อ านวิพากษ
อ่�นวิพ�กษ์ มิเชล ฟูโกต์
อนุสรณ์ อุณโณ จันทนี เจริญศรี และสลิสา ยุกตะนันทน์ บรรณาธิการ ISBN 978-974-315-910-7 พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2558
ในเครือบริษัทสำ�นักพิมพ์สย�มปริทัศน์ จำ�กัด 113 ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0-2225-9536 ถึง 9 โทรสาร 0-2222-5188 เจ้�ของ: บริษัทสำานักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำากัด ที่ปรึกษ�กิตติมศักดิ์: สุลักษณ์ ศิวรักษ์ คณะกรรมก�รบริห�ร: สัจจา รัตนโฉมศรี, อนันต์ วิริยะพินิจ, วินัย ชาติอนันต์, ทิชากร ชาติอนันต์, อาสา นาถไตรภพ บรรณ�ธิก�รสำ�นักพิมพ์: ชานน จงประสพมงคล บรรณ�ธิก�รประจำ�ฉบับ: อนรรฆ พิทักษ์ธานิน แบบปก: วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์ รูปเล่ม: นริศรา สายสงวนสัตย์ พิสูจน์อักษร: สิริกัญญา ชุ่มเย็น ประช�สัมพันธ์: มนตรี คงเนียม • ข้อมูลท�งบรรณ�นุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งช�ติ อ่านวิพากษ์ มิเชล ฟูโกต์ .-- กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2558. 320 หน้า.-- (ศยามปัญญา). 1. ฟูโกต์, มิเชล. 2. ศาสนา--ปรัชญา. I. ชื่อเรื่อง. 230.092 ISBN 978-974-315-910-7
จัดจำ�หน่�ย: ส�ยส่งศึกษิต บริษัทเคล็ดไทย จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2225-9536 ถึง 9 โทรสาร 0-2222-5188 www.kledthai.com ร�ค� 250 บ�ท
”I don’t write a book so that it will be the final word; I write a book so that other books are possible, not necessarily written by me.” Michel Foucault
สารบัญ คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์
7
บทบรรณาธิการ อนุสรณ์ อุณโณ
9
ฟูโกต์และอนุรักษนิยมใหม่ ธเนศ วงศ์ยานนาวา
27
ฟูโกต์กับปริศนาแห่งองค์อธิปัตย์ ว่าด้วยอำ�นาจอธิปไตยสมัยใหม่ในคำ�สอนของมิเชล ฟูโกต์ อรรถสิทธิ์ สิทธิด�ำ รง
75
การศึกษาประวัติศาสตร์แบบสาแหรก วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ของฟูโกต์ ธงชัย วินิจจะกูล
127
ฟูโกต์ ในการศึกษาหลังการพัฒนา สามชาย ศรีสันต์
181
การสลักเรือนร่าง (Crafting Bodies) ฟูโกต์กับสังคมวิทยาร่างกาย จุฬารัต ผดุงชีวิต
227
เรือนร่างที่ถูกแฝงฝังและเรือนร่างที่ถูกถอดแยก วิพากษ์มรดกตกทอดของฟูโกต์ ในสังคมวิทยาร่างกาย สลิสา ยุกตะนันทน์
275
ประวัติผู้เขียน
315
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์
มิเชล ฟูโกต์ เป็นนักคิดที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั้งในแวดวงสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รัฐศาสตร์ ศิลปะ หรือแม้กระทั่งวงการแพทย์ ทั้งนี้ส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะงานเขียนของฟูโกต์มีประเด็นที่พาดผ่าน แขนง ‘วิชา’ ที่หลากหลาย โดยมีใจกลางอยู่ที่ถอดรื้อ ‘ความรู้’ เพื่อ เปลือยให้เห็น ‘อำ�นาจ’ ที่แฝงฝังอยู่กับความรู้ทั้งหลาย อย่างไรก็ดี แม้แนวคิดของฟูโกต์ จะปรากฏในศาสตร์หลาย แขนง และถูกนำ�เข้ามายังสังคมไทยตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 หากแต่ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา งานเขียนเกี่ยวกับฟูโกต์ ในโลกภาษาไทยกลับ ปรากฏไม่มากนักเมื่อเทียบกับการนำ�ไปใช้ทั้งในงานศึกษาวิจัยและ บทสนทนาในวงวิชาการ โดยเฉพาะงานเขียนที่มุ่งทำ�ความเข้าใจรากฐาน ความคิดและวิพากษ์ความคิดของมิเชล ฟูโกต์ อ่านวิพากษ์ มิเชล ฟูโกต์ ที่ท่านผู้อ่านถืออยู่ในมือเล่มนี้ เป็น หนังสือรวมบทความจำ�นวน 6 ชิ้นที่มุ่งเน้นทำ�ความเข้าใจกระแสธาร ความคิดที่ส่งอิทธิพลต่อผลงานของฟูโกต์ รวมถึงข้อวิพากษ์ที่มีต่อ
7
แนวคิดของฟูโกต์ ซึ่งในมุมหนึ่งอาจเปรียบได้กับการชำ�แหละสารัตถะและ ความรู้ที่ฟูโกต์ได้สรรสร้างขึ้น ทั้งนี้แม้บทความที่รวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้จะ มีการเขียนขึ้นต่างกรรมต่างวาระ ทว่าบทความแต่ละชิ้นก็ล้วนแต่สะท้อน ให้เห็นเฉดทางความคิดของฟูโกต์ หลายชิ้นจัดได้ว่าเป็นผลงาน ‘คลาสสิก’ ของ ‘ครู’ ผู้ทำ�ให้สังคมไทยรู้จักฟูโกต์ อีกหลายชิ้นเป็นผลงานของ นักวิชาการรุ่นใหม่ที่เปิดพรมแดนการถกเถียงเกี่ยวกับฟูโกต์ ให้กว้างขวาง ออกไป สำ�นักพิมพ์ศยาม รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับความไว้วางใจและความ ร่วมมือจากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการจัดพิมพ์หนังสือ อ่านวิพากษ์ มิเชล ฟูโกต์ เล่มนี้ และขอขอบพระคุณ คณะบรรณาธิการ ตลอดจนผู้เขียนบทความแต่ละท่าน ที่มีส่วนช่วยในการ วิพากษ์ฟูโกต์ครั้งนี้ ทางสำ�นักพิมพ์หวังเป็นอย่างยิ่งว่า อ่านวิพากษ์ มิเชล ฟูโกต์ จะเป็นจุดเริ่มต้นวิพากษ์นักคิดท่านอื่นๆ ต่อไปอีกในอนาคตอันใกล้ เพราะการวิพากษ์ คือ จุดเริ่มต้นทางปัญญาที่สำ�คัญ ในสังคมที่ ปัญญาเริ่มหดแคบลง สำ�นักพิมพ์ศยาม
8
บทบรรณาธิการ
อ่าน “ตระกูล” ฟูโกต์
การ “อ่าน” ฟูโกต์ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะจะ “อ่าน” ฟูโกต์ ในเชิง วิพากษ์อย่างไรยิ่งเป็นสิ่งท้าทายใหญ่ ไม่ใช่เพียงเพราะความคิดของ ฟูโกต์มีขอบเขตกว้างขวางและมีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในตัว หาก ทว่าปัจจุบันมีงาน “อ่าน” ฟูโกต์ ในเชิงวิพากษ์อยู่เป็นจำ�นวนมาก งาน เหล่านี้ครอบคลุมประเด็นที่แตกต่างหลากหลายและมีวิธี “อ่าน” ฟูโกต์ ในเชิงวิพากษ์แตกต่างกันออกไป นับประสาอะไรกับบทความจำ�นวน 6 ชิ้นที่รวมกันอยู่ ณ ที่นี้ ที่จะเสนอตัวเป็นการ “อ่าน” ฟูโกต์ ในเชิง วิพากษ์อย่างครบถ้วนกระบวนความ ทว่าในทางกลับกัน การ “อ่าน” ฟูโกต์อย่างเชื่องเชื่อก็ไม่ใช่สิ่งพึงประสงค์ เพราะนอกจากจะขัดเจตนารมณ์ของฟูโกต์ที่มุ่งสั่นคลอนหรือรื้อถอนการสถาปนาและการผูกขาด ความรู้ทุกประเภทซึ่งไม่น่าจะเว้นแม้กระทั่งความรู้ของเขาเอง ยังเป็น เพราะความงอกเงยทางสติปัญญาจะเกิดขึ้นได้ส่วนหนึ่งก็โดยอาศัยการ ตั้งคำ�ถามและวิพากษ์วิจารณ์
9
หนังสือรวมบทความเล่มนี้จึงปวารณาตัวเป็นการ “อ่าน” ฟูโกต์ ใน เชิงวิพากษ์อีกฉบับ มีความเฉพาะตัวตรงที่ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะแนวคิด สำ�คัญของฟูโกต์ หากแต่รวมถึงที่มาของแนวคิดดังกล่าวตลอดจนการนำ� แนวคิดดังกล่าวไปปรับใช้ หรือหากจะกล่าวด้วยภาษามานุษยวิทยาคละ กับบางแนวคิดของฟูโกต์ หนังสือรวมบทความเล่มนี้ไม่เพียงแต่ชี้ให้เห็น ว่าวงศาคณาญาติหรือบรรพบุรุษของฟูโกต์ประกอบด้วยใครบ้าง หากแต่ ยังชี้ให้เห็นว่าฟูโกต์ได้บุกเบิกแผ้วถางหรือว่าสร้างครอบครัวของเขาขึ้น อย่างไร รวมทั้งทายาทได้สืบทอดมรดกที่ตกทอดมาจากเขาอย่างไร จึง เป็นการ “อ่านวิพากษ์” ฟูโกต์ด้วยสำ�นวนมานุษยวิทยาที่ว่าด้วย “ตระกูล” ของฟูโกต์มากกว่าจะเป็นฟูโกต์เพียงลำ�พัง
วงศาคณาญาติ หากจะ “นับญาติ” ทางปัญญาของฟูโกต์ว่าประกอบด้วยใครบ้าง ฟรีดิช นิทเช่ (Friedrich Nietzsche) เป็นบุคคลที่มักได้รับการกล่าวถึงใน ลำ�ดับต้นๆ ดังที่ ธงชัย วินิจจะกูล ชี้ว่า นิทเช่มีอิทธิพลต่อฟูโกต์อย่างมาก ไม่เฉพาะในแง่ที่ฟูโกต์วิพากษ์วิจารณ์ระบบศีลธรรมและอำ�นาจในสังคม สมัยใหม่ ด้วยการผนวกตัวเองเข้ากับบางฝ่ายบางแนวคิดอย่างเปิดเผยและ ประกาศอย่างชัดเจนว่าต้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดเหมือนนิทเช่ หากแต่ยัง รวมในแง่ที่ฟูโกต์อาศัยแนวคิดของนิทเช่ในการเสนอแนวคิดประวัติศาสตร์ แบบสาแหรกของเขาในงานชื่อ Nietzsche, Genealogy, History ธงชัย ชี้ว่าในบทความชิ้นนี้ฟูโกต์ได้อธิบายว่านิทเช่หมายความคำ�ว่ากำ�เนิดและ การเผยตัวต่างกันอย่างไร ก่อนจะเสนอว่าประวัติศาสตร์แบบสาแหรกที่เขา เสนอต้องการเผยให้เห็นขั้นตอน กระบวนการ รวมถึงวาทกรรมที่เกี่ยวข้อง
10
กับการเผยตัวซึ่งนิทเช่ให้ความสำ�คัญ มากกว่าจะเป็นกำ�เนิด สารัตถะ และ ความต่อเนื่องเหมือนเช่นที่ประวัติศาสตร์ทั่วไปให้ความสนใจ ถึ ง แม้ ฟู โ กต์ จ ะผนวกตั ว เองเข้ า กั บ การเคลื่ อ นไหวของบุ ค คล บางกลุ่มอย่างเปิดเผยเหมือนเช่นนิทเช่ แต่การที่เขาได้รับอิทธิพลจากนิทเช่ ก็ส่งผลให้ไม่สามารถจัดประเภทความคิดหรือจุดยืนทางการเมืองของเขา ได้ง่ายเช่นกัน ธเนศ วงศ์ยานนาวา ชี้ว่าเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าความคิด ของนิทเช่ไม่มีความหมายต่อความคิดและจุดยืนทางการเมือง สามารถ เป็นได้ทั้งอนุรักษนิยมและอนาธิปไตย เช่น ในเยอรมนีความคิดนิทเช่มี ลักษณะเป็นอนุรักษนิยม ทว่าในฝรั่งเศสกลับเป็นกลุ่มสุดโต่งและฝ่ายซ้าย ส่วนในอเมริกาในอดีตเป็นอนุรักษนิยมก่อนจะกลายเป็นฝ่ายซ้ายและกลุ่ม สุดโต่งในระยะหลัง ฉะนั้น การต่อต้านโลกอุดมคติและการตั้งข้อสงสัย ต่อเหตุผลและบทบาทปัญญาชนของฟูโกต์ที่ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจาก นิทเช่จึงเป็นได้ทั้งอนุรักษนิยมและอนาธิปไตย ธเนศชี้ว่าแม้แต่ เยอร์เกน ฮาเบอร์มาส (Jürgen Habermas) ซึ่งจัดฟูโกต์ไว้ ในกลุ่มอนุรักษนิยม รุ่นเยาว์ ในลักษณะเทียบกับในเยอรมนีช่วงสาธารณรัฐไวมาร์ซึ่งได้รับ อิทธิพลจากนิทเช่ก็กล่าวว่าการจัดสำ�นักให้ฟูโกต์ไม่ใช่เรื่องง่าย ธเนศจึง เห็นว่าการอาศัยนิทเช่เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความคิดและจุดยืน ทางการเมืองของฟูโกต์ว่าเป็นอนุรักษนิยมรังแต่จะสร้างความสับสนเสีย มากกว่า นอกจากนิทเช่ แมกซ์ เวเบอร์ (Weber) เป็นอีกบุคคลที่มักได้รับ การกล่าวถึงในการ “นับญาติ” ทางปัญญาของฟูโกต์ สลิสา ยุกตะนันทน์ เสนอว่าแนวการวิเคราะห์แบบถอดแยกเรือนร่าง (disembodiment) ของ ฟูโกต์มีความคล้ายคลึงกับแนวคิดความเป็นเหตุผลเชิงเครื่องมือ (Instrumental Rationality) และระบบราชการ (bureaucracy) ของเวเบอร์ โดย ขณะที่เวเบอร์ศึกษาเหตุผลในระดับสถาบัน ฟูโกต์ศึกษาปฏิบัติการของ
11
เหตุผลในระดับเรือนร่างที่อยู่ภายใต้การสอดส่องและควบคุมของสังคม สลิสาเสนอว่า ฟูโกต์อาศัยฐานคิดของเวเบอร์เสนอแนวคิดเรือนร่างที่ ว่านอนสอนง่าย (docile bodies) ในฐานะเรือนร่างที่ถูกถอดแยกและถูก ควบคุมด้วยระบบเหตุผลของสังคม อย่างไรก็ดี สลิสาให้ความสำ�คัญกับมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger) มากกว่าในการชี้ให้เห็นบุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อ ฟูโกต์ เธอเสนอว่าแม้โดยทั่วไปจะถือกันว่าฟูโกต์ได้รับอิทธิพลจากนิทเช่ และเป็นปฏิปักษ์กับแนวคิดอัตถิภาวะนิยมของฌอง-ปอล ซาร์ต (JeanPaul Sartre) ทว่าในแง่ญาณวิทยาและภววิทยาฟูโกต์ได้รับอิทธิพลจาก ไฮเดกเกอร์รวมถึงเวเบอร์มากกว่า ดังคำ�กล่าวของจิล เดอลูซ (Gilles Deleuze) ที่ว่า “สุดท้ายแล้วฟูโกต์ก็ได้ค้นพบไฮเดกเกอร์ ใหม่” โดยสลิสา พิจารณาอิทธิพลของไฮเดกเกอร์ที่มีต่อฟูโกต์ผ่านมโนทัศน์ “สัต-ใน-โลก” (Being-in-the-World) ของไฮเดกเกอร์เป็นสำ�คัญ เธอเสนอว่าภายใต้ มโนทัศน์นี้การดำ�รงอยู่ของมนุษย์เป็นการที่พวกเขาถูก “โยน” เข้าไปใน โลกทางสังคมที่ดำ�รงอยู่ก่อนหน้า ซึ่งในช่วงวงศาวิทยาแห่งอำ�นาจของ ฟูโกต์ องค์ประธานที่มีเรือนร่างได้ถูก “โยน” เข้าไปในโลกสังคมแห่งการ ควบคุมเพื่อสร้างวินัยที่ “ดำ�รงอยู่-แล้ว” จะต่างกันตรงที่ว่าขณะที่ “สัต” ของไฮเดกเกอร์คือ “สัต” ที่มีศักยภาพในการแฝงฝังและเพิ่มพูนคุณค่า ของตนได้ภาย “ใน-โลก” เรือนร่างขององค์ประธานของฟูโกต์กลับเป็น เพียง “สัต” ที่แม้จะถูก “โยน” เข้าไปในเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคม แต่กลับถูกกระทำ�อย่างทารุณโดยสังคม อีกทั้งยังถูกวิเคราะห์ด้วยแนวการ วิเคราะห์แบบ “ถอดแยกเรือนร่าง” ในฐานะผู้ถูกกระทำ�ที่ถูกแยกขาดจาก ความสัมพันธ์ทางสังคม จนแทบกล่าวได้ว่าสำ�หรับฟูโกต์ “สัต” มิได้ดำ�รง อยู่ “ใน-โลก” แต่อย่างใด
12
สลิสาเสนอว่า ฟูโกต์เข้าใกล้ไฮเดกเกอร์มากขึ้นในช่วงจริยศาสตร์ เพราะขณะที่ไฮเดกเกอร์เห็นว่า “การดูแลตัวเอง” คือกุญแจสำ�คัญที่จะ นำ�ไปสู่การยกระดับ “สัต-ใน-โลก” ฟูโกต์เห็นว่า “การดูแลตนเอง” เป็น ปฏิบัติการอันแยบยลของเสรีภาพ องค์ประธานผู้มีเรือนร่างจึงไม่ได้เป็น เพียงผลผลิตอำ�นาจ หากแต่เป็นผู้กระทำ�การตระหนักรู้ตนเองและรู้ว่าจะ สามารถบรรลุเสรีภาพได้อย่างไร จะต่างกันก็ตรงที่ว่าขณะที่ไฮเดกเกอร์ เห็นว่า “สัต” เป็นสิ่งที่มีแก่นสาร ฟูโกต์เห็นว่าเรือนร่างขององค์ประธาน ไร้แก่นสาร พร้อมอาศัยแนวคิดการถอดแยกในการวิเคราะห์เรือนร่าง ซึ่ง สลิสาเห็นว่าเป็นข้อจำ�กัดทางญาณวิทยาและภววิทยาของฟูโกต์ เพราะ ส่งผลให้องค์ประธานสามารถปลดปล่อยตนเองจากการควบคุมทางสังคม และเพิ่มพูนความสำ�ราญให้กับตนได้แต่เพียงภายใต้ข้อจำ�กัดทางสังคม เรือนร่างที่มีชีวิตได้หายไปจากกรอบการวิเคราะห์ ขณะที่ปฏิบัติการของ วาทกรรมได้ถูกตอกย้ำ�แทน “วงศาคณาญาติ” ทางปัญญาของฟูโกต์ที่ไม่ค่อยถูกนับคือ “สาย” ความคิดอำ�นาจอธิปไตย (Sovereignty) เพราะมักเข้าใจกันว่าฟูโกต์ไม่ได้ สนใจอำ�นาจอธิปไตยในสังคมสมัยใหม่ ทว่า อรรถสิทธิ์ สิทธิดำ�รง เสนอว่า ไม่ใช่ เพราะจะว่าไป แนวคิดเรื่องการปกครอง (Governmentality) และ ชีวอำ�นาจ (Biopower) ของฟูโกต์ล้วนสัมพันธ์กับอำ�นาจอธิปไตยไม่มาก ก็น้อย และฟูโกต์เองก็ได้รับอิทธิพลจากนักปรัชญาสายนี้บางคน ดังที่ ฟูโกต์กล่าวถึงคุณูปการของโธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ว่าเป็น นักปรัชญาคนแรกที่ได้จัดวางการคุ้มครอง/รักษาชีวิตของมนุษย์ ในฐานะ เป้าหมายหลัก อันเปรียบเสมือนปลายทางขององค์อธิปัตย์ (Sovereign) และอำ�นาจอธิปไตยซึ่งถูกสานต่อในฐานะเทคนิคทางการปกครองชื่อ ชีวอำ�นาจ นอกจากนี้ อรรถสิทธ์ชี้ว่า ฌอง ฌาค รุสโซ่ (Jean Jacques Rousseau) มีส่วนช่วยให้ฟูโกต์มองเห็นแนวทางของอำ�นาจอธิปไตยภายใต้
13
ปฏิบัติการปกครองของรัฐ ก่อนที่ต่อมาฟูโกต์จะหันไปให้ความสนใจกับ นักปรัชญาสำ�นักอรรถประโยชน์นิยมโดยเฉพาะเจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham) ดังจะเห็นได้จากการที่ฟูโกต์ ใช้แนวคิดสรรพทัศน์ (Panopticon) ของเบนแธมในหนังสือ Discipline and Punish อรรถสิทธิ์เสนอว่า ชีวอำ�นาจคือเทคนิคการปกครองที่ได้รับการปูพื้นจากหลักการซึ่งได้รับ การสถาปนาโดยนักปรัชญาสำ�นักอรรถประโยชน์นิยม ชีวอำ�นาจไม่ใช่การ ตัดสินใจขององค์อธิปัตย์ ในการกำ�หนดว่าใครควรได้รับการปกป้อง คุ้มครองหรือไม่ แต่เป็นเทคโนโลยีการปกครองภายใต้หลักอรรถประโยชน์ หรือการคำ�นวณผลประโยชน์ ซึ่ง “ไม่ใช่ผลประโยชน์ที่ย้อนกลับไปหาแค่รัฐ [แต่] คือผลประโยชน์สำ�หรับทุกคน” นักปรัชญาสำ�นักอรรถประโยชน์นิยม โดยเฉพาะเบนแธมจึงเป็น “ญาติทางปัญญา” คนสำ�คัญอีกคนของฟูโกต์
บุกเบิกแผ้วถางและสร้างครอบครัว ฟูโกต์อาศัย “ญาติทางปัญญา” ข้างต้น “บุกเบิกแผ้วถาง” และ “สร้างครอบครัว” แนวคิด ทฤษฎี และวิธีวิทยาเฉพาะของเขาเองจำ�นวน หนึ่ง อาทิ วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ ธงชัยชี้ว่า วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ ของฟูโกต์ประกอบด้วย 2 ช่วง ช่วงแรกคือ “โบราณคดี” (Archeology) ซึ่งเป็นการ “ขุดค้น” หรือเปิดเผยวาทกรรมต่างๆ ซึ่งเปรียบเสมือนชั้นดิน ทีละชั้น ซึ่งแต่ละชั้นต่างมีความเป็นอิสระ มีความเป็นมาและมีเวลาของ ตัวเอง และประมวลกันเข้ามาจนเกิดเป็นพื้นที่ของวาทกรรมใหม่ๆ หรืออีก นัยหนึ่ง “โบราณคดี” คือการทำ�ความเข้าใจเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ที่กำ�หนด แวดล้อม และเอื้ออำ�นวยให้วาทกรรมหรือแบบแผนการคิดการรับรู้แบบ หนึ่งเป็นไปได้
14
ธงชัยเสนอว่า สาเหตุที่ฟูโกต์อาศัยโบราณคดีซึ่งเป็นวิธีการศึกษา พื้นที่เป็นแนวเทียบในการศึกษาประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาเวลา เพราะต้องการให้วิธีการของเขาเป็นการต่อต้านประวัติศาสตร์อย่าง เปิดเผยมากกว่าจะเป็นประวัติศาสตร์อีกประเภทหนึ่ง ทว่าต่อมาเขาเห็น ว่า “โบราณคดี” ของเขาทำ�ได้เพียงแค่เปิดเผยกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขของ พื้นที่ของวาทกรรม แต่ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าการสับเปลี่ยนแทนที่ของ วาทกรรมเกิดขึ้นอย่างไร การปะทะประสานของพื้นที่วาทกรรมถูกตัดสิน หรือลงเอยในทางหนึ่งได้อย่างไร เขาจึงพัฒนาวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ อีกวิธีขึ้นมาให้สามารถอธิบายการเปลี่ยนผ่านได้ เรียกว่า ประวัติศาสตร์ แบบสาแหรก (Genealogy) ประวัติศาสตร์แบบสาแหรกเผยให้เห็นกระบวนการ ขั้นตอน และ ขณะต่างๆ ที่วาทกรรมประกอบกับปัจจัยทางสังคมมาปะทะประสานกัน จนเกิดเป็นสิ่งใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดหายใน “โบราณคดี” ขณะเดียวกัน ประวัติศาสตร์แบบสาแหรกปฏิเสธคุณลักษณะที่ประวัติศาสตร์ทั่วไปให้ ความสำ�คัญ ได้แก่ จุดกำ�เนิด สารัตถะ ความต่อเนื่อง องค์รวม และจุดหมาย ปลายทาง โดยหันมาให้ความสำ�คัญกับการเผยตัวตามแนวคิดของนิทเช่ ดังที่กล่าวข้างต้นแทน ธงชัยชี้ว่าวิธีการประวัติศาสตร์แบบสาแหรกเปรียบ เสมือนแผนภูมิการสืบสายโลหิตของบุคคลที่หลากหลายไม่รู้จบ มุง่ ไปที่ การเผยขัน้ ตอนทีบ่ คุ คลนัน้ ปรากฏตัว พร้อมกับปลดปล่อยเหตุการณ์ องค์ประกอบ และปัจจัยที่หลากหลายทว่าถูกบดบังคุณค่าความสำ�คัญในการ อธิบายแบบประวัติศาสตร์ทั่วไปให้กลับมาโลดแล่น ประวัติศาสตร์แบบ สาแหรกจึงเต็มไปด้วยความไม่ต่อเนื่อง การหักเห แตกดับ และการเกิดใหม่ และไม่มีองค์ประธานที่เป็นปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งเป็นผู้ผลักดัน ประวัติศาสตร์ เพราะในทัศนะของฟูโกต์ มนุษย์ไม่ได้ดำ�รงอยู่ในตัวเอง ตัวตนมนุษย์ถูกกระทำ�จากโลกทางสังคมและเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย การ
15
ศึกษาประวัติศาสตร์แบบสาแหรกเป็นความพยายามชี้ให้เห็นเทคโนโลยี หรือกลไกอำ�นาจที่มากับวาทกรรมในการสร้างเรือนร่างมนุษย์และทำ�ลาย เรือนร่างนั้นลง พิจารณาในแง่นี้ ประวัติศาสตร์แบบสาแหรกจึงมีความคาบเกี่ยวกับ การศึกษาวาทกรรม (Discourse) ซึ่งเป็นแนวคิดและวิธีวิทยาเฉพาะอีกวิธี ของฟูโกต์ สามชาย ศรีสันต์เสนอว่า ฟูโกต์ไม่ได้สนใจเพียงแค่ปฏิบัติการ พูดและเขียนรวมถึงผลผลิตของปฏิบัติการเหล่านี้เหมือนการศึกษา วาทกรรมโดยทั่วไป หากแต่เขายังสนใจกฎเกณฑ์ที่ทำ�ให้วาทกรรมปรากฏ เป็นรูปเป็นร่างรวมทั้งบรรดาเทคนิควิธีที่เกี่ยวข้อง การศึกษาวาทกรรม แนวฟูโกต์จึงเป็นการศึกษาสิ่งที่อยู่เหนือขึ้นไปจากหนังสือ ตำ�รา และผู้แต่ง ด้วยการเผยให้เห็นสิ่งปกปิดซ่อนเร้นที่วาทกรรมนั้นอ้างถึงเพื่อสถาปนา คุณสมบัติเหนือกว่าวาทกรรมอื่น เป็นการศึกษาวาทกรรมในฐานะภาพแทน ศึกษาความเชื่อมโยงของการพูดและเขียนที่ก่อให้เกิดระบบความหมาย รวมถึงรูปแบบและวิธีการที่จะพูดและเขียนและกฎเกณฑ์การประพฤติ ปฏิบัติต่อสิ่งนั้น ฉะนั้น การศึกษาวาทกรรมจึงมีหลายส่วน ทั้งกฎเกณฑ์ เครื่องมือ ความรู้ และบุคคล นอกจากนี้ สามชาย เสนอว่า ฟูโกต์ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง วาทกรรมกับสิ่งที่ไม่ใช่วาทกรรมผ่านมโนทัศน์ “กลไกกำ�กับความสัมพันธ์” (Dispositif) ของเขาด้วย โดยกลไกกำ�กับความสัมพันธ์ที่ว่านี้คือเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่หลากหลายและเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย เผยให้เห็นความ สัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เป็นวาทกรรมกับสิ่งที่ไม่เป็นวาทกรรม ทำ�หน้าที่ให้ ปัจเจกก่อรูปตัวตนขึ้นมาภายใต้สภาวะที่ถูกกำ�หนดครอบงำ�ด้วยเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ เป็นระบบความสัมพันธ์ที่กำ�กับการปฏิบัติ การตีความ และ การใช้เหตุผล ซึ่งไม่ได้จำ�กัดเพียงแค่อุปกรณ์หรือเครื่องมือในสถาบันซึ่ง ทำ�หน้าที่เฉพาะ หากแต่หมายรวมถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่ก่อรูปขึ้นเพื่อให้
16
สถาบันทางสังคมสามารถปฏิบตั กิ ารทางวาทกรรมได้ ดังกรณีการสร้างวินยั ซึ่งประกอบด้วยวินัยในการสร้างเรือนร่างที่ว่านอนสอนง่าย การฝึกฝนให้ ถูกต้อง และสรรพทัศน์ กลไกกำ�กับความสัมพันธ์จงึ เป็นระบบความสัมพันธ์ ระหว่างวาทกรรมกับสิ่งที่ไม่ใช่วาทกรรมที่ทำ�หน้าที่เชิงยุทธศาสตร์ตอบ สนองความจำ�เป็นเร่งด่วนให้กับสังคม ขณะเดียวกัน การศึกษาวาทกรรมในแนวทางของฟูโกต์แยกไม่ออก จากการศึกษาอำ�นาจ เพราะในทัศนะของฟูโกต์วาทกรรมคือที่ที่อำ�นาจและ ความรู้บรรจบกัน ธงชัยเสนอว่า ในหนังสือ Discipline and Punish ฟูโกต์ ได้เสนอแนวทางการวิเคราะห์อำ�นาจซึ่งรวมถึงการชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ ระหว่างอำ�นาจกับความรู้ด้วยดังนี้ 1) อย่าสนใจแต่อ�ำ นาจที่เป็นระบบหรือ แสดงตัวอย่างมีกฎเกณฑ์มีสถาบันรองรับ เช่น กฎหมายหรืออำ�นาจรัฐ แต่ควรสนใจอำ�นาจที่แผ่กระจายไปถึงปลายทางของระบบเหล่านั้นเพราะ อำ�นาจมีทุกหนแห่ง 2) อย่าคิดว่าการใช้อำ�นาจเกิดจากความจงใจไตร่ตรอง แต่ควรสนใจอำ�นาจที่อยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ และอย่ามัวแต่ สนใจเหตุที่มาของอำ�นาจ แต่ควรสนใจการกระทำ�และผลของอำ�นาจ 3) อย่าคิดว่าอำ�นาจเป็นปรากฏการณ์อันเกิดจากการครอบงำ� เพราะไม่อาจ แยกแยะได้เด็ดขาดว่าใครมีอำ�นาจมากหรือน้อยกว่า เพราะอำ�นาจกระจัดกระจายไปทั่วความสัมพันธ์ทางสังคม 4) ควรสนใจอำ�นาจที่กระจัดกระจาย 5) อำ�นาจต้องพัฒนาตนเองต่อไปด้วยการสร้างความรู้ขึ้นรองรับ และ 6) อำ�นาจไม่ได้มีแต่ด้านลบ เช่น การกดขี่ห้ามปราม แต่มีเชิงบวกอย่าง การสร้างความรู้และวาทกรรมต่างๆ ด้วย ธงชัยเสนอว่าในแง่หนึ่งประวัติศาสตร์แบบสาแหรกคือการเปิดเผย ปฏิบัติการ กลไก และพิธีกรรมของบรรดาอำ�นาจ ณ จุดย่อย เป็นการเผย ให้เห็นที่มาของความรู้ที่เชื่อว่าจริงและเป็นเหตุผลว่ามีรากเหง้าอยู่ที่การ บงการและครอบงำ� ประวัติศาสตร์แบบสาแหรกจึงเป็นการพยายามกอบกู้
17
สถานะความรู้ย่อยๆ จำ�นวนมากที่ถูกอำ�นาจของความเป็นวิทยาศาสตร์ ความถูกต้อง และสัจจะ เบียดบังกดทับเอาไว้ ขณะเดียวกัน ธเนศเสนอว่า การที่ฟูโกต์เห็นว่าอำ�นาจสมัยใหม่ ถูกท้าทายจากกลุ่มต่างๆ ที่มีจำ�นวนมากขึ้น เช่น กลุ่มสตรี กลุ่มอนุรักษ์ ธรรมชาติ รวมทั้งการเห็นว่าอำ�นาจการปกครองสมัยใหม่กระจายไปทุกอณู ของสังคมด้วยเทคนิคต่างๆ ส่งผลให้เขาต่างจากสำ�นักอนุรักษนิยมใหม่ อย่างเด่นชัด นอกเหนือไปจากการที่เขาไม่สนใจประเด็นเศรษฐกิจ เช่น กลไกตลาด รวมถึงการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งสำ�นักอนุรักษนิยมใหม่ ให้ความสนใจ ทั้งนี้ ฟูโกต์ไม่เพียงแต่ “บุกเบิกแผ้วถาง” หรือสร้างแนวทางการ วิเคราะห์อำ�นาจในโลกสมัยใหม่ผ่านมโนทัศน์เทคโนโลยีอำ�นาจ เช่น ระเบียบวินัย (discipline) และการปกครอง (governmentality) ดังที่ รับรู้กันโดยทั่วไป หากแต่เขายัง “กรุยทาง” วิธีพิจารณาอำ�นาจอธิปไตย (sovereignty) ในฐานะที่เป็นหนึ่งในอำ�นาจสำ�คัญในโลกสมัยใหม่ด้วย อรรถสิทธิ์เสนอว่า แม้ ในตอนต้นดูเหมือนฟูโกต์ปฏิเสธแนวคิดอำ�นาจ อธิปไตยของฮอบส์ แต่ต่อมาเขาได้นำ�บางส่วนของแนวคิดฮอบส์มาเป็นฐาน ในการทำ�ความเข้าใจอำ�นาจอธิปไตยในสังคมสมัยใหม่ โดยฟูโกต์เสนอว่า สงครามไม่ได้เป็นสภาวะธรรมชาติอันเป็นพื้นฐานของอำ�นาจอธิปไตย ขององค์อธิปัตย์เหมือนเช่นที่ฮอบส์เสนอ หากแต่เป็นภาพตัวแทนความ ปรารถนาที่จะเข้าสู่สภาวะสงครามและสร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้น ในสังคม องค์อธิปัตย์ ในทัศนะฟูโกต์เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้รวมศูนย์ และผูกขาดสมรรถนะในการสร้างความหวาดกลัว แม้จะไม่มีหลักประกัน ว่าจะประสบความสำ�เร็จหรือไม่ เนื่องจากในสังคมสมัยใหม่อำ�นาจไม่ได้ รวมศูนย์หรือถูกครอบครองแต่โดยองค์อธิปัตย์
18
นอกจากนี้ ฟูโกต์อาศัยแนวคิดของฮอบส์เรื่องการคุ้มครองรักษา ชี วิ ต มนุ ษ ย์ ใ นฐานะเป้ า หมายหลั ก ขององค์ อ ธิ ปั ต ย์ ผ สานกั บ แนวคิ ด อรรถประโยชน์ของเบนแธมในการพัฒนาแนวคิดชีวอำ�นาจ โดยเขาเสนอ ว่าขณะที่อำ�นาจอธิปไตยวางอยู่บนสิทธิในการพรากชีวิต ชีวอำ�นาจวางอยู่ บนการดูแลจัดการชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ขณะเดียวกันหัวใจของชีวอำ�นาจ ไม่ใช่การตัดสินใจขององค์อธิปัตย์ ในการกำ�หนดว่าใครควรได้รับการ ปกป้องคุ้มครอง แต่เป็นการคำ�นวณอรรถประโยชน์พร้อมกับสร้างความ หวาดกลัวเพื่อปกป้องชีวิตในเวลาเดียวกัน อรรถสิทธิ์เสนอว่าแม้ฟูโกต์ไม่ได้พัฒนาแนวคิดอำ�นาจอธิปไตย อย่างเป็นระบบ แต่สามารถประมวลได้ว่าอำ�นาจอธิปไตยในทัศนะของฟูโกต์ คือการรวมศูนย์และผูกขาดสมรรถนะในการสร้างความหวาดกลัวแก่ คนในสังคมด้วยการปกป้องดูแลชีวิตผ่านการคำ�นวณผลประโยชน์และ ความมั่นคง เป็นการสร้างความหวาดกลัวให้กับคนในสังคมจนทำ�ให้การ ดูแลชีวิตโดยรัฐเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ กระนั้นอรรถสิทธิ์เสนอว่า โลกหลัง เหตุการณ์ 9/11 เป็นโลกที่ทุกคนสามารถผลิตความหวาดกลัวเพื่อหลอก หลอนกันได้อย่างเสมอหน้า จึงเป็นโลกที่ทุกคนกลายเป็นองค์อธิปัตย์และ ครอบครองอำ�นาจอธิปไตยเสมอกัน เพราะเหตุที่เทคโนโลยีอำ�นาจ ไม่ว่าจะเป็นระเบียบวินัย การปกครอง หรืออธิปไตยต่างมี “ประชากร” (population) เป็นเป้าหมาย แนวคิดและ วิธีพิจารณา “เรือนร่าง” (body) ของมนุษย์จึงเป็นอีก “เส้นทาง” สำ�คัญ ที่ฟูโกต์ได้ “บุกเบิกแผ้วถาง” ไว้ สลิสาเสนอว่า หาก “การปรากฏอย่างไม่ ปรากฏ” ของเรือนร่างชีวกายภาพ สะท้อนความเลินเล่อของสังคมศาสตร์ ฟูโกต์ก็ควรค่าแก่การยกย่องในแง่ที่ได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายด้วยการนำ� เรือนร่างกลับมาพิจารณาใหม่ ในช่วงแรกฟูโกต์พิจารณาเรือนร่างในฐานะ ที่ถูกกลไกอำ�นาจเช่นวาทกรรมทลายและประกอบขึ้นใหม่เป็นเรือนร่างที่
19
ว่านอนสอนง่าย ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าให้ความสำ�คัญกับตรีเอกานุภาพ “อำ�นาจ/ ความรู้/วาทกรรม” มากเกินไป จนไม่เห็นว่าเรือนร่างสามารถตอบโต้และ เปลี่ยนแปลงวาทกรรมได้ ในช่วงต่อมาฟูโกต์จึงพิจารณาเรือนร่างในฐานะ ผู้กระทำ�การที่ตระหนักรู้ว่าตนจะสามารถบรรลุเสรีภาพได้อย่างไร ไม่ใช่ เป็นเพียงผลผลิตของอำ�นาจ กระนั้นก็ยังอยู่ภายใต้ชุดของความเป็นไปได้ ที่มีอยู่จำ�กัด เรือนร่างที่มีชีวิตจึงหายไปจากกรอบการวิเคราะห์ขณะที่ ปฏิบัติการของวาทกรรมถูกเน้นย้ำ�แทน สลิสาเห็นว่าสาเหตุที่เรือนร่างสามารถกระทำ�การได้จำ�กัดและ เลือนหายไปจากกรอบการวิเคราะห์ของฟูโกต์เป็นผลมาจากข้อจำ�กัดทาง ญาณวิทยาและภววิทยาของฟูโกต์ที่เน้นการถอดแยกเรือนร่าง เธอจึงเสนอ แนวคิดที่มีรากฐานทางญาณวิทยาและภววิทยาแบบแฝงฝังเรือนร่าง (embodiment) แทน เริ่มจากเอมิล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) ที่เสนอ ว่าการลงทัณฑ์ก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่นทางสังคม ซึ่งอีกนัยหนึ่งคือการ แฝงฝังองค์ประธานเข้าไปในเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมและจัดวาง เรือนร่างที่ถูกแฝงฝังไว้ที่ศูนย์กลางการวิเคราะห์ เช่นเดียวกับนอร์เบิร์ต อีเลียส (Norbert Elias) ที่ชี้ว่ามนุษย์สามารถบรรลุเสรีภาพที่เพิ่มขึ้นได้มิใช่ ด้วยการถอดแยกร่างขององค์ประธานจากความสัมพันธ์ทางสังคม หากแต่ เป็นการเข้าร่วมกับสังคมและแบ่งสรรอำ�นาจใหม่ซึ่งจะทำ�ให้บุคคลมี เสรีภาพเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สลิสาเสนอว่าแนวคิดการแฝงฝังเรือนร่าง ยังปรากฏในงานปิแอร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Bourdieu) โดยแนวคิดฮาบิทัส (Habitus) ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประธานที่มีเรือนร่างกับสังคม องค์ประธานไม่ได้มีนัยของปัจเจก แต่เป็นกลุ่มคนที่มีฮาบิทัสร่วมกันและ มีศักยภาพในการต่อต้านรวมหมู่หรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำ�นาจ ดัง กรณีขบวนการสตรีนิยมที่มีประสบการณ์ที่สตรีได้รับจากการแฝงฝังและ ตีตราจากการมีเรือนร่างเป็นผู้หญิงได้กลายเป็นจุดอ้างอิงสำ�คัญสำ�หรับ
20
การแฝงฝังเรือนร่างของสตรีเข้าไปใหม่อีกครั้งภายใต้การเปลี่ยนมุมมอง จากผู้หญิงที่เป็นเหยื่อมาเป็นผู้กระทำ�การทางสังคมที่เท่าเทียม นอกจากนี้ สลิสาเสนอว่าเพราะเดอลูซ และโกตตารี เห็นว่าวิธีการ วิเคราะห์ของฟูโกต์ลดทอนความซับซ้อนระหว่างอำ�นาจกับการต่อต้าน ด้วยการดึงองค์ประธานออกจากพื้นที่แห่งการประกอบสร้างองค์รวมของ อัตลักษณ์ทางสังคม พวกเขาจึงเสนอแนวคิดการแฝงฝังเรือนร่างด้วย มโนทัศน์เรือนร่างไร้อวัยวะ (Body Without Organs) ที่ว่าหากอวัยวะ เปรียบเสมือนการควบคุมทางสังคมที่ครอบทับลงบนเรือนร่าง เรือนร่าง ไร้อวัยวะคือเรือนร่างที่ความปรารถนาเป็นตัวบ่งชี้เสรีภาพขององค์ประธาน ที่ไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำ�กัดใด
ทายาท จุฬารัต ผดุงชีวิต อาศัยแนวคิดการแฝงฝังเรือนร่าง ของฟูโกต์ ในการศึกษาการทำ�ศัลยกรรมความงามของผู้คน เธอชี้ว่าฟูโกต์เริ่มเสนอ ความคิดดังกล่าวในหนังสือ Madness and Civilization ซึ่งแสดงให้เห็น ว่าเรือนร่างธรรมชาติถูกแฝงฝังหรือหล่อหลอมกล่อมเกลาเป็นเรือนร่าง ทางสังคมผ่านวาทกรรม ความคิด ตลอดจนวัฒนธรรมอย่างไร โดยเฉพาะ อย่างยิ่งคือความมีเหตุมีผลสร้างความชอบธรรมให้แพทย์ ในการควบคุม เรือนร่างคนไข้อย่างไร เช่นเดียวกับในหนังสือ The Birth of Clinic ฟูโกต์ ชี้ว่า ระบบการแพทย์เปิดโอกาสให้แพทย์ “จับจ้อง” (gaze) และบงการ เรือนร่างของคนไข้อย่างไร อย่างไรก็ดี จุฬารัตเสนอว่าต่อมาฟูโกต์ได้ พัฒนาแนวคิดการแฝงฝังเรือนร่างไปอีกขั้นในหนังสือชุด The History of Sexuality เริ่มจากการชี้ให้เห็นกลไกควบคุมทางสังคมและการเมืองที่ กระทำ�ต่อเรือนร่างผ่านวาทกรรมในเล่ม 1 และ 2 ก่อนจะชี้ให้เห็นอำ�นาจ
21
ขององค์ประธานที่ได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระในเล่ม 3 ซึ่งจุฬารัต เรียกว่า การใช้ความเป็นอิสระภายใต้ระบบสังคมในการเข้าถึง “แรง ปรารถนาในการสลักเรือนร่าง” เป็นการเปลี่ยนการพิจารณาเรือนร่างจาก ผู้ถูกกระทำ�โดยโครงสร้างและวาทกรรมไปสู่เรือนร่างที่มีอิสระในการดูแล ตนเอง เป็นผู้กระทำ�การที่มีศักยภาพที่จะบรรลุความปรารถนาของตน จุฬารัตเสนอว่าการทำ�ศัลยกรรมความงามหรือ “การสลักเรือนร่าง” ของบุคคลมีนัยเช่นเดียวกับ “การแฝงฝังเรือนร่าง” ของฟูโกต์ เพราะแม้ วาทกรรมความงามที่ผลิตโดยสถาบันเบ็ดเสร็จเช่นสถานพยาบาล/เสริม ความงาม ก่อให้เกิดกระแสความคลั่งไคล้ความงามและทำ�ให้บุคคลหันมา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเรือนร่างให้ “ดูดี” เหมือนเช่นเรือนร่างที่ว่านอน สอนง่ายหรือกลายสภาพเป็นวัตถุ ทว่าขณะเดียวกันกระบวนการดังกล่าว เปิดโอกาสให้บุคคลได้สร้างและต่อรองอัตลักษณ์และตัวตนเพื่อตอบสนอง ความต้องการหรือสร้างทางเลือกและโอกาสในชีวิตของพวกเขา ดังที่งาน ศึกษาจำ�นวนหนึ่งแสดงให้เห็น ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมน้ำ�หนักเพื่อสร้าง ความมั่นใจและเคารพตนเองในหมู่วัยรุ่น การทำ�เปลือกตาสองชั้นเพื่อ ลบรอยมลทินและอคติทางชาติพันธุ์ของสตรีอเมริกันเชื้อสายเอเชีย การ ผ่าตัดแปลงเพศเพื่อกำ�หนดชะตากรรมของตนในหมู่คนข้ามเพศ การใช้ เครื่องสำ�อางเพื่อควบคุมปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นของพนักงานบริษัท หรือว่า การสักเพื่อสลัดตนเองจากการถูกตีตราพร้อมกับแสดงตัวตนของบุคคล อำ�นาจในการสลักเรือนร่างจึงเป็นอำ�นาจสองขั้วดึงดูดกัน ขั้วหนึ่งเป็น อำ�นาจของโครงสร้างที่กดทับลดทอนเรือนร่างและตัวตนของบุคคล อีกขั้ว เป็นอำ�นาจของบุคคลที่จะอาศัยเรือนร่างในการบรรลุความปรารถนา ของตน สามชาย อาศัยแนวคิดวาทกรรม กลไกกำ�กับความสัมพันธ์ และ วงศาวิทยาหรือประวัติศาสตร์แบบสาแหรกของฟูโกต์ ในการศึกษาการ
22
พัฒนาแนววิพากษ์หรือ “การศึกษาหลังการพัฒนา” (Post-development Studies) เขาเสนอว่า การพัฒนาคือวาทกรรมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นสำ�หรับอาศัยเป็นข้ออ้างหรือสร้างความชอบธรรมในการแทรกแซง ประเทศ “ด้อยพัฒนา” ผ่านการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการ ในการต่อสู้กับการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นวาทกรรมที่ครอบงำ� และปิดกั้นวิธีคิดอื่น ไม่ต่างจากการฝึกวินัยให้ประเทศ “โลกที่สาม” เพื่อ สร้างความเป็นปกติและกีดกันสิ่งต่างให้เป็นอื่น ดังจะเห็นได้จากการที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำ�หน้าที่ไม่ต่างจากธนาคารโลก ในการลอกเลียนและนำ�เข้าความมุ่งมั่นที่จะขจัดความยากจนและให้คนรับ วินัยความไม่ยากจนไว้ ในตัว เช่น การโฆษณา “เลิกเหล้าเลิกจน” ที่ฝึกวินัย คนจนไม่ให้ดื่ม นัยที่แฝงคือคนจนต้องเชื่อฟังรัฐเพราะรัฐปรารถนาดีขณะที่ ยกเว้นการฝึกวินัยนี้ในคนรวย ทั้งนี้ วาทกรรมไม่ได้ปฏิบัติการแต่ลำ�พัง หากแต่ปฏิบัติการร่วมกับ องค์ประกอบอื่นภายใต้กลไกกำ�กับความสัมพันธ์ ในการสร้างองค์ประธาน ให้เป็นร่างทรงของอำ�นาจพร้อมกดทับไว้ กรณีประเทศไทย กลไกกำ�กับ ความสัมพันธ์ด้านการพัฒนาประกอบด้วยการจัดการพื้นที่การพัฒนาด้วย เกณฑ์มาตรฐาน การสร้างตัวแทนขึ้นในพื้นที่ในรูปปราชญ์ชาวบ้าน ประธาน กลุ่มจัดตั้ง และการแสดงป้ายสัญลักษณ์หน่วยงานที่ดำ�เนินโครงการพัฒนา ในพื้นที่ ส่งผลให้การพัฒนาแลดูเป็นธรรมชาติ ถูกต้องชอบธรรม และ จำ�เป็นต้องน้อมรับไว้อย่างไม่สามารถปฏิเสธได้ สามชายเสนอว่า ถึงแม้วาทกรรมการพัฒนาจะทรงพลังแต่วงศาวิทยาของฟูโกต์เป็นวิธีวิทยาที่ช่วยให้สามารถเป็นอิสระจากการครอบงำ� ของวาทกรรมการพัฒนาได้ เพราะเป็นการเผยให้เห็นเบื้องหลังการก่อรูป ขึ้นของการพัฒนาและการกระทำ�ต่อวาทกรรมฝ่ายแพ้ รวมทั้งต่อเรือนร่าง และตัวตนของผู้ต้องได้รับการพัฒนา พร้อมกับเปิดพื้นที่ให้วาทกรรมและ
23
เรือนร่างแบบอื่นได้โลดแล่น การศึกษาหลังการพัฒนาซึ่งได้รับอิทธิพลจาก วงศาวิทยาของฟูโกต์จึงเป็นไปเพื่อปลดปล่อยผู้คนออกจากการครอบงำ� ของความรู้ที่มากับการพัฒนา การศึกษาหลังการพัฒนาไม่สนใจหรืออีก นัยหนึ่งคือไปไกลกว่าการพัฒนาทางเลือก (Alternative Development) ที่ผสมกับการพัฒนากระแสหลักจนไม่ได้เป็นทางเลือกดังที่วาดหวังไว้ หากแต่มุ่งแสวงหาทางเลือกต่อการพัฒนา (Alternative to Development) หรืออีกนัยหนึ่งคือไม่ต้องพัฒนา จากขบวนการเคลื่อนไหวข้างล่างเพื่อ เขียนประวัติศาสตร์การพัฒนาใหม่ภายใต้ประสบการณ์ของตนเอง ดังกรณี ขบวนการรื้อฟื้นรากเหง้าและวัฒนธรรมท้องถิ่นในลาตินอเมริกา แอฟริกา และอินเดีย ซึ่งเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่หรือเป็น การเมืองเชิงอัตลักษณ์ที่เป็นการตอบโต้การพัฒนาในชีวิตประจำ�วันพร้อม กับสร้างพื้นที่ทางสังคมแบบใหม่ในเวลาเดียวกัน
วันรวมญาติ การร้อยเรียงบทความทั้ง 6 ชิ้นเข้าด้วยกันด้วยสำ�นวนมานุษยวิทยาส่งผลให้หนังสือเล่มนี้เป็นเสมือน “วันรวมญาติ” ของ “ตระกูล” ฟูโกต์ ซึ่งเป็นธรรมดาที่บทสนทนาระหว่างเครือญาติเหล่านี้จะมีทั้งที่เห็นพ้องและ เห็นต่างกันในบางประเด็น เช่น อิทธิพลทางความคิด อำ�นาจอธิปไตย และ การแฝงฝังและการถอดแยกเรือนร่าง เป็นต้น เนื่องจากญาติแต่ละคนมี พื้นฐาน การฝึกฝนทางวิชาการ จุดเน้น และมุมมองแตกต่างกัน ซึ่งอาจ ส่งผลให้เกิดความสับสนไม่แน่นอน ในบางประเด็นในบทสนทนา อย่างไรก็ดี การรวมญาติฟูโกต์ครั้งนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์หรือ พันธกิจที่จะหาข้อยุติให้กับความเห็นต่างในหมู่เครือญาติดังกล่าว ส่วน หนึ่งเป็นเพราะ “เจ้าภาพ” เห็นว่าบทสนทนาที่หลากหลายไม่รู้จบในหมู่
24
เครือญาติฟูโกต์เช่นนี้เป็นปัจจัยสำ�คัญที่ส่งผลให้ “ตระกูล” ฟูโกต์ขยายตัว อย่างต่อเนื่อง มีสีสันและมีชีวิตชีวาอยู่เสมอ การพยายามหาข้อยุติให้กับ ความเห็นต่างนอกจากอาจจะเป็นไปไม่ได้ ในที่นี้ยังจะเป็นการปิดกั้น ขัดขวางคุณลักษณะการเติบโตของ “ตระกูล” ฟูโกต์อย่างสำ�คัญ ฉะนั้น สุดท้าย “เจ้าภาพ” จึงอยากเชิญชวน “แขกเหรื่อ” ทุกท่านร่วมกันเฉลิมฉลอง และแสวงหาความสำ�ราญกับความหลากหลายในความคิดของเครือญาติ ฟูโกต์ ในโอกาสนี้ไปพร้อมกัน อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
25