ดิน น�้ำ ลม ไฟ ธาตุ จักรวาล พิษภัย จากมุมมองมนุษยศาสตร์
จาตุรี ติงศภัทิย์ สุรเดช โชติอุดมพันธ์ อลิสา สันตสมบัต ิ คณะบรรณาธิการ
บทความวิจัยทั้งหมดเป็นผลงานจากการประชุมวิชาการระดับชาติ “เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ ไทย ครั้งที่ 6" หัวข้อ “ดิน น้ำ� ลม ไฟ : อุปสงค์ อุปทาน อุปลักษณ์ อุปโลกน์” ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2555 การจัดประชุมนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ ไทย โดยการสนับสนุนของ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ดิน น้ำ� ลม ไฟ : ธาตุ จักรวาล พิษภัย จากมุมมองมนุษยศาสตร์ 978-974-315-909-1 พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2558
ISBN
ในเครือบริษัทสำ�นักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำ�กัด 113 ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0-2225-9536 ถึง 9 โทรสาร 0-2222-5188 เจ้าของ : บริษัทสำ�นักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำ�กัด ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : สุลักษณ์ ศิวรักษ์ คณะกรรมการบริหาร : สัจจา รัตนโฉมศรี, อนันต์ วิริยะพินิจ, วินัย ชาติอนันต์, ทิชากร ชาติอนันต์, อาสา นาถไตรภพ บรรณาธิการประจำ�ฉบับ : จาตุรี ติงศภัทิย์, สุรเดช โชติอุดมพันธ์, อลิสา สันตสมบัติ ประสานงานการผลิต : ศรัณย์ วงศ์ขจิตร, ชานน จงประสพมงคล, อนรรฆ พิทักษ์ธานิน แบบปก : The Uni_Form Studio รูปเล่ม : เด็ดเดี่ยว เหล่าสินชัย พิสูจน์อักษร : สมิทธ์ ถนอมศาสนะ ประชาสัมพันธ์ : ชวัลนุช เมฆกระจาย, มนตรี คงเนียม
• ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ
โครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย. ดิน น้ำ� ลม ไฟ : ธาตุ จักรวาล พิษภัย จากมุมมองมนุษยศาสตร์. -- กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์, 2558. 512 หน้า 1. จักรวาลวิทยา. I. ชื่อเรื่อง. 523.1 ISBN 978-974-315-909-1
จัดจำ�หน่าย : สายส่งศึกษิต บริษัทเคล็ดไทย จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2225-9536 ถึง 9 โทรสาร 0-2222-5188 www.kledthai.com ราคา 320 บาท
สารบัญ คำ�นำ�จาก สกว. คำ�นำ� ธาตุ จักรวาล ความกลมกลืน พื้นที่สี่ธาตุ ภูมิศาสตร์ตัวบท ใน เรื่องสั้นตะวันออก ของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ วรุณี อุดมศิลป ทฤษฎีห้าธาตุ : สัญศาสตร์ ในวัฒนธรรมอาหารจีน พัชนี ตั้งยืนยง ความงาม (เหม่ย 美) และจักรวาลวิทยาในปรัชญาขงจื่อ อันธิฌา แสงชัย ความเป็นคน ความเป็นสัตว์ สัตว์กับการกระทำ�ทางจริยธรรมในพุทธศาสนาเถรวาท เฉลิมวุฒิ วิจิตร Dracular : โอษฐภาวะและความเป็นสัตว์ ในพื้นที่เมือง มิ่ง ปัญหา A Monkey at the Academy : The Possibility of Literal Reading of Franz Kafka’s A Report to an Academy Pojanut Suthipinittharm
(5) (7)
3 55 97
167 203
253
ตัวตน เรื่องเล่า การเยียวยา กายพ่ายพิษ: ร่างกาย ตัวตน สังคม และมลภาวะใน Body Toxic: An Environmental Memoir ของ ซูซาน แอนโทเนตตา 287 ดารินทร์ ประดิษฐทัศนีย์ พิธีกรรมฟ้อนผีมด : การเยียวยาสุขภาพในมุมมองคติชนวิทยา 333 ณัฐภัทร์ สุรินทร์วงศ์ นางสาววารี ปราบพนัง : การสร้างสรรค์ และบทบาทของวรรณกรรมน้องน้ำ� ช่วงอุทกภัยครั้งใหญ่ พ.ศ. 2554 ในประเทศไทย 359 ชนัญญา เตชจักรเสมา พุธิตา ขำ�บุญลือ และวิรุจนา ประสารทรัพย์ โลกเรา โลกอื่น คอมพิวเตอร์ ในโลกที่ล่มสลาย : เรื่องเล่าวันสิ้นโลก ในภาวะวิกฤตยุคสงครามเย็น อรรถพล ปะมะโข ความเป็นโลกและความเป็นโลกอื่นในปรัชญาของ เคียร์เคอการ์ด รชฎ สาตราวุธ
411
451
คำ�นำ�จากสำ�นักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.)
สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.) เล็งเห็นความสำ�คัญ ของการสนับสนุนงานวิจัยสาขามนุษยศาสตร์ ด้วยตระหนักว่าภาษา วรรณกรรม ปรัชญา ศาสนา วัฒนธรรม ประสบการณ์ทางศิลปะ และ ข้อถกเถียงเกี่ยวกับคุณค่าและจริยธรรม พึงได้รับการสนับสนุนให้มี ส่วนร่วมกำ�หนดวิถีปฏิบัติของมนุษย์ควบคู่ไปกับพัฒนาการความรู้ทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเกื้อหนุนชีวิตที่ดีร่วมกันแก่สมาชิกใน สังคมไทยและสังคมโลก เป็นเวลากว่าหนึง่ ทศวรรษทีช่ ดุ โครงการ เวทีวจิ ยั มนุษยศาสตร์ไทย ภายใต้การดำ�เนินงานของฝ่ายมนุษยศาสตร์ สกว. ได้ด�ำ เนินการในทิศทาง ดังกล่าวและได้พัฒนาเครือข่ายนักวิจัยสาขามนุษยศาสตร์ ให้ร่วมกัน ตั้งโจทย์วิจัยที่มีลักษณะสหสาขาและเชื่อมโยงสัมพันธ์กับปัญหาสังคม ร่วมสมัย เปิดเวทีวชิ าการระดับชาติส�ำ หรับนักวิจยั รุน่ ใหม่ทง้ั ในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เชิญนักวิจัยมนุษยศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ มาแลกเปลี่ ย นความรู้ แ ละเปิ ด โลกทั ศ น์ ข องนั กวิ ช าการไทย อี ก ทั้ ง วิเคราะห์ ตรวจสอบ สร้างสรรค์แนวทางการวิเคราะห์ ระเบียบวิธแี ละ ทฤษฎีใหม่ๆ อันจะช่วยอธิบายและชีแ้ นะแนวทางการเข้าใจปัญหาสังคม และวัฒนธรรมจากมุมมองที่ทันสมัยและก้าวทันพลวัตอันซับซ้อนของ โลกร่วมสมัย หนังสือรวมบทความ ดิน น้� ำ ลม ไฟ : ธาตุ จักรวาล พิษภัย จาก มุมมองมนุษยศาสตร์ เป็นผลงานรวมบทความวิจยั จำ�นวน 11 บทความ
(6)
ทีค่ ดั สรรจากบทความทีน่ �ำ เสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ “เวทีวจิ ยั มนุษยศาสตร์ ไทย ครั้งที่ 6” ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย ระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 โดย บทความทัง้ หมดต่างนำ�เสนอทรรศนะเกีย่ วกับปฏิสมั พันธ์ระหว่างมนุษย์ กับโลกในแง่มมุ ทีแ่ ตกต่างหลากหลาย เป็นการครุน่ คิดไตร่ตรองเกีย่ วกับ โลกในสังคมปัจจุบันที่เผชิญหน้ากับภัยพิบัติ การสูญเสียความสมดุล และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ยงั้ คิดของมวลมนุษย์ทวี่ างตนเอง เป็ น ศู น ย์ ก ลาง ผ่ า นสายตาของนั ก วิ ช าการสายมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละ สังคมศาสตร์ที่ใช้ระเบียบวิธีและทฤษฎีที่หลากหลายในการวิจัย สกว. ขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จาตุรี ติงศภัทิย์ และ คณะที่ ทำ � หน้ า ที่ บ รรณาธิ ก ารหนั ง สื อ เล่ ม นี้ และขอขอบคุ ณ ผู้ ช่ ว ย ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ทุกคน ที่ได้ร่วมกันดำ�เนินการจัดประชุมเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ ไทยครั้งที่ 6 จนสำ�เร็จเรียบร้อยเป็นอย่างดี สกว. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ดิน น้ำ� ลม ไฟ : ธาตุ จักรวาล พิษภัย จากมุมมองมนุษยศาสตร์ จะเป็นประโยชน์ แก่วงวิชาการและช่วยจุดประกายให้มกี ารพัฒนางานวิจยั ทางมนุษยศาสตร์ ที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ ในการพัฒนาประเทศ ตามเจตนารมณ์ “สร้างสรรค์ปัญญาเพื่อพัฒนาประเทศ”
ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
คำ�นำ�
ดิน น้�ำ ลม ไฟ : ธาตุ จักรวาล พิษภัย จากมุมมองมนุษยศาสตร์ เป็นหนังสือรวมบทความทีค่ ดั สรรจากการประชุมวิชาการระดับชาติ “เวที วิจยั มนุษยศาสตร์ ไทย ครัง้ ที ่ 6” เรือ่ ง “ดิน น้� ำ ลม ไฟ : อุปสงค์ อุปทาน อุปลักษณ์ อุปโลกน์” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยการ สนับสนุนของสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ภายใต้ชุด โครงการ เวทีวจิ ยั มนุษยศาสตร์ ไทย หนังสือเล่มนีม้ งุ่ พัฒนาความเข้าใจ เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่าง “โลก” ในสองความหมายคือ โลกในความหมาย “แผ่นดินโลก” (earth) และโลกในความหมาย ปรากฏการณ์แห่งมนุษย์ (world) การเปลีย่ นแปลงทางปรัชญาความคิด ครั้งสำ�คัญในยุโรปสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่แยกมนุษย์ออกจากโลก ในฐานะ “ผูค้ ดิ ” และโลกภายนอกเป็น “วัตถุ สสาร” ผนวกกับพัฒนาการ ทางวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี และพัฒนาการทุนนิยมโลกในระยะเวลา 3 ศตวรรษที่ผ่านมาได้วางรากฐานอยู่บนความเข้าใจแผ่นดินโลก หรือ ดิน น้ำ� ลม ไฟ ในฐานะวัตถุ สสาร หรือพลังงาน อันเป็นแร่ธาตุ วัตถุดบิ และพลังงานทีถ่ กู แปรเป็นทรัพย์ดงั ที่เราเรียกโลกแห่ง ดิน น้� ำ ลม ไฟ ว่ า “ทรั พ ยากร” กระบวนการอั น ซั บ ซ้ อ นดั ง กล่ า วเป็ น แรง ขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงในโลกมนุษย์อย่างกว้างไกลลึกซึ้ง ความ สำ�เร็จของกระบวนการดังกล่าวได้ทำ�ให้มนุษย์ ในโลกได้พบกับความ สะดวกสบาย ความร่�ำ รวยโภคทรัพย์สมบัติ เทคโนโลยีล�ำ้ หน้า ไปพร้อมๆ กับการเผชิญหน้ากับความอดอยากยากแค้นของผูค้ นจำ�นวนมาก สงคราม
(8)
โรคระบาด ภัยพิบัติ อันนับวันมีแต่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ สังคมไทยในทศวรรษที่ผ่านมาได้เผชิญกับภัยพิบัติอย่างรุนแรง และต่อเนือ่ งทัง้ จากภัยธรรมชาติและจากความขัดแย้งทางสังคมการเมือง จนอาจกล่าวได้วา่ ความกลัว ความวิตกกังวล ความไม่มน่ั ใจในชีวติ และ ทรัพย์สนิ ได้แผ่ขยายในวงกว้างและฝังรากลึกในจิตสำ�นึกของผูค้ นทัว่ ไป อารมณ์ความรูส้ กึ เหล่านี้ ได้ปรากฏขึน้ ในตัวบทอันหลากหลาย ไม่วา่ จะ เป็นวรรณกรรม งานเขียนทางประวัติศาสตร์ หรือปรัชญา ซึ่งเปรียบ เสมือนเวทีให้ผู้คนได้แสดงอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติซึ่งนับวัน จะสูญเสียความสมดุล อาจกล่าวได้วา่ ธาตุพน้ื ฐาน เช่น ดิน น้� ำ ลม ไฟ ได้กลายเป็นองค์ประกอบสำ�คัญของธรรมชาติทสี่ ง่ ผลต่อจินตนาการของ มนุษย์ทง้ั ในโลกตะวันตกและตะวันออก ความกลมกลืนของธาตุเบือ้ งต้น เหล่านี้ ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่สภาพอันสมดุลของธรรมชาติเท่านัน้ หาก ยังหมายถึงสภาพจิตใจของมนุษย์ที่สงบมีความสุขุมคัมภีรภาพดุจกัน ด้วยเหตุนจี้ งึ ไม่นา่ แปลกใจทีป่ รัชญาจีนจะมีการจำ�แนกลักษณะคนตาม ธาตุ ดิน น้�ำ ลม ไฟ ดังกล่าวและมอบลักษณะทีแ่ ตกต่างกันตามแต่ธาตุ พื้นฐานที่ประกอบเป็นคนคนนั้นขึ้นมา ในแง่นี้เชื่อว่าปริมาณที่มากจน ล้นเกินของธาตุหนึ่งๆ ในตัวคนอาจนำ�ไปสู่สมดุลที่เสียไปและทำ�ให้ อารมณ์หนึ่งๆ ครอบงำ�ตัวคนนั้นก็เป็นได้ หนังสือ ดิน น้ำ� ลม ไฟ: ธาตุ จักรวาล พิษภัย จากมุมมอง มนุ ษ ยศาสตร์ ในการศึ ก ษามนุ ษ ยศ าสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ เช่ น ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ภาษาศาสตร์ วรรณกรรมศึกษา วัฒนธรรม ศึ ก ษา มานุ ษ ยวิ ท ยา ฯลฯ บทความเหล่ า นี้ นำ � เสนอปฏิ สั ม พั น ธ์ ที่ ซับซ้อนระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ ระหว่างโลกที่เผชิญกับภัยพิบัติ กับปฏิกิริยาของมนุษย์ที่จำ�ต้องตกอยู่ในสถานะดังกล่าว หนังสือรวม บทความนีแ้ บ่งเป็นหัวข้อต่างๆ 4 หัวข้อ คือ (1) ธาตุ จักรวาล ความ กลมกลืน เป็นการรวมบทความทีเ่ น้นศึกษาองค์ประกอบดิน น้� ำ ลม ไฟ
(9)
ทัง้ ในธรรมชาติและวัฒนธรรม รวมไปถึงการศึกษาความสมดุลของธาตุ ทั้งสี่ที่สัมพันธ์กับจักรวาล (2) ความเป็นคน ความเป็นสัตว์ เป็นการ รวมบทความที่ศึกษาการนิยามตัวตนและความเป็นอื่น ในที่นี้คือสัตว์ ซึง่ แม้วา่ เป็นสิง่ มีชวี ติ ในธรรมชาติทใี่ กลช้ ดิ กับมนุษย์มาก แต่มนุษย์กลับ เข้าใจวิธีคิดหรือพฤติกรรมน้อยมากและพยายามใช้บรรทัดฐานของ มนุษย์เองวิพากษ์วิจารณ์ตัดสิน (3) ตัวตน เรื่องเล่า การเยียวยา เป็ น การรวมบทความที่ มี เ นื้ อ หาเกี่ ยวกั บ ปฏิ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งคนกั บ ธรรมชาติ และการที่คนพยายามทำ�ความเข้าใจสภาพต่างๆ อันไม่ พึงประสงค์ผ่านเรื่องเล่าและพิธีกรรมซึ่งกอปรกันเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการเยียวยา และ (4) โลกเรา โลกอื่น เป็นส่วนสุดท้ายของ หนังสือเล่มนี้ เป็นการมองภาวะต่างๆ ของโลกผ่านวรรณกรรมและ ปรัชญา บทความในหัวข้อแรก ธาตุ จักรวาล ความกลมกลืน นำ�เสนอ ความสมดุลกลมกลืนของธาตุต่างๆ ตามระเบียบแบบแผนของจักรวาล วิทยาของวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก บทความแรก “พืน้ ทีส่ ธ่ี าตุ ภูมิศาสตร์ตัวบท ในเรื่องสั้นตะวันออก ของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์” ของ วรุณี อุดมศิลป ศึกษาเรื่องสั้น 10 เรื่องในชุดเรื่องสั้นตะวันออก ของ มาร์เกอริต ยูรเ์ ซอนาร์ โดยวิเคราะห์เอกภาพเชิงโครงสร้างในสอง ระดับคือ ระดับโครงสร้างภายนอกทีผ่ ปู้ ระพันธ์จดั ลำ�ดับตัวบทเรือ่ งสัน้ ให้สัมพันธ์กับพื้นที่เชิงภูมิศาสตร์ซึ่งเริ่มต้นที่โลกตะวันออกและจบลงที่ โลกตะวันตก ส่วนในระดับโครงสร้างภายใน ผูแ้ ต่งนำ�เสนอธาตุดนิ น้� ำ ลม ไฟ เป็นองค์ประกอบของเรื่องเล่าโดยใช้เป็นสัญลักษณ์หรือภาษา ภาพพจน์ ผูเ้ ขียนบทความเสนอว่าธาตุทงั้ สีท่ ดี่ เู หมือนตรงข้ามกันแต่เติม เต็มกันนีส้ ะท้อนความกลมกลืนเป็นหนึง่ เดียวของจักรวาลซึง่ เป็นแนวคิด ทีส่ �ำ คัญแนวหนึง่ ในงานประพันธ์ของยูรเ์ ซอนาร์ ในเรือ่ งสัน้ เหล่านีผ้ แู้ ต่ง นำ�เสนอความสัมพันธ์ระหว่างธาตุทั้งสี่หรือเน้นธาตุใดธาตุหนึ่งซึ่งมี
(10)
ทวิภาวะอยู่ในตัวเอง บทความทีส่ อง “ทฤษฎีหา้ ธาตุ : สัญศาสตร์ ในวัฒนธรรมอาหาร จีน” พัชนี ตัง้ ยืนยง วิเคราะห์วฒ ั นธรรมอาหารจีนในฐานะระบบสัญญะ ซึ่งนำ�เสนออาหารเป็นหน่วยสื่อความหมายในสังคม วัฒนธรรมอาหาร จีนถูกกำ�กับโดยรหัสวัฒนธรรมจีนสองรหัสคือ ทฤษฎียิน-หยาง ที่เน้น ความสมดุล และทฤษฎีธาตุทงั้ ห้า อันได้แก่ ไม้ ไฟ ดิน โลหะ และน้� ำ ที่เน้นความกลมกลืน ผู้เขียนใช้แนวคิดสัญวิทยาของ โรล็องด์ บาร์ตส์ เพือ่ ศึกษาองค์ประกอบของวัฒนธรรมอาหารการกินของจีนและถอดรหัส ค้นหากฎเกณฑ์หรือปัจจัยที่ควบคุมอยู่เบื้องหลังการใช้สัญญะต่างๆ ใน วัฒนธรรมอาหารจีน ผูเ้ ขียนเสนอว่าจักรวาลวิทยาซึง่ เป็นพืน้ ฐานความคิด เกีย่ วกับอภิปรัชญาของนักคิดจีนนัน้ เป็นปัจจัยทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ในโครงสร้าง ความคิดของวัฒนธรรมจีน แนวคิดนีป้ รากฏชัดเจนในวัฒนธรรมอาหาร การกินที่เน้นความสมดุลของพลังยินกับพลังหยางและความกลมกลืน ของอณูของธาตุทงั้ ห้า ดังนัน้ วัฒนธรรมอาหารจีนจึงสืบทอดอุดมการณ์ “ความปรองดอง” อันเป็นอุดมการณ์หลักของสังคมจีนที่มุ่งหลอมรวม ผู้คนให้เป็นหนึ่งเดียว จนก่อเกิดเป็นอัตลักษณ์วัฒนธรรมของสังคมจีน จากอดีตจนปัจจุบัน การผสมประสานธาตุตา่ งๆ อย่าง “กลมกลืน” ในวัฒนธรรมจีน ไม่ได้จำ�กัดอยู่แต่ในอาหารเท่านั้น ทว่ายังปรากฏเป็นมโนทัศน์สำ�คัญ ในปรัชญาขงจื่อ ในบทความที่สาม ชื่อ “ความงาม (เหม่ย 美) และ จักรวาลวิทยาในปรัชญาขงจื่อ” อันธิฌา แสงชัย เสนอว่าหลักจักรวาล วิทยาจีนสมัยก่อนราชวงศ์ฉินและมโนทัศน์ความกลมกลืน (เหอ 和) เป็นฐานความคิดสำ�คัญของสุนทรียศาสตร์ขงจื่อ และชี้ ให้เห็นแนวคิด สำ�คัญของขงจื่อคือ คุณค่าของความงามที่เชื่อมโยงกับคุณค่าทางจริย ศาสตร์ อันธิฌาเสนอว่าแนวคิดเรื่องความงามไม่จำ�เป็นต้องผูกติดกับ ความดีเสมอไปและสามารถแยกกันได้ นอกจากนี้ ในแนวคิดสุนทรีย
(11)
ศาสตร์ของขงจื่อ ความกลมกลืนในเชิงองค์ประกอบเป็นเงื่อนไขของ ความงาม อีกทัง้ ยังต้องสอดคล้องกับระเบียบของจักรวาลวิทยาอีกด้วย บทความในหัวข้อทีส่ อง ความเป็นคน ความเป็นสัตว์ นำ�เสนอ แนวคิดทีแ่ ตกต่างกันเกีย่ วกับ “คน” และ “สัตว์” บทความทีส่ ี่ “สัตว์กบั การกระทำ�ทางจริยธรรมในพุทธศาสนาเถรวาท” เฉลิมวุฒิ วิจติ ร นำ�เสนอ ว่าวรรณกรรมและคัมภีรข์ องพุทธศาสนาเถรวาทมีขอ้ ความทีแ่ สดงให้เห็น ว่าบางการกระทำ�ของสัตว์สามารถจัดให้เป็นการกระทำ�ทางจริยธรรมที่ เรียกว่ากรรมได้ โดยจำ�แนกได้ตั้งแต่ขั้นต่ำ�จนถึงขั้นสูง เฉลิมวุฒิเสนอ ว่าในพุทธศาสนา การกระทำ�ทางจริยธรรมที่จัดว่าเป็นการกระทำ�ที่ดี ไม่จ�ำ เป็นต้องเกิดขึน้ จากปัญญาหรือความรูด้ รี ชู้ ว่ั เสมอไป แต่อาจเกิดขึน้ ได้จากสัญชาตญาณหรือความรูส้ กึ เป็นตัวฉันและของฉัน เมือ่ ใช้หลักเกณฑ์ นีม้ าพิจารณาการกระทำ�ของสัตว์กจ็ ะพบว่ามีชอ่ งทางทีส่ ามารถอธิบาย การกระทำ�ของสัตว์วา่ เป็นการกระทำ�ทางจริยธรรมอันเกิดจากการสำ�นึก ภายใน แน่นอนว่าสัตว์มปี ญ ั ญาและเสรีภาพน้อยกว่ามนุษย์ การกระทำ� ทางจริยธรรมส่วนใหญ่ของสัตว์จงึ เกิดจากความรูส้ กึ ของความเป็น “ตัว ฉัน” และ “ของฉัน” แต่ความรู้สึกทั้งสองนี้ก็อาจก่อให้เกิดการกระทำ� ทางจริยธรรมในทางดีที่เข้มข้นขึ้นได้ บทความที่ห้า “Dracula : โอษฐภาวะกับความเป็นสัตว์ ในพื้นที่ เมือง” ของ มิ่ง ปัญหา มุ่งศึกษาความเป็นสัตว์ที่ถูกปลุกขึ้นในพื้นที่ เมืองในนวนิยายเรือ่ ง Dracula ของ แบรม สโตเกอร์ บทความนีเ้ สนอ ว่านวนิยายเรื่องนี้เปิดโปงความเป็นสัตว์ภายในตัวมนุษย์ที่ถูกปฏิเสธ ในพื้นที่เมือง และแสดงให้เห็นว่าความเป็นสัตว์เป็นสิ่งสำ�คัญในการ สถาปนาตัวตนมนุษย์ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ในบริบทวัฒนธรรม อังกฤษ เส้นแบ่งระหว่างคนและสัตว์ถกู ตัง้ คำ�ถาม ตัวละครแดรคูลาใน นวนิยายผู้มีภาพลักษณ์ของหมาป่าอันเป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่ป่าใน วัฒนธรรมตะวันตก ได้แสดงให้เห็นความก้�ำ กึง่ กำ�กวมระหว่างคนกับสัตว์
(12)
นอกจากนี้แดรคูลาได้ชี้ ให้เห็นโอษฐภาวะซึ่งเป็นสภาวะที่เกี่ยวข้องกับ การใช้ปากก่อนมนุษย์ใช้ภาษา ในคริสต์ศตวรรษที ่ 19 วาทกรรมเกีย่ วกับ สั ต ว์ แ ละคนแบ่ ง แยกคนออกจากสั ต ว์ ด้ ว ยภาษา การดู ด เลื อดและ กระตุ้นให้คนมีความสุขเมื่อได้กัดกินจึงเป็นการนำ�คนกลับไปสู่สภาวะ ใกล้เคียงสัตว์ แม้ว่าในตอนจบแดรคูลาถูกกำ�จัด แต่นวนิยายเรื่องนี้ นำ�เสนอให้ตัวละครต่างๆ ต่อรองความเป็นสัตว์ ในมนุษย์ผ่านการกิน และวิทยาการทางการแพทย์ กล่าวได้วา่ นวนิยายเรือ่ ง Dracula นำ�เสนอ ความเป็นสัตว์ในฐานะองค์ประกอบสำ�คัญในการสถาปนาความเป็นมนุษย์ และแม้วา่ ท้ายสุดแดรคูลาถูกกำ�จัด ตัวละครชนชัน้ กลางในเรือ่ งก็ตอ่ รอง กับความเป็นสัตว์ของตนผ่านเทคโนโลยีและวัฒนธรรมซึ่งในที่นี้ก็คือ วัฒนธรรมการกินทีม่ รี ะเบียบแบบแผนซึง่ เชือ่ มโยงได้กบั การกำ�จัดความ เป็นสัตว์และสร้าง “ความเป็นมนุษย์” บทความทีห่ ก “A Monkey at the Academy: The Possibility of Literal Reading of Franz Kafka’s A Report to an Academy ” ของ พจนรรฏ สุทธิพินิจธรรม เสนอว่าเรื่องสั้น “A Report to an Academy” ของ ฟรานซ์ คาฟกา มีตัวละครหลักเป็นลิงไร้หางชื่อเรด ปีเตอร์ที่ได้ฝึกฝนตนเองจนสามารถเข้าสังคมและพูดคุยกับมนุษย์ ได้ เรดปีเตอร์ ได้รับโอกาสมาบรรยายให้สมาคมนักวิทยาศาสตร์ฟังถึง ประสบการณ์การเป็นลิงของตน พจนรรฏเสนอว่านักวิจารณ์ส่วนใหญ่ มักตีความเรื่องสั้นนี้ ในบริบทของมนุษย์ โดยมองว่าเรดปีเตอร์เป็น สัญลักษณ์ของสิง่ ต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นตัวคาฟกาทีร่ สู้ กึ แปลกแยกโดดเดีย่ ว จากสังคม หรือกลุม่ ชาวยิวทีถ่ กู กดขี่ ในทางกลับกันอาจมองว่าเรดปีเตอร์ เป็นตัวแทนของสัตว์ทงั้ หลายทีถ่ กู ทารุณโดยมนุษย์ บทความนีม้ งุ่ แสดง ให้เห็นว่าการอ่านงานของคาฟกาในเชิงสัญลักษณ์ทำ�ให้ผู้อ่านมองข้าม ตัวตนของเรดปีเตอร์และบทพูดของมันไป การตีความในทำ�นองนีเ้ ชือ่ มโยง กับมุมมองแบบเหมารวมที่มนุษย์มีต่อสัตว์และต่อสิ่งรอบตัวอย่างแยก
(13)
ไม่ออก บทความนี้นำ�เสนอแนวทางการอ่านตามตัวบทที่ไม่พิจารณา องค์ประธานต่างๆ ในฐานะภาพแทน การอ่านตามตัวบทคือการหยุด อ่านแบบ “วิเคราะห์” ที่ทำ�ให้ ไม่สามารถเห็นความเป็นจริงเชิงตัวบท แบบซึ่งหน้า นอกจากนี้ บทความนี้ยังมุ่งสำ�รวจนัยเชิงจริยธรรมที่แฝง อยูใ่ นการอ่านแบบดังกล่าว พร้อมทัง้ อธิบายความซับซ้อนและอุปสรรค ที่เกี่ยวข้อง บทความทั้งสามเรื่องในส่วนที่สามคือ ตัวตน เรื่องเล่า การ เยียวยา นัน้ ต่างมีเนือ้ หาเกีย่ วกับการพยายามสร้างเรือ่ งเล่าหรือพิธกี รรม เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเลวร้ายหรือโรคร้ายที่เข้ามาบ่อน ทำ�ลายชีวติ มนุษย์ ในแง่นที้ งั้ เรือ่ งเล่าและพิธกี รรมต่างเป็นวาทกรรมซึง่ แฝงไว้ดว้ ยการเมืองของการนิยามตัวตนและความเป็นอืน่ บทความเรือ่ ง “กายพ่ายพิษ: ร่างกาย ตัวตน สังคม และมลภาวะใน Body Toxic : An Environmental Memoir ของ ซูซาน แอนโทเนตตา” ของ ดารินทร์ ประดิษฐทัศนีย์ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการศึกษาวรรณกรรมใน ฐานะที่เป็น “วาทกรรมที่ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารพิษ” (toxic discourse) โดยมุง่ ศึกษางานเขียนแนวบันทึกความทรงจำ�ของนักเขียน อเมริ กั น เชื้ อ สายอิ ต าเลี ย นและเวสต์ อิ น เดี ย น ดาริ น ทร์ นำ � เสนอว่ า ร่างกายและตัวตนของผูเ้ ล่าไม่ได้เป็นเพียงแค่องค์ประกอบรอง หากแต่ เป็นสิ่งที่มีความจำ�เป็นอย่างยิ่งที่นักเขียนใช้ ในการนำ�เสนอปัญหาสิ่ง แวดล้อม ผลกระทบของภัยสิ่งแวดล้อมต่อการดำ�รงอยู่และความรู้สึก ต่อตัวตนของมนุษย์ นอกจากนัน้ แอนโทเนตตายังใช้วรรณกรรมเล่มดัง กล่าวกระตุ้นให้เกิดสำ�นึกในความรักธรรมชาติในจิตใจของผู้อ่านในยุค ที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นมหันตภัยสำ�คัญที่ต้องแก้ ไขอย่างเร่งด่วน ส่วนบทความเรือ่ ง “พิธกี รรมฟ้อนผีมด: การเยียวยาสุขภาพใน มุมมองคติชนวิทยา” ของ ณัฐภัทร์ สุรนิ ทร์วงศ์ เป็นการศึกษาพิธกี รรม ในฐานะเครือ่ งมือเยียวยาสุขภาพ โดยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม
(14)
ในอำ�เภอเมือง จังหวัดลำ�ปาง เกี่ยวกับพิธีกรรมฟ้อนผีมดบ้านดอกบัว ของกลุ่มชาติพันธุ์ ไทยวน (ไตยวน) ณัฐภัทร์วิเคราะห์พิธีกรรมโดยใช้ มุมมองคติชนคดีสามมิตดิ ว้ ยกันคือ มิตปิ จั เจกบุคคล มิตขิ องสังคม และ มิติเหนือโลก และแสดงให้เห็นความสัมพันธ์เชิงอำ�นาจในสังคมที่เปิด โอกาสให้คนในท้องถิน่ ได้ชว่ งชิงการนิยามและเสนอการตีความเกีย่ วกับ คุณค่าและตัวตน ในแง่นี้พิธีกรรมไม่ได้เป็นเพียงการฟ้อนรำ�เพื่อความ บันเทิง แต่เป็นส่วนสำ�คัญของกระบวนการเยียวยาสุขภาพและฟื้นฟู ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่ป่วยไข้ บทความสุดท้ายในส่วนนี้คือ “นางสาววารี ปราบพนัง : การ สร้างสรรค์และบทบาทของวรรณกรรมน้องน้�ำ ช่วงอุทกภัยครัง้ ใหญ่ พ.ศ. 2554 ในประเทศไทย” ของ ชนัญญา เตชจักรเสมา, พุธติ า ขำ�บุญลือ และวิรุจนา ประสารทรัพย์ เป็นการศึกษา “วรรณกรรมน้องน้ำ�” จาก สื่ออินเทอร์เน็ตอันมีที่มาจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 วรรณกรรมกลุม่ นีม้ กี ารสร้างตัวละคร “น้�ำ ” หรือนางสาววารี ปราบพนัง เป็นบุคลาธิษฐานของน้ำ�ท่วม และนำ�เสนอเรื่องเล่าเกี่ยวกับตัวละคร ดังกล่าวในรูปแบบทีแ่ ตกต่างหลากหลาย อาทิ บทความ จดหมายโต้ตอบ และการแสดงบทบาทสมมติ ผูศ้ กึ ษาเห็นว่า “วรรณกรรมน้องน้�ำ ” มีกลวิธี สร้างสรรค์ที่ควรศึกษาทั้งในด้านภาษา เนื้อหา และตัวละคร อีกทั้งยัง มีบทบาทสำ�คัญในการรองรับความไม่พอใจและเชือ่ มความสัมพันธ์ของ คนในสังคมท่ามกลางวิกฤตอุทกภัย อีกทัง้ ยังเป็นช่องทางในการกล่าวโทษ ผู้มีอำ�นาจที่ไม่สามารถแก้ ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความในส่วนสุดท้ายจำ�แนกอยู่ในหัวข้อ โลกเรา โลกอื่น ด้วยเหตุที่ว่าการศึกษาในหัวข้อเกี่ยวกับ “โลก” เป็นสิ่งที่จำ�เป็นเช่น เดี ยวกั น เพราะโลกเป็ น พื้ น ที่ ที่ ม นุ ษ ย์ ดำ � รงอยู่ แ ละนิ ย ามตั ว ตนขึ้ น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ต่างอุบตั ขิ นึ้ ใน พื้นที่โลกแห่งนี้ โลกจึงเป็นทั้งฉากและตัวละครสำ�คัญในปรากฏการณ์
(15)
ธรรมชาติเนือ่ งจากมีการพิจารณาว่าหากโลกสูญเสียซึง่ สมดุล มนุษย์ซงึ่ เป็น ผู้อาศัยในพื้นที่นี้ย่อมได้รับผลกระทบ บทความแรกในหัวข้อนี้คือ “คอมพิวเตอร์ ในโลกที่ล่มสลาย : เรื่องเล่าวันสิ้นโลกในภาวะวิกฤตยุค สงครามเย็น” ของ อรรถพล ปะมะโข เป็นการศึกษาการสร้างเรือ่ งเล่า วันสิน้ โลกในวรรณกรรมเกีย่ วกับสงครามนิวเคลียร์ โดยเฉพาะการนำ�เสนอ เทคโนโลยีทั้งในบทบาทของพระเจ้า อสูรกาย และวีรบุรุษ อันแสดง ให้เห็นถึงความหวาดกลัว ความเกรงขาม และศรัทธาความหวังทีม่ นุษย์ มีต่อเทคโนโลยีในยามที่โลกนั้นใกล้ล่มสลายผ่านการศึกษาวรรณกรรม เรือ่ งสัน้ สองเรือ่ ง คือ “I Have No Mouth, and I Must Scream” ของ ฮาร์ลนั เอลลิสนั (Harlan Ellison) และ “For a Breath I Tarry” ของ โรเจอร์ ซีลาสนี (Roger Zelazny) ซึ่งต่างประพันธ์ขึ้นในช่วงทศวรรษ 1960 อั น เป็ น ยุ ค แห่ ง สงครามเย็ น ที่ โ ลกตกอยู่ ใ ต้ ค วามหวาดกลั ว สงครามนิวเคลียร์ ส่ ว นบทความเรื่ อ ง “ความเป็ น โลกและความเป็ น โลกอื่ น ใน ปรัชญาของเคียร์เคอการ์ด” ของ รชฎ สาตราวุธ เป็นการใช้มโนทัศน์ เรือ่ งโลกเข้าไปศึกษาปรัชญาของเคียร์เคอการ์ด โดยเฉพาะในงานสำ�คัญ เช่น Fear and Trembling รชฎสนใจมโนทัศน์เรื่องโลกตามทรรศนะ ของ ปอล กลาวิเยร์ (Paul Clavier) ทีเ่ ห็นว่าโลกนัน้ “ครอบคลุม” และ “เกี่ยวข้อง” กับมนุษย์ทุกคนและเห็นว่ามโนทัศน์ดังกล่าวมีส่วนสำ�คัญ ในการช่วยมนุษย์นิยามตัวตนและสิ่งต่างๆ รอบข้าง ด้วยเหตุนี้โลกจึง ไม่ได้เป็นเพียงพืน้ ทีห่ รือฉาก หากเป็นกรอบทีก่ อ่ ให้เกิดการจัดประเภท การรับรู้ที่มนุษย์ต้องใส่ข้อมูลการรับรู้ต่างๆ เข้าไปเพื่อเชื่อมโยงและ อ้างอิง รชฎเห็นว่าการใช้ทรรศนะดังกล่าวในการตีความจะทำ�ให้เข้าใจ ปรัชญาของเคียร์เคอการ์ดในแง่มุมที่เหมาะสมและรอบด้านมากขึ้น กล่าวโดยสรุป บทความทัง้ หมดสิบเอ็ดชิน้ มีเนือ้ หาทีเ่ กีย่ วข้องกับ ปฏิสมั พันธ์ระหว่างมนุษย์กบั โลกในมิตแิ ละลักษณะทีแ่ ตกต่างหลากหลาย
(16)
หัวข้อต่างๆ ไม่วา่ จะเป็น “ธาตุ จักรวาล ความกลมกลืน” “ความเป็นคน ความเป็นสัตว์” “ตัวตน เรือ่ งเล่า การเยียวยา” และ “โลกเรา โลกอืน่ ” แสดงให้เห็นทิศทางของงานวิชาการมนุษยศาสตร์ ไทยร่วมสมัยทีใ่ ห้ความ สำ�คัญกับมิติทางการเมืองและสังคมเกี่ยวกับมนุษย์และโลกที่เปลี่ยน แปรผันไปพร้อมๆ กับโลก คณะผู้จัดทำ�หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะสร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ ในโลกและโลกมนุษย์ อีกทั้งพัฒนาแนวการ วิเคราะห์ดงั กล่าวจากปฏิสมั พันธ์ระหว่างการเปลีย่ นแปลงทางวัฒนธรรม กับประสบการณ์ภัยพิบัติในสังคมร่วมสมัยได้อย่างมีนัยสำ�คัญและมี บทบาทต่อการร่วมแสวงหาทางออกแก่สังคมไทยในวงกว้างต่อไป จาตุรี ติงศภัทิย ์ สุรเดช โชติอุดมพันธ์ อลิสา สันตสมบัต ิ คณะบรรณาธิการ