1
2
อาเซียนศึกษา (ASEAN Study)
จุดประสงค์รายวิชา 1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีในฐานะประชากรอาเซียน 3. เพื่อตระหนักในความเป็นประชากรอาเซียน เพื่อการดารงตนและการพัฒนาสังคมประเทศชาติ
สมรรถนะรายวิชา 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. ดารงตนเป็นประชากรอาเซียนที่ดี
คาอธิบายรายวิชา ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และพัฒนาการของประชาคมอาเซียน ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในประชาคมอาเซียนกับภูมิภาคอื่นในโลก
3
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16
หน่วยการเรียน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาเซียน ประชาคมอาเซียน พัฒนาการของประชาคมอาเซียน ประเทศไทยกับอาเซียน บทบาทของอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ประเทศกัมพูชา ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศลาว ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม
ดารงตนเป็นประชากร อาเซียนที่ดี
หน่วยที่
แสดงความรู้เกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน
ตารางวิเคราะห์มาตรฐานสมรรถนะ
4
คานา หนังสืออาเซียนศึกษาได้เรียบเรียงขึ้นตามหลักสูตร พุทธศักราช 2556 ที่พัฒนาให้สอดคล้องกับความ เจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี และการเปิดเสรีทางการศึกษา รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนร่วมกัน ซึ่ง จะต้องพัฒนาทั้งในด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิต และให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความเป็นมา พัฒนาการ และความร่วมมือต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงความสาคัญของ องค์กรแห่งนี้ และเข้าใจความเป็น “อาเซียน” และร่วมกันเพื่อการขับเคลื่อนการเป็นประชาคมที่เข้มแข็ง ตลอดไป เนื้อหามีทั้งหมด 15 เล่ม ประกอบด้วย พัฒนาการอาเซียน โครงสร้างและกลไกการดาเนินงาน อาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เขตการค้าเสรีอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศไทยสู่การ เป็นสมาชิกอาเซียน หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและบุคคลทั่วไป ในการเสริมสร้างความรู้ ความ เข้าใจ และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันตามที่หลักสูตรต้องการ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการคิดได้ สมดังเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาอย่างครบถ้วนทุก ประการ
นิตยา วรวงษ์
5
สารบัญ หน้า ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
6
6.1 ธงชาติและตราประจาแผ่นดิน
8
6.2 สภาพทางภูมิศาสตร์
8
6.3 ประวัติความเป็นมา
9
6.4 การเมืองการปกครอง
9
6.5 เศรษฐกิจ
10
6.6 สังคมและวัฒนธรรม
11
6.7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย
12
แบบทดสอบ
13
เฉลยแบบทดสอบ
16
บรรณานุกรม
6
ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussaiam)
จุดประสงค์การเรียนรู้
สาระการเรียนรู้
1. ประเทศบรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussaiam)
1. บอกสาระสาคัญของประเทศบรูไนดา
รุสซาลามได้
สมรรถนะประจาหน่วย แสดงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศบรูไนดารุสซาลาม
7
บรูไนดารุสซาลาม
ชื่ออย่างเป็นทางการ ขนาดพื้นที่
เนการาบรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว มีอาณาเขตทางทิศเหนือ จดกับทะเลจีนใต้ ทิศตะวันออก ทิศใต้และทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐซารา วักของประเทศมาเลเซีย เมืองหลวง บันดาร์เสรีเบกาวัน ( Bandar Seri Begawan) ประชากร 395,027 คน พ.ศ. 2553 ชาติพันธ์ ร้อยละ 70 ของประชากรทั้งประเทศเป็นชาวมาเลย์ รองลงมาเป็นชาวจีน ชาวอินเดีย และชาวยุโรป ภาษา ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ ศาสนา นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ67 รองลงมาเป็นพระพุทธศาสนา คริสต์ศาสนา และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ระบอบการปกครอง สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุขผู้นารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วันชาติ 23 กุมภาพันธ์ สกุลเงิน ดอลลาร์บรูไน (1 ดอลลาร์บรูไน เท่ากับ 24 บาทโดยประมาณ) GDP 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2553) รายได้ประชาชาติ 28,340 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว (พ.ศ. 2553) อุตสาหกรรม น้ามันและก๊าซธรรมชาติ อาหาร แปรรูปไม้ สิ่งทอ วัสดุก่อสร้างที่ไม่ใช่ โลหะ และแก้วสาหรับกระจกรถยนต์ สินค้านาเข้า เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร อื่นๆ เช่น ข้าว ผลไม้ สินค้าส่งออก น้ามันและก๊าซธรรมชาติ
8
6. บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 6.1 ธงชาติและตราประจาแผ่นดิน 1. ธงชาติ ใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2502 มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีเหลืองมีแถบสีขาวและดาพาดในแนว ทแยงมุมและมีตราประจาแผ่นดินอยู่ตรงกลาง โดยสีเหลืองเป็นสีประจา สถาบันกษัตริย์ ส่วนแถบสีขาวและสีดานั้นถูกใช้เพื่อทาให้ธงแตกต่างจากธงอื่นๆ 2. ตราประจาแผ่นดิน ใช้เมื่อ พ.ศ. 2475 มีเครื่องยอดเป็นธงและ พระกลด หมายถึง สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนดารุสซาลามและ ปีกนก 4 ขน หมายถึง ความยุติธรรม ความสงบ ความเจริญและสันติ สุข ตรงกลางเป็นโล่รูปซีกวงเดือนหรือพระจันทร์เสี้ยวหงาย หมายถึง ศาสนาอิสลาม ภายในมีข้อความภาษาอาหรับจารึกว่า “น้อมรับใช้ตาม แนวทางของพระเจ้าเสมอ” ประคองข้างด้วยมือสองข้างชูขึ้น หมายถึง หน้าที่ของรัฐบาลในการยกระดับ ความมั่นคง สันติสุข และความเจริญรุ่งเรืองสืบไป ด้านล้างมีแพรแถบจารึกชื่อประเทศ 6.2 สภาพทางภูมิศาสตร์ 1. ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต ตั้งอยู่ทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนเกาะบอร์เนียว มีเนื้อที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตจดกับทะเลจีนใต้ทางทิศเหนือ และถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวักของประเทศมาเลเซียทั้ง ทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศใต้ 2. ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบชายฝั่ง ทะเลและที่ราบระหว่างหุบเขาที่เกิดจากการทับถมของดินตะกอน
แผนที่ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
น้าพา ตอนในของประเทศเป็นเนินเขาเตี้ยๆ ทางด้านตะวันออกพื้น ที่มีความสูงและความขรุขระมากกว่าทางด้านตะวันตก 3. ภูมิอากาศ มีสภาพอากาศทั่วไปเป็นแบบร้อนชื้นเขตศูนย์สูตร ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตลอด ทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนประมาณ 2,540 มิลลิเมตรต่อปี
9
4. ทรัพยากรธรรมชาติ มีทรัพยากรน้ามันและก๊าซธรรมชาติมากเพียงพอต่อประชากร ภายในประเทศ และเป็นทรัพยากรที่ทารายได้ให้แก่ชาวบรูไนฯ เป็นอย่างมาก มีป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ผลัด ใบประเภทป่าดิบ มีดินที่อุดมสมบูรณ์เพียงพอต่อการทาการเกษตร 6.3 ประวัติความเป็นมา บรูไน ดารุสซาลาม เป็น รัฐที่มีอานาจมากในสมัยโบราณ ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะ บอร์เนียว ต่อมาเมื่อสเปนและฮอลันดาแผ่ขยายอานาจเข้ามาในภูมิภาคนี้ รัฐบรูไนฯ ก็ค่อยๆ เสื่อมอานาจลง และกลายเป็นที่ซ่องสุมของโจรสลัด ใน พ.ศ. 2382 เซอร์เจมส์ บรุก นักสารวจชาวอังกฤษได้เขามาในรัฐ บรูไนฯ และเข้าช่วยปราบปรามโจรสลัด สุลต่านแห่งบรูไนฯ จึงยกดินแดนซาราวักให้เป็นการตอบแทน จนกระทั่ง พ.ศ. 2431 รัฐบรูไนฯ ก็อยู่ภายใต้การอารักขาของอังกฤษครั้นถึง พ.ศ. 2449 รัฐบรูไนฯ ก็ได้ลง นามในสนธิสัญญากับอังกฤษยินยอมเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ต่อมาใน พ.ศ. 2472 ได้มีการสารวจพบ น้ามันและก๊าซธรรมชาติในบรูไนฯ ทาให้บรูไนฯ มีฐานะเป็นประเทศที่มั่งคั่งจนกระทั่งปัจจุบัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองรัฐบรูไนฯ เฉพาะส่วนที่เป็นบรูไนฯ ปัจจุบัน ครั้น เมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม อังกฤษก็กลับมาครอบครองดินแดนนี้อีกครั้งและได้แยกซาราวักออกจากรัฐ บรูไนฯ ใน พ.ศ. 2502 ต่อมาได้มีการจัดการเลือกตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2505 และพรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะ แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาลฝ่ายพรรคประชาชนบอร์เนียวจึง พยายามปฏิวัติเพื่อจะยึดอานาจจากสุลต่าน แต่กองทหารอังกฤษกูรข่าจากสิงคโปร์ได้เข้ามาช่วยเหลือฝ่าย สุลต่านของบรูไนฯ ทาให้การปฏิวัติยึดอานาจไม่สาเร็จและส่งผลให้ประเทศบรูไนฯ มีระบอบการปกครองโดย ล่าสุลต่านเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน บรูไนฯ ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษได้พยายามเข้าเจรจาเพื่อขอปกครอง ตนเองจากอังกฤษจนได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 หลังจากอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษถึง 96 ปี 6.4 การเมืองการปกครอง 1. รูปแบบการเมืองการปกครอง ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีหรือสุลต่านเป็นประมุข ผู้นา รัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลัง สุลต่านองค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) ซึ่งทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศ มาตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2510 มีโครงสร้างทางการปกครอง สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี โบลเกียห์
10
แบ่งออกเป็น 4 สภาหลัก ได้แก่ คณะองคมนตรี สภาศาสนา สภาที่ปรึกษาเกี่ยวกับราชสมบัติ และสภา คณะรัฐมนตรี โดยที่อานาจสูงสุดอยู่ที่สุลต่านแต่เพียงผู้เดียว มีพรรคการเมืองที่สาคัญ คือ พรรคพีพีเคบี (Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei-Muara) เขตเบเลต (Belait) เขตตูตง (Tutong) และเขตเตม บูรง (Temburong) 2. ความมั่นคงและนโยบายต่างประเทศ มีปัญหาทางการเมืองน้อยมาก เนื่องจากการใช้หลักของ ศาสนาอิสลามเป็นแม่แบบในการปกครอง รัฐบาลคอยควบคุมกฎระเบียบต่างๆ เช่น ห้ามชุมนุมทางการเมือง ห้ามข้าราชการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง มีหนังสือพิมพ์เพียงฉบับเดียวซึ่งออกโดยรัฐ แต่ก็สร้างเสริม สวัสดิการสังคมให้แก่ประชาชนอย่างดีเยี่ยม ทางด้านการต่างประเทศบรูไนฯ มีนโยบายกระชับความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ด้วยการที่รัฐเล็งเห็น ว่าประเทศตนมีขนาดเล็กและมีกองกาลังทางทหารน้อย ตัวกลางที่ดีในการขยายความสัมพันธ์คือน้ามันและ ก๊าซธรรมชาติ ขณะที่ความสัมพันธ์กับประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียในเรื่องกลุ่ม PRB (Parti
Rakyat
Brunei) ซึ่งเคยได้รับการสนับสนุนจากมาเลเซียและอินโดนีเซียและเคยก่อกบฏเพื่อโค่นล้มราชวงศ์ใน พ.ศ. 2505 มีความตึงเครียดน้อยลง และมีความสัมพันธ์ที่ดีมากขึ้นกับทั้ง 2 ประเทศนี้ในปัจจุบัน 3. สิทธิมนุษยชน บรูไนฯ มีปัญหาทางด้านสิทธิเด็กและสิทธิมนนุษยชนน้อยมาก แม้จะใช้กฎหมาย ศาสนาเข้ามาปกครองประเทศ รัฐบาลบรูไนฯ ได้มอบสวัสดิการแก่ประชาชนไว้อย่างดีเยี่ยม เช่น ไม่ต้องเสีย ภาษีส่วนบุคคล ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล มีระบบการศึกษาแบบให้เปล่าจนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 6.5 เศรษฐกิจ 1. ระบบเศรษฐกิจ เป็นแบบตลาดเสรีภายใต้ การควบคุมของรัฐบาลกิจการที่เกี่ยวข้องกับน้ามันและ ก๊าซธรรมชาติเป็นกิจการที่สร้างรายได้หลักให้แก่ชาว บรูไนฯ โดยรายได้จากน้ามันประมาณร้อยละ 48 และ ก๊าซธรรมชาติประมาณร้อยละ 43 ของรายได้ประเทศ แท่นขุดเจาะน้ามันและก๊าซธรรมชาติกลางทะเล ในประเทศบรูไนดารุสซาลาม
บรูไนฯ เป็นผู้ผลิตน้ามันรายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นผู้ผลิตก๊าซ ธรรมชาติเป็นอันดับ 4 ของโลก
11
2.
ระบบเงินตรา ใช้สกุลเงินดอลลาร์บรูไน โดย 1 ดอลลาร์บรูไนมีค่าเท่ากับ 24 บาทไทย
โดยประมาณ สกุลเงินของบรูไนฯ มีค่าใกล้เคียงกับสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของประเทศสิงคโปร์จึงสามารถ นามาใช้แทนกันได้ 3. ปัจจัยการผลิต แรงงาน และอาชีพ ปัจจัยการผลิตหลัก คือ น้ามันและก๊าซธรรมชาติซึ่งทาให้ ประชาชนมีรายได้หลักจากการส่งออกน้ามันมากถึงร้อยละ 90 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้เล็งเห็นว่าทรัพยากร น้ามันอาจจะหมดลงในอนาคต ทาให้มีการส่งเสริมการทาเกษตรกรรม การทาประมง และอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น แต่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างของรัฐบาลและข้าราชการ ขณะที่แรงงานส่วนใหญ่ในประเทศเป็นแรงงานที่มาจากประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์โดยมีมากกว่า 40,000 คน 4. ด้านการค้าเสรีและความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ประเทศบรูไนฯ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ อาเซียนและเขตการค้าเสรีอาเซียนเพื่อขยายการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและการค้า นอกจากนี้ใน ปัจจุบันประเทศบรูไนฯ ได้มีมาตรการในการเปิดเสรีด้านการค้ามากขึ้น ส่งเสริมการลงทุนกับต่างประเทศ และมีนโยบายพัฒนาให้ประเทศเป็นศูนย์บริการการค้าและการท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6.6 สังคมและวัฒนธรรม 1. ชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนา ประชากรส่วนใหญ่ของ ในภาษามาเลย์ ซาลามัต ดาตัง = สวัสดี
ประเทศบรูไนฯ เป็นชาวมาเลย์ มักอาศัยอยู่ตามเขตเมือง ทางด้านตะวันตกของประเทศ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มี ภาษามาเลย์และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ แต่มีการใช้ ภาษาจีนเป็นภาษาพูดโดยทั่วไป
2. ประเพณีและวัฒนธรรม ประเทศบรูไนฯ มีวัฒนธรรมทางด้านการแต่งกาย อาหารรวมถึง ประเพณีและการถือปฏิบัติในชีวิตประจาวันตามหลักศาสนาอิสลาม โดยที่สตรีชาวบรูไนฯ จะแต่งกายมิดชิด นุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อแขนยาว มีผ้าโพกศีรษะ ชาวบรูไนฯ จะไม่ใส่หรือนุ่งผ้าสีเหลือง เพราะถือว่าสีเหลือง เป็นสีของพระมหากษัตริย์ การทักทายจะทักทายกันโดยจับมือกันแต่พองามเท่านั่น สตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษ จับ ไม่ชี้นิ้วชี้ไปที่คนอื่น เพราะจะถือว่าไม่สุภาพ ถ้าจาเป็นจะใช้หัวแม่มือแทน ไม่ส่งของด้วยมือซ้าย และ การนั่งสตรีจะนั่งเก็บเท้าไม่ให้ชี้ไปทางบุรุษ 3. บุคคลสาคัญ ได้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ สุลต่านองค์ปัจจุบันของประเทศบรูไนฯ
12
6.7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย ประเทศไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศบรูไนฯ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 ซึ่งทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและมีทัศนคติที่ดีต่อกันเสมอมา โดยความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ มี ดังนี้ 1. ด้านการเมืองและความมั่นคง มีความสอดคล้องกันในทัศนะทางด้านการทหารและมี การเยือนระหว่างผู้นาระดับสูงของทั้งสองประเทศ 2. ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยว มีการขยายตัวทางด้านการค้าระหว่างกันไม่ มากนัก บรูไนฯ เป็นประเทศคู่ค้ากับประเทศไทยในลาดับที่ 56 ของโลก สินค้านาเข้าจากบรูไนฯ เช่น น้ามันดิบ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ สินแร่โลหะ ยาง กระดาษ ขณะที่ไทยส่งออกข้าว เหล็กและเหล็กกล้า เสื้อผ้า ปูนซีเมนต์ พลาสติก เซรามิก ไปให้บรูไนฯ การลงทุนในประเทศบรูไนฯ คนไทยนิยมลงทุนทางด้านรับเหมา ก่อสร้าง ร้านขายของ และร้านอาหาร ส่วนทางด้านการท่องเที่ยวนั้น คนไทยจะถือว่านักท่องเที่ยวชาวบรูไน ฯ สามารถใช้จ่ายได้สูงและมีศักยภาพมาก 3. ด้านสังคม วัฒนธรรม และการศึกษา ประเทศไทยและประเทศบรูไน ฯ มีการร่วม ลง นามในการพัฒนาทางด้านระบบสารสนเทศเพื่อเผยแพร่ข่าวสารระหว่างกันผ่านทางวิทยุและโทรทัศน์หรือสื่อ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ขณะที่ในด้านการศึกษา มีนักศึกษาไทยเดินทางไปศึกษานะดับมหาวิทยาลัยที่ประเทศ บรูไนฯ มากขึ้น โดยเฉพาะนักศึกษาชาวมุสลิมจากจังหวัดชายแดนทางภาคใต้ของไทยที่ได้รับโอกาสในการศึกษาวิชา รัฐศาสตร์และศาสนาจากทุนของประเทศบรูไนฯ
กิจกรรมการเรียนรู้ สืบค้นข่าวที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศบรูไนฯ วิเคราะห์และสรุปด้วยตนเอง แล้วนามาเล่าให้เพื่อนนักเรียนฟังหน้าชั้นเรียน
13
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ บทที่ 6
ตอนที่ 1 จงเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุด โดยเขียนเครื่องหมาย ทับตัวเลือกที่ต้องการ 1. ประเทศบรูไนมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าอย่างไร ก. เนการาบรูไนดารุสซาลาม ข. บรูไนซาบิ ค. บรูไนรุสซี่ ง. ซาอุดิบรูไน 2. BND คือรหัสหน่วยเงินของสกุลเงินใด ก. ดอลลาร์บรูไน ข. ดอลลาร์สหรัฐ ค. เงินยูโร ง. หยวน 3. บรูไนดารุสซาลามมีลักษณะการปกครองเป็นแบบใด ก. ประชาธิปไตย ข. ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ค. คอมมิวนิสต์ ง. พ่อปกครองลูก 4. วันชาติของบรูไนดารุสซาลามตามกับวันใด ก. 21 กุมภาพันธ์ ข. 23 กุมภาพันธ์ ค. 24 มีนาคม ง. 25 มีนาคม
14
5. สินค้าส่งออกที่สาคัญของบรูไนดารุสซาลามได้แก่สินค้าอะไร ก. ชา กาแฟ ข. แร่ธาตุ ค. น้ามันดิบ ง. ข้าว 6. ศาสนาประชาติบรูไนดารุสซาลามคือศาสนาใด ก. ศาสนาพุทธ ข. ศาสนาฮินดู ค. ศาสนาอิสลาม ง. ศาสนาคริสต์ 7. พระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในประเทศใด ก. อินเดีย ข. อียิป ค. มาเลเซีย ง. บรูไนดารุสซาลาม 8. เมืองที่มีการขุดพบน้ามันมากที่สุดในบรูไนดารุสซาลาม ก. เมืองลิเดีย ข. เมืองลิเบีย ค. เมืองเชียร์ ง. เมืองซีเรีย 9. คัมภีร์อัลกุรอานที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกอยู่ที่ใด ก. ประเทศมาเลเซีย ข. ประเทศฟิลิปปินส์ ค. ประเทศอินโดนีเซีย ง. ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
15
10. บรูไนดารุสซาลามใช้ภาษาใดเป็นภาษาประจาชาติ ก. ภาษาฝรั่งเศส ข. ภาษาอังกฤษ ค. ภาษาเยอรมัน ง. ภาษามาเลย์หรือภาษามลายู
16
เฉลยแบบทดสอบ ข้อ
เฉลย
ข้อ 1
ก
ข้อ 2
ก
ข้อ 3
ข
ข้อ 4
ข
ข้อ 5
ค
ข้อ 6
ค
ข้อ 7
ง
ข้อ 8
ง
ข้อ 9
ง
ข้อ 10
ง
17
บรรณานุกรม กรมประชาสัมพันธ์. ประเทศไทยกับอาเซียน. กรุงเทพฯ : สานักนายกรัฐมนตรี, 2554. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2553. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. สื่อวีดีทัศน์กรุงเทพฯ. กรมอาเซียน, 2556. กระทรวงการต่างประเทศ กรมอาเซียน. 20 อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สานักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี, 2530. คณาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เมื่อกรุงเทพมหานครเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สานัก ยุทธศาสตร์และประเมินผล, 2556. ชัยวัฒน์ สีแก้ว. รอบรู้อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หอสมุดกลาง 09, 2556. ประภัสสร์ เทพชาตรี, รศ.ดร. สู่ประชาคมอาเซียน 2015. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2552.
18
รูปประกอบจากเว็บไซต์ http://asean4kids.blogspot.com http://image.baidu.co.th http://mekaje.wordpress.com http://siriporn1997.wordpress.com http://thai.cri.cn/ http://travel.mthai.com http://www.alro.go.th http://www.aseangreenhub.in.th/ http://www.hooninside.com/ http://www.manager.co.th http://www.mcot.net/ http://www.thaigov.go.th/ pirun.ku.ac.th th.wikipedia.org www.bic.moe.go.th www.fotolia.com www.kapook.com/campus.sanook.com/infographicland www.mfa.go.th www.muaypattaraporn.wordpress.com www.nesdb.go.th www.oknation.net
19