1
2
อาเซียนศึกษา (ASEAN Study)
จุดประสงค์รายวิชา 1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีในฐานะประชากรอาเซียน 3. เพื่อตระหนักในความเป็นประชากรอาเซียน เพื่อการดารงตนและการพัฒนาสังคมประเทศชาติ
สมรรถนะรายวิชา 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. ดารงตนเป็นประชากรอาเซียนที่ดี
คาอธิบายรายวิชา ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และพัฒนาการของประชาคมอาเซียน ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในประชาคมอาเซียนกับภูมิภาคอื่นในโลก
ตารางวิเคราะห์มาตรฐานสมรรถนะ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16
หน่วยการเรียน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาเซียน ประชาคมอาเซียน พัฒนาการของประชาคมอาเซียน ประเทศไทยกับอาเซียน บทบาทของอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ประเทศกัมพูชา ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศลาว ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม
คานา
ดารงตนเป็นประชากร อาเซียนที่ดี
หน่วยที่
แสดงความรู้เกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน
3
4
หนังสืออาเซียนศึกษาได้เรียบเรียงขึ้นตามหลักสูตร พุทธศักราช 2556 ที่พัฒนาให้สอดคล้องกับความ เจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี และการเปิดเสรีทางการศึกษา รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนร่วมกัน ซึ่ง จะต้องพัฒนาทั้งในด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิต และให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความเป็นมา พัฒนาการ และความร่วมมือต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงความสาคัญของ องค์กรแห่งนี้ และเข้าใจความเป็น “อาเซียน” และร่วมกันเพื่อการขับเคลื่อนการเป็นประชาคมที่เข้มแข็ง ตลอดไป เนื้อหามีทั้งหมด 15 เล่ม ประกอบด้วย พัฒนาการอาเซียน โครงสร้างและกลไกการดาเนินงาน อาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เขตการค้าเสรีอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศไทยสู่การ เป็นสมาชิกอาเซียน หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและบุคคลทั่วไป ในการเสริมสร้างความรู้ ความ เข้าใจ และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันตามที่หลักสูตรต้องการ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการคิดได้ สมดังเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาอย่างครบถ้วนทุก ประการ
นิตยา วรวงษ์
5
สารบัญ หน้า ประเทศลาว
7
9.1 ธงชาติและตราประจาแผ่นดิน
8
9.2 สภาพทางภูมิศาสตร์
8
9.3 ประวัติความเป็นมา
9
9.4 การเมืองการปกครอง
10
9.5 เศรษฐกิจ
11
9.6 สังคมและวัฒนธรรม
11
9.7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย
12
แบบทดสอบ
14
เฉลยแบบทดสอบ
17
บรรณานุกรม
6
ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศลาว (Laod)
สาระการเรียนรู้
1. ประเทศลาว
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกสาระสาคัญของประเทศลาวได้
สมรรถนะประจาหน่วย แสดงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศลาว
7
ลาว ชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
(Lao People’s Democratic
Republic) ขนาดพื้นที่
236,799 ตารางกิโลเมตร
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอินโดจีน ทิศเหนือ ติดต่อ กับประเทศจีนและประเทศเวียดนาม ทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศ เวียดนาม ทิศใต้ติดต่อกับประเทศกัมพูชา และทิศตะวันตกติดต่อกับ ประเทศไทยและประเทศเมียน์มา
เมืองหลวง
เวียงจันทน์ (Vientiane)
จานวนประชากร
6 ล้านคน (พ.ศ. 2552)
ชาติพันธุ์
ร้อยละ 98 ของประชากรทั้งหมดเป็นชาวลาว มี 3 กลุ่ม ได้แก่ ลาวลุ่ม ลาวเทิง และลาวโซ่ง นอกนั้นเป็นชาวลาวเชื้อสายจีนและเวียดนามและ ชนชาติอื่นๆ
ภาษา
ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ
ศาสนา
พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจาชาติ
ระบอบการปกครอง
สังคมนิยม นาโดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
วันชาติ
2 ธันวาคม
สกุลเงิน
กีบ (256 กีบ เท่ากับ 1 บาทโดยประมาณ)
GDP
4,010 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2551)
รายได้ประชาชาติ
835 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว (พ.ศ. 2551)
อุตสาหกรรม
โรงสีขาว แปรรูปไม้ บุหรี่ การทอผ้าไหม การปั้นหม้อ
สินค้านาเข้า
รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร สารเคมี และ เครื่องอุปโภคบริโภค
สินค้าส่งออก
ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์จากไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ หนังฟอก เสื้อผ้าสาเร็จรูป ข้าวโพด ใบยาสูบ และกาแฟ
8
9. ลาว (Laos) 9.1 ธงชาติและตราประจาแผ่นดิน 1. ธงชาติ ใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 มี พื้นสีน้าเงินครามอยู่ตรงกลาง หมายถึง ความมั่นคงอุดมสมบูรณ์ ของชาติ แถบสีแดงที่ด้านบนและด้านล่าง หมายถึง เลือดแห่งการ ต่อสู้เพื่ออิสรภาพ และพระจันทร์สีขาวอยู่ตรงกลางแถบสีนาเงินคราม หมายถึง เอกภาพของชาติภายในการปกครองของรัฐบาลลาวรูปพระจันทร์นี้เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ที่ ลอยอยู่เหนือแม่น้าโขง ธงนี้มีชื่อว่า “ธงดวงเดือน” ออกแบบโดยมหาสิลา วีระวงส์ 2. ตราประจาแผ่นดิน มีลักษณะเป็นรูปวงกลม ด้านล่างมีรูปครึ่ง กงจักรเป็นฟันเฟือง มีแพรแถบอยู่ด้านล่างจารึกชื่อประเทศอย่าง เป็นทางการ ประคองข้างด้วยรวงข้าวสุกเป็นรูปวงพระจันทร์ที่ลา ต้นข้าวทั้ง 2 ด้านมีแพรแถบพันรอบจารึกคาขวัญว่า “สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร” ตรงกลางเป็น รูปพระธาตุหลวง มีถนนวิ่งเข้าสู่พระธาตุ ด้านข้างของถนนเป็น ทุ่งนา ป่าไม้ และเขื่อนไฟฟ้าพลังน้า ตรานี้ได้รับการแก้ไขและใช้ เมื่อ พ.ศ. 2534 9.2 สภาพทางภูมิศาสตร์ 1. ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทาง ตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอินโดจีน มีเนื้อที่ประมาณ 236,799 ตารางกิโลเมตร ไม่มีอาณาเขตจดกับทะเล โดยมีอาณาเขตทางทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศจีนและประเทศเวียดนาม ทิศตะวันออกติดต่อกับ ประเทศเวียดนาม ทิศใต้ติดต่อกับประเทศกัมพูชา และทิศตะวันตกติดต่อ กับประเทศไทยและประเทศเมียน์มา 2. ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่ของลาวเป็นภูเขาและที่ ราบสูง โดยทางตอนเหนือเป็นเขตภูเขาสูงที่มีความสูงถึง 2,700 เมตร และ
แผนที่ประเทศลาว
ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้เรื่อยลงมาถึงทางตอนใต้ของประเทศเป็นที่ราบสูงตอนใต้ของประเทศเป็นเขตที่ราบ สูงและที่สูง มีเขตที่ราบลุ่มแม่น้าโขงทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือแม่น้าโขงเป็นแม่น้าที่มีความสาคัญมากที่สุด
9
ของลาว และยังเป็นแนวพรมแดนกั้นออกจากประเทศไทย ประชาชนลาวมักตั้งถิ่นฐานกันตามริมฝั่งแม่น้า โขงและใช้แม่น้าโขงเป็นเส้นทางคมนาคม 3. ภูมิอากาศ มีสภาพอากาศแบบเขตร้อน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมและพายุดีเปรสชันจากทะเล จีนใต้ แต่มีฝนตกไม่มากนักในบริเวณที่ราบทางด้านตะวันตกของประเทศ เนื่องจากมีแนวภูเขาสูงทางตอน เหนือและที่ราบสูงทางตอนกลางและทางด้านตะวันออกขวางกั้นทิศทางลม เขตที่ราบจึงมีลักษณะคล้ายเขต เงาฝน มีปริมาณฝนประมาณ 1,270 มิลลิเมตรต่อปี ในฤดูร้อนมีอากาศร้อน ฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น และแห้งแล้งมาก มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 23 องศาเซลเซียส 4. ทรัพยากรธรรมชาติ มีเขตป่าดิบชื้อขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นตามเขตภูเขาและที่ราบสูงมีดินและน้า ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีแร่ดีบุกและถ่านหินมากเพียงพอสาหรับใช้เป็นพลังงานสารองของประเทศ 9.3 ประวัตความเป็นมา ในอดีตดินแดนลาวอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรน่านเจ้า ต่อมาพระเจ้าฟ้างุ้มได้รวบรวม อาณาจักรในบริเวณใกล้เคียงก่อตั้งเป็นอาณาจักรล้านช้าง และเปลี่ยนเมืองหลวงจากเมืองหลวงพระบางมา เป็นกรุงเวียงจันทร์ใน พ.ศ. 2106 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาณาจักรล้านช้างแตกแยกออกเป็น 3 ฝ่าย ก่อนที่ทั้งหมดจะตกเป็นประเทศราชของสยามใน พ.ศ. 2321 ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเทศสยามยินยอมยกดินดินฝั่งขวาของแม่น้าโขงในประเทศฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศสจึงเข้ามาปกครองประเทศลาว ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเข้ายึดประเทศลาวได้ หลัง สิ้นสุดสงคราม ฝรั่งเศสก็ได้เข้ามายึดครองอีกครั้ง แต่เมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อเวียดนามเหนือที่เดียนเบียนฟู ใน พ.ศ. 2496 ฝรั่งเศสจึงยอกยกเอกชารให้แก่ประเทศลาวอาณาจักรต่างๆ ได้กลับมารวมเข้าเป็นอาณาจักรลาว ภายใต้การนาของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ (เจ้ามหาชีวิต คือ พระมหากษัตริย์) เมื่อเจ้าสว่างวัฒนาขึ้น ครองราชย์ได้เกิดสงครามกลางเมืองการทารัฐประหารขึ้นหลายครั้ง และพรรคคอมมิวนิสต์ออกมาเคลื่อนไหว อย่างรุนแรง จนกระทั่ง พ.ศ. 2518 พรรคประชาชนปฏิวัติลาว ภายใต้การนาของเจ้าสุภานุวงศ์ ได้เข้ายึดอานาจจากเจ้าสว่างวัฒนาได้สาเร็จ เจ้าสว่างวัฒนาทรง สละราชสมบัติ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว จึงได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบสังคมนิยมและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว เจ้าสว่างวัฒนาถูกคุมขังในเวลาต่อมาและสิ้นพระชนม์ในที่คุมขังนั้นเหตุการณ์บ้านเมืองใน ประเทศลาวจึงผ่อนคลายและสงบลงมาจนถึงปัจจุบัน
10
เจ้าสุภานุวงศ์ ผู้นาพรรคประชาชน ปฏิวัติลาวใน พ.ศ. 2518
9.4 การเมืองการปกครอง 1. รูปแบบการเมืองการปกครอง ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ มีพรรคประชาชน ปฏิวัติลาวเป็นองค์กรสูงสุด ประธานประเทศคนปัจจุบันคือ พลโท จูมมาลี ไซยะสอน
(Lt.
Gen.
Choummaly Sayasone) มีนายทองสิง ทามะวง เป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 แขวง และ 1 นครหลวง คือ นครหลวงเวียงจันทร์ 2. ความมั่นคงและนโยบายต่างประเทศ มีความมั่นคงทางการเมืองสูง รัฐบาลลาวค่อนข้างจากัดการ เผยแพร่ข่าวสารทางการเมือง รวมทั้งควบคุมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ด้านนโยบายต่างประเทศ รัฐบาลลาวมีความพยายามในการเปิดตัวเองต่อโลกภายนอกมากขึ้น สนับสนุนการรวมกลุ่มระหว่างประเทศ สนับสนุนให้ประเทศจีนเข้ามามีส่วนร่วมและปรับเปลี่ยนนโยบายด้าน การค้าในกลุ่มอาเซียน รักษาความสัมพันธ์กับประเทศจีนและประเทศเวียดนามอย่างเหนียวแน่น ผ่านการ แลกเปลี่ยนและการขอความช่วยเหลือทางการเงินในด้านการศึกษา การวิจัย วัฒนธรรม และกีฬา เจริญ สัมพันธไมตรีกับประเทศพม่า พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศไทยผ่านนโยบายการรับชาวม้งลาวกลับบ้าน และหลีกเลี่ยงความขัดแข้งกับสหรัฐอเมริกาในปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน 3. สิทธิมนุษยชน เสรีภาพทางการเมืองของประชาชนลาวยังถูกจากัด รัฐบาลยังคงควบคุมการใช้ ระบบอินเทอร์เน็ตและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ นอกจากนี้ยังมีรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดย ฝ่ายรัฐบาลอีกหลายด้าน เช่น การจากัดเสรีภาพในการนับถือศาสนาของชนกลุ่มน้อยการควบคุมและกาจัด กลุ่มชาวม้งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเบี้ย แขวงเซียงขวาง
11
9.5 เศรษฐกิจ 1. ระบบเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่อยู่ในความควบคุมของรัฐบาล แต่มีการเปิดเสรีทางด้านการค้าและการ ลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ระบบเกษตรกรรมยังคงเป็นรายได้หลักของประชาชนลาวแต่ผลผลิตที่ได้ไม่ เพียงพอต่อการบริโภค พืชที่สาคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ยาสูบ เครื่องเทศ ฝ้าย ยางพารา และกาแฟ มี การทาป่าไม้ทั้งไม้เนื้อแข็งและไม้เนื้ออ่อน มีการทาเหมืองแร่ดีบุก ทองคา ทองแดง และถ่านหิน ระบบ อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังคงเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การทอผ้า การปั้นหม้อ โรงสีข้าว อย่างไรก็ ตาม เศรษฐกิจของประเทศลาวมีการขยายตัวขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเขื่อน ไฟฟ้าพลังน้าและเหมืองแร่ทองคาและทองแดงจากต่างประเทศ 2. ระบบเงินตรา ใช้สกุลเงินกีบ โดย 256 กีบมีค่าประมาณ 1 บาท 3. ปัจจัยการผลิต แรงงาน และอาชีพ ปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่ได้มาจากทรัพยากรน้าและแร่ ทองคา ทองแดง และถ่านหิน สาหรับนามาใช้ในอุตสาหกรรม แต่แรงงานส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคการเกษตร ถึงร้อยละ 80 ขณะที่ประชากรร้อยละ 95 ยังประกอบอาชีพทางการเกษตร 4. การค้าเสรีและความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับ เขื่อนไฟฟ้าพลังน้า การทาเหมืองแร่ทองคาและทองแดง ทาให้เศรษฐกิจของลาวมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลลาวได้ปรับปรุงกฎหมายเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้มากขึ้นเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนและ เขตการค้าเสรีอาเซียนเพื่อลดอุปสรรคทางด้านภาษีศุลกากรภายใน พ.ศ. 2558 และความร่วมมือทางด้าน เศรษฐกิจตามแนวพรมแดนต่างๆ เช่น เขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจในบริเวณสามเหลี่ยมทองคา ซึ่งเป็นจุด บรรจบของพรมแดนระหว่างประเทศลาว ไทย และพม่า และเชื่อมต่อไปยังประเทศจีน 9.6 สังคมและวัฒนธรรม 1. ชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนา ร้อยละ 98 ของ
ในภาษาลาว
ประชากรทั้งหมดเป็นชาวลาว โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
สะบายดี = สวัสดี
ได้แก่ ลาวลุ่ม มีมากที่สุดในประเทศ ลาวเทิง อยู่อาศัยใน เขตที่ราบสูง และลาวโซ่งและชาวเขาเผ่าต่างๆ รองลงมา เป็นชาวลาวเชื้อสายจีนและเวียดนาม มีภาษา
ลาวเป็นภาษาราชการ มีการใช้ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลาย มีพระพุทธศาสนานิกายเถร วาทเป็นศาสนาประจาชาติ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือนับถือผีและบรรพบุรุษควบคู่กันไป 2. ประเพณีและวัฒนธรรม ชาวลาวส่วนใหญ่มีความซื่อสัตย์สุจริต
12
กล้าหาญ และอดทนสูงมาก รักหมู่คณะและรักความสงบมีอิสระในการ เลือกคู่ครอง แต่จะรู้จักธรรมเนียมประเพณีไม่ชิงสุกก่อนห่าม มีประเพณี แอ่วสาว สาหรับเลือกคู่ครอง การแต่งกายชุดประจาชาติผู้หญิงนิยม นุ่งผ้าซิ่นเกล้าผม และห่มสไบเฉียงพาดไหล่ ผู้ชายแต่งกายคล้ายกับ คนอีสานในประเทศไทย บ้านเรือนมักมีหลังคาทรงแหลมและยกพื้นสูง มีอาหารและวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายกับไทยอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ คือ น้าพริกลาว (แจ่วบอง) งานประเพณีต่างๆ จะมีชื่อเรียกที่แตกต่าง จากของไทยเท่านั้น เช่น วันขึ้นปีใหม่ เรียกว่า บุญปีใหม่สากล วันสงกรานต์ แคน เครื่องดนตรี ประจาชาติลาว เรียกว่า บุญปีใหม่ลาว และมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประจาชาติ 3. บุคคลสาคัญ ได้แก่ พลโท จูมมาลี ไซยะสอนประธานประเทศคนปัจจุบัน นายทองสิง ทามะวง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน และมหาสิลา วีระวงศ์ นักปรัชญาและนักประวัติศาสตร์ 9.7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย ประเทศไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศลาว เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2493 โดย ความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ มีดังนี้ 1. ด้านการเมืองและความมั่นคง มีความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบตามแนวชายแดน ไทย-ลาว แก้ไขปัญหาบุคคลผู้ไม่หวังดีต่อความสัมพันธ์ แก้ปัญหาการนาเสนอของสื่อไทยที่ก่อให้เกิดการดูถูก เหยียดหยาม การจัดทาหลักเขตแดน และการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 ผ่านกลไกความร่วมมือ (Joint Commission on Cooperation : JC) คณะกรรมการร่วมมือรักษา ความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนทั่วไป (General Border Committee : GBC) คณะกรรมาธิการเขต แดนร่วม และ Track II 2. ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยว ไทยเป็นประเทศที่ลงทุนและเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของลาว การค้ามูลค่ามากกว่า 71,000 ล้านบาท ไทยยังได้รับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากรในการ นาเข้าสินค้าเกษตร คนไทยนิยมเข้าไปลงทุนเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า โทรคมนาคม ธนาคาร การแปรรูปไม้ โรงแรรม และเครื่องนุ่งห่มในประเทศลาว ขณะที่มีนักท่องเที่ยวไทยเข้าไปท่องเที่ยวในลาวมากขึ้น 3. ด้านพลังงาน มีความร่วมมือกันในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานน้าและถ่านหิน 4. ด้านสังคมวัฒนธรรมและการศึกษา มีความร่วมมือกันในการจัดระเบียบและการนาเข้าแรงงาน ลาวอย่างถูกกฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์และการค้ายาเสพติดผ่านแนวชายแดนไทย-ลาวและยังมีโครงการ เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาบุคลากรทั้งทางด้านการศึกษาและสาธารณสุข
13
5. ด้านคมนาคมขนส่ง ไทยได้เข้าไปร่วมพัฒนาและ ก่อสร้างเส้นทางคมนาคมให้ลาวใหม่ เช่น การปรับปรุงสนาม บินปากเซการสร้างถนนเชื่อมต่อไทย-ลาว-จีน การสร้างสะพาน มิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 จากนครพนมไปคาม่วนและแห่งที่ 4 จากเชียงรายไปบ่อแก้ว
เรื่องน่ารู้ ข้ อควรรู้ที่สาคัญเกี่ยวกับการคมนาคม ขนส่งในประเทศลาว คือ การบินลาว มี สนามบินทังหมด ้ 52 แห่ง แต่มีเพียง 9 แห่ง เท่านันที ้ ่ลาดบินลาดด้ วยยาง และลาวขับ รถทางขวา
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ ศึกษาเส้ นทางคมนาคมและสถานที่ทอ่ งเที่ยวในประเทศลาวแล้ วนาข้ อมูลและภาพที่ได้ มาทาแผนที่ทอ่ งเที่ยว ประเทศลาว พร้ อมตกแต่งและออกแบบให้ สวยงาม
14
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ บทที่ 8 ตอนที่ 1 จงเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุด โดยเขียนเครื่องหมาย ทับตัวเลือกที่ต้องการ 1. เมืองหลวงของลาวในปัจจุบันคือเมืองใด ก. กรุงเทพ ข. กรุงเวียงจันทร์ ค. กรุงนครวัตร ง. กรุงเจนีวา 2. สกุลเงินของลาวคือสกุลเงินใด ก. กีบ ข. หยวน ค. บาท ง. ดอง 3. ลักษณะภูมิประเทศของลาวเป็นอย่างไร ก. เป็นเขตภูเขาสูง ข. ที่ราบต่า ค. หมู่เกาะ ง. ทะเล 4. แม่น้าที่สาคัญที่สุดของลาวคือแม่น้าสายใด ก. แม่น้าเจ้าพระยา ข. แม่น้าแม่กลอง ค. แม่น้าโขง ง. แม่น้ากก
15
5. ประเทศลาวใช้ระบบการปกครองแบบใด ก. แบบประชาธิปไตย ข. แบบคอมมิวนิสต์ ค. แบบทุนนิยม ง. แบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 6. สินค้าส่งออกที่สาคัญของประเทศลาวได้แก่สินค้าอะไร ก. พริก หอม ข. ไม้ซุง ไม้แปรรูป ค. มะพร้าว ง. ข้าว 7. ดอกไม้สัญลักษณ์ประจาประเทศลาว ก. ดอกบัว ข. ดอกชบา ค. ดอกลีลาวดี ง. ดอกกุหลาบ 8. ดนตรีประจาชาติลาวคือ เครื่องดนตรีชนิดใด ก. กลอง ข. แคน ค. ปี่ ง. กีต้า 9. สะพานมิตรภาพไทย – ลาว มีทั้งหมดกี่แห่ง ก. 1 แห่ง ข. 2 แห่ง ค. 3 แห่ง ง. 4 แห่ง
16
10. วรรณคดีที่สาคัญของลาวคือเรื่องใด ก. เรื่องพระลักษณ์พระราม ข. เรื่องแก้วหน้ามา ค. เรื่องปลาบู่ทอง ง. เรื่องแม่นาคพระโขนง
17
เฉลยแบบทดสอบ ข้อ
เฉลย
ข้อ 1
ข
ข้อ 2
ก
ข้อ 3
ก
ข้อ 4
ค
ข้อ 5
ง
ข้อ 6
ข
ข้อ 7
ค
ข้อ 8
ข
ข้อ 9
ง
ข้อ 10
ก
18
บรรณานุกรม กรมประชาสัมพันธ์. ประเทศไทยกับอาเซียน. กรุงเทพฯ : สานักนายกรัฐมนตรี, 2554. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2553. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. สื่อวีดีทัศน์กรุงเทพฯ. กรมอาเซียน, 2556. กระทรวงการต่างประเทศ กรมอาเซียน. 20 อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สานักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี, 2530. คณาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เมื่อกรุงเทพมหานครเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สานัก ยุทธศาสตร์และประเมินผล, 2556. ชัยวัฒน์ สีแก้ว. รอบรู้อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หอสมุดกลาง 09, 2556. ประภัสสร์ เทพชาตรี, รศ.ดร. สู่ประชาคมอาเซียน 2015. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2552.
19
รูปประกอบจากเว็บไซต์ http://asean4kids.blogspot.com http://image.baidu.co.th http://mekaje.wordpress.com http://siriporn1997.wordpress.com http://thai.cri.cn/ http://travel.mthai.com http://www.alro.go.th http://www.aseangreenhub.in.th/ http://www.hooninside.com/ http://www.manager.co.th http://www.mcot.net/ http://www.thaigov.go.th/ pirun.ku.ac.th th.wikipedia.org www.bic.moe.go.th www.fotolia.com www.kapook.com/campus.sanook.com/infographicland www.mfa.go.th www.muaypattaraporn.wordpress.com www.nesdb.go.th www.oknation.net
20