คิด เขยา โลก สฤณี อาชวานันทกุล
คิด เขยา โลก
สฤณี อาชวานันทกุล ผู้เขียน ธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์ ผู้เรียบเรียง ISBN: 978-974-315-919-0 พิมพครั้งแรก กุมภาพันธ 2559 บรรณาธิการประจําฉบับ: อนรรฆ พิทักษธานิน พิสูจนอักษร: ณัฐเมธี สัยเวช แบบปกและรูปเลม: วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์ ศิลปกรรม: นริศรา สายสงวนสัตย์ ราคา 350 บาท • ขอมูลทางบรรณานุกรมของสํานักหอสมุดแหงชาติ
สฤณี อาชวานันทกุล. คิด เขยา โลก. - - กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน, 2559. 496 หนา. 1. ความคิดและการคิด. 2. ความคิดสรางสรรค. I. ชื่อเรื่อง. 153.42 ISBN 978-974-315-919-0
จัดพิมพโดย สํานักพิมพเอสไอเดีย ในเครือบริษัทสํานักพิมพสยามปริทัศน จํากัด 113 ถนนเฟองนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท 0-2225-9536 ถึง 9 โทรสาร 0-2222-5188 www.kledthai.com เจาของ: บริษัทสํานักพิมพสยามปริทัศน จํากัด ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์: สุลักษณ ศิวรักษ คณะกรรมการบริหาร: สัจจา รัตนโฉมศรี, อนันต วิริยะพินิจ, วินัย ชาติอนันต, ทิชากร ชาติอนันต, อาสา นาถไตรภพ บรรณาธิการสํานักพิมพ: ชานน จงประสพมงคล ประชาสัมพันธ: มนตรี คงเนียม จัดจําหน่าย: สายส่งศึกษิต บริษัทเคล็ดไทย จํากัด 117-119 ถนนเฟองนคร เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท 0-2225-9536 ถึง 9 โทรสาร 0-2222-5188
“Ignorance is the curse of God; knowledge is the wing wherewith we fly to heaven.”
William Shakespeare
4
สฤณี อาชวานันทกุล
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์
ความคิดจำ�นวนมากที่ส่งผลต่อโลกมักถูกเคยมองว่าเป็น เพียงความฝันหรือความเพี้ยนของมนุษย์คนหนึ่ง ทว่าเหตุการณ์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้ชี้ให้เห็นว่าโลก ล้วนถูกขับเคลื่อนและเขย่าจากบรรดาความคิดที่เคยถูกมองว่า เพี้ยนเหล่านี้ทั้งนั้น คิด เขย่า โลก ผลงานของสฤณี อาชวานันทกุล ที่ท่าน กำ�ลังถืออยู่ในมือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่รวมเรื่องราวและข้อพิสูจน์ถึง พลังของความคิดมนุษย์ ที่แปรเปลี่ยนมาเป็นพลังทางบวกในการ สร้างสรรค์และขับเคลื่อนโลกให้หมุนไปข้างหน้า บรรดาผู้คนที่ถูกเขียนเล่าในหนังสือเล่มนี้ ได้ทำ�ให้เห็นว่า ความคิดที่เคยถูกมองว่าแหวกแนวและอาจเป็นเพียงความฝัน สามารถเปลี่ยนมาเป็นความคิดที่ขับเคลื่อนและเขย่าโลกใบนี้ได้ ผ่านการตั้งคำ�ถามและลงมือทำ�อย่างต่อเนื่อง
คิดเขย่าโลก
5
รับรองได้ว่า ตั้งแต่เริ่มอ่านจนถึงหลังจบการอ่านหนังสือ เล่มนี้ เรื่องราวของแต่ละคนจะสร้างแรงบันดาลใจและพลังในชีวิต ให้ผู้อ่านได้อย่างไม่รู้จบ สำ�นักพิมพ์ SidEA
6
สฤณี อาชวานันทกุล
คำ�นำ�ผู้เขียน
ในฐานะนักเขียน ผู้เขียนเชื่อว่าหนังสือทุกเล่มล้วน ‘พิเศษ’ สำ�หรับคนเขียน เพราะกลั่นมันออกมาจากสมองและหัวใจ ดังที่ วิลเลียม เวิร์ดส์เวิร์ธ (William Wordsworth) กวีเอก ชาวอเมริกัน เคยกล่าวว่า “จงจดจารเสียงเต้นของหัวใจเธอลงบน กระดาษ” แต่หนังสือบางเล่มก็พิเศษเป็นพิเศษ เพราะมันไม่เพียงแต่ จดจารเสียงเต้นของหัวใจ แต่ยังบันทึกความคิดและชีวิตบางเสี้ยว ของนักคิด-นักปฏิบัติในดวงใจ อีกทั้งยังเป็นหมุดหมายสำ�คัญของ ผู้เขียนในบรรณภพ หนังสือ “คิด เขย่า โลก” เล่มนี้ ถือกำ�เนิดในวาระที่ หนังสือเล่มแรกในชีวิตที่ออกในนามตัวเองมีอายุครบหนึ่งทศวรรษ ในเดือนเมษายน 2549 เมื่อการเมืองไทยร้อนระอุ เสียง ประณาม “คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย” และ “ประชาธิปไตยไร้เสรี” ดังกระหึ่ม รัฐประหารกันยายน 2549 ยังไร้เงา มิพักต้องพูดถึง รัฐประหาร 2557
คิดเขย่าโลก
7
หนังสือชื่ออหังการ์ (ตั้งโดยพี่โญ – คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ซึ่งต่อมาผันตัวมาเป็นพิธีกรฝีปาก กล้าแห่งยุค) “To Think Well is Good, To Think Right is Better” หรือแปลอย่างบ้านๆ ได้ว่า “คิดเก่งน่ะดี แต่คิดดีย่อม ดีกว่า” ได้ฤกษ์ออกมาพบปะสังสรรค์กับผู้อ่าน ปีถัดมา “ตกนํ้าไม่ไหล” ภาคต่อของหนังสือเล่มนั้นปรากฏ โฉม ทั้งสองเล่มรวบรวมบทความ 24 ตอนแรกของคอลัมน์ “คนชายขอบ” บนเว็บไซต์โอเพ่นออนไลน์ คอลัมน์แรกในชีวิต จากการเขียนเว็บล็อกหรือ “บล็อก” (blog) เว็บแรกในชีวิต นำ�มาซึ่งการก้าวออกจากถนนสายการเงิน สู่ถนนสาย การเขียน อันกลายมาเป็นการงานแห่งชีวิต สิบปีต่อมา ผู้เขียนนำ�เนื้อหาทั้งหมดในคอลัมน์นั้นมา เรียบเรียงและปรับปรุง เพิ่มบทความหลายชิ้นที่เคยอยู่บนเว็บแต่ ไม่เคยรวมเล่ม และเขียนถึงนักคิด-นักปฏิบัติที่ชื่นชอบคนใหม่ๆ ที่ ได้รู้จักในรอบสิบปีหลัง เขย่าออกมาเป็น “คิด เขย่า โลก” ที่อยู่ในมือของท่าน อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ปิดท้ายคำ�นิยมที่กรุณาเขียนให้ กับ “ตกนํ้าไม่ไหล” ว่า “ในโลกที่วัดและโบสถ์ไม่ค่อยให้แรงบันดาลใจทางศีลธรรม แก่ใคร หนังสือเล่มนี้ให้แรงบันดาลใจทางศีลธรรมแก่ผู้อ่าน เพราะ พูดถึงความคิดที่คิดเพื่อคนอื่น”
8
สฤณี อาชวานันทกุล
เกือบหนึ่งทศวรรษถัดมา สังคมไทยโดยรวมดูเหมือนจะ ตกหล่มหรือวังวนทางความคิด ศีลธรรมถูกบิดเบือนเป็นความดี ใส่ตัว ความชั่วใส่คนอื่น ในยุคที่ข้อมูลทุกอย่างอยู่ชั่วปลายนิ้ว แต่ปัญญาหายากยิ่ง กว่างมเข็มในมหาสมุทร ผู้เขียนเชื่อว่า การสนับสนุนให้เกิดความหลากหลายทาง ความคิดนั้นจำ�เป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสังคมสมัยใหม่ แต่ลำ�พังการส่งเสริมให้คนได้พูดและรับฟังความคิดที่ แตกต่างเพียงอย่างเดียวไม่พอ และไม่เคยพอ เราจะต้องครุ่นคิดใคร่ครวญอย่างรอบคอบถึงความคิด ต่างๆ เหล่านั้นในทุกมิติ โดยเฉพาะความคิดที่ขัดแย้งกัน นำ�มัน มาเปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงที่เรารู้ และความไม่แน่นอนที่เราต้อง ตระหนัก และสุดท้ายก็ต้องตัดสินใจ “เลือก” ร่วมกัน ว่าเราจะเดิน ตามความคิดและวิถีปฏิบัติแบบใด เพราะสุดท้ายปัญหาต่างๆ ย่อมไม่อาจคลี่คลายไปได้ด้วย ตัวเอง สิบปีผ่านไป ผู้เขียนยังเชื่อว่า ความคิดของเหล่า “คนเขย่า โลก” ที่เขียนถึงนั้นยังไม่ล้าสมัย และเชื่อมั่นว่าในทางตรงกันข้าม ความคิดของพวกเขาจะพิสูจน์ให้เห็นว่า “ทันสมัย” มากขึ้นเรื่อยๆ ในคำ�นำ� “To Think Well is Good, To Think Right is Better” ผู้เขียนเขียนตอนหนึ่งว่า “...ในความต่างทั้งหลาย พวกเขามีคุณสมบัติสองประการ ที่เหมือนกัน ประการแรก พวกเขาล้วนมี “ความกล้า” ในการ “คิดต่าง”
คิดเขย่าโลก
9
ต่างจากกระแสหลัก ต่างจากสิ่งที่คนส่วนใหญ่ยึดมั่น ต่าง จากขนบธรรมเนียมประเพณี ประการที่สอง พวกเขาล้วนมีความเชื่อมั่นในประโยชน์ของ ระบบตลาดเสรี และคุณค่าของมนุษย์ พวกเขาไม่ต้องการล้มล้างระบบทุนนิยม หากต้องการให้ มันมีมนุษยธรรมและความอ่อนโยน เพียงพอที่จะนำ�ไปสู่โลกที่ คนมีความสุข มีโอกาสเท่าเทียมกันมากขึ้น ตลอดจนยอมรับและ ชื่นชมความหลากหลายในชาติพันธุ์ ศาสนา และความเชื่อ เป็น สังคมที่ “แตกต่าง” แต่ไม่ “แตกแยก” พวกเขาอยากเปลี่ยนระบบ “ทุนนิยมบ้าระหํ่า” ให้กลาย เป็น “ทุนนิยมแห่งความรัก” และเปลี่ยนสังคมที่เต็มไปด้วยอคติ และการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ให้กลายเป็นสังคมแห่งความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน” ผู้เขียนยังเชื่อเช่นนี้ และวิถีปฏิบัติของพวกเขาเหล่านี้ ก็เปรียบเป็นโคมไฟที่ส่องทางให้กับชีวิตและงานของผู้เขียนเอง ตลอดมา เพราะแม้ในยามที่กะลาของเราริบหรี่ โลกนอกกะลายัง ขยายใหญ่ไม่หยุดนิ่ง ท้ายนี้ ผู้เขียนขอขอบคุณ ปกป้อง จันวิทย์ ผู้ชักชวนให้ ผู้เขียนมาเขียนคอลัมน์ “คนชายขอบ” ลงในโอเพ่นออนไลน์อย่าง ต่อเนื่องยาวนานกว่าสามปี จนสุดท้ายก่อเกิดเป็นหนังสือเล่มแรก เล่มต่อๆ มา รวมถึงเล่มนี้ในที่สุด ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ที่ได้ ให้โอกาสนักเขียนหน้าใหม่จนกลายเป็นหน้าเก่า วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ที่ได้กรุณาตรวจทานฉบับพิมพ์ครั้งแรกของ “To Think Well is Good, To Think Right is Better” และ “ตกนํ้าไม่ไหล”
10
สฤณี อาชวานันทกุล
ธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์ ที่ได้กรุณาช่วยเรียบเรียงและปรับปรุงเนื้อหา สำ�หรับ “คิด เขย่า โลก” และสุดท้าย ขอขอบคุณ อนรรฆ พิทักษ์ธานิน บรรณาธิการเล่ม และสำ�นักพิมพ์เอสไอเดีย สำ�หรับความเอื้อเฟื้อและ เอาใจใส่ในการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ หากยังมีที่ผิดประการใด ย่อมเป็นความผิดของผู้เขียนเอง ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่าน สฤณี อาชวานันทกุล “คนชายขอบ” | www.fringer.org มกราคม 2559
คิดเขย่าโลก
11
สารบัญ
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�ผู้เขียน
4 6
การศึกษา “ประวัติศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์” ของ Jared Diamond
17
อันตรายของ “ประชาธิปไตยไร้เสรี” ในมุมมอง ของ Fareed Zakaria
33
Amartya Sen ผู้บุกเบิกเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ
51
Lawrence Lessig ผู้นำ�ขบวนการรณรงค์เพื่อ วัฒนธรรมเสรี
67
Muhammad Yunus บิดาแห่งแนวคิด microcredit
85
12
สฤณี อาชวานันทกุล
Edward Said ผู้ตีแผ่มายาคติของ “การปะทะ ระหว่างอารยธรรม”
99
Jimmy Wales ผู้สร้างโลกแห่งความรู้อันเสรี ไร้พรมแดน
117
Adam Smith บิดาแห่งทุนนิยมเสรี ที่อยู่ชายขอบกว่าคุณคิด
133
Rudolf Amenga-Etego นักต่อสู้เพื่อชุมชนใน สงครามนํ้า
151
Amy Domini ผู้บุกเบิกการลงทุนเพื่อสังคม (Socially Responsible Investing)
165
William Easterly นักพัฒนาผู้ชี้อันตรายของ การผูกขาดเงินช่วยเหลือ
181
Lester Brown ผู้รณรงค์ “การพัฒนาอย่าง ยั่งยืน” และชี้ทางออกจากวิกฤติอาหาร
197
Yochai Benkler นักกฎหมายผู้ชี้พลังของการ ผลิตนอกระบบตลาด (nonmarket-based production)
211
Paul Hawken หนึ่งในผู้บุกเบิกกระบวนทัศน์ “ทุนนิยมธรรมชาติ”
229
คิดเขย่าโลก
13
John Kenneth Galbraith สุภาพบุรุษ นักเศรษฐศาสตร์ชายขอบผู้ยิ่งใหญ่
243
Kwame Anthony Appiah โสกราตีสยุค โลกาภิวัตน์ ผู้รณรงค์ความหลากหลาย
261
Janine Benyus ผู้รณรงค์ “ชีวลอกเลียน” (biomimicry) สู่โลกที่ยั่งยืน
277
Robert Monks และ Jang Ha Sung ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวรุ่นบุกเบิก ผู้รณรงค์ ธรรมาภิบาลบริษัท
293
Sanjit Bunker Roy ผู้พลิกตำ�ราการศึกษา ด้วย “วิทยาลัยเท้าเปล่า”
311
Raghuram Rajan และ Luigi Zingales ผู้ชี้ว่านายทุนคือศัตรูหมายเลขหนึ่งของทุนนิยม
327
Cameron Sinclair สถาปนิกผู้รณรงค์ “การออกแบบเพื่อมนุษยชาติ”
345
Noam Chomsky มโนธรรมแห่งยุคโลกาภิวัตน์
361
Nicholas Negroponte ผู้ปิด “ช่องว่างดิจิทัล” และปฏิรูปวิธีเรียนรู้
377
14
สฤณี อาชวานันทกุล
Masanobu Fukuoka เกษตรกรผู้ปฏิวัติยุคสมัย ด้วยฟางเส้นเดียว
391
Peter Singer หลักการในการทำ�บุญ และประเด็นทางศีลธรรมในการบริจาคเงิน
405
Nassim Taleb นักสถิติผู้ชี้ความหลงตัวเองของ มนุษย์ และขีดจำ�กัดของความรู้
419
Neil Postman นักสังคมศาสตร์ผู้หยั่งรู้อนาคต และรู้ทันเทคโนโลยี
437
Richard Thaler หัวหอกเศรษฐศาสตร์ใหม่ที่ “มองคนเป็นคน”
457
Elon Musk นักธุรกิจแห่งศตวรรษที่ 21
473
ประวัติผู้เขียน
491
16
Jared Diamond
1
JARED DIAMOND
การศึกษา “ประวัติศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์”
17
การศึกษา “ประวัติศาสตร์แบบวิทยาศาสตร์” ของ Jared Diamond
ท่านผู้อ่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทําไมอารยธรรมต่างๆ ในโลกจึงอุบัติ ขึ้นตามที่เราเห็นในประวัติศาสตร์ เช่น ทําไมชนผิวขาวใน ตะวันออกกลางและยุโรปจึงบุกไปเอาชนะชนผิวดําในแอฟริกาได้ ทั้งๆ ที่มนุษย์เผ่าแรกของโลกเป็นชาวแอฟริกา? ทําไมทวีปยูเรเชีย (Eurasia หมายถึง Europe + Asia ตามหลักการแบ่งทวีป ของธรณีวิทยา คือตามรอยต่อระหว่างแผ่นดินและผืนนํ้า ไม่ใช่ ตามหลักภูมิศาสตร์การเมือง) จึงเป็นบ่อกําเนิดอารยธรรมเก่าแก่ ที่แผ่อิทธิพลอย่างรวดเร็ว อย่างน้อย 2 ชนชาติด้วยกัน คือบริเวณ ลุ่มแม่นํ้าไทกริสและยูเฟรติส (ที่เรียกว่า The Fertile Crescent) ในตะวันออกกลางแห่งหนึ่ง และบริเวณประเทศจีนตอนเหนืออีก แห่งหนึ่ง? ต่อคําถามเหล่านี้ คนส่วนใหญ่มักตอบโดยไม่หยุดคิดว่า “เพราะคนเหล่านี้ฉลาดกว่าชนชาติอื่นนะสิ” แต่คําตอบที่แท้จริงนั้น “ง่าย” และตรงตามอคติของเรา ขนาดนั้นจริงหรือ? ไม่ว่าจะผิวสีอะไร มนุษย์ทั้งมวลต่างก็เป็นสัตว์
18
Jared Diamond
พันธุ์เดียวกัน หากพระเจ้าสร้างคนเชื้อชาติใดให้ฉลาดกว่าคน เชื้อชาติอื่น ก็เป็นพระเจ้าที่ดูจะเห็นแก่ตัวหรือชอบเล่นตลกร้าย ไปเสียหน่อย โชคดีที่โลกเรามีจาเรด ไดมอนด์ (Jared Diamond) นักภูมิศาสตร์และสรีรวิทยา (geographer and physiologist) ผู้แสดงให้เห็นในหนังสือเรื่อง Guns, Germs, and Steel (ปืน, เชื้อโรค, และเหล็กกล้า กับชะตากรรมของสังคมมนุษย์) ว่า “ปัจจัยพื้นฐาน” ที่ทําให้ประวัติศาสตร์มนุษย์ในช่วง 13,000 ปี ที่ผ่านมามีวิวัฒนาการดังที่เราเห็นนั้น ไม่เกี่ยวกับยีนของแต่ละ เชื้อชาติแม้แต่น้อย หากเป็น ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ที่เกี่ยวข้อง กับภูมิประเทศ สภาพอากาศ และทิศทางของ “แกนหลัก” ใน แต่ละทวีป หนังสือที่หนาหนักเล่มนี้กลายเป็นหนังสือบังคับในอเมริกา สําหรับคอร์สเบื้องต้นของวิชาหลายแขนง ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และทําให้ภูมิศาสตร์กลับมา “ฮอต” ในแวดวงวิชาการอีกครั้ง บางตอนจากคําบรรยายของไดมอนด์ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Edge ในปี พ.ศ. 25401 อธิบาย “แก่น” ความคิดของเขาได้อย่าง กระชับและได้ใจความดังนี้: 1
Why Did Human History Unfold Differently On Different Continents For The Last 13,000 Years?
อ่านต้นฉบับ
http://edge.org/conversation/why-didhuman-history-unfold-differently-on-differentcontinents-for-the-last-13000-years