Life Community Museum Bueng Kan (THAI Version)

Page 1

life community MUSEUM

พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ

living a simple life in Isaan

บ้านไม้เก่าอายุ 60 ปี

สถาปัตยกรรมอีสาน


Isaan

RENOVATION BUENGKAN



welcome


5



พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ ผมเดินทางออกตามหาฝัน จากหมู่บ้านเล็กๆ เพียง 50 หลังคาเรือน ชื่อหมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ ต�ำบลหนองพันทา อ�ำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ จากชุมชนที่เงียบสงบ ธรรมชาติโอบล้อม พระออกบิณฑบาตทุกเช้า ได้อยู่ในอ้อมกอดของชาวบ้านที่รักเรา เพราะด้วยแม่เป็นคนถือศีล ปฏิบัติธรรม จ�ำวัดทุกวันพระ ท�ำให้ซึมซับในวิถีแห่งพุทธ

7



the power of

country


creative living


ชีวิตในเมืองกรุงของผมก็สนุก กับการใช้ชีวิต ได้ท�ำงานที่ชอบ ทั้ง งานส่วนตัว และงานสังคมปะปนกันไป ตามจังหวะชีวิต แต่ก็หนีไม่พ้นเรื่อง

ดีไซน์ สไตล์ การออกแบบ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอาหาร การเกษตรและงานตกแต่ง ที่เน้นเรื่องความเรียบง่าย และความยั่งยืนเป็นหลัก โดยเปิดบริษัทเล็กๆ รับให้ ค�ำปรึกษาเรื่องเหล่านี้ในรูปแบบ สุขนิยม ส่วนงานสังคมก็มุ่งไปที่ งานสอนหนังสือเป็นอาจารย์พิเศษ ให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ด้านอาหาร การออกแบบ สถาปัตย์ รวมไปถึง งานอาสาสมัครมูลนิธิโครงการหลวง และงานจิตอาสาอื่นๆ เหล่านี้ท�ำให้ ผมสนุกและตกหลุมรักตั้งแต่แรกเริ่ม จวบจนปัจจุบัน



baci ceremony 13




16


original

kitchen


good sharing



20





24


thailand’s beloved King


26




ทุกครั้งที่กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด ที่จังหวัดบึงกาฬ ก็ท�ำให้ฉุกคิดทุกครั้ง เราก็เดินทางเยอะและมาไกล หลับตา นึกย้อนถึงเรื่องราวในอดีต ภาพความทรงจ�ำ เหล่านี้ และการใช้ชีวิตปัจจุบันช่างต่างกัน ลิบลับเหลือเกิน อยู่บ้านนอกได้เดินไปพูดคุย

กับชาวบ้านและพระภิกษุ ได้พบ มิตรภาพเก่าๆ ได้ยิ้มอย่างสุขใจ และได้รับพลังดีๆ กลับมา ท�ำให้ ค้นพบแล้วว่าอะไรคือสิ่งที่ส�ำคัญ ค�ำตอบคือ..ความสุขในการใช้ชีวิต ในพื้นที่ซึ่งคุ้นเคย และจะดียิ่งขึ้นหากได้น�ำมาขยายผล ต่อจนส�ำเร็จได้ ส�ำหรับผมมองว่าธรรมะกับ ธรรมชาติในละแวกนี้ เป็นของธรรมดาที่ คุ้นเคย ถือเป็นต้นทุนที่ดีและมีอยู่แล้ว มากมาย เพียงแค่จัดการให้ถูกที่และ ใส่ดีไซน์ลงไป อย่างเรียบง่ายแต่พองาม

29


the painting on the wall


31




34


sarongs for men



37



ธรรมะ ธรรมชาติ ธรรมดา


Isaan

Culture


จวบจนเมื่อปี พ.ศ.2560 คุณแม่ของผมได้จากไป แบบกะทันหัน การจากไปของคนที่เราเคารพรัก ก็ท�ำให้ เข้าใจอะไรหลายอย่างในชีวิต และยิ่งอยู่ในช่วงที่ไว้ทุกข์ ให้กับในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วย ซึ่งระยะเวลา 13 ปี ที่ผมท�ำงานเป็น

อาสาสมัครมูลนิธิโครงการหลวง ก็ ได้ ซึมซาบพระจริยวัตรของพระองค์ท่าน ต่างๆ มากมาย ทบทวนครุ่นคิดอยู่นาน พอควร ว่าจากนี้ไปจะท�ำอะไรดี

จนกระทั่งวันหนึ่งบ่ายๆ ใต้ต้นไม้สองพ่อลูกได้นั่ง คุยกัน ผมอยากจะน�ำบ้านไม้อีสานเก่าแก่ที่ครอบครัว อาศัยอยู่มาปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ของชุมชน เปิดเป็น ศูนย์เรียนรู้ เนื่องจากบ้านไม้ทรงอีสานนับวันจะหายาก

41


42



my countryside So Phisai



46


Style

Inspiration



49


real simple



52




55


little garden


นุ่งโสร่ง สวมเสื้อขาว

ที่มาของการตั้งชื่อ

พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จั งหวั ด บึ ง กาฬ เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คุณพ่อยังพักอาศัยอยู่ชั้นล่าง

แต่ชั้นบนได้ปรับเป็นพิพิธภัณฑ์ อีกทั้งอยู่ในท่ามกลางชุมชน ซึ่งคุ้นเคยกันดี และมีพื้นที่โดยรอบบริเวณประมาณ 3 ไร่ ซึ่งมี บทบาทและหน้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ 57


58




green

architecture


พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต เรือนไม้อีสานเก่าแก่ อายุกว่า 60 ปี ที่นับวันจะหายไป เนื่องจากกาลเวลา การเล็งเห็น คุณค่าเพื่ออนุรักษ์ ให้ลูกหลาน ชาวอีสานได้ค้นคว้า


โดยผมได้น�ำความรู้และดีไซน์จากประสบการณ์ส่วนตัวมาปรับปรุง ให้มีการผสมผสาน ดูร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น ถูกใจวัยรุ่นในยุคโซเชียลมีเดีย ที่สนุกกับการถ่ายรูป และเป็นผู้เชื่อมน�ำพาพ่อแม่ปู่ย่าตายายมาเยี่ยมชม ลักษณะโดยทั่วไปของบ้านอีสานก็จะมีระเบียง

กว้างไว้ส�ำหรับท�ำกิจกรรมส่วนรวม และเมื่อเปิดประตู เข้าไปข้างในบ้าน จะมีห้องโถงกลางใหญ่ และมี ห้องปีกซ้ายและปีกขวาซึ่งได้ปรับปรุงโดยน�ำดีไซน์ ที่อิงธรรมชาติเข้ามาใช้ โดยแต่ละห้องประดับประดาด้วยภาพขาวด�ำของในหลวง รัชกาลที่ 9 ตามมุมต่างๆ เพื่อร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์ท่านที่มีต่อประชาชนชาวอีสานและชาวไทยทั้งปวง

63



65


66



a sence

of style

68





มุมเครื่องแต่งกายอีสาน 72


นอกจากนี้ตามมุมห้องจะตกแต่งด้วยผ้าซิ่นไหมของบรรพบุรุษ ที่คนอีสานสมัยก่อนมักจะนุ่งผ้าซิ่นไหม นุ่งโสร่ง สวมใส่เสื้อสีขาว เข้าวัดกัน ก็ได้จัดแสดงไว้ในห้องให้คนได้ชม



75



และอีกฝั่งของบ้านที่เชื่อมติดกัน ก็จะมีครัวอีสานแบบสมัยก่อน ที่ปัจจุบัน มักจะหลงเหลืออยู่น้อย แต่ที่นี่ครัวยัง สมบูรณ์แบบทุกประการ มีข้าวของ จัดแสดงให้ดู อีกฟากด้านหลังของ ห้องครัวได้ปรับเป็นมุมรับแขกโทน สีขาวเขียวและน�้ำตาล ฉากแผ่นไม้ สีน�้ำตาลที่ผ่านการใช้งานมานาน ตัดกับ สีเขียวของข้าวของที่ตกแต่งสมัยใหม่ เป็นการผสมผสานที่แตกต่างแต่ลงตัว ในตัวบ้านสมัยก่อน จะมี

พิธีบายศรีสู่ขวัญเป็นประจ�ำ มีชาวบ้านมาร่วมวงด้วย พอจบพิธีก็ทานข้าวด้วยกัน ตามวิถีชีวิตคนอีสาน

ภาพเหล่านี้ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมา อีกครั้ง ซึ่งล่าสุดงานสงกรานต์ที่ผ่านมา ญาติพี่น้อง ตระกูลสุริยะ มาร่วมพิธี บายศรีซึ่งท�ำจากใบตองและตกแต่งด้วย ดอกดาวเรืองและดอกพุดตูมสีขาวซึ่งเป็น ดอกไม้ที่คนอีสานน�ำไปไว้พระ และ กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์ ลูกหลานได้มาขอพรจากผู้ใหญ่ เป็น บรรยากาศที่หวนร�ำลึกถึงอดีตและมี คุณค่าต่อจิตใจ ทุกคนรู้สึกประทับใจ ยิ่งนัก

77



traditional Isaan style clothes





83


84


the art of

Isaan



87


connected

to nature



Green Activity ลานกิจกรรม พื้นที่สีเขียว


91


a space for

everything


ลานกิจกรรมพื้นที่สีเขียวอยู่ติดกับพิพิธภัณฑ์ ได้ปรับให้เป็นลานอเนกประสงค์ มองเห็นทัศนียภาพ โดยรอบบริเวณ มุ่งเน้นกิจกรรมเพื่อสนับสนุนชุมชน การมีส่วนร่วมและสร้างอาชีพ รายได้

ในเชิงบูรณาการแบบยั่งยืน อาทิ เปิดพื้นที่ ให้ชุมชนในท้องถิ่น น�ำอาชีพเสริมมาวาง จ�ำหน่ายให้นักท่องเที่ยว ซึ่งในละแวกมีงานจักสาน การทอผ้า งานหัตกรรม ให้กับผู้มาเยี่ยมชมและจับจ่าย เพื่อให้เกิดการหมุนเวียน รายได้เข้าสู่ชุมชนมากยิ่งขึ้น เพื่อการมีคุณภาพชีวิต ที่ดียิ่งขึ้นของส่วนรวม

93


bunch of paddy rice


95


outdoor lighting


นอกจากนี้ยังให้เด็กๆ ที่ติดตามพ่อแม่มาขายอาหารหรือติดตาม พ่อแม่มาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ ที่ชื่นชอบการวาดรูประบายสี ก็มาช่วยกันวาดภาพตามจินตนาการ เพื่อ

ช่วยกันเผยแพร่ชุมชนให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และผลงานก็จะถูกน�ำมาแขวนประดับตกแต่งให้ นักท่องเที่ยวได้แวะมาชื่นชมอีกด้วย

รวมไปถึงการเปิดเวทีให้ศิลปินและนักออกแบบจากคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ เน้นบริการวิชาการแก่สังคม มาแลกเปลี่ยนผลงาน หรือเป็นวิทยากรแนะน�ำการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วย ดีไซน์จากอาชีพของชุมชน เพื่อร่วมมือกันพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน 97


98



back to basics




ตลาด ชุมชน พอเพียง

103


104



ตลาดชุมชนพอเพียง ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์ ใน สวนยางพารา ที่มีโคมไฟสุ่มไก่มากมาย ซึ่งในละแวกชาวบ้าน ท�ำการเกษตร ปลูกผัก เลี้ยงเป็ดไก่ และท�ำอาหาร รวมทั้งขนม เป็นวิถีดั้งเดิมอยู่แล้ว การเปิดพื้นที่เป็นตลาดชุมชนพอเพียงให้

ชาวบ้านน�ำอาหาร และพืชผลทางการเกษตร มาจ�ำหน่ายให้กับท่องเที่ยว ในทุกๆ วันเสาร์ ตามที่ปฏิบัติมา ท�ำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่ม

และก็ได้ออกมาพบปะกัน ท�ำให้สนุกสนานทั้งนักท่องเที่ยว และผู้คนในละแวก ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์ ได้เชิญชวนให้คนอีสาน ภาคภูมิใจในรากเหง้าบ้านเกิด โดยหันมานิยมสวมใส่ผ้าซิ่นไหม โบราณของตระกูล หรือโสร่ง และใส่เสื้อสีขาว ธีมเข้าวัดเข้าวา ซึ่งอาหารและขนมที่น�ำมาจ�ำหน่าย ก็จะเป็นอาหารอีสานท้องถิ่น เน้นพืชผักจากธรรมชาติเป็นหลัก 106




children

in the countryside


110


pick

your moment


eat, share, live



the good

life


บรรยากาศตลาดสด ใต้ต้นยางพาราช่วงเวลาบ่ายคล้อย อากาศก�ำลังดี ลมพัดเย็นสบายได้ยินเสียงกระดิ่งที่แขวนใต้ต้นยาง เหมือนเดินอยู่ในวัดคอยเตือนสติ จุดเด่นเป็นพิเศษของตลาด คือ ภาพวาด

ศิลปะบนก�ำแพงสังกะสีผืนยาวที่น�ำเสนอเรื่องราว ของวิถีผู้คนในชุมชนอีสาน

วาดภาพประกอบโดยศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่มีภาพของเด็กๆ ในหลายๆ อิริยาบถ อาทิ ปิ้งข้าวจี่, กระโดดเล่นน�้ำในคลอง, เลี้ยงไก่ชน, จับปลา, เลี้ยงควาย ยิงหนังสติ๊ก นักท่องเที่ยวที่มาจ่ายตลาดก็มักจะมาถ่ายรูปด้วยทุกครั้ง 115




buengkan wall art


ภาพวาดประกอบ สะท้อนวิถีชีวิตอีสาน

119


nature

made


เรียบง่าย แต่ งดงาม

121


life

community


123




ในบริเวณตลาดยังมีกิจกรรมกลางแจ้งของชุมชน ร่วมกัน อย่างงานสงกรานต์ที่ผ่านมา ก็มีการเดินแบบ ของผู้คนในชุมชน น�ำโดยผู้อาวุโสที่เคารพ และฟ้อนร�ำวง ปีใหม่รอบสวนยางพาราด้วยกัน พร้อมรดน�้ำด�ำหัว แบบวิถีดั้งเดิมของคนอีสาน รวมทั้งประเพณีของชุมชนตักบาตร

ข้าวเหนียวทุกเช้า ซึ่งชาวบ้านพอตักบาตร ข้าวเหนียวเสร็จ ก็น�ำอาหารปรุงสุกเดินไป ถวายที่วัดซึ่งอยู่ในละแวก เป็นวิถีเรียบง่าย ที่เคยปฏิบัติมา 126


ลานตักบาตรบริเวณ ตลาดชุมชนพอเพียง



129



art&design

space

ลานศิลปะ



ในส่วนที่ต่อเนื่องกับตลาดชุมชนพอเพียง เป็นพื้นที่ยาวติดริมทุ่งนา ทางโค้งพอดี ซึ่งในส่วนนี้เน้นอัตลักษณ์สร้างสรรค์ เพื่อความแข็งแรงและ ยั่งยืนของชุมชนที่ถูกสะท้อนออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ โดยปรับเป็นลานแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัย

น�ำจักรยานเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาทาสีม่วง ซึ่งเป็นสีประจ�ำ จังหวัดบึงกาฬ และสีเขียวซึ่งเป็นสีประจ�ำพิพิธภัณฑ์ และ ประดับธงแขวนที่ดัดแปลงจากผ้าขาวม้า ติดบนไม้ไผ่แบบ ในวัดอีสานที่คุ้นตากันเวลามีงานบุญ

และปลูกไม้ดอกให้คนมาเที่ยวชม ซึ่งตอนนี้ก�ำลังร่วมมือกับคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มาช่วยสร้างพื้นที่ศิลปะโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) จัดท�ำโครงการประติมากรรมเพื่อสังคม “จากมิลานสู่บึงกาฬ” โดยนักศึกษาและ คณาจารย์ ในหลักสูตร ประติมากรรมเพื่อสังคม 133


134




green

space arts

137


ชาวบ้านนุ่งซิ่น สวมเสื้อขาว มาใส่บาตรข้าวเหนียว เป็นกิจวัตรประจ�ำวัน ที่พิพิธภัณฑ์จนคุ้นตา


ในพื้นที่ดังกล่าวนี้ ทุกเย็นจะเห็นพระอาทิตย์ ตกดินสวยงามมาก เด็กๆ ชอบมาปั่นจักรยานกัน ในยามเช้าก็จะมีพระออกเดิน

บิณฑบาตผ่านมาบริเวณลานศิลปะ ในช่วงจังหวะแสงพระอาทิตย์ก�ำลังขึ้น เด่นสวยเป็นสีส้มโผล่จากทิวต้นไม้ใน ละแวก



141



passion

for design


เดินบิณฑบาต ริมท้องทุ่ง

144


life

in the field


ธรรมะ ธรรมชาติ ธรรมดา



วัด

โพธิ์ศรีมงคล


149


วัดเล็กๆ อยู่ติดทุ่งนา ที่แม่ของผมเคยไปจ�ำศีล เป็นประจ�ำ ห่างจากพิพิธภัณฑ์ เพียง 20 เมตร มีพระจ�ำพรรษา อยู่เพียง 5 รูปเท่านั้น


151


ธรรมะ



มีศาลาอเนกประสงค์ ไว้ท�ำกิจของสงฆ์ และ มีกุฏิร้างที่ปล่อยทิ้งไว้นาน ด้วยสภาพอาคารเก่าแก่ แต่ยังพอปรับปรุงได้ ผมจึงได้ปรึกษากับหลวงปู่และได้

รับความเห็นชอบให้บูรณะซ่อมแซม ท�ำเป็นกุฏิเผยแพร่พุทธหัตถศิลป์ อีสานให้นักท่องเที่ยวมาชมศิลปะที่ เกี่ยวข้องกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของผู้คนอีสานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ

ซึ่งทั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ และกุฏิที่ปรับปรุงใหม่ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม เป็นที่เรียบร้อย 154




temple

history

157


158



เกิด แก่ เจ็บ ตาย



เรี ย บ ง่ า ย งาม


ขณะนี้ผมก�ำลังเร่งท�ำแผน โดยได้ความร่วมมือจากโครงการบริการ วิชาการเชิงบูรณาการสู่ชุมชน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่จะเข้าร่วมกิจกรรม โดยใช้องค์ความรู้ ของบุคลากร นักศึกษาและองค์กร มาประยุกต์ ใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดการพัฒนา สร้างสรรค์แก่สังคม เน้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการพัฒนาที่ยั่งยืน มีแผนจัดท�ำโครงการ “วาดบ้าน แปลงเมือง” โดย

การวาดภาพเขียนสีตามบ้านเรือนในตรอกซอกซอย ของหมู่บ้านประมาณ 50 หลังคาเรือน เพื่อส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน โดยนักศึกษา และคณาจารย์ ในหลักสูตร จิตรกรรมเพื่อสังคม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพื่อให้เป็นหมู่บ้านอีสานต้นแบบภาพวาด ศิลปะ เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน

163




166


a

change of mood




design forward


171


ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ ได้ ปรับปรุงเสร็จแล้ว และเพิ่งเปิด ให้นักท่องเที่ยวได้มาชมเรื่อยๆ ตอนนี้ผมก็พยายามผลักดัน โครงการท่องเที่ยว 1 วันใน อ�ำเภอโซ่พิสัย ซึ่งเป็นสถานที่

รายล้อมด้วยธรรมะ และธรรมชาติมากมาย เน้นคอนเซ็ปท์การออก ค้นหาความสุขทางใจ ในรูปแบบ ธรรมะคือ ธรรมชาติ

ซึ่งในแต่ละต�ำบลก็จะมี แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและ วัดป่ามากมายอยู่แล้ว หนึ่งในนั้น คือ วัดป่าดานวิเวก หลวงปู่ทุย สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งอยู่ห่าง จากพิพิธภัณฑ์เพียง 29 กิโลเมตร




community friendly


live with

what you love


177



ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ สุทธิพงษ์ สุริยะ (ขาบ) คนบ้านนอกที่มาใช้ชีวิตในเมืองกรุง ปัจจุบันเป็นเจ้าของ KARB STUDIO (องค์กรให้ค�ำปรึกษาและออกแบบ สร้างภาพลักษณ์ ให้ธุรกิจอาหารและ สินค้าการเกษตร) โดยมีผลงาน การออกแบบและงานเขียนได้รับ 5 รางวัลเกียรติยศชนะเลิศของโลก จากเวที Gourmand Awards - SPAIN มีนิยามส่วนตัวคือ simply the best และสนใจเรื่องธรรมะ ศิลปะ วิถีชุมชน FB : KARB STUDIO


พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต

ต� ำ บลหนองพันทา อ� ำ เภอโซ่ พิ สัย จั ง หวั ดบึงกาฬ FB : พิพิธ ภัณ ฑ์ ชุ ม ชนมี ชี วิต จั งหวั ด บึ งกาฬ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.