ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: รวมเรื่องที่ต้องรู้

Page 1


ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ: รวมเรื่องที่ต้องรู้ International Relations: All That Matters

Ken Booth เขียน จันจิรา สมบัติพูนศิริ  แปล


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: รวมเรื่องที่ต้องรู้ International Relations: All That Matters Ken Booth  เขียน จันจิรา สมบัติพูนศิริ  แปล 978-974-315-935-0 พิมพ์ครั้งแรก พฤศจิกายน 2559

ISBN

ในเครือบริษัทสำ�นักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำ�กัด 113 ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0-2225-9536 ถึง 9 โทรสาร 0-2222-5188 เจ้าของ : บริษัทสำ�นักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำ�กัด ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ : สุลักษณ์ ศิวรักษ์ คณะกรรมการบริหาร :  สัจจา รัตนโฉมศรี, อนันต์ วิริยะพินิจ, วินัย ชาติอนันต์, ทิชากร ชาติอนันต์, อาสา นาถไตรภพ บรรณาธิการประจำ�ฉบับ : ชานน จงประสพมงคล ประสานงานการผลิต : อนรรฆ พิทักษ์ธานิน รูปเล่ม/แบบปก : เด็ดเดี่ยว เหล่าสินชัย พิสูจน์อักษร : ปภาณิน เกษตรทัต ประชาสัมพันธ์ : ชวัลนุช เมฆกระจาย, มนตรี คงเนียม

• ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ

บูธ, เคน. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: รวมเรื่องที่ต้องรู้. - - กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์, 2559. 208 หน้า 1. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.  2. จันจิรา สมบัติพูนศิริ, ผู้แปล  I. ชื่อเรื่อง. 327 ISBN 978-974-315-935-0

จัดจำ�หน่าย :  สายส่งศึกษิต บริษัทเคล็ดไทย จำ�กัด โทรศัพท์ 0-2225-9536 ถึง 9 โทรสาร 0-2222-5188 www.kledthai.com ราคา 220 บาท


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: รวมเรื่องที่ต้องรู้

International Relations: All That Matters

Ken Booth  เขียน จันจิรา สมบัติพูนศิริ  แปล

Copyright © Ken Booth 2014 The right of Ken Booth to be identified as the Author of the Work has been asserted by him in accordance with the Copyright, Design and Patents Act 1988. Database right Hodder & Stoughton (makers) All rights reserved. Without limiting the rights under the copyright reserved above, no part of this publication may be reproduced, stored in, or introduced into a retrieval system, or transmitted in any form or by any means, electronic, mechanical, photocopying, recording, or otherwise, without prior written permission of the publisher, or as expressly permitted by law, or under the terms agreed with the appropriate reprographics rights organization. Enquiries concerning reproduction outside the scope of the above should be sent to the Rights Department, Hodder & Stoughton, 338 Euston Road, London, NW1 3BH, England. You must not circulate this book in any other binding or cover and you must impose this same condition on any acquirer. The Thai language translation copyright © 2016 Siamparidasna Publishing Co., Ltd.



( 5 )

สารบัญ คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�ผู้แปล กิตติกรรมประกาศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: รวมเรื่องที่ต้องรู้ 1. เข้าใจโลก 2. อนาธิปไตย ระบบ และรัฐ 3. ทฤษฎี มโนทัศน์ และข้อถกเถียง 4. ความกลัว อำ�นาจ และความมั่นคง 5. ความขัดแย้ง ความร่วมมือ และศาสตร์ศิลป์แห่งการปกครองรัฐ 6. เศรษฐศาสตร์การเมือง ทุนนิยม และโลกาภิวัฒน์ 7. คุณค่า จริยศาสตร์ และทางเลือก 8. สรรค์สร้างมวลมนุษยชาติ

(7) (9) (25) 1 19 39 59 75 97 113 135

100 ความคิด 155 เกี่ยวกับผู้เขียน เกี่ยวกับผู้แปล

171 173



( 7 )

คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

เวลาเราได้ยิน “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ภาพในหัวที่ผุดขึ้น มักเป็นเรือ่ งราวทางการทูต การเจรจาต่อรอง และพิธรี ตี องอันซับซ้อน จำ�นวนมาก หรืออาจเป็นภาพของเรื่องราวในกลุ่มชนชั้นนำ� ที่คน ธรรมดาสามัญยากที่จะเข้าไปข้องเกี่ยว ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: รวมเรื่องที่ต้องรู้ (International Relations: All That Matters) ทีท่ า่ นถืออยูใ่ นมือเล่มนี้ เป็น หนังสือที่ทลายมายาภาพของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบที่ หลายคนเข้าใจ  เคน บูธ ผู้เขียนได้บอกเล่าเรื่องราวที่ทำ�ให้เห็นว่า “ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” และ “วิชาความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ” เป็นสิง่ ทีอ่ ยูใ่ กลช้ ดิ กับทุกคนอย่างไม่คาดคิด การ เปลี่ยนแปลงในระบบระหว่างประเทศทั้งในแง่การเมือง เศรษฐกิจ และวิถที างสังคม ได้สง่ ผลต่อการเปลีย่ นแปลงในระดับเล็กๆ ในทาง เดียวกับ การเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่นหรือระดับเล็กๆ ก็ส่งผล ต่อการกำ�หนดวิถที างของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยเช่นกัน หนั ง สื อ เล่ ม นี้ จะพาผู้ อ่ า นไปทำ � ความเข้ า ใจแบบใหม่ กั บ “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” และปูพื้นความเข้าใจกับปรากฏการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงคำ�และ แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอันเป็นสิ่งที่เชื่อมโยง กับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจการเมืองของโลก ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: รวมเรือ่ งทีต่ อ้ งรู้ เป็นงานเขียน ที่ไม่ใช่เพียงเป็นพื้นฐานสำ�หรับผู้ที่ศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่าง


( 8 )

ประเทศเท่านัน้ หากแต่ยงั เหมาะกับนักศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์และ สังคมศาสตร์ ตลอดจนผูส้ นใจความเป็นไปของสังคมโลกด้วยเช่นกัน ผู้เขียนได้ ใช้ภาษาและตัวอย่างที่ทำ�ให้คนอ่านรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของ เรือ่ งราว “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” อธิบายปรากฏการณ์และ แนวคิดอย่างครอบคลุมด้วยภาษาที่เข้าถึงไม่ยาก สำ�นักพิมพ์ศยาม ขอขอบพระคุณ จันจิรา สมบัตพ ิ นู ศิริ แห่ง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทีไ่ ด้แนะนำ�หนังสือเล่มนี้ และถ่ายทอดออกมาด้วยถ้อยความอันงดงาม อีกทัง้ ยังได้กรุณาเขียน คำ�นำ�ผูแ้ ปลทีม่ ไิ ด้กล่าวเฉพาะเรือ่ งราวของการแปลและหนังสือ หาก แต่ได้ ให้ภาพของ “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ได้ครอบคลุม สำ�นักพิมพ์ศยาม


( 9 )

คำ�นำ�ผู้แปล

หนังสือที่ท่านถืออยู่นี้มิได้ถูกแปลโดยนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศมือฉมังของไทย แต่แปลโดยนักวิจยั ด้านความขัดแย้ง และสันติวธิ ี องค์ความรูท้ งั้ สองฟากฝัง่ มีความสัมพันธ์ฉนั ท์มติ รบาง ครั้ง แต่หลายครั้งในห้วงประวัติศาสตร์ก็ดูเหมือนไม่ถูกคอกันนัก ความสัมพันธ์ลุ่มๆ ดอนๆ นี้มีที่มา แม้ความสัมพันธ์ระหว่างอารยธรรมและอาณาจักรต่างๆ มี ประวัติศาสตร์ยาวนาน แต่ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (international relations ไอ-อาร์ตัวเล็ก) เกิดอย่างเป็นทางการหลัง การลงนามในสั ญ ญาสั น ติ ภ าพเวสต์ ฟ าเลี ย (Peace Treaty of Westphalia) ซึ่งให้กำ�เนิดรัฐสมัยใหม่ (modern state) แต่กว่า อาณาจักรอย่างเช่นปรัสเซียหรือนครรัฐในอิตาลีจะรวมกันเป็นประเทศ ได้กใ็ ช้เวลาอีกกว่าสองร้อยปี ในเวลาเดียวกัน รัฐและชาติ (nation) แต่งงานเป็นคูต่ นุ าหงันกันจนความสัมพันธ์มหาภัยของทัง้ สองนำ�ไปสู่ มหาสงครามโลกถึงสองครัง้ กล่าวได้วา่ ประวัตศิ าสตร์ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศของยุโรปในช่วงเวลานีเ้ ริม่ เต็มไปด้วยความตึงเครียด ความขัดแย้ง และสงคราม กระนัน้ ก็ดมี ใิ ช่วา่ ไม่มเี วลาแห่งสันติภาพเลย แนวคิดเรื่องสันติภาพระหว่างรัฐสมัยใหม่ได้รับอิทธิพลจาก งานเขียนของนักคิดเสรีนิยม ผลงานชิ้นสำ�คัญชิ้นหนึ่ง ได้แก่ Perpetual Peace and Other Essays ของอิมมานูเอ็ล คันท์ (Immanuel Kant) ซึง่ เชือ่ ในความมีเหตุมผี ลของมนุษย์ รัฐ (โดยเฉพาะรัฐ ทีอ่ ยูภ่ ายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์) มักก่อสงคราม


( 10 )

ฉะนั้นหากจะคุมมิให้รัฐกระหายสงคราม คันท์เชื่อว่าต้องเปลี่ยน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้กลายเป็นระบอบสาธารณรัฐและมี รูปแบบการเมืองแบบประชาธิปไตย ซึง่ อนุญาตให้ประชาชนคัดค้าน ผูป้ กครองทีก่ อ่ สงครามได้ คันท์เห็นว่าประชาชนผูม้ เี หตุผลเป็นทุนเดิม ย่อมไม่อยากให้เกิดสงครามเพราะส่งผลเสียอย่างมหาศาล โดยเฉพาะ ต่อความกินดีอยูด่ ี นอกจากนี้ คันท์ยงั ชีว้ า่ รัฐประชาธิปไตยซึง่ มีระบอบ เศรษฐกิจแบบเสรีนยิ มร่วมมือกันทางเศรษฐกิจได้เพราะต่างเล็งเห็น ผลประโยชน์อันเพิ่มพูนจากความร่วมมือนี้ ความร่วมมือดังกล่าว อาจขยายเป็นการสร้างรัฐบาลโลก (world government) ซึง่ มีบทบาท ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างรัฐในที่สุด1 ต่อมานักวิชาการด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผูเ้ ลือ่ งชือ่ อย่างไมเคิล โดลย์ (Michael Doyle) ได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดของคันท์จนพัฒนามโนทัศน์ ว่าด้วย “สันติภาพเชิงประชาธิปไตย” (democratic peace)2 ทีส่ �ำ คัญ คือในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รัฐพยายามสร้าง สถาบันความร่วมมือระหว่างประเทศดังที่คันท์วาดหวังไว้ เช่น การ ประชุมสันติภาพแห่งกรุงเฮก (Hague Peace Conferences) สอง ครัง้ ในปี 1899 และ 1907 กรุยทางสูก่ ารตัง้ คณะกรรมการกาชาด สากล (The International Committee of the Red Cross) เพื่อ ปกป้องเหยื่อในสงคราม รวมถึงศาลยุติธรรมสากล (The International Court of Justice ) ความร่ ว มมื อ ดั ง กล่ า วยั ง ให้ กำ � เนิ ด

I mmanuel Kant, Perpetual Peace and Other Essays, trans. T. Humphrey (Indiapolis: Hackett Publishing Company, 1985 [1795]). 2  Michael W. Doyle, Ways of War and Peace (New York: W.W. Norton, 1997). 1


( 11 )

นวัตกรรมที่สำ�คัญคือสันนิบาตชาติ (League of Nations)3 แม้ว่า จะล้มพับไปในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองก็ตาม แนวคิดของคันท์ ได้แรงบันดาลใจจากลัทธิมนุษยนิยม (humanism) อันเฟือ่ งฟูในยุคภูมธิ รรมของยุโรป รากฐานทางความคิดนี้ ผนวกกับสันตินยิ ม (pacifism) ทีเ่ ติบโตจากขบวนการทางศาสนาใน ยุโรปและสหรัฐอเมริกา (เช่นกลุ่มเควกเกอร์ส์ [Quakers] เมนโน­ ไนตส์ [Mennonites] และเบรเธน [Brethen])4 ก่อร่างขบวนการ ภาคประชาชนที่ใช้สันติวิธีต่อต้านสงคราม ลัทธิจักรวรรดินิยม การ กีดกันเชือ้ ชาติสผี วิ อีกทัง้ ยังผลักดันให้รฐั บาลไกล่เกลีย่ ความขัดแย้ง ในสถาบันทางกฎหมายระดับโลกเพื่อลดโอกาสที่สงครามจะปะทุ ขบวนการภาคประชาชนเริ่มแพร่หลายในซีกโลกเหนือตั้งแต่ช่วงต้น ศตวรรษที ่ 19 เป็นต้น เช่นกลุม่ London Peace Society เกิดขึน้ ในปี 1816 กลุ่ม American Peace Society ก่อตั้งในปี 1828 ประมาณการณ์ว่าในปี 1900 มีสมาคมด้านสันติภาพในยุโรปและ สหรัฐฯ รวมกันประมาณ 425 กลุ่ม และทวีจำ�นวนขึ้นในช่วงก่อน สงครามโลกครัง้ ทีห่ นึง่ องค์กรสำ�คัญซึง่ ผลักดันประเด็นอันเกีย่ วข้อง กับสันติภาพและความเป็นธรรมในโลก ได้แก่ Fellowship of Re­ conciliation (1914) American Union Against Militarism

liver Richmond, “Critical Research Agendas for Peace: The Missing Link O in the Study of International Relations,” Alternatives 32(2008): 247–74. 4  กลุม่ สันตินยิ มกำ�เนิดในอังกฤษและต่อมาขยายมายังสหรัฐอเมริกา กลุม่ เควกเกอรส์ ไม่เพียงแต่ต่อสู้เพื่อสันติภาพเท่านั้น แต่ยังต่อสู้เพื่อสิทธิอันเท่ากันของกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะชาวผิวสีซี่งในยุคหนึ่งมีสถานะเป็นทาสในสหรัฐฯ ดู Iain Atack, The Ethics of Peace and War (Edinburgh University Press, Edinburgh, 2005).

3


( 12 )

(1916) และ American Friends Service Committee (1917)5 ในช่วงเวลาเดียวกันขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิเลือกตั้งสตรีในซีกโลก เหนือหลายกลุม่ ร่วมรณรงค์ตอ่ ต้านสงครามกับองค์กรด้านสันติภาพ ด้วย เช่น กลุม่ Women’s Peace Party และในปี 1915 ทีป่ ระชุม นานา​ชาติเพือ่ สตรีแห่งกรุงเฮก (International Congress of Women at the Hague) เสนอว่าประชาธิปไตยที่เข้มแข็งและการตระหนัก ถึงสิทธิอันเท่าเทียมของผู้หญิงเป็นเงื่อนไขสำ�คัญในการสร้างสันติภาพในโลก6 ถ้าเทียบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะกระบวนการ ทางนโยบายซึ่งถือว่าเกิดขึ้นมาไม่นานนัก สิ่งที่เรียกว่าองค์ความรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations หรือไอ-อาร์​ ตัวใหญ่) เยาว์วยั กว่านัก การเรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิด ขึน้ ครัง้ แรกภายหลังสงครามโลกครัง้ ทีห่ นึง่ ที่ University College of Wales แห่งอเบอริสทวิธ (Aberystwyth) ในปี 1919 โดยผู้ก่อตั้ง คือเดวิด เดวีย์ (David Davies) นักธุรกิจและนักการเมืองจากพรรค เสรีนยิ มตัง้ ปณิธานให้การศึกษาบทเรียนจากสงครามเป็นบันไดสูก่ าร สร้างสันติภาพและความเป็นธรรมในระบบการเมืองระหว่างประเทศ7 A pril Carter, Peace Movements: International Protest and World Politics Since 1945 (New York: Routledge, 1992); Robert D. Benford and Frank O. Taylor, “Peace Movements,” in Encyclopedia of Peace and Conflict Vol. 2, ed. Lester Kurtz (San Diego: Academic Press, 1992), 776. 6  David S. Patterson, The search for negotiated peace. Women’s activism and citizen diplomacy in World War I (New York: Routledge, 2008). 7  Oliver Ramsbotham, Tom Woodhouse and Hugh Miall, Contemporary Conflict Resolution (Cambridge: Polity, 2005); Porter Hunter, “David Davies: A Hunter after Peace,” Review of International Studies 5(1) 5


( 13 )

จากนั้ น เป็ น ต้ น มาสถาบั น การศึ ก ษาด้ า นความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง ประเทศที่มุ่งเดินตามรอยดำ�ริน้ีก็ปรากฏในหลายแห่งทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี เชคโกสโลวัคเกีย และสหรัฐฯ เป็นต้น8 แล้วองค์ความรู้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและงานวิจัย ด้ า นสั น ติ ภ าพมาถึ ง จุ ด ที่ ค วามสั ม พั น ธ์ มึ น ตึ ง ต่ อ กั น ได้ อ ย่ า งไร? สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสองทำ�ให้นักคิดความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศจำ�นวนหนึง่ “อกหัก” กับแนวคิดสันติภาพของฝ่ายเสรีนยิ ม สันติภาพกลายเป็นเรือ่ งเพ้อฝัน เพราะความเป็นจริงในความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศคือรัฐร่วมมือกันลำ�บาก เพราะอยูใ่ นสภาพอนาธิปไตย (anarchy) อันส่งผลให้ขาดอำ�นาจศูนย์กลางซึ่งบังคับใช้กฎเกณฑ์ หรือกรอบทางจริยธรรมใดๆ เพื่อกำ�กับพฤติกรรมของรัฐอย่างเป็น​ กลางได้ เรียกง่ายๆ ว่าไม่มรี ฐั บาลโลกและตำ�รวจโลกทีค่ อยสอดส่อง มิให้รัฐใช้อำ�นาจตามอำ�เภอใจนั่นเอง สภาพอนาธิปไตยนี้ทำ�ให้รัฐ ต้องเอาตัวรอดและคำ�นึงถึงผลประโยชน์สว่ นตัว (“ผลประโยชน์แห่ง ชาติ”) ก่อนเรือ่ งอืน่ นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผูเ้ ลือ่ งชือ่ อย่างอี  เอช คาร์ (E. H. Carr)9 และฮันส์ มอร์เกนธาว (Hans Morgenthau)10 ถึงกับบอกว่าศีลธรรมหรือแนวคิดที่แฝงไปด้วย จริยธรรมล้วนถูกฉวยใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาอำ�นาจของรัฐใหญ่ (อารมณ์ปากว่าตาขยิบนั่นเอง) การเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศจึงต้องเริ่มจากที่สิ่งเป็นอยู่ (as it is) มิใช่สิ่งที่มันควรเป็น (1989): 27–36. P aul Rogers and Oliver Ramsbotham, “Then and Now: Peace Research – ​ Past and Future,” Political Studies XLVII (1999): 740–54. 9  E.H. Carr, Twenty Years’ Crisis (London: Macmillan, 1939). 10  Hans Morgenthau, Politics Among Nations (New York: McGraw Hill, 1968).

8


( 14 )

(as it ought to be) สิ่งที่เป็นอยู่คือสภาพอนาธิปไตยซึ่งดำ�รง สถาวรไม่เปลี่ยนแปลงแม้ว่าเวลาไหน เมื่อไหร่ บริบทใด นีเ่ องเป็นทีม่ าของแนวคิด “สภาพจริงนิยม” (Realist IR) ซึง่ แผ่อทิ ธิพลในช่วงสงครามเย็นระหว่างค่ายเสรีนยิ มประชาธิปไตยและ ค่ายคอมมิวนิสต์ โดยมีสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจยั ด้านความ มั่นคงซึ่งผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดช่วยผลิตซ้ำ� “ความเป็นจริง” ในความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศ11 สถาบันทางวิชาการเหล่านีม้ สี ว่ นส่งเสริม ให้รฐั สะสมและใช้อาวุธนิวเคลียร์เพือ่ ป้องปราม (deterrence) รวมถึง สร้างภาวะอิหลักอิเหลื่อทางความมั่นคง (security dilemma) เพื่อ จัดสมดุลระหว่างมหาอำ�นาจทั้งสอง ข้อเรียกร้องให้รัฐบาลลดการ สะสมกำ�ลังอาวุธและใช้งบประมาณการทหารให้น้อยลงจึงดูเหมือน ไม่ค�ำ นึงถึงสภาพความเป็นจริงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทีร่ ฐั ต้องแสวงหาอำ�นาจ (ทางการทหาร) เพือ่ เอาตัวรอด เมือ่ ได้อ�ำ นาจ แล้วก็ต้องค้ำ�จุนหล่อเลี้ยงไม่เช่นนั้นจะเพลี่ยงพล้ำ�ในการเมืองแห่ง อำ�นาจของโลก องค์ความรู้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ถูกครอบงำ�ด้วย แนวคิดสภาพจริงนิยมนีส้ ร้างความอึดอัดคับข้องใจแก่แวดวงวิจยั ด้าน ความขัดแย้งและสันติภาพซึ่งก่อตัวในช่วงทศวรรษ 1960 ไม่น้อย สำ�หรับผูท้ ผี่ ลักดันให้รฐั และสังคมช่วยลดเงือ่ นไขความรุนแรงในโลก ข้อเสนอของสภาพจริงนิยมอ่านได้อกี อย่างว่า “เราต้อง(ขู)่ ทำ�สงคราม เพื่อสร้างสันติภาพ” ทั้งยังไม่นับผลข้างเคียงของสงครามเย็นอย่าง การทำ�สงครามตัวแทน การจำ�กัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในนาม ของความมัน่ คง หรือการเบียดเบียนทรัพยากรจากประเทศโลกทีส่ าม 11

L ouis Menand, “Fat Man: Herman and the Nuclear Age,” The New Yorker, June 25, 2005.


( 15 )

ซึง่ ยิง่ ผลักให้นกั วิจยั ด้านความขัดแย้งและสันติภาพตีตนออกห่างจาก แวดวงไออาร์ ผู้ ให้กำ�เนิดงานวิจัยด้านความขัดแย้งและสันติภาพคนสำ�คัญ อย่างเคนเนธ โบลดิง (Kenneth Boulding) ชี้ ให้เห็นว่าปัญหาของ องค์ความรูค้ วามสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือไม่อาจวิเคราะห์หาสาเหตุ ของสงครามระหว่างรัฐและหาทางป้องกันก่อนปะทุลุลาม ความ ล้มเหลวดังกล่าวมีเหตุสองประการ ประการแรก คือ ความหมกมุน่ ในตัวละครรัฐซึง่ มีสมรรถภาพน้อยมากในการป้องกันสงคราม ประการ ทีส่ อง คือ วิธกี ารศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมักอาศัยความ เห็นทางการทูตหรือการคาดคะเนจากประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ โดยมิได้ตั้งอยู่บนฐานการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ รวมถึงคิดคำ�นวนในเชิงปริมาณเพื่อวิเคราะห์สาเหตุอันหลากหลาย ของความขัดแย้งรุนแรงในโลกซึ่งข้ามพรมแดนรัฐ12 ส่วนอดีตนักการทูตออสเตรเลียซึ่งผันตัวเป็นนักวิชาการด้าน สันติภาพอย่างจอห์น เบอร์ตนั (John Burton) พยายามมีบทสนทนา กับองค์ความรู้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างจริงจัง โดยผลิต งานเขี ย นที่ วิ เ คราะห์ แ ละเสนอทฤษฎี ใ หม่ ๆ  ซึ่ ง เอื้ อ ให้ สั น ติ ภ าพ ระหว่างรัฐไม่ไกลเกินเอื้อม กระนั้นก็ดีงานเขียนอาทิ International Relations: A General Theory และ Systems, States, Diplomacy and Rules มิได้พัฒนาจากทฤษฎีไออาร์ที่ใช้เวียนกันอยู่ ณ เวลา นั้น ทว่ากลับอาศัยทฤษฎีระบบ เสนอหนทางลดความขัดแย้งใน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ13 ต่อมาเบอร์ตันขยายทฤษฎีของตน 12  13

ด ู Kenneth E. Boulding, Stable Peace (Austin: University of Texas, 1978). ดู John W. Burton, International Relations: A General Theory (Cambridge: Cambridge University Press, 1965); John W. Burton, Systems, States,


( 16 )

โดยใช้สหวิทยาการจนกลายเป็นทีม่ าของกรอบวิเคราะห์ความขัดแย้ง ที่ทรงอิทธิพลอย่างทฤษฎี “ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์” (human needs theory)14 อย่างไรก็ดี เบอร์ตนั ไม่ได้รบั การยอมรับ จากแวดวงไออาร์วา่ เป็น “คนใน” เพราะพึง่ พาสหวิทยาการมากกว่า ทำ�ตามขนบ ใช้ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทีถ่ กเถียงกันอยู่ ในขณะนั้น ฉะนั้นข้อเสนอทางทฤษฎีของเบอร์ตันจึงสะท้อนความ เป็นสหวิทยาการของงานวิจยั ด้านสันติภาพและความขัดแย้ง ซึง่ ยาก จะทะลุทะลวงผ่านกำ�แพงแห่งองค์ความรูข้ องความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศขณะนั้นไปได้15 นอกจากนี้ แนวคิดสภาพจริงนิยมของความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศยังถูกโจมตีจากชุมชนงานวิจยั ด้านสันติภาพและความขัดแย้ง จากฝั่งยุโรป บิดาแห่งงานวิจัยสันติภาพอย่างโยฮัน กัลตุง (Johan Galtung) ชี้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแฝงเร้นไปด้วยวาระ ชาตินิยมและหมกมุ่นกับการทหารจนง่อยเปลี้ยต่อการสร้างความรู้ เพื่อเปลี่ยนแปลงโลกนี้ ให้ดีขึ้น จุดยืนเกี่ยวกับสันติภาพของกัลตุง ต่างจากโบลดิ้งตรงที่คำ�นิยามสันติภาพแบบกว้าง ซึ่งมิได้เน้นย้ำ� เฉพาะภาวะปราศจากสงครามเท่านั้น แต่สันติภาพต้องมีลักษณะ เชิงบวกคือทั้งปราศจากความรุนแรงทางกายภาพ เชิงโครงสร้าง (ความอยุตธิ รรมทางสังคม) และเชิงวัฒนธรรม (อคติทางวัฒนธรรม และอารยธรรมทีห่ ล่อเลีย้ งความรุนแรงเชิงกายภาพและเชิงโครงสร้าง) Diplomacy and Rules (London: Macmillan, 1968). John Burton, ed. Conflict: Human Needs Theory (London: Macmillan, 1990). 15  Martin Griffiths, “John Burton versus International Relations: the costs of criticism,” Australian Journal of International Affairs 67(1): 55–70. 14


( 17 )

ด้วยเหตุนี้ กัลตุงจึงมิได้สนใจเพียงสงครามระหว่างรัฐหรือภายในรัฐ เท่านั้น แต่ยังสนใจความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจในโลก รวมถึง การกีดกันเชื้อชาติสีผิวว่าลดทอนศักยภาพของปัจเจกบุคคลและ ชุมชนอย่างไร16 การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ทางความรู้ของไออาร์ซึ่งเกิดขึ้น ตัง้ แต่ชว่ งทศวรรษที ่ 1980 เปิดทางให้ ไออาร์กบั งานวิจยั ด้านสันติภาพ และความขัดแย้งได้มบี ทสนทนากันมากขึน้ กลุม่ ทฤษฎีทสี่ งั กัดหลัง ปฏิฐานนิยม (Post-positivism) ซึ่งตั้งคำ�ถามกับการหาความรู้โดย อาศัย “ศาสตร์” และเชื่อว่าความรู้นั้นเป็นกลาง มีลักษณะภววิสัย (objectivism) ถาโถมสังคมศาสตร์ดังพายุฝนลูกใหญ่นับแต่การ ปฏิวัติปี 1968 เป็นต้นมา17 ผลคือรากฐานความรู้เดิมของสังคมศาสตร์ถกู สัน่ คลอนอย่างมากโดยปรากฏการณ์ทเี่ รียกว่าการกลับมา ของกระแสวัฒนธรรม (cultural turn) พายุลูกนี้เข้าฝั่งคาบสมุทร ไออาร์ช้าที่สุดก็ว่าได้เพราะอิทธิพลของสงครามเย็นส่งกรรมดีให้ สภาพจริงนิยมครอบงำ�การผลิตความรู้ ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศอยู่ อย่างไรก็ดี การณ์เปลี่ยนเมื่อกำ�แพงเบอร์ลินล่มสลายและ สหภาพโซเวียตสูญสิน้ ในช่วงต้นศตวรรษที ่ 1990 องค์ความรู้ ไออาร์ แบบดั้งเดิมไม่อาจคาดการณ์ ได้ว่าสงครามเย็นจะสิ้นสุดลงรวดเร็ว ปานนี้ เหตุผลประการสำ�คัญก็คือองค์ความรู้ดังกล่าวแทบไม่เคย J ohan Galtung, “Violence, Peace and Peace Research,” Journal of Peace Research 6(3) (1969): 167–191; Johan Galtung, “Cultural Violence,” Journal of Peace Research 2(3) (August 1990): 297-305. 17  ดู Razmig Keucheyan, The Left Hemisphere: Mapping Critical Theory Today (New York: Verso Books, 2014).

16


( 18 )

นับรวมปฏิบัติการของตัวละครที่ไม่ใช่รัฐ (non-state actor) ทั้งที่ ประชาชนในยุโรปตะวันออกรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลโซเวียตตั้งแต่ ช่วงสงครามเย็นเริม่ ใหม่ๆ แม้วา่ ถูกปราบปรามสาหัส ขบวนการภาค ประชาชนในโปแลนด์ เชคโกสโลวัคเกีย ฮังการี และเยอรมนีตะวัน­ ออกต่างยืนหยัด ตลอดจนสานความร่วมมือกับขบวนการต่อต้าน สงครามในยุโรปตะวันตก (เช่น European Nuclear Disarmament​ —​END) จนสามารถผลักดันข้อตกลงเฮลซิงกิ (Helsinki Act) ได้ ในปี 1975 หลักประการหนึง่ ของข้อตกลงดังกล่าวได้แก่การประกัน สิทธิในการแสดงความเห็นทางการเมือง หลักการนี้ช่วยเปิดโอกาส ทางการเมืองแก่ขบวนการภาคประชาสังคมในยุโรปจนเข้มแข็งขึ้น และระดมประชาชนออกมากดดันรัฐบาลโซเวียต จนถึงสมัยของ ประธานาธิบดีมิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) โซเวียต คำ�นวนต้นทุนความเสียหายจากการธำ�รงอิทธิพลของตนในยุโรป ตะวันออกท่ามกลามรสุมทางเศรษฐกิจ จึงประกาศนโยบายผ่อน ปรนทางเศรษฐกิจและการเมือง18 โอกาสทางการเมือง (political opportunity) นีผ้ สานกับความเข้มแข็งของขบวนการประท้วงในยุโรป ตะวันออกนำ�ไปสู่เหตุการณ์ ไม่คาดฝัน นั่นคือการล่มสลายของ สงครามเย็นโดยปราศจากการนองเลือดหรือสงครามนิวเคลียร์ของ มหาอำ�นาจดังที่นักคิดสภาพจริงนิยมคาดการณ์ ไว้19 R oland Bleiker, Nonviolent Struggle and the Revolution in East Germany (Boston, MA: The Albert Eistein Instituion, 1993); Adam Roberts, Civil Resistance in the East European and Soviet Revolutions (Boston, MA: The Albert Eistein Institution, 1991); Mary Kaldor, Global Civil Society: An Answer to War (Cambridge: Polity Press, 2003). 19  ดู Roland Bleiker, Popular Dissent, Human Agency and Global Politics 18


( 19 )

ไม่ว่าการสิ้นสุดของสงครามเย็นเป็นชัยชนะของค่ายเสรีนิยม ประชาธิปไตยจนทำ�ให้สหรัฐฯ ขึน้ เป็นมหาอำ�นาจเพียงขัว้ เดียวหรือไม่20 หรือเป็นจุดสิ้นสุดทางประวัติศาสตร์ดังที่นักทฤษฎีรัฐศาสตร์อย่าง​ ฟรานซิส ฟุกุยามา (Francis Fukuyama) ว่าไว้21 สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น แน่ๆ คือองค์ความรู้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเปลี่ยนไปอย่างกู่ ไม่กลับ สำ�นักคิดสภาพจริงนิยมถูกตัง้ คำ�ถาม โจมตี กระทัง่ ถากถาง จากสำ�นักคิดซึง่ สังกัดหลังปฏิฐานนิยมทัง้ หลาย อาทิหลังโครงสร้าง­ นิยม หลังอาณานิคมนิยม สตรีนยิ ม ทฤษฎีเชิงวิพากษ์ รวมถึงทฤษฎี สิง่ แวดล้อม22 การปะทะประดาบระลอกใหญ่นชี้ ว่ ยให้ศนู ย์กลางการ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศขยายจากรัฐ ความเป็น “ฝรั่ง” และโครงสร้างที่ชายเป็นใหญ่ ไปสู่ประเทศอดีตอาณานิคมทั้งหลาย กลุ่มบุคคลที่ไม่ใช่รัฐแต่ถูกรัฐหรือทุน เบียดขับให้อยู่ชายขอบของ ความรู้ และผูห้ ญิง รวมถึง LGBT ทีส่ �ำ คัญคือแนวคิดใหม่ๆ เหล่านี้ ตั้งคำ�ถามต่อฐานทางความรู้ของไออาร์เองว่ากำ�ลังกดขี่ผู้คนตัวเล็ก ตัวน้อย ขณะเดียวกันก็ท�ำ ให้เสียงของคนเหล่านีแ้ ผ่วเบา และไม่สลัก

(Cambridge: Cambrdige University Press, 2004), 273–82; Richard Ned Lebow and Thomas Risse-Kappen, International Relations Theory and the End of the Cold War (New York: Columbia University Press, 1995). 20  Christopher Layne, “The Unipolar Illusion Revisited: The Coming End of the United States’ Unipolar Moment,” International Security 23(2): 7–41. 21  Francis Fukuyama, The End of History and the Last Man (New York: Free Press, 1992). 22  ดู Cynthia Weber, “Realism: is international anarchy the permissive cause of war?,” International Relations Theory: A Critical Introduction, 4th Edition (2014), 13–56.


( 20 )

สำ�คัญในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือไม่23 บทความ “Six Wishes for a More Relevant Discipline of International Relations” โดยสตีฟ สมิธ (Steve Smith) อดีต ประธานแห่งสมาคมนานาชาติศกึ ษา (International Studies Association—ISA) สะท้อนการปฏิวัติภูมิทัศน์ทางความรู้ ไออาร์ ได้อย่าง ชัดเจน เขาชีว้ า่ ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ณ ต้นศตวรรษ ที่ 21 มีความหลากหลายและแนวคิดต่างๆ ที่ดูเหมือนมีรากฐาน ขัดกันก็อยู่ร่วมกันโดยยอมรับความต่างกันได้มากขึ้น กระนั้นก็ดี สมิธแย้งว่าเรามีหน้าทีแ่ ยกแยะทฤษฎีท่ี ”ดี” กับทฤษฎีท่ี “ไม่ได้เรือ่ ง” ออกจากกัน จะรู้ ได้อย่างไรว่าทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทฤษฎีอนั ไหนดี? สมิธเสนอให้ดวู า่ ทฤษฎีนนั้ แสดงคุณค่าและจุดยืน ทางการเมืองอย่างเด่นชัด ตลอดจนไม่พยายามแสร้งว่ากรอบการมอง ของตนเป็นกลาง นอกจากนี้ทฤษฎีที่ดีควรใส่ใจกับเสียงอันห่างไกล ทีไ่ ม่ได้ถกู ผนวกรวมในนโยบายต่างประเทศของมหาอำ�นาจในการเมือง แห่งการช่วงชิงผลประโยชน์ รวมถึงทฤษฎีที่ดียังต้องช่วยฉายภาพ ความสัมพันธ์เชิงอำ�นาจ ความเหลือ่ มล้� ำ การเอารัดเอาเปรียบ และ ความรุนแรงเชิงสัญลักษณ์ที่แฝงมาอย่างแนบเนียนกับถ้อยคำ�และ ภาษาที่ดูเหมือนเป็นกลาง กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สมิธต้องการให้ องค์ความรูค้ วามสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีหน้าทีม่ ากกว่าเพียงอธิบาย แต่ตอ้ งช่วย “เปลีย่ นแปลงโลก” ให้เอือ้ ต่อการสร้างความมัน่ คงและ สันติภาพร่วมกันของมวลมนุษยชาติมากขึ้น24 23  24

Roland Bleiker, “Forget IR Theory,” Alternatives 22(1) (1997): 57–85. Steve Smith, “Singing Our World into Existence: International Relations Theory and September 11,” International Studies Quarterly 48(3): 499–515.


( 21 )

บทความของสมิ ธ มี นั ย สำ � คั ญ ซึ่ ง สั่ น คลอนเส้ น แบ่ ง ทาง วิทยาการขององค์ความรูค้ วามสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นัน่ คือความ เป็นการเมืองระหว่างประเทศไม่อาจแยกจากเรื่องเศรษฐกิจ จริยศาสตร์ และวัฒนธรรมอย่างทีผ่ เู้ ฝ้าประตู (gate keeper) ของไออาร์ ฝันใฝ่ไว้ ได้ ยิง่ ไปกว่านัน้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยังไม่อาจแยก จากเรือ่ งเพศและเพศสภาพได้ ดังทีซ่ นิ เธีย เอ็นโล (Cynthia Enloe) นักทฤษฎีสตรีนิยมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผู้ทรงอิทธิพลได้ กล่าวไว้25 หรือกระทั่งในประเด็นความมั่นคงซึ่งถูกปกปักอาณาเขต ไว้โดย “ผู้เชี่ยวชาญ” ด้านความมั่นคงทั้งหลายก็ถูกท้าทายจาก แนวคิดเรื่องความมั่นคงใหม่ๆ26 อาทิ ความมั่นคงของมนุษย์ (human security) และความมั่นคงเชิงวิพากษ์ (critical security) ประการแรกเปลี่ยนศูนย์กลางความมั่นคงจากรัฐสู่มนุษย์ ดังนั้นจึง ตั้งคำ�ถามกับการเชื่อมโยงความมั่นคงไว้กับการทหาร หรือกระทั่ง ความศักดิ์สิทธิ์ของอำ�นาจอธิปไตยรัฐ27 ประการหลังชี้ ให้เห็นถึง ynthia Enloe, Bananas, Beaches and Bases: Making Feminist Sense of C International Politics (Berkeley: University of California Press, 1989). ดู เพิ่มเติมใน Cynthia Enloe, The Morning After: Sexual Politics at the End of the Cold War (Berkeley: University of California Press, 1993); Cynthia Enloe, The Curious Feminist: Searching for Women in a New Age of Empire (Berkeley: University of California Press, 2004). 26  ดู Peter Burgess, ed. The Routledge Handbook of New Security Studies (London and New York: Routledge, 2010). 27  Fen Osler Hampson, Jean Daudelin, John Hay, Holly Reid and Todd Martin, Madness in the multitude: Human security and world disorder (Oxford: Oxford University Press, 2002); Mary Kaldor, Human Security (Cambridge: Polity, 2007); Shahrbanou Tadjbakhsh, Human Security: 25


( 22 )

อำ�นาจของการระบุวา่ อะไรใช่หรือไม่ใช่ภยั คุกคามความมัน่ คง หลาย ครัง้ “วาทกรรมความมัน่ คง” เองทำ�ให้ชวี ติ ผูค้ นไม่มนั่ คง โดยเฉพาะ ผูท้ อี่ ยูช่ ายขอบของการเมืองระหว่างประเทศ แนวคิดความมัน่ คงเชิง วิพากษ์เห็นว่าความมัน่ คงทีม่ คี วามหมายต่อชีวติ ผูค้ นต้องปลดปล่อย พวกเขาเป็นอิสระจากระบบกดขี่ที่ปรากฏในโลกโดยมีองค์ความรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหล่อเลี้ยงค้ำ�จุนให้ระบบนี้คงอยู่อย่าง แนบเนียน28 เคน บูธ (Ken Booth) ผู้เขียนหนังสือที่ท่านถืออยู่นี้เป็น นักวิชาการด้านความมัน่ คงเชิงวิพากษ์ทคี่ ร่�ำ หวอดคนหนึง่ โดยผลิต งานที่สำ�คัญ อาทิ Theory of World Security, Critical Security Studies and World Politics (บรรณาธิการ) และ The Security Dilemma: Fear, Cooperation, and Trust in World Politics (บรรณาธิการร่วมกับนิโคลัส วีลเลอร์ [Nicholas Wheeler])29 ฉะนัน้ หนังสือเล่มนี้จึงมิใช่แค่คู่มือศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่บอกท่านอย่างเป็นกลางว่าอะไรบ้างคือสิ่งที่ศึกษากันในแวดวง วิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แน่นอนว่าหนังสือเล่มนี้มุ่ง ปูพนื้ ฐานให้แก่มอื สมัครเล่นของไออาร์ (อย่างข้าพเจ้าเป็นต้น) ทว่า เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จนจบ ท่านจะได้แรงบันดาลใจในการเปลี่ยน Concepts and implications (New York: Routledge, 2007). ด ู Keith Krause and Michael C. Williams, Critical Security: Concepts and Cases (London: UCL Press, 1997). 29  Ken Booth, Theory of World Security (Cambridge: Cambridge University Press, 2007); Ken Booth, ed. Critical Security Studies and World Politics (London and Boulder: Lynne Rienner Publications, 2005); Ken Booth and Nicholas Wheeler, eds. The Security Dilemma: Fear, Cooperation, and Trust in World Politics (New York: Palgrave Macmillan, 2007). 28


( 23 )

โลกให้ดีกว่าเดิม โดยเห็นว่าท่านเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองระหว่าง ประเทศทีส่ ามารถกระทำ�การบางอย่างให้ชวี ติ ท่านและคนรอบข้างดีขน้ึ ได้บ้างไม่มากก็น้อย ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้จึงมิได้วางระยะห่างจาก ผู้อ่าน ทว่าตั้งใจสร้างบทสนทนากับท่าน กระตุ้นให้ท่านเห็นเส้น ขอบฟ้าใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นี่กระมังที่ดึงดูดให้ “มือสมัครเล่น” และผู้สอนไออาร์อย่างข้าพเจ้าหยิบหนังสือเล่มนี้ ขึน้ มาอ่านระหว่างทีเ่ ดินเล่นในร้านหนังสือในวันธรรมดาวันหนึง่ เมือ่ อ่านได้เพียงสองสามหน้า ข้าพเจ้าตื่นเต้นที่จะเห็นหนังสือเล่มนี้ถูก แปลและเผยแพร่แก่นกั ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสังคม ไทยได้อา่ น ข้าพเจ้าหวังว่าคณาจารย์ทส่ี อนวิชาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศทั้งเบื้องต้นและไม่เบื้องต้นจะได้ ใช้ประโยชน์จากหนังสือ เล่มนี้ด้วย



( 25 )

กิตติกรรมประกาศ

ข้าพเจ้าขอขอบคุณ อนรรฆ พิทกั ษ์ธานิน แห่งบริษทั เคล็ดไทย จำ�กัด ที่กล้าหาญ กล้าเสี่ยงให้มือสมัครเล่นอย่างข้าพเจ้าแปลหนังสือ International Relations: All That Matters เล่มนี้ รวมถึงสำ�นัก­ พิมพ์ McGraw-Hill Education และ เคน บูธ ทีก่ รุณาใหล้ ขิ สิทธิแ์ ก่ สำ�นัก­พมิ พ์ ข้าพเจ้าขอรับผิดต่อความผิดพลาดประการใดๆ ในการ แปลหนังสือเล่มนี้แต่เพียงผู้เดียว



ขอบคุณยูรเวน บูธ, ทิม ดัน, ยัน รูซิชกา, คามิลา สตัลเลอโรวา และนิโคลัส เจ วีลเวอร์ สำ�หรับคำ�แนะนำ� ความผิดพลาดใดๆ ในหนังสือเล่มนี้ มาจากข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว



ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ: รวมเรื่องที่ต้องรู้



1

เข้าใจโลก

“เราเรี ย นรู้ ว่ า ในสมองมนุ ษ ย์ ป ระหลาด และอั น ตราย เพราะเป็ น แหล่ ง ก�ำเนิ ด ของ ความเป็นจริง” — ฟิลิป อัลลอทท์ (Philip Allott)


2

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: รวมเรื่องที่ต้องรู้

หนังสือที่ท่านถืออยู่นี้ แม้มีขนาดเล็กแต่มุ่งสู่คำ�ถามทางการเมือง ใหญ่ๆ  เมื่ออ่านจบ ผู้อ่านจะเห็นว่าองค์ความรู้ด้านความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศสำ�คัญมหาศาลอย่างไร  หนังสือเล่มนี้ต้องการ นำ�เสนออย่างวิพากษ์วา่ นโยบายต่างประเทศและมิตอิ นื่ ๆ ของความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศกำ�หนดว่าใครควรได้อะไร และใครมีต�ำ แหน่ง แห่งทีอ่ ะไรในเวทีโลก ยิง่ ไปกว่านัน้ หนังสือเล่มนี้ ยังอธิบายว่าทฤษฎี ส่งอิทธิพลให้เราตัดสินใจว่าควรมีชีวิตอยู่ร่วมกันในโลกนี้ ได้อย่างไร จะอยู่อย่างร่วมมือกันหรือขัดแย้งกัน วลีหนึ่งของนักคิดชาวรัสเซีย อย่างทรอทสกี (Trotsky) สรุปใจความของหนังสือเล่มนี้ ได้ดี เขา กล่าวว่า “แม้เรา (ยัง) ไม่สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ได้สนใจเราแล้ว”

เหตุใดเราต้องใส่ใจความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ เราต้องใส่ใจการเมืองระหว่างประเทศด้วยเหตุผลหลักสามประการ  ประการแรก คือ สิง่ ต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในชีวติ ประจำ�วันของเราล้วนแต่เป็น ผลจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทีป่ ฏิบตั กิ นั มาในอดีต ปัจจุบนั และจะส่งผลถึงอนาคต (ทัง้ ทีค่ าดการณ์ ได้และไม่ได้)  สาเหตุประการ ที่สอง คือ วิธีคิดกระแสหลักบางอย่างในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศส่งอิทธิพลต่อความนึกคิดของผู้นำ�ทางการเมือง ทั้งเรื่อง ความร่วมมือและความขัดแย้งในสังคมมนุษย์  และประการสุดท้าย คือ องค์ความรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสนใจคำ�ถามทาง ปรัชญาพืน้ ฐานทีส่ ดุ ในอาณาบริเวณการเมืองทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ซึง่ คือระบบ ระหว่างประเทศ คำ�ถามเหล่านี้ ได้แก่ อะไรคือความจริง? เรารูอ้ ะไร ได้บ้าง? เราควรใช้ชีวิตอย่างไร?


เข้าใจโลก

ตามธรรมเนียมปฏิบัติ หนังสือเล่มนี้ ใช้คำ�ว่า “องค์ความรู้ ด้ า นความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ” (ในภาษาอั ง กฤษคื อ คำ � ว่ า International Relations ซึ่ ง ใช้ อั ก ษร “ I ” ใหญ่ แ ละ “ R ” ใหญ่ นำ�หน้า) โดยหมายถึงการศึกษาทางวิชาการเกีย่ วกับปรากฏการณ์ที่ เกิดขึน้ จริงใน “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” (international relations ขึน้ ต้นด้วย “i” เล็ก และ “r” เล็ก) ทัง้ ในด้านการทูต การค้า และการทหาร อนาธิปไตยในที่นี้ หมายถึงสภาวะเงื่อนไขที่ก่อร่างระบบ ระหว่างประเทศ ดังทีน่ กั ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผูท​้ รง อิทธิพลอย่างเคนเน็ธ วอลทซ์ (Kenneth Waltz) ได้ชี้ ไว้ว่า อนาธิปไตยเป็น “ปัจจัยเหตุผลทีม่ นี �ำ้ หนัก” มหาศาล (หรือมีอ�ำ นาจทำ�ให้ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นได้) โดยอนาธิปไตยให้กำ�เนิดเหตุการณ์ ใหญ่ๆ  และสำ�คัญในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตั้งแต่ช่วงสงครามโลก ครัง้ ทีส่ องเป็นต้นมา  จริงอยูว่ า่ ปัจจัยอืน่ เช่น ความรับรูค้ ลาด­เคลือ่ น เพศสภาพ และเชื้อชาติ ส่งผลต่อกลเกมในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ ทว่าอนาธิปไตยยังคงเป็นเงื่อนไขขั้นพื้นฐานที่สุดซึ่งก่อร่าง การเมืองระหว่างประเทศให้มีบุคลิกลักษณะอย่างที่เราเห็นทุกวันนี้ อนาธิปไตย

อนาธิปไตยเป็นคำ�สำ�คัญซึง่ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศใช้อ้างถึงภาวะการอยู่ร่วมกันระหว่างรัฐโดยไร้อำ�นาจ ปกครองทางการเมืองสูงสุดนอกเสียจากอำ�นาจอธิปไตยของแต่ละ รัฐ ในแง่นี้อนาธิปไตยจึงไม่ได้มีนัยถึง “ความโกลาหล” “ความ ไร้ระเบียบ” หรือ “ความสับสน” อย่างทีเ่ ราใช้กนั ในชีวติ ประจำ�วัน ในทางตรงข้ามอนาธิปไตยในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจ

3


4

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: รวมเรื่องที่ต้องรู้

หมายถึงระเบียบหรือเสถียรภาพในบางลักษณะ ทว่าอนาธิปไตย กำ�หนดให้รฐั ต้องอาศัยหลักการ “ตนเป็นทีพ ่ งึ่ แห่งตน” (self-help principle) เพือ่ จะเอาชีวติ รอดในระบบระหว่างประเทศ (international system) นีห่ มายความว่าเมือ่ ไม่มอี �ำ นาจเหนือกว่าให้พง่ึ พา รัฐแต่ละรัฐต้องจัดการเรื่องความมั่นคงและความกินดีอยู่ดีของ ตนเอง อนาธิปไตยเป็นเหตุผลที่มีน้ำ�หนักในการอธิบายความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศก็เพราะปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยรัฐบน ฐานการพึ่งพาตนเอง วอลทซ์เห็นว่าอนาธิปไตยสามารถอธิบายปรากฏการณ์ใหญ่ๆ  และสำ�คัญได้ อาทิ สงครามและสันติภาพ ดุลแห่งอำ�นาจและอสมดุล แห่งอำ�นาจ โครงสร้างแห่งความร่วมมือและการครอบงำ� แนวคิด เหล่านี้ส่งอิทธิพลต่อการเมืองโลกตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ผ่านมาจนถึง ปัจจุบนั เพราะช่วยให้เราเข้าใจหลายประเด็น เช่น รัฐใดมีอ�ำ นาจและ รัฐใดต้องยอมอ่อนข้อ รัฐใดร่�ำ รวยและรัฐใดยากจน พรมแดนรัฐไหน ที่ลงตัวแล้ว (และรัฐไหนที่ยังไม่ลงตัว) รัฐใดมีผืนดินอุดมและรัฐใด ผลิตไม่ค่อยได้ผล ที่ไหนมีแหล่งพลังงานมากมายและที่ไหนต้อง พึ่งพาพลังงานจากแหล่งอื่น เป็นต้น  รัฐทุกรัฐเกิดขึ้นได้เพราะเคย เป็น ผู้แพ้ ผู้ชนะ หมากทางการเมือง เหยื่อ และผู้รอดชีวิต จาก สภาพอนาธิปไตยของระบบระหว่างประเทศในห้วงเวลาที่ผ่านมา แต่ละรัฐต่างกันเพียงความถลำ�ลึกในบทบาทนัน้ ๆ หลายครัง้ เราลืม ไปว่ากิจกรรมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดำ�เนินอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลจากสมรภูมแิ ละการเจรจาระหว่างรัฐเมือ่ ไม่กรี่ อ้ ยปีหรือสิบปี มานี้ กล่าวให้ถึงที่สุด คือ ภาพในอดีตของความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศคือสิ่งที่เกิดในปัจจุบัน


เข้าใจโลก

อย่างไรก็ดี ข้อถกเถียงของวอลทซ์ทวี่ า่ อนาธิปไตยเป็นปัจจัย สาเหตุที่มีนำ้�หนักไม่ลึกซึ้งเพียงพอ คงไม่มีใครแย้งว่าแนวคิดเรื่อง อนาธิปไตยของโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใช้อธิบาย ปรากฏการณ์ ใหญ่ๆ และสำ�คัญได้  ทว่าก็ไม่ใคร่มีใครตระหนักว่า แนวคิดนี้สามารถใช้ตอบคำ�ถามเรื่องเล็กๆ และสำ�คัญได้เหมือนกัน เช่น คำ�ถามทีว่ า่ คุณเป็นใคร และเราเป็นใคร เป็นต้น คำ�ถามเหล่านี้ สำ�คัญต่อปัจเจกชนอย่างเราๆ ท่านๆ เพราะพายุแห่งการเมืองระหว่าง ประเทศกำ�หนดทิศทางชีวติ ส่วนตัวของเราตัง้ แต่หลายร้อยปีกอ่ นเรา เกิ ด   กล่ า วอี ก นั ย หนึ่ ง ได้ ว่ า เราทุ ก คนเกิ ด ในชาติ ที่ มี บ ริ บ ททาง ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เฉพาะ ขณะเดียวกัน บริบทเหล่านี้ รวมถึงโอกาสและข้อจำ�กัดในชีวิตเราก็เป็นผลมาจาก สภาวะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศยังเกี่ยวข้องกับเรื่องราวระดับปัจเจกบุคคล อาทิ ความเข้าใจว่าเราคือใคร หรืออัตลักษณ์ ภาษาที่ใช้สื่อสาร รวมถึง พระเจ้าทีเ่ รานับถือ (หรืออาจไม่นบั ถือ)  กระทัง่ ดนตรีทเี่ ราชืน่ ชอบ และทีมกีฬาประจำ�ชาติที่เราสนับสนุนก็ยังยึดโยงกับสถานที่หนึ่งๆ สถานที่ซึ่งปรากฏบนแผนที่อันเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ เกมแห่งอำ�นาจระหว่างรัฐต่างๆ ทัง้ ในอดีตทีเ่ พิง่ ผ่านพ้นหรือ อดีตอันไกลโพ้น ต่างส่งอิทธิพลกับวิธคี ดิ ของเราในฐานะสมาชิกของ ชุมชนทางวัฒนธรรม (หลายครั้งเราอาจเฉลิมฉลองวัฒนธรรรมนี้ ด้วยความภาคภูมิใจ)  ถ้าผู้อ่านไม่แน่ใจว่าวัฒนธรรมอัน ผูกติดกับ อาณาบริเวณของรัฐจะส่งผลต่อความคิดของเราได้จริงถึงเพียงนี้ ก็ให้ลองจินตนาการว่าเราจะคิดต่างจากเดิมหรือไม่ หากเราเกิดใน พื้นที่ชายแดนของประเทศที่เราอยู่ หรือกระทั่งเกิดอีกมุมโลกหนึ่ง ภาวะขาขึ้นและขาลงของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิด ได้หลายลักษณะ ตัวอย่างเช่น มหาสงครามสามารถแปรเปลี่ยน

5


6

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: รวมเรื่องที่ต้องรู้

ทิศทางการเมืองระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากสงครามโลกครั้ง ทีห่ นึง่ ช่วงปี 1914–18 ซึง่ เปลีย่ นชีวติ ส่วนตัวของผูค้ นและการเมือง ในพื้นที่สาธารณะ เรายังเห็นผลเหล่านี้ ได้ ในปัจจุบัน  สงครามโลก ครั้งสองยิ่งส่งผลเปลี่ยนแปลงมหาศาลกว่ามหาสงครามครั้งที่หนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงจากสงครามทั้งสองครั้งเห็นได้จากนวัตกรรมอัน รุดหน้าอย่างรวดเร็ว การขยับตัวของพรมแดน แนวคิดทางการเมือง ซึ่งแปรผัน ความฝันใหม่ๆ ของผู้คนในสังคมได้รับการจุดประกาย วัฒนธรรมจำ�นวนหนึ่งถูกทำ�ลาย แน่นอนว่าหลายชีวิตและหลาก ความสัมพันธ์เปลี่ยนไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ  ส่วนประสบการณ์ ช่วงสงครามเย็นที่เพิ่งผ่านมา สร้างแรงกระเพื่อมต่อการเมืองโลก อย่างมหาศาล  ขณะเดียวกัน โฆษณาชวนเชื่อจากค่ายอุดมการณ์ เสรีนิยมและคอมมิวนิสต์ยังสะท้อนนโยบายทางเศรษฐกิจและทาง ทหาร จนส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในหลายระดับ ไม่ว่าจะเป็น ลั ก ษณะการบริ โ ภค ตลอดจนความหวาดกลั ว การเกิ ด สงคราม นิวเคลียร์ซงึ่ อาจทำ�ลายล้างโลกจนสิน้ สูญ  สงครามเย็นมิใช่แค่ความ ตึงเครียดหรือการเผชิญหน้าระหว่างมหาอำ�นาจเท่านั้น แต่ยังคือ สงครามตัวแทน (proxy war) ซึง่ คร่าชีวติ คนจำ�นวนมากในช่วงเวลา ทีถ่ กู ขนานนามอย่างผิดๆ ว่า “สันติภาพอันยาวนาน” (Long Peace) ​ นอกจากนี้ ข้อเรียกร้องของรัฐบาล (รายละเอียดของข้อเรียกร้องขึน้ อยูก่ บั ตำ�แหน่งแห่งทีข่ องรัฐบาลนัน้ ๆ ในสงครามเย็น) และความเข้าใจ ของเราว่าค่ายอุดมการณ์ ใดเป็นมิตรหรือศัตรูส่งผลต่อการตัดสินใจ ในชีวิตส่วนตัว รวมถึงความรู้สึกนึกคิดของเรา ตราบจนทุกวันนี้เงา ทะมึนแห่งสงครามเย็นยังคงส่งผลกับชีวิตของผู้คน สถานที่ และ การเมืองในบางส่วนของโลก (ตัวอย่างที่ชัดเจนและสุ่มเสี่ยงที่สุด  คือ กรณียเู ครนอันมีจดุ วิกฤตเลวร้ายทีส่ ดุ ในฤดูหนาวของปี 2013– 14) ผลของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศล่าสุดที่เราสัมผัสได้ คือ


เข้าใจโลก

“สงครามต่อต้านการก่อการร้ายสากล” (Global War on Terror) แม้วา่ การใช้ภาษาเพือ่ ปลุกเร้าอารมณ์ความรูส้ กึ ร่วมกันของคนทัว่ โลก จะจางหายไป แต่เรายังคงเห็นการแทรกแซงทางทหารในหลายประเทศ และรัฐได้พฒ ั นาระบบตรวจตราสอดส่อง (surveillance) ครอบคลุม พื้นที่ทุกมุมเมือง จากที่กล่าวมาข้างต้น มิได้จะชี้ว่าการเมืองระหว่างประเทศ กำ�กับรายละเอียดทุกกระเบียดนิว้ ในชีวติ ของประชากรบนโลกทุกคน หนังสือนี้เพียงต้องการบอกท่านว่าการเมืองระหว่างประเทศเป็น ปัจจัยสำ�คัญที่มีอิทธิพลต่อชีวิตเรา ตัวอย่างหนึ่งซึ่งช่วยยืนยันความ สำ�คัญนี้ คือ การล่าอาณานิคมของยุโรปในช่วงหลายศตวรรษทีผ่ า่ นมา อันส่งผลอย่างมหาศาลต่อเรื่องราวในชีวิต มุมมอง และโอกาสของ ผู้คนจำ�นวนมากในโลกใต้ (Global South)1 รูปร่างหน้าตาและอุปนิสยั ของเรารวมถึงโอกาสในชีวติ ในฐานะ ปัจเจกบุคคลเป็นผลจากพันธุกรรม เป็นมรดกจากบุพการี หรือชนชัน้ ทีเ่ ราสังกัด กระนัน้ ก็ตาม ความเข้าใจว่า เราเป็นใคร สัมพันธ์อย่างยิง่ กับประวัติศาสตร์ที่ผูกติดกับภูมิศาสตร์การเมือง และภูมิศาสตร์อัน ปรากฏในแผนที่ รวมถึงนโยบายทีด่ หี รือเลวของรัฐบาลในอดีตกลาย เป็นบริบททีก่ อ่ ร่างการตัดสินใจบางประการในชีวติ ไม่วา่ จะรูต้ วั หรือ ไม่ก็ตาม พวกเราทุกคนล้วนเป็น ผลผลิตของความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ

1

โลกใต้ (Global South) เป็นคำ�ศัพท์ที่มีความหมายเฉพาะ ซึ่งมิได้หมายถึงผู้คน หรือประเทศใน “ซีกโลกใต้” เสียทีเดียว หากแต่มนี ยั ยะทีส่ อื่ ถึงพืน้ ที/่ ประเทศทีด่ อ้ ย พัฒนาหรือกำ�ลังพัฒนา (บรรณาธิการ)

7


8

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: รวมเรื่องที่ต้องรู้

เน้นย�้ำค�ำว่า “ระหว่างประเทศ” คำ�ว่า “ระหว่างประเทศ” เพิ่งคิดค้นกันเมื่อไม่นานมานี้ มีบันทึกว่า นักปรัชญาเจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham) ให้ก�ำ เนิดคำ�นี้ ในปี  1780 ในหนังสือ Introduction to the Principles of Morals and Legislation เบนแธมใช้คำ�ว่า “ระหว่างประเทศ” เพื่ออธิบายระบบ กฎหมายระหว่างรัฐอธิปไตยต่างๆ ส่วนคำ�ว่า “ความสัมพันธ์ระหว่าง​ ประเทศ” (International Relations) อันหมายถึงสาขาวิชาเฉพาะ เพิ่งเริ่มใช้กันเมื่อปี 1919 เป็นต้นมา นักวิชาการชอบถกเถียงนิยามของสาขาวิชาตนเป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งก็เป็นเรื่องแทบไม่น่าประหลาดใจ เพราะการกำ�หนดว่าอะไรเป็น หรือไม่เป็นส่วนหนึง่ ของสาขาวิชามีนยั สำ�คัญ  หนังสือเล่มนีพ้ ยายาม ยึดคำ�นิยามง่ายๆ ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง ระดับ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในการเมืองโลก (international level of world politics) โดยคำ�ว่า “ระดับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ” หมาย ถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐอธิปไตย (แต่ก็ไม่จำ�เป็นต้องจำ�กัดอยู่ที่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐเท่านั้น) ส่วนคำ�ว่า “การเมืองโลก” หมายถึง “ใครได้อะไร อย่างไร และเมื่อไหร่ ในระดับโลก” โดยต่อขยายจาก นิยามคำ�ว่า “การเมือง” ของ แฮโรล์ด ลาสเวล (Harold Lasswell)2

2

แฮโรล์ด ลาสเวล (Harold Lasswell, 1902–1978) นักรัฐศาสตร์และนักทฤษฎี ทางการสือ่ สาร เคยดำ�รงตำ�แหน่งประธานสมาคมรัฐศาสตร์อเมริกา (the American Political Science Association หรือ APSA) และประธานสมาคมอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์โลก (the World Academy of Art and Science หรือ WAAS) (บรรณาธิการ)


เข้าใจโลก

เหตุผลทีต่ อ้ งเน้นย้�ำ คำ�ว่า “ความเป็นระหว่างประเทศ” มีสอง ประการ  ประการแรก คือ ระดับความเป็นระหว่างประเทศเป็น “ปัจจัย เหตุผลอันมีน้ำ�หนัก” ดังที่ได้เกริ่นไว้ ในส่วนที่แล้ว  ประการที่สอง หากจะวิเคราะห์วา่ “ใครได้อะไร อย่างไร และเมือ่ ไหร่” โดยมิได้มงุ่ ความสนใจไปทีร่ ะดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างเดียว อาจ ยุง่ ยากมากในการคัดเลือก จัดการข้อมูลทีล่ น้ ทะลัก ดังจะเห็นได้จาก ตำ�ราขนาดยักษ์วา่ ด้วยการเมือง “โลก” (world politics) หรือ การเมือง “ระดับโลก” (global politics) ซึง่ เผชิญกับปัญหานี้ เพราะต้องตอบ คำ�ถามชวนปวดหัวว่า “อะไรบ้างในโลกทีไ่ ม่เกีย่ วกับการเมืองโลก?” แนวทางทีห่ นังสือเล่มนี้ ใช้ (“ความเป็นระหว่างประเทศ”) ทำ�ให้เนือ้ หา ในหนังสือมีความชัดเจนยิง่ ขึน้ ขณะเดียวกันก็เปิดกว้างต่อประเด็นที่ นอกเหนือออกไปจาก “ความเป็นระหว่างประเทศ” (โดยเพิม่ คำ�ว่า “ใน การเมืองโลก”) ข้าพเจ้าขอสารภาพว่าวิธคี ดิ นี้ ได้รบั แรงบันดาลใจจาก ซี เอ ดับเบิลยู แมนนิง (C.A.W. Manning) ผู้บุกเบิกองค์ความรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคนสำ�คัญ  แมนนิง นิยามไว้วา่ แม้องค์ ความรูด้ า้ นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะมีแก่นกลาง ทว่าก็ไม่มี ขอบเขต หลายคนย่อมวิพากษ์ว่าการที่ข้าพเจ้ามุ่งความสนใจไปที่ “ความเป็นระหว่างประเทศ” เท่ากับสมาทานมุมมองที่เห็นรัฐเป็น ศูนย์กลางของการศึกษาการเมืองโลก หรือเห็นว่ารัฐเป็นแหล่งที่มา ของความเป็นจริงในการเมืองโลก ผูท้ มี่ คี วามเห็นเช่นนีบ้ างครัง้ ก็ถกู เรียกว่าพวก “รัฐนิยม” (statist) หรือพวกที่เห็นว่ารัฐควรและเป็น กลไกอันสำ�คัญทีส่ ดุ ในการตัดสินใจทางการเมืองและเราควรภักดีตอ่ รัฐเท่านั้น  อย่างไรก็ดี จุดยืนของข้าพเจ้าซับซ้อนกว่าความเห็นนี้ เพราะขณะที่ยอมรับว่ารัฐและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสำ�คัญในเชิง ประจักษ์ แต่ก็ไม่ได้ยึดว่ารัฐเป็นศูนย์กลางทางการเมืองระหว่าง

9


10

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: รวมเรื่องที่ต้องรู้

ประเทศหรือเห็นว่ารัฐดีงามทีส่ ดุ อันทีจ่ ริงจุดยืนเช่นนีค้ ล้ายกับพวกที่ ไม่เชือ่ ว่าพระเจ้ามีจริง เวลาทีค่ นเหล่านีค้ ยุ กันเรือ่ งศาสนา แม้ ไม่เชือ่ ในพระเจ้า แต่อดพูดถึงพระเจ้าไม่ได้ ลักษณะเช่นนี้ ไม่ได้หมายความ ว่ายึดถือ “พระเจ้าเป็นศูนย์กลาง” คนที่ไม่เชื่อในพระเจ้าเอ่ยถึง พระเจ้าเวลาที่คุยกันเรื่องศาสนาเพราะรู้ว่าพระเจ้าสำ�คัญ หนังสือเล่มนีเ้ พียงต้องการเสนอว่าในเชิงประจักษ์แล้ว รัฐยัง สำ�คัญต่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการเมืองโลก (บางรัฐอาจเป็นตัวละครทีม่ อี �ำ นาจมากทีส่ ดุ ในโลก) ขณะเดียวกันก็ มิได้เชื่อหัวปักหัวปำ�ว่ารัฐเป็นศูนย์กลางของทุกเรื่อง (หรือเห็นว่า ระบบรัฐเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในโลก) บทท้ายๆ ของหนังสือเล่มนี้ จะชีว้ า่ รัฐมิได้เป็นตัวละครเดียวในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศอีกต่อไป เพราะปัจจุบันตัวละครอย่างบรรษัทข้ามชาติมี บทบาทมากกว่ารัฐบางแห่ง  กระนัน้ ก็ดี คงจะเบาปัญญากระมังหาก ละเลยบทบาทสำ�คัญของรัฐโดยเฉพาะมหาอำ�นาจ ในการกำ�หนดว่า “ใครควรได้อะไรในโลก” นอกจากนี้ระบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ต่างๆ ยังเป็นคำ�อธิบายเชิงเหตุผลอันทรงพลังว่าเรือ่ งราวต่างๆ เกิดขึน้ ได้อย่างไร การเข้าใจความเป็นจริงเชิงประจักษ์เหล่านีส้ อดคล้องกับ เป้าหมายหนึง่ ในการเรียนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างยิง่ นัน่ คือ การท้าทายความเป็นจริง ณ ปัจจุบนั และเข้าใจว่าเหตุใดเรา จึงต้องท้าทาย ทัง้ หมดนีเ้ พือ่ ให้ตระหนักว่าการสร้างโลกอีกใบทีต่ า่ ง ออกไปหรือน่าอภิรมย์กว่าเดิมเป็นไปได้ “ผิวผ้า” ของความเป็นการเมืองระหว่างประเทศ

หากเราเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของตัวละครในบทประพันธ์ของ เช็คสเปียร์ (เช่นเราอาจปลาบปลื้มบุคลิกลังเลของแฮมเล็ท หรือ


171

เกี่ยวกับผู้เขียน

เคน บูธ นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บรรยายมา แล้วใน 30 ประเทศ และงานเขียนของเขาถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ  ถึงสิบภาษา เขาเขียนหนังสือ บทความวิชาการ และบทในหนังสือ มากกว่า 30 ชิ้น บูธยังเคยดำ�รงตำ�แหน่งนักวิจัยที่สมาคมวิชาการ อังกฤษ (Fellow of British Academy—FBA) และยังได้รับรางวัล ซูซาน สเตรนจ์ จากสมาคมนานาชาติศกึ ษา (International Studies Association) เพราะได้ท้าทายประชาคมวิชาการด้านความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ซึ่งสยบยอมต่อองค์ความรู้เดิมๆ  ในปัจจุบัน บูธ ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นนักวิจัยอาวุโสที่ภาคการเมืองระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยอาเบอริซทวิธ (Aberystwyth University) ทั้งยังเป็น ประธานสถาบันนานาชาติศึกษา แห่งเดวิด เดวี่ยส์ เมมโมเรียล (David Davies Memorial Institute of International Studies) นอกจากนี้ยังเป็นบรรณาธิการให้วารสาร International Relations มากว่าทศวรรษ และเคยดำ�รงตำ�แหน่งประธานสมาคมนานาชาติ ศึกษาแห่งอังกฤษ (British International Studies Association) นักวิชาการสหรัฐฯ ผู้เลื่องชื่อท่านหนึ่งถึงกับเอ่ยในหนังสือ Theory of World Security (2007) ของเขาว่า “หากวันหนึ่งมีการมอบ รางวัลโนเบลสาขาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผมว่าเคน บูธ ควรได้รับรางวัลนี้”



173

เกี่ยวกับผู้แปล

ดร.จันจิรา สมบัตพิ นู ศิริ ดำ�รงตำ�แหน่งผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ รับผิดชอบ การสอนวิชาความมัน่ คงระหว่างประเทศ ความรุนแรงและการไม่ใช้ ความรุนแรงในการเมือง และยุโรปในการเมืองโลก ทีค่ ณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยลาโทรป (La Trobe University) ทีเ่ มืองเมลเบิรน์ ประเทศ ออสเตรเลีย โดยทำ�วิทยานิพนธ์เรื่องการใช้อารมณ์ขันเพื่อประท้วง รัฐบาลเผด็จการในประเทศเซอร์เบีย วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ ได้ปรับเป็น หนังสือภาษาอังกฤษชื่อ Humor and Nonviolent Struggle in Serbia (New York: Syracuse University Press, 2015) และ เรียบเรียงใหม่เป็นภาษาไทยในชื่อว่า หัวร่อต่ออำ�นาจ: อารมณ์ขัน และการประท้วงด้วยสันติวธิ ี (กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มติชน, 2558) งานวิจัยชิ้นล่าสุดที่ได้รับการตีพิมพ์ยังรวมถึง หลักรับผิดชอบเพื่อ ปกป้อง (The Responsibility to Protect) และผลต่อการก่อร่าง องค์ความรู้การเมืองระหว่างประเทศร่วมสมัย (กรุงเทพฯ: สำ�นัก พิมพ์จฬ ุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558); Janjira Sombatpoonsiri, “ Securitisation of civil resistance : the Thai junta and beyond ,” Journal of Resistance Studies , Vol . 1, No . 2 (2016): 85–126; และ Janjira Sombatpoonsiri, “Articulation of Legitimacy: A Theoretical Note on Confrontational and Nonconfrontational Approaches to Protest Policing,” Asian Journal of Peacebuilding, Vol. 3, No. 1: 103–120. ล่าสุด


174

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: รวมเรื่องที่ต้องรู้

ได้รบั ทุนจากสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจยั ศึกษาเรือ่ งมาตรการ รับมือผูช้ มุ นุมของเจ้าหน้าทีต่ �ำ รวจ นอกจากนี้ ในปัจจุบนั จันจิรา ยัง ได้รบั เกียรติให้ด�ำ รงตำ�แหน่งเลขาธิการสมาคมด้านงานวิจยั สันติภาพ ในเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Peace Research Association— APPRA)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.