COMPASS Magazine

Page 1


Provence Flavorous Southern France ฟู้ดสไตลิสต์พากินและเที่ยวโพรวองซ์ เรื่อง และ ภาพ: สุทธิพงษ์ สุริยะ

58 COMPASS


อาชีพของผมคือการสร้างผลงานศิลปะที่เกิดจากอาหาร โดยเฉพาะ วัตถุดิบต่างๆ ที่น�ามาปรุง และสร้างสรรค์เป็นเมนูรายการอาหารมากมาย ท�าไมผมถึงเลือกไปฝรั่งเศส และเจาะจงที่โพรวองซ์...? หลายท่านคงสงสัยกัน ค�าตอบอยู่ตรงนี้ครับ ผมเองเติบโตที่หนองคายจังหวัดชายแดนของประเทศไทยติดกับเพื่อนบ้านลาวอันถือเป็น บ้านพี่เมืองน้องรักกันมาแต่โบราณ ความสัมพันธ์นี้รวมไปถึงประเทศเวียดนาม โดยเราเรียก ประเทศแถบนี้รวมๆ กันทั้งหมดว่าอินโดจีน ที่มีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ และวัฒนธรรม ของทั้งชาวเวียดนาม และลาว ซึ่งทั้งสองประเทศในอดีตก็เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาก่อน และผมก็คุ้นเคยกับทั้งสองประเทศนี้เป็นอย่างดี ทั้งอาหารการกิน และพบเห็นการผสมผสาน ศิลปะวัฒนธรรมที่กลมกลืนเข้ากันอย่างลงตัว อาหารฝรั่งเศสฟิวชั่นอย่างขนมปังบาแก็ตทาตับ บดหรือข้าวจี่ปาเต้ของลาว แม้กระทั่งบั๋นหมี่ (Banh Mi) แซนด์วิชแบบเวียดนาม หรือจะทาน บาแก็ตคู่กับสตูเนื้อตุ๋นร้อนๆ ก็เป็นสิ่งที่ผมได้เคยลิ้มลองตั้งแต่เยาว์วัย

COMPASS 59


สุทธิพงษ์ สุริยะ (ขาบ) ฟู้ดสไตลิสต์ผู้เขียนพาเที่ยวโพรวองซ์

60 COMPASS


กลิ่นอายของอาหารฝรั่งเศสจึงท�าให้ผมสนใจอยู่ในตัวเป็นทุนเดิม แล้วท�าไมต้อง โพรวองซ์ (Provence) ด้วย…? อันนี้แหละคือเสน่ห์ของธรรมชาติที่ผมสนใจ ชนบท ในต่างจังหวัดของเมืองไทยกับชนบททางตอนใต้ของฝรั่งเศส ท�าให้พบเห็น สัมผัสและ เปรียบเทียบอะไรหลายอย่างได้ดีทีเดียว เพราะผมท�าการบ้านก่อนเดินทางมาว่าจะต้อง ไปที่ไหนบ้าง โดยเฉพาะกระเป๋าย่าม Homemade Food ที่สะพายไปด้วยตลอดทริป ของการเดินทาง ซึ่งที่โพรวองซ์ผู้คนไปจับจ่ายตลาดก็นิยมใช้ถุงผ้ากันมากมาย ถือเป็นเสน่ห์ที่ควรดูไว้เป็นแบบอย่าง และอนุรักษ์ยิ่ง แต่ก่อนจะพาไปโพรวองซ์ สัมผัส กับอาหารการกิน เรามาเรียนรู้ธรรมเนียมวิธีการกินของคนฝรั่งเศสกันบ้างดีไหมครับ? ตามธรรมเนียมที่ว่า เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม วิถีการกินของชาวฝรั่งเศสจะมีหลายอย่างที่ไม่เหมือนประเทศอื่นๆ ในยุโรป อย่างมารยาทบนโต๊ะอาหารแบบสากลที่ใช้กันอาจจะใช้ไม่ได้เมื่ออยู่ฝรั่งเศส อย่างเช่น ไม่ควรเอ่ยปากขอเครื่องปรุงอะไรเพิ่มเติมลงในจานอาหารที่คนฝรั่งเศสท�าให้กิน โดยเด็ดขาด ยกเว้นพริกไทยหรือเกลือ เพราะจะเป็นการดูถูกเชฟว่าท�าอาหาร ไม่อร่อย ผิดกับธรรมเนียมไทยที่มักจะเติมเครื่องปรุงก่อนชิม หรือไม่ก็มีเครื่องปรุง สารพัดอย่างใส่ถ้วยไว้ให้เตรียมเติมปรุงตามใจชอบ ซึ่งจริงๆ แล้วจะว่าไปอาหารการกิน ในฝรั่งเศสก็ไม่ได้หรูหราไปกว่าชาติตะวันตกอื่นๆ เขาหรอก เพราะอาหารเช้าก็มีแบบ เพียงแค่ครัวซองต์หรือขนมปังทาแยม ไม่ใช่มื้อส�าคัญที่สมาชิกครอบครัวจะมานั่งทาน พร้อมหน้ากัน ส่วนมื้อกลางวันก็ไม่ใช่มื้อหลัก และร้านอาหารก็จะเปิดช่วงกลางวันเที่ยง ถึงบ่ายสองโมงเท่านั้น และเปิดอีกทีตอนเย็น ไม่ได้เปิดให้บริการกินได้ทั้งวันแบบ เมืองไทย ซึ่งอาจมีบางร้านเปิด 24 ชั่วโมงในย่านที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่หัวใจส�าคัญ มื้อหลักของคนฝรั่งเศสจะเป็นตอนเย็น ที่เหล่าสมาชิกในครอบครัว และเพื่อนพ้องได้ ใช้เวลาอยู่ด้วยกัน ซึ่งคนฝรั่งเศสจะใช้เวลานานมากในการกินอาหารเย็นร่วม 2 ชั่วโมง โดยกินอาหารแบบเรียงล�าดับหรือทีละคอร์ส ไม่วางอาหารทุกอย่างบนโต๊ะกันแบบ คนไทย โดยทั่วไปจะมีแบบ 3 คอร์ส หรือเต็มรูปแบบก็เพิ่มเป็น 6 คอร์ส เริ่มจากออเดิร์ฟ ซุป จานหลักเนื้อสัตว์ สลัด เนยแป้งสารพัดอย่าง ปิดท้ายด้วยของหวาน ชากาแฟ

ส่วนเครื่องดื่ม ไวน์หรือขนมปังจะเสิร์ฟตลอดขณะกินอาหาร นอกจากนี้คนฝรั่งเศสมักจะ ใช้มีดและส้อมในการกินอาหารเกือบทุกรายการ โดยมือซ้ายถือส้อม มือขวาถือมีด ไม่มีการเปลี่ยนไปมาเหมือนคนอเมริกัน และธรรมเนียมการกินขนมปังของคนฝรั่งเศส โดยทั่วไปจะนิยมวางไว้บนผ้าปูโต๊ะ แทนที่จะวางไว้ในจานเล็กๆ ยกเว้นงานหรูๆ เป็นต้น ได้เกร็ดความรู้กันแล้วก็เริ่มตระเวนออกเดินทางมุ่งสู่เมืองหลักของแคว้น โพรวองซ์ นั่นก็คือ มาร์เซย์ (Marseille ถ้าอ่านตามส�าเนียงเหน่อๆ แบบฝรั่งเศสจะอ่าน ออกเสียงประมาณว่า ‘มาร์กเซย’ ) ซึ่งเป็นเมืองท่าที่มีประวัติศาสตร์น่าสนใจ และตัว เมืองสวยงาม เหมาะแก่การมาเที่ยวชม เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของฝรั่งเศส ติดกับ ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีอากาศดี แดดตลอดทั้งวัน ริมท่าจะมีกิจกรรมตลอด และรายรอบท่าเรือเก่าที่ถูกโอบล้อมด้วยอาคารสถาปัตยกรรมเก่าแก่ มีนักท่องเที่ยวเดิน เล่นริมอ่าว สนทนากัน และมีร้านอาหารมากมาย ในอ่าวก็มีชาวประมงน�าปลามาขึ้นท่า มีทั้งปลาทูน่า (ซาบะ) ปลาซาร์ดีน ผสมผสานกันไป โดยมีฉากหลังเป็นหมู่เรือยอร์ช ที่จอดรอแล่นลงสู่ทะเลลึก และเมื่อมองผ่านอ่าวไปก็จะมองเห็นโบสถ์ที่ตั้งโดดเด่นอยู่ บนยอดเขา วันที่ผมไปก็ได้ร่วมกิจกรรมที่ชาวพื้นเมืองจัดเทศกาลกินปลาซาร์ดีน โดยซื้อ บัตรเข้างาน และเป็นการร่วมบริจาคให้กับโรตารี เพื่อน�าเงินไปช่วยเด็กที่เป็นโรคหัวใจ ผู้คนให้ความสนใจกันมากมาย ซึ่งอาหารในแต่ละมื้อที่มาร์เซย์ผมเองก็มักจะลิ้มลอง ขนมจ�าพวกเบเกอรี่ตามร้านค้า เพราะเป็นพวกชอบทดลอง และผลไม้สดใหม่ตามตลาด ที่ซื้อใส่กระเป๋าเก็บไว้ ความสนุกของนักเดินทางแบบผมชิมได้หมดทั้งร้านหรูและริมทาง มาฝรั่งเศสทั้งทีก็ต้องกินขนมปังบาแก็ตไส้ต่างๆ มีหลากหลายรูปแบบตามที่คุ้นเคย และครัวซองต์เมนูเช้ายอดฮิตของผมก่อนขึ้นรถไฟไปยังเมืองต่างๆ ครัวซองต์ที่นี่เนื้อจะ หนักแน่น และไม่เหนียว แต่บ้านเราครัวซองต์บางเบากว่า ที่มาร์เซย์ตลาดปลาจะน่า สนใจเพราะมีให้เห็นวางขายริมท่า เมนูง่ายๆ อย่างปลาย่างสมุนไพรก็อร่อยในตัวเอง เพราะความสดใหม่จากทะเล และปรุงได้รสชาติของเนื้อปลา หลายวันที่อยู่มาร์เซย์ จึงได้ลิ้มลองอาหารทะเลแหล่งเลื่องชื่อที่ส่งไปขายในปารีส และที่อื่นๆ ในฝรั่งเศส

COMPASS 61


อีกเมืองที่สวยงามไม่แพ้กันคือ เอ็กซองโพรวองซ์ (Aix-en-Provence) ที่นี่เคยเป็นเมืองหลวงของแคว้นโพรวองซ์ในอดีต ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองมหาวิทยาลัย ที่มีชื่อเสียงเก่าแก่กว่า 600 ปี โดยทั่วไปเมืองนี้จึงมีแต่คนหนุ่มสาว และร้านขาย อาหารมากมายตามริมทางเดิน ไม่เว้นแม้แต่ตามซอกซอยก็จะพบเห็นร้านเบเกอรี่ สวยๆ ซุกอยู่ทั่วทุกหนแห่ง ความพิเศษของที่แห่งนี้คือ ชีวิตของคนที่มีฝน เฉกเช่นนักศึกษารุ่นราวคราวเดียวกันเต็มไปหมดทั่วเมือง เหมือนราวกับว่าเราหลง อยู่ในวงเวียนชีวิตย้อนวัยของการเป็นนักศึกษาอย่างไงอย่างงั้น เป้าหมายต่อไปก็คือเมืองอาวีญง (Avignon) เมืองเก่าแก่ริมแม่น�้าโรน (Rhone) ซึ่งเป็นนครหลวงแห่งคริสตจักรยุคกลาง มีพระราชวังของพระสันตะปาปา ซึ่งดูยิ่งใหญ่ เป็นความรุ่งเรืองยุคอดีตของอาณาจักรคริสต์โรมัน เดินชมจนเหนื่อย ก็มานั่งพักทานอาหารมื้อบ่ายที่ร้านอาหารฝั่งตรงข้ามพระราชวัง เมนูที่น่าสนใจ อยากลองชิมก็มีซุป สลัด ที่เมืองนี้ผม สอบถามคอร์สสอนท�าอาหารเป็นแบบ Gourmet Tour ที่โรงเรียนพาลูกทัวร์ เดินตลาดสด ซึ่งน่าสนใจมาก แต่ไม่ได้มีทุกวัน ต้องจองมาก่อน เลยอด เสียดายไปเลย แต่ก็ไปเดิน ส�ารวจตลาดเองตามที่ศูนย์บริการ นักท่องเที่ยวแนะน�าว่าควรจะไป ตลาดในอาคารซึ่งมีสารพัดวัตถุดิบ อาหารอวดสายตา และนักท่องเที่ยว ก็ชอบเดินตลาดกัน ดูบ้างชิมบ้าง ถ่ายรูปบ้างปะปนกันไป พอหลุดจาก อาคารตลาดสดก็เจอกับลานโล่งกลาง แจ้งขายของเก่าที่อยู่รายล้อมด้วย สถาปัตยกรรมเก่าแก่ มีช้อนส้อม ถ้วยจานโบราณ เดินช็อปปิงส�ารวจ ดูจนได้สิ่งที่ต้องการ ระหว่างทางที่เดิน ไปยังจุดหมายก็จะพบเห็นร้านรวงขาย เบเกอรี่มากมายที่ต้องแวะซื้อก็คือ มาการอง (Macaron) ขนมชิน้ พอดีคา� ท�าจากไข่ขาว อัลมอนด์บดละเอียด และน�้าตาล สอดไส้ตรงกลางด้วยครีม กรอบนอกนุ่มใน แต่ละสูตรก็ต่างกัน ผมทานหลายร้านแต่มีแบบที่ชอบคือ กรอบหนึบแน่น ไม่หวานเกินไปอร่อย ถูกปาก และสีสันเน้นพาสเทลมากกว่า สีจัดจ้าน พลาดเรียนท�าอาหารที่อาวีญง ไม่เป็นไร มองเป็นเป้าหมายเมืองถัดไป ล่ะกัน ทีนี้เพื่อไม่ให้พลาดอีกจึงท�าการ โทรศัพท์นัดหมายล่วงหน้าที่เมือง นีมส์ (Nimes) ไปพักที่บ้านของคนลาว ซึ่งอพยพไปอยู่เมื่อครั้งเปลี่ยนแปลง การปกครอง สไตล์ของบ้านโพรวองซ์ ลักษณะจะเป็นบ้านชั้นเดียวทาสีพาสเทลตัดกัน นอกบ้านจะรายล้อมไปด้วยพืชสวน มีสวนผลไม้พืชพันธุ์ปลูกในบ้านมากมายทั้งต้นมะกอก โรสแมรี่ ลาเวนเดอร์ หรือลูกมะเดื่อ (Fig) ที่เด็ดจากต้นมาทานได้เลย รสชาติหวานมาก กิจกรรมที่นี่ก็แวะ ไปทานกาแฟกับครัวซองต์ร้อนๆ ยี่ห้อ Paul ที่ดัง และฮิตมากในบ้านเรา แต่ที่นี่มีอยู่ ตามสถานีรถไฟแต่การตกแต่งก็มีสไตล์ แบรนด์ธุรกิจอาหารที่มีชื่อเสียงในบ้านเรา หลายอย่าง อาทิ โรงเรียนศิลปะการปรุงอาหารวาแตล (Vatel) ฝรั่งเศสสังเกตสีม่วง สัญลักษณ์แบบโพรวองซ์เป็นสถาบันสอนท�าอาหารที่มีชื่อเสียงมาก อาคารจ�าหน่าย สินค้าของนักศึกษา และกิจกรรมต่างๆ ก็อยู่ข้างตลาดสดปะปนกันไปมาแต่น่าดู และบริเวณข้างๆ ตลาดสดก็มีร้านกาแฟที่ตกแต่งสวยงาม มันช่างกลมกลืนดูไม่แบ่ง แยกโซนของสวย และไม่สวยออกจากกันคนละท�าเล ผมมีเวลาเดินตลาดสด ที่เมืองนีมส์นานหน่อย เมืองนี้เจ้าบ้านพามาเดินเองเลย ตลาดที่นี่เปิดประสบการณ์ครั้งแรกในชีวิตให้กับผม ไม่ใช่เพราะพืชผัก ที่วางขายหรือเบเกอรี่ แต่แนวคิดการพัฒนาตลาดให้ยั่งยืนต่างหาก ตลาดสด ที่นี่มีนักหนังสือพิมพ์มาช่วยเปลี่ยนแปลงพัฒนา โดยแต่ละคูหาที่ขายวัตถุดิบ ต่างตกแต่งกันตามสไตล์เจ้าของร้าน และที่พิเศษคือเจ้าของร้านจะขายสินค้าเอง ถือเป็นเสน่ห์ยิ่งนัก และโถงทางเดินตรงกลางตลอดแนวก็จะพบเห็นป้ายรูปภาพ หน้าตาเจ้าของร้านขนาดใหญ่พร้อมระบุชื่อร้าน ถูกแขวนหย่อนลงมาเหมือน แมกกาซีนอาหาร สร้างความภาคภูมิใจ และเป็นการน�าสื่อสิ่งพิมพ์เข้าตลาดสด ตามหัวมุมร้านอาหารจะมีป้ายบอร์ดขนาดใหญ่ เพื่อให้เป็นหัวข้อสนทนาแลก เปลี่ยนกันของร้านค้าต่างๆ และมีแมกกาซีนของตลาดสดด้วย ซึ่งอันนี้เจงสุด มีข่าวสารกิจกรรมความเคลื่อนไหวของวงการอาหารท้องถิ่นเป็นโบรชัวร์แจกจ่าย

กับนักท่องเที่ยว กิจกรรมรูปแบบนี้นี่เองที่นักหนังสือพิมพ์มีบทบาทส�าคัญเข้า มาพัฒนาชีวิตของผู้คนตลาดสดในรูปแบบแมกกาซีนที่เคลื่อนไหวได้ และเข้าถึง บรรดาพ่อค้าแม่ค้าอย่างแท้จริง ซึ่งบ้านเราก็สามารถพัฒนาได้ เพราะเป็นสิ่งที่ ดึงดูดผู้คนให้เข้ามาเดินตลาดสดกัน เที่ยวตลาดอยู่พักใหญ่ผมก็ต้องไปเข้าคอร์สเรียนอาหารสไตล์โพรวองซ์ ฝรั่งเศสตอนใต้กับเชฟ Cedric Bernard อดีตเคยเป็นเชฟตามโรงแรม และผันตัว เองมาเปิดร้านค้าจ�าหน่ายวัตถุดิบอาหาร และเครื่องปรุงเอง อีกทั้งมีคอร์สเปิดสอน อาหารโพรวองซ์ และฝรั่งเศสอีกด้วย ผมใช้เวลาเรียนค่อนวัน และแลกเปลี่ยน หัวข้อกันในคลาส ต้องขอบอกว่าวันนั้นโรงเรียนปิดแต่เขาตั้งใจเปิดเป็นพิเศษเพื่อ สอนผมคนเดียว เมนูที่สอนเป็นปลาหมึกยักษ์ผัดน�้ามันมะกอก และผักต่างๆ เช่น ซูกินี่ มะเขือเทศ แอบมีเติมไวน์ด้วย อาหารที่นี่มีขั้นตอนการปรุงที่ไม่ซับซ้อน อะไรเลย เพราะเขาเน้นให้ทานความสดใหม่ของวัตถุดบิ สไตล์โพรวองซ์อย่างแท้จริง กิจกรรมท�าอาหารเป็นสิ่งที่ผมชื่น ชอบเวลาเดินทางไปต่างประเทศ ผมจะ ชอบไปเรียนท�าอาหารตามที่ต่างๆ เรียนรู้วัฒนธรรมของผู้คนผ่านอาหาร การกิน และเดินตลาดสด เข้าร้าน หนังสือดูต�าราอาหารท้องถิ่นได้สูตร อาหารใหม่ๆ กลับมา และถ้าย่านนั้นมี ตลาดขายของเก่า เช่น ช้อน ส้อม มีด ผมก็จะตะลุยหาซื้อมาเป็นของสะสม ส่วนตัว ที่เมืองนีมส์ขึ้นชื่อแหล่งปลูก มะกอก และน�า้ มันมะกอกคุณภาพเยีย่ ม มักพบเห็นต้นมะกอกมากมาย ริมทาง และโดยเฉพาะจุดท่องเที่ยว ที่ผมพลาดไม่ได้คือ ปงดูว์การ์ (Pont du Gard) สะพานส่งน�้าท�าด้วยหิน ที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรม ที่ยิ่งใหญ่มากของโรมันโบราณ ใช้เป็นสาธารณูปโภคที่มีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ และใกล้ๆ กันก็จะมี ต้นมะกอกที่อายุกว่า 1,000 ปี เป็นสัญลักษณ์ที่คนแวะไปถ่ายรูป ไม่เว้นแม้แต่กระเป๋าผ้าของผม ท่องเที่ยวจนได้เวลาที่จะไปต่อ ที่เมืองกอร์ด (Gordes) เมืองที่ตั้งอยู่ บนยอดเขาในแถบเทือกเขาลูแบรง (Luberon) ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งผลิตไวน์ ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโพรวองซ์ พบแรกที่เห็นเมืองกอร์ดคือ บนโปสการ์ด จะมีบ้านน้อยใหญ่บน ยอดเขาเต็มไปหมด ตามไหล่เขาจะ มีเมืองแสนสวยสีน�้าตาลหรือครีม อ่อนๆ กระจายตัวตามแนวเขา ถือ เป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงาม และทรง คุณค่ายิ่งนัก ผมค่อยๆ เที่ยวเดินตามซอกซอยดูร้านค้า ร้านอาหารที่ตกแต่งได้ อย่างมีสไตล์ เดินจนเมื่อยล้าก็เลยหยุดพักทานอาหารกลางวัน เน้นสลัด แต่ละ จานชวนน�้าลายไหล และมีขนาดจานใหญ่โตมากจริงๆ เมืองกอร์ดได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของฝรั่งเศส ขึ้นทะเบียนจัดล�าดับโดยหน่วยงานอิสระที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1982 วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ และร่วมสร้างชุมชนที่ยั่งยืน โดยรักษาไว้ซึ่งตัวตน และแบบฉบับดั้งเดิมของหมู่บ้านเล็กๆ ในแต่ละแห่งที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีสถาปัตยกรรมส�าคัญ และทรงคุณค่าทางวัฒนธรรม ซึ่งอาจจะยังไม่ค่อยเป็นที่ รู้จักหรือไม่ได้รับการบูรณะเท่าที่ควร เกณฑ์ในการคัดเลือกคือ จ�านวนประชากร ต้องไม่เกิน 2,000 ครัวเรือนตามมาตรฐาน ซึ่งปัจจุบันฝรั่งเศสมีหมู่บ้านที่สวยมาก ถึงสวยที่สุดถึง 152 หมู่บ้านที่ผมว่าน่าสนใจ และจะหาโอกาสกลับไปเยือนที่ หมู่บ้านอื่นๆ บ้าง วัฒนธรรมของผู้คนที่ผมพบเห็นตามแหล่งอาหารการกินไม่ว่าจะเป็น อาหารชั้นสูง อาหารริมทางหรือแม้แต่อาหารทานสะดวก อาหารท้องถิ่น ซึ่งอาหารเหล่านี้ก็ล้วนสะท้อนที่มาที่ไปของแต่ละชุมชนและอารยธรรม และเราเองในฐานะมนุษย์คนหนึ่งพึงเรียนรู้วิถีชีวิตกันไป อาหารก็เป็น ส่วนหนึ่งที่ใกล้ตัว และเราคุ้นเคยมาก ไม่ว่าจะเทศกาลไหนๆ อาหารก็ล้วน เกี่ยวข้อง ยิ่งโดยเฉพาะช่วงเทศกาลแห่งความสุข คริสต์มาส ปีใหม่ หรือตรุษศาสตร์ต่างๆ การได้ร่วมฉลองกับครอบครัว เพื่อนฝูง คนพิเศษ ก็นับว่าเป็นพรอันประเสริฐ และยิ่งหากได้ทานอาหารซึ่ง ‘เป็นผู้เล่าเรื่อง’ ในระหว่างบทสนทนา ก็นับว่าวิเศษสุดเลยครับ n



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.