1
2
อาเซียนศึกษา (ASEAN Study)
จุดประสงค์รายวิชา 1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีในฐานะประชากรอาเซียน 3. เพื่อตระหนักในความเป็นประชากรอาเซียน เพื่อการดารงตนและการพัฒนาสังคมประเทศชาติ
สมรรถนะรายวิชา 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. ดารงตนเป็นประชากรอาเซียนที่ดี
คาอธิบายรายวิชา ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และพัฒนาการของประชาคมอาเซียน ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในประชาคมอาเซียนกับภูมิภาคอื่นในโลก
3
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16
หน่วยการเรียน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาเซียน ประชาคมอาเซียน พัฒนาการของประชาคมอาเซียน ประเทศไทยกับอาเซียน บทบาทของอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ประเทศกัมพูชา ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศลาว ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม
ดารงตนเป็นประชากร อาเซียนที่ดี
หน่วยที่
แสดงความรู้เกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน
ตารางวิเคราะห์มาตรฐานสมรรถนะ
4
คานา หนังสืออาเซียนศึกษาได้เรียบเรียงขึ้นตามหลักสูตร พุทธศักราช 2556 ที่พัฒนาให้สอดคล้องกับความ เจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี และการเปิดเสรีทางการศึกษา รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนร่วมกัน ซึ่ง จะต้องพัฒนาทั้งในด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิต และให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความเป็นมา พัฒนาการ และความร่วมมือต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงความสาคัญของ องค์กรแห่งนี้ และเข้าใจความเป็น “อาเซียน” และร่วมกันเพื่อการขับเคลื่อนการเป็นประชาคมที่เข้มแข็ง ตลอดไป เนื้อหามีทั้งหมด 15 เล่ม ประกอบด้วย พัฒนาการอาเซียน โครงสร้างและกลไกการดาเนินงาน อาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เขตการค้าเสรีอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศไทยสู่การ เป็นสมาชิกอาเซียน หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและบุคคลทั่วไป ในการเสริมสร้างความรู้ ความ เข้าใจ และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันตามที่หลักสูตรต้องการ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการคิดได้ สมดังเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาอย่างครบถ้วนทุก ประการ
นิตยา วรวงษ์
5
สารบัญ ประเทศอินโดนีเซีย
หน้า
13.1 ธงชาติและตราประจาแผ่นดิน
8
13.2 สภาพทางภูมิศาสตร์
8
13.3 ประวัติความเป็นมา
9
13.4 การเมืองการปกครอง
9
13.5 เศรษฐกิจ
10
13.6 สังคมและวัฒนธรรม
11
13.7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย
11
แบบทดสอบ
13
เฉลยแบบทดสอบ
16
บรรณานุกรม
6
ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศสิงคโปร์ (Singapore) สาระการเรียนรู้
1. ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกสาระสาคัญของประเทศสิงคโปร์ได้
สมรรถนะประจาหน่วย แสดงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศสิงคโปร์
7
สิงคโปร์ ชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐสิงคโปร์
(Republic of Singapore)
ขนาดพื้นที่
538 ตารางกิโลเมตร
ที่ตั้งและอาณาเขต
เป็นเกาะขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู ทิศเหนือจดกับ ช่องแคบยะโฮร์ของประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันออกจดกับทะเลจีนใต้ ทิศ ใต้และทิศตะวันตกจดกับช่องแคบมะละกา
เมืองหลวง
สิงคโปร์ (Singapore)
จานวนประชากร
5.08 ล้านคน (พ.ศ. 2553)
ชาติพันธุ์
ร้อยละ 76 ของประชากรทั้งหมดเป็นชาวจีน รองลงมาเป็นชาวมาเลย์ และชาวอินเดีย
ภาษา
ภาษาจีน มาเลย์ อังกฤษ และทมิฬเป็นภาษาราชการ
ศาสนา
นับถือพระพุทธศาสนาร้อยละ 42 รองลงมาเป็นศาสนาอิสลาม คริสต์ ศาสนา และศาสนาฮินดู
ระบอบการปกครอง วันชาติ สกุลเงิน GDP รายได้ประชาชาติ อุตสาหกรรม
ประชาธิปไตยแบบสาธารณรับ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและมี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล 9 สิงหาคม ดอลลาร์สิงคโปร์ (1 ดอลลาร์สิงคโปร์มีค่าเท่ากับ 24 บาท โดยประมาณ) 226,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2553) 44,904 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว (พ.ศ. 2553) การกลั่นน้ามัน การต่อเรือ เหล็กและเหล็กกล้า ยางรถยนต์ อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ กระดาษ การพิมพ์ เสื้อผ้า
สินค้านาเข้า
เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ามันดิบ เคมีภัณฑ์ และอาหาร
สินค้าส่งออก
เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ และเสื้อผ้า
13. สิงคโปร์ (Singapore)
8
13.1 ธงชาติและตราประจาแผ่นดิน 1. ธงชาติ ใช้ครั้งแรกใน พ.ศ. 2502 เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีแดงอยู่ด้านบน หมายถึง ภราดรภาพและความเสมอภาคในพื้น ที่สีแดงด้านซ้ายมีรูปพระจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึง ความเป็นชาติใหม่ ถัดจากพระจันทร์เสี้ยวมาทางขวามีรูปดาว 5 แฉก 5 ดวง หมายถึง อุดมคติ 5 ประการ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค พื้นสีขาวด้านล่าง หมายถึง ความบริสุทธิ์ และความดีงาม 2. ตราประจาแผ่นดิน ใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2502 พร้อมกับธงชาติ มีลักษณะเป็นรูปโล่สีแดงบรรจุรูป พระจันทร์เสี้ยวหงายขึ้นและดาว 5 แฉก 5 ดวงเรียงอยู่ด้านบน ของพระจันทร์เสี้ยว ประคองข้างซ้ายด้วยรูปสิงโต ข้างขวาด้วย รูปเสือโคร่ง รองรับด้านล่างด้วยใบปาล์มสีทอง ด้านล่างสุดมีแพร แถบจารึกด้วยอักษรโรมันเป็นข้อความว่า “สิงคโปร์จงเจริญ”. 13.2 สภาพทางภูมิศาสตร์ 1. ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต เป็นเกาะขนาดเล็กตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูทิศเหนือจด กับช่องแคบยะโฮร์ของประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันอกจดกับทะเลจีนใต้ ทิศใต้และทิศตะวันตกจดกับช่องแคบ มะละกา มีเนื้อที่ประมาณ 538 ตารางกิโลเมตร 2. ลักษณะภูมิประเทศ ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะเล็กๆ อยู่รายล้อม บนเกาะสิงคโปร์มี ลักษณะเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ และหุบเขาทางตอนกลาง และทางด้านตะวันตก ทางด้านตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม ดินตะกอน มีแม่น้าสายสั้นๆ ไหลผ่าน ตามแนวชายฝั่ง มีป่าชายเลนขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น แนวชายฝั่งทางตอน ใต้มีลักษณะเว้าแหว่งมากกว่าบริเวณอื่นๆ แผนที่ประเทศสิงคโปร์
9
3. ภูมิอากาศ มีอากาศแบบร้อนชื้นในเขตศูนย์สูตร ได้รับอิทธิพลจากลมทะเลทาให้มีอากาศไม่ร้อนมากนัก มีฝนตกชุก อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส 4. ทรัพยากรธรรมชาติ มีพื้นที่ป่าดิบและป่าชายเลนอุดมสมบูรณ์อยู่บ้างในบางพื้นที่ พื้นที่ป่าส่วน ใหญ่ถูกนามาใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร เพราะมีดินที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ตอนกลางของเกาะเป็น พื้นที่ป่าสงวน มีทรัพยากรน้ามันอยู่มาก 13.3 ประวัติศาสตร์ แต่เดิมสิงคโปร์เป็นดินแดนพักสินค้าของพ่อค้าจากทั่วโลก ต่อมาจึงตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรมะ ละกา โดยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐยะโฮร์ เมื่อถึง พ.ศ. 2054 โปรตุเกสก็เข้ามาครอบครองดินแดนนี้ได้จนกระทั่ง ถูกฮอลันดายึดครองไป ใน พ.ศ. 2360 อังกฤษได้ส่ง เซอร์ สแตมเฟิร์ดแรฟเฟิลส์ เข้ามาสารวจ สุลต่านรัฐยะ โฮร์จึงยกดินแดนนี้ให้อยู่ในความดูแลบริษัท อีสต์อินเดียเพื่อพัฒนาด้านการค้า แต่สุดท้ายสิงคโปร์ก็ตกเป็น อาณานิคมของอังกฤษภายใต้ระบบสเตรตส์เซตเทิลเมนส์ใน พ.ศ. 2369 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษได้ยึดสิงคโปร์คืนมาจากญี่ปุ่นได้สาเร็จ แต่เกิดปัญหาความวุ่นวาย ภายในดินแดนมลายู สิงคโปร์จึงแยกตนเองเป็นอิสระจากมลายู จนกระทั่ง พ.ศ. 2502 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้สิงคโปร์ได้จัดตั้งรัฐบาลเพื่อปกครอง ตนเอง โดยมีนายสี กวน ยู (Lee Kuan Yew) เป็นผู้นารัฐบาล ซึ่งต่อมา นายสี กวน ยู ได้ก่อตั้งพรรคกิจประชาชนขึ้น และพรรคนี้ได้รับชัยชนะในการ เลือกตั้งทุกครั้งและปกครองประเทศมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วง พ.ศ. 2506 - 2508
นายลี กวน ยู
สิงคโปร์ได้รวมเข้ากับสหพันธรัฐมลายา แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติทาให้ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2508 สิงคโปร์ได้แยกตัวออกมเป็นอิสระและก่อตั้งประเทศ เปลี่ยนระบอบการปกครองมาสู่ระบอบ ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีนายลี กวน ยู เป็นผู้นารัฐบาล ปกครองด้วยนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว จนกระทั่ง พ.ศ. 2536 จึงได้นาระบบประธานาธิบดีมาใช้ในตาแหน่งประมุขของประเทศและใช้มาจนถึง ปัจจุบัน 13.4 การเมืองการปกครอง 1. รูปแบบการเมืองการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มีวาระ 6 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ นายเซลลาปัน รามา นาธาน และมีนายกรัฐมนตีเป็นหัวหน้าคณะ รัฐบาล มีวาระ 5 ปี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายสี เซียน ลุง มีประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีมาจาก การเลือกตั้ง
10
2. ความมั่นคงและนโยบายต่างประเทศ มีเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเมืองมากมีรัฐบาลที่มี ความโปร่งใสในการบริหารงานมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีนโยบายต่างประเทศในการให้ความสาคัญต่อการ ส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะกับประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย ส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศมหาอานาจต่างๆ เช่น ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย รวมถึงสหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ามัน ให้ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการ ป้องกันการก่อการร้ายแก่นานาประเทศ 3. สิทธิมนุษยชน มีนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาและขยายการดูแลคนชราและผู้ที่มีรายได้ น้อยแก่ประชาชนทุกเชื้อชาติเพื่อให้เป็นการเปิดกว้างและมีความเสมอภาคทางสังคม และยังมีบทบาทในการ สนับสนุนการจัดตั้งกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลกลุ่มอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของกลุ่มอาเซียนอีกด้วย 13.5 เศรษฐกิจ 1. ระบบเศรษฐกิจ สิงคโปร์มีการเพาะปลูกพืชอยู่บ้าง พืชที่สาคัญ ได้แก่ ยางพารา มะพร้าว และ พืชผักชนิดต่างๆ มีการทาประมงทะเล แต่ผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูกและการทาประมงทะเลไม่เพียงพอ ต่อการบริโภค มีการทาอุตสาหกรรมโดยอาศัยวัตถุดิบส่วนใหญ่ จากประเทศเพื่อนบ้าน อุตสาหกรรมที่สาคัญ ได้แก่ การกลั่น น้ามัน การต่อเรือ เหล็กและเหล็กหล้า ยางรถยนต์ อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร เทคโนโลยี ชีวภาพ กระดาษ การพิมพ์ เสื้อผ้า สิงคโปร์มีระบบเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตมากที่สุดแห่งหนึ่ง เมืองสิงคโปร์ เมืองหลวงและเมืองท่าที่ สาคัญของประเทศ
ของโลก มีอุตสาหกรรมที่เจริญเติบโตสูงมาก แม้จะได้รับ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่าของสหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป
2. ระบบเงินตรา ใช้สกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ โดย 1 ดอลลาร์สิงคโปร์มีค่าประมาณ 24 บาท 3. ปัจจัยการผลิต แรงงาน และอาชีพ การที่ประเทศสิงคโปร์มีแนวชายฝั่งทะเลที่เหมาะสมแก่การ สร้างท่าเรือน้าลึกและมีเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ทาให้มีท่าเรือที่ทันสมัย การเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่าง ประเทศ และการมีระบบอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพสูง ได้รับทรัพยากรการผลิตจากประเทศเพื่อนบ้าน และได้รับการลงทุนจากต่างประเทศ เหล่านี้เป็นปัจจัยสาคัญที่ทาให้เศรษฐกิจของสิงคโปร์มีความ เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและการค้า มีแรงงานส่วน ใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม และยังมีการนาเข้าแรงงานถูกกฎหมายจากต่างประเทศอีกด้วย
11
4. การค้าเสรีและความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ นอกจากสิงคโปร์จะอยู่ในกลุ่มผู้นาเขตการค้าเสรี อาเซียนแล้ว ยังได้มีการลงนามความตกลงการค้าเสรีในระดับทวิภาคีกับอีกหลายประเทศรวมถึงการลงนามใน เขตการค้าเสรีกับกลุ่มประเทศผู้ค้าน้ามันในแถบตะวันออกกลาง มีนโยบายในการสร้างเสริมสภาพแวดล้อมใน การลงทุน เช่น มีอัตราภาษีต่า มีท่าเรือปลอดภาษี มีระบบราชการที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และโปร่งใส และมีการพัฒนาเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในด้านการบริการทางการแพทย์ การบิน การท่องเที่ยว การศึกษา และอุตสาหกรรม 13.6 สังคมและวัฒนธรรม 1. ชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนา มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ค่อนข้างสูง ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีนรองลงมาเป็นชาวมาเลย์และ ชาวอินเดีย ใช้ภาษาจีน มาเลย์ อังกฤษ และทมิฬเป็นภาษาราชการ และ
ในภาษาจีน หนีห่าว = สวัสดี
นับถือพระพุทธศาสนามากที่สุด รองลงมาเป็นศาสนาอิสลาม คริสต์ศาสนา และศาสนาฮินดู 2. ประเพณีและวัฒนธรรม ชาวสิงคโปร์มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมตามแต่ละเชื้อชาติ แต่ โดยทั่วไปจะพบเห็นวิถีชีวิตแบบชาวจีน เนื่องจากมีชาวจีนอาศัยอยู่มากที่สุด ซึ่งจะให้การยกย่องผู้ชายมากกว่า และบิดามารดายังมีอิทธิพลต่อการแต่งงานของบุตรและธิดา การแต่งกายและอาหารจะแตกต่างกัน ไปตามเชื้อชาติ โดยที่ชาวมาเลย์จะแต่งกายคล้ายกับชาว อินโดนีเซีย เทศกาลที่สาคัญ ได้แก่ วันตรุษจีน วันฮารีรายาฮาจิ (วันถือปฏิบัติของชาวมุสลิม ซึ่งจะต้องเดินทางไปประกอบพิธีที่ นครเมกกะ โดยจะมีการบูชาแพะและแกะเพื่อผู้ยากไร้ด้วย) นอกจานี้ สิงคโปร์ยังเป็นเมืองที่มีความสะอาดและเรียบร้อยมาก วัดในลัทธิเต๋าของชาวจีนที่อาศัยอยู่ใน เมืองสิงคโปร์
ที่สุดในโลก
3. บุคคลสาคัญ ได้แก่ นายลี กวน ยู และนายโก๊ะ จ๊ก ตง อดีตผู้นาทางการเมือง 13.7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย ประเทศไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 20 กันยาน พ.ศ. 2508 ไทยและสิงคโปร์มีความสัมพันธ์ร่วมกันในลักษณะของหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์โดยมีกลไกความร่วมมือในระดับ ทวิภาค 4 กรอบ ได้แก่ การประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างนายรัฐมนตรีของทั้ง 2 ประเทศ โครงการ
12
ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการพลเรือนความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจในอุตสาหกรรม 5 สาขา ได้แก่ การเกษตรและอาหาร การท่องเที่ยว การบริการทางการเงิน อิเล็กทรอนิกส์ และการขนส่ง ส่วนความ ร่วมมือทางด้านการทหาร โดยความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ มีดังนี้ 1. ด้านการเมืองและความมั่นคง ไทยและสิงคโปร์มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้บัญชาการ กองทัพระดับสูงอยู่เสมอ มีคณะกรรมาธิการบริหารร่วมด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศระหว่างกองทัพ มี คณะทางานร่วมกองทัพเรือไทย – สิงคโปร์ และมีการฝึกการรบร่วมกันอยู่เสมอ เช่น การฝึกร่วมผสม (Cobra Gold) ใน พ.ศ. 2553 2. ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยว ไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 9 ของสิงคโปร์มีมูลค่า การค้าระหว่างกันมากกว่า 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ชาวสิงคโปร์ที่นิยมเข้ามาลงทุนในประเทศไทยส่วน ใหญ่จะลงทุนในด้านการบริการ เคมีภัณฑ์ กระดาษ อิเล็กทรอนิกส์ การเงิน อสังหาริมทรัพย์ เครื่องจักร และโลหะ ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์นิยมเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยมีจานวนนักท่องเที่ยว เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้สิงคโปร์ยังเป็นตลาดแรงงานที่สาคัญ ชาวไทยเดินทางไปทางานในประเทศสิงคโปร์ใน ฐานะแรงงานกันเป็นจานวนมาก 3. ด้านสังคมวัฒนธรรมและการศึกษา ไทยและสิงคโปร์มีกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยราชการพล เรือน ซึ่งให้ความร่วมมือกันทางด้านการศึกษา การพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ไทยยังได้รับความช่วยเหลือจากสิงคโปร์ทุกครั้งเมื่อไทยประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ ศึกษาข้ อมูลเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของประชากรในประเทศสิงคโปร์ เพิ่มเติมจากที่ได้ เรี ยนรู้ นาความรู้ที่ ได้ มาแลกเปลีย่ นเรี ยนรู้และร่วมกันสรุป แล้ วเขียนเป็ นแผนผังหรื อแผนที่ความคิด เพื่อเป็ นความรู้ของชันเรี ้ ยน
13
แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ บทที่ 13 ตอนที่ 1 จงเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุด โดยเขียนเครื่องหมาย ทับตัวเลือกที่ต้องการ 1. ประเทศที่ได้ชื่อว่าหมู่เกาะที่เล็กที่สุดในอาเซียนคือประเทศใด ก. ประเทศสิงคโปร์ ข. ประเทศฟิลิปปินส์ ค. ประเทศลาว ง. ประเทศเวียดนาม 2. ชื่อเดิมของประเทศสิงคโปร์คือประเทศใด ก. เทมาเส็ก ข. เหมาเจอตุง ค. อินตาแลค ง. โรตาแร็ค 3. สกุลเงินสิงคโปร์คือสกุลเงินใด ก. กลีบ ข. หยวน ค. บาท ง. ดอลลาร์สิงคโปร์ 4. แม่น้าสายใดเป็นเหมือนกับเส้นเลือดหลักของสิงคโปร์ ก. ข. ค. ง.
แม่น้ามะนิลา แม่น้าสิงคโปร์ แม่น้ากก แม่น้าลา
14
5. สวนสัตว์กลางคืนแห่งรแกของโลกมีชื่อว่า ก. สวนสัตว์แมนดาริน ข. สวนสัตว์สิงคโปร์ ค. สวนสัตว์ไนท์ซาฟารี ง. สวนสัตว์ทมิฬ 6. สถานที่ใดในสิงคโปร์ที่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ชัดเจนถึง 360 องศา ก. สิงคโปร์ทาวเวอร์ ข. สิงคโปร์โรเจอร์ ค. สิงคโปรฟลายเออร์ ง. สิงคโปรแอร์ไลท์ 7. ดอกไม้ประจาชาติของสิงคโปร์คือดอกอะไร ก. ดอกบัว ข. ดอกกล้วยไม้แวนด้า ค. ดอกผักตบ ง. ดอกดาวกระจาย 8. กีฬายอดนิยมของชาวสิงคโปร์ได้แก่กีฬาชนิดใด ก. ฟุตบอล ข. เป่ากบ ค. ตีกอล์ฟ ง. มวยปล้า 9. สิงคโปร์มีการปกครองแบบใด ก. แบบคอมมิวนิสต์ ข. ระบอบสาธารณรัฐแบบรัฐสภามีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ค. แบบทุนนิยม ง. แบบกษัตริย์
15
10. สภาพภูมิอากาศของสิงคโปร์เป็นแบบใด ก. เป็นแบบร้อนชื้นและฝนตกตลอดทั้งปี ข. มรสุม ค. หนาวจัด ง. ร้อนจัด
16
เฉลยแบบทดสอบ ข้อ
เฉลย
ข้อ 1
ก
ข้อ 2
ก
ข้อ 3
ง
ข้อ 4
ข
ข้อ 5
ค
ข้อ 6
ค
ข้อ 7
ข
ข้อ 8
ก
ข้อ 9
ข
ข้อ 10
ก
17
บรรณานุกรม กรมประชาสัมพันธ์. ประเทศไทยกับอาเซียน. กรุงเทพฯ : สานักนายกรัฐมนตรี, 2554. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2553. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. สื่อวีดีทัศน์กรุงเทพฯ. กรมอาเซียน, 2556. กระทรวงการต่างประเทศ กรมอาเซียน. 20 อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สานักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี, 2530. คณาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เมื่อกรุงเทพมหานครเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สานัก ยุทธศาสตร์และประเมินผล, 2556. ชัยวัฒน์ สีแก้ว. รอบรู้อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หอสมุดกลาง 09, 2556. ประภัสสร์ เทพชาตรี, รศ.ดร. สู่ประชาคมอาเซียน 2015. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2552.
18
รูปประกอบจากเว็บไซต์ http://asean4kids.blogspot.com http://image.baidu.co.th http://mekaje.wordpress.com http://siriporn1997.wordpress.com http://thai.cri.cn/ http://travel.mthai.com http://www.alro.go.th http://www.aseangreenhub.in.th/ http://www.hooninside.com/ http://www.manager.co.th http://www.mcot.net/ http://www.thaigov.go.th/ pirun.ku.ac.th th.wikipedia.org www.bic.moe.go.th www.fotolia.com www.kapook.com/campus.sanook.com/infographicland www.mfa.go.th www.muaypattaraporn.wordpress.com www.nesdb.go.th www.oknation.net
19