อาเซียนศึกษา เล่มที่ 11

Page 1

1


2

อาเซียนศึกษา (ASEAN Study)

จุดประสงค์รายวิชา 1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีในฐานะประชากรอาเซียน 3. เพื่อตระหนักในความเป็นประชากรอาเซียน เพื่อการดารงตนและการพัฒนาสังคมประเทศชาติ

สมรรถนะรายวิชา 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2. ดารงตนเป็นประชากรอาเซียนที่ดี

คาอธิบายรายวิชา ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และพัฒนาการของประชาคมอาเซียน ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในประชาคมอาเซียนกับภูมิภาคอื่นในโลก


3

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16

หน่วยการเรียน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาเซียน ประชาคมอาเซียน พัฒนาการของประชาคมอาเซียน ประเทศไทยกับอาเซียน บทบาทของอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ประเทศกัมพูชา ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศลาว ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย ประเทศเวียดนาม

ดารงตนเป็นประชากร อาเซียนที่ดี

หน่วยที่

แสดงความรู้เกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน

ตารางวิเคราะห์มาตรฐานสมรรถนะ

               

               


4

คานา หนังสืออาเซียนศึกษาได้เรียบเรียงขึ้นตามหลักสูตร พุทธศักราช 2556 ที่พัฒนาให้สอดคล้องกับความ เจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี และการเปิดเสรีทางการศึกษา รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนร่วมกัน ซึ่ง จะต้องพัฒนาทั้งในด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิต และให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความเป็นมา พัฒนาการ และความร่วมมือต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงความสาคัญของ องค์กรแห่งนี้ และเข้าใจความเป็น “อาเซียน” และร่วมกันเพื่อการขับเคลื่อนการเป็นประชาคมที่เข้มแข็ง ตลอดไป เนื้อหามีทั้งหมด 15 เล่ม ประกอบด้วย พัฒนาการอาเซียน โครงสร้างและกลไกการดาเนินงาน อาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เขตการค้าเสรีอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศไทยสู่การ เป็นสมาชิกอาเซียน หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและบุคคลทั่วไป ในการเสริมสร้างความรู้ ความ เข้าใจ และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันตามที่หลักสูตรต้องการ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการคิดได้ สมดังเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาอย่างครบถ้วนทุก ประการ

นิตยา วรวงษ์


5

สารบัญ หน้า ประเทศอินโดนีเซีย

7

11.1 ธงชาติและตราประจาแผ่นดิน

8

11.2 สภาพทางภูมิศาสตร์

8

11.3 ประวัติความเป็นมา

9

11.4 การเมืองการปกครอง

11

11.5 เศรษฐกิจ

11

11.6 สังคมและวัฒนธรรม

12

11.7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย

13

แบบทดสอบ

15

เฉลยแบบทดสอบ

18

บรรณานุกรม


6

ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศเมียน์มา (Myanmar)

สาระการเรียนรู้

1. ประเทศเมียน์มา

จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกสาระสาคัญของประเทศเมียน์มา

ได้

สมรรถนะประจาหน่วย แสดงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเมียน์มา


7

เมียน์มา ชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัชแห่งสหภาพเมียน์มา

(Republic of the Union of

Myanmar) ขนาดพื้นที่

678,034 ตารางกิโลเมตร

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของคาบสมุทรอินโดจีน ทิศเหนือติดต่อกับประเทศ อินเดียและประเทศจีน ทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศจีน ลาว ไทย ทิศ ใต้ติดต่อกับประเทศไทยและจดกับทะเลอันดามันทิศตะวันตกติดต่อกับ ประเทศบังกลาเทศ ประเทศอินเดีย และจดกับอ่าวเบงกอล

เมืองหลวง

เนปิดอว์ (Nay Pyi Taw)

จานวนประชากร

53.4 ล้านคน (พ.ศ. 2553)

ชาติพันธุ์

ร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมดเป็นชาวเมียน์มา รองลงมาเป็นชาวเขา หรือชนเผ่าต่างๆ เช่น ไทยใหญ่ มอญ ยะไข่ กะเหรี่ยง คะฉิ่น ฉาน ชิน

ภาษา

ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ

ศาสนา

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจาชาติ มีผู้นับถือมากว่าร้อยละ 90

ระบอบการปกครอง

สาธารณรัฐ มีรัฐสภาที่มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง มีประธานาธิบดีเป็น ประมุขของประเทศและเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล 4 มกราคม จ๊าด (1 จ๊าด เท่ากับ 0.045 บาทโดยประมาณ) 31,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2553) 2,858 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว (พ.ศ. 2553) สิ่งทอ เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์จากไม้ การแปรรูปสินค้าเกษตร น้าตาล

วันชาติ สกุลเงิน GDP รายได้ประชาชาติ อุตสาหกรรม

กระดาษ การกลั่นน้ามัน เคมีภัณฑ์ ปูนซีเมนต์ การต่อเรือ สินค้านาเข้า

เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ามันสาเร็จรูป

สินค้าส่งออก

ก๊าซธรรมชาติ ไม้สัก ไม้แปรรูป ข้าว เมล็ดพืช ถั่ว


8

11. เมียน์มา (Myanmar) 11.1 ธงชาติและตราประจาแผ่นดิน 1. ธงชาติ ใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแถบสีขนาดความกว้างเท่ากัน 3 สี ได้แก่ สีเหลือง หมายถึง ความสามัคคี

สีเขียว หมายถึง สันติภาพ

ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ และสีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง ตรงกลางมีรูปดาว 5 แฉกสีขาว หมายถึง สหภาพอัน มั่นคงเป็นเอกภาพ 2. ตราประจาแผ่นดิน ใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2551 มีลักษณะ เป็นดวงตราประกอบรูปสิงห์แบบศิลปะเมียน์มา 2 ตนในท่านั่ง รักษาการณ์หันหลังให้ซึ่งกันและกัน ตรงกลางเป็นรูปแผนที่ประเทศเมียน์ มา รองรับด้วยช่อใบมะกอกคู่ ล้อมรอบด้วยบุปผชาติตามแบบศิลปะ เมียน์มา ด้านบนสุดเป็นรูปดาว 5 แฉก ด้านล้างมีม้วนแพรแถบจารึกชื่อ อย่างเป็นทางการของประเทศ 11.2 สภาพทางภูมิศาสตร์ 1. ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของคาบสมุทรอินโดจีน ทิศเหนือติดต่อกับประทศอินเดีย และ ประเทศจีน ทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศจีน ลาว ไทย ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศไทยและจดทะเลอันดามัน และทิศตะวันตกติดต่อ กับประเทศบังกลาเทศและประเทศอินเดียและจดกับอ่าวเบงกอล มีเนื้อที่ประมาณ 678,034 ตารางกิโลเมตร 2. ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ ราบลุ่มแม่น้าอิรวดี อยู่ทางตอนกลางของประเทศทางตอนเหนือและ ทางด้านตะวันตกเป็นแนวทิวเขาสูง ได้แก่เทือกเขาอาระกันโยมา ทิวเขาพะโคโยมา ดอว์นา และบิล็อกตอง ทางด้านตะวันออกเป็นเขต

แผนที่ประเทศเมียน์มา


9

ที่ราบสูงฉาน มีแม่น้าสาละวินและแม่น้าสะโตงไหลผ่านลงสู่ทะเลอันดามันทางตอนใต้ ตามแนวชายฝั่งทะเลมี ลักษณะเว้าแหว่งแบบฟยอร์ดและมีเกาะอยู่เป็นจานวนมาก 3. ภูมิศาสตร์ คล้ายประเทศไทยและอินเดีย ได้รับลมมรสุมตลอดทั้งปี แต่มีแนวทิวเขาขวางกั้นทาง ลม ทาให้เขตที่ราบตอนในมีฝนน้อย ปริมาณฝนเฉลี่ยประมาณ 1,650 มิลลิเมตรต่อปี บริเวณที่ราบใกล้เมือง มัณฑะเลย์มีคามแห้งแล้งมากที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีประมาณ 29 องศาเซลเซียส 4. ทรัพยากรธรรมชาติ มีป่าไม้ชนิดป่าดิบชื้นมากตามแนวทิวเขาทางตอนเหนือและทางด้าน ตะวันตก บริเวณริมฝั่งทะเลอุดมไปด้วยป่าชายเลน พรรณไม้ทีสาคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้กระยาเลย ไม้ไผ่ และไม้โกงกาง มีทรัพยากรแร่อยู่หลายชนิด เช่น น้ามัน ถ่านหิน ตะกั่ว เงิน พลวง 11.3 ประวัติความเป็นมา ในอดีตดินแดนเมียน์มา เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนชาติมอญ ต่อมาชาวพยูได้เข้าครอบครองแผ่นดิน เมียน์มา จนถึงราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 จึงถูกอาณาจักรน่านเจ้ารุกราน ส่วนชาวเมียน์มาได้อพยพแทรกซึมเข้า สู่ดินแดนเมียน์มา มาเป็นระยะเวลานานจนกระทั่งมีอาณาจักรของชาวเมียน์มาชื่อว่า อาณาจักรพุกาม ซึ่งมี อานาจมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 แต่พุกามก็ไม่สามารถต้านทานอานาจและการรุกรานจาก จักรวรรดิมองโกลได้ พุกามจึงล่มสลายลงใน พ.ศ. 1832 การล่มสลายของพุกามทาให้เมียน์มาแตกแยกออก จากกัน จนกระทั่งพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ รวบรวมแผ่นดินได้สาเร็จ และตั้งอาณาจักรตองอูขึ้น โดยมี ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองตองอู ใน พ.ศ. 2074 และขยายอิทธิพลและเข้าครอบครองอาณาจักรต่างๆ ที่อยู่รายรอบ ได้ ในพ.ศ. 2295 อาณาจักรตองอูก็ถูกชาวมอญเข้ารุกรานและล่มสลายลง ต่อมาพระเจ้าอลองพญาได้สถาปนา อาณาจักรเมียน์มาขึ้นพร้อมกับรวบรวมแผ่นดินให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและยึดครองอาณาจักรมอญได้สาเร็จ แล้วย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองย่างกุ้ง ก่อนที่จะยาตราทัพเข้ารุกรานกรุงศรีอยุธยา แต่พระองค์เสด็จสวรคตระ หว่างสงคราม พระราชโอรสจึงเป็นผู้นาทัพแทนและสามารถยึดครองกรุงศรีอยุธยาได้สาเร็จใน พ.ศ. 2310 แม้ ในภายหลังอาณาจักรเมียน์มาจะสูญเสียอานาจเหนือดินแดนสยามไปแต่ก็สามารถผนวกและรุกรานดินแดน ต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งการรุกรานแคว้นอัสสัมทาให้เมียน์มาต้องเผชิญหน้ากับอังกฤษ เมียน์มาทา สงครามกับอังกฤษครั้งแรกใน พ.ศ. 2367 ซึ่งอังกฤษได้รับชัยชนะและได้บังคับให้เมียน์มาทาสนธิสัญญายันดา โบ (Yandabo) ต่อมาเมียน์มาได้ยกเลิกสนธิสัญญาดังกล่าวทาให้เกิดสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่ 2 อังกฤษ ได้รับชัยชนะอีกครั้งและเริ่มเข้าครอบครองดินแดนและทรัพยากรของเมียน์มามากขึ้น เมื่อถึงรัชสมัยของพระ เจ้าธีบอ (Thibow) พระองค์ได้ประกาศทาสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่ 3 ในพ.ศ. 2429 ผลของการสู้รบ


10

อังกฤษได้รับชัยชนะและเมียน์มา ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษโดยสมบูรณ์ ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้าครอบครองเมียน์มา เกิดพวกตะขิ่นที่นาโดยนายอองซานนักชาตินิยมหัวรุนแรงได้พยายามขอให้ ญี่ปุ่นช่วยเหลือในการประกาศเอกราช แต่ต่อมาเขาก็ได้ตั้งองค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้าน ฟาสซิสต์ (Anti-Fascist Peoples Freedom League : AFPFL) เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น เมื่อสิ้นสุดสงครามนาย อองซานได้พยายามเจรจา เพื่อขออิสรภาพจากอังกฤษซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่ กลุ่มฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์และทาให้นายอองซานพร้อม กับคณะรัฐมนตรีอีก 6 คน ถูกลอบสังหารในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 นายอูนุได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี บริหารประเทศแทนและได้ปกครองประเทศตามระบอบ ประชาธิปไตย อังกฤษเข้าให้ความช่วยเหลือก่อนจะมอบ เอกราชให้แก่เมียน์มา ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491

นางอองซาน ซูจี

นายอูนุต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ หลังได้รับเอกราช ปัญหา เหล่านี้กลายเป็นชนวนทาให้เกิดการปฏิวัติที่นาโดยนายพล เนวิน ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 นายพล เน วิน ได้เข้าปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการทหารสร้างความไม่พอใจแก่นักศึกษาและประชาชนชาวเมียน์ มา เมื่อพลเอกซอหม่องได้ขึ้นสู่อานาจได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2533 ผลการเลือกตั้งปรากฏ ว่านางอองซาน ซูจี ผู้นาพรรคเอ็นแอลดี บุตรสาวของนายอองซาน ได้รับชัยชนะ แต่รัฐบาลทหาร เมียน์มาได้ควบคุมตัวนางอองซาน ซูจีไว้และไม่ยอมมอบอานาจให้พรรค เอ็นแอลดี พร้อมกับปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการทหารต่อไป จนกระทั่งใน พ.ศ. 2553 พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ผู้นาทางการทหารของ เมียน์มายอมลงจากอานาจเพื่อเปิดทางให้มีการเลือกตั้งตามระบอบ ประชาธิปไตย ท่ามกลางการจับตามองจากองค์กรต่างๆ ของโลกอย่าง นายพลซอหม่อง

ใกล้ชิด และเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นระบอบสาธารณรัฐ พร้อม กับปล่อยตัว นางอองซาน ซูจี ออกจากการควบคุม ให้มีสิทธิเสรีภาพในการ ลงรับเลือกตั้ง


11

11.4 การเมืองการปกครอง 1. รูปแบบการเมืองการปกครอง เปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบสาธารณรัฐ มีสมาชิกของ รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2553 โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าคณะรัฐบาล ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศเมียน์มาคือ นายเต็ง เส็ง (U Thein Sein) แบ่งการปกครองเป็น 7 ภาค สาหรับชาวเมียน์มา ได้แก่ ตะนาวศรี พะโค มัณฑะเลย์ มาเกว ย่างกุ้ง สะกาย และอิรวดี 7 รัฐสาหรับชน กลุ่มน้อย ได้แก่ คะฉิ่น กะยา กะเหรี่ยง ฉาน ชิน มอญ และยะไข่ และเมืองสาคัญพิเศษ 2 แห่ง ได้แก่ เนปิดอว์ (เมืองหลวง) และสิเรียม 2. ความมั่นคงและนโยบายต่างประเทศ พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ยังคงมีบทบาททางการเมือง อย่างลับๆ ขณะที่ความมั่นคงทางการเมืองอยู่ในความควบคุมของทหาร ทั้งในแง่ของการปกครองและการ ควบคุมชนกลุ่มน้อย อย่างไรก็ตาม การปล่อยตัวนางอองซาน ซูจีของรัฐบาลเมียน์มา สร้างความยินดีแก่ ประชาคมโลกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกามีท่าทีที่ดีต่อเมียน์มา แต่ขณะเดียวกันความสัมพันธ์กับ ประเทศจีนกลับมีท่าทีที่แข็งกร้าวกันมากขึ้นเมื่อทหารเมียน์มาเข้าปราบปรามกลุ่มโกกัง ชนกลุ่มน้อยตามแนว ชายแดนจีน-เมียน์มา ตามนโยบายการปลดอาวุธกองกาลังชนกลุ่มน้อย ขณะที่นโยบายซื้ออาวุธนิวเคลียร์จาก เกาหลีเหนือและความขัดแย้งในน่านน้าอ่าวเบงกอลกับบังกลาเทศก็สร้างความตึงเครียดให้กับภูมิภาคอาเซียน มากขึ้น 3. สิทธิมนุษยชน ยังคงมีปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนอยู่มาก ประชาชนยังมีสิทธิในการได้รับข่าวสาร และการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองอยู่น้อย ขณะที่ปัญหาการค้ามนุษย์ แรงงานผิดกฎหมายและการ ปราบปรามชนกลุ่มน้อยอย่างรุนแรง ยังคงถูกวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรสิทธิมนุษยชนและประชาคมโลก ในทางลบอยู่เสมอ 11.5 เศรษฐกิจ 1. ระบบเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ยังขึ้นอยู่กับระบบเกษตรกรรมตามเขตที่ราบลุ่มแม่น้าอิรวดีและแม่น้า สะโตง พืชที่สาคัญ ได้แก่ อ้อย พริก ข้าวฟ่าง ถั่ว ยาสูบ ฝ้าย ข้าวสาลี มีการทาป่าไม้สักอย่างกว้างขวาง มีแหล่งประมงทะเลที่สาคัญในน่านน้าอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันมีการทาเหมืองแร่อัญมณี น้ามัน เงิน ตะกั่ว แหล่งน้ามันที่สาคัญอยู่ในเมืองสิเรียมและเมืองเยนันอง มีอุตสาหกรรมที่สาคัญ ได้แก่ สิ่งทอ เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์จากไม้ การแปรรูปสินค้าเกษตร น้าตาล กระดาษ การกลั่นน้ามัน เคมีภัณฑ์ ปูนซีเมนต์ การต่อ เรือ เศรษฐกิจของประเทศเมียน์มายังคงมีการเจริญเติบโตน้อยและค่อนข้างช้า แม้การผลิตอัญมณีและ


12

อุตสาหกรรมจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นมาก ขณะที่รัฐบาลเมียน์มาสิ้นเปลืองงบประมาณไปกับการสร้างเมืองหลังแห่ง ใหม่ 2. ระบบเงินตรา ใช้สกุลเงินจ๊าด โดย 1 จ๊าดมีค่าประมาณ 0.045 บาท 3. ปัจจัยการผลิต แรงงาน และอาชีพ ปัจจัยการผลิตหลักมาจากทรัพยากรป่า

ไม้และแร่ธาตุที่อุดม

สมบูรณ์ ซึ่งทาให้อุตสาหกรรมเจริญเติบโตมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ประชากรของประเทศมากกว่าร้อยละ 70 ยังคงประกอบอาชีพและเป็นแรรงงานในภาคการเกษตร ส่วนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะ เดินทางไปทางานยังต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งมีค่าแรงตอบแทนที่ดีกว่า จึงมักเกิดปัญหา แรงงานผิดกฎหมายข้ามเขตแดนบ่อยครั้ง 4. การค้าเสรีและความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ

การเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศเมียน์

มา นโยบายขยายตัวทางด้านการท่องเที่ยว และการเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนและเขตการค้าเสรีอาเซียน ทาให้การค้าและการลงทุนจากต่างประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น 11.6. สังคมและวัฒนธรรม 1. ชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนา ประชากรส่วนใหญ่ เป็นชาว ในภาษาพม่า

มิงกาลาบา = สวัสดี

เมียน์มา รองลงมาเป็นชาวจีน ชาวอินเดีย และชนกลุ่มน้อยกลุ่ม ต่างๆ เช่น ไทยใหญ่ มอญ

ยะไข่ กะเหรี่ยง คะฉิ่น ฉาน

ชิน ใช้ภาษาเมียน์มาเป็นภาษาราชการ และมีพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจาชาติ 2. ประเพณีและวัฒนธรรม ได้รับอิทธิพลมา จากประเทศจีน อินเดีย และไทย มีศิลปะในรูปแบบ ของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท การแต่งกายชุด ประจาชาติ ผู้หญิงนิยมสาวนเสื้อคอกลมสูง แขน กระบอก เสื้อรัดรูป ติดกระดุมด้านข้าง เรียกว่า “เองยี” เจดีย์ชเวซิกอง กรุงย่างกุ้ง เป็นศิลปะแบบ

นุ่งโสร่งยาวคร่อมข้อเท้า มีผืนผ้าใช้คล้องคอ สตรีที่ยัง

พระพุทธศาสนาที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย

ไม่แต่งงานจะเกล้ามวยสูงเหลือปอยผม

เช่นเดียวกับเจดีย์ชเวดากอง

ส่วนหนึ่ง ส่วนสตรีที่แต่งงานแล้วจะ เกล้ามวยผมทั้งหมด ผู้ชายนิยมสวม


13

เสื้อคอกลม ตัวสั้น แขนยาว นุ่งโสร่ง ที่เป็นลายตารางเรียกว่า “ลองยี” มีผ้าโพกศีรษะ เด็กชาวเมียน์มา จะแต่งกายด้วยเสื้อสีขาวและ นุ่งโสร่งสีเข้มหรือดาไม่มีลวดลาย อาหารของเมียน์มา การแต่งกายของชาวเมียน์ มา

นิยมมีเครื่องเคียง เช่น ถั่ว งา ผัก แกงจะคล้าย กับแกงฮังเลของทางภาคเหนือของประเทศไทย

3. บุคคลสาคัญ ได้แก่ นายพลอาวุโส ตาน ฉ่วย อดีตประมุขของประเทศ และนางอองซาน ซูจี ผู้นาพรรคฝ่ายค้าน 16.7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศไทย ประเทศไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศเมียน์มา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2491 โดยความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ มีดังนี้ 1. ด้านการเมืองและความมั่นคง มีความร่วมมือในระดับทวิภาคีเพื่อดูแลความสงบตามแนวเขต ชายแดน ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมไทย-เมียน์มา

(Thailand-Myanmar Joint Commission on

Bilateral Cooperation : JC) คณะกรรมการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Committee : JBC) คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Borde Committee : RBC) และคณะกรรมการชายแดน ส่วนท้องถิ่น (Township Border Committee : TBC) 2. ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยว ไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 2 ของประเทศเมียน์มา มีมูลค่าการค้าร่วมกันมากกว่า 155,000 ล้านบาท โดยมีกลไกความร่วมมือผ่านคณะกรรมาธิการร่วมทางการ ค้าไทย-เมียน์มา (Joint Trade Commission : JTC) มีนักลงทุนจากไทยเข้าไปลงทุนทางด้านพลังงานไฟฟ้า การประมง และปศุสัตว์ โดยมีการลงทุนเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศจีน ขณะที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไป ท่องเที่ยวระหว่างกันเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน 3. ด้านสังคมวัฒนธรรมและการศึกษา ไทยและเมียน์มามีความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาแรงงาน หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายด้วยวิธีการพิสูจน์สัญชาติ แก้ปัญหาและป้องกันการลักลอบขนถ่ายและ ค้าขายยาเสพติดตามแนวชายแดน มีการลงนามความตกลงทางวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2542 และมีการดาเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนา เช่น การอัญเชิญผ้าพระกฐิน


14

พระราชทานไปถวายแก่วัดในเมียน์มา มีการสนับสนุนให้มีการสอนภาษาไทยในระดับมหาวิทยาลัย ภาษาต่างประเทศ ให้ความร่วมมือทางด้านวิชาการในด้านการเกษตรและการสาธารณสุข และให้ความ ช่วยเหลือเมื่อประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ 4. ด้านการคมนาคมขนส่ง มีการพัฒนาท่าเรือน้าลึกทวายร่วมกันเพื่อพัฒนาพื้นที่เป็นนิคม อุตสาหกรรมและการสร้างเส้นทางถนนเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทย เมียน์มา และอินเดีย 5. ด้านสาธารณสุข ให้ความช่วยเหลือในการยกระดับโรงพยาบาลท่าขี้เหล็ก การจัดหน่วยแพทย์ เคลื่อนที่ทางด้านหู คอ ตา และจมูกไปให้การรักษาชาวเมียน์มาโดยไม่ต้องเสียค่าบริการและมีการนาแพทย์ จากเมียน์มาเข้ารับการฝึกอบรมในประเทศไทย กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ แบ่งนักเรี ยนออกเป็ น 2 กลุม่ หรื อ 4 กลุม่ ศึกษาค้ นคว้ าเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “การเมืองการปกครองในประเทศเมียน์มา กับความสัมพันธ์กบั ประชาคมโลก” นาข้ อมูลที่ได้ มาแข่งโต้ วาทีหรื อนามาอภิปรายร่วมกันในชันเรี ้ ยน สรุปความรู้ที่ได้ นาแล้ วไปเขียนเป็ นแผนผังหรื อแผนที่ ความคิด เพื่อเป็ นความรู้ของชันเรี ้ ยน


15

แบบทดสอบเพื่อประเมินผลหลังการเรียนรู้ บทที่ 10

ตอนที่ 1 จงเลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุด โดยเขียนเครื่องหมาย  ทับตัวเลือกที่ต้องการ 1. ประเทศใดที่มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายกับว่าวหางยาวล้อมรอบเกือกม้า ก. ไทย ข. พม่า ค. ลาว ง. มาเลเซีย 2. เมืองหลวงของพม่ามีชื่อว่าอะไร ก. นิโค ข. โตปิโด ค. เนปิดอว์ ง. เอวาดอ 3. Kyat เป็นหน่วยเงินของประเทศใด ก. พม่า ข. ลาว ค. กัมพูชา ง. เวียดนาม 4. พม่าใช้ภาษาใดเป็นภาษาประจาชาติ ก. ภาษามาลายู ข. ภาษากาลาเจาะ ค. ภาษากาลาบา ง. ภาษาพม่า


16

5. ยานพาหนะท้องถิ่นของพม่ามีชื่อเรียกว่าอะไร ก. รถยนต์ ข. จักรยาน ค. รถจักรยานยนต์ ง. สามล้อพม่าหรือไซก้า 6. ดอกไม้ประจาชาติของพม่าคือดอกอะไร ก. ดอกประดู่ ข. ดอกลีลาวดี ค. ดอกลั่นทม ง. ดอกดาวเรือง 7. เจดีย์ที่มีความสูงที่สุดในพม่ามีชื่อว่าเจดีย์อะไร ก. เจดีย์มอกอ ข. เจดีย์พระเต่า ค. เจดีย์ชเวมอดอหรือพระธาตุมุเตา ง. เจดีย์พระธาตุ 8. อาหารยอดนิยมของพม่า ก. แกงป่า ข. พล่าเผ็ด ค. ต้มโคล้ง ง. ผัดเผ็ด 9. พม่าบัญญัติให้ศาสนาใดเป็นศาสนาประจาชาติ ก. ศาสนาพุทธ ข. ศาสนาอิสลาม ค. ศาสนาซิก ง. ศาสนาคริสต์


17

10. ชาวพม่าหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่าอะไร ก. โสร่ง ข. ผ้าเตี่ยว ค. ลองยี ง. ผ้าถุง


18

เฉลยแบบทดสอบ ข้อ

เฉลย

ข้อ 1

ข้อ 2

ข้อ 3

ข้อ 4

ข้อ 5

ข้อ 6

ข้อ 7

ข้อ 8

ข้อ 9

ข้อ 10


19

บรรณานุกรม กรมประชาสัมพันธ์. ประเทศไทยกับอาเซียน. กรุงเทพฯ : สานักนายกรัฐมนตรี, 2554. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2553. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. แผนจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC). กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน, 2552. กรมอาเซียน. สื่อวีดีทัศน์กรุงเทพฯ. กรมอาเซียน, 2556. กระทรวงการต่างประเทศ กรมอาเซียน. 20 อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สานักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี, 2530. คณาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เมื่อกรุงเทพมหานครเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สานัก ยุทธศาสตร์และประเมินผล, 2556. ชัยวัฒน์ สีแก้ว. รอบรู้อาเซียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หอสมุดกลาง 09, 2556. ประภัสสร์ เทพชาตรี, รศ.ดร. สู่ประชาคมอาเซียน 2015. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2552.


20

รูปประกอบจากเว็บไซต์ http://asean4kids.blogspot.com http://image.baidu.co.th http://mekaje.wordpress.com http://siriporn1997.wordpress.com http://thai.cri.cn/ http://travel.mthai.com http://www.alro.go.th http://www.aseangreenhub.in.th/ http://www.hooninside.com/ http://www.manager.co.th http://www.mcot.net/ http://www.thaigov.go.th/ pirun.ku.ac.th th.wikipedia.org www.bic.moe.go.th www.fotolia.com www.kapook.com/campus.sanook.com/infographicland www.mfa.go.th www.muaypattaraporn.wordpress.com www.nesdb.go.th www.oknation.net


21


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.