อาเซียนศึกษา เล่ม 3

Page 1

1


2

อาเซียนศึกษา (ASEAN Study)

จุดประสงค์รายวิชา 1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีในฐานะประชากรอาเซียน 3. เพื่อตระหนักในความเป็นประชากรอาเซียน เพื่อการดารงตนและการพัฒนาสังคมประเทศชาติ

สมรรถนะรายวิชา 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. ดารงตนเป็นประชากรอาเซียนที่ดี

คาอธิบายรายวิชา ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และพัฒนาการของประชาคมอาเซียน ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในประชาคมอาเซียนกับภูมิภาคอื่นในโลก


3

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16

หน่วยการเรียน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาเซียน ประชาคมอาเซียน พัฒนาการของประชาคมอาเซียน ประเทศไทยกับอาเซียน บทบาทของอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ประเทศกัมพูชา ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศลาว ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม

ดารงตนเป็นประชากร อาเซียนที่ดี

หน่วยที่

แสดงความรู้เกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน

ตารางวิเคราะห์มาตรฐานสมรรถนะ

               

               


4

คานา หนังสืออาเซียนศึกษาได้เรียบเรียงขึ้นตามหลักสูตร พุทธศักราช 2556 ที่พัฒนาให้สอดคล้องกับความ เจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี และการเปิดเสรีทางการศึกษา รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนร่วมกัน ซึ่ง จะต้องพัฒนาทั้งในด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิต และให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความเป็นมา พัฒนาการ และความร่วมมือต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงความสาคัญของ องค์กรแห่งนี้ และเข้าใจความเป็น “อาเซียน” และร่วมกันเพื่อการขับเคลื่อนการเป็นประชาคมที่เข้มแข็ง ตลอดไป เนื้อหามีทั้งหมด 15 เล่ม ประกอบด้วย พัฒนาการอาเซียน โครงสร้างและกลไกการดาเนินงาน อาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เขตการค้าเสรีอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศไทยสู่การ เป็นสมาชิกอาเซียน หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและบุคคลทั่วไป ในการเสริมสร้างความรู้ ความ เข้าใจ และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันตามที่หลักสูตรต้องการ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการคิดได้ สมดังเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาอย่างครบถ้วนทุก ประการ

นิตยา วรวงษ์


5

สารบัญ หน้า พัฒนาการของประชาคมอาเซียน

6

3.1 การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit)

7

3.2 พัฒนาการอาเซียนด้านเศรษฐกิจ

10

3.3 พัฒนาการอาเซียนด้านสังคม

12

3.4 พัฒนาการอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง

13

3.5 พัฒนาการอาเซียนด้านการศึกษา

15

3.6 พัฒนาการอาเซียนด้านวัฒนธรรม

17

3.7 พัฒนาการอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม

18

3.8 พัฒนาการอาเซียนด้านเทคโนโลยี

20

แบบทดสอบ

25

ใบงาน

30

เฉลยแบบทดสอบ

31

เฉลยใบงาน

35

บรรณานุกรม


6

พัฒนาการของประชาคมอาเซียน

สาระการเรียนรู้

1. การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN

จุดประสงค์การเรียนรู้ Summit)

1. อธิบายการประชุมสุดยอดอาเซียนได้

2. พัฒนาการอาเซียนด้านเศรษฐกิจ

2. อธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านเศรษฐกิจได้

3. พัฒนาการอาเซียนด้านสังคม

3. อธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านสังคมได้

4. พัฒนาการอาเซียนด้านการเมือง และความ มั่นคง

5. พัฒนาการอาเซียนด้านการศึกษา 6. พัฒนาการอาเซียนด้านวัฒนธรรม 7. พัฒนาการอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม 8. พัฒนาการอาเซียนด้านเทคโนโลยี

4. อธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านการเมือง และ ความมั่นคงได้ 5. อธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านการศึกษาได้ 6. อธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านวัฒนธรรมได้ 7. อธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมได้ 8. อธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านเทคโนโลยี

สมรรถนะประจาหน่วย แสดงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน


7

3.1 การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit)

รูปที่ 3.1 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 23 ที่มา : http://thai.cri.cn/ การประชุมสุดยอดอาเซียน [ (ASEAN Summit) เป็นการประชุมประจาปีที่จัดขึ้นโดย สมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(Association of South East Asian Nations) หรืออาเซียน

(ASEAN) ภายใต้หัวข้อ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางในการดาเนินกิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ ของเหล่าสมาชิก

โดยประเทศ

สมาชิกของอาเซียนได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ซึ่งการประชุมสุดยอด อาเซียนถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ.

1976

หรือปีพ.ศ. 2519

ที่บาหลี ประเทศ

อินโดนีเซีย และประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพครั้งแรกในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพมหานคร การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21

ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ณ กรุงพนมเปญ

ประเทศกัมพูชา ด้วยความสาเร็จที่เป็นรูปธรรมหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับรองปฏิญญาว่าด้วย สิทธิมนุษยชนอาเซียน การกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมสุดยอดครั้งที่ 21 นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ของ กัมพูชา ในฐานะประธานการประชุม ได้กล่าวย้าถึงความสาคัญของการพัฒนาความร่วมมือทั้งในและนอกกลุ่ม ประเทศสมาชิก เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นของอาเซียน และยกระดับบทบาทของอาเซียนในประชาคมโลก และผู้นาจาก 10 ชาติสมาชิกได้ออกแถลงการณ์ร่วมหลังลงนามรับรอง “ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน” ซึง่ นับเป็นความสาเร็จของภูมิภาค ขณะเดียวกัน ผู้นาชาติอาเซียนได้ตัดสินใจประกาศกาหนดการเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 การประชุมสุดยอดผู้นาอาเซียนครั้งที่ 22 เริ่มต้นอย่างเป็นทางการระหว่าง วันที่ 24 - 25 เมษายน พ.ศ. 2556 ณ กรุงบันดาร์ เสรีเบกาวัน ประเทศ บรูไน โดยสุลต่านฮัสซันนาลโบลเกียห์ ทรงต้อนรับผู้นา ประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุม และการประชุมครั้งนี้ได้จัดการประชุมแบบโต๊ะกลม โดยมีเนื้อหาหลักอยู่


8

ที่การทบทวนกฎบัตรอาเซียน ติดตามความคืบหน้าของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ. 2015 หารือ เกี่ยวกับบทบาทของภาคประชาชนในการกาหนดทิศทางการขับเคลื่อนของภูมิภาค รวมไปถึงการแสวงหา ทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงในระดับภูมิภาคต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ระหว่าง ชาติอาเซียนกับจีนโดยผู้นาชาติอาเซียนเห็นตรงกันว่า ควรผลักดันให้เกิดหลักปฏิบัติร่วมกันในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct) ให้เร็วที่สุด ทั้งยังร้องขอให้จีนเข้าร่วมการเจรจาแบบพหุภาคี เพื่อร่วมกันหาทางออก ให้ปัญหาดังกล่าวด้วยความไว้วางใจกัน โดยไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงาน ได้ย้าถึงความสาคัญของการ สร้างความมั่นคงทางทะเลระหว่างภูมิภาค และเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการประชุมระหว่างอาเซียนกับจีนอย่างไม่ เป็นทางการ ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 23 ซึ่งเป็นครั้งล่าสุด จัดขึ้นที่กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศ บรูไน ผู้นา 10 ประเทศอาเซียนและนายเล เลือง มินห์ เลขาธิการอาเซียนได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ประเด็นของการประชุมสุดยอดครั้งนี้คือ “ประชาชนของเรา อนาคตร่วมกัน” บรรดาผู้นาประเทศสมาชิก อาเซียนจะหารือความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในการประชุมครั้งนี้ สรุปผลงาน การพัฒนาอาเซียน เพื่อเตรียมพร้อมสู่การสร้างประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ. 2015


9

ตารางสรุปการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างเป็นทางการ ครั้งที่

วันที่

ประเทศเจ้าภาพ

สถานที่จัดการประชุม

1

23-24 กุมภาพันธ์ 2519

อินโดนีเซีย

บาหลี

2

4-5 สิงหาคม 2520

มาเลเซีย

กัวลาลัมเปอร์

3

14-15 ธันวาคม 2530

ฟิลิปปินส์

มะนิลา

4

27-29 มกราคม 2535

สิงคโปร์

สิงคโปร์

5

14-15 ธันวาคม 2538

ไทย

กรุงเทพมหานคร

6

15-16 ธันวาคม 2541

เวียดนาม

ฮานอย

7

5-6 พฤศจิกายน 2544

บรูไน

บันดาร์เสรีเบกาวัน

8

4-5 พฤศจิกายน 2545

กัมพูชา

พนมเปญ

9

7-8 ตุลาคม 2546

อินโดนีเซีย

บาหลี

10

29-30 พฤศจิกายน 2547

ลาว

เวียงจันทน์

11

12-14 ธันวาคม 2548

มาเลเซีย

กัวลาลัมเปอร์

12

11-14 มกราคม 2550

ฟิลิปปินส์

เซบู

13

18-22 พฤศจิกายน 2550

สิงคโปร์

สิงคโปร์

ไทย

ชะอา-หัวหิน และพัทยา

14

27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 10-11 เมษายน 2552

15

23-25 ตุลาคม 2552

ไทย

ชะอา-หัวหิน

16

8-9 เมษายน 2553

เวียดนาม

ฮานอย

17

28-30 ตุลาคม 2553

เวียดนาม

ฮานอย

18

7-8 พฤษภาคม 2554

อินโดนีเซีย

จาการ์ตา

19

17-19 พฤศจิกายน 2554

อินโดนีเซีย

จาการ์ตา


10

ครั้งที่

วันที่

ประเทศเจ้าภาพ

สถานที่จัดการประชุม

20

3-4 เมษายน 2555

กัมพูชา

พนมเปญ

21

18-19 พฤศจิกายน 2555

กัมพูชา

พนมเปญ

22

22-23 เมษายน 2556

บรูไน

บันดาร์เสรีเบกาวัน

23

9-10 ตุลาคม 2556

บรูไน

บันดาร์เสรีเบกาวัน

3.2 พัฒนาการอาเซียนด้านเศรษฐกิจ สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีการเติบโตทาง เศรษฐกิจแห่งหนึ่งของระบบเศรษฐกิจการค้าโลก ปี พ.ศ. 2535 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4 ณ ประเทศสิงคโปร์ มีมติจัดตั้งเขตการค้าเสรี อาเซียนหรือ AFTA ขึ้น AFTA มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานที่เป็น ฐานการผลิตที่สาคัญ เพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยการเปิดเสรีทางการค้า การลดภาษี และอุปสรรคข้อกีด ขวางทางการค้าที่มิใช้ภาษีระหว่างกันภายในภูมิภาค รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างด้านภาษีศุลกากรที่จะ อานวยต่อการค้าเสรี การส่งออกภายในภูมิภาคอาเซียนมีมูลค่า 9,970 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2546 และมีมูลค่าการส่งออกสู่ภายนอกภูมิภาค (ส่วนใหญ่ส่งไปที่ตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี) สูงถึง 330,690 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีเดียวกัน นี้มูลค่าการนาเข้าภายในภูมิภาคอาเซียน 74,490 ล้านดอลลาร์ สหรัฐส่วนการนาเข้าจากภายนอกมีมูลค่า 284,830 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แรงงานคือปัจจัยสาคัญของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน มีความหลากหลายสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นระดับล่าง ระดับกลาง ถึงระดับสูง ล้วนมีความสาคัญในการขับเคลื่อนกระแสเศรษฐกิจของ อาเซียนอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม แรงงานอาเซียนยังไม่ได้รับการพิจารณาในบริบทของ

AFTA มาก

เท่าที่ควรในประชาคมอาเซียน ประชาคมอาเซียน

(ASEAN Economic Community หรือ AEC) ท่ามกลางบริบททางเศรษฐกิจ

การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศที่มีการแข่งขันสูง อันส่งผลให้ประเทศต่างๆ ต้องปรับตัวเองเพื่อให้ ได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึงการรวมกลุ่มการค้ากันของประเทศต่างๆ อาทิ สหภาพยุโรป และเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ จึงเป็นปัจจัยสาคัญในการจัดตั้ง ASEAN Economic Community หรือ AEC “ประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน” ภายในปี พ.ศ. 2558

มีความประสงค์ที่จะให้ภูมิภาคเอเชีย


11

ตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ทาให้เกิดพัฒนาการในการดาเนินงาน ด้านเศรษฐกิจดังนี้ 1. จัดตั้งหน่วยงานภายในประเทศ เพื่อหารือและประสานงานระหว่างรัฐบาลกับเอกชน 2. ศึกษากฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะระเบียบพิธีการศุลกากร เพื่อเผยแพร่ ให้แก่ผู้สนใจ และให้เกิดความโปร่งใส 3. ดาเนินโครงการนาร่องซึ่งประกอบด้วยมาตรการและการดาเนินงานต่างๆในการอานวยความ สะดวกทางการค้าในแนวเขตพื้นที่เศรษฐกิจ East-West Corridor เพื่อให้กิจกรรมทางการค้าเกิดควบคู่กับ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และผสมผสานกับกิจกรรมด้านการลงทุนและการท่องเที่ยว 4. ร่วมมือด้านศุลกากร ประเด็นสาคัญคือ การตรวจปล่อยสินค้าจุดเดียว การปรับ และขั้นตอน พิธีการศุลกากรให้เป็นแบบเดียวกันและง่ายขึ้น และการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับกฎระเบียบ

ด้าน

ศุลกากรระหว่างกัน 5. พัฒนาระบบข้อมูล โดยรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการค้าระหว่างกัน ทั้งด้าน กฎระเบียบ สถิติการค้า อัตราภาษีศุลกากร และมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร

(NTB = Non-Tariff

Barriers) 6. ขยายความตกลงทางการค้าทวิภาคีที่มีอยู่แล้ว เป็นความตกลงทางการค้าในระดับอนุภูมิภาค 7. ร่วมมือด้านสินค้าเกษตร เพื่อศึกษาวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกัน พัฒนาคุณภาพ และเพิ่มผลผลิตสินค้าเกษตร ตลอดจนมาตรฐานด้านสุขอนามัยพืช สัตว์ และสินค้า ประมง 8. จัดตั้งกลไกการยุติข้อพิพาท เพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางการค้าที่เกิดขึ้น 9. สร้างระบบการชาระเงิน โดยพิจารณาสกุลเงินที่ใช้ในการค้า เอกสารประกอบการชาระเงิน และประเด็นอื่นๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่นักธุรกิจที่จะเข้าไปทาธุรกิจ

รูปที่ 3.2 การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน-คู่เจรจา FTA (FTA Partners) ที่มา : http://siriporn1997.wordpress.com


12

3.3 พัฒนาการอาเซียนด้านสังคม

รูปที่ 3.3 โครงการค่ายศิลปะเพื่อมวลมนุษย์สู่อาเซียน (Art for all ASEAN) ที่มา : http://www.manager.co.th/ อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเพื่อทาให้ประชาชนมีการอยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้ เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียว ดังเสาหลักความร่วมมือของอาเซียน (ประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน หรือ ASEAN Socio-Cultural Community) โดยอาเซียนมีพัฒนาการการดาเนิน ความร่วมมือด้านสังคม ดังต่อไปนี้ 1. อาเซียนได้ตั้งเป้าการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 โดยมุ่งหวังให้ เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมเอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความ เป็นอยู่ที่ดี และมีการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity) 2. เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน อาเซียนได้จัดทาแผนงานการจัดตั้ง ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)

ซึ่ง

ประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน 3. มีกลไกดาเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายงานสาขา (Sectoral) ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Offcials Meeting) ระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียน (ASEAN Socio Cultural Community Council) รวมทั้งการประชุมคณะกรรมการด้านสังคมและ วัฒนธรรม (Senior officials Committee for ASEAN Socio-Cultural Community) 4. อาเซียนให้ความสาคัญกับประเด็นความคุ้มครองทางสังคม (Social

Protection) โดยมีการ

จัดทา Zero Draft ASEAN Declaration on Strengthening Social Protection เพื่อให้ประเทศ


13

สมาชิกให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะ ขณะที่อยู่ในระหว่างการดาเนินการของสานักเลขาธิการอาเซียน ซึ่ง เนื้อหาหลักจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ของแต่ละ ประเทศสมาชิก 5. การดาเนินงานเพื่อให้ความคุ้มครอง หรือให้หลักประกันทางสังคมในด้านต่างๆ อาทิ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ระบบประกันสังคม และบริการสังคม โดยให้ความสาคัญแก่กลุ่มประชากรที่ยากจนและ ด้อยโอกาส เพื่อให้ได้รับสิทธิทางสังคม ในฐานะที่เป็นมนุษย์ อันเป็นความร่วมมือในการดาเนินงานระหว่าง ภาครัฐและภาคเอกชน 6. อาเซียนตอบรับแนวทางขององค์การสหประชาชาติที่ว่า ไม่มีการให้คาจากัดความของคาว่า การ คุ้มครองทางสังคมอย่างเป็นเอกฉันท์ หรือการจัดประเภทมาตรการการคุ้มครองทางสังคมที่ชัดเจนใน วรรณกรรมต่างๆ หรือกระทั่งในแนวปฏิบัติเชิงนโยบาย แต่มีการให้คาจากัดความของมาตรการการคุ้มครอง ทางสังคมว่า เป็นการแทรกแซงทางนโยบายที่มีเจตนาเพื่อบรรเทาความยากจน รวมทั้งเพื่อปรับปรุง สวัสดิการมนุษย์ โดยมาตรการการคุ้มครองทางสังคมส่วนใหญ่จะให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนยากจนและกลุ่ม เปราะบาง ที่รวมถึงผู้เยาว์ที่ยังไม่ได้ทางาน คนว่างงาน ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทางาน กลุ่มพิเศษ เช่น คนป่วย คน พิการ ผู้สูงอายุ และชนกลุ่มน้อย เพื่อต่อสู้กับปัญหาทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างมาตรการการแทรกแซงของ ภาครัฐ ได้แก่ การศึกษา สุขภาพ นโยบายตลาดแรงงาน การให้บริการทางสังคม การประกันสังคม และ การช่วยเหลือทางสังคม เป็นต้น 3.4 พัฒนาการอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง จากการรับรองแผนปฏิบัติการของประชาคมอาเซียน ด้านความมั่นคงอาเซียนในปี พ.ศ. 2546 อาเซียนมีความก้าวหน้าในการดาเนินมาตรการด้านการพัฒนาทางการเมืองการปกครองโดยมีส่วนร่วมของ องค์การต่างๆ เพิ่มขึ้น ทาให้เกิดความสัมพันธ์อันดี และส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีสาหรับภูมิภาคอาเซียน โดย มีพัฒนาการการดาเนินงานดังนี้ 1. การอานวยความสะดวกด้านการไหลเวียนข้อมูลอย่างเสรี โดยเป็นไปตามกฎหมายและ กฎระเบียบของแต่ละประเทศ ป้องกันและต่อต้านการทุจริต ความร่วมมือด้านนิติธรรม ระบบยุติธรรมและ โครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย และธรรมาภิบาล นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและ เสรีภาพพื้นฐาน กฎบัตรอาเซียนระบุให้มีการจัดตั้งองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียน 2. ส่งเสริมความเข้าใจและการยอมรับในระบอบการเมืองต่างๆ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของ รัฐต่างๆ ของสมาชิกอาเซียน


14

3. การส่งเสริมธรรมภิบาล เช่น 3.1 จัดทาฐานข้อมูลและรวบรวมแนวทางปฏิบัติที่ดีเลิศในเรื่องธรรมาภิบาลของภูมิภาค 3.2 ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่ดีผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสัมมนาเรื่องการเป็นผู้นาและหลักการ โดยเน้นเรื่องธรรมาภิบาลและการสร้างกฎระเบียบร่วมกัน 3.3 ส่งเสริมให้ศึกษาในประเด็นการเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ ภายในปี พ.ศ. 2552 เพื่อสร้างบรรยากาศของหลักธรรมาภิบาล และมีข้อเสนอต่อองค์กรเฉพาะด้านของ อาเซียน 3.4 ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ความเป็นหุ่นส่วนระหว่างภาครัฐบาล ภาคเอกชน และองค์กรอื่นที่ เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความคิด แนวทาง และวิธีการที่สร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมความโปร่งใส สามารถ ตรวจสอบได้ การมีส่วนร่วม และการมีการปกครองที่ดีที่ประชาชนมีส่วนร่วม 4. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เช่น การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนโดยการจัดทา ขอบเขตหน้าที่ให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2552 และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างองค์กรนี้กับกลไกสิทธิ มนุษยชนที่มีอยู่ และองค์กรระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวข้อง 5. เพิ่มการมีส่วนร่วมขององค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน ที่เกี่ยวข้องต่อการดาเนินการขับเคลื่อน ความคิดริเริ่ม เพื่อพัฒนาการทางการเมืองของอาเซียนให้ดาเนินไปข้างหน้า 6. ป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยการกาหนดกลไกที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติกับกิจกรรม เพื่อ การป้องกันปราบปรามการทุจริต และสร้างเสริมความเชื่อมโยงและความร่วมมือระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยการสนับสนุนให้ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อป้องกัน และปราบปรามการทุจริต ที่บางประเทศได้มีการลงนามแล้ว เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2547 และการ ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้ลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตให้ สัตยาบันอนุสนธิสัญญาดังกล่าว 7. ส่งเสริมหลักการประชาธิปไตย โดยการสร้างความเข้าใจในหลักการของประชาธิปไตยระหว่าง เยาวชนอาเซียนในโรงเรียน โดยคานึงถึงพื้นฐานของระบบการศึกษาของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน และ จัดให้มีการประชุมสัมมนา หลักสูตรการฝึกอบรม และกิจกรรม เพื่อสร้างเสริมศักยภาพ สาหรับข้าราชการ ของภาครัฐบาล นักวิชาการ และองค์กรภาคประชาสังคม เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ประสบการณ์ รวมถึงจัดทาการศึกษาวิจัย เพื่อรวบรวมประสบการณ์ด้านประชาธิปไตย เพื่อส่งเสริมการยึดมั่นในหลักการ ของประชาธิปไตย


15

8. ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคอาเซียน โดยการสนับสนุนการรวบรวมวัฒนธรรมเพื่อ สันติภาพ โดยคานึงถึงปัจจัยการเคารพในความหลากหลาย ส่งเสริมขันติธรรม และความพยายามและความเข้ ใจในเรื่องความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรมในหลักสูตรการศึกษาของสถาบันวิชาการของอาเซียน

รูปที่ 3.4 การประชุม 20th ASEAN SUMMITZ ที่มา : http://mekaje.wordpress.com 3.5 พัฒนาการอาเซียนด้านการศึกษา ได้มีการก่อตั้งองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันอกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Organizaton; SAMEO) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 พัฒนาเนื้อสาระวิชาเรียนร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับ อาเซียนในโรงเรียน เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงสาหรับการฝึกอบรมครูและจัดกระบวนการเรียนการสอน และใน ปี พ.ศ. 2552 ได้เกิด “ปฏิญญาชะอา – หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งในความร่วมมือด้าน การศึกษา เพื่อให้บรรลุการเป็นประชาคมอาเซียนที่มีความเอื้ออาทรและแบ่งปันกัน” เรียกแบบสั้นว่า “ปฏิญญาฯ การศึกษาอาเซียน” ลงนามที่ชะอา – หัวหิน วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยผู้นา 10 รัฐ สมาชิกอาเซียน ประกาศเรื่องบทบาทของภาคการศึกษาในเสาหลักสังคมและวัฒนธรรมไว้หลายๆ ด้าน ซึ่งมี การดาเนินงานอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 1. สร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network; AUN) ซึ่งเป็นแกนหลักใน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของภูมิภาค 2. จัดตั้งมูลนิธิอาเซียน (ASEAN

Foundation) เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและ

นักวิชาการ ตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชน สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน มีการสนับสนุน การจัดทาโครงข่ายรองรับทางสังคม เพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคมจากวิกฤตเศรษฐกิจ 3. จัดให้มีหลักสูตรบัณฑิตศึกษา (การศึกษาหลังจบปริญญาตรี) ในมหาวิทยาลัยในสาขาวิชาศิลปะ และวัฒนธรรมอาเซียน


16

4. จัดให้มีภาษาต่างๆ ในอาเซียนเป็นวิชาเลือกภาษาต่างประเทศในโรงเรียน 5. ส่งเสริมโครงการเผยแพร่ความตระหนักรู้เรื่องอาเซียนในหมู่เยาวชน โครงการที่มีอยู่แล้ว และ ควรจะได้รับการส่งเสริมต่อเนื่อง เช่น 5.1 โครงการเที่ยวโรงเรียนอาเซียน (ASEAN Schools Tour) 5.2 โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนอาเซียน (ASEAN Student Exchange Programme) 5.3 เวทีวัฒนธรรมเยาวชนอาเซียน (ASEAN Youth Cultural Forum) 5.4 การประชุมสุดยอดเยาวชนมหาวิทยาลัยอาเซียน

(ASEAN University Youth

Summit) 5.5 เวทีการศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN Educational Forum) 5.6 การแข่งขันสุนทรพจน์เยาวชนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน

(AUN Young Speakers

Contest) 6. สนับสนุนให้ชาวชนบทมีโอกาสกว้างมากขึ้นในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยให้จัดตั้ง โครงการของอาเซียนในระดับชุมชน เพื่อให้อาสมัครหนุ่มสาวได้ทางานในศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ชนบท และ เขตชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆ ของรัฐสมาชิกอาเซียน 7. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในรัฐสมาชิกอาเซียน อันเป็นการสนับสนุนโครงการ “การศึกษา เพื่อทุกคน (Education For All; EFA)” 8. จัดการประชุมใหญ่ว่าด้วยการวิจัยทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาในภูมิภาค และ ให้เป็นเวทีสาหรับนักวิจัยสาหรับรัฐสมาชิกได้แลกเปลี่ยนทัศนะกันในประเด็นปัญหาระดับภูมิภาคและเรื่องที่ น่าห่วงใยอื่นๆ 9. ส่งเสริมความเข้าใจและการตระหนักรู้อันด

ียิ่งขึ้นต่อปัญหาหลากหลายที่น่าเป็นห่วงด้าน

สิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียน โดยบูรณาการรวมหน่วยเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน พร้อมทั้ง จัดให้มีรางวัล “โรงเรียนสีเขียว (ASEAN Green School Award)” 10. จัดงานฉลองวันอาเซียน (8 สิงหาคม) ในเดือนสิงหาคมในโรงเรียนต่างๆ ทั่วอาเซียนโดยทา กิจกรรมต่างๆ เช่น การร้องเพลงประจาอาเซียน การแข่งขันชิงรางวัลในเรื่องความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับอาเซียน แสดงภาพสัญลักษณ์อาเซียนและภาพแสดงเอกลักษณ์ ต่างๆ ของอาเซียน กิจกรรมค่ายเยาวชนอาเซียน งานเทศกาลเยาวชนอาเซียน งานวันเด็กอาเซียน ฯลฯ


17

รูปที่ 3.5 การเปิดงาน “การศึกษาไทยพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (Thai Education for ASEAN Community) ที่มา : htt://www.thaigov.go.th/ 3.6 พัฒนาการอาเซียนด้านวัฒนธรรม จากอัตลักษณ์ของอาเซียน เป็นพื้นฐานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแสดงความเป็น ตัวตนร่วมกัน จารีต ค่านิยม และความเชื่อ รวมทั้งความปรารถนาในฐานะประชาคมอาเซียนและการ ส่งเสริมให้ตระหนักและมีค่านิยมร่วมกันในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ท่ามกลางความแตกต่างในทุกชั้นของ สังคม อาเซียนจึงดาเนินงานด้านวัฒนธรรม เช่น 1. การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียน และความรู้สึกของการเป็นประชาคมสร้าง ความรู้สึกของความเป็นเจ้าของ และการรวมกันเป็นเอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย และส่งเสริมความ เข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในเรื่องวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศาสนาและอารยธรรม 2. การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน ส่งเสริมการสงวนและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ของอาเซียน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาคมว่าจะส่งเสริมความตระหนักรับรู้ และเข้าใจของประชาชน เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาค และความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรมและความแตกต่าง ทางวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก รวมทั้งเพื่อปกป้องความเป็นเอกลักษณ์ของมรดกทางวัฒนธรรมของ อาเซียนในภาพรวม 3. การสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน และการดารงอยู่ ร่วมกันของอาเซียน โดยการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม และการส่งเสริมและร่วมมือกันในอุตสาหกรรมด้าน วัฒนธรรม 4. การมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน และการปลูกฝังอัตลักษณ์อาเซียน และสร้างอาเซียนที่มีประชาชน เป็นศูนย์การกลางในการก่อตั้งประชาคม โดยสนับสนุนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วม 5. ดาเนินการความร่วมมือด้านกีฬาซีเกมส์ มหกรรมนาฏศิลป์อาเซียน วรรณกรรมซีไรต์และดนตรี อาเซียน เป็นต้น


18

รูปที่ 3.6 ภาพการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 27 ที่มา : http://www.mcot.net/ 3.7 พัฒนาการอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม อาเซียนมีพัฒนาการด้านสิ่งแวดล้อม โดยได้เริ่มโครงการความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 และได้จัดทาโครงการสิ่งแวดล้อมของอนุภูมิภาคอาเซียน ระยะที่ 1

(ASEAN

Subregional

Environment Programme ASEP) ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการและการป้องกัน ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน เช่น มลพิษหมอกควันข้ามแดน และมลพิษจากของเสียที่มีพิษข้ามแดน เป็นต้น นอกจากนี้อาเซียนได้ดาเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริม สิ่งแวดล้อมที่เขียวและสะอา โดยการปกป้องทรัพยากรทางธรรมชาติเพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการจัดการบริหารอย่างยั่งยืน และการอนุรักษ์ดิน น้า แร่ธาตุ พลังงาน ความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าไม้ ทรัพยากรชายฝั่ง และทรัพยากรทางทะเล รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพน้าและอากาศสาหรับภูมิภาค อาเซียน และอาเซียนจะมีส่วนร่วมในความพยายามของโลกในการจัดการแก้ปัญหาสิ่งท้าทายสิ่งแวดล้อมโลก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและคุ้มครองชั้นโอโซน เช่นเดียวกับการพัฒนาและการปรับใช้เทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อมสาหรับการพัฒนาและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 1. การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกโดยปราศจากผลกระทบ ต่อหลักการแข่งขันและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักความเท่าเทียม ยืดหยุ่น มี ประสิทธิภาพ และหลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง โดยสะท้อนถึงสภาพการพัฒนาทาง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่แตกต่างกัน


19

2. การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน ดาเนินมาตรการและส่งเสริม ความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ เพื่อต่อต้านปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อมซึ่งรวมถึงปัญหา มลพิษหมอกควันข้ามแดน การเคลื่อนย้ายปฏิกูลอันตรายข้ามแดน โดยการเสริมสร้างขีดความสามารถ ส่งเสริมการตระหนักรับรู้ต่อสาธารณชน เพิ่มอานาจการบังคับใช้กฎหมายและสนับสนุนปฏิบัติการด้าน สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และดาเนินการตามความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษหมอกควันข้ามแดน 3. การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชน ทาให้อาเซียน มีสภาพแวดล้อมเขียวและสะอาด มั่งคั่งด้วยประเพณีวัฒนธรรม เป็นที่ซึ่งค่านิยมและธรรมเนียมปฏิบัติของ ประชาชนสอดคล้องกลมกลืน และประสานกับธรรมชาติ ด้วยการที่ประชาชนมีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม เต็ม ไปด้วยชาติพันทางสิ่งแวดล้อม และมีความตั้งใจและความสามารถในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ภูมิภาค โดยผ่านทางการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชน 4. ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ใช้เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบรรลุเป้าหมายเรื่องการ พัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้มีผลกระทบน้อยที่สุดต่อสิ่งแวดล้อม 5. ส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานการดารงชีวิตในเขตเมืองต่างๆ ของอาเซียน และเขตชุมชนเพื่อ รับประกันว่าเขตเมืองและชุมชนในอาเซียนมีสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน รองรับความต้องการของประชาชนในด้าน สังคมและเศรษฐกิจได้ 6. การประสานกันเรื่องนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูล และมีความพยายามที่จะประสาน นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูลทีละขั้น โดยคานึงถึงสภาวะและแวดล้อมระดับชาติของประเทศสมาชิก เพื่อสนับสนุนการบูรณการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเป้าประสงค์ด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค 7. ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรชายฝั่ง และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน สร้างหลักประกันเรื่อง สิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง ว่าจะได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระบบนิเวศตัวอย่าง พืชและพื้นที่ดั้งเดิม ได้รับการคุ้มครอง การดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับการจัดการอย่างยั่งยืนและการตระหนักรับรู้และ ได้รับการปลูกฝังเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง

รูปที่ 3.7 การคัดค้านโครงการสร้างเขื่อนไชยะบุรี ในการประชุมอาเซมซัมมิท ในประเทศลาว ที่มา :http://www.aseangreenhub.in.th/


20

8. ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างยั่งยืน ให้ความมั่นใจว่า ความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์ของอาเซียนจะได้รับการรักษาและ จัดการอย่างยั่งยืน โดยการเสริมสร้างสภาวะที่ดีทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม 9. การจัดการทรัพยากรน้าจืด โดยการส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรน้าจืด โดยให้ความ เชื่อมั่นในเรื่องการเข้าถึงทรัพยากรน้าอย่างเท่าเทียมกัน และคุณภาพที่ได้รับการยอมรับได้ในปริมาณที่ เพียงพอ เพื่อรองรับความต้องการของประชาชนอาเซียน 10. การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการต่อผลกระทบ ส่งเสริมความ ร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ รวมทั้ง ผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมในประเทศสมาชิก และการบริหาร จัดการป่าไม้ในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน รวมถึงการดาเนินการปราบปรามการลักลอบตัดไม้ที่ผิดกฎหมาย และการค้าที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยการเสริมสร้างขีดความสามารถ การถ่ายโอนเทคโนโลยี และส่งเสริมการ ตระหนักรับรู้และส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายและธรรมาภิบาล 3.8 พัฒนาการอาเซียนด้านเทคโนโลยี การดาเนินงานของอาเซียนด้านความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์

(e-ASEAN

Framework Agreement) ในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 24 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้นาของอาเซียนทั้ง 10 ประเทศร่วมกันลงนามในกรอบ ความตกตลด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN

Framework

Agree-ment) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่

กาหนดแนวทางเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร (Information Technology and Communication; ICT) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารในภูมิภาคให้สอดคล้องกัน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีมาตรการที่ครอบคลุมด้านต่างๆ 5 ด้านคือ 1. การพัฒนาเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน

(ASEAN

Information Infrastructure) ให้สามารถติดต่อถึงกันได้อย่างทั่วถึงและด้วยความเร็วสูง และพัฒนาความ ร่วมมือไปสู่การจัดตั้งห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Libraries) และแหล่งรวมข้อมูลท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ (Tourism

Portals) รวมถึงการจัดตั้งศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Internet Exchanges) และการ

ให้บริการเชื่อมสัญญาณเครือข่ายข้อมูลอินเทอร์เน็ต (Internet Gateways) 2. การอานวยความสะดวกด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) โดยการออกกฎหมายและ ระเบียบด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ และมีระบบรักษาความปลอดภัย


21

ที่เป็นมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและพัฒนาวัฒนธรรมในการทาธุรกิจโดยใช้ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การยอมรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งกันและกัน การชาระเงินโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น 3. ส่งเสริมและเปิดเสรีด้านการค้า สินค้า บริการ และการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการ สื่อสาร (ICT) โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะยกเลิกภาษีและอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีสาหรับสินค้า ICT เช่น เครื่องประมวลผลอัตโนมัติ เครื่องโทรสาร เครื่องบันทึกเสียงสาหรับโทรศัพท์ ไดโอด และทรานซิสเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า ฯลฯ ภายในปี พ.ศ. 2548 สาหรับประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิม 6 ประเทศ และภายในปี พ.ศ. 2553 สาหรับประเทศสมาชิกใหม่คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม 4. สร้างสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Society) เสริมสร้างความสามารถและพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์เพื่อ ประโยชน์ต่อสังคม ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน IT ของบุคลากรในอาเซียน ลดความเหลื่อม ล้าด้าน IT ภายในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิก อานวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานด้วย IT อย่างเสรี และส่งเสริมการใช้ IT 5. สร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ส่งเสริมให้มีการใช้ ICT ในการบริการของภาครัฐ ให้มากขึ้น เช่น การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การอานวยความสะดวกในเรื่องข้อมูลข่าวสารการให้บริการของ ภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การเสียภาษี การจดทะเบียนการค้าหรือพิธีการศุลกากร เป็นต้น

รูปที่ 3.8 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีท)ี ร่วมเปิดการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคอาเซียน ที่มา : http://www.hooninside.com/


22

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

www.mfa.go.th www.most.go.th www.moi.go.th http://siriporn1997.wordpress.com http://www.manager.co.th http://mekaje.wordpress.com http://www.thaigov.go.th/ http://www.mcot.net/ http://www.aseangreenhub.in.th/ http://www.hooninside.com/


23

กิจกรรม 1. ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มอย่างน้อย 5 กลุ่ม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมผู้นาอาเซียน ในการทาความ ร่วมมือด้านต่างๆ และอภิปรายหน้าชั้นเรียน 2. ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ข่าวและ/หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับพัฒนาการการดาเนินงานของอาเซียน


24

คาถามมีคาตอบ

สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาคัญอย่างไร ผู้นาอาเซียนลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(Treaty

of Amity and Cooperation; TAC) หรือแท็ค เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ซึ่งช่วยวางรากฐาน สาคัญสาหรับการดาเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในภูมิภาคคือ 1. เคารพในเอกราช การมีอานาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน ความมั่นคงทางดินแดนและ เอกลักษณ์แห่งชาติของทุกประเทศ 2. ปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก การโค่นล้ม และการใช้กาลังโดยการบีบบังคับ 3. การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน 4. การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี 5. การยกเลิกการใช้การคุกคามและกองกาลัง 6. การมีความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพระหว่างกัน จะเห็นได้ว่า สนธิสัญญาฉบับนี้กาหนดให้ประเทศภาคีร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมสันติภาพในภูมิภาค ยึดมั่นในหลักสันติวิธี ไม่มีการแทรกแซงกิจการภายในหรือทาสิ่งใดที่คุกคามประเทศอื่น สันติสุขในภูมิภาคจะ นามาซึ่งความมั่นคงที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และความมั่งคั่งที่เป็นประโยชน์สาหรับประชาชนในภูมิภาค โดยรวม ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งขึ้น สนธิสัญญามอบอานาจให้คณะมนตรีของสภาสูงพิจารณาหาข้อยุติผ่าน การเจรจา พร้อมกับเสนอแนะแนวทางหรือมาตรการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายลง ทั้งนี้ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2530 ได้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเพื่อเปิดทางให้ประเทศที่อยู่นอกภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าร่วมเป็นภาคได้ ซึ่งช่วยเสริมสร้างโครงสร้างความมั่นคงและสันติภาพให้มี ความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ทีม่ า

: ข้อมูลจากกรมอาเซียน


25

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ บทที่ 3 ตอนที่ 1 จงเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุด โดยเขียนเครื่องหมาย  ทับตัวเลือกที่ต้องการ 1. AFTA คือ ก. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ข. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ค. เขตการเมืองความมั่นคงอาเซียน ง. เขตสันติอาเซียน จ. เขตการค้าเสรีอาเซียน 2. พัฒนาการความร่วมมือด้านศุลกากรของอาเซียนมีประเด็นสาคัญเรื่องใด ก. การนาเข้าและส่งออกสินค้าบางประเภท ข. การตรวจปล่อยสินค้าจุดเดียว การปรับ และขั้นตอนพิธีการศุลกากรให้เป็นแบบเดียวกันและง่ายขึ้น ค. การดาเนินงานด้านภาษีอากร ง. วิธีการตรวจจับสินค้าผิดกฎหมาย จ. พิธีการศุลกากรให้เป็นแบบเดียวกัน 3. การจัดตั้งมูลนิธิอาเซียน มีวัตถุประสงค์คือ ก. เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและนักวิชาการ สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน ข. เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนครูและนักเรียน ค. เพื่อให้ความคุ้มครอง หรือให้หลักประกันทางสังคมในด้านต่างๆ ง. เพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน จ. เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม 4. พัฒนาการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อให้เกิดผลดีในด้านใด ก. ทาให้เศรษฐกิจขยายตัว ข. สามารถกระจายรายได้สู่ประชาชน ค. การขนส่งสินค้า แรงงาน และการลงทุน ง. การเพิ่มศักยภาพและความสามารถทางธุรกิจ จ. ถูกทุกข้อ


26

5. มีการรับรองแผนปฏิบัติการของประชาคมอาเซียนด้านความมั่นคงอาเซียนในปี พ.ศ. ใด ก. พ.ศ. 2545 ข. พ.ศ. 2546 ค. พ.ศ. 2547 ง. พ.ศ. 2548 จ. พ.ศ. 2549 6. Southeast Asian Ministers of Education Organization; SEAMEO หมายถึงข้อใด ก. ประชาคมสันติอาเซียน ข. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ค. ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ง. องค์การวัฒนธรรมอาเซียน จ. องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 7. “ปฏิญญาฯ การศึกษาอาเซียน” ได้มีการลงนามที่ใด และเกิดขึ้นเมื่อใด ก. ที่ชะอา-หัวหิน วันที่ 24 ตุลาคม 2552 ข. ที่ชะอา-หัวหิน วันที่ 24 สิงหาคม 2552 ค. ที่ชะอา-หัวหิน วันที่ 24 กันยายน 2552 ง. ที่กรุงเทพมหานคร วันที่ 24 ตุลาคม 2552 จ. ที่กรุงเทพมหานคร วันที่ 25 ตุลาคม 2552 8. ข้อใดแสดงถึงพัฒนาการอาเซียนด้านวัฒนธรรมอย่างเด่นชัด ก. ดาเนินการความร่วมมือด้านกีฬาโอลิมปิก ข. ดาเนินการความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนนักวิชาการ ค. ดาเนินการความร่วมมือด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ง. ดาเนินการความร่วมมือด้านกีฬาซีเกมส์ มหกรรมนาฏศิลป์อาเซียน วรรณกรรมซีไรต์ และดนตรี อาเซียน จ. ดาเนินการความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ


27

9. โครงการสิ่งแวดล้อม ASEAN Subregional Environment Programme (ASEP) ได้ดาเนินการใน ด้านใด ก. ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม ข้ามแดน เช่น มลพิษหมอกควันข้ามแดน มลพิษจากของเสียที่มีพิษข้ามแดนเป็นต้น ข. การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก ค. แก้ไขปัญหาผลกระทบต่อหลักการแข่งขันและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ง. ส่งเสริมความเท่าเทียม ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่แตกต่าง กัน จ. เพิ่มอานาจการบังคับใช้กฎหมาย และสนับสนุนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และดาเนินการ ตามความตกลงอาเซียน 10. e-ASEAN Framework Agreement คือข้อใด ก. แผนพัฒนาความร่วมมือไปสู่การจัดตั้งห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ข. กรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน ค. แผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ง. การพัฒนาเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน จ. การดาเนินงานของอาเซียนด้านความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์


28

ตอนที่ 2 จงตอบคาถามต่อไปนี้ 1. จงอธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านเศรษฐกิจมาพอสังเขป ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... 2. จงอธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านสังคมมาพอสังเขป ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................... 3. จงอธิยายพัฒนาการอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคงมาพอสังเขป ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... 4. จงอธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านการศึกษามาพอสังเขป ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... 5. จงอธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านวัฒนธรรมมาพอสังเขป ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... 6. จงอธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมมาพอสังเขป ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... .....................................................................................................................................................................


29

7. จงอธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านเทคโนโลยีมาพอสังเขป ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... 8. จงอธิบายประวัติการก่อตั้งองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Organization; SEAMEO) ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... 9. จงบอกโครงการที่อาเซียนได้ดาเนินการส่งเสริมและเผยแพร่ความตระหนักรู้เรื่องอาเซียนในหมู่เยาวชน อย่างต่อเนื่อง ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... 10. จงยกตัวอย่างกิจกรรมที่จัดขึ้นในโรงเรียนเนื่องในการฉลองวันอาเซียน (8 สิงหาคม) ของทุกปี ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... .....................................................................................................................................................................


30

ใบงานที่ 3.1 เรื่อง : การประชุมสุดยอดอาเซียน คาชี้แจง : ให้นักเรียนสืบค้น/จัดทารายงาน/นาเสนอหน้าชั้นเรียนในหัวข้อ บทสรุปการประชุมสุดยอด อาเซียนจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยเน้นประเด็นสาคัญในด้านพัฒนาการการทางานร่วมกันของ ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยนาเสนอหน้าชั้นเรียน ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………..


31

เฉลยแบบทดสอบ ข้อ

เฉลย

ข้อ 1

ข้อ 2

ข้อ 3

ข้อ 4

ข้อ 5

ข้อ 6

ข้อ 7

ข้อ 8

ข้อ 9

ข้อ 10


32

ตอนที่ 2 จงตอบคาถามต่อไปนี้ 1. จงอธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านเศรษฐกิจมาพอสังเขป สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีการเติบโตทาง เศรษฐกิจแห่งหนึ่งของระบบเศรษฐกิจการค้าโลก ทาให้เกิดพัฒนาการในการดาเนินงานด้านเศรษฐกิจ เช่น ร่วมมือด้านศุลกากร ประเด็นสาคัญ คือ การตรวจปล่อยสินค้าจุดเดียว การปรับ และขั้นตอนพิธี การศุลกากรให้เป็นแบบเดียวกันและง่ายขึ้น 2. จงอธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านสังคมมาพอสังเขป อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเพื่อทาให้ประชาชมีการอยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อม มีความรู้สึกเป็นอันดับหนึ่งอันเดียว โดยมุ่งหวังให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็น ศูนย์กลาง มีสังคมเอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี การคุ้มครองและ สวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม 3. จงอธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคงมาพอสังเขป อาเซียนมีความก้าวหน้าในการดาเนินมาตรการด้านการพัฒนาทางการเมือง การปกครองโดยมีส่วน ร่วมขององค์การต่างๆ ส่งเสริมความเข้าใจและการยอมรับในระบอบการเมืองต่างๆ วัฒนธรรมและ ประวัติศาสตร์ของรัฐต่างๆ ของสมาชิกอาเซียน 4. จงอธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านการศึกษามาพอสังเขป . พัฒนาเนื้อหาสาระวิชาเรียนร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับอาเซียนในโรงเรียน เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิง สาหรับการฝึกอบรมครูและจัดกระบวนการเรียนการสอน การเสริมสร้างความเข้มแข็งในความร่วมมือ ด้านการศึกษา เพื่อให้บรรลุการเป็นประชาคมอาเซียน 5. จงอธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านวัฒนธรรมมาพอสังเขป โดยแสดงความเป็นตัวตนร่วมกัน จารีต ค่านิยม และความเชื่อ รวมทั้งความปรารถน

าในฐานะ

ประชาคมอาเซียนและการส่งเสริมให้ตระหนักและมีค่านิยมร่วมกันในความเป็นอันหนึ่งเดียวกันท่ามกลาง ความแตกต่างในทุกชั้นของสังคม อาเซียนจึงดาเนินงานด้านวัฒนธรรม เช่น การสร้างสรรค์ด้าน วัฒนธรรมและอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน


33

6. จงอธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมมาพอสังเขป อาเซียนมีพัฒนาการด้านสิ่งแวดล้อม โดยได้เริ่มโครงการความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม และได้จัดทา โครงการสิ่งแวดล้อมของอนุภาคอาเซียน ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการและการ ป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวล้อมข้ามแดน เช่น มลพิษหมอกควันข้ามแดน และมลพิษจากของเสียที่มี พิษข้ามแดน เป็นต้น 7. จงอธิบายพัฒนาการอาเซียนด้านเทคโนโลยีมาพอสังเขป การดาเนินงานของอาเซียนด้านความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาคให้สอดคล้องกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมี มาตรการที่ครอบคลุมด้านต่างๆ 5 ด้าน 8. จงอธิบายประวัติการก่อตั้งองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Organization : SEAMEO) ได้มีการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 พัฒนาเนื้อหาสาระวิชาเรียนร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับอาเซียนใน โรงเรียน เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงสาหรับการฝึกอบรมครูและจัดกระบวนการเรียนการสอน 9. จงบอกโครงการที่อาเซียนได้ดาเนินการส่งเสริมและเผยแพร่ความตระหนักรู้เรื่องอาเซียนในหมู่เยาวชน อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมความเข้าใจและตระหนักรู้ยิ่งขึ้นต่อปัญหาหลากหลายที่น่าเป็นห่วง ด้านสิ่งแวดล้อมใน ภูมิภาคอาเซียน โดยบูรณาการรวมหน่วยเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน พร้อมทั้งจัดให้มี รางวัล “โรงเรียนสีเขียว” (ASEAN Green School Award) 10. จงยกตัวอย่างกิจกรรมที่จัดขึ้นในโรงเรียนเนื่องในการฉลองวันอาเซียน (8 สิงหาคม) ของทุกปี โดยทากิจกรรม เช่น การร้องเพลงประจาอาเซียน แสดงภาพสัญลักษณ์อาเซียน และภาพแสดง เอกลักษณ์ต่างๆ ของอาเซียน กิจกรรมค่ายเยาวชนอาเซียน งานเทศกาลเยาวชนอาเซียน งานวันเด็ก อาเซียน ฯลฯ


34

เฉลยใบงาน


35

ใบงานที่ 3.1 เรื่อง : การประชุมสุดยอดอาเซียน คาชี้แจง : ให้นักเรียนสืบค้น/จัดทารายงาน/นาเสนอหน้าชั้นเรียนในหัวข้อ บทสรุปการประชุมสุดยอด อาเซียนจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยเน้นประเด็นสาคัญในด้านพัฒนาการการทางานร่วมกันของ ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยนาเสนอหน้าชั้นเรียน การประชุมสุดยอดอาเซียน เป็นการประชุมประจาปีที่จัดขึ้นโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางในการดาเนินกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของเหล่า สมาชิก โดยประเทศสมาชิกของอาเซียนได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ซึ่งการประชุมสุดยอดอาเซียนถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ที่บาลี ประเทศ อินโดนีเซีย และประเทศไทยเป็นเจ้าภาพครั้งแรกในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ -การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21 ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ณ กรุงพนมเปญประเทศ กัมพูชา การพัฒนาความร่วมมือทั้งในและนอกกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นของอาเซียน ผู้นาจาก 10 ชาติสมาชิกได้ออกแถลงการณ์ร่วมหลังลงนามรับรอง “ปฏิญญาสิทธิมนุษยชน

อาเซียน”

ซึ่งนับเป็นความสาเร็จของภูมิภาค -การประชุมสุดยอดผู้นาอาเซียนครั้งที่ 22 วันที่ 24 - 25 เมษายน พ.ศ. 2556 ณ กรุงบันดาร์ เสรีเบกาวัน ประเทศ บรูไน โดยมีเนื้อหาหลักอยู่ที่การทบทวนกฎบัตร หารือเกี่ยวกับบทบาทของภาค ประชาชนในการกาหนดทิศทางการขับเคลื่อนของภูมิภาค รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในระดับ ภูมิภาคต่างๆ -ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 23 ซึ่งเป็นครั้งล่าสุด จัดขึ้นที่กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน ประเด็นของการประชุมสุดยอดครั้งนี้คือ “ประชาชนของเรา อนาคตร่วมกัน” บรรดาผู้นา ประเทศสมาชิกอาเซียนจะหารือความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในการประชุม ครั้งนี้ สรุปผลงานการพัฒนาอาเซียน เพื่อเตรียมพร้อมสู่การสร้างประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ. 2015


36

บรรณานุกรม กรมประชาสัมพันธ์. ประเทศไทยกับอาเซียน. กรุงเทพฯ : สานักนายกรัฐมนตรี, 2554. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2553. กรมอาเซียน.แผนจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. สื่อวีดีทัศน์กรุงเทพฯ. กรมอาเซียน, 2556. กระทรวงการต่างประเทศ กรมอาเซียน. 20 อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สานักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี, 2530. คณาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เมื่อกรุงเทพมหานครเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สานัก ยุทธศาสตร์และประเมินผล, 2556. ชัยวัฒน์ สีแก้ว. รอบรู้อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หอสมุดกลาง 09, 2556. ประภัสสร์ เทพชาตรี, รศ.ดร. สู่ประชาคมอาเซียน 2015. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2552.


37

รูปประกอบจากเว็บไซต์ http://asean4kids.blogspot.com http://image.baidu.co.th http://mekaje.wordpress.com http://siriporn1997.wordpress.com http://thai.cri.cn/ http://travel.mthai.com http://www.alro.go.th http://www.aseangreenhub.in.th/ http://www.hooninside.com/ http://www.manager.co.th http://www.mcot.net/ http://www.thaigov.go.th/ pirun.ku.ac.th th.wikipedia.org www.bic.moe.go.th www.fotolia.com www.kapook.com/campus.sanook.com/infographicland www.mfa.go.th www.muaypattaraporn.wordpress.com www.nesdb.go.th www.oknation.net


38


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.