Slavoj Zizek : ความรุนแรงและการเมืองเพื่อการปลดปล่อย

Page 1


Slavoj Žižek

ความรุนแรง และการเมืองเพื่อการปลดปล่อย - คู่มือการอ่าน Violence -

สรวิศ ชัยนาม เขียน กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ แปล


Slavoj Žižek: ความรุนแรงและการเมืองเพื่อการปลดปล่อย - คู่มือการอ่าน Violence สรวิศ ชัยนาม เขียน กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ แปล ISBN 978-974-315-908-4

พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2558

ในเครือบริษัทสำ�นักพิมพสยามปริทัศน จำ�กัด 113 ถนนเฟองนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท 0-2225-9536 ถึง 9 โทรสาร 0-2222-5188 เจาของ: บริษัทสำ�นักพิมพสยามปริทัศน จำ�กัด ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์: สุลักษณ ศิวรักษ คณะกรรมการบริหาร: สัจจา รัตนโฉมศรี, อนันต วิริยะพินิจ,  วินัย ชาติอนันต, ทิชากร ชาติอนันต, อาสา นาถไตรภพ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ: ชานน จงประสพมงคล บรรณาธิการประจำ�ฉบับ: อนรรฆ พิทักษธานิน แบบปก: วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์ รูปเลม: นริศรา สายสงวนสัตย พิสูจนอักษร: ณัฐเมธี สัยเวช ประชาสัมพันธ: มนตรี คงเนียม • ขอมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแหงชาติ สรวิศ ชัยนาม. Slavoj Žižek: ความรุนแรงและการเมืองเพื่อการปลดปล่อย.-กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2558. 384 หน้า.-- (ศยามปัญญา). 1. การเมือง. I. กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 320 ISBN 978-974-315-908-4 จัดจำ�หนาย: สายสงศึกษิต บริษัทเคล็ดไทย จำ�กัด โทรศัพท 0-2225-9536 ถึง 9 โทรสาร 0-2222-5188 www.kledthai.com ราคา 295 บาท


“Words are never ‘only words’; they matter because they define the contours of what we can do.” Slavoj Žižek



สารบัญ คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ� บทนำ�: เสื้อคลุมโชกเลือดของทรราช บทที่หนึ่ง: ความรุนแรงแบบ SOS (SOS Violence) บทที่สอง: จงเกรงกลัวเพื่อนบ้านดั่งที่ท่านเกรงกลัวตัวเอง! บทที่สาม: “ทะเลเลือดชุ่มโชกทะลักส่ง” บทที่สี่: ความขัดแย้งของเหตุผลแห่งความอดทนอดกลั้น บทที่ห้า: “ความอดทนอดกลั้นในฐานะอุดมการณ์ประเภทหนึ่ง” บทที่หก: ความรุนแรงอันศักดิ์สิทธิ์ บทส่งท้าย ภาคผนวก: บทวิพากษ์ต่อความคิดเรื่องความรุนแรงและการเมือง ของชิเชค ประวัติผู้เขียน ดัชนี

5 7 25 81 145 199 231 257 289 331 341 371 372



คำ�นำ�สำ�นักพิมพ

สลาวอย ชิเชค (Slavoj Žižek) เป็นนักคิดร่วมสมัยที่มี อิทธิพลค่อนข้างสูงในแวดวงสังคมศาสตร์ ปรัชญา มนุษยศาสตร์ ภาพยนตร์ และวงการสื่อในโลกปัจจุบัน นักคิดมาร์กซิส ชาวสโลวีเนียน ที่ต่อมาโด่งดังในโลกภาษาอังกฤษผู้นี้ ได้ผลิตผลงาน จำ�นวนมากที่พาดผ่านตั้งแต่ประเด็นทางการเมือง ความรุนแรง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และจิตวิเคราะห์ โดยมีประเด็นใจกลางหลัก อยู่ที่การเผยให้เห็นตรรกะและความย้อนแย้งของโลก (ทุนนิยม) ร่วมสมัย ในสังคมไทย แม้จะมีการกล่าวถึงชิเชค ในงานเขียนและ งานเสวนาต่างๆ จำ�นวนหนึ่ง หากแต่ดูจะยังไม่ปรากฏงานเขียน ที่ให้ภาพความคิดของชิเชคได้อย่างเป็นระบบ หรือมุ่งทำ�ความ เข้าใจชิเชคอย่างเป็นรูปธรรมโดยตรงแต่อย่างใด Slavoj Žižek: ความรุนแรงและการเมืองเพื่อการ ปลดปล่อย ของสรวิศ ชัยนาม เล่มนี้เป็นหนังสือเล่มแรกที่กล่าวถึง ความคิดของชิเชคได้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในด้านของความ สรวิศ ชัยนาม

5


รุนแรง การเมือง และทุนนิยม ผู้เขียนได้ใช้ตัวบทของ Violence งานเขียนสำ�คัญเล่มหนึ่งของชิเชคเป็นแกนในการอ่านความคิด และฉายภาพความคิดของชิเชคที่มีความเชื่อมโยงและถกเถียงกับ ทั้งนักคิดร่วมสมัยและนักคิดในอดีต สำ�นักพิมพ์ศยาม มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการจัด พิมพ์หนังสือเล่มนี้และการถ่ายทอดแนวคิดของสลาวอย ชิเชค สู่ภาษาไทยอย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรก โดยหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะ มีส่วนช่วยหนุนเสริมการวิพากษ์และการคิดวิเคราะห์ในสังคมไทย ต่อโลกร่วมสมัยให้มีความรอบด้านและละเอียดลออ ภายใต้การ หมุนของโลกที่รวดเร็วในทุกขณะ สำ�นักพิมพ์ศยาม

6

Slavoj Žižek: ความรุนแรงและการเมืองเพื่อการปลดปล่อย


คำ�นำ�

ใครคือ สลาวอย ชิเชค (Slavoj Žižek)? ใน Less Than Nothing: Hegel and the Shadow of Dialectical Materialism หนึ่งในหนังสือเล่มล่าสุดของเขา ชิเชคให้คำ�อธิบายเกี่ยวกับตัวเอง อย่างง่ายๆ ว่าเขาคือ บุคคลที่ “เกิดมา เขียนหนังสือ และจะตาย จากไป” คงไม่จำ�เป็นที่จะต้องมีบทแนะนำ�ที่เหมาะสมเป็นทางการ สำ�หรับนักปรัชญาสโลวีเนียนผู้นี้1 ในขณะที่ชื่อเสียงของเขาโด่งดัง ถึงขีดสุด ชิเชคได้รับการยอมรับในวงกว้างว่าเป็นหนึ่งในนักทฤษฎี วิพากษ์ที่มีความสามารถ ‘ริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ’2 มากที่สุดใน โลกร่วมสมัย แม้แต่คนที่วิพากษ์วิจารณ์ชิเชคอย่างดุดันก็ไม่ปฏิเสธ 1  สำ�หรับเรื่องสภาพแวดล้อมทางความคิดในสโลเวเนียที่หล่อหลอมการพัฒนาความ

คิดทางวิชาการของชิเชค โปรดดู Jones Irwin and Helena Motoh, Žižek and his Contemporaries: On the Emergence of the Slovenian Lacan (London, New Delhi, New York and Sydney: Bloomsbury, 2014). 2  Razmig

Keucheyan, The Left Hemisphere: Mapping Critical Theory Today, trans. Gregory Elliott (London and New York: Verso, 2013), pp. 62-6. สรวิศ ชัยนาม

7


ความจริงข้างต้น3 ชิเชคเขียนหนังสือและบทความภาษาอังกฤษ จำ�นวนนับร้อย ซึ่งต่อมาได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นๆ อีกจำ�นวน มาก เขากลายเป็นตัวเอกของภาพยนตร์หลายเรื่องอันได้แก่ Žižek! (Astra Taylor, 2005) The Pervert’s Guide to Cinema (Sophie Fiennes, 2006) และ The Pervert’s Guide to Ideology (Sophie Fiennes, 2012) มีหนังสือแนะนำ�ความรู้เบื้องต้นจำ�นวนมากที่พูดถึง ชิเชคและหลากหลายมุมมองของความคิดของเขา4 ยิ่งไปกว่านั้น 3 ดูตัวอย่างเพิ่มเติม

Matthew Sharpe and Geoff Boucher, Žižek and Politics: A Critical Introduction (Edinburgh: Edinburgh University Press, 2010); Paul Bowman and Richard Stamp, eds., The Truth of Žižek, (London and New York: Continuum, 2007); Geoff Boucher, Jason Glynos, and Matthew Sharpe, eds., Traversing the Fantasy: Critical Responses to Slavoj Žižek, (Aldershot and Burlington, VT: Ashgate, 2005); Ian Parker, Slavoj Žižek: A Critical Introduction (London: Pluto Press, 2004). 4 ดูตัวอย่างเพิ่มเติม,

Sharpe and Boucher, Žižek and Politics; Kelsey Wood, Žižek: A Reader’s Guide (Wiley-Blackwell, 2012); Sarah Kay, Žižek: A Critical Introduction (Cambridge, UK, and Malden, USA: Polity Press, 2004); Paul Taylor, Žižek and the Media (Cambridge, UK, and Malden, USA: Polity Press, 2010); Henrik Joker Bjerre and Carsten Bagge Laustsen, The Subject of Politics: Slavoj Žižek’s Political Philosophy (HEB and Humanities-Ebooks, 2010); Adrian Johnston, Žižek’s Ontology: A Transcendental Materialist Theory of Subjectivity (Evanston: Northwestern University Press, 2008); Adrian Johnston, Badiou, Žižek and Political Transformation: The Cadence of Change (Evanston: Northwestern University Press, 2009); Chris McMillan, Žižek and Communist 8

Slavoj Žižek: ความรุนแรงและการเมืองเพื่อการปลดปล่อย


พจนานุกรมชิเชคหรือ The Žižek Dictionary ก็ถูกตีพิมพ์เมื่อ ไม่นานมานี้5 ในปี 2007 มีการเปิดตัว International Journal of Žižek Studies ซึ่งเป็นวารสารระดับนานาชาติที่มุ่งอุทิศให้แก่ งานของชิเชค ไม่เพียงเท่านั้น บทประพันธ์โอเปราสี่ชิ้นที่ได้รับ แรงบันดาลใจมาจากงานเขียนของชิเชคก็เพิ่งได้รับการอนุมัติจาก โรงละครรอยัล โอเปรา ในลอนดอน และคาดว่าจะพร้อมแสดงใน

Strategy: On the Disavowed Foundations of Global Capitalism (Edinburgh: Edinburgh University Press, 2012); Fabio Vighi, On Žižek’s Dialectics: Surplus, Subtraction, Sublimation (London and New York: Continuum, 2010); Rex Butler, Slavoj Žižek: Live Theory (London and New York: Continuum, 2005); Fabio Vighi and Heiko Feldner, Žižek Beyond Foucault (Basingstoke and New York: Palgrave Macmillan, 2007); Thomas Brockelman, Žižek and Heidegger: The Question Concerning Techno-Capitalism (London and New York: Continuum, 2008); Marcus Pound, Žižek: A (Very) Critical Introduction (Grand Rapids, MI, and Cambridge, UK: William B. Eerdmans Publishing Company, 2008); Jodi Dean, Žižek’s Politics (New York and London: Routledge, 2006); Tony Myers, Slavoj Žižek (New York and London: Routledge, 2003); Sean Sheehan, Žižek: A Guide for the Perplexed (London and New York: Continuum, 2012); Christopher Kul-Want and Piero, Introducing Slavoj Žižek: A Graphic Guide (London: Icon Books, 2011); Adam Kotsko, Žižek and Theology (London and New York: T&T Clark, 2008); Matthew Flisfeder, The Symbolic, the Sublime, and Slavoj Žižek’s Theory of Film (Basingstoke and New York: Palgrave MacMillan, 2012). 5 Rex

Butler, ed., The Žižek Dictionary (Durham: Acumen Publishing, 2014). สรวิศ ชัยนาม

9


ปี 20206 ชื่อของชิเชคยังถูกนำ�ไปใช้เป็นชื่อของไนท์คลับแห่งหนึ่ง ในบัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา7 เป็นต้น ชิเชคได้เขียนงานที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ อย่าง กว้างขวาง ไม่วา่ จะเป็น “ทุนนิยมโลก จิตวิเคราะห์ โอเปรา ระบอบ เผด็จการรวมอำ�นาจเบ็ดเสร็จ ประชานศาสตร์ (cognitive science) การเหยียดสีผิว สิทธิมนุษยชน ศาสนา สื่อแขนงใหม่ วัฒนธรรม ร่วมสมัย ภาพยนตร์ ความรัก สิ่งแวดล้อมนิยม ปรัชญานิวเอจ และการเมือง”8 บ่อยครั้ง ประเด็นต่างๆ เหล่านี้จะปรากฏอยู่ใน หนังสือเล่มเดียว ดังนั้น งานของชิเชคจึงมีลักษณะผสมผสาน ไม่จำ�กัดอยู่ภายใต้กรอบใดกรอบหนึ่ง (eclectic) ลักษณะดังกล่าว ถือเป็นการสะท้อนทัศนคติแบบวิพากษ์ อันเป็นคุณสมบัติของ นักคิดสายวิพากษ์หลายคน ดังที่เดวิด ฮาร์วีย์ (David Harvey) ได้ เขียนถึงมาร์กซ์ไว้ว่า “สำ�หรับมาร์กซ์ องค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้น จากการหยิบเอากลุ่มก้อนทางความคิดที่แตกต่างอย่างถึงราก

6 “Royal

Opera House Reveals New Direction on Eve of Chief Executive’s Departure,” The Guardian, 10 January 2013. Available at www.guardian.co.uk. 7 Keucheyan,

The Left Hemisphere, p. 182.

8 Jamil

Khader, “Introduction: Žižek Now or Never: Ideological Critique and the Nothingness of Being” in Žižek Now: Current Perspectives in Žižek Studies, eds. Jamil Khader and Molly Anne Rothenberg (Cambridge and Malden: Polity Press, 2013), p. 3. 10

Slavoj Žižek: ความรุนแรงและการเมืองเพื่อการปลดปล่อย


ถึงโคนมาขัดถูเข้าด้วยกันเพือ่ ก่อเป็นไฟแห่งการปฏิวตั ”ิ 9 อย่างไรก็ดี งานของชิเชคดึงดูดทั้งกระแสตอบรับทางบวกที่เต็มไปด้วยความ สนใจและกระแสการวิพากษ์โจมตี อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อศาสตร์ วิชาการหลายแขนง ยกตัวอย่างเช่น นักวิชาการผู้หนึ่งให้ความเห็น ว่า ชิเชคได้ใช้แนวทาง “จิตวิเคราะห์แบบลากองซึ่งส่งผลให้มีการ จัดกรอบคิดใหม่ๆ ที่สำ�คัญต่อการอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความคิดเรื่องอำ�นาจอธิปไตย การเหยียด สีผิวและความรุนแรงเกี่ยวกับชาติพันธุ์ สิทธิมนุษยชนและการ แทรกแซงทางมนุษยธรรม”10 อนึ่ง ในหนังสือความรู้เรื่องการเมือง โลกเบื้องต้นชั้นนำ�เล่มหนึ่ง สองนักวิชาการได้เขียนไว้ในบทที่ ว่าด้วยความรุนแรงในการเมืองโลกว่า “นักปรัชญาร่วมสมัยชาว สโลวีเนียนามว่าชิเชค มีแนวทางที่โดดเด่นต่อประเด็นปัญหาเรื่อง ความรุนแรง...”11 คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ความรุนแรงคือประเด็นที่สำ�คัญ ในรัฐศาสตร์เช่นเดียวกับสังคมศาสตร์ทั่วไป อย่างไรก็ดี ความ 9 David

Harvey, A Companion to Marx’s Capital (London and New York: Verso, 2010), p. 4. 10 Diane

Rubinstein, “Slavoj Žižek” in Critical Theorists and International Relations, eds. Jenny Edkins and Nick Vaughan-Williams (London and New York: Routledge, 2009), p. 342. 11 Louise

Amoore and Marieke de Goede, “What Counts as Violence?” in Global Politics: A New Introduction, Second Edition, eds. Jenny Edkins and Maja Zehfuss (London and New York: Routledge, 2014), p. 514. สรวิศ ชัยนาม

11


รุนแรงกลับไม่ถูกนำ�มาคิดวิเคราะห์ในเชิงทฤษฎีอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะเมือ่ เทียบกับประเด็นอืน่ ๆ เช่น อำ�นาจหรือการสงคราม12 พอล เทย์เลอร์ (Paul Taylor) ได้กล่าวอย่างถูกต้องในวิดีโอการ บรรยายสอนของเขาว่า ความรุนแรงคือหัวใจสำ�คัญในงานของ ชิเชค13 ทว่า กลับมีหนังสือเพียงเล่มเดียวที่แสดงออกอย่างชัดเจน ว่าชิเชคกำ�ลังอภิปรายเรื่องความรุนแรง ซึ่งชื่อของหนังสือเล่มนั้น ก็คือ Violence14 งานเขียนชิ้นนี้ถือเป็นหนึ่งในหนังสือขายดีที่สุด ของชิเชค (อย่างน้อยก็ตามข้อมูลในเว็บไซต์อเมซอนซึ่งจัดประเภท งานของชิเชคไว้ในหมวด “ความรุนแรงในสังคม”) ไม่เพียงเท่านั้น มันยังเป็นประตูเปิดทางพาเราเข้าสู่การเมืองเรื่องการปฏิวัติของ เขา ในด้านหนึ่ง โจดี ดีน (Jodi Dean) มองว่าชิเชคมี “ทฤษฎีที่ เป็นระบบว่าด้วยการเมือง” และ “ส่วนสำ�คัญ (key component)” ของการเมืองของชิเชคก็คือ “ความสำ�ราญ (the category of enjoyment)”15 แต่ในอีกด้านหนึ่ง ถึงแม้ว่าความรุนแรงจะไม่ใช่แก่น 12 Iris

Marion Young, “Power, Violence, and Legitimacy: A Reading of Hannah Arendt in an Age Police Brutality and Humanitarian Intervention” in The Political, ed. David Ingram (Malden, USA, and Oxford, UK: Blackwell Publishers, 2002), pp. 87-8. 13 Paul

Taylor, “Lecture on Žižek’s Violence.” Available at www.histories ofviolence.com.

12

14 Slavoj

Žižek, Violence: Six Sideways Reflections (New York: Picador, 2008).

15 Dean,

Žižek’s Politics, p. xv.

Slavoj Žižek: ความรุนแรงและการเมืองเพื่อการปลดปล่อย


กลางสำ�คัญ แต่มันเป็นลักษณะที่สำ�คัญของทฤษฎีว่าด้วยการเมือง ของชิเชค การหันมาพินิจพิเคราะห์ความรุนแรงโดยเฉพาะจะช่วย ให้เราเข้าใจการเมืองของชิเชคชัดเจนขึ้น อาจเรียกได้ว่า Violence คือหนึ่งในหนังสือของชิเชคที่ ฉาวโฉ่และถูกเข้าใจอย่างผิดๆ มากที่สุด หากเราต้องจับงานของ ชิเชคยัดลงไปในหมวดหมู่ประเภทให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เรา สามารถแบ่งประเภทงานของชิเชคได้ดังนี้16 1) ความรู้เบื้องต้น เรื่องจิตวิเคราะห์แบบลากองผ่านวัฒนธรรมร่วมสมัย (อย่างเช่น Looking Awry และ How to Read Lacan) 2) งานทางทฤษฎีทีเ่ น้น การศึกษาการวิพากษ์เชิงอุดมการณ์ อัตวิสัย (subjectivity) และ ตัวแสดง (agency) (The Sublime Object of Ideology, Tarrying with the Negative และ The Parallax View) 3) เรื่องราวเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและ ‘วารสารศาสตร์เชิงการเมือง (political journalism)’ (Welcome to the Desert of the Real, First as Tragedy, then as Farce, Demanding the Impossible และ The Year of Dreaming Dangerously) 4) งานที่ว่าด้วยเทววิทยา (theology) และศาสนาคริสต์ (The Fragile Absolute และ The Puppet and the Dwarf) Violence ถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ที่สาม ถึงแม้ว่างานเขียนชิ้นนี้จะมุ่งขยายฐานจำ�นวนผู้อ่านให้กว้างขึ้น และดังนั้นจึงไม่ได้เป็นงานที่มีเนื้อหายากในการทำ�ความเข้าใจ 16 Khader,

“Introduction: Žižek Now or Never,” p. 6. สรวิศ ชัยนาม

13


แต่มันก็ยังอาจทำ�ให้ผู้ที่เพิ่งเริ่มอ่านงานของชิเชครู้สึกท้อแท้และ เหนื่อยหน่ายอยู่ดี การอ่านงานของชิเชคอาจสร้างความบันเทิงให้แก่เรา แต่มันไม่ใช่สิ่งที่ง่ายเสมอไป ในด้านหนึ่ง ชิเชคแสดงให้เราเห็น ว่าเส้นทางสู่ทฤษฎีชั้นสูงและความตึงเครียดทางวิชาการมักถูก กรุยทางด้วยความสนุกสนานและเสียงหัวเราะ ชิเชคคือนักปรัชญา ที่ทำ�ให้ผู้อ่านรู้สึก “มีส่วนร่วม (engaging)”17 ดังที่เคลซีย์ วูด (Kelsey Wood) ได้กล่าวไว้ “ชิเชคเป็นหนึ่งในนักปรัชญาไม่กี่คน หากนับจากโสเครตีส ผู้ซึ่งสามารถดลใจให้ผู้อื่นรักการเรียนรู้ และ ยังสามารถทำ�ให้นักเรียนและคู่สนทนาของเขาหัวเราะ”18 บ่อยครั้ง เขาใช้มุกตลกใต้สะดือหยาบๆ19 ข้อคิดเห็นชวนหัวที่หลักแหลม และการพาดพิงถึงวัฒนธรรมร่วมสมัย เช่น ภาพยนตร์ฮอลลีวูด เพื่อที่จะให้เราเห็นถึงประเด็นทางทฤษฎีที่สำ�คัญ เขาคือเจ้าแห่ง การบอกเล่าบรรยายสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็น “ความเบาหวิวของความ ลึกซึ้งทางวิชาการ (lightness of profundity)”20 (ผลที่ตามมาก็คือ 17 Dean,

Žižek’s Politics, p. xxii.

18 Wood,

Žižek: A Reader’s Guide, p. 4.

19 Slavoj

Žižek, Žižek’s Jokes: (Did You Hear the One About Hegel and Negation?), ed. Audun Mortensen (Cambridge, MA, and London, England: The MIT Press, 2014). 20 Momus,

“Afterword” in Slavoj Žižek, Žižek’s Jokes: (Did You Hear the One About Hegel and Negation?), ed. Audun Mortensen (Cambridge, MA, and London, England: The MIT Press, 2014), p. 141. 14

Slavoj Žižek: ความรุนแรงและการเมืองเพื่อการปลดปล่อย


ผู้อ่านมักจะจดจำ�เฉพาะมุกตลกขำ�ขันแต่มิใช่ทฤษฎีหรือข้อโต้แย้ง ของชิเชค อีกทั้งสำ�นักพิมพ์ยังคาดหวังให้เขาสอดแทรกมุกตลกใน หนังสือให้เยอะๆ21) ชิเชคมักเริ่มด้วยการแตะประเด็นหนึ่งและ เปลี่ยนไปถกอีกประเด็นหนึ่งอย่างรวดเร็ว โดยทิ้งความรู้สึกมึนงง แต่สนุกสนานให้แก่ผู้อ่าน อย่างไรก็ดี ความสำ�ราญใจที่ได้จากการอ่านงานของ ชิเชคมักมาพร้อมๆ กับความเจ็บปวด ชิเชคกลับหัวกลับหาง ความคิดหรือข้อโต้แย้งที่ดูธรรมดาสามัญหรือเป็นที่คุ้นเคย และ “ทำ�ให้เราต้องเผชิญกับธรรมชาติที่แท้จริงในสิ่งเลวร้ายต่างๆ ที่ เราตระหนักรับรู้มาตลอด เพียงแต่เราพึ่งวิธีการสลับซับซ้อนเพื่อ หลีกเลี่ยงที่จะคิดถึงมัน”22 ยกตัวอย่างเช่น ผลของการแสดงให้ เราเห็นสิ่งที่เราไม่รู้ว่าเรารู้มาก่อนก็คือ เราต้องเผชิญกับสิ่งที่ช่วย ย้ำ�เตือนว่าลึกๆ แล้ว เราอาจจะแอบเหยียดสีผิว เป็นนักต่อสู้ ถึงรากถึงโคนตัวปลอม เป็นพวกปฏิกิริยา คลั่งศาสนาสุดโต่ง ชั่วร้าย เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา กระฎุมพีน้อย เป็นต้น23 แต่ในอีกด้านหนึ่ง ชิเชคก็เป็นนักเขียนที่เรียกร้องความ สามารถและความอดทนของผู้อ่านเป็นอย่างมาก สาเหตุหนึ่ง ก็ เ พราะเขามั ก ใช้ ศั พ ท์ แ สงเชิ ง เทคนิ ค เฉพาะที่ เขานำ � มาจาก 21 Žižek,

dir. Astra Taylor (2005; Zeitgeist Films), DVD.

22 Taylor,

Žižek and the Media, p. ix.

23 Bjerre

and Laustsen, The Subject of Politics, pp. 18, 22, 119. สรวิศ ชัยนาม

15


นักคิดอย่างเช่น ลากอง เฮเกล มาร์กซ์ บาดู ไฮเดกเกอร์ รองซิแยร์ ฯลฯ อีกนัยหนึ่ง เราอาจจำ�เป็นต้องอ่านและศึกษางานต่างๆ จำ�นวนมากเพื่อให้เข้าใจตัวบริบทภูมิหลังเมื่อชิเชคนำ�เสนอข้อ โต้แย้ง อีกสาเหตุหนึ่งที่สำ�คัญไม่แพ้กันก็คือ สไตล์การเขียน ของเขาซึ่งอาจทำ�ให้ผู้อ่านที่คุ้นเคยกับงานเขียนวิชาการที่เป็น แบบแผนรูส้ กึ อึดอัดและหงุดหงิดใจ อดัม ค็อตสโก (Adam Kotsko) ระบุว่า สไตล์การเขียนของชิเชค “ปฏิเสธแบบแผนจารีต” และ “ทำ�ให้เป็นการยากที่จะมองเห็นสิ่งที่ดูเหมือนว่าจะเป็น ‘แก่น ของบทความ (thesis statement)’ อีกทั้งการนำ�เสนอโต้แย้งก็มัก ทำ�ผ่านการก้าวกระโดดอย่างฉับพลันแทนการร้อยเรียงเหตุผล อย่างเป็นลำ�ดับ”24 อีกนัยหนึ่ง ถ้าหากการอ่านงานวิชาการที่ถูก ต้องตามแบบแผนเปรียบได้กับการเดินทางอย่างสะดวกสบายบน ถนนซูเปอร์ไฮเวย์ซึ่งมีเส้นทางมุ่งตรงสู่จุดหมายพร้อมป้ายบอก ทางที่ชัดเจน การอ่านงานของชิเชคอาจเปรียบได้กับการเข้าสู่ เขาวงกตอันสลับซับซ้อน ไม่มีทางออกให้ค้นพบง่ายๆ แถมยังมี ทางอ้อม ทางแยก และแม้กระทัง่ ทางลวงจำ�นวนมาก25 อาจมองได้ ว่า สไตล์การเขียนของเขาพยายามที่จะสะท้อนให้เราเห็นความไม่ สม่ำ�เสมอในโลกของความเป็นจริง 24 Adam

Kotsko, “How to Read Žižek,” 2 September 2012. Available at http:// lareviewofbooks.org. ดูเพิ่มเติม Myers, Slavoj Žižek, pp. 5-6.

25 Sheehan,

16

Žižek, p. 2.

Slavoj Žižek: ความรุนแรงและการเมืองเพื่อการปลดปล่อย


อันที่จริง ชิเชคไม่ได้เห็นแย้งต่อความเห็นเรื่องงานเขียน ของเขาข้างต้น เขาได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า เขาไม่ได้มองว่าตัวเอง เป็นนักเขียน หากแต่เป็นนักคิด ดังนั้น เขาจึงไม่ได้สนใจเรื่อง สไตล์การเขียนมากนัก “ผมไม่ใส่ใจว่าจะต้องประดิดประดอย รูปประโยคอย่างไร ผมไม่เคยใคร่ครวญเรื่องที่ว่า งานจะดูดีขึ้น หรือไม่ถ้าหากผมใช้วลีโวหารที่สละสลวยกว่านี้”26 ตรงกันข้าม ชิเชคให้ความสำ�คัญกับการถ่ายทอดความคิดของเขามากกว่า27 อีกทั้งเขายังอธิบายว่าเขาเขียนในรูปของ “หน่วยที่มีความซับซ้อน (complex units)” ซึ่งแต่ละหน่วยจะมุ่งวิเคราะห์ความคิดหรือ หัวข้อหนึ่งๆ และพวกมันก็ถูกเย็บรวมเข้าด้วยกันเพื่อผลิตออกมา เป็นหนังสือ28 อีกนัยหนึ่ง หนังสือของชิเชคไม่ได้พัฒนาข้อโต้แย้ง ในทิศทางเส้นตรงที่เป็นลำ�ดับขั้นตอนชัดเจน หากแต่เป็นทิศทาง วงกลมที่เคลื่อนที่ล้อมรอบประเด็นหรือหัวข้อต่างๆ ที่เชื่อมโยงกัน (ในบทสัมภาษณ์เดียวกันนี้ ชิเชคยังยอมรับอีกด้วยว่า อันที่จริง เขาไม่ได้ดูหนังหลายเรื่องที่เขาเขียนถึง เช่นเดียวกับหนังสือหลาย เล่มที่ถูกเขาพาดพิง29) 26 Gary

Olson and Lynn Worsham, “Slavoj Žižek: Philosopher, Cultural Critic, and Cyber-Communist,” JAC, Vol. 21, No. 2 (2001), p. 254. 27 Ibid.,

p. 253.

28 Ibid.,

p. 255.

29 Ibid.,

p. 270. สรวิศ ชัยนาม

17


เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องง่ายที่เราจะหลงทางขณะอ่าน งานของชิเชค งานเขียนวิจัยชิ้นนี้มุ่งที่จะนำ�เสนอแผนที่เพื่อแนะนำ� นักอ่านชิเชคมือใหม่โดยผ่านการทำ�ความเข้าใจหนังสือ Violence ของชิเชค จริงอยู่ที่สไตล์การเขียนของชิเชคอาจจะสร้างความยาก ลำ�บากในการติดตามและทำ�ความเข้าใจ ทว่ามันไม่ได้ไร้ความ เป็นเหตุเป็นผลหรือไร้ตรรกะรองรับ ใน Violence ชิเชคทำ�ตาม ท่วงทำ�นองการเขียนที่เป็นพื้นฐาน30ดังต่อไปนี้ เขาเริ่มจากการ ให้คำ�นิยามความรุนแรงประเภทหนึ่ง (“ความรุนแรงเชิงอัตวิสัย”) อย่างชัดเจน และนำ�มันไปเทียบเคียงกับความรุนแรงประเภทอื่นๆ (“ความรุนแรงเชิงภววิสัย” และ “ความรุนแรงอันศักดิ์สิทธิ์”) หลัง จากนั้น เขาพยายามที่จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความ รุนแรงประเภทต่างๆ ข้างต้น นอกจากนี้ ชิเชคยังแบ่งความรุนแรง ออกเป็นชนิดที่ดีและชนิดที่ไม่ดี เพื่อที่จะช่วยให้เราคิดวิเคราะห์ ประเภทความรุนแรงต่างๆ รวมไปถึงความรุนแรงทีด่ แี ละไม่ดี ชิเชค ได้พูดถึง “ตัวแสดงที่สะท้อนความคิด (conceptual persona)” 31 ซึ่งนำ�มาจากเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ บทกวี เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น ตัวแสดงเหล่านี้ ได้แก่ เลนิน, สตาลิน, ฮิตเลอร์, จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช, บิล เกตส์ “คนดี” ในบทประพันธ์ 30 Terence

Blake, “On Žižek’s ‘Irrationality’: Some Traits of Continental Philosophy (Traits 1 to 5),” 27 July 2013. Available at http://terenceblake. wordpress.com/. 31 Ibid.

18

Slavoj Žižek: ความรุนแรงและการเมืองเพื่อการปลดปล่อย


ของแบร์ทอลต์ เบรคชต์ ผู้นำ�หมู่บ้านในหนัง The Village ของ เอ็ม ไนท์ ชยามาลาน (M. Night Shyamalan) คนคลั่งศาสนาสุดโต่ง ผู้ก่อการร้าย ฯลฯ นอกจากนี้ ชิเชคยังนำ�ความคิดเรื่องความรุนแรงของเขา ไปใช้ในปริมณฑลที่ต่างกัน จากเรื่องในระดับชีวิตประจำ�วันไปจน ถึงปารีส คอมมูน จากสหภาพโซเวียตภายใต้สตาลินไปจนถึง นิวออร์ลีนส์หลังภัยพิบัติพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา จากนาซีเยอรมนี ไปจนถึงคองโกทีป่ กครองโดยเบลเยียม จากความขัดแย้งอิสราเอลปาเลสไตน์ไปจนถึงศูนย์กักกันลับของสหรัฐฯ ในยุคสงคราม ต่อต้านก่อการร้าย เป็นต้น เป้าหมายของการมีท่วงทำ�นอง การเขียนเช่นนี้รวมไปถึงการยกตัวอย่างหลายๆ กรณีหาใช่การ สถาปนาทฤษฎีว่าด้วยความรุนแรงที่ถูกต้องไม่สามารถโต้แย้ง หากแต่เป็นการก่อกวนและทำ�ให้ความเข้าใจเดิมที่เรามีต่อความ รุนแรงมีความหลากหลายมากขึ้น พูดง่ายๆ ก็คือ ชิเชคบังคับให้ เราถามตัวเองอยู่เสมอว่า “อะไรที่นับว่าเป็นความรุนแรง?” ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น มีหนังสือแนะนำ�ความรู้เบื้องต้น เกีย่ วกับชิเชคทีม่ คี ณ ุ ภาพจำ�นวนมาก อย่างไรก็ดี Žižek: A Reader’s Guide โดยเคลซีย์ วูด สมควรได้รับการเอ่ยถึงเป็นพิเศษ ในหนังสือ ที่อ่านง่ายแต่มีประโยชน์มากๆ เล่มนี้ วูดนำ�เสนอบทสรุปอย่าง ละเอียดของหนังสือทั้งหมดของชิเชคนับตั้งแต่งานชิ้นแรก The Sublime Object of Ideology (1989) ไปจนถึง Living in the End Times (2010) (ในขณะที่ ในบทที่ห้าของ Žižek: A Guide

สรวิศ ชัยนาม

19


for the Perplexed โดย ฌอน ชีฮาน (Sean Sheehan) จะทำ� บทสรุปของงานชิเชคที่กระชับกว่า) งานเขียนวิจัยชิ้นนี้มุ่งเดินตาม การริเริ่มของวูด แต่จะให้ความสนใจไปที่หนังสือเล่มเดียวและใช้ หนังสือเล่มนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำ�ไปสู่การสำ�รวจการเมืองของ ชิเชค หนังสือจำ�นวนมากของชิเชคมีความคิดและข้อโต้แย้งที่ ทับซ้อนกันและกัน การอ่านงานเล่มอื่นๆ ของชิเชคจะช่วยสร้าง “หน่วยที่มีความซับซ้อน” ดังนั้น มันสามารถช่วยให้เรามีความ เข้าใจ Violence มากขึ้น อีกนัยหนึ่ง งานเขียนวิจัยชิ้นนี้ทำ�สิ่งที่ มากกว่าแค่การสรุป Violence อาจมองได้วา่ มันคือ ‘บทสรุปล้นเกิน (hyper-summary)’ เพราะฉะนั้นมันจึงมีความแตกต่างจากหนังสือ แนะนำ�ชิเชคที่มีอยู่ทั่วไป ดังที่ฌาคส์ ลากอง ได้กล่าวไว้ในบริบท อื่น “การอมขี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่เลวร้ายอะไร แต่คุณไม่สามารถอมขี้  [ปาก] ก้อนเดิมๆ ได้ซ้ำ�แล้วซ้ำ�เล่า ดังนั้นฉันจึงพยายามจะคว้าขี้ ก้อนใหม่ๆ มาอม”32 เช่นเดียวกัน ผูเ้ ขียนมุง่ ทีจ่ ะนำ�เสนอขีก้ อ้ นใหม่ เกี่ยวกับชิเชคให้ผู้อ่านบริโภค อีกทั้งยังไม่มีขี้ [ปาก] ก้อนใดเลยที่ เป็นภาษาไทย บทสรุปล้นเกินชิ้นนี้มีลักษณะดังต่อไปนี้ •  วาดเค้าโครงคร่าวๆ เกี่ยวกับการเมืองฝ่ายซ้ายของ ชิเชค ซึ่งเชิญชวนไม่ไห้เราลืมเรื่องเศรษฐกิจ ความเป็นสากล การ ปลดปล่อย รัฐ33 และพรรค อีกทั้งไม่ด่วนปฏิเสธละทิ้งความรุนแรง ทุกรูปแบบล่วงหน้า 32 Jacques

Lacan, My Teaching, trans. David Macey (London and New York: Verso, 2008), pp. 69-70. 33 Sharpe 20

and Boucher, Žižek and Politics, p. 174.

Slavoj Žižek: ความรุนแรงและการเมืองเพื่อการปลดปล่อย


•  ให้ความสำ�คัญกับการต่อต้านทุนนิยม คอมมิวนิสม์ การเมืองเรื่องการแตกหัก และความแตกต่างระหว่างความรุนแรง ที่ดีและไม่ดีในทัศนะของชิเชค •  สรุปและตีความความคิดและข้อโต้แย้งสำ�คัญในแต่ละ บทของ Violence อีกทั้งเชื่อมโยงเข้ากับความคิดที่ถูกพัฒนา ในหนังสือเล่มอื่นๆ ของชิเชค รวมไปถึงนักคิดคนอื่น โดยเฉพาะ เลนิน •  อธิบายขยายความความคิดบางความคิด ยกตัวอย่าง เช่น ‘บิก๊ อาเธอร์’ ความเป็นสากล และเพือ่ นบ้าน มโนทัศน์เหล่านี้ ถูกอ้างถึงเพียงสั้นๆ ใน Violence หากแต่มีความสำ�คัญอย่าง ยิ่งยวดในการทำ�ความเข้าใจการเมืองของชิเชค •  ชีใ้ ห้เห็นถึง จุดเปลีย่ น ความไม่สม่�ำ เสมอ และการพัฒนา มุมมองทางการเมืองของชิเชค รวมไปถึงวิจารณ์และปกป้องความคิด ของชิเชค ตามบริบทที่เหมาะสม •  มีภาคผนวกที่สรุปบทวิพากษ์วิจารณ์โดยทั่วไปต่อทัศนะ ของชิเชคเรื่องการเมืองและความรุนแรง หนังสือเล่มนี้อาจมองได้ว่าเป็นภาคต่อของ จากการ ปฏิวัติถึงโลกาภิวัตน์: ความรู้เบื้องต้นการเมืองโลกเชิงวิพากษ์ผ่าน สื่อภาพยนตร์34 งานทั้งสองมีประเด็นและข้อโต้แย้งหลายอย่างที่ 34 สรวิศ

ชัยนาม, จากการปฏิวัติถึงโลกาภิวัตน์: ความรู้เบื้องต้นการเมืองโลกเชิง วิพากษ์ผ่านสื่อภาพยนตร์, (กรุงเทพฯ: ศยาม, 2555). สรวิศ ชัยนาม

21


เหมือนกัน อย่างไรก็ดี หนังสือเล่มนี้นำ�เสนอบทวิเคราะห์ว่าด้วย การเมืองของชิเชคในเชิงลึกมากกว่า หากผู้อ่านจะยอมให้อภัยต่อ ทัศนะแบบบูร์ชัวส์ ผู้เขียนขอเปรียบเปรยว่า ถ้าหากหนังสือเล่ม ก่อนหน้านี้ของผู้เขียนคืออาหารเรียกน้ำ�ย่อย (appetizers) หนังสือ เล่มนี้ก็เป็นเหมือนอาหารจานหลัก (main course) โครงสร้างของ หนังสือเล่มนี้มีความชัดเจน กล่าวคือ มันแบ่งออกเป็นบทตามที่ วางไว้ใน Violence พร้อมการเพิ่มภาคผนวกพอสังเขปในช่วงท้าย สุด ตัวเลขในวงเล็บคือหมายเลขหน้าที่ปรากฏในฉบับที่ตีพิมพ์โดย Picador ปี 2008

22

Slavoj Žižek: ความรุนแรงและการเมืองเพื่อการปลดปล่อย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.