หนังสือพิมพ์ลูกศิลป์ ฉบับพิเศษ 14 กม. แลนด์มาร์คเจ้าพระยา

Page 1

สื่อสร้างสรรค์ น�ำสังคม ฉบับพิ เศษ | สิงหาคม พ.ศ.2559

‘การเปลี่ยนแปลง’ ไม่ได้หมายความเพี ยงแค่การพั ฒนาอย่างเดียว อีกมุมหนึ่งยังกลายเป็น การล้มหายตายจากของผู้คน ชุมชน ย่านเก่า ที่เคยมีชีวิต การพั ฒนาในทศวรรษที่ 3 ของ กรุงเทพมหานครจึงไม่สามารถมองเฉพาะความเปลี่ยนแปลงของตึกรามบ้านช่อง หรือระบบ สาธารณูปโภคที่เปลี่ยนไปเท่านั้น วิถีผู้คนในแง่วัฒนธรรมเมืองก็เป็นอีกเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม


2

หากย้อนมองการพัฒนาทีก ่ ำ� ลังเกิดขึน ้ ในปัจจุบน ั จะพบว่าหนึง ่ ในการพั ฒนาที่เรียกว่า ‘โครงการพั ฒนา ริมฝั่งแม่น้�ำเจ้าพระยา’ หรือ ‘แลนด์มาร์กเจ้าพระยา’ นัน ี ว ี ต ิ ความเป็นอยู่ ้ มีความขัดแย้งและย้อนแย้งกับวิถช ของผู้คนอย่างมาก เพราะริมสองฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยา มีความส�ำคัญตลอดประวัติศาสตร์การก่อร่างสร้าง ชุมชนของคนไทยมาโดยตลอด โครงการดังกล่าวจึงถือเป็นความเปลี่ยนแปลง และค�ำถามถึงความเหมาะสมกับการพั ฒนา อันน�ำไปสู่ จุดจบของชุมชนริมฝั่งแม่น�ำ้ กลุ่มภาคีพัฒนาพื้ นที่ริมแม่น�ำ้ เจ้าพระยา (พพพ.) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของสถาบันภาคการศึ กษาด้าน การผังเมือง ประกอบด้วยผังเมืองจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ศิ ล ปากร และเครื อ ข่ า ยสถาปนิ ก นักสิ่งแวดล้อม รวมถึงชุมชน ได้แก่ มูลนิธิโลกสีเขียว สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมอิโคโมสไทย เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมริมน�้ำเจ้าพระยา ศูนย์ข้อมูล ประวั ติ ศ าสตร์ ธ นบุ รี และเครื อ ข่ า ยภาคประชาชนผู้ ได้รบ ั ผลกระทบ ต่างแสดงความกังวลต่อโครงการนีไ้ ว้ หลายประเด็นจากหลายเวทีท่ม ี ีการพู ดคุยถึงโครงการ พั ฒนาดังกล่าว

ประชาชนยังรับรู้ไม่ทั่วถึง

เมือ่ ต้นปี 2558 ทีผ่ า่ นมา รัฐบาลประกาศจะมีการด�ำเนิน การจัดสร้างโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยา โดยมี ก�ำหนดการคร่าวๆ ให้ประชาชนได้ทราบว่าจะเริ่มด�ำเนินการ เดือนมิถุนายน 2559 ใช้เวลาสร้างทั้งหมด 18 เดือน คาดว่า จะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2560 นายเกษมสั น ต์ จิ ณ ณวาโส เลขาธิ ก ารส� ำ นั ก งาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมเปิดเผย ว่าโครงการนี้ไม่ต้องท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เพราะไม่ใช่ถนนทางหลวง แต่กลุม่ ภาคีพฒ ั นาพืน้ ทีร่ มิ แม่นำ�้ เจ้าพระยาเห็นว่าจ�ำเป็นต้อง ท�ำประชาพิจารณ์ เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน ว่าพวกเขาเห็นด้วยหรือไม่ อีกทั้งรัฐบาลยังไม่เคยเปิดเผยรูปแบบโครงการที่ชัดเจน ท�ำให้ประชาชนเกิดความเคลือบแคลงใจต่อโครงการนี้ และ ยังมีบางส่วนไม่ทราบว่าจะมีการก่อสร้าง รวมถึงสิ่งที่พวกเขา ต้องแลก เมื่อโครงการพัฒนาริมแม่น�้ำเจ้าพระยาเดินหน้าไป แลนด์มาร์กใหม่ของประเทศ

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่าหากด�ำเนินโครงการนี้เราจะได้แลนด์มาร์กที่สวยงาม ตามแบบหลายๆ ประเทศ มีทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นสถาน พักผ่อนหย่อนใจให้กับประชาชน ได้ชมวิวทิวทัศน์ริมแม่น�้ำ เจ้าพระยา เป็นลานกิจกรรมออกก�ำลังกายและสันทนาการ อีกทั้งส่งเสริมการปั่นจักรยาน เนื่องจากโครงการนี้ปรับให้มีเส้นทางจักรยานที่สามารถ ปัน่ จักรยานลัดเลาะไปตามทีต่ า่ งๆ เชือ่ มต่อสถานทีเ่ ข้าด้วยกัน

ท�ำให้เราสามารถไปวัดหรือที่อื่นๆ ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยเปลีย่ นจากการใช้เรือข้ามฟากหรือการเดินทางโดยพาหนะ ทางบกที่ใช้เวลานาน มาปั่นจักรยานแทน นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ใช้สอยหลากหลายประโยชน์ มีพื้นที่ไว้ท�ำกิจกรรมริมน�้ำ สามารถเข้าถึงพื้นที่ริมน�้ำได้ง่าย และมีการจัด ระเบียบพื้น ที่ริมน�้ำ ซึ่ง จะท�ำให้ชุมชนแออัด ริมน�ำ้ หายไป กลายเป็นแลนด์มาร์กทีย่ งิ่ ใหญ่ และช่วยส่งเสริม การท่องเที่ยวให้แก่ประเทศไทย ทางน�้ำที่แคบลง

พ.ต.ท.ปริญญา เจริญบัณฑิต นักศึกษาปริญญาเอก สาขาการวางผังภาคและเมือง มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ประเทศเกาหลีใต้ กล่าวว่าแม่น�้ำเจ้าพระยาในจุดที่จะเริ่ม โครงการบริเวณเชิงสะพานพระรามเจ็ดกว้างประมาณ 300 เมตร ส่วนจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณเชิงสะพานปิ่นเกล้ามี ความกว้างประมาณ 220 เมตร สิ่งก่อสร้างเพื่อปรับทัศนียภาพนี้จะยื่นลงไปในแม่น�้ำ กว้างฝั่งละ 20 เมตร กีดขวางการไหลของน�้ำ โดยเฉพาะเมื่อ ก่อสร้างขนานริมน�้ำทั้ง 14 กิโลเมตร จะท�ำให้แม่น�้ำแคบลง ราว 10-20 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลให้น�้ำในแม่น�้ำไหลแรงขึ้น เกิด การกัดเซาะบริเวณตลิ่งและตัวสิ่งก่อสร้างนั้น ในฤดูนำ�้ หลากทีแ่ ม่นำ�้ จะมีปริมาณน�ำ้ สูงและไหลแรงขึน้ อยู่แล้ว การก่อสร้างจะท�ำให้น�้ำระบายล�ำบาก พื้นที่โดยรอบ ริ ม แม่ น�้ ำ เสี่ ย งต่ อ อุ ท กภั ย มากขึ้ น ซึ่ ง หากเกิ ด อุ ท กภั ย จริ ง ทัศนียภาพทีม่ กี ารก่อสร้างย่อมเสียหาย แน่นอนว่าจะต้องเสีย งบประมาณในการซ่อมแซม ดังนั้นยิ่งสร้างเส้นทางที่ยาวและ กว้างมากเท่าใด งบประมาณที่ใช้ซ่อมแซมก็ยิ่งมากเท่านั้น


3 ปัญหาขยะในน�้ำ

ชุมชนที่หายไป

สิ่ ง ที่ น ่ า เป็ น ห่ ว งไม่ แ พ้ กั น คื อ เรื่ อ งของขยะในแม่ น�้ ำ เจ้าพระยา การก่อสร้างเส้นทางจักรยานที่ยื่นลงไปในแม่น�้ำ จะท�ำให้ขยะเข้าไปสะสมอยู่ใต้เส้นทาง เป็นเหตุให้มีการเน่า เสียของขยะ และส่งผลต่อคุณภาพของน�้ำ โดยในแผนการปฏิบัติงานของรัฐบาลไม่ได้แจ้งข้อแก้ไข ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเอาไว้ การเน่าเสียของขยะจะท�ำให้น�้ำเสีย และส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ โดยกลิ่นนี้อาจท�ำให้ผู้ที่มาใช้เส้น ทางจักรยานไม่พอใจและไม่ใช้เส้นทางอีก เป็นผลให้เสียงบ ประมาณการสร้างโดยเปล่าประโยชน์

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่าประชาชนจะได้เส้นทางริมสองฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยา ความยาว 14 กิโลเมตร เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม จะมีพื้นที่ที่ต้องถูกเวนคืนเพื่อเส้นทาง ได้แก่ สถานที่ราชการ ท่าเทียบเรือ วัด ร้านอาหาร โรงแรม แพ อูซ่ อ่ มเรือเอกชน โรงเลือ่ ยเอกชน และบางชุมชนทีม่ ที อี่ ยูอ่ าศัย รุกล�้ำเข้าไปในแม่น�้ำเจ้าพระยา จ�ำนวน 268 หลังคาเรือน จะ ได้ รั บ ผลกระทบ โดยพวกเขาจ� ำ เป็ น ต้ อ งย้ า ยออกทั น ที เนื่องจากผิดกฎหมาย เช่น ชุมชนมิตรคาม 1 ซึ่งชุมชนแห่งนี้

นอกจากนัน้ การปรับผังเป็นทางด่วนในอนาคตจะบดบัง ทัศนียภาพ ท�ำลายทิวทัศน์ และหากพิจารณาแล้วโครงสร้าง สามารถพังทลายจากการกัดเซาะของคลื่นในแม่น�้ำ หลังสร้างเสร็จอาจจะยังมองไม่เห็นผลทันที แต่เมือ่ เวลา ล่วงเลยไป เสาปูนทีค่ ำ�้ ยันทางด่วนถูกคลืน่ น�ำ้ กัดเซาะเรือ่ ยๆ ก็ จะผุพังลงในที่สุด โดยภาพรวมอาจกล่าวได้ว่าโครงการนี้เป็นการท�ำลาย ทัศนียภาพมากกว่าส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ชอบมาดูวิถีชีวิตของผู้คน อันเป็นเอกลักษณ์และ ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง

ผ่าทางตันริมน�้ำ

ทางภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำเจ้าพระยาได้มีมติ โดย ให้ข้อเสนอต่อรัฐบาลให้ทบทวนโครงการพัฒนาริมแม่น�้ำ เจ้าพระยา (ระยะทีห่ นึง่ 14 กิโลเมตร) ตามรายละเอียดดังนี้

ระบบนิเวศที่เปลี่ยนไป

น�้ำเน่าเสียย่อมส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ อีกทั้งทาง จักรยานซึ่งยื่นลงไปในแม่น�้ำจะท�ำให้แสงอาทิตย์ส่องลงไป ไม่ถึง พืชที่ขึ้นอยู่ริมตลิ่งตาย และส่งผลถึงสัตว์น�้ำที่อาศัยอยู่ บริเวณตลิ่ง เมื่อระบบนิเวศในน�้ำเสียหายย่อมส่งผลต่างๆ ตามมา มากมาย เช่น สัตว์น�้ำอื่นๆ ที่เคยกินปลาหรือกุ้งตามตลิ่งจะ ไม่มีอาหาร ท�ำให้ไม่สามารถด�ำรงชีวิตอยู่ได้ และเมื่อสัตว์น�้ำ ขนาดเล็กอยู่ไม่ได้ สัตว์น�้ำขนาดใหญ่ย่อมล้มตายเพราะขาด อาหารเช่นกัน ดังนั้นระบบนิเวศที่เสียหายเพียงแค่บริเวณ ริมตลิ่งเมื่อเริ่มแรก ย่อมส่งผลกระทบไปถึงระบบนิเวศขนาด ใหญ่ในแม่น�้ำ นอกจากจะกระทบต่อระบบนิเวศของแม่น�้ำแล้ว น�้ำเน่า เสียยังส่งผลถึงวิถีการด�ำเนินชีวิตของผู้คน เพราะเมื่อสัตว์ อาศัยอยู่ในแม่น�้ำไม่ได้ คนที่เคยจับกุ้งจับปลาตามแม่น�้ำ เจ้าพระยาเพื่อเลี้ยงชีพ ก็ไม่มีกุ้งและปลาให้จับ จึงไม่ได้มีแค่ เพียงสิ่งมีชีวิตในแม่น�้ำเท่านั้นที่เดือดร้อน หากรวมถึงคนที่ พึ่งพาอาศัยแม่น�้ำในการเลี้ยงชีพด้วย

เป็นพืน้ ทีส่ ำ� คัญ ทีม่ กี ารประกอบอาชีพนักด�ำน�ำ้ หาของเก่ามา นานกว่า 100 ปี ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์จะเป็นผู้ด�ำเนินการในเรื่องของการชดเชยเยียวยา แต่ ก็ยังไม่มีประกาศออกมาชัดเจนว่าประชาชนในชุมชนนั้นๆ กว่า 1,000 ครอบครัว จะต้องย้ายไปอยู่ที่ใด

ทัศนียภาพที่ถูกบดบัง

พื้ นที่สีเขียวที่หายไป

ความปลอดภัยในพื้ นที่

ทางจักรยานอาจท�ำให้อาชญากรรมเพิ่มขึ้น เพราะกลุ่ม มิจฉาชีพสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้โดยง่าย อาจมีการปักหลัก เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งมั่วสุม จนเกิดปัญหาตามมา ในอนาคต เหมือนกับการสร้างสวนใต้สะพานพุทธ ที่มีกลุ่ม วัยรุ่นเข้าครองพื้นที่และก่อความวุ่นวาย ท�ำให้ประชาชน ทั่วไปได้รับความเดือดร้อน ยากจะขับออก และน�ำไปสู่การ สร้างเงื่อนไขต่อรองของผู้ที่เข้ามาอยู่อาศัย อีกทั้งมีความเป็น ไปได้วา่ ทางจักรยานอาจกลายเป็นสนามแข่งรถจักรยานยนต์ ส่งเสียงดัง สร้างความร�ำคาญแก่ผู้คน

ในส่วนของพื้นที่สีเขียวบริเวณนั้น เดิมมีขนาดใหญ่เป็น การปรับปรุงพื้นที่จะบดบังทัศนียภาพโดยรวม ทั้งวัด วัง โบสถ์ที่เก่าแก่ เช่น ศาลาวัดคฤหบดี เรือนเจ้าอนุวงศ์ วัดคอน 1.7 เท่าของสวนลุมพินี หากด�ำเนินการปรับภูมิทัศน์ในส่วนนี้ เซ็ปชัญ โบสถ์เซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ และวัดราชาธิวาส เป็นต้น แล้ว พื้นที่สีเขียวอาจหายไปครึ่งหนึ่งของพื้นที่ที่มีอยู่ เป็นการ ไม่มสี งิ่ ปลูกสร้างทีส่ วยงามให้ชนื่ ชมอีกต่อไป โดยเฉพาะ ท�ำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรอบไปโดยปริยาย โบสถ์เซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ โบราณสถานส�ำคัญทางศาสนา ตั้ง อยูใ่ กล้รมิ น�ำ้ ใจกลางเมือง มีความวิจติ รตระการตา ใช้ประกอบ พิธีการส�ำคัญ เช่น พิธีมงคลสมรส หรือ พิธีศีลจุ่ม ซึ่งมีความ ส�ำคัญต่อคริสต์ศาสนิกชนเป็นอย่างมาก

กลุ่มภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำเจ้าพระยามีความยินดีที่ คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันให้ความส�ำคัญกับการพัฒนา พืน้ ทีร่ มิ แม่นำ�้ เจ้าพระยาเป็นพืน้ ทีส่ าธารณะของกรุงเทพฯ โดยภาคีขอแสดงความคัดค้านรูปแบบโครงการเนื่องด้วย 1. มีโครงสร้างขนาดความกว้างถึง 19.50 เมตร และ เป็นพื้นที่ดาดแข็งขนาดใหญ่ จะท�ำให้เกิดผลกระทบด้าน ลบต่อสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา อุทกศาสตร์ของแม่น�้ำ เจ้าพระยา รวมทั้งภูมิทัศน์วัฒนธรรมของพื้นที่ริมแม่น�้ำ เจ้าพระยา 2. มีรูปแบบมาตรฐานเป็นรูปแบบเดียวตลอดความ ยาวสองฝั่งแม่น�้ำในบริเวณที่จะท�ำการก่อสร้างทั้งหมด 14.00 กิโลเมตร ขาดความเชื่อมโยงต่อภูมิสัณฐานของ ตลิ่ง โครงข่ายการสัญจรของเมือง รวมทั้งรูปแบบการใช้ ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่ริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยาที่มีความ หลากหลาย โดยเฉพาะบางบริเวณเป็นวัดและชุมชนเก่า ที่มีเอกลักษณ์ 3. ขาดการศึ ก ษาผลกระทบด้ า นต่ า งๆ และการ วิเคราะห์งบประมาณอย่างเหมาะสม 4. ขาดกระบวนการส�ำรวจความคิดเห็นการมีส่วน ร่วมของประชาชนและการสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะ ที่จะน�ำไปสู่การสร้างข้อเสนอรูปแบบของโครงการฯ ที่ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ทั้งในระดับพื้นที่ โดยรอบและในระดับเมืองที่จะสามารถสร้างความเป็น เจ้าของพื้นที่ร่วมกันในระยะยาวได้ ภาคี พั ฒ นาพื้ น ที่ ริ ม น�้ ำ เจ้ า พระยาจึ ง ได้ เ สนอให้ รัฐบาลทบทวนรายละเอียดโครงการฯ โดยเฉพาะเรื่อง รูปแบบอย่างละเอียดรอบคอบ รวมทัง้ ก�ำหนดกระบวนการ ท�ำงาน ตลอดจนการศึกษาผลกระทบของโครงการฯ ใน ด้านต่างๆ อย่างชัดเจนทั้งก่อนและระหว่างการท�ำแบบ


4

ที่ปรึกษา อาจารย์มานพ เอี่ยมสะอาด (คณบดี) อาจารย์อริน เจียจันทร์พงษ์ อาจารย์ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี อาจารย์ภาณุมาศ สงวนวงษ์ อาจารย์วัยวัฒน์ สายทุ้ม กองบรรณาธิการ กัลยกร ทองเต็ม เขมพั ฏฐ์สร ธนปัทมนันท์ จารุกิตติ์ ธีรตาพงศ์ ฐิติพร อินผวน ปุญญิศา ค�ำนนสิงห์ ณัฐนันท์ แก้วบุญถึง ธนกร ตันติสง่าวงศ์ บัณฑิตา สุขสมัย บุญญฤทธิ์ จรเสนาะ บุรยา อังประชา ปัญยภัสสร์ พรหมชัยวัฒนา พั ชรี พรกุลวัฒน์ ภาศิณี สุนทรวินิต รชนีกร ศรีฟา้ วัฒนา รติมา เงินกร วิสุทธิภา เพี ยวริบุตร วุฒิพงษ์ วงษ์ชัยวัฒนกุล ศรัณยา ตั้งวรเชษฐ ศรีสิทธิ์ วงศ์วรจรรย์ ศิรวิชญ์ บุญทน ศุภนิดา อินยะบุตร สิราวรรณ สกุลมาลัยทอง หทัยชนก โฉมมณี อนาลา กุลรัตน์ อริสรา นนศิริ ถ่ายภาพ กาญจนา ปลอดกรรม กุลนิษฐ์ แสงจันทร์ เกศราพร เจือจันทร์ จริญญา ศรีวัฒนวรัญญู ชญานิศ จ�ำปีรัตน์ โชติกา กนิษฐนาคะ ณัชชา เชี่ยวกล ธิดารัตน์ แซ่เล้า พสชนัน คนึงหมาย พาขวัญ ศักดิ์ขจรยศ ภัทรานิษฐ์ จิตส�ำรวย ภีมรพี ธุรารัตน์ รัตนสุดา ศุภรัตน์บรรพต รินพร ออกเวหา วราภัสร์ มาลาเพชร สกลสุภา กระดังงา ไอรยา โสกขุนทด ศิลปกรรม อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล โรงพิ มพ์ บริษัท ภัณธรินทร์ จ�ำกัด

ฝั น ร้ า ย

ชุ ม ช น เ จ ชุมชนบ้านพั กองค์การทอผ้า เกียกกาย ชุมชนเขียวไข่กา ชุมชน ราชผาทับทิมร่วมใจ ชุมชนมิตรคาม และชุมชนวัดดาวดึงษาราม ล้วนเป็น ชุมชนเก่าแก่ท่ีก่อร่างและมีชีวิตอยู่กับแม่น้�ำเจ้าพระยามายาวนาน ย่อม ต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยเป็นธรรมดา หากแต่ความ เปลี่ ย นแปลงที่ ก� ำ ลั ง ย่ า งเข้ า มาของ ‘โครงการพั ฒ นาริ ม ฝั่ งแม่ น�้ ำ เจ้าพระยา’ ครั้งนี้ อาจซัดกลบและกลืนลบวิถีชีวิตในแต่ละชุมชนให้เหลือ เพี ยงเรื่องเล่า


5

เ จ้ า พ ร ะ ย า ชุมชนบ้านพั กองค์การทอผ้า | เกียกกาย | อาคารไม้หลังเก่าขนาดใหญ่ ตั้งตระหง่านอยู่ซอยตรงข้ามกับสวนสาธารณะ เฉลิมพระเกียรติ เกียกกาย ผู้คนละแวกนั้นรู้จักในชื่อของ ‘โรงงานองค์การทอผ้า’ โรงทอผ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 2478 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยงบประมาณ ของกระทรวงกลาโหม ก่อนจะเปลี่ยนรูปแบบเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวง กลาโหมในเวลาต่อมา โรงทอผ้ามีด้วยกันทั้งหมด 3 แห่ง โรงทอผ้าแห่งแรกตั้งอยู่บริเวณโค้งเขมาใกล้ โรงเรียนโยธินบูรณะในปัจจุบัน ส่วนอีกแห่งตั้งอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก เพราะง่ายต่อการ เก็บวัตถุดบิ และขนส่งสะดวก เป็นโรงผลิตผ้าประเภทต่างๆ ทัง้ ชุดเครือ่ งแบบทหาร ต�ำรวจ พยาบาล และผ้าส�ำหรับใช้งานทางการแพทย์ อาทิ ผ้าพันแผล ส�ำลี ผ้าปูเตียงใน โรงพยาบาล เป็นต้น กระทั่งปี 2541 โรงทอผ้าปิดกิจการลง จากนโยบายการยุบรวมรัฐวิสาหกิจเพื่อการ พัฒนาประเทศ แต่ใช่ว่าเรื่องราวของอาคารไม้หลังเก่าจะสูญหายไป เมื่อพื้นที่ท�ำกินก�ำลังจะปิดตัวลง สมาชิกชุมชนที่ส่วนใหญ่ล้วนผูกพันกับโรงทอผ้า และไม่มีที่ไป จึงรวมกลุ่มกันขอจดทะเบียนเป็น ‘ชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า’ โดยใช้ชื่อ บ้านพักไปขอจัดตั้งที่ส�ำนักงานเขตดุสิต “เมื่อองค์การทอผ้าจะต้องเป็นไปตามนั้น ก็ขอสมบัติชิ้นสุดท้ายให้กับคนที่เขาอยู่ เถอะ” อุมล ม่วงพิม หรือ ลุงหมึก ก�ำนันชุมชน ผู้เป็นหนึ่งในอดีตพนักงานองค์การ

ทอผ้า กล่าวแทนความรู้สึกในวันนั้น หลังจากนั้นชาวบ้านก็เริ่มซ่อมแซมบ้านเรือน มีการตัดถนน จนเริ่มก่อร่างสร้างตัว เป็นชุมชนในที่สุด แม้จะต้องถอยร่นจากพื้นที่เดิมเข้าไปในซอยด้านหลัง แต่ก็ท�ำให้วิถี ชีวิตและอาชีพการทอผ้าดั้งเดิมสามารถยืนหยัดมาได้ถึงทุกวันนี้ ส่วนจะเป็น ‘ชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า’ หรือ ‘ชุมชนบ้านพักองค์กรทอผ้า’ ก็แล้ว แต่จะเรียก โดยมีอาคารไม้หลังใหญ่เป็นอนุสรณ์ความทรงจ�ำของชุมชน แม้ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่จะเคยประกอบอาชีพเกี่ยวกับการทอผ้ามาก่อน แต่ เนื่องจากวันเวลาและยุคสมัยที่เปลี่ยนไปจึงต้องมีการปรับตัว ท�ำให้ชาวบ้านบางกลุ่ม จัดตั้งกลุ่มงานวิชาชีพต่างๆ ภายในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาชีพตัดเย็บ กลุ่มดอกไม้ ประดิษฐ์ กลุ่มผลไม้แปรรูป กลุ่มน�้ำพริก ตลอดจนการรวมกลุ่มกันเพื่อท�ำการเกษตร โดยการปลูกผักแบบไฮโดรโพนิค รวมทั้งมีการสอนปลูกข้าว และน�ำข้าวไปขายจริงเพื่อ เพิ่มโอกาสการสร้างรายได้อีกหนึ่งช่องทาง ส่วนการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น อาจท�ำให้คนในชุมชนต้องย้าย ออกไป หรือจ�ำต้องย้ายออกจากสถานที่ที่พวกเขาเรียกเต็มปากว่า ‘บ้าน’ นั้น ทุกคน ยอมรับและเข้าใจดี แต่ความกังวลอยูท่ เี่ รือ่ งของการจัดเตรียมทีอ่ ยูอ่ าศัยเพือ่ รองรับพวกเขาจากภาครัฐ จะเพียงพอส�ำหรับทุกครอบครัวหรือไม่ ความเปลี่ยนแปลงนี้จึงถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง พอๆ กับความภูมิใจในวิถี ชีวิตบนผืนผ้า ที่จะคงอยู่ในความทรงจ�ำ


6

ฝันร้าย ที่รอวันเป็นจริง | ชุมชนเขียวไข่กา | เขียวไข่กา ชุมชนเก่าแก่ริมน�้ำอีกแห่งที่มีเรื่องราวบอกเล่าต่อกันมากว่า 4 ทศวรรษ เมือ่ ก่อนทีน่ เี่ คยเป็นท่าน�ำ้ ทีค่ กึ คักไปด้วยเรือสินค้า ผูค้ นแวะเวียนกันมาไม่ขาดสาย จากชุมทางสัญจรจึงกลายเป็นชุมชนขนาดย่อมๆ ในที่สุด กระทัง่ ปี 2535 เกิดเพลิงไหม้ชมุ ชนครัง้ ใหญ่ ท�ำให้ชาวบ้านกว่าครึง่ ต้องย้ายออกไป และอีก 2 ปีต่อมา โรงเรียนราชินีบนมีการสร้างอาคารเรียนเพิ่ม ท�ำให้ขนาดของชุมชน ‘เล็ก’ ลงไปอีก ชาวเขียวไข่กาส่วนใหญ่มอี าชีพค้าขายบริเวณโรงเรียนราชินบี นและพืน้ ทีใ่ กล้เคียง ตลอดจนการออกไปท�ำงานรับจ้างทั่วไปตามประสาคนหาเช้ากินค�่ำ ส่วนร่องรอยของ การเป็นท่าเรือในอดีตนั้นยังคงหลงเหลือผ่านการใช้เรือขนส่งภายในชุมชนที่มีให้เห็นอยู่ แนวเขื่อนกั้นน�้ำต้องถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนส�ำคัญของชุมชน ตั้งแต่ปี 2548 ที่มีการ ปักเสาสร้างเขื่อนป้องกันน�้ำทั่วริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยา ก่อนถูกเสริมให้สูงขึ้นอีกเมื่อคราว น�้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 แนวก�ำแพงเขื่อนได้ลดขนาดและเพิ่มความแออัดให้กับตัวชุมชนไปโดยปริยาย ชรินทร์ อนันต์ ชาวชุมชนเขียวไข่กา เล่าว่าสมัยก่อนอยู่ริมน�้ำสะดวกสบาย มี บันไดลงน�้ำ มีแพและเรือจอดอยู่หน้าบ้าน แต่พอมีเขื่อนมากั้น วิถีชีวิตชุมชนเหล่านั้น ก็หายไปด้วย

โครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยากลายเป็น ‘ฝันร้าย’ อีกครั้งของชุมชน “ตอนอ่านหนังสือพิมพ์ก็เจอเรื่องนี้” ใครบางคนเล่าให้ฟัง จนถึงตอนนีย้ งั ไม่มกี ารลงพืน้ ทีเ่ พือ่ ท�ำความเข้าใจเรือ่ งโครงการกับชุมชน จะมีกแ็ ต่ ข่าวลือทีแ่ พร่สะพัดไปทัว่ จับต้นชนปลายไม่ถกู เอาเงินจากทีไ่ หนมาท�ำ รูปแบบโครงสร้าง ของโครงการเป็นอย่างไร กว้างหรือสูงเท่าไร จะเกิดความเปลี่ยนแปลงกับชุมชนอย่างไร ค�ำถามเหล่านี้ ยังไม่มีค�ำตอบ ขณะที่เสียงตัดพ้อดังระงม “ถามคนที่เขาอยู่ก็ไม่มีใครเห็นด้วยหรอก เอาเวลาไป ท�ำเรื่องที่ต้องท�ำก่อนดีกว่าไหม” พูดกันตามตรง ส�ำหรับโครงการก่อสร้างชาวบ้านคงไม่คัดค้านแม้จะไม่เห็นด้วย เพราะถือเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่รัฐควรหาทางออกให้กับคนในชุมชนด้วยเช่นกัน “ทางรัฐควรเมตตาต่อชาวบ้านด้วย หรือถ้าจะให้ย้ายออกก็ควรรับผิดชอบกับการ หาที่อยู่ใหม่ หรือให้เงินกับชาวบ้านที่พอจะสามารถมาตั้งตัวใหม่ได้” ชรินทร์พูดแทน เสียงของชาวเขียวไข่กา ไม่วา่ โครงการจะเริม่ ก่อสร้างหรือไม่ อย่างไร พวกเขายังคงต้องใช้ชวี ติ ของตนต่อไป ท�ำได้ก็เพียงภาวนาให้มันเป็นเพียงฝันร้ายที่จะไม่กลายเป็นจริงหลังตื่นนอน

แรงโหมกระพรือ ที่ไม่อาจเลี่ยง | ราชผ ศาลเจ้าแม่ทับทิม หรือ ศาลเจ้าจุยบ่วยเนี่ยว ตั้งอยู่ใต้สะพานซังฮี้ ติดกับชุมชน ราชผาทับทิมร่วมใจ เป็นศาลเจ้าที่ยึดรวมจิตใจของผู้คนเข้าไว้ด้วยกัน ตามต�ำนานเล่า ขานถึงเทพธิดาแห่งท้องทะเลที่คอยคุ้มครองและอวยชัยให้แก่นักเดินเรือ เป็นที่เคารพ ศรัทธาของชาวเรือชาวประมง ราว 40 ปีก่อน บริเวณริมแม่น�้ำเจ้าพระยาหน้าศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งนี้มีสภาพโล่ง เตียน มองเห็นตลิ่งและผืนน�้ำเต็มสาย ที่นี่เป็นท่าเทียบเรือพักหลบลมฝนให้ผู้สัญจรได้ แวะเวียนมา นานวันเข้า จากจุดแวะพักก็กลายมาเป็นที่ลงหลักปักฐาน ขยับขยายเกิด เป็นชุมชนออกไปโดยรอบบริเวณศาล ครอบครัวของ ล้อม บังอร ที่ย้ายมาจากอ�ำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ยังจ�ำภาพเก่าๆ เหล่านั้นได้ดี วันที่เธอและสามีหอบหิ้วลูกๆ รวม กัน 13 ชีวิต มาตั้งรกรากขายก๋วยเตี๋ยวเลี้ยงชีพอยู่แถวนี้ กระทั่งสามีเสียชีวิต จากเรือน ลอยน�้ำจึงกลายมาเป็นบ้านริมฝั่ง ริมน�้ำว่างเปล่ากลับกลายเป็นบ้านเรือนกลางน�้ำที่มีทางเดินเชื่อมต่อถึงกันทุกหลัง จนกลายเป็นเป็นชุมชนริมแม่น�้ำขนาดใหญ่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ควบคู่ความศรัทธา ต่อเจ้าแม่ทับทิมที่คอยปกปักรักษาน่านน�้ำให้อุดมสมบูรณ์และสงบสุขตลอดมา ครั้งหนึ่งชุมชนนี้เคยประสบเหตุการณ์ไฟไหม้ร้ายแรง เปลวเพลิงโหมไหม้จากท้าย ชุมชน ชาวบ้านต่างตั้งจิตภาวนาต่อเจ้าแม่ทับทิมให้อัคคีภัยยุติลงด้วยความหวาดหวั่น


7

รากนักล่า ที่รอวันตาย | มิตรคาม |

ราชผาทับทิมร่วมใจ | ภายหลังเมื่อสถานการณ์สงบ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกลับมีไม่มากอย่างที่ควรจะเป็น ชาวบ้านจึงเชื่อว่าเป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่ที่ท�ำให้พวกเขารอดพ้นเภทภัย กิจกรรมต่างๆ ในชุมชนล้วนมีความเกีย่ วพันกับความศรัทธา ชาวเรือ และวัฒนธรรม จีน อย่างการแสดงงิ้วที่พวกเขาพยายามสืบสานให้คงไว้ซ่ึงศิลปวัฒนธรรมอันสวยงาม และทรงคุณค่าของบรรพบุรุษ ไม่ต่างจากชุมชนริมน�้ำอื่นๆ ความเป็นย่านเก่าท�ำให้ สามารถพบเห็นวิถีชีวิตของผู้คนที่เชื่อมโยงและผูกพันระหว่างบ้านแต่ละหลังเอาไว้ รอยยิ้มของเด็กๆ ที่เล่นกันตรงที่ว่าง ขณะเพลงจากรายการโทรทัศน์ปนเสียงพูดคุยแว่ว มาตามลม ประปรายด้วยร้านรวงเล็กๆ ริมน�้ำเจ้าพระยา การเข้ า มาของโครงการพั ฒ นาริ ม ฝั ่ ง แม่ น�้ ำจึ ง เหมื อ นเป็ น สายลมแห่ ง ความ เปลี่ยนแปลงที่โหมกระพรือชีวิต ซึ่งพวกเขาไม่อาจหลบเลี่ยง “รุกล�้ำเข้าไปตั้งถิ่นฐานบนผืนน�้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต” เป็นข้อหาที่ไม่มีค�ำโต้แย้ง สมบัติ เฝือกพิศ ประธานชุมชนรุ่นที่สอง หนึ่งในชาวบ้านที่ร่วมกันก่อตั้งชุมชนขึ้น มา ยอมรับว่าทุกคนในชุมชนต่างรู้เรื่องนี้ดี และยินยอมให้ภาครัฐจัดการพัฒนา เพื่อ ประโยชน์ด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นริมแม่น�้ำเจ้าพระยาในอนาคต ทั้งถนน ทางเดินเท้าและ ทางจักรยาน อีกทั้งศาลเจ้าแม่ทับทิมก็จะเฟื่องฟูด้วยการจัดทัวร์จีนและกิจกรรมต่างๆ ขณะที่อดีตจะถูกทิ้งไว้เป็นความทรงจ�ำและต�ำนานเล่าขาน “ก็เสียดายนะ” มันเป็นความรู้สึกใจหายทุกครั้งเมื่อนึกถึง

มิตรคาม เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่เริ่มก่อตัวจากการที่ชาวเรือล่องเรือมาท�ำการค้าขาย ส่วนใหญ่มักประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับแม่น�้ำโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการค้าแพ อย่าง ข้าวหรือถ่าน ขายปลา ไปจนถึงรับจ้างทั่วไป จนเมื่อราวปี 2490-2500 เริ่มมีการจอดเรือและปลูกเรือนพักอาศัย เวลาผ่านไป ภาพเรือที่เรียงรายริมน�้ำก็ก่อร่างสร้างตัวกลายเป็นชุมชนมาจนถึงปัจจุบัน วันนี้ชุมชนมิตรคาม 1 มี 131 ครอบครัว 58 หลังคาเรือน ส่วนชุมชนมิตรคาม 2 ซึ่ง ย้ายจากบริเวณทีจ่ อดรถวัดคอนเซ็ปชัญด้วยเหตุไฟไหม้ มี 60 ครอบครัว 45 หลังคาเรือน ชื่อเสียงของมิตรคามเป็นที่รู้จักทั่วไป ว่าที่นี่เป็นแหล่งชุมชน ‘นักล่าสมบัติใต้น�้ำ’ สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น มานานกว่า 50 ปี “บางคนเรียกอาชีพนี้ว่านักโบราณคดีในเชิงการค้นหาโบราณวัตถุ” มานะ อ่อง สะอาด หรือที่คนในชุมชนต่างพากันเรียกว่า พี่โบ้ อายุ 42 ปี ให้ค�ำนิยามถึงสายเลือด แห่งการล่าสมบัติใต้เจ้าพระยา การด�ำน�้ำแต่ละครั้งอาจได้ของเก่า เช่น เหรียญรัชกาลที่ 5 เหรียญทองแดง เหรียญ เงิน เงินพดด้วงสมัยอยุธยา รูปรัตนะ ขึ้นมา “โครงกระดูกเก่า หัวกะโหลกมนุษย์ หรือหัวกะโหลกสัตว์บางทีก็เจอ” เขาบอก การจ้างให้ช่วยงมศพก็มีเหมือนกัน แต่ข้อแม้ของคนที่ด�ำลงไปช่วยงมศพนั้นต้อง ไม่มีการครอบครู เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทุกคนยึดถือสืบต่อกันมา โดยทัว่ ไปนักล่าสมบัตขิ องมิตรคามจะใช้เวลาฝึกอยู่ 2-5 ปี ก่อนทีจ่ ะลงด�ำในแม่นำ�้ เจ้าพระยาที่ลึกกว่า 200 เมตรได้ สิ่งที่พวกเขาต้องค�ำนึงทุกครั้ง คือ ‘การดูทางน�้ำ’ และสถานที่ที่จะด�ำลงไป “บางวันอากาศไม่ดีหรือฝนตก ก็ไม่สามารถออกไปด�ำน�้ำได้ ซึ่งก็แล้วแต่โอกาส การดูน�้ำส่วนใหญ่จะดูตามปฏิทินตั้งแต่น�้ำ 3 ค�่ำ ไปจนถึง 11 ค�่ำ พอ 12-15 ค�่ำจะหยุด อย่างบางวันก็เริ่มตั้งแต่ 6 โมงเช้า แล้วนับชั่วโมงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงน�้ำเที่ยง น�้ำบ่าย พอเป็นน�้ำเย็นเราจะไม่ด�ำแล้ว” พี่โบ้อธิบาย นอกจากเป็นอาชีพเลี้ยงชีวิต นักล่าสมบัติใต้น�้ำยังเป็นทั้งวิถีการด�ำเนินชีวิตและ อัตลักษณ์ของชุมชนมิตรคามอีกด้วย การมาถึงของโครงการพัฒนาริมฝัง่ แม่นำ�้ เจ้าพระยาจึงถือเป็นความท้าทายครัง้ ใหญ่ ของชาวมิตรคามอย่างแท้จริง ทีอ่ ยูใ่ หม่กลายเป็นความกังวลพอๆ กับเหง้ารากของชุมชน ที่สั่งสมมาจะหายไป “มันเป็นเรื่องยากมากนะ” เขายอมรับ ทัง้ ความเหมาะสมของการก่อสร้างและผลกระทบทีเ่ กิดกับตัวชุมชนเอง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งอุปกรณ์ด�ำน�้ำและล�ำเรือ ถ้ายกขึ้นฝั่ง นั่นหมายถึงการเลิกอาชีพ “เราไปหาไม่ได้แล้วบ้านริมน�ำ้ อย่างพวกเรามันไม่มปี ญ ั ญาทีจ่ ะไปซือ้ ที่ แล้วเขาจะ ให้ค่ารื้อถอนบ้านเราเนี่ย แค่เศษสตางค์ ลองถามเนี่ย เศษสตางค์มันพอที่จะไปซื้อบ้าน ซื้อที่ดินมั้ย มันเป็นไปไม่ได้เลย จะให้อยู่ห้องเช่าแคบๆ ก็อยู่ไม่ได้หรอก อย่างบ้านผมท�ำ กับข้าวกินกันเอง ถ้าไปอยู่บ้านแบบนั้น เราอาจต้องซื้ออาหารส�ำเร็จรูป มันไม่ใช่ แค่คิด ก็อึดอัดแล้ว” เมื่ออนาคตยังเป็นความไม่แน่นอน และหลายๆ เรื่องยังคงคาใจ แต่ที่สุดหากต้อง ย้ายจริงๆ พวกเขาก็ท�ำได้แค่ก้มหน้ายอมรับชะตากรรมเพราะการใช้กฎหมาย ต่อไปค�ำว่า ‘มิตรคาม’ ก็คงไม่มีความหมาย และอาชีพนักล่าสมบัติใต้น�้ำจะกลาย เป็นเพียงต�ำนานจากค�ำบอกเล่า “ถ้าเขาจะไล่เรา สู้มาพัฒนาเราไม่ดีกว่าเหรอ” ใครบางคนตัดพ้อด้วยน�้ำตา ที่นี่เป็นเหมือนล�ำต้น และชุมชนก็ได้หยั่งรากลึกเกินกว่าจะถอนแล้ว “เราฝังรากไว้ที่นี่” ตัวแทนนักล่าสมบัติคนเดิมย�้ำถึงชีวิตของพวกเขาเป็นค�ำตอบสุดท้าย


8

เพราะบ้าน คือคุณค่าทางจิตใจ | ชุมชนวัดดาวดึงษาราม | ชุมชนวัดดาวดึงษาราม ที่มักเรียกติดปากกันว่า ชุนชนวัดดาว หนึ่งในชุมชนเก่าแก่ ริมแม่น�้ำเจ้าพระยาตั้งอยู่ระหว่างสะพานพระปิ่นเกล้ากับสะพานพระราม 8 วัดดาวดึงษาราม เป็นวัดขนาดใหญ่ทถี่ กู สร้างขึน้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ตามต�ำนานระบุว่า ‘เจ้าจอมแว่น’ หรือ ‘คุณเสือ’ พระสนมเอกในรัชกาลที่ 1 เป็นผู้สร้างวัดหลวงแห่งนี้ขึ้น ในสมัยนั้น ตามริมแม่น�้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกและตามตรอกซอยคลองบางยี่ขัน มักมีเรือที่ล่องจากอยุธยาเข้ามาเทียบท่าอยู่ เพราะพื้นที่บริเวณนั้นยังไม่มีการตั้งชุมชน เป็นหลักแหล่ง เมื่อวัดดาวถูกสร้างขึ้น ชุมชนก็เกิดตามมา ท�ำให้ผู้คนระแวกนี้มีความ ผูกพันและใกล้ชิดกับวัดเป็นอย่างมาก อาชีพหลักของคนที่นี่คือการค้าขาย ทั้งข้าวสาร ถ่านหิน ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ ต่างๆ ที่ติดมาจากการค้าขายทางเรือ นอกจากนั้นยังมีการเข้าไปท�ำงานที่โรงงานสุรา บางยี่ขันอีกด้วย เรือหลายร้อยล�ำที่จอดเทียบอยู่ริมแม่น�้ำเจ้าพระยาเมื่อวันวาน กลายมาเป็นบ้าน เรือนจากหน้าวัดจรดริมตลิ่งแม่น�้ำเจ้าพระยา บ้านไม้บ้านปูนนับร้อยหลังคาเรือนนี้ คือ ‘ชุมชนวัดดาวดึงษาราม’ สภาพทัว่ ไปในชุมชนเป็นบ้านเรือนหลายร้อยหลังคาทีอ่ ยูต่ ดิ กันเป็นทอดๆ แซมด้วย ร้านค้าประปราย บางร้านเปิดมาตั้งแต่ยังมีท่าเรือวัดดาวให้บริการ บางร้านก็เพิ่งเปิด ได้ไม่นาน รวมถึงร้านรถเข็นขนาดเล็กที่จะเห็นได้ในช่วงบ่ายและเย็น ถนนเล็กๆ ทีท่ อดยาวออกไปจนถึงริมแม่นำ�้ เจ้าพระยากัน้ อยูก่ ลางระหว่างบ้านสอง ฝั่งให้พอเดิน และขับขี่มอเตอร์ไซค์ผ่านไปมาได้ พระมหาพลกฤษณ์ ฐิตเมธี หรือ หลวงพี่ประกอบ เล่าให้ฟังว่ากิจวัตรประจ�ำวัน ของชาวบ้านที่นี่ คือการตักบาตร

“ประเพณีวันออกพรรษาถือเป็นเอกลักษณ์ประจ�ำวัดกับชุมชน คือการตักบาตร เทโวที่จะมีขึ้นทุกๆ ปี ท�ำมาแล้วเป็นเวลานาน” เสียงจากคนเก่าแก่หลายคนยังเผยถึงความรูส้ กึ สงบสุขจากริมแม่นำ�้ และปลอดภัย ที่คนในชุมชนต่างไว้ใจกัน แม้ปัจจุบันจะมีความเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาไปมาก แต่กลิ่นอายวัฒนธรรมท�ำนองนี้ยังคงถูกรักษาไว้และมีให้เห็นอยู่ ทว่าการมาถึงของโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยาอาจแตกต่าง หลายชุมชนเก่าแก่ที่อยู่ตามริมแม่น�้ำเจ้าพระยาเริ่มถูกเรียกให้เข้าไปรับทราบถึง โครงการที่จะเกิดขึ้น รวมถึงชุมชนที่นี่ด้วย สุรัตน์ ลือสีประสิทธ์ ประธานชุมชนวัดดาวดึงษาราม ยอมรับว่าการพัฒนาครั้งนี้ มีผลกระทบตามมาแน่นอน ”ทางที่จะสร้างขึ้นไม่ใช่ทางเดินเล็กๆ อย่างฝั่งท่าพระจันทร์ ความงดงามริมแม่น�้ำ เจ้าพระยาก็จะหายไป เราคุ้นเคยกับชีวิตที่เรียบง่าย สงบสุขมาตลอด ผลกระทบที่จะ ตามมาในชุมชนเราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้” เขามองว่าโครงการนีจ้ ะท�ำให้ทกุ อย่างเปลีย่ นไป ทัง้ ความสับสนวุน่ วาย มลพิษจาก ท่อไอเสียของรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น ระบบนิเวศใต้น�้ำ ทัศนียภาพริมแม่น�้ำเจ้าพระยาที่จะไม่ เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะชาวบ้านนับพันครัวเรือนตามชุมชนริมแม่น�้ำต่างๆ ต้องถูกไล่รื้อให้ออก จากบ้านเกิดของตนเอง ถือว่าเป็นความเสียหายอย่างยิ่ง “บ้านเป็นอะไรที่มีคุณค่าทางจิตใจกับคนเรามากนะ” เขาบอก แรงลมของการพัฒนาก�ำลังพัดเข้ามาหาชุมชนนั้น ไม่ใช่แค่บ้านเรือนที่จะหายไป แต่ยังหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของชุมชน รอยยิ้มของผู้คนที่เคยมีให้แก่กันและ ปฏิสัมพันธ์ชุมชนที่ถักทอมากว่าร้อยปีอาจต้องขาดสะบั้นลงในไม่ช้า

VOICE OF PEOPLE

อนงค์ ขวัญอยู่เย็น อายุ 69 ปี ชุมชนมิตรคาม 1

อุไร พวงข�ำ อายุ 52 ปี ชุมชนมิตรคาม 2

ประพิ มพ์ ทั่งถิระ อายุ 48 ปี ชุมชนบ้านปูน

ภาวนา ทิมผ่องใส อายุ 20 ปี ชุมชนเขียวไข่กา

สมชาติ นุ่มน้อย อายุ 42 ปี ชุมชนวัดฉัตรแก้ว

ปลาอยู่ในน�ำ้ มันก็ว่ายไปนู่นไปนี่ เราอยู่ในน�ำ้ จะให้ไปอยู่บนบก จะท�ำมาหากินอย่างไร

ถ้าเขามาอนุญาตนะ บ้านทุกหลังจะท�ำให้สวยงาม ให้มาดูได้เลย ว่าวิถีชาวบ้านริมน�ำ้ เป็นมายังไง

ถ้าต้องย้ายจริงๆ ยังคิดไม่ออกเลย ว่าจะท�ำอะไร ไปอยู่ท่อ ี ่น ื ก็คือการเริ่มต้นใหม่

บ้านฉันและบางบ้านยังใช้เรือ เดินทางอยู่ ใช้ขนของ ไปนู่นไปนี่ อยู่ริมน�ำ้ มันดี

บ้านมีกัน 6 คน อยู่มา 40 ปี หาปลาขาย ขับเรือข้ามฟาก ได้วันละร้อยสองร้อยบาท พออยู่ได้ ถ้าต้องย้ายออก ก็ไม่มีเงินซื้อบ้าน


9

บ้านแตก

่ เมือเมืองโต?

ความเปลี่ ย นแปลงจากการพั ฒ นาเป็ น อี ก มิ ติ ห นึ่ ง ที่ ส ามารถพบเห็ น ได้ ทั่ ว ไปตาม กลไกระบบเมือง และความเป็นไปของกระแสโลกาภิวัตน์ หากแต่หลายครั้งการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวไม่ได้หมายความเพียงแค่การพัฒนาอย่างเดียว อีกมุมหนึง ่ ยังกลายเป็นการล้มหาย ตายจากของผู้คน ชุมชน ย่านเก่า ที่เคยมีชีวิต สร้างวิถีวัฒนธรรม และหยั่งรากลงตรง บริเวณนั้นด้วย การพั ฒนาในทศวรรษที่ 3 ของกรุงเทพมหานครจึงไม่สามารถมองเฉพาะความ เปลี่ยนแปลงของตึกรามบ้านช่องหรือระบบสาธารณูปโภคที่เปลี่ยนไปเท่านั้น วิถีผู้คนในแง่ วัฒนธรรมเมืองที่ถูกเบียดบังก็เป็นอีกเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม ยิ่งไปกว่านั้น นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่...


10

รอยร้าวที่ปริแตก

ชุมชนวัดกัลยาณมิตร ข้อมูลจากเว็บไซต์ของวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร ระบุว่าเจ้าพระยานิกร บดินทร (โต กัลยาณมิตร) ว่าที่สมุหนายกเมื่อครั้งยังเป็นพระยาราชสุภาวดี เจ้ากรม พระสรัสวดีกลาง ได้อุทิศที่บ้านและซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงเพิ่มเติมเข้าด้วยกัน แล้วสร้างวัดขึ้นในปี 2368 ถวายเป็นพระอารามหลวง โดยพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) พระราชทานนามว่า ‘วัดกัลยาณมิตร’ ชุมชนวัดกัลยาณมิตรอยู่กันมานาน ที่ผ่านมาเจ้าอาวาสทั้ง 9 รูป และชาวบ้าน ต่างอยู่กันด้วยดี ที่ดินบางส่วนแบ่งให้ชาวบ้านเช่าเป็นที่อยู่อาศัยและช่วยกันท�ำนุ บ�ำรุงวัดเรื่อยมา กระทั่งปี 2546 หลังจากพระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ) ได้ รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ก็เดินหน้าบูรณะสังขรณ์โบราณสถาน ภายในวัด อ้างเหตุผลว่าเก่าแก่ทรุดโทรม โดยไม่สนใจค�ำคัดค้านของชาวบ้าน ปัญหาความขัดแย้งจึงค่อยๆ ก่อตัวขึ้น แม้ชาวบ้านจะตัดสินใจฟ้องร้องและด�ำเนินคดีกับทางวัดข้อหาท�ำลายโบราณ สถาน แต่วดั ยังคงด�ำเนินการทุบท�ำลายโบราณสถานอยูเ่ รือ่ ยๆ ท่ามกลางการประท้วง อย่างเปิดเผย แล้วสิ่งที่ไม่เคยมีใครคาดคิดก็ได้เกิดขึ้น เมื่อทางวัดประกาศยกเลิก สัญญาเช่าที่ดินบางส่วนของชุมชน และให้ชาวบ้านย้ายออกจากพื้นที่ทันที เรื่องนี้เป็นที่ครึกโครมในพื้นที่สื่อพอสมควร จากเหตุการณ์ไล่รื้อบ้านหลังแรก

เมือ่ วันที่ 9 กันยายน 2558 ซึง่ เป็นบ้านของแกนน�ำต่อต้านการทุบท�ำลายโบราณสถาน ของวัดกัลยาณมิตร โดยไม่มีการประกาศแจ้ง เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีน�ำก�ำลังต�ำรวจ ทหาร พร้อมชายฉกรรจ์ เดินทางเข้าใช้ คีมขนาดใหญ่ตัดแม่กุญแจหน้าบ้าน ก่อนเข้าไปยึดทรัพย์สินซึ่งมีเพียงข้าวของ เครื่องใช้ส�ำหรับประกอบอาชีพ เมื่อชาวบ้านได้เห็นการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ใน วันนั้น ยิ่งท�ำให้เกิดความกลัวและรู้สึกไม่ปลอดภัย เพราะที่ผ่านมาทางเจ้าอาวาส ไม่เคยลงมาพูดคุยกับชาวบ้านเลย แม้ทางวัดจะบอกว่าการไล่รื้อท�ำอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยกรมบังคับคดี ได้ปฏิบัติตามค�ำสั่งศาลแพ่งธนบุรี ซึ่งตัดสินให้ทางวัดชนะคดีในชั้นศาลฎีกาเมื่อปี 2552 โดยทางวัดกล่าวหาว่าบ้านของชาวบ้านบดบังทัศนียภาพของวัด การไล่รื้อจึง ได้ด�ำเนินไปเพียงเพื่อท�ำให้ทัศนียภาพดีขึ้น แต่กลับเป็นเหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือ ความคาดหมายของผู้คน ทั้งปะทะ ขัดแย้ง และสวนทางกับค่านิยม จารีต ชุดคุณค่า ดั้งเดิมของสังคมไทยโดยสิ้นเชิง เพราะกระท�ำโดยวัดและพระสงฆ์ ถึงวันนี้ยังไม่มีทางออกส�ำหรับปัญหาดังกล่าว บ้านเรือนในชุมชนทีถ่ กู รือ้ ถอนเป็นหลักฐานการล่มสลายของหลักคิดเรือ่ ง “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียน) ตามแนวพระราชด�ำริฯ ที่ชัดเจนที่สุดครั้งหนึ่ง

ป้อมมหากาฬ ยิ่งนาน ยิ่งเปลี่ยนแปลง

เอกสารจากศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์ระบุว่าป้อมมหากาฬถือเป็น 1 ใน 14 ป้อมส�ำคัญ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) โปรด เกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อครั้งทรงสร้างพระนครและพระบรมมหาราชวัง ป้อมมหากาฬเป็นป้อมหนึ่งที่ประจ�ำพระนครด้านทิศตะวันออก ซึ่งต่อมาในปี 2492 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และมีการบูรณะอย่าง ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ริมก�ำแพงชั้นในของป้อมมหากาฬมีการปลูกสร้างอาคารเป็นแนวยาวตลอด ตัง้ แต่สะพานผ่านฟ้าลีลาศจรดแนวคูคลองวัดเทพธิดาราม เมือ่ เวลาผ่านไปบ้านเรือน เพิ่มขึ้นตามล�ำดับ เกิดการร่วมตัวจากกลุ่มเล็กๆ จนขยายตัวกลายเป็น ‘ชุมชนป้อม มหากาฬ’ มีชีวิตและอาชีพอันหลากหลายแฝงอยู่หลังก�ำแพง ทั้งเครื่องปั้นดินเผา งานหัตถกรรมกรงนก การนวดแผนไทย การหลอมทอง ฯลฯ มรดกจากอดีตที่ยังมีลมหายใจส�ำหรับชุมชน อย่างบ้านเลขที่ 97 ที่พวกเขา พยายามดูแลรักษาเอาไว้ บ้านหลังนี้เป็นบ้านทรงไทยหลังคาทรงสูงและยกใต้ถุน สูง ฉบับมาตรฐานของเรือนไทยในอดีต ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง หน้าจั่วท�ำเป็นแบบ ที่เรียกว่า “จั่วใบปรือ” เป็นตัวอย่างของเรือนไทยที่งดงามหลังหนึ่งที่ยังคงเหลืออยู่

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ชุมชนป้อมมหากาฬเป็นหนึ่งในหลายชุมชนเก่าแก่ในเขต กรุ ง เทพมหานคร ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากการจั ด ผั ง เมื อ งของโครงการท� ำ เกาะ รัตนโกสินทร์ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ ท�ำให้ต้องมีการรื้อถอนชุมชนที่อยู่บริเวณ หลังแนวก�ำแพงและป้อมมหากาฬออกทั้งหมด โครงการดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากโครงการปรับปรุงพื้นที่บริเวณป้อม มหากาฬ เพื่อจัดท�ำเป็นสวนสาธารณะและอนุรักษ์โบราณสถานของชาติ ตั้งแต่ปี 2502 แต่ที่ยังไม่สามารถส�ำเร็จเป็นรูปเป็นร่างได้ เพราะชาวบ้านภายในชุมชนที่ไม่ เห็นด้วยกับโครงการนี้ช่วยกันเคลื่อนไหวคัดค้านมาโดยตลอด พวกเขาเผชิญกับสถานการณ์การเวนคืนไล่รอื้ ทีด่ นิ มาตัง้ แต่ปี 2535 จนถึงวันนี้ เป็นเวลาเกือบ 20 ปี กับความขัดแย้งที่มีมาอย่างยาวนาน แม้ว่าทางภาครัฐยืนยัน ว่าจะเตรียมที่อยู่ใหม่ และยินยอมจ่ายค่าเสียหายให้ แต่การจัดหาที่อยู่ใหม่ให้แก่ ชาวบ้านยังไม่มีความชัดเจน อีกทั้งภาครัฐยังคงไม่ยอมให้ภาคประชาสังคมเข้าไปมี ส่วนร่วมในการตัดสินใจและเสนอความคิดเห็น สุดท้ายแล้วคนในชุมชนจึงตัดสินใจที่จะอยู่ต่อไป เพื่อต่อสู้กับภาครัฐจนกว่า ข้อเสนอของชุมชนจะได้รับการเปิดเวทีและเกิดแนวทางแก้ไขร่วมกันอย่างแท้จริง


11

ความหวัง ค�ำตอบ ทางออก

เจริญไชย

ย่านเยาวราช หรือ ไชน่าทาวน์เมืองไทย เป็นทัง้ ย่านธุรกิจ การค้า การเงิน การธนาคาร ร้านทอง ภัตตาคาร ร้านอาหาร ฯลฯ แหล่งท่องเที่ยวส�ำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะเมื่อถึงเทศกาลส�ำคัญอย่างตรุษจีน ชุมชนเจริญไชย ชื่อนี้อาจไม่เป็นที่พูดถึงมากนักในวง กว้าง แต่ที่นี่มีความส�ำคัญอย่างมากต่อผู้คนในเยาวราชและ คนไทยเชื้อสายจีนจากที่ต่างๆ เนื่องจากเป็นพื้นที่ทางการค้า สินค้าทางประเพณีความเชื่อ เช่น กระดาษที่ใช้ในงานไหว้เจ้า อุปกรณ์ส�ำหรับงานแต่งงานแบบจีน และเสื้อผ้าตามงาน ประเพณีต่างๆ ท�ำให้เจริญไชยเป็นศูนย์รวมสินค้าที่เกี่ยวกับ วัฒนธรรมประเพณีของชาวจีนทีเ่ ก่าแก่และใหญ่ทสี่ ดุ แห่งหนึง่ ในประเทศไทย นอกจากสถาปัตยกรรมของตัวอาคารที่สร้างมาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 5 กลิ่นหอมเครื่องสมุนไพรยาจีน การจัดแต่ง ของในร้าน รถเข็นของที่วิ่งผ่านไปมาตามตรอกซอยเล็กๆ ร้านค้าแผงลอยที่มีสินค้าหลากหลายชวนมองชวนซื้อ ยังถือ เป็นเอกลักษณ์ที่ผู้คนมักคุ้นตาเป็นอย่างดี กล่าวได้ว่า เจริญไชยเป็นหนึ่งในพื้นที่เล็กๆ ที่คงไว้ซึ่ง ความเป็นคนไทยเชื้อสายจีนอย่างเหนียวแน่นอีกพื้นที่หนึ่ง ในเยาวราช

แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะรอดพ้นกระแส ของความเปลี่ยนแปลง การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน�้ำเงิน ส่วน ต่อขยายจากสถานีหัวล�ำโพงไปยังบางแค โดยมีแนวตัดผ่าน ถนนเจริญกรุง ก่อ ให้เกิดโครงการพัฒนาพื้นที่ใหม่ใ นเชิง พาณิชย์เพื่อรับโครงการรถไฟฟ้าไปพร้อมๆ กัน ท�ำให้ตึกเก่า ย่านนี้บางส่วนจะต้องถูกรื้อและทุบทิ้ง นอกจากความพยายามในการเจรจาหาทางออกร่วมกับ เจ้าของพื้นที่อย่างมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ภายในชุมชนเองก็ เริ่มมีการหันกลับมาท�ำงานเชิงอนุรักษ์เพื่ออยู่ร่วมกับการ พัฒนาอีกทางหนึ่ง ‘บ้านเก่าเล่าเรื่อง’ คือพิพิธภัณฑ์ชุมชน ที่ตั้งอยู่ในห้องที่ 32 ตรอกเจริญกรุง 23 ใกล้กับวัดมังกรกมลาวาสหรือวัดเล่ง เน่ยยี่ เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเจริญ ไชยพยายามสื่อสารถึงผู้คนภายนอก ให้เห็นถึงความเป็นมา และอัตลักษณ์ของย่าน แม้ความเงียบคือค�ำตอบทีพ่ วกเขาได้รบั จากการยืน่ เรือ่ ง เจรจาและคัดค้านการย้ายชุมชนมากว่า 5 ปี ระหว่างที่สถานี รถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกรก�ำลังเดินหน้าก่อสร้าง แต่คนในชุมชน เจริญไชยก็ยังหวังว่าทางออกของเรื่องนี้จะจบลงได้ด้วยดี

คลองลาดพร้าว

ประชาพิ จารณ์เพื่ อพั ฒนา

แม้ทางภาครัฐยืนยันจะเตรียม ที่อยู่ใหม่ และยินยอมจ่าย ค่าเสียหายให้ แต่การจัดการ ยังไม่มีความชัดเจน ทั้งไม่ยอม ให้ภาคประชาสังคมเข้าไป มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และแสดงความคิดเห็น

สมัยก่อนผูค้ นเดินทางโดยใช้เรือเป็นพาหนะ ท�ำให้ตลอด ทัง้ 2 ฝัง่ คลองเมือง เป็นพืน้ ทีล่ งหลักปักฐานของผูค้ นอันหลาก หลาย มาถึงวันนี้ริมสองฝั่งคลองลาดพร้าวก็ยังคงเต็มไปด้วย สีสนั ของบ้านริมคลอง และความเป็นอยูข่ องชุมชนทีย่ งั โดดเด่น จ�ำรัส กลิน่ อุบล ประธานชุมชน เริม่ ต้นรวบรวมชาวบ้าน ให้ชว่ ยกันปรับเปลีย่ นวิถชี วี ติ และดูแลคลอง เพือ่ เตรียมพร้อม รับนักท่องเที่ยวทั้งไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการ พวกเขาเป็นส่วนหนึง่ ของการสร้างอัตลักษณ์ชมุ ชนตลอด แนวของเขตห้วยขวางและแนวคลองลาดพร้าว จนถึงคลอง บางซื่อ ในการท�ำคมนาคมริมคลองที่จะไปเชื่อมโยงกับการ สัญจรทางน�้ำ และเชื่อมต่อไปถึงรถไฟฟ้าบีทีเอส แต่เมื่อมีโครงการของทางภาครัฐที่มีนโยบายในการจัด ระเบียบและแก้ไขปัญหาสิ่งปลูกสร้างที่รุกล�้ำแนวเขตคลอง เข้ามาก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) ท�ำให้คนใน ชุมชนเริ่มไม่แน่ใจ โครงการก่อสร้างเขื่อนคสล.และประตูระบายน�้ำคลอง ลาดพร้าว คลองบางบัว คลองถนน คลองสอง และคลอง บางซื่ อ จากบริ เ วณเขื่ อ นเดิ ม อุ โ มงค์ ยั ก ษ์ พ ระรามเก้ า รามค�ำแหง ไปทางประตูระบายน�้ำคลองสองสายใต้ เพื่อ ขยายคลองให้กว้าง 38 เมตร เพราะต้องการจัดระเบียบ คลองลาดพร้าว ให้คลองท�ำหน้าที่ระบายน�้ำได้อย่างเต็ม

ประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน�้ำท่วม ซึ่งเริ่ม ด�ำเนินการปลายเดือนตุลาคม 2558 ท�ำให้ชาวบ้านทีอ่ ยูอ่ าศัย รุกล�้ำคลองจ�ำนวนกว่า 3,000 หลังคาเรือน ต้องเตรียมตัว ย้ายออกจากพื้นที่ หลายครอบครัวทีอ่ าศัยอยูจ่ งึ โดนผลกระทบจากโครงการ ที่จะเข้ามาพัฒนาความเป็นอยู่นี้ไปตามๆ กัน คนในชุมชนมีการขอหน่วยงานภาครัฐเข้าไปมีส่วนร่วม ในการออกแบบพื้นที่ที่จะพัฒนา แม้จะมีการเสนอแนวทาง รองรับที่อยู่อาศัยให้กับประชาชน ตามนโยบายของรัฐบาล โดยให้ชมุ ชนออมเงินเข้ากลุม่ ออมทรัพย์เพือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัย เพือ่ น�ำ เงินมาสร้างบ้านมั่นคงในชุมชนเดิม แต่ชาวบ้านไม่มั่นใจกับ การเข้าร่วมกลุ่ม เพราะหากย้ายไปในตอนนี้ แม้แต่ค่าใช้จ่าย การขนย้ายหรือจัดหาพื้นที่ให้ ภาครัฐก็ยังไม่มีแผนเยียวยาที่ ชัดเจน ซึ่งต้องปลูกสร้างบ้านหลังใหม่บนพื้นที่ใหม่ขึ้นมาด้วย ตัวเอง น�ำมาสู่ความล�ำบากต่อคนในชุมชนทั้งสิ้น จ�ำรัส กลิ่นอุบล ประธานชุมชนคลองลาดพร้าวมองว่า ประชาพิจารณ์จะเป็นเครื่องมือที่น�ำไปสู่ทางออกที่ดีที่สุด แต่ ขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาท�ำอย่างเป็นเรื่องเป็นราว แม้ทางชุมชนจะเสนอไป ก็ไร้การตอบรับ สุดท้ายแล้วได้แต่ภาวนาให้การพัฒนาพื้นที่เกิดมาจาก ความร่วมมือของคนในชุมชนอย่างแท้จริง

การเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ แต่ไม่อาจเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ ชุมชนต่างๆ เหล่านี้ คือบทเรียนจากการพั ฒนาที่มาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงและการล่มสลาย


12

ทางในฝัน CYCLE กระแสความนิยมคล้ายดังกระแสน�ำ้ ไหลเข้ามาแล้วก็ไหลผ่านไป เหมือนกับกงล้อของจักรยานที่เริ่มต้นหมุน และจะหยุดลงเมื่อสุดปลายทาง ตอนนี้จะเห็นว่าความสนใจในจักรยานก�ำลังเป็นกระแสหนึ่งของ

ของรัฐ หรือประชาชน

หากถามถึง ‘โครงการแลนด์มาร์กเจ้าพระยา’ คง ไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะถือเป็นโปรเจคต์ใหญ่ยักษ์ ของ รัฐบาลชุดนี้ ทั้งยังส่งผลกระทบกับหลายฝ่ายอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตชุมชนริมแม่น�ำ้ สถานที่ส�ำคัญของ ทั้งราชการและเอกชน ทัศนียภาพสองฝั่งแม่น้�ำที่จะ ถูกบดบัง ด้วยเหตุเหล่านี้จึงท�ำให้เกิดกระแสต่อต้าน และความทีโ่ ครงการฯ ไม่ได้ระบุรายละเอียดส�ำคัญ เอาไว้อย่างชัดเจนและมากพอ รวมถึงแบบแผนที่ไม่ รัดกุมและเข้มงวด ท�ำให้หลายฝ่ายแสดงความกังวล และร่วมกันคัดค้านอย่างที่เป็นอยู่

สังคม เราสามารถพบเห็นกิจกรรมและโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ จักรยานอยู่เป็นระยะ รวมทั้งมีกลุ่มคนรักจักรยานเพิ่ มมากขึ้น ธุรกิจ จักรยานเฟื่ องฟู มีการสร้างเลนจักรยานในสถานทีต ่ า่ งๆ เพื่อสนับสนุน

เพราะขัดจึงค้าน

และตอบรับเทรนด์การปั่นในสังคมไทย

หลังจากตัวโครงการพัฒนาริมฝัง่ แม่นำ�้ เจ้าพระยาได้ออก สู่สายตาประชาชน ก็เกิดกลุ่มนักวิชาการและกลุ่มชาวบ้านที่ ไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้เริ่มคัดค้าน โดยกลุ่มหลักๆ ที่ปรากฏ ชัดตามหน้าสื่อเห็นจะเป็นกลุ่ม ‘Friend of the River’ ซึ่งเป็น องค์กรไม่แสวงหาผลก�ำไร โดยล่าสุด สภาสถาปนิกและสมาคมวิชาชีพ 4 สมาคม ได้ออกมาแถลงข่าว ขอให้มีการแก้ไขร่างขอบเขตงานหรือ ทีโออาร์ของโครงการพัฒนาริมฝัง่ แม่นำ�้ เจ้าพระยา เพราะเห็น ว่าทีโออาร์เดิมมุ่งเน้นไปที่การสร้างถนนเลียบแม่น�้ำมากกว่า จะเป็นการสร้างพื้นที่สาธารณะ ขาดกระบวนการมีส่วนร่วม ในทุกขั้นตอนอย่างมีนัยยะส�ำคัญ ทั้งนี้ ขอบเขตงานควรครอบคลุมทุกมิติ ไม่ใช่ศึกษาแค่ เพี ย งทางเลี ย บริ ม น�้ ำ และยั ง เน้ น บุ ค ลากรด้ า นวิ ศ วกรรม มากกว่าด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อม ด้านนายยศพล บุญสม ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘Friend of the River’ มีความเห็นว่าโครงการนีเ้ ป็นการท�ำลายแม่นำ�้ มากกว่า การสร้างแลนด์มาร์ก นอกจากจะสูญเสียความกว้างของล�ำน�ำ้ เจ้าพระยาแล้ว ยังบดบังทัศนียภาพของสถาปัตยกรรมริมน�้ำ เดิมอีกด้วย สอดคล้องกับ รศ.ศรีภัทร วัลลิโภดม นักวิชาการด้าน ประวัติศาสตร์ ที่เห็นว่าโครงการนี้จะท�ำลายความเป็นแม่น�้ำ เจ้าพระยาให้หมดไป ละเมิดวิถีชีวิตชุมชนที่มีมานาน และ บดบังทัศนียภาพอันสวยงาม อีกมากมายหลากหลายความคิดเห็น แต่ส่วนใหญ่ต่าง ก็มองในจุดเดียวกัน ว่าโครงการนี้ไม่ควรเกิดขึ้น รวมถึงงบ ประมาณการก่อสร้างทีม่ ากถึง 14,000 ล้านบาท ดูจะมากเกิน ไปส�ำหรับโครงการสร้างทางเลียบแม่น�้ำเจ้าพระยา

แต่ความนิยม ไม่วา่ กับเรือ ่ งอะไรก็ตาม ไม่เคยมีสง ิ่ ไหนคงอยูอ ่ ย่าง ถาวร เมือ ่ จักรยานเข้ามาอยูใ่ นชีวต ิ ของผูค ้ นจนถึงจุดหนึง ่ ความแปลก ใหม่และน่าสนใจค่อยๆ จางหาย ความนิยมอื่นเข้าแทนที่ และหันเหให้ ผู้คนเลิกสนใจจักรยาน แล้วจักรยานพวกนั้นล่ะ จะเป็นอย่างไร? สนิมกัดกร่อน

โซ่หย่อนห้อยค้าง

ถูกวางทิง ้ ขว้าง รกร้างไม่เหลียวแล กระแสที่ปลุกปั่นจบลงอย่างเงียบๆ โดยการเหลือไว้เพี ยงเส้น ทางที่เงียบเหงาและจักรยานที่รกร้าง วงล้อที่เคยหมุนวน จะหยุดนิง ่ สนิท...


13

ตราบใดที่รัฐบาลยังคงยึดมั่นในการพั ฒนาพื้ นที่ริมฝั่งเจ้าพระยา โดยไม่สนใจการมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อนั้นปัญหาต่างๆ จะตามมา

เป็นดังรัฐคาดหรือไม่

สิ่งหนึ่งที่ประชาชนวิตกกังวลนอกจากการวางแผนงาน ของรัฐที่ไม่เหมาะสมแล้ว ประชาชนยังเกิดค�ำถามขึ้นต่อมา ว่าความยาวตลอดสองฝั่งรวม 14 กิโลเมตรนั้น จะถูกใช้งาน อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งไม่มีใครยืนยันได้ว่าพื้นที่ สองฟากริมน�้ำ จะไม่ถูกเปลี่ยนไปเป็นสิ่งอื่นในอนาคต สิ่งที่หลายคนกังวล คือเมื่อโครงการฯ เสร็จสมบูรณ์แล้ว สถานที่แห่งนี้จะกลายเป็นอะไรบ้าง ตลาดนัดกลางคืน แหล่งท่องเที่ยวใหม่ของกรุงเทพฯ ที่ เต็ม ไปด้วยร้ านค้าแผงลอย ร้านรวงมากมายตั้งเรียงราย แน่นขนัดไปตลอดทั้งเส้น เป็นเช่นนั้นหรือไม่ แล้วจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าจะไม่มีบริเวณใดบริเวณหนึ่ง กลายเป็นแหล่งมั่วสุมขึ้นมา รวมทั้งภาครัฐมีแผนการดูแล ด้านความปลอดภัยอย่างไร ปัญหาข้างต้นเป็นเพียงสถานการณ์ทปี่ ระชาชนพากันคิด และกังวล เพราะหากเกิดขึ้นจริงย่อมไม่ใช่เรื่องดีแน่ ตราบใด ทีร่ ฐั บาลยังคงยึดมัน่ ในการพัฒนาพืน้ ทีร่ มิ ฝัง่ แม่นำ�้ เจ้าพระยา โดยไม่สนใจการมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อนั้นปัญหาต่างๆ จะตกทอดตามมา เช่นเดียวกับงบประมาณการสร้างทีเ่ หมือน เป็นการสูญเงินเพื่อแก้ปัญหาหลังเงา สิง ่ ที่รัฐบาลควรทบทวน

อันที่จริงรัฐบาลมีตัวอย่างที่ดีอยู่แล้ว แต่ไม่รู้ด้วยเหตุผล ประการใด ท�ำให้รัฐบาลไม่คิดไตร่ตรองและขาดซึ่งความ ละเอียดถี่ถ้วน เพราะงานดังกล่าวมีลักษณะที่คล้ายกันมาก กับโครงการริมน�้ำยานนาวา ที่มีการจัดเตรียมแผนการมา ก่อนหน้าโครงการแลนด์มาร์กเจ้าพระยาหลายปี แต่สุดท้าย ดันมาชนกับโครงการของรัฐบาลท�ำให้โครงการริมน�ำ้ ยานนาวา ต้องชะงักไป

กล่าวถึงโครงการริมน�้ำยานนาวาที่มีจุดประสงค์เหมือน กับโครงการแลนด์มาร์ก คือเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจส�ำหรับ คนกรุงในละแวกนั้น ทุกคนสามารถเดินเล่นและปั่นจักรยาน ริมน�้ำได้ โดยตัวโครงการมีระยะทางตั้งแต่เชิงสะพานตากสิน ไปจนถึงโรงแรมชาเทรียม มีระยะทางร่วม 1.2 กิโลเมตร ด้วย ความที่เป็นย่านกลางกรุง มีสถานีรถไฟฟ้าและท่าเรือโดยสาร ท�ำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ง่าย แต่จุดแข็งที่ท�ำให้โครงการริมน�้ำยานนาวาดูมีเหตุมีผล ไม่เกิดกรณีคัดค้านหรือต่อต้านใดๆ ก็เพราะการท�ำประชา พิจารณ์ระหว่างตัวโครงการกับเจ้าของที่ดินบริเวณนั้น ไม่ว่า จะเป็นเอกชน โรงเรียน วัด ได้จัดการประชุมหารือร่วมกัน เพื่อปรึกษาหาทางออก ไม่มีการเวนคืน แต่ปรับพื้นที่ในแต่ละ บริเวณให้เหมาะสม ซึ่งนั่นท�ำให้ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันและ ต่างได้ในสิ่งที่ตัวเองพึงพอใจ นอกจากนั้น โครงการยังมีการจัดนิทรรศการ ‘Bangkok Dockland’ เพื่ อ ให้ ผู ้ ที่ ส นใจได้ ท ราบถึ ง รายละเอี ย ดของ โครงการ ว่าหากเกิดพื้นที่ตรงนี้ขึ้นมาจริง มันจะเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยาของ รั ฐ บาล ซึ่ ง ขาดความเห็ น ของประชาชนหรื อ ผู ้ ที่ ไ ด้ รั บ ผล กระทบ ขาดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ขาดเรื่องการให้ ข้อมูล การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนทราบและเข้าใจ ถึงสิ่งที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นและพวกเขาต้องเผชิญ สิ่งที่รัฐบาลควรท�ำไม่ใช่การตะบี้ตะบันสร้างผลงานให้ เกิดขึ้นโดยไม่ถามผู้คนสักค�ำ ไม่ถามถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการ ไม่ถามว่าพวกเขาพอใจและเห็นด้วยหรือไม่ บางทีรัฐบาลอาจลืมคิดไปว่าพวกเขามาด�ำรงต�ำแหน่งก็ เพื่อประเทศชาติ เพื่อความสุขของประชาชน ไม่ใช่ความสุข ของใครคนใดคนหนึ่ง


14

เพราะเจ้ า พระยา เป็ น ของ ทางจักรยานคอนกรีตเสริมเหล็กเลียบแม่น�้ำเจ้าพระยาระยะทาง 14 กิโลเมตร เริ่มต้นตั้งแต่สะพานพระราม 7 ทอดแนวยาวขนานตามริมฝั่งแม่น�้ำ จนสุดที่สะพาน สมเด็จพระปิ่นเกล้า กับชื่อ ‘โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยา’ หรือที่รู้จักกัน ในนาม ‘แลนด์มาร์กเจ้าพระยา’ อาจเป็นเรื่องฝันหวานส�ำหรับใครหลายคน (โดย เฉพาะรัฐบาล) แต่ผิดกับคนบางกลุ่มที่เห็นต่างอย่างสิ้นเชิง แม้แต่ในโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่าง change.org ที่มีผู้รณรงค์ต่อต้านโครงการ พัฒนาริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยาไม่ต�่ำกว่า 15,000 คน รวมถึงกิจกรรมสาธารณะหรือ งานเสวนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงาน ‘เสวนาริมน�้ำ’ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 งาน ‘ภาคีมหาวิทยาลัยคิดเพื่อแม่น�้ำ 14 กม.’ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2558 งานปาฐกถา ‘เจ้าพระยา ยศล่ม ลงฤา’ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2558 ฯลฯ โดยงานทั้งหมดจัดขึ้น เพื่อชวนสังคมตั้งค�ำถาม พูดคุยแลกเปลี่ยนทรรศนะ ตลอดจนการแสดงความไม่ เห็นด้วยต่อโครงการดังกล่าว เช่นเดียวกับ ยศพล บุญสม ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Friends of the River (FOR) ที่ แสดงจุดยืนคัดค้านแลนด์มาร์กเจ้าพระยา โดยเขาพยายามให้ข้อมูล รายละเอียด และผลกระทบว่าหากโครงการนี้ก่อตัวเป็นรูปร่างขึ้นมาจริง ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร “สิ่งส�ำคัญที่ผมพยายามให้สังคมเกิดการตั้งโจทย์ร่วมกัน คือเมื่อเรามายืนอยู่ บนทางแยก คุณอยากจะท�ำอะไรกับพืน้ ทีร่ มิ น�ำ้ มาช่วยกันคิดดีไหม ใช้โอกาสกับเงิน หมืน่ สีพ่ นั ล้านให้ทำ� ได้มากกว่าแค่พดู เรือ่ งทางเดินริมน�ำ้ ” ยศพลตัง้ ค�ำถามกับสังคม นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่จะตามมาอีกมากมาย ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่กลุ่ม FOR สถาปนิก หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่จะได้รับผลกระทบ แต่รวมถึงประชาชนทุกคน

คนทั่วไปที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแม่น�้ำเจ้าพระยาโดยตรง ท�ำไมถึงต้องท�ำความเข้าใจโครงการนี้

โครงการแลนด์มาร์กเจ้าพระยามีลก ั ษณะการออกแบบ อย่างไร

ถ้าวันหนึ่งมีแลนด์มาร์กเจ้าพระยาตามการออกแบบ ของภาครัฐฯ จริง มันจะบดบังอะไรบ้าง

จริงๆ ผมเองก็ไม่ได้เป็นคนทีส่ นใจแม่นำ�้ มาก่อน และบ้าน ก็ไม่ได้อยู่ริมน�้ำ แต่ถ้าย้อนกลับไปว่าท�ำไมถึงสนใจ เพราะคิด ว่าแม่น�้ำเป็นพื้นที่ของทุกคน เป็นพื้นที่สาธารณะ เป็นพื้นที่ เมืองที่เราผูกพัน เป็นวัฒนธรรมรากเหง้า ยิ่งปัจจุบันที่แม่น�้ำ เจ้าพระยาก�ำลังถูกท�ำลายเรื่อยๆ แต่เราก็นิ่งเฉยกับมัน ผมจึง คิดว่าเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่ต้องลุกขึ้นมาปกป้อง เพราะ เป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ที่ยอมไม่ได้ คือสุดท้ายมันก็เป็น เรื่องสิทธิเสรีภาพเหมือนกันนะ เลยต้องลุกขึ้นมา ไม่ได้จ�ำกัดแค่เรื่องแม่น�้ำ ในเมืองยังมีประเด็นอีกเยอะ แม่น�้ำเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ท�ำให้คนลุกขึ้นมาสู้ เป็นเรื่องหนึ่งที่ พลเมืองต้องมีสิทธิ์ มีเสียง เพราะถ้าเราไม่แสดงความเป็น เจ้าของ สุดท้ายหมายความว่ารัฐหรือใครก็ตามจะท�ำอะไร กับสิ่งแวดล้อมก็ได้ แล้วมันอาจน�ำไปสู่การที่เราต้องทนอยู่ กับสิ่งที่เราไม่ต้องการ

ตอนนีเ้ ขาใช้หนึง่ รูปแบบกับทัง้ ล�ำน�ำ้ ซึง่ มันไม่สอดคล้อง กับบริบทของแต่ละพืน้ ที่ หน้าวัดควรเป็นแบบหนึง่ หน้าชุมชน ควรเป็นอีกแบบหนึ่ง เพราะแต่ละที่มีข้อจ�ำกัด มีรายละเอียด แตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้หรือเจ้าของที่ดิน ในทีโออาร์ (ข้อก�ำหนดรายละเอียดของผู้ว่าจ้างและการ ศึกษาผลกระทบของโครงการ) บอกว่าให้มกี ารศึกษาภาพใหญ่ ว่าตรงไหนควรท�ำหรือไม่ควรท�ำ โดยต้องศึกษาภาพย่อยด้วย ว่าใน 14 กิโลเมตร ต้องมีแบบทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม อย่างไร แต่ตอนนี้กลับใช้ผู้ชนะการประมูลเจ้าเดียวในการ ออกแบบทั้งหมด ก่อนที่รัฐจะประกาศทีโออาร์ ควรศึกษาภาพใหญ่ให้ เรียบร้อย และไม่ควรใช้บริษัทเดียวในการท�ำ เพราะจะไม่เกิด ความหลากหลายของงานออกแบบ ควรแตกทีโออาร์แต่ละ จุดที่มีความเซนท์ซิทีฟต่างกัน เพื่อให้เกิดความหลากหลาย เพราะถ้ามีความคล้ายคลึงกันตลอดทั้ง 14 กิโลเมตร มันก็มี แนวโน้มว่าจะไม่ตอบสนองความหลากหลายตลอดล�ำน�้ำได้

ด้วยความสูงของมัน จะบดบังวัด วัง สถานทีส่ ำ� คัญต่างๆ ที่อยู่ริมน�้ำ มันจะสร้างทัศนียภาพอันใหม่ในลักษณะของถนน ตอม่อ และจะสร้างสิ่งแปลกปลอมในเชิงทัศนียภาพให้กับวิถี ชีวิตริมน�้ำ ท�ำให้ภาพของแม่น�้ำเปลี่ยนแปลงไป ทัศนียภาพที่เปลี่ยนไปจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของ ผู้คนริมน�้ำอย่างไร

ส่วนหนึง่ เราต้องยอมรับว่าวิถชี วี ติ มันเปลีย่ นไปแล้ว การ ใช้ชวี ติ กับน�ำ้ ลดน้อยลงไปมากๆ แต่ทนี พี้ อมันมีสงิ่ ก่อสร้างขึน้ มาจะท�ำให้เกิดรูปแบบการสัญจรมากขึ้น บ้านที่อยู่ติดริมน�้ำ จะกลายเป็นอยู่ติดถนน อาจมีข้อดีที่ท�ำให้คนเข้าถึงชุมชนได้ ง่ายขึน้ แต่ความเป็นส่วนตัวหรือมนต์เสน่หร์ มิ น�ำ้ ก็จะขาดหาย ไป เพราะมันเกิดสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ คือทุกอย่างจะมีสเกล ขนาดมหึมา มีจ�ำนวนคนมหาศาลเข้ามา ซึ่งมันต้องหาวิธที จี่ ะ ท�ำให้เกิดความสมดุล ว่าตรงไหนควรท�ำหรือไม่ควรท�ำอะไร ตัวอย่างง่ายๆ คือพอแลนด์มาร์กเข้ามาอาจเกิดการรวม ที่ดินแปลงเล็กๆ ริมน�้ำ จากที่ดินที่มีคนเช่าอยู่จะกลายเป็นสิ่ง ก่อสร้างขนาดใหญ่ เป็นคอนโดมิเนียมริมน�้ำ เพราะมันเปิด โอกาสให้เกิดการพัฒนามากขึ้น


15

ถ้าเริ่มตั้งโจทย์โดยไม่จ�ำกัดแค่ทางเดินริมน�ำ้ ใช้ค�ำถามปลายเปิด เราจะได้รูปแบบของการพั ฒนาที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับข้อจ�ำกัด และความต้องการของแต่ละพื้ นที่

ยศพล บุญสม ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม FOR ขอบคุณรูปภาพจาก www.creativemove.com

จึงจ�ำเป็นต้องคุยกับหลายฝ่ายว่าการพัฒนาไม่ได้พูดถึง แค่ทางเดินริมน�้ำ แต่มันต้องมาคุยกันใหม่ว่าการพัฒนาพื้นที่ นี้ ตรงไหนควรจะท�ำอะไร อย่างไร แล้วมีผลกระทบมากน้อย แค่ไหน เราคงไม่อยากให้มีคอนโดติดกับวัดหรือวังใช่ไหม ก็ คงอยากจะเก็บรักษาภูมิทัศน์ วัฒนธรรมไว้ แล้วนักท่องเที่ยวอยากเห็นอะไรมากกว่ากัน

เคยคุยกับผูป้ ระกอบการการท่องเทีย่ วบริเวณนัน้ เขาคิด ว่าแลนด์มาร์กน่าจะส่งผลกระทบให้ปริมาณนักท่องเที่ยวลด ลง เพราะต่อไปเมื่อนักท่องเที่ยวมาล่องเรือแล้วจะเห็นตอม่อ ขนาดใหญ่ นึกถึงเวลาน�้ำขึ้นน�้ำลงห่างกันประมาณสามเมตร แทนที่จะได้เห็นบรรยากาศริมน�้ำ กลายเป็นเห็นโครงสร้าง ฉะนัน้ ตัวโครงการจริงๆ มันไม่ใช่แลนด์มาร์ก แลนด์มาร์ก คือ แม่น�้ำเจ้าพระยา วิถีชีวิต และบ้านเรือนที่อยู่ริมน�้ำ ส่วนผูป้ ระกอบการจักรยานท่องเทีย่ วก็มองว่านักท่องเทีย่ ว มักปั่นเข้าไปในชุมชน ไปดูตึก ดูวิถีชีวิต ดูวัด เขาคิดว่าการมี โครงการนี้คงไม่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเท่าไหร่นัก ไม่น่ามีนัก ท่องเที่ยวไปปั่นเป็นกิโลในลักษณะนี้ สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว คือสิ่งที่อยู่ข้างใน โครงการนี้กลับเป็นตัวท�ำลายการท่องเที่ยว มากกว่าดึงดูดนักท่องเที่ยว แสดงว่าก�ำแพงเจ้าพระยาอาจจะท�ำให้เศรษฐกิจการ ท่องเที่ยวลดลง เพราะคนจะหันไปเที่ยวที่อื่นที่แทน

ใช่ ถ้ายังพัฒนาในทิศทางนี้ ผมคิดว่ามันไม่ส่งเสริมการ ท่องเที่ยว ยกตัวอย่างเช่น ทางเดินริมน�้ำกะดีจีนหรือหน้าสวน สันติชัยปราการ ก็มีทางเดินขนาดเล็กประมาณสองถึงสาม เมตรอยู่เหมือนกัน แต่มีปริมาณนักท่องเที่ยวที่ใช้น้อย ส่วน ใหญ่ถูกทิ้งร้าง ไม่มีการดูแลรักษา ยิ่งกว่านั้นคือกิจการต่างๆ ที่เคยมีความหลากหลาย จะถูกท�ำให้เท่ากันหมด เป็นการลด ทอนตรงส่วนนี้มากกว่า อาจมีผลกระทบเชิงบวกอยูบ่ า้ ง เช่น ท�ำให้คนมีทางเลือก ในการเข้าถึงวัดได้สะดวกขึ้น แต่ต้องมาชั่งน�้ำหนักว่าสิ่งที่ได้ กับสิ่งที่เสีย อะไรคุ้มค่ากว่ากัน ถ้าไม่นับปัจจัยอื่นๆ แค่เรื่องทัศนียภาพเป็นอย่างไร

ความจริงแล้วที่ออกมาคัดค้านก็ยังไม่ได้ศึกษาละเอียด มากนะ แต่ครั้งแรกที่เห็นคือรู้สึกว่ามันน่าเกลียดในแง่ของ ทัศนียภาพ โดยไม่จ�ำเป็นต้องเป็นนักวิชาการ ผมมองสิ่งที่ รัฐบาลเสนอมาแล้ว มันยังไม่สวย อย่างในต่างประเทศการ สร้างทางเดินริมน�้ำ เขาท�ำได้สวยและดีกว่านี้ แต่ของเราที่ ท�ำออกมาคือทางด่วนดีๆ นี่เอง ถ้านับแค่เรื่องภาพลักษณ์ ภายนอกอย่างเดียวก็แย่แล้ว ยิ่งลองมองลงไปในรายละเอียด ตัวทางเดินมันยื่นมาเท่าไหร่ ส่งผลกระทบทางน�้ำไหม เทียบ

ระดับความสูงกับบ้านเรือนชุมชนยิ่งไปกันใหญ่ มีแต่เช็คลิสต์ ที่บอกว่าไม่มีข้อดีที่จะสร้างขึ้นมา ย้ อ นกลั บ ไปที่ ต ้ น ตอของมั น ก็ ยิ่ ง หาที่ ม าที่ ไ ปล� ำ บาก ถามว่าสามารถท�ำได้ดีกว่านี้ไหม ท�ำได้ เพราะถ้าเราไปถาม ภาครัฐ เขาก็จะบอกว่าอันนี้เป็นแค่แบบเบื้องต้น เราถึงต้อง ไปเถียงกับเขา ว่าจะท�ำได้สวยแค่ไหน กว้างยาวเท่าไหร่ดี สุดท้ายรัฐก็ยังสร้าง แต่ต้องพยายามออกแบบให้สวย แล้วเรื่องกระแสน�้ำกัดเซาะสิง ่ ปลูกสร้างล่ะ

ขึ้นอยู่กับข้อจ�ำกัดและความต้องการของแต่ละพื้นที่ เราต้อง ปล่อยให้กระบวนการเป็นตัวก�ำหนด สุดท้ายนักวิชาการหรือ นักออกแบบจะเข้ามาดูและเชื่อมโยงให้ได้แผนแม่บทที่พื้นที่ นั้นควรจะเป็น แต่ตอนนี้เหมือนรัฐบาลมีค�ำตอบแล้วในใจว่า จะท�ำทางเดินเท่านี้ กว้างเท่านี้ แสดงว่าคนทุกคนก็ต้องมีส่วนร่วมกับโครงการนี้

ใช่ สัญญาที่รัฐท�ำออกมาเป็นการสร้างพื้นที่สาธารณะ รัฐอาจคุ้นชินกับการสร้างพื้นที่สาธารณะในยุคก่อนๆ แต่การ พัฒนาพื้นที่สาธารณะในลักษณะนั้น มันก็เห็นปัญหาแล้วว่า ถูกทิง้ ร้าง ประชาชนไม่ได้เข้ามามีสว่ นร่วม แต่พอถึงการพัฒนา ยุคใหม่ ควรให้ประชาชนเข้ามามีเสียง มีสทิ ธิตดั สินใจ ให้ดไี ซน์ ตรงเป้าหมายการใช้ คนก็จะเข้ามาใช้ เกิดการดูแลระยะยาว ซึ่งส่วนนี้เป็นสิ่งส�ำคัญที่เปิดให้คนมีส่วนร่วม

มีนักวิชาการเล่าให้ฟังว่าพอมีตอม่อขนาดใหญ่ในล�ำน�้ำ ทัง้ สองข้าง จะท�ำให้การไหลของน�ำ้ ช่วงใต้ทอ่ มีความหนืด น�ำ้ บริเวณที่เหลือจะถูกบีบให้แคบลง ท�ำให้ไหลเร็วและเชี่ยวขึ้น เกิดการกัดเซาะ เพราะลุ่มน�้ำเป็นลุ่มน�้ำโค้งเว้าเป็นธรรมชาติ ฉะนั้นการกัดเซาะจะมีโอกาสรุนแรงขึ้น เราเลยต้องมาสร้าง เขื่อนกันเพื่อบ�ำรุงรักษาเขื่อนที่โดนกัดเซาะไป อีกผลกระทบ คิดว่ามีคนจ�ำนวนเท่าไรที่รู้ว่าตนมีสิทธิในการตัดสินใจ จากความเชี่ยวกราด คือความกังวลของคนเดินเรือโลจิสติกส์ (นิ่งคิด) ใช่ เพราะคนไม่ค่อยรู้กัน แต่ตอนนี้อาจจะรู้มาก ในการกลับเรือในล�ำน�้ำที่แคบลง และที่น่าเป็นห่วงคือปัญหา ขึ้นว่ามีสิทธิ์ ถ้าได้ดูในเว็บ change ก็จะรู้ว่าเขามีสิทธิ์คัดค้าน น�ำ้ ท่วม เพราะเหมือนเราพยายามไปลดหน้าตัดของแม่นำ�้ แต่ผมคิดว่าคนไม่ค่อยรู้ว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร ออกแบบใหม่โดยไม่บดบังหรือรุกล�้ำพื้ นที่ริมน�้ำได้ไหม ทางด้านกฎหมาย การท�ำพื้นที่สาธารณะหรือแม้กระทั่ง สิ่งที่เราพยายามจะเรียกร้อง คือเราพยายามจะเปลี่ยน ในทีโออาร์ มีประกาศอย่างชัดเจนว่าต้องท�ำประชาพิจารณ์ โจทย์ ถ้าอยากปรับปรุงการท่องเที่ยว มันพอจะมีวิธีอื่นไหมที่ อย่างน้อยสองครั้ง ในพื้นที่จะทราบดีว่ามีการสอบถามความ สถานที่เหล่านั้น ชุมชนเหล่านั้น จะพัฒนาได้ดีขึ้น โดยไม่ท�ำ คิดเห็นอย่างไร แต่ถ้ารัฐบาลไม่จริงใจมากพอ กระบวนการ แค่ทางเดินริมน�้ำ ดังนั้นต้องเปลี่ยนมุมมอง เพราะถ้ารัฐบาล เหล่านัน้ ก็เป็นแค่การท�ำพิธกี รรมเพือ่ ให้มนั ผ่านกฎหมายว่าได้ โยนโจทย์มาว่าเราจะท�ำทางเดินริมน�้ำ โจทย์นี้มันไม่ได้ตอบ ท�ำประชาพิจารณ์แล้ว รัฐบาลมีวิธีล่ารายชื่อ โดยน�ำคนที่เห็น ความจ�ำเป็นหรือปัญหาของพื้นที่ ชอบมาอยู่ในที่ประชุม ท�ำให้ไม่ได้ข้อมูลจริง ถ้าเราสามารถ แต่เราจะท�ำยังไงให้สังคมตั้งโจทย์ขึ้นมาใหม่ ถ้าอยาก เรียกร้องให้เกิดการตั้งโจทย์ใหม่ ให้ประชาชนเข้าไปอยู่ใน พัฒนาพื้นที่ริมน�้ำ ควรจะท�ำหรือแก้ปัญหาอะไร มีสิ่งไหนบ้าง กระบวนการนี้อย่างแท้จริง ก็จะเป็นการเริ่มต้นที่ดี สิ่งเหล่านี้ ที่เราต้องท�ำ ซึ่งทางเดินริมน�้ำอาจเป็นหนึ่งในหลายๆ ข้อที่เรา มีอยู่ในกฎหมาย เพียงแต่ผู้ที่น�ำไปปฏิบัติจะต้องหาความ ควรท�ำ มันอาจเป็นทางเดินแบบนีด้ ว้ ยนะ หรืออาจแค่บางส่วน จริงใจให้เจอ ขณะเดียวกัน ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย ถ้า เพราะเขาต้องพัฒนาโครงข่ายสัญจรแบบใหม่ แล้วสิ่งส�ำคัญ ทุกคนยอมแลกที่จะท�ำลายแม่น�้ำเพื่อให้ได้ทางจักรยาน 14 มันไม่ได้มาสรุปแค่รปู แบบว่าควรจะเป็นแบบไหน แต่คดิ ว่าเรา กิโล เราก็ต้องยอมให้มันเป็นไป เพราะนั่นคือสิ่งที่สังคมเลือก ต้องย้อนกลับไปมองโจทย์เพื่อชวนสังคมคิด ว่าจะสร้างพื้นที่ จุดยืนที่มีต่อโครงการนี้เป็นอย่างไร ริมน�้ำให้เหมาะสมกับเมืองในยุคใหม่และแก้ปัญหาสภาพ ต้องไม่สร้างทางเดินริมน�ำ้ ตามแบบของรัฐบาล แล้วถาม แวดล้อมที่มีอยู่ได้อย่างไรบ้าง มันน่าจะเริ่มจากตรงนี้ ส�ำหรับการเปลี่ยนแปลง เราควรเป็นคนเลือกมากกว่า ว่าจะปล่อยสภาพในปัจจุบันให้เป็นอยู่แบบนี้ได้ไหม ในฐานะ จะให้รัฐมาบอกว่าอันนี้คือดีที่สุด แล้วสิ่งที่สะท้อนออกมามัน พลเมืองคงตอบว่าไม่ได้ เรายอมให้เกิดการท�ำลายแม่น�้ำมา ก็ไม่ได้บอกว่านี่คือดีที่สุด พลเมืองต้องมีความรู้ มีพลังในการ มากแล้ว ล่าสุดคือการสร้างเขื่อนกั้นน�้ำ เรายอม เพราะกลัว เลือก ชาวบ้านต้องรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ มีผลกระทบยัง น�้ำท่วมบ้านตัวเอง แต่ตอนนี้ถ้าไปในพื้นที่จะพบว่าเขื่อน ไง การที่เราไปบอกชาวบ้าน ก็เพื่อให้เขาชั่งน�้ำหนักและเลือก ท�ำลายแม่น�้ำไปเยอะ ท�ำลายระบบนิเวศ ท�ำลายการเชื่อมต่อ ท�ำให้ชุมชนเสื่อมโทรม ว่าอยากจะเปลี่ยนแปลงอะไร ผมพยายามท�ำให้สงั คมตัง้ โจทย์รว่ มกัน คือเมือ่ เรามายืน จะดีกว่าถ้าทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง อยู่บนทางแยก คุณอยากจะท�ำอะไรกับพื้นที่ริมน�้ำ มาช่วยกัน ในกระบวนการมีส่วนรวม ถ้าทุกคนโอเคว่าเราจะมีทาง คิดดีไหม ใช้โอกาสกับเงินหมื่นสี่พันล้านให้ท�ำได้มากกว่าแค่ เดินริมน�้ำนะ แต่อาจมีแค่บางจุด อย่างกะดีจีน เขาอาจเลือก พูดเรื่องทางเดินริมน�้ำ ซึ่งน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งส�ำคัญจริงๆ ท�ำเป็นทางเดิน เพราะนักท่องเที่ยวเยอะ ก็ท�ำทางเดินสองถึง อย่างในเพจ Friends of the River ก็มที งั้ คนเห็นด้วยและ สามเมตร ไม่ได้ใหญ่อะไร เปลี่ยนการลดระดับ แยกจากบ้าน ไม่เห็นด้วย คนอยากขี่จักรยานบอกว่าดี แต่เขาไม่ได้อยู่ริมน�้ำ เรือน ทางเดินในชุมชน หรือถ้าอยากท�ำจริงๆ ทีด่ นิ ของราชการ ส่วนคนที่บ้านอยู่ริมน�้ำบอกไม่อยากให้คนมาท�ำแบบนี้ เกิด ก็มีอยู่เยอะ รัฐสภา กรมชลฯ โรงพยาบาล แบงก์ชาติ อาจมี กระบวนการชั่งน�้ำหนัก ที่บอกว่าคุณก�ำลังจะแลกอะไรเพื่อ บางส่วนที่เข้าไปใช้บริเวณนั้นโดยที่ไม่ต้องรุกล�้ำแม่น�้ำ แล้ว อะไร คุ ย กั น ทั้ ง สองฝ่ า ย เพื่ อ ให้ บ ้ า นเมื อ งมั น ตอบโจทย์ บางส่วนก็อาจจะวกเข้าไปในชุมชนเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ประชาชน อย่ า งนี้ ถึ ง จะเรี ย กว่ า การสร้ า งสั ง คมกรุ ง เทพฯ ถ้าเริ่มตั้งโจทย์โดยไม่จ�ำกัดแค่ทางเดินริมน�้ำ ใช้ค�ำถาม จริงๆ แต่สุดท้ายแล้วค�ำตอบจะเป็นอย่างไร ผมว่ามันไม่ได้ ปลายเปิด เราจะได้รูปแบบของการพัฒนาที่หลากหลาย โดย เป็นสิ่งที่น่ากังวล ถ้าหากกระบวนการถูกต้อง


ชั้น 8 อาคาร กสท.โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) ถนนเจริญกรุง แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กทม. 10500 โทรศัพท์ / โทรสาร : 0-2233-4995-7 www.ict.su.ac.th www.ictsilpakorn.com/ictmedia www.facebook.com/looksilp

ลูกศิลป์ เป็นหนังสือพิ มพ์ ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดท�ำโดยนักศึกษาเอกวารสารและหนังสือพิ มพ์ ภายใต้การดูแลของคณาจารย์ โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงในการจัดท�ำหนังสือพิ มพ์ อย่างมืออาชีพ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.