หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1

Page 1

สือ ่ สร้างสรรค์ น�ำสังคม

ICT:

SILPAKORN UNIVERSITY

ปี ที่ 8 ฉบับที่ 1 วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

ไถเงิ น ครู ข อเลื่ อ นขั้ น เจาะขบวนการไถเงินครูท�ำผลงานเลื่อนขั้น พบกรรมการตรวจผลงานเรียก เงินกว่าแสนบาท ไม่จ่ายโดนปรับตก บ้างโดนยื้อ 7 ปี วงในเผยครูถูกบีบจน ต้องจ้างท�ำผลงานให้ผา่ นง่าย ไม่จา่ ยตอนนีส้ ดุ ท้ายต้องควักกระเป๋าอยูด่ ี เผย จนท. เขตการศึกษารับงานเอง พบหากินง่ายแค่เปลี่ยนปก เขตฯ ปัดไม่ให้ ดูผลงานครู ศธ. รับพบเรียกเงินแลกผ่านประเมินจริง

กระอักจ่ายหลักแสน!

อ่านต่อหน้า 2

ส่งจม.-เรียกพบ-ประจาน

ร.ร.ทวงค่ า เทอมโหด‘ไม่ จ่ า ยไม่ จ บ’ เรียนฟรีไม่มจี ริง ส�ำรวจพบโรงเรียนทวงค่าเทอมโหด เริม่ ตัง้ แต่ระดับเบา ส่งจดหมาย เตือน–โทรศัพท์ทวงถาม เขียนชือ่ ประจานหน้าห้อง หนักสุด ‘ไม่จา่ ย-ไม่จบ’ ฝ่ายผอ. เล่นค�ำ ไม่ได้เก็บค่าเทอม แต่ขอค่าระดมทรัพยากร สพฐ. ยอมรับของฟรีไม่มีในโลก อ่านต่อหน้า 23

5

สัมภาษณ์พิเศษ ��������17janfinal.indd 1

ตีแผ่นโยบายยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน 15 ปี บ้านเอื้อ อาทร พบปัญหาอื้อ คุณภาพชีวิตผู้อาศัยต�่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งบกพร่องเรื่องความปลอดภัย รายล้อมอบายมุข การบริหาร จัดการสภาพแวดล้อมล้มเหลว ซ�้ำยังสวนทางแนวความคิดของ การเคหะฯ และหลักสิทธิที่อยู่อาศัยของยูเอ็น

8

First Time Voter ชีช ้ ะตากรรม การเมือง สติธร ธนานิธิโชติ

15ปี บ้ า นเอื้ อ อาทรล้ ม เหลว คุ ณ ภาพชี วิ ต ต�่ ำ กว่ า เกณฑ์

เพศวิถี

ในโรงเรียน ปอเนาะ... สารคดีเชิงข่าว

อ่านต่อหน้า 12

12

พบ 4 เงือ ่ นไข บีบเกษตรกร ใช้สารเคมี สิง ่ แวดล้อม 1/19/19 1:16 AM


2

ข่าวเด่น

| ลูกศิลป์

ต่อจาก หน้า 1

“พอส่งผลงานไปก็มีคนโทรศัพท์มา อ้าง ว่ า เป็ น กรรมการตรวจผลงานและขอเงิ น 70,000 บาท บอกว่าเพื่อเป็นทุนสนับสนุนดู งานต่างประเทศ พอไม่จ่าย กรรมการตีเรื่อง กลับให้แก้ พอแก้ตามที่ระบุมาทุกอย่าง ผล งานก็ยังไม่ผ่าน ถูกปรับตกเหมือนเดิม” เมื่อ 7 ปีที่แล้ว นายภูเบศร์ ปิ่นแก้ว ครูสอน วิชาภาษาไทยระดับช�ำนาญการ (คศ.2) โรงเรียน นิยมศิลป์อนุสรณ์ จ. เพชรบูรณ์ ส่งผลงานเข้า ประเมิ น วิ ท ยฐานะระดั บ ช� ำ นาญการพิ เ ศษ (คศ.3) แต่ถูกกรรมการตรวจผลงานวิทยฐานะ เรียกเงิน หากไม่จ่ายจะถูกสั่งให้ปรับแก้ผลงาน และเรียกเงินซ�ำ้ หรือถูกปรับตก กระทัง่ ปี 2560 ได้ร้องเรียนไปยังศาลปกครอง และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่ได้รับความคืบหน้า ไม่ ต ่ า งจากครู ร ะดั บ ช� ำ นาญการพิ เ ศษ (คศ.3) โรงเรียนแห่งหนึ่งในจ.ร้อยเอ็ด มีชะตา กรรมคล้ายกัน ถูกกรรมการเรียกเงินโดยติดต่อ ผ่านทางเพือ่ นครู ยืน่ ข้อเสนอให้จา่ ย 40,000 บาท โดยไม่ต้องปรับแก้ผลงาน เมื่อยอมจ่ายเงิน ผล งานก็ผ่าน มีครูอีกกว่า 20 คน ในหลายจังหวัด มี ประสบการณ์กับเรื่องดังกล่าวและให้ข้อมูล ตรงกั น ว่ า การเสนอผลงานเพื่ อ ขอเลื่ อ น วิทยฐานะด้วยการจ่ายเงินผ่านกรรมการ จะ ต้องจ่ายเงินตั้งแต่หลักหมื่นถึงแสนบาท เพื่อ ให้ผลงานผ่านประเมิน ซึ่งคนที่มาติดต่อเป็น ตัวกลางมีทงั้ เจรจาผ่านคนรูจ้ กั ทีเ่ ป็นเจ้าหน้าที่ เขตการศึกษา และเพื่อนข้าราชการครู

และเงิ น ประจําตําแหน่ ง ข้ า ราชการครู แ ละ บุคลากรทางการศึกษา ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2558 เมื่อ เลื่อนจาก คศ.2 เป็น คศ.3 พบว่า จากฐานเงิน เดือนเดิม 16,190 บาท รวมค่าวิทยฐานะ คศ.2 จ�ำนวน 3,500 บาท เงินประจ�ำต�ำแหน่ง 3,500 บาท ทัง้ หมดเป็น 23,190 บาท ต่อเดือน หากเลือ่ นเป็น ครู คศ.3 ฐานเงินเดือนเพิม่ เป็น 19,860 บาท รวม ค่าวิทยฐานะ 5,600 บาท เงินประจ�ำต�ำแหน่ง 5,600 บาท ทั้งหมดเป็น 31,060 บาท ต่อเดือน เท่ากับว่าครูจะได้เงินเพิม่ เกือบหมื่นบาทต่อเดือน วงในยันขบวนการไถเงินมีจริง

อดี ต กรรมการตรวจวิ ท ยฐานะทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เผยว่า ขัน้ ตอนการช�ำระ เงิน ส่วนใหญ่จา่ ยเงินสดตัง้ แต่ 10,000 บาทขึน้ ไป บ้างให้สงิ่ ของถือเป็นสินน�ำ้ ใจ หากทราบว่า ครูคนใดผลงานแย่แต่จา่ ยเงิน จะพยายามช่วย เหลือด้วยการสั่งปรับปรุงแก้ไข ซึ่งความเข้ม งวดของกรรมการขึ้นอยู่กับแต่ละจังหวัด ทาง ภาคอีสานกรรมการค่อนข้างอนุโลม ผู ้ อ� ำ นวยการโรงเรี ย นแห่ ง หนึ่ ง ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ขบวนการ ไถเงินครูที่ยื่นต�ำแหน่ง คศ.3 รู้ทั่วไปในวงการ วิธีแรกคือ เมื่อครูส่งผลงานไปเขตการศึกษา เจ้าหน้าที่เขตบางคนจะโทรศัพท์มาเรียกเงิน ประมาณ 80,000-100,000 บาท บอกจะ ช่วยประสานกับกรรมการตรวจงานวิชาการให้ ผ่านประเมิน หรือบางรายกรรมการทีต่ รวจจะ โทรศัพท์มาเรียกเงินเอง “บางทีหักคอกันดื้อ ๆ ว่า จ่ายให้กรรมการไป แล้ว เอามาจ่ายคืนด้วย คนทีโ่ ทรมาเป็นเจ้าหน้าทีจ่ งึ มีข้อมูลว่า ครูคนไหนส่งงานเรื่องอะไรไปบ้าง และ กรรมการคนไหนตรวจ เขาท�ำเป็นเครือข่าย เป็น ยอมจ่ายหลักแสนแลกถูกยือ ้ ขบวนการมีข้อมูลเชื่อมโยงกันหมด” ผู้อ�ำนวยการ ผูส้ อื่ ข่าวตรวจสอบขัน้ ตอนการยืน่ ประเมิน คนดังกล่าวระบุ วิทยฐานะครูระดับ คศ.3 พบว่า มี 6 ขั้นตอน เชือ่ เป็ นเหตุบบ ี ครูตอ ้ งจ้างท�ำ-จนท. 1) จัดส่งผลงาน 4 ชุด ที่ผ่านการรับรองจาก เขตฯรับงานเอง ผู้บังคับบัญชา 2) เขตการศึกษาตรวจสอบ ผู้อ�ำนวยการคนเดิมยังเผยว่า ยังมีการจ้าง คุณสมบัติแล้วน�ำเรื่องส่งเข้าส�ำนักงานคณะ ท�ำเพราะผ่านง่ายกว่า หากท�ำเองอาจถูกเรียก กรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการ เงินราคาพอกัน ซึ่งแบบนี้ ได้รับความนิยม ศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการ กว่าแบบแรก ด้วยการจ้างครูด้วยกัน หรือคน ประเมินรอบแรก 3) น�ำเสนอคณะอนุกรรมการ ภายนอกท�ำผลงานให้ สังเกตได้ง่ายจากการ ข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา ขึน้ ป้ายโฆษณาหน้าร้านว่า รับปรึกษางานวิจยั ประจ�ำเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา (อ.ก.ค.ศ) พิจารณา หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ในเขตการศึกษาบางคน ผลงาน 4) อ.ก.ค.ศ แต่งตัง้ คณะกรรมการ 2 ชุด เสนอตัวรับงาน โดยน�ำงานจากเขตการศึกษา ชุดละ 3 คน ตรวจสอบผลงาน 3 ด้าน ชุดแรก อื่นมาเปลี่ยนชื่อ และรายละเอียดเล็กน้อย ตรวจสอบด้าน 1-2 ส่วนด้าน 3 ซึ่งเป็นเรื่อง “มีครูเป็นหมืน่ คนท�ำผลงาน ถามว่าผลงาน ผลงานวิชาการจะเป็นกรรมการอีกชุด 5) หาก วิชาการดังกล่าวถูกเก็บไว้ที่ไหน มีใครรู้ไหม ไม่ผา่ นประเมินผลงานวิชาการ ให้แก้ไขภายใน หากท�ำกันจริงจัง ต้องมีนวัตกรรมการเรียนการ 3 เดือน ถึง 1 ปี หรือปรับตก 6) หากพิจารณา สอนเป็นหมื่นเป็นพันเล่ม มาพัฒนาการศึกษา ผ่านรอการแต่งตั้งตามต�ำแหน่งใหม่ ของประเทศ แต่นี่ไม่เคยได้เห็น อยากให้เก็บ ครูโรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียง ยังศูนย์วิจัยที่กระทรวง หรือท�ำฐานข้อมูลบน เหนือ เผยว่า ส่วนใหญ่ครูทยี่ อมจ่ายเงินหลักแสน อินเทอร์เน็ต ครูจะทราบว่า มีประเด็นอะไรท�ำไป อยู่ระดับ คศ.2 เลื่อนสู่ คศ.3 เพราะตรวจผลงาน แล้วจะได้ไม่ซ�้ำ และยังช่วยตรวจสอบขบวนการ มีความละเอียด และหากผ่านจะได้รับเงินเพิ่ม รีดเงินครูอีกทางหนึ่งด้วย” แหล่งข่าวระบุ ขึน้ พวกเขาจึงตัดสินใจจ้างดีกว่าถูกยือ้ ไม่ให้ผา่ น พบหากินง่ายแค่เปลี่ยนปก-ปั ดไม่ เพราะเงินที่ได้จะถูกค�ำนวณย้อนหลังตั้งแต่ส่ง ให้ดูผลงาน ผลงาน เรียกว่าการตกเบิก ผู้สื่อข่าวตรวจสอบผลงานวิทยฐานะครู ผู้สื่อข่าวทดลองค�ำนวณเงินเดือนครูตาม ระดั บ คศ.3 ต่ า งกลุ ่ ม สาระวิ ช า และเขต พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินเดือนเงินวิทยฐานะ พื้น ที่ ก ารศึ ก ษา ผ่ า นผลงานที่ เ ผยแพร่ ท าง

��������17janfinal.indd 2

อินเทอร์เน็ต โดยสุม่ ชือ่ และหัวข้อสือ่ การเรียน การสอน พบผลงานจ�ำนวน 10 ชิ้น ลักษณะ คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะส่วนเนื้อหาและแบบ ฝึกหัด บ้างสลับตัวเลือกและตัวอย่างในโจทย์ ส่วน รูปเล่มถูกปรับให้มสี สี นั และภาพประกอบต่างกัน แต่รวมแล้วเนื้อหาเหมือนกันจนถึงแหล่งอ้างอิง เมื่ อ ส� ำ รวจในอิ น เทอร์ เ น็ ต พบประกาศ รับจ้างท�ำวิทยฐานะผ่านเว็บไซต์ และเครือข่าย สังคมออนไลน์กว่า 10 บัญชี ทั้งยังมีค�ำค้นหา ในอินเทอร์เน็ตเกีย่ วกับ ‘รับจ้างท�ำวิทยฐานะ’ มากกว่า 3 แสนครั้งด้วย ผู ้ สื่ อ ข่ า วยื่ น หนั ง สื อ ขออนุ ญ าตดู ผ ลงาน วิชาการครูทผี่ า่ นประเมินวิทยฐานะ ณ ส�ำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561 ซึ่งนางวารี คหินทพงษ์ นักทรัพยากรบุคคลช�ำนาญการพิเศษ รับ หนังสือไว้ และชีแ้ จงด้วยวาจาว่า ไม่สามารถ ให้ดผู ลงานทีผ่ า่ นประเมินได้ และไม่เปิดเผย จ�ำนวนครูที่ผ่านประเมิน โดยอ้างเพียงว่า มี ผลงานวิจัยจ�ำนวนมากและเป็นสิทธิส่วน บุคคลจึงไม่สามารถเปิดเผยได้ ต่อมาผู้ส่ือข่าวใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. ข้อมูล ข่าวสารของราชการ ปี 2540 ขอดูผลงานอีก ครั้งเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 เขตการ ศึกษาดังกล่าวตอบกลับมาว่ารับเรื่องไว้แล้ว และจะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องติดต่อกลับ อย่างไรก็ดี จนถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2561 ก็ยงั ไม่ได้รบั ความ คืบหน้าใด ๆ นักวิชาการชีท ้ �ำเป็ นธุรกิจ

นายอรรถพล อนั น ตวรสกุ ล ผู ้ ช ่ ว ย ศาสตราจารย์ ป ระจ� ำ คณะครุ ศ าสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อ�ำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนา ทีย่ งั่ ยืน กล่าวว่า ระบบท�ำวิทยฐานะในปัจจุบนั สุ่มเสี่ยงกับความไม่โปร่งใส ถูกปล่อยผ่านมา นานจนกลายเป็นธุรกิจการศึกษา กว่า 10 ปีที่ ผ่านมา มีการกระตุน้ ครูอาวุโสให้เพิม่ วิทยฐานะ ด้วยการท�ำวิจัยในชั้นเรียน แต่บางคนท�ำไม่ได้ สุดท้ายจึงใช้ทางลัดไปจ้างคนอื่นท�ำแทน “เมื่อการพิจารณาเทคะแนนไปที่เอกสาร แทนการตรวจสอบการท�ำงานในชั้นเรียน จึง เกิดวงจรมาบีบครู ทัง้ นีแ้ นวทางแก้ไขปัญหายัง ถกเถียงกันหลายรูปแบบ แต่คดิ ว่า ครูทไี่ ด้เลือ่ น วิทยฐานะน่าจะต้องได้รบั การประเมินต่อเนือ่ ง ไม่ใช่ได้แล้วได้เลย การเพิ่มวิทยฐานะควรมา พร้อมความมั่นใจว่าครูมีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น” นายอรรถพล กล่าว ศธ.รับพบเรียกเงินครูจริง

นางสาวเจริญวรรณ หนูนาค ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักภารกิจระบบต�ำแหน่งและวิทยฐานะที่ 2 ก.ค.ศ. ชีแ้ จงว่า การคัดลอกผลงานมีให้พบบ้าง แต่นาน ๆ ครั้ง ซึ่งผิดวินัยร้ายแรง ทั้งนี้ ก.ค.ศ. ไปบรรยายทั่วภูมิภาคเน้นเรื่องโทษของการ คัดลอกผลงาน และแจ้งให้ผู้อ�ำนวยการเขต พื้นที่การศึกษา ส�ำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ก�ำชับกรรมการตรวจผลงาน หากพบผลงาน คล้ายคลึงกันให้น�ำมาเปรียบเทียบ ปรับตก และส่งรายงานเข้ามา “ก.ค.ศ. เป็นผู้ตรวจผลงานครูระดับ คศ.4-5

โดยตรง แต่ในระดับ คศ.2-3 แต่ละเขตการศึกษาเป็น ผู้รับผิดชอบท�ำให้มีหลายศูนย์การตัดสินใจ หากพบ จะส่งหนังสือหาต้นสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการ ศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน (สพฐ.) ตัง้ คณะกรรมการสอบสวน โดยจะด�ำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหาร งานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา” นางสาวเจริญวรรณ กล่าว นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์กับ หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ที่กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 ยอมรับว่า พบ ปัญหากรรมการและบุคลากรทางการศึกษา เรียกเงินครูจริง แต่ไม่ทราบว่ามีมากน้อยแค่ ไหน “อย่างไรก็ดี ระบบท�ำวิทยฐานะแบบเก่าจะ ไม่มีแล้ว ปีนี้เป็นปีสุดท้าย ระบบใหม่ไม่ต้องให้ กรรมการมาตรวจผลงาน แต่จะให้ครูท�ำบันทึก ประวัติการปฏิบัติงาน บันทึกผลงานในรูปแบบ คอมพิวเตอร์แทนส่งเป็นเล่มเผยแพร่สู่สาธารณะ กรรมการก็จะมาเรียกเงินครูไม่ได้” นพ.ธีระเกียรติ กล่าว ส่วนระบบปัจจุบนั หากครูคนใดถูกเรียกเงิน ให้แจ้งความหรือส่งเรือ่ งมาทีต่ น ผูท้ เี่ รียกเงินครูจะ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติโดยมิชอบ วิทยฐานะคืออะไร? วิทยฐานะ คือ การท�ำผลงานทางวิชาการ เพื่อขอรับการประเมินก�ำหนดต�ำแหน่งของ ข้าราชการครู จุดประสงค์เพื่อให้ข้าราชการ ครูพัฒนาตนเอง โดยใช้พื้นฐานการพัฒนามา จากงานประจ�ำในฐานะครูผู้สอนในรายวิชาที่ ตัวเองรับผิดชอบ หรือผู้บริหารในสถานศึกษา ต่าง ๆ มี 5 ระดับ เริ่มตั้งแต่ ครูผู้ช่วย ครู (คศ.1) ครูช�ำนาญการ (คศ.2) ครูช�ำนาญการพิเศษ (คศ.3) ครูเชี่ยวชาญ (คศ.4) และครูเชี่ยวชาญพิเศษ (คศ.5) โดยจะต้องเป็นครู คศ.2 เป็นต้น จึงจะได้เงิน วิทยฐานะและเงินประจ�ำต�ำแหน่ง ปกติครูทบี่ รรจุ ข้าราชการจะมีเงินเดือนขั้นต�่ำที่ 15,050 บาท หาก ครูสามารถยืน่ และผ่านประเมิน เงินเดือนครูจะ เพิ่มขึ้นตามล�ำดับวิทยฐานะ ข้ อ มู ล งบประมาณรายจ่ า ยประจ� ำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ส�ำนักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ พบว่า งบประมาณราย จ่ายของข้าราชการครู และบุคลากรทางการ ศึกษามีจ�ำนวนทั้งสิ้น 6,840,840,800 บาท แบ่งเป็นงบบุคลากร 6,580,310,200 บาท จ�ำแนกออกเป็นเงินเดือนและค่าจ้างประจ�ำ 2,535,690,400 บาท อย่างไรก็ดี เมือ่ บุคลากร ทางการศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ท�ำให้ รั ฐ ต้ อ งจั ด สรรงบประมาณมายั ง กระทรวง ศึกษาธิการเพื่อแจกจ่ายให้กับครูทั่วประเทศ ที่มา: พ.ร.บ. เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และ เงินประจ�ำต�ำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. 2547 คณิตา อินชืน ่ ใจ นภัสกร บุญคง ภัทรภร แพนแก้ว รัตติยา นาเมืองรักษ์ สาริศา แสงสุขศรี

1/19/19 1:16 AM


สิทธิทางอาหาร

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 |

3

ไร้เงาข้าวพันธุพ ์ ื้นเมือง

่ งความมัน เสีย ่ คงทางอาหาร?

นาข้าว อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

สองข้ า งทางของถนนเพชรเกษมในเขต จ.เพชรบุรี เขียวขจีไปด้วยนาข้าว พืชเศรษฐกิจ อันดับ 1 ของจังหวัด กินพื้นที่กสิกรรมรวม 328,440 ไร่ หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่เพาะปลูก โดยปี 2560 ได้ผลผลิตข้าวเกือบ 400,000 ตัน ผลส�ำรวจของส�ำนักงานสถิติเพชรบุรี ยังพบว่า เกษตรกรที่นี่นิยมปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 พันธุ์ชัยนาท 1 พันธุ์สุพรรณบุรี 1 พันธุ์กข 41 และพันธุ์กข 49 เ ก ษ ต ร ก ร ที่ อ . บ ้ า น ล า ด แ ล ะ อ.หนองหญ้าปล้อง บอกว่า พวกเขาปลูกข้าว เพื่อการค้า ใช้ข้าวสายพันธุ์ที่พัฒนาปรับปรุง ส่งเสริมเพื่อการค้าโดยกรมการข้าว กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เพราะท�ำให้ปลูกได้ตลอด ทั้งปี และได้ผลผลิตดีเป็นที่ต้องการของตลาด “ราคาข้าว 1 ตัน เริ่มที่ 7,000-8,000 บาท หากความชื้นต�่ำ ราคาจะสูงขึ้นไปอีก” พวกเขาระบุ ในทางกลับกัน ข้าวพันธุ์ท้องถิ่นดั้งเดิม อย่างพันธุเ์ หลืองประทิว พันธุห์ อมนางมล พันธุ์ เหลืองประดู่ และพันธุเ์ หลืองกอเดียว ไม่เป็นที่ นิยมส�ำหรับเกษตรกร พวกเขาเห็นว่า มันเป็น พันธุท์ ไี่ วต่อแสงซึง่ จะปลูกไม่ขนึ้ หากปลูกนอก ฤดูฝน จึงปลูกได้แค่ปีละ 1 ครั้ง ประเสริฐ เหลิมทอง เกษตรกรผู้เพาะปลูก ข้าว วัย 65 ปี ชาวเพชรบุรี บอกว่า ในอดีตปลูก ข้าวพันธุพ์ นื้ เมืองเหล่านีแ้ ต่ปจั จุบนั ท�ำนาปีละ 2 ครัง้ เปลีย่ นไปใช้พนั ธุช์ ยั นาท 1 พันธุก์ ข 49 และ พันธุก์ ข 31 เนือ่ งจากข้าวพันธุท์ อ้ งถิน่ ให้ผลผลิต ช้าล�ำต้นสูงเก็บเกี่ยวยาก มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ในการก�ำจัดฟางข้าว ปลูกไม่ได้ในช่วงนาปรัง และยังใช้การหว่านเมล็ดแทนการด�ำนา ใช้รถ เกี่ยวข้าวแทนแรงงานคน ขณะที่ข้าวพันธุ์ใหม่ แตกกอมีเมล็ดต่อรวงมากกว่า รายได้ทั้งหมด 230,000 บาท ต่อ 1 ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ถ้าเทียบ กันแล้วแบบหลังรายได้ดีกว่าเกือบ 4 เท่า “แต่มันก็ต้องใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น ข้าวพันธุ์ ท้องถิ่น 10 ไร่ใช้ปุ๋ยเคมีแค่ 3 กระสอบ แต่ ข้าวพันธุ์ใหม่ใช้ 12 กระสอบหรือมากกว่านั้น หากไม่ใช้ตน้ ข้าวจะเตีย้ ใบไม่เขียว ได้เมล็ดข้าว รวงละแค่ 5-6 เมล็ด จากที่ให้ 70-100 เมล็ด ถ้าใช้ปุ๋ยอินทรีย์ก็จะเป็นโรคไหม้คอรวง โรค ขอบใบไหม้ เจอเพลี้ย ฉีดยาไม่หาย บางปีพบ โรคระบาดลามไปนาติด ๆ กัน สุดท้ายเหลือ ผลผลิตไม่มากก็ขาดทุน” ประเสริฐ กล่าว เกณฑ์ความมัน่ คงด้านอาหารขององค์การ อาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ข้อหนึ่ง

��������17janfinal.indd 3

ระบุประเด็น “เสถียรภาพ” หมายถึง การที่ ประชาชน ครัวเรือน และบุคคล จะต้องเข้าถึง อาหารทีเ่ พียงพอตลอดเวลา ไม่ตอ้ งเสีย่ งกับการ ไม่สามารถเข้าถึงอาหารอันเป็นผลมาจากวิกฤต ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน เช่น วิกฤตสภาพภูมิ อากาศ หรือเหตุการณ์ที่เป็นไปตามวงจร เช่น ภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารตามฤดูกาล ในกรณีของข้าวสายพันธุ์ที่พัฒนาปรับปรุง ส่งเสริมเพือ่ การค้าโดยกรมการข้าว ก็อาจสุม่ เสีย่ ง ในประเด็นนี้หากเทียบกับข้าวพันธุ์ท้องถิ่นที่ทนต่อ สภาพแวดล้อมเฉพาะในพื้นที่นั้น ๆ วิฑูรย์ เลี่ยนจ�ำรูญ ผู้อ�ำนวยการมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) อธิบายว่า เกษตรกรทีใ่ ช้พนั ธุข์ า้ วเน้น ผลผลิตเชิงปริมาณนั้นต้องใช้ปุ๋ยเคมีจ�ำนวน มากถึงจะให้ผลผลิตดี จึงมีต้นทุนสูงและส่ง ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม “แต่ผลจากการใช้มันท�ำให้ข้าวอ่อนแอต่อ แมลง การปลูกพืชเชิงเดี่ยวท�ำให้เกิดโรคซ�้ำ ๆ ที่ผ่านมามักพบโรคระบาดอยู่เนือง ๆ ท�ำลาย พืน้ ทีน่ าเป็นล้านไร่จากพืน้ ทีป่ ลูกข้าวทัว่ ประเทศ ล่าสุดเมือ่ ปี 2555–2557 โรคระบาดจากข้าวท�ำ สูญพื้นนาทั่วประเทศไปกว่า 3 ล้านไร่ เสี่ยงต่อ ความมั่นคงด้านอาหาร” วิฑูรย์ ให้ข้อมูล ผู ้ อ� ำ นวยการไบโอไทย บอกอี ก ว่ า อดี ต เกษตรกรปลู ก ข้ า วเพื่ อ บริ โ ภค จึ ง เลื อ กปลู ก พันธุ์ที่ชอบ รสชาติถูกปาก ไม่ได้ค�ำนึงว่าต้องได้ ผลผลิตเยอะ ไม่ต้องใช้สารเคมี ก่อให้เกิดความ หลากหลายของสายพันธุข์ า้ ว อีกทัง้ ปลูกพืชอืน่ ๆ อย่างถัว่ หรือเลีย้ งปลารอบ ๆ พืน้ ทีน่ า กลายเป็น แหล่งของโปรตีน ท�ำให้เกษตรกรและครอบครัว ได้รบั โภชนาการครบครัน สุขภาพดี สิง่ แวดล้อม ดี เป็นความมัน่ คงด้านอาหารทีแ่ ท้จริง หากจะ ให้เกษตรกรหวนมาปลูกข้าวพืน้ เมืองดังเดิมคง ต้องสร้างแรงจูงใจ และมีตลาดให้ข้าวพวกนี้ สอดคล้ อ งกั บ แก่ น ค� ำ หล้ า พิ ล าน้ อ ย เกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าว หนึ่งในทีมงานกลุ่ม ชาวนาไทอีสานที่มีนโยบายท�ำเกษตรอินทรีย์ และอนุรักษ์พันธุ์ข้าวท้องถิ่น กล่าวว่า ข้าว พันธุ์ท้องถิ่นปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เดิมและต้านทานโรคได้ดี แต่ปัจจุบันสภาพ แวดล้อมของโลกเปลี่ยนไป จึงเกิดการพัฒนา สายพันธุ์ข้าวให้เท่าทัน “คนสมัยก่อนปลูกข้าวจะคาดคะเน ดินฟ้า อากาศ ฝนตกถูกต้องตามฤดู หรือหากน�้ำท่วมก็ ระบายเร็ว เพราะไม่มสี งิ่ ก่อสร้างขวางทางน�ำ้ แต่ ปัจจุบันจู่ ๆ บางปีเกิดแล้ง หรือน�้ำท่วมขัง เรา คาดการณ์อะไรไม่ได้เลย รวมถึงภาวะโลกร้อน

ที่กระทบต่อความเข้มแสงและเกิดช่วงแสงที่ เปลี่ยนไป ท�ำให้ขา้ วพันธุพ์ ื้นเมืองไม่สามารถอยู่ ได้ตามปกติ จึงเกิดการผสมพันธุ์ข้าวเพื่อพัฒนา ให้ดีขึ้น ทันต่อสภาพปัจจุบันของโลก และให้ ผลผลิตเพียงพอต่อจ�ำนวนประชากร แต่กรม การข้าวกลับพัฒนาแบบลูกแหง่ ดูแลเสมือนห้อง ไอซียู ท�ำให้เกษตรกรต้องใช้ปยุ๋ เคมี พึง่ พาตนเอง ไม่ได้” แก่นค�ำหล้า ให้ความเห็น เกษตรกรกลุ ่ ม ชาวนาไทอี ส านคนนี้ ยังบอกด้วยว่า เกษตรกรควรมองหาข้าวทีพ่ ฒ ั นา ปรับปรุงจากสายพันธุ์ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับ พื้นที่เพาะปลูก โดยคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวเพื่อ เก็บไว้ใช้เอง และปรับปรุงดินโดยใช้จุลินทรีย์ แทนเช่นเดียวกับการท�ำเกษตรอินทรีย์ เพื่อลด ต้นทุนการซือ้ เมล็ดพันธุแ์ ละปุย๋ เคมี ซึง่ นอกจาก จะเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม ยังเป็นการดูแลรักษา ร่างกายตนเองให้ปลอดจากสารพิษอีกด้วย อย่างไรก็ดี การจะเปลีย่ นมาใช้สายพันธุข์ า้ ว ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องง่าย สุมิตานันท์ จันทะบุรี อาจารย์ประจ�ำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี กล่าวว่า ที่ผ่าน มาเมื่อปลูกแต่ข้าวพันธุ์ปรับปรุงจากกรมการ ข้าวซึ่งต้องใช้ปุ๋ยเคมีก็ท�ำให้ดินเสีย จะกลับมา ปลูกแบบอินทรีย์ต้องใช้เวลาอย่างต�่ำ 3 ปีหรือ มากกว่านั้น ที่ดินจึงจะมีสารอาหารโดยไม่ต้อง พึ่งแร่ธาตุจากปุ๋ยเคมี สมทรง โชติ ชื่ น อดี ต ผู ้ เ ชี่ ย วชาญด้ า น พันธุกรรมข้าว กรมการข้าว แนะน�ำว่า ทางแก้ไข ขณะนี้คือการปลูกข้าวหลากหลายพันธุ์ ซึ่งจะ เป็นอีกวิธที ชี่ ว่ ยลดความเสีย่ งการเกิดโรคระบาด เขาบอกด้วยว่า กรมการข้าวได้เก็บรักษา ข้าวพันธุ์พื้นเมืองเพื่อพัฒนาวิจัยโดยใช้เวลา 5-10 ปี คาดว่าจะมีประโยชน์และสร้างมูลค่า เพิ่มแก่เกษตรกรในอนาคต ขณะที่ รพีพร สุทาธรรม ผู้อ�ำนวยการ ฝ่ายยุทธศาสตร์ รักษาการผู้อ�ำนวยการฝ่าย วิ จั ย และข้ อ มู ล สถาบั น อาหาร กระทรวง อุตสาหกรรม ชี้แจงว่า การพัฒนาและวิจัย พันธุ์ข้าวมีจุดประสงค์ให้ข้าวแต่ละสายพันธุ์ ทนต่อแมลงและโรคระบาด มีการวิจัยพันธุ์ ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันแมลงที่ปรับ ตัวและมีภูมิต้านทานยาฆ่าแมลง อีกทั้งไม่ได้ ให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์เดิมไปตลอด ต้องมี การหมุนเวียน

เธอยังยืนยันว่า เกษตรกรทีป่ ลูกข้าวโดยใช้ พันธุ์ปรับปรุงจากกรมการข้าว จะไม่ท�ำให้เกิด ผลกระทบด้านความมัน่ คงทางอาหาร โดยอ้าง ว่า กรมการข้าว และกรมส่งเสริมการเกษตร มีฝ่ายส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวสายพันธุ์ ใหม่ทดแทนพันธุ์ดั้งเดิม เพื่อผลผลิตที่มากขึ้น ทนโรค และเพิ่มความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่ง จะมีผลผลิตข้าวเพียงพอต่อการบริโภคภายใน ประเทศและส่ ง ออก ทั้ ง นี้ ยั ง ไม่ มี ง านวิ จั ย สนับสนุนข้อเท็จจริงว่าด้วยเกษตรกรใช้ปุ๋ย เคมีมากขึ้น แล้วจะมีผลกระทบต่อความมั่นคง ด้านอาหาร

ความมัน ่ คงด้านอาหาร คืออะไร?

องค์การอาหารและเกษตรแห่ง สหประชาชาติ (FAO) นิยามความมั่นคงทาง อาหารไว้ดังนี้ • ความพอเพียง (Availability) ของ ปริมาณอาหาร • การเข้าถึง (Access) ทรัพยากรที่พอ เพียงของบุคคลเพื่อได้มาซึ่งอาหารที่เหมาะ สม • การใช้ประโยชน์ (Utilization) จาก อาหารที่เพียงพอ รวมถึงน�้ำสะอาดและการ รักษาสุขภาพและสุขอนามัยเพื่อ • เข้ า ถึ ง ภาวะความเป็ น อยู ่ ที่ ดี ท าง โภชนาการ • เสถียรภาพทางอาหาร (Stability) คือ การทีป่ ระชาชน ครัวเรือนและบุคคลจะต้อง เข้าถึงอาหารที่เพียงพอตลอดเวลา ไม่ต้อง เสี่ยงกับการไม่สามารถเข้าถึงอาหารอันเป็น ผลมาจากวิกฤตทีเ่ กิดขึน้ อย่างกะทันหัน เช่น วิกฤตทางเศรษฐกิจหรือสภาพภูมิอากาศ หรือเหตุการณ์ที่เป็นไปตามวงจร เช่น ภาวะ ความไม่มั่นคงทางอาหารตามฤดูกาล คณิตา อินชืน ่ ใจ

เผยแพร่ครัง ้ แรกเซคชัน ่ จุดประกาย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 11 ธันวาคม 2561

1/19/19 1:16 AM


4|

บทบรรณาธิการ

ลูกศิลป์

ระบบราชการที่ตรวจสอบไม่ได้ ข่าว ‘วิทยฐานะครู ไม่จ่าย ไม่ได้เลื่อนขั้น’ สะท้อนให้เห็น สภาพความเป็นจริงของระบบราชการในประเทศไทย ที่สุ่มเสี่ยง เอือ้ ให้เกิดขบวนการทุจริต รีดไถเงินจากคนท�ำงานตัวเล็ก ๆ บีบให้ ครูซงึ่ ไม่มที างเลือกมากนักต้องยอมจ่ายเงินไม่วา่ ทางใดก็ทางหนึง่ โดยมีนายหน้าซึง่ เป็นคนในระบบการศึกษาด้วยกันเอง ด้วยระบบ การส่งผลงานวิชาการของครูไม่เผยแพร่ตอ่ สาธารณะ จึงท�ำให้ขาด การตรวจสอบจากประชาชน กล่าวได้ว่า นอกจากคณะกรรมการ ระดับเขตการศึกษาทีท่ ำ� หน้าทีต่ รวจแล้ว ไม่มใี ครสามารถรูไ้ ด้ หาก ผลงานทางวิชาการดังกล่าวจะถูกน�ำมาท�ำซ�ำ้ แล้วเปลีย่ นปก หรือมี การดัดแปลง คัดลอกจากผลงานชิ้นอื่นใด ทั้งที่ความจริงแล้วเป็น สิทธิขั้นพื้นฐาน คือ ‘สิทธิที่จะรู้’ ของประชาชน จากการยื่นหนังสือขอข้อมูลผลงานวิทยฐานะ และถูกปฏิเสธ โดยอ้างว่า เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ส่งผลงาน ยิ่งย�้ำชัดว่าราชการ ไทย ยังห่างไกลกับค�ำว่า ‘โปร่งใส ตรวจสอบได้’ อยู่มาก แม้ ส�ำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) พยายามแก้ ปัญหาดังกล่าวด้วยการออกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หลักสูตรเสริม สร้างเกียรติภูมิข้าราชการ : ส�ำนึกข้าราชการไทยไม่โกง แต่กลับ เน้นให้เห็นว่า การแก้ปญ ั หาทุจริตทีเ่ รากระท�ำจนคุน้ ชินมักมุง่ ไปที่ การสร้างส�ำนึกอันดีงามส่วนบุคคล มากกว่าให้ความส�ำคัญกับการ

แก้ปญ ั หาทีส่ ภาพแวดล้อมทีเ่ อือ้ ให้เกิดการทุจริต นัน่ คือ ระบบการ ท�ำงานที่สาธารณะสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตรวจสอบได้ ด้วยระบบการท�ำงานที่ปิดทึบ ไม่สามารถมองเห็นได้จาก ภายนอกดังที่กล่าวมา ท�ำให้ข้าราชการครูที่ยื่นเรื่องท�ำวิทยฐานะ ต้องถูกเรียกเงินหลักแสนโดยไม่มีทางเลือก เพราะแม้ผลงานจะ ดีสักแค่ไหน หากไม่จ่ายก็หมดหวังได้เลื่อนขั้น เมื่อไม่ได้เลื่อน ต�ำแหน่งทางวิชาการ จึงจ�ำต้องทนกับสภาวะ ‘เงินเดือนตัน’ ดังนัน้ ต่อให้ขา้ ราชการดังกล่าวจะมีสำ� นึกดีและไม่มเี จตนาทุจริต แต่ดว้ ย ระบบทีก่ ดทับเช่นนี้ การยอมจ่ายก็ดเู หมือนจะเป็นทางเลือกเดียว กลายเป็นวังวนแห่งธุรกิจการศึกษาที่ไม่สามารถหาทางออกได้ แม้ในปี 2562 นี้ระบบท�ำวิทยฐานะแบบเก่าจะถูกยกเลิกไป แต่ถ้าสภาพแวดล้อมเก่า ๆ อันไม่เอื้อต่อการถูกตรวจสอบ ยังไม่ ถูกยกเลิกตาม อาจเป็นไปได้วา่ จะเกิดปัญหาเรียกเก็บเงินผ่านช่อง ทางอื่น ๆ กลายเป็นระบบรีดเงินครูที่เคลือบด้วยค�ำว่าวิทยฐานะ ในรูปแบบใหม่อกี หนทางป้องกันและแก้ไขทีด่ ที สี่ ดุ คือ ประชาชน สามารถใช้สิทธิของตนในการตรวจสอบกระบวนการการท�ำงาน ของราชการได้อย่างเต็มที่ เพื่อผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของบุคลากร ครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการศึกษาอันเป็นอีกหนึ่งรากฐานที่ ส�ำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทย

ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศักดิ์ ชาติน�้ำเพ็ชร (คณบดี) ผู้ช่วยศาสตราจารย์อริน เจียจันทร์พงษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์มัทนา เจริญวงศ์ อาจารย์ ดร.กันย์พัชญ์ กะลัมพะเหติ อาจารย์ทองนากศิริวิ เหล่าวงษ์โคตร อาจารย์วันเพ็ญ แถวอุทุม อาจารย์วัยวัฒน์ สายทุ้ม คณะผู้จัดทำ�

บรรณาธิการผูพ ้ ม ิ พ์ผโู้ ฆษณา

คณิตา อินชื่นใจ

บรรณาธิการบริหาร

จิรภิญญา สมเทพ

บรรณาธิการข่าว

ศิวรินทร์ จันทร์คงวงษ์ สาริศา แสงสุขศรี

บรรณาธิการศิลปกรรม

ณัฐณิชา สระแก้ว

ฝ่ายศิลปกรรม

กาญจนา ผกาแก้ว นภัสกร บุญคง

ฝ่ายพิสูจน์อักษร

ชลธิชา จันทร์แจ่ม ณัฐนิชา อิสสอาด พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ

อิชย์อาณิคม์ ชิตวิเศษ

ผู้ประสานงานภาพข่าว

คณิตา อินชื่นใจ

สัมภาษณ์พิเศษ

จิรภิญญา สมเทพ รัตติยา นาเมืองรักษ์ ทีมข่าว

นักศึกษาวารสารและหนังสือพิมพ์ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 สารคดีเชิงข่าว

อิชย์อาณิคม์ ชิตวิเศษ

ที่ปรึกษาบรรณาธิการ

วุฒิพงษ์ วงษ์ชัยวัฒนกุล รชา เหลืองบริสุทธิ์ มยุรา ยะทา วิภาภรณ์ สุภาพันธ์

ศูนย์ข่าวเพชรบุรี

กิตติทัศน์ เรืองพัชรวงศ์ ชนินทร์ สกุลกานต์กีรติ ธรรศ พงษ์ไทยวัฒน์ ปวีณา ชูรัตน์ ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์ โรงพิมพ์

บริษัท ภัณธรินทร์ จำ�กัด คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร เมืองทองธานี 80 ถนนป๊อปปูล่า ตำ�บลบ้านใหม่ อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 091-7659890 เว็บไซต์ : www.ict.su.ac.th www.ictsilpakorn.com/ictmedia www.facebook.com/looksilp

ศิลปากร ทัง้ ยังเป็นศิลปินผูม้ มุ านะในการสัง่ สอน และสร้างสรรค์ผลงานจนเป็นทีป่ ระจักษ์แจ้งแก่ เกีย ่ วกับ สายตาชาวไทย หนั ง สื อ พิ ม พ์ ลู ก ศิ ล ป์ เป็ น ชิ้ น งานของ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดท�ำโดยนักศึกษา ลูกศิลป์ สามารถตีความได้สองความหมาย ชั้นปีที่ 3 เอกวารสารและหนังสือพิมพ์ เพื่อ หนึ่งคือ ลูกศิลปากร สองคือ ลูกศิษย์ ของ ให้ นั ก ศึ ก ษาแต่ ล ะรุ ่ น มี ป ระสบการณ์ ต รง อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ในการจั ด ท� ำ หนั ง สื อ พิ ม พ์ อ ย่ า งมื อ อาชี พ

��������17janfinal.indd 4

เตรียมพร้อมส�ำหรับการออกไปฝึกงานภาค สนามทุกรูปแบบ ไม่วา่ จะเป็นการฝึกงาน จุลนิพนธ์ หรื อ หลั ง จบส� ำ เร็ จ การศึ ก ษา โดยขั้ น ตอน การด�ำเนินการ นักศึกษาจะเลือกหัวข้อที่ตัว เองสนใจเพื่อลงพื้นที่โดยอาศัยทักษะที่ได้รับ การฝึกฝนมาใน 2 ปีแรก อาทิ การสัมภาษณ์ การถ่ายรูป และแบ่งหน้าทีต่ ามความถนัดของ แต่ละคน เพือ่ จัดท�ำรูปเล่มหนังสือพิมพ์ ไม่วา่ จะเป็น ฝ่ายจัดหน้า ฝ่ายกราฟิก ฝ่ายตรวจทาน

รวมถึงกองบรรณาธิการ ด้านงบประมาณ ทาง คณะจะสนับสนุนงบประมาณ 50% ขณะทีส่ ว่ น ทีเ่ หลือนักศึกษาจะเป็นผูจ้ ดั หาด้วยตนเอง ผลลั พ ธ์ ท่ี ไ ด้ จ ากการท� ำ งานครั้ ง นี้ คื อ นักศึกษาสามารถผลิตหนังสือพิมพ์คุณภาพ และได้มาตรฐานเทียบเท่าหรือมากกว่าที่วาง ขายในท้องตลาดรวมถึงนักศึกษาสามารถน�ำ ประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการ ฝึกงานและอาชีพการงานในอนาคต

1/19/19 1:16 AM


สัมภาษณ์พิเศษ

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 |

5

First Time Voter ชี้ชะตากรรมการเมือง?

ไตรมาสแรกของปี 2562 เป็นช่วงเวลาที่ หลายคนรอคอย กับบรรยากาศการออกไปใช้ สิทธิ์เลือกตั้งที่หลายคนโหยหา ทั้ ง ยั ง เป็ น วั น ‘เข้ า คู ห ากาเบอร์ ที่ ใ ช่ ’ ครั้งแรกของประชากรร่วม 8 ล้านคน ที่ถูกจัด เป็น First time voter หรือผูม้ สี ทิ ธิเลือกตัง้ ครัง้ แรก หลังการรัฐประหารเมื่อปี 2557 หนั ง สื อ พิ ม พ์ ลู ก ศิ ล ป์ ไ ด้ รั บ โอกาสจาก ‘สติธร ธนานิธิโชติ’ นักวิชาการช�ำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า มองผ่านม่านหมอกที่ คลุมประเทศไทยไว้ร่วม 5 ปี ถึงโอกาสในการ เรียนรู้ประชาธิปไตยครั้งใหม่ ที่คนรุ่นใหม่อาจ เป็นอีกหนึ่งพลังส�ำคัญ First time voter มีผลต่อการตัง ้ รัฐบาลมากแค่ไหน

First time voter มีความส�ำคัญ เพราะ ถูกคาดหวังว่า น่าจะยังไม่มีพรรคในดวงใจ ทัศนคติอาจยังเปิดกว้าง เปิดรับได้ทุกพรรค ทุกคน หากเทียบกับคนที่เคยมีประสบการณ์ เลือกตัง้ แล้ว เขาก็มแี นวโน้มจะมีพรรคในดวงใจ มีผู้สมัครที่ชื่นชอบอยู่แล้ว นักการเมืองและ นักวิเคราะห์จึงมองว่า คนเหล่านี้อาจจะชอบ พรรคไหนก็อาจยังเลือกพรรคนั้นอยู่ เพราะฉะนัน้ ผูท้ จี่ ะลงคะแนนครัง้ แรกด้วย จ�ำนวนที่มากร่วม 8 ล้านคน หากบรรยากาศ ของการเลือกตั้ง เอื้อให้คนกลุ่มนี้ออกมาใช้ สิทธิอย่างคึกคัก สมมติใช้สิทธิสักร้อยละ 80 คือประมาณ 6 ล้านคน ค�ำนวณด้วยระบบ การเลื อ กตั้ ง แบบใหม่ คิ ด เป็ น ที่ นั่ ง ในสภา ผู้แทนราษฎร 80 กว่าที่นั่ง หมายความว่า พรรคการเมืองใดก็ตามที่ได้ใจคนกลุ่มนี้ ในแง่ ทางการเมืองถือว่ามีอำ� นาจต่อรองสูง มีโอกาส ได้รว่ มรัฐบาล ถ้าได้รว่ มรัฐบาลก็มโี อกาสได้รบั ต�ำแหน่งส�ำคัญ ๆ ในกระทรวงส�ำคัญ ๆ คือ เป็นตัวแปรในการจัดตัง้ รัฐบาลได้ เพราะฉะนัน้ ทุกพรรคการเมืองจึงท�ำการบ้านกันอย่างหนัก ในการหาแนวนโยบาย หาบุคคล หรือผู้น�ำ ที่ จะท�ำให้คนทีม่ สี ทิ ธิเลือกตัง้ ครัง้ แรกสนใจ และ ออกไปเลือกพรรคหรือคนเหล่านั้น พรรคต่าง ๆ พยายามดึงดูดพวกเขาอย่างไร

อย่ า งแรกคื อ การเปิ ด ตั ว คนรุ ่ น ใหม่ ที่ อ ายุ น้อย พื้นฐานครอบครัวดี พื้นฐานการศึกษาดี บุคลิกหน้าตาดี เราเห็นปรากฏการณ์นี้กับทุก พรรค ทัง้ พรรคการเมืองทีเ่ คยตัง้ มาก่อน ปี 2557 หรือพรรคทีเ่ พิง่ ตัง้ ใหม่ปนี ี้ อันนีค้ อื ในแง่ตวั บุคคล ในแง่นโยบายพบว่า หลาย ๆ พรรค มี แนวทางที่ จ ะคิ ด นโยบายที่ ท� ำ ให้ ค นที่ มี สิ ท ธิ เลือกตั้งครั้งแรก ซึ่งอายุประมาณ 18-24 ปี หัน มาสนใจ นโยบายแปลก ๆ ใหม่ ๆ เช่น อี-สปอร์ต หรือเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่นการลดภาวะโลกร้อน การรณรงค์เรื่องการไม่ใช้พลาสติก เป็นต้น สุดท้ายคือการใช้ social media ในการ หาเสียง จะเห็นว่าทุกพรรคมีเพจเฟซบุก๊ มีการ ปล่อยวิดโี อสัน้ ๆ ทีเ่ ป็นกระแส เนือ้ หานโยบาย การเมืองจะสั้น กระชับ ดึงดูดความสนใจ

��������17janfinal.indd 5

First time voter ในอดีตออกไป ใช้สิทธิไม่ถึงร้อยละ 50 จะถือเป็ น จุดพลิกเกมได้หรือ

คนกลุ ่ ม นี้ นั บ เป็ น ฐานเสี ย งจ� ำ นวนมาก ก็จริง แต่สถิติที่ผ่านมาพบว่าคนอายุน้อย ๆ ออกไปใช้สทิ ธิเลือกตัง้ ในสัดส่วนทีต่ ำ�่ อาจด้วย เรื่องการออกไปใช้สิทธิในประเทศเราไม่ค่อย ถู ก กั บ นิ สั ย ของคนรุ ่ น ใหม่ เพราะเป็ น การจัดการเลือกตั้งแบบประเพณีนิยม คือเข้า คูหากาบัตร ในขณะที่พฤติกรรมการสื่อสาร ทางการเมื อ งของคนรุ ่ น ใหม่ ท� ำ ผ่ า นช่ อ ง ทางออนไลน์ คนกลุ่มนี้มีความตื่นตัวสนใจ รั บ ข้ อ มู ล ข่ า วสาร มี ก ารแสดงออก แสดง ความคิ ด เห็ น ทางการเมื อ ง แต่ เ มื่ อ ถึ ง วันลงคะแนน จ�ำเป็นต้องเดินทางไปที่หน่วย เลือกตั้ง เขาอาจจะรู้สึกว่าเป็นภาระ จึงไม่ ออกไปใช้ สิ ท ธิ ในเมื่ อ การแสดงออกทาง การเมืองสามารถท�ำได้ในช่องทางอื่น เช่น การวิพากษ์วจิ ารณ์นโยบายผ่านสือ่ สังคมต่าง ๆ เพราะฉะนัน้ การคาดหวังว่า คนอายุนอ้ ย ๆ ซึ่งมีประมาณ 7-8 ล้านคนจะออกมาใช้สิทธิกัน อย่างคึกคักก็ไม่ง่าย ถ้าพรรคการเมืองอยากได้ คะแนนจากคนกลุ่มนี้ ก็ต้องสร้างแรงดึงดูดให้ เห็นว่า การออกไปใช้สทิ ธิลงคะแนนแม้อาจเป็น วิธีที่ไม่ทันสมัย แต่มีความส�ำคัญ อี ก ตั ว แ ป ร ที่ ส� ำ คั ญ คื อ บ ร ร ย า ก า ศ ทางการเมือง ถ้าบรรยากาศเปิดกว้าง ก็มีโอกาส ที่คนกลุ่มนี้จะออกไปใช้สิทธิมาก ถ้าบรรยากาศ ท�ำให้รู้สึกว่าการเมืองหรือการเลือกตั้งครั้งนี้เป็น เรือ่ งความวุน่ วาย คนรุน่ ใหม่ ๆ ก็อาจไม่ออกไปก็ได้ บรรยากาศเปิ ดกว้างพอจะดึงดูด ให้พวกเขาออกไปใช้สิทธิไหม

ถ้ า เป็ น เรื่ อ งของกติ ก า ยกตั ว อย่ า ง ประเทศกั ม พู ช า ที่ มี เ ลื อ กในช่ ว งเวลา ที่ ใ กล้ เ คี ย งกั บ มาเลเซี ย แต่ ก ารเลื อ กตั้ ง ของกั ม พู ช า เป็ น การเลื อ กตั้ ง ที่ ไ ม่ เ สรี คื อ พรรครั ฐ บาลใช้ อ� ำ นาจกฎหมายยุ บ อ� ำ นาจ ฝ่ายค้านออกไป พูดง่าย ๆ เป็นการเลือกตั้ง ข้างเดียว มีแต่พรรครัฐบาลให้ประชาชนเลือก ความตื่ น ตั ว สนใจของประชาชนที่ มี จึ ง ถู ก กดทับด้วยกติกาที่จ�ำกัดสิทธิเสรีภาพ กลาย เป็นว่า การเลือกตั้งด�ำเนินการได้ แต่ผลที่ ออกมาไม่เป็นที่ยอมรับ การเมื อ งแบบนี้ สุ ด ท้ า ยจึ ง เป็ น การจั ด การเลือกตั้งเพื่อรองรับความชอบธรรมในการ กลับสูอ่ ำ� นาจของรัฐบาลเท่านัน้ ไม่ได้กระตุน้ ให้ เกิดการเปลีย่ นแปลงหรือกระตุน้ ให้เกิดความฝัน ความหวัง ซึ่งประเทศไทยควรยึดเป็นบทเรียน สถิตผ ิ ใู้ ช้สท ิ ธิครัง ่ ้ แรกของประเทศอืน ก็ไม่ถง ึ ครึง ่ จะคาดหวังอะไรได้หรือไม่

ที่ ป ระเทศมาเลเซี ย ให้ บ ทเรี ย นว่ า เรา สามารถคาดหวังกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน้าใหม่ ได้ แต่การคาดหวังนั้นไม่ใช่แค่ให้เขาออกมา ใช้ สิ ท ธิ เพราะเอาเข้ า จริ ง คนกลุ ่ ม นี้ ข อง มาเลเซียออกมาใช้สทิ ธิเพียงร้อยละ 30 เท่านัน้

“First time voter มีความส�ำคัญ เพราะถูก คาดหวังว่า น่าจะยังไม่มี พรรคในดวงใจ ทัศนคติ อาจยังเปิ ดกว้าง เปิ ดรับ ได้ทุกพรรค”

แต่สามารถพลิกโฉมการเลือกตั้งได้ การเลือกตัง้ ครัง้ ดังกล่าว สามารถเปลีย่ นเอา พรรคการเมืองรัฐบาลที่ครองอ�ำนาจ 60-70 ปี ให้แพ้เป็นครั้งแรก หมายความว่า First voter ไม่ได้ท�ำหน้าที่แค่ต้องระดมกันออกมาใช้สิทธิ จ�ำนวนมาก ๆ เท่านั้น แต่พวกเขายังเป็นก�ำลัง ส�ำคัญในการรณรงค์ เชิญชวนให้คนวัยอืน่ ๆ หัน มาลงคะแนนในทิศทางที่ตนต้องการด้วย แล้วถ้าเทียบการรณรงค์ของผู้ใช้ สิทธิครัง ้ แรกของเขากับของเราล่ะ?

มีกลุ่มเยาวชนที่รวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อน ทางการเมืองอยู่หลายกลุ่ม เช่น กลุ่มคนอยาก เลือกตั้ง ที่เรียกร้องว่าการเลือกตั้งต้อง free, fair และ fruitful กับอีกกลุ่มหนึ่งที่อาจไม่ ค่อยอยู่ในหน้าสื่อมวลชนมากนัก เป็นกลุ่ม ที่เคยผ่านการอบรมขององค์กรต่างประเทศ ที่ท�ำหน้าที่ในการสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรนี้จะขอ อนุญาตรัฐบาล เข้าไปสังเกตการณ์การเลือก ตั้ ง ในประเทศต่ า ง ๆ โดยท� ำ งานเชื่ อ มโยง กับองค์กรภาคเอกชนในประเทศไทย โดยมี เป้าหมายคล้าย ๆ กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง คือ ต้องการให้การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น เป็นการ เลือกตั้งที่อิสระ และสร้างความเป็นธรรม โดย แนวทางที่จะท�ำให้เกิดสองสิ่งนี้ได้ คือต้องมี การตรวจสอบการเลือกตั้งโดยภาคประชาชน กรณีทคี่ นพูดถึงอยูเ่ สมอคือฟิลปิ ปินส์ สมัย ประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ผลการ ตรวจสอบจากภาคประชาชน ปรากฏว่า ผล ของการนั บ โดยภาคประชาชนและภาครั ฐ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คือเปลี่ยนแพ้เป็นชนะ สุดท้ายข้อมูลส่วนนี้ก็ดึงให้เกิดเป็นขบวนการ ภาคประชาชนขับไล่รัฐบาล ซึ่งนี่คือข้อดีของ กระบวนการประชาธิปไตย ถ้าเราพบอะไรทีไ่ ม่ ชอบมาพากลเราสามารถพัฒนาและยกระดับ จนสามารถเปลี่ยนแปลงการเมืองที่ย�่ำแย่ให้ กลายเป็นการเมืองที่ดีขึ้นได้

เลือกตัง ่ ี First time voter จ�ำนวน ้ ทีม มาก กับบรรยากาศการเมืองแบบนี้ จะ คาดเดาผลการเลือกตัง ้ ได้ไหม

เดายาก ประการแรก สมมติว่าเทียบเคียงกับ ผลการลงคะแนนเมื่อปี 2554 ซึ่งพอมีข้อมูลว่า คนช่วงอายุน้ีเมื่อต้องตัดสินใจเลือกผู้สมัครหรือ พรรคการเมือง เขาเลือกอย่างไร แต่รอบนี้กติกา เปลี่ยน อย่าว่าแต่ new voter เลย old voter ก็ ไม่ทราบ เพราะแต่เดิมมีบัตร 2 ใบ เลือกคนที่รัก กับพรรคทีช่ อบ รอบนีบ้ ตั รเดียวเลือกทัง้ สองอย่าง ค�ำถามคือ คนที่เคยเลือกเขตพรรคหนึ่ง เลือก บัญชีรายชื่ออีกพรรคหนึ่ง รอบนี้เหลือบัตรเดียว จะตัดสินใจบนฐานอะไร ประการทีส่ อง ประเทศไทยไม่ได้เลือกตัง้ มา ราว 8 ปี หน�ำซ�้ำอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของ การเมืองแบบปิดตั้งแต่ปี 2557 มา 5 ปี เราไม่ ได้พูดคุยการเมืองกันแบบเสรี พรรคการเมือง ไม่ได้ท�ำกิจกรรมแบบเสรีอิสระ พอถึงปีใหม่เรา บอกว่าเราจะเลือกตั้งกันอีกสองเดือนข้างหน้า การจะคาดเดาอะไรในช่วงนีจ้ งึ เป็นเรือ่ งยากมาก การที่จ�ำนวน First time voter ในการ เลือกตั้งรอบที่เกิดขึ้นมีจ�ำนวนมากเป็นพิเศษ นั้นมีข้อดีในเชิงวิชาการคือ ผลการลงคะแนนที่ ออกมาจะเป็นบทเรียนครัง้ ส�ำคัญทีจ่ ะเรียนรูว้ า่ หากระหว่างทางมีบรรยากาศการแข่งขันอย่าง เสรี มีการประชาสัมพันธ์ จะช่วยท�ำให้ผเู้ ลือกตัง้ หน้าใหม่ ตืน่ ตัวสนใจทีจ่ ะออกมาใช้สทิ ธิเลือกตัง้ หรือไม่ ซึง่ จะเป็นคุณค่าทางวิชาการในการน�ำไป คิดต่อว่า ในอนาคตเราปรับปรุงอะไรกันได้บ้าง เพราะฉะนั้ น ในเมื่ อ เล็ ง เห็ น ความส� ำ คั ญ ระหว่างทางก่อนจะไปถึงวันนัน้ จึงไม่ควรปล่อย ไปเฉย ๆ คงต้องอาศัยโอกาสนี้ในการทดลอง อะไรใหม่ ๆ ถ้าได้ผลก็แปลว่าระยะยาวในเรือ่ ง การพัฒนาประชาธิปไตยก็อาจน�ำไปปรับใช้ได้ จึงถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ไปด้วยกัน

จิรภิญญา สมเทพ รัตติยา นาเมืองรักษ์ (ภาพ)

1/19/19 1:16 AM


6|

ลูกศิลป์

เกาะติดนโยบายรัฐ

กองทุ น หลั ง เกษี ย ณไม่ ต อบโจทย์ แรงงานนอกระบบ 3 ปี กองทุนการออมแห่งชาติไม่เข้าเป้า สมาชิกไหลออก เหตุ รายรับ-จ่ายไม่แน่นอน ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า ต้องออมนานถึง เกษียณ เครือข่ายแรงงานฯ ชีร้ ัฐขาดความเข้าใจพฤติกรรมการ ใช้จ่าย นักเศรษฐศาสตร์แนะต้องมีระบบบ�ำนาญแห่งชาติ เลขาฯ กอช. โบ้ยคนไทยไม่ตระหนักเรือ ่ งการออม เพิ่มช่องทางเข้าถึงปชช. หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ส�ำรวจพฤติกรรมการ ใช้จ่ายเงินของกลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบ ซึ่ง เป็ น กลุ ่ ม เป้ า หมายหลั ก ของกองทุ น การออม แห่งชาติ (กอช.) ประกอบด้วย ผู้มีอาชีพค้าขาย เกษตรกร ลูกจ้างรายวัน ขับรถรับจ้าง นักเรียน นักศึกษา อาชีพอิสระ และไม่ประกอบอาชีพ ในพื้นที่ เขตจตุจักร เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี อ.เมืองชลบุรี อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม และอ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เมือ่ ช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ที่ผ่านมา หลายคนกล่าวตรงกันว่า ไม่รู้จักและ ไม่สนใจเข้าร่วมกองทุน กอช. เพราะมีรายได้ที่ ไม่แน่นอน รายรับไม่เพียงพอกับภาระค่าใช้จา่ ย ที่สูง และมีหนี้สิน เป็นเหตุให้ไม่เหลือเงินออม ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า หรือลาออกจากการ เป็นสมาชิกเพราะมีความจ�ำเป็นต้องใช้เงิน อีก ทัง้ ส่วนใหญ่นยิ มออมเงินในระยะสัน้ กับธนาคาร เพราะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า สอดรั บ กั บ รายงานการศึ ก ษาปั จ จั ย ที่ มี ผลต่ อ การตั ด สิ น ใจออมเงิ น ใน กอช. ของ แรงงานนอกระบบในกรุงเทพฯ ปี 2560 ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ศึกษา กลุ่มตัวอย่าง 402 คน พบว่า มีผู้ตัดสินใจ ไม่ร่วมกองทุน 197 คน เหตุผลอันดับ 1 คือ ไม่รู้จัก กอช. รองลงมาคือ ไม่สนใจออมใน กอช. และพอใจกับการออมกับธนาคารหรือ ตลาดหลักทรัพย์ ส่วนอีก 205 คน ตัดสินใจ เข้าร่วม กอช. เหตุผลอันดับ 1 คือ ต้องการมี บ�ำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปี รองลงมาคือ ให้ผล ตอบแทนคุม้ ค่า และไม่อยากเป็นภาระแก่ลกู หลาน หนั ง สื อ พิ ม พ์ ลู ก ศิ ล ป์ ไ ด้ ท� ำ แบบสอบถาม พฤติ ก รรมในการใช้ จ ่ า ยของนั ก เรี ย น นั ก ศึ ก ษา กลุม่ ตัวอย่าง 90 คน พบว่า ร้อยละ 79.4 ไม่รจู้ กั กอช.

เจ้าหน้าที่ให้ค�ำแนะน�ำตรงกันว่า กอช. ไม่เหมาะ กับคนทีม่ อี ายุนอ้ ย เนือ่ งจากมีระยะเวลาการออม ที่ยาวนาน กว่าจะถอนได้ต้องมีอายุครบ 60 ปี หากลาออกกลางคันจะไม่ได้รบั เงินสมทบจากรัฐ และการจ่ายเงินคืนเป็นลักษณะผ่อนจ่าย ไม่ได้รบั เงินก้อนเช่นเดียวกับเบี้ยผู้สูงอายุ พร้อมแนะน�ำ ให้ออมในรูปแบบอื่น นโยบายไม่ ส อดรั บ กั บ พฤติ ก รรม การใช้จ่ายของสมาชิก

นายสมชาย อารยชาติสกุล ผู้อ�ำนวยการ ฝ่ายเงินฝาก ธกส. กล่าวว่า ปัญหาของ กอช. ยั ง ขาดการศึ ก ษาพฤติ ก รรมการออมของ กลุ่มแรงงานนอกระบบ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกร มีรายได้ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับราคาผลผลิต ขณะนี้ราคาผลผลิตก็ ตกต�่ำ ท�ำให้เกษตรกรมีรายได้น้อยลงไปด้วย แม้จะก�ำหนดให้มีวิธีการออมที่ยืดหยุ่นตาม ความต้องการของสมาชิก สอดรับกับ นางอรพิน วิมลภูษิต ตัวแทน เครือข่ายแรงงานนอกระบบ 5 ภาค กล่าวว่า ฐานคิดของ กอช. ไม่สอดคล้องกับคุณภาพชีวติ ไม่ค�ำนึงถึงปัจจัยการใช้จ่าย และเงินเหลือเก็บ ของผู้ออม อีกทั้ง กอช. ไม่มีนโยบายในการ สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออมให้ กับผู้สนใจอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้สมาชิก ส่วนใหญ่ประสบปัญหาการจัดสรรเงินออม และ เป็นเหตุให้สมาชิกบางส่วนไม่สง่ เงินกับทาง กอช. ต่อไป หรือตัดสินใจออกจากกองทุนในที่สุด 3 ปี สมาชิกกอช.ไม่เข้าเป้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กอช. เปิดให้บริการ ครั้ ง แรกเมื่ อ ปี 2558 กลุ ่ ม เป้ า หมายเป็ น แรงงานนอกระบบที่อยากได้รับเงินบ�ำนาญ และเงินที่รัฐจ่ายสมทบให้ แต่ตลอดระยะ 3 ปี จ่ายคืนหลังเกษียณ ออกก่อนไม่ได้ ที่ผ่านมา กลับมีสมาชิกเพียง 5.5 แสนคน เงินสมทบ คิดเป็นร้อยละ 2.64 จากแรงงานนอกระบบ นายธีรวัฒน์ อธึกธนากร ประกอบอาชีพ ทั่วประเทศที่มีกว่า 20.8 ล้านคน ต�่ำกว่าเป้าที่ ค้าขาย กล่าวว่า เคยออมเงินกับ กอช. เป็น ตั้งไว้ 1 ล้านคนภายในปีแรก เวลา 3 เดือน ฝากเงินเดือนละ 100 บาท นั ก วิ ช าการแนะรั ฐ ต้ อ งมี ร ะบบ ต่อมาลาออกจาก กอช. เพราะจ�ำเป็นต้องใช้ บ�ำนาญแห่งชาติ เงินส่วนทีอ่ อมมาใช้ โดยไม่ได้รบั เงินสมทบจาก นายเดชรัต สุขก�ำเนิด อาจารย์ประจ�ำ รัฐ เนื่องจากเป็นการออกก่อนก�ำหนด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เช่นเดียวกับโปรแกรมเมอร์อิสระคนหนึ่ง กล่าวว่า กอช. เป็นเป็นการออมระยะยาว ไม่ เผยว่ า เคยออมเงิ น กั บ กอช. แต่ ล าออก ส่งผลต่อการกระตุน้ เศรษฐกิจในระยะสัน้ ส่วน เนื่องจากว่าผลตอบแทนไม่คุ้มค่า จึงน�ำเงิน เหตุที่ กอช. ไม่ตอบโจทย์แรงงานนอกระบบ ไปลงทุนกับหุ้น เพราะผลตอบแทนคุ้มค่ากว่า เพราะการจ่ายเงินสมทบจากรัฐของ กอช. ผู้สื่อข่าวทดลองสมัครออมเงินกับ กอช. น้อยเกินไป ซึ่งก�ำหนดจ่ายสมทบสูงสุดตลอด ผ่านธนาคารกรุงไทย 2 แห่ง และธนาคารเพื่อ การออมไม่เกิน 1,200 บาท รวมทั้งช่องทาง การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) 1 แห่ง เข้าถึง กอช. ยังไม่เพียงพอ เพราะการสมัคร

��������17janfinal.indd 6

สมาชิกต้องติดต่อผ่านธนาคารทีเ่ ข้าร่วมเท่านัน้ “ปัจจุบันแรงงานนอกระบบ 20.8 ล้าน คน พบเพียง 7.5 ล้านคน ที่เข้าร่วมการออม กับสถาบันการเงินทั่วประเทศ ขณะที่ 13.3 ล้านคน ไม่เหลือเงินออม ดังนั้นสมาชิก กอช. ที่มีอยู่ 5.5 แสนคนตอนนี้ จึงเป็นค�ำตอบว่า กอช. ยังดีไม่พอ เพราะยังตอบโจทย์ปญ ั หาของ แรงงานนอกระบบไม่ได้เลย” นายเดชรัต กล่าว นายเดชรัต กล่าวอีกว่า กอช. ควรจะปรับ ระบบให้สามารถเชือ่ มกับบัญชีธนาคารทุกแห่ง เพื่ออ�ำนวยความสะดวกให้กับสมาชิก และ รัฐควรมีการจัดระบบบ�ำนาญแห่งชาติ เพื่อ ก�ำหนดแนวทางปฏิบัติให้กับหน่วยงานที่ดูแล เรื่องบ�ำนาญ โดยให้กระทรวงพัฒนาสังคม และความมัน่ คงของมนุษย์รบั ผิดชอบในเรือ่ งนี้ กอช.ระบุ ค นไทยไม่ ต ระหนั ก เรื่ อ ง การออม

ด้ า นนางสาวจารุ ลั ก ษณ์ เรื อ งสุ ว รรณ เลขาธิการคณะกรรมการ กอช. ยอมรับว่า คน ส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า กอช. เป็นการลงทุน แต่

แท้จริงเป็นการออมเพือ่ ให้มเี งินใช้หลังเกษียณ ส่วนหนึ่งมาจากเจ้าหน้าที่ธนาคารให้ข้อมูลไม่ ถูกต้องชัดเจน และคนไทยยังขาดพฤติกรรม การออม การวางแผนการเงิน เป็นเหตุให้คน ไม่สนใจสมัครเข้าร่วมกองทุน แนวทางการแก้ ปัญหาเบื้องต้น กอช. เพิ่มการประชาสัมพันธ์ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ และใช้การบอกต่อ แบบปากต่อปากของประชาชน รวมทัง้ เพิม่ ช่อง ทางการสมัครเข้าร่วมกองทุนผ่านเคาน์เตอร์ เซอร์วิส แอปพลิเคชันและตู้เติมเงินบุญเติม ทั่วประเทศ และสามารถติดต่อขอข้อมูลจาก สายด่วน กอช. เพื่อประกอบการตัดสินใจได้

ณัฐนิชา อิสสอาด ณัฐสิตา อุทัย อิชย์อาณิคม์ ชิตวิเศษ ลัทธวรรณ จอมซื่อตรง ฬิกา อธึกธนากร

1/19/19 1:16 AM


เกาะติดนโยบายรัฐ

บ้านโทรมไม่เอือ ้ ผูส ้ ง ู วัย

อีก 6 ปี ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ แต่ผู้สูงวัยยังอยู่ใน บ้านทรุดโทรมไม่เอือ ้ ด�ำรงชีพ แม้รัฐแจกงบซ่อมบ้าน 2 หมืน ่ แต่ปรับปรุงได้ไม่เกิน 30 หลังต่อปี ต่อจังหวัด “ถ้าคืนไหนฝนตก น�้ำจะท่วมบ้านเต็มไป หมด เพราะหลังคาสังกะสีรั่ว จะพยุงหลานอีก 2 คน ย้ายไปนอนหลบฝนที่มุมอื่นก็ท�ำไม่ได้ บ้านมันแคบ มีอยู่ชั้นเดียว ต้องทนนอนกันอยู่ อย่างนั้นจนกว่าฝนจะหยุด” กว่า 20 ปี ที่นางเจือ สิงห์รัมย์ วัย 67 ปี ชาว จ.นครราชสีมา กับหลานอีก 2 คน ต้อง ทนนอนอยู่ในบ้านสภาพช�ำรุด เพราะรายได้ จากการเก็บผักไปขายไม่เพียงพอต่อการจ่าย เงินซ่อม จนเมือ่ 2 ปีกอ่ น เธอได้ของบประมาณ จากโครงการปรับสภาพแวดล้อมผู้สูงอายุให้ เหมาะสมและปลอดภัย ส�ำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ จ .นครราชสี ม า (พมจ.นครราชสีมา) เพื่อน�ำมาซ่อมแซมบ้าน แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ ได้เพียงเงินช่วยเหลือ มา 2,000 บาท ประเทศไทยจะเข้ า สั ง คมผู ้ สู ง อายุ โ ดย สมบูรณ์ คือมีผสู้ งู อายุรอ้ ยละ 20 ของประชากร ทัง้ หมดในอีก 6 ปีขา้ งหน้า ท�ำให้เมือ่ ปี 2559 กรม กิจการผูส้ งู อายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ (พม.) เริ่มโครงการปรับสภาพ แวดล้อมผูส้ งู อายุให้เหมาะสมและปลอดภัย หรือ ทีเ่ รียกว่า งบซ่อมแซมบ้านหลังละ 20,000 บาท

เพื่อรองรับและช่วยเหลือผู้สูงอายุที่จะมีมาก ขึ้ น ตามหลั ก การออกแบบเพื่ อ มวลชน ปี ที่ ผ่ า นมายั ง มี ก รอบยุ ท ธศาสตร์ ช าติ ก� ำ หนด ให้ รั ฐ ต้ อ งจั ด สภาพแวดล้ อ มให้ เ ป็ น มิ ต รกั บ ผู้สูงวัย พร้อมทั้งจัดหลักประกันทางสั ง คมที่ สอดคล้องกับความจ�ำเป็นพื้นฐานในการด�ำรง ชีวติ และวางหลักเกณฑ์ผมู้ สี ทิ ธิเข้าร่วมโครงการ (ดูรายละเอียดในอินโฟกราฟิก) โดยกรมฯ ได้รบั จัดสรรงบประมาณส�ำหรับโครงการนี้ จ�ำนวน 59,265,000 บาท ส�ำหรับ 76 จังหวัดรวมถึง กรุงเทพมหานคร หรือเฉลี่ยพื้นที่ละประมาณ 500,000-700,000 บาท อย่างไรก็ดี เมือ่ สอบถามผูส้ งู อายุหลายรายใน กรุงเทพฯ และ จ.นครราชสีมา พื้นที่ที่มีผู้สูงอายุ อาศัยอยู่มากที่สุดของประเทศ ทุกคนให้ข้อมูล ใกล้เคียงกันว่า เมื่อ 1–2 ปีที่ผ่านมา ได้ยื่นเรื่อง ของบซ่อมแซมบ้านกับ พมจ. แต่จนถึงขณะนี้ยัง ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ นางสาวจรรยารั ก ษ์ บุ ณ ยานุ เ คราะห์ นักสังคมสงเคราะห์ชำ� นาญการ ได้รบั มอบหมาย จากนางอนงนาฎ คุณวิเศษ หัวหน้ากลุ่นโยบาย และวิชาการ พมจ. นครราชสีมา ให้ชี้แจงแทน กล่าวว่า งบประมาณทีไ่ ด้มาแต่ละปีเพียงพอซ่อม

เจาะลมหายใจร้าน‘โชห่วย’

่ ยูใ่ ต้สด ในวันทีอ ุ ของห่วงโซ่อาหาร

“เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีร้านสะดวกซื้อมาเปิด อยู่หน้าปากซอย ร้านของดิฉันก็ขายแทบไม่ได้ ตอนนี้มีร้านธงฟ้าประชารัฐเปิดขนาบข้างยิ่งแย่ เข้าไปใหญ่ ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน เขาไปซื้อ ที่ร้านธงฟ้าฯ กันหมด จากที่เคยมีรายได้ 400500 บาท ต่อวัน ก็เหลือไม่ถึง 300 บาท ทุก วันนี้ขายไม่ออกเลยสักชิ้น” เมื่อ 13 ปีที่แล้ว จุฑานันท์ ปานเถื่อน วัย 48 ปี ตัดสินใจเปิดร้านขายของช�ำเล็ก ๆ ใน หมูบ่ า้ นย่านสายไหม กรุงเทพฯ หวังว่า จะมีรายได้ เล็ก ๆ น้อย ๆ เลี้ยงตัวคนเดียวในยามชรา แต่ใน วันนี้ รายได้แทบไม่พอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ไม่ต่างจาก อรุณรัตน์ สมฤทธิ์ วัย 60 ปี ซึ่งเปิดร้านขายของช�ำในซอยถัดไปมา 20 ปี สามารถส่งเสียลูก 2 คน จนจบปริญญาตรีได้ แต่ปัจจุบันเมื่อมีร้านสะดวกซื้อ และร้านธงฟ้า ประชารัฐมาเปิดใกล้ ๆ ท�ำให้ลูกค้าไม่เข้าร้าน แต่ละวันเธอจึงต้องใช้เงินอย่างประหยัด แม้จะมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การแข่งขัน ทางการค้า พ.ศ. 2560 มาตรา 50 มีแนวปฏิบัติ ให้ผคู้ า้ ส่ง ค้าปลีก ธุรกิจร้านสะดวกซือ้ และร้าน โชห่วยแข่งขันการค้าอย่างเป็นธรรม เพื่อให้ ผูป้ ระกอบการรายใหญ่กบั รายเล็กอยูร่ ว่ มกันได้ แต่ ข ้ อ มู ล ล่ า สุ ด ของบริ ษั ท กั น ตาร์ เวิร์ลด-พาแนล (ไทยแลนด์) จ�ำกัด ระบุว่า ใน

��������17janfinal.indd 7

ปี 2560 ร้านค้าโชห่วยมีส่วนแบ่งทางการตลาด ลดลงอย่างต่อเนื่อง เหลือเพียงร้อยละ 32 จาก ร้ อ ยละ 50 ในปี 2553 ขณะที่ บริ ษั ท สหพัฒนพิบูล จ�ำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ผลิต สินค้าเพื่อส่งให้ร้านธงฟ้าประชารัฐ ปี 2560 มี ก�ำไรสูงถึง 1,444 ล้านบาท โตขึน้ จากปีทผี่ า่ นมา ร้อยละ 25.41 ยิง่ ไปกว่านัน้ หลังจากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะ รั ก ษาความสงบแห่ ง ชาติ (คสช.) ประกาศ นโยบายประชารัฐสวัสดิการ ให้วงเงินในบัตร สวั ส ดิ ก ารแห่ ง รั ฐ เพื่ อ ใช้ ช� ำ ระค่ า สิ น ค้ า และ บริการ ผ่านหน่วยงานหรือร้านค้าที่ก�ำหนดเมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ปรากฏว่า มีร้านโชห่วย ในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบซ�้ำสองจากเดิมที่ ต้องแข่งกับร้านสะดวกซื้ออยู่แล้ว มาวันนี้ต้อง แข่งกับร้านธงฟ้าประชารัฐจนท�ำให้อยูแ่ ทบไม่ได้ เมื่อส�ำรวจเพิ่มเติมในเขตสายไหม เขตที่มี ร้านค้าปลีกมากที่สุดในกรุงเทพฯ จากข้อมูล ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อสิ้นปี 2560 คือมีทั้งหมด 507 ร้าน แบ่ง เป็นร้านโชห่วย 359 ร้าน ร้านสะดวกซื้อ 73 ร้าน และร้านธงฟ้าประชารัฐ 75 ร้าน พบว่า ร้ า นโชห่ ว ยหลายร้ า นต้ อ งปิ ด ตั ว ลง อย่ า ง เจ้าของร้านวัย 61 ปี คนหนึง่ ทีบ่ อกว่า รอเพียง

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 |

7

บ้านได้ 10-30 หลังเท่านั้น ท�ำให้มีผู้สูงอายุที่ ยากไร้จ�ำนวนมากต้องรองบประมาณในปีถัดไป นางอั น ธิ ก า สวั ส ดิ์ ศ รี คณบดี ค ณะ สถาปั ต ยกรรมศาสตร์ สถาบั น เทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าว ว่า รัฐควรยกเลิกโครงการนี้ และสร้างบ้าน เอือ้ อาทรส�ำหรับผูส้ งู อายุแทน เพราะนอกจาก ช่วยลดงบประมาณแล้ว ยังร่นเวลาให้ผู้สูงไม่ ต้องรอการเบิกงบจ่ายงบนาน ๆ รวมถึงท�ำให้ ผู้สูงอายุได้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างปลอดภัย และยั่งยืนมากกว่า นางตะติยา ไกรศรศรี ผู้อ�ำนวยการกลุ่ม คุม้ ครองสิทธิและช่วยเหลือผูส้ งู อายุกรมกิจการ ผูส้ งู อายุ พม. ชีแ้ จงว่า กรมฯ ได้ของบประมาณ โครงการช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านเพิ่มขึ้น แต่ ถูกส�ำนักงบประมาณตัดงบและแบ่งเงินไปใช้ ในโครงการอื่น อย่างไรก็ดีได้ส่งหนังสือเชิญ ชวนให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมบริจาคสิ่งของ และเงิน เพื่อช่วยผู้สูงอายุยากไร้ที่เหลือ ให้ได้ มีโอกาสปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ ได้มากยิ่งขึ้น ขณะนี้ก�ำลังรอการตอบรับจาก ทางภาคเอกชนอยู่ ส่วนเรื่องการสร้างบ้านเอื้อ อาทรส�ำหรับผูส้ งู อายุ ทางกรมฯ ไม่ได้มภี ารกิจ เกี่ยวข้องในการดูแลในการสร้างบ้าน แต่เป็น หน้าทีข่ องการเคหะแห่งชาติ หนึง่ ในหน่วยงาน ย่อยของ พม. ซึ่งในอนาคตทางการเคหะแห่ง ชาติอาจด�ำเนินการโครงการนี้ สมจินตนา นุ่นปาน

แค่ขายของในร้านให้หมดก็จะปิดร้านแล้วไป เก็บขวดขาย “คนไม่เข้า ถามหาแต่ธงฟ้า เก็บขวดขายมี ก�ำไรมากกว่าเปิดร้านโชห่วยด้วยซ�้ำ” เขาบอก ด้าน นงเยาว์ สุ่มส้ม วัย 60 ปี ผู้ถือบัตร สวัสดิการแห่งรัฐ บอกว่า เงิน 300 บาท ที่รัฐ ให้แต่ละเดือนเพียงพอต่อการซื้อของอุปโภค บริโภคที่ร้านธงฟ้าประชารัฐให้หลาน 2 คน จึงแทบไม่ได้เข้าร้านโชห่วยอีกเลย อีกด้านหนึ่ง เจ้าของร้านธงฟ้าประชารัฐใน เขตสายไหม บอกว่า มีรายได้ตอ่ วัน 30,000 บาท สูงกว่าเดิม 10,000 บาท ยิ่งช่วงต้นเดือนจะมี ลูกค้าเข้าร้านมากกระทั่งต้องแจกบัตรคิว เพราะ มีสินค้าให้เลือกซื้อมากกว่า พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ มองว่า ร้านธงฟ้าประชารัฐเป็นการค้าขายผูกขาด ระหว่างประชาชน รัฐ และกลุม่ นายทุนใหญ่ โดยที่ ไม่ได้ช่วยเหลือเศรษฐกิจในร้านโชห่วยขนาดเล็ก “ได้รับการร้องเรียนมาว่า สินค้าในร้าน ธงฟ้ า ประชารั ฐ มี คุ ณ ภาพต�่ ำ และราคาแพง กว่าสินค้าชนิดเดียวกันในท้องตลาด รวมถึง ประชาชนหลายคนยังต้องล�ำบากในการไป ซื้อสินค้ากับร้านธงฟ้าประชารัฐ เพราะร้านไม่ ทั่วถึง ซึ่งสุดท้ายก็ไม่ได้ช่วยสร้างความสะดวก สบายให้กับประชาชนตามนโยบายที่ประกาศ ออกมา และยั ง ท� ำ ลายเศรษฐกิ จ ครั ว เรื อ น ขนาดเล็กอย่างร้านโชห่วยอีกด้วย” โฆษก พรรคอนาคตใหม่ กล่าว พอพันธ์ อุยยานนท์ อาจารย์ประจ�ำสาขา

วิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า โครงการธงฟ้าประชารัฐเป็นการโยน เงินเข้าสูก่ ลุม่ นายทุนใหญ่ โดยทีไ่ ม่ได้ทำ� ให้เงิน หมุนเวียนไปยังเศรษฐกิจฐานรากและยังไป ท�ำลายเศรษฐกิจครัวเรือนอย่างร้านโชห่วย โดย การซื้อขายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเปรียบ เสมือนการมัดมือชก ที่รัฐยื่นเงินให้ประชาชน ซื้อของผ่านร้านธงฟ้าประชารัฐเท่านั้น แต่ สุดท้ายเงินก็กลับไปตกอยู่ที่กลุ่มนายทุนใหญ่ที่ เป็นผู้ผลิตสินค้าเพื่อส่งให้ร้านธงฟ้าประชารัฐ ไม่ได้ผ่านร้านโชห่วยขนาดเล็ก สุดท้ายร้าน พวกนี้ก็อยู่ไม่ได้ ค� ำ ชี้ แ จงจาก พงศ์ น คร โภชากรณ์ ผู ้ อ� ำ นวยการส่ ว นการวิ เ คราะห์ เ ศรษฐกิ จ มหภาค ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวง การคลัง ยอมรับว่า ร้านโชห่วยได้รบั ผลกระทบ จริง แต่ทุกคนต้องปรับตัวไปพร้อมกับความ ช่วยเหลือของรัฐ ในอนาคตจะรับร้านโชห่วย เข้าร่วมโครงการธงฟ้าประชารัฐมากขึ้น โดย ตั้งเป้าไว้ 100,000 แห่ง “แต่ ข ณะนี้ เ ครื่ อ งรั บ ช� ำ ระเงิ น แบบ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ในร้ า นธงฟ้ า ประชารั ฐ นั้ น มี ไ ม่ เ พี ย งพอ จึ ง เสนอให้ ร ้ า นโชห่ ว ยโหลด แอปพลิเคชันถุงเงินประชารัฐและขึน้ ทะเบียน กับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อใช้ส�ำหรับรับช�ำระ ค่าสินค้าจากผู้ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้เช่น เดียวกับร้านธงฟ้าประชารัฐทั่วไป” สิริวิมล มีนสิรินันท์

1/19/19 1:16 AM


8|

ลูกศิลป์

สารคดีเชิงข่าว

เพศวิถใี นโรงเรียนปอเนาะ... “แรก ๆ เลือกที่จะอยู่เฉย แต่พอโดนรุมเตะ ต่อยมาก ๆ เข้า ก็ตอบโต้บา้ ง ในเมือ่ บอกอุสตาซ (ครูสอนศาสนา) ไปแล้วเขาไม่สนใจ แล้วจะยอม ทนเจ็บอยู่ฝ่ายเดียวต่อไปท�ำไม” ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา นักเรียนผู้มีความ หลากหลายทางเพศในโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลาม (โรงเรียนปอเนาะ) ใน จ.ยะลา คนนี้ ต้ อ งทนอยู ่ ใ นสภาพที่ ถู ก กดดั น จาก ครูและเพื่อนนักเรียน ด้วยกฎของโรงเรียน ก� ำ หนดให้ นั ก เรี ย นต้ อ งอยู ่ ร วมกั น ตามเพศ ก�ำเนิดของตน แต่ดว้ ยอัตลักษณ์ทางเพศทีต่ า่ งจาก นักเรียนคนอืน่ ท�ำให้เขาตกเป็นเป้าในการถูกรังแก ศาสนาอิสลามมีบทบัญญัตเิ รือ่ งการปฏิบตั ิ ตัวของชายและหญิงในคัมภีรอ์ ลั กุรอาน ซูเราะห์ (บท) อัลเกาะศ็อศ อายะห์ (วรรค) ที่ 68 ว่า “อัลเลาะห์ทรงสร้างสิง่ ทีพ่ ระองค์ทรงประสงค์ ส� ำ หรั บ มนุ ษ ย์ ไ ม่ มี สิ ท ธิ์ ใ นการเลื อ ก และ พระองค์ทรงสูงส่งกว่าสิ่งที่พวกเขาตั้งภาคี” และในอัลหะดีษ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติพื้นฐาน บันทึกโดยอบูดาวุดว่า “อัลเลาะห์ทรงสาป แช่งผู้หญิงที่ท�ำตัวเลียนแบบผู้ชาย และผู้ชาย ที่ท�ำตัวเลียนแบบผู้หญิง” ท�ำให้บุคคลเหล่านี้ แทบจะไม่สามารถเปิดเผยตัวตนได้ แม้ รั ฐ บาลไทยจะลงนามในหลั ก การ ยอกยาร์ ก าตาว่ า ด้ ว ยการใช้ ก ฎหมายสิ ท ธิ มนุษยชนระหว่างประเทศในประเด็นวิถีและ อัตลักษณ์ทางเพศเมือ่ ปี 2549 มีหลักส�ำคัญว่า มนุษย์ทุกคนเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ด้วยเหตุความแตกต่างทางเพศ อย่างไรก็ตาม ยั ง พบการเลื อ กปฏิ บั ติ ใ นกลุ ่ ม คนที่ มี ค วาม หลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะสังคมมุสลิม

��������17janfinal.indd 8

ปัญหาที่ถูกปกปิด

หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ได้พูดคุยกับนักเรียน ผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมีเพศก�ำเนิด เป็นเพศชายจ�ำนวน 10 คน จากโรงเรียน ปอเนาะ 8 แห่ง ในกรุงเทพฯ นนทบุรี ยะลา และนราธิวาส ทุกคนบอกตรงกันว่า ถูกล้อจาก เพือ่ นร่วมชัน้ ด้วยวาจา เช่น “เสียวประตูหลัง” หรือ “ถ่ายไม่ออกต้องการคนช่วย” ไปจนถึงขัน้ ถูกลวนลามที่หน้าอก บั้นท้าย และถูกท�ำร้าย ร่างกายโดยการทุบตี พวกเขาบอกว่า เมื่อน�ำเรื่องไปปรึกษา กับอุสตาซ แต่อุสตาซส่วนใหญ่กลับเมินเฉย บางคนยังตอบว่า เพราะพวกตนมีพฤติกรรม แปลกแยกไปจากคนอื่นเป็นเหตุให้ถูกรังแก ครูไม่ปกป้องสิทธิซ้�ำยังจับผิด

ไม่ เ พี ย งแต่ พ วกเขาจะไม่ ไ ด้ รั บ การ ปกป้องสิทธิในเนื้อตัวร่างกายแล้ว นักเรียน เหล่ า นี้ ยั ง บอกด้ ว ยว่ า อุ ส ตาซมั ก จั บ ผิ ด ว่ า น�ำของใช้ทไี่ ม่เกีย่ วข้องกับการเรียนติดตัวมา เช่น เครื่องส�ำอาง หรือยาฮอร์โมน และมักถูกค้น กระเป๋าเสมอ เมือ่ พบของดังกล่าวก็จะถูกลงโทษ ด้วยการริบของ ว่ากล่าว หรือวิ่งรอบสนาม และ บังคับให้ไปแสดงละครโรงเรียนในบทบาทผูช้ าย “อุสตาซพูดว่า ห้ามแต่งหน้าหรือน�ำเครือ่ ง ส�ำอางมาโรงเรียนเด็ดขาด และย�้ำว่า หากพบ อีกจะถูกท�ำทัณฑ์บน ครบ 3 ครั้งจะถูกไล่ออก ทันที” นักเรียนผู้มีความหลากหลายทางเพศ คนหนึง่ ในโรงเรียนปอเนาะ จากนราธิวาส กล่าว ดุลยวัต พุ่มพวง อดีตนักเรียนโรงเรียน ปอเนาะชื่อดังย่านวังทองหลาง กรุงเทพฯ เผย ว่า เคยเห็นรุ่นน้องที่มีความหลากหลายทาง เพศในโรงเรียนคนหนึ่งถูกอุสตาซลงโทษด้วย

การวิ่งรอบสนามทุกเช้า ครั้งละ 5 รอบ เป็น กิจกรรมทีเ่ หมาะสมกับเพศก�ำเนิดของนักเรียน เวลา 1 เทอม อ้างว่า เพื่อให้ฮอร์โมนที่กินไป เช่น เป็นสวัสดิการงานกีฬาสี หรือ แข่งขัน ถูกขับออกมา กีฬาวอลเลย์บอล หากพบเจอนักเรียนที่แสดง นร.หลากหลายทางเพศกว่ า ครึ่ ง ตัวตนออกมามากเกินไปก็จะว่ากล่าวตักเตือน โดนรังแก ด้วยหลักศาสนา ให้นักเรียนเกรงกลัวต่อโทษ มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ในเรื่องดังกล่าวมากขึ้น องค์การแพลน อินเตอร์เนชัน่ แนล ประเทศไทย ชี้เป็ นปั ญหาสังคมไม่เปิ ดรับไม่ใช่ และยูเนสโก เมื่อปี 2557 เผยว่า พบการรังแก หลักศาสนา อณัส อมาตยกุล กรรมการบริหารศูนย์ กลุม่ นักเรียนผูม้ คี วามหลากหลายทางเพศจาก โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั้ง 5 จังหวัด ทั่ว มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ ทุกภาคของประเทศไทย โดยร้อยละ 56 ของ มหาวิ ท ยาลั ย เห็ น ว่ า ปั ญ หานั ก เรี ย นที่ มี กลุม่ นักเรียนดังกล่าว ระบุวา่ เคยถูกรังแกเพราะ ความหลากหลายทางเพศในโรงเรียนปอเนาะ ความเป็นบุคคลหลากหลายทางเพศ นอกจากนี้ ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคจากเพื่อน ร้อยละ 31 ระบุว่า เคยมีประสบการณ์ถูก และครู เพราะสังคมมุสลิมในประเทศไทยเป็น ท�ำร้ายร่างกาย ร้อยละ 29 ระบุว่า ถูกกระท�ำ สังคมปิด ไม่เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ทั้งที่จริงศาสน ทางวาจา ร้อยละ 36 ถูกกระท�ำทางสังคม บัญญัติสามารถปรับเปลี่ยนตามบริบทสังคม “ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น จึ ง ไม่ ไ ด้ เ กิ ด จากหลั ก ขณะที่ร้อยละ 24 เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ เมื่ อ สอบถามครู โ รงเรี ย นปอเนาะอย่ า ง ค�ำสอนศาสนา แต่เป็นการเปิดรับของสังคม ลักษณันท์ คุรุสวัสดิ์ โรงเรียนมะเซาะฮะตุดดีน 2 มุสลิม ซึ่งจ�ำเป็นต้องใช้เวลาและการเปิดรับ กรุงเทพฯ ชี้แจงว่า แต่เดิมสังคมไม่มีกลุ่มคน จากกระแสสังคมไทยก่อน สังคมมุสลิมไทย หลากหลายทางเพศ ศาสนาอิสลามจึงมองว่า เป็น จะเปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อ สังคมไทยเปิดรับ สิ่งที่ผิดปกติ ต้องได้รับการชี้แนะด้วยหลักการ ทุกอย่างโดยไม่มเี งือ่ นไขเสียก่อน” อณัส กล่าว ศาสนาเพื่อให้กลับมาเป็นคนปกติ หากโรงเรียน จีร้ ฐั เร่งแก้กม.เท่าเทียมทางเพศฯม.17 พบนักเรียนที่เป็นเพศทางเลือกก็จะเรียกมาพูด มีขอ้ มูลทีน่ า่ ตกใจจาก อังคณา นีละไพจิตร คุยส่วนตัว และแนะน�ำให้ศึกษาศาสนาเรื่องโทษ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด้วยว่า การ ของการเบี่ยงเบนทางเพศให้มากขึ้น เลือกปฏิบัติด้วยเหตุทางเพศไม่ได้พบแค่ใน เช่นเดียวกับ อนันดา สมเภา ครูโรงเรียน โรงเรียน แต่ยังพบในครอบครัว โดยเฉพาะ ธรรมมิสลาม มูลนิธิ นนทบุรี ตอบว่า แม้ พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ “มี เ ด็ ก ถู ก ทุ บ ตี ท� ำ ร้ า ยจากครอบครั ว โรงเรี ย นจะสนั บ สนุ น ให้ นั ก เรี ย นที่ มี ค วาม หลากหลายทางเพศได้ท�ำกิจกรรมโรงเรียน เพียงเพราะมีพฤติกรรมที่ต่างจากเพศก�ำเนิด มากขึน้ แต่ยงั ต้องควบคุมพฤติกรรมและให้ทำ� บางรายถูกท�ำร้ายบาดเจ็บสาหัสต้องถูกน�ำตัวส่ง

1/19/19 1:16 AM


สารคดีเชิงข่าว

บ้านพักเด็กและครอบครัวในพื้นที่ พอหายดีกลับ บ้านไปก็ถกู ท�ำร้ายจนต้องกลับมาพึง่ บ้านพักฯ อีก หรือในโรงเรียนปอเนาะบางแห่ง มีการน�ำตัวเด็กที่ มีพฤติกรรมดังกล่าวไปกล้อนผม” อังคณา กล่าว อังคณา กล่าวอีกว่า ปัญหาการเลือกปฏิบัติ ทางเพศ ส่ ว นหนึ่ ง มาจากพระราชบั ญ ญั ติ (พ.ร.บ.) ความเท่าเทียมทางเพศ พ.ศ. 2558 มาตรา 17 วรรค 2 ระบุว่า ข้อจ�ำกัดบางอย่าง ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ เช่น เหตุผลทาง หลักศาสนา หรือเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและ ความมั่ น คงของชาติ ท� ำ ให้ เ ป็ น ช่ อ งโหว่ ใ น การน� ำ มาใช้ เ ลื อ กปฏิ บั ติ ซึ่ ง ขณะนี้ ค ณะ กรรมการสิทธิฯ และองค์กรสิทธิสตรีและบุคคล หลากหลายทางเพศได้ เ รี ย กร้ อ งให้ ป รั บ แก้ มาตรานี้ เพื่อสร้างความเท่าเทียมอย่างแท้จริง สช.เร่งพัฒนาครูให้เข้าใจมากขึน ้

ชล�ำ อรรถธรรม เลขาธิการคณะกรรมการ ส่ ง เสริ ม การศึ ก ษาเอกชน (สช.) กระทรวง ศึกษาธิการ ชี้แจงว่า ทราบปัญหาการเลือก ปฏิบัติต่อนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเพศ ในโรงเรียนปอเนาะมาบ้าง แต่ยงั ไม่เคยมีเรือ่ งร้อง เรียนเข้ามา การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศถือ เป็นสิง่ ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็ก โดยเฉพาะกรณีเด็กกลุ่มดังกล่าวถูกล่วงละเมิด ทางร่างกายจากนักเรียนด้วยกัน ครูจะต้องเข้าไป ดูแล ไม่ใช่ท�ำโทษเด็กที่ถูกกระท�ำ เพราะเด็ก ทุกคนเป็นผูบ้ ริสทุ ธิท์ ตี่ อ้ งได้รบั การคุม้ ครองสิทธิ "สช. จะต้ อ งอบรมพั ฒ นาครู เ พื่ อ สร้ า ง ความเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ เพศวิ ถี แ ละสิ ท ธิ ข อง นั ก เรี ย น รวมทั้ ง สอนให้ นั ก เรี ย นเข้ า ใจถึ ง ความหลากหลายทางเพศในสั ง คมปั จ จุ บั น และต้องเข้าไปช่วยเหลือ ประสานงานกับ หน่วยงาน เช่น จิตแพทย์ แพทย์ และต�ำรวจ ในกรณีที่เด็กถูกกระท�ำ" เลขาธิการ สช. กล่าว

��������17janfinal.indd 9

ส่ ว นจะต้ อ งเข้ า ไปปรั บ กฎระเบี ย บของ โรงเรี ย นปอเนาะหรื อ ไม่ นั้ น ชล� ำ เห็ น ว่ า โรงเรียนสามารถจัดการแก้ไขปัญหาได้ด้วย ตนเอง เขาบอกด้วยว่า สังคมมุสลิมจะมีกฎ เกณฑ์ เช่น หลักศาสนาสอดแทรกอยู่ในกฎ ของโรงเรียน และการเฝ้าระวังทีร่ ดั กุมมากกว่า สังคมทัว่ ไป จึงไม่กงั วล หาก สช. เข้าไปปรับกฎ เกณฑ์ของโรงเรียนเหล่านีม้ ากเกินไป จะท�ำให้ เกิดความขัดแย้งกับสังคมมุสลิมได้

อิชย์อาณิคม์ ชิตวิเศษ

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 |

9

ปอเนาะส�ำหรับเพศทางเลือก ในอินโดนีเซีย เปอซานเตริน วาเรีย อัล ฟาตะฮ์ (Pondok Pesantren Waria Al-Fatah) เป็นโรงเรียน เอกชนสอนศาสนา (ปอเนาะ) แห่งหนึ่งใน เขตปกครองพิเศษยอกยาการ์ตา ประเทศ อินโดนีเซีย หากมองเผิน ๆ โรงเรียนแห่งนี้ ก็เหมือนกับโรงเรียนปอเนาะอื่นที่มีอยู่กว่า 13,000 แห่งทั่วประเทศ แต่สิ่งที่ต่างออกไปคือ โรงเรียนนี้เป็น โรงเรียนปอเนาะแห่งแรกในประเทศที่เปิด รับบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศด้วย เจตนารมณ์ทจี่ ะสร้างพืน้ ให้กบั กลุม่ คนหลาก หลายทางเพศได้ประกอบศาสนกิจและเรียน รู้เรื่องราวของศาสนา ท่ามกลางกระแสการ คุกคามสิทธิของเหล่าผู้มีความหลากหลาย ทางเพศอย่างรุนแรงในสังคม ชินตา ราตรี วัย 53 ปี ผู้ก่อตั้งโรงเรียน แห่งนี้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว (ปี 2551) บอกว่า เคย ได้รับการปฏิบัติแปลกแยกไปจากชายหญิงทุก ครั้งที่ไปประกอบศาสนากิจในมัสยิดทั่วไป จึง เริ่มสร้างพื้นที่ดังกล่าวขึ้นมา โดยให้สิทธิใน

การแต่งกายตามเพศวิถีของผู้เรียนและเปิด เป็นพื้นที่ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ความหลาก หลายทางเพศให้กับบุคคลทั่วไปได้เข้าใจกลุ่ม คนดังกล่าวมากขึ้น ขณะเดียวกัน เว็บไซต์เดอะการ์เดียน ประเทศอังกฤษ เผยแพร่รายงานความยาก ล�ำบากในการด�ำเนินชีวติ ของบุคคลทีม่ คี วาม หลากหลายทางเพศในอินโดนีเซีย เมื่อเดือน พฤศจิกายน ปี 2560 ว่า สังคมที่นี่ยังมีเสียง วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับกลุ่มคนหลากหลาย ทางเพศอย่างต่อเนื่อง เช่น สมาคมจิตเวช แห่งอินโดนีเซียออกมาประกาศว่า กลุ่มคน หลากหลายทางเพศเป็นกลุม่ คนทีม่ คี วามผิด ปกติทางจิต หรือการประกาศใช้กฎหมายชา รีอะห์อย่างรุนแรงกับกลุ่มคนเหล่านี้ในพื้นที่ จ.อาเจะห์ ทางตอนบนเกาะสุมาตรา พร้อมชี้ ว่า โรงเรียนปอเนาะแห่งนีจ้ งึ เป็นเพียงจุดเริม่ ต้นเล็ก ๆ ในการสร้างความเข้าใจให้กับผู้คน ท่ามกลางกระแสรุนแรงจากสังคมในปัจจุบนั

ที่มา: Engebreston, Jess. Transgender women find a safe place to practice their faith in Indonesia. [online]. 2014. Available from: https://goo.gl/opDDHu, [2018, October 31] Strangio, Sebastian. 'Allah doesn't care if you are transgender': the Indonesian school fighting a backlash. [online]. 2017. Available from: https:// goo.gl/DiCu3s, [2018, October 31]

1/19/19 1:16 AM


10 |

ลูกศิลป์

สิทธิสุขภาพ

สถิ ติ แ ม่ ป ่ว ยซึ ม เศร้ า หลั ง คลอดพุ ่ ง

สาธารณสุขให้ความรู้โรคซึมเศร้าหลังคลอดไม่ทั่วถึง ส่งผลแม่ปว ่ ยไม่รู้ตัว วิจัยพบแม่ซึมเศร้าหลังคลอดร้อยละ 18.4 แพทย์รับรพ.ไทยยังไม่ให้ความส�ำคัญ กรมสุขภาพจิตเตรียมใช้แผนติดตามแม่หลังคลอดทุกคน “หลังคลอดรู้สึกเครียด โมโหง่าย ไม่มี ถึงร้อยละ 25.9 วินจิ ฉัยอาการซึมเศร้าหลังคลอดเป็นไปได้ยาก แต่ละจังหวัดจะมีส�ำนักงานสาธารณสุขคอย ความสุข ร้องไห้ ไม่อยากอยู่บ้าน กลับไป สตรี 8 ใน 10 คน ที่ ค ลอดบุ ต รใน เพราะคนไข้อยู่โรงพยาบาลแค่ 2-3 วัน ก็กลับ เยีย่ มบ้านสตรีหลังคลอดอยูแ่ ล้ว ทัง้ นี้ งานวิจยั ท�ำงานก็ยงั ไม่หาย โรงพยาบาลก็ไม่เคยมาถามไถ่ โรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพฯ และปริมณฑล บ้าน ช่วงมาตรวจหลังคลอดแล้ว 6 สัปดาห์ ล่าสุดของกรมฯ เรื่องการดูแลและให้ความรู้ เป็นแบบนี้ค่อนปี บางวันสามีต้องลางานมาดูแล บอกกับทีมข่าวว่า โรงพยาบาลไม่ได้ให้ความ ถ้าไม่สังเกตอย่างละเอียด หรือซักประวัติดี ๆ แม่เกี่ยวกับอาการซึมเศร้าหลังคลอด พบว่า จนทะเลาะกับญาติผู้ใหญ่เพราะเขาไม่เข้าใจว่า รู้เกี่ยวกับโรคนี้หลังคลอด ไม่ได้โทรศัพท์มา ก็ ไ ม่ เ จอ บางที ค นไข้ ติ ด ตามยาก วิ นิ จ ฉั ย หากได้รับการช่วยเหลือตามขั้นตอน ได้แก่ เราเป็นอะไร” สอบถามที่บ้าน ไม่มาเยี่ยมบ้าน ให้เพียงคู่มือ ยาก ยกเว้นแพทย์ที่มีความละเอียดอ่อน ถ้า การเยี่ยมบ้าน ให้ความรู้ และแนวทางการ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว พนักงานบริษัทหญิงวัย 42 ปี แม่ แ ละเด็ ก และไม่ เ คยได้ รั บ การประเมิ น พยาบาลเจอจะปรึกษาแพทย์ รายที่รุนแรง ปฏิบัติตน ตลอดจนทักษะต่าง ๆ ในการดูแล คนนี้ หลังคลอดบุตรคนแรกในโรงพยาบาล สุ ข ภาพจิ ต ขณะที่ อี ก 2 คน บอกว่ า โรง จริง ๆ จะส่งจิตแพทย์ ซึ่งโดยทั่วไปจะแนะน�ำ สุขภาพ การรู้เท่าทันอารมณ์และความรู้สึก รัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เกิดอาการเครียด พยาบาลได้ด�ำเนินการทุกอย่างนี้ทั้งหมด ให้รักษาโดยครอบครัวเป็นอันดับแรก ของตนเอง และการสร้างความสัมพันธ์กับลูก มากจนถึ ง ขั้ น คิ ด ฆ่ า ตั ว ตาย จึ ง ค้ น คว้ า จาก นางคชารั ต น์ ปรี ช ล อาจารย์ ป ระจ� ำ “ประเทศไทยมีระบบติดตามแม่หลังคลอด และกับบุคคลรอบข้าง จะท�ำให้อาการซึมเศร้า อินเทอร์เน็ตและเชื่อว่า ตนเองน่าจะเป็นโรค สาขามารดาทารกและการผดุงครรภ์ คณะ ทั้งการเยี่ยมบ้านจากแผนกเวชกรรมสังคม มี ของแม่หลังคลอดมีแนวโน้มลดลง ดังนั้นแผน ซึมเศร้าหลังคลอด จึงไปพบจิตแพทย์รกั ษาตัว พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว คู่มือแม่และเด็กแจกให้ทุกคน มีการคัดกรอง ดังกล่าวจะถูกบรรจุเพิ่มเข้าไปในขั้นตอนการ นานกว่า 1 ปี ถึงหายจากโรคนี้ ว่ า ประเทศไทยมี ม าตรฐานการวิ นิ จ ฉั ย สุขภาพจิตของแม่ แต่สว่ นใหญ่คนไม่คอ่ ยสนใจ ปฏิบัติของสาธารณสุขเร็ว ๆ นี้ ช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอัตราการ โรคซึมเศร้าหลังคลอด ทัง้ โทรศัพท์ไปสอบถาม และโรงพยาบาลยังไม่ได้ให้ความส�ำคัญกับโรค ปภัสสร องค์พิเชฐเมธา เกิดปีละประมาณ 7.5 แสนคน ขณะที่งาน และระบบไปเยี่ยมบ้านเหมือนต่างประเทศ นี้มากนัก” นพ.สุรศักดิ์ กล่าว วิจัยความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของ แต่ยังไม่มีการน�ำแบบประเมินอาการซึมเศร้า ด้าน นางพัชรีน เพ็ชร์ไพฑูรย์ นักวิชาการ นางสาววัลยา เชาว์พานิชเวช มหาวิทยาลัย หลังคลอดโดยเฉพาะมาใช้ และแม้จะมีการ สาธารณสุขช�ำนาญการ ส�ำนักงานสาธารณสุข สแกนเพื่อดู โมชั นกราฟิก หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปี 2555 พบสถิติ อบรมให้ความรู้พ่อแม่เรื่องโรคซึมเศร้าหลัง บางกรวย ยืนยันว่า ที่นี่ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านแม่ แม่ เ กิ ด ภาวะซึ ม เศร้ า หลั ง คลอด ร้ อ ยละ คลอด แต่ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลว่า จะมี หลังคลอดทุกคน คนละ 3 ครั้ง โดยสังเกต 10.4 ล่าสุด งานศึกษาของนางสาวนภัสนันท์ เวลาให้ความรูม้ ากน้อยแค่ไหน เพราะเป็นโรคที่ ว่า แม่มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ ถ้า สุขเกษม ที่ตีพิมพ์ในวารสารการพยาบาลและ ไม่แพร่หลายมากนัก พบก็จะให้ท�ำแบบประเมินโรคซึมเศร้าเพื่อ การดูแลสุขภาพ ปี 2559 พบมารดามีภาวะ นพ.สุ ร ศั ก ดิ์ เก้ า เอี ย น แพทย์ แ ผนก คัดกรองให้ชัด ซึมเศร้าหลังคลอดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 18.4 เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ กลุ่มงาน นพ.ดุสติ ลิขนะพิชติ กุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะในกลุ่มมารดาวัยรุ่น พบอาการสูง สูตินรีเวช โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า การ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า

ไทยไร้แผนดูแลผู้สูงวัยอัลไซเมอร์ ไทยเข้าสูส ่ ง ั คมผูส ้ ง ู อายุแล้ว แต่ยง ั ไร้แผนดูแลผูส ้ ง ู วัยเป็ นอัลไซเมอร์ สถิตห ิ ายออกจากบ้านพุ ่ง เฉลีย ่ วันละคน พม. ยอมรับเป็ นปัญหา แต่ยังไร้นโยบายแก้ไข เตรียมพัฒนาสายรัดข้อมือช่วยคนหาย “ปู ่ ข องดิ ฉั น อยากออกจากบ้ า นไปพบ (มกราคม-ตุลาคม) จากมูลนิธิกระจกเงา ระบุ ผู้คน แต่พอท่านออกจากบ้านได้ 2 ก้าว ก็ลืม ว่า มีผู้สูงอายุหายออกจากบ้าน 313 คน ใน แล้ว เคยหายออกจากบ้านนานกว่า 20 ชัว่ โมง จ�ำนวนนีม้ ภี าวะสมองเสือ่ ม 118 คน หรือเฉลีย่ คนในบ้านอยู่ที่ท�ำงานพอทราบเรื่องก็หากัน วันละ 1 คน อย่างไรก็ดี เมื่อสืบค้นเอกสาร จ้าละหวั่น พอไปตามหาจนเจอก็พบต�ำรวจ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2560-2580) และแผน และชาวบ้านรุมถามกันใหญ่โต” ผู้สูงอายุแห่งชาติ (2545-2564) ของ พม. ไม่ นางสาวไตรฉัตร แหลมทอง อาชีพท�ำธุรกิจ พบนโยบายที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ป่วยเป็น ส่วนตัวในกรุงเทพฯ ต้องใส่กุญแจบ้านไม่ให้ โรคอัลไซเมอร์ คุณปู่วัย 86 ปี เปิดประตูออกไปไหนได้เอง นางนรินทร์รัตน์ แก้วลา พยาบาลวิชาชีพ และต้องจ้างผูด้ แู ลผูส้ งู อายุเฉพาะทาง เดือนละ ช�ำนาญการ สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กล่าว 30,000 บาท ให้ดแู ลอย่างใกล้ชดิ หลังจากคุณ ว่า ขณะนี้ภาครัฐยังไม่มีระบบดูแลติดตาม ปูข่ องเธอมีภาวะสมองเสือ่ มหรือโรคอัลไซเมอร์ ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ลูกหลานภายใน มากว่า 20 ปี ต้องอยู่แต่ในบ้านไม่พบเจอผู้คน บ้ า นก็ ต ้ อ งช่ ว ยเหลื อ ตั ว เอง สถานบริ ก าร ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วจาก สาธารณสุขแต่ละพืน้ ทีน่ า่ จะจัดให้ขนึ้ ทะเบียน รายงานของกรมกิ จ การผู ้ สู ง อายุ กระทรวง เพราะหากพบผู้สูงอายุที่เป็นอัลไซเมอร์แล้ว พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กลับบ้านไม่ได้ ก็จะมีที่อยู่ในระบบเพื่อส่งถึง ซึง่ เผยจ�ำนวนผูส้ งู อายุประเทศไทยล่าสุดปี 2560 บ้านได้ มีจำ� นวน 10,225,322 คน คิดเป็นร้อยละ 15.45 นายปิ ย ะบุ ต ร ชลวิ จ ารณ์ ประธาน ของประชากรทั้งหมดของประเทศ อ�ำนวยการและรองประธานกรรมการสถาบัน ขณะเดี ย วกั น มี ข ้ อ มู ล จากกระทรวง คีนันแห่งเอเชีย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สาธารณสุข ล่าสุดปี 2558 ว่า ประเทศไทย การแพทย์ผู้สูงอายุในประเทศไทย กล่าวว่า มีผู้ป่วยอัลไซเมอร์ประมาณ 600,000 คน และ ประเทศไทยยังไม่มีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วย คาดว่าจะมีจำ� นวนเพิม่ สูงขึน้ เป็น 1,117,000 คน ติดตามผู้ป่วยอัลไซเมอร์ออกจากบ้าน ขณะที่ ในปี 2573 ส่วนสถิติแจ้งคนหายปี 2561 สหรัฐอเมริกามีเทคโนโลยีทชี่ ว่ ยเหลือผูส้ งู อายุ

��������17janfinal.indd 10

หลากหลายมาก เช่น สร้างบ้านที่มีเซนเซอร์ หากผูส้ งู อายุออกจากบ้านจะมีเสียงเตือน หรือ เมื่อเดินออกนอกพื้นที่ท�ำให้ผู้สูงอายุหยุดเดิน และไม่ออกจากบ้าน นอกจากนี้ยังมีนาฬิกาที่ สามารถติดตาม ประเมินสุขภาพเบื้องต้น และ โทรศัพท์หาโรงพยาบาลหรือญาติใน 5 เบอร์ แรกได้ เพื่อป้องกันผู้สูงอายุหายออกจากบ้าน ได้ และสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทัน ท่วงที “รั ฐ ควรจะมี น โยบายมารองรั บ หรื อ เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเข้ามาช่วยผู้ป่วยโรค อัลไซเมอร์ เพราะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง ได้และอาจหายไปเลย ขณะเดียวกันราคาของ เทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยเหลือต้องไม่แพง เพื่อที่ทุกคนจะเข้าถึงได้” นายปิยะบุตรกล่าว นางสาวกนกวรรณ เหลื อ งมงคลเลิ ศ ผู้อ�ำนวยการกลุ่มระบบการดูแลและเฝ้าระวัง ทางสังคมผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ พม. ชี้แจงว่า รัฐยังไม่มีนโยบายดูแลผู้สูงอายุที่เป็น อัลไซเมอร์ และ พม. เห็นว่าเรื่องนี้เป็นปัญหา แต่ขณะนี้มีเพียงการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุใน ชุมชน ในรูปแบบโรงเรียนผูส้ งอายุ เพือ่ ให้ผสู้ งู อายุท�ำกิจกรรม มีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุมา เฝ้าดูแลและส�ำรวจผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืม นอกจากนี้มีศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและฝึก อาชีพของผูส้ งู อายุ เพือ่ ให้ความรูแ้ ละเฝ้าระวัง ภายในชุมชน นางสาวกนกวรรณ กล่าวอีกว่า การติดตาม ผู ้ สู ญ หายเป็ น เรื่ อ งยาก มู ล นิ ธิ ก ระจกเงามี

สถิ ติ ผู ้ สู ง อายุ สู ญ หายเฉลี่ ย ปี ล ะ 400 คน กรมฯ จึงได้ร่วมมือกับมูลนิธิฯ และบริษัท ทรูคอร์ปอเรชัน่ จ�ำกัด (มหาชน) พัฒนาโครงการ ความร่วมมือเฝ้าระวังการหลงหายของผู้สูง อายุและผู้ป่วยอัลไซเมอร์ โดยใช้เทคโนโลยี สายรั ด ข้ อ มื อ และระบบแจ้ ง เบาะแสผ่ า น แอปพลิเคชั่น ‘Thai missing’ เพื่อสแกน หาข้อมูลและพาส่งกลับได้ และในอนาคตจะ พัฒนาเป็นนโยบายของรัฐต่อไป สายสิริ อ่อนมณี

หุ่นยนต์ดินสอที่นิยมใช้ในญี่ปุ่น สร้างขึ้นโดย เฉลิมพล ปุณโณทก หุ่นยนต์ไทย ตัวแรกทีถ่ กู น�ำมาใช้ในการดูแลผูส้ งู วัยในญีป่ นุ่ ท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น ทั้ ง โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ที่ ส ามารถ โทรออกไปหาลูกหลาน สามารถสร้างความ บันเทิงหากอยู่คนเดียว และเป็นผู้ช่วยแพทย์ ประจ�ำบ้านเก็บข้อมูลผูส้ งู อายุได้โดยไม่จำ� เป็น ต้องเสียเวลาเดินทางไปโรงพยาบาล สามารถ วัดไข้ ตรวจลมหายใจ ความชื้น เฝ้าดูการ หลับ ตรวจจุดกดทับ และวัดคลื่นหัวใจ กรณี ที่คนไข้มีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติจะมี ระบบสัญญาณเตือนทันที แต่สินค้ามีราคาอยู่ ที่ 70,000-80,000บาท อาจสูงเกินก�ำลังที่คน ธรรมดาจะมีทุนทรัพย์ในการซื้อมาใช้ ที่มา: Praornpit Katchwattana. รู้จักแล้วจะ รัก ‘หุ่นยนต์ดินสอมินิ เวอร์ชัน 4’ หุ่นยนต์สัญชาติ ไทยทีเ่ กิดมาเพื่อ สังคมผูส ้ ง ู อายุ โดยเฉพาะ. [online]. 2018. Available from: https://bit.ly/2GBO3z1, [2018, October 31]

1/19/19 1:16 AM


สิทธิสุขภาพ

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 |

11

บ�ำบัดครึง ่ ปี-เสีย ่ งถูกไล่ออก บีบนักดื่มเมินรักษา เงือ ้ ว่ ยพิษสุราเรือ ่ นไขไม่อำ� นวยผูป ้ รังเข้ารับการรักษา ต้องเข้าสถานบ�ำบัดยาว 3-6 เดือน ซ�้ำขาด คุณสมบัติพนักงานอาจโดนไล่ออก สถิติพุ่ง! คนไทยเป็ นโรคติดสุรา 3 ล้านคน แต่เข้าบ�ำบัดแค่ ร้อยละ 6 นักวิชาการชีต ้ ิดเหล้าเป็ นผลจากสังคมขาดพื้นทีจ ่ ัดการความเครียด “กินเหล้าบ้างตอนเรียนหนังสือ แต่เมื่อ เข้าท�ำงาน หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานก็ชวน กิ น เหล้ า ผมก็ ต ้ อ งตาม ๆ เขาไปจะได้ ไ ม่ แปลกแยก จากสัปดาห์ละครั้งดื่มนิด ๆ หน่อย ๆ ก็เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและจ�ำนวนวัน จนขาด เหล้าไม่ได้ มือสั่น ใจสั่น ขับรถไปทางไหนก็ ลืมทาง ไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหน” ตลอด 15 ปี ที่ผ่านมา พนักงานฝ่ายการ ตลาดบริษัทเอกชนวัย 53 ปี คนนี้ ต้องทรมาน กั บ อาการติ ด สุ ร าเรื้อรัง แต่เขาไม่สามารถ เข้ า รั บ การบ� ำ บั ด เพราะทุ ก สถานบ� ำ บั ด ก�ำหนดระยะเวลารักษา 3 เดือนต่อเนื่อง จึง เกรงว่ า ที่ ท� ำงานจะไม่อนุญ าต หรืออาจไล่ ออกตามระเบียบว่าด้วยคุณสมบัติพนักงาน บริษัทเอกชนโดยทั่วไปที่ระบุว่า ผู้ที่สมัครเข้า เป็นพนักงานบริษัท ต้องไม่เป็นโรคติดสุรา เรื้อรัง อย่างไรก็ดี สุดท้ายเมื่อปีที่แล้ว เขา ตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อเข้ารับการบ�ำบัด ตามที่ครอบครัวขอร้อง เนื่องจากอาการทรุด หนักจนไม่สามารถท�ำงานได้ รายงานล่าสุดของกรมสุขภาพจิต ปี 2556 ระบุ ว ่ า ประชากรไทยป่ ว ยเป็ น โรคติ ด สุ ร า เรื้อรัง จ�ำนวน 2,749,024 คน แต่เข้ารับ การบ�ำบัดเพียง 4 หมืน่ กว่าคน หรือคิดเป็นเพียง ร้อยละ 1.6 ของผู้ติดสุราเรื้อรัง ทั้งนี้ มีข้อมูล จาก พญ.พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ ผู้จัดการ แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหา การดื่มสุรา (ผรส.) ได้เปิดเผยกับสื่อมวลชน เมื่อเดือนกันยายน 2561 ว่า ประชากรไทยมี ปัญหาการดื่มสุรา 5 ล้านคน ในจ�ำนวนนี้เป็น โรคติดสุรา 3 ล้านคน ขอเข้ารับการบ�ำบัด ในสถานพยาบาลเพียงร้อยละ 6 หรือราว 180,000 คน ขณะเดียวกัน ขัน้ ตอนการเข้ารับการบ�ำบัดฯ ของกองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาล พระมงกุ ฎ เกล้ า ระบุ ว ่ า ต้ อ งเข้ า ไปอยู ่ ที่ สถานบ�ำบัดต่อเนื่อง เป็นเวลา 3-6 เดือน โดย แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเป็นช่วงถอนพิษ เป็น การหยุดสุราโดยใช้ยาทางการแพทย์เพือ่ บ�ำบัด ให้สมองไม่สับสน ไม่เกิดภาวะชัก และรักษา โรคร่ ว มแทรกซ้ อ นที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น เช่ น ไบโพลาร์ ซึมเศร้า เบาหวาน ช่วงถัดมาเป็น

ระยะฟื ้ น ฟู ส มรรถภาพ เป็ น กิ จ กรรมกลุ ่ ม บ�ำบัด สร้างแรงจูงใจให้เลิกสุราถาวร พร้อมให้ ความรู้แก่ครอบครัวผู้ป่วยในการช่วยเหลือผู้ บ�ำบัด อย่างไรก็ดี พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุม้ ครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 57 บัญญัติ ว่า ลูกจ้างสามารถลางานได้โดยได้รับค่าจ้าง เต็มจ�ำนวนปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันท�ำงาน นางนิภาพร อั้นตุ่น เจ้าของบริษัท ศิริไชย เฟอร์ไลน์ จ�ำกัด กล่าวว่า หากพบพนักงานเป็น โรคติดสุราเรื้อรัง บริษัทจะเชิญให้ออกทันที เพราะถือว่าเข้าข่ายการขาดคุณสมบัติ โดย โรคนี้ส่งผลให้ไม่มีประสิทธิภาพในการท�ำงาน นายอาจินต์ ทองอยูค่ ง อาจารย์ประจ�ำคณะ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์ กล่ า วว่ า สาเหตุ ที่ ท� ำ ให้ ค น ป่วยเป็นโรคติดสุราเป็นเรื่องเกี่ยวกับบริบท สังคม เพราะแต่ละคนมีวิธีจัดการความเครียด แตกต่ า งกั น การใช้ สุ ร าเป็ น เครื่ อ งมื อ คลายเครียดส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศไทย ไม่มีพื้นที่ในการจัดการความเครียดให้ผู้คน มากพอ เช่น สวนสาธารณะ สนามกีฬาชุมชน ห้องสมุดชุมชน เป็นต้น เมือ่ ไม่มอี ะไรให้ทำ� มาก นัก การบริโภคสุราจึงเข้ามาเป็นพื้นที่ทดแทน “ลูกจ้างไม่กล้าลาไปรักษาโรคติดสุราเรือ้ รัง เพราะอาจจะถูกไล่ออก ซึง่ ถือว่า เป็นการปฏิบตั ิ โดยไม่เป็นธรรม เพราะโรคนีก้ ถ็ อื เป็นความเจ็บ ป่วยเหมือนกับโรคอื่น” นายอาจินต์ กล่าว นายอาจิ น ต์ กล่ า วอี ก ว่ า รั ฐ ควรปรั บ

กฎหมายแรงงานให้ยืดหยุ่นมากขึ้น เพราะ การไปบ�ำบัดโรคพิษสุราเรือ้ รัง ใช้เวลานานกว่า 30 วัน จึงไม่เอื้อต่อผู้ป่วย นายศุภศิษฐ์ ทวีแจ่มทรัพย์ รองคณบดี คณะนิ ติ ศ าสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย กล่าวว่า นายจ้างบางคนยังมองว่า ผู้ป่วยเลือก ทีจ่ ะดืม่ สุราเอง ท�ำให้หากลาป่วยไปบ�ำบัดเกิน 30 วัน แล้วนายจ้างรู้ จะไล่ออกโดยอ้างว่า ขาด คุณสมบัติการเป็นพนักงานบริษัท “แต่ในมุมของสิทธิการใช้ชีวิตของมนุษย์ บริ ษั ท ควรรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ลู ก จ้ า งตามหลั ก ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility หรือ CSR) ที่มองว่า แรงงาน ทุ ก คนมี ส ่ ว นร่ ว มในการขั บ เคลื่ อ นองค์ ก ร จึงควรตระหนักถึงการจัดกิจกรรมทีใ่ ห้บคุ ลากร ได้ เ ข้ า รั บ การบ� ำ บั ด เช่ น การให้ กู ้ ยื ม เงิ น ซึ่ ง จะท� ำ ให้ บ ริ ษั ท สามารถขอมาตรฐาน แนวทางความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม (ISO 26000) และสมาคมผู้บริโภคเองก็จะเล็งเห็น ว่า สถานประกอบกิจการมีความน่าเชื่อถือ ไม่เอาเปรียบสังคม” นายศุภศิษฐ์ กล่าว นายสมบูรณ์ ตรัยศิลานันท์ รองอธิบดี กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวง แรงงาน ชีแ้ จงว่า หากพนักงานบริษทั ป่วยเป็น โรคพิษสุราเรื้อรังก็สามารถลาไปรักษาได้เท่า ที่ป่วยจริง แต่จะได้รับค่าจ้างในช่วงที่ลางาน ไม่เกิน 30 วัน ซึ่งถือว่าชอบธรรมแล้ว เพราะ โรคนีเ้ กิดจากผลของการกระท�ำของตัวลูกจ้าง เอง ไม่ใช่ความผิดของนายจ้าง “กฎหมายแรงงานไม่ได้ระบุให้นายจ้างมี สิทธิเลิกจ้างผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง แต่ละ บริษัทเป็นผู้ก�ำหนดกันเอง การที่นายจ้างจะ ไม่รับลูกจ้างที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ถือเป็น สิทธิของนายจ้าง แต่นายจ้างก็ไม่มีสิทธิไล่ ลูกจ้างทีไ่ ม่มคี วามผิดออกหากไม่จา่ ยค่าชดเชย แต่ในกรณีจ่ายค่าชดเชยก็ถือว่าเป็นธรรม” นายสมบูรณ์ กล่าว

พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ

ที่มา: ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ��������17janfinal.indd 11

1/19/19 1:16 AM


12 |

ลูกศิลป์

สิทธิสง ิ่ แวดล้อม

่ นไขบีบเกษตรกรใช้สารเคมี พบ4เงือ

เกษตรกรเพชรบุรีฉีดสารเคมีก�ำจัดวัชพืช ป้องกันไม่ให้เเย่งธาตุอาหารในดินทีเ่ ป็ นประโยชน์ต่อผลผลิต

พบ 4 ปั จ จั ย พ่ อ ค้ า คนกลางต้ อ งการผั ก ไร้ ต� ำ หนิ - ไร้ ต ลาดพื ช อิ น ทรี ย์ - ต้ น ทุ น สู ง -รถเร่ ข ายสารเคมี บุ ก ถึ ง ไร่ อั ด โปรโมชั่น บี บ เกษตรกรเพชรบุ รี จ� ำ ต้ อ งใช้ ส ารเคมี เ พาะปลู ก สธ.จั ง หวั ด เผยผลตรวจผั ก ผ่ า นเกณฑ์ แ ต่ ยั ง มี ส ารตกค้ า ง กรมส่งเสริมการเกษตรอัดเงิน 9 พันต่อไร่ ยาว 3 ปี จูงใจเปลีย ่ นท�ำเกษตรอินทรีย์ “ลองใช้เกษตรอินทรีย์ 1 ไร่ ปรากฏว่า แม้รัฐจะมีนโยบายส่งเสริมการท�ำเกษตร ผู้สื่อข่าวได้สอบถามผู้กระจายสินค้าใน โดย นายเชาว์ แตงอ่อน เกษตรกรกลุ่ม ข้าวไม่แตกกอ มีหนอนคอรวง รวงข้าวแห้ง อิ น ทรี ย ์ อ ยู ่ ใ นแผนยุ ท ธศาสตร์ ข องคณะ ตลาดแห่งนี้อีกกว่า 10 ราย ระบุตรงกันว่า วิสาหกิจชุมชน หมู่บ้านโป่งสลอด เจ้าของไร่ ไม่เขียวไม่งาม เคยได้ผลผลิต 800 กิโลกรัมต่อไร่ กรรมการพั ฒ นาเกษตรอิ น ทรี ย ์ แ ห่ ง ชาติ ป ี จะขายผักได้ต้องมีใบสวย ไม่มีรอยต�ำหนิจาก ข้าวอินทรีย์ 30 ไร่ ใน อ.บ้านลาด กล่าวว่า ก็เหลือไม่ถงึ 500 กิโลกรัม ต้นทุนยังสูงกว่า 2 เท่า 2561-2564 โดยจัดอบรมนักวิชาการเกษตร แมลงหรือโรคพืช ผลไม้ก็เช่นเดียวกันต้องผล เคยท�ำนาข้าวแบบเคมีมาก่อนที่จะเปลี่ยนมา แถมเก็บเกี่ยวได้แค่ครั้งเดียวต่อปี” ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้ไปสอนเกษตรกร ใหญ่ ผิวสวย พวกเขายังบอกว่า ไม่มีความรู้ เป็นอินทรีย์ แต่การท�ำเกษตรแบบนี้มีขั้นตอน นายประเสริฐ เหลิมทอง วัย 65 ปี เป็นเกษตรกร ท� ำ เกษตรอิ น ทรี ย ์ และมี โ ครงการส่ ง เสริ ม และไม่เห็นความส�ำคัญเรื่องสารเคมีในพืชผัก เยอะ เริ่มจากปรับเปลี่ยนสภาพดินทีเ่ สื่อมจาก ผู ้ จ� ำ ต้ อ งปลู ก ข้ า วด้ ว ยสารเคมี ต ่ อ ไปบนพื้ น ที่ ให้ไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารเกษตรอินทรีย์ สหกรณ์รบั หาตลาดผักปลอดสารยาก สารเคมีให้กลับมาเป็นสภาพเดิม ซึง่ ต้องใช้เวลา นายศิรชิ ยั จันทร์นาค ผูจ้ ดั การสหกรณ์อำ� เภอ อย่างน้อย 2 ปี และต้องหมักดินอย่างน้อย 5-7 40 ไร่ ใน อ.บ้ า นลาด จ.เพชรบุ รี พื้ น ที่ ที่ มี รวมถึ ง ผลั ก ดั น การส่ ง ออกอาหารประเภท ข้ า ว กล้ ว ย และมะนาว เป็ น พื ช เศรษฐกิ จ เกษตรอินทรีย์ในตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น บ้านลาด ยอมรับว่า สหกรณ์ประกันราคาให้ วัน ก่อนปลูก เพื่อให้วัชพืชย่อยสลายมีแร่ธาตุ อันดับ 1 ของจังหวัด ตามรายงานภาวการณ์ ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ล่าสุดยังได้ประกาศ เพียงกล้วยหอมและข้าวบางพันธุ์เท่านั้น แต่พืช ในดินจะได้เพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตพืชล่าสุดปี 2560 ส�ำนักงานเกษตรอ�ำเภอ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาเกษตรอิ น ทรี ย ์ แ ห่ ง ชนิดอืน่ ทีป่ ลอดสารเคมีได้จดั ให้มตี ลาดปลอดภัย ทั้งยังต้องมีอุปกรณ์ที่พร้อมทั้งเครื่องเคล้าปุ๋ย จ.เพชรบุรี ชาติ เมื่อเดือนเมษายน ปี 2560 ตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ เพือ่ รองรับผลผลิตจากเกษตรกร แต่ตอนนีม้ ผี เู้ ข้า โรงเก็บปุ๋ย และอุปกรณ์ส�ำหรับการจัดการน�้ำ เขาบอกว่า แม้สหกรณ์การเกษตรบ้านลาดจะ เกษตรอินทรีย์ทั้งประเทศไม่น้อยกว่า 600,000 ไร่ ร่วมแค่ 20 ราย พื้นที่รวม 200 ไร่เท่านั้น "มันจึงยุ่งยากและใช้เวลานาน แต่เศรษฐกิจ “ปัญหาคือ ไม่สามารถหาตลาดมารองรับ ก็บีบให้เกษตรกรต้องรีบท�ำผลผลิตออกมาให้ได้ ให้ราคาข้าวที่ปลูกโดยปลอดสารเคมี หรือที่เรียก และเพิ่มจ�ำนวนเกษตรกรที่ท�ำเกษตรอินทรีย์ ว่า เกษตรอินทรีย์ ตันละ 9,000-10,000 บาท ไม่น้อยกว่า 30,000 ราย รวมถึงเพิ่มสัดส่วน เกษตรปลอดสารเคมีได้ ท�ำให้ราคาผลผลิต เพื่อขายเอาเงินมาใช้หนี้ จึงเป็นเงื่อนไขบีบให้ สูงกว่าข้าวทั่วไปที่ให้ราคาเพียงตันละ 6,000- ตลาดเกษตรอิ น ทรี ย ์ ทั้ ง ในและต่ า งประเทศ จากเกษตรอินทรีย์ได้ราคาเท่ากับผลผลิตที่ใช้ พวกเขายังต้องใช้สารเคมีตอ่ ไป" นายเชาว์ กล่าว 7,000 บาท แต่สหกรณ์ก็มีเกณฑ์ในการตรวจ เป็นร้อยละ 40 และ60 ตามล�ำดับ ภายในปี 2564 สารเคมี ทั้งที่ผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์ควร เผยรถเร่ขายสารเคมีบุกถึงไร่ นายอานนท์ ทัศนา เจ้าของร้านเคมีภัณฑ์ ละเอียดโดยต้องมีใบรับรองการปฏิบัติที่ดีด้าน แต่จากการส�ำรวจของหนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ จะได้ราคาที่สูงกว่า เพราะใช้ต้นทุนสูงกว่า การผลิตสินค้าเกษตร (Good Agriculture ศูนย์ข่าวเพชรบุรี ใน อ.บ้านลาด และ อ.ท่ายาง และปลอดภัยกับผู้บริโภคมากกว่า ผลผลิต ทางการเกษตรในตลาดหนองบ้วย อ.ท่ายาง Practices หรือ GAP) มาแสดง นอกจากนี้ ยังมี ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกหลักของจังหวัด ในช่วง ทั่วไป 5 บาท ถ้าเป็นอินทรีย์ให้ 10 บาท เปิดเผยว่า ยาฆ่าหญ้าที่เป็นสารจ�ำพวกพาราควอต ค่าขนส่งไปไกลกว่า 10 กิโลเมตร เทียบกับปลูก เดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา พบว่า แบบนี้เกษตรกรก็อยากท�ำอินทรีย์ส่งให้ แต่ และ ไกลโฟเซต ขายได้ตลอด ส่วนยาฆ่าแมลงที่ ข้าวทั่วไปที่มีรถเร่ขายสารเคมีเข้ามาขายถึง เกษตรกรกว่า 10 ราย ระบุตรงกันว่า ยังต้องใช้ ความเป็นจริงคือ มันไม่มีคนซื้อ ผลผลิตแบบ มีสารจ�ำพวกอะบาเม็กติน ไซเปอร์เมทริน และ ไร่ แจกแถมเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องไฟฟ้า สารเคมีในการเพาะปลูกเพือ่ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ อินทรีย์ขายผู้บริโภคค่อนข้างยาก เนื่องจาก คลอร์ไพริฟอส ขายดีในช่วงฤดูแล้งที่มีแมลงเยอะ จับฉลากชิงโชค ผลผลิตที่ได้ก็ส่งโรงสีเอกชน การรับซื้อของพ่อค้าคนกลางในตลาดที่ต้องการ เป็นตลาดของคนรักสุขภาพซึ่งคนที่มีก�ำลังซื้อ อย่ า งไรก็ ดี ได้ แ นะน� ำ เกษตรกรให้ ใ ช้ ส ารเคมี อย่างถูกวิธีและแนะน�ำให้เกษตรกรใช้สารอินทรีย์ ใกล้แปลงนาที่อยู่ถัดไปจากไร่ บวกลบต้นทุน ผลผลิตทีส่ วย ผลใหญ่ ไม่มรี อยแมลงหรือศัตรูพชื มีจ�ำนวนไม่มาก” นายศิริชัย กล่าว นายธีรวุฒิ คล้ายเคลื่อน พาณิชย์จังหวัด ชีวภัณฑ์ที่ตนขายร่วมด้วย แล้วคุ้มกว่ากันเยอะ พวกเขายังบอกว่า สหกรณ์การเกษตรจะให้ “ปัญหาคือ มีรถเร่ขายสารเคมีเข้าไปหา ไม่ต่างจากนางประหยัด อ่อนแสง เจ้าของ ความส�ำคัญและรับประกันราคาสินค้าเฉพาะพืช เพชรบุ รี ชี้ แ จงว่ า ได้ ช ่ ว ยหาตลาดโดยขอ ไร่มะนาวพื้นที่ 5 ไร่ ในอ�ำเภอเดียวกัน ซึ่งเคย เศรษฐกิจเท่านัน้ คือข้าวและกล้วยหอมทองอินทรีย์ ความร่วมมือกับตลาดศรีเมือง ห้างสรรพสินค้า เกษตรกรโดยตรงถึ ง สวน และขายถู ก กว่ า ทดลองใช้ ส ารชี ว ภาพจ� ำ พวกสารธรรมชาติ อ้าง‘ผักใบสวย-มะนาวลูกใหญ่’ถึง ส� ำ หรั บ วางจ� ำ หน่ า ยสิ น ค้ า อิ น ทรี ย ์ รวมถึ ง เพราะไม่ต้องเสียภาษีสิ่งแวดล้อมและค่าต่อ โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเพชรบุรี ในการน�ำ ใบอนุญาตเหมือนร้านค้าทั่วไป บางครั้งก็ให้ ชนิดหนึง่ ทีม่ ใี นสัตว์กระดองแข็งและขาเป็นปล้อง ขายออก นางปทุม พรหมเชือ้ เจ้าของแผงขายผักใน ผักปลอดสารไปท�ำเป็นอาหารส�ำหรับผู้ป่วย เกษตรกรเอาไปใช้ก่อนแล้วค่อยเก็บเงินหลัง เช่น เปลือกกุ้ง กั้ง และกระดองปู ราคาลิตรละ ุ้ จากขายผลผลิตได้ และยังมีตัวแทนบริษัท 600-700 บาท แทนสารเคมีทมี่ รี าคาลิตรละ 350- ตลาดกลางการเกษตรบ้านลาด กล่าวว่า ต้อง ครวญ‘อินทรีย’์ ไปไม่รอดเพราะไม่คม แม้จงั หวัดเพชรบุรจี ะมีโครงการรณรงค์ให้ สารเคมีเข้าไปท�ำแปลงสาธิตให้เกษตรกรแล้ว 380 บาท ท�ำให้เธอต้องแบกรับต้นทุนเพิ่มขึน้ อีก เลือกผักที่สวย ขนาดใหญ่ และไม่มีรอยต�ำหนิ ถึงจะขายออกเพราะผู้บริโภคชอบ ยอมรับ เกษตรกรมาร่วมขายสินค้าในตลาดปลอดภัย โฆษณาให้ไปซื้อสารเคมีที่ร้านซึ่งเป็นตัวแทน เท่าตัว แต่ก็ไม่ได้ท�ำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น “เคยลองใช้สารอินทรียแ์ ล้วผลทีไ่ ด้กข็ นาด ว่า ไม่ ไ ด้ ต รวจสอบเรื่ อ งการใช้ ส ารเคมี กั บ ไม่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ตั้งแต่ปี 2554 จ�ำหน่ายของพวกเขา ทั้งหมดนี้ไม่ได้ให้ความรู้ เท่า ๆ กันกับใช้สารเคมีแต่ได้จ�ำนวนน้อย เกษตรกร เช่นเดียวกับนางสีนวล แสนท้องฟ้า แต่จากการสอบถามผู้เพาะปลูกด้วยเกษตร ทีถ่ กู ต้องในการใช้สาร แต่เกษตรกรก็ซอื้ เพราะ กว่า ตอนขายก็ได้แค่ 15,000-20,000 บาท ผู้ค้ามะนาวในตลาดแห่งเดียวกัน กล่าวว่า อินทรีย์ในอ�ำเภอท่ายางจ�ำนวน 5 ราย พวก ลดต้นทุนในการผลิตลงได้ ส่วนสารวัตรเกษตร ต่ อ การเก็ บ หนึ่ ง ครั้ ง จึ ง กลั บ มาใช้ ส ารเคมี เกณฑ์การเลือกซื้อมะนาวจากเกษตรกร จะดู เขาระบุตรงกันว่า ต้นทุนไม่มากพอ และสวน ที่มีหน้าที่ตรวจก็มีน้อยและส่วนใหญ่จะเข้ามา เหมือนเดิมเพราะได้ผลผลิตมากขึน้ และขายได้ จากขนาดเพราะมีผลต่อราคาขาย เช่น ลูกใหญ่ รอบข้างยังใช้เคมี ท�ำให้ไม่คุ้มค่าแรงกับเวลา ตรวจทีร่ า้ นไม่ได้เข้าไปตรวจไร่ ก็จดั การไม่ได้” รายได้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว” นางประหยัด กล่าว ราคา 4 บาท ลูกเล็กราคา 1 บาท 80 สตางค์ ในการดูแลเพาะปลูก

��������17janfinal.indd 12

1/19/19 1:16 AM


สิทธิสง ิ่ แวดล้อม

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 |

13

นายส�ำราญ พ่วงสกุล ผู้เชี่ยวชาญเกษตร ช�ำนาญการหรือสารวัตรเกษตร กรมวิชาการ เกษตร จ.เพชรบุรี ยอมรับว่า ได้รับแจ้งเรื่อง รถเร่ขายสารเคมีบ่อยครั้ง แต่ตามจับไม่ทัน เนื่องจากรถเร่จะเข้าไปถามและนัดส่งสินค้า ให้เกษตรกรภายหลัง

นายเดชรั ต สุ ข ก� ำ เนิ ด หั ว หน้ า ภาควิ ช า เศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า รัฐต้องตรวจมาตรฐาน สินค้าการเกษตรก่อนถึงมือผูบ้ ริโภคอย่างจริงจัง รวมถึงไปตรวจในแปลง จะท�ำให้สินค้าเกษตร อินทรีย์มีมากขึ้นจนสินค้าที่มีสารเคมีเกินค่า ผลตรวจผักผ่านเกณฑ์ สธ.ยันอยู่ มาตรฐานลดลง พร้อมไปกับให้ความรู้เกษตรกร เรื่องการก�ำจัดศัตรูพืชวิธีอื่นที่ไม่พึ่งสารเคมี ระดับปลอดภัย ด้ า นรายงานผลการตรวจสารเคมี จ าก รัฐอัดเงิน 9 พันต่อไร่ 3 ปี หวัง ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ปี 2560 เปลีย ่ นท�ำอินทรีย์ ระบุ ว ่ า จากการทดสอบกลุ ่ ม ตั ว อย่ า งพื ช ผั ก นายวันชัย คนงาม เกษตรจังหวัดเพชรบุรี 3,158 ตัวอย่าง ด้วยชุดทดสอบคุณภาพและความ ชี้แจงว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบายให้ ปลอดภัยทางอาหาร (เทสต์ คิดส์) ผ่านมาตรฐาน ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับการท�ำเกษตรอินทรีย์ 3,161 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 95.48 และตก และเห็นความส�ำคัญของการบันทึกปริมาณการ มาตรฐาน 143 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 4.52 ใช้สารเคมีอย่างสม�่ำเสมอ แต่ปัญหาที่พบ คือ นางจีราวรรณ พิงภักดิ์ เภสัชกรปฏิบตั กิ าร เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุประมาณ 60-70 ปี ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ชี้แจง มักไม่จดบันทึกการใช้สารเคมีที่เป็นสิ่งจ�ำเป็นใน ว่า ส่วนที่ผ่านมาตรฐานไม่ใช่ว่าไม่มีสารเคมี การยื่นขอใบรับรองการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตกค้าง แต่อาจมีอยู่แต่อยู่ในระดับปลอดภัย จึงจะแก้ปญั หาโดยการให้นกั วิชาการเกษตรลงพืน้ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ส่วนตกมาตรฐาน ที่ไปช่วยจดบันทึก ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงก�ำลังเริ่ม คือ มีปริมาณสารเคมีตกค้างในระดับอันตราย โครงการ ติงรัฐมีนโยบายเกษตรไม่ชัด นายวันชัย กล่าวอีกว่า ขณะนี้ตลาดที่รับซื้อ นางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงาน สินค้า เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม หรือโรงพยาบาล เครื อ ข่ า ยเตื อ นภั ย สารเคมี จ� ำ กั ด ศั ต รู พื ช เริม่ ทีจ่ ะขอใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรียก์ อ่ น (ไทยแพน) กล่ า วว่ า นโยบายการเกษตร ตัดสินใจรับซื้อสินค้า แต่ในตอนนี้มีเกษตรกรได้ ของไทยไม่มีความชัดเจนว่า ต้องการพืชแบบ ใบรับรองเพียง 37 คน กรมฯ จะให้เงินสนับสนุน ใด การใช้ ส ารเคมี ใ นพื ช ผลทางการเกษตรจึ ง เกษตรกรทีต่ อ้ งการท�ำเกษตรอินทรียใ์ นระยะเวลา เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง คือไม่มีการควบคุม การปรับเปลี่ยนทั้งหมด 3 ปี เป็นเงิน 9,000 บาท การน� ำ เข้ า สารเคมี อั น ตรายทั้ ง ที่ ห ลาย ต่อไร่ และร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ ประเทศยกเลิ ก การใช้ แ ล้ ว และไม่ มี ก าร ค�ำแนะน�ำวิธกี ารท�ำเกษตรอินทรีย์ เดือนละ 2 ครัง้ คุ ม การโฆษณาหรื อ การส่ ง เสริ ม การขาย ทีศ่ นู ย์การเรียนรูเ้ พิม่ ประสิทธิภาพการเกษตรซึง่ มี สารเคมี รวมถึงผู้ขายสารเคมีอาจมีความรู้ไม่ ในทุกอ�ำเภอของจังหวัด มากพอในการให้ค�ำแนะน�ำการใช้สารเคมีของ ศูนย์ข่าวเพชรบุรี เผยแพร่ครัง ้ แรกเซคชัน ่ จุดประกาย เกษตรกร ไม่มีระบบในการเฝ้าระวัง ติดตาม หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 25 ธันวาคม 2561 ข้อมูล และ ติดตามผลกระทบต่อเกษตรกร

นานาทัศนะ ‘ก�ำแพง’

ลูกค้าทีม่ าพักในรีสอร์ท ผักกรูดทีข่ ายตามท้อง ตลาด กิโลกรัมละ 30-40 บาท ผมขายก�ำละ 50 บาท ก�ำหนึ่งมี 2-3 ขีด หรือเมื่อน�ำมาผัด ผัก 1 ก�ำ ต่อ 1 จาน ขายได้ 120 บาท ซึ่งที่ ลูกค้ายอมจ่ายเพราะพวกเขาเชื่อมั่น

เกษตรอินทรีย์เมืองเพชรฯ

ระพี ช้างนะ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและ ผัก อ.เมือง

อย่างเถ้าแกลบ ฮอร์โมนไข่ สังเคราะห์แสง ใน การดูแล ซึ่งสามารถไปได้ดี เพราะมีลูกค้าผู้ ผมปลูกข้าว 30 ไร่ พยายามจะหยุดใช้สาร ภักดี โดยทุกคนวิ่งมาซื้อผักปลอดสารที่บ้าน เคมีแต่ไม่สามารถหยุดใช้ยาฆ่าแมลงได้ เพราะ ผมด้วยตนเอง หากไม่ใช้ก็จะท�ำให้แมลงจากนาข้าง ๆ เข้ามา บัณฑิต นิลสุข เกษตรกรผู้ปลูกข้าว รุมที่นาของผม เคยคิดที่จะรวมกลุ่มเพื่อน ๆ อ.บ้านลาด ท�ำเกษตรอินทรีย์ แต่พอรวมตัวกันได้ ก็มพี อ่ ค้า เกษตรอินทรีย์ท�ำยาก ต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ คนกลางก็เข้ามาเล่นงาน มีผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก ฉีดเพื่อก�ำจัดศัตรูพืช 5 ครั้งต่อสัปดาห์ และ องค์การบริหารส่วนต�ำบล (อบต.) หรือผู้ช่วย ต้องดูแลพืชอย่างใกล้ชิด เทียบกับฉีดสารเคมี ของเขาที่เชื่อว่า น่าจะเป็นสายให้กับพ่อค้าปุ๋ย 1 ครั้ง อยู่ได้ 1 สัปดาห์ ผมไม่ชอบจู้จี้จุกจิก เข้ามาด้วย พวกเขาขีร่ ถมาหน้าบ้านเรา เข้ามา ยืดเยื้อ อยากจะฉีดก็ฉีดเลย มีเพื่อนท�ำเกษตร เลียบ ๆ เคียง ๆ ถามว่า เปลี่ยนมาท�ำไอ้พวก อินทรีย์เห็นเขาต้องคอยมาดูว่า มีเพลี้ย ไร ขึ้น นี้ท�ำไม แบบเดิม ๆ ที่ท�ำกันมาก็ดีอยู่แล้ว ซึ่ง หรือไม่ เดินดูอยู่ตลอดทุกวัน ดูแล้วยุ่งยาก คน เป็นการกดดันไม่ให้เราท�ำอินทรีย์ต่อนั่นเอง ท�ำเกษตรอินทรีย์ต้องใจเย็น ท�ำไปเรื่อย ๆ ผม เหมือนกับว่ายอดขายของเขาตก เราไปขัดผล เป็นคนใจร้อนซึ่งชินกับการใช้สารเคมีไปแล้ว ประโยชน์ของเขาไม่ได้เลย สายันต์ สิทธิโชคธรรม เจ้าของสวน อย่างไรก็ตาม มีอีก 3 ไร่ 1 งาน ที่ปลูกผัก เพชรริเวอร์วิวรีสอร์ท อ.ท่ายาง อินทรีย์ ประกอบด้วย ข่า ใบกะเพรา ดาวเรือง ไร่ของผมผ่านมาตรฐานการรับรองเกษตร กล้วย มะละกอ ตะไคร้หัวนา ใช้สารอินทรีย์ อินทรีย์ (ออร์แกนิค ไทยแลนด์) เจ้าเดียวใน

��������17janfinal.indd 13

สุธี มีมาก ผู้ตรวจมาตรฐานออร์แกนิค ไทยแลนด์ จ.เพชรบุรี สายันต์ สิทธิโชคธรรม

เพชรบุรี เพราะพื้นที่ไร่มีลักษณะเป็นเกาะ มี แม่นำ�้ เพชรบุรลี อ้ มรอบ รอบแปลงยังไม่มแี ปลง เกษตรแปลงอื่นเพราะมีบ่อทรายล้อมไว้ ส่วน สาเหตุที่เกษตรกรส่วนมากยังใช้สารเคมีอยู่ คิดว่าเป็นเพราะได้ผลผลิตน้อยกว่าไม่ใช้สาร เคมี และเมื่อต้องจ้างแรงงานเยอะมาดูแลพืช อย่างประคบประหงมก็มีต้นทุนเพิ่ม นอกจาก นี้ การขอใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ อาจจะยุง่ ยากส�ำหรับเขา เพราะมีขนั้ ตอนตรวจ สอบ 1 ปี 8 เดือน และใบรับรองหมดอายุปีต่อ ปี นอกจากนี้ ยังหาตลาดยาก ซึง่ ส�ำหรับผม ไม่ ได้ทำ� ขายในตลาด แต่ทำ� บริโภคเองและขายให้

มีคนผ่านการรับรองเพียง 1 ราย อีก 15 รายยังไม่ผ่าน และไม่น่าจะผ่านเพราะสภาพ แวดล้ อ มการปลู ก ยั ง ไม่ ไ ด้ ต ามหลั ก เกณฑ์ ได้แก่ เป็นพื้นที่ที่ไม่เคยท�ำเกษตรเคมีไม่น้อย กว่า 3 ปี เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง อยู่ห่างจากโรงงาน อุตสาหกรรม อยู่ห่างจากแหล่งที่ใช้สารเคมี และปุ๋ยเคมี อยู่ห่างจากถนนหลวงหลัก และมี แหล่งน�้ำที่ปลอดสารพิษ บางคนตรวจไปแล้ว 2 ครั้ง ถ้าครั้งที่ 3 ตรวจไม่ผ่าน ก็ต้องยกเลิก โดยอัตโนมัติ เหตุที่มันยาก เพราะไม่ได้มีจุด ประสงค์เพื่อท�ำให้คนค้าขายได้ แต่เพื่อรับรอง ผลิตภัณฑ์ที่จะท�ำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ กิตติทัศน์ เรืองพัชรวงศ์

1/19/19 1:16 AM


14 |

สิทธิสง ิ่ แวดล้อม

ลูกศิลป์

เปิดสูตรยาก�ำจัดศัตรูพืชภาคพิ สดาร ฤาความเชื่อเกษตรกรจะเป็นความเสี่ยง? “เอายาฆ่าหญ้าแบบออกฤทธิเ์ ผาไหม้ทนั ที ดินประสิว เกลือ สารจับใบ ต้มรวมกันกับ น�้ ำ เปล่ า ท� ำ ให้ ไ ด้ ป ริ ม าณยาพ่ น ก� ำ จั ด ศั ต รู พืชเยอะขึ้น 3 เท่า ลดต้นทุนไปเยอะ แต่ ประสิทธิภาพยังดีเหมือนเดิม” องุ่น จรัดดี เกษตรกรผู้ปลูกฝรั่ง วัย 54 ปี ชาวเพชรบุรี เผยสูตรที่ได้มาจากพี่เขยซึ่งเปิด ร้านขายสารเคมีทางการเกษตรเมือ่ นานมาแล้ว เธอบอกอีกว่า ยังมีสูตรแบบอื่น ๆ อีกที่ บรรดาร้านขายสารเคมีการเกษตรแนะน�ำ ซึ่ง เธอได้ลองผิดลองถูกจากการใช้เองโดยทีไ่ ม่เคย มีหน่วยงานภาครัฐมาแนะน�ำ ไม่ต่างจากเกษตรกรผู้ปลูกถั่วฝักยาวและ คะน้ารายหนึ่ง ใน อ.ท่ายาง จังหวัดเดียวกัน ไม่ ลืมทีจ่ ะผสมซักฟอกและเกลือลงไปในยาฆ่าหญ้า ไกลโฟเสต เพราะเชือ่ ว่า ท�ำให้หญ้าตายดีกว่าเดิม “ปกติมันไหม้แค่ยอด ถ้าผสมพวกนี้ลงไป ในยาด้วยมันจะตายทั้งต้น แมลงก็ตายด้วย ไม่ ต้องซือ้ สารเคมีตวั อืน่ อีก ประหยัดไปได้เยอะ” เขายอมรับถึงการดัดแปลงสูตรนีข้ นึ้ มาเอง แม้จะทราบว่า อาจเกิดอันตราย แต่จ�ำต้องใช้ เพราะแปลงข้าง ๆ ยังใช้อยู่ หากเลิกใช้จะท�ำให้ แมลงเหล่านั้นหนีมารุมกินพืชที่แปลงของเขา จนพืชผลไม่สวย ขายได้ราคาไม่ดี เอกสารการใช้ ส ารเคมี อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง กรมวิ ช าการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ระบุว่า โดยทั่วไป สารก�ำจัดศัตรูพืช ที่ผสมกันได้จะมีจ�ำหน่ายส�ำเร็จรูป สามารถอ่าน ได้จากฉลากที่ติดอยู่บนภาชนะบรรจุสาร โดยมี

ขวดสารเคมีก�ำจัดวัชพืชทีเ่ กษตรกรใช้หมดแล้วถูกทิง ้ ไว้ใกล้แปลงปลูก

รายละเอียดของสารออกฤทธิ์แต่ละชนิด และสาร ไม่ออกฤทธิ์ เอกสารดังกล่าวยังย�ำ้ ว่า เกษตรกรหรือผูใ้ ช้ ไม่จำ� เป็นต้องผสมสารก�ำจัดศัตรูพชื ด้วยตนเอง เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองแล้ว ยังอาจก่อให้ เกิดโทษทัง้ ทางตรงและทางอ้อม และในการใช้ สารก�ำจัดศัตรูพืช ควรค�ำนึงว่า ควรใช้ปริมาณ น้อยที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ แต่ให้เกิดผลดีที่สุด แต่ ข ้ อ มู ล เหล่ า นี้ ก็ ดู เ หมื อ นจะไม่ ไ ปถึ ง เกษตรกร กลับกัน สูตรนานาชนิดที่พวกเขา คิดค้นขึ้นมาเองซึ่งเชื่อว่าจะใช้ได้ผลทั้งผสม และไม่ ผ สมกั บ สารเคมี กลั บ ถู ก บอกต่ อ กั น แพร่หลายทางกลุม่ ในสือ่ สังคมออนไลน์อย่างเฟซบุก๊ นิมิต อ่วมแสง เกษตรกรผู้ปลูกข้าวชาว เพชรบุรี ก็ได้สูตรผสมน�้ำยาปรับผ้านุ่มเข้ากับ น�ำ้ มันพืชเพือ่ ฉีดไล่หนอนในนาข้าวมาจากกลุม่ ของพวกเขาในเฟซบุ๊กเช่นกัน ประเด็ น การใช้ ส ารเคมี ท างการเกษตร อย่างไม่ถูกต้อง ส�ำราญ พ่วงสกุล ผู้เชี่ยวชาญ

‘พาราควอต’

พาราควอต สารเคมีก�ำจัดวัชพืชทางการเกษตร เป็นยา เผาไหม้ ฉีดแล้วหญ้าเฉาเหี่ยวและตายภายในเวลา 1-2 ชั่วโมง รายงานการน�ำเข้าวัตถุอันตรายปี 2560 ของส�ำนักควบคุมพืช และวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ระบุว่า ไทยน�ำเข้า พาราควอต 44,501 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 40 มีมูลค่า ประมาณ 3,816 ล้านบาท คิดเป็นอันดับ 1 ของมูลค่าการน�ำ เข้าวัตถุอันตราย เกษตรกรเลือกใช้สารเคมีชนิดนี้เพราะมันออกฤทธิ์เร็ว แต่ โทษของมันเริ่มตั้งแต่มีสารเคมีสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั้งที่อยู่ ในดินและล�ำธาร และท�ำให้เมื่อเพาะปลูก พืชก็จะดูดซึมสาร เคมีโดยรอบ งานวิจัยเรื่องการจัดการและป้องกันการปนเปื้อนของสาร พิษบนพื้นที่ต้นน�้ำน่านของมหาวิทยาลัยนเรศวร ปี 2559 พบ ว่า มีการปนเปือ้ นของพาราควอตเกินค่ามาตรฐานทัง้ ในแหล่งน�ำ้ ผิวดิน น�้ำใต้ดิน ผัก และปลาที่จับจากแม่น�้ำน่าน เมื่อคนหรือ สัตว์รับประทานจะท�ำให้สารตกค้างในร่างกาย

��������17janfinal.indd 14

เกษตรช�ำนาญการหรือสารวัตรเกษตร กรมวิชา การเกษตร จ.เพชรบุรี บอกว่า มีเกษตรกรบาง รายในพืน้ ทีท่ ำ� แบบนัน้ จริง ทัง้ ทีก่ ารใช้สารเคมี ในปริมาณตามทีร่ ะบุในฉลากข้างภาชนะบรรจุ สารนั้น เพียงพอแล้วที่จะท�ำให้ยาออกฤทธิ์ อย่างมีประสิทธิภาพ “ถ้าวัชพืชไม่ตายแสดงว่า เกิดจากการ ดื้อยาเพราะใช้สารเคมีเกินขนาดตั้งแต่แรก” แต่การจะแก้ไขในเรื่องนี้นนั้ เขาบอกว่า เป็น ไปได้ยาก เพราะมีรถเร่ขายสารเคมีบุกเข้าไปถึง ไร่ ตกลงปากเปล่าแล้วส่งของกันภายหลัง ท�ำให้ เจ้าหน้าทีค่ วบคุมการใช้สารเคมีของเกษตรกรได้ยาก มี ค� ำ เตื อ นจาก รั ง สิ ต สุ ว รรณมรรคา ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ส ถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นาแห่ ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถึงสารพัดสูตรสุด อันตรายเหล่านี้ว่า การผสมสารเคมีขึ้นมาเอง โดยไม่ผ่านการรับรองทางวิชาการสุ่มเสี่ยงจะ ท�ำให้เกิดพิษ และหากใช้ความร้อนต้มก็อาจ เกิดอุบัติเหตุได้

เขาเห็นว่า หน่วยงานราชการต้องส่งเสริม ความรู้เกษตรกรในเรื่องนี้ หากดัดแปลงสูตรขึ้น มาเอง ก็ตอ้ งจดบันทึกและน�ำไปให้เกษตรอ�ำเภอ วิจัยตรวจพิสูจน์ก่อนจึงจะสามารถน�ำมาใช้ได้ ขณะที่ จรรยา มณีโชติ ผู้เชี่ยวชาญด้าน วัชพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ย�้ำว่า การผสมสารเคมีขึ้นมาเอง ของเกษตรกรไม่ได้ช่วยท�ำให้ประสิทธิภาพ ของยาเหล่านั้นดีขึ้น อย่างการใส่เกลือผสมยา ฆ่าหญ้าก็จะยิ่งท�ำให้ดินเค็มดินเสีย ปลูกพืช ขึ้นยากไปอีก “ความรู้ที่ผิดจากการบอกต่อ เกิดจาก ร้านขายยาที่บอกสูตรมาดูราวกับจะเห็นใจ เกษตรกร แต่ความจริงคือ ต้องการขายส่วน ผสม เช่นตัวสารเคมีฆา่ หญ้าเอง สารจับใบ หรือ ส่วนผสมต่าง ๆ และเขาก็ขายของได้ก�ำไรจาก การบอกสูตรและขายวัตถุดิบ” ผู้เชี่ยวชาญด้านวัชพืช บอกอีกว่า ขณะ นี้กระทรวงฯ มีนโยบายที่เน้นการท�ำเกษตร แบบการปฏิบตั ทิ างการเกษตรทีด่ ี (จีเอพี) และ โครงการผลักดันเกษตรกรรุ่นใหม่เข้ามาท�ำ เกษตรอย่างมีองค์ความรูแ้ ละสามารถเผยแพร่ ความรู้สู่เกษตรกรใกล้เคียงได้ และยังมีศูนย์ เรียนรูใ้ นทุกจังหวัดเพือ่ ให้ความรูก้ บั เกษตรกร เพื่อไม่ให้ความเชื่ออาจกลายเป็นความ เสี่ยงต่อทั้งคนกินและคนปลูก ปวีณา ชูรัตน์

เผยแพร่ครัง ้ แรกเซคชัน ่ จุดประกาย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 8 มกราคม 2562

ภัยเงียบคุกคามเกษตรกร

ที่ส�ำคัญพาราควอตที่สะสมอยู่ในผักผลไม้ไม่สามารถล้าง ออกได้ด้วยการต้ม เพราะมีจุดเดือดสูงถึง 300 องศาเซลเซียส พาราควอตยังท�ำให้ระบบประสาทตอบสนองช้าลง อัน เป็นสาเหตุของโรคพาร์กินสัน กล่าวคือ จะมีอาการเคลื่อนไหว ช้า ร่ายกายสั่นเกร็งอยู่ตลอด เพราะเซลล์สมองถูกท�ำลายไป แล้วกว่าร้อยละ 60 งานศึกษาเชิงระบาดวิทยาในสหรัฐอเมริกา ปี 2552 พบ ว่า อาชีพที่ต้องใช้สารก�ำจัดศัตรูพืชจะมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ สูงถึงร้อยละ 80 สารตกค้างพาราควอตทีส่ ะสมในตัวแม่สามารถส่งต่อไปยัง ลูกในท้อง มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2559 พบว่า หญิงตัง้ ครรภ์ในพืน้ ทีก่ ารเกษตรทีม่ กี ารฉีดพ่นสารเคมี มีปริมาณ สารตกค้างพาราควอตในลูก 4-6 เท่า ของระดับพาราควอตใน กระแสเลือดของแม่ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า คนไทยเสียชีวติ เพราะสารก�ำจัดจัดศัตรูพชื อย่างน้อย 1,715 คน

และป่วยปีละกว่า 5,000 คน ในช่วง 3 ปี (2559-2561) ตัวเลข นีย้ งั ไม่นบั รวมกลุม่ ผูท้ ไี่ ด้รบั ผลกระทบทางอ้อมจากสารตกค้าง ในสิ่งแวดล้อม พาราควอตสามารถซึมเข้าผิวหนัง รายงานของสหภาพ ยุโรป ปี 2545 ระบุว่า การฉีดพ่นพาราควอตโดยใช้เครื่องพ่น สะพายหลัง มีโอกาสสัมผัสเกินค่ามาตรฐานถึง 60 เท่า แม้จะ สวมอุปกรณ์ป้องกันอย่างมิดชิดแล้ว ถึ ง จะมี ผ ลการศึ ก ษาออกมาแบบนี้ แต่ ป ลายเดื อ น พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา คณะกรรมการวัตถุอันตรายของ ไทยลงมติ “ไม่แบน” วัตถุอนั ตราย 3 ชนิด คือ พาราควอต ไกล โคเซต และคลอร์ไพริฟอส ขณะที่ 53 ประเทศทั่วโลกแบนไม่ ให้มีการซื้อขายภายในประเทศแล้ว กระทัง่ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 ผูต้ รวจการแผ่นดินมีมติ ให้ยกเลิกการใช้สารเคมี 3 ชนิด ดังกล่าว และขอให้กระทรวง เกษตรและสหกรณ์น�ำไปพิจารณายกเลิกภายใน 1 ปี ศูนย์ข่าวเพชรบุรี

1/19/19 1:16 AM


สิทธิสง ิ่ แวดล้อม

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 |

15

ผลกระทบสารเคมีการเกษตร กับวงจรการอุปโภคบริโภคเมืองเพชรฯ

ผู้คัดเเยกถัว ่ ฝักยาวในอ�ำเภอท่ายาง สวมอุปกรณ์ปอ ้ งกันขณะทีก ่ �ำลังคัดเเยกพืชผัก

“ปกติใช้มอื เปล่าคัดแยกถัว่ ฝักยาวก่อนส่ง ขายให้พอ่ ค้าคนกลาง ท�ำแบบนีว้ นั ละ 4 ชัว่ โมง ปรากฏว่า วันหนึ่งอยู่ดี ๆ มือแห้ง มีผื่นและคัน พอ ไปตรวจเลือดทีส่ ถานีอนามัย หมอบอกว่า มีปริมาณ สารเคมีตกค้างในเลือดและอยู่ในภาวะเสี่ยง” อ�ำไพ สีฟ้า ผู้คัดแยกผลิตผลการเกษตรใน ตลาดกลาง อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี และเพือ่ น ๆ อีก 8 คน มีอาการแพ้สารเคมีเมื่อไม่นานมานี้ จนท�ำให้พวกเธอต้องเริ่มใส่ถุงมือยางเพื่อป้อง สารเคมีจากการคัดแยกถั่วฝักยาว ไม่ตา่ งจาก อุไร แตงพลับ เกษตรกรใน อ.ชะอ�ำ และสามี ก่อนหน้านี้พวกเขาต้องวิตกกับอาการ เดียวกันเมือ่ พบสารเคมีตกค้างในเลือด โดยเฉพาะ สามีของเธอมีสารเคมีตกค้างในเลือดจนท�ำให้แขน ขาของเขาใช้งานไม่ได้ไป 1 ปีครึ่ง จนท�ำให้หลัง จากนั้นสามีภรรยาคู่นี้ตัดสินใจเปลี่ยน มาท�ำเกษตรอินทรีย์ ประเทศไทยมี ผู ้ ป ่ ว ย จากสารเคมี ก� ำ จั ด ศั ต รู พืช 4,001 คน เสียชีวิต 520 คน และเสียค่า รักษาพยาบาลมากกว่า 17 ล้านบาทต่อปี ตาม รายงานข้ อ มู ล ผู ้ ป ่ ว ย ระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติปี 2561 ขณะที่ จ.เพชรบุรี มีรายงาน การตรวจความเสี่ ย งของสารเคมี ป นเปื ้ อ น ในเลือดเกษตรกรของส�ำนักงานสาธารณสุข จังหวัด ล่าสุดปี 2559 พบว่า เกษตรกรมีสารเคมี ปนเปือ้ นในเลือดอยูร่ ะดับเสีย่ งและไม่ปลอดภัย ร้อยละ 42.74 ของเกษตรกรที่มาตรวจ ไม่ เ พี ย งแต่ ผู ้ ท่ี อ ยู ่ ใ นวงจรการผลิ ต และ การกระจายพืชผลทางการเกษตรเท่านัน้ แต่ผู้ บริโภคอย่าง จิรวรรณ ค�ำซาว ผู้ที่รับประทาน อาหารชีวจิตซึง่ เน้นผักและผลไม้เป็นหลัก ก็ถกู ตรวจพบปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดอยู่ใน

��������17janfinal.indd 15

ระดับที่ 4 คือ ระดับทีร่ า้ ยแรงมากทีส่ ดุ เช่นกัน “ไม่ คิ ด ว่ า จะพบสารเคมี ใ นเลื อ ดระดั บ ที่ ม ากที่ สุ ด เพราะล้ า งผั ก หลายรอบก่ อ น รับประทาน ท�ำให้ตอนนีด้ ฉิ นั ต้องกลับมาคิดว่า เราก�ำลังกินอะไรอยู่” เธอบอก มีขอ้ มูลทีน่ า่ ตกใจจากกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ซึง่ ได้เก็บ ผลผลิตทางการเกษตรมาตรวจสอบการตกค้าง ของสารเคมี เมื่อปี 2561 พบว่า บรรดาผัก ผลไม้ที่เรากินกันอยู่ทุกวัน คือ พริก ถั่วฝักยาว คะน้า มะเขือ มะเขือเทศ และส้ม ล้วนมีสารเคมี ตกค้าง แม้ จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจ ราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะยืนยัน ว่า ผักผลไม้ทั้ง 6 ชนิด ยังมีความปลอดภัยต่อ ผู้บริโภคอยู่ เนื่องจากจะเป็นอันตรายก็ต่อเมื่อ บริโภคในปริมาณมาก ดนัย ธีวันดา รองอธิบดี กรมอนามั ย กระทรวง สาธารณสุ ข อธิ บ าย ว่า สารเคมีก�ำจัดศัตรู พืชส่งผลต่อร่างกาย ของเกษตรกรทั้งใน ระยะสั้ น และระยะ ยาว สารเคมี บางตั ว ส่งผลต่อระบบประสาท ของมนุษย์ หรือสารก�ำจัด วั ช พื ช อย่ า งพาราควอตหรื อ ไกลโคเซต จะท�ำให้คลื่นไส้ อาเจียน แน่น หน้าอก เกิดผื่นและผิวหนังไหม้ ส่งผลต่อปอด และภาวะไตวาย

เดินอาหาร แต่ไม่รนุ แรงถึงการเกิดภาวะหัวใจวาย นอกจากมนุษย์แล้ว สัตว์ในพื้นที่ก็ได้รับ ผลกระทบจากสารเคมีทางการเกษตรเช่นกัน โน้ ม อ่ ว มแสง เกษตรกรผู ้ เ ลี้ ย งวั ว ใน อ.บ้านลาด บอกว่า เคยพลาดให้ววั กินหญ้าทีม่ ี สารเคมีจากไร่ทไี่ ม่มปี า้ ยเตือน ส่งผลให้ววั ตาย “ยังดีที่เจ้าของไร่ต้องรับผิดชอบเพราะไม่ ได้ปักป้ายว่าฉีดยาไว้ แต่มันก็ไม่คุ้มกันเพราะ เราเลี้ยงของเรามา” เขาบอก ส่วน พรภัทร์ แสงเพชร เกษตรกรผู้เลี้ยง วัวไร่ทุ่งจ�ำนวน 47 ตัว ใน อ.บ้านลาด บอกว่า ต้องคอยระวังไม่ให้วัวไปกินหญ้าตามไร่ทุ่งที่มี การใช้ยาฆ่าหญ้าหรือยาฆ่าแมลง เพราะท�ำให้ วัวแท้งหรือตาย ซึง่ แม้จะพอขายได้ แต่จะท�ำให้ ราคาตกไปครึ่งหนึ่ง เช่นเดียวกับ บัว สุขสมมาตร เกษตรกรใน อ.บ้านลาด หลังจากได้ยนิ ข่าวเมือ่ 2 ปีทแี่ ล้วว่า มีวัวใน ต.ต�ำหรุ อ�ำเภอเดียวกันนี้ ไปกินหญ้า ชายทุ่งจนวัวตายหมดทั้งฝูง ท�ำให้เขาเลี้ยงวัว ในบริเวณของตนเองเท่านั้น และให้กินหญ้าที่ ปลูกเองโดยเฉพาะ “หญ้าบางที่เขาฉีดยา เราไม่รู้หรอกเพราะ หญ้ามันเขียวเหมือนกัน ถ้าวัวเผลอไปกินอาจ ถึงกับถ่ายท้องจนตาย บางคนเมื่อรู้ว่า วัวของ เขาไปกินหญ้าทีม่ สี ารเคมีเข้าไปพอเริม่ มีอาการ ก็จะรีบขายเลย” ผู้เลี้ยงวัวเนื้อมา 30 ปี บอก สารเคมีทางการเกษตร นอกจากจะส่งผลต่อ อาหารที่คนและสัตว์กินเข้าไปแล้ว ยังกระทบ ต่อแหล่งน�้ำที่เราใช้ ระบบฐานข้อมูลแหล่งน�ำ้ ผิวดินทัว่ ประเทศ ของกรมควบคุมมลพิษ เดือนสิงหาคม ปี 2561 ระบุว่า น�้ำในแม่น�้ำเพชรบุรีตอนล่าง นับตั้งแต่ ปากแม่น�้ำบริเวณ ต.บ้านแหลม อ.บ้านแหลม จนถึงท้ายเขื่อนเพชรบุรี บริเวณ ต.ท่าแลง อ.ท่ายาง ที่เป็นแหล่งน�้ำเพื่อการเกษตรนั้น มี ดัชนีคุณภาพน�้ำอยู่ที่ 52-57 ถือว่าอยู่ในระดับ เสื่อมโทรม นพวรรณ เทียนบุญ นักวิชาการสิง่ แวดล้อม ส� ำ นั ก งานสิ่ ง แวดล้ อ มภาคที่ 8 (ราชบุ รี )

โน้ม อ่วมแสง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บอกว่า สาเหตุส่วนใหญ่ที่ท�ำให้แม่น�้ำเพชรบุรี เสื่อมโทรมมาจากการปล่อยน�้ำเสียของครัว เรือนเป็นหลัก ส่วนสาเหตุจากสารเคมีทางการ เกษตรนั้นมีปริมาณน้อยแต่ก็นับว่าเป็นหนึ่ง ในสาเหตุที่ท�ำให้คุณภาพน�้ำในแม่น�้ำเพชรบุรี เสื่อมโทรมลง "โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งหรือช่วงน�ำ้ น้อย จะท�ำให้สารเคมีเหล่านั้นเข้มข้นขึ้นเนื่องจากมี การเจือจางจากการไหลของน�ำ้ ลดลง และจะมี ค่าแบคทีเรียมากขึน้ ทีบ่ ริเวณปากแม่นำ�้ ซึง่ เป็น จุดรวมของแม่นำ�้ ก่อนลงสูท่ ะเล อันจะท�ำให้นำ�้ บริเวณนั้นยิ่งเน่าเสีย"

ณัฐธนีย์ ลิม ้ วัฒนาพันธ์ ชนินทร์ สกุลกานต์กีรติ ธรรศ พงษ์ไทยวัฒน์

เผยแพร่ครัง ้ แรกเซคชัน ่ จุดประกาย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 25 ธันวาคม 2561

“ยิ่งเกษตรกรท�ำงานในช่วงที่อากาศร้อนจัด

เท่าไหร่ ก็จะท�ำให้สารเคมีซมึ เข้าผิวหนังได้งา่ ย ขึ้นเท่านั้น" รองอธิบดีกรมอนามัย ระบุ เขาบอกอีกว่า ส�ำหรับผู้บริโภค สารเคมีจะ สะสมในร่างกาย ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในระบบต่าง ๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด แต่หากได้รับสาร เคมีที่มีความเข้มข้นมากจะส่งผลต่อระบบทาง

หญ้าข้างทาง อาหารวัวไร่ทุ่งที่อาจปนเปื้ อนจากสารเคมี และก่อให้เกิดอันตรายถึงขัน ้ เสียชีวิต

1/19/19 1:16 AM


16 |

สิทธิสัตว์

ลูกศิลป์

เพาะแมว‘มั น ช์ กิ น โฟล์ ด ’อาจทรมานสั ต ว์ เผยปากแหว่ ง -ขาบิ ด -ตายมากกว่ า รอด

แมวมันช์กินโฟล์ดอายุ 1 ปี ของฟาร์มแมวแห่งหนึง ่ ในนนทบุรี

แมวขาสัน ่ นเฟซบุ๊ก ชีเ้ ป็ นแมวพิการ เพาะพันธุ์แล้วปากแหว่ง ้ หูพับ ‘มันช์กินโฟล์ด’ ขายเกลือ ขาบิด แถมตายมากกว่ารอด อาจทรมานสัตว์ นักพัฒนาสายพันธุ-์ นักวิชาการประสานเสียง ไม่ ควรผสมพันธุ์ด้อยด้วยกัน ผอ.รพ.สัตว์ระบุยังไม่ขน ้ึ ทะเบียนเป็ นพันธุ์ใหม่เพราะยังถกประเด็น สุขภาพ เลขาฯ พิทักษ์สัตว์ ไม่ฟน ั ธงทรมานสัตว์หรือไม่ ปศุสัตว์ยันไม่ผิดกม. หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์รายงานว่า ขณะนี้ใน สื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก มีการโฆษณา ขายแมวขาสั้ น หู พั บ ที่ เ รี ย กว่ า พั น ธุ ์ มั น ช์ กิ น โฟล์ดอย่างแพร่หลาย ราคาตัวละ 10,000 บาท ไปจนถึง 100,000 บาท อย่างไรก็ดี ผู้ช่วย สัตวแพทย์รายหนึ่ง เปิดเผยว่า แมวพันธุ์นี้จัด ว่า เป็นแมวพิการ มีรา่ งกายผิดปกติ ขาสัน้ กว่า แมวทัว่ ไป หูพบั สนิท เมือ่ โตเต็มทีต่ วั จะไม่ใหญ่ เกิดจากการผสมพันธุ์กันระหว่างพันธุ์สก็อต ติสโฟล์ดและมันช์กิน “หลายครั้ ง ลู ก แมวออกมาปากแหว่ ง เพดานโหว่ ขาสั้น กระดูกขาไม่ครบ ขาบิด น็อกตายไปเฉย ๆ ที่รอดโตมาปกติมีจ�ำนวน น้อย อยู่ได้ราว 3 ปี ก็ตาย” ผู้ช่วยสัตว์แพทย์ คนดังกล่าว ระบุ เจ้าของกิจการฟาร์มแมวขาสั้นรายหนึ่ง เปิดเผยว่า แมวขาสั้นหูพับเป็นที่นิยม เป็น แมวสุขภาพดี ไม่ผิดปกติ แต่เพาะยาก หาก เพาะได้แมวหน้าตาดี ราคาจะสูงถึง 50,000100,000 บาท แต่ถ้าลักษณะไม่โดดเด่น ราคา ปกติ 15,000 บาท นางสาวจิดาภา บุรณศิริ เจ้าของฟาร์มแมว ‘Buran Cattery’ ผู้เพาะพันธุ์แมวและศึกษา สายพันธุ์แมวขาสั้นหูพับ เผยว่า โดยทั่วไป นักพัฒนาสายพันธุ์จะหยุดความด้อยของสาย พันธุไ์ ว้ โดยการผสมพันธุค์ แู่ มวขาสัน้ กับขายาว หรือแมวหูพบั กับหูตงั้ เพือ่ ไม่ให้มลี กั ษณะด้อย 2 อย่าง อยู่ในแมวตัวเดียว “แต่ แ มวพั น ธุ ์ ข าสั้ น หู พั บ เพาะโดยน� ำ

��������17janfinal.indd 16

ลักษณะด้อย 2 อย่างมาอยู่ในตัวเดียว โดย เฉพาะขาที่สั้นและบิดบ่งบอกว่า กระดูกผิด ปกติ และอย่างมากอยู่แค่รุ่นลูก หลาน ก็ตาย หมด เทียบกับแมวปกติ จะสืบสายพันธุ์ต่อกัน ได้เป็น 10 รุ่น” นางสาวจิดาภา กล่าว นายศกร คุณวุฒิฤทธิรณ รองคณบดีฝ่าย วิจัย คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์หรือการ ผสมเลือดชิดเป็นเรื่องที่ท�ำกันปกติทั้งในภาค สัตว์เกษตรและสัตว์เลีย้ งสวยงาม ในกรณีสตั ว์ สวยงามหรือสัตว์เลี้ยงทั่วไปการผสมพันธุ์หรือ การผสมเลือดชิดเป็นการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ ลักษณะที่ต้องการ ซึ่งจะเพาะพันธุ์แบบไหน แล้วแต่คนจะออกแบบ “แต่ถ้าหากเพาะออกมาแล้วลูกอ่อนแอ นั้ น จะมองว่ า เป็ น การทารุ ณ กรรมสั ต ว์ หรื อ ไม่ ก็ แ ล้ ว แต่ ค นจะตี ค วาม แต่ ใ นส่ ว น จรรยาบรรณการผสมพันธุ์ที่รู้อยู่แล้วว่า จะ ท�ำให้สัตว์อ่อนแอก็จะหลีกเลี่ยง” รองคณบดี ฝ่ายวิจัย คณะเกษตร กล่าว สพ.ญ.เกวลี ฉั ต รดรงค์ ศาสตราจารย์ ประจ� ำ คณะสั ต วแพทย์ ศ าสตร์ และ ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลสัตว์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การน�ำยีนส์ด้อยกับ ยีนส์ดอ้ ยมาผสมพันธุก์ นั บางครัง้ ก็ออกมาเด่น การผสมแบบดังกล่าว สัตว์ที่คลอดออกมาจึง อาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้ “ในพระราชบั ญ ญั ติ (พ.ร.บ.) ป้ อ งกั น การทารุ ณ กรรมและการสวั ส ดิ ภ าพสั ต ว์

ปี 2557 ไม่ได้ห้ามเรื่องการเพาะพันธุ์สัตว์ ข้ามสายพันธุ์ แมวพันธุ์มันช์กินโฟล์ดไม่ได้ถูก จดทะเบี ย นให้ เ ป็ น พั น ธุ ์ ห รื อ เป็ น ชนิ ด ของ แมว ไม่ว่าจะในระดับสากลหรือประเทศไทย เพราะยังมีข้อสงสัยเรื่องของความเจ็บป่วย ของสัตว์ อย่างไรก็ตามสามารถเลี้ยงได้ เพราะ กฎหมายไม่ได้มีบทลงโทษว่า ห้ามเพาะพันธุ์” สพ.ญ. เกวลี กล่าว เมื่ อ ถามถึ ง ประเด็ น สิ ท ธิ สั ต ว์ ที่ ต ้ อ งได้ รับการคุ้มครองเรื่องสุขภาพ ผู้อ�ำนวยการ โรงพยาบาลสัตว์ กล่าวว่า หลักการคุ้มครอง สวัสดิภาพสัตว์คือ เมื่อสัตว์เกิดมาไม่ว่าจะ เป็นอย่างไรก็ตาม จะพิการ ไม่สมประกอบ

หรือเป็นโรค เจ้าของต้องดูแลให้เหมาะสม มี อ าหาร มี น�้ ำ อย่ า งเพี ย งพอ ไม่ เ กิ ด ความ ทรมานขณะเลี้ยงดู นายโรเจอร์ โลหะนันท์ เลขาธิการสมาคม พิทักษ์สัตว์ กล่าวว่า การผสมพันธุ์แมวข้าม สายพั น ธุ ์ ไ ม่ ผิ ด กฎหมาย และจะผิ ด เรื่ อ ง ทารุณกรรมสัตว์ต่อเมื่อท�ำให้สัตว์พิกลพิการ แต่ถา้ เพาะออกมาแล้วเจ็บป่วย อ่อนแอลงหรือ อายุสนั้ กว่ารุน่ พ่อ รุน่ ปู่ เป็นเรือ่ งตรวจสอบยาก ว่า ทารุณกรรมสัตว์หรือไม่ ขณะเดียวกันยัง ไม่มีกฎหมายควบคุมการเพาะพันธุ์สัตว์เลี้ยง เพื่อจ�ำหน่าย แค่ขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ก็ สามารถเพาะขายได้แล้ว “ตอนนี้กรมฯ ยังไม่ร่างกฎหมายก�ำหนด มาตรฐานฟาร์มแมวและสุนัข ทราบว่า กรมฯ เคยพยายามผลักดันตัง้ แต่ปี 2547 แต่ไม่สำ� เร็จ เพราะผูป้ ระกอบการไม่ยอมเข้ามาร่วม เพราะ กฎหมายต้องก�ำ หนดจ�ำ นวนครั้งที่พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์จะท�ำลูกได้ต่อปี และต้องแจ้งจ�ำนวน ลูกสุนัขลูกแมวที่เพาะได้ จึงอาจมีผลต่อราย ได้ของฟาร์ม” นายโรเจอร์ กล่าว นายธีระวุฒิ สุวัธนะเชาว์ ผู้อ�ำนวยการ กองสวั ส ดิ ภ าพสั ต ว์ แ ละสั ต วแพทย์ บ ริ ก าร กรมปศุสัตว์ ชี้แจงว่า การผสมพันธุ์สัตว์ข้าม สายพันธุ์เป็นเรื่องปกติทั่วไป ไม่ผิดกฎหมาย ตอนนี้ ก ฎหมายลงโทษผู ้ เ พาะพั น ธุ ์ ฐ าน ทารุณสัตว์ได้แค่เลี้ยงไม่ดี หรือให้อาหารไม่ดี นอกจากนี้ การผสมพันธุ์เช่นนี้ก็ไม่ได้ท�ำให้ลูก อ่อนแอเสมอไป “แต่ขณะนีก้ รมฯ ก�ำลังร่างระเบียบก�ำหนด มาตรฐานฟาร์มสัตว์เลี้ยง ซึ่งจะก�ำหนดให้ ฟาร์มต้องแจ้งว่า จะผสมพันธุ์อย่างไร เมื่อ ผสมพันธุแ์ ล้วหากมีลกู อ่อนแอต้องมีแผนรับมือ หากต้องท�ำลาย ต้องระบุว่า จะท�ำลายด้วยวิธี ไหน คือมีแผนแสดงชัดเจน ปรับเปลี่ยนการ ปฏิบัติไม่ได้ คาดว่าจะประกาศใช้ปี 2562” นายธีระวุฒิ กล่าว กาญจนา ผกาแก้ว

1/19/19 1:16 AM


สิทธิทอ ี่ ยู่อาศัย ต่อจาก หน้า 1

หนั ง สื อ พิ ม พ์ ลู ก ศิ ล ป์ ล งพื้ น ที่ ส� ำ รวจ โครงการบ้านเอื้ออาทร ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ บ้านเอื้ออาทร ประชานิเวศน์ 3 บ้านเอื้ออาทรรามอินทรา (คู้บอน 1-2) บ้านเอื้ออาทรรังสิตคลอง 1 และ บ้านเอื้ออาทรสรงประภา 1 แทบทุกโครงการ พบปัญหาคล้ายคลึงกัน ได้แก่ ความปลอดภัย ยาเสพติ ด สภาพแวดล้ อ มและการจั ด การ ชุมชนล้มเหลว ไม่เป็นไปตามแนวความคิดในการ ออกแบบโครงการของการเคหะแห่งชาติที่ต้อง สร้างชุมชนที่ได้มาตรฐานในสภาพแวดล้อม และระบบสาธารณูปโภคที่เหมาะสม อีกทั้ง ชุ ม ชนต้ องช่ ว ยเหลือซึ่งกัน และกัน และไม่ สอดคล้องตามแบบแผนสิทธิที่อยู่อาศัยอย่าง เหมาะสมขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่วางแนวทางว่า ที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม ผู้ อาศัยจ�ำเป็นต้องได้รับความปลอดภัย และ อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับสิ่งอ�ำนวยความสะดวกทาง สังคม ชาวชุนชนต้องมีความปลอดภัยทั้งชีวิต และทรัพย์สินมีคุณภาพที่ดี ชาวชุ ม ชนผวาทรั พ ย์ สิ น หาย-ยา เสพติดระบาด

นายสามารถ อินทรลิตร ผูอ้ าศัยในโครงการ บ้านเอื้ออาทรรังสิตคลอง 1 จ.ปทุมธานี เปิด เผยว่า คนในชุมชนต้องเผชิญกับปัญหาลัก ทรัพย์แทบทุกสัปดาห์ นิติบุคคลไม่สามารถ แก้ไขได้ ผูอ้ าศัยต้องจัดการกันเองโดยควักเงิน

��������17janfinal.indd 17

ส่วนตัวติดกล้องวงจรปิด ติดกลอนประตูและ ท�ำลูกกรงที่แข็งแรง “ห้ อ งผมถู ก โจรงั ด 3 ครั้ ง แล้ ว แจ้ ง นิติบุคคล เขาก็ไม่สนใจ ต�ำรวจก็ไม่เข้ามา ทุก วันนีค้ นในตึกกลายเป็นยาม สร้างระบบสแกน ขึ้นมาเอง” นายสามารถ กล่าว นายเดชา กิตติธนาโกวิท ผูจ้ ดั การนิตบิ คุ คล 2 โครงการบ้านเอื้ออาทรรังสิตคลอง 1 ชี้แจง ว่ า นิ ติ บุ ค คลไม่ มี อ� ำ นาจในการจั บ คนร้ า ย ผู้เสียหายต้องแจ้งต�ำรวจเพื่อด�ำเนินคดีเอง เช่นเดียวกับ นางจิราวรรณ ภูท่ บั ทิม ผูอ้ าศัย ในพื้นที่เดียวกัน กล่าวว่า เคยพบคนเร่ร่อนขึ้น มาบนอาคารเพื่อหาห้องอาบน�้ำ บางวันพบ คนนอกขึ้นมาเคาะประตูตามห้องเพื่อขายของ นอกจากนี้ จากการสอบถามผู้อาศัยใน บ้านเอื้ออาทร ระบุตรงกันว่า มีปัญหายาเสพ ติดทุกโครงการ โดยเฉพาะโครงการบ้านเอื้อ อาทรประชานิเวศน์ 3 ผู้อยู่อาศัยจ�ำนวน 5 คน ให้ข้อมูลว่า มีกลุ่มวัยรุ่นทั้งคนในและนอก โครงการเข้ามาต้มใบกระท่อมและสูบกัญชา บริเวณส่วนกลางระหว่างอาคาร พร้อมกับ ส่งเสียงดังรบกวน และท�ำลายโต๊ะสาธารณะ โดยที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่เข้าไป ดูแลตรวจสอบ

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 |

พบมีผู้อาศัยน�ำไก่มาเลี้ยงในพื้นที่ส่วนกลาง ไม่มีรั้วกั้น มูลไก่ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ แม้ ผู้อาศัยรายอื่นจะร้องเรียนกับทางนิติบุคคล แต่ไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งการน�ำสัตว์เลี้ยงเข้า มาเลี้ยงในพื้นที่โครงการเอื้ออาทรนี้ถือว่า ขัด กับระเบียบบ้านเอื้ออาทรว่าด้วยการใช้พื้นที่ สาธารณะ ข้อที่ 7 ที่ห้ามน�ำสัตว์เลี้ยงเข้าพื้นที่ สาธารณะเด็ดขาด หากฝ่าฝืนถือว่าบุกรุก นายอภิรัฐ รอดฉ�่ำ ผู้จัดการนิติบุคคลบ้าน เอื้ออาทรสรงประภา 1 ชี้แจงว่า ได้ตักเตือน ผู้อาศัยดังกล่าว แต่ถูกเพิกเฉย ด้วยความที่อยู่ ร่วมกันในชุมชนจึงต้องอะลุ่มอล่วย ส่วนเรื่อง ที่ลูกบ้านร้องเรียนเรื่องห้องน�้ำมีน�้ำซึม ตั้งแต่ เริ่มโครงการ นิติบุคคลเคยร้องไปยังการเคหะ แห่งชาติแต่ได้รบั ค�ำตอบกลับมาว่า ปัญหาเกิด จากการใช้งานของลูกบ้านเป็นเวลานาน จึงยัง ไม่มีการแก้ไข คุณภาพชีวิตบ้านเอื้ออาทรต�่ำกว่า เกณฑ์ยูเอ็น

ตามแบบแผนสิทธิทอี่ ยูอ่ าศัยอย่างเหมาะสม (The Right to Adequate Housing) ของ องค์การสหประชาชาติ ระบุว่า ที่อยู่อาศัย จะขาดความเหมาะสมหากไม่มีระบบความ ปลอดภัยในชุมชนที่รัดกุม ท�ำให้ถูกคุกคาม สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมกับการ ทั้งด้านทรัพย์สิน ความรุนแรง และความเป็น อยู่อาศัย ส่วนตัว อีกทั้งหากผู้อาศัยไม่ได้รับสิ่งอ�ำนวย ส�ำหรับบ้านเอือ้ อาทรสรงประภา 1 เขตดอนเมือง ความสะดวกจากชุมชน ทั้งเรื่องสุขอนามัย และความปลอดภัยทางกายภาพ จนเป็นเหตุ ให้เสียสุขภาพหรือเกิดอันตราย เช่น การมี มลพิษทางอากาศ เสียง และสภาพแวดล้อม ทางสังคม ที่ส�ำคัญคนในชุมชนควรมีส่วนร่วม และเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน นายบุญเลิศ วิเศษปรีชา ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ประจ� ำ คณะสั ง คมวิ ท ยาและมานุ ษ ยวิ ท ยา มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ให้ ค วามเห็ น ว่ า

17

ประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจนในการยอมรับ เรื่องสิทธิที่อยู่อาศัยอย่างจริงจัง รัฐบาลควรจะ ท�ำให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าถึงที่อยู่อาศัย ขัน้ พืน้ ฐานคุณภาพดี อยูอ่ าศัยได้อย่างปลอดภัย ฉะนั้นรัฐต้องอุดหนุนเรื่องสิทธิที่อยู่อาศัย “รั ฐ ควรส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด ชุ ม ชน สร้ า ง กิจกรรมรวมกลุ่ม สนับสนุนโครงการที่มาจาก ความต้องการของผู้อาศัย” นายบุญเลิศ กล่าว ด้ า นนายกฤษฎา วั ฒ นเสาวลั ก ษณ์ อาจารย์ประจ�ำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ปัญหาบ้านเอื้อ อาทรทีเ่ กิดขึน้ ท�ำให้ขายไม่ได้ การเคหะประสบ ภาวะขาดทุน จึงปรับเงื่อนไขใหม่ เพื่อขยาย ตลาดให้โครงการขายได้ ท�ำให้คนรายได้น้อย เข้าไม่ถึง อีกทั้งลักษณะความเป็นอยู่ไม่ตรง ตามความต้องการของผู้อาศัย นายวิญญา สิงห์อินทร์ รองผู้ว่าการ การ เคหะแห่ ง ชาติ ชี้ แ จงว่ า ได้ ท ราบปั ญ หานี้ เพราะมีผู้อาศัยเข้ามาร้องเรียนอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งทางหน่วยงานมีหน้าที่เป็นตัวกลางในการ ช่วยเจรจากับทางผูอ้ าศัยและนิตบิ คุ คลเท่านัน้ เพราะได้สิ้นสุดหน้าที่การดูแลระบบจัดการ หลังจาก 5 ปีแรก “ทางหน่วยงานไม่ได้นิ่งเฉยต่อปัญหาที่ พบ เรารวบรวมปัญหาทั้งหมดมาพัฒนาต่อ เพื่อท�ำให้ชุมชนน่าอยู่มากขึ้น ด้วยการสร้าง ชุมชนใหม่ในชื่อโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย” นายวิญญา กล่าว นายวิ ญ ญา กล่ า วต่ อ ว่ า ในอนาคตจะ ผลักดันแผน 20 ปี โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ภายใต้แนวคิดไม่ใช่แค่ทพี่ กั อาศัยอย่างเดียวแต่ ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน ณัฐศักดิ์ อุทรักษ์ นันทมาศ เล็กเลิศสุริยา พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ สุภาพร แต้ภักดี อาภาภัทร อภัยวงศ์

1/19/19 1:16 AM


18 |

สิทธิแรงงาน

ลูกศิลป์

อ้ า ง ต้ น ทุ น สู ง - ขั้ น ต อ น เ ย อ ะ เอกชนไม่ รั บ คนพิ การเข้ า ท� ำ งาน บริษท ั เอกชนไม่รบ ั คนพิการแม้คณ ุ สมบัตค ิ รบ อ้างท�ำงานไม่เต็มประสิทธิภาพแถมค่าใช้จา่ ยอ�ำนวยสะดวกสูง คนพิการ ท�ำงานได้เกือบล้านคนยังตกงาน จีร ั้ ตอนจ้างงานให้ง่ายขึน ้ ัฐแก้ขน ้ พม. แจงปรับกม. เอือ ้ สิทธิทุกปี

สถานประกอบการส่วนใหญ่ยังไร้ทางลาดส�ำหรับคนพิการ

“สมัครงานคอมพิวเตอร์ธรุ การนัง่ โต๊ะ เขา ก็ไม่รบั เพราะนัง่ วีลแชร์ แม้มวี ฒ ุ ิ ประสบการณ์ และทักษะด้านนี้ แต่เขาอ้างว่า ไม่มีสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกให้ ยังดีที่ช่วงตกงานมีพ่อแม่และ แฟนสาวช่วยเหลือ” กว่า 50 บริษัทที่นายพรวินัย ศักดิ์สิงห์ วัย 36 ปี ชาว จ.เพชรบูรณ์ คนพิการขาขาดทั้ง 2 ข้างจาก อุบตั เิ หตุเมือ่ ปี 2552 ติดต่อสมัครงาน แต่ถกู ปฏิเสธ อ้างว่า เขามีคุณสมบัติไม่ครบตามที่บริษัทก�ำหนด พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมและ พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต คนพิ ก าร พ.ศ. 2550 บัญญัติให้สถานประกอบที่มีลูกจ้างมากกว่า 100 คน ต้องจ้างคนพิการ 1 คน พร้อมท�ำ สัญญาจ้างไม่ต�่ำกว่า 1 ปี หรือให้ส่งเงินเข้า กองทุนและส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ ปีละประมาณ 109,500 บาท ต่อคนพิการ 1 คน โดยคิดตามค่าแรงขัน้ ต�ำ่ ทีค่ วรได้รบั คือ 300 บาท ต่อวัน หรือจัดสิง่ อ�ำนวยความสะดวกและจัดให้มี การช่วยเหลือคนพิการ ทว่ามีคนพิการในวัยท�ำงาน อายุ 15-60 ปี เพียง 271,916 คน ที่ได้ประกอบอาชีพ โดย

มีอีกกว่า 819,550 คน จากจ�ำนวนคนพิการ ทั้งหมด 1.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 43.13 ยังตกงานแม้มีความสามารถประกอบอาชีพ ได้ ตามรายงานของกรมส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ฉบับล่าสุดเดือน กันยายน 2560 ทั้งนี้ยังไม่รวมคนที่ไม่ได้ขึ้น ทะเบียนคนพิการ แม้สถิตกิ ารจ้างงานคนพิการของกองทุนฯ ล่าสุด ปี 2561 ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2559-2561 เอกชนจ้างงานคนพิการตามกฎหมาย จ�ำนวน 36,400 คน เพิม่ ขึน้ จากเดิมราว 4,000 คน แต่ เมื่อสอบถามฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัท เอกชน 5 แห่ง ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล บอกตรงกั น ว่ า ไม่ ส ะดวกรั บ คนพิ ก ารเข้ า ท�ำงาน ให้เหตุผลว่า เชื่อว่าจะท�ำงานได้ไม่ เต็มประสิทธิภาพ มีข้อจ�ำกัดในการท�ำงาน และการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมหรือสร้าง สิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับพนักงานคน พิการนั้นยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง ผู้สื่อข่าวสืบค้นรายละเอียดการก่อสร้าง

ปรับปรุงหรือจัดให้มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ส�ำหรับคนพิการ จากส�ำนักงานส่งเสริมและ พัฒนาชีวิตคนพิการแห่งชาติ พบว่า มีราคา ราว 5.3 ล้านบาท ได้แก่ ก�ำหนดให้มีทางผิว ต่างสัมผัส ทางลาด ทางเดินเชือ่ มอาคาร ห้องน�ำ้ ที่จอดรถ ราวจับ ป้ายสัญลักษณ์ อักษรเบรลล์ และลิฟต์ส�ำหรับคนพิการ นายชวาลวงศ์ กิตติยศยิง่ ยง ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การ ฝ่ายบัญชีกลาง บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จ�ำกัด มหาชน กล่าวว่า บริษัทมีนโยบายรับคนพิการ เข้าท�ำงาน พิจารณาตามประสบการณ์ ทักษะ และลักษณะความพิการเพือ่ เลือกต�ำแหน่งงาน ที่เหมาะสม “ปัจจุบันบริษัทมีพนักงาน 1,900 คน รับ คนพิการเข้าท�ำงานเป็นพนักงานฝ่ายบัญชีแล้ว 2 คน เท่ากับว่าต้องจ้างคนพิการเพิม่ อีก 17 คน ตามกฎหมาย จึงต้องจ่ายเงินเงินเข้ากองทุน ราว 1,861,500 บาทต่อปี แต่เราเลือกจัดสิ่ง อ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับคนพิการ ซึง่ บริษทั สร้างใหม่และต่อเติม เช่น ห้องน�ำ้ ลิฟต์ ราวจับ และทางลาด” นายชวาลวงศ์ กล่าว นางสาวนลัทพร ไกรฤกษ์ คนพิการกล้าม เนื้ อ อ่ อ นแรงที่ ใ ช้ ชี วิ ต อยู ่ บ นวี ล แชร์ และ ผูก้ อ่ ตัง้ เว็บไซต์ดสิ อะเบิลดอทมีซงึ่ เป็นเว็บไซต์ น�ำเสนอสิทธิคนพิการ กล่าวว่า สิง่ อ�ำนวยความ สะดวกส�ำหรับพนักงานคนพิการในที่ท�ำงาน เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรพึงมี “เอาเข้าจริง ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ต้องมีสิ่ง อ�ำนวยความสะดวกพืน้ ฐาน ทัง้ ห้องน�ำ้ ทางลาด หรือราวจับ เพื่อให้คนพิการใช้ชีวิตได้สะดวก และสามารถท�ำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แบบที่ควรจะเป็น” นางสาวนลัทพร กล่าว นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการ มู ล นิ ธิ พ ระมหาไถ่ ผู ้ ท� ำ วิ ท ยานิ พ นธ์ เ รื่ อ ง แนวทางการส่งเสริมอาชีพคนพิการ สาขา สั ง คมสงเคราะห์ มหาวิ ท ยาลั ย หั ว เฉี ย ว

เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า ปัญหาการไม่จ้าง งานคนพิการเกิดจากทัศนคติของนายจ้างทีค่ ดิ ว่า ต้องรับผิดชอบสุขภาพทุกเรือ่ งของคนพิการ รวมถึงกระบวนการจ้างงานที่มีหลายขั้นตอน ทัง้ ตอนรับเข้าและออก แม้กฎหมายก�ำหนดว่า หากรับแรงงานคนพิการจะลดภาษีได้ 2 เท่า ก็ ท�ำให้นายจ้างหันไปเลือกวิธีที่ง่ายกว่า “หน่วยงานรัฐยังแค่จัดประชุมผู้ประกอบ แล้ ว บอกแค่ ว ่ า ต้ อ งจ้ า งงานคนพิ ก ารตาม กฎหมาย แต่ไม่เคยท�ำความเข้าใจจริงจังถึง กระบวนการจ้างงานว่า จะต้องยื่นเอกสาร อะไร ที่ไหน จึงท�ำให้ผู้ประกอบการไม่ทราบ และคิดว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก ฉะนั้นรัฐต้องออก วิธีการปฏิบัติให้ชัดเจน และปรับให้ง่ายขึ้น” นายสุภรธรรม กล่าว นางวิไลพร ขนุนก้อน ผู้อ�ำนวยการกลุ่ม ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ กรมส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ชี้แจงว่า ปี 2561 กรมฯ ได้ผลักดันให้สถาน ประกอบการหันมาจ้างงานคนพิการโดยสร้าง แรงจูงใจในการลดหย่อนภาษีได้มากถึง 2 เท่า สถานประกอบการยังสามารถน�ำค่าปรับปรุง สถานที่และสิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับคน พิการใช้ลดหย่อนภาษีได้ ท�ำให้อัตราการจ้าง งานคนพิการเพิ่มขึ้น “ตัวเลขการจ้างงานคนพิการในขณะนีน้ บั ว่าน่าพอใจ พม. ยังเพิ่มนโยบายให้คนพิการที่ ตกงานกู้เงินโดยไม่เสียดอกเบี้ย และปรับแก้ กฎหมายทุกปีเพือ่ ให้คนพิการเข้าถึงสิทธิในการ ประกอบอาชีพมากที่สุด” นางวิไลพร กล่าว

นภัสกร บุญคง

ทีม ่ า: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ��������17janfinal.indd 18

1/19/19 1:16 AM


สิทธิแรงงาน

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 |

พ่อแม่สุดห่วงต้องฝากลูกแถวบ้าน 14ปี ศูนย์เลี้ยงเด็กเพื่ อแรงงานเหลว

แรงงานห่วงหน้าพะวงหลัง ทีท ่ �ำงานไร้สถานเลีย ้ งเด็ก 14 ปี ศูนย์เลีย ้ งเด็กเพื่อแรงงานล้มเหลว มี แค่ 91 แห่งจาก 4 แสนบริษัท พ่อแม่สุดห่วงต้องฝากลูกแถวบ้านจ่ายครึง ่ หมืน ่ แถมทีร ่ ับเลีย ้ งไม่มี ใบอนุญาต นักวิชาการชี้รัฐกระตุ้นเพิ่มบุตรแต่นโยบายไม่สอดคล้อง รองอธิบดีคุ้มครองแรงงานฯ แจงนโยบายท�ำได้เพียงสนับสนุน

ห้องเลีย ้ งดูเด็กอ่อนสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส หนึง ่ ในศูนย์เลีย ้ งเด็กในสถานประกอบกิจการ จัดตัง ่ ปี 2555 ตามนโยบายของกระทรวงแรงงาน ้ เมือ

“ดิฉันมีลูกอายุ 2 ขวบ ต้องฝากคนรู้จัก แถวบ้านเลี้ยงเพราะต้องท�ำงาน หากวันไหน เขาไม่วา่ ง ก็ตอ้ งพาลูกใส่รถเข็นเข้าไปเลีย้ งในที่ ท�ำงานซึง่ ไม่มพี นื้ ทีเ่ พียงพอ บางครัง้ เพือ่ นร่วม งานไม่พอใจ บ่นว่าไม่ใช่ที่เลี้ยงเด็ก” นางสาวธั ญ ญารั ต น์ มงคล พนั ก งาน รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งใน จ.ยโสธร ต้องพะวงทุก ครัง้ เวลาไปท�ำงานเพราะต้องฝากลูกน้อยไว้กบั เพื่อนบ้าน เธอบอกด้วยว่า สาเหตุที่ไม่ฝากลูก ไว้กบั สถานเลีย้ งเด็กเอกชน เพราะเห็นข่าวเด็ก ถูกท�ำร้ายบ่อยครั้ง จึงไม่วางใจ หากสถานที่ ท�ำงานมีหอ้ งเลีย้ งเด็ก คงจะไม่กงั วลเรือ่ งความ ปลอดภัยของบุตร แม้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ (พม.) จะลงนามร่วมกับกระทรวง แรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวง ศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข จัด ตั้ ง ศู น ย์ เ ลี้ ย งเด็ ก เพื่ อ ผู ้ ใ ช้ แ รงงานในสถาน ประกอบกิจการและชุมชน ตั้งแต่ปี 2547 และขยายมาตรการยกเว้นภาษีให้เอกชนขอ ลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งศูนย์ฯ ไม่เกิน 1 ล้านบาท จากที่จ่ายจริงถึงสิ้นปี 2561 รวมถึงมีประกาศบังคับใช้ระเบียบคณะ กรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ว่าด้วยการจัด ให้มีศูนย์รับเลี้ยงเด็กในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2560 แต่ข้อมูลจากกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงานปี 2561 ระบุว่า ตั้งแต่เริ่ม โครงการจนถึงปัจจุบนั มีศนู ย์เลีย้ งเด็กในสถาน ประกอบกิจการจดทะเบียนเพียง 91 แห่ง

��������17janfinal.indd 19

จากสถานประกอบกิจการทั่วประเทศมีทั้งหมด 402,708 แห่ง คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.02 นอกจากนี้ แม้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 หมวด 3 ว่าด้วยที่ ตั้ง สภาพแวดล้อมและลักษณะอาคารของ สถานรับเลี้ยงเด็กจะก�ำหนดมาตรฐานว่า ต้อง มีความปลอดภัยกับเด็กเพื่อไม่ให้มีการเกิด อุบัติเหตุและความรุนแรงเกิดขึ้นภายในสถาน รับเลี้ยงเด็ก แต่ จ ากการส� ำ รวจของผู ้ สื่ อ ข่ า วย่ า น จรัญสนิทวงศ์ที่มีสถานประกอบการอยู่เป็น จ�ำนวนมาก พบใบประกาศรับเลี้ยงเด็กติดไว้ ที่หน้าร้านตัดผมในหมู่บ้านแห่งหนึ่งเป็นบ้าน 2 ชัน้ ประตูและรัว้ เป็นเหล็กดัดสูง หน้าบ้านติด ถนน มีรถวิ่งเข้าออกตลอดเวลา ไม่มีป้ายระบุ ว่า เป็นสถานประกอบการรับเลี้ยงเด็ก เมื่อสอบถามรายละเอียดการฝากเลี้ยงกับ ลูกจ้างร้านตัดผมดังกล่าว ได้รับค�ำตอบว่า รับ เลี้ยงเด็กตั้งแต่อายุ 3 เดือน - 3 ปี ราคาเดือน ละ 4,500 บาท หากฝากเป็นรายวัน คิดวัน ละ 200 บาท ตั้งแต่เวลา 07.00 น.-18.00 น. “ที่นี้รับฝากเลี้ยงเด็กมานานกว่า 7 ปี เริ่ม แรกคนในหมูบ่ า้ นน�ำมาฝากเลีย้ ง ไม่ได้รบั เลีย้ ง จริงจังจึงไม่ได้มีใบอนุญาต เพราะเปิดร้าน เสริมสวยเป็นหลัก ภายหลังเจ้าของร้านตัดผม ผันมารับเลี้ยงเด็กแทน ปัจจุบันมีเด็กรับเลี้ยง ประจ�ำ 1 คน บางวันอาจมีเพิ่ม 2–3 คน” ลูกจ้างคนเดิม เผย ขณะที่ ย ่ า นลาดกระบั ง ซึ่ ง มี โ รงงานตั้ ง

อยู่เป็นจ�ำนวนมาก เจ้าของบ้านรับเลี้ยงเด็ก รายหนึ่ง เผยว่า ปัจจุบันเลี้ยงเด็ก 3 คน เป็น หลานทั้งหมด แบ่งเป็นเด็กโตเข้าโรงเรียน แล้ว 2 คน หลังเลิกเรียนก็จะมารอผู้ปกครอง ที่นี่ และวันหยุดก็จะมาอยู่ด้วยทั้งวัน ส่วน อีกคนเป็นเด็กอ่อนที่เลี้ยงประจ�ำ เพราะแม่ ท�ำงานอยู่ต่างจังหวัด ค่าเลี้ยงดูจะตกคนละ 2,000-3,000 บาท แต่จะรับเลี้ยงเฉพาะคน รู้จักเท่านั้น นางณั ฐ ธิ ว รรณ ไตรรั ต น์ หั ว หน้ า ฝ่ า ย ปฏิบัติการทรัพยากรมนุษย์ องค์การกระจาย เสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) กล่ า วว่ า ฝ่ า ยสวั ส ดิ ก ารจั ด งบ ประมาณประจ�ำปีส�ำหรับห้องเลี้ยงเด็กโดย เฉพาะ ท�ำให้การใช้หอ้ งเลีย้ งเด็กไม่มคี า่ ใช้จา่ ย นอกจากค่าอาหารเด็กวันละ 50 บาทเท่านั้น “ปัจจุบันมีเด็กเข้าใช้บริการกว่า 80 คน พนักงานพอใจมาก ไม่เคยมีการร้องเรียน ส่วน ค่าใช้จ่ายภายในห้องเลี้ยงเด็กองค์กรต้องจ่าย ต่อปีไม่เกิน 400,000 บาท แต่กท็ ำ� ให้พนักงาน ท�ำงานอย่างมีความสุข ไม่ห่วงความปลอดภัย ของบุตรหลาน” นางณัฐธิวรรณ กล่าว นางศิ ริ ว รรณ เที ย นทองไทย ผู ้ จั ด การ ฝ่ายบริหารและบริการทั่วไป บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จ�ำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทเห็น ความส�ำคัญของพนักงานที่มีครอบครัว ไม่ ต้องการให้เกิความกังวลเวลาท�ำงาน จึงจัด ตั้งศูนย์พัฒนาการเลี้ยงเด็กขึ้นมา พนักงานที่ ต้องการฝากเลี้ยงเสียค่าใช้จ่ายวันละ 50 บาท

19

ซึ่งห้องดังกล่าวเปิดมานานกว่า 30 ปี ผลตอบ รับของพนักงานอยู่ในระดับดีมาก ขณะทีฝ่ า่ ยทรัพยากรมนุษย์บริษทั แสนสิริ จ�ำกัด (มหาชน) ให้ขอ้ มูลว่า มีเพียงห้องส�ำหรับ แม่ปม๊ั น�ำ้ นมให้บตุ ร ผูป้ กครองสามารถน�ำบุตร ไปเล่นในห้องได้ หากเป็นเด็กเล็กต้องมีคนดูแล เพราะไม่มพี เี่ ลีย้ งเด็ก และยังไม่มนี โยบายห้อง เลี้ยงเด็กในที่ท�ำงาน เพราะมีรายละเอียดการ จัดตั้งเยอะ แต่ในอนาคตอาจมีการน�ำเสนอ นโยบายเรื่องนี้ได้ นางสาวพุทธินันท์ สุขพรวรกุล ฝ่ายข้อมูล และเผยแพร่ มูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า สถาน ประกอบการรวมถึ ง รั ฐ ให้ ค วามส� ำ คั ญ เรื่ อ ง ห้องเลีย้ งเด็กในทีท่ ำ� งานน้อยมาก หลายสถาน ประกอบการมักพูดถึงเรือ่ งความสุขในทีท่ ำ� งาน แต่กลับไม่พูดถึงสวัสดิการห้องเลี้ยงเด็กในที่ ท�ำงาน เช่นเดียวกับหน่วยงานรัฐที่มีสถาน เลี้ยงเด็กในที่ท�ำงานเพียง 6 แห่ง สะท้อนว่า หน่วยงานหลักเองก็ไม่ได้ให้ความส�ำคัญต่อ เรื่องนี้เท่าที่ควร นางสาวจงจิตต์ ฤทธิรงค์ อาจารย์ประจ�ำ สถาบันวิจยั ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัย มหิดล กล่าวว่า การสร้างสถานที่เลี้ยงเด็กในที่ ท�ำงานมี 3 รูปแบบ แบบแรกสร้างในที่ท�ำงาน มีค่าใช้จ่ายสูง แบบที่ 2 ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า แบบแรก คือ บริษัทสนับสนุนค่าใช้จ่ายสถาน เลี้ยงเด็กที่ใกล้บริษัท แบบสุดท้าย คือ บริษัท หลายแห่งร่วมกันลงทุนเปิดเป็นศูนย์เลี้ยงเด็ก เพื่อพนักงาน “รัฐควรสร้างเงื่อนไขให้เกิดการตั้งศูนย์ ในรูปแบบเหล่านี้ให้เหมาะสมกับธุรกิจต่าง ๆ แม้สถานเลี้ยงเด็กในที่ท�ำงานจะไม่ได้มีผล โดยตรง แต่ถือเป็นปัจจัยส�ำคัญที่มีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจมีบุตรของพ่อแม่ยุคใหม่ โดย นโยบายดังกล่าวจะช่วยตอบสนองนโยบายรัฐ ทีต่ อ้ งการเพิม่ อัตราเจริญพันธุร์ วมของประเทศ ทีป่ จั จุบนั ผูห้ ญิงมีบตุ รน้อยลงให้มบี ตุ รเพิม่ ขึน้ ” นางสาวจงจิตต์ กล่าว นายสมบูรณ์ ตรัยศิลานันท์ รองอธิบดี กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวง แรงงาน ชี้แจงว่า เหตุที่ท�ำให้ศูนย์เลี้ยงเด็กใน สถานประกอบมีน้อย มีสาเหตุหลักคือ ต้นทุน สู ง และเป็ น การลงทุ น ในระยะยาว ท� ำ ให้ นายจ้างถอดใจ การจัดตั้งห้องเลี้ยงเด็กยัง ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของ พม. หากสถาน ประกอบกิจการใดมีพี่เลี้ยงต้องมีใบรับรอง จาก พม. และสภาพแวดล้อมของโรงงานบาง ประเภทที่ไม่อ�ำนวยต่อการจัดตั้งศูนย์ฯ “รัฐพยายามออกมาตรการทางภาษี และ ส่งเสริมให้ชุมชนโดยรอบของสถานประกอบ การตัง้ ศูนย์เลีย้ งเด็กขึน้ มา ซึง่ ปัจจุบนั ศูนย์เลีย้ ง เด็กในชุมชนมี 63 แห่ง ยอมรับว่ายังไม่สามารถ ผลักดันให้เป็นนโยบายสวัสดิการขัน้ พืน้ ฐานได้ ท�ำได้เพียงส่งเสริมเท่านั้น เนื่องจากโรงงาน บางประเภทไม่สามารถจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กใน ที่ท�ำงานได้” นายสมบูรณ์ กล่าว รัตติยา นาเมืองรักษ์

1/19/19 1:16 AM


20 |

ลูกศิลป์

วิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ

ซ้าย-เคท คฑาวุธ ครัง ้ พิบูลย์ หนึง ่ ผู้ร่วมก่อตัง ้ มูลนิธิเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน และอาจารย์ประจ�ำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขวา-การแต่งกายของครูสาวข้ามเพศ

บังคับใส่กางเกง-วิกผม ครูไทยยังต้องแต่งกายตามเพศก�ำเนิด

ครูทม ี่ ค ี วามหลากหลายทางเพศยังจ�ำต้องแต่งกายตามเพศก�ำเนิด ถูกบังคับใส่กางเกง-วิกผม ผอ.โรงเรียนดังปัดให้คำ� ตอบ นักวิชาการ แนะควรสร้างระเบียบกลางเพื่อเป็ นแนวปฏิบัติเท่าเทียม รัฐอ้างยังต้องแต่งกายตาม กม.เครือ ่ งแบบฯ

“ตั้ ง แต่ เ ข้ า มาสอนในโรงเรี ย นก็ โ ดน รองผู้อ�ำนวยการเรียกไปด่าสารพัด บังคับให้ ใช้ค�ำลงท้ายว่า ครับ และใช้ค�ำแทนตัวเอง ว่า กระผม หรือ ผม โดยอ้างว่า ผู้ปกครอง รั บ ไม่ ไ ด้ ที่ จ ะให้ ค รู ที่ เ ป็ น กะเทยมาสอนลู ก ตัวเอง จึงไม่กล้าใส่กระโปรงมาสอน” ตลอด 6 ปี ที่ผ่านมา ครูที่มีความหลาก หลายทางเพศของโรงเรียนชื่อดังในกรุงเทพฯ คนนี้ แม้จะผ่าตัดแปลงเพศแล้วก็ตาม แต่ไม่ สามารถแสดงอัตลักษณ์ของตัวเองได้ ต้องทน ใส่วิกผมชายเพื่ออ�ำพรางตัวตน เพราะกลัวถูก ต่อว่าจากผู้ใหญ่ในโรงเรียน แม้ รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย พ.ศ. 2560 มี บ ทบั ญ ญั ติ ห ้ า มเลื อ กปฏิ บั ติ ด้ ว ยเหตุ แ ห่ ง ความแตกต่ า งทาง เชื้ อ ชาติ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และเพศ ขณะ เดียวกัน รัฐบาลไทยยังได้ลงนามในหลักการ ยอกยาการ์ ต ้ า ว่ า ด้ ว ยการใช้ ก ฎหมาย สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549 โดยมีหลักส�ำคัญว่า มนุษย์ทุกคนสมควรได้ รั บ ความคุ ้ ม ครองสิ ท ธิ ภ ายใต้ ก ฎหมายโดย ปราศจากการเลือกปฏิบัติ โดยกฎหมายต้อง บัญญัติห้ามการเลือกปฏิบัติและรับประกัน ความคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติดังกล่าว อย่างได้ผลและเสมอภาคต่อมนุษย์ทุกคน แต่ จากการส�ำรวจของหนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ พบ ว่า บางโรงเรียนยังบังคับให้ครูต้องแต่งกายให้ ตรงตามเพศก�ำเนิดเท่านั้น

��������17janfinal.indd 20

ครูโรงเรียนรัฐชือ่ ดังอีกคนหนึง่ ในกรุงเทพฯ เปิดเผยว่า โรงเรียนไม่มนี โยบายให้ครูทมี่ คี วาม หลากหลายทางเพศแต่งกายตามต้องการ ตน จึงดัดแปลงชุดให้มีความคล้ายคลึงกับชุดของ ผู้หญิง และพยายามสร้างผลงานเพื่อให้ผู้ใหญ่ ในโรงเรียนยอมรับ จะได้ไม่มีใครต่อว่าเรื่อง การแต่งกาย ผู ้ สื่ อ ข่ า วลงพื้ น ที่ ข อสั ม ภาษณ์ นางนภา ภรณ์ พั น ธ์ ค รุ ธ รองผู ้ อ� ำ นวยการโรงเรี ย น หอวัง เพื่อสอบถามกฎระเบียบการแต่งกาย ข้าราชการของครูทมี่ คี วามหลากหลายทางเพศ ในโรงเรียน แต่นางนภาภรณ์ ปฎิเสธให้คำ� ตอบ ระบุว่า ไม่สะดวกใจที่จะให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ เช่ น เดี ย วกั บ นายสุ พ จน์ หล้ า ธรรม ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ ปฏิเสธที่จะ ให้สัมภาษณ์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ของ โรงเรียนได้แจ้งกับผูส้ อื่ ข่าวว่า ผูอ้ ำ� นวยการจะ ว่างให้สัมภาษณ์ในช่วงเช้าวันที่ 18 ธันวาคม แต่เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม เจ้าหน้าที่หน้าห้อง อี ก คนหนึ่ ง โทรศั พ ท์ ติ ด ต่ อ กลั บ มา อ้ า งว่ า ผู ้ อ� ำ นวยการไม่ ส ะดวกให้ ค� ำ ตอบ โดยเจ้ า หน้าที่คนดังกล่าว ระบุว่า “โรงเรียนไม่ได้ ก�ำหนดให้ครูขา้ มเพศแต่งกายแบบไหน แต่คดิ ว่าครูข้ามเพศในโรงเรียนอื่น คงไม่มีใครแต่ง กายเป็นผู้หญิงมาสอนนักเรียน” นางกิตติพร บุญอ�่ำ นักวิชาการ ส�ำนักงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า กสม. ได้มีหนังสือให้มหาวิทยาลัย

ต่ า ง ๆ พิ จ ารณาปรั บ ปรุ ง กฎ ระเบี ย บ ข้อบังคับเกี่ยวกับการแต่งกายของนักศึกษาที่ มีวิถีทางเพศไม่ตรงกับเพศก�ำเนิด ให้สามารถ ท�ำได้ทั้งการเข้าเรียน เข้าสอบ การเข้าร่วมพิธี พระราชทานปริญญาบัตร แต่ปัจจุบัน กสม. ยังไม่มีหนังสือให้โรงเรียนต่าง ๆ เปิดให้ครูที่มี ความหลากหลายทางเพศแต่งกายตามวิถีทาง เพศของตนเองได้ “ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ กสม. ยัง ไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากครูโดยตรงจึงไม่ สามารถด�ำเนินการได้ ซึ่งในอนาคตอาจจะ พิจารณาการแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว” นัก วิชาการ กสม. กล่าว ด้าน นายชวินโรจน์ ธีรพัชรพร ทนายความ และนักวิจยั ประเด็นสิทธิความหลากหลายทาง เพศ กล่าวว่า หากผู้บังคับบัญชาไม่อนุญาต ให้ครูแต่งกายตามเพศวิถีได้ ครูอาจต้องร้อง เรียนต่อคณะกรรมการวินจิ ฉัยการเลือกปฏิบตั ิ โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) ตาม พระราชบั ญ ญั ติ (พ.ร.บ.) ความเท่ า เที ย ม ระหว่างเพศ เพื่อให้เกิดการวินิจฉัยต่อไป นายคทาวุ ธ ครั้ ง พิ บู ล ย์ หรื อ ‘เคธ’ อาจารย์ประจ�ำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กฎระเบียบ การแต่ ง กายของครู ที่ มี ค วามหลากหลาย ทางเพศในโรงเรี ย น เป็ น ปั ญ หาค้ า งคามา ยาวนาน องค์กรยังขาดความเข้าใจในเรือ่ งของ ความหลากหลายทางเพศมาก โรงเรียนบาง

แห่งตัดสินคุณค่าของบุคลากรด้วยเพศสรีระ มากกว่ า การมองเห็ น ถึ ง ความสามารถและ ความตัง้ ใจ บางโรงเรียนยังไม่เปิดรับความแตก ต่างทางเพศเท่าทีค่ วร เมือ่ เกิดการร้องเรียนขึน้ ผู้ที่มีอ�ำนาจแต่ละแห่งจะพิจารณาเหตุผลตาม ดุลพินิจเป็นกรณีไป ดังนั้นจึงไม่ใช่ครูทุกคนที่ สามารถแต่งกายตามเพศวิถีของตนได้ “ทุกโรงเรียนยังไม่มกี ฎข้อบังคับส่วนกลาง ที่ใช้หรือตกลงร่วมกัน รัฐจึงควรเร่งสร้างกฎ ระเบียบดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม” นายคทาวุธ กล่าว นายธนู ขวั ญ เดช ผู ้ อ� ำ นวยการส� ำ นั ก นิ ติ ก าร ส� ำ นั ก ปลั ด กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ชี้แจงว่า ตาม พ.ร.บ. เครื่องแบบข้าราชการ ฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2478 บัญญัติระเบียบ การแต่งกายของข้าราชการพลเรือนไว้เฉพาะ ข้าราชการเพศชายและเพศหญิงเท่านั้น ไม่ได้ ระบุการแต่งกายของข้าราชการทีม่ คี วามหลาก หลายทางเพศ ดังนั้นการแต่งกายก็ขึ้นอยู่กับผู้ อ�ำนวยการแต่ละโรงเรียน “รัฐไม่ได้กดี กันให้ครูตอ้ งแต่งกายตามเพศ ก�ำเนิด ในอนาคตอาจมีการแก้ไขกฎหมาย ให้ครูสามารถแต่งกายตามเพศวิถีได้ เพราะ ประเทศไทยเริ่มยอมรับความหลากหลายทาง เพศมากขึ้น แต่ตอนนี้การแต่งกายของครูก็ ต้ อ งเป็ น ไปตามระเบี ย บที่ ก� ำ หนดไว้ ก ่ อ น” นายธนู กล่าว ณัฐศักดิ์ อุทรักษ์

1/19/19 1:16 AM


สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 |

21

จ้างสาวสวยอุ้มบุญครึ่งล้าน-แบ่งจ่าย6งวด ธุ ร กิ จ จั ด หาคนตั้ ง ครรภ์ แ ทนเกลื่ อ นเฟซบุ๊ ก

หนึง ่ ในเพจรับแม่อุ้มบุญ บนเฟซบุ๊ก

พบเพจเฟซบุ๊กจัดหาหญิงหน้าตาดีตง ั้ ครรภ์แทนแลกค่าตอบแทนครึง ่ ล้าน แบ่งจ่าย 6 งวด ส่อผิด พ.ร.บ. คุ้มครองเด็กทีเ่ กิดโดยอาศัยเทคโนโลยีฯ ‘ห้ามเป็ นธุระจัดหา-คนนอกครอบครัวตัง ้ ครรภ์แทน’ ต�ำรวจรับเอาผิดผูจ ้ า้ งและผูร ้ บ ั จ้างได้ยาก นักวิชาการชีห ้ บุญไร้การคุม ้ ครองทัง ้ ญิงรับอุม ้ ร่างกายและ จิตใจ ด้าน สธ. เตรียมตรวจสอบ

หนังสือพิมพ์ลกู ศิลป์ตรวจสอบสถานการณ์ รั บ จ้ า งอุ ้ ม บุ ญ ในสื่ อ สั ง คมออนไลน์ สื บ ค้ น จากค�ำว่า ‘อุ้มบุญ’ พบว่า ในเฟซบุ๊กมีเพจ เปิดสาธารณะทั้งหมด 4 เพจ มีพฤติการณ์ 3 ลักษณะคือ ประกาศหาคนอุ้มบุญเป็นราย บุคคล เป็นนายหน้าจัดหาคนอุ้มบุญ และรับ ซื้อไข่ของสตรี เมื่ อ เข้ า ไปติ ด ตามในเพจที่ ชื่ อ ‘อุ ้ ม บุ ญ บริจาคไข่’ พบว่า มีความเคลื่อนไหวแทบ ทุกวัน มีการประกาศหาแม่อุ้มบุญ และรับ ซื้อไข่ของผู้หญิง ระบุว่า ต้องการแม่อุ้มบุญ อายุ 20-35 ปี ส่วนสูง 150 เซนติเมตร ขึ้นไป น�้ำหนักไม่เกิน 70 กิโลกรัม พักบ้านพักที่ นายหน้าจัดหาให้ และคลอดในประเทศไทย หรื อ ต่ า งประเทศ เช่ น ประเทศลาว หรื อ กัมพูชา และรับซือ้ ไข่ของผูห้ ญิงรูปร่างสมส่วน กับส่วนสูง หน้าตาน่ารักไปจนถึงสวย เป็นต้น มีคา่ ตอบแทนแต่ละครัง้ ไม่ตำ�่ กว่า 400,000 บาท ส่วนวิธีการจ่ายเงิน ระบุว่า จะแบ่งจ่าย เป็น 6 งวด คือ งวดแรกใส่ตัวอ่อนจ่ายเงิน 5,000 บาท งวดถัดมาตรวจฮอร์โมน หาก ตั้งครรภ์จ่ายเงิน 5,000 บาท งวดที่ 3 สัปดาห์ ที่ 8 ตรวจหาคลืน่ หัวใจเด็ก หากเจอชีพจรจ่าย เงิน 15,000 บาท งวดที่ 4 ระหว่างรอคลอด ตลอด 6 เดือน จ่ายเงินเดือนละ 15,000 บาท รวมเป็น 90,000 บาท งวดที่ 5 รอคลอดช่วง เดือนที่ 8 จ่ายเงิน 20,000 บาท และงวด สุดท้าย คลอดเสร็จรับเงินส่วนที่เหลือและได้ รับส่วนต่างพิเศษจากลูกค้าแล้วแต่ราย หญิงสาวรายหนึ่งเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ ลู ก ศิ ล ป์ ว ่ า เคยรั บ จ้ า งอุ ้ ม บุ ญ กั บ เพจนี้ เมื่ อ 2 ปี ที่ แ ล้ ว โดยติ ด ต่ อ ผ่ า นทางกล่ อ ง

��������17janfinal.indd 21

ข้อความของเพจ เมื่อตกลงกันเรียบร้อย นาย หน้ า จึ ง นั ด ตนไปตรวจร่ า งกาย จากนั้ น 2 สัปดาห์ถัดไปก็ให้ตนไปใส่ตัวอ่อนที่คลินิก ใน ช่วงนี้นายหน้ายังให้ตนกินยากระตุ้นการตก ไข่ อย่างไรก็ดี ตรวจพบว่า ไม่ตั้งครรภ์ จึงได้ เงินแค่งวดแรกเพียงงวดเดียว ผู้สื่อข่าวสืบค้น พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วย การเจริ ญ พั น ธุ ์ ท างการแพทย์ พ.ศ. 2558 (กฎหมายอุ้มบุญ) มาตรา 21 และ 22 บัญญัติว่า การอุ ้ ม บุ ญ ต้ อ งเป็ น ญาติ ใ นครอบครั ว ของ ฝ่ายสามีหรือภรรยาเท่านั้น เว้นแต่ไม่มีญาติก็ สามารถใช้ผู้หญิงคนอื่นอุ้มบุญแทนได้ แต่ต้อง เป็นสตรีที่เคยมีบุตรมาก่อน และใช้อสุจิของ สามีกับไข่ของภรรยาเท่านั้น นอกจากนี้ มาตรา 24 ของ พ.ร.บ. ยังห้าม มิให้อุ้มบุญเพื่อประโยชน์ทางการค้า ฝ่าฝืน มีโทษตามมาตรา 48 คือ จ�ำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท ส่วน มาตรา 27 และ 28 ยังห้ามเป็นคนกลาง นายหน้า ยอมรับทรัพย์สนิ หรือประโยชน์อนื่ เพือ่ เป็นการ ตอบแทนให้มีการตั้งครรภ์ และห้ามโฆษณา ให้แพร่หลาย ฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 49 คือ จ�ำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ พ.ต.อ. เดชา พรมสุวรรณ์ ผู้ก�ำกับการ สถานีตำ� รวจนครบาลท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ ผู้เคยรับผิดชอบคดีอุ้มบุญชิเกตะ ซึ่งเป็นกรณี คนญี่ปุ่นจ้างแม่อุ้มบุญในประเทศไทยพร้อม กัน 13 คน เมื่อปี 2557 ยอมรับว่า ตามจับ เพจที่จัดหาผู้หญิงมาอุ้มบุญยาก เพราะไม่ สามารถระบุตวั ตนผูจ้ า้ งและผูร้ บั จ้างได้ชดั เจน

การด� ำ เนิ น คดี จ ะเกิ ด ขึ้ น ได้ ต ่ อ เมื่ อ เกิ ด การ ฟ้องร้องกันขึ้น “เมื่อฟ้องร้องกันแล้วยังมีช่องโหว่อีกคือ เมื่ อ ฉี ด ตั ว อ่ อ นเข้ า ไปแล้ ว ไข่ของผู้บ ริจาค ก็ จ ะรวมเข้ า กั บ ไข่ ข องแม่ อุ ้ ม บุ ญ จึ ง ไม่ สามารถสืบหาได้ว่า ผู้ว่าจ้างตัวจริงคือใคร” พ.ต.อ. เดชา กล่าว ด้าน นางนัยนา สุภาพึ่ง ที่ปรึกษามูลนิธิ เพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ กล่าว ว่า เนื้อหาในกฎหมายสะท้อนมุมมองของรัฐ ว่า การอุ้มบุญเป็นเรื่องศีลธรรม จริยธรรม จึงไม่ควรมีค่าตอบแทนเพราะชีวิตมนุษย์มี คุณค่ามากกว่านั้น แต่เมื่อการอุ้มบุญแบบถูก กฎหมายต้องตรวจประเมินความพร้อมด้าน ร่างกาย จิตใจ สภาพแวดล้อมของผู้หญิงที่ รับอุ้มบุญ และผู้บริจาคอสุจิ หรือไข่ที่จะน�ำ มาด�ำเนินการใช้เวลานาน จึงท�ำให้เกิดอาชีพ นายหน้ า เข้ า มามี บทบาทจนกลายเป็นการ อุม้ บุญเถือ่ น ผูห้ ญิงทีร่ บั อุม้ บุญเถือ่ นก็จะไร้การ คุ้มครองทั้งด้านสุขภาพและกฎหมาย “พ.ร.บ. คุ ้ ม ครองเด็ ก ที่ เ กิ ด โดยอาศั ย เทคโนโลยีฯ จึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ส่งผลเสียต่อผูห้ ญิงทีร่ บั อุม้ บุญ เคยมีกรณีหญิง ไทยรับอุ้มบุญให้กับชาวออสเตรเลียแล้วเด็ก เกิดมาพิการทางสมอง คูส่ ามีภรรยาจึงไม่ขอรับ เด็กคนนั้นเป็นบุตร ตกเป็นภาระของหญิง ผู้นั้นแทน แต่ถ้าเปิดอุ้มบุญแบบเสรีที่สามารถ ตรวจสอบขั้นตอนต่าง ๆ ในการอุ้มบุญได้ จะ ท�ำให้สร้างความเท่าเทียมให้กับผู้หญิงได้ จึง ควรมีกฎหมาย หรือสวัสดิการที่ชัดเจนรับรอง หญิงที่รับอุ้มบุญ” นางนัยนา กล่าว นพ.ก�ำธร พฤษานานนท์ รองศาสตราจารย์

ประจ� ำ คณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย อดีตคณะอนุกรรมการเวชศาสตร์ การเจริญพันธุ์ ยกร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองเด็กที่ เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 กล่าวว่า การอุ้ม บุญมีความละเอียดอ่อนในแง่ความเชื่อและ ในแง่สังคมค่อนข้างมาก เพราะการไปว่าจ้าง ใครก็ตามเพื่อให้มีการตั้งครรภ์แล้วมอบเด็ก ให้อาจจะเสี่ยงกับภาวะที่เกี่ยวข้องกับการค้า มนุษย์ ซึ่งในหลายประเทศเป็นห่วงประเด็นนี้ “ผมไม่ได้กล่าวว่า การท�ำอุ้มบุญคือค้า มนุษย์ แต่ก็มีความเสี่ยงตรงนี้ค่อนข้างมาก ยิ่งท�ำเป็นธุรกิจเปิดเพจ เป้าหมายของนาย หน้าคือหาก�ำไร หมายความว่า เขาคงคิดว่า ท�ำอย่างไรจึงจะมีกำ� ไรสูงสุด” นพ.ก�ำธร กล่าว นพ.ก�ำธร กล่าวอีกว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็น ไปตามกฎหมายอุม้ บุญของต่างประเทศทีไ่ ด้รบั การรองรับ เป็นกฎหมายทีท่ นั สมัยและเป็นต้น แบบให้กบั ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ท�ำตาม ซึ่งตนเห็นด้วยกับกฎหมายและคิด ว่าครอบคลุมดีแล้ว ถือว่าใช้ได้ในระดับหนึ่ง เพียงแต่กฎหมายไทย เมื่อออกบังคับใช้จริง ๆ แล้วมีการอะลุ่มอล่วยในการด�ำเนินกฎหมาย ค่อนข้างมาก ไม่เด็ดขาดอย่างต่างประเทศ นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรม สนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า การรับจ้างอุ้มบุญในเพจเฟซบุ๊กเป็น ปัญหาที่เจอตั้งแต่ก่อนออกกฎหมายอุ้มบุญ เมื่อปี 2558 เมื่อกรมฯ ตรวจสอบก็พบว่า เป็นเพียงแค่เพจเก่าหรือรูปโฆษณาเมื่อหลาย ปีก่อนเท่านั้น อย่างไรก็ดี กรมฯ จะไปตรวจ สอบเพจดังกล่าวที่มีการกล่าวอ้าง “ยั ง มี ก ารพิ จ ารณากฎหมายอุ ้ ม บุ ญ อยู ่ ตลอดเดือนละ 1 ครั้ง ไม่มีกฎหมายไหนที่จะ สมบูรณ์ เมื่อออกกฎหมายมาแล้วมีประเด็น และปัญหาก็ต้องคอยมาปรับอยู่เรื่อย ๆ ให้ เข้ากับยุคสมัย เพื่อให้คลอบคลุมมากขึ้นใน อนาคต ล่าสุดก�ำลังพิจารณาเรื่องการก�ำหนด อายุของแม่อุ้มบุญว่า อายุเท่าไหร่ที่สามารถ ท�ำได้” นพ.ธงชัย กล่าว ฬิกา อธึกธนากร

สแกนเพื่อดู โมชันกราฟิก

1/19/19 1:16 AM


22 |

สิทธิการศึกษา

ลูกศิลป์

ความยากจนยังเป็นเหตุ

รอบ 24 ปี เด็กไทยนับแสนคนต่อรุ่นไม่จบมัธยม

“ครอบครัวรับซือ้ ข้าว และเย็บผ้า ตอนนัน้ เศรษฐกิจไม่ดีท�ำให้หาเงินไม่พอจ่ายค่าเทอม ผมและน้องชาย แม้รฐั จะมีนโยบายเรียนฟรีแต่ ก็ต้องเสียค่าเทอมเพิ่มกว่า 3,000 บาท ผมไม่ อยากเป็นภาระจึงตัดสินใจลาออกและให้น้อง เรียนแทน ปัจจุบันผมท�ำงานอย่างเดียวไม่ได้ กลับไปเรียนต่อให้จบ” เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ชัชชัย แก้ววรรณา ในวัย 15 ปี ต้องออกจากโรงเรียนก่อนจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพราะปัญหาด้านเศรษฐกิจจนไม่สามารถเรียน จบการศึกษาภาคบังคับได้ รอบ 20 ปีที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 43 รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 49 และ ฉบับล่าสุด 2560 มาตรา 54 บัญญัตวิ า่ รัฐต้อง ด�ำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็น เวลา 12 ปี ตัง้ แต่กอ่ นวัยเรียนจนจบการศึกษา ภาคบังคับอย่างมีคณ ุ ภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จา่ ย หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ส�ำรวจสถิติการคงอยู่ ของเด็กในระบบการศึกษารอบ 24 ปีที่ผ่าน มา ตั้งแต่ปี 2535-2559 จากรายงานสถิติการ ศึกษาประจ�ำปี ส�ำนักงานกระทรวงศึกษาธิการ แม้จะพบว่า เด็กไทยมีอตั ราการจบมัธยมศึกษา ปีที่ 3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.94 เป็น 86.82 และอัตราการจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 42.78 เป็น 69.40 แต่ จ ากสถิ ติ จ ะเห็ น ว่ า มี เ ด็ ก ไทยราว ร้อยละ 14 และร้อยละ 30 ที่หลุดออกนอก ระบบการศึกษาตัง้ แต่มธั ยมศึกษาปีที่ 3 และ 6

��������17janfinal.indd 22

ตามล�ำดับ (ดูรายละเอียดในอินโฟกราฟิก) รายงานผลส� ำรวจสถานการณ์ เด็ กนอก ระบบการศึกษาปี 2561 ของโครงการสร้าง เสริมทักษะชีวติ แก่เด็ก และเยาวชนนอกระบบ การศึกษา กองทุนเพือ่ ความเสมอภาคทางการ ศึกษา (กสศ.) เผยว่า มีเด็กและเยาวชน อายุ 12-21 ปี จ�ำนวน 1,726,318 คน คิดเป็น ร้อยละ 27.52 ของเด็กและเยาวชนทัง้ หมด ยัง อยู่นอกระบบการศึกษา ผลส�ำรวจดังกล่าวยังระบุวา่ สาเหตุทที่ ำ� ให้เด็ก ในวัยดังกล่าวต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา คือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และปัญหาด้านพฤติกรรม วิเชียร นิกรประเสริฐ ผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียน บ้านวังหิน (มั่นภักดีอุปถัมภ์) จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า เด็กในจังหวัดต้องหลุดออกจากระบบ การศึกษาเพราะปัญหาครอบครัว การหย่าร้าง พ่อแม่ทำ� งานห่างไกล รวมไปถึงทางบ้านมีฐานะ ยากจนเพราะมีลูกมาก “แต่โรงเรียนก็มีครูคอยให้ค�ำปรึกษาด้าน การศึกษา การประกอบอาชีพ และด้านการ ดูแลตนเองให้ปลอดภัย รวมถึงยังมีระบบช่วย เหลือ ดูแลติดตามนักเรียน และให้ทุนการ ศึกษา เป็นมาตรการที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา เพื่ อ ให้ เ ด็ ก เหล่ า นั้ น ได้ ก ลั บ เข้ า สู ่ ร ะบบการ ศึกษาอีกครั้ง” วิเชียร กล่าว เดชรั ต สุ ข ก� ำ เนิ ด หั ว หน้ า ภาควิ ช า เศรษฐศาสตร์ เ กษตรและทรั พ ยากร คณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิ เ คราะห์ ว ่ า ปั ญ หาอั น ดั บ แรกส่ ว นใหญ่ คื อ ความยากจน อั น ดั บ ที่ 2 อาจเกิ ด จาก ปัญหาสังคม เช่น เขาอาจไม่มีใครดูแลที่บ้าน พ่อแม่แยกทางกัน พ่อแม่ป่วยไม่มีคนดูแล ถัด มาเป็นเหตุในลักษณะเชิงพฤติกรรมของเด็กที่ ไม่สอดคล้องกับกฎระเบียบของโรงเรียน ซึง่ เป็น ผลต่อเนื่องจากการที่ไม่เห็นอนาคตของตนเอง “ผมเก็ บ สถิ ติ จ ากรายงานการวิ เ คราะห์ สถานการณ์ความยากจน และความเหลื่อมล�้ำ ในประเทศไทย ของส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ตั ว เลขเด็ ก กลุ ่ ม ที่ มี ฐ านะยากจน 100 คน สามารถเข้าไปถึงมัธยมศึกษาตอนปลายได้ ประมาณร้อยละ 38.8 แต่ในขณะเดียวกัน กลุ่มที่มีฐานะดี 100 คน สามารถเข้าไปถึง มัธยมศึกษาตอนปลายได้ประมาณร้อยละ 70 เห็นได้ว่า การหลุดออกไปของเด็กจะอยู่ใน ช่วงมัธยมศึกษา ซึ่งถือว่ายังเป็นเรื่องใหญ่ของ สังคม” เดชรัต กล่าว นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ผู้น้ียังเห็นว่า รัฐควรหาทางให้เด็กกลับเข้าสูร่ ะบบการศึกษา แต่ ไ ม่ ใ ช่ ท างการศึ ก ษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) แต่ต้องให้กลับเข้า มาได้ทกุ ทาง หมายความว่า เด็กควรได้กลับเข้า มาเรียนในโรงเรียนซึ่งต้องใช้กระแสสังคมเข้า มาช่วย เพื่อให้เขารู้สึกมั่นใจว่า สามารถที่จะ กลับมาเรียนในช่องทางต่าง ๆ นี้ได้ ด้าน กิตติ สุทธิจิตไพศาล ผู้เชี่ยวชาญ

ด้านประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ยอมรับว่า มีปัญหาความยากจนท�ำให้ เด็กหลุดออกนอกระบบจริง แต่เป็นปัจจัย ที่ควบคุมไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องความเหลื่อมล�้ำ ทางเศรษฐกิ จ ที่ มี ม านานในสั ง คมไทย แต่ พยายามแก้ ไ ขโดยใช้ ร ะบบติ ด ตามและให้ ความช่วยเหลือนักเรียน “สพฐ. ร่วมมือกับส�ำนักงาน กศน. ช่วยกัน ลงพื้นที่ตามหาเด็กที่หลุดออกจากระบบการ ศึกษา แต่เด็กจะกลับมาเรียนในโรงเรียนต่อ หรือไม่ขนึ้ อยูก่ บั ความสมัครใจและความพร้อม ของแต่ละคน” นายกิตติ กล่าว ขณะที่ สุริยันต์ มีจันทร์ ครูปฏิบัติการ ศูนย์ กศน. กลุม่ เป้าหมายพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับมอบหมายจากศรีชัย พรประชาธรรม เลขาธิการ กศน. ให้ชี้แจงแทน กล่าวว่า กศน. ลงพื้นที่ส�ำรวจเด็กที่หลุดออกจากระบบการ ศึกษาร่วมกับครูต�ำบล และผู้น�ำชุมชน และ ชักชวนให้เด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอีก ครั้ง ตามยุทธศาสตร์ชื่อ กศน. ชวนน้องเรียน ทีเ่ ริม่ ด�ำเนินการปี 2560 ใน 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ เ ป็ น ที่ แ รก ประสบความส� ำ เร็ จ กว่ า ร้อยละ 80 ซึ่งในปีนี้ตั้งเป้าว่า ในแต่ละจังหวัด จะต้องมีเด็กกลับเข้าสู่ระบบเพิม่ อีกร้อยละ 10 จากฐานเดิม หากท�ำส�ำเร็จจะมีเด็กอีกประมาณ 60,000 คน กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา สาริศา แสงสุขศรี

1/19/19 1:16 AM


ข่าวเด่น

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562 |

มัธยมศึกษาตอนปลาย 3,800 บาท ต่อปี ขณะที่จ�ำนวนนักเรียนปีการศึกษา 2561 มี 6,945,488 คน แบ่งเป็นนักเรียนในระดับ มัธยมศึกษา 2,805,053 คน

ต่อจาก หน้า 1

หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์สุ่มส�ำรวจมาตรการ เก็บค่าบ�ำรุงการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 72 แห่งทัว่ ประเทศ พบพฤติการณ์ทวงค่าบ�ำรุงการศึกษา หรือ ค่าเทอมกว่า 10 รูปแบบ ได้แก่ ส่งจดหมาย โทรศัพท์ทวงถาม เขียนชื่อบนกระดาน ครู เรียกพบ แนะน�ำให้ท�ำหนังสือผ่อนผัน ให้ ผ่อนจ่าย ให้ทุนการศึกษา ให้กู้กองทุนกู้ยืม เพื่อการศึกษา (กยศ.) กดดันทางอ้อมโดย ให้คะแนนเพิ่มเป็นแรงจูงใจให้จ่ายเร็ว และ มาตรการขั้ น สุ ด ท้ า ย หากไม่ จ ่ า ย ไม่ อ อก เอกสารรับรองการจบการศึกษาหรือใบจบ จากแบบส�ำรวจออนไลน์ของหนังสือพิมพ์ ลูกศิลป์ ถามนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา 72 แห่ง ทั่วประเทศ แบ่งเป็น ภาคเหนือ คือ จ.เชียงใหม่ น่าน พะเยา ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ คือ จ.ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ภาคกลาง คือ จ.นครสวรรค์ อยุธยา อ่างทอง ภาคใต้ คือ จ.นครศรีธรรมราช ตรัง และ ระนอง รวมถึ ง พื้ น ที่ ก รุ ง เทพฯ และพื้ น ที่ ปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ นนทบุ รี และปทุ ม ธานี ระหว่ า งวั น ที่ 10 กั น ยายน ถึ ง 5 พฤศจิ ก ายน 2561 มี ผู ้ ต อบแบบสอบถาม 296 คน พบ ว่ า มี 2 โรงเรี ย นจาก 72 โรงเรี ย นที่ ไ ม่ มี การเรี ย กเก็ บ ค่ า เทอม โดยใช้ ชื่ อ ว่ า ค่าบ�ำรุงศึกษาหรือค่าระดมทรัพยากร

เล่นค�ำ‘ค่าระดมทรัพยากร’ไม่ใช่คา่ เทอม

นายพินิจ เพ็ชรดารา อดีตรองผู้อ�ำนวยการ โรงเรียนสตรีวิทยา กรุงเทพฯ กล่าวถึงประเด็น การเรียกเก็บค่าบ�ำรุงการศึกษาว่า โรงเรียน ไม่มีการเรียกเก็บค่าเทอม แต่ขอเก็บค่าระดม ทรัพยากรในค่าใช้จา่ ยเพิม่ เติม เช่น ค่าห้องเรียน ปรับอากาศ หรือค่าจ้างครูชาวต่างชาติ “ไม่มีการเก็บค่าเทอมเพราะเป็นนโยบาย เรียนฟรี และโรงเรียนไม่บังคับในเรื่องการ จ่ายค่าระดมทรัพยากร เพราะต้องเป็นไปด้วย ความสมัครใจของผูป้ กครองและนักเรียน หาก ผู ้ ป กครองไม่ ป ระสงค์ จ ะจ่ า ยค่ า ระดม ทรัพยากร สามารถขอยกเว้นไม่จ่ายได้ ซึ่ง แต่ ล ะเทอมมี ผู ้ ป กครองขอไม่ จ ่ า ค่ า ระดม ทรัพยากรประมาณ 10 คน ขณะที่โรงเรียนให้ ทุนการศึกษาส�ำหรับเด็กยากจน 50-60 ทุนต่อ ปี” นายพินิจกล่าว สพฐ.รับ‘เรียนฟรีไม่มีจริง’

นักเรียน-ผูป ้ กครองเผย‘ไม่จา่ ย-ไม่จบ’

“ตอนเรียน ม.6 เคยค้างค่าเทอมไว้ โรงเรียน จึงไม่ให้ใบเกรด จะไปเรียนต่อก็ไม่ได้ สุดท้าย ก็ต้องออกมาท�ำงานเป็นสตาฟอีเวนต์รายวัน กว่าจะหาเงินไปจ่ายได้ก็ผ่านไปแล้ว 4 ปี” นางสาวชนกสุดา เหมาะรัต อดีตนักเรียนโรงเรียน มัธยมศึกษาแห่งหนึ่งใน จ.สมุทรปราการ เล่า ประสบการณ์ตรงที่พบมากับตนเอง เช่นเดียวกับ นางสาวนฤพร วิศวะประทีบ ศิษย์ เก่าโรงเรียนมัธยมชื่อดังใน จ.สมุทรปราการ ยืนยันตรงกันว่า ถ้าใครไม่จ่ายเวลาเรียนจบ โรงเรี ย นจะไม่ อ อกใบจบให้ และบางห้ อ ง ถ้าใครจ่ายเร็ว จะได้คะแนนเพิ่มในวิชาที่ครู ประจ�ำชั้นสอน ด้าน นางอรชร วัจวาทิน ผู้ปกครองของ นั ก เรี ย นรายหนึ่ ง ยอมรั บ กั บ ผู ้ สื่ อ ข่ า วว่ า ต้องหาเงินกว่าปีละ 20,000 บาท มาจ่าย ค่าเทอมของลูก 2 คน หากไม่จ่ายลูกก็บอกว่า อายเพื่อน เพราะครูทวงเงินในห้องเรียน ผู ้ สื่ อ ข่ า วรายงานว่ า รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 54 บัญญัตใิ ห้เด็กทุกคนได้รบั การศึกษาภาคบังคับ โดยไม่เก็บค่าใช้จา่ ย ขณะที่ ประกาศกระทรวง ศึกษาธิการ เรื่อง การเก็บเงินบ�ำรุงการศึกษา ของสถานศึ ก ษา พ.ศ. 2554 เปิ ด ช่ อ งให้ สถานศึกษาในสังกัด สามารถเก็บเงินบ�ำรุง การศึกษาเพือ่ เป็นค่าใช้จา่ ยในการจัดการเรียน การสอนนอกหลักสูตรได้ เช่น โครงการพัฒนา ทักษะตามความถนัดของนักเรียนนอกเวลา

��������17janfinal.indd 23

23

เรียน ค่าจ้างครูชาวต่างประเทศ คาตอบแทน วิทยากรภายนอก คาเรียนปรับพื้นฐานความรู ภายใต้หลักเกณฑ์และความเห็นชอบจากคณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และความ สมัครใจของผู้ปกครองและนักเรียน ร.ร.อ้างงบฯไม่พอ-ต้องเก็บเพิ่ม

นางเพลินใจ พฤกษชาติรัตน์ ผู้อ�ำนวยการ โรงเรี ย นวั ด บวรนิ เ วศ กรุ ง เทพฯ กล่ า วว่ า เนือ่ งจากเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ท�ำให้ได้เงินเฉลีย่ รายหัวน้อย จึงต้องเรียกเก็บเงินค่าเทอมจาก ผูป้ กครอง ซึง่ โรงเรียนได้แจ้งกับผูป้ กครองแล้วว่า โรงเรียนมีภาระต้องใช้จ่าย ดังนั้นหากนักเรียน ค้างค่าเทอมนาน 3 ปี นักเรียนไม่สามารถมาขอ เอกสารรับรองการจบการศึกษาจากโรงเรียนได้ ขณะที่ นางสาวสาวิ ต รี แก้ ว ค� ำ รอด เจ้ า หน้ า ที่ ง านระดมทรั พ ยากร โรงเรี ย น ไทรน้อย จ.นนทบุรี เปิดเผยว่า โรงเรียนจะ ท�ำหนังสือแจ้งผู้ปกครองให้ทราบว่า ค่าบ�ำรุง การศึ ก ษากี่ บ าท และก� ำ หนดวั น ช� ำ ระเงิ น หากนักเรียนไม่มีเงินมาช�ำระค่าเทอมในวันที่ ก�ำหนด โรงเรียนจะมีมาตรการผ่อนผันให้ เช่น การผ่อนจ่าย และหากใกล้สนิ้ เทอม นักเรียนยัง ไม่ชำ� ระก็จะส่งจดหมายแจ้งให้ผปู้ กครองทราบ เช่นเดียวกับ นายนราพร หนูเผือก อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษาโรงเรี ย นวั ด ดุ สิ ต าราม กรุ ง เทพฯ กล่ า วว่ า หากใครไม่ พ ร้ อ มจ่ า ยให้ เ ขี ย นใบ

ผ่ อ นผั น หลั ง จากประชุ ม ผู ้ ป กครอง โดย สามารถก� ำ หนดวั น จ่ า ยได้ เ อง พร้ อ มกั บ จ� ำ นวนเงิ น ในการแบ่ ง จ่ า ยแต่ล ะงวด ซึ่งปี การศึกษาล่าสุดมีผู้ขอผ่อนผัน 100 กว่าคน นายรังสิมันต์ ยาละ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียน ไทรน้อย จ.นนทบุรี ชี้แจงว่า เหตุที่ต้องเรียก เก็บค่าบ�ำรุงการศึกษา เพราะงบประมาณที่ รัฐสนับสนุนให้ไม่เพียงพอ หากอยากได้รบั การ ศึกษาที่ดีขึ้น นักเรียนในฐานะเป็นผู้ใช้บริการ จึงต้องร่วมจ่าย แต่ทางโรงเรียนก็มีนโยบายใน การช่วยนักเรียนยากจน และค้างค่าเทอม ด้วย การให้ทุนการศึกษา ให้ผ่อนผัน และมีให้กู้ยืม กยศ. ในระดับมัธยมปลาย รัฐจัดสรรงบอุดหนุนเรียนฟรี 7%

ขณะเดียวกัน ส�ำนักข่าวไทยพับลิกา้ รายงาน ว่า ปี 2561 กระทรวงที่ได้รับการจัดสรรวงเงิน งบประมาณมากอั น ดั บ ที่ 1 คื อ กระทรวง ศึกษาธิการ 510,961.81 ล้านบาท คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 17.6 ของงบประมาณทั้งหมด หากเปรียบเทียบกับปีกอ่ นลดลง 3,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปี 2561 รั ฐ จั ด เงิ น สนั บ สนุ น การศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน 36,230 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.1 จาก งบประมาณทั้งหมดที่กระทรวงได้รับจัดสรร แบ่งเป็นเงินอุดหนุนรายหัวต่อปีการศึกษา ในระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น 3,500 บาท

นายกิ ต ติ สุ ท ธิ จิ ต ไพศาล ผู ้ เ ชี่ ย วชาญ ด้านประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับมอบหมายจากนายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ชี้แจงว่า จ�ำนวนเงินที่ โรงเรี ย นเรี ย กเก็ บ จากผู ้ ป กครองต้ อ งผ่ า น ความเห็นชอบจากผู้เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการ จัดกิจกรรมด้านการเรียนการสอนในแต่ละ ภาคเรียน อยากชี้แจงว่า ของฟรีไม่มีในโลก เรียนฟรีไม่มีจริง แต่นโยบายเรียนฟรีที่ออก มานั้น รัฐบาลจะจัดงบประมาณสนับสนุนเพื่อ แบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง หากมีการเรียก เก็บจะไม่เกิน 1,500 บาท ถ้ามากกว่านั้นต้อง เป็นความสมัครใจของผู้ปกครอง นายกิ ต ติ กล่ า วต่ อ ว่ า เรื่ อ งการไม่ ใ ห้ นักเรียนเข้าสอบ หรือไม่ออกใบจบให้หากค้าง ค่าบ�ำรุงการศึกษานั้น ตนไม่ทราบ เพราะหลัก การเมื่อเรียนจบก็ต้องได้ใบจบ ส่วนเงินก็เป็น อีกเรื่องหนึ่ง เพราะนักเรียนยากจนสามารถ ขอความช่วยเหลือจากโรงเรียนได้ เมือ่ นักเรียน เรียนจบ โรงเรียนไม่สามารถปฏิเสธไม่ออก ใบจบได้ แต่ถา้ เกิดขึน้ จริง ขอให้รอ้ งเรียนมายัง สพฐ. พร้อมให้การช่วยเหลือ ด้าน นายธีร์ ภวังคนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน การพัฒนาการแนะแนว สพฐ. ชี้แจงเพิ่มเติม ว่า ผู้ปกครองต้องเข้ารับฟังการประชุมและ ตกลงให้ ต รงกั น เรื่ อ งการจ่ า ยเงิ น สนั บ สนุ น หรือเงินบ�ำรุงการศึกษาหลักสูตรพิเศษต่าง ๆ เมื่ อ โรงเรี ย นทวงถาม หากไม่ มี เ งิ น หรื อ ผู ้ ปกครองไม่ประสงค์จะจ่าย ต้องให้แจ้งโรงเรียน ทราบเพื่อท�ำการตัดชื่อนักเรียนออกและไม่ให้ เข้าเรียนในรายวิชานัน้ ๆ เช่น วิชาคอมพิวเตอร์ หรือภาษาอังกฤษที่มีครูชาวต่างชาติสอน ปภัสสร องค์พิเชฐเมธา ศิวรินทร์ จันทร์คงวงศ์ สมจินตนา นุ่นปาน สิริวิมล มีนสิรินันท์ สุภัสสรา ปาละกา

1/19/19 1:16 AM


คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ ่ สาร มหาวิทยาลัยศิลปากร เมืองทองธานี 80 ถนนป๊อปปูล่า ต�ำบลบ้านใหม่ อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 091-7659890 เว็บไซต์ : www.ict.su.ac.th www.ictsilpakorn.com/ictmedia www.facebook.com/looksilp

��������17janfinal.indd 24

1/19/19 1:16 AM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.