ขายวั น นั้ น แกก็ ค งขาดทุ น ไปไม่ ใช่ น ้ อ ยล่ ะ แกงหัวตาล เวลานี้ หากินได้ที่ไหน? “เคยกินแกงโตนดไหมลูก” ป้าชินหันมาถามฉัน “ไม่เคยเลยค่ะ เป็นอย่างไงเหรอคะ” “เป็ น คนเพชรจริ ง รึ เ ปล่ า เนี่ ย ” เขาพู ด พร้ อ มกั บ ข� ำ เล็ ก ๆ แกงโตนดหรือแกงหัวตาล จะมีรสชาติคล้ายๆกับน�้ำยาที่กินคู่กับ ขนมจีน แกงหัวตาลเอามากินคู่กับขนมจีนได้ รสชาติจะออกหวานน�ำนิด นิด แต่จะมีเครื่องเยอะ รสชาติจะไม่เผ็ดมาก แต่จะแรงปลาต�ำแกง แรง กระชาย เขาบอกว่า เครื่องแกงจะใช้น�้ำพริกแกงเผ็ด ใส่ปลาทูย่างที่ต�ำกับ พริกแกงผสมกับปลาอินทรีย์นิดหน่อย ใส่กระชายเยอะหน่อยและใบส้ม ซ่าเพือ่ ให้ความหอม แต่ทถี่ ำ�้ รงค์จะไม่ใส่ใบมะกรูด เพราะเขาคิดว่ารสชาติ และกลิ่นมันไม่เข้ากัน ป้าชิน แกอธิบายต่อว่า เคล็ดลับของเขาคือ ก่อนเอาหัวตาลใส่ลง ไปในกระทะต้องน�ำหัวตาลแช่ในน�้ำมะขามเปียก เพราะว่าจะท�ำให้เนื้อ ตาลมีสอี อกด�ำๆ แต่พอจะแกงแล้วต้องเอาไปล้างน�ำ้ ก่อนถึงค่อยใส่กระทะ ทุกครัง้ ทีเ่ ขาแกงต้อนรับในงานต่างๆ เขาต้องใส่เครือ่ งแกงลงไปใน กระทะก่อน ค่อยๆใส่กะทิลงไป เมือ่ เครือ่ งแกงเดือดแล้วจึงจะใส่หวั ตาลลงไป 103
จะใช้ลกู ตาลอ่อนเพราะจะได้นมิ่ แล้วคราวนีจ้ ะเติมรสชาติ หวานเผ็ด เค็ม ก็แล้วแต่รสปากและรสมือของแต่ละคนแล้ว แล้วค่อยเคีย่ วสักพักหนึง่ เพือ่ ให้หัวตาลนิ่มก็ยกกระทะออกได้ เมื่อวันที่ครัวเหงา ไม่มีใครเข้าครัว “ขนมตาลท�ำง่าย แต่แกงหัวตาลท�ำยากกว่า” จากทีฉ่ ันเห็นร้านค้าตามตลาด ส่วนใหญ่จะมีขนมตาลขายกันอยู่ แล้ว ขนาดตลาดที่เพชรบุรีแกงหัวตาลนี่ยังหาซื้อหากินยากมากจริงๆ บางทีก็ต้องรอช่วงที่หน้าลูกตาลออก บางช่วงตาลยังลูกเล็กอยู่ก็ เอามาใช้แกงไม่ได้ ต้องใช้ตาลอ่อนท�ำ ต้องรอไปอีกประมาณหนึ่งเดือน กว่าจะเอามาใช้ได้ แถมลูกตาลอ่อนทีน่ ำ� มาใช้กใ็ ช้ได้แค่เฉพาะส่วนหัวและ ส่วนเต้าตาลอ่อนอย่างเดียว เพราะว่าเป็นส่วนที่นิ่ม ส่วนอื่นมันแข็ง ป้าชินเล่าว่า พอมันท�ำยากคนเขาก็ไม่ท�ำกัน อย่างสมัยก่อนคนที่ ท�ำเป็นจะเป็นรุ่นยาย แล้วก็มารุ่นแม่ พอมาตอนนี้รุ่นแม่ก็ท�ำกันไม่ไหว แล้วก็เป็นแค่รุ่นเราที่ยังท�ำอยู่ “เด็กรุน่ หลังๆนีเ้ ขาจะยังเข้าครัวกันอยูร่ เึ ปล่าก็ไม่ร”ู้ เพราะว่าทุก วันนี้อาหาร ขนม ก็มีให้เลือกมากขึ้น ไม่ต้องเข้าครัวก็ได้กินแล้ว ก็จริงอย่างที่ป้าชินแกพูด ว่าคนสมัยนี้คงไม่ค่อยเข้าครัวกันแล้ว ถ้าหิว ก็แค่เดินไปแวะมินิมาร์ทใกล้ๆบ้าน ก็มีทั้งอาหาร ขนม นานาชนิด ให้ได้กินกันอย่างอิ่มท้องแล้ว จะว่าไปแล้ว…ฉันเป็นคนเพชรเองแท้ๆยังไม่เคยกินแกงหัวตาล เลย หากไม่ได้มาที่ชุมชนนี้ คงเสียดายน่าดู….
104
ทอดบ้าง เชื่อมบ้าง ต้องฝีมือป้าหยุด หลักจากทีไ่ ด้ทานแกงหัวตาลและขนมตาลฝีมอื ป้าชินแล้ว เขายัง แนะน�ำให้ฉนั ไปหาป้าสายหยุด ทีบ่ า้ นอยูเ่ ลยถัดจากบ้านป้าชินไปไม่กหี่ ลัง ป้ า ชิ น การั น ตี ม าว่ า ที่ นั่ น มี ข นมหวานอร่ อ ยๆให้ ฉั น กิ น เล่ น ๆเพลิ น ๆ ฉันจึงไม่รอช้าที่จะพาตัวเองไปที่บ้านของป้าสายหยุด... “มาหาใครจ้ะหนู” ป้าสายหยุดออกมาต้อนรับ ฉันบอกกับเขาไปว่า ป้าชินแนะน�ำมาว่าทีน่ มี่ ขี องอร่อยขายพร้อม ให้ฉันกินอย่างเหลือเฝือ เขาจึงบอกว่า ทุกวันนี้ ที่ท�ำขนมขายอยู่จะมีแค่ สองอย่างคือ ลูกตาลเชื่อมและโตนดทอด “ป้ามีแต่ของหวานๆ กินได้เหรอลูก” ที่เขาถามแบบนี้เพราะแก คิดว่าเด็กสาวสมัยนีเ้ วลากินของหวานแล้วมักบ่นว่าอ้วน แถมอันนีย้ งั เป็น ขนมไทย เป็นขนมพื้นบ้าน ดูแล้วไม่ได้สวยงามน่าทานเหมือนอย่างขนม เค้กของฝรั่ง ลูกตาลเชือ่ มจะค่อนข้างหาทานได้งา่ ย เพราะร้านค้าตามตลาดใน ตัวเมืองยังพอมีวางขายกันอยูบ่ า้ ง แต่ถา้ เป็นโตนดทอดยังไม่คอ่ ยจะมีใคร ท�ำขายสักเท่าใด หากให้มองจากภายนอกก็คงไม่รวู้ า่ ก้อนขนมกลมๆแบนๆ ทีถ่ กู น�ำไป ทอดนัน้ มันคืออะไร นอกเสียจากว่าได้กดั ชิมลิม้ รสก้อนขนมแบนๆนัน้ เสียก่อน 105
ป้าสายหยุดเดินไปเข้าครัว หยิบจานหยิบช้อน และค่อยๆเปิดฝา หม้อที่วางอยู่บนเตาถ่าน ค่อยๆล้วงไปตักโตนดเชื่อมที่เหนียวไปด้วย น�้ำตาลขึ้นมาใส่จานที่ถืออยู่ ก่อนเดินออกมาให้ฉันลองชิม “เอ้า ลองกินเลย” เขาวางจานที่มีโตนดเชื่อมสีเหลืองอ่อนๆชิ้น ใหญ่ที่ถูกเคลือบไปด้วยน�้ำตาลจ�ำนวน เกือบ 10 ชิ้น “กินเลยสิหนู” เขาเรียกให้ฉนั กินอีกครัง้ พร้อมกับยกช้อนให้ฉนั ถือ ฉันค่อยๆรับช้อนจากป้าสายหยุดด้วยความเกรงใจ เพราะแกตัก มาให้ฉันเยอะเหลือเกิน ก่อนที่จะใช้ช้อนตัดไปที่เนื้อลูกตาลเชื่อมในจาน และค่อยๆซึมซับความหวานของลูกตาลเชื่อมค�ำนั้น “อร่อยพอใช้ได้ไหมหนู” เขายิ้มพร้อมเปรยถาม ลูกตาล (เชื่อม) ขนมเมืองเพชร ลูกตาลเชื่อมสีเหลืองอ่อนชิ้นใหญ่ เนื้อนิ่มเคี้ยวง่าย รสชาติหวาน นวลพอดีไม่หวานแหลมจนเกินไปของป้าสายหยุด ท�ำให้ฉนั ต้องตักลูกตาล เชือ่ มค�ำโตเข้าปากเพือ่ รับรสชาติความหวานไปอีกค�ำอย่างเพลินๆ จนไม่รู้ สึกเลยว่าในกระเพราะของฉันตอนนี้คงอึดอัดไปด้วยอาหารมากมาย ป้าสายหยุดบอกว่า เป็นแค่ลกู ตาลเชือ่ มแต่กไ็ ม่ได้ทำ� กันง่ายๆแปบ เดียวเสร็จ บางทีเวลาท�ำก็กินเวลาไปเป็นวันๆ ในทุกๆวัน เขาต้องเชือ่ มตาลวันละ 5 ถึง 6 กิโลกรัม ถึงจะได้โตนด ประมาณเกือบ 400 เต้า ในแต่ละเต้าเขาจะมาผ่าครึ่งอีกที ก่อนที่จะน�ำ ไปเชื่อม แต่บางร้านอาจจะไม่ได้ผ่าแค่สองส่วนเหมือนของเขา บางร้าน อาจจะผ่าสามส่วน บางร้านสี่ส่วนก็มี ชิ้นที่ได้ก็จะเล็ก “มีหลายคนที่มาขอสูตรป้า” แต่บางคนขอสูตรไปท�ำ แต่พอท�ำ ออกมาแล้วเขามาบอกว่ารสชาติไม่เหมือนที่ซื้อกับป้าหยุดเลย ป้าสายหยุดก็งงว่าท�ำไมถึงไม่เหมือนกัน แต่คงเป็นเพราะวัตถุดบิ และ 106
โตนดเชื่อมรสหวาน ฝีมือป้าสายหยุด
107
รสมือคนท�ำที่ต่างกัน แต่เวลามีคนมาขอสูตรหรือมีนักท่องเที่ยวมาป้าแก ก็จะสอนให้เขาท�ำตามสูตรของเขา เขาบอกว่า ต้องเลือกลูกโตนดทีส่ วยและมีชนิ้ ใหญ่ พอเลือกได้แล้ว ก็เอามีดมาผ่าตรงหัวทิง้ ออก เมือ่ น�ำ้ ในหม้อต้มเดือดแล้วจึงใส่ลกู ตาลและ น�้ำตาลทรายลงไป ตอนนี้ก็ค่อยๆเอาทัพพีคนไปเรื่อยๆ เหมือนเป็นการ เคี่ยว คนไปสักพักก่อนที่จะปล่อยแช่น�้ำตาลเอาไว้ให้เข้าเนื้อของลูกตาล “ทิ้งไว้เป็นชั่วโมง” เวลาที่แช่ก็ทิ้งไว้เป็นชั่วโมงกว่าถึงจะเข้าเนื้อ ลูกตาลจะออกมามีสีเหลืองขาว แต่เขาเตือนว่า บางที่ที่ขายถึงลูกตาลมีสี ขาวก็จริง แต่อาจจะใส่สารเจือปนลงไปเพื่อให้สีที่ออกมาได้สีขาวสวย ระหว่างทีเ่ ขาก�ำลังนัง่ เล่าวิธกี ารท�ำตาลเชือ่ มอยูน่ นั้ ฉันก็กำ� ลังกิน โตนดเชือ่ มเข้าไปอีกหนึง่ ค�ำ ราคาขายลูกตาลเชือ่ มของป้าสายหยุดจะอยู่ ที่ 5 ชิ้น 20 บาท ตกชิ้นละ 2.50 บาท ป้าแกบอกว่าอันนี้เป็นราคาขายส่ง บางทีก็มีคนมารับซื้อกับแกแล้วก็ไปบวกราคาเพิ่มอีกทีหนึ่ง โตนดทอด ต้องป้าหยุด ว่ากันว่า ฝีมือการท�ำโตนดทอดของป้าสายหยุดช่างเลื่องลือ จน มีคนสุพรรณมาขอสูตรท�ำจากป้าสายหยุด “แต่เขาก็บอกว่าพอท�ำแล้ว ออกมาไม่เหมือนแบบเรา” คนนัน้ เขาบอกว่าท�ำออกมาแล้วจืดไม่เหมือน ที่ป้าหยุดท�ำ ในขณะที่เขาเล่าให้ฟัง มือก็ยังถือตะหลิว พลิกโตนดที่ลอยแช่ น�้ำมันในกระทะใบใหญ่ที่ร้อนจ้าจนฟองเดือดพุ่งปุดปุด ณ ช่วงเวลาที่เขาง่วนอยู่กับการดูว่าโตนดที่ทอดน�้ำมันอยู่ใน กระทะสุกได้ที่หรือยัง เขาก็เผยเคล็ดไม่ลับในการท�ำว่า วิธีท�ำโตนดทอด จะคล้ายๆกับลูกตาลเชื่อม คือต้องน�ำลูกตาลไปต้มน�้ำเดือด แต่จะต่างกัน ตรงน�ำ้ ตาลที่ใช้เพราะโตนดทอดจะใช้ตม้ กับน�้ำตาลปีบ๊ ไม่ใช่น�้ำตาลทราย 108
“แต่โตนดทอดจะจุกจิกกว่านิดหน่อย” เขาพูดพร้อมทัง้ ช้อนตาล ในกระทะขึ้นในจาน พร้อมทั้งสะบัดเล็กๆเพื่อให้สะเด็ดน�้ำมัน แกบอกว่า ไม่ใช่ตม้ จนเข้าเนือ้ แล้วจะน�ำไปทอดได้เลย แต่ตอ้ งเอา หัวกะทิ แป้งข้าวเหนียว น�ำ้ เคีย่ วน�ำ้ ตาลปีบ๊ ทีต่ ม้ กับตาลเอาไว้ในตอนแรก มานวดให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ใช้เวลานวดไปเรื่อยๆก่อนที่จะใส่น�้ำปูนลง ไปในแป้งที่เราก�ำลังนวด เพื่อให้ขนมกรอบ พอเอาไปทอดสีออกเหลืองๆ ทองๆก็ตักขึ้นจากกระทะได้เลย โตนดทอดที่ป้าสายหยุดขายจะเป็นชิ้นกลมๆแบนๆ ชิ้นค่อนข้าง ใหญ่ พอทอดมาออกสีเหลืองๆ ป้าเขาขายชิ้นละ 5 บาท แต่กินไม่กี่ชิ้นก็ สามารถท�ำให้อิ่มได้เลย ทุกวันนี้ ป้าสายหยุดไม่ได้ไปขายที่ร้านค้าใหญ่โตหรือร้านที่มีชื่อ เสียงแต่เขายังคงเข็นรถขายภายในหมูบ่ า้ น ไม่นา่ เชือ่ ว่าท�ำวันละหลายร้อย ชิ้นแต่แกก็ขายจนหมดทุกวัน ป้าสายหยุด พงษ์เผือก ที่ตอนนี้เขาอายุ 68 ปี ในทุกๆวันเขามัก จะเข็นรถขายขนมไปตามหมูบ่ า้ นถ�ำ้ รงค์ บางวันยังไม่ทนั จัดรถเข็นเสร็จดี ก็มีคนมารอซื้อหน้าบ้านป้าแกกันแล้ว แต่เขาไม่เคยเบื่อ แม้ว่าจะท�ำมา ตั้งแต่สมัยสาวๆตอนที่อายุ 20 กว่าๆ สูตรขนมที่เขาได้มาก็ไม่ได้ไปเรียน ที่ไหน ป้าสายหยุดแกก็เป็นเหมือนหลายๆคนที่อาศัยการลักจ�ำวิชามา จากรุ่นแม่รุ่นยายอีกครั้งหนึ่ง...
109
โตนดทอดท่วมไปด้วยน�้ำมัน
110
เมื่อโตนดที่ทอดอยู่สุกแล้วจึงน�ำไปพักไว้บนตะแกรงให้หายร้อน
111
ทิ ศ ใต้
ถนนเพชรเกษม
อ.ท่ายาง
ป้าชิน 500 ม.
ป้าสายหยุด
อุโมงค์กลับรถ
ปากทางเข้าวัดถ�้ำรงค์ 1 กม.
400 ม.
อบต.ถ�้ำรงค์
วัดถ�้ำรงค์ คลองชลประทาน วัดขลุบ
วัดท่าไชยศิริ
ถนนเพชรเกษม ห้างบิ๊กซี
เขาวัง
7 กม. ตลาดเพชรบุรี
112
...การเดิ น ทาง...
ป้ า ชิ น อ่ ว มพ่ ว ง
ที่อยู่ : หมู่ 4 ตำ�บลถ�้ำรงค์ อำ�เภอบ้านลาด เวลาเปิด-ปิด : ควรโทรติดต่อก่อนล่วงหน้า โทรศัพท์ : 08-6625-2539
ป้ า สายหยุ ด พงษ์ เ ผื อ ก
ที่อยู่ : หมู่ 4 ตำ�บลถ�้ำรงค์ อำ�เภอบ้านลาด เวลาเปิด-ปิด : 8.00 น. - 17.30 น.
หากเป็นโตนดเชื่อมและโตนดทอดสามารถเข้ามาหาซื้อได้ร้านป้า สายหยุด แต่หากเป็นแกงโตนดและขนมตาล ต้องติดต่อเข้ามาก่อน ไม่ว่า จะติดต่อผ่านทาง อบต. หรือป้าชินเองก็ตาม เพราะปกติแล้วป้าชินไม่ได้ ทำ�ขายเป็นอาชีพ หากอยากลิ้มรสความอร่อยต้องติดต่อเข้ามาก่อน
113
ความ ศรัทธา
หก ศู น ย์ ร วมจิ ต ใจ หลังจากทีไ่ ด้มาท�ำความรูจ้ กั กับชุมชนถ�ำ้ รงค์นอี้ ย่างใกล้ชดิ ก่อน กลับจึงได้แวะวัดคู่ชุมชนอย่าง ‘วัดถ�้ำรงค์’ ซึ่งความจริงแล้วฉันก็เข้าไปที่ วัดตั้งแต่เข้าไปดูประเพณีของชุมชนแล้ว แต่การแวะครั้งนี้เป็นการแวะ โดยความตัง้ ใจทีจ่ ะเข้าไปกราบไหว้ขอพรด้วยใจทีศ่ รัทธาและความเคารพ จริงๆวัดนี้ไม่ได้เป็นแค่วัดคู่ชุมชนเพียงเท่านั้น แต่วัดนี้ยังเป็นวัด ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปไกลหลายจังหวัดในประเทศไทย คนส่วนใหญ่มักจะ รูจ้ กั วัดถ�ำ้ รงค์จากความเลือ่ มใสในตัวของหลวงพ่อเทพ อดีตเจ้าอาวาส ที่ ปัจจุบันท่านได้มรณภาพไปแล้วตั้งแต่ปี 2525 ชาวบ้านแถวนี้บอกว่า หลวงพ่อเทพเป็นพระที่ปฏิบัติธรรม จน ท่านมีญาณวิเศษที่สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ต่างๆได้ ทั้งในอดีตและใน อนาคต นอกจากนี้ ท่านยังมีความสามารถในการท�ำนายทายทัก มีชาว บ้านและลูกศิษย์เข้าหาท่านมากมาย ด้วยความทีว่ า่ ท่านสามารถดูฤกษ์ดู ยามต่างๆได้อย่างแม่นย�ำ ไม่ว่าจะเป็น ฤกษ์ยามในการออกรถใหม่ ฤกษ์ ดีในการเข้าอุปสมบท หรือจะเป็นฤกษ์มงคลที่ควรในการแต่งงาน มักจะ มีลูกศิษย์ที่เลื่อมใสเข้าไปขอฤกษ์เหล่านี้จากหลวงพ่อเทพ เมือ่ ฉันก้าวผ่านก�ำแพงวัดมาได้แค่ไม่กเี่ มตร ก็พบกับค�ำตอบทันที ว่ามีลูกศิษย์ลูกหาเคารพบูชา ให้ความศรัทธาและเลื่อมใส หลวงพ่อเทพ 115
กันมากมายขนาดไหนเมื่อตอนที่ท่านยังมีลมหายใจอยู่ เพราะเมื่อเวลา น�ำพาท่านให้ต้องละจากโลกนี้ไปแล้ว แต่เวลาก็ไม่อาจพาความเลื่อมใส ศรัทธาของชาวบ้านให้จางหายลงไปด้วย ด้วยความเคารพนับถือชาวบ้าน และลูกศิษย์ของท่านจึงได้จัดสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเทพขึ้นมา ด้วยความที่ท่านเป็นพระนักปฏิบัติธรรม เคร่งครัดในธรรมวินัย จนท�ำให้ทา่ นมีอทิ ธิฤทธิใ์ นเรือ่ งญาณวิเศษและความแม่นย�ำในการดูฤกษ์ ดูยาม ลูกศิษย์ของท่านจึงเกิดจากการน�ำไปบอกต่อปากต่อปาก ในเรื่อง ความเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านจากลูกศิษย์ที่เข้ามาหาในยามที่ทุกข์ร้อน และขอความช่วยเหลือจากท่านในด้านต่างๆ ณ ขณะนัน้ การบอกต่อจากเหล่าลูกศิษย์ได้เพิม่ จ�ำนวนขึน้ เรือ่ ยๆ บวกกับเมือ่ เครือ่ งรางของขลังทีห่ ลวงพ่อเทพท่านปลุกเสกขึน้ มา เพือ่ เป็น ขวัญก�ำลังใจแก่ลูกศิษย์ลูกหาของท่าน ประจวบเหมาะกับเกิดปาฎิหาริย์ ให้เหล่าลูกศิษย์ที่มีเครื่องรางของขลังของท่านได้ประจักษ์ ท�ำให้ชื่อเสียง ของท่านแพร่หลายมากขึน้ และลูกศิษย์ของท่านก็กว้างไกลมากขึน้ เช่นกัน แม้ว่าทุกวันนี้ ท่านได้มรณภาพไปหลายสิบปีแล้ว แต่ลูกศิษย์ที่ เลื่อมใสยังคงศรัทธาอย่างไม่เสื่อมคลาย เมื่อมีคนไปกราบไหว้ขอความ ช่วยเหลือจากท่านแล้วเมือ่ ได้ตามทีข่ อเอาไว้ จะนิยมแก้บนด้วยหนังตะลุง และหนังตะลุงเป็นสิง่ ทีห่ ลวงพ่อเทพชอบดูเป็นทีส่ ดุ โดยเฉพาะการแสดง เรื่องรามเกียรติ์ จากหนังสือ 'ภูมิทัศน์งามตา ภูมิปัญญาในถ�้ำรงค์' เขียนเอาไว้ว่า ตามต�ำนานวัดแห่งนี้ไม่มีประวัติความเป็นมาการก่อตั้งวัดที่แน่ชัด แม้แต่ เจ้าอาวาสองค์แรกก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่า วัดนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่เมื่อใด เมื่อ คราวทีท่ า่ นเข้ามาอยู่ วัดแห่งนีม้ โี บสถ์และวิหารทีเ่ สร็จพร้อมอยูแ่ ล้ว ท่าน เพียงแต่เข้ามาจ�ำพรรษา แต่เจ้าอาวาส องค์แรงทีม่ กี ารบันทึกเอาไว้ได้ เข้า 116
ลวดลายปูนปั้น บริเวณพระอุโบสถวัดถ�้ำรงค์
117
บริเวณปากทางเข้าเพื่อไปสักการะหลวงพ่อด�ำ
118
ความศรัทธาที่อยู่คู่กับถ�้ำรงค์
119
หลวงพ่อด�ำ พระพุทธรูปคู่ชุมชน 120
จ�ำพรรษาเมื่อปี 2452 หลวงพ่อด�ำ พระพันปี เมือ่ ได้เข้าไปกราบไหว้สงิ่ ศักดิส์ ทิ ธิใ์ นวัดถ�ำ้ รงค์เป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว ชาวบ้านที่เข้าไปท�ำบุญในวัดจึงแนะน�ำมาว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ถ�้ำรงค์ยังไม่ หมดเพียงเท่านี้ “ไปเที่ยวในถ�้ำมารึยังล่ะจ๊ะ” ชาวบ้านหันมาถามฉัน พร้อมบอก ว่าถ�้ำที่เขาว่านั้นหมายถึงถ�้ำรงค์ ที่อยู่ตรงหน้าวัด ตรงนั้นจะมีเขาถ�้ำรงค์ อยู่แล้วภายในเขาจะเป็นถ�้ำ มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ สามารถเดิน เข้าไปชมได้ “แต่อย่าติดของกินไปนะ เดี๋ยวลิงที่ถ�้ำมันแย่ง” เขาหันมาเตือน พร้อมทัง้ เดินไปบอกกับพีพ่ นักงานที่ อบต.ถ�ำ้ รงค์ เพราะว่ากุญแจทีค่ ล้อง เอาไว้หน้าปากถ�้ำอยู่ที่นั่น เขาเดินออกมาพร้อมพี่ที่ท�ำงานอยู่ใน อบต.ถ�้ำรงค์ ที่ถือกุญแจไข ทางเข้าปากถ�ำ้ พีแ่ กเดินตรงน�ำทางไปเพือ่ ดูลาดเลาว่ายังมีเหล่าฝูงลิงออก มาเดินเล่นหาของกินแถวปากถ�้ำอยู่รึเปล่า ก่อนที่เขาจะไปไขกุญแจที่ คล้องขวางทางเข้าถ�้ำเอาไว้ เพือ่ ความปลอดภัย เขาจึงน�ำพวกเราเข้าไปในถ�ำ้ แถมบอกว่า หาก มาช่วงก่อนพระอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้าบรรยากาศที่ถ�้ำจะเย็นดี แต่ฝูงลิง จะออกมาป้วนเปี้ยนแถวหน้าถ�้ำกันเยอะ พี่จาก อบต. ที่มาด้วยเล่าให้ฟังว่า ในถ�้ำจะมีสิ่งส�ำคัญคู่ชุมชน อย่าง'หลวงพ่อด�ำและหลวงพ่อขาว' ที่ชาวบ้านเคารพนับถือกันมาอย่าง ช้านานไม่แพ้กับหลวงพ่อเทพเลย เมื่อเดินเข้ามาในถ�้ำ เขาก็หยิบธูปให้พวกเราจุดเพื่อไหว้สักการะ กับหลวงพ่อด�ำทีป่ ระดิษฐานอยูใ่ นถ�ำ้ นอกจากนีถ้ ำ�้ รงค์ยงั มีพระพุทธรูปอืน่ ๆ 121
ที่มีคนน�ำมาวางเอาไว้ในถ�้ำอยู่มากมาย หลวงพ่อด�ำ เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ลักษณะจะเป็นรูปหล่อ มีสีด�ำทั้งองค์ จากสายตาที่ได้มองเห็น ปัจจุบันมีสภาพที่ทรุดโทรมมาก ทั้งสีและลักษณะของเนื้อองค์พระพุทธรูป จากหนังสือ 'ภูมิทัศน์งามตา ภูมิปัญญาในถ�้ำรงค์' เขียนเอาไว้ว่า ทางกรมศิลปากรได้เข้ามาตรวจสอบหลวงพ่อด�ำแล้ว คาดว่า เป็นโบราณ วัตถุมอี ายุราว 1 พันปี จากสายตาคนธรรมดาอย่างฉันทีไ่ ม่ได้มคี วามรูเ้ รือ่ ง วัตถุโบราณคงคาดเดาไม่ออกว่า หลวงพ่อด�ำนัน้ มีอายุเท่าใด แต่ทพี่ อทราบได้ นั่นคือ ร่องรอยความเก่าและความมีมนต์ขลังที่อยู่ในถ�้ำและพระพุทธรูป ทุกวันนี้ที่ข้อเท้าของหลวงพ่อด�ำยังคงมีโซ่ล่ามอยู่ มีต�ำนานเล่า ขานต่อกันมาว่า หลวงพ่อด�ำเป็นพระที่เจ้าชู้ เมื่อถึงเวลาพลบค�่ำจะมีสาว ชาวบ้านที่เสร็จจากการท�ำไร่ท�ำนา ต่างพากันเดินกลับบ้าน หลวงพ่อด�ำ มักจะเข้าไปพูดจาเกี้ยวพาราสีหญิงสาว เมื่อชาวบ้านรู้ จึงไม่สามารถทน พฤติกรรมของท่านได้อีกต่อไป จึงได้น�ำโซ่มาล่ามเอาไว้ที่ข้อเท้าของท่าน เพื่อไม่ให้ท่านออกไปพูดจาเกี้ยวพาราสีต่อชาวบ้านหญิงสาวอีก บริเวณในถ�้ำ ใกล้ๆกับที่ประดิษฐานหลวงพ่อด�ำจะมีพระพุทธรูป หลายองค์ ไม่วา่ จะเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ปางห้ามญาติ และ ปางมาร วิชัย เป็นต้น แต่ตำ� นานก็ยงั คงเป็นต�ำนาน ทีเ่ ป็นเพียงเรือ่ งเล่า ทีน่ ำ� มาเล่าขาน ต่อกันมาเรื่อยๆให้คนรุ่นหลังฟังสืบต่อกัน หลวงพ่อขาว วัดถ�้ำรงค์ หากได้เข้าไปชมหลวงพ่อด�ำ คงไม่พลาดที่จะเข้าไปไหว้หลวงพ่อ ขาวเพราะในชุมชนถ�้ำรงค์แห่งนี้ หลวงพ่อขาวเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ อีกหนึ่งองค์ที่อยู่คู่กับชุมชนนี้ 122
หลวงพ่อขาว พระพุทธรูปคู่หลวงพ่อด�ำและชุมชนถ�้ำรงค์
123
ในอดีตนั้น หลวงพ่อขาวประดิษฐานอยู่ที่ถ�้ำแห่งนี้ แต่อยู่คนละ ด้านกับหลวงพ่อด�ำ แต่ตอนหลังถ�ำ้ ของหลวงพ่อขาวได้พงั ทลายลงมา ชาว บ้านจึงได้อันเชิญหลวงพ่อขาวมาบูรณะซ่อมแซมใหม่ ก่อนที่จะน�ำไป ประดิษฐานใกล้กบั หลวงพ่อด�ำทีอ่ ยูใ่ นถ�ำ้ แต่หลวงพ่อขาวประดิษฐานอยู่ ที่ศาลาที่อยู่บริเวณหน้าถ�้ำ แม้ว่าหลวงพ่อขาวจะไม่มีสภาพที่ดูทรุดโทรมเท่าดั่งหลวงพ่อด�ำ แต่ชาวบ้านก็ยังมีต�ำนานที่เกี่ยวกับหลวงพ่อขาวว่า หลวงพ่อขาวน่าจะ เป็นพระสงฆ์ที่มีตัวตนอยู่จริง และเป็นพระที่ใช้เวลาบวชเรียนมาอย่าง ยาวนานชาวบ้านทีศ่ รัทธาและเคารพนับถือในตัวท่านจึงสร้างพระพุทธรูป รูปหล่อขึ้นมา แต่ยังไม่มีการตรวจสอบว่าวัสดุที่น�ำมาใช้นั้นเป็นอะไร ต�ำนานที่ชาวบ้านถ�้ำรงค์เล่าขานสืบต่อกันมานั้นก็คือ หลวงพ่อ ขาวมีลกู สาวอยูห่ นึง่ คน แต่หลวงพ่อด�ำลักพาตัวลูกสาวของเขาไปไว้ในถ�ำ้ หลังจากนั้นหลวงพ่อด�ำและหลวงพ่อขาวจึงไม่ถูกกัน ชาวบ้านบางคนยังเชื่อว่า หลวงพ่อด�ำเป็นเพียงรูปปั้นแกะสลัก ธรรมดา แต่มวี ญ ิ ญาณมาอาศัยสิงสถิตอยูใ่ นนัน้ เมือ่ เวลาพลบค�ำ่ วิญญาณ จะออกมาหาหญิงสาวในหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงต้องล่ามโซ่เอาไว้ เพื่อไม่ให้ วิญญาณออกมาเพ่นพ่านได้อีก จากต�ำนานเรื่องเล่าต่างๆ ชาวบ้านยังมีความเชื่ออีกว่า หลวงพ่อ ขาวเป็นผู้มีความสามารถที่ปราบหลวงพ่อด�ำเอาไว้ได้ และสันนิษฐานว่า หลวงพ่อขาวน่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา กาลเวลาเปลี่ยน แต่ความศรัทธายังคงอยู่ จากลานสนามหญ้าที่หน้าวัดจัดได้ว่า วัดถ�้ำรงค์เป็นวัดที่กว้าง ขวางมีทั้งวัด โรงเรียน รวมถึงอาณาเขตของเขาถ�้ำรงค์ด้วย วัดแห่งนี้ปลูก ทั้งต้นไม้เล็กและใหญ่ แต่ส่วนใหญ่จะมีล�ำต้นที่ใหญ่และแข็งแรงท�ำให้ดู 124
ร่มรื่นอีกทั้งไม่ได้อยู่ในตัวเมืองท�ำให้เงียบ สงบ มีอากาศดีดีให้สูดหายใจ เสียงเครื่องจักรก�ำลังท�ำงานอย่างขยันขันแข็ง เนื่องจากทางวัดมี การก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขนึ้ มา ซึง่ จะเป็นพระอุโบสถสองชัน้ เพือ่ ทีช่ าวบ้านจะได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าทีส่ ร้าง ขึ้นในสมัยหลวงพ่อเทพเมื่อปี 2502 ก็ยังคงเปิดให้ใช้งานอยู่ เพราะพระ อุโบสถหลังนี้ยังสวยงาม แม้ต้นไทรที่อยู่ใกล้ๆจะแผ่กิ่งก้านสาขาออกมา บดบังบางส่วนบ้างก็ตาม วัดถ�้ำรงค์แห่งนี้ นอกจากจะมีชื่อดั่งชื่อของต�ำบลแล้ว ยังเป็นวัด ที่ตั้งอยู่ใจกลางชุมชน ท�ำให้เวลาชาวบ้านมีงานอะไรมักจะพากันมาจัดที่ วัดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการบวชชีพราหมณ์ การปฏิบัติธรรมในช่วงสุดสัปดาห์ การจัดกิจกรรมค่ายพุทธศาสนา งานเทศน์มหาชาติ งานสวดมนต์ข้ามปี และงานประจ�ำปีของชุมชนที่จัดช่วงเทศกาลสงกรานต์ สถานทีแ่ ห่งนี้ กลายเป็นสถานทีร่ วมจิตใจและรวมผูค้ นได้ในคราว เดียวกัน เพราะแม้แต่ชาวบ้านที่แยกย้ายออกไปอยู่ต่างที่ต่างถิ่นก็มักจะ ให้วัดถ�้ำรงค์แห่งนี้เป็นสถานที่พบปะกันในโอกาสต่างๆ เสียงออดจากโรงเรียนวัดถ�้ำรงค์ดัง เป็นเวลาสี่โมงเย็น เด็กๆเลิก เรียนแล้วต่างสะพายกระเป๋าออกมาจากห้องเรียน บ้างก็พากันเตะฟุตบอล ทีล่ านสนามหญ้าแห่งนี้ บ้างก็วงิ่ ออกไปซือ้ ขนม บ้างก็เดินไปหาผูป้ กครอง ที่มารอรับ เด็กๆเหล่านี้ท�ำให้วัดที่ดูเงียบสงบกลับกลายเป็นวัดที่ดูคึกคักขึ้น มาอีกครั้ง...
125
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในเขาถ�้ำรงค์
126
พระพุทธรูปบริเวณรอบๆพระอุโบสถหลังเก่าของวัดถ�้ำรงค์
127
พระอุโบสถเก่าแก่คู่วัดถ�้ำรงค์
128
ความงดงามที่เก่าอย่างมีเสน่ห์
129
อ.หัวหิน
ทิ ศ ใต้
อ.ชะอ�ำ จ.สมุทรสงคราม
ถนนเพชรเกษม
อ.ท่ายาง
ถนนเพชรเกษม
จ.สมุทรสาคร
อุโมงค์กลับรถ ปากทางเข้าวัดถ�้ำรงค์ 1 กม.
วัดถ�้ำรงค์
อบต.ถ�้ำรงค์
เขาถ�้ำรงค์
คลองชลประทาน วัดท่าไชยศิริ
ถนนเพชรเกษม ห้างบิ๊กซี
เขาวัง
7 กม.
ตลาดเพชรบุรี
130
...การเดิ น ทาง...
วั ด ถ�้ ำ รงค์
ที่อยู่ : หมู่ 3 ตำ�บลถ�้ำรงค์ อำ�เภอบ้านลาด โทรศัพท์ : 032-491-124
การเดิ น ทางมายั ง เขาถ�้ ำ รงค์ เ พื่ อ เข้ า ไปกราบไหว้ ห ลวงพ่ อ ดำ� และหลวงพ่ อ ขาว ต้ อ งติ ด ต่ อ ไปยั ง อบต.ถ�้ ำ รงค์ ก ่ อ นจึ ง จะสามารถ เข้าไปภายในถ�้ำได้
131
เก็ บ เสื้ อ ผ้ า ยั ด ใส่ ก ระเป๋ า สามารถเดิ น ทางมาจากกรุ ง เทพฯ โดยใช้ ถ นน เพชรเกษม ระยะทางจากอำ�เภอเมืองถึงชุมชนถ�ำ้ รงค์ประมาณ 7 กิโลเมตร และใช้เวลาเพียงแค่ 15 นาที ในชุมชนไม่มีโฮมสเตย์ หากเป็นทริปที่ค้างคืน ขอ แนะนำ�ที่พักทั้งในตัวเมืองเพชร หรือแหล่งท่องเที่ยวต่างๆอย่าง ชะอำ� หรือแก่งกระจานก็ใกล้ชดิ ธรรมชาติไม่แพ้กนั แต่ระยะทาง อาจต้องใช้เวลามากกว่าพักในตัวเมือง ที่พักที่น่าสนใจอย่าง Dream D Residence ทีอ่ ยูต่ ดิ กับห้างบิก๊ ซีในเมืองเพชร และ ยั ง สะดวกต่ อ การเดิ น ทางไปเที่ ย วในตั ว เมื อ งอี ก ด้ ว ย แถม สามารถเลือกห้องพักได้ตามการออกแบบ เพราะทั้ง 5 ชั้น ถูกตกแต่งตามคำ�ขวัญของจังหวัด สำ�หรั บ อาหารการกิ น หากสนใจอยากลิ้ ม ลอง อาหารพื้นบ้านของชาวถ�้ำรงค์ต้องติดต่อก่อนล่วงหน้า แต่ใน ชุมชนก็มีร้านค้าที่ขายอาหารอยู่บริเวณ อบต.ถ�้ำรงค์ หาก อยากลองทานอาหารอืน่ ๆอย่าง ข้าวแช่ ขนมหม้อแกง ขนมจีน น�้ำยา ขนมจีนทอดมัน ก็สามารถเข้าไปได้ในตลาดเพชรบุรี แต่ หากอยากทานอาหารในร้านก็ตอ้ งเป็นร้านน�ำ่ เทียน ภัตตาคาร ที่เปิดมากว่า 50 ปี
ขอ...ขอบคุ ณ
ขอ...ขอบคุ ณ หนึง่ ...กว่าทีห่ นังสือเล่มนีจ้ ะส�ำเร็จลุลว่ งด้วยดีมาได้ ก่อนอืน่ ต้อง ขอขอบคุณ ดร.กรรยิกา ซอว์ ที่คอยให้ค�ำปรึกษา และขอขอบคุณคณะ กรรมการตรวจจุลนิพนธ์ทุกท่าน ได้แก่ อาจารย์อริน อาจารย์บรรยงค์ อาจารย์วรี ะศักดิ์ และอาจารย์ภมรศรี ทีใ่ ห้คำ� แนะน�ำทีม่ ปี ระโยชน์ในทุก ขั้นตอนของการจัดท�ำหนังสือเล่มนี้ สอง...ต้องขอบคุณพี่ไพโรจน์ จาก อบต.ถ�้ำรงค์ ที่ช่วยเป็นธุระ ติดต่อกับแหล่งข้อมูล มอบหนังสือและรวบรวมรูปภาพประกอบ และทีส่ ำ� คัญ ต้องขอบคุณผูท้ เี่ สียสละเวลามาให้ขอ้ มูล เพือ่ น�ำมาใช้ประกอบในงานเขียน ชิ้นนี้มากจริงๆ ทั้งคนที่ได้เอ่ยถึงและไม่ได้เอ่ยถึงในหนังสือเล่มนี้นะคะ สาม...ขอบคุณ พ่อ แม่ เจ๊ ทีค่ อยให้กำ� ลังใจและคอยรับฟังเรือ่ งต่างๆ ขอบคุณคุณป้าทีไ่ ปด้วยกันตลอด ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งนีห้ รือเรือ่ งก่อนหน้านี้ อิอิ ขอบคุณกู๋แว่นที่สละเวลาขับรถไปให้ แถมยังวาดรูปให้ด้วย ขอบคุณ อาม่าที่คอยให้ก�ำลังใจและอวยพรให้งานชิ้นนี้ส�ำเร็จเร็วๆ ขอบคุณน้องๆ และกู๋เล็ก ที่คอยให้ก�ำลังใจอยู่เรื่อยๆ สี่...อยากขอบคุณเพื่อนทุกคนที่คอยให้ก�ำลังใจกันและกัน และสู้ ให้ผ่านไปพร้อมๆกัน ขอบคุณเพื่อนสมัยมัธยมที่ช่วยเรื่องภาพประกอบ อีกแรง สุดท้าย...ขอบคุณตัวเองมากๆ ที่อดทนและสู้ในการท�ำหนังสือ เล่มนีอ้ อกมาส�ำเร็จ แม้วา่ บางช่วงเวลาอาจจะเหนือ่ ยหรือท้อไปบ้างก็ตาม ขอบคุณหนังสือเล่มนี้ที่ท�ำให้เราแข็งแกร่งและเติบโตขึ้นมากกว่าเดิม
.......... เมือ่ ตาล เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแท้ๆ และนั่นเองเป็นจุดเริ่มต้น ที่ท�ำให้ฉันอยากเขียนถึงเพชรบุรีในด้าน ที่คนส่วนใหญ่อาจจะหลงลืมกันไปบ้าง .......... การได้ออกเดินทางท่องเที่ยว เชิงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนนี้ อย่างน้อย...คุณอาจจะแค่ได้มาเทีย่ วและกลับไป อย่างมาก...คุณจะได้ทงั้ การท่องเทีย่ ว และซึบซับการรักษ์บา้ นเกิด จากคนในท้องถิน่ ไปพร้อมๆกัน ..........