1
2
อาเซียนศึกษา (ASEAN Study)
จุดประสงค์รายวิชา 1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีในฐานะประชากรอาเซียน 3. เพื่อตระหนักในความเป็นประชากรอาเซียน เพื่อการดารงตนและการพัฒนาสังคมประเทศชาติ
สมรรถนะรายวิชา 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. ดารงตนเป็นประชากรอาเซียนที่ดี
คาอธิบายรายวิชา ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และพัฒนาการของประชาคมอาเซียน ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในประชาคมอาเซียนกับภูมิภาคอื่นในโลก
3
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16
หน่วยการเรียน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาเซียน ประชาคมอาเซียน พัฒนาการของประชาคมอาเซียน ประเทศไทยกับอาเซียน บทบาทของอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ประเทศกัมพูชา ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศลาว ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม
ดารงตนเป็นประชากร อาเซียนที่ดี
หน่วยที่
แสดงความรู้เกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน
ตารางวิเคราะห์มาตรฐานสมรรถนะ
4
คานา หนังสืออาเซียนศึกษาได้เรียบเรียงขึ้นตามหลักสูตร พุทธศักราช 2556 ที่พัฒนาให้สอดคล้องกับความ เจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี และการเปิดเสรีทางการศึกษา รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนร่วมกัน ซึ่ง จะต้องพัฒนาทั้งในด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิต และให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความเป็นมา พัฒนาการ และความร่วมมือต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงความสาคัญของ องค์กรแห่งนี้ และเข้าใจความเป็น “อาเซียน” และร่วมกันเพื่อการขับเคลื่อนการเป็นประชาคมที่เข้มแข็ง ตลอดไป เนื้อหามีทั้งหมด 15 เล่ม ประกอบด้วย พัฒนาการอาเซียน โครงสร้างและกลไกการดาเนินงาน อาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เขตการค้าเสรีอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศไทยสู่การ เป็นสมาชิกอาเซียน หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและบุคคลทั่วไป ในการเสริมสร้างความรู้ ความ เข้าใจ และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันตามที่หลักสูตรต้องการ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการคิดได้ สมดังเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาอย่างครบถ้วนทุก ประการ
นิตยา วรวงษ์
5
สารบัญ ประเทศอินโดนีเซีย
หน้า
15.1 ธงชาติและตราประจาแผ่นดิน
8
15.2 สภาพทางภูมิศาสตร์
8
15.3 ประวัติความเป็นมา
9
15.4 การเมืองการปกครอง
10
15.5 เศรษฐกิจ
11
15.6 สังคมและวัฒนธรรม
11
15.7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย
12
แบบทดสอบ
16
เฉลยแบบทดสอบ
19
บรรณานุกรม
6
ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
จุดประสงค์การเรียนรู้
สาระการเรียนรู้
1. ประเทศเวียดนาม (Vietanm)
1. บอกสาระสาคัญของประเทศเวียดนาม
ได้
สมรรถนะประจาหน่วย แสดงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเวียดนาม
7
เวียดนาม ชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
(Socialist Republic of Vietnam)
ขนาดพื้นที่
337,912 ตารางกิโลเมตร
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของคาบสมุทรอินโดจีน ทิศเหนือติดต่อกับ ประเทศจีน ทิศตะวันออกจดกับอ่าวตังเกี๋ยและทะเลจีน ใต้ ทิศใต้จดกับ ทะเลอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา
เมืองหลวง
ฮานอย (Hanoi)
จานวนประชากร
89.57 ล้านคน (พ.ศ. 2553)
ชาติพันธุ์
ร้อยละ 85 ของประชากรทั้งหมดเป็นชาว เวียดนาม มีชาวจีนและชาว เขมรผสมอยู่เพียงเล็กน้อย และมีชาวเขาเผ่าต่างๆ อาศัยอยู่มาก เช่น ไต ม้ง แม้ว จาม
ภาษา ภาษา ศาสนา
เวียดนามเป็นภาษาราชการ ไม่มีศาสนาประจาชาติ แต่มีผู้นับถือพระพุทธศาสนามากที่สุดประมาณ ร้อยละ 9 ของประชากรทั้งหมด
ระบอบการปกครอง วันชาติ สกุลเงิน GDP รายได้ประชาชาติ อุตสาหกรรม
สังคมนิยม นาโดยพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม 2 กันยายน ด่ง (666 ด่ง เท่ากับ 1 บาท โดยประมาณ) 102,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2553) 1,160 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว (พ.ศ. 2553) ทอผ้า ถ่านหิน น้ามันและก๊าซธรรมชาติ ปุ๋ยเคมี การแปรรูป อาหาร น้าตาล กระดาษ โรงสีข้าว
สินค้านาเข้า
น้ามันสาเร็จรูป เหล็กและเหล็กกล้า เส้นใย และเครื่องใช้ไฟฟ้า
สินค้าส่งออก
สิ่งทอและเสื้อผ้า น้ามันดิบ อาหารทะเล ข้าว ยางพารา กาแฟ และ รองเท้า
8
15. เวียดนาม (Vietnam) 15.1 ธงชาติและตราประจาแผ่นดิน 1. ธงชาติ ใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 พร้อมกับตราประจาแผ่นดิน เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้น สีแดง หมายถึง การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ (เดิมหมายถึง การต่อสู้เพื่อเอกราช) และมีดาว 5 แฉกสีเหลืองอยู่ตรงกลาง หมายถึง การชี้นาของพรรคคอมมิวนิสต์ (เดิมหมายถึง ชาวเวียดนาม ทั้ง 5 ชนชั้น ได้แก่ ปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร) 2. ตราประจาแผ่นดิน มีลักษณะเป็นพื้นที่สีแดง ด้านบน มีรูปดาว 5 แฉกสีเหลืองทอง ด้านล่างมีรูปฟันเฟืองสีทอง ทั้งหมดถูกล้อมรอบด้วยรวงข้าวสุกสีเหลืองเป็นรูปวงพระจันทร์ ฟันเฟืองและรวงข้าวสุกนี้ หมายถึง ความร่วมมือกันระหว่างภาค เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมด้านล่างสุดมีม้วนแพรแถบจารึกคา ขวัญที่ด้านบนว่า “เอกราช อิสรภาพ ความสุข” และจารึกชื่อ ประเทศเป็นตัวอักษรโรมัน 15.2 สภาพทางภูมิศาสตร์ 1. ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก ของคาบสมุทรอินโดจีน ทิศเหนือติดต่อกับประเทศจีน ทิศตะวันออก จดกับอ่าวตังเกี๋ยและทะเลจีนใต้ ทิศใต้จดกับทะเลอ่าวไทย และทิศ ตะวันตกติดต่อกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา มีเนื้อที่ประมาณ 337,912 ตารางกิโลเมตร 2. ลักษณะภูมิประเทศ ทางตอนเหนือเรียบแนวพรมแดน ระหว่างประเทศเรื่อยลงมาทางตะวันตกเป็นเขตที่สูงที่แนวทิวเขา อันนัมเป็นแนวพรมแดนทางด้านตะวันตกมียอดเขาแฟงซีแปง เป็น ยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศ มีความสูง 3,141 เมตร มีที่ราบลุ่มแม่น้า
แผนที่ประเทศเวียดนาม
แดงทางตอนเหนือที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้าโขงทางตอนใต้ ทางด้านตะวันตกเป็นเขตที่ราบแคบๆ และที่ราบชายฝั่งทะเลอ่าวตังเกี๋ย
9 3. ภูมิอากาศ มีสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นแบบมรสุม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จากทะเลจีนใต้ตลอดทั้งปี เนื่องจากทางด้านตะวันออกมีลักษณะพื้นที่ที่เปิดออกสู่ทะเล ทางตอนกลางของ ประเทศมีปริมาณฝนตกมาก อาจจะสูงกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี ในฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อนและมีฝนตก ในฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่น ยกเว้นทางตอนเหนือที่ค่อนข้างหนาว ส่วนทางตอนใต้ฤดูหนาวจะค่อนข้างแห้ง แล้ง ทางตอนเหนือและตอนใต้จะมีปริมาณฝนน้อยกว่าทางตอนกลางมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีประมาณ 21 องศา เซลเซียส 4. ทรัพยากรธรรมชาติ มีป่าผลัดใบและไม่ผลัดใบที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์อยู่ตามแนวทิวเขาทางด้าน ตะวันตก แต่ในเขตที่ราบสูงมีอัตราการตัดไม้ทาลายป่าสูงมาก จึงมีพืชพรรณแบบทุ่งหญ้าสะวันนาเป็นส่วน ใหญ่ มีทรัพยากรแร่ที่สาคัญ ได้แก่ ถ่านหิน เหล็ก น้ามันและก๊าซธรรมชาติ และฟอสเฟต ดินและน้าที่ อุดมสมบูรณ์ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตที่ราบและที่ราบชายฝั่งทะเล 15.3 ประวัติความเป็นมา ในอดีตเวียดนามตกอยู่ในการครอบครองของจีน แต่หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ถังของจีน ทา ให้ดินแดนเวียดนามภายใต้การปกครองของราชวงศ์โงได้ขับไล่ชาวจีนออกจากพื้นที่และตั้งตนเป็นอิสระ เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ไดเวียด และเป็น ไดไก่เวียด ในเวลาต่อมา เวียดนามมีการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์ มี การแตกแยก มีสงครามภายในประเทศเรื่อยมาจนกระทั่งถึงรัชสมัยของจักรพรรคิตือดึ๊ก จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์เหงียน เวียดนามจึงตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ซึ่งได้แบ่งเวียดนามออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ โค ชินไชนา เขตอารักขาอันนัม และเขตอารักขาตังเกี๋ย ฝรั่งเศสได้สร้างระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมทั้งการศึกษาให้ชาวเวียดนามด้วยคาวมรู้ที่ได้รับเพิ่มขึ้นทาให้เกิดกลุ่มชาตินิยมที่นาโดยนายโฮจิมินห์ ซึ่ง ต่อมากลายเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินโดจีนและกลายเป็นกลุ่มเวียดมินห์ในเวลาต่อมา หลังสิ้นสุด สงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสพยายามเข้ามาครอบครองเวียดนามอีกครั้งแต่ถูกกลุ่มเวียดมินห์ต่อต้านอย่างหนัก ในเวลานั้นโฮจิมินห์ได้ยึดอานาจจากจักรพรรดิเบาได๋ ตั้งตนเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเวียดนามเพื่อต่อสู้ กับฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อกองกาลังเวียดมินห์ที่เดียนเบียนฟูใน พ.ศ.2497 ฝรั่งเศสจึงยอมทา สนธิสัญญาเจนีวายกเอกราชให้แก่เวียดนามโดยแบ่งเวียดนามโดยแบ่งเวียดนามออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เวียดนามเหนือปกครองโดยกลุ่มเวียดมินห์ และเวียดนามใต้ ปกครองโดยจักรพรรดิเบาได๋ที่ไม่เห็น ด้วยกับการกระทาของกลุ่มเวียดมินห์ภายใต้ละติจูด17 องศาเหนือ เวียดนามใต้ยังคงได้รับการช่วยเหลือจาก ฝรั่งเศสและกองกาลังจากสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เวียดนามเหนือจึงเกิดความไม่พอใจและ ประกาศสงครามกับเวียดนามใต้เพื่อปลดปล่อยเวียดนามทั้งหมด สงครามเวียดนามจึงเกิดขึ้น ในช่วงเวลา ดังกล่าวเวียดนามใต้ โง ดินห์ เดียม ได้ยึดอานาจจากจักรพรรดิเบาได๋ โดยอ้างถึงความอ่อนแอของ
10 จักรพรรดิ แล้วตั้งตนเป็นประธานาธิบดี ประชาชนบางส่วน ที่ไม่เห็นด้วยได้จัดตั้งกลุ่มเวียดกงขึ้นต่อต้าน ทาให้เวียดนามใต้ เกิดความวุ่นวาย เวียดนามเหนือจึงให้การสนับสนุนเวียดกงใน การสู้รบอย่างเต็มที่ สงครามเวียดนามกินระยะเวลายาวนานมาก แม้สหรัฐอเมริกา จะทุ่มเทกองกาลังและแสนยานุภาพมาก แต่ก็ไม่ สามารถจะเอาชนะเวียดนามเหนือและกลุ่มเวียดกงได้ สหรัฐอเมริกา สูญเสียกาลังคนและงบประมาณไปอย่างมหาศาล ในพ.ศ. 2511 สหรัฐอเมริกา จึงถอนกาลังทหารออกจากเวียดนามใต้ ทาให้เวียดนาม โฮจิมินห์ อดีตผู้นากลุ่มเวียดมินห์ เหนือรุกเข้าเวียดนามใต้ได้ง่ายมากขึ้น จนกระทั่ง พ.ศ. 2518 เวียดนามเหนือก็ยึดเมืองไซง่อนได้สาเร็จ รวบรวมเวียดนามเข้าด้วยกันในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐสังคม นิยมเวียดนาม พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเมืองไซง่อนเป็น โฮจิมินห์ เพื่อเป็นเกียรติแก่โฮจิมินห์ และตั้งกรุงฮานอย เป็นเมืองหลวงของประเทศมาจนถึงปัจจุบัน 15.4 การเมืองการปกครอง 1. รูปแบบการเมืองการปกครอง ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม มีอานาจสูงสุดและเป็นผู้ชี้นาทางการเมือง มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ นาย เหงียน มิง เจี๊ยต (Nguyen Minh Triet) มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นายเหงียน ฝู จ่อง (Nguyen Phu Trong) แบ่งการปกครองออกเป็น 58 จังหวัดและ 5 เทศบาลนคร 2. ความมั่นคงและนโยบายต่างประเทศ มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพทางการเมืองสูงมากด้วย รัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่กุมอานาจทางการเมืองทั้งหมด อย่างไรก็ตาม อานาจทางการเมืองกาลังถูกท้าทายอย่าง สูง หลังจากมีกรณีการคัดค้านโครงการอุตสาหกรรมแร่บ็อกไซต์ ความขัดแย้งในการเข้าครอบครองที่ดินจาก โบสถ์วัดคาทอลิกของรัฐบาล และการจับกุมกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลด้วยวิธีการที่รุนแง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการทางานของรัฐบาลมีมากขึ้น ขณะที่นโยบายต่างประเทศของเวียดนาม ถือได้ว่ามี ความสาเร็จค่อนข้างมาก ทั้งการได้รับการรับรองให้เป็นประธานอาเซียนใน พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมาเป็นเวลา 1 ปี การปักปันเขตแดนกับประเทศจีนได้สาเร็จ รวมทั้งยังคงมีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศสหรัฐอเมริกา
11 3. สิทธิมนุษยชน ยังคงมีการจากัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตการเข้าถึง ข้อมูลข่าวสารของประชาชนยังมีน้อยมาก รวมทั้งมีจากัดสิทธิในการครอบครอบที่ดินของกลุ่มที่นับถือคริสต์ ศาสนา และการใช้กาลังปราบปรามผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลอย่างรุนแรง ซึ่งสร้างความวิตกกังวลต่อองค์กร สิทธิมนุษยชนจากทั่วโลก 15.5 เศรษฐกิจ 1. ระบบเศรษฐกิจ ยังขึ้นอยู่กับระบบเกษตรกรรมถึงร้อยละ 90 พืชทีสาคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ ข้าวโพด นุ่น อ้อย และมะพร้าว การทาประมงส่วนใหญ่จะอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ มี การทาเหมืองแร่ถ่านหินมากที่สุดที่ใกล้เมืองหายฟ่อง มีอุตสาหกรรมที่เจริญเติบโตได้ดีขึ้นในปัจจุบัน อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมทอผ้า ถ่านหิน น้ามันและก๊าซธรรมชาติ ปุ๋ยเคมี การแปรรูปอาหาร น้าตาล กระดาษ และโรงสีขาว ภาวะเศรษฐกิจของเวียดนามเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ขาดความสมดุล และมีภาวะเงินเฟ้ออยู่มาก 2. ระบบเงินตรา ใช้สกุลเงินด่ง โดยที่ 666 ด่งมีค่าประมาณ 1 บาท 3. ปัจจัยการผลิต แรงงาน และอาชีพ ปัจจัยการผลิตในประเทศส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาความอุดม สมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้ภาคการเกษตรมีผลผลิตที่ดีตลอดทั้งปี และเพื่อนาผลผลิตที่ได้จากภาค การเกษตรไปใช้อุตสาหกรรม ประชากรส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพทางการเกษตร แรงงานภายในประเทศ ยังคงเป็นแรงงานในภาคการเกษตร ส่วนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมนิยมเดินทางไปใช้แรงงานในต่างประเทศ 4.
การค้าเสรีและความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ
เวียดนามมีความพยายามในการขยายความร่วมมือทางด้าน เศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน โดยการเป็นหนึ่ง ในกลุ่มอาเซียนและเขตการค้าเสรีอาเซียน ทาให้ประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนมีการลงทุนและทาการค้าประเทศเวียดนามมากขึ้น ในปัจจุบัน การดานา (ปลูกข้าว) ในประเทศเวียดนาม
15.6 สังคมและวัฒนธรรม 1. ชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนา ประชากรส่วนใหญ่
ในภาษาเวียดนาม
เป็นชาวเวียดนาม มีชาวจีนและชาวเขมรผสมอยู่เพียงเล็กน้อย
ซินจ่าว = สวัสดี
และมีชาวเขาเผ่าต่างๆ อาศัยอยู่มาก เช่น ไต ม้ง แม้ว จาม
12 ในภาษาเวียดนามเป็นภาษาราชการไม่มีศาสนาประจาชาติ ชาวเวียดนามยังคงมีความเชื่อเรื่องการนับถือ วิญญาณบรรพบุรุษ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในประเทศ บางส่วนนับถือลัทธิเต๋า หรือ นับถือลัทธิเต๋าควบคู่กับพระพุทธศาสนา 2. ประเพณีและวัฒนธรรม เวียดนามมีศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งวิถีการดารงชีวิตคล้ายกับชาวจีน การแต่งกายชุดประจาชาติ ผู้หญิงมักสวมกางเกงผ้าแพรสีดาหรือสีขาว เป็นกางเกงตัวในยาวจดข้อเท้า เสื้อตัว นอกมีคอปกตั้ง ติดกระดุมป้ายข้าง มีความยาวคร่อมข้อเท้าและผ่าข้างขั้นมาจนถึงเอว จึงมีลักษณะคล้าย ประโปรง แขนกระบอกยาวถึงข้อมือ เกล้าผมเป็นมวย สวมหมวกรูปฝาชีคล้ายงอบทรงสูง มีพู่สาหรับรัด คาง สวมรองเท้าไม้ที่มีส้นสูง ผู้ชายแต่งกายคล้ายผู้หญิงแต่หมวกสีดาทาจากผ้าและไม่มีปีกหมวก การ ทักทายของชาวเวียดนามจะก้มศีรษะและโค้งตัวให้กันเล็กน้อย ผู้ชายจะจับมือกันบ้างตามแบบตะวันตก ซึ่ง ได้มาจากฝรั่งเศส ชาวเวียดนามนิยมรับประทานข้าว อาหารมักมีผักเป็นส่วนผสม และจะใช้ตะเกียบในการ รับประทานอาหารเหมือนชาวจีน อาหารเวียดนามที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักดีของคนไทย คือ เฝอ 3. บุคคลสาคัญ ได้แก่ นายเหงียน มิง เจี๊ยต ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน และโฮจิมินห์ อดีตผู้นา เวียดนามเหนือและกลุ่มเวียดมินห์ 15.7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย ประเทศไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2519 โดยความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ มีดังนี้ 1. ด้านการเมืองและความมั่นคง มีความร่วมมือกันเพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงให้แก่ ภูมิภาคอาเซียน ส่วนในระดับทวิภาคี มีกรอบความร่วมมือในหลายด้าน โดยเฉพาะการมีคณะทางานร่วมว่า ด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงระหว่างประเทศ (Joint Working Group on Political and Security Cooperation : JWG on PSC) มีการลาดตระเวนร่วมทางทะเลระหว่างกองทัพเรือไทย และเวียดนามอยู่เสมอ 2. ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยว ไทยเป็นประเทศคู่ค้าลาดับที่ 9 ของเวียดนามมีมูลค่า การค้าระหว่างกันมากกว่า 7,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีคนไทยเดินทางเข้าไปลงทุนในประเทศเวียดนามสูง เป็นอันดับที่ 10 จากนักลงทุนต่างชาติทั้งหมด ส่วนใหญ่ลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตและการแปรรูป อสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยว โรงแรม การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ อาหาร สัตว์ พลาสติก อุตสหากรรมการ เกษตร และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ โดยมากนิยมลงทุนในนครโฮจิมินห์ มีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งทาให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในทั้ง 2 ประเทศอย่างต่อเนื่อง
13 3. ด้านสังคมวัฒนธรรมและการศึกษา มีความช่วยเหลือและให้ความร่วมมือทางด้าน ศิลปวัฒนธรรมและการศึกษาแก่เวียดนามอยู่เสมอ มีการให้สอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัย 5 แห่งของ เวียดนาม ขณะที่มีการตั้งโรงเรียนสอนภาษาเวียดนามที่จังหวัดนครพนมของไทย นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้ง สมาคมมิตรภาพไทย-เวียดนาม เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เรื่องน่ารู้ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีเวลามาตรฐานเท่ากับประเทศไทย ได้แก่ ประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม และเกาะสุมาตราและเกาะชวาของประเทศอินโดนีเซีย ส่วนพื้นที่อื่นๆ มีเวลามาตรฐานที่แตกต่าง กับประเทศไทยดังนี้ ประเทศ
เวลา
ประเทศ
เวลา
ฟิลิปปินส์
> 1 ชม.
สิงคโปร์
> 1 ชม.
เมียน์มา
<30 นาที
อินโดนีเซีย (เกาะบอร์เนียว)
> 1 ชม.
บรูไนดารุสซาลาม
> 1 ชม.
อินโดนีเซีย (หมู่เกาะโมลุกกะ)
> 1 ชม.
มาเลเซีย
> 1 ชม.
อินโดนีเซียน (อีเรียนจายา)
> 2 ชม.
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ ศึกษาและวิเคราะห์ประวัติความเป็ นมาของประเทศเวียดนามที่มีผลต่อประเทศต่างๆ ในกลุม่ อาเซียน สรุป และออกมานาเสนอหน้ าชันเรี ้ ยน
14 บทสรุป ประเทศสมาชิกอาเซียนมีทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียน์มา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม บรูไนดารุสซาลาม มีดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยประเทศมาเลเซีย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลย์ และนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด มีเศรษฐกิจของประเทศที่ขึ้นอยู่กับน้ามันและก๊าซธรรมชาติ และมี การเมืองการปกครองภายใต้ศาสนาอิสลามที่มีความมั่นคงสูง กัมพูชา มีพื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยแนวทิวเขา มีที่ราบและทะเลสาบขนาดใหญ่อยู่ตรงกลางประชากรส่วน ใหญ่เป็นชาวเขมร มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจาชาติ อาชีพทางการเกษตรเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ หลักให้แก่ประชาชนในประเทศ อินโดนีเซีย เป็นกลุ่มหมู่เกาะขนาดใหญ่ มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มาก แต่ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาอิสลาม ประชากรยังประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นหลัก มีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมมาก และ มีการเมืองการปกครองที่มีเสถียรภาพและมีความมั่นคงสูง ลาว มีพื้นที่เป็นที่ราบสูงและภูเขา ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวลาว มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ประจาชาติ ประชากรยังคงประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นหลัก แต่ประเทศมีรายได้หลักจากอุตสาหกรรม เกี่ยวกับเขื่อนไฟฟ้าพลังน้า ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ มาเลเซีย มีดินแดนที่อยู่ในคาบสมุทรมลายูและอยู่บนเกาะบอร์เนียว ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาว มาเลย์ ประกอบอาชีพทางการเกษตรและทาป่าไม้เป็นหลัก ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามมีเศรษฐกิจที่ เจริญเติบโตดี แต่กลับมีการเมืองภายในประเทศที่มีความขัดแย้งค่อนข้างมาก เมียน์มา มีพื้นที่เป็นแนวทิวเขาสูงขนาบที่ราบลุ่มแม่น้าทางตอนกลาง ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาว เมียน์มาและชาวเขาเผ่าต่างๆ มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจาชาติ ประชากรประกอบอาชีพทางการ เกษตรเป็นส่วนใหญ่ และมีการเมืองการปกครองที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีมากขึ้น ฟิลิปปินส์ เป็นกลุ่มหมู่เกาะทางด้านตะวันออกของภูมิภาค ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายมาเลย์ แต่ นับถือคริสต์ศาสนามากกว่าศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรมีแรงงานใน ภาคอุตสาหกรรมน้อยมาก และมีการเมืองการปกครองที่มั่นคง สิงคโปร์ เป็นเกาะขนาดเล็กทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีนนับถือ พระพุทธศาสนาตามแบบชาวจีนทั่วไป มีการค้าและระบบอุตสาหกรรมที่เจริญก้าวหน้ามากที่สุดในอาเซียน
15 ภายใต้การเมืองการปกครองที่เข้มแข็ง ไทย มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้าและที่ราบสูง มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุด ในภูมิภาค ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทย ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นหลัก ส่วนใหญ่นับถือ พระพุทธศาสนา และมีความขัดแย้งทางการเมืองการปกครองค่อนข้างสูง เวียดนาม มีที่ราบและที่ราบชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันออกและที่ราบสูงและภูเขาสูงทางด้าน ตะวันตก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเวียดนาม ไม่มีศาสนาประจาชาติ ประชากรยังคงประกอบอาชีพ ทางการเกษตรเป็นหลัก มีการเมืองการปกครองในระบอบคมมิวนิสต์ ถึงแม้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านลักษณะทางกายภาพ สังคม และ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ แต่ประเทศต่างๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและมีความร่วมมือกันในหลายๆ ด้านเพื่อส่งเสริมอาเซียนให้มีความเข้มแข็งและก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนได้อย่างมั่นคงต่อไป
16
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ บทที่ 15
ตอนที่ 1 จงเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุด โดยเขียนเครื่องหมาย ทับตัวเลือกที่ต้องการ 1. ประเทศเวียดนามมีรูปร่างคล้ายกับอะไร ก. ตัวอักษร A ข. ตัวอักษร B ค. ตัวอักษร S ง. ตัวอักษร L 2. เมืองหลวงของเวียดนามมีชื่อว่าอะไร ก. ฮานอย ข. ฮอยอัน ค. มายัน ง. ทมมะยัน 3. ประเทศเวียดนามใช้สกุลเงินใด ก. เงินกลีบ ข. เงินดอง ค. เงินบาท ง. เงินหยวน 4. เมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าคือเมืองใด ก. ข. ค. ง.
เมืองฮอยอัน เมืองฮานอย เมืองคานัง เมืองโฮจิมินห์
17 5. สินค้าที่เวียดนามส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก ก. พริก ข. ข้าว ค. หอม ง. พริกไทย 6. ดอกไม้ประจาชาติของเวียดนามคือ ก. ดอกจาปี ข. ดอกบัว ค. ดอกโสน ง. ดอกพุทธรักษา 7. อาหารยอดนิยมของเวียดนามคืออะไร ก. ปอเปี๊ย เฝอ ข. ไส้กรอก ขนมปัง ค. ขนมจีบ ซาลาเปา ง. ขนมไข่ ขนมเปี๊ย 8. หมวกรูปทรงฝาชีที่ชาวเวียดนามสวมใส่จนเป็นเอกลักษณ์เรียกว่าอะไร ก. หมวกเจ๊ก ข. ฟ้อน ล้า ค. หมวกแก๊บ ง. งอบ 9. เวียดนามใช้ภาษาใดเป็นภาษาประจาชาติ ก. ภาษาอังกฤษ ข. ภาษาเวียดนาม ค. ภาษาโฮจิมินห์ ง. ภาษาฮานอย
18
10. ชาวเวียดนามนับถือศาสนาใดมากที่สุด ก. พุทธ ข. อิสลาม ค. พราหณ์ ง. คริสต์
19
เฉลยแบบทดสอบ ข้อ
เฉลย
ข้อ 1
ค
ข้อ 2
ก
ข้อ 3
ข
ข้อ 4
ง
ข้อ 5
ง
ข้อ 6
ข
ข้อ 7
ก
ข้อ 8
ข
ข้อ 9
ข
ข้อ 10
ก
20
บรรณานุกรม กรมประชาสัมพันธ์. ประเทศไทยกับอาเซียน. กรุงเทพฯ : สานักนายกรัฐมนตรี, 2554. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2553. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. สื่อวีดีทัศน์กรุงเทพฯ. กรมอาเซียน, 2556. กระทรวงการต่างประเทศ กรมอาเซียน. 20 อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สานักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี, 2530. คณาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เมื่อกรุงเทพมหานครเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สานัก ยุทธศาสตร์และประเมินผล, 2556. ชัยวัฒน์ สีแก้ว. รอบรู้อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หอสมุดกลาง 09, 2556. ประภัสสร์ เทพชาตรี, รศ.ดร. สู่ประชาคมอาเซียน 2015. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2552.
21
รูปประกอบจากเว็บไซต์ http://asean4kids.blogspot.com http://image.baidu.co.th http://mekaje.wordpress.com http://siriporn1997.wordpress.com http://thai.cri.cn/ http://travel.mthai.com http://www.alro.go.th http://www.aseangreenhub.in.th/ http://www.hooninside.com/ http://www.manager.co.th http://www.mcot.net/ http://www.thaigov.go.th/ pirun.ku.ac.th th.wikipedia.org www.bic.moe.go.th www.fotolia.com www.kapook.com/campus.sanook.com/infographicland www.mfa.go.th www.muaypattaraporn.wordpress.com www.nesdb.go.th www.oknation.net
22